อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณและคาถามหาเมตตาใหญ่

Page 1


อานิสงส์ของการสวด

พระพุทธคุณ พาหุง มหากาฯ และ

พระคาถามหาเมตตาใหญ่

บารมีชีวิต ลิขิตขึ้นเองได้ ด้วยการหมั่นสวดมนต์ภาวนา จักนำมาซึ่งสติปัญญา ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง ความปราศจากทุกข์ และพบความสุขอันสูงสุดคือพระนิพพาน รวบรวม/เรียบเรียงโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง 


อนุโมทนาทานกถา

ทานมีหลายทาน ยกตัวอย่าง คนกำลังจะจมน้ำเราก็ช่วยเขา เรา ได้บุญ นี่ก็เป็นทาน เขาไม่มีข้าวปลาอาหารรับประทาน เราก็เอาไปให้ เขา เขาเป็นคนยากไร้ไม่มีผ้าผ่อนท่อนสไบห่ม เราก็เอาไปให้ นี่ก็เรียกว่า ทานอีกเหมือนกัน ก็ช่วยเหลือกันไป ตามตำราเขาว่า เรายิ่งให้ยิ่งได้ แต่ ถ้าเราหวงมันอด หมดก็ไม่มีมา แต่ว่าทานอะไรก็ไม่ล้ำเลิศประเสริฐ เท่ากับการให้ความดีเป็นทาน หรือให้ธรรมะเป็นทาน การที่เราช่วยให้เขาเป็นคนดีนะดีที่สุดแล้ว เพราะฉะนั้น ทาน อะไรหนอ ทานน้ำใจใสสะอาด ปราศจากมลทินที่เราให้จะประเสริฐ เท่ากับให้ธรรมะ ให้ธรรมะเป็นทานนี่ประเสริฐที่สุด การทำคนให้เป็นคนดี ให้ละชั่วประพฤติดี รักษาจิตให้ผ่องใส นั่นแหละคือทานชั้นสูง แต่การจะช่วยคนอื่นให้ละชั่วประพฤติชอบได้ ก็ด้วยเรามีโอกาสได้ชี้แจงให้เขาได้ประพฤติธรรมในพระพุทธศาสนาบ้าง ด้วยการพิมพ์หนังสือแจกจ่ายเป็นธรรมทานบ้าง เพราะการช่วยให้โจร เป็นคนดี ให้คนชั่วเป็นคนดีได้ และให้คนไม่มีความรู้มีความรู้ได้ เป็นการ ให้ทานอันประเสริฐยิ่ง สมจริงตามพระพุทธดำรัสว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง ขออำนวยพร พระธรรมสิงหบุราจารย์


อานิสงส์ ของการสวดพระพุทธคุณ การสวดมนต์ไหว้พระ เป็นธรรมประจำชีวิต เป็นข้อคิดประจำ ชี วิ ต เกิ ด ผลผลิ เ พื่ อ ความงอกงาม สร้ า งความดี ใ ห้ แ ก่ ต น ผลกำไร เป็นความดี เพื่อมอบให้เพื่อนร่วมชาติร่วมโลกได้อยู่ด้วยความโชคดี

ทุกๆ ท่าน ขอให้ ท่ า นพร้ อ มสมาชิ ก ในครอบครั ว ได้ ส วดมนต์ กั น ทุ ก คน ทุกครอบครัว เพื่อเป็นมรดกในชีวิต จะเกิดฐานะดี มีปัญญา มีความสุข ความเจริ ญ ยิ่ ง ๆ ขึ้ น ไปในชี วิ ต ขอให้ ท่ า นชั ก ชวนลู ก หลานทุ ก ๆ คน สวดมนต์ก่อนนอน ถ้าท่านทั้งหลายมีความตั้งใจ ศรัทธา และเชื่อมั่น ลูกหลานได้สวดมนต์ตามหนังสือนี้แล้ว ผลที่ได้รับจากการสวดมนต์นี้ ๑. ลูกหลานจะมีระเบียบวินัยที่ดี ๒. ลูกหลานจะไม่เถียง จะเคารพเชือ่ ฟังพ่อแม่ เขาจะรูว้ า่ เขาเป็น เด็กหรือผู้ใหญ่ จะวางตัวได้เหมาะสม ๓. เมื่อเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว ก็จะเป็นลูกหลานที่ดีของพ่อแม่ เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม และประเทศชาติ ๔. ผู้ที่สวดและปฏิบัติเป็นประจำจะเจริญรุ่งเรืองวัฒนาสถาพร จะรวย จะสวย จะดีมีปัญญา จะสมประสงค์ในสิ่งที่ดีงาม ตลอดไปทุกประการ ขออำนวยพร

พระธรรมสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี


สร้างพุทธคุณให้เกิดในตน มีผลพ้นบ่วงมาร

บทสวดมนต์ “อิส๎วาสุ พาหุง มหากา” หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็น ทางการว่ า “พุ ท ธชั ย มงคลคาถา” นั บ ว่ า เป็ น บทสวดที่ พุ ท ธศาสนิ ก ชน ได้ยินได้ฟังกันจนคุ้นเคยมาเป็นเวลาช้านาน เพราะในงานบุญงานกุศลต่างๆ พระท่านก็นิยมสวดบทนี้อยู่เป็นประจำ เพราะเชื่อกันว่าบทสวดนี้มีอานุภาพ นำสรรพสิ ริ ม งคลมาให้ แ ก่ ผู้ เ ป็ น เจ้ า ภาพรวมถึ ง ผู้ ม าร่ ว มงานบุ ญ นั้ น ๆ เนื่องจากเป็นคาถาที่นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงผจญและ ชนะมารได้รวมลงไว้ในคาถานี้ อันที่จริง ความเข้มขลังของพลังพระพุทธมนต์บทนี้ อยู่ที่สารธรรม คื อ พุ ท ธวิ ธี ที่ ท รงใช้ เพราะชั ย ชนะของพระพุ ท ธองค์ มิ ใช่ ท รงได้ ม าด้ ว ย พละกำลัง แต่ทรงได้มาด้วยพระคุณธรรมของพระองค์เอง คือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณและพระกรุณาคุณ จึงเป็นชัยชนะที่มิต้องมีการเสียเลือดเนื้อ ของผู้เข้ามาผจญแต่อย่างใด ในชีวิตจริงของเราปัจจุบันนี้ ก็มีอุปสรรคปัญหาต่างๆ ผ่านเข้ามาอยู่ เสมอบางอย่างเป็นผลจากกรรมที่ทำไว้ในอดีตผ่านมา บางคราก็เกิดจาก กรรมปัจจุบัน ดังนั้น หากผู้สวดปรารถนาความเข้มขลังจากตัวคาถามาช่วย ตั ด กรรม ก็ ต้ อ งน้ อ มนำสารธรรมที่ แ ฝงความหมายของแง่ คิ ด ในบทสวด มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่ได้แนะนำไว้ หวังอย่างยิ่งว่า สารธรรมจากคำสอนพร้อมคำสวดในเล่มนี้ จักมีผลให้ท่านทั้งหลายได้เกิด สติปัญญาขจัดปัดเป่าอุปสรรคข้อขัดข้อ งเหล่านั้นให้หมดสิ้นไปจากชีวิต

ด้วยดวงจิตที่ปรารถนาให้ทุกท่านเกิดสันติสุขในใจ ไพยนต์ กาสี (น.ธ. เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ., น.บ.) รวบรวมและเสริมสารธรรมในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง


ตำนานการค้นพบบทสวด ที่มาของบทสวดมนต์ พุทธชัยมงคลคาถา หรือ พาหุง มหากา อาตมาได้ตำรา เก่าแก่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดปาแก้ว

รูปหล่อสมเด็จพระพนรัตน์ วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา

ปัจจุบันเรียกว่าวัดใหญ่ชัยมงคล ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคล คาถาแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่อาตมาทราบและได้ตำรานี้ มันเกิดจากนิมิตที่คืนหนึ่ง อาตมานอนหลับแล้วฝันไปว่า อาตมาได้ เดิ น ไปในสถานที่ แ ห่ ง หนึ่ ง พบพระสงฆ์ รู ป หนึ่ ง ครองจี ว รคร่ ำ คร่ า สมณสารูปเรียบร้อย น่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าท่านเป็นพระอาวุโส ผู้รู้รัตตัญูจึงน้อมนมัสการท่าน ท่านหยุดยืนอยู่ตรงหน้าของอาตมา แล้วกล่าวว่า “ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา ฉัน ต้องการให้เธอไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวาย พระเกียรติแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็นเจ้า เนื่องในวาระที่ สร้างเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชแห่งพม่า และประกาศ ความเป็นอิสระของประเทศไทยจากกรุงหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดู ไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว”

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


สิéนใจเพราะบังคับให้เล่าเรื่องพระป†า จึงขอฝากผูท้ ยี่ งั มีความลังเลสงสัยทีม่ าของบทสวดพาหุง มหากา ไว้ด้วยว่า คัมภีร์ใบลานทองคำจารึกบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถานั้น อาตมาให้สัญญาสมเด็จพระพนรัตน์มาไม่ให้ใครดู ถ้าไปให้ใครดู อาตมาก็สิ้นชีวิตแน่ๆ เหมือนอาจารย์ปถัมภ์ เรียนเมฆ ที่ให้อาตมาเล่า เรื่องพระในป่าให้ฟัง อาตมาบอกว่า ถ้าเล่าแล้วอาจารย์ต้องตายนะ เขาบอกว่า ตายให้ตาย เพราะพระในป่าบอกว่า ตายไปแล้ว ๓ เดือนจะฟน และ บอกว่า วันนี้จะมาสาวไส้หลวงพ่อวัดอัมพวันให้หมด เลยบอกว่า เอ้าตกลง โยมต้องตายนะ เลยเล่าเหตุการณ์ให้ ฟังทีร่ า้ นกวยเตีย๋ วปากบาง เขาอัดเทปไว้ ๕-๖ ม้วน ถ่ายรูปด้วย ขณะเล่า มีงใู หญ่โผล่ขนึ้ มา ไม่มรี ู หลานเขยจะตี ก็หา้ มไว้ ก็นกึ ว่าอาจารย์ปถัมภ์ ต้องตายแน่ พอเล่าเหตุการณ์เรียบร้อย อาจารย์ปถัมภ์เอาพระเกศ พระที่หล่อที่หอประชุมภาวนากรศรีทิพามาขอถ่าย กลับไปเทปก็ไม่ติด รูปก็ถ่ายไม่ติด อาจารย์ปถัมภ์ก็แน่นที่หัวใจ รุ่งเช้าถึงแก่กรรม

บริเวณปากหลุมกลางเจดีย์ ที่หลวงพ่อลงไปพบคัมภีร์

อย่าลืมนะ คนอื่นเขาขึ้นไป ยอดเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลกัน อาตมาโดดลงบ่อ ถ้าขึ้นไม่ได้ ก็ขอตายที่นี่ ที่สมเด็จ พระพนรัตน์ท่านมาเข้าฝนบอก และได้พบคัมภีร์ ตามที่ฝนนั้นด้วย

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


อย่าประมาทความรู้ของพระสง¦์ไทย อาตมาถึงยืนยันว่า พระสงฆ์ไทยเรานีม้ คี วามรูใ้ นพระพุทธศาสนา ลึกซึ้ง กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี พระอุบาลีที่ไปประกาศศาสนาที่ ประเทศศรีลังกา ท่านแปลพระไตรปิฎกจบ ตัง้ แต่นนั้ มา อาตมาจึงให้ญาติโยมสวดมนต์บท “พาหุง มหากา” เป็นประจำ ถ้าเด็กมีศรัทธา สอบได้ที่หนึ่งเลย ถ้าสวดไปซังกะตาย ไม่มี ศรัทธาสวดรับรองไม่ได้ผล

บทสวด พาหุง มหากา เป็นจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดปาแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา ท่านเอาประวัติที่พระพุทธเจ้าผจญมาร มารจนาขึ้น แล้วท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เอาไปเผยแผ่ที่ประเทศศรีลังกา จนได้รับยกย่องมาจนทุกวันนี้

เจดีย์วัดใหญชัยมงคล

ใครไม่เชื่อไม่เป็นไร อาตมาเชื่อหมื่นเปอร์เซ็นต์ เพราะเราฝัน ของเราเอง และโดดลงบ่อได้คัมภีร์นี้มา คนอื่นๆ ขึ้นข้างบน อัญเชิญพระธาตุไปบรรจุและนำพระเครื่อง เมืองพรหมนคร พระเสมาชัย พระเสมาขอ ไปบรรจุไว้ที่เจดีย์วัดใหญ่ ชัยมงคลด้วย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


สวดคาถาอิสîวาสุ พาหุง มหากา อย่างไร ให้เกิดอานิสงส์ การจะสวดคาถาพาหุง มหากา ให้เกิดผลานิสงส์แก่ตนเอง เบื้องต้น ผู้สวดต้องมีศรัทธา คือ มีความเชื่อ ความเลื่อมใสในการสวด ถึงจะเป็นอานิสงส์ในศรัทธาของเขาก่อน บางคนนี่ก็รู้ว่า สวดมนต์ละก็ดี แต่สวดไปมันไม่ดี เพราะอะไร จิตไม่ถึง เข้าไม่ถึงธรรมะ ถ้าจิตมีศรัทธาเลื่อมใสในการสวดแล้ว ๑. เข้าถึง ๒. จะซึ้งใจ ๓. จะใฝ่ดี ๔. จะมีสัจจะ พูดจริงทำจริงเลย นี่ออกมาชัดเลย อานิสงส์มีสัจจะ แล้วก็จะมีกตัญญูกตเวทิตาธรรม

รู้หน้าที่การงานของตน แต่นี่สวดเข้าไม่ถึง แล้วมันจะไปรู้ได้ยังไง จะซึ้งใจไหม ไม่มีศรัทธาเลยสวดจิ้มๆ จ้ำๆ เหมือนพ่อค้า แม่ค้าไป แลกเปลี่ยนของในตลาดกันได้เป็นธุรกิจ การสวดมนต์ไม่ใช่นักธุรกิจ

สวดมนต์นี่ต้องการอะไร ให้ระลึกถึงตัวเอง มีสติสัมปชัญญะให้สวดเข้าไป สวดไป ยังท่องไม่ได้ อ่านไป ยังไม่เป็นสมาธิ อ่านไป อ่านให้ดังๆ ให้คล่องปาก พอคล่องปาก แล้วก็คล่องใจ พอคล่องใจติดใจแล้วมันก็เกิดสมาธิ

นี่... พอเกิดสมาธิ จิตก็เข้าถึง พอถึงหนักเข้าแล้วจะซึ้งใจ พอซึ้งใจแล้ว ซึ้งธรรม ซึ้งธรรมะแล้ว มันจะใฝ่ดี

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


คาถาอิสîวาสุ พาหุง มหากา สวดและใช้อย่างไรให้มีผลในการตัดกรรม๑ การสวดมนต์ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อแนะนำ เป็นการ

ฉีดวัคซีนคุณธรรม คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

เข้าสู่ร่างกายและจิตใจของตน เพราะเนื้อหาของบทสวดมนต์ เป็นการ พรรณนาถึงคุณความดีของพระรัตนตรัยนั่นเอง ดังนั้น เมื่อจิตใจของ ผู้สวดติดตรึงอยู่กับคุณความดี ก็ย่อมไม่มีการที่ทำ คำที่พูด จิตที่คิด ไปในทางชั่วช้า ผลของการพัฒนาจิตให้นิ่งได้ กายนิ่งดี วจีไม่มีว่ากล่าว ให้ร้ายใคร จะสะท้อนย้อนกลับให้ผู้สวดพบแต่สิ่งดีงามในชีวิต การไหว้พระสวดมนต์ ยังเป็นการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือ ขณะสวดมนต์ ผู้ ส วดสำรวมความคึ ก คะนองทางกาย กล่ า ว แต่ ค ำสวดที่ เ ป็ น วาจาสุ ภ าษิ ต จึ ง เป็ น ผู้ มี ป กติ ท างกายา วาจาที่ส งบ เรียบร้อย เรียกว่า ศีล จิตผู้สวดจะจดจ่อกับบทสวดมนต์ไม่วอกแวก จึงทำให้เป็นผู้มี จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวคือการสวด เรียกว่า สมาธิ ในการสวดมนต์ผู้สวดมีความเพียรที่จะละสิ่งเป็นอกุศล (อาตาปี) ระลึ ก ถึ ง แต่ สิ่ ง ดี ง าม (สติ ม า) มี ค วามรู้ ตั ว ว่ า ตนกำลั ง ทำความดี อ ยู่ (สัมปชาโน) ทำให้เกิดความรู้ว่า กรรมดีต้องขยาย กรรมชั่วร้ายต้อง ละวาง เรียกว่า ปัญญา ฉะนั้ น การสวดมนต์ หากผู้ ส วดได้ ท ำด้ ว ยความศรั ท ธาใน เบื้องต้น จะส่งผลให้จิตเกิดเป็นสมาธิตั้งมั่น เป็นฐานให้เกิดปัญญา เพื่อ พัฒนาตนให้เป็นผู้มีความสะอาด สว่าง และสงบได้ต่อไป

เสริมคำอธิบายโดย... ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


บูชาบุคคลผู้ควรบูชา นำพาชีวิตสู่อุดมมงคล

๑. บทบูชาพระรัตนตรัย๑ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ. อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ. อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ.

การบูชาพระรัตนตรัยที่นิยมปฏิบัติกันคือ ใช้... ๑. ธูป ๓ ดอก หมายถึง การบูชาพระพุทธคุณ ๓ ประการ ได้แก่ พระบริสุทธิคุณ พระกรุณาคุณ พระปัญญาคุณ ๒. เทียน ๒ เล่ม หมายถึง การบูชาพระธรรมและพระวินัย อันเป็นคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ๓. ดอกไม้ พวงมาลัย หมายถึง การบูชาคุณของพระสงฆ์ อานิสงส์การบูชาพระรัตนตรัยเนืองนิตย์ทำให้ผนู้ นั้ เป็นคนมีเสน่หแ์ ละแคล้วคลาด ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)

10

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


๑ ๒. บทกราบพระรั ต นตรั ย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ) ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)

พุทธ ร

ัตนะ

ธรรมรัตนะ

สัง¦รัตน

บทนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อ ให้ มี ค ำสำหรั บ ไหว้ พ ระครบทั้ ง ๓ รั ต นะ มี ค ำแปลโดยใจความว่ า “พระผู้ มี พระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มี พระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม, พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติ ดีแล้ว ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์” ผู้กราบไหว้พระรัตนตรัยเป็นนิตย์ ย่อมมีจิตใจ โน้มเอียงไปในการทำความดี (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

11


ความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นมงคลของชีวิต

๓. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า๑ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ. (สวด ๓ จบ)

การน้อมรำลึกถึงพระพุทธเจ้าช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายได้ ดังเช่นครั้งพุทธกาล มีเด็กคนหนึ่งเข้าป่าไปกับพ่อ แต่พ่อมีธุระจึงกลับเข้ามาในเมืองก่อน และกลับไปรับ ลูกไม่ทัน ลูกจึงต้องนอนอยู่ในป่า ตกกลางคืนยักษ์จะมาจับกิน แต่เด็กกำลังนึกถึง พระพุทธเจ้า จึงกล่าวออกไปเพียงว่า นะโม ตัสสะ เท่านี้ก็ทำให้ยักษ์ไม่อาจเข้าใกล้ เด็กคนนัน้ ได้ โบราณาจารย์ กล่าวถึงอานิสงส์การสวดบทนอบน้อมพระพุทธเจ้าไว้วา่ ๑. เพื่อเจริญรอยตามท่านผู้เป็นอริยบุคคล คือ พยายามฝึกฝนอบรมตนให้ พ้นจากกิเลส ๒. เพื่อขอพึ่งอำนาจของพระพุทธองค์ให้คุ้มครองตน ๓. เพื่อช่วยประคับประคองใจให้เกิดมีความอุตสาหะในการดำเนินชีวิต อย่างถูกต้อง ๔. เพื่ อ ชำระใจของตนให้ บ ริ สุ ท ธิ์ ด้ ว ยการน้ อ มรำลึ ก ถึ ง พระคุ ณ ของ พระพุทธองค์นำมาเป็นอารมณ์ในการฝึกสมาธิ (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)

12

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


ขอขมาเม×èอรู้ว่าตนผิด ชีวิตไร้เวรกรรมคอยติดตาม

๔. บทขอขมาพระรัตนตรัย๑

วันทามิ พุทธัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. วันทามิ ธัมมัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. วันทามิ สังฆัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. ๑

การขอขมาลาโทษนี้ เป็นกุศโลบายที่ดีในการทำให้คนรู้จักยอมรับในความผิดพลาด ของตนที่เผลอทำต่อผู้อื่น โดยเฉพาะที่ทำต่อพระรัตนตรัย ผู้ ร วบรวมรู้ สึ ก สำนึ ก ในภู มิ ปั ญ ญาของบรรพชนไทย ที่ คิ ด จารี ต ประเพณี สอดคล้องกับวิถีชีวิตสังคมไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ต้องเกี่ยวข้องกับวัดตั้งแต่ เกิดจนกระทั่งตาย เช่น ประเพณีสรงน้ำพระ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษที่อาจเผลอ ทำล่วงเกินทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ การสวดบทนี้ มุ่งถึงการขออภัยต่อความผิด พลาดพลั้งต่อพระรัตนตรัยที่อาจเกิดจากการเผลอสติคิดในสิ่งไม่ดี เพื่อให้ผู้สวด ไม่มีเวรกรรมติดตัว (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

13


õ. บทไตรสร³คมน์๑ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ทุติยัมปิ พุทธัง ทุติยัมปิ ธัมมัง ทุติยัมปิ สังฆัง ตะติยัมปิ พุทธัง ตะติยัมปิ ธัมมัง ตะติยัมปิ สังฆัง

สะระณัง สะระณัง สะระณัง สะระณัง สะระณัง สะระณัง สะระณัง สะระณัง สะระณัง

คัจฉามิ. คัจฉามิ. คัจฉามิ. คัจฉามิ. คัจฉามิ. คัจฉามิ. คัจฉามิ. คัจฉามิ. คัจฉามิ.

บทนี้เป็นการน้อมรับเอาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เหตุที่ต้องว่า ถึง ๓ ครั้ง เพื่อเป็นการตอกย้ำจิตใจให้ระลึกอยู่เสมอว่า ที่พึ่งอย่างอื่นของเราผู้เป็น ชาวพุทธไม่มี พระรัตนตรัยเท่านั้นเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสูงสุด อานิสงส์การมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เป็นหนทางนำไปสู่การหลุดพ้นจากทุกข์ พ้นจากอบาย คือหนทางที่นำไปสู่ความเสื่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังมีพุทธดำรัส ตรัสไว้ว่า “ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า, พระธรรม, พระสงฆ์เป็น สรณะที่พึ่ง ชนเหล่านั้นละร่างกายมนุษย์นี้ไปแล้วจักไม่ไปสู่อบายภูมิ จักบังเกิด เป็นเทวดาโดยสมบูรณ์” (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)

14

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


เดินตามพระพุทธเจ้า ย่นระยะทางเข้าสู่นิพพานได้

ö. บทสรรเสริญพระพุทธคุ³๑ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง1 สัมมาสัมพุทโธ2 วิชชาจะระณะสัมปันโน3 สุคะโต4 โลกะวิท5ู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ6 สัตถา เทวะมะนุสสานัง7 พุทโธ8 ภะคะวา9ติ. ๑

พระพุทธคุณมี ๙ ประการ ดังนี้ ทรงเป็น...1) พระอรหันต์, 2) ผู้ตรัสรู้อริยสัจธรรม ด้วยพระองค์เอง, 3) ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้แจ้งและความประพฤติดี, 4) ผู้เสด็จไปไม่ ข้องขัด, 5) ผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง, 6) บรมครูผู้ฝึกคนได้อย่างยอดเยี่ยม, 7) ครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์, 8) ผู้รู้ คือ ตรัสรู้อริยสัจธรรม, ผู้ตื่น คือ ทรงตื่นจากความเชื่อ และข้อปฏิบัติที่ยึดถือกันมาอย่างผิดๆ, ผู้เบิกบานด้วยธรรม คือ อาการที่ทรงเกิด ธรรมปีติในภาวะที่ทรงรู้และทรงตื่นนั้น, 9) ผู้มีความฉลาดในการจำแนกธรรม ทำให้ ทรงเลือกธรรมที่จะแสดงได้อย่างเหมาะสม อานิสงส์การสวดบทสรรเสริญพุทธคุณ มีพุทธดำรัสรับรองไว้ในธชัคคสูตรว่า “ภิกษุทั้งหลายเมื่อเธอระลึกถึงเราตถาคตอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป” (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

15


ดำเนินชีวิตตามธรรม ไม่ต้องตกตèำสู่ทีèชัèว

๗. บทสรรเสริญพระธรรมคุ³๑ ส๎วากขาโต1 ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก2 อะกาลิโก3 เอหิปัสสิโก4 โอปะนะยิโก5 ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูห6ี ติ. (อ่านว่า วิน-ยู-ฮี-ติ)

พระธรรมคุณ มี ๖ ประการ ดังนี้ 1) เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, 2) เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติตามพึงเห็นผลได้ด้วยตนเอง, 3) เป็นธรรมที่ปฏิบัติ ได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาลเวลา, 4) เป็นธรรมที่ควรเชิญชวนให้พิสูจน์ได้ด้วยการ ลงมือปฏิบัติ, 5) เป็นธรรมที่เหมาะแก่การปฏิบัติได้ทุกเพศ ทุกวัย, 6) เป็นธรรมที่รู้ ผลการปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เหมือนคนกินข้าว ใครกินคนนั้นก็อิ่ม การปฏิบัติธรรม ก็ เช่ น กั น ผู้ ป ฏิ บั ติ เ ท่ า นั้ น จึ ง จะรู้ แจ้ ง ประจั ก ษ์ ใ นใจของตนเองว่ า สิ่ ง ที่ ต นทำนั้ น เป็นอย่างไร อานิสงส์การสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ มีพทุ ธดำรัสรับรองไว้ในธชัคคสูตร ว่า “ภิกษุทั้งหลายเมื่อเธอระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป” (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)

16

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


ø. บทสรรเสริญพระสัง¦คุ³๑ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ1 อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ2 ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ3 สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ4 ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย5 ปาหุเนยโย6 ทักขิเณยโย7 อัญชะลิกะระณีโย8 อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา9 ติ. ๑

พระสังฆคุณ มี ๙ ประการ ดังนี้ 1) เป็นผู้ปฏิบัติดีตามพระธรรมวินัย, 2) เป็น ผู้ปฏิบัติตรงต่อพระนิพพาน, 3) เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์, 4) เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแก่ภาวะแห่งความเป็นภิกษุ, 5) เป็นผู้มีคุณความดีในตน จึงสมควรรับเครื่องสักการบูชา, 6) เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ, 7) เป็นผู้สมควรรับของ ที่ เขานำมาทำบุ ญ , 8) เป็ น ผู้ มี ข้ อ วั ต รปฏิ บั ติ ที่ ผู้ อื่ น กราบไหว้ ไ ด้ อ ย่ า งสนิ ท ใจ, 9) เป็นผู้ทำให้ผลบุญที่บุคคลทำกับตนมีอานิสงส์มากยิ่งขึ้น อานิสงส์การสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ มีพุทธดำรัสรับรองไว้ในธชัคคสูตร ว่า “ภิกษุทั้งหลายเมื่อเธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป” (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

17


ÁÒÃÌҠ¾‹ÒÂᾌ¤ÇÒÁ´Õ

ù. พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง) (๑) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ค๎รีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ๑. ๑

บทที่ ๑ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธองค์ที่ทรงมีต่อพญามารในวันตรัสรู้ ด้วยธรรมวิธี เรื่องมีอยู่ว่า ในคราวที่พระมหาบุรุษ ประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ที่โคนต้นโพธิ์ เพื่อบำเพ็ญเพียรทางจิต ฝ่ายพญามารพร้อมด้วยเสนามารจำนวนมาก ได้กรีธาทัพ มามุ่งหมายจะทำลายความเพียรของพระองค์ด้วยวิธีต่างๆ แม้กระทั่งรัตนบัลลังก์ก็ กล่าวตู่ว่าเป็นของตน พระมหาบุรุษทรงต่อสู้ด้วยพระบารมี คือ นึกถึงความดีที่ได้ ทรงบำเพ็ญเพื่อการบรรลุโพธิญาณในชาติปางก่อนตามลำดับ ทำให้พญามารพ่ายแพ้ กลับไปในที่สุด บทนี้จึงมีอานุภาพทำให้ชนะศัตรูหมู่มารได้ หากว่าเราตั้งมั่นอยู่ในความดี และใช้สวดภาวนาป้องกันภูตผีปีศาจมิให้มาเบียดเบียน จากชัยชนะครั้งนี้ภายหลังมี การสร้างพระพุทธรูปขึ้นปางหนึ่ง เรียกว่า ปางมารวิชัย (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง) * คำที่ขีดเส้นใต้ ถ้าสวดให้ผู้อื่น เปลี่ยน เม เป็น เต ทุกแห่ง

18

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


(๒) มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ๑. Í´·¹ Í´¡ÅÑé¹ ª¹Ð¤¹´×éÍÃÑé¹ä´Œ

บทที่ ๒ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้า ทีท่ รงมีตอ่ อาฬวกยักษ์ ด้วยขันติธรรมวิธี เรื่องมีอยู่ว่า พระเจ้าอาฬวี กษัตริย์เมืองอาฬวี ได้ทรงออกล่าสัตว์จนพลัดหลง เข้าไปสู่เขตหวงห้ามของอาฬวกยักษ์ จึงถูกจับตัวไว้ และเมื่อจะถูกยักษ์จับกินเป็น อาหารจึงต่อรองว่า ถ้าปล่อยไปจะส่งคนมาให้กินทุกวัน จากนั้นก็มีการส่งคนไปให้ ยักษ์ตนนี้กินอยู่เรื่อยๆ สุดท้ายต้องส่งพระโอรสของพระองค์ไป แต่ชะตาพระโอรสยัง ไม่ถึงฆาต พระพุทธองค์ได้เสด็จไปที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ก่อน และทรมานยักษ์ให้ลด ความอหังการลง แล้วจึงแสดงธรรมโปรดทั้งชาวเมืองและยักษ์ให้อยู่ร่วมกันด้วย เมตตาจิต โดยยักษ์ก็ช่วยคุ้มครองรักษาเมืองให้มนุษย์ ส่วนมนุษย์ก็นำอาหารไปให้ ยักษ์นับถือเหมือนเป็นเทวดารักษาเมืองอาฬวี บทนี้จึงมีอานุภาพเอาชนะใจคนอวดดื้อถือรั้น คือ ต้องใช้ความอดทน อดกลั้นให้มาก เพื่อเอาชนะใจเขา และใช้สวดภาวนาเสกเป่าเมื่อจะกินยาเสริม กำลังใจในการรักษาตัวให้หายเร็วขึ้น จากชัยชนะครั้งนี้ จึงมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น เรียกว่า ปางโปรดอาฬวกยักษ์ (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

1


(๓) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ๑. ÁÕàÁµµÒ¸ÃÃÁ»ÃШÓ㨠áÁŒÊÑµÇ ÃŒÒ¡çäÁ‹á¼ŒÇ¾Ò¹

บทที่ ๓ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่ทรงมีต่อช้างนาฬาคิรี ด้วยเมตตา ธรรมวิธี เรื่องมีอยู่ว่า ช้างนาฬาคิรี ซึ่งกำลังตกมันและถูกมอมเหล้าถูกปล่อยตามคำสั่ง ของพระเทวทัต เพื่อหวังปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าที่กำลังเสด็จออกบิณฑบาตโปรด สัตว์ในพระนครราชคฤห์ พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากยอมสละชีวิตของตนเข้าไปยืนขวางไว้ แต่ช้างตัว ดุร้ายก็สิ้นพยศด้วยอำนาจพระเมตตาธรรมของพระพุทธองค์ ซึ่งทรงกล่าวสอน ให้ช้างนาฬาคิรีมีศีลงดเว้นการเบียดเบียนผู้อื่นเพื่อชาติหน้าจะได้ไปเกิดในภพภูมิ ที่ดีกว่านี้ บทนี้จึงมีอานุภาพทางด้านป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ มิให้มาทำอันตราย คือ ต้องใช้ความเมตตาให้มากๆ จึงจะทำให้คนและสัตว์อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข จากพุทธประวัติตอนนี้ภายหลังมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น เรียกว่า ปางโปรดช้าง นาฬาคิรี (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)

20

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


ÊÌҧã¨ãËŒÁÕÄ·¸Ôì ¾ÔªÔµÊÒþѴÈѵÃÙ

(๔) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ๑. ๑

บทที่ ๔ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่ทรงมีต่อองคุลิมาลโจร ด้วยอิทธิวิธี เรื่องมีอยู่ว่า ในคราวที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร เมือง สาวัตถี ทรงทราบด้วยพระญาณว่า อหิงสกกุมารถูกยุยงให้หลงผิดต้องเที่ยวไปฆ่า ผู้ ค น กลายเป็ น องคุ ลิ ม าลโจร กำลั ง จะทำกรรมหนั ก เพราะผู้ ที่ จ ะถู ก ฆ่ า เป็ น คน สุดท้ายคือมารดาของเขาเอง จึงเสด็จไปโปรดให้เขากลับตัวกลับใจด้วยพุทธวาจา ที่ประทับจิตยิ่งนักว่า “เราหยุดแล้ว แต่ท่านสิยังไม่หยุดจากการทำบาป” ด้วย พุทธดำรัสเพียงเท่านี้มีผลทำให้ขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่ยอมทิ้งอาวุธ เร่งรุดนำชีวิตเข้าสู่ร่มผ้า กาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์ บทนี้จึงมีอานุภาพในการกลับใจศัตรูให้มาเป็นมิตร ด้วยวิธีแนะนำสิ่งดีๆ แก่เขาด้วยเมตตาจิต และใช้สวดภาวนาเวลาไปต่างถิน่ จะมีลาภสักการะ มีคนรักคนหลง จากชัยชนะนี้ภายหลังจึงมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น เรียกว่า ปางโปรดองคุลิมาลโจร (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลีย่ งเชียง) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

21


㹤ÃÒÇÁÕÀÑ ¨Ôµ¹Ôè§äÇŒáŌǴÕàͧ

(๕) กัต๎วานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ๑. ๑

บทที่ ๕ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าทีท่ รงมีตอ่ นางจิญจมาณวิกา ด้วยโสมวิธี เรือ่ งมีอยูว่ า่ นางจิญจมาณวิกาต้องการทำลายความน่าเชือ่ ถือของพระพุทธเจ้า จึงวางแผนนารีพิฆาต โดยตอนค่ำก็ทำทีเดินไปวัด เมื่อลับตาคนก็กลับมานอนที่บ้าน ทำเช่นนี้อยู ่ ๑๐ เดือน วันหนึ่ง ขณะที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรม นางได้ลุกขึ้นพูดว่า ตนตัง้ ท้องกับพระองค์ แต่กไ็ ม่ทรงเหลียวแล ได้แต่อภิรมย์ กลับไม่ทรงอุปการะอะไร เลย พระพุทธเจ้าตรัสเพียงว่า “จิญจมาณวิกา เรือ่ งเช่นนี ้ มีเพียงเราและเธอเท่านัน้ ทีร่ ู้ ว่าเป็นจริงหรือไม่” พระอินทร์สงั่ ให้เทพบุตร ๔ องค์แปลงกายเป็นหนูลงมากัดเชือกที ่ นางผูกท่อนไม้ไว้ที่ท้อง เมื่อแผนแตกจึงวิ่งหนีออกจากพระเชตวัน ผลกรรมที่กล่าวตู่ พระพุทธเจ้าด้วยอสัทธรรมไม่เป็นจริง นางจึงถูกธรณีสบู ไปเกิดในอเวจีมหานรก บทนี้จึงมีอานุภาพในการเอาชนะการถูกใส่ร้ายป้ายสี คำครหานินทา และใช้ สวดภาวนาก่อนขึน้ ศาลหากเป็นการถูกใส่ความ ความจริงจะปรากฏขึน้ ช่วยให้พน้ ผิดได้ (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)

22

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


·Óµ¹ãËŒÁÕ»˜ÞÞÒ ¾Òµ¹¾Œ¹ÀÑÂ

(๖) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ๑. ๑

บทที่ ๖ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าทีท่ รงมีตอ่ สัจจกนิครนถ์ ด้วยพระปัญญาคุณ เรื่องมีอยู่ว่า สัจจกนิครนถ์ถือว่าตนฉลาดกว่าใครในโลก เพราะได้เรียน วาทศิลปจากพ่อแม่มาถึง ๑,๐๐๐ วาทะ ทำให้สามารถกล่าวโต้ตอบปัญหากับคน ทั่วไป จนใครๆ ก็ไม่อยากปะทะฝีปากด้วย ต่อมาสัจจกนิครนถ์ได้ขอท้าประลอง โต้วาทศิลปกับพระพุทธองค์ ได้ถามปัญหามากมาย พระองค์ทรงทายปัญหาของเขา ได้ทั้งหมดด้วยพระปัญญาบารมี บทนี้จึงมีอานุภาพในการเอาชนะการตอบโต้คำถาม ด้วยวิธีใช้เหตุผลที่ ชัดเจนกว่ามาหักล้างคำถามของผู้ถาม และใช้สวดภาวนาก่อนจะขึ้นเวทีปราศรัย ทำให้เวลาพูดจาจะมีคนเชื่อถือ เจรจาสิ่งใดจักสำเร็จดังประสงค์ และทำให้มีปัญญา ในการแก้ปัญหา (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

23


㪌¤¹ãËŒ¶Ù¡§Ò¹ ºÑ¹´Òžº¤ÇÒÁÊÓàÃç¨

(๗) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ๑. ๑

บทที่ ๗ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อนันโทปนันทนาคราช ด้วยวิธี แสดงฤทธิ์ เรือ่ งมีอยูว่ า่ นันโทปนันทนาคราช มีความหลงผิดคิดว่าตนมีฤทธิม์ ากจึงเนรมิตกาย ให้ใหญ่โตพันรอบเขาพระสุเมรุ แล้วยังแผ่พังพานบดบังแสงพระอาทิตย์ปิดบังทางเสด็จ โคจรของพระพุทธองค์จนมืดมิด พระพุทธองค์เมือ่ จะทรงเลือกวิธกี ารปราบพยศ จึงโปรด ให้พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบือ้ งซ้าย ซึง่ เป็นผูม้ ฤี ทธิม์ าก บันดาลอิทธิฤทธิเ์ นรมิต กายให้ใหญ่กว่า กระหวัดรัดรึงทรมานกำราบนันโทปนันทนาคราช จนยอมแพ้ จากพุทธวิธีที่ทรงใช้น ี้ ชี้ให้เห็นว่าในบางปัญหาเราอาจจำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่น มาช่วยคลีค่ ลายสถานการณ์ โดยเลือกคนทีม่ ปี ระสบการณ์ในเรือ่ งนัน้ ๆ มาช่วยเหลือ บทนี้จึงมีอานุภาพในด้านเอาชนะคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมจัด ด้วยการรู้จักเลือก วิธีแก้ไขปัญหาให้เหมาะสม และใช้สวดภาวนาเป่าแก้พิษของสัตว์ร้ายทุกชนิด (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)

24

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


ÁÕà赯 ÁռŠ·Ø¡¤¹¡çÂÍÁÃѺ

(๘) ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พ๎รัห๎มัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ๑. ๑

บทที่ ๘ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าทีท่ รงมีตอ่ ท้าวพกพรหม ด้วยเทศนาญาณวิธี เรือ่ งมีอยูว่ า่ พกพรหม มีความเห็นผิดว่า สรรพสิง่ ทัง้ หลายมีตวั ตนทีม่ นั่ คงยัง่ ยืน และพยายามให้ผู้อื่นเห็นด้วยกับตน พระพุทธองค์ทรงทราบจึงเสด็จไปยังพรหมโลก ตรัสสอนว่า สรรพสิ่งในโลกล้วนตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, ไม่มตี วั ตนทีแ่ ท้จริง แต่พกพรหมก็ยงั ไม่ยอมรับและยังหาเหตุผลมาสนับสนุนความเห็น ของตน พระพุทธองค์ก็ทรงแก้ด้วยเหตุผลเช่นกัน ยังไม่อาจเปลี่ยนความเห็นของ พกพรหมได้ ในที่สุดก็มีการท้าประลองอิทธิปาฏิหาริย์เล่นซ่อนหากัน ผลปรากฏว่า พระพุทธองค์ชนะ โดยซ่อนอยูบ่ นเศียรพกพรหมนัน่ เอง ทำให้พกพรหมยอมแพ้ละทิง้ ความเห็นของตน บทนีจ้ งึ มีอานุภาพในการเอาชนะใจคนทีม่ ที ฐิ มิ านะถือตัวจัด ด้วยวิธชี แี้ จงให้ เขาเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง และใช้สวดภาวนาป้องกันตนจากการถูกปองร้าย จากชัยชนะ ครัง้ นีภ้ ายหลังจึงมีการสร้างพระพุทธรูปขึน้ เรียกว่า ปางโปรดพกพรหม (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

25


µÑ´¡ÃÃÁµÒÁ¤ÓÊÍ¹ã¹¤Ò¶Ò ¹Ó¾Òµ¹ËÅØ´¾Œ¹º‹Ç§¡ÃÃÁ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิต๎วานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ๑. ๑

จากเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ทรงมีชัยชนะเหนือผู้เข้ามาผจญทั้ง ๘ ครั้ง ด้วย พุ ท ธวิ ธี ที่ แ ตกต่ า งกั น ไปนั้ น ในชี วิ ต จริ ง ของคนเราก็ ห นี ไ ม่ พ้ น ที่ จ ะต้ อ งมี ม ารมา ผจญบ้ า ง อาจมีทั้งมารภายนอก เช่น ถูกอิจฉาริษ ยา ใส่ ร้ า ยป้ า ยสี ติ ฉิ น นิ น ทา เป็นต้น หรือแม้แต่มารภายใน คือ กิเลสในใจตนที่คอยชักนำให้ใฝ่ต่ำหลงทำใน สิ่งที่ชั่ว เป็นต้น แต่ถ้าเราสามารถตั้งสติให้มั่นคงในเวลาเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ย่อมสามารถผ่านพ้นจากเหตุการณ์ไปได้ด้วยดี นอกจากนั้นเมื่อเราทำใจให้สงบนิ่ง ด้วยการสวดชัยมงคลคาถาในเวลาเผชิญ ปัญหา อานิสงส์ที่จะเกิดในเบื้องต้นก็คือ จะมีความยับยั้งชั่งใจในการตัดสินใจแก้ไข ปัญหา ทำให้มีจิตใจมั่นคง เมื่อจิตใจมั่นคงถาวรแล้วการจะแก้ไขปัญหาไม่ว่าใน สภาวการณ์ใดๆ ย่อมทำลงไปอย่างรอบคอบเสมอ (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)

26

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


๑ð. บทชัยปริตร (มหากา)๑ มะหาการุณิโก นาโถ ปูเรต๎วา ปาระมี สัพพา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

หิตายะ สัพพะปาณินัง ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง โหตุ เม* ชะยะมังคะลัง

บทชัยปริตร (มหากา) มีอานุภาพทางด้านเมตตามหานิยม ใช้สวดเอาฤกษ์เอาชัย ในการทำบุญเพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ตนเองและครอบครัว เพื่อความเจริญรุ่งเรือง ของกิ จ การงานที่ ท ำ มี ค วามหมายแต่ ล ะตอนดั ง นี้ ตั้ ง แต่ มะหาการุ ณิ โ ก...ถึ ง ชะยะมังคะลัง เป็นการสวดสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่าทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ดังคำแปลความหมายโดยใจความแห่งพระคาถาว่า “พระพุทธเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งของ เหล่าสรรพสัตว์ ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาที่ทรงทำบารมีให้เต็มเปยมก็เพื่อ ประโยชน์ แ ก่ ส รรพสั ต ว์ ทั้ ง หลาย ทรงบรรลุ แ ล้ ว ซึ่ ง พระญาณเครื่ อ งตรั ส รู้ อั น ยอดเยี่ยม ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้ ขอชัยมงคลจงเกิดมีแก่ข้าพเจ้า” (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลีย่ งเชียง) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

27


ÍÂÒ¡ª¹ÐàÇÃÀÑ µŒÍ§ª¹Ð㨵¹àͧ¡‹Í¹

ชะยันโต โพธิยา มูเล เอวัง อะหัง วิชะโย โหมิ อะปะราชิตะปัลลังเก อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง

สัก๎ยานัง นันทิวัฑฒะโน ชะยามิ* ชะยะมังคะเล สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ๑.

ตั้งแต่ ชะยันโต... ถึง ปะโมทะติ เป็นคาถาที่แสดงถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อ พญามารในวันที่ตรัสรู้ ดังคำแปลความหมายโดยใจความแห่งพระคาถาว่า “ขอข้ า พเจ้าจงมีชัยชนะในมงคลพิธี เหมื อ นพระจอมมุ นี ท รงชนะมาร ที่ โ คนโพธิ พ ฤกษ์ ถึ ง ความเป็ น ผู้ เ ลิ ศ ในสรรพพุ ท ธาภิ เ ษก ทรงปราโมทย์ อ ยู่ บนอปราชิ ต บั ล ลั ง ก์ อั น สู ง เป็ น จอมมหาปฐพี ทรงเพิ่ ม พู น ความยิ น ดี แ ก่ เ หล่ า พระประยูรญาติศากยวงศ์ ฉะนั้น” บทชยันโตนี้ เป็นบทสวดที่เราได้ยินกันบ่อยครั้ง เพราะในพิธีมงคลสำคัญต่างๆ เช่น วางศิลาฤกษ์ ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการใหม่ แต่งงาน ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เป็นต้น พระท่านก็จะสวดบทชยันโต... ทั้งนี้เพื่อ เป็นการอำนวยพรให้ผู้เป็นเจ้าภาพประสบชัยชนะอันเป็นมงคล แต่ความชนะที่จะ เป็นมงคลในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านมุ่งหมายถึงการเอาชนะด้วยความดี ดังที่ พระบรมครูพุทธเจ้าของเราชาวพุทธได้ทรงชนะมาแล้วในบทสวดพาหุงนั่นเอง (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง) * คำที่ขีดเส้นใต้ถ้าสวดให้ผู้อื่น เปลี่ยน อะหัง วิชะโย โหมิ ชะยามิ เป็น ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ

28

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


·Ó´ÕàÁ×èÍã´

สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะทักขิณานิ กัต๎วานะ

สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุยิฏฐัง พ๎รัห๎มะจาริสุ วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะณิธี เม* ปะทักขิณา ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ๑.

ตั้งแต่ สุนักขัตตัง... ถึง ปะทักขิเณ เป็นคาถาที่ตัดย่อมาจากสุปุพพัณหสูตร ว่าด้วย เรื่ อ งฤกษ์ ง ามยามดี ดิ ถี ม งคลของชี วิ ต ดั ง คำแปลความหมายโดยใจความแห่ ง พระคาถาว่า “บุคคลประพฤติสุจริตในเวลาใด เวลานั้นก็เป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ครู่ดี และเป็นการบูชาอย่างดีสำหรับผู้ประพฤติดี บุคคลที่ทำกรรม อันเป็นประทักษิณ ย่อมได้รับประโยชน์อันเป็นประทักษิณ” “คำว่า กรรมที่เป็นประทักษิณ หมายถึง การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรม, คำว่าประโยชน์ที่เป็นประทักษิณ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง รวมความว่า คนที่ ทำกรรมเป็นประทักษิณ คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องทั้งทางกาย วาจา ใจ ย่อม ประสบกับความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า”* (* คัดจากหนังสือทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร) (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

2


Á§¤ÅªÕÇÔµ¨Ñ¡à¡Ô´ÁÕ µŒÍ§·Ó´ÕµÅÍ´ä»

๑๑. สัพพมงคลคาถา๑

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธานุภาเวนะ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะธัมมานุภาเวนะ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะสังฆานุภาเวนะ

รักขันตุ สัพพะเทวะตา สะทา โสตถี ภะวันตุ เม* รักขันตุ สัพพะเทวะตา สะทา โสตถี ภะวันตุ เม* รักขันตุ สัพพะเทวะตา สะทา โสตถี ภะวันตุ เม*.

บทสัพพมงคลคาถา เป็นบทสวดที่ขออานุภาพของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้อำนวยสิ่งที่เป็นมงคลแก่ตน ดังคำแปล “ขอสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวงจงมี ขอเทวดาทุกเหล่าจงให้ความคุ้มครอง ด้ ว ยอานุ ภ าพของพระพุ ท ธ ด้ ว ยอานุ ภ าพของพระธรรม ด้ ว ยอานุ ภ าพของ พระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดิพ์ พิ ฒ ั นมงคล จงมีแก่ขา้ พเจ้าตลอดกาลทุกเมือ่ เทอญ” เมื่อมีศรัทธาความเชื่อมั่นอย่างนี้ในขณะที่กล่าวคำสวดมนต์ และใจของผู้สวด สงบนิ่งเป็นสมาธิดีแล้วจะเกิดธรรมปีติ คือ ความอิ่มเอมใจ เมื่อมารวมกับอานุภาพ ของพระรัตนตรัย ย่อมจะเกิดเป็นพลังพุทธมนต์อันยิ่งใหญ่ อำนวยอวยพรชัยให้ ผู้สวดผ่านพ้นอุปสรรคปัญหา ตลอดจนประสบสิ่งอันพึงปรารถนาได้ดังประสงค์ (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)

30

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


สะเดาะเคราะห์แก้กรรมด้วยตนเอง๑ ÊÐà´ÒСÃÃÁä´Œ¶ŒÒÊÐà´ÒРʹÔÁ㨠(âÅÀ, â¡Ã¸, Ëŧ) ãËŒËÁ´¨Ò¡µÑÇ

การสวดมนต์ เ พื่ อ เสริ ม ดวงชะตาสะเดาะ เคราะห์แก้กรรมให้ตนเอง เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมปฏิบัติกัน เนื่องจากกิจวัตรประจำวันของชาวไทยพุทธเราแต่โบราณกาลอย่าง หนึ่ ง ที่ ข าดไม่ ไ ด้ นั่ น คื อ การไหว้ พ ระสวดมนต์ มนต์ ใ นที่ นี้ ก็ ห มายถึ ง พระพุทธมนต์ หรือพระพุทธคาถาต่างๆ นั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความ เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต การสวดมนต์ ช่วยสะเดาะเคราะห์แก้กรรมได้อย่างไร ? การ เปล่งเสียงสวดมนต์ด้วยจิตใจเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริงนั้น เท่ากับเป็น การน้อมนำเอาพลังแห่งพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ให้มา ประทับอยูใ่ นจิตใจของผูส้ วด เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในยามประสบ เคราะห์หามยามร้าย เมือ่ ใจศรัทธาเชือ่ มัน่ บวกกับอานุภาพจากพระปริตร ทีส่ วด ย่อมช่วยคุม้ ครองป้องกันตนให้พน้ จากเคราะห์กรรมนัน้ ได้ ดังที่พระนาคเสนเถระท่านกล่าวถึงอานิสงส์ของการสวดมนต์ไว้ ในหนังสือมิลินทปัญหาว่า ๑ (เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

31


“ผู้สวดบริกรรมภาวนาพระปริตรไม่ว่าบทใดๆ งูจะกัดก็ไม่กัด แม้จะอ้าปากแล้วก็หุบลง โจรที่จะทำร้ายก็เปลี่ยนใจมาเป็นมิตร ไฟที่ ไหม้ ลุ ก ลามมาเมื่ อ มาถึ ง ที่ ใ กล้ ก็ ดั บ มอดไป ถึ ง จะมี ผู้ ป ระสงค์ ร้ า ย วางยาพิษก็มิอาจทำอันตรายใดๆ ได้” เรื่องนี้พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ท่านเมตตาแนะนำไว้ว่า “พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดู เคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์ อาตมาก็มาดูเหตุการณ์ โชคลาง

ไม่ดี ก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติบอกว่า โยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี เท่าที่ ใช้ได้ผล สวดตั้งแต่นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ

สังฆคุณ พาหุงมหากา จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณ

ห้องเดียว ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ เช่น อายุ ๔๐ สวด ๔๑, อายุ ๕๐ สวด ๕๑ ก็ได้ผล”

๑๒. บทอิติปิ โส เท่าอายุ

อิ ติ ปิ โส ภะคะวา อะระหั ง สั ม มาสั ม พุ ท โธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

32

(อย่าลืม ต้องสวดเกินอายุปัจจุบันของตน ๑ จบ) อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


ปลุกใจให้เกิดศรัทธา ก่อนสวดพระคาถาชินบัญชร๑

พระคาถาชิ น บั ญ ชร เจ้ า ประคุ ณ สมเด็ จ พระพุ ฒ าจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ได้ค้นพบ จากคัมภีร์ใบลานเก่าแก่ซึ่งตกทอดมาจากประเทศลังกา จารึกด้วยภาษา สิงหล จึงได้นำมาดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นเพื่อให้ เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้สวด พระคาถาชินบัญชรนี้ ผู้สวดภาวนาอยู่เป็นประจำย่อมได้รับ อานิ ส งส์ ม ากมาย ๑๐๘ ประการ ดั ง คำที่ ว่ า “ฝอยท่ ว มหลั ง ช้ า ง” เพราะในคำสวดมี ก ารอ้ า งถึ ง อานุ ภ าพของพระพุ ท ธเจ้ า ทุ ก พระองค์ พระอรหันตสาวก และพระสูตรทั้งหลายที่ใช้สวดบำบัดสรรพเคราะห์ ทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ ให้มาเป็นเกราะแก้วล้อมรอบตัวเราให้พ้นจาก ภยันตรายทั้งปวง พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ท่านกล่าวถึงเหตุผล ของการให้สวดพระคาถาชินบัญชรเป็นลำดับหลังของการสวดอานิสงส์ พระพุทธคุณไว้ว่า “พระคาถาชินบัญชรนี่ก็ดีนะ ไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่ว่าสมเด็จโตนี่ ท่านมีธรรมชั้นสูง ท่านจึงสวดบูชาพระอรหันต์ชั้นสูงได้ แต่ว่าเรา

ยั ง ไม่ ไ ด้ ชั้ น อะไร พุ ท ธคุ ณ สั ก ข้ อ ก็ ไ ม่ มี ธรรมข้ อ เดี ย วก็ ยั ง ไม่ มี ไป

สวดแล้วมันจะได้ผลอย่างไร ขั้นต้นของบันไดหญ้าปากคอก ต้อง

มี พ ระพุ ท ธคุ ณ ไว้ ใ นใจ มี พ ระธรรมคุ ณ พระสั ง ฆคุ ณ เรี ย กว่ า มี

พระรั ต นตรั ย ยึ ด เหนี่ ย วทางใจก่ อ น แล้ ว ค่ อ ยไปสวด อย่ า งนี้ ส วด

พระคาถาชินบัญชรได้ผลแน่และดีด้วย”

(เสริมคำอธิบายโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

33


๑ ๑๓. พระคาถาชิ น บั ญ ชร โดย... สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ก่อนสวดเจริญภาวนาให้กล่าวคำนอบน้อมพระพุทธเจ้า นะโมฯ ๓ จบ แล้วระลึกถึงพระคุณของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ด้วยคาถาต่อไปนี้

ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง อัตถิ กาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา ฯ อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มะระณัง สุขัง อะระหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ ฯ โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร โตสั ง อะกาสิ ชันตูนัง โตละจิตตัง นะมามิหัง ฯ

จากนั้นจึงสวดภาวนาตัวคาถาต่อไป

อ่านคำอธิบายละเอียด ภาพประกอบสวยงามได้ในหนังสือพุทธฤทธิ์ชินบัญชร โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

34

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


๑. ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสจั จาสะภัง ระสัง เย ปิวงิ สุ นะราสะภา ๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนสิ สะรา ๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร ๔. หะทะเย เม อะนุรทุ โธ สารีปตุ โต จะ ทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสม๎ งิ โมคคัลลาโน จะ วามะเก ๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก ๖. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสม๎ งิ สุรโิ ย วะ ปะภังกะโร นิสนิ โน สิรสิ มั ปันโน โสภิโต มุนิ ปุงคะโว ๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร ๘. ปุณโณ อังคุลมิ าโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

35


๙. เสสาสีติ มะหาเถรา เอตาสีติ มะหาเถรา ชะลันตา สีละเตเชนะ ๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ ๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อากาเส ฉะทะนัง อาสิ ๑๒. ชินาณา วะระสังยุตตา วาตะปิตตาทิสญ ั ชาตา ๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ วะสะโต เม สะกิจเจนะ ๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ ๑๕. อิจเจวะมันโต ชินานุภาเวนะ ธัมมานุภาเวนะ สังฆานุภาเวนะ สัทธัมมานุภาวะปาลิโต 36

วิชติ า ชินะสาวะกา ชิตะวันโต ชิโนระสา อังคะมังเคสุ สัณฐิตา ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง วาเม อังคุลมิ าละกัง อาฏานาฏิยะสุตตะกัง เสสา ปาการะสัณฐิตา สัตตัปปาการะลังกะตา พาหิรชั ฌัตตุปทั ทะวา อะนันตะชินะเตชะสา สะทา สัมพุทธะปัญชะเร วิหะรันตัง มะหีตะเล เต มะหาปุรสิ าสะภา สุคตุ โต สุรกั โข ชิตปู ทั ทะโว ชิตาริสงั โค ชิตนั ตะราโย จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.

อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ (หลวงพ่อจรัญ €ิตธมฺโม)


อานิสงส์ของการสวด

คาถามหาเมตตาใหญ่

ขจัดเวรภัยในชีวิต ด้วยตั้งจิตให้มีเมตตา สวดภาวนาเมตตาพรหมวิหารคาถา นำพาชีวิตพ้นจากบ่วงเวรกรรม รวบรวมโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง 


เย็นกาย-ใจ เป็นนิตย์ ด้วยจิตมีเมตตา

บรรดาคาถาทั้งหลายที่คนส่วนใหญ่นิยมสวดกันนั้น โดยมากมัก มุ่งผลทางด้านอยู่ยงคงกระพันแคล้วคลาดปลอดภัย ช่วยให้ทำมาค้าขึ้น เป็นต้น และมนต์อีกบทหนึ่งที่นิยมแสวงหามาสวดกัน นั่นคือ บทมนต์ที่ มีอานุภาพด้านทำให้เป็นคนมีเสน่ห์เมตตามหานิยมต่อผู้พบเห็น อนึ่ง บทมนต์ที่โบราณาจารย์ได้นำมาผูกเป็นคาถามหาเสน่ห์นั้น ท่านมักผูกด้วยคำที่มีการกล่าวถึงเรื่องพรหมวิหารธรรม แปลว่า ธรรม เป็นเครื่องอยู่เสมือนพรหม ดังเช่นคาถาว่า “นะ เมตตา โม กรุณา พุท ปรานี ธา ยินดี ยะ เอ็นดู” เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นคำที่สื่อถึงความเป็น คนมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ทั้งสิ้น พระคาถามหาเมตตาใหญ่ หรือ พระคาถาเมตตาหลวง เป็น อีกคาถาหนึ่งที่นิยมนำมาสวดให้เกิดผลในด้านเมตตามหานิยม เนื่องจาก เป็นบทสวดที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก จึงเป็นพระพุทธมนต์จากพระโอษฐ์ ของพระบรมศาสดาโดยแท้ และเป็นที่แน่แก่ใจว่า สามารถเสกตนให้ เป็นคนมีเสน่ห์ได้ หากใจมีเมตตาธรรมจริง คนที่มีใจเต็มเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม ทำให้มีความเย็นกาย เย็นใจ เป็นนิตย์ เพราะคุณสมบัติพิเศษของเมตตา คือ ความเย็นสนิท เพราะ จิตสามารถดับความโกรธ ความอาฆาตมาดร้ายเสียได้ ทำให้อยูเ่ ย็นเป็นสุข ในทุกอิริยาบถ สยบกรรมที่จะเกิดจากการผูกเวรกันได้แล ไพยนต์ กาสี รวบรวมในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

38


ตำนานที่มาพระคาถามหาเมตตาใหญ่๑

บทสวดมนต์พระคาถามหาเมตตาครอบจักรวาลนี้ มีต้นเรื่องมา จากแม่ชีคนหนึ่งที่มาขออยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ชื่อแม่ชีก้อนทอง นามสกุล ปานเณร แม่ชีคนนี้เคยอยู่มาหลายสำนัก เช่น สำนักปฏิบัติของหลวงพ่ออ่อน สิงห์บุรี และเคยอยู่ที่เขาถ้ำตะโก วันหนึ่งมาขออาตมาว่า “พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ดิฉันจะขอมาอยู่ นั่งกรรมฐานได้ไหม” “เอ...! โยม วัดนี้ไม่มีสำนักชี แล้วไม่มีกุฏิชีอยู่ จะอยู่ได้หรือ” “แล้วกลัวผีหรือเปล่า ถ้าไม่กลัว ก็อยู่บนศาลา มันมีห้องอยู่ทางนี้” สมัยนั้นมันเป็นป่าดงพงไพรมาก แม่ชีผู้นี้อายุประมาณ ๗๐ กว่า แล้ว ตอนตายก็อายุ ๙๖-๙๗ พึ่งจะเสียไปเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง อาตมาก็ให้อยู่ บนศาลา พออยู่บนศาลาก็ให้เดินจงกรม เดินจงกรมแล้วก็นั่งพองหนอ ยุบหนอ แล้วตั้งสติเข้าไว้ ครั้นพอ ๑ เดือนผ่านไป โยมชีก็ให้อาตมาสอบอารมณ์ให้ทุกวัน ตอนเช้าอาตมาก็ไปสอบอารมณ์ให้แม่ชี แม่ชีคนนี้ก็เล่าให้อาตมาฟังว่า “หลวงพ่อฉันจะลำบากเสียแล้ว เทวดามากวน” “เทวดามาทำไม” อาตมาถาม “มาชวนฉันสวดมนต์” อาตมาเลยให้กำหนดเห็นหนอ

เรียบเรียงจากหนังสือกฎแห่งกรรม วิปสั สนาสือ่ วิญญาณ เล่ม ๑ โดย ไพยนต์ กาสี สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

39


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.