ตึก ตึก โป๊ะ จังหวะชีวิต สถาปนิก ทุนเปียโน สู่แดนมังกร

Page 1


ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ กุลธิดา ทรงกิตติภักดี. ตึก ตึก โป๊ะ.-- กรุงเทพฯ : ลายเส้น, 2559. 144 หน้า. 1. รวมเรื่อง. I. ชื่อเรื่อง. 089.95911 ISBN 978-616-7800-67-7



ค�ำน�ำผู้เขียน เนือ่ งด้วยความตัง้ ใจทีจ่ ะบันทึกเหตุการณ์ตา่ งๆ ทีผ่ า่ นเข้ามาในชีวติ เผือ่ วันหนึง่ ข้างหน้า เมือ่ ความทรงจ�ำเริม่ จางหาย เรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ จะได้ไม่หายตาม เมือ่ เวลาผ่านไปก็เป็นอย่างทีค่ ดิ ความทรงจ�ำในช่วงเวลานัน้ เริม่ เลือนราง พอกลับมานัง่ อ่านสมุดบันทึกทีเ่ คยจดไว้ เรือ่ งราวใน นี้ มีหลายแง่หลายมุมทีน่ า่ จะเป็นประโยชน์ตอ่ คนอืน่ ๆ เลยน�ำตัวอักษรทีแ่ ต่กอ่ นนัง่ อ่านอยู่ คนเดียว รวบรวมเป็นรูปร่าง รูปเล่ม รวมกันเป็นหนังสือ ทีไ่ ม่ใช่หนังสือแนะน�ำทีเ่ ทีย่ ว หรือ คูม่ อื แนะแนวชีวติ แต่เป็นเรือ่ งราวร้อยเรียงจากประสบการณ์จริงของตัวคนเขียนเอง สถาปนิกวัยกระเตาะทีถ่ กู เลือกจากผูส้ มัครหลายพันคนทัว่ โลกให้ไปร่วมงานกับสถาปนิกชือ่ ดัง เรนโซ เปียโน (Renzo Piano) ในมหานครทีข่ นึ้ ชือ่ ว่าสวยทีส่ ดุ ในโลกอย่างปารีส และ โอกาสครัง้ ใหม่ของการท�ำงาน ในเมืองทีก่ ำ� ลังพัฒนาแบบสุดโต่งอย่างกว่างโจว สองเมือง สองประเทศ ทีไ่ ม่มอี ะไรเหมือนกันสักอย่าง กับช่วงเวลาทีต่ อ้ งดิน้ รนหาทางอยูร่ อด เดินตาม ความฝัน เรียนรูแ้ ละเข้าใจชีวติ จากผูค้ น บ้านเมือง และสิง่ ต่างๆ รอบตัว จังหวะชีวติ ทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างทาง มีขนึ้ มีลง มีสขุ มีเศร้าคละเคล้ากัน ตัง้ ความหวังไว้อย่าง แต่กลับได้อกี อย่าง และ อีกหลายๆ อย่างตามมา เมือ่ ได้ผา่ นช่วงเวลาทีย่ ากล�ำบาก และน่าประทับใจทีส่ ดุ ในชีวติ ก็ตงั้ ค�ำถามกับตัวเองว่า เป็น ไปได้ไหมทีจ่ งั หวะชีวติ ของแต่ละคนนัน้ จะทับซ้อนกัน คล้ายกัน และอาจจะเป็นจุดเริม่ ต้น เรือ่ งราวใหม่ๆ ของใครอีกหลายคน ถ้าวันนีเ้ ราเริม่ ไม่แน่ใจกับจังหวะชีวติ ทีเ่ ราก�ำลังบรรเลง อยู่ ลองเงีย่ หูฟงั เสียงต่างๆ ข้างกาย ลองมองดูสภาพแวดล้อมโดยรอบ และลองหยิบสมุด บันทึกของเพือ่ นคนใดคนหนึง่ ขึน้ มาอ่าน เราอาจจะพบแรงบันดาลใจหรือท่วงท�ำนองใหม่ใน ชีวติ ซ่อนอยูใ่ นนัน้ ก็เป็นได้ ออกเดินทางกันเถอะ เพือ่ น... ตึก ตึก โป๊ะ กุลธิดา ทรงกิตติภกั ดี (ป้อ) ณ จุดหมายใหม่ นครเซีย่ งไฮ้


ค�ำน�ำบรรณาธิการ ชีวติ จริง ยิง่ กว่านิยาย จากบันทึกความทรงจ�ำในอดีต น�ำมาเรียงร้อยถ้อยความใหม่ จังหวะชีวติ มีสสี นั พลิกผัน หักมุม ขึน้ ลง สับสน ปนเป หักเห ดัง่ นิยาย ดูหนังดูละคร แล้วย้อนดูตวั บางบทบางตอน ย้อนไปข้องเกีย่ วภาพยนตร์ จังหวะชีวติ พลิกผัน ซับซ้อน ยอกย้อน สับสน เรือ่ งราวในหนังสือ ชีวติ จริง หนัง ละคร ทับซ้อนกันไปมาจนงงว่า อะไรจริงอะไรเท็จ “ดราม่าซ้อนดราม่าซ้อนดราม่า” วิชยั ศรีอไุ รรัตนา


“จังหวะชีวิตสถาปนิก ทุนเรนโซ เปียโน” เรือ่ งราวของสถาปนิกรัว้ จามจุร ี หนึง่ เดียวจากการคัดเลือกทัว่ โลกให้รบั ทุนฝึกงาน กับบริษทั สถาปนิกระดับโลก  “เรนโซ  เปียโน”  สาขาปารีส  อันเป็นจุดเริม่ ต้น ชีวติ ผจญภัยในต่างแดน ในระหว่างฝึกงานมีโอกาสได้แสดงความสามารถพิสจู น์ ตัวเอง  จนถึงช่วงสัญญาทุนใกล้จะหมดลง  ได้รบั การทาบทามให้ทำ� งานต่อเนือ่ ง บรรจุเป็นพนักงานประจ�ำในบริษัท  แต่มาติดด้วยข้อกฎหมายของทางการ ฝรัง่ เศสทีผ่ ยู้ นื่ ขอใบอนุญาตท�ำงาน จะต้องอยูใ่ นประเทศมาแล้วไม่นอ้ ยกว่าหนึง่ ปี เป็นเหตุให้ตอ้ งดิน้ รนคิดหาหนทางทีจ่ ะอยูเ่ อาตัวรอดในปารีสให้ได้กำ� หนดเวลา ขณะทีอ่ ยูป่ ารีสได้ทำ� งานพิเศษมากมาย  ตัง้ แต่เป็นสถาปนิกรับจ้างเฉพาะกิจ พนักงานเสิรฟ์ ในร้านอาหารไทย  จนถึงเป็นล่ามแปลภาษาไทย-ฝรัง่ เศสให้กบั ผูป้ ระกอบการชาวไทยทีม่ าออกร้านในงานแสดงสินค้าตกแต่งบ้าน Maison et Objet รวมถึงได้แคสต์บทตัวประกอบ เป็นเพือ่ นร่วมรุน่ สถาปัตย์ฯ ของนางเอก ทีม่ าดูงานทีป่ ารีส แล้วบังเอิญพบกับนางเอกทีท่ ำ� งานอยูใ่ นร้านอาหารไทย ใน ภาพยนตร์ชอื่ ดัง “หนีตามกาลิเลโอ” ของ GTH


จนสุดท้ายได้พลิกผันเปลี่ยนมาเป็นผู้วาดภาพบ้านในจินตนาการของนางเอก ทีไ่ ด้แรงบันดาลใจจากหอเอนปิซา  อันท�ำให้นางเอกได้ไปถึงเป้าหมายทีฝ่ นั ไว้ ประกอบภาพยนตร์เรือ่ งดังแทน  หลังจากเรียนจบ  อันเป็นช่วงเวลาทีเ่ หมาะ สมต่อการขอใบอนุญาตท�ำงานแล้ว  กลับเป็นช่วงเวลาที่เกิดภาวะเศรษฐกิจ ตกต�่ำในสหรัฐอเมริกา  ยุโรป  รวมทั้งฝรั่งเศส  โปรเจ็กต์ที่เคยท�ำกับบริษัท RPBW (Renzo Piano Building Workshop) ก็ถกู เลือ่ นส่งอย่างไม่มกี ำ� หนด จึงท�ำให้ได้รบั การปฏิเสธรับเข้าท�ำงานจากทางบริษทั   การผจญภัยในต่างแดน จึงเริ่มต้นขึ้นใหม่อีกครั้ง  ในดินแดนแห่งใหม่ที่แปลกแยกแตกต่างกันออกไป อย่างมาก

“สู่แดนมังกร”




สารบัญ

ออกตัว ถูกหวย นางงามจักรวาล ติวเข้ม / ติดปีก รายงานตัว พบเพื่อลา

18 20 22 24 26 30

โมเดลไฮโซ คูปองวิเศษ ครั้งแรกที่เจอกัน คนละภาษา ความเสมอภาค ฟิตมื้อกลางวัน

32 36 38 40 42 46

อยู่นอกสายตา มนุษย์ ตึก ตึก โป๊ะ ปลายทาง ทางเลือก ลาเพื่อพบ จุดเริ่มต้น อาย-อด

48 50 52 54 56 62 64 68


รายได้ อีกครั้ง ตัวประกอบ รัก ล่าม จบเรียน

72 74 78 84 88 92

ออนโฮ ไม่แน่นอน เปลี่ยน ข้ามโลก ตื่นนอน อย่างนี้นี่เอง ภาษามือ โลกคู่ขนาน พัฒนาจริงหรือ ของเลียนแบบ

94 96 100 104 106 110 112 116 120 124

แบบประกวด กินเลี้ยงของสด ภาพซ�้ำ แพนิก

126 130 132 138


26 ตึก ตึก โป๊ะ

เปิดหู เปิดตา และเปิดใจ พร้อมรับสิ่งใหม่ๆ เบื้องหน้า

รายงานตัว

ก่อนมาปารีส ได้มีโอกาสคุยกับรุ่นพี่คนหนึ่งที่เคยอยู่ฝรั่งเศส รุ่นพี่คนนี้ เตือนติดตลกว่า “น้องไปที่นั่นคนเดียว ควรจะหลีกเลี่ยงการนั่งรถใต้ดิน เพราะในนั้นมีมิจฉาชีพชุกชุม ไม่ควรกางแผนที่ริมถนน เพราะคนจะรู้ว่าเรา เป็นนักท่องเที่ยว แล้วอาจกลายเป็นเป้าหมายของหัวขโมย สรุปคือ ท�ำตัวให้ เหมือนคนท้องถิ่นจะปลอดภัยที่สุด” วันแรกทีเ่ รามาถึง เราออกเดินดูเมืองจากทีพ่ กั แถว ปลาส ดู ลา เครพูบลิค (Place du la République) ที่ตั้งของรูปปั้นเชิงสัญลักษณ์ทางอิสรภาพ และประชาธิปไตยในฝรัง่ เศส เทพีเสรีภาพมารีอานน์ (Marianne) ถือกิง่ ต้น โอลีฟไว้ในมือขวา ขณะที่มือซ้ายถือใบประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง อนุสาวรีย์นี้เป็นจุดตัดของย่านสาม ย่านสิบ และย่านสิบเอ็ดในปารีส* เรา เดินตะลุยทั่วเมืองอย่างกับเป็นวันสุดท้ายที่จะมาอยู่ที่นี่ บรรยากาศบ้าน เมืองโดยรอบ น่ามอง ตื่นตาตื่นใจ ท�ำเอาเดินเพลิน กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เดิน มาจนถึงประตูชัยฝรั่งเศส (Arc de Triomphe) โดยที่ไม่ได้นั่งรถใต้ดิน ไม่ ได้กางแผนที่ ระยะทางที่เดินวันนั้นมากกว่าห้ากิโลเมตร หลายคนสงสัยว่า ออฟฟิศเรนโซ เปียโน อยูต่ รงส่วนไหนในปารีส ถ้าจะให้เดา น่าจะตั้งอยู่ใกล้ๆ กับปอมปิดูเซนเตอร์ (Pompidou Center) ตึกที่สร้างชื่อ ให้เรนโซ ดังไปทั่วโลก เมื่อวานเราลองเดินส�ำรวจดู ไม่นึกว่าจะใกล้ขนาดนั้น


27

ด้านหลังปอมปิดูฝั่งห้องสมุด เดินมาสองบล็อกก็ถึง เลขที่สามสิบสี่ ครู เด ซาชีฟฟ์ (Rue des Archives) ซ้ายมือมีห้องตัดโมเดลที่ปิดด้วยกระจก เสมือนเป็นโชว์รมู ให้บริษทั โมเดลสวยงามมากมายวางอยูด่ า้ นหน้า ตรงกลาง มีเครื่องมือขนาดใหญ่ส�ำหรับตัดโมเดล ขณะที่ผนังด้านหนึ่งอัดแน่นด้วย อุปกรณ์ที่ดูเหมือนส�ำหรับช่างมากกว่าอุปกรณ์ตัดโมเดลทั่วไป ประตูสีแดงด้านขวาที่เมื่อวานปิดอยู่ วันนี้เปิดอ้าต้อนรับการมารายงานตัว ของเรา หลังประตูสแี ดงนัน้ เป็นทางเดินลึกมากกว่าสิบเมตร ผนังสองข้างตกแต่ง ด้วยภาพผลงานต่างๆของบริษัท หลังจากมาถึงปารีสได้สองวัน วันนี้เป็นวัน แรกที่จะได้เข้าไปในออฟฟิศ เพื่อรายงานตัวว่ามาถึงแล้ว ก่อนจะเริ่มงานจริง อีกสี่วันข้างหน้า คุณเลขาฯ พาเราเดินแนะน�ำตัวกับทีมต่างๆ ที่นี่มีพนักงาน ทั้งหมดประมาณเจ็ดสิบคน แบ่งเป็น 5-6 ทีม แต่แทบไม่เห็นมีหัวด�ำเอเชีย อย่างเราเลย ทุกคนดูเป็นมิตรดี ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะได้ท�ำงานกับทีมไหน บรรยากาศร้านค้าแถวออฟฟิศที่ตั้งอยู่ในปารีสย่านสี่นี้** ส่วนใหญ่เป็นร้าน ขายของดีไซน์เก๋ๆ และร้านอาหารกึ่งบาร์มากมาย ผู้คนโดยรอบแต่งตัวดี แถมเดินกันมาเป็นคู่ๆ แต่น่าแปลก ไม่ใช่มาคู่แบบชายหญิงทั่วไป แต่กลับ เป็นชายชายและหญิงหญิง! ย่านนี้มันคือย่านอะไรกันแน่...

*ปารีสแบ่งเป็นยี่สิบเขต (Arrondissements de Paris) โดยก�ำหนดเขตต่างๆ เป็นตัวเลข นับจากใจกลาง ปารีสเป็นเขตที่หนึ่ง แล้วหมุนวนตามเข็มนาฬิกา แต่ละเขตจะมีเอกลักษณ์และย่านต่างๆ เฉพาะตัว เช่น อยากไปหาขนมอร่อยๆ ร้านกาแฟเก๋ๆ จะรวมตัวกันที่เขตหก (สถานี Saint-Germain-des-Prés) หรือถ้า ย่านคนเอเชียเดินเต็มถนน ร้านอาหารจีน เวียดนาม ไทย ลาว พบได้ทั่วไปข้างทางก็ที่เขตสิบสาม (สถานี Place d’Italie) **ส่วนเขตสี่ มาเคร่ (Marais) ถึงจะเป็นที่ตั้งของที่ว่าการเมืองปารีส (Hôtel-de-Ville) แต่ตอนกลางคืน หรือช่วงเทศกาลเฉพาะกิจ ร้านอาหารและบาร์ต่างๆ ในย่านนี้จะประดับด้วยธงสีรุ้ง เพื่อแสดงตัวว่า ร้านนี้ ส�ำหรับกลุ่มคนรักเพศเดียวกันจ้า


ซ้าย: โชว์รูมท�ำโมเดลด้านหน้า

ขวา: ประตูแดงทางเข้าบริษัท



30 ตึก ตึก โป๊ะ

การพบกันและลาจากดูเป็นเรื่องง่าย แต่การรักษาความสัมพันธ์ให้คงอยู่ กลับเป็นเรื่องยากกว่ามาก

พบเพื่อลา

วันศุกร์ที่ 1 ก.พ.

เริ่มงานวันแรก วันนี้ไปถึงแต่ไก่โห่ บังเอิญเจอคุณไดเรกเตอร์ (managing director) อยู่ด้านหน้าออฟฟิศพอดี เขาเลยออกมาเปิดประตูให้ พร้อมกับ บอกรหัสส�ำหรับเปิดประตู และพาไปเก็บเสือ้ โค้ต เราเลยมอบหนังสือ Architecture of Thailand ที่หอบหิ้วมาจาก A49 (สถาปนิก49) ให้ซะเลย และ แล้วหนังสือสถาปัตยกรรมไทยก็ไปโชว์หราอยู่ในห้องสมุดของบริษัท เรนโซ เปียโน จนได้ หลังจากนั้นเพื่อนร่วมงานหลายคนก็มักจะมาถามเรื่องท่อง เที่ยวไทย เรากลายเป็นทูตวัฒนธรรมจ�ำเป็นไปโดยปริยาย วันนี้นอกจากจะเป็นวันพิเศษส�ำหรับเราที่มาท�ำงานวันแรกแล้ว˜ก็เป็นวัน ส�ำคัญของอีกสามคนทีก่ ำ� ลังจะลาออกจากทีน่  ี่ ปาร์ตเี้ ลีย้ งส่งเล็กๆ  ในออฟฟิศ ถูกจัดขึ้นตรงโซนห้องสมุดชั้นใต้ดิน บรรยากาศน่ารักมาก ทุกคนดูเป็น กันเอง อาหารและเครื่องดื่มเพียบ ออฟฟิศมีทั้งหมดสองชั้น ชั้นล่างเป็นส่วน โต๊ะท�ำงานทั้งหมด น่านั่งท�ำงาน พื้นไม้ โต๊ะไม้ เก้าอี้แดงนั่งสบายของวิทรา (Vitra) และหลังคาสกายไลต์ที่มีระแนงอะลูมิเนียมด้านนอกสามารถปรับ มุมในการรับแสงได้


31

ห้องท�ำงานส่วนตัวของเรนโซอยู่ไม่ไกลจากโซนท�ำงานด้านหน้า ที่นั่งที่เขาจัด ให้เรานั่งอยู่ตรงข้ามกับห้องของเรนโซพอดีเลย ส่วนชั้นใต้ดินเป็นโซนห้อง สมุด ห้องประชุม ห้องตัดโมเดลที่มีอุปกรณ์ครบครัน ห้องเซอร์เวอร์ ห้อง พรินเตอร์ส�ำหรับพรินต์งานขนาดใหญ่ และส่วนเตรียมอาหาร ชา กาแฟ ช็อกโกแลต น�้ำผลไม้ ขนมนมเนย มีพร้อม เอิ่ม... สวรรค์ชัดๆ...

บรรยากาศงานเลี้ยงอ�ำลาหน้าห้องสมุด


38 ตึก ตึก โป๊ะ

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความส�ำเร็จอยู่ที่นั่น ยังคงมีอยู่จริง

ครั้งแรกที่เจอกัน

วันอังคารที่ 12 ก.พ.

คุณเรนโซ เปียโน สถาปนิกชาวอิตาเลียนวัยเจ็ดสิบกว่า ผู้มีอิทธิพลในวงการ สถาปนิกระดับโลก เรนโซ เริ่มมีชื่อเสียงมาจากการชนะประกวดแบบกับ พาร์ทเนอร์ชาวอังกฤษ ริชาร์ด โรเจอร์ส (Richard Rogers) ได้สร้างปอม ปิดูเซนเตอร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยและห้องสมุดใจกลางกรุงปารีส ด้วย วัยแค่สามสิบสี่ปี หลังจากนั้นก็ร่วมก่อตั้งบริษัทกับพาร์ทเนอร์หลายคน ใน ที่สุดคุณเรนโซก็ออกมาเปิดบริษัทของตัวเองชื่อ Renzo Piano Building Workshop (RPBW) โดยมีสามสาขาทัว่ โลก คือทีเ่ มืองเจนัวร์ อิตาลี บ้านเกิด เรนโซ สาขาปารีส ที่เป็นสาขาหลักของบริษัท และสาขาย่อยที่นิวยอร์ก เรา ได้ข่าวมาว่าเรนโซจะมาออฟฟิศที่ปารีสประมาณสองครั้งต่อเดือน โดยอยู่ ราวๆ หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ วันนี้แล้วสินะที่จะได้เจอกัน คุณเลขาฯ พาเราไปแนะน�ำตัว คุณลุงเรนโซ เป็นคนสูงโปร่ง หน้าตาดูยิ้มแย้ม ใจดี อาจจะเคลื่อนตัวช้าบ้างเนื่องจากวัยที่ ล่วงเลย แต่ก็ดูแข็งแรงกว่าอายุ คุณลุงเรนโซ ผู้ใช้เวลาทั้งชีวิตไปกับการเดิน ทางในถนนสายสถาปัตยกรรม เข้ามาทักทาย ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกับเรา ตามสมควร หลังจากนั้นคุณเลขาฯ มาบอกว่า เดี๋ยวจะพาเราไปแนะน�ำกับ มาดามเปียโนด้วย เราเข้าไปจับมือทักทายตามปกติไม่ได้คิดอะไร


39

มาดามเปียโนเป็นผู้หญิงสาวสวยวัยกลางคน ผมยาวสีบลอนด์ สูงหุ่นดี อย่าง กับนางแบบอิตาเลียน หลังจากทักทายกันพอเป็นพิธี เรากลับมานั่งท�ำงาน ต่อ ก็อดเมาต์กับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ว่า “เราเจอลูกสาวเรนโซด้วย คนที่มา กับเขาน่ะ สวยดีนะ” เพื่อนๆ ข�ำก๊าก สวนกลับมาทันทีว่า... “นั่นน่ะ ภรรยาคุณลุงเรนโซ !?! ส่วนเด็กผู้ชายใส่แว่น อายุสิบขวบที่วิ่งเล่น อยู่ตรงนั้น คือลูกชายเรนโซจ้า” เฮ้ย...

ถ่ายภาพคู่กับคุณลุงเรนโซ


50 ตึก ตึก โป๊ะ

รู้จักคิดแต่ไม่ท�ำ จะเห็นผลได้อย่างไร

มนุษย์ คนเรานี่ก็ประหลาด พอได้คืบจะเอาศอก ได้ศอกจะเอาวา อยากได้ อยากมี อยาก... ไม่รจู้ กั จบจักสิน้ เราก็เป็นเช่นนัน้ แล การทีไ่ ด้ทนุ มาท�ำงานทีน่ หี่ กเดือน ก็นับว่าเป็นบุญท่วมหัวแล้ว ยัง... อยากจะดิ้นรนหาทางท�ำงานต่ออีก พอไป คุยกับคุณไดเรกเตอร์ที่ดูแลด้านบริหารเงิน บริหารคนของออฟฟิศ เกี่ยวกับ โอกาสในการท�ำงานที่นี่ เขาตอบว่าไม่แน่ใจในเรื่องของใบอนุญาตการท�ำงาน เพราะที่ฝรั่งเศสท�ำเอกสารยาก แล้วเราเพิ่งมาถึงได้ไม่นานไม่รู้จะต้องวุ่นวาย เรื่องเอกสารมากน้อยแค่ไหน เขาขอคุยกับคุณพาร์ทเนอร์หัวหน้าทีมเราก่อน ว่าเสียเวลาท�ำเรื่องนี้จะคุ้มไหมกับการที่ได้เรามาท�ำงานประจ�ำ เอิ่ม... ช่วงนีเ้ ราเลยโดนลองของ คุณร็อบหัวหน้ากลุม่ อยูด่ ๆี มาถามว่า เธอใช้โปรแกรม เรวิต (Revit)* เป็นไหม โชคดีที่เคยไปเรียนมาคอร์สหนึ่ง ตอนอยู่ที่ A49 เลยพอใช้เป็นอยู่บ้าง แต่ส�ำหรับคนที่นี่แทบไม่มีใครเคยใช้ การที่เราใช้เป็น ถึงจะแค่ขั้นพื้นฐาน จึงดูเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมาก คุณร็อบเลยจัดให้เราท�ำ แบบทัง้ หมดในเรวิต และให้ชว่ ยค�ำนวณหาพืน้ ทีข่ องอาคาร หลังจากนัน้ ไม่กวี่ นั ก็มีข่าวที่ท�ำให้คนในทีมทุกคนโอดครวญ “ทางลูกค้าโครงการมหาวิทยาลัยโคลัมเบียตกลงกับบริษัทให้ทุกคนในทีม เขียนแบบโปรเจ็กต์นี้ทั้งหมดด้วยโปรแกรมเรวิต!?!” ได้ยินมาว่ามหาวิทยาลัยโคลัมเบียมีทีมพัฒนาโปรแกรมนี้และนี่ถือเป็นหนึ่ง ในกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะท�ำให้สถาปนิกใช้กันแพร่หลายมากขึ้น โอ้ว... เพื่อนร่วมงานหลายคนถึงกับโอดครวญ ทีมเราทั้งทีมสิบคนต้องไป เรียนเรวิตสองครั้งต่อสัปดาห์ ผ่านไปหนึ่งเดือน มีคนใช้โปรแกรมนี้เป็นแค่ สองคนจากสิบ ทุกคนต่างยอมแพ้ บ่นกันระงมว่ายากท�ำไม่เป็นบ้างล่ะ ใช้ โปรแกรมนี้แล้วออกแบบไม่ได้บ้างล่ะ


51

แต่เราทุกคนไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงไปได้ เพราะในข้อตกลงนั้น แบบ เบื้องต้นที่ก�ำลังจะส่งเดือนหน้า ต้องใช้เรวิตในการเขียนแบบอย่างต�่ำ 70% ถ้ายังเป็นอย่างนี้ใครจะเขียนแบบล่ะนี่ ท�ำไปท�ำมาตอนนี้กลายเป็นเราที่ต้อง ประสานงานกับฝ่ายเรวิตที่อเมริกาเพื่อจะให้งานเสร็จ ท�ำไปท�ำมาคนในทีม เรียกหาเราทุกครึ่งชั่วโมง ท�ำไปท�ำมาเราจะกลายเป็นผู้ช่วยสอนเรวิต ท�ำไป ท�ำมาเพื่อนเลิกเรียกชื่อหันมาเรียกว่า Revit Girl ซะงั้น… *Autodesk Revit Architecture เป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่พัฒนามาจากแนวคิด BIM (Building Information Modeling) ในลักษณะของการบันทึกฐานข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องลงไปในวัตถุสามมิติ ยกตัวอย่าง ง่ายๆ คือ แต่เดิมที่เราเขียนแบบกันสองมิติ เขียนผังพื้นเสร็จแล้วต้องมาเขียนรูปด้านต่อ ตามด้วยรูป ตัด ท�ำโมเดลสามมิติ ฯลฯ พอใช้โปรแกรมเรวิตแล้ว เขียนแบบทีเดียวได้ทั้งผังพื้น รูปด้าน รูปตัด และ โมเดล ไปจนถึงสามารถประมวลผลข้อมูลต่างๆ เช่น ตารางพื้นที่อาคาร ตารางราคาก่อสร้าง วิเคราะห์ งานออกแบบในด้านต่างๆ ได้อีกมากมาย ที่ส�ำคัญแก้แบบที่หนึ่ง แบบสองมิติและโมเดลสามมิติก็จะแก้ไป ด้วยกันอย่างอัตโนมัติ


บรรยากาศการเรียนการสอนในวิชาการออกแบบวางผังชุมชน




ภาพถ่าย: จากภาพยนตร์ “หนีตามกาลิเลโอ Dear Galileo” บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จ�ำกัด


108 ตึก ตึก โป๊ะ

ขณะเดียวกันก็พยายามเปิดประตูออกทางซ้ายมือตามความเคยชิน* เปิดไม่ออก! เปิดแล้วเปิดอีกก็เปิดไม่ออก ลนมาก คิดเอาเองว่าคนขับล็อกรถ เพื่อมีเจตนาท�ำมิดีมิร้าย ทันใดนั้น... ประตูด้านขวามือเรา ถูกเปิดออกจากด้านนอก ภาพที่เห็นคือคนขับออกจากที่นั่งเดินมาเปิดประตู แล้วไล่เราลงจากรถ!?! เขาคงพอใจกับเงินยี่สิบหยวนที่เราให้ไป ฝุ่นก่อสร้างปลิวมาปะทะใบหน้า ถึงแล้วสินะย่านเมืองใหม่ในกว่างโจว จังหวะนั้นคิดถึงปารีสขึ้นมาจับใจ...

*ทางเดินรถในเมืองจีนเป็นแบบขับชิดขวา คนขับนั่งด้านซ้าย (กลับด้านกับเมืองไทย) แท็กซี่ส่วนใหญ่ล็อก ประตูซ้าย ป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารเปิด เพราะค�ำนึงถึงความปลอดภัยเวลาลงจากรถ


บน: ย่านเมืองใหม่ Zhujiang New Town

ล่าง: ถนนคนเดิน Beijing Lu ในย่านเมืองเก่า


110 ตึก ตึก โป๊ะ

บางทีเราคิดว่าคนนั้นคนนี้ไม่มีมารยาท หารู้ไม่ว่า การกระท�ำของเราที่โต้ตอบเขา ก็หาค�ำว่ามารยาทไม่มีเช่นกัน

อย่างนี้นี่เอง หลายวันก่อนเห็นชายหญิงชาวจีนคู่หนึ่งที่ไม่รู้จักกัน วิ่งขึ้นรถใต้ดินความเร็ว ประหนึ่งลงแข่งวิ่งร้อยเมตร ทั้งสองคนเข้ารถมาพร้อมกัน มองเห็นที่นั่งว่างที่ เหลืออยู่หนึ่งที่พร้อมกัน แต่ผู้ชายไวกว่าทิ้งก้นนั่งลงก่อน ภาพสุดท้ายที่เห็น หลังจากที่คนทั้งคู่เข้าเส้นชัยคือ ก้นของผู้หญิงถูกทิ้งลงไปนั่งบนตักผู้ชาย! สองคนนีไ้ ม่รจู้ กั กัน ใบหน้าของทัง้ คูด่ มู ยี างอายปรากฏขึน้ มาแว้บหนึง่ ผูโ้ ดยสาร คนอื่นข�ำก๊ากปนอาการประหลาดใจกับภาพที่เห็น ทั้งสองคนไม่มีใครยอม ใคร นั่งซ้อนตักกันไปหลายสถานีจนมีที่นั่งว่างเพิ่ม ผู้หญิงจึงยอมลงจากตัก ของชายแปลกหน้า “เฮ้ย... เขาเมื่อยจัด อยากนั่งกันขนาดนั้นเลยเหรอ!?!” ผ่านไปครึ่งปีแล้วกับชีวิตในจีน นอกจากงานที่ท้าทาย การด�ำรงชีวิตที่นี่ เหมือนเข้าแข่งขันมหกรรมกีฬาอะไรสักอย่าง โดยคนที่ท�ำความเร็วและ ว่องไวที่สุดคือผู้ชนะ เนื่องจากจ�ำนวนประชากรที่เยอะมากในประเทศ* คนส่วนใหญ่เลยต้องมี ความรวดเร็วฉับไว ใครช้า... อด เดินช้า... ชน กินช้า... หมด วันแรกๆ ที่มาก็ยังไม่ค่อยคุ้นชินกับสิ่งเหล่านี้ และหงุดหงิดทุกครั้งที่ต้องเผชิญกับมัน แต่พอเริ่มท�ำความเข้าใจถึงพื้นฐานชีวิตของแต่ละคนที่ถูกสอนมาคนละแบบ ยิ่งต่างบ้านต่างเมือง วัฒนธรรมต่างกัน กรอบของค�ำว่ามารยาทก็ต่างกันไป คนจีนบางมณฑลต้องรอให้อาหารที่สั่ง เสิร์ฟขึ้นโต๊ะทั้งหมดก่อนถึงจะเริ่มกิน กินก่อนถือว่าเสียมารยาท บางมณฑลต้องล้างช้อนชามตะเกียบด้วยน�้ำร้อน ก่อนถึงจะกินได้ กินก่อนถือว่าไม่รักษาความสะอาด บางมณฑลชนแก้วเหล้า


111

ด้วยการเอาแก้วเคาะโต๊ะเสียงดังหนวกหู ถือเป็นการฉลองที่อยู่พร้อมหน้า คนอื่นอาจจะคิดว่าไม่มีมารยาท ถ้าไม่รู้ว่าเขามีวัฒนธรรมการชนแก้วกัน แบบนี้ เราก็คงจะนึกโกรธเขา เมื่อท�ำความเข้าใจถึงเบื้องหลังของที่มาเหล่านี้แล้ว ความโกรธ ความ หงุดหงิดก็ค่อยๆ หายไป กลายเป็นความเข้าใจและพยายามปรับตัวให้เข้า กับสภาพแวดล้อมเหล่านี้ เลือกและรับเอาส่วนที่คิดว่าอยู่ในทางที่เราใช้ได้ น�ำมาปรับให้เข้ากับตัวเรา น่าจะดีที่สุด เอ่อออออ... เสียงเรอดังลั่น ออกมาจากเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งขณะนั่งประชุม กับลูกค้าหลังอาหารกลางวัน เราเลิ่กลั่กมองหน้าผู้เข้าร่วมประชุม ทุกคนดู ไม่ประหลาดใจกับเสียงที่ได้ยิน ก้มหน้าคุยงานกันต่อ ทันใดนั้น... เอ่อออออ ลูกค้าคนหนึ่งส่งเสียงเรอตอบกลับมา ทุกคนยังดูปกติ ไม่มีใครแสดงท่าที เขินอายหรือต�ำหนิกันเลย เอ่อ... อย่าบอกนะว่า... นี่เป็นหนึ่งในวิธีทักทายของคนที่นี่... *จากรายงานสถิติของรัฐบาลในปี 2013 จีนมีจ�ำนวนประชากรทั้งสิ้น 1.36 พันล้านคน http://www.stats.gov.cn/enGliSH/

บรรยากาศในสถานีรถไฟใต้ดินช่วงเวลาเร่งด่วน


140 ตึก ตึก โป๊ะ


141


Paris

Shanghai

Guangzhou


กุลธิดา ทรงกิตติภักดี(ป้อ) เป็นคนกรุงเทพฯ จบปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มท�ำงานที่ บริษทั สถาปนิก 49 เป็นเวลาสองปีกอ่ นจะได้รบั ทุนให้ไปฝึกงานทีบ่ ริษทั RPBW (Renzo Piano Building Workshop) สาขาปารีสเป็นเวลาหกเดือน ได้ท�ำงานพิเศษและเรียนต่อ ด้านการออกแบบผังเมืองที่โรงเรียนสถาปัตย์ฯ ลา วิลเลต ปี 2553 เริ่มท�ำงานกับบริษัทสถาปนิกฮ่องกง Rocco Design Architects ที่เมืองกว่างโจว ต่อมาท�ำงานเป็นสถาปนิกออกแบบโครงการ ควบคู่กับต�ำแหน่ง Associate ที่บริษัทสถาปนิกอเมริกัน NBBJ สาขาเซี่ยงไฮ้ และเป็นนักเขียนบทความ ให้กับนิตยสารด้านการออกแบบ ตั้งแต่ตอนอยู่ที่ปารีส และได้รับ การตีพิมพ์เรื่อยมา

ขอขอบคุณ...

Bangkok

• พี่เต้ย พี่จุ๋ม ที่เล็งเห็นและ ไว้วางใจมอบโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้ • พี่น้อย จอย และทีมงานลายเส้นส�ำหรับ ความช่วยเหลือและความเห็นในทุกๆ ด้าน • พี่เล็กและแสตมป์ ส�ำหรับค�ำนิยมคมกินใจ • อิฐ อ.ดร.ชมชน เพื่อนอุปถัมภ์ที่บังเอิญ กลายมาเป็นผู้ชี้แนะในทุกการเปลี่ยนแปลงของชีวิต • ผึ้ง อ.ดร.กภ.วนาลี ส�ำหรับค�ำปรึกษาในทุกเรื่อง • พีท ทสร ครีเอทีฟไฟแรงกับไอเดียชื่อปกในหม้อสุกี้ • เฮียเอก พระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยประสานงานแบบฉับไว • พี่โจที่แนะน�ำพี​ี่พงศ์และทีมงาน iCARE ส�ำหรับการสนับสนุนหนังสือและต่อยอดร่วมกันในโอกาสต่อไป • อาจารย์ทุกท่าน เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่เมืองไทยและต่างแดน ผู้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมบรรเลงจังหวะชีวิตในครั้งนี้ • ป๊า ม้า นอทร์ เคท และญาติๆ ทุกคน ส�ำหรับพลังอันอบอุ่นที่มีให้เสมอ • หนุ่มปากแดงหน้าโบสถ์ ส�ำหรับก�ำลังใจและคอยเคียงข้างกันตลอดมา และคุณผู้อ่านทุกท่านที่ได้ร่วมเดินทางไปกับหนังสือเล่มนี้ ส�ำหรับการค้นพบท่วงท�ำนองใหม่ในชีวิต ยินดีที่ได้รู้จักกัน ขอบคุณค่ะ


ตึก ตึก โป๊ะ

จังหวะชีวิตสถาปนิกทุนเปียโนสู่แดนมังกร ผู้เขียน กุลธิดา ทรงกิตติภักดี พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2559 บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จ�ำกัด บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการเล่ม

สุลักษณ์  วิศวปัทมวรรณ วิชัย ศรีอุไรรัตนา

กองบรรณาธิการ ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ กราฟิกดีไซเนอร์ ดูแลการผลิต

บุศรา  เขมาภิรักษ์ รุ่งรวี สุรินทร์ กุลธิดา ทรงกิตติภักดี สิริยากร  อุรัสยะนันทน์ ศุภวิชญ์ คิรีวนานุกูล กุลธิดา ทรงกิตติภักดี

ภาพประกอบ

บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จ�ำกัด ประธานกรรมการ นิธิ  สถาปิตานนท์ กรรมการผู้จัดการ สุลักษณ์  วิศวปัทมวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ พิสุทธิ์  เลิศด�ำริห์การ กรรมการบริหาร ประภากร  วทานยกุล เกียรติศักดิ์  เวทีวุฒาจารย์ ผู้จัดพิมพ์และจัดจ�ำหน่าย บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จ�ำกัด 81 สุขุมวิท 26 คลองตัน คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 0 2259 2096 โทรศัพท์ 0 2661 2017 โทรสาร li-zenn@li-zenn.com อีเมล Li-Zenn Publishing เฟสบุ๊ก www.li-zenn.com, www.li-zennpub.com พิมพ์ที่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการพิมพ์ องค์กรสร้างสรรค์เพื่อสังคม iCARE บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด www.mqdc.com www.icare-club.com facebook: icare-club


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.