ทาดาโอะ อันโดะ : บทสนทนากับนักเรียน ( Tadao Ando: Conversations with Students )

Page 1


Kenchiku wo Kataru Copyright @ Tadao Ando 1999 Thai translation rights arranged with UNIVERSITY OF TOKYO PRESS through Japan UNI Agency, Inc., Tokyo and Arika Interrights Agency, Bangkok

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 4

2/26/2562 BE 10:46 AM


สารบัญ 7 8

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ จากผู้แปล

14 20 38 58 70 84 94

บทน�ำ | ทาดาโอะ อันโดะ บทที่หนึ่ง | ปฐมบท บทที่สอง | ท้องถิ่นนิยม บทที่สาม | สู่สถาปัตยกรรมที่มีชีวิต บทที่สี่ | อัตลักษณ์ บทที่ห้า | ส่วนเสี้ยวและองค์รวมในสถาปัตยกรรม บทที่หก | ความรักในสถาปัตยกรรม

106

ภาคผนวกถามตอบ | บทสนทนากับนักเรียน ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว บทส่งท้าย | เคนชิกิ โว กาตารุ

112

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 5

2/26/2562 BE 10:46 AM


จากผู้แปล ฉันได้เริ่มรู้จักงานของทาดาโอะ  อันโดะเป็นครั้งแรกเมื่อครั้งที่ได้ไปฝึกงานที่ ส�ำนักงานสถาปนิกแห่งหนึ่งในช่วงปิดเทอม ส�ำหรับเด็กคนหนึ่งซึ่งเพิ่งผ่านชีวิตใน โรงเรียนสถาปัตย์มาได้เพียงปีเดียว งานทีเ่ ห็นในหนังสือ GA Documents เล่มใหญ่ เล่มนั้นช่างมีพลัง เต็มไปด้วยแรงดึงดูดบางประการอย่างที่ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน ผืนผนังคอนกรีตที่อาบแสงแดดจ้า  กับเส้นเงาทาบทับ  ผิวของมันคล้ายจะเรียบ เนียนแต่เมื่อต้องแสงเราจึงค่อยเห็นว่ามันกระเพื่อมเป็นคลื่นน้อย  ๆ  ไม่เรียบกริบ เป็นมันเงาอย่างที่คาด  ความไม่เรียบกริบนี้เองที่ท�ำให้รู้สึกได้ถึงแผ่นไม้แบบ ถึงฝีมือช่าง ถึงความเป็นมนุษย์ในเนื้องาน มันเป็นสิ่งที่จุดประกายความสนใจใน จิ ต วิ ญ ญาณความเป็นถิ่นที่ที่แฝงอยู่ภายใต้ภาษาสถาปั ต ยกรรมอั น สุ ด แสนจะ นามธรรม ในโลกที่อินเทอร์เน็ตเพิ่งเริ่มต้น  หนังสือต่าง  ๆ  กลายเป็นแหล่งที่ฉันใช้ศึกษา เกี่ยวกับงานของอันโดะอย่างต่อเนื่องมาตลอด  กว่าที่ฉันจะได้โอกาสเดินทางไป ดูงานเหล่านั้นจริง ๆ ก็หลังจากวันแรกที่ฉันรู้จักชื่ออันโดะนับสิบปี สถาปัตยกรรมของอันโดะนั้นเป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยสายตาเพียง อย่างเดียว  แน่นอนผู้ที่ติดตามงานของอันโดะมาตั้งแต่ช่วงต้นคงจะคุ้นเคยเป็น อย่างดีกับภาพแปลน  รูปตัด  และทัศนียภาพด้วยเส้นดินสอที่สานทับกันอย่าง งดงาม  จนแสงและเงาปรากฏขึ้นในงาน  การที่อันโดะเองได้กล่าวถึงความส�ำคัญ ของแสงธรรมชาติ ใ นงานของเขาก็ ดู จ ะสอดคล้ อ งกั บ อารมณ์ ข องภาพเหล่ า นี้ อย่างไรก็ดีการได้ไปเยือนอาคารต่าง ๆ ที่เขาสร้างขึ้น ได้ค่อย ๆ เดินจากที่ว่างหนึ่ง ไปสู่อีกที่ว่างหนึ่ง จากทางเดินโล่ง ขึ้นบันได หยุดที่ลานกว้าง เดินตามทางเลียบ ก�ำแพงยาว จนมาพบกับที่ว่างที่เปิดออกทันใดพร้อมเสียงน�้ำตกดังซาบซ่า จังหวะ ของที่ว่างที่ท�ำให้เราหยุดและออกเดินสลับกันไป  การได้หยุดยืนนิ่งกลางคอร์ต ท่ามกลางแสงอาทิตย์ที่สาดส่องจนเกิดเส้นเงาทาบลงบนผิวผนังคอนกรีตโค้ง ได้เดินลงบันไดในทางเดินยาวที่พาดเลยทางเข้าแกลเลอรี่ไปหยุดที่ลานเล็ก  ๆ หน้าบ่อบัว หรือได้นั่งลงอย่างสงบนิ่งในโบสถ์อันสลัว สัมผัสได้ถึงการที่สายตาทุกคู่ ถูกตรึงไว้ที่แสงสว่างจากช่องเปิดรูปกางเขนที่อยู่ด้านหน้าคลอไปกับเสียงออร์แกน

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 8

2/26/2562 BE 10:46 AM


เหล่านี้ต่างเป็นเพียงเศษเสี้ยวของพลังแห่งสถาปัตยกรรมของเขาที่กระท�ำต่อ ผู้มาเยือน  สถาปัตยกรรมที่ค่อย  ๆ  พาเราให้เคลื่อนจะโลกภายนอกเข้าสู่ที่ว่าง ภายในทีละนิด อย่างมีกระบวนท่า มีจังหวะจะโคน ประหนึ่งท่อนน�ำของบทเพลง อันโดะไม่เห็นด้วยกับความนามธรรมอย่างสุดขัว้ ของสถาปัตยกรรมโมเดิรน์ โดยเฉพาะ งานโมเดิร์นตอนปลาย  แต่เขาก็ไม่ได้เห็นด้วยกับการเล่นกับฟอร์มจนเกินเลยจน แทบไร้แก่นสารของสถาปัตยกรรมแบบโพสต์โมเดิร์นด้วยเช่นกัน ส�ำหรับเขาแล้ว สถาปัตยกรรมเป็นกระบวนการเชิงวิพากษ์  “แก่นแท้แห่งการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม ก็คือการแปรความจับต้องได้ของโลกแห่งความเป็นจริงผ่านตรรกะอันชัดแจ้งให้ กลายเป็นระบบของที่ว่าง … จุดเริ่มต้นของโจทย์ทางสถาปัตยกรรมชิ้นหนึ่ง ไม่ว่า จะเป็นความเป็นถิ่นที่ ธรรมชาติ วิถีชีวิต หรือประวัติศาสตร์ก็ตาม ก็จะต้องเข้ามา มี ส ่ ว นในเส้ น ทางแห่ ง พั ฒ นาการไปสู ่ ส ภาวะนามธรรมนี้   เพื่ อ ที่ จ ะได้ ม าซึ่ ง สถาปัตยกรรมที่รุ่มรวยและเปี่ยมชีวิตชีวา”1  กล่าวอีกนัยหนึ่งงานของอันโดะนั้น วิพากษ์ภาษาของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นโดยการดึงความนามธรรมนั้นกลับมา สู่ความจับต้องได้อีกครั้งผ่านการผสานกันระหว่างผนังคอนกรีต  แสง  และที่ว่าง ที่เอื้อให้เกิดการครุ่นคิด เขาดึงผู้คนเข้าสู่ห้วงค�ำนึง ในขณะที่กรองความซับซ้อน ของโลกความเป็นจริงผ่านกระบวนการคิดเชิงตรรกะที่มิได้มุ่งท�ำลายหรือลดทอน ความซับซ้อนนั้น อาจกล่าวได้ว่ากระบวนการท�ำงานของเขาเป็นการเรียบเรียงหรือ จัดล�ำดับความส�ำคัญอันเกิดจากการวิเคราะห์ตงั้ ค�ำถามกับหัวใจส�ำคัญของงานนัน้ ๆ ต่างหาก อันโดะเคยกล่าวถึง Row House at Sumiyoshi ไว้ว่า “เพราะกล่องคอนกรีตนั้น เป็นรูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่าย มันจึงไร้การเคลื่อนไหว แต่เมื่อมีธรรมชาติเข้ามา ปะทะสังสรรค์กับมัน  และเมื่อได้รับแรงการกระเพื่อมจากชีวิตของมนุษย์ผู้อาศัย ตัวตนอันนามธรรมของมันก็เริ่มเกิดประกายแห่งชีวิตชีวาจากการได้สัมผัสกับโลก อันจับต้องได้”2  จากวันแรกที่ได้รู้จักกับสถาปัตยกรรมชิ้นนี้ เกือบสามสิบปีผ่านไป สถาปัตยกรรมของทาดาโอะ  อันโดะยังคงมีพลังและความเป็นตัวของตัวเองอย่างยาก จะหาใดเปรียบ

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 9

2/26/2562 BE 10:46 AM


ฮานส์ กาดาเมอร์ (Hans Gadamer) เคยเปรียบภาวะแห่งสุนทรียะของงานศิลปะ ไว้ว่าเป็นเสมือนการท�ำงานของเครื่องประดับ  คือนอกเหนือไปจากความงดงาม ในตัวของมันเองซึ่งดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นแล้ว  มันยังควรที่จะส่งต่อความ สนใจนั้นไปที่ผู้สวมใส่เครื่องประดับนั้นด้วย ไม่ใช่ดึงความสนใจทั้งหมดไว้ที่ตัวของ มันเอง  หากว่าสุนทรียะแห่งสถาปัตยกรรมคือความงามแบบไร้อหังการเช่นนี้ คือส่งผ่านความดึงดูดใจกลับไปที่บริบทของมัน  ท�ำให้บริบทนั้นปรากฏแก่ตา และใจ ฉายให้เห็นความเป็นไปของที่ตั้ง ลมฟ้าอากาศ เห็นฤดูกาลและวันเวลา เห็นวิถีและชีวิตของผู้คน เห็นความเชื่อ ความหวัง และความฝันอันเป็นอุดมคติ แห่งสังคมนั้น  ๆ  สถาปัตยกรรมของอันโดะก็ดูจะได้ท�ำหน้าที่ของมันอย่างงดงาม ความส�ำคัญของที่ตั้งในงานสถาปัตยกรรมของเขานั้นฉายชัดทั้งในตัวงานเองไม่ว่า จะเป็นงานในเมืองหรือในบริบทธรรมชาติ และในค�ำกล่าวของเขาว่ามัน “จ�ำเป็น อย่างยิง่ ทีจ่ ะค้นพบสถาปัตยกรรมทีท่ ตี่ งั้ นัน้ ๆ ก�ำลังเสาะหาอยู”่ 3  ผืนผนังคอนกรีต ที่จัดวางตัวอยู่ในรูปเรขาคณิตอันเหมาะเจาะนั้นงามนิ่งในตัว  แต่ก็ไม่ลังเลที่จะน�ำ สายตาของเราไปสู่เส้นแสงที่แสดงให้เราได้รับรู้ถึงกาลเวลาที่ผันผ่าน คอร์ตต่าง ๆ ที่อันวางไว้ ไม่ว่าจะในรูปวงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ล้วนท�ำตัวเป็นกรอบที่พา สายตาและความสนใจของเราขึ้นสู่ผืนฟ้าเบื้องบน  ผนังโบสถ์ที่เปิดออกสู่ผืนน�้ำ กว้างตรงหน้านั้นเล่า ก็ส่งจิตรับรู้ของเราไปสู่กางเขนและความหมายอันศักดิ์สิทธิ์ ของมัน  ก่อนที่จะพาให้เราเข้าใจความหมายที่ทาบทับอยู่อีกชั้นหนึ่ง  ในรูปของ ผืนป่าและท้องฟ้าทางเบื้องหลัง หนังสือ Tadao Ando: Conversations with Students หรือฉบับแปลเป็นภาษา ไทยในชื่อ ทาดาโอะ อันโดะ: บทสนทนากับนักเรียน เล่มนี้ คัดความมาจาก บทบรรยายของอันโดะ ให้แก่ “นักเรียน” สถาปัตย์ที่มหาวิทยาลัยโตเกียวใน ปี   ค.ศ.1995 4  ซึ่ ง เรี ย กได้ ว ่ า เป็ น เพี ย งยุ ค เริ่ ม ต้ น ของการใช้ ค อมพิ ว เตอร์ ใ น กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม แต่ข้อคิด ความกังวล และประเด็นต่าง ๆ ที่ อันโดะได้กล่าวไว้ครั้งนั้นยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่จนทุกวันนี้ นอกจากความ น่ า สนใจในเชิ ง ประเด็ น ร่ ว มสมั ย แล้ ว   แน่ น อนความที่   ทาดาโอะ  อั น โดะ เป็นสถาปนิกเพียงผูเ้ ดียวทีไ่ ด้รบั ทัง้ รางวัล Pritzker, Carlsberg, Praemium Imperiale

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 10

2/26/2562 BE 10:46 AM


และ Kyoto Prize โดยที่มิได้ผ่านโรงเรียนสถาปัตยกรรมนั้น ก็ท�ำให้เราอดสงสัย ไม่ได้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่หล่อหลอมตัวตนและวิธีคิดของเขา  ส�ำหรับนักเรียนทุกคน มุมมองเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม  โลก  และผู้คนผู้มีบทบาทต่อชีวิตและวิธีคิด ของเขาในบทต่าง ๆ  ในเล่มนี้จึงควรค่าแก่ใครก็ตามที่ยังคงความเป็น  “นักเรียน สถาปัตย์” ไว้ในใจอย่างเหนียวแน่นเป็นอย่างยิ่ง หม่อมหลวงปิยลดา ทวีปรังษีพร

1 2 3 4

Tadao Ando, “Toward New Horizons in Architecture” in Tadao Ando (New York: Museum of Modern Art, 1991), 75-76. ibid. ibid. บทแปลนี้เลือกคงระบบคริสตศักราชในเนื้อความ  ทั้งนี้ก็เพื่ออิงกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวพันอยู่กับโลก ตะวันตกของเนือ้ หาในหนังสือ และเพือ่ ให้งา่ ยต่อการเห็นความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ตา่ งๆ ทีเ่ กิดขึน้

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 11

2/26/2562 BE 10:46 AM


บทน�ำ หนังสือเล่มนีถ้ อื ก�ำเนิดขึน้ ในปี ค.ศ.1998 เมือ่ ผมเริม่ ไปบรรยายในระดับปริญญาโท ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งโตเกียว ในตอนนั้น  ซึ่งก็คือช่วงปลายศตวรรษที่ยี่สิบ  โลกสถาปัตยกรรมก�ำลังตื่นตัวกับ การค้นหาแนวทางใหม่ให้กับสถาปัตยกรรมโมเดิร์น อย่างไรก็ดีในภาวะที่กระบวน การโลกาภิวัตน์ก�ำลังพุ่งทะยานไปโดยไม่หยุดยั้งนั้น  วิชาชีพสถาปัตยกรรมก็กลับ ค่อย ๆ ถูกกลืนหายไปในกระแสทุนนิยมอันเชี่ยวกรากและทรงพลังยิ่ง แต่ในอีกทางหนึ่ง  ขณะที่เราก�ำลังเผชิญกับความท้าทายนานัปการ  ไม่ว่าจะเป็น ความเปราะบางของสภาพแวดล้อมของโลกหรือความหนักหน่วงของการปรับตัว เข้าสู่สังคมข่าวสารก็ตาม  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกลับท�ำให้ทางเลือกของ สถาปนิ ก ในการหาค� ำ ตอบผ่ า นการออกแบบสถาปั ต ยกรรมนั้ น เพิ่ ม ขึ้ น อย่ า ง มากมายมหาศาล ด้วยเหตุนี้เองรูปแบบสถาปัตยกรรมจึงดูเหมือนจะวิวัฒนาการ ไปในแนวทางที่มีอิสรภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี  อิสรภาพแห่งสถาปัตยกรรมที่แท้จริงก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในขณะที่ ทุนนิยมยังครอบง�ำทุกสิ่ง ผมไม่คิดว่ามีเพียงผมคนเดียวหรอกที่ยังเคลือบแคลงใจ ในบรรยากาศแข่งขันแบบแปลก  ๆ  ในวงการสถาปัตยกรรมตอนนี้  ที่สถาปนิก เหมือนจะแข่งกันว่าใครจะสร้างสรรค์รูปทรงได้ล�้ำสุดขั้วที่สุด ภายใต้ความซบเซาของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในขณะนี้  ผนวกกับความเสียหาย จากแผ่นดินไหว  พายุเฮอริเคนและน�้ำท่วมที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายคราทั่วโลก บทบาทและความรั บ ผิ ด ชอบทางสั ง คมของผู ้ มี ส ่ ว นเกี่ ย วข้ อ งในวงการ สถาปัตยกรรมยิ่งทวีความส�ำคัญ

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 14

2/26/2562 BE 10:46 AM


เมื่อวันที่  11  มีนาคม  2011  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นโดนกระทบจาก แผ่นดินไหวและสึนามิอันโหดร้าย ดังทีผ่ มเล่าไว้ในหนังสือเล่มนี ้ ผมเคยเข้าไปมีสว่ นเกีย่ วข้องอย่างมากในกระบวนการ บูรณปฏิสงั ขรณ์เมืองโกเบหลังจากเกิดแผ่นดินไหวครัง้ ใหญ่ที่ ฮันชิน-อาวาจิ (โกเบ) เมื่อปี  1995  ผมนึกว่าผมเข้าใจดีแล้วว่าความโหดร้ายของแผ่นดินไหวมันเป็น อย่างไร แต่ผมก็คิดผิดโดยสิ้นเชิง แผ่นดินไหวปี 2011 ไม่เพียงแต่ท�ำลายอาคาร บ้านเรือน แต่สึนามิขนาดยักษ์ที่ตามมาซัดพื้นที่ฝั่งแปซิฟิกนั้นก่อความเสียหายไว้ อย่างเหลือประมาณ ผู้คน รถยนต์ บ้านเรือน แม้แต่เมืองทั้งเมือง ทุกสิ่งถูกกลืนหายไปกับเกลียวคลื่น เหลือทิ้งไว้เพียงเศษซากกองพะเนินภายใต้โคลนเละ ๆ ยืนอยู่เบื้องหน้าภาพความเสียหายกว่าห้าร้อยกิโลเมตร  ผมเริ่มจะตระหนักด้วย ความรวดร้าวใจถึงความส�ำคัญของภาพความทรงจ�ำแห่งผืนดิน แห่งพืน้ ที่ แห่งภูมทิ ศั น์ ในขณะเดียวกัน  ผมก็ส�ำนึกได้อีกครั้งว่าหน้าที่ของผมในการสร้างความทรงจ�ำดัง กล่าวขึ้นใหม่นั้นเป็นภาระรับผิดชอบทางสังคมอันใหญ่หลวงเพียงใด ณ ตอนนี้ เราล้วนแต่ก�ำลังตะเกียกตะกายในความพยายามที่จะฟื้นคืนสู่สภาพเดิม สิ่ ง ที่ เ ราก� ำ ลั ง พยายามท� ำ นั้ น   ไม่ ใ ช่ แ ค่ เ พี ย งการสร้ า งสภาพแวดล้ อ มเมื อ งที่ ปลอดภัยซึ่งผู้คนสามารถใช้ชีวิตอยู่โดยปราศจากความหวาดกลัว  เหมือนอย่างที่ ชาวยุโรปตะวันออกค่อย ๆ เข้าใจ ยอมรับ และเผชิญหน้ากับการบูรณปฏิสังขรณ์

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 15

2/26/2562 BE 10:46 AM


บทที่หนึ่ง ปฐมบท

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 20

2/26/2562 BE 10:46 AM


21

ปฐมบท

สามสิบกว่าปีมาแล้ว  ผมก�ำลังเดินทางกลับบ้านจากการไปยุโรปครั้งแรกของผม หลังจากที่ต้องรออยู่หลายสัปดาห์ที่  มาร์แซย์  ผมก็ได้ลงเรือเพื่อกลับมาญี่ปุ่น โดยแวะหยุดที่  ไอเวอรี่โคสต์  เคปทาวน์  และมาดากาสคาร์  ก่อนที่จะข้าม มหาสมุทรอินเดียมาสิ้นสุดที่มุมไบ ที่นั่นเอง ราวกับโดยพลังลึกลับบางประการ ผมตัดสินใจขึ้นรถไฟไปยังพาราณสี ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ในอินเดียตอนเหนือ ณ  แม่น�้ำคงคา  ฝูงคนมากมายก�ำลังอาบน�้ำอยู่ไม่ห่างจากฝูงวัว  บนฝั่งศพแล้ว ศพเล่าก�ำลังถูกเผา กลิ่นแปลก ๆ ที่ผมไม่คุ้นชิน แสงแดดอันแผดเผา พื้นที่ อันทรุดโทรมแผ่กว้างสุดลูกหูลูกตา  ทั้งหมดนี้ยังสยบต่อความโกลาหลตรงหน้า ที่ซึ่งความเป็นไปแห่งชีวิตมนุษย์ถูกตีแผ่จนหมดสิ้น  ผมลงนั่งอยู่อย่างโดดเดี่ยวริม ฝั่งน�้ำ ใคร่ครวญถึงความหมายของชีวิต คนอินเดียไม่ได้กลัวความตาย กล่าวกันว่าความตายนั้นมีไว้เพื่อให้เราสามารถจะมี ชีวิตอยู่  และยังเพื่อที่เราจะได้ไปเกิดใหม่ได้อีกครั้ง  ชีวิตและความตายผสานกัน เป็นองค์รวมอันกลมกลืน ผมกลั้นความรู้สึกอยากลุกหนีไปไกล ๆ เอาไว้อย่างยากเย็น แล้วคงนั่งอยู่ที่ริมฝั่ง แม่น�้ำนั้นต่อไป  ไม่นานนัก  ผมก็เกิดความรู้สึกแปลก ๆ ว่าผมก�ำลังจ้องมองมา ที่ตัวเองจากภายนอก  รู้สึกเหมือนได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระจากแรงกดดัน บางประการ อย่างที่ทราบกันดีว่าเราต่างก็มีเวลาอยู่ในโลกนี้อย่างจ�ำกัด  ผมสรุปกับตัวเองว่า ผมจะสู้เพื่อเป้าหมายและความเชื่อของตัวเอง  ผมบอกกับตัวเองอย่างแน่วแน่ ใช้วิธีคิดแบบกองโจรแล้วประกาศ  “ผมจะใช้วิชาชีพของผมเพื่อสู้กับการปิดกั้น เสรีภาพ  และด้วยความเชื่อในตัวของผม  ผมจะสู้กับสภาพเดิม  ๆ  ที่เป็นอยู่” นั่นมันปี 1965 และผมเพิ่งอายุยี่สิบสี่ปี

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 21

2/26/2562 BE 10:46 AM


22

TADAO ANDO

ผมเกิดและเติบโตมาในแถบคันไซ  ในภาคกลางค่อนไปทางใต้ของญี่ปุ่น  ผมใช้ ชีวิตช่วงวัยรุ่นตอนปลายเดินทางไปรอบ ๆ โอซาก้า ไปตามที่ต่าง ๆ อย่างเรือนน�้ำ ชาสึมิยะ ฮิอันคาคุ และไทอันในเกียวโต หรือบ้านแบบมิงกะ (เรือนพื้นถิ่นญี่ปุ่น) แถวทาคายามะ ในขณะที่ผมไม่ได้มีความรู้อย่างลึกซึ้งอะไรเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ประเพณีของญี่ปุ่น  ผมพบว่าตัวเองเริ่มสนใจในพลังและความงามอันไร้การปรุง แต่งของสถาปัตยกรรมโชอิง-สึคึริ  ซึ่งสะท้อนความละเอียดอ่อนที่แท้จริงในการใช้ วั ส ดุ ธ รรมชาติ   บ้ า นแบบมิ ง กะในพื้ น ที่ ที่ ค งกลิ่ น อายประเพณี อ ย่ า งชิ โ กกุ แ ละ ทาคายามะ  ซึง่ มีความงามแบบยับยัง้ ชัง่ ใจในท�ำนองเดียวกันนัน้   เป็นแรงบันดาลใจ ให้กับผมในแง่ของการประนีประนอมระหว่างสภาพแวดล้อมพื้นถิ่นกับความเป็น สากลโดยแท้  ในขณะทีผ่ มพยายามท�ำความเข้าใจรากฐานทางวัฒนธรรมของตัวเอง ผมก็คิดว่าบางทีผมอาจจะก�ำลังพยายามค้นหาแก่นแท้แห่งสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น โดยไม่รู้ตัว การที่ผมเติบโตมาในพื้นที่ที่แวดล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่ในแถบคันไซ ในชิตะมะจิ (ย่านชนชั้นแรงงานดั้งเดิมหนึ่งในโอซาก้า) ที่ซึ่งเหมือนกับว่าทุกคน ในเมืองล้วนลงมือสร้างอะไรบางอย่างนั้น มันท�ำให้ผมค่อย ๆ เริ่มรู้สึกอยากท�ำงาน ที่ผมก็มีส่วนลงมือสร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาบ้างเช่นกัน ต่อมาในปี 1958 ผมได้ ไปเยือนโรงแรมอิมพีเรียลที่โตเกียวซึ่งออกแบบโดยแฟรงค์  ลอยด์  ไรท์  (Frank Lloyd  Wright)  ความรู้สึกในที่ว่างนั่นเหลือจะบรรยาย  ผมรู้สึกหลงใหลในโลก แห่งสถาปัตยกรรมเข้าแล้ว ในช่วงเดียวกันนั้นเอง ผมก็ไปพบคอลเล็คชั่นของสมุด สเก็ตช์ของเลอ กอร์บูซิเอ (Le Corbusier) ในร้านหนังสือมือสอง ภาพเหล่านั้น จับใจผมเหลือเกินจนผมเริ่มลงมือคัดลอกมันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย  เนื่องจาก ผมศึกษาสถาปัตยกรรมด้วยตนเอง  เลอ  กอร์บูซิเอ  ผู้ก้าวขึ้นมาเป็นแนวหน้า ของสถาปัตยกรรมโมเดิรน์ โดยมิได้ผา่ นโรงเรียนสถาปัตยกรรมใด ๆ จึงมีความหมาย กับผมมากเกินกว่าเพียงความชื่นชม  เลอ  กอร์บูซิเอนั้นเดินทางท่องเที่ยวไปทั่ว ในช่วงที่เขาอายุยี่สิบกว่า ๆ ก่อนที่จะเริ่มท�ำงานเป็นสถาปนิก เพื่อค้นหารากเหง้า

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 22

2/26/2562 BE 10:46 AM


23

Sketches by Tadao Ando top left: Journey in India, 1986

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 23

ปฐมบท

top right: Journey in Istanbul, 1984 bottom: Journey in Egypt, 1988

2/26/2562 BE 10:46 AM


บทที่สอง ท้องถิ่นนิยม

Koshino House, 1979-84, Ashiya, Hyoga. Living room

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 38

2/26/2562 BE 10:46 AM


39

ท้องถิ่นนิยม

เมื่อศตวรรษที่ยี่สิบสิ้นสุดลง ผมตั้งค�ำถามกับตัวเอง “ค�ำจ�ำกัดความของศตวรรษนี้ คืออะไร?”  พูดง่าย  ๆ  ผมเชื่อว่ามันคือกระบวนการที่ความคิดเรื่องความเป็น สมัยใหม่ได้หลอมโลกนี้เข้าด้วยกัน  การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ไม่เคยมี มาก่อนในประวัติศาสตร์น�ำมาซึ่งกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทันสมัย ไปทั่วโลก ทั้งในแง่สังคม เศรษฐกิจ เมือง สถาปัตยกรรม และมิติอื่น ๆ ทั้งหมด การหลอมเป็นเนื้อเดียวอย่างรวดเร็วของประชาคมโลกได้สลายวัฒนธรรมท้องถิ่น ทีม่ คี วามเฉพาะตัวและค่อย ๆ พัฒนามานานหลายชัว่ อายุคนลง ดึงเอาความรุม่ รวย ที่แท้จริงออกไปจากชีวิตของผู้คน ทุกวันนี้ คนเรายังแสวงหาทั้งความเป็นสมัยใหม่และจิตวิญญาณแห่งถิ่น ซึ่งยากยิ่ง ที่จะได้มาพร้อม  ๆ  กัน  การที่จะทราบวิธีการสร้างสมดุลระหว่างความต้องการ สองด้านที่ตรงข้ามกันนี้ดูจะเป็นข้อค�ำนึงทางวัฒนธรรมข้อหลักข้อหนึ่งในครึ่งหลัง ของศตวรรษทีย่ สี่ บิ เลยทีเดียว  ไม่วา่ คุณจะมีบทบาทอย่างไรในวงการสถาปัตยกรรม ข้อถกเถียงเรื่องความเป็นสากลกับท้องถิ่นนิยมดูจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ อาคารหนึ่งใดก็มักเป็นส่วนส�ำคัญของชีวิต  เป็นสถานที่ซึ่งท�ำหน้าที่คล้ายภาชนะ ที่รองรับชีวิตประจ�ำวันของผู้คน ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นสถาปนิก ตราบใดที่คุณ ยังเกี่ยวข้องกับวงการนี้ ไม่สิ ตราบใดที่คุณยังอยู่ในสังคมในวันนี้ เรื่องนี้ก็ยังคง เป็นสิ่งที่คุณต้องคิดใคร่ครวญอยู่ดี ท้องถิ่นนิยมในสถาปัตยกรรม เร็ม  โคลฮาส  (Rem  Koolhaas)  เป็นสถาปนิกชาวดัตช์ผู้มีแนวคิดที่ฉีกแนว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  งานประกวดแบบหลายชิ้นของเขาทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ  สร้างความโดดเด่นให้เขาอย่างต่อเนือ่ งในโลกสถาปัตยกรรม  ผมไม่อาจ ใช้ค�ำว่าเขาเป็นชาวดัตช์ได้  เพราะว่าเขาเป็นคนที่มีความหลากวัฒนธรรมอยู่ใน ตัวอย่างแท้จริง ท�ำงานไปทั่วโลก เรียกว่าเป็น “ประชากรโลก” ก็ว่าได้  ที่จริงแล้ว สิ่งที่ท�ำให้เขามีชื่อเสียงไปทั่วโลกก็คือผลงานชิ้นเอก หนังสือ Delirious New York

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 39

2/26/2562 BE 10:46 AM


40

TADAO ANDO

ที่ออกมาในปี  1970  ในช่วงที่แนวคิดโพสต์โมเดิร์นยังเพิ่งเริ่มต้น  โคลฮาสหันมา มองมหานครนิวยอร์กด้วยมุมมองอันแปลกใหม่  คืออ่านมันในฐานะผลผลิตของ พัฒนาการทางเทคโนโลยีและสังคมแห่งอารยธรรมสมัยใหม่  และยังฉายให้เห็น สารัตถะของมหานครสมัยใหม่ไปด้วยพร้อม ๆ กัน โคลฮาสแสดงให้เห็น  “ความเป็นปัจจุบัน” ของเมือง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เขาชี้ ให้เห็นศักยภาพส�ำหรับเมืองในเอเชียและที่อื่น ๆ ในวันนี้ ในขณะที่ผมยอมรับว่า วิสัยทัศน์อันกว้างขวางและการวิเคราะห์ที่นิ่งและแหลมคมของเขานั้นมีความน่า สนใจอยู่ แต่สิ่งที่ท�ำให้โคลฮาสพิเศษไปกว่าสิ่งอื่นใดคือความสามารถอันน่าทึ่งของ เขาที่ยังทันยุค ทันความเปลี่ยนแปลงของโลกได้เรื่อย ๆ ส�ำหรับผม ซึ่งมีแนวโน้ม จะคิดเรื่องเมืองและสถาปัตยกรรมผ่านกรอบแบบญี่ปุ่นอยู่เสมอนั้น  โคลฮาสถือ เป็นแรงบันดาลใจอย่างยิ่ง ในช่วงหนึ่ง อิทธิพลของโคลฮาสต่อโลกสถาปัตยกรรมนั้น มิใช่ด้วยการสร้างงาน สถาปัตยกรรม แต่ด้วยข้อเขียนอันเปี่ยมพลังและไม่เหมือนใครของเขา อย่างไรก็ดี ตั้งแต่งาน Netherlands Dance Theater ที่กรุงเฮกในช่วงหลังของทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา  โคลฮาสก็ได้สร้างสรรค์งานที่มีรูปทรงเตะตาด้วยเทคนิคที่แปลกใหม่ อย่างยิ่งงานแล้วงานเล่า  งาน  Utrecht  University  Educatorium  ของเขานั้น เป็นสถาปัตยกรรมที่ผ่านกระบวนการคิดมาอย่างดียิ่งในทุกแง่มุม ร่องรอยของวิธคี ดิ ของโคลฮาส ตัง้ แต่แนวความคิดไปจนถึงรายละเอียด เผยออกมา ในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร Educatorium แห่งนี้ สิ่งที่ประทับใจผมที่สุดก็คือการ ที่โคลฮาสผู้ซึ่งมีชื่อเสียงในแง่การสร้างสถาปัตยกรรมที่เน้นกระบวนการคิดกลับ สามารถสร้างผลงานซึ่งมีรายละเอียดที่ดียิ่ง ผมรูส้ กึ ว่าโดยทัว่ ไปแล้ว (อาจจะเป็นเพราะลักษณะประจ�ำชาติของเราเอง) ชาวญีป่ นุ่ มักจะมัววุ่นวายอยู่กับรายละเอียดโดยไม่จ�ำเป็น  ให้ความส�ำคัญกับการจัดวาง

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 40

2/26/2562 BE 10:46 AM


ท้องถิ่นนิยม

41

Rokko Housing ll, 1985-93, Kobe, Hyogo. Sketch for central stairway By Tadao Ando

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 41

2/26/2562 BE 10:46 AM


61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 114

2/26/2562 BE 10:46 AM


Tadao Ando Conversations with Students

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 115

2/26/2562 BE 10:46 AM


เกี่ยวกับทาดาโอะ อันโดะ อันโดะเกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ.1941 เขาเป็นชาวเมืองโอซากาโดยก�ำเนิด อันโดะมิได้ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ในโรงเรียนใด  ๆ  โลกสถาปัตยกรรม ส�ำหรับเขาเริ่มต้นจากความสนใจในสถาปัตยกรรมท้องถิ่นแถบคันไซในช่วงวัยรุ่น จนได้มาสัมผัสกับพลังของทีว่ า่ งในโรงแรมอิมพีเรียลทีโ่ ตเกียวโดยแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ และแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของการเดินทางและเส้นสายของเลอ  กอร์บูซิเอ อั น โดะเดิ น ตามรอยของสถาปนิ ก ในดวงใจ  โดยออกเดิ น ทางไปศึ ก ษา สถาปัตยกรรมผ่านการสัมผัสงานเหล่านั้นด้วยตนเอง  เขาเริ่มก่อตั้งส�ำนักงาน สถาปนิ ก ทาดาโอะ  อั น โดะขึ้ น เมื่ อ ปี   ค.ศ.1969  สร้ า งผลงานที่ มี ภ าษา สถาปัตยกรรมอันทรงพลัง มีเอกลักษณ์ เป็นทีจ่ ดจ�ำ เช่น Row House in Sumiyoshi (1976), Church of the Light (1989), Modern Art Museum of Fort Worth (2002) และ Punta Della Dogana (2009) เป็นต้น  ตลอดห้าสิบปีของการสร้างงาน สถาปั ต ยกรรม  เขาได้ รั บ รางวั ล และการยกย่ อ งเชิ ด ชู เ กี ย รติ ม ากมาย  เช่ น Architectural Institute of Japan for Design Prize (1979), Japan Art Academy Prize (1993), Pritzker Architecture Prize (1995), American Institute of Architects Gold Medal (2002), Union Internationale des Architectes Gold Medal (2005), Japanese Order of Culture (2010), Commandeur de l’ordre Art et des Lettres (2013) และ Grande Ufficiale dell’Ordine della Stela d’Italia (2015)

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 116

2/26/2562 BE 10:46 AM


ประวัติผู้แปล หม่อมหลวงปิยลดา ทวีปรังษีพร อาจารย์ประจ�ำที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส�ำเร็จการ ศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาประวัตศิ าสตร์และทฤษฎีสถาปัตยกรรม งานสอน และงานวิจัยในปัจจุบันเกี่ยวเนื่องอยู่กับทฤฎีสถาปัตยกรรมร่วมสมัยประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมใหม่ในประเทศไทย และสุนทรียศาสตร์ในสถาปัตยกรรม ผลงานเขียนหนังสือและแปลหนังสือ ที่จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ ลายเส้น ได้แก่ ค�ำ ความคิด สถาปัตยกรรม, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2, 2557 ความซับซ้อนและความขัดแย้งในสถาปัตยกรรม (Complexity and Contradiction in Architecture), 2559

61-03-099 001-120 1c_Ando i_uncoated.indd 117

2/26/2562 BE 10:46 AM


ทาดาโอะ อันโดะ: บทสนทนากับนักเรียน (Tadao Ando: Conversations with Students) ผู้แปล หม่อมหลวงปิยลดา ทวีปรังษีพร บรรณาธิการแปล ต้นข้าว ปาณินท์ พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2562 บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จ�ำกัด ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ อันโดะ, ทาดาโอะ ทาดาโอะ อันโดะ บทสนทนากับนักเรียน = Tadao Ando: Conversation with Students.-กรุงเทพฯ: ลายเส้น, 2562. 120 หน้า. -- (modern thought). 1. อันโดะ, ทาดาโอะ--สัมภาษณ์. 2. สถาปนิก--ญี่ปุ่น--สัมภาษณ์. I. ปิยลดา ทวีปรังษีพร, ม.ล, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 720.92 ISBN 978-616-459-010-6

ที่ปรึกษา นิธิ สถาปิตานนท์ บรรณาธิการบริหาร สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ ออกแบบปกและรูปเล่ม ศุภวิชญ์ คิรีวนานุกูล กองบรรณาธิการ บุศรา เขมาภิรักษ์ ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ รุ่งรวี สุรินทร์ พิสูจน์อักษร คมกฤช ชูเกียรติมั่น เลขากองบรรณาธิการ ชวะ วงษ์ไทย

บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จ�ำกัด 112 สุขุมวิท 26 คลองตัน คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 T. 0 2259 2096 F. 0 2661 2017 www.li-zenn.com Facebook: Li-Zenn Publishing Line: @Li-zenn พิมพ์ที่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน)


หนังสือเล่มนี้ส�ำเร็จลงได้ด้วยดีจากการสนับสนุนและผลักดันจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ รศ. ดร. ต้นข้าว ปาณินท์ ที่แนะน�ำหนังสือเล่มนี้ และรับเป็นบรรณาธิการ ร่วมด้วย หม่อมหลวงปิยลดา ทวีปรังษีพร ผู้แปลหนังสือให้เสร็จสมบูรณ์ และคุณคมกฤช ชูเกียรติมั่น ที่สละเวลาในการพิสูจน์อักษร ส�ำนักพิมพ์ ลายเส้น พับบลิชชิ่ง ขอขอบคุณทุกท่าน รวมทั้งส�ำนักงานสถาปนิกและผู้ประกอบการ ที่ให้การสนับสนุนมา ณ ที่นี้

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร Faculty of Architecture, Silpakorn University www.arch.su.ac.th บริษัท สถาปนิก โอเพนบอกซ์ จ�ำกัด Openbox Architects Co., Ltd. www.openbox.in.th บริษัท ไทย พีพี-อาร์ จ�ำกัด Thai PP-R Co., Ltd. www.thaippr.com


LI-ZENN PUBLISHING Modern Thought Series

เลอ คอร์บูซิเอร์ บทสนทนากับนักเรียน 978-616-7800-95-0 250 บาท

หลุยส์ ไอ คาห์น บทสนทนากับนักเรียน 978-616-7800-50-9 250 บาท

เรม โคลฮาส บทสนทนากับนักเรียน 978-616-7800-73-8 300 บาท

บทสนทนากับมีส ฟาน เดอ โรห์ 978-616-7800-87-5 300 บาท

ปีเตอร์ สมิธสัน บทสนทนากับนักเรียน 978-616-7800-86-8 350 บาท

ทาดาโอะ อันโดะ บทสนทนากับนักเรียน 978-616-459-010-6 300 บาท

ปรากฏ-กาล:ชีวิตของ งานสถาปัตยกรรม ผ่านกาลเวลา 978-616-7800-46-2 300 บาท

เมืองของผู้คน 978-616-7800-61-5 700 บาท

เมืองมีชีวิต 978-616-7800-84-4 350 บาท

วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ อยู่กับความซับซ้อน 978-616-459-013-7 978-616-7800-76-9 380 บาท 700 บาท

บทสนทนา กับความว่างเปล่า 978-616-7800-28-8 300 บาท

ความซับซ้อน และความขัดแย้ง ในสถาปัตยกรรม 978-616-7800-71-4 350 บาท

ความปรุโปร่ง 978-616-7800-69-1 300 บาท

ความหมาย ของการก่อสร้าง 978-616-7800-74-5 350 บาท

หัตถาราชัน 978-616-7800-47-9 300 บาท

ทาดาโอะ อันโดะ บทสนทนากับนักเรียน 978-616-459-010-6 300 บาท

ชุดพื้นฐาน: พื้นฐานการ ออกแบบสถาปัตยกรรม 978-616-7800-88-2 450 บาท

สั่งซื้อหนังสือ: FB: Li-Zenn Publishing (ทาง Inbox) LINE: @li-zenn E: purchase@li-zenn.com T: 088 147 9669 / 02 259 2096 ร้าน Li-Zenn Bookshop สาขา 49HUB โกดัง 112 และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คณิตศาสตร์เบื้องหลัง วิลล่าในอุดมคติและ บทความอื่น ๆ 978-616-7800-98-1 450 บาท

ประสบการณ์ สถาปัตยกรรม 978-616-459-012-0 450 บาท


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.