How to be a good design manager Episode II ภาคสองบทบาทผู้จัดการงานออกแบบ

Page 1



HOW TO BE A GOOD DESIGN MANAGER

ภาคสอง บทบาทผู้จัดการ งานออกแบบ EPISODE

2 วิญญู วานิชศิริโรจน์


คำ�นิยม: ชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว

4


หนังสือเล่มนี้เป็น ‘ภาคสองบทบาทผู้จัดการงานออกแบบ’ อันสืบเนื่องมา จากข้อคิดต่างๆ และประสบการณ์กว่าสามสิบปีที่คุณวิญญู วานิชศิริโรจน์ ได้ รวบรวมมาบันทึกไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบวิชาชีพสายงานเดียวกัน กับคุณวิญญูเอง นับว่าได้ทำ�กุศลกรรมที่ดียิ่ง โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน การทำ�งานจึงจำ�ต้องปรับตัวให้ ทันกับการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เพราะมีแนวทางการปฏิบัติและปัญหา เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแตกต่างออกไปจากเดิมอย่างไม่มีวันหยุดยั้ง ระบบการ ทำ�งานจึงต้องถูกปรับปรุงอยู่เสมอๆ ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลงานที่ยอดเยี่ยม ทันสมัย และเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติของเราตลอดไปและขอให้คุณวิญญู มานะพยายามออกภาคสามต่อไปให้จงได้ สุดท้ายนีข้ อให้ผปู้ ฏิบตั งิ านในสายวิชาชีพนีต้ ระหนักเสมอว่า “ชีวติ ทีล่ �ำ บากคือ ชีวติ ทีเ่ จริญ”1 และ “ถ้าเชือ่ ในหลักการแล้ว ความมานะ อดทน จะตามมาเอง”2 และขอให้ประสบความสำ�เร็จความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยเทอญ ชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว ผู้ร่วมงานอาวุโสของผู้เขียน

1

คำ�กล่าวของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว

2

คำ�กล่าวของ ศาสตราจารย์ พันตรี ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

5


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์: นิธิ สถาปิตานนท์

6


วิญญู วานิชศิริโรจน์ เกิดมาเพื่อเป็นสถาปนิก เขารักและศรัทธาในวิชาชีพนี้ จนอาจกล่าวได้ว่า เขามีจิตวิญญาณของการเป็นสถาปนิกอยู่ในสายเลือดเต็ม เปี่ยม ด้วยทุกคนจะเห็นเขาทำ�งานวนเวียนอยู่ในแวดวงสถาปัตยกรรม ตลอด ระยะเวลากว่าสามสิบปี ตั้งแต่จบการศึกษามาจากรั้วมหาวิทยาลัย ในบาง ช่วงเวลาได้ออกไปเล่าเรียนบางวิชาเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการ ทำ�งาน ตั้งแต่ไปเรียนปริญญาโทในสายวิชาบริหารธุรกิจ เรียนวิชาพาณิชยศาสตร์ หรือแม้แต่เข้าเรียนในภาควิชาวิทยาศาสตร์ เมื่อเรียนจบแล้วคุณ วิญญูก็กลับมามุ่งมั่นทำ�งานในสายวิชาชีพสถาปัตยกรรมและได้ใช้วิชาความรู้ ที่ร่ำ�เรียนมาเสริมวิชาความรู้ให้เข้มแข็งและเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก เมื่อ มีความรู้ความเชี่ยวชาญถึงขั้นหนึ่งแล้ว ก็ไม่เคยมองข้ามที่จะถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ให้เป็นวิทยาทานแก่ผอู้ นื่ อาสาทีจ่ ะเข้าไปช่วยเหลือสังคมใน หลายๆ สถานะ เช่น เข้าไปทำ�งานให้กบั สมาคมสถาปนิกสยามฯ เป็นกรรมการ ในคณะทำ�งานด้านการจัดทำ�มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพในหลายๆ สถานะ และหลายวาระทัง้ ยังได้ใช้เวลาในการเขียนบทความเผยแพร่ความรูท้ งั้ ในสายวิชาชีพ ทั้งสายวิชาการและให้ความรู้ทั่วไปแก่สาธารณชนอีกมากมาย หลายเล่ม เมื่อมีเวลาว่างยังได้เขียนบทความในวารสารของสมาคมสถาปนิก สยามฯ ในวารสารข่าวช่าง และในวารสารทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับการก่อสร้างอยูเ่ สมอๆ สาระความรู้ ทั้ ง หลายเหล่ า นี้ ล้ ว นมี คุ ณ ประโยชน์ อ เนกอนั น ต์ แก่ ว งการ สถาปัตยกรรม บริษทั ลายเส้นฯ มีโอกาสได้พมิ พ์หนังสือ ชือ่ “บทบาทผูจ้ ดั การงานออกแบบ” ซึ่งเขียนโดยคุณวิญญู เมื่อปี พ.ศ.2557 เป็นการเขียนจากประสบการณ์ ด้านการบริหารจัดการในสำ�นักงานออกแบบ กอปรกับมีพื้นฐานเป็นนักคิด นักวิเคราะห์และนักแก้ปัญหา ทำ�ให้สามารถลำ�ดับขั้นตอนการทำ�งานของ สถาปนิกและนักออกแบบได้อย่างทะลุปรุโปร่งและถึงแก่น ทำ�ให้ผอู้ า่ นหนังสือ ได้ประโยชน์มากมาย และสามารถนำ�เกร็ดความรู้ต่าง ๆ ไปเป็นแรงผลักดัน ในการประกอบวิชาชีพได้ ในปีนี้คุณวิญญูได้เขียนหนังสือขึ้นอีกเล่มหนึ่งต่อ เนือ่ งจากเล่มทีแ่ ล้ว เป็นเนือ้ หาทีย่ งั ไม่ได้เขียนถึงไว้ในเล่มแรกและในบางเรือ่ ง ได้เขียนให้เป็นถึงแง่ปฏิบตั ใิ นเชิงลึก เพือ่ ให้ผทู้ ที่ �ำ งานในหน้าทีข่ องผูจ้ ดั การงาน ออกแบบ ได้เข้าใจในแนวทางการทำ�งาน และเน้นการแก้ปัญหาในเชิงปฏิบัติ ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

7


เมือ่ ผมได้อา่ นบทความเล่มใหม่ของคุณวิญญูแล้ว ผมไม่ได้ลงั เลใจเลยทีแ่ นะนำ� ให้ นำ�มาจัดพิมพ์ออกเผยแพร่สู่สาธารณชน โดยเฉพาะสู่กลุ่มนิสิตนักศึกษา และกลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่ๆ ที่เริ่มทำ�งานเข้าสู่การเป็นผู้บริหารโครงการและ ผู้จัดการงานออกแบบ สิ่งต่างๆ ที่จะได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มใหม่นี้ จะมี ประโยชน์อย่างมากมายต่อการประกอบวิชาชีพ สิ่งที่คุณวิญญูได้ถ่ายทอดมา ให้พวกเราได้เรียนรูก้ นั นัน้ ล้วนเป็นบทบัญญัตทิ จี่ ะช่วยให้เป็นสถาปนิกและนัก ออกแบบที่สมบูรณ์และปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นับได้ว่า หนังสือเล่มนี้มีคุณค่าและมีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อวงการออกแบบของเรา ผมหวังเป็นอย่างมากว่าการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ จะประสบความสำ�เร็จสมดัง เจตนารมณ์ทกุ ประการและขอขอบคุณ คุณวิญญูทมี่ งุ่ มัน่ ตัง้ ใจเขียนหนังสือด้วย เจตนาทีบ่ ริสทุ ธิท์ จี่ ะช่วยเหลือสังคม และวงการเราให้เจริญก้าวหน้ายิง่ ๆ ขึน้ ไป

นิธิ สถาปิตานนท์ ศิลปินแห่งชาติ

8



เกริ่นนำ�

10


หนังสือภาคใหม่เป็นการนำ�เสนอเนื้อหาเพิ่มเติมจากภาคที่แล้ว เป็นเรื่องที่ ผู้เขียนอยากจะเล่าแต่ยังไม่ได้เขียนไว้ในเล่มแรก โดยเฉพาะเรื่องที่ ‘ผู้จัดการ งานออกแบบ’ ต้องทำ�ในเชิงลึก โดยได้อ้างอิงเนื้อหาเล่มแรกหลายเรื่องจึง แนะนำ�ให้ท่านควรผ่านตาภาคหนึ่งก่อนเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์ เป้าหมายสำ�หรับภาคนี้ยังยึดแนวคิดเดิมที่ได้ประกาศไว้ในภาคแรกคือ สร้าง แรงบันดาลใจกับนักออกแบบทีค่ ดิ เป็นเพียงนักออกแบบทีท่ �ำ งานแต่ในออฟฟิศ เหมือนนางก้นครัว3 ให้กล้าออกมาเผชิญโลกภายนอกและเปลี่ยนตัวเอง เป็น กองหน้า นายทัพ จนกลายเป็นแม่ทัพ หรือเป็นผู้จัดการงานออกแบบ ที่เก่งกาจในที่สุด เนื้อหาในเล่มนำ�เสนอผ่านแนวคิด ประสบการณ์ ความรู้ของผู้เขียนที่มาจาก การศึกษาในโรงเรียนบริหารธุรกิจ และจากการทำ�งานเป็นสถาปนิกผูอ้ อกแบบ และผู้จัดการงานออกแบบของโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมมานานกว่า สามสิบปี ได้ลองทำ�จริงลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งจนตกผลึกแล้วนำ�มาย่อย ให้เป็นเนื้อหาของทั้งสองภาค เรือ่ งทีผ่ เู้ ขียนคาดหวังคือ ภาคนีจ้ ะมีเนือ้ หาทีอ่ า่ นได้สนุก ได้ประโยชน์มากกว่า หรืออย่างน้อยก็เทียบเท่ากับภาคแรก อย่าให้เหมือนภาพยนตร์ฮอลลีวดู ทีห่ นัง ภาคต่อมักไม่สนุกเท่ากับหนังภาคแรกด้วยเทอญ วิญญู วานิชศิริโรจน์ เขียนที่ห้องพักชั้นสอง ในโรงแรมเล็กๆ ริมชายหาดปึกเตียน ชะอำ� เพชรบุรี

3

อยากรู้ว่า “นางก้นครัว” คืออะไรให้ไปอ่านจากภาคแรกหัวข้อ “ราชา vs. นางก้นครัว vs. นายทัพ”

11


สารบัญ: คำ�นิยม: ชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว

4

คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์: นิธิ สถาปิตานนท์

6

เกริ่นนำ�

10

บรรณานุกรรม

122


1

กรอบความคิด

2

นักออกแบบไม่เกี่ยง

3

เข้าใจงานออกแบบ

4

จุดตายนักออกแบบ

5

ต่อสู้เพื่องานออกแบบ

6

งานแปลกใหม่ต้องเสี่ยง

7

นำ�เสนองานออกแบบ

8

เผชิญหน้างาน

9

สัพเพเหระ

18

22

30 36 52

64 68 82

106


BE A SOLUTION MAKER NOT A PROBLEM CREATOR



1

กรอบ ความคิด ความเดิมตอนที่แล้ว เรื่องใหม่ของภาคนี้

18


ความเดิมตอนที่แล้ว งานออกแบบที่กล่าวถึงในหนังสือนี้เป็นงานในสาขา การออกแบบสภาพ แวดล้อม ที่เป็นงานออกแบบเชิงกายภาพ คือ งานออกแบบสถาปัตยกรรม งานออกแบบตกแต่งภายใน และงานออกแบบนิทรรศการ เป็นเรื่องหลักที่ใช้ ในการนำ�เสนอแนวคิดการเป็นผู้จัดการงานออกแบบที่ดีของทั้งภาคแรกและ ในภาคนี้ ในบทแรกของภาคแรกผู้เขียนโน้มน้าวให้นักออกแบบพัฒนาตัวเองมาเป็น ผู้จัดการงานออกแบบ4 ถัดจากนั้นได้นำ�เสนอการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนจาก นักออกแบบมาเป็นผูจ้ ดั การงานออกแบบทีด่ ตี อ้ งทำ�เรือ่ งอะไรบ้าง5 เนือ้ หาต่อ มาคือผู้จัดการงานออกแบบต้องมีความสามารถในการ คิดเอง หางานทำ�เอง ทำ�การตลาดโดยบริหาร 4P ให้ได้ครบทุกเรื่อง จากนั้นต้องเป็นผู้นำ� ต้องเป็น พวก ตี กัด จิก รู้จักตั้งคำ�ถามให้ตรงคำ�ตอบ รู้จักใช้เครื่องมือสื่อสารทั้งในยุค เก่า ยุคใหม่ ให้ถูกกาลเทศะ สามารถบริหารและจัดการประชุมได้เป็นอย่างดี เรื่องต่อมาที่ผู้จัดการงานออกแบบต้องจัดการคือ งานเอกสาร การเก็บและใช้ ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

4

เปรียบเทียบการมีสถานะทางสังคมและหน้าที่การงานผ่านการเล่าเรื่อง “ราชา vs นางก้นครัว vs นายทัพ”

5

ไม่จำ�เป็นต้องชอบหรือไม่ชอบทำ�อะไรแต่ต้องไม่เกี่ยง

19


กรอบความคิด

เรื่องใหม่ของภาคนี้ ในช่วงต้นขอเสริมการปรับตัวเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นผู้จัดการงานออกแบบที่ดี ต้องไม่เกี่ยงสามเรื่องสำ�คัญด้วยกันคือ ไม่เกี่ยงวางแผน ไม่เกี่ยงปัญหา และ สุดท้าย ต้องเกี่ยงเป็นเสมียน ตามด้วยหัวข้อ ข้อเท็จจริงงานออกแบบ จุดตายนักออกแบบ ต่อสู้เพื่องาน ออกแบบ งานแปลกใหม่ต้องเสี่ยง นำ�เสนองานออกแบบ เผชิญหน้างาน และ บทสุดท้าย “สัพเพเหระ” ทีเ่ ป็นเรือ่ งทีอ่ ยากนำ�เสนอแต่ไม่สามารถจัดเข้าหมวด ได้จึงเอามานำ�เสนอไว้ในบทนี้ นอกจากนั้นแต่ละบทมีการนำ�เสนอข้อมูลเพิ่ม เติมในลักษณะนิทานหรือเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องช่วยเพิ่มอรรถรส ในหนังสือจะใช้คำ�ว่า ‘ผู้ออกแบบ’ หรือ ‘นักออกแบบ’ แทนคำ�ที่หมายถึง สถาปนิกผูอ้ อกแบบ หรือ มัณฑนากร หรือ ผูอ้ อกแบบกราฟิก หรือ ผูอ้ อกแบบ สิ่งพิมพ์ ฯลฯ คือใช้แทนการกล่าวถึงผู้ออกแบบทุกสาขา

20



2

นักออกแบบ ไม่เกี่ยง ไม่เกี่ยงวางแผน ไม่เกี่ยงปัญหา เกี่ยงเป็นเสมียน ย�้ำ

22


ผู้จัดการงานออกแบบที่ดีควรมีคุณสมบัติที่ดีเพิ่มเติม อีก 3 ข้อคือ

ไม่เกี่ยงวางแผน เบนจามิน แฟรงคลิน นักวิทยาศาสตร์คนดังเคยกล่าวประโยคทองไว้ว่า “การ วางแผนผิดพลาดคือการตั้งใจท�ำงานให้ล้มเหลว”6 การเป็นผู้จัดการงาน ออกแบบที่ดีจึงต้องไม่เกี่ยงที่จะวางแผนการท�ำงานในทุกช่วงและทุกขั้นตอน ผูเ้ ขียนเคยคุยกับสถาปนิกอาวุโสท่านหนึง่ ทีท่ �ำงานในบริษทั เดียวกัน สถาปนิก ท่านนี้มาปรับทุกข์ว่าลูกค้ามาต่อว่าท�ำงานไม่เสร็จตามที่ตกลงกันไว้ ลูกน้อง ท�ำงานอะไรไปส่งก็ไม่รู้ จ�ำนวนคนท�ำงานก็ไม่พอกับเนื้องาน ทุกคนต่างโทษ กันว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา ผู้เขียนแนะน�ำให้สถาปนิกท่านนี้ให้เริ่มงานโดยท�ำแผนการท�ำงานขึ้นมาก่อน เพื่อใช้ในการสั่งงานและตรวจสอบการท�ำงานแต่ละระยะ วิธีนี้จะท�ำให้มีงาน ส่งให้ลกู ค้าตามก�ำหนด แต่สถาปนิกท่านนัน้ กลับพูดว่าไม่อยากท�ำแผนเพราะ ไม่เห็นประโยชน์ ถึงจะท�ำแผนล่วงหน้าแต่ไม่เคยท�ำงานได้ตามแผนเลยสักครัง้ แผนทีท่ �ำไว้กต็ อ้ งปรับแก้ไขแล้วปรับแก้ไขอีกจนกลายเป็นแค่แผนบนกระดาษ เขาจึงไม่เห็นว่าวางแผนไปแล้วจะได้ประโยชน์อะไร แนวคิดแบบนีเ้ ป็นความเชือ่ ของผู้ออกแบบในประเทศเรา ผู้เขียนจึงต้องอธิบายว่าแผนงานนั้นท�ำขึ้นมาก็เพื่อไว้ปรับแก้ เพื่อให้แผนงาน มีประโยชน์สูงสุดเราจะต้องคอยปรับแผนให้ตรงกับการท�ำงานจริงเสมอ จึง เป็นเรื่องเข้าใจผิดว่าเมื่อท�ำแผนแล้วห้ามปรับแก้ ถ้าท�ำงานไปแล้วพบว่าไม่ ตรงตามแผนที่เขียนไว้ ก็ให้ปรับแก้ไขให้ตรงกับการท�ำงานจริง สิ่งที่ได้จาก การท�ำแผนงานล่วงหน้าอย่างแรกคือ สามารถตรวจสอบว่างานที่ท�ำอยู่ล่าช้า หรือเร็วกว่าแผนที่วางไว้ โดยไม่ต้องรอให้งานสิ้นสุด ท�ำให้ปรับวิธีการท�ำงาน และแก้ปัญหาได้ล่วงหน้า นอกจากนั้นแม้ว่าการวางแผนครั้งแรกไม่ตรงกับ การท�ำงานจริง ข้อมูลที่ได้สามารถน�ำมาเป็นประสบการณ์ เพื่อใช้ท�ำแผนการ ท�ำงานส�ำหรับโครงการในอนาคต จะท�ำให้เขียนแผนให้ถกู ต้องและตรงกับการ ท�ำงานจริงได้มากขึ้นเรื่อย ๆ 23 “If you fail to plan, you plan to fail” Benjamin Franklin

6


นักออกแบบไม่เกี่ยง

การวางแผนการท�ำงานไม่จ�ำเป็นต้องท�ำอย่างเต็มรูปแบบเสมอไป อาจเป็นแค่ แผนที่เขียนด้วยลายมือหรือเขียนเป็นตารางแผนงานแบบง่าย ๆ หรือแม้แต่ เขียนแผนเป็นข้อความแสดงเป็นรายการ ๆ ก็ได้ ข้อมูลส�ำคัญที่ต้องแสดงใน แผนนั้นประกอบด้วยข้อมูลเพียง 3 อย่างเท่านั้นคือ ต้องท�ำอะไร ต้องท�ำเสร็จ เมือ่ ไร และใครต้องเป็นคนท�ำ ด้วยข้อมูลเท่านีเ้ ราจะได้แผนส�ำหรับใช้ท�ำงานที่ ส่งผลดีต่อการบริหารงานอย่างมากมาย ดังนั้นการเป็นผู้จัดการงานออกแบบ ที่ดีจึงไม่ควรเกี่ยงที่จะวางแผนการท�ำงานในทุกโครงการ

ไม่เกี่ยงปัญหา มีค�ำพูดหนึ่งกล่าวไว้ว่าการท�ำงานในหน้าที่ผู้จัดการที่ดีต้อง “Be a solution maker not a problem creator” หรือ “เป็นผู้หาค�ำตอบอย่าเป็นนักสร้าง ปัญหา” เพือ่ ให้ค�ำพูดนีเ้ ป็นจริงสิง่ ทีต่ อ้ งท�ำคือตัดค�ำว่า “ท�ำไม่ได้” ทีค่ นไทยชอบ พูดติดปากเมือ่ เวลาเจอปัญหายาก ๆ ออกไปให้ได้ เพราะถ้าเริม่ ด้วยค�ำนีเ้ มือ่ ไร เราจะไม่มที างแก้ปญ ั หาหรือท�ำงานได้ส�ำเร็จ เพราะยังไม่ลองท�ำก็ยกธงขาวแล้ว ผู้จัดการงานออกแบบที่เก่งต้องพร้อมกระโจนเข้าไปในปัญหาทุกเรื่อง แต่ถ้า เจอปัญหาที่ยากเราจะต้องหาทางแก้ปัญหาแบบใหม่ ๆ ผู้เขียนมีแนวคิดเรื่อง การแก้ปัญหาอยู่สองวิธีคือ การแก้ปัญหาแบบตะวันตกที่เรียกว่า “Cutting

24


the Gordian knot”7 ที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงเคยใช้เมื่อกว่าสอง พันปีมาแล้ว ต�ำนานเรื่อง ตัดปมเชือกกอร์เดียน (Cutting the Gordian Knot) เป็นเรื่องเล่าของ เมืองกอร์เดียน (Gordian) แห่งอาณาจักรฟรีเจีย (Phrygian) ที่อยู่ตอนใต้ของกรีก เมือ่ กษัตริยอ์ าไมดาส (Ahmidas) ขึน้ ครองราชย์ ท่านทรงผูกเชือกเส้นหนึง่ ไว้กบั เสา วิหารของเมืองกอร์เดียมพร้อมกับพยากรณ์ไว้ว่า “ผู้แก้ปมนี้ได้ส�ำเร็จจะเป็นผู้ครอง เอเชีย” เวลาผ่านไปหลายปีกไ็ ม่มใี ครแก้ปมเชือกนีไ้ ด้ส�ำเร็จ จนกระทัง่ 333 ปีกอ่ น คริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) เสด็จมาที่ เมืองกอร์เดียนและได้ทรงลองแก้ปมเชือกนัน้ ดู แต่ท�ำอย่างไงก็แก้ปมเชือกนัน้ ไม่ได้ พระองค์จงึ คว้าดาบมาฟันปมเชือกนัน้ ขาดออก จึงเป็นทีม่ าของค�ำอุปมาอุปมัยถึงวิธี แก้ปัญหาที่เด็ดขาดและฉับไวว่า “Cutting the Gordian knot” นั่นเอง

แนวคิ ด การแก้ ป ั ญ หาอี ก วิ ธี ห นึ่ ง เป็ น ของฝั ่ ง ตะวั น ออกเรี ย กว่ า “ทฤษฎี แมลงสาบ”8 น�ำเสนอโดย สันดรา พิชัย ซีอีโอ บริษัท Google ที่บอกว่า ตนเองใช้แนวทางนี้ในการแก้ปัญหาของชีวิตมาโดยตลอดจนท�ำให้ก้าวขึ้นมา เป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัทที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในทุกวันนี้ เรือ่ งเล่าเกีย่ วกับทฤษฎีแมลงสาบนัน้ เริม่ ต้นที่ มีผหู้ ญิงไฮโซกลุม่ หนึง่ นัง่ ทานอาหาร อยูใ่ นภัตตาคารหรูหราแห่งหนึง่ เกิดมีแมลงสาบทีบ่ นิ จากซอกหลืบทีไ่ หนสักแห่งลง มาเกาะที่ไหล่ที่ผู้หญิงคนหนึ่งในกลุ่มนั้น เธอคนนั้นตกใจมากจึงกรีดร้อง กระโดด ลุกจากเก้าอี้ สะบัดตัวและมือไปมาหวังให้แมลงสาบตัวนั้นหลุดออกจากตัว แต่ แมลงสาบเจ้ากรรมกลับเกาะนิ่งอยู่ที่เดิม เลยยิ่งท�ำให้ผู้หญิงคนนั้นและทุกคนใน ร้านประสาทเสียไปกันหมด สักพักแมลงสาบตัวนั้นได้บินออกจากไหล่ของผู้หญิงคนแรกแล้วไปเกาะที่ไหล่ของ ผูห้ ญิงอีกคนในกลุม่ เดิม ผูห้ ญิงคนใหม่จงึ เริม่ เต้นแร้งเต้นกาเหมือนคนแรกไม่มผี ดิ ความโกลาหลแบบเดิมจึงเกิดซ�้ำอีกครั้ง พนักงานเสิรฟ์ ชายคนหนึง่ ในร้านทีอ่ ยูใ่ กล้เหตุการณ์ทสี่ ดุ ได้วงิ่ เข้าไปช่วย แมลงสาบ ตัวนั้นจึงหันมาเล่นงานพนักงานคนนั้นโดยบินมาเกาะที่ผ้ากันเปื้อนของเขา แต่ ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org ข้อมูลจาก http://www.mensxp.com/technology/latest/27319-heres-sundar-pichais-cockroachtheory-that-will-teach-you-a-thing-or-two-about-life.html และ http://thumbsup.in.th/2015/08/ cockroach-theory-that-will-teach-you-a-thing-or-two-about-life

7 8

25


3

เข้าใจ งานออกแบบ งานออกแบบเป็นขบวนการไม่ใช่ผลผลิต งานดีไซน์เป็นงานแรงงาน ค่าบริการเป็นจิตวิทยา

30


การเข้ า ใจธรรมชาติ แ ละข้ อ เท็ จ จริ ง ของงานออกแบบ ย่อมท�ำให้เราบริหารและจัดการงานออกแบบได้ดียิ่งขึ้น

งานออกแบบเป็นขบวนการไม่ใช่ผลผลิต

การส่งผ่านข้อมูลที่ไม่ดีอาจทำ�ให้งานออกแบบที่ผลิตออกมาผิดจากความต้องการของลูกค้า10 ปรับปรุงภาพจาก https://yanado.com/blog/top-4-project-management-methodologiesand-when-to-use-them/ , https://www.ajoysingha.info/software-testing-jokes และ https:// www.pinterest.com/pin/474918723176904377/

10

31


เข้าใจงานออกแบบ

ภาคทีแ่ ล้วได้บอกว่าผลผลิตสุดท้ายทีน่ กั ออกแบบสร้างสรรค์ออกมาไม่ใช่สนิ ค้า แต่เป็นข้อมูลทีจ่ ะถูกน�ำไปใช้เพือ่ ผลิตเป็นสินค้าหรือน�ำไปพิมพ์หรือน�ำไปสร้าง เป็นอาคาร ดังนัน้ การท�ำงานของนักออกแบบจึงเป็นการท�ำงานกับข้อมูล ข้อมูล ที่ได้รับและสร้างสรรค์ขึ้นแต่ละช่วงจะส่งผลกับงานในขั้นสุดท้าย ท�ำให้งาน ออกแบบเป็นขบวนการท�ำงานไม่ใช่ผลผลิต การท�ำงานแต่ละขั้นผู้จัดการงานออกแบบต้องดูแลขบวนการท�ำงานให้ข้อมูล มีความถูกต้องชัดเจน มีการบันทึกและส่งผ่านข้อมูลในแต่ละขั้นตอนอย่างมี ระบบตัง้ แต่เริม่ งานจนงานแล้วเสร็จ เพือ่ ให้ได้งานออกแบบทีเ่ ป็นไปตามความ ต้องการของลูกค้า รูปต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการบริหารข้อมูลที่ผิดพลาดท�ำให้ ตีความผิดงานออกมาแบบจึงกลายเป็น “จากหน้ามือเป็นหลังเท้า”

งานดีไซน์เป็นงานแรงงาน งานออกแบบคืองานทีต่ อ้ งใช้แรงงานของคนสร้างสรรค์ให้เกิดผลงานจึงมีตน้ ทุน หลักมาจากการจ้างแรงงานหรือทีเ่ รียกว่า Labor intensive หรือ งานใช้แรงงาน แตกต่างกับงานผลิตสินค้าที่มีลักษณะเป็น Capital intensive หรือ งานใช้เงิน ทุน ต้นทุนส่วนใหญ่หมดไปกับการซื้ออุปกรณ์ เครื่องจักร และวัตถุดิบ ธุรกิจ ประเภทนี้เงินลงทุนจึงส�ำคัญที่สุด ต้นทุนส่วนใหญ่ของงานออกแบบคือค่าแรงส่วนรายได้มาจากค่าบริการ ดังนัน้ ยิ่งใช้เวลาและคนในการท�ำงานมากเท่าไรต้นทุนจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน ส่งผล ให้ก�ำไรลดลงหรืออาจถึงขั้นขาดทุนถ้าใช้เวลาหรือใช้คนมากกว่าที่คาดไว้ วิธี ควบคุมต้นทุนโครงการออกแบบจึงต้องควบคุมจ�ำนวนพนักงานที่ใช้และเวลา ท�ำงาน ยิ่งใช้คนน้อยและใช้เวลาน้อยเท่าไรต้นทุนจะยิ่งลดลงท�ำให้ก�ำไรเพิ่ม ขึ้นเป็นเงาตามตัว

32


ผู้จัดการงานออกแบบที่ดีมีหน้าที่ต้องควบคุมต้นทุนการท�ำงานของแต่ละ โครงการผ่านการบริหารเวลาท�ำงานและใช้จ�ำนวนคนท�ำงานที่เหมาะสม โดย ถ่วงน�้ำหนักให้พอดีระหว่างการใช้ต้นทุนน้อยแต่ยังคงได้งานออกแบบที่มี คุณภาพ

ค่าบริการเป็นจิตวิทยา นั ก ออกแบบไม่ ว ่ า จะเป็ น สถาปนิ ก มั ณ ฑนากร นั ก ออกแบบกราฟิ ก นักออกแบบสิ่งพิมพ์ ฯลฯ มักจะบ่นว่าค่าบริการออกแบบนั้นต�่ำกว่าที่ควรจะ เป็น ไม่เหมาะสมกับคุณค่าของงานถึงขั้นเรียกร้องให้ก�ำหนดค่าบริการเป็น มาตรฐาน เรื่องนี้ไม่มีทางเป็นไปได้ในระบบทุนนิยม เพราะค่าบริการฯ นั้น เหมือนกับราคาสินค้าทีจ่ ะสูงหรือต�ำ่ นัน้ ขึน้ กับกลไกการตลาดทีม่ าจากอุปสงค์ คือความต้องการจ้างท�ำงานของผูว้ า่ จ้าง กับอุปทานหรือการเสนอตัวจะท�ำงาน ของนักออกแบบ เป็นตัวแปรหลักที่ก�ำหนดค่าบริการงานออกแบบ ในขณะทีต่ ลาดมีอปุ สงค์จ�ำกัดคือความต้องการจ้างท�ำงานออกแบบมีนอ้ ย ส่วน อุปทานที่มาจากนักออกแบบทั้งมือเก่าและมือใหม่ที่ต้องการท�ำงานออกแบบ กลับมีมากและมากกว่าอุปสงค์หลายเท่า ท�ำให้เกิดการแข่งขันสูง ส่งผลให้ค่า ออกแบบมีมูลค่าต�่ำตามกลไกตลาดนั่นเอง ถึงแม้วา่ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์นแี้ สดงให้เห็นว่าท�ำไมค่าบริการงานออกแบบ ในตลาดจึงไม่สูงตามที่นักออกแบบต้องการ แต่ในทางกลับกันเราพบว่ามีผู้ ออกแบบหลายคนสามารถเรียกค่าบริการฯ ได้สูงกว่าผู้ออกแบบรายอื่นและ ยังพบว่ามีนักออกแบบบางคนที่ได้รับค่าบริการต�่ำกว่าราคาตลาดมากด้วย เช่นกัน สาเหตุที่ท�ำให้เกิดเรื่องนี้มาจาก “ความหนืดของข้อมูล” และมาจาก ผลทาง “จิตวิทยา” ความหมายของค�ำว่า ความหนืดของข้อมูล นัน้ มาจากเหตุทวี่ า่ การคิดค่าบริการ ออกแบบเราจะใช้ขอ้ มูลในอดีตมาใช้อา้ งอิง ข้อมูลทีผ่ อู้ อกแบบน�ำมาใช้จงึ ไม่ทนั สมัยไม่ทันเหตุการณ์ เช่น นักออกแบบเสนอค่าออกแบบกับเจ้าของโครงการ

33


เข้าใจงานออกแบบ

ด้วยมูลค่าจ�ำนวนหนึง่ แต่ปรากฏว่าไม่ได้รบั การว่าจ้าง นักออกแบบรายนัน้ จึง คิดว่าค่าออกแบบทีเ่ สนอน่าจะสูงเกินไป เมือ่ ไปเสนองานโครงการใหม่จงึ ได้ลด ค่าบริการลงจากยอดเดิมที่เคยเสนอราคาไปในโครงการก่อนหน้านี้ แต่ความเป็นจริงปรากฏว่าแม้ผอู้ อกแบบจะเสนอค่าบริการเท่าเดิมหรือมากกว่า เดิมก็ยงั ได้งาน เพราะคูแ่ ข่งของโครงการทีแ่ ล้วไม่สามารถเข้ามาเสนองานแข่ง ได้เนื่องจากไม่มีก�ำลังพอที่จะรับงานใหม่ จึงไม่มีความจ�ำเป็นที่จะต้องลดค่า บริการลงจากเดิม นี่เองคือผลจากความหนืดของข้อมูลที่ท�ำให้การรับรู้ข้อมูล ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้การวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานไม่ตรงกับที่ ควรจะเป็นค่าบริการออกแบบจึงต�่ำกว่าความเป็นจริง ส่วนผลทางจิตวิทยานั้นคือ การที่ผู้ออกแบบสามารถท�ำให้ผู้ว่าจ้างรู้สึกว่าเขา มีความพิเศษไม่เหมือนผู้ออกแบบรายอื่น เช่น มีฝีมือออกแบบที่แตกต่าง จากคู่แข่ง หรือมีประสบการณ์เฉพาะในงานออกแบบนั้น หรือมีชื่อเสียงระดับ ประเทศหรือระดับโลก หรือให้บริการที่เหนือกว่าคู่แข่ง หรือรู้จักสนิทชิดเชื้อ กับผู้ว่าจ้างเป็นพิเศษ เหตุผลเหล่านี้ท�ำให้ผู้ออกแบบรายนั้นสามารถเรียกค่า บริการที่สูงกว่าราคาตลาดที่มาจากทางจิตวิทยานั่นเอง ผู้จัดการงานออกแบบจึงต้องเกาะติดสถานการณ์ตลาดการจ้างงานบริการ ออกแบบตลอดเวลาเพื่อลดผลของความหนืดของข้อมูล และต้องสร้างภาพให้ ทีมงานออกแบบแตกต่างจากคูแ่ ข่งเพือ่ สร้างผลทางจิตวิทยาเพือ่ ท�ำให้สามารถ เสนอค่าบริการวิชาชีพที่เท่ากันหรือสูงกว่าคู่แข่งเสมอ

34



4

จุดตาย นักออกแบบ ชอบแก้โลโก้ คนมากงานเสร็จช้า ไม่สนใจกฎหมาย ไม่คุมงบประมาณ ไม่รียูส งานเสร็จดีกว่างานเพอร์เฟกต์ งานเสร็จไม่จบ ความแปลกใหม่ไม่ได้ดีที่สุด หวังดีเป็นผลร้าย 36


บทนีน ้ ำ� เสนอข้อมูลทีเ่ ป็นจุดตาย ของนักออกแบบทีช ่ อบ ท�ำผิดจนท�ำให้เกิดความเสียหาย กับโครงการออกแบบ ผูจ ้ ด ั การงานออกแบบมีหน้าที่ ดูแลทีมงานออกแบบทีอ ่ ยู่ ในความรับผิดชอบไม่ให้ท�ำผิดพลาดในเรื่องเหล่านี้

ชอบแก้โลโก้ นักออกแบบมีนสิ ยั ทีไ่ ม่ดอี ย่างหนึง่ คือเป็นพวกชอบแก้งานคนอืน่ และทีแ่ ย่ทสี่ ดุ คือชอบแก้สญ ั ลักษณ์ หรือโลโก้ ของลูกค้า เรือ่ งนีก้ อ่ ให้เกิดความเสียหายมาก จนบางครั้งถึงขั้นหมดทางแก้ไขเลยทีเดียว สั ญ ลั ก ษณ์ ห รื อ โลโก้ ข องเจ้ า ของโครงการมี ค วามส�ำคั ญ มากจนพู ด ได้ ว ่ า “แตะต้องไม่ได้” เพราะกว่าที่โลโกขององค์กรจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปต้อง ใช้เงินจ�ำนวนมากและยังต้องใช้เวลานานอยู่หลายปี ดังนั้นการที่อยู่ดี ๆ เกิด มีมนุษย์นักออกแบบคนหนึ่งที่เพิ่งได้รับงานที่ไม่เกี่ยวกับงานออกแบบตรา สัญลักษณ์เลยเกิดรู้สึกว่าโลโกของเจ้าของโครงการไม่สวยเลยเอามาปูยี่ปูย�ำ ท�ำใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมและไม่ควรท�ำ การน�ำเสนองานออกแบบอาคารให้กับเจ้าของโครงการของสถาปนิกรายหนึ่ง ได้ แ สดงรู ป ทั ศ นี ย ภาพที่ มี ต ราสั ญ ลั ก ษณ์ อ งค์ ก รติ ด อยู ่ ที่ ผ นั ง ภายนอกอาคาร แต่ตราฯ นั้นมีรูปร่างและสีที่ถูกออกแบบใหม่ไม่เหมือนของเดิม ทันทีที่ทัศนียภาพ นั้นถูกฉายออกไปที่หน้าจอแทนที่ลูกค้าจะพิจารณาแบบอาคารที่สถาปนิกน�ำเสนอ กลับไปดูแต่ตราฯ ถูกแก้ไขและเริ่มพูดต�ำหนิด้วยค�ำถามว่า “เปลี่ยนโลโก้ท�ำไม?” แต่แทนที่สถาปนิกท่านนั้นจะรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกลับตอบด้วยความภาคภูมิใจว่า “ได้ลองเอาโลโก้มาใส่บนอาคารแล้วแต่มันดูไม่สวยไม่เข้ากับอาคารที่ออกแบบ จึง เสนอโลโก้แบบใหม่เพื่อให้เข้ากับอาคารครับ” เมื่อได้ยินค�ำตอบนี้เจ้าของโครงการจึงหันไปพูดกับลูกน้องที่อยู่ในห้องประชุมว่า

37


จุดตายนักออกแบบ

“เราไปหาสถาปนิกที่ออกแบบอาคารให้เข้ากับโลโก้ของเราดีกว่านะ?” ว่าแล้วก็ เดินออกจากห้องประชุมไป คงไม่ต้องเดาแล้วว่าเหตุการณ์ต่อจากนั้นจะมีผลเป็น อย่างไรนะครับ

นักออกแบบมักไม่เข้าใจหรือท�ำเป็นไม่เข้าใจว่า ตราสัญลักษณ์นั้นถือเป็นภาพ ลักษณ์ เป็นตัวแทน เป็นหน้าตา และเป็นทรัพย์สินที่ส�ำคัญขององค์กร ไม่ว่า มันจะมีรูปแบบ หรือหน้าตา หรือสีสันที่อาจจะดูเชย ดูไม่ทันสมัย หรือดูไม่ สวยในสายตาของนักออกแบบ แต่นั้นไม่ใช่เรื่องส�ำคัญเพราะมันคือตัวตนที่ คนนอกไม่มีสิทธิ์เข้าไปปรับเปลี่ยนแก้ไขโดยพละการณ์ เปรียบเทียบไปแล้วคงเหมือนทีค่ นเราเกิดความรูส้ กึ ไม่ดเี มือ่ ถูกเรียกชือ่ ผิดหรือ เหมือนนักออกแบบรูส้ กึ โกรธหัวฟัดหัวเหวีย่ ง เมือ่ มีคนมาวิจารณ์หรือมาแก้งาน ออกแบบ แต่เป็นเรื่องแปลกที่นักออกแบบกลับไม่รู้ว่า เมื่อเอาโลโก้ของลูกค้า มาแก้แล้วลูกค้าจะรู้สึกอย่างไง มีข้อยกเว้นกรณีเดียวที่นักออกแบบสามารถเข้าไปแก้ตราสัญลักษณ์ของ เจ้าของโครงการได้คือถูกว่าจ้างให้มาออกแบบโลโก้ให้ใหม่เท่านั้น นอกจากนี้ แล้วเราไม่มีสิทธิ์แตะต้องตราสัญลักษณ์ของลูกค้าเด็ดขาด ข้อสังเกตอีกเรือ่ งหนึง่ คือเมือ่ ต้องน�ำตราสัญลักษณ์ของลูกค้ามาใช้ประกอบงาน ออกแบบ ผู้ออกแบบต้องขอรายละเอียดของตราฯ นั้นจากเจ้าของโครงการ เท่านั้น ห้ามใช้วิธีหาจากอินเทอร์เน็ต เพราะหลายครั้งพบว่าข้อมูลที่อยู่ตาม เว็บไซต์มีรูปแบบที่ไม่ถูกต้องเพราะโดนปรับแต่ง ถ้าผู้ออกแบบเอาโลโก้ผิด ๆ พวกนีม้ าใช้อาจเป็นชนวนท�ำให้ลกู ค้าโกรธเพราะไม่พอใจคนทีเ่ อาโลโก้ไปแก้ไข เป็นทุนเดิมเลยพานมาโกรธเราแทนก็ได้

38


คนมากงานเสร็จช้า ตอนเรียนวิชาเลขชั้นประถมต้น เรื่องบัญญัติไตรยางศ์ที่มีโจทย์ประเภทว่า “คนงานหนึ่งคนก่อก�ำแพงได้ยาว 1 เมตรเสร็จในเวลา 1 วัน ถ้าก่อก�ำแพง ยาว 10 เมตรโดยใช้คนงานหนึ่งคนต้องใช้เวลาเท่าไร? และถ้าก่อก�ำแพงยาว 10 เมตรโดยคนงาน 10 คนต้องใช้เวลาเท่าไร?” ค�ำตอบแรกคือคนงาน 1 คน ก่อก�ำแพงยาว 10 เมตรต้องใช้เวลา 10 วัน ส่วนค�ำตอบส่วนที่สองคือคนงาน 10 คนก่อก�ำแพงยาว 10 เมตรจะแล้วเสร็จในเวลา 1 วัน วิธีการค�ำนวณใช้ การเทียบสัดส่วนตามทฤษฎีบัญญัติไตรยางศ์ แต่ถ้าโจทย์เปลี่ยนเป็นว่า “โครงการออกแบบชิ้นหนึ่งใช้นักออกแบบหนึ่งคน ท�ำเสร็จในเวลา 6 เดือน แต่ถ้าใช้นักออกแบบ 6 คนท�ำงานชิ้นเดียวกันนี้จะ ใช้เวลาเท่าไร?” ถ้าเป็นไปตามทฤษฎีบัญญัติไตรยางศ์น่าจะได้ค�ำตอบว่างาน ออกแบบนั้นจะเสร็จในเวลาหนึ่งเดือน แต่ทา่ นทีเ่ ป็นนักออกแบบน่าคิดต่างออกไป เพราะคนทีเ่ ข้าใจธรรมชาติของงาน ออกแบบจะทราบว่างานออกแบบนัน้ เป็นเรือ่ งของการใช้สมอง การใช้ความคิด สร้างสรรค์ และการตัดสินใจ ถึงแม้วา่ งานออกแบบจะมีลกั ษณะงานใช้แรงงาน ทีเ่ น้นการผลิตด้วยคน แต่งานออกแบบไม่ใช่งานทีส่ ามารถผลิตผลงานผันแปร ตามสัดส่วนของจ�ำนวนคนกับเวลา ค�ำตอบของโจทย์ข้างบนคืองานออกแบบนั้นอาจใช้เวลาน้อยกว่าหกเดือน แต่ ไ ม่ ใ ช่ เ หลื อ เพี ย งหนึ่ ง เดื อ นแน่ ๆ บางท่ า นอาจตอบว่ า งานที่ มี ก ารใช้ นักออกแบบมากขนาดนั้นต้องใช้เวลามากกว่าหกเดือนก็ได้ โดยเฉพาะใน โครงการที่มีผู้จัดการงานออกแบบที่ไม่มีความสามารถจะยิ่งท�ำให้การท�ำงาน ร่วมกันของคนจ�ำนวนมากไม่มีประสิทธิภาพ มีความขัดแย้งในระหว่างการ ท�ำงานท�ำให้งานล่าช้ามากกว่างานที่ใช้คนน้อย วิธีลดเวลาท�ำงานในโครงการออกแบบจึงไม่ควรใช้วิธีเพิ่มคนหรือที่เรียก ว่า “เอาคนเข้าถม” เพื่อหวังว่าจะท�ำให้งานเสร็จเร็วขึ้น วิธีที่ถูกต้องควรใช้ จ�ำนวนคนที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไปและมีผู้จัดการงานออกแบบที่มี ความสามารถคอยก�ำกับดูแลการท�ำงานของทีมงานจะสามารถลดเวลาการ ท�ำงานลงได้ 39


จุดตายนักออกแบบ

ไม่สนใจกฎหมาย ถึงแม้ว่างานออกแบบจะเน้นเรื่องแนวคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก แต่นักออกแบบ ไม่สามารถออกแบบนอกกรอบของกฎหมายที่ควบคุมอยู่ เช่น งานออกแบบ โฆษณาจะต้องท�ำงานภายใต้กฎหมายการประชาสัมพันธ์โฆษณา กฎหมาย คุม้ ครองผูบ้ ริโภค ส่วนงานออกแบบงานสถาปัตยกรรมจะต้องออกแบบอาคาร อยู่ในกรอบของกฎหมายควบคุมอาคาร เป็นต้น ผู้จัดการงานออกแบบจะต้องสนใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานของตัวเองโดย คอยติดตามความเคลื่อนไหวของกฎหมายที่มีการประกาศใช้ใหม่เสมอ การ อ้างว่าออกแบบไปโดยไม่รู้กฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่ท�ำไม่ได้เพราะหลักการ ส�ำคัญของกฎหมายข้อหนึ่งคือ “ผู้กระท�ำผิดจะแก้ตัวให้พ้นผิดโดยอ้างว่าไม่รู้ กฎหมายไม่ได้” นอกจากข้อจ�ำกัดจากกฎหมายแล้ว งานออกแบบยังต้องอยูภ่ ายใต้ขอ้ จ�ำกัดอืน่ อีกหลายเรื่อง ตัวอย่างเช่น งานออกแบบอาคารมีข้อจ�ำกัดส�ำคัญคือขอบเขต ที่ดิน ถ้าผู้ออกแบบน�ำข้อมูลที่ดินที่ผิดมาใช้ออกแบบจะก่อให้เกิดปัญหาที่ ใหญ่มาก ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ตรงเรื่องการใช้ข้อมูลขนาดที่ดินมาใช้งาน โดยในการ ท�ำงานโครงการออกแบบอาคารแห่งหนึง่ สถาปนิกได้รบั ไฟล์คอมพิวเตอร์ผงั ส�ำรวจ ที่ดินโครงการจากลูกค้า ทีมออกแบบได้พิมพ์ผังส�ำรวจจากไฟล์เพื่อน�ำมาใช้งานใน มาตราส่วน 1:250 จนงานออกแบบผ่านขัน้ แบบร่าง แบบพัฒนาไปจนถึงขัน้ จะลงมือ ท�ำแบบก่อสร้าง มีสถาปนิกท่านหนึ่งในทีมงานเอะใจว่าท�ำไมที่ดินถึงใหญ่จนบรรจุ อาคารลงได้ง่ายกว่าที่คาดไว้ จึงให้ลองสอบทานระยะของที่ดินกับผังโฉนด จึงพบ ว่าผังที่ดินที่น�ำมาใช้งานนั้นไม่ใช่มาตราส่วน 1:250 แต่เป็น 1:200 ต่างหาก และ พบสาเหตุความผิดพลาดมาจากคนท�ำแบบส�ำรวจเขียนแบบด้วยมาตราส่วนทีผ่ ดิ ไป จากมาตรฐานทั่วไป โชคดีที่ตรวจพบก่อนขั้นเขียนแบบก่อสร้างถ้าไปถึงตอนนั้นคง ก่อความเสียหายอีกหลายเท่า วิธีที่ผู้เขียนเคยน�ำมาใช้เพื่อป้องกันปัญหานี้คือ ทุกโครงการก่อนเริ่มงานต้องตรวจ สอบขนาดของที่ดินกับผังโฉนดและแผนที่ GPS ในอินเทอร์เน็ต โดยให้สอบระยะ

40


คร่าว ๆ เช่น ระยะความกว้างและความลึกของที่ดินเพื่อเช็คกับระยะผังที่ดินที่ได้ รับมาเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลของที่ดินนั้นถูกต้อง

ไม่คุมงบประมาณ มีงานออกแบบเจ๋ง ๆ หลายโครงการที่กว่าจะออกแบบเสร็จผู้ออกแบบต้อง เสียทั้งพลังความคิดสร้างสรรค์ เสียเวลาท�ำงานไปมากมาย บางชิ้นใช้เวลา ออกแบบนานหลายปี แต่เมือ่ งานออกแบบนัน้ ถูกส่งไปโรงงานผลิตสินค้า หรือ ผูร้ บั เหมาก่อสร้าง ปรากฏว่างานชิน้ นัน้ ใช้งบประมาณเกินจากทีต่ งั้ ไว้มาก งาน ออกแบบนัน้ จึงถูกส่งกลับไปให้ผอู้ อกแบบแก้ไขเพือ่ ให้ตน้ ทุนลดลงให้อยูใ่ นงบ ประมาณที่ตั้งไว้ การควบคุ ม ต้ น ทุ น การผลิ ต หรื อ ก่ อ สร้ า งควรท�ำตั้ ง แต่ ช ่ ว งเริ่ ม โครงการ และผู้จัดการงานออกแบบต้องตกลงตัวเลขงบประมาณกับลูกค้าตั้งแต่ก่อน เริ่มโครงการ เพื่อให้งบประมาณที่ก�ำหนดมีความเหมาะสมและเป็นไปได้จริง ถ้าเราไม่สามารถให้ความคิดเห็นช่วงตัง้ งบประมาณแต่ได้รบั ข้อมูลงบประมาณ หลังจากที่เข้าไปเป็นผู้ออกแบบแล้ว สิ่งที่ต้องท�ำคือให้ตรวจสอบงบประมาณ นั้นว่าเหมาะสมหรือไม่เมื่อเทียบกับคุณภาพและความต้องการของเจ้าของ โครงการ ถ้าไม่เหมาะสมให้โต้แย้งทันทีโดยน�ำเสนอตัวเลขงบประมาณที่ควร จะเป็นให้กับลูกค้าด้วย การโต้แย้งเรื่องงบประมาณมี 2 แนวทาง แนวทางแรกให้แจ้งว่าถ้าใช้งบ ประมาณตามทีก่ �ำหนดคุณภาพและขนาดโครงการจะไม่เป็นไปตามทีล่ กู ค้าคาด ไว้โดยให้แจ้งว่าจะได้คุณภาพและขนาดของโครงการในระดับใดให้กับเจ้าของ โครงการ ส่วนอีกแนวทางให้แจ้งงบประมาณที่ควรจะเป็นถ้าต้องการให้งานมี คุณภาพและขนาดตามที่เจ้าของโครงการต้องการ การพูดข้อเท็จจริงเรือ่ งนีต้ งั้ แต่ชว่ งเริม่ ต้นโครงการอาจท�ำให้ลกู ค้ารูส้ กึ ไม่ดแี ต่ เป็นสิ่งที่ควรท�ำดีกว่าให้เจ้าของโครงการต้องประหลาดใจในภายหลังเมื่อต้อง ลดขนาดและคุณภาพของงานหรือต้องหางานมาเพิ่มถ้าต้องการให้งานเป็นไป ตามที่ต้องการ จนกลายเป็นเรื่องใหญ่โตมีการกล่าวโทษกันไปมา 41


จุดตายนักออกแบบ

ผูจ้ ดั การงานออกแบบมีหน้าทีส่ �ำคัญทีต่ อ้ งดูแลงบประมาณโครงการตัง้ แต่เริม่ ต้นจนกว่างานนัน้ จะถูกผลิตหรือก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยเป้าหมายหลักคือให้งาน ออกแบบทีใ่ ช้สมองใช้เวลาและใช้แรงไปมากมายนัน้ เป็นเพียงงานบนกระดาษ ที่ไม่ได้น�ำไปผลิตหรือไปสร้างจริง ตัวอย่างงานออกแบบที่ไม่ได้สร้างเพราะมีงบประมาณเกิน คงไม่มีอะไรจะดีไป กว่าโครงการ “สนามกีฬาโตเกียวโอลิมปิกส์-พาราลิมปิกส์” ที่จะใช้จัดแข่งขันกีฬา โอลิมปิกในปี พ.ศ. 2563 ออกแบบโดยสถาปนิกระดับโลก “ซาฮา ฮาดิด” โครงการ นี้เป็นข่าว ใหญ่ไปทั่วโลกโดยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 “นายชินโซ อา เบะ” นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศยกเลิกการใช้แบบสนามกีฬาโตเกียว ปิกส์-พาราลิมปิกส์ ทีท่ �ำโดย ซาฮา ฮาดิด เพราะถ้าท�ำตามแบบนัน้ โครงการจะสร้าง เสร็จไม่ทันใช้ในการจัดแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลกในปี พ.ศ. 2562 นอกจากนั้นแบบ ที่ออกแบบไว้มีค่าก่อสร้างเกินจากงบประมาณที่ตั้งไว้จาก 130,000 ล้านเยน หรือ 35,100 ล้านบาท เป็น 252,000 ล้านเยน หรือ 68,000 ล้านบาท หรือเกือบ 2 เท่าของงบประมาณ โดยขอไปทบทวนโครงการนี้ใหม่ทั้งหมด ส่วน ซาฮา ฮาดิด สถาปนิกที่ชนะการออกแบบสนามกีฬาฯ นี้ได้ออกมาแก้ตัวโดย ท�ำวิดีโอ ที่มีความยาวเกือบครึ่งชั่วโมงตอบโต้การให้ข่าวของรัฐบาลญี่ปุ่น ชี้แจงว่า เหตุที่งบประมาณก่อสร้างเกินกว่าที่ตั้งไว้มากไม่ได้เกิดจากการออกแบบแต่เพราะ ค่าก่อสร้างมีราคาสูงขึ้นและระยะเวลาก่อสร้างน้อยเกินไป และเน้นว่าโครงการนี้ เป็นงานออกแบบพิเศษที่ใช้เวลาท�ำงานมากกว่าสองปี สร้างบนที่ตั้งเฉพาะท�ำให้ ค่าก่อสร้างสูงกว่าปกติ โดยเสนอทางแก้ปัญหาว่าควรจัดประมูลใหม่และให้ผู้เข้า ประมูลน�ำเสนอแนวทางลดค่าก่อสร้างลงให้ใกล้งบประมาณ และทิ้งท้ายว่าแบบนี้ เป็นงานออกแบบที่ดี ดูแลง่าย และยั่งยืน สื่อเป็นนัยว่าจะท�ำอะไรก็ท�ำไปแต่อย่า แก้แบบของเจ๊ก็แล้วกัน ค�ำถามที่เกิดขึ้นในใจของผู้เขียนคือ โครงการขนาดใหญ่ระดับชาติที่ด�ำเนินการโดย ทีมงานสถาปนิกระดับโลกนี้ไม่ได้มีการตรวจสอบค่าก่อสร้างในแต่ช่วงเป็นระยะ ๆ หรือ? หรือมีการตรวจสอบแล้วแต่ผู้ออกแบบท�ำเป็นไม่ได้ยิน ไม่รับฟัง ต้องการ ดันทุรงั แล้วคิดว่าจะปล่อยให้เรือ่ งนีเ้ ดินไปโดยใช้สตู ร “ผีถงึ ป่าช้า” และ “มัดมือชก” คิดว่าเมือ่ ส่งแบบออกไปแล้วงบประมาณเกินเดีย๋ วรัฐบาลญีป่ นุ่ ก็ตอ้ งดิน้ รนหาเงินค่า ก่อสร้างมาเพิ่มให้เอง แต่คงคิดไม่ถึงว่าจะเจอแผนดัดหลังถึงขั้นเลิกใช้แบบแล้วไป จ้างสถาปนิกคนอื่นให้มาออกแบบใหม่ทั้งหมด

42


5

ต่อสู้เพื่องาน ออกแบบ เชื่อว่างานของตัวเองดี ท�ำแบบให้ศักดิ์สิทธิ์ อย่าเป็นเด็กดี ถามกลับ ความงามเป็นอาวุธ

52


หน้าที่ส�ำคัญของผู้จัดการงานออกแบบที่แตกต่างจากผู้จัดการโครงการอย่าง สิ้นเชิงก็คือการดูแลและต่อสู้เพื่อให้งานออกแบบเป็นไปตามที่ถูกสร้างสรรค์ ไว้โดยผู้ออกแบบให้มากที่สุด เพราะธรรมชาติของงานออกแบบจะถูกท้าทาย ถูกวิพากษ์วิจารณ์ และต้องพิสูจน์ตัวเองในทุกขั้นตอนการท�ำงาน ท�ำให้หน้าที่ นี้เป็นภาระที่หนักมากของผู้จัดการงานออกแบบเลยทีเดียว ด่านแรกที่ผู้จัดการงานออกแบบต้องต่อสู้เพื่องานออกแบบไม่ได้มาจากคน ภายนอกแต่เป็นคนภายในองค์กรของตัวเอง ทั้งที่มาจากนักออกแบบรุ่นเยาว์ นักออกแบบไร้เดียงสา หรือแม้แต่ผบู้ ริหารองค์กรทีไ่ ม่รเู้ รือ่ งข้อมูลของโครงการ เข้ามาวิพากษ์วจิ ารณ์ตามธรรมชาติของผูอ้ อกแบบทีม่ กั เชือ่ ว่าตัวเองออกแบบ ได้ดีกว่าคนอื่น หลายครั้งแรงเสียดทานนั้นไม่ได้มีเหตุผลอะไรเป็นเพียงเรื่อง การเมืองภายในหรือทิฐิที่ต้องการเอาชนะคะคานของนักออกแบบด้วยกันเอง สิ่งที่ผู้จัดการงานออกแบบต้องดูแลคือให้การสู้รบนี้ยังอยู่ในขอบเขตของเวลา คุณภาพ และตรงกับความต้องการของลูกค้า ต้องคอยเตือนความจ�ำนัก ออกแบบเหล่านี้ว่า “งานออกแบบไม่มีทางสมบูรณ์แบบ” และ ”งานเสร็จทัน เวลาดีกว่างานเลิศแต่ส่งเลท” ด่านต่อไปทีผ่ จู้ ดั การงานออกแบบต้องเผชิญหลังจากเอาตัวรอดจากพายุความ ขัดแย้งภายในองค์กรก็คอื การขายงานออกแบบให้เจ้าของโครงการ ทีเ่ ป็นเรือ่ ง ที่ยากมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะลูกค้าไม่ว่าท�ำอาชีพอะไรหรือจบอะไรมาล้วนแล้ว แต่อยากเป็นนักออกแบบและคิดว่าตัวเองสามารถเป็นนักออกแบบได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะเจ้าของโครงการที่ชอบอ่านแมกกาซีนสถาปัตยกรรมต่างประเทศ และไปต่างประเทศบ่อย ๆ หรือผู้ที่ประสบความส�ำเร็จตั้งแต่อายุน้อยจะยิ่งมี ความมัน่ ใจในตัวเองสูงและรูส้ กึ ว่าตัวเองเป็นนักออกแบบได้ รวมกับความรูส้ กึ ว่าตัวเองเป็นเจ้าของเงิน ดังนัน้ งานออกแบบจึงควรตามใจตัวเองมากทีส่ ดุ เรือ่ ง แบบนี้เกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้น งานออกแบบอาจถูกท้าทายตั้งแต่ระดับน้อยสุดคือแค่ถูกวิจารณ์ ไปจนระดับ สูงสุด คือถูกบังคับให้เขียนตามแบบทีเ่ จ้าของอยากได้ ถ้าไม่ยอมท�ำตามลูกค้า อาจจะใช้วิธีเลิกจ้างเรา แต่ถ้าท�ำตามใจเจ้าของงานทุกอย่างถ้างานมีปัญหา

53


ต่อสู้เพื่องานออกแบบ

ลูกค้าจะโทษนักออกแบบแต่ถา้ งานออกแบบออกมาดีเจ้าของโครงการอาจพูด ให้เราปวดใจว่า “ถ้าให้ผมออกแบบได้เองแล้วจะจ้างคุณมาท�ำไม?” เรื่องเหล่า นีเ้ ป็นหนึง่ ในเรือ่ งเสียดทานหลายเรือ่ งทีผ่ จู้ ดั การงานออกแบบต้องพบอีกหลาย ครั้งกว่าที่งานออกแบบนั้นจะสิ้นสุด เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนส่งงานออกแบบไปผลิตหรือน�ำไปก่อสร้างจริง งานออกแบบ จะถูกท้าทายจากผู้เล่นใหม่เช่น ผู้จัดการโครงการ หรือ ผู้บริหารงานก่อสร้าง ทีล่ กู ค้าจ้างเข้ามาจับผิดงานออกแบบจึงท�ำให้รายงานทีส่ ง่ ไปให้เจ้าของโครงการ ต้องแสดงแต่ข้อเสียพร้อมรายละเอียดว่าควรจะแก้ไขที่ไหนบ้างเพื่อให้งานมี ต้นทุนลดลงและท�ำได้เร็วขึน้ ส่งผลท�ำให้งานออกแบบของเราถูกกระทบอย่าง แน่นอน วิธีการจัดการเรื่องนี้จะพูดไว้ในหัวข้อ “วีอียาเบื่อ” จากนั้ น เมื่ อ งานออกแบบถู ก ส่ ง ต่ อ ไปโรงงานผลิ ต หรื อ โรงพิ ม พ์ ห รื อ ผู ้ รั บ เหมาก่อสร้าง งานออกแบบจะถูกท้าทายอีกครั้งจากผู้ผลิตหรือผู้พิมพ์หรือ ผู้รับเหมา ด้วยประโยคว่างานออกแบบนี้ “ท�ำยาก” “งานแพง” “ใช้เวลานาน นะ” ต่อท้ายด้วยประโยคว่า “ไม่อยากแพง ไม่อยากช้าต้องแก้แบบนะ” ด่านนี้ ถือเป็นด่านสิบแปดอรหันต์ทฝี่ า่ ได้ยากทีส่ ดุ และนักออกแบบทีม่ ปี ระสบการณ์ น้อยมักบาดเจ็บและสะบักสะบอมจากช่วงนี้มากที่สุด แต่เรื่องยังไม่จบเพียงเท่านี้เพราะแม้ว่าจะสามารถผ่านด่านนี้ได้ส�ำเร็จ ยังต้อง ผ่านด่านสุดท้ายทีส่ ร้างความเจ็บปวดใจทีส่ ดุ คือด่าน “ช่างไทยคือช่างแม่ง” ช่าง ผลิตและช่างก่อสร้างไทยจ�ำนวนมากจะมีแนวทางการท�ำงานคือ ไม่ต้องอ่าน แบบก็ท�ำงานได้เพราะสามารถสร้างงานด้วยวิธีการมโนเอา งานออกแบบเมื่อผ่านมือช่างประเภทนี้จะถูกน�ำไปบิดเบือนตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงมากในจุดที่เรียกว่าคนออกแบบเองยังจินตนาการไม่ออกเลยว่างานที่ ออกแบบไว้หน้าตาเป็นอย่างไร เมื่อไปถามช่างพวกนี้ท�ำไมไม่ท�ำตามแบบจะ ได้ค�ำตอบแบบแสบ ๆ คัน ๆ ว่า “ใครเขาท�ำแบบนี้กัน” “ไม่มีใครเขาท�ำกัน” “ท�ำแบบนี้แหละถูกแล้ว” ราวกับว่าผู้ออกแบบทั้งโง่และซื่อบื้อ

54


สมัยที่ผู้เขียนเพิ่งจบใหม่ ๆ เคยเจอประสบการณ์จากการไปตรวจหน้างานก่อสร้าง ของบ้านที่ออกแบบไว้ ช่างสีถามผู้เขียนว่าจะให้ทาผนังสีและทาฝ้าเพดานสีอะไร ผู้ออกแบบได้ระบุสีที่ต้องการไปและบอกว่าให้ใช้สีนี้ทาทั้งผนังและเพดาน แต่การ ตัดสินใจนี้ท�ำโดนช่างตอกหน้ากลับมาว่า “ให้ทาผนังด้วยสีที่เลือกไว้นั้นโอเค แต่ ฝ้าเพดานต้องทาสีขาวเท่านั้น ห้ามใช้สีเดียวกับผนัง” โดยยืนยันอย่างหนักแน่น พร้อมถลึงตาใส่และท�ำหน้าตาซีเรียดประมาณว่าคนออกแบบโง่มากที่ก�ำหนดแบบ นี้ แล้วจบด้วยประโยคไม้ตายคือ “ไม่มีใครเขาท�ำกัน” และยังพูดขู่ด้วยว่า “ถ้าทาสี ตามที่คนออกแบบต้องการ เจ้าของบ้านมาเห็นแล้วขอแก้จะไม่แก้ให้ คนออกแบบ ต้องรับผิดชอบเองนะ” เจอแบบนี้เข้าท�ำเอา งง คิดในใจว่า “เรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์มาตั้งห้าปีไม่เคย ได้ยินว่ามีหลักการศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเรื่องคอขาดบาดตายห้ามเปลี่ยนแปลงว่า ฝ้า เพดานต้องทาด้วยสีขาวห้ามทาสีเดียวกับผนังเท่านั้น ถ้าช่างคนนี้ไม่บอกคงโง่ไป อีกนานเลย ขอบคุณครับพี่ ........!!!!!!” อีกตัวอย่างที่เพิ่งเจอมาสด ๆ ร้อน ๆ คือผู้เขียนได้ออกแบบห้องน�้ำในส�ำนักงาน แห่งหนึ่งให้เป็นงานสไตล์โมเดิ้น แต่เมื่อไปตรวจห้องน�้ำตัวอย่างพบว่ากระจกเงา ของห้องน�้ำทุกบานขอบถูกเจียรปลีทุกด้านทุกบานดูเป็นห้องน�้ำแบบวินเทจสุด ๆ กล่องไฟข้างกระจกก็ท�ำไม่ตรงแบบมั่วได้แบบสุด ๆ แสดงว่าไม่เปิดแบบขยายที่ส่ง ไปให้เลยแต่ใช้วิธีคิดเองท�ำเอง จึงต้องสั่งรื้อให้ท�ำใหม่ทั้งห้อง ช่างก่อสร้างก็ดี้ดีหัน กลับมาขู่อีกว่า “แก้ไขมากขนาดนี้งานท�ำไม่ทันก�ำหนดนะ” ผู้ออกแบบได้แต่คิดใน ใจว่า “อ้าวแล้วกัน ท�ำงานผิดกลับมาขู่อีกตกลงคนออกแบบผิดเอง ไม่บอกไม่รู้นะ ครับนี่ ต้องขอบคุณนะครับพี่ที่ช่วยเตือน.........!!!!!”

ด้ ว ยวิ บ ากกรรมเช่ น นี้ ก ารต่ อ สู ้ เ พื่ อ งานออกแบบจึ ง เป็ น หน้ า ที่ ส�ำคั ญ ของ ผูจ้ ดั การงานออกแบบทีต่ อ้ งดูแลงานออกแบบให้เป็นไปตามทีต่ งั้ ใจไว้ ขอเสนอ แนวทางการต่อสู้เพื่องานออกแบบที่มีหลายวิธีดังนี้

55


ต่อสู้เพื่องานออกแบบ

เชื่อว่างานของตัวเองดี จากที่ได้บอกไปแล้วว่างานออกแบบไม่มีทางสมบูรณ์แบบไม่ว่าจะใช้เวลาหรือ ทุม่ คนลงไปท�ำงานมากเท่าไรก็ตาม งานทีส่ ร้างออกมาไม่มที างถูกใจทุกคนหรือ แม้แต่ตัวผู้ออกแบบเอง หลังจากส่งงานไปให้ลูกค้าในช่วงแรก ๆ นักออกแบบ น่าจะยังรูส้ กึ ดีกบั งานออกแบบของตัวเอง แต่พอเวลาผ่านไป ความรูส้ กึ จะเริม่ เปลีย่ นไปเพราะไปเจอจุดเสียทีค่ ดิ ว่าน่าจะแก้ไข ความเชือ่ มัน่ ในงานของตัวเอง เริม่ สัน่ คลอน ยิง่ ถ้ามีคนมาชีห้ รือต�ำหนิจดุ ทีต่ วั นักออกแบบเองรูส้ กึ ไม่ดอี ยูแ่ ล้ว จะยิ่งท�ำให้รู้สึกแย่เข้าไปอีก ถ้านักออกแบบไม่เชื่อมั่นแล้วคงท�ำให้คนอื่นเชื่อในงานออกแบบของเราไม่ได้ วิธสี ร้างความเชือ่ มัน่ ในงานของตัวเองมีอยูห่ ลายแนวทาง แนวทางแรกนัน้ ต้อง อาศัยประสบการณ์การท�ำงานคือยิง่ แก่ประสบการณ์จะยิง่ ทนต่อแรงเสียดทาน ได้มากขึ้นอะไรประมาณนั้น แนวทางที่ 2 ให้บันทึกแนวความคิดการออกแบบ ท�ำรายการข้อดีข้อเด่นของ งานออกแบบนั้นเป็นรายงานสั้น ๆ เก็บไว้ เมื่อไรที่ตัวเราเกิดข้อสงสัยในงาน ของตัวเองให้กลับมาอ่านรายงานฉบับนี้ทบทวนว่างานของเรามีความคิดดี ๆ อย่างไรบ้าง ช่วยตอกย�้ำและสร้างความเชื่อมั่น แนวทางสุดท้าย ให้สะกดจิต ตัวเองว่า “งานเราดี” “ดีมาก” และ “ดีที่สุด” อยู่เสมอ ๆ ถ้าท�ำตามนี้น่าจะ ช่วยให้ผู้ออกแบบเกิดความเชื่อมั่นในงานจนสามารถถ่ายทอดความเชื่อนั้น ไปยังผู้อื่นได้

ท�ำแบบให้ศักดิ์สิทธิ์ จากที่กล่าวมาแล้วว่าผลผลิตของนักออกแบบคือ ‘ข้อมูล’ ที่ส่งไปขบวนการ ผลิตหรือส่งไปพิมพ์ หรือส่งไปใช้ก่อสร้างผ่าน ‘แบบ’ แบบจึงเป็นอาวุธชิ้น แรกที่ผู้จัดการงานออกแบบต้องน�ำไปใช้ต่อสู้เพื่อให้ได้งานออกแบบตามที่เรา

56


ต้องการ ถ้าท�ำให้แบบ ‘ศักดิ์สิทธิ์’ มันจะกลายเป็นอาวุธที่ทรงอานุภาพสร้าง ความน่าเชื่อถือให้กับทุกฝ่าย การท�ำให้แบบมีความศักดิ์สิทธิ์มีหลายวิธีคือ วิธีแรก ก่อนที่จะส่งแบบออกไปให้ผู้เกี่ยวข้องท�ำงาน แบบต้องผ่านการตรวจ สอบ ตรวจทาน แก้ไขให้มีความถูกต้อง มีความสมบูรณ์และมีความครบถ้วน มากที่สุด วิธีนี้จะท�ำให้แบบมีความน่าเชื่อถือสูง และจะถูกน�ำไปใช้อ้างอิงเมื่อ เกิดข้อขัดแย้งในการท�ำงานโครงการ แต่ในทางกลับกันถ้าแบบมีความผิดพลาด ไม่สมบูรณ์ แทนที่แบบจะถูกน�ำไปใช้อ้างอิงเมื่อมีข้อขัดแย้ง กลายเป็นว่าแบบ เป็นตัวสร้างปัญหาหรือสร้างความขัดแย้งแทน วิธที ี่ 2 ต้องก�ำกับวันทีใ่ นแบบทุกแผ่น และทุกครัง้ ทีม่ กี ารแก้ไขแบบต้องบันทึก วันทีท่ แี่ ก้ไขและหมายเลขเวอร์ชนั ของแบบไว้เสมอ ให้สามารถอ้างอิงว่าแบบชุด ใดเป็นแบบล่าสุด ลดค�ำถามว่า “แบบชุดไหนคือแบบอัพเดท” “แบบชุดไหน ที่ใช้งานได้” เมื่อไรที่เกิดค�ำถามท�ำนองนี้จะท�ำให้แบบมีความน่าเชื่อถือลดลง วิธีที่ 3 แบบต้องให้ข้อมูลที่บอกว่าผู้ออกแบบต้องการให้ผู้ผลิตหรือผู้พิมพ์ หรือผู้รับเหมาก่อสร้างท�ำอะไรบ้าง ต้องท�ำงานอย่างไร ต้องท�ำวิธีไหน ความ ต้องการนี้ต้องแสดงและระบุลงไปในแบบให้หมด โดยไม่จ�ำเป็นต้องแสดงเป็น แค่แบบเพียงอย่างเดียว อาจเป็นได้ทงั้ ข้อความ รูปถ่าย หรือแม้แต่แบบสเก็ตช์ ก็ได้ แบบที่แสดงความต้องการได้ครบถ้วนมักถูกใช้อ้างอิงเสมอโดยเฉพาะ ในกรณีที่การผลิตหรือการพิมพ์หรือก่อสร้างอาคารไปไม่ตรงกับที่ต้องการ สามารถป้องกันข้ออ้างที่มักชอบอ้างว่า “ก็ไม่ได้แสดงว่าต้องการอะไรจะบอก ว่าท�ำงานผิดได้อย่างไร” จุดอ่อนส�ำคัญของนักออกแบบไทยคือสื่อสารได้ด้วยภาพเพียงอย่างเดียวโดย ไม่ชอบสื่อสารด้วยตัวอักษรเป็น ถึงแม้จะมีพูดค�ำที่ว่า “รูปภาพหนึ่งภาพแทน ค�ำได้เป็นพันค�ำ” แต่ถ้ารู้จักใช้การสื่อสารด้วยข้อความที่ถูกที่ถูกเวลาบางครั้ง จะช่วยอธิบายสิง่ ทีต่ อ้ งการได้ชดั เจน ช่วยลดเวลาท�ำงาน และช่วยเพิม่ คุณภาพ ของแบบได้มากอย่างที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว

57


ต่อสู้เพื่องานออกแบบ

เล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้คือในการเขียนแบบขยายทางลาดส�ำหรับรถยนต์ในโครงการ อาคารจอดรถยนต์แห่งหนึ่ง ปรากฏว่าแบบแปลนขยายชั้นล่างไม่สามารถแสดง รายละเอียดของสิ่งก่อสร้างที่อยู่บริเวณใต้ทางลาดรถยนต์ชั้นนี้ได้ เพราะมีพื้นของ ทางลาดปิดอยู่ ถ้าจะแสดงข้อมูลส่วนนี้ต้องท�ำแบบขยายเพิ่มอีกหนึ่งแผ่น ซึ่งจะ เสียแรงและเวลาในการท�ำงานพอสมควร ผู้เขียนได้ลองใช้วิธีระบุสิ่งที่ต้องการด้วย ตัวหนังสือแทน โดยระบุเป็นค�ำอธิบายว่า “บริเวณใต้ทางลาดรถยนต์ให้กอ่ ผนังคอน กรีตบล๊อกหนา 900 มิลลิเมตร ยาวตลอดความยาวของทางลาด โดยให้ก่อผนัง ชิดริมขอบนอกของทางลาด ผิวด้านนอกฉาบปูนเรียบทาสี ด้านในไม่ฉาบปูนไม่ทาสี” เพียงประโยคเดียวสั้น ๆ สามารถลดการท�ำแบบลงได้หนึ่งแผ่น แต่ยังแสดงความ ต้องการของผู้ออกแบบได้ครบ ให้แนวทางการท�ำงานกับผู้รับเหมาก่อสร้างน�ำไป ปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

58


วิธีที่ 4 ก�ำหนดให้การถามค�ำถามจากฝ่ายต่าง ๆ ต้องอ้างอิงกับแบบเสมอ และต้องระบุหมายเลขแบบหรือแนบแบบส่วนที่ต้องการถามมาพร้อมค�ำถาม ส่วนค�ำตอบที่ตอบกลับไปก็ต้องอ้างอิงกับแบบโดยระบุเลขที่ของแบบเช่นกัน วิธีนี้จะท�ำให้ทุกคนต้องไปเปิดดูแบบที่อ้างอิงถึง ส่งผลให้แบบมีความส�ำคัญ มากขึ้นโดยอัตโนมัติ วิธสี ดุ ท้าย ต้องบังคับให้ผผู้ ลิตหรือผูพ้ มิ พ์หรือผูร้ บั เหมาก่อสร้างทีต่ อ้ งท�ำแบบ เพิม่ เติมไม่วา่ จะเป็นแบบขยาย แบบ art Work แบบ shop drawing หรือแบบ as built ต้องเขียนแบบเหล่านัน้ โดยอ้างอิงทิศทางของแบบจากผูอ้ อกแบบเสมอ ถ้าผู้ผลิต ผู้พิมพ์ หรือ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ไม่ด�ำเนินการให้แจ้งว่าผู้ออกแบบ สงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาแบบเหล่านั้นจนกว่าจะมีการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยอ้าง เหตุผลว่าเพื่อให้การตรวจสอบแบบ ด�ำเนินการได้รวดเร็วเป็นประโยชน์กับ โครงการโดยภาพรวม วิธนี จี้ ะช่วยเพิม่ ความส�ำคัญของแบบเพราะถูกใช้เป็นต้น แบบการท�ำงานของทุกฝ่าย

อย่าเป็นเด็กดี คนเรามักชอบท�ำงานกับเด็กดีหรือเด็กหัวอ่อน แต่การเป็นผู้จัดการงาน ออกแบบที่ต้องต่อสู้เพื่อให้งานออกแบบเป็นไปอย่างที่ต้องการนั้นต้องท�ำตัว เป็น ‘มารร้าย’ ในสายตาคนอื่น ไม่ว่าคนอื่นจะขออะไรต้องไม่ให้ง่าย ๆ ต้อง โวยวายให้ไปหาทางแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นก่อนไม่ใช่มาแก้งานออกแบบของเรา ถ้าคนอืน่ ก่อปัญหาทิง้ ไว้แล้วเราท�ำตัวเป็นเด็กดีไปแก้ปญ ั หาให้ โดยยอมแก้งาน ของตัวเองแทน ไม่ใช่เรือ่ งทีผ่ จู้ ดั การงานออกแบบควรท�ำ เพราะหลังจากนัน้ ไม่ ว่าเกิดปัญหาอะไรขึน้ ไม่วา่ เรือ่ งนัน้ จะเกีย่ วกับเราหรือไม่ ทุกคนจะโยนปัญหา มาให้และบอกให้แก้งานออกแบบของเราเองเสมอ

59


ต่อสู้เพื่องานออกแบบ

ธรรมชาติของการก่อสร้างอาคารเป็นที่รู้กันว่าต้องมีความผิดพลาดมากบ้างน้อย บ้าง แต่เมื่อเกิดความผิดพลาดในการก่อสร้างแทนที่ผู้รับเหมาก่อสร้างจะท�ำการ แก้ไขแต่กลับโยนเรื่องมาให้นักออกแบบแก้ไขแทน ตัวอย่างแปลก ๆ ที่เคยเจอมา เช่น ผู้รับเหมาฯ ก่อผนังผิดไปยี่สิบเซนติเมตรแทนที่ผู้ควบคุมงานจะสั่งให้คนที่ท�ำ ผิดแก้ไขกลับส่งเรื่องมาถามสถาปนิกด้วยค�ำถามว่า “รบกวนขอแนวทางแก้ปัญหา นี้ด้วย เพราะงานก่อสร้างล่าช้าไปมากแล้ว” ค�ำถามนีส้ อื่ ความหมายได้วา่ คนก่อสร้างท�ำงานผิดสองเรือ่ งคือสร้างผิดและยังท�ำงาน ล่าช้า แต่กลายเป็นว่าถ้าผู้ออกแบบไม่แก้ปัญหาเรื่องนี้ ปัญหางานก่อสร้างล่าช้าจะ กลายเป็นเรือ่ งของคนออกแบบแทน ท่านคิดว่าเราควรตอบค�ำถามนีอ้ ย่างไร แนะน�ำ ให้ตอบกลับไปว่า “ขอให้รื้อผนังที่ก่อผิดแล้วก่อใหม่ให้ถูกต้อง” ถ้าใช้ค�ำตอบนี้เชื่อ ว่าหลังจากนี้ปัญหาจากหน้างานที่ส่งให้จะลดลงอย่างแน่นอน

ถามกลับ คนทีต่ อ่ ต้านแนวความคิดในการออกแบบของเรามักให้เหตุผลทีไ่ ม่เห็นเป็นแค่ ความรูส้ กึ เช่น รูส้ กึ ว่าท�ำงานยากกว่า รูส้ กึ ว่าต้นทุนแพง ฯลฯ ดังนัน้ วิธกี ารโต้ แบบหนึง่ คือให้ถามกลับขอรายละเอียดทีเ่ ป็นข้อมูลทีจ่ บั ต้องได้หรือเป็นตัวเลข เช่น ที่ว่ายากนั้นยากอย่างไร ที่บอกว่าก่อสร้างนานต้องใช้เวลานานขึ้นอีก กี่วันกี่เดือน หรือที่ว่าแพงนั้นคิดเป็นเงินเท่าไร เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยลดแรงต่อ ต้านลงแล้วให้คนที่ไม่เห็นด้วยกลับมาหาข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้สึก ในโครงการออกแบบอาคารแห่งหนึ่ง สถาปนิกได้ออกแบบช่วงเสาที่ 9 เมตรคูณ 9 เมตร เพือ่ ให้สามารถจอดรถใต้อาคารได้ แต่เนือ่ งจากพืน้ ชัน้ บนของอาคารนีต้ อ้ งการ ให้รบั น�้ำหนักบรรทุกจรมากกว่าอาคารทัว่ ไปมากท�ำให้วศิ วกรโครงสร้างไม่เห็นด้วย กับช่วงเสานี้เสนอให้ใช้ช่วงเสาที่ 3 เมตรคูณ 3 เมตร แทนและแนะน�ำให้ไปสร้าง อาคารจอดรถที่บริเวณอื่นแทน สถาปนิกพยายามยืนยันแนวคิดของตนเพราะไม่อยากให้ลูกค้าต้องเสียที่ดินราคา แพงทีเ่ ก็บไว้เผือ่ การขยายตัวไปท�ำอาคารจอดรถและเชือ่ ว่าต้นทุนโครงการโดยรวม ของแนวคิดแรกน่าจะประหยัดกว่ามาก แต่วิศวกรยังคงยืนกรานที่จะใช้ช่วงเสาที่

60


เสนอและใช้ท่าไม้ตายโดยพูดว่า “ท�ำได้แต่แพงนะ” ค�ำตอบนี้กลายเป็นทางออก ของปัญหาเพราะได้ค�ำตอบว่าสร้างได้เพียงแต่ว่าแพง สถาปนิกจึงสอบถามว่า “ที่ว่าแพงนั้นแพงขึ้นเท่าไรเมื่อเทียบระหว่างสร้างที่จอดรถ ใต้อาคารกับสร้างอาคารจอดรถยนต์ใหม่ รบกวนส่งรายงานนี้ให้เจ้าของโครงการ ก่อนการประชุมครัง้ หน้านะครับ” เมือ่ ถึงการประชุมครัง้ ต่อมาเจ้าของโครงการกลับ ไม่ได้รับรายงานฉบับนี้ แต่วิศวกรโครงสร้างกลับท�ำตามแบบของสถาปนิกโดยไม่มี โต้แย้งและไม่พูดถึงเรื่องนี้อีกเลย!

ความงามเป็นอาวุธ หน้าที่หลักของนักออกแบบนอกจากต้องออกแบบเพื่อให้งานนั้นใช้ได้ดี ใช้ได้ สะดวก แต่เรื่องส�ำคัญคือต้อง ‘สวย’ ด้วย ทุกครั้งที่งานออกแบบถูกท้าทาย เรากลับไม่ยกประเด็นเรือ่ งความงามมาต่อสู้ ท�ำให้เมือ่ มีการแก้แบบท�ำให้งาน นัน้ ออกมาไม่สวยหรือสวยน้อยลง นักออกแบบทีช่ ว่ ยแก้ปญ ั หากลับโดนต�ำหนิ เป็นคนแรก ถ้าแก้ตัวว่าที่งานนั้นไม่สวยเพราะช่วยแก้ปัญหาให้คนอื่นเลยต้อง แก้แบบจะถูกตอกกลับมาว่า “แล้วท�ำไมไม่บอกว่าจะไม่สวยจะได้ไม่แก้” การอ้างความงามถือเป็นไม้ตายที่ส�ำคัญของผู้จัดการงานออกแบบสามารถ หยิบขึ้นมาใช้ได้ เมื่อไรที่งานออกแบบถูกท้าทายจากเหตุผลต่าง ๆ ไม่ว่าเป็น งบประมาณ หรือเวลาท�ำงาน หรือ การซ่อมบ�ำรุง ถ้าผู้ออกแบบอ้างบางว่า ถ้าเปลี่ยนแปลงแบบแล้วผลผลิตหรืองานพิมพ์หรืออาคารนั้นจะไม่สวยเชื่อว่า ผูร้ ว่ มงานอืน่ ๆ คงไม่กล้าเถียงเพราะเป็นเรือ่ งทีน่ กั ออกแบบเท่านัน้ ทีส่ ามารถ พูดค�ำ ๆ นี้ได้ แต่ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าการอ้างเรื่องความงามห้ามใช้อย่างพร�่ำเพรื่อเพราะ ถ้าใช้บ่อยเกินไปความน่าเชื่อถือจะลดลงไปตามจ�ำนวนครั้งที่ใช้ นอกจากนั้น ผู้จัดการงานออกแบบต้องชั่งน�้ำหนักระหว่างจะดื้อสู้หัวชนฝาให้งานออกแบบ เป็นไปตามที่ต้องการโดยไม่ฟังเหตุผลคนอื่น กับความยืดหยุ่นที่จะยอมถอย บ้างยอมแลกกับงานที่สวยน้อยลงบ้างเพื่อให้โครงการประสบความส�ำเร็จใน ภาพรวม ต้องประเมินและเลือกใช้ให้ถูกที่ถูกเวลา 61


6

งานแปลกใหม่ ต้องเสี่ยง

64


ท่านอาจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร เคยกล่าวไว้วา่ “งานศิลปะเป็นการเรียนรูไ้ ม่ใช่ สัญชาตญาณ” ดังนัน้ ทีเ่ จ้าของโครงการในประเทศไทยไม่ยอมรับงานออกแบบ ใหม่ๆ หรือแนวความคิดแบบสร้างสรรค์มากๆ ไม่ใช่ปญ ั หาของผูอ้ อกแบบฝ่าย เดียวแต่มาจากเจ้าของโครงการมีความรู้ด้านศิลปะไม่พอ นี่เป็นปัญหาส�ำคัญ ทีก่ ารน�ำเสนองานออกแบบทีแ่ ปลกใหม่โดยเฉพาะงานทีไ่ ม่เคยมีใครท�ำมาก่อน นั้นเป็นเรื่องที่ล�ำบากอย่างยิ่งโดยเฉพาะส�ำหรับประเทศนี้ การน�ำเสนองานออกแบบที่แปลกใหม่ต้องพบกับข้อจ�ำกัดและอุปสรรคหลาย เรื่อง เริ่มจากการยอมรับของเจ้าของงาน ต้องพบกับความยุ่งยากในการผลิต และงานก่อสร้างเพราะไม่เคยมีใครท�ำมาก่อน ในฐานะที่เป็นผู้จัดการงาน ออกแบบเราจะก้าวข้ามเรื่องนี้ได้อย่างไร งานออกแบบที่แปลกใหม่เกิดขึ้นได้มาจากสองสาเหตุ สาเหตุแรกมาจาก นักออกแบบต้องการเป็นผู้น�ำเสนอความแปลกใหม่เอง เหตุผลที่สองมาจาก ลูกค้าก�ำหนดโจทย์ว่าต้องการงานออกแบบที่แปลกใหม่ที่ไม่เคยมีใครท�ำมา ก่อน ถ้ามาจากเหตุผลทีส่ องนักออกแบบจะท�ำงานง่ายกว่าและรับผิดชอบน้อย กว่า แต่ส่วนใหญ่แล้วแนวคิดใหม่ ๆ มักมาจากความต้องการของนักออกแบบ เป็นส่วนใหญ่ แต่ถึงแม้ว่าแนวคิดใหม่นั้นเกิดจากค�ำสั่งของลูกค้า แต่เมื่อออกแบบไปแล้วไม่ เวิรค์ หรือเกินงบประมาณ หรือผลิตยาก หรือพิมพ์ยาก หรือสร้างยาก เจ้าของ โครงการจะหันกลับมาถามนักออกแบบว่าท�ำไมถึงออกแบบแบบนีห้ า้ มตอบว่า “เพราะท�ำตามที่ลูกค้าบอกไง” เพราะจะถูกตอกกลับว่า “ถ้ารู้ว่าไม่ดี ไม่เวิร์ค ท�ำไมไม่ทกั ท้วงแต่แรก” แต่ถา้ งานนัน้ ดังแน่นอนว่าลูกค้าอาจพูดว่า “เป็นความ คิดของเดี้ยนเองค่า.....” งานออกแบบทีม่ คี วามแปลกใหม่นนั้ มีแก่นอยูแ่ ค่เรือ่ งเดียวคือไม่อยากเหมือน คนอืน่ แต่ถงึ แม้วา่ ลูกค้าพูดว่าต้องการงานออกแบบทีแ่ ปลกใหม่ไม่เหมือนใคร อาจไม่ใช่อย่างที่นักออกแบบเข้าใจก็ได้ ความหมายที่ว่าแปลกใหม่ไม่เหมือน ใครนั้นอาจแค่หมายถึงการใช้ลูกบิดประตูไม่เหมือนบ้านคนอื่นเท่านั้นไม่ได้ ต้องการบ้านรูปโดนัท ต้องระวังและตีความค�ำพูดนี้ให้ดี แนะน�ำว่าให้โยนหิน ถามทางเป็นระยะ ๆ ก่อน เพือ่ ให้รคู้ วามต้องการทีแ่ ท้จริงก่อนทีจ่ ะลงมือท�ำงาน แบบหลุดโลกจนกลับตัวไม่ทัน 65


งานแปลกใหม่ต้องเสี่ยง

มาถึงค�ำถามว่างานออกแบบที่แปลกใหม่นั้นยากและก่อปัญหาอย่างไรบ้าง ลอง จินตนาการจากตัวอย่างเช่น ถ้าให้เขียนความสัมพันธ์ของเรื่องสามอย่างที่มีบาง ส่วนทับซ้อนกัน เรามักเขียนเป็นวงกลมสามวงซ้อนกัน แต่ถ้าลองคิดใหม่เปลี่ยน มาใช้เป็นรูปสี่เหลี่ยมซ้อนกันแทน จะเกิดปัญหาตั้งแต่เริ่มเขียนรูปขึ้นมา จะเห็น ว่ายุ่งยากกว่าเดิมมาก ต้องแก้ปัญหาหลายเรื่อง เทียบกับการเขียนวงกลมซ้อนกัน เราจะเขียนได้ทันทีแทบไม่ต้องคิดเลย หลังจากเขียนเสร็จยังปัญหาตามมาอีกคือ คนทัว่ ไปเมือ่ เห็นภาพนีจ้ ะเข้าใจและอ่าน ข้อมูลได้ง่ายเหมือนอ่านจากรูปวงกลมหรือไม่ ดังนั้นก่อนจะเปลี่ยนแปลงอะไรต้อง ประเมินว่าจะแลกระหว่างการออกแบบที่แปลกใหม่กับอุปสรรคที่จะต้องเจอข้าง หน้านั้นคุ้มค่าหรือไม่

เปรียบเทียบการเขียนรูปวงกลมซ้อนกันเทียบกับรูปสี่เหลี่ยม 14

ข้อมูลบางส่วนมาจาก http://holykaw.alltop.com/how-would-like-your-graphic-designervenn-dia และ http://facebook.com\TinoDesignStudio

14

66


ต้องยอมรับว่างานออกแบบที่ไม่มีใครท�ำมาก่อนมีความเสี่ยงสูง ส�ำหรับ นักออกแบบที่ยังไม่มีบารมีกล้าแข็งพอหรือได้ลูกค้าที่ไม่ชอบเสี่ยงท่านคงต้อง ออกแบบงานส่วนใหญ่เป็นแบบเดิม ๆ แต่น�ำเสนอแนวความคิดแปลกใหม่ ในส่วนย่อย เพื่อไม่ให้เจ้าของโครงการ15 รู้สึกว่างานของตัวเองล�้ำหน้าเกินไป จนไม่สบายใจ มีเรื่องเล่ากันว่าถ้านักออกแบบใช้แต่ข้อมูลวิจัยการตลาดมาออกแบบแล้วจะไม่มี งานออกแบบแปลกใหม่เกิดขึ้นเลย เพราะข้อมูลจากการส�ำรวจตลาดเป็นการวิจัย โดยต่อยอดจากข้อมูลในอดีตและสิ่งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันเท่านั้น ตัวอย่างเช่นการออกแบบจักรยานยนต์รปู ร่างแบบวินเทจเหมือนมอเตอร์ไซค์ฟรีโน16 นั้นไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยถ้าใช้ข้อมูลจากการส�ำรวจตลาด เพราะนักการตลาดจะ ท�ำแบบสอบถามลูกค้าโดยอ้างอิงกับรูปแบบมอเตอร์ไซน์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในแบบ ส�ำรวจคงไม่ถามว่าถ้ามีมอเตอร์ไซน์หน้าแบน ๆ ไฟหน้าคู่แบบปูด ๆ ลูกค้าจะซื้อ ไหม เพราะผู้ตอบแบบสอบถามไม่มีทางจินตนาการจักรยานยนต์หน้าตาแบบนี้ได้ กรณีศกึ ษานีแ้ สดงว่านักออกแบบยอมเสีย่ งทีจ่ ะเสนอแนวคิดใหม่ โชคดีทไี่ ด้เจ้าของ โครงการยอมรับและให้ด�ำเนินการต่อจนประสบความส�ำเร็จ มอเตอร์ไซค์หน้าตา แบบนี้จึงเกิดขึ้นและขายดีจนคู่แข่งต้องท�ำตาม

ลูกค้าไทยเป็นสิ่งมีชีวิตที่ประหลาด เมื่อท�ำงานแบบออกแบบที่มีรูปแบบทั่วไปจะบอกว่า “ไม่ชอบเพราะ ธรรมดาเกินไป” แต่เมื่อออกแบบให้งานแปลกใหม่กลับกลัวและพูดว่า “ท�ำไมไม่ท�ำเหมือคนอื่น” การหา จุดลงตัวให้ได้นี้จึงเป็นเรื่องที่ยาก

15

https://sites.google.com/site/nonyangkhracsikhrthtaeng/home/amazing-fino ความเป็น มาของรถฟรีโนในบทความนี้ที่บอกว่ามีการท�ำการส�ำรวจตลาดโดยใช้งานออกแบบมอเตอร์ไซน์ที่ท�ำขึ้น ใหม่ แต่เรื่องนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่นักออกแบบน�ำเสนองานออกแบบใหม่กับเจ้าของสินค้าได้ส�ำเร็จแล้ว

16

67


7

นำ�เสนอ งานออกแบบ ใช้เครื่องมือ ตรงเวลา แนะน�ำตัว การใช้ค�ำ เชื่อมั่นสิ่งที่น�ำเสนอ อ่านร่างกาย กฎสามข้อ 68


การน�ำเสนองานออกแบบเป็นหน้าทีส ่ ำ� คัญอีกอย่างหนึง ่ ของผูจ ้ ด ั การงานออกแบบทีต ่ อ ้ งท�ำให้ได้ดี เพราะการน�ำ เสนอทีด ่ จ ี ะท�ำให้โครงการออกแบบทีด ่ แู ลอยูป ่ ระสบความ ส�ำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คนทั่ ว ไปเชื่ อ ว่ า คนพู ด มากพู ด เก่ ง น่ า จะน� ำ เสนองาน ออกแบบได้ดีนั้นเป็นความจริงเพียงส่วนเดียว การน�ำ เสนองานออกแบบมีองค์ประกอบทีส ่ ำ� คัญอีกหลายอย่าง นอกเหนือจากตัวผู้น�ำเสนอ นั้นคือ เนื้อหาการน�ำเสนอ เครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช้ น� ำ เสนอ และวิ ธี ก ารน� ำ เสนอ ถ้ า เตรี ย ม เนื้อหาได้ดีและรู้เทคนิคการน�ำเสนอที่ถูกต้องแม้แต่คนที่ พูดไม่เก่งก็สามารถน�ำเสนองานออกแบบได้ดแี ละประสบ ความส�ำเร็จได้เช่นกัน

ใช้เครื่องมือ เครื่องมือส�ำหรับการน�ำเสนอมีความส�ำคัญเช่นกันเพราะถ้าใช้ได้ถูกต้องจะ ท�ำให้การน�ำเสนอไหลลื่นไม่ติดขัด สื่อ สื่อในการน�ำเสนอแบ่งเป็นสองประเภทคือ ประเภทแรกคือสื่ออะแนล็อก ได้แก่ รายงาน แบบ แผ่นตัวอย่างวัสดุ โมเดล มู้ดบอร์ด ฯลฯ ส่วนแบบที่ สองคือสื่อดิจิทัลที่เป็นการน�ำเสนอด้วยไฟล์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์หลักที่ใช้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก แท็บเล็ต หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ฉายภาพ ผ่านโปรเจคเตอร์

69


นำ�เสนองานออกแบบ

การเลือกใช้สอื่ ให้เหมาะสมนัน้ ขึน้ กับจ�ำนวนคนฟัง ถ้าคนฟังจ�ำนวนน้อยไม่เกิน สามคน เราสามารถใช้ รายงาน แผ่นภาพ ใช้จอคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต โดยหันจอไปให้ผู้ฟังดูการน�ำเสนอก็ได้ แต่ถ้ามีผู้ฟังตั้งแต่สี่คนขึ้นไป ควรใช้ การฉายภาพผ่านโปรเจคเตอร์ ถ้าอยากน�ำเสนอแบบอนาล็อก แบบหรือภาพ ที่ใช้ต้องมีขนาดใหญ่พอที่ผู้ฟังมองเห็นรายละเอียดของแบบ

70


อุปกรณ์ทใี่ ช้ในการน�ำเสนอต้องเตรียมให้พร้อม ต้องหาข้อมูล ลักษณะ รูปแบบ และขนาดของห้องที่ใช้น�ำเสนอว่ามีลักษณะอย่างไร ถ้าเป็นการน�ำเสนอผ่าน การฉายภาพ ต้องตรวจสอบว่าห้องนัน้ มีจอภาพหรือมีเครือ่ งโปรเจคเตอร์หรือ ไม่ ถ้าไม่มีต้องจัดเตรียมไปเอง ส�ำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรเจคเตอร์ แม้ว่าสถานที่น�ำเสนออาจมีอุปกรณ์เหล่านี้อยู่แล้ว แนะน�ำว่าให้เตรียมของ เราเองไปด้วยเสมอ เพราะไม่มีทางรู้ว่าอุปกรณ์ที่มีอยู่ในห้องน�ำเสนอใช้งาน ได้ดีหรือไม่ ต่อคอมพิวเตอร์แล้วฉายภาพออกหรือไม่ หรือภาพออกมามืด หรือสีเพี้ยนหรือไม่17 ส�ำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กต้องทดสอบการใช้งานว่าท�ำงานได้ดีหรือ ไม่ก่อนน�ำเสนอทุกครั้ง และส�ำหรับการน�ำเสนอที่ส�ำคัญแนะน�ำให้เตรียม คอมพิวเตอร์ไปอย่างน้อยสองเครื่องเผื่อเครื่องแรกมีปัญหา มู้ดบอร์ด ‘มู้ดบอร์ด’18 หรือ ‘คอนเซปต์บอร์ด’19 เป็นเครื่องมือส�ำคัญที่นักออกแบบน�ำ ไปใช้ในการน�ำเสนอโดยเฉพาะการน�ำเสนองานในช่วงแรก ๆ สื่อชนิดนี้ใช้กัน แพร่หลายมากในวงการโฆษณา เครื่องมือนี้ช่วยสื่อสารกับลูกค้าด้วยวิธีดึง ความต้องการที่อยู่ในจิตใจเบื้องลึกของลูกค้าออกมา และช่วยสร้างภาพงาน ออกแบบของนักออกแบบให้เข้าไปในใจของลูกค้าได้ด้วย การสร้างมูด้ บอร์ดมีหลายวิธอี าจใช้รปู ภาพหรือสิง่ ของมาปะติดปะต่อกันคล้าย ภาพคอลลาจ20 แต่มีระเบียบมากกว่า รูปภาพที่น�ำมาใช้อาจเป็นรูปวาดที่วาด เอง ภาพถ่ายที่ถ่ายเองหรือน�ำมาจากหนังสือหรือนิตยสาร อาจเป็นตัวอย่างสี ที่ใจ ตัวอย่างวัสดุที่คาดว่าจะน�ำมาใช้เอามารวมไว้ด้วยกัน แนวคิดการใช้สอื่ แบบนีอ้ ยูบ่ นความเชือ่ ทีว่ า่ รูปภาพและสิง่ ของสามารถสือ่ สาร และบอกถึงอารมณ์ความรูส้ กึ บุคลิกเฉพาะตัวได้ดกี ว่าค�ำพูด ภาพและวัตถุจะ ช่วยเปลี่ยนนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้ชัดเจนกว่า และยังส่งต่อแนวคิดของ นักออกแบบสื่อกลับไปหาลูกค้าได้ง่ายและตรงประเด็นกว่า เช่น ลูกค้าบอก ปัจจุบันหัวต่อโปรเจคเตอร์จะมีสองแบบคือ VGA และ HDMI แนะน�ำให้น�ำหัวต่อทั้งสองแบบไปพร้อม กับการน�ำเสนอทุกครั้ง เพราะไม่มีทางรู้เลยว่าอุปกรณ์ที่มีใช้ระบบใด

17

Mode Board Concept Board Collage หรือ คอลลาจ คือการน�ำรูปภาพที่มาจากหลายแหล่ง เช่น ภาพจากหนังสือ นิตยสาร มาจัด องค์ประกอบให้สวยงาม แล้วน�ำมาติดหรือรวมกัน 18 19 20

71


นำ�เสนองานออกแบบ

ว่าต้องการบ้านที่ ‘หรูหรา’ ที่เป็นนามธรรม การใช้มู้ดบอร์ดที่ถูกต้องจะดึง ความต้องการของลูกค้าออกมาได้ว่าค�ำว่า ‘หรูหรา’ นั้นคือแบบไหน หรูหรา ด้วยรูปทรงของตัวบ้าน หรือหรูหราจากการใช้วสั ดุแพง ๆ ท�ำให้ลดความเข้าใจ ผิดระหว่างเจ้าของโครงการกับผู้ออกแบบลงได้มาก น่าสังเกตว่าสถาปนิกไทยไม่ค่อยท�ำมู้ดบอร์ด อาจเพราะไม่ชอบก๊อบปี้งาน คนอื่นหรืองานตัวเอง มาใช้ท�ำเป็นมู้ดบอร์ดตัวเอง ในขณะที่สถาปนิกต่าง ชาติกลับชอบใช้วิธีการนี้จนเป็นเรื่องปกติ และท�ำกันอย่างแพร่หลายมาก สถาปนิกต่างชาติจะเริม่ ขายงานโดยใช้ภาพทีเ่ ป็นงานของคนอืน่ อาจดาวน์โหลด จากอินเทอร์เน็ตน�ำมาใส่ในมู้ดบอร์ดอย่างหน้าตาเฉยและไม่ได้รู้สึกละอายใจ อะไรเลย!

สื่อดิจิทัล โปรแกรมน�ำเสนอแบบดิจิทัลมีสองประเภท ประเภทแรก เป็นโปรแกรมน�ำ เสนอแบบสไลด์โชว์ ได้แก่ PowerPoint และโปรแกรม keynote ส่วนอีก ประเภทหนึ่งเป็นโปรแกรมแสดงเอกสาร โดยที่ใช้กันทั่วไปคือ Acrobat PDF

72


โปรแกรมแบบสไลด์โชว์จะแสดงภาพเป็นแผ่นละหนึ่งหน้าจอ สามารถใส่ลูก เล่นการเปลี่ยนภาพและท�ำภาพเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแผ่นสไลด์ และ แทรกไฟล์ภาพยนตร์ในแผ่นน�ำเสนอได้ด้วย โปรแกรมพวกนี้เหมาะส�ำหรับ การน�ำเสนอที่วางแผนล่วงหน้า มีล�ำดับขั้นตอนที่ชัดเจน การขยายภาพใน แผ่นสไลด์มีข้อจ�ำกัดและท�ำได้ยาก การเตรียมข้อมูลต้องแปลงให้เป็นรูปภาพ ก่อนแล้วค่อยน�ำมาแทรกลงในสไลด์ เหมาะส�ำหรับการน�ำเสนอในช่วง งาน แบบร่างและแบบขั้นพัฒนา ส่วนโปรแกรมแบบแสดงเป็นเอกสารเหมาะส�ำหรับการน�ำเสนอที่ไม่มีล�ำดับ ขั้นตอนชัดเจน สามารถขยายและย่อภาพแบบหรือภาพได้ง่ายกว่าโปรแกรม ประเภทแรก มีข้อจ�ำกัดคือไม่สามารถใส่ลูกเล่น เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว ได้ เหมาะส�ำหรับการน�ำเสนอในช่วงแบบก่อสร้างหรือในระหว่างการก่อสร้าง

73


นำ�เสนองานออกแบบ

ตรงเวลา หัวข้อนีไ้ ม่ได้พดู ถึงการมาถึงสถานทีน่ �ำเสนอตรงเวลาเพราะเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งท�ำอยู่ แล้ว การมาไม่ตรงเวลาทีน่ ดั ถือเป็นความผิดร้ายแรง และไม่ใช่แค่ตรงเวลาแต่ ต้องมาก่อนเวลาการน�ำเสนอด้วย ส่วนค�ำว่า ‘ตรงเวลา’ ในหัวข้อนี้เป็นเรื่อง การใช้เวลาน�ำเสนอ มีความเชื่อผิด ๆ ว่าการน�ำเสนองานยาว ๆ ยิ่งพูดเกินเวลาที่ก�ำหนดจะท�ำให้ คนฟังชืน่ ชมเพราะดูตงั้ ใจท�ำงาน แต่เป็นความเชือ่ ทีผ่ ดิ เพราะยิง่ ใช้เวลาน�ำเสนอ ยืดเยื้อเท่าไร คนฟังจะรู้สึกเบื่อและรู้สึกว่าสิ่งที่น�ำเสนอไม่มีค่า มีตัวอย่างจาก การประชุมครัง้ หนึง่ ทีม่ กี ารน�ำเสนอทีย่ าวนานเกินกว่าเวลาทีก่ �ำหนดไปมาก ใน ช่วงถามตอบปรากฏว่ามีคนถามค�ำถามที่ค�ำตอบอยู่ในสไลด์แผ่นสุดท้ายและ ผู้บรรยายเพิ่งพูดถึงก่อนจบการบรรยายไปไม่กี่นาทีเอง การน�ำเสนอควรใช้เวลาน้อยกว่าที่ก�ำหนดเล็กน้อยประมาณห้าถึงสิบนาที ส�ำหรับการตอบค�ำถาม แต่ไม่ควรเหลือเวลานานเกินไปเพราะจะท�ำให้คนฟัง รู้สึกว่าเราท�ำงานมาน้อย อีกทั้งให้ใช้กฎ 10 นาที คือเมื่อน�ำเสนอไปได้ประมาณ 10 นาทีให้หยุดพัก เล็กน้อยเพือ่ ให้ผฟู้ งั ได้พกั เพราะคนฟังจะเริม่ ไม่มสี มาธิหลังจากฟังผ่านไป 10 นาที ให้คั่นด้วยการเล่าเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องน�ำเสนอหรือใช้การเว้นการน�ำ เสนอสักห้าถึงสิบวินาที

แนะน�ำตัว ถ้าผูฟ้ งั ไม่รจู้ กั เราหรือองค์การของเรามาก่อน ให้เริม่ ด้วยการแนะน�ำตัวเองและ องค์กรเพื่อตอบค�ำถามในใจผู้ฟังว่าท�ำไมต้องฟังการน�ำเสนอนี้ การแนะน�ำตัว ต้องเสนอส่วนที่น่าสนใจที่สุดของเราเพื่อให้กระแทกใจคนฟังให้ได้ เช่น ผู้น�ำ

74



8

เผชิญ หน้างาน แบบเซ็นสัญญา ประชุมหน้างาน ไม่ลัดขั้นตอน วีอียาเบื่อ จัดการ อาร์เอฟไอ อาร์เอฟเอ ให้อยู่หมัด เหยื่อวีโอ แบบก่อสร้างไม่ใช่แบบก่อสร้าง 82


นักออกแบบไทยมักท�ำตัวไม่ถูกเมื่อต้องไปดูการผลิตที่ โรงงาน หรือทีโ่ รงพิมพ์ หรือไปดูหน้างานก่อสร้าง เพราะ เวลาท�ำงานส่วนใหญ่ของนักออกแบบจะนั่งอยู่หน้าจอ คอมพิวเตอร์ในส�ำนักงานที่ติดแอร์เย็นฉ�่ำ ผู้จัดการงาน ออกแบบต้องไม่หลีกเลีย ่ งการไปหน้างานและต้องเรียนรู้ ว่าจะรับมือกับเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างไร หัวข้อนี้เป็นการน�ำ เสนอเรื่องที่นักออกแบบเมื่อต้องออกไปเผชิญกับหน้า งานจริงจะพบกับเรื่องอะไรบ้างและควรจะรับมืออย่างไร

แบบเซ็นสัญญา ก่อนที่งานออกแบบจะถูกน�ำไปผลิต หรือไปพิมพ์หรือน�ำไปก่อสร้าง จะต้องมี ขบวนการจัดซือ้ จัดจ้างและสิง่ แรกทีโ่ ครงการจะทวงจากผูอ้ อกแบบคือ ‘เอกสาร เพือ่ ใช้ในการจัดหาจัดซือ้ หรือจัดการประมูล’ ปกตินกั ออกแบบสามารถส่งมอบ เอกสารชุดนี้ได้ทันทีโดยส่งแบบชุดล่าสุดที่ท�ำเสร็จนั่นเอง แต่แบบที่มักก่อปัญหาให้นักออกแบบคือเมื่อมีการร้องขอ “เอกสารและหรือ แบบเพื่อใช้ลงนามจัดซื้อจัดจ้างหรือแนบสัญญาจ้าง” หลายคนอาจนึกไม่ออก ว่าจะมีปญ ั หาอย่างไรเพราะแบบนีน้ า่ จะเป็นชุดเดียวกับ “เอกสารเพือ่ ใช้ในการ จัดหาจัดซื้อหรือจัดการประมูล” นั่นเอง แต่ความจริงคือในระหว่างขบวนการจัดซือ้ หรือจัดหาหรือจัดประมูลอาจมีหลาย เรื่องเกิดขึ้น เช่น การต่อรองเงื่อนไขการท�ำงาน การตอบค�ำถามระหว่างการ ประมูล หรือเจ้าของโครงการเปลีย่ นแบบ เป็นต้น เอกสารทีผ่ อู้ อกแบบส่งออก ไปอาจถูกแก้ไขมากบ้างน้อยบ้างตามสถานการณ์ และบ่อยครั้งที่ขบวนการนี้ ใช้เวลานานมากบางโครงการนานมากกว่าหนึ่งปีก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อมีการร้องขอแบบเพื่อใช้ในการท�ำสัญญา ผู้ออกแบบจึงเกิดความไม่มั่นใจ ว่าแบบชุดใดควรเป็นแบบเพื่อใช้ท�ำสัญญาจ้าง เพราะเกิดจากสับสนจากระยะ 83


เผชิญหน้างาน

เวลาทีน่ านและการท�ำงานหลายฝ่าย หลายคนอาจจะบอกว่าให้ใช้แบบสุดท้าย ที่ท�ำออกมาก็น่าจะหมดปัญหา แต่หลายครั้งผู้จัดการประมูลสรุปที่จะใช้แบบ ท�ำสัญญาในระหว่างทางที่ไม่ใช่แบบชุดสุดท้าย เพือ่ แก้ปญ ั หานีผ้ จู้ ดั การงานออกแบบจะต้องแจ้งผูจ้ ดั หาจัดซือ้ จัดจ้างหรือจัดการ ประมูลต้องแจ้งล่วงหน้าว่าต้องการแบบท�ำสัญญาของวันไหนเพื่อผู้ออกแบบ จะได้เตรียมข้อมูลได้ถูกต้อง ผู้เขียนเคยถูกร้องขอแบบก่อสร้างที่เป็นไฟล์แคดชุดเดียวกันกับแบบที่ท�ำ สัญญา ฟังดูไม่เป็นปัญหาถ้าการร้องขอนั้นไม่ได้เกิดขึ้นหลังวันท�ำสัญญาผ่าน ไปแล้วนานกว่าสามปี ซึ่งผู้เขียนปฏิเสธที่จะด�ำเนินการให้เพราะไฟล์แคด ที่มีอยู่ถูกบันทึกทับด้วยข้อมูลล่าสุดแล้ว การร้องขอไฟล์ในอดีตถ้าไม่มีการ แจ้งล่วงหน้าจึงเป็นไปไม่ได้เลย เพื่อแก้ปัญหานี้ให้จัดเก็บข้อมูล แบบชุดประมูล แบบชุดท�ำสัญญา เป็น PDF และไฟล์แคด ถ้ามีเอกสารที่มีลงชื่อด้วยต้องสแกนแบบและเอกสารนั้นเก็บไว้ ด้วย โดยเก็บเป็นโฟลเดอร์แยกต่างหาก แม้จะไม่มใี ครร้องขอแต่เชือ่ ว่าในทีส่ ดุ จะมีการทวงถามอย่างแน่นอน

ประชุมหน้างาน หน้าที่ของนักออกแบบที่เกี่ยวข้องกับหน้างานมากที่สุดคือการเข้าร่วมประชุม ที่โรงงานหรือโรงพิมพ์หรือสถานที่ก่อสร้าง ส�ำหรับความถี่การเข้าร่วมขึ้นกับ ข้อตกลงที่ท�ำกับเจ้าของโครงการ การประชุมหน้างานผู้ออกแบบหรือผู้จัดการงานออกแบบมีหน้าที่เข้าร่วม ประชุมแต่ไม่ได้เป็นผูน้ �ำประชุมเหมือนช่วงออกแบบ โดยปกติวาระการประชุม ที่เกี่ยวกับผู้ออกแบบมักเป็นช่วงท้าย ๆ ดังนั้นถ้าผู้ออกแบบมีงานยุ่งให้บอก ผู้จัดประชุมก�ำหนดวาระการประชุมให้ชัดเจนและแจ้งว่าจะเข้าประชุมเฉพาะ ในช่วงนั้น 84


เรื่ อ งที่ เ กี่ ย วกั บ งานออกแบบในที่ ป ระชุ ม ที่ ห น้ า งานมั ก เป็ น เรื่ อ งที่ ผู ้ ผ ลิ ต ผู้พิมพ์ หรือผู้รับเหมาก่อสร้างโวยวายกับผู้ออกแบบ โดยเฉพาะผู้รับเหมา ที่มีประสบการณ์มากมักใช้กับผู้ออกแบบที่อ่อนอาวุโสด้วยวิธี “ตีให้น่วมเพื่อ ผลระยะยาว” โดยจะใช้การกล่าวโทษผู้ออกแบบด้วยเสียงดังๆ ด้วยเรื่อง เล็กๆ ก่อนเช่น “แบบไม่ครบ” “แบบไม่ตรงกัน” “แบบท�ำงานยาก” “แบบ ที่ส่งมาก่อสร้างไม่ได้” “แบบนี้ท�ำให้ก่อสร้างช้า” หรืออาจถึงขั้นที่มากที่สุดคือ กล่าวหาว่า “ออกแบบผิด” การดิสเครดิตความน่าเชื่อถือของผู้ออกแบบกับเจ้าของโครงการมีผลคือ หลังจากนี้ไม่ว่าผู้รับเหมาฯ จะพูดอะไรลูกค้าจะเชื่อทุกอย่างและไม่มีใครฟัง ผู้ออกแบบอีก วิธีการตอบโต้เรื่องนี้นอกเหนือจากที่กล่าวไว้แล้วในบท “การ ต่อสู้เพื่องานออกแบบ” และหลักส�ำคัญคือ “อย่าตกหลุมพราง” ที่ขุดเอา ไว้ เมื่อต้องเจอกับเรื่องท�ำนองนี้ให้ซื้อเวลาเพื่อตั้งหลักอย่าเล่นตามเกม ให้ แจ้งกลับไปว่า “ตามที่พูดมาทั้งหมดนี้ขอให้ช่วยแจกแจงเป็นเรื่อง ๆ อย่าง ละเอียดและอ้างอิงแต่ละเรื่องกับแบบที่เกี่ยวข้องว่าเกี่ยวกับแบบแผ่นใดหน้า ใด ท�ำเอกสารหนึ่งชุดต่อหนึ่งเรื่อง แล้วส่งมาเป็นทางการ รบกวนขอรายงาน นีภ้ ายในหนึง่ สัปดาห์” เมือ่ จบประโยคนีล้ งเชือ่ ว่าจะเกิดความเงียบในทีป่ ระชุม เพราะธรรมชาติของผูร้ บั เหมาก่อสร้างไทยมักมีความทุพพลภาพในงานเอกสาร นั่นเอง วิธีนี้จึงช่วยซื้อเวลาให้กลับมาตั้งหลักว่าจะตอบโต้อย่างไรต่อไป แนวทางการตอบค�ำถามและค�ำกล่าวหาทีม่ าจากผูร้ บั เหมาฯ พอมีแนวทางเช่น ค�ำถามประเภท “แบบไม่ละเอียด” “แบบไม่ครบถ้วน” ให้ตอบว่า “ถ้าแบบ ไม่ครบหรือข้อมูลไม่ครบถ้วนและไม่สมบูรณ์ ในช่วงการประมูลท�ำไมผู้รับ เหมา ที่เป็นผู้เข้าประมูลในช่วงนั้น ไม่ได้แจ้งขอข้อมูลตั้งแต่ช่วงการประมูล” ร้อยทั้งร้อยของผู้รับเหมาไทยจะ ‘อึ้ง’ กับค�ำตอบนี้ เพราะธรรมชาติของการ ประมูลงานก่อสร้าง บริษทั ผูร้ บั เหมาไทยจะใช้ทมี ท�ำงานช่วงประมูลเป็นคนละ ชุดกับทีมท�ำงานก่อสร้างเสมอ หรือผูร้ บั เหมาบางราย ถึงขัน้ จ้างคนนอกมาท�ำ เรื่องนี้เป็นครั้งๆ ก็มี ท�ำให้ข้อมูลที่ทีมประมูลรับรู้ หรือได้สัญญาเอาไว้ หรือ ละเลยไว้ ทีมท�ำงานก่อสร้างมักไม่รู้เรื่องเลย กลายเป็นจุดอ่อนใหญ่ของผู้รับ เหมาไทย

85


เผชิญหน้างาน

ส่วนค�ำกล่าวหาว่าออกแบบผิดการตอบอาจใช้แนวทางเดียวกัน แต่เป็นเรื่อง ละเอียดอ่อน ที่ต้องใช้ประสบการณ์เฉพาะตัวและคงต้องหาตอบเป็นกรณีไป ไม่มสี ตู รส�ำเร็จ เป้าหมายส�ำคัญทีส่ ดุ คือต้องท�ำความเข้าใจและสร้างความเชือ่ มั่นให้กับลูกค้าว่าค�ำกล่าวอ้างทั้งหมดนั้นไม่เป็นความจริง เพราะการถูกกล่าว หาว่าออกแบบผิดพลาด เป็นเรือ่ งร้ายแรงมากจึงต้องแก้ขอ้ กล่าวหานีใ้ ห้ได้ทนั ที อย่าปล่อยทิ้งไว้จนเราอาจกลายเป็น ‘แพะ’ ในภายหลัง

ไม่ลัดขั้นตอน โครงการขนาดกลางและขนาดใหญ่มักจัดจ้างผู้ควบคุมงานก่อสร้างมาท�ำ หน้าที่ประสานงานและเป็นตัวแทนติดต่อระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้างกับฝ่าย อื่น แต่มักพบว่าผู้รับเหมาฯ ส่วนใหญ่ชอบใช้ทางลัดโดยเข้ามาคุยหรือตกลง กับผู้ออกแบบนอกรอบข้ามหัวผู้ควบคุมงานฯ โดยอ้างว่า “เพื่อลดขั้นตอน และท�ำให้งานเร็วขึ้น” เลยท�ำให้การลัดขั้นตอนนี้เป็นที่ชอบอกชอบใจของทุกฝ่าย นักออกแบบเอง ก็รู้สึกมีความส�ำคัญ ผู้รับเหมาฯ ได้ค�ำตอบเร็ว คนคุมงานฯ ท�ำงานน้อยลง เจ้าของโครงการรู้สึกว่างานรวดเร็วดี แต่ผลที่กลับมาจะพบว่ามักจบไม่ดีและ มีปัญหามากมายในภายหลังเสมอ การลัดขั้นตอนชอบท�ำกันคือ ผู้รับเหมาฯขอเคลียร์แบบด้วยวิธีขอเข้ามาคุย หารือโทรศัพท์เข้ามาสอบถามโดยไม่มีเอกสาร ไม่มีหลักฐานอ้างอิง ผลเสีย อย่างแรกคือเกิดความเข้าใจผิด เข้าใจไม่ตรงกันเพราะใช้วิธีการคุยกันไม่เห็น เอกสารไม่เห็นแบบ เมือ่ คุยเสร็จก็ไม่มกี ารสรุปผลอย่างเป็นเรือ่ งเป็นราวเพราะ ไม่มี เจ้าภาพ เรือ่ งทีเ่ ข้าใจของแต่ละฝ่ายจะตรงกันหรือไม่ไม่มใี ครรู้ จนกว่า งานนัน้ จะถูกท�ำจนเสร็จนัน่ แหละนรกจึงมาเยือน เมือ่ มีการทักว่าไม่ถกู ต้องค�ำ พูดทีจ่ ะยกขึน้ มาอ้างคือ “คุยกับผูอ้ อกแบบแล้ว” เลยท�ำให้คนทักทีไ่ ม่กล้าขัดต่อ ผลเสียทีส่ องคือการลัดขัน้ ตอนมักไม่มหี ลักฐานใช้อา้ งอิงว่าเรือ่ งเป็นมาอย่างไร สรุปเป็นอย่างไร เมือ่ เกิดการเช็คบิลค่าก่อสร้างเพิม่ ตอนนัน่ แหละคงต้องมีใคร บางคนต้องเป็น “แพะ” 86


ผลเสียที่สามการคุยกันแค่สองฝ่ายไม่มีพยานรู้เห็น เมื่อเกิดข้อขัดแย้งแต่ละ ฝ่ายจะอ้างว่าตัวเองถูกท�ำให้จบเรื่องไม่ได้ จากปัญหาเล็กเลยกลายเป็นปัญหา ใหญ่ ไม่ดีกับทุกฝ่าย ดังนั้นต้องปฏิเสธการท�ำงานแบบใช้ทางลัด ผู้ออกแบบต้องไม่ติดต่อกับผู้รับ เหมาตรงไม่ผา่ นผูค้ วบคุมงาน ต้องให้มกี ารบันทึกทุกเรือ่ งทีผ่ า่ นเข้ามาเป็นลาย ลักษณ์อักษรและส่งเรื่องไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องในทุกกรณี แต่บางครัง้ อาจต้องยืดหยุน่ บ้างเพือ่ ไม่ให้เกิดภาพทีไ่ ม่ดกี บั ลูกค้าว่าผูอ้ อกแบบ เข้มงวดเกินไปท�ำให้งานช้า การอนุโลมบางกรณีนั้นต้องตั้งเงื่อนไขว่าการ ติดต่อหรือพูดคุยกับผูร้ บั เหมา ทุกครัง้ ต้องมีผคู้ วบคุมงาน หรือตัวแทนเจ้าของ โครงการอยูใ่ นการสนทนานัน้ เสมอ และเมือ่ คุยกันเสร็จแล้วต้องสรุปเรือ่ งทีค่ ยุ กันให้เข้าใจตรงกันแล้วท�ำบันทึกย้อนหลังเป็นลายลักษณ์อกั ษรส่งให้ผเู้ กีย่ วข้อง ทุกฝ่ายตรวจสอบว่าเข้าใจตรงกันภายในหนึ่งสัปดาห์ ถ้ายืดหยุน่ แล้วกลับไม่มกี ารด�ำเนินการตามทีก่ �ำหนดนี้ เช่น ไม่มใี ครท�ำเอกสาร สรุป แนะน�ำว่าให้ผจู้ ดั การออกแบบท�ำบันทึกสรุปเรือ่ งนีข้ นึ้ มาเองเพือ่ ปิดหัวข้อ โดยแจ้งทีท่ า้ ยรายงานว่าเนือ่ งจากผูเ้ กีย่ วข้องไม่ด�ำเนินการตามทีไ่ ด้ตกลงกันดัง นั้นต่อจากนี้ผู้ออกแบบขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่อนุญาตใช้ทางลัดแบบนี้อีก

วีอียาเบื่อ ‘วีอ’ี หรือ ‘VE’ ย่อมาจาก ‘Value Engineering’ หรือ ‘วิศวกรรมคุณค่า’ มีความ หมายเชิงทฤษฎีคือ “เทคนิคการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ การใช้งานทีจ่ �ำเป็น ด้วยต้นทุนทีต่ ำ�่ ทีส่ ดุ โดยผลิตภัณฑ์ยงั คงมีคณ ุ ภาพตรงกับ ความต้องการของลูกค้า” ความหมายนี้เป็นแค่ค�ำสวย ๆ ที่ ผู้จัดการโครงการ หรือตัวแทนเจ้าของโครงการน�ำมาอ้างเพื่อลดต้นทุนโครงการ โดยคุณค่าของ งานออกแบบนั้นจะลดลงหรือไม่ไม่ใช่ประเด็น

87


9

สัพเพเหระ ไม่สร้างเซอร์ไพรส์ เรียนรู้อดีต อย่าติดกับดัก

106


หัวข้อสุดท้ายเป็นเรื่องที่อยากน�ำเสนอแต่ตัดสินใจไม่ได้ ว่าเนื้อหาควรจะรวมอยู่ในบทไหน ผู้เขียนขอน�ำมารวมไว้ ด้วยกันในบทนี้

ไม่สร้างเซอร์ไพรส์ นักออกแบบมักมีความรู้สึกว่าการสร้างความประหลาดใจเป็นสิ่งที่ดี เพราะ สมัยเรียนในมหาวิทยาลัย นักศึกษาทีท่ �ำงานแบบร่างแบบเฮ้ยๆ หรือไม่สง่ แบบ ร่าง แต่ใช้วิธีลงทุนท�ำงานหนักในแบบขั้นสุดท้ายเพื่อท�ำให้อาจารย์ผู้ตรวจเกิด ความรู้สึก “ปัง” จนได้คะแนนดีจากการท�ำงานแค่ครั้งเดียว ที่แย่คืออาจารย์ มหาวิทยาลัยก็สนับสนุนนักศึกษาทีม่ พี ฤติกรรมแบบนีเ้ สียด้วย นักศึกษาทีข่ ยัน ส่งแบบร่างสม�่ำเสมอกลับได้คะแนนสู้พวกนี้ไม่ได้ สาเหตุอาจเกิดจากอาจารย์ บางคนทีม่ กั ง่ายและขีเ้ กียจเลยใช้วธิ ตี รวจแค่งานขัน้ สุดท้ายเท่านัน้ เพือ่ ประหยัด แรง เลยเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาไทยติดนิสัยแบบนี้จนถึงการท�ำงานจริง ในชีวติ จริงเรือ่ งไม่เป็นแบบนีเ้ ลย การสร้างประหลาดใจไม่เคยส่งผลดีเลยแม้แต่ ครัง้ เดียว ลองคิดดูวา่ ถ้างานออกแบบขัน้ สุดท้ายมีการเปลีย่ นแปลงไปจากแบบ ที่น�ำเสนอครั้งแรกอย่างหน้ามือเป็นหลังเท้าทั้งที่มีการอนุมัติหลายเรื่องหลาย ประเด็นมาแล้วลูกค้าจะรูส้ กึ อย่างไร ความเชือ่ มัน่ ผูอ้ อกแบบจะเกิดขึน้ หรือไม่ เจ้าของโครงการคงไม่สบายใจเรือ่ ง ‘เซอร์ไพรส์’ ทีผ่ อู้ อกแบบยัดเยียดให้แน่ ๆ การท�ำเรื่องประหลาดใจไม่ใช่การท�ำงานที่ถูกต้อง เพราะการสร้างความ ประหลาดใจจะท�ำให้ลกู ค้าสับสนและรูส้ กึ ว่าผูอ้ อกแบบไม่มนั่ ใจในงานออกแบบ ของตัวเองแล้วจะให้ลูกค้ามั่นใจในงานของเราได้อย่างไร

107


สัพเพเหระ

เรียนรู้อดีต เป็นเรือ่ งทีแ่ ปลกประหลาดอย่างหนึง่ ของนักออกแบบไทยทีเ่ คยท�ำงานผิดพลาด ในอดีต แต่เมือ่ เริม่ ท�ำโครงการใหม่แทนทีจ่ ะคิดหาทางแก้ปญ ั หานัน้ ไว้ลว่ งหน้า แต่กลับยอมให้ปัญหานั้นเกิดซ�้ำอีก ตัวอย่างจากประสบการณ์จริงคือ ในงานออกแบบอาคารทุกงานเมื่อเริ่มงาน ก่อสร้างค�ำถามแรกที่ส่งมาจากหน้างานคือจะเริ่มปักผังเสาอาคารอย่างไร เพราะแบบไม่แสดงวิธีการเริ่มวางแนวเสาอาคารอย่างไร ระดับของอาคาร จะอ้างอิงกับอะไร เป็นต้น ต้องรอให้ผู้รับเหมาก่อสร้างสอบถามมาแล้วค่อย ตอบค�ำถามนี้ สถาปนิกบางคนมักง่ายกว่านั้นคือส่งแบบแคดให้แล้วบอกให้ ผู้รับเหมาไปหาข้อมูลเอง เป็นวิธีที่น่าอายมาก ผู้ออกแบบหลายคนอาจรู้สึก ว่าการท�ำแบบนี้จะช่วยประหยัดเวลาช่วงท�ำแบบเพราะไม่ต้องท�ำแบบเพิ่มอีก แผ่น แต่หารู้ไม่ว่ายิ่งคิดแบบนี้เท่าไรภาพพจน์ของความเป็นนักออกแบบมือ อาชีพของท่านจะลดลงมากเท่านั้น วิธกี ารเรียนรูจ้ ากอดีตไม่จ�ำเป็นทีต่ อ้ งเป็นประสบการณ์ดว้ ยตัวเอง แต่สามารถ เรียนรู้จากการได้พูดคุย จากการฟัง จากการอ่าน ที่มาจากประสบการณ์ของ คนที่เคยเจอเรื่องพวกนี้มาแล้ว การใช้วิธีอบรมภายในองค์กรเพื่อให้พนักงาน มาแลกเปลี่ยนและเล่าประสบการณ์เรื่องที่เคยพบ เคยเจอข้อผิดพลาดมา แล้วเพื่อไม่ให้คนอื่นท�ำงานผิดซ�้ำเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีเช่นกัน แต่ที่ส�ำคัญคือ การน�ำเสนอปัญหานั้นต้องบอกวิธีการท�ำงานที่ถูกต้องด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดความเสียหายอีก

108


เรือ่ งตลกเรือ่ งหนึง่ ทีอ่ ยากเล่าให้ฟงั คือในแบบก่อสร้างของโครงการหนึง่ ทีส่ ถาปนิก ได้จัดท�ำแบบปักผังที่ครบถ้วนที่แก้ปัญหาจากประสบการณ์ในอดีต แต่เหมือนผู้รับ เหมาก่อสร้างใช้ความเคยชินคือไม่ได้ตรวจสอบเลยว่ามีแบบชุดที่ส่งให้มีข้อมูล เหล่านี้อยู่แล้ว ได้ออกจดหมายทวงถามข้อมูลวิธีการปักผังมาที่ผู้ออกแบบเหมือน เป็นอัตโนมัติ เมื่อสถาปนิกแจ้งว่าข้อมูลนี้อย่างครบถ้วนอยู่แล้วโดยให้ไปดูแบบแผ่นหมายเลข นั้นหมายเลขนี้ ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก เพราะหลังจากที่ผู้ออกแบบ ได้ตอบค�ำถามนี้แล้วยังได้เพิ่มข้อความว่า “ขอให้ผู้เกี่ยวข้องศึกษาและพิจารณา แบบให้ละเอียดก่อนสอบถามปัญหาเพื่อลดเวลาในการท�ำงาน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ ของโครงการโดยรวม” ผู้รับเหมาก่อสร้างรายนี้หลังจากได้รับค�ำตอบนี้คงตกใจพอ สมควรเพราะคาดไม่ถึงว่าผู้ออกแบบได้ท�ำข้อมูลนี้ไว้ล่วงหน้าแล้ว ผลทีต่ ามมานอกจากท�ำให้งานก่อสร้างด�ำเนินการไปได้ราบรืน่ แล้วยังช่วยสร้างภาพ ความเป็นนักออกแบบมืออาชีพได้เป็นอย่างดีด้วย

109


ผู้เขียนคือใคร


ส�ำเร็จการศึกษาจากหลายสถาบันและหลายสาขา คือ สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต (MBA) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ (ITM) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง

วิญญู วานิชศิริโรจน์

ปัจจุบันท�ำงานในต�ำแหน่ง Executive Vice President ที่บริษัท Design 103 International โดยประกอบวิชาชีพเป็นสถาปนิกที่ท�ำงานด้านออกแบบและ จัดการงานออกแบบมานานกว่า 30 ปี มีผลงานออกแบบอาคารมาแล้ว มากมาย มีงานอดิเรกเป็นนักเขียน ได้เขียนหนังสือและบทความทางวิชาการ ไว้หลายร้อยชิ้น งานเขียนหนังสือเล่มนี้มาจากความรู้ด้านสถาปัตยกรรม การบริหาร การเงิน และประสบการณ์ตรงจากการท�ำงานเป็น ”ผู้จัดการ งานออกแบบ” มาแล้วหลายสิบโครงการ ข้อมูลที่น�ำเสนอผ่านหนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยแง่มมุ และรายละเอียดทีต่ งั้ ใจให้เป็นประโยชน์กบั ผูอ้ า่ นทีต่ อ้ งการ เปลี่ยนตัวเองจากนักออกแบบมาเป็นผู้จัดการงานออกแบบ ผลงานเขียนหนังสือขายดีทจี่ ดั พิมพ์ไปแล้วคือ “ตรวจสุขภาพบ้านก่อนรับโอน” “ตรวจสุขภาพคอนโดก่อนรับโอน” “ซือ้ บ้านได้ถกู ใจ” “สร้างบ้านให้ตรงใจ” “วิธี อ่านแบบก่อสร้าง” และ “How to be a good design manager” EPISODE 1 บทบาทผู้จัดการงานออกแบบ


How to be a good design manager Episode II ภาคสองบทบาทผู้จัดการงานออกแบบ ผู้เขียน วิญญู วานิชศิริโรจน์ พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2559 บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำ�กัด ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ วิญญู วานิชศิริโรจน์. How to be a good design manager Episode II ภาคสองบทบาทผู้จัดการงานออกแบบ .-กรุงเทพฯ : ลายเส้น พับบลิชชิ่ง, 2016. 128 หน้า. 1. สถาปนิก. I. ชื่อเรื่อง. 745.4 ISBN 978-616-7800-66-0 ที่ปรึกษา นิธิ สถาปิตานนท์ บรรณาธิการ สุลักษณ์ วิศวปัทมวรรณ ออกแบบปกและรูปเล่ม Zig-Zag, วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ กองบรรณาธิการ รุ่งรวี สุรินทร์ เลขากองบรรณาธิการ ชวะ วงษ์ไทย

บริษัท ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำ�กัด 81 สุขุมวิท 26 คลองตัน คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2259 2096 โทรสาร 0 2661 2017 อีเมล li-zenn@li-zenn.com เฟสบุ๊ก Li-Zenn Publishing www.li-zenn.com, www.li-zennpub.com

พิมพ์ที่ บริษัท SUPERPIXEL




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.