พิชิตกรรมร้าย หายป่วย ด้วยโพชฌังคปริตร

Page 1


พิชิตกรรมร้าย หายป่วย ด้วยโพชฌังคปริตร อิสว๎ าสุ พาหุง มหากา คาถาชินบัญชร เพราะมีมารผจญ คนจึงมีกรรม ทำให้เกิดโรค สวดปฏิบัติตามเล่มนี้ดีแน่ มารร้ายพ่ายแพ้ แก้กรรมได้ หายป่วยเหมือนปลิดทิ้ง โดย...ไพยนต์ กาสี

(น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ., น.บ.) เรียบเรียงในนามคณาจารย์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง รูปเล่ม/จัดอาร์ต : สุกัญญา ศรีสงคราม ภาพประกอบเรื่อง : สมควร กองศิลา พิสูจน์อักษร : มานิตย์ กองษา


ไกด์ธรรมก่อนนำสวด การสวดมนต์ จัดเป็นบุญกิริยาวัตถุอย่างหนึ่ง เรียกว่า ภาวนามัย บุญที่ได้จากการเจริญภาวนา เพราะกิริยาที่เราท่องบ่นบทสวดมนต์เพื่อให้ จิตเป็นสมาธิ ท่านเรียกว่า บริกรรมภาวนา อันมีผลให้ผู้สวดมีความสุขกาย สบายจิต ชีวิตปลอดภัย เป็นพื้นฐานนำสู่มรรคผลพระนิพพาน หากน้อมนำ ความหมายในบทสวดไปประพฤติปฏิบัติตาม หนังสือ พิชิตกรรมร้าย หายป่วย เล่มนี้เรียบเรียงขึ้น ด้วยใจมุ่งหวัง จะมีส่วนช่วยสร้าง.. พลังบุญ จากการบริกรรมภาวนา เพื่อว่าให้ผู้สวดได้ สมาธิจิตอันแน่วแน่ นำไปใช้แก้ไขบรรเทากรรม ทำให้ความเจ็บไข้สร่างซา ด้วยอำนาจพระพุทธมนต์ พลังปัญญา จากการได้อธิบายเนือ้ หาสารธรรม ในบทสวดมนต์สอดแทรกไว้ในแต่ละบท ซึ่งในเล่มนี้มีเนื้อหา ๕ บท คือ

๑) พุทธมนต์อิส๎วาสุ คาถาบูชาพระบรมครู, ๒) พุทธชัยมงคลคาถา

พาหุง มหากา คาถาชนะมาร ๓) พระคาถาชินบัญชร ถอดถอนกรรม ๔) พุทธมนต์คาถารักษาโรค โพชฌังคปริตร ๕) พุทธมนต์คาถา เจริญ สมาธิภาวนา อุทิศบุญกุศล คุณความดีจากการจัดทำหนังสือเล่มนี้ ขอน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา อาจริยบูชาแด่ท่านผู้ประพันธ์พระคาถาไว้ และขอ

บุญกุศลที่ท่านได้สวดมนต์ปฏิบัติตามที่แนะเป็นแนวทางนั้น โปรดอภิบาล คุ้มครองทุกท่านให้พ้นกรรมร้าย หายจากความเจ็บไข้ที่เป็นอยู่ด้วยเทอญ. ขอบุญบารมีที่ท่านสร้างไว้ เป็นเกราะป้องกันภัยให้ท่าน พ้นเคราะห์กรรม

น.ธ.เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. เรียบเรียง ในนามคณาจารย์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ พฤศจิกายน พรรษากาล ๒๕๕๓


สวดมนต์ สวดทุกวัน ดีทุกวัน การไหว้พระสวดมนต์ เป็นกิจวัตรอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธส่วนใหญ่ให้ ความสำคัญ ปฏิบตั ติ อ่ กันมาอย่างไม่ขาดสาย โดยเฉพาะในบรรดาพระภิกษุ สามเณรทั้งหลาย จะขาดการไหว้พระสวดมนต์เป็นไม่ได้ หากใครมีโอกาส เดินผ่านวัดวาอารามต่างๆ ในเวลาเช้าหรือเย็นแล้ว คงไม่แคล้วเคยได้ยิน เสียงพระท่านกำลังสวดมนต์กัน ปัจจุบันมิใช่แต่ภิกษุ-สามเณรเท่านั้น ที่ต้องสวดมนต์เป็นกิจวัตร

แม้พุทธบริษัททั่วไปนิยมสวดมนต์ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าสวดที่วัดในวันพระ

ที่บ้าน ที่ทำงาน เป็นต้น บางคนบางท่าน เวลามีงานบุญพิเศษสำคัญใน ชีวิตก็มักพิมพ์หนังสือสวดมนต์แจกเป็นธรรมทาน เพราะเชื่อว่าเป็นการ ทำบุญให้ทานที่มีผลมาก ดังมีพุทธดำรัสที่ตรัสว่า การให้ธรรมะ ชนะการ ให้ทั้งปวง


จากธรรมเนียมปฏิบัติ จุดเริ่มการทำวัตรสวดมนต์นั้น สืบเนื่องจากพุทธกิจที่พระพุทธองค์ ทรงปฏิบัติเป็นประจำในสมัยยังทรงพระชนม์อยู่ ๕ อย่าง คือ ๑. เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ๒. เวลาเย็น ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัท ๓. เวลาค่ำ ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ ๔. เวลาเที่ยงคืน ทรงตอบปัญหาเทวดา ๕. เวลาเช้ามืด ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่ควรเสด็จไปโปรด พุทธกิจ ๕ นี้ พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นกิจวัตรประจำวันอยู่มิได้ ว่างเว้นตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา จากพุทธกิจข้างต้น พุทธศาสนิกชนผู้เป็นอุบาสกอุบาสิกา เมื่อถึง เวลาบ่ายก่อนค่ำ ก็พากันเข้าไปเฝ้าเพื่อรับฟังพระธรรมคำสอน ส่วนใน

ตอนค่ำพระภิกษุจะพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกวัน เพื่อฟังพระโอวาท ระเบียบปฏิบัติต่างๆ ดังนั้น การที่ภิกษุสงฆ์ และอุบาสกอุบาสิกามีเวลา เข้าเฝ้าที่ชัดเจนเช่นนี้ พระองค์จึงไม่เสด็จไปไหนในเวลาดังกล่าวนั้น ต่อมาเมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ก็มีการสร้าง พระพุทธรูปขึ้นเพื่อไว้แสดงความเคารพสักการะแทนพระองค์ อัญเชิญมา ประดิษฐานในสถานที่สำคัญของวัด เช่น อุโบสถ วิหาร เป็นต้น บริเวณที่ พระพุทธรูปประดิษฐาน ก็มักสร้างแยกเป็นส่วนหนึ่ง ตกแต่งอย่างสวยงาม เพราะถือว่าเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า


กลายมาเป็น ทำวัตร สวดมนต์ เมื่ อ เป็ น ดั ง นี้ เหล่ า ชาวพุ ท ธไม่ ว่ า จะเป็ น ภิ ก ษุ ส งฆ์ องค์ ส ามเณร ญาติโยมทั้งหลาย จึงหลั่งไหลไปยังสถานที่นั้นๆ โดยปฏิบัติเสมือนหนึ่งว่า กำลั ง เข้ า เฝ้ า พระพุ ท ธเจ้ า ทุ ก เช้ า -เย็ น ร่ ว มกั น สวดสรรเสริ ญ คุ ณ ของ

พระรัตนตรัย เรียกว่า “ทำวัตร” สวดพระปริตร พระสูตรต่างๆ ที่เป็น

คำสอน เรียกว่า “สวดมนต์” ปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

ปัจจุบันสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ที่ผู้เรียบเรียงทำงานอยู่ ท่านผู้อำนวยการสำนักพิมพ์ ได้ จั ด พื้ น ที่ ด้ า นหน้ า ให้ เ ป็ น ลานธรรม โดยใช้ ชื่ อ ว่ า “ลานธรรมช่ อ ระกา” เพื่ อ ให้ มี

พื้นที่สำหรับไหว้พระสวดมนต์เจริญสมาธิของพนักงาน และประชาชนทั่วไป และอัญเชิญ

หลวงพ่ อ พระพุ ท ธชิ น ราชจำลอง วั ด พระศรี รั ต นมหาธาตุ จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก มา ประดิษฐานเป็นองค์ประธานของลานธรรม เฉพาะพนักงานสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ก่อนเข้า ทำงานก็ต้องไหว้พระที่ลานธรรมเป็นประจำทุกวัน และวั น จั น ทร์ กั บ วั น เสาร์ เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๐.๐๐ น. ต้องพร้อมเพรียงกันทำกิจกรรมไตรสิกขา ด้วยการสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา พัฒนาสัมมาทิฐิ แอ๊ปธรรม*เข้ากับชีวิต ดังภาพประกอบข้างต้นนั้น * แอ๊ปธรรม : Apply Dhamma หมายถึง การนำธรรมะคำสอนเข้าประยุกต์บูรณาการ ผสมผสานกับการดำเนินชีวิตทั้งส่วนตัวและส่วนรวม


สวดมนต์ คือ อ่านท่องคำสอน และน้อมให้ถึงความหมาย สวดมนต์ เป็ น คำที่ ใช้ กั น

โดยทั่วไป เช่น พระไปสวดในบ้าน ก็ เรี ย กว่ า สวดมนต์ ชาวบ้ า น

สวดไหว้ พ ระก่ อ นนอน ก็ เรี ย กว่ า สวดมนต์ ซึ่งมาจากคำ ๒ คำ คือ สวด + มนต์ มีความหมายดังนี้ สวด หมายถึง ว่าเป็นทำนองอย่างพระสวดมนต์, การท่องบ่นสาธยาย คำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยมีวัตถุประสงค์ ๒ อย่าง คือ ๑) สวดธรรม เพื่อรักษาพระศาสนา ๒) สวดพระปริตร เพื่อคุ้มครองป้องกันภัย มนต์ หมายถึง คำศักดิ์สิทธิ์, คำสำหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคลซึ่งต้อง อาศัยการสวดหรื อบริกรรมจึงจะทำให้เกิดอานุภาพ รวมความแล้ว สวดมนต์ หมายถึง การสวดเป็นจังหวะซึ่งคำสอนที่ ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นเหตุนำความเจริญมาสู่ตนได้ และในปัจจุบัน

คนส่วนใหญ่ทสี่ วดมนต์นนั้ เพราะต้องการความคุม้ ครองจากอำนาจพระปริตร ดังนั้น โบราณบัณฑิตแนะเคล็ดไว้ว่า หากประสงค์ผลทางด้านนี้ ผู้สวดต้อง มีจิตเมตตา และทำสัจกิริยาในขณะสวด ซึ่งหากไม่มุ่งในแง่อิทธิปาฏิหาริย์ อาจตีความได้ว่า คนมีเมตตา ไม่ว่าใครก็รักใคร่เมื่อพบเห็น และที่ท่านแนะ ให้ทำสัจกิริยา ก็ได้แก่ ให้ยึดมั่นอยู่ในความสัตย์จริง คือ ความดี ความเป็น คนดีพร้อมทางกาย วาจา ใจ นี้แหละ เป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นที่ทำให้คน อื่นรักใคร่เราได้แล้วจะมีอันตรายแต่ที่ไหน แม้ในยามประสบภัยก็ย่อมมี

ผู้ช่วยเหลือให้รอดพ้นไปได้


เข้าใจความหมาย เข้าใจชีวิต จิตสงบ พบทางออกจากทุกข์ บางท่านอาจมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า เราสวดมนต์ไปเพื่ออะไร ? แล้ว ก็ให้คำตอบตนต่างๆ แต่คงรวมในจุดประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑. เพื่อเสริมมงคลชีวิตด้านต่างๆ ให้ดีขึ้น เช่น ขอให้มีโชคลาภ ให้มีชัยชนะ ให้มีการดำเนินชีวิตที่ราบรื่น เป็นต้น ๒. เพื่อให้อำนาจพระปริตรป้องกันอันตราย หายป่วย เป็นต้น แต่มีน้อยคนที่คิดว่า แท้จริง การสวดมนต์ของตนนั้น คือ การเรียน กำหนดจดจำพระพุทธพจน์ เพื่อนำไปเป็นหลักปฏิบัติในวิถีชีวิตประจำวัน ซึ่งมีคุณอนันต์กว่าวัตถุประสงค์ที่กล่าวใน ๒ ข้อนั้นอีก ฉะนั้น ตอนนี้จะยัง ไม่กล่าวถึงว่า การสวดมนต์ช่วยบรรลุวัตถุประสงค์ ๒ นั้น อย่างไร แต่จะ พูดถึงเหตุผลที่ทุกคนควรไหว้พระสวดมนต์เป็นกิจวัตรประจำวันก่อน ในทางร่างกายเมื่อทำงานมาแล้วทั้งวัน เราก็อาบน้ำชำระร่างกายให้ สะอาด พักผ่อนให้สบายหายเหนื่อยล้า จิตใจก็เช่นกันย่อมอยากได้รับ ความสะอาด สบายหายเมื่อยล้า การสวดมนต์ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยชำระจิต ให้สะอาด รู้สึกสดชื่นสบายหลังจากตรากตรำมาทั้งวัน เพราะมีผลทำให้ จิตสงบระงับ ดับความร้อนใจจากเรื่องวุ่นวายต่างๆ แม้เพียงชั่วระยะ เวลา ๕ นาที ๑๐ นาที ตามความสั้น-ยาวของบทสวด ก็ช่วยให้ใจได้พัก จากอารมณ์ภายนอก คนเราลงเมื่อใจสงบ ความเร่าร้อนทางกายก็ระงับ ตามไปด้วย เพราะใจมีอำนาจเหนือกายมากมายนัก ดังคำที่มักกล่าวกันว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว


ตั้งจุด ตั้งจิต สวดมนต์ถูกวิธี มีผลพิชิตกรรมร้าย หายป่วย การไหว้พระสวดมนต์ จะสัมฤทธิผลตามที่ตนปรารถนานั้น ต้องทำ ด้วยความจริงจังจริงใจ มิใช่สักแต่ว่าทำ หรือทำด้วยความไม่เข้าใจ เพื่อให้ การสวดมนต์แต่ละครั้งไม่เสียประโยชน์ ควรตั้งหลัก ๒ อย่างให้ดีก่อน คือ ตั้งจุด คือ ตั้งวัตถุประสงค์การสวดให้แน่วแน่ ว่าสวดมนต์เพื่ออะไร เช่น เพื่อให้พ้นกรรม หรือเพื่อทำให้หายป่วย เป็นต้น ตั้งจิต คือ ทำด้วยความเต็มใจ ชื่นใจ อิ่มเอมใจเมื่อได้ทำ แล้วจึงตั้ง สัจกิริยาว่าจะปฏิบัติตามพุทธธรรมในคำสวด เช่น สวดเพื่อให้พ้นกรรม ก็ ต้อ งพยายามละชั่ว ทำดี, สวดเพื่ อ ให้ มี ผ ลรั ก ษาโรคภั ย ด้วยฝึกใจให้ ยอมรับความเป็นธรรมดาของความเจ็บป่วย เผชิญด้วยใจที่เข้มแข็ง เป็นต้น จากเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น การไหว้พระสวดมนต์ หากผู้สวดได้ ทำด้วยความจริงจัง ด้วยความตั้งใจเรียนรู้ตามคำสวด แล้วนำความรู้ที่ได้ ไปประพฤติปฏิบัติแล้ว ย่อมสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางจิตใจให้ เป็นผู้มีความสะอาด สว่าง สงบได้ ความเป็นผู้มีใจสะอาด สว่าง สงบนี่เอง จะเบ่งบานเป็นธรรมฤทธิ์พิชิตกรรมร้าย เพราะไม่เบียดเบียนใคร ทำให้ หายจากโรคภัย เพราะไม่มีความกระวนกระวายที่แม้กายป่วย แต่ใจไม่ป่วย ตาม ผู้สวดจึงได้รับความคุ้มครองจากพระปริตรธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ดังนี้แล จากนี้ขอนำท่านทั้งหลาย เข้าสู่เนื้อหาของบทสวดมนต์ เพื่อให้เกิด ผลพิชิตกรรมร้าย หายป่วย ตามลำดับต่อไป


พุทธมนต์ อิส๎วาสุ คาถาบูชาพระบรมครู เรียนรู้คำสอนพร้อมคำสวด... : สวดบทไหว้ครู เพื่อนอบน้อมบูชาคุณพระรัตนตรัย

สร้างความสุขสดใสให้พ้นกรรม ด้วยนำพุทธคุณเข้าสู่จิตใจตน

ไพยนต์ กาสี

เรียบเรียงในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรพุทธศาสน์


พ้นเคราะห์กรรม ด้วยมีที่พึ่งพำนักดี คนทุกคนล้วนต้องมีสงิ่ เคารพไว้เป็นทีพ่ งึ่ พำนัก แม้แต่พระบรมศาสดา ของเราทัง้ หลายเมือ่ ตรัสรูใ้ หม่ๆ ยังทรงปรารภถึงสิง่ เคารพว่า “บัดนี้ ตถาคต เป็นผูเ้ ลิศในโลก ๓ ไม่อาจยกมือน้อมนมัสการใครได้ พระพุทธเจ้าในอดีต ทรงยึดถืออะไรเป็นทีเ่ คารพ” เมือ่ แผ่พระญาณไปก็ทราบว่า “พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ ล้วนทรงเคารพพระธรรม” จึงทรงยึดเอาพระธรรมทีพ่ ระองค์ ได้ตรัสรู้มาเป็นสิ่งเคารพนบนอบ พระพุทธจริยาวัตรนี้ เป็นอุทาหรณ์ว่า พระพุทธเจ้าที่ทรงเลิศล้น

ด้วยคุณธรรมอย่างสูงส่งเช่นนี้ ยังไม่เว้นแสวงหาสิ่งเคารพ จะกล่าวไปไย

ในเราท่านทั้งหลายที่จำต้องหาสิ่งเคารพไว้พึ่งพิง สมจริงดังพระพุทธดำรัส ที่ตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอยู่อย่างมีที่พึ่ง อย่าอยู่ อย่างไร้ที่พึ่ง” กล่าวสำหรับคนธรรมดาสามัญเช่นเราท่านทั้งหลาย นับแต่เกิดมาก็มี สิง่ เคารพทีใ่ ห้เราได้พงึ่ พิงพำนัก นัน่ ก็คอื พ่อ แม่ ครู อาจารย์ แม้จนกระทัง่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น และธรรมดาวิสัยของคนมีความ กตัญญูกตเวทิตาธรรม เมือ่ ได้พงึ่ พำนักท่านผูใ้ ดแล้ว ก็ควรจะหาโอกาสทำดี สนองพระคุณท่านในรูปแบบต่างๆ ตามที่บัณฑิตชนเขายึดถือปฏิบัติกัน วิธีหนึ่งที่ถือว่าตนได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาธรรมต่อผู้มีคุณนั้น คือ การไหว้ อันเป็นลักษณะแสดงความเคารพ ดังนั้น ทุกคนจึงควร

ไหว้ พ ระ ซึ่ ง เป็ น การแสดงความเคารพพระ จิ ต ใจจะได้ มี ที่ พึ่ ง พำนั ก

อันประเสริฐยิ่ง

10

พุทธมนต์ อิส๎วาสุ คาถาบูชาพระบรมครู


คำว่า พระ ในความหมายนี้ ถ้าตีความหมายว่า เป็นพระที่มีความ เกี่ยวเนื่องกับชีวิตของเรา อาจแบ่งออกได้เป็น ๓ ระดับ คือ ๑. พระผู้ชี้ทางบรรเทาทุกข์ คือ พระรัตนตรัย อันมี พระพุทธ

พระธรรม พระสงฆ์ ๒. พระผู้ให้กำเนิดเกิดชีวิต คือ มารดา บิดา ๓. พระผู้สอนศิลปวิทยา คือ ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นต้น

บทนี้ ผู้เรียบเรียงนำบทสวดมนต์เกี่ยวกับการบูชาพระรัตนตรัยมา แนะนำให้สวดกัน เรียกว่าเป็นการ “ไหว้ครู” ก่อนสวดมนต์บทอื่นๆ ต่อไป บทสวดมนต์ตา่ งๆ เหล่านี้ สามารถคุม้ ครองป้องกันใจได้สารพัด ทัง้ ยังกำจัด สิ่งชั่วร้าย ให้ห่างไกลตัวเราได้ ดังที่พระเดชพระคุณพระราชปฏิภาณมุนี (บุญมา อาคมปุญฺโ) กล่าววิธีสวดมนต์เพื่อคุ้มครองใจไว้ว่า “เวลาใด จิตใจถูกกระทบกระทั่งด้วยอารมณ์ อันไม่น่าปรารถนา ขอให้นึกถึงบทมนต์สักบทหนึ่ง แล้วสาธยายไปตามลำดับ ซ้ำๆ บ่อยๆ ในที่สุดจิตก็จะสงบเป็นปกติ มีอานุภาพต่อการคุ้มครองใจ ให้ปลอดภัยได้อย่างแท้จริง นำมาใช้สวดภาวนายามใด มนต์ย่อมจะคุ้มครองใจในยามนั้น” และการไหว้พระ บูชาพระ ถ้าสะดวกจะจัดให้มีดอกไม้ ธูป เทียน

ก็เป็นการดียิ่ง ถ้าไม่มีก็ใช้ มือ ๑๐ นิ้วยกขึ้นประนม ปากที่สวด กับใจที่ น้อมระลึกนึกถึงคุณของท่านนั่นแหละ ต่างดอกไม้ ธูป เทียน ถ้าใจแน่วแน่ อาจได้ผลดีกว่าผูม้ วี ตั ถุบชู า แม้สวดด้วยวาจา แต่วา่ ใจไม่จดจ่อในบทสวดมนต์ เสียอีก สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙

11


แม้เพียงอามิสบูชา ก็มอี านิสงส์มาก บูชา หมายถึง การยกย่องเทิดทูนนับถือในคุณความดี การบูชา บุคคลผู้ควรบูชา เป็นสิริมงคลที่นำความสุขมาให้ผู้ทำได้ ในบทนี้หมายถึง อามิสบูชา แม้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชามากกว่า แต่อามิสบูชา ใช่ว่าจะไร้ผล มีบุคคลมากมายในครั้งพุทธกาล ทำอามิสบูชาแล้วเห็นผล ทันตา เช่น นายสุมนมาลาการ ที่บูชาพระองค์ด้วยดอกมะลิ ๘ ทะนาน ด้วยจิตเลื่อมใส ทำให้ไม่ต้องเกิดในทุคติตลอดแสนกัป ในชาติสุดท้ายจะได้ เกิดเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าสุมนะ

“อามิสบูชา ก็นำมาเป็นครูสอนตนได้ เช่น ข้าวตอก เมื่อก่อนเป็นข้าวเปลือก ยังกินไม่ ได้ แต่ ใช้ทำพันธุ์ ได้ ครั้นเอามาวางไว้บนเตาไฟ เปลือกหายไปเหลือแต่แก่นแท้ ขาวบริสุทธิ ์ ควรแก่การนำไปบูชาพระ ข้อนี้ควรนำมาเป็น เครือ่ งเตือนใจตนว่า คนเรานัน้ มี ๒ ชัน้ ชัน้ นอก เป็นเปลือก ชั้นในเป็นแก่น เปลือก เป็นของชั่ว คือ กิเลสอันทำ ให้ตัวเราเศร้าหมอง เป็นสิ่งที่ควรนำออกจากตัว ส่วนแก่นนั้น หมายถึง ความดีบริสุทธิ์สะอาดอันเป็นตัวเดิม ทุกวันเวลาพยายามทำอย่างนี้ เป็นอยูด่ ว้ ยสติและปัญญา มารย่อม รบกวนเราไม่ ได้ ตัวเราก็จักบริสุทธิ์เช่นเดียวกับข้าวตอกที่ขาว ฉะนั้น”

โอวาทธรรม หลวงปู่ปัญญานันทภิกขุ คัดจากเรื่อง “ประวัติ ชีวิต ผลงาน หลักธรรมของแม่ทัพธรรม”

12

พุทธมนต์ อิส๎วาสุ คาถาบูชาพระบรมครู


๑. บทบูชาพระรัตนตรัย อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ.

ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้.

อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ.

ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้.

อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ.

ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้.

“บุคคลผู้บูชาท่านที่ควรบูชา คือ พระพุทธเจ้า หรือพระอริยสาวก ผู้ข้ามพ้นกิเลสเครื่องขวางกั้น หมดความโศกและปริเทวนาการ ผู้สงบระงับ ปลอดภัยโดยประการทั้งปวงแล้ว ใครๆ ก็ ไม่อาจนับบุญของผู้ทำบูชาได้ว่า เขาได้บุญประมาณเท่านี้” พุทธพจน์

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙

13


เพราะมีคุณความดี จึงยินดีกราบไหว้ บุคคลโดยทัว่ ไปล้วนมีคณ ุ ความดีดว้ ยกันทัง้ นัน้ มากหรือน้อยค่อยว่ากัน อีกเรือ่ งหนึง่ ผูม้ คี ณ ุ มากก็ควรค่าแก่การเคารพอย่างสนิทใจ พระพุทธศาสนา จัดลำดับผู้ควรเคารพไว้ ดังนี้ พระรัตนตรัย เป็นผู้ควรเคารพของพุทธศาสนิกชน, พระมหากษัตริย์ เป็นผู้ควรเคารพของพสกนิกร, พ่อ-แม่ เป็น ผู้ควรเคารพของลูก, ครู อาจารย์ เป็นผู้ควรเคารพของศิษย์ เป็นต้น การกราบ เป็นวิธีหนึ่งที่บ่งถึงความเคารพ และเป็นวิธีเคารพอย่าง สูงสุด เพราะรวมวิธีเคารพ ๓ อย่าง เข้าด้วยกันเป็น ๓ จังหวะ คือ จังหวะ ที่ ๑ อัญชลี ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก, จังหวะที่ ๒ วันทา ยกมือที่ ประนมนั้นขึ้นไหว้โดยให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก, จังหวะที่ ๓ อภิวาท หมอบลงให้หน้าผากจรดติดกับพื้น ฝ่ามือทั้งสอง

แบราบติดกับพื้น

“การกราบนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของการปฏิบัติ แม้จะเป็นกิริยาภายนอกก็ตาม การกราบช่ ว ยแก้ ค วามถื อ ตั ว ของเราได้ เป็ น อย่างดี ควรกราบบ่อยๆ เมื่อเรากราบ ๓ หน เราควรตั้งจิตระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ นั่นคือคุณลักษณะแห่งจิต อันบริสทุ ธิ์ เป็นประภัสสรและสงบ ดังนั้น เราจึงอาศัยกิริยาภายนอกนี้ฝึกฝนตน กายและจิตจะ ประสานกลมกลืนกัน” โอวาทธรรม พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) คัดจากเรื่อง “อุปลมณี”

14

พุทธมนต์ อิส๎วาสุ คาถาบูชาพระบรมครู


๒. บทกราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง;

พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ.

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน. (กราบ)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว;

ธัมมัง นมัสสามิ.

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว;

สังฆัง นะมามิ.

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙

15


นมัสการพระพุทธคุณ เกื้อหนุนใจมิให้ว้าวุ่น บทนี้มีชื่อเป็นทางการว่า บท “นมัสการ” แปลว่า การทำความ นอบน้อม หมายถึง การถวายความเคารพนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ความเคารพนี้ มิได้หมายถึง เคารพในตัวพระพุทธองค์ แต่เป็นการ เคารพพระคุณที่ทรงมีต่อสัตว์โลก การเคารพถึงพระคุณความดีนี้ มีผลช่วย ประคองจิ ต ใจของพุ ท ธศาสนิ ก ชนมิ ใ ห้ เ กิ ด ความว้ า วุ่ น เดื อ ดร้ อ นใจว่ า พระบรมศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว เพราะแม้พระองค์จะไม่ทรง เหลือพระรูปกายไว้ให้เห็น แต่ในส่วนของพระคุณความดีนั้น ยังปรากฏ เป็นที่ซาบซึ้งตรึงใจของชาวพุทธทั่วโลกจนถึงยุคปัจจุบัน

“ท่านทั้งหลายโปรดจำไว้ว่า พระปัญญาคุณ พระวิ สุ ท ธิ คุ ณ พระกรุ ณ าคุ ณ พระคุ ณ

ทัง้ ๓ นี้ รวมอยู่ ใน นะโม ทัง้ นัน้ พระคุณ ของพระศาสดานั้นประเสริฐมาก ทำให้ เกิดความร่มเย็นเป็นสุข หายความทุกข์ ทัง้ หลายได้ ฉะนัน้ พยายามสร้างความ มีปัญญา ความบริสทุ ธิ์ ความมีเมตตา ให้ เกิดมี ในตัวท่าน คุณธรรมเหล่านี้จะช่วยให้ท่าน เจริญก้าวหน้า และชื่อว่าถึงองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างแท้จริง”

16

โอวาทธรรม พระพุทธวรญาณ (มงคล วิโรจโน) คัดจากเรื่อง “นโมกถา”

พุทธมนต์ อิส๎วาสุ คาถาบูชาพระบรมครู


๓. บทนอบน้อ มพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,

อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ.

ขอนอบน้อมแด่พระผูม้ พี ระภาคเจ้า, พระองค์นั้น; ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส; ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง. (สวด ๓ จบ)

การสวดพุ ท ธฤทธิ์ บ ทนี้ ด้ ว ยใจที่ น้ อ มรำลึ ก ถึ ง พระพุ ท ธคุ ณ อย่ า งแน่ ว แน่

มีอานุภาพช่วยคุ้มครองให้ปลอดภัย ช่วยกลับใจผู้ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาให้หัน มานับถือได้ ดังครั้งพุทธกาล มีนางพราหมณีผู้หนึ่งเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แต่ว่า สามีไม่เลื่อมใส วันหนึ่ง นางยกอาหารมาให้พราหมณ์สามี แต่ลื่นจะหกล้มจึงกล่าว อุทานว่า นะโม ตัสสะ เมื่อสามีได้ยินก็โกรธนางแล้วเดินทางไปหาพระพุทธเจ้าเพื่อ ถามปัญหาว่า บุคคลฆ่าอะไรถึงจะอยู่เป็นสุข พระพุทธองค์ตรัสตอบตรงจุดในจิตใจ ของเขาขณะนั้นว่า ฆ่าความโกรธเสียได้ ใจก็อยู่เป็นสุข ด้วยพระอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เพียงเท่านี้ ทำให้เขายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙

17


กรรมที่ทำต่อพระรัตนตรัย เรื่องใหญ่ที่ต้องระวัง กรรมที่เผลอทำต่อพระรัตนตรัยนั้น ส่งผลต่อผู้ทำเร็วยิ่งนักเหมือน

ติดจรวด เช่น วัสสการพราหมณ์ เป็นคนมีปญ ั ญามากถึงขนาดได้รบั แต่งตัง้ เป็นอำมาตย์ประจำราชสำนักของพระเจ้าอชาตศัตรู วันหนึง่ เขาดูหมิน่ พระมหากัจจายนะว่ามีกริ ยิ าคล้ายลิง พระพุทธองค์ ตรัสว่า ระวังนะพราหมณ์ ท่านดูหมิน่ พระอรหันต์ ถ้าไม่ให้พระเถระยกโทษ ให้แล้ว ตายไปจะเกิดเป็นลิงอยู่ในสวนของวัดเวฬุวัน เมื่อพราหมณ์ฟังแล้ว ก็ไม่ได้ทำตาม แต่เกิดความกลัวอยู่ว่า พระพุทธเจ้าตรัสอะไรมักเป็นไป

ตามนั้น จึงจ้างคนปลูกผลไม้นานาชนิดที่ลิงกินได้ สั่งให้ดูแลรักษาอย่างดี เพื่อว่าเมื่อตนเกิดเป็นลิงจะได้มีผลไม้กิน ต่อมาเมื่อเขาตายไปก็มาเกิดเป็น ลิงอยู่ในสวนนั้นตามพุทธดำรัส

“เวรกรรมทีป่ รากฏเรือ่ งของวัดวาอาราม ในพระไตรปิฎก และคัมภีร์มาลัยสูตร อันบ่งบอกถึงบาปที่ กระทำต่อพระพุทธศาสนา วัดวาอาราม สรุปเป็น บาปกรรมได้ว่า ‘หากินด้วยการโกงวัด ต้องวิบัติ ตลอดชี วิ ต , ลบหลู่ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ จะประสบแต่ เคราะห์ ก รรม, นำสุ นั ข แมว ไปเยี่ ย วขี้ ต้ อ งคดี

สุดชอกช้ำ, ปีนเสมากำแพงโทษแรงล้ำ แขนขาหักกรรมหนักเลย’ ผู้ ใด บังอาจทำต้องได้รับผลกรรมในชาตินี้ ถึงแม้ตายก็ต้องไปเป็นเปรตผี หรือสัตว์นรก” โอวาทธรรม พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธฯ) คัดจากเรื่อง “วิสัยทัศน์ คม ชัด ลึก เล่ม ๓”

18

พุทธมนต์ อิส๎วาสุ คาถาบูชาพระบรมครู


๔. บทขอขมาพระรัตนตรัย วันทามิ พุทธัง, สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระพุทธเจ้า, ขอพระพุทธองค์ โปรดทรงยกโทษทั้งปวงที่ข้าพเจ้าทำล่วงเกินด้วยเทอญ.

วันทามิ ธัมมัง, สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระธรรม, ขอพระธรรม โปรดยกโทษ ทั้งปวงที่ข้าพเจ้าทำล่วงเกินด้วยเทอญ.

วันทามิ สังฆัง, สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.

ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระสงฆ์, ขอพระสงฆ์ โปรดยกโทษทั้งปวง ที่ข้าพเจ้าทำล่วงเกินด้วยเทอญ.

การสวดบทนี้ มีอานุภาพช่วยลดแรงกรรมที่ทำต่อพระรัตนตรัยได้ มีผลให้การ สร้างบารมีใหม่ไม่ติดขัด ขจัดความยุ่งยากกาย-ใจ ให้มลายหายไปพลัน การขอขมาพระรัตนตรัย หลวงปู่พุทธทาสภิกขุ กล่าวไว้ว่า “การขอให้

งดโทษนี้ มิได้เป็นการขอล้างบาป เป็นเพียงการเปิดเผยตัวเอง และคำว่าโทษ

ในที่นี้ มิได้หมายถึงกรรม หมายเพียงโทษเล็กน้อยซึ่งเป็น ‘ส่วนตัว’ ระหว่างกันที่ พึงอโหสิกันได้ การขอขมาชนิดนี้สำเร็จผลได้เมื่อผู้ขอตั้งใจทำจริงๆ” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙

19


ถึงพระรัตนตรัยอย่างไร จึงได้ประโยชน์สุข คำว่า “ถึง” เป็นคำกิริยาที่บ่งลักษณะการเดินทางจากที่หนึ่งไปสู่

ที่หนึ่ง เมื่อพูดกันว่าเดินทางถึงที่ใด ก็หมายความว่า ในขณะนั้น คนผู้นั้น

ได้เข้าไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสถานที่นั้นแล้ว เรียกว่า ถึงทางกายภาพ แต่การถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นการ ถึงทางจิตใจ ดังนั้น จะสำเร็จเป็นประโยชน์ และความสุขแก่ตัวผู้ถึงได้

ก็ตอ่ เมือ่ ทำพระรัตนตรัยนัน้ ให้เป็นสรณะ คือ เป็นทีพ่ งึ่ ของตนได้ โดยสร้าง คุณพระรัตนตรัยให้ปรากฏมีในตน เช่น ถ้าอยากได้ชอื่ ว่าเป็นถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ก็พึงสร้างสมอบรมปัญญา ความบริสุทธิ์ ความมีเมตตาให้มีใน

ตัวเอง เป็นต้น

“บุคคลที่มีศรัทธาแน่วแน่ มั่นใจในพระรัตนตรัย โดยสมบูรณ์ เสียงชักจูงภายนอก หรือแม้แต่ ความผันผวนปรวนแปรในชีวิตคนที่เรียกว่า

โลกธรรม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าโชคเคราะห์ ทั้งหลาย ไม่อาจทำให้หวั่นไหวคลอนแคลนได้ จิ ต ใจของเขาเหมื อ นคนมี สุ ข ภาพดี แข็ ง แรง ช่วยตัวเองได้ตลอดเวลา ไม่ตอ้ งหวังพึง่ อำนาจดลบันดาลจากภายนอก หวังผลจากกรรม คือ การกระทำด้วยความเพียรพยายามตามเหตุ ปัจจัยเท่ านั้น” โอวาทธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) คัดจากเรื่อง “พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ”

20

พุทธมนต์ อิส๎วาสุ คาถาบูชาพระบรมครู


๕. บทไตรสรณคมน์ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,

ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นทีพ่ งึ่ ตราบถึงพระนิพพาน;

ทุติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ตราบถึงพระนิพพาน;

ตะติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ. แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม

และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ตราบถึงพระนิพพาน. คำสวดที่ว่า “ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง” นิยมสวดในการรักษาโรค สะเดาะเคราะห์แก้กรรม เพื่อต่อนามต่ออายุ การสวดบทอื่นๆ ท่านจะสวด วรรคด้วยหรือไม่ก็ได้ และถ้าสวดก็ไม่ผิด เพราะเป้าหมายสุดท้ายในชีวิต ของชาวพุทธไม่ว่ากรณีใดๆ ก็คือการบรรลุมรรคผลนิพพานนั่นเอง

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙

21


เคารพพระพุทธคุณเป็นประจำ นำสูบ่ รมสุข พระพุ ท ธองค์ ต รั ส อานิ ส งส์ ก ารเคารพพระองค์ ไว้ ว่ า “ดู ก รภิ ก ษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ย่อมเป็นผู้ไม่เสื่อม ชื่อว่า เป็นผู้เข้าใกล้พระนิพพาน” นั่นคือว่า ผู้ที่มีคารวธรรมประจำใจ ย่อมได้รับ ความสุขความเจริญในชีวิต เป็นเหมือนเข็มทิศที่นำสู่พระนิพพาน วิธีแสดง ความเคารพทำได้ ๓ ทาง ดังนี้ เคารพทางกาย แสดงความอ่ อ นน้ อ มด้ ว ยการกราบไหว้ ถึ ง คุ ณ พระพุทธเจ้า และสิ่งเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า เช่น พระพุทธรูป โบสถ์ วิหาร เจดีย์ เป็นต้น เคารพทางวาจา กล่าวยกย่องสรรเสริญคุณของพระพุทธองค์ ดังเช่น ที่เราสวดมนต์ เป็นต้น เคารพด้วยใจ คือ น้อมรำลึกนึกถึงพระคุณของพระองค์เป็นประจำ รวมถึงนำพุทธคุณนั้นให้มาประพฤติปฏิบัติในชีวิตของตน เป็นต้น

“อนุสสติ คือ เครื่องระลึกถึงของดี เราไม่มีดี ในตัว เราจึงต้องเอาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรื อ ศีลซึ่งเป็นของดีของท่านมาเป็นเครื่องระลึก เมื่อนำเอาของดีของท่านมาระลึกแล้ว ก็จะซาบซึ้ง เข้าถึงใจ ของดีเหล่านั้นก็จะเกิดมี ในตัวของตน เพียงแต่นกึ พุทโธๆ เท่านัน้ ถ้าหากใจเป็นพุทโธ ใจถึง พระพุทธเจ้า เข้าแดนพระพุทธเจ้าแล้ว ความพิสดารมันกว้างขวาง จิต อั นนัน้ ไม่ปถุ ชุ น จิตอันนัน้ เป็นของบริสทุ ธิ์ จะเห็นคุณของพระพุทธเจ้า” โอวาทธรรม พระราชนิโรธรังสี (หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี) คัดจากเทศนาเรื่อง “พุทธานุสสติ”

22

พุทธมนต์ อิส๎วาสุ คาถาบูชาพระบรมครู


๖. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิ โส ภะคะวา, แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น; อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส; สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง; วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ; สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี; โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง; อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า;

สัตถา เทวะมะนุสสานัง,

เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย; พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม; ภะคะวาติ. เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์. เวลาสวดบทนี้ จะมีกำลังใจเข้มแข็งไม่หวั่นไหว ดังใจความกล่าวไว้

ในธชัคคสูตรว่า “คราใดเธอทั้งหลายระลึกถึงตถาคตเจ้า อาการขนพอง สยองเกล้าเพราะความสะดุ้งตกใจ จักไม่มี” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙

23


ฝึกหัดขัดเกลาใจ ด้วยใช้หลักธรรม ผู้เรียบเรียงเคยคุยกับช่างปั้นเครื่องดินเผาในงานทุ่งครุเกษตรแฟร์ เขาบอกว่ากว่าจะปั้นได้สวยงามอย่างนี้ก็ต้องฝึกหัดนานโขทีเดียว จิตใจ

คนเราเช่นกัน จะดีได้ก็ต้องฝึกหัดขัดเกลาด้วยคำสอนของท่านผู้รู้กว่าตน เฉพาะพุทธศาสนิกชน ก็อาศัยการฝึกฝนอบรมตนตามหลักธรรม คำสอน ของพระพุทธเจ้า ดังนั้น คำว่า ธรรม จึงมีความหมายอีกลักษณะหนึ่งว่า สัลเลขธรรม (สัน-เล-ขะ-ทำ) หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับขัดเกลาความชั่ว ให้บรรเทาเบาบาง กระทั่งหลุดพ้นออกไปจากใจของตนได้ในที่สุด ที่จริง พระพุทธองค์ มิได้ทรงสอนเพียงธรรมฝ่ายดีเท่านั้น แต่ยัง ชี้แจงให้เห็นถึงธรรมฝ่ายชั่วอีกด้วย ดังนั้น สำหรับผู้ฝึกหัดขัดเกลาใหม่ๆ จะรู้สึกได้ว่า ขณะนี้จิตใจตนกำลังต่อสู้กับความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี เช่น เราเห็นเงินคนอื่นตกอยู่ สำนึกดี-ชั่ว ในจิตใจก็เริ่มต่อสู้กันแล้วว่า จะ เก็บไว้ใช้เอง หรือส่งคืนเจ้าของ ธรรมฝ่ายไหนมีกำลังมากกว่าก็เป็นฝ่าย ชนะไป แต่ก็เป็นที่น่าดีใจว่าสังคมไทยปัจจุบันนี้ ยังพอมีบุคคลผู้ใช้ธรรมะ เอาชนะอธรรมในใจตนได้ ดังเป็นข่าวมากมายหลายครั้ง

“พระธรรมจักสัง่ สอนในเรือ่ งตัวเราว่า ข้อนี้ เป็นอกุศลไม่ดอี ย่าทำ ข้อนีเ้ ป็นกุศลดีงามควรทำ ใจของตนก็ ให้หมั่นชำระให้สะอาด และสอนให้ หมัน่ ศึกษาให้เป็นคนโดยสมบูรณ์” พระวรคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก คัดจากพระนิพนธ์เรื่อง “เหล่าพระพุทธศาสนา”

24

พุทธมนต์ อิส๎วาสุ คาถาบูชาพระบรมครู


๗. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว; สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง; อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล; เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด; โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว; ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน. เวลาสวดบทนี้ จะมีกำลังใจในการต่อสู้อุปสรรคปัญหา มีสติปัญญา รอบคอบในการคิดแก้ไข ไม่ขวัญหนีดฝี อ่ กับเรือ่ งร้ายๆ ทีเ่ กิดขึน้ ดังใจความ กล่าวไว้ในธชัคคสูตรว่า “คราใดเธอทั้งหลายระลึกถึงพระธรรม อาการ ขนพองสยองเกล้าเพราะความสะดุ้งตกใจ จักไม่มี” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙

25


นับถือพระสงฆ์ถกู วิธี มีผลให้พน้ กรรม คำว่า “นับถือ” อาจแยกอธิบายได้ ๒ ประการ คือ “นับ” หมายถึง ตรวจสอบดูเพื่อให้รู้ว่ามีจำนวนเท่าไร “ถือ” หมายถึง ยึดเอาไว้เพื่อนำไปปฏิบัติตาม เช่น การนับถือพระสงฆ์ ต้อง “นับ” ให้รู้ก่อนว่า คุณพระสงฆ์มีเท่าไร

ในคำแปลบทสวดสรรเสริ ญ คุ ณ พระสงฆ์ เมื่ อ นั บ ดู แ ล้ ว จะเห็ น ว่ า มี คุ ณ ๙ ประการ คือ เป็นผู้ปฏิบัติดี, ปฏิบัติตรง, ปฏิบัติธรรมเพื่อออกจากทุกข์, ปฏิบัติ สมควร ๔ ข้อนี้ เป็นคุณส่วนตัวของท่าน เรียกว่า อัตตคุณ เป็นผู้ควรรับของบูชา, ของต้อนรับ, ของทำบุญ, ควรกราบไหว้, เป็น เนื้อนาบุญของโลก ๕ ข้อนี้ เป็นคุณที่เอื้อประโยชน์สุขผู้อื่น เรียกว่า ปรหิตคุณ เมื่อคุณของท่านมี ๒ ส่วน การถือไปปฏิบัติจึงต่างกัน คือ ในส่วนอัตตคุณ การถือเอาไปปฏิบัติ คือ ทำความดีตามอย่างที่ท่านทำ เช่น ทำตนเป็นคนดี, ทำอะไรตรงไปตรงมา, ทำสิ่งใดไม่เบียดเบียนตนคนอื่น

จะได้ไม่มีเรื่องให้เกิดทุกข์โทษภายหลัง, ทำตนให้น่าเคารพ เป็นต้น ในส่วนปรหิตคุณ การถือเอาไปปฏิบตั ิ คือ อุปถัมภ์บำรุงท่านด้วยปัจจัย ๔ หรือทำความเคารพกราบไหว้ท่านด้วยความอ่อนน้อมอย่างจริงใจ แค่นี้ก็มีผล เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขตลอดกาลนาน

“พระสงฆ์...เป็นแหล่งที่ดำรงรักษาธรรมและเป็น แหล่งกัลยาณมิตร ที่จะช่วยเกื้อหนุนให้ผู้ศึกษา เจริญงอกงามขึน้ ไปในชีวติ อันประเสริฐ จนสามารถ เข้าถึงธรรมตามอย่างพระพุทธเจ้า” โอวาทธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) คัดจากเรื่อง “สามไตร”

26

พุทธมนต์ อิส๎วาสุ คาถาบูชาพระบรมครู


๘. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว;

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว;

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว;

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว; สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙

27


ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :- จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ; เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า; อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา; ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ; ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน; อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี; อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.

เป็นเนือ้ นาบุญของโลก ไม่มนี าบุญอืน่ ยิง่ กว่า. เวลาสวดพุทธฤทธิ์บทนี้ จะมีกำลังใจเข้มแข็งไม่หวั่นไหว ในการทำดี ตามแบบอย่างที่พระสงฆ์ท่านปฏิบัติ ดังใจความกล่าวชัดไว้ในธชัคคสูตรว่า “คราใดเธอทั้งหลายระลึกถึงพระสงฆ์ อาการขนพองสยองเกล้าเพราะ ความสะดุ้งตกใจ จักไม่มี”

คนเป็นทาสของกิเลส จึงวุ่นวาย เป็นทุกข์ อย่างรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เชิญชวนทุกท่านร่วมกันช่วยเพื่อนมนุษย์ให้เอาชนะกิเลส พบสุขได้ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้แจกเป็นธรรมทาน ยิ่งมาก บุญยิ่งทวี อย่างไม่โลภเมาบุญ รู้ว่าเป็นหน้าที่ช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (โปรดใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องนี้)

28

พุทธมนต์ อิส๎วาสุ คาถาบูชาพระบรมครู


พุทธชัยมงคลคาถา

(พาหุง มหากา คาถาชนะมาร) เรียนรู้คำสอนพร้อมคำสวด... : เพื่อพิชิตหมู่มารร้าย สร้างกำลังใจในยามประสบเคราะห์กรรม เสริมบารมีให้พิชิตศัตรูอุปสรรคปัญหาที่เข้ามาผจญ

เรียบเรียงโดย : ไพยนต์ กาสี ในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรพุทธศาสน์


พิชิตมาร คือ การพิชิตกรรม บทสวดตอนต่ อ ไปนี้ มี ชื่ อ เป็ น ทางการว่ า พุ ท ธชั ย มงคลคาถา

แต่ประชาชนทั่วไปมักจำกันว่า คาถาพาหุง ตามคำขึ้นต้นของบทสวด

หรื อ จำในอี ก ชื่ อ หนึ่ ง ว่ า คาถาพระพุ ท ธเจ้ า ชนะมาร เป็ น คาถาที่ โบราณาจารย์ ป ระมวลเหตุ ก ารณ์ ที่ พ ระพุ ท ธองค์ ท รงชนะมาร ๘ ครั้ ง

รวมไว้ในคาถานี้ คำว่า มาร แปลว่า ผู้ฆ่า, ผู้ทำให้ตาย หมายถึง สภาวะที่ทำให้คน ตายจากความดี คอยขัดขวางมิให้ทำดีโดยสะดวก หรือกำจัดความดีที่มีอยู่ ออกไป เช่น อยากทำดีสักอย่าง แต่ก็ไม่ได้ทำดังตั้งใจ เหตุที่ทำไม่ได้นี้

เรียกว่า มาร ดังคำว่า มารผจญ พระพุทธศาสนา แบ่งมาร เป็น ๕ อย่าง๑ ในทีน่ อี้ ธิบายเฉพาะกิเลสมาร กับขันธมาร เพราะเกีย่ วข้องกับบทสวดมนต์

ที่แนะให้สวด กิเลสมาร มารคือกิเลส กิเลสเป็นมาร เพราะเมื่อครอบงำใจแล้ว

ทำให้สัตว์เดือดร้อน วุ่นวาย พบความพินาศในปัจจุบันและอนาคต หมด โอกาสในการทำความดี ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ขันธ์ ๕ เป็นมาร เพราะเป็นสภาพที่ ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ไม่มีความเที่ยงแท้ เป็นภาระให้ต้องรักษาแปรเปลี่ยนไป ตามอำนาจความแก่ ความเจ็ บ เป็ น ต้ น ทำให้ มิ อ าจทำดี ไ ด้ เ ต็ ม กำลั ง สามารถ อย่างแรงก็ตัดโอกาสการทำความดีนั้นโดยสิ้นเชิง และการที่ยังมี ขันธ์ ๕ จึงทำให้ใช้อัตภาพนี้ก่อกรรมดีบ้าง เลวบ้างปะปนกันไป ๑ มารอีก ๓ อย่าง คือ อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร, เทวปุตตมาร มารคือเทวบุตร

(ในบทสวดนี้ก็คือ พญามารที่มาผจญพระพุทธเจ้า), มัจจุมาร มารคือความตาย

30

พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง มหากา คาถาชนะมาร)


ทีย่ งั ทำกรรม เพราะใจท่านนัน้ แพ้มาร จากคำข้างต้นจะเห็นว่า กิเลสมาร สามารถฆ่าเราตายจากความดีได้ เพราะเมื่อกิเลสเกิดขึ้น จะชักนำใจให้หลงใหลใฝ่ต่ำไปตามอำนาจของมัน โดยเฉพาะกิเลสตัวการสำคัญ ๓ ตัวนี้ คือ ความโลภ โกรธ หลง เมื่อเกิด ขึ้นแล้วก่อให้เกิดการกระทำในทางทุจริตผิดศีลธรรมมากมายไม่รู้จบสิ้น ตรงนี้เองเป็นจุดเชื่อมระหว่าง มาร คือ สิ่งล้างผลาญความดีจากตัวบุคคล มาสู่ความเป็นกรรม คือ การกระทำ และเมื่อทำกรรมตามอำนาจของกิเลสเอง ก็ต้องเป็นผู้รับวิบาก คือ ผลกรรมนั้นเอง ภาวะเป็นที่ตั้งการรับผลกรรม ภาษาธรรมเรียกว่า ขันธ์ หมายถึง อัตภาพ, ร่างกาย ที่ถือกำเนิดขึ้นตามแรงกรรม เช่น ทำบาปมาก ก็ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน เป็นต้น ส่วนคนที่ทำกรรม ดีไว้มาก ทำให้ได้รับประโยชน์สุขทั้งในภพปัจจุบันเห็นทันตา และแม้ว่า

จะละจากอัตภาพนี้ไปแล้ว ก็ไม่แคล้วไปเกิดในสุคติภูมิ ดังนั้น สรุปว่า เมื่อบุคคลมีกิเลสเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อ ทำกรรมแล้ว ต้องรับวิบาก ผลกรรมนั้น วนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะตัดวงจรของวัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบาก ได้อย่างเด็ดขาด ด้วยการบรรลุมรรคผลนิพพาน จากนี้ ขอนำสู่เนื้อหาสารธรรม ที่พระพุทธองค์ใช้พิชิตมารทั้ง ๘ ครั้ง เพื่อเป็นแนวทางให้ได้นำไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน หากท่านตั้งมั่น ในความดี ย่อมได้รับคุ้มครองจากอนุสาสนีปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า หากเราสวดด้วยจิตศรัทธาในพระปริตร ย่อมพิชติ กรรมตามทีโ่ บราณาจารย์ กล่าวอานิสงส์ไว้ในแต่ละบทอย่างแน่นอน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙

31


มารร้าย ย่อมพ่ายแพ้แก่ความดี คาถาบทนี้ มีวิธีบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวัน คือ จะเอาชนะใคร ต้องใช้ความดีเข้าสู้ เพราะเนื้อหากล่าวถึงว่า พระพุทธองค์กว่าจะตรัสรู้ยัง มีมารขัดขวางก็ไม่ทรงท้อพระทัย แต่กลับทรงใช้ความดีที่ทรงบำเพ็ญมา เป็นเวลาสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปเข้าสู้ เพื่อตรัสรู้ดังตั้งพระทัยปรารถนา

แต่ครั้งเป็นสุเมธดาบส ดังนั้น เวลาเรามีบุคคล อารมณ์ เรื่องที่ไม่พึงประสงค์มาผจญ จะให้ ได้ ผ ลเป็ น ความชนะไม่ ต้ อ งกลั บ แพ้ อี ก ต้ อ งหาทางชนะตามพุ ท ธวิ ธี ที่

ทรงแนะนำไว้ เช่น ชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้, ชนะคนเหลวไหล ด้วย ความจริง, ชนะคนโกรธ ด้วยไม่โกรธตอบ เป็นต้น แต่หากตนหาทางเอา ชนะด้วยสามัญวิธีที่ปุถุชนส่วนใหญ่เอาชนะกัน เมื่อนั้นไม่แคล้วต้องประสบ ผลกรรมตามพุทธพจน์ที่ว่า ผู้ชนะ ย่อมประสบเวร แต่เหนือสิ่งอื่นใดนั้น

อย่าคิดแต่เอาชนะคนอืน่ จนลืมฝึกจิตเพือ่ เอาชนะตนเองให้พน้ จากความชัว่

“เราต้องการของดี คนดี ก็จำเป็นต้องฝึก ฝึกจนดี จะพ้นการฝึกไปไม่ ได้ งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น ฝึกงาน ฝึกคน ฝึกสัตว์ ฝึกตน ฝึกใจ นอกจากตายแล้วจึงหมดการฝึก คำว่า ดี จะเป็นสมบัติของผู้ฝึกดีแล้วแน่นอน”

โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต คัดจากเรื่อง “ขันธวิมุตติสมังคีธรรม”

32

พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง มหากา คาถาชนะมาร)


พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)

(๑) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ค๎รีเมขะลัง๑ อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม๒ ชะยะมังคะลานิ.

ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ได้ทรง ชำนะพญามาร ซึ่งได้เนรมิตแขนตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างพลาย-

คีรีเมขล์ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องกึกก้อง ด้วยธรรมวิธี มีทานบารมี เป็นต้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า.

ว่าถึงชัยชนะของพระพุทธองค์ ที่ทรงมีต่อพญามารในวันตรัสรู้ ด้วย ธรรมวิธี มีทานบารมี เป็นต้น โบราณาจารย์ กล่าวอานิสงส์การสวดบทนี้

ด้วยสมาธิจิต มีฤทธิ์แก้คุณไสย ขับไล่ภูตผีปีศาจ ดังท่านประพันธ์ไว้ว่า “ บทที่ ๑ พาหุง บทนี้ภาวนา มีคุณหนักหนา แก่คนทั้งหลาย แก้คุณภูตผี ทั้งปีศาจร้าย ให้เสื่อมสูญหาย หมดสิ้นราคี” ๑ อ่านว่า คฺรี-เม-ขะ-ลัง, ๒ สวดให้ผู้อื่นเปลี่ยน เม เป็น เต แปลว่า แก่ท่าน ทุกแห่ง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙

33


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.