กรรมก่อผล คนก่อกรรม
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก บรรณาธิการ/รวบรวม : ไพยนต์ กาสี ออกแบบปก/รูปเล่ม : เสาวณีย์ เที่ยงตรง ภาพประกอบ : อนันต์ กิตติกนกกุล พิมพ์ข้อมูล : ธนวรรณ ขันแข็ง พิสูจน์อักษร : ประดิษฐ์ เจาจารึก ISBN 978-616-268-220-9
สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์ บริษัท สำานักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำากัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทรศัพท์/โทรสาร 02-872-7667
เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน
สาขาทุ่งครุ : โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898 สาขาสำาราญราษฎร์ : โทร. 02-221-1050, 02-221-4446 Email : LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง 223 ถนนบำารุงเมือง กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 02-221-1050, 02-221-4446, 02-223-8979
คำ�นำ� บรรดาสัตว์โลกทีย่ งั ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยูน่ ้ี ล้วนตกอยูภ่ ายใต้ กฎแห่งกรรมทั้งสิ้น เพราะกรรมเป็นเครื่องจำาแนกแยกแยะสัตว์โลก ให้มีระดับชั้นที่ดีหรือเลวแตกต่างกันไปตามผลของการกระทำาทั้งในอดีต และปัจจุบัน ดังมีพระพุทธดำารัสตรัสรับรองไว้ว่า “บุคคล หว่านพืช เช่นใด ย่อมได้รบั ผลเช่นนัน้ ผูท้ าำ กรรมดี ย่อมได้รบั ผลดี ผูท้ าำ กรรมชัว่ ย่อมได้รบั ผลชัว่ ” ไม่ชา้ ก็เร็ว ทีต่ อ้ งกล่าวเช่นนีด้ ว้ ยเนือ่ งจากการให้ผล ของกรรมยังมีความเกี่ยวเนื่องกับเวลา เพราะกรรมบางอย่างก็ส่งผล ทันที กรรมบางอย่างก็ให้ผลช้า เหมือนวัตถุตกลงจากที่สูง สิ่งใดหนักก็ ย่อมตกลงถึงพื้นก่อน สิ่งไหนเบาก็ตกลงพื้นทีหลังเป็นต้น หนังสือเรื่อง “กรรมก่อผล คนก่อกรรม” เล่มนี้ ผู้รวบรวมได้ นำาเนื้อหาสาระจากบทพระนิพนธ์เรื่อง “ความจริงที่ต้องเข้าใจ ตอน ความเข้าใจเรือ่ งกรรม” ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มาจัดทำารูปแบบใหม่ แต่ยังคงไว้ซึ่งเนื้อหา สาระเดิมของบทพระนิพนธ์ทั้งหมด หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พระวรคติธรรมที่สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงนิพนธ์ประทานไว้น้ี จักเป็นแสงสว่างทางปัญญานำาพาท่านผูอ้ า่ นให้ ตั้งมั่นอยู่ในกรรมดีทั้งทางกายวาจาและใจตลอดไป
ขอพระสัทธรรมดำารงอยู่ในดวงจิตของทุกท่านตลอดกาลนาน น.ธ.เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. บรรณาธิการ สำานักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ
ชีวิตเนื่องด้วยกรรม ชีวิตของทุกคนเกี่ยวข้องกับกรรม ทั้งที่เป็นกรรมเก่า ทั้งที่เป็น กรรมใหม่ จะกล่าวว่าชีวิตเป็นผลของกรรมก็ได้ คำาว่า กรรมเก่ากรรมใหม่ นี้ อธิบายได้หลายระยะ เช่น ระยะ ไกล กรรมที่ทำาแล้วในอดีตชาติ เรียกว่า กรรมเก่า กรรมที่ทำาแล้ว ในปัจจุบันชาติ เรียกว่า กรรมใหม่ อธิบายอย่างนี้อาจจะไกลมากไป จนคนที่ไม่เชื่ออดีตชาติ เกิด ความคลางแคลงไม่เชือ่ จึงเปลีย่ นมาอธิบายระยะใกล้วา่ ในปัจจุบนั ชาติ นี้แหละ กรรมที่ทำาไปแล้วตั้งแต่เกิดมาเป็นกรรมเก่า ส่วนกรรมที่เพิ่ง ทำาเสร็จลงไปใหม่ๆ เป็นกรรมใหม่ แม้กรรมทีจ่ ะเข้าใจหรือทีจ่ ะทำาก็เป็น กรรมใหม่ เพราะฉะนั้น การที่จะเข้าใจเรื่องชีวิตได้ดี จำาต้องทำาความ เข้าใจเรื่องกรรมให้ดีด้วย คำาว่า กรรม มีใช้ในภาษาไทยมาก เช่น กรรมการ กรรมกร กรรมาธิการ ทุกสิ่ง ไม่มีเหตุบังเอิญ
แต่ในภาษาที่พูดกัน เคราะห์ร้าย มักตกอยู่แก่กรรม เคราะห์ดี มักตกอยู่แก่บุญ ดังเมื่อใครประสบเคราะห์ร้าย คือ ทุกข์ ภัยพิบัติต่างๆ ก็พูดว่า เป็นกรรม แต่เมื่อใครประสบเคราะห์ดี มักพูดว่าเป็นบุญ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศ�สน์ จำ�กัด
5
และมีคาำ พูดคูก่ นั ว่า บุญทำากรรมแต่ง เกณฑ์ให้กรรม เป็นฝ่ายดำา ให้บญ ุ เป็นฝ่ายขาว ความเข้าใจเรือ่ งกรรมและคำาทีใ่ ช้พดู กันในภาษาไทย จักเป็นอย่างไรให้งดไว้กอ่ น ควรทำาความเข้าใจให้ถกู ต้องตามความหมาย ในพระพุทธศาสนา คำาว่า กรรม แปลว่า กิจการที่คนกระทำา คำาว่า ทำา หมายถึง ทั้งทำาด้วยกาย อันเรียกว่า กายกรรม ทั้งทำาด้วยวาจา คือ พูด อันเรียกว่า วจีกรรม ทั้งทำาด้วยใจ คือ คิด อันเรียกว่า มโนกรรม
วจีกรรม กายกรรม
มโนกรรม
บางทีเมือ่ พูดกันว่า ทำา ก็หมายถึง ทำาทางกายเท่านัน้ ส่วนทาง วาจา เรียกว่า พูด ทางใจเรียกว่า คิด แต่เรียกรวมได้วา่ เป็นการทำาทุกอย่าง เพราะจะพูดก็ต้องทำา คือ ทำาการพูด จะคิดก็ต้องทำา คือ ทำาการคิด จึงควรทำาความเข้าใจว่า ในที่นี้คำาว่า “ทำา” ใช้ได้ทุกอย่าง เมื่อได้ฟังว่า ทำาทางกายก็เข้าใจว่า ทำาอะไรด้วยกายที่เข้าใจอยู่แล้ว เมื่อได้ฟังว่า ทำาทางวาจา ก็ให้เข้าใจว่าพูดอะไรต่างๆ เมื่อได้ฟังว่า ทำาทางใจ ก็ให้เข้าใจว่าคิดอะไรต่างๆ
6
กรรมก่อผล คนก่อกรรม
กรรม ทำ�
พูด
คิด
การฟังคำาพูดอธิบายหลักวิชาอาจจะขวางหูอยูบ่ า้ ง แต่เมือ่ เข้าใจ ความหมายแล้วก็จกั สิน้ ขัดขวาง กลับจะรูส้ กึ ว่าสะดวก เพราะเป็นคำาที่ มีความหมายลงตัวแน่นอน คำาว่า “กรรม” มักแปลกันง่ายๆ ว่า การทำา แต่ผเู้ พ่งศัพท์และ ความ แปลว่า กิจการที่บุคคลทำา ดังกล่าวแล้ว ดังนั้น ผมมีอาชีพกสิกรรม
คำาว่า “กรรม” ถ้าแปลว่า การทำา ก็ต้องไปพ้อง กับคำาว่า “กิริยา” คำาว่า “กิริยา” แปลว่า การทำาโดยตรง ส่วนคำาว่า “กรรม” นั้น หมายถึง ตัวกิจ หรือการงานที่กระทำา
ดังคำาที่พูดในภาษาไทยที่ถูกต้อง เช่น กสิกรรม พาณิชยกรรม และคำาอื่นที่ยกไว้ข้างต้น คำาเหล่านี้ล้วนหมายถึงกิจการอย่างหนึ่งๆ ที่สำาเร็จจากการทำา (กิริยา)
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศ�สน์ จำ�กัด
7
กรรมคืออะไร กรรม แปลว่าอะไรได้กล่าวแล้ว แต่ กรรมคืออะไร จำาต้อง ทำาความเข้าใจให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ แปลความว่า
“เรากล่าวเจตนา (ความจงใจ) ว่าเป็นกรรม เพราะคนจงใจ คือ มีใจมุ่งแล้ว จึงทำาทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง” ฉะนั้น กรรม คือ กิจที่บุคคลจงใจทำา หรือทำาด้วยเจตนา ถ้าทำาด้วยไม่มีเจตนา ไม่เรียกว่ากรรม อย่างเช่น ไม่มีเจตนาเหยียบมดตาย ไม่เป็นกรรม คือ ปาณาติบาต ต่อเมื่อเจตนาจะเหยียบให้ตาย จึงเป็นกรรม คือ ปาณาติบาต
แต่เมื่อจัดอย่างละเอียด สิ่งที่ทำาด้วยไม่มีเจตนา ท่านจัดเป็นกรรมชนิดหนึ่ง เรียกว่า กรรมสักว่าทำา เพราะอาจให้โทษได้เหมือนกัน เหมือนอย่างที่กฎหมายถือว่าผิดในฐานประมาท 8
กรรมก่อผล คนก่อกรรม
กรรมเกีย่ วกับคนเราอย่างไร ? กรรมเกีย่ วกับคนเรา หรือคนเรา นัน่ แหละเกีย่ วกับกรรมอยูต่ ลอดเวลา เพราะคนเรานัน้ ตัง้ แต่ตน่ื นอนขึน้ จนถึงหลับไปใหม่ ก็มเี จตนาทำาอะไรต่างๆ พูดอะไรต่างๆ คิดอะไรต่างๆ อยู่เสมอ โดยปกติไม่มีใครหยุดนิ่งอยู่เฉยๆ ได้ ถึงมือไม่ทำา ปากก็พูด ถึงปากไม่พูด ใจก็คิดถึงเรื่องต่างๆ ที่พูดนี่ นายได้ยินไหม
การต่างๆ ที่ทำานี้แหละ เรียกว่า กายกรรม คำาต่างๆ ที่พูดนี้แหละ เรียกว่า วจีกรรม เรื่องต่างๆ ที่คิดนี้แหละ เรียกว่า มโนกรรม
กรรมจะดีหรือไม่ดีนั้น ก็สุดแต่ผลที่เกิดขึ้นจากกรรมนั้นๆ เจริญสุขนะโยม
สาธุ
ถ้าให้เกิดผลเป็นคุณ เกื้อกูลแก่ตนเองและผู้อื่น ก็เป็นกรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม แปลว่า กรรมที่เป็นกิจของคนฉลาด หรือ บุญกรรม แปลว่า กรรมที่เป็นบุญ
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศ�สน์ จำ�กัด
9
คือ ความดีเป็นเครื่องชำาระล้างความชั่ว เช่น การรักษาศีล ประพฤติธรรมที่คู่กับศีล หรือแม้กิจการที่ดี ที่ชอบที่เป็นตามที่แสดง มาแล้ว ที่เป็นสุจริตต่างๆ เช่น การตั้งใจช่วยมารดาบิดาทำาการงาน การตัง้ ใจเรียน การตัง้ ใจประพฤติตนให้ดี การช่วยเหลือเกือ้ กูลมิตรสหาย การทำาสาธารณสงเคราะห์ต่างๆ มีของมีค่าอะไร ส่วนกรรมที่ก่อให้เกิดผลเป็นโทษ ส่งมาให้หมด เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นกรรมชั่วไม่ดี เรียกว่า อกุศลกรรม แปลว่า กรรมที่เป็นกิจของคนไม่ฉลาด หรือบาปกรรม แปลว่า กรรมที่เป็นบาป เช่น การประพฤติผิดศีลธรรม ประพฤติทุจริตต่างๆ ที่ตรงกันข้ามกับกุศลกรรม ตัวอย่างของกรรมดี และกรรมไม่ดีข้างต้นนั้น เมื่อกล่าวตาม แนวพระพุทธศาสนา เอ..! พระพุทธเจ้าได้ทรงจำาแนกแสดง จะไปทางไหนดีนะ เป็นทางปฏิบัติไว้ชัดเจน เรียกว่า กรรมบถ แปลว่า ทางของกรรม เรียกสั้นๆ ว่า ทางกรรม ี กรร ่ ด ม มด มไ ทรงชี้แจงไว้เพียงพอ ี กรร และเข้าใจง่ายว่า ทางไหนดี ทางไหนไม่ดี
10
กรรมก่อผล คนก่อกรรม
กายกรรม กรรมทางกาย นั้น
ฆ่าเขา ๑ ลักของเขา ๑ ประพฤติผดิ ในทางกาม ๑ เป็นอกุศล ไม่ดี เว้นจากการทำาอย่างนั้น และอนุเคราะห์เกื้อกูลเขา ๑ เลี้ยงชีพ ในทางที่ชอบ ๑ สังวรในกาม ๑ เป็นกุศล เป็นส่วนดี
วจีกรรม กรรมทางวาจา นั้น
พูดมุสา ๑ พูดส่อเสียดเพื่อให้เขาแตกกัน ๑ พูดคำาหยาบด้วย ใจมีโทสะเพื่อให้เขาเจ็บใจ ๑ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ๑ เป็นอกุศล ไม่ดี เว้นจากการพูดอย่างนัน้ และพูดแต่คาำ จริง ๑ พูดสมัครสมาน ๑ พูดคำาสุภาพระรื่นหูจับใจ ๑ พูดมีหลักฐานถูกต้องชอบด้วยกาลเทศะ ๑ เป็นกุศล เป็นส่วนดี
มโนกรรม กรรมทางใจ นั้น
คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขามาเป็นของของตนเอง ๑ คิดพยาบาท มุง่ ร้ายเขา ๑ เห็นผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำาดีไม่ได้ดี ทำาชัว่ ไม่ได้ ชั่ว ๑ เป็นอกุศล ไม่ดี ไม่คดิ อย่างนัน้ และคิดเผือ่ แผ่ ๑ คิดแผ่เมตตาจิตให้เขาอยูเ่ ป็น สุข ๑ คิดเห็นชอบตามคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำาดีได้ดี ทำาชั่วได้ชั่ว ๑ เป็นกุศล เป็นส่วนดี คนที่เว้นจากทางกรรมอันเป็นอกุศล ดำาเนินไปในทางกรรมที่ เป็นกุศล เรียกว่า ธรรมจารี แปลว่า ผู้ประพฤติธรรม, บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศ�สน์ จำ�กัด
11