อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม

Page 1


อำนาจแห่งกรรมนั้น สั้นๆ ง่ายๆ ไม่สับสนวุ่นวาย เพราะมีกฎตายตัวว่า ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว ตัวผู้ใดทำกรรมไว้ ตัวผู้นั้นจึงไม่อาจหนีพ้น รวบรวม : ไพยนต์ กาสี (น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ., น.บ.) บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์, ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง, ศิลปะรูปเล่ม : ผุดผ่อง มุงคุณคำชาว



คำปรารภ คำสอนสำคั ญ เรื่ อ งหนึ่ ง ในพระพุ ท ธศาสนา ก็ คื อ เรื่ อ ง ว่าด้วย กฎแห่งกรรม ความเข้าใจเรือ่ งกรรม จะทำให้คนเราไม่นอ้ ยใจ ในโชคชะตาชีวิตของตน และจะไม่เป็นคนอิจฉาริษยาในความสำเร็จ ของผู้อื่น เพราะมีพื้นความรู้ความเข้าใจดีว่า การที่ชีวิตประสบกับ คำนินทา สรรเสริญ ความสุข ทุกข์ เจริญรุง่ เรือง ล้มเหลว เป็นต้น นั่ น เป็ น เพราะผลกรรมของแต่ ล ะคนที่ ท ำมาในอดี ต ชาติ แ ละ ปัจจุบันชาติ หนังสือ “อำนาจอันยิง่ ใหญ่แห่งกรรม” เป็นบทพระนิพนธ์ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยสำนักพิมพ์เลีย่ งเชียง เพียรเพือ่ พุทธศาสน์ จัดพิมพ์ ในวโรกาสทีเ่ จ้าประคุณสมเด็จฯ เจริญพระชนมพรรษาครบ ๘ รอบ ๙๖ พรรษา วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ด้วยหวังจะร่วมสนอง พระคุณเทิดพระเกียรติในความเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ของพระองค์ท่าน ให้ปรากฏเป็นเกียรติยศไพศาลสืบต่อไป หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้อ่าน บทพระนิพนธ์เล่มนี้แล้ว จักแคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตราย ในชี วิ ต ด้ ว ยนำพระลิ ขิ ต ที่ ท รงนิ พ นธ์ ไ ว้ ไ ปเป็ น แนวทางในการ ปฏิบัติตน จนเกิดผลเป็นการหลุดพ้นจากบ่วงกรรมเวรได้ในที่สุด ด้วยศรัทธาและปรารถนาให้ทุกท่านหมดกิเลสสิ้นเชิง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


บอกกล่าวก่อนเข้าเรื่อง คำว่า กรรม ที่แปลว่า การกระทำ นั้น เป็นคำกลางๆ ยังไม่ระบุหรือชี้ชัดลงไปว่าเป็นการกระทำที่ดีหรือชั่ว ต่อเมื่อ เติมคำบริบทลงไปจึงจะรู้ได้ เช่น กุศลกรรม แปลว่า กรรมดี คือการกระทำที่ดี หรือ อกุศลกรรม แปลว่า กรรมชั่ว คือ การกระทำที่ไม่ดี

พระพุทธองค์ได้ตรัสภาษิตรับรองเรื่องกรรม และการให้ผล ของกรรมไว้ว่า “กมฺมํ สตฺเต วิภชติ หีนปฺปณีตตาย” แปลโดย ความว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดีหรือเลวแตกต่างกัน จากพุ ท ธภาษิ ต ข้ า งต้ น จะเห็ น ว่ า ทุ ก ชี วิ ต ล้ ว นเป็ น ไปตาม อำนาจอันยิ่งใหญ่ของกรรม เพราะกรรมสามารถลิขิตให้ชีวิตดีขึ้น หรือเลวลงได้ แต่พระพุทธศาสนามิได้สอนให้คนยอมจำนนต่อกรรม คือ ไม่ได้สอนให้งอมืองอเท้ารอรับผลกรรมที่กำลังประสบอยู่ กลับ สอนให้รู้ทันกรรม ควรวางตัวอย่างไรไม่ให้ทุกข์เมื่อต้องรับผลของ บาปกรรม และไม่ให้ประมาททุกการกระทำ ทั้งดีและชั่ว หนั ง สื อ “อำนาจอั น ยิ่ ง ใหญ่ แ ห่ ง กรรม” เล่ ม นี้ เป็ น พระนิ พ นธ์ ใ น สมเด็ จ พระญาณสั ง วร สมเด็ จ พระสั ง ฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยพระองค์ทรงอธิบายขยายความไว้ อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้นำข้อคิดใน บทพระนิพนธ์ไปเป็นหลักประพฤติปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ทั้งจักได้มีความ ระมัดระวังในการกระทำของตน ดังความตอนหนึง่ ของบทพระนิพนธ์วา่


“คนและสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ นานา ทุกข์ก็มี สุขก็มี ดีก็มี ชั่วก็มี มิได้เกิดแต่อะไรอื่น นอกจากกรรมที่ตน ทำแล้วนั้น... แต่ความที่ไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ประกอบกับ ความที่ไม่เข้าใจเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม ทำให้ คนส่ ว นมากไม่ ก ลั ว การเกิ ด ใหม่ ที่ จ ะนำไปสู่ ส ภาพที่ น่ า สะพรึงกลัวยิ่งนัก” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง โดยผู้รวบรวมได้จัดทำหัวข้อย่อย ซอย ย่อหน้าใหม่ ให้สารธรรมที่นำมาจากพระไตรปิฎก หยิบยกจาก ความเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธองค์มาเสริมลงเป็นเชิงอรรถ ในแต่ละหน้า เพื่อประหยัดเวลาของท่านผู้ต้องการความรู้เสริม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พระวรคติธรรมที่สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงพระนิพนธ์ประทานไว้นี้ จักเป็นแสงสว่างทางปัญญานำพาท่าน ผู้อ่านให้ตั้งมั่นอยู่ในกรรมดีทั้งทางกาย วาจา และใจตลอดไป

¢Í¾ÃÐÊÑ·¸ÃÃÁ´ÓçÍÂÙ‹ 㹴ǧ¨Ôµ¢Í§·Ø¡·‹Ò¹ µÅÍ´¡ÒŹҹ

รวบรวมในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง


สารบัญ อำนาจกรรม ทำให้คนมีอำนาจดีหรือชั่ว.................................................... ๘ สัตว์โลกเป็นไปตามอำนาจกรรม............................................................. ๑๐ ไม่เห็นด้วยตา พาให้ไม่กลัวกรรม............................................................. ๑๒ กรรมสงสัยได้ แต่ใจต้องกลัวจริง............................................................. ๑๔ กรรมที่ทำลงไป ส่งผลให้อย่างแน่นอน..................................................... ๑๖ กรรมให้ผลตรงตามเหตุ........................................................................... ๑๘ มีโอกาสพ้นกรรมได้ ถ้าใช้ปัญญาไตร่ตรอง............................................... ๒๐ รักใคร ก็อย่าได้ทำความไม่ดีเลย.............................................................. ๒๒ ทำกรรมไม่ดี ผู้เป็นที่รักพลอยได้รับผลร้าย...............................................๒๔ เห็นผู้อื่นรับกรรม ต้องวางใจให้กลัวกรรม................................................ ๒๖ คิดให้ดี ผลกรรมนี้ไม่มีใครหนีพ้น............................................................. ๒๘ คุณและโทษของกรรมดี-ชั่วปรากฏตัวในการวางใจรับผล......................... ๓๐ วิธีวางใจในการรับผลของกรรมดี............................................................. ๓๒ วิธีวางใจในการรับผลของกรรมชั่ว........................................................... ๓๔ ไม่มีอำนาจใด ยิ่งใหญ่กว่าอำนาจกรรม................................................... ๓๖ คู่เวร คู่กรรม........................................................................................... ๓๘ กรรมที่ทำไป ยากแก้ไขให้กลับคืน........................................................... ๔๖ ทำกรรมไม่ดี เหมือนดื่มยาพิษร้ายทำลายตน........................................... ๔๘ อำนาจกรรมเป็นเช่นนี้ ผู้มีปัญญาจึงกลัวกรรม......................................... ๕๐ แม้ชีวิตในชาติปัจจุบัน ยังก่อกรรมกันมากมาย......................................... ๕๒ คิดเรื่องอดีตชาติ อาจทำให้กลัวกรรมยิ่งขึ้น..............................................๕๔ ทุกชีวิตล้วนมีกรรมติดตามมาให้ผล......................................................... ๕๖


บุญกรรมก้อนโต ตัด บาปกรรมก้อนเล็ก.................................................. ๕๘ ทุกชีวิตล้วนตกอยู่ในอุ้งมือกรรม.............................................................. ๖๐ มีมากกรรมดี ช่วยให้หนีพ้นมือกรรมร้าย.................................................. ๖๒ ให้อภัยไม่ผูกเวร เป็นวิธีตัดกรรม............................................................. ๖๔ กว่ามาเป็นเราวันนี้ ล้วนมีภพชาติมาในอดีต............................................ ๖๖ อยากรู้อดีตตน ต้องฝึกฝนให้มีญาณพิเศษ................................................ ๖๘ ทำกุศลมาแต่อดีต ชีวิตชาตินี้จึงมีบุญรักษา............................................. ๗๐ มือแห่งบุญหนุนให้สูง มือแห่งบาปสาปให้ต่ำ........................................... ๗๒ ชีวิตนี้น้อยนัก ผู้มีปัญญาควรหาวิธีหนีกรรม............................................. ๗๔ อุบายวิธีหนีกรรม.................................................................................... ๗๖ หมั่นทำใจให้คุ้นกับพระตลอดจะรอดพ้นบาปกรรม................................. ๗๘ ตั้งใจทำบุญอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร........................................................ ๘๐ ผลกรรมดีที่ใหญ่กว่าตัดผลกรรมไม่ดีได้ทันเวลา....................................... ๘๒ กรรมของคนหนึ่ง ผลจะไม่เกิดแก่อีกคนหนึ่ง............................................๘๔ จะอยู่เป็นสุขหรือทุกข์ร้อนก็เพราะกรรมที่ทำไว้....................................... ๘๖ กรรมเป็นไปตามอำนาจจิตใจ ฝึกสติไว้ ไม่ให้กิเลสชนะเหตุผล................. ๘๘ เชื่อเรื่องกรรม ต้องทำความเห็นให้ถูกให้ดี.............................................. ๙๐ ตัดสินใจเชื่อกรรม ทำให้ไม่กล้าทำชั่ว....................................................... ๙๒ ผลกรรมจะดี-ร้ายอยู่ที่การระวังใจเป็นสำคัญ........................................... ๙๔ ใจก็เหมือนกาย ต้องหมั่นใส่ปุ๋ยคุณธรรม.................................................. ๙๖ ใจอาบยาพิษร้าย ฆ่าคนให้ตายทั้งเป็น......................................................๙๘ อำนาจมโนกรรม ทำให้คนเกิดเป็นสัตว์................................................. ๑๐๐ กตัญญูกตเวทิตาธรรม มโนกรรมสำคัญยิ่ง............................................. ๑๐๒ ยังไม่สิ้นกิเลส ก็ยังไม่หมดเหตุรับผลกรรม............................................. ๑๐๔ ก่อนทำกรรมใดควรน้อมใจถึงพระพุทธเจ้า............................................ ๑๐๖ กฎแห่งกรรม ประสบการณ์จากชีวิตจริง............................................... ๑๐๘ สวดมนต์แก้กรรม................................................................................. ๑๑๒


อำนาจกรรมทำให้คนมีอำนาจดีหรือชั่ว คำว่ า “กรรม” ในพระพุ ท ธศาสนา เป็ น คำที่ มี ความหมายเป็นกลาง ๑ หมายถึง การกระทำ ไม่เจาะจง บ่ ง บอกเป็ น การกระทำที่ ไ ม่ ดี อั น เป็ น กรรมที่ ไ ม่ ดี เป็ น บาปกรรม หรือเป็นอกุศลกรรม และไม่เจาะจงบ่งเป็นการ กระทำทีด่ ี อันเป็นกรรมดี เป็นบุญกรรม หรือเป็นกุศลกรรม

ภาษาธรรมเรี ย กว่ า อั พ ยากฤต (อั บ -พะยา-กริ ด ) แปลว่ า ยั ง ไม พ ยากรณ์ หมายถึ ง ยั ง บอกไม่ ไ ด้ ว่ า ดี ห รื อ ชั่ ว ยั ง เป็ น คำกลางๆ อยู่ จะรู้ ก็ ต่ อ เมื่ อ มี ค ำบริ บ ทอยู่ ข้ า งหน้ า เช่น กุศลกรรม กรรมดี, อกุศลกรรม กรรมชั่ว เป็นต้น เสริมคำอธิบายโดย ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

8

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


แต่คำว่า “กรรม” นั้น โดยทั่วไปใช้ในความหมายว่า ความไม่ดี เช่นเดียวกับบาปกรรมและอกุศลกรรม จึงเท่ากับ ทั่วไปใช้คำว่า “กรรม” เป็นคำย่อของกรรมไม่ดีคือบาปกรรม หรืออกุศลกรรม พุทธศาสนสุภาษิตมีว่า

“วโส อิสฺสริยํ โลเก อำนาจเป็นใหญ่ในโลก”ñ ในบรรดาอำนาจทั้งปวงในโลก อำนาจของกรรม ใหญ่ยิ่งที่สุด และไม่มีอำนาจใดเสมออำนาจกรรม กรรมดี มีอำนาจในทางดี กรรมไม่ดี มีอำนาจในทางไม่ดี คนดี มีอำนาจในทางดี ผู้ทำกรรมดี จึงมีอำนาจใน ทางดี ย่อมใช้อำนาจนั้นก่อความร่มเย็นเป็นสุขให้เกิดทั้งแก่ ตนเอง ให้เกิดทั้งแก่ผู้อื่น คนไม่ดี มีอำนาจในทางไม่ดี ผู้ทำกรรมไม่ดี จึงมี อำนาจในทางไม่ดี ย่อมใช้อำนาจนั้นก่อความทุกข์ความร้อน ให้เกิดทั้งแก่ตนเอง ให้เกิดทั้งแก่ผู้อื่น ๑

อ่ า นว่ า วะ-โส (อำนาจ) อิ ด -สะ-ริ - ยั ง (เป็ น ใหญ่ ) โล-เก (ในโลก) อำนาจ หมายถึ ง ความมี อิ ท ธิ พ ลเหนื อ ผู้ อื่ น บั ง คั บ ให้ เ ขายอมทำตาม ไม่ ว่ า จะยิ น ยอมหรื อ ไม่ ก็ ต ามแต่ ก็ ส ามารถสั่ ง ให้ ท ำตามความประสงค์ นั้ น ได้ เช่ น อำนาจกฎหมาย อำนาจบั ง คั บ บั ญ ชา แต่ ว่ า อำนาจเหล่ า นี้ ยั ง มี วั น เสื่ อ มสิ้ น ลงตามกาลเวลา หาได้ สู้ อ ำนาจของกรรมที่ จ ะ สนองตอบแก่ผู้ใช้อำนาจไปในทางผิดไม่ เสริมคำอธิบายโดย ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์


สัตว โลกเป็นไปตามอำนาจกรรม

ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นมากมายว่า ทำไมโลกทุกวันนี้ จึงร้อนนัก เต็มไปด้วยความเลวร้ายต่างๆ นานา ที่ไม่เคย มีมาก่อน ทั้งมรสุมใหญ่ ทั้งน้ำไฟทำลาย ทั้งโจรร้ายเข่นฆ่า ทั้ง ความเมตตากรุณาสิ้นจากจิตใจ ทั้งความขาดแคลนทุกข์ยาก ทั่วไปทั้งแผ่นดิน ความกตัญญูก็สิ้นสูญหมด ลูกหลานทรยศ แม่ พ่ อ พี่ ป้ า น้ า อาปู ย่ า ตายาย ถึ ง ทุ บ ตี เข่ น ฆ่ า ทารุ ณ กรรม ครูอาจารย์ก็ทำร้ายได้ทั้งร่างกายและจิตใจศิษย์น้อยๆ ทำ ชีวิตให้พลอยสิ้นสุด จนเกิดเป็นปัญหาว่า 10

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


ทำไมเมื อ งพระพุ ท ธศาสนาจึ ง เป็ น เช่ น นี้ ? ทำไม ความเดือดร้อนชั่วร้ายจึงมากมายนัก ? ทำไมผู้คนจึงลำบาก ยากแค้นนัก ตกอยู่ในสภาพที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงนัก

“กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม”๑ นี่คือคำตอบ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เป็นคำในพระพุทธศาสนสุภาษิต มีความหมายว่า

“คนและสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นไปต่างๆ นานา ทุกข์ก็มี สุขก็มี ดีก็มี ชั่วก็มี มิได้เกิดแต่ผู้ใดอื่น มิได้เกิดแต่อะไรอื่น มิใช่เกิดแต่เหตุใดทั้งนั้น นอกจากกรรมที่ตนได้กระทำแล้วเองนั้น” ๑

อ่ า นว่ า กำ-มุ - นา (ตามกรรม) วั ด -ตะ-ตี (ย่ อ มเป็ น ไป) โล-โก (สั ต ว์ โ ลก) สั ต ว์ โ ลก ทุ ก ชี วิ ต ที่ เ กิ ด มาต่ า งมี รู ป ร่ า ง หน้ า ตา ฐานะ ชาติ ก ำเนิ ด แตกต่ า งกั น ไปตามกรรม ที่ แ ต่ ล ะชี วิ ต ได้ ท ำไว้ ดั ง นั้ น คำสอนในทางพระพุ ท ธศาสนา จึ ง กล่ า วไว้ ว่ า หากประสงค์ จะพบกับสิ่งดีก็ควรปฏิบัติตนตามหลักของปธาน คือ ความเพียรในทางที่ชอบ ๔ อย่าง คื อ เพี ย รระวั ง ไม่ ใ ห้ บ าปเกิ ด ขึ้ น , เพี ย รละบาปที่ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว , เพี ย รทำกุ ศ ลให้ เ กิ ด ขึ้ น , เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เสริมคำอธิบายโดย ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์

11


ไม่เหçนด้วยตา พาให้ไม่กลัวกรรม สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม แม้จะเป็นจริงเช่นนี้ แต่มีผู้ที่เชื่อว่าเป็นจริงเพียงจำนวนน้อยนัก เพราะไม่มีภาพ ให้เห็นว่า เมื่อชีวิตออกจากร่างของคนคนหนึ่งไป ก็ไปเป็น อีกร่างหนึ่งได้ เช่น หมูหมากาไก่ ความไม่ได้เห็นชัดๆ ด้วยตาเนือ้ เช่นนี้ ทำให้คนส่วนมาก ยากจะเชือ่ ว่าคนก็เกิดเป็นสัตว์ได้ สัตว์กเ็ กิดเป็นคนได้ คนฐานะ สูงก็เกิดเป็นคนฐานะต่ำได้ คนฐานะต่ำก็เกิดเป็นคนฐานะสูง ได้ คนร่างกายดีๆ ก็เกิดเป็นคนแขนด้วนขาด้วนได้ คนพิการ แขนด้วนขาด้วนก็เกิดเป็นคนมีแขนมีขาได้ คนหน้าตาน่าเกลียด 12

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


ผิ ว พรรณเศร้ า หมอง ก็ เ กิ ด เป็ น คนสวยคนงามได้ คนสวย คนงามก็เกิดเป็นคนน่าเกลียดน่าชัง ผิวพรรณเศร้าหมองได้ ยิ่งกว่านั้นก็เกิดเป็นเทวดาได้ เทวดาก็เกิดเป็นคนได้

ความไม่เห็นด้วยตาเนื้อ๑ ประกอบกับ ความไม่มีความเข้าใจในเรื่องกรรม การให้ผลของกรรม ทำให้คนส่วนมากไม่กลัว การเกิดใหม่ว่าจะนำไปสู่สภาพ หรือภพชาติ ที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก เช่น เป็นสัตว์นรก ดังนั้น ใจจึงสำคัญที่สุด ใจต้องคิดไปก่อน เป็น มโนกรรม กรรมทางใจ อะไรๆ จึงจะเป็นผลตามมา จะดี หรือจะชั่ว ก็แล้วแต่ใจจะคิดดีหรือคิดชั่ว ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องกรรมที่เกิดจากใจคิด เป็นผู้ที่น่าสงสาร ที่สุด เพราะเขามีโอกาสที่จะตกอยู่ในสภาพที่เลวร้าย น่าสลด สังเวชยิ่งนัก สภาพที่เกิดแต่ใจคิดนำไปนั้นเกิดได้ทั้งในภพชาติ ปัจจุบันนี้ตลอดไปจนถึงภพชาติข้างหน้า ๑

ภาษาธรรมเรี ย กว่ า มั ง สจั ก ขุ (มั ง -สะ-จั ก -ขุ ) แปลว่ า จั ก ษุ คื อ ดวงตา เนื่ อ งจากเรายั ง เป็นปุถุชนไม่มีญาณพิเศษที่จะสามารถมองเห็นการตายแล้วเกิดของสัตว์โลกด้วยตาเนื้อ ได้ จึ ง ทำให้ บ างคนไม่ เ ชื่ อ เรื่ อ งกรรมและตายแล้ ว เกิ ด ซึ่ ง แตกต่ า งจากพระพุ ท ธองค์ ที่ ทรงมี ทิ พ ยจั ก ษุ คื อ ตาทิ พ ย์ สามารถมองเห็ น การตายและเกิ ด ของสั ต ว์ ทั้ ง หลาย จากภพหนึ่งมาสู่ภพหนึ่งว่าเป็นไปตามอำนาจกรรม อนึ่ง กล่าวเฉพาะมังสจักขุ หรือตาเนื้อของพระพุทธองค์ ก็มีพระคุณสมบัติพิเศษ กว่าตาเนื้อมนุษย์ทั่วไปมากมาย เพราะมีเส้นประสาทรับภาพที่ดียิ่ง ทำให้ทอดพระเนตร สิ่งต่างๆ ได้อย่างแจ่มชัด ไกลถึง ๑๖ กิโลเมตร ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยไม่มีอะไร จะกั้นทัศนวิสัยแห่งการเห็นได้ เสริมคำอธิบายโดย ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์

13


กรรมสงสัยได้ แต่ใจต้องกลัวจริง

ใครเล่ า ที่ ร ะลึ ก ได้ ว่ า ได้ ท ำกรรมใดไว้ ใ นอดี ต นึ ก ไม่ได้ทั้งนั้นทั้งกรรมดีกรรมชั่ว จะมาระลึกรู้กันบ้างก็เมื่อต้อง ประสบผลของกรรมแล้ว บางคนจึงสงสัยว่า นั่นคงเป็นผลของกรรมชั่ว เพราะ ทำให้เคราะห์ร้ายเดือดเนื้อร้อนใจ บางคนจึงสงสัยว่า นั่นคง เป็นผลของกรรมดี เพราะทำให้ได้รับโชคดี มีความสุขกาย สบายใจ 14

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


การที่ ม ารู้ มาสงสั ย ในเรื่ อ งการให้ ผ ลของกรรม เช่นนี้ เป็นการดี เท่ากับเป็นการแสดงว่า มีความเชื่อใน เรื่ อ งกรรมอยู่ ใ นใจ แม้ จ ะยั ง ไม่ ป ฏิ บั ติ จ ริ ง จั ง ให้ เ ป็ น การ แสดงความกลัวกรรมอันสมควรกลัวอย่างยิ่ง

ที่ปากพูดกันอยู่ว่า กรรมไม่ดี น่ากลัวนั้น ถ้าทำให้ความรู้สึกน่ากลัวเกิดขึ้นในใจได้จริง และไม่เพียงให้รู้สึกว่า กรรมไม่ดีน่ากลัวเท่านั้น ต้องให้กลัวกรรมไม่ดีด้วยจริงๆ จึงจะเกิดผลเป็นคุณแก่ตน ถ้าสักแต่ปากพูดไป ใจไม่จริงดังปาก หามีประโยชน์ แก่ ต นไม่ แต่ อ าจจะมี ป ระโยชน์ แ ก่ ผู้ ไ ด้ รั บ ฟั ง ที่ น ำไปคิ ด พิจารณา และเกิดความรู้สึกกลัวกรรมไม่ดีขึ้นอย่างจริงใจ จะได้ไม่ทำกรรมไม่ดี จะได้ไม่ต้องมีเวลารับผลไม่ดีแห่งกรรม ไม่ ดี ม ากมายต่ อ ไป ที่ ท ำแล้ ว เป็ น อั น แล้ ว กั น หั น เข้ า หา พระพุทธเจ้าให้เต็มที่ หยุดกรรมไม่ดีให้เด็ดขาดให้ได้

สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์

15


กรรมที่ทำลงไป ส่งผลให้อย่างแน่นอน

การส่งผลของกรรมดีและกรรมไม่ดีนั้น ข้ามภพข้าม ชาติได้ กรรมในอดีตชาติส่งผลมาทันในปัจจุบันชาติก็มี ส่งไปถึงในอนาคตชาติก็มี แล้วแต่ว่าผู้ทำกรรมจะสามารถ หนีได้ไกลเท่าไร หรือหนีได้นานเท่าไร นั่นก็คือ แล้วแต่ว่าใน ปั จ จุ บั น ชาติ ผู้ ท ำกรรมแล้ ว ในอดี ต จะสามารถในการทำ จิตใจ ทำบุญทำกุศล ทำความดีได้มากเพียงไหน เป็นกรรมที่ ใหญ่ยิ่งหนักหนากว่ากรรมไม่ดีหรือไม่ 16

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


การให้ผลของกรรม ก็เช่นเดียวกับการตกจากที่สูง ของวัตถุ สิ่งใดหนักกว่าเมื่อตกลงจากที่เดียวกันในเวลาใกล้ เคียงกัน สิ่งนั้นย่อมถึงพื้นก่อน เปรียบดัง

กรรมสองอย่าง คือ กรรมดี และกรรมไม่ดี กระทำในเวลาใกล้เคียงกัน กรรมที่หนักกว่า ไม่ว่าจะเป็นกรรมดี หรือกรรมไม่ดีก็ตาม ย่อมส่งผลก่อน กรรมที่เบากว่าย่อมส่งผลทีหลัง๑ และย่อมส่งผลทั้งสองแน่นอน ไม่เร็วก็ช้า ไม่ชาตินี้ ก็ชาติหน้า ไม่ชาติหน้าก็ชาติต่อไป ต่อไป ต่อไป อาจจะอีก หลายภพชาติก็ได้ ที่เป็นดังนี้ เพราะกรรมไม่ใช่สิ่งที่จะลบเลือนได้ด้วย กาลเวลา นานเพียงไร กรรมก็ยังให้ผลอยู่เสมอ กรรมจึงมี อำนาจเหนืออำนาจทั้งปวง ๑

กฎแรงโน้ ม ถ่ ว งของโลกของนิ ว ตั น คื อ กฎกิ ริ ย า (การกระทำ) และปฏิ กิ ริ ย า (การ สนองตอบ) เช่ น ถ้ า ขว้ า งลู ก บอลลงพื้ น แรงๆ ลู ก บอลก็ ก ระดอนกลั บ มาเร็ ว และ แรง ขว้ า งเบาๆ มั น ก็ ก ระดอนกลั บ มาเบาและช้ า นี่ เ ป็ น การพิ สู จ น์ ท างวั ต ถุ กฎแห่ ง กรรมก็เช่นกัน ครุกรรม กรรมหนัก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดีหรือไม่ดี จะส่งผลก่อนกรรมอื่น เสมอแม้จะทำกรรมนี้หลังกรรมอื่นก็ตาม เสริมคำอธิบายโดยไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์

17


กรรมให้ผลตรงตามเหตุ

กรรมนั้น น่าเชื่อถือนักในการให้ผลตรงตามเหตุ ไม่มี อคติ๑ ด้วยอำนาจได้เลย แม้เกิดอยู่ในฐานะที่สุขสบาย ก็มิใช่ ว่าไม่จำเป็นต้องนึกถึงกรรม มิใช่ว่าไม่จำเป็นต้องเชื่อกรรม สุขสบายเพียงไร ก็จำเป็นต้องนึกถึงกรรม ๑

18

อคติ หมายถึง ความเอนเอียงเข้าข้าง ความไม่เป็นกลาง คือ ปกติวิสัยของปุถุชนมีโอกาส ที่จะเกิดความเอนเอียงเข้าข้าง เมื่อต้องตัดสินใจให้คุณให้โทษบุคคลอื่น เพราะอำนาจของ ความรัก ความชัง ความเขลา หรือความกลัวได้ แต่กรรมที่ทำไปเวลาส่งผลกรรมกลับคืน จะไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง ให้ผลตรงกับเหตุที่ทำไว้เสมอกันทุกคน เสริมคำอธิบายโดย ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


ถ้าไม่ได้ทำกรรมดีอันควรแก่เหตุแล้ว จะอยู่ในฐานะ สุขสบายได้อย่างไร ใครอืน่ อีกมากมายหาได้อยูใ่ นฐานะเช่นนัน้ อดอยากยากไร้เข็ญใจกันนักหนา ทำไมเป็นได้เช่นนั้น มีอะไร เป็นเครื่องทำให้เป็นไป แม้ไม่ต้องคิดในเรื่องเช่นนี้เสียเลย ย่อมไม่อาจอบรม ปัญญาให้เห็นถูกในเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรมได้ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญแก่ทุกชีวิตที่ปรารถนาความสวัสดี

คนก็ตาม สัตว์ก็ตาม เกิดด้วยอำนาจของกรรม กรรมนำให้เป็นคน และนำให้เป็นสัตว์ เชื่อไว้ก่อนย่อมมีโอกาส ที่จะพ้นจากความเป็นสัตว์ เพราะเมื่อเชื่อว่ากรรมมีอำนาจ ถึงเพียงนั้น ก็ย่อมขวนขวาย ทำกรรมที่จะไม่นำให้ต้องไปเป็นสัตว์ ไม่มีใครที่ไม่กลัวความเป็นสัตว์และมีโอกาสที่จะได้ เกิดเป็นสัตว์แน่ในภพภูมิข้างหน้า แม้บังเอิญไปทำกรรมที่ จะทำให้เกิดผลเช่นนั้น โดยรู้หรือไม่รู้ เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม พลาดพลั้งไปทำกรรมผิดเข้า ก็จะไม่อาจปฏิเสธผลของกรรม ได้เลย

สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์

1


มีโอกาสพ้นกรรมได้ ถ้าใช้ปัญญาไตร่ตรอง

ผลของกรรม ย่อมเป็นไปตรงตามกรรมอันเป็นส่วน เหตุที่ได้กระทำแล้ว คือ ผลดีย่อมเกิดแต่เหตุดี ผลไม่ดีย่อม เกิดแต่เหตุไม่ดี พระพุทธองค์ทรงแสดงความจริงนี้ ที่แม้เห็นได้ยาก แต่ก็เป็นความจริงที่เที่ยงแท้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ จะมีผู้ เข้าใจหรือไม่ จะเข้าใจผิดถูกอย่างไรก็ตาม ความจริงนี้ย่อม เป็นความจริงตลอด ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว 20

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


แต่ โ อกาสมี อ ยู่ เ สมอ สำหรั บ ที่ จ ะพิ จ ารณาให้ เ กิ ด ปัญญารู้ตามพระปัญญาในเรื่องของกรรม และการให้ผล ของกรรม ทุกลมหายใจเข้าออก ดังนั้น จงพิจารณาเรื่องของกรรมให้ได้ด้วยกันทุกคน ไม่ ว่ า จะอยู่ ที่ ไ หน กำลั ง ทำอะไร เพี ย งแต่ ท ำใจให้ ส งบพอ สมควรก่อน เพื่อเหมาะแก่การน้อมไปใช้พิจารณาให้เกิดผล ให้เป็นความรู้ของตน มิใช่เป็นความรู้ของพระพุทธองค์ที่ตน เพียงจดจำไว้เท่านั้น เพราะความรู้ของผู้อื่นนั้น แม้จดจำไว้ อย่ า งมิ ไ ด้ รู้ มิ ไ ด้ เข้ า ใจจริ ง ด้ ว ยตนเอง ความรู้ นั้ น ก็ ยั ง มิ ใช่ ปัญญาของตน ฉะนั้น

เห็นอะไร ได้ยินอะไร อย่าสักแต่ว่าได้ยิน อย่าสักแต่ว่ารู้ เช่นที่ได้เห็น อย่าสักแต่ว่ารู้เช่นที่ได้ยินอันมิใช่ปัญญา เห็นแล้วต้องให้เป็นปัญญา ได้ยินแล้วต้องให้เป็นปัญญาñ มากน้อยก็ต้องให้เกิดปัญญาขึ้นมาบ้าง คือ เห็นอะไร แล้วก็ต้องคิด ได้ยินอะไรแล้วก็ต้องคิด คิดให้ดี คิดให้มีเหตุผล ด้วยใจที่สงบ คิดเนืองๆ ๑

การได้ ยิ น ได้ ฟั ง แล้ ว นำมาคิ ด จนเกิ ด ปั ญ ญา ภาษาธรรม เรี ย กว่ า จิ น ตามยปั ญ ญา ปั ญ ญาเกิ ด จากการคิ ด และต้ อ งคิ ด พิ จ ารณาอย่ า งรอบคอบ ภาษาธรรมเรี ย กว่ า โยนิโสมนสิการ (โย-นิ-โส-มะ-นะ-สิ-กาน) แปลว่า การทำไว้ในใจอย่างแยบคาย หมายถึง การคิดอย่างถูกระบบ ถูกวิธี จนสรุปออกมาได้ว่าเรื่องที่คิดนั้นถูกผิดอย่างไร อะไรควรทำ ควรเว้น เป็นต้น เสริมคำอธิบายโดย ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์

21


รักใคร กçอย่าได้ทำความไม่ดีเลย

ผู้ไม่ทำดีประการต่างๆ ด้วยกาย วาจา อันเนื่องมาจาก ใจที่ไม่ดีของเขานั้น แท้จริงแล้ว ผู้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาพอสมควร ประกอบด้วยความเชื่อในเรื่องกรรม และ การให้ผลของกรรม ไม่น่าจะมีผู้ใดปรารถนาเป็นคนไม่ดี

22

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


แต่ทำไมจึงมีคนไม่ดีมากมาย ทั้งๆ ที่มิได้ปรารถนา คิดให้เข้าใจในเรื่องของกรรมจะรู้ชัดว่า กรรมที่คนผู้นั้นทำ ไว้ในอดีต ได้ติดตามห้อมล้อมจิตเขามาให้ปรากฏเป็นผล ในปัจจุบัน ทั้งที่ในปัจจุบันเขาก็มิได้ต้องการให้เป็นเช่นนั้น และหากเข้ า ใจเรื่ อ งของกรรมบ้ า งแล้ ว เขาจะกลั ว ไปถึงชาติในอนาคต เขาจะพยายามไม่ทำกรรมไม่ดี เพราะ เข็ดกลัวผลของกรรมที่ทำให้เขาต้องเป็นคนไม่ดีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่เขาไม่ปรารถนาเลย

เป็นผู้ใหญ่ก็อย่าทำกรรมไม่ดี เป็นเด็กหรือเป็นหนุ่มสาวก็อย่าทำกรรมไม่ดี แม้รักตัวเองก็อย่าทำกรรมไม่ดีñ จงทำแต่กรรมดี หรือแม้รักพ่อแม่พี่น้อง ลูกหลาน ก็อย่าทำกรรมไม่ดี ผลไม่ดีที่ผู้ทำได้รับนั้น จะทำให้บรรดา ผู้ที่รักตนพลอยกระทบกระเทือนไปด้วย ๑

พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีคิดเพื่อการหักห้ามใจตนเองไม่ให้ทำกรรมไม่ดีไว้ว่า สรรพสัตว์ ทุ ก ชี วิ ต ล้ ว นกลั ว ต่ อ การถู ก ลงทั ณ ฑ์ ด้ ว ยการฆ่ า ประทุ ษ ร้ า ย หรื อ เบี ย ดเบี ย นให้ ไ ด้ รั บ ความเดือดร้อนทัง้ ทางกาย วาจา ใจ เมือ่ รูเ้ ช่นนี ้ ก็อย่าทำกรรมไม่ดเี อง หรือใช้ให้ผอู้ นื่ ทำ เสริมคำอธิบายโดย ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์

23


ทำกรรมไม่ดี ผู้เป็นที่รักพลอยได้รับผลร้ายñ

การทำไม่ดีมีผลทำให้ผู้รักเราเดือดร้อนอย่างไร ? ยกตัวอย่างจากภาพ หากชายผู้นี้เป็น ลู ก ของใครก็ ต้ อ งทำให้ พ่ อ แม่ มี แ ต่ ค วามทุ ก ข์ ร้ อ นใจที่ มี ลู ก ไม่ เ อาไหน แบบนี้ ห วั ง ฝากผี ฝากไข้ได้ยาก, เป็นสามีของหญิงใดก็ทำให้ภรรยาเดือดร้อนนอนทุกข์ ดึกดื่นขนาดไหน ก็ยังปลุกให้ไปซื้อเหล้าทำกับแกล้มให้ หากขัดใจก็ลงมือทุบตี, เป็นพ่อของลูกคนใดก็มีแต่ ทำให้ลูกอับอายขายหน้า และผลร้ายสุดที่ตามมาคือเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีของลูก เป็นต้น เสริมคำอธิบายโดย ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

24

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


ลองนึกถึงใจตนเอง เมื่อเห็นผู้ที่ตนรักทำความไม่ดี แม้ผลไม่ดียังไม่ทันปรากฏชัด ตนก็ไม่สบายใจ ยิ่งเมื่อได้ผล ร้ายเกิดขึ้นสนองผู้ทำกรรม เราผู้มีความผูกพันกับเขา ก็ ย่อมเหมือนกลายได้รับผลร้ายด้วย ดังนั้น แม้ไม่รักตนเอง ก่อนจะทำอะไร ก็ควรนึกถึง ใครทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องมีผู้เป็นที่รักอยู่ด้วย

ถ้าเราทำกรรมไม่ดี ได้รับผลไม่ดี ผู้ที่รักเรา และผู้ที่เรารักก็จะต้อง พลอยได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจ ไปด้วยอย่างไม่ยุติธรรม เพราะมิได้เป็นผู้ทำกรรมไม่ดีด้วย แต่ต้องพลอยได้รับผลไม่ดี เพราะความผูกพัน ฉะนั้น จะทำความไม่ดีใดๆ ก็น่าจะนึกถึงบรรดาผู้ที่มี ความผูกพันกับเราบ้าง อาจจะช่วยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นในการ หลีกเลี่ยงการทำกรรมไม่ดี ก่อนจะทำกรรมใดๆ แม้หยุดยั้งตั้งสติ คิดให้ดีว่ากรรม นั้นดีหรือไม่ดี ก็จะทำให้ไม่ทำกรรมไม่ดีอย่างเต็มใจ อย่าง สบายใจ แต่จะมีเวลายับยั้งชั่งใจ อันเป็นความสำคัญควรจะ ทำให้เป็นความเคยชินด้วยกันทุกคน สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์

25


เหçนผู้อื่นรับกรรม ต้องวางใจให้กลัวกรรม

ทุกวันนี้มีข่าวฆ่าฟันกันอย่างทารุณโหดเหี้ยมมิได้ เว้นแต่ละวัน พบแล้ว เห็นแล้ว ก็ให้นึกถึงกรรม เคยฆ่าเขา มาก็ถูกเขาตามมาฆ่า คนละภพคนละชาติ ข้ามภพข้ามชาติ แล้วก็ยังตามกันมาได้ มาส่งผลได้ เรื่องกรรมเป็นเช่นนี้จึงน่ากลัวกรรมนักพึงกลัวกรรม นัก ไม่พึงคิดว่าการเชื่อว่าการฆ่าฟันตามล้างตามผลาญกัน เป็นเรื่องกรรมนั้นเป็นความเชื่อที่เหลวไหล ไม่มีเหตุผล 26

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


ไม่พึงคิดเช่นนี้ เพราะไม่มีคุณค่าอย่างใด จะถูกหรือ จะผิด ถ้านึกเชื่อไว้ก่อนว่าเป็นเรื่องการให้ผลของกรรม ก็จะ ทำให้ไม่กล้าทำกรรมไม่ดีโดยตั้งใจ ก็จะพ้นจากผลของกรรม ไม่ดีนั้นแน่นอน

การถูกฆ่าของเด็กไร้เดียงสาหาความผิดไม่ได้ ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อยๆ ในยุคนี้ น่าจะทำให้ความเชื่อ ในเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมหนักแน่นขึ้น ทำไมต้องเป็นเด็กคนนั้นที่ถูกฆ่า ทั้งที่ไม่ได้มีเรื่องขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน อยู่ดีๆ มีความสุข ก็ปุบปับถูกนำไปประหัตประหาร ในฐานะเป็ น ผู้ ดู จงดู ด้ ว ยความรู้ สึ ก กลั ว กรรม ไม่ควรดูด้วยความรู้สึกอาฆาตขุ่นเคือง๑ เพราะจะไม่เป็นคุณ แก่จิตใจตนเอง มีแต่จะเป็นโทษ รู้แล้วปลงลง นี่แหละอำนาจ ของกรรมยิ่งใหญ่นัก พึงกลัวนัก ๑

เวลาตำรวจนำผู้ ต้ อ งหาไปทำแผนประกอบคำรั บ สารภาพ หลายครั้ ง จะมี เ หตุ ก ารณ์ ชุ ล มุ น วุ่ น วาย เมื่ อ ญาติ บ้ า ง คนทั่ ว ไปที่ ท ราบข่ า วบ้ า งจะเข้ า ไปรุ ม ประชาทั ณ ฑ์ ผู้ ต้ อ งหา เข้าใจว่าทำไปด้วยความรู้สึกโกรธแค้นที่เขามาทำอันตรายแก่คนที่เรารัก แต่หากได้อ่าน พระนิพนธ์เรื่องนี้คงจะเข้าใจถึงเหตุและผลที่แต่ละฝ่ายได้ประสบนั้น เป็นเพราะกรรมที่ ทำร่วมกันมา เสริมคำอธิบายโดย ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์

27


คิดให้ดี ผลกรรมนี้ไม่มีใครหนีพ้น

แม้ในฐานะเป็นผู้ดู มิใช่ผู้พลอยได้รับความเดือดร้อน ทนทุกข์ทรมานด้วย ถ้าไม่สามารถทำใจอบรมใจให้เข้าใจใน เรื่องของกรรม และการให้ผลของกรรมได้แล้ว เมื่อตนต้อง เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในเหตุการณ์อันร้ายแรง ก็ย่อมยาก ที่จะช่วยใจตนเองให้พ้นจากความร้อนได้ หนังสือเลมนี้บรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจาและพระอริยสงฆ

โปรดใชหนังสือเลมนี้ใหเกิดประโยชนสุขสูงสุด คุมคาที่สุด เมื่อไมอานแลว กรุณาสงตอผูอื่นเพื่อเปนการเผยแผธรรมและบำเพ็ญทานบารมีแกตน

28

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


เรื่ อ งร้ า ยแรงที่ เราไม่ ไ ด้ เ กี่ ย วข้ อ งด้ ว ย เกิ ด ขึ้ น อยู่ มากมายทุ ก วั น ทุ ก คื น แม้ จ ะอยู่ ใ นบ้ า นเรื อ นตนสมั ย นี้ ก็ สามารถรั บ รู้ ไ ด้ เห็ น ได้ ได้ ยิ น ได้ พึ ง ถื อ โอกาสอบรมใจ ตนเองให้เชื่อในเรื่องของกรรม

กรรมน่ากลัวเพียงไร จงคิดให้ดี เมื่อกรรมมาถึง หนีได้หรือไม่ คนดีในชีวิตนี้ มิใช่ว่าจะไม่เคย ทำกรรมไม่ดีมาก่อนในอดีตชาติ ดังนั้น จึงปรากฏบ่อยๆ ว่า คนดีแสนดีกลับต้องได้รับความทุกข์หนักหนา๑ ด้วยโรคภัยไข้เจ็บบ้าง ด้วยความ ไม่สมหวังในเรื่องใหญ่โตสำคัญแก่จิตใจบ้าง เป็นเหตุให้ต้องเศร้าหมองทรมานอย่างยิ่ง ๑

การทำดีแล้วยังไม่ได้รับผลของความดีเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไม่เชื่อเรื่องกรรม และ การให้ ผ ลของกรรม ถึ ง กั บ มี ค ำกล่ า วว่ า “คนทำดี ไ ด้ ดี มี ที่ ไ หน คนทำชั่ ว ได้ ดี มี ถ มไป” แต่ ห ากได้ ศึ ก ษาทำความเข้ า ใจอย่ า งถ่ อ งแท้ จ ะรู้ ว่ า การที่ เ ขาทำดี แ ล้ ว ยั ง ไม่ ไ ด้ ดี นั้ น เป็ น เพราะกรรมชั่ ว ในอดี ต ที่ แ รงกว่ า กรรมดี ใ นปั จ จุ บั น กำลั ง ให้ ผ ลอยู่ ใ นขณะนั้ น ภาษาธรรม เรี ย กว่ า อุ ป ฆาตกกรรม (อุ - ปะ-คา-ตะ-กะ-กำ) แปลว่ า กรรมตั ด รอน, กรรมเข้ า ไปฆ่ า คื อ เข้ า ไปตั ด หรื อ ฆ่ า ความดี ยั ง ไม่ ใ ห้ ส่ ง ผล แต่ ก รรมดี ที่ ท ำนั้ น ก็ มิ ไ ด้ หายไปไหน เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็ส่งผลดีกลับคืน เสริมคำอธิบายโดย ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์

2


คุณและโทษของกรรมดี-ชั่ว ปรากฏตัวในการวางใจรับผล

เมื่ อ เราได้ รู้ ไ ด้ เ ห็ น อย่ า พิ ศ วงสงสั ย อย่ า ได้ คิ ด ผิ ด ว่ า คนทำดี ไ ม่ ไ ด้ ดี แต่ จ งวางใจให้ ถู ก ให้ เ ป็ น ประโยชน์ แ ก่ ต น วางใจลงในกรรมที่สลับซับซ้อนยิ่งนัก ยากจักที่เข้าใจ แต่ก็ ไม่ยากที่จะเชื่อไว้ก่อน อะไรที่เชื่อไว้ก่อนแล้วไม่มีโทษมีแต่ คุณ ผู้มีปัญญาแม้พอสมควรย่อมไม่ดื้อปฏิเสธ การรับผลของกรรมนั้นสำคัญมาก สำคัญทั้งการรับ ผลของกรรมชั่ว และผลของกรรมดี ไม่สำคัญแต่เพียงการรับ ผลของกรรมชั่วเท่านั้น การรับผลของกรรมดีก็สำคัญ 30

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


การรับผลของกรรมดีนั้น ถ้ารับไม่ถูกก็มีโทษร้ายแรง แก่จิตใจ น่าจะรุนแรงกว่าการรับผลของกรรมชั่วอย่างไม่ถูก วิธีเสียอีกด้วย ผู้ทำกรรมดีไว้เป็นบารมี ส่งให้ชาตินี้สมบูรณ์พร้อม แม้ รั บ ผลแห่ ง กรรมดี ห รื อ ผลของบารมี ไ ม่ ถู ก ผลเสี ย ที่ จ ะเกิ ด ตามมาคือ ความหลงตน อันความหลงตนนั้นจะพาความ หลงอีกมากมายให้ตามมา เป็นโทษมหันต์นัก

ผลของกรรมดี ผลของกรรมชั่ว มีทั้งคุณและมีทั้งโทษอยู่ในตัว คุณหรือโทษจะปรากฏตาม การวางใจรับผลนั้น๑ ผลของกรรมดีที่เกิดแก่ผู้ใดก็ตาม แม้ผู้นั้นวางใจรับไม่ถูก ไม่ประกอบด้วยปัญญา ผลดีก็จะไม่สมบูรณ์ ทั้งผลร้ายก็จะต้องตามมา ๑

การวางใจรับผลกรรมที่จะทำให้ไม่เกิดโทษก็ด้วยพิจารณากฎแห่งกรรมว่า สัตว์ทั้งหลาย มี ก รรมเป็ น ของตน เป็ น ผู้ รั บ ผลของกรรม มี ก รรมเป็ น กำเนิ ด มี ก รรมเป็ น เผ่ า พั น ธุ ์ ใครทำกรรมใดไว้ไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมได้รับผลกรรมนั้นเอง เสริมคำอธิบายโดย ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์

31


วิธีวางใจในการรับผลของกรรมดี ผู้ได้รับผลดีของกรรมดี คือ การได้ประสบโลกธรรม ฝายดี คือลาภ ยศ สรรเสริญ สุขนั่นเอง ต้องรับให้ดี ต้องรับ ให้ถูก วิธีทำใจให้รับโลกธรรมอย่างถูกต้องที่สุดก็คือ ให้คิด ว่า ลาภก็ตาม ยศก็ตาม สรรเสริญก็ตาม สุขก็ตาม ล้วนอยู่ ในลักษณะของไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ต้อง เปลี่ยนแปลง และไม่เป็นไปตามความปรารถนาต้องการ ดั ง นั้ น หากได้ รั บ ผลดี ข องกรรมดี คื อ ได้ ป ระสบ โลกธรรมฝายดีเมื่อไร เมื่อนั้น จงคิดถึงไตรลักษณ์ให้ทันที จะได้รับผลดีของกรรมดีที่ดียิ่งกว่าผลดีนั้น 32

อำนาจอั น ยิ่ งใหญ่ แ ห่ ง กรรม : สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ


การคิดถึงไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ต้อง แปรปรวนเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นไปตามความปรารถนา ต้องการ คือการทำความดีทางใจ เป็นมโนกรรมที่ดี จึงย่อม ได้รับผลเป็นความดีตรงตามเหตุที่ได้กระทำ

ที่จริง มโนกรรม กรรมทางใจñ คือ คิดดี นั้น แม้ตั้งใจจริงที่จะทำก็น่าจะทำ ง่ายกว่ากรรมทางกายทางวาจา เพราะเรื่องของความคิด เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของเราอย่างแท้จริง ไม่เกี่ยวกับผู้ใดหรืออะไรเลย ความคิดอยู่กับเราจริงๆ ไม่มีผู้ใดอาจล่วงล้ำก้ำเกินไปบังคับบัญชาได้ ๑

กรรมทางใจ ฝ่ายชั่ว คือ คิดอยากได้ของเขา คิดในทางร้ายต่อเขา เห็นผิดเป็นชอบ ฝ่ายดี ก็ คื อ การคิ ด ในทางตรงกั น ข้ า ม พระพุ ท ธองค์ ต รั ส อำนาจของใจไว้ ว่ า ธรรมทั้ ง หลาย มี ใ จเป็ น ใหญ่ มี ใ จเป็ น หั ว หน้ า จะสำเร็ จ หรื อ ล้ ม เหลวก็ เ พราะใจ ถ้ า คนมี ใ จชั่ ว ก็ จ ะทำ พูดคิดในทางชั่วไปด้วย แต่ถ้ามีใจดี ก็ย่อมทำ พูด คิดในทางดี ดังนั้น ในหลักไตรสิกขา จึ ง ให้ ค วามสำคั ญ ของการฝึ ก ใจไว้ ใ นหั ว ข้ อ ว่ า อธิ จิ ต ตสิ ก ขา การศึ ก ษาเรื่ อ งพั ฒ นาจิ ต ของตนให้ดียิ่งขึ้น เสริมคำอธิบายโดย ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

สำนั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์

33


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.