สวดมนต์สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข

Page 1



ขอมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแหงชาติ สุภาพ หอมจิตร. สวดมนตสามัญประจำบาน ฉบับระดมธรรมสันติสุข-- กรุงเทพฯ : เลี่ยงเชียง, ๒๕๕๓. ๓๐๔ หนา ๑. พุทธศาสนา -- บทสวดมนต. ๒. นาม. ๓. การรักษาโรค. I. ชื่อเรื่อง. ๒๙๔.๓๑๓ ISBN 978-616-7047-37-9 ลิขสิทธิ์ . ผลิต จำหนายปลีก-สง

0-2872-9898  0-2221-1050 สาขา ราษฎรบรู ณะ-ทงุ ครุ

สาขา สำราญราษฎร

๑๐๕/๗๕ ถนนประชาอุทศิ ซอย ๔๕ เขตทงุ ครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐ โทร. ๐-๒๘๗๒-๙๘๙๘, ๐-๒๘๗๒-๕๙๗๕-๙ แฟกซ. ๐-๒๔๒๗-๙๕๘๖ WWW.LC2U.COM พิมพที่ โรงพิมพเลีย่ งเชียง ๒๒๓ ถนนบำรุงเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๒๑-๑๐๕๐, ๐-๒๒๒๑-๔๔๔๖, ๐-๒๒๒๓-๘๙๗๙


คำนำ ศีลธรรม คือ ข้อประพฤติปฏิบัติอันดีงามของมนุษย์ และเป็นข้อกำหนด ให้เห็นว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรงดเว้น ซึ่งจะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนหากไปกระทำ เข้า และให้เห็นว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ซึ่งจะทำให้เกิดความสงบสุขเมื่อกระทำ ตาม ดังนั้น ศีลธรรมจึงเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดสันติสุขและสันติภาพในโลก เพราะถ้าเราทุกคนประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงาม ก็เป็นหลักประกัน ได้ว่าจะไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีการเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ไม่มี ความทุกข์ยากลำเค็ญ และจะไม่มีการอยู่กันอย่างหวาดระแวงและอย่างตัวใครตัวมัน ดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ หนังสือ สวดมนต์สามัญ ประจำบ้าน ฉบับ ระดมธรรมสันติสุข เล่มนี้ ได้เรียบเรียงขึ้นสำหรับเป็นคู่มือสร้างความดี และเป็นสื่อในการระดมธรรมสร้างสันติสุข ทางใจ แผ่ขยายไปถึงคนรอบข้าง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ซึ่งภายในเล่ม ประกอบด้วยเนื้อหา ๗ ภาค คือ ๑. ภาคสวดมนต์ภาวนา รวมบทสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็น และบทสวดมนต์ต่างๆ ที่นิยมสวดกัน ๒. ภาคคาถาบูชาเลิศล้ำ รวมคาถาบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วเมืองไทย ๓. ภาคธรรมะฉ่ำชีวี รวมคติธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ ๔. ภาคศาสนพิธนี า่ รู้ รวมความรูเ้ กีย่ วกับพิธกี รรมทางศาสนา ๕. ภาคบูชาพระให้ถกู โฉลก บูชาพระอะไรถึงจะถูกโฉลกชะตา และเป็นสิริมงคลชีวิต ๖. ภาคดูโชคกับโหราศาสตร์ ดูโชคชะตาราศี ฤกษ์งามยามดี และการตั้งชื่อบุตรหลานให้เป็นมงคล ๗. ภาครักษาพยาธิ ด้วยสมุนไพร รวมสมุนไพรไทยใกล้ตัวที่ควรรู้ไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในยามจำเป็น หนังสือเล่มนี้จึงเปรียบเสมือนยาสามัญประจำบ้านและตู้ธรรมะประจำเรือน ที่มีเพียงเล่มเดียว แต่สามารถหยิบฉวยใช้ได้ทุกโอกาสและสารพัดประโยชน์ เรียกว่า 7 in 1 เลยทีเดียว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นคู่มือสร้างสันติสุขแก่ตัวท่านเอง คนในครอบครัว สังคม และประเทศชาติได้เป็นอย่างดี ด้วยกตัญญูกตเวทิตาธรรม (น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, ร.บ.)

คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


สารบัญ

ภาค ๑ สวดมนต์ภาวนา สวดมนต์ภาวนา คือต้นตอแห่งความสุข ความสำเร็จ อานิสงส์ของการสวดมนต์ คำแนะนำ และข้อปฏิบัติในการสวดมนต์ แนะนำวิธีอ่าน (เฉพาะในเล่มนี้) ทำความเข้าใจการสวดมนต์ทำวัตร ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น บทชุมนุมเทวดา บทสวดมนต์ประจำวัน บทบูชาพระรัตนตรัย (ชีวิตรุ่งเรือง, มีสุข) บทกราบพระรัตนตรัย (ชีวิตมีสุข) บทนมัสการพระพุทธเจ้า (อานิสงส์ ๑๐๘, ป้องกันภัย) บทขอขมาพระรัตนตรัย (ตัดกรรม) บทไตรสรณคมน์ (คุ้มครอง, สร้างกำลังใจ) บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย (ป้องกันภัย ๑๐๘, ชีวิตรุ่งเรือง) พุทธชัยมงคลคาถา (ป้องกันภัย, ทำให้มีชัยชนะ) อิติปิโสเกินอายุ (ต่ออายุ, ตัดกรรม, เสริมสิริมงคล) บทสวดมนต์พิเศษประจำวัน บทนมการสิทธิคาถา (โย จักขุมา) (ประสบผลสำเร็จ, มีชัยชนะ) บทสัมพุทเธ (ป้องกันอันตราย, ชนะอุปสรรค) บทนโมการอัฏฐกคาถา (ขจัดสิ่งชั่วร้าย, ให้อยู่เย็นเป็นสุข) บทมงคลปริตร (ขจัดเสนียดจัญไร, มีโชคลาภ, เทวดารักษา) บทรัตนปริตร (ย่อ) (ขจัดโรคภัย, ภูตผีปีศาจ) บทกรณียเมตตปริตร (เทวดารักใคร่, คนเมตตา)

๑๖ ๑๗ ๑๘ ๒๐ ๒๑ ๒๓ ๔๒ ๕๘ ๕๙ ๕๙ ๕๙ ๕๙ ๖๐ ๖๐ ๖๑ ๖๒ ๖๕ ๖๕ ๖๗ ๖๘ ๖๙ ๗๐ ๗๑ ๗๒


บทขันธปริตร (ป้องกันสัตว์ร้าย) บทโมรปริตร (คุ้มครองการเดินทาง, ทำมาหากิน) บทธชัคคปริตร (ย่อ) (ขจัดความหวาดกลัว) บทวัฏฏกปริตร (ป้องกันอัคคีภัย) บทอาฏานาฏิยปริตร (เสริมมงคลในครอบครัว, คุ้มครองภัย) บทอังคุลิมาลปริตร (ขจัดภัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า) บทโพชฌังคปริตร (ขจัดโรค, สุขภาพดี, มีปัญญา) บทอภยปริตร (แก้ลางร้าย, ให้ฝันดี) ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (อานิสงส์ ๑๐๘ ประการ) พระคาถาชินบัญชร (อานิสงส์ ๑๐๘ ประการ) พระอาการวัตตสูตร (มีคุณเกินพรรณนา) บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (ดี ๑๐๘, เสริมปัญญาบารมี, เทพรักษา) บทมหาสันติงหลวง (ทำให้เกิดสันติสุข, สันติภาพ) บทอิติปิโสรัตนมาลา (ย่อ) (ป้องกันสารพัดอันตราย, ให้คุณ ๑๐๘) บทมงคลจักรวาฬใหญ่ (ให้เกิดความเจริญ, อายุยืน, ขจัดมาร) บทมงคลจักรวาฬน้อย (ให้มีความสุข, ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ) บทบารมี ๓๐ ทัศ (เสริมบารมี, ให้ชีวิตมีสุข) คาถาป้องกันภัยสิบทิศ (ป้องกันอันตรายจากทิศต่างๆ) บทไหว้พระเจ้าสิบชาติ (ชีวิตเจริญ มีสุข สมหวัง) คาถามงคลจักรวาลแปดทิศ (คุ้มครองชีวิตให้ปลอดภัย) บทปลงสังขาร (บทที่ ๑) (ทำให้ไม่ประมาทในชีวิต) บทปลงสังขาร (บทที่ ๒) (ทำให้ไม่ประมาทในการทำดี) วิธีปฏิบัติสมาธิเบื้องต้น บทแผ่เมตตาแบบต่างๆ บทแผ่เมตตาให้ตนเอง บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

๗๓ ๗๔ ๗๕ ๗๖ ๗๖ ๗๗ ๗๘ ๗๙ ๗๙ ๘๗ ๙๐ ๙๘ ๑๐๕ ๑๐๖ ๑๐๗ ๑๐๘ ๑๐๘ ๑๑๐ ๑๑๑ ๑๑๒ ๑๑๓ ๑๑๕ ๑๑๗ ๑๑๘ ๑๑๙ ๑๑๙


บทแผ่เมตตาพรหมวิหาร (ย่อ) บทแผ่เมตตาแก่สรรพสัตวโลกทั้ง ๔ บทแผ่เมตตาแก่สัตว์ทุกจำพวก บทแผ่เมตตาอุทิศผลบุญ บทแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล บทแผ่ส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร บทกรวดน้ำแบบย่อ คำกรวดน้ำคำกลอน

๑๒๐ ๑๒๒ ๑๒๒ ๑๒๓ ๑๒๔ ๑๒๕ ๑๒๕ ๑๒๕

ภาค ๒ คาถาบูชาเลิศล้ำ บทสวดต่ออายุ (สะเดาะเคราะห์ต่ออายุ) คาถาบูชาดวงชาตา (สะเดาะเคราะห์) บทไหว้พระจุฬามณีเจดีย์ (ทำให้ชีิวิตรุ่งเรือง, เป็นสุข) คาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุทั่วจักรวาล (ไม่ตกสู่อบายภูมิ) คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า (ชีวิตมีสุข, ร่มเย็น) คาถาอัญเชิญพระบรมธาตุ (เสริมวาสนาบารมี, โชคลาภ) คาถาบูชาพระแก้วมรกต (ทำให้ร่ำรวยแก้วแหวนเงินทอง) คาถาบูชาพระพุทธสิหิงค์ (ทำให้มีอำนาจในการปกครอง) คาถาบูชาพระพุทธชินราช (ทำให้ชนะอุปสรรคทุกประการ) คาถาบูชาหลวงพ่อพระพุทธโสธร (ทำให้เจริญด้วยชื่อเสียงเกียรติยศ) คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ (ทำให้ชีวิตเป็นสุข, ไม่เกิดในอบาย) คาถาบูชาหลวงพ่อบ้านแหลม (ทำให้มีปัญญาเฉียบแหลม) คาถาบูชาหลวงพ่อเพชร (ร่ำรวยเพชรนิลจินดา) คาถาบูชาหลวงพ่อโต (ทำให้ได้เป็นใหญ่เป็นโต) คาถาบูชาหลวงพ่อพระใส (ชีวิตสดใส, ไม่หม่นหมอง) คาถาบูชาหลวงพ่อวัดไร่ขิง (ทำให้มีคนเชิดชูบูชา) คาถาบูชาหลวงพ่อทอง (ร่ำรวยเงินทอง)

๑๒๗ ๑๒๘ ๑๒๘ ๑๒๙ ๑๒๙ ๑๓๐ ๑๓๐ ๑๓๑ ๑๓๒ ๑๓๒ ๑๓๓ ๑๓๓ ๑๓๔ ๑๓๔ ๑๓๕ ๑๓๖ ๑๓๖


คาถาบูชาหลวงพ่อโต (ทำให้ได้เป็นผู้นำ, มีคนนับถือ) คาถาบูชาพระศรีอริยเมตไตรย (ทำให้มีสุขไม่รู้คลาย) คาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์ (ป้องกันภัยยามคับขัน) คาถาบูชาพระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์ (ป้องกันภัย, ให้มีสุข) คาถาตาข่ายเพชรพระพุทธเจ้า (ป้องกันภัย ๑๐๘) คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า (เสกล้างหน้า, เมตตามหานิยม) คาถาบูชาพระสารีบุตร (มีปัญญาเลิศ) คาถาบูชาพระมหาโมคคัลลานะ (ทำให้มีฤทธิ์เดช, ผู้คนเกรงขาม) คาถาดับไฟในนรก (ดับพิษไฟ, น้ำร้อนลวก) คาถาบูชาพระสีวลี (ทำให้มีโชคลาภ, ค้าขายร่ำรวย) คาถามหาลาภ (พระสีวลี) (ทำให้บังเกิดลาภผลร่ำรวย) คาถาหัวใจพระฉิมพลีใหญ่ (ทำให้สำเร็จผลดังต้องการ) คาถาบูชาพระสังกัจจายน์ (เกิดสิริมงคล, ชีวิตรุ่งเรือง) คาถาขอลาภพระสังกัจจายน์ (มีลาภไม่ขาดสาย, เงินไหลมา) คาถาบูชาพระองคุลิมาล (คลอดง่าย, ป้องกันภูตผีปีศาจ) คาถาบูชาพระอุปคุต (บันดาลโชคลาภ, ป้องกันอันตราย) คาถาบูชาพระสมเด็จ (เสริมทรัพย์, เสริมสิริมงคล) คาถาอาราธนาพระสมเด็จ (เสกพระสมเด็จฯ ห้อยคอ) คาถาสมเด็จโต (เจริญลาภ ยศ สรรเสริญ สุข) คาถาสืบสร้างทางสวรรค์ นิพพาน (อยู่ดีมีสุข, ไปสู่สุคติ) คาถาหลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด) (โภคทรัพย์พอกพูน, มีสุข) คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร (ชีิวิตปลอดภัย) คาถาหลวงปู่ศุข (เดินทาง, ติดต่อประสานงานสำเร็จ) คาถาหลวงพ่อโอภาสี (ครอบครัวมีสุข) คาถาหลวงพ่อสด (ชีวิตก้าวหน้า, มีสติปัญญามั่นคง) คาถาหลวงพ่อปาน (เสริมทรัพย์)

๑๓๗ ๑๓๗ ๑๓๗ ๑๓๘ ๑๓๘ ๑๓๘ ๑๓๙ ๑๓๙ ๑๓๙ ๑๔๐ ๑๔๐ ๑๔๑ ๑๔๑ ๑๔๑ ๑๔๑ ๑๔๒ ๑๔๒ ๑๔๒ ๑๔๓ ๑๔๓ ๑๔๓ ๑๔๔ ๑๔๔ ๑๔๔ ๑๔๕ ๑๔๕


คาถามหาอำนาจ (เสกล้างหน้า ผู้คนยำเกรง) ๑๔๕ คาถาเงินล้าน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) (เงินทองไหลมาเทมา) ๑๔๖ คาถาพุทธวิทยาคม (ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัย) ๑๔๖ คาถาพญาไก่เถื่อน (เสริมให้มีปัญญาแก่กล้า) ๑๔๗ คาถาหลวงพ่อเกษม เขมโก (ให้ชีวิตมีความเกษมสำราญ) ๑๔๗ คาถาหลวงปู่เผือก (ป้องกันภัย, ชีวิตรุ่งเรือง) ๑๔๘ คาถาเจ้าคุณนรรัตน์ฯ (ทุกอย่างสำเร็จตามปรารถนา) ๑๔๘ คาถาหลวงพ่อเงิน พุทฺธโชติ (เสริมทรัพย์ เสริมบารมี) ๑๔๘ คาถาเรียกเงิน (ค้าขายร่ำรวย) ๑๔๙ คาถาหลวงปู่ทอง อายนะ (คุ้มครองให้ปลอดภัยจากอันตราย) ๑๔๙ คาถาหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญ (เจริญโชคลาภ) ๑๔๙ คาถาหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ (มีโชคชัย, คงกระพัน, ผู้คนรักใคร่) ๑๕๐ คาถาหลวงพ่ออุตตมะ (มีโชคลาภ, วาสนาดี, ชีวิตรุ่งเรือง) ๑๕๐ คาถาหลวงพ่อแช่ม (ทำให้ชีวิตแช่มชื่น, มีแต่คนรัก) ๑๕๐ คาถาหลวงปู่ขาว อนาลโย (ทำให้เกิดเมตตามหานิยม) ๑๕๑ คาถาหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ (ชีวิตมีความสุข ความเจริญ) ๑๕๑ คาถาหลวงพ่อปาน อคฺคปญฺโญ (เสริมให้มีอำนาจ, ป้องกันสัตว์ร้าย) ๑๕๑ คาถาพ่อท่านลี ธมฺมธโร (ป้องกันอันตราย ภัยพิบัติทั้งปวง) ๑๕๒ คาถาพ่อท่านคล้าย จนฺทสุวณฺโณ (อยู่ยงคงกระพัน, มีคนนับถือ) ๑๕๒ คาถาความจำดี (เสริมปัญญา, เรียนเก่ง) ๑๕๒ คาถาบูชาพระสยามเทวาธิราช (ครอบครัวมีสุข สงบ ร่มเย็น) ๑๕๓ คาถาบูชาองค์พ่อจตุคามรามเทพ (สำเร็จดังปรารถนา) ๑๕๓ คาถาบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สำเร็จดังปรารถนา) ๑๕๔ คาถาบูชาสมเด็จพระปิยมหาราช (ร.๕) (ทำให้มีชัยชนะ, มีโชคลาภ, ไม่ตกอับ) ๑๕๔ ๑๕๔ คาถาบูชากรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (ศัตรูพ่ายแพ้, มียศศักดิ์) คาถาบูชาพระแม่กวนอิม (ชีวิตและครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข) ๑๕๕


คาถาบูชาพระอิศวร (พระศิวะ) (ขจัดปัดเป่าอันตราย, ป้องกันภูตผี) คาถาบูชาพระพรหม (ทำให้ชีวิตมีความสุข ร่มเย็น) คาถาบูชาพระพิฆเณศวร (ประสบความสำเร็จในชีวิตทุกด้าน) คาถาบูชาพระนารายณ์ (ขจัดอันตรายทั้งปวง, ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน) คาถาบูชาท้าวเวสสุวัณ (ป้องกันภูตผีปีศาจ, คุณไสย) คาถาบูชาพระขันธกุมาร (ทำให้มีชัยชนะเหนือศัตรู) คาถาบูชาพระแม่อุมาเทวี (เสริมเมตตามหานิยม, ผู้คนรักใคร่) คาถาบูชาพระลักษมี (ทำให้เจริญรุ่งเรืองด้วยโภคทรัพย์, อุดมสมบูรณ์) คาถาบูชาแม่พระธรณี (ปกปักรักษาให้แคล้วคลาดปลอดภัย) คาถาบูชาแม่พระโพสพ (ให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหาร) คาถาบูชานางกวัก (ให้มีโชคลาภ, ค้าขายร่ำรวย) คาถาบูชาแม่พระธรณี แม่พระคงคา พระพาย พระเพลิง

๑๕๖ ๑๕๖ ๑๕๖ ๑๕๗ ๑๕๗ ๑๕๗ ๑๕๘ ๑๕๘ ๑๕๘ ๑๕๙ ๑๕๙ ๑๕๙

(แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ) คาถาบูชาพระฤๅษี (มีความสำเร็จในทุกด้าน) คาถาป้องกันตัว (คุ้มครองชีวิตให้ปลอดภัย) คาถาป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ (ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ) คาถากำแพงแก้วเจ็ดชั้น (คุ้มครองตนให้ปลอดภัย) คาถาหัวใจเกราะเพชร (ป้องกันภัย, ศัตรู, ศัสตราวุธ) คาถาป้องกันภัยทั่วพิภพ (ภัยใดๆ ไม่อาจกล้ำกราย) คาถาปลุกเสกของขลัง (ใช้ปลุกเสกวัตถุมงคล) คาถาหัวใจกาสลัก (เสกแป้งผัดหน้า เสริมเมตตามหานิยม) คาถาหัวใจหนุมาน (ป้องกันศัตรู) คาถาประสานบาตร (ต่อกระดูก, ประสานแผล) คาถาเสกสีผึ้งทาริมฝีปาก (เสริมเมตตามหานิยม, คนรักใคร่) คาถามหาเมตตา (คนรักใคร่ หลงใหล) คาถาเมตตามหานิยม (คนรักใคร่ นิยมชมชอบ)

๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๑ ๑๖๑ ๑๖๑ ๑๖๑ ๑๖๒ ๑๖๒ ๑๖๒ ๑๖๒ ๑๖๓ ๑๖๓


คาถาปราบมาร (หัวใจพาหุง) (ป้องกันอันตราย, ทำคนคิดร้ายให้กลายเป็นมิตร) คาถาหัวใจพระพุทธ (ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัย) คาถาฝันดี (ทำให้ฝันดี, ฝันได้โชคลาภ) คาถาผูกจิต (ทำให้ศัตรูเป็นมิตร) คาถาผูกใจ (ทำให้ธุรกิจการค้าขายสำเร็จ) คาถาสะกดจิต (นะ จังงัง) (ใช้สะกดจิตคน, สัตว์ ให้อยู่ในอำนาจ) คาถาหัวใจพระเจ้าสิบชาติ (เสริมบารมี เดชานุภาพ) คาถานิพพานจักรี (ขอพรให้เทวดาคุ้มครอง) คาถาหัวใจเศรษฐี (ทำให้มีลาภสมปรารถนา) คาถามหาพิทักษ์ (ป้องกันทรัพย์สินให้ปลอดภัย) คาถาหัวใจราชสีห์ (เมตตามหานิยม) คาถา ๑๐๘ พุทธคุณ (แคล้วคลาดปลอดภัย, โชคดีมีชัย) คาถาหัวใจพระรัตนตรัย (ป้องกันภัยสารพัด) คาถาพระเจ้าเปิดโลก (ป้องกันภัยในการเดินทาง) คาถานิมิตฝันดี (เกิดนิมิตดี, มีโชค) คาถาผูกมัดปีศาจ (ป้องกันภูตผีและคุณไสยเข้าร่าง) คาถาคัดเลือด (เสกเป่าห้ามเลือดจากแผล) คาถาเป่าตาต้อตาแดง (รักษาตาแดง) คาถาหัวใจสุนัข (ป้องกันสุนัขเห่าหรือกัด) คาถาบูชาทรัพย์ (เสริมให้ทรัพย์เพิ่มพูน) คาถาทำน้ำมนต์ขายของดี (ค้าขายร่ำรวย) คาถามหาลาภ (เจริญด้วยทรัพย์สมบัติ, ร่ำรวย) คาถาบูชาหมอชีวกโกมารภัจจ์ (ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ) คาถาเสกธูปบูชาพระ (ค้าขายร่ำรวย) คาถาบูชาขอลาภ ๗ วัน (ขอให้มีลาภ) คาถาบูชาประทีป (สวดบูชาขณะจุดเทียนถวายพระ ทำให้ชีวิตรุ่งเรือง)

๑๖๓ ๑๖๓ ๑๖๔ ๑๖๔ ๑๖๔ ๑๖๔ ๑๖๔ ๑๖๕ ๑๖๕ ๑๖๕ ๑๖๕ ๑๖๖ ๑๖๖ ๑๖๖ ๑๖๖ ๑๖๗ ๑๖๗ ๑๖๗ ๑๖๗ ๑๖๘ ๑๖๘ ๑๖๘ ๑๖๙ ๑๖๙ ๑๗๐ ๑๗๑


คาถาพญาปลาตะเพียนทอง (บันดาลให้เกิดลาภ) คาถาสาลิกาลิ้นทอง (พูดเจรจามีคนรัก) คาถาเมตตาจิต (เสริมให้มีคนรักใคร่) คาถาบูชาขอลาภพระเศรษฐีนวโกฏิ

๑๗๑ ๑๗๒ ๑๗๒ ๑๗๒

ภาค ๓ ธรรมะฉ่ำชีวี มรดกธรรม ผลของการรักษาศีล ๕ การใช้บุญสร้างความสำเร็จในปัจจุบัน การเจริญสติในชีวิตประจำวัน วิธีเจริญสติในอิริยาบถนั่ง พระในบ้าน พระที่ถูกมองข้าม บูชาพระให้ครบ ชีวิตที่เป็นหลักฐาน ความรักของพ่อ ความรักของแม่ เลือดในอก กฎแห่งกรรม เป็นมนุษย์หรือเป็นคน ผลกรรมชั่ว คติธรรมนำชีวิต กฎแห่งกรรม เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร โกรธคือโง่ ชีวิตกับความตาย การคบคน

๑๗๔ ๑๗๘ ๑๗๙ ๑๘๐ ๑๘๑ ๑๘๓ ๑๘๔ ๑๘๕ ๑๘๖ ๑๘๗ ๑๘๗ ๑๘๘ ๑๘๘ ๑๘๙ ๑๘๙ ๑๙๐ ๑๙๑ ๑๙๒ ๑๙๒ ๑๙๓ ๑๙๓


การสั่งสมบุญนำสุขมาให้ คาถาหัวใจเศรษฐี กตัญญูรู้คุณคน พูดอย่างไรได้อย่างนั้น ปลงเสียเถิด ที่พึ่งของตน ชีวิตที่พอเพียง ทุกอย่างอยู่ที่ใจ วันเกิดใคร พ่อแก่แม่เฒ่า ผีร้ายในชีวิต ทำเองดีกว่า อุทานธรรม โอวาทธรรมสมเด็จโต มงคลชีวิต พิธีการทำบุญ การทำบุญในงานมงคล การทำบุญในงานอวมงคล คำบูชาพระรัตนตรัย คำอาราธนาศีล ๕ คำสมาทานศีล ๕ คำอาราธนาธรรม คำอาราธนาพระปริตร คำบูชาข้าวพระพุทธ คำลาข้าวพระพุทธ

ภาค ๔ ศาสนพิธีน่ารู้

๑๙๔ ๑๙๔ ๑๙๕ ๑๙๖ ๑๙๗ ๑๙๘ ๑๙๙ ๒๐๐ ๒๐๑ ๒๐๒ ๒๐๔ ๒๐๔ ๒๐๕ ๒๐๖ ๒๐๗ ๒๐๙ ๒๑๐ ๒๑๕ ๒๑๘ ๒๑๘ ๒๑๘ ๒๑๙ ๒๒๐ ๒๒๐ ๒๒๐


คำอธิษฐานของทำบุญ คำจบของทำบุญใส่บาตร คำถวายข้าวใส่บาตรและของทำบุญ คำบูชาพระภูมิ คำถวายเครื่องสังเวยพระภูมิ คำลาเครื่องสังเวยพระภูมิ คำหลั่งน้ำถวายพระภูมิ คำถวายสังฆทาน (สามัญ) คำถวายสังฆทาน (อุทิศ) คำถวายผ้าป่า คำถวายผ้ากฐิน คำภาวนารดน้ำศพ คำภาวนาทอดผ้าบังสุกุล คำภาวนาเผาศพ คำอธิษฐานปล่อยสัตว์ (จีน) คำอธิษฐานปล่อยสัตว์ ปล่อยสัตว์อะไรดี

๒๒๐ ๒๒๑ ๒๒๑ ๒๒๑ ๒๒๑ ๒๒๒ ๒๒๒ ๒๒๒ ๒๒๒ ๒๒๓ ๒๒๓ ๒๒๔ ๒๒๔ ๒๒๔ ๒๒๕ ๒๒๕ ๒๒๖

ภาค ๕ บูชาพระให้ถูกโฉลก คาถาบูชาพระประจำวันเกิด พระบูชาประจำปีเกิด พระธาตุประจำปีเกิด พระเครื่อง พระบูชาประจำวันเกิด

๒๒๘ ๒๓๖ ๒๔๘ ๒๕๔

ภาค ๖ ดูโชคกับโหราศาสตร์ ตำราทำนายโชคชะตา ๑๒ ราศี (ดูโชคประจำปี) วันดี ดิถีงาม ยามมงคล (วิธีเลือกฤกษ์งามในการทำงานมงคล)

๒๖๒ ๒๖๔


ตำราตั้งชื่อมงคล ยามอุบากอง (เลือกเวลาที่เป็นมงคลสำหรับทำกิจต่างๆ)

๒๗๑ ๒๗๖

ภาค ๗ รักษาพยาธิด้วยสมุนไพร สมุนไพรไทยใกล้ตัว คูน (ยาระบาย, แก้ท้องอืด) ชุมเห็ดไทย (ยาระบาย, แก้ท้องอืด) ชุมเห็ดเทศ (รักษากลากเกลื้อน) ว่านหางจระเข้ (แก้พิษน้ำร้อนลวก, ยาระบาย) มะแว้งเครือ (แก้ไอ) ทับทิม (ยาแก้ถ่ายท้อง, ท้องเสีย) น้อยหน่า (ยาฆ่าเหา) ข่า (แก้โรคเกลื้อน, ท้องอืด) ขิง (แก้ไอ, ขับลม) หญ้าหนวดแมว (ขับปัสสาวะ, ขับนิ่ว) เล็บมือนาง (ถ่ายพยาธิ) พลู (แก้ลมพิษ, โรคกลาก) กานพลู (แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก) กะเพรา (แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เพราะแกสในกระเพาะ ลำไส้) บอระเพ็ด (ยาเจริญอาหาร, ลดไข้) ใบชา (ยาระบายอ่อนๆ, ลดความอ้วน) สะแก (ขับถ่ายพยาธิ) ฟ้าทะลายโจร (แก้บิด, ท้องเสีย) เทียนกิ่ง (ฆ่าเชื้อโรคในแผลเป็นหนอง) เม็ดแมงลัก (ลดความอ้วน, ยาระบายอ่อนๆ)

๒๗๙ ๒๗๙ ๒๘๐ ๒๘๐ ๒๘๐ ๒๘๑ ๒๘๑ ๒๘๒ ๒๘๒ ๒๘๒ ๒๘๓ ๒๘๓ ๒๘๓ ๒๘๔ ๒๘๔ ๒๘๔ ๒๘๕ ๒๘๕ ๒๘๕ ๒๘๖ ๒๘๖


สวดมนต์ภาวนา นำมาซึ่ง สติปัญญา บารมี ความสุข ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรือง ความปราศจากความทุกข์ ความสุขอันสูงสุด คือ นิพพาน

ภาค

สวดมนต์ภาวนา


สวดมนต์ภาวนา คือ ต้นตอแห่งความสุข ความสำเร็จ การสวดมนต์เป็นการทำบุญด้วยใจ ไม่ต้องลงทุนเป็นเงินทอง แต่ได้สุขเป็นกำไรมหาศาล เพราะการสวดมนต์ช่วยให้จิตใจสงบ เกิดสติ ปัญญา บทสวดมนต์แต่ละบทเป็นของบริสุทธิ์ ทรงคุณค่า มีพลังวิเศษ มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว จงสวดด้วยความเชื่อมั่น ด้วยจิตอันสงบเถิด แล้วท่านจะเห็นเองและรู้เองว่าการสวดมนต์มีผลดีอย่างไร จงเริ่มสวดตั้งแต่วันนี้เถิด อย่ามัวชักช้าเลย ชีวิตนี้มีเรื่องราว มากมายนัก อะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตบ้างเราไม่อาจรู้ได้ พระพุทธเจ้าทรง สอนไม่ให้ประมาท เพราะทรงเล็งเห็นความไม่แน่นอนของชีวิต การ เตรียมพร้อมไม่ใช่การกลัวเกินกว่าเหตุ เป็นการกระทำของคนฉลาด การ สวดมนต์คือการล้อมคอกก่อนวัวหาย เป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ การสร้างบุญเป็นการสั่งสมบารมีให้แก่ตน สวดทุกวัน บารมีก็เพิ่มทุกวัน ยิ่งสวดมากบารมีก็ยิ่งมาก ผู้ที่มีบารมีมาก ชีวิตจะไม่ตกต่ำ ห่างไกลจากความเดือดร้อน หวังปรารถนาสิ่งใดก็จะบรรลุผลสำเร็จ ดังเช่นพระโพธิสัตว์ที่ข้ามพ้นทะเลทุกข์ ได้ด้วยพระบารมี ฉะนั้น ข้อคิด มนต์ แปลว่า ปรึกษา, ตรึกตรอง มีความหมาย ๕ อย่าง คือ ๑. เป็นคำสำหรับสวดเพือ่ ให้เกิดความศักดิส์ ทิ ธิ์ ๒. เป็นคำสวดระลึกถึงพระรัตนตรัย ๓. เป็นเครือ่ งสร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง ๔. เป็นความขลัง ทรงพลานุภาพ ๑๐๘ ประการ ๕. เป็นเครือ่ งเตือนใจไม่ให้ประมาท

16

สวดมนต์ สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข


อานิสงส์ของการสวดมนต์* บุคคลที่หมั่นสวดมนต์ด้วยจิตอันเป็นสมาธิ และมีความเชื่อมั่นดีแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ ผลแห่งความดี ดังต่อไปนี้

๑. ความทุกข์ทั้งหลายย่อมหมดไป ความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จ ความมั่นคง ในหน้าที่การงาน การศึกษา ฐานะ ครอบครัว และความรักจะบังเกิดมีแก่ตน ๒. ย่อมเป็นที่รักของเทพยดา มนุษย์ และอมนุษย์ทั้งหลาย ๓. เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมติดตามรักษาคุ้มครองให้พรตลอดเวลา ๔. ป้องกันเคราะห์เวร เคราะห์กรรม, ทำลายอุปสรรค, ป้องกันศัตรู, ป้องกัน ภัยพิบัติ, ป้องกันภูตผีปีศาจวิญญาณร้าย และมนต์ดำคุณไสยทั้งหลาย ที่จะมีมาถึงตัว ๕. กลับเหตุการณ์ที่เลวร้ายให้กลายเป็นเรื่องดี ๖. กระทำสิง่ ทีเ่ ป็นไปโดยชอบประกอบโดยกุศลธรรม สิง่ นัน้ ย่อมสำเร็จได้โดยเร็วพลัน ๗. บุญกุศลความดีทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมความชั่วทั้งหลายย่อมหมดไป ๘. สภาพจิตที่หงุดหงิดเศร้าหมองกระวนกระวายย่อมหมดไป สภาพจิตย่อม เบิกบานแจ่มใส สดชื่นตลอดเวลาแม้มีปัญหาก็ตาม ๙. หลับเป็นสุขตื่นมาก็เป็นสุข ไม่ฝันร้าย เห็นแต่สิ่งที่ดีที่เป็นมงคลแก่ชีวิต ๑๐. ย่อมเป็นผูไ้ ม่ประมาทในการดำเนินชีวติ รูบ้ าปบุญคุณโทษ, ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ ๑๑. จิตย่อมมีพลังเป็นสมาธิสงบได้โดยเร็ว ๑๒. ได้ดวงตาเห็นธรรม (รู้แจ้งเห็นจริงในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๑๓. เมื่อละสังขารจากโลกนี้ไป จิตวิญญาณย่อมไปสู่สุคติในสัมปรายภพ ๑๔. มีบารมีสนับสนุนให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ หรือชาติหน้าในระยะเวลา อันใกล้นี้

ข้อคิด

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุง้ ก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มเี ลย” พุทธพจน์ (สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ ข้อ ๒๔๙) * คัดจากหนังสือ มนต์ชีวิต โดย พระมหาปสัณห์ : สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง. สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

17


คำแนะนำ และข้อปฏิบัติในการสวดมนต์* ๑. ปรับใจให้มคี วามเชือ่ ความศรัทธาในบทสวดให้มากทีส่ ดุ ว่า บทสวด ที่จะสวดนี้เป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นของศักดิ์สิทธิ์จริง ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตนและ คนอื่น เป็นที่พึ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิต ๒. ใช้ ปั ญ ญาพิ จ ารณาให้ เ ห็ น ว่ า ชี วิ ต นี้ ไ ม่ มี อ ะไรแน่ น อน มี แ ต่ อุปสรรค มีแต่ปัญหา มีแต่ความทุกข์มากมายเกิดขึ้นอยู่เสมอ บุญมีจริง บาปมีจริง ทุกชีวิตล้วนต้องการความสุข ความสำเร็จและสมหวังทั้งนั้น การสวดมนต์เป็น วิธีการหนึ่งที่เป็นเหตุให้ได้มาซึ่งความสุข ความสำเร็จมาสู่ชีวิตเราได้ คนไม่รู้จัก สวดมนต์จะมีแต่ความทุกข์ ความเดือดร้อนเกิดขึ้นกับชีวิตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ๓. จงมีความอดทน เพียรพยายามสวดให้ได้ทุกวัน อย่าให้ขาด มากน้อยขอให้ได้สวด การสวดมนต์นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก มักมีอุปสรรคเกิดขึ้น ขัดขวางต่อผู้สวด ยิ่งถ้าเป็นคนมีกรรมมีเวร ยิ่งลำบาก แต่เป็นการลำบากในช่วง สองสามสัปดาห์แรกเท่านั้น ผ่านไปได้ก็จะดีรู้สึกสบาย ไม่อึดอัด ไม่ทรมาน ขอจง อดทน มีสัจจะให้มากไว้ เตือนตัวเองอยู่เสมอๆ ว่าเราต้องทำได้ เพื่อชีวิตของเรา ๔. ไม่ต้องอธิษฐานหรือปรารถนาอะไรทั้งสิ้น การสวดมนต์ไม่ใช่การ อ้อนวอนต่อรองเรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการสร้างบุญ สร้างบารมี เพิ่มพลังบุญ พลั ง ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ ห้ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ตนเอง การสวดมนต์ เ ป็ น การทำเหตุ ปั จ จั ย จัดระบบชีวิตให้ดี ให้ถูกต้องเท่านั้น ส่วนผลนั้นจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เหมือน การรับประทานยา เหมือนการปลูกต้นไม้ ขอเพียงรับประทานให้ตรงตามเวลา โรคย่อมหาย ดูแลต้นไม้ให้ดีถูกต้องตามกรรมวิธี ผลดอกย่อมเกิดขึ้นเองอย่าง แน่นอน การสวดมนต์ก็เป็นเช่นนั้น ๕. จะสวดเวลาไหน ที่ไหนก็ได้ (ยกเว้นในห้องน้ำ) จะอยู่ในอิริยาบถ ไหนก็ได้เช่นเดียวกัน ขอให้ใจเราพร้อมและมีเวลาสะดวก จะสวดวันละกี่ครั้งก็ได้ จงสวดเถิ ด ไม่ มี ค วามผิ ด ใดๆ ทั้ ง สิ้ น ถ้ า มีห้ อ งพระในบ้ า นก็ ส วดในห้ อ งพระ จัดเครื่องสักการบูชามีดอกไม้ ธูป เทียน ตามสมควรได้ยิ่งเป็นสิ่งที่ดี * คัดจากหนังสือ มนต์ชีวิต โดย พระมหาปสัณห์ : สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.

18

สวดมนต์ สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข


๖. จะสวดในใจ หรือสวดออกเสียงก็ได้แล้วแต่กาลเวลาและสถานที่ จะพนมมือหรือไม่พนมมือก็ได้ อาจจะยกมือไหว้สักครั้งก่อนสวดก็ได้เป็นการดี ถ้าอยู่ในบ้าน ในสถานที่พร้อมก็ควรพนมมือสวด ควรกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย (อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ..., สฺวากขาโต..., สุปะฏิปันโน...) และตั้งนะโม... ๓ ครั้ง ก่อนสวดทุกๆ ครั้ง ที่มีการสวดมนต์บทใดบทหนึ่ง ๗. จะถือหนังสือดูสวดก็ได้ แต่ถ้าจะดีควรพยายามท่องจำให้ได้ใน แต่ละบท หรือบทใดบทหนึ่งที่ตนเองชอบ เป็นสิ่งที่ดีมาก จะได้เป็นสมบัติชีวิต สมบัติสมองติดตัวไว้ และสมองก็จะได้จดจำพระคาถาไว้ แทนที่จะจำแต่ปัญหา แต่เรื่องที่ไม่ดีเก็บไว้ให้รกสมองเปล่าๆ ๘. หากมี ปั ญ หาชี วิ ต เกิ ด ขึ้ น ไม่ ว่ า เรื่ อ งอะไรก็ ต าม ห้ า มนึ ก โทษ น้อยใจ เสียใจ ตำหนิ บ่นว่าการสวดมนต์ไม่เห็นช่วยอะไร บทสวดไม่เห็นศักดิ์สิทธิ์เด็ดขาด ให้นึกเสียว่า กรรมเวรเรายังมี บารมีความเพียรยังน้อย แยกให้ออก ว่านี่คือปัญหา นี่คือบุญ จงปักใจเชื่อเถิดว่าปัญหาที่มีอยู่ย่อมหมดไป เราจะต้อง พบทางออกที่ดีแน่นอน จงตั้งสติให้ดีแล้วสวดไป อย่าได้ท้อแท้ล้มเลิก ๙. อาจมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับการสวดมนต์ของเรา ก็ไม่ควรกล่าวร้าย นึกเกลียดชัง โกรธเขาเป็นอันขาด ใช้ปัญญาพิจารณามองให้เห็นถึงสัจธรรม ความจริงของโลกว่าคนเรามีบุญ มีบารมี มีสติปัญญา มีเวรมีกรรมต่างกัน จงแผ่ เมตตาให้เขาเถิด ให้เขาได้มีโอกาสทำเช่นเราบ้าง การทำแต่ละอย่างนั้นจะให้มีคน เห็นดีด้วยไปหมดนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ๑๐. เรื่องความหมายหรือคำแปลนั้น ถ้ารู้ได้ก็ดี (หาอ่านได้ในหนังสือ มนต์พิธีแปลทั่วไป) ถ้าไม่รู้ก็ไม่เป็นไรอย่าวิตกกังวลสนใจกับคำที่คนมักกล่าวว่า “สวดแบบนกแก้ว นกขุนทอง” เลย เพราะคนสวดกับนกสวดนั้นย่อมต่างกัน โดยสิ้นเชิง การสวดมนต์นั้นขอให้มีจิตจดจ่อ มีความเชื่ออยู่ที่อักขระ อานิสงส์ ย่อมมีมาก เพราะขณะสวดนั้นสภาพจิตย่อมเป็นบุญกุศลตลอด

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

19


แนะนำวิธีอ่าน (เฉพาะในเล่มนี้) คำในภาษาบาลีนั้น มีคำหลายคำที่มีวิธีอ่านเฉพาะ คือ ออกเสียงกึ่ง มาตรา เช่น คำว่า สฺวากขาโต เวลาอ่านออกเสียง จะไม่อ่าน สะ-หวาก-ขา-โต คำว่า สะ-หวาก สะ จะออกเสียง อะ สั้นและเร็วกึ่งมาตรา ควบกับพยางค์หลัง เป็น สะหวาก คำที่อ่านออกเสียงกึ่งมาตราในหนังสือเล่มนี้ ใช้เครื่องหมายพินทุ (.) ใต้พยัญชนะที่ออกเสียงกึ่งมาตรา ซึ่งมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ๑. เครื่องหมายพินทุใต้พยัญชนะต้น ให้ออกเสียง อะ ควบกับคำ พยางค์หลังกึ่งมาตรา เช่น สฺวากขาโต สะพฺยัญชะนัง คฺรีเมขะลัง ตฺวัง เทฺว เตฺววะ

อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า

สะหวาก-ขา-โต สะ-พะยัน-ชะ-นัง คะรี-เม-ขะ-ลัง ตะวัง ทะเว ตะเว-วะ

(ออกเสียง สะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง พะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง คะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง ตะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง ทะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง ตะ กึ่งมาตรา)

๒. เครื่องหมายพินทุใต้พยัญชนะตาม คือเป็นตัวสะกด ให้อ่านเป็นตัว สะกดของพยัญชนะตัวหน้า พร้อมออกเสียง อะ กึ่งมาตราควบกับพยางค์หลัง ด้วย เช่น กัตฺวา กัลฺยาณัง คันตฺวา ตัสฺมา 20

อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า อ่านว่า

กัด-ตะวา กัน-ละยา-ณัง คัน-ตะวา ตัด-สะหมา

สวดมนต์ สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข

(ออกเสียง ตะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง ละ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง ตะ กึ่งมาตรา) (ออกเสียง สะ กึ่งมาตรา)


ทำความเข้าใจการสวดมนต์ทำวัตร* ร* พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เราควรจะมีความเข้าใจที่ดี สำหรับคำว่า “ทำวัตร” ไม่ให้เป็นเรื่องการอ้อนวอนบวงสรวง ไม่แต่งตั้งพระพุทธองค์ให้เป็นผู้รับการอ้อนวอนบวงสรวงโดยไม่รู้สึกตัว การทำวัตรเช้าทำวัตรเย็น หรือการสวดมนต์เช้าเย็นนั้น ไม่ได้ทำ เป็นการอ้อนวอนบวงสรวง แต่เป็นไปในลักษณะที่ดีกว่า ประเสริฐกว่า และให้เป็นอยู่ในรูปของไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ทีนี้เรามาดูการ ทำวัตรของเรา ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นนี้ เราต้องสำรวมระวัง บังคับตัว บังคับใจ อย่างนี้ก็เป็น ศีลสิกขา. การทีเ่ รามีจติ ใจจดจ่ออยูใ่ นวัตถุทเี่ ราทำวัตร คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ก็แน่นอนว่าเป็น พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ เช่นนี้เป็น สมาธิสิกขา หรือจิตตสิกขา. ความรู้สึกตัวในลักษณะของสัมปชัญญะ ซึมซาบอยู่ในคุณของ พระพุทธองค์เป็นต้น ว่าเป็นอย่างไร ในบท “พุทฺธวารหนฺตวรตาทิคุณาภิยุตฺโต” แสดงลักษณะที่ต้องรู้ต้องเข้าใจ ให้ซึมซาบแจ่มแจ้ง นี้เป็น ปัญญาสิกขา. ไม่ได้ทำวัตรแต่เพียงปากว่าเหมือนนกแก้วนกขุนทอง หรือบางที ก็ทำวัตรด้วยความจำใจ ทำด้วยใจที่เลื่อนลอยไปในที่ต่างๆ ปากก็ว่าไป อย่างนกแก้วนกขุนทอง อย่างนี้จะเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ไปไม่ได้ * คัดย่อจากบทธรรมบรรยายเรื่อง “ทำวัตร คืออะไร” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

21


ทีนี้การทำวัตรของเรา เหมือนกับการไปเฝ้าพระพุทธองค์เช้าเย็นเป็นประจำ เดี๋ยวนี้พวกเราก็ยังไปเฝ้าพระพุทธองค์จริงๆ องค์แท้ที่ เหลืออยู่โดยพระคุณ ในลักษณะที่ว่าธรรมะคือพระองค์ พระองค์คือ ธรรมะ :- “ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็น ตถาคต” ในการทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นนี้ อย่างน้อยก็ได้ ๓ เรื่อง คือ เป็น การรักษาไว้ซึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญา ทุกลมหายใจเข้าออก ทุกอิริยาบถ อย่างหนึ่ง เป็นการขยันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ประกอบไปด้วย พระมหากรุณาธิคุณแก่เราอย่างใหญ่หลวง เราก็ไม่ขี้เกียจที่จะไปเฝ้าทุก เช้าทุกเย็น อย่างนี้เป็นต้น นี้ก็อย่างหนึ่ง แล้วก็เป็นโอกาสให้ชำระชะล้าง เหมือนกะอาบน้ำให้แก่จิตใจก่อนจะไปเฝ้า เป็นการแสดงอาบัติในธรรม เป็นต้น นี้ก็อีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น ขอได้มีการสำรวมจิตใจ สำรวมทุกอย่างทุกประการ ทั้งโดยปากที่สวดร้อง และทั้งโดยจิตใจที่ทำความรู้สึกคิดนึกในทางสติ สัมปชัญญะ กระทั่งรู้ความหมายของคำที่ทำวัตร และมีความรู้สึกซึมซาบ เอิบอาบ ปีติปราโมทย์ สว่างไสว แจ่มแจ้งได้โดยแท้จริง จึงขอร้องโดยแท้จริง อย่าได้เข้าใจว่า การทำวัตรเช้าเย็น เป็น เรื่องเล็กน้อย ให้ถือว่าเป็นบทเรียนที่ไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าเราจะบรรลุเป็น พระอรหันต์.

พุทธทาสจักอยู่ไป ไม่มีวันตาย 22

สวดมนต์ สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข


ทำวัตรเช้า บทบูชาและนมัสการพระรัตนตรัย โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;

สฺวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว ;

สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว ;

ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง, อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ, ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร ;

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว, ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ;

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

23


ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา,

ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้าอันเป็นชนรุน่ หลัง ;

อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,

ขอพระผูม้ พี ระภาคเจ้าจงรับเครือ่ งสักการะอันเป็นบรรณาการ, ของคนยากทัง้ หลายเหล่านี้ ;

อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ,

เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนานเทอญ.

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,

พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน. (กราบ)

สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ;

ธัมมัง นะมัสสามิ.

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ;

สังฆัง นะมามิ.

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ)

24

สวดมนต์ สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข


บทปุพพภาคนมการ

(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ.

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ; ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ; ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง. (กล่าว ๓ ครั้ง)

๑ พุทธาภิถุติ (หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส.) โย โส ตะถาคะโต, พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด ; อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส ; สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ; วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ; สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ; โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ; อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสารถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ;

สัตถา เทวะมะนุสสานัง,

เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ; พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ; สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

25


ภะคะวา, เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ; โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพฺรัหฺมะกัง สัสสะมะณะพฺราหฺมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตฺวา ปะเวเทสิ,

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้ง ด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว, ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดา, มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์, พร้อมทั้ง เทวดา และมนุษย์ให้รู้ตาม ;

โย ธัมมัง เทเสสิ,

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว ; อาทิกัลฺยาณัง, ไพเราะในเบื้องต้น ; มัชเฌกัลฺยาณัง, ไพเราะในท่ามกลาง ; ปะริโยสานะกัลฺยาณัง, ไพเราะในที่สุด ;

สาตถัง สะพฺยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พฺรัหฺมะจะริยัง ปะกาเสสิ,

ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง, พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ;

ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ,

ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ;

ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ.

ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า. (กราบระลึกถึงพระพุทธคุณ)

26

สวดมนต์ สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข


๒ ธัมมาภิถุติ (หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส.) โย โส สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ; สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ, พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ; อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ; เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า, ท่านจงมาดูเถิด ; โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ; ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ;

ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,

ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น ;

ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ.

ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า. (กราบระลึกถึงพระธรรมคุณ)

๓ สังฆาภิถุติ (หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.) โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว ;

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว ; สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

27


ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ;

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว ; ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,

คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ ;

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ; อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ; ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ; ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ; อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ,

เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ;

ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,

ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น ;

ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ.

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า ; (กราบระลึกถึงพระสังฆคุณ)

28

สวดมนต์ สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข


๔ รตนัตตยัปปณามคาถา (หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส.) พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว, พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ ;

โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,

พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด ;

โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,

เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก ;

วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,

ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ ;

ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน,

พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป ;

โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก,

จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด ;

โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน,

ซึ่งเป็นตัวโลกุตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตระนั้น ;

วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,

ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ ;

สังโฆ สุเขตตาภฺยะติเขตตะสัญญิโต,

พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย ;

โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก,

เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด ; สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

29


โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส,

เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี ;

วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,

ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ ;

อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง, ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา, มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา.

บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม คือพระรัตนตรัยอันควรบูชา ยิ่งโดยส่วนเดียว, ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้, ขออุปัทวะทั้งหลาย จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจากบุญนั้น.

๕ สังเวคปริกิตตนปาฐะ อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน,

พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ ;

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;

ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,

และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ ;

อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,

เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ;

สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต,

เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ ;

30

สวดมนต์ สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข


มะยันตัง ธัมมัง สุตฺวา เอวัง ชานามะ,

พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า ; ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ; ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ ; มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ;

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,

แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ;

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,

ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,

มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ;

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา.

ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ; เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-

รูปูปาทานักขันโธ,

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือรูป ;

เวทะนูปาทานักขันโธ,

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา ; สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

31


สัญญูปาทานักขันโธ,

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา ;

สังขารูปาทานักขันโธ,

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร ;

วิญญาณูปาทานักขันโธ,

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ ;

เยสัง ปะริญญายะ,

เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง ;

ธะระมาโน โส ภะคะวา,

จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ;

เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,

ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก ;

เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ,

อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็นไปในสาวก ทั้งหลาย, ส่วนมาก, มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า :รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง ; เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง ; สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง ; สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง ; วิญญาณัง อะนิจจัง, วิญญาณไม่เที่ยง ; 32

สวดมนต์ สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข


รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน ; เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน ; สัญญา อะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน ; สังขารา อะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน ; วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน ; สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ; สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ. ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ดังนี้ ; เต (หญิงว่า ตา) มะยัง โอติณณามฺหะ, พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว ; ชาติยา, โดยความเกิด ; ชะรามะระเณนะ, โดยความแก่ และความตาย ;

โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ,

โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย ; ทุกโขติณณา, เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว ; ทุกขะปะเรตา, เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว ;

อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ, ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้ ;

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

33


(สำหรับภิกษุ-สามเณรสวด)

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง,

เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรูช้ อบได้โดยพระองค์เอง แม้ปรินพิ พานนานแล้ว พระองค์นนั้ ;

สัทธา อะคารัสฺมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา,

เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว ;

ตัสฺมิง ภะคะวะติ พฺรัหฺมะจะริยัง จะรามะ,

ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ;

ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา,*

ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ของภิกษุทั้งหลาย ;

ตัง โน พฺรัหฺมะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ, ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ. (สำหรับคฤหัสถ์สวด)

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ ;

* สามเณรสวดพึงเว้นประโยคนี้ หรือจะเปลี่ยนก็ได้ว่า สามะเณรานัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา แปลว่า ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของสามเณรทั้งหลาย

34

สวดมนต์ สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข


ธัมมัญจะ สังฆัญจะ, ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย ; ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ,

จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง ; สา สา โน ปะฏิปัตติ, ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย ;

อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ. จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.

ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ (หันทะ มะยัง ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส.)

(บทพิจารณาเครื่องนุ่งห่ม) ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ,

เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วนุ่งห่มจีวร ; ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว ; อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพื่อบำบัดความร้อน ;

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ, เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ;

ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง.

และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ อันให้เกิดความละอาย. สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

35


(บทพิจารณาอาหาร) ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ,

เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต ; เนวะ ทะวายะ, ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ; นะ มะทายะ, ไม่ให้เป็นไปเพือ่ ความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย ; นะ มัณฑะนายะ, ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ ; นะ วิภูสะนายะ, ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง ; ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา, แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้ ; ยาปะนายะ, เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ ; วิหิงสุปะระติยา, เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย ;

พฺรัหฺมะจะริยานุคคะหายะ,

เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์ ;

อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,

ด้วยการทำอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือความหิว ;

นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,

และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น ;

ยาตฺรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ.

อนึง่ ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนีด้ ว้ ย ความเป็นผูห้ าโทษ มิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย จักมีแก่เรา ดังนี้.

36

สวดมนต์ สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข


(บทพิจารณาที่อยู่อาศัย) ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ,

เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะ ; ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว ; อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพื่อบำบัดความร้อน ;

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ, เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ;

ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง. เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ, และเพียงเพื่อเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา.

(บทพิจารณายารักษาโรค) ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง ปะฏิเสวามิ, เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคเภสัชบริขาร อันเกื้อกูลแก่คนไข้ ;

ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,

เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว มีอาพาธต่างๆ เป็นมูล ;

อัพฺยาปัชฌะปะระมะตายาติ.

เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้. สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

37


ปัตติทานคาถา (หันทะ มะยัง ปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส.) ยา เทวะตา สันติ วิหาระวาสินี, ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง,

เทพยดาทั้งหลายเหล่าใด มีปกติอยู่ในวิหาร สิงสถิตที่เรือน พระสถูป ที่เรือนต้นโพธิ์ ในที่นั้นๆ ;

ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุ ปูชิตา โสตถิง กะโรนเตธะ วิหาระมัณฑะเล,

เทพยดาทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้อันเราทั้งหลายบูชาแล้วด้วย ธรรมทาน ขอจงทำซึ่งความสวัสดีความเจริญในมณฑลวิหารนี้ ;

เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ ภิกขะโว สารามิกา ทานะปะตี อุปาสะกา,

พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นพระเถระก็ดี ที่เป็นปานกลางก็ดี ที่เป็นผู้บวชใหม่ก็ดี อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นทานาธิบดีก็ดี, พร้อมด้วยอารามิกชนก็ดี ;

คามา จะ เทสา นิคะมา จะ อิสสะรา สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุ เต,

ชนทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นชาวบ้านก็ดี, ที่เป็นชาวต่างประเทศก็ดี, ที่เป็นชาวนิคมก็ดี, ที่เป็นอิสระเป็นใหญ่ก็ดี, ชนทั้งหลายเหล่านั้น จงเป็นผู้มีสุขเถิด ;

38

สวดมนต์ สามัญประจำบ้าน ฉบับระดมธรรมสันติสุข


ชะลาพุชา เยปิ จะ อัณฑะสัมภะวา สังเสทะชาตา อะถะโวปะปาติกา,

สัตว์ทั้งหลายที่เป็นชลาพุชะกำเนิดก็ดี ที่เป็นอัณฑชะกำเนิดก็ดี, ที่เป็นสังเสทชะกำเนิดก็ดี, ที่เป็นโอปปาติกะกำเนิดก็ดี ;

นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง ปะฏิจจะ เต สัพเพปิ ทุกขัสสะ กะโรนตุ สังขะยัง, สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น ได้อาศัยซึ่งธรรมอันประเสริฐ เป็นนิยานิกธรรม, ประกอบในอันนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจาก สังสารทุกข์, จงกระทำซึ่งความสิ้นไปพร้อมแห่งทุกข์เถิด ;

ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา,

ขอธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายจงตั้งอยู่นาน, ขอบุคคลทั้งหลาย ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมจงดำรงอยู่นาน ;

สังโฆ โหตุ สะมัคโค วะ อัตถายะ จะ หิตายะ จะ, ขอพระสงฆ์จงมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน, ในอันทำซึ่งประโยชน์ และสิ่งอันเกื้อกูลเถิด ;

อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม สัพเพปิ ธัมมะจาริโน,

ขอพระธรรมจงรักษาไว้ซึ่งเราทั้งหลาย, แล้วจงรักษาไว้ซึ่งบุคคลผู้ประพฤติซึ่งธรรมแม้ทั้งปวง ;

วุฑฒิง สัมปาปุเณยยามะ ธัมเม อะริยัปปะเวทิเต,

ขอเราทั้งหลายพึงถึงพร้อม ซึ่งความเจริญในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศไว้แล้ว ;

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

39


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.