วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ (How to Study Public Life)

Page 1

เสียงชื่นชมหนังสือ

HOW TO STUDY PUBLIC LIFE “การศึกษาพื้นที่สาธารณะ-ชีวิตสาธารณะ ที่พัฒนาโดย ญาน เกห์ล และทีมงานของเขา เป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ให้กับ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพ วงการวิชาการ และนักวางผังเมือง ทั่วทุกส่วนของโลกมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ตอนนี้เครื่องมือลับ ของเขาถูกนำ�มาเผยแพร่ให้กับทุกคนในหนังสือ How to Study Public Life สิ่งสำ�คัญในตอนนี้ คือการทำ�อะไรสักอย่าง และนำ�พวกมันออกมาใช้” ปีเตอร์ นิวแมน ศาสตราจารย์ด้านความยั่งยืน มหาวิทยาลัยเคอร์ทิน ประเทศออสเตรเลีย

ศาสตราจารย์ด้านการออกแบบเมือง มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์

Life between Buildings

เมืองมีชีวิต พิมพ์ครั้งที่ 1/2556 พิมพ์ครั้งที่ 2/2560

“การนำ�หลักการของการศึกษาพื้นที่สาธารณะมาใช้ที่เมือง เมลเบิร์น พิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือล้ำ�ค่าในการทำ�ให้เมืองของเรา น่าอยู่มากขึ้น How to Study Public Life เป็นหนังสือที่เน้นไปที่ เครื่องมือและวิธีการที่จำ�เป็นอย่างยิ่งสำ�หรับทุกคนที่มีความมุ่งมั่น ที่จะสร้างเมืองที่ดีขึ้นสำ�หรับผู้คน” ร็อบ อดัมส์ ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานออกแบบเมือง สภาเมืองเมลเบิร์น

HOW TO STUDY PUBLIC LIFE

JAN GEHL & BIRGITTE SVARRE

ญาน เกห์ล เป็นทั้งสถาปนิก หุ้นส่วนผู้ก่อตั้ง

บริษัท เกห์ล สถาปนิก — ที่ปรึกษาทางด้าน คุณภาพเมือง และอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย และนั ก วิ จั ย ที่ ค ณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งเดนมาร์ก เขาเคยได้รับ รางวัล Sir Patrick Abercrombie สำ�หรับการ อุทิศตนเป็นแบบอย่างในการวางผังเมืองจาก สหพันธ์สถาปนิกนานาชาติ และเป็นสมาชิก กิตติมศักดิ์ของสมาคมสถาปนิกหลายแห่งใน ประเทศเดนมาร์ ก อั ง กฤษ สกอตแลนด์ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา และสถาบันการ วางผังเมืองแห่งออสเตรเลีย หนังสือของเขาที่ ตีพมิ พ์มาแล้วได้แก่ Life Between Buildings; Public Spaces-Public Life; New City Spaces, New City Life และ Cities for People

HOW TO STUDY PUBLIC LIFE

ชุดหนังสือเกี่ยวกับเมือง เขียนโดย ญาน เกห์ล

“หนังสือสำ�คัญเล่มนี้ตีพิมพ์ ในช่วงเวลาที่การศึกษาเกี่ยวกับการ เคลื่อนไหวของความเป็นเมือง ทำ�ให้เกิดการบูรณาการที่ดีขึ้น ของกิจกรรมในเมือง ซึ่งเกห์ลแสดงวิธีทำ�ให้ประสบความสำ�เร็จ มานานแล้ว” ปีเตอร์ บอสเซลมานน์

ญาน เกห์ล และ เบร์กิตเต สวาร์ | วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ

การออกแบบเมือง

​เบร์กิตเต สวาร์ สำ � เร็ จ การศึ ก ษาหลั ก สู ต ร ศิ ล ปศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวั ฒ นธรรม สมัยใหม่ และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จากคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันวิจิตรศิลป์แห่ง เดนมาร์ก และเป็น Associate ที่บริษัท เกห์ล สถาปนิก เธอเขียนหนังสือ Spatial Culture และ เป็นอาจารย์รับเชิญที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง

Cities for People

เมืองของผู้คน พิมพ์ครั้งที่ 1/2559

How to Study Public Life พิมพ์ครั้งที่ 1/2561

700.-

วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ

ญาน เกห์ล และ เบร์กิตเต สวาร์ เขียน | ศรีสุเมธ ฤทธิ ไพโรจน์ แปล

ISBN 978-616-4590-13-7

แปลและจัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ลายเส้น

GehlCoverMech-TH_CC_Final.indd 1

4/11/2561 BE 5:04 AM


The original edition by Bylivsstudier, Copenhagen 2013 / How to Study Public Life, Washington DC 2013 copyright © Jan Gehl, Birgitte Svarre and the Romanian language Publisher The Thai edition is translated and publish © 2018 by Li-Zenn Publishing II


HOW TO STUDY PUBLIC LIFE JAN GEHL & BIRGITTE SVARRE

ญาน เกห์ล และ เบร์กิตเต สวาร์ | ศรีสุเมธ ฤทธิ ไพโรจน์ แปล | ดาวิษี บุญธรรม บรรณาธิการต้นฉบับ


สถานีชิจูกู โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ประมาณปี ค.ศ.1990

IV


สารบัญ

คำ�นำ�บรรณาธิการต้นฉบับ คำ�นำ�ผู้แปล คำ�นิยม โดย จอร์จ เฟอร์กูสัน คำ�นำ�ผู้เขียน พื้นที่สาธารณะ ชีวิตสาธารณะ: การปฏิสัมพันธ์ ใคร อะไร ที่ไหน การนับ การวาดลงผัง การสะกดรอย และเครื่องมืออื่น ๆ การศึกษาชีวิตในที่สาธารณะจากมุมมองทางประวัติศาสตร์ พวกเขาทำ�ได้อย่างไร: บันทึกจากงานวิจัย การศึกษาชีวิตสาธารณะในทางปฏิบัติ การศึกษาชีวิตสาธารณะและนโยบายเมือง เชิงอรรถ บรรณานุกรม เครดิตภาพประกอบ

1 2 3 4 5 6 7

VI IX XI XII 1 9 21 37 81 123 149 162 172 179 V


คำ�นำ�บรรณาธิการต้นฉบับ ชีวิตสาธารณะ-พื้นที่สาธารณะ ชีวิตสาธารณะในภาษาไทยอาจเป็นคำ�ที่ไม่คุ้นหู เพราะเราเคยชินกับ สิ่งสาธารณะอื่นๆ มากกว่าเช่น สวนสาธารณะ ห้องน้�ำ สาธารณะ ซึ่ง เป็นสิ่งของที่ทุกคนใช้ร่วมกัน คำ�ว่าชีวิตสาธารณะอาจฟังดูขัดๆ เพราะชีวิตเป็นของคนแต่ละคน ชีวิตจะเป็นของสาธารณะได้อย่างไร แต่ในบริบทของหนังสือเล่มนี้ เรามุง่ ประเด็นไปทีพ่ นื้ ทีส่ าธารณะและ ชีวิตสาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งคู่กันแยกออกจากกันไม่ได้ โดยที่ชีวิต สาธารณะไม่ใช่ชีวิตใดชีวิตหนึ่งที่เราใช้ร่วมกันแบบสิ่งของ แต่เป็น ชีวิตของทุกๆ คนที่เราพบเจอในพื้นที่สาธารณะที่เราใช้ร่วมกัน ทุก ชีวติ ทีด่ �ำ รงอยูแ่ ละวนเวียนอยูใ่ นพืน้ ทีส่ าธารณะล้วนประกอบเข้าเป็น ส่วนหนึง่ ของชีวติ สาธารณะซึง่ เป็นองค์ประกอบสำ�คัญของเมือง และ ชีวิตที่ว่านี้ดำ�รงอยู่ในพื้นที่สาธารณะในฐานะของประชาชน เสรีชน คนธรรมดา ไม่ใช่ในฐานะของผู้บริโภคที่เดินจ่ายของ หรือนั่งกิน กาแฟเท่านั้น คุณภาพของเมืองในปัจจุบันจะวัดกันที่คุณภาพของ พืน้ ทีส่ าธารณะและชีวติ สาธารณะประกอบกัน ไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึง่ การแข่งขันอันเข้มข้นของมหานครต่างๆ ล้วนแล้วแต่มุ่งไปที่การ พัฒนาคุณภาพของเมืองในมิตินี้ คำ�ว่าสาธารณะกลับมาให้เราได้คิดอีกครั้ง ความเป็นสาธารณะ เกี่ ย วพั น อย่ า งเหนี ย วแน่ น กั บ ประวั ติ ศ าสตร์ เ มื อ ง ระบบสั ง คม วัฒนธรรมและการเมืองการปกครอง เราเข้าใจความเป็นสาธารณะ ระดับไหนในสังคมไทย สามารถดูได้จากสภาพเมืองทีเ่ ราสร้างขึน้ และ อาศัยอยู่ ดังเช่นทีอ่ องรี เลอแฟบร์ (Henri Lefebvre) นักปรัชญาและ นักสังคมวิทยาชาวฝรัง่ เศสกล่าวไว้ ว่าเมืองคือภาพสะท้อนของสังคม ลงบนพืน้ ดิน สังคมเราเป็นอย่างไร เมืองของเราก็เป็นอย่างนัน้ ความ เหลือ่ มล้�ำ ทางสังคม การให้ความสำ�คัญกับสมบัตสิ ว่ นตัวเหนือส่วนรวม จึงสามารถสัมผัสได้ในเมืองต่างๆ ของไทย ดังนั้นคำ�ถามสำ�คัญใน บริบทของไทยเราคือ เรามีพื้นที่สาธารณะแบบใด และพื้นที่นั้นๆ ก่ อ ให้ เ กิ ด ชี วิ ต สาธารณะในลั ก ษณะไหน คุ ณ ลั ก ษณะของพื้ น ที่ สาธารณะ-ชีวิตสาธารณะของเราเป็นอย่างไร และเราจะพัฒนาให้ ดีขึ้นได้อย่างไร

VI


หนังสือวิธีการเรียนรู้ชีวิตสาธารณะเล่มนี้เขียนโดยญาน เกห์ล และเบร์กติ เต สวาร์ เป็นหนังสือเล่มทีส่ ามของญาน เกห์ล ทีแ่ ปลและ ตีพมิ พ์โดยสำ�นักพิมพ์ลายเส้น ใครทีต่ ดิ ตามผลงานของญาน เกห์ล อย่างต่อเนือ่ งและได้อา่ นหนังสือของเกห์ลมาแล้ว เล่มนีม้ เี นือ้ หาเป็น เสมือนภาคสาม ต่อจากภาคหนึ่งซึ่งคือ เมืองมีชีวิต (Life Between Buildings) และภาคสองคือ เมืองของผู้คน (Cities for People) ภาคนีแ้ ตกต่างจากภาคก่อนๆ เพราะเน้นไปที่ "เบือ้ งหลังการถ่ายทำ�" ที่เปิดเผยวิธีการทำ�งานอันได้มาซึ่งหนังสือเล่มต่างๆ ที่เกห์ลเขียน และผลงานการออกแบบและการเป็ น ที่ ป รึ ก ษาของบริ ษั ท เกห์ ล จุดประสงค์ประการสำ�คัญของหนังสือเล่มนีค้ อื เกห์ลต้องการให้เกิด การยอมรับเรื่อง ชีวิตสาธารณะ-พื้นที่สาธารณะในฐานะศาสตร์ แขนงหนึ่ ง ในเรื่องการวางผังเมืองและการออกแบบชุมชนเมือง เนือ้ หาสำ�คัญคือการนำ�เสนอวิธกี ารศึกษาชีวติ สาธารณะอย่างละเอียด กล่าวถึงการมอง การนับ การจด การติดตาม การสะกดรอย และ อื่ น ๆ อั น นำ � มาซึ่ ง ข้ อ มู ล เชิ ง ปริ ม าณและคุ ณ ภาพเกี่ ย วกั บ ชี วิ ต สาธารณะ เป็นเสมือนคู่มือการเรียนรู้เมื่อต้องลงพื้นที่เพื่อทำ�การ สำ�รวจในสถานที่จริง สิ่งที่หนังสือนี้ไม่ได้บอกคือ เราควรนำ�ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ชีวติ สาธารณะนีม้ าตีความอย่างไร ศึกษาแล้วนำ�ไปใช้งานต่ออย่างไร ควรออกแบบพืน้ ทีอ่ ย่างไร และจะสร้างกลยุทธ์ หรือวางนโยบายการ พัฒนาเมืองอย่างไร เกห์ลบอกไว้สนั้ ๆ เพียงว่าต้องนำ�ข้อมูลมาปรับ ใช้ให้เข้ากับบริบทของเมืองนั้นๆ รายละเอียดการนำ�มาปรับใช้ และวิธีการใช้ข้อมูลเพื่อโน้มน้าวใจนักการเมืองนี้อาจต้องติดตาม รายละเอียดต่อไปในภาคสี่ แท้ทจี่ ริงแล้ว ญานย้�ำ อยูเ่ สมอถึงเรือ่ งมิตขิ องมนุษย์ ในเรือ่ งขนาด ส่วนและประสาทสัมผัสการรับรูแ้ ละความรูส้ กึ ต่างๆ ทีเ่ ป็นสามัญเบือ้ งต้น ของมนุษย์ทุกชาติพันธุ์ ทุกภาษาและวัฒนธรรม หากเรามีพื้นที่ที่มี คุณสมบัติในเบื้องต้นที่ตอบรับกับมิติเหล่านี้ของมนุษย์แล้ว เราก็ สามารถสร้างสรรค์เมืองเพือ่ ผูค้ นให้เกิดขึน้ ได้ไม่ยากนัก วิธกี ารศึกษา ชีวติ สาธารณะ-พืน้ ทีส่ าธารณะจะนำ�มาซึง่ ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เพือ่

นำ�มาต่อยอดให้เกิดเป็นทัง้ นโยบาย แผนและผังการพัฒนาได้ไม่ยาก หากเรามีบคุ ลากรสหสาขาวิชาทีท่ �ำ งานเรือ่ งการออกแบบ วางผังและ พัฒนาเมืองที่เข้าใจเรื่องมิติมนุษย์อย่างแท้จริง และเข้าใจบริบท สังคม วัฒนธรรมของเมืองอย่างแท้จริงและมีผู้นำ�และนักการเมือง ผู้มีอำ�นาจในการเปลี่ยนแปลงเมืองที่มีวิสัยทัศน์ในเรื่องเมืองน่าอยู่ และต้องการสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์อย่างแท้จริง หากเรา รวบรวมเอาผูร้ ู้ และผูม้ อี �ำ นาจ ประสานความรูส้ กู่ ารสร้างให้เกิดเป็น รูปธรรมได้จริงแล้ว ความฝันทีจ่ ะมีเมืองดีๆ เพือ่ ผูค้ นในบริบทสังคมไทย คงเกิดขึ้นได้จริง ดาวิษี บุญธรรม

VII


VIII


คำ�นำ�ผู้แปล เราต้องการอยู่ในเมืองแบบไหน เมืองที่มีตึกทันสมัยใหญ่โตมากมาย และถนนกว้างใหญ่ให้รถยนต์ วิง่ ได้อย่างสะดวกสบาย แล้วเราอยูใ่ นห้องแคบ ๆ โดยแทบไม่มที ใี่ ห้ เราเดินเมื่อเราลงมาบนถนน หรือเมืองทีส่ ง่ เสริมให้เกิดความมีชวี ติ ชีวาของผูค้ นทีอ่ าศัยอยูใ่ นนัน้ มีความน่าอยู่ และเป็นมิตรกับผู้คน ทำ�ให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เมือ่ คนเพิม่ มากขึน้ เมืองก็ตอ้ งขยายตัวเพิม่ ขึน้ แต่พนื้ ทีข่ องเมือง มีจ�ำ กัด การสร้างเมืองใหม่ทผี่ า่ นมาให้ความสำ�คัญไปกับอาคาร ถนน และการจราจร แต่กลับละเลยคนที่อาศัยอยู่ในเมือง หนังสือเล่มนี้จะช่วยแนะนำ�เครื่องมือและวิธีการง่าย ๆ ที่ช่วยให้ เราเรียนรูแ้ ละทำ�ความเข้าใจในการสร้างความมีสว่ นร่วมของผูค้ นใน พื้นที่สาธารณะ การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่สาธารณะกับชีวิต ของผูค้ นในเมือง ไม่ใช่แค่วา่ อะไรหรือทีไ่ หน แต่เป็นการเริม่ ทำ�ความ รู้จักว่าผู้คนในเมืองมีชีวิตอย่างไร และต้องการอะไร

ญาน เกห์ล แนะนำ�ให้ทำ�ความรู้จักเมืองผ่านผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ใน เมืองนั้นผ่านการสังเกตการณ์ ไม่มีสูตรสำ�เร็จสำ�หรับผู้คนในแต่ละ เมือง แต่การเก็บข้อมูลทีม่ ากพอจะนำ�เราไปสูก่ ารสร้างเมืองทีเ่ หมาะกับ ผู้คนในเมืองนั้นได้มากที่สุด ผู้แปลแอบหวังไว้ว่า ตัวอย่างวิธีการศึกษาชีวิตของผู้คนในเมือง ของผูเ้ ขียนจะเป็นพืน้ ฐานของการสร้างเมืองทีม่ ชี วี ติ ชีวา ทีท่ �ำ ให้ผคู้ น ใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุขได้

ศรีสุเมธ ฤทธิไพโรจน์

IX


X


คำ�นิยม โดย จอร์จ เฟอร์กูสัน ญาน เกห์ล (Jan Gehl) อุทิศช่วงเวลาทั้งชีวิตให้กับการเรียนรู้เรื่อง ชีวติ สาธารณะ ซึง่ พัฒนามาตัง้ แต่ยคุ 60 ตอนนัน้ ผมยังเป็นนักศึกษา สถาปัตยกรรมอยูแ่ ละได้เริม่ ตระหนักถึงผลงานของเขา วิสยั ทัศน์ของ เกห์ลคือการได้รว่ มเป็นส่วนหนึง่ ในการสร้างเมืองเพือ่ ผูค้ น เกห์ลและ เพื่อนร่วมงาน ซึ่งมีเบร์กิตเต สวาร์ (Birgitte Svarre) ร่วมอยู่ด้วย ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ และให้คำ�แนะนำ�ต่อสภาเมือง นักพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำ�ไร รวมทั้งรัฐบาล หนังสือเล่มนีเ้ หมือนแอบอยูห่ ลังฉากทีแ่ สดงให้เห็นเครือ่ งมือต่าง ๆ ทีใ่ ช้ในการศึกษาชีวติ ในทีส่ าธารณะ การเข้าใจวิธกี ารใช้งานทีถ่ กู ต้อง เหมาะสมเป็นสิง่ ทีส่ �ำ คัญสำ�หรับทุกคนทีเ่ กีย่ วข้องกับการวางผังเมือง และหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อคุณภาพชีวิตในเมือง ของเรา ขณะทีพ่ วกเราย้ายเข้าไปอยูใ่ นเมืองเพิม่ มากขึน้ เรือ่ งคุณภาพของ ชีวติ เมืองก็ถกู เลือ่ นลำ�ดับให้มคี วามสำ�คัญมากขึน้ ทัง้ ในระเบียบวาระ การเมืองระดับท้องถิ่นและระดับโลก เมืองเปรียบเสมือนเวทีที่วาระ เร่งด่วนที่ต้องมีการกล่าวถึง อย่างเช่น ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและ สภาพภูมอิ ากาศ การเติบโตของประชากรเมือง การเปลีย่ นแปลงทาง ประชากรศาสตร์ และปัญหาสุขภาพและสังคม เมืองแต่ละเมืองแข่งขันกันทีจ่ ะดึงดูดพลเมืองและการลงทุนเข้ามา มันสมควรแล้วมิใช่หรือที่การแข่งขันนี้จะให้ความสนใจไปที่คุณภาพ ชีวติ ประสบการณ์ในการอยูอ่ าศัย การทำ�งาน และการเทีย่ วชมเมือง มากกว่าให้ความสนใจไปที่ลักษณะอันฉาบฉวยของเมืองที่แสดงให้ เห็นจากตึกทีส่ งู ทีส่ ดุ พืน้ ทีท่ ใ่ี หญ่ทส่ี ดุ หรืออาคารสำ�คัญอันน่าตืน่ ตา ตื่นใจที่สุด ตั ว อย่ า งอั น น่ า ทึ่ ง ในหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ม าจากเมื อ งเมลเบิ ร์ น โคเปนเฮเกน นิวยอร์ก และทีต่ า่ ง ๆ ทีแ่ สดงให้เห็นว่า สิง่ ทีเ่ ราเน้นย้�ำ นัน้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการทำ�ความเข้าใจในพฤติกรรมของ ผู้คน การสำ�รวจและบันทึกชีวิตในที่สาธารณะอย่างเป็นระบบ

การเปลี่ยนแปลงสำ�คัญ ๆ เกิดขึ้นได้จากการใช้การศึกษาชีวิต สาธารณะให้เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเมือง เมื่อคิดย้อนกลับไป เมื่อห้าปีก่อน ไม่มีใครเคยฝันถึงการเปลี่ยนจัตุรัสไทม์สแควร์ให้เป็น พื้นที่ของผู้คนแทนที่จะเป็นพื้นที่สำ�หรับการจราจร การศึกษาพื้นที่ สาธารณะเป็นกุญแจสำ�คัญในกระบวนการที่ทำ�ให้การเปลี่ยนแปลง ครั้งสำ�คัญนี้ประสบความสำ�เร็จเป็นอย่างมาก “มองดูและเรียนรู้” คือคติพจน์ส�ำ คัญของหนังสือเล่มนี้ คุณควร ออกมาอยูใ่ นเมือง ดูวา่ มันเป็นอย่างไรบ้าง ใช้สามัญสำ�นึกของคุณเอง ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมด แล้วถามตัวคุณเองว่านี่คือเมืองที่เรา ต้องการในศตวรรษที่ 21 หรือไม่ ชีวิตเมืองมีความซับซ้อน แต่ด้วย เครื่องมือง่าย ๆ และการวิจัยอย่างมีระบบจะช่วยให้เราเข้าใจมัน มากยิ่งขึ้น เมื่อเราเห็นภาพลักษณ์ของสถานะชีวิตในเมืองได้ชัดเจนมากขึ้น หรือแม้แต่เริ่มให้ความสนใจไปที่ชีวิต ไม่ใช่ตัวอาคาร หรือลักษณะ เฉพาะทางเทคนิค พวกเราก็ยังสามารถถามคำ�ถามที่ตรงประเด็น ยิ่งขึ้นว่าเราต้องการอะไร และต่อจากนั้นการศึกษาชีวิตสาธารณะ ก็จะกลายมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อการเปลี่ยนแปลง การศึกษาชีวติ สาธารณะแสดงให้เห็นถึงวิธกี ารแบบสหวิชาการใน การวางผังเมืองและการสร้างเมือง เป็นทีท่ ง่ี านไม่เคยจบสิน้ เป็นทีท่ ่ี คุณมักหันกลับไปมอง เรียนรู้ และปรับเปลีย่ นอีกครัง้ - โดยทีใ่ ห้ผคู้ น เป็นอันดับหนึ่งเสมอ นั่นคือแก่นสำ�คัญของวิทยาการปรับปรุงเมือง

จอร์จ เฟอร์กูสัน (George Ferguson) CBE, PPRIBA นายกเทศมนตรีเมืองบริสตอล สหราชอาณาจักร

XI


คำ�นำ�ผู้เขียน การศึกษาชีวติ สาธารณะทำ�ได้อย่างง่าย ๆ ตรงไปตรงมา แนวความคิด พื้นฐานคือการให้ผู้สังเกตการณ์เดินไปรอบ ๆ พื้นที่ พร้อมกับใช้ สายตาสำ�รวจตรวจตรา การสังเกตการณ์คือส่วนสำ�คัญ และวิธีการ ก็ง่ายและราคาถูก การนำ�การสังเกตการณ์มาไว้ในระบบทำ�ให้ ได้ ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของชีวิตสาธารณะกับพื้นที่ สาธารณะ หนังสือเล่มนี้บอกเกี่ยวกับวิธีการจะศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างชีวิต สาธารณะและพื้นที่สาธารณะ การศึกษาอย่างเป็นระบบเช่นนี้เริ่ม อย่างจริงจังเมื่อช่วงต้นของยุค 60 ตอนที่นักวิจัยและนักสื่อสาร มวลชนมากมายจากต่างทวีปพากันวิพากษ์วิจารณ์การวางผังเมือง ในช่วงเวลานั้นที่หลงลืมชีวิตที่อยู่ในเมือง วิศวกรการขนส่งให้ความ สนใจไปที่การจราจร ภูมิสถาปนิกดูแลสวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียว สถาปนิกออกแบบอาคาร และนักวางผังเมืองมองภาพรวมทั้งหมด การออกแบบและโครงสร้างได้รับความสนใจอย่างจริงจัง แต่กลับ ละเลยชีวิตสาธารณะและปฏิสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับพื้นที่ หรือเป็น เพราะมันไม่ใช่เรื่องจำ�เป็น แท้ที่จริงแล้วผู้คนต้องการแค่บ้านและเมือง ที่อยู่ด้วยกันเหมือนเครื่องจักรจริง ๆ หรือ เสียงวิจารณ์ถึงพื้นที่พัก อาศัยที่สร้างขึ้นใหม่ขาดความมีชีวิตชีวาไม่ได้มาจากแค่เหล่าผู้รู้ใน วงการวิชาชีพเท่านั้น สาธารณชนจำ�นวนมากก็วิจารณ์อย่างหนัก เรื่องพื้นที่พักอาศัยที่สร้างใหม่อย่างทันสมัยที่สนใจเฉพาะเรื่อง แสงสว่าง อากาศ และความสะดวกสบาย

สาขาวิชาการที่รวมการศึกษาชีวิตสาธารณะต่าง ๆ ที่บรรยายไว้ใน หนังสือเล่มนี้ พยายามถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ในสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นมาบนรากฐานที่เท่าเทียมกันกับความรู้ ด้านระบบอาคารและการขนส่ง จุดประสงค์ดง้ั เดิมก็ยงั เป็นจุดประสงค์ เดียวกันกับทุกวันนี้ นั่นคือเพื่อทำ�ให้ชีวิตสาธารณะกลับมาเป็นมิติ สำ�คัญในการวางผังเมือง ถึงแม้ว่าแนวความคิดของชีวิตสาธารณะอาจฟังดูธรรมดาเมื่อ เทียบกับระบบการจราจรที่มีความซับซ้อน แต่การทำ�ให้มันกลับมา มีชีวิตชีวาไม่ใช่งานที่ง่ายเลย ข้อเท็จจริงคือชีวิตสาธารณะในเมือง ถูกบีบจนเกือบไม่มที อี่ ยู่ และเมืองเต็มไปด้วยคนเดินเท้าจำ�นวนมาก แต่สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ�เป็นอุปสรรคในการสร้างปัจจัยพื้นฐานที่ เอื้อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำ�หรับการเดินและขี่จักรยาน การจัดการปัญหาชีวติ สาธารณะต้องใช้ความมุง่ มัน่ และความเป็น ผู้นำ�ทางการเมือง การศึกษาชีวิตสาธารณะสามารถนำ�มาใช้เป็น เครือ่ งมือสำ�คัญในการทำ�พืน้ ทีเ่ มืองให้ดขี น้ึ ด้วยการปรับเปลีย่ นเป้าหมาย เพื่อให้เกิดเมืองที่เป็นมิตรกับผู้คนให้มากขึ้น การศึกษานี้สามารถ นำ�มาใช้เป็นข้อมูลในขั้นตอนการตัดสินใจ อันเป็นส่วนหนึ่งของการ วางผังโดยรวม หรือในการออกแบบโครงการแต่ละแห่งอย่างเช่น ถนน จัตุรัส หรือสวนสาธารณะ ความมีชวี ติ ชีวาเป็นสิง่ ทีไ่ ม่สามารถคาดเดาล่วงหน้า มีความซับซ้อน และเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ แล้วเราออกแบบให้ความมีชีวิตชีวา เกิดขึ้นในเมืองได้อย่างไรล่ะ แน่นอนที่การวางแผนใส่รายละเอียด ของปฏิสมั พันธ์ระหว่างชีวติ สาธารณะกับพืน้ ทีไ่ ว้ลว่ งหน้าเป็นเรือ่ งที่ แทบจะเป็นไปไม่ได้ แต่การศึกษาทีต่ งั้ เป้าหมายไว้สามารถทำ�ให้เกิด ความเข้าใจขัน้ พืน้ ฐานว่าอะไรทีเ่ ป็นได้หรือเป็นไปไม่ได้ และชีแ้ นะวิธี แก้ปัญหาที่เหมาะสมได้ หนังสือเล่มนี้ยึดหลักตามงานของญาน เกห์ล ที่ส�ำ รวจปฏิกิริยา ระหว่างชีวิตสาธารณะและพื้นที่สาธารณะตลอดเวลาที่ผ่านมาเกือบ 50 ปี เขาขยายความสนใจของเขาในหัวข้อนี้ในฐานะนักวิจัยและ อาจารย์ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แห่งสถาบันวิจิตรศิลป์แห่ง เดนมาร์ก เมืองโคเปนเฮเกน และในการทำ�งานที่บริษัท เกห์ล สถาปนิก ที่เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ตัวอย่างหลายแห่งในหนังสือ เล่มนี้ก็มาจากผลงานของญาน เกห์ล ส่วนผู้แต่งคนที่สองของ หนังสือเล่มนีค้ อื เบร์กติ เต สวาร์ ซึง่ ได้รบั การศึกษาทางด้านการวิจยั


ที่ศูนย์การวิจัยพื้นที่สาธารณะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบัน วิจติ รศิลป์แห่งเดนมาร์ก ศูนย์แห่งนีต้ ง้ั ขึน้ ในปี ค.ศ. 2003 ภายใต้การ ดูแลของญาน เกห์ล เบร์กติ เต สวาร์ สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมยุคใหม่และการสื่อสารทางวัฒนธรรม และนั่นเป็น ความรู้ ท างสหวิ ช าการที่ เ ป็ น คุ ณ สมบั ติ ข องสาขาการศึ ก ษาชี วิ ต สาธารณะ จุดประสงค์ของเราทีม่ าพร้อมกับหนังสือเล่มนีม้ สี องประการ หนึง่ คือเราอยากกระตุน้ ให้ผคู้ นทัว่ ไปตืน่ ตัวกับการให้ความสำ�คัญกับชีวติ สาธารณะอย่างจริงจัง ทัง้ ในขัน้ ตอนการวางผังและการก่อสร้าง สอง เราอยากนำ�เสนอเครือ่ งมือและแรงบันดาลใจจากตัวอย่างทีเ่ ห็นอย่าง ชัดเจนว่าเราสามารถศึกษาชีวิตสาธารณะแบบง่าย ๆ และไม่ต้องใช้ เงินมากได้อย่างไร เราหวังว่าหนังสือเล่มนีจ้ ะเป็นแรงบันดาลใจให้กบั ผูอ้ า่ นให้เข้าไป ในเมือง และศึกษาปฏิกริ ยิ าระหว่างพืน้ ทีเ่ มืองและชีวติ เมืองเพือ่ ให้ได้ ความรูเ้ พิม่ มากขึน้ และเพือ่ ปรับปรุงคุณภาพการทำ�งานทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับ สภาพความเป็นอยูใ่ นเมือง หนังสือเล่มนีใ้ ห้ความสนใจไปทีเ่ ครือ่ งมือ และขัน้ ตอนการทำ�งาน ไม่ใช่ผลลัพธ์ทไ่ี ด้ ในบริบทนี้ เครือ่ งมือเหล่านี้ หรือวิธีการ ไม่ควรมองเป็นสิ่งอื่นนอกจากวิธีการที่แตกต่างออกไป ในการศึกษาปฏิสมั พันธ์ระหว่างชีวติ เมืองกับพืน้ ทีเ่ มือง วิธเี หล่านีถ้ กู นำ�เสนอในฐานะแรงบันดาลใจเช่นเดียวกับความท้าทายเพื่อที่จะ พัฒนาให้ดีขึ้น และปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นเสมอ บทแรกเป็นการแนะนำ�เรื่องการศึกษาชีวิตสาธารณะโดยทั่วไป บทที่ 2 นำ�เสนอคำ�ถามพืน้ ฐานมากมายทีเ่ กีย่ วกับการศึกษานี้ บทที่ 3 แสดงให้เห็นภาพรวมของเครือ่ งมือทีน่ �ำ มาใช้ในการศึกษาปฏิสมั พันธ์ ของพืน้ ทีส่ าธารณะกับชีวติ สาธารณะ บทที่ 4 สรุปประวัตศิ าสตร์ทาง สังคมและภูมหิ ลังทางวิชาการสำ�หรับการศึกษาชีวติ สาธารณะ บุคคล สำ�คัญและประเด็นหลักทีด่ �ำ เนินไปอย่างต่อเนือ่ งทีเ่ ชือ่ มโยงการศึกษานี้ เข้าไว้ดว้ ยกัน บทที่ 5 แสดงรายงานหลากหลายประเภทจากงานวิจยั แนวหน้าทีม่ ตี อ่ การศึกษาชีวติ สาธารณะในมุมมองทีแ่ ตกต่างกัน เรา เน้นความสำ�คัญไปทีก่ ารศึกษาในช่วงแรกๆ เพราะมีการพัฒนาวิธกี าร เพือ่ ทีจ่ ะอธิบายข้อพิจารณาเกีย่ วกับการใช้งานของมันและพัฒนาการ ทีเ่ กิดขึน้ บทที่ 6 เป็นการทบทวนตัวอย่างจากภาคปฏิบตั ิ การศึกษา พืน้ ทีส่ าธารณะ-ชีวติ สาธารณะทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั กันอย่างแพร่หลายทีพ่ ฒ ั นา โดยญาน เกห์ล และบริษทั เกห์ล สถาปนิก ในเวลาต่อมา และถูกนำ�มา

ใช้อย่างเป็นระบบในหลายเมืองตัง้ แต่ชว่ งปลายยุค 60 ทัง้ เมืองใหญ่ กลาง เล็ก ทั้งทางเหนือ ใต้ ออก และตก ดังนั้น ทุกวันนี้จึงมีข้อมูล และตัวอย่างจำ�นวนมากจากเมืองเหล่านี้ที่นำ�ไปสู่ข้อสรุป บทที่ 7 เป็นการบรรยายประวัติของการใช้การศึกษาชีวิตสาธารณะในเมือง โคเปนเฮเกนให้เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยสรุปแล้ว การศึกษา ชีวิตสาธารณะถูกนำ�มาใช้ร่วมกับมุมมองทางประวัติศาสตร์ สังคม และการเมือง อันสืบเนื่องมาจากทั้งงานวิจัยและภาคปฏิบัติ ถึงแม้วา่ หนังสือเล่มนีเ้ กิดจากการร่วมมือกันของสองนักเขียน แต่ หนังสือเล่มนีจ้ ะสำ�เร็จลงไปไม่ได้ ถ้าปราศจากการสนับสนุนของทีมงาน อันได้แก่ คามิลล่า ริชเตอร์ - ฟริส วาน เดอร์ส (Camilla Ritcher - Friis van Deurs) ผู้จัดทำ�รูปเล่มและกราฟิก แอนนี่ มาทัน (Annie Matan) คริสเตียน สคารัป (Kristian Skaarup) เอมมี่ เลาร่า เปเรส ฟญาลลันด์ (Emmy Laura Perez Fjalland) โญฮัน สเทาส์ทรัป (Johan Stoustrup) และเญน เบียสเทต (Janne Bjørsted) สำ�หรับ ข้อมูลและความช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์และกำ�ลังใจ และอีกคนที่ สำ�คัญคือ คาร์น สทีนฮาร์ด (Karen Steenhard) ทีแ่ ปลหนังสือเล่มนี้ เป็นภาษาอังกฤษ เราต้องขอบคุณบริษทั เกห์ล สถาปนิก เป็นอย่างมาก ทีใ่ ห้ใช้พนื้ ที่ ทำ�งาน ให้ความช่วยเหลือ และปัจจัยแวดล้อมที่สร้างแรงบันดาลใจ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ต้องขอขอบคุณเพือ่ นร่วมงาน ผูบ้ ริหาร และเพือ่ น ทุกคนของบริษทั เรา ทีช่ ว่ ยมอบภาพถ่ายและเป็นคูค่ ดิ ร่วมกับพวกเรา ต้องขอขอบคุณเป็นพิเศษต่อ ลาร์ส เกมซู (Lars Gemzøe) และทอม นีลเซ่น (Tom Nielsen) ทีช่ ว่ ยอ่านและตรวจทานข้อเขียนฉบับร่าง และ ขอขอบคุณสำ�นักพิมพ์ ไอส์แลนด์ เพรส (Island Press) และเฮทอร์ โบเยอร์ (Heather Boyer) เป็นพิเศษ และสำ�นักพิมพ์ โบก์แวร์เกอท์ (Bogværket) แห่งเดนมาร์ก เราขอขอบคุณสมาคม รีลเดเนีย (Realdania) ที่ให้การสนับสนุน แนวความคิดของโครงการนีแ้ ละให้การช่วยเหลือทางการเงินเพือ่ ให้ โครงการนี้สำ�เร็จลุล่วงด้วยดี ญาน เกห์ล และเบร์กิตเต สวาร์ เมืองโคเปนเฮเกน เดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2013 XIII



1

พื้นที่สาธารณะ ชีวิตสาธารณะ: การปฏิสัมพันธ์


ชีวติ ก็เหมือนสภาพอากาศ เพราะเป็นสิง่ ทีย่ ากทีจ่ ะพยากรณ์ แต่กระนัน้ นักอุตุนิยมวิทยาก็ได้พัฒนาวิธีการที่ช่วยให้พวกเขาสามารถ พยากรณ์สภาพอากาศได้ และตลอดหลายปีที่ผ่านมา วิธีการเหล่านี้ ก็มีความละเอียดมากขึ้นจนพวกเขาสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ยาว ไกลขึ้นและแม่นยำ�ยิ่งขึ้น ระเบียบวิธีที่อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้ ยังว่าด้วยปรากฏการณ์ที่คาดเดาได้ล่วงหน้าในสภาพการณ์ที่มีการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่จุดสนใจของเราคือ ชีวิตเกิดขึ้นใน พื้นที่เมืองได้อย่างไร เช่นเดียวกับการพยากรณ์สภาพอากาศ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าใคร ๆ ก็สามารถพัฒนาวิธีที่ถูกต้องแม่นยำ�ใน การคาดการณ์ว่าผู้คนจะใช้งานพื้นที่แห่งหนึ่งในเมืองอย่างไร ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีการรวบรวมข้อมูลมากมายที่เกี่ยวข้อง กับปฏิสัมพันธ์ของชีวิตและพื้นที่ในเมือง เช่นเดียวกับความรู้เกี่ยวกับ สภาพอากาศของนักอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลเหล่านี้ทำ�ให้เราเข้าใจชีวิต เมืองได้มากยิ่งขึ้น และคาดเดาได้ว่ามันจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่กำ�หนดไว้ ได้ อย่างไร หนังสือเล่มนี้อธิบายให้เห็นถึงวิธีการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ชีวิตสาธารณะและพื้นที่สาธารณะที่ถูกพัฒนาขึ้นตลอดช่วง 50 ปีที่ ผ่านมา การศึกษาเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจว่าเราใช้พื้นที่ สาธารณะกันอย่างไร เพื่อว่าเราจะสามารถทำ�ให้มันดีขึ้นและใช้ ประโยชน์ ได้มากขึ้น การสังเกตการณ์ (observation) คือสิ่งสำ�คัญ ในการศึกษาทั้งหมดที่น�ำ เสนอในหนังสือเล่มนี้ เราจำ�เป็นต้องพัฒนาเครื่องมือพิเศษสำ�หรับเฝ้าดูผู้คนขึ้นมาใหม่ เกือบทั้งหมด เพราะการใช้พื้นที่เมืองของผู้คนเป็นเรื่องที่ถูกมองข้าม ขณะที่แนวคิดเชิงนามธรรม โครงสร้างขนาดใหญ่ อุปสรรคทางด้าน การจราจร และประเด็นปัญหาที่แยกประเภทไม่ได้อื่น ๆ นั้น มีอิทธิพล ต่อการวางผังเมืองอยู่ก่อนแล้ว

2

พื้นที่สาธารณะและชีวิตสาธารณะ - ในภาษาพูด

สถาปัตยกรรมที่ดีเอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพื้นที่สาธารณะ และชีวิตสาธารณะ แต่ขณะที่สถาปนิกและนักผังเมืองกำ�ลังง่วนอยู่ กับเรือ่ งทีว่ า่ ง (space) ซึง่ เปรียบได้กบั ด้านหน้าของเหรียญ แต่กลับ หลงลืมอีกด้านของเหรียญ ซึง่ ก็คอื ชีวติ อาจเป็นเพราะว่าการทำ�งาน และการนำ�เสนองานในเรื่องรูปลักษณ์ (form) และที่ว่างนั้นเป็นสิ่งที่ ง่ายกว่ามาก ขณะทีช่ วี ติ เป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ชัว่ ครัง้ คราว มันจึงเป็นสิง่ ที่ ยากที่จะอธิบาย ชีวิตสาธารณะแปรเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องตลอดวัน สัปดาห์ หรือ เดือน และตลอดหลายปี นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ เช่น อายุ เพศ วัฒนธรรม เงินทุน และการออกแบบ ยังเป็นตัวกำ�หนดว่าเราจะใช้ พื้นที่สาธารณะหรือไม่ มีเหตุผลดี ๆ มากมายที่อธิบายว่าทำ�ไม การรวมชีวิตสาธารณะอันหลากหลายเข้ากับสถาปัตยกรรมและ การวางผังเมืองถึงเป็นเรือ่ งยาก แต่กระนัน้ ก็ตาม มันจำ�เป็นอย่างยิง่ ที่เราควรมีความสามารถสรรค์สร้างสภาพแวดล้อมที่มีประโยชน์ สำ�หรับคนหลายล้านคนที่ใช้พ้นื ที่ระหว่างอาคารเป็นประจำ�ทุกวันใน เมืองต่าง ๆ ทัว่ โลก ในบริบททีก่ ล่าวถึงนี้ ทุกคนจะนึกถึงพืน้ ทีส่ าธารณะในรูปแบบของ ถนน ตรอก ซอก ซอย อาคาร จัตุรัส เสากั้นทาง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นมา เราควร นึกถึงชีวิตสาธารณะในความหมายที่กว้างที่สุดในฐานะที่เป็นทุกสิ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างอาคาร ระหว่างทางไปกลับโรงเรียน บนระเบียง อาคาร การนั่ง ยืน เดิน ขี่จักรยาน ฯลฯ มันคือทุกสิ่งที่เมื่อเราออก ไปข้ า งนอกแล้ ว สามารถสั ง เกตเห็ น ได้ ว่ า มั น เกิ ด ขึ้ น มั น เป็ น ได้ มากกว่าแค่การแสดงเปิดหมวกตามท้องถนน และชีวิตตามร้าน กาแฟ อย่างไรก็ตาม เราไม่อยากให้เข้าใจว่าชีวติ เมืองคือสุขภาวะจิต ทีด่ ขี องเมือง แต่มนั ควรจะเป็นชีวติ อันซับซ้อนและหลากหลายทีเ่ กิดขึน้ ในพื้นที่สาธารณะ ไม่สำ�คัญเลยว่าจุดเริ่มต้นของเราจะเป็นเมือง โคเปนเฮเกน ธากา เม็กซิโกซิตี หรือเมืองเล็ก ๆ ในรัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลีย จุดมุ่งหมายของเราคือปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างชีวิต กับที่ว่างในทุกรูปแบบ


เครื่องมือที่หายไป

เมื่อตอนต้นของยุค 60 เสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ บ่งชี้ให้เห็นว่ามี บางสิ่งบางอย่างที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในย่านใหม่ ๆ ที่ก�ำ ลัง ถูกสร้างขึ้นจำ�นวนมาก ในระหว่างช่วงเวลาที่มีการเจริญเติบโตของ เมืองอย่างรวดเร็ว มีบางสิง่ ขาดหายไป บางสิง่ ทีย่ ากทีจ่ ะให้ค�ำ จำ�กัดความ แต่ถูกแสดงออกมาในแนวความคิดอย่างเช่น “ชุมชนห้องนอน” (bedroom communities) และ “ความถดถอยทางวัฒนธรรม” เรา หลงลืมเมืองที่มีชีวิตไปเสียแล้ว มันถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ มีแต่การ คำ�นึงถึงเมืองแต่ในสเกลใหญ่ ๆ และขัน้ ตอนต่าง ๆ ทีม่ คี วามพิเศษ และใช้เหตุผลมากจนเกินไปในการตัดสินใจ ท่ามกลางนักวิจารณ์ หลาย ๆ คนในช่วงเวลานัน้ มี เจน เจค็อบส์ (Jane Jacobs) และวิลเลียม เอช. ไวท์ (William H. Whyte) จากนครนิวยอร์ก คริสโตเฟอร์ อเล็ก ซานเดอร์ (Christopher Alexander) จากเมืองเบิรก์ ลีย์ และหนึง่ ใน ทีมผูแ้ ต่งหนังสือเล่มนี้ ญาน เกห์ล จากเมืองโคเปนเฮเกน ในทางประวัติศาสตร์ ชีวิตสาธารณะและพื้นที่สาธารณะเป็นของ คู่ กั น เมื อ งในยุ ค กลางเติ บ โตขึ้ น ที ล ะน้ อ ยตามความต้ อ งการที่ เปลีย่ นแปลงไป ตรงข้ามกับจังหวะการเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็วใน การวางผังขนาดใหญ่ของยุคโมเดิร์น เมืองทัง้ หลายเติบโตขึน้ อย่างค่อยเป็นค่อยไปใช้เวลาเป็นร้อย ๆ ปี จากรากฐานประสบการณ์ทส่ี ง่ั สมมาหลาย ๆ ปี ประกอบกับการหยัง่ รู้ ด้วยตนเองเพือ่ ตอบสนองต่อประสาทการรับรูแ้ ละสัดส่วนของมนุษย์ การเติบโตตามธรรมชาติของเมืองในยุคกลาง คือการนำ�เอาการ ก่อสร้างตามธรรมเนียมดั้งเดิมที่สืบสานประสบการณ์ต่อกันมาจาก รุ่นสู่รุ่น รวมกับสรรค์สร้างเมืองที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชีวิตและที่ว่าง ใช้งานได้อย่างดียิ่ง เข้าด้วยกัน แต่ทว่าความรู้เหล่านี้สูญหายไปใน ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างการพัฒนาอุตสาหกรรม และความ ทันสมัย ซึ่งนำ�ไปสู่สภาพแวดล้อมในเมืองที่ใช้การไม่ได้ในเรื่องชีวิต เมืองของคนเดินเท้าอันมีความสำ�คัญแต่กลับถูกละเลย แน่นอนว่า สังคมได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วตั้งแต่ยุคกลาง การแก้ปัญหาไม่ใช่ การสร้างเมืองแบบก่อนยุคโมเดิรน์ ขึน้ มาใหม่ แต่ควรพัฒนาเครือ่ งมือ ร่ ว มสมั ย ที่ ส ามารถประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นเชิ ง วิ เ คราะห์ เพื่ อ หล่ อ หลอม สัมพันธภาพระหว่างชีวิตและที่ว่างของเมืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

การก่อร่างสร้างตัวของศาสตร์ทางวิชาการ

ผูร้ เิ ริม่ ด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมของยุค 1960 ได้เริม่ ต้นจาก เท่าที่จำ�เป็นในเบื้องต้นเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในกรอบความคิด เรือ่ งชีวติ สาธารณะอันเป็นสิง่ ทีแ่ ปรผันอยูต่ ลอดเวลา และปฏิสมั พันธ์ ของมันทีม่ รี ว่ มกับพืน้ ทีส่ าธารณะและเหล่าอาคารบ้านเรือน ระเบียบ วิธีการของพวกเขาคือการศึกษาเมืองที่ดำ�รงอยู่แต่เดิม โดยเฉพาะ เมืองก่อนยุคอุตสาหกรรมและพื้นที่สาธารณะเพื่อหาความรู้พื้นฐาน ว่าเราใช้งานและสัญจรกันอย่างไรในเมือง หนังสือหลายเล่มที่ตพี มิ พ์ตงั้ แต่ยุค 60 จนถึงกลางยุค 80 ยังคง ถือเป็นตำ�ราพื้นฐานในการศึกษาชีวิตสาธารณะ1 ถึงแม้ว่าจะมีการ ทำ�ให้ระเบียบวิธีดังกล่าวละเอียดขึ้นในเวลาต่อมา อีกทั้งประเด็น ปัญหาและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ปรากฏขึน้ แต่หลักการและระเบียบวิธี ต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงเวลานั้น งานศึกษาชิน้ นีถ้ กู นำ�มาใช้ในขัน้ ต้นทีส่ ถาบันการศึกษาหลายแห่ง ในช่วงกลางยุค 80 อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายทศวรรษนั้นเห็นได้ ชัดว่าผลการวิเคราะห์และหลักการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตสาธารณะควร แปลงให้เป็นเครื่องมือที่สามารถนำ�มาใช้ได้โดยตรงในสายงานของ การวางผังเมือง นักผังเมืองและนักการเมืองล้วนต้องการให้ปัจจัย แวดล้อมเพื่อผู้คนของเมืองดีขึ้นเพื่อสร้างความได้เปรียบในการ แข่งขันระหว่างเมือง มันจึงกลายเป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ใน การสร้างเมืองของผูค้ น ทีด่ งึ ดูดทัง้ ผูอ้ าศัย นักท่องเทีย่ ว และคนทำ�งาน ให้เข้ามารับตำ�แหน่งงานใหม่ ๆ ในสังคมแห่งการเรียนรู้ การที่จะ บรรลุเป้าหมายนี้ต้องมีความเข้าใจในความต้องการและพฤติกรรม ของผู้คนในเมือง ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา วงการสถาปัตยกรรม และการวางผังเมืองโดยทั่วไปได้ยอมรับเพิ่มขึ้นโดยปริยายว่าการ ทำ�งานกับเรือ่ งของชีวติ ในเมืองนัน้ สำ�คัญมาก ประสบการณ์อนั ขมขืน่ แสดงให้เห็นว่าชีวิตเมืองอันน่าตื่นตาตื่นใจนั้นไม่ได้เกิดขึ้นด้วย ตั ว ของมันเอง เห็นได้ชัดในเมืองที่มีการพัฒนาอย่างสูงทางด้าน เศรษฐกิจ เพราะนอกเหนือจากผู้สัญจรไปมา ผู้คนไม่จำ�เป็นต้องอยู่ บนถนนหนทางเพือ่ ทำ�งาน ขายของจิปาถะหรือทำ�ธุระปะปังอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม เมืองที่ประสบความสำ�เร็จทางเศรษฐกิจน้อยกว่า ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ 3


”...Please look closely at real cities. While you are “…ได้โปรดมองเมื องที่แท้จริงอย่างใกล้ชิด ขณะที่คุณ looking, you might alsoง ใช้ listen, กำ�ลังเฝ้ามองอยู ่นั้น คุas ณก็well อาจจะฟั เวลาอย่linger างช้า and ๆ think และคิดabout ตามสิwhat ่งที่คุณyou เห็นsee.” ไปด้วย”2 Jane Jacobs

เจน เจค็อบส์


ปริมาณการจราจรทางรถยนต์และสาธารณูปโภคทีเ่ กีย่ วข้องก่อให้เกิด อุปสรรคต่อคนเดินเท้าและสร้างมลภาวะทางเสียงและอากาศต่อชีวติ ประจำ�วันของผู้คนจำ�นวนมาก หลักการที่สำ�คัญคือการทำ�ให้ชีวิต ปริมาณมหาศาลของผูค้ นนัน้ ใช้งานพืน้ ทีส่ าธารณะได้ในชีวติ ประจำ�วัน ภายใต้สถานการณ์อันเหมาะสม กลมกลืนกับกรอบโครงสร้างทาง กายภาพแทนที่จะต้องมาต่อสู้ดิ้นรนกับมัน

การสังเกตการณ์ในพื้นที่เมือง

การสังเกตการณ์โดยตรงคือเครือ่ งมือพืน้ ฐานของการศึกษาประเภท ของชีวติ สาธารณะทีก่ ล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ ตามกฎโดยทัว่ ไป ผูใ้ ช้งาน พื้นที่สาธารณะไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังตรงที่เราไม่ได้ใช้การ สอบถาม แต่ใช้การสังเกตการณ์และเขียนผังกิจกรรมและพฤติกรรม ของพวกเขา เพื่อที่จะทำ�ความเข้าใจต่อความต้องการของผู้ใช้งาน และการใช้งานในพื้นที่เมืองให้มากขึ้น การสังเกตการณ์โดยตรง ช่วยให้เข้าใจได้ว่าทำ�ไมพื้นที่บางแห่งถึงมีผู้ใช้งานและบางแห่ง ปราศจากผู้ใช้งาน เราสามารถนำ�การศึกษาพฤติกรรมของผูค้ นในพืน้ ทีส่ าธารณะมา เปรียบเทียบกับการศึกษาและการก่อร่างสร้างตัวของสิ่งมีชีวิต รูปแบบอืน่ ๆ ซึง่ อาจเป็นสัตว์หรือเซลล์ ลองนับดูวา่ พวกมันมีจ�ำ นวน รวมเท่าไหร่ พวกมันเคลือ่ นทีภ่ ายในสภาพแวดล้อมแบบต่าง ๆ ได้เร็ว แค่ไหน และลองอธิบายอย่างง่าย ๆ ว่าพวกมันมีพฤติกรรมอย่างไร บนพืน้ ฐานของการสังเกตการณ์อย่างมีระบบ พฤติกรรมของผูค้ นจะ ถูกบันทึก วิเคราะห์ และนำ�มาแปลความหมาย แต่สงิ่ เหล่านีไ้ ม่ได้ท�ำ ใต้กล้องจุลทรรศน์ การสังเกตการณ์ท�ำ ด้วยตาเปล่าและอาจมีการใช้ กล้องถ่ายรูปหรืออุปกรณ์ชว่ ยเหลืออืน่ ๆ เพือ่ ขยายภาพสถานการณ์ หรือหยุดช่วงเวลานั้นไว้เพื่อที่จะวิเคราะห์สถานการณ์อย่างใกล้ชิด มากยิ่งขึ้น จุดประสงค์คือช่วยให้ผู้สังเกตการณ์สามารถมองภาพได้ อย่างเฉียบคมยิ่งขึ้น นักประพันธ์ทดี่ งึ เอาสิง่ ดี ๆ ออกมาจากการบรรยายชีวติ ธรรมดา ทีป่ รากฏอยูใ่ นพืน้ ทีส่ าธารณะ เป็นชายชาวฝรัง่ เศสชือ่ จอร์จส์ เปเร็ค (Georges Perec, 1936-1982)3 ในหนังสือ Species of Spaces and other Pieces (1974) ได้แนะนำ�ผูอ้ า่ นถึงวิธมี องสิง่ ทีถ่ กู มองข้าม ในเมือง4 เขาสนับสนุนให้ผู้อ่านฝึกจดบันทึกสิ่งที่เห็นอยู่เป็นประจำ� โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการใช้ระบบบางอย่าง เปเร็คเขียนไว้วา่ ถ้าคุณไม่สงั เกตเห็นอะไรก็เพราะว่าคุณไม่ได้เรียนรู้ ที่จะสังเกต “คุณต้องลองแบบช้า ๆ ลงจนเกือบจะดูไร้สาระ บังคับ ให้ตวั เองจดสิง่ ทีไ่ ม่นา่ สนใจ สิง่ ทีด่ นู า่ เบือ่ ธรรมดา ไร้สสี นั ”5 ชีวติ ใน เมืองดูเหมือนจะน่าเบือ่ และฉาบฉวย ดังนัน้ หากเป็นไปตามทีเ่ ปเร็ค กล่าว ผู้สังเกตการณ์จำ�ต้องใช้เวลาตามที่ต้องการเพื่อเฝ้าดูอย่าง จริงจัง เพื่อให้เห็นสิ่งสามัญธรรมดาที่ปรากฏขึ้นในพื้นที่สาธารณะ ในหนังสือ The Death and Life of Great American Cities (1961) เจน เจค็อบส์ เขียนไว้ในคำ�นำ�ถึงคำ�อธิบายของเธอเรื่องชีวิต

สาธารณะ โดยรวบรวมมาจากละแวกบ้านของเธอในย่านกรีนชิ วิลเลจ ในแมนฮัตตันว่า “ฉากต่าง ๆ ทีแ่ สดงให้เห็นในหนังสือเล่มนีเ้ กีย่ วกับ พวกเราทั้งสิ้น จงมองเมืองจริง ๆ อย่างใกล้ชิดเป็นภาพประกอบ ขณะที่คุณกำ�ลังเฝ้ามองอยู่นั้น คุณอาจจะฟัง ใช้เวลาอย่างเชื่องช้า และคิดตามสิง่ ทีค่ ณ ุ เห็นไปด้วย”6 เจค็อบส์กล่าวไว้วา่ เมือ่ คุณอยูใ่ นเมือง คุณควรใช้เวลาคิดถึงสิ่งที่คุณกำ�ลังรู้สึก - หมายเหตุ: โดยการใช้ ประสาทสัมผัสทุกประเภทของคุณ แน่นอนว่าประสาทการมองเห็น คื อ สิ่ ง สำ � คั ญ ของการสั ง เกตการณ์ แต่ ใ นทางกลั บ กั น ก็ ไ ม่ ไ ด้ หมายความว่าเราต้องปิดประสาทการรับรูด้ า้ นอืน่ ๆ ของเราทัง้ หมด หมายความว่าเราต้องให้ความสนใจและคอยสังเกตสภาพการณ์ โดยรอบ ขณะทีเ่ ราผ่านไปมาอย่างไม่คอ่ ยใส่ใจอยูท่ กุ ๆ วัน จากพจนานุกรมออนไลน์ Macmillan สังเกตการณ์หมายถึง “เฝ้าดู หรือศึกษาคนหรือสิ่งของด้วยความใส่ใจและตั้งใจเพื่อที่จะค้นพบ บางสิ่งบางอย่าง”7 และแน่นอนทีส่ ดุ ว่าการเฝ้าดูดว้ ยความใส่ใจและ ตัง้ ใจคือการดึงเอาความรูท้ เี่ ป็นประโยชน์จากภาพธรรมดา ๆ ทีเ่ ห็น อยู่ท่ัวไป ใครก็ตามที่ตัดสินใจที่จะสังเกตการณ์ชีวิตในเมืองจะ ตระหนักรู้อย่างรวดเร็วว่าคุณต้องทำ�งานอย่างมีระบบเพื่อให้ได้รับ ความรู้ที่เป็นประโยชน์จากความสับสนอันซับซ้อนของชีวิตในพื้นที่ สาธารณะ บางทีคนทีเ่ รากำ�ลังสังเกตอยู่ จริง ๆ แล้วกำ�ลังทำ�ธุระอยู่ แต่ใช้เวลาในการมองคนอื่น ๆ ตามทางไปด้วย หรือหันไปดูขบวน ประท้วงบนท้องถนนที่กำ�ลังเป็นที่จดจ่อของทุกคน โดยทัว่ ไปแล้วผูส้ งั เกตการณ์ตอ้ งทำ�ตัวเป็นกลางเสมือนในสำ�นวน “แมลงวันบนข้างฝา” พวกนั่งดูเฉย ๆ ในงานเต้นรำ� ไม่ใช่เสือสิงห์ กระทิงแรดที่โดดเด่น แต่เหมือนมนุษย์ล่องหนที่ไม่มีส่วนร่วมซึ่ง เข้าใจภาพรวมของงานโดยไม่ต้องเข้าร่วมกิจกรรม ผู้สังเกตการณ์ สามารถเล่นได้หลายบทบาทขึน้ อยูก่ บั ลักษณะของการศึกษา เช่นบท ของนายทะเบียนที่ต้องคอยนับจำ�นวน ซึ่งความแม่นยำ�ในหน้าที่นั้น สำ�คัญทีส่ ดุ นายทะเบียนสามารถเป็นผูว้ ดั ผลได้ดว้ ย เช่นแยกประเภท ผู้คนตามอายุ ในที่นี้ความสามารถในการประเมินผลเป็นหน้าที่ที่ สำ�คัญที่สุด หรือบทนายทะเบียนอาจเป็นการวิเคราะห์ โดยการจด บันทึกอย่างละเอียดโดยใช้ความรู้สึกถึงความหมายที่แอบแฝงอยู่ กอปรกับวิธกี ารมองทีไ่ ด้รบั การฝึกฝนมาอย่างดีและประสบการณ์ของ การรู้สึกได้ว่าข้อมูลแบบใดที่ใช้งานได้ คุณสามารถฝึกฝนการมองได้ในศิลปะการสังเกตการณ์ โดย ธรรมชาติแล้วการมองของมืออาชีพและคนทั่วไปจะแตกต่างกัน แต่ ในหลักการแล้ว ใคร ๆ ก็สามารถสังเกตการณ์ชีวิตเมืองได้ ผู้ที่เพิ่ง เริ่มต้นจำ�ต้องฝึกฝนทักษะ มองโลกผ่านสายตาของมือใหม่และใช้ เครื่องมือตามคำ�แนะนำ� ขณะที่การมองของมืออาชีพที่ได้รับการ ฝึกฝนสามารถรับรู้ความเชื่อมโยงใหม่ ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม นัก สังเกตการณ์ทั้งหลายมีความเข้าใจในมิติแห่งรูปลักษณ์ในระดับที่ แตกต่างกันมาก หากนักสังเกตการณ์จ�ำ ต้องตีความสิง่ ทีเ่ ห็น พวกเขา ต้องได้รับการฝึกฝนเรื่องมิติสัมพันธ์ 5



2

ใคร อะไร ที่ไหน



การถามคำ�ถามอย่างเป็นระบบและแบ่งความหลากหลายของกิจกรรม และคนให้เป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อให้ ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเฉพาะ เจาะจงเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของชีวิตและรูปแบบในพื้นที่สาธารณะที่มี ความสลับซับซ้อนเป็นสิ่งจำ�เป็น บทนี้จะสรุปคำ�ถามในการศึกษาโดย ทั่วไปที่มีอยู่หลายแบบ เท่าไหร่ ใคร ที่ไหน อะไร นานแค่ไหน ตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าคำ�ถามพื้นฐานแต่ละข้อถูกนำ�มาศึกษาในบริบทต่าง ๆ อย่างไรบ้าง

พอเราเริ่มสังเกตชีวิตเมืองและปฏิสัมพันธ์ของมันกับสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพ แม้แต่มุมถนนที่ดูธรรมดามากที่สุดก็สามารถให้ความรู้ที่ น่าสนใจเกี่ยวกับปฏิกิริยาของชีวิตเมืองและสัณฐานของเมือง ที่ไหน ก็ตามในโลก เราสามารถจัดระบบการสังเกตการณ์ของเราโดยการ ถามคำ�ถามพื้นฐานอย่างเช่น ใคร อะไร และที่ไหน ภาพซ้าย: เมืองกอร์โดบา ประเทศอาร์เจนตินา ทีส่ ถาปนิก มิเกล อันเคล โรกา (Miguel Angel Roca) กำ�หนดกลยุทธ์แบบองค์รวม สำ�หรับนโยบายพัฒนาเมืองทางสังคมและสถาปัตยกรรมในปี 1979-801

รายการคำ�ถามทีส่ ามารถนำ�มาถามเกีย่ วกับปฏิสมั พันธ์ระหว่างชีวติ และรูปพรรณสัณฐานนั้นไม่มีที่สิ้นสุด คำ�ถามที่แสดงในย่อหน้าทาง ด้านซ้ายเป็นคำ�ถามทีเ่ ป็นพืน้ ฐานมากทีส่ ดุ และสามารถนำ�มารวมกัน ได้หลายแบบ เมือ่ ถามว่าผูค้ นอยูก่ นั ทีไ่ หน ก็ตอ้ งถามเพิม่ ว่าพวกเขา เป็นใคร พวกเขาอยู่นานแค่ไหน หรือต้องถามร่วมกับคำ�ถามอื่น ๆ การเตรียมรายการคำ�ถามทีเ่ ฉพาะเจาะจงทีส่ ามารถนำ�ไปใช้สอบถาม ในทุกพื้นที่หรือทุกเมืองเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทุกเมืองมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว และผู้สังเกตการณ์ต้องใช้สายตา ใช้ความรู้สึก และ วิจารณญาณในเบื้องต้นของพวกเขาเอง สิ่งที่สำ�คัญมากที่สุดคือ บริบทและพื้นที่เป็นตัวกำ�หนดวิธีการและเครื่องมือที่จะใช้ แล้วค่อย ดูว่าเราจะทำ�การศึกษาเมื่อไหร่และอย่างไร อย่างไรก็ตาม เป็นเรือ่ งธรรมดาของทุกทีแ่ ละทุกสถานการณ์ทท่ี กุ ครัง้ ที่นักสังเกตการณ์จับจ้องไปที่กลุ่มคนหรือประเภทของกิจกรรมหรือ ให้ความสนใจไปทีค่ วามหลากหลายของกิจกรรม การรวมกลุม่ แนวโน้ม ความสนใจ ฯลฯ เห็นได้อย่างชัดเจนว่ากลุ่มที่อาจเป็นเป้าหมายมี ความซับซ้อน ทับซ้อน และไม่ง่ายที่จะศึกษา ประเภทของกิจกรรมที่ แตกต่างกันมีความเชื่อมโยงกัน การสันทนาการและกิจกรรมที่มี เป้าหมายเกิดขึน้ ไปพร้อม ๆ กัน เราสามารถพูดถึงเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ แบบลูกโซ่ และการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง เป็นเพราะว่า ปฏิสมั พันธ์ระหว่างชีวติ กับพืน้ ทีว่ า่ งมีความซับซ้อนมากและยากทีจ่ ะ กำ�หนดแบบตายตัว มันอาจเกิดประโยชน์ทจี่ ะถามคำ�ถามพืน้ ฐานใน รูปแบบของการทำ�ข่าวที่ต้องยืนยันตามนั้น และต้องถามพวกเขา ซ้ำ�แล้วซ้ำ�อีก การให้ความสนใจไปที่ใคร อะไร ที่ไหน และคำ�ถามพื้นฐานอื่น ๆ ทำ�ให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมในพื้นที่สาธารณะและความรู้ พิเศษทีม่ ปี ระเด็นเฉพาะเจาะจงในทางปฏิบตั ิ การศึกษาคำ�ถามหลัก ๆ เหล่านี้สามารถใช้เป็นข้อมูล และความเข้าใจในรูปแบบของกิจกรรม นั้น ๆ หรือความรู้ที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับใครไปที่ไหนหรือไม่ ใน สถานที่นนั้ ๆ ดังนัน้ คำ�ถามเบือ้ งต้นเหล่านีส้ ามารถนำ�มาใช้ในทาง ปฏิบัติได้เช่นเดียวกับใช้เพื่อการทำ�วิจัยขั้นพื้นฐาน

11


ถนนนิวโร้ด เมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ มีกี่คนที่กำ�ลังเดินและมีกี่คนที่หยุดนิ่งบนถนนนิวโร้ด เมืองไบรตัน การศึกษาชีวิตในที่สาธารณะช่วยให้ทราบเรื่องการใช้งานก่อนและ หลังการปรับปรุงพืน้ ที่ จำ�นวนของคนเดินเท้าเพิม่ ขึน้ 62% หลังจาก ที่เปลี่ยนถนนเดินรถเป็นถนนที่ให้ความสำ�คัญกับคนเดินเท้าใน ปี ค.ศ. 2006 จำ�นวนของกิจกรรมที่อยู่กับที่เพิ่มขึ้นถึง 600%2 ประเภทของการนับจำ�นวนคนก่อนและหลังเป็นตัวบอกได้ว่าการ ริเริม่ โครงการปรับปรุงพืน้ ทีน่ นั้ ได้รบั การตอบรับมากน้อยแค่ไหน ใน เมืองไบรตัน ตัวเลขเหล่านีใ้ ช้เป็นข้อมูลยืนยันได้วา่ ถนนนิวโร้ดเปลีย่ น สถานะจากถนนทางผ่ า นไปเป็ น จุ ด หมายปลายทาง สถิ ติ เ ช่ น นี้ สามารถนำ�ไปใช้เป็นข้อพิสูจน์ที่ดีสำ�หรับการให้ความสำ�คัญเป็น อันดับต้น ๆ ของโครงการต่าง ๆ เพื่อคนเดินเท้า ทั้งในท้องถิ่นและ โดยทั่วไป

ก่อน หลัง

12


คำ�ถามที่ 1: จำ�นวนเท่าไร การประเมินเชิงคุณภาพโดยการนับจำ�นวนคนทีท่ �ำ อะไรบางอย่างอยู่ ทำ�ให้เกิดความเป็นไปได้ทจ่ี ะวัดสิง่ ทีด่ เู หมือนจะฉาบฉวย เช่น ชีวติ เมือง เมืองเกือบทุกเมืองมีศูนย์ควบคุมการจราจร และมีข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ�ว่ามีรถกีค่ นั ทีข่ บั ผ่านเส้นทางหลักของเมือง แต่เราไม่เคยรับรู้ เลยว่ามีหน่วยงานสำ�หรับคนเดินเท้าและชีวติ ในทีส่ าธารณะ หรือการ นับจำ�นวนของผู้คน การนับทำ�ให้ทราบข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งสามารถนำ�มาใช้เลือก โครงงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และใช้เป็นข้อพิสูจน์ทางเดียวหรือ ทางอืน่ ๆ ในกระบวนการตัดสินใจ การวัดทีไ่ ม่มขี อ้ สงสัยมักถูกนำ�มา ใช้เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ การเริ่มจากคำ�ถามว่ามี จำ�นวนเท่าไร เป็นพื้นฐานของการศึกษา ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ โดยทฤษฎีแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถนับได้ แต่ สิ่ ง ที่ เ รามั ก จะบั น ทึ ก ไว้ คื อ มี กี่ ค น ที่ เ คลื่ อ นไหวไปมา (การ เคลื่อนไหวของคนเดินเท้า) และ มีกี่คน ที่อยู่กับที่ในที่แห่งหนึ่ง (กิจกรรมที่อยู่กับที่)

คำ�ถามว่า มีกี่คน หรือ มีน้อยแค่ไหน มีอยู่หลายรูปแบบในการ ศึกษาชีวิตในพื้นที่สาธารณะ เช่น ก่อนหรือหลังโครงงานปรับปรุง พืน้ ทีเ่ ขตเมือง ถ้าเรารูว้ า่ มีกค่ี น ทีอ่ ยูใ่ นจัตรุ สั แล้วเราก็ปรับปรุงจัตรุ สั และนับจำ�นวนคนใหม่อกี ครัง้ เราก็จะสามารถประเมินผลความสำ�เร็จ ของโครงงานที่น�ำ มาปรับปรุงใหม่ ถ้าจุดประสงค์มีเพื่อให้คนอยู่ใน จัตุรัสมากขึ้น การนับว่า มีกี่คน ใช้วิธีเดียวกันกับวันที่เอามาเปรียบ เทียบกันจะแสดงให้เห็นระดับของความสำ�เร็จหรือความล้มเหลว อย่างรวดเร็ว ปกติต้องนับจำ�นวนประมาณหนึ่งเพื่อให้นำ�ไปใช้ เปรียบเทียบช่วงเวลาทีแ่ ตกต่างกันของวัน วันทีแ่ ตกต่างกัน และฤดู ที่แตกต่างกัน ตัวเลขเฉย ๆ นั้นแทบจะไม่น่าสนใจ สิ่งที่ส�ำ คัญคือผลลัพธ์ต้อง นำ�มาเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้น สิ่งจำ�เป็นคือต้องบันทึกให้แม่นยำ� และนำ�มาเปรียบเทียบได้ สถานการณ์ที่เป็นเรื่องจริงอย่างเช่น สภาพอากาศและช่วงเวลาของวัน ต้องบันทึกไว้อย่างสม่�ำ เสมอและ ถูกต้องแม่นยำ� เพื่อให้การศึกษาที่คล้ายคลึงกันสามารถทำ�ในวัน ต่อไปได้

13



3

การนับ การวาดลงผัง การสะกดรอย และเครื่องมือ อื่น ๆ


บทนี้บรรยายให้เห็นภาพเครื่องมือหลากหลายประเภทสำ�หรับจัดระบบ และบันทึกการสังเกตการณ์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่สาธารณะ และชีวิตในพื้นที่สาธารณะ มีการกล่าวถึงการสังเกตการณ์ทางอ้อม 2-3 กรณีศึกษา เช่น การใช้กล้องหรือเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ เพื่อบันทึกหรือมองหาร่องรอยของกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเลือกเครื่องมือชนิดใด การพิจารณาถึงจุดประสงค์และ ช่วงเวลาในการศึกษาก็เป็นสิ่งจำ�เป็นเสมอ คำ�ถามทั่วไปของการศึกษา ประเภทนี้อธิบายไว้อย่างย่อในบทนี้ และเครื่องมือหลักที่ใช้ใน การบันทึกก็อธิบายไว้ด้วย แน่นอนที่ว่าเครื่องมืออื่น ๆ ก็ยังคง ใช้งานอยู่ แต่เรานำ�เสนอเครื่องมือที่ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้พิจารณา แล้วว่า มีความสำ�คัญมากที่สุด จากประสบการณ์ของพวกเขาเอง

จุดประสงค์ของการศึกษาและการเลือกใช้เครื่องมือ

จุดประสงค์ งบประมาณ เวลา และสภาพพืน้ ที่ เป็นตัวกำ�หนดเครือ่ งมือ ทีเ่ ลือกใช้ในการศึกษา ผลลัพธ์จะถูกนำ�มาใช้เป็นพืน้ ฐานในการตัดสินใจ ทางนโยบายหรือไม่ หรือสถิตกิ อ่ นและหลังทีท่ �ำ อย่างเร่งด่วน เป็นสิง่ จำ�เป็นในการนำ�มาวัดผลกระทบของโครงการหรือไม่ คุณกำ�ลัง รวบรวมข้อมูลความเป็นมาที่เฉพาะเจาะจงอันเป็นส่วนหนึ่งของ ขัน้ ตอนในการออกแบบหรือไม่ หรือการศึกษาของคุณเป็นส่วนหนึง่ ของ โครงการค้นคว้าวิจยั ทัว่ ไปเพือ่ รวบรวมข้อมูลพืน้ ฐานในช่วงเวลาหนึง่ และในเขตพื้นที่ภูมิศาสตร์หลาย ๆ พื้นที่หรือไม่ การเลือกเครื่องมือนั้นขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่ที่ทำ�การศึกษาเป็นพื้นที่ สาธารณะที่มีขอบเขตแน่ชัด ถนน ย่าน หรือเมืองทั้งเมืองหรือไม่ อย่างไร ถึงแม้จะเป็นพื้นที่ที่ถูกกำ�หนดขอบเขตไว้แล้ว การพิจารณา บริ บ ทของการศึ ก ษาแบบองค์ ร วมก็ ยั ง เป็ น เรื่ อ งจำ �เป็ น รวมถึ ง ลักษณะทางกายภาพ วัฒนธรรม และสภาพอากาศ เครื่องมือเพียง ชิ้นเดียวแทบจะไม่เพียงพอ การรวมประเภทของการตรวจสอบ หลายๆ แบบมักเป็นสิ่งที่จำ�เป็นเสมอ

การเลือกวัน – ลมฟ้าอากาศ

จุดประสงค์ของการศึกษาและสภาพพืน้ ถิน่ เป็นตัวกำ�หนดว่าช่วงเวลาไหน เหมาะสมกับการบันทึกข้อมูล ถ้าพื้นที่ที่ท�ำ การศึกษาเป็นบริเวณที่มี ความคึกคักในยามดึก ช่วงเวลาก่อนและหลังเทีย่ งคืนก็เป็นช่วงเวลา สำ�คัญ ถ้าพื้นที่ที่ทำ�การศึกษาเป็นเขตที่พักอาศัย บางทีข้อมูลอัน เหมาะสมที่ทำ�การบันทึกก็จะทำ�ได้ถึงแค่ช่วงเย็น การบันทึกที่สนาม เด็กเล่นสามารถทำ�ได้เสร็จในช่วงบ่าย มีความแตกต่างอย่างมาก ระหว่างช่วงวันธรรมดาและช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และโดยทัว่ ไปแล้ว รูปแบบจะเปลี่ยนแปลงไปในช่วงวันก่อนจะถึงวันหยุด เนื่องจากอากาศดีจะทำ�ให้เกิดสภาวะที่ดีที่สุดสำ�หรับการใช้ชีวิต กลางแจ้งในทีส่ าธารณะ ดังนัน้ การจดบันทึกมักทำ�ในวันทีม่ อี ากาศดี ในแต่ละปี โดยธรรมชาติแล้วความแตกต่างทางภูมิภาคเป็นสิ่งที่ น่าตื่นตาตืน่ ใจ แต่ส�ำ หรับการศึกษาการใช้ชวี ติ ในพืน้ ทีส่ าธารณะนัน้ สิ่งที่จำ�เป็นคือประเภทของอากาศที่อยู่ในสภาวะที่ดีที่สุดสำ�หรับการ ใช้ชีวิตกลางแจ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแวะพัก สภาพอากาศมี ผลกระทบเป็นพิเศษต่อการบันทึกเรื่องการหยุดพัก เพราะถึงแม้ว่า 22


สภาพอากาศรุนแรงจะจบลงไปแล้ว คนทัว่ ไปก็ยงั ไม่อยากนัง่ บนม้านัง่ ทีเ่ ปียก และถ้ารูส้ กึ เหมือนฝนจะตก คนส่วนใหญ่กไ็ ม่อยากจะหาทีน่ ง่ั ถ้าอากาศไม่เป็นใจอีกต่อไปที่จะแวะพักในพื้นที่สาธารณะในวันที่จะ ทำ�การบันทึก เราก็จ�ำ เป็นทีต่ อ้ งเลือ่ นการสำ�รวจทีย่ งั ค้างอยูไ่ ปวันอืน่ ที่มีอากาศดีกว่า การรวบรวมเอาการบันทึกช่วงครึง่ วัน ของสองวัน เข้าด้วยกันเป็นการศึกษาเต็มวัน ซึ่งไม่เป็นปัญหาอะไรในการนำ�ไป ใช้งาน การบันทึกอาจถูกรบกวนจากองค์ประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่อง อากาศ เช่น แฟนกีฬากลุ่มใหญ่เคลื่อนพลไปดูการแข่งขัน หรือการ เดินขบวนก็อาจเปลี่ยนรูปแบบของการเคลื่อนที่ตามปกติของผู้คน เป็นอย่างมาก ผลลัพธ์จากการบันทึกมักจะเป็นความจริงทีม่ กี ารดัดแปลงแก้ไขแล้ว เพราะว่าไม่มีอะไรที่คาดเดาได้ทั้งหมด สิ่งที่คาดเดาไม่ได้ทำ�ให้พื้นที่ ต่างๆ ของเมืองเป็นที่ที่เราสามารถใช้เวลานั่งมองคนอื่น และการที่ เราไม่สามารถคาดเดาอะไรได้นั้น ทำ�ให้เป็นเรื่องยากที่จะจับจังหวะ เมืองของทุก ๆ วันอันน่าประหลาดใจและแปรเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง ลักษณะทีเ่ ปลีย่ นไปอย่างรวดเร็วของเมืองทำ�ให้ผสู้ งั เกตการณ์จ�ำ เป็น ต้องมีประสบการณ์สว่ นตัวและสังเกตปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อชีวติ เมือง กรณีนี้เป็นหนึ่งในความแตกต่างที่ส�ำ คัญที่สุดระหว่างการใช้คนเป็น ผู้บันทึกข้อมูลแทนที่จะเป็นเครื่องมือและเครื่องกลอัตโนมัติ

วิธีการบันทึกโดยใช้มือมนุษย์หรือใช้เครื่องมืออัตโนมัติ เครื่องมือสำ�หรับสังเกตการณ์ที่อธิบายไว้แล้วนั้นเป็นการใช้คนเป็น ผู้ บันทึกในตอนแรก ซึ่งโดยทั่วไปสามารถทดแทนได้ด้วยวิธีการ บันทึกโดยการใช้เครื่องอัตโนมัติ ในยุค 60, 70 และ 80 การศึกษา ส่วนใหญ่ทำ�โดยการใช้คนบันทึก แต่วิธีแก้ปัญหาที่ใช้เทคโนโลยีที่ ใหม่กว่าสามารถบันทึกจำ�นวนและการเคลื่อนไหวได้จากระยะไกล การบันทึกโดยการใช้เครื่องอัตโนมัติทำ�ให้สามารถทำ�ขั้นตอนที่ได้ ข้อมูลจำ�นวนมาก เราไม่ได้ต้องการกำ�ลังคนในจำ�นวนเท่ากันมา ทำ�การสังเกตการณ์ แต่ตอ้ งการการลงทุนเรือ่ งเครือ่ งมืออุปกรณ์และ กำ�ลังคนในการรวบรวมข้อมูลทีเ่ ก็บมา ดังนัน้ ตัวเลือกว่าจะใช้วธิ กี าร บันทึกแบบใช้คนบันทึกหรือใช้เครื่องมืออัตโนมัติจึงมักขึ้นอยู่กับ ขนาดของการศึกษาและราคาของเครือ่ งมือ เครือ่ งมือทางเทคโนโลยี ส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใช้ทั่วไปหรืออยู่ในขั้นพัฒนาในระยะต้น ซึ่ง

ทำ�ให้เราต้องพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็​็มีความเป็นไปได้ที่การบันทึกโดยการใช้เครื่องมืออัตโนมัติจะมี บทบาทสำ�คัญมากขึ้นในการศึกษาเรื่องการใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในอนาคต นอกจากนั้น การบันทึกโดยการใช้เครื่องมืออัตโนมัติต้องเสริม ด้วยการประเมินผลของข้อมูลทีเ่ ก็บมาอย่างระมัดระวัง ซึง่ อาจจบลง ด้วยการใช้เวลามากพอ ๆ กับการสังเกตการณ์โดยตรง

เครื่องมือง่ายเหมือนได้เปล่า

เครื่องมือทั้งหมดในกล่องเครื่องมือของชีวิตสาธารณะถูกพัฒนามา เพือ่ เหตุผลในทางปฏิบตั ิ เพือ่ ทำ�ให้สภาวะแวดล้อมดีขนึ้ สำ�หรับผูค้ น ในเมือง โดยการทำ�ให้พวกเขาโดดเด่นออกมา และเพื่อให้ข้อมูลที่ เหมาะกับงานการสร้างเมืองสำ�หรับผู้คน การทำ�ให้เครือ่ งมือเหล่านี้ ใช้งานได้ในภาคปฏิบัติมีความสำ�คัญมาก เครื่องมือเหล่านี้สามารถ นำ�มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับภารกิจทีเ่ ฉพาะเจาะจงลงไป และมักจะ ถูกพัฒนาให้เหมาะกับการพัฒนาทางอาชีพ สังคม และเทคโนโลยีโดย ทัว่ ๆ ไป โดยทัว่ ไปแล้วเครือ่ งมือทำ�ได้งา่ ยๆ และทำ�ได้ทนั ที และการศึกษา ก็สามารถทำ�ได้ดว้ ยงบประมาณอันจำ�กัด การศึกษาส่วนใหญ่ตอ้ งการ เพียงแค่ปากกา กระดาษแผ่นเดียว และอาจมีเครื่องนับและนาฬิกา จับเวลา หมายความว่าคนที่ไม่เชี่ยวชาญก็สามารถทำ�การศึกษาได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายซื้อเครื่องมือราคาแพง เครื่องมือเดียวกัน สามารถนำ�ไปใช้ได้ทั้งการศึกษาขนาดใหญ่หรือเล็ก สิง่ สำ�คัญสำ�หรับการศึกษาทัง้ หมดคือการสังเกตการณ์และการใช้ สามัญสำ�นึกที่ดี เครื่องมือคือสิ่งที่ช่วยเก็บรวบรวมและทำ�ข้อมูลให้ เป็นระบบ การเลือกเครื่องมืออย่างหนึ่งแทนที่อีกอย่างหนึ่งไม่ได้ สำ�คัญเท่ากับการเลือกเครือ่ งมือทีเ่ หมาะสมและปรับการใช้งานให้เข้า กับจุดประสงค์ของการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ภายในการศึกษาเดียวกันหรือเปรียบ เทียบกับการศึกษาครัง้ ต่อ ๆ ไปในสถานทีแ่ ห่งเดียวกันหรือในสถานที่ อืน่ ๆ การบันทึกให้ถกู ต้องแม่นยำ�และสามารถนำ�มาเปรียบเทียบกัน ได้เป็นเรือ่ งทีจ่ �ำ เป็น สิง่ สำ�คัญคือต้องบันทึกอย่างระมัดระวังในเรือ่ ง สภาพอากาศและช่วงเวลาใดของวัน วันใดของสัปดาห์และเดือน เพื่อที่จะทำ�การศึกษาแบบเดียวกันในครั้งต่อไป 23


การนับจำ�นวน

การนับเป็นเครื่องมือที่นำ�มาใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาการใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ตามหลักการแล้วนั้น ทุกสิ่งสามารถนับได้ ซึ่งทำ�ให้เกิดตัวเลขสำ�หรับการเปรียบเทียบ ก่อนและหลัง ระหว่างพื้นที่ที่แตกต่างกันทางภูมิศาสตร์ หรือช่วงเวลาที่ต่างกัน

การวาดลงผัง

กิจกรรม คน สถานทีส่ �ำ หรับหยุดแวะ และอืน่ ๆ อีกมากมาย สามารถกำ�หนดบนผังได้ โดยวาดเป็นสัญลักษณ์ไว้ในผังของพืน้ ทีท่ ท่ี �ำ การศึกษา เพือ่ นับจำ�นวนและประเภทของ กิจกรรมและสถานทีท่ ท่ี �ำ การศึกษา สิง่ เหล่านีเ้ รียกว่า การทำ�ผังแห่งพฤติกรรม

การลากตามรอย

การเคลือ่ นไหวของคนภายในหรือข้ามพืน้ ทีท่ จ่ี �ำ กัดสามารถร่างเป็นเส้นทางการเคลือ่ นไหว บนผังของพืน้ ทีท่ ท่ี �ำ การศึกษา

การสะกดรอย

เพือ่ สังเกตการณ์การเคลือ่ นไหวของคนในพืน้ ทีข่ นาดใหญ่หรือเป็นระยะเวลาทีน่ านขึน้ นักสังเกตการณ์สามารถติดตามคนได้อย่างระมัดระวังโดยทีพ่ วกเขาไม่ทราบ หรือติดตาม ใครสักคนทีร่ แู้ ละยินยอมให้ตามและสังเกตการณ์ วิธนี ย้ี งั ถูกเรียกว่า เงาตามตัว

การหาร่องรอย

กิจกรรมของมนุษย์มกั ทิง้ ร่องรอยเอาไว้ อย่างเช่น ขยะทีถ่ กู ทิง้ ลงบนถนน รอยหญ้าถลอก บนสนามหญ้า เป็นต้น สิง่ เหล่านีใ้ ห้ขอ้ มูลกับนักสังเกตการณ์เกีย่ วกับชีวติ เมือง ร่องรอยเหล่านีส้ ามารถบันทึกผ่านการนับจำ�นวน การถ่ายรูป หรือการวาดลงผัง

การบันทึกภาพ

การถ่ายภาพเป็นส่วนทีจ่ �ำ เป็นของการศึกษาชีวติ สาธารณะเพือ่ บันทึกสถานการณ์ตา่ งๆ ทีช่ วี ติ เมืองและสัณฐานของเมืองเกิดปฏิสมั พันธ์กนั หรือล้มเหลวทีจ่ ะเกิดปฏิสมั พันธ์ หลังจากเริม่ โครงการพัฒนาต่างๆ

การจดอนุทิน

การจดอนุทนิ หรือบันทึกประจำ�วันสามารถบันทึกรายละเอียดและความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ เกีย่ วกับปฏิสมั พันธ์ระหว่างชีวติ และพืน้ ทีส่ าธารณะ เป็นการบันทึกการสังเกตการณ์ ทีส่ ามารถเอามาแยกประเภทและ/หรือหาจำ�นวนได้ในภายหลัง

การเดินทดสอบ

การเดินสำ�รวจชีวติ ทีอ่ ยูโ่ ดยรอบสามารถทำ�อย่างเป็นระบบมากหรือน้อยก็เป็นได้ แต่จดุ ประสงค์คอื ผูส้ งั เกตการณ์มโี อกาสทีจ่ ะสังเกตปัญหาและความเป็นไปได้ส�ำ หรับ ชีวติ เมืองในเส้นทางทีศ่ กึ ษา

24


การนับจ�ำนวน การนับจำ�นวนคือพืน้ ฐานของการศึกษาชีวติ สาธารณะ โดยหลักการ ทุกสิง่ สามารถนับได้: จำ�นวนคน การแบ่งเพศ มีคนกีค่ นทีค่ ยุ กัน มีกค่ี น ที่ กำ � ลั ง ยิ้ ม อยู่ มี กี่ ค นที่ เ ดิ น คนเดี ย วหรื อ เดิ น เป็ น กลุ่ ม มี กี่ ค นที่ กระตือรือร้น มีกี่คนที่กำ�ลังคุยโทรศัพท์มือถือ มีหน้าร้านกี่แห่งที่มี เหล็กกั้นหลังจากปิดร้าน มีธนาคารกี่แห่ง เป็นต้น สิ่งที่มักบันทึกไว้ คือมีกี่คนที่กำ�ลังเคลื่อนที่ (การไหลของคนเดินเท้า) และมีกี่คนที่อยู่ กับที่ (กิจกรรมที่อยู่กับที่) การนับจำ�นวนให้ข้อมูลในเชิงปริมาณที่ สามารถนำ�มาใช้ให้เหมาะสมกับโครงงานและเป็นข้อพิสูจน์ในการ ตัดสินใจ เราสามารถจดบันทึกจำ�นวนด้วยการใช้เครือ่ งนับแบบมือถือหรือ ทำ�เครื่องหมายง่าย ๆ ไว้บนกระดาษตอนที่คนเดินผ่านเส้นที่สมมติ เอาไว้ ถ้าจุดประสงค์คอื นับคนทีอ่ ยูก่ บั ที่ ผูส้ งั เกตการณ์กต็ อ้ งเดินไป รอบ ๆ พื้นที่และนับจำ�นวนคน การนับเป็นเวลาสิบนาที ทุก ๆ หนึ่งชั่วโมง จะทำ�ให้ภาพของ จังหวะในแต่ละวันถูกต้องแม่นยำ�มากขึ้น ชีวิตเมืองแสดงให้เห็นถึง

ลีลาจังหวะที่ต่อเนื่องและสม่ำ�เสมอจากวันหนึ่งไปยังอีกวันหนึ่ง เหมือนกับปอดที่กำ�ลังหายใจ เมื่อวานก็เหมือนพรุ่งนี1้ ตามปรกติแล้วนั้น การนับให้พอดีสิบนาทีเป็นเรื่องที่สำ�คัญมาก เพราะนี่คือตัวอย่างที่เราสุ่มมาที่จะต้องทำ�ซ้ำ�อีกเพื่อนับการจราจร ของคนเดินเท้าต่อชั่วโมง ข้อมูลทั้งหมดในแต่ละชั่วโมงจะถูกนำ�มา รวบรวมเพือ่ ให้ได้ขอ้ สรุปโดยรวมของแต่ละวัน ดังนัน้ ความผิดพลาด หรือคลาดเคลือ่ นเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำ�ให้ผลทีอ่ อกมาใช้งานไม่ได้ ถ้าพื้นที่มีคนอยู่อาศัยกันอย่างเบาบาง การนับก็ต้องต่อเนื่องในช่วง เวลาที่นานขึ้นเพื่อลดความไม่แม่นยำ� ถ้ามีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ก็ต้องมีการบันทึกไว้ ตัวอย่างเช่น การเดินขบวนที่มีคนจำ�นวนมาก การปิดซ่อมถนน หรืออะไรก็ตามที่อาจมีอิทธิพลต่อจำ�นวนคนที่ ปรากฏอยู่ จากการเริ่มดำ�เนินการนับจำ�นวนคนก่อนและหลังในพื้นที่เมือง ทำ�ให้นักผังเมืองสามารถประเมินผลอย่างง่ายและรวดเร็วได้ว่า ผล ของการริเริม่ โครงการใหม่ได้เพิม่ เติมชีวติ ในเมืองให้มมี ากขึน้ หรือไม่ หรือตอบรับกับกลุ่มอายุของผู้คนที่กว้างขึ้น เป็นต้น การขยายเวลา ของการนับจำ�นวนให้ยาวขึ้นนั้น ก็เพื่อเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลา ที่แตกต่างกันของวัน สัปดาห์ หรือปี

การนับจ�ำนวนคนในเมืองฉงชิง ประเทศจีน2 การบันทึกจ�ำนวนคนทีเ่ ดินผ่านไปทัง้ หมด ถ้ามีคนเดินเท้าจ�ำนวนมาก เครือ่ งนับก็เป็นสิง่ ที่ มีคา่ อย่างยิง่ (ขวา) 25



4

การศึกษาชีวติ ในทีส่ าธารณะ จากมุมมองทาง ประวัตศิ าสตร์



บทนี้แสดงให้เห็นภาพรวมทางประวัติศาสตร์ของปัจจัยทางสังคมและ โครงสร้างในศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมและการวางผังเมืองที่เป็น แรงผลักดันให้เกิดการศึกษาชีวติ ในทีส่ าธารณะในฐานะสาขาวิชาพิเศษ ยุคแรกนั้นเริ่มจากการถือกำ�เนิดของการพัฒนาอุตสาหกรรมในปี ค.ศ. 1850 และต่อเนื่องไปจนถึงจุดสูงสุดของการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการก่อสร้างที่เฟื่องฟูในปี ค.ศ. 1960 ช่วงต่อไปครอบคลุม ต้นกำ�เนิดและการจัดตั้งสภาพแวดล้อมทางวิชาการสำ�หรับการศึกษา ชีวิตในที่สาธารณะจากยุค 60 ไปจนถึงกลางยุค 80 ช่วงต่อไปเป็น การอธิบายว่านักผังเมืองและนักการเมืองในช่วงกลางยุค 80 เริ่มให้ ความสนใจในชีวิตเมืองและการศึกษาชีวิตสาธารณะเพื่อให้เมืองใช้ งานได้ดีขึ้นในการแข่งขันระหว่างเมืองได้อย่างไร ช่วงสุดท้ายคือช่วง เวลาจากประมาณปี ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจุบัน เมื่อการคิดพิจารณา สำ�หรับชีวิตสาธารณะเป็นเสมือนสิ่งที่ได้มาโดยง่าย

จากการสร้างเมืองแบบดั้งเดิมไปถึงการวางผังเมือง ตามหลักเหตุผล (1850-1960)

ยุคพัฒนาอุตสาหกรรมเริม่ ขึน้ อย่างจริงจังในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ผู้คนมากมายย้ายจากชนบทเข้าไปสู่พื้นที่เมือง และเส้นแบ่งเขตที่ ชัดเจนของอาณาเขตเมืองจางหายไป จำ�นวนผูพ้ กั อาศัยใหม่ทเ่ี พิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งในเมือง สร้างความกดดันให้กบั เมืองเก่า ซึง่ ไม่สามารถ ตอบรับความต้องการของสังคมอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้างใหม่ ๆ วิธกี ารก่อสร้างทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากกว่าเดิม และขัน้ ตอนการก่อสร้าง ทีเ่ ฉพาะเจาะจงมากขึน้ สามารถสร้างอาคารทีใ่ หญ่ขน้ึ สูงขึน้ และเร็วขึน้ ตรงกันข้ามกับเมืองดั้งเดิมที่มีอาคารเตี้ยและหนาแน่น ถนนที่คดเคี้ยวไปมาของเมืองในยุคกลางแบบดั้งเดิมมีมาตั้งแต่ ยุคเรอเนซองซ์เริ่มแรก ซึ่งมักใช้เส้นตรงและแกนสมมาตร และไม่มี การเปลี่ยนแปลงใด ๆ จนกระทั่งยุคโมเดิร์นและการเข้ามาของ รถยนต์ในฐานะรูปแบบของการจราจรทีม่ คี วามสำ�คัญในศตวรรษที่ 20 ทำ�ให้เลิกใช้โครงสร้างเมืองแบบดัง้ เดิมอันมีรากฐานมาจากถนนและ จัตุรัสอย่างสิ้นเชิง

คามิลโล ซิตเต้ (Camillo Sitte): การตีความหมาย ของเมืองดั้งเดิมอีกครั้ง ปี ค.ศ. 1961 กอร์ดอน คัลเลน (Gordon Cullen, 1914-1994) ตีพมิ พ์ หนังสือ The Concise Townscape ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่มี อิทธิพลมากที่สุดในสาขาการออกแบบเมือง1 เราเลือกหน้าปกหนังสือของคัลเลนมาใช้ในการเปิดบทที่เกี่ยวข้อง กับประวัติศาสตร์นี้ เพราะหนังสือเล่มนี้สรุปประวัติของการศึกษา ชีวิตในที่สาธารณะได้ครบถ้วน ตอนต้นยุค 60 นักวิจัยหลายคนที่มี ภูมิหลังแตกต่างกัน และอาศัยอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของโลก ร่วมกัน เรียกร้องว่ามีบางอย่างผิดพลาดในการวางผังเมืองสมัยใหม่ เห็นได้ชัดว่าเมืองมีแสงสีและลักษณะพิเศษเพิ่มมากขึ้น แต่ชีวิตใน ที่สาธารณะได้หายไป หนังสือภูมิทัศน์เมืองของกอร์ดอน คัลเลน แสดงให้เห็นภาพความฝันที่จะมีเมืองที่มีหลากหลายโฉมหน้า โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิธีสร้างเมืองแบบดั้งเดิม

การเคลื่ อ นย้ า ยของผู้ ค นจากชนบทไปสู่ เ มื อ งเป็ น ตั ว เร่ ง ให้ เ กิ ด ขบวนการสร้างเมืองตามหลังยุคพัฒนาอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ประชากรเมืองที่เพิ่มขึ้นเป็นภาระที่ตามมาของเมือง ซึ่งไม่สามารถ อำ�นวยความสะดวกให้กับผู้มาใหม่ทุกคนได้ และทำ�ให้เกิดสภาวะ แหล่งเสื่อมโทรม การวางผังให้เป็นระบบมากขึ้นกลายเป็นสิ่ง ตอบสนองต่อการเติบโตของประชากร2 ตอนเริม่ ต้นของศตวรรษที่ 20 สิง่ ทีต่ อบสนองต่อปัญหาประชากร อันล้นหลามของเมืองมีสองรูปแบบ รูปแบบแรกซึ่งมีอิทธิพลต่อการ วางผังเมืองในยุค 1920 มาจากรูปแบบเมืองทีท่ �ำ ตามแบบแผนและ การก่ อ สร้ า งของการออกแบบเมื อ งแบบดั้ ง เดิ ม สถาปนิ ก ชาว เนเธอร์แลนด์ที่มีสไตล์การออกแบบแบบอัมสเตอร์ดัมสคูล เฮนดริค เบอร์ลาเฮ (Hendrik Berlage) เป็นตัวอย่างของรูปแบบการขับ เคลื่อนในยุคนี้ รูปแบบที่สองคือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของยุค โมเดิร์นที่หยุดแบบแผนการก่อสร้างแบบในอดีตอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในยุค 60 หลังจากการเริ่มต้นแบบ ค่อนข้างสมถะในช่วงปีระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง 39


ก่อนที่การศึกษาชีวิตสาธารณะจะกลายเป็นสาขาทางวิชาการ 1900

1910

1920

1930

1940

1950

PRIMARY PUBLICATIONS

Camillo Sitte Ebenezer Howard Der Städtebau Garden Cities of To-Morrow (1902) nach seinen künstlerischen Grundsätzen (1889)

การศึกษาพื้นที่สาธารณะจาก มุมมองทางประวัติศาสตร์

CIAM Le Corbusier Vers une architecture La charte d'Athènes (1923) (1933)

ประวัติศาสตร์ของการศึกษาพื้นที่สาธารณะแสดงให้เห็นจากตัวอย่าง สิง่ ตีพมิ พ์ทเ่ี ลือกมาในทีน่ ้ี ช่วงเวลาทีก่ ล่าวถึงด้านบนทำ�ให้เห็นผลงานที่ มีการพัฒนาต่อ ๆ มา เริม่ จากปี ค.ศ. 1889 เป็นผลงานตีพมิ พ์หนังสือ ของคามิลโล ซิตเต้ เกี่ยวกับศิลปะการสร้างเมืองที่เขียนจากมุมมอง ทางด้านความงามและความรู้สึก ปี ค.ศ. 1923 เลอ คอร์บูซิเอร์ (Le Corbusier) ตีพิมพ์นโยบายสมัยใหม่ของเมืองจากมุมมองทางด้าน ประโยชน์ใช้สอย ช่วงเวลาระหว่างมุมมองสุดโต่งสองด้านนี้ หนังสือ Garden Cities of To-Morrow ของ เอเบเนเซอร์ เฮาเวิรด์ (Ebenezer Howard) ก็ได้ตีพิมพ์ออกมาในปี ค.ศ. 1902 ท่าทีของยุคโมเดิร์น ในฐานะแนวความคิดหลักของการวางผังเมืองและสถาปัตยกรรมใน ศตวรรษที่ 20 ก็ถกู ตีตราด้วยบัญญัตแิ ห่งเอเธนส์ ชาร์เตอร์ ค.ศ. 1933 ปี ค.ศ. 1966 อัลโด รอสซี (Aldo Rossi) นำ�เสนอการค้นพบครัง้ ใหม่ ของคุณภาพของเมืองดั้งเดิม ขณะที่ หนังสือ Learning from Las Vegas (1972) นำ�เอาเรื่องธรรมดาและชีวิตประจำ�วันกลับมาเป็นข้อ วิพากษ์อีกครั้ง พร้อม ๆ กับหนังสือของโคลฮาส (Rem Koolhaas) ที่ชื่อ S, M, L, XL ส่งสัญญาณว่าต้องมีการตีความหมายใหม่ของ แนวคิดสมัยใหม่ในเรือ่ งสเกลของเมือง รวมทัง้ เริม่ ให้คนกลับมาสนใจ หนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอีกครั้ง ริชาร์ด ฟลอริดา (Richard Florida) เน้นย้�ำ ถึงสถานภาพของเมือง ในฐานะกรอบโครงร่างแห่งความคิดสร้างสรรค์ หนังสือของเขาที่ชื่อ The Rise of the Creative Class (2002) จัดอันดับเมืองตามความ นิยม ทำ�ให้เห็นถึงการแข่งขันกันระหว่างเมืองและมีความพยายาม อย่างมากที่จะจัดอันดับเมืองเหล่านี้ ปี ค.ศ. 2007 จำ�นวนผู้อยู่อาศัย ในเมืองมีมากกว่าจำ�นวนของคนทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีช่ นบท การพัฒนาเขตเมือง ทีเ่ พิ่มขึ้นยังเป็นหัวข้อของหนังสือ The Endless City งานรวมเล่มของ โครงงาน Urban Age ของโรงเรียนเศรษฐศาสตร์แห่งกรุงลอนดอน

ผลงานทีอ่ ยูบ่ รรทัดบนให้ค�ำ จำ�กัดความสำ�หรับวงการวางผังเมือง โดยทัว่ ไป รวมถึงสาขาวิชาในการศึกษาชีวติ สาธารณะ เส้นลำ�ดับเวลา ของผลงานที่เ ป็น แรงบัน ดาลใจต่อ วงการผัง เมือ ง แสดงผลงาน มากมายที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด แต่ไม่ได้มีส่วนโดยตรงกับ เนื้อหาของการศึกษาชีวิตสาธารณะ หนังสือเหล่านี้มีอิทธิพลโดยตรง ต่อรูปแบบของเนื้อหาในฐานะแหล่งข้อมูลทางด้านแรงบันดาลใจผ่าน แนวทางด้านวิชาการหลายแหล่ง นักมานุษยวิทยา เอ็ดเวิรด์ ที. ฮอลล์ (Edward T. Hall) นักสังคมวิทยา เออร์วง่ิ กอฟฟ์แมน (Erving Goffman) นักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม โรเบิร์ต ซอมเมอร์ (Robert Sommer) และ กลุ่มสถาปนิก เควิน ลินช์ (Kevin Lynch) กอร์ดอน คัลเลน และ ออสการ์ นิวแมน (Oscar Newman) แนวทางแบบสหวิทยาการมี บทบาทเป็นพิเศษในการพัฒนาการศึกษาชีวิตสาธารณะให้เป็นหัวข้อ ทางวิชาการ ในช่วงต้นยุค 90 หนังสือรวมบทประพันธ์ของซอร์คิน (Sorkin) Variations on a Theme Park ว่าด้วยความกังวลของเมือง ในอเมริ ก าที่ มี พื้ น ที่ ส าธารณะเป็ น องค์ ป ระกอบสำ � คั ญ ในสั ง คม ประชาธิปไตยกำ�ลังถูกรุกรานด้วยการเพิ่มบทบาทของรัฐวิสาหกิจ ในช่วงปลายยุค 90 นิทรรศการในเมืองบาร์เซโลนากล่าวถึงการกลับ ไปให้ความสนใจพืน้ ทีส่ าธารณะอีกครัง้ ด้วยตัวอย่างทีแ่ สดงว่าเมืองนำ� ชัยชนะกลับมาอีกครั้งได้อย่างไร หนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อไว้อาลัยเจน เจค็อบส์ เรื่อง What We See (2010) แสดงความสนใจที่มีมาอย่าง ต่อเนือ่ งในความคิดของ เจน เจค็อบส์ในการศึกษาชีวติ สาธารณะโดย ทัว่ ไป ในหลากหลายสาขาวิชาอันนำ�มาซึง่ การรวบรวมบทประพันธ์เรือ่ ง การศึกษาพื้นที่สาธารณะและชีวิตสาธารณะเข้าไว้ด้วยกัน หนังสือที่อยู่ในหน้าถัดไปแสดงให้เห็นงานที่สำ�คัญมากที่สุดใน แวดวงของการศึกษาชีวิตสาธารณะ บทนี้จะอธิบายรายละเอียดเพิ่ม เติมเกี่ยวกับหนังสือเหล่านี้


การใช้การศึกษาชีวติ สาธารณะ การศึกษาชีวิตสาธารณะ เป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ เป็นที่นยิ ม

การศึกษาชีวิตสาธารณะครั้งแรก 1960

Jane Jacobs Death and Life of Great American Cities (1961)

1970

1990

Kevin Lynch The Image of the City (1960)

1960

2010

2000

Rem Koolhaas and Bruce Mau S,M,L,XL (1995)

Aldo Rossi Robert Venturi, Steven Izenour L'architettura and Denise Scott Brown della città Learning from Las Vegas (1972) (1966)

INSPIRATION

William H. Whyte The Exploding Metropolis (1958)

1980

Richard Florida The Rise of the Creative Class (2002)

Ricky Burdett and Deyan Sudjic The Endless City (2008)

1961

Gordon Cullen The Concise Townscape (1961)

Edward T. Hall Oscar Newman The Silent Defensible Space Language (1972) (1959)

red. Michael Sorkin Barcelona Variations on a Den generobrede Theme Park by (exhibition (1992) 1999)

red. Goldsmith, Elizabeth and Goldbard. What We See. Advancing the Observations of Jane Jacobs (2010)

Erving Goffman Edward T. Hall Robert Sommer Behavior in Public The Hidden Personal Space (1969) Dimension Places (1963) (1966)

PUBLIC LIFE STUDIES

Jane Jacobs The Death and Life of Great American Cities (1961)

Jan Gehl Life between buildings (1971)

Christopher Alexander, Sara Ishikawa and Murray Silverstein A Pattern Language (1977)

William H. Whyte The Social Life of Small Urban Spaces (1980)

Donald Appleyard Livable Streets (1980)

Clare C. Marcus Peter Bosselmann Urbanism and Carolyn Representation of on Track (2008) Francis People Places (1998) Places (1990)

Allan Jacobs Looking at Cities (1985)

Allan Jacobs Great Streets (1995)

PPS How to Turn a Place Around (2000)

Jan Gehl Cities for People (2010)



พวกเขาทำ�ได้ อย่างไร: บันทึกจาก งานวิจยั

5



เครื่องมือหรือการประยุกต์เอาทฤษฎีมาใช้พิจารณาว่าผู้คนปฏิบัติตัว ในพื้นที่สาธารณะอย่างไรก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่การสังเกตการณ์ ใน พื้นที่จริงอาจแตกต่างไปอย่างมาก สิ่งที่ใช้อ้างอิงถึงในบทนี้เหมือนหน้ากระดาษที่ถูกฉีกออกมาจาก สมุดโน้ต หน้าทีม่ บี นั ทึกว่าเครือ่ งมือหลากหลายชนิดถูกนำ�มาใช้อย่างไร เพราะอะไร พืน้ ที่ไหนทีถ่ กู เลือกมาศึกษา เป็นต้น เรือ่ งราวอันหลากหลาย ก็ให้ภาพกว้าง ๆ ของการศึกษาชีวิตสาธารณะ และแต่ละหัวข้อก็ใช้ เป็นแรงบันดาลใจที่เฉพาะเจาะจงสำ�หรับการศึกษา

เรื่องราวการวิจัยอย่างย่อบรรยายให้เห็นภาพพัฒนาการและการใช้ เครื่องมือสำ�หรับการศึกษาชีวิตสาธารณะ พวกเขาต้องนึกถึงอดีต ให้ไกลที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จากพื้นที่ที่มีการพัฒนาเครื่องมือขึ้นมา และปรับให้เข้ากับสถานการณ์แต่ละแห่ง ความสำ�คัญอยูท่ ก่ี ารเลือกใช้ การพัฒนาและการใช้เครือ่ งมือมากกว่าผลลัพธ์ของการศึกษาแต่ละชนิด เอกสารทีน่ �ำ มาใช้ได้บางอย่างเป็นการบรรยายบางส่วนของการศึกษา ชุดใหญ่ ตัวอย่างต่าง ๆ นำ�เสนอประโยชน์โดยตรงว่าทำ�ไมต้องศึกษา ปฏิสมั พันธ์ระหว่างชีวติ สาธารณะกับพืน้ ทีส่ าธารณะ และศึกษาอย่างไร ขณะที่ตัวอย่างส่วนใหญ่ได้มาจากผู้เขียนและผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ ที่บริษัท เกห์ล สถาปนิก ตัวอย่างที่ศึกษาโดยนักวิจัยคนอื่น ๆ ก็ถูก รวมมาไว้ด้วย เพื่อแสดงให้เห็นวิธีและมุมมองแบบต่าง ๆ แต่ละเรือ่ งราวถูกจำ�กัดไว้ดว้ ยหัวเรือ่ งและข้อมูลทีเ่ ป็นข้อเท็จจริง ว่าใครเป็นคนทำ�การศึกษา งานนี้ทำ�เสร็จที่ไหนและอย่างไร และ แหล่งข้อมูลทีไ่ ด้มา ถ้าการศึกษาถูกตีพมิ พ์ออกมา ในกรณีน้ี หลักฐาน อ้างอิงในตอนต้นที่สุดจะถูกนำ�มาใช้ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถหา การศึกษาต้นฉบับได้

เครือ่ งมือสำ�หรับการศึกษาชีวติ สาธารณะถูกนำ�มาพัฒนา ปรับเปลีย่ น และปรับใช้ให้เข้ากับวัตถุประสงค์ของการศึกษาแต่ละหัวข้อ และบริบทของสถานที่ในพื้นที่ที่ทำ�การศึกษา ภาพถ่ายที่อยู่ ตรงข้ามแสดงให้เห็นผู้สังเกตการณ์ในหลายๆ เมือง; ภาพบนซ้าย, การศึกษาที่ทำ�ในเมืองเพิร์ท ออสเตรเลียตะวันตก, 1978; ภาพบนขวา, การสังเกตการณ์ในเมืองฉงชิง ประเทศจีน, 2010; ภาพกลางซ้าย, ภาพขยายแสดงให้เห็นขั้นตอนการนับในเมือง แอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย, 2011; ภาพกลางขวา, ญาน เกห์ล กำ�ลังถ่ายภาพในเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย, 2013; ภาพล่าง, การบันทึกชีวติ สาธารณะในเมืองเจนไน ประเทศอินเดีย, 2010 83


สถานที ท ่ เ ่ ี หมาะสำ � หรั บ การหยุ ด แวะ การศึกษาสถานที่ที่คนชอบหยุดแวะในจัตุรัสสาธารณะ ผู้ทำ�การศึกษา: สถานที่: ช่วงเวลา: วิธีการ: ตีพิมพ์:

ญาน เกห์ล ปิอัซซา เดล โปโปโล่ เมืองอัสโคลี่ ปิเชโน่ ประเทศอิตาลี วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1965 เวลา 17.30 น. การวาดผังพฤติกรรม ญาน เกห์ล ร่วมกับ อินกริด เกห์ล, หนังสือ “Mennesker i byer” (People in Cities ในภาษาเดนมาร์ก), Arkitekten 21/19661

กิจกรรมในพื้นที่สาธารณะแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ คือกิจกรรมที่เกิดขึ้น ชัว่ คราวและกิจกรรมทีเ่ กิดขึน้ กับทีเ่ ราสามารถบันทึกกิจกรรมทีเ่ กิดขึน้ ชั่วคราวได้อย่างง่าย ๆ ด้วยการใช้เครื่องนับ เพื่อนับจำ�นวนคน เดินเท้าที่เดินไปตามระยะทางที่เลือกไว้ อีกวิธีหนึ่งของ “การนับ” ก็ จำ � เป็ น เพื่ อ ให้ รู้ เ กี่ ย วกั บ กิ จ กรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ที่ การวาดผั ง เชิ ง พฤติกรรมเป็นเครื่องมือง่าย ๆ ที่เหมาะกับพื้นที่ที่ไม่ใหญ่จนเกินไป การศึกษาสถานที่ที่เหมาะสำ�หรับการยืนบริเวณจัตุรัสในเมือง อัสโคลี ปิเชโน่ของอิตาลีในปี ค.ศ. 1965 แสดงให้เห็นการใช้วิธี ดังกล่าว การลงตำ�แหน่งของทุกคนทีไ่ ม่ได้เดินอยูท่ จ่ี ตั รุ สั ผูส้ งั เกตการณ์ ต้องทำ�การบันทึกเพียงชุดเดียวเพื่อให้ได้ภาพรวมที่ชัดเจนของพื้นที่ ที่ดีที่สุดสำ�หรับการหยุดยืน ในวันที่ค่อนข้างหนาวเย็น (9ºC) ของเดือนธันวาคม ที่ปิอัซซา เดล โปโปโล่ มีการจดบันทึกไว้ว่ามีคน 206 คน ที่จัตุรัส ในเวลา 17.00 น. แบ่งเป็น 105 คน ทีก่ �ำ ลังเดินข้ามจัตรุ สั และ 101 คนกำ�ลัง หยุดอยู่กับที่ การศึกษานี้ท�ำ ในเวลาที่น้อยกว่า 10 นาที เช่นเดียวกับการศึกษาอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน การศึกษาที่จัตุรัส ในเมืองอัสโคลี ปิเชโน่ แสดงให้เห็นว่าคนเดินเท้าเดินสลับกันไปมา ในพื้นที่เป็นปกติ ขณะที่คนที่ยืนอยู่กับที่เลือกพื้นที่ยืนอย่างพิถีพิถัน ที่บริเวณริมขอบของพื้นที่ บริเวณที่คนชอบหยุดแวะพักอย่างเห็นได้ชัดคือแนวเสาของซุ้ม ทางเดิน ภายใต้ซุ้มทางเดิน และตามด้านหน้าอาคาร ในพื้นที่ของ ตัวจัตรุ สั เอง ทุกคนทีย่ นื อยูก่ บั ทีจ่ ะสนทนากันอยู่ ถ้าใครสักคนเจอคนรูจ้ กั ขณะที่เดินอยู่ในเมือง พวกเขามีแนวโน้มที่จะหยุดคุยกันตรงบริเวณ ที่พวกเขาเจอกัน ถึงแม้ว่าตรงนั้นจะอยู่ตรงกลางจัตุรัส

84

การศึกษาแบบนี้ช่วยดึงความสนใจไปสู่ความสำ�คัญของบริเวณ ริมขอบ ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีบทบาทสำ�คัญในการทำ�ความเข้าใจของเรา ในเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างชีวิตในที่สาธารณะและพื้นที่สาธารณะ ในปิอัซซา เดล โปโปโล่ การบันทึกผังเชิงพฤติกรรมถูกนำ�มาใช้ ในการบันทึกกิจกรรมทีเ่ กิดขึน้ กับที่ และรูปแบบการเกาะกลุม่ กันของ ผูค้ น บริเวณทีม่ คี นไม่กคี่ นและคนจำ�นวนมากทีส่ มั พันธ์กบั ตัวอาคาร การออกแบบพื้นที่ ผู้คนอื่น ๆ เป็นต้น การศึกษาเหล่านี้แสดงอย่าง ชัดเจนว่าอะไรคือภาพของผลกระทบของพื้นที่ริมขอบ ข้อเท็จจริงที่ เป็นไปได้ทคี่ นจะอยูบ่ ริเวณริมขอบของพืน้ ที่2 แผนทีพ่ ฤติกรรมทำ�ให้ เห็นภาพอย่างชัดเจนว่าผูค้ นอยูใ่ นพืน้ ทีส่ าธารณะทีเ่ ลือกไว้ได้อย่างไร

แผนผังและภาพถ่าย: ปิอัซซา เดล โปโปโล่ เมืองอัสโคลี ปิเชโน่ ประเทศอิตาลี ปี ค.ศ. 1965 ภาพบน: แผนทีพ่ ฤติกรรมถูกนำ�มาใช้เพือ่ แสดงให้เห็นว่าผูค้ นยืนกัน อยู่กับที่บริเวณไหน ทุกคนยืนกันอยู่ที่ปิอัซซาที่จุดที่กำ�หนดไว้ใน ช่วงเวลาที่แสดงไว้ในผัง ภาพล่าง: “นี่คือที่ครึ่งมืดครึ่งสว่างหรือบริเวณแนวเสา แต่ละคน ยังสามารถอยูไ่ ด้แบบลับ ๆ สามารถเห็นทุกสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ แต่กย็ งั ซ่อนตัว อยู่ในบางส่วน”3


85



การศึกษา ชีวติ สาธารณะ ในทางปฏิบตั ิ

6



บทนี้นำ�เสนอการศึกษาพื้นที่สาธารณะ-ชีวิตสาธารณะประเภท ต่าง ๆ ใหญ่บา้ ง เล็กบ้าง ทันสมัยและดั้งเดิม การศึกษาบางชุดใช้ เวลาหลายปี บางชุดใช้เวลาเพียงสั้น ๆ ตัวอย่างทั้งหมดทำ�โดย ญาน เกห์ล และบริษัท เกห์ล สถาปนิก ตามลำ�ดับ

ตามที่ชื่อที่มีความหมายตรงตามตัว การศึกษาพื้นที่สาธารณะ-ชีวิต สาธารณะ ให้ความรูเ้ กีย่ วกับโครงสร้างทางกายภาพและวิธที ผ่ี คู้ นใช้งาน จุดประสงค์ของการศึกษาเหล่านีค้ อื เพือ่ ปรับปรุงสภาพทางกายภาพ ให้ดขี น้ึ สำ�หรับผูค้ นในเมือง ด้วยการจัดหาความรูเ้ ฉพาะทางเกีย่ วกับ พื้นที่สาธารณะแต่ละแห่งว่าถูกใช้งานอย่างไรและเมื่อไหร่ การศึ ก ษาให้ ข้ อ มู ล ที่ ช่ ว ยในการตั ด สิ น ใจในการอภิ ป ราย ทางการเมืองเรื่องการวางแผนและกลยุทธ์ หรือนำ�มาใช้อย่างเป็น รูปธรรมมากขึ้น เพื่อประเมินผลของการริเริ่มที่ดำ�เนินการไปแล้ว ด้วยการเปรียบเทียบการบันทึกทัง้ ก่อนและหลังการหาความรูเ้ กีย่ วกับ ปฏิสมั พันธ์ระหว่างพืน้ ทีส่ าธารณะและชีวติ สาธารณะทีเ่ ป็นระบบและ จับต้องได้มากขึ้น ถูกพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ในการทำ�ให้การ อภิปรายมีระบบและมีเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้ามเส้นของ ระเบี ย บปฏิ บั ติ แ ละฝ่ า ยบริ ห ารงานทั่ ว ไป ขณะที่ ก ารศึ ก ษาชี วิ ต สาธารณะเป็นการให้ข้อมูลสำ�หรับการอภิปรายทางการเมืองและ ความเป็นมืออาชีพ ข้อมูลที่ได้มายังนำ�มาซึ่งการอภิปรายสาธารณะ ที่กว้างขึ้นด้วย หลายคนทำ�การศึกษาชีวิตสาธารณะในทางปฏิบัติ รวมถึงอัลลัน เจค็ อ บส์ และปี เ ตอร์ บอสเซลมานน์ ในเมื อ งซานฟรานซิสโก เป็นต้น1 สิ่งที่พิเศษในการศึกษาพื้นที่สาธารณะ-ชีวิตสาธารณะโดย ญาน เกห์ล และบริษทั เกห์ล สถาปนิก คือการศึกษาต่อเนือ่ งมาหลาย ทศวรรษ ทำ�ในหลาย ๆ เมือง ในหลายประเทศและต่างวัฒนธรรม สามารถนำ � มาเปรียบเทียบข้ามภูมิภาคและต่างเวลา ก่อให้เกิด ผลลัพธ์ในมุมมองการวิจัยที่น่าสนใจ และปล่อยให้เมืองต่าง ๆ ติดตามพัฒนาการของตัวเองและเปรียบเทียบเมืองของพวกเขากับ เมืองอื่น ๆ

125


วาดโดยเฮนเรียต วามเบิร์ก (Henriette Vamberg) จากบริษัท เกห์ล สถาปนิก การนำ�เสนอขัน้ ตอนการศึกษาพืน้ ทีส่ าธารณะชีวติ สาธารณะด้วยภาพกราฟิก เน้นให้เห็นถึง ความสำ�คัญของบทสนทนา

การศึกษาพื้นที่สาธารณะ-ชีวิตสาธารณะ

เนื้อหาของการศึกษาพื้นที่สาธารณะ-ชีวิตสาธารณะของญาน เกห์ล และบริษทั เกห์ล สถาปนิก จะแตกต่างกันในแต่ละการศึกษาและแต่ละที่ จากสถานทีห่ นึง่ กับอีกสถานทีห่ นึง่ อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบบางอย่าง ยังเหมือนเดิม เช่น การนับจำ�นวนคนเดินเท้า และการบันทึกกิจกรรม ที่อยู่กับที่ ผลลัพธ์จะถูกนำ�เสนอพร้อมกับคำ�ชี้แนะเพื่อการปรับปรุงให้ ดีขึ้นในรูปแบบของรายงานที่ให้กับลูกค้า ซึ่งก็คือเมืองนั่นเอง ปี ค.ศ. 1968 การศึกษาชีวิตเมืองขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกนั้นเป็น โครงงานวิจยั ทำ�ทีเ่ มืองโคเปนเฮเกน ส่วนการศึกษาเมืองโคเปนเฮเกน ในปี ค.ศ. 1986 ก็ยังมีเป้าหมายเพื่อการวิจัย การศึกษาที่มุ่งไปที่การ ปฏิบตั อิ ย่างแท้จริงเป็นครัง้ แรก เรียกว่าเป็นการศึกษาพืน้ ทีส่ าธารณะชีวติ สาธารณะ เริม่ ในปี ค.ศ. 1996 โดยมีการศึกษาชีวติ เมืองทีท่ �ำ ก่อน หน้านั้นเป็นรากฐานอันสำ�คัญ2 การศึกษาพืน้ ทีส่ าธารณะ-ชีวติ สาธารณะในเวลาต่อมา มีการปรึกษา หารืออย่างใกล้ชิดกับผู้ร่วมงานท้องถิ่น เช่น สำ�นักว่าการเมือง สำ�นัก ผังเมืองระดับภาค องค์กรทีไ่ ม่แสวงหาผลกำ�ไร กลุม่ นักธุรกิจท้องถิน่ มหาวิทยาลัยในท้องถิน่ หรือองค์กรอืน่ ๆ ทีม่ คี วามสนใจในการพัฒนาเมือง หากมหาวิทยาลัยท้องถิน่ จัดส่งผูส้ งั เกตการณ์ การศึกษาก็มักเป็น ส่วนหนึง่ ของการเรียนการสอน การอบรมผูส้ งั เกตการณ์มมี ากกว่าแค่ 126

การให้ค�ำ แนะนำ�เกีย่ วกับงานทีท่ �ำ เป้าหมายคือสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับนักศึกษาเกี่ยวกับงานในอนาคต ในเรื่องของระเบียบวิธี แต่ ยังต้องให้ความสนใจกับการให้ความสำ�คัญกับผูค้ นเป็นลำ�ดับแรก ในขั้นตอนการวางแผนและการออกแบบที่เฉพาะเจาะจง ถึงแม้วา่ สิง่ ทีก่ �ำ ลังวัดอยูเ่ ป็นสิง่ ทีจ่ บั ต้องได้ การบันทึกสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ณ ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน เมื่อใด มีผู้คนจำ�นวนเท่าไร และ พวกเขากำ�ลังทำ�อะไร เป้าหมายระยะยาวของการศึกษาพื้นที่ สาธารณะ-ชีวิตสาธารณะคือทำ�ให้ผู้คนเป็นส่วนหนึ่งที่มองเห็นได้ ชัดเจนขึ้นของการวางแผนเสมอ สิ่งที่จำ�เป็นอย่างยิ่งคือวิธีการคิด และการทำ�งานกับเมืองทีพ่ จิ ารณาเรือ่ งคนก่อนเรือ่ งสาธารณูปโภค อาคารบ้านเรือน พื้นทางเดิน และอื่น ๆ

การศึกษาอาณาบริเวณหรือการฝังเข็มเมือง

ในขัน้ ตอนการวางแผน ขนาดของเมืองหรือพืน้ ทีท่ เ่ี ลือกทำ�การศึกษา เป็นตัวกำ�หนดหลักว่าการศึกษาจะดำ�เนินการไปอย่างไร หากพืน้ ที่ ทีท่ �ำ การศึกษาเป็นพืน้ ทีส่ าธารณะหรือถนนทีม่ กี ารกำ�หนดขอบเขต สถานทีท่ ท่ี �ำ การบันทึกก็จะชัดเจน ซึง่ พิสจู น์ได้เสมอว่าการศึกษาความ เชือ่ มโยงเข้าสูแ่ ละออกจากพืน้ ทีส่ าธารณะเป็นสิง่ ทีม่ ปี ระโยชน์มาก


การศึกษาการฝังเข็มเมือง: กรุงลอนดอน

1: 50,000 n 1,000 m

ถ้าเราจะทำ�การศึกษาพื้นที่ที่ใหญ่กว่า อย่างเช่น ย่านของเมือง ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่จะทำ�ความเข้าใจบริบททั้งหมดและมุ่งไปที่ สถานที่ที่น่าสนใจทีส่ ดุ สำ�หรับการบันทึก การศึกษาพืน้ ทีส่ าธารณะชีวติ สาธารณะส่วนใหญ่ท�ำ โดยวิธนี ้ี ด้วยการจัดการกับพืน้ ทีท่ ต่ี อ่ เนือ่ งกัน ขนาดใหญ่อย่างเช่น ศูนย์กลางเมือง ในบริบทนี้ ศูนย์กลางเมืองหลายแห่งมีขนาดทีใ่ กล้เคียงกันอย่าง น่าแปลกใจ: โดยประมาณ 1x1 กม. (หรือใหญ่กว่านิดหน่อย) และมี พื้นที่ประมาณ 1-1.5 ตร.กม. ถึงแม้ว่าประชากรเมืองจะมีตั้งแต่ 500,000 คน ไปจนถึงหลายล้านคน คำ�อธิบายที่เข้าใจได้ง่ายที่ ศูนย์กลางเมืองมีขนาดที่ค่อนข้างใกล้เคียงกันคือขนาด 1x1 กม. เป็นระยะที่สอดคล้องกับระยะเดินที่ยอมรับได้ นั่นก็คือทุกส่วนของ ศูนย์กลางเมืองสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดิน เราเรียกได้ว่านี่คือ ขนาดมาตรฐานที่กำ�หนดโดยลักษณะทางชีววิทยา ศูนย์กลางเมืองหลายแห่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 1-1.5 ตร.กม. ทำ�ให้การเปรียบเทียบกันเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เรื่องขนาดยังทำ�ให้พ้ืนที่ ที่ทำ�การศึกษาค่อนข้างง่ายและทำ�งานได้ และเราสามารถศึกษา ศูนย์กลางเมืองทัง้ หมดในส่วนทีเ่ รียกว่า “การศึกษาทัง้ อาณาบริเวณ” (area study) การศึกษาทั้งอาณาบริเวณนี้ทำ�ในเมืองโคเปนเฮเกน สตอกโฮล์ม ร็อตเตอร์ดมั ริกา้ ซิดนีย์ และเมลเบิรน์ และในเมืองทีม่ ี

พื้นที่ทำ�การศึกษา: เมืองซิดนีย์ เพราะว่าพื้นที่เป้าหมายในเมืองซิดนีย์มีขนาดเพียง 22 ตร.กม. มันมี ความเป็นไปได้ที่จะทำ�การศึกษาพื้นที่ของศูนย์กลางเมืองทั้งหมดได้ แต่ในเขตการสัญจรหนาแน่นที่ต้องเสียค่าผ่านทางของกรุงลอนดอน ซึ่งมีขนาด 24.7 ตร.กม. วิธีการฝังเข็มเมืองถูกเลือกมาใช้แทนที่: ถนนยาว 5.5 กม. สวนสาธารณะ 53,800 ตร.ม. และพื้นที่จัตุรัสและ ลานคนเดิน 61,200 ตร.ม.3

ขนาดเล็กกว่า ซึง่ ได้ทำ�การศึกษาพืน้ ที่สาธารณะ-ชีวิตสาธารณะด้วย เช่นกัน เมือ่ การศึกษาอาณาบริเวณทำ�ในพืน้ ทีท่ กี่ ว้างเกินไป ณ ศูนย์กลาง เมืองหรือเขตย่านทีใ่ หญ่กว่า 1 ตร.กม. ก็จะใช้วธิ ฝี งั เข็มเมืองกับกรณี ศึกษาเหล่านี้ นัน่ หมายถึงถนน จัตรุ สั สวนสาธารณะ และพืน้ ทีท่ อ้ งถิน่ ทีใ่ ช้เป็นตัวแทนจะถูกเลือกขึน้ มา จากการศึกษาองค์ประกอบตัวอย่าง ของเมืองทีม่ ขี นาดใหญ่กว่า ก็มคี วามเป็นไปได้ทจ่ี ะปะติดปะต่อภาพ ของข้อมูลทีเ่ ป็นปัญหาและโอกาสเข้าด้วยกันเพือ่ แสดงลักษณะพิเศษ ของเมืองทีก่ �ำ ลังสำ�รวจได้ การศึกษาการฝังเข็มเมืองเป็นวิธที น่ี �ำ มาใช้ เพื่อดำ�เนินการศึกษาในกรุงลอนดอน นิวยอร์ก และมอสโก4 127


Villo Sigurdsson Mayor for City Planning 1978-1986

Otto Käszner City Architect 1989-1998

Gunna Starck Mayor for City Planning 1986-1989

Jens Rørbech City Engineer 1987-1999

Bente Frost Mayor for Building and Construction 1994-1997 Klaus Bondam Mayor for the Technical and Environment Administration 2006-2009

Søren Pind Mayor for Building and Construction 1998-2005 Ritt Bjerregaard Mayor of Copenhagen 2004-2009

Tina Saaby City Architect 2010Ayfer Baykal Mayor for the Technical and Environment Administration 2011-


7

การศึกษา ชีวติ สาธารณะ และนโยบายเมือง



เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมืองแรกในโลกที่ดำ�เนินการ ศึกษาชีวิตสาธารณะที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านอย่างมีระบบเป็น เวลาหลายทศวรรษ ที่การศึกษาเหล่านี้สร้างความแตกต่างให้กับเมือง อย่างชัดเจนในการออกแบบนโยบายพื้นที่สาธารณะให้เหมาะสมกับ เมืองมากว่าสี่สิบปี เมืองที่รัฐบาลท้องถิ่นและธุรกิจชุมชนค่อย ๆ เริ่ม เห็นว่าการศึกษาชีวิตสาธารณะเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าสำ�หรับการ พัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน และที่มากไปกว่านั้นคือการศึกษา เหล่านี้ย้ายจากการวิจัยของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไปอยู่ภายใต้ การดูแลของเมืองเป็นเวลานานแล้ว ในเมืองโคเปนเฮเกน การบันทึกและติดตามชีวิตสาธารณะกลายเป็นสิ่งธรรมดาเหมือน องค์ประกอบอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่รวมเข้าไว้ด้วยกัน ของเมืองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้

ถนนคนเดินเท้าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962

ถนนสายหลักของเมืองโคเปนเฮเกน ถนนสตรอยท์ ถูกเปลีย่ นจากถนน เพือ่ การจราจรมาเป็นถนนคนเดินในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1962 มันไม่ได้เกิดขึน้ โดยปราศจากการอภิปรายทีเ่ ต็มไปด้วยการถกเถียง และเสียงโวยวาย “เราเป็นชาวเดนมาร์ก ไม่ใช่อิตาลี และพื้นที่ สาธารณะที่ปราศจากรถยนต์ไม่เคยได้ผลในอากาศแบบสแกนดิเนเวียและวัฒนธรรมสแกนดิเนเวีย”1 แต่ถนนก็ปดิ ไม่ให้มกี ารจราจร ทางรถยนต์เหมือน ๆ กัน ไม่มอี ะไรทีป่ รับปรุงใหม่ในตอนนี้ มันยังคง เป็นถนนธรรมดา ๆ ที่ลาดยางมะตอย โดยมีขอบทางและบาทวิถี แค่ทดลองให้ไม่มีการจราจรทางรถยนต์เท่านั้น การปิดถนนสตรอยท์ไม่ให้รถเข้าในปี ค.ศ. 1962 เป็นความ พยายามแรกเริ่มในหลาย ๆ วิธี นี่ไม่ใช่ถนนแรกที่ปิดไม่ให้รถเข้าใน ยุโรป แต่เป็นหนึง่ ในถนนสายหลักเส้นแรก ๆ ทีเ่ กิดจากความเต็มใจ ทีจ่ ะลดความกดดันจากรถยนต์ในบริเวณใจกลางเมือง แรงบันดาลใจ หลักมาจากเมืองในเยอรมนีหลายเมืองทีท่ �ำ ถนนคนเดินเพือ่ เชือ่ มโยง กับอาคารที่สร้างขึ้นใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเหล่านี้ ก็เช่นเดียวกับเมืองโคเปนเฮเกน แรงจูงใจแรกเริม่ ก็เพือ่ ส่งเสริมการ ค้าขายและให้พื้นที่ของเมืองชั้นในกับลูกค้ามากขึ้น และทำ�สภาพ แวดล้อมให้ดีขึ้นสำ�หรับการเดินจับจ่ายซื้อของ ขณะที่การทำ�แบบนี้ ดีสำ�หรับลูกค้า มันยังพิสูจน์ว่าสิ่งนี้ยังเป็นประโยชน์สำ�หรับเมือง ชั้นใน ในขณะที่พื้นที่กลางเมืองก็กำ�ลังถูกบีบหนักขึ้นให้แข่งขันกับ ศูนย์การค้าใหม่ ๆ แบบอเมริกันที่เริ่มผุดขึ้นมากมายตามบริเวณ ชานเมืองในยุค 60 การเปลีย่ นแปลงถนนสตรอยท์ประกอบด้วยถนนทัง้ เส้นทีม่ ขี นาด กว้าง 11 เมตร และยาว 1.1 กิโลเมตร และกระจายจัตุรัสเล็ก ๆ ไป ทั่วถนน ทั้ง ๆ ที่มีคำ�ทำ�นายแย่ ๆ มากมายเกี่ยวกับความเป็นไป ไม่ ไ ด้ ที่ ถ นนไร้ ร ถจะใช้ ป ระโยชน์ ไ ด้ จ ริ ง ในสภาพแวดล้ อ มแบบ เดนมาร์ ก ถนนคนเดิ น สายใหม่ ก ลายเป็ น ที่ นิ ย มอย่ า งรวดเร็ ว การจราจรของคนเดินเท้าเติบโตขึน้ 35% ในปีแรก ในปี ค.ศ. 1965 ได้รบั การปรับสถานะให้เป็นถนนคนเดินเท้าอย่างถาวร และภายในปี ค.ศ. 1968 เทศบาลเมืองโคเปนเฮเกนก็พร้อมที่จะปรับเปลี่ยน พื้ น ผิวถนนและจัตุรัสขึ้นใหม่ ถนนสตรอยท์กลายเป็นเรื่องราวที่ ประสบความสำ�เร็จ2 บน: จัตุรัสอะมาเกอร์ทอร์ฟ เมืองโคเปนเฮเกน มุมมองจากทิศใต้ ปี ค.ศ. 1953 ล่าง: จัตุรัสอะมาเกอร์ทอร์ฟ เมืองโคเปนเฮเกน มุมมองด้านเดียวกัน ปี ค.ศ. 2013 151


การศึกษาชีวิตสาธารณะในเมืองโคเปนเฮเกน 1960

1970

Mennesker til fods (People on foot. ภาษาเดนมาร์กเท่านั้น) จัดพิมพ์โดย Arkitekten no. 20, 1968

1980

Byliv (City Life. ภาษาเดนมาร์กเท่านั้น) จัดพิมพ์โดย Arkitekten, 1986

การศึกษาชีวิตสาธารณะที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ การศึกษาในระยะแรก ปี ค.ศ. 1966-71

ปี ค.ศ. 1966 ญาน เกห์ล ได้รับข้อเสนอให้รับตำ�แหน่งนักวิจัยที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งเดนมาร์ก เมือง โคเปนเฮเกน โดยมีหัวข้อการวิจัยในชื่อ “การใช้พื้นที่กลางแจ้งของ ผูค้ นในเมืองและในเขตพืน้ ทีพ่ กั อาศัย” เกห์ลทำ�การศึกษาหลายครัง้ ในอิตาลีในหัวข้อเดียวกัน เขาและภรรยาของเขา นักจิตวิทยา อินกริด เกห์ล เขียนเกีย่ วกับสิง่ ทีพ่ วกเขาค้นพบในหลายบทความทีต่ พี มิ พ์ใน วารสารสถาปัตยกรรมเดนมาร์ก Arkitekten ในปี ค.ศ. 1966 บทความบรรยายเกี่ยวกับชาวอิตาลีใช้จัตุรัสและพื้นที่สาธารณะใน ชีวิตประจำ�วันอย่างไร และการศึกษาก่อให้เกิดกระแสความสนใจ ขึ้นมา เพราะยังไม่เคยมีใครศึกษาหัวข้อนีม้ าก่อน แนวความคิดใหม่ กำ�ลังถูกร่างขึ้นมา3 ต่อมาก็เป็นคำ�เชิญให้ทำ�งานวิจัยต่อที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นเวลาสีป่ ี ช่วงเวลาดูเหมือนว่าจะบังคับให้ใช้ถนนคนเดินทีเ่ ปิดใหม่ ของเมืองโคเปนเฮเกน ถนนสตรอยท์เป็นเหมือนห้องทดลองกลางแจ้ง ขนาดใหญ่ทเ่ี ราสามารถศึกษาการใช้งานพืน้ ทีส่ าธารณะของผูค้ นได้ การศึกษาเมืองโคเปนเฮเกนเป็นการวิจัยที่เป็นพื้นฐานมากที่สุด เรารู้เกี่ยวกับหัวข้อน้อยมาก และเราต้องตอบคำ�ถามทุกประเภทใน การวิจยั ดังนัน้ การศึกษาถนนสตรอยท์กลายเป็นโครงการขยายออกไป ในปี ค.ศ. 1967 และอีกหลายปีต่อมา พร้อมกับข้อมูลพื้นฐาน เช่น จำ�นวนของคนเดินเท้า และขอบเขตของกิจกรรมหลากหลายประเภท ที่เตรียมไว้เพียงส่วนเล็ก ๆ ของข้อมูลที่เก็บมาทั้งหมด การศึกษาทำ�โดยการศึกษาชีวติ ตามช่วงต่าง ๆ ของถนนคนเดิน ทุกวันอังคารตลอดทั้งปี เสริมด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลในบาง สัปดาห์และวันหยุดสุดสัปดาห์ที่เลือกไว้ และในช่วงที่มีเทศกาลและ

1990

2000

Public Spaces Public Life หนังสือ, สือ่ สิง่ พิมพ์สถาปัตยกรรม เดนมาร์ก และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งเดนมาร์ก, 1996

2010

New City Life สือ่ สิง่ พิมพ์สถาปัตยกรรมเดนมาร์ก, 2006

แสดงการศึกษาชีวิตสาธารณะหลักที่ดำ�เนินการในเมืองโคเปนเฮเกน ที่ใช้เวลาประมาณสิบปี เมื่อกว่า 40 ปีมาแล้ว การศึกษาเริ่มจากการ เป็นบทความ และเติบโตเป็นการตีพิมพ์หนังสืออย่างเป็นทางการ

วันหยุดนักขัตฤกษ์ ถนนใช้ประโยชน์อย่างไรเมื่อสมเด็จพระราชินี มาร์เก็ตเธ่ทส่ี อง (Majesty Queen Margrethe II) เสด็จผ่านโดยรถม้า พระที่นั่งในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ถนนแคบ ๆ รับมือกับฝูงชนที่ เข้ า มาอย่ า งหนาแน่ น ในช่ ว งคริ ส ต์ ม าสได้ อ ย่ า งไร จั ง หวะการ เคลือ่ นไหวรายวัน รายสัปดาห์ รายปี ถูกทำ�เป็นกราฟบันทึกไว้ มีการ ศึกษาความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน และมีค�ำ ถามอย่างเช่น คนเดินไปตามถนนได้เร็วแค่ไหน ม้านัง่ มีการ ใช้งานอย่างไรบ้าง ทีน่ ง่ั แบบไหนเป็นทีน่ ยิ มมากทีส่ ดุ อุณหภูมติ อ้ งอุน่ แค่ไหนก่อนที่ผู้คนจะออกมาใช้ที่นั้น ๆ ฝน ลม และความหนาวเย็น มีผลกระทบอะไรบ้าง แสงอาทิตย์และร่มเงามีผลอย่างไร ความมืด และแสงสว่างมีอทิ ธิพลอย่างไร การเปลีย่ นแปลงของสภาพแวดล้อม ในระดับไหนทีม่ อี ทิ ธิพลต่อผูใ้ ช้งานแต่ละกลุม่ คนกลุม่ ไหนทีก่ ลับบ้าน ก่อนและคนกลุ่มไหนที่อยู่นานที่สุด ทั้งหมดนี้ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้จำ�นวนมาก ทำ�ให้เกิดจุด เริม่ ต้นของหนังสือ Life Between Buildings ตีพมิ พ์ในปี ค.ศ. 1971 ซึ่งรวมกับการศึกษาในระยะแรกเริ่มจากประเทศอิตาลีและเมือง โคเปนเฮเกนด้วย4 ก่อนหน้าทีจ่ ะตีพมิ พ์หนังสือเล่มนี้ การศึกษาจาก เมืองโคเปนเฮเกนถูกนำ�ไปตีพิมพ์ในบทความที่อยู่ในนิตยสารที่ เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของเดนมาร์ก และบทความเหล่านี้ดึงดูดความ สนใจของนักวางผังเมือง นักการเมือง และธุรกิจชุมชนเป็นอย่างมาก นีค่ อื รายละเอียดของข้อมูลทีอ่ ธิบายให้เห็นภาพว่าใจกลางเมืองมีการ ใช้งานตลอดทัง้ ปีอย่างไรบ้าง และเงือ่ นไขอะไรทีช่ กั จูงให้คนเดินเท้า เข้ามาใช้เวลาอยู่ในเมือง การสนทนาแลกเปลีย่ นกันอย่างต่อเนือ่ งระหว่างนักวิจยั เรือ่ งชีวติ ในทีส่ าธารณะของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวางผังเมือง นักการเมือง และนักธุรกิจก็ได้เริ่มต้นขึ้น


การศึกษาชีวิตในที่สาธารณะในเมืองโคเปนเฮเกน ปี ค.ศ. 1986

ในช่วงเวลานั้น การเปลี่ยนแปลงอีกระลอกหนึ่ง ก็ได้เกิดขึ้นใน ศูนย์กลางเมือง ถนนคนเดินและพื้นที่ปลอดรถยนต์ใหม่ ๆ ถูกเพิ่ม เข้าไปในพื้นที่สาธารณะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ระยะแรกในปี ค.ศ. 1962 มีพน้ื ทีส่ าธารณะทีป่ ลอดรถยนต์รวมได้ถงึ 15,800 ตาราง เมตร ปี ค.ศ. 1974 พืน้ ทีส่ าธารณะทีป่ ลอดรถยนต์เติบโตขึน้ ถึง 49,000 ตารางเมตร และรวมเข้ากับถนนริมคลองนีฮาว์น เลียบอ่าว พืน้ ทีข่ อง คนเดินเท้ามีมากกว่า 66,000 ตารางเมตร หลังจากปี ค.ศ. 1980 การศึกษาชีวติ สาธารณะทีม่ เี นือ้ หาครอบคลุมอีกชิน้ หนึง่ ทำ�ทีเ่ มือง โคเปนเฮเกนในปี ค.ศ. 1986 อีกครัง้ หนึง่ ในฐานะโครงงานวิจยั ภายใต้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันวิจติ รศิลป์แห่งเดนมาร์ก5 ผลลัพธ์ ของการศึกษาโดยสรุปในปี ค.ศ. 1967-68 ทำ�ให้มีความเป็นไปได้ที่ จะทำ�การศึกษาเพื่อติดตามผลในปี ค.ศ. 1986 เพื่อให้เห็นภาพการ เปลี่ยนแปลงในชีวิตสาธารณะ ที่เกิดขึ้นในช่วง 18 ปีให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การศึกษาในช่วงปี ค.ศ. 1967-68 ก่อให้เกิดบรรทัดฐานทีใ่ ห้มมุ มอง

โดยรวมของหน้าที่ของเมืองในช่วงเวลานั้นได้ทันเวลา โดยการ ติดตามวิธีการและเงื่อนไขที่ต้องมีมาก่อนการดำ�เนินการในปี ค.ศ. 1967 มีความเป็นไปได้ที่ในอีก 18 ปีต่อมา จะเห็นภาพรวมว่าชีวิต สาธารณะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และได้เห็นผลของพื้นที่ปลอด รถยนต์ที่ขยายใหญ่ขึ้นที่ได้ดำ�เนินการไปแล้ว ในบริบทระดับนานาชาติ ปี ค.ศ. 1986 มีการบันทึกไว้เป็นครัง้ แรก ที่การศึกษาในระดับบรรทัดฐานทำ�ขึ้นในเขตเมือง เป็นการศึกษาที่ สามารถประกาศอย่างเป็นทางการได้ว่า “นี่คือสถานการณ์ในเมือง ในช่วงขณะนี้” ตอนนี้มีความเป็นไปได้ที่จะบันทึกพัฒนาการในชีวิต สาธารณะที่เห็นในช่วงเวลาที่นานขึ้น พร้อมกับการศึกษาชีวติ สาธารณะเป็นครัง้ แรก การศึกษาทีท่ �ำ ใน ปี ค.ศ. 1986 ได้รบั การตีพมิ พ์เป็นบทความในวารสารสถาปัตยกรรม Arkitekten และเป็นอีกครัง้ หนึง่ ทีผ่ ลของการศึกษาได้รบั ความสนใจ จากนักวางผังเมือง นักการเมือง และธุรกิจชุมชน อย่างแพร่หลาย ไม่เพียงแค่การศึกษานำ�เสนอเอกสารทีเ่ ป็นประโยชน์ของสถานการณ์ ชีวิตสาธารณะปัจจุบัน แต่มันยังทำ�ให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะเห็น

จากถนนสายหนึ่งในเดนมาร์ก... สู่การชี้แนะที่เป็นสากล ตั้งแต่ตีพิมพ์ออกมาในปี ค.ศ. 1971 หนังสือ Life Between Buildings พิมพ์ ซ้ำ�หลายต่อหลายครั้งเป็นภาษาอังกฤษ และเดนมาร์กและแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อี ก หลายภาษา ตั้ ง แต่ ภ าษาฟาร์ ซี ไ ป จนถึงภาษาเบงกาลี แ ละภาษาเกาหลี  ทั้ง ๆ ที่ตัวอย่างในหนังสือส่วนใหญ่ มาจากประเทศเดนมาร์กและประเทศ ตะวันตกอืน่ ๆ ความสนใจในตัวหนังสือ อย่ า งกว้ า งขวางอาจเป็ น เพราะการ สังเกตการณ์และหลักการทีบ่ รรยายไว้ใน หนั ง สื อ เป็ น หลั ก สากลต่ อ ผู้ ค น ถ้ า ไม่ คำ�นึงถึงทวีปและวัฒนธรรม ทุกคนก็เป็น คนเดินเท้าไม่ระดับใดก็ระดับหนึ่ง หน้ า ปกหนั ง สื อ เปลี่ ย นไปในช่ ว ง หลายปีเพือ่ ให้เป็นไปตามการเปลีย่ นแปลง ทางวัฒนธรรมและตามข้อเท็จจริงที่ว่า หนังสือต้องการความเป็นนานาชาติมาก ยิ่งขึ้น รูปภาพทางด้านซ้ายแสดงให้เห็น

หน้าปกดั้งเดิมของฉบับแรกที่ตีพิมพ์เป็นภาษาเดนมาร์กในปี ค.ศ. 1971 ฉากของงานปาร์ตี้บน ถนนถ่ายมาจาก เชลานด์สเกด ในเมืองออร์ฮุส เมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของเดนมาร์ก ใน ช่วงประมาณปี ค.ศ. 1970 และจับภาพที่มุ่งความสนใจไปที่การอยู่ร่วมกันของคนในยุคนั้น มัน เกือบดูเหมือนการบรรยายให้เห็นชีวติ ของชาวฮิปปีท้ า่ มกลางตึกรามบ้านเรือน หน้าปกเมือ่ พิมพ์ซ�ำ้ ในปี ค.ศ. 1980 แสดงให้เห็นชีวติ สาธารณะทีเ่ งียบสงบมากขึน้ ในเมืองเล็ก ๆ คลาสสิกในรูปแบบ ของสแกนดิเนเวีย ขณะทีห่ น้าปกในปี ค.ศ. 1996 และการตีพมิ พ์ครัง้ ต่อ ๆ มาเกือบจะไม่บง่ บอก ถึงช่วงเวลาและสถานที่ ซึ่งต้องขอบคุณงานกราฟิก ปกทำ�ให้หนังสือกลายเป็นความคลาสสิกที่ ข้ามเส้นของกาลเวลาและภูมิภาค 1971

1980

2003

153



เกี่ยวกับผู้เขียน ญาน เกห์ล เป็นทัง้ สถาปนิก หุน้ ส่วนผูก้ อ่ ตัง้ บริษทั เกหล์ สถาปนิก — ทีป่ รึกษาทางด้าน คุณภาพเมือง และอดีตอาจารย์ มหาวิทยาลัยและนักวิจัยที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันวิจติ รศิลป์แห่งเดนมาร์ก เขาเคยได้รบั รางวัล Sir Patrick Abercrombie สำ�หรับ การอุทิศตนเป็นแบบอย่างในการวางผังเมืองจากสหพันธ์สถาปนิกนานาชาติ และเป็น สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมสถาปนิกหลายแห่งในประเทศเดนมาร์ก อังกฤษ สกอตแลนด์ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา และสถาบันการวางผังเมืองแห่งออสเตรเลีย หนังสือของเขาที่ตีพิมพ์มาแล้วได้แก่ Life Between Buildings; Public SpacesPublic Life; New City Spaces, New City Life และ Cities for People เบร์กิตเต สวาร์ สำ�เร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรม สมัยใหม่ และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันวิจิตรศิลป์ แห่งเดนมาร์ก และเป็น Associate ที่บริษัท เกห์ล สถาปนิก เขียนหนังสือ Spatial Culture และเป็นอาจารย์รับเชิญที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง

เกี่ยวกับบรรณาธิการต้นฉบับและผู้แปล ดาวิษี บุญธรรม จบสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปริญโทจาก ENSA Paris Belleville และปริญญาเอกจาก Université Paris 8 ประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งได้รับทุนวิจัยหลังปริญญาเอกจาก JSPS เพื่อทำ�วิจัย ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว เคยเป็นอาจารย์ประจำ�ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ปัจจุบันเป็นนักวิชาการด้านสถาปัตยกรรมและเมือง สอนและวิจัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น มีความสนใจพิเศษในเรื่องพื้นที่พาณิชยกรรมในเมือง และเมืองในเอเชียกับการใช้แล้วใช้อกี อย่างสร้างสรรค์ มีงานเขียนเชิงวิชาการ อาทิเช่น In The Search of Urban Quality: 100 Maps Of Kuhombutsukawa Street Jiyugaoka (ร่วมกับ Radovic) 2014, Tokyo | Bangkok | Singapore: Intensity Reuse And Creative Milieu 2013, และ Future Asian Space (ร่วมกับ Hee และ Viray) 2012 ศรี สุ เ มธ ฤทธิ ไ พโรจน์ จบปริ ญ ญาตรี จ ากภาควิ ช าภู มิ ส ถาปั ต ยกรรม คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขาการ ตลาดจาก Johnson & Wales University ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันทำ�งานด้าน การตลาดให้กบั บริษทั เอกชน มีความสนใจเรือ่ งภาษา ทัง้ ด้านการเขียนและการแปล มี ผลงานการแปลบทภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ หนังสือ และเขียนบทความให้กบั บริษทั หลายแห่ง ผลงานแปลหนังสือทีจ่ ดั พิมพ์โดยสำ�นักพิมพ์ลายเส้น คือ เมืองของผูค้ น (Cities for People) โดยญาน เกห์ล (2559)


เสียงชื่นชมหนังสือ

HOW TO STUDY PUBLIC LIFE “การศึกษาพื้นที่สาธารณะ-ชีวิตสาธารณะ ที่พัฒนาโดย ญาน เกห์ล และทีมงานของเขา เป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ให้กับ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพ วงการวิชาการ และนักวางผังเมือง ทั่วทุกส่วนของโลกมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ตอนนี้เครื่องมือลับ ของเขาถูกนำ�มาเผยแพร่ให้กับทุกคนในหนังสือ How to Study Public Life สิ่งสำ�คัญในตอนนี้ คือการทำ�อะไรสักอย่าง และนำ�พวกมันออกมาใช้” ปีเตอร์ นิวแมน ศาสตราจารย์ด้านความยั่งยืน มหาวิทยาลัยเคอร์ทิน ประเทศออสเตรเลีย

ศาสตราจารย์ด้านการออกแบบเมือง มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์

Life between Buildings

เมืองมีชีวิต พิมพ์ครั้งที่ 1/2556 พิมพ์ครั้งที่ 2/2560

“การนำ�หลักการของการศึกษาพื้นที่สาธารณะมาใช้ที่เมือง เมลเบิร์น พิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือล้ำ�ค่าในการทำ�ให้เมืองของเรา น่าอยู่มากขึ้น How to Study Public Life เป็นหนังสือที่เน้นไปที่ เครื่องมือและวิธีการที่จำ�เป็นอย่างยิ่งสำ�หรับทุกคนที่มีความมุ่งมั่น ที่จะสร้างเมืองที่ดีขึ้นสำ�หรับผู้คน” ร็อบ อดัมส์ ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานออกแบบเมือง สภาเมืองเมลเบิร์น

HOW TO STUDY PUBLIC LIFE

JAN GEHL & BIRGITTE SVARRE

ญาน เกห์ล เป็นทั้งสถาปนิก หุ้นส่วนผู้ก่อตั้ง

บริษัท เกห์ล สถาปนิก — ที่ปรึกษาทางด้าน คุณภาพเมือง และอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย และนั ก วิ จั ย ที่ ค ณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งเดนมาร์ก เขาเคยได้รับ รางวัล Sir Patrick Abercrombie สำ�หรับการ อุทิศตนเป็นแบบอย่างในการวางผังเมืองจาก สหพันธ์สถาปนิกนานาชาติ และเป็นสมาชิก กิตติมศักดิ์ของสมาคมสถาปนิกหลายแห่งใน ประเทศเดนมาร์ ก อั ง กฤษ สกอตแลนด์ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา และสถาบันการ วางผังเมืองแห่งออสเตรเลีย หนังสือของเขาที่ ตีพมิ พ์มาแล้วได้แก่ Life Between Buildings; Public Spaces-Public Life; New City Spaces, New City Life และ Cities for People

HOW TO STUDY PUBLIC LIFE

ชุดหนังสือเกี่ยวกับเมือง เขียนโดย ญาน เกห์ล

“หนังสือสำ�คัญเล่มนี้ตีพิมพ์ ในช่วงเวลาที่การศึกษาเกี่ยวกับการ เคลื่อนไหวของความเป็นเมือง ทำ�ให้เกิดการบูรณาการที่ดีขึ้น ของกิจกรรมในเมือง ซึ่งเกห์ลแสดงวิธีทำ�ให้ประสบความสำ�เร็จ มานานแล้ว” ปีเตอร์ บอสเซลมานน์

ญาน เกห์ล และ เบร์กิตเต สวาร์ | วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ

การออกแบบเมือง

​เบร์กิตเต สวาร์ สำ � เร็ จ การศึ ก ษาหลั ก สู ต ร ศิ ล ปศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวั ฒ นธรรม สมัยใหม่ และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จากคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันวิจิตรศิลป์แห่ง เดนมาร์ก และเป็น Associate ที่บริษัท เกห์ล สถาปนิก เธอเขียนหนังสือ Spatial Culture และ เป็นอาจารย์รับเชิญที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง

Cities for People

เมืองของผู้คน พิมพ์ครั้งที่ 1/2559

How to Study Public Life พิมพ์ครั้งที่ 1/2561

700.-

วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ

ญาน เกห์ล และ เบร์กิตเต สวาร์ เขียน | ศรีสุเมธ ฤทธิ ไพโรจน์ แปล

ISBN 978-616-4590-13-7

แปลและจัดพิมพ์โดย สำ�นักพิมพ์ ลายเส้น

GehlCoverMech-TH_CC_Final.indd 1

4/11/2561 BE 5:04 AM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.