สิ้นกรรม

Page 1


สิ้นกรรม

“จางจากดำ จางจากขาว จนไม่มีสี ยอดสุดแห่งความดี ยอดสุดแห่งความพ้นทุกข์นี้ คือ การสิ้นกรรม”

................................................................................... ................................................................................................. ................................................................................................. ................................................................................................. ................................................................................................. ................................................................................................. ................................................................................................. ................................................................................................. ................................................................................................. ................................................................................... ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศผล

บุญกุศลนี้แผ่ไปให้ไพศาล ถึงบิดามารดาครูอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน คนเคยร่วมทำงานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลบุญฉัน ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้เทอญ


บทอธิษฐานขออโหสิกรรม กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมัง อะสัญจิจจะกัมมัง ขะมันตุ เม อะโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม

กรรมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ข้าพเจ้า

ได้ทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ทั้งโดยตั้งใจก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี ในภพชาติใดก็ตาม

ขอให้ เจ้ า กรรมนายเวรทั้ ง หลาย จงโปรดยกโทษให้ เ ป็ น อโหสิ ก รรมแก่ ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อกันอีกเลย แม้แต่กรรมใดที่ใครๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม ให้ทั้งสิ้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน ขอจงดลใจให้เขาเหล่านั้น

กลับมีเมตตาจิต คิดเป็นมิตรกับข้าพเจ้า เพือ่ จะได้ไม่มเี วรกรรมต่อกันตลอดไป ด้ ว ยอานิ ส งส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าพร้อมทั้งครอบครัว ตลอดจนวงศาคณาญาติ ผู้มีอุปการคุณของข้าพเจ้า พ้นจากความทุกข์ยาก ลำบากเข็ญใจ ความทุกข์อย่าได้ใกล้ ความเจ็บไข้อย่าได้มี ขอให้มีความสุข สวั ส ดี มี ชั ย เสนี ย ดจั ญ ไรและอุ ปั ท วั น ตรายทั้ ง หลายจงเสื่ อ มสิ้ น หายไป นึกคิดปรารถนาสิ่งใดที่เป็นไปโดยชอบประกอบด้วยธรรมแล้ว ขอให้สิ่งนั้น จงพลันสำเร็จ จงพลันสำเร็จ จงพลันสำเร็จเทอญ

นิพพานะปัจจะโย โหตุ


สรรค์สาระ : ณัฐพันธ์ ปิ่นทวีเกียรติ บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์ บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง ออกแบบรูปเล่ม : ธเนษฐ สัคคะวัฒนะ ภาพประกอบ : ชิชกาน ทองสิงห์ ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง ภาพหน้าปก : ธนรัตน์ ไทยพานิช


คำนำ เรื่ อ ง “กรรม” เป็ น เรื่ อ งที่ พ ระพุ ท ธศาสนาให้ ค วามสำคั ญ

เป็ น อย่ า งมาก แต่ จ ะมี สั ก กี่ ค นที่ มี ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจในเรื่ อ งกรรม

อย่างถูกต้อง บ้างก็พยายามแก้กรรม (ตามกระแส) ยอมเสียทั้งเวลา ยอมเสียทั้งเงินทองข้าวของมากมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่ากรรมคืออะไร ? กรรมมีกี่ประเภท ? วิธีแก้กรรมที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ? แล้ววิธีที่จะทำ ให้คน “สิ้นกรรม” นั้นเป็นอย่างไร ? เรื่องกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญกับ

ทุกคนมาก ถ้าเข้าใจเรื่องกรรมและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องแล้ว ทุกคน สามารถจะเป็นอิสระจากกรรมและเข้าถึง “ความสิ้นกรรม” ได้ด้วย ตนเอง ดังนี้แล้ว สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จึงได้นำ ธรรมบรรยายเรื่อง “หลักปฏิบัติเกี่ยวกับกรรม” และ “ความสิ้นกรรม” ของหลวงปู่พุทธทาสมาจัดพิมพ์ใหม่ในชื่อว่า “สิ้นกรรม” โดยในการ

จั ด พิ ม พ์ ค รั้ ง นี้ ได้ ค งบทธรรมบรรยายไว้ เ หมื อ นเดิ ม แต่ ไ ด้ เ พิ่ ม เติ ม

ส่วนของบทคัดย่อ ใส่สเี น้นคำ ทำเชิงอรรถ เสริมสาระ อธิบายข้อธรรม และใส่ภาพประกอบ เพื่อให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย ช่วยย่นระยะเวลา

ในการอ่าน เข้าถึงแก่นแท้ของธรรมะ และหยิบใช้ได้ทนั ที มีสขุ ทันใจ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จักเอื้อประโยชน์สุขให้กับ

ผู้อ่านได้ปฏิบัติตนและดำเนินไปสู่ความพ้นทุกข์ สิ้นกรรมทั้งปวง และ ได้เข้าถึงซึ่ง “พระนิพพาน” อันเป็นบรมสุขได้ในชาติปัจจุบันนี้ทุกท่าน เทอญ โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ

4

อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สงบ เย็น

สิ้นกรรม สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข


สารบัญ

สิ้นกรรม หน้า ๖-๕๒ หลักปฏิบัติเพื่อความสิ้นกรรม หน้า ๕๓-๘๑

การ์ตูนธรรมะ “บันทึกของกาขาว” หน้า ๘๒-๘๗ เสกมนต์ ใส่ ใจ หน้า ๘๘-๑๑๐ สุขภาพใจดี สุขภาพกายดี หน้า ๑๑๑-๑๑๕ เรียนรู้ ฝึกจิต คิดสนุก พัฒนาสมอง หน้า ๑๑๖-๑๒๕


สิ้นกรรม กรรมดีกรรมชั่ว ถ้าเรารู้ข้อเท็จจริงข้อนี้แล้ว เราก็ไม่หลงเสน่ห์ของกรรม แม้ว่าจะเป็นกรรมดี จะมาจูงจมูกให้เวียนว่ายไปในวัฏสงสารอีกไม่ได้


สิ้นกรรม๑

เรื่อง “กรรม” สำคัญกับทุกคนมาก ตั้งใจศึกษาและนำไปปฏิบัติให้ดีล่ะ

ท่ า นสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย การบรรยายที่ เรี ย กว่ า

“พูดกันวันเสาร์” ในวันนี้ มีหัวข้อว่า หลักปฏิบัติเกี่ยวกับกรรมและ ความสิ้นกรรม ดังที่ท่านทั้งหลายก็ทราบกันอยู่แล้วตามใบประกาศนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายสังเกตดูหัวข้อที่กำหนดไว้ว่ามันมีอยู่ ๒ เรื่อง คือ หลักปฏิบัติเกี่ยวกับกรรม นี้อย่างหนึ่ง แล้ว หลักปฏิบัติเกี่ยวกับความ สิ้นไปแห่งกรรม นี้อีกอย่างหนึ่ง มันเป็นคนละเรื่อง แล้วก็จะถึงกับ ตรงกันข้ามด้วย

“หลักปฏิบัติเกี่ยวกับกรรม” ก็หมายความว่า จะต้องทำอย่างไรกับกรรมดีกรรมชั่ว ส่วน “หลักปฏิบัติเกี่ยวกับการสิ้นกรรม” นั้น ทำอย่างไรจึงจะเพิกถอนเสียได้ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ไม่ตกอยู่ ใต้อำนาจของทั้งกรรมดีและกรรมชั่วอีกต่อไป นี่คือหัวข้อซึ่งแสดงอยู่เป็น ๒ เรื่อง ในลักษณะที่ตรงกันข้าม

ขอให้ตั้งใจฟังให้ดีๆ ๑ ธรรมบรรยายประจำวันเสาร์ ภาควิสาขบูชา ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๑๔ เดิมชื่อ “หลักปฏิบัติ

เกี่ยวกับกรรมและความสิ้นกรรม” ในธรรมโฆษณ์ เล่มโอสาเรตัพพธรรม บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 7


“กรรม” เป็นเรื่องสำคัญกับทุกคน

พวกเราต้องศึกษา เรื่องกรรมนะลูก

พวกเราจะตั้งใจศึกษา และนำไปปฏิบัติค่ะ

ทำไมจึงพูดเรือ่ งนี้ ? ตอบกำปัน้ ทุบดินว่า มันเป็นเรือ่ งทีจ่ ะต้องรู้ ต้องเอามาพูดกัน เพราะว่ามันเป็นสิง่ ทีเ่ กีย่ วข้องกันอยูก่ บั เราทุกลมหายใจ เข้า-ออก

ถ้าเรามีเจตนาดีก็ทำกรรมดี บางเวลาเจตนาชั่วก็ทำกรรมชั่ว บางเวลาไม่มีเจตนาที่ดีที่ชั่ว ก็ทำกรรมชนิดที่เป็นกลางๆ ไม่เรียกว่าดีหรือชั่ว แต่ว่ามีได้ยาก เพราะว่าถ้าไม่มีความรู้สึกเกี่ยวกับดีชั่ว ก็ไม่รู้ว่าจะมีเจตนาไปทำอะไร

คนเรานั้นติดอยู่แต่แค่ดีและชั่ว ฉะนั้น กรรมที่เราเกี่ยวข้อง

กันอยู่ก็คือกรรมทั้ง ๔ อย่าง กรรมดำ-กรรมชั่ว นี้อย่างหนึ่ง กรรมขาวกรรมดี นี้อย่างหนึ่ง กรรมที่ระคนกันทั้งดำและขาว นี้ก็อย่างหนึ่ง ๓ พวกนี้เป็นเรื่องกรรมที่ทำให้สัตว์ลำบาก ส่วนกรรมที่ ๔ คือ กรรมที่

ไม่ดำไม่ขาว แล้วก็เป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรมดำและกรรมขาว นี้ไม่ค่อยจะ พูดถึงกัน เพราะไม่ค่อยรู้เรื่อง 8

สิ้นกรรม


“กรรม” แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท

ละชั่ว ทำแต่ดี แล้วทำจิตให้ผ่องใสนะโยม สาธุ ส่วนมากก็พูดกันแค่ ๒ กรรม คือ กรรมดี กรรมชั่ว ที่เรียกว่า กรรมดำหรือกรรมขาว ส่วนกรรมระคนกันนัน้ ไม่ตอ้ งพูดถึงก็ได้ เพราะว่า มันไม่แปลกไปจากกรรมดำ-กรรมขาวที่พูดมาแล้ว

ฉะนั้น กรรมทั้งหมดก็จะมีสัก ๓ กรรมเท่านั้น ๑) กรรมดำ คือ ชั่ว ๒) กรรมขาว คือ ดี แล้ว ๓) กรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรมดำและกรรมขาว มีอยู่ ๓ กรรม

เดี๋ยวนี้ ทุกวันๆ เรากำลังกระทำกรรม ได้รับผลกรรม เป็นไป ตามกรรม แม้แต่หลับแล้วก็ยังถูกรบกวนด้วยกรรม หรือด้วยผลของ กรรม เพราะฉะนั้น นับว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์อยู่เต็มที่

ทั้งเนื้อทั้งตัวตลอดเวลาทั้งหลับและตื่น “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” (กมฺมุนา วตฺตตีโลโก) กฎของกรรมนั้นเที่ยง เสมอ ยุติธรรมที่สุด และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย ใครทำกรรมใดไว้ ผู้นั้นย่อมต้องได้รับผลกรรม ไม่ช้าก็เร็ว บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 9


ถ้าเข้าใจและปฏิบตั อิ ย่างถูกต้อง จะเป็นอิสระจากกรรม

กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมสนองจริงๆ ผมเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมแล้ว การที่แยกพูดเป็น ๒ เรื่องอย่างนี้ ก็ต้องการจะให้มองเห็นว่า การที่เราจำเป็นจะต้องลอยล่องไปตามกรรมนี้มันสนุกไหม ? คิดดูให้ดี ก็ อ าจจะมองเห็ น ได้ เ อง แล้ ว การที่ เราไม่ ต้ อ งลอยล่ อ งไปตามกรรม

เราอยู่เหนืออำนาจของกรรมนี้มันน่าสนุกไหม ? คิดดูให้ดีก็จะมองเห็น ได้ เ อง เพราะเหตุ ที่ เรื่ อ งกรรม มั น เป็ น เรื่ อ งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ มนุ ษ ย์

อยู่ตลอดเวลา นี้อย่างหนึ่ง และเพราะเหตุว่า

ถ้าเราเข้าใจและปฏิบัติ ในเรื่องนี้อย่างถูกต้องแล้ว เราสามารถที่จะเป็นผู้เป็นอิสระ ไม่ต้องลอยล่องไปตามกรรม

นี่มีความสำคัญอย่างนี้จึงเอามาพูด

คิดดี พูดดี ทำดี ในทุกสถานการณ์ ด้วยการทำ “ปัจจุบัน” ให้ดีที่สุด เพราะ ปัจจุบันเป็นที่รวมของเหตุและผล เพราะปัจจุบันเป็นที่รวมของอดีตและอนาคต 10

สิ้นกรรม


“กรรม” คือการกระทำทีป่ ระกอบไปด้วยเจตนา

ที นี้ ก็ อ ยากจะขอร้ อ งให้ สั ง เกตอี ก สั ก นิ ด หนึ่ ง เกี่ ย วกั บ คำพู ด

คำพูดที่เป็นภาษาบาลี เช่น คำว่า กมฺม อย่างนี้ มันมีความหมายจำกัด ชัด ดิ้นเป็นอย่างอื่นไม่ได้ แต่ในภาษาไทย ชาวบ้านพูดกันอยู่นี้ คำว่า กรรม นี้ เปลี่ยนความหมายไปเป็นอย่างอื่นก็มี ดิ้นได้ก็มี ภาษาไทย

เขาพู ด ว่ า กรรม คื อ การกระทำ ที นี้ ก ารกระทำนี้ มั น มี ห ลายชนิ ด

การกระทำที่เป็นกรรมก็มี การกระทำที่ไม่เป็นกรรมก็มี ฉะนั้น พูดว่า การกระทำคือกรรม นี้มันไม่ถูก แต่...

ถ้าภาษาบาลีพูดว่า กมฺม แล้ว หมายถึง “กรรม” ทีเดียว หมายความว่า การกระทำที่ประกอบไปด้วยเจตนา ของสัตว์ที่มีความรู้สึก นี้ขอให้สังเกตไว้ด้วย คำว่า กรรม ในภาษาไทยเปลี่ยนความหมายมากลายเป็นของ บางอย่างเป็นสิ่งบางสิ่ง เช่นว่า ถึงแก่กรรม อย่างนี้ก็หมายความว่าตาย ภาษาบาลีไม่มีอย่างนี้ ไม่เคยพูดอย่างนี้ ไม่เคยพูดว่าถึงกรรมแล้วก็จะ ต้องตาย เด็กๆ ร้องกันอยู่ได้ยินบ่อยๆ ว่า “กรรมแล้วแก้วตาเอ๋ย” อย่างนี้ คำว่า “กรรม” อย่างนี้มันเปลี่ยนความหมายหมดแล้ว มัน หมายถึงการรับผลกรรม หรือกรรมมาถึงเข้าแล้ว คือหมายความว่าได้รบั ผลกรรม ไม่ใช่กรรม

หนังสือเล่มนี้บรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์

โปรดใช้หนังสือเล่มนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าที่สุด เมื่อไม่อ่านแล้ว กรุณาส่งต่อผู้อื่นเพื่อเป็นการเผยแผ่ธรรมและบำเพ็ญทานบารมีแก่ตน

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 11


“สิ้นกรรม” หมายถึง หมดกิเลส เป็นพระอรหันต์

ที่ น่ า สนใจอี ก คำหนึ่ ง ก็ คื อ ว่ า เป็ น ประเพณี ม าตั้ ง แต่ โ บราณ

ครั้งไหนก็ยากที่จะกล่าวได้ คือ พอคนคนหนึ่งตายลง พวกสัตบุรุษก็จะ ต้องออกอุทานว่า “อ้าว ! ดีสิ้นกรรมกันเสียที” นี่เขาหมายความว่า เมื่อคนคนหนึ่งตายลงนี้ เขายินดีด้วยว่ามันสิ้นกรรมกันเสียที ทีนี้ภาษา บาลีไม่ได้หมายความอย่างนั้น

ตายนี้ ไม่ ใช่สิ้นกรรม “สิ้นกรรม” มีความหมายอย่างอื่น มีความหมายถึงความเป็นพระอรหันต์ ตายก็ได้ ไม่ตายก็ได้ ต่อเมื่อหมดกิเลสแล้วจึงจะสิ้นกรรม ฉะนั้น สิ้นกรรมไม่ต้องตาย ทีช่ าวบ้านเขาพูดว่าสิน้ กรรมกันเสียทีเมือ่ ตาย อย่างนีค้ วามหมาย มันต่างกันมาก จะถูกหรือจะผิดนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดดู 12

สิ้นกรรม


สิ้นกรรม เมื่อหมดกิเลส ถ้ายังไม่หมดกิเลส ก็ต้องเป็นไปตามกรรม

อาตมาเข้าใจว่าในสมัยโบราณดึกดำบรรพ์มาแล้วคงจะได้พดู กัน อย่างนี้เรื่อยๆ มา เพราะฉะนั้น สมัยหนึ่งอาจจะมีสอนถึงว่า “คนเรา

พอตายแล้วก็จบเรื่องกัน ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรเหลือ” นี้ก็หมายความว่า สิ้นกรรม ถ้าสอนลัทธิอย่างนัน้ อยูว่ า่ ตายแล้วไม่ตอ้ งเกิด ตายแล้วสิน้ สุดกัน แค่นั้น ถ้าอย่างนั้นจริง ความตายก็เรียกว่าการสิ้นกรรมได้เหมือนกัน

นี้จะถูกหรือผิดก็ต้องเอาไปคิดดูก่อน เพราะว่าเรายังไม่มีหลักฐานที่มา ยืนยันว่าพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสว่าตายแล้วเกิด หรือว่าตายแล้วไม่เกิด ท่านก็ไม่ได้ตรัส

พระพุทธเจ้าท่านไม่ตรัสเรื่องที่ต่อตายแล้วจะเป็นอะไร ท่านตรัสแต่เรื่องที่ว่า เป็นๆ อยู่นี้จะต้องเป็นอย่างไร เป็นๆ อยู่นี้ต้องเป็นไปตามกรรม สิ้นกรรมเมื่อสิ้นกิเลส ส่วนเรื่องตายไม่พูดถึง คล้ายๆ กับว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่พูดถึง เรือ่ งทีห่ ลังจากตายแล้ว ให้เป็นอันว่ายกเลิกไปเสียให้หมดก็ได้ ว่าอย่างนัน้ มันก็อาจจะเป็นได้เหมือนกัน แต่จะมีคนเป็นอันมากทีเดียวคัดค้านว่า ไม่ได้ เป็นอย่างนั้นไม่ได้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ปริยัติ  รู้จัก, ปฏิบัติ  รู้จริง, ปฏิเวธ  รู้แจ้ง

ดำรงชีวิตตามพระสัทธรรมเช่นนี้ มีผลทำให้เป็นคน รู้ดี ทำดี มีคุณภาพ (จริงหรือไม่ ? ใคร่พิจารณา)

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 13


เมื่อหมดกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ เมื่อนั้นคือการ “สิ้นกรรม”

เรื่องเท็จจริงจะเป็นอย่างไร อย่าพูดกันเลยดีกว่า มาพูดกัน

ในข้อที่ว่าเชื่ออย่างไรมีประโยชน์ ถ้าเชื่อว่าตายแล้วเกิดอีกมีประโยชน์

ก็จงเชื่ออย่างนั้น ถ้าเชื่อว่าตายแล้วไม่เกิดอีกมีประโยชน์ ก็จงเชื่ออย่าง นั้นก็แล้วกัน โดยเฉพาะปัญหาทางศีลธรรม เชื่ออย่างไหนทำให้เป็น ประโยชน์ทางศีลธรรม ทำให้มีความสงบสุข ก็จงเชื่ออย่างนั้น ส่ ว นข้ อ เท็ จ จริ ง จะเป็ น อย่ า งไรนั้ น มั น อยู่ เ หนื อ วิ สั ย ของ

คนธรรมดาจะมองเห็นได้ด้วยตนเอง เรื่องที่ต้องเชื่อคนอื่น รอเอาไว้ ก่อนก็ได้ ยังไม่พูดถึง ฉะนั้น ใครพูดว่าพอตายลงก็สิ้นกรรมกันเสียที

ก็อย่าเพ่อไปค้านเขา อย่าเพ่อไปดูถูกดูหมิ่นเขา มันอาจจะมีความ-

หมายอย่างอื่นซ่อนอยู่

ถ้าพูดตามภาษาธรรมดา ตามหลักที่มี ในพระบาลีแล้ว ความสิ้นกรรมนั้นหมายถึง เมื่อสิ้นกิเลส เมื่อหมดกิเลส หมดโลภะ โทสะ โมหะ ก็เป็นอันว่าสิ้นกรรม ไม่มีตัวเราที่จะรับผลกรรมอีกต่อไป และเมื่อไม่มี โลภะ โทสะ โมหะ แล้ว ทำอะไรลงไปก็จะไม่เป็น กรรม ไม่ว่าทางกาย ทางวาจา ทางใจ ทางไหนอะไรก็ตาม ผู้ที่ไม่มี โลภะ โทสะ โมหะ ทำแล้วไม่เป็นกรรม แต่เป็นกิริยาไป

14

สิ้นกรรม


ภาษาชาวบ้านใช้ไม่ได้กับภาษาธรรมะ

ออ... แบบนี้นี่เอง กรรม คือ การกระทำ เราเข้าใจผิดมาตลอดเลย ที่ประกอบด้วยเจตนานะจ๊ะ นี้ยกตัวอย่างมาให้เห็นว่า ภาษาชาวบ้านพูดกันอยู่ด้วยคำว่า “กรรม” อยู่หลายๆ คำนี้ ไม่เหมือนกับภาษาบาลี อย่าเอาไปปนกัน ปนกันแล้วจะโง่เอง คือว่าทำให้เวียนหัว เข้าใจไม่ได้เอง เรื่องนี้ขอเตือน ไว้เป็นตลอดกาลตลอดชีวิตเลยว่า ภาษาไทยกับภาษาบาลีนั้น แม้ว่า เป็นคำตรงกัน เป็นคำเดียว ก็มิได้หมายความว่ามันจะมีความหมาย เหมือนกัน ต้องระวังให้ดีๆ เช่นคำว่า กรรม นี้เป็นต้น ชาวบ้านเขาร้อง ว่า “กรรม กรรม กรรม” นี้ เขาหมายถึงกรรมชั่วถึงเขาแล้ว

ส่วนคำว่า “กรรม” ในภาษาบาลีนั้น หมายความได้ทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งไม่ดีไม่ชั่ว นี้คือข้อที่ต้องสังเกตไว้ว่า ภาษาชาวบ้านนั้นใช้กันไม่ได้กับภาษาธรรมะ ในภาษาบาลี

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 15


“กรรม” คือการกระทำทางกาย วาจา ใจ ที่ประกอบไปด้วยเจตนาของกิเลส

เราต้องการจะพูดกันในส่วนหลักปฏิบัติ แต่ว่าหลักปฏิบัตินี้

มันจำเป็นที่ต้องการความเข้าใจที่ถูกต้อง ที่เรียกว่า ทฤษฎี นั้นด้วย เหมือนกัน ดังนั้นก่อนแต่ที่จะพูดถึงการปฏิบัตินั้น ก็ต้องพูดถึงทฤษฎี หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกันกับการปฏิบัตินั้นอย่างจำเป็นด้วย ฉะนั้น

เราจะพูดกันถึงเรื่องหลักความรู้ หรือหลักทฤษฎีโดยเค้าเงื่อนนี้ให้เป็น

ที่เข้าใจกันเสียก่อน แล้วจะได้พูดถึงตัวการปฏิบัติ กรรมต้องประกอบด้วยเจตนา

๑. ความรู้เรื่องกรรม

ความรู้เรื่องกรรมมีอยู่หลายหัวข้อ อันแรกที่สุดก็คือเกี่ยวกับ

คำว่า “กิริยา” กับคำว่า “กรรม” คำว่า กิริยา ก็แปลว่า กระทำ คำว่า กรรม ก็แปลว่า กระทำ เป็นภาษาบาลีทั้ง ๒ คำ แต่ไม่เหมือนกัน สิ่งที่ เรียกว่า กิริยา นี้ ตัวกิริยาหมายถึง การเคลื่อนไหว สักว่าเป็นการ เคลือ่ นไหว ก็เรียกว่ากิรยิ า แต่ไม่เรียกว่ากรรมก็ได้ ถ้าการเคลือ่ นไหวนัน้ มิได้ประกอบอยู่ด้วยเจตนาของคนที่รู้สึก ที่เป็นเจตนาอย่างนั้นเจตนา อย่ า งนี้ ฉะนั้ น ตั ว กรรมจึ ง เล็ ง ไปถึ ง เจตนา ตั ว เจตนานั้ น เป็ น

ตัวกรรม ส่วนกิริยานั้นไม่มีเจตนา กิริยาก็คือการกระทำ กรรมก็คือ การกระทำ แต่อย่างหนึ่งไร้เจตนา อย่างหนึ่งมีเจตนา 16

สิ้นกรรม


ขอโทษครับ ผมไม่ได้เจตนา เกือบโดนช้างเหยียบแล้ว ที นี้ พิ จ ารณาดู สิ่ ง ที่ เรี ย กว่ า กิ ริ ย า กั น บ้ า ง เพื่ อ เป็ น เครื่ อ ง ประกอบความรู้ ที่จริงเรื่องกิริยานี้มันไม่มีเรื่อง ไม่มีปัญหาที่เกี่ยวกับ การปฏิ บั ติ แต่ ว่ า เราจะรู้ ไว้ บ้ า ง กฎเกณฑ์ อั น นี้ มี อ ยู่ ว่ า กรรมต้ อ ง ประกอบไปด้ ว ยเจตนา เป็นการกระทำด้ วยกาย วาจา ใจก็ ต าม

แล้ ว มั น ต้ อ งเป็ น ของสั ต ว์ ที่ มี ค วามรู้ สึ ก คิ ด นึ ก ชนิ ด ที่ รู้ ชั่ ว รู้ ดี สั ต ว์ เดรัจฉานไม่รวมอยู่ในข้อนี้ เพราะว่าสัตว์เดรัจฉานไม่ได้มีความรู้ชั่วรู้ดี ไม่ได้ยึดมั่นชั่วดีเหมือนมนุษย์

การกระทำทางกาย วาจา ใจ ของสัตว์ชนิดที่มีความรู้สึกชั่วดีนั้น แล้วก็ทำด้วยเจตนาชั่วหรือดีก็ตาม ซึ่งมีมูลเหตุมาจากกิเลส นั่นแหละคือ “กรรม” สัตว์เดรัจฉาน เช่น แมวไปจับหนูกิน อย่างนี้ไม่รวมอยู่ในเรื่องนี้ ไม่ ร วมอยู่ ใ นข้ อ นี้ เพราะว่ า แมวไม่ รู้ เรื่ อ งชั่ ว ดี ไม่ ยึ ด มั่ น ชั่ ว ดี ไม่ มี อุปาทานสำหรับเกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงเหมือนมนุษย์ รักแผ่นดินไทย ส่งเสริมเด็กไทยให้ได้ใกล้ชิดธรรมะ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ แจกเป็นธรรมทานแก่เด็ก โรงเรียน มหาวิทยาลัย ห้องสมุด สถานพยาบาล ร้านค้า โรงแรม ประจำบ้าน ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้อ่านเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สนใจติดต่อ : ๐๒-๘๗๒-๙๑๙๑, ๐๒-๘๗๒-๗๒๒๗

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 17


“กรรม” บัญญัติไว้สำหรับมนุษย์ที่รู้ดี รู้ชั่ว

เรื่องกรรมนี้บัญญัติไว้สำหรับมนุษย์ แล้วก็ต้องเป็นมนุษย์ที่ ถึงขนาดมนุษย์ กล่าวคือ เป็นมนุษย์ที่รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว แล้วยึดมั่น ในความดีและความชั่ว สมมติว่าถ้าเป็นคนป่าสมัยแรกทีเดียว ไม่มี เรื่ อ งดี เรื่ อ งชั่ ว กั น เป็ น ครึ่ ง ลิ ง ครึ่ ง คน อย่ า งนี้ ยั ง ไม่ มี ค วามรู้ สึ ก ดี ชั่ ว

อย่ า งนี้ ก็ ต้ อ งยกเว้ น เพราะว่ า เรื่ อ งกรรมไม่ ไ ด้ บั ญ ญั ติ ไว้ ส ำหรั บ คน เหล่านั้น ข้อนี้ เมื่อพูดอย่างนี้ก็อยากให้ทุกคนนึกถึงเรื่องที่เคยอธิบาย

ให้ ฟั ง บ่ อ ยๆ คื อ เรื่ อ งของพวกคริ ส เตี ย น ที่ ม นุ ษ ย์ นี้ มี บ าปมี ทุ ก ข์

ก็ต่อเมื่อไปกินผลไม้ต้นที่พระเจ้าห้ามว่าอย่ากินเข้าไป กินเข้าไปแล้ว

จะตาย มนุษย์ไม่เชือ่ ไปกินเข้าไป กินแล้วก็รดู้ รี ชู้ วั่ พอรูด้ รี ชู้ วั่ ก็มบี าปทันที มีความยึดมั่นดีชั่ว แล้วก็ทำไปตามความยึดมั่น ความอยากของกิเลส มั น ก็ มี ค วามทุ ก ข์ คื อ ตาย นี่ ศ าสนาคริ ส เตี ย นก็ ยั ง มี ห ลั ก อย่ า งนี้ ว่ า

คนมีความทุกข์หรือมีบาปนี่ ต่อเมื่อไปรู้เรื่องดีเรื่องชั่ว ในศาสนาพุทธเราก็มองเห็นได้ในลักษณะอย่างนั้น คือต้องมี เจตนาดี เจตนาชั่วเป็นตัวกรรม ถ้าไม่รู้เรื่องดีเรื่องชั่วแล้ว มันจะมี เจตนาดีเจตนาชั่วได้อย่างไร เพราะฉะนั้น...

เรื่องกรรมนี้ บัญญัติไว้สำหรับระดับสัตว์ที่รู้จักดีรู้จักชั่ว และยึดมั่นเรื่องดีเรื่องชั่ว แล้วมีเจตนากระทำอะไร เนื่องมาจากความยึดมั่นในเรื่องดีเรื่องชั่ว เพราะฉะนั้น เอาตัวเจตนานั่นแหละเป็นตัวกรรม 18

สิ้นกรรม


โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้นเหตุให้ทำกรรม

ทีนเี้ จตนานีก้ ม็ าจากกิเลส และเรียกว่ามี “อวิชชา” เป็นรากเหง้า ทีเดียว ทั้งเป็นปัจจัยด้วย คือ ความที่มันไม่รู้ว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไร

ไม่เป็นทุกข์ เมื่อไม่รู้ในข้อที่ว่านี้เป็นอวิชชา ดังนั้น จึงมีเจตนาเปะปะๆ ไปตามความรู้สึกของความไม่รู้ว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรไม่เป็นทุกข์ นี่ เป็นเหตุให้เกิดตัณหา คือ อยาก อยากอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะมันโง่ รู้ผิดๆ ไป แล้วมันก็อยาก เป็นตัณหาผิดๆ ไป ตัณหานี่เราก็รู้กันอยู่แล้วว่ามี ๓ อย่าง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา กามตัณหา อยากในกาม ภวตัณหา อยากในความมีความ เป็น สองตัณหานี้ทำให้เกิดความโลภ วิภวตัณหา อยากไม่ให้มี อยาก ไม่ให้เป็น อยากไม่ให้มารอหน้าอย่างนี้ วิภวตัณหาทำให้เกิดโทสะได้ เป็นแน่นอน แล้วทั้ง ๓ ตัณหานั่นแหละทำให้เกิดโมหะได้ กามตัณหา

ก็ ดี ภวตั ณ หาก็ ดี วิ ภ วตั ณ หาก็ ดี ทำให้ เ กิ ด โมหะได้ ฉะนั้ น ตั ณ หา

ทั้งหลายย่อมให้เกิด โลภะ โทสะ โมหะ ที่เราเรียกว่าอกุศลมูลได้ มันก็

มีมูลขึ้นมา คือ

โลภะ โทสะ โมหะ เป็นมูลเหตุให้ทำกรรม ถ้าเป็นฝ่ายอกุศลก็ทำกรรมชั่ว ถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็เป็นกรรมดี ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ คิด คราคิดติดขัด หยุดพักสักนิด ทำจิตให้สงบ จักพบทางออก วลงมือทำ ทำด้วยสติสัมปชัญญะ อ่านแล้วคิด คิดให้เข้าใจ เข้าใจแล้ ทำวันนี้ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ อย่ ารอช้า อย่าผัดวัน อย่าประมาท คิดเร็ว สุขเร็ว ทำช้า ทุกข์มาก ทุกข์ยาวนาน

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 19


ยึดถือกรรมดี ก็ทุกข์อย่างดี ยึดถือกรรมชั่ว ก็ทุกข์อย่างชั่ว

ผมทำบุญเยอะ ผมจะได้เป็นเทวดา ระวังเป็นทุกข์ มีวิมานสวยๆ ไหมครับ ? เพราะความดีที่โยมยึดถือนะ เอาละ ตอนนี้จะเข้าใจผิดหรือตีกันยุ่งอีก ที่ว่าแม้ความดีหรือ กุศลนี้ก็ยังมาจากอวิชชา คนทั้งหลายจะไม่เชื่อว่าความดีนี้ กุศลนี้

ก็ยังมาจากอวิชชา อวิชชาไม่รู้ว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรไม่เป็นทุกข์ ฉะนั้น มันก็เข้าใจผิดไปว่าอย่างนั้นดี อย่างนี้ดี แล้วก็ยึดถือ ดังนั้น ก็ยังต้อง เป็นทุกข์เพราะความดีที่ตนยึดถือนั่นเอง

“ทุกข์” มันเกิดจาก “ความยึดถือ” ยึดถือดี ก็ทุกข์อย่างดี ยึดถือชั่ว ก็ทุกข์อย่างชั่ว ที่ไปยึดถือดีนี้มีมูลมาจาก อวิชชา คือโง่ขนาดละเอียดที่สุด

อวิชชามันมีทั้งอย่างเลวและอย่างดีด้วยเหมือนกัน อวิชชาเลวๆ ก็ส่งไป ทำกรรมเลว กรรมชั่ว กรรมดำทันที ส่วนอวิชชาอย่างลึกซึ้งไม่รู้ว่าดี

คืออะไร ชั่วคืออะไร มันก็คิดว่าดีนั่นแหละดี มันก็ทำดีด้วยอำนาจความ เข้าใจผิดนั้น ไปยึดมั่นในความดีนั้น ก็เป็นทุกข์เพราะความดี ถ้าหมด

อวิชชาแล้วจะไม่อยากทำดี 20

สิ้นกรรม


ถ้าหมดอวิชชา ไม่ยึดถือความดีความชั่ว จะไม่มีความทุกข์

นี่ช่วยจำไว้ด้วย ถ้าหมดอวิชชามัน ไม่ อ ยากทำดี แต่ จ ะอยู่ เหนือความดี เหนือความชั่ว เหนือทุกอย่าง

ถ้ายังมีอวิชชา มันก็กระเสือกกระสนไปในเรื่องดี-เรื่องชั่ว แล้วก็ยึดมั่น แล้วก็เป็นทุกข์ พอหมดอวิชชาแล้ว ก็อยู่เหนือดีเหนือชั่ว นี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอยู่ แม้จะเป็นเรื่องทางทฤษฎีก็ต้องเอามา พูด เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการที่จะปฏิบัติได้ แต่แล้วคนที่ฟังไม่เข้าใจ

ก็จะไม่เชื่อหรือจะค้าน เพราะว่าอวิชชานี้เป็นปัจจัยไปในทางกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ เฉยๆ ก็ได้ เพราะฉะนั้น จึงสรุปความได้ว่ารากเหง้าทั้งหมด ที่จะต้องเป็นไปในทางเวียนว่ายอยู่ในกองทุกข์ อย่างดีก็ตาม อย่างชั่ว

ก็ตาม ต้องอาศัยอวิชชา หรือว่าถ้ามีความทุกข์แล้วก็ต้องมีอวิชชา อย่าลืมว่า ความดีนี้ ถ้าไม่ยึดถือก็ไม่มีความทุกข์ ถ้ายึดถือก็มี ความทุกข์ ความชั่วก็เหมือนกัน ถ้ามีความยึดถือก็มีความทุกข์ ไม่มี ความยึดถือก็ไม่มีความทุกข์ ถ้าไม่มีความยึดถือแล้ว จะไม่ทำทั้งความ ดีและความชั่ว อย่าได้เข้าใจผิดในเรื่องนี้ ถ้าเข้าใจผิดในเรื่องนี้ มันจะ

ตีกันยุ่ง และไม่เข้าใจทั้งหมดเลย อวิชชา = ความไม่รู้ หรือความไม่รู้แจ้ง เป็นความไม่รู้แจ้งในอริยสัจจ์ ๔ และเป็น รากเหง้าที่แท้จริงของกิเลสในใจทั้งหมด บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 21


ทีนี้ เปรียบเทียบกันดูว่า กรรมนี้ต้องเป็นการกระทำด้วยกาย วาจา ใจ ทางใดทางหนึ่งของสัตว์ที่มีความรู้เรื่องชั่วเรื่องดี เพื่อจะได้

ทำไปด้วยเจตนาชั่วหรือดี แล้วก็มีรากของเจตนานั้นอยู่ที่อวิชชา คือ ความไม่รู้ว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรไม่เป็นทุกข์ แล้วก็ทำให้เกิดตัณหา อยากไปตามความโง่ เป็นกามตัณหาบ้าง ภวตัณหาบ้าง วิภวตัณหาบ้าง ให้ทำดีก็มี ให้ทำชั่วก็มี จึงเกิดมูลเหตุที่ใกล้ชิดที่สุดขึ้นมาเป็นโลภะ โทสะ โมหะ พวกหนึ่ง เป็นอโลภะ อโทสะ อโมหะ อีกพวกหนึ่ง ถ้าเป็น โลภะ โทสะ โมหะ ก็เรียกว่าเป็นไปในฝ่ายทุกข์ ถ้าเป็นอโลภะ อโทสะ อโมหะ ชนิดที่เป็นความไม่รู้อะไร ก็เป็นอัพยากฤต ส่วนที่เป็นความสิ้นไปแห่งโลภะ โทสะ โมหะ นั้นอีกเรื่องหนึ่ง อย่าเอามาปนกัน แล้วก็ฟังให้เข้าใจดีๆ ว่า โลภะ นั้นแหละ เป็นเหตุให้ทำดีก็ได้ เป็นเหตุให้ทำชั่วก็ได้ เห็น ได้ง่าย คนอยากทำดีก็เพราะโลภะ คนอยากทำชั่วก็เพราะโลภะ โทสะ นั้นเป็นเหตุให้ทำชั่วโดยประจักษ์ โทสะเป็นเหตุให้ทำดีนี้ หายาก มันจะเป็นเรื่องประชดเสียมากกว่า โกรธแล้วไปทำบุญอย่างนี้

ก็เป็นเรื่องประชด มันก็เป็นบุญเหมือนกัน แต่เป็นบุญชนิดหนึ่ง โมหะ เป็นเหตุให้ทำดีก็ได้ ทำชั่วก็ได้ มันเห่อตามๆ เขาไป แล้ว ก็ทำดีได้ด้วยโมหะนั้น หรือเพราะโง่เอง ก็ทำความดีไปเอง ชั่วไปเอง ก็ได้ นี้เป็นความยุ่งยาก เข้าใจยาก ขนาดที่เขาเรียกว่าอภิธรรม หรือ ปรมัตถธรรมอะไรนี่ คนเป็นทาสของกิเลส จึงวุ่นวาย เป็นทุกข์ อย่างรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เชิญชวนทุกท่านร่วมกันช่วยเพื่อนมนุษย์ให้เอาชนะกิเลส พบสุขได้ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้แจกเป็นธรรมทาน ยิ่งมาก บุญยิ่งทวี อย่างไม่โลภเมาบุญ รู้ว่าเป็นหน้าที่ช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (โปรดใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องนี้)

22 สิ้นกรรม


การกระทำที่ปราศจากกิเลส เรียกว่า “กิริยา”

การกระทำที่เป็นกิริยา นั้นก็เป็นการกระทำเหมือนกัน ทางกาย วาจา ใจก็ได้ ของสัตว์ที่รู้ชั่วรู้ดี แต่ว่ารู้ถึงขนาดที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่นเรื่องชั่วเรื่องดี เช่น พระอรหันต์ เป็นต้น กิริยา จึงไร้เจตนาชั่ว เจตนาดี และไม่มีอวิชชา ไม่มีตัณหา ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ

กิริยาอย่างนี้เป็นกิริยา คือการกระทำของผู้หมดโลภะ โทสะ โมหะ คือ พระอรหันต์ นั่นเอง กิริยาอื่นนอกจากกิริยาของพระอรหันต์ ก็ คื อ สั ต ว์ ที่ มั น ยั ง ไม่ รู้ ชั่ ว รู้ ดี เช่ น คนป่ า หรื อ สั ต ว์ เ ดรั จ ฉานอย่ า งนี้

มันก็ไร้เจตนาชั่วดี ไม่เกี่ยวกับอวิชชาหรือกิเลส เช่น แมวจับหนูอย่างนี้ มันก็เป็นเพียงกิริยาของแมว แต่ว่าปฏิกิริยาอาจจะเกิดขึ้น เช่น คน

ตีแ มวตายก็ ไ ด้ เพราะว่าไม่อยากให้จับหนู หรื อ อาจจะขอบใจแมว

เลี้ยงดูแมวให้ดีๆ ก็ได้ แต่การกระทำของแมวซึ่งเป็นสัตว์ที่ไม่รู้เรื่องชั่ว เรือ่ งดี ไม่มคี วามยึดมัน่ เรือ่ งชัว่ เรือ่ งดีนตี้ อ้ งจัดไว้ในฝ่ายกิรยิ า ถ้าจะไปจัดไว้

ในฝ่ายกรรม ต้องยอมรับรองว่าแมวรู้จักชั่วรู้จักดีจึงจะได้ แล้วมีเจตนา ชั่วเจตนาดี อย่างนั้นจึงจะได้ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 23


เดี๋ยวนี้ตามความเห็นของอาตมาถือว่าแมวหรือสัตว์เดรัจฉานนี้ มันไม่เกี่ยวกับรู้จักชั่วรู้จักดี ฉะนั้น แมวจับหนูกินนี้ไม่ปรับให้ตกนรก หรือท่านอุบาสกคนไหนจะปรับแมวให้ตกนรกก็ตามใจ มีสิทธิที่จะทำได้ แล้วเราอย่าเถียงกันในข้อนี้ กิริยาอีกอย่างหนึ่งเป็นเพียงการเคลื่อนไหวของสิ่งที่ไม่มีกาย วาจา ใจ คื อ กิ ริ ย าของสิ่ ง ที่ ไ ม่ มี ชี วิ ต เช่ น ว่ า กิ่ ง ไม้ หั ก โครมลงมา

บนศีรษะอาตมาอย่างนี้ นี้คือกิริยาล้วนๆ ต้นไม้ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่มี ความรู้สึกอะไร ถือว่าไร้กาย วาจา ใจด้วย เพราะฉะนั้น มันจึงไร้เจตนา

ไร้อวิชชา ไร้ตณ ั หา ไร้โลภะ โทสะ โมหะ ไร้อะไรหมด นีเ้ ป็นกิรยิ าอย่างยิง่ นี้เป็นตัวอย่างที่ยกมาให้ฟังว่า กรรมเป็นการกระทำของสัตว์ที่

รู้ชั่วรู้ดี ทำไปโดยความยึดมั่นถือมั่น มีเจตนา นี้เป็น กรรม ส่วน กิริยา คื อ การกระทำของผู้ ที่ อ ยู่ เ หนื อ ดี เ หนื อ ชั่ ว เสี ย แล้ ว คื อ พระอรหั น ต์

นี้ก็เป็นกิริยา แล้วกิริยาของสัตว์ สัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ที่ยังไม่รู้เรื่องดี เรื่องชั่ว อันนี้ก็เป็นกิริยา แล้วกิริยาของสิ่งที่ไร้จิต ไร้วิญญาณ ก้อนหิน ก้อนดิน มันพัง

ลงมา ต้นไม้หักลงมา อันนี้ก็เป็นกิริยา ที่เป็น กิริยา นั้น ไม่บัญญัติว่าดี

ว่าชั่วทุกชนิดเลย ที่เป็น กรรม ก็บัญญัติว่าเป็นดีเป็นชั่ว แล้วแต่ สมมติว่าอย่างไรดีอย่างไรชั่ว ที่มันถูกกับกิเลสหรือความต้องการนี้ ใครๆ ก็เรียกว่าดี ของพวกโจรมันก็ว่าดีไปอย่างโจร ของพวกสัตบุรุษ

ก็ว่าดีอย่างสัตบุรุษ ดีชั่วอย่างนี้ยังหลอกลวงอยู่มาก รวมความสั้นๆ

ก็คือว่า ดีก็คือที่ใครๆ ทุกคนชอบ ที่ไม่ดีคือที่ไม่มีใครชอบ มีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นทุกข์เพราะกิเลส ช่วยให้คนเอาชนะกิเลสได้ ด้วยการแจกหนังสือเล่มนีใ้ ห้เขาได้อา่ น เพือ่ ให้เขาเอาชนะกิเลสพบสุขได้ดว้ ยตัวเอง 24

สิ้นกรรม


สรุปความหมายของคำว่า “กรรม” และ “กิรยิ า” ถ้ามีเจตนาทำกรรมแล้ว ต้องมีผลดีหรือชั่วอย่างแน่นอน

เดี๋ยวนี้เราก็รู้จักสิ่งที่เรียกว่า กรรม กับสิ่งที่เรียกว่า กิริยา ครบ ทั้ง ๒ อย่างแล้ว กิริยาไม่มีวิบาก คือไม่มีผลกรรม ส่วนกรรมนั้นจะมี วิบากอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีเจตนาไม่เรียกว่ากรรม ฟังไว้ให้ดีๆ

ถ้ า มี เ จตนาทำกรรมแล้ ว ต้ อ งมี ผ ลอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง ดี ห รื อ ชั่ ว

ก็ตามแต่วา่ มันกระทำอย่างไร นีก้ ค็ อื เรือ่ งทีจ่ ะต้องรูจ้ กั ๒ เรือ่ ง กล่าวคือ

การกระทำหรือการเคลื่อนไหวก็ตาม ของสิ่งที่มีชีวิต รู้ชั่วดีแล้ว มันก็กลายเป็น “กรรม” ส่วนการกระทำหรือการเคลื่อนไหว ของสิ่งที่ไม่รู้เรื่องชั่วเรื่องดี นี้ก็เป็น “กิริยา” ไปหมด คำ ๒ คำนี้ต้องไม่เอามาปนกัน ส่วนในภาษาไทยไปเรียกว่าการ กระทำเหมือนกันหมด จึงมีทางที่จะปนกันยุ่ง เพราะกรรมก็เรียกว่าการ กระทำ กิริยาก็เรียกว่าการกระทำ แล้วมันก็ปนกันยุ่งได้ ส่วนภาษาบาลี ปนกันไม่ได้ อย่างหนึ่งเขาเรียกว่ากรรม อีกอย่างหนึ่งเขาเรียกว่ากิริยา บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 25


“กรรม” ๓ ประเภท กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากตกรรม

๒. ประเภทของกรรม

เอาละ ทีนี้เมื่อรู้จักสิ่งที่เรียกว่ากรรม แล้ว ก็รู้จักประเภทหรือชนิดของสิ่งที่เรียกว่า กรรม เรื่ อ งนี้ ก็ ไ ด้ ยิ น ได้ ฟั ง กั น อยู่ ทั่ ว ไปแล้ ว

เกือบจะไม่ต้องพูดอะไร เอามาพูดเพียงเพื่อให้ ระลึกได้

กรรมจำแนกเป็น กุศลกรรม อกุศลกรรม และอัพยากตกรรม กุศลกรรม-กรรมดี อกุศลกรรม-กรรมชั่ว อัพยากตกรรม-ไม่กล่าวว่าดีว่าชั่ว

หรือกล่าวไม่ได้ หรือไม่กล่าวก็ตามใจว่ามันดีหรือชั่ว เมื่อมัน กล่าวไม่ได้ก็คือไม่กล่าว เพราะว่ากล่าวไม่ได้ กรรมดำคืออกุศลกรรม กรรมขาวคือกุศลกรรม กรรมเจือกันก็คือกุศลกับอกุศลเจือกัน กรรม

ไม่ดำไม่ขาวก็เป็นอัพยากฤต ถ้าพูดให้ถูกมันกลายเป็นเพียงกิริยาไป

ในที่สุด ไม่เป็นกรรม

แบ่งปันรอยยิ้ม แบ่งปันความสุข แบ่งปันความดี ด้วยการหยิบยื่นหนังสือธรรมะสาระดีๆ ให้ผู้อื่นได้อ่าน เพื่อสร้างความสุข ความดี แก่ตนและคนที่รัก 26

สิ้นกรรม


“สติ” คือเครื่องกั้นกระแสแห่งกิเลสและกรรม สติเปรียบเหมือน “บอดี้การ์ด” ของใจ

ไม่ว่าจะเกิดสิ่งใด ใจก็พิจารณาเห็นเป็นเรื่องธรรมดา

ในวันหนึ่งๆ เรามีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้ามีสติระมัดระวัง จิตใจได้ดี ก็เป็นไปในทางกุศลกรรมมากกว่า ถ้าเผลอสติ ปล่อยให้กิเลส มันทำตามสบายแล้ว ก็เป็นไปในทางอกุศลกรรมมากกว่า นี้มันจึงมี

สิ่งสิ่งเดียวกันอีก คือสิ่งที่เรียกว่า สติ นั่นแหละ เป็นเครื่องกั้นกระแส แห่งกิเลส เป็นเครื่องกั้นกระแสแห่งกรรม กั้นกระแสแห่งกิเลสก็คือ

กั้นกระแสแห่งกรรม เพราะฉะนั้น อยู่ด้วยสตินี้จะช่วยได้มาก หรือช่วย ได้ถึงที่สุดเกี่ยวกับกรรม

ถ้ามีสติแล้วก็ไม่ทำกรรมที่ไม่ควรจะทำ หรือถ้ามีสติแล้ว แม้กรรมแต่หนหลัง ที่จะมาให้ผลเดี๋ยวนี้ สติก็ทำให้ไม่รับเอา แม้จะเป็นทุกข์ก็ไม่เป็นทุกข์ อย่างที่คนรับเอาด้วยความยึดมั่นถือมั่น ผลกรรมแต่หนหลังอาจจะมาถึงคนธรรมดาที่ไม่ใช่พระอรหันต์ แล้วก็ทำให้เป็นทุกข์ได้ ถ้ามีสติระลึกได้ก็จะไม่หลง ไม่โง่เอามาเป็น อารมณ์นัก บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 27


เพราะขาดสติ จึงทำให้เป็นทุกข์ ฮือๆ

เราต้องฝึก เจริญสติแล้วล่ะ

ที นี้ ผ ลกรรมแต่ ห นหลั ง ถ้ า มาถึ ง พระอรหั น ต์ แ ล้ ว ไม่ เ ป็ น

ผลกรรมได้ กลายเป็นกิริยา เป็นผลของกิริยา กลายไปเป็นปฏิกิริยา พระอรหันต์เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วก็หมดกรรม ถ้าท่านทำอะไรก็เป็น เพียงกิริยา ดังนั้น แม้ผลกรรมแต่หนหลังที่ทำไว้ก่อนแต่ที่เป็นพระอรหันต์มาถึงเข้า นั้นก็เป็นเพียงปฏิกิริยา ไม่ใช่ผลกรรม อย่างเรื่องที่ชอบเชื่อกันนัก ซึ่งไม่มีในบาลีว่าพระโมคคัลลานะ ถูกโจรมาทำอันตรายอย่างโน้นอย่างนี้ จนกระทั่งต้องนิพพานเพราะ ฝีมอื โจร พวกนัน้ เขาอธิบายกันว่าผลกรรมแต่หนหลังมาตามทัน อย่างนี้ หลับตาพูด ผลกรรมอะไรจะมาตามพระอรหันต์อีก ถ้ากรรมตามมา

มันก็กลายเป็นเพียงปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เรียกว่าผลกรรมหรือ วิบาก ฉะนั้น ขอให้สนใจสิ่งที่เรียกว่า สติ ไว้ด้วย แม้คนธรรมดานี้

ก็จะอาศัยสติเพื่อปะทะผลกรรมแต่หนหลังได้ พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ขณะที่ร่างกายยังมีลมหายใจอยู่ ให้พยายามระลึกรู้

ลมหายใจเข้าออกทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน เท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นการฝึกเจริญสติ สำรวม ป้องกัน ระมัดระวังรักษาใจจากกิเลส เพราะเมื่อเกิดการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย กิเลสจะเกิดขึ้นที่ใจ ถ้าฝึกไปเรื่อยๆ จิตจะรู้เท่าทันกิเลสเมื่อกระทบผัสสะต่างๆ ได้

ทันท่วงที และให้หมั่นตรวจดู ศีล สมาธิ ปัญญา อย่าให้พร่องไปจากจิต ถ้าเผลอหรือหลงลืม ไปเมื่อไหร่ ให้เริ่มต้นใหม่ (อ่านวิธีปฏิบัติหน้า ๑๒๔) 28

สิ้นกรรม


“กิเลส” เป็นต้นเหตุของกรรม

๓. สมุฏฐานของสิ่งที่เรียกว่ากรรม

ข้ อ ต่ อ ไปนี้ เราจะดู กั น ถึ ง สมุ ฏ ฐานของกรรม ก็ คื อ กิ เ ลส

นั่นเป็นคำตอบกำปั้นทุบดิน แต่คำว่า กิเลส นี้มันหลายชั้น มันซ้อนกันอยู่ หลายชั้น กิเลสชั้นแรกชั้นรากชั้นลึกที่สุดก็คือ อวิชชา มันต้องประกอบ อยู่ด้วยอวิชชา กล่าวคือ สภาวะที่ปราศจากความรู้ว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความรู้เรื่อง อันนี้เรียกว่า อวิชชา นี้เป็นรากสุด ของกิเลส กิเลสที่งอกออกมาจากอวิชชา เป็นชั้นเหตุปัจจัยนี้ก็เรียกว่า ตัณ หา คือ ความอยาก ๓ ประการ นั้น ความอยากที่เป็นไปตาม อำนาจของความไม่รู้ ก็เรียกว่าตัณหา ตัณหานี้ก็คือกิเลส กิเลสชั้นที่ เป็น เหตุ เ ป็ น ปั จ จัยที่จะให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ ที่ เรี ย กว่ า มู ล เหตุ

ที่ใกล้ ชิ ด ที่ สุ ด โลภะ โทสะ โมหะ นี้เรียกว่ า เป็ น มู ล เหตุ ส ำหรั บ เรา เพราะ...

เราทำสิ่งต่างๆ เนื่องมาจากเหตุ คือ โลภะ โทสะ โมหะ นี้ หรือถ้าเราไม่อยากเรียกโลภะ โทสะ โมหะเป็นเหตุ ก็ไปเรียกที่ตัณหาก็ได้ เราไม่อยากเรียกที่ตัณหา ไปเรียกที่อวิชชาเลยก็ได้ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 29


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.