ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
โดย : พระภาวนาเขมคุณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) บรรณาธิการสาระ : สรรค์สาระ : ออกแบบปก : รูปเล่ม : ภาพประกอบ : พิสูจน์อักษร : ISBN : พิมพ์ครั้งแรก :
ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์ ไพโรจน์ โรจนปัญญาวัชร์ อนุชิต ค�ำซองเมือง วิฑูรย์ โถน้อย ชิชกาน ทองสิงห์, สมควร กองศิลา อุธร นามวงศ์, หนูคล้าย กุกัญยา 978-616-268-206-3 มิถุนายน 2559
สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์ บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-7667 เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน
สาขาทุง่ ครุ : โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898 LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM
WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET
สาขาส�ำราญราษฎร์ : โทร. 02-221-1050, 02-221-4446
พิมพ์ที่ : หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์
105/110-112 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-9577 www.thitiporn.com
ค�ำน�ำ ค�ำว่า “หนี” ถือเป็นวิธีการที่ทุกคนเลือกใช้ในยามที่ชีวิตเจอ เรื่องคับขันหรือไร้ทางออก ความจริง ที่ทุกคนก�ำลังหนีหรือหาทางหนี คือ ความทุกข์ ต่างหาก เพราะถ้าเป็นความสุขคงไม่มีใครคิดหนี แต่เราจะมีเวลาในชีวติ เหลืออีกสักเท่าไหร่เพือ่ หนีทกุ ข์ ทีส่ ำ� คัญการหนี กลับกลายเป็นทุกข์ทบี่ บี คัน้ จิตใจอยูต่ ลอดเวลา มีคำ� พูดทีป่ ระดุจแสงที่ ส่องเข้ามาจากปลายอุโมงค์วา่ “ทุกข์มที สี่ ดุ ” เพียงแต่อย่าปล่อยให้ ทุกข์ยำ�่ ยีเพียงฝ่ายเดียว ไม่วา่ ทุกข์นนั้ จะมากน้อยสักเพียงใด ควรหันหน้าเผชิญทุกข์ อาศัยทุกข์เรียนรู้ทุกข์ ทุกข์นั้นก็จัก ดับไปในที่สุด น่าเสียดายหากต้องพลาดอ่านหนังสือเล่มนี้ บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด ได้นำ� พระธรรมเทศนาของ พระภาวนาเขมคุณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) ทีแ่ สดงไว้ ณ ลานธรรมเลีย่ งเชียงใน “งานไตรสิกขามหาบุญ” ซึ่งจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สองของทุกๆ เดือน มาจัดพิมพ์เป็นเล่ม ทางคณะผู้จัดท�ำได้ท�ำหัวข้อ ย่อหน้า เน้นค�ำ และวาดภาพประกอบ ใหม่เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจเนื้อหาง่าย รวดเร็ว ลึกซึ้งยิ่งขึ้น จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ “ทุ ก ข์ แ ค่ ไ หนก็ ดั บ ได้ ” เล่มนี้ จักเอื้อประโยชน์ให้ผู้อ่านเข้าถึงวิ ธี ก ารดั บ ทุ ก ข์ ทั้ ง มวล เพือ่ ประโยชน์คอื ความสุข ในปัจจุบนั ชาติ ตราบเท่าเข้าถึงพระนิพพาน
ไพโรจน์ โรจนปัญญาวัชร์ มิถุนายน ๒๕๕๙
อดีตที่ขมขื่น ต้องสดชื่นในปัจจุบัน อดีตที่ผกผัน ปัจจุบันต้องมั่นคง อดีตที่ลุ่มหลง ต้องปลดปลงในปัจจุบัน โอวาทธรรม พระภาวนาเขมคุณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
5
วันนี้ ก็เป็นโอกาสดี ทีท่ า่ นทัง้ หลายได้มาฟังธรรมะในสถานที่ ที่เป็นที่เกิดแห่งบุญกุศล ที่สั่งสมบารมี ที่บริษัท ส�ำนักพิมพ์ เลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์ จ� ำ กั ด ได้ จั ด ให้ มี ก ารบ� ำ เพ็ ญ บุญกุศลต่างๆ น�ำพาพยายามชักชวนญาติโยมทั้งหลายได้ปฏิบัติธรรม กัน ทั้งพนักงาน เจ้าหน้าที่ และผู้บริหารทุกฝ่ายได้ช่วยกัน อาตมา ก็อนุโมทนาสาธุ ที่ท่านทั้งหลายได้มีใจเป็นกุศล บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
6
จากนี้ไปจะได้พาให้ท่านทั้งหลาย ได้ปฏิบัติธรรมไปในตัว ฟังธรรมและก็ปฏิบัติธรรมได้ด้วย เพราะว่า การที่จะให้เข้าถึงความสุขสงบ ความพ้นทุกข์ ดับทุกข์ได้ด้วยตัวเองนั้น เราต้องอาศัยการเจริญภาวนา เนื่องจากในศาสนามีทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติ ก็เป็นการศึกษาเล่าเรียน จากการอ่าน ฟัง สอบถาม เรียนรู้ เหมือนเรียนรู้ทฤษฎี เรียนแผนที่ ปฏิบัติ คือการลงมือท�ำ เจริญภาวนาสติปัฏฐาน เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ปฏิเวธ คือผลที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติ หรือเข้าถึงเป้าหมายในการปฏิบัติ เพื่อความพ้นทุกข์ ดับทุกข์ทั้งมวล
ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
7
นั่นแสดงว่า ชีวิตของเรานี้มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น เรามีความทุกข์อะไรบ้าง ? ความแก่เป็นทุกข์ไหม ? ความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นทุกข์ไหม ? ความตายความพลัดพรากเป็นทุกข์ไหม ? ความไม่สมปรารถนาเป็นทุกข์ไหม ? ความเผชิญกับสิ่งไม่พึงปรารถนาเป็นทุกข์ไหม ?
กินได้เปล่า ครับ...
ทุกข์ เยอะจัง
มันเกิดมา จากไหน?
น่ากลัว จังพ่อ....
กองทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้มีขึ้นมาได้อย่างไร ? ก็เพราะยังมีการเกิดขึ้นมานั่นเอง ท�ำไม เราจึงต้องเกิดขึ้นมาอีก ? ก็เพราะเรามีกรรม คือการกระท�ำที่ท�ำไว้เป็น กุศลกรรม และ อกุศลกรรม บ้าง บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
8
จ�ำพวกที่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก ก็เพราะอกุศลกรรมบาปกรรมที่ท�ำไว้ จ�ำพวกที่มาเกิดเป็นมนุษย์อย่างพวกเรา เพราะกุศลกรรม มา ด้วยกรรมดี เป็นมนุษย์ถือว่าเป็น สุคติภูมิ ข้อส�ำคัญ คือมันยังต้องเกิด เกิดมาแล้ว ยังต้องแก่ ยังต้องเจ็บ และต้องตาย ยังมีทุกข์เห็นปานนั้นอยู่ก็เพราะมีกรรม
ชีวิตเรา ประมาทไม่ได้แล้ว
ชีวิตเรา ประมาทไม่ได้แล้ว
เรามีกรรม ก็เพราะมี กิเลส ตัณหา อุปาทาน ความ ทะยานอยาก ความยึดมั่นถือมั่น จึงท�ำอกุศลกรรม ท�ำบาป ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม โกหก ดื่มสุราเมรัย เพราะอกุศลกรรม จิตก็เศร้าหมอง จึงไม่น่าแปลกอะไร เมื่อโทสะเกิดขึ้นมาก็ฆ่ากันได้ โลภขึ้นมา ก็ลักขโมย ฉ้อโกงกันได้ ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
9
ในความเป็นจริง แม้จะยังมีกเิ ลส มีความโลภ มีความยึดมัน่ ถือ มั่นอยู่ ก็สามารถท�ำกุศลกรรมได้ ท�ำกรรมดีได้ เช่น คนอยากจะรวย ก็ให้ทาน คนอยากสวยก็รักษาศีล คนอยากเกิดบนสวรรค์ก็ ท�ำบุญ
เราจะหนี ออกไปได้อย่างไร?
การท�ำบุญท�ำกุศลของคนซึ่งยังมีตัณหาอยู่ ยังมีอวิชชา ยังมี อุปาทาน ยังมีความยึดมั่นถือมั่น บุญกุศลอันนั้นก็ยังเป็น วัฏฏคามินี คือ กุศลทีย่ งั เป็นไปในการเวียนว่ายตายเกิด ยังไม่เป็นเป็น วิวฏั ฏคามินีกุศล คือ กุศลที่น�ำไปสู่การออกจากวัฏฏะ กรรม กิเลส ตัณหา อุปาทานเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ? เพราะเรามี อวิชชา แปลว่า ความไม่รู้ ไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงท�ำให้มีกิเลส บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
10
ความจริงของชีวติ หรือชีวติ จริงๆ นัน้ เป็นแบบไหน อย่างไร ? เพราะฉะนั้น ทางที่จะพ้นทุกข์จริงๆ นั้น เราต้องมาตัดเหตุ เหตุ ของมันคือ อวิชชา คือความไม่รู้ ตัณหา ความทะยานอยาก การจะท�ำลายความไม่รู้จึงต้องอาศัยปัญญา ปัญญาที่กล่าวถึงนั้นเอง จะท�ำลายอวิชชา
ท่านทั้งหลาย ต้องตัด ท่อน�้ำเลี้ยง...
คือ กิเลส ตัณหา อุปาทานก่อน เมื่อกรรมไม่มีอาหาร หล่อเลี้ยงก็เหี่ยวเฉา มลายหายไปเอง
สาธุ....
ปัญญา ก็คือ ความรู้ตามความเป็นจริง รู้จักสภาพชีวิตของ ตัวเองจริงๆ ว่า “แท้จริงเป็นเพียงธรรมชาติ ธรรมดาๆ นี้เอง” ธรรมชาติอันนี้ เรียกตามภาษาธรรมะว่า รูปธรรม นามธรรม ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
11
ธรรมดาของชีวิตก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชีวิตนี้จริงๆ แล้วเป็นเพียงธาตุธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ดับไป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เพราะความหลงปิดกั้น จึงไม่พบความจริง จงท�ำลายความหลงนั้นเถิด
ออกแรงกัน หน่อย...
ถ้าใครสามารถเข้าไปรู้ตามความเป็นจริงของชีวิตอย่างนี้ได้ ก็ จะท�ำลายความหลง ท�ำลายความยึดมั่นถือมั่นออกไปจากจิตใจได้ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
12
อวิชชาดับ กิเลส ตัณหา อุปาทานก็ดับ เมื่อกิเลสตัณหา อุปาทานดับ ก็สิ้นกรรม เมื่อสิ้นกรรม ก็สิ้นการอุบัติบังเกิด เมื่อไม่มีการอุบัติบังเกิดขึ้น ความแก่จะมีมาจากไหน ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก ก็เป็นอันว่า หมดไป กองทุกข์ทั้งหลายก็ดับลง
อ๋อ..เมื่อเหตุถูกตัดขาด ผลก็ไม่เกิด ก็เท่านั้นเอง
เราจะท�ำอย่างไรให้ปัญญาเกิดขึ้น ? หลักการก็คือต้องเข้าสู่ขบวนการของการปฏิบัติ ที่เรียกว่า เจริญสติปัฏฐานหรือเจริญวิปัสสนากรรมฐาน การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ตัวเจริญ ตัวปฏิบัติแท้จริง ก็คือ สติ สัมปชัญญะ ความเพียรหรือองค์มรรคนั้นเป็นขบวนการ ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
13
เราจะออกจาก ความวุ่นวาย ของโลกได้อย่างไร หนอ...?
ปฏิบัติที่ไหน ก�ำหนดรู้สิ่งใด ? ตามหลักของการเจริญวิปัสสนาสติปัฏฐานนั้นจะต้องระลึกรู้ ทีร่ ปู นามทีก่ ำ� ลังปรากฏซึง่ เรียกว่า สภาวะ หรือรูปธรรม นามธรรม วั น นี้ จ ะให้ ท ่ า นทั้ ง หลายฝึ ก เจริ ญ วิ ป ั ส สนากรรมฐานเพี ย ง ๑ นาที ในแต่ละขั้นตอนจะให้ท�ำความรู้จักสภาวะหนึ่งอย่าง บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
14
แบบฝึกหัดที่ ๑
จะให้ทา่ นทัง้ หลายได้เจริญสติทำ� ความรูจ้ กั สภาวธรรมทางกาย ก่อนคือ ความเย็น ความร้อน ใน ๔ ธาตุคอื ดิน น�ำ้ ลม ไฟ ความเย็น เป็นธาตุอะไร ? ความร้อนเป็นธาตุไฟ ความเย็นเป็นธาตุนำ�้ แต่ความจริง ความเย็น ก็คือ ธาตุไฟ
ใช่แล้ว.. ถ้าอยากเข้าใจสิ่งไหน ต้องท�ำความรู้จักสิ่งนั้น ให้ถ่องแท้
ท�ำไม ความเย็นจึงเป็นธาตุไฟ ? เพราะความร้อนน้อยลง เช่น อุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง เท่าไร ก็หมายถึง ความร้อนลดระดับลงหรือเพิ่มขึ้น ดังนั้น ความเย็น ก็คือ ธาตุไฟ ทั้งร้อนและเย็นจึงเป็น ธาตุไฟ ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
15
ขั้นตอนนี้ จะให้ระลึกสังเกตธาตุไฟ ฝึกโดยการท�ำจิตใจของ เราเหมือนเป็นเครือ่ งสแกน ส่องเอกซเรย์ดสู ภาวะความเย็น ความ ร้อน ในร่างกายตัวเอง ตั้งโปรแกรมในใจว่าจะดูกายตัวเอง หลับตา ลงเริ่มส�ำรวจส่องสังเกตดูทั่วๆ ร่างกายมีสัมผัสเย็นร้อนไหม
“โลกทั้งใบหรือแม้แต่ ร่างกายมนุษย์ แท้จริง เป็นเพียงการประกอบกัน ของธาตุทั้ง ๔ นี้เท่านั้น”
ความเย็นมากระทบก็รู้สึกเย็น บางส่วนร้อน บางส่วนเย็น ดู ที่การหายใจว่า หายใจเข้า - ออกให้รู้ สังเกตดูที่โพรงจมูกดูว่า หายใจเข้ารู้สึกเย็นหรืออุ่นที่โพรงจมูก หายใจออกร้อนหรือเย็น หายใจเข้าเย็นหรือร้อน บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
16
แบบฝึกหัดที่ ๒ จะให้สแกนระลึกดู ธาตุที่ ๒ คือความแค่นแข็ง ส�ำรวจดูใน ร่างกาย สัมผัสแข็งอ่อนตรงไหนบ้าง
นี่คือ ธาตุดิน
ความรู้สึกว่าแค่นแข็งเป็นธาตุดิน ความอ่อนเป็นธาตุดินเช่นกัน ท�ำไม ความอ่อนจึงเป็นธาตุดิน เพราะเมื่อธาตุดินมีจ�ำนวนน้อย ความอ่อนก็จะปรากฏขึ้น
ให้หลับตาท�ำความระลึกสังเกตหยั่งดู มือ แขน ขากระทบกันรู้สึกสัมผัส ความแค่นแข็ง ความอ่อนนิ่มบ้างหรือไม่ ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
17
ให้ก�ำหนดดูเบาๆ สบายๆ ไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องเพ่ง แต่ใช้ความประณีตแยบคายในการสังเกต ใครระลึกเจอความแค่นแข็งบ้าง ใครยังหาไม่เจอแสดงว่าเครื่องยังไม่ติด ท่านมองเห็น ธาตุดินในสองคนนี้หรือไม่ ?
ขยับตัว เจอความอ่อนไหม โยกตัวเนือ้ ตัวสัมผัสผ้ารูส้ กึ อย่างไร เอามือแตะผ้าดูออ่ นหรือแข็ง แตะทีเ่ ส้นผมดูแข็งหรืออ่อน ถ้าแข็ง ก็แสดงว่า ไม่ได้สระ ความแข็งความอ่อน คือ ธาตุดนิ มันเป็นเพียงสักแต่วา่ ธาตุ ให้ระลึกว่านี่ คือตัวสภาวะ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
18
แบบฝึกหัดที่ ๓ จะให้ระลึกรู้ สภาวะที่ ๓ คือ ความตึง ความหย่อน หรืออาการไหว ความตึงเป็นธาตุอะไร ? เวลาหายใจเข้าไปตึงไหม ? หายใจเอาอะไรเข้าไป ? ลม ความหย่อนเป็นธาตุอะไร ? ลม ท�ำไม ความหย่อนจึงเป็นธาตุลม ? เพราะความตึงน้อยลง ให้หลับตาก�ำหนดระลึกดู ท่านมองเห็น ความตึง ความหย่อน ความไหว ธาตุลมในสองคนนี้หรือไม่ ? ดูระบบการหายใจ หายใจเข้า หน้าอกตึงหรือหย่อน หายใจออก หย่อนหรือตึง ไหวหรือกระเพื่อม หายใจเข้าหน้าท้องตึงหรือหย่อน ใครระลึกเจอความตึง ความหย่อน ความไหวบ้าง ใครยังหาไม่เจอแสดงว่าเครื่องไม่ท�ำงาน ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
19
แบบฝึกหัดที่ ๔
จะให้ระลึกดูความรู้สึกความสบายและไม่สบาย ความรู้สึก ทั้งสองอย่างนี้เป็นธาตุชนิดหนึ่งเรียกว่า ธรรมธาตุ หรือเรียกโดย ขันธ์ว่า เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึกสุขและทุกข์ หลับตาส่องดูความรู้สึกในร่างกาย มีความสบายหรือไม่สบาย บางส่วนเมื่อย ปวด เจ็บ บางส่วนก็รู้สึกสบาย
เมื่อก่อนยังหล่อ เฟี้ยวฟ้าวอยู่เลย
ดูที่ลมหายใจเข้า - ออก มีความสบายหรือไม่ สังเกตดู
ใครหายใจเข้าแล้วรู้สึกสบายบ้าง ใครหายใจออกรู้สึกสบายบ้าง ใครไม่สบายทั้งเข้าทั้งออกบ้าง ใครหาความรู้สึกไม่เจอบ้าง ความสวยอยู่ได้ ไม่นานจริงๆ
อย่างนี้เรียกว่า เจริญวิปัสสนา ส่องดูสภาวะเวทนา
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
20
แบบฝึกหัดที่ ๕
จะให้ก�ำหนดดู ใครที่หายใจเข้ารู้สึกสบาย ก็ให้หายใจเข้าไป เรื่อยๆ ใครที่หายใจออกรู้สึกสบาย ก็ให้หายใจออกไปเรื่อยๆ หลับตาลงทดลองพิสจู น์ หายใจเข้าไปแล้วหยุดไว้ หรือหายใจ ออกแล้วหยุดไว้ ทนไหวไหม ? ไม่ ไ หว เป็ น สุ ข หรื อ เป็ น ทุ ก ข์ ? ทุกข์ขนาดไหน ทนได้หรือไม่ได้ ? ไม่ใช่ความแก่ เท่านั้นนะที่เป็นทุกข์ หายใจเข้าแล้ว ต้องหายใจออก หายใจออกแล้ว ต้องหายใจเข้า เพราะ
ใช่ค่ะ..แม้แต่ใน ลมหายใจก็มีทุกข์
เพราะทุกข์ บังคับค่ะ.. คือ..ตายแน่ๆ.. ค่ะ
สมมติวา่ มีใครมาขู่ ถ้าหายใจเข้าหรือหายใจออกจะโดนยิง เราจะหายใจเข้า–ออกไหม ? ตกลงว่า ทนได้ไหม ? ไม่ได้ สุขหรือทุกข์ ? ทุกข์ขนาดทนได้หรือไม่ได้ ? ไม่ได้ หายใจเข้าแล้ว ต้องหายใจออก เพราะอะไร ? เพราะทุกข์มันบังคับ ทนไม่ได้ต้องหายใจออก หายใจออกแล้ว ต้องหายใจเข้าเพราะอะไร ? เพราะทุกข์มันบังคับ ทนไม่ได้ต้องหายใจเข้า ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
21
เราดูแค่นกี้ ไ็ ด้ปญ ั ญาแล้ว ลมหายใจเข้าแล้ว ทนไม่ได้ตอ้ งออก ออกแล้ว ทนไม่ได้ตอ้ งเข้า เห็นความทนอยูไ่ ม่ได้ เรียกว่า เห็นทุกข์ เห็นความไม่เที่ยง เห็นการเปลี่ยนแปลง เข้าไป ออกมา การ เปลี่ยนแปลงนี้ เรียกว่า อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์ อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ถือว่าเป็นธรรมดา เราสองคน เคยหล่อ เคยสวย ครับ
ใช่ค่ะ..แต่มาบัดนี้ เราสองคนก็แก่แล้ว
น่าเสียดายนะครับ เราน่าจะหล่อสวย อย่างนั้นตลอดไป แต่ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะ
ท�ำไม ธรรมดาจึงไม่เที่ยง ? จึงเรียกว่า เป็นธรรมดา ? ท�ำไม จึงไม่เที่ยง ? เพราะมันทนไม่ได้ใช่ไหม ?
ท�ำไม ท�ำไม ท�ำไม ท�ำไม
เพราะว่า...เป็น เรื่องธรรมดา ของทุกสิ่งที่ต้อง เปลี่ยนแปลงไป
ความเปลี่ยนแปลง ต้องเปลี่ยนแปลง ? จึงต้องมีเกิดมีดับ ? มันจึงทนไม่ได้ ?
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
22
ความแปรปรวน ความเปลี่ยนแปลง ความเกิดดับ มันต้องมี เพราะยังมีเหตุมีปัจจัยอยู่ เช่น ไฟฟ้ามีแสงสว่างได้เพราะอะไร เพราะมีหลอดไฟ มีกระแสไฟ มีสายไฟ มีสวิตช์ไฟมาเป็นส่วนประกอบ เรียกว่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กันและกัน ถ้ากดเปิดสวิตช์ก็เกิดแสงสว่างขึ้นมา ถ้ากดปิดสวิตช์ ไฟก็จะ ดับ ท�ำไมไฟจึงดับ ? เพราะว่า เหตุปัจจัยหมดไป นี้จึงเป็นเรื่องธรรมดา คือเป็นไปตามเหตุปัจจัย เหตุกับผลมันตรงกัน เหตุอย่างไร ผลก็ออกมาอย่างนั้น ทุกสิ่งก่อก�ำเนิดขึ้นจากเหตุและผล เมื่อดับเหตุได้ผลก็ไม่เกิด ไม่มีสิ่งใด เกิดขึ้นมาโดยปราศจากเหตุและผลเลย...จ�ำไว้นะโยม สาธุค่ะ สาธุครับ
ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
23
สภาพธรรมเหล่านี้ ถ้าปฏิบตั เิ ข้าไปเห็นความจริงก็คอื เหตุของ ความเป็น ธรรมดา เห็นว่า เกิดเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ธรรมดา คืออย่างไร ? ความเปลี่ยนแปลง การเกิดดับเป็น ธรรมดา ท�ำไม จึงเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นไปตามเหตุปัจจัย
เมื่อเหตุปัจจัยท�ำให้เกิดก็ต้องเกิด บังคับไม่ได้ว่า "อย่าเกิด" เมื่อเหตุปัจจัยหมดไปก็ต้องดับ บังคับไม่ได้ว่า "อย่าดับ" นี้คือ “อนัตตา” บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
24
การเข้าไปเห็นอนัตตาก็จะเห็นความจริงว่า ความแปรปรวน การเปลี่ยนแปลง เกิดดับบังคับไม่ได้ ถ้าเข้าไปเห็นความจริงว่า บังคับไม่ได้ มันต้องเกิด มันต้องดับไปตามเหตุตามปัจจัย เรายังจะยืนยันฝืนสั่งว่า อย่าเกิด อย่าดับนะ อีกหรือไม่ ไม่ฝืนแล้ว สุดท้ายก็ ปล่อยวาง เท่านั้นเอง
คงไม่หรอกค่ะคุณป้า เพราะพวกเรา สวยด้วยธรรมอยู่แล้ว ถ้ามันจะแก่ ก็คงไม่มีสิ่งไหนห้ามได้หรอกค่ะ อุ๊ยตายแล้ว... สวยๆ อย่างพวก หนูเนี่ยะ ถ้าได้ เข้าไปเสริม ความงามในร้าน ป้านะ พวกหนูจะ สวยมากกว่านี้อีก ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
25
เมือ่ ใจเราวางลงปลงได้สงิ่ เหล่านัน้ เปลีย่ นแปลงจะทุกข์ไหม ? ไม่ทกุ ข์ เพราะอะไร ? เพราะเราวางได้สงิ่ เหล่านัน้ เกิดขึน้ มาอีกจะทุกข์ ไหม ? ไม่ทกุ ข์ เพราะอะไร ? เพราะยอมรับได้ เวลาที่เราสูญเสียของรักจะทุกข์ไหม ? ไม่ทุกข์ เพราะอะไร ? เพราะเราวางได้ ท�ำไม จึงวางได้ ? เพราะรู้ว่าการเปลี่ยนแปลง นั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย สมควรแก่เหตุปัจจัย เพราะสิ่งเหล่า นั้นเขาไม่เที่ยง ความเสียใจ มันเกิดมาจากอะไร ? ความไม่สมปรารถนา ผิดหวัง ไม่ได้ดังใจ ผิดหวังเพราะอะไร ?
จึ๋ยย
ทุกท่านคะ ที่เราเป็นทุกข์ ผิดหวัง เพราะเราไป หวังแบบผิดๆ นั่นเองค่ะ
เพราะหวังผิด คือหวังสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตาม ปัจจัย หวังให้คงที่ซื่อตรงจะต้องอยู่กับเราไม่เปลี่ยนแปลงตลอดไป ความจริง สิ่งเหล่านี้ต้องแตกดับ อย่าไปหวังผิดจะได้ไม่ผิดหวัง จะหวังต้องหวังให้ถูกให้ได้ตาม เหตุตามปัจจัย เมื่อเราท�ำเหตุปัจจัยให้ถูกต้อง มันก็ได้ เมื่อเราท�ำเหตุ ปัจจัยไม่ถูกต้อง เราก็ไม่ได้ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
26
แบบฝึกหัดที่ ๖
จะให้ ร ะลึ ก รู ้ ธาตุ น�้ ำ ซึ่ ง มี ลั ก ษณะไหลและเกาะกุ ม มีความเอิบอาบ ท�ำให้วัตถุเกาะกุมกันอยู่หรือไหลไปได้ ให้หลับตา ระลึกรู้สภาพของน�้ำที่มันเอิบอาบที่มันไหลและเกาะกุม เวลาอาบน�้ำ สัมผัสน�้ำที่ราดตัวรู้สึกอย่างไร ? เย็น อุ่น ร้อน เป็นธาตุอะไร ? ธาตุไฟ ความแข็ง ความอ่อนเป็นธาตุอะไร ? ธาตุดิน
ใครระลึกเจอธาตุนำ�้ บ้าง ? ไม่เจอ ไม่มใี ครระลึกเจอนัน้ ถูกแล้ว เพราะธาตุน�้ำไม่สามารถสัมผัสทางกายได้ ธาตุน�้ำ เป็นรูปที่ละเอียด ไม่สามารถสัมผัสทางกายได้ รู้ได้ทางใจ ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
27
แบบฝึกหัดที่ ๗
จะให้ระลึกรู้ สภาวะทางใจ คือ ความนึกคิด ให้หลับตา จับดูความนึกคิดในใจมีความนึกคิดไหม คิดก็ให้รู้ว่าคิด ไม่คิดก็รู้ ว่าไม่คิด อย่างนี้เรียกว่า มีสติ คนไม่เจริญสติจะไม่รู้ตัวว่า จิตคิดหรือไม่คิด ถ้าเราเจริญสติ เวลาจิตมันคิดจะรู้ตัว ประโยชน์ของการรู้ตัวสามารถควบคุมรักษา จิตไว้ได้ ใครเจอความนึกคิดที่มี อยู่ในจิตบ้าง ใครรู ้ สึ ก จิ ต ไม่ คิ ด เลย นิ่งตลอดบ้าง
“ความคิ ด ” มักจะคิดถึงเรื่องราวต่างๆ เรื่ อ งราวกับ ความคิดเป็นคนละอย่างกัน เรื่องราว เป็นธรรมารมณ์ มา ปรากฏทางใจ มาอยู่ที่ใจ แต่มันก็ไม่ใช่ใจ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
28
ตัวจิตใจเป็นตัวคิด เป็นตัวไปรู้เรื่องราว เรื่องราวเป็นตัวถูกรู้ ความคิดเป็นตัวไปรู้ เรื่องมาหาความคิด หรือความคิดไปหาเรื่อง ใครคิดบ่อยแสดงว่าไปหาเรื่องบ่อย ทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับเราทั้งดีและไม่ดี ผ่านมาแล้วนานแค่ไหน ไม่เคยลืม จากนี้ไป แกต้องฟังค�ำสั่ง ฉันเท่านั้น 5 55
คิดถึงเมื่อไร โกรธเมื่อนั้น ใครเป็นทุกข์ ? เรา คนที่เราโกรธเขานอนหลับสบาย วันใดทีเ่ รานอนคิดโกรธใครสักคนทัง้ คืน เราทุกข์เพราะเขาท�ำ ไม่ดีกับเรา หรือทุกข์เพราะความคิด เราทุกข์เพราะความคิดของ เราเอง เพราะเรื่องราวทั้งหมดจบไปแล้ว ฉะนั้น ถ้าหากเราสามารถหยุดความคิด สลายความคิดจะดี จะสบายใช่ไหม ? ดีมาก นอนหลับสบายด้วย ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
29
วิธีที่จะหยุดความคิด รู้ทันความคิด ทุกข์ก็มาไม่ถึงเราแล้ว 5 55
ก็คือให้ท�ำอย่างที่ท�ำกันอยู่นี้ แล้วจะได้ปัญญาด้วยคือ ตัวรู้ พอคิดขึ้นมาก็รู้ พอรู้บ่อยๆ มันจะตัดเรื่องความคิดออกไป เมื่อเรื่องราวถูกตัดออกไป ใจจะเบาสบาย ไม่ใช่เป็นเรื่องยาก การท�ำความระลึกรู้ ๑ นาที ตามแบบฝึกหัด นั่นเป็นวิชาการดับทุกข์ ในปัจจุบันแบบง่ายๆ
ความทุกข์ที่เกิดจากความคิด ก็แค่เพียงให้รู้ทันเท่านั้น ถ้าก�ำหนดหรือระลึกรู้เฉยๆ ไม่ได้ ให้ใช้วิธีพูดไปด้วยว่า คิดหนอ คิดหนอ ฝึกอย่างนี้ก็ได้ พอก�ำหนดรู้ มันก็จะตัดเรื่องออกไป บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
30
แบบฝึกหัดที่ ๘ จะให้ดูสภาวะทางใจ อีกประการคือ ความรู้สึกสบายใจ ไม่สบายใจ หรือเฉยๆ มีความฟุ้งซ่าน หรือสงบ ให้หลับตาก�ำหนดดูความรู้สึกของจิตใจ ค�ำว่า จิตใจกับวิญญาณ เป็นเรื่องเดียวกัน การระลึกรู้ดูที่ใจ เป็นการอ่านจิตใจตัวเองว่า ขณะนี้ จิตใจมีความรู้สึกอย่างไร ? สบาย ไม่สบายใจ เฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ ใครพบความรู้สึกอะไรในใจบ้าง ? วิธีการอย่างนี้เรียกว่า การมีสติอ่านใจตัวเอง รู้สึกอย่างไรให้ก�ำหนดรู้อย่างนั้น เฉย ก็ให้รู้ว่า เฉย
การมีสติอ่านใจตัวเอง อยู่ตลอดเวลา นี้เเหละค่ะ จึงเป็นการเจริญวิปัสสนา อย่างถูกต้อง...
นี่คือ การเจริญสติเจริญวิปัสสนา ด้วยการก�ำหนดรู้ความรู้สึกที่จิต แต่ก็มีปัญหาอยู่ว่า มีสติรู้แต่ต้องรู้ให้ถูกต้อง สติรู้อย่างไร จึงเป็นการรู้ที่ถูกต้อง ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
มีอะไรแอบเข้าไปอยู่ ในหัวใจเราบ้าง
31
เมื่อเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมาในจิตใจรู้อย่างไรจึงจะถูกต้อง ? ก. พยายามให้มันหยุดฟุ้ง ไม่ถูกนะค่ะ ข. พยายามให้ฟุ้งเรื่อยๆไป หากท�ำอย่างนั้น จะเป็นการ ค. ดูมันเฉยๆ ไม่ว่าอะไร เพิ่มจ�ำนวนกิเลส ขึ้นมาอีก ตัวหนึ่งคือ
กิเลสที่ว่า คืออะไร...
ฉันต้องหาวิธี จัดการแกให้ออก ไปจากใจให้ได้
ความอยาก ค่ะ
ฟุ้ง
ค�ำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค. ดูเฉยๆ ใครที่ตอบถูกกลับไป ท�ำให้ถูกด้วย กลัวว่าตอบถูกแต่จะท�ำไม่ถูก เมือ่ เกิดความฟุง้ ซ่านขึน้ ในใจ ถ้าเราไปก�ำหนดรูด้ ว้ ยการบังคับ ให้มันหยุด แล้วถ้ามันไม่หยุดจะฟุ้งซ่านมากกว่าเดิม ความรู้สึกไม่ชอบความฟุ้งซ่าน ความอยากหายจากความฟุ้งซ่าน โทษของมันยิง่ ไปกันใหญ่ โมโหเดือดดาลเป็นการก�ำหนดรูค้ วาม ฟุ้งซ่านแบบโลภะ ภาษาธรรมเรียกว่า อภิชฌาและโทมนัส บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
32
พระพุทธเจ้าสอนว่า ให้ระลึกรู้อย่างไม่มีอภิชฌาและโทมนัส ไม่ยินดียินร้าย ก็คือให้วางเฉย สักแต่ว่า... ไม่ว่าอะไร
อย่างคนก�ำลังทะเลาะกัน ถ้ามีใครมาชวนเราไปทะเลาะ ถ้าไปเราก็เดือดร้อน เราอยู่เฉยๆ เขาก็เลิกไปเอง
เมื่อก�ำหนดถูกแล้วต้องก�ำหนดตรงด้วย หมายถึง ตรง ตัวลักษณะความฟุ้งซ่าน ก็คือมีสติดูที่อารมณ์ฟุ้งซ่านที่ค�ำสั่ง ปรากฏและดูเฉยๆ ไม่บงั คับให้หยุดฟุง้ เพราะหากบังคับให้หยุด ความฟุ้งจะตีกลับมาให้วุ่นวายหนักกว่าเก่า ก�ำหนดรู้ความฟุ้งต้องวางเฉยให้ได้ ต้องหัดวางเฉย ปล่อยวาง อุปมาเหมือนเราเห็นคนอื่นทะเลาะกัน เขาชวนเราไปทะเลาะด้วย ถ้าเราไปทะเลาะด้วย เราก็จะเดือดร้อน ถ้าเราวางเฉยซะ ข้าไม่เอาด้วย สบาย คนอื่นอยากทะเลาะก็ทะเลาะไป เดี๋ยวเขาก็หยุด ทะเลาะเอง ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
33
การเจริญวิปัสสนา จะต้องมีสติระลึกรู้ดูจิตตนเอง อ่านใจตัวเองดูใจตัวเองเสมอ ดูเพื่อจะได้อ่านตัวเองออก บอกตัวเองถูก
“การมีสติดูใจอยู่เสมอ จึงจะ เป็นการเจริญสติอย่างถูกต้อง”
ดูวา่ จิตมีอารมณ์แบบไหน เศร้าหมอง ขุน่ มัว ผ่องใส หรือค่อน ข้างไปทางไหน ดูเบาๆ ดูสบายๆ เกิดความประมาท พลั้งเผลอ เพราะไม่มีสติระลึกรู้ อยู่ตลอด แต่ถ้าคนเคยฝึกสติจะรู้ว่า จิตมีการเผลอ แต่ก็รู้ตัวว่า เผลอ ปกติคนไม่เคยปฏิบตั จิ ะไม่รเู้ ลยว่า ตนเองเผลอ แต่ถา้ เผลอแล้ว รู้ จะท�ำให้เรามีสติสมบูรณ์ คือ ความเผลอจะน้อยลงจะมีสติเข้ามาไว ขึ้น นี้คือวิธีปฏิบัติเจริญสติ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
34
คราวนี้ หันมาดูร่างกายบ้าง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ นั่งนานจึง เป็นทุกข์เพราะปวดเมื่อย ลองถามใจตัวเองว่า ถ้ายืนขึ้นหรือเปลี่ยนอิริยาบถจะดีไหม ? ถ้าดี ก็บอกใจตัวเองด้วยว่า ตอนนี้สังขารเป็นทุกข์จ�ำเป็นต้องแก้ทุกข์ จะต้องแก้ทุกข์ด้วยการเปลี่ยนอิริยาบถ ค่อยๆ ขยับลุกขึ้นต้องรู้ตัวด้วย ระหว่างขยับดูใจไปด้วย พอรู้ ว่าตัดสินใจจะขยับลุกขึ้นยืน กายส่วนไหนขยับก่อน ส่วนไหนขยับต่อ มาให้รู้ มีสติรู้กายเคลื่อนไหว นั่งนานๆ สังขารเป็นทุกข์ จะต้องแก้ทุกข์ด้วย การเปลี่ยนอิริยาบถ ความจริง ทุกข์ก็ยังมีอยู่ แต่เบาลงค่ะ
ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
พอลุกขึ้นยืนรู้สึก สบายขึ้นยิ้มออก ทีร่ สู้ กึ สบายเพราะ ความปวดเมือ่ ยมันเบาบาง แต่ความจริง มัน ยังมีอยู่ ทุกข์มันลดลง ซึ่ง ความจริงมันยังทุกข์อยู่ ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป
35
ความจริง ทุกข์มีอยู่ตลอดเวลา แต่มันทุกข์มากทุกข์น้อยเท่านั้น เช่น เราปวดอุจจาระพอถ่ายออกจะรู้สึกสบาย อันที่จริง ถ้าพิจารณาให้ดียังปวดยังแสบอยู่ เพียงแต่มันลดลง ฉะนั้น เวลาเจอหน้ากันต้องถามว่า เป็นไง ยังพอทนไหวไหม ? คนตอบก็ต้องพูดว่า “ยังพอทนได้อยู่” เพราะคนส่วนใหญ่ที่ตายไป เพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว ก็คือทนไม่ได้แล้ว โอ้ย...
ทนไม่ไหว แล้ว ปวดขา เหลือเกิน
ยังพอทนได้
เมื่ อ ยื น ขึ้ น ก็ ปฏิบัติในท่ายืนได้ ยืนนิ่งๆ ดูกาย ที่นิ่งและดูความไม่นิ่ง ฝ่าเท้ากระทบ พื้นรู้สึกอย่างไร ? ก� ำ หนดดู ต าม ข้อเท้า ฝ่าเท้า น่อง เจอธาตุ อ ะไร แข็ง เย็น ร้อน
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
36
ธาตุ ล มจะมี ลั ก ษณะตึ ง ส� ำ รวจร่ า งกายลงไปตามล� ำ ดั บ ไล่ลงตั้งแต่ศีรษะไปถึงข้อเท้า ถ้ารู้สึกตึง แสดงว่า มีธาตุลม หายใจเข้า - ออกมีลมอยู่ไหม ? อย่าลืม ดูลมหายใจ เวลาหายใจท้องกระเพื่อมไหม ? ปฏิบัติในท่ายืนจะมีสภาวะอย่างนี้ ขณะก�ำลังเคลื่อนไหวปฏิบัติได้ไหม ? ได้...ให้มีสติดูการขยับเคลื่อนไหวของร่างกาย ควรมีสติรู้สองอย่าง คือ รู้ความเคลื่อนไหว กับ รู้ใจที่รับรู้ ขณะก�ำลัง เคลื่อนไหว แบบนี้ มีวิธี ก�ำหนดรู้ อย่างไร ?
แม้กายก�ำลังเคลื่อนไหว ต้องมีใจเป็นตัวรับรู้ค่ะ
กายทีเ่ คลือ่ นไหวมีใจทีร่ บั รูไ้ หม ? หรือมีแต่กายที่เคลื่อนไหวแต่ ไม่มีใจที่รับรู้ ต้ อ งก� ำ หนดดู ทั้ ง สองอย่ า ง คือ กายเคลื่อนไหว ใจที่รับรู้ เรียกว่า อาศัยสิ่งหนึ่งเพื่อ ไปรู้สิ่งหนึ่ง
ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
37 การบริหารกาย ต้อง ไม่ใช่การคะนองทางกาย
การบริหารกาย ต้องเป็นไปเพื่อ แก้ทุกข์ทางกาย โดยมีใจก�ำกับรู้ตัว อยู่ค่ะ จึงจะไม่เป็นการ คะนองกาย
อาศัยสิ่งหนึ่ง ก็คืออาศัยกายที่เคลื่อนไหว เพื่อไปรู้อีกสิ่งหนึ่ง ก็คือ ใจที่รับรู้ มันต้องรู้ในขณะนั้นด้วย เป็นส่วนส�ำคัญของการรู้ เวลายืนนานๆ เกิดทุกข์ เมื่อทุกข์เกิด จิตใจก็ปรารถนาจะแก้ทุกข์ การแก้ทุกข์ให้บอกตัวเองว่า กายก�ำลังเป็นทุกข์ จ�ำเป็นต้องแก้ทุกข์ ก่อนจะนั่งเราต้องดูทุกข์ก่อน อ้อ..กายเป็นทุกข์ แล้วตัดสินใจลงนั่งให้ดูว่า อันไหนขยับก่อน อันไหนขยับต่อมา ค่อยๆ ย่อตัวลง ดูการขยับ ถ้าไม่รู้ก็ยืนขึ้นใหม่ลุกขึ้นยืนนั่ง พอนั่งลงไปแล้วรู้สึกยิ้มได้ เพราะทุกข์มันลดลง บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
38
การเจริ ญ วิ ป ั ส สนาต้ อ งระลึ ก รู ้ ต ่ อ สภาวะตรงๆ ที่ ป รากฏ ทางกาย มีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง สบาย ไม่สบายเป็นต้น สภาวะที่ปรากฏทางใจ มีความนึกคิด ความรู้สึก สบายใจ ไม่สบายใจ เฉยๆ ฟุ้งซ่าน สงบ ขุ่นมัว ผ่องใส ความเผลอ ไม่เผลอ ความรู้ ความพอใจ ไม่พอใจ ชอบใจ ไม่ชอบใจเป็นต้น ร่างกายของเรา เหมือนกับเรือนหลังหนึ่ง มีจิตใจเป็นเจ้าของบ้าน มีประตูเข้า - ออกอยู่ ๖ ประตู คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่จิตใจสามารถผ่านเข้าออกได้ ภาษาธรรมประตูเขาเรียกว่า ทวาร จิตใจจะผ่านประตูนี้เพื่อออกไปรับแขก ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
39
ประตูจมูก เรียกว่า ฆานทวาร
ประตูตา เรียกว่า จักขุทวาร
ประตูลิ้น เรียกว่า ชิวหาทวาร
ประตูหู เรียกว่า โสตทวาร
ประตูกาย เรียกว่า กายทวาร
ประตูใจ เรียกว่า มโนทวาร
แขก ก็คืออารมณ์ต่างๆ ที่จิตเข้าไปรับรู้ สิ่งใดที่จิตเข้าไปรับรู้ เรียกว่า อารมณ์ แขกที่มาทางตา คือ รูปหรือสีต่างๆ เรียกว่า รูปารมณ์ แขกทีม่ าทางหู คือ เสียง เรียกว่า สัททารมณ์ ก็คอื เสียงต่างๆ แขกทีม่ าทางจมูก คือ กลิน่ เรียกว่า คันธารมณ์ ก็คอื กลิน่ ต่างๆ แขกที่มาทางกาย คือ โผฏฐัพพะ เรียกว่า โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
40
แขกที่มาทางใจ คือธรรม เรียกว่า ธรรมารมณ์ ก็คือ สิ่งที่มาปรากฏทางใจ มีทั้งที่เป็นบัญญัติ เช่น เรื่องราวต่างๆ ที่ เป็นปรมัตถ์ ก็คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ทุกคนมีเรือนชีวติ กันคนละหลัง มีจติ ใจเป็นเจ้าของบ้านมีประตู อยู่ ๖ ประตู ทุกวันจะมีแขกมาเยือนมากมาย มาทางตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ โดยเฉพาะทางใจแอบเข้ามาถึงในบ้าน ทุกวันนี้ เรือนชีวิตของท่านทั้งหลาย มักจะมีปัญหาอย่างนี้ บ่อยไหม ? เจ้าของบ้านพอออกรับแขกแล้ว มักจะทะเลาะกับแขก รูป หรือไปรักไปหลงแขก บางทีอาจตามแขกไป
กลิ่น
เสียง
รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
41
เสียงดัง เสียงด่า หนวกหู รู้สึกไม่ชอบ เสียงไพเราะ ภาพสวยๆ งามๆ รู้สึกรักชอบ ถ้าภาพไม่ดี รู้สึก ไม่ชอบ โกรธ เกลียด กลิ่นมากระทบจมูก รู้สึกชอบไม่ชอบ รสอร่อย ไม่อร่อย รู้สึกชอบไม่ชอบ
ฉันยิ้มแย้มแจ่มใส
เพราะ รูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย
สิ่งมากระทบกาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ถ้าร้อนเกินไป เย็นเกินไป แข็งเกินไป ตึงเกินไป ท�ำให้เจ็บปวด ไม่สบาย รู้สึกไม่ชอบ ถ้าพอดี ๆ สบายรู้สึกชอบ
ทะเลาะ รัก หลง คิดถึง อาลัยอาวรณ์ กระวนกระวายใจ ห่วงหวงบ้านกับแขก ใครเป็นทุกข์ เจ้าของบ้านเป็นทุกข์
เราหน้าตาบูดบึ้ง
เพราะ รูปขี้เหร่ เสียงดัง กลิ่นเหม็น รสขม
เราทุกข์เพราะเขา ต้องเอาเขาออกจากหัวซะจะได้สบาย เอาเขามาสวมไว้ที่หัวมันจึงทุกข์ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
42
ท�ำอย่างไร จะไม่ให้เจ้าของบ้าน ทะเลาะกับแขก หลงรักแขก ไม่ตามแขกไป เพื่อจะได้ไม่เป็นทุกข์ ต้องฝึกเจ้าของบ้านให้มีสติ รู้ตัวในทุกขณะที่ก�ำลังท�ำหน้าที่ ฝึกให้รู้กาย รู้ใจตัวเอง
ต้องรู้ตัวว่า ก�ำลังต้อนรับแขกนะ
ต้องรู้ตัวว่า หัวใจก�ำลังรู้สึก อย่างไร...และก�ำลัง จะท�ำอะไร..
รู้ ๓ อย่าง คือ ๑. รู้ตัวว่า เป็นเจ้าของบ้านก�ำลังรับแขก ๒. รู้ตัวว่า เจ้าของบ้านก�ำลังรู้สึกอย่างไร ๓. รู้ตัวว่า เจ้าของบ้านก�ำลังจะตามแขกไปแล้ว เมือ่ ใจเราออกนอกตัวก็ภาวนาทันทีวา่ “คิดหนอ” เป็นการดึง ใจให้กลับเข้าบ้าน ไม่ทงิ้ บ้านตัวเอง จะท�ำให้อยูเ่ ป็นสุข ไม่ทกุ ข์รอ้ น ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
43
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ให้อธิษฐานจิตเพื่อเปิดโอกาสให้ ตนเองได้มีชีวิตใหม่ทุกวัน ประนมมือขึ้นตั้งใจกล่าวว่า
ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธาน จะตั้งใจละความชั่ว จะประกอบแต่กรรมดี จะเอาชนะความเห็นแก่ตัว จะมีความสุขอยู่กับการให้ จะไม่ท�ำตามความเห็นผิด ฝึกเจริญมุทิตา ฝึกฝนจนเข้าใจ ฝึกอ่อนน้อมถ่อมตน ฝึกการให้ ฝึกสั่งสมความดี ฝึกขันติเป็นตบะ ฝึกเอาชนะความเห็นแก่ตวั
อธิษฐานจิต จะตั้งตัวไว้โดยชอบ จะท�ำชีวิตนี้ให้มีสาระ จะไม่เกลือกกลั้วอบายมุข จะเป็นผู้ไม่มั่วกาม จะพัฒนาจิตให้บริสุทธิ์ เพื่อความอิจฉาหมดไป เพื่อแก้ไขความเห็นผิด เพือ่ หลุดพ้นความเย่อหยิง่ ถือตัว เพื่อแก้ไขความตระหนี่ เพื่อหลีกหนีความชั่ว เพื่อเอาชนะความอ่อนแอ ต้องไม่กลัวการเสียสละ
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
44
อาศัยเกิดเป็นคน อาศัยความเป็นคน อาศัยความเกิด อาศัยความแก่ อาศัยความตาย อาศัยประสบการณ์ร้าย อาศัยความพลัดพราก อาศัยความผิดหวัง อาศัยความเป็นมนุษย์ อาศัยความทุกข์ยาก อาศัยความจน อาศัยถูกเย้ยหยัน อาศัยถูกทอดทิ้ง อาศัยความยาก อาศัยปัญหา อาศัยอุปสรรค อาศัยศัตรู อาศัยปลดเกษียณ อาศัยพ้นต�ำแหน่ง อาศัยพ้นอ�ำนาจ
ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
เพื่อมาค้นสัจธรรม เพื่อฝึกฝนตนเอง เพื่อมาแก้กิเลส เพื่อแชร์ประสบการณ์ เพื่อสลายตัวตน เพื่อให้กลับกลายเป็นดี เพื่อให้มากด้วยความสังเวช เพื่ออนิจจังประจักษ์แจ้ง เพื่อมาท�ำที่สุดแห่งทุกข์ เพื่อให้มากด้วยความบากบั่น เพื่อสร้างคนขยัน เพื่อสานฝันให้เป็นจริง เพื่อความจริงประจักษ์แจ้ง เพือ่ ให้มากด้วยความสามารถ เพื่อปัญญาบรรเจิด เพื่อเป็นนักต่อสู้ เพื่อเป็นอยู่อย่างเข้มแข็ง เพื่อเรียนรู้ชีวิตตน เพื่อไม่ต้องแข่งกับใครๆ เพื่อเป็นนักปราชญ์ที่แท้จริง
45
ต้องฝึกเจริญเมตตาเพือ่ แก้ปญ ั หาความโกรธ พิจารณาเห็นโทษ ว่า ความโกรธเป็นเหตุประทุษร้าย และเป็นทุกข์ ท่องคาถาไว้ว่า ใจเอ๋ยใจ ให้เป็นทุกข์ โกรธโกรธเขา มีแต่ไฟ
ท�ำไมเจ้า เป็นโทษ แล้วเรา ไหม้อก
จึงขี้โกรธ ไม่สุกใส จะได้อะไร นรกทั้งเป็น
คาถากันความเสียใจท่องจ�ำให้ขึ้นใจว่า "เสียอะไรก็เสียไป แต่อย่าเสียใจ" ถ้าเสียใจจะเป็นทุกข์ จงปลุกจิตส�ำนึก สร้างความรู้สึกดีๆ ขึ้นมาใหม่ เมื่อมีเกิด ต้องมีแก่ มีเจ็บ มีตาย เมื่อมีพบ ก็มีการพลัดพราก เมื่อมีหวัง ก็ต้องมีการผิดหวัง เป็นดั่งนี้ธรรมดา ธรรมดาของทุกชีวิต รักษาใจไว้ให้ได้ นะ
ชีวิตนี้เกิดมาชั่วแป๊ปๆ เดี๋ยวก็แก่ เจ็บ ตาย แล้ว จะเอาอะไรกันนักกันหนา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราก็ไม่ใช่ ของของเราก็ไม่ใช่ เราก็ไม่มี ของของเราก็ไม่มี
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
46
สิ่งที่มีคุณค่าของชีวิต คืออะไร ท่องคาถาไว้ว่า
อดีตที่ขมขื่น ต้องสดชื่นในปัจจุบัน อดีตที่ผกผัน ปัจจุบันต้องมั่นคง อดีตที่ลุ่มหลง ต้องปลดปลงในปัจจุบัน
ขอบคุณค่ะ เป็นผู้ยอม แต่ไม่แย่ เป็นผู้แพ้ แต่ไม่อาภัพ ท�ำดีเป็นพร อ้อนวอนเป็นพาล ฤกษ์ดียามดี สู้ท�ำดีไม่ได้ ฤกษ์ร้ายยามร้าย ยังไม่ฉิบหายเท่ากับท�ำชั่ว
ขอบคุณความทุกข์ ที่ท�ำให้ถึงธรรม ขอบคุณความยุ่งยาก ที่ท�ำให้มากด้วยความสามารถ ขอบคุณทีท่ อดทิง้ ท�ำให้พบความจริงว่า เป็นเช่นนัน้ เอง
ทุกข์แค่ไหนก็ดับได้
47
อนุโมทนาสาธุการ ในโอกาสที่ได้มาปฏิบัติธรรม ขอให้เป็นกุศล เป็นบารมี ให้ท่านได้มีความเจริญใน ธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป น�ำพาชีวิตตนเองให้อยู่รอดปลอดภัย ให้ ถึงสุขอันไพบูลย์ ขอให้ท่านทั้งหลาย เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ ปรารถนาสิ่งใดเป็นไปในทางที่ชอบ ประกอบด้วยธรรม ขอให้สงิ่ นัน้ จงพลันส�ำเร็จสมดังปรารถนา ทุกๆ ประการเทอญ. บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
จากรุ่นสู่รุ่น จากยุคสู่ยุค ไม่หยุดยั้งการพัฒนา สร้างสรรค์สื่อธรรม รังสรรค์สังคม อุดมปัญญาบารมี จากพุทธศักราช ๒๔๕๙ ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ด�ำรงความเพียรเพื่อพุทธศาสน์ ต่อไป ไม่สิ้นสุด เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา พัฒนาไม่หยุดยั้ง แตกหน่อ กิ่งก้านสาขา เป็น
บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
และแตกหน่อต่อไป พัฒนาสังคมให้มั่นคง สงบสุข เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ตกทอด เป็นมรดกธรรม มรดกความดีจนถึงลูก หลาน เหลน ลื่อ ลืบ ลืด สืบไป ขอขอบคุณ ฝ่ายต่างๆ ที่มีส่วนร่วมสร้างสรรค์หนังสือเล่มนี้ ให้ส�ำเร็จสมบูรณ์ อาทิ ทีป่ รึกษาหลัก คุณมณฑน์จติ ต์เกษม จงพิพฒ ั น์ยงิ่ ผูจ้ ดุ ประกายความคิด สะกิดจุดอ่อน สะท้อนจุดแข็ง เสนอข้อปรึกษา สมานสาระและศิลปะ, คุณอาทิตย์ จิตนิยม ทีป่ รึกษาการดูแลสังคม, คุณไชยภัทร แก้วนิล ฝ่ายการตลาด, คุณอรทัย จิตงาม ที่ปรึกษาฝ่ายศิลปะ, และที่ส�ำคัญคือ ผู้มีอุปการคุณทุกท่านที่ให้ ค�ำแนะน�ำ ติชม หนังสือสื่อธรรมของส�ำนักพิมพ์ ท�ำให้ทีมงานมีก�ำลังใจและพร้อมแก้ไข ปรับปรุง และ สร้างสรรค์สื่อธรรมะดี ดี ให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป
ธรรมทานสานสุข ปัจจุบันมนุษย์ก�ำลังผจญกับภาวะจิตขาดธรรม ส่งผลให้ มนุษย์ถูกแผดเผาด้วยไฟกิเลส จิตขาดความชุ่มชื้น แห้งแล้ง เป็นทุกข์ง่าย ไร้ชีวิตชีวา ธรรมะเปรียบ เสมือนน�้ำที่ฉ�่ำเย็น เหมือนป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ การช่วยให้ผู้อื่นได้เข้าถึงและสัมผัสกับธรรม จึงเท่ากับ การคืนความสุข มอบความสดชื่นแก่เพื่อนมนุษย์ แก่สังคม และแก่โลก ทุกท่านสามารถช่วยเพือ่ นร่วมโลกให้เข้าถึงธรรมะได้งา่ ยๆ ด้วยการบอกกล่าวให้คนรอบข้างให้ รู้จักน�ำธรรมะไปใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ช่วยแนะน�ำหรือพิมพ์หนังสือธรรมะเล่มนี้ แจกเป็นธรรมทาน เพื่อ เปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้ธรรมะและใช้ธรรมะได้อย่างถูกต้อง เป็นสุข และเป็นก�ำลังขยายธรรมทานสู่ผู้ อื่นต่อๆ ไปไม่สิ้นสุด = Dhamma (ธรรมะ) = ถูกต้องตามหลักคำ�สอน, ถูกอกถูกใจ, ถูกต้อง เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย, ราคาถูก = ดีมาก, ดีอกดีใจ, ดีจัง, ดีเลิศ, ดีเยี่ยม
ท่านผู้ประสงค์จะเผยแผ่หนังสือเล่มนี้
หรือหนังสือเล่มอื่นๆ เป็นธรรมทาน โปรดติดต่อ : ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ๑๐๕/๗๕ ถนนประชาอุทิศ ซอย ๔๕ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐
http://www.พุทธะ.net (พิมพ์ชื่อไทย จ�ำง่าย ใช้ดี ไม่ลืม อย่าลืม พุทธะ.net นะจ๊ะ) E-mail : LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM WWW.LC2U.COM
ซื้อหนังสือ สาขาทุ่งครุ : โทร. ๐๒-๘๗๒-๗๒๒๗, ๐๒-๘๗๒-๘๒๒๘, ๐๒-๘๗๒-๙๘๙๘, สาขาส�ำราญราษฎร์ : โทร. ๐๒-๒๒๑-๑๐๕๐, ๐๒-๒๒๑-๔๔๔๖ เผยแผ่เป็นธรรมทาน โทร. ๐๒-๘๗๒-๘๘๗๓, ๐๒-๘๗๒-๙๑๙๑, ๐๒-๘๗๒-๘๑๘๑, ๐๒-๘๗๒-๘๐๘๐, ๐๒-๘๗๒-๕๙๗๘ ๏ พิมพ์ที่ หจก. แอลซีพี ฐิตพิ ร การพิมพ์ ๑๐๕/๑๑๐-๑๑๒ ถนนประชาอุทศิ ซอย ๔๕ แขวงบางมด เขตทุง่ ครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐ LC59-20