Spoken into the Void บทสนทนากับความว่างเปล่า

Page 1

Spoken Into the Void Collected Essays 1898 - 1908





To Joseph and David



สารบัญ ค�ำน�ำ ค�ำนิยม จากผู้แปล 18 30 46 54 64 72 86 96 108

The Poor Little Rich Man มหาเศรษฐีผู้น่าสงสาร (ค.ศ. 1900) Ornament and Crime ลวดลายแห่งอาชญากรรม (ค.ศ. 1908) Building Materials วัสดุอาคาร (ค.ศ. 1898) The Principle of Cladding หลักแห่งการห่อหุ้ม (ค.ศ. 1898) Potemkin City หมู่บ้านโพเทมกิน (ค.ศ. 1898) Furniture for Sitting ที่นั่ง (ค.ศ. 1898) Furniture เฟอร์นิเจอร์ (ค.ศ. 1898) Men’s Fashion แฟชั่นสุภาพบุรุษ (ค.ศ. 1898) Ladie’s Fashion แฟชั่นสุภาพสตรี (ค.ศ. 1898)



ค�ำน�ำ เมื่อผมได้ทราบถึงนโยบายของสมาคมสถาปนิกสยาม  ในพระบรมราชูปถัมภ์  เกี่ยวกับ การจัดท�ำโครงการหนังสือแปลเป็นภาษาไทย  โดยพิจารณาจากหนังสือที่ดีๆ  และมีคุณค่าจากทั่วโลก ที่ คิ ด ว่ า จะเป็ น ประโยชน์ กั บ นั ก เรี ย น  นั ก ศึ ก ษา  และสถาปนิ ก ในวงการสถาปั ต ยกรรมในบ้ า นเรา ผมรู้สึกยินดีอย่างมากที่วงการของเราจะมีโอกาสได้อ่านหนังสือดีๆ ฉบับภาษาไทย ซึ่งก็จะช่วยเติมเต็ม ในแง่ของแนวคิดและปรัชญาความรู้ต่างๆ ที่ผ่านมานั้น นักเรียน นักศึกษา และสถาปนิกในประเทศไทย ขาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือไปมาก  และเสียเปรียบเพื่อนร่วมอาชีพในอีกหลายๆ ประเทศ  ที่พวกเขาเหล่านั้นมีโอกาสได้เลือกหาหนังสืออ่านได้หลากหลาย  มีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้า และหาความรู ้ จ ากการอ่ า นหนั ง สื อ ที่ เ ขี ย นโดยสถาปนิ ก ชั้ น ครู ทั้ ง หลาย  หรื อ จากนั ก วิ ช าการที่ มี ประสบการณ์มากมาย ผมเชื่อว่าทุกๆ  คนที่มีโอกาสได้อ่านหนังสือเหล่านี้  เขาจะเป็นสถาปนิก  เป็นครูบาอาจารย์ ที่เพียบพร้อมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแนวคิด  ช่วยพัฒนาวิชาชีพของพวกเขา ให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น การได้เรียนรู้จากหนังสือเหล่านี้ ช่วยให้เขาได้ซึมซับสิ่งที่ดีงาม ซึมซับประสบการณ์ ความรู้ต่างๆ จากผู้เขียน ทั้งในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ และในแง่ของคุณธรรมในการประพฤติ ปฏิบัติตน  ท�ำให้เขาเหล่านั้นเติบโตเป็นสถาปนิกที่เพียบพร้อม  มีโอกาสจะได้สร้างสรรค์ผลงานที่ดีมี คุณภาพยิ่งๆ ขึ้นไป ความตั้งใจดี ความปรารถนาดีของกรรมการบริหารสมาคมฯ ในยุคนี้ นับเป็นกุศลและ ท�ำคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ให้กับวงการของเรา และด้วยแนวคิดเดียวกันนี้ ส�ำนักพิมพ์ ลายเส้น พับบลิชชิง่ จึงได้จดั ท�ำเป็นโครงการหนังสือแปล โดยใช้ชอื่ ชุด ‘modern thought’ รวมเข้ากับหนังสือแปล แนวสถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม และการออกแบบ จากต้นฉบับภาษาต่างๆ ที่ส�ำนักพิมพ์ ลายเส้นฯ จะจัดพิมพ์ในอนาคต ผมต้องขอขอบคุณสมาคมฯ มา ณ โอกาสนี้อีกครั้ง ที่สนับสนุนจัดท�ำโครงการหนังสือแปลนี้ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายที่เสียสละช่วยเหลือในการแปลหนังสือในครั้งนี้  ขอขอบคุณส�ำนักงาน สถาปนิ ก ที่ ส นั บ สนุ น ทุ น ทรั พ ย์ ใ นการจั ด พิ ม พ์   และขอขอบคุ ณ ที ม งานของส� ำ นั ก พิ ม พ์   ลายเส้ น ฯ ที่ด�ำเนินการจัดพิมพ์ให้ส�ำเร็จลงได้ด้วยดีทุกประการ นิธิ สถาปิตานนท์



ค�ำน�ำ การศึกษาสถาปัตยกรรมตามแบบแผนตะวันตกได้เริ่มต้นมากว่า  80  ปี  ในประเทศไทย ไม่ได้หมายความว่าการสร้างงานสถาปัตยกรรมในบ้านเราจะต้องเป็นไปตามรูปแบบตะวันตกเท่านั้น การศึกษาช่วยให้เราเข้าใจวิธีการคิดอย่างสร้างสรรค์และกระบวนการออกแบบอย่างเป็นระบบ  มีความรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยีการก่อสร้างตลอดจนคุณสมบัติของวัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งานในแบบต่างๆ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์และศิลป์ของงานสถาปัตยกรรม  ท�ำให้เราสามารถพัฒนาการความคิดอ่าน ที่สามารถใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบและพัฒนารูปแบบงานที่เป็นตัวตนของเรา แต่ จ นถึ ง ปั จ จุ บั น หนั ง สื อ และต� ำ ราจ� ำ นวนมากมายที่ เ ป็ น บทเรี ย นที่ ส� ำ คั ญ ต่ อ การพั ฒ นา การศึ ก ษาสถาปั ต ยกรรมยั ง ไม่ ไ ด้ ถู ก แปลและจั ด พิ ม พ์ ใ ห้ เ ป็ น หนั ง สื อ ภาษาไทย  ดั ง นั้ น เพื่ อ ให้ เ ป็ น ประโยชน์ต่อการศึกษาสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงมีด�ำริที่จะท�ำ โครงการจัดท�ำหนังสือแปลโดยจะคัดเลือกหนังสือที่คิดว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนการศึกษา ทั้งส�ำหรับนิสิตนักศึกษาและแม้แต่สถาปนิกเองที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือที่มีคุณค่าเหล่านี้ได้มีโอกาสใน การเข้าถึงเนื้อหาของหนังสือเหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้งในฉบับภาษาไทย  ทั้งนี้การคัดเลือกและการแปล หนั ง สื อ ได้ มี ก ารด� ำ เนิ น การอย่ า งพิ ถี พิ ถั น โดยที ม งานผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ แถวหน้ า ในวงการวิ ช าการ ในบ้านเรา ในชุดแรกนี้จะมีหนังสือที่ท�ำการแปลทั้งหมดจ�ำนวน 7 เล่ม ล้วนเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าทั้งสิ้น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการที่สมาคมฯ  จัดท�ำโครงการหนังสือแปลในครั้งนี้จะช่วยให้เป็น ตัวกระตุ้นความคิดความอ่านของผู้ที่รักการศึกษาสถาปัตยกรรมให้มีความรู้เพิ่มพูนไม่มากก็น้อยและ เป็นพื้นฐานส�ำคัญในการพัฒนายกระดับคุณภาพงานสถาปัตยกรรมในประเทศไทยอย่างยั่งยืน พิชัย วงศ์ไวศยวรรณ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2557 - 2559


จากผู้แปล อดอล์ฟ  โลส  ตัดสินใจที่จะทิ้งท�ำลายเอกสารทุกสิ่ง  รวมทั้งแบบและภาพสเกตช์ที่มีอยู่ทั้งหมดใน ส�ำนักงาน ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1922 เมื่อเขาตัดสินใจแน่วแน่ที่จะย้ายถิ่นฐานจากเมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย ไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการเดินทางที่เรียกได้ว่าเขาแทบจะไม่มี อะไรติดตัวไปเลย ส�ำหรับสถาปนิกวัย 52 ผูท้ สี่ ร้างสมชือ่ เสียงจนโด่งดัง เป็นทีร่ จู้ กั อย่างกว้างขวางในแวดวงศิลปวัฒนธรรมของ ประเทศออสเตรีย  การตัดสินใจดังกล่าวดูเหมือนจะไม่ใช่เรือ่ งง่าย  มันมีเหตุผลอะไรทีด่ ลใจให้โลสตัดสินใจ เช่นนัน้   เหมือนว่าเขาต้องการจะเหลือเพียงความว่างเปล่าไว้เบือ้ งหลัง  ทิง้ ร่องร่อยของการมีอยูซ่ งึ่ ตัวตนของ เขาเพียงเบาบางที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ในขณะทีส่ ถาปนิกจ�ำนวนมาก  หวงแหนร่องรอยเหล่านี้ และเก็บสะสมทุกสิง่ โดยเฉพาะแบบและภาพ สเกตช์อันมีค่า  เลอ  คอร์บูซิเอร์  ก็เป็นหนึ่งในจ�ำนวนสถาปนิกนักสะสม  ที่สั่งให้ผู้คนในส�ำนักงาน เก็บร่องรอยทุกชิ้น แม้แต่ใบเสร็จเก่าๆ  จดหมาย  สมุดโน๊ต  และอื่นๆ อีกมากมาย จนกระทั่งสามารถ รวบรวมเป็นเล่มผลงานของเขาได้นับไม่ถ้วน  ส่งผลให้ภาพของสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เรารู้จักกัน ทุกวันนี้  ส่วนหนึ่งก็เป็นภาพที่ถูกมองผ่านผลงานของ  เลอ  คอร์บูซิเอร์  อันเป็นผลจากการสะสม อย่างเป็นระบบระเบียบครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีที่ติ แต่ภาพของอดอล์ฟ โลส ดูจะเป็นภาพทีเ่ จือจาง เราไม่มรี อ่ งรอยมากมายให้สบื ค้น ไม่มหี ลักฐานหนักแน่น ให้ยนื ยัน ผลงานของอดอล์ฟ โลสทีเ่ รารูจ้ กั หนังสือเล่มแรกเกีย่ วกับโลส ชือ่ Adolf Loos: Das Work des  Architeckten  (อดอล์ฟ  โลส:  ผลงานสถาปัตยกรรม)  ก็เป็นผลจากการปะติดปะต่อเศษเสี้ยว ชิน้ ส่วน  ทีย่ งั พอจะหลงเหลือ  เสมือนเป็นการพยายามผูกสร้างเรือ่ งราวจากความว่างเปล่าอันไร้จดุ หมาย และเมื่อเวลาล่วงเลยไป  แม้ชิ้นส่วนต่างๆ ก็ถกู ค้นพบมากขึน้ แต่มนั ก็ไม่เคย และไม่มวี นั จะเป็นภาพ ทีแ่ จ่มชัดสมบูรณ์ หากเอกสารและแบบทั้ ง หมดของอดอล์ ฟ   โลส  ไม่ ถู ก ทิ้ ง ท� ำ ลาย  หน้ า ประวั ติ ศ าสตร์ ข อง สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เราคุ้นเคยกัน  จะต้องถูกพลิกผัน  ภาพของจุดเริ่มต้นแห่งยุคสมัยใหม่


ตลอดจนความเชื่อเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น  จะไม่เป็นเช่นที่เราคุ้นเคยกันทุกวันนี้  เราจะมี สถาปนิกชื่ออดอล์ฟ  โลส  ท�ำหน้าที่เป็นเหมือนแว่นขยาย  ให้เราเข้าใจบ่อเกิดของงานสถาปัตยกรรม สมัยใหม่ในรูปแบบทีเ่ ราไม่เคยมองเห็นมาก่อน แม้โลส  จะพยายามลบร่องรอยการออกแบบของตนเองให้เหลือเพียงพื้นที่ว่าง  แต่สิ่งหนึ่งที่เขาหลง เหลือทิง้ ไว้ให้เรา  คือผลงานเขียนทีถ่ กู ตีพมิ พ์ในหนังสือพิมพ์ของเมืองเวียนนาในยุคนัน้   มันเป็นร่องรอย ที่แม้แต่โลส ผูเ้ ขียนเอง ก็ไม่อาจจะลบออกไปจากหน้าประวัตศิ าสตร์ได้ งานเขียนเหล่านี้ แสดงออก อย่างถึงบุคลิกลักษณะ  ความคิด  และการมองโลกของโลส ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของสถาปนิกผู้อหังการ ชัดเจน  รุนแรง  ท้าทาย  แฝงไว้ซึ่งอารมณ์ขันและประชดประชันเสียดสี  แต่ผลงานเขียนเหล่านี้ ทั้งหมดก็เป็นภาษาเยอรมัน  และถูกเก็บดองไว้ในโลกของนักอ่านชาวเยอรมันมาเป็นเวลายาวนาน ท�ำให้โลกภายนอกได้ยนิ เพียงกิตติศพั ท์ความแกร่งกล้าของอดอล์ฟ  โลส  ผ่านชือ่ ของบทความอันโด่งดัง เหล่านั้น  ไม่ว่าจะเป็น Ornament and Crime หรือ The Poor Little Rich Man จนกระทั่ง เมือ่ ไม่นานมานี้ ทีเ่ ริม่ มีการแปลบทความเหล่านัน้ เป็นภาษาอังกฤษ ชือ่ และผลงาน ตลอดจนความคิด ทีแ่ ท้จริงของอดอล์ฟ  โลส  จึงเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างจริงจัง แต่ถึงกระนั้น งานเขียนที่ได้รับการแปลเป็น ภาษาอั ง กฤษ  ก็ มี ไ ม่ ถึ ง หนึ่ ง ในสี่ ข องผลงานทั้ ง หมดของโลส  ดั ง นั้ น   ภาพที่ ชั ด เจนที่ สุ ด ที่ เ รามี แท้จริงแล้ว ก็ยังคงเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆเสี้ยวเดียวของผลงานและความคิดของเขา อดอล์ฟ โลส วิพากษ์วิจารณ์สังคมในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบเสมอ ว่าเป็นสังคมแห่งเปลือก เต็มไปด้วย การหลอกลวงและของปลอม ผู้คนใช้หน้ากากเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงสถานะทางสังคมที่ตนเองอยาก จะมี   ไม่ ว ่ า จะเป็ น เครื่ อ งมื อ ของเสื้ อ ผ้ า เครื่ อ งแต่ ง กาย  ข้ า วของเครื่ อ งใช้   ศิ ล ปะหั ด ถกรรม หรืองานสถาปัตยกรรม  และด้วยความฟุ้งเฟ้อของสังคมในยุคนั้น  โลสจึงมองตนเองเป็นผู้พิทักษ์ สัจจะ และความจริงแท้ของงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นในสังคม  เขาต่อต้านการประดิษฐ์คิดค้นลวดลาย ฟุ่มเฟือย  การพยายามลอกเลียนวัสดุราคาแพง  ด้วยวัสดุราคาถูก  ตลอดจนการพยายามเสแสร้ง บิ ด เบื อ นในสิ่ ง ที่ ไ ม่ ใ ช่ ตั ว ตนของเราจริ ง ๆ  และด้ ว ยชนชั้ น ในสั ง คมที่ เ กิ ด ขึ้ น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โลสพยายามชีใ้ ห้เห็นคุณค่าของวัสดุและวิธกี ารทุกรูปแบบ  ที่ไม่ได้มีอะไรด้อยไปกว่ากัน  ความยากจน ไม่ใช่เรื่องน่าอาย  พอๆ กับที่การใช้วัสดุราคาถูก  ไม่ใช่เรื่องผิด  แต่การพยายามลอกเลียนและแสร้ง เป็นวัสดุราคาแพงต่างหาก ที่ท�ำร้ายความภาคภูมิใจของเรา


และด้วยการวิพากษ์สังคมที่รุนแรงของโลส ท�ำให้สถาปัตยกรรมส�ำหรับเขา ไม่ใช่ศาสตร์และศิลป์ที่ เป็นเอกเทศอีกต่อไป  แต่มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมวัฒนธรรม  เราไม่สามารถวิจารณ์งาน สถาปั ต ยกรรมภายใต้ มุ ม มองของความงาม  ที่ ว ่ า ง  รู ป ทรง  เพี ย งอย่ า งเดี ย วได้   เหมื อ นกั บ ใน ศตวรรษที่สิบเก้าอีกต่อไปแล้ว  หน้าที่ของสถาปนิกก็ไม่ใช่ผู้สร้างวัตถุงดงามอีกต่อไป  แต่สถาปนิก มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อความเป็นไปของสังคม  การสร้างค่านิยม  และการสร้างสิ่งที่เป็น ตัวแทนของยุคสมัยอย่างแท้จริง ในบทความของโลส  เราสามารถสัมผัสได้ถึงความอึดอัด  ไม่พอใจต่อสิ่งรอบข้าง และความปรารถนา อย่างแรงกล้าของสถาปนิกคนหนึ่งที่จะน�ำงานสถาปัตยกรรม  เดินทางสู่ศตวรรษที่ยี่สิบอย่างชัดเจน หากโลสได้มีชีวิตยืนยาว ต่อมาจนถึงกลางศตวรรษที่ยี่สิบ เขาคงจะภาคภูมิใจไม่น้อย ที่สิ่งที่เขาคาด คะเนและเรียกร้อง  อาคารขาวเรียบปราศจากการประดับตกแต่ง  ที่ดูแปลกประหลาดของเขาในช่วง ต้ น ศตวรรษที่ ยี่ สิ บ   ได้ ก ลายมาเป็ น ตั ว แทนของงานสถาปั ต ยกรรมในยุ ค โมเดิ ร ์ น   ที่ พั ฒ นา เปลี่ยนแปลง  วางรากฐานทางความคิดอันมัน่ คงให้กบั งานสถาปัตยกรรมในยุคปัจจุบนั ของเรา สิ่งที่โลสสอนเรานั้น หนักแน่น ชัดเจน จนเราอดสงสัยไม่ได้ว่า หากไม่มีอดอล์ฟ โลส แล้ว เราจะมี สถาปนิกเช่น เลอ คอร์บูซิเอร์ หรือ หลุยส์ ไอ คาห์น ได้อย่างไร หากปราศจากผู้บุกเบิกเช่นโลส หนทางของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ จะเป็นเช่นไร โลส จึงเป็นตัวแทนของความพยายามอย่างแรงกล้า ที่ตนเองไม่มีโอกาสได้เห็นผล  แต่มันได้เติบโตฝังรากลึกอย่างช้าๆ  ในโลกของงานสถาปัตยกรรม ผลิดอกออกผลให้แก่คนรุ่นหลังอย่างเรา ในฤดูใบไม้ร่วงของ ปี ค.ศ. 1927 อดอล์ฟ โลส ตัดสินใจเดินทางกลับกรุงเวียนนา ซึง่ เป็นการโยกย้าย ถิน่ ฐานกลับมายังบ้านและส�ำนักงานทีไ่ ม่มรี อ่ งรอยแห่งอดีตใดๆหลงเหลืออยู่แล้ว  มันจึงเป็นการเริ่มต้น ใหม่อีกครั้งจากความว่างเปล่า เป็นการเดินทางครั้งสุดท้าย เพราะหกปีหลังจากนั้น ความทรงจ�ำของโล สก็เสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเขาจากเราไปในปี ค.ศ. 1933 เหตุผลของการตัดสินใจท�ำลาย อดีตของตนเอง  จึงยังคงเป็นปริศนาที่เราไม่มวี นั จะได้รบั ค�ำตอบ สิง่ ทีเ่ ราท�ำได้ จึงเป็นเพียงการพยายาม ค้นหาชิน้ ส่วน เศษเสีย้ วความทรงจ�ำของโลส  น�ำมาปะติดปะต่อ  จนเกิดเป็นภาพทีล่ อ่ งลอยอยู่ในความ ว่างเปล่า ของสถาปนิกที่ชื่อ อดอล์ฟ โลส ต้นข้าว ปาณินท์




ภาพสถาปนิก อดอล์ฟ โลส วาดโดยศิลปิน ออสการ์ คอคอชกา (Oskar Kokoshka) ปี ค.ศ. 1916


The Poor Little Rich Man มหาเศรษฐีผู้น่าสงสาร

(ค.ศ. 1900)


19

ผมมีเรื่องจะเล่าให้คุณฟัง  เกี่ยวกับมหาเศรษฐีผู้น่าสงสารคนหนึ่ง  ชายผู้นี้ มีข้าวของเงินทองมากมายมหาศาล  มีภรรยาผู้จงรักภักดีและลูกๆ ผู้น่ารัก ที่ท�ำให้เหล่าพนักงานหาเช้ากินค�่ำอย่างเราทุกคนต้องอิจฉา  เพื่อนๆ ต่างก็ พากันรักเศรษฐีผนู้ ดี้ ว้ ยเหตุผลง่ายๆ ทีว่ า่   เขาจับอะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมด แต่อยู่มาวันหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ซึ่งเรื่องนั้นก็มีอยู่ว่า วันหนึ่ง  มหาเศรษฐีผู้ยิ่งใหญ่ร�ำพึงกับตนเองว่า  “เราก็มีเงินทองข้าวของ มากมาย  มีภรรยาและลูกๆ ที่แสนจะวิเศษ  จนลูกน้องของเราทุกคนต่างก็ อิจฉา  แต่ว่า!  เราก�ำลังมีความสุขอยู่รึเปล่า?  ดูสิ  มีคนมากมายที่ไม่ได้มี สิ่งของเงินทองร�่ำรวยน่าอิจฉาเหมือนที่เรามี  แต่ชีวิตของคนพวกนั้นกลับดู มีคุณค่าด้วยสิ่งที่เรียกกันว่าศิลปะ  แล้วเราล่ะ  ส�ำหรับเรา  ศิลปะมีความ หมายอะไร? เราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับศิลปะเลยสักนิด ในขณะที่คนรับใช้ของ เราพร้อมจะเปิดประตูต้อนรับผู้คนมากมายเข้ามาในบ้าน แต่จนถึงทุกวันนี้ เรายังไม่เคยมีศิลปะย่างกรายเข้ามาในเคหสถานเลย  ซึ่งเรามั่นใจว่าศิลปะ คงจะไม่มาเคาะประตูบ้านเราเหมือนคนพวกนั้นแน่ๆ  เราต้องพามันเข้ามา ศิลปะจะต้องกลายมาเป็นราชินีในบ้านและอยู่กับเราตลอดไป!” เศรษฐีผู้นี้มีนิสัยว่องไวกระฉับกระเฉงเต็มไปด้วยพลัง  ไม่ว่าจะท�ำอะไร ก็ทำ� ด้วยพลังและทุม่ เทเสมอ  ผูค้ นต่างก็คนุ้ เคยกับนิสยั ของเขา  จากวิธกี าร ที่เขาท�ำธุรกิจอย่างฉับไว  ดังนั้น  หลังจากที่ร�ำพึงกับตัวเอง  เศรษฐีผู้นี้ก็ รีบรุดไปหาสถาปนิกผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง  พร้อมกับประกาศว่า  “ขอให้ท่าน น� ำ ศิ ล ปะเข้ า มาในชี วิ ต เรา  พาเอารสนิ ย มศิ ล ปะชั้ น เลิ ศ มายั ง บ้ า นเรา ราคาไม่ใช่ปัญหา”


20

1. ห้องท�ำงาน ออกแบบโดย Josef Hoffmann ส�ำหรับนิทรรศการของกลุ่ม Secession จาก Kunst und Kunsthandwerk ฉบับที่ 2 ปี ค.ศ.1899


21

และสถาปนิ ก คนนั้ น ก็ ไ ม่ ร อช้ า   เดิ น ทางไปยั ง บ้ า นมหาเศรษฐี ใ นทั น ใด พร้อมกับท�ำการก�ำจัดเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นออกไปจากบ้านอย่างสิ้นซาก เรียก กองทัพช่างฝีมือแขนงต่างๆ มาอย่างพร้อมเพรียง  ไม่ว่าจะเป็นช่างปูพื้นไม้ ปาร์เกต์ ช่างก่ออิฐ ช่างปูน ช่างฉาบ  ช่างทาสี ช่างไม้ ช่างประปา ช่างปั้นช่างปูพรม ศิลปิน ประติมากร เรียกมาเร็วยิง่ กว่ากะพริบตาเสียอีก และแล้วศิลปะก็ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านมหาเศรษฐีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งหมดนี้  ท�ำให้ชายเศรษฐีผู้นี้ปลื้มใจยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด  เขาเดินเข้าเดิน ออกห้ อ งต่ า งๆ ในบ้ า นด้ ว ยความอิ่ ม เอม  เพราะไม่ ว ่ า จะมองไปทางใด สายตาก็ล้วนแต่ไปจบลงที่งานศิลปะ ศิลปะในทุกที่ ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะ เอื้อมมือไปสัมผัสลูกบิดประตู มันก็เป็นงานศิลปะ นั่งลงบนงานศิลปะเมื่อ พักผ่อนบนเก้าอี้  หนุนบนงานศิลปะเมื่อเอนศีรษะลงบนหมอน  ย่างกราย บนงานศิลปะเมื่อเท้าเหยียบลงบนพรมอันสวยงาม  ด้วยทุกสิ่งทุกอย่าง ในบ้าน  ชายผู้นี้ชื่นชมงานศิลปะด้วยความพึงพอใจ  แม้กระทั่งจานชาม อันสวยงาม  ก็ท�ำให้เขาตักอาหารด้วยความตั้งใจสุขสมเป็นเท่าทวีคูณ มหาเศรษฐี ไ ด้ รั บ การชื่ น ชมพร้ อ มทั้ ง ความอิ จ ฉาจากผู ้ ค นรอบข้ า ง ไปพร้ อ มๆ กั น   แม้ แ ต่ นิ ต ยสารศิ ล ปะยั ง ให้ ฉ ายาว่ า เขาเป็ น ผู ้ ส นั บ สนุ น ชั้ น เยี่ ย มราวกั บ เป็ น พ่ อ บุ ญ ธรรมของงานศิ ล ปะ  ห้ อ งของเขาได้ รั บ การยกย่ อ ง  เลี ย นแบบ  จนเป็ น ที่ ก ล่ า วขวั ญ ถึ ง ไปทั่ ว   ซึ่ ง จริ ง ๆ แล้ ว ห้องสวยงามเหล่านั้นก็ควรได้รับการยกย่อง  ด้วยทุกห้องเปรียบได้ดั่ง บทเพลงสวยงามของสีสนั   ไม่วา่ จะเป็นผนัง  เฟอร์นเิ จอร์และข้าวของทุกชิน้ ต่างก็ได้รับการเลือกสรรอย่างดีให้เข้ากันอย่างมีศิลปะ  วัสดุอุปกรณ์ทุกชิ้น ในบ้าน ต่างก็มีการจัดวางในต�ำแหน่งของตัวเองอย่างลงตัว  ตลอดจนได้รับ การจัดระบบสัมพันธ์กันอย่างมีศิลปะน่าชื่นชมยิ่งนัก


22

สถาปนิกผู้ออกแบบ  ได้ท�ำงานอย่างรอบคอบหมดจด  ไม่ได้ลืมอะไรเลย แม้แต่นิดเดียว  ที่เขี่ยบุหรี่  ชุดช้อนส้อม  สวิตช์ไฟ  ทุกสิ่งทุกอย่างจริงๆ ทุกอย่างถูกออกแบบมาแล้ว  และมันก็ไม่ใช่การออกแบบของสถาปนิก ธรรมดาๆ  แต่มันเป็นผลงานออกแบบที่ได้ค�ำนึงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของ ที่ได้ถูกแสดงออกในทุกสิ่ง  รูปทรงและส่วนประดับตกแต่งทุกส่วน  ทุกชิ้น แม้แต่ตะปูทตี่ อก  (มันเป็นผลงานออกแบบจากจิตวิทยาขัน้ สูง  ทีค่ วามลึกซึง้ และความยากล�ำบากได้ถูกแสดงออกเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของทุกคน) ใช่แล้ว!  สถาปนิกผู้นี้ไม่ได้ถือเอาความดีความชอบเป็นของตัวเองไปเสีย ทั้งหมด  “ไม่ใช่อย่างนั้น”  สถาปนิกกล่าว  “ห้องพวกนี้ไม่ใช่ของผมเลย เพราะผมไม่ได้ออกแบบทุกสิ่งทุกอย่าง  โน่นแน่ะ  ตรงมุมห้องนั้นเป็น ประติมากรรมโดยช่างไม้ฝีมือเยี่ยม  ผมจึงไม่สามารถจะอ้างได้ว่าห้องนี้ เป็นของผม  เหมือนที่คนอื่นก็ไม่สามารถจะอ้างได้ว่างานไหนเป็นของเขา ถ้าได้น�ำเอาของที่ผมออกแบบไปใช้  แม้แค่เพียงมือจับประตู  และก็ด้วย เหตุนี้  ผมไม่กล้าหรอก  ที่จะบอกว่าห้องนี้เป็นผลงานจากจิตวิญญาณ ของผม”  สถาปนิกใหญ่กล่าวอย่างจริงจังและมีเหตุผล  และด้วยเหตุผล เช่นนี้นี่เอง ก็ท�ำให้ช่างไม้ทุกคนที่ทุ่มเทสร้างเฟอร์นิเจอร์ในห้อง ที่บังเอิญมี พรมที่ออกแบบพิเศษโดยวอเตอร์ เครน (Walter Crane) แล้วคิดจะอวด กับใครๆ ว่าตนเป็นคนท�ำเฟอร์นิเจอร์ไม้สวยๆ เหล่านั้น ต้องรู้สึกผิดและ ละอายอย่างบอกไม่ถูกเลยทีเดียว ตอนนี้เราลองมาดูกันว่ามหาเศรษฐีเป็นอย่างไรบ้าง  ผมได้เล่าไปแล้วว่า เขามีความสุขอย่างล้นเหลือ  และต่อจากนัน้ มา  เขาก็ทมุ่ เทเวลามากมายให้ กับการศึกษาศิลปะในบ้านของตัวเอง เพราะเขาได้ตระหนักว่า มันต้องใช้ เวลาในการเรียนรู้ไม่น้อยเลยทีเดียว  มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องจดจ�ำ


23

2

2. มีดเปิดจดหมาย ออกแบบโดย Josef Hoffmann ส�ำหรับนิทรรศการ ของกลุ่ม Secession จาก Kunst und Kunsthandwerk ฉบับที่ 2 ปี ค.ศ.1899 3. มีดเปิดจดหมาย ออกแบบโดย Josef Hoffmann ส�ำหรับนิทรรศการ ของกลุ่ม Secession จาก Kunst und Kunsthandwerk ฉบับที่ 2 ปี ค.ศ.1899

3


Ornament and Crime ลวดลายแห่งอาชญากรรม

(ค.ศ. 1908)


31

ขณะที่เราอยู่ในท้องแม่ มนุษย์นั้นผ่านพัฒนาการในขั้นตอนต่างๆ ไม่ต่าง จากสัตว์ทั้งหลาย และเมื่อมนุษย์ถือก�ำเนิดขึ้นมา ประสาทสัมผัสของเขา ก็คงไม่ต่างไปจากลูกสุนัขเกิดใหม่เท่าใดนัก แต่ที่ต่างกันก็คือ ในวัยเด็กนั้น มนุ ษ ย์ ทุ ก คนผ่ า นกระบวนการพั ฒ นาเติ บ โตและเปลี่ ย นแปลง  อย่ า งที่ เผ่าพันธุ์มนุษย์ควรจะเป็น เมื่ออายุสองขวบ เขามองโลกด้วยมุมมองของ ชนเผ่าปาปวน  (Papuan)  พออายุได้สี่ขวบก็กลายเป็นสายตาของชนเผ่า เยอรมันโบราณ หกขวบ เขาเริ่มมองโลกด้วยสายตาของปราชญ์โซคราตีส (Socrates)  และเมือ่ อายุได้แปดขวบก็กลายเป็นมุมมองของปราชญ์โวลแตร์ (Voltaire) ในช่วงอายุแปดขวบ เขาเริ่มรับรู้ได้ถึงสีม่วงไวโอเล็ต ซึ่งเป็นสีที่ ถูกค้นพบในศตวรรษที่สิบแปด  ก่อนหน้านั้นดอกไวโอเล็ตถูกเรียกว่าสีฟ้า และหอยทากสีม่วงก็ถูกเรียกว่าสีแดง  แม้ในปัจจุบันก็ยังมีสีอีกมากมายใน ชั้นบรรยากาศของโลกที่รอคอยการค้นพบโดยผู้คนในอนาคต เด็กทารกนั้นไม่รู้ผิดชอบชั่วดี  ซึ่งส�ำหรับเรานั้น  ชนเผ่าปาปวนก็คงจะ เหมือนกัน  ชาวปาปวนฆ่าศัตรูและกินเป็นอาหาร  แต่นั่นไม่ได้แปลว่าเขา เป็นอาชญากร  ในขณะเดียวกัน  ถ้ามนุษย์ยุคใหม่ฆ่าใครแล้วน�ำมากิน เขาย่อมเป็นอาชญากรโรคจิตผู้เสื่อมถอยอย่างแน่นอน  ชาวปาปวนนั้น ประดับตกแต่งผิวหนังด้วยลวดลายสัก  รวมทั้งตกแต่งเรือพายและทุกสิ่ง ทุกอย่างรอบตัว  ซึ่งแน่นอนว่าเขาไม่ใช่อาชญากร  แต่มนุษย์ยุคปัจจุบัน ผู้ที่สักเต็มตัว  อาจจะถูกมองเป็นเหล่าอาชญากรหรือมนุษย์ผู้เสื่อมถอยได้ มีคุกมากมายที่ผู้ต้องขังกว่าแปดสิบเปอร์เซ็นต์  เต็มไปด้วยรอยสักบน ร่างกาย ซึ่งก็อาจจะท�ำให้มนุษย์ที่ไม่ได้อยู่ในคุก แต่เต็มไปด้วยรอยสักนั้น ถูกเหมารวมเป็นอาชญากรผู้เสื่อมถอยได้ไม่ยากนัก


32

ความปรารถนาทีจ่ ะประดับตกแต่งหน้าตาของเรา  ตลอดจนสิง่ ของรอบตัวนัน้ แน่นอนว่าเป็นจุดเริ่มต้นของศิลปะ  เหมือนกับที่เด็กเล็กๆ พยายามจะวาด รูปต่างๆ ลงบนพื้นผิวหลากหลายรอบตัว  แต่ผมคิดว่าศิลปะทั้งมวลนั้นเป็น เรื่องของการเร้าอารมณ์ มนุษย์ในยุคปัจจุบัน ผู้ที่ยอมแพ้ต่อแรงปรารถนาที่ จะวาดภาพสัญลักษณ์เร้าอารมณ์ต่างๆ ลงบนผนังนั้น  ย่อมเปรียบได้กับ อาชญากรผู้เสื่อมถอย  สิ่งที่เป็นสัญชาตญาณธรรมชาติในชนเผ่าปาปวน หรือในเด็กเล็กๆ นั้น  หากเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ยุคปัจจุบัน  ย่อมเป็นสัญญาณ ของความเสื่อม ผมค้นพบประเด็นส�ำคัญประเด็นหนึ่ง ที่อยากจะถ่ายทอด ให้โลกรับรู้ ผมคิดว่า การพัฒนาของอารยธรรมมนุษย์นั้น คือการลบล้าง การประดับตกแต่งที่ไม่จ�ำเป็นทั้งมวล  ออกไปจากข้าวของเครื่องใช้ในชีวิต ประจ�ำวัน และผมเชื่อมั่นว่า การกระท�ำดังกล่าวนั้น จะน�ำความสุขมายัง มวลมนุษยชาติ ซึ่งโลกยังไม่ได้ขอบคุณผมเลย ส�ำหรับการค้นพบยิ่งใหญ่นี้ ผู้คนในยุคปัจจุบันล้วนเศร้าหมองหดหู่  สิ่งซึ่งกดดันเขาอยู่คือความรู้สึกว่า เขาไม่สามารถที่จะคิดค้นลวดลายประดับตกแต่งใหม่ๆ ใดๆ ขึ้นได้อีกแล้ว อะไรกัน! พวกเรา มนุษย์ในศตวรรษที่สิบเก้าผู้เจริญแล้ว ไม่สามารถจะท�ำ สิ่งที่ชนเผ่าโบราณทุกชนเผ่าท�ำมาแล้วในทุกยุคสมัยก่อนหน้าเราเลยหรือ? วั ต ถุ ต ่ า งๆ ที่ ม นุ ษ ย์ ป ระดิ ษ ฐ์ ขึ้ น   โดยปราศจากลวดลายประดั บ ประดา เมื่อพันปีก่อน  ล้วนถูกทอดทิ้งให้กลายเป็นเศษซาก  เราไม่มีเหลือแม้แต่ ม้านั่งท�ำงานง่ายๆ จากยุคคาโรลินเจียน (Carolingian) แต่วัตถุใดก็ตามที่มี ลวดลายประดับประดา ได้ถูกเก็บมาปัดฝุ่น ท�ำความสะอาด และสะสมใน พระราชวังหรูหรา ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเก็บสะสมข้าวของเหล่านี้โดยเฉพาะ และมนุ ษ ย์ ใ นศตวรรษที่ สิ บ เก้ า อย่ า งเรา  ก็ ไ ด้ แ ต่ ชื่ น ชมวั ต ถุ เ หล่ า นั้ น ด้วยความละอายใจอยู่ลึกๆ  ท�ำไมเล่า  ในเมื่อทุกยุคสมัยล้วนมีรูปแบบหรือ


33

สไตล์เป็นของตัวเอง แล้วยุคของเราจึงไม่สามารถจะมีได้? เมื่อผู้คนพูดถึง สไตล์ พวกเขาหมายถึงการประดับตกแต่ง แต่ผมจะบอกว่า “ไม่ต้องเสียอก เสียใจกันไปหรอก  คุณไม่เห็นหรือว่า  บางทีความยิ่งใหญ่  ของยุคสมัยเรา นั้น  อาจจะมาจากเหตุที่เราไม่สามารถประดิษฐ์คิดค้นลวดลายประดับตก แต่งใหม่ๆ ขึ้นมาก็ได้  ผมคิดว่าเราได้ก้าวข้ามการประดับตกแต่งไปแล้ว เราได้เดินทางมาถึงความเรียบง่าย หมดจด ตรงไปตรงมา เวลาของเราได้ มาถึงแล้ว  ความส�ำเร็จรอเราอยู่ข้างหน้า  อีกไม่ช้าไม่นาน ถนนในเมืองจะ สุกสว่างด้วยผนังขาวเรียบ  เปรียบได้กับเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ ความสุขอิ่มเอม จะเป็นของเรา” แต่ก็ยังมีภูติพรายจ�ำนวนหนึ่ง  ที่ยังไม่ยอมรับความจริงข้อนี้  พวกเขา ต้ อ งการให้ ม วลมนุ ษ ยชาติ ต ้ อ งทุ ก ข์ ร ะทม  ภายใต้ แ รงกดดั น ของการ ประดั บ ตกแต่ ง   มนุ ษ ย์ เ รานั้ น ได้ เ ดิ น ทางมาถึ ง จุ ด ที่ ก ารตกแต่ ง ประดั บ ประดา  ไม่ใช่ศูนย์กลางของความสุขอีกต่อไปแล้ว  หน้าตาที่เต็มไปด้วย รอยสัก  แทนที่จะสร้างอิ่มเอมเหมือนที่ชาวปาปวนเคยได้รับ  กลับท�ำให้ ความพึงพอใจนั้นถดถอย  เราได้มาถึงจุดที่เราชอบกล่องใส่บุหรี่เรียบๆ มากกว่ากล่องที่เต็มไปด้วยลวดลาย  และเราก็เลือกที่จะซื้อกล่องที่หมดจด มากกว่ า กล่ องที่ ตกแต่ ง รกรุ ง รัง   ถึง แม้มั น จะราคาเท่า กันก็ตาม  เรามี ความสุขกับเสื้อผ้าเรียบๆ ของเรา  และก็ดีใจที่เราไม่ต้องแต่งตัวเหมือน ละครลิง  ใส่กางเกงก�ำมะหยี่สีแดงประดับด้วยดิ้นทองวาววับ  ผมอยากจะ บอกคุณว่า  “ดูสิ ห้องเรียบๆ  ที่ปราชญ์เกอเธ่ (Goethe) ใช้ชีวิตอยู่ในช่วง บั้นปลายนั้น ดูดีกว่าห้องหรูหราเลียนแบบยุคเรอเนซองส์ ของคุณเสียอีก เฟอร์ นิ เจอร์ เรี ย บๆ  นั้ น งดงามกว่ า สิ่ ง ที่ อ ยู ่ ใ นพิ พิธภัณฑ์อัน เต็มไปด้ว ย ลวดลายแกะสลักตกแต่ง  ภาษาอันตรงไปตรงมาของเกอเธ่  นั้นก็หมดจด


34

กว่ า ถ้ อ ยค� ำ อั น ฟู ม ฟายฟุ ่ ม เฟื อ ยของกวี นู เ ร็ ม เบิ ร ์ ก   (Nuremberg) อย่างเทียบกันไม่ได้” แต่ในทางตรงกันข้าม  ความเรียบง่ายสวยงามก็ก่อให้เกิดความขุ่นข้อง ส�ำหรับพวกภูติพรายและรัฐของเรา  ที่ดูจะมีหน้าที่ขัดขวางความเจริญทาง วั ฒ นธรรม  และตั ด สิ น ใจที่ จ ะส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาและรื้ อ ฟื ้ น ศิ ล ปะของ การประดับตกแต่ง  ในไม่ช้าพิพิธภัณฑ์ประยุกต์ศิลป์ในเวียนนาจะมีตู้ข้าง ที่ มี ชื่ อ ว่ า   ฝู ง ปลามหั ศ จรรย์   หรื อ ตู ้ ติ ด ผนั ง ที่ ชื่ อ ว่ า   เจ้ า หญิ ง เจ้ า เล่ ห ์ ซึ่ ง เป็ น ชื่ อ ของการประดั บ ตกแต่ ง ฟุ ้ ง เฟ้ อ บนวั ต ถุ ที่ โ ชคร้ า ยเหล่ า นั้ น รั ฐ ออสเตรี ย ท� ำ หน้ า ที่ นี้ อ ย่ า งแข็ ง ขั น   แม้ ก ระทั่ ง ผ้ า พั น เท้ า แบบโบราณ ก็ ยั ง ถู ก อนุ รั ก ษ์ ไ ว้ ไ ม่ ใ ห้ สู ญ หายไปจากอาณาจั ก รออสโตร-ฮั ง กาเรี ย น ทหารเกณฑ์ทั้งหลายถูกบังคับให้ใช้เวลาถึงสามปีสวมใส่ผ้าพันเท้าแบบนั้น แทนที่จะใส่ถุงเท้าสมัยใหม่อย่างที่เราใส่กันอยู่  นั่นก็คงจะเป็นเพราะว่ารัฐ ทั้ ง หลายล้ ว นคิ ด ว่ า ประชาชนผู ้ ล ้ า หลั ง นั้ น จะถู ก ปกครองง่ า ยกว่ า ผู ้ ค น หัวก้าวหน้าทั้งปวง  โรคร้ายของการประดับตกแต่งเช่นนั้น  จึงกลับได้รับ การเชิดชูและการสนับสนุนจากรัฐ แต่สำ� หรับผมแล้ว  ผมมองว่ามันเป็นการเดินทางถอยหลัง  ผมไม่ขอยอมรับ ความคิดที่ว่าการประดับประดานั้นเป็นที่มาแห่งความสุขของหมู่ชนผู้เจริญ แล้ ว ทางวั ฒ นธรรม  แม้ จ ะมี ข ้ อ ถกเถี ย งว่ า   “แต่ ถ ้ า ลวดลายเหล่ า นั้ น มันสวยงามล่ะ!”  ส�ำหรับผมและอารยชนทั่วไป  การตกแต่งประดับประดา ไม่ได้หมายถึงความสุขและความพึงพอใจที่เพิ่มพูนขึ้น  เมื่อผมอยากจะรับ ประทานขนมปังขิง ผมจะเลือกชิ้นที่เรียบง่ายธรรมดา ไม่ใช่ชิ้นที่มีรูปร่าง เป็ น หั ว ใจ  เด็ ก น้ อ ย  หรื อ ทหารเสื อ   ที่ ถู ก ตกแต่ ง ประดั บ ประดาอย่ า ง


35

ฟู ม ฟาย  แน่ น อนว่ า ผู ้ ค นในศตวรรษที่ สิ บ ห้ า อาจจะไม่ เ ข้ า ใจผม แต่มนุษย์ยุคใหม่ย่อมเข้าใจ  ผู้สนับสนุนเห็นดีเห็นงามกับศิลปะการประดับ ตกแต่ง ย่อมมองความคิดของผมเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย  แต่มันไม่ใช่เลย ท่านศาสตราจารย์แห่งศิลปะประยุกต์ทั้งหลาย  ผมไม่ได้คิดจะบั่นทอนชีวิต จิตใจของใคร  ผมเพียงคิดว่าขนมปังขิงมีรสชาติดีกว่าภายใต้ความเรียบง่าย เท่านั้นเอง แต่ อ ย่ า งไรก็ ต าม  ความเสี ย หายถดถอยที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการรื้ อ ฟื ้ น ศิ ล ปะ การตกแต่งประดับประดานั้นก็คงจะไม่มากมายอะไรนัก มันไม่สามารถจะ ท� ำ ลายการพั ฒ นาทางสุ น ทรี ย ศาสตร์ ข องเราได้   เนื่ อ งจากการพั ฒ นา เปลี่ ย นแปลงของอารยธรรมมนุ ษ ย์ นั้ น   ย่ อ มไม่ มี อ ะไรจะหยุ ด ยั้ ง ได้ มันท�ำได้ก็เพียงแค่ถ่วงให้ช้าลงเท่านั้น  แต่เราย่อมอดทนรอได้  แม้ใน ทางเศรษฐกิ จ แล้ ว ผมจะคิ ด ว่ า มั น เป็ น อาชญากรรมก็ ต าม  เนื่ อ งด้ ว ย มั น ก่ อ ให้ เ กิ ด การสู ญ เปล่ า ทั้ ง ด้ า นแรงงาน  ทรั พ ยากร  และทรั พ ย์ สิ น มันเป็นความเสียหายที่เวลาก็ไม่สามารถเยียวยาได้ พัฒนาการของวัฒนธรรมนั้นก็ถูกถ่วงให้เชื่องช้าด้วยประการฉะนี้  ผมใช้ ชี วิ ต อยู ่ ใ นปี   ค.ศ.1912  ในขณะที่ เ พื่ อ นบ้ า นของผมนั้ น ยั ง ละล้ า ละลั ง อยู่ในปี ค.ศ.1900 และคนอื่นๆ ก็อาจจะติดกับ  ล้าหลังอยู่ในปี ค.ศ.1880 เสียด้วยซ�้ำ  ซึ่งผมคิดว่าเป็นจุดอ่อนของประเทศเลยทีเดียวถ้ามุมมองของ ผู้คนนั้นอยู่ในยุคสมัยที่แตกต่างกันเพียงนี้ ในขบวนแห่ของการเฉลิมฉลอง การครองราชย์ขององค์จักรพรรดิ  เราต่างก็ตกใจเมื่อค้นพบว่า  ประเทศ ของเรานั้นยังมีชนเผ่าที่ใช้ชีวิตอยู่ในศตวรรษที่สี่  ดินแดนใดก็ตามที่ไม่มี มวลหมู่ชนผู้ล้าหลังจ�ำนวนมากมาย  ย่อมเป็นดินแดนแห่งความสุข  เช่น


Building Materials วัสดุอาคาร

4. ภาพสเกตช์การตกแต่งภายในห้อง ที่มีเตาผิง โดยอดอล์ฟ โลส ประมาณปี ค.ศ.1899

(ค.ศ. 1898)


47

คุ ณ คิ ด ว่ า อะไรมี มู ล ค่ า กว่ า กั น   หิ น หนั ก หนึ่ ง กิ โ ลกรั ม หรื อ ทองหนั ก หนึ่ ง กิโลกรัม? มันดูจะเป็นค�ำถามที่น่าข�ำ แต่ก็ส�ำหรับพ่อค้าเท่านั้น ศิลปินจะให้ ค�ำตอบแก่คุณว่า  วัสดุทุกสิ่งล้วนมีคุณค่าเท่ากัน รูปปั้นวีนัสแห่งไมโล (Venus of Milo) นั้นคงจะมีคุณค่าเท่ากัน ไม่ว่ามันจะ ท�ำด้วยหินทีใ่ ช้ปถู นน  หรือท�ำด้วยทองค�ำ  ภาพวาดมาดอนน่าในวิหารซิสทีน คงจะไม่ได้มีคุณค่ามากขึ้น ถ้าราฟาเอล (Raphael) ได้ผสมทองค�ำลงไปในสี ที่เขาใช้วาด  แต่แน่นอนว่าพ่อค้าที่ก�ำลังคิดถึงการหลอมทองค�ำจากรูปปั้น วีนัสหรือการขูดทองออกมาจากภาพวาดมาดอนน่า  ย่อมคิดค�ำนวณคุณค่า แตกต่างออกไป ศิลปินมีเพียงความปรารถนาเดียวคือการค้นพบวิธีการท�ำงานกับวัสดุต่างๆ จนกระทัง่ งานของเขานัน้ เป็นอิสระจากมูลค่าของวัตถุดบิ ทัง้ ปวง  แต่ดเู หมือน สถาปนิกจะไม่เข้าใจความปรารถนาเช่นนี้  ส�ำหรับเหล่าสถาปนิก  พื้นผิว อาคารหนึ่ ง ตารางเมตรที่ ท� ำ จากแกรนิ ต ดู จ ะมี มู ล ค่ า มากกว่ า พื้ น ผิ ว หนึ่ ง ตารางเมตรของปูนปลาสเตอร์ แต่ แ กรนิ ต นั้ น ไม่ ไ ด้ มี คุ ณ ค่ า อะไรในตั ว ของมั น เอง  มั น หาได้ ทั่ ว ไปใน ธรรมชาติและใครๆ ก็สามารถจะเอามันมาใช้ได้  มันเป็นส่วนหนึ่งของภูเขา หรืออาจจะทั้งเทือกเขาที่คุณเพียงแค่ต้องขุดมันขึ้นมาใช้งาน  ถนนก็ถูกปูพื้น ด้วยแกรนิต  พื้นผิวของเมืองเราเต็มไปด้วยแกรนิต  มันเป็นหินที่ธรรมดา มาก  แต่ก็ยังมีผู้คนอีกมากมายที่คิดว่าแกรนิตเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีมูลค่า ที่สุด


48

ผู้คนเหล่านั้นพูดถึง “วัสดุ” แต่จริงๆ  แล้วเขาก�ำลังพูดถึง “งาน” มากกว่า แรงงานมนุษย์ เทคนิค ความช�ำนาญ และความประณีต เพราะแกรนิตเป็น หินที่ต้องอาศัยแรงงานมหาศาลในการขุดขึ้นมาจากภูเขา  ขนส่งมาจน ถึ ง ที่ ห มาย  ตั ด ให้ มี รู ป ร่ า งรู ป ทรงที่ ใ ช้ ง านได้   และขั ด แต่ ง จนมี พื้ น ผิ ว สวยงาม เราทุกคนดูเหมือนจะตื่นเต้นชื่นชมกับผนังแกรนิตที่มีลวดลายพื้น ผิวสวยงาม เราก�ำลังชื่นชมวัสดุอยู่หรือ? เปล่าเลย เราก�ำลังตะลึงกับฝีมือ ของแรงงานมนุษย์ต่างหาก นั่นแปลว่าแกรนิตมีคุณค่ามากกกว่าปูนปลาสเตอร์หรือ?  เรายังไม่สามารถ สรุปเช่นนัน้ ได้  ส�ำหรับผนังปูนปัน้ จากฝีมอื ของไมเคิลแองเจโล  (Michelangelo) แน่นอนว่า คุณค่ าของมั นย่ อมมากกว่าผนังแกรนิตที่ถูกขัด แต่งมาอย่าง งดงามที่สุด มันไม่ได้อยู่ที่ปริมาณ แต่อยู่ที่คุณภาพของงานฝีมือที่ท�ำขึ้นมา ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกคุณค่าของวัตถุต่างๆ เราอาศัยอยู่ในช่วงเวลาที่ให้ความส�ำคัญกับคุณภาพของงานฝีมือ  ปริมาณ นั้ น เป็ น สิ่ ง ที่ ค วบคุ ม ได้ ง ่ า ย  ด้ ว ยมั น ชั ด เจนต่ อ สายตาทุ ก คนและไม่ ไ ด้ ต้องการทักษะพิเศษใดๆ ในการรับรู้ มันจึงไม่มีความผิดพลาด เราสามารถ ค�ำนวณได้งา่ ยๆ ว่า  คนงานท�ำงานมากีช่ วั่ โมงแล้ว  และควรได้คา่ จ้างเท่าไหร่ และส่วนมากแล้วเราก็ต้องการจะเข้าใจคุณค่าของสิ่งที่อยู่รอบตัวเราได้ง่ายๆ ดังนั้นสิ่งใดที่ใช้เวลาในการผลิตนานกว่าจึงมักได้รับคุณค่ามากกว่า แต่เรื่องราวก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป  ในยุคโบราณนั้นเราก่อสร้างด้วย วัสดุใดๆ ก็ตามที่หาได้ง่ายในท้องที่  ในบางพื้นที่ก็อาจจะเป็นอิฐ หิน หรือ ในบางพื้นที่ก็มีการฉาบผนังเพิ่มขึ้นมา นั่นแปลว่าสถาปนิกที่ใช้ผนังฉาบนั้น


49

คิดว่างานของตนเองด้อยค่ากว่าสถาปนิกที่สร้างงานด้วยหินหรือ?  ก็คง ไม่ใช่  ท�ำไมเขาจะคิดเช่นนั้นไปได้ มันเป็นความคิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ถ้าในบริเวณใกล้ๆ มีเหมืองหินอยู่เราก็สร้างอาคารด้วยหิน  แต่การที่จะ ขนส่งหินไปไกลๆ เพื่อสร้างอาคารนั้น  ดูจะเป็นเรื่องของเงินทุนมากกว่า เรื่ อ งของศิ ล ปะ  และศิ ล ปะในยุ ค ก่ อ นหน้ า นี้ ก็ ดู จ ะมี คุ ณ ค่ า มากกว่ า ใน สมัยปัจจุบัน ในช่วงเวลาดังกล่าวก่อให้เกิดวัฒนธรรมทางสถาปัตยกรรมอันเข้มแข็ง ฟิชเชอร์ ฟอน เออร์ลาค (Fischer von Erlach)  ไม่จำ� เป็นต้องใช้หนิ แกรนิต เพื่อให้งานของเขาเป็นที่เข้าใจ เขาสร้างงานจากดิน หิน และทราย ออกมา เป็นงานอันน่าชื่นชมและทรงพลังที่สุด เท่าที่อาคารที่สร้างจากวัสดุที่ท�ำงาน ยากล�ำบากเช่นนั้นจะเป็นได้  จิตวิญญาณอันแข็งแกร่งและความแน่วแน่ ของเขาทรงพลังอ�ำนาจเหนือวัสดุน่าเศร้าเหล่านั้น  เขาสามารถให้พลังและ คุณค่าทางศิลปะแก่วัสดุที่ดูจะต�่ำต้อยที่สุด  เขาจึงเป็นราชาของวัสดุทั้งปวง ทุกวันนี้ศิลปินไม่ได้เป็นใหญ่อีกต่อไปแล้ว  แต่กลายเป็นแรงงาน  ความคิด สร้างสรรค์ไม่ใช่ส่ิงส�ำคัญ  แต่กลับกลายเป็นชั่วโมงของการท�ำงาน  และใน ที่สุดสิ่งที่ก�ำลังจะชนะแรงงานของช่างก็คือ  สิ่งที่สามารถน�ำเสนอปริมาณ ที่มากกว่า เวลาที่รวดเร็วกว่า และราคาที่ถูกกว่า ซึ่งก็คือ เครื่องจักรนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการท�ำงานของช่างฝีมือหรือเครื่องจักรก็ล้วน เป็นเงินเป็นทอง แล้วถ้าคุณไม่มีเงินพอล่ะ? คุณก็ต้องพยายามเลียนแบบ ทั้งแรงงานและวัสดุเหล่านั้น


50

การให้ความส�ำคัญกับปริมาณนั้นเป็นเรื่องน่าหวาดกลัวส�ำหรับงานฝีมือ ทั้งหลาย เพราะมันจะจบลงที่การลอกเลียนแบบและท�ำปลอม ซึ่งได้สร้าง ความอัปยศให้กับงานศิลปหัตถกรรมของเราอย่างยิ่งยวด ความภาคภูมิใจ และจิตวิญญาณของงานฝีมือต้องสูญสลาย  “คนท�ำหนังสือ  คุณท�ำอะไรได้บ้าง?” “ผมสามารถพิมพ์หนังสือ ในแบบทีท่ กุ คนจะคิดว่า มันเป็นภาพพิมพ์หนิ เลยทีเดียว” “ช่างพิมพ์หิน  คุณท�ำอะไรได้บ้าง?”  “ผมสามารถท�ำภาพพิมพ์หินที่ดูแล้ว เหมือนออกมาจากโรงพิมพ์เลยทีเดียว”  “ช่างไม้  คุณท�ำอะไรได้บ้าง?” “ผมสามารถจะแกะสลักลวดลายที่ดูแล้วง่ายดาย เหมือนงานปูนปั้นเลยทีเดียว” “ช่างปูนปั้น  คุณท�ำอะไรได้บ้าง?” “ผมสามารถจะลอกเลียนลวดลายประดับประดา และสร้างร่องรอยที่ดูเหมือนจริงราวกับงานหินก่อชั้นดีเลยทีเดียว” “แต่ผมก็ท�ำได้เหมือนกัน!” ช่างโลหะกล่าวขึ้นทันใด “เมื่อลวดลายของผมถูกทาสีและขัดเกลาแล้ว  จะไม่มีใครดูออกเลยว่ามันท�ำจากดีบุก”


51

ผมคิดว่ากลุ่มคนดังกล่าว ช่างเป็นกลุ่มคนที่น่าสงสารอะไรเช่นนี้ การลดค่าของงานเช่นนี้เกิดขึ้นกับคนมีฝีมือของเรา  ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ ที่สถานการณ์ของงานฝีมือต่างๆ ของเรานั้นก�ำลังตกต�่ำย�่ำแย่  ใครก็ตามที่ คิดแต่จะลอกเลียนย่อมไม่สามารถจะเจริญขึ้นมาได้  ช่างไม้ควรจะต้อง ภู มิ ใ จในงานไม้ ข องตน!  มั น เป็ น หน้ า ที่ ข องช่ า งปู น ปั ้ น ที่ จ ะท� ำ ลวดลาย ประดับตกแต่งแบบนั้น  ช่างไม้ไม่ควรที่จะต้องอิจฉาริษยาและอยากเป็น แบบช่างปูน และคุณ ช่างปูนปั้น คุณไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับงานหิน ช่างหิน ต่างหากที่ต้องท�ำงานกับการเชื่อมต่อก้อนหิน  เนื่องจากหินก้อนเล็กๆ นั้น หาง่ า ยกว่ า หิ น ก้ อ นใหญ่   ดั ง นั้ น ช่ า งปู น จงพอใจกั บ การที่ ง านของคุ ณ ไม่จำ� เป็นต้องมีรอยต่อเหมือนทีเ่ สา ลวดลาย หรือผนังทีท่ ำ� จากหินจ�ำเป็นต้องมี ช่างปูนควรจะภูมิใจในงานฝีมือของตน และสุขใจที่ไม่ได้เป็นช่างหิน! แต่ก็ดูเหมือนผมจะพูดไปกับสายลมเท่านั้น  สังคมไม่ได้ต้องการช่างฝีมือ ผู้ทรนง  ดูเหมือนว่าช่างฝีมือลอกเลียนได้มากเท่าไหร่  สังคมก็สนับสนุน เขามากเท่านั้น  การให้ความส�ำคัญกับวัสดุแพงๆ ย่อมเป็นแบบนั้น ซึ่งมัน เป็นสัญลักษณ์ของพวกเศรษฐีใหม่  หรือพวกอยากร�่ำอยากรวยแบบผู้คน ในประเทศของเรา  เศรษฐีใหม่ย่อมคิดว่ามันเป็นเรื่องน่าอดสู  ถ้าเขาไม่ สามารถแต่งองค์ทรงเครื่องด้วยเพชรพลอยหรือขนสัตว์ราคาแพง  เขาคิด ว่ามันเป็นเรือ่ งน่าอาย  ถ้าเขาไม่ได้อาศัยอยูใ่ นคฤหาสน์ทที่ ำ� ด้วยหิน  ก็ดว้ ย เหตุผลที่ว่าพวกเศรษฐีใหม่เรียนรู้ว่าเพชรพลอย ขนสัตว์ และปราสาทหิน นั้นมีราคาแพงจับใจ แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ยังไม่มีเงินพอ พวกเขาจึง หันไปหาของปลอมลอกเลียนแบบหรือสิง่ ทดแทนอืน่ ๆ  ซึง่ เป็นขบวนการทีน่ า่ ขันยิง่ นัก  เพราะว่าผูค้ นทีพ่ วกเศรษฐีใหม่พวกนีต้ อ้ งการจะตบตา  ก็คอื ผูค้ นที่ ร�ำ่ รวยจริง  และไม่มีวันจะถูกหลอกได้ง่ายๆ  ความพยายามเช่นนั้นจึงเป็น เรื่องน่าขบขัน และท�ำให้พวกเขาดูแย่ลงไปหลายเท่านัก


Potemkin City หมู่บ้านโพเทมกิน

(ค.ศ. 1898)


65

คุ ณ คงเคยได้ ยิ น กิ ต ติ ศั พ ท์ ข องหมู ่ บ ้ า นปลอมโพเทมกิ น   ที่ ขุ น นางเอก จอมเจ้าเล่ห์ของจักรพรรดินีแคทเธอรีนสร้างขึ้นที่ยูเครน  มันเป็นหมู่บ้าน ทีส่ ร้างขึน้ จากผ้าใบและไม้อดั   เป็นหมูบ่ า้ นทีถ่ กู ท�ำขึน้ เพือ่ หลอกว่า  ทะเลทราย อันรกร้างนั้นเป็นทิวทัศน์ชนบทสวยงาม  เพื่อให้จักรพรรดินีได้ยลขณะ เสด็จผ่าน ค�ำถามคือมันเป็นเมืองทัง้ เมืองหรือเปล่าทีถ่ กู สร้างขึน้ เพือ่ ตบตาเรา? อะไรแบบนั้นคงเกิดขึ้นได้ที่รัสเซียเท่านั้น! แต่อย่างไรก็ตามหมู่บ้านโพเทมกินที่ผมก�ำลังจะพูดถึงนี้ไม่ได้อยู่ในรัสเซีย แต่ผมหมายถึงเมืองเวียนนาของเรา  แน่นอนว่ามันเป็นค�ำกล่าวหาที่รุนแรง และก็ยากทีผ่ มจะพิสจู น์ให้คณ ุ ได้เห็น  เพราะผมต้องอาศัยผูฟ้ งั ทีม่ ใี จเทีย่ งธรรม ซึ่งก็ยากเหลือเกินที่จะหาได้ในสังคมปัจจุบัน ใครก็ตามทีพ่ ยายามจะหลอกลวงคนรอบข้างว่าตัวเองสูงส่งกว่าความเป็นจริง นัน่ ก็คอื พวกต้นตุน๋   ซึง่ ควรจะได้รบั การเหยียดหยาม  แม้การกระท�ำของเขา อาจจะไม่ได้ทำ� ให้ใครเดือดร้อนก็เถอะ  แล้วส�ำหรับคนทีใ่ ช้เครือ่ งประดับปลอม หรื อ ของลอกเลี ย นแบบล่ ะ ?  ในบางประเทศ  คนเหล่ า นั้ น ก็ ไ ด้ รั บ การ เหยียดหยามเช่นกัน  แต่ไม่ใช่ในเวียนนา  ในเมืองของเรานั้นมีคนเพียง ไม่มากที่จะรู้สึกว่าการกระท�ำเช่นนั้นเป็นการหลอกลวงต้มตุ๋น  แต่ทุกวันนี้ มั น ไม่ ใ ช่ แ ค่ ก ารหลอกลวงด้ ว ยโซ่ น าฬิ ก าปลอมๆ  หรื อ เฟอร์ นิ เ จอร์ ลอกเลียนแบบ  (ลอกกันซึ่งๆ หน้าเลยก็มี)  แต่มันเป็นการหลอกลวงด้วย งานสถาปัตยกรรมทั้งหลังเลยทีเดียว  ผู้คนมากมายพยายามใช้อาคารเป็น เครื่องมือหลอกลวงว่าพวกเขาสูงส่งกว่าความเป็นจริง


66

เมื่อใดก็ตามที่ผมเดินบนถนนวงแหวนอันโอ่อ่ารอบเมืองเวียนนา  ผมรู้สึก คล้ายกับว่าท่านขุนนางโพเทมกินได้ฟื้นคืนชีพกลับมาสั่งการด้วยตัวเอง ในการท�ำให้เวียนนาดูคล้ายกับจะเป็นเมืองที่มีแต่ชนชั้นปกครองเท่านั้น

6

รู ป แบบใดก็ ต ามที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ปราสาทราชวั ง ในยุ ค เรอเนซองซ์ ที่ อิ ต าลี ฝู ง ชนชาวเวียนนาก็ไม่พลาดที่จะหยิบมาลอกเลียน  เวียนนายุคใหม่นั้น ดูเหมือนว่าจะมีแต่ผู้คนร�่ำรวยพอที่จะเป็นเจ้าของตึกทั้งหลัง  ตั้งแต่ฐานราก ไปจนถึงยอดอาคาร  ชั้นล่างสุดที่เพดานต�่ำนั้นเป็นที่พักอาศัยของเหล่า บริวาร  ในขณะทีช่ นั้ ถัดไปทีห่ รูหรานัน้ เป็นห้องจัดเลีย้ ง  และในชัน้ บนๆ นัน้ เป็นที่พักอาศัย  เจ้าของตึกเหล่านีต้ า่ งก็ภมู ใิ จในอาคารทีด่ เู หมือนพระราชวัง ของตั ว เอง  และผู ้ เ ช่ า เองก็ พ อใจด้ ว ยเช่ น กั น   ส� ำ หรั บ คนธรรมดาๆ ที่สามารถจะเช่าได้เพียงอพาร์ตเมนต์หนึ่งห้องนอนหนึ่งห้องน�้ำในชั้นบน

6. ภาพวาดล้อเลียนจากหนังสือ Figaro: Wiener Luft ปี ค.ศ. 1883 แสดงให้เห็นถึงกิจวัตรการเดิน โชว์ ใ นเมื อ งยามบ่ า ย  บนถนน  K ä rntnerring อันเป็นถนนหลักถนนหนึ่งในกรุงเวียนนา


67

เขาก็ ยั ง ภาคภู มิ ใ จเมื่ อ ยื น ชื่ น ชมตึ ก ของตั ว เองจากภายนอก  คุ ณ คิ ด ว่ า เหมือนกับที่เจ้าของเพชรปลอมมองแก้วระยิบระยับของตัวเองด้วยความ ภาคภูมใิ จไหม?  มันช่างเป็นเรื่องของการหลอกลวงทั้งสิ้น! ถ้ า ผมจะโยนความผิ ด ทั้ ง หมดให้ แ ก่ ช าวเวี ย นนาก็ ค งจะไม่ ถู ก ต้ อ งนั ก ผมคิดว่ามันเป็นความผิดของสถาปนิกมากกว่า  ที่ไม่ควรจะท�ำการก่อสร้าง แบบนั้น  แต่ผมก็ยังอยากจะแก้ต่างให้กับเหล่าสถาปนิก  เพราะอันที่จริง แล้วสถาปนิกก็ท�ำงานตามที่ผู้คนในเมืองต้องการ รูปทรงทางสถาปัตยกรรม ที่เกิดขึ้นล้วนมาจากความต้องการของชาวเมือง  สถาปนิกคนใดที่ยอมท�ำ ตามความประสงค์ เ หล่ า นั้ น ย่ อ มจะมี ง านท� ำ มากที่ สุ ด   คุ ณ อาจจะเป็ น สถาปนิกฝีมือดี  แต่ถ้าไม่ท�ำตามกระแสใดๆ เลย  ก็อาจจะไม่มีงานสร้าง จวบจนชีวิตจะหาไม่เลยก็ได้  และในขณะเดียวกันสถาปนิกก็สร้างระบบ ของการสอนสัง่ ต่อๆ กันมาจนเหมือนเป็นโรงเรียน  ทุกคนล้วนสร้างในวิธกี าร ที่ตนถนัดคุ้นเคย ราวกับว่าไม่มีทางอื่นแล้ว ผู้คนย่อมอยากได้หน้าอาคาร ที่ท�ำด้วยปูนหล่อ  เนื่องด้วยมันราคาถูกที่สุด  หากสถาปนิกต้องการที่จะ ฝื น กระแสและท� ำงานในวิ ธี ที่ เ ขาคิ ด ว่ า ถู ก ต้ อ งแม่ น ย� ำ และสุ น ทรี ย ์ ที่ สุ ด บางที ผู ้ ค นอาจจะไม่ ช อบ  อาคารอาจจะขายไม่ อ อก  และเพื่ อ ให้ เ กิ ด ความเป็นไปได้ของการเช่ามากที่สุด  เจ้าของอาคารก็ตัดสินใจปะหน้า อาคารด้วยลวดลายลอกเลียนที่เขาคิดว่าผู้คนจะพอใจ ผมใช้ค�ำว่าปะหน้า  เพราะมันเป็นการเอาหน้าอาคารมาแปะติดลงไปจริงๆ อาคารเลียนแบบเรอเนซองซ์และบารอคอันหรูหราโอ่อ่าเหล่านั้นล้วนแต่ ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการเดิม  บางอาคารก็หลอกลวงว่าเป็นอาคารหิน


68

สง่างามเยี่ยงราชวังโรมันหรือทัสคัน  บางอาคารก็แสร้งว่ามันท�ำจากปูนปั้น เหมือนอาคารยุคบารอคในเวียนนา  แต่ทั้งหมดนั้นล้วนไม่ใช่  ลวดลาย ประดับประดาทั้งหมดตั้งแต่พื้นยันยอดอาคารล้วนเป็นปูนซีเมนต์ท่ีถูกเทให้ เป็นรูปทรงต่างๆ  แน่นอนว่าวิธีการดังกล่าวซึ่งเป็นการก่อสร้างที่ถูกคิดค้น ขึ้นในศตวรรษที่สิบเก้าของเรานี้ไม่ใช่วิธีการที่ผิด  มันเป็นวิธีการก่อสร้างที่ ถู ก ต้ อ ง  แต่ ไ ม่ ใ ช่ ใ นการเสแสร้ ง ท� ำ เลี ย นแบบรู ป ทรงลวดลายซึ่ ง มี ที่ ม า จากวัสดุประเภทอื่นๆ  เพียงเพราะมันเป็นเรื่องง่ายที่จะท�ำ  มันควรจะเป็น หน้าที่ของศิลปินที่จะค้นหาภาษาของรูปทรงที่เหมาะสมส�ำหรับวัสดุใหม่ เช่นปูนซีเมนต์ ไม่ใช่ลอกเลียนกันเช่นนี้ แต่ ป ระเด็ น ดั ง กล่ า วก็ ดู จ ะไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งส� ำ คั ญ อะไรเลยส� ำ หรั บ วงการ สถาปั ต ยกรรมในยุ ค สมั ย ที่ ผ ่ า นมาของเรา  ดู เ หมื อ นเวี ย นนาจะพอใจ ที่ได้เลียนแบบวัสดุแพงๆ ด้วยวัสดุราคาถูกและก่อสร้างง่ายๆ  เสมือนพวก เศรษฐีใหม่ที่มักจะเข้าใจว่าผู้คนจะไม่สามารถสังเกตเห็นของปลอมของเขา เศรษฐีใหม่ผู้ทะเยอทะยานเกินตนมักจะคิดเช่นนั้น  เขามักจะเข้าใจว่า เครื่องประดับตกแต่งปลอมๆ  ขนสัตว์ปลอมๆ  และอื่นๆ  อีกมากมาย ที่เขาใช้นั้นได้ท�ำหน้าที่ของมันอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว  ผู้คนล้วนยิ้มเยาะ กั บ ความพยายามเหล่ า นั้ น   แต่ ใ นไม่ ช ้ า เศรษฐี ใ หม่ เ องก็ จ ะตาสว่ า งขึ้ น เขาจะเริ่มสังเกตเห็นสิ่งจอมปลอมที่เพื่อนฝูงของเขาใช้  ต่อมาเขาก็จะเห็น ความจอมปลอมของสิ่งรอบตัว และเลิกใช้มันไปในที่สุด


69

ความยากจนไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย  ไม่ใช่ทุกคนที่จะเติบโตขึ้นมาบนกองเงิน กองทอง  แต่การเสแสร้งว่าร�่ำรวยนั้นเป็นเรื่องน่าข�ำ  เราควรจะอับอาย ทีเ่ ราอาศัยอยูใ่ นอพาร์ตเมนต์ทเี่ พือ่ นบ้านล้วนเป็นผูค้ นชนชัน้ เดียวกับเราหรือ? เราควรจะอับอายหรือ  ที่ในความเป็นจริงแล้วก็มีวัสดุบางอย่างที่แพงเกินไป ส�ำหรับเราจริงๆ?  เราควรจะอับอายที่เราเป็นผู้คนในศตวรรษที่สิบเก้า ไม่ใช่ผู้คนในศตวรรษก่อนๆ  เหมือนที่อาคารของเราพยายามจะเป็นหรือ? ถ้าเราลดละเลิกความละอายเหล่านั้นเราจะค้นพบทันทีว่า เราเองก็สามารถ มีงานสถาปัตยกรรมทีเ่ หมาะสมส�ำหรับยุคสมัยของเราได้ คุณอาจจะเถียงว่า ก็ นี่ คื อ สิ่ ง ที่ เ รามี   แต่ ผ มอยากจะบอกคุ ณ ว่ า   ผมหมายถึ ง รู ป แบบทาง สถาปัตยกรรมที่เราจะสามารถพัฒนาต่อเนื่อง  รูปแบบทางสถาปัตยกรรม ที่ในอนาคตเราจะย้อนกลับมามองด้วยความภูมิใจ  แต่น่าเสียดายเหลือ เกินที่เรายังไม่สามารถหารูปแบบทางสถาปัตยกรรมเช่นนั้นได้ในเวียนนา ไม่ว่ามันจะถูกสร้างขึ้นจากกระดาษและสี  แสร้งท�ำตัวเป็นหมู่บ้านชนบท อันสงบสุข  หรือท�ำจากอิฐและปูนซีเมนต์  แสร้งท�ำตัวเป็นราชวังส�ำหรับ ชนชั้นขุนนาง มันล้วนแต่เป็นความคิดแบบเดียวกัน ดูเหมือนจิตวิญญาณ อั น หลอกลวงของขุ น นางโพเทมกิ น   จะเป็ น ความคิ ด ที่ ห ล่ อ หลอม เมืองเวียนนาทุกวันนี้


7

8

7. ภาพถนน Kärntnerring ฝั่งเหนือ ในปี ค.ศ. 1873 ซึ่งเป็นภาพพิมพ์ไม้ โดย F.W. Bader เลียนจากภาพวาดโดย L.E. Petrovits 8. ภาพถนน Kärntnerring ฝั่งใต้ ในปี ค.ศ. 1873 ซึ่งเป็นภาพพิมพ์ไม้ โดย F.W. Bader เลียนจากภาพวาดโดย L.E. Petrovits



www.li-zenn.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.