พุทธมนต์คาถารักษาโรค

Page 1


โดย... ไพยนต์ กาสี

บรรณาธิการ : ไพยนต์ กาสี น.ธ. เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. ปก/รูปเล่ม : เสาวณีย์ เที่ยงตรง พิมพ์ข้อมูล : ธนวรรณ ขันแข็ง ภาพประกอบ : อนันต์ กิตติกนกกุล, เทิดเกียรติ ปลูกปานย้อย พิสูจน์อักษร : มานิตย์ กองษา


หายป่วยกาย-ใจ ด้วยใช้ธรรมโอสถ กล่าวกันว่า ธรรมะ เป็นเสมือนยารักษาโรค แต่การบอกยาธรรมโอสถ ถ้าจะให้ได้ผลดี และผู้รับนำ�ไปใช้ได้ทันที ต้องบอกให้ครบสูตร ๓ อย่าง คือ ๑. บอกตัวยา หมายถึง ธรรมโอสถที่เป็นฝ่ายปริยัติ คือ ส่วนที่เป็น หัวข้อธรรมสำ�หรับศึกษา ๒. บอกวิธีใช้ หมายถึง ธรรมโอสถที่เป็นฝ่ายปฏิบัติ คือ นำ�ความรู้ที่ ได้จากการศึกษานั้นมาปฏิบัติ ๓. บอกสรรพคุณ หมายถึง ธรรมโอสถที่เป็นฝ่ายปฏิเวธ คือ ผลที่จะ ได้รับจากการปฏิบัติตามหลักธรรมนั้น พุทธมนต์คาถารักษาโรค เล่มนี้ เป็นธรรมโอสถอีกขนานหนึ่ง ที่บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด จัดพิมพ์เผยแผ่โดยคำ�นึงถึง หลักของการบอกยาธรรมโอสถดังกล่าว จึงมอบหมายให้ข้าพเจ้าเรียบเรียงขึ้น โดยมีหลักการว่า ต้องบอกครบสูตรของตำ�รับยาธรรมโอสถ ได้แก่ บอกตัวยา คือ บอกความเป็นมา และความหมายโดยทำ�เป็นคำ�แปลไว้ พร้อมทั้งแนะนำ�ให้สวด เพราะการสวดก็คือการท่องเพื่อให้จำ� อันเป็นวิธีการ เรียนรู้ที่มีมาแต่โบราณ = ปริยัติ บอกวิธีใช้ คือ บอกถึงวิธีปฏิบัติตามความหมายในบทมนต์ = ปฏิบัติ บอกสรรพคุณ คือ บอกผลที่จะได้รับจากการปฏิบัตินั้น = ปฏิเวธ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ พุทธมนต์คาถารักษาโรค เล่มนี้ จักเป็น ธรรมโอสถทีช่ ว่ ยรักษาป้องกัน และบรรเทาความเจ็บป่วยของท่านให้หายไปพลัน ทั้งนี้ท่านต้องสละเวลานั่งสงบใจ แล้วจึงสวดสาธยายทำ�ความเข้าใจความหมาย ในบทสวด และปฏิบัติตามวิธีที่แนะนำ�ไว้นั้น เทอญ.

ด้วยดวงจิตปรารถนา ให้ท่านหายป่วยไข้ น.ธ.เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ.

(2)

เรียบเรียง


รู้เท่า เอาไว้กัน รู้ทัน เอาไว้แก้ ถ้ารู้ลึกซึ้งอย่างแน่แท้ จะได้ทั้งแก้และกัน คนที่เคยไปสวดมนต์ที่วัด หรืออาจสวดด้วยตนเองที่บ้าน มนต์ บทหนึ่งซึ่งนิยมสวดกันหลังจากทำ�วัตรเช้า หรือทำ�วัตรเย็นจบลง คือมนต์ที่ มีชอ่ื ว่า “อภิณหปัจจเวกขณะ” แปลว่า เรือ่ งทีค่ วรพิจารณาอยูเ่ ป็นประจำ� โดยความมุ่งหมายของบทสวดนั้น ต้องการให้ท่านผู้สวดใช้ปัญญาพิจารณา ให้รู้เท่าทันความเป็นไปของชีวิตว่าต้องประสบกับ ๕ สิ่งเหล่านี้ คือ ๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ ๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไป ไม่ได้ ๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ ๔. เราจักพลัดพราก จากของรักของชอบใจทั้งหลาย ๕. เรามีกรรมเป็นของตน คนทำ�ดีย่อมได้ดี ทำ�ชั่วย่อมได้ชั่ว จากความหมายของบทมนต์ ผูเ้ รียบเรียงจึงเรียกว่าเป็น มนต์กนั เมา เพราะช่วยให้เราไม่มัวเมาประมาทการดำ�เนินชีวิตทุกด้าน อีกประการหนึ่ง ที่จะเน้นย้ำ�เป็นพิเศษในที่นี้ ก็คือ การพิจารณาเห็นความจริงในชีวิตที่ต้อง เกิดเจ็บไข้ว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็ใช่ว่าจะไร้ทางแก้และทางป้องกัน แต่ จะแก้และกันอย่างไรก็ต้องมาทำ�ความเข้าใจในเรื่องโรคภัยกันให้ดี

(3)


ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง คำ�ข้างต้นนี้ เป็นคำ�แปลของพระพุทธวจนะที่ว่า อาโรคฺยปรมา ลาภา พระพุทธภาษิตนี้ ผู้เรียบเรียงได้เรียนมาตั้งแต่ครั้งยังศึกษานักธรรม ชั้นตรี ปีพ.ศ. ๒๕๒๗ ในวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ซึ่งสมัยนั้นก็มักจำ� เพี้ยนๆ กันว่า อโรคฺยา ปรมา ลาภา ครั้นพอเรียนบาลีถึงได้รู้ว่าเขียนผิดไป อย่างไรก็ตาม หลายท่านก็เกิดความสงสัยว่า แค่ไม่มีโรคนี่มันจะเป็นลาภ อย่างยิง่ ได้อย่างไร ถ้าบอกว่า ความมีสมบัตพิ สั ถาน คือ ลาภอย่างยิง่ นัน่ ล่ะ ถึงจะเป็นสิ่งที่ถูก อย่างนี้เป็นต้น

เหตุที่คนคิดกันเช่นนี้ ก็เนื่องจากส่วนใหญ่ มักคิดความหมาย คำ�ว่า ลาภ ว่าได้แก่ การได้มาซึ่งสิ่งอันเป็นรูปธรรม คือ สิ่งที่เป็นวัตถุสัมผัสจับต้องได้ เช่น ทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของไร่นา เป็นต้น และคนส่วนใหญ่ทท่ี �ำ งานชนิดหลังสูฟ้ า้ หน้าสูด้ นิ ทำ�มาหากินอย่าง หามรุ่งหามค่ำ� ก็เพราะต้องการลาภพรรค์อย่างว่ากันทั้งนั้น แต่ทั้งนี้ก็อยากให้ท่านไตร่ตรองกันดูว่า ถ้าสุขภาพไม่แข็งแรง สมบูรณ์ดีท่านจะมีเรี่ยวแรงทั้งกาย-ใจที่ไหนไปหาทรัพย์สมบัติ หรือแม้ หากจะเกิดมาบนกองเงินกองทอง แต่ถ้าต้องสามวันดีสี่วันไข้ ชีวิตท่าน ยังจะมีความสุขอยู่กับทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ไหม ? ดังนัน้ ความไม่มโี รค ซึง่ เป็นลาภทางนามธรรม จึงเป็นพระพุทธดำ�รัสอันเป็นอมตวาจาทีแ่ น่แท้ และเป็นสัจธรรมทีต่ อ้ งตระหนักรูอ้ ยูต่ ลอด เวลา

(4)


กายกับใจ สองบ่อใหญ่ที่เป็นรังเกิดโรค ดังทีก่ ล่าวแล้วว่า โรค ความเจ็บไข้เป็นสัจธรรมทีม่ นุษย์ทกุ นาม ยาก จะเลีย่ งพ้นได้ และในความเป็นตัวตนของคนเรานัน้ ประกอบด้วยส่วนสำ�คัญ อยู่ ๒ อย่าง คือ กาย กับ ใจ เพราะกายกับใจรวมกันเข้าตัวเราจึงมีชีวิต ลมหายใจอยูจ่ นทุกวันนี้ อนึง่ กายกับใจแม้จะมีความต่างกันในด้าน กายเป็น รูปธรรม ใจเป็นนามธรรม แต่ก็มีความเป็นไปคล้ายกันหลายอย่าง เช่น.. กาย เราสามารถเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตขึ้นไปตามวัย ใจ เราก็สามารถฝึกฝนให้เจริญก้าวหน้าขึ้นได้ กาย ถ้าไม่ดูแลรักษามันก็เสื่อมโทรมก่อนกาลเวลา ใจ ถ้าไม่ฝึกฝนอบรมให้ใฝ่ดีมันก็มีแต่จะเสื่อมทรามลงทุกวัน โรคเช่นกัน เวลาเกิดมันก็เกิดทีส่ ว่ นสำ�คัญของชีวติ คือ กายกับใจ ในพระพุทธศาสนาท่านใช้ค�ำ ว่า กายิกโรโค โรคทางกาย และเจตสิกโรโค โรคทางใจ เพื่อความเข้าใจจะอธิบายไปทีละอย่าง

โรคทางกายคืออะไร ? โรคทางกาย ก็คือความเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นทั้งภายใน และภายนอกกาย คำ�ว่า โรค มาจากคำ�ในภาษาบาลีว่า โรค (อ่านว่า โรคะ) แปลว่า สภาวะที่ทำ�ลายอวัยวะน้อยใหญ่, ผู้เสียดแทง มันแทงอย่างไร ? ใครเคยป่วยก็คงจะรู้ดี เช่นคนที่เป็นโรคบริเวณ ทรวงอก บางครั้งจะรู้สึกเจ็บปวดจี๊ดเหมือนมีมีดมาแทง หรือแม้แต่จะเป็น บริเวณแข้งขา ถ้าเจ็บป่วยแล้วนั้น บางรายถึงขั้น จะลุก จะนั่ง ก็ร้อง ครวญครางโอดโอย ด้วยรู้สึกเหมือนมีอะไรมาทิ่มแทงให้เจ็บร้าว

(5)


สมมติฐานที่ทำ�ให้เกิดโรคทางกาย ในทางพระพุทธศาสนา สอนอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนมีเหตุปัจจัยให้เกิดทั้งนั้น ความเจ็บป่วยทางกายก็เช่นกัน อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยสมมติฐาน ๘ ประการ ดังข้อความในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สิวกสูตร ว่า “ความเจ็บป่วย อาจมีสาเหตุจาก ดีเป็นเหตุ, เสมหะเป็นเหตุ, ลมเป็นเหตุ, มีทั้งดี ลม เสมหะเป็นเหตุ, ฤดูกาลแปรปรวน, บริหาร ร่างกายไม่สมำ�่ เสมอ, ถูกทำ�ร้าย, และผลกรรม” คุณลุงท่านหนึ่ง เมื่ออ่านหนังสือโพชฌังคปริตร พุทธฤทธิ์พิชิตโรค ที่ผู้เรียบเรียงเคยเขียนไว้ ได้โทรมาพูดคุยสอบถาม พร้อมแนะนำ�ว่า ถ้าจะ เขียนเรื่องเกี่ยวกับการสวดมนต์รักษาโรคเล่มต่อไป ก็น่าจะได้ยกตัวอย่าง โรคที่เกิดจากสาเหตุทั้ง ๘ ไว้ แต่ด้วยข้อจำ�กัดความรู้ในทางแพทย์นั้น ขอ อธิบายกันเท่าที่ค้นข้อมูลได้ ดังนี้

๑. โรคที่เกิดจากดี ดี เป็นอวัยวะภายในของคนและสัตว์ บรรจุ ้นำ�สีเขียวข้นหลั่งจากตับ ทำ�หน้าที่ย่อยอาหาร โรคที่เกิดจากดี เช่น ดีซ่าน, นิ่วในถุงนำ�้ ดี, ท่อน้ำ�ดีอักเสบ, ตับอ่อนอักเสบ, มะเร็งตับ, มะเร็งในท่อน้ำ�ดี เป็นต้น คัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย กล่าวว่า “ดี มี ๒ ชนิด คือ ดีนอกถุงนำ�้ ดี ดีในถุงน้ำ�ดี เมื่อดีนอกถุงนำ�้ ดี กำ�เริบ ทำ�ให้ตาเหลือง เวียนศีรษะ ตัวสั่น คันตามเนื้อตัว เป็นต้น แต่เมื่อ ดีในถุงน้ำ�ดีกำ�เริบ ทำ�ให้สัตว์เป็นบ้า อาจทำ�ในสิ่งที่ไม่ควรทำ� พูดในสิ่ง ไม่ควรพูด คิดในสิ่งที่ไม่ควรคิดได้ ภาษาพระท่านเรียกว่า คนดีกำ�เริบ”

(6)


๒. โรคที่เกิดจากเสมหะ เสมหะ หมายถึง น้�ำ เมือกที่ออกจาก

ลำ�คอ ทรวงอก และลำ�ไส้ เกิดจากการระคายเคือง หรืออักเสบของระบบ ทางเดินหายใจและปอด ทำ�ให้รา่ งกายผลิตน�ำ้ คัดหลัง่ ทีม่ ลี กั ษณะเป็นน�ำ้ เมือก เหลวใส ถ้าไหลออกทางจมูก เรียกว่า นำ�้ มูก ออกทางปาก เรียกว่า เสลด

เสมหะ ที่ขังในระบบ ทางเดินหายใจ ทำ�เป็นโรคหวัดชนิดต่างๆ ไซนัสอักเสบ มีอาการไอ จาม ถ้าขังในปอด ทำ�ให้ร่างกายมีออกซิเจนต่ำ� เกิดการอ่อนเพลียหน้ามืด เป็นต้น

คัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย กล่าวว่า “ในร่างกายคน มีเสมหะประมาณหนึ่งบาตร มีสีขาวเหมือนนำ�้ ในผลมะเดื่อ ตั้งอยู่ในท้อง โดยปกติพื้นท้องจะมีกลิ่นเหม็นคล้ายซากศพ แต่เมื่อมีเสมหะพอกพูนหนาขึ้นจะช่วยปิดกลิ่นเหม็นไม่ให้ฟุ้งออกทาง ปากจากการเรอ เหมือนไม้กระดานที่ใช้ปิดส้วม”

๓. โรคที่เกิดจากลม ลม เป็นหนึ่งในธาตุ ๔ คือ ดิน นำ�้ ไฟ

ลม ที่ประชุมกันเป็นกาย ธาตุลมในร่างกาย เช่น ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัด ลงเบื้องต่ำ� ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ เป็นต้น เมื่อ ธาตุลมในร่างกายแปรปรวน ไม่ทำ�งานเป็นปกติ ทำ�ให้เกิดโรคได้ เช่น วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

๔. โรคที่เกิดจากดี เสมหะ ลม โรคชนิดนี้ภาษาพระ เรียกว่า

อาพาธสันนิบาต คือ โรคที่เกิดจากการประชุมกันของสมมติฐานทั้ง ๓ นั้น ภาษาทางการแพทย์ เรียกว่า ไข้สันนิบาต ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้ ชักกระตุก และบ่นเพ้อ เป็นต้น

(7)


๕. โรคที่เกิดจากฤดูกาลแปรปรวน ฤดูกาล ในที่นี้หมายถึง

สภาวะดินฟ้าอากาศ เกิดความเปลีย่ นแปลง เช่น หนาวจัด ร้อนจัด เป็นต้น ก็เป็นเหตุให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ทำ�ให้ไม่สบายได้

๖. โรคที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำ�เสมอ

หมายถึง โรคที่เกิดจากการจับจด อยู่กับอิริยาบถ ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน อย่างใดอย่างหนึ่ง นานจนเกินไป เป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้ เช่น นั่งนานๆ ก็ทำ�ให้ปวดหลัง เป็นโรคริดสีดวงทวาร เป็นต้น

๗. โรคทีเ่ กิดจากการถูกทำ�ร้าย หมายถึง โรคทีเ่ กิดจากกระทำ�

ของคน สัตว์ท�ำ ให้ได้รับบาดเจ็บ เช่น ถูกแทง ถูกสุนัขกัด เป็นต้น

๘. โรคที่เกิดจากผลกรรม หมายถึง โรคที่เกิดจากการทำ�ทุจริต

ทางกาย วาจา ใจ ทั้งในอดีตชาติ ปัจจุบันชาติ โดยมากมักเกิดจากการ ผิดศีล เช่น ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ชาตินี้จึงเป็นโรคร้ายที่รักษาไม่หาย หรือ ชอบทำ�ร้ายเบียดเบียนสัตว์ ชาตินี้ท�ำ ให้ป่วยเรื้อรัง ๓ วันดี ๔ วันไข้ เป็นต้น

โรคจากสมมติฐาน ๗ ประการแรก อาจรักษาได้ด้วยยา แต่ถ้า มีเหตุจากกรรมเก่า ไม่อาจรักษาด้วยยาอย่างเดียว ต้องรักษาทางใจ ด้วย การสวดมนต์ ทำ�บุญกุศล และเจริญสมาธิภาวนา รวมถึงใช้ยาธรรมโอสถ คือ เปลี่ยนพฤติกรรมในปัจจุบัน ให้เป็นคนทำ�ดี พูดดี คิดดี เข้าช่วย อีกทาง ดังเช่น พระนางโรหิณนี อ้ งสาวพระอนุรทุ ธะ เป็นโรคเรือ้ นจากกรรมเก่า พระพีช่ ายจึงแนะนำ�ให้สร้างหอฉัน ปูลาดอาสนะ จัดน้ำ�ดื่มถวายพระ เมื่อ นางปฏิบัติตามทำ�ให้หายจากโรคเรื้อน

(8)


ช่างสังเกต จะเห็นเหตุผิดปกติของกาย ทีจ่ ริง ความเจ็บป่วยทางร่างกาย ถ้าเป็นคนทีใ่ ส่ใจในสุขภาพ หรือ เป็นคนช่างสังเกตสักหน่อยนัน้ ก็อาจจะรูก้ นั ล่วงหน้าได้วา่ ตนกำ�ลังจะมีความ เจ็บป่วยไข้มาเยือนหรือไม่ เช่น เกิดอ่อนเปลีย้ เพลียแรง เบือ่ ข้าวปลาอาหาร ทานอะไรก็ไม่คอ่ ยได้ น�ำ้ หนักลดหายลงไปอย่างผิดปกติ เป็นต้น ผู้เรียบเรียงเคยอ่านบทความของอาจารย์ปิ่น มุทุกันต์ ที่ท่านเขียน เรื่องวิธีสังเกตอาการความเจ็บป่วยทางกาย โดยท่านว่า ได้ฟังมาจากหมอ แผนโบราณอีกทีหนึ่ง ความว่า “โรคทางกาย มีอาการ ๗ อย่าง คือ ๑) เจ็บ, ๒) ปวด, ๓) แสบ, ๔) ร้อน, ๕) เย็น, ๖) คัน, ๗) ชา ทั้งแสบ ทั้งคัน

อาการที่เหลือนอกจากนี้ เป็นเพียงอาการผสม เช่น มีอาการเจ็บด้วย ปวดด้วย ก็เรียก เจ็บปวด ถ้าเจ็บกับคันผสมกัน ก็เรียก เจ็บๆ คันๆ

บางทีก็ผสมกันถึง ๓ อาการ คือ ปวด แสบ ร้อน ก็พูดกันว่า ปวดแสบปวดร้อน”

จากอาการของโรคทีท่ า่ นอาจารย์วา่ มานัน้ ก็ท�ำ ให้เราเห็นภาพของ ความป่วยไข้ทางกายได้ชดั เจนขึน้ เพราะความเจ็บป่วยบางอย่างก็รวมอาการ เหล่านี้อยู่ในโรคเดียวกัน เช่น ปวดหัวเป็นไข้ ก็ท�ำ ให้รสู้ กึ เจ็บปวดเมือ่ ยล้าไป ทัง้ กาย บางรายทีเ่ ป็นมากก็มกั มีอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาว ถ้าคอเราอักเสบ เพราะไอ ก็ท�ำ ให้แสบไปทัง้ ลำ�คอทีเดียว นีเ่ พียงแค่โรคไข้หวัดธรรมดา มันยัง แสดงอาการทางกายได้ตั้งมากมาย

(9)


โรคทางกาย อะไรเป็นโรคอย่างยิ่ง ? เคยสังเกตไหม เวลามีเหตุให้ต้องไปโรงพยาบาล ไม่ว่าจะป่วยเอง หรือไปเยี่ยมญาติมิตรคนรู้จัก สิ่งหนึ่งที่มักเห็นจนชินตา คือว่า ทำ�ไมมีคน มากมายเดินขวักไขว่ มาครัง้ ใดคนไข้แน่นทุกที แต่โรคทีค่ นมารักษาทีโ่ รงพยาบาล เมื่อเทียบอัตราส่วนกับคนป่วยด้วยโรคอีกชนิดหนึ่งนั้นเทียบกันแทบไม่ติด เพราะทุกคนล้วนเคยเป็นโรคยอดฮิตนีท้ ง้ั นัน้ ทว่าคนส่วนใหญ่ไม่คอ่ ยรูส้ กึ ตัว ว่าเป็นกัน โรคที่ว่านั้นคือ โรคหิว ทำ�ไมความหิวถึงเป็นโรคอย่างยิง่ ? ดูกนั ง่ายๆ โรงพยาบาลทีส่ ร้าง ไว้รักษาคนไข้ด้วยโรคอื่นๆ นั้น ตำ�บล อำ�เภอ จังหวัดหนึ่งๆ มีกันไม่กี่แห่ง แต่โรงพยาบาลรักษาโรคหิวต้องลงทุนลงแรงสร้างไว้ในบ้านกันทุกครัวเรือน เห็นจะได้ หรือโรคทางกายอย่างอื่นที่เป็นกันง่าย เช่น ปวดหัวตัวร้อนนั้น นานๆ เป็นกันที ทานยาดีเข้าไปอาการป่วยก็หาย แต่โรคหิวนี่เป็นกัน ทุกวันๆ ละ ๓ เวลา รักษาอย่างไรไม่หายขาด ได้แต่บำ�บัดเป็นมื้อๆ ไป พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า “ชิคจฺฉา ปรมา โรคา” แปลเป็นไทยว่า “ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง”

และสิ่งมีชีวิตที่ยังเป็นปุถุชนทั้งหลาย ย่อมรักตัวกลัวตายเป็นธรรมดา จึงได้หาอาหารมาประทังชีวิต ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่อยากให้ฉุกคิดสักนิด ถึงวิธีที่จะได้ข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงชีพ

เพราะบางคนใช้วิธีแสวงหาในทางที่ผิดศีล ผิดธรรม ผิดกฎหมาย ใครหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องทำ�นองนี้ แม้จะรักษาโรคหิวเพื่อเลี้ยงชีวิตของ ตนได้ แต่ก็หนีไม่พ้นเวรกรรมที่จะนำ�สู่อบายในสัมปรายภพ

(10)


อาหารต้านทานโรค พอพูดถึงเรื่องกินแล้ว ก็ต้องพูดเลยไปถึงสิ่งที่คนกินคือ อาหาร อันแปลว่า สิ่งคำ�้ จุนชีวิต ซึ่งมิได้หมายเอาเฉพาะของที่กินทางปากเท่านั้น แต่รวมถึง สิง่ ทีท่ า่ นสัมผัสรับรูแ้ ล้วสบายใจ ดังคำ�ทีว่ า่ อาหารตา อาหารใจ ในพระพุทธศาสนา จึงจัดอาหารเป็น ๔ ชนิด ๑. กวฬิงการาหาร อาหารคือคำ�ข้าว คนทั้งที่ป่วยและไม่ป่วยก็ ต้องรับประทาน เพราะทุกชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหารชนิดนี้เป็นหลัก ๒. ผัสสาหาร อาหารคือการสัมผัสสิ่งที่ผ่านเข้ามาทางตา หู เป็นต้น คนป่วยบางคนเวลาอยูโ่ รงพยาบาล จิตใจห่อเหีย่ วคิดถึงลูกหลาน ครั้นคนเหล่านั้นมาเยี่ยมกอดสัมผัสลูบไล้ จิตใจก็แช่มชื่นเบิกบานขึ้นมา ๓. มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา เจตนา เป็น ปัจจัยให้การทำ� พูด คิด สำ�เร็จเป็นกรรม ซึง่ อาหารชนิดนีก้ น็ �ำ มาเลีย้ งชีวติ ได้ คนไข้บางรายเมื่อนึกถึงบุญที่เคยทำ�ไว้ ก็เกิดกำ�ลังใจรักษาตัว บางท่านนี่ ไม่กลัวตาย เพราะรู้ว่าได้เตรียมเสบียงบุญไว้พร้อมสรรพ ๔. วิญญาณาหาร อาหารคือความรับรู้ ได้แก่ รับรูถ้ งึ สิง่ ทีต่ นได้รบั ผ่านผัสสะ อย่างขณะนี้ท่านป่วยมีทุกขเวทนาทางกาย ก็ให้รู้และยอมรับ มันให้ได้ ความป่วยก็จะหยุดอยู่แค่ที่กาย แต่ใจไม่ป่วยด้วย

โรคทางใจ เมื่อพูดถึงโรคทางกาย อีกสิ่งที่จะขาดไม่ได้ คือ โรคทางใจ โรคทางกาย เกิดเมื่อใดมักทำ�ให้ร่างกายก็อ่อนแอ โรคทางใจ เช่นกันมันเกิดคราใดก็ทำ�ให้จิตอ่อนแอเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส ในภาษาพระจึงเรียกอีกอย่างว่าโรคกิเลส โรคทางกาย สังเกตได้จากอาการอ่อนเพลียระโหยโรยแรง รู้สึก ไม่กระปรี้กระเปร่า ร้อนๆ หนาวๆ อย่างไรบอกไม่ถูก

(11)


โรคทางใจ ก็สังเกตอาการได้จากความรู้สึก หิวกระหาย, ร้อนรนกระวนกระวาย, หน้ามืดตาลายไม่รู้ถูกรู้ผิด เป็นต้น เพราะคนที่เป็นโรคทางใจนี้ มีสมมติฐานเกิดจากกิเลส โดยเฉพาะกิเลสที่เป็นตัวการใหญ่ คือ ความโลภ โกรธ หลง เพราะเมื่อกิเลส ๓ ตัวนี้เกิดขึ้นทำ�ให้ผู้นั้นมีความตริตรึกนึกคิดไป ในทางชั่วทั้งสิ้น ภาษาพระเรียกว่า อกุศลวิตก เช่น ความโลภเกิดขึ้น ก็คิด อยากได้เป็นของตน มีความโกรธเกิดขึน้ ก็คดิ จองล้างจองผลาญ มีความหลง เกิดขึ้น ก็คิดไปในทางเบียดเบียนผู้อื่น เป็นต้น คนที่เป็นโรคทางใจ อันเกิดจากกิเลสรุมเร้าจิต เรียกอีกอย่างว่า เป็นโรคภูมแิ พ้ทางใจ คนทีเ่ ป็นโรคนี้ จะมีปฏิกริ ยิ าต่อสิง่ ทีม่ ากระทบประสาทสัมผัสผิดปกติไปจากคนส่วนใหญ่รสู้ กึ กัน เช่น ตาเห็นของสวยงาม คนทัว่ ไป คิดว่าเป็นธรรมดา ทว่าคนเป็นโรคใจไม่คิดอย่างนั้น กลับเกิดความหวั่นไหว ในจิต คิดอยากได้มาครอบครองจนเกินขอบเขต เป็นเหตุให้ท�ำ ทุจริตเพื่อให้ ได้สง่ิ นัน้ เป็นต้น คนเป็นโรคภูมแิ พ้ทางใจ จึงมีผลร้ายกว่ามากมายนัก โรคภูมิแพ้ทางกาย แพทย์วินิจฉัยว่า เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกาย บกพร่อง โรคภูมิแพ้ทางใจ พระพุทธเจ้าวินิจฉัยว่า เกิดจากภูมิคุ้มกัน กิเลสบกพร่อง โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่รักษาได้ คือ โรคภูมิแพ้ทางกาย ก็อาศัยยา ตามแพทย์สั่ง หรืออยู่ในที่อากาศดีก็มีโอกาสหายขาด แต่โรคภูมิแพ้ทางใจ ต้องอาศัยธรรมโอสถของพระพุทธองค์ มาประพฤติปฏิบตั ขิ ดั เกลาจริตอัธยาศัย ให้กิเลสค่อยๆ บรรเทาเบาบาง จนกระทั่งจางหายจากใจในที่สุด

(12)


ไหว้พระสวดมนต์ กุศลวิธีรักษากาย-ใจในยามป่วย หลังเสนอเรื่องโรค สาเหตุทำ�ให้เกิดโรคแล้วนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่ากายจะ เกิดโรคอะไรก็ตาม เราผูเ้ ป็นพุทธศาสนิกชนก็ตอ้ งไม่ลมื รักษาใจไม่ให้ปว่ ยตาม การรักษาโรคทางแพทย์ หมอจะรักษาตามอาการที่ปรากฏทาง กายหรือสมมติฐานของโรคเป็นหลัก แต่การรักษาโรคของพระพุทธเจ้า ทรงแนะให้รักษาโรคทางกายไปพร้อมกับการรักษาใจ เพราะทรงมองว่า กายกับใจนัน้ มีความสัมพันธ์กนั อย่างแนบแน่น การรักษาโรคจึงต้องทำ�ควบคู่ กันไป การไหว้พระสวดมนต์ เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ผู้ป่วยสามารถนำ�มา ใช้รักษากายและใจในยามเจ็บไข้ เพราะ... การสวดมนต์ เป็นการเปล่งถ้อยคำ�ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นเสียง เปล่งถ้อยคำ�ที่มีพลังในตัวเอง และเสียงเปล่งที่ออกมานั้น มีความสูงต่ำ�ทุ้ม แหลมแตกต่างกันไป ตามลักษณะของฐานกร์ของเสียงนั้นๆ การสั่นของ เสียงนี้จะช่วยเข้าไปกระตุ้นต่อมประสาทต่างๆ ในร่างกาย ต่อมประสาท ส่วนไหนที่กำ�ลังเสื่อมเมื่อถูกกระตุ้นบ่อยเข้า ก็มีโอกาสคืนสู่สภาวะเป็นปกติ จึงมีผลเป็นการช่วยรักษาโรคทางกาย การสวดมนต์ เมื่อว่าโดยความหมายของบทที่สวดกันนั้น ล้วน เป็นคำ�ที่มีความดีงาม ทั้งยังเป็นสัจธรรมที่สอนให้ยอมรับความจริงว่าสิ่ง ทั้งหลายล้วนอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เมื่อมี ความรู้ความเข้าใจในชีวิตตนว่าก็ต้องเป็นเช่นนี้เช่นกัน ก็ทำ�ให้ผู้ป่วยไม่มี ความเครียดวิตกกังวล รู้จักมองโลกในแง่ดี มีก�ำ ลังใจต่อสู้กับโรคร้าย เมื่อ ผู้ป่วยมีก�ำ ลังใจเข้มแข็ง ก็เป็นแรงผลักดันให้หายโรคได้ ต่อไปก็ขอเชิญท่านทั้งหลายได้ลงมือสวดมนต์ตามลำ�ดับที่จัดและ ชี้แจงไว้ในหน้าสารบัญบทสวดมนต์

(13)


สารบัญบทสวดมนต์ ๑. บูชาพระรัตนตรัย แม้ยามป่วยไข้ จิตใจก็ ไม่ ไร้ที่พึ่งพิง ๒. หายป่วยกาย-ใจ ด้วยสวดสาธยายคาถาสามภาณ ๓. ปลดปลงความเจ็บไข้ ด้วยใช้สัญญา ๔. สวดคาถามหาเมตตาใหญ่ ไว้ช่วยแก้ ไขรักษาโรคเวรโรคกรรม ๕. เชื่อมั่นในพระพุทธคุณ มีบุญหนุนให้หายจากความเจ็บไข้ ๖. หายจากโรคร้าย ด้วยใช้ชินบัญชรคาถา ๗. สวดพระปริตร พิชิตโรค ๘. แก้เคราะห์กรรมที่ท�ำ ให้ป่วย ด้วยสวดบทมนต์บูชาพระประจำ�วันเกิด ๙. คาถามหาอุตม์ ๑๐. ทำ�สมาธิภาวนา แผ่เมตตารักษาโรคกาย-ใจ

๑๕ ๒๕ ๓๙ ๕๗ ๗๗ ๘๕ ๑๐๑ ๑๑๑ ๑๒๒ ๑๒๓

หมายเหตุ : เนื่องจากมีบทสวดมนต์หลายบทด้วยกัน ถ้าสวดทั้งหมดในวันเดียวอาจ ใช้เวลานาน ท่านจึงแบ่งสวดเป็นวันๆ ไปได้ โดยในบทที่ ๑ ใช้สวดก่อน ทุกครัง้ แล้วจึงเลือกสวดบทที่ ๒-๘ มาสวดต่อในแต่ละวันไป แล้วจึงใช้ บทที่ ๙-๑๐ สวดปิดท้ายที่ได้สวดมนต์ในครั้งนั้นๆ เช่น [๑, ๒, ๙, ๑๐], [๑, ๓, ๙, ๑๐], [๑, ๔, ๙, ๑๐] เป็นต้น


๑. บูชาพระรัตนตรัย แม้ยามป่วยไข้ จิตใจก็ไม่ไร้ที่พึ่งพิง คนเราเวลาเกิดเหตุการณ์อะไรให้สะดุ้งตกใจ ก็มักกล่าวคำ�อุทาน อะไรออกไปต่างๆ นานา แต่ถ้าเป็นผู้มั่นคงในพระพุทธศาสนาก็มักกล่าว คำ�ว่า “พุทโธ ธัมโม สังโฆ” เช่น “พุทโธ ธัมโม คุณพระคุณเจ้าช่วย” ซึง่ การเปล่งอุทานรำ�ลึกนึกถึงคุณพระรัตนตรัยลักษณะนี้ มีมาแต่ครัง้ พุทธกาล ดังมีตำ�นานเล่าขานในพระไตรปิฎกว่า นางพราหมณีคนหนึ่งเวลาสะดุ้ง ตกใจอะไรก็จะกล่าวว่า “นะโม ตัสสะ” เป็นต้น ผลก็คอื ทำ�ให้นางเรียกสติ เรียกขวัญกำ�ลังใจให้มาอยู่กับตัวได้อย่างทันทีทันใด ในบุคคลผูเ้ จ็บป่วยไข้กเ็ ช่นกัน จิตใจของท่านส่วนใหญ่กม็ กั วิตก กังวล กลัวว่าตนจะเป็นอะไรมากไหม เมื่อไหร่ความเจ็บไข้จะหาย เพื่อ เป็นการเตรียมสภาพใจของเรา ให้พร้อมที่จะเผชิญกับความเจ็บไข้ อย่างไม่หวั่นไหว จึงได้นำ�บทสวดมนต์ที่เกี่ยวกับการบูชาพระรัตนตรัย มาแนะให้สวดกัน เพือ่ ใจท่านผูเ้ จ็บป่วยมีทพ่ี ง่ึ พิงอาศัย ทัง้ เป็นการรักษา ขนบธรรมเนียมจารีตอันดีงามของไทย ทีจ่ ะทำ�อะไรก็ให้นกึ ถึงคุณของสิง่ นัน้ เรียกว่าเป็นการ “ไหว้ครู” ก่อนสวดมนต์บทอื่นๆ ต่อไป พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

15


๑.๑ บทบูชาพระรัตนตรัย อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ.

ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้.

อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ.

ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้.

อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ.

ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้.

๑.๒ บทกราบพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผูม้ พี ระภาคเจ้า, ผูร้ ู้ ผูต้ น่ื ผูเ้ บิกบาน. (กราบ)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว, ธัมมัง นะมัสสามิ. ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว, สังฆัง นะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ) ดอกไม้พวงมาลัยที่ผู้ป่วยนำ�มากราบบูชาพระ แล้วแขวนไว้ที่หัวเตียง เวลาต้องนอนโรงพยาบาลก็นำ�มาเป็นคติสอนใจได้ว่า ดอกไม้นั้นมันสวยสด อยู่ได้เพียงวันสองวันก็ต้องทิ้งไป ร่างกายเราที่ป่วยไข้นี้ก็เป็นสิ่งชั่วคราวที่ ยืมธรรมชาติมาใช้ เมื่อถึงเวลาก็ต้องคืนธรรมชาติไป คิดได้อย่างนี้ท่านจะ สบายทั้งกาย-ใจแม้ในยามเจ็บไข้ได้ป่วย

16

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง


๑.๓ บทชุมนุมเทวดา ผะริตว๎ านะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา, อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ, สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน, ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต, ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา, ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา. ขอท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงมีจิตเมตตาแผ่ไป แล้วอย่าได้มีจิต ฟุ้งซ่าน ตั้งใจสวดพระปริตรเถิด, ข้าพเจ้าขออัญเชิญหมู่เทวดาทั้งหลาย ทีส่ ถิตอยูบ่ นสวรรค์ชน้ั กามภพก็ดี รูปภพก็ดี บนยอดเขา และทีห่ บุ เหวก็ดี ที่วิมานบนอากาศก็ดี, ที่เกาะก็ดี ที่แว่นแคว้นก็ดี ที่บ้านก็ดี ที่ต้นไม้ใหญ่ และป่าชัฏก็ดี ที่เรือนก็ดี ที่ไร่และนาก็ดี, รวมถึงยักษ์ คนธรรพ์ และ พญานาค ที่อาศัยอยู่ในน้ำ� บนบก ที่ลุ่ม ที่ดอนทั้งหลาย จงมาประชุมกัน, ขอเทวดาผู้เป็นสาธุชนทั้งหลาย ผู้มายืนอยู่ ณ ที่ใกล้แล้ว จงสดับคำ�สอน อันประเสริฐของพระมุนี จากข้าพเจ้า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้ เป็นแห่งการเวลาฟังธรรม. เทวดานั้นมีท้ังที่เป็นสัมมาทิฐิและมิจฉาทิฐิอย่างพญามารที่มา ผจญขัดขวางพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ นัน่ ก็เป็นเทวดาอยูใ่ นสวรรค์ชน้ั ที่ ๖ เรียกว่า ชัน้ ปรนิมมิตวสวัตดี ป่วยครานีอ้ าจมีเหตุจากถูกเทวดามิจฉาทิฐิ เบียดเบียนเอาแต่ถ้าเราสวดมนต์ภาวนาอยู่ประจำ� ทำ�ให้เทวดา ต้องมีเมตตาจิตต่อเราเป็นแน่

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

17


๑.๔ คำ�สมาทานศีล ๕ ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. การสมาทานศีลก่อนสวดมนต์ ก็เพือ่ ให้เรามีความบริสทุ ธิค์ รบทัง้ ๓ ทาง คือ กาย วาจา ใจ ช่วยให้มีบุญหนุนพ้นเวรภัยจากความเจ็บป่วยได้ เพราะต้องไม่ลืมว่า การทำ�ผิดศีล เช่น ศีลข้อ ๑ ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทำ�ให้เป็น ผู้มีจิตใจหยาบช้า เกิดชาติหน้า จะมีอายุสั้นพลันตาย ซ้�ำ มีโรคร้ายเบียดเบียน เป็นต้น ดังนั้น การสวดสมาทานศีล ๕ ก็เพื่อเป็นการตั้งสัตย์ปฏิญาณตนว่า เราจะรักษาศีลไม่ให้ขาด เพื่อตัดเหตุที่จะต้องรับผลกรรมจากการผิดศีล

๑.๕ บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,

ขอนอบน้อมแด่พระผูม้ พี ระภาคเจ้า พระองค์นน้ั , อะระหะโต, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส, สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง. (สวด ๓ จบ) บทนี้ เป็นบทมนต์ตั้งกระแสจิต คือ ก่อนสวดมนต์ หรือทำ�พิธีกรรมใด มักสวดบทนี้ก่อน เพื่อรวมพลังใจให้เป็นหนึ่ง จึงมีอานุภาพช่วยให้ปลอดภัยใน ทุกสถานการณ์ ดังนั้น มาสร้างพลังพุทธานุภาพให้เกิดด้วยอวัยวะ ๑๒ อย่าง คือ มือ ๒ ข้าง กับนิ้วทั้ง ๑๐ ประคองไว้ระหว่างอกใกล้หัวใจ แล้วสวดมนต์ บทนะโมไปด้วยจิตสงบเย็น ก็จะเป็นพลังใจรักษาตัวให้หายเร็วขึ้น

18

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง


๑.๖ บทขอขมาพระรัตนตรัย วันทามิ พุทธัง, สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.

ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระพุทธเจ้า, ขอพระพุทธองค์ โปรดทรง ยกโทษทั้งปวงที่ข้าพเจ้าทำ�ล่วงเกินด้วยเทอญ.

ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระธรรม, ขอพระธรรม โปรดยกโทษทั้งปวง ที่ข้าพเจ้าทำ�ล่วงเกินด้วยเทอญ.

ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระสงฆ์, ขอพระสงฆ์ โปรดยกโทษทั้งปวง ที่ข้าพเจ้าทำ�ล่วงเกินด้วยเทอญ.

วันทามิ ธัมมัง, สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. วันทามิ สังฆัง, สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.

ความเชื่อเรื่องการลบหลู่ดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะที่ทำ�กับวัดวา อารามพระสงฆ์องค์เจ้า ว่าอาจทำ�ให้ชีวิตเราเดือดร้อนนั้น มีมาแต่โบราณ และการทำ�ผิดพลาดพลั้งต่อพระรัตนตรัย หรือศาสนสถานทำ�ให้ตน พบเคราะห์ร้าย ผู้เรียบเรียงเคยมีประสบการณ์ได้เห็น ขณะยังบวชเป็นสามเณร อยู่ที่จังหวัดเชียงราย ประมาณปีพ.ศ. ๒๕๓๓ ที่วัดมีการจัดงานบุญใหญ่ถวาย สลากภัตร ธรรมดาวัดบ้านนอกมักมีห้องน้ำ�ไม่พอต่อผู้มาร่วมงาน ทำ�ให้เกิด เหตุการณ์ประหลาดกับพีช่ ายท่านหนึง่ ซึง่ ได้แอบไปปัสสาวะข้างต้นโพธิ์ เพราะ หลังจากนั้น ๒ วัน อัณฑะเขาก็บวโตและเจ็บปวดขึ้นมา จะไปหาหมอก็อาย จึงให้ผู้มีอาคมในหมู่บ้านทำ�น้ำ�มนต์ให้กิน หลังกินน้ำ�มนต์ ๓ วัน อาการก็ทุเลา แต่เจ้าอัณฑะยังไม่หายบวม จึงกลับไปหาลุงที่ทำ�น้�ำ มนต์อีกได้รับคำ�แนะนำ�ว่า พิจารณาดูให้ดกี อ่ นหน้านีไ้ ปอุจจาระปัสสาวะใส่สถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิบ์ า้ งไหม ทำ�ให้ นึกขึน้ ได้เลยนำ�ดอกไม้ธปู เทียนไปกราบไหว้ขอขมาต้นโพธิน์ น้ั ต่อมาอาการบวม ก็หาย

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

19


๑.๗ บทไตรสรณคมน์

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,

ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบเท่าถึงพระนิพพาน,

แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบเท่าถึงพระนิพพาน,

แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบเท่าถึงพระนิพพาน.

ทุติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,

ตะติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.

ไตรสรณคมน์ (อ่านว่า ไตร-สะ-ระ-นะ-คม) แปลว่า การถึงทีพ่ ง่ึ ๓ อย่าง บทนี้ จึงสวดเพือ่ ปฏิญาณตนรับเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นทีพ่ ง่ึ อาศัยหรือให้มีพระรัตนตรัยเป็นผู้น�ำ ในชีวิต การสวดบทไตรสรณคมน์ส�ำ หรับรักษาความเจ็บป่วย หรือสวดสะเดาะเคราะห์ตอ่ ชะตา ให้เพิม่ คำ�สวดว่า “ชีวติ งั ยาวะ นิพพานัง” ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้ผปู้ ว่ ย มีกำ�ลังใจ และไม่ลืมจุดหมายสำ�คัญของพระพุทธศาสนาคือพระนิพพาน แม้ในยามเจ็บป่วย

20

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง


๑.๘ บทสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิ โส ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, 1 อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส, 2 สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, 3 วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ, สุคะโต,4 เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี, 5 โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,6 เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,

สัตถา เทวะมะนุสสานัง,7

เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม, ภะคะวาติ.9 เป็นผู้มีความจำ�เริญ จำ�แนกธรรมสั่งสอนสัตว์. 8

บทนี้ สวดเพื่อสรรเสริญพระคุณทั้ง ๙ ของพระพุทธเจ้า เรียกว่า นวหรคุณ (ดูตามเลขอารบิค) ในที่นี้ขออธิบายพุทธคุณบางข้อเพื่อก่อให้เกิด ศรัทธาปสาทะ พระพุทธเจ้าเรานั้น ทรง... เป็นผู้รู้ หมายถึง ทรงรู้แจ้งในธรรมเป็น เครื่องตรัสรู้คืออริยสัจ ๔, ผู้ตื่น หมายถึง ทรงตื่นจากความหลับด้วยอำ�นาจ กิเลส, ผู้เบิกบาน หมายถึง ทรงเป็นผู้มีความสุข ความอิ่มใจในภาวะที่พ้นจาก กิเลสทั้งหลาย แต่ถา้ จะว่าไปในเรือ่ งธรรมดาสังขาร พระพุทธเจ้านัน้ ขณะยังทรงพระชนม์ อยูก่ ม็ คี วามเจ็บไข้เป็นครัง้ ครา แต่กท็ รงอดกลัน้ ด้วยอธิวาสนขันติรกั ษาพระองค์ไป ฉะนั้น ท่านผู้กำ�ลังป่วยก็ให้คิดย้อนกลับว่า เราเป็นคนธรรมดาสามัญชน ก็คงหนีไม่พ้นความเจ็บไข้ไปได้ แต่เมื่อกายมันเจ็บไข้ นอกจากรักษากาย ต้องรักษาใจมิให้ปว่ ยตามด้วย คุณของพระพุทธเจ้าจึงช่วยให้หายป่วยฉะนีแ้ ล

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

21


๑.๙ บทสรรเสริญพระธรรมคุณ ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,1

พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว, สันทิฏฐิโก,2 เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง, อะกาลิโก,3 เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จ�ำ กัดกาล, เอหิปัสสิโก,4 เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด, โอปะนะยิโก,5 เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.6 เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.

บทนีส้ วดเพือ่ สรรเสริญคุณ ๖ ประการ ของพระธรรม (ดูตามเลขอารบิค) ซึ่งหากว่าผู้ใดปฏิบัติตาม ชีวิตก็จะประสบกับความสุขตามสมควรแก่ธรรมที่ตน ปฏิบัติได้ และผู้ใดฝึกฝนอบรมใจให้อุดมด้วยธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป ก็จะเป็นอุปนิสัย ตามส่งให้เข้าถึงพระนิพพานในอนาคตกาล อนึง่ ถ้ากล่าวถึงหลักธรรมทีแ่ สดงถึงผลให้เกิดความเจ็บไข้ พระพุทธองค์ ก็ทรงแสดงไว้ ว่า “การสั่งสมบาป นำ�ทุกข์มาให้” แล้วทุกข์ที่ทำ�ให้เกิดความ เจ็บไข้มันเกิดจากบาปอะไร ? ก็ทรงชี้แจงหลักธรรมไว้ในจูฬกัมมวิภังคสูตรว่า “คนบางคนในโลกนี้ มีปกติชอบทำ�ร้ายเบียดเบียนผูอ้ น่ื สัตว์อน่ื ให้เดือดร้อน ทุกข์ทรมาน ครัน้ เขาตายไปจะเข้าถึงทุคติอบาย เมือ่ มาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ ก็จะทำ�ให้เป็นผู้มีโรคภัยรุมเร้าให้ต้องทนทุกข์ทั้งกาย-ใจ” ท่านผูป้ ว่ ยทัง้ หลาย เมือ่ ได้รหู้ ลักธรรมทีว่ า่ นี้ เมือ่ หายเจ็บไข้ ก็อย่าได้ ไปสร้างเหตุคอื การเบียดเบียดผูอ้ น่ื อีกต่อไป หากทำ�ได้กเ็ ป็นการตัดเงือ่ นไข ทีจ่ ะต้องรับกรรมจากความเจ็บป่วยไปประการหนึ่ง

22

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง


๑.๑๐ บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,1

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,๑

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,2

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว,๒

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,3

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,4

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว,

ยะทิทัง,

ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ ๔ คู๓่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ,

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,

หมายถึง ปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน หมายถึง ปฏิบตั ติ ามพระธรรมวินยั ทีพ่ ระพุทธเจ้าบัญญัติ และไม่ปฏิบตั เิ พือ่ หวังลาภสักการะ ๓ คูแ่ ห่งบุรษุ ๔ คู่ คือ ๑ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เรียกว่า พระโสดาบัน แปลว่า ผูถ้ งึ กระแสแห่งพระนิพพาน มี ๓ ประเภท คือ ผู้เกิดอีกหนึ่งชาติ, ผู้เกิดอีก ๒-๓ ชาติ, และ ผู้เกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ๒ สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล เรียกว่า พระสกทาคามี แปลว่า ผูก้ ลับมาสูโ่ ลกนีอ้ กี ครัง้ คือเกิดอีกชาติเดียวก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ๓ อนาคามิมรรค อนาคามิผล เรียกว่า พระอนาคามี แปลว่า ผูไ้ ม่มาสูโ่ ลกนีอ้ กี คือ ผูเ้ ป็น พระอนาคามีหลังจากตายไปแล้วจะไปเกิดในพรหมโลกและบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่นั้น ๔ อรหัตตมรรค อรหัตตผล เรียกว่า พระอรหันต์ แปลว่า ผู้ห่างไกลจากกิเลส. ๑ ๒

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

23


อาหุเนยโย,5

เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขานำ�มาบูชา,

ปาหุเนยโย,6

เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขาจัดไว้ต้อนรับ, ทักขิเณยโย,7 เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน, อัญชะลิกะระณีโย,8 เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำ�อัญชลี,

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.9

เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

บทนี้ สวดสรรเสริญคุณ ๙ ประการ ของพระสงฆ์ (ดูตามเลขอารบิค) ดังนั้น การสวดบทระลึกถึงคุณพระสงฆ์จะเสริมกำ�ลังใจให้หายป่วยก็ด้วย น้อม คุณ ๔ ข้อต้น มาประยุกต์ใช้ในการรักษาตน เช่น เราจะทำ�ตัวเป็นคนไข้ที่ดีเชื่อฟังคำ�หมอแนะนำ� (ปฏิบัติดี) เราจะรับประทานยา มาตรวจตรงตามเวลาที่หมอนัด (ปฏิบัติตรง) ของแสลงอะไรที่หมอห้ามว่า ถ้ากินแล้วโรคจะกำ�เริบกว่าเก่า เรา จะระมัดระวัง ไม่ตามใจปาก (ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์) หากต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เราจะมีสามัญสำ�นึก ได้ว่าอะไรควรทำ� อะไรควรงดเว้น (ปฏิบัติสมควร) เป็นต้น คนไข้ที่ท�ำ ตัวเช่นนี้นอกจากจะหายไว คุณหมอท่านไหนก็อยากรักษา และนอบบูชาด้วยอามิสเพราะคุณ ๕ ข้อท้าย เพราะในการทำ�บุญ ทุกคราใจเราจะรู้สึกว่าเป็นสุขเย็นสบาย ยิ่งโดยเฉพาะในเวลาเจ็บไข้ หากได้มี โอกาสทำ�บุญใส่บาตร หรือจัดสังฆทานไปถวายพระ จะช่วยเสริมกำ�ลังใจ คนไข้ได้มากขึ้น

24

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง


๒.

หายป่วยกาย-ใจ ด้วยสวดสาธยายคาถาสามภาณ คาถาสามภาณ มีในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เหตุที่ได้ชื่อว่า สามภาณ เป็นเพราะว่า พระคาถาทั้ง ๓ นี้ มีเนื้อความที่ พรรณนาถึงอานิสงส์การเจริญภาวนาโพชฌงค์ ๗ ประการเหมือนกัน ว่า สามารถช่วยให้ผเู้ จ็บป่วยหายจากอาพาธได้ จึงเป็นมนต์ทใ่ี ช้สวดให้ผปู้ ว่ ยฟัง ดังนั้น เวลาสวดคาถานี้นิยมสวดทั้ง ๓ พระสูตรไปพร้อมกัน โดย เรียงลำ�ดับการสวดก่อนหลัง ตามเหตุการณ์ทพ่ี ระพุทธเจ้าทรงแสดงโพชฌงค์ ทัง้ ๗ โปรดพระมหากัสสปะ พระมหาโมคคัลลานะ ให้หายจากความเจ็บไข้ และในคราวทีพ่ ระพุทธองค์ประชวรพระวรกาย จึงโปรดให้พระจุนทะสวด สาธยายให้ทรงสดับ ก็ทรงระงับดับอาพาธให้หายไปเช่นกัน และในพิธีกรรมสวดมนต์ต่อนามอายุของผู้ป่วย โดยเฉพาะใน ท่านผู้ป่วยหนักนั้น โบราณาจารย์ก็ก�ำ หนดให้สวดคาถาสามภาณ เพื่อ เป็นการให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสทำ�บุญกุศลในบัน้ ปลายชีวติ ของตน ให้เกิด ผลวิบากสมบัติดีงาม อันจะเป็นพลวปัจจัยนำ�ไปสู่สุคติสัมปรายภพต่อไป ซึ่งก็คงจะคล้ายเป็นการเตรียมเสบียงบุญให้ผู้ป่วยนั่นเอง พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

25


๒.๑ มะหากัสสะปะโพชฌังคะสูตร เอวัมเม สุตงั ๑. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ เวฬุวะเน กะลันทะกะนิวาเป. เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ อายัส๎มา มะหากัสสะโป ปิปผะลิคุหายัง วิหะระติ อาพาธิโก ทุกขิโต พาฬ๎หะคิลาโน๒.

ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้. สมัยหนึ่ง พระ ผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต ใกล้พระนครราชคฤห์. ก็สมัยนั้น พระมหากัสสปะ อาพาธ ไม่สบาย เป็น ไข้หนัก อยู่ที่ปิปผลิคูหา.

อะถะโข ภะคะวา สายัณหะสะมะยัง ปะฏิสลั ลานา วุฏฐิโต เยนายัส๎มา มะหากัสสะโป เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิต๎วา ปัญญัตเต อาสะเน นิสีทิ. นิสัชชะ โข ภะคะวา อายัส๎มันตัง มะหากัสสะปัง เอตะทะโวจะ :ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไป หาพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามพระมหากัสสปะว่า :-

บทสวดมนต์ที่มาจากพระไตรปิฎกส่วนใหญ่ จะใช้คำ�ขึ้นต้นว่า เอวัมเม สุตัง นั้น เพราะว่า บทมนต์เหล่านี้ท่านพระอานนทเถระ จดจำ�มาจากคำ�สอนของพระพุทธเจ้า แล้วจึงนำ�มา บอกเล่าแก่สงฆ์ในคราวทำ�ปฐมสังคายนา, ๒ อ่านว่า พาน-ละหะ-คิ-ลา-โน ๑

26

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง


กัจจิ เต กัสสะปะ ขะมะนียัง กัจจิ ยาปะนียัง กัจจิ ทุกขา เวทะนา ปะฏิกกะมันติ โน อะภิกกะมันติ ปะฏิกกะโมสานัง ปัญญายะติ โน อะภิกกะโมติ.

กัสสปะ เธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่ก�ำ เริบขึ้นแลหรือ ความทุเลา ย่อมปรากฏ ความ กำ�เริบขึ้น ไม่ปรากฏแลหรือ ?๑

นะ เม ภันเต ขะมะนียัง นะ ยาปะนียัง พาฬ๎หา เม ทุกขา เวทะนา อะภิกกะมันติ โน ปะฏิกกะมันติ อะภิกกะโมสานัง ปัญญายะติ โน ปะฏิกกะโมติ.

พระมหากัสสปะ๒ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ข้าพระองค์ อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำ�เริบ หนัก ยังไม่คลายไป ความกำ�เริบขึ้น ย่อมปรากฏ ความทุเลา ไม่ปรากฏ.

สัตติเม กัสสะปะ โพชฌังคา มะยา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลกี ะตา อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตันติ. กะตะเม สัตตะ. กัสสปะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญ แล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพือ่ ความรูย้ ง่ิ เพือ่ ความตรัสรู้ เพือ่ นิพพาน. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?

เป็นคำ�ทักทายไต่ถามถึงทุกข์สขุ ทีพ่ ระพุทธเจ้าทรงใช้กบั พระภิกษุสงฆ์ ซึง่ ก็คงคล้ายกับทีเ่ รา ชอบถามคนรู้จักแต่ไม่เจอกันนานว่ายังสบายดีอยู่ไหม ๒ พระมหากัสสปะ เดิมท่านชื่อว่า ปิปผลิ แต่คนมักเรียกชื่อโคตรตระกูลว่า กัสสปะ และ พระทีม่ ชี อ่ื กัสสปะมีหลายองค์ เช่น อุรเุ วลกัสสปะ นทีกสั สปะ คยากัสสปะ และกุมารกัสสปะ ดังนั้น เพื่อป้องกันความสับสนจึงเพิ่มคำ�ว่า มหา นำ�หน้าชื่อของท่านไว้ ที่ใช้คำ�นี้ ก็เพราะ ท่านเป็นพระที่มีอายุมากกว่าพระกัสสปะรูปอื่น และท่านเป็นผู้มีอายุยืน ๑๒๐ ปี ถึงดับ ขันธ์นิพพาน ๑

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

27


๑. สะติสัมโพชฌังโค โข กัสสะปะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

กัสสปะ สติสมั โพชฌงค์ อันเรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญ แล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพือ่ ความรูย้ ง่ิ เพือ่ ความตรัสรู้ เพือ่ นิพพาน.

๒. ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังโค โข กัสสะปะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. กัสสปะ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์... (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑)

๓. วิริยะสัมโพชฌังโค โข กัสสะปะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. กัสสปะ วิริยสัมโพชฌงค์... (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑)

๔. ปีติสัมโพชฌังโค โข กัสสะปะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. กัสสปะ ปีติสัมโพชฌงค์... (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑)

สัมโพชฌงค์ แปลว่า องค์แห่งการตรัสรู้พร้อม หมายถึง องค์ธรรมที่ สนับสนุนผูป้ ฏิบตั ใิ ห้ตรัสรูบ้ รรลุมรรคผลนิพพาน มีความหมายโดยย่อแต่ละข้อดังนี้ ๑ แปลว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้พร้อมคือ สติ แปลว่า ความ ระลึกได้ ได้แก่ ระลึกได้ทง้ั เรือ่ งอดีตทีผ่ า่ นไป, ระลึกรูใ้ นเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ เฉพาะหน้า ปัจจุบัน, รู้เท่าทันถึงผลที่จะเกิดในอนาคตกาลข้างหน้าได้ ๒ แปลว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรูพ้ ร้อมคือ ธัมมวิจยะ แปลว่า การสอดส่องหรือเลือกเฟ้นธรรม ได้แก่ แยกแยะธรรมทีส่ ติระลึกขึน้ ได้ จนรูว้ า่ ธรรมมีทง้ั ทีเ่ ป็นกุศลและอกุศล แล้วจึงคิดละอกุศลธรรม เลือกปฏิบตั ธิ รรมทีเ่ ป็นกุศล ๓ แปลว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้พร้อมคือ วิริยะ แปลว่า ความเพียร ได้แก่ ใช้ความเพียรปลุกจิตให้กล้าละธรรม พยายามบำ�เพ็ญกุศล ธรรมให้เกิดมีในตน

28

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง


๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌังโค โข กัสสะปะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลกี ะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. กัสสปะ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑)

๖. สะมาธิสมั โพชฌังโค โข กัสสะปะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. กัสสปะ สมาธิสัมโพชฌงค์... (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑)

๗. อุเปกขาสัมโพชฌังโค โข กัสสะปะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. กัสสปะ อุเบกขาสัมโพชฌงค์... (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑)

๔ แปลว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้พร้อมคือ ปีติ แปลว่า ความอิ่มใจ ได้แก่ เมื่อปฏิบัติในกุศลได้จะเกิดธรรมปีติ ความอิ่มอกอิ่มใจใน การปฏิบัติดีของตน ๕ แปลว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้พร้อมคือ ปัสสัทธิ แปลว่า ความสงบ ได้แก่ ความสงบระงับของใจทีไ่ ม่ฟงุ้ ซ่านหวัน่ ไหวไปตามอำ�นาจกิเลส ๖ แปลว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้พร้อมคือ สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต ได้แก่ เมื่อใจไม่มีความฟุ้งซ่าน ย่อมทำ�ให้เจริญสมาธิได้ สูงขึน้ ไปตามลำ�ดับจนถึงขัน้ ปฐมฌาน เพือ่ เป็นบาทฐานในการเจริญวิปสั สนาให้ เห็นแจ้งต่อไป ๗ แปลว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้พร้อมคือ อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย ได้แก่ เมื่อจิตตั้งมั่นจนถึงขั้นปฐมฌาน ก็ท�ำ สมาธิต่อไปจนได้ ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน จนจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เรียกว่า เอกัคคตาจิต และขณะที่จิตสงบนิ่งในอารมณ์เดียวนี้ จะเกิดอุเบกขา ความ วางเฉยแน่วแน่อยู่ด้วยจากสมาธิจิตที่ตั้งมั่น กระทั่งเกิดญาณ ความรู้แจ้งใน สิ่งต่างๆ ทำ�ให้จิตหลุดพ้นจากอาสวกิเลสได้ในที่สุด

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

29


อิเม โข กัสสะปะ สัตตะ โพชฌังคา มะยา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีกะตา อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตันตีติ.

กัสสปะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านีท้ เ่ี รากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญ แล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพือ่ ความรูย้ ง่ิ เพือ่ ความตรัสรู้ เพือ่ นิพพาน.

ตัคฆะ ภะคะวา โพชฌังคา ตัคฆะ สุคะตะ โพชฌังคาติ. อิทะมะโวจะ ภะคะวา. อัตตะมะโน อายัสม๎ า มะหากัสสะโป ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทิ. วุฏฐะหิ จายัส๎มา มะหากัสสะโป ตัมหา อาพาธา ตะถา ปะหีโน จายัสม๎ ะโต มะหากัสสะปัสสะ โส อาพาโธ อะโหสีติ.

พระมหากัสสปะ กราบทูลว่า ข้าแต่พระผูม้ พี ระภาคเจ้า โพชฌงค์ ดีนัก ข้าแต่พระสุคตเจ้า โพชฌงค์ดีนัก. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส ไวยากรณภาษิตนี้แล้ว. พระมหากัสสปะปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระมหากัสสปะหายจากอาพาธนั้นแล้ว และอาพาธนั้น อันพระมหากัสสปะละได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

“เจ็บหัว ปวดท้อง เป็นไข้ ไอหวัด เป็นต้น เป็นโรคเกิดจาก กาย ส่วนโรคอีกชนิดหนึง่ ซึง่ เกิดขึน้ ที่ใจ เมือ่ เกิดขึน้ ในใจของใคร แล้วจะต้องป่วยถึงแก่ความตาย หรือเจียนตาย ไม่แพ้โรคทีเ่ กิดขึน้ ที่กาย โรคที่ว่านี้ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง เป็นโรคเรื้อรังรักษาให้หายยาก แม้แพทย์ชั้นเยี่ยมในโลกนี้ก็อาจ มีโรคพรรค์อย่างว่านีป้ ระจำ�อยู่ในตัวไม่มากก็นอ้ ย ฉะนัน้ หมอธรรมดา ซึ่งไม่มีความรู้ ไม่ฉลาดในอารมณ์นั้นๆ แล้ว ไม่สามารถรักษาโรคทางใจได้ พระพุทธเจ้าทรงเป็นแพทย์ผู้วิเศษ ใช้ธรรมโอสถเป็นยารักษาโรคที่เกิดใน จิตใจให้หายได้เด็ดขาด เพราะพระองค์ทรงรู้แจ้งที่มาของโรคใจ และวางยาวิเศษ อันได้นามว่า มรรค ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เหมาะสมแก่การรักษาโรคใจนั้น” โอวาทธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

30

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง


๒.๒ มะหาโมคคัลลานะโพชฌังคะสูตร เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ เวฬุวะเน กะลันทะกะนิวาเป. เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ อายัส๎มา มะหาโมคคัลลาโน คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต วิหะระติ อาพาธิโก ทุกขิโต พาฬ๎หะคิลาโน.

ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ กระแต ใกล้พระนครราชคฤห์. ก็สมัยนั้น พระมหาโมคคัลลานะ๑ อาพาธ ไม่สบาย เป็นไข้หนัก อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ.

อะถะโข ภะคะวา สายัณหะสะมะยัง ปะฏิสลั ลานา วุฏฐิโต เยนายัส๎มา มะหาโมคคัลลาโน เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิต๎วา ปัญญัตเต อาสะเน นิสีทิ. นิสัชชะ โข ภะคะวา อายัสม๎ นั ตัง มะหาโมคคัลลานัง เอตะทะโวจะ :ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไป หาพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามพระมหาโมคคัลลานะว่า :-

พระมหาโมคคัลลานะ มีนามเดิมว่า โกลิตะ เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เป็นเลิศในทาง มีฤทธิ์มากกว่าพระสาวกรูปใด ดังเช่นในบทสวดพาหุงตอนหนึ่ง ซึ่งท่านได้รับพระบัญชาให้ แสดงฤทธิ์ปราบพญานันโทปนันทนาคราช ที่บังอาจแผ่พังพานบดบังแสงอาทิตย์ปิดทาง เสด็จของพระพุทธเจ้าจนพญานาคตนนั้นยอมแพ้ ๑

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

31


กัจจิ เต โมคคัลลานะ ขะมะนียัง กัจจิ ยาปะนียัง กัจจิ ทุกขา เวทะนา ปะฏิกกะมันติ โน อะภิกกะมันติ ปะฏิกกะโมสานัง ปัญญายะติ โน อะภิกกะโมติ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไป หาพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครัน้ แล้ว ได้ตรัสถามพระมหาโมคคัลลานะว่า โมคคัลลานะ เธอพออดทน ได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้แลหรือ ทุกขเวทนาคลายลงไม่กำ�เริบ ขึ้นหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำ�เริบขึ้นไม่ปรากฏหรือ ?

นะ เม ภันเต ขะมะนียัง นะ ยาปะนียัง พาฬ๎หา เม ทุกขา เวทะนา อะภิกกะมันติ โน ปะฏิกกะมันติ อะภิกกะโมสานัง ปัญญายะติ โน ปะฏิกกะโมติ.

พระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ข้าพระองค์ อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์ ย่อม กำ�เริบหนัก ยังไม่คลายลง ความกำ�เริบ ย่อมปรากฏ ความทุเลา ไม่ปรากฏ.

สัตติเม โมคคัลลานะ โพชฌังคา มะยา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีกะตา อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตันติ. กะตะเม สัตตะ.

โมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคล เจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?

พระมหาโมคคัลลานะแม้ท่านจะทรงฤทธิ์ปาฏิหาริย์ แต่บั้นปลายชีวิตถูกโจรทุบตีจนเกือบ นิพพาน ท่านประสานกระดูกให้ตดิ กันด้วยกำ�ลังแห่งฤทธิใ์ นฌานแล้วไปทูลลาพระพุทธเจ้า ก่อนนิพพานดับขันธ์ คนโบราณจึงนำ�เหตุการณ์ตอนนี้มาแต่งเป็นคาถารักษาโรคกระดูก ด้วยผูกเป็นมนต์วา่ “เถโร โมคคัลลาโน อันตะระธายิตว๎ า ภูมสิ ขุ มุ งั ปะระมาโน ภะคะวะโต อิทธิยา อัตตะโน สะรีเร มังสัง โลหิตัง”

32

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง


๑. สะติสัมโพชฌังโค โข โมคคัลลานะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลกี ะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

โมคคัลลานะ สติสัมโพชฌงค์ อันเรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคล เจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

๒. ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังโค โข โมคคัลลานะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. โมคคัลลานะ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์... (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑)

๓. วิริยะสัมโพชฌังโค โข โมคคัลลานะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. โมคคัลลานะ วิริยสัมโพชฌงค์... (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑)

โพชฌงค์ทง้ั ๗ ข้อ นำ�มาประยุกต์ใช้รกั ษาโรคได้อกี ด้วย โดยปฏิบตั ดิ งั นี้ ๑. สติสมั โพชฌงค์ นำ�มารักษาสุขภาพกาย ด้วยมีความระลึกนึกขึน้ ได้ ถึงเรื่องที่จำ�เป็นต่อการรักษาโรค เช่น แพทย์นัดก็ต้องไปตามนัด อย่าหลงลืม เป็นอันขาด รักษาสุขภาพใจ ด้วยมีสติรเู้ ท่าทันความเจ็บไข้ทเ่ี กิดขึน้ ว่าเป็นเรือ่ ง ธรรมดา เล็งเห็นคุณค่าของวันเวลาที่เหลืออยู่เพื่อทำ�กุศลความดี ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ นำ�มารักษาสุขภาพกาย ด้วยสังเกตอาการ ความเจ็บไข้ เลือกปฏิบัติในสิ่งเป็นคุณแก่โรค รักษาสุขภาพใจ ด้วยมีปัญญา สอดส่องเห็นความไม่จีรังของสังขาร เป็นทุกข์เพราะต้องบริหารรักษาอยู่เสมอ ไม่มตี วั ตนแท้จริง เพราะไม่วา่ จะพยายามรักษาชีวติ ไว้อย่างไรก็ตอ้ งพลัดพรากกัน ไปในที่สุด ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ นำ�มารักษาสุขภาพกาย ด้วยมีความเพียรใน การรักษาตน ไม่ปล่อยปละละเลยจนทำ�ให้โรคกำ�เริบหนัก รักษาสุขภาพใจ ด้วยมีความเพียรเร่งทำ�บุญกุศลไว้เป็นเสบียงเลี้ยงตัวในโลกหน้า เจริญภาวนา เพื่อให้มีสติไม่หลงเพ้อ

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

33


๔. ปีติสัมโพชฌังโค โข โมคคัลลานะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลกี ะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. โมคคัลลานะ ปีติสัมโพชฌงค์... (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑)

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌังโค โข โมคคัลลานะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. โมคคัลลานะ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑)

๖. สะมาธิสัมโพชฌังโค โข โมคคัลลานะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลกี ะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. โมคคัลลานะ สมาธิสัมโพชฌงค์... (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑)

๗. อุเปกขาสัมโพชฌังโค โข โมคคัลลานะ มะยา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. โมคคัลลานะ อุเบกขาสัมโพชฌงค์... (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑)

๔. ปีติสัมโพชฌงค์ นำ�มารักษาสุขภาพกาย ด้วยยินดีเต็มใจรักษา ความเจ็บไข้ทเ่ี กิดขึน้ ให้หายไปไม่ทอ้ แท้สน้ิ หวัง รักษาสุขภาพใจ ด้วยความรูส้ กึ อิ่มเอมใจในกุศลภาวนาที่ตนบำ�เพ็ญให้เป็นไปในขณะนั้น ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ นำ�มารักษาสุขภาพกาย ด้วยระงับความ กระวนกระวาย แต่มีความอดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นได้ รักษาสุขภาพใจ ด้วยความรู้สึกที่ผ่อนคลาย ไม่วิตกกังวลต่อความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น สงบนิ่ง เจริญภาวนาได้แม้ในยามเจ็บไข้ (อ่านอธิบาย ข้อ ๖-๗ หน้าถัดไป)

34

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง


อิเม โข โมคคัลลานะ สัตตะ โพชฌังคา มะยา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลกี ะตา อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตันตีติ.

โมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันเรากล่าวไว้ชอบแล้ว อัน บุคคลเจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

ตัคฆะ ภะคะวา โพชฌังคา ตัคฆะ สุคะตะ โพชฌังคาติ. อิทะมะโวจะ ภะคะวา. อัตตะมะโน อายัส๎มา มะหาโมคคัลลาโน ภะคะวะโต ภาสิตงั อะภินนั ทิ. วุฏฐะหิ จายัสม๎ า มะหาโมคคัลลาโน ตัมหา อาพาธา ตะถา ปะหีโน จายัส๎ มะโต มะหาโมคคัลลานัสสะ โส อาพาโธ อะโหสีติ.

พระโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผูม้ พี ระภาคเจ้า โพชฌงค์ ดีนกั ข้าแต่พระสุคตเจ้า โพชฌงค์ดนี กั พระผูม้ พี ระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้ แล้ว พระมหาโมคคัลลานะปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระมหาโมคคัลลานะหายจากอาพาธนัน้ แล้ว และอาพาธนัน้ อันพระมหาโมคคัลลานะละได้แล้วด้วยประการฉะนี้.

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ รักษาสุขภาพกาย ว่าจงมีความตั้งใจแน่วแน่ รักษาตน ปล่อยวางภาระหน้าที่อย่างอื่นไว้ก่อน รักษาสุขภาพใจ ด้วยตั้งใจ ทำ�สมาธิภาวนา เพราะรูว้ า่ ความสุขในโลกนีไ้ ม่มอี ะไรเกินกว่าสุขทีเ่ กิดจากความ สงบจากใจอันเป็นสมาธิ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ รักษาสุขภาพกาย ด้วยทำ�ใจให้เป็นกลาง ยอมรับความจริงนั้นได้ รักษาสุขภาพใจ ด้วยเข้าใจตามที่พระพุทธเจ้าสอนว่า สรรพสัตว์ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นของตน เจ็บป่วยครานี้อาจมีเหตุจากกรรมก็ เป็นได้ เมื่อเข้าใจเช่นนี้ เท่ากับปลงตกต่อโรคที่เกิดนั้น ทำ�ให้ปล่อยวางความ กังวลได้ เมือ่ ปฏิบตั ดิ งั นี้ การรักษาโรคก็จะหายเร็วขึน้ หากเป็นโรคทีร่ กั ษาไม่หาย อย่างน้อยจิตใจท่านจะสบาย แม้จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิแน่แท้

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

35


๒.๓ มะหาจุนทะโพชฌังคะสูตร เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ เวฬุวะเน กะลันทะกะนิวาเป. เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ ภะคะวา อาพาธิโก โหติ ทุกขิโต พาฬ๎หะคิลาโน.

ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) ได้ฟงั มาแล้วอย่างนี.้ สมัยหนึง่ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต ใกล้พระนครราชคฤห์. ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประชวร ไม่สบาย เป็นไข้หนัก.

อะถะโข อายัส๎มา มะหาจุนโท สายัณหะสะมะยัง ปะฏิสัลลานา วุฏฐิโต เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิต๎วา ภะคะวันตัง อะภิวาเทต๎วา เอกะมันตัง นิสีทิ. เอกะมันตัง นิสินนัง โข อายัส๎มันตัง มะหาจุนทัง ภะคะวา เอตะทะโวจะ ปะฏิภณ ั ตุ ตัง จุนทะ โพชฌังคาติ :ครัง้ นัน้ พระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้าพระผูม้ พี ระภาคเจ้าถึงทีป่ ระทับ ถวายบังคมแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ตรัสกะพระจุนทะว่า ดูกรจุนทะ๑ ขอโพชฌงค์ จงแจ่มแจ้งกะเธอ

พระจุนทะ ที่สวดสาธยายพระสูตรถวายพระพุทธเจ้านั้น เป็นน้องชายพระสารีบุตร ซึ่ง เมือ่ พระพีช่ ายบวชได้ไม่นานก็ออกบวชตาม และสมัยทีย่ งั ไม่มกี ารตัง้ พระอานนท์เป็นพุทธ อุปัฏฐากประจำ�นั้น ท่านก็ได้ทำ�หน้าที่อุปัฏฐากรับใช้พระพุทธองค์ด้วยรูปหนึ่ง ๑

36

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง


สัตติเม ภันเต โพชฌังคา ภะคะวะตา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีกะตา อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตันติ. กะตะเม สัตตะ.

ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันพระผูม้ พี ระภาคเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อ ความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?

๑. สะติสมั โพชฌังโค โข ภันเต ภะคะวะตา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันเรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

๒. ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังโค โข ภันเต ภะคะวะตา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

ข้อ ๑)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ที่เหลือแปลเหมือน

๓. วิริยะสัมโพชฌังโค โข ภันเต ภะคะวะตา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ วิรยิ สัมโพชฌงค์ (ทีเ่ หลือแปลเหมือนข้อ ๑)

๔. ปีตสิ มั โพชฌังโค โข ภันเต ภะคะวะตา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ (ที่เหลือแปลเหมือนข้อ ๑) พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

37


๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌังโค โข ภันเต ภะคะวะตา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. ข้อ ๑)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ที่เหลือแปลเหมือน

๖. สะมาธิสัมโพชฌังโค โข ภันเต ภะคะวะตา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ สมาธิสมั โพชฌงค์ (ทีเ่ หลือแปลเหมือนข้อ ๑)

๗. อุเปกขาสัมโพชฌังโค โข ภันเต ภะคะวะตา สัมมะทักขาโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ. ข้อ ๑)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ที่เหลือแปลเหมือน

อิเม โข ภันเต สัตตะ โพชฌังคา ภะคะวะตา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีกะตา อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตันตีติ. ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ (ทีเ่ หลือแปลเหมือนข้อ ๑)

ตัคฆะ จุนทะ โพชฌังคา ตัคฆะ จุนทะ โพชฌังคาติ. อิทะมะโวจายัส๎มา มะหาจุนโท. สะมะนุญโญ สัตถา อะโหสิ. วุฏฐะหิ จะ ภะคะวา ตัมหา อาพาธา ตะถา ปะหีโน จะ ภะคะวะโต โส อาพาโธ อะโหสีติ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรจุนทะ โพชฌงค์ดีนัก. พระมหาจุนทะได้กล่าวภาษิตนี้ พระศาสดาทรงพอพระทัย หายประชวร และ พระประชวรนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละได้แล้วด้วยประการฉะนี้.

38

พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง


๓.

ปลดปลงความเจ็บไข้ ด้วยใช้สัญญา คิริมานนทสูตร เป็นสูตรว่าด้วยสัญญา แปลว่า ความกำ�หนด หมาย, ความจำ�ได้ พูดง่ายๆ ก็เช่นเราเห็นเกลือทำ�ไมจึงรูว้ า่ เค็ม ก็เพราะจำ� รสมันได้จากทีเ่ คยกินเข้าไป อันนีเ้ ป็นสัญญาในระดับปกติธรรมดา แต่วา่ สัญญา ในคิรมิ านนทสูตร เป็นชัน้ สูงทีน่ �ำ ไปสูป่ ญ ั ญาหากพิจารณาเห็นตามเป็นจริง สัญญา ๑๐ เป็นธรรมโอสถกำ�จัดโรคได้อย่างไร ? ท่านว่า ความเจ็บป่วยทีเ่ กิดขึน้ ส่วนใหญ่เป็นเพราะธาตุ ๖ คือ ้ ดิน น�ำ ไฟ ลม อากาศ และวิญญาณ เกิดเบียดเบียนบีบคัน้ กัน ไม่ท�ำ งาน ตามปกติ ไม่เป็นไปโดยสม�ำ่ เสมอ เช่น ธาตุดนิ ธาตุน�ำ้ หย่อนไป ทำ�ให้เกิด เจ็บไข้ยง่ิ หากผูใ้ ดยึดมัน่ ในตัวตน ก็ท�ำ ให้คนผูน้ น้ั เกิดทุกข์ทง้ั กายและใจมากขึน้ แต่เมื่อมากำ�หนดหมายรู้ร่างกายตามสัญญา ๑๐ นี้ ที่แต่ละอย่าง ล้วนเป็นอุบายให้ละความยึดมัน่ ตัวตน จนกระทัง่ ธาตุ ๖ เป็นปกติสม�ำ่ เสมอ ไม่เบียดเบียนกัน ความเจ็บป่วยก็ย่อมสงบระงับหาย อันเป็นผลได้จาก การเจริญกรรมฐานในสัญญา ๑๐ นั่นเอง ต้องเจริญกรรมฐานครบทั้ง ๑๐ หรือไม่ถ้าจะใช้รักษาโรค ? สัญญา ๑๐ ประการ ในคิริมานนทสูตรนี้ แต่ละข้อล้วนเป็น ธรรมโอสถโดยความหมายของตัวเองทัง้ สิน้ หากผูป้ ฏิบตั กิ ระทำ�ได้ถงึ ทีส่ ดุ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็สามารถที่จะรักษาโรคได้ ไม่ต้องเจริญครบทั้ง ๑๐ ประการ เพราะกรรมฐานทั้ง ๑๐ อย่าง แม้มีวิธีเจริญต่างกัน แต่ก็ให้ ผลเหมือนกันคือ ทำ�ให้เกิดสมาธิ และปัญญารูแ้ จ้งในความเป็นจริง ทำ�จิต ให้เบิกบาน แช่มชื่น จึงมีอานุภาพรักษาโรคกาย-ใจได้เช่นกัน พุ ท ธ ม น ต์ ค า ถ า รั ก ษ า โ ร ค เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

39


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.