สวดมนต์ ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย

Page 1


พบวิธีเอาชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย ตามแบบพระพุทธเจ้า พร้อมบทสวดพาหุงมหากา, โพชฌังคปริตร มนต์พิชิตโรค, รัตนสูตร คาถาป้องกันภัย, คาถาอุณหิสสวิชัย มนต์คาถาชนะความตาย

บรรณาธิการสาระ/เรียบเรียง : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ บรรณาธิการศิลปะ/ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา, ธนรัตน์ ไทยพานิช, ชิชกาน ทองสิงห์ ศิลปกรรมรูปเล่ม : วันดี ตามเที่ยงตรง พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์


ธรรมทาน

สานสุข

สังคมไทยเราอยู่ร่มเย็นเป็นสุขอยู่ได้ทุกวันนี้ นอกจากด้วยพระบารมี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ่อหลวงของปวงชนชาวไทยแล้ว สิ่งหนึ่ง คือความที่คนไทยตั้งตนอยู่ในหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา และ ทั้งสองประการนี้เมื่อผนวกเข้าด้วยกันจึงสามารถดำรงความเป็นชาติไทยมาได้ เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนต้องเชิดชูและหวงแหนไว้ซึ่งสถาบันทั้ง ๓ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในสถาบันทั้ง ๓ นั้น ท่านวางศาสนาไว้ ตรงกลาง ก็เพื่อเป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า ศาสนาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะ ช่วยพยุงอุ้มชูสถาบันอื่นให้มีอยู่ต่อไป เพราะแกนหลักของชาติก็ดี ของพระมหากษัตริย์ก็ดี อยู่ที่บุคคลในชาติมีคุณธรรม จริยธรรม มีความสำนึกที่ดี

ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของพระพุทธศาสนาที่ช่วยกล่อมเกลาให้คนในประเทศเป็น คนดีมีศีลธรรม จริยธรรม การช่วยกันบอกต่อ แนะนำ หรือพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน ให้ขยายวงกว้างออกไปให้มากที่สุด ยิ่งมากยิ่งดี ย่อมก่อเป็นธรรมนิวเคลียร์ จากหนึ่งเป็นสิบ จากสิบเป็นร้อย จากร้อยเป็นพัน จากพันเป็นหมื่น จากหมื่น เป็นแสน จากแสนเป็นล้าน จากล้านเป็นล้านล้านทั่วโลกแตกกระจายออกไป อย่างไม่มีวันสิ้นสุด ปัญหาทุกปัญหาแก้ได้ด้วยธรรมะ ธรรมะหนึ่งข้อจากหนังสือหนึ่งเล่ม ช่วยผู้ที่กำลังทุกข์ให้พ้นทุกข์ได้ ช่วยผู้ที่หมดกำลังใจให้มีกำลังใจต่อสู้ ดังนั้น ผู้ให้ธรรมทานจึงเปรียบเสมือนผู้ให้ชีวิตใหม่ ให้ความเป็นมนุษย์ ย่อมได้อานิสงส์ มากมายมหาศาล สมดังพระพุทธดำรัสว่า สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง๑ ๑

ที่มา : พระไตรปิฎกบาลีภาษาไทย ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๕ หน้า ๖๓


คำนำ

สิ่งที่คุกคามชีวิตและเป็นที่เกรงกลัวที่สุดของมนุษย์มีมากมายหลายประการ แตกต่างกันไป เช่น กลัวจน กลัวคนไม่รัก กลัวสอบตก กลัวเจ้าหนี้ กลัวตกงาน กลัว อดอยาก แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับมนุษย์ ก็คือ ความตาย เพราะเมื่อความตาย ย่างกรายมาถึง นั่นหมายถึงความสิ้นสุดของชีวิต และการพลัดพรากจากทรัพย์สิ่งของ และคนที่รัก แม้กระทั่งร่างกายก็ต้องทิ้งไป นอกจากความตายแล้วยังมีสิ่งที่น่ากลัว สำหรับมนุษย์อีก ๒ อย่าง คือ โรคภัยไข้เจ็บ และ อุบัติเหตุเภทภัยต่างๆ จะดีสักเพียงไรหนอ หากสามารถเอาชนะสิ่งที่คุกคามชีวิตทั้ง ๓ อย่างนั้นได้ คำตอบคือดีแน่และดีมากๆ ด้วย แต่จะเอาชนะด้วยวิธีใด เพราะสิ่งทั้ง ๓ อย่างนั้น เป็นของมีอยู่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ ที่ทุกคนจะต้องประสบพบเจอ แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีไม่พ้น หนังสือ สวดมนต์ ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย เล่มนี้ ไม่ได้เขียนขึ้น เพื่อที่จะให้ท่านไม่ป่วย ไม่มีภัย และไม่ตาย เพราะไม่มีใครสามารถทำอย่างนั้นได้ แต่หนังสือเล่มนี้มุ่งไปที่วิธีทำอย่างไรจึงจะไม่ทุกข์ในยามเจ็บป่วย มีภัย และเผชิญหน้า กับความตาย ซึ่งผู้อ่านสามารถนำไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สุขแก่ ตนเอง ครอบครัว และคนรอบข้างได้ ความดีที่เกิดจากหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และมอบเป็นกตเวทิตาคุณแก่บิดามารดา ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณทุกท่าน ขอบคุณทีมงานทุกท่านที่ช่วยกันคิด สร้างสรรค์ และใส่ใจลงมือทำด้วยความละเอียด พิถีพิถันจนหนังสือเล่มนี้สำเร็จเป็นรูปเล่มดังที่เห็น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จักเอื้อประโยชน์สุขแก่ทุกท่านได้เป็นอย่างดี จิรํ ทิปฺปตุ โลกสฺมึ สมฺมาสมฺพุทฺธสาสนํ ขอพระศาสนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงเจริญรุ่งเรืองอยู่ในโลก ตลอดกาลนาน ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ (น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, พธ.บ.) บรรณาธิการ/เรียบเรียง


สารบัญ พุทธวิธีช นะโรค

โรคคืออะไร ๖ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ๘ โรคในมุมมองของพุทธศาสนา ๙ สาเหตุของการเกิดโรค ๑๐ วิธีป้องกันและรับมือกับการป่วย ๑๒ การดูแลสุขภาพกาย ๑๒ การดูแลสุขภาพทางใจ ๑๕ จะทำอย่างไรเมื่อเจ็บป่วย ๑๘ ๔ พุทธวิธีรักษาโรคกรรม ๒๖ สาเหตุที่รักษาโรคด้วยพุทธวิธีไม่ได้ผล ๓๕

พุทธวิธ ีชนะภัย

ความหมายของ คำว่า ภัย ประเภทของภัย ภัยภายในร้ายกว่าภัยภายนอก โลกจะแตกแน่ แต่ไม่ใช่ตอนนี ้ วิธีป้องกันภัย สร้างความดีไว้ในใจ เป็นเกราะกันภัยได้อย่างดี ความดีที่ช่วยป้องกันภัย ๔ ประการ

พุทธวิธีชนะความตาย

๓๖ ๓๖ ๔๐ ๔๒ ๔๓ ๔๘ ๔๘

เทวดาถึงฆาต แต่ไม่ตาย ๕๑ พุทธวิธีช่วยให้พ้นตายมีจริง แต่ไม่ถาวร ๕๓

หนีความตายไม่ได้ แต่เลือกตายดีได้ สาเหตุของคนกลัวตาย ทำอย่างไรจึงจะไม่กลัวตาย ทำอย่างไรจึงจะตายดี ตายดี มีข้อปฏิบัติดังนี ้

๕๔ ๕๕ ๕๖ ๕๘ ๖๐

๑. บทกราบพระรัตนตรัย ๒. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า ๓. บทไตรสรณคมน์ ๔. บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ๕. บทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง) ๖. บทชยปริตตัง (มหากา) ๗. บทสัพพมงคลคาถา ๘. บทอิติปิโสเท่าอายุ+๑ ๙. บทโพชฌังคปริตร ๑๐. บทรัตนสูตร ๑๑. บทอุณหิสสวิชยคาถา ๑๒. บทแผ่เมตตาให้ตนเอง ๑๓. บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ ๑๔. บทอุทิศผลบุญแก่สรรพสัตว์ และเจ้ากรรมนายเวร

๖๗ ๖๗ ๖๘ ๖๘ ๖๙ ๗๑ ๗๒ ๗๓ ๗๓ ๗๔ ๗๖ ๗๗ ๗๘ ๗๙

สวดมนต์ ทำดีง่ายๆ แต่ได้บารมี ๑๐ ประการ


“บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใดๆ เขาก็จะเป็นผู้มีโรคมาก

ที่มา : จูฬกัมมวิภังคสูตร พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้า ๓๕๑ ข้อที่ ๒๙๑


พุทธวิธีชนะโรค โรคคืออะไร

โรค คือ ความเจ็บไข้ได้ป่วยอันเนื่องมาจากความผิดปกติของร่างกาย และจิ ตใจ คำว่า โรค นี้ มาจากคำบาลีว่า โรโค หรือ โรคะ แปลว่า เสียบแทง หมายถึง สิ่งที่เสียบแทงร่างกายและจิตใจให้เจ็บปวด เสียหาย เสื่อมสลาย จนถึงใช้การไม่ได้ เหมือนกับสนิมที่กัดกร่อนเหล็กให้หมดสภาพใช้การไม่ได้

โรคอาจจำแนกได้เป็น ๒ ประเภทหลักๆ คือ โรคทางกาย กับโรค

ทางจิต, โรคทางกาย ก็คือ โรคที่เกิดจากความผิดปรกติของร่างกายโดยตรง ไม่เกี่ยวกับความคิดจิตใจ ซึ่งพบได้ทั่วไป เช่น ไข้หวัด มะเร็ง เบาหวาน วัณโรค เอดส์ สมองเสื่อม โรคหัวใจ เป็นต้น, ส่วนโรคทางจิต คือ โรคที่เกิดจากความ ผิดปกติทางจิต เช่น โรคอารมณ์แปรปรวน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด อันเนื่องมาจากปัญหาชีวิตรุมเร้า เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยเป็นโรคนี้ต้องเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลจิตเวช เช่น โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาล มนารมย์ เป็นต้น นี่ว่าด้วยโรคทางจิตตามภาษาแพทย์ หรือตามความเข้าใจของคนทั่วไป แต่ตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว โรคทางจิตนี้ หมายถึง โรคที่ทำให้ใจเป็นทุกข์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากอำนาจกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งโรค ชนิดนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า รักษายากที่สุดในโลกและติดต่อเรื้อรังร้ายแรงข้ามภพ ข้ามชาติ และยังเป็นบ่อเกิดของโรคอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งถ้าว่าไปแล้ว ผู้ที่ไม่ป่วย เป็นโรคเพราะกิเลสนี้แทบจะไม่มี และเราท่านทุกคนต่างก็ป่วยเป็นโรคนี้กันทั้งนั้น

สวดมนต์ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย


ยกเว้นแต่พระอรหันต์ หลวงปู่พุทธทาสเรียกโรคชนิดนี้ว่า โรคทางวิญญาณ๑ อาการทั่วไปของโรคนี้ ก็คือ โลภอยากได้ไม่รู้จักพอ อิจฉาตาร้อน ไม่อยากให้ คนอื่นดีกว่าตน หลงยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ว่าเป็นตัวกูของกู และความรู้สึก อื ่นๆ ที่ทำให้ใจร้อนรน กระวนกระวาย เศร้าหมอง

สรุปแล้วโรคนั้นมี ๓ ประเภทด้วยกัน คือ

๑. โรคทางกาย

๒. โรคทางจิต หรือ โรคจิต

อกหัก ตายดีกว่า

๓. โรคทางวิญญาณ (ความทุกข์ใจที่เกิดจากอำนาจกิเลส)

อ่านเพิ่มเติมในหนังสือ คู่มือมนุษย์ฉบับอ่านง่ายเข้าใจง่าย เล่ม ๓ อุปาทาน ๔ อำนาจ ของความยึดมั่น จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


ความไม่มี โรคเป็นลาภอันประเสริฐ

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า อาโรคฺยปรมา ลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภ

อันประเสริฐ๑ ที่พระองค์ตรัสเช่นนั้น ก็เพราะว่า ชีวิตที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ย่อมเป็นชีวิตที่มีความสุข สามารถทำอะไรๆ ได้อย่างเต็มที่ ทั้งไม่ต้องเป็นทุกข์ กังวลกับอาการเจ็บป่วย ดังนั้น ผู้ที่ไม่มีโรคจึงถือว่าเป็นลาภสูงสุด หากแม้นว่า มีเงินเป็นร้อยล้านพันล้าน แต่ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ตลอดเวลา ชีวิตก็หาความสุข ไม่ได้ ดังคำโฆษณายายี่ห้อหนึ่งที่ว่า “มีเงินแสนเงินล้านก็ไม่มีความหมาย หาก ร่ างกายไม่แข็งแรง” อนึ่ง ความเจ็บไข้ได้ป่วยนี้ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก มนุษย์ทุกคนล้วน ต้องประสบพบเจอกันทั้งนั้น บางคนต้องเทียวเข้าเทียวออกโรงพยาบาลพอๆ กับเดินเข้าออกบ้านตัวเอง กินยาพอๆ กับกินขนมขบเคี้ยวเสียอีก ดังนั้น คนที่ เกิดมาแล้วไม่เคยเป็นโรคหรือเจ็บไข้ได้ป่วยเลยจึงเป็นลาภอันประเสริฐยิ่ง แต่ใน หนึ่งพันจะหาคนที่ไม่เคยป่วยเลยสักคนหนึ่งนั้นยากพอๆ กับสรรหาคนดีเข้า สภานั ่นแหละ ดังนั้น ท่านที่กำลังป่วยอยู่ก็อย่าเพิ่งท้อใจ หรือหมดกำลังใจ เพราะว่า อย่างน้อยเราก็ไม่ได้ป่วยอยู่คนเดียว ยังมีคนอีกมากที่ป่วยเป็นเพื่อนเรา บางคน อาจจะป่วยร้ายแรงมากกว่าเราด้วยซ้ำไป หากคิดในแง่ดี การที่เราป่วยเป็นโรคนี้ ก็เป็นบททดสอบหนึ่งให้เราไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต เช่น บางคนทำสิ่งไม่ดี มาตลอด เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็คิดได้ กลับตัวกลับใจเป็นคนดี ในทางตรงกันข้าม คนที่ทำความดีมาตลอดแต่เจ็บป่วยลง ก็ได้แง่คิดที่ว่า การเจ็บป่วยครั้งนี้ถือว่า เป็นโอกาสดีที่จะได้ใช้กรรมเก่าที่เคยทำไว้ในอดีตให้หมดไป เกิดชาติหน้าจะได้ ไม่ต้องเจ็บป่วยเช่นนี้อีก ๑

ที่มา : พระไตรปิฎกบาลีภาษาไทย ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๕ หน้า ๔๒

สวดมนต์ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย


โรคในมุมมองของพุทธศาสนา

ความเจ็บไข้ได้ป่วยนี้ หลายคนมองว่า เป็นสิ่งเลวร้ายทำลายชีวิต ทำลายความสุข ควรที่จะหนีให้ห่างไกล แต่พระพุทธศาสนา กลับสอนให้ทำความเข้าใจและตีสนิท กับความเจ็บไข้ได้ป่วยให้เป็นเหมือน เพื่อนซี้ที่อย่างไรก็ต้องคบหาสมาคม ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ ระลึกถึงความเจ็บป่วยเป็นประจำทุกวันๆ อย่างต่อเนื่องว่า

“เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้” การที่พระองค์สอนให้พิจารณาอย่างนี้ ประการที่ ๑ ก็เพื่อให้เห็นหรือ ยอมรับความเจ็บไข้ได้ป่วยที่เกิดขึ้นแก่ตนเองหรือคนรอบข้างนั้น ว่าเป็นเรื่อง ธรรมดาที่ทุกคนจะต้องประสบพบเจอ ไม่มีใครหนีพ้นได้ การคิดแบบนี้เป็นการ เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อน หากเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมาจริงๆ จิตใจจะได้ไม่ตก หรือเป็นทุกข์วิตกกังวลจนเกินเหตุ ฝึกจิตให้รู้จักยอมรับกับความเป็นจริง และ รู้จักปล่อยวาง ประการที่ ๒ ป้องกันไม่ให้ประมาทในการใช้ชีวิต กล่าวคือ เมื่อนึกถึง ความเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นแก่ตนก็จะทำให้ตื่นตัวในการประกอบกิจการงานที่ยัง ไม่สำเร็จให้สำเร็จ หรือคุณความดีอันใดที่ยังไม่ได้ทำก็รีบเร่งทำในขณะที่ร่างกาย แข็งแรง สุขภาพยังดี ถ้าหากว่าล้มป่วยลงเมื่อใดก็จะได้ไม่นึกเสียดายภายหลัง

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


สาเหตุของการเกิดโรค

ในหนังสือ คิริมานนทสูตร พุทธฤทธิ์ พิชิตโรค ได้กล่าวถึงสาเหตุของ โรคหรือความเจ็บไข้ได้ป่วยเอาไว้ ๔ ประการ คือ ๑. อาหาร หมายถึง โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกิน เช่น รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อาหารมีเชื้อโรค อาหารรสจัด เช่น เผ็ดเกินไป เค็มเกินไป หรือรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ บุหรี่ และสิ่งเสพติดอื่นๆ ๒. อากาศ หมายถึง โรคที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอากาศ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวแดดออก รวมถึง สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ เช่น อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม ที่ปล่อยสารพิษสู่อากาศ หรือการอยู่ในสถานที่แออัดยัดเยียด ดังเช่นในสลัม ก็เป็นเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น ไข้หวัด ภูมิแพ้ โรคผิวหนัง ปอดอักเสบ เป็นต้น รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติด้วย เช่น ภาวะโลกร้อน ๓. อุบัติเหตุ หมายถึง โรคที่เกิดจาก เผ่นดีกว่า... ความประมาท เผลอสติ ไม่ทันระมัดระวัง เช่น รถชน ตกบันได เป็นผลให้สมองพิการ เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ เป็นต้น ๔. ผลแห่งกรรม หมายถึง โรคที่เกิดจากกรรมเก่า ที่ตนเคยทำไว้ในอดีตตามมาให้ผล พระพุทธเจ้าตรัสว่า การกระทำผิดศีล ข้อปาณาติบาต คือฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เบียดเบียนสัตว์อื่น ให้บาดเจ็บ เป็นเหตุให้คนอายุสั้นและมีโรคเบียดเบียน ผู้ที่เบียดเบียนทำลายชีวิตผู้อื่นไว้มาก ย่อมมีโรคมาก ผู้เบียดเบียนน้อย ย่อมมีโรคน้อย 10 สวดมนต์ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย


สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนอกจาก ๔ ข้อที่กล่าวมาแล้ว ยังมีสาเหตุที่อยาก นำมาเสนอให้รู้จักอีก ๒ ประการ คือ ๕. โรคที่เกิดจากอำนาจคุณไสย หรืออำนาจของสิ่งลี้ลับบางอย่าง ยกตัวอย่าง น้องชายของข้าพเจ้าเอง ไปบนบานกับศาลเจ้าปู่ที่ไร่ไว้ว่า ถ้าถูกหวย จะเลี้ยงสุราและอาหารเป็นการตอบแทน แต่เมื่อถูกหวยแล้วกลับลืม ผ่านไปได้ ระยะหนึ่งก็เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ไปที่โรงพยาบาล คุณหมอก็ตรวจไม่พบ สาเหตุ ปวดมากจนเกิดอาการละเมอเพ้อพก จนมารู้ภายหลังว่าไปบนไว้กับเจ้าปู่ พ่อกับแม่จึงพากันไปเลี้ยงสุราอาหารเพื่อแก้บน เท่านั้นอาการที่ปวดหัวก็หายไป ทันที ข้อนี้อาจยังเป็นที่กังขาสำหรับบางท่านว่าโรคที่เกิดจากอำนาจคุณไสยหรือ ผีเจ้าเข้าสิงจะมีจริงหรือไม่ แต่สำหรับบางท่านที่เคยสัมผัสหรือมีประสบการณ์ กับเรื่องนี้มาก่อน ย่อมมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นว่า มีอยู่จริง ๖. โรคที่เกิดจากกรรมเชิงโครงสร้าง คือ โรคที่เกิดจากการกระทำ ผิดกฎธรรมชาติของคนหมู่มาก ยกตัวอย่างเช่น ธรรมชาติสร้างให้ชายกับหญิง มีเพศสัมพันธ์เพื่อสืบพันธุ์ มีลูก มีหลาน แต่ในปัจจุบันมนุษย์ส่วนมากเสพกามเพื่อความสนุก สำส่อน บ่ อ นเกิ ดเอดส์ ระบายความใคร่ หญิงที่ขายบริการก็เสพกามเพื่อเงิน และในคนบางกลุ่มมีการเสพกามที่วิปริตวิตถาร ผิดศีลธรรม บางครั้งไม่แตกต่างจากสัตว์ดิรัจฉาน เพราะมนุษย์เสพกามอย่างลุ่มหลง ไม่ตรงตามกฎธรรมชาติ จึงส่งผลให้เกิดโทษ คือ โรคเอดส์ โรคติดต่อร้ายแรงและยังไม่มีทางรักษา ไม่เฉพาะแต่เท่านี้ พืช ผัก ผลไม้ ตลอดถึง เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ปลูกหรือเลี้ยงด้วยสารเคมี สารเร่งโต จัดว่าเป็นสิ่งผิดธรรมชาติ และส่งผลให้คนป่วยเป็นโรคต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 11


วิธีป้องกันและรับมือกับการป่วย

ความเจ็บไข้ได้ป่วย เปรียบเหมือนของแจกฟรีที่เราไม่ต้องการ แต่ ธรรมชาติก็มอบให้มาด้วยความเต็มใจ ซึ่งของแจกฟรีนี้ต่างได้รับทุกคนโดย ทั่วหน้ากัน จะต่างกันบ้างก็แต่ว่า ใครจะได้รับเมื่อไร อย่างไร มากน้อยแค่ไหน และบ่อยครั้งหรือนานๆ ที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่สุขภาพของแต่ละคน กล่าวคือ ผู้ที่ดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจดีย่อมมีภูมิต้านทานโรคที่ดีและเจ็บไข้ ได้ป่วยน้อย ไม่รุนแรง รักษาให้หายขาดได้เร็ว ต่างจากผู้ที่ไม่ค่อยเอาใจใส่ดูแล สุขภาพ จะเจ็บป่วยบ่อย แต่ละครั้งก็หนักและรักษาให้หายได้ยาก การดูแลสุขภาพจึงมีความสำคัญ เป็นวิธีป้องกันโรคและเป็นการเตรียมตัว รับมือกับการป่วยที่ดีที่สุด ซึ่งการดูแลสุขภาพนี้แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ การดูแล สุขภาพทางร่างกายอย่างหนึ่ง และการดูแลสุขภาพทางด้านจิตใจอย่างหนึ่ง ซึ่งทั้ง ๒ อย่างนี้ต้องทำควบคู่กันไปจึงจะเกิดประสิทธิผล

เลือกกินอาหาร ที่มีประโยชน์ จะทำให้แข็งแรง เหมือนปู่นะ

๑. การดูแลสุขภาพกาย อาจจำแนกออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้ ๑) ใส่ใจอาหาร คือ เลือก รับประทานอาหารที่สะอาด มีประโยชน์ ถูกสุขอนามัย กินอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยง อาหารรสจัด และอาหารขยะ คือ อาหารประเภทกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น รวมถึง เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ทั้งหลายด้วย

12 สวดมนต์ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย


๒) ใส่ใจอากาศ คือ หาเวลาพักผ่อนหย่อนใจ ตามสวนสาธารณะหรือ ต่างจังหวัดเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงการสูดดมมลพิษ เพราะโดยเฉลี่ย แล้วคนที่อยู่กับธรรมชาติจะมีสุขภาพดี ป่วยน้อย และมีอายุยืนมากกว่าคนใน เมื องกรุง ดังนั้น อากาศสภาพแวดล้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพ

๓) ใส่ใจออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยให้ร่างกาย แข็งแรง กระฉับกระเฉง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่าย คนที่ไม่ค่อยออกกำลังร่างกาย มักอ่อนแอ มีภูมิต้านทานน้อย เช่น บางคนอากาศเปลี่ยนนิดหน่อยก็เริ่มมีอาการ เป็นหวัดแล้ว ตามสถิติของโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาส่วนมากเกิดจาก การกินเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และสำหรับท่าน ที่ไม่มีเวลาก็ควรหากิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ทำให้ร่างกายได้ยืดเส้นยืดสายบ้าง เช่น เดินขึ้นบันไดในที่ทำงานแทนการใช้ลิฟต์ เดินแทนการนั่งรถถ้าระยะทางไม่ไกลนัก หรื อใช้วิธีเกร็งกล้ามเนื้อแขนขาขณะทำงาน หรือก่อนอาบน้ำ เป็นต้น

๔) ใส่ใจการนอน นอกจากอาหาร อากาศ และการออกกำลังกายแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่ช่วยให้ห่างไกลโรค คือการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ คือควรให้ได้อย่างน้อยคืนละ ๘ ชั่วโมง เวลา ๓ ทุ่มถึงตี ๕ เป็นเวลาที่เหมาะที่สุด สำหรับการนอน ผู้ที่นอนหลับพักผ่อนเต็มที่ จะทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สมองปลอดโปร่ง และช่วยชะลอความแก่ก่อนวัยได้ด้วย แต่ไม่ควรนอนกลางวัน สำหรับท่านที่นอนไม่หลับหรือหลับยาก มีผู้แนะนำให้หาหินก้อนกลมมากำไว้ในมือแน่นๆ แล้วคลายออก ๕ - ๑๐ ครั้ง จะช่วยให้สมองคลายเครียดและหลับสบาย หรือให้รับประทานน้ำตาลทราย แดง ๒ ช้อนก่อนนอน จะทำให้หลับเร็วขึ้น แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 13


ในหนังสือ นาฬิกาชีวิต เขียนโดย อาจารย์สุทธิวัสส์ คำภา ได้กล่าวไว้ว่าอวัยวะทุกส่วนในร่างกายของเรา ทำหน้าที่ในเวลา ที่แตกต่างกัน ถ้าหากเรารู้ว่าช่วงเวลาใด อวัยวะส่วนไหนทำหน้าที่ อะไร และควรที่จะปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้อวัยวะส่วนนั้นๆ ทำหน้าที่ได้สะดวก หรือหยุดพัก จะช่วยป้องกันโรคและทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ต้านทาน โรคได้ดี ซึ่งข้อปฏิบัติดังกล่าวพอสรุปออกมาเป็นตารางได้ ดังนี้

เวลา อวัยวะที่ทำงาน ๐๕.๐๐-๐๗.๐๐ ลำไส้ใหญ่

๐๗.๐๐-๐๙.๐๐ ๐๘.๐๐ ๐๙.๐๐ ๐๙.๐๐-๑๑.๐๐ ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ ๑๔.๐๐ ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ ๑๕.๐๐-๑๗.๐๐ ๑๗.๐๐-๑๙.๐๐ ๑๙.๐๐-๒๑.๐๐ ๒๒.๐๐-๒๓.๐๐ ๒๓.๐๐-๐๑.๐๐ ๐๑.๐๐-๐๓.๐๐ ๐๓.๐๐-๐๕.๐๐

รับประทานอาหารเช้า ทำสมาธิ ฟังเพลง ไม่เครียด เหมาะสำหรับการทำงาน ท่องจำ ลุยงาน ห้ามนอน รับประทานอาหารเที่ยง คิดงานสร้างสรรค์ งานอดิเรก งดกินอาหารทุกชนิด ออกกำลังกายทำให้เหงื่อออก หากกลั้นปัสสาวะจะทำให้เหงื่อเหม็น ควรทำตัวให้สดชื่น, อาบน้ำอุ่น ควรสวดมนต์ ทำสมาธิ ทำใจสงบ นอนพักผ่อน ทำร่างกายให้อบอุ่น ควรดื่มน้ำก่อน ๒๓.๐๐ น. ควรหลับพักผ่อน งดการกิน ตื่นขึ้นมาสูดอากาศตอนเช้า

กระเพาะ เลือดเข้มข้น สมองส่วนความจำ ระบบไหลเวียนโลหิต, ม้าม กระเพาะพร้อมทำงาน สมองซีกศิลปะ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ การไหลเวียนโลหิตดี ไต เยื่อหุ้มหัวใจ อุณหภูมิร่างกายต่ำ ถุงน้ำดีทำงาน ตับ ปอด

14 สวดมนต์ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย

ข้อควรปฏิบัต ิ

ขับถ่าย


๒. การดูแลสุขภาพทางใจ

การดูแลสุขภาพทางใจนี้ ตามหลักพระพุทธศาสนาถือเป็นเรื่องที่สำคัญ มาก จะถือว่าสำคัญกว่าร่างกายก็ว่าได้ เพราะพระพุทธศาสนาถือว่าใจเป็นสิ่งที่มี อำนาจสูงสุดเหนือร่างกาย คนที่มีสุขภาพจิตดี แจ่มใส เบิกบาน มีกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลงน้อย มีกำลังใจที่ดี คิดในแง่ดี มีจิตเมตตาต่อผู้อื่นอยู่เสมอ จะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงสดชื่น กระฉับกระเฉง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ การ หมั่นดูแลสุขภาพจิตจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งมีหลากหลายวิธีด้วยกัน อาทิเช่น ยิ้มวันละนิด จิตแจ่มใส ๑. ยิ้มให้กับตนเอง ตื่นนอนก่อนลุกจากที่นอน สูดลมหายใจเข้าเต็มปอดแล้วค่อยผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ยิ้มที่มุมปากนิดๆ แล้วบอกกับตัวเองว่า “วันนี้ เป็นวันที่ดีที่สุด สำหรับการทำงาน ไปเรียน หรือทำสิ่งที่ดีๆ สำหรับตนเอง” สัญญากับตนเองว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจะไม่โกรธ ไม่เครียด จะมีสติรักษาใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ ๒. หัวเราะให้ได้วันละ ๕ ครั้ง การหัวเราะเป็นยาอายุวัฒนะ หัวเราะ ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยชะลอความแก่ ทุกวัน รักษาความเป็นหนุ่มเป็นสาวไว้ได้นาน อายุยืน โดยไม่ต้องพึ่งพาหมอศัลยกรรม นะจ๊ะ จะหัวเราะกับเพื่อนหรือแอบหัวเราะคนเดียวก็ได้ทั้งนั้น ไม่ผิดกติกา มีภาษิตบทหนึ่งเขาบอกว่า หัวเราะหนึ่งครั้ง อายุยืนห้านาที นี้คือ ความมหัศจรรย์ของการหัวเราะ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 15


อะระหัง สัมมา...

๓. สวดมนต์วันละ ๕ นาทีก่อนนอน๑ การตั้งใจสวดมนต์ ด้วยการเปล่งเสียงเบาๆ เป็นจังหวะ ช่วยให้จิตสงบ เป็นสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน คลายอาการเครียดจากเรื่องต่างๆ ได้ดี การเปล่งเสียงสวดมนต์แต่ละครั้งยังช่วยให้ปอดได้ทำงาน ส่งผลให้สุขภาพร่างกายดีตามไปด้วย การสวดมนต์ก่อนนอน จะช่วยให้หลับง่าย ฝันดี พักผ่อนได้เต็มที่ ๔. ทำสมาธิ การทำสมาธิ ก็คือ การเอาจิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ตามที่กำหนด ๕-๑๐ นาที หรือมากกว่านี้ มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น

๔.๑) การตั้งใจกำหนดดูลมหายใจของตัวเองขณะหายใจเข้า-ออก, หายใจเข้าก็ให้รู้ว่าหายใจเข้า, หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก, หรือจะกล่าวคำ บริกรรมในใจกำกับด้วยก็ได้ เช่น หายใจเข้ากำหนดว่า พุท, หายใจออกกำหนด ว่า โธ เป็นต้น กำหนดอย่างนี้ติดต่อกันไปเรื่อยๆ พยายามอย่าให้จิตวอกแวก ออกไปที่อื่น หากเผลอไปคิดเรื่องอื่น เมื่อรู้ตัวให้ดึงจิตมากำหนดที่ลมหายใจเข้าออกเหมื อนเดิม ๔.๒) หากไม่กำหนด พุทโธ จะใช้วิธีการนับก็ได้ เช่น หายใจเข้านับ ๑ หายใจออกนับ ๑, หายใจเข้านับ ๒ หายใจออกนับ ๒, เข้า ๓ ออก ๓, เรื่อยไปจนถึงเข้า ๑๐ ออก ๑๐, ๑ แล้วกลับมานับ เข้า ๑ ออก ๑ ใหม่อย่างนี้ก็ได้ ๑

ดูบทสวดมนต์ในเล่มหน้า ๖๗ ผู้ที่สนใจ VCD สวดมนต์กล่อมนอน ติดต่อสอบถามได้ที่ โทรศัพท์ ๐๒-๘๗๒-๗๒๒๗, หรือ WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.COM

16 สวดมนต์ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย


๔.๓) หรือจะทำสมาธิด้วยการนอนก็ได้ โดยนอนหงายราบกับพื้น มือทั้งสองข้างวางแนบลำตัว หลับตา ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วน จากนั้นให้ จินตนาการว่าตัวเองเป็นก้อนหินที่กำลังค่อยๆ จมดิ่งลงสู่ก้นทะเล ลึกลงไปๆ อย่างช้าๆ จนสัมผัสกับพื้นดิน จินตนาการว่าตัวเรากำลังล่องลอยไปกับสายน้ำ อย่างแผ่วเบา ที่สุดร่างกายก็ค่อยสลายกลายเป็นสายน้ำ ล่องลอยไป ไม่เหลือ

ตั วตน ว่างเปล่า การทำสมาธิอย่างนี้จะช่วยให้หายเครียดได้ดี

๔.๔) ถ้าทำทั้ง ๓ ข้อแล้วไม่ได้ผล จะทำสมาธิด้วยการจดจำสิ่งของ ก็ได้ วิธีนี้เป็นวิธีที่สนุกและไม่น่าเบื่อ มีประโยชน์ด้านจิตใจและสมาธิสูง เบื้องต้น ให้จดรายชื่อสิ่งของลงกระดาษสัก ๑๐ อย่าง อะไรก็ได้ เช่น ดินสอ กะหล่ำดอก พัดลม โทรศัพท์มือถือ มะม่วง แหวน ข้าวโพด ทีวี บุหรี่ รถยนต์ เสร็จแล้ว ให้เริ่มหลับตาแล้วจินตนาการภาพดินสอแท่งใหญ่มีแขนขา หน้าตาตลก กำลัง วางกะหล่ำดอกสีขาวไว้บนหัว เมื่อมองลงไปในดอกกะหล่ำ ปรากฏว่ามีพัดลม หลายร้อยตัวกำลังพากันวิ่งไล่จับโทรศัพท์สีดำขนาดยักษ์ที่มีปุ่มกดทำด้วยมะม่วง เมื่อยกมะม่วงออกก็มีแหวนเป็นหมื่นเป็นพันไหลออกมา กองรวมกันเป็นข้าวโพด ฝักเท่าภูเขา ซึ่งข้าวโพดนี้แปลกมีลูกกะตาเป็นจอทีวีขนาดใหญ่ และเมื่อมอง เข้าไปในจอทีวีก็มีบุหรี่หลายพันมวนกระโดดออกมา แล้ววิ่งขึ้นไปนั่งบนรถยนต์ แล้วขับหนีไป จากนั้นให้ทบทวนอีกครั้งตั้งแต่ดินสอแท่งโต มีกะหล่ำดอกบนศีรษะ ในดอกกะหล่ำเต็มไปด้วยพัดลมหลายพันตัว ที่กรูกันเข้าจับโทรศัพท์มือถือสีดำ ที่มีปุ่มกดเป็นมะม่วง และเมื่อยกมะม่วงขึ้นก็มีแหวนพรั่งพรูออกมา วิ่งไปรวมกัน เป็นรูปข้าวโพดขนาดยักษ์ ข้าวโพดที่ว่านี้มีดวงตาเป็นทีวี เมื่อเปิดทีวีขึ้นก็มีบุหรี่ ไหลออกมา วิ่งไปขึ้นรถขับหนีไป ลองทำดู การสร้างเรื่องเพื่อจำสิ่งของแบบนี้ เคล็ดลับคือ นะครับ ต้องสร้างภาพให้เกินจริงเข้าไว้ เช่น มีขนาดเกินจริง หรือทำสิ่งที่ไม่มีชีวิตให้มีชีวิต เป็นต้น การทำสมาธิอย่างนี้ จะช่วยให้สนุกและคลายเครียดได้ด ี สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 17


จะทำอย่างไรเมื่อเจ็บป่วย

ผู้คนส่วนใหญ่ แม้จะรู้ว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็ยาก ที่จะทำใจให้ยอมรับได้ ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคเล็กๆ น้อยๆ ไม่ถึงกับร้ายแรง เช่น เป็นไข้หวัดธรรมดาก็คงไม่เดือดร้อนใจอะไรมากนัก แต่ถ้าเป็นโรคที่หนัก และต้องอาศัยเวลาในการรักษา หรือป่วยเป็นโรคร้ายแรงถึงขั้นรักษาไม่หาย ยังไง ก็ไม่รอดแน่ ตายสถานเดียว ถ้าเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่เคยเตรียมตัว เตรียมใจมาก่อนก็ยากที่จะทำใจให้ยอมรับได้ และทำให้สูญเสียกำลังใจจนหมดสิ้น เมื่อสูญเสียกำลังใจ จิตใจก็ห่อเหี่ยว เป็นทุกข์ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ป่วยหนักขึ้น และตายเร็วขึ้น ดังนั้น ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย คือ

๑. รักษากำลังใจอย่าให้ตก

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มนุษย์นั้นประกอบขึ้น ด้วยส่วนสำคัญ ๒ ประการ คือ ๑. ร่างกาย ๒. จิตใจ ป่วยกาย ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มีความสัมพันธ์กัน ใจไม่ป่วย และระหว่างกายกับใจ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ใจสำคัญที่สุด คนทั่วไปเมื่อรู้ว่า ตัวเองเจ็บป่วย มักเกิดความกังวล และสูญเสียความเบิกบานสำราญใจ ห่อเหี่ยวหดหู่ ยิ่งถ้าเกิด อาการป่วยหนัก ความทุกข์กังวลก็จะทวีคูณเพิ่มมากขึ้น เพราะโดยธรรมชาติ ของคนที่ป่วยมักจะเกิดความน้อยใจในความโชคร้ายของตน ทำให้เกิดความ ว้าเหว่ใจ กำลังใจเริ่มตก คนป่วยที่กำลังใจตก แม้ป่วยน้อยก็จะกลายเป็นหนัก ถ้าป่วยหนักก็จะทรุดเร็วยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น อันดับแรกเมื่อรู้สึกว่าตัวเองกำลังป่วยหรือป่วยแล้ว ไม่ว่า จะหนักหรือเบา จะต้องรักษากำลังใจให้เข้มแข็ง อย่าให้กำลังใจตก มีเพื่อน คนหนึ่งเคยบอกกับผู้เขียนว่า หลายครั้งที่เขาเริ่มรู้สึกว่าตัวเองจะป่วย เขาจะบอก 18 สวดมนต์ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย


กับตัวเองเสมอว่า “ไม่ป่วย เราต้องไม่ป่วย เราต้องไม่อ่อนแอ ต้องเอาชนะมัน

ให้ได้” จากนั้นก็พยายามทำตัวให้เป็นปกติ ไม่ให้กายและใจอ่อนแอ เมื่อทำ เช่นนั้นแล้วอาการที่จะเริ่มป่วยของเขาก็หายไป การรักษาใจของตนไม่ให้ป่วยตามร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ที่ผู้ป่วยจะต้องรักษาหรือสร้างให้เกิดมีขึ้น เพราะหากผู้ป่วยมีกำลังใจที่เข้มแข็ง แล้ว โอกาสที่จะหายจากโรคก็มีมากกว่าครึ่งและหายได้เร็วอีกด้วย อนึ่ง ผู้ที่ดูแล คนป่วยหรือคนใกล้ชิดก็ควรเอาใจใส่ในจุดนี้ คือต้องพยายามพูดหรือทำในสิ่งที่ สร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยมีกำลังใจ ไม่ท้อแท้อ่อนแอ และมีแรงที่จะต่อสู้กับโรคที่ เป็นอยู่ ถ้าทำได้เชื่อเหลือเกินว่า ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคอะไร ก็จะรักษาให้หายได้ ไม่ยาก

๒. ทำใจให้ยอมรับกับความจริง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคแล้วรักษา ให้หายได้ยาก นอกจากมีกำลังใจ ที่อ่อนแอแล้ว อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ยอมรับอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น กับตนเองไม่ได้ จากที่เคยสุขภาพ แข็งแรง อยากจะทำอะไรก็ทำได้ อยากไปไหนก็ได้ไป กลับต้องมา นอนซมอยู่กับที่ อ่อนเพลีย ปวดหัว ตัวร้อน ทำอะไรก็ไม่ได้ และอยากหายเร็วๆ จึงทำให้หงุดหงิดใจ อีกอย่างก็กังวล เกรงว่าโรคที่เป็นอยู่จะรักษาไม่หาย กลัวว่าตัวเองจะตาย บ้างก็รู้สึกน้อยใจว่า เหตุใดจึงโชคร้ายอย่างนี้ พลันเกิดคิดฟุ้งซ่านไปต่างๆ นานา ถึงกับคิดฆ่าตัวตาย ก็มี

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 19


แต่ถ้าเรายอมรับหรือเปิดใจให้กว้าง มองไปรอบๆ ตัว เราก็จะเห็นว่า มีคนอีกมากมายที่เจ็บป่วยเหมือนกับเรา ใช่จะมีแต่เราคนเดียวซะเมื่อไร บางคน โชคร้ายมากกว่าเรา เป็นโรคที่ร้ายแรงกว่าเราก็มีอยู่มาก ความเจ็บไข้เป็นเรื่อง ธรรมดาของโลก แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระราชามหากษัตริย์ ไพร่หรืออำมาตย์ เศรษฐีมีเงิน หรือยาจกขอทาน ต่างก็เจ็บป่วยด้วยกันทั้งนั้น มันเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว และไม่ใช่ความโชคดีโชคร้ายอะไร และหากคิดให้ดี ความเจ็บไข้ได้ป่วยนี้ก็ใช่จะมีแต่ข้อเสียอย่างเดียว ข้อดีก็มีเยอะแยะไป ถ้าหากเราหัดมองในแง่ดี อาทิคิดว่า ความเจ็บป่วยที่มา รุมเร้าในคราวนี้ เป็นบททดสอบความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจของเรา ซึ่งถ้าผ่าน จุดนี้ไปได้ก็จะทำให้เรามีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น หรือคิดว่าเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ ชดใช้กรรมอันเก่าที่เราได้เคยสร้างไว้ให้หมดไปในชาตินี้ ชาติหน้าจะได้ไม่ต้อง เจ็บป่วยทุกข์ทรมานอย่างนี้อีก บางคนถือโอกาสที่เจ็บป่วยนี้สั่งสมความดีให้กับตนเอง เช่น สวดมนต์ ทำสมาธิภาวนา รักษาศีล เป็นต้น เพราะตอนที่ไม่ป่วยมีแต่ทำงาน จะหาโอกาส ทำความดีเหล่านี้ยาก เมื่อเจ็บป่วยมีเวลาว่างเยอะ ก็ถือเอาเวลานี้มาทำความดี ให้กับตนเอง คิดในแง่ดีอย่างนี้จะทำให้เราเห็นความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ไม่น่ากลัวอีกต่อไป เมื่อทำใจให้ยอมรับได้แล้วก็ขจัดความทุกข์กังวลใจไปได้มาก เมื่อใจมีทุกข์กังวลน้อย โอกาสที่จะรักษาโรคให้หายก็มีมากขึ้น พระเดชพระคุณพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) กล่าวไว้ว่า “บางครั้งตัวทุกข์มันมีอย่างเดียว แต่คนก็ไปเพิ่มทุกข์ที่ไม่จำเป็นอีก มากมาย ทำให้ทุกข์เพิ่มขึ้น เช่น เจ็บป่วยขึ้นมา ตัวทุกข์จริงๆ คือป่วย แต่บางคน ก็เลยเถิด ป่วยก็ป่วย ยังคิดต่อไปอีกว่า หมอไม่เอาใจใส่ ยาไม่ดีทำให้หายช้า พยาบาลไม่ดูแล ลูกผัวเพื่อนฝูงไม่มาเยี่ยม คิดเรื่อยเปื่อย ความจริง ทุกข์มันมีอยู่อย่างเดียวคือป่วย นอกนั้นเป็นทุกข์นอกรายการ ที่เจ้าตัวเชิญมาทั้งนั้น เป็นทุกข์โดยไม่จำเป็นเลย ทุกข์ประเภทหลังนี้หมอรักษา ไม่ได้ เจ้าตัวต้องจัดการเชิญออกไปเอง” 20 สวดมนต์ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย


๓. เข้าพบแพทย์

พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงลักษณะของคนไข้ไว้ใน คิลานสูตร พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๐ หน้า ๑๑๕ ว่ามี ๓ ประเภท คือ ๑) คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัช ที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐากที่สมควรหรือไม่สมควรก็ตาม ย่อมไม่หาย จากอาพาธนั้นได้เลย ๒) คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะ ที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัชที่สบาย หรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐากที่สมควร หรือไม่สมควรก็ตาม ย่อมหายจากอาพาธนั้นได้ ๓) คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะ กาย หมอรักษา ใจ ต้องรักษาเองนะ ที่สบายจึงหาย เมื่อไม่ได้ไม่หาย ได้เภสัชที่สบายจึงหาย เมื่อไม่ได้ไม่หาย เมื่อได้อุปัฏฐากที่สมควรจึงหาย เมื่อไม่ได้ไม่หาย ประเภทที่ ๑ พระพุทธเจ้าตรัสหมายถึง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรง ซึ่ง

ไม่ว่าจะทำการรักษาด้วยวิธีใดก็ตาม หรือไม่ทำการรักษาก็ตาม ก็ไม่มีทางจะ รักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย, โรคเอดส์ เป็นต้น ประเภทที่ ๒ พระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส หมายถึ ง โรคที่ เ ป็ น จะรั ก ษาก็ ห าย ไม่รักษาก็หาย คือสามารถหายได้เองตามธรรมชาติ เช่น โรคอีสุกอีใส ซึ่งเป็น โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง จะเกิดกับเด็กเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเกิดแล้วโดยมาก จะหายได้เองภายใน ๑-๓ สัปดาห์ และเมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานตลอดชีวิต ไม่ป่วยซ้ำอีก (เด็กที่เป็นอีสุกอีใสควรตัดเล็บให้สั้น ป้องกันการเกาตุ่ม ซึ่งจะกลาย เป็นแผลภายหลังได้)๑, โรคไมเกรน, โรคไข้หวัดธรรมดา, โรคผิวหนังบางชนิด เป็นต้น ๑

ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป ๒ โดย นพ.สุรเกียรติ อาชานุภาพ : หมอชาวบ้าน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 21


ประเภทที่ ๓ พระพุทธเจ้าตรัสหมายถึง โรคที่เกิดขึ้นแล้วต้องทำการ รักษาเท่านั้นจึงหาย ถ้าไม่รักษาไม่หาย ต้องอาศัยการรักษาจากแพทย์ หรือ

ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นจึงจะหาย เช่น ไส้ติ่งอักเสบ, ไข้หวัด 2009, วัณโรค,

โรคนิ่ว เป็นต้น ในปัจจุบัน ตามปกติแล้วไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคประเภทใดใน ๓ ข้อนั้น ก็มักจะหันหน้าพึ่งคุณหมอทันที เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยและทำการรักษาให้ เพราะคนโดยมากไม่รู้ว่าโรคไหนสามารถหายได้เอง หรือต้องทำการรักษาจึงหาย ทางที่ดีก็มาหาหมอก่อนเพื่อความมั่นใจ แต่การเข้าพบแพทย์ก็ใช่ว่าจะรักษา ให้หายได้ทุกครั้ง เพราะบางครั้งคุณหมอก็วินิจฉัยโรคผิดและให้ยาผิดก็มี ทั้งนี้ ทั้งนั้น การรักษาโรค ผู้ป่วยต้องช่วยคุณหมอด้วย พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักของผู้ป่วยที่ควรปฏิบัติเมื่อเข้าพบแพทย์ไว้ ๕ ประการดังนี้ คือ ๑) เล่าอาการป่วยให้หมอฟังตามความเป็นจริง โดยไม่ปิดบัง การ บอกเล่าอาการให้หมอฟังยิ่งละเอียดมากเท่าไร ก็จะช่วยให้คุณหมอวินิจฉัยโรค ได้ง่ายและแม่นยำขึ้น มีผลทำให้การรักษาถูกต้องและได้ผลเร็ว ๒) เชื่อฟังคำแนะนำของหมอ คนไข้เมื่อไปหาคุณหมอแล้ว ต้องมอบ ความไว้วางใจให้กับหมอ สิ่งใดที่หมอห้ามหรือแนะนำให้ทำต้องปฏิบัติตามอย่าง เคร่งครัด ไม่ดื้อ เพราะต่อให้หมอเก่งแค่ไหน หากผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ โรคร้ายก็ไม่มีทางหาย เช่น บางคนกลัวเข็มฉีดยา คุณหมอจะฉีดยาให้ ก็ดื้อดึง ไม่ยอมฉีด เป็นต้น ๓) อดทนต่อการรักษา คือ ไม่แสดงอาการอ่อนแอโอดครวญจนเกินไป ไม่เอะอะโวยวายจนก่อความรำคาญแก่หมอและคนไข้อื่นๆ ๔) กินยาตามแพทย์สั่ง คือ ต้องสำรวจดูให้ดีว่า ยาที่ได้มานั้น หมอ กำหนดให้รับประทานเวลาใด ก่อนหรือหลังอาหาร และรับประทานในปริมาณ เท่าไร เพราะการรับประทานยาไม่ตรงตามที่แพทย์สั่ง นอกจากโรคไม่หายแล้ว อาจส่งผลร้ายต่อตัวเองอีกด้วย เช่น มีเรื่องเล่าขำๆ ว่า มีคนไข้คนหนึ่งไปหาหมอ 22 สวดมนต์ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย


คุณหมอตรวจอาการและจัดยาให้ แนะนำให้กินก่อนนอน และนัดดูอาการอีก ๗ วัน แต่ปรากฏว่าไม่ถึง ๒ วัน คนไข้มาขอยาเพิ่ม คุณหมอสงสัยจึงถามว่า กินยาตามที่หมอสั่งหรือเปล่า คนไข้ตอบว่ากินตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ว่า ผมจะนอนดูทีวี นอนพักผ่อน นอนเล่น ผมกินยาก่อนตลอด คือแกเข้าใจผิดคิดว่า กินก่อนนอนนั้นหมายถึงจะนอนเมื่อไรก็กินเมื่อนั้น แต่ความหมายของหมอคือ กินก่อนเข้านอนต่างหาก ดังนั้น เมื่อรับยาควรสอบถามหมอให้แน่ใจก่อน จะได้ ไม่ผิดพลาดเหมือนคนไข้คนดังกล่าว ๕) ให้ระวังของแสลงโรค คนที่ชอบตามใจปาก เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยต้อง ทำใจหน่อยที่ต้องงดของชอบบางอย่างที่แสลงต่อโรค เช่น ท่านที่เป็นโรคเกาต์ หมอจะห้ามกินสัตว์ปีกทุกชนิด เพราะจะส่งผลให้โรคกำเริบหนักขึ้น โดยเฉพาะ โรคเบาหวานจะมีข้อห้ามเกี่ยวกับของแสลงมากมาย ดังนั้น เมื่อคุณหมอแนะนำ หรือห้ามบริโภคอะไรที่เป็นของแสลง ก็ควรหลีกเลี่ยง ไม่บริโภคสิ่งนั้น เพราะถ้า ไม่ระวังในเรื่องของแสลงแล้ว อาจทำให้โรคกำเริบหนักขึ้น และรักษาให้หายขาด ได้ ยากขึ้น

๔. ใช้พุทธวิธี ในการรักษาโรค

ในการรักษาโรคนั้น นอกจากจะต้องอาศัยคุณหมอตามคลินิก หรือ โรงพยาบาลแล้ว ยังมีวิธีรักษาอย่างอื่นอีกที่อยากจะนำเสนอ ซึ่งเป็นวิธีรักษา ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลมาแล้วในยุคของพระพุทธเจ้า และ มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎก โรคหรือความเจ็บไข้ได้ป่วยที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มาจากกรรมที่ตนได้สร้างมาแต่อดีต ด้วยการเบียดเบียน ทำร้าย หรือฆ่าสัตว์ ตัดชีวิตผู้อื่นมาก่อน ผู้ที่ทำร้ายผู้อื่นมามากด้วยความโหดร้ายทารุณ กรรมย่อม ส่งผลให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่ร้ายแรง ต้องเจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างหนัก ผู้ที่ ทำร้ายผู้อื่น สัตว์อื่นมาน้อย กรรมย่อมส่งผลให้เจ็บไข้ได้ป่วยเล็กๆ น้อยๆ และ รักษาให้หายขาดได้ง่าย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 23


โรคที่เกิดจากกรรม มักเป็นโรคที่แปลกประหลาด และรักษาไม่หาย ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ทั้งสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ที่เป็นอย่างแสนสาหัส ยกตัวอย่างเช่น ๔.๑) โรคกรรมของพระติสสะ เมื่อครั้งพระพุทธกาล มีภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า ติสสะ ป่วยเป็นโรคประหลาด มีตุ่มคล้ายฝีผุดขึ้นตามร่างกาย ขยายโตขึ้นและแตกออก มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม และส่งกลิ่นเหม็นอย่างแรง แรกๆ ก็มีขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว แล้วค่อยโตขึ้นขนาด เท่าเม็ดถั่วดำ จนขนาดเท่ามะตูม แตกออกเป็นแผลเหวอะหวะ ต่อมากระดูก ภายในร่างกายของท่านก็ผุหักเป็นท่อน ได้รับทุกขเวทนาอย่างหนัก พระพุทธเจ้า ตรัสอดีตกรรมของท่านว่า เมื่ออดีตชาติท่านเคยเกิดเป็นนายพรานนก ไล่จับนก มาขายวันละหลายร้อยตัว วันไหนขายไม่หมดก็จะจับหักขา หักปีก ขังแออัดไว้ ในกรง ตัวใดที่ทนความเจ็บปวดไม่ไหวก็ตายไปเป็นจำนวนมาก และถูกนำไปทิ้ง รวมกันจนเน่าเหม็น เขาทำอยู่อย่างนี้ต่อเนื่องหลายปี ด้วยอำนาจแห่งกรรมที่ทำ ส่งผลให้ท่านไปตกนรกอเวจีนานนับร้อยปี ครั้นพ้นจากนรกเกิดเป็นมนุษย์ บวชในพระพุทธศาสนา มีสิ ด้วยเศษกรรมที่ท่านทำไว้ยังไม่หมด ต้องใช้กรรมดี รักษา จึงตามส่งผลให้ท่านป่วยด้วยโรคประหลาดดังกล่าว โรคกรรม ของข้าพระองค์ มีทางรักษาหรือไม่ พระเจ้าข้า

24 สวดมนต์ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย


๔.๒) โรคกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ อีกเรื่องหนึ่ง เป็นประสบการณ์กรรมของ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี เล่าไว้ในหนังสือ กฎแห่งกรรม วิปัสสนาสื่อวิญญาณ ตอนที่ ๓ สมัยที่ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระภาวนาวิสุทธิคุณ ว่า เมื่อสมัยที่ท่านบวชเป็นภิกษุพรรษาแรก สุขภาพของท่านไม่ค่อยดี ๓ วันดี ๔ วันไข้ บางวันถึงกับหน้ามืดเป็นลมไปก็มี เมื่อไปตรวจที่โรงพยาบาลศิริราช หมอบอกเป็นโรคลำไส้อักเสบ ต้องทำการผ่าตัดเอาลำไส้ส่วนที่เสียออกหลายฟุต และต้องทำเป็นการด่วน ไม่อย่างนั้นไม่รอดแน่ แต่ท่านไม่ยอมผ่าตัด แอบหนี กลับวัดมานอนทรมานในโบสถ์ จังหวะนั้น มหาเทียบ ทองบุญนาค อดีตเปรียญ ธรรม ๖ ประโยค ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาขณะนั้น ได้ปรุงยาพิเศษให้กิน เมื่อฉันเข้าไปแล้วก็เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงถึงกับสลบไป ๓ ชั่วโมง พอฟื้น

ขึ้นมาก็รู้สึกดีขึ้น หลังจากนั้นอาการของท่านก็ค่อยๆ ดีขึ้น และหายไปในที่สุด พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้เล่าให้ฟังถึงสาเหตุที่ทำให้ป่วยเป็นโรคลำไส้ว่า เป็น ผลกรรมเมื่อครั้งเป็นเด็กอยู่ชั้นประถมปีที่ ๔ ไปเห็นเขาตอนไก่ นึกสนุกอยาก จะตอนมั่ง จึงจับไก่มาผ่าท้องควักไส้ออกมาตัดผูก จากนั้นก็จับยัดเข้าไปในท้อง เหมือนเดิม ส่งผลให้ไก่ตายไปหลายตัว หลวงพ่อได้พูดถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า “อาตมารำลึกเหตุการณ์ครั้งอดีตเมื่อเป็นเด็กชั้นประถมปีที่ ๔ ได้ น้ำตาไหลทันที แหม! พิโธ่เอ๋ย เราคิดว่าไม่เป็นเวรเป็นกรรมประการใด แต่กรรมกลับมาซัดตัวเราเองอย่างนี้ ต่อไปนี้จะไม่ฉันแกงไก่ต่อไปแล้ว”

25


๔ พุทธวิธีรัก ษาโรคกรรม

โรคที่เกิดจากกรรมนี้ จะรักษาด้วยวิธีการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเดียว นั้นอาจไม่ได้ผล ต้องอาศัยการรักษาตามแบบพุทธวิธีควบคู่กันไปด้วยจึงจะได้ผล โดยอาศัยหลักการที่ว่า โรคทั้งหลายมีสาเหตุมาจากกรรม คือ การฆ่าหรือ เบียดเบียนสัตว์เอาไว้ในอดีต ดังนั้น เมื่อเป็นผลแห่งกรรมเก่า วิธีเดียวที่จะแก้ได้ ก็คือ การทำความดีในปัจจุบันให้มากๆ และวิธีการทำความดีเพื่อรักษาโรคนี้ ท่านจำแนกไว้ ๔ ประการด้วยกัน คือ

๑. ทำบุญประกอบความดี

ผู้ ป่ ว ยที่ มี จิ ต ใจห่ อ เหี่ ย ว ท้ อ แท้ กั ง วล ถ้ า หากว่ า ได้ มี โ อกาสทำบุ ญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน ปล่อยนก ปล่อยปลา หรือไถ่ชีวิตโคกระบือสักครั้งหนึ่ง มีผลทำให้จิตใจคลายจากความกังวลและมีกำลังใจที่ดีขึ้น อนึ่ง ด้วยอานิสงส์แห่ง การทำความดีในครั้งนั้น หากนำมาตั้งสัจอธิษฐานให้เป็นพลังหนุนเนื่องให้หาย เจ็บไข้ได้ป่วยด้วยแล้ว โรคที่เป็นอยู่ก็จะจางหายไปได้ ยกตัวอย่าง เมื่อครั้งอดีต พระนางโรหิณี ป่วยเป็นโรคเรื้อน รักษาอย่างไรก็ไม่หาย เพราะโรคเรื้อนที่ท่านเป็นนี้เกิดจากผลกรรมในอดีต ที่เคยเอาผงหมามุ่ยไปใส่ไว้ ในที่นอนของนางรำคนหนึ่ง ด้วยความหึงหวงที่พระราชาพระสวามีให้ความสนใจ นางมากกว่าพระองค์ พระนางได้รับความทุกข์ทรมานและได้รับความอับอาย ไม่กล้าออกไปสู้หน้าใครๆ กระทั่งวันหนึ่งพระอนุรุทธเถระ พระพี่ชาย แนะนำให้พระนางขายเครื่องประดับ นำเงินที่ได้มาสร้างโรงฉันถวายเป็นวิหารทาน จะรักษาโรค และให้ทำความสะอาดปัดกวาด เช็ดถูทุกวัน ได้อย่างไรหนอ จากนั้นให้นิมนต์พระมาฉัน ๘ รูปเป็นประจำ พระนางได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของพระพี่ชาย ไม่นานนัก พระนางก็หายเป็นปกติ 26 สวดมนต์ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย


๒. สวดมนต์รักษาโรค

วิธีนี้เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้บ่อยครั้งที่สุด ดังเช่น ครั้งหนึ่ง พระมหากัสสปะและพระมหาโมคคัลลานะป่วยเป็นไข้หนัก พระพุทธเจ้าได้เสด็จไป เยี่ยมและสาธยายบทสวดโพชฌังคปริตร๑ ให้ฟัง เมื่อทรงสาธยายจบ พระเถระ ทั้ง ๒ ก็หายจากอาการป่วย หรือแม้กระทั่งครั้งหนึ่งพระองค์ทรงพระประชวร ก็ทรงให้พระจุนทเถระ สวดบทโพชฌังคปริตรให้ฟัง ทำให้พระอาการประชวร หายเป็นปกติ การสวดมนต์มีผลทำให้จิตใจที่กำลังสับสนวุ่นวาย ฟุ้งซ่าน กังวล ห่อเหี่ยว ด้วยอาการป่วย ให้สงบนิ่งเป็นสมาธิ ผ่อนคลาย และรู้สึกสดชื่น ยิ่งถ้าได้ทำอย่าง ต่อเนื่อง จิตใจก็ยิ่งเข้มแข็งขึ้น เมื่อจิตใจเข้มแข็งขึ้นย่อมมีผลต่อร่างกาย ทำให้ ร่างกายแข็งแรงและต่อต้านโรคได้ดียิ่งขึ้น อีกอย่างการสวดมนต์เป็นการทำบุญ ด้วยใจ มีอานิสงส์มากกว่าการทำบุญอย่างอื่น ดังนั้น เมื่อทำด้วยความตั้งใจ มีศรัทธาที่แน่วแน่แล้ว ย่อมมีอานุภาพบรรเทากรรมที่เป็นต้นเหตุของโรคให้ หมดไปและหายป่วยได้ ยกตัวอย่างเช่น ๒.๑) เจริญพระพุทธคุณหายจากโรคอัมพาต

เรื่องนี้มีเล่าไว้ในหนังสือ กฎแห่งกรรม วิปัสสนา สื่อวิญญาณ (ตอนที่ ๔) ซึ่งเป็นเรื่องของ ลุงพัด แสงจันทร์ ชาวจังหวัดหนองคาย สวดมนต์ ผู้เล่าคือนายสมพร พิสัยสวัสดิ์ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ รักษาโรค โรงเรียนสระใครนุเคราะห์ ท่านเล่าไว้ว่า ได้หรือไม่ ในปีพ.ศ. ๒๕๓๒ ลุงพัด แสงจันทร์ อายุ ๗๒ ปี พิสูจน์ได้ ด้วยตัวเอง มีอาการแข้งขาไม่มีเรี่ยวแรง จะเดินไปทางไหนก็ซวนเซล้ม ๑

ดูบทสวดโพชฌังคปริตร หน้า ๗๓ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 27


หมอวินิจฉัยว่า เป็นโรคข้อเสื่อม ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๓๓ ลุงเกิดหกล้มระหว่าง กลับจากห้องน้ำ ส่งผลให้เป็นอัมพาตครึ่งท่อน ตั้งแต่บั้นเอวลงไปถึงปลายนิ้วเท้า ไม่มีความรู้สึก เข้ารักษาที่โรงพยาบาลที่ไหนก็ไม่หาย หมดกำลังใจที่จะทำการ รักษา กระทั่งตัวลุงเองคิดฆ่าตัวตาย จนวันหนึ่ง อาจารย์สมพร พิสัยสวัสดิ์ ได้ไปเยี่ยมลุง และแนะนำให้

ลุงลองทำตามคำของพระเดชพระคุณหลวงพ่อภาวนาวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) ที่บอกไว้ในหนังสือว่า ถ้าใครเดือดร้อนอะไร ให้สวดบทสรรเสริญ พุทธคุณเท่าอายุ + หนึ่ง ลุงมีความสนใจที่จะปฏิบัติตาม จึงให้ลูกสาวเหลาก้าน มะพร้าว ๗๒ อัน และเริ่มสวดตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา โดยอาจารย์สมพรได้ย้ำ

กับลุงว่า “การปฏิบัติแบบนี้แล้ว ถ้าไม่หายก็เป็นเพราะตัวเราถึงกาลอายุขัย ด้วยอานิสงส์ที่ได้เจริญพระพุทธคุณเป็นอารมณ์อยู่เนืองนิตย์ ก็จะได้ไปสู่สุคติ ภพ จะไม่ตกไปสู่อบายภูมิอย่างแน่นอน ถ้ายังไม่ถึงกาลอายุขัย ก็จะหายวัน หายคืน” หลังจากที่ลุงพัดตั้งใจสวดพุทธคุณ๑และแผ่เมตตา๒ ให้กับเจ้ากรรมนายเวรติดต่อกัน ๒๐ วัน ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ คือขาของท่านสามารถกระดิกและ เริ่มขยับได้ ผ่านไป ๓ เดือน ลุงก็สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง ภรรยาและลูกหลาน ต่างพากันดีใจ เมื่อมีใครมาถามว่า “ทำยังไงจึงหาย” ลุงพัดก็จะตอบว่า “หาย เพราะอานิสงส์การเจริญพระพุทธคุณ ตามแนวปฏิบัติของหลวงพ่อภาวนา-

วิสุทธิคุณ๓ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี”

ดูบทสวดพุทธคุณ (บทอิติปิ โสเท่าอายุ+๑) หน้า ๗๓ ดูบทแผ่เมตตา หน้า ๗๗ - ๗๙ ๓ ปัจจุบันคือ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ๒

28 สวดมนต์ชนะโรค ชนะภัย ชนะความตาย


๒.๒) สวดมนต์แล้วหายจากโรคหัวใจรั่ว เรื่องนี้เป็นเรื่องของ คุณกุศล นามแก้ว ที่เขียนจดหมายมาเล่าให้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อฟัง ซึ่งหลวงพ่อได้นำมาเล่าไว้ในหนังสือ กฎแห่งกรรม วิปัสสนาสื่อวิญญาณ (ตอนที่ ๘) ว่า “อานิสงส์แห่งความมีศรัทธา ตั้งใจแน่วแน่ในการสวดมนต์ เจริญกุศล ภาวนา ทำให้หายโรคได้ ท่านทั้งหลายจำไว้อย่างหนึ่งว่า สวด ถ้าคนเข้าถึงธรรมเมื่อใด จะหายจากโรคแน่ๆ เมตตาใหญ่ เมื่อวานได้รับจดหมายจากหนองคายฉบับหนึ่ง โรคร้าย มาจากโยม กุศล นามแก้ว ป่วยเป็นโรคหัวใจรั่ว หายขาด จะตายอยู่แล้ว ทำพืชไร่อยู่ที่อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เลี้ยงสัตว์ไว้ด้วย มีเหยี่ยวมารบกวน ขโมยก็มาลักของ เขานั่งกรรมฐาน สวดมนต์ช่วยตัวเอง ไม่ต้องให้คนอื่นช่วย ไม่ต้องให้พระช่วย โรคหัวใจนี่ทำอะไรก็เหนื่อย หากคิดอะไรขึ้นมาละก็ตายเลย หรือถ้าโกรธก็ตายเลย เขาสวดมนต์เจริญกุศลภาวนาอยู่ ๙ เดือน ขณะนี้โรคหายไป ๙๐% แล้ว ยังเหลืออีก ๑๐% จึงจะเป็นปกติ หมอบอก หายได้อย่างไร มีแต่จะตายเท่านั้น การสวดมนต์นั้น สวดเพื่ออะไร สวดเพื่อต้องการให้มีสติ ช่วยตัวเองได้ คนที่มาที่นี่มีแต่มาให้พระช่วย ไม่ช่วยตัวเองเลย ไม่สนใจปฏิบัติกรรมฐาน มากัน เพื่อจะปฏิบัติแลกเหมือนแบบพ่อค้าแม่ค้า ไม่ได้ผลสักราย โยมกุศลนี่ตั้งใจจริง โรคหายไปเลย เขาขอหนังสือ สวดมนต์มหาเมตตา ใหญ่๑ วันนี้ส่งไปให้เขาแล้ว ต้องช่วยตัวเอง ต้องพึ่งตัวเอง ต้องสอนตัวเอง” ๑

บทสวดเมตตาใหญ่ มีในหนังสือ คาถามหาเมตตาใหญ่ แก้ไขเวรกรรม โดย ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ ผู้สนใจกรุณาติดต่อ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง โทร. ๐๒-๘๗๒-๙๘๙๘ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 29


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.