โครงการ “ระดมธรรม สันติสุข”
สวดมนต์ ไหว้พระ ชนะ
เคราะห์กรรม
รวบรวม/เรียบเรียง บรรณาธิการสาระ ออกแบบปก/รูปเล่ม พิสูจน์อักษร
: ไพยนต์ กาสี น.ธ. เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำ�ซองเมือง : ธนวรรณ ขันแข็ง : เสาวณีย์ เที่ยงตรง พิมพ์ข้อมูล : มานิตย์ กองษา ภาพประกอบเรื่อง : เทิดเกียรติ ปลูกปานย้อย
ส
วดมนต์ ดลปัญญา นำ�พาพ้นเคราะห์กรรมร้าย
ยามสูญเสียสิ่งของเงินทอง อันเป็นทรัพย์ภายนอกไป เรายังสามารถใช้ความขยันหมั่นเพียรหามาได้ใหม่ แต่หากคนเรา สูญเสียกำ�ลังใจ อันเป็นทรัพย์ภายใน จากการที่ต้องพบกับเรื่อง ร้ายต่างๆ จะเอาอะไรสร้างขวัญกำ�ลังใจให้กลับคืนมา ซึ่งหากว่าท่านเป็นชาวพุทธผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว คงตอบ พร้อมกันได้ว่า ต้องอาศัยความเชื่อมั่นศรัทธาในพระรัตนตรัย แล้วนำ�มาเป็นหลักยึดของจิตใจให้ได้ ด้วยเมื่อใจของเรามีความ แนบชิ ด สนิ ท แน่ น ในคุ ณ ความดี ง ามของพระพุ ท ธ พระธรรม พระสงฆ์ จะทำ�ให้สภาวะจิตใจของเรามั่นคงเข้มแข็ง เป็นแรง ผลักดันให้เกิดพลังกาย-ใจ ช่วยให้การประกอบกิจน้อยใหญ่ส�ำ เร็จ ลุล่วงไปด้วยดี บทสวดในหนังสือ สวดมนต์ไหว้พระ ชนะเคราะห์กรรม นี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำ�นาจพระปริตรธรรมทุกบท จึงช่วย ลดทุกเคราะห์กรรมให้จางหาย เพราะเนื้อหาในบทสวดส่วนใหญ่ เป็นการสรรเสริญคุณความดีของพระรัตนตรัย แต่ที่แยกเป็น หมวดหมู่ไว้ ก็เพื่อความสะดวกของผู้สวด บางหมวดก็แยกตาม ที่โบราณาจารย์แนะให้สวดแก้เคราะห์กรรมเฉพาะกรณี หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อท่านได้ลงมือสวด และปฏิบัติตาม ที่แนะนำ�ไว้ในเล่มนี้ จะช่วยให้เกิดกำ�ลังใจมุ่งมั่นทำ�แต่กรรมดี มี ความสุขทัง้ ในปัจจุบนั และอนาคต จนกว่าจะหลุดพ้นเคราะห์กรรม ได้เด็ดขาด คือ บรรลุนิพพานเทอญ. น.ธ.เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. รวบรวม/เรียบเรียง ในนามคณาจารย์ สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ส
วดมนต์ ล้างใจ ใช้แก้ไขเคราะห์กรรม
ภารกิจในชีวติ ประจำ�วันอย่างหนึง่ ซึง่ ทำ�กันชนิดขาดไม่ได้ คือ การอาบนำ้�ชำ�ระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ นอกจากช่วยให้ รู้สึกสดชื่นแล้ว ยังเป็นการรักษาสุขภาพกายอีกทาง ดังคำ�ที่ กล่าวว่า “สะอาดกาย เจริญวัย” จิตใจ ก็ควรชำ�ระให้ใสสะอาด อย่างน้อยวันละครั้งยังดี จะมีผลเป็นความสุข ดังคำ�ที่ว่า “สะอาดใจ เจริญสุข” และเมื่อมี ความสะอาดทั้งใจ-กาย ทำ�ให้มีความสุข ความเจริญไปพร้อมกัน การชำ�ระทางกาย ทำ�ได้ง่ายดายมาก แต่เรื่องที่ยุ่งยาก คือ การชำ�ระล้างจิตใจ ทั้งนี้ เนื่องจากคุณลักษณะของใจ เป็น นามธรรม จับต้องสัมผัสไม่ได้ มีการซัดส่ายไปมาไม่อยู่นิ่ง ด้วย มีสิ่งให้คิดตลอดเวลา และติดอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ทั้งชอบหรือชัง เมื่อติดค้างในอารมณ์ที่ชอบใจ ก็หลงใหลอยู่ในสิ่งนั้น หากตกอยู่ ใ นอารมณ์ ชั ง ยิ่ ง แล้ ว ใหญ่ เพราะมั น จะทำ � ให้ คิ ด แค้นเคืองขุ่น นำ�ความเดือดร้อนวุ่นวายทั้งกาย-ใจ มาสู่ตนเอง อยู่ตลอดเวลา พระพุทธศาสนา จึงให้ความสำ�คัญเรื่องการทำ�ใจ ถึงกับ ยกให้เป็นส่วนหนึ่งของคำ�สอนอันเป็นหัวใจของศาสนา ดังคำ�ที่ สอนไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ว่า “การไม่ท�ำ ความชัว่ ทัง้ หลาย การทำ�ความดีให้ถงึ พร้อม และการทำ�จิตของตนให้ผ่องใส ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำ�สอน ในพระพุทธศาสนา”
3
วิธีชำ�ระล้างใจ นอกจากจะใช้ยาธรรมโอสถ คือ ปฏิบัติ ตามคำ�สอนของพระพุทธเจ้าแล้วนั้น อีกวิธีหนึ่งที่นิยมทำ� คือ การสวดสาธยายคำ�สอนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เรียกง่ายๆ ว่า “สวดมนต์” ซึ่งคนโบราณท่านสวดมนต์กันทุกวันไม่ขาดสาย ยิ่งโดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ องค์สามเณร ถือเป็นกิจที่ขาดไม่ได้ ในวันหนึ่งต้องสวดมนต์ถึง ๒ ครา เรียกว่า สวดมนต์ท�ำ วัตรเช้า ทำ�วัตรเย็น ประการหนึ่ง การไหว้พระสวดมนต์ ถือว่าเป็นการปฏิบัติ ตามหลัก ไตรสิกขา คือ ขณะสวดมนต์ ผู้สวดสำ�รวมความคึกคะนองทางกาย วาจากล่าวแต่คำ�สวดที่เป็นวาจาสุภาษิต เรียกว่า ศีล ขณะกล่าวคำ�สวดมนต์ ใจของผู้สวดจดจ่อกับบทสวด มิเช่นนั้นจะทำ�ให้สวดผิดสวดถูก จึงทำ�ให้เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่ ในอารมณ์เดียวคือการสวดมนต์ เรียกว่า สมาธิ ในการสวดมนต์ ผู้สวดมีความเพียรที่จะละสิ่งเป็นอกุศล (อาตาปี), นึกถึงแต่สิ่งดีงาม (สติมา), รู้ตัวว่ากำ�ลังทำ�ความดี (สัมปชาโน), ทำ�ให้รู้ว่า ความดี เป็นสิ่งควรทำ� ความชั่ว เป็นสิ่ง ควรเว้นให้ไกล เรียกว่า ปัญญา การสวดมนต์ หากทำ�ด้วยความตั้งใจ เรียนรู้ความหมาย ตามคำ�สวด นำ�ความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติ ย่อมสามารถเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมทางจิตใจ ให้เป็นผู้มีความสะอาด สว่าง สงบได้ ใจที่มี คุณสมบัติเช่นนี้ ย่อมพร้อมที่จะนำ�ไปแก้ไขกรรมของตนในที่สุด จากนี้ ผูเ้ รียบเรียงขอนำ�เข้าสูเ่ นือ้ หาบทสวดมนต์ทม่ี ากล้น ด้วยคุณทางอิทธิปาฏิหาริย์ หากท่านสวดด้วยใจเป็นสมาธิ มากมี ด้วยอนุสาสนีปาฏิหาริย์ หากท่านคิดพิจารณาตามความหมาย ต่อไป
4
สวดมนต์
พระรัตนตรัย
ระลึกถึง
v
ตั้งจิตใจแก้ ไขเคราะห์กรรม v
การประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทางพระพุทธศาสนานั้น พิธีสำ�คัญอย่างแรกที่ต้องทำ� คือ กล่าวคำ�บูชาพระรัตนตรัย ทำ�ไมจึงเป็นเช่นนั้น ขอยกตัวอย่างง่ายๆ ใครเคยเล่นกีฬา ผูเ้ ล่นจะอบอุน่ ร่างกายเรียกว่า “วอร์ม” ร่างกายให้พร้อมก่อน ในขั้นตอนสวดมนต์เช่นกัน โดยเฉพาะการสวดมนต์ที่ มุ่งหวังผลแก้ไขกรรม ต้องไม่ลืมว่า จิตใจของคนที่ทำ�กรรม ไม่ดีนั้น มันมักว้าวุ่นขาดที่พึ่ง จึงต้องหาหลักให้ใจยึดเหนี่ยว อยูก่ บั ที่ และทีพ่ งึ่ อันดีสดุ ของพุทธบริษทั ทุกหมูเ่ หล่า ไม่มอี ะไร ประเสริฐเทียบเท่าคุณของพระรัตนตรัย บทนี้ จึงนำ�บทสวดมนต์เกีย่ วกับการบูชาพระรัตนตรัย มาแนะให้สวดกัน เรียกว่าเป็นการ “ไหว้ครู” ก่อนสวดมนต์ บทอื่นๆ ต่อไป บทสวดมนต์เหล่านี้ สามารถคุ้มครองป้องกัน ใจได้สารพัด ทั้งยังกำ�จัดสิ่งชั่วร้าย ให้ห่างไกลตัวเราได้
สวดมนต์ ระลึกถึง คุณพระรัตนตรัย ตั้งจิตใจแก้ ไขเคราะห์กรรม
บทบูชาพระรัตนตรัย
บูชาบุคคลผู้ควรบูชา นำ�พาชีวิตสู่อุดมมงคล
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ. อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ. อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ. บูชา หมายถึง การยกย่องนับถือในคุณความดี ดังที่นิยม ใช้ดอกบัวมาบูชาพระ ซึ่งแฝงแง่คิดที่ว่า ธรรมดาใจคนมักไหล ไปสู่ที่ตำ่�จึงทำ�ชั่วได้ง่าย แต่ใครที่ฝึกฝนใจตนให้เป็นเช่นบัวที่ พ้นน้ำ� ใจจะไม่ถูกความชั่วครอบงำ� จึงมีแต่คิดทำ�กรรมดีเท่านั้น
บทกราบพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ) ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ) กราบไหว้พระเป็นประจำ� ทำ�ให้จิตคิดใฝ่ดี
ให้สังเกตดูทุกคราที่เรากราบไหว้พระ ไม่ว่าที่วัด หรือ ที่บ้าน ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่เกิดเหมือนกัน นั่นก็คือ สบายใจ ความสบายใจนีแ่ หละ เป็นจุดเริม่ ต้นการแก้ไขเคราะห์กรรม เพราะ คนที่ไม่มีเรื่องอะไรติดค้างในใจ ปัญญาที่จะคิดแก้ไขปัญหาอะไร ย่อมเกิดได้ง่าย เมื่อกล่าวคำ�บูชาคำ�กราบพระเสร็จแล้ว ให้น่งั พับเพียบลง ตัง้ ใจกล่าวคำ�สมาทานศีล คำ�อัญเชิญเทวดามาร่วมอนุโมทนาต่อไป
6
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง
เพียรเพื่อพุทธศาสน์
คาถาชุมนุมเทวดา ผะริตว๎ านะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา, อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ, สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน, ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต, ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา, ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา. บทนี้ เป็นการสวดอัญเชิญเทวดาทั่วจักรวาล คนธรรพ์ ครุฑ นาคทั้งหลาย มาร่วมรับฟังเสียงสวดมนต์ มีคนถามว่า สวดมนต์เองนี่ต้องสวดบทอัญเชิญเทวดา หรือไม่ ผู้เรียบเรียงให้คำ�ตอบไปว่า ควรสวด เพราะอะไร ? ยกตัวอย่างเช่น เวลาเรามีงานบุญในบ้าน ยังเชิญผู้ใหญ่ที่เคารพ นั บ ถื อ มาเป็ น เกี ย รติ สั ก ขี พ ยาน ครั้ น เปลี่ ย นมาเป็ น ทำ � กุ ศ ล สวดมนต์ด้วยตน ไม่ได้เชื้อเชิญใคร ก็ให้เชิญเทวดาทั้งหลายผู้เป็น ใหญ่กว่าเราในด้านคุณธรรมมาเป็นสักขีพยานในการทำ�ดี ทั้ ง นี้ ยั ง เป็ น การทำ � ตาม ประเพณีโบราณที่ก่อนนั้น การสวด บทชุมนุมเทวดาเป็นหน้าที่คฤหัสถ์ โดยตรง แต่ปัจจุบันถ้านิมนต์พระ ให้มาสวดมนต์ ก็ยกหน้าที่นี้ให้กับ พระสงฆ์รูปที่ ๓ เป็นองค์สวดแทน
7
สวดมนต์ ระลึกถึง คุณพระรัตนตรัย ตั้งจิตใจแก้ ไขเคราะห์กรรม
คำ�สมาทานศีล ๕ ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. อะทินนาทาน เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ. (เฉพาะวรรคนี้ สวด ๓ จบ) การสมาทานศีลก่อนสวดมนต์ เพื่อให้ตนบริสุทธิ์ ทั้ง ๓ ทาง คือ กาย วาจา ใจ ยิ่งนำ�ไปปฏิบัติประจำ� ก็ชื่อว่าได้ทำ�บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิบัติบูชา อานิสงส์ รักษาศีลมีหลายประการ แต่สรุปเป็น ๓ เรื่องใหญ่ คือ สีเลนะ สุคะติง ยันติ คนจะไปสู่สุคติได้ ก็ดว้ ยศีล สุคติ แปลว่า การไปสูท่ ดี่ ี โดยทัว่ ไปมักหมายถึง สวรรค์ คนรักษาศีล ถือได้ว่าไปสวรรค์ตั้งแต่ยังไม่ทันตาย ดังคำ�ที่ว่า สวรรค์ในอก นรกในใจ แม้แตกกายทำ�ลายขันธ์ ก็จะไปเกิดในโลกสวรรค์อันเป็นอีกภพภูมิหนึ่ง สีเลนะ โภคะสัมปทา คนจะมีโภคสมบัติก็ด้วยศีล เพราะ คนที่รักษาศีลดี จะประกอบอาชีพการงานอะไรก็ทำ�ได้อย่างปกติ จึง ย่อมมีโภคสมบัติเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แม้ว่าจะไม่ถึงขั้นเป็นมหาเศรษฐี แต่ก็มีความสุขใจเป็นไหนๆ สีเลนะ นิพพุติง ยันติ คนจะไปสู่นิพพานได้ก็เพราะศีล เวลาขึ้นบ้านเราก็ก้าวจากบันไดขั้นแรกตามลำ�ดับไป ศีล ก็เป็นเหมือน บันไดขั้นแรกที่ช่วยขัดเกลาใจให้ห่างไกลกรรมกิเลสสิ่งชั่วร้าย ช่วยให้ ถึงจุดหมาย คือ รักษาศีลไม่ขาด จะไม่พลาดจากสมบัติ ๓ คือ พระนิพพานได้ มนุษย์ สวรรค์ นิพพาน
8
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง
เพียรเพื่อพุทธศาสน์
บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ. (สวด ๓ จบ) อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นมงคลชีวิต
บทนี้ เป็นมนต์สวดตั้งกระแสจิต เพื่อรวมพลังใจให้ เป็นหนึ่ง คนโบราณถึงกับใช้คำ�หน้า คือ นะโม ไปสลักลง บนหัวแหวนไว้สวมใส่ นัยว่าเพือ่ เกิดเป็นเสน่หเ์ มตตามหานิยม แก่คนทั่วไป หากไม่มองแต่ความขลัง ก็เป็นพลังปัญญาใน แง่คิดที่ว่า คนที่มีนะโม ความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่ประจำ�ใจ ย่อมทำ�ให้เป็นที่รักของคนและเทวดาทั้งหลาย
บทขอขมาพระรัตนตรัย วันทามิ พุทธัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. วันทามิ ธัมมัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. วันทามิ สังฆัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. ขอขมาเมื่อรู้ว่าตนผิด ชีวิตไร้เวรกรรมคอยติดตาม
กรรมที่เผลอทำ� พูด คิด ในทางที่ก่อให้เกิดความผิด พลาดพลัง้ ในพระรัตนตรัย มีผลให้ชีวิตต้องประสบเวรกรรม หลายอย่าง ดังทีก่ ล่าวไว้ในหนังสือแก้เคราะห์กรรม ทำ�ได้เอง นั้น หากรู้ตัวว่าเคยก่อกรรมข้อนี้ วิธีแก้คือ ให้สวดบทนี้ต่อ หน้าพระพุทธรูปที่อยู่ในบ้านหรือพระประธานในโบสถ์ที่วัด จะช่วยขจัดปัดเป่าบรรเทาโทษได้ 9
สวดมนต์ ระลึกถึง คุณพระรัตนตรัย ตั้งจิตใจแก้ ไขเคราะห์กรรม
บทไตรสรณคมน์
มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งพิง ชีวิตยิ่งพบแต่ความเจริญ
พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ. ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ. สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ. ทุติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ. ทุติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ. ทุติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ. ตะติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ. ตะติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ. ตะติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
“ถึง” เป็นคำ�ทีบ่ ง่ ลักษณะการบรรลุจดุ หมาย เมือ่ พูดกันว่า ถึงที่ใด ก็หมายความว่า ผู้นั้นได้เข้าไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของ สถานที่ นั้ น แต่ ก ารถึ ง พระรั ต นตรั ย คื อ พระพุ ท ธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นการถึงทางจิตใจ จะสำ�เร็จ ประโยชน์สุขแก่ตัวผู้ถึงได้ก็ต่อเมื่อทำ�พระรัตนตรัย นั้นให้เป็นสรณะ คือ เป็นที่พึ่งของตนได้ โดย สร้างคุณพระรัตนตรัยให้ปรากฏมีในตน ซึ่งผลดี ของการถึงพระรัตนตรัย คือ การสลัดความชั่ว ออกจากตัวจากใจ ทำ�ให้หมดเวรหมดภัย ไม่มีเรื่อง ให้ต้องวิตกหวาดหวั่น การสวดบทนี้ จะแตกต่ า งจากบทไตรสรณคมน์ที่สวดกันทั่วไป เพราะนิยมว่า ถ้าสวดด้วย ประสงค์ สะเดาะเคราะห์ แก้กรรม ต่อนามต่ออายุ ให้เติมคำ�สวดว่า ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง ทุกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อยำ�้ ว่า จุดมุ่งหมายชาวพุทธทุกหมู่เหล่า คือ การโน้มน้าวจิตให้ก้าวเข้าสู่กระแสพระนิพพาน อันเป็นการหลุดพ้นกรรมอย่างแน่แท้
10
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง
เพียรเพื่อพุทธศาสน์
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ. เดินตามพระพุทธเจ้า
ย่นระยะทางเข้าสู่นิพพาน
สวดสรรเสริญพระคุณความดีของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มี ค วามทรงเป็ น พระอรหั น ต์ เป็ น ต้ น พระพุทธมนต์บทนี้ มีคุณานุภาพมากมาย ช่วยให้หายหวาดหวั่นตกใจ เพราะสวด เมื่อใดจะมีความรู้สึกเหมือนได้อยู่ใกล้ชิด กับพระพุทธองค์
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปสั สิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตพั โพ วิญญูหีติ. ดำ�เนินชีวิตตามธรรม ไม่ต้องตกตำ�่ สู่ที่ชั่ว
สวดสรรเสริญคุณความดีของพระธรรม ๖ ประการว่า สามารถนำ�ตนให้พน้ จากสิง่ ชัว่ ให้ตงั้ ตัวอยูใ่ นคุณความดีได้ เพราะ ผู้สวดจะไม่เผลอสติแม้เวลาเจอเหตุในทางที่จะก่อกรรมทำ�ชั่ว ด้ ว ยตั ว มี คุ ณ ธรรม คื อ หิ ริ ความละอายแก่ ใจในการทำ � ชั่ ว โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของบาป คอยยับยัง้ จิตให้รเู้ ท่าทัน นั่นเอง
11
สวดมนต์ ระลึกถึง คุณพระรัตนตรัย ตั้งจิตใจแก้ ไขเคราะห์กรรม
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปนั โน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปนั โน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจปิ ะฏิปนั โน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
สวดสรรเสริญคุณความดีของพระสงฆ์ ๙ ประการ โดยเฉพาะคุณอนันต์ข้อหนึ่ง ซึ่งเราได้ปฏิบัติต่อท่านบ่อยที่สุด คือ ความเป็นเนื้อนาบุญของโลก ที่ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ด้วยเพราะระลึกถึงคุณความดีท่านข้อนี้ ทำ�ให้เรามีจิตศรัทธา ทีจ่ ะทำ�บุญในพระพุทธศาสนา ไม่วา่ จะเป็นการทำ�บุญใส่บาตร ถวายสังฆทาน ร่วมงานบุญกุศลด้วยการบริจาคทรัพย์ สร้าง ศาสนวัตถุไว้ตามวัดวาอารามต่างๆ เป็นต้น ผลแห่งการ ทำ�บุญไว้ในพระพุทธศาสนาผ่านพระสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญ อันดี ย่อมมีผลานิสงส์ให้เราเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์ได้ ทั้งยัง เป็นอุปนิสัยแห่งบุญที่จักเกื้อหนุนให้ได้ใกล้ชิด พระธรรมเพือ่ นำ�ตนให้เข้ากระแสแห่งพระนิพพาน ในอนาคตกาลต่อไป ทำ�บุญกับพระสงฆ์ เสมือนช่วยดำ�รงพระพุทธศาสนา
12
พุทธชัยมงคลคาถา v
นำ�พาพ้นเคราะห์กรรม v
บทสวดพุทธชัยมงคลคาถา หรือที่มักเรียกกันง่ายๆ ตามคำ�ขึ้นต้นบทสวดว่า คาถาพาหุง เป็นบทสวดประเภท ตั้งสัตยาธิษฐาน คือ การสวดด้วยการตั้งความจริงใจเป็น หลักอ้าง หรือตั้งสัจกิริยา คือ การสวดด้วยอ้างถึงความจริง เพื่อขอพึ่งพิงอำ�นาจบารมีให้คุ้มครองตน บทสวดตัง้ สัตยาธิษฐาน หรือบทสวดตัง้ สัจกิรยิ านี้ จะ มีค�ำ สวดอ้างถึงความจริงของบทสวด แล้วขออำ�นาจความจริง มาคุม้ ครองตน แทรกอยูต่ อนท้ายของบทสวดนัน้ เสมอ ดังเช่นคาถานี้ ในแต่ละบทก็จะมีการอ้างถึงความจริง ที่พระพุทธองค์ทรงมีชัยชนะต่อผู้เข้ามาผจญทั้ง ๘ ครั้ง เมื่อ สวดตั้งสัจกิริยาสรรเสริญชัยชนะว่ามีจริงแล้ว ก็มีคำ�ลงท้าย ว่า “ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ” ซึ่งเป็นคำ� ตั้งสัตยาธิษฐานตามคำ�แปลของบทสวดที่ว่า “ด้วยเดชะแห่ง พุทธชัยมงคลนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน” คาถานี้ นอกจากมีความศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำ�นาจพระปริตรธรรม หากน้อมนำ�ความหมายไปปฏิบตั ติ ามก็ยงิ่ จะแก้ไข กรรมได้ดียิ่งขึ้น
พุทธชัยมงคล
คาถา
นำ�พาพ้นเคราะห์กรรม
มารร้าย พ่ายแพ้ความดี
บทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)
๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ค๎รีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. ๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. อดทน อดกลั้น ชนะคนดื้อรั้นได้
14
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง
เพียรเพื่อพุทธศาสน์
มีเมตตาธรรมประจำ�ใจ แม้สัตว์ร้ายก็ไม่แผ้วพาน
๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. ๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. สร้างใจให้มีฤทธิ์ พิชิตสารพัดศัตรู
15
พุทธชัยมงคล
คาถา
นำ�พาพ้นเคราะห์กรรม
ในคราวมีภัย จิตนิ่งไว้แล้วดีเอง
๕. กัต๎วานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ.
๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. ทำ�ตนให้มีปัญญา พาตนพ้นภัย
16
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง
เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ใช้คนให้ถูกงาน บันดาลพบความสำ�เร็จ
๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. ๘. ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พ๎รัห๎มัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ.
คำ�ที่ขีดเส้นใต้ บางทีนิยมว่า ถ้าสวดให้ตนเอง เปลี่ยน เต เป็น เม
มีเหตุ มีผล ทุกคนก็ยอมรับ
17
พุทธชัยมงคล
คาถา
นำ�พาพ้นเคราะห์กรรม
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิต๎วานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ. คาถาพาหุงนี้ นอกจากมีอานุภาพตามพระปริตร ยังแฝง แง่คิดให้ เราได้ นำ � ไปใช้ แ ก้ เ คราะห์ ก รรม ด้ ว ยการปฏิ บั ติ ต าม พุทธจริยาวัตรที่ทรงใช้เอาชนะผู้เข้ามาผจญ คือ บทที่ ๑ คนเราจะเอาชนะปัญหาไม่ว่าเรื่องอะไร ถ้าจะ ไม่ให้ผกู เวรกันต่อไป ต้องใช้ความดีเข้าแก้ ไม่ใช่เขาร้ายมาก็รา้ ยตอบ บทที่ ๒ ชี วิ ต คนเราจะผ่ า นพ้ น เรื่ อ งร้ า ย หรื อ ให้ พ บ ความสมหวังในสิ่งที่ต้องการ ด่านแรกที่ต้องใช้ คือ เป็นคนมี ความอดทน บทที่ ๓ ความมีเมตตา เกิดในจิตผู้ใด ทำ�ให้ผู้นั้นเป็น ที่รักของคนทั้งหลาย สร้างเมตตาจิตให้เกิดในตนได้ ก็ไม่ต้อง มีเวรภัยให้กังวล บทที่ ๔ คำ�สอนคำ�เตือนของบัณฑิตชน เป็นสิ่งที่ทุกคน ควรน้อมรับฟัง พร้อมทั้งนำ�ไปปฏิบัติตาม จักเกิดความก้าวหน้า บทที่ ๕ ถ้ามั่นใจในความบริสุทธิ์ของตน แม้มีคนใส่ร้าย นินทา ก็อย่าได้ไหวหวั่น เพราะนั่นเป็นแค่ลมปากของคนพาล บทที่ ๖ เกิดเป็นคน ต้องทำ�ตนให้มีปัญญาสองด้าน คือ ปัญญาทางโลก เอาไว้ใช้ทำ�มาหากิน ปัญญาทางธรรม เอาไว้ น้อมนำ�ใจไม่ให้ใฝ่ต่ำ�ทำ�ชั่ว บทที่ ๗ เป็นผูน้ �ำ จะใช้อะไรคนอืน่ เขา ต้องรูเ้ ท่าถึงความ สามารถของผู้นั้นด้วย จะช่วยให้เกิดสุขใจทั้งสองฝ่าย บทที่ ๘ ความเห็นผิด ทำ�ให้ชวี ติ เดินหลงทางมานักต่อนัก รู้จักปรับความคิดตนเข้ากับเหตุและผลจักดลให้พบความสำ�เร็จ
18
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง
เพียรเพื่อพุทธศาสน์
เพราะทรงมีพระกรุณา ประชาโลกจึงเป็นสุข
บทชัยปริตร (มหากา) มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรต๎วา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง. ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก๎ยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ต๎วัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ๑ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ. สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พ๎รัห๎มะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัต๎วานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ. บทนี้ ในงานพิธีมงคลต่างๆ เช่น แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการใหม่ ทำ�บุญอายุ เป็นต้น พระท่านจะสวด ๒ รอบ โดยรอบแรกสวดต่อจากคาถาพาหุง รอบหลังสวดตั้งแต่คำ�ว่า ชะยันโต... เรื่อยไปจนจบ เวลาประพรมน�ำ้ พระพุทธมนต์ จึงนิยม สวดเพื่อความเจริญก้าวหน้า คำ�ที่ขีดเส้นใต้ บางทีนิยมว่า ถ้าสวดให้แก่ตนเอง เปลี่ยนเป็น อะหัง วิชะโย โหมิ ชะยามิ ๑
19
พุทธชัยมงคล
คาถา
นำ�พาพ้นเคราะห์กรรม
บทอิติปิ โส เท่าอายุ + ๑ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ. บทนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ แนะนำ�ให้สวดเกิน อายุปัจจุบันของตนอย่างน้อย ๑ จบ ท่านให้เหตุผลว่า คนเราจะให้ อะไรแก่ใคร แม้แต่ในเรื่องบุญกุศลก็ต้องมีบุญเป็นทุนของตนก่อน แล้วท่านก็ยกตัวอย่างของคุณยายคนหนึ่งว่า
อาตมาเคยพบคนแก่คนหนึ่ง อายุแกก็ได้ ร้อยกว่าปีแล้ว เวลามีคนเอากับข้าวมาให้ แกก็สวดอิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ... จนจบ ๑ จบ ให้ตวั เองก่อน แล้วก็สวดใหม่อีกหนึ่งจบ ให้กับคน ที่เอากับข้าวมาให้ เสร็จแล้วก็คืนถ้วย เขาไป อาตมาก็จับเคล็ดได้ว่า จะให้ใคร ต้องเอาทุนของตัวเองไว้ก่อน ถึงได้เรียก ว่า สวดพุทธคุณเท่าอายุเกินหนึ่ง แล้วก็เกินหนึ่งเพราะอะไร ที่สวดเกิน หนึ่งนี่ หมายความว่าคนเรามีเวลาน้อย ถ้าสวดเกินแค่หนึ่ง มันพอทำ�ได้ และทำ�อะไรให้มันเกินเข้าไว้ จะได้ไม่ขัดสน ประการหนึ่ง บางคนเวลามีเคราะห์ก็ชอบไปหาหมอดู เขา ก็บอกให้สะเดาะเคระห์ อาตมาก็ตั้งตำ�ราด้วยสติว่า ให้โยมสวด บทพุทธคุณให้เกินกว่าอายุปัจจุบันของตน ๑ จบ เพื่อให้สติดี เท่าทีใ่ ช้ได้ผลคนทีส่ ติอยูก่ บั ตัว จะไม่สะดุง้ ตกใจกลัวหวัน่ ไหวง่าย
20
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง
เพียรเพื่อพุทธศาสน์
สวดคาถาชินบัญชร v
ลดทอนแรงเคราะห์กรรมร้าย v
คาถาชินบัญชรกล่าวกันว่า ต้นฉบับมาจากลังกา จารึก เป็นภาษาสิงหล สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ค้น พบจากคัมภีร์ใบลาน เมื่อท่านแปลดูแล้ว เห็นว่ามีอานุภาพ ความศักดิ์สิทธิ์แฝงไว้ เพราะในตัวคาถา เป็นการสวดอัญเชิญ คุณพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์, พระอสีติมหาเถระ ๘๐ รูป, พระสูตรต่างๆ ที่เป็นพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ มาสถิตที่ศีรษะ กลางกระหม่อม และทุกส่วนร่างกายของผู้สวดภาวนา ทั้งนี้ เพื่อให้อานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า พระสาวก และพระสูตรนั้น มาเป็นเกราะคุ้มกันอันตรายมิให้เข้ามาทำ�ร้าย เมือ่ ท่านรูค้ วามหมาย จึงได้น�ำ มาดัดแปลงแก้ไข เพิม่ เติม เนื้อหาให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ทางภาษา บาลี และให้เกิดเป็นสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนา ประการหนึ่ ง คาถาชิ น บั ญ ชรนี้ นอกจากจะมี ค วาม ศักดิ์สิทธิ์แล้วนั้น ยิ่งเมื่อว่ากันถึงความหมายในบทสวดล้วน เป็นหัวใจของข้อธรรมะที่สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำ�วันได้ ช่วยแก้ไขเคราะห์กรรมในปัจจุบันอีกทางด้วย 21
สวด
คาถาชินบัญชร
ลดทอนแรงเคราะห์กรรมร้าย
พระคาถาชินบัญชร ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง อัตถิ กาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา. อิตปิ ิ โส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวณ ั โณ มะระณัง สุขัง อะระหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ. โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตละจิตตัง๑ นะมามิหัง. วรรคที่ ๑ สวดสำ�รวมจิตระลึกนึกถึงคุณของเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ขออำ�นาจบารมีธรรมของท่านเพือ่ เป็นกำ�ลังใจอำ�นวย ผลในสิ่งที่ตนปรารถนา ดังคำ�แปลของคาถาที่มีว่า “ผู้ปรารถนาบุตร พึงได้บุตร ผู้ปรารถนาทรัพย์ พึง ได้ทรัพย์ บัณฑิตได้ฟังมาว่า ความเป็นที่รัก ที่ชอบใจของ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ในกาย (เรา) เพราะรู้ได้ด้วยกาย” วรรคที่ ๒ เป็นมนต์คาถา สวดภาวนาอบรมใจให้สงบ ตั้งมั่นเป็นสมาธิมากยิ่งขึ้น วรรคที่ ๓ สวดเพื่อขออำ�นาจพระพุทธคุณมาคุ้มครอง ตน คนโบราณนิยมสวดเพื่ออาราธนาพระสมเด็จก่อนนำ�ขึ้น ห้อยคอ นัยว่าเพื่อให้คุณพระมาอยู่กับตัวเพื่อช่วยคุ้มครอง บางฉบับเป็น โตสะจิตตัง ในที่นี้ยึดต้นฉบับจากคาถาอิติปิโส รัตนมาลา ข้อ ๒๖ (สุคะโต) ของบทสวดตอนสรรเสริญพระพุทธคุณ ๑
22
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง
เพียรเพื่อพุทธศาสน์
๑. ชะยาสะนาคะตา พุทธา
เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา
อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.
เสกกลางกระหม่อมด้วยคาถาบทที่ ๑-๒ มนุษย์มี
ชีวิตอยู่ได้ เพราะอาศัยส่วนประกอบ ๒ อย่าง คือ กาย และใจ ในส่วนของกาย กระหม่อม เป็นอวัยวะทีอ่ ยูส่ งู สุดของ ร่างกาย ถ้าไม่รู้จักมักคุ้นกัน ใครก็มาจับเล่นกันไม่ได้ แต่เวลา ผู้ใหญ่ที่เรานับถือให้พร ท่านจะใช้มือลูบหัวเรา โดยเฉพาะ บริเวณกลางกระหม่อม พร้อมกล่าวว่า “เจริญๆ นะลูก” ดังนัน้ กระหม่อม จึงเป็นจุดทีใ่ ช้รบั พลังแห่งความดีงามอีกด้วย ในส่วนของจิตใจ พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่งสูงสุด ของชาวพุทธ โดยใช้หลักธรรมของพระองค์มาปฏิบัติ ย่อม บรรลุเป้าหมายนั้นได้ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงประกอบด้วยคุณอันยิ่ง คือ ทรงมีพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระกรุณาคุณ เมื่ออัญเชิญมาสถิตที่กลางกระหม่อมอวัยวะที่เป็นศูนย์กลาง แห่งชีวติ ย่อมมีพลังให้ยดึ มัน่ ในความดี พ้นจากสรรพอันตราย และความทุกข์ทั้งหลายได้แน่แท้ 23
สวด
คาถาชินบัญชร
ลดทอนแรงเคราะห์กรรมร้าย
๓. เสกศี ร ษะ โดยอั ญ เชิ ญ คุ ณ พระพุ ท ธเจ้ า มา
ประดิษฐานไว้ จะช่วยให้ได้แง่คิดว่าต้องทำ�แต่ส่ิงดี จะได้ไม่มี เรือ่ งให้เดือดร้อนภายหลัง เสกตา โดยอัญเชิญคุณพระธรรมมาประดิษฐานไว้ จะช่วยให้ได้แง่คิดว่า จะมองอะไรให้มองอย่างพินิจพิเคราะห์ เพราะมิเช่นนั้นอาจเห็นผิดเป็นชอบ เสกอก โดยอัญเชิญคุณพระสงฆ์มาสถิตไว้ ช่วยให้ได้ แง่คิดว่า ถ้ารู้ประมาณตน รู้จักปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น อยู่ที่ไหน ก็ไม่เดือดร้อน ๔. เสกหัวใจ โดยอัญเชิญคุณสมบัติ คือ ความตริตรอง ธรรมของพระอนุรุทธะมาสถิตไว้ ช่วยให้ได้แง่คิดว่า ทำ�อะไร พิจารณาให้ดีก่อน อย่าใจร้อนด่วนได้ เสกกายข้างขวา โดยอัญเชิญคุณสมบัติ คือ ความ มีปัญญาของพระสารีบุตรมาสถิตไว้ ช่วยให้ได้แง่คิดว่า ถ้าใช้ สตินำ� ปัญญาตาม ทำ�อะไรก็ไม่ผิดพลาด เสกกายข้างซ้าย โดยอัญเชิญคุณสมบัติ คือ ความ มีฤทธิ์ของพระโมคคัลลานะมาสถิตไว้ ช่วยให้ได้แง่คิดว่า รู้จัก ยืดหยุ่นต่อกัน ความสัมพันธ์ก็ยืนยาว เสกกายข้างหลัง โดยอัญเชิญคุณสมบัติ คือ ความ เป็นผู้มีประสบการณ์ของพระอัญญาโกณฑัญญะมาสถิตไว้ ช่วยให้ได้แง่คิดว่าครูที่ยิ่งใหญ่ คือ ประสบการณ์ในชีวิตเราเอง ๕. เสกหูข้างขวา โดยอัญเชิญคุณสมบัติ คือ ความ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมากของพระอานนท์ และความเป็นผู้สนใจ ศึกษาของพระราหุล หูข้างซ้าย โดยอัญเชิญคุณสมบัติ คือ ความสันโดษ ของพระมหากัสสปะ และความเป็นผู้ฟังเรื่องยากให้เป็นง่าย ของพระมหานามะมาสถิตไว้ ช่วยให้ได้แง่คิดว่า ฟังเรื่องใด หากยังมิได้พิจารณาถ้วนถี่ ให้ฟังหูไว้หู
24
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง
เพียรเพื่อพุทธศาสน์
๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง
พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัส๎มิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง
อาสุง อานันทะราหุลา กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ พูดเข้าใจง่ายๆ ก็คอื การเข้าพึง่ พระรัตนตรัยโดยตรงคือเข้าพึง่ พระพุทธศาสนาทีช่ ท้ี างถูกให้แก่ตน เมือ่ เห็น ถูกทางแล้ว ก็ต้องปฏิบัติไปในทางที่ถูกนั้น ด้วยจึงจะได้รบั ผล เมือ่ พึง่ พระรัตนตรัยอย่างนี้ ก็จะกลับเป็นผู้ที่พึ่งตนได้ เพราะตนเองจะทวี ความดีขึ้นมาทุกที จนเป็นผูท้ พ่ี ง่ึ ตนเองได้ พระรัตนตรัย จึงสัมฤทธิผ์ ลอย่างนีแ้ ล สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
25
สวด
คาถาชินบัญชร
ลดทอนแรงเคราะห์กรรมร้าย
๖. เสกผม โดยอัญเชิญคุณสมบัติ คือ ความเลิศใน ทางระลึกชาติของพระโสภิตะมาสถิตไว้ ช่วยให้ได้แง่คิดว่า
อยากมีชีวิตเป็นสุขสดใส อย่าได้เป็นคนลืมตัว โดยสำ�รวจ จากการทำ� พูด คิด ในชีวิตที่ผ่านมาว่าถูกหรือผิดอย่างไร เรียกได้ว่า เป็นการระลึกชาติปัจจุบันของตน ๗. เสกปาก โดยอัญเชิญคุณสมบัติ คือ ความเป็นเลิศ ด้านกล่าวคำ�อันวิจิตรของพระกุมารกัสสปะมาสถิตไว้ ช่วยให้ได้แง่คิดว่า อันคำ�พูดจานั้น ไม่ว่าเราหรือเขา ล้วน ต้องการฟังแต่ค�ำ สุภาพอ่อนหวานกันทัง้ นัน้ และบทนีน้ กั พูด นิยมสวดก่อนขึ้นเวที นัยว่าเพื่อให้เกิดกำ�ลังใจ ไม่ประหม่า เป็นที่เชื่อถือของผู้ฟัง ๘. เสกหน้าผาก โดยอัญเชิญคุณสมบัติของพระเถระ ๕ รูป คือ ความเป็นเลิศด้านการแสดงธรรมได้พิสดาร ของพระปุณณะ, ความรู้จักกลับเนื้อกลับตัวเวลาทำ�ผิด ของพระองคุลิมาล, ความเคร่งครัดในระเบียบวินัยของ พระอุบาลี, ความมีลาภมากของพระสีวลี, ความสำ�รวม ระวังอินทรีย์ของพระนันทะ มาสถิตไว้ ทำ�ให้เกิดพลังใน ทางด้านความมีเสน่ห์ บทนี้ ช่ว ยให้ได้ แง่คิ ดว่า ถ้ า อยากเป็ น คนมี เ สน่ ห์ น่ารักใคร่ จงเก็บนำ�้ ขุ่นไว้ใน นำ�้ ใสไว้นอก เรียกง่ายๆ ว่า เป็นคนเก็บอาการเก่ง เพราะคนที่แม้จะมีเรื่องราวทำ�ให้ ไม่สบายใจ ไม่พอใจแต่ก็ยังแสดงสีหน้าที่ยิ้มแย้มไว้ได้ ใคร เห็นก็อยากจะเข้าใกล้ 26
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง
เพียรเพื่อพุทธศาสน์
๖. เกสันเต ปิฏฐิภาคัส๎มิง สุริโยวะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิ ปุงคะโว.
๗. กุมาระกัสสะโป เถโร
มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร. ๘. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ. วันไหนกลุ้มใจก็สวดมนต์เสีย ว่าเรื่อยไป สวดๆ ไป สักพักใจก็สบาย แล้วเราก็คิดถึงปัญหา ทุกข์เรื่อง อะไร ร้อนใจเรื่องอะไร มานั่งคิดพิจารณา แยกแยะวิเคราะห์วจิ ยั ไปไม่เท่าใดก็ปลงได้ วางได้ อ๋อ เท่านี้เองไม่น่าจะกลุ้มใจให้ เสียเวลา มันได้ประโยชน์ การทำ�อย่างนั้น เป็นเรื่องดี คนโบราณเขาจึงใช้ เขาปฏิบัติ ในชีวิตประจำ�วัน
หลวงปู่ปัญญานันทภิกขุ
27
สวด
คาถาชินบัญชร
ลดทอนแรงเคราะห์กรรมร้าย
๙. สวดอัญเชิญคุณของพระมหาเถระที่เหลืออีก ๖๕ องค์ ให้มาสถิตคุม้ ครองไปทัว่ สรรพางค์กาย จนไม่อาจมี อันตรายเข้ามากล�ำ้ กรายได้ ๑๐. สวดอัญเชิญพระสูตรให้มาล้อมรักษาตนทุกทิศ รัตนสูตร พระสูตรพรรณนาคุณพระรัตนตรัย ว่ามี พลานุภาพกำ�จัดทุกข์ภัยได้จริง เมตตสูตร พระสูตรพรรณนาอานุภาพแห่งเมตตาจิต ที่แผ่ไป ว่ามีผลทำ�ให้เป็นที่รักของเทวดา มนุษย์ และอมนุษย์ อั ง คุ ลิ ม าลสู ต ร ว่ า ด้ ว ยการตั้ ง สั จ กิ ริ ย าของท่ า น พระองคุลิมาลปรารถนาช่วยคน โดยเฉพาะคนท้องให้คลอด บุตรง่ายปลอดภัยทั้งแม่และลูกได้ ธชัคคสูตร พระสูตรว่าด้วยยอดธง คือ พระรัตนตรัย มีอานุภาพทำ�ให้ไม่หวั่นไหวในทุกสถานการณ์ ๑๑. สวดอัญเชิญพระสูตรมาเป็นร่มกั้นป้องกันภัย ขั น ธปริ ต ร พุ ท ธมนต์ แ ผ่ เ มตตาจิ ต ต่ อ สรรพสั ต ว์ โดยเฉพาะพวกงู ป้องกันภัยจากสัตว์มีพิษต่างๆ โมรปริตร พุทธมนต์เกิดตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าเสวย พระชาติเป็นนกยูงโพธิสตั ว์ ใช้สวดเวลาออกจากบ้านไปทำ�งาน ทำ�ให้แคล้วคลาดปลอดภัย อาฏานาฏิยสูตร พระพุทธมนต์เครือ่ งต้านทาน ป้องกัน การถูกปองร้ายทั้งจากคน ภูตผี ทำ�ให้มีสุขภาพดีอายุยืนยาว 28
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง
เพียรเพื่อพุทธศาสน์
๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอตาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา. ๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง. ๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา. โบราณาจารย์กล่าวอานุภาพของพระปริตรแต่ละบทไว้ดังนี้ รตนปริตร มีอานุภาพกำ�จัดภยันตราย เป็นกำ�ลังใจรักษาโรค เมตตสูตร มีอานุภาพทำ�ให้เป็นสุข เป็นทีร่ กั ของคนและอมนุษย์ สามารถกลับใจศัตรูให้มาเป็นมิตร อังคุลิมาลปริตร คลอดง่าย ป้องกันอุปสรรคอันตราย ธชัคคสูตร มีอานุภาพทำ�ให้มกี �ำ ลังใจดีไม่หวัน่ ไหว ทัง้ ยังป้องกัน ภัยทางอากาศ เช่น การตกจากที่สูงได้ ขันธปริตร มีอานุภาพป้องกันภัยจากสัตว์มีพิษต่างๆ โมรปริตร สวดก่อนออกจากบ้านมีอานุภาพป้องกันภัยจาก ผู้คิดร้าย อาฏานาฏิยสูตร มีอานุภาพป้องกันการถูกปองร้าย ทัง้ จากคน และภูตผีปีศาจ
29
สวด
คาถาชินบัญชร
ลดทอนแรงเคราะห์กรรมร้าย
๑๒. สวดอัญเชิญพระพุทธคุณมาเป็นกำ�แพงแก้ว ๗ ชั้น ป้องกันภัย ช่วยให้ได้แง่คิดว่า กำ�แพงมนต์อันยิ่งใหญ่ ทีท่ �ำ ให้พน้ จากอันตรายนัน้ ได้แก่ สุจริตธรรม ความประพฤติดี ทั้ง ๓ ทาง คือ กายสุจริต ประพฤติชอบทางกาย คือ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ประพฤติชอบ ทางวาจา คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดยุแหย่คนให้แตกกัน ไม่พูด คำ�หยาบคาย ไม่พูดเหลวไหลไร้สาระ มโนสุจริต ประพฤติ ชอบทางใจ คือ ไม่คดิ อยากได้ของคนอืน่ ไม่คดิ ปองร้ายคนอืน่ มีความเห็นถูกต้องตามคลองธรรม ๑๓. สวดเพื่อขอให้อานิสงส์ผลดี และให้มีอานุภาพ รักษาตนในยามเจ็บไข้ ดังโบราณาจารย์ไทยแนะนำ�ให้สวด ภาวนาก่ อ นกิ น ยา เสริ ม กำ � ลั ง ใจในการรั ก ษาตั ว โดยตั้ง สัตยาธิษฐานระลึกถึงพระกรุณาคุณของพระพุทธเจ้า ช่วย รักษาตนให้พ้นจากโรคร้ายมิให้มาแผ้วพาน ๑๔. สวดเพื่ออัญเชิญพระพุทธคุณมาเสริมกำ�ลังใจ ให้ตนเกิดความองอาจ กล้าหาญในการทำ�ดี โบราณาจารย์ ท่านแนะนำ�ว่า เวลาจะนำ�พระบูชาขึ้นแขวนคอครั้งใด ให้สวด บริกรรมคาถาบทนีก้ �ำ กับทุกครัง้ เพือ่ อาราธนาคุณพระคุม้ ครอง ป้องกันตน แต่ผลจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงนั้น ควรอัญเชิญ พระพุทธคุณทั้ง ๓ คือ ความบริสุทธิ์ ความมีเมตตากรุณา และความมีปญ ั ญา ให้เกิดขึน้ ในตนก่อน ถ้าเป็นเช่นนีแ้ ม้ไม่มี พระเครื่องชื่อดังอย่างใครเขา เราก็สามารถน้อมนำ�พุทธคุณ ให้มารักษาตนได้ 30