ดื่มด่ำธรรมรส

Page 1


ดื่มด่ำ ธรรมรส

รสใด ๆ ในโลกหล้า ที่ยกย่องกันว่าอร่อยติดใจ ก็ยัง

ไม่เท่ารสแห่งพระธรรมที่ดื่มด่ำเข้าในดวงจิต นำชีวิตให้ พบประโยชน์สุขทั้งในปัจจุบัน-อนาคต ปรุงรสโดย... พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ)


ดื่มด่ำ ธรรมรส : พระราชวิจิตรปฏิภาณ ISBN : 978-616-7047-51-5 พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ บรรณาธิการบริหาร : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง บรรณาธิการเล่ม : ไพยนต์ กาสี ประสานงานต้นฉบับ : จีรวัฒน์ ควรคำ ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง รูปเล่ม/จัดอาร์ต : สุกัญญา ศรีสงคราม พิสูจน์อักษร : มานิตย์ กองษา

จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ๑๐๕/๗๕ ซอยประชาอุทิศ ๔๕ ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๔๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๗๒ ๙๑๙๑, ๐ ๒๘๗๒ ๘๑๘๑, ๐ ๒๘๗๒ ๗๒๒๗, ๐ ๒๘๗๒ ๙๘๙๘

พิมพ์ท ี่ โรงพิมพ์เลีย่ งเชียง ๒๒๓ ถนนบำรุงเมือง กทม. ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๑ ๑๐๕๐,๐ ๒๒๒๑ ๔๔๔๖, ๐ ๒๒๒๓ ๘๙๗๙


คำนำสำนักพิมพ์ หนังสือ “ดื่มด่ำ ธรรมรส” รวมข้อคิดข้อเขียนในทาง ธรรมของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระราชวิจิตรปฏิภาณ “เจ้าคุณพิพิธ” วัดสุทัศนเทพวราราม เหมาะแก่การอ่านเพื่อดื่ม รสพระธรรมนำสู่การปฏิบัติอย่างชนิดที่เป็นไปเองโดยไม่ต้อง ฝืนใจ และอาจไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าได้เปลี่ยนมาขจัดและเพิ่มพูน คุณธรรม ณ เวลาใด เอกลั ก ษณ์ ที่ ส ำคั ญ ของพระเดชพระคุ ณ ท่ า นเจ้ า คุ ณ ก็คือการตั้งประเด็นในทางธรรม โดยใช้ภาษาไทยที่คล้องจอง ทำให้ติดตามหัวข้อง่าย และง่ายต่อการนำไปเขียน บรรยาย ส่วนคำอธิบายประเด็นธรรมนั้น ท่านได้ค้นคว้าจากพระไตรปิฎก แล้ ว นำมาผู ก เป็ น คำอธิ บ ายได้ อ ย่ า งแจ้ ง ชั ด ยกตั ว อย่ า งเช่ น พรหมวิหารธรรม ๔ ประการ ซึ่งบิดามารดามีต่อบุตรธิดา คือ เมตตา ปรารถนาดี, กรุณา ช่วยเหลือยามทุกข์ยาก, มุทิตา ดีใจเมือ่ ได้ด,ี อุเบกขา ไม่ยำ่ ยี ซ้ำเติม ท่านเจ้าคุณก็แต่งเสียใหม่ เพื่อจำง่าย คือ


คิดถึงลูก ก็เยี่ยมหน้า มาให้เห็น (เมตตา) ลูกลำเค็ญ ปรากฏหน้า มาช่วยเหลือ (กรุณา) ลูกได้ดี หน้าปรีดา มาจุนเจือ (มุทิตา)) ตกต่ำเหลือ หน้าพ่อแม่ แค่สองคน (อุเบกขา) คำว่า “หน้า” ทั้ง ๔ หน้าในคำกลอนนั้น แสดงว่า บิดา มารดา เป็นพรหมสี่หน้าของลูก คำอนุญาตของท่านเจ้าคุณ คือ ข้ อ คิ ด ข้ อ เขี ย นหรื อ เทศน์ ทั้ ง หมด ถ้ า ผู้ ใ ดนำไปเทศน์ บรรยาย ไม่ต้องอ้างชื่อท่าน เพราะต้องการให้ผู้ฟังเกิดศรัทธากันโดยตรง แต่ถ้าจะนำไปเขียนควรอ้างชื่อและที่มาจากหนังสือ เพราะถ้าใคร อ่ า นพบเข้ า จะทำให้ เ สี ย คะแนนนิ ย มต่ อ ผู้ เ ขี ย น นี่ คื อ น้ ำ ใจ ของท่าน สำนักพิมพ์เลีย่ งเชียง ขอให้หนังสือเล่มนีด้ ำรงพระสัทธรรม นำความสุ ข มาสู่ ผู้ อ่ า นและสั ง คมโลก คณะผู้ ท ำงานจะรู้ สึ ก มี ความสุข เพราะ... ดื่มด่ำธรรมรส และดื่มด่ำบุญกุศล ด้วยความปรารถนาดี สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


สารบัญ  คนจริง....................................................................................................

 ลูกกตัญญูกตเวที..........................................................................

๑๑

 นิมิตหมายที่ดี..................................................................................... ๒๕  บุญลาภ..................................................................................................

๓๔

 ผู้กว้างขวาง........................................................................................ ๓๙  ผู้เสียสละ...............................................................................................

๔๔

 เมตตาธรรมค้ำจุนโลก..................................................................

๕๑

 สามัคคีกถา........................................................................................... ๖๓  อานุภาพแห่งพระปริตร................................................................ ๗๔  เทวธรรม.................................................................................... ๘๑  ปริศนาเพื่ออนาคต.........................................................................

๘๖



คนจริง นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปตีติ บัดนี้ จักวิสัชนาในสัจจกถา พรรณนาถึงความเป็นผู้มี สั จ จะ คือ ความเป็นผู้จริงใน ๓ ประการ คือ สั จ จอธิ ษ ฐาน ได้แก่ความเป็นผู้ตั้งใจจริง ๑ สั จ จปฏิ ญ าณ ความเป็นผู้กล้า ประกาศสัจจอธิษฐาน ๑ สัจจกิริยา ความเป็นผู้กระทำจริง ๑ พระราชวิจิตรปฏิภาณ


บุคคลเมื่อประกอบด้วยสัจจะทั้ง ๓ ประการ ย่อมเป็น ผู้ได้รับเกียรติ ดั่งพระพุทธภาษิตที่อัญเชิญข้างต้นแล้วว่า สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ ผู้ถึงซึ่งเกียรติได้เพราะอาศัยสัจจะ คือ ความเป็นคนจริง อั น ว่ า สั จ จะ คื อ ความเป็ น คนจริ ง นั้ น คื อ ต้ อ งจริ ง ใน คุณธรรม ตามวัย วัน เวลา เป็นสัจจะตามลำดับขั้น มิใช่ข้ามขั้น ประการที่ ๑ สัจจะในกตัญญูกตเวทีต่อบิดา-มารดา

คือ ตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอน, เอื้ออาทรในกิจธุระ, รักษาวงศ์ ตระกูล, หมั่นเพิ่มพูนสินทรัพย์, คอยสดับความประสงค์, พ่อแม่ แก่เฒ่าลงช่วยประคับประคอง, ยามเจ็บป่วยจ้องพยาบาลรักษา, ครั้นมรณาจัดงานศพให้ตามศาสนพิธี, สร้างอนุสาวรีย์ไว้เก็บ อัฐิธาตุ บุตรผู้มีสัจจะกระทำต่อบิดา-มารดา ย่อมได้รับเกียรติ จากชนทั่วไปว่า “ลูกกตัญญูกตเวที” ประการที่ ๒ สัจจะในคารวตาธรรม คือ เป็นผู้มีความ อ่อนน้อมในศาสนา ในบุคคล ทั้งด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ย่อมเป็นผู้ได้รับเกียรติ คือ ความรักความเมตตา และได้รับเกียรติคุณสรรเสริญว่าเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ประการที่ ๓ สัจจะในการศึกษา คือ ศึกษาเล่าเรียน ด้วยสัจจธรรมขององค์ศกึ ษา ได้แก่ สุตะ ตัง้ ใจอ่าน ตัง้ ใจดู ตัง้ ใจฟัง,

ดื่มด่ำ ธรรมรส


จิ น ตะ ตั้ ง ใจคิ ด ไม่ ทุ จ ริ ต ลอกการบ้ า นหรื อ การฝี มื อ , ปุ จ ฉา ครั้นเมื่อเกิดความสงสัย ไม่เก็บความไว้ในใจ หาโอกาสสนทนา ซักถามเพื่อความเข้าใจให้เกิดปัญญา, ลิขิตะ จดจารไว้ในสมุด งานและสมุดบันทึกช่วยจำ, ผู้มีสัจจะในการเรียนการศึกษา ย่อม ได้รับเกียรติคุณ คือ คะแนนดี วิชาเด่น เป็นคนเรียนเก่ง มากด้วย ประกาศนียบัตร เกียรติบัตร ปริญญาบัตร ประการที่ ๔ สัจจะในการทำงาน คือ เป็นผูท้ ำงานด้วย อิทธิบาท ได้แก่ ฉันทะ รักหน้าที่, วิริยะ มีความเพียรไม่ทอดธุระ, จิตตะ เอาใจใส่ในหน้าที่การงาน คือ ตรึกระลึกถึงเสมอ, วิมังสา ใคร่ครวญพิจารณา การใดเกิดข้อขัดข้องแก้ไข การใดสำเร็จก็ จดบันทึกเป็นหลักฐาน เป็นตำราวิชาการ เป็นตำนานให้ผู้คนได้ ศึกษา บุคคลเช่นนี้ย่อมได้รับเกียรติยศทั้งค่าตอบแทน อีกทั้ง ตำแหน่งและคำชมเชย ประการที่ ๕ สัจจะในการครองเรือน คือ เมื่อครอง แล้วก็ต้องมีสัจจะ ได้แก่ ความจริงใจต่อคู่ครอง ย่อมได้รับเกียรติ จากคู่ครองและชนทั่วไปว่า เป็นคนรักเดียวใจเดียว ประการที่ ๖ สัจจะในการคบหาสมาคม คือ การทำตน เป็นกัลยาณมิตร มีจิตเกื้อกูลต่อบุคคลที่ตนเองคบหา ย่อมได้รับ เกียรติว่าเป็นคนจริงใจ

พระราชวิจิตรปฏิภาณ


ประการที่ ๗ สัจจะในทาน คือ เป็นผู้ที่มีจิตใจเป็นบุญ กุ ศ ลในการสละทรั พ ย์ เพื่ อ ทำบุ ญ ในทางศาสนา สงเคราะห์ อนุเคราะห์แก่บริวารชนทุกระดับ สดับความเดือดร้อนของสังคม เมื่อทราบแล้วก็บริจาคทรัพย์ของตนทำบุญสุนทาน ย่อมได้รับ เกียรติว่าเป็นคนใจดี เป็นคนมีใจเป็นบุญกุศล ประการที่ ๘ สัจจะในศีล คือ เมื่ออธิษฐานและออก ปากสมาทานศี ล แล้ ว ก็ รั ก ษาสั จ จะในศี ล นั้ น มิ ไ ด้ ล่ ว งละเมิ ด ย่อมได้รบั เกียรติดว้ ยการกราบไหว้วา่ เป็นคนมัน่ คงในศีลาจารวัตร ประการที่ ๙ สัจจะในภาวนา ได้แก่ รู้ความจริงใน กองสังขารว่ามีสัจจะอยู่ ๓ ประการ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เจริญจิตตภาวนาในไตรลักษณ์ทั้ง ๓ ประการนี้ ย่อมไม่ลุ่มหลง เข้าสู่ดงแห่งกิเลส ย่อมได้รับเกียรติว่าเป็นอริยบุคคล บุ ค คลผู้ มั่ น ในสั จ จะตามวั ย วั น และเวลา อย่ า งน้ อ ย ๙ ประการนี้ ย่อมได้รับเกียรติ ทั้งเป็นเกียรติเฉพาะและเกียรติ

ที่ เ กี่ ย วเกาะพั น เกื้ อ กู ล เกื้ อ หนุ น ซึ่ ง กั น และกั น เป็ น สั จ จะดั่ ง ดาวฤกษ์สำคัญ คือ พระอาทิตย์ที่เช้าก็ขึ้นตรงตามเวลา เย็นก็ อัสดงตรงเวลา แม้ว่าจะมีเมฆหมอกมาปิดกั้นแสง แต่ดาวฤกษ์ คือพระอาทิตย์ก็ได้กระทำหน้าที่อย่างมั่นคงตรงตลอดมาด้วย สัจจะ จึงได้รับความไว้วางใจ ได้รับการบูชาเสมอมา

10

ดื่มด่ำ ธรรมรส


ลูกกตัญญูกตเวที

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส มาตาปิตุอุปฎฺานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมนฺติ

ณ บัดนี้ จักแสดงทัศนกถาเรื่องความกตัญญูกตเวทีต่อ บิดามารดา นำมาซึง่ มงคลอันสูงสุดแก่บตุ รธิดา ดัง่ พระพุทธวจนกถา ทีส่ มเด็จพระบรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในมงคลสูตร ว่า...มาตาปิตอุ ปุ ฎฺานํ เอตมฺมงฺคลมุตตฺ มํ... (มาตาปิตอุ ปุ ฏั ฐานัง พระราชวิจิตรปฏิภาณ 11


เอตัมมังคะละมุตตะมัง) แปลว่า การบำรุงบิดามารดา เป็นมงคล อันสูงสุดแก่บุตร (ผู้นั้น) หากจะพึ งพิเคราะห์ศัพท์ว่า...มาตาปิตุอุปัฏฐาน...แบ่งได้ดังนี้

มาตุ = มาตา (มารดา = แม่) คือ แม่ผใู้ ห้กำเนิด ปิตุ = ปิตา (บิดา = พ่อ) คือ พ่อผูเ้ ป็นเจ้าของชีวติ อุป แปลว่า เข้าไป - ใกล้ - มั่น ฐาน หรือ ฐานะ แปลว่า รองรับ โดยศั พท์ว่า “อุปฐาน” แปลว่า เข้าไปรองรับ คือ

l เข้าไปรับทราบ (คำสั่งสอน) l เข้าไปกราบไหว้ l เข้าไปรับใช้ใกล้ชิด (สิ่งที่ลูกพอทำได้) l เข้าไปรับผิดชอบ (สิ่งที่พ่อแม่จำเป็นและมอบหมาย) l เข้ า ไปตอบสนองเจตนาปรารภ (พ่ อ แม่ เ อ่ ย ปากเรื่ อ ง อะไร ทำให้ทันใจเร็ววัน หรือทันที) l ยามแก่เข้าไปประคอง l ยามเจ็บเข้าไปพยาบาล - ประคบ l ตายเป็นศพเข้าไปจัดการตามศาสนาพิธี l เก็บกระดูกไว้ในโกศ หรือ เจดีย์ l รักษาความสามัคคีเกลียวกลม 12

ดื่มด่ำ ธรรมรส


ทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นอุดมมงคลแก่บุตร-ธิดาผู้บำรุงบิดา มารดา คำว่า “เข้าไป” คือ “มีใจอาสา” ไม่ใช่ต้อง “เรียกหา หรือ อ้อนวอน งอนง้อ” เป็นความสมัครใจ มิใช่จำใจทำไปตามหน้าที่ ด้วยเกรงว่าถ้าไม่ทำดังกล่าวมานี้สังคมจะติฉินนินทา จึงจำเป็น ต้องรักษาหน้าตาด้วยการทำตามหน้าที่ คำกล่าวข้างต้นนี้พึงท่อง ให้ขึ้นใจ ตัดคำที่อยู่ในวงเล็บออกเสียก็จะจำได้ง่ายขึ้น หากแม้จะพึงจำว่าบุตรธิดาต้องทำอย่างไรต่อบิดามารดา จึงได้ชื่อว่าเป็นการบำรุงบิดามารดา จะขอนำพระพุทธพจน์มา แต่งเป็นคำกลอนสอนใจ ดังนี้ เป็นลูกต้อง เชื่อฟัง คำสั่งสอน เอื้ออาทร กิจธุระ ไม่ผละหนี รักษาทรัพย์ เกียรติ - ตระกูล คูณทวี เลี้ยงให้มี อยู่กิน สิ้นลำเค็ญ แทนไม้เท้า ยามพ่อแม่ แก่ชรา แทนดวงตา ยามพ่อแม่ แลไม่เห็น แทนพยาบาล หมอบเฝ้า ทุกเช้าเย็น เป็นลูกแก้ว- เนรมิต สมจิตปอง พระราชวิจิตรปฏิภาณ 13


ยามพ่อแม่ ใกล้ล่วงลับ ดับชีวิต ประคองจิต ให้สดใส ไม่มัวหมอง ครั้นตายลง ปลงจิต คิดไตร่ตรอง จัดงานศพ ให้สอดคล้อง ประเพณี ทุกทุกข้อ ทุกทุกขั้น นี้นั่นหนา องค์สมเด็จ- บรมศาสดา ทรงบ่งชี้ เรียกว่าลูก- กตัญญู- กตเวที ทำแล้วมี มงคล แก่ตนเอย ใคร่จะแสดงมงคลแก่ตนเอง ทีต่ นเองทีไ่ ด้ปฏิบตั ติ ามขัน้ ของ ความกตัญญูกตเวที ให้เห็นเป็นการทบทวนย้อนหลัง ทั้งจะได้ เป็ นเครื่องสอนใจ สอนลูกหลาน ลูกศิษย์ ดังนี้

เป็นลูกต้อง เชื่อฟัง คำสั่งสอน ลูกคนใดพ่อแม่สอนก็ฟัง พ่อแม่สั่งก็เชื่อ ลูกคนนั้นจะเกิด ความปลอดภัย เกิดปัญญา ร่ำเรียนวิชาก็เก่ง หูที่ฟังคำสอนจะ ต้องมีเพชรทองใส่ หัวที่ฟังคำสอนจะมีสายสร้อยใส่ มือที่จดเขียน จะมีสร้อยแหวนนาฬิกาใส่ หน้าที่ยิ้มรับจะมีคนยิ้มรับในสังคม ตั้งแต่ยังเยาว์จนถึงเฒ่าชราและมรณาในที่สุด

14

ดื่มด่ำ ธรรมรส


ในทางตรงกันข้าม ลูกทีไ่ ม่เชือ่ ฟังคำสอนของพ่อแม่จะได้รบั ผลร้าย คือ หูทไี่ ม่ฟงั คำสอนจะโดนดึงหู ตบบ้องหู ตีดว้ ยไม้หน้าสาม หรือเหล็ก หัวที่ไม่จำคำสอนจะมีห่วงเหล็กใส่ในฐานะนักโทษ มือ ที่ไม่ไหว้ไม่จดคำสอนจะมีห่วงเหล็กและสายโซ่ใส่ หัวและคอที่ สะบัดปัดปฏิเสธคำสอนจะต้องถูกตี ถูกยิง อุบัติเหตุจนกระทั่งหัว แตกกระจาย คอหัก ยามพ่อแม่สอนก็ทำหน้าเบื่อหน่าย รังเกียจ ในกาลภายหน้าสังคมก็จะรังเกียจ เบือนหน้าหนี เท้าที่กระทืบพื้น ปัง..ปัง ประชดคำสอน เท้านัน้ ก็จะต้องมีอนั หัก ด้วน ด้วยอุบตั เิ หตุ เอื้ออาทร กิจธุระ ไม่ผละหนี ลูกคนใดที่เอาใจใส่ในกิจธุระของพ่อแม่ เช่น ช่วยงานการ บ้านการเรือน รีบกระทำธุระ เมื่อพ่อแม่ใช้ก็รีบทำทันที ลูกเหล่านี้ บ่มเพาะความรับผิดชอบ เมื่อเป็นนักเรียนก็จะมีความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ตน หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ลูกเหล่านี้จะได้รับมงคล คือ ไม่ตกงาน มีเพื่อนฝูงรักใคร่ มีเจ้านายให้ความไว้วางใจ จะได้ เป็นใหญ่เป็นโตตามวาสนา ความสามารถ และ บุญกุศลของ ความเอาใจใส่ ในทางตรงกันข้าม ลูกทีไ่ ม่เอาใจใส่ในหน้าทีก่ ารงาน การบ้านการเรือน ทอดธุระของพ่อแม่ เมื่อไปเรียนหนังสือก็ทอดธุระ ไม่ ส นใจที่ จ ะเรี ย นจริ ง จั ง เป็ น ผู้ ไ ม่ เอาธุ ร ะในโรงเรี ย น ก็ เป็ น ที่ พระราชวิจิตรปฏิภาณ 15


เกลี ย ดชั ง ของเพื่ อ นร่ ว มห้ อ ง เป็ น ที่ ร ะอาใจของครู - อาจารย์ ภายหน้าจะตกงาน ไม่สามารถสร้างฐานะได้ ครั้นจะบากหน้าไป พึ่ ง พาเพื่ อ นฝู ง ก็ ถู ก เพื่ อ นฝู ง รั ง เกี ย จเสี ย แล้ ว เมื่ อ ครั้ ง ยั ง เรี ย น หนังสือ ไม่สามารถจะพึ่งพาใครได้เลย รักษาทรัพย์ เกียรติ - ตระกูล คูณทวี ลูกคนใดที่พ่อแม่ให้เงินทองใช้ มีความตระหนักถึงความ ยากลำบากของพ่อแม่ ใช้อย่างประหยัด เหลือก็หยอดใส่กระปุก ออมสิน พยากรณ์ได้วา่ อนาคตภายภาคหน้าจะเป็นเศรษฐี (ดีกว่า ฐานะเดิม) ทุกคน ส่วนการไม่ทำให้พ่อแม่เสียชื่อด้วยการก้าวร้าว กระด้างในสังคม ประพฤติตนอ่อนน้อมถ่อมตนจนคนทั้งหลาย ชื่นชม ในกาลภายหน้าตนเองก็จะกลายเป็นคนมีเกียรติในสังคม ในทางตรงกันข้าม ลูกคนใดใช้เงินพ่อแม่โดยไม่คิดถึง ความลำบาก ไม่เก็บสะสมเงินทอง ในภายภาคหน้าจะยากจน ข้นแค้น เป็นหนี้สิน อีกทั้งเมื่อเข้าสังคมก็กระด้างกระเดื่อง ทำให้ เขาตำหนิหรือด่ามาถึงพ่อแม่ ในภายภาคหน้าก็จะเกิดคดีความ ทะเลาะวิวาท จนเสียชื่อเสียง ต้องมีอันติดคุกติดตะรางทุกคนไป เลี้ยงให้มี อยู่กิน สิ้นลำเค็ญ

ลูกคนใดเลี้ยงดูพ่อแม่ไม่ให้อดอยาก เช่น เมื่อครั้งยังเด็ก ก็เฝ้าตักอาหารใส่จาน กลับจากเรียนก็ซื้อของกินนิด ๆ หน่อย ๆ 16

ดื่มด่ำ ธรรมรส


ไปฝากพ่อแม่ ครั้นโตขึ้นมามีงานทำก็แบ่งเงินให้ท่าน เมื่อกลับ บ้านก็มีของกินของใช้ไปฝากพ่อแม่ ลูกแบบนี้เป็นผู้ไม่อดอยาก ของกินของใช้ ย่อมมีลูกหลานดีดูแลตลอดชีวิต ทั้งลูกน้องก็ให้ การดูแลเป็นอย่างดี มีลาภผลจากอาชีพและจากการเลี้ยงคน ในทางตรงกันข้าม ลูกหลานที่ไม่เคยใส่ใจในการกินอยู่ ของพ่อแม่ เอาแต่เรื่องของตัวเองเป็นใหญ่ ไม่ซื้อของกินของใช้ไป ฝากพ่อแม่ อีกทั้งทิ้งให้ท่านอดอยากปากแห้ง ในภายภาคหน้า ตนเองก็จะต้องอดอยากปากแห้ง ลูกเต้าไม่ใส่ใจให้การเลี้ยงดู ทั้ง ลูกน้องก็ทอดทิ้ง ต้องอดอยาก - ตายอยาก (ตายอนาถาไร้คนให้ กินให้ใช้) ตลอดชีวิต แทนไม้เท้า ยามพ่อแม่ แก่ชรา ลูกคนใดยามที่พ่อแม่แก่ชรา เฝ้าดูแลด้วยการประคับ ประคองด้ ว ยเกรงว่ า พ่ อ แม่ จ ะพลั้ ง พลาดหกล้ ม ยามไปไหน มาไหนก็ไม่รังเกียจที่จะประคับประคอง เป็นดุจไม้เท้า - ราวเกาะ ลูกคนนัน้ จะได้รบั ทีพ่ งึ่ ยามขัดสน ได้รบั มงคลด้วยการมีผชู้ ว่ ยเหลือ ยามแก่เฒ่าก็มีลูกหลานประคับประคอง ทั้งฐานะการเงินการทอง ก็ไม่ล้มละลาย ในทางตรงกันข้าม ลูกคนใดไม่สนใจทีจ่ ะเป็นไม้เท้าให้พอ่ - แม่ในยามแก่เฒ่า ปล่อยให้ลม้ ลุกคลุกคลาน ทัง้ ยามไปไหนมาไหน พระราชวิจิตรปฏิภาณ 17


เวลาพ่ อ แม่ ข อร้ อ งให้ ไ ปด้ ว ยก็ อ ายและรั ง เกี ย จ ลู ก แบบนี้ มั ก ประสบอุบัติเหตุจากการลุก การเดินทาง ทั้งยามแก่เฒ่าก็ไร้เงา ลู กหลานมาช่วยพยุง ฐานะก็ล่มสลาย

แทนดวงตา ยามพ่อแม่ แลไม่เห็น ลูกคนใดที่ยามพ่อแม่แก่ชรา ดวงตาพร่าพราย สายตา มองไม่เห็น มีความเอาใจใส่เป็นหูเป็นตา บอกเล่าเรื่องต่าง ๆ เฝ้า ดูแลด้วยความห่วงใย ลูกแบบนี้จะมีลูกหลานที่เป็นหูเป็นตา ดูแล ด้านสุขภาพ ธุรกิจ ทั้งจะมีลูกน้องที่ไว้วางใจได้ ในทางตรงกันข้าม ลูกคนใดยามพ่อแม่แก่ชราตาพร่าพราย ไม่ ส นใจที่ จ ะดู แ ล ปล่ อ ยให้ ห ยิ บ ผิ ด หยิ บ ถู ก ทั้ ง ฉ้ อ โกง ทรัพย์สินของท่าน ลูกแบบนี้จะไม่มีลูกหลาน ไม่มีบริวารเป็นหู เป็ นตา ทั้งจะต้องถูกตบตาด้วยการฉ้อโกงหลอกลวงตลอดไป

แทนพยาบาล หมอบเฝ้า ทุกเช้าเย็น ลูกคนใดยามพ่อแม่เจ็บป่วย ก็ละและลาหน้าที่การงาน หมอบเฝ้าดุจดั่งพยาบาล ป้อนยา ป้อนข้าว - น้ำ พาเข้าห้องน้ำ เช็ ด สิ่ ง ปฏิ กู ล อี ก ทั้ ง พยาบาลท่ า นด้ ว ย “ยาใจ” ๓ ขนาน คื อ มือเอื้อม ปากอ้า หน้ายิ้ม ลูกแบบนี้ในภายภาคหน้า เมื่อตนเอง เจ็บไข้ ก็จะได้ลูกหลานมาปรนนิบัติ ได้แพทย์ที่เชี่ยวชาญ ได้ พยาบาลที่ดีมาดูและรักษา ได้ยาดีมากำจัดโรคโรคา 18

ดื่มด่ำ ธรรมรส


ในทางตรงกันข้าม ลูกคนใดยามพ่อแม่ไม่สบาย เจ็บไข้ ได้ปว่ ย ไม่ยอมละและลางาน ด้วยอ้างว่า “ไม่วา่ ง” ทัง้ เมือ่ ไปเยีย่ ม ก็แสดงอาการเบื่อหน่าย มีอาการที่แสดงออกต่อหน้าพ่อแม่ ๓ ประการ คือ มือง่อย (ไม่ประคอง ไม่เช็ดสิ่งปฏิกูล), ปากห้อย (แสดงอาการเบื่อหน่าย รังเกียจ), หน้ายักษ์ (แสดงอาการขุ่นมัว) ลูกแบบนี้ยามตนเองเจ็บป่วย ลูกหลานก็พานละทิ้ง ไม่ได้แพทย์ดี มาทำการรักษา ไม่ได้ยาดีมากำจัดโรคาพาธ ไม่ได้พยาบาลดีมา ปฏิบัติ ต้องเจ็บอย่างทุกข์ทรมาน ตายอย่างอนาถ เป็นลูกแก้ว- เนรมิต สมจิตปอง ลูกคนใดยามพ่อแม่เอ่ยปากแสดงความประสงค์อยากได้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ ก็รีบไปจัดการหามาให้ทั้งของกินของใช้ ลูกแบบนี้ เรี ย กว่ า “ลู ก แก้ ว เนรมิ ต ” ในกาลภายภาคหน้ า เมื่ อ ตนเอง ประสงค์จำนงหมายสิ่งใด ลูกหลาน หรือ บริวาร และ บุญกุศล ก็ จะบันดาลให้ได้สิ่งนั้นฉับพลันทันที ในทางตรงกันข้าม ลูกคนใดเมื่อพ่อแม่เอ่ยปากอยากได้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ ก็เพิกเฉย ละเลยความประสงค์ของท่าน ให้ท่านรอ ของกินของใช้ใจหายอยาก ลูกแบบนี้ยามตนเองประสงค์จำนง หมายสิง่ ใด ออกปากบอกลูกหลาน เขาเหล่านัน้ ก็จะพากันเพิกเฉย เลยละเสีย ต้องรอจนหายอยาก ได้รับความลำบากแสนสาหัส พระราชวิจิตรปฏิภาณ 19


ยามพ่อแม่ ใกล้ล่วงลับ ดับชีวิต ประคองจิต ให้สดใส ไม่มัวหมอง ลูกคนใดที่ยามพ่อแม่ใกล้ล่วงลับดับชีวิต ได้ขวนขวายใน เรื่องทำบุญกุศล สวดมนต์ให้พ่อแม่ฟัง นำเรื่องอันเป็นมงคลมา พูดให้พ่อแม่สบายใจ ให้กำลังใจ ทั้งบอกทางสวรรค์ นิพพาน ทำให้ พ่ อ แม่ จิ ต สบาย ตายตาหลั บ ดั บ แล้ ว ไปสู่ ส รวงสวรรค์ ทั้งเป็นทางสู่ความเป็นอรหันต์ในอนาคต ลูกแบบนี้ในอนาคต ภายภาคหน้า เมื่อตนเองถึงมรณกาล ก็จะมีลูกหลานมาคอยเฝ้า ดูแล ไม่ทะเลาะวิวาท ทำการบุญสุนทานให้ ชี้ทางสวรรค์ บอก ทางอรหันต์ยามดับจิต จะตายตาหลับ ดับแล้วไปสวรค์ ด้วยการ มี...พระมาหา เทวดามารับ... ในทางตรงกันข้าม ลูกคนใดยามที่พ่อแม่ใกล้ดับจิตสิ้นใจ ไม่ประคองจิตให้สดใส นำแต่เรื่องที่เป็นปัญหามาพูดให้พ่อแม่ มีจิตใจอันขุ่นมัว ตายตาไม่หลับ ดับแล้วไปเกิดในอบายภูมิ ลูก แบบนี้ต้องได้รับกรรมอันเกิดจากการกระทำ คือ ในยามตนเอง ใกล้ตาย ลูกหลานก็จะพูดแต่เรื่องเลวร้าย ทะเลาะกันหน้าเตียง ดับจิต ตายแล้วก็ไปเกิดในอบายภูมิ ต้องทุกข์ในสังขาร ทรมาน ในวิถีแห่งอบาย

20

ดื่มด่ำ ธรรมรส


ครั้นตายลง ปลงจิต คิดไตร่ตรอง จัดงานศพ ให้สอดคล้อง ประเพณี ลู ก หลานคนใด ครั้ น เมื่ อ พ่ อ แม่ ต ายลงแล้ ว ก็ ป ลงจิ ต จัดงานศพให้ตามสถานภาพของพ่อแม่และตามฐานะของตน อย่างเต็มที่ เข้าลักษณะ ๓ ประการ คือ...ไม่ให้ศพเสียศักดิ์ศรี ไม่ให้ผีอับจน ไม่ให้เทพเบื้องบนอับอาย... ครั้นเมื่อตนเองตายลง ก็จะได้มีลูกหลานจัดงานศพ อุทิศบุญกุศล ในทางตรงกันข้าม ลูกหลานคนใดที่หวงสมบัติ คิดว่าจัด งานศพพ่อแม่มีแต่จะสิ้นเปลือง ทั้งที่ตนเองมีฐานะดี แต่มีความ ตระหนี่ในทรัพย์สินคิดแต่จะเอาไว้กินไว้ใช้ในการบันเทิง ทั้งไม่ ตั้งใจที่จะกรวดน้ำ ถ้าจะทำใหญ่ก็เพียงเลี้ยงเหล้ายา ได้หน้า หา กำไรคืน ลูกหลานแบบนี้ครั้นตนเองตายลง ลูกหลานของตนก็จะ กระทำอย่างนั้นต่อตน งานศพก็ไม่ดี เป็นผีก็ต้องอดอยาก ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ขอรับรองว่าเป็น “กรรมในชาตินี้ มี ผลจริง” ลูกคนใดทำกรรมดีอันเป็นความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ ก็ ไ ด้ รั บ ผลดี ๑๐ ประการ ส่ ว นลู ก คนใดกระทำไม่ ดี ต่ อ พ่ อ แม่ ก็ย่อมได้รับกรรมอันกระทำให้ตนเองย่ำแย่ ๑๐ ประการ

พระราชวิจิตรปฏิภาณ 21


อันว่าพ่อแม่นั้นท่านเป็นทุกอย่างแก่ชีวิตของลูก ขอแสดง “ความเป็น” ดังนี้ พ่อแม่เป็น พรหมสี่พักตรา รักษาลูก สอนผิด - ถูก กิริยาอาการ อาจารย์ใหญ่ เป็นอรหันต์ ทองคำ ผ่องอำไพ เป็นผู้ให้ ให้ ให้ ใจจุนเจือ คิดถึงลูก ก็เยี่ยมหน้า มาให้เห็น ยามลำเค็ญ ปรากฏหน้า มาช่วยเหลือ ยามได้ดี หน้าปรีดา มาเอื้อเฟื้อ ตกต่ำเหลือ หน้าพ่อแม่ แค่สองคน หน้าพ่อแม่ ผุดผ่อง ดุจท้องฟ้า น้ำวาจา โปรยปราย ดุจสายฝน น้ำใจท้น ล้นหลั่ง ดั่งสายชล ดวงกมล อกตักแม่พ่อ พระธรณี พ่อนั้นเป็น พระเดช ปกเกศเกล้า แม่นั้นเล่า พระคุณ อุ่นเกศี พระคุณแม่ พระคงคา มหานที พระคุณพ่อ พระสุรีย์ ส่องโลกา พระคุณแม่ พระเมตตา มหานิยม พระคุณพ่อ แคล้วคลาดคม ผสมกล้า 22

ดื่มด่ำ ธรรมรส


ช่วยป้องกัน สรรพภัย ไม่บีฑา ลูกบูชา สุดชีวิต สุดจิตใจ บุตร-ธิดา คนใด เมื่อรู้ความเป็นอัปมงคลและรู้ความเป็น อุดมมงคล ก็พึงบำรุงบิดามารดา คือ - หวงแหน ให้เหมือนกับหวงดวงตา - ดูแล - รักษา ให้ยิ่งกว่าแพทย์, พยาบาล - ป้องกันจากภัยพาล ให้ยิ่งกว่าทหารกล้า - สนองเจตนา ให้ยิ่งกว่าแก้วเนรมิต - ใกล้ชิด ให้ยิ่งกว่าหนุ่ม-สาวแรกรักกัน - จัดสรร ให้เหมือนนักขายสินค้า ที่ต้องการเงินตราจากผู้ซื้อ - อย่าถือสา เหมือนกับว่าพระธรณีไม่มี ความโกรธต่อมนุษย์และสัตว์ - ทำกิจวัตร ให้เหมือนสัจจะของพระอาทิตย์ ขึ้น-ลงตรงเวลา - บูชา ให้เหมือนดั่งว่าเลี่ยมพระมีค่า ห้อยคอ - งอนง้อ ให้เหมือนยามเราร้องขอต่อ เทพเทวา - ยินดีปรีดา ให้เหมือนดังว่าถูกหวยรางวัลทีห่ นึง่ พระราชวิจิตรปฏิภาณ 23


ทั้ง ๑๐ อุปมานี้ ขอลูก ๆ ทั้งหลายจงไปไตร่ตรองมองให้ เห็ น ความจริ ง แท้ แล้ ว พึ ง ปฏิ บั ติ ต่ อ พ่ อ แม่ ใ ห้ มั่ น คง ก็ จ ะได้ รั บ

บุญญาผลานิสงส์มงคลอันสูงสุดสุด คือ ยามตกต่ำก็ไม่สูญหาย (ตั้งตัวได้) ถึงคราวตายก็ฟื้น ปืนยิงไม่ออก หอกแทงไม่เข้า เทพเจ้าพิทักษ์รักษา พระราชาหรือผู้บังคับบัญชาโปรดปราน เอวัง ก็มี ด้วยประการฉะนี ้

24

ดื่มด่ำ ธรรมรส


นิมิตหมายที่ด ี ขอความเจริญในพระสัทธรรม จงบังเกิดมีแด่ท่าน

ผู้ฟังทุกท่าน ประเทศไทยของเราผ่านการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรมาแล้ว ช่ ว งนี้ เ ป็ น ช่ ว งเตรี ย มการตั้ ง รั ฐ บาลใหม่ เพื่ อ เข้ า มาทำหน้ า ที ่

ฝ่ายบริหาร ส่วนอื่นนอกจากนั้นก็มีหน้าที่ทางด้านนิติบัญญัติ คือ การร่างกฎหมาย ทั้งกฎหมายอาญาและกฎหมายพัฒนา ประเทศชาติ ซึง่ จักต้องมีคณะกรรมาธิการอีกหลายคณะมาร่วมกัน คิดร่วมกันทำ และต้องให้ความสำคัญต่อผู้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านใน สภาผู้แทนราษฎร เพราะฝ่ายค้าน คือ ค้านในสิ่งที่ฝ่ายบริหาร พระราชวิจิตรปฏิภาณ 25


สอดส่องมองไม่ถงึ บ้าง หรือเมือ่ รัฐบาลมีความหลงเหลิงในอำนาจ หน้าที่บ้าง หรือถ้าเห็นว่ามีการประพฤติมิชอบอันเป็นการทุจริต ฝ่ายค้านก็ทำหน้าที่เปิดโปงด้วยหลักฐานหรือด้วยพฤติกรรมอัน ส่อทุจริต ดังนั้น ฝ่ายค้านจึงเป็นผู้แทนของราษฎรที่ประชาชนต้อง ให้เกียรติมาก ๆ และหาก ส.ส.คนใดพรรคใดทำหน้าทีเ่ ป็นฝ่ายค้าน ก็ต้องรู้สึกว่าตนเองทำหน้าที่อันทรงเกียรติแก่ประเทศชาติ รวม ความว่ า สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจะทำงานด้ า นบริ ห ารหรื อ นิ ติ บั ญ ญั ติ เป็ น กรรมาธิ ก ารเป็ น ฝ่ า ยค้ า น เป็ น ผู้ มี เ กี ย รติ ต่ อ ประชาชน และเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติทุกท่าน ขอให้ ทำหน้าที่ที่ประชาชนสู้อุตส่าห์เสียเงินทองไปลงคะแนนเลือกตั้ง กับทัง้ ต้องใช้ภาษีอากรของประเทศชาติ ซึง่ ก็คอื เงินของประชาชน เป็นจำนวนมาก ถ้าทุกท่านมีความรักและเห็นใจในประเทศชาติ และประชาชน ทุกท่านจะมีพลังในการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ความสุขความเจริญของประเทศชาตินนั้ มีความ “สามารถ” เป็นหลักแล้ว ยังต้องมีความ “สามัคคี” ขอให้อันเชิญพระบรมราโชวาท “รู้รักสามัคคี” สถิตสถาพรในใจ และปฏิบัติให้เป็นจริง คือ “ไม่ว่าร้าย ไม่ทำร้าย ไม่จองเวรซึ่งกันและกัน และสร้างสรรค์ ความสามัคคี” ไม่ว่าร้าย คือ นอกจากจะไม่โจมตีในข้อผิดพลาดแล้ว ยังต้องศึกษาวาจาสุภาษิต ๕ ประการ คือ 26

ดื่มด่ำ ธรรมรส


๑. กาเลนะ ภาสิตา ได้แก่ พูดในเวลาทีค่ วรพูด ด้วยการ ไม่แซง ไม่แย้ง ไม่เถียง ไม่เลี่ยงเมื่อถึงเวลากล่าว ไม่ยาวเกินพอดี มีเนื้อหาเหมาะแก่บุคคล งาน สถานที่ ๒. สั จ จะภาสิ ต า คื อ คำพู ด นั้ น เป็ น คำสั ต ย์ ตนเอง ปฏิบัติได้ ไม่ละทิ้งคำพูด ๓. สัณหะวาจา นุ่มนวล ชวนฟัง ทั้งเสียง ภาษา กิริยา ที่แสดงออก ๔. อัตถะภาสิตา พูดให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง คือ ดับ กังวล ดับความหม่นหมองใจ ให้เกิดปัญญา นำมาซึ่งความร่าเริง ๕. เมตตะจิตเตนะ ภาสิตา มีจิตเมตตาต่อผู้ฟัง คือ ไม่หวงความรู้ เชิดชูความดีและคนดี ชี้แนะข้อผิดพลาด และให้ ปราศจากกิเลส อันความสามัคคีนอกจากไม่ว่าร้ายแล้ว ต้องไม่ทำร้าย คือ ไม่เบียดเบียนกันด้วยลูกน้อง อำนาจ และการพิฆาตเข่นฆ่า เพราะการทำร้ายเป็นการก่อศัตรู ประการต่อมาคือ ไม่ ผู ก เวรซึ่ ง กั น และกั น ในข้อนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ว่า น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ อเวเรน จ สมฺมนฺติ เอส ธมฺโม สนนฺตโน พระราชวิจิตรปฏิภาณ 27


แปลว่า แต่กาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ไม่ระงับด้วย การจองเวร แต่ว่าระงับด้วยการไม่จองเวร การไม่จองเวรนั้นองค์สมเด็จพระทรงธรรม์ได้ตรัสไว้ว่า อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม เย จ ตํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ แปลว่ า การที่ จ ะสยบการจองเวรลงเสี ย ได้ ต้ อ งไม่ ผู ก โกรธว่า เขาได้ด่าเรา เขาทำร้ายเรา เขาเอาชนะเรา เขาช่วงชิง ประโยชน์ของเราไป การคิดอย่างนี้ การปฏิบัติดังพระพุทธพจน์ที่อัญเชิญมานี้ เป็นการสยบการผูกเวรซึ่งกันและกัน ข้อสำคัญอย่างยิ่ง จะต้อง พึงสังวรระวังบุคคลรอบข้างรอบด้าน ที่จะคอยยุแหย่ให้เกิดความ เข้าใจผิดคิดจองเวร จึงต้องยึดภาษิตง่าย ๆ ว่า “เป็นผู้ใหญ่ให้ ระวังหู เป็นผู้น้อยให้ระวังหัว คือ เป็นผู้ใหญ่ระวังผู้น้อยเป่าหู เป็น ผู้น้อยระวังผู้ใหญ่ปั่นหัว” ในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่องให้เห็นการผูกเวรจองเวร เพราะผู้ใหญ่ ชอบให้ ผู้ น้ อ ยเป่ า หู ผู้ น้ อ ยถู ก ผู้ ใ หญ่ ปั่ น หั ว เบื้ อ งต้ น แห่ ง เรื่ อ ง ความว่า... 28

ดื่มด่ำ ธรรมรส


ในอดีตกาลอันพ้นคณนาวิสัยครั้งหนึ่ง พระราชาพระนาม ว่า มหาชนก ครองราชสมบัตอิ ยูใ่ นกรุงมิถลิ าแคว้นวิเทหะ (ซึง่ เป็น ต้นราชวงศ์ ยังมิใช่พระโพธิสัตว์คือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) พระเจ้ า มหาชนกนั้ น มี พ ระราชโอรสสองพระองค์ พระนามว่ า

อริฏฐชนก และ โปลชนก พระราชาพระราชทานตำแหน่งอุปราช แก่องค์พี่ และตำแหน่งเสนาบดีแก่องค์น้อง กาลต่อมาพระมหาชนกราชสวรรคต พระอริฏฐชนกได้ ครองราชสมบัติและทรงตั้งพระโปลชนกเป็นอุปราช ครั้นแล้ว อมาตย์ผู้ใกล้ชิดคนหนึ่งไปเฝ้ากราบทูลพระราชาหลายครั้งว่า “ขอเดชะ พระอุปราชเล่นไม่ซื่อกับพระองค์” ความสิเนหาของ พระอริฏฐชนกราชต่อพระอนุชา ทนทานคำอาบพิษอันซากซ้ำ

ไม่ได้ พระโปลชนกจึงถูกจองจำและควบคุมรักษาในคฤหาสน์ ใกล้ พ ระราชนิ เ วศ พระโปลชนกทรงตั้ ง สั จ จาธิ ษ ฐานว่ า “ถ้ า ข้าพเจ้าคิดไม่ซื่อกับพระเชษฐราชจริง เครื่องจองจำจงคงตรึง

มื อ เท้ า ของข้ า พเจ้ า แม้ ป ระตู ก็ จ งคงปิ ด สนิ ท ถ้ า ข้ า พเจ้ า มิ ไ ด้ คิดคดทรยศ เครื่องจองจำจงหลุดจากมือและเท้าของข้าพเจ้า แม้ประตูก็จงเปิด” ทันใดนั้นเครื่องจองจำได้หักลงเป็นท่อน ๆ แม้ประตูก็เปิดกว้าง ต่อจากนั้นพระโปลชนกก็เสด็จออกไปยังเมืองชายแดน แห่ง หนึ่ง ไปตั้ ง พระองค์ ณ ที่นั้ น ประชาชนจำท่ านได้ ก็บ ำรุ ง พระราชวิจิตรปฏิภาณ 29


พระองค์ ตอนนี้ พ ระอริ ฏ ฐชนกราชไม่ ส ามารถจั บ พระองค์ ไ ด้ พระโปลชนกสามารถแผ่อิทธิพลทั่วชนบทชายแดนและรวบรวม กำลังพลจำนวนมาก ทรงดำริว่า “แต่ก่อนนี้เรามิได้คิดคดทรยศ ต่อพระเชษฐา แต่บัดนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เราจึงจะ จัดการตามสมควรแก่กรณี” ทรงให้ประชุมพรรค แล้วเคลื่อนทัพ ไปสู่กรุงมิถิลา พร้อมด้วยมวลชนจำนวนมาก เมื่อถึงก็ทรงให้ ตั้งค่ายพักแรมกองทัพอยู่นอกพระนคร เมื่อเหล่าทหารชาวมิถิลา รั บ ทราบว่ า พระโปลชนกเสด็ จ มา ก็ พ ากั น ขนยุ ท โธปกรณ์ มี พาหนะช้างเป็นต้น มาที่กองบัญชาการของพระโปลชนกเป็น จำนวนมาก ชาวนครพลเรือนอื่น ๆ ก็เข้ามาสวามิภักดิ์ด้วย พระโปลชนกส่งสาส์นเป็นคำขาดถวายพระเชษฐาว่า “แต่ ไหนแต่ไร ข้าพระองค์ไม่เคยเป็นอริกับพระองค์เลย แต่ข้าพระองค์ จะก่อสงคราม ณ บัดนี้ พระองค์จะมอบเศวตฉัตรหรือจะเข้า

ยุ ท ธภู มิ กั น ” พระราชาอริ ฏ ฐชนกรั บ ทราบดั ง นั้ น และตกลง ปฏิบัติการยุทธ จึงทรงเรียกพระอัครมเหสีมาตรัสว่า “ยอดรัก การรบแพ้หรือชนะนั้นมิอาจรู้ได้ ถ้าพี่มีอันเป็นอันตราย น้องจง รักษาครรภ์ให้ดี” ตรัสดังนี้แล้วเสด็จกรีธาทัพออกจากพระนคร ไพร่พลของพระอริฏฐชนกถูกทหารของพระโปลชนกตะลุยหัน่ แหลก และพระองค์เองต้องเสียพระชนม์ชีพในที่รบ 30

ดื่มด่ำ ธรรมรส


เมื่อชาวพระนครทราบว่าพระราชาสวรรคตแล้ว ก็เกิด โกลาหลกันทั่วกรุง ส่วนพระเทวีทราบว่าพระราชาสวามีสวรรคต แล้ว ก็รีบเก็บของสำคัญมีทองเป็นต้นใส่กระเช้า เอาผ้าเก่า ๆ ปูปิดไว้ แล้วใส่ข้าวสารข้างบน ทรงปลอมพระองค์ด้วยภูษาเก่า เศร้ า หมอง วางกระเช้ า บนพระเศี ย ร แล้ ว รี บ เสด็ จ ออกจาก พระนคร แม้ เ ป็ น กลางวั น แสก ๆ แต่ ไ ม่ มี ใ ครจำพระนางได้ พระนางเสด็จออกทางประตูทิศอุดร แต่ไม่ทรงทราบว่าควรจะ มุ่งไปทางใด เพราะไม่เคยเสด็จที่ไหนเลย จึงเสด็จที่ศาลาแห่ง หนึ่งและสอบถามว่ามีคนเดินทางไปนครกาลจัมปากะบ้างไหม เพราะทรงทราบว่ามีนครชื่อนี้... เนื้อเรื่องในพระราชนิพนธ์ที่อัญเชิญมาเพียงเท่านี้ ก็ส่อง ให้เห็นถึงการก่อเวร ผูกเวร แก้แค้น ระหว่างพี่กับน้องซึ่งเป็น

สายเลือดเดียวกัน จนถึงต้องตายกันไปข้างหนึ่ง และเกิดการ พลั ด พราก เกิ ด ความลำบากยากเข็ ญ มิ ใ ช่ พี่ น้ อ งเท่ า นั้ น แต่ กองทั พ และชาวเมื อ งก็ ต้ อ งฆ่ า ฟั น กั น นั่ น เป็ น เพราะอำมาตย์ ใจทราม ซึ่งอำมาตย์ผู้นี้ก็คงถูกประหารหรือถูกสังหารในสงคราม เลือดนี้ เวรทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะผูกใจเจ็บว่า เขาได้ด่าเรา เขาได้ ประทุษร้ายเรา เขาต้องการชนะเรา เขาต้องการช่วงชิงประโยชน์ ของเรา การคิดดังกล่าวนี้มีมูลเหตุ คือ เป็นผู้ใหญ่ไม่ระวังหู เป็น ผู้น้อยไม่ระวังหัว เป็นผู้ใหญ่ถูกเด็กเป่าหู เป็นผู้น้อยถูกผู้ใหญ่

พระราชวิจิตรปฏิภาณ 31


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.