ชาดกในธรรมบท

Page 1


คู่มือศึกษาพุทธศาสน์จากพระคัมภีร์

ªã¹¸ÃÃÁº· Ò´¡ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี) á»Å

. เรียบเรียง



คำนำ ในช่วงวันเกิด ๑๕ กุมภาพันธ์ของทุกปี ได้ตั้งใจไว้ว่า จะพิมพ์หนังสือที่เขียนขึ้นใหม่หนึ่งเล่ม ถวายพระภิกษุสามเณร เพื่อนสหธรรมิก และมอบให้แก่ญาติโยมผู้มีอุปการคุณ ผู้สนิทสนม คุ้นเคย เป็นธรรมบรรณาการตอบแทนน้ำใจที่ดีต่อกันมาโดยตลอด ในปี ๒๕๕๔ นี้ก็สามารถจัดทำได้ตามประสงค์ หนังสือ “ชาดกในธรรมบท” เล่มนี้จึงได้เกิดขึ้น โดยรวบรวมชื่อชาดก ที่ปรากฏอยู่ในอรรถกถาธรรมบทที่สอนและศึกษากันอยู่ตามหลักสูตร พระปริยัติธรรมแผนกบาลี จากนั้นก็ตามค้นเนื้อเรื่องจากต้นตอคือ อรรถกถาชาดก แล้วคว้ามาเรียบเรียงข้อความใหม่ให้กะทัดรัด อย่างที่ปรากฏ ซึ่งผลงานนี้ไม่ยากนัก ใช้เวลาไม่มากและตั้งใจจะทำ มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็เพิ่งมาสำเร็จในปีนี้ ชาดกที่ปรากฏในธรรมบทนั้นมีหลายสิบชาดก เฉพาะเล่มนี้ รวบรวมมาได้ ๑๘ ชาดก จากธรรมบทภาคที่ ๑ ภาคเดียว


ยังมีเหลือในธรรมบทภาคอื่นๆ อีกมาก ซึ่งจะได้รวบรวมแล้วจัดพิมพ์ ต่อเนื่องกันไป การพิมพ์ในครั้งนี้ได้รับความอุปถัมภ์จากสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือธรรมะและหนังสือคู่มือการศึกษา พระปริยัติธรรมทุกระดับของพระสงฆ์เป็นหลัก ภายใต้คำขวัญที่ว่า “เพียรเพื่อพุทธศาสน์” ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของสำนักพิมพ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วย หวังว่าหนังสือ “ชาดกในธรรมบท” นี้คงอำนวยประโยชน์ แก่ผู้ศึกษาและผู้อ่านได้ในระดับหนึ่ง.

(พระธรรมกิตติวงศ์) ๒๘ มกราคม ๒๕๕๔


คำปรารภ ในพระพุทธศาสนามีคัมภีร์อยู่ชุดหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก กันแพร่หลายทั่วโลก ควบคู่กับพระไตรปิฎกและคัมภีร์วิสุทธิมรรค คัมภีร์นั้นมีชื่อว่า “ธรรมบท” เรียกชื่อเต็มว่า “อรรถกถาธรรมบท” คือจัดเป็นคัมภีร์ระดับอรรถกถา ซึ่งแต่งอธิบายขยายความพระพุทธพจน์ ธรรมบทนี้รจนาโดยพระพุทธโฆษาจารย์ ชาวอินเดียใต้ ผู้รจนา คัมภีร์วิสุทธิมรรคที่โด่งดังนั่นเอง โดยท่านไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก อยู่ที่ประเทศศรีลังกาเมื่อประมาณเกือบหนึ่งพันปีมาแล้ว เป็นคัมภีร์ ที่ท่านยกพระบาลีพุทธพจน์ซึ่งปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท มาอธิบายขยายความพร้อมยกเรื่องราวที่เกิดขึ้น ã¹ยุคต่างๆ ทำนองเป็นนิทานหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธองค์มาเล่าประกอบเพื่อให้สอดรับกับพระบาลีที่อ้างถึง และในเรื่องเล่านั้นเอง ท่านได้อ้างถึงชาดกไว้เป็นจำนวนมาก โดยระบุชื่อชาดกไว้บ้าง ไม่ได้ระบุชื่อชาดกแต่ยกพระคาถาในชาดก มาแสดงไว้บ้าง เป็นต้นว่า ¹·Õ¨Ã¡ªÒµ¡í ¡à¶µÇÒ - พระพุทธเจ้า


ตรัสนทีจรกชาดกไว้ (ระบุชื่อชาดก) ÍÔ·í ªÒµ¡í ¡à¶ÊÔ - พระพุทธเจ้า ตรัสชาดกนี้ไว้ (มิได้ระบุชื่อชาดก) àÍÇÁÒ·Õ¹Ô ªÒµ¡Ò¹Ô ¡à¶µÚÇÒพระพุทธเจ้าตรัสชาดกเหล่านี้ไว้อย่างนี้ (ตรัสชาดกหลายชาดก แต่ มิได้ระบุชื่อชาดก) จึงทำให้ผู้ศึกษาอยู่เกิดความอยากรู้เนื้อเรื่องที่ สมบูรณ์ของชาดกตลอดมา ชาดก คือพระพุทธพจน์ที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย แต่ปรากฏเป็นรูปร้อยกรองหรือพระคาถาล้วนๆ มิได้มี ข้อความที่เป็นร้อยแก้วเลย เมื่ออ่านชาดกในพระไตรปิฎกแล้วย่อม ไม่ได้ใจความที่สมบูรณ์ ได้รู้แค่คำแปลตามอักษรที่ปรากฏเท่านั้น สำหรับข้อความอันเป็นเนื้อเรื่องที่สมบูรณ์นั้นปรากฏอยู่ในอรรถกถา ชาดกทั้งหมด ดังนั้น การที่จะรู้เรื่องชาดกได้สมบูรณ์ครบถ้วนจำ ต้องอาศัยอรรถกถาชาดกเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ ธรรมบท เป็นหนังสือที่แต่งเป็นภาษามคธหรือภาษาบาลี คณะสงฆ์ไทยกำหนดให้ใช้เป็นแบบเรียนทำนองเป็นหลักสูตรสำหรับ นักเรียนบาลีชั้นประโยค ๑-๒ และประโยค ป.ธ. ๓ แบ่งเป็น ๘ ภาค ๘ เล่ม ในธรรมบทนั้นท่านพระพุทธโฆษาจารย์ผู้รจนาได้อ้าง ถึงชาดกไว้จำนวนมากแต่มิได้มีรายละเอียดดังกล่าวข้างต้น จึงเป็น เหตุให้เกิดความสงสัยบ้าง ต้องการรู้เรื่องที่สมบูรณ์บ้าง ครูอาจารย์ ที่สอนบางท่านก็ไปค้นคว้ามาเล่าให้นักเรียนฟัง หรือนักเรียนบางรูป เมื่อสอบผ่านแล้วไปค้นคว้าหาอ่านจากอรรถกถาเองบ้าง แต่ส่วนใหญ่ ก็จะผ่านแค่แปลได้เท่านั้น มิได้สืบค้นต่อประการใด จึงเป็นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ทั้งครูอาจารย์และนักเรียนบาลีส่วนใหญ่พลาดจากการเรียนรู้ ชาดกในธรรมบทที่สมบูรณ์แบบกันตลอดมา


เพื่อเติมเต็มในข้อนี้และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ครูอาจารย์ และนักเรียนบาลีในชั้นนี้หรือที่สอบผ่านได้แล้ว ได้มีพื้นฐานความรู้ ชาดกต่างๆ ที่ปรากฏในธรรมบทอันจะเป็นความสะดวกในเวลาสอน และเวลาแปล ด้วยรู้เรื่องรายละเอียดของชาดกดีแล้ว ทำให้แปล ได้ถูกต้อง ตรงประเด็นของเรื่องโดยง่าย จึงได้ค้นดูในธรรมบททั้ง ๘ ภาคว่ามีชาดกที่ถูกอ้างถึงไว้กี่ชาดก มีชื่ออะไรบ้าง ปรากฏว่า ชาดกที่ถูกอ้างมีทั้งหมด ๕๙ ชาดก จากจำนวนชาดกที่ปรากฏใน อรรถกถาเกือบ ๕๐๐ ชาดก ต่อจากนั้นก็ค้นหาว่าชาดกแต่ละ เรื่องนั้นอยู่ในนิบาตอะไร วรรคอะไรเป็นต้น จากหนังสืออรรถกถา ชาดกทั้งที่เป็นภาษามคธและที่ท่านแปลกันไว้แล้ว ในการทำหนังสือเล่มนี้ได้อาศัยพระไตรปิฎกแปลในส่วนของ ชาดกและอรรถกถาชาดกที่เป็นภาษามคธเป็นหลัก อาศัยชาดกแปล ที่มีอยู่หลายสำนวนเป็นเครื่องช่วย แต่มิได้แปลแบบคำต่อคำเหมือน ที่ท่านแปลกันไว้ เป็นแต่แปลแบบเก็บความ เก็บเฉพาะประเด็นหลัก เว้นรายละเอียดปลีกย่อยเสีย เพื่อให้กะทัดรัดเหมาะที่จะกำหนดจดจำ ได้ง่ายและเพื่อมิให้ยืดยาวเยิ่นเย้อมากนัก แต่ใจความสำคัญยังคงอยู่ ครบสมบูรณ์ โดยเฉพาะพระพุทธพจน์ที่เป็นรูปคาถายังรักษาไว้เต็ม รูปแบบ ข้อนี้ผู้รู้บาลีและเคยสัมผัสอรรถกถาชาดกมาแล้วย่อมทราบดี ว่าได้ตัดทอนข้อปลีกย่อยอะไรออกไปบ้าง การทำหนั ง สื อ นี้ ก็ มี ปั ญ หาอยู่ ห ลายประการที่ ไ ม่ ค าดคิ ด มาก่อนว่าจะมี เช่น ñ. àÃ×èͧª×èͪҴ¡ เพราะปรากฏว่าชื่อชาดกที่ปรากฏใน ธรรมบทที่ท่านอ้างถึงไว้ไม่ตรงกับชื่อในพระไตรปิฎกและอรรถกถา


เช่น ในธรรมบทท่านอ้างถึง ปิงคลชาดก แต่ในพระไตรปิฎกและ อรรถกถาท่านใช้ว่า มหาปิงคลชาดก ในธรรมบทว่า ¨ÙÌ¡àʯ°ÔªÒ´¡ แต่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาชาดก ท่านใช้ จุลลกเสฏฐิชาดก แต่ก็ไม่เป็นการยากนักที่จะรู้ได้ กล่าวไว้เป็นข้อสังเกตเท่านั้น ๒. เรื่องชื่อชาดกอีกอย่างหนึ่งที่เป็นปัญหา คือชื่อชาดก ที่ท่านอ้างถึงไว้ในธรรมบท มีเนื้อหาไม่ตรงกับเรื่องราวมูลเหตุ แต่ไป ปรากฏอยู่ในชาดกอื่นในพระไตรปิฎกและอรรถกถา เช่น Çѯ¯¡ªÒ´¡ ในพระไตรปิฎกมีชาดกชื่อนี้อยู่หลายที่ แต่ปรากฏว่าไม่มีเรื่องใดเลย ที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องในธรรมบทดังอ้างถึง หากแต่มีชาดกอื่นที่มีเนื้อหา ตรงกันคือ ÊÑÁâÁ·ÁÒ¹ªÒ´¡ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้หมายเหตุไว้ให้ทราบ ข้อเท็จจริง ๓. เรื่องคำแปลศัพท์ มีศัพท์อยู่หลายศัพท์ที่ท่านแปลไว้ใน หนังสือชาดกแปลไม่เหมือนกัน เช่นศัพท์ว่า ¢·ÔÃÇ๠ท่านแปลไว้ ว่า ในป่าไม้กระถิน ก็มี ในดงตะเคียน ก็มี หรือศัพท์ว่า ปาตลิÀ·Ú·¡Ç๠ท่านแปลว่า ในป่าไม้ทองหลาง ก็มี ในป่าไม้แคฝอย ก็มี จึงเป็นการยากที่จะรู้ได้ว่าคำแปลที่ถูกต้องคืออะไร จำต้องอาศัย หนังสืออื่นที่มีศัพท์เหล่านี้มาเป็นเครื่องตัดสิน นอกจากนั้นยังมีข้อปลีกย่อยอีกหลายประการที่เป็นปัญหา ในการแปล แต่ได้พยายามหาทางออกที่ดีที่สุดแล้วนำมาเสนอไว้ เท่าที่ปรากฏอยู่ในหนังสือนี้ สำหรับวัตถุประสงค์หลักของหนังสือเล่มนี้คือ ต้องการให้ เป็นคู่มือสำหรับครูอาจารย์และนักเรียนที่กำลังศึกษาธรรมบทอยู ่


จะได้รู้เรื่องราวชาดกที่ถูกอ้างถึงไว้ในธรรมบททุกชาดก นอกจากนั้น ยังมุ่งให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้ศึกษาธรรมะโดยผ่านชาดก เพราะฉะนั้น จึงได้ให้รายละเอียดที่มาและมูลเหตุของแต่ละชาดก พร้อมเสนอ แนวคิดในการจับประเด็นสาระของชาดกไว้เป็นตัวอย่างในตอนท้าย ของทุกชาดกด้วยเพื่อความสมบูรณ์ของชาดก ซึ่งส่วนนี้ครูอาจารย์ และนักเรียนบาลีอาจไม่จำเป็นนัก เพราะรายละเอียดส่วนใหญ่ มีปรากฏอยู่ในธรรมบทแล้ว จิรํ ทิปฺปตุ โลกสฺมึ สมฺมาสมฺพุทฺธสาสนํ ฯ ขอพระศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงเจริญ รุ่งเรืองอยู่ในโลกตลอดกาลนาน.

(พระธรรมกิตติวงศ์) ๒๘ มกราคม ๒๕๕๔


ส า ร บั Þ

ธรรมบท ภาคที่ ๑

ลฏุกิกชาดก วัฏฏกชาดก ฉัททันตชาดก มหาธรรมปาลชาดก จุลลหังสชาดก มหาหังสชาดก กักกฏกชาดก ลักขณชาดก นทีจรกากชาดก กันทคลกชาดก วิโรจนชาดก ชวสกุณชาดก กุรุงคมิคชาดก อุภโตภัฏฐชาดก สีลวนาคชาดก ขันติวาทิชาดก จุลลธัมมปาลชาดก ปิงคลชาดก

พลังความแค้น.................................. ๑๑ .............................๑÷ ตายเพราะแตกกัน.............................๑÷ รอดเพราะผ้าเหลือง.......................... ๒๑ มั่นใจจึงไม่เชื่อ.................................. ๓๓ หงส์เพื่อนแก้ว................................... ๔๐ หงส์ปราชญ์...................................... ๕๒ กรรมทันตา....................................... ๖๖ สุดยอดผู้นำำ...................................... ...................................... ÷๓ ............................. ÷๘ เอาอย่างกันไม่ได้..............................÷๘ ระมาณตน................. ๘๓ ตายเพราะไม่ประมาณตน.................๘๓ ำมะลอ.............................๘÷ ผู้ไพโรจน์กำมะลอ.............................๘÷ ใจ....................................... ๙๓ นกผู้มีน้ำใจ.......................................๙๓ ............................... ๙÷ ศิลปะป้องกันตัว...............................๙÷ ง............................๑๐๑ เสียทั้งขึ้นทั้งล่อง............................๑๐๑ ยอด.................... ๑๐๕ นักสร้างบารมีชั้นยอด....................๑๐๕ ง................. ๑๑๑ นักปฏิบัติธรรมตัวอย่าง.................๑๑๑ ผู้โหดเหี้ยมตัวจริง......................... ๑๑๘ ผู้ที่นรกยังกลัว.............................. ๑๒๕



12

ชาดกในธรรมบท

ůü¡Ô¡ªÒ´¡

พลังความแค้น

ที่มาและมูลเหตุ ลฏุกิกชาดก ถูกอ้างถึงไว้ในธรรมบท ภาคที่ ๑ ยมกวรรค เรื่องโกสัมพิกวัตถุ ว่าพระพุทธองค์ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ที่ทะเลาะวิวาทกันด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย จนกลายเป็นเรื่องราว บานปลายใหญ่โตแบบน้ำผึ้งหยดเดียว จึงตรัสชาดกนี้ ความย่อว่า ที่วัดโฆษิตาราม เมืองโกสัมพี มีพระที่มีชื่อเสียง อยู่สองรูปคือ พระวินัยธรซึ่งเคร่งครัดในพระวินัย กับพระธรรมกถึก ซึ่งเป็นนักเทศน์ชื่อดัง แต่ละรูปมีพระลูกศิษย์รูปละห้าร้อย วันหนึ่ง พระธรรมกถึกได้เข้าไปใช้ห้องน้ำตามปกติ แต่เมื่อราดน้ำชำระแล้ว เหลือน้ำชำระไว้ในภาชนะ ทั้งที่มีพระวินัยกำหนดไว้ว่าให้เทน้ำให้หมด ไม่ให้เหลือไว้ เพื่อมิให้เป็นแหล่งเพาะยุงและเพื่อให้ดูสะอาด


ชาดกในธรรมบท

13

ต่อมาพระวินัยธรเข้าไปใช้ห้องน้ำ เห็นน้ำเหลืออยู่ในภาชนะ จึงถามพระธรรมกถึกว่าไม่รู้หรือว่าเป็นอาบัติ พระธรรมกถึกยอมรับ ว่าไม่รู้ ไม่ได้แกล้ง พระวินัยธรก็บอกว่าเมื่อไม่รู้ก็ไม่เป็นไร แต่แทนที่ เรื่องจะยุติลงแค่นั้น พระวินัยธรกลับไปบอกพวกลูกศิษย์ของตนว่า พระธรรมกถึกดีแต่เทศน์สอนคนอื่น แต่แค่เรื่องน้ำล้างส้วมยังไม่รู้ ยังทำผิดให้เป็นอาบัติได้ พวกลูกศิษย์ของพระวินัยธรได้ยินเช่นนั้น จึงไปพูดถากถางพวกลูกศิษย์ของพระธรรมกถึกว่าอุปัชฌาย์ของ พวกท่านไม่รู้อะไร ต้องอาบัติแล้วก็ยังไม่รู้อีก ฝ่ายพวกลูกศิษย์ของพระธรรมกถึกจึงไปถามอุปัชฌาย์ พระ ธรรมกถึกจึงบอกว่าพระวินัยธรพูดโกหก กลับกลอก ทีแรกว่าไม่เป็น อาบัต ิ ตอนหลังกลับบอกว่าเป็น ใช้ไม่ได้ เรื่องก็เลยบานปลาย พระลูกศิษย์ของทั้งสองฝ่ายต่างก็กล่าวหาอุปัชฌาย์ของอีกฝ่ายหนึ่ง ตามคำของพระอุปัชฌาย์ของตน เกิดการทะเลาะวิวาท ถกเถียง ลุกลามใหญ่โต ทั้งในที่พัก ในโรงฉัน และทุกที่ที่เผชิญหน้ากัน เท่านั้นยังไม่พอ เรื่องลามไปถึงชาวบ้านญาติโยมของทั้งสอง ฝ่าย ชาวบ้านที่เคารพนับถือฝ่ายไหนก็เข้าข้างฝ่ายนั้น แตกกันเป็น สองก๊กสองพวก บ้านใกล้กันก็ทะเลาะกันตามพระไปด้วย ใช่แต่เท่านั้น แม้พวกภิกษุณี พวกเทวดา จนกระทั่งถึงอกนิษฐพรหมก็แตกกัน เป็นสองฝ่ายไปเรียบร้อย ในตอนแรก พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องจึงส่งพระไปห้ามทัพ ถึงสองครั้งสองคราว่าให้พระภิกษุทั้งปวงสามัคคีปรองดองกัน แต่ ไม่มีผู้ใดเชื่อฟัง ไม่ต้องการจะสามัคคีกัน ในครั้งที่สามทรงสดับว่า


14

ชาดกในธรรมบท

พระภิกษุสงฆ์แตกกันแล้วจึงได้เสด็จไปที่เมืองโกสัมพี ทรงแสดงโทษ ของการไม่เห็นอาบัติ โทษของการทะเลาะวิวาทกัน โดยตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทะเลาะวิวาทกันนั้น เป็นบ่อเกิดแห่งความวิบัติเสียหาย ก็เพราะอาศัย การทะเลาะกัน แม้นางนกมูลไถ๑ ก็สามารถทำให้ ช้างสารสิ้นชีวิตได้”

ต่อจากนั้นได้ตรัสเล่าชาดกเรื่องนี้

เนื้อเรื่อง อตีเต ในอดีตกาลนานโพ้น พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นพญา ช้างสาร ควบคุมบริวารจำนวนมากหากินอยู่ในป่าหิมพานต์ ครั้งนั้น มีนกมูลไถตัวหนึ่งวางไข่อยู่ริมหนองน้ำซึ่งเป็นทางเดินของโขลงช้าง ต่อมาไข่แตกฟองออกเป็นตัว นางนกก็ดูแลลูกน้อยเป็นอย่างดีเพื่อ รอวันให้ลูกน้อยเติบโตออกบินไปหากินได้ ต่อมาโขลงช้างได้เดินผ่านมา นางนกจึงรีบบินไปขอร้องพญาช้างโพธิสัตว์ให้เดินหลบไปทางอื่น พญาช้างก็สงเคราะห์ด้วยเมตตา โดยยืนคร่อมนกสองแม่ลูกไว้จน โขลงช้างเดินเบียดผ่านไปทั้งหมด ก่อนจากไปได้กำชับให้นางนกระวัง ๑

นกมูลไถ นกชนิดหนึ่งตัวขนาดนกกระจาบฝน โตกว่านิดหน่อย เรียกสามัญ ว่า นกขี้ไถ (พจน. ๒๔๙๓) ลฏุกิกา โบราณแปลว่า นกไส้


ชาดกในธรรมบท

15

ช้างโทนตัวหนึ่งที่เป็นช้างเกเรดุร้าย ไม่เชื่อฟังใครแม้แต่ตนซึ่งเป็น หัวหน้าโขลง ต่อมาไม่นาน ช้างเกเรตัวนั้นก็เดินมา นางนกจึงบินไปดักหน้า ขอร้องให้เดินไปทางอื่นจะได้ไม่เหยียบลูกน้อย แต่ช้างเกเรนั้นดุร้าย ไม่ยอมฟังคำขอร้อง ซ้ำยังกล่าวดูหมิ่นอวดศักดาว่า เป็นนกน้อย ขนาดนี้จะทำอะไรตนซึ่งเป็นช้างสารได้ ตนสามารถเหยียบนกน้อย เช่นนางเป็นเรือนแสนด้วยเท้าซ้ายเพียงข้างเดียวก็ยังได้ แม้นางนก จะขอร้องอย่างไรก็ไม่ฟัง ทั้งยังเดินดุ่มไปกระทืบลูกนกแบนติดดิน พร้อมทั้งถ่ายรดไว้อีก นางนกมูลไถให้เจ็บแค้นนักจึงผูกอาฆาตว่าวันนี้เป็นทีของเจ้า แล้วเจ้าจะรู้สึกถึงกำลังของนกน้อยอย่างข้า สู้สะกดกลั้นความเสียใจ ถึงลูกน้อยไว้ ผ่านไปสองสามวันก็หาอุบายที่จะกำจัดศัตรู ครั้นคิด ได้แล้วก็เริ่มแผนการ เริ่มแรกได้เข้าไปรับใช้กาตัวหนึ่งจนกาไว้วางใจ แล้วถามความประสงค์ว่าต้องการอะไร นางนกจึงขอให้กาไปจิกตา ช้างโทนเกเรตัวนั้นให้แตกทั้งสองข้าง เมื่อการับปากแล้วก็ไปรับใช้ แมลงวันฝูงหนึ่งจนสนิทสนมกันแล้วขอร้องให้แมลงวันช่วยไปหยอด ไข่ขางที่ตาช้างโทนที่ถูกกาจิกแตกทั้งสองข้าง แมลงวันก็รับปาก จากนั้นก็ไปตีสนิทกับกบแล้วขอร้องกบให้ไปร้องที่ปากเหวลึกเพื่อให้ ช้างตาบอดเดินตกเหว กบก็รับปากอีก เป็นอันเสร็จแผนกำจัดช้าง ในเบื้องต้น กาที่รับปากไว้ก็บินวนเวียนหาช้างโทนตัวนั้นจนกระทั่งพบ แล้วตรงเข้าจิกตาช้างจนบอดสนิททั้งสองข้างแล้วก็บินจากไป ช้าง ตาบอดนั้นได้รับความเจ็บปวดทรมานอย่างมาก ทั้งตาก็มองไม่เห็น


16

ชาดกในธรรมบท

เดินสะเปะสะปะชนโน่นชนนี่เรื่อยไป หาอาหารกินก็ไม่ได้เพราะมอง ไม่เห็น ฝ่ายแมลงวันเห็นเช่นนั้นจึงบินไปหยอดไข่ขางที่ตาทั้งสอง ข้างอีก หลายวันเข้าตาก็เริ่มเน่ามีหนอนไหลออกมา ได้รับทุกข์ สาสมกับกรรมที่ทำไว้ มันเดินโซเซอย่างหมดแรง พอได้ยินเสียงกบ ร้องข้างหน้าก็นึกว่ามีหนองน้ำ รีบเดินดุ่มไปทางเสียงนั้น สหายกบ ของนางนกจึงรีบกระโดดไปร้องอยู่ที่ปากเหว ช้างก็ตรงรี่เข้าไป จนพลาดตกลงไปในเหวกระแทกกับต้นไม้และหินผาสิ้นชีวิตทันที นางนกมูลไถดีใจที่ได้ชำระแค้น บินลงไปเกาะที่หูช้างแล้ว กรอกเสียงลงไปที่หูช้างว่า “นกน้อยอย่างข้าก็เอาชนะช้างใหญ่อย่างเจ้าได้เหมือนกัน”

ÊÒÃШҡªÒ´¡ คนที่เป็นใหญ่และมีอำนาจ แต่มัวเมาในอำนาจ คิดว่าจะทำ อะไรก็ได้เพราะมีอำนาจอยู่ในมือ จึงใช้อำนาจไปในทางที่ผิด ย่อมมี สักวันที่จะถูกคนล้มอำนาจนั้น เพราะอำนาจไม่อาจอยู่ค้ำฟ้าได้ ไม่ว่า ใหญ่แค่ไหนก็ล้มได้เมื่อถึงเวลา แม้หากจะไม่มีใครกล้ามาล้มอำนาจหรือแก้แค้นได้ ก็ไม่พึง ลำพองใจ ยังมีอำนาจเวรกรรมที่จะมาเป็นผู้ล้มแทน เพราะถึงอย่างไร ผู้ทำร้ายคนอื่นไว้ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงเวรกรรมไปได้ การกระทำที ่ ลุอำนาจนั้นเป็นการก่อเวรให้แก่ตนเอง ซึ่งจะมีผลติดตามไปทุกภพ ทุกชาติแน่นอน


ชาดกในธรรมบท

17

การสร้างเวรต่อกันไว้เป็นการสร้างพันธะหนี้ให้แก่ชีวิต ทั้ง ปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะต้องชดใช้กันไปทุกภพทุกชาติ จนกว่า จะสิ้นเวรหรือให้อภัยกัน เหมือนเวรของกากับนกเค้า เวรของหมี กับไม้สะคร้อ หรือเวรของหมากับแมว ซึ่งเมื่อเผชิญหน้ากันเมื่อไร ก็ตรงเข้าห้ำหั่นกันเมื่อนั้น พระท่านว่า เวรย่อมไม่ระงับได้ด้วยการจองเวร แต่ย่อม ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร.


18

ชาดกในธรรมบท

Çѯ¯¡ªÒ´¡

ตายเพราะแตกกัน ที่มาและมูลเหตุ วัฏฏกชาดก ถูกอ้างถึงไว้ในธรรมบท ภาคที่ ๑ ยมกวรรค เรื่องโกสัมพิกวัตถุ เช่นเดียวกับลฏุกิกชาดกข้างต้น ว่าพระพุทธองค์ ทรงปรารภการที่ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีซึ่งทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่อง เล็กน้อยจนบานปลายใหญ่โต ดังมีรายละเอียดตามที่กล่าวแล้วใน ลฏุกิกชาดกนั้น คือเมื่อพระพุทธองค์ตรัสลฏุกิกชาดกแล้วได้ตรัส ต่อไปว่า หมายเหตุ วัฏฏกชาดกนี้ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาชาดกปรากฏว่ามีเนื้อเรื่อง ไม่ตรงกับเนื้อเรื่องในธรรมบท แต่ที่มีเนื้อเรื่องตรงกันมีชื่อว่า สัมโมทมานชาดก จึงนำเนื้อหาในสัมโมทมานชาดกมาแสดง


ชาดกในธรรมบท

19

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงสามัคคีกัน อย่า ทะเลาะวิวาทกัน เพราะอาศัยการทะเลาะวิวาทกัน นี้เอง แม้นกกระจาบตั้งหลายพันตัวก็ถึงกับสิ้น ชีวิตมาแล้ว”

ต่อจากนั้นจึงได้ตรัสเล่าชาดกเรื่องนี้

เนื้อเรื่อง อตีเต ครั้งอดีตกาลนานมาแล้ว เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวย ราชสมบัติอยู ่ ณ เมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดเป็น นกกระจาบ มีนกกระจาบหลายพันเป็นบริวารอยู่ในป่า พรานนกคน หนึ่งในเมืองนั้นมีอาชีพจับนกขายโดยเฉพาะนกกระจาบ เขาจับนก โดยวิธีหว่านข้าวเปลือกล่อให้นกลงมากินแล้วซ่อนตัวอยู ่ พอนก ลงมากินก็เหวี่ยงแหตาข่ายคลุมไว้ ทำให้ได้นกจำนวนมากไปกิน และขายเลี้ยงชีพตลอดมา นกกระจาบโพธิสัตว์ผู้เป็นจ่าฝูงกำหนดรู้ วิธีนี้จึงสั่งฝูงนกว่า เมื่อนายพรานเหวี่ยงแหคลุมก็ให้ช่วยกันออก กำลังบินพร้อมๆ กัน จะสามารถพาแหลอยขึ้นไปวางบนยอดไม้แล้ว บินลอดแหด้านล่างเอาตัวรอดได้ นกบริวารทั้งหมดต่างก็เห็นดีด้วย จึงเมื่อถูกแหคลุมก็พากัน ออกแรงบินพร้อมกัน พาแหลอยไปค้างไว้บนกอไผ่แล้วบินลอดลง ข้างล่างแหเอาชีวิตรอดได้ทั้งหมด เป็นอยู่อย่างนี้บ่อยครั้ง นายพราน กว่าจะนำแหลงมาได้ก็ถึงเย็นและกลับบ้านด้วยมือเปล่าทุกครั้ง จึง ถูกภรรยาด่าว่าและไม่มีนกไปขายเลี้ยงชีพ เขาจึงปลอบใจภรรยาว่า


20

ชาดกในธรรมบท

“นกกระจาบฝูงนี้ฉลาดมาก มันพร้อมใจกันยกแหไปไว้บนยอดไม้ อย่างรวดเร็วได้ทุกครั้ง แต่อย่ากังวลไปเลย เมื่อใดพวกมันทะเลาะ วิวาทแตกคอกัน ต่างตัวต่างถือดีแก่งแย่งไม่ลงรอยกัน เมื่อนั้นก็จะ จับมันได้ทั้งหมด” เขาบอกภรรยาอย่างนี้และรอวันเวลาอยู่ สองสามวันต่อมา นกกระจาบตัวหนึ่งโผบินลงมาที่พื้นอย่าง เร็วโดยไม่ทันสังเกต จึงเหยียบหัวนกกระจาบตัวหนึ่งเข้าเต็มแรง นกกระจาบตัวที่ถูกเหยียบจึงร้องว่าใครกันมาเหยียบหัวข้า ตัวที่ เหยียบหัวเพื่อนจึงกล่าวขอโทษว่าไม่ทันเห็น แต่ตัวที่ถูกเหยียบกลับ โกรธ ไม่ยอมให้อภัย แม้นกที่ทำผิดจะอ้อนวอนขอโทษอย่างไรก็ไม่ ยอม จึงเกิดทะเลาะถกเถียงกันขึ้นจนถึงขั้นอวดเก่งแดกดันใส่กันว่า ที่รอดตายกันมาได้นี้เพราะอาศัยกำลังตนบินพาแหขึ้นไปจนขนหัวหลุด อีกฝ่ายก็ไม่ยอมแพ้ อวดว่าตัวเองก็บินจนขนปีกร่วงเหมือนกัน เมื่อ ทะเลาะกันอย่างนี้ การถกเถียงกันเลยบานปลายไปมาก เพราะต่าง ก็มีพวกคอยถือหางทั้งคู่ จึงยอมกันไม่ได้ พระโพธิสัตว์หัวหน้าฝูงเห็นเข้าก็เกิดความวิตกว่า บัดนี้ ฝูงนก ทะเลาะวิวาทกัน ไม่สามัคคีกันเสียแล้ว ต่อไปก็จะเกิดความวิบัติ วินาศแน่นอนเพราะจะไม่มีใครออกแรงยกแห จะพากันตายหมด ดำริ ดังนี้แล้วก็พานกกระจาบที่ไม่ได้เข้าพวกกับฝ่ายไหนบินไปหากินที่อื่น ต่อมาอีกสามสี่วัน นายพรานนกออกจากบ้านมาโปรยเหยื่อ และแอบซ่อนอยู่เหมือนเคย ฝูงนกกระจาบต่างก็บินลงมากินอาหาร นายพรานจึงเหวี่ยงแหคลุมไว้ ฝูงนกทั้งหมดติดอยู่ในแห แต่ต่างก็ นิ่งเฉยไม่ยอมบิน ตัวหนึ่งตะโกนขึ้นว่าใครที่เคยบอกว่ามีกำลังมาก บินพาแหขึ้นไปจนหัวไม่มีขนแล้วก็ลองบินให้ดูจะได้สมจริง อีกตัว


ชาดกในธรรมบท

21

ก็บอกว่าไหนเคยอวดว่าบินพาแหขึ้นไปจนขนปีกร่วง ลองบินให้ดู หน่อยเถิด เมื่อต่างก็มัวเกี่ยงกันให้ตัวโน้นตัวนี้ลองกำลังดู นายพราน ก็ถลันเข้าไปรวบแหจับนกได้ทั้งฝูง นำไปให้ภรรยาทอดกรอบ ที่เหลือ ก็นำไปขายต่อไป

ÊÒÃШҡªÒ´¡ ความสามัคคีสร้างยาก แต่แตกง่าย ความสามัคคีสร้างได้ด้วยน้ำใจ น้ำใจเป็นเครื่องประสาน สามัคคีได้เป็นอย่างดี ขาดน้ำใจก็เอื้อเฟื้อกันไม่ได้ พูดกันด้วยดีไม่ได้ ช่วยเหลือกันไม่ได้ และเป็นกันเองไม่ได้ ที่สำคัญคือจะให้อภัยกันไม่ได้ มีแต่จะทิฐิมานะไม่มองหน้ากัน พูดกันไม่รู้เรื่อง เหตุให้แตกสามัคคีที่สำคัญคือ คำพูดที่ล่วงล้ำก้ำเกินกัน ดูถูกเหยียดหยามกัน และการให้อภัยกันไม่ได้ การทะเลาะวิวาท บาดหมางกันก็เกิดจากคำพูดทั้งสิ้น ถ้าหากต่างฝ่ายต่างนิ่งไม่พูดให้ อีกฝ่ายสะเทือนใจ ไฉนจะทะเลาะวิวาทจนทำให้แตกสามัคคีกัน ถ้าต่างไม่ยอมกัน ต่างถือศักดิ์ศรี ถือฝ่าย ถือสี ถือค่าย ยกตัวสูงกว่าคนอื่นก็จะปรองดองกันไม่ได้ เข้ากันไม่ได้ แล้วก็แตกกัน ถ้ายอมกันบ้าง ผ่อนปรนกันบ้าง ลดการถือตัวลงบ้าง สามัคคีก็เกิด ความสามัคคีนำมาซึ่งความสงบสุข การทะเลาะวิวาทนำมา ซึ่งความวุ่นวายและความวิบัติไม่สิ้นสุด ไม่มีใครได้ผลประโยชน์แท้จริง จากการทะเลาะวิวาท ผู้ชนะก็ได้เพียงความสะใจแต่ต้องระวังตัว ผู้แพ้ ก็ได้แต่แค้นใจและหาทางแก้แค้น ก่อเวรกันไม่สิ้นสุด.


22

ชาดกในธรรมบท

©Ñ··Ñ¹µªÒ´¡

รอดเพราะผ้าเหลือง

ที่มาและมูลเหตุ ฉัททันตชาดก ถูกอ้างถึงไว้ในธรรมบท ภาคที่ ๑ ยมกวรรค เรื่องเทวทัตตวัตถุ ว่าพระพุทธองค์ทรงปรารภการที่พระเทวทัตได้รับ ถวายจีวรเนื้อดีราคาแพงแล้วนุ่งห่มกรีดกรายไปมาว่านุ่งห่มผ้าที่ ไม่เหมาะสมแก่ตน จึงตรัสเล่าชาดกนี้ ความย่อว่า สมัยหนึ่งพระสารีบุตรกับพระมหาโมคคัลลานะ สองอัครสาวกพาภิกษุบริวารเดินทางจากวัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ไปยังเมืองราชคฤห์ ชาวเมืองราชคฤห์ได้รวมตัวกันสองคนบ้าง สามคนบ้างแล้วถวายอาคันตุกภัตกัน หลังจากฉันแล้ว พระสารีบุตร ก็อนุโมทนาทานของชาวเมืองโดยกล่าวธรรมกถา สรุปได้ว่า


ชาดกในธรรมบท

23

“อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย บางคนทำบุญให้ทานเฉพาะตัวเอง แต่ไม่ได้ชักชวนคนอื่นให้ร่วมทำด้วย เขาย่อมได้เฉพาะโภคสมบัติคือ มีทรัพย์สินเงินทองในทุกภพทุกชาติ แต่ไม่ได้บริวารสมบัติ คือไม่มี พวกพ้องบริวาร บางคนได้แต่ชักชวนให้คนอื่นทำ แต่ตัวเองไม่ทำ เขาย่อมได้เฉพาะบริวารสมบัติ แต่ไม่ได้โภคสมบัติ บางคนตัวเอง ก็ไม่ทำและไม่ชักชวนให้คนอื่นทำ เขาย่อมไม่ได้แม้อาหารที่พอให้อิ่ม ท้อง เป็นคนอนาถา ไร้ที่พึ่งพิง ในทุกภพทุกชาติ ส่วนบางคนตัวเอง ก็ทำ ทั้งชักชวนคนอื่นให้ทำด้วย เขาย่อมได้สมบัติทั้งสองในทุกภพ ทุกชาติ” บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่งได้ฟังแล้วเกิดศรัทธา ปรารถนาจะได้ สมบัติทั้งสองประการจึงนิมนต์พระสงฆ์ทั้งหมด ทั้งพระที่มาใหม่และ พระที่อยู่ประจำเมืองราชคฤห์ให้มารับภัตตาหารของตน แล้วเที่ยว ป่าวร้องบอกบุญไปทั่วเมืองราชคฤห์ว่า ใครมีศรัทธาจะถวายพระ จำนวนเท่าใดให้ลงบัญชีไว้ แล้วให้นำของไปรวมกันในที่แห่งหนึ่ง เพื่อจะได้จัดถวายพระพร้อมกัน ปรากฏว่ามีคนศรัทธาจัดสิ่งของมา ทำบุญมากมายไม่ขาดเหลือ มีคฤหบดีคนหนึ่งนำผ้ากาสาวพัสตร์เนื้อดีจากแคว้นคันธาระ ราคาถึงแสนกหาปณะมามอบให้เพื่อให้เขานำไปขายแล้วนำเงินมาจัดซื้อ ของถวายพระ แต่เมื่อจัดอาหารกันแล้วก็ไม่ปรากฏว่าขาดเหลืออะไร ผู้นำบุญคนนั้นจึงเก็บผ้านั้นไว้ หลังจากทำบุญกันเสร็จแล้วจึงประกาศ ให้ทุกคนทราบแล้วขอความเห็นว่าผ้าผืนนี้ควรจะขายหรือถวายพระไป เสียงส่วนใหญ่ให้ถวายพระ เขาจึงถามต่อว่าควรจะถวายพระรูปไหน ตอนนี้แหละที่เสียงชาวบ้านแตกกัน บางคนก็ว่าควรถวายพระสารีบุตร


24

ชาดกในธรรมบท

เพราะเป็นพระผู้ใหญ่ เป็นถึงพระอัครสาวกเบื้องขวา บางคนก็ว่า พระสารีบุตรนานๆ จะมาสักครั้ง มาแล้วก็ไป ส่วนพระเทวทัตอยู่กับ พวกเรามาโดยตลอดเหมือนหม้อน้ำ เป็นสหายของเราทั้งในงานมงคล และงานอวมงคล ท่านไม่ทอดทิ้งเรา ควรถวายพระเทวทัตดีกว่า และท้ายที่สุดปรากฏว่าพระเทวทัตได้รับเสียงสนับสนุนจาก ชาวเมืองที่มาทำบุญวันนั้นมากกว่า จึงได้รับถวายผ้าราคาแพงผืนนั้น ไป หลังจากได้ผ้าไปแล้ว พระเทวทัตก็ตัด เย็บ ย้อม ทำเป็นสบง จีวรแล้วนุ่งห่มเดินอวดผู้คนเรื่อยไป ชาวบ้านทั่วไปเห็นเข้าก็พูดกัน ว่าผ้าผืนนี้ไม่เหมาะแก่พระเทวทัตเลย เหมาะแก่พระสารีบุตรมากกว่า พระเทวทัตนุ่งห่มผ้าที่ไม่เหมาะสมแก่ตนเที่ยวไป แต่ก็ไม่มีผู้ใดเข้าไป ทักท้วงห้ามปรามท่านเพราะเป็นสิทธิของท่าน พระรูปหนึ่งเดินทางจากเมืองราชคฤห์ไปเมืองสาวัตถี เมื่อ มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ จึงได้กราบทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ พระองค์จึงตรัสว่า มิใช่เฉพาะในชาตินี้เท่านั้นที่พระเทวทัตนุ่งห่มผ้า ที่ไม่สมควรแก่ตน แม้ในอดีตชาติก็เคยทำเช่นนี้มาแล้วเหมือนกัน แล้วได้ตรัสชาดกเรื่องนี้

เนื้อเรื่อง อตีเต ในอดีตกาลนานโพ้น พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็น พญาช้างอยู่ที่เชิงผาหิมพานต์ ใกล้สระน้ำขนาดใหญ่น้ำใสสะอาด ชื่อว่าสระฉัททันต์ พญาช้างนั้นเป็นช้างขนาดใหญ่ มีสีกายเผือกผ่อง


ชาดกในธรรมบท

25

มีพลังมาก มีงางอนที่สวยงามซึ่งเปล่งประกายรัศมี ๖ สีตลอดเวลา (บางตำราว่ามีงา ๖ งา) จึงเรียกขานกันต่อมาว่า พญาฉัททันต์ พญาช้างนั้นมีช้างพัง ๒ เชือก คือ พังมหาสุภัททา ๑ พังจุลลสุภัททา ๑ เป็นคู่ครอง มีช้างบริวาร ๘,๐๐๐ คอยติดตามแวดล้อม ตลอดเวลา พญาฉัททันต์และบริวารช่วยกันหาผลไม้ไปบำรุงเลี้ยง พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ ที่เชิงเขาหิมพานต์เป็นประจำ โขลงช้าง นั้นมีความเป็นอยู่สุขสำราญกันมาตลอด มาวันหนึ่งในฤดูร้อน พญาฉัททันต์พาช้างพังทั้งสองและ บริวารไปยังป่ารังที่กำลังออกดอกสะพรั่ง ให้พังทั้งสองยืนอยู่ใต้ต้น รังใหญ่ต้นหนึ่งแล้ววิ่งชนต้นรัง ทำให้ดอกรังที่กำลังบานหล่นลงมา บังเอิญพังมหาสุภัททาอยู่ด้านใต้ลม พังจุลลสุภัททาอยู่ด้านเหนือ ลม ทำให้ดอกรังที่หล่นลงมาปลิวไปที่พังมหาสุภัททาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนกิ่งแห้งและใบสดที่มีน้ำหนักหล่นลงใส่ตัวพังจุลลสุภัททา ทำให้ พังจุลลสุภัททาเกิดความน้อยใจหาว่าพระโพธิสัตว์ลำเอียง รักใคร่ พังมหาสุภัททามากกว่าตน จึงผูกอาฆาตไว้ลึกๆ อีกครั้งหนึ่ง พญาฉัททันต์พาบริวารไปเล่นน้ำในสระฉัททันต์ เช่นเคย พอดีช้างบริวารเก็บดอกบัวขนาดใหญ่ มีกลีบเจ็ดชั้นได้ จึงนำไปมอบให้พญาฉัททันต์ พญาช้างจึงส่งให้พังมหาสุภัททาไป ประดับโดยไม่ได้คิดอะไร แต่สร้างความไม่พอใจให้แก่พังจุลลสุภัททา เป็นอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง จึงผูกอาฆาตในพญาช้างเป็นคำรบสอง อยู่มาวันหนึ่ง พญาฉัททันต์พร้อมบริวารได้จัดผลไม้และ น้ำผึ้งไปถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า หลังจากถวายแล้วพังจุลลสุภัททา ได้ตั้งจิตอธิษฐานด้วยแรงอาฆาตว่า ด้วยบุญกุศลที่ได้ทำในวันนี้และ


26

ชาดกในธรรมบท

ในวันก่อน เมื่อสิ้นชีวิตแล้วขอให้ได้ไปเกิดเป็นพระธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน แล้วได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ขอให้มีอำนาจ สั่งการได้ และให้มีโอกาสใช้คนมาฆ่าพญาฉัททันต์เอางาไปเป็น สมบัติ จึงนับแต่วันนั้นมา นางพญาช้างก็มิได้แตะต้องอาหารและน้ำ จนร่างกายผ่ายผอมและล้มลงในเวลาไม่นาน นางได้ไปเกิดเป็นพระธิดาของพระเจ้ามัททราชสมปรารถนา มีพระนามว่าสุภัททา ทรงระลึกชาติได้ และทรงเก็บความแค้นไว้ มิลางเลือนเหมือนเพิ่งเกิดขึ้น เมื่อทรงเจริญวัยแล้วได้เป็นพระอัคร มเหสีของพระเจ้าพาราณสี ทรงเป็นที่รักที่โปรดปรานของพระเจ้า พาราณสีเป็นอย่างยิ่งจนกระทั่งได้เป็นประมุขของพระมเหสีและ นางสนมทั้งหมด เมื่อได้ถึงระดับนี้แล้ว พระนางก็เริ่มวางแผนที่จะ กำจัดพญาฉัททันต์ด้วยแรงอาฆาตและอำนาจเวรจึงทำทีว่าประชวร ประทับอยู่แต่บนพระแท่นบรรทม พระเจ้าพาราณสีทรงทราบจึงเสด็จ ไปเยี่ยมตรัสถามพระอาการ พระนางจึงแกล้งเพ็ดทูลว่ากำลังแพ้พระครรภ์ ทรงนิมิต ฝันไปว่ามีพญาช้างเผือกผ่องอยู่ที่ป่าหิมพานต์ พญาช้างนั้นมีงา คู่หนึ่งงดงามนัก มีรัศมี ๖ ประการพวยพุ่งออกมา หากได้งาคู่นั้น มาเชยชมก็จะทำให้พระอาการแพ้หายไปได้ พระเจ้าพาราณสีมิทรงรู้ เลศนัย จึงทรงระดมนายพรานทั้งแว่นแคว้นให้มาประชุมพร้อมกัน แล้วตรัสถามว่ามีผู้ใดเคยเห็นช้างมีลักษณะเช่นนี้หรือไม่ ก็ไม่มี พรานผู้ใดเคยเห็นหรือเคยได้ยิน แต่พระนางสุภัททาทรงพิจารณา ดูนายพรานทั้งหมดอย่างละเอียดก็ทรงเห็นนายพรานคนหนึ่งชื่อ โสณุดร เป็นพรานป่าที่รูปร่างกำยำล่ำสัน ท่าทางอดทน บึกบึน


ชาดกในธรรมบท

27

หนวดดก เคราแดง สมกับเป็นคนป่าเถื่อน จึงทรงดำริว่าพรานผู้นี้ จักสามารถทำงานนี้ให้สำเร็จได้ จึงกราบทูลให้พระราชสวามีทรงเลือก พรานโสณุดรไว้ นอกนั้นให้กลับไปทั้งหมด เมื่อได้ตัวแล้วพระนางก็นัดแนะพรานโสณุดรให้ไปพบ แล้ว ตรัสบอกรายละเอียดถึงสถานที่อยู ่ วิถีชีวิตประจำวัน ตลอดถึงวิธี ป้องกันตัวของพญาช้างให้ทราบทุกประการ และเป็นการบังเอิญ อย่างยิ่ง พรานโสณุดรนั้นเคยเป็นคู่เวรกับพญาฉัททันต์มาหลายชาติ จึงรับงานนั้นด้วยความมั่นใจ แม้ในตอนแรกจะหวั่นกลัวเพราะไม่เคย เข้าไปหากินลึกถึงป่าหิมพานต์ แต่เมื่อทราบรายละเอียดและค่าจ้าง อย่างงามที่จะได้รับเป็นค่าตอบแทนแล้วก็ตกลงรับงานนี้ หลังจากนัดแนะทบทวนสถานที่และวิธีการกันเสร็จสรรพ พระนางก็จัดเตรียมเครื่องมือ เครื่องป้องกันตัว อาหาร และอุปกรณ์ เดินป่าที่จำเป็นทุกอย่างแล้วมอบให้แก่พรานโสณุดรไป เขาได้ออก เดินทางบุกป่าฝ่าดง ขึ้นเขาลงห้วยรอนแรมเรื่อยไปตามทิศทางที่ได้ รับฟังมา จนกระทั่งเข้าเขตสระฉัททันต์และมองเห็นโขลงช้างอยู่ไม่ไกล จึงแน่ใจว่ามาถูกทางแล้วจึงหยุดพักอยู่บริเวณนั้น เขาบุกบั่นมาด้วยอำนาจความโลภในผลตอบแทนและอำนาจ เวรที่เคยมีต่อกันระหว่างตนกับพระโพธิสัตว์ กินเวลาไปถึงเจ็ดปี เจ็ดเดือนกับอีกเจ็ดวัน แต่ความพยายามของเขาหาได้ลดลงไม่ เขาพักอยู่บริเวณนั้นคอยติดตามโขลงช้างไปห่างๆ จนจดจำ รายละเอียดได้ว่าพญาช้างเดินทางนี้ ลงอาบน้ำตรงนี้ ครั้นอาบแล้ว ก็จะขึ้นมายืนตรงนี้ จะทำอย่างนี้ๆ เป็นต้น เมื่อเห็นว่ากิจวัตรประจำ ของพญาช้างเป็นอย่างนี้จึงเริ่มทำงาน


28

ชาดกในธรรมบท

ในตอนแรก เขาตัดต้นไม้แล้วทอนเป็นท่อนๆ นำมากองไว้ ริมทาง พอโขลงช้างขึ้นจากสระลับไปแล้ว เขาก็เริ่มลงมือขุดหลุม ตรงที่พญาช้างยืนประจำหลังจากขึ้นจากสระ ได้หลุมลึกพอที่คนจะยืน อยู่ได้สบาย เสร็จแล้วก็นำท่อนไม้มาพาดบนปากหลุม เว้นช่องไว้ พอให้คนลอดลงไปและเห็นข้างบนได้ แล้วกลบด้วยดินโปรยใบไม้ทับ ลงไปเพื่อกลบร่องรอย ตรงช่องที่เว้นไว้ก็ใช้ท่อนไม้มาปิดไว้พอเป็นพิธี ไม่มีพิรุธ เขาทำงานทั้งคืนจนถึงรุ่งสางทุกอย่างก็เรียบร้อย เมื่อถึงเวลาลงเล่นน้ำ พญาฉัททันต์ก็พาบริวารลงเล่นน้ำ ตามปกติ พรานโสณุดรก็รีบมุดตัวลงไปในหลุม พร้อมทั้งนำผ้า กาสาวพัสตร์ที่พระนางสุภัททามอบให้มาห่มคลุมร่าง ยืนถือธนูอาบ ยาพิษชนิดแรงกล้ารอเวลาอยู่ จนกระทั่งบ่ายคล้อย พญาฉัททันต์ก็ขึ้นจากสระ มีพังมหา สุภัททาเคียงข้าง มีบริวารคุ้มกันเต็มที่ พญาฉัททันต์หยุดยืนคร่อม ปากหลุมพอดีเพื่อตากลมให้กายแห้ง พรานโสณุดรเห็นช้างหยุดนิ่ง จึงน้าวธนูเต็มที่แล้วปล่อยลูกธนูตรงไปที่สะดือใต้ท้องพญาช้างด้วย ความชำนาญ ลูกศรอาบยาพิษก็ทะลุทะลวงหนังท้องผ่านตับไตไส้พุง แล้วทะลุออกทางหลังไปอย่างรวดเร็ว เกิดแผลเหวอะหวะทั้งใต้ท้อง และสันหลัง เลือดไหลทะลักทางปากแผลนองไปเหมือนน้ำย้อมผ้า ที่ไหลออกจากหม้อย้อมผ้า พญาช้างไม่อาจทนต่อทุกขเวทนาได้ถึงกับ ร้องกึกก้องโกญจนาทไปทั่วสกลบรรพตถึงสามครั้ง เหล่าบริวารทั้ง ๘,๐๐๐ ได้ยินเสียงนั้นก็ตกใจ สะดุ้ง กลัวต่อมรณภัยจึงวิ่งพล่านโกลาหลไปทั่วบริเวณ พอเห็นพญาช้าง มีอาการเช่นนั้นก็ทราบว่ามีศัตรูบุกรุกเข้ามา จึงแยกย้ายกันไปตามหา


ชาดกในธรรมบท

29

ปัจจามิตรเพื่อทำลายเสีย เหลือเพียงพังมหาสุภัททาที่ไม่ยอมทิ้ง พญาช้างไปไหน ยืนเคียงข้างคอยปลอบใจอยู่ พระโพธิสัตว์พยายามตั้งสติอดกลั้นต่อทุกขเวทนา พิจารณา ว่าลูกศรนี้ถูกยิงมาจากทิศทางใด หากมาทางซ้ายหรือทางขวา ลูกศร ก็จะเข้าทางสีข้าง หากมาจากยอดไม้ก็จะถูกส่วนหลัง แต่นี่ลูกศร เข้ามาทางสะดือทะลุหลัง แสดงว่าศัตรูต้องหลบอยู่ใต้ดิน ลองใช้ เท้ากระชุ่นดูก็รู้ว่าศัตรูอยู่ในหลุม แต่เพื่อให้เป็นความลับจึงขอร้องให้ พังมหาสุภัททาไปช่วยค้นหาศัตรู เมื่อนางไปแล้วพระโพธิสัตว์จึงใช้ เท้ากระชุ่นดินจนท่อนไม้กระเด็นออกไปและแลเห็นศัตรูผู้ใจบาปตัวสั่น อยู่ในหลุม ตอนแรกพระโพธิสัตว์เจ้าเกิดโทสจิตคิดจะจับขึ้นมาฟาด เสียให้ตาย แต่พอได้เห็นผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยของพระฤาษี อรหันตเจ้าที่คลุมตัวศัตรูอยู ่ ก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาทั้งที่ได้รับทุกข เวทนาอยู่ว่า อันธงชัยของพระอรหันต์เป็นสิ่งที่สัตบุรุษคนดีไม่พึง ทำลาย ควรเคารพสักการะโดยส่วนเดียวแท้ ความรู้สึกนี้ได้ทำลาย โทสจิตคิดจะฆ่าเสียสิ้น จึงพระโพธิสัตว์ใช้งวงจับนายพรานนั้นขึ้นมา วางไว้ตรงหน้าก่อนที่จะสนทนาไต่ถามนายพราน ได้กล่าวขึ้นว่า “ผู้ใดยังไม่หมดกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากความ ข่มใจและความจริงใจ จักมานุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ผู้นั้นย่อมไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ส่วนผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาดจืดจางแล้ว ตั้งมั่นอยู่ อย่างดีแล้วในศีล ประกอบด้วยความข่มใจและความ จริงใจ ผู้นั้นแลสมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์”


30

ชาดกในธรรมบท

หลังจากนั้นพญาช้างได้สู้อดกลั้นความเจ็บปวดไว้แล้วถาม นายพรานว่าเดินทางไกลมาฆ่าตนเพื่อต้องการอะไร ใครใช้ให้มา นายพรานตอบว่าเพื่อต้องการงาไปถวายพระนางสุภัททา พระมเหสี พระเจ้าพาราณสี โดยพระนางเป็นผู้ใช้ให้มาพร้อมทั้งบอกหนทาง วิธีการฆ่า และตระเตรียมสิ่งของให้ทุกอย่าง พระโพธิสัตว์ก็ทราบ ได้ทันทีว่านางคงเป็นพังจุลลสุภัททากลับชาติไปเกิดและต้องการ แก้แค้นตน จะได้ประสงค์งาไปเป็นเครื่องประดับก็หาไม่ เพราะนางเอง ก็ทราบดีว่างาเช่นนี้ของบรรพบุรุษที่ถูกเก็บซ่อนอยู่ในถ้ำก็มีอยู่เป็น จำนวนมาก หากนางปรารถนาก็ไม่จำเป็นต้องฆ่าเรา ให้พรานมาขอ หรือมาลักเอาไปก็ย่อมได้ แต่นี่นางประสงค์ต้องการชีวิตเราเพียง อย่างเดียวเท่านั้น เมื่อทราบชัดดังนี้ เพื่อตัดเวรที่มีต่อกันให้หมดสิ้นไป พระ โพธิสัตว์จึงได้บอกให้นายพรานรีบตัดงาทั้งสองไปถวายพระนางก่อน ที่ตนจะตาย นายพรานดีใจรีบนำเลื่อยออกมา พญาช้างก็ย่อตัวลง ให้นายพรานเลื่อยงาได้ง่ายๆ นายพรานต้องการได้งายาวจนสุดโคน จึงเพิกหนังที่หุ้มงาแล้วง้างปากพญาช้างขึ้น สอดเลื่อยเข้าไปถึง โคนงาในปากแล้วลงมือชักเลื่อยไปมา สร้างความเจ็บปวดแสนสาหัส ให้แก่พญาช้าง แต่ก็มิได้ร้องออกมาด้วยเกรงว่าเสียงร้องจะทำให้ ช้างบริวารวิ่งกลับมาทำร้ายนายพราน งานั้นแม้นายพรานจะเลื่อย จนหมดแรงก็ไม่ขาดเพราะแข็งมากและมีขนาดใหญ่ พระโพธิสัตว์ จึงบอกให้นายพรานประคองเลื่อยไว้แล้วใช้งวงจับมือเลื่อยดึงไป ดึงมา ไม่นานงาทั้งคู่ก็ขาดกระเด็นเหมือนตัดต้นไม้เหลือแต่ตอฉะนั้น


ชาดกในธรรมบท

31

พญาช้างให้นายพรานนำงามาใกล้งวงแล้วจับชูไว้ ก่อนยื่น ส่งให้นายพรานได้กล่าวว่า “สหายพรานเอ๋ย เราให้งานี้แก่ท่าน งาคู่นี้เราจะไม่รัก ก็หามิได้ ทั้งจะได้ปรารถนาเป็นอินทร์ เป็นมาร เป็นพรหม จึงให้ ก็หามิได้ แต่เพราะงาคือพระสัพพัญญุตญาณนั้น เรารักยิ่งกว่า งาคู่นี้เป็นร้อยเท่าพันเท่า ขอบุญอันนี้จงเป็นปัจจัยให้เราได้บรรลุ พระสัพพัญญุตญาณด้วยเถิด” กล่าวแล้วก็ยื่นงาทั้งคู่ให้นายพรานไป แล้วถามต่อว่า เมื่อ ตอนมาใช้เวลาเท่าไร นายพรานก็ตอบไปว่าเจ็ดปีเจ็ดเดือนเจ็ดวัน จึงกล่าวว่า ตอนขากลับนี้ท่านจะสามารถเดินทางถึงเมืองพาราณสี ได้ภายในเจ็ดวันเท่านั้นด้วยอานุภาพแห่งงาคู่นี้ และขอให้นายพราน รีบไป เมื่อนายพรานคล้อยหลังไปแล้วพระโพธิสัตว์ได้ตั้งจิตอธิษฐาน เพื่อคุ้มกันนายพรานให้เดินทางโดยปลอดภัยว่า “ข้าพเจ้าผู้ถูกลูกศรแทงแล้ว แม้จะถูกทุกขเวทนา ครอบงำ ก็ไม่คิดประทุษร้ายในบุคคลผู้นุ่งห่มผ้า กาสาวพัสตร์ ถ้าข้อนี้เป็นสัจจะความจริงที่ข้าพเจ้า ผู้เป็นพญาช้างตั้งไว้ ขอเหล่าสัตว์ร้ายในไพรพฤกษ์ อย่าได้มาใกล้กรายนายพรานนี้เลย” อธิ ษ ฐานจบแล้ ว พญาช้ า งโพธิ สั ต ว์ ก็ สิ้ น ชี วิ ต ลง ก่ อ นที่ พังมหาสุภัททาและบริวารทั้งหมดจะมาถึง ทั้งหมดจึงไม่เห็นเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น


32

ชาดกในธรรมบท

ฝ่ายนายพรานโสณุดรได้งาคู่งามตามประสงค์แล้วก็แบกข้าม เขาลำเนาไพรกลับสู่เมืองพาราณสีโดยเร็วพลัน ครบเจ็ดวันก็ถึง พระนคร ได้นำงางอนคู่นั้นเข้าไปถวายแก่พระนางสุภัททาทันที พระนางครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นงาคู่นั้น ก็ทรงรู้ได้ฉับพลัน ว่าพญาฉัททันต์ผู้เคยเป็นสามีสุดที่รักของตนได้สิ้นชีวิตลงแล้วด้วย น้ำมือของตน ความอาฆาตแค้นก็มลายลงพลัน แต่ครั้นทรงอนุสรณ์ ถึงพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งอดีตก็เกิดความโทมนัสเสียพระทัยเป็นยิ่งนัก ไม่อาจจะอดกลั้นความสะเทือนพระทัยในการจากไปของพญาช้าง ดวงหทัยของพระนางก็สุดจะทนทานไหวจึงได้แตกทำลายลงในบัดดล อนิจจา! ความอาฆาตแค้นไม่เคยให้คุณแก่ใครเลย แม้ ผู้อาฆาตผู้อื่นก็ไม่ได้ดีอะไรขึ้นมาเลย

ÊÒÃШҡªÒ´¡ ความแค้นนั้นไม่เคยให้คุณแก่ผู้ใดทั้งสิ้น ทั้งผู้ที่แค้นคนอื่น ทั้งผู้ที่ถูกแค้น เพราะความแค้นเป็นไฟ มีแต่ให้ความร้อนและนำ เรื่องร้อนมาให้ร่ำไป คนมีความแค้นก็เหมือนกับพกไฟไว้ในอกอยู่ ตลอดเวลา ย่อมถูกไฟแค้นเผาลนทั้งเวลาหลับเวลาตื่น ความแค้นจัดเป็นเวรอย่างหนึ่งซึ่งมีฤทธิ์ร้ายแรงถึงข้ามภพ ข้ามชาติก็ได้ การดับไฟแค้นย่อมต้องอาศัยน้ำคือเมตตา เมตตาทำให้ คนเราให้อภัยกันได้ คิดในทางดี หวังดีต่อกัน ไม่ติดใจข้อที่เขาทำให้ ตัวเองเดือดร้อนลำบาก แล้วก็แล้วกันไปได้


ชาดกในธรรมบท

33

คิดให้ลึกนึกให้ดีว่า แค้นไปทำไม แค้นแล้วใครเดือดร้อน แค้นเขา เขาเดือดร้อนด้วยหรือเปล่า แก้แค้นแล้วก็ได้แค่ความสะใจ หายแค้น แต่ผลพวงจากการแก้แค้นที่ตามมา ใครเป็นผู้รับ เช่น ฆ่าเขาได้ทำให้หายแค้นจริง แต่ต้องไปรับเคราะห์ในคุกตะราง หรือ ต้องเสียเงินวิ่งเต้นให้หลุดคดี หรือต้องหนีหัวซุกหัวซุนจนตลอดชีวิต ต้องพรัดพรากจากคนที่รัก จากครอบครัว จากทุกสิ่งทุกอย่างที่ม ี ที่สะสมเข้าไว้ มันคุ้มกับความสะใจที่ได้รับจากการแก้แค้นหรือไม่ คิดให้ลึก คิดให้ดี จะเกิดความสว่างขึ้นเอง และจะละลายความแค้น ลงได้เรื่อยๆ จนให้อภัยเลิกแล้วต่อกันได้ในที่สุด.


34

ชาดกในธรรมบท

มหาธรรมปาลชาดก

มั่นใจจึงไม่เชื่อ

ที่มาและมูลเหตุ มหาธรรมปาลชาดก ถูกอ้างถึงไว้ในธรรมบท ภาคที่ ๑ ยมกวรรค เรื่องอานันทเถรวัตถุ ว่าพระพุทธองค์ทรงปรารภการที่ พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาไม่ทรงเชื่อ เมื่อมีผู้มากราบทูลว่า พระสิทธัตถะราชโอรสที่ออกผนวชสิ้นพระชนม์แล้ว แม้จะนำกระดูก มาแสดงก็ไม่ทรงเชื่อ แล้วตรัสชาดกนี้ ความย่อว่า เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระสงฆ์สองหมื่นไปยังเมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อเทศนา โปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา เสด็จประทับอยู่ที่นิโครธาราม ที่พระเจ้าสุทโธทนะและพระประยูรญาติสร้างถวาย ที่พระอารามนั้น ได้ตรัสเวสสันดรชาดกก่อนแล้ว ต่อมาพระองค์ทรงอนุญาตให้พระ สารีบุตรบวชพระราหุลเป็นสามเณร พระเจ้าสุทโธทนะทรงโทมนัส


ชาดกในธรรมบท

35

พระทัยเหลือประมาณ จึงกราบทูลขอพรว่าในโอกาสต่อไป ขอ พระคุณเจ้าทั้งหลายไม่พึงบวชให้ผู้ที่ยังมิได้รับอนุญาตจากมารดาบิดา ก่อน พระพุทธองค์ก็ตรัสให้พรนั้น วันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปเสวยพระกระยาหารเช้า ในพระราชนิเวศน์ตามคำอาราธนา พระเจ้าสุทโธทนะประทับอยู่ใกล้ๆ ได้ ต รั ส เล่ า ว่ า เมื่ อ ครั้ ง พระพุ ท ธองค์ ท รงบำเพ็ ญ ทุ ก รกิ ริ ย าอยู่ มีเ ทวดาตนหนึ่ งเข้า มาหาแล้ว บอกว่า พระราชโอรสของพระองค์ สิ้นพระชนม์แล้ว แต่ไม่ทรงเชื่อพร้อมทั้งปฏิเสธไปว่าถ้าพระราชโอรส ไม่บรรลุพระโพธิญาณแล้วจะไม่ทำกาละก่อนเป็นเด็ดขาด ครั้นพระเจ้าสุทโธทนะตรัสเล่าจบแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ในชาตินี้มหาบพิตรจะทรงเชื่อได้อย่างไร แม้ในชาติปางก่อนขนาดมีคน เอากระดูกมาแสดงให้ดู มหาบพิตรยังไม่เชื่อเลย ในตระกูลของเราคนที่ ล้มตายแต่วัยรุ่นไม่มี ต่อจากนั้นก็ทรงนำชาดกเรื่องนี้มาเล่าโดยละเอียด

เนื้อเรื่อง อตีเต ในอดีตกาลนานมาแล้ว ที่แคว้นกาสี มีหมู่บ้านหนึ่ง ชื่อธรรมปาละ เป็นหมู่บ้านของตระกูลธรรมปาละ ผู้คนในตระกูลนั้น เป็นผู้ประพฤติอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการกันทุกคน ทั้งหมู่บ้าน และตระกูลจึงได้ชื่อว่า ธรรมปาละ ซึ่งแปลว่าผู้รักษาธรรมเหมือนกัน พราหมณ์ผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านมีบุตรชายคนหนึ่ง ตั้งชื่อตามหมู่บ้าน ว่า ธรรมปาลกุมาร เมื่อเจริญวัยแล้วได้ส่งไปเรียนในสำนักอาจารย์ ทิศาปาโมกข์ ที่เมืองตักกสิลา ธรรมปาลกุมารเป็นเด็กขยัน เรียนเก่ง จึงศึกษาได้เร็วและได้เป็นหัวหน้าของศิษย์ทั้งหมด


36

ชาดกในธรรมบท

ต่อ มา บุตรชายคนโตของอาจารย์ทิศ าปาโมกข์ เสียชี วิต อาจารย์และครอบครัว ญาติมิตร และเหล่าศิษย์ต่างร้องไห้เสียใจ พากันหามศพผู้ตายไปเผาที่ป่าช้า ขณะนั้นต่างก็ร้องไห้กันระงมไป หมด เว้นธรรมปาลกุมารคนเดียวที่ไม่ร้องไห้ หลังจากกลับสำนักแล้ว พวกลูกศิษย์ก็มานั่งคุยกันว่าลูกชาย อาจารย์เป็นคนดี สมบูรณ์ด้วยมารยาทเห็นปานนี้ ทั้งยังหนุ่มแน่น อยู่แท้ๆ ไม่น่าตายเลย ธรรมปาลกุมารจึงถามว่าเขายังหนุ่มหรือ เมื่อเป็นดังนั้นทำไมเขาจึงตายล่ะ คนหนุ่มไม่น่าตายมิใช่หรือ พวก ลูกศิษย์จึงย้อนถามว่าเจ้าไม่รู้เรื่องการตายของสัตวโลกนี้หรือ เธอ ตอบว่ารู้อยู่ แต่เขาไม่ตายในเวลาหนุ่มแน่นกัน จะตายในเวลาแก่ เท่านั้น พวกลูกศิษย์ก็บอกว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยงแท้ มีแล้วกลับ ไม่มีมิใช่หรือ เธอก็ตอบว่าไม่เที่ยงจริง แต่เขาไม่ตายกันในตอนเป็น เด็กหรอก แต่จะตายในเวลาแก่ เขาจะถึงความไม่เที่ยงในเวลานั้น พวกลูกศิษย์เห็นเธอยืนยันอยู่ว่าคนหนุ่มไม่ตายก็เลยถาม ว่าที่บ้านของเจ้าไม่มีคนหนุ่มตายหรือไร ธรรมปาลกุมารจึงบอกว่า ที่ตระกูลของตนไม่มีคนหนุ่มตาย มีแต่คนแก่เท่านั้นที่ตาย คำตอบนั้นสร้างความสงสัยให้แก่พวกลูกศิษย์ด้วยกัน จึง นำเรื่องนั้นไปเล่าให้อาจารย์ฟัง อาจารย์ให้ไปตามธรรมปาลกุมาร มาซักถามซึ่งก็ได้คำตอบเหมือนเดิม อาจารย์จึงคิดว่าเด็กคนนี้พูด แปลก จำต้องสืบหาความจริงให้กระจ่าง หากว่าเป็นจริงอย่างนั้น จะได้สอบถามว่าประพฤติตัวอย่างไรจึงไม่ตายตอนเป็นหนุ่ม จะได้ นำมาสั่งสอนลูกศิษย์ต่อไป


ชาดกในธรรมบท

37

อีกสองสามวันอาจารย์ก็ฆ่าแพะตัวหนึ่งแล้วเผาจนเหลือแต่ กระดูก เขาเก็บกระดูกแพะห่อผ้าเตรียมเสบียงแล้วเดินทางไปยัง หมู่บ้านธรรมปาละ เมื่อไปถึงแล้วก็ขอเข้าพบบิดาของธรรมปาลกุมาร ผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน เมื่อทราบว่าเป็นอาจารย์ของธรรมปาลกุมาร ทุกคนก็ต้อนรับอย่างดี จัดอาหาร เครื่องดื่ม ที่พักให้ หลังจาก ทานอาหารแล้ว อาจารย์ได้เอ่ยปากบอกพราหมณ์หัวหน้าหมู่บ้านว่า ลูกชายของท่านเป็นเด็กมีปัญญา เรียนเก่ง มีผู้คนรักมาก แต่ว่า มาเสี ย ชี วิ ต เสี ย แล้ ว ด้ ว ยโรคอย่ า งหนึ่ ง สั ง ขารทั้ ง หลายไม่ เ ที่ ย ง ท่านอย่าได้เสียใจไปเลยนะ พราหมณ์ฟังจบแล้วแทนที่จะตกใจกลับตบมือหัวเราะลั่น เล่นเอาอาจารย์ตกใจเสียเอง พอได้สติจึงถามพราหมณ์ว่า เมื่อได้ ข่าวร้ายอย่างนี้แล้วทำไมจึงยังหัวเราะได้ ไม่เสียใจหรือที่ลูกชายตาย พราหมณ์จึงบอกว่าลูกเรายังไม่ตาย คนที่ตายไม่ใช่ลูกเราแน่นอน อาจารย์จึงนำห่อกระดูกออกมายืนยัน แล้วบอกว่านี่คือกระดูกของ ลูกชายท่าน พราหมณ์ก็ไม่เชื่อ บอกว่านี่ไม่ใช่กระดูกของลูกชาย คงเป็นกระดูกแพะหรือกระดูกคนอื่น เพราะว่าในตระกูลของเรา เจ็ดชั่วสกุลไม่เคยมีใครตายตั้งแต่ยังหนุ่มยังสาว ท่านพูดโกหกแล้ว คนในบ้านที่นั่งฟังการโต้ตอบอยู่ด้วยต่างก็หัวเราะชอบใจ ที่พราหมณ์บอกว่าอาจารย์โกหก เพราะไม่เชื่อเรื่องที่อาจารย์บอก เหมือนกัน ถึงตอนนี้อาจารย์ก็เกิดอัศจรรย์ใจ มีความโสมนัสยินดีเป็น อย่างยิ่งที่รู้ความจริง จึงเอ่ยปากถามพราหมณ์ว่า การที่พวกท่าน ไม่ตายกันแต่วัยหนุ่มนั้นต้องมีสาเหตุแน่นอน ขอให้ท่านบอกสาเหตุ


38

ชาดกในธรรมบท

ให้ทราบบ้างว่าพวกท่านถือกิจวัตรอะไร ประพฤติข้อธรรมอันประเสริฐ อะไรจึงไม่ตายตอนหนุ่มแน่น พราหมณ์จึงได้แจ้งข้อวัตรปฏิบัติและข้อธรรมที่ประพฤติกัน ในตระกูลให้แก่อาจารย์ทิศาปาโมกข์ฟังว่า “พวกเราประพฤติธรรมกัน ไม่กล่าวมุสา งดเว้นกรรมชั่ว งดเว้นกรรมอันไม่ประเสริฐทั้งปวง เพราะเหตุนี้แหละ คนในตระกูล ของเราจึงไม่ตายแต่ยังหนุ่มสาว พวกเราฟังธรรมทั้งของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษ แต่มิได้ ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษเลย จึงตีตัวออกจากอสัตบุรุษเสีย แต่ไม่ตÕ จากสัตบุรุษ เพราะเหตุนี้แหละ คนในตระกูลของเราจึงไม่ตายแต่ยัง หนุ่มสาว ก่อนจะให้ทาน พวกเราก็เป็นผู้ตั้งใจดี แม้กำลังให้ก็ชื่นชม ÂÔ¹´Õ ครั้นให้แล้วก็ไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง เพราะเหตุนี้แหละ คนในตระกูลของเราจึงไม่ตายแต่ยังหนุ่มสาว พวกเราเลี้ยงดูสมณพราหมณ์ คนเดินทาง วณิพก ยาจก และพวกคนขัดสนให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ เพราะเหตุนี้แหละ คนในตระกูลของเราจึงไม่ตายแต่ยังหนุ่มสาว พวกเราไม่นอกใจภรรยา ถึงภรรยาก็ไม่นอกใจพวกเรา พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ นอกจากภรรยาของตน (คือไม่ร่วม หลับนอนกับหญิงอื่นนอกจากภรรยาของตน) เพราะเหตุนี้แหละ คนในตระกูลของเราจึงไม่ตายแต่ยังหนุ่มสาว


ชาดกในธรรมบท

39

พวกเราทุ ก คนงดเว้ น จากปาณาติ บ าต งดเว้ น จากการ ลักทรัพย์ ไม่กล่าวมุสา ไม่ดื่มน้ำเมา เพราะเหตุนี้แหละ คนใน ตระกูลของเราจึงไม่ตายแต่ยังหนุ่มสาว บุตรของพวกเราเกิดในที่ดีเหล่านั้น เป็นผู้เฉลียวฉลาด มีปัญญามาก เป็นพหูสูต เรียนจบไตรเพท เพราะเหตุนี้แหละ คนในตระกูลของเราจึงไม่ตายแต่ยังหนุ่มสาว มารดาบิดา พี่น้องชายหญิง บุตรภรรยา และพวกเราทุกคน ประพฤติธรรมเพราะมุ่งประโยชน์ในโลกหน้า เพราะเหตุนี้แหละ คนในตระกูลของเราจึงไม่ตายแต่ยังหนุ่มสาว” ในตอนสุดท้ายพราหมณ์ได้กล่าวสรุปว่า “ธรรมแลย่อมรักษาผู้มีปกติประพฤติธรรม ธรรม ที่ บุ ค คลประพฤติ ดี แ ล้ ว ย่ อ มนำสุ ข มาให้ นี้ เ ป็ น อานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไปสู่สุคติ ธรรมแลย่อมรักษาผู้มีปกติประพฤติธรรม เหมือน ร่มใหญ่ในฤดูฝนฉะนั้น ธรรมปาละลูกของเรา เป็น ผู้ที่ธรรมคุ้มครองแล้ว กระดูกที่ท่านนำมานี้เป็น กระดูกของคนอื่น ลูกของเรายังมีความสุขอยู่” อาจารย์ทิศาปาโมกข์ฟังแล้วให้ชื่นชมโสมนัสยิ่งนัก กล่าว ขอโทษพราหมณ์และทุกคน แล้วบอกว่าเรื่องทั้งหมดตนต้องการจะ พิสูจน์ความจริงจึงได้นำกระดูกแพะมาอ้าง ส่วนธรรมปาลกุมารนั้น สุขสบายดี และขออนุญาตพราหมณ์นำข้อธรรมนั้นไปปฏิบัติและ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.