หัตถาราชัน Le Corbusier's Hands

Page 1


les mains de le Corbusier. This translation is published by arrangement with LA FONDATION MARTA PAN-ANDRÉ WOGENSCKY. Owner of André Wogenscky Copyright Represented by her president, Pierre Lagard. Thai Translation Copyright 2015 by Li-Zenn Publishing.


LE CORBUSIER’S HANDS หัตถาราชัน

ANDRE WOGENSCKY อังเดร โวเกนสกี้ สุพินท์ เรียนศรีวิไล แปล


CONTENTS สารบัญ


คำ�นำ�จากบรรณาธิการแปล 6 Height ความสูง 10 His Hand มือ 14 His Step ก้าวย่าง 16 His Personality ตัวตน 18 His Hands สองมือ 20 Touching สัมผัส 22 Taking การรับ 24 Body ร่างกาย 26 Effort ความพยายาม 28 Bitterness ขมขื่น 32 Meanders คดเคี้ยว 36 The Sea ทะเล 40 Frankness จริงใจ 42 Building Oneself ก่อร่างสร้างตัวตน 46 Open Hand มือที่เปิดรับ 50 Picasso ปีกัสโซ 54 Candidness เปิดเผย 56 Alone and In Silence ปลีกวิเวก 60 Joy ปราโมทย์ 64 Intuitive and Calm หยั่งรู้สู่ความสงบ 66 Work งาน 70 The Drawing Hand มือที่วาด 76 Envelope สิ่งห่อหุ้ม 78 House and Sun บ้านกับดวงตะวัน 80 Unity เอกภาพ 82 Radiant City ชัชวาลนคร 84 The Other Architect สถาปนิกอีกคนหนึ่ง 88

History ประวัติศาสตร์ 90 Universal สากล 94 Functionalism อรรถประโยชน์นิยม 98 Machine เครื่องจักร 102 Utopia ยูโทเปีย 106 Progress ความก้าวหน้า 110 Space ที่ว่าง 114 Form รูปทรง 118 Beautiful งดงาม 120 Void ช่องว่าง 124 Skin พื้นผิว 126 A Gift บรรณาการ 130 Nungesser and Coli นุงเกสแซร์และโคลี 132 His Mother แม่ 136 Light แสง 138 Modulor โมดูลอร์ 140 Music ดนตรี 148 Poetry บทกวี 152 Becoming การกลายมาเป็น 156 Continuum สันตติ 160 Aesthetic State, Poetic State สถานะแห่งสุนทรียภาพ สถานะแห่งบทกวี 162 Ineffable Space อนันตปริมณฑล 166 Right Angle มุมฉาก 170 เชิงอรรถ 178 รายละเอียดภาพประกอบ 182 เกี่ยวกับผู้เขียน 186


คำ�นำ�จากบรรณาธิการแปล จิรากร ประสงค์กิจ


ราชันหนึ่งทำ�ให้ทั้งโลกศิโรราบด้วยความคิดสร้างสรรค์ หาใช่ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ หรือการบังคับขู่เข็ญ อิทธิพลของหลักการนั้นได้ครอบคลุมแผ่กว้าง จากสถาปัตยกรรมสู่สถาปัตยกรรม จากทวีปถึงทวีป จากศตวรรษสู่ศตวรรษ ขอขอบพระคุณคุณสุพินท์ เรียนศรีวิไล ผู้แปล ไว้เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ช่วยฉายภาพของราชันจากผู้ใกล้ชิด ให้ผู้ห่างไกลเช่นเรา ได้รับรู้กระบวนการคิดและทำ�งาน ของเลอ คอร์บูซิเยร์ เชิงอรรถที่ผู้แปลได้กรุณาค้นหามาเพิ่มเติมนั้น ทำ�ให้หนังสือนี้ สมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการสืบค้นให้กระจ่าง มากขึ้นไปอีก เชิงอรรถดังกล่าวมีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่า เนื้อเรื่องเลย

6 7


HIS PERSONALITY ตัวตน


จังหวะก้าวนี้คือท่วงทำ�นองที่แสดงถึงตัวตนของเขา: เด็ดเดี่ยว, แน่นอน, แต่ย้อนแย้งในตัวเอง. บางทีนี่จะเป็นคุณสมบัติ ของพวกอัจฉริยะที่จะประนีประนอมในสิ่งที่ไม่อาจ ประนีประนอมได้ในตัวของพวกเขาเอง เช่นเดียวกับในงาน ของพวกเขาก็เป็นได้. คุณลักษณะของเลอ คอร์บูซิเยร์คือ จุดบรรจบของบรรดาสิ่งซึ่งตรงกันข้ามกัน. เขาเป็นคนที่แข็ง, จนบางครั้งถึงกับดุดัน, ในสภาวะเมื่อมีความโกรธเกรี้ยว อยู่ภายในซึ่งเขาเองพยายามจะควบคุมไว้, แต่ก็เป็นคนที่ อ่อนโยน จนถึงขนาดนุ่มนวลเลยทีเดียว. ที่เขาอ่อนโยนเพราะ เขาเข้มแข็ง. เขาหยิ่งทะนงแต่ก็ถ่อมตน, ถึงขนาดขาดความ เชื่อมั่นในตัวเองอยู่บ่อยๆ. ครั้งหนึ่งเขาโทรศัพท์ไปคุยกับ ผู้ร่วมงานที่ใกล้ชิดว่า “ผมไม่ได้ทำ�ผิดพลาดไปใช่ไหม? คนที่ อาศัยอยู่ใน อูนิเต ดาบิตาซิยง (Unite’ d’Habitation) ที่มาร์เซยล์สจะมีความสุขกันไหม? เป็นคุณจะอยากไปอยู่ใน เรเดียนท์ซิตี้ (Radiant City) ไหม?” จนต้องเป็นธุระของ ผู้ช่วยคนนั้น, ซึ่งกระจ้อย-ร่อย เหลือเกินเมื่อเทียบกับเขา, ที่จะช่วยยกระดับจิตที่ตกนั้นขึ้นมา. เขาเคยพูดอยู่หลายหนว่า เมื่อตื่นเช้ามาเขาเหมือนคนโง่เง่า ซึ่งทำ�ให้เขารู้สึกผิดหวัง, แต่พอตกเย็น, หลังจากที่ได้พบปะ ใครต่อใครมาแล้ว, เขากลับรู้สึกโง่น้อยกว่าคนเหล่านั้น. ทั้งสงบและประสาท, ทั้งบ้าอำ�นาจและขี้อาย, ทั้งชอบระราน และรักสงบ, ทั้งเด็ดเดี่ยวและเข้าอกเข้าใจ, ทั้งแข็งและ อ่อนโยน, ทั้งมุทะลุและใคร่ครวญ, ทั้งเอาแต่ใจและโอบเอื้อ, ทัง้ หยิง่ ทะนงและถ่อมตน, ทัง้ การ์ตเี ซียนและลึกลับ, ทัง้ หนักแน่น และอ่อนไหว, ทั้งวิสัยทัศน์ชัดเจนและไร้เดียงสา, ทั้งผูกมัดแต่ก็เป็นอิสระและโดดเดี่ยว.

18 19

Cartesian (เดส์การ์ตส์นิยม) หมายถึงเป็นผู้ที่มี ความเชื่อในปรัชญาของ Rene Descartes เดส์การ์ตส์มักจะได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นนักคิด คนแรกที่เน้นย้ำ�ในเรื่องของการใช้หลักเหตุผล ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ


HIS HANDS สองมือ


เมื่อพวกเราอยู่กับเขา, เมื่อฟังเขาพูด, เราจะมองหน้าเขา. เราเฝ้ารอให้เขายิ้ม; เราต้องการให้เขามีความสุข. เราพยายามอ่านความหมายจากสีหน้าของเขา. เรามองดู ปากของเขา, ที่รอยปากมักจะแสดงความขมขื่น, เหมือนว่า จะผิดหวังนิดๆ. บางครั้งสีหน้าของเขาก็จะเย็นชาเพื่อปกป้อง ชีวิตด้านในของเขาเอาไว้: เป็นใบหน้าที่ไร้ความรู้สึก และหม่นหมอง. เขาดูจะล่องลอยห่างออกไป. ตอนนั้นเองที่ผมจะเลื่อนสายตาจากใบหน้าลงมาที่สองมือ ของเขา. นั่นละที่ผมจะได้ค้นพบเลอ คอร์บูซิเยร์. เป็นมือคู่นี้เองที่เปิดเผยตัวตนของเขา. ดูประหนึ่งว่า มันทรยศเขา. มันป่าวบอกทุกความรู้สึกของเขา, ทุกความ ไหวหวั่นที่โลดเต้นอยู่ภายในอันใบหน้าของเขาพยายามปกปิด เอาไว้. มือสองข้างที่ใหญ่และแข็งแรง, มันใหญ่จริงๆ, มีร่องลายมือ ลึกราวกับกรีดด้วยเหล็กแหลม. กระดูกนิ้วมือที่มีพลัง. มือที่เคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวา. มือที่ห่อหุ้ม. สองมือนี้เองที่คนคิดกันว่าเลอ คอร์บูซิเยร์ใช้วาดตัวตนลงไป, จากลักษณาการอันเกิดขึ้นจากร่องรอยเล็กๆ นับพันที่คล้าย จะเฝ้ารอเพื่อรวมกันให้เกิดเป็นเส้นสายที่เที่ยงตรงและชัดเจน ในที่สุด, ลายเส้นที่สร้างกรอบของรูปร่างให้ปรากฏชัดเจน ในที่ว่าง. ความเฉียบขาดเที่ยงตรงเกิดจากมือที่ดูเหมือนจะ ลังเลนี้. มือที่เสาะหาอยู่ตลอดเวลา, ไม่ต่างไปจากความคิด ของเจ้าของ, และจากสองมือนี้นี่เองที่เราจะอ่านออกถึง ความกังวลใจ, ความผิดหวัง, อารมณ์ และความหวังของเขาได้. มือที่ได้วาดเส้นสายสำ�หรับงานทั้งหมดของเขาไปแล้ว, และจะได้วาดต่อไป.

20 21


TOUCHING สัมผัส


มือที่รักการสัมผัส, และการรับ. เขาหยิบก้อนหินมาไว้ในอุ้งมือเพื่อที่จะสัมผัสรับรู้รูปร่าง ของมัน. บนโต๊ะทำ�งานเล็กๆ ของเขาในสตูดิโอมีกระดูก ชิ้นใหญ่วางอยู่. เขาชอบหยิบมันขึ้นมา; มองมันด้วยนิ้วมือ ของเขา; แล้วก็โชว์ให้ดู. เขาชี้ให้เราเห็นเส้นใยที่วิ่งตัดกัน ภายในโพรงกระดูก. เขาพูดถึงโครงสร้าง. สำ�หรับเขาแล้ว แค่ดูอย่างเดียวไม่พอ. ต้องรับรู้มันด้วยนิ้วมือของเขาด้วย. เขาถือสิ่ว, ดินสอ และแปรงพู่กันไว้ในมือ. เครื่องมือพวกนี้ ไม่ได้เป็นอิสระจากมือ. แต่เป็นส่วนเติมเต็มของการสัมผัส. มันทำ�ให้สัมผัสในสิ่งที่แกะสลัก, สิ่งที่วาดหรือลงสี, หรือแม้แต่สิ่งที่เขียนนั้นเป็นไปได้. อุปกรณ์ในมือ การคลึงเคล้าของมือ ชีวิตที่เราได้ลิ้มลองรสชาติ การนวดเคล้นของมือ. มุมมองที่เราได้รับเมื่อเราสัมผัส.1

22 23


BODY ร่างกาย


มือที่ยึดไว้มั่นเพื่อจะรู้และเพื่อจะรับ. มือจึงเป็นบ่อเกิด ของความรู้และการดำ�รงอยู่. เขารักร่างกายของสรรพสิ่ง และรักชีวิตของพวกมันอันเขาได้ซึมทราบ, ไม่เพียงผ่าน ดวงตาเท่านั้น, แต่ผ่านมือที่สัมผัสด้วย. เขารักร่างกายของ ผู้หญิง. เขามักจะเขียนรูปพวกหล่อนอยู่เสมอ, ตัวพองนิดๆ อันเนื่องมาจากชีวิตทำ�ให้รูปร่างที่ชีวิตนั้นอาศัยอยู่พองออกมา จากภายใน. สำ�หรับเขาแล้ว, ผู้หญิงคือส่วนประกอบที่ ขาดเสียมิได้, เป็นรูปทรงที่มีไว้เติมเต็มและหลอมรวมให้เป็น อันหนึ่งอันเดียวกันกับรูปทรงของเขาเอง. “เมื่อมองด้านข้าง, ผู้ชายมีรอยแบ่งขาดอย่างถาวร, ตั้งแต่ ศีรษะจรดปลายเท้า. ผู้ชายจึงมีอยู่เพียงครึ่งเดียว; ชีวิตจะ ดำ�เนินไปได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น. และแล้วก็จะมีอีกครึ่ง ที่เหลือมาสู่พวกเขาและรวมเข้าไว้ด้วยกัน.”1 ความคิดทั้งหมดผูกพันกับร่างกาย, กับปริมาตรและรูปร่าง ของมัน. ร่างกายและความคิดไม่ได้เป็นอิสระจากกัน. รูปทรง, โดยการมองเห็นและสัมผัส, เป็นตัวปรุงแต่งความคิด, และ ความคิดนั้น, เพื่อที่จะแสดงตัวตนออกมาให้ประจักษ์, ต้องใช้มือเพื่อสร้างเป็นรูปร่างขึ้น.

26 27


PICASSO ปีกัสโซ


เลอ คอร์บูซิเยร์เป็นคนที่แรงกล้า. จากการซึมซับและการคิด จนรู้แจ้งเห็นจริงที่เขาได้สั่งสมไว้อย่างมากมาย ทำ�ให้เกิดเป็น สนามพลังแผ่กระจายออกมาจากตัวเขา. ผม, และเพื่อนร่วมงานของเขาอีกบางคน, โชคดีมากที่ได้มี วันหนึ่งในชีวิตซึ่งไม่อาจลืมเลือน. ปีกัสโซมาเยี่ยมชมสถานที่ ก่อสร้างโครงการอูนิเต ดาบิตาซิยงที่มาร์เซยล์ส. เลอ คอร์บูซิเยร์เดินทางลงมาจากปารีสเพื่อมาต้อนรับเขา. ทั้งวันนั้น, ระหว่างที่พวกเราเดินตามคนทั้งสองไปทั่วสถานที่ก่อสร้างและ กินอาหารกลางวันกับเขาที่โรงอาหารของคนงาน, พวกเรา ก็ได้ฟังคนทั้งสองพูดคุยกัน. ทั้งคู่ต่างก็ให้ความยกย่องซึ่งกัน และกันและแบ่งปันมิตรภาพที่ดีให้แก่กัน. ปีกัสโซเป็นหนึ่งใน บุคคลร่วมสมัยกับเลอ คอร์บูซิเยร์ไม่กี่คนที่ฝ่ายหลังยอมรับ อย่างจริงใจ. ผมจำ�ได้ว่าครั้งหนึ่งเขาบอกผมว่าปีกัสโซเป็น จิตรกรที่เยี่ยมยอดกว่าเขา. ตลอดวันนั้น ทั้งคู่ต่างก็แข่งถ่อมตนให้กันและกัน. แต่ละฝ่าย พยายามวางตนให้ต่ ำ�ต้อยกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง. มันน่าพิศวง เป็นยิ่งนัก. และสิ่งที่อยู่ในความทรงจำ�ของผมอย่างไม่มีวัน ลบเลือนได้กค็ อื พลังทีแ่ ผ่ซา่ นออกมาจากคนทัง้ สอง. เราตกอยู่ ในสองสนามพลัง. เสียงของพวกเขาดูสงบ, ความเงียบที่ ครอบคลุมเต็มไปด้วยความหมาย. แววตาของพวกเขาเจิดจ้า และมือของพวกเขาก็พูดคุยกัน.

54 55

Pablo Picasso (1881–1973) จิตรกร ประติมากร กวี นักเขียนบทละคร ชาวสเปน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส เป็นศิลปิน ผู้ยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของ ศตวรรษที่ 20 เป็นผู้บุกเบิกความเคลื่อนไหวทาง ศิลปะบาศกนิยม (Cubism)


JOY ปราโมทย์


เขารักที่จะมีความสุข. เขาพึงใจกับความรื่นรมย์ของชีวิต. เขารักไวน์และปาสตีส. เขาชอบเรื่องตลก. เรื่องตลกของเขา และเรือ่ งตลกทีเ่ ขาชอบล้วนแล้วแต่มรี สนิยมดี. เรือ่ งเหล่านี้ มาจากคนทัว่ ไปและจากตามท้องถนน. เขาชังความหยาบคาย. มีบางครั้งที่มีคนเล่าเรื่องตลกที่ไร้รสนิยมออกมา. เขาจะไม่ว่าอะไร, แต่ความรู้สึกบนหน้าค่อยๆ ดูห่างไกล และมือของเขาก็จะบอกได้ว่าเขาไม่ชอบ. แม้รสนิยมของเขา จะเป็นแบบชาวบ้านทั่วไป, แต่ความเป็นชนชั้นสูงก็พบได้ ในตัวเขาเช่นกัน, โดยที่เขาเองก็อาจไม่เคยรู้เลยก็ได้. หนังสืออ่านข้างเตียงของเขา เป็นหนังสือของราเบอเลส์. ผมบอกเขาว่าผมชอบมองเตย์น. เขาบอกผมว่าเขาชอบ ราเบอเลส์มากกว่า. คำ�ตอบนั่นทำ�ให้ผมสงสัยว่าเขาคง ไม่ได้อ่านมองเตย์นมากนัก, ถึงกระนั้น, ก็มีอะไรคล้ายๆ กัน ระหว่างเขากับมองเตย์น. ผมไม่มีวันบอกได้เลยว่าเขาอ่าน หนังสือมากหรือเปล่า. อาจจะไม่มากก็ได้. แต่ความรอบรู้ใน เรื่องต่างๆ อย่างกว้างขวางของเขาไม่ได้มาจากการเป็นหนอน หนังสือ. มันได้มาจากประสบการณ์ในชีวิตจริง. มาจาก ภาพวาดของเขา, จากการเดินทาง, จากสิ่งที่เขาได้เห็นและ ได้ประสบมา. มันได้มาด้วยการลงไม้ลงมือมากกว่าการเรียนรู้ จากตำ�รับตำ�รา. เขาไม่เคยระเบิดเสียงหัวเราะออกมา, แต่ใครก็บอกได้เลยว่า เวลาไหนที่เขามีความสุข. ใบหน้าและมือของเขามันบ่งบอก ออกมา และเราก็จะรับรู้ได้ถึงอะไรบางอย่างซึ่งอบอุ่นที่ แผ่ซ่านออกมาจากตัวเขา.

64 65

Pastis เหล้าชนิดหนึ่งของฝรั่งเศส มีรสต้น แอนิซ สำ�หรับทานก่อนอาหาร

Francois Rabelais (1483 – 1553) เป็น นักเขียน, แพทย์, นักมนุษยนิยม ของฝรั่งเศสใน ยุคเรอเนซองส์ นักวิจารณ์วรรณกรรมในประเทศ ตะวันตกถือว่าเขาเป็นหนึ่งในนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ ของวรรณกรรมโลก Michel de Montaigne (1533 – 1592) เป็น นักเขียนที่มีอิทธิพลมากที่สุดของฝรั่งเศสในยุค เรอเนซองส์ มีอิทธิพลโดยตรงต่อนักเขียน ทั่วโลก เช่น เดส์การ์ตส์ รูสโซ นีทเช


HOUSE AND SUN บ้านกับดวงตะวัน


บ้านมิได้แยกห่างจากที่ว่างซึ่งอยู่ล้อมรอบ. มันถูกโยนเข้าไป ในภูมิทัศน์ที่ห่อหุ้มมัน, และพลังของภูมิทัศน์นั้นก็มีผลต่อ รูปร่างของบ้านด้วยเช่นกัน. ชีวิตที่อยู่ภายในและชีวิตที่อยู่ ภายนอก, ล้วนกำ�หนดรูปร่างของขอบเขตอันนี้. บ้านจึงเป็น สิ่งห่อหุ้มที่ทั้งปิดและเปิด. มันป้องกันภายในจากภายนอก, แต่มันก็เปิดภายในให้ออกสู่ภายนอกเช่นกัน. มันเชื่อมโยง พื้นที่ทั้งสอง. มันก่อให้เกิดความต่อเนื่องระหว่างส่วนภายใน ที่กำ�หนดกับส่วนภายนอก. บ้านดำ�รงอยู่ในแสงที่มันได้รับ, ภายใต้ดวงตะวัน. “เครื่องจักรที่หมุนวน, ตรงเวลานับเนื่องมาแต่นมนาน, ทุกๆ ชั่วยี่สิบสี่โมงยามนั้นมันได้ให้กำ�เนิดการขยับเคลื่อนไป, ทีละน้อยๆ, แทบมิอาจสังเกตเห็น, เกือบจะเป็นมาตรวัดได้. แต่ก็แปรเปลี่ยนอย่างหนักหนาสองคราต่อหนึ่งวัน, ในยามเช้าและยามเย็น. แม้มันมีความต่อเนื่องแต่ก็บังคับให้ เราต้องเผชิญกับการสลับเปลี่ยน – กลางคืนกับกลางวัน – สองช่วงเวลานี้ที่กำ�หนดชะตากรรมของเรา: ตะวันขึ้น, ตะวันตก, ตะวันขึ้นอีกครั้ง.”1

80 81


UNITY เอกภาพ


ภายใต้แสงสว่าง, ในอากาศ, กับต้นไม้และสิ่งมีชีวิต, บ้านไม่ใช่สิ่งที่ปลีกแยกเลย. จำ�เป็นที่จะต้องมีบ้านหลังอื่นๆ สำ�หรับชาย, หญิง, และเด็กอื่นๆ, และผู้คนอื่นๆ อีกมากมาย. และมือที่วาดนั้น, มือที่นำ�โดยจิตใจ, จ่อมจมลงสู่การออกแบบ ลำ�ดับชั้นของสิ่งห่อหุ้มที่ประสานกันและกันและแสดงร่องรอย ของภาพลักษณ์ของสังคม, หน่วยของสังคม, ทั้งบนพื้นดิน และในที่ว่าง, สิ่งห่อหุ้มเซลล์นั้นแต่ละอันบรรจุไว้, ซึ่งการ จัดระเบียบของมนุษย์บนโลก, ซึง่ แนวความคิดอันเป็นภาพลักษณ์ และทำ�ให้สังคมเป็นปึกแผ่นได้. นั่นคือความเป็นหนึ่งเดียว. มือของเลอ คอร์บูซิเยร์วาดบ้านสำ�หรับครอบครัว ผสาน รวมกันเป็นอูนิเต ดาบิตาซิยง และอูนิเต ดาบิตาซิยงก็ผสาน รวมกันเป็นเรเดียนท์ซิตี้. หน่วยอุตสาหกรรมจะถูกผสาน รวมกันเป็นเมืองตามแนวยาว (Linear City) และเมืองที่ อยู่บนจุดตัดของถนนจะถูกผสานกันเป็นภูมิภาคและรวมเป็น หนึ่งเดียวกันโดยถนนสี่สายและโดยเมืองอุตสาหกรรมตาม แนวยาว. หน่วยเกษตรกรรมถูกวางไว้ภายในถนนอ้อมเมือง, เป็นเช่นนีไ้ ปเรือ่ ยๆ, จนเป็นภูมภิ าคและประเทศซึง่ จะเชือ่ มกัน เป็นหนึ่งเดียวด้วยทางแยกขนาดใหญ่. รูปแบบต่างๆ, ทั้งที่เป็นตัวเชื่อมต่อและถูกเชื่อมต่อในเวลาเดียวกัน, ทั้งที่เปิด และปิด, ล้วนเริม่ มาจากเปลือก, จากเมล็ดพันธุ,์ จากส่วนเล็กๆ แห่งชีวติ , เรือ่ ยไปจนถึงรูปทรงอันยิง่ ใหญ่ของมนุษย์ทถ่ี กู วาดไว้ ทั่วดาวเคราะห์ดวงนี้, โดยเป็นไปตามจังหวะของกลางคืนและ กลางวัน.

82 83


THE OTHER ARCHITECT สถาปนิกอีกคนหนึ่ง


ผมคิดว่า ออกูสต์ แปเรต์ คงไม่ค่อยชอบสถาปนิกที่ร่วมสมัย กับเขานัก, ถึงกระนั้นเขาก็ยอมรับในงานอูนิเตที่มาร์เซยล์ส. ยีออรีออส แคนดีลีส เป็นคนเล่าเรื่องนี้ให้ผมฟัง.

Auguste Perret (1874 - 1954) เป็นสถาปนิก ชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้นำ�และผู้เชี่ยวชาญในการ ก่อสร้างระบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เคยได้รับ รางวัล Royal Gold Medal ในปี 1948 และ AIA Gold Medal ในปี 1952 เลอ คอร์บูซิเยร์ เคยทำ�งานกับแปเรต์

Candilis (1913 - 1995) เป็น ออกูสต์ แปเรต์มาเยี่ยมชมสถานที่ก่อสร้างซึ่งตอนนั้นอยู่ใน Georges สถาปนิกและนักวางผังชุมชนชาวกรีก ย้ายมาอยู่ ขั้นตอนที่งานก้าวหน้าไปมากแล้ว. แคนดีลีสต้อนรับเขา. ที่ฝรั่งเศสในปี 1945 และร่วมงานในสตูดิโอ คอร์บูซิเยร์ เป็นผู้รับผิดชอบการ ทั้งสองเดินเข้าไปดูในอาคาร. แปเรต์เยี่ยมชมห้องชุดตัวอย่าง. ของเลอ วางแผนการก่อสร้างสำ�หรับอูนิเตที่มาร์เซยล์ส จนถึงปี 1952 เขาไม่ได้ว่าอะไรเลยนอกจากพึมพำ�อะไรบางอย่างที่ฟัง ไม่ชัดเจนและคลุมเครือ. พวกเขาเดินกลับลงมา. ตรงทางออก จากสถานที่ก่อสร้าง, ออกูสต์ แปเรต์, ทำ�ตัวน่าเกรงขาม เช่นเคย, หันมาทางแคนดีลีสแล้วบอกว่า. “ดีนี่. ดีนี่. ในที่สุด, ก็มีสถาปนิกอยู่แค่สองคนเท่านั้นละ. อีกคนหนึ่งคือ เลอ คอร์บูซิเยร์.

88 89


FORM รูปทรง


มือของเลอ คอร์บูซิเยร์วาดรูปร่างขึ้นในสามมิติ. เป็นปริมาตร, ที่เป็นปริมาตรเพราะมันเป็นภาชนะบรรจุ, เพราะสำ�หรับสถาปัตยกรรมแล้วมันคือสิ่งห่อหุ้ม. อย่างไร ก็ตาม, สำ�หรับความซับซ้อนทั้งมวลของมนุษย์ที่มันห่อหุ้ม เอาไว้นั้น, สถาปัตยกรรมไม่ได้ยึดติดกับรูปทรงที่สลับ ซับซ้อน. สถาปัตยกรรมนำ�เอาความซับซ้อนนี้กลับคืนสู่ รูปทรงปฐมภูมิที่ง่าย, รูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน: อย่างเช่น งผิวโค้งที่เป็น non-developable รูปลูกบาศก์, รูปทรงกระบอก, รูปปริซึม, บางทีก็เป็นผิวโค้ง หมายถึ surface ในทางคณิตศาสตร์และวิชาแผนที่ ซึ่งจะ ที่ไม่อาจคลี่เป็นแผ่นราบได้, ส่วนของรูปทรงกลม, บางทีก็เป็น ต่างจาก developable surface เช่น ผิวของ อรูปทรงกระบอก ที่อาจนำ�มาแผ่บน รูปทรงทีถ่ กู จำ�กัดโดยผิวพืน้ ทีท่ �ำ ให้บดิ เบีย้ ว. ปริมาตรอย่างง่ายนี้ รูพืป้นกรวยหรื แบนราบได้ โดยไม่มีความคลาดเคลื่อน สามารถบรรจุความซับซ้อนทั้งปวงไว้, ในขณะที่รูปทรงซึ่ง ซับซ้อนยุ่งยากไม่สามารถบรรจุความง่ายเอาไว้ได้. รูปทรง ที่เรียบง่ายจึงดีกว่าเพราะความไร้ระเบียบของโลกที่สับสน อลหม่านจะถูกแจกแจงและกล่อมเกลาให้สงบลงได้ก็โดย สถาปัตยกรรมอย่างนั้น. มือของเขาไม่เคยวาดรูปทรงที่ปราศจากเหตุผล. จากบท สนทนากันระหว่างมือและจิตใจ จะได้ผลลัพธ์เป็นรูปทรง ที่คิดไว้แล้วอย่างดีเสมอ, เป็นรูปทรงที่มีเหตุผลที่ดีที่จะเป็น เช่นนั้น, มีรากแก้วที่หยั่งลึกลงไปในชีวิตของผู้คน, ไม่ว่า จะเป็นปัจเจก, ในชีวิตคู่, ในครอบครัว, หรือในสังคม. รูปทรง เหล่านี้ถูกจัดระเบียบให้ไม่เพียงสำ�หรับการกระทำ�ของมนุษย์ แต่ยังมากกว่านั้น คือสำ�หรับความนึกคิดของมนุษย์ด้วย; จึงเป็นรูปทรงที่ไม่เพียงตอบสนองประโยชน์ใช้สอย, แต่ยังมี การจัดระเบียบที่จะผลักดันให้ไปสู่ระดับของความงดงามทาง ศิลปะด้วย. ความมุ่งมาดอันสูงสุดของเลอ คอร์บูซิเยร์ก็คือ: รูปทรงอันงดงาม.

118 119


VOID ช่องว่าง


รูปร่างอันงดงามที่วาดโดยเลอ คอร์บูซิเยร์ไม่ได้มีแต่รูปร่าง ที่เต็ม ปิด ทึบแน่นเท่านั้น, แต่ยังมีช่องว่างด้วย. รูปร่างของ ช่องว่างถูกคิดขึ้นในลักษณะเดียวกับรูปร่างของส่วนที่เติมใส่ ลงไปนั่นเอง. มันเติมเต็มให้กันและกัน. ช่องว่างไม่ใช่ส่วนอัน เป็นเศษเหลือ. ตัวมันก็เป็นสถาปัตยกรรมด้วย. บางครั้งมัน เต็มไปด้วยความหมายมากเสียยิ่งกว่ารูปทรงเต็มๆ ที่ใช้เป็น เพียงสิ่งห่อหุ้มแค่นั้น. ใน “ห้องชุดแบบวิลลา” ของอูนิเตดาบิตาซิยง, ก็เป็นช่องว่างนี่แหละที่มีรูปทรงเชิงบวก. ยังมี กรณีเช่นเดียวกันที่โถงของหอประชุมใหญ่ในจันดิกาฮ์, ที่ตรง ฉนวนทางเดิน และภายในตัวโบสถ์ของอาราม ลา ตูเร็ตต์. วิลลา ซาวัวยังคงเป็นหนึ่งในงานที่งดงามที่สุดของเลอ คอร์บูซิเยร์ด้วยเหตุผลหลายประการ: หนึ่งในนั้นคือความสมดุล เป็นพิเศษระหว่างปริมาตรที่เต็มกับปริมาตรที่ว่างเปล่า – ความเป็นส่วนประกอบของกันและกันอย่างลงตัว – โดย มีช่องว่างเป็นรูปทรงเชิงบวกอยู่ภายในสิ่งห่อหุ้มซึ่งกำ�หนด ขอบเขตมันขึ้นมา. ความสำ�คัญที่ให้กับช่องว่าง เติมสถาปัตยกรรมให้เต็มไปด้วย ความหมาย เนื่องจากว่าเมื่อเราประสบความสำ�เร็จในการ สร้างสรรค์ช่องว่างในชีวิตส่วนลึกของเราแล้วนั่นแหละที่เรา จะสามารถลิ้มลองมันได้อย่างเต็มอิ่ม, เป็นนำ้ �เป็นเนื้อ และเหลือเฟือ. “เราปั้นดินเพื่อให้เกิดเป็นรูปร่างกระถางแจกันขึ้น, จากที่ไม่มี ความเป็นกระถางแจกันดำ�รงอยู่เลย. เราทำ�ให้มีช่องเปิดเป็น ประตูหน้าต่างเพื่อให้เกิดเป็นบ้านขึ้น, จากที่ไม่มีความเป็น บ้านดำ�รงอยู่เลย. ดังนั้น, แม้เราคิดว่าเราจะได้รับประโยชน์ จากสิ่งต่างๆ ที่สัมผัสจับต้องได้, แต่ที่แท้แล้ว เราจะไม่รับรู้ ได้เลยถึงผลประโยชน์อันแท้จริงที่ดำ�รงอยู่.”25

124 125


A GIFT บรรณาการ


รูปทรงทางสถาปัตยกรรมก็เช่นเดียวกับมนุษย์; อาจจะ สวยงามหรือน่าเกลียด, แข็งแรงหรืออ่อนแอ, รุนแรงหรือ นุ่มนวล, ก้าวร้าวหรือประโลมใจ. สำ�หรับงานสถาปัตยกรรม ของเลอ คอร์บซู เิ ยร์จะดูแข็งแกร่งเสมอ, แข็งแกร่งเช่นเดียวกับ มือของเขา. มีบ้างที่ดูแรง, แต่ยากนักที่จะก้าวร้าว, และมักจะสุภาพและนุ่มนวลเสมอมา. สถาปัตยกรรม ก็เหมือนคนเรา; ผู้ที่แข็งแกร่งเท่านั้นจึงจะสงบและสุภาพ. “การที่บ้านมีความมหัศจรรย์นั้นไม่ใช่เพราะมันเป็นที่คุ้มกาย และให้ความอบอุน่ แก่เธอ, และก็ไม่ใช่เพราะเธอเป็นเจ้าของมัน, แต่เป็นเพราะมันค่อยๆ ปล่อยคลายความนุ่มนวลให้มากักเก็บ ไว้อย่างเป็นกอบเป็นกำ�ในตัวเธอต่างหากเล่า.”26 ใครล่ะจะบอกได้ ว่าความละเมียดละไมที่เก็บสะสมไว้ให้เรา ได้ดึงมาใช้นั้นมากมายสักเพียงใดในวิลลา ซาวัว? ความงามของสถาปัตยกรรมนั้นเป็นบรรณาการอันไพศาล. เรารับมันไว้, เป็นเจ้าของมัน, และนำ�มันติดตัวไปกับเรา. ที่ว่านี้มิได้ทำ�ให้มันลดปริมาณลงไปเลย. มันเป็นสิ่งที่ไม่มีวัน หมดสิ้น. ใครสักคนสามารถตามเรามาและรับช่วงต่อ และนำ�มันติดไปด้วยเหมือนกับที่เราได้ทำ�มาก่อนแล้ว. ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเราได้สำ�เหนียกเสียงเพรียกของรูปร่าง ที่วาดโดยมือของเลอ คอร์บูซิเยร์และที่เขาได้รับรู้. หากเรา ไม่ปิดกั้นความคิด, มันก็จะมาสู่เรา. เมื่อใดที่เรามองเห็น ความงดงามในสถาปัตยกรรมของเขา, นั่นมิใช่เพียงเพราะว่า เราชอบมัน. สถาปัตยกรรมนั้นต่างหากเล่าที่ดูเหมือนว่า จะพึงใจเรา.

130 131


HIS MOTHER แม่


เลอ คอร์บูซิเยร์เคยเล่าให้ผมฟังถึงโมงยามแห่งความสุขที่สุด ครั้งหนึ่งของครอบครัว: เมื่อแม่ของเขาเล่นเปียโนเพลงของ แฮนเดลโดยมีพี่ชายเล่นไวโอลินคลอไปด้วย. แม่ของเขาอายุยืนถึงหนึ่งร้อยปี. วันหนึ่ง, เธอมาเยี่ยมสถานที่ ก่อสร้างอูนิเต ดาบิตาซิยงที่มาร์เซยล์ส. ตอนนั้นเธออายุ เกือบจะเก้าสิบปีแล้ว. เธอมากับอัลแบต์ ฌานเนอเรต์ พี่ชาย ของเลอ คอร์บูซิเยร์. ทั้งสามเดินไปทั่วสถานที่ก่อสร้างโดยมี พวกเรากลุ่มเล็กๆ ตามไปด้วย. ตอนนั้นยังไม่ได้ติดตั้งลิฟต์. เธอเดินขึ้นบันไดที่ยังไม่มีราวและปีนบันไดลิงบางแห่งด้วย. ลูกชายทั้งสองมีอายุกว่าหกสิบปีแล้ว. แต่เธอก็พูดกับพวกเขา ราวกับว่าพวกเขายังเป็นลูกเล็กๆ ของเธออยู่. พวกเขานอนค้างคืนในห้องตัวอย่าง. เธอนอนในห้องนอนใหญ่ และลูกชายทั้งสองนอนในห้องนอนเล็ก. ก่อนเข้านอน, พวกเราอยู่รวมกันในห้องพักผ่อน. ความมืดโรยตัวลงมา ปกคลุมแมกไม้. การสนทนาเป็นไปอย่างอิหลักอิเหลื่อ. พวกเราต่างก็เก้อเขิน. เลอ คอร์บูซิเยร์นิ่งเงียบ. ผมชอบมอง ดูหน้าของเขาเวลาหันไปมองแม่. ผมเชื่อว่าเลอ คอร์บูซิเยร์, อาจจะโดยไม่รู้ตัว, ได้พยายามให้ มารดาได้รับความพึงใจอย่างสมบูรณ์ไม่มากก็น้อยโดยผ่าน งานสถาปัตยกรรมของเขา.

136 137


LIGHT แสง


ความทรงจำ�: เลอ คอร์บูซิเยร์กำ�ลังวาด. รูปร่างกำ�เนิดขึ้นมา จากมือของเขา. เขาแสดงให้เหล่าลูกมือที่ห้อมล้อมเขาดูว่า รูปร่างจะถูกมองเห็นได้ก็โดย ด้านที่รับแสง, เงาของมันเอง และเงาที่มันรับไว้. สถาปัตยกรรมของเขาเป็นเรื่องของการ เล่นล้อกันระหว่างเงาและแสงที่สร้างสรรค์ขึ้นจากรูปทรงทาง สถาปัตยกรรม.27 เขาท่องเที่ยวไปทั่วแถบเมดิเตอร์เรเนียน. เขารักถิ่นนั้นเพราะ ที่นั่นอุดมด้วยแสง. ในตุรกี, ในกรีซ, ในโมซาบ, รูปร่าง ของบ้านเป็นเสมือนเปลือกที่เรืองแสงซึ่งห่อหุ้มชีวิตที่อยู่ ภายใน. การเห็นมันก็คือการรับรู้ถึงดวงอาทิตย์ในจักรวาล. บ้านจึงเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างชีวิตกับเอกภพ. ในขณะที่เขาเรียงร้อยรูปทรงต่างๆ ให้เป็นระเบียบที่เคร่งครัด, ในขณะที่เขาจัดวางมันตามมุมฉาก, ทั้งในแนวนอนและ แนวตั้ง, ในขณะที่เขาวัดสัดส่วนและสรรค์สร้างจังหวะให้ เกิดขึ้นในที่ว่าง, ในขณะที่เขาก่อกวนระเบียบด้วยการใส่เส้น ทแยงหรือเส้นโค้ง, ด้วยรูปร่างที่เหนือความคาดหมาย, ด้วยสี, เขาทำ�ให้ความต่างกันน้อยๆ ของแสงเล่นล้อกับ ความต่างกันน้อยๆ ของเงา. แสงจะสว่างจ้า, หรือนุ่มนวลลง, สลัว, หรือหายไปทั้งหมด. ทุกๆ เช้าสถาปัตยกรรมของเขาจะมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งในเงา ที่ทอดยาว, ในแสงที่อบอุ่น. เจิดจ้าเมื่อยามเที่ยงวันด้วยแสง เงาที่ตัดกันอย่างเข้มข้น. จืดจางลงนิดหน่อยทุกยามเย็น, แล้วราตรีเข้าปกคลุมจนมืดมิด, เพือ่ ทีจ่ ะได้ก�ำ เนิดขึน้ มาอีกครัง้ ในแสงของวันใหม่.

138 139


CONTINUUM สันตติ


งานของเลอ คอร์บูซิเยร์, การปริวรรตสองทางอันแปลก ประหลาดระหว่างมือของเขากับจิตใจของเขานั้น, ยังเป็น กระบวนการอันต่อเนื่องอีกด้วย. เหมือนการไต่ระดับเสียงให้ สูงขึ้นเรื่อยๆ. แรกเริ่มเขารับ. เขารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่เขา เห็นเอาไว้. เขาทำ�ให้ตนเองซึมซับอยู่กับผืนดินที่จะก่อสร้าง, กับข้อกำ�หนดความต้องการของอาคารที่ตั้งไว้. เขาจินตนาการ ถึงผู้ใช้งานในอนาคตและวางตัวเองลงในตำ�แหน่งของคน เหล่านัน้ . เขาลืมตัวเองเพือ่ แปรสภาพไปเป็นคนเหล่านัน้ . เขาจะ รอให้สิ่งต่างๆ สุกงอม และจะยับยั้งรูปทรงที่รีบร้อนผุดขึ้นมา จากจินตนาการของเขารวดเร็วเกินไป. กระบวนการสร้างสรรค์เช่นนั้นจะดำ�เนินไปโดยตัวมันเองผ่าน ขั้นตอนต่างๆ ในลักษณาการที่ต่อเนื่องในทำ�นองเดียวกัน. แรกทีเดียว, เขาจะมองถึงทุกความเป็นไปได้ที่สติปัญญาและ เหตุผลจะให้ได้ ด้วยสมรรถนะที่สูงสุด. เลอ คอร์บูซิเยร์ ต้องการสถาปัตยกรรมทีช่ าญฉลาดพอๆ กับทีม่ เี หตุผลแน่นหนา ในทางคณิตศาสตร์. เขาเรียกตึกระฟ้าที่เขาเสนอให้เป็น ศูนย์กลางธุรกิจในผังสำ�หรับปารีสในปี 1937 ว่า “การ์ตเี ซียน.” ถึงกระนั้นเขาต้องการที่จะไปให้ไกลเกินกว่าความเป็นเหตุ เป็นผล. ในขณะที่รูปทรงทางสถาปัตยกรรมถูกจัดระบบและ ระเบียบ, การเทใจให้แก่รูปทรงและสุนทรียภาพ ซึ่งจะเข้ามา แทนที่เรื่องระบบโครงสร้างที่มีเหตุผลในที่สุดนั้น จะมีความ สำ�คัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ. กระบวนการนี้เป็นกระบวนการจัด ระเบียบโครงสร้างทีต่ อ่ เนือ่ ง. เป็นการวิวฒ ั น์คบื หน้าของความคิด ของเขาจากสถานะของความเป็นเหตุเป็นผลไปสู่สถานะแห่ง สุนทรียภาพ.

160 161

Cartesian (เดส์การ์ตส์นิยม) หมายถึงเป็นผู้ที่มี ความเชื่อในปรัชญาของ Rene Descartes เดส์การ์ตส์มักจะได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นนักคิด คนแรกที่เน้นย้ำ�ในเรื่องของการใช้หลักเหตุผลใน การพัฒนาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ


หัตถาราชัน

ผู้แปล: สุพินท์ เรียนศรีวิไล บรรณาธิการแปล: จิรากร ประสงค์กิจ พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2558 บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำ�กัด ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data โวเกนสกี้, อังเดร. หัตถาราชัน.-- กรุงเทพฯ : ลายเส้น , 2558. 192 หน้า. -- (modern thought). 1. สถาปัตยกรรม. I. สุพินท์ เรียนศรีวิไล, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 720 ISBN 978-616-7800-47-9 ที่ปรึกษา: นิธิ สถาปิตานนท์ บรรณาธิการบริหาร: สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ ออกแบบปกและรูปเล่ม: วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ กองบรรณาธิการ: บุศรา เขมาภิรักษ์ ลิขสิทธิ์ต่างประเทศ: สุรัตน์ เปเรซ

บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำ�กัด ประธานกรรมการ: นิธิ สถาปิตานนท์ กรรมการผู้จัดการ: สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ กรรมการบริหาร: พิสุทธิ์ เลิศดำ�ริห์การ / ประภากร วทานยกุล / เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ จัดพิมพ์และจัดจำ�หน่าย: บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำ�กัด 81 สุขุมวิท 26 คลองตัน คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2259 2096 โทรสาร 0 2661 2017 อีเมล li-zenn@li-zenn.com เว็บไซต์ www.li-zenn.com, www.li-zennpub.com Facebook: Li-Zenn Publishing ภาพประกอบหน้าปก: The Open Hand Monument, Chandigarh, India โดย วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ พิมพ์ที่: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน)


หนังสือเล่มนี้สำ�เร็จลงได้ด้วยดีจากการสนับสนุนและผลักดันจาก คุณจิรากร ประสงค์กิจ ที่แนะนำ�หนังสือเล่มนี้และรับเป็นบรรณาธิการ ร่วมด้วยคุณสุพินท์ เรียนศรีวิไล ผู้แปลหนังสือให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ สำ�นักพิมพ์ ลายเส้น พับบลิชชิ่ง ขอขอบคุณทุกท่​่าน รวมทั้งสถาบันการศึกษาและสำ�นักงานสถาปนิก ที่ให้การสนับสนุนจัดพิมพ์มา ณ ทีนี้

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Architecture, Kasetsart University www.arch.ku.ac.th บริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำ�กัด Plan Associates Co., Ltd. www.planassociates.co.th บริษัท แฮบบิตา จำ�กัด Habita Co., Ltd. www.habitaarchitects.com บริษัท ออกัสท์ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำ�กัด August Design Consultants Co., Ltd. www.august.co.th บริษัท สถาปนิก 49 จำ�กัด Architects 49 Ltd. www.a49.co.th บริษัท สถาปนิก 49 เฮ้าส์ดีไซน์ จำ�กัด Architects 49 House Design Ltd. www.a49hd.co.th บริษัท อินทีเรีย อาร์คิเทคส์ 49 จำ�กัด Interior Architects 49 Ltd. www.ia49.co.th




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.