สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
เวลาใดรู้สึกว่า เกิดความฟุ้งซ่านรำ�คาญใจ ประสบเคราะห์กรรมเรื่องร้าย วิธีหนึ่งที่สามารถหักห้ามใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน มีแรงบุญต้านทานเคราะห์กรรม นั่นคือ
ขอให้ตั้งสติแน่วแน่ไว้ แล้วสำ�รวมกาย-ใจ ในการสวดมนต์
รวบรวม/เรียบเรียงโดย...ไพยนต์ กาสี
บรรณาธิการ : ไพยนต์ กาสี น.ธ. เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. ปก/รูปเล่ม : สุกัญญา ศรีสงคราม ภาพประกอบ : เทิดเกียรติ ปลูกปานย้อย พิมพ์ข้อมูล : ธนวรรณ ขันแข็ง พิสูจน์อักษร : มานิตย์ กองษา
สืบสานพระพุทธปณิธาน
เพื่อสานประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ
พระพุทธศาสนา ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ปจั จุบนั ถึงแม้ว่าจะเกิดขึ้นมานานกว่า ๒๕๕๕ ปีแล้วก็ตามที แต่ยังมีแสงแห่งธรรม ช่วยส่องชี้นำ�ทางดำ�เนินชีวิต บอกให้รู้สิ่งถูกผิดแก่ผู้สนใจ แต่ใครจะได้รับ ประโยชน์มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละท่านจะให้ความสนใจศึกษาหา ความรู้จากหลักธรรมคำ�สอนในพระพุทธศาสนานั่นเอง การสวดมนต์ เป็นอีกหนึง่ วิธแี สวงหาความรู้ เพราะเดิมทีนนั้ เป็นการสวด เพื่อจดจำ�คำ�สอน ซึ่งต้องท่องด้วยปาก เรียกว่า “มุขปาฐะ” ดังที่พระพุทธองค์ โปรดให้พระอุบาลีสวดทรงจำ�พระวินัย ให้พระอานนท์สวดทรงจำ�พระสูตร เป็นต้น ซึ่งมีผลดีในคราทำ�สังคายนาครั้งแรก เพราะพระเถระทั้งสอง ได้สวด สาธยายคำ�สอนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างไม่ผิดเพี้ยน ต่อมาได้พัฒนาเป็น การสวดเพื่อป้องกันภยันตรายต่างๆ ด้วย จึงเรียกอีกอย่างว่า สวดพระปริตร ปัจจุบนั กาล ไม่วา่ ตัวท่านคิดจะสวดมนต์เพราะมุง่ หวังสิง่ ใด แต่ในฐานะ เป็นพุทธศาสนิกชน เมื่อตั้งใจสวดมนต์ก้มกราบกรานพระพุทธแล้ว อยากให้ รู้ถึงพระธรรม คือ พยายามศึกษาความหมายของบทสวด และเมื่อรู้แล้วต้อง ปฏิบัติตามที่รู้นั้น เพื่อให้การดำ�เนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่นปลอดภัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เนื้อหาในหนังสือ สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศล สูงสุด ที่บรรจุอักขรธรรมทั้งส่วนที่เป็นคำ�สวด และคำ�สอนเล่มนี้ จะช่วยให้ ท่านได้มองเห็นคุณค่าของบุญ คือ ความดี คุณค่าของกุศล คือ ความมีปญั ญา ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้ท่านมีชีวิตที่เป็นสุขอย่างยั่งยืนจริง ขอพระสัทธรรมดำ�รงในจิตท่านตลอดกาลนาน น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ., น.บ. บรรณาธิการ สำ�นักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ
สร้างพลังศรัทธา พลังปัญญา
ในการสวดมนต์ดลให้เกิดบุญกุศลแก่ชีวิต ชีวิตของคนเราที่เกิดมา กว่าจะเติบใหญ่เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ ก็ต้องอาศัยการกินข้าวปลาอาหารเข้าไปทุกวัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ชีวิตของคนเรา ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่สำ�คัญกว่าทางร่างกาย นั่นคือ จิตใจ แล้วอะไรเล่าที่เป็น เครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจของเราให้เจริญงอกงามขึ้น ซึ่งคงจะหมายถึงสิ่งอื่น ไปไม่ได้ นอกจากสิ่งที่เป็นบุญกุศล การสวดมนต์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สร้างบุญกุศลคุณงามความดีต่างๆ ให้ เกิ ดแก่ชีวิตได้ เพราะในขณะสวดมนต์ ทุก ครั้ ง สามารถสร้ างพลัง แห่ง ความดีงามต่างๆ มาหล่อเลี้ยงจิตใจของผู้สวดให้มีความเจริญสุขสดใส เบ่งบานในธรรมของพระพุทธศาสนา พลังความงามที่เกิดจากการสวดมนต์ ที่ว่านั้น คือ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
3
๑. พลังศรัทธา พลังแห่งความเชื่อ คือ เชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัย ว่าเป็นที่พึ่งที่กำ�จัดภัยได้จริง การตระหนักในคุณค่านี้ มีผลให้เกิดพลังศรัทธา ที่ภาษาพระเรียกว่า “สัทธาพละ” เมื่อมีความศรัทธาในพระรัตนตรัย จะทำ�ให้ไม่เบื่อหน่ายการสวดมนต์ ยิ่งคนใดสวดบ่อยเข้า จิตของเขาก็จะตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตที่เป็นสมาธินี่เองจะ เป็นบุญที่ส่งผลให้พบความสำ�เร็จได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. พลังปัญญา พลังแห่งความรู้แจ้งเห็นจริง เพราะการสวดมนต์ ก็คือการบริกรรมภาวนา หลักธรรมคำ�สอนอย่างหนึ่ง การท่องบ่นอยู่ซำ�้ ๆ จนจำ�ได้ จะทำ�ให้เรานำ�ข้อธรรมนั้นไปคิดพิจารณา เป็นการพัฒนาพลังปัญญาให้เกิดมีในตน จนสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ในวิถี ชีวิตประจำ�วัน ภาษาพระเรียกว่า “ปัญญาพละ” มีผลทำ�ให้เราเกิดทักษะใน การแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีเหตุมผี ล จึงดำ�รงตนในสังคมได้อย่างปลอดภัย ดังนั้น ความศรัทธาในการทำ�สิ่งดีงาม มีผลช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจใน การดำ�รงชีวติ อย่างมีคณุ ค่า และทำ�ให้เกิดปัญญา ช่วยขจัดปัญหาทีเ่ กิดแก่ชวี ติ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การสวดมนต์ดว้ ยความรูค้ วามเข้าใจเช่นนี้ จึงไม่ใช่ เรือ่ งเหลวไหลไร้สาระอีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นการเสกกายให้มฤี ทธิ์ เสกจิต ของตนให้ก้าวขึ้นสู่ความดีได้มากยิ่งขึ้น จากนี้ ขอนำ�ท่านเข้าสู่เนื้อหาสาระคำ�สอนพร้อมคำ�สวดที่เรียบเรียงไว้ใน เล่มนี้ เพื่อให้ท่านรู้ถึงวิธีสวดมนต์ให้ได้บุญกุศลสูงสุดต่อไป
4
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
สวดมนต์ บูชาคุณพระรัตนตรัย การแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย อาจทำ�ได้ถึง ๓ ทาง คือ ทางกาย ด้วยการกราบไหว้, ทางวาจา ด้วยการกล่าวคำ�สรรเสริญ, ทางใจ ด้วยการน้อมระลึกนึกถึงคุณท่าน การสวดมนต์ เป็นอีกวิธีที่แสดงถึง ความเคารพในพระรัตนตรัย เพราะเราต้องยกมือไหว้ ใช้วาจาเปล่งเสียง และสำ�รวมใจระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยไปพร้อมกันในขณะสวดมนต์ ดังนั้น ทุกคนจึงควรไหว้พระ จิตใจจะได้มีที่พึ่งพำ�นักอันประเสริฐ และการสวดมนต์บทเหล่านี้ เรียกว่าเป็นการ “ไหว้ครู” ก่อนสวดมนต์ บทอื่นๆ ต่อไป ซึ่งทำ�ให้เกิดอานิสงส์บุญคุ้มครองป้องกันใจได้สารพัด ทั้งยังกำ�จัดสิ่งชั่วร้าย ให้ห่างไกลตัวเราได้
บทบูชาพระรัตนตรัย อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ.
ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้.
ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้.
ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้.
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ. อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ.
บูชา หมายถึง การยกย่องนับถือในคุณความดี การบูชาบุคคลที่ควรบูชา พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นมงคลอันสูงสุดของชีวติ ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้พบความสุขใจ ได้กุศล คือ มีบุคคลต้นแบบที่ดีงาม มาเป็นตัวอย่างในการดำ�เนินชีวิต บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
5
บทกราบพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง;
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน. (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว,
ธัมมัง นะมัสสามิ.
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว;
สังฆัง นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ)
ทุกคนต่างมีความดีดว้ ยกันทัง้ นัน้ จะมากหรือน้อยเป็นอีกเรือ่ งหนึง่ คนมี ความดีมากก็ควรค่าแก่การกราบไหว้อย่างสนิทใจ การกราบไหว้พระรัตนตรัย ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้ผใู้ หญ่เมตตา ได้กศุ ล คือ ทำ�ให้รจู้ กั ทีส่ งู ทีต่ �่ำ จึงวางตน ได้ถูกต้องเหมาะสม เมื่อกล่าวคำ�บูชากราบพระเรียบร้อยแล้ว ให้นั่งพับเพียบลง ตั้งใจ กล่าวคำ�สมาทานศีล คำ�อัญเชิญเทวดามาร่วมอนุโมทนาบุญต่อไป 6
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
คำ�สมาทานศีล ๕ ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
คาถาชุมนุมเทวดา
ผะริตว๎ านะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา, อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ, สัคเค กาเม จะ รูเป คิรสิ ขิ ะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน, ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต, ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะ นาคา, ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนวิ ะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณนั ตุ, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ข้าพเจ้าขออัญเชิญเทวดาทั่วทั้งจักรวาล รวมทั้งยักษา คนธรรพ์ ครุฑ นาคทั้งหลาย ขออัญเชิญมายังสถานที่นี้ เพื่อสดับรับฟังเสียงสวดมนต์ ด้วยกันเทอญ. สมาทานศีลก่อนสวดมนต์เพื่อให้ตนมีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ, สวดอัญเชิญเทวดาให้มาร่วมอนุโมทนา ได้ผลบุญ คือ ไม่มีเวรภัยในชีวิต ได้ปัญญา คือ รู้ว่า ถ้ารักษาศีลดี ย่อมไม่มีอันตราย แม้เทวดาก็ให้ ความคุ้มครองรักษา บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
7
บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, ขอนอบน้อมแด่พระผูม้ พี ระภาคเจ้า, พระองค์นนั้ ; อะระหะโต, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส; สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง. (สวด ๓ จบ) มนต์บทนี้มีบุญญานุภาพมาก ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้ปลอดภัยจาก การปองร้าย ได้กุศล คือ ได้รู้ว่าถ้ามีความอ่อนน้อมอยู่ในใจ ใครๆ เห็นก็ รักใคร่เมตตา
บทขอขมาพระรัตนตรัย วันทามิ พุทธัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.
ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระพุทธเจ้า, ขอพระพุทธองค์ โปรดทรงยกโทษ ทั้งปวงที่ข้าพเจ้าทำ�ล่วงเกินด้วยเทอญ.
ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระธรรม, ขอพระธรรม โปรดยกโทษทั้งปวงที่ ข้าพเจ้าทำ�ล่วงเกินด้วยเทอญ.
วันทามิ ธัมมัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. วันทามิ สังฆัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.
ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระสงฆ์, ขอพระสงฆ์ โปรดยกโทษทั้งปวงที่ ข้าพเจ้าทำ�ล่วงเกินด้วยเทอญ.
สวดเพือ่ ขอขมาลาโทษทีอ่ าจเผลอสติท�ำ สิง่ ไม่ดตี อ่ พระรัตนตรัย ได้ผลบุญ คือ ช่วยทำ�ให้ไม่มีเวรกรรมติดตัวไปชาติหน้า ได้กุศล คือ ทำ�ให้รู้ว่า การขอโทษ เมื่อรู้ว่าตนผิด สามารถยุติการพยาบาทจองเวรจองกรรมกัน เพราะถ้าต่างคน ต่างรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ก็จะทำ�ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข 8
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
บทไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง;
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุตยิ ัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง;
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ. แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
เป็นที่พึ่ง.
บทนี้ สวดเพื่อน้อมรับเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่ อาศัย ได้ผลบุญ คือ มีที่พึ่งอันประเสริฐสุด เมื่อละร่างกายจาก โลกมนุษย์จะได้ไปเกิดในสวรรค์ ได้กุศล คือ เกิดความคิดเห็นเป็น สัมมาทิฐิว่า เมื่อนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ก็พร้อมจะพึ่งพาคำ�สอน ในพระพุทธศาสนา มาใช้ในการดำ�เนินชีวิต บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
9
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิ โส ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น; อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส; สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง; วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ; สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี; โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง; อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผูส้ ามารถฝึกบุรษุ ทีส่ มควรฝึกได้อย่างไม่มใี ครยิง่ กว่า; สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย; พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม; ภะคะวาติ. เป็นผู้มีความจำ�เริญ จำ�แนกธรรมสั่งสอนสัตว์.
การสวดมนต์จะเกิดผลดีกด็ ว้ ยนำ�คำ�ทีส่ วดด้วยวาจา มาแปรเปลีย่ น เป็นการกระทำ�ด้วยตน สวดมนต์บทพระพุทธคุณ ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้ ไม่สะดุ้งหวาดหวั่นตกใจง่าย ได้กุศล คือ เกิดความเพียรทำ�ความดี ตามอย่างพระองค์ เช่น แสวงหาความรู้เพื่อสร้างปัญญา มีความเมตตา ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทำ�จิตให้ผ่องใสครองตนครองใจห่างไกลจากกิเลส เป็นต้น
10
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว; สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง; อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำ�กัดกาล; เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด; โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว; ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. (อ่านว่า วิน-ยู-ฮี-ติ)
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.
สวดพระธรรมคุณ ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้เกิดความอบอุ่นว่าตน จะไม่ตกไปสู่ฐานะที่ชั่วช้าต่างๆ ทั้งในโลกนี้โลกหน้า ได้กุศล คือ ทำ�ให้ รูจ้ กั ตัวเองมากขึน้ เพราะ ธรรมะ แปลว่า ความจริง ซึง่ ก็คอื ความเป็นจริง ของตัวเราทั้งนั้น เช่น ในชีวิตประจำ�วันได้ทำ� พูด คิด อะไรบ้าง ถูกผิด อย่างไรย่อมรู้แก่ใจตัวเองดี แม้บางทีอยากปิดบังคนอื่นจึงปฏิเสธไปว่า ไม่ได้ทำ� พูด คิด เรื่องนั้นๆ แต่ไม่มีวันที่จะปฏิเสธตัวเองไปได้ ดังนั้น ธรรมะ จึงเป็นเหมือนกระจกเงาบานใหญ่ที่สะท้อนภาพของตนเอง เป็น เหมือนประทีปทางปัญญาที่ส่องสว่างกลางใจให้คนดำ�เนินชีวิตไปในทาง ที่ถูกที่ควรได้ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 11
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว; อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว; ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผูม้ พี ระภาคเจ้าหมูใ่ ด, ปฏิบตั เิ พือ่ รูธ้ รรมเป็นเครือ่ งออกจากทุกข์แล้ว; สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว; ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ;
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นัน่ แหละ สงฆ์สาวกของพระผูม้ พี ระภาคเจ้า; อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำ�มาบูชา; ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ; ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน; อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำ�อัญชลี; อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. สวดพระสังฆคุณ ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้พบความสุขความเจริญก้าวหน้า ได้กุศล คือ ทำ�ให้เรารู้จักปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น เพราะ “สงฆ์” แปลว่า หมู่ชนผู้มีความเป็นอยู่เสมอกัน ทั้งทางด้านความเห็น และความประพฤติ หากดำ�เนินชีวิตตามอย่างพระสงฆ์ สังคมก็เป็นสุข ดังมีพุทธดำ�รัสตรัสไว้ว่า ความสามัคคีของหมู่ชน บันดาลผลคือความสุข เมื่อสวดมนต์คาถาบูชาครูจบแล้ว จึงเลือกบทสวดต่อท้ายดังต่อไปนี้ตามแต่ เวลาทีม่ ี จะสวดทุกบทในเล่มนีห้ รือจะสวดวันละบทก็ได้ แล้วจึงนัง่ สมาธิแผ่เมตตา 12
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
พุทธชัยมงคลคาถา
สวดอย่างไร ภาวนาให้ได้บญ ุ กุศลสูงสุด บทสวดมนต์ พุทธชัยมงคลคาถา แปลว่า คาถาว่าด้วยชัยชนะ อันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้า ซึ่งเรามักจะจำ�กันง่ายๆ ตามคำ�ขึ้นต้น ว่า “คาถาพาหุง” เป็นบทสวดที่ได้ยินได้ฟังบ่อยครั้ง เพราะในงานทำ�บุญ กุศลต่างๆ พระท่านจะสวดบทนี้เป็นประจำ� และเชื่อกันว่าเป็นสวด ที่มีอานิสงส์มากสามารถนำ�สรรพสิริมงคลมาให้ทั้งแก่ผู้ฟังและผู้สวด เนื่องจากเป็นคาถาที่ท่านได้นำ�เอาเหตุการณ์ส�ำ คัญๆ ที่พระพุทธเจ้าทรง ชนะมาร ๘ ครั้งมารวมลงไว้ในคาถาบทนี้ แต่การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา มิใช่สวดอ้อนวอนเพื่อขอให้ เกิดผลดลบันดาล ฉะนั้น การสวดมนต์ผู้สวดจะได้ผลในเบื้องต้น คือ ความสงบตั้งมั่น อันเป็นบุญทางใจ หากต้องการบุญทางปัญญาเพิ่มขึ้น ด้วยนั้น ก็ให้นำ�ความหมายสารธรรมในบทที่สวดด้วยวาจามาปฏิบัติ ด้วยตน ให้เกิดผลเรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ได้แก่ คำ�สอนที่ให้เกิดผล เป็นอัศจรรย์ คือ สอนให้เห็นจริง และยิ่งหากนำ�ไปประพฤติตามที่ตนรู้ ตนเข้าใจแล้ว ทำ�ให้ได้ผลจริงตามสมควรแก่การปฏิบัติอย่างแน่แท้ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 13
บทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง) ๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ค๎รีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ทรงชนะพญามาร ซึ่ ง ได้ เ นรมิ ต แขนตั้ ง พั น ถื อ อาวุ ธ ครบมื อ ขี่ ช้ า งพลายคี รี เ มขล์ พร้ อ มด้ ว ย เสนามารโห่ร้องกึกก้อง ด้วยธรรมวิธีมีทานบารมี เป็นต้น ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน. หมายเหตุ : คำ�ที่ขีดเส้นใต้ นิยมว่าถ้าสวดให้ตนเอง เปลี่ยน เต เป็น เม (แก่ข้าพเจ้า) ทุกแห่ง
บทที่ ๑ พระพุทธองค์ทรงชนะพญามารในวันตรัสรู้ ด้วยธรรมวิธี มีทานบารมี เป็นต้น
สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้ปลอดภัยจากภูตผีปศี าจมิให้หลอกหลอน เบียดเบียน ได้กศุ ล คือ มีความรูว้ า่ ความดีเท่านัน้ เอาชนะปัญหาทุกอย่าง เพราะ ถ้าเราดูพุทธวิธีที่ทรงเอาชนะมารผู้มาผจญ จะเห็นว่า พระองค์ทรงใช้ความดี เอาชนะใจเขาแทบทั้งนั้น เพราะพระองค์ไม่เคยคิดว่า เขาเหล่านั้นเป็นศัตรู ทีต่ อ้ งเข้าห้�ำ หัน่ ดังนัน้ จะเอาชนะใคร ก็ใช้ความดีนนั่ แหละไปชนะใจเขาก่อน จะได้ไม่ต้องเดือดร้อนใจ เป็นสุขกันทุกฝ่าย ทั้งยังได้มิตรอย่างถาวร
“เราต้องการของดี เป็นคนดี ก็จำ�เป็นต้องฝึก ฝึกจนได้ดี คำ�ว่า ดี จะเป็นสมบัติของผู้ฝึกตนดีแล้วแน่นอน” หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต 14
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผูเ้ ป็นจอมมุนี ทรงชนะอาฬวกยักษ์ ดุร้ าย ผู้มี จิต กระด้ า งลำ � พอง หยาบช้ า ยิ่ง กว่ า พญามาร เข้ ามารุ กรานราวี ตลอดรุ่งราตรี ด้วยวิธีทรมานอันดี คือ ขันติธรรม ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมี แก่ท่าน.
บทที่ ๒ พระพุทธองค์ทรงชนะอาฬวกยักษ์ ด้วยขันติธรรม
สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้ผ่านพ้นอุปสรรคปัญหา ปราศจาก โรคาพาธเบียดเบียน ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า ความอดทน นำ�ผลสำ�เร็จมาให้ อย่างพระพุทธเจ้ากว่าที่จะทรงเอาชนะอาฬวกยักษ์ ก็ทรงใช้ความอดทน ต่ออารมณ์เกรี้ยวกราดเขา ในชีวิตจริงของเรา ก็มีเรื่องราวที่ต้องอดทน แต่อาจประมวลผลย่อเข้าในหลัก ๒ อ. คือ ๑) อาชีพ การทำ�มาหากินเลี้ยงชีวิตก็ต้องใช้ความอดทน ความสำ�เร็จ ของงานทุกอย่าง เป็นผลของความอดทนอดกลั้นทั้งสิ้น ๒) อารมณ์ การดำ�เนินชีวิตไม่ด้านใด อย่าใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ก็จะทำ�ให้เราควบคุมการทำ� พูด คิด ทุกอย่างของตนได้ “ทุกครั้งที่เราเห็น หรือกราบไหว้พระพุทธรูป อย่าลืมระลึกว่า อนุสาวรีย์นี้แหละ คือ พระผู้เป็นยอดแห่งความอดทน แล้วก็น้อมเอาพระคุณของพระองค์เข้ามาไว้ในตัวเรา การปฏิบัติตนเช่นนี้ เป็นวิถีทางแห่งความสวัสดี” พระพุทธวรญาณ (มงคล วิโรจโน) บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 15
๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ทรงชนะพญาช้าง นาฬาคิรี ซึง่ กำ�ลังเมามัน ร้ายแรงเหมือนไฟป่าทีล่ กุ ลาม ร้องโกญจนาทเหมือนฟ้าฟาด ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ� คือ พระเมตตานั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน.
บทที่ ๓ พระพุทธองค์ทรงชนะช้างนาฬาคิรี ด้วยเมตตา
สวดบทนี้ ได้ ผ ลบุ ญ คื อ ช่ ว ยให้ ป้ อ งกั น ภั ย จากสั ต ว์ ร้ า ยนานา ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า ความมีเมตตา พาตนให้พ้นภัย ดังในเรื่องนี้ ที่พระศาสดากว่าจะทรงเอาชนะช้างนาฬาคิรี ก็ด้วยทรงเปล่งกระแสจิตที่เต็ม เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมเข้าสู่จิตใจของช้างนั้น ตัวเราเช่นกัน จะเป็นคนมีเสน่ห์น่าคบหา ก็เพราะมีเมตตาปรารถนาดี ต่อผู้อื่นเป็นพื้นฐาน คนมีเมตตาธรรมประจำ�ใจ เป็นผลให้ได้รับความรักใคร่ นับถือจากเพื่อนบ้าน จึงเหมือนป้อมปราการป้องกันภัยอันศักดิ์สิทธิ์ ทำ�ให้มี ชีวิตอยู่ในโลกอย่างไม่ว้าเหว่ “ความโกรธ เปรียบได้ดังไฟ เกิดขึ้นเมื่อไรความร้อนเกิดขึ้นทันที ไม่ได้ร้อนเพียงที่ใจ แต่ยังร้อนไปถึงกายด้วย เมตตา เปรียบได้ดังน้ำ� น้ำ�ดับไฟได้ ฉันใด เมตตา ก็ดับไฟที่เกิดจากโทสะได้ ฉันนั้น”
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 16
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผูเ้ ป็นจอมมุนี ทรงชนะองคุลมิ าลโจร ทารุณร้ายกาจนัก ทั้งฝีมือเยี่ยม ควงดาบไล่ตามพระองค์ไปตลอดทาง ๓ โยชน์ ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน.
บทที่ ๔ พระพุทธเจ้าทรงชนะองคุลิมาลโจรด้วยทรงบันดาล อิทธิฤทธิ์ และคำ�สอนอันประทับจิตจนเขาคิดกลับใจ
สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้ได้ลาภผลเวลาทำ�มาค้าขาย สามารถ กลับใจผู้คิดร้ายให้หันมาเป็นมิตรกัน ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า คนเคยทำ�ผิด แต่คิดกลับใจได้ นับว่าเป็นยอดคน ดังเรื่องนี้ที่พระพุทธองค์ทรงบันดาล อิทธิฤทธิ์ให้โจรองคุลิมาลให้ไล่ไม่ทันจนเหนื่อยอ่อน จึงสอนเขาด้วยถ้อยคำ� ประทับจิตว่า “เราหยุดแล้วจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่ท่านสิยังไม่หยุด” เหตุการณ์ร้ายๆ ที่ผุดขึ้นในชีวิตบางอย่างนั้น เราอาจต้องหนีตั้งหลัก ก่อน ไม่ได้เป็นการหนีปัญหา เช่น ถ้าเจอคนที่กำ�ลังโมโหร้ายถ้าจะสอนเขา ในตอนนั้น ก็คงไม่รับฟังเหตุผล หนีห่างออกมาก่อนให้เขาอารมณ์เย็นลง ก็คงจะพูดกันด้วยเหตุด้วยผลได้แน่แท้ “กลักฝิ่นที่เอามาสร้างพระเศรษฐมุนี ยังศักดิ์สิทธิ์ได้ จอมโจรองคุลิมาลมาบวชเป็นพระยังศักดิ์สิทธิ์ได้ คนที่เคยทำ�ผิด ทำ�ชั่วช้าใดๆ ก็ตาม ถ้ากลับตัวกลับใจได้ ก็จะสว่างไสว เชิดหน้าชูตาในสังคมโลกได้อย่างแน่นอน”
พระราชวิจิตรปฏิภาณ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 17
๕. กัต๎วานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผูเ้ ป็นจอมมุนี ทรงชนะนางจิญจมาณวิกา ทีท่ �ำ มารยาเสแสร้งกล่าวโทษพระองค์ โดยผูกท่อนไม้กลมแนบเข้ากับท้อง ทำ�เป็นท้องแก่ ด้วยสมาธิวิธีในท่ามกลางที่ประชุมชนนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน.
บทที่ ๕ พระพุทธองค์ ทรงชนะนางจิญจมาณวิกา ด้วยใช้ความสงบนิง่
สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้ชนะคนใส่รา้ ยป้ายสีทงั้ ทีเ่ ราไม่มคี วามผิด ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า ในบางครั้งความนิ่งสงบ ก็ช่วยสยบคำ�ใส่ร้ายนินทา ดังทีน่ างจิญจมาณวิกา กล่าวหาว่าตัง้ ท้องกับพระพุทธองค์ ถ้าเป็นเราอาจเกิด การโต้เถียงกันทันทีว่าไม่เป็นความจริง แต่พระองค์ทรงใช้ความนิ่งไม่ตอบโต้ จนสุดท้ายความจริงก็ปรากฏ ดังนั้น ในเรื่องบางเรื่อง การพูดจาโต้ตอบกันไปมา ก็เป็นการต่อ ความยาวสาวความยืด เหมือนเอาน้ำ�คลำ�มาสาดกันก็แปดเปื้อนด้วยกัน ทั้งสองฝ่าย ถ้ามั่นใจความบริสุทธิ์ของตน การนิ่ง ก็มีผลให้พ้นผิดได้เช่นกัน “สรีระของพระพุทธเจ้าเมื่อปรินิพพานแล้วเผาไหม้ แต่ความดี และชื่อเสียงไม่ได้ไหม้ตาม เราก็เหมือนกัน ถ้ามีศีล ใครจะเผาเราอย่างไรก็ไม่ไหม้ ขอให้มีศีลอย่างมีสัตย์ คือ มีศีลจริงๆ เผาอย่างไรก็ไม่ไหม้”
พระราชวิจิตรปฏิภาณ 18
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ผู้รุ่งเรืองด้วย ดวงประทีปคือ พระปัญญาคุณ ทรงชนะสัจจกนิครนถ์ ผู้มีนิสัยตลบตะแลง มี สันดานโอ้อวดมืดมน ด้วยพระปัญญาดุจประทีปอันโชติช่วงนั้น ขอชัยมงคล ทั้งหลายจงมีแก่ท่าน.
บทที่ ๖ พระพุทธองค์ทรงชนะสัจจกนิครนถ์ด้วยพระปัญญาคุณ
สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ช่วยเวลาพูดจาปราศรัยอะไร คนให้ความเชือ่ ถือ ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า อย่าอวดดื้อถือดี ว่าตนมีปัญญามากกว่าใคร เพราะ ในบทนี้กล่าวถึงเรื่องสัจจกนิครนถ์ที่อวดดื้อถือดีว่าตนมีความรู้กว่าใคร จึงท้า แข่งปัญญาคนอืน่ ไปทัว่ สุดท้ายก็พา่ ยแพ้พระปัญญาคุณของพระพุทธองค์ ทีท่ รง ตอบปัญหาเขาได้ทงั้ หมด ลดความพยศในวิชาความรูข้ องเขาลงอย่างง่ายดาย และคนฉลาดที่แท้จริงนั้น เขาจะไม่คุยโตโอ้อวดตน แต่คนที่โง่นั้น มักอวดรู้ชูหางตน เหมือนปูที่ชอบอวดเบ่งชูก้าม ทำ�ให้ตนตกไปในหลุมพราง ของความเห็นผิดว่าตนวิเศษวิโสกว่าผู้อื่น “ปัญญาที่จะต้องนำ�ไปใช้ในชีวิต คือ ปัญญาที่สามารถช่วยตนได้ ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแก่ชีวิต ถ้าช่วยตนไม่ได้ ก็จะเข้าลักษณะว่า ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด ฉะนั้น ปัญญาสำ�หรับการดำ�เนินชีวิต จึงต้องเป็นปัญญาประยุกต์ คือ ใช้ได้พอเหมาะแก่ตนเองและสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย”
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 19
๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนี โปรดให้ท่านพระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส เนรมิตกายเป็นนาคราชทรมานนันโทปนันทนาคราช ผูม้ ฤี ทธิม์ าก แต่มคี วามรูผ้ ดิ ด้วยวิธแี สดงอุปเท่หแ์ ห่งฤทธิน์ นั้ ขอชัยมงคลทัง้ หลาย จงมีแก่ท่าน.
บทที่ ๗ พระพุทธองค์ทรงชนะนันโทปนันทนาคราช ด้วยโปรด ให้พระมหาโมคคัลลานะไปปราบพยศ สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้พ้นจากการถูกวางยาหรืออสรพิษฉกกัด ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า ศาสตร์และศิลป์ของการบริหาร คือ ใช้งานให้เหมาะ กับคน ดังบทนี้ที่พระพุทธองค์ เมื่อจะทรงปราบพยศนันโทปนันทนาคราช จึงโปรดให้พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย ซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มาก บันดาล อิทธิฤทธิ์เนรมิตกายให้ใหญ่กว่า กระหวัดรัดรึงทรมานกำ�ราบพญานาคจนยอมแพ้ ดังนั้น ใครที่มักคิดว่าตนแน่ ตนเก่งคนเดียว ไม่มีใครเทียมทัน โดยเฉพาะ ท่านผู้นำ�คน ลองนึกถึงเรื่องนี้ อาจทำ�ให้เปลี่ยนแนวคิดใหม่ จะได้ยอมรับใน ความสามารถของคนอื่นมากขึ้น “คนทุกคนอยากเป็นผู้น� ำ และผู้นำ�ก็มีความจำ�เป็น ขนาดสัตว์ยังมีผู้น� ำ ที่เรียกว่า จ่าฝูง ผู้นำ�ที่ดี ต้องมีพื้นฐานความเป็นผู้นำ� ๓ ประการ คือ ๑) เป็นหัวหน้า ด้วยความกล้าเสียสละ ๒) เป็นหัวคิด ด้วยความรู้ ๓) เป็นหัวใจ ด้วยศีลธรรม ถ้าทำ�ได้ดังนี้ ท่านก็มีโอกาสได้เป็นหัวหน้าคน”
พระราชวิจิตรปฏิภาณ 20
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
๘. ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พ๎รัห๎มัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ. ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ได้ทรงชนะ ท้าวพกพรหม ผู้มีฤทธิ์มีความสำ�คัญตนผิด ว่าเป็นผู้มีฤทธิ์ รุ่งเรืองด้วยวิสุทธิคุณ ถือมั่นด้วยมิจฉาทิฐิ เหมือนดังถูกงูร้ายกำ�ลังตรึงไว้แน่นแฟ้น ด้วยวิธีประทานยา พิเศษ คือ เทศนาญาณ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน.
บทที่ ๘ พระพุทธองค์ทรงชนะท้าวพกพรหม ด้วยวิธีชี้แจง ให้เห็นตามเป็นจริง สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้ชนะศัตรูหมู่พาลที่จะมาสร้าง ความเดือดร้อนให้ ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า ทุกข์มีเพราะคิดผิด ไม่เปลี่ยน วิธีคิด ชีวิตก็ไม่สิ้นทุกข์ ดังพกพรหมเห็นผิดคิดว่า ทุกสิ่งมีตัวตนยั่งยืน พระพุทธองค์ทรงชีแ้ จงว่า สรรพสิง่ ในโลกตกอยูภ่ ายใต้ความไม่เทีย่ ง, เป็นทุกข์, ไม่มีตัวตน จนท้าวเธอเข้าใจคลายจากความเห็นผิดนั้นได้ จะเห็นว่า คนส่วนใหญ่ทย่ี งั เป็นทุกข์ ก็ดว้ ยยังมีความเห็นผิด โดยเฉพาะ ยึดมัน่ ถือมัน่ ในความเป็นตัวกู ของกู ดังนัน้ ไม่อยากทุกข์กอ็ ย่าไปยึดมัน่ ถือมัน่ ที่เคยยึดถือก็ให้หัดปล่อยวางลงบ้าง ความทุกข์จะได้จางหายไปจากชีวิต “ชีวติ ฆราวาสเป็นทางมาแห่งความทุกข์ ทางมาแห่งความยึดมัน่ ถือมัน่ ธรรมที่เป็นเครื่องคุ้มครอง ไม่มีอะไรดีไปกว่าเรื่องสุญญตา แม้มันจะมีมากอย่างมากเรื่อง ก็มาสรุปรวมอยู่ที่ค�ำ ๆ เดียวนี้ว่า สุญญตา ธรรมที่แสดงถึงเรื่องความปราศจากตัวกู ของกู”
หลวงปู่พุทธทาสภิกขุ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 21
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิต๎วานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ.
นรชนใดไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถา เหล่านี้ทุกวัน นรชนนั้นพึงละเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายมีประการต่างๆ ถึงซึ่งวิโมกข์ สิวาลัย อันเป็นบรมสุขแล.
การสวดสรรเสริญพระพุทธองค์ ที่ทรงมีชัยต่อผู้เข้ามาผจญทั้ง ๘ ครั้ง ด้วยวิธแี ตกต่างกันไป ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้ผสู้ วดผ่านพ้นอุปสรรคข้อขัดข้อง จะทำ�อะไรก็สำ�เร็จดังปรารถนา ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า ในชีวิตเราก็ต้อง มีมารผจญบ้างเป็นธรรมดา อาจมีทงั้ มารภายนอก เช่น ถูกอิจฉา เป็นต้น หรือ มารภายใน คือ กิเลสที่คอยชักนำ�ใจใฝ่ต่ำ�ทำ�สิ่งที่ชั่วช้า ถ้าว่าถึงวิธีป้องกัน มารภายนอกป้องกันง่ายเพราะเห็นตัวกันอยู่ แต่มารภายใน ต้องอาศัยธรรม โอสถของพระพุทธเจ้าเข้าไปป้องกันแก้ไข
บทชัยปริตร (มหากา) มะหาการุณิโก นาโถ, พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา; หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรต๎วา ปาระมี สัพพา, ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย; ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง, ถึงแล้วซึ่งความตรัสรู้อันอุดม; เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, ด้วยการกล่าวคำ�สัตย์นี้; โหตุ เต ชะยะมังคะลัง. ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน. ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก๎ยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ต๎วัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล 22
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ. ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในมงคลพิธี เหมือนพระจอมมุนีทรงชนะมาร ที่โคนโพธิพฤกษ์ ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก ทรงปราโมทย์ อยู่บนอปราชิตบัลลังก์ อันสูงเป็นจอมมหาปฐพี ทรงเพิ่มพูนความยินดี แก่เหล่าพระประยูรญาติศากยวงศ์ ฉะนั้น. สุนักขัตตัง สุมังคะลัง, เวลาทีส่ ตั ว์ประพฤติชอบ ชือ่ ว่า ฤกษ์ดี มงคลดี; สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง, สว่างดี รุ่งดี; สุขะโณ สุมุหุตโต จะ, และขณะดี ครู่ดี; สุยิฏฐัง พ๎รัห๎มะจาริสุ, บูชาดีแล้วในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย; ปะทักขิณัง กายะกัมมัง, กายกรรม เป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา; วาจากัมมัง ปะทักขิณัง, วจีกรรม เป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา; ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง, มโนกรรม เป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา; ปะณิธี เต ปะทักขิณา, ความปรารถนาของท่าน เป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา; ปะทักขิณานิ กัต๎วานะ, สัตว์ทั้งหลายทำ�กรรมอันเป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวาแล้ว; ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ. ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย อันเป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา. สวดบทชัยปริตร ได้ผลบุญ คือ ช่วยให้มคี วามสุขความเจริญในชีวติ ครอบครัว ความสำ�เร็จกิจการงานที่ท�ำ ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า ความสำ�เร็จมีได้ ด้วยอาศัย ความเพียร ดังพระพุทธองค์ กว่าจะตรัสรูต้ อ้ งเพียรสัง่ สมบารมีมานับไม่ถว้ น ตัวเรา จะประสบความสำ�เร็จ ก็ต้องอาศัยความเพียร ชะตาชีวิตจึงอยู่ในมือเราเอง หมายเหตุ : คำ�ทีข่ ดี เส้นใต้ นิยมว่าถ้าสวดให้ตนเอง เปลีย่ นเป็น อะหัง วิชะโย โหมิ ชะยามิ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 23
สัพพมงคลคาถา ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธานุภาเวนะ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะธัมมานุภาเวนะ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะสังฆานุภาเวนะ
รักขันตุ สัพพะเทวะตา สะทา โสตถี ภะวันตุ เต. รักขันตุ สัพพะเทวะตา สะทา โสตถี ภะวันตุ เต. รักขันตุ สัพพะเทวะตา สะทา โสตถี ภะวันตุ เต.
ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทวดาจงรักษาท่าน ด้วยอานุภาพแห่ง พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ. หมายเหตุ : คำ�ทีข่ ดี เส้นใต้ นิยมว่าถ้าสวดให้ตนเอง เปลีย่ น เต เป็น เม (แก่ขา้ พเจ้า) ทุกแห่ง
สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ทำ�ให้ปราศจากสรรพเคราะห์เสนียดจัญไร มี ความปลอดภัยในชีวิต ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า ความรุ่งเรืองชีวิตจักเกิดมี ถ้ารู้วิธีสร้างมงคล คำ�ว่า มงคล แปลว่า สิ่งที่นำ�ความเจริญมาให้ มงคลใน พระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยตัวผู้ต้องการมงคลในเรื่องนั้นๆ สร้างให้กับ ตัวเอง เช่น ต้องการมีฐานะดี ก็ให้สร้างตนด้วยมงคลธรรมที่เรียกว่า คาถา หัวใจเศรษฐี คือ ขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร เลี้ยงชีวิตเหมาะสม เป็นต้น
บทอิติปิ โส เท่าอายุ + ๑
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.
บทนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ แนะนำ�ให้สวดเกินอายุปัจจุบันของตน อย่างน้อย ๑ จบ ท่านให้เหตุผลว่า “ที่ว่าให้สวดเท่าอายุนี่ หมายความว่า อายุเท่าไร เช่น อายุ ๒๐ ปี ถ้าสวด แค่ ๑๐ จบ มันก็ไม่ครบเท่าอายุ สวดไปนี่ให้มันเท่าอายุก่อนนะ มันจะคุมให้มีสติ แล้วก็เกินหนึง่ เพราะอะไร ทีส่ วดเกินหนึง่ นี่ หมายความว่า คนเรามีเวลาน้อย ถ้าสวดเกินแค่หนึ่งมันพอทำ�ได้ และทำ�อะไรให้มันเกินเข้าไว้ จะได้ไม่ขัดสน” 24
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
สวดชินบัญชรคาถา บุญกุศลนำ�พาให้พบสุขสม
พระพุทธมนต์ทุกบทนั้น มีความงามในเบื้องต้น ด้วยส่งเสริมผู้สวด ให้มีศีล, งามในท่ามกลาง ด้วยยังบุคคลผู้สวดให้เกิดสมาธิ, งามในที่สุด ด้วยเป็นตัวจุดประกายแสงแห่งปัญญาให้ผสู้ วดได้ หากเข้าใจในความหมาย ในบทสวดนัน้ จึงบันดาลผลเป็นความสุขน้อยบ้าง มากบ้าง จนถึงระดับสูงสุด คือ หลุดพ้นจากกิเลสกองทุกข์ ตามควรแก่สติปัญญา และการปฏิบัติ บทนี้ ได้น�ำ พระคาถาชินบัญชร ทีเ่ จ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รจนาไว้ มาแนะให้สวด เพื่อสร้างเกราะป้องกันใจให้ ยึดมั่นในกรรมดี คำ�ว่า ชินบัญชร แปลว่า กรง หรือเกราะป้องกันภัยของพระชินสีห์ คือพระพุทธเจ้า เนื่องจากเนื้อหาสาระในบทสวด เป็นการสวดอัญเชิญ พระพุทธเจ้าผูท้ รงพระคุณอันประเสริฐทัง้ ๒๘ พระองค์ พระอรหันตสาวก ๘๐ รูป รวมถึงพระสูตรต่างๆ ทีม่ คี วามศักดิส์ ทิ ธิ์ มาสถิตในทุกส่วนร่างกาย ของผู้สวด เพื่อเป็นเกราะป้องกันภยันตรายมิให้เข้ากล้ำ�กรายได้ ดังนั้น โปรดจำ�ไว้ว่า อานุภาพแห่งความดีเท่านั้น เป็นมนต์ที่ดีที่สุด ที่จะคุ้มครองป้องกันเราไม่ให้ตกไปสู่ที่ชั่วทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และ สิรมิ งคล คือ ความดีงามต่างๆ นัน้ จะเกิดมีแก่บคุ คลผูป้ ระกอบแต่กรรมดี เท่านั้น เพราะแม้จะสวดพระคาถาชินบัญชรสักกี่จบก็ตาม แต่ยังทำ�สิ่ง ไม่ดีอยู่ ไม่อาจจะได้รับความคุ้มครองป้องกันจากบทสวดแม้แต่น้อย บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 25
บทสวดนำ� (๑) ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง อัตถิ กาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา. ผู้ปรารถนาบุตร พึงได้บุตร ผู้ปรารถนาทรัพย์ พึงได้ทรัพย์ บัณฑิตได้ฟัง มาว่า ความเป็นที่รัก ที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ มีอยู่ในกาย (เรา) เพราะ รู้ได้ด้วยกาย. (๒) อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสะวัณโณ มะระณัง สุขงั อะระหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ. (๓) โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตละจิตตัง นะมามิหัง. พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงยังสัตว์ให้แช่มชืน่ ด้วยธรรม ทรงก่อความยินดี ในพระนิพพาน อันเป็นฐานที่ควรยินดีให้เกิดมีแก่สัตว์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอ นอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระจิตเที่ยงตรง. หมายเหตุ : ที่ขีดเส้นใต้ บางฉบับเป็น โตสะจิตตัง ในที่นี้ยึดต้นฉบับจากคาถา อิติปิโส รัตนมาลา (๑) สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ทำ�ให้สมปรารถนาในสิ่งที่ประสงค์ เช่น ลาภผล คนที่มีบุตรยากก็จะได้บุตร ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า ถ้าเรามีความดีอยู่ ในตัว ย่อมเป็นที่รักของคนทั่วไป แม้เทวดาก็ให้ความเมตตาคุ้มครอง (๒) สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ไม่หลงสติเวลาจะสิ้นใจ ทำ�ให้มีสุคติเป็นที่ ไปเกิดในสัมปรายภพ ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า มีความเคารพต่อพระพุทธเจ้า จะ ทำ�ให้ท�ำ แต่กรรมดี (๓) สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ มีคุณพระคุณเจ้าช่วยปกปักรักษาคุ้มครอง ป้องกันภัย ได้กุศล คือ คนที่มีจิตเที่ยงตรงด้วยไม่มีอคติ คือ ความลำ�เอียง นั้น ย่อมไม่มีอันตรายจากที่ไหนๆ เพราะใครๆ ก็ให้ความนับถือ 26
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
พระคาถาชินบัญชร ๑. ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา. พระพุทธเจ้าผู้องอาจในหมู่ชน ประทับ ณ ชัยอาสน์บัลลังก์ ทรงชนะ พญามาร ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนามารแล้ว เสวยอมตรส คือ อริยสัจ ๔ ประการ อันทำ�ให้ผู้รู้แจ้งข้ามพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เป็นผู้องอาจได้. ๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา. ขออัญเชิญพระพุทธเจ้า ผู้ทรงทำ�สัตว์โลกให้ข้ามพ้นกิเลส และกองทุกข์ ทั้ง ๒๘ พระองค์ มีพระนามว่าพระตัณหังกรพุทธเจ้า เป็นต้น มาประดิษฐาน บนกลางกระหม่อมของข้าพเจ้า.
บทที่ ๑-๒ อัญเชิญพระพุทธเจ้าทัง้ ๒๘ พระองค์ มาประดิษฐานบน กระหม่อม กระหม่อม เป็นอวัยวะสูงสุดของร่างกาย เป็นเสมือนทีต่ งั้ เป้าหมาย
แห่งชีวิต ฉันใด พระพุทธเจ้า ทรงเป็นที่พึ่งทางใจสูงสุดของชาวพุทธ ฉันนั้น สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ทำ�ให้สำ�เร็จความปรารถนาในสิ่งที่ชอบ ประกอบด้วยธรรม ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า ถ้าใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางปฏิบัติ ย่อมบรรลุเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิตได้ เพราะ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงเป็นพระโลกวิทู คือ ทรงเป็นผู้รู้แจ้งในโลก จึงสามารถแนะให้ถึงประโยชน์สุขทั้งในโลกนี้ โลกหน้า ตลอดถึงประโยชน์ อย่างยิ่งคือมรรคผลนิพพาน การจะได้รับประโยชน์ระดับใด ก็ขึ้นอยู่ที่ท่าน ทั้งหลายได้น้อมนำ�หลักธรรมคำ�สอนมาปฏิบัติตามนั่นเอง บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 27
๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร. ขออัญเชิญ พระพุทธคุณ มาประดิษฐานบนศีรษะ พระธรรม มาสถิตที่ ดวงตา พระสงฆ์ ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งความดี มาสถิตที่หน้าอก. ๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัส๎มิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก. ขออัญเชิญ พระอนุรุทธะอยู่ที่หัวใจ พระสารีบุตรอยู่กายเบื้องขวา พระโมคคัลลานะอยู่กายเบื้องซ้าย พระโกณฑัญญะอยู่กายเบื้องหลัง.
บทที่ ๓ อั ญ เชิ ญ คุ ณ พระพุ ท ธเจ้ า มาประดิ ษ ฐานบนศี ร ษะ, พระธรรม ที่ดวงตา, พระสงฆ์ที่หน้าอก ศีรษะ เป็นที่อยู่ของสมองจึงเป็นศูนย์กลางวางแผนชีวิต, ตา เป็นอวัยวะ สำ�หรับใช้ดูให้รู้แจ้งเห็นจริง, อก เป็นอวัยวะบ่งถึงสิ่งที่เป็นตัวเรา บทนี้ ได้ผลบุญ คือ ทำ�ให้สติสัมปชัญญะตั้งมั่นดี มีวิสัยทัศน์กว้างไกล จะทำ�อะไรก็รู้ประมาณตน ได้กุศล คือ มีความรู้ว่า คนที่ประสบความสำ�เร็จนั้น เบื้องต้นต้องมีหัวคิดในการ วางแผนงาน มีสายตาที่อ่านขาด และรู้กำ�ลังความสามารถของตนเอง
บทที่ ๔ อัญเชิญคุณสมบัติของพระเถระ ๔ องค์ มาสถิตที่หัวใจ กายข้าง ขวา กายข้างซ้าย และกายข้างหลัง สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ขวัญกำ�ลังใจดีเวลามีภัย ปัญญาผ่องใส ผู้ใหญ่ ให้การสนับสนุน ได้กุศล คือ ถ้าอัญเชิญคุณสมบัติ เช่น ความตริตรองธรรม ของพระอนุรุทธะ สถิตที่หัวใจ จะรู้ว่าทำ�อะไรต้องพิจารณาให้ดีก่อน, ความมี ปัญญาของพระสารีบุตร สถิตกายข้างขวา จะรู้ว่า ถ้าใช้สตินำ� ปัญญาตาม ทำ�อะไรก็ไม่ผิดพลาด, ความเป็นผู้มีประสบการณ์ของพระอัญญาโกณฑัญญะ สถิ ต กายข้ า งหลั ง ได้ รู้ ว่ า ครู ที่ ยิ่ ง ใหญ่ คื อ ประสบการณ์ ใ นชี วิ ต เราเอง, ความมีฤทธิ์มากของพระโมคคัลลานะ สถิตกายข้างซ้าย จะรู้ว่า ฤทธิ์อะไรก็ไม่สู้ ฤทธิ์แห่งความดี 28
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด
๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก. ขอพระอานนท์ พระราหุล สถิตที่หูขวา, พระมหากัสสปะ พระมหานามะ สถิตที่หูซ้าย. ๖. เกสันเต ปิฏฐิภาคัส๎มิง สุริโยวะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิ ปุงคะโว. ขอพระโสภิ ต ะ ผู้ เ ป็ น มุ นี ที่ แ กล้ ว กล้ า ถึ ง พร้ อ มด้ ว ยสิ ริ อั น เรื อ งรอง ดังพระอาทิตย์ทอแสง มาสถิตที่เส้นผมข้าพเจ้าทั้งข้างหน้าข้างหลัง.
บทที่ ๕ อัญเชิญคุณสมบัติของพระเถระ ๔ มาสถิตที่หูทั้งสองข้าง
สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ทำ�ให้เป็นคนหนักแน่น ไม่หลงเชื่ออะไรง่าย เรียนรู้อะไรได้เร็ว ความจำ �ดีเยี่ยม ได้กุศล คือ ถ้าอัญเชิญคุณสมบัติ เช่น ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมามากของพระอานนท์ และความเป็นผู้สนใจ ศึกษาของพระราหุล สถิตที่หูขวา, ความมักน้อยสันโดษของพระมหากัสสปะ และความเป็นผู้ฟังเรื่องยากให้เป็นง่ายของพระมหานามะ สถิต ที่หูซ้าย จะทำ�ให้ได้รู้ว่า เมื่อฟังเรื่องใดหากยังมิได้พิจารณา ให้ฟังหู ไว้หู เพราะเมื่อเราอยู่ในสังคม ต้องได้ยินทั้งเสียงนินทา สรรเสริญ หากไม่มีสติใน การรับฟังก็ท�ำ ให้เสียคนได้
บทที่ ๖ อัญเชิญคุณสมบัติของพระโสภิตเถระ มาสถิตที่เส้นผม
สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ทำ�ให้มีความองอาจผ่าเผย มีสง่าราศรี ในท่ามกลางหมู่ชน ได้กุศล คือ ถ้าอัญเชิญคุณสมบัติ เช่น ความเป็นเลิศ ในทางระลึกชาติของพระโสภิตะมาสถิตไว้ ทำ�ให้รู้ว่า อยากมีชีวิตสดใส อย่าได้เป็นคนลืมตัว โดยสำ�รวจการทำ� พูด คิด ของเราในชีวิตที่ผ่านมา ว่าถูกหรือผิดอย่างไร การสำ�รวจตรวจสอบคุณภาพชีวิตของตนอย่างนี้ เรียก ได้ว่า เป็นการระลึกชาติปัจจุบันของตน จะเกิดผลให้เราเป็นคนไม่ลืมตัว บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 29
๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร. ขอพระกุมารกัสสปเถระ ผู้แสวงบุญอันยิ่งใหญ่ ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดี มีวาทะไพเราะชวนฟัง มาสถิตที่ปากของข้าพเจ้าเนืองนิตย์. ๘. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ. ขอพระเถระทั้ง ๕ รูป คือ พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี พระสีวลี พระนันทะ จงปรากฏเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผากของข้าพเจ้า.
บทที่ ๗ อัญเชิญคุณสมบัติของพระกุมารกัสสปเถระ มาสถิตที่ปาก
สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ มีวาทศิลป์เป็นเลิศ พูดอะไรมีคนยอมรับ นับถือ ได้กุศล คือ ถ้าอัญเชิญคุณสมบัติ เช่น ความเป็นเลิศด้านกล่าวคำ� อันวิจิตรของพระกุมารกัสสปะ มาสถิตไว้ ทำ�ให้รู้ว่า พูดดีได้ พูดร้ายเสีย เพราะปาก แม้มีอันเดียวแต่ท�ำ หน้าที่ ๒ อย่าง คือ กินกับพูด โดยเฉพาะเรื่อง การพูด ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น จึงต้องระมัดระวังในการใช้คำ�พูดจา อย่าให้ไประรานใคร
บทที่ ๘ อัญเชิญคุณสมบัติของพระเถระ ๕ องค์ มาสถิตที่หน้าผาก
สวดบทนี้ ได้ผลบุญ คือ ทำ�ให้เป็นคนมีเสน่หน์ า่ คบหา เป็นทีต่ อ้ งตาของ ผูพ้ บเห็น ได้กศุ ล คือ ถ้าอัญเชิญคุณสมบัติ เช่น ความเป็นเลิศด้านการแสดงธรรม ของพระปุณณะ, ความรูจ้ กั กลับเนือ้ กลับตัวของพระองคุลมิ าล, ความเคร่งครัด ในวินยั ของพระอุบาลี, ความมีลาภมากของพระสีวลี, ความสำ�รวมอินทรียข์ อง พระนันทะ มาสถิตไว้ ทำ�ให้ได้รู้ว่า อยากมีเสน่ห์น่ารักใคร่ จงเก็บน้ำ�ขุ่นไว้ใน น้ำ�ใสไว้นอก เรียกว่า เก็บอาการเก่ง เพราะคนที่แม้จะมีเรื่องราวทำ�ให้ ไม่สบายใจ แต่ก็ยังแสดงสีหน้าที่ยิ้มแย้มไว้ได้ ใครเห็นก็อยากจะเข้าใกล้ 30
สวดมนต์อย่างไร ให้ได้บุญกุศลสูงสุด