มีสุขในยุคของแพง

Page 1


เศรษฐกิจตก รายได้ต่ำ แต่ใจชุ่มฉ่ำด้วยสุขเพิ่มพูนทวี

โดย...พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ


âÅกส´ãส เ¾รÒÐกÒรãËŒ¸รรÁ·Òน

ธรรมทาน หมายถึง การให้ธรรมเป็นทาน คำว่า ธรรม ในที่นี้ หมายถึง สิ่งที่เป็นความดีงาม เป็นประâยชน์ด้านความคิดและจิตใจ ที่เมื่อ ผู้รับได้รับไปแล้ว เกิดความรู้ เกิดสติปญญา เห็นความสว่างทางดำเนินชีวิตที่ ถูกต้องจนถึงเกิดดวงตาเห็นธรรม บรรลุคุณวิเศษชั้นสูงได้ ธรรมทานนั้นแยก ออกไปได้หลายประการ เปนต้นว่า ให้ธรรมทาน คือ ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ หมายถึง การที่แนะนำ สั่งสอน หรือให้โอวาทตักเตือนผู้อื่น เช่น พ่อแม่สอนลูกให้เปนคนดี ครูอาจารย์ สอนศิษย์ให้มีวิชาความรู้ เปนต้น ให้ธรรมทาน คือ ให้ความรักความอบอุ่น หมายถึง การทำตนให้ เปนคนมีเมตตากรุณา เปนคนใจดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เปนต้น ธรรมทานทั้งปวงที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่าธรรมทานนั้นถาวรมั่นคง กว่าอามิสทาน และซึมซาบเข้าไปถึงจิตใจของผู้รับ ทำให้ผู้รับเกิดสติป˜ÞÞา ความรู้ เกิดกำลังใจ ได้สติ ได้ความอบอุ่น ¹¤ÇÒÁÊØ¢´ŒÇ¡Òà Áͺ˹ѧÊ×͸ÃÃÁÐ໚¹·Ò¹ มองเห็นทางก้าวหน้า มีความมั่นใจในการ ËÇÁẋ§»˜¢ÂÒ¡ÃÃÁ´Õ àÊÃÔÁÊÌҧºÒÃÁÕ äÁ‹ÁÕ·ÕèÊÔé¹ÊØ´ ดำรงชีพ และธรรมทานนั้นสามารถนำผู้รับให้ บรรลุถึงคุ³ธรรมความดี จนถึงมรรค ผล นิพพาน ได้ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า

“สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ การใหธรรมะเปนทาน ชนะการใหทั้งปวง”

Í‹Ò¹¨ºáÅŒÇÊ ‹§µ‹Íä»

ËÞ‹

ä´ŒºØÞ ã

Ë Ù¨Œ ¡Ñ ¨ºÊ¹Ôé ... ¼ÙŒÃºÑ äÁ Ð Å á Œ ãË ·§Ñé ¼ÙŒ


คำ¸รรÁนำสØ¢ หนังสือ มีสุขในยุคของแพง เล่มนี้ เปนการรวบรวมผลงานของ พระเดช พระคุณ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) ที่ท่านได้พูดถึง หลักการพึ่งพาตน และการปฏิบัติตนอย่างไรให้เปนสุขในยุคของแพง โดยแบ่ง เนื้อหาออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นปา°กถาธรรม เรื่อง “ธรรมะยุคของแพง” ที่แสดง ในรายการปาฐกถาธรรมประจำวันอาทิตย์ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศ ไทย ครั้งดำรงสมณศักดิ์เปน พระราชวิสุทธิโมลี เปนปาฐกถาธรรมที่ให้แง่คิด และมุมมองที่อ่านแล้วสามารถปฏิบัติตนให้อยู่เปนสุขได้ ในยุคของแพงเช่นปจจุบัน ส่วนที่ ๒ เป็นการคัดสรรข้อความที่เกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ จากผลงาน การเขียนที่ได้รับการตีพิมพ์เปนหนังสือทั้งเก่าและใหม่ เช่น ธรรมสารทีปนี, ธรรม สารเทศนา, คำพ่อคำแม่, กิร ดังได้สดับมา เปนต้น ซึ่งให้แง่คิดและความเข้าใจ เกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ สามารถนำไปใช้ให้เปนประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ส่วนที่ ๓ เป็นบทสวดมนต์ สำหรับสวดเพื่อให้จิตสงบ ไม่ฟุงซ่าน เปน อุบายรักษาจิตไม่ให้เปนทุกข์ใจร้อนรนไปกับภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนขึ้นๆ ลงๆ ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ทางสำนักพิมพ์ได้มอบให้ อาจารย์สÀุ าพ หอมจิตร เปนผู้คัดสรรเนื้อหา พร้อมทั้งจัดวรรคตอน ย่อหน้า คิดภาพประกอบ พร้อมกับ ทีมงานท่านอื่นๆ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำจนสำเร็จเปนรูปเล่มดังที่ปรากฏนี้ หวังเปนอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จักช่วยให้ผู้อ่านทุกท่านดำรงตนได้อย่าง เปนสุขในยุคที่ของแพงเช่นนี้ ด้วยรักและไมตรี ชีวีเป็นสุข สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


เกริ่นนำคำสอน

พระเดชพระคุณ พระธรรมกิตติวงศ์ ได้กล่าวย้ำบ่อยๆ ว่า “การที่คนเราประกอบกิจต่างๆ เพื่อหาเงินหาทองก็ดี หากินหาใช้ก็ดี ก็มี จุดมุ่งหมายปลายทางอยู่ที่ต้องการให้ได้มาซึ่ง ความสุข นี่เอง ท่านว่า ความสุข นั้นเกิดมาจากเหตุ ๓ อย่าง คือ ๑. ทรัพย์สมบัติ เกิดมาจากการที่คนเราได้ทำงานที่เหมาะสม และวิธี ทำก็เหมาะสมกับงานด้วย ทำงานด้วยความเอาใจใส่ ไม่ทอดธุระ ไม่ทิ้งงาน และ ทำด้วยความขยันหมั่นเพียร ต่อสู้ ไม่ท้อแท้ คนที่ทำงานอย่างนี้ ย่อมได้ผล ตอบแทนเป็นทรัพย์สมบัติ ๒. เกียรติยศ เกิดจากความเป็นผู้มีสัจจะ รักษาสัจจะ ผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อ ตนเองและผู้อื่น มีความจริงใจต่อทุกๆ คน สัจจะนี้ทำให้คนเรามีเกียรติยศ ได้รับ ความนิยมยกย่องจากคนทั่วไป ๓. ไมตรีจิต เกิดจากความเป็นผู้ไม่ตระหนี่ มีจิตใจกว้างขวาง ชอบ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลผู้อื่น คือ ชอบเป็นผู้ให้ ผู้ที่ทำอย่างนี้ย่อมจะผูกไมตรีของผู้คนไว้ได้ ย่อมมีมิตรสหายพวกพ้องมาก ดังนั้น ผู้ที่ต้องการหาความสุข พึงหาทรัพย์สมบัติให้ได้ เพราะทรัพย์ สมบัติย่อมทำให้เกิดความสะดวก เกิดความคล่องตัว ไม่ติดขัดในเรื่องทั้งปวง พึง สร้างเกียรติยศให้ได้ เพราะเกียรติยศนี้ย่อมทำให้เกิดความไว้วางใจ ทำให้มี เครดิตน่าเชื่อถือ และพึงสร้างสมไมตรีกับบุคคลทั่วไปให้ได้ เพราะไมตรีจิตนี้ ย่อมทำให้เกิดบริวารพวกพ้อง ทำให้เกิดความสะดวกต่างๆ และได้รับความ ช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ทั้งหมดนี้ล้วนทำให้เกิดความสุขในชีวิตได้ทั้งสิ้น...” แต่จะทำอย่างไรจึงจะสร้างทรัพย์ เกียรติยศ และไมตรีได้ เชิญท่านเรียนรู้ได้ จาก มีสุขในยุคของแพง เล่มนี้ ด้วยความปรารถนาดี (น.ธ.เอก, ป.ธ.๗)

ผู้นำเสนอสาระในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง


ขอเจริญสุข ท่านผู้ฟงทุกๆ ท่าน รายการปาฐกถาธรรมประจำวันอาทิตย์ตอนเช้า ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ซึ่ง กรมประชาสัมพันธ์จัดขึ้น ได้กลับมาพบกับท่าน อีกครั้งหนึ่งแล้ว สำหรับหัวข้อธรรมที่จะพูดในวันนี้ได้ตั้งชื่อไว้ ว่า “ธรรมะยุคของแพง”* ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ปจจุบัน ซึ่งทุกคนจะบ่นกันอยู่เสมอว่า “ทุกวันนี้ อะไรๆ มันก็แพงไป เสียทั้งหมด ไม่ว่าของกินของใช้ มันแพงจนตั้งตัวไม่ทัน หามาใช้จ่ายไม่เพียงพอ จนชักหน้าไม่ถึงหลังอะไรทำนองนี้”

วันนี้ลองมาฟง “ธรรมะยุคของแพง” กันดู เผื่อจะมีวิธีแก้ของแพงได้บ้าง ความจริงที่พูดเรื่องนี้ มิใช่มุ่งแต่จะแก้ของแพงให้ถูกลง ทั้ ง มิ ใ ช่ มุ่ ง เพื่ อ หาทางแก้ ไ ขมิ ใ ห้ สิ น ค้ า ขึ้ น ราคา ต่อไปอีก เพราะว่าเรื่องของถูกของแพงนี้ มันเกิน อำนาจหน้าที่ของผู้พูด และการแก้ปญหาเรื่อง ของแพงนี้ เขามีคนคอยแก้อยู่แล้วตามหน้าที่ คือ “รัฐบาล” นั่นเอง เขาจะแก้กันได้ ไม่ได้ ก็คอยดูกันไป

*แสดงในขณะเปน พระราชวิสุทธิโมลี ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแหงประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ ๒๕๒๕ ทางสำนักพิมพไดเปลี่ยนชื่อเปน “มีสุขในยุคของแพง” เพื่อใหสอดคลองกับสถานการณ ปจจุบัน


มีปญหา...ตองแกที่ตนเหตุ

คนอย่างเราๆ ท่านๆ ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง มากนัก อย่างดีก็เพียงชี้แนะวิธีการบางอย่าง ตามที่ตัวเองพอจะแก้ไข และคำชี้แนะของ เรานั้น รัฐบาลเขาอาจจะรับฟง หรือไม่ รับฟงก็ได้ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลก็เปนคน มาจากประชาชนที่ เ ลื อ กเขาเข้ า ไป เป น ผู้ แ ทนในการบริ ห ารประเทศ เขาก็ต้องพยายามทุกวิถีทาง และก็เปน ความจริ ง อี ก เหมื อ นกั น ที่ ค นซึ่ ง เป น รัฐบาลนัน้ ก็ซอื้ ของแพงเหมือนอย่างสามัญ ชนทัทั่วไปเช่นกัน บางทีอาจจะซื้อแพงกว่าเสียด้วย

ตามหลักในทางศาสนา ท่านสอนให้แก้ป˜Þหาที่ต้นเหตุ และที่ตัวเองก่อน หากไม่แก้ที่ต้นเหตุและที่ตัวเองก่อนแล้ว ก็ไม่สามารถจะแก้ป˜Þหาต่างๆ ได้เลย การแก้ปญหาเรื่องของแพงก็เช่นกัน ถ้าเรามัวไปแก้ที่ของที่สินค้า มัวไปแก้ ด้วยการตรึงราคาสินค้า แก้ที่การบังคับมิให้สินค้าขึ้นราคา หรือแก้ที่การลงโทษ ผู้เอารัดเอาเปรียบผู้ซื้อ ก็ไม่มีวันจะแก้ปญหานี้ได้ เพราะไปแก้ที่คนอื่นเสียหมด


ตนเหตุสินคาราคาแพง การที่เราจะไม่ให้ราคาสินค้าขึ้นราคานั้นดูจะยากอยู่ เพราะว่าถ้าจะว่ากัน ตามความเปนจริงแล้ว อันนี้มันเปนไปตามกฎธรรมดาของโลก คือ

เมื่อของมันมีน้อยลง แต่คนต้องการมีมาก เพราะคนมันเพิม่ ขึน้ ทุกวัน แต่ของกลับหมดลงทุกวัน ของนั้นมันก็ต้องมีราคาสูงขึ้นเป็นธรรมดา เราจะให้ข้าวแกงมีราคาจานละบาท เหมือนเมื่อยี่สิบปก่อนได้อย่างไร อันนี้ มันเปนไปไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างมันต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกฎธรรมดา ไม่เฉพาะแต่ ในเมืองไทยเท่านั้น แม้ต่างประเทศเขาก็ประสบปญหาเช่นนี้เหมือนกัน ดังนั้น หากเรามายอมรับความจริงข้อนี้กัน แล้วหยุดความคิดที่จะแก้ ปญหาตรงจุดนี้กันเสียที แต่ไปคิดแก้ตรงจุดอื่นต่อไป ก็มีทางแก้ไขได้อยู่หรอก แต่ถ้ายังงมตรงจุดนี้กันอยู่ ก็เห็นว่าจะแก้ยาก และยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่ง ยิ่งแก้มิให้ ของแพงเท่าไร ดูเหมือนว่าของก็ยิ่งแพงมากขึ้นเท่านั้น อย่างทีร่ ๆู้ เห็นๆ กันอยู ่ ทั้งนี้ เพราะมาแก้กันที่ปลายเหตุ และแก้กันที่คนอื่น มันจึงแก้ตกยาก


8

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ประเภทสินคาราคาแพง

ก่อนอื่น เรามาพูดกันเสียก่อนว่า อะไรบ้างที่มันแพง มันมีราคาสูง เมื่อรวม ยอดแล้วก็จะได้เปน ๒ อย่าง คือ “ของกิน” กับ “ของใช้” ซึ่งเรียกเปนภาษา ทางการก็ได้แก่ “เครื่องบริโภค” กับ “เครื่องอุปโภค”

เครื่องบริ âÀค หมายถึง ของกิน ได้แก่ อาหาร และยา ทุกชนิด รวมทั้งของที่ผ่านเข้าสู่ ร่างกายทางปากทุกชนิดด้วย

ส่วน เครื่องอุป âÀค นั âÀค ้น หมายถึง ของใช้ทุกชนิด ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย รวมไปถึงบริการต่างๆ เช่น ค่ารถ ค่าเรือ ค่าอะไรต่อมิอะไรอีกจิปาถะ

ของกินของใช้ หรือเครื่องบริโภคอุปโภคนี่แหละ ที่ว่ากันว่ามันแพงนักแพงหนา และขึ้นราคาแทบจะทุกวันก็ว่าได้ ˹ѧÊ×Í ÁÕÊØ¢ã¹Âؤ¢Í§á¾§ ñ àÅ‹Á ẋ§¡Ñ¹Í‹Ò¹ ñ𠤹 à¼×èÍἋẋ§»˜¹¤ÇÒÁÊآ䴌 ñð𠤹 ˹ѧÊ×Í ñð,ððð àÅ‹Á ẋ§»˜¹¤ÇÒÁÊآ䴌 ñ,ððð,ðð𠤹 ËÇÁÊÌҧ¤ÇÒÁÊØ¢ ʹѺʹع¡ÒþÔÁ¾ (ÂÔ觾ÔÁ¾ ÁÒ¡ ÂÔ觶١ÁÒ¡) µÔ´µ‹Í â·Ã. ðò-ø÷ò-ùñùñ, ðò-ø÷ò-øñøñ, ðò-ø÷ò-õù÷ù, ðò-òòñ-ñðõð


มีสุขในยุคของแพง

9

ธรรมะแกของแพง มีธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ข้อหนึ่ง จะว่าเปน ธรรมะสำหรับยุคของแพง ก็ถูก จะว่าเปน ธรรมะสำหรับแก้ของแพง ก็ใช่ แต่ไม่ได้หมายความว่าเปนธรรมะที่ห้ามของแพง หรือแก้ของที่แพงให้ถูก ลงได้ มิใช่เช่นนั้น เปนธรรมะสำหรับแก้ลำ หรือเปนธรรมะสำหรับแก้ปญหาในยุค ของแพงจะเหมาะกว่า เพราะได้กล่าวไว้แต่ตอนต้นแล้วว่า เมื่อของมันแพง เราจะไปแก้ที่ของมิให้ มันแพง ห้ามมิให้มันขึ้นราคานั้นไม่ได้ ยิ่งแก้ตรงจุดนี้ ของมันก็ยิ่งแพงขึ้นทุกที เพราะแก้ไม่ถูกจุด ธรรมะข้อนี้ เปนธรรมะที่สอนให้แก้ปญหาของแพงที่ตัวเอง คือตัวผู้กินผู้ใช้ ของแพงนั่นเอง ธรรมะข้อนั้น คือ สมชีวิต๑ เปนหนึ่งในทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์๒ คือ ธรรมสำหรับทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นในปจจุบัน ๔ อย่างนั่นเอง ธรรมะข้อนี้แหละ จัดเปนธรรมที่เหมาะสำหรับยุคของแพง

สมชีวิต แปลตามÀาษาวัด ก็แปลว่า “ความเป็นผู้เลี้ยงชีพที่เหมาะสม” แต่ถ้าแปลแบบห่างกำแพงวัดหน่อย ก็ต้องแปลว่า “ความเป็นอยู่แบบสมดุล” หรือ “ความเป็นอยู่แบบพอดีๆ” นั่นเอง เพราะคำว่า “สม” นั้นย่อมาจาก “สมดุล” ก็ได้ และ สมดุล นั้นก็คือ พอดี พอเหมาะ นั่นแหละ

๑ อานวา สะ-มะ-ชี-วิด มาจากคำวา สมะ (เสมอ, พอเหมาะ, พอดี) + ชีวิต (ความเปนอยู) ๒ อานวา ทิด-ถะ-ทำ-มิ-กัด-ถะ-ประ-โหยด แปลวา ประโยชนในภพนี้, ประโยชนในปจจุบัน มี ๔ อยาง คือ ๑. อุฏฐานสัมปทา (อุด-ถา-นะ-สัม-ปะ-ทา) ถึงพรอมดวยความหมั่น ๒. อารักขสัมปทา (อา-รัก-ขะ-สัมปะ-ทา) ถึงพรอมดวยการรักษา ๓. กัลยาณมิตตตา (กัน-ละ-ยา-นะ-มิด-ตะ-ตา) ความมีเพือ่ นดี ๔. สมชีวิตา (สะ-มะ-ชี-วิ-ตา) ความมีชีวิตเหมาะสม


10 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ใชจายอยางไรจึงจะ “พอดี”

ทีนี้ก็เกิดปญหาขึ้นมาว่า สมดุลอย่างไร พอดีกับอะไร อย่างไรที่เรียกว่า พอดี เท่าไรจึงจัดว่า พอดี ปญหาข้อนี้แหละที่ต้องพูดกันมากหน่อย

“ความพอดี” ที่ว่านี้ เราวัดกันยาก เพราะความพอดี ของแต่ละคนไม่เท่ากัน และไม่เหมือนกัน บางคนมีรายได้สามพันบาทต่อเดือน ก็บอกว่า พอดี ดีแล้ว ส่วนบางคน มีรายได้เดือนละหนึ่งหมื่นกว่า ยังบอกว่า ไม่พอดี แล้วจะเอาอะไรมาตัดสิน เท่าที่ นึกได้ในขณะนี้ ความพอดี ที่น่าจะใช้ได้ ก็คือ

พอดี กับ “รายได้” และ พอดี กับ “ความจำเป็น”

ที่ไม่นำพอดีกับรายจ่ายเข้ามาว่าด้วย ก็เพราะว่าขืนนำมารวมด้วย เปนเกิน พอดีแน่ เพราะคนที่ไม่พอดีนั้น แม้มีรายได้เปนเรือนแสน ก็ยังไม่พอจ่ายอยู่ดี

¤Ó¤Á¤ÒÃÁ»ÃÒªÞ : ¡ÒûÃÐËÂÑ´ ¤×Í ¡ÒÃÍ´ÍÍÁ·Õè´Õ·ÕèÊØ´ (»ÃСÒ¤ÇÒÁ¤Ô´ àÅ‹Á ô)


มีสุขในยุคของแพง 11

ลดจาย รายไดเพิ่ม จึงพอสรุปคำจำกัดความของคำว่า สมชีวิต ได้ว่าหมายถึง ความมีชีวิตอยู่ แบบให้พอดีกับรายได้ และความจำเป็น ให้สมดุลอยู่ตรงกลาง âดยไม่½ืด เคืองนัก และไม่ฟุ†มเฟือยนัก อันนี้แหละถ้าเราทำตามได้ เราก็มีความสุขอยู่ใน ท่ามกลางของแพงได้ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มี สมชีวิตธรรม ก็มีจุดมุ่งหมายให้ทุกคนแก้ปญหา ต่างๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจของตัว ของครอบครัวด้วยตัวเอง และแก้ที่ตัวเองเปนพื้น ในทางปฏิ บัติ หากจะประพฤติธรรม ข้อนี้สมบูรณ์ ก็ต้องหัดเปนคนประหยัด มีความมัธยัสถ์เปนนิสัย กินใช้ในทางที่จำเปนเท่านั้น

ตัดการจ่ายที่ไม่จำเป็น และตัดความฟุ†มเฟือยออกเสียบ้าง เท่านี้ก็จะลดรายจ่ายลงได้มาก ย มากเท่าใด เมื่อลดรายจ่ายลงได้ ก็เท่ากับเพิ่มรายได้มากขึ้นเท่านั้น


12 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ของแพงเฉพาะบางคน มีข้อเท็จจริงอยู่อันหนึ่ง คือ

ของแพงสำหรับคนกินคนใช้เท่านั้น สำหรับคนที่ไม่กินไม่ใช้ ของนั้นก็ไม่แพง และไม่จำเป็นด้วย

หมายความว่า ของสิ่งใดคนยังต้องกิน ต้องใช้อยู่ ของนั้นก็แพงสำหรับคนคนนั้น แต่ถ้าใครไม่กินไม่ใช้ ของนั้นก็ไม่แพง และไม่จำเปนสำหรับคนคนนั้น เช่น คนที่ติดบุหรี่ พอบุหรี่ขึ้นราคา ก็มักจะบ่นว่าบุหรี่แพง คนติดสุรา พอสุราขึ้นราคา ก็ว่าสุราแพง คนติดหนังสือพิมพ์ พอหนังสือพิมพ์ ขึ้นราคา ก็ว่าหนังสือพิมพ์แพง แต่ทั้งๆ ที่บ่นนั่นแหละ ก็ยังอดสูบบุหรี่ อดดื่มสุรา และอดอ่านหนังสือพิมพ์ไม่ได้ สำหรับคนที่ไม่ติดบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ แม้บุหรี่จะขึ้นไป ซองละ ๒๐ บาท สุราขวดละ ๑๐๐ บาท หนังสือพิมพ์ฉบับละ ๑๐ บาท ก็ไม่เห็น เดือดร้อนอะไร ของเหล่านี้มันจะขึ้นราคาไปเท่าไรก็ขึ้นไป เราลองไม่ติด ไม่ดื่มมัน เสียอย่างจะมาเดือดร้อนอะไร นี้ก็เปนวิธีแก้ปญหาได้ทางหนึ่ง


มีสุขในยุคของแพง 13

เพิ่มรายได จายเทาที่จำเปน อีกทางหนึ่งก็คือ ยลง หารายได้เพิ่มขึ้น แล้วลดรายจ่ายลง คือ เมื่อเรารู้ว่าของมันแพง และของบางอย่างมันจำเปนจะต้องกิน จะต้องใช้ ซึ่งร่างกายขาดไม่ได้ ถ้าขาดมันแล้วชีวิตจะอยู่ไม่ได้ หรืออยู่ได้ด้วยความลำบาก หรืออยู่อย่างทรมาน ของประเภทนี้จำเปนต่อชีวิตมาก เช่น ปจจัย ๔ เปนต้น

ดังนั้น เมื่อของจำเป็นแพงขึ้น ก็ต้องหารายได้ ให้มากขึ้นให้พอดีกับรายจ่ายที่จำเป็น เช่น ทำงานเพิ่มชั่วโมงขึ้น ทำงานให้พิถีพิถันให้เรียบร้อยขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น ขยันมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ได้เงินเดือนหรือรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยกับรายจ่ายที่จำเปนจะต้องจ่าย

นอกจากนั้นจะต้องหาช่องโหว่ของการใช้จ่าย ให้ได้ แล้วใช้จ่ายด้วยความระมัดระวังมากขึ้น

ก็ได้แก่ ให้ลดรายจ่ายลงนั่นเอง รายจ่ายที่ลดไม่ได้ก็คือ รายจ่ายที่ จำเป็น


14 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

จะกินจะใช ใหรูจักพอดี ส่วนรายจ่ายที่ไม่จำเปน เราสามารถลดลงได้ ส่วนมากรายจ่ายประเภทนี้ ก็ได้แก่ รายจ่ายเพื่อบำเรอกายบำเรอใจ จ่ายเพื่อการสนุกสนานเฮฮา จ่ายเพื่อสนองอารมณ์ตัวเอง จ่ายเพื่อรักษาศักดิ์ศรี เหล่านี้เปนต้น

คนที่ยากจนส่วนมากมักจะจนเพราะไม่รู้จักกิน และไม่รู้จักใช้เสียมากกว่า คือ คนส่วนมากมักจะพูดว่า หาไม่พอกินไม่พอใช้ แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าหามาเพื่อกินแบบพอดี หามาเพื่อใช้แบบพอดี คือ แบบสมชีวิต แล้วเป็นพอแน่นอน แต่ที่ไม่พอนั้นก็คือ ไม่พอสำหรับกินที่เกินพอดี ใช้ที่เกินพอดีต่างหาก อันความเกินพอดีนี่แหละ ที่ทำให้คนเรายากจนกัน


มีสุขในยุคของแพง 15

วิชาเศรษฐี...สูชีวิตที่พอเพียง เพื่อให้เรื่องนี้กระจ่างชัดขึ้น ใคร่ขอเล่าเรื่องให้ฟงสักเรื่องหนึ่งพอเปน ตัวอย่าง คือ มีชายคนหนึ่งเปนคนเรียนมาก รู้มากและคุยเก่ง เลยเปนคนแก่คุย สนุกไปวันๆ อายุกว่าสามสิบแล้วยังไม่เปนโล้เปนพาย วันหนึ่งคิดอยากจะรวยกะเขาบ้าง จึงไปที่บ้านกำนันซึ่งเปนคนมีอันจะกิน ในเมืองนั้น ขอสมัครเปนลูกศิษย์เรียน “วิชาเศรษฐี”

กำนันเห็นหน่วยก้านเข้าที จึงรับเปนลูกศิษย์ โดยตกลงกันว่า ต้องเรียนวิชานี้ ๓ ปจึงจะจบ และเรียนกันตลอดไม่มีวันหยุด ต้องทำงานในบ้านกำนัน ชดใช้ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าอาหารที่พักด้วย เขาตอบตกลง แล้วถามกำนันว่า “จะเรียนได้เมื่อไหร่” กำนันตอบว่า “เรียนวันนี้แหละ” เขาดีใจมากที่จะได้เรียนวิชาเศรษฐี คุยถูกคอกันจนเย็น กำนันก็สั่งให้แม่ครัวยกสำรับกับข้าวมาเลี้ยง อาหารมี มากมายจนเต็มโตะทีเดียว เหล้ายากับแกล้มมีพร้อม

รักแผนดินไทย สงเสริมเด็กไทยใหไดใกลชิดธรรมะ ดวยการพิมพหนังสือเลมนี้ แจกเปนธรรมทานแกเด็ก โรงเรียน มหาวิทยาลัย หองสมุด สถานพยาบาล ประจำบาน เพื่อใหเด็กไดอานเสริมสรางคุณธรรมจริยธรรม


16 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

คนรวยเริ่มตนที่...รูจักกิน

พอตั้งโตะเสร็จ กำนันก็เชิญเขานั่งโตะแล้วเชิญรับประทานได้ พอกำนัน อนุญาตเสร็จ เขาก็ยื่นมือคว้าขวดเหล้าทีเดียว รินใส่แก้วแล้วจัดแจงจะยกขึ้นดื่ม กำนันรีบจับมือเขาไว้แล้วถามว่า “เธอชอบเหล้ามากนักหรือ ?” เขาตอบว่า “แหมของโปรดทีเดียวครับท่าน” “เออ... เหล้านี่ กินแล้วมันทำให้บ้าได้ไหม ?” “ได้ครับ” “เธอชอบเปนคนบ้าหรือ ?” “ไม่ชอบครับ” “ถ้าไม่ดื่มเหล้ามันจะตายไหม ?” “ไม่ตายครับท่าน” “เมื่ อ คนไม่ กิ น เหล้ า แล้ ว ไม่ ต าย ก็ไม่ควรกินมัน”

ว่าแล้วให้คนยกไปเก็บเสีย เขามองอย่างเสียดาย แต่ไม่รู้จะทำอะไรได้ ตักข้าวใส่จานแล้วลงมือรับประทานอาหาร กำนันก็ถามอีกว่า “อาหารตั้งเต็มโตะ เราสองคนกินหมดไหม ?” “ไม่หมดครับท่าน” “เออ...ถ้าไม่หมด ก็ควรจะเก็บไว้กินวันหลังได้บ้างนะ”

ว่าแล้วก็สั่งให้เก็บอาหารแห้งๆ ไว้ก่อน เหลือไว้เพียงสองสามอย่างเท่านั้น


มีสุขในยุคของแพง 17

ถาไมรูจักกิน...มันก็ไมรวย

แล้วถามเขาอีกว่า “สองสามอย่างนี่ เรากินหมดไหม ?” เขาตอบว่า “ท่าจะไม่หมดครับ” “ไม่หมดแล้วมันเสียไหม ?” “เสียครับ” “เอ้า...งั้นแบ่งครึ่งกินครึ่งก็แล้วกัน”

แล้วให้คนมาตักแบ่งเก็บไว้ให้คนอื่นทาน พอทานเสร็จ ก็ชวนเขามานั่งคุยต่อ พลางสานกระบุงที่สานค้าง แล้วชวนให้ เขาสานตะกร้าด้วย เขาถามกำนันว่า “เมื่อไหร่จะให้ผมเรียน ‘วิชาเศรษฐี’ สักทีเล่าครับท่าน” กำนันบอกว่า “ก็เรียนแล้วไง” เขาถามว่า “เรียนที่ไหน” กำนันตอบว่า “ก็เรียนที่โตะอาหารนั่นแหละ

คนที่จะรวยได้มันต้อง เริ่มที่การกินก่อน ถ้าไม่รู้จักกิน มันก็รวยไม่ได้”


18 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ละเอียดลออ คือบอเกิดแหงความรวย

เขาบอกว่า “อ้อ...ผมเข้าใจแล้ว ผมขอถามพ่อกำนันหน่อยเถอะ ที่บ้านท่าน มีกระบุงตะกร้ามากมายเหลือใช้ จะจักสานไปทำไมอีก ?” กำนันตอบว่า “คนเราน่ะ เวลานั่งคุยกันจะให้มือมันว่างทำไม จักสานไป คุยไปก็ได้ แม้ของที่บ้านจะมีแล้ว แต่ว่าเราทำไว้ขายเอาเงินมาเปนค่ากับข้าวก็ได้ นี่นะ มีรายได้พิเศษอย่างนี้ทุกวัน ก็ไม่จนแหละ” เขารับว่าเข้าใจแล้วเหมือนเคย คุยกันดึกพอควร กำนันก็ให้เขาเข้าไปนอน ในห้องเดียวกันเพราะคุยถูกคอกันดี เมื่อเขาเข้าไปในห้องแล้ว สักครู่กำนันก็ตาม เข้าไป เขาถามว่า “ท่านไปหลังบ้านทำไมครับ ?” “ก็ไปดูประตูหลังบ้านว่าปดหรือยัง ไปดูครัวว่าดับไฟดีแล้วหรือยัง ไปดู กอกน้ำด้วยว่ามีใครเปดทิ้งไว้ไหม ?

คนที่จะรวย มันต้องละเอียดลออ

อย่างน้ำนั้น ถ้าปล่อยให้มันไหลทั้งคืน มันก็เสียประโยชน์ เสียเงินเพิ่มด้วย” เขาตอบกำนันทันทีว่า “อ้อ... ผมเข้าใจที่ท่านพูดแล้วครับท่าน”


มีสุขในยุคของแพง 19

ความมัธยัสถ เปนสมบัติของเศรษฐี กำนันพูดแล้วก็เข้ามุ้ง พอเข้ามุ้งเรียบร้อยเท่านั้น ก็รีบดับไฟทันที เขาถามว่า “จะรีบดับไปทำไม ขอนอนคุยต่ออีกสักหน่อย” กำนันตอบว่า “จะคุยต่อก็ไม่เปนไรนี่ นอนคุยกันมืดๆ ก็ได้ ไม่จำเปนต้อง เปดไฟคุย สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ” เขาเสริมว่า “คนที่จะเปนเศรษฐีน่ะ เขาต้องประหยัด และมัธยัสถ์ทุกๆ อย่างใช่ไหมครับ” กำนันตอบว่า “ใช่สิ เออ... เธอนี่หัวไว เรียนได้เร็วนี่” แล้วต่างคนต่างนอน สักครู่กำนันได้ยินเสียงกุกกักๆ จากที่เขานอน จึงถามว่า “เปนยังไง ทำอะไรนะ” เขาตอบว่า “ผมกำลังถอดเสื้อผ้าครับ” “ถอดทำไมล่ะ” “ผมเห็นว่าถ้าเราถอดเสื้อผ้านอนก็ไม่เสียหายอะไร เพราะในที่มืดๆ จะมี ใครเห็น เสื้อผ้าก็จะไม่ยับย่น เปนการประหยัดเสื้อผ้ามิให้เก่าและขาดง่ายด้วยครับ” “เออ...เธอรู้มากกว่าฉันเสียอีก ฉันเปนเศรษฐีมาตั้งนานยังไม่รู้ลึกซึ้งเท่า เธอเลย”


20 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

เคล็ดลับวิชาเศรษฐี อยูที่รูแลวลงมือทำ

เช้าวันรุ่งขึ้น กำนันเรียกเขามาแล้วบอกว่า “เธอเรียน ‘วิชาเศรษฐี’ จบแล้ว เธอไปได้ ทุกอย่างเธอรู้หมดแล้ว ไม่ต้องเรียนอีกแล้ว บางอย่างเธอรู้ดีกว่าฉัน เสียอีก แต่เธอขาดเพียงอย่างเดียว คือ เธอได้แค่รู้ แต่ไม่ทำตามที่รู้เท่านั้น

เธอจงจำไว้เถอะ ‘วิชาเศรษ°ี’ น่ะ มีเคล็ดนิดเดียวเท่านั้นคือ รู้แล้ว จะต้องทำตามที่รู้ มีเท่านี้แหละ”

เรื่องนี้ออกจะยืดยาวและฟุมเฟอย แต่ก็เปนคติดีจึงนำมาเล่าสู่กันฟง

เพราะคนที่อยากจะรวยมีมาก

แต่คนรวยจริงๆ มีไม่มาก เพราะขาดการกระทำ

ดังเรื่องของชายคนนั้น

กับกำนันนั่นเอง


มีสุขในยุคของแพง 21

แกของแพงดวยวิธี เพิ่มรายได ลดรายจาย ใชที่จำเปน ดังนั้น การลดรายจ่ายในสิ่งที่ไม่จำเปนออก โดยเฉพาะในเรื่องการกิน ถ้ากินไม่เปน ไม่รู้จักกิน กินพร่ำเพรื่อ และกินสิ่งที่ไม่เปนประโยชน์ต่อร่างกาย ก็ทำให้เสียเงินเสียทองโดยใช่เหตุ คนเราจนเพราะเรื่อง กินมีไม่น้อย หากจะงดสูบ บุหรี่ งดดื่มเหล้าเสียบ้าง แม้ จะงดไม่ได้เด็ดขาด นานๆ ครั้ง ก็ยังดี ก็ยังจะพอมีเงินเหลือไป ชดใช้รายจ่ายที่จำเปน เช่น ค่า อาหาร ค่าเครื่องนุ่งห่ม ค่ายา และค่าเล่าเรียนของลูกได้บ้าง ถ้ายังไม่มีครอบครัว ก็ยัง จะพอมีเงินเหลือเก็บไว้ เผื่ออนาคตบ้าง

ตกลงว่า การแก้ป˜Þหาของแพง ต้องแก้ด้วยวิธี เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ใช้ที่จำเป็น


22 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

หาใหได จายใหเหลือ = รวย

เท่านี้ก็เห็นจะเพียงพอแล้ว นี่แหละคือ หลักสมชีวิต ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ หรือหากจะให้มีเหลือกินเหลือใช้ ก็ต้องถือคติอีกแบบหนึ่งคือ

ËÒให้พอใช้ จ่ายให้มีเหลือ คือ ถ้าหากหาจนพอใช้พอจ่ายได้ ก็ นับว่าดีอยู่ แต่ยังรวยไม่ได้ จะต้องจ่ายให้มีเหลือด้วย จะเหลือมากเหลือ น้อยอย่างไรไม่สำคัÞ ขอให้เหลือทุกวันเป็นใช้ได้ ส่วนที่เหลือนี่แหละ จะทำให้เปนคนรวยต่อไป เหลือมากก็รวยมาก เหลือน้อย ก็รวยน้อย ไม่เหลือเลย ก็ไม่รวยเลย หลักมันมีอย่างนี้ มี ข้ อ น่ า คิ ด อยู่ ป ระการหนึ่ ง คื อ ถ้าจะประพฤติธรรมข้อสมชีวิต เลี้ยงชีวิต แบบพอดีๆ กับรายได้และความจำเป และความจำเปน นี้ จะต้องเปนคนบังคับใจตัวเองได้ จะต้ อ งเป น คนไม่ ต ามใจปาก ตามใจตัวมากนัก ทั้งจะต้องไม่เปนคน ฟุงเฟอทะเยอทะยานจนเกิน ฐานะความเปนอยู่และรายได้ด้วย เพราะตราบใดใจมัน ยังอยาก ปากมันยังต้องการอยู่ ก็ต้องจ่าย กันเรื่อยไป


มีสุขในยุคของแพง 23

ตัวเองไมยอมชวยตัวเอง แลวใครเลาจะชวยได ความฟุมเฟอยฟุงเฟอนั้น หากเรามีฐานะดีพอที่จะทำได้ ก็ดูเหมือนว่า จะทำได้โดยไม่ต้องเดือดร้อนผู้ใด และใครก็ตำหนิเราแบบเสียหายไม่ได้ด้วย

เมื่อมีรายได้เท่านี้ ก็ใช้เท่านี้ กินเท่านี้ อย่าให้เดือดร้อนจนเกินไป ให้พอดีกับรายได้ และให้พอดีกับความจำเป็น เป็นใช้ได้ สิ่งใดที่ไม่จำเป็น ควรงดได้ ก็งดเสีย ควรเลิกได้ ก็เลิกเสีย ใช้ของอื่นซึ่งถูกกว่าแทนได้ ก็ใช้แทนไปก่อน อย่างนี้ก็ลดรายจ่ายลงได้มาก และของที่ว่ากันว่าแพงๆ นั้น ดูเหมือนจะเปนของไม่ค่อยจำเปนจริงๆ เสีย มากกว่า หากเรารู้ว่ามันแพง และมันไม่จำเปนต่อชีวิตประจำวัน เราจะไปทุกข์ร้อน อะไร ในเมื่อมันแพง เพราะเราไม่ต้องกิน ไม่ต้องใช้สิ่งนั้นมิใช่หรือ แต่ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันแพงและไม่จำเปนนี่แหละ ก็ยังทิ้งมันไม่ได้ ต้องเปนทาส ของมันตลอดไป นี่สิเปนปญหา อย่างนี้ก็สุดปญญาที่จะแก้ไข เพราะตัวเองไม่ยอม ช่วยตัวเอง แล้วใครเล่าจะช่วยได้


24 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ที่วา จำเปนตองซื้อ จำเปนจริงๆ หรือ ?

ธรรมะยุคของแพงวันนี้ก็คือข้อปฏิบัติที่ให้แก้ปญหาเศรษฐกิจที่ตัวเองก่อน เปนเบื้องต้น ต้องช่วยตัวเอง ประคองตัวเองให้อยู่รอดด้วยความพอดี ใช้จ่ายให้ พอดีกับรายได้ของตัวก่อน แล้วค่อยๆ ขยับฐานะรายได้ของตัวให้เพิ่มมากขึ้น

กินใช้เ©พาะที่จำเป็น คือที่ร่างกายขาดไม่ได้ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาâรค และที่อยู่อาศัยเท่านั้น และในสิ่งที่จำเป็นนั้นๆ ต้องดูอีกชั้นว่า มันจำเป็นจริงๆ ไหม

อย่างเช่น อาหาร เราคิดว่ามันจำเปน แต่ในความเปนจริง อาหารมิใช่จะ จำเปนต่อร่างกายทุกอย่าง อาหาร ประเภทเปนพิษเปนภัยต่อร่างกาย ก็มี อาหารบางอย่างถ้าเกินพอดีแล้ว มีโทษต่อร่างกายก็มี


มีสุขในยุคของแพง 25

กินเพราะหิว อยากินเพราะอยาก ในเรื่องการกินอาหารนี้ มีคำคมอยู่ บทหนึ่งบอกไว้ก็ดีเหมือนกัน เขาบอกว่า “จงกินเพราะหิว

แต่อย่ากินเพราะปาก มันอยากกิน” หมายความว่า ถ้าหิวก็ กินเข้าไป กินให้หายหิว พอหาย หิวแล้วเลิกกิน ประเภทนีไ้ ม่ทำ ให้จน เพราะคนทีห่ วิ มักจะกินง่าย อะไรๆ ก็พอจะกินลงทัง้ นัน้ แต่ถ้าปากมันอยากจะกิน แล้วไปสนองความอยากของปากเข้า อันนี้แหละ ที่บอกว่ามันไม่พอดี มันเกินพอดีไป เพราะบางทีท้องอิ่มมาแล้ว แต่บังเอิญไปพบ ของโปรดหรือของถูกปากเข้า ก็อดซื้อหามากินไม่ได้ แม้จะกินนิดๆ หน่อยๆ พอให้ ปากหายอยากก็ยังดี ที่เหลือบางทีก็โยนทิ้งไป ยกตัวอย่างเช่น น้ำอัดลม งานไหนงานนั้นที่จะดื่มจนหมดขวดนั้นดูจะ ไม่ค่อยมี เคยเห็นแต่ดื่มเพียงครึ่งขวดหรือกว่านั้นนิดหน่อยแล้วก็ทิ้งไว้บนโตะนั่น แหละ แม้จะซื้อตามร้านค้าก็ตาม ส่วนมากก็ดื่มไม่หมดอยู่ดี อันนี้แหละเปนตัวอย่าง แห่งความไม่พอดีในเรื่องการกิน ส่วนในเรื่องการใช้นั้นมีมากกว่านี้เสียอีก ไม่อาจ ยกตัวอย่างได้เพราะเวลาของเรามีจำกัด...

จบแลวจา...


คำคมข้อคิดพิชิตความจน

๑. ½˜นเป็นจริงต้องไม่ทิ้งความพยายาม

“ทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวง ไม่อาจสำเร็จขึ้นมาได้เพราะความคิด คนที่ คิดเพ้อฝนไปอย่างลมๆ แล้งๆ แล้วนอนรอคอยให้ราชรถมาเกย รอให้โชคช่วย รอให้ถูกหวยรวยโป หรือรอให้บุญหล่นทับนั้น ย่อมจะมีความผิดหวังรออยู่ข้างหน้า ส่วนใหญ่แล้วคนทีเ่ กียจคร้านและคนโลภเท่านัน้ ทีม่ กั คิดแต่จะรวยทางลัด คิดฝนไป ตามอารมณ์ วาดวิมานในอากาศอย่างนั้นอย่างนี้ แต่พอให้ลงมือทำงานเพื่อให้ฝน เปนจริง ก็มักปฏิเสธอ้างโน่นอ้างนี่ไปตามเรื่อง...

...ทรัพย์สมบัติทั้งหลายนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะการกระทำ ด้วยความพากเพียรพยายาม มิใช่เกิดขึ้นเพราะความคิด เพียงอย่างเดียว ความคิดนั้นเป็นเพียง ตัวกระตุ้นเริ่มต้นเท่านั้น แต่ถ้าคิดแล้วไม่ทำตามที่คิด ก็เหลวเช่นเคย เพราะหยุดเพียงแค่½˜น แต่ไม่สาน½˜นต่อ ทำให้½˜นไม่เป็นจริงขึ้นมาได้

ทุกคนมีความฝนเปนของตัวเอง แต่ฝนนั้นจะเปนจริงได้ ก็ต่อเมื่อผู้นั้นมี ความมานะพยายาม ต่อสู้ประกอบการงาน สานฝนของตนไปอย่างต่อเนื่องจนกว่า ฝนของตนจะเปนจริง ได้แต่ฝน ว่าจะได้อย่างนัน้ จะเปนอย่างนี ้ แล้วมีความสุขอยู่ กับฝนนั้น ไม่สานฝนให้เปนจริงขึ้นมา ก็คงไม่ต่างอะไรกับกระต่ายที่มีความสุขอยู่ กับการชมจันทร์เท่าใดนัก”


๒. เก็บหอมรอมริบ

มีสุขในยุคของแพง 27

“เมือ่ เราต่อสูท้ ำงานได้เงินหรือทรัพย์สนิ มาแล้ว จะทำให้เราตัง้ ตัวได้ในทันทีก็ หาไม่ เพราะเงินทองที่ได้นั้น มิใช่ได้มาครั้งเดียวเปนกอบเปนกำใหญ่โตจนตั้งตัว ได้เลย แต่จะทยอยมาเรื่อยๆ ช่วงที่ได้มานี้แหละที่สำคัญ หากได้มาแล้วไม่รู้จักกิน รูจ้ กั ใช้ ไม่รจู้ กั เก็บหอมรอมริบ ได้มาแล้วก็จะหมดไป การอดออม ซึ่งหมายถึง การเก็บหอมรอมริบไว้นั้น เปนความจำเปนมาก

ได้เงินทองมาแล้ว ก็แบ่งป˜นเป็นส่วนๆ คือ กินใช้บ้าง เก็บออมไว้บ้าง จะมากน้อยอย่างไรก็เก็บออมไว้ มิใช่ว่าได้มาแล้ว ก็กินใช้ จนหมด หมดแล้วก็หาใหม่ คนที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า “คนทำมาหากิน” ส่วนคนที่เก็บออม เรียกว่า “คนทำมาหาเก็บ” ส่วนที่เก็บไว้นี่แหละจะค่อยพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ยๆ จนกลายเปนทรัพย์ก้อนโตพอที่จะทำให้ตั้งตัวเปนหลักฐานได้ การที่จะเก็บหอมรอมริบได้ ก็ต้องอยู่ที่การอดออมเปนสำคัญ คือต้องยอม อดบ้าง อย่าตามใจปาก อย่าตามใจตัวมากนัก อยากกินอะไร อดได้ก็อดไว้ กินเฉพาะที่จำเปน ขอให้กินเพราะหิว แต่อย่ากินเพราะปากมันอยากกิน อยากใช้ อะไรอดได้ก็อดไว้ ใช้เฉพาะที่จำเปนต้องใช้ ซื้อเฉพาะที่จำเปนต้องซื้อ อย่าซื้อเพราะ อยากได้เพียงอย่างเดียว”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.