พุทธประวัติ ฉบับพระพุทธรูป 80 ปาง

Page 1



เรียบเรียง : เทพพร มังธานี


พุทธประวัติ ฉบับ พระพุทธรูป ๘๐ ปาง

บรรณาธิการสาระ/สรรค์สาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์ ภาพถ่าย : อนุชิต ค�าซองเมือง รูปเล่ม : มรุต จินตนธรรม ออกแบบปก : วิฑูรย์ โถน้อย พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์ ISBN : 978-616-268-225-4 พิมพ์ครั้งแรก : ๒๕๔๒ พิมพ์ครั้งที่ ๒ : พฤศจิกายน ๒๕๕๙

สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์ บริษัท ส�านักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ากัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-7667 เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน

สาขาทุ่งครุ : โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898 สาขาส�าราญราษฎร์ : 02-221-1050, 02-221-4446

LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET

พิมพ์ที่ : หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์

105/110-112 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-9577 www.thitiporn.com


พระราชปรารภ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ “ปางของพระพุ ท ธเจ้ า ซึ่ ง แสดงพระพุ ท ธจริ ย าวั ต ร ตามพุทธประวัติ และที่มีผู้คิดสร้างขึ้นในภายหลังมีอยู่หลายปาง ด้ ว ยกั น ถ้ า ได้ ร วบรวมขึ้ น เรี ย งตามล� า ดั บ ในพุ ท ธประวั ติ ใ ห้ มี ค�าอธิบายลักษณะของปางนั้นๆ ตลอดจนที่มาและความนิยม ในการสร้าง รวมทั้งปางต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ให้มีปางมากที่สุด เท่าที่จะท�าได้ ก็จะเป็นประโยชน์แก่การศึกษาของพุทธศาสนิกชน และบรรดาผู้สนใจ”*

*จากค�าน�าในหนังสือเรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พมิ พ์ขนึ้ พระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึน้ พระต�าหนักจิตรลดา รโหฐาน ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐


ค�าน�าส�านักพิมพ์ ก่อนพระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระอานนท์ ทูลถามว่า จักให้พุทธบริษัทถือสิ่งใดเป็นเครื่องร�าลึกแทนพระองค์ ทรงตรัส ให้ถือเจดีย์ ๔ ประเภท คือ ธาตุเจดีย์ เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บริโภคเจดีย์ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ ได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน ธรรมเจดีย์ วัตถุที่จารึกพระธรรมค�าสอน อุทเทสิกเจดีย์ ได้แก่ พระพุทธรูป เป็นเครื่องร�าลึกแทนพระองค์ ซึ่งหากผู้ใด ยึดเจดีย์ ๔ เป็นเครือ่ งร�าลึกแล้วจักท�าให้เกิดความเลือ่ มใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า จิตของเขาย่อมผ่องใส เป็นสุขในปัจจุบนั ครัน้ ตายไปย่อมบังเกิดในสวรรค์ พระพุ ท ธรู ป จั ด เป็ น หนึ่ ง ในเจดี ย ์ ๔ ประเภทที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส ให้ยึดถือเป็นเครื่องร�าลึกแทนพระองค์ พระพุทธรูปที่ปรากฏตามสถานที่ ต่างๆ นั้น อิริยาบถและท่าทางจะสร้างตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามพุทธประวัติ ดังนั้น พระพุทธรูปแต่ละปางที่สร้างขึ้นนอกจากเป็นเครื่องสักการะ แล้วยังบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าเอาไว้ด้วย หากชาวพุทธ กราบพระพุทธรูปแล้วได้รถู้ งึ ประวัตคิ วามเป็นมาของพระพุทธรูปปางนัน้ ๆ ด้วย ก็จักเป็นการยังศรัทธาให้แนบแน่นในพระพุทธศาสนามากขึ้น หนังสือ พุทธประวัติ ฉบับพระพุทธรูป ๘๐ ปาง เรียบเรียงโดย เทพพร มังธานี เล่มนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมภาพพระพุทธรูปปางต่างๆ ไว้ ทัง้ หมด ๘๐ ปาง พร้อมบอกลักษณะและประวัตทิ เี่ กีย่ วข้อง เรียงล�าดับตัง้ แต่ ปางประสู ติ จ นถึ ง ปริ นิ พ พาน เป็ น คู ่ มื อ ในการศึ ก ษาลั ก ษณะพระพุ ท ธรู ป ที่มีอยู่มากมาย และเรียนรู้พุทธประวัติได้เป็นอย่างดี าตุ จิร� สต� ธมฺโม ขอพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงด�ารงอยู่สิ้นกาลนาน บริษัท ส�านักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ากัด


ความน�าเรื่อง พระพุทธรูป ๘๐ ปาง พระพุทธรูปปางต่างๆ ที่พุทธบริษัทสักการบูชานั้น นิยม สร้างขึน้ ตามพุทธจริยาทีป่ รากฏในพุทธประวัติ ตามค�าแนะน�าของ พระเถระและนักปราชญ์ในพระพุทธศาสนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นสิ่งสักการบูชาของพุทธบริษัท และน้อมร�าลึกถึงเหตุการณ์ ในพระพุทธประวัติ อันจะเป็นการเพิ่มพูนศรัทธาในการศึกษาและ ปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น ค�าว่า “ปาง” นั้น หมายถึง พระจริยาของพระพุทธเจ้า ทีป่ รากฏในพุทธประวัตนิ นั่ เอง ฉะนัน้ พระพุทธรูปทีเ่ ราสักการบูชา จึงสามารถสืบค้นเรื่องราวในพุทธประวัติได้ทุกปาง แต่ทุกครั้งที่มี การสักการบูชาพระพุทธรูปนั้น หาได้มีความเข้าใจพุทธประวัติ เสมอไปไม่ ถ้าไม่มีศรัทธาที่ตั้งมั่นอย่างดีแล้ว (ศรัทธาที่ดีย่อมมี ความรูท้ ถี่ กู ต้อง (ปัญญา) ประกอบด้วยเสมอ) การบูชาพระพุทธรูป ก็อาจถูกครอบง�าโดยแนวคิดอืน่ ได้งา่ ย และท�าให้พลาดไปจากการ บูชาที่ถูกต้องตามพุทธประสงค์ ผูเ้ รียบเรียงปรารถนาเชิดชูบชู าคุณพระเถระและปวงปราชญ์ ในพระพุทธศาสนา ที่มีกุศลเจตนาได้สร้างสิ่งเคารพบูชาไว้แ ก่ อนุชน และเห็นว่าเป็นการสมควรยิง่ ทีพ่ ทุ ธบริษทั จะรูจ้ กั พุทธจริยา


ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปที่ตนเคารพบูชา อันเป็นการร�าลึกถึง พระคุณของพระบรมศาสดาอย่างแท้จริง ในการเรียบเรียงนั้น ได้ศึกษาข้อมูลจากวรรณกรรมพุทธประวัติหลายเล่ม น�ามาสรุปความเป็นประวัติย่อของพระพุทธรูป แต่ละปางให้จบเป็นตอนๆ ไป ทั้งนี้มิได้ละทิ้งเรื่องที่เป็นปาฏิหาริย์ และพระคุณอันน่าอัศจรรย์ของพระพุทธองค์ ด้วยตระหนักถึง ความเป็นอจินไตยแห่งพระพุทธเจ้าที่มีพุทธานุภาพหาที่สุดมิได้ การบ�าเพ็ญพุทธกิจที่ปรากฏในประวัติย่อของพระพุทธรูป ปางต่างๆ นัน้ แสดงให้เห็นว่าในปริมณฑลของพระพุทธศาสนานัน้ สรรพชีวติ ในโลกตลอดจนเทวดาบนสวรรค์ และพรหมบนพรหมโลก ล้ ว นถู ก อุ ้ ม ชู ใ ห้ ขึ้ น สู ่ ค วามดี ง ามด้ ว ยธรรมะของพระพุ ท ธองค์ สมดังเป็นพระศาสดาของมนุษย์และเทวดา (สตฺถา เทวมนุสฺสาน�) ข้อนี้ท�าให้พุทธบริษัทมั่นใจในค�าสอนของพระพุทธองค์ เพราะว่า ธรรมะนั้นย่อมส�าเร็จประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติทุกคน ไม่ว่าเขาจะ อยู่ในสถานภาพทางสังคมแบบใดก็ตาม และในพุทธประวัติไม่มี ผูโ้ ชคร้ายทีถ่ กู ทอดทิง้ จากพระมหากรุณาอันยิง่ ใหญ่ของพระพุทธองค์ อนึ่ง การปฏิบตั ธิ รรมเพือ่ เข้าสูจ่ ดุ หมายสูงสุดของชีวติ ตามที่ ทรงพร�า่ สอน ยังอ�านวยประโยชน์เกือ้ กูลแก่พชื และสัตว์ในโลกด้วย ท�าให้เห็นว่าเป้าหมายแห่งความดีงามทุกอย่างได้ถูกรวบรวมเข้า ในวิถีเดียวกัน ด้วยอานุภาพแห่งธรรมของพระพุทธองค์


โดยที่การเรียบเรียงครั้งนี้ มุ่งหมายจะให้เป็นประวัติย่อ ของแต่ละปาง เพื่อสะดวกแก่การจดจ�าน�าไประลึกถึงพระคุณของ พระพุทธเจ้าเป็นส�าคัญ จึงมิได้กล่าวถึงประวัตขิ องพระพุทธรูปและ พระพุทธรูปบูชาที่สร้างขึ้นตามความประสงค์ของบุคคล กลุ่มคน หรือตามสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นนั้นๆ รวมทั้งเหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีเป็นจ�านวนมาก ท่านที่ต้องการทราบเรื่อง โดยพิสดารและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปปางนั้นๆ ว่า เป็นศิลปะแบบใด สร้างขึ้นในยุคสมัยใด รายชื่อหนังสือที่ปรากฏ ในท้ายเล่มจะอ�านวยประโยชน์แก่ท่านไม่น้อยเลย หากมีข้อผิดพลาดในหนังสือเล่มนี้ ผู้เรียบเรียงขอน้อมรับ ค�าแนะน�าจากผู้รู้ เพื่อน�ามาปรับปรุงในโอกาสต่อไป ความดีที่เกิดจากหนังสือเล่มนี้ ขอน้อมถวายเป็นเครื่อง สักการบูชาพระรัตนตรัย และขอให้บิดามารดา อุปัชฌาย์ ครู อาจารย์ ผู้มีพระคุณทุกท่านตลอดถึงเพื่อนร่วมวัฏสงสารทุกรูป ทุกนาม ได้ส่วนแห่งความดีงามนี้ด้วยเทอญ เทพพร มังธานี


สารบัญ พระราชปรารภ ค�าน�าส�านักพิมพ์ ความน�าเรื่อง พระพุทธรูป ๘๐ ปาง น�าเรื่อง ปางประสูติ ปางมหาภิเนษกรมณ์ ปางทรงตัดพระเมาลี ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต ปางปัจจเวกขณะ ปางทุกรกิริยา ปางสดับพิณสามสาย ปางทรงสุบิน ปางทรงรับมธุปายาส ปางเสวยมธุปายาส ปางลอยถาด ปางทรงรับหญ้าคา ปางสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ปางตรัสรู้ (ปางสมาธิ) ปางถวายเนตร

๑๕ ๑๗ ๑๙ ๒๑ ๒๓ ๒๕ ๒๗ ๒๙ ๓๑ ๓๓ ๓๕ ๓๗ ๓๙ ๔๑ ๔๓ ๔๕ ๔๗


ปางจงกรมแก้ว ปางเรือนแก้ว ปางห้ามมาร ปางนาคปรก ปางฉันผลสมอ ปางประสานบาตร ปางรับสัตตุก้อนสัตตุผง ปางพระเกศธาตุ ปางร�าพึง ปางปฐมเทศนา ปางประทานเอหิภิกขุ ปางเทศนา ปางภัตตกิจ ปางปลงกรรมฐาน ปางชี้อัครสาวก ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ปางอุ้มบาตร ปางโปรดพุทธบิดา ปางห้ามสมุทร หรือปางห้ามญาติ ปางประทานโอวาท ปางประทานธรรม

๔๙ ๕๑ ๕๓ ๕๕ ๕๗ ๕๙ ๖๑ ๖๓ ๖๕ ๖๗ ๖๙ ๗๑ ๗๓ ๗๕ ๗๗ ๗๙ ๘๑ ๘๓ ๘๕ ๘๗ ๘๙


ปางประทับเรือ ปางห้ามพยาธิ ปางทรงรับผลมะม่วง ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ ปางโปรดพระพุทธมารดา ปางเปิดโลก ปางเสด็จจากดาวดึงส์ ปางลีลา ปางห้ามแก่นจันทน์ ปางขับพระวักกลิ ปางไสยาสน์ ปางประทับยืน ปางประดิษฐานรอยพระบาท ปางพยาบาลภิกษุอาพาธ ปางคันธาระ หรือปางคันธารราษฎร์ ปางขอฝน ปางสรงน�้าฝน ปางชี้มาร ปางชี้อสุภะ ปางสนเข็ม ปางทรงจีวร

๙๑ ๙๓ ๙๕ ๙๗ ๙๙ ๑๐๑ ๑๐๓ ๑๐๕ ๑๐๗ ๑๐๙ ๑๑๑ ๑๑๓ ๑๑๕ ๑๑๗ ๑๑๙ ๑๒๑ ๑๒๓ ๑๒๕ ๑๒๗ ๑๒๙ ๑๓๑


ปางปฐมบัญญัติ ปางประทานพร (แบบนั่ง) ปางประทานพร (แบบยืน) ปางประทานอภัย (แบบนั่ง) ปางประทานอภัย (แบบยืน) ปางโปรดสัตว์ ปางโปรดพญาชมพูบดี (ปางทรงเครื่อง) ปางปาริไลยก์ หรือปางปาเรไลยก์ ปางโปรดอสุรินทราหู ปางประทับเหนือพนัสบดี ปางโปรดพกพรหม ปางโปรดอาฬวกยักษ์ ปางโปรดองคุลิมาลโจร ปางโปรดช้างนาฬาคิรี ปางประดู่ลาย ปางทรงพิจารณาชราธรรม ปางแสดงโอฬาริกนิมิต ปางปลงอายุสังขาร ปางนาคาวโลก ปางรับอุทกัง ปางทรงพยากรณ์

๑๓๓ ๑๓๕ ๑๓๗ ๑๓๙ ๑๔๑ ๑๔๓ ๑๔๕ ๑๔๗ ๑๔๙ ๑๕๑ ๑๕๓ ๑๕๕ ๑๕๗ ๑๕๙ ๑๖๑ ๑๖๓ ๑๖๕ ๑๖๗ ๑๖๙ ๑๗๑ ๑๗๓


ปางโปรดสุภัททปริพาชก ปางประทานปัจฉิมโอวาท ปางปรินิพพาน ภาคผนวก อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จจ�าพรรษา ๔๕ พรรษา ประวัติการสร้างพระพุทธรูป ลักษณะส�าคัญของพระพุทธรูป การแสดงปางด้วยพระหัตถ์ (มุทรา) ท่ายืนของพระพุทธรูป ท่านั่งของพระพุทธรูป พระพุทธรูปปางประจ�าชีวิต พระประจ�าวัน พระประจ�าเดือน พระประจ�าปี ข้อวินิจฉัยเรื่องปางห้ามสมุทร รายนามพระพุทธรูปส�าคัญในประเทศไทย หนังสืออ้างอิง

๑๗๕ ๑๗๗ ๑๗๙ ๑๘๑ ๑๙๗ ๑๙๙ ๒๐๑ ๒๐๒ ๒๐๕ ๒๐๖ ๒๐๗ ๒๐๗ ๒๐๘ ๒๐๘ ๒๐๙ ๒๑๔ ๒๑๙


ประชาชนผู้ถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่นับถือ ย่อมไม่ตกอบายภูมิ ครั้นละร่างมนุษย์ไปแล้ว จักเข้าสู่หมู่เทวดา



น�าเรื่อง

ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงเล่าประวัติย่อของพระองค์ว่า

เราผู้โคตมโคตร เกิดในตระกูลศากยะ เมื่องกบิลพัสดุ์ บิดาเป็น พระราชานามว่า สุทโธทนะ มารดาผู้ให้ก�าเนิดนามว่า มายาเทวี เราอยู่ครองเรือน ๒๙ ปี มีประสาทงดงาม ๓ หลัง แวดล้อม ด้วยหญิงที่ประดับดีแล้วนับหมื่นนาง มีพระชายานามว่า ยโสธรา บุตรชื่อว่าราหุล เราเห็นทุกข์ในความแก่ ความเจ็บและความตาย พอใจกับการแสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์ดังกล่าว ออกผนวช โดยมีมา้ เป็นพาหนะ ท�าความเพียรถึง ๖ ปี ท�าในสิง่ ทีใ่ ครๆ ท�าได้ยาก บรรลุสมั มาสัมโพธิญาณอันสูงสุดใต้รม่ โพธิ์ ประกาศธรรมจักรทีป่ า่ อิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี คู่อัครสาวกของเรามีนามว่า สารีบุตร และโมคคัลลานะ การประชุมสาวกครั้งส�าคัญมีครั้งหนึ่ง ผู ้ เ ข้ า ประชุ ม ล้ ว นแต่ เ ป็ น พระขี ณ าสพจ� า นวน ๑,๒๕๐ รู ป อุปัฏฐากผู้เลิศของเรามีชื่อว่า อานนท์*

* สรุปความจาก พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ของพุทธทาสภิกขุ คณะธรรมทาน, ๒๕๒๓, หน้า ๑๕-๑๗

พุทธประวัติ ฉบับ พระพุทธรูป ๘๐ ปาง 15


16 บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศำสน์ จ�ำกัด


ปางประสูติ พระนางสิริมหามายาประทับยืนใต้ร่มไม้สาละ ณ สวนลุ ม พิ นี แวดล้ อ มด้ ว ยเหล่ า เทวดาและหญิ ง ที่ เ ป็ น พี่เลี้ยงนางนม พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งต้นสาละ ประสูติ พระกุมาร ประวัติย่อ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา อัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะ ประสูติ มีพระประสงค์จะเสด็จไปประสูติที่ราชตระกูลเดิม ของพระนางตามประเพณี ครั้นขบวนเสด็จถึงลุมพินีวัน ซึ่ง อยูร่ ะหว่างกรุงกบิลพัสดุแ์ ละกรุงเทวทหะ พระนางก็ประชวร พระครรภ์จะประสูติ เหล่าราชบริพารที่ตามเสด็จจัดที่ประสูติ ถวาย ณ โคนต้นสาละใหญ่๑ ต้นหนึ่ง พระโพธิสัตว์กุมารจึง ประสูติจากพระครรภ์มารดา๒ ที่ลุมพินีวัน ตรงกับวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ (เดือน ๖)

๑,๒ ดูค�าอธิบายเพิ่มเติม หน้า ๑๘๑

พุทธประวัติ ฉบับ พระพุทธรูป ๘๐ ปาง 17


18 บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศำสน์ จ�ำกัด


ปางมหาภิเนษกรมณ์๑ เจ้ า ชายสิ ท ธั ต ถะทรงม้ า กั ณ ฐกะ มี น ายฉั น นะ มหาดเล็กเกาะหางม้าตามเสด็จ และมีเทวดาแห่ล้อม น�า พระองค์เสด็จข้ามแม่น�้าอโนมา ประวัติย่อ เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงตระหนักถึงทุกข์ในความแก่ ความเจ็บและความตาย ซึ่งย�่ายีสรรพสัตว์ไม่ยกเว้นแก่ใคร มีพระทัยน้อมไปในการเสด็จออกบรรพชา๒ ในที่สุดคืนหนึ่ง ตัดสินพระทัยละความอาลัยในพระราชสมบัติ ทอดพระเนตร พระชายา๓ และโอรส๔ ที่ประสูติได้เพียงวันเดียว เป็นการ อ�าลา แล้วเสด็จขึ้นหลังม้ากัณฐกะ๕ เสด็จออกบรรพชา มีนายฉันนะ๖ ตามเสด็จ โดยตั้งพระทัยว่าเมื่อได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว จะเสด็จกลับมาเทศนาโปรดพระประยูรญาติ พระองค์เสด็จออกบรรพชาขณะมีพระชนม์ ๒๙ พรรษา

๑,๒ ดูค�าอธิบายเพิ่มเติม หน้า ๑๘๑ ๓-๖ ดูค�าอธิบายเพิ่มเติม หน้า ๑๘๒

พุทธประวัติ ฉบับ พระพุทธรูป ๘๐ ปาง 19


20 บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศำสน์ จ�ำกัด


ปางทรงตัดพระเมาลี เจ้ า ชายสิ ท ธั ต ถะมหาบุ รุ ษ ประทั บ นั่ ง บนพระแท่ น พระหัตถ์ซา้ ยรวบพระเมาลี (ผมทีม่ นุ่ ขึน้ เป็นจอม) พระหัตถ์ขวา จับพระขรรค์ (มีดหรือดาบ) ตัดพระเมาลี ประวัติย่อ ครั้ ง เจ้ า ชายสิ ท ธั ต ถะมหาบุ รุ ษ๑ ทรงม้ า กั ณ ฐกะ ข้ามแม่นา�้ อโนมาพร้อมกับนายฉันนะแล้ว เสด็จลงจากหลังม้า ประทับนั่ง บนแท่ น เหนื อ หาดทรายอั น ขาวสะอาด รับสั่ง แก่นายฉันนะว่า “เราจักถือเพศบรรพชิตที่นี่” ทรงเปลื้อง เครื่องประดับของกษัตริย์ทั้งหมดมอบให้ฉันนะพร้อมกับม้า กัณฐกะ เพื่อกลับไปกราบทูลแจ้งข่าวแก่พระประยูรญาติ ให้ทรงทราบ๒ จากนัน้ ทรงเห็นว่า เกสา (ผม) นี้ ไม่สมควรแก่ เพศบรรพชิต จึงทรงจับพระเมาลี (มวยผม) ด้วยพระหัตถ์ซา้ ย จับพระขรรค์ด้วยพระหัตถ์ขวาแล้วตัดพระเมาลีออกเสีย๓

๑-๓ ดูค�าอธิบายเพิ่มเติม หน้า ๑๘๓

พุทธประวัติ ฉบับ พระพุทธรูป ๘๐ ปาง 21


22 บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศำสน์ จ�ำกัด


ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต พระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงาย บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้น อยู่ตรงพระอุระ (อก) เบนฝ่าพระหัตถ์ไปทางซ้าย ประวัติย่อ ณ ริมฝั่งแม่น�้าอโนมา หลังจากที่พระมหาบุรุษตัด พระเมาลีแล้ว ทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต ขณะนั้น ฆฏิการพรหมได้น�าอัฐบริขาร๑ (บริขาร ๘) เข้าไปถวาย พระองค์ทรงนุง่ ห่มผ้ากาสาวพัสตร์ทรงเพศเป็นบรรพชิต แล้ว จึงมอบผ้านุ่งห่มเมื่อยังเป็นคฤหัสถ์คู่หนึ่งแก่ฆฏิการพรหม ฆฏิการพรหมได้น�าผ้าคู่นั้นไปบรรจุไว้ในทุสสเจดีย์ ๒ บน พรหมโลก

๑,๒ ดูค�าอธิบายเพิ่มเติม หน้า ๑๘๔

พุทธประวัติ ฉบับ พระพุทธรูป ๘๐ ปาง 23


24 บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศำสน์ จ�ำกัด


ปางปัจจเวกขณะ พระอิรยิ าบถนัง่ ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซา้ ยประคองบาตร ที่วางอยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นแนบพระอุระ (อก) ประวัติย่อ หลังจากที่พระมหาบุรุษได้บรรพชาแล้ว เริ่มชีวิตใหม่ ด้วยการบิณฑบาตในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เขตเมืองราชคฤห์ รับอาหารพอประมาณแล้วเสด็จออกมาประทับ ณ เชิงเขา แห่งหนึง่ ทอดพระเนตรอาหารซึง่ ปะปนกันในบาตร เกิดความ รังเกียจจนเสวยไม่ลง เพราะเคยเสวยแต่อาหารที่ประณีต ในวัง จึงเตือนพระองค์เองว่า “บัดนีเ้ ป็นบรรพชิต (นักบวช) ต้องอาศัยผูอ้ นื่ เลีย้ งชีพ ไม่มีสิทธิ์เลือกอาหารของบรรพชิต ผู้แสวงหาสัจธรรมนั้น ก็เพียงเพือ่ ให้กายอยูไ่ ด้ ไม่มจี ดุ ประสงค์อนื่ นอกจากแสวงหา ทางหลุดพ้น๑ เท่านั้น” ในที่สุดพระองค์ก็เสวยอาหารโดยปราศจากความ รังเกียจใดๆ ๑ ความหลุดพ้นในพระพุทธศาสนา หมายถึง การพ้นจากทุกข์ทมี่ ี อยูใ่ นภาวะของมนุษย์ (ความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นส�าคัญ)

พุทธประวัติ ฉบับ พระพุทธรูป ๘๐ ปาง 25


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.