พุทธฤทธิ์พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

Page 1


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา

Dhamma Guide : มนิจ ชูชัยมงคล บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ ออกแบบปก : อนุชติ คำซองเมือง บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง ภาพประกอบ : ชิชกาน ทองสิงห์ รูปเล่ม/จัดอาร์ต : จิระพัฒน์ ยังโป้ย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

1


ขอเชิญร่วมสร้าง

เป็นภูมิคุ้มกันโลก

ท่านพุทธทาสภิกขุ บุคคลสำคัญของโลก เจ้าของรางวัลยูเนสโก ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาว่า “การศึกษาที่ว่าดี ก้าวหน้า ในโลกเวลานี้ กำลังเป็นไปเพื่อ โมหะ คือ ฉลาดเพื่อให้โง่...” “ห้องสมุดแต่ละห้องสมุด ยังเต็มไปด้วยหนังสือที่มนุษย์ไม่ควร อ่าน...” “ถ้าไปอ่านหนังสือที่เป็นยาพิษ ไปอ่านหนังสือที่มอมวิญญาณ ให้มึนเมา เป็นอะไรไปเลย อย่าอ่านดีกว่า ไม่รู้หนังสือก็ยังดีกว่า...” หนังสือของสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จึงมุ่งให้ ผู้อ่านได้ดวงแก้ว ดวงปัญญา ให้เกิดคุณค่า ให้เกิดแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่ ท้อแท้สิ้นหวังให้กลับมีพลังกายกำลังใจต่อสู่กับความทุกข์ยากลำบากที่ กำลังเผชิญ เพื่อประโยชน์และความสุขทั่วกันในสังคม

ระดมธรรมสันติสุข

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ

การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ

อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จิตมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น เฉกเช่นพระนิพพาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข


คำนำ

การได้ ฟั ง ธรรมตามโอกาสอั น สมควรถื อ เป็ น มงคลแห่ ง ชี วิ ต หนังสือพุทธฤทธิ์ พิชติ ทุกข์ สบสุขนิรนั ดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เล่มนี้ เป็นปฐมเทศนากัณฑ์แรกขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา ที่ทรงแสดง โปรดเวไนยสัตว์ให้เกิดปัญญาหลุดพ้นจากทุกข์ เข้าถึงบรมสุข คือ พระนิพพาน สำนักพิมพ์เลีย่ งเชียง เพียรเพือ่ พุทธศาสน์ ได้จัดพิมพ์หนังสือนี้ขึ้น เพื่อเผยแพร่ความความเข้าใจในหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้ผู้อ่านได้น้อมนำเอาหลักธรรมมาประพฤติปฏิบัติพัฒนา และแก้ปัญหาชีวิตทั้งในส่วนบุคคล และสังคมประเทศชาติ อันจะนำมาซึ่ง ความสงบสุขและสันติ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้ จะได้รับเอาหลักธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปปฏิบัติจนเกิดความหลุดพ้นจาก ทุกข์ สบสุขนิรันดร์กันทุกคนทุกท่าน ด้วยจิตคิดปรารถนาดี ในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


ความสำคัญ และอานุภาพ ธั ม มจั ก กั ป ปวั ต ตนสู ต ร ๒ ความจริงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ เป็ น พระพุ ท ธมนต์ ส ำคั ญ ยิ่ ง ใน พระพุทธมนต์ทั้งหลาย เพราะเป็น ้งแรกที่พระองค์เริ่มประกาศพระครั ศาสนา ก็ ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัต ตนสู ตรก่อน ฉะนั้น ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จึงได้สมญาว่า ปฐมเทศนา คือ เทศนากั ณ ฑ์ แรกของพระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ที่พระองค์ทรงตั้งพระทัยประกาศพระศาสนาประทานธรรมแก่ โลก ให้โลกมีธรรมเป็นหลัก มีธรรมเป็นร่ม มีธรรมเป็นทางสันติสุข และ ด้ ว ยพระพุ ท ธมนต์ บ ทนี้ เป็ น อั น พระองค์ ท รงประกาศความเป็ น พระพุทธเจ้า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เป็นโมลีของโลก เป็นผู้เปิด ทางสายเอกทางสายเดี ย ว สายที่ จ ะนำมหาชนไปสู่ พ ระนิ พ พาน และ ด้วยอานุภาพของพระสูตรนี้ ทำให้เกิดมีสังฆรัตนะเกิดขึ้นในโลก ร่วม กับพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ เป็นรัตนตรัย แก้ว ๓ ประการ ๑ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารีเถระ) : ตำนานสวดมนต์ ๒

4

อ่านว่า ทำ-มะ-จัก-กับ-ปะ-วัด-ตะ-นะ-สูด

พุทธฤทธิ์ พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


ธัมมจักฯ บทสวดที่ขาดไม่ ได้ ในงานมงคลใหญ่ ดังนั้น พระสูตรนี้ จึงเป็นมงคลพิเศษไพศาล ควรแก่การสดับ ควรแก่การท่องจำกำหนด ควรแก่การแสดง และควรแม้แก่การบูชาสาธุการ เพราะเหตุ นี้ ผู้ รู้ ทั้ ง หลายจึ ง พอใจสรรเสริ ญ ด้ ว ยจะว่ า โดยอรรถหรื อ พยัญชนะ ตลอดสาระความสำคัญของความหมายในพระสูตรนี้แล้ว เป็น ธรรมสมควรอย่างยิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงในเวลานั้น สมกับที่พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญูบรรลุพระสัมโพธิญาณโดยแท้ เพราะเหตุนนั้ ในงานมงคลใหญ่ๆ เช่น งานทำบุญอายุครบ ๖๐ ปี ๗๐ ปี และ ๘๐ ปี หรือทำบุญอายุ ๕ รอบ ๖ รอบ และ ๗ รอบ เป็นต้น งานพิ ธี เ ททองพระประธาน งานพระราชพิ ธี เ ฉลิ ม พระชนมพรรษา งานพระราชพิ ธี มู ร ธาภิ เ ษก ๑ สุ ด แต่ ว่ า ถ้ า งานนั้ น จั ด เป็ น งานสำคั ญ โดยเฉพาะแล้ว ก็นิยมอาราธนาให้พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์บทนี้ ด้วยเป็นมนต์สำคัญดังกล่าวแล้ว ๑ การรดน้ำศักดิ์สิทธิ์เหนือพระเศียร ในงานราชาภิเษกหรืองานพระราชพิธี

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

5


สัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา และความเป็นมาแห่งธัมมจักฯ

และด้วยความสำคัญยิ่งของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ จึงทำให้ นักปราชญ์ผู้มีความรู้ดีในพระพุทธศาสนาทุกประเทศ ทำรูปล้อธรรมจักร เป็นเครื่องหมายพระพุทธศาสนา และรับรองต้องกันว่ารูปธรรมจักรมีก่อน พระพุทธรูป ด้วยมีความหมายสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา จะได้สาธกยก เรื่ อ งความเป็ น มาของธั ม มจั ก กั ป ปวั ต ตนสู ต รขึ้ น แสดง เพื่ อ เป็ น ธรรม อาภรณ์ประดับจิต อันเป็นคุณควรสถิตในเบื้องต้นตามเวลา เรื่องมีว่า เมื่อพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว มี น้ำพระทัยผ่องแผ้วด้วยอรหันตคุณ มีพระเมตตาการุญเต็มเปี่ยมในพระทัย ทรงเล็ ง เห็ น ประชาสั ต ว์ เวี ย นว่ า ยอยู่ ใ นสั ง สารวั ฏ เพี ย บพู น ด้ ว ยความ กำหนัดเพราะตัณหา มานะ ทิฐิ ไม่มีความดำริในทางวิโมกข์ หมกมุ่นอยู่ใน ทุกข์โศกน่าสังเวช เพราะปฐมเหตุ คือ อวิชชา เกิดปิดบังดวงปัญญาให้ มืดมิด ปกคลุมดวงจิตให้มืดมน มองไม่เห็นเหตุเห็นผลในคุณและโทษ ยากแก่การที่จะแสดงธรรมโปรดให้บรรลุมรรคผล เพราะธรรมของพระทศพลที่ตรัสรู้นั้น ละเอียดสุขุมคัมภีรภาพอย่างยิ่ง ไฉนประชาสัตว์จะรู้จริงเห็นจริง ตามกระแสพระธรรมเทศนาได้ ทำให้พระองค์ทรงท้อพระทัย ในการแสดงธรรมโปรดประชาชี 6

พุทธฤทธิ์ พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


ท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลอาราธนาให้แสดงธรรม

ขณะนั้น ท้าวสหัมบดีมหาพรหม พร้อมด้วยเทพยดาเป็นอันมาก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับยังควงไม้อชปาลนิโครธ (ต้นไทร) ทูลอาราธนาให้พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดประชาสัตว์ว่า “ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ ท รงสมบู ร ณ์ ด้ ว ยธรรมสมบั ติ ยิ่ ง ด้ ว ยพระ ปัญญา ทรงมากด้วยพระมหากรุณาดังทะเลหลวง เป็นที่ร่มเย็นแก่สัตว์ ทั้งปวงในสากลโลก ขอได้โปรดประทานธรรมวิโมกข์เครื่องหลุดพ้น แก่ ปวงประชามหาชนพุทธเวไนย์ ด้วยบางคนยังมีวิสัยได้สั่งสมสาวกบารมี หากได้สดับอนุสาสนีพุทธโอวาท ซึ่งพระองค์ทรงประกาศให้กระจ่าง แจ่มแจ้งให้เข้าใจง่าย สัตว์ทั้งหลายก็สามารถจะรู้ตาม เป็นปัจจัยให้ ปฏิบัติข้ามสรรพทุกข์ในวัฏสงสาร สมดังมโนปณิธานทีพ่ ระองค์ทรงตัง้ ไว้ เมือ่ กาลก่อนไกลโน้นเถิด” ครั้นพระบรมศาสดา ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหมสหัมบดี ก็ทรงระลึกนึกเฟ้นหาสมณพราหมณ์ธรรมจารีที่บำเพ็ญพรต โดยทรง กำหนดว่า เป็นผู้ที่ควรจะแสดงธรรมโปรดก่อน ด้วยเป็นผู้มีความสังวรในธรรมปฏิบัติ เพื่อความ หลุดพ้น เหมือนมีทนุ เป็นเบือ้ งต้นอยูแ่ ล้วทุกอย่าง หากแต่ยังดำเนินไม่ถูกทางเป็นสำคัญ

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

7


พระพุทธองค์ทรงพิจารณาหาผู้ฟังธรรม

ดังนัน้ เบือ้ งแรกจึงทรงระลึกถึงนักพรตสองท่าน คือ อาฬารดาบส กาลามโคตร และอุททกดาบส รามบุตร๑ สองอาจารย์ แต่ครั้นทรงทราบ ด้วยพระญาณว่าสองท่านอาจารย์ได้สิ้นชีพแล้วเมื่อก่อนหน้า ๗ ราตรี ต่อมาก็ทรงระลึกถึงพระปัญจวัคคีย๒์ ฤๅษีทั้ง ๕ องค์ ผู้มีเจตจำนงตั้งหน้า แสวงหาพระนิพพาน สู้เสียสละทรัพย์ศฤงคารบำเพ็ญพรต ตามมาปฏิบัติ ตถาคตอยู่หลายปี ครั้นตถาคตไม่ยินดีเลิกละทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ก็หมดศรัทธา หมดเลื่อมใส หนีตถาคตไปอยู่มิคทายวัน ซึ่งอยู่ในเขตขัณฑ์พาราณสี หาก ตถาคตได้โปรดพระปัญจวัคคียใ์ ห้หยัง่ รูใ้ นธรรมจักร พระปัญจวัคคียก์ จ็ ะได้ ๑

อาฬารดาบส และอุททกดาบส เป็นอาจารย์ที่สอนให้พระมหาบุรุษ (เจ้าชายสิทธัตถะที่ ผนวช) ได้สำเร็จวิชาสมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ (ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก หนังสือพุทธประวัติและพุทธานุพุทธประวัติ น.ธ.ชั้นตรี และ น.ธ.ชั้นเอก สำนักพิมพ์ เลี่ยงเชียง) ๒ ปัญจวัคคีย์ แปลว่า นักบวชที่เป็นพวก ๕ ท่าน

8

พุทธฤทธิ์ พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


พบอุปกาชีวกระหว่างทาง

บรรลุถึงพระอริยมรรคโดยไม่ต้องสงสัย อริยสัจก็จะแจ่มแจ้งแก่ใจด้วย ปั ญ ญาญาณ เข้ า สู่ ค ลองพระนิ พ พานดั่ ง มโนรถ ๑ จะเกิ ด สั ง ฆรั ต นะ ปรากฏขึ้นเป็นพระรัตนตรัย ครั้นทรงแน่พระทัยเช่นนั้นแล้ว ก็เสด็จพระพุทธดำเนินจากร่มไม้ อชปาลนิโครธ๒ ในเวลาเช้าแห่งวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ อาสาฬหมาส เสด็จโดยพระยุคลบาทตามทางที่จะไปยังเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นราชธานี แห่งแคว้นกาสีชนบท ทรงพบอาชีวกผู้หนึ่ง ชื่ออุปกะ เดินสวนทางมา เมื่ออุปกะได้เห็นพระบรมศาสดา ทรงพระรัศมีฉวีวรรณผุดผ่อง โอภาส ก็ทำให้นึกประหลาดหลากแก่จิต “เอ! สมณะรูปนี้จะเป็นเทพ นิรมิตมาหรือไฉน ? จึงมีผิวพรรณน่าเลื่อมใสเป็นสง่าน่าเคารพ เรามิได้เคย พานพบมาแต่ ก่ อ น” ดำริ แ ล้ ว จึ ง มี พ จนะสุ น ทรปราศรั ย ด้ ว ยไมตรี ว่ า “ข้าแต่สมณะ ผู้มีอินทรีย์อันผ่องใส ท่านผนวชบวชอยู่สำนักไหน ใครเป็น ศาสดาของท่าน ข้าพเจ้าใคร่จะรู้” พระองค์จึงตรัสว่า “อุปกะ เรามีสยัมภู ผู้เป็นเองในทางตรัสรู้ เป็ น สั พ พั ญ ญู ไม่ มี ใ ครเป็ น ครู สั่ ง สอนให้ มี ญ าณปรี ช า” อุ ป กะไม่ เชื่ อ ไม่ศรัทธา เห็นเกินอำนาจวาสนาไม่มีปัญญาที่จะหยั่งเห็นตาม ทั้งไม่ซัก ไม่ถาม สั่นศีรษะแล้วก็หลีกไป๓ ตามวิสัยสันดานของชีวกผู้มีจิตไม่คิดจะ ยอยกผู้ใดๆ ๑ ดั่งมโนรถ แปลว่า สมความหวัง สมความประสงค์ สมความใฝ่ฝัน หรือได้สมอย่างใจ ต้องการ ๒ อ่านว่า อะ-ชะ-ปา-ละ-นิ-โครด หมายถึง ต้นไทรที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข เป็นเวลา ๗ วัน อยู่ทางทิศตะวันออกของต้นศรีมหาโพธิ์ การสั่ น ศี ร ษะของอุ ป กะ อี ก นั ย หนึ่ ง ท่ า นแสดงว่ า เป็ น การยอมรั บ ไม่ ใช่ ป ฏิ เ สธ เนื่องจากการสั่นศีรษะของชาวอินเดียในสมัยนั้น หมายถึงการยอมรับ แต่สำหรับชาว ไทยเราการสั่นศีรษะหมายถึงการปฏิเสธ

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

9


เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

ต่อนั้น พระศาสดาก็เสด็จดำเนินไปจนถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน๑ แขวงเมืองพาราณสี อันเป็นสำนักที่อยู่ของภิกษุปัญจวัคคีย์ในเวลาสายัณห์ ตะวันเย็น ฝ่ายปัญจวัคคีย์ฤๅษีได้แลเห็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินมา แต่ไกล ก็มิได้เลื่อมใส นัดหมายกันว่า พระสมณะโคดมนี้ เห็นทีจะลำบาก ไม่มีใครปฏิบัติวัตรอุปัฏฐาก มีความมักมากอยู่ผู้เดียว บัดนี้ คลายความ เพียร เวียนมาเพื่อความมักมากเสียแล้ว กำลังเดินเข้ามาใกล้ ดังนั้นใน พวกเราผู้ใดใครผู้หนึ่งไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ ไม่พึงรับบาตร ไม่พึง รับจีวร ซึ่งเป็นธุรกิจอันเคยทำมาแต่กาลก่อนด้วยคารวะ แต่ว่าพึงจัดแจง ตกแต่งอาสนะไว้สำหรับประทับนั่งเท่านั้น ถ้าเธอปรารถนาจะนั่ง ก็จะได้ นั่งพักตามประสงค์ ๑ า อิ-สิ-ปะ-ตะ-นะ-มะ-รึก-คะ-ทา-ยะ-วัน แปลว่า ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ ชื่อว่า อ่อิสานว่ ิปตนะ, สถานที่แสดงปฐมเทศนา ปัจจุบันเรียก สารนาถ อยู่ในประเทศอินเดีย 10 พุทธฤทธิ์ พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


ปัญจวัคคีย์ลืมข้อนัดหมาย

แต่ครั้นพระพุทธองค์เสด็จเข้าไปใกล้ ข้อที่นัดหมายไว้ก็ลืมหมด พร้อมกันลุกขึ้นประณตอัญชลีต้อนรับเป็นอันดีดังแต่ก่อน บางท่านรับ บาตร รับจีวร บางท่านตักน้ำล้างพระยุคลบาท บางท่านเอาผ้ามาปูลาด ถวาย ตามวิสัยที่เคยปฏิบัติมา ครั้นพระบรมศาสดา ประทับนั่งพักพระวรกายพอสมควรแล้ว จึง ตรัสบอกพระปัญจวัคคีย์ว่า “บัดนี้ ตถาคตได้ตรัสรู้อมตธรรมโดยชอบแล้ว มาครั้งนี้หวังจะ โปรดประทานอมตธรรมแก่ พ ระปั ญ จวั ค คี ย์ ท่ า นทั้ ง หลายจงสงบ อินทรีย์ตั้งใจสดับเถิด เราจักแสดงธรรมสั่งสอน เมื่อท่านทั้งหลายมี ความสังวรปฏิบัติตาม ก็จะมีความสำเร็จบรรลุอมตธรรมนั้น โดยกาล ไม่ช้านานสักเท่าไร” แต่พระปัญจวัคคีย์ ไม่เลื่อมใส กล่าวคัดค้าน ลำเลิกเหตุแต่ก่อน กาลว่ า “อาวุ โ ส โคตมะ แม้ แ ต่ ก่ อ นพระองค์ ท รงบำเพ็ ญ ตบะทำ ทุกรกิริยา๑ ด้วยความเพียรอย่างแรงกล้าถึงอย่างนั้นแล้ว ก็ยังไม่บรรลุ ธรรมพิ เ ศษได้ บั ด นี้ พระองค์ ค ลายความเพี ย รเวี ย นมาเพื่ อ ความเป็ น คนมักมากเสียแล้ว เหตุไฉน ? พระองค์จะบรรลุธรรมพิเศษได้เล่า” ๑ อ่านว่า ทุก-กะ-ระ-กิ-ริ-ยา แปลว่า กิริยาที่ทำได้โดยยาก, การทำความเพียรอันยากที่ ใครๆ จะทำได้ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพือ่ บรรลุธรรมวิเศษ ด้วยวิธกี ารทรมานตนต่างๆ เช่ น กลั้ น ลมอั ส สาสะปั ส สาสะ (ลมหายใจเข้ า -ออก) และอดอาหาร เป็ น ต้ น ซึ่ ง พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติก่อนตรัสรู้ อันเป็นฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค (ทางปฏิบัติที่ตึงเกิน ไป) และได้ทรงยกเลิกเสีย เพราะไม่สำเร็จประโยชน์ได้จริง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

11


พระพุทธองค์ทรงพระกรุณาโปรดปัญจวัคคีย์

แม้กระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังทรงเตือนซ้ำให้ตั้งใจสดับธรรม ให้จงดี พระปัญจวัคคีย์ก็ยังพูดคัดค้านโต้ตอบพระศาสดาจารย์อย่างนั้นถึง ๓ ครั้ง หาฟังไม่ ถึงอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังมีพระทัยกรุณา ตรัส เตือนด้วยดีว่า “ดูก่อนปัญจวัคคีย์ ท่านจงระลึกถึงความหลังให้จงดี อย่ามัว แต่ฮึดหือ ท่านทั้งหลายยังจำได้อยู่ละหรือ ? ว่า วาจาเช่นนี้ ตถาคตเคย พูดบ้างแต่ปางก่อน หรือว่าตถาคตเคยล้อเคยหลอน ล่อเธอให้หลงใหล เข้าใจผิดว่าตถาคตได้สัมฤทธิ์อมตธรรมอยู่บ้างแต่ครั้งไหน ปัญจวัคคีย์, วาจาไม่จริงคำใด ตถาคตเคยกล่าวออก เรื่อง ไร้สาระอันใดตถาคตเคยนำมาบอกให้ปัญจวัคคีย์ฟัง ยังจะมีคำไม่จริง คำใดของตถาคตอยู่บ้าง จงระลึกดู ทั้งอมตธรรมที่ตถาคต ได้ตรัสรู้ ท่านทั้งหลายเคยได้ยินตถาคตกล่าวอยู่แก่ผู้ใด ที่ไหนมี”

12 12

พุพุททธฤทธิ ธฤทธิ์ ์ พิพิชชิติตทุทุกกข์ข์ สบสุ สบสุขขนินิรรันันดร์ ดร์ ธัธัมมมจัมจักกกักัปปปวั ปวัตตตนสู ตนสูตตรร


พระพุทธองค์ทรงแสดงธัมมจักฯ เมื่อพระปัญจวัคคีย์ ได้สดับอนุสาสนีตรัสเตือนให้ระลึกตามถึง ถ้อยคำของพระองค์แต่ปางก่อน ก็กลับได้ดำริจิตคิดอนุสรณ์เห็นสอดคล้อง ต้องตามพระโอวาท จึงพร้อมกันถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยความเลือ่ มใส และเชื่อมั่นในพระคุณที่อัศจรรย์ประจักษ์ใจ ว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้จริง ดั ง พระวาจา และพร้ อ มกั น ขอขมาอภั ย โทษที่ ก ระทำตนเป็ น คนโฉด ไม่ถวายความเคารพแต่ต้นทุกประการ สมเด็ จ พระบรมศาสดาจารย์ เสด็ จ ประทั บ พั ก ในสำนั ก นั้ น หนึ่งราตรี ครั้นรุ่งขึ้นวันปัณณรสีดิถีที่ ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๘ อาสาฬหมาส สมเด็จพระบรมโลกนาถ จึงได้ประทานธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา โปรดปัญจวัคคีย์ฤๅษีทั้ง ๕ ให้พระโกณฑัญญะ๑ ผู้เป็นหัวหน้าฤๅษีนั้น บรรลุ พ ระโสดาบั น เป็ น ปฐมอริ ย สงฆ์ อ งค์ แรกในพระศาสนา ถึ ง กั บ พระบรมศาสดาทรงได้ธรรมปีติปราโมทย์ สมมโนรถที่ทรงพระอุตสาหะ เสด็จมาโปรดด้วยพระมหากรุณา ดังนั้น พระธรรมจักรจึงเป็นมงคลที่สูง ยิ่งด้วยคุณค่า ดังเรื่องที่สาธกยกขึ้นแสดงมา ด้วยประการฉะนี้

จบพระธรรมเทศนา ๑

อ่านประวัติโดยย่อของพระโกณฑัญญะ หน้า ๕๙ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

13


อานิสงส์ของการสวดมนต์

๑. สามารถไล่ความขี้เกียจ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่ อ งซึ ม ง่ ว งนอน เกี ย จคร้ า นจะหมดไป และเกิ ด ความแช่ ม ชื่ น กระฉับกระเฉงขึ้น ๒. เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไป หน่วงอยู่ที่การสวดมนต์อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน ๓. เป็ น การกระทำที่ ไ ด้ ปั ญ ญา ถ้ า การสวดมนต์ โ ดยรู้ ค ำแปล รู้ความหมาย ก็ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญาความรู้ แทนที่จะสวดเหมือน นกแก้วนกขุนทองโดยไม่รู้อะไรเลย ๔. มีจิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็น ในจิตจะเกิดขึ้น ๕. เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวด มีกาย วาจา ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ระลึกถึงคุณความ ดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง คนเป็นทาสของกิเลส จึงวุ่นวาย เป็นทุกข์ อย่างรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เชิญชวนทุกท่านร่วมกันช่วยเพื่อนมนุษย์ให้เอาชนะกิเลส พบสุขได้ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้แจกเป็นธรรมทาน ยิ่งมาก บุญยิ่งทวี อย่างไม่โลภเมาบุญ รู้ว่าเป็นหน้าที่ช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (โปรดใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องนี้)

14

พุทธฤทธิ์ พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


ความสำคัญของการสวดมนต์ ๑. เป็นการรักษาธรรมเนียมประเพณีที่ดีให้คงอยู่ ๒. เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย ๓. เป็นการเชื่อมสามัคคีในหมู่คณะ ครบไตรทวาร ๔. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน ๕. เพื่อฝึกกายใจให้เข้มแข็งอดทน ๖. เพื่อดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้ ๗. เพื่ออบรมจิตใจให้สะอาด สงบ สว่าง ๘. เพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน ๙. เพื่อเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์

ประโยชน์ของการสวดมนต์ ๑. เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา ๒. เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม ๓. เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตตน และบริวาร ๔. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ ๕. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา ๖. เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้ ๗. เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว ๘. เป็นเนตติของอนุชนต่อไป ๙. เป็นบุญกิริยา เป็นวาสนาบารมี เป็นสุขทางใจ

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

15


ลำดับการสวดมนต์ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒.

บทชุมนุมเทวดา (หน้า ๑๗) บทบูชาพระรัตนตรัย (หน้า ๑๗) บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า (หน้า ๑๘) บทไตรสรณคมน์ (หน้า ๑๘) บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (หน้า ๑๙) บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (หน้า ๑๙) บทสรรเสริญพระสังฆคุณ (หน้า ๑๙) บทขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (หน้า ๒๑) บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (หน้า ๒๓) เจริญภาวนา นั่งสมาธิ บทแผ่เมตตาให้ตนเอง (หน้า ๕๘) บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ (หน้า ๕๘) ไหว้พระสวดมนต์ จะพ้นทุกข์ สุขใจ

ท่านที่ต้องการหนังสือสวดมนต์

สำหรับสวดได้ทุกเวลา สวดก่อนนอนป้องกันภัย รักษาโรค เสริมลาภแก้กรรม กรุณาติดต่อ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง โทร.๐๒-๘๗๒-๘๒๒๘, ๐๒-๘๗๒-๙๑๙๑

16

พุทธฤทธิ์ พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


บท

ชุมนุมเทวดา

ผะริต๎วานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะ- คันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา.

บท

บูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ) ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

17


บท นะโม ตั สสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตั สสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตั สสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ. บท พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

นอบน้อมพระพุทธเจ้า

ไตรสรณคมน์

18

ทุติยัมปิ ทุติยัมปิ ทุติยัมปิ ตะติยัมปิ ตะติยัมปิ ตะติยัมปิ

ธัมมัง สังฆัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง

สะระณัง สะระณัง สะระณัง สะระณัง สะระณัง สะระณัง สะระณัง สะระณัง

พุทธฤทธิ์ พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

คัจฉามิ คัจฉามิ. คัจฉามิ คัจฉามิ คัจฉามิ. คัจฉามิ คัจฉามิ คัจฉามิ.


บท

สรรเสริญพระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา- จะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิท ู อะนุตตะโร ปุรสิ ะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

บท สรรเสริญพระธรรมคุณ

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปสั สิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตพั โพ วิญญูหตี .ิ บท สรรเสริญพระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสั ง โฆ อาหุ เ นยโย ปาหุ เ นยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

19


บทขั ด คื อ บทสวดมนต์ ที่ เ ป็ น บทนำของบทสวดมนต์ ทั่ ว ไป หมายถึ ง การเกริ่ น หรื อ เล่ า ความโดยย่ อ บอกที่ ม าที่ ไ ปของบทสวด หรื อ อารั ม ภบทของบทสวด แล้ ว ลงท้ า ยด้ ว ยการเชื้ อ เชิ ญ ให้ ท่ อ งบท สวดมนต์นั้นๆ แต่ก็ใช่ว่าบทสวดมนต์จะมีบทขัดทุกบท บางบทอาจไม่มี บทขัด แต่โดยมากมักจะมี บทขัดสัคเค หรือบทชุมนุมเทวดานี้ มีหลายคนถามว่า ถ้าสวดมนต์ คนเดียวควรจะสวดบทชุมนุมเทวดาหรือบทขัดด้วยไหม ? ขอให้ความเห็นว่า บทชุมนุมเทวดานี้ เป็นการเชื้อเชิญให้เทพยดา ในที่ต่างๆ มาประชุมกันเพื่อฟังธรรม หรือฟังบทสวดมนต์ต่างๆ จัดว่าเป็น บทคำนำของบทสวดมนต์ก็ว่าได้ ซึ่งบทชุมนุมเทวดานี้ เรียกกันอย่าง ไม่เป็นทางการว่า ขัดสัคเค (สัคเค กาเม จะ รูเป...) จึงจัดว่าเป็นบทขัด เหมือนกัน แต่เป็นบทขัดที่ไม่เป็นทางการ ถึงแม้ว่าจะสวดคนเดียวก็ควรที่ จะสวดบทขัดด้วย เพราะเป็นการเชิญเทวดามาฟังด้วย ยิ่งถ้าเป็นบทสวด ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งถือว่าเป็นสูตรสำคัญด้วยแล้ว ท่านนิยมสวด บทขัดด้วยทุกครั้ง รักแผ่นดินไทย ส่งเสริมเด็กไทยให้ได้ใกล้ชิดธรรมะ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ แจกเป็นธรรมทานแก่เด็ก โรงเรียน มหาวิทยาลัย ห้องสมุด สถานพยาบาล ร้านค้า โรงแรม ประจำบ้าน ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้อ่านเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม

บทขัด คือ อะไร

20

พุทธฤทธิ์ พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


บท

ขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิต๎วา ตะถาคะโต ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง

พระตถาคตเจ้า ได้ตรัสรู้ซึ่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว, เพื่อจะทรงประกาศธรรมที ่ใครๆ ยังมิได้ให้เป็นไปแล้วในโลก, ให้เป็นไป โดยชอบแล้ว, ได้ทรงแสดงซึ่งพระอนุตรธรรมจักรใดก่อน ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฏิปตั ติ จะ มัชฌิมา จะตู ส๎วาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง คือว่าพระองค์ตรัสรู้ซึ่งที่สุดสองประการ และข้อปฏิบัติอันเป็น กลาง, แลปั ญญาอันรู้เห็นในอริยสัจทั้งสี่ ของพระองค์หมดจดแล้ว ในธรรมจักรใด เทสิ ตั ง ธั ม มะราเชนะ สั ม มาสั ม โพธิ กิ ต ตะนั ง นาเมนะ วิ ส สุ ตั ง สุ ต ตั ง ธั ม มะจั ก กั ป ปะวั ต ตะนั ง เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ เราทั้ ง หลายจงสวดธรรมจั ก รนั้ น , ที่ พ ระองค์ ผู้ ธ รรมราชา ทรงแสดงแล้ ว , ปรากฏโดยชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร, เป็นสูตร ประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณ, อันท่านพระสังคีติกาจารย์ร้อยกรองไว้ โดยบาลีไวยากรณ์ เทอญ ฯ สำนั สำนักกพิพิมมพ์พ์เลีเลี่ย่ยงเชี งเชียยงง เพีเพียยรเพื รเพื่อ่อพุพุททธศาสน์ ธศาสน์

21


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ธั ม มจั ก กั ป ปวั ต ตนสู ต ร เป็ น เทศนากั ณ ฑ์ แรกที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์๑ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร นีจ้ บลง ดวงตาเห็นธรรม๒ ปราศจากธุลปี ราศจากมลทินก็ได้เกิดขึน้ แก่ทา่ น พระโกณฑัญญะ นับว่าเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ หรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัย ครบบริบูรณ์ คือมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์

ปัญจวัคคีย์ แปลว่า นักบวชที่เป็นพวกกัน ๕ ท่าน ที่มีชื่อว่า โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ซึ่งออกบวชติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้า ตั้งแต่เสด็จ ออกผนวชใหม่ๆ เฉพาะโกณฑัญญะเป็นผู้เคยทำนายลักษณะพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตอน ประสูติใหม่ๆ ส่วนอีก ๔ ท่าน เป็นบุตรของพราหมณ์ที่ทำนายลักษณะของพระพุทธเจ้า ร่วมกับโกณฑัญญะ เพราะเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าจึงได้ออก บวชตาม ๒ ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

22

พุทธฤทธิ์ พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


บท

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

เอวัมเม สุตัง ฯ

ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี ้

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา

เท๎วเม* ภิกขะเว อันตา

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ

เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ส่วนที่สุด ๒ อย่าง ตัต๎ระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ ในกาลนั้ น แล พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า , ตรั ส เตื อ นพระภิ ก ษุ ปัญจวัคคี ย์, ให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ที่สุด ๒ อย่างเหล่านี ้

ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตพั พา อันบรรพชิตไม่ควรเสพ

คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด * อ่านว่า ทะ-เว-เม สำนั สำนักกพิพิมมพ์พ์เลีเลี่ย่ยงเชี งเชียยงง เพีเพียยรเพื รเพื่อ่อพุพุททธศาสน์ ธศาสน์

23


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุด ๒ อย่าง และเสนอแนวทางการดำเนินชีวิตด้วยทางสายกลาง อันเป็น แนวทางใหม่ให้แก่มนุษย์ ซึ่งเปรียบเสมือนกับการดีดพิณสามสาย ถ้าตึง เกินไปก็ขาด หย่อนเกินไปก็ไม่น่าฟัง แต่ถ้าพอดีก็จะมีเสียงไพเราะน่าฟัง และไม่ขาดง่าย นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการ ปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง ๔ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ โดยเริ่มจาก ทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้ เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อถึงความดับทุกข์ คือ พระนิพพาน อันเป็นจุด มุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา สายที่ ๑ ตึงเกินไปเมื่อดีดก็ขาด

สายที่ ๒ หย่อนเกินไปเมื่อดีด ก็ไม่ไพเราะ

สายที่ ๓ มีความพอดีไม่ตึงไม่หย่อน เมื่อดีดก็ทำให้มีเสียงไพเราะ ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ คิด คราคิดติดขัด หยุดพักสักนิด ทำจิตให้สงบ จักพบทางออก อ่านแล้วคิด คิดให้เข้าใจ เข้าใจแล้วลงมือทำ ทำด้วยสติสัมปชัญญะ ทำวันนี้ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ อย่ารอช้า อย่าผัดวัน อย่าประมาท คิดเร็ว สุขเร็ว ทำช้า ทุกข์มาก ทุกข์ยาวนาน

24

พุทธฤทธิ์ พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


หีโน เป็นธรรมอันเลว คัมโม เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน โปถุชชะนิโก เป็นของผู้มีกิเลสหนา อะนะริโย ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส อะนัตถะสัญหิโต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค

คือการประกอบด้วยความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเหล่านี้ใด ทุกโข ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ อะนะริโย ไม่ทำผูป้ ระกอบให้ไปจากข้าศึกคือกิเลส อะนัตถะสัญหิโต ฯ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึง่ ฯ สนใจหนังสือธรรมะไว้อ่าน แจกเป็นธรรมทานสร้างบุญ ติดต่อเลี่ยงเชียงจ้า

ส่วนที่สุด ๒ อย่าง ที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธ ได้แก่ ๑. กามสุขัลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุข ในกามทั้งหลาย ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ คือ หวังสบายเกินไป ไม่ทำอะไร มัวอ้อนวอนพระเจ้า หวังพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หวัง เสวยสุขโดยส่วนเดียว เป็นการดำเนินชีวิตที่ย่อหย่อนเกินไป ๒. อัตตกิลมถานุโยค คือการประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน (เช่น บำเพ็ญ ทุกรกิริยา) เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ คือ การ ปฏิบัติตนเพื่อพ้นทุกข์โดยการทรมานตนให้ลำบาก เป็นการดำเนินชีวิตที่ตึงเกินไป สำนั สำนักกพิพิมมพ์พ์เลีเลี่ย่ยงเชี งเชียยงง เพีเพียยรเพื รเพื่อ่อพุพุททธศาสน์ ธศาสน์

25


อริยสัจสี่๑ หรือ จตุราริยสัจ เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคดม พุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือ ความจริ ง ที่ ท ำให้ ผู้ เข้ า ถึ ง กลายเป็ น อริ ย ะ ธรรมที่ เ ป็ น ความจริ ง อั น ประเสริฐสี่ประการ และปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ซึ่งเป็นไป เพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง และเพื่อเข้าถึงนิพพาน ๑ อริยสัจสี่ ประกอบด้วย ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความ ตายก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็น ที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕

เป็นทุกข์ ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหาดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค คือวิราคะ การสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปดประการ ได้แก่ มีความเห็น ชอบ, มีความนึกคิดดีงาม, เจรจาดี, ประพฤติตัวดี, เลี้ยงชีวิตโดยสุจริต, มีความเพียร, มีสติระลึกชอบ, มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ อริยสัจ ๔ นี้ เรียกสั้นๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

ทธฤทธิ์ พิ์ พิชิตชทุิตกทุข์กข์สบสุ สบสุขนิขรนิันรดร์ ันดร์ธัมธัมจั มมจักกักปกัปวั ปปวัตตนสู ตตนสูตรตร 26 26 พุพุทธฤทธิ


ทางสายกลาง เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุด สองอย่างนั้นนั้น

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี

อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง

กระทำดวงตา คือกระทำญาณเครื่องรู้

อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

ย่ อ มเป็ น ไปเพื่ อ ความเข้ า ไปสงบระงั บ , เพื่ อ ความรู้ ยิ่ ง เพื่ อ ความรู้ดี เพื่อความดับ ฯ

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้นเหล่าไหน ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง กระทำดวงตา คือกระทำญาณเครื่องรู ้

อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

ย่ อ มเป็ น ไปเพื่ อ ความเข้ า ไปสงบระงั บ , เพื่ อ ความรู้ ยิ่ ง เพื่ อ ความรู้ดี เพื่อความดับ ฯ สำนั สำนักกพิพิมมพ์พ์เลีเลี่ย่ยงเชี งเชียยงง เพีเพียยรเพื รเพื่อ่อพุพุททธศาสน์ ธศาสน์ 27


มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง หรือ อัฏฐังคิกมรรค มรรคมีองค์ ๘๑ ๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ ความเห็น ชอบทั่วไป เช่น เห็นว่าบุญบาปมีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และความเห็น ในระดับสูงหรือโลกุตระ ได้แก่ ญาณ คือปัญญารู้แจ้งในอริยสัจสี่ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ มี ๓ ลักษณะ คือ เนกขัมมสังกัปปะ (ความคิดที่จะออกจากกามหรือคิดที่จะออกบวช), อัพยาปาทสั ง กั ป ปะ (ความไม่ คิ ด พยาบาท) และอวิ หิ ง สาสั ง กั ป ปะ (ความไม่ คิ ด เบียดเบียน) ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ หรือวจีสุจริต ๔ คือ พูดความจริง, พูดคำประสานสามัคคี, พูดคำไพเราะ และพูดคำมีสารประโยชน์ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ หรือกายสุจริต ๓ คือ เว้นจาก การฆ่าสัตว์, เว้นจากการลักทรัพย์ และเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ หมายถึงการเว้นจากมิจฉาชีพ เช่น ค้าอาวุธ ค้ายาเสพติด เป็นต้น ๖. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ แบ่งเป็น ๔ คือ เพียรระวัง บาปไม่ให้เกิดขึ้น, เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป, เพียรทำ กุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้มีมากยิ่งขึ้น ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ หมายถึง การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ การมีสติพิจารณา กาย เวทนา จิต และธรรม เป็นอารมณ์ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ หมายถึง ความตั้งใจมั่นใน การเจริญฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ๑ ศึกษามรรคมีองค์ ๘ เพิม่ เติมได้ในหนังสือเรียนธรรมศึกษา ชัน้ ตรี : สำนักพิมพ์เลีย่ งเชียง 28

พุทธฤทธิ์ พิชิตทุกข์ สบสุขนิรันดร์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ

ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึกคือกิเลสนี้เอง เสยยะถีทงั ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ สัมมาวาจา วาจาชอบ สัมมากัมมันโต การงานชอบ สัมมาอาชีโว ความเลี้ยงชีวิตชอบ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ สัมมาสะติ ความระลึกชอบ สัมมาสะมาธิ ความตั้งจิตชอบ

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้แลข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง

ตะถาคะเตนะ อะภิสมั พุทธา ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง จักขุกะระณี ญาณะกะระณี กระทำดวงตา คือกระทำญาณเครื่องรู้ อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ, เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ ความรูด้ ี เพื่อความดับ ฯ สำนั สำนักกพิพิมมพ์พ์เลีเลี่ย่ยงเชี งเชียยงง เพีเพียยรเพื รเพื่อ่อพุพุททธศาสน์ ธศาสน์

29


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.