ลัทธิแมนแฮตตัน สูตรการสร้างมหานคร
ณัฏฐิณี กาญจนาภรณ์ จากผู้แปล
6
นิวยอร์กคลุม้ คลัง่ : ย้อนอดีต อุดมการณ์สร้างมหานคร หรือ Delirious New York: A Retroactive Manifesto for Manhattan (ค.ศ. 1978) โดย เรม โคลฮาส (Rem Koolhaas) เป็นหนังสือทีม่ คี วามส�ำคัญต่อทฤษฎีสถาปัตยกรรมเล่มหนึง่ และเป็นหนึง่ ในหนังสือทีจ่ ดั อยูใ่ นหมวดหมูข่ องทฤษฎีสถาปัตยกรรมเมืองร่วม สมัยซึง่ มีหนังสือเล่มอืน่ เช่น Architecture of the City (ค.ศ. 1966) โดย อัล โด รอสซี (Aldo Rossi), Complexity and Contradiction (ค.ศ. 1966) โดย โร เบิรต์ เวนทูรี (Robert Venturi) และ Learning from Las Vegas (ค.ศ. 1972) โดย โรเบิร์ต เวนทูรี, เดนิส สก็อตต์ บราวน์ (Denise Scott Brown) และ สตีเวน ไอซีนัวร์ (Steven Izenour) จุดเริ่มต้นของหนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นระหว่างที่โคลฮาสเรียนสถาปัตยกรรมอยู่ที่ Architectural Association (AA) ลอนดอน สหราชอาณาจักร ในช่วงปี ค.ศ. 1968 ถึง ค.ศ. 1971 การเรียนกับโซ เซงเงียลีส (Zoe Zenghelis) ส่งผลให้ โคลฮาสสนใจความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม และอุดมการณ์ รวมทั้งการท�ำงานออกแบบสถาปัตยกรรมในรูปแบบของการท�ำงานเป็นทีม ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมในช่วงที่โคลฮาสเรียน เช่น โครงการศึกษา สถาปัตยกรรมก�ำแพงเบอร์ลนิ The Berlin Wall as Architecture (ค.ศ. 1971) และโครงการเมืองในก�ำแพงที่ลอนดอน Exodus, The Voluntary Prisoners of Architecture (ค.ศ. 1972 ) ล้วนเป็นโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ เกิดจากอุดมการณ์1 หลังจากนั้นโคลฮาสไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โคลฮาสเริ่มศึกษาเรื่องเมืองอย่างจริงจัง รวมทั้ง สะสมนิตยสารและโปสต์การ์ดทีเ่ กีย่ วกับแมนแฮตตัน เขาได้ทนุ วิจยั จากสถาบัน การศึกษาด้านสถาปัตยกรรมและการผังเมืองในนิวยอร์ก (Institute for Architecture and Urban Studies) โคลฮาสได้มโี อกาสสัมภาษณ์โรเบิรต์ เวนทูรี และเดนิส สก็อตต์ บราวน์ เกีย่ วกับหนังสือ Learning from Las Vegas ทีถ่ อด บทเรียนจากสิ่งที่เกิดขึ้นในลาสเวกัส ท�ำให้โคลฮาสคิดได้ถึงวิธีการที่จะเขียน เกีย่ วกับแมนแฮตตัน โคลฮาสตัง้ ใจให้ Delirious New York เป็นเสมือนสิทธิบตั ร ของการสร้างสถาปัตยกรรมในมหานคร เพือ่ ให้ตนเองและสถาปนิกคนอืน่ ได้นำ� ไปปฏิบตั ติ าม ในเวลาใกล้เคียงกัน โคลฮาสก่อตัง้ ส�ำนักงานสถาปัตยกรรมเพือ่ มหานคร หรือ OMA - Office for Metropolitan Architecture ขึน้ ในปี ค.ศ. 1975 ร่วมกับ โซ เซงเงียลีส, เอเลีย เซงเงียลีส (Elia Zenghelis) และมาเดลอง ฟรีเซนดอร์ป (Madelon Vriesendorp) ที่ลอนดอน หนังสือ Delirious New York: A Retroactive Manifesto for Manhattan ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1978 โดยส�ำนักพิมพ์ Oxford University Press
7
โคลฮาสไม่ เ น้ น เรื่ อ งความงามของสถาปัตยกรรม แต่ให้ค วามส� ำ คั ญ กั บ แนวคิดและอุดมการณ์ ซึ่งโคลฮาสเชื่อมั่นว่าเป็นรากฐานส�ำคัญของการสร้าง สถาปัตยกรรม “ก่อนที่เราจะร่างหรือสร้างสถาปัตยกรรมใดๆ ขึ้นมา เราต้อง เขียนหรือคิดค�ำเพื่ออธิบายสถาปัตยกรรมนั้นก่อน ค�ำเหล่านั้นคือ แนวคิด ใจความส�ำคัญ หรืออุดมการณ์ เมื่อเราคิดและสามารถเขียนค�ำเหล่านี้ ออกมาได้ เราถึงจะไปต่อได้ ข้อความเหล่านี้จะเป็นตัวปลดปล่อยท�ำให้เกิด กระบวนการออกแบบ...ผลงานเริ่มต้นด้วยการเขียนเหมือนกับวรรณกรรม ข้ อ ความเหล่ า นี้ มั ก กลายเป็ น สิ่ ง ที่ เ ราพั ฒ นาเป็ น กิ จ กรรมและหน้ า ที่ ข อง สถาปัตยกรรมที่เราจะสร้างขึ้น”2 เมื่อหันมามองแมนแฮตตัน โคลฮาสพบว่า มหานครนิวยอร์กได้เกิดขึน้ ไปแล้ว ณ ช่วงเวลาหนึง่ ในประวัตศิ าสตร์ มหานคร เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประชากร ข้อมูล เทคโนโลยี และ สถาปัตยกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนไม่มีใครได้ทันตั้งตัว โคลฮาสสืบค้น และขุดคุ้ยเหตุการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วง ปลายศตวรรษที่ 19 เพื่อท�ำความเข้าใจถึงการเกิดขึ้นของมหานครนิวยอร์ก โคลฮาสกล่าวว่า แมนแฮตตันคือต้นแบบของมหานครยุคใหม่ มีอะไรเกิดขึ้น หลายอย่างในแมนแฮตตันทีค่ วรค่าแก่การท�ำความเข้าใจ ต้นแบบของมหานคร ยุคใหม่นี้คืออะไร โคลฮาสจึงย้อนรอยประวัติศาสตร์เพื่อเขียนอุดมการณ์ของ การสร้างมหานครนิวยอร์ก โคลฮาสกล่าวว่าความรุ่งโรจน์ของนิวยอร์กเกิดขึ้นจากความสุดโต่งในทุก สถานการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้นล้วนตั้งอยู่นอกกรอบ ทุกอย่างเป็นเรื่องเกินธรรมดา แมนแฮตตันก้าวเข้าสู่การเป็นโลกใหม่ในช่วงหลังจากปี ค.ศ. 1850 ท�ำให้ เกิดวิถชี วี ติ แบบใหม่ทปี่ ฏิวตั กิ ารด�ำรงชีวติ ในอดีตอย่างสิน้ เชิง แมนแฮตตันคือ ระยะสุดท้ายของความศิวิไลซ์ของวัฒนธรรมตะวันตก โคลฮาสต้องการสร้าง ตรรกะให้กับความศิวิไลซ์ของมหานครแห่งนี้ โดยเรียงล�ำดับพัฒนาการของ แมนแฮตตันจากจุดเริ่มต้นถึงจุดที่เอกลักษณ์ของมหานครเด่นชัดขึ้น: การค้น พบเกาะแมนแฮตตัน; การสร้างโลกเสมือนเพือ่ การพักผ่อนและความบันเทิงใจ (Technology of the Fantastic and The Irresistible Synthetic); บททดลอง ของถนนแบบแนวตาราง (Grid) และการเกิดขึ้นของพื้นที่ช่วงถนน (Block); ต้นก�ำเนิดของตึกสูงระฟ้า (Skyscraper); ความไม่ปรองดองกันในแนวตั้ง (Vertical Schism) และวัฒนธรรมความแออัด (Culture of Congestion) ที่ เขากล่าวว่าเป็นแก่นแท้ของมหานคร เรม โคลฮาส บัญญัติค�ำส�ำคัญขึ้นในหนังสือ Delirious New York เพื่อใช้ใน การอธิบายปรากฏการณ์มหานครทีเ่ กิดขึน้ ในแมนแฮตตัน ค�ำส�ำคัญเหล่านีค้ อื คุณลักษณ์ของเมืองที่ยิ่งใหญ่ ที่สามารถใช้เป็นต้นแบบของมหานครอื่นๆ ได้: จากผู้แปล
8
การสร้างโลกเสมือนเพือ่ การพักผ่อน และความบันเทิงใจ คือสิง่ ทีส่ ถาปนิก สร้างขึ้นบนเกาะโคนีย์ เพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในช่วงปลาย ศตวรรษที่ 19 ต่อกับศตวรรษที่ 20 นับเป็นก้าวแรกของการทดลองสร้าง มหานคร ก่อนทีจ่ ะย้ายข้ามมาทีเ่ กาะแมนแฮตตัน การสร้างโลกเสมือนนีค้ อื การท�ำให้สถานทีห่ นึง่ กลายเป็นสถานทีอ่ นื่ โดยการปลูกถ่ายสถาปัตยกรรม จากทีอ่ นื่ สร้างความแตกต่างจากสิง่ ทีเ่ ป็นอยู่ เป็นสถานทีท่ ชี่ ว่ ยให้คนเมือง ตัดขาดจากโลกของความเป็นจริง และสร้างความผ่อนคลายทีท่ ำ� ให้คนเหล่า นั้นเสพติด การน�ำเทคโนโลยีมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือส�ำหรับสร้างความ บันเทิงใจ เช่น “วัวที่ไม่มีวันเหน็ดเหนื่อย” เป็นเครื่องจักรผลิตน�้ำนมได้ มากกว่าแม่วัวนมตัวจริง, “แสงอาทิตย์ปลอม” ที่เกิดจากหลอดไฟที่ติดตั้ง ตลอดชายหาดท�ำให้คนสามารถว่ายน�้ำและอาบแดดได้ตลอด 24 ชั่วโมง, “สตีปเพิลเชส” ที่ท�ำให้ใครก็สามารถขี่ม้าได้ และ “กระบอกแห่งความรัก” ที่เป็นเครื่องมือกระตุ้นความใกล้ชิดและความปรารถนา สิ่งที่เกิดขึ้นบน เกาะโคนียค์ อื การสร้างโลกเสมือนในรูปแบบทีต่ ดั ขาดจากโลกของความเป็น จริง สตีปเพิลเชส พาร์ก ที่เป็นอาณาจักรของความสนุกสนาน ลูน่า พาร์ก และดรีมแลนด์ซึ่งเป็นสวนสนุกที่ให้ความสนุกสนานแบบไม่มีวันสิ้นสุด ความไม่ปรองดองกันในแนวตัง้ เกิดจากความทะเยอทะยานของสถาปนิก ในการสร้างตึกให้สูงที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ภายใต้กฎเกณฑ์ของมหานคร ผลลัพธ์คือตึกสูงระฟ้า สถาปัตยกรรมที่ต้องการสร้างโลกขึ้นใหม่, ผนวก ดินแดนขึ้นเป็นตึกสูง และใช้พื้นที่หนึ่งช่วงถนน สถาปนิกในแมนแฮตตัน พัฒนาแนวคิดของการสร้างตึกสูงระฟ้าให้สูงถึง 100 ชั้น แล้วพบว่าการ ท�ำธุรกิจเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ทางออกของตึกสูงระฟ้าอีกต่อไป จึงท�ำให้ เกิดแนวคิด “เมืองที่อยู่ในเมือง” (City within city) ภายในก�ำแพงตึกมี กิจกรรมที่หลากหลายทางวัฒนธรรม ธุรกิจ อุตสาหกรรม โรงแรม ที่พัก อาศัย ภัตตาคารหรู แหล่งบันเทิง คลับ สวนสนุก สวนพฤกษศาสตร์ลอยฟ้า และสระว่ายน�้ำ ตึกสูงระฟ้ามีพื้นที่ใช้งานมหาศาล แต่กิจกรรมที่เกิดขึ้น บนแต่ละชั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย นอกจากนั้นตึกสูงระฟ้าแต่ละตึก ต่างกันในเรื่องอุดมคติและวิถีชีวิต ความไม่ปรองดองกันในแนวตั้งนี้เชื่อม โยงกันด้วยลิฟต์ ซึ่งเป็นวีธีการเชื่อมต่อพื้นที่แนวตั้งแบบใหม่ที่เปิดตัวครั้ง แรกในงานนิทรรศการนานาชาติที่แมนแฮตตันในปี ค.ศ. 1853 ลิฟต์เป็น ผูป้ ลดปล่อยชัน้ ต่างๆ ในตึกสูงระฟ้าให้เป็นอิสระต่อกัน ลิฟต์จะพาเราไปถึง ชัน้ ทีเ่ ราต้องการโดยทีเ่ ราไม่ตอ้ งยุง่ เกีย่ วกับกิจกรรมทีเ่ กิดขึน้ ในชัน้ อืน่ เลย
9
วัฒนธรรมความแออัด เมืองแต่ละเมืองต่างมีวฒ ั นธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ของเมือง โคลฮาสกล่าวว่าวัฒนธรรมความแออัดคือเอกลักษณ์ของ แมน
แฮตตัน แมนแฮตตันคือต้นแบบของมหานคร (Metropolis) แมนแฮตตัน คือสังคมของยุคสมัยใหม่ที่เกิดจากความเจริญของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม พัฒนาการที่ก้าวกระโดดของเครื่องจักรกล และการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ของประชากรคนเมื อ ง แมนแฮตตั น เป็ น ที่ ตั้ ง ของมหานครที่ มี ร ะบบ โครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่เป็นถนนแบบแนวตาราง พื้นที่ช่วงถนน และ แนวทางปฏิบัติส�ำหรับการพัฒนาเมืองในอนาคตที่รวมถึงกฎเกณฑ์การ วางผังและระยะร่นของอาคารเพื่อจัดระบบความแออัด สถาปัตยกรรมที่ เกิดขึน้ บนพืน้ ทีข่ องมหานครนีเ้ กิดขึน้ ภายใต้กฎและหลักเกณฑ์ทเี่ ฉพาะตัว ตึกสูงระฟ้ารูปแบบแตกต่างกัน วัฒนธรรมความแออัดท�ำให้สถาปนิก สามารถสร้างตึกเพียงตึกเดียวทีม่ ขี นาดพืน้ ทีท่ งั้ ช่วงถนนได้ คร่อมทางแยก ของถนนแบบแนวตาราง หรือลอดใต้ถนนเพือ่ เชือ่ มโยงกับระบบรถไฟใต้ดนิ ท�ำให้เกิดหมู่บ้านขนาดใหญ่ยักษ์ เทือกเขาตึกสูงที่เต็มไปผู้คนและรถยนต์ หนังสือเล่มนีเ้ ปรียบเสมือนสารคดีเรือ่ งหนึง่ ทีเ่ ปิดเผยเบือ้ งหลังของความซับซ้อน ที่เกิดขึ้นในแมนแฮตตันและพื้นที่ใกล้เคียง โคลฮาสตีแผ่จิตใต้ส�ำนึกของ ตัวละครที่เกี่ยวข้อง โคลฮาสยกตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะ ในมหานคร เช่น ตึกที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยจิตวิญญาณของอดีตที่เต็มเปี่ยม, โครงการขนาดใหญ่มหึมาที่ครอบคลุมที่ดินถึง 3 ช่วงถนน หรือตึกสูงระฟ้า ที่มีพื้นที่ใช้งานมหาศาล แต่กิจกรรมที่เกิดขึ้นบนแต่ละชั้นไม่มีความเกี่ยวข้อง กั น เลย ปรากฏการณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในมหานครนิ ว ยอร์ ก คื อ การสร้ า งเมื อ งที่ เฉพาะตัวและโดดเด่น เป็นมโนทัศน์ที่ทุกคนที่อยู่บนเกาะแมนแฮตตันยึดถือ เกิดอิทธิพลต่อความคิดและแนวทางปฏิบตั เิ ช่นเดียวกับ แนวคิดแบบลัทธิสมัยใหม่ (Modernism) และแนวคิดลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodernism)3 โคลฮาสจึง สร้างค�ำว่า ลัทธิแมนแฮตตัน (Manhattanism) ขึน้ ส�ำหรับมหานครนิวยอร์กโดย เฉพาะ ลัทธิแมนแฮตตัน คือ อุดมการณ์ของการสร้างมหานคร เป็นเครื่องมือ ทีท่ ำ� ให้เกิดชีวติ ในเมือง และเป็นเครือ่ งมือในการสร้างกิจกรรมให้เกิดขึน้ ภายใน อาคารขนาดใหญ่มหึมา เพื่อเหนี่ยวน�ำให้เกิดชีวิตชีวาท่ามกลางความยิ่งใหญ่ ของสถาปัตยกรรม โคลฮาสปิดท้ายหนังสือด้วยตัวอย่างของโครงการสมมุติ ที่ออกแบบโดยใช้ตรรกะของลัทธิแมนแฮตตัน ซึ่งโคลฮาสและสมาชิกของ OMA ร่วมมือกันท�ำระหว่างปี ค.ศ. 1972 ถึง ค.ศ. 1976 เมืองแห่งลูกโลกใน อาณัติ (The City of the Captive Globe), โรงแรมสฟิงซ์ (Hotel Sphinx), เกาะเวลแฟร์แห่งใหม่ (New Welfare Island), โรงแรมเวลแฟร์ พาเลซ (Welfare Palace Hotel) และ เรื่องราวเกี่ยวกับ สระว่ายน�้ ำ แห่ ง หนึ่ ง (The Story of the Pool) จากผู้แปล
10
หากกล่าวถึงหนังสือ Delirious New York แล้วไม่กล่าวถึงภาพเขียนที่ปรากฏ บนใบหุ้มปกหนังสือที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1978 คงไม่ได้ ภาพ Flagrant Délit (ค.ศ. 1975) เป็นภาพความปั่นป่วนของชีวิตขั้วตรงข้ามในมหานคร นิวยอร์ก Flagrant Délit แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า จับได้คาหนังคาเขา เป็น ภาพเขียนฝีมอื ของมาเดลอง ฟรีเซนดอร์ป หนึง่ ในผูร้ ว่ มก่อตัง้ OMA ภาพเขียน กึง่ ความจริงกึง่ ความฝันทีต่ แี ผ่เหตุการณ์ของตึกสูงระฟ้าสองตึก ตึกไครส์เลอร์ (Crysler Building) และตึกเอ็มไพร์สเตต (Empire State Building) นอนระทวย คูก่ นั อยูบ่ นเตียง ผ้าห่มยับและร่นไปอยูป่ ลายเตียง มีเศษกระดาษช�ำระทีใ่ ช้แล้ว ด้านซ้ายของภาพเขียนมีตกึ อาร์ซเี อ (RCA Building) หรือ 30 ร็อกกิเฟลเลอร์ พลาซ่า (30 Rockefeller Plaza) ท�ำตัวเหมือนนักสืบ เปิดประตูเข้ามา จับได้ คาหนังคาเขาว่าตึกไครส์เลอร์และตึกเอ็มไพร์สเตตมีความสัมพันธ์กนั หน้าต่าง บานใหญ่ ท�ำให้เรามองเห็นสิง่ ทีอ่ ยูข่ า้ งนอก เทพีเสรีภาพแขนขาดยืนท�ำหน้าเศร้า ตึกอื่นๆ ก�ำลังจ้องมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้อง ภาพวาดที่ติดอยู่ที่ผนัง เหนือเตียงคือภาพของที่อื่นที่ไม่ใช่มหานครนิวยอร์ก อาจเป็นเกาะโคนีย์ที่ มีประภาคาร แขนที่ขาดของเทพีเสรีภาพกลายเป็นโคมไฟ พรมที่พื้นเป็น รูประบบถนนแบบตารางและสวนสาธารณะเซ็นทรัล พาร์ก ในความเป็น จริงแล้วตึกไครส์เลอร์และตึกเอ็มไพร์สเตตถูกสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1930 ตึกทัง้ สองต่างเป็นคูแ่ ข่งกันในการเป็นตึกทีส่ งู ทีส่ ดุ ในนิวยอร์ก ตึกเอ็มไพร์สเตต เป็นผู้ชนะ เมื่อเพิ่มตึก 30 ร็อกกิเฟลเลอร์ พลาซ่า ซึ่งเป็นตึกศูนย์กลางของ ร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์ เข้าไปในภาพเขียนท�ำให้ภาพนี้เป็นภาพของยุคสมัย ใหม่ที่เกิดขึ้นในแมนแฮตตัน
11
ฟรีเซนดอร์ปได้รับรางวัล Ada Louise Huxtable Prize ในปี ค.ศ. 2018 ซึ่ง เป็นรางวัลส�ำหรับผู้หญิงที่สร้างผลงานที่มีคุณค่าให้กับวงการสถาปัตยกรรม Royal Institute of British Architects (RIBA) และ Architectural Association (AA) ยกย่องว่าฟรีเซนดอร์ปเป็นผู้ที่เปิดโลกของจินตนาการให้กับ สถาปัตยกรรม4 เธอคือส่วนส�ำคัญในหนังสือ Delirious New York เพราะเธอ เป็นคนที่วาดภาพแนวคิดเกี่ยวกับลัทธิแมนแฮตตัน จิตใต้ส�ำนึกที่อยู่เบื้องหลัง ของการสร้างมหานคร รวมถึงสถาปัตยกรรมทีเ่ กิดขึน้ หลังจากการอ่อนแรงของ สถาปัตยกรรมยุคใหม่ โดยในหนังสือมีภาพเขียนของฟรีเซนดอร์ปอีกหลาย ภาพ คือ Après l’amour (ค.ศ. 1975) และ Freud Unlimited (ค.ศ. 1976) เมื่องานเขียนของโคลฮาสรวมตัวกับภาพเขียนของฟรีเซนดอร์ป ซึ่งเป็นภาพที่ ปรากฏอยู่บนปกหนังสือเล่มนี้ในการตีพิมพ์ครั้งแรก ภาพของความคลุ้มคลั่ง จึงกระจ่างขึ้น อะไรที่เคยเป็นเรื่องยากและซับซ้อน เปลี่ยนสภาพเป็นความ ตื่นเต้นไปกับมุมมองใหม่ ท�ำให้เราเข้าใจว่ามหานครนิวยอร์กมีความพิเศษ เฉพาะตัวอย่างไร
Prehistory
ก่อนประวัติศาสตร์
30
31
แมนแฮตตัน: โรงละครแห่งความก้าวหน้า (พืน้ ทีข่ นาดเล็กทีย่ นื่ ออกไปตรงส่วนทางเข้า ของท่าเรือนิวยอร์กซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นเกาะโคนีย์)
PROGRAM แผนงาน “ค�ำถามแรกคือ ชนชาติใดเป็นชนชาติแรกของเกาะแมนแฮตตัน” “เคยใช่ แต่ตอนนี้ไม่ใช่” “เวลาผ่านไป 16 คริสต์ศตวรรษ แต่เราไม่พบร่องรอยของความเจริญรุ่งเรือง บนเกาะนี้เลย ตรงกันข้ามกับปัจจุบันที่เกาะนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเกี่ยวกับธุรกิจ การค้า ความฉลาดหลักแหลม และความร�่ำรวย” “เด็กคนป่า ปลอดจากเงื้อมือของคนผิวขาว ใช้ชีวิตในป่าไม้เขียวครึ้ม พายเรือ ไปตามหนองน�้ำ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง พื้นที่ธรรมชาติเหล่านี้ถูกคนแปลกหน้าเข้า มาท�ำให้เป็นเมือง ท�ำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า ก�ำจัดชนเผ่าพื้นถิ่นจนหมดสิ้น เหลือแต่ความทรงจ�ำ อารยธรรมจากตะวันออกได้มาถึงดินแดนตะวันตกแล้ว ป่าเขาของทวีปใหม่ได้กลายเป็นคริสตจักร” “ความป่าเถื่อนของอเมริกาเหนือถูกขัดเกลาด้วยความประณีตจากยุโรป” 1 หลังจากที่ลองผิดลองถูกมากว่า 200 ปี แมนแฮตตันตื่นขึ้นในช่วงกลางของ ศตวรรษที่ 19 เอกลักษณ์เริ่มชัดเจนขึ้นจนต้องเขียนอดีตขึ้นใหม่ เพื่อให้ เหมาะสมกับอนาคตที่จะเกิดขึ้น ข้อความที่ยกมาจากปี ค.ศ. 1848 ชัดเจนใน เจตนา แมนแฮตตันคือ โรงละครแห่งความก้าวหน้า เป็นเรือ่ งราวของตัวละคร ที่เน้นการท�ำลายล้างอย่างไม่ลดละ ความป่าเถื่อนต้องยอมแพ้และหมดสิ้นไป ความป่าเถือ่ นจะถูกขัดเกลาในอนาคต เป็นการแสดงทีไ่ ม่มวี นั จบ เรือ่ งราวซ�ำ้ ๆ วนกลับมาใหม่” ความระทึกใจอยู่ที่ความเข้มข้นของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการแสดง
PROJECT โครงการ “ชาวยุโรปไม่เคยให้ความส�ำคัญกับเมืองอัมสเตอร์ดมั ใหม่ (New Amsterdam) นอกจากเราจะสร้างเรื่องราวขึ้นมาใหม่ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องจริงแต่ท�ำเพื่อให้ ตรงกับนิยามของเมืองที่ชาวยุโรปสนใจ”2 โจล์แลงคือช่างแกะสลักภาพพิมพ์ ชาวฝรั่งเศสที่เผยแพร่ภาพพิมพ์จากมุมสูงของเมืองอัมสเตอร์ดัมใหม่ ภาพ ของเขาไม่มีรายละเอียดใดที่ตรงกับความเป็นจริงเลย เราอาจจะมองได้ว่า Prehistory
32
33
โจล์แลง (Jollain), เมืองอัมสเตอร์ดัมใหม่จากมุมสูง, 1672
Coney Island: The Technology of the Fantastic แสงจ้าส่องไปทั่ว ไม่มีเงาปรากฏอยู่ที่ใดเลย แมกซิม กอร์กี (Maxim Gorky), “ความน่าเบื่อหน่าย”
คนจนมองเห็นอะไรท่ามกลางแสงจันทร์ เจมส์ ฮันเนเกอร์ (James Huneker), “เมืองแห่งใหม่”
นรกคือดินแดนที่สร้างได้แย่มาก แมกซิม กอร์กี (Maxim Gorky), “ความน่าเบื่อหน่าย”
เกาะโคนีย์: เทคโนโลยีของสิ่งมหัศจรรย์
54
55
ที่ตั้งของเกาะโคนีย์ที่เปรียบเทียบกับต�ำแหน่งของแมนแฮตตัน ในช่วงปลายศตวรรษ ที่ 19 การสร้างสะพานและเทคโนโลยีของการเดินทางท�ำให้เกาะโคนีย์เป็นสถานที่ที่ คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เรามองเห็น แซนด์ดี้ ฮุก ที่ด้านซ้ายของเกาะซึ่งเป็นพื้นที่ หลบภัยของเหล่าอาชญากรทีม่ าจากนิวยอร์ก พืน้ ทีด่ า้ นขวาของเกาะเป็นโรงแรมหรูหรา แทรกด้วยสวนส�ำหรับพักผ่อนหย่อนใจทีม่ ลี กั ษณะเหมือนกับพรมอัคคาเดียน และพืน้ ที่ ตรงกลางเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ 3 แห่ง เกาะโคนีย์คือตัวอ่อนของแมนแฮตตัน
MODEL หุ่นจำ�ลอง “ณ ปัจจุบัน บนพื้นที่ที่เคยไร้ประโยชน์... กลับเต็มไปด้วยตึกและหอคอยสูง เสียดฟ้า ส่องประกายระยิบระยับ พระอาทิตย์ยามเช้าปรายตามองสิ่งเหล่านี้ เสมือนว่าเป็นผลงานของจิตรกร “ณ เวลากลางคืน แสงไฟล้านดวงผุดออกมาจากทุกอณูของเมือง ทุกจุด ทุก เส้น ทุกโค้ง รวมพลังกันสร้างทิวทัศน์ของเมืองที่สามารถมองเห็นได้จากระยะ ทาง 30 ไมล์ในทะเล เสมือนเป็นการต้อนรับเหล่านักเดินเรือกลับบ้าน”1 หรือ “เมื่อท้องฟ้ามืดลง ความมหัศจรรย์ของเมืองแห่งแสงไฟปรากฏตัวขึ้นจาก มหาสมุทรสู่ท้องฟ้า ดวงไฟสีแดงกว่าพันดวงผุดขึ้นท่ามกลางความมืด มอง เห็นเป็นรูปร่างของหอคอยที่อยู่ในปราสาท พระราชวังและวัด “ใยแมงมุมกระทบแสงเป็นสีทองอร่าม สานรวมกันในอากาศ ปลิว ละลายหาย ไป หลงรักในเงาของตัวเองที่อยู่ในน�้ำ “เหลือเชื่อเกินจะเข้าใจ สวยจนสุดจะพรรณนา เป็นประกายระยิบระยับ”2 เกาะโคนีย์ในช่วงปี ค.ศ. 1905: คนส่วนใหญ่พูดถึง “ความประทับใจที่มีต่อ เกาะโคนีย์” (ซึ่งในความเป็นจริงคือ ความสิ้นหวัง เป็นเพียงภาพลวงตาที่ผู้คน อยากจดจ�ำ) ที่ฟังแล้วเหมือนกับว่าคนเหล่านั้นก�ำลังพูดถึงเกาะแมนแฮตตัน เกาะทั้งสองมีลักษณะคล้ายกันจนอาจจะทดแทนกันได้ ในช่วงรอยต่อระหว่างศตวรรษที่ 19 และ 20 เกาะโคนีย์เป็นเสมือนสถานที่ บ่มเพาะเมล็ดพันธุข์ องแมนแฮตตัน เกาะโคนียเ์ ป็นสถานทีส่ ำ� หรับการทดลอง กลยุทธ์ต่างๆ ก่อนที่จะน�ำไปใช้กับแมนแฮตตัน เกาะโคนีย์คือแมนแฮตตันตอนที่ยังอยู่ในครรภ์
STRIP แคบและยาว ในปี ค.ศ. 1609 ฮัดสันค้นพบเกาะโคนียก์ อ่ นทีเ่ ขาจะค้นพบแมนแฮตตันเพียง วันเดียว เกาะโคนีย์เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นติ่งที่ยื่นออกไปทางปากอ่าวของ Coney Island: The Technology of the Fantastic
56
นิวยอร์ก “เกาะรูปร่างแคบและยาว ในฤดูร้อนหาดทรายเป็นสีทอง มีคลื่น ลมทะเลกระทบชายหาด มีลำ� ธารและผืนหญ้าเขียวขจี พืน้ ทีเ่ หล่านีถ้ กู ปกคลุม ด้วยหิมะในฤดูหนาว...” ชาวอินเดียนคานาร์ซี่ (Indian Canarsie) เป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณ คาบสมุทรนี้ตั้งชื่อพื้นที่นี้ว่านาริโอจช์ (Narrioch) มีความหมายว่า “ดินแดนที่ ไร้เงา” สะท้อนให้เห็นถึงปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติที่เกิดขึ้นบนเกาะนี้ ในปี ค.ศ. 1654 ชาวอินเดียนกัวเลาจช์ (Indian Guilaouch) แลกเปลี่ยน พื้นที่นี้กับปืน ดินปืน และลูกปัด เป็นการแลกเปลี่ยนที่คล้ายกับการซื้อขาย แมนแฮตตัน ดินแดนนี้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกอยู่หลายครั้งจนกระทั่งมีคนพบ ว่า มีกระต่ายอยู่ในพื้นที่นี้อย่างหนาแน่น (คนดัตช์เรียกกระต่ายว่า konijnen ออกเสียงว่าโคไนเนิน) ระหว่างปี ค.ศ. 1600 ถึง 1800 รูปร่างของเกาะโคนีย์เปลี่ยนไปเพราะการ ใช้งานของมนุษย์ และการเปลี่ยนรูปของทรายบนเกาะ จนกลายเป็นรูปร่างที่ เหมือนแมนแฮตตันขนาดเล็ก ในปี ค.ศ. 1750 มีการตัดคลองเพิม่ ท�ำให้พนื้ ทีท่ เี่ คยยืน่ เป็นติง่ ถูกตัดออกจาก แผ่นดินใหญ่ “เป็นการเชื่อมโยงกันครั้งสุดท้าย เกาะโคนีย์จึงถือก�ำเนิดขึ้น...” การเชื่อมต่อ
CONNECTION ปี ค.ศ. 1823 บริษัทโคนีย์ ไอส์แลนด์ บริดจ์สร้าง “การเชื่อมต่อระหว่าง แผ่นดินใหญ่กับเกาะขึ้นเป็นครั้งแรก”3 เกาะโคนีย์เชื่อมต่อกับแมนแฮตตัน อีกครั้ง ประชากรมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนเกาะโคนีย์หนาแน่นขึ้นเช่นเดียวกับ ประชากรกระต่าย เกาะโคนีย์เหมาะสมกับเป็นสถานที่พักตากอากาศของ ชาวแมนแฮตตัน ธรรมชาติที่มีอยู่บนเกาะนี้ช่วยลดความอ่อนล้าที่เกิดจาก อารยธรรมเมืองได้เป็นอย่างดี สถานทีพ่ กั ตากอากาศอยูไ่ ม่ไกลจากแมนแฮตตัน เป็นแหล่งรวมคนเมืองทีพ่ ร้อมจะหนีจากความวุน่ วายเพือ่ ไปปรับสมดุลของชีวติ เป็นครั้งคราว
57
การเชื่อมต่อนี้มีการวางแผนเป็นอย่างดีเพราะเส้นทางจากแผ่นดินใหญ่ข้าม ช่องแคบไปจนถึงสถานพักตากอากาศต้องเพียงพอที่จะรับจ�ำนวนของผู้มา เยือน แต่ตอ้ งไม่ยงิ่ ใหญ่เกินไปจนท�ำให้ผทู้ มี่ าพักผ่อนสูญเสียความ เป็นส่วนตัว
คนท�ำงานเท่านัน้ “เป็นครัง้ แรกของประวัตศิ าสตร์สวนสนุกทีเ่ ราจะมีสวนสนุก ที่เหมาะส�ำหรับทุกคนและทุกชนชั้น”14 เรย์โนลด์ออกแบบดรีมแลนด์ให้เป็นเรื่องราวเดียว โดยที่การเยี่ยมชมพื้นที่ แต่ละจุดต้องเป็นไปตามล�ำดับเพราะเรื่องราวของจุดแวะชมแรกจะมีผลต่อ พื้นที่ถัดไป ดรีมแลนด์ตั้งอยู่ในทะเล ไม่ใช่แค่ทะเลสาบแบบลูน่า พาร์ก จุดที่ตั้งของ ดรีมแลนด์อยู่ที่ปากน�้ำติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก การตั้งอยู่ในมหาสมุทร ช่วยกระตุ้นจินตนาการได้เป็นอย่างดี หากว่าลูน่า พาร์กตั้งอยู่บนดาวดวงอื่น ดรีมแลนด์จะต้องพาคนไปยังจินตนาการทีไ่ ม่เกีย่ วข้องกับโลกความเป็นจริง ซุม้ ทางเข้าของดรีมแลนด์อยู่ใต้เรือใบขนาดมหึมาที่ก�ำลังเดินทางไปในมหาสมุทร ทางเข้าบ่งบอกถึงการเดินทางสู่ “โลกใต้น�้ำ” : แอตแลนติส (Atlantis) มันคือกลยุทธ์ที่เรย์โนลดส์น�ำมาใช้ในการตัดดรีมแลนด์ให้ขาดจากโลกของ ความเป็นจริง นอกจากนั้นเรย์โนลดส์ยังท�ำให้โลกของเขาไม่มีสี (เหมือนกับ ทฤษฎีของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่) เพื่อให้เกิดความแตกต่างกับสวนสนุกอีก 2 แห่ง ดรีมแลนด์ปกคลุมด้วยหิมะสีขาวเสมือนว่าเป็นพื้นที่แห่งความบริสุทธิ์
CARTOGRAPHY การจัดผังบริเวณ เรย์โนลดส์วางผังบริเวณของดรีมแลนด์ด้วยการเรียงพื้นที่กิจกรรม 15 แห่ง ไว้รอบทะเลสาบน�้ำเค็ม โดยจัดผังบริเวณเป็นรูปเกือกม้าตามอิทธิพลแบบ โบซาร์ ทุกพื้นที่มีทางเดินเชื่อมต่อโดยที่ไม่มีขั้นบันไดเลย ท�ำให้คนสามารถ เดินไหลลื่นไปแต่ละพื้นที่ได้โดยไม่ต้องล�ำบาก “ทางเดินเป็นทางลาดเอียง ดรีมแลนด์เป็นสวนสนุกที่ออกแบบเพื่อไม่ให้เกิด การแออัดของผูค้ น ทีน่ สี่ ามารถต้อนรับนักท่องเทีย่ วได้ถงึ 250,000 คน โดยที่ ไม่ต้องกลัวว่าจะแออัดเกินไป” ระหว่างทางเดินมหัศจรรย์ (Wonderpavement) มีเด็กชายตัวเล็กขาย ป็อปคอร์นและถัว่ พวกเขาแต่งตัวเป็นปีศาจเมฟิสโตเฟเลสเพือ่ สร้างบรรยากาศ ต�ำนานโบราณให้กับดรีมแลนด์ สร้างโลกเหนือความเป็นจริงแบบศิลปะดาดา ทุกเช้ามารี เดรสเลอร์ (Marie Dressler) นักแสดงละครบรอดเวย์ชื่อดังผู้ซึ่ง Coney Island: The Technology of the Fantastic
80
1. ท่่าเรืือโครงสร้้างเหล็็ก 2. ท่่อสไลเดอร์์ยัักษ์์ที่่�เลื่่�อนลงไปใน ทะเลสาบน�้ำเค็ม 3. บอลรููมสำำ�หรัับเต้้นรำำ� 4. ลิิลลิิปููเตีีย เมืืองคนแคระ (Lilliputia) 5. อวสานปอมเปอีี (Fall of Pompeii) 6. เรืือดำำ�น้ำำ�� (Ride the Submarine) 7. ตู้้�อบทารก (Incubator) 8. วัันสิ้้�นโลก (End of the World) 9. โรงละครสััตว์์ (Circus) 10. การสร้้างโลก (Creation) 11. เครื่่�องบิินสำำ�รวจแมนแฮตตััน (Flight Over Manhattan) 12. ล่่องลำำ�คลองในเวนิิส (Canals of Venice) 13. ลััดเลาะท่่องสวิิตเซอร์์แลนด์์ (Coasting Through Switzerland) 14. ผจญเพลิิง (Fighting the Flames) 15. โรงน้ำำ��ชาแบบญี่่�ปุ่่�น (Japanese Teahouse) และ เรือเหาะ หมายเลข 9 ของ ซานโตส ดูมอนต์ (Santos Dumont Airship No.9) 16. รถไฟกบกระโดด (Leap Frog Railway) 17. หอคอยสััญญานไฟ (Beacon Tower)
81
ผังบริเวณของดรีมแลนด์
The Double Life of Utopia: The Skyscraper ไม่มหี นทางใดทีง่ า่ ยส�ำหรับการเดินทางจากโลก ไปยังดวงดาว... ข้อความที่อยู่บนเหรียญของผู้ชนะ, ปี ค.ศ. 1933
ในที่ สุ ด หอคอยบาเบลก็ ป รากฏให้ เ ห็ น เหล่าผู้กล้าร้องเพลงแห่งความหวังใหม่ พวก เขาก�ำลังปีนขึ้นไปบนยอดหอคอย ผู้ปกครอง (เมื อ งโอลิ ม ปั ส ) หนี ห ายไป ช่า งดูโง่เ ขลา เหล่ า มนุ ษ ยชาติ เ ข้ า ใจทุ ก อย่ า งและลงหลั ก ปักฐาน ณ สถานที่ที่เหมาะสม เริ่มชีวิตใหม่ ด้วยความเข้าใจ เจมส์ ฮันเนเกอร์ (James Huneker), เมืองแห่งใหม่
ชีวิตสองด้านของดินแดน ในอุดมคติ: ตึกสูงระฟ้า
124
พวกเราเอาสิ่ ง ที่ เ ราต้ อ งการมาจาก พวกคุณ และโยนสิ่งที่เราไม่ต้องการ ใส่หน้าพวกคุณ หินแต่ละก้อน เราต้องย้ายอาลัมบรา, เครมลิน และลูฟวร์ น�ำพระราชวัง เหล่ า นี้ ม าสร้ า งขึ้ น ใหม่ ที่ ริ ม แม่ น�้ ำ ฮัดสัน เบนจามิน เดอ แคสเซเรส (Benjamin de Caseres), Mirrors of New York”
ดูภาพประกอบสี หน้า
125
483
สภาพหลังจากความรัก (Apres l’amour) ภาพเขียนโดย มาเดลอง ฟรีเซนดอร์ป (Madelon Vreisendorp)
“มหานครในอนาคต: ใจกลางของโลกที่ดูประหลาดและคลุ้มคลั่ง หนาแน่นไปด้วย สิ่งก่อสร้างแนวตั้งและการเชื่อมต่อพื้นที่แนวนอน เมื่อนึกถึงปี ค.ศ. 1908... คงไปไกล มาก คงจะมีตึกสูงกว่า 1,000 ฟุต เกิดขึ้น: มหานครมีคนกว่าล้านคนเข้ามาท�ำธุรกิจใน 1 วัน เป็นที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในปี ค.ศ. 1930 จนถึงกับต้องเพิ่มพื้นที่ ทางเดิน ต้องมีถนนลอยฟ้า ต้องมีรถใต้ดนิ และมีรถยนต์วงิ่ บนดิน มีสะพานเชือ่ มระหว่าง ตึกสูง มีเรือเหาะทีจ่ ะพาเราไปเชือ่ มต่อกับพืน้ ทีอ่ นื่ ในโลก: คนรุน่ ลูกรุน่ หลานของเราจะ พัฒนามหานครอย่างไร (ตีพิมพ์โดย โมเสส คิง, ภาพประกอบโดย แฮรรี่ เอ็ม. พิทิท) The Double Life of Utopia: The Skyscraper
130
แทนที่ แต่สิ่งเหล่านั้นจะไม่มีผลกับโครงสร้างอาคารที่เป็นอยู่ ความไม่แน่นอนคือคุณลักษณะหนึ่งของเมือง หมายความว่าโครงการที่เกิด ขึ้นบนที่ต้ังใดที่ตั้งหนึ่งจะไม่สามารถประสบความส�ำเร็จได้หากมีวัตถุประสงค์ เพียงข้อเดียว ต่อจากนี้ไปพื้นที่ในมหานครต้องตอบโจทย์ - อย่างน้อยในเชิง ทฤษฎี - ของความหลากหลายของกิจกรรมที่คาดไม่ถึงและอาจผันผวนเป็น อย่างอื่นได้ ดังนั้นสถาปัตยกรรมไม่ใช่สิ่งที่จะคาดการณ์ได้เหมือนในอดีต เรา จึงไม่สามารถวางแผนทุกอย่างไว้ล่วงหน้าได้ เป็นไปไม่ได้ที่เราจะ “วางแผน” วัฒนธรรม “โครงการ” ทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์ในนิตยสาร ไลฟ์1 ในปี ค.ศ. 1909 โดยนักเขียน การ์ตูนเป็นผู้วาดโครงการนี้ขึ้นมา (ในขณะที่นิตยสารเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ยังเชือ่ มัน่ ในแนวคิดของโบซาร์อยู)่ แสดงให้เห็นว่า “ประชาชน” ทัว่ ไปยอมรับ ในศักยภาพของตึกสูงระฟ้ามากกว่าสถาปนิกเสียอีก บทสนทนาทีเ่ กิดขึน้ เกีย่ ว กับสถาปัตยกรรมในรูปแบบใหม่จึงไม่ได้รวมสถาปนิกอยู่ด้วย ข้อแก้ตัว
ALIBIS บทพิสูจน์ที่ถูกร่างขึ้นในปี ค.ศ. 1909 ท�ำให้ตึกสูงระฟ้าในแมนแฮตตันเป็น “สูตร” ของดินแดนในอุดมคติเพื่อน�ำไปใช้ในการสร้างพื้นที่ที่ซ้อนกันเป็น แนวตั้งบนที่ดินในมหานคร ที่ตั้งแต่ละต�ำแหน่งต่างมีจุดมุ่งหมายของกิจกรรมที่แตกต่างกัน - เป็นสิ่ง ที่สถาปนิกไม่สามารถควบคุมได้ – ตึกสูงระฟ้าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสม ส�ำหรับมหานครที่มีลักษณะการวางผังเมืองในแบบที่นักวางแผนไม่สามารถ คาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น (Unknowable Urbanism) ถึงแม้ว่าตึกสูง ระฟ้าจะมีลักษณะที่เป็นรูปทรงตัน แต่กลับเหมาะสมกับคุณสมบัติที่ไม่เสถียร ของมหานคร เพราะตึกสูงระฟ้าเป็นสถาปัตยกรรมที่สามารถรองรับการ เปลี่ยนแปลงของกิจกรรมได้อย่างไม่สิ้นสุด
131
ธาตุแท้ของตึกสูงระฟ้าเป็นสิง่ ทีท่ ำ� ลายตัวเอง การทีเ่ ราไม่สามารถคาดการณ์ถงึ กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่นักลงทุนรับไม่ได้ โครงการใหญ่ยักษ์ที่ พวกเขาอยากสร้างขึน้ บนระบบถนนแบบตารางของแมนแฮตตันกลายเป็นเรือ่ ง คลุมเครือ กลุ่มสถาปนิกและผู้รับเหมาก่อสร้างจึงสร้างข้อแก้ตัว 2 ข้อ เพื่อ The Frontier in the Sky
CAVE ถ้ำ� ในปี ค.ศ. 1908 นักธุรกิจชาวอเมริกันเดินทางไปบาร์เซโลนาเพื่อเจรจากับ อันตอนี กาวดี (Antoni Gaudi) เรื่องการออกแบบโรงแรมแกรนด์ (Grand Hotel) ในแมนแฮตตัน ในขณะนัน้ โครงการนีย้ งั ไม่มที ตี่ งั้ นักธุรกิจต้องการแค่ แนวคิดเริม่ ต้นกับภาพสเก็ตซ์ เพือ่ น�ำไปหาผูร้ ว่ มทุนก่อนทีจ่ ะตัดสินใจเรือ่ งทีต่ งั้ ของโรงแรม กาวดีไม่น่าจะรู้สถานการณ์ของลัทธิแมนแฮตตัน ส่วนนักธุรกิจ น่าจะมองเห็นความใกล้เคียงกันระหว่างโรคประสาทของกาวดี และความบ้า คลั่งของแมนแฮตตัน กาวดีเป็นชาวยุโรปทีต่ ดั ขาดตัวเองจากส่วนอืน่ ของโลก เขาเป็นเหมือนคนทีถ่ กู จองจ�ำอยู่ในถ�้ำของเพลโต เมื่อกาวดีรับฟังรายละเอียดที่นักธุรกิจต้องการ เขา ตกอยู่ในสภาพถูกบังคับให้สร้างโลกที่อยู่นอกถ�้ำ: แมนแฮตตันในอุดมคติ เขา สังเคราะห์วิธีการสร้างตึกสูงระฟ้าที่น�ำวิธีการผ่าตัดกลีบสมองมาใช้เป็นอุปมา อุปไมยในการสร้างอาคาร และน�ำเอาวิธีการกลายพันธุ์ของพื้นที่ภายในมาใช้ ในพื้นที่ทุกชั้นของอาคาร โรงแรมที่กาวดีออกแบบเป็นเหมือนก้อนหินงอกหินย้อย อาคารรูปทรงกรวย ซึ่งสามารถนับว่าเป็นหอคอย ได้ตั้งอยู่บนฐานหรือเกาะที่เชื่อมต่อกับเกาะอื่น ได้ด้วยสะพาน โรงแรมนี้ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว และแลดูก้าวร้าว16 สิง่ ทีก่ าวดีออกแบบคือ วิธกี ารสร้างตึกสูงระฟ้า พืน้ ทีข่ องแต่ละชัน้ เป็นพืน้ ทีข่ อง กิจกรรมทางสังคม แกนของตึกเป็นพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ที่แสงธรรมชาติ ส่องไม่ถึง ล้อมรอบด้วยห้องพักของโรงแรมซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนที่ติดกับภายนอก แกนกลางของอาคารโรงแรมแกรนด์เป็นพื้นที่ของภัตตาคารที่ซ้อนกันถึง 6 ร้าน ภัตตาคารแรกตกแต่งด้วยเรื่องราวเทวต�ำนานของยุโรปเป็นแนวคิดให้ กับรายการอาหารและดนตรีวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ที่มาสร้างบรรยากาศ ส่วนภัตตาคารอื่นมีเรื่องราวในการออกแบบของตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็น แนวทางของทวีปไหน เมื่อภัตตาคารทั้งหมดซ้อนรวมกันเราจะได้ผลลัพธ์เป็น โลก โรงละครและห้องจัดแสดงนิทรรศการซ้อนอยูบ่ นโลกของภัตตาคาร พืน้ ทีส่ ว่ น ยอดของโรงแรมเป็นพืน้ ทีข่ องการชมทิวทัศน์ทรี่ อเวลาทีเ่ ราจะเอาชนะแรงโน้ม ถ่วงของโลก The Double Life of Utopia: The Skyscraper
160
161
ภาพสเก็ตซ์โรงแรมแกรนด์โดยกาวดี เหมือนกับการผ่าตัดกลีบสมอง คือ พื้นที่ภายใน ของอาคารถูกตัดขาดจากโลกที่อยู่ภายนอกโดยที่มีห้องนอนล้อมรอบอยู่ที่วงนอกของ อาคาร การจัดพื้นที่ในโรงแรมนี้เป็นไปตามบทพิสูจน์ของปี ค.ศ. 1909 พื้นที่แกนกลาง ของอาคารซ้อนกันเป็นชัน้ โดยแต่ละชัน้ มีแนวทางการออกแบบทีไ่ ม่เกีย่ วข้องกัน เป็นการ ตัดขาดกันของพื้นที่แนวตั้ง แต่ละชั้นมีกิจกรรมของตนเองโดยที่ไม่ส่งผลกระทบกับ โครงสร้างของอาคาร The Frontier in the Sky
The Lives of a Block: The Waldorf-Astoria Hotel and the Empire State Building การวางแผนชีวิตที่ดี จะน�ำไปสู่ประสิทธิผลที่สูงสุด พอล สตาร์เรตต์, เส้นขอบฟ้าที่ก�ำลังเปลี่ยนแปลง
ชีวิตของหนึ่งช่วงถนน: โรงแรมวอลดอร์ฟ-แอสโทเรีย และตึกเอ็มไพร์สเตต
200
201
ตึกโรงแรมวอลดอร์ฟ-แอสโทเรียชุดแรก: ส่วนของวอลดอร์ฟสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1893 และส่วนของแอสโทเรียซึ่งเป็นส่วนที่อยู่สูงขึ้นไปสร้างขึ้นในอีก 3 ปีต่อมา - “เป็นการ เปลี่ยนแปลงของอารยธรรมเมืองในอเมริกาที่เห็นได้ชัด”
“ความฝันที่ได้รับการวางแผนไว้เป็นอย่างดี...” The Double Life of Utopia: The Skyscraper
214
เปลือกภายนอกของอาคารเชือ่ มต่อกับโครงสร้าง เมือ่ โครงสร้างเหล็กถูกสร้าง เพิ่มขึ้นในแต่ละชั้น รางรถไฟขนาดย่อส่วนถูกสร้างขึ้น รถขนของแล่นไปตาม รางรถไฟ ณ สถานทีก่ อ่ สร้างจะมีตารางการท�ำงาน โดยทุกเช้าช่างก่อสร้างทุก คนจะรับทราบถึงความก้าวหน้าในทุกนาทีของการท�ำงาน เช่น วันนี้ตึกจะถูก สร้างสูงขึ้นไปอีกเท่าไหร่จากจ�ำนวนของคนงานที่ขึ้นลิฟต์ไป เป็นต้น แต่ละชั้น ต้องมีหัวหน้าผู้ควบคุมรถไฟเพื่อส่งต่อวัสดุ “ด้านล่างที่ระดับถนน คนขับรถบรรทุกท�ำงานในรูปแบบเดียวกัน พวกเขารู้ ตารางเวลาที่ชัดเจนว่าในแต่ละวันต้องท�ำอะไรบ้าง พวกเขารู้ว่าต้องขนคาน เหล็ก อิฐ กรอบหน้าต่าง หรือหินก้อนโตมาที่ตึกเอ็มไพร์สเตต ทุกอย่างได้ถูก ค�ำนวณไว้หมดแล้วไม่วา่ จะเป็นเวลาทีอ่ อกจากโรงเก็บวัสดุ เวลาทีข่ บั มาบนถนน และเวลาที่มาถึงสถานที่ก่อสร้าง ไม่มีใครต้องรอใคร ทุกอย่างมีระบบที่ชัดเจน “ทีมงานที่สมบูรณ์แบบเป็นผู้สร้างตึกเอ็มไพร์สเตต” ตึกเอ็มไพร์สเตตเป็นผลผลิตของกระบวนการ เป็นแค่เปลือกนอกของอาคาร ที่ไม่มีเนื้อหาอะไรอยู่ข้างใน “ผิวของตึกเอ็มไพร์สเตตกระจ่าง งามบริสุทธิ์ ลูกหลานของเราต้องตะลึงใน ความงาม ลักษณะภายนอกของอาคารเกิดจากการใช้เหล็กกล้าไร้สนิมที่ผสม โครเมี่ยมและนิกเกิ้ลเป็นวัสดุปิดผิว เป็นวัสดุที่ไม่มีวันมัวหมอง และแวววาว อยู่เสมอ “เงาทีเ่ กิดจากกรอบหน้าต่างทีม่ ขี นาดลึกเกินไป ท�ำให้ไม่สวยงาม ตึกเอ็มไพร์สเตต หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสิ่งแบบนี้ด้วยการใช้กรอบบานหน้าต่างที่บาง และฝังลงใน ผนังเพือ่ ไม่ให้เกิดเงามารบกวนรูปลักษณ์ของอาคาร...” เมือ่ อาคารนีส้ ร้างเสร็จ ผู้คนแหงนหน้าขึ้นมองตึกสูงระฟ้านี้และพบว่าตึกนี้จะไม่หายไป “ตึกเอ็มไพร์สเตตเหมือนลอยอยู่ หอคอยที่ถูกเนรมิตขึ้นกลางนิวยอร์ก สูง ตระหง่าน สวยงาม เรียบง่าย แจ่มแจ้งในแบบที่เราไม่เคยจินตนาการมาก่อน หากเรามองย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น เราจะพบว่ามันคือความฝันที่ได้รับการ วางแผนไว้เป็นอย่างดี”36 รูปแบบของความฝันและคุณลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบอัตโนมัติท�ำให้ ตึกเอ็มไพร์สเตตไม่คู่ควรกับการเป็นอัตอนุสาวรีย์ที่เกิดจากวัฒนธรรมที่
215
The Lives of a Block
How Perfect Perfection Can Be: The Creation of Rockefeller Center ผมรู้สึกอารมณ์อ่อนไหวทุกครั้งที่เห็น ความสมบูรณ์ของความสมบูรณ์แบบ เฟรด แอสแตร์ (Fred Astaire), ภาพยนตร์เรื่องหมวกทรงสูง (Top Hat)
ความสมบูรณ์ ของความสมบูรณ์แบบ: การสร้าง ร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์
244
ดูภาพประกอบสี หน้า
245
485
อาชญากรรมที่อ้ือฉาว (Flagrant delit) ภาพเขียนโดย มาเดอลอง ฟรีเซนดอร์ป (Madelon Vriesendorp)
The Talents of Raymond Hood สถาปัตยกรรมคือธุรกิจที่ผลิต ที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม กับกิจกรรมของมนุษย์ ผมชอบรูปทรงกลม บททดสอบ ของความฉลาดหลักแหลมขั้นสูง คือการที่คนหนึ่งคนสามารถ มีความคิดที่ตรงกันข้ามกันอยู่ในใจ แต่ด�ำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ เอฟ. สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ (F. Scott Fitzgerald), หนังสือรวบรวมเรื่องสั้น The Crack-Up
พรสวรรค์ของ เรย์มอนด์ ฮูด
246
247
เรย์มอนด์ ฮูด
PARADOX ความขัดแย้ง แก่นแท้ของร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์ (Rockefeller Center) - ผลลัพธ์ชนิ้ แรก ของแมนแฮตตันที่สมบูรณ์แบบ - คือ ความขัดแย้งที่ซับซ้อน แมนแฮตตัน เท่านั้นที่จะแก้ปมของความขัดแย้งนี้ได้ “ร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์เป็นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่และมีความแออัดมากที่สุด รวมทั้งเป็นตึกที่พื้นที่ภายในสามารถรับแสงธรรมชาติให้ได้มากที่สุด” “การวางแผนทั้งหมด... ควรพิจารณาจากแนวคิดการออกแบบ ‘พื้นที่เชิง พาณิชย์ที่เน้นความสวยงามเท่าเทียมกับการพัฒนาพื้นที่ส�ำหรับการสร้าง รายได้สูงสุด”16 ร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์คือ โครงการที่รวบรวมเอาสิ่งที่ไม่เข้าพวกมาไว้ในที่ เดียวกัน โครงการนีเ้ ป็นการรวมตัวกันของความเชีย่ วชาญหลากหลายสาขาเพือ่ สร้างองค์ประกอบใหม่ให้กับสถาปัตยกรรม เรย์มอนด์ ฮูด กล่าวว่า “เราคง คาดเดาถึงจ�ำนวนบุคลากรที่จะมาร่วมกันแก้ปัญหาของความซับซ้อนนี้ไม่ได้ บางคนทีไ่ ม่ได้เข้ามาช่วยเราแบบเป็นทางการ แต่กน็ ำ� เอาสิง่ เหล่านีก้ ลับไปให้คดิ ก็มี สถาปนิก, ผู้รับเหมาก่อสร้าง, วิศวกร, ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์, นักเศรษฐศาสตร์ และนักกฎหมายต่างรวมตัวกันเพื่อใช้ประสบการณ์ในการ สร้างโครงการนี้ บางคนก็ใช้จินตนาการ”17 ร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์เป็นผลงานชิ้นเอกที่ไม่มีอัจฉริยะผู้ใดผู้หนึ่งเป็น คนสร้าง ไม่มีการระบุว่าใครเป็นผู้ออกแบบร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์นี้ ไม่มีใครเป็น เจ้าของแนวคิดหรือการออกแบบรูปทรงของอาคาร ดังนั้นร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็ น เตอร์ จึ ง ถู ก ตี ค วามในมุ ม มองของทฤษฎี ท างสถาปั ต ยกรรมว่ า เป็ น สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นจากการประนีประนอม นับว่าเป็นตัวอย่างแรกของ “สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคณะกรรมการ” สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในแมนแฮตตันไม่สามารถตัดสินจากมุมมองทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์สถาปัตยกรรมตามแบบแผนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ ถ้าหากเรา ท�ำเช่นนั้นการตีความจะประหลาดที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมา ดังนั้นการตีความ ว่าร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์เป็นสถาปัตยกรรมของการประนีประนอมจึงเป็น เรื่องที่ใช้ไม่ได้ How Perfect Perfection Can Be: The Creation of Rockefeller Center
274
275
เบนจามิน วิสต้าร์ มอร์ริส (Benjamin Wistar Morris) กับแนวทางการออกแบบจัตุรัส เมโทรโพลิแทนในปี ค.ศ. 1928 บนพื้นที่ตั้งของร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์ในปัจจุบัน แกนจากถนนล�ำดับที่ 5 น�ำเข้าสูจ่ ตั รุ สั ด้านหน้าของเมโทรโพลิแทน โอเปร่า ส่วนทางเข้า จากถนนล�ำดับที่ 49 และ 50 มุ่งหน้าสู่หอคอย 2 แท่งที่อยู่ด้านหน้า เกิดสถานการณ์ที่ กลืนไม่เข้าคายไม่ออกระหว่างพืน้ ทีข่ องกิจกรรมทางวัฒนธรรมกับโครงการทีก่ ารแสวงหา ผู้ร่วมลงทุนเชิงธุรกิจ ส่งผลให้พื้นที่ของส�ำนักงานถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่ที่ล้อมด้วย ก�ำแพงเสมือนว่าเป็น “พระราชวังต้องห้าม” มีตึกสูงระฟ้า 4 ตึกตั้งตระหง่านทั้ง 4 มุม ของพืน้ ทีเ่ พือ่ เป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมชัน้ สูง มีพนื้ ทีพ่ ลาซ่าอยูต่ รงกลางของโครงการ และมีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกเช่น สวนบนหลังคา, สะพานส�ำหรับข้ามถนนล�ำดับที่ 49 และ 50 เพือ่ เชือ่ มต่อกับเครือข่ายทางเดินลอยฟ้า และทางเดินบนชัน้ ที่ 2 ของโครงการ สิ่งที่เกิดขึ้นจะสอดคล้องกับโครงการต่อต้านความแออัดที่คอร์เบตต์เป็นผู้ริเริ่ม All the Rockefeller Centers
“การพัฒนาและออกแบบโครงการเมโทรโพลิแทน สแควร์” โมเดลที่มองจากทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือแสดงให้เห็นรูปด้านของตึกสูงสามตึก และอุโมงค์ทางเข้าของรถยนต์ที่ อยู่ใต้ทางคนเดิน ณ ที่ตั้งที่เป็นร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์ในปัจจุบัน How Perfect Perfection Can Be: The Creation of Rockefeller Center
288
ดูภาพประกอบสี หน้า
487
ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 19 ถึง 23 ธันวาคม ค.ศ. 1929 วอลเทอร์ คิลแฮม จูเนียร์ (Walter Kilham, Jr.) ผูช้ ว่ ยของฮูดออกแบบร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์ขนึ้ มาถึง 8 รูปแบบ โดยแต่ละรูปแบบเป็นแผนภาพสามมิติที่แสดงให้เห็นกรอบด้านนอกของอาคารใน โครงการ แบบล�ำดับที่ 0 ออกแบบขึ้นในวันที่ 19 ธันวาคม มีส่วนคล้ายกับโครงการที่ คอร์เบตต์เคยออกแบบเอาไว้ “เป็นการส่วนตัว” ตรงที่แบบนี้น�ำเสนอเส้นทางคนเดินที่ ยกระดับขึ้นเพื่อท�ำการเชื่อมต่อพื้นที่ทั้งสามช่วงตึก อาคารตรงกลางมีขนาดสูงและยาว เชือ่ มต่อด้วยตึกสูงระฟ้าทัง้ 2 ด้าน แบบล�ำดับที่ 0 นีแ้ สดงให้เห็นถึงแนวคิดในการสร้าง สถาปัตยกรรมแบบ “แผ่นแนวนอน” ซึ่งถูกมองว่าเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมกับ “การ ทวีคณ ู ความสูง” ทีเ่ คยเกิดขึน้ มาก่อน รูปทรงนีเ้ ป็นจุดจบของตึกสูงระฟ้าแบบแมนแฮตตัน ฮูดกล่าวว่ารูปทรงที่เป็นแผ่นราบในแนวนอนเกิดขึ้นจากตรรกะเพียงอย่างเดียวคือ ต้องการให้แสงธรรมชาติและลมผ่านเข้าไปในอาคารให้ได้มากที่สุด ตึกที่ขนาบอยู่ริม อีก 2 ตึกถูกออกแบบให้เป็น“ห้างสรรพสินค้า” ที่หันหน้าเข้าสู่ตึกสูงที่ตั้งอยู่ตรงกลาง โดยส่วนทีห่ นั หน้าเข้าสูต่ กึ สูงระฟ้าจะมีการออกแบบระเบียงส�ำหรับมหานครทีย่ าวตลอด ตัวตึก ระเบียงเชื่อมต่อกับพื้นที่ของตึกสูงที่อยู่ตรงกลางได้ด้วยสะพาน 2 สะพาน พื้นที่ ทีอ่ ยูต่ ดิ กับระเบียงทางเดินเป็นร้านค้าทัง้ หมด โถงลิฟต์จะอยูท่ สี่ ว่ นปลายของตึกสูงระฟ้า และเชื่อมต่อกันด้วยทางเดินภายในอาคาร
289
การพัฒนาการออกแบบในล�ำดับต่อไป เป็นการปรับให้เกิดความแตกต่างกับแบบล�ำดับ ที่ 0 โดยมีการจัดต�ำแหน่งของตึกสูงขึน้ ใหม่ มีการสร้างสะพานคนละต�ำแหน่ง และสร้าง เครือข่ายทางเดินยกระดับที่แตกต่างกัน All the Rockefeller Centers
Radio City Music Hall: The Fun Never Sets เรดิโอ ซิตี้ มิวสิก ฮอลล์: ความสนุกที่ไม่เคยหยุด โฆษณา
เรดิโอ ซิตี้ มิวสิก ฮอลล์: ความสนุกที่ไม่เคยหยุด
318
เหล่าผูแ้ สวงหาความบันเทิงทีเ่ มโทรโพลิแทน รีสอร์ทก�ำลังมองเห็นพระอาทิตย์ตกดินใน โรงละคร: “การมาเยือนเรดิโอ ซิตี้ มิวสิก ฮอลล์เพียงครั้งเดียวจะท�ำให้คุณรู้สึกดีเยี่ยม เหมือนกับการพักผ่อนในชนบทถึงหนึ่งเดือน”
319
DREAM ความฝัน “ผมไม่ได้มคี วามคิด แต่ผมมีความฝัน ผมเชือ่ มัน่ ในการสร้างฝัน ภาพของเรดิโอ ซิตี้ มิวสิก ฮอลล์ (Radio City Music Hall) ที่ปรากฏขึ้นในใจของผมเป็นภาพ ที่สมบูรณ์ และสามารถใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยมก่อนที่สถาปนิกและศิลปินจะ เริ่มจรดปากกาลงบนกระดาษเสียอีก... ”28 แมนแฮตตันที่แออัดไปด้วยทุกอย่าง ร็อกซี่ (Roxy) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรดิโอ ซิตี้ มิวสิก ฮอลล์น�ำเอารหัสลับทางศาสนาจากคัมภีร์เล่มสุดท้ายมาใช้เป็น แรงบันดาลใจในการเนรมิตโรงละครขึ้นมากลายเป็นเรื่องที่เหมาะสม
EXPERT เชี่ยวชาญ ร็อกซี่ มีชื่อจริงว่า แซมมูเอล ลิโอเนล โรธาเฟล (Samuel Lionel Rothafel) มาจากเมืองสติลวอเทอร์ รัฐมิเนโซต้า เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญมือหนึ่งของวงการ บันเทิงในนิวยอร์กช่วง 1920s ซึ่งเป็นช่วงที่นิวยอร์กเริ่มออกอาการฮิสทีเรีย (Hysteria) หรือโรคความผิดปกติของบุคลิกภาพ หลังจากที่ จอห์น ดี. ร็อกกิเฟลเลอร์ลม้ เลิกความคิดทีจ่ ะสร้างโรงละครเมโทรโพลิแทน โอเปร่า เขา ซื้อตัวร็อกซี่จากบริษัทพาราเมาต์ ร็อกซี่ได้รับอิสระในการเนรมิต “สถานที่ที่ เชิดหน้าชูตาของชาติ” ให้เกิดขึ้นที่ร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์
NEW YORK - MOSCOW นิวยอร์ก – มอสโคว การลงทุนครัง้ นี้ – “เป็นการผจญภัยของวงการละครทีย่ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ เท่าทีเ่ ราเคย พบเห็นมา” – ร็อกซี่คาดหวังอะไรจากคณะกรรมการออกแบบสถาปัตยกรรม ของโครงการนี้ไม่ได้ พวกสถาปนิกต่างก็อยากให้โครงการนี้ดูเขร่งขรึม และ เรียบง่ายแบบสมัยใหม่ คณะกรรมการพยายามโน้มน้าวให้ร็อกซี่เดินทางไป ศึกษาดูงานที่ยุโรปพร้อมกับพวกเขา เพราะอยากให้ร็อกซี่ไปเปิดหูเปิดตากับ การสร้างโรงละครในรูปแบบของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ฤดูร้อนปี ค.ศ. 1931: ร็อกซี่ ผู้เชี่ยวชาญในวงการบันเทิง, สถาปนิก-นักธุรกิจ 2 คนคือ แฮร์ริสัน และเรนฮาร์ด รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคเดินทางข้าม มหาสมุทรแอตแลนติก How Perfect Perfection Can Be: The Creation of Rockefeller Center
320
การเดินทางครั้งนี้ท�ำให้ร็อกซี่ต่อต้านสถาปนิกในยุโรป ร็อกซี่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการสร้างภาพลวงตาส�ำหรับประชาชนของมหานคร ส่วนสถาปนิกเป็นพวก เจ้าระเบียบ และไม่ใส่ใจกับวงการบันเทิงที่เป็นโลกของร็อกซี่เลย ร็อกซี่เบื่อฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, เยอรมันนี และฮอลแลนด์ พวกสถาปนิกยัง บังคับให้ร็อกซี่นั่งรถไฟไปมอสโคว เพื่อหาประสบการณ์ตรงกับคลับและโรง ละครของกลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่สร้างขึ้นในช่วงของ 1920s การเปิดตัว
ANNUNCIATION ระหว่างที่ร็อกซี่ก�ำลังเดินทางกลับนิวยอร์ก ขณะที่อยู่กลางมหาสมุทร ร็อกซี่ที่ ก�ำลังซึมเศร้าก็เกิดมองเห็นทางออก ร็อกซีม่ องดูพระอาทิตย์ตกดิน เขาตกผลึก แนวคิดของ “การเปิดตัว” โรงละคร: ร็อกซีอ่ ยากท�ำให้เกิดช่วงเวลาพระอาทิตย์ ตกลับขอบฟ้าในโรงละคร (นิตยสารฟอร์จูนบันทึกวันที่ของการเดินทางนี้ผิด ไป ช้ากว่าที่เกิดขึ้นจริงโดยบันทึกว่าเป็นหนึ่งสัปดาห์ก่อนพิธีเปิดของโรงละคร ร็อกซี่จึงเหมือนเปิดตัวย้อนหลัง ช้าเกินไปแต่ก็ยังมีความหมาย”29 เมื่อร็อก ซี่เดินทางกลับมาถึงนิวยอร์ก ความคิดที่ร็อกซี่ใฝ่ฝันเอาไว้ก็เหลือแค่รอคอย สถาปนิก และนักออกแบบตกแต่งภายในท�ำให้ฝันนั้นเป็นจริง ร็อกซีย่ นื ยันตัง้ แต่ตน้ ว่าเขาอยากให้ความคิดของเขาเป็นจริงแบบตรงไปตรงมา แนวคิดที่จะสร้างพระอาทิตย์ตกเกิดขึ้นได้ในเรดิโอ ซิตี้ มิวสิก ฮอลล์ ที่มีทั้ง ผังพื้นและภาพตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปปั้นครึ่งวงกลมหลายลูกติดตั้งที่ บริเวณเวทีและหายลับตาไปหลังฉาก สร้างให้เกิดพื้นที่ที่เหมือนกับครึ่งหนึ่ง ของโลก ดวงอาทิตย์ตกขอบฟ้าหายลับตาไป “หลังแนวม่านที่ท�ำขึ้นอย่างสวยงาม”30 ผ้าม่านของเวทีการแสดงท�ำจากผ้าใยสังเคราะห์ที่สามารถสะท้อนกลับแสง ไฟที่ส่องมาได้เหมือนกับแสงจากดวงอาทิตย์ “ล�ำแสงอันทรงพลัง” ที่สะท้อน จากผ้าม่าน ส่องไปกระทบกับซุ้มโค้งที่ท�ำจากปูนปั้น และส่องไปทั้งพื้นที่ของ การแสดงในโรงละคร ซุ้มโค้งปูนปั้นปิดผิวด้วยทอง ท�ำประกายกับแสงสีม่วง ของดวงอาทิตย์ที่ก�ำลังจะลับขอบฟ้า แสงยังตกกระทบบนผ้าก�ำมะหยี่ที่ร็อกซี่ ยืนยันว่าต้องใช้เป็นผ้าบุที่นั่งชมการแสดงทั้งหมด
321
ในขณะที่การแสดงพระอาทิตย์ตกจบลง แสงไฟในโรงละครที่ถูกหรี่ไว้ตลอด การแสดงก็ถูกเปิดขึ้นระหว่างที่พักการแสดง และเปิดสว่างหลังจากที่การ Radio City Music Hall: The Fun Never Sets
Kremlin on Fifth Avenue
พระราชวังเครมลิน ณ ถนนลำ�ดับที่ 5
336
ภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือของริเวร่าในตึกอาร์ซีเอที่ยังเขียนไม่เสร็จ เฉียงจากด้านซ้ายล่างไปขวาบน: จักรวาลที่มองเห็นผ่านกล้องส่องทางไกล เฉียงขนาน ไปด้านบน: เชือ้ แบคทีเรียทีม่ องเห็นจากกล้องจุลทรรศน์ ด้านซ้ายบน: “สงครามสารเคมี และกองทัพทหารทีใ่ ส่หน้ากากแต่งตัวคล้ายทหารในกองทัพนาซี” ในปลอกโลหะ: “การ เสือ่ มสภาพและความบันเทิงใจของคนรวยท่ามกลางความย�ำ่ แย่ของกรรมกร” ตรงกลาง ของจิตรกรรมฝาผนังมองดูว่าเป็นอุดมคติที่ขัดแย้งกัน “มนุษย์คือผู้ควบคุมสัญญาณ ชีพด้วยเครื่องจักร” ด้านขวาบน: “มองเห็นโดยที่ไม่ได้เลอะเลือนหรือจินตนาการ... กองทัพประชาชนชาวโซเวียต... ก�ำลังเดินขบวนเพือ่ การจัดการสังคมแบบใหม่ทเี่ ชือ่ มัน่ ใน วัตถุนิยม... ” ส่วนด้านข้างของกลางภาพ: เลนินและข้อตกลงระหว่างทหาร, เกษตรกร ผิวสี และกรรมกรผิวขาว “การโจมตีภาพเหมือนของเลนินเป็นเพียงค�ำแก้ตวั ... ในความ เป็นจริงแล้วชนชั้นกลางเกลียดชังภาพจิตรกรรมฝาผนังของริเวร่า...” (ริเวร่า, ภาพเหมือนของอเมริกา – Portrait of America)
337
MOSCOW มอสโคว ในปี ค.ศ. 1927 ดิเอโก ริเวร่า (Diego Rivera) จิตรกรผู้เขียนภาพจิตรกรรม ฝาผนังทีม่ ชี อื่ เสียง “สมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์, ผูแ้ ทนของประเทศเม็กซิโก ในคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ, ตัวแทนของสหพันธ์เกษตรกรชาว เม็กซิกนั , เลขาธิการสหพันธ์ตอ่ ต้านจักรวรรดินยิ ม, บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เอล ลิเบอร์ตาดอร์ (El Libertador)” เดินทางไปมอสโควเพื่อเป็นตัวแทนของ “กรรมกรและเกษตรกร” ที่ได้รับค�ำเชิญให้เข้าร่วมการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของการปฏิวัติเดือนตุลาคม ที่มีชื่อเป็นทางการว่าการปฏิวัติสังคมนิยม แห่งเดือนตุลาคมอันยิ่งใหญ่ (October Revolution) เขายืนอยู่บนสุสานของเลนิน เฝ้ามองขบวนแห่ “ด้วยสายตาที่หิวกระหาย เขาก�ำสมุดจดอยู่ในมือแต่ก็ไม่ได้วาดอะไรลงไป เขาบันทึกเหตุการณ์ทั้งหมด ลงในสมอง” ศิลปินหัวรุนแรงบันทึกภาพเหตุการณ์เสมือนว่าเป็นฉากการแสดง: “ประชาชน หลายล้ า นคนตรากตร� ำ มารวมกั น ที่ ม อสโควเพื่ อ การฉลองครั้ ง ยิ่ ง ใหญ่ . .. มหาสมุทรของป้ายสีแดงเข้ม ทหารม้าเคลื่อนตัวไปกับขบวนแห่... รถบรรทุก เต็มไปด้วยกองทัพทหารและปืนไรเฟิล... ทหารราบเดินขบวนด้วยความพร้อม เพรียง เรียงแถวกันแน่นเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส... ขบวนของประชาชนหญิงและ ชาย ถือป้ายขนาดใหญ่ เดินขบวนไปร้องเพลงไป ทั้งวันและทั้งคืน ณ จัตุรัส กลางเมืองทีย่ งิ่ ใหญ่” ล้วนเป็นความประทับใจทีร่ เิ วร่าบันทึกไว้ “ด้วยความหวัง ว่าวันหนึ่งเขาจะเป็นผู้ที่เขียนภาพบนก�ำแพงรัสเซีย” ชีวประวัตขิ องดิเอโก ริเวร่าบันทึกเอาไว้วา่ “ริเวร่าไม่ได้เข้าใจการปฏิวตั ริ สั เซีย ในเชิงเหตุและผล - ศิลปินหัวรุนแรงทีเ่ อาศิลปะมาปะปนกับการเป็นปัญญาชน มักจะจบที่การพันธนาการตัวเอง การเฉลิมฉลองในวันนั้นส่งผลต่อจิตใจของ ริเวร่า มันท�ำให้เขารู้สึกได้ถึงความเป็นเอกภาพของความคิด และความรู้สึก เขาเชื่อว่าศิลปะสามารถบันทึกสิ่งนี้เอาไว้ได้”36
1927 ค.ศ. 1927 ปีนี้เป็นปีที่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มศิลปินชาวรัสเซียนหัวใหม่กับสหภาพโซเวียตมาถึงจุดแตกหัก: พวกศิลปินหัวใหม่ถูกกล่าวหาว่าเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ How Perfect Perfection Can Be: The Creation of Rockefeller Center
338
สร้างแต่สิ่งที่ไร้ประโยชน์ รัฐบาลโซเวียตออกมาประกาศถึงหลักการสร้างงาน ศิลปะว่าควรจะเป็นสิ่งที่สร้างพลังและแรงบันดาลใจให้กับประชาชน ริเวร่าเป็นหนึง่ ศิลปินทีม่ พี รสวรรค์ในการเขียนภาพทีส่ ามารถโน้มน้าวความรูส้ กึ ของคน หลังจากที่ได้ฟังบทสัมภาษณ์ของริเวร่า หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ ของพรรคคอมมิวนิสต์นานาชาติได้โจมตีกลุ่มหัวใหม่ของรัสเซียโดยหยิบยืม ค�ำพูดของจิตรกรชาวเม็กซิกันผู้นี้ไปใช้ “ช่องว่างระหว่างการแสดงออกในเชิง ศิลปะชั้นสูงและรสนิยมของคนทั่วไปจะสามารถเชื่อมต่อกันด้วยการใช้ศิลปะ ศิลปะจะช่วยพัฒนาวัฒนธรรมของคนเพื่อให้คนเหล่านี้มีคุณภาพพอที่จะ ซาบซึ้งในศิลปะนั้นได้ ฟังดูอาจเหมือนกับการบังคับให้คนหันมามองศิลปะ แต่เรามองว่าเป็นการเริ่มต้นในการกระชับมิตรระหว่างคนทั่วไปและศิลปะ เส้นทางนี้ง่ายดาย แค่ วาด! วาดจิตรกรรมฝาผนังในสโมสรต่างๆ และอาคาร สาธารณะทั่วไป”37 ริเวร่าต�ำหนิเพื่อนศิลปินหัวใหม่ว่า “พวกเขาควรสร้างงานศิลปะที่ง่ายและ ตรงไปตรงมา ศิลปะควรโปร่งใสเหมือนกับแก้วคริสตัล แข็งแกร่งเหมือน เหล็กกล้า เป็นกลุ่มก้อนเหมือนแท่งคอนกรีต ซึ่งเป็นองค์ประกอบ 3 อย่าง ของสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ ณ จุดที่เรามีประวัติศาสตร์ใหม่ของโลกนี้”38 งานศิลปะของริเวร่าเกี่ยวกับระบบสังคมนิยมอย่างแท้จริงและเป็นตัวอย่างที่ เหมาะสมกับสิง่ ทีร่ ฐั บาลโซเวียตก�ำลังมองหาเพือ่ น�ำมาใช้เป็นต้นแบบของศิลปะ ที่พวกเขาคิดว่าถูกต้อง ริเวร่าอยู่ที่เมืองมอสโควได้ประมาณหนึ่งเดือน เขาได้รับเชิญให้เขียนภาพ เหมือนของสตาลิน เขาเซ็นสัญญากับลูนาชาร์สกี้ (Lunacharsky) ผูอ้ ำ� นวยการ ด้านศิลปะในการเขียนภาพบนฝาผนังสโมสรของกองทัพแดง และ “เพือ่ เตรียม การส�ำหรับห้องสมุด วี.ไอ.เลนิน ซึ่งเป็นห้องสมุดแห่งใหม่ที่ก�ำลังก่อสร้างใน มอสโคว” เกิดคลื่นความอิจฉาจากกลุ่มศิลปินชาวรัสเซียน โครงการกองทัพแดงที่ริเวร่า ใฝ่ฝันอยากให้เกิดขึ้นบนก�ำแพงรัสเซียถูกยกเลิก ริเวร่าต้องเดินทางออกจาก รัสเซียอย่างกะทันหัน มีเพียงแค่สมุดจดติดตัวกลับไปและ “ความฝันที่เขา สเก็ตช์เอาไว้ในสมอง”
339
Kremlin on Fifth Avenue
ECSTASY ความคลั่งไคล้ปลาบปลื้ม บนยอดของตึกอาร์ซีเอคือห้องสายรุ้ง “ชมทิวทัศน์ของเมืองนิวยอร์กผ่านหน้าต่างบานใหญ่ 24 บานของห้องสายรุ้ง ชมการแสดงแสงสีของพื้นห้องสายรุ้งที่ส่องสว่างงดงาม แขกผู้มาเยือนจะได้ ลิ้มรสของสุดยอดของความบันเทิงของศตวรรษที่ 20”47 กลุ่มนักวางแผนของร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์อยากจะเรียกสถานที่นี่ว่า “สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) หรือชั้นบรรยากาศที่เทียบเท่าสวรรค์” แต่ จอห์น ดี. ร็อกกิเฟลเลอร์ ยับยัง้ การใช้ชอื่ นีเ้ พราะว่าไม่ถกู ต้องทัง้ หมด มีดนตรี จากวงออร์เคสตราชั้นเลิศในห้องนี้: “การเต้นร�ำของแจ็ค ฮอลแลนด์ และ จูน ฮาร์ท... เราน่าจะเรียกห้องนี้ว่าฟลาย (Fly) ที่แปลว่าล่องลอยในอากาศ น่าจะเป็นค�ำทีเ่ หมาะสมกว่า”48 ทีน่ งั่ ของภัตตาคารถูกจัดเรียงตามแนวโค้งของ ระเบียง เรียงเป็นวงกลมเหมือนกับเป็นสัญลักษณ์ของลูกโลก: เวทีเต้นร�ำเป็น รูปวงกลมหมุนไปอย่างช้า ๆ แนวหน้าต่างที่เว้าเข้าสู่อาคาร กรุด้วยกระจกเงาท�ำให้ทิวทัศน์ของเมือง แมนแฮตตันเท่ากับภาพสะท้อนในกระจกเงา ห้องสายรุ้งนี้คือจุดสูงสุดของการสร้างสรรค์ที่สมบูรณ์แบบ ความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์เหลือแค่เงาที่ทิ้งเอาไว้ในห้องแห่งความปีติสุข สถาปัตยกรรมอยู่เหนือมนุษย์ ถ้าจะไปให้ที่สุดกว่านี้ “เราต้องท�ำให้ผู้ชายและ ผูห้ ญิงมีรปู ร่างทีเ่ พรียวลม”49 ค�ำ่ พูดนีเ้ ป็นความคิดของเคานท์ แสคฆ์นอฟฟ์สกี้ (Count Sakhnoffsky) นักออกแบบชื่อดัง “นั่งเอนหลังอยู่บนเก้าอี้ในห้อง รับประทานอาหารกลางวันที่ห้องสายรุ้ง” แสคฆ์นอฟฟ์สกี้ออกแบบรถยนต์, นาฬิกา และเสื้อผ้า และในขณะนี้เขาอยากจะออกแบบชาติพันธุ์ของมนุษย์ “พัฒนาการทั้งหลายลอยอยู่กลางอากาศแล้ว เราควรต้องเอาสิ่งเหล่านั้นมา จัดการกับตัวเรา นักวิทยาศาสตร์จะสามารถบอกเราได้ว่าร่างกายของเราขาด สิ่งใดที่เราต้องใช้เพื่อการด�ำรงชีวิตในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จะเป็นผู้ชี้แนะ ว่าอวัยวะส่วนไหนของร่างกายของเราทีไ่ ม่ตอ้ งใช้งานอีกต่อไป ศิลปินจะเป็นผูท้ ี่ ออกแบบร่างกายทีส่ มบูรณ์แบบของมนุษย์สำ� หรับการด�ำรงชีวติ ในปัจจุบนั และ อนาคต นิ้วหัวแม่เท้าจะถูกตัดออกเพราะมันคือสิ่งที่เรามีไว้ส�ำหรับปีนต้นไม้ ปัจจุบันนี้เราเลิกปีนต้นไม้แล้ว รองเท้าก็จะถูกออกแบบใหม่ที่ไม่จ�ำเป็นต้อง How Perfect Perfection Can Be: The Creation of Rockefeller Center
352
353
ความเป็นจริงของตึกอาร์ซเี อ “ชาวอเมริกนั คือนักวัตถุนยิ มของดินแดนแห่งนามธรรม... ” 2 Postscripts
ระบุวา่ เป็นข้างซ้ายหรือข้างขวาอีกต่อไป รองเท้าจะมีรปู ร่างเพรียวลมทีส่ วยงาม หูจะถูกบิดไปด้านหลังเพื่อให้แนบไปกับแนวศีรษะ เส้นผมจะมีไว้เฉพาะการ ประดับเท่านั้น จมูกจะแหลมเพรียว ความโค้งมนของใบหน้าของผู้ชายและ ผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีรูปทรงที่แลดูสง่างามมากขึ้น “สิง่ ทีก่ วี และนักปรัชญาเคยเรียกว่าความเหมาะสมชัว่ นิรนั ดร์คอื วัตถุประสงค์ ของการออกแบบทุกอย่างให้โค้งเพรียวลม” แมนแฮตตันมีวัฒนธรรมสร้างให้เกิดความแออัดในทุกระดับ การออกแบบให้ โค้งเพรียวลมนับว่าเป็นวิวฒ ั นาการ แมนแฮตตันไม่ได้ตอ้ งการสิง่ ทีท่ ำ� ให้ความ แออัดหายไป แต่ต้องการความแออัดที่ราบเรียบ พลิ้วเพรียวลม
ILL ความเจ็บป่วย ฮูดไม่เคยล้มป่วยมาก่อน ในปี ค.ศ. 1933 สุขภาพของฮูดก็พังทลาย เป็น ช่วงเวลาเดียวกับที่ร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์ส่วนแรกเสร็จสมบูรณ์ เพื่อนฝูง ของฮูดลงความเห็นกันว่าภาระงานที่หนักหน่วงในการสร้างร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์เป็นต้นเหตุของอาการป่วยของฮูด แต่ในความเป็นจริงแล้วฮูดป่วย เป็นโรคไขข้ออักเสบ ถึงแม้ว่าฮูดจะต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลแต่ “พลังของเขาไม่เคยถดถอยเลย” “ถึงแม้ว่าเขาจะป่วยเจียนตายเขาก็อยากที่จะกลับไปท�ำงานออกแบบตึกของ เขาให้เสร็จ”50 ช่วงเวลาของภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำครั้งยิ่งใหญ่นี้ท�ำให้ไม่มีงานเหลือเลย ไม่มี งานส�ำหรับฮูด ร็อกกิเฟลเลอร์ เซ็นเตอร์คือชิ้นส่วนแรกของแมนแฮตตันที่สมบูรณ์แบบ เป็น สถานที่ที่ท�ำให้เรามองเห็นอนาคตที่จะเกิดขึ้น และเป็นชิ้นส่วนสุดท้าย ดูเหมือนว่าฮูดจะฟื้นจากอาการป่วย เขากลับไปท�ำงานที่ส�ำนักงานออกแบบ ของเขา ตึกอาร์ซีเอสร้างเสร็จสมบูรณ์ ฮูดสามารถมองเห็นตึกนี้ได้จาก อาคารเรดิเอเตอร์ที่เขาท�ำงานอยู่ เพื่อนเก่าแวะมาเยี่ยมเยียนเพื่อสรรเสริญ ว่าฮูดคิดถูกแล้วทีล่ าจากส�ำนักงานในบ้านนอก “เพือ่ มาเป็นสถาปนิกทีย่ งิ่ ใหญ่ ที่สุดของนิวยอร์ก” How Perfect Perfection Can Be: The Creation of Rockefeller Center
354
“สถาปนิกทีย่ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในนิวยอร์ก?” ฮูดพึมพ�ำตามค�ำพูดของเพือ่ นในขณะที่ มองเห็นแท่งของตึกอาร์ซีเอ โดดเด่นอยู่ท่ามกลางตะวันที่ลับขอบฟ้า “ด้วยค�ำ ตัดสินของพระเจ้า ผมคือสถาปนิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในนิวยอร์ก” ฮูดเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1934 คอร์เบตต์ นักทฤษฎีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแมนแฮตตันอีกคนหนึ่ง ผู้ซึ่งเป็น เพื่อนกับฮูด ผู้ร่วมก่อตั้ง และเป็นนักออกแบบของวัฒนธรรมของความแออัด เขียนบันทึกเอาไว้ว่า “มิตรสหายทุกคนต่างรู้จัก ‘เรย์’ ฮูด ผู้ที่เต็มไปด้วยพลัง ความคิดสร้างสรรค์ ความฉลาดหลักแหลม และ ‘เรย์’ ผู้ซึ่งเป็นสุภาพบุรุษ “ผมไม่เคยรู้จักใครที่ด�ำรงชีวิตด้วยจินตนาการที่บรรเจิดและเต็มเปี่ยมไปด้วย พลังของการใช้ชีวิต แต่กลับเป็นคนที่ถ่อมตัวและไม่เคย ‘วางมาด’ เลย”51
355
2 Postscripts
Europeans: Biuer! Dali and Le Corbusier Conquer New York นิวยอร์กคือ เมืองแห่งอนาคต, เมืองบาเดน บาเดนของยุ โ รปที่ เ น่ า เฟะ, ผู ้ สื บ สกุ ล ของ ความชราภาพ, จิตวิญญาณทีอ่ อ่ นล้า, ลมหายใจที่ ชั่วร้ายของแม่มดเผ่าพันธุ์ยูโรเปียน เบนจามิน เดอ แคสเซเรส (Benjamin de Casseres), หนังสือ Mirrors of New York
ท่านผู้ชม! ผมน�ำเอาลัทธิเหนือจริง มาให้พวกคุณ นิวยอร์กติดเชื้อจากแม่บังเกิดเกล้าและความ มหัศจรรย์ของลัทธิเหนือจริง เลอ คอร์บูซิเยร์ (Le Corbusier)
ชาวยุโรป: ท่านผู้ชม! ดาลีและเลอ คอร์บูซิเยร์ พิชิตนิวยอร์ก
356
ดูภาพประกอบสี หน้า
แมนแฮตตัน, ชิ้นปลาลิ้นหมาที่ ยิ่งใหญ่วางแผ่อยู่บนก้อนหิน เลอ คอร์บูซิเยร์ (Le Corbusier)
357
ฟรอย์ที่ไร้ขีดจ�ำกัด (Freud Unlimited) ภาพเขียนโดย มาเดลอง ฟรีเซนดอร์ป (Madelon Vriesendorp)
496
ซัลวาดอร์ ดาลี ในปี ค.ศ. 1929 ก่อนที่จะเริ่มเป็นศิลปินในกลุ่มลัทธิเหนือจริงในปารีส Europeans: Biuer! Dali and Le Corbusier Conquer New York
364
365
สะพานแห่งเมืองลอนดอน (London Bridge) ที่ถูกน�ำมาสร้างซ�้ำที่ทะเลสาบฮาวาซู ในรัฐเอริโซนา น่าจะเป็นการเดินทางของการสร้างตรรกะจากสิ่งซึ่งไร้ตรรกะที่ชัดเจน ทีส่ ดุ ทีเ่ ราจดจ�ำได้: การรือ้ หินทีละก้อน สะพานทอดยาวอยูบ่ นทะเลสาบทีม่ นุษย์สร้างขึน้ มีชวี ติ ในลอนดอนหลงเหลืออยูบ่ า้ ง - ตูโ้ ทรศัพท์สแี ดง, รถเมล์ 2 ชัน้ และทหารเฝ้ายาม “สโมสรแร็กเก็ตแห่งสะพานของเมืองลอนดอนที่ตั้งอยู่ด้านหน้าเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ สวนสาธารณะทางด้านตะวันตกของสะพาน ทางเดินริมน�ำ้ ทีอ่ ยูด่ า้ นตะวันออกของซุม้ โค้ง ของสะพาน เป็นทางเดินทีเ่ ชือ่ มพืน้ ทีส่ หู่ มูบ่ า้ นอังกฤษทีอ่ ยูด่ า้ นบนซ้าย... ” “หลังจากที่ เวลาผ่านไปกว่าศตวรรษครึง่ , 3 ปีหลังจากการรือ้ ถอนทีอ่ งั กฤษ, สก๊อตแลนด์ซงึ่ ห่างไกล ออกไปเกือบครึง่ โลกเป็นทีม่ าของหิน สะพานแห่งลอนดอนตัง้ ตระหง่านขึน้ อีกครัง้ นับว่า เป็นชัยชนะของเหล่าวิศวกร และความตัง้ ใจของช่างก่อสร้างชาวอังกฤษและชาวอเมริกนั ทีเ่ กิดขึน้ หลังจากเวลาผ่านไป 5 ชัว่ อายุคน” - ในทีส่ ดุ สะพานแห่งเมืองลอนดอนช่วยแก้ ปัญหาการขาดแคลนความจริง (Reality Shortage) ของทะเลสาบฮาวาซู
ดาลีเรียบเรียงภาพวาดศรัทธาของมีแลท์ขึ้นใหม่ ดาลีวาดภาพนี้เป็นภาพประกอบให้ กับบทกวี Les Chants de Maldoror ในปี ค.ศ. 1934-35: เราจะเห็นว่าตัวเอกที่ เคยอยู่ในภาพที่มีแลท์วาดได้หายไปแล้ว เหลือแต่ของใช้ - คราดส�ำหรับเสียบฟาง, รถเข็นและกระเป๋าที่เป็นปริศนา - ที่ดาลีน�ำมาผูกเรื่องราวขึ้นใหม่เป็น “ตัวแทน” ของ ความหวาดระแวง Europeans: Biuer! Dali and Le Corbusier Conquer New York
368
369
ภาพการท�ำสมาธิบนพิณ (Meditation on the Harp) ปี ค.ศ. 1932-33: เราจะเห็นว่า บุคคล 2 คนทีอ่ ยูใ่ นภาพวาดของมิแลท์กำ� ลังยืนประจันหน้ากับลูกทีถ่ กู กล่าวหาว่าเป็นเด็ก ทีเ่ กิดจากความสัมพันธ์ทอี่ อื้ ฉาวของคนทัง้ สอง
OTHERWORLDLINESS โลกอื่น สถาปัตยกรรม = คือการยัดเยียดโครงสร้างลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนโดย ไม่มีการขออนุญาต เป็นเพียงเมฆหมอกของการคาดเดาในความคิดของผู้ที่ สร้างมันขึ้นมาเท่านั้น การที่เรามองว่าสถาปัตยกรรมคือ กิจกรรมที่เกิดจากวิธีการสร้างตรรกะจาก สิ่งที่ไร้ซึ่งตรรกะชนิดหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การเปลี่ยนความไม่แน่นอนให้กลายเป็น “สิ่งที่มีอยู่จริง” เป็นเรื่องที่บอบช�้ำ ส�ำหรับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ สภาวะที่เกิดขึ้นเหมือนกับการมีนักแสดง หนึง่ คนทีแ่ สดงแหวกแนวไปคนละเรือ่ งกับนักแสดงคนอืน่ ทีอ่ ยูบ่ นเวทีเดียวกัน สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ต้องการมีบทบาทโดยไม่ต้องการถูกก�ำหนดด้วย กฎเกณฑ์: ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์อย่างรุนแรงในการสร้างผลงานให้เกิดขึ้น จริง สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ก็ยังยืนยันในแนวคิดที่ต้องการเป็นโลกอื่น การล้มล้างละครโดยการแสดงละครเป็นอย่างเดียวกับวิธีการสร้างตรรกะจาก สิ่งที่ไร้ซึ่งตรรกะของโนอาห์ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล สถาปัตยกรรมสมัยใหม่เป็นโอกาสสุดท้ายของการกอบกู้สถาปัตยกรรม สมัยใหม่เชื้อเชิญให้คนหวาดระแวงว่าภัยพิบัติจะเป็นตัวการในการท�ำลายล้าง ความโง่เขลาของที่อยู่อาศัยและวิถีของเมืองที่โบราณจนหมดสิ้นไป “ในขณะทีท่ กุ คนก�ำลังเสแสร้งว่าไม่มอี ะไรผิดปกติเกิดขึน้ เราก็สร้างเรือโนอาห์ ขึ้นมาเพื่อกอบกู้มวลมนุษย์จากอุทกภัยที่ก�ำลังจะมาถึง... ”
CONCRETE คอนกรีต วิธีการสร้างรูปธรรมของเลอ คอร์บูซิเยร์ – วิธีการที่ท�ำให้สิ่งก่อสร้างมีความ จริงจัง - คือการใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก กระบวนการที่ต่อเนื่องกัน - ของ แนวคิดที่เคลื่อนสู่ความเป็นจริง – ของวิธีการก่อสร้างเช่นนี้เป็นวิธีการที่ช่วย ขับเคลือ่ นความฝันของดาลีเกีย่ วกับการถ่ายภาพมารีย์ และการขึน้ สวรรค์ของ พระเยซู ให้เป็นวิธีการที่เหมือนกับความฝัน Europeans: Biuer! Dali and Le Corbusier Conquer New York
376
377
“ในเวลาทีเ่ กิดอันตราย ผูน้ ำ� ต้องเดินไปในทิศทางทีค่ นอืน่ ไม่ไป... ”
Postmortem
การชันสูตรศพ
430
431
เมืองแห่งแสงสว่าง พื้นที่ภายในศาลาของบริษัทคอนโซลิเดตต์ เอดิสัน (Consolidated Edison) ในงานนิทรรศการนานาชาติปี ค.ศ. 1939 (สถาปนิก: วอลเลซ แฮร์ริสัน) “ภายใต้มนต์ขลังของเสียงจากฟากฟ้า และการแสดงของแสง สี เสียงในเมืองย่อส่วน แห่งนี้ เมืองทีส่ ร้างตัวกันขึน้ อย่างกล้าหาญตืน่ ขึน้ มา เพือ่ ท�ำให้พวกคุณเห็นภาพใหม่ของ นิวยอร์กที่มีชีวิตชีวา ไม่ใช่เพียงแท่งคอนกรีตและเหล็กกล้าที่ไร้ชีวิต เมืองที่หายใจได้ มีเครือข่ายของเส้นเลือดที่ท�ำจากเหล็ก และทองแดงที่ซ่อนอยู่ภายใต้พื้นผิวที่เรา มองเห็น เป็นแหล่งของความร้อนและพลังงาน – เมืองที่มีเส้นประสาทน�ำพากระแส ไฟฟ้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวและเป็นสื่อที่ถ่ายทอดความคิด... ” บทสรุปของลัทธิ แมนแฮตตันผ่านกระดาษแข็ง
CLIMAX จุดสุดยอด บริษัทคอนโซลิเดตต์ เอดิสัน (Consolidated Edison) – คือ เครื่องก�ำเนิด พลังงานไฟฟ้าของแมนแฮตตัน - มีศาลาที่เป็นของตนเองในงานนิทรรศการ นานาชาติปี ค.ศ. 1939 ตั้งชื่อนิทรรศการว่าเมืองแห่งแสงสว่าง (City of Light) นิทรรศการในศาลานี้คล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเพอริสเฟียร์ เพราะมี มหานครจ�ำลองอยู่ภายในศาลา แตกต่างกันตรงที่เมืองแห่งแสงสว่างนี้ไม่ได้ ท�ำนายอนาคตของเมืองเหมือนกับที่เพอริสเฟียร์ท�ำ เมืองแห่งแสงสว่างคือ แมนแฮตตันฉบับย่อส่วน – ตั้งแต่ท้องฟ้าจนถึงใต้ดิน – เป็นการบีบอัดเวลา 24 ชั่วโมงของชีวิตในมหานครทั้งกลางวันและกลางคืน ให้เหลือเพียง 24 นาที สนามเบสบอลแสดงเฉพาะการแข่งขันที่โดดเด่น, สภาพอากาศเปลีย่ นจากท้องฟ้าใสเป็นพายุฝนฟ้าคะนองภายในเวลาไม่กวี่ นิ าที, ภาพตัดที่ตัดผ่านอาคารและผิวโลก ท�ำให้เราเห็นกลไกของระบบโครงสร้าง พืน้ ฐานของเมือง: ลิฟต์ทขี่ นึ้ ลงอย่างบ้าคลัง่ , ความเร็วของรถไฟฟ้าทีว่ งิ่ อยูใ่ ต้ดนิ นิทรรศการนีค้ อื วิถชี วี ติ ในมหานครทีเ่ ข้มข้น 1,000 เปอร์เซ็นต์ นอกจากความ เข้มข้นแล้ว โมเดลจ�ำลองที่น�ำมาจัดนิทรรศการยังท�ำให้เราตกใจ แมนแฮตตันถูกบิดโค้ง กระดูกสันหลังของระบบถนนแบบตารางถูกบิดจนโค้งงอ ถนนโค้งเข้าสูบ่ ริเวณ ที่ผู้ชมเดินเข้ามาดูนิทรรศการ แมนแฮตตันกลายเป็นเกาะที่โค้ง ถ้าหากว่า เส้นโค้งนี้โค้งครบรอบวง จะเกิดเป็นวงกลมที่ขังผู้ที่เข้ามาชมนิทรรศการเอาไว้ เวลาของลั ท ธิ แ มนแฮตตั น หมดลงแล้ ว ในขณะที่ ค วามกั ง วลก่ อ ตั ว ขึ้ น ใน ช่วง 1930s; บทสรุปสุดท้ายของแมนแฮตตันจึงเกิดขึ้นเพียงแค่เมืองจ�ำลอง; จุ ด สุ ด ยอดของลั ท ธิ แ มนแฮตตั น คื อ เมื อ งจ� ำ ลองที่ ท� ำ ด้ ว ยกระดาษแข็ ง ; เมืองจ�ำลองแห่งนี้เป็นวัฒนธรรมของความแออัดที่สมบูรณ์แบบที่สุด; เมือง จ�ำลองของแมนแฮตตันที่สมบูรณ์แบบที่แสดงอยู่ในงานนิทรรศการนานาชาติ ปี ค.ศ. 1939 ท�ำให้เราเปรียบเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เป็นการตอกย�้ำความ ไม่สมบูรณ์แบบของมหานครทีเ่ ป็นอยู่ นิทรรศการนีค้ อื เมืองต้นแบบในทฤษฎี ที่ท�ำให้เรามองเห็นแมนแฮตตันในรูปแบบของพลังงานแสงที่เดินทางไปใน จักรวาลของสัมพันธภาพ
Postmortem
432
433
ภาพของไทรย์ลอนและเพอริสเฟียร์ทเี่ ปิดเผยให้เห็นเส้นทางสัญจรและกลไกทีอ่ ยูภ่ ายใน “ทางเข้าของนิทรรศการคือ โถงต้อนรับของไทรย์ลอน เชือ่ มต่อกับเพอริสเฟียร์ดว้ ยอุโมงค์ บันไดเลือ่ น 2 อุโมงค์มคี วามยาว 96 ฟุตและ 120 ฟุต บันไดเลือ่ นนีม้ คี วามยาวมากทีส่ ดุ ในสหรัฐอเมริกา ทางเข้าของเพอริสเฟียร์มี 2 ทางทีเ่ ชือ่ มต่อกับอุโมงค์... ระเบียงโค้งเป็น วงกลมซ้อนกันอยู่ ระเบียงไม่ยดึ ติดผนังของลูกโลกและหมุนไปคนละทิศทาง เหมือนกับ ว่าระเบียงทัง้ สองลอยอยูก่ ลางอากาศ... พืน้ ทีส่ ว่ นล่างเป็นทีต่ งั้ ของเมืองดีโมเครซิตหี้ รือ มหานครในอนาคต... ที่นี่ไม่ใช่เมืองในฝัน แต่เป็นข้อเสนอแนะที่สามารถน�ำไปปฏิบัติ ได้จริง และเป็นแนวทางทีเ่ ราควรอยูอ่ าศัยในปัจจุบนั เมืองทีเ่ ต็มไปด้วยแสดงธรรมชาติ อากาศบริสทุ ธิ์ พืน้ ทีส่ เี ขียวทีต่ งั้ อยูบ่ นความสูงที่ 7,000 ฟุต... ในช่วงของการแสดงที่ เป็นเวลากลางวัน โฆษกอธิบายรายละเอียดของเมืองเดโมเครซิตี้ โดยมีเสียงดนตรีเป็น พืน้ หลังของการบรรยาย... เวลาผ่านไป 2 นาที แสงไฟในเพอริสเฟียร์หรีล่ ง ดวงดาวเริม่ ปรากฏขึน้ ในโดมท้องฟ้าด้านบน เวลากลางคืนได้มาถึงแล้ว... เราจะได้ยนิ เสียงเพลงทีแ่ ต่ง ขึน้ เพือ่ งานนิทรรศการนานาชาติครัง้ นี้ เป็นการร้องเพลงแบบประสานเสียงอยูด่ า้ นหลัง ของนิทรรศการ บนท้องฟ้ามีภาพของคนทีก่ ำ� ลังเดินขบวนอยู่ ชาวนา คนงานในเหมือง แร่ คนงานในโรงงาน ครูและอาจารย์ เป็นตัวแทนของประชาชนของโลกใหม่ คนเหล่านี้ เริม่ ต้นทีข่ นาดเท่าปลายเข็ม จนถึงความสูงที่ 15 ฟุต เป็นจิตรกรรมฝาหนังทีม่ ชี วี ติ และ ลอยอยูบ่ นท้องฟ้า... เวลาทีผ่ ชู้ มนิทรรศการก้าวเข้ามาบนระเบียง เมืองเดโมเครซิตอี้ าจ จะเป็นเวลาเช้า บ่าย หรือกลางคืน วัฏจักรของการแสดงของเมืองเดโมรเครซิตคี้ อื ระยะ เวลา 6 นาที ผูเ้ ข้าชมเดินลงจากระเบียง การแสดงจะวนกลับมาอีกครัง้ ในเวลา 1 ชัว่ โมง หลังจากนัน้ ... ” (หนังสือพิมพ์นวิ ยอร์ก เฮรัลด์ ทริบนู - New York Herald Tribune, คอลัมน์งานนิทรรศการนานาชาติ, วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1939)
The City of the Captive Globe (1972)
เมืองแห่งลูกโลกในอาณัติ (ค.ศ. 1972)
452
453
เมืองแห่งลูกโลกในอาณัติ (The City of Captive Globe)
เมืองแห่งลูกโลกในอาณัติ (The City of Captive Globe) เป็นเมืองที่อุทิศ ตนเองให้กับความคิดที่ประดิษฐ์ขึ้น เมืองที่เร่งรัดการเกิดขึ้นของทฤษฎี, การตีความ, การปรุงแต่งของจิตใจ, ข้อเสนอแนะ และความเดือดร้อนทีจ่ ะเกิด ขึ้นกับโลก เมืองนี้เป็นเมืองหลวงของอัตตา เต็มไปด้วยการแข่งขันกันระหว่าง วิทยาศาสตร์, ศิลปะ, บทกวี และความบ้าคลั่ง ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง, เพื่อท�ำลาย และเพื่อฟื้นฟูโลกแห่งความเป็นจริงที่มหัศจรรย์ ตรรกะทางวิทยาศาสตร์หรือความคลั่งไคล้ต่างมีที่ตั้งของตนเอง บนที่ตั้ง แต่ละแห่งมีฐานทีส่ ร้างจากหินขัดมันทีม่ รี ปู ร่างเหมือนกัน ฐานนีม้ ไี ว้เพือ่ อ�ำนวย ความสะดวก และกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมที่มาจากทฤษฎี ฐาน – ห้องทดลอง ในอุดมคติ – มีอุปกรณ์ที่ใช้หยุดยั้งกฎหมายที่ไม่อยากต้อนรับ, ความจริงที่ ปฏิเสธไม่ได้ และเพื่อสร้างเงื่อนไขทางกายภาพที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แท่ง หินแกรนิตที่ทึบตันเป็นฐานส�ำหรับปรัชญาที่เจริญเติบโตไปจนถึงสวรรค์ บาง แท่งมีแขนขาที่แน่นอนและเงียบสงบ ส่วนแท่งอื่นเป็นที่ตั้งของโครงสร้างที่ อ่อนปวกเปียกเพื่อรอการคาดเดาและแนวทางที่แล้วแต่จะสะกดจิตให้เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงของทิวทัศน์ของเมืองจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นไปอย่าง ต่อเนื่อง: ความสุขส�ำราญที่เต็มเปี่ยม, การป่วยจากศีลธรรม และการส�ำเร็จ ความใคร่อย่างมีสติปัญญา การที่หอคอยแห่งหนึ่งพังทลายลงมีความหมาย 2 รูปแบบ: ความล้มเหลว, ยอมแพ้ และการค้นพบ, การหลั่งน�้ำอสุจิที่มี ความเสี่ยง: ทฤษฎีที่ใช้ได้จริง ความบ้าคลั่งที่ทิ่มแทง เรื่องโกหกที่กลายเป็นเรื่องจริง ความฝันที่ไม่มีวันจะตื่นขึ้น วัตถุประสงค์ของลูกโลกในอาณัติที่วางอยู่บนฐานที่ตั้งอยู่กลางเมืองมีความ ชัดเจนขึน้ : หลอมรวมกันเป็นเครือ่ งเพาะเชือ้ ของโลกนี;้ แพร่พนั ธุอ์ ยูใ่ นลูกโลก เราคิดจะจัดการกับหอคอยจนตัวเองป่วยไข้ ส่วนลูกโลกก็น�้ำหนักเพิ่มขึ้น อุณหภูมิของหอคอยเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าหอคอยจะต้องปฏิบัติตามระยะถอยร่น ของอาคาร ครรภ์ที่ไร้ซึ่งอายุครรภ์ของหอคอยรอดชีวิตแล้ว เมืองแห่งลูกโลกในอาณัติคือ สถาปัตยกรรมชิ้นแรกของแมนแฮตตันที่เกิด จากสัญชาตญาณ ก่อนที่จะมีการศึกษาวิจัยชิ้นใดเกิดขึ้นมาเพื่อพิสูจน์ผลลัพธ์ ของลูกโลก Appendix: A Fictional Conclusion
454
ถ้าหากแก่นแท้ของวัฒนธรรมของมหานครเปลี่ยนไป – ในสภาพที่มีการ เคลื่อนไหวอย่างไม่มีที่สิ้นสุด – และแก่นแท้ของแนวคิดของ “เมือง” กลาย เป็นความคงทนถาวรทีเ่ กิดขึน้ ตามล�ำดับ ดังนัน้ จึงมีเพียงกฎเกณฑ์ทยี่ อมรับกัน ทัว่ ไปเพียง 3 หลักการทีน่ ำ� มาใช้ในเมืองแห่งลูกโลกในอาณัติ – ระบบถนนแบบ ตาราง (Grid), การผ่าตัดแยกกลีบสมอง (Lobotomy) และการไม่ปรองดอง กันในแนวตัง้ (Schism) จะเป็นสิง่ ทีท่ ำ� ให้สถาปนิกสามารถยึดภูมปิ ระเทศของ มหานครเพื่อสถาปัตยกรรมได้ ระบบถนนแบบตาราง – หรือ วิธีการอื่นที่สามารถแบ่งพื้นที่ของมหานครเพื่อ การควบคุมได้อย่างเต็มที่ – เป็นสิ่งที่ใช้ในการอธิบายลักษณะของหมู่เกาะที่มี “เมืองที่อยู่ภายในเมือง” ถ้าหากว่า “เกาะ” แต่ละเกาะมีความโดดเด่นเฉพาะ ตัวมากเท่าไหร่ ระบบจะเป็นกลไกที่สร้างเอกภาพของหมู่เกาะให้แข็งแรงขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่า “การเปลี่ยนแปลง” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในองค์ประกอบของ “เกาะ” ดังนั้นระบบที่ล้อมรอบหมู่เกาะเหล่านี้จึงไม่ต้องมีการปรับปรุงใดๆ ในหมู่เกาะของมหานครมีตึกสูงระฟ้า – ตึกเหล่านี้ไม่มีประวัติศาสตร์ที่แท้ จริง – ตึกสูงระฟ้าจึงเป็นสถาปัตยกรรมที่คิดค้น “ขนบธรรมเนียมประเพณี” ของตนเองขึ้นมา การน�ำเอาวิธีการผ่าตัดแยกกลีบสมองและการไม่ปรองดอง กันในแนวตั้งมาใช้เพื่อตัดสองสิ่งให้ขาดออกจากกัน – การแยกพื้นที่ภายนอก ออกจากพืน้ ทีภ่ ายใน และการสร้างหน่วยอิสระขนาดเล็กขึน้ ในพืน้ ทีภ่ ายในของ สถาปัตยกรรม – ส่งผลให้โครงสร้างสามารถทุ่มเทให้กับการออกแบบพื้นผิว ภายนอกของอาคารในรูปแบบของทฤษฎีรูปแบบนิยม (Formalism) ได้อย่าง เต็มที่ ท�ำให้พนื้ ทีภ่ ายในอาคารเป็นไปตามทฤษฎีหน้าทีน่ ยิ ม (Functionalism) เพียงอย่างเดียว ด้วยวิธกี ารนี้ ความขัดแย้งระหว่างรูปทรงและหน้าทีข่ องสถาปัตยกรรมจึงได้รบั การแก้ไข เมืองทีเ่ กิดขึน้ มีแท่งหินขนาดใหญ่ทตี่ งั้ อยูเ่ ป็นการถาวรเพือ่ สรรเสริญ ความไม่แน่นอนของมหานคร ในศตวรรษนี้ กฎเกณฑ์ทั้งสามท�ำให้อาคารในแมนแฮตตันกลายเป็นทั้ง สถาปัตยกรรมและเครือ่ งจักรทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูง รวมทัง้ มีความทันสมัย และ เป็นสิ่งที่อยู่ชั่วนิรันดร์ โครงการออกแบบที่จะพูดถึงต่อไปนี้เป็นการตีความกฎเกณฑ์ทั้งสาม และ เป็นการปรับปรุงกฎเกณฑ์ทั้งสามให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น
455
The City of the Captive Globe (1972)
New Welfare Island (1975-1976)
เกาะเวลแฟร์แห่งใหม่ (ค.ศ. 1975-76)
460
461
ภาพ 3 มิติแบบแอกโซโนเมตริกแสดงให้เห็นเกาะเวลแฟร์แห่งใหม่ แมนแฮตตันตั้ง อยู่ด้านซ้าย ควีนส์อยู่ด้านขวา เกาะเวลแฟร์แห่งใหม่ตั้งอยู่ตรงกลาง เรียงล�ำดับจาก บนลงล่าง: ทางเข้าศูนย์ประชุมที่เสียบอยู่บริเวณสะพานควีนส์โบโร; สถาปัตยกรรม ตามรูปแบบของลัทธิอนุตรนิยมหรือสุปรีมาติสม์; ท่าจอดเรือที่มีเรือยอชท์แบบเพรียว ลมจอดอยู่; สระว่ายน�้ำแบบ “จีน”; โรงแรมเวลแฟร์ พาเลซ และแพลอยน�้ำ; พลาซ่า; ทางเดินในแม่น�้ำ ฝั่งตรงกันข้ามกับอาคารส�ำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติที่อยู่ ในแมนแฮตตัน เป็นที่ตั้งของอาคารต่อต้าน-ยูเอ็นที่ตั้งอยู่บนเกาะขนาดเล็ก บนเกาะ แมนแฮตตันเราสามารถมองเห็นโครงการที่ “แยกออกจากกัน” ได้คือ โรงแรมสฟิงซ์ และตึกอาร์ซีเอ ที่ควีนส์เรามองเห็น “สวนสาธารณะแห่งความสิ้นหวัง” ซึ่งเป็นที่ตั้ง ของอาคารในรูปแบบของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่; ชนบท; ป้ายเป็ปซี่-โคล่า; โรงไฟฟ้า ในแม่น�้ำมีสระว่ายน�้ำลอยอยู่
เกาะเวลแฟร์ (Welfare Island) ปัจจุบนั คือเกาะโรสเวลต์ (Roosevelt Island) เป็นเกาะที่มีลักษณะยาว (ประมาณ 3 กิโลเมตร) และแคบ (มีความกว้าง ประมาณ 200 เมตรโดยเฉลีย่ ) ตัง้ อยูใ่ นแม่นำ�้ อีสต์ ขนานไปกับเกาะแมนแฮตตัน เกาะนี้เคยเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลและสถานสงเคราะห์ในอดีต เป็นสถานที่ ส�ำหรับ “คนที่ไม่มีใครต้องการ” ในปี ค.ศ. 1965 เกิดการ “พัฒนาให้เป็นเมือง” แบบไม่จริงจัง โดยมีค�ำถาม เริม่ ต้นว่า: เกาะนีค้ วรจะเป็นส่วนหนึง่ ของนิวยอร์กหรือไม่ จากนัยยะของความ ทรมานที่เป็นอยู่ – หรือควรพัฒนาให้เป็นสถานที่ส�ำหรับหลบหลีก – รีสอร์ต ที่อยู่ห่างจากแมนแฮตตันพอที่จะรู้สึกปลอดภัย เป็นที่พักผ่อน แต่ยังสามารถ มองเห็นความวุ่นวายในแมนแฮตตันได้ ผู้ที่วางแผนระบบการจัดการเกาะเลือกที่จะพัฒนาเกาะไปในรูปแบบที่ 2 – เกาะนี้ห่างจากแมนแฮตตันเพียง 150 เมตร มีการเชื่อมต่อกับเกาะแม่ด้วย กระเช้าไฟฟ้า (กระเช้าไฟฟ้าท�ำสีม่วงเพื่อบ่งบอกถึง “วันหยุด” ที่แสนสดใส) ระบบนี้สามารถระงับการใช้งานได้ทันทีหากเกิดเหตุฉุกเฉินในเมือง เกาะเวลแฟร์มีสถาปัตยกรรมชิ้นโดดเด่นที่เป็นอนุสาวรีย์ในแบบไม่ได้ตั้งใจ อยู่หนึ่งแห่งคือ สะพานควีนส์โบโร (Queensboro Bridge) สะพานนี้เชื่อม เกาะแมนแฮตตันกับควีนส์เข้าด้วยกัน (โดยที่ไม่ต้องหยุดที่เกาะเล็กระหว่าง ทาง) เป็นสถาปัตยกรรมที่ตัดเกาะเวลแฟร์เป็น 2 ส่วน พื้นที่ส่วนทิศเหนือ ของสะพานเป็นพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั การพัฒนาโดยหน่วยงานการพัฒนาเมือง (Urban Development Corporation) ซึง่ เป็นหน่วยงานของรัฐนิวยอร์ก เป็นผูอ้ อกแบบ อาคารพักอาศัยที่มีระเบียงลดระดับลง 2 ข้างอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งระเบียง ด้านที่หันไปทางเกาะแมนแฮตตันและอีกด้านที่หันไปทางควีนส์ (เพื่ออะไร?) โดยเรียงเป็นแถวขนาบข้างถนนเมนสตรีททีส่ วยงาม ส่วนเกาะเวลแฟร์แห่งใหม่ ซึ่งเป็นส่วนของเกาะอยู่ทางทิศใต้ของสะพานควีนส์โบโร เป็นพื้นที่ส�ำหรับการ ตัง้ รกรากของชาวมหานคร ซึง่ บริเวณนีส้ อดคล้องกับพืน้ ทีบ่ ริเวณถนนล�ำดับที่ 50 ถึง 59 ของเกาะแมนแฮตตันพอดี โครงการทีเ่ กิดขึน้ มีวตั ถุประสงค์ในการชุบชีวติ สถาปัตยกรรมทีท่ ำ� ให้แมนแฮตตัน มีความโดดเด่นเฉพาะตัว: ความสามารถในการผสมผสานสิง่ ทีป่ ระชาชนทัว่ ไป ชื่นชอบกับอภิปรัชญา, สิ่งที่เป็นธุรกิจหวังก�ำไรกับความประเสริฐ, สิ่งที่ได้รับ การขัดเกลาแล้วกับวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่มีอยู่แต่ดั้งเดิม – ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ ได้รับการพิสูจน์แล้วสามารถดึงดูดใจคนหมู่มากได้ดี โครงการที่เกิดขึ้นบน เกาะเวลแฟร์แห่งใหม่นี้ยังคงจิตวิญญาณของแมนแฮตตันที่มักจะ “ทดสอบ” Appendix: A Fictional Conclusion
462
แนวคิดบางอย่างลงบนเกาะ “ห้องทดลอง” ที่มีขนาดเล็กกว่า (เช่นเดียวกับที่ เคยเกิดขึ้นบนเกาะโคนีย์แล้วในช่วงต้นของศตวรรษ) ระบบถนนแบบตารางของแมนแฮตตันจึงขยายตัวข้ามแม่น�้ำอีสต์ มาที่เกาะนี้ เป็นพืน้ ที่ 8 ช่วงถนน ช่วงถนนเหล่านีจ้ ะกลายเป็น “ทีจ่ อด” ของสถาปัตยกรรม ที่แข่งขันกันทั้งความเป็นทางการ, กิจกรรมที่หลากหลายและอุดมคติ ซึ่งจะ เผชิญหน้ากันบนพื้นที่ช่วงถนน พืน้ ทีแ่ ต่ละช่วงถนนเชือ่ มต่อกันโดยทางเดินเลือ่ นทีย่ กระดับ (Travelator) เริม่ จากสะพานลงไปทางใต้ และมุ่งสู่ศูนย์กลางของเกาะ: สถาปัตยกรรมทางเดิน ที่เร่งความเร็ว บริเวณปลายของเกาะกลายเป็นพื้นที่กึ่งน�้ำกึ่งบก พื้นที่บนบก กลายเป็นทางเดินลงไปในแม่น�้ำเชื่อมต่อกับสถานที่ท่องเที่ยวแบบลอยน�้ำที่ดี เกินกว่าที่จะตั้งอยู่บนบกได้ พื้ น ที่ ช ่ ว งถนนเหล่ า นี้ เ ป็ น ที่ ว ่ า งเปล่ า ยั ง ไม่ มี ก ารก่ อ สร้ า งอาคาร ด้ ว ย วัตถุประสงค์เพื่อเว้นไว้ส�ำหรับสถาปัตยกรรมในอนาคต จากทิศเหนือสู่ทิศใต้ เกาะเวลแฟร์แห่งใหม่เป็นพื้นที่ของสถาปัตยกรรมดังต่อ ไปนี้: 1. ทางเข้าศูนย์การประชุม สร้างอยู่ใกล้กับสะพานควีนส์โบโรโดยที่ไม่ได้แตะ กับโครงสร้างของสะพาน (Entrance Convention Center) – ทางเข้าแบบ เป็นทางการนี้ได้รับการออกแบบให้เป็นลานกว้างที่เชื่อมต่อกับแมนแฮตตัน ทางเข้านี้เป็น “สิ่งกีดขวาง” ขนาดใหญ่มหึมาที่ตัดพื้นที่ส่วนใต้ของเกาะให้ ขาดจากพื้นที่ส่วนเหนือของเกาะ ที่นี่มีหอประชุมขนาดใหญ่ส�ำหรับรองรับ การประชุมที่มีผู้เข้าร่วมประชุมจ�ำนวนมาก โดยอาคารหอประชุมเสียบเข้าไป ในที่ว่างใต้สะพานควีนส์โบโร; แท่งหินอ่อน 2 แท่งเป็นพื้นที่ของส�ำนักงานที่มี คอกส�ำหรับการท�ำงาน พื้นที่ระหว่างแท่งทั้งสองเป็นพื้นที่ที่อยู่เหนือระดับของ สะพานมีวัตถุที่ท�ำจากกระจกตั้งอยู่บนแท่ง – ทางขึ้นออกแบบโดยใช้เส้นโค้ง เพือ่ สะท้อนเส้นโค้งของสะพาน – เป็นพืน้ ทีส่ ำ� หรับเล่นกีฬาและเป็นศูนย์กลาง ความบันเทิงส�ำหรับผู้ที่เข้าร่วมประชุม
463
2. อาคารที่ออกแบบส�ำหรับนิวยอร์กแต่ถูกยกเลิกไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ก็ตาม จะถูกน�ำมาสร้าง “ย้อนหลัง” บนพื้นที่ช่วงถนนเหล่านี้ เพื่อท�ำให้ ประวัติศาสตร์ของลัทธิแมนแฮตตันจบลงอย่างสมบูรณ์แบบ หนึ่งในอาคาร นั้ น คื อ สถาปั ต ยกรรมตามรู ป แบบของลั ท ธิ อ นุ ต รนิ ย มหรื อ สุ ป รี ม าติ ส ม์ New Welfare Island (1975-1976)
Welfare Palace Hotel (1976)
โรงแรมเวลแฟร์ พาเลซ (ค.ศ. 1976)
466
ภาพ 3 มิติแบบแอกโซโนเมตริกที่ตัดแสดงให้เห็นพื้นที่ชั้นล่างของโรงแรมเวลแฟร์ พาเลซ: โรงละครทีน่ ำ�้ ท่วม/ ภัตตาคาร/ ไนต์คลับ (ทีม่ เี รือ่ งราวของเกาะร้าง, เรืออับปาง, เสาประภาคาร, ระเบียงรับประทานอาหาร และเรือชูชีพ): เกาะ – ในรูปแบบเหมือน วันแรกที่ค้นพบ มีพลาซ่าส�ำหรับการจับจ่ายซื้อของ; พื้นที่ต้อนรับของโรงแรม; ทางเข้า ตึกสูงระแม่น�้ำในแนวนอน (พื้นที่ด้านหลังเป็นตึกสูงระฟ้า 4 ตึกที่มีสวนอยู่บนหลังคา) บริเวณปลายแกนแนวขวางของโรงแรมเป็นแท่นแนวนอนทอดยาวทีม่ คี วามสูงไม่มาก – ด้านหนึ่งทอดยาวมองเห็นสระว่ายน�้ำแบบ “จีน” ส่วนอีกด้านหนึ่งมองเป็นพลาซ่าครึ่ง วงกลม เปลือกของอาคารที่เป็นแท่นแนวนอนนี้มีการออกแบบให้เป็นประติมากรรม 3 มิติที่ท�ำหน้าที่เป็นที่พักที่หรูหรา การเรียงอาคารเป็นรูปตัววีทปี่ ระกอบไปด้วยตึกสูงระฟ้าจ�ำนวน 6 ตึก – แต่ละตึกมีคลับ เป็นของตนเอง (ซึ่งมีแนวทางการออกแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับต�ำนานที่เกิดขึ้นบน ชั้นล่างของตึกสูงระฟ้าเหล่านี้) ตึกสูงล�ำดับที่ 1: ห้องล็อกเกอร์สำ� หรับเก็บสัมภาระ, หาดทรายรูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั ล้อมรอบ ด้วยสระว่ายน�้ำเป็นแถบเส้นรอบวง; ตึกสูงล�ำดับที่ 2: บาร์ที่ท�ำจากสะพาน “เทียบ”; ตึกล�ำดับที่ 3: คลับทีแ่ สดงพลังของอารมณ์ เป็นจุดสุดยอดของประติมากรรมทีใ่ ช้ตกแต่ง ผนัง; ตึกล�ำดับที่ 4: พื้นที่ว่าง; ตึกล�ำดับที่ 5: น�้ำตก/ภัตตาคาร; ตึกล�ำดับที่ 6: คลับ ความไร้ขีดจ�ำกัดของฟรอยด์
467
พื้นที่สีฟ้าอ่อนบริเวณด้านหน้าขอโรงแรมเป็นลานสเกตน�้ำแข็ง; บริเวณด้านซ้ายของ โรงแรมคือที่ตั้งของสระว่ายน�้ำแบบ “จีน”; ด้านหน้าของโรงแรมคือแพนรกของเมดูซ่า ที่เป็นประติมากรรม 3 มิติสร้างจากพลาสติกขนาดใหญ่มหึมา (มีพื้นที่ขนาดเล็กเอาไว้ ส�ำหรับเต้นร�ำ)
The Story of the Pool (1976)
เรื่องราวเกี่ยวกับสระว่ายน้ำ� (ค.ศ. 1977)
472
473
การเดินทางมาถึงของสระว่ายน�้ำที่ลอยน�้ำได้: หลังจากการเดินทางข้ามมหาสมุทร แอตแลนติกผ่านไปได้ 40 ปี, สถาปนิก/เจ้าหน้าที่คอยช่วยชีวิตคนจมน�้ำได้เดินทางมา ถึงจุดหมายปลายทาง แต่พวกเขากลับไม่รตู้ วั : เพราะลักษณะการเคลือ่ นทีข่ องสระว่ายน�ำ้ – ปฏิกริ ยิ าของการย้ายต�ำแหน่งไปในน�ำ้ – สถาปนิกต้องว่ายน�ำ้ ไปในทิศทางของสถานที่ ที่พวกเขาต้องการจะหนีออกมา และว่ายน�้ำไปในทิศทางตรงกันข้ามกับปลายทางที่ พวกเขาต้องการจะเดินทางไปให้ถึง
จากเนื้อหาหน้า
112
482
483
จากเนื้อหาหน้า
125
จากเนื้อหาหน้า
226
484
485
จากเนื้อหาหน้า
245