Dhamma Guide : D.G. ณัฐพันธ ปนทวีเกียรติ บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุสัตย ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา รูปเลม/จัดอารต : วันดี ตามเที่ยงตรง
ระดมธรรม นำสันติสุข “ขอให้คิดดูเถิด โลกปัจจุบันนี้กำลังเป็นอย่างไร ถ้าเห็นว่าโลกกำลังเปลี่ยนไปสู่ความวินาศแล้ว เราก็จะต้องนึกกันถึงการแก้ไข ถ้ามันเดินไปผิด เราก็ต้องถอยหลังมาหาความถูก ยิ่งเดินไปมันก็ยิ่งผิดมากไป หรือจะออกข้างๆ คูๆ มันก็คงจะไม่ถูกได้ ถ้าเมื่อ สมัยโบราณแต่กาลก่อนมันถูก คือมันไม่มีเหตุการณ์เลวทรามอย่างนี้ ก็จำเป็น อยู ่เอง ที่จะต้องถอยหลังเข้าคลองไปหาความถูกนั้น เดี๋ยวนี้มันมีความเปลี่ยนแปลง ในการมีธรรมะของแต่ละคน ทีนี้เรา ก็จะระดมธรรมนี้ ก็เพื่อโลกปัจจุบันนี้ อย่าได้เลวต่อไปอีก เพราะมันเลวมาก พอแล้ว ย้อนกลับมาหาความปลอดภัย เพื่อจะได้เป็นโลกที่อยู่ในรูปแบบที่ สมบูรณ์ ที่พึงปรารถนา เรียกว่าเป็นโลกที่มันมีความสะอาด มีความสว่าง
มีความสงบ อยู่ในจิตใจของมนุษย์ตามสมควร ถ้าคนแต่ละคนมีความสะอาด สว่าง สงบ สามอย่างนี้อยู่ในจิตใจแล้ว โลกนี้ก็เป็นโลกแห่งความสะอาด สว่าง สงบ โดยไม่ต้องสงสัย เราอยากจะมีโลกในรูปแบบที่น่าชื่นใจ น่าปรารถนา เราจึงต้องมีการแก้ไข”
พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย ชาตกาล ๒๗ พ.ค. ๒๔๔๙ มรณกาล ๘ ก.ค. ๒๕๓๖
คำนำสำนักพิมพ์ ธรรมบรรยายชุ ด “คู่ มื อ มนุ ษ ย์ ” ของพระเดชพระคุ ณ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ) หรือหลวงปู่พุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งใน ผลงานซึ่งถือว่าเป็นเพชรน้ำเอกที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมชมชอบ จากชาวพุทธอย่างกว้างขวางจนมีการนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ ในหลาย ประเทศ ทั้งนี้ก็เพราะหลวงปู่พุทธทาสภิกขุได้บรรยายเรื่องสำคัญที่สุด
ที่มนุษย์ทุกคนควรจะต้องรู้ และควรจะต้องปฏิบัติตามให้จงได้ เพื่อ ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง ธรรมบรรยายชุดนี้ หลวงปู่พุทธทาสได้บรรยายอบรมผู้ที่จะรับ การโปรดเกล้าฯ เป็นตุลาการ รุ่นปี ๒๔๙๙ ณ ห้องบรรยายของเนติบัณฑิตยสภา ระหว่างวันที่ ๒-๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙ รวมทั้งหมด ๑๐ ครั้ง ๑๐ หัวเรื่อง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ : ใจความสำคัญของพุทธศาสนา (พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร) (๒ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๒ : ไตรลักษณ์ (ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง) (๔ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๓ : อุปาทาน ๔ (อำนาจของความยึดติด) (๗ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๔ : ไตรสิกขา (ขั้นของการปฏิบัติศาสนา) (๘ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๕ : เบญจขันธ์ (คนเราติดอะไร) (๙ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๖ : สมาธิและวิปัสสนาตามธรรมชาติ (การทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ) (๑๑ พ.ค. ๒๔๙๙)
ครั้งที่ ๗ : สมาธิและวิปัสสนาตามหลักวิชาในรูปเทคนิค (การทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชา) (๑๔ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๘ : อริยบุคคลกับการละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก) (๑๗ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๙ : พุทธศาสนากับคนทั่วไป (พุทธศาสนาสอนศิลปะการเป็นคน) (๑๗ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๑๐ : ตุลาการตามอุดมคติแห่งพระพุทธศาสนา (ภาคสรุปความ) (๒๒ พ.ค. ๒๔๙๙) ด้วยทาง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ได้เล็งเห็น คุณค่าและประโยชน์สุขที่ผู้อ่านจะพึงได้รับ จึงได้นำธรรมบรรยายชุด “คู่มือมนุษย์” ทั้ง ๑๐ หัวเรื่องมาจัดพิมพ์ใหม่ โดยจัดแยกเป็น ๑๐ เล่ม ตามหัวข้อ เน้นให้เป็นฉบับที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย เพื่อความสะดวกในการ ศึกษาแก่ผู้อ่าน โดยได้เพิ่มภาพประกอบพร้อมคำการ์ตูน ชูคำเด่น เน้น ข้อความ ตั้งหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย แบ่งวรรคตอน ซอยย่อหน้าใหม่ ใส่สีสัน เสริมธรรมให้ผู้อ่านอ่านได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เมื่ออ่านไปทีละเล่ม ทีละหัวเรื่องแล้ว จะทำให้เราเข้าใจหลักธรรมคำสั่งสอนและหลักปฏิบัติ ที่ถูกต้องทางพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น หนังสือ “คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชาในรูปเทคนิค (การทำให้รู้แจ้งตามหลัก วิชา)” เล่มนี้ จัดเป็นธรรมบรรยายลำดับที่ ๗ มีเนื้อหาสาระสำคัญที่มุ่ง เน้นให้ผู้อ่านได้ทราบถึงลำดับของการปฏิบัติวิปัสสนา ซึ่งมีทั้งหมด ๗ ขั้นตอนด้วยกัน เรียกว่า วิสุทธิ ๗ ซึ่งการปฏิบัติวิปัสสนา ๗ ขั้นตอนนี้ มีกล่าวในคัมภีร์อรรถกถา เป็นวิธีปฏิบัติที่เหมาะสำหรับผู้มีอุปนิสัยอ่อน ไม่สามารถบรรลุธรรมด้วยสมาธิ ปัญญา ตามธรรมชาติ
ดังคำกล่าวของหลวงปู่พุทธทาสภิกขุที่ว่า...
“สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชา (ในรูปของเทคนิค) แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในรูปพระพุทธภาษิต เพราะเป็นสิ่งที่พระโบราณาจารย์ยุคหลังๆ จัดขึ้นมาก็ตาม ก็นับว่าเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติที่มีอุปนิสัยยังอ่อน ยังมองไม่เห็นทุกข์ตามธรรมชาติมาก่อนด้วยตัวเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสำหรับคนพวกที่นิยม หรือแตกตื่นไปทำวิปัสสนากัน ทั้งๆ ที่ไม่เคยมองเห็นความจริงของชีวิตอะไรมาก่อนเลย ซึ่งมีมากในปัจจุบันนี้ด้วยเหมือนกัน”
ดังนั้น จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นคู่มือช่วยชี้ทาง ให้เราทุกคนได้พบเจอแสงสว่างแห่งชีวิต เพื่อมุ่งสู่เส้นทางแห่งการดับทุกข์ อย่างสิ้นเชิง สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในที่สุด ขออนุโมทนา สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ
อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จิตมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น เฉกเช่นพระนิพพาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข
กราบนมัสการและกราบสวัสดี ผู้มีบุญทุกท่าน หลายๆ ท่านที่ได้ศึกษางานหนังสือ “คู่มือมนุษย์” ของหลวงปู่ พุทธทาสภิกขุ อาจจะเกิดความรู้สึกในใจว่า เนื้อหาบางส่วนอ่านแล้ว ทำความเข้าใจได้ยาก แต่ขอให้ท่านผู้อ่าน ตั้งใจอ่านหลายๆ รอบ ค่อยๆ คิด ค่อยๆ พินิจพิจารณา เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาในส่วนนั้นๆ ด้วย ใจเบาสบาย ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป “หนังสือคู่มือมนุษย์” ของท่านพุทธทาสภิกขุ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ที่ท่านถืออยู่ในมือเล่มนี้ ได้จัดทำให้เป็นฉบับที่อ่านง่าย เข้าใจ ง่าย เพื่อความสะดวกในการศึกษาแก่ผู้อ่าน ถ้าท่านอ่านแล้วไม่เข้าใจใน จุดใด หรือต้องการอ่านเพื่อเน้นใจความสำคัญ ท่านสามารถอ่านเฉพาะ หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย และบทคัดย่อที่เน้นใจความสำคัญของเนื้อหาใน หัวข้อนั้นๆ ได้ เพื่อความสะดวกและความง่ายในการทำความเข้าใจ เมื่อศึกษาจนเข้าใจดีแล้ว พินิจพิจารณาและน้อมนำธรรมะที่ได้ มาสู่กายและใจของท่านแล้ว ธรรมะจะทำให้ท่านได้เข้าถึงความจริงมาก ขึ้นเรื่อยๆ จนคุณต้องอุทานออกมาว่า... “เราต้องกลับไปเป็น มนุษย์ ให้ได้ !!” ในที่สุด
สารบัญ ๑. ทบทวนเนื้อหาคู่มือมนุษย์ ๑-๖ ๘ ๑๑ ๒. ความเป็นมาของวิปัสสนาในรูปแบบเทคนิค ๓. บาทฐานของวิปัสสนา คือ “ศีล” และ “สมาธิ” ๑๕ ๔. ตัววิปัสสนา วิปัสสนาตัวที่ ๑ “ทิฏฐิวิสุทธิ” ความเห็นถูกต้อง ๒๓ ตามความเป็นจริง วิปัสสนาตัวที่ ๒ “กังขาวิตรณวิสุทธิ” ความรู้ ความเข้าใจ ๒๗ แจ่มแจ้งในเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งปวง ๒๙ วิปัสสนาตัวที่ ๓ “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” ความรู้แจ้งในทางปฏิบัติว่าอย่างไหนถูก-ผิด วิปัสสนาตัวที่ ๔ “ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ” ความหมดจด ๓๔ แห่งความรู้ความเห็นในการปฏิบัติ วิปัสสนาตัวที่ ๕ “ญาณทัสสนวิสุทธิ” ความหมดจด ๕๐ แห่งญาณทัสสนะ ๕. สรุปหลักแห่งการศึกษาเรื่องวิปัสสนาในรูปเทคนิค ๕๔ ๕๙ “แวะเล่าชาดก” : คู่ครองในอุดมคติ “ธรรมะสวัสดี” : ประโยชน์สูงสุด ๖๙
๑. ทบทวนเนื้อหาคู่มือมนุษย์ ๑-๖ พุทธศาสนา คือวิชา หรือวิธีปฏิบัติที่จะให้เรา รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
สาธุ
พวกเราจะหมั่นทบทวน ธรรมะและนำไปปฏิบัติ เพื่อความพ้นทุกข์ครับ
ท่านที่จะเป็นผู้พิพากษาทั้งหลาย ในวันแรกที่สุดแห่งการบรรยาย อาตมาได้บรรยายในทางที่จะให้ มองเห็ นว่า...
“พุทธศาสนา” คือ วิชาหรือวิธีปฏิบัติที่จะให้เรารู้ว่า อะไรเป็นอะไร๒ ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น
๑
บรรยายอบรมผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษา ณ ห้องบรรยายของเนติบัณฑิตยสภา ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๙๙ ขณะนั้นท่านพุทธทาสภิกขุดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอริยนันทมุน ี ๒ ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๑ : ใจความสำคัญของพุทธศาสนา (พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง
คู่มือมนุษย์ ๗ เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชาในรูปเทคนิค”
ธรรมที่ตถาคตได้ค้นพบ จักนำพาเหล่าสัตว์ทั้งหลาย ให้พ้นจากวัฏสงสาร
และได้ขยายความของคำว่าอะไรเป็นอะไร ด้วยการบรรยายครั้ง ต่ อมา คือให้รู้ว่า...
“ทุกๆ อย่างเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา๑”
แล้วได้บรรยายในครั้งต่อๆ มาว่า...
และต่อมาได้อธิบายเรื่อง...
ทั้งๆ ที่ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นนั้น คนเราก็ยังหลงเกาะเกี่ยว ยึดถือในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น อยู่นั่นเอง ทั้งนีเ้ พราะอำนาจของ อุปาทาน ๔ ประการ๒ ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจกันให้ละเอียดลออในเรื่องอุปาทานนั้น “สิกขา ๓ ประการ๓” ซึ่งมีความมุ่งหมายในการตัดอุปาทานโดยตรง
๑
ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๒ : ไตรลักษณ์ (ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๒ ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๓ : อุปาทาน ๔ (อำนาจของความยึดติด) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๓ ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๔ : ไตรสิกขา (ขั้นของการปฏิบัติศาสนา) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
และต่อมา ได้บรรยายเรื่อง...
และต่อมาก็ได้บรรยายถึง...
เบญจขันธ์๑ ๕ อย่าง ในฐานะเป็นที่เกาะ เป็นที่ยึดถือของอุปาทาน วิธีการที่จะทำให้เกิด ยถาภูตญาณทัสสนะ การรู้แจ้งตามที่เป็นจริงในเบญจขันธ์นั้น เพื่อตัดอุปาทานนั้นเสีย และเป็นวิธีทเี่ ป็นไป ตามคอมมอนเซ้นส์ หรือตามธรรมชาติ๒ เป็นส่วนใหญ่
๑
ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๕ : เบญจขันธ์ (คนเราติดอะไร) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๒ ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๖ : สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ (การทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง
พุทธศาสนาสอนให้ดูโลก อันเป็นที่จิตยึดเกาะ ด้วยอำนาจอุปาทาน
ปฏิบัติไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา พาพ้นทุกข์ พบสุขแท้จริงนะครับ
10 คู่มือมนุษย์ ๗ เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชาในรูปเทคนิค”
๒. ความเป็นมาของวิปัสสนาในรูปแบบเทคนิค วิปัสสนาในรูปแบบเทคนิค คือการเจริญวิปัสสนาตามหลักสูตร ที่พระโบราณาจารย์เขียนขึ้น
สาธุ
บัดนี้ อาตมาอยากจะอธิบายถึงวิธีที่จะทำ ญาณทัสสนะ ความ เห็นแจ้งนั้นให้เกิดขึ้นตามวิธีที่ท่านจัดไว้ในรูปของหลักสูตรหรือหลักวิชา เป็นระเบียบที่รัดกุม หรือที่พอจะเรียกได้ว่าเทคนิคของเรื่องนี้ และขอให้ ชื ่อในที่นี้ว่า...
“สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชา (ในรูปของเทคนิค)” แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในรูปพระพุทธภาษิต เพราะเป็นสิ่งที่พระโบราณาจารย์ยุคหลังๆ จัดขึ้นมาก็ตาม ก็นับว่าเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติที่มีอุปนิสัยยังอ่อน ยังมองไม่เห็นทุกข์ตามธรรมชาติมาก่อนด้วยตัวเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับคนพวกที่นิยม หรือแตกตื่นไปทำวิปัสสนากัน ทั้งๆ ที่ไม่เคยมองเห็นความจริง ของชีวิตอะไรมาก่อนเลย ซึ่งมีมากในปัจจุบันนี้ด้วยเหมือนกัน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
11
วิปัสสนาในรูปแบบเทคนิค มีไว้สำหรับผู้มีอุปนิสัยยังไม่แก่กล้า แต่อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า เรื่องที่เป็นเทคนิคชนิดนี้ จะเป็นเรื่องวิเศษไปกว่าที่จะเป็นไปตามคอมมอนเซ้นส์หรือตามธรรมชาติ ดังที่ได้บรรยายมาแล้วเมื่อวันก่อน เพราะเหตุว่า เมื่อตรวจดูในพระบาลีไตรปิฎกโดยตรง จะเห็น ว่ามีแต่วิธีที่กล่าวอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ เหมือนอย่างที่ได้บรรยาย ไปแล้วนั้นเป็นส่วนใหญ่ แต่มีอะไรบางอย่างชวนให้เห็นว่า นั่นมันเป็น เรื่องที่เป็นไปได้สำหรับบุคคลที่มีบุญบารมี หรือที่เรียกว่ามีอุปนิสัยที่ได้ สร้างมาพอสมควร หรือแก่รอบพอที่จะรู้สิ่งเหล่านั้นได้เหมือนกับ ทำ เล่นๆ อย่างนั้น ทีนี้ มีปัญหาสำหรับผู้ที่ไม่มีบารมี ไม่มีอุปนิสัย ไม่ได้อบรมมา จนแก่รอบอย่างนั้นว่าจะทำอย่างไร ? ท่านก็เลยวางวิธีว่า...
เราจะต้องเร่งรัด หรือต้องมีระเบียบปฏิบัติ ที่เป็นการเร่งรัดไปแต่ต้นทีเดียว ต้องทำให้มีระเบียบ ให้ไปตามระเบียบ ไปตามลำดับอย่างรัดกุม จึงเป็นอันว่า ระเบียบที่รัดกุมในรูปเทคนิคอย่างนี้ ก็มีไว้สำหรับคนทุกคนที่ยังไม่มีอุปนิสัยแก่กล้านั่นเอง จึงเป็นสิ่งที่เราควรจะรู้ไว้
12 คู่มือมนุษย์ ๗ เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชาในรูปเทคนิค”
วิปัสสนา หรือ วิปัสสนาธุระ มีความหมายอย่างเดียวกัน ระเบียบวิธีตั้งหน้าปฏิบัติเพื่อทำให้เกิด ญาณทัสสนะ คือ ความ เห็นแจ้ง ขึ้นมานี้ ท่านเพิ่งเรียกกันในยุคอรรถกถาโดยชื่อใหม่อีกชื่อหนึ่ง ว่า “วิปัสสนาธุระ” และจัดให้เป็นคู่กันกับ “คันถธุระ” ซึ่งเป็นเรื่อง การเรียนตำราคัมภีร์โดยตรง ส่วน วิปัสสนาธุระ นั้น คงให้เป็นเรื่อง การเรียนจากภายในไปตามเดิม คือการอบรมจิตโดยเฉพาะ เป็นการ ศึกษาสิ่งต่างๆ จากภายใน ไม่เกี่ยวกับตำรา จนเกิดความเห็นแจ้งขึ้นมา ที่เรียกว่า วิปัสสนา พึงเข้าใจว่า โดยเหตุที่คำว่า “คันถธุระ” และ “วิปัสสนาธุระ” ๒ คำนี้ ไม่ได้มีมาในบาลี เราจึงหาคำ ๒ คำนี้ไม่พบในพระไตรปิฎก จะมีปรากฏก็อย่างในหนังสือชั้นหลังๆ เช่น อรรถกถาธรรมบท เป็นต้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เราก็อาจใช้เป็นหลักเกณฑ์ได้ว่า...
วิปัสสนาธุระ นั้นเป็นธุระ หรือ เป็นการงานของพุทธบริษัท ผู้ตั้งอกตั้งใจจะทำการดับทุกข์ ด้วยการทำความเพียรในทางเพ่งพิจารณาโดยตรง นี่เรียกว่า “วิปัสสนาธุระ”
เราไม่จำเป็นจะต้องตั้งคำใหม่ขึ้นมาอีก เพราะฉะนั้นจึงเป็นอันว่า เรากำลังจะพูดกันถึงสิ่งที่เขาเรียกกันว่า วิปัสสนาธุระ หรือระเบียบ แห่งการทำวิปัสสนา ที่เรียกกันในยุคอรรกถานั่นเอง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
13
วิปัสสนาธุระ หมายรวมถึงการรักษาศีล ทำสมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา คำว่า “วิปัสสนา” นี้ มีทางฟั่นเฝืออยู่บางอย่าง คือในบางกรณี เกิดไปแยกการทำทางจิตนี้เป็น ๒ ประเภทโดยเด็ดขาด คือ ทำเพื่อ ให้เกิด “สมาธิ” ประเภทหนึ่ง ทำให้เกิด “ปัญญา” ประเภทหนึ่ง เหมือนอย่างที่ได้เคยอธิบายมาแล้ว และเกิดเรียกชื่ออย่างอื่นขึ้นอีกคู่หนึ่ง คือ เรียกการทำ สมาธิ นั้นว่า “สมถภาวนา” และไปเรียกการทำทาง ปัญญา ว่า “วิปัสสนาภาวนา” เลยทำให้คำว่า วิปัสสนา มีความหมาย แคบเข้ามา เหลือแต่เพียงเรื่องของปัญญา แต่ว่า...
โดยที่แท้แล้ว คำว่า “วิปัสสนาธุระ” ต้องกินความรวบหมด ทั้ง สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา คือหมายถึงทั้ง สมาธิ และทั้ง ปัญญา นั่นเอง และยิ่งไปกว่านั้น ยังได้รวบเอา ศีล ซึ่งยังไม่ใช่ตัวภาวนาอะไรเลย เข้าไปอีกด้วย ในฐานะเป็นบริวารหรือบาทฐานของสมาธิ
สมถภาวนา ปฏิบัติเพื่อความสงบ วิปัสสนาภาวนา ปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา รู้แจ้งตามความเป็นจริง นะครับ
14
ผู้ปฏิบัติต้องตั้งใจรักษาศีล เพื่อ เจริญสมถะและวิปัสสนาด้วยนะคะ
๓. บาทฐานของวิปัสสนา คือ “ศีล” และ “สมาธิ”
ศีล และ สมาธิ เป็นที่ตั้งที่อาศัย ของวิปัสสนา
เพื่อจะให้เข้าใจการปฏิบัติวิปัสสนานี้ได้ดี พระอาจารย์แต่กาล ก่อน ท่านนิยมตั้งให้เป็นหัวข้อ เป็นข้อๆ มาทีเดียว หัวข้อแรกที่สุดก็ว่า อะไรเป็นบาทฐานที่ตั้งที่อาศัยของวิปัสสนา ? และถัดไปก็คือ... อะไรเป็นลักษณะเครื่องสังเกตว่าเป็นตัววิปัสสนา ? อะไรจะเป็นกิจ คือตัวการงาน การกระทำที่เรียกว่าวิปัสสนา ? และ... อะไรเป็นผลสุดท้ายของวิปัสสนา ? เมื่อตั้งปัญหาว่าอะไรเป็นที่ตั้งที่อาศัยของวิปัสสนา ก็มีคำตอบ ว่า
“ศีล” กับ “สมาธิ” เป็นที่ตั้งที่อาศัยของวิปัสสนา
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
15
วิปัสสนาจะเกิดมีได้ ต้องอาศัยศีลและสมาธิเป็นฐาน เพราะว่า วิปัสสนา นั้นหมายถึง การรู้แจ้งเห็นจริง การรู้แจ้งเห็นจริงจะเกิดขึ้นมาได้ ก็ในเมื่อบุคคลมีจิตใจที่ปีติปราโมทย์ คือ ไม่มีอะไรเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ข้อนี้ ศีล ช่วยได้ถึงที่สุด เมื่อไม่ขาดศีล มีศีลบริสุทธิ์ ก็มีปีติปราโมทย์ ฉะนั้น จึงต้องมีศีล
เมื่อตั้งใจรักษาศีล จิตก็ปีติ ปราโมทย์ เกิดสมาธิ สามารถ เจริญวิปัสสนาได้
ท่านเปรียบว่าเหมือนอย่างคนจะตัดต้นไม้ หรือตัดป่าลงสักป่า หนึ่ง เขาจะต้องมีที่ยืนบนแผ่นดิน ถ้าเขาไม่มีแผ่นดินสำหรับยืน เขาจะ ทำงานได้อย่างไร ฉะนั้น แผ่นดินในที่นี้ก็เปรียบเหมือนกับศีล หรือศีลเปรียบเหมือน กับแผ่นดินในที่นี้ สำหรับคนที่จะตัดป่าคือกิเลส จะได้ยืน ถ้าปราศจาก ศีลเสียแล้ว ก็เหมือนกับไร้แผ่นดินที่จะยืนทำงาน ฉะนั้นจึงต้องมีแผ่นดิน สำหรับจะยืน คือศีล ส่วนกำลังหรือเรี่ยวแรงสำหรับจะตัดนั้น ท่านเปรียบเหมือนกับ สมาธิ คือเขาจะต้องมีสมาธิเป็นกำลังงาน ส่วนตัว ปัญญา หรือญาณ ซึ่งเป็นตัววิปัสสนา ก็คือของมีคมสำหรับตัด หรือตัวการตัด เพราะว่า ความเห็นแจ้ง ย่อมตัดความมืดบอดคืออวิชชา 16 คู่มือมนุษย์ ๗ เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชาในรูปเทคนิค”
“ศีล” เป็นส่วนหนึ่งของวิปัสสนา ถูกยกขึ้นเป็นอันดับแรกในวิสุทธิ ๗ โดยเหตุนี้ ศีลจึงเป็นของจำเป็นจนถึงกับเป็นสิ่งแรกที่ท่านเอ่ยถึง ในเรื่องของวิปัสสนาธุระ ว่าเป็นที่ตั้งที่อาศัยของวิปัสสนา ซึ่งถ้าเปรียบ ก็เหมือนกับที่ยืนทำงาน สำหรับจะถางป่าหรือตัดป่ารกให้เป็นที่ราบเตียน ดังกล่าวแล้ว โดยเหตุนี้ ศีลจึงถูกลากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิปัสสนาธุระ ด้วย โดยไม่มีทางจะแยกออกจากกันได้ เหมือนดังที่เข้าใจกันอยู่โดยมาก คำกล่าวเช่นนี้ มีหลักที่อ้างอิงในพระบาลีโดยตรง เช่น ในบาลี มัชฌิมนิกาย ได้มีการกล่าวถึงความบริสุทธิ์สะอาดของการปฏิบัติเป็น ขั้นๆ เป็นอย่างๆ ไปตามลำดับ จนครบ ๗ อย่าง ก็ถึงที่สุด คือ...
การบรรลุมรรคผล ในขั้นแห่งความบริสุทธิ์ ๗ อย่างนั้น ท่านก็ได้ยกเอาศีลเป็นข้อแรก เรียกว่า “สีลวิสุทธิ” คือ ความหมดจดแห่งศีล
ต้องตั้งใจปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อความพ้นทุกข์ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โอ ! พลังแห่งไตรสิกขา สาธุ...
17
สีลวิสุทธิ๑ ส่งให้เกิด “จิตตวิสุทธิ” คือ ความหมดจดดีแห่งจิต ความหมดจดแห่งจิต ก็ส่งให้เกิด “ทิฏฐิวิสุทธิ” คือ ความหมดจดแห่งทิฏฐิหรือความเห็น ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ก็ส่งให้เกิด “กังขาวิตรณวิสุทธิ” คือ ความหมดจดแห่งความรู้ ที่จะข้ามความสงสัยเสียได้ ทีนี้ ความหมดจดแห่งความรู้เป็นเครื่องข้ามความสงสัยนี้ ก็ส่งให้เกิด “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” คือ ความหมดจดแห่งความเห็นแจ้งชัด ว่าอะไรเป็นหนทาง อะไรไม่ใช่หนทาง ความหมดจดในเรื่องความรู้ ว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทาง ก็ส่งให้เกิด “ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ” คือ ความหมดจด แห่งความรู้ความเห็นในตัวการปฏิบัตินั้น ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี้ ก็ส่งให้เกิด “ญาณทัสสนวิสุทธิ” อันเป็นขั้นสุดท้าย คืออริยมรรค ซึ่งเป็นคู่กับอริยผล เมื่อบรรลุอริยมรรคก็ไม่ต้องกล่าวถึงอริยผล เพราะเป็นสิ่งที่ เกิดเองอย่างหลีกไม่พ้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวสิ้นสุดลงเพียงแค่อริยมรรค ในฐานะขั้นสุดท้ายของการปฏิบัติ ๑
วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์ หรือความหมดจดจากกิเลส ที่เป็นไปทางกาย ทางจิต และทางปัญญา หมดจดจากกิเลสทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่าง ละเอียด
18 คู่มือมนุษย์ ๗ เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชาในรูปเทคนิค”
“สีลวิสุทธิ” คือ จุดเริ่มต้นของการเดินทางสู่มรรคผล ให้ตั้งใจรักษาศีล และเจริญวิปัสสนา นะโยม
สาธุ พวกเราจะตั้งใจรักษาศีล ๕ เจริญสมาธิ เจริญปัญญาครับ
สาธุ
ท่านเปรียบอุปมาเรื่องการปฏิบัติตามลำดับนี้ว่า เหมือนกับสมัย โบราณ การเดินทางของพระราชา เขาใช้รถม้าอย่างดีอย่างเร็ว แต่รถม้า ไม่เหมือนรถยนต์ มันจะวิ่งมากๆ เหมือนรถยนต์นั้นไม่ได้ ฉะนั้นจึงต้อง มีการวิ่งรับกันเป็นช่วงๆ เป็นตอนๆ เขาจึงเตรียมม้ากับรถชุดหนึ่งสำหรับ วิ่งตรงช่วงที่หนึ่ง รถกับม้าอีกชุดหนึ่งไว้วิ่งตรงช่วงที่สอง อีกชุดหนึ่งตรง ช่วงที่สาม ช่วงที่สี่เป็นลำดับไป จนถึงช่วงที่ ๗ ถ้าพระราชามีธุระด่วน อะไรเกิดขึ้น คนอยู่ช่วงที่หนึ่งก็ขับรถวิ่ง พอสุดช่วงที่หนึ่งแล้ว ส่งมอบให้คนช่วงที่ ๒ คนช่วงที่ ๒ ก็ขับรถวิ่งไปสุด ช่วงที่ ๒ แล้วก็ส่งมอบให้คนช่วงที่ ๓ ที่ ๔ เรื่อยไป พระเจ้าแผ่นดิน
ก็อาจเดินทางวันหนึ่งตั้งหลายร้อยกิโลเมตรได้เหมือนอย่างที่เรามีรถยนต์ ใช้ในสมัยนี้ และถึงที่สุดในวันเดียวได้เหมือนกัน เพราะการส่งกันเป็น ช่วงๆ อุปมานี้ท่านใช้เปรียบเทียบกับวิสุทธิ หรือความหมดจด ๗ ช่วง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ช่วงแรกที่สุด ได้แก่ “สีลวิสุทธิ” ความหมดจดแห่งศีล ในฐานะทีเ่ ป็นของจำเป็นเบื้องต้นที่จะขาดไม่ได้ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
19
รักษากาย วาจา ไม่ ให้เกิดโทษ จึงชื่อว่ามีศีลบริบูรณ์ เพราะเหตุนี้เอง ศีลจึงถูกนับเนื่องเข้าในเครือของวิปัสสนาด้วย อย่างที่จะแยกกันไม่ได้ ในฐานะที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้น เปรียบเหมือน พื้นแผ่นดินที่จะต้องใช้เป็นที่ยืนดังกล่าวแล้ว สำหรั บ คำว่ า ศี ล นี้ ได้ อ ธิ บ ายมาแล้ ว เป็ น ส่ ว นมาก ในการ บรรยายครั้งก่อนๆ ซึ่งสรุปความได้ว่าหมายถึง ปรกติทางกาย ทางวาจา
ขอให้ท่านทั้งหลายจำความหมายของคำว่า ศีล นี้ไว้อย่างสั้นๆ ว่า คือ ความปรกติ ปราศจากโทษในทางกาย ทางวาจา ส่วนการที่จะแจกศีลเป็น ๕ ข้อ ๑๐ ข้อ หรือกี่ข้อนั้น ไม่เป็นความสำคัญอะไรเลย ถ้ายังมีความไม่ปรกติทางกาย ทางวาจาอยู่แล้ว ยังเรียกว่าไม่มีศีลที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามความหมายของศีล ต่อเมื่อมีความปรกติ คือ ไม่เกิดโทษรบกวนขึ้น ทางกาย ทางวาจา จึงจะถือว่ามีศีล
“ศีล” แปลว่า ความปรกติ คือ การควบคุมรักษากาย วาจา ของตนไว้ให้
เป็นปรกติ เพื่อความสุข ความสงบ เป็นการป้องกันและควบคุมกาย วาจา ของตน จากอารมณ์โทสะ (ความโกรธ) ไม่ให้กระทำอกุศลกรรมต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะทำด้วย ตนเอง สั่งให้ผู้อื่นทำ หรือมีความยินดีเมื่อผู้อื่นกระทำผิดศีล ศีล ๕ ข้อ มีดังนี้ ๑. ไม่ฆ่าสัตว์ ทารุณกรรมสัตว์ รวมถึงสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ๒. ไม่ลักทรัพย์ของผู้อื่น ๓. ไม่ผิดลูกผิดเมียผู้อื่น ๔. ไม่พูดโกหก หยาบคาย เสียดสี นินทา รวมถึงวาจาที่เพ้อเจ้อ เหลวไหล ไม่เป็นประโยชน์ ๕. ไม่ดื่มสุราหรือเสพสิ่งมึนเมาอันทำให้ขาดสติ เมื่อตั้งใจไม่ประพฤติผิดศีลทั้ง ๕ ข้อแล้ว จิตใจ จะมีความสุข ความสงบ ไม่เศร้าหมอง ใจจะตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย
20 คู่มือมนุษย์ ๗ เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชาในรูปเทคนิค”
รักษากาย วาจา ให้เป็นปรกติเพียงอย่างเดียว เท่ากับรักษาศีลได้ทั้งพระไตรปิฎก ฉะนั้น เราอาจตั้งศีลของเราเองขึ้นได้โดยถูกต้อง ไม่มีผิดพลาด ถ้าหากว่าเรายึดถือหลักอันนี้ ตัวอย่างเช่น เราไปฆ่าเขา ไปขโมยเขา ไปประพฤติผิดในของรักของเขา ไปโกหกเขา มันก็เกิดความไม่ปรกติขึ้น ทางกาย ทางวาจา ทำให้เกิดความโกลาหล วุ่นวาย เศร้าหมอง หรือ แม้ที่สุดเราประพฤติผิดเรื่องเล็กน้อย ทางมรรยาท ทางสังคม หรือแม้แก่ ตัวเราเองจนทำให้เกิดความไม่ปรกติสุขเกี่ยวกับทางกายหรือทางวาจาขึ้น นี้ก็เรียกว่าไม่มีศีล ฉะนั้น...
เราอาจจะถือศีลเพียงตัวเดียว แล้วได้ศีลทั้งพระไตรปิฎก คือทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ก็มีทางที่จะทำได้ โดยการรักษาความปรกติ ไม่มีโทษเกิดขึ้นทางกาย วาจา นั่นเอง ขอให้จำไว้ว่า ศีลนั้นมีความหมายอย่างนี้ เพราะคำว่า ศีล เอง ก็แปลว่า ปรกติ ขอให้จำไว้อย่างแม่นยำ ขโมยของคนอื่น ต้องโดนแบบนี้ !
สมน้ำหน้า ! ไอ้เลว ! ไอ้ขี้ขโมย !
ทำกรรมชั่ว ผิดศีล ต้องรับผล ที่ตัวเองกระทำ
ถ้ารักษาศีล แล้วศีล จะรักษาเรานะครับ
21
เมื่อมีศีลบริสุทธิ์ ย่อมส่งผลให้จิตสงบ ควรแก่การงาน เมื่อมีความปรกติ คือความสงบ หรือเหมาะสมในทางกาย วาจา ก็ย่อมจะเกิดความปรกติ หรือความเหมาะสมในทางจิต ที่เรียกว่า “จิตตวิสุทธิ” ความหมดจดทางจิต ตามมา
ข้อนี้ได้อธิบายแล้วโดยละเอียดในเรื่อง สิกขา ๓ ที่ว่าถึง สมาธิ แล้ว ขอสรุปใจความสั้นๆ ของคำว่า สมาธิ นี้ ว่าได้แก่ ความที่มีจิตอยู่ใน สภาพที ่เหมาะสม ที่จะปฏิบัติงานทางจิต คือเอาบทที่แสดงลักษณะของสมาธิว่า กมฺมนิโย ส่วนคำว่า สมาหิโต ปริสุทฺโธ ปริโยทาโต และบทอื่นๆ นั้น ก็ยังไม่มีความสำคัญ เท่ากับบทว่า กมฺมนิโย คือ จิตมีสภาพเหมาะสมสำหรับจะปฏิบัติงาน ทางจิ ต นี่แหละ คือความหมายอันถูกต้องของคำว่า “สมาธิ” ไม่ได้หมายความว่าตัวแข็งทื่อ ไม่มีความรู้สึกเป็นก้อนหิน ก้อน ดิน หรือว่าเข้าฌาน ซึมเซาไปในความสุขของฌานนั้นก็ไม่ใช่ นั่นไม่อยู่ ในสภาพที่เหมาะสมที่จะปฏิบัติงานทางจิต แม้ที่สุดแต่เรามีความโปร่ง สบาย จิตใจสดชื่น เป็นที่พอใจของตัวอยู่ ก็เรียกว่า กำลังมีคุณสมบัติ ของความเป็ นสมาธิอยู่ และอาจเริ่มทำงานทางจิตหรือวิปัสสนาธุระได้ ทีนี้ ต่อไปจากนี้อีก ๕ อย่าง หรือ ๕ สุทธิ คือ ทิฏฐิวิสุทธิ, กังขาวิตรณวิสุทธิ, มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ, ปฏิปทาญาณทัสสน- วิสุทธิ, และญาณทัสสนวิสุทธิ นั้นเป็นตัววิปัสสนาแท้ 22 คู่มือมนุษย์ ๗ เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชาในรูปเทคนิค”
วิปัสสนา คือ การรู้แจ้ง ตามความเป็นจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๔. ตัววิปัสสนา วิปัสสนาตัวที่ ๑ “ทิฏฐิวิสุทธิ” ความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง
สาธุ
ขอบคุณสำหรับ ดวงตาเห็นธรรมค่ะ
ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ใน ๗ อย่างนั้น ๒ อย่างแรก คือ สีลวิสุทธิ กับ จิตตวิสุทธิ จัดเป็นปากทางของวิปัสสนา อีก ๕ อย่างข้างปลาย นับตั้งแต่ ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นต้นไปนั้น เป็นตัววิปัสสนา เลยได้ลำดับใหม่ ว่า...
ตัววิปัสสนาที่ ๑ นั้น คือ “ทิฏฐิวิสุทธิ” หมายถึง ความมีทิฏฐิบริสุทธิ์หมดจด
คำว่า ทิฏฐิ ในที่นี้ หมายถึง ความเห็นอย่างที่คนเราใช้เป็นเครื่อง ยึดมั่นถือมั่นอะไรบางสิ่งบางอย่างนั่นเอง เป็นของประจำตัวอยู่ด้วยกัน ทุกคน คือความคิดเห็นที่ถืออยู่เป็นหลักประจำใจตลอดเวลา สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
23
ทุกคนมีความเห็นผิด ทั้งทีม่ ีอยู่เองและถูกสร้างขึ้น จิ้งจกทัก ห้ามออกจากบ้าน นะลูก
พ่อให้ผมสักยันต์ และให้ของขลังมาแล้ว ผมไม่กลัวหรอก
ตัววิปัสสนาที่ ๑ เรียกว่า ความหมดจดของทิฏฐิ หมายถึง ความหมดจดจากความเห็นผิด ที่ ๑) เราเห็นผิดกันอยู่ตามธรรมชาติธรรมดามาแต่เดิม หรือ ๒) ด้วยการถูกแวดล้อมเป็นพิเศษก็ตาม นับตั้งแต่ความเชื่องมงายไร้เหตุผลในเรื่องของไสยศาสตร์ ขึ้นมาถึงเรื่องความเข้าใจผิดในธรรมชาติ
เช่น ร่างกาย จิตใจ วิญญาณ เหล่านี้ก็เข้าใจผิดเห็นเป็นของเที่ยง ของสุข หรือเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม หรือเป็นอะไรล้วนแต่ขลังๆ ศักดิ์สิทธิ์ไปทั้งนั้น ไม่สามารถ
จะเห็นว่ามันเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือส่วนที่เป็นร่างกาย เป็นวิญญาณธาตุ คือที่เป็นส่วนจิต และเป็นอากาศธาตุ คือส่วนที่เป็นพื้นฐานทั่วๆ ไป หรือ ไม่เห็นว่าทั้งหมดนั้นเป็นเพียงนามและรูป หรือกายกับใจ แต่ไปเห็น ว่าเป็นตัวเป็นตน มีเจตภูตหรือวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์เข้าๆ ออกๆ อยู่กับ ร่างกาย มองไม่เห็นว่าเป็นนามรูป มองไม่เห็นว่าเป็นขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เห็นว่าเป็นเพียงอายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านี้เป็นต้น 24 คู่มือมนุษย์ ๗ เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชาในรูปเทคนิค”
รู้เห็นสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผล ไม่หลงเชื่ออย่างงมงาย จึงชื่อว่ามี “ทิฏฐิวิสุทธิ” ความรู้สึกจึงน้อมไปในทางยึดถือความขลัง ยึดถือความศักดิ์สิทธิ์ จนทำให้เกิดความหวาดกลัว แล้วเกิดพิธีรีตองต่างๆ เพื่อจะแก้ความหวาดกลัว จนกระทั่งติดมั่นแน่นแฟ้นอยู่ในพิธีรีตองต่างๆ ตามความเชื่อ ความคิดเห็นอันผิดเหล่านั้น นี่เรียกว่า ความเห็นยังไม่สะอาดหมดจด จะต้องละความเห็นอย่างผิดๆ ทำนองนั้น ให้หมดจดเสียก่อน จึงจะเป็นวิปัสสนา ตัวที่ ๑ ขึ้นมาได้ และเรียกว่า “ทิฏฐิวิสุทธิ”
ทิฏฐิวิสุทธิ คือ เห็นคน คนหนึ่งเป็นเพียงกายกับใจ ถ้าตั้งใจศึกษาธรรมะและปฏิบัติ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแล้ว จะถอดถอนความเห็นผิด ได้นะครับ
ถ้าจะกล่าวให้ชัดตามโวหารสำหรับพวกเราสมัยนี้ใช้กันอยู่ ก็น่าจะใช้คำว่า เป็นผู้มีความรู้ที่เป็นวิทยาการ และเป็นผู้อยู่ในอำนาจของเหตุผล มีความรู้ความเข้าใจ ในปรากฏการณ์ของธรรมชาติทั้งหลายอย่างถูกต้อง ก็พอจะเรียกว่าเป็นผู้มี ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความหมดจดสะอาดดีของความเห็น
ขอให้ทำความเข้าใจในลักษณะที่สิ่งนี้จะมาเกี่ยวข้องกับตัวเรา ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และให้ใช้เป็นประโยชน์ได้จริงๆ จึงจะ เป็นผู้ที่นำตนเข้าไปในร่องรอยของสิ่งที่เรียกว่า “วิปัสสนา” คือความรู้ ความเห็นอย่างแจ่มแจ้ง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
25
เมื่อมีทิฏฐิวิสุทธิ ก็เป็นผลให้เกิด “กังขาวิตรณวิสุทธิ” ต่อไป
รวมความให้สั้นๆ ที่สุด ทิฏฐิวิสุทธิ นี้ ท่านจำกัดความไว้ว่า เป็นความเห็นที่รู้จักแยกแยะ คำว่าตัว คำว่าสัตว์ บุคคล มึง กู เรา เขา เหล่านี้ ให้กระจายออกไปในลักษณะที่เป็นเพียงส่วนๆ
เช่น เป็นขันธ์ห้าหรือเป็นรูปนาม คือเป็นกายกับใจเป็นอย่างน้อย อย่าให้หลงผิดทั้งตนๆ คือหลงสมมติ ที่เป็นสัตว์ เป็นบุคคลทั้งกลุ่ม หรืออะไรทำนองนั้น มิฉะนั้น จะเลยเถิดเห็นฟ้าเป็นเทวดา เห็นแม่น้ำลำธารเป็นเทวดา เห็นต้นไม้เป็นเทวดา หรือมีเทวดา อย่างนี้เป็นต้นสืบไปอีก เราต้องรู้จัก น้ำก็เป็นน้ำ ฟ้าก็เป็นฟ้า และรู้ว่ามันประกอบด้วย ธาตุอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไรบ้าง ที่เคยเข้าใจว่าน้ำเป็นเทวดา ฟ้าเป็น เทวดาก็จะหายไป นี่นับว่าเป็นเครื่องเทียบเคียงให้เข้าใจคำว่า ทิฏฐิวิสุทธิ ถ้าพูดถึง คน ก็อย่าให้หลงเป็นเรื่องของเจตภูต วิญญาณ หรือ อะไรทำนองนั้น แต่ให้เข้าใจว่าเป็นส่วนประกอบของธรรมชาติ หรือ
ของธาตุต่างๆ ตามธรรมชาติมาปรุงกันเข้าก็จะเริ่มมีความเห็นแจ้งหรือ วิปัสสนาอันดับแรกที่เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธินี้จะส่งต่อไปให้เกิด “กังขาวิตรณวิสุทธิ” ศึกษาธรรมะที่พระพุทธเจ้า ตรัสสอนแล้ว อย่าลืม น้อมนำเข้ามาพิจารณาในกาย ในใจของเรานะคะ
26 คู่มือมนุษย์ ๗ เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชาในรูปเทคนิค”
วิปัสสนาตัวที่ ๒ “กังขาวิตรณวิสุทธิ” ความรู้ ความเข้าใจแจ่มแจ้งในเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งปวง เมื่อเราพิจารณาต่อไปอย่างละเอียดถึง “กังขาวิตรณวิสุทธิ” ก็คือ พิจารณาลงไปถึงเหตุปัจจัยของส่วนหนึ่งๆ ที่เราได้แยกออกดูแต่ทีแรกนั้น แล้วอีกชั้นหนึ่ง ทิฏฐิวิสุทธิ เห็นคนคนหนึ่งนี้เป็นเพียงกายกับใจ ทีนี้ กังขาวิตรณวิสุทธินี้มีหน้าที่จะแยกดูว่ากายกับใจแต่ละอย่างๆ นี่ มีเหตุ มีปัจจัยสร้างปรุงกันมาอย่างไร ฉะนั้นจึงมองเห็นลึกลงไปอีกว่า อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม อาหาร เหล่านี้เป็นต้น มันสร้างสรรค์ปรุงแต่งกันมาอย่างประณีตสุขุม จนกระทั่งปรากฏสิ่งที่เราเรียกว่า กายและใจ
กังขาวิตรณวิสุทธิ ที่เรียกว่าความหมดจดแห่งความรู้ ที่จะให้ข้ามสงสัยเสียได้นี้ จึงหมายถึง การเห็นแจ้ง ในพวกเหตุพวกปัจจัยของสิ่งทั้งปวง นั่นเอง
กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ การเห็นแจ้งในเหตุปัจจัย ของสิ่งทั้งปวง โดยเฉพาะ กายและใจของเรา
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
27
ความรู้แจ้งในเหตุปัจจัย ทำให้หมดความสงสัยและเพิกถอนตัวตนขั้นหยาบได้ ความสงสัยว่า เรามีหรือไม่มี ตัวของเรามีหรือไม่มี ตัวเราตาย แล้วเกิดหรือไม่เกิด ตัวเราเคยเกิดมาแล้วอย่างไร ตัวเราจะเกิดอย่างไร ต่อไปอีก ดังนี้เป็นต้น เหล่านี้ท่านเรียกว่า ความสงสัย ในระเบียบของวิปัสสนานั้น ท่านจำแนกความสงสัยเหล่านี้ ออกไปราว ๒๐–๓๐ อย่าง แต่เมื่อสรุปแล้ว ก็คือความสงสัยเกี่ยวกับ ตั ว เรามี อ ยู่ ห รื อ ไม่ ตั ว เราได้ มี แ ล้ ว หรื อ ไม่ ตั ว เราจะมี ต่ อ ไปหรื อ ไม่ ในลักษณะอย่างไร เหล่านี้เอง
การที่จะข้ามความสงสัยเสียได้ ก็ต้องโดยเหตุที่ได้ทราบว่า มันไม่มีตัวเรา มีแต่ธาตุ ขันธ์ อายตนะ และเหตุปัจจัยต่างๆ เช่น อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม อาหาร เป็นต้น ซึ่งปรุงแต่งขันธ์อายตนะเหล่านั้น มันไม่มีตัวเรา แล้วเริ่มหมดความเข้าใจเขลาๆ ว่า เรามีอยู่ เรามีมาแล้ว เราจะมีต่อไปนั้นเสียที ความสงสัยชนิดนี้ทำนองนี้ระงับไปสิ้นเชิงแล้ว ก็เรียกว่าเป็น ตัววิปัสสนาที่ ๒ ได้ แต่มิได้หมายความว่าเป็นการหมดกิเลสที่เป็นเหตุ ให้ถือว่าตัวเราโดยสิ้นเชิง เพราะส่วนที่ละเอียดกว่านั้นยังมีอยู่ ความสงสัยที่รบกวนใจทำนองนั้น ต้องหมดไปตั้งแต่ขั้นนี้ ความ สงสัยเหล่านี้ได้ระงับไป เพราะว่ามีความรู้เรื่องการปรุงแต่งของเหตุปัจจัย ต่างๆ จนเพิกถอน “ตัวเรา” ขั้นหยาบๆ นี้เสียได้
28 คู่มือมนุษย์ ๗ เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามหลักวิชาในรูปเทคนิค”
วิปัสสนาตัวที่ ๓ “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” ความรู้แจ้งในทางปฏิบัติว่าอย่างไหนถูก-ผิด มัคคามัคคญาณ- ทัสสนวิสุทธิ คือ ความรู้ ความเห็นว่าอะไรที่เป็น ทางปฏิบัติที่ถูกต้อง จะได้ไม่ปฏิบัติผิดๆ
เมื่อมาถึงขั้นข้ามความสงสัยเช่นนี้เสียได้แล้ว ก็สามารถทำให้ เกิ ด...
“มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” คือ ความหมดจดสะอาดแห่งความรู้ความเห็น ว่าอะไรเป็นทางทีจ่ ะก้าวต่อไปอย่างถูกต้อง อะไรเป็นทางที่จะไม่ก้าวต่อไปได้ คือเป็นทางผิด
อุปสรรคที่ทำให้ก้าวไปไม่ได้ในขั้นนี้ก็มีอยู่หลายอย่างที่เห็นชัดว่า มันเกิดในขณะที่ทำวิปัสสนานั้นก็คือ สิ่งต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นแล้วในขณะที่ จิตเป็นสมาธิที่กล่าวแล้วข้างต้น สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
29