Dhamma Guide : D.G. ณัฐพันธ ปนทวีเกียรติ บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุสัตย ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา รูปเลม/จัดอารต : วันดี ตามเที่ยงตรง
ระดมธรรม นำสันติสุข “ขอให้คิดดูเถิด โลกปัจจุบันนี้กำลังเป็นอย่างไร ถ้าเห็นว่าโลกกำลังเปลี่ยนไปสู่ความวินาศแล้ว เราก็จะต้องนึกกันถึงการแก้ไข ถ้ามันเดินไปผิด เราก็ต้องถอยหลังมาหาความถูก ยิ่งเดินไปมันก็ยิ่งผิดมากไป หรือจะออกข้างๆ คูๆ มันก็คงจะไม่ถูกได้ ถ้าเมื่อ สมัยโบราณแต่กาลก่อนมันถูก คือมันไม่มีเหตุการณ์เลวทรามอย่างนี้ ก็จำเป็น อยู ่เอง ที่จะต้องถอยหลังเข้าคลองไปหาความถูกนั้น เดี๋ยวนี้มันมีความเปลี่ยนแปลง ในการมีธรรมะของแต่ละคน ทีนี้เรา ก็จะระดมธรรมนี้ ก็เพื่อโลกปัจจุบันนี้ อย่าได้เลวต่อไปอีก เพราะมันเลวมาก พอแล้ว ย้อนกลับมาหาความปลอดภัย เพื่อจะได้เป็นโลกที่อยู่ในรูปแบบที่ สมบูรณ์ ที่พึงปรารถนา เรียกว่าเป็นโลกที่มันมีความสะอาด มีความสว่าง
มีความสงบ อยู่ในจิตใจของมนุษย์ตามสมควร ถ้าคนแต่ละคนมีความสะอาด สว่าง สงบ สามอย่างนี้อยู่ในจิตใจแล้ว โลกนี้ก็เป็นโลกแห่งความสะอาด สว่าง สงบ โดยไม่ต้องสงสัย เราอยากจะมีโลกในรูปแบบที่น่าชื่นใจ น่าปรารถนา เราจึงต้องมีการแก้ไข”
พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย ชาตกาล ๒๗ พ.ค. ๒๔๔๙ มรณกาล ๘ ก.ค. ๒๕๓๖
คำนำสำนักพิมพ์ ธรรมบรรยายชุ ด “คู่ มื อ มนุ ษ ย์ ” ของพระเดชพระคุ ณ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ) หรือหลวงปู่พุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งใน ผลงานซึ่งถือว่าเป็นเพชรน้ำเอกที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมชมชอบ จากชาวพุทธอย่างกว้างขวางจนมีการนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ ในหลาย ประเทศ ทั้งนี้ก็เพราะหลวงปู่พุทธทาสภิกขุได้บรรยายเรื่องสำคัญที่สุด
ที่มนุษย์ทุกคนควรจะต้องรู้ และควรจะต้องปฏิบัติตามให้จงได้ เพื่อ ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง ธรรมบรรยายชุดนี้ หลวงปู่พุทธทาสได้บรรยายอบรมผู้ที่จะรับ การโปรดเกล้าฯ เป็นตุลาการ รุ่นปี ๒๔๙๙ ณ ห้องบรรยายของเนติบัณฑิตยสภา ระหว่างวันที่ ๒-๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙ รวมทั้งหมด ๑๐ ครั้ง ๑๐ หัวเรื่อง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ : ใจความสำคัญของพุทธศาสนา (พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร) (๒ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๒ : ไตรลักษณ์ (ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง) (๔ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๓ : อุปาทาน ๔ (อำนาจของความยึดติด) (๗ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๔ : ไตรสิกขา (ขั้นของการปฏิบัติศาสนา) (๘ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๕ : เบญจขันธ์ (คนเราติดอะไร) (๙ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๖ : สมาธิและวิปัสสนาตามธรรมชาติ (การทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ) (๑๑ พ.ค. ๒๔๙๙)
ครั้งที่ ๗ : สมาธิและวิปัสสนาตามหลักวิชาในรูปเทคนิค (การทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชา) (๑๔ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๘ : อริยบุคคลกับการละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก) (๑๗ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๙ : พุทธศาสนากับคนทั่วไป (พุทธศาสนาสอนศิลปะการเป็นคน) (๑๗ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๑๐ : ตุลาการตามอุดมคติแห่งพระพุทธศาสนา (ภาคสรุปความ) (๒๒ พ.ค. ๒๔๙๙) ด้วยทาง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ได้เล็งเห็น คุณค่าและประโยชน์สุขที่ผู้อ่านจะพึงได้รับ จึงได้นำธรรมบรรยายชุด “คู่มือมนุษย์” ทั้ง ๑๐ หัวเรื่องมาจัดพิมพ์ใหม่ โดยจัดแยกเป็น ๑๐ เล่ม ตามหัวข้อ เน้นให้เป็นฉบับที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย เพื่อความสะดวกในการ ศึกษาแก่ผู้อ่าน โดยได้เพิ่มภาพประกอบพร้อมคำการ์ตูน ชูคำเด่น เน้น ข้อความ ตั้งหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย แบ่งวรรคตอน ซอยย่อหน้าใหม่ ใส่สีสัน เสริมธรรมให้ผู้อ่านอ่านได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เมื่ออ่านไปทีละเล่ม ทีละหัวเรื่องแล้ว จะทำให้เราเข้าใจหลักธรรมคำสั่งสอนและหลักปฏิบัติ ที่ถูกต้องทางพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น หนังสือ “คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง สมาธิ และวิปัสสนาตามธรรมชาติ (การทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ)” เล่มนี้ จัดเป็นธรรมบรรยายลำดับที่ ๖ มีเนื้อหาสาระสำคัญที่มุ่งเน้นให้ผู้อ่าน ได้เห็นชัดว่า สมาธิตามธรรมชาตินั้นมีอยู่ในทุกคนแล้ว แม้ไม่เคยฝึกการ ปฏิบัติสมาธิในรูปแบบมาก่อน สมาธิตามธรรมชาตินี้เอง สามารถนำมา ใช้ในการเจริญวิปัสสนา โดยการมองเห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นแจ้ง
“พระไตรลักษณ์” อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายใจ จนสามารถเพิกถอน กิเลส ตัณหา อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นที่ทำให้เกิดความทุกข์ จนกระทั่ง เข้าถึงซึ่งพระนิพพานอันเป็นบรมสุข ดังคำกล่าวของหลวงปู่พุทธทาสภิกขุที่ว่า...
“สมาธิ และ วิปัสสนาตามธรรมชาติ ที่ทำให้บุคคลบรรลุมรรคผลกันได้ ในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคตรงที่นั่งฟังนั่นเอง เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับบุคคลทุกคน ตั้งอาศัยอยู่บนรากฐานแห่งการพิจารณาความจริงในข้อที่ว่า ‘ไม่มีอะไรที่น่าเอา น่าเป็น’ อยู่เป็นประจำทุกวัน”
ดังนั้น จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นคู่มือช่วยชี้ทาง ให้เราทุกคนได้พบเจอแสงสว่างแห่งชีวิต เพื่อมุ่งสู่เส้นทางแห่งการดับทุกข์ อย่างสิ้นเชิง สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในที่สุด ขออนุโมทนา สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ
อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จิตมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น เฉกเช่นพระนิพพาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข
กราบนมัสการและกราบสวัสดี ผู้มีบุญทุกท่าน “มนุษย์จำต้องมี ‘คู่มือมนุษย์’ ด้วยหรือ ??” หลายๆ ท่านอาจจะเกิดความสงสัยขึ้นมาในใจ เมื่อได้เห็นหนังสือ ชื่อแปลกๆ เล่มนี้นะครับ “เอ๊ะ !! แล้ว มนุษย์ คืออะไร ??” “แล้วเราเป็น มนุษย์ หรือเปล่า ??” “เราไม่ใช่ มนุษย์ หรือ ??” “คนคือมนุษย์ ?? มนุษย์ก็คือคนนี่ ??” หากคุณเข้าใจง่ายๆ แบบนี้แล้วล่ะก็... “หนังสือคู่มือมนุษย์” ของท่านพุทธทาสภิกขุ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ที่คุณถืออยู่ในมือเล่มนี้จะทำให้คุณได้รับความกระจ่างชัดมากขึ้น เรื่อยๆ จนคุณต้องอุทานออกมาว่า... “เราต้องกลับไปเป็น มนุษย์ ให้ได้ !!” ในที่สุด
สารบัญ สมาธิตามธรรมชาติเกิดขึ้นเป็นลำดับ ๑๘ เริ่มต้นจาก “ปราโมทย์และปีติ” ปีติปราโมทย์เป็นผลให้เกิด “ปัสสัทธิ” ความสงบ รำงับใจ ๒๒ เมื่อจิตสงบระงับจากความฟุ้งซ่านจะเกิด ๒๓ “สมาธิ” ที่ควรแก่การงานทางจิต “ยถาภูตญาณทัสสนะ” ความรู้แจ้งจะมีถึงขั้นไหน ๒๖ ขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิและบารมี เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว “นิพพิทา” ความเบื่อหน่าย ก็เกิดขึ้น ๔๙ เมื่อเกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่ายในสิ่งที่หลงยึดถือ ๕๑ ความคลายกำหนัด และ ความหลุดออก ก็เกิดตามมา เมื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เกิดขึ้นแล้ว ๕๒ ความบริสุทธิ์ สงบสันติ ย่อมเกิดขึ้น เมื่อความบริสุทธิ์ สงบสันติ เกิดขึ้นแล้ว ๕๔ ก็หลุดพ้นจากกิเลส คือ “นิพพาน” สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ ทำให้บรรลุมรรคผลได้ ๕๗ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับทุกคน “แวะเล่าชาดก” : วีรกชาดก ว่าด้วยโทษของการเลียนแบบ ๖๐ ๗๕ “ธรรมะสวัสดี” : อย่าประมาท
สมาธิ และ วิปส ั สนา ๑ ตามธรรมชาติ สมาธิที่เกิดตามธรรมชาติ มักจะพอเหมาะแก่กำลังของปัญญา ที่จะทำการพิจารณาสิ่งทั้งปวง ตามที่เป็นจริง
ท่านที่จะเป็นผู้พิพากษาทั้งหลาย วันนี้อาตมาต้องขออภัย ที่จะเริ่มการบรรยายด้วยการเล่าเรื่อง ส่วนตัวสักหน่อย เมื่อเช้าวานนี้ พอตื่นนอนขึ้นก็เกิดรู้สึกขึ้นมาเองว่าที่ เคยบอกออกไปในการบรรยายเมื่อวันก่อนถึงหลักปรัชญาที่ว่า “เพราะ ข้าพเจ้าคิดได้ ข้าพเจ้าจึงมี” และว่านักคิดผู้นี้ชื่อ Bergsgan นั้นไม่ใช่ ที่แท้ชื่อ Descartes (เรอเน เดสการ์ตส์ : นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส) ตลอดถึงนึกได้ว่าตัวบทเดิมของเขานั้นว่า Cogito ergosum เป็นภาษาละตินซึ่งอาตมาออกเสียงไม่ถูก ทราบแต่แปลว่า “ข้าพเจ้าคิดได้ ฉะนั้นข้าพเจ้ามีอยู่” ครั้นขอยืมปทานุกรมของคนใกล้ๆ ที่พักมาตรวจดู ก็ถูกตรงตามนั้น ถ้าใคร่อยากจะติดตามดูก็เปิดดูได้ ถ้าใช้ปทานุกรม แชมเบอร์ก็มีอยู่ในพวกเฟรส หรือคำพิเศษต่างๆ ตอนท้ายเล่ม ๑
บรรยายอบรมผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษา ณ ห้องบรรยายของเนติบัณฑิตยสภา ๑๑ พฤษภาคม ๒๔๙๙ ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอริยนันทมุน ี
คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ”
จะเรียนสิ่งใดให้รู้ดี ต้องมีศรัทธานำหน้าก่อน การที่เอาเรื่องส่วนตัวมาเล่า หรือจะกล่าวให้ถูกก็ว่าเป็นเรื่อง นำมาแก้คำผิด เป็นการสารภาพว่ามันเป็นการจำผิด อย่างที่เขากล่าวกัน ว่า “สี่ตีนรู้พลาด นักปราชญ์รู้พลั้ง” อาตมายังไม่ถึงกับนักปราชญ์ เพราะฉะนั้นก็ต้องพลั้งบ่อยๆ เป็นธรรมดา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็พลั้ง มากที่สุดในเรื่องที่ไม่ค่อยอยากจะจำ คือในเรื่องที่ไม่ค่อยศรัทธาเลื่อมใส ทำให้ไม่ค่อยอยากจะจำมัน จึงพลั้งง่าย โดยเหตุที่ว่า คำกล่าวอย่าง Descartes กล่าวนี้ ในอินเดียเขากล่าวกันมาแล้วสองพันกว่าปี ในพวก ที่ถือสังขารเป็นตัวตน แต่ Descartes เป็นคนในคริสตศตวรรษที่ ๑๗ นี้เอง เราจึงไม่สู้สนใจกับคนเหล่านี้ เพราะความไม่สนใจหรือไม่สู้ศรัทธา ในบุคคลนี่เอง จึงเป็นเหตุให้ความจำนั้นไม่แม่นยำ ข้อนี้เป็นข้อที่อาตมา ขอร้ องให้สังเกตเอาไว้ด้วยว่า...
ถ้าเราไม่ศรัทธาหรือไม่ค่อยจะศรัทธาในบุคคล หรือทฤษฎีเรื่องใด มันก็จำไม่ค่อยได้ ถ้าอยากจะให้จำได้ก็ต้องทำความเข้าใจจนมีศรัทธา ฉะนั้น โดยเฉพาะหลักธรรมะในพระพุทธศาสนาต่างๆ เราต้องศึกษาให้เข้าใจจนมีศรัทธา เราจึงจะจำได้
ผมชอบและมีความรัก ในวิทยาศาสตร์ ผมจึงตั้งใจ ศึกษาและสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ออกมาได้มากมาย
ศรัทธาเกิด จิตปราโมทย์เป็นสมาธิ ผมเกิดความคิดดีๆ ย่อมทำความรู้แจ้งได้
เพราะผมมีสมาธิและมีใจ จดจ่อในสิ่งที่ผมรัก
อีกอย่างหนึ่ง ที่ใคร่จะขอให้คิดให้สังเกต ก็คือว่า...
เวลาที่จิตใจผ่องใสชุ่มชื่นเยือกเย็น เป็นเวลาที่จะรู้ธรรม หรือเรียกว่าตรัสรู้ คือ อาจจะรู้โพล่งๆ เฉยๆ ขึ้นมาได้โดยง่าย
แม้ที่สุดแต่ความจำที่เลอะเลือนก็กลับจะแจ่มแจ้งชัดเจนขึ้นมา ใหม่ ในขณะที่เหนื่อยหรือร้อนหรือฟุ้งซ่านด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น แม้ความจำก็ฟั่นเฝือ เรื่องของความจำก็ยังเป็นถึงอย่างนี้ ฉะนั้น เรื่องของการที่จะมีสมาธิสำหรับจะรู้ความจริงในธรรม ก็ยิ่งเป็นอย่างนั้นมากขึ้นไปอีก เรื่องส่วนตัวข้างต้น ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ อย่างดี อย่างตัวอย่างที่เล่ามานี้เป็นเครื่องแสดงว่า เราจะต้องมีปีติ ปราโมทย์ หรือความสดชื่นในขณะที่จะมีสมาธิสำหรับนึกหรือกล่าว อะไร อาตมาขอถือโอกาสบรรยายแนว หรือลำดับของการรู้แจ้ง เห็นจริงในธรรม ว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไรไปเสียเลย 10 คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ”
ทบทวนความรู้ คู่มือมนุษย์ ๑ - ๕ ครั้งแรกที่สุด อาตมาได้บอกว่า... ๑ ๑. “พุ ท ธศาสนา” คื อ วิ ช าหรื อ วิ ธ ป ี ฏิ บ ต ั ใ ิ ห้ ร ว ้ ู า ่ อะไรเป็ น อะไร ๒. ๓.
ถัดมาก็บอกให้รู้ว่า... ๒ ที่ว่าอะไรเป็นอะไรนั้น คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และบอกให้รู้ว่าสัตว์หลงไปในสิ่งที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ๓ ก็เพราะอำนาจของอุปาทาน จึงได้ติดแน่นอยู่ในสิ่งเหล่านั้น
แล้วบอกให้ทราบต่อไปว่า... ๔ ๔. “ไตรสิ ก ขา” เป็นวิธีปฏิบัติสำหรับจะให้ตัดอุปาทานได้
และบอกให้ทราบในที่สุดว่า... ๕ ๕. “ขันธ์ ๕” หรือส่วน ๕ ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลกนี้เอง เป็นที่ตั้งที่เกาะของอุปาทาน ๑
ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๑ : ใจความสำคัญของพุทธศาสนา (พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๒ ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๒ : ไตรลักษณ์ (ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๓ ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๓ : อุปาทาน ๔ (อำนาจของความยึดติด) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๔ ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๔ : ไตรสิกขา (ขั้นของการปฏิบัติศาสนา) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๕ ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๕ : เบญจขันธ์ (คนเราติดอะไร) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
11
เล่มที่ ๖ : การศึกษาเพื่อให้รู้แจ้งขันธ์ ๕ ด้วยสมาธิตามธรรมชาติ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทางสู่ความพ้นทุกข์ พบสุขแท้จริง หมั่นเจริญไตรสิกขา ในชีวิตประจำวันนะโยมนะ
ฉะนั้น เราจะต้องศึกษาให้รู้จักตัวขันธ์ห้า หรือโลกทั้งสิ้นนี้
ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริง จึงจะเกิดความรู้แจ้งแทงตลอดชนิดที่เป็น ญาณทัสสนะ ทำการปล่อยวางหลุดพ้นได้ ด้วยหลักปฏิบัติทั่วไป ท่านมีวิธีปฏิบัติอย่างที่ได้กล่าวมา เป็น...
“ศีล” คือ ปรับปรุงในเรื่องกายวาจาให้ดี แล้วก็ดำเนิน “สมาธิ” คือ รวบรวมกำลังใจให้เป็นที่ปรับปรุงให้เหมาะสมที่จะทำการงาน ทางจิต ต่อจากนั้นก็ดำเนินการพิจารณาที่เป็นตัว “ปัญญา” และอาตมายังได้บอกให้ทราบเป็นพิเศษอีกว่า เรายังมีโชคดีที่ว่า ปัญหาต่างๆ ที่เข้าไปสะสมอยู่ในใจของเรานั้น เมื่อมากเข้ามากเข้า ถึง พร้อมด้วยการศึกษา ถึงวันดีคืนดีโอกาสหนึ่ง คำตอบอาจจะออกมาเอง ได้ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ หรือขณะที่จิตมีลักษณะอย่างที่เรียกว่า กมฺม๑ นิโย คือ ควรแก่การงานทางจิต ๑
อ่านว่า กำ-มะ-นิ-โย
12 คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ”
จิตที่ควรแก่การงาน เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็มี ฝึกให้เกิดขึ้นก็มี ในบัดนี้ อาตมาอยากจะบอกให้ทราบต่อไปถึงข้อที่ว่า... การที่จิตเป็นสมาธินั้น มิได้หมายความว่าจะต้องมีการกระทำ ตามแบบตามพิธีรีตอง หรือที่เป็นเทคนิคต่างๆ นั้นโดยตรงอย่างเดียว ก็หาไม่ โดยที่แท้แล้วสมาธิอาจจะมีได้โดยทางตรงตามธรรมชาติ ซึ่ง ปราศจากเทคนิคใดๆ ที่มนุษย์กำหนดขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ดังที่ได้อธิบาย มาแล้วตามสมควรในคราวก่อนๆ
เราจึงได้สมาธิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง และสมาธิที่เกิดมาจากการปฏิบัตบิ ำเพ็ญ ตามวิธีที่เป็นเทคนิคโดยเฉพาะ นั้นก็อีกอย่างหนึ่ง ในกรณีที่เราประสงค์นั้น มันมีผลอย่างเดียวกัน คือ เมื่อเป็นสมาธิแล้ว ก็นำไปใช้พิจารณา หรือว่าการพิจารณา จะดำเนินไปได้โดยง่ายโดยตัวมันเอง ดังนี้ก็ได้
ทฤษฎีที่เพิ่งคิดออกเมื่อกี้ จะเป็นอย่างไรบ้างนะ ? ยังติดขัดอะไรไหม ? ค่อยๆ คิดพิจารณาด้วยใจจดจ่อ เป็นสมาธิอีกสักนิด แล้วเดี๋ยว ลองทดสอบดูดีกว่า สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
13
สมาธิตามธรรมชาติมักพอเหมาะกับปัญญา ส่วนสมาธิตามรูปแบบมักเหลือใช้และเกิดโทษ เย่ๆ สำเร็จแล้ว ! ได้ทฤษฎีใหม่แล้ว !
ถ้าไอสไตน์นั่งสมาธิ ลึกๆ จนเข้าฌานสมาบัติ งานก็คงไม่พัฒนาสินะ
โอ ! พลัง แห่งศรัทธา และพลังสมาธิ ในสิ่งที่รัก
แต่มีข้อควรสังเกตอย่างหนึ่งว่า...
สมาธิที่เกิดตามธรรมชาตินั้น มักจะพอเหมาะพอสม แก่กำลังของปัญญาที่จะทำการพิจารณา ส่วนสมาธิที่เกิดตามวิธขี องการบำเพ็ญเป็นเทคนิคโดยเฉพาะนั้น มักจะเป็นสมาธิที่มากเกินไป หมายความว่าเหลือใช้ และยังเป็นเหตุให้คนหลงติดชะงัก พอใจแต่เพียงแค่สมาธินั้นก็ได้ เพราะว่าในขณะที่จิตเป็นสมาธิเต็มที่นั้น ย่อมเป็นความสุข
ชนิดหนึ่ง เป็นความสบายชนิดหนึ่งซึ่งให้เกิดความพอใจจนถึงกับหลงติด หรือหลงเหมาเป็นมรรคผลไปเสียเลยก็ได้ โดยเหตุนี้ สมาธิที่เป็นไปตาม ธรรมชาติที่พอเหมาะสมกับการใช้พิจารณานั้น จึงไม่เสียหลาย ไม่เสีย เปรียบอะไรกันกับสมาธิตามแบบวิธีเทคนิคนัก ถ้ารู้จักประคับประคอง ทำให้เกิดให้มี และให้เป็นไปด้วยดี 14 คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ”
สมัยพุทธกาลมีคนมากมายที่บรรลุธรรม ด้วยสมาธิตามธรรมชาติ ร่างกายเป็นตัวเรา เป็นของเราจริงไหม พระพุทธเจ้าข้า
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
ข้อความต่างๆ ในพระไตรปิฎกเอง มีเล่าถึงแต่เรื่องการบรรลุ มรรคผลทุกชั้นตามวิธีธรรมชาติ ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มี- พระภาคเจ้าเอง หรือในที่ต่อหน้าผู้สั่งสอนคนอื่นๆ ก็มี โดยไม่ได้เข้าป่า นั่งตั้งความเพียรอย่างมีพิธีรีตอง กำหนดอะไรต่างๆ ตามวิธีเทคนิค อย่างในคัมภีร์ที่แต่งใหม่ๆ ชั้นหลังเหล่านั้นเลย โดยเฉพาะในกรณีแห่งการบรรลุอรหัตผลของภิกษุปัญจวัคคีย์ หรือชฎิล ๑,๐๐๐ รูป ด้วยการฟังอนัตตลักขณสูตรและอาทิตตปริยายสูตรด้วยแล้ว จะยิ่งเห็นว่าไม่มีการพยายามตามทางเทคนิคใดๆ เลย เป็นการเห็นแจ้งแทงตลอดตามวิธีของธรรมชาติแท้ๆ
ธรรมะที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส สอนแก่ สั ต ว์ โ ลก เพื่ อ ความพ้ น ทุ ก ข์ นั้ น
พระพุทธองค์ตรัสให้เข้ามาพิสูจน์ด้วยตัวเองก่อน ว่าสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสสอน เป็นความจริงไหม ? ปฏิบัติแล้วพ้นทุกข์ได้จริงหรือไม่ ? เพราะธรรมะเป็นสิ่งที ่ ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นแจ้งได้ด้วยปัญญาของตนเองเท่านั้น ไม่มีใครปฏิบัติ เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานแทนกันได้ เมื่อเห็นแจ้งธรรมะด้วยใจจริงแล้วจะเกิดความศรัทธา และเข้าถึงพระธรรมอย่างแท้จริง ไม่ใช่การศรัทธาแบบผิดๆ งมงาย หรือศรัทธาตามกันมา โดยไม่ได้เข้าถึงตัวธรรมะที่แท้จริง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
15
สมาธิตามธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อพยายามเข้าใจ สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจดจ่อต่อเนื่อง
นี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้เราเข้าใจได้ดี หรือเป็นเหตุผลได้ดีว่า...
สมาธิตามธรรมชาตินั้น ย่อมรวมอยู่ในความพยายาม เพื่อจะเข้าใจแจ่มแจ้ง และต้องมีอยู่ในขณะที่มีความเห็น อันแจ่มแจ้งติดแนบแน่นอยู่ในตัว อย่างไม่แยกจากกันได้ และเป็นไปได้เองตามธรรมชาติ
ในทำนองเดียวกันกับตัวอย่างที่ว่า พอเราตั้งใจคิดเลขลงไป เท่านั้น จิตมันก็เป็นสมาธิเอง หรือว่าพอเราจะยิงปืนไปเป็นต้น จิตก็เป็น สมาธิที่จะบังคับให้แน่วแน่ขึ้นมาเองในเวลาเล็งและเป็นไปตามธรรมชาติ ในตัวเอง ฉันใดก็ฉันนั้น แม้ในกรณีที่ท่านทั้งหลายนั่งฟังอาตมาบรรยาย อยู่ที่นี้ ถ้าท่านเข้าใจคำบรรยาย หรือถึงกับพิจารณาตามไปอย่างแน่วแน่ ตามคำบรรยายนั้น ก็ย่อมแสดงว่ามีสมาธิพร้อมอยู่ในนั้น นี่แหละ เป็นลักษณะของสมาธิที่เป็นไปเองตามธรรมชาติ ซึ่ง ตามปรกติถูกมองข้ามไปเสีย เพราะมีลักษณะดูมันไม่ค่อยจะขลัง ดูมัน ไม่ค่อยจะศักดิ์สิทธิ์ มันไม่ค่อยจะเป็นปาฏิหาริย์อะไร คือไม่ค่อยจะเป็น ที่น่าอัศจรรย์อะไร งานของผมสำเร็จได้ เพราะ แต่โดยที่แท้แล้ว ผมมีความศรัทธาและมีใจจดจ่อ ในสิ่งที่ผมรัก คนเรารอดตัวมาได้กัน เป็นส่วนใหญ่ก็โดย อำนาจสมาธิ ตามธรรมชาตินี้เอง 16 คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ”
สมาธิตามธรรมชาติ เป็นทางลัดสู่มรรคผล สมาธิตามธรรมชาติ เป็นทางลัดสู่มรรคผลนะโยมนะ ถ้าปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน สมาธิตามธรรมชาติ เหมาะกับทุกคน นะครับ
สาธุ ฆราวาสก็ปฏิบัติ จนบรรลุมรรคผลนิพพาน ได้นะครับ
แม้การบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ต่างๆ ชนิด ในที่เฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า หรือในที่อื่นๆ อีกมากก็ด้วยอาศัยสมาธิ ตามธรรมชาติทำนองนี้ ฉะนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายอย่าได้มีความประมาทในเรื่องของ สมาธิที่เป็นไปตามธรรมชาติทำนองนี้เลย มันเป็นเรื่องที่เราอาจจะได้ก่อน ทำได้ก่อน หรือได้อยู่แล้วเป็นส่วนมาก ควรจะประคับประคองมันให้ ถูกวิธี ให้มันเป็นไปด้วยดีถึงที่สุดก็จะมีผลเท่ากันเหมือนกับผู้ที่บรรลุ
พระอรหันต์ไปแล้วเป็นส่วนมากไม่เคยรู้จักนั่งทำสมาธิแบบเทคนิคใหม่ๆ ต่างๆ เลยแม้แต่หน่อยเดียว การปฏิบัติธรรมเพื่อมรรคผลนิพพาน เราต้องปฏิบัติให้ได้ตลอดเวลา ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่เลือกเวลา ไม่เลือกสถานที่ เพราะธรรมะ อยู่ในกายในใจของเรานี่เอง ไม่ต้องรอไปปฏิบัติที่วัด ไม่ต้องรอวันหยุดยาว เราต้องปฏิบัติให้ได้ทุกลมหายใจเข้าออก โดยเฉพาะการเจริญอานาปานสติกรรมฐาน คือ การตามรู้ลมหายใจเข้าออก พระพุทธองค์ทรงไม่ทิ้งกรรมฐานนี้เลย ทรงเจริญมรณานุสสติ หรือพิจารณาความตายและระลึกถึงพระนิพพานทุกลมหายใจเข้าออกด้วยทุกครั้ง เพราะ พระพุทธองค์ทรงเห็นความไม่เที่ยง เห็นความทุกข์ เห็นความเสื่อมสลายไปของร่างกาย ทุกลมหายใจเข้าออก สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
17
๑. สมาธิตามธรรมชาติเกิดขึ้นเป็นลำดับ เริ่มต้นจาก “ปราโมทย์และปีติ” แนวการทำให้รู้แจ้ง ตามวิธีของธรรมชาติ ๑. ปราโมทย์และปีติ : ความอิ่มใจในธรรม ๒. ปัสสัทธิ : ความรำงับแห่งจิต ๓. สมาธิ : จิตพร้อมที่จะพินิจ ๔. ยถาภูตญาณทัสสนะ : รู้ตามเป็นจริง ๕. นิพพิทา : จิตหน่าย ๖. วิราคะ : จิตคลายออก ๗. วิมุตติ : จิตหลุด ๙. สันติ : ความสงบเย็น ๘. วิสุทธิ : ความบริสุทธิ์ ๑๐. นิพพาน : ความไม่มีทุกข์
ปราโมทย์และปีติ เกิดจากความอิ่มใจ ในธรรมและความดี
ทีนี้ เราก็มาถึงความลับของธรรมชาติที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในลำดับ แห่งความรู้สึกต่างๆ ภายในใจ จนกระทั่งเกิดการเห็นแจ่มแจ้งตามที ่
เป็นจริงต่อโลกหรือขันธ์ห้านั้น ขอให้ดูคำลำดับแรกที่อาตมาเขียนใน กระดานดำ ได้แก่คำว่า...
“ปราโมทย์” และ “ปีติ” คำว่า ปราโมทย์ หรือ ปีติ นี้ มีความหมายอย่างเดียวกันกับใน ภาษาไทยเรา คือหมายถึงความชุ่มชื่นใจ หรือความอิ่มใจ สิ่งนี้ต้องการ เป็นข้อแรก ในพระบาลีมากแห่งด้วยกันที่ค้นพบก็พบอย่างนี้ ปีติปราโมทย์ในที่นี้ หมายถึง ปีติปราโมทย์ในทางธรรม หรือที่ประกอบอยู่ด้วยธรรม
18 คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ”
ปีติปราโมทย์ ในทางธรรม คือความสุขใจที่ได้ทำดี โชคดีอยู่หน่อยหนึ่งว่า คำว่า ปราโมทย์ หรือ ปีติ นี้ เราไม่เคย เอาไปใช้กันในทางที่เป็นเรื่องกามารมณ์เลย คงใช้แต่ในเรื่องปรกติธรรมดา เป็นอย่างน้อย หรือถ้าให้ถูกตรงตามความหมายของคำนี้แต่ดั้งแต่เดิมแล้ว ก็ต้องให้ปีติปราโมทย์ เป็นสิ่งที่เกิดมาตามทางธรรม คือ...
เกิดจากการทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดมาจากการเคารพนับถือตัวเอง โดยเฉพาะว่าตัวเอง เป็นผู้ทำความดี หรือการที่บุคคลมีความบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่ในตัว ด้วยการไม่เคยทำความชั่ว และกำลังกระทำความดี เป็นที่พออกพอใจของตัวจนถึงกับตัวเองยกมือไหว้ตัวเองได้
หรือมีความคิดว่าน่าไหว้อยู่ดังนี้แล้ว สิ่งที่เรียกว่าปีติปราโมทย์ นั้นก็ต้องเป็นสิ่งที่น่ามี และมีอยู่ในนั้นแล้ว อย่างที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อได้ทำความดี ให้ทาน ถือศีล เจริญภาวนา ใจมีความสุข ใจไม่เศร้าหมอง มีความปีติดีจริงๆ
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
19
นั่งที่ผมได้นะครับ
ขอบคุณค่ะ พี่ชายใจดี
เอาเงินไว้ ทานข้าว ขอบคุณค่ะ นะครับ
ขอบคุณครับ ทำความดีแบบนี้ ขอให้เจริญๆ ทั้ง ทางโลกและทางธรรม นะครับ
การที่เราทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ที่สุดแต่การให้ทาน การเผื่อแผ่ ซึ่งถือกันว่าเป็นการกุศลชั้นต้นๆ ก็เป็นการให้เกิดปีติและ ปราโมทย์นี้ได้ ถ้าไปถึง ชั้นศีล การมีศีล คือมีความประพฤติทางกาย ทางวาจา ไม่มีที่ด่างพร้อย เกิดนับถือเคารพตัวเองได้ ปีติปราโมทย์ก็มากขึ้น ถ้าหากว่าไปถึง ชั้นสมาธิ จะเห็นได้ว่าในองค์ของสมาธิในลำดับ แรกที่เรียกว่า ปฐมฌาน นั้น มีปีติอยู่องค์หนึ่งด้วยโดยแน่นอนไม่ต้อง สงสัย แต่เราไม่พูดถึงสมาธิที่เป็นฌานอะไรทำนองนั้นซึ่งเป็นเรื่องเทคนิค เราจะพูดกันถึงเรื่องสมาธิตามธรรมชาติต่อไป ทาน ศีล ภาวนา เป็นการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงเมตตาตรัสสอน
ให้ฆราวาสตั้งใจปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน ทาน เป็นการตัดความ โลภ ความตระหนี่ถี่เหนียว, ศีล เป็นการป้องกันไม่ให้ตกนรก ไม่ให้ตาย แล้วไปเกิดในอบายภูมิเพราะการผิดศีล ๕ รวมไปถึงเป็นการเจริญพรหมวิหาร ๔ ทำลายความโกรธไปในตัว เพราะถ้าเรามีความรัก มีความเมตตาต่อผู้อื่นแล้ว เราจะ ไม่กล้าทำผิดศีล ๕ ให้ผู้อื่นรวมถึงตนเองต้องเดือดร้อนทั้งทางกายและทางใจ เมื่อ รักษาศีลจนใจเป็นปรกติ ไม่เศร้าหมอง ไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ใจจะเกิดปีติปราโมทย์ในความ ดีที่ได้ทำ การเจริญสมาธิ เจริญวิปัสสนา หรือที่เรียกว่าการเจริญภาวนาเพื่อพัฒนา จิตใจตนเอง ทำลายความหลงและทำให้เกิดปัญญามองเห็น “พระไตรลักษณ์” ก็จะ เป็นไปได้โดยง่าย
20 คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ”
ปีติปราโมทย์ตามธรรมชาติ มีได้หลายรูปแบบ ผมชอบเล่นไวโอลิน เพื่อความผ่อนคลาย และความสุขใจ แล้วก็เป็นการทำสมาธิ ไปในตัว อิอิ
โอ ! ความปีติปราโมทย์ มีได้หลายแบบจริงๆ ถ้าใจปีติปราโมทย์ ไม่เศร้าหมอง ก็เกิดสมาธิได้ง่ายด้วย
ขอให้ย้อนมาพิจารณากันให้มาก ถึงความปีติปราโมทย์ทุกชนิด ที่อาจเกิดตามธรรมชาติ นับตั้งแต่เราไปนั่งเล่นในที่สงัด อากาศดี วิวดี สิ่งแวดล้อมต่างๆ ดี จนมีความชุ่มชื่นใจ อย่างนี้เรียกว่าเป็นลักษณะอย่างหนึ่ง ของความปีติ หรือปราโมทย์ ในที่นี้ด้วยเหมือนกัน
ถ้าหากว่าได้ทำความดีอะไรๆ ไว้จนตัวเองก็มองเห็นชัดอยู่จริงๆ ว่าเป็นความดีจริง ก็มีความปีติปราโมทย์มากถึงที่สุด แม้แต่นอนหลับมา อย่างเต็มตื่น เต็มตา มีความสดชื่นสบายใจอย่างนี้ ก็ยังสงเคราะห์อยู่ใน พวกปีติและปราโมทย์ด้วยเหมือนกัน ทั้งหมดนี้เป็นปีติปราโมทย์ที่เกิด ขึ้นตามธรรมชาติ ในพระบาลีมีกล่าวถึงปีติปราโมทย์ชนิดนี้อย่างน่าอัศจรรย์อยู่ หลายๆ อย่าง เช่น กล่าวถึงภิกษุที่กำลังแสดงธรรมสอนผู้อื่นอยู่บน ธรรมาสน์ บนที่นั่งสอนนั่นเอง ก็ยังมีปีติปราโมทย์ในการที่ตนได้สอน ได้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นเหตุให้เกิดปีติปราโมทย์และอื่นๆ ตามลำดับ จนกระทั่งบรรลุมรรคผลเพราะเหตุนั้นได้ก็มี สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
21
๒. ปีติปราโมทย์เป็นผลให้เกิด “ปัสสัทธิ” ความสงบ รำงับใจ ตัั้งแต่ละความชั่ว ทำแต่ความดี รักษาศีล ๕ แล้วเจริญภาวนา สบายใจมากเลย เพราะไม่มีเรื่องให้เศร้าหมองใจ เหมือนเมื่อก่อน
ปีติปราโมทย์นั้น มีอำนาจ อยู่ในตัวมันเองอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ปัสสัทธิ” (คือ
ที ่เขียนในกระดานดำ ถัดลงไปจากปีติปราโมทย์)
คำว่า “ปัสสัทธิ” แปลว่า ความรำงับ ตามปรกติจิตของคนเราไม่ค่อยจะรำงับเพราะว่าจิตตกเป็นทาส ของความคิด ความนึก ของอารมณ์ ของเวทนา ของอะไรต่างๆ อยู่ ตลอดเวลา เป็นความฟุ้งอยู่ภายใน ไม่เป็นความรำงับ หากแต่... ถ้าว่าเกิดความปีติปราโมทย์ตามทางธรรม มาครอบงำ มีอำนาจแรงกล้าพอสมควรแล้ว ความสงบรำงับนั้นจะต้องมี คือมีปัสสัทธิขึ้น
ปัสสัทธินี้จะมีมากน้อยตามอำนาจของปีติปราโมทย์ ที่มีมาก หรือน้อย เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมมากเพียงไร ประกอบด้วยปัญญา หรือไม่ประกอบด้วยปัญญามากเพียงไรด้วย 22 คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ”
๓. เมื่อจิตสงบระงับจากความฟุ้งซ่านจะเกิด “สมาธิ” ที่ควรแก่การงานทางจิต เมื่อมีความรำงับดังนี้แล้วก็ย่อมจะเกิดอาการที่เรียกว่า สมาธิ คือใจอยู่ในสภาพที่เป็น กมฺมนิโย อย่างที่ได้อธิบายมาแล้วแต่ต้น ขึ้น ตามธรรมชาติอีกเหมือนกัน สำหรับคำว่า กมฺมนิโย อาตมารู้สึกว่า ตรงๆ กับคำที่เราชอบพูด กันในปัจจุบันนี้คำหนึ่ง คือคำว่า active มากที่สุด หมายถึง เร็ว คล่อง สะดวก เบาสบาย พร้อมที่จะไหวไปตามต้องการ ลักษณะที่เรียกว่า active นี้ ตรงกับความหมายของคำว่า กมฺมนิโย อยู่มากทีเดียว
เมื่อจิตรำงับลงในลักษณะที่เรียกว่าปัสสัทธิแล้ว จะมีลักษณะอันแท้จริงของสมาธิ คือ ลักษณะแห่ง กมฺมนียภาพ หรือภาวะที่เหมาะสมแก่การที่จะประกอบการงานในทางจิต
ก่อนทำการบ้าน นั่งภาวนา ตามดูลมหายใจ พร้อมภาวนา “พุทโธ” สักหน่อยดีกว่า ใจกำลังสบาย มีปีติสุข สงบรำงับ จะได้มีสมาธิด้วย
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
23
สมาธิที่ควรแก่การงานต้องผ่องใส เยือกเย็น พร้อมจะรู้แจ้งโลกตามเป็นจริง ไม่ใช่จมนิ่งในฌาน เพ่งจนจิตแข็งทื่อแล้ว ไม่เห็นได้ธรรมะอะไรเลย
เมื่อก่อนปฏิบัติผิด จนจิตเครียด ตอนนี้รู้วิธีแล้ว จิตเบาสบาย เป็นสมาธิดีจัง
สมาธิที่แท้จริงในการปฏิบัติธรรมเพื่อตัดกิเลส จึงไม่ใช่ไปทำจิตให้เงียบเป็นก้อนหิน เงียบอย่างหลับหูหลับตา ตัวแข็งตัวทื่ออะไรทำนองนั้นก็หาไม่ ที่แท้จะยังมีลักษณะต่างๆ ปรกติอยู่ แต่ว่ามีจิตสงบเป็นพิเศษ เหมาะสมที่จะรู้ กำลังมีความผ่องใสที่สุด เยือกเย็นที่สุด สงบรำงับที่สุด เรียกว่า กมฺมนิโย คือ พร้อมที่จะรู้ นี่คือลักษณะแห่งสมาธิที่เราต้องการ
ไม่ ใช่ อ ยู่ ใ นฌานสมาบั ติ แข็ ง ทื่ อ เหมื อ นตุ๊ ก ตาหิ น หรื อ อะไร ทำนองนั้น การอยู่ในฌานในทำนองนั้นจะพิจารณาอะไรไม่ได้เลย จิตที่ ติดในความสุขอันเกิดจากฌานก็พิจารณาธรรมไม่ได้ มีแต่จะตกลงสู่ฌาน เสียตลอดไป ไม่สามารถยกขึ้นมาใช้ในการพิจารณา จัดว่าเป็นอุปสรรค ของการพิจารณาโดยตรงทีเดียว ผู้จะพิจารณาธรรมได้ต้องออกจากฌาน แล้วจึงพิจารณา โดยใช้อำนาจการที่จิตมีสมาธิขนาดฌานแล้วนั่นเอง เป็นเครื่องมือ หรือเป็นกำลังสำหรับจะพิจารณา 24 คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ”
ในที่นี้ เราไม่ต้องเข้าฌาน ไม่ต้องการฌาน หากแต่ว่าต้องการจิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณสมบัติเป็น กมฺมนิโย ครบถ้วนพร้อมที่จะรู้แจ้งจนเกิดสิ่งที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ๑ คือ ความรู้ความเห็นตามที่เป็นจริงต่อโลกทั้งหมด หรือต่อปัญหาต่างๆ ที่เราต้องการรู้ ที่เราสะสมไว้ในคลังแห่ง ความสงสัยของเราโดยอาการตามธรรมชาติ ทำนองเดียวกันกับที่มีผู้รู้แจ้ง ตรงที่นั่งฟังตรงพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสดงธรรม หรือนำไปคิด พิจารณาในที่เหมาะสมจนรู้ ไม่มีพิธีรีตอง หายใจเข้า พุท... หายใจออก โธ... หรือปาฏิหาริย์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก ทำได้ตลอดเวลา ทุกอิริยาบถ ทำแล้วใจสบาย ใจตั้งมั่น หรือหลงใหลต่างๆ แต่อย่างใด เป็นสมาธิสำหรับทำสิ่งต่างๆ ได้ดี แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จะเป็นการเกิดญาณทัสสนะ รวดเร็วถึงที่สุดเป็นพระอรหันต์ ไปทันทีแต่อย่างเดียวก็หามิได้ การฝึกทรงสมาธิในชีวิตประจำวันสามารถทำได้ง่ายๆ สบายๆ โดยการ
เจริญอานาปานสติกรรมฐาน ตามรู้ลมหายใจเข้าออกด้วยอารมณ์ใจที่เบา โปร่ง
โล่ง สบาย พร้อมบริกรรมหรือภาวนาในใจว่า “พุทโธ” เข้า-พุท ออก-โธ ระลึก นึกถึงพระพุทธเจ้าและคุณความดีของพระพุทธองค์ตลอดเวลาในทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน จุดสำคัญคืออารมณ์ใจที่เบา สบาย มีความตั้งมั่นพร้อมที่จะเจริญปัญญา ไม่ใช่เพ่ง
ลมหายใจจนเครียด ไม่อยากให้คลาดจากลมหายใจ เป็นไปไม่ได้ ถ้าหลงลืมระลึกรู้ลมหายใจ ก็ให้ปฏิบัติใหม่ ก่อนนอนถ้าปฏิบัติจนหลับจะหลับสบาย เมื่อตื่นนอนก็ให้ปฏิบัติสักพักจนใจ สบายแล้วค่อยลุกไปทำกิจธุระต่อไป เมื่อจิตฟุ้งซ่านก็ใช้แก้ไขได้ดี ถ้าปฏิบัติจนชินจะมีผลดี ๑
อ่านว่า ยะ-ถา-พู-ตะ-ยา-นะ-ทัด-สะ-นะ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
25
๔. ยถาภูตญาณทัสสนะ ความรู้แจ้งจะมีถึงขั้นไหน ขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิและบารมี ถ้าเห็นตามที่เป็นจริง ก็คือเห็นว่า ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น
สาธุ
ในบางกรณีอาจจะเกิดยถาภูตญาณทัสสนะขั้นต้นๆ ก็ได้ แล้วแต่ กำลังของสมาธิอีกเหมือนกัน ยิ่งกว่านั้น ในกรณีพิเศษบางกรณีอาจจะ ไม่เกิดเป็นยถาภูตญาณทัสสนะ คือไม่ตรงตามที่เป็นจริงก็ได้ เพราะว่า ตนได้ศึกษามาก่อนอย่างผิดๆ หรือว่าได้แวดล้อมอยู่ด้วยทิฏฐิที่ผิดๆ มาก เกินไป แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ความแจ่มแจ้งที่เกิดนั้นจะต้องพิเศษกว่า ธรรมดา เช่นว่าใสแจ๋ว ลึกซึ้ง มีเหตุผล มีอะไรๆ ยิ่งกว่าธรรมดา หรือ
มีกำลังแรงเท่าๆ กับที่เป็นยถาภูตญาณทัสสนะเสมอ ทีนี้ ถ้าหากว่า ความรู้นั้นเป็นไปถูกต้องตามความเป็นจริง คือเป็นไปตามทางธรรม
ก็ เดินไปข้างหน้าจนกระทั่งเป็น...
“ยถาภูตญาณทัสสนะ” คือ ความรู้ความเห็นในสังขารทั้งปวง ถูกต้องตามที่เป็นจริง
ถ้าเกิดขึ้นเพียงน้อยๆ ก็ทำให้เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้นๆ ได้ หรือ ถ้าน้อยลงไปอีกก็เป็นเพียงกัลยาณปุถุชน คือ คนธรรมดาที่เป็นชั้นดีได้ ถ้าหากว่ามีสิ่งแวดล้อมเหมาะสมและบารมีต่างๆ ได้เคยสร้างสมมาเต็มที่ ก็เป็นพระอรหันต์เลยก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่เหตุการณ์ 26 คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ”
เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนหมดความยึดถือในสิ่งทั้งปวง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในขณะที่จิตเป็นสมาธิตามธรรมชาตินี้ สิ่งที่ เรียกว่า “ญาณทัสสนะ” จะต้องเกิดขึ้น และจะต้องตรงตามที่เป็นจริง ไม่มากก็น้อย เพราะเหตุว่าพุทธบริษัทเราย่อมเคยได้ยิน ได้ฟัง ได้เคยคิด เคยนึก เคยศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เคยมองดูโลก ดูขันธ์ ดูสังขาร ทั้งหลาย ด้วยความอยากจะเข้าใจตามที่เป็นจริงมาแล้วเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น ความรู้ที่เกิดขึ้นในขณะที่จิตเป็นสมาธินั้น จึงไม่มีทาง เสียหายเลย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยส่วนเดียว
คำว่า เกิด ยถาภูตญาณทัสสนะ ในที่นี้ หมายถึง การรู้การเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอย่างถูกต้องตามที่เป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อย่างที่ได้บรรยายแล้วแต่คราวก่อนๆ ซึ่งอาตมาได้สรุปใจความ ไว้แล้วสั้นๆ ว่า ถ้าเห็นตามที่เป็นจริง ก็คือเห็นว่า “ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น” ดังกล่าวแล้ว ฮือๆ ทำไมเราต้อง เป็นผู้ผิดหวังอีกแล้ว ไม่น่าเป็นเราเลย ทำไมไม่เป็นคนอื่น
เมื่อก่อนทุกข์ เพราะยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นตัวเรา เป็นของของเรา เลยไม่รู้ตาม ความเป็นจริง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
27
ธรรมทั้งปวง ไม่ควรเข้าไปยึดถือ คือบทสรุป “ไตรลักษณ์” เพราะฉะนั้น เราจะต้องเข้าใจคำสรุปที่สั้นที่สุดของพุทธศาสนา หรือของไตรลักษณ์ ๓ ประการนั้นให้ชัดเจน พระบาลีนั้นมีอยู่ว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย แต่เป็นบาลีจำยากก็เอาแต่คำไทยๆ ก็แล้วกัน ซึ่งแปลว่า “ธรรมทั้งปวง ไม่ควรจะเข้าไปยึดถือเลย”
คำว่า ธรรม หรือ สิ่งทั้งปวง ไม่ว่าอะไรๆ ไม่ควรเข้าไปยึดถือเลยนี้ ก็คือ ไม่ควรเข้าไปยึดว่า เป็นตัวเป็นตน ว่าของตน ว่าดี ว่าชั่ว หรือกลางๆ ว่าน่าเอา ไม่น่าเอา น่ารัก หรือน่าชัง อย่างนี้เป็นต้น ถ้าเข้าไปมีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในทางพอใจก็ตาม ไม่พอใจก็ตาม เรียกว่าเข้าไปยึดถือในสิ่งนั้น
ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ต้องเข้าไปกอบโกยเอามาที่บ้านเป็นของ ของเราทำนองนี้ก็หามิได้ แม้เพียงแต่รู้สึกคิดนึก หรือความระลึกถึง เท่านั้นก็ยังได้ชื่อว่าเป็นการยึดถือในที่นี้ ถ้าหากไประลึกถึงด้วยความรัก ความพอใจ ความไม่พอใจ ความเป็นห่วง ความวิตกกังวลอะไรต่างๆ ข้อที่ว่า ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น นี่ก็มาจากหลักที่ว่า ไม่มีอะไรที่น่า ยึดถือ นั่นเอง ถ้าน่ายึดถือ ก็หมายความว่า น่าเอา น่าเป็น 28 คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ”
ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ว่าน่าเอา น่าเป็น ก็ไม่เกี่ยวข้องกับความทุกข์ ตัวอย่างในเรื่องเอา ก็คือการปักใจในทรัพย์สมบัติ เงินทอง สัตว์ สิ่งของ อันเป็นที่พอใจต่างๆ การเป็น ก็คือการถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นผู้ชายเป็นผู้หญิง เป็นสามีภรรยา เป็นพ่อแม่ เป็นลูกหลาน เป็นคนมั่งมีคนเข็ญใจ เป็นคน แพ้คนชนะ เป็นคนปกครองเขาหรือถูกเขาปกครอง เป็นคนทำคนอื่น เป็นคนถูกคนอื่นทำ เป็นคนดีคนชั่ว กระทั่งเป็นมนุษย์หรือเป็นสัตว์ เป็น เทวดาหรือเป็นพรหม เป็นอะไรทุกๆ อย่าง นี่เรียกว่า ความเป็น กระทั่ง ความเป็นตัวเองหรือความเป็นตัวเราก็ตาม
ถ้าพิจารณาเห็นลึกซึ้งจนถึงว่า แม้ความยึดถือว่าตัวเองเป็นคนนี้ ก็ไม่น่าสนุก น่าเอือมระอา เพราะเป็นที่ตั้งของความทุกข์ ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับความยึดถือว่าเป็นคนนี้เสียได้ ก็จะไม่เป็นความทุกข์
เหล่านี้เรียกว่าเห็นความไม่น่าเป็น ซึ่งมีใจความสำคัญอยู่ตรงที่ ว่า ไม่ว่าจะเป็นชนิดไหน ก็ต้องมีความทุกข์ตามแบบของความเป็นชนิด นั้น เพราะว่าความเป็นอะไรๆ นี้ มันต้องทนเป็น ทนอยู่ ทนดำรงอยู่ ต้องมีการต่อสู้เพื่อให้ได้เป็นหรือเป็นอยู่ อย่างน้อยที่สุดก็คือความต่อสู้ ในทางใจ ในการที่จะยึดถือเอาความเป็นอะไรๆ ของตนไว้ให้ได้ นี่ก็เรียก ว่าเป็นความต่อสู้เหมือนกัน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
29
การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการเอา การเป็น อะไรก็ตาม ล้วนเกิดมาจากอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น ไอ้เด็กเมื่อวานซืน ! มาดูถูกเราอีกแล้ว เจ้านายก็ไม่เห็นหัวเรา ไปยกตำแหน่งหัวหน้า ให้มันทำไม !
เมื่อมีตน หรือมีตัวตนของตนแล้ว ก็จะต้องมีอะไรๆ ของตน ภายนอกตนออกไปอีก คือมีตนอื่นซึ่งเป็นของตนนี้ ฉะนั้น จึงมีลูก ของตน เมียของตน อะไรๆ ของตนอีกหลายๆ อย่าง จนกระทั่งมีหน้าที่ แห่งความเป็นผัว เป็นเมีย ความเป็นนาย เป็นบ่าว ความเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ของตนขึ้นมา ทั้งหมดนี้เป็นการชี้ให้เห็นความจริงในข้อที่ว่า...
“ความเป็น” ทุกชนิด ต้องมีการต่อสู้ เพื่อดำรงเอาความเป็นนั้นๆ ไว้เสมอไป ไม่มีความเป็นชนิดไหน ที่ไม่ต้องอาศัยการดิ้นรนต่อสู้ เพื่อดำรงความเป็นนั้นไว้ การดิ้นรนต่อสู้นั้น ก็คือผลหรือปฏิกิริยาของอุปาทาน ซึ่งทำการยึดถือสิ่งต่างๆ หรือยึดถือความเป็นต่างๆ นั่นเอง ...สนุกกับภาษาบาลี และพุทธภาษิต...
สุวิชาโน ภวํ โหติ (สุวิชาโน ภะวัง โหติ) แปลว่า ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ
30 คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “สมาธิ และ วิปัสสนา ตามธรรมชาติ”