Rem Koolhaas Conversations with students Edited by Sanford Kwinter Designed by Sze Tsung Leong Published by Rice School of Architecture; Lar Lerup, Dean and Princeton Architectural Press, Kevin C. Lippert, publisher First published in the United States by Princeton Architectural Press This translation is published by arrangement with Princeton Architectural Press Princeton Architectural Press 37 East 7th Street New York, NY 1003 USA The Thai Edition is translated and published by Li-zenn Publishing, 2016
สารบัญ
การบรรยาย 21 มกราคม ค.ศ.1991
16
สัมมนา 21 มกราคม ค.ศ.1991
40
ยิงกระสุนให้บินได้ หรือ อนาคตเกิดขึ้นแล้วตอนไหน? แซนฟอร์ด ควินเตอร์
74
อภิธานศัพท์
108
16
การบรรยาย 21 มกราคม ค.ศ.1991
REM KOOLHASS: LECTURE
สถาปัตยกรรมเป็นสาขาวิชาชีพที่อันตราย
มีเหตุผลหลายประการที่ท�ำให้เป็นเช่นนั้น การตั้งชื่อสถานที่ท�ำงานของตนเอง ว่า Office for Metropolitan Architecture หรือ ส�ำนักสถาปัตยกรรม ส�ำหรับมหานคร นับว่าเป็นเรื่องโอ้อวดมากเมื่อเทียบกับชื่อของส�ำนักงาน ด้านสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน การที่เราจะกล่าวว่าสถาปัตยกรรมนั้นเป็นสถาปัตยกรรมส�ำหรับ มหานครหรือไม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผมออกแบบบ้านในเมืองปารีสโดยจัดวางให้ สระว่ายน�้ำตั้งอยู่บนแกนเดียวกับหอคอยไอเฟล ซึ่งชาวฝรั่งเศสเองก็ตีความว่า นั่นคือสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับความเป็นมหานคร แต่ผมกลับมองว่ามัน เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับมหานครที่ผิวเผินมาก สถาปัตยกรรมเป็นสาขาวิชาชีพที่อันตราย เป็นวิชาชีพที่มีลักษณะ ของการท�ำงานที่ยากล�ำบากและมักท�ำให้เราเหนื่อยล้า ในกระบวนการ ออกแบบบ้านในเมืองปารีส พวกเรามีแนวความคิดที่จะท�ำให้บ้านลอยอยู่ กลางอากาศ มันเป็นแนวคิดที่ฟังดูแล้วง่ายแต่ท�ำให้คน 35 คนทั้งส�ำนักงาน ต้องระดมความคิดและความสามารถเป็นเวลาร่วมสองปีเพื่อที่จะท�ำให้ ความคิดง่ายๆ นัน้ กลายเป็นจริงได้ กลายเป็นว่าตลอดสองปีทที่ ำ� การออกแบบ บ้านในปารีสท�ำให้เราไม่มีโอกาสที่จะคิดอะไรอย่างอื่นได้เลย
17
24
อาคารท่าเรือข้ามฟากทะเลเหนือที่ซีบรูกก์ ประเทศเบลเยียม, ค.ศ. 1989 ตัวอย่างแรกคืออาคารท่าเรือข้ามฟากของช่องแคบบริเวณทะเลเหนือ โครงการนี้เกิดจากความกังวลของเจ้าของบริษัทเรือข้ามฟากว่าธุรกิจของการ เดินเรือข้ามฟากจะได้รับผลกระทบจากการสร้างอุโมงค์ลอดช่องแคบอังกฤษ (Channel Tunnel) จึงเกิดความคิดทีจ่ ะปรับปรุงท่าเรือข้ามฟากให้มคี วามยิง่ ใหญ่ และหรูหราขึ้นกว่าเดิม ที่จริงแล้วการนั่งเรือข้ามช่องแคบในทะเลเหนือจัดว่า เป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจ มากกว่าการนั่งรถไฟอุดอู้ลอดอุโมงค์แน่นอน หนึง่ ในเจ้าของบริษทั เรือข้ามฟากเสนอให้สร้างอาคารท่าเรือขนาดใหญ่ทมี่ พี นื้ ที่ การใช้งานกว่าสองล้านตารางฟุตที่เมืองซีบรูกก์ (Zeebrugge) ริมฝั่งประเทศ เบลเยียม ท่าเรือข้ามฟากนี้จะเป็นทั้งสถานีส�ำหรับบริหารการเดินเรือข้ามฟาก ที่มีจุดเทียบเรือสี่ต�ำแหน่ง มีพื้นที่ส�ำหรับบริการร้านอาหารและภัตตาคารที่ หลากหลาย รวมทั้งพื้นที่อ�ำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น กาสิโน โรงแรม และ ศูนย์การประชุม เราพบว่ามันเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะจินตนาการให้เห็นภาพ ถึงอาคารท่าเรือขนาดมหึมาบนที่ตั้งแห่งนี้ เราลองนึกถึงภาพของอาคารท่าเรือ ที่ยื่นออกไปในทะเลถึงสองไมล์ เต็มไปด้วยปั้นจั่นและโรงเรือนขนาดต่างๆ มันเป็นภาพของสถาปัตยกรรมที่ตัดขาดออกจากบริบทของเมืองเก่าริมฝั่ง ทะเลเหนือโดยสิ้นเชิง โครงการเช่นนี้เป็นสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรม ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีความเฉพาะเจาะจงอย่างสุดโต่งอีกด้วย
REM KOOLHASS: LECTURE
25
มันเป็นครั้งแรกของการประกอบอาชีพสถาปนิกที่เราต้องท�ำตัวเป็น ศิลปินในการตัดสินใจเพราะการตัดสินใจครั้งนี้ไม่ได้อ้างอิงหลักการที่เกี่ยวกับ ประโยชน์การใช้สอยของอาคาร อีกทั้งปัญหาของการออกแบบอาคารท่าเรือนี้ ไม่สามารถใช้ตรรกะใดมาช่วยลดความซับซ้อนลงได้เลย การสร้างท่าเรือแห่งนี้ จึงเป็นเสมือนต�ำนาน พอเราออกแบบอาคารนี้มาได้ครึ่งทางพวกเราถกเถียง กันเรื่องความสวยงามของรูปทรงอาคาร เราเถียงกันว่ารูปทรงอาคารแบบนี้ มันคล้ายกับหัวของมนุษย์มากเกินไป กว่าที่พวกเราจะตกลงกันได้ว่าเราจะใช้ อาคารที่มีรูปแบบเป็นรูปโคนและรูปทรงกลมซ้อนกันก็เหลือเวลาอีกแค่สี่วัน ที่จะต้องส่งผลงานเข้าร่วมประกวดแบบ ถ้าแบ่งอาคารทางแนวตั้งเป็นสามส่วน พื้นที่หนึ่งในสามส่วนที่อยู่ ชั้นล่างของอาคารถูกออกแบบให้เป็นทางลาดที่เวียนเป็นเกลียวเชื่อมต่อส่วน ต่างๆ เข้าด้วยกัน ประกอบไปด้วยทางเข้า-ออกท่าเรือ ส่วนเชื่อมต่อกับระบบ การจราจร พืน้ ทีเ่ ชือ่ มโยงสูส่ ว่ นต่างๆ ของอาคาร และส่วนปลายของทางลาดนี้ เป็นพื้นที่จอดรถขนาดใหญ่ เมื่อพวกเราคิดกันมาถึงจุดนี้การออกแบบอาคาร ท่าเรือก็น่าสนใจมากขึ้น เราออกแบบให้พื้นที่ส�ำหรับการใช้งานของท่าเรือ หยุดลงที่จุดนี้และเปลี่ยนพื้นลาดเอียงให้กลายเป็นร้านอาหารในรูปแบบต่างๆ โดยเริ่มจากร้านอาหารแบบทั่วไปส�ำหรับคนขับรถบรรทุกขนส่ง พอพื้นลาด เวียนโค้งสูงขึ้นก็กลายเป็นพื้นที่ของภัตตาคารที่มีความหรูหรามากยิ่งขึ้น
32
ออกแบบใหม่โดยใช้วิธีการติดตั้งผนังที่ขนานไปกับผนังเดิมให้มีความหนา อย่างน้อยสองเมตรเพื่อใช้เป็นพื้นที่ติดตั้งส่วนบริการต่างๆ โดยผนังของอาคาร จะห่างกัน 40 ฟุต วิธีการนี้จะท�ำให้เราสามารถจัดการกับส่วนบริการต่างๆ ของอาคารได้ ข้อดีของการท�ำผนังขนานคือท�ำให้โครงสร้างสามารถรับน�้ำหนัก ของอาคารในส่วนของคลังได้เป็นอย่างดี รวมทั้งส่วนที่เป็นช่องโล่งซึ่งเป็นการ เจาะช่องไปบนผนังด้วย ผนังทั้งหมดจะท�ำหน้าที่รับน�้ำหนักเสมือนว่าเป็นคาน ที่มีความลึกถึง 240 ฟุต ท�ำให้เราสามารถเจาะช่องเปิดบนผนังที่จุดใดก็ได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคาร นอกจากนั้นเรายังจินตนาการ ต่อไปอีกว่าอาคารทั้งหลังก็คือคานรับน�้ำหนัก ดังนั้นเราจะสามารถออกแบบ พืน้ ทีอ่ ยูส่ ว่ นล่างของอาคารให้เป็นพืน้ ทีโ่ ล่งแบบทีไ่ ม่มเี สาได้เลยเราอยากให้ พื้นที่โล่งนี้เป็นเสมือนโถงต้อนรับผู้ที่มาใช้บริการหอสมุดแห่งนี้ การที่เราสามารถออกแบบอาคารส่วนล่างให้เป็นพื้นที่โล่งได้นับเป็น ความส�ำเร็จที่ส�ำคัญเลยทีเดียว เพราะปกติแล้วพื้นที่ส่วนล่างของอาคารมัก เป็นศูนย์รวมของงานระบบและอีกหลายองค์ประกอบทีม่ าจากพืน้ ทีส่ ว่ นบนของ อาคาร แนวคิดของโครงสร้างอาคารเช่นนี้ท�ำให้พื้นที่ส่วนล่างของอาคาร มีพนื้ ทีโ่ ล่งทีส่ ามารถออกแบบพืน้ ทีก่ จิ กรรมอะไรก็ได้เช่นเดียวกับพืน้ ทีส่ ว่ นบน สิ่งที่น่าสนใจคือผังพื้นและรูปตัดของอาคารคล้ายกันมาก พวกเราพอใจมาก กับรูปแบบของอาคาร เราสามารถท�ำให้เกิดช่องว่างได้ ท�ำให้เราสามารถ
REM KOOLHASS: LECTURE
33
ออกแบบห้องสมุดให้มีรูปทรงต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยที่ห้องสมุดทั้งห้า สามารถตั้งอยู่ร่วมกันได้โดยที่ไม่ก้าวก่ายกัน พื้นที่ส่วนล่างของอาคารเป็นพื้นที่ของหอประชุมซึ่งเราจินตนาการ ว่าเป็นเหมือนก้อนกรวดในพื้นที่โล่ง เราต้องการให้หอประชุมขนาดใหญ่ที่มี จุดสัมผัสกับมวลของอาคารที่เป็นส่วนกิจกรรมอื่นๆ จากข้อมูลที่ได้รับมา หอสมุดแห่งนี้จะมีผู้ใช้งานมากกว่าที่ห้องสมุดในย่านโบวบวร์ก (Beaubourg) ถึงสี่เท่า ซึ่งหมายความว่าหอสมุดแห่งนี้จะมีขนาดที่เป็นสถาปัตยกรรมเพื่อ มหานครอย่างแท้จริง ส่วนของลิฟต์ออกแบบให้เป็นปล่องสูงตั้งอยู่กลางพลาซ่า ขนาดใหญ่ เราออกแบบให้ลิฟต์ส่งสัญญาณเป็นค�ำพูด ข้อความ หรือไม่ก็ เสียงเพลงที่บ่งบอกถึงปลายทางของลิฟต์แต่ละตัวลงบนผนังของปล่องลิฟต์ ภาพที่คนทั่วไปมองเห็นจะเป็นผนังที่เต็มไปด้วยตัวอักษรเคลื่อนไหวขึ้นลงตาม การเคลื่อนไหวของลิฟต์ มองแล้วเหมือนว่าตัวอักษรพวกนี้เป็นตัวค�้ำน�้ำหนัก ของอาคารไว้เลยทีเดียว พอเราได้สมมติฐานนี้ เราเชิญเพื่อนๆ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นสถาปนิก เพื่อนร่วมวิชาชีพ และนักเขียน มาร่วมกันรับฟังแนวคิด ของพวกเรา ปรากฏว่าทุกคนฟังแล้วนั่งเงียบ มันท�ำให้เราได้คิดว่าเราต้องน�ำ แนวคิดนี้ไปพัฒนาต่อ ห้องสมุดของหนังสือที่มีความเป็นปัจจุบันจะเป็นส่วน พื้นที่ราบ หอภาพยนตร์เป็นพื้นลาดขนาดใหญ่ซึ่งจะใช้เป็นส่วนของอัฒจันทร์
40
สัมมนา 21 มกราคม ค.ศ.1991
REM KOOLHASS: SEMINAR
41
44
ผมต้องการเขียนหนังสือเพื่อรวบรวมเอาความคล้ายคลึงกันเหล่านี้ไว้ ผมอยากจะเตือนชาวยุโรปว่ายังไม่มีเหตุผลอะไรที่ท�ำให้พวกเขาอิ่มอกอิ่มใจ และอยากจะบอกชาวอเมริกันว่าอย่าพึ่งสิ้นหวัง ในระหว่างที่ผมก�ำลังเขียน หนังสือเล่มนี้ผมตัดสินใจปรับใจความส�ำคัญของหนังสือโดยเปลี่ยนจาก การบันทึกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไปเป็นการตีความเพื่อท�ำความเข้าใจว่า ปรากฏการณ์นี้มีความหมายอย่างไรกับสถาปัตยกรรม เช่นเหตุผลที่เมือง เหล่านี้มีความคล้ายกันก็น่าจะมาจากความต้องการของคนที่อยู่ในเมืองนั้น หรือเราอาจจะตีความในอีกมุมมองหนึ่งได้ว่าความทะเยอทะยานของสถาปนิก ช่างแตกต่างและห่างไกลกับเป้าหมายของสังคม ผมคิดว่าอย่างน้อยที่สุด ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นถึงอิสระที่มากมายมหาศาล คืออิสระ จากการสร้างความสัมพันธ์กับบริบทต่างๆ อิสระจากความจ�ำเป็นที่จะต้อง สร้างชุมชน และอิสระจากแบบแผนของพฤติกรรมต่างๆ
REM KOOLHASS: SEMINAR
เราคงต้องหยุดทีจ่ ะแสวงหากาวทีจ่ ะน�ำมาประสานส่วนต่างๆ ของเมืองเข้าด้วยกัน มหานครอย่างเมืองฮิวสตันก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่คนสามารถปะติดปะต่อ ความสัมพันธ์ต่างๆ ของเมืองได้เองโดยไม่จ�ำเป็นต้องมีสถาปนิกเข้ามาช่วย ยกตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในเมืองแอตแลนตาคือ การล้อมรั้ว โดยรอบบริเวณการติดตั้งประตูส�ำหรับทางเข้าออกพื้นที่และการจ้างเจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัย ซึ่งเราเองก็รู้ดีว่าวิธีการลักษณะนี้ไม่ใช่ความสัมพันธ์ ทีเ่ กิดจากสถาปัตยกรรม รวมทัง้ ไม่ใช่องค์ความรูท้ สี่ ถาปนิกได้รบั การปลูกฝังมา แต่กลับกลายเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมากและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวเมือง แอตแลนตา
45
48
คุณยอมรับหรือไม่วา่ แรงผลักดันทางเศรษฐกิจและนักลงทุน จะน�ำพวกเราไปสูโ่ ลกใหม่?
Would you say that it is economic forces and developers that are leading us to this new order? พวกเราต้องเผชิญหน้ากับโครงการขนาดมหึมา ที่ส่วนใหญ่ไม่มีกิจกรรม ที่น่าสนใจเลย รวมทั้งไม่ได้กระตุ้นให้เราเรียนรู้อะไรใหม่จากสถาปัตยกรรม สังคมของเรามีความต้องการใหม่เกิดขึ้น ความต้องการเหล่านี้มีอยู่จริง แต่การที่เราต�ำหนิว่านักพัฒนาและนักลงทุนเป็นต้นเหตุของปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้น คงจะถูกต้องเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น มันแสดงให้เห็นว่าสถาปนิก ไม่พยายามที่จะเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น บางที่อาจจะเป็นเพราะสถาปนิกไม่สามารถ จินตนาการได้ว่าเราควรจะมีสถาปัตยกรรมในลักษณะไหนถึงจะเหมาะสมกับ ความซับซ้อนเหล่านี้
REM KOOLHASS: SEMINAR
คุณพูดว่าปัญหาเหล่านีไ้ ม่ใช่สงิ่ ทีส่ ถาปนิกจะแก้ไขได้ แต่เราก็ยงั สงสัยว่าแล้วเราจะแก้ปญ ั หาเหล่านีไ้ ด้อย่างไร?
49
You say that these problems can’t be solved by architects, but at same level we have to wonder where they can be solved? ผมไม่ได้พูดว่าสถาปนิกจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ สถาปนิกสามารถมี บทบาททีส่ ำ� คัญได้ เพียงแต่ผมคิดว่าสถาปนิกไม่สามารถอ่านวิถกี ารกลายพันธุ์ ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมได้ สถาปนิกมองไม่ออกว่าปรากฏการณ์ ในปัจจุบันเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง กลายพันธุ์ การกลับมาเกิดใหม่ ขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่พวกเขาคุ้นเคย ผมคิดว่าสถาปนิกยังคง ยึดติดกับแนวคิดที่ว่าพื้นที่สาธารณะคือพื้นที่ส่วนของถนนและลานพลาซ่า ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความหมายของพื้นที่สาธารณะเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไป มากในปัจจุบัน ผมไม่อยากที่จะพูดอะไรที่มันฟังดูแล้วซ�้ำซากแต่การที่เรามี โทรทัศน์และการสือ่ สารทีห่ ลากหลายรูปแบบท�ำให้พนื้ ทีส่ าธารณะสูญสลายไป หรืออีกมุมมองหนึง่ คือสือ่ เหล่านีส้ ง่ ผลให้พนื้ ทีส่ าธารณะแผ่ขยายเป็นพืน้ ทีก่ ว้าง ท�ำให้พื้นที่สาธารณะนี้ไม่เป็นรูปธรรมอีกต่อไป ผมคิดว่าความจริงตั้งอยู่ ระหว่างสองขัว้ ความคิดนี้ แต่สถาปนิกมักจะมีมมุ มองทีอ่ า้ งอิงองค์ความรูใ้ นอดีต มากเกินไปหรือไม่ก็เชื่อมั่นในศีลธรรมมากเกินไป ท�ำให้สถาปนิกปฏิเสธที่จะ พัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่สามารถสร้างความนิยมและสามารถตอบโจทย์เชิง ธุรกิจได้
54
คุณพูดถึงแต่ความคล้ายคลึงกันของเมืองในยุโรปและเมืองในอเมริกา แล้วความแตกต่างของเมืองยังคงเหลืออยูบ่ า้ งหรือไม่?
You talked about the similarities between European and American cities. Are there any remaining differences? ผมประทับใจเมืองใหม่ที่เกิดขึ้นแถบชานเมืองของปารีสอยู่อย่างหนึ่งคือเราก็ยัง เรียกเมืองเหล่านี้ว่าเมืองใหม่ ถึงแม้ว่าบางเมืองจะมีสร้างมากกว่า 40 ปีแล้ว ถ้าเป็นในอเมริกาเมืองพวกนีจ้ ะไม่เรียกว่าเป็นเมืองใหม่อกี แล้ว เมืองใหม่เหล่านี้ ยังต้องพึ่งพาเมืองหลักในเชิงโครงสร้างพื้นฐานเพราะยังคงมีสถานะเป็นกาฝาก และไม่ยอมแยกเป็นอิสระจากเมืองหลัก เรารู้จักเมืองใหม่พวกนี้ว่าเป็นเมือง หอพัก เมืองที่ดีเป็นที่สอง หรือไม่ก็เมืองส�ำหรับผู้อพยพ คนที่มีทางเลือกก็จะ ไม่เลือกมาอยู่ตามเมืองใหม่เหล่านี้ ฟังแล้วมันก็สลดหดหู่ ช่วงเวลานีก้ เ็ ป็นช่วงทีเ่ มืองใหม่พยายามปรับตัวให้เป็นเมืองทีม่ ตี วั ตนและมี คุณลักษณะของเมืองทีส่ มบูรณ์มากขึน้ การทีย่ โู รดีสนียจ์ ะมาเปิดทีม่ าร์น-ลา-วาลลี ในปี คศ.1993 จะเปลีย่ นเมืองนีใ้ ห้มคี วามส�ำคัญมากขึน้ เป็นอิสระของเมืองใหม่ อย่างแท้จริงเพราะสถานทีล่ กั ษณะนีจ้ ะไม่สามารถเกิดขึน้ ได้ในใจกลางเมืองหลัก หรือในเขตของเมืองเก่าได้เลย ดีสนียแ์ ลนด์อาจจะเป็นความสุดโต่งของการสร้าง เมืองให้เป็นเมือง มันอาจจะเกินจริงไปหน่อย แต่ผมคิดว่ามันเหมาะสมกับการ พัฒนาเมืองใหม่ให้เป็นเมืองทีอ่ สิ ระ มีความบันเทิงและมีวถิ ชี วี ติ ทีเ่ ป็นของเมืองนัน้ ๆ
REM KOOLHASS: SEMINAR
นักการเมืองท้องถิน่ มีสติแค่การพัฒนาเพือ่ เชือ่ มต่อเมือง หมายถึงการสร้างสะพาน เชือ่ มเมืองต่างๆ เข้าด้วยกัน พวกเขาคิดไม่ได้เลยว่าจะมีวธิ กี ารสานความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองทีด่ แี ละเหมาะสมกว่านีห้ รือไม่ รถไฟใต้ดนิ เป็นวิธหี นึง่ ทีเ่ ชือ่ มต่อ ใจกลางเมืองไปยังเมืองใหม่ เวลาทีเ่ มืองใหม่เหล่านีอ้ ยูแ่ ยกกันเราก็จะเห็นว่าเป็น เมืองทีค่ อ่ นข้างด้อยโอกาส แต่เมือ่ เราเชือ่ มโยงเมืองเหล่านีเ้ ข้าด้วยกันก็จะเกิด เป็นพลังทีเ่ พิม่ กิจกรรมใหม่ ปรากฏการณ์ใหม่ สภาวะใหม่ ทีจ่ ะน�ำมาซึง่ ชีวติ และ สีสนั ของความเป็นเมืองมากขึน้
55
68
ในฐานะทีค่ ณ ุ เป็นหนึง่ ในคณะกรรมการตัดสินผลงาน ของวารสาร Progressive Architecture คุณมองเห็นอะไรบ้างจากสถาปัตยกรรมในอเมริกา?
You have recently sat on a jury for Progressive Architecture magazine. What do you see in American rchitecture? พวกคณะกรรมการไม่สามารถที่จะมีมุมมองอื่นได้นอกจากอาคารหลังเล็กๆ ที่สวยงามหรือไม่ก็อาคารที่เป็นเลิศ พวกเราเหมือนถูกปล่อยเกาะให้สิ้นหวัง อยู่กับวิธีการตัดสินผลงานสถาปัตยกรรมที่อ้างอิงแต่สิ่งที่เคยมีมาในอดีต หากเรายังวิพากษ์วิจารณ์สถาปัตยกรรมด้วยพื้นฐานความคิดแบบนี้วงการ สถาปัตยกรรมก็จะมีแต่ถดถอยเพราะเราจะไม่ให้โอกาสกับแนวคิดใหม่และ พลังใหม่ที่จะสามารถผลักดันให้วิชาชีพของเราก้าวไปข้างหน้าได้ ในวงการสถาปัตยกรรมเรามีโครงการที่ออกแบบได้ห่วย ไร้รสนิยม ซับซ้อน เกินจริงและบ้าระห�ำ่ อยูม่ าก แต่เราก็เพิกเฉยและปฏิเสธทีจ่ ะรับรูม้ นั ผมเห็นว่า มีโครงการทีน่ า่ สนใจอยูป่ ระมาณ 50 โครงการ เช่นอาคารทีส่ ถาปนิกอเมริกนั ไปออกแบบไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น โครงการศูนย์การค้าที่ไมเคิล เกรฟส์ออกแบบ หรือโครงการที่สถาปนิกเยอรมันออกแบบไว้ในอเมริกา โครงการเหล่านี้มีแก่น อยู่ที่ “ความไม่แท้จริง” อาคารเหล่านี้ออกแบบโดยสถาปนิกต่างถิ่นซึ่งไม่ได้ ออกแบบเพื่อตอบสนองบริบทของวัฒนธรรมหรือโจทย์ของเวลาในสถานที่นั้น แต่กลับเป็นโครงการที่ค่อนข้างเสี่ยงทั้งทางเรื่องความคิดและการลงทุน เป็นโครงการที่เกิดจากคนนอกล้วนๆ ที่เจาะจงการลงทุนไปที่สถานที่หนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างไกลจากเมืองและเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่มหึมา มันท�ำให้ผม ตระหนักว่าโครงการเหล่านี้ก�ำลังสร้างบทบาทที่ส�ำคัญในวงการสถาปัตยกรรม
REM KOOLHASS: SEMINAR
69
สิ่งที่เกิดขึ้นในยุโรปและญี่ปุ่นไม่ใช่ว่าเป็นแค่ความคิดของผมเพียงคนเดียว โลกาภิวัตน์เป็นตัวการที่ถอนเราออกจากรากเหง้าของเราเองด้วยวิธีการที่ แยบยลและเป็นระบบ เรากลายเป็นพวกไร้รากและไม่ว่าจะไปที่ไหนเราก็กลาย เป็นคนแปลกหน้า ผมเห็นความถดถอยทีจ่ ะเกิดขึน้ กับอนาคตของวิชาชีพสถาปนิก เราหมดหนทาง ที่จะผลักดันให้สถาปนิกสร้างแนวคิดและผลงานที่จะก้าวหน้าไปกว่านี้ เราท�ำได้แค่การตัดสินว่าสถาปัตยกรรมนี้มีความงามและรสนิยมหรือไม่ เราถึงต้องมานั่งฟูมฟายกับการสูญเสียที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียพื้นที่ สาธารณะที่เหมาะสมกับชีวิต ความเป็นเมืองที่สูญสลาย การสื่อสารที่ขาดๆ เกินๆ และอื่นๆ อีกมากมาย
74
ยิงกระสุนให้บินได้ หรือ อนาคตเกิดขึ้นแล้วตอนไหน?
แซนฟอร์ด ควินเตอร์
KWINTER: FLYING THE BULLET
75
A. ว่าด้วยเรื่องสถาปัตยกรรมที่ผาดโผน
Toward an Extreme Architecture เรม โคลฮาส (Rem Koolhaas) แปลงการมองโลกในแง่ดีให้เป็น อันตรายและท�ำให้เรารับรู้ได้ถึงอันตราย แนวคิดนี้เป็นสาระที่เขาใช้ใน
การออกแบบเพื่อสร้างกิจกรรมให้เกิดขึ้นในสถาปัตยกรรม เขามีแนวคิดนี้ ตั้งแต่โครงการ “Voluntary Prisoners of Architecture” ซึ่งเป็นโครงการที่ โคลฮาสออกแบบในช่วงที่เป็นนักศึกษาในปี ค.ศ.1972 แต่โคลฮาสเองยัง ไม่เคยพูดถึงแนวคิดของการออกแบบในลักษณะนี้มาก่อนจนกระทั่งมีหนังสือ เล่มเล็กๆ เล่มนีข้ นึ้ หนังสือเล่มนีจ้ งึ แจ้งเกิดแนวความคิดของโคลฮาส โคลฮาส เปิดประเด็นด้วยการกล่าวว่า “สถาปัตยกรรมเป็นสาขาวิชาชีพที่อันตราย” ข้อความนี้ห้วนแต่ตรงไปตรงมา ถ้าเราเข้าใจสิ่งที่โคลฮาสพูดไว้ในหนังสือนี้โดย เฉพาะเรื่องผลงานที่เขาและส�ำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อมหานคร ท�ำเพื่อยืนยันและท้าทายแนวคิดนี้ เราก็จะเข้าใจว่าสิ่งที่ีโคลฮาสได้กล่าวไว้ เป็นความจริง โคลฮาสมี 2 มุมมอง มุมมองแรกคือสถาปนิกจะต้องหันหลัง ให้กับความภาคภูมิใจและความหลงตนเองที่ปกป้องสถาปัตยกรรมจากการ เปลี่ยนแปลงใดๆ ที่คิดว่าจะเป็นอันตรายต่อวิชาชีพ และอีกมุมมองหนึ่งคือ สถาปัตยกรรมต้องรู้จักเสี่ยงในการมุ่งเป้าเพื่อการค้นพบศักยภาพใหม่ภายใต้ ความเป็นไปของสภาวะเดิม ต้องท�ำความเข้าใจและปรับตัวเพื่อให้สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและแรงผลักดันของแต่ละยุคสมัย (หน้า 73) แนวคิดเหล่านี้ควรเป็นพื้นฐานของสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน (หน้า 60) สถาปัตยกรรมที่จริงจังควรจะโหยหาสภาวะที่เป็นอันตราย แต่เราก็ยังสงสัยว่า สถาปัตยกรรมจะตกอยู่ในสภาวะอันตรายได้อย่างไร หากเราติดตามผลงาน