การจำแนกเขตเพื่อการจัดการ ดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี
จังหวัดสกลนคร
อ.อากาศอำนวย
อ.พรรณานิคม
อ.กุสุมาลย อ.โพนนาแกว
อ.เมืองสกลนคร
อ.โคกศรีสุพรรณ
อ.เตางอย อ.ภูพาน
กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
I
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวทิ ยา และทรัพยากรธรณีจังหวัดสกลนคร
กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
I
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
II
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ พิมพ์ครั้งที่ 1
2555 500 เล่ม
จัดพิมพ์โดย
กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เลขที่ 75/10 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2621-9816 โทรสาร 0-2621-9820-21 http://www.dmr.go.th
ข้อมูลทางบรรณานุกรม
กรมทรัพยากรธรณี. 2555. การจําแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร. กรุงเทพฯ: 131 หน้า 1. ธรณีวิทยา 2. ทรัพยากรธรณี 3. การจําแนกเขต
พิมพ์ที่
II
บริษัท ออนป้า จํากัด เลขที่ 111/1 อาคารนวศร ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2689-2888 โทรสาร 0-2689-2444
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
III
คํานํา การจําแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีรายจังหวัด เป็นกิจกรรม ที่ ได้ดําเนิ นการแล้ วเสร็ จจํานวน 51 จั งหวัด ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ถึ ง พ.ศ. 2554 สํา หรับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ได้ดําเนินการในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกําแพงเพชร สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร กิจกรรมนี้ดําเนินการภายใต้แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2548-2551 และ พ.ศ. 2552-2555) ของกรมทรัพยากรธรณี ในประเด็นยุทธศาสตร์การอนุรักษ์แ ละจัดการการใช้ประโยชน์ท รัพยากรธรณี เป็นไปอย่างสมดุลและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ที่สําคัญสําคัญ 3 ประการ คือ ประการที่หนึ่งเพื่อจําแนกเขตทรัพยากรธรณี เป็นเขตสงวน อนุรักษ์ และพัฒนาใช้ประโยชน์ พร้อมจัดลําดับ ความสําคัญของแหล่งแร่ ประการที่สองเพื่อกําหนดมาตรการหรือแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี ให้สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของท้องถิ่น โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วนในท้องถิ่น และประการสุดท้ายเพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปใช้ประโยชน์ ในการวางแผนพัฒนาทรัพยากรธรณี ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ การจําแนกเขตทรัพยากรธรณีดําเนินการโดยใช้ข้อมูลด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี ของแต่ละจังหวัด ได้แก่ ลักษณะธรณีวิทยา ทรัพยากรแร่ แหล่งธรณีวิทยา และพื้นที่เสี่ยงต่อธรณีพิบัติภัย มาพิจารณาร่วมกับข้อจํากัดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน วิเคราะห์และจําแนกเขต ทรัพยากรธรณี และเสนอแนวทางการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น กรมทรัพยากรธรณี ขอขอบคุณหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่ช่วย อนุเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงาน และหวัง เป็นอย่างยิ่งว่าผลการดําเนินงานจําแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีรายจังหวัด จะสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและการจัดการทรัพยากรธรณีเชิงพื้นที่ของจังหวัด กลุ่มจังหวัด และประเทศต่อไป กรมทรัพยากรธรณี สิงหาคม 2555
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
III
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
IV
สารบัญ คํานํา ............................................................................................................................................................ III สารบัญ ....................................................................................................................................................... IV สารบัญรูป .................................................................................................................................................. VI สารบัญตาราง ............................................................................................................................................ VII บทที่ 1 กรอบแนวคิดในการจําแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี......................... 1 1.1 ความหมายและความสําคัญของธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี .............................................. 1 1.2 กรอบแนวคิดในการจําแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี ................ 2 1.2.1 หลักการและเหตุผล ..................................................................................................... 2 1.2.2 วัตถุประสงค์ ................................................................................................................ 2 1.2.3 แนวทางการดําเนินงาน ............................................................................................... 2 1.2.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ..................................................................................................... 3 บทที่ 2 ข้อมูลพื้นฐาน ................................................................................................................................... 4 2.1 ประวัติความเป็นมา ................................................................................................................ 4 2.2 ลักษณะทางภูมิศาสตร์............................................................................................................ 4 2.2.1 ขนาดและที่ตั้ง ............................................................................................................. 4 2.2.2 ภูมิประเทศ .................................................................................................................. 4 2.2.3 ภูมิอากาศ .................................................................................................................... 5 2.2.4 การคมนาคม................................................................................................................ 5 2.3 สภาพเศรษฐกิจและสังคม ...................................................................................................... 5 2.3.1 การปกครอง ................................................................................................................ 5 2.3.2 ประชากรและอาชีพ .................................................................................................... 5 2.3.3 เศรษฐกิจ ..................................................................................................................... 7 2.3.4 วัฒนธรรม เทศกาล และงานประเพณี......................................................................... 7 2.3.5 สถานที่ท่องเทีย่ ว ......................................................................................................... 7 2.4 แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายใต้ยุทธศาสตร์ของจังหวัดสกลนคร และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2.............................................................. 8 บทที่ 3 ธรณีวทิ ยา ..........................................................................................................................................9 3.1 ธรณีวิทยากายภาพหรือวิทยาหิน..............................................................................................9 3.1.1 หมวดหินภูกระดึง ...........................................................................................................9 3.1.2 หมวดหินพระวิหาร ...................................................................................................... 12 3.1.3 หมวดหินเสาขัว ........................................................................................................... 13 3.1.4 หมวดหินภูพาน ........................................................................................................... 17 3.1.5 หมวดหินโคกกรวด ...................................................................................................... 19 3.1.6 หมวดหินมหาสารคาม ................................................................................................. 20 3.1.7 หมวดหินภูทอก ........................................................................................................... 22 3.1.8 ตะกอนร่วนยุคควอเทอร์นารี ....................................................................................... 24 3.2 ธรณีวิทยาโครงสร้าง .............................................................................................................. 25 3.3 ธรณีวิทยาประวัติ................................................................................................................... 27
IV
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
V
บทที่ 4 ธรณีพิบัติภัย ...................................................................................................................................28 4.1 ดินถล่ม ...................................................................................................................................28 4.2 แผ่นดินไหว .............................................................................................................................30 4.3 หลุมยุบ ...................................................................................................................................32 4.4 ตลิ่งทรุดตัว .............................................................................................................................32 บทที่ 5 แหล่งธรณีวิทยา ..............................................................................................................................37 5.1 แหล่งธรณีวิทยาที่เป็นเอกลักษณ์และโดดเด่น ........................................................................37 5.1.1 แหล่งธรณีสัณฐานประเภทน้ําตก.................................................................................37 5.1.2 แหล่งธรณีสัณฐานประเภทหนอง บึง...........................................................................42 5.2 แนวทางและมาตรการในการบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยา .................................................44 บทที่ 6 ทรัพยากรแร่ ...................................................................................................................................45 6.1 การแบ่งประเภทพื้นที่ทรัพยากรแร่ ........................................................................................45 6.2 การประเมินปริมาณทรัพยากรแร่ในพื้นทีแ่ หล่งแร่ .................................................................45 6.3 ทรัพยากรแร่ของจังหวัดสกลนคร ...........................................................................................45 6.3.1 กลุ่มแร่เพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ..............46 6.3.2 กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ........................................................51 6.3.3 กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร .................................................................................................57 6.4 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ ....................................................................................61 บทที่ 7 การจําแนกเขตทรัพยากรแร่ และมาตรการหรือแนวทางการบริหารจัดการ...................................66 7.1 หลักเกณฑ์และปัจจัยที่ใช้ในการจําแนกเขตทรัพยากรแร่.......................................................66 7.2 ผลการจําแนกเขตทรัพยากรแร่ ..............................................................................................68 7.2.1 เขตสงวนทรัพยากรแร่ .................................................................................................72 7.2.2 เขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ ..............................................................................................75 7.2.3 เขตพัฒนาทรัพยากรแร่ ...............................................................................................79 7.3 ปัจจัยเพิ่มเติมในการพัฒนาใช้ประโยชน์แหล่งแร่ ...................................................................84 7.4 มาตรการ หรือแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ในแต่ละเขต ......................................85 7.4.1 เขตสงวนทรัพยากรแร่ .................................................................................................85 7.4.2 เขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ ..............................................................................................85 7.4.3 เขตพัฒนาทรัพยากรแร่ ...............................................................................................86 บทที่ 8 ข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรณีจังหวัดสกลนคร ...............................................87 8.1 แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรแร่จังหวัดสกลนคร .......................................................87 8.1.1 กลุ่มแร่เพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ..............87 8.1.2 กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ........................................................88 8.1.3 กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร .................................................................................................89 8.2 แนวทางการบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยาจังหวัดสกลนคร ..................................................90 8.3 ข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีเชิงพื้นที่ แหล่งซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ...........92 เอกสารอ้างอิง............................................................................................................................................ 104
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
V
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
VI
ภาคผนวก .................................................................................................................................................. 105 ภาคผนวก ก ข้อมูลสถานภาพทรัพยากรแร่ของประเทศไทย ................................................... 106 ภาคผนวก ข ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ .................................................................... 109 ภาคผนวก ค ศักยภาพปิโตรเลียมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.............................................. 114 ภาคผนวก ง ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทย ................................................... 118
สารบัญรูป รูปที่ 2-1 รูปที่ 3-1 รูปที่ 3-2 รูปที่ 3-3 รูปที่ 3-4 รูปที่ 3-5 รูปที่ 3-6 รูปที่ 3-7 รูปที่ 3-8 รูปที่ 3-9 รูปที่ 3-10 รูปที่ 4-1 รูปที่ 4-2 รูปที่ 4-3 รูปที่ 4-4 รูปที่ 4-5 รูปที่ 4-6 รูปที่ 4-7 รูปที่ 4-8 รูปที่ 4-9 รูปที่ 4-10 รูปที่ 5-1 รูปที่ 5-2 รูปที่ 5-3 รูปที่ 5-4 รูปที่ 5-5 รูปที่ 5-6
VI
แผนที่ภูมิประเทศและเขตการปกครองของจังหวัดสกลนคร .......................................................6 แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดสกลนคร และคําอธิบายแผนที่ ........................................................... 10 ลักษณะของหมวดภูกระดึง ยุคจูแรสซิก บริเวณริมถนนทางหลวงหมายเลข 227 ................... 12 ลักษณะของหมวดหินพระวิหาร ยุคจูแรสซิก-ครีเทเชียส ที่โผล่ปรากฏบริเวณเทือกเขาภูพาน...... 14 ลักษณะของหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียส ที่โผล่ปรากฏบริเวณต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนคร .... 16 กระดูกไดโนเสาร์ที่พบในหมวดหินเสาขัวในบริเวณต่าง ๆ ของจังหวัดสกลนคร ...................... 17 ลักษณะของหมวดหินภูพาน ยุคครีเทเชียส ที่โผล่ปรากฏบริเวณต่าง ๆ เหนือเขื่อนน้ําอูน ...... 18 ลักษณะหินโผล่ปรากฎของหมวดหินโคกกรวด ยุคครีเทเชียส บริเวณสถาบันวิจัย และฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร ตําบลแร่ อําเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ............................ 20 ลักษณะของหมวดหินมหาสารคาม ยุคครีเทเชียส ที่โผล่ปรากฏบริเวณต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนคร .. 21 ลักษณะของหมวดหินภูทอก ยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรี ที่โผล่ปรากฏบริเวณต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนคร.................................................................................................................... 23 ลักษณะตะกอนร่วนยุคควอเทอร์นารีที่พบในบริเวณต่าง ๆ ของจังหวัดสกลนคร .................... 26 ตัวอย่างเหตุการณ์ดินถล่มที่จงั หวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และสุโขทัย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549........ 29 เหตุการณ์ดินแยกที่บ้านดงเชียงเครือ หมู่ 9 ตําบลปลาโหล อําเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร....... 29 เหตุการณ์รอยแยกที่บ้านโนนทรายคํา หมู่ 7 ตําบลสว่าง อําเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร .... 30 แผนทีแ่ สดงแนวรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย....................................................................... 31 แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย .................................................................. 33 หลุมยุบที่เกิดจากโพรงหินปูน ................................................................................................... 34 หลุมยุบที่เกิดจากโพรงเกลือ ..................................................................................................... 34 หลุมยุบที่เกิดจากโพรงทรายใต้ดิน ........................................................................................... 35 หลุมยุบบริเวณบ้านโนนแสบง ตําบลหนองกวั่ง อําเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ที่มีสาเหตุจากการสูบน้ําเกลือใต้ดินขึ้นมาเพื่อผลิตเกลือสินเธาว์ในปริมาณมากเกินไป ............ 35 เหตุการณ์ตลิ่งทรุดตัวและสาเหตุของการทรุดตัว ..................................................................... 36 แผนทีแ่ หล่งธรณีวิทยาของจังหวัดสกลนคร.............................................................................. 38 ลักษณะพื้นที่ของน้ําตกคําหอม ในเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน ................................................. 40 ลักษณะพื้นที่ของน้ําตกปรีชาสุขสันต์ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ........................................ 41 ลักษณะพื้นที่ของน้ําตกห้วยใหญ่ ในเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน ............................................... 41 ลักษณะพื้นที่ของหนองหานและทัศนียภาพโดยรอบ ............................................................... 42 แหล่งธรณีวิทยาอื่น ๆ ที่พบในพื้นที่จังหวัดสกลนคร................................................................ 43
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
VII
รูปที่ 6-1 รูปที่ 6-2 รูปที่ 6-3 รูปที่ 6-4 รูปที่ 6-5 รูปที่ 6-6 รูปที่ 6-7 รูปที่ 7-1 รูปที่ 7-2 รูปที่ 7-3 รูปที่ 7-4 รูปที่ 7-5 รูปที่ 7-6 รูปที่ 7-7 รูปที่ 8-1 รูปที่ 8-2 รูปที่ 8-3 รูปที่ 8-4 รูปที่ 8-5 รูปที่ 8-6
แผนทีแ่ หล่งทรัพยากรแร่ของจังหวัดสกลนคร...........................................................................47 แหล่งทรายก่อสร้างบริเวณลําน้ําพุง อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ............................49 การผลิตเกลือสินเธาว์ บริเวณตําบลกุดเรือคํา อําเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร...................55 แหล่งทรายแก้วบริเวณด้านตะวันตกของอําเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ...............................56 อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียงเครือ ตําบลเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ...60 การทําอิฐมวลประสานบริเวณอําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร .....................................................61 แผนทีแ่ สดงลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ในกลุ่มแร่เพื่อเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมและกลุม่ แร่เพื่อการเกษตร จังหวัดสกลนคร .................................................65 หลักเกณฑ์การจําแนกเขตทรัพยากรแร่ที่นําข้อมูลพื้นที่แหล่งแร่มาพิจารณาร่วมกับ เงื่อนไขข้อจํากัดการใช้พื้นที่ตามกฎหมาย .................................................................................67 แผนที่พื้นทีท่ ี่อยู่ภายใต้ข้อจํากัดของกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และกฎระเบียบต่างๆ จังหวัดสกลนคร .........................................................................................................................69 ตัวอย่างพื้นที่แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช และพื้นที่โดมเกลือ บริเวณอําเภอเมือง โพนนาแก้ว โคกศรีสุพรรณ และกุสุมาลย์ ทีจ่ ําแนกเขตทรัพยากรแร่โดยใช้หลักเกณฑ์ การจําแนกเขตทรัพยากรแร่ ......................................................................................................70 แผนที่จําแนกเขตทรัพยากรแร่ของจังหวัดสกลนคร ..................................................................71 แผนทีแ่ สดงลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ในเขตสงวนทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร.............74 แผนทีแ่ สดงลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร .........80 แผนทีแ่ สดงลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร ...........83 พื้นที่บริเวณภูยางอึ่งในเขตอุทยานแห่งชาติภูผายล ที่มีการค้นพบซากดึกดําบรรพ์ กระดูกไดโนเสาร์ .......................................................................................................................92 แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงประวัติศาสตร์ และพุทธสถานในพื้นที่ตําบลเหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร .....................................................................................93 ตัวอย่างป้ายให้ความรู้และประชาสัมพันธ์แหล่งซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร .....................................................................................96 ตัวอย่างป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ที่พบในแหล่ง ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร .......................97 ตัวอย่างป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์กลุ่มสยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส ที่พบในแหล่ง ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร .......................98 ตัวอย่างป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์กลุ่มสยามโมซอรัส สุธีธรนี ที่พบในแหล่ง ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร .......................99
สารบัญตาราง ตารางที่ 5-1 ตารางที่ 6-1 ตารางที่ 6-2 ตารางที่ 6-3 ตารางที่ 6-4
แหล่งธรณีวิทยาในพื้นที่จังหวัดสกลนคร .............................................................................37 กลุ่มแร่และชนิดของแหล่งแร่ในจังหวัดสกลนครจัดกลุ่มตามการใช้ประโยชน์.....................48 พื้นที่ศักยภาพทรายที่มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ของจังหวัดสกลนคร..................50 แสดงปริมาณการผลิตเกลือสินเธาว์ในจังหวัดสกลนคร ........................................................55 ผลการวิเคราะห์ดินเหนียวบ้านเชียงเครือ ตําบลเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร.....61
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
VII
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
VIII
ตารางที่ 6-5 ตารางที่ 7-1 ตารางที่ 7-2 ตารางที่ 7-3
การจัดลําดับมูลค่าแหล่งแร่ทพี่ บในจังหวัดสกลนคร ตามกลุ่มแร่การใช้ประโยชน์ ............. 62 ผลการจําแนกเขตทรัพยากรแร่ในจังหวัดสกลนคร ............................................................. 72 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ในเขตสงวนทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร....... 73 แสดงพื้นที่แหล่งแร่ในเขตสงวนทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร ที่อยู่ในเขตพื้นที่ แหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ที่กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนไว้ ....... 75 ตารางที่ 7-4 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร ... 76 ตารางที่ 7-5 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร ..... 81
VIII
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
-1-
บทที่ 1 กรอบแนวคิดในการจําแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี 1.1 ความหมายและความสําคัญของธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี “ธรณีวิทยา” เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติของโลก สสารที่เป็นองค์ประกอบ ของโลก และสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรากฏร่องรอยอยู่ในหินต่าง ๆ ธรณีวิทยามี 3 สาขาหลัก ที่เด่นชัดคือ ธรณีวิทยาโครงสร้างหรือธรณีแปรสัณฐาน ศึกษาถึงรูปร่าง การจัดตัว และโครงสร้างทาง ธรณีวิทยาของหินต่าง ๆ ภายในโลก ธรณีวิทยาพลวัต ศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุและกระบวนการต่าง ๆ ที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางธรณีวิทยา ธรณีประวัติ ศึกษาเกี่ยวกับการลําดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาตามประวัติเหตุการณ์ของโลก “ทรัพยากรธรณี” หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใต้แผ่นดิน เช่น แร่ธาตุ หิน ดิน กรวด ทราย น้ําบาดาล ถ่านหิน หินน้ํามัน ปิโตรเลียม และซากดึกดําบรรพ์ ซึ่งมีคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ที่ถือกําเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ ธรรมชาติรอบตัวเรามีความหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น ภูเขา แม่น้ํา ทะเล มหาสมุทร ตลอดจนการเกิดธรณีพิบัติภัย เช่น ดินถล่ม แผ่นดินไหว สึนามิ หลายท่าน อาจสงสัยว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นและดํารงอยู่ได้อย่างไร และจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ผลที่เกิดตามมา จะกระทบต่อการดํารงอยู่ของสิ่งมีชีวิตอย่างไร คําถามต่าง ๆ เหล่านี้สามารถอธิบายได้ด้วยความรู้ทาง “ธรณีวิทยา” กระบวนการทางธรณีวิทยาได้ ส ร้างสรรธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งธรรมชาติเพื่อ การพักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งต้นแบบสําหรับการเรียนรู้ เช่น น้ําตก ถ้ํา ภูเขาที่มีรูปทรงแปลกตา เป็นต้น นอกจากนี้กระบวนการทางธรณีวิทยายังทําให้เกิดการสะสมตัวของสิ่งมีชีวิตในอดีต กลายเป็นซากดึกดําบรรพ์ ให้มนุษย์ได้ศึกษาเรียนรู้ถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่อดีตมาจนถึงยุคปัจจุบัน และที่สําคัญที่สุดกระบวนการ ทางธรณีวิทยาได้ก่อให้เกิด “ทรัพยากรธรณี” ที่มีคุณค่าอนันต์แก่มนุษยชาติ มนุษย์ได้นําทรัพยากรแร่และหินมาใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการดํารงชีวิต เช่น ก่อสร้างที่อยู่อาศัย ทํายารักษาโรค และสร้างสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐาน ได้แก่ ถนน โรงเรียน วัด และ โรงพยาบาล เป็นต้น ในด้านพลังงานที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่ก็มาจากเชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น ใช้ถ่านหิน ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้น้ํามันเชื้อเพลิงและแก๊สธรรมชาติในรถยนต์และเครื่องจักรกลต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้เจาะน้ําบาดาลขึ้นมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม มนุษย์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณีในชีวิตประจําวันมากและส่งผลให้ทรัพยากรธรณีที่ มีอยู่ลดลงและเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ด้วยความเคยชินทําให้มองข้ามคุณค่าที่ได้รับและอาจนึกไม่ถึงว่า ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ในระยะเวลาอันสั้น โลกต้องใช้เวลานับล้านปี ในการสร้างทรัพยากรธรณีเพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานและสิ่งอํานวยความสะดวกแก่มนุษย์ ดังนั้นจึงควรตระหนัก อยู่เสมอว่า ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ใช้อย่างชาญฉลาด และใช้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
1
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
-2-
1.2 กรอบแนวคิดในการจําแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี 1.2.1 หลักการและเหตุผล ทรัพยากรธรณีเป็นทรัพยากรที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็น อย่างมาก โดยเป็นวัตถุดิบพื้นฐานสําหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรมเซรามิกส์ อุตสาหกรรมแก้ว อุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อย่างไรก็ตามทรัพยากรธรณีเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ ดังนั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมียุทธศาสตร์ในการจัดการ ทรัพยากรธรณีอย่างชัดเจนเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด คุ้มค่า และส่งผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการจําแนกพื้นที่แหล่งทรัพยากรธรณีออกเป็นเขตเพื่อการสงวน การอนุรักษ์ และการพัฒนาใช้ประโยชน์ พร้อมกับเสนอมาตรการหรือแนวทางบริหารจัดการสําหรับแต่ละเขตที่ได้จําแนก ไว้ ซึ่งต้องคํานึงถึงหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสําคัญ โดยพิจารณาแบบบูรณาการร่วมกับ ทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ และรวมถึงสภาพสิ่งแวดล้อมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้ ประโยชน์กับการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้เกิดความเป็นธรรมและโปร่งใสใน การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ อันจะนําไปสู่การลดความขัดแย้งจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
1.2.2 วัตถุประสงค์ (1) เพื่อจําแนกเขตทรัพยากรธรณี เป็นเขตสงวน อนุรักษ์ และพัฒนาใช้ประโยชน์ พร้อม จัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ (2) เพื่อกําหนดแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรณีให้สอดคล้องกับศักยภาพ ความ ต้องการ และข้อจํากัดของท้องถิ่น โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในท้องถิ่น (3) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนา ทรัพยากรธรณี ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนทุกภาคส่วนทั้งระดับท้องถิ่นและ ระดับประเทศ
1.2.3 แนวทางการดําเนินงาน (1) จัดทําข้อมูลและจําแนกเขตทรัพยากรธรณีเชิงพื้นที่ออกเป็นเขตสงวน อนุรักษ์ และ พัฒนาทรัพยากรธรณี พร้อมจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ โดยการจัดทําระบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรณี ของแต่ละจังหวัด ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และนําเข้าข้อมูลบนแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 (2) กําหนดแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรณีในแต่ละเขตที่จําแนกไว้ ให้สอดคล้อง กับศักยภาพ ข้อจํากัด และความต้องการของท้องถิ่น โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ในท้องถิ่น (3) เผยแพร่ข้อมูลและผลการจําแนกเขตที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมให้แก่หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนนําไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรณี และเพื่อเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น (4) ติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ข้อมูลการจําแนกเขต เพื่อวิเคราะห์ ปรับปรุง หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมสําหรับพื้นที่อื่นต่อไป
2
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
-3-
1.2.4 ผลที่คาดว่าจะได้รบั มีการนําผลที่ได้จากการจําแนกเขตทรัพยากรธรณีและธรณีวิทยา ไปใช้ในการวางแผน การจัดการทรัพยากรธรณี การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการวางผังเมือง ทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และ ประเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรณีอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และเกิดประโยชน์ สูงสุด รวมทั้งมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ถูกต้องสอดคล้องกับสภาพทางธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
3
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
-4-
บทที่ 2 ข้อมูลพื้นฐาน1 “พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตําหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม”
2.1 ประวัติความเป็นมา สกลนคร เป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุห้าแห่ง แหล่งอารยธรรมสามพันปี ตามตํานานเล่าว่า เมืองหนองหานหลวงในอดีต หรือสกลนครในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 ในยุคที่ขอมมีอํานาจ ในดินแดนนี้ ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหานหลวงตกไปอยู่ในความปกครองของอาณาจักร ล้านช้าง เรียกชื่อเมืองว่า “เมืองเชียงใหม่หนองหาน” และเมื่อมาอยู่ในความปกครองของไทย ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น “เมืองสกลทวาปี” ต่อมา ในปี พ.ศ. 2373 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เปลี่ยนชื่อ จากเมืองสกลทวาปี เป็น “เมืองสกลนคร” ในปัจจุบัน จังหวัดสกลนครยังได้รับการขนานนามว่าเป็น"แอ่งธรรมะแห่งอีสาน" ดังเห็นหลักฐานได้จาก วัดวาอารามเก่าแก่ที่มีอยู่มากมาย แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นถิ่น กําเนิดและพํานักของอริยสงฆ์ที่สาํ คัญเป็นที่เคารพบูชาของชาวไทยหลายท่าน อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้น
2.2 ลักษณะทางภูมิศาสตร์ 2.2.1 ขนาดและที่ตั้ง จังหวัดสกลนครตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศา 45 ลิปดา - 18 องศา 15 ลิปดา เหนือ และเส้นแวงที่ 103 องศา 15 ลิปดา - 104 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 9,605.76 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,003,602 ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 647 กิโลเมตรทางรถยนต์ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดนครพนม ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดนครพนม ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดอุดรธานี
2.2.2 ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดสกลนคร ทางด้านทิศใต้เป็นเทือกเขาสูงจากนั้น จะค่อย ๆ เอียงลาดลงมาทางทิศเหนือและทิศตะวันออก พื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ําทะเลประมาณ 172 เมตร (รูปที่ 2-1) มีลักษณะภูมิประเทศแต่ละบริเวณดังนี้ (1) พื้นที่ตอนใต้ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงบนเทือกเขา 1
4
ที่มาข้อมูล http://www.sakonnakhon.go.th สืบค้นข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2555
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
-5-
ภูพานและที่ราบระหว่างหุบเขา มีสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาดอยู่บริเวณอําเภอกุดบาก มีลําธารและ ลําห้วยอันเกิดจากเทือกเขาหลายแห่ง (2) พื้นที่ตอนตะวันออก มีสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาดรวมถึง บริเวณที่ติดกับอําเภอนาแก จังหวัดนครพนม (3) พื้นที่ตะวันตก สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับกับ พื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด (4) พื้นที่ตอนกลาง มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบต่ํา มีหนองหารเป็นที่รองรับน้ําจาก แม่น้ําต่าง ๆ หลายสาย ทําให้หนองหารมีน้ําตลอดปี (5) พื้นที่ตอนเหนือ สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่เหนืออําเภออากาศอํานวยและริมน้ําสงครามบางส่วนเป็นที่ราบลุ่มน้ําท่วม
2.2.3 ภูมิอากาศ ภูมิอากาศของจังหวัดสกลนครเป็นแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู หรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีอากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกตลอดฤดู แต่ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรือฤดูหนาวจะมีอากาศแห้งแล้งเกือบตลอดฤดู ท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก ช่วงต่อระหว่างฤดูมรสุมทั้งสอง ตรงกับฤดูร้อน สภาพอากาศร้อน ฟ้าหลัวแห้งและมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นครั้งคราว มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 36.20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ําสุดเฉลี่ย 18.88 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,449.90 มิลลิเมตร (ที่มาข้อมูล: สถานีอุตุนิยมวิทยาสกลนคร http://www.metsakon.tmd.go.th)
2.2.4 การคมนาคม การคมนาคมทางบกมีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และทางหลวงชนบท เชื่อมระหว่าง อําเภอต่าง ๆ กับจังหวัด และระหว่างจังหวัดกับจังหวัดอื่น โดยมีเส้นทางสําคัญ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 22 (เชื่อมระหว่างจังหวัดอุดรธานี - สกลนคร - นครพนม) ทางหลวงหมายเลข 213 (เชื่อมระหว่าง จังหวัดสกลนคร - กาฬสินธุ์) ทางหลวงหมายเลข 222 (เชื่อมระหว่างจังหวัดสกลนคร - หนองคาย) และ ทางหลวงหมายเลข 223 (เชื่อมระหว่างจังหวัดสกลนคร - นครพนม) และมีรถโดยสารประจําทางจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดสกลนครทุกวัน และมีรถไฟออกจากสถานีหัวลําโพงไปลงที่จังหวัดอุดรธานีทุกวัน แล้วเดินทางโดย รถยนต์ประจําทางไปจังหวัดสกลนคร และมีเครื่องบินจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดสกลนครบริการทุกวัน
2.3 สภาพเศรษฐกิจและสังคม 2.3.1 การปกครอง จังหวัดสกลนครจัดรูปแบบการปกครองตามลักษณะการปกครองส่วนภูมิภาค โดยแบ่งออกเป็น 18 อําเภอ 124 ตําบล และ 1,515 หมู่บ้าน และจัดรูปการปกครองตามลักษณะการปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตําบล 42 แห่ง และ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 97 แห่ง
2.3.2 ประชากรและอาชีพ ข้อมูลประชากร ณ เดือนกรกฎาคม 2555 ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (http://stat.bora.dopa.go.th) พบว่า จังหวัดสกลนครมีประชากรรวมทั้งสิ้น 1,125,520 คน เป็นชาย 562,556 คน และหญิง 562,964 คน อําเภอที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อําเภอเมืองสกลนคร รองลงมา คือ อําเภอสว่างแดนดิน และอําภอวานรนิวาส ตามลําดับ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีอาชีพอื่น ๆ อีก เช่น การทําหัตถกรรม การค้าขาย และการอุตสาหกรรม เป็นต้น
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
5
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
-6-
รูปที่ 2-1 แผนที่ภูมิประเทศและเขตการปกครองของจังหวัดสกลนคร
6
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
-7-
2.3.3 เศรษฐกิจ ข้อมูลสภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดสกลนครในปี พ.ศ. 2553 พบว่า จังหวัดสกลนครมี ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product, GPP) ณ ราคาตลาด 48,008 ล้านบาท จัดอยู่ ลําดับที่ 10 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และลําดับที่ 44 ของประเทศ รายได้เฉลี่ยต่อหัว (GPP Per capita) 41,581 บาท รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาการค้าส่ง-ขายปลีก รองลงมาคือ สาขาเกษตรกรรม สาขาการศึกษา และสาขาอุตสาหกรรม ตามลําดับ มีพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ คือ ข้าว อ้อย และมันสําปะหลัง พื้นที่เพื่อการเกษตร มีเนื้อที่คิดเป็น 45.07 % ของเนื้อที่ทั้งจังหวัด ส่วนการผลิตอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปผลิตผลทาง การเกษตร
2.3.4 วัฒนธรรม เทศกาล และงานประเพณี ประชากรในจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วยคนพื้นเมืองดั้งเดิมหลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาวภูไท ไทยย้อ ไทยโย้ย ไทยกะเลิง และไทยกระตาก ซึ่งอพยพมาจากสาธารณรัฐประชาชนลาวมาเป็นเวลานาน แล้ว และมีประชากรเชื้อชาติเวียดนามอพยพเข้ามาอยู่ครั้งสมัยอินโดจีน และมีชาวจีนที่มีอยู่ทั่วไป ทําให้ เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีการสั่งสมและสืบสานเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดทั้งในด้าน โบราณสถานโบราณ โบราณวัตถุ ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีกรรม ตํานาน ฯลฯ มาจน ทุกวันนี้ ชาวจังหวัดสกลนครมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สําคัญสืบทอดกันมาแต่โบราณ จนถึงปัจจุบัน คือ งานสมโภชพระธาตุเชิงชุม (จัดประมาณเดือนมกราคม) งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและ แข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน (จัดขึ้นในวันออกพรรษา) งานประเพณีเซิ้งผีตาโขน ที่อําเภอพังโคน (จัดขึ้น ในวันขึ้น 14 ค่ํา เดือน 4) งานประเพณีโส้รําลึก ที่อําเภอกุสุมาลย์ (จัดขึ้นในวันขึ้น 4 ค่ํา เดือน 3) งานกาชาด และงานรวมน้ําใจไทสกล จัดบริเวณศูนย์ราชการจังหวัดประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
2.3.5 สถานที่ท่องเที่ยว ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงของเขาภูพานทางด้านใต้ของจังหวัดสกลนคร ทําให้มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง เช่น น้ําตกคําหอม น้ําตกตาดโตน น้ําตกเหวสินธุ์ชัย น้ําตก สามหลั่น น้ําตกสาวไห้ ผาหินซ้อน ผานางเมิน ลานสาวเอ้ น้ําตกห้วยใหญ่ น้ําตกปรีชาสุขสันต์ และสะพานหิน ธรรมชาติ ในเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน ผาสุริยันต์ ผาดงก่อ ผาน้ําโจ้ก ลานอุษาสวรรค์ และสุสานไดโนเสาร์ ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก น้ําตกคําสร้าง ภูผายล ผาพญาเต่างอย และลานดุสิตา ในเขตอุทยาน แห่งชาติภูผายล และมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ผาผักหวาน ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ภาพรอยสลักผาสามพันปีที่ภูผายล อําเภอเมืองสกลนคร และถ้ําเสรีไทย ในเขตอําเภอเมืองสกลนคร นอกจากนี้ จังหวัดสกลนครยังได้รับการขนานนามว่าเป็น "แอ่งธรรมะแห่งอีสาน" ดังเห็น หลักฐานได้จากวัดวาอารามเก่าแก่ที่มีอยู่มากมาย แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแต่ครั้ง อดีต เป็นถิ่นกําเนิดและพํานักของอริยสงฆ์ที่สําคัญเป็นที่เคารพบูชาของชาวไทยหลายท่าน จึงมีศาสนสถาน หลายแห่งให้กราบไหว้ขอพรสิ่งศักสิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น พระธาตุเชิงชุม พิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และพิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย อําเภอเมืองสกลนคร พระธาตุภูเพ็ก พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และเทสกเจดีย์ เทสรังสีนุสรณ์ อําเภอพรรณานิคม เป็นต้น
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
7
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
-8-
2.4 แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายใต้ยุทธศาสตร์จังหวัดสกลนคร และ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 วิ สัย ทั ศ น์ จัง หวั ด สกลนคร คือ “เป็น เมือ งน่า อยู่ ควบคู่ก ารเป็ น ศู น ย์ ก ลางการพั ฒ นา ทรัพยากรมนุษย์” โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านธรณีวิทยาและ ทรัพยากรธรณี ได้แก่ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทีส่ มดุลและยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี คือ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาการท่องเที่ยว โดยมีเป้าประสงค์ที่เกี่ยวข้อง คือ การส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ การรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวธรรมชาติ อย่างยั่งยืน และการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยว
8
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
-9-
บทที่ 3 ธรณีวิทยา ข้อมูลธรณีวิทยาของจังหวัดสกลนครที่นําเสนอในเอกสารฉบับนี้ ได้จากการรวบรวมข้อมูล จากแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:250,000 (จงพันธ์ จงรักษมณี และคณะ, 2522) เป็นข้อมูลพื้นฐานและ ได้รวบรวมผลการสํารวจและรายงานที่ได้มีผู้ศึกษาไว้เป็นส่วนใหญ่ และได้เพิ่มเติมข้อมูลจากสํารวจเบื้องต้น ในภาคสนาม พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เรียกกันว่าแผ่นดินอีสาน เกือบทั้งหมดถูกปกคลุมด้วย กลุ่มหินโคราช (Khorat Group) ซึ่งเกิดจากตะกอนทีส่ ะสมตัวในภาคพื้นทวีปในมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era มีอายุตั้งแต่ 250-65 ล้านปี) ต่อกับมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era มีอายุตั้งแต่ 65-1.8 ล้านปี) ประกอบด้วยหมวดหินต่าง ๆ รวม 9 หมวดหิน เรียงลําดับจากอายุแก่ไปอ่อน ดังนี้ หมวดหินห้วยหินลาด หมวดหินน้ําพอง หมวดหินภูกระดึง หมวดหินพระวิหาร หมวดหินเสาขัว หมวดหินภูพาน หมวดหินโคกกรวด หมวดหินมหาสารคาม และหมวดหินภูทอก ธรณีวิทยาทั่วไปของจังหวัดสกลนคร ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินตะกอน2ของกลุ่มหินโคราช และตะกอนร่วนยุคควอเทอร์นารี มีอายุทางธรณีกาลตั้งแต่ยุคจูแ รสซิกตอนกลางถึงยุคควอเทอร์นารี (ประมาณ 170 ล้านปีถึงปัจจุบัน) หินเหล่านี้สามารถแยกออกจากกันได้โดยอาศัยลักษณะและส่วนประกอบ ของเนื้อหิน การวางตัวของชั้นหิน สภาพแวดล้อมของการสะสมตะกอน ตลอดจนซากดึกดําบรรพ์ต่าง ๆ
3.1 ธรณีวทิ ยากายภาพหรือวิทยาหิน ลักษณะกายภาพหรือวิทยาหินของจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วยหินตะกอนที่เป็นส่วนหนึ่ง ของกลุ่มหินโคราช สามารถลําดับชั้นหินที่พบจากหมวดหินที่มีอายุแก่ไปหาหมวดหินที่มีอายุอ่อน ดังนี้ หมวดหินภูกระดึง หมวดหินพระวิหาร หมวดหินเสาขัว หมวดหินภูพาน หมวดหินโคกกรวด หมวดหิน มหาสารคาม และหมวดหินภูทอก นอกจากนี้ยังพบตะกอนร่วนยุคควอเทอร์นารีสะสมตัวอยู่ทั่วไปตาม แนวลุ่มน้ํา แม่น้ํา ที่ราบทั่วไป พื้นที่เนิน และที่ลุ่ม (รูปที่ 3-1)
3.1.1 หมวดหินภูกระดึง (Jpk) หมวดหินภูกระดึงมีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่เส้นทางเดินเท้าขึ้นภูกระดึง จากเชิงเขาถึงซําบอน เป็นชุดหินที่มีลําดับอยู่ล่างสุดของพื้นที่จังหวัดสกลนคร พบแผ่กระจายตัวทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของ อําเภอวาริชภูมิ บริเวณภูฮอม และภูหลบหวาย ประกอบด้วย หินโคลน สีน้ําตาลแกมแดง สีม่วงแกมแดง สีส้มแกมเหลือง หินทรายสีน้ําตาลถึงม่วงแดง สลับชั้นด้วยหินทรายแป้งถึงหินทรายเนื้อละเอียด สีน้ําตาล แกมแดง สีม่วงแกมแดง สีเทาแกมเขียว การคัดขนาดปานกลาง (รูปที่ 3-2) 2
หินตะกอน หรือ หินชั้น (sedimentary rock) คือ หินที่เกิดจากการทับถมของตะกอน ตะกอนเหล่านี้เกิดจากการผุพัง แตกสลายของหินอัคนี หินแปร หรือหินชั้นอายุเก่ากว่า ถูกพัดพามาตกจมสะสมโดยน้ํา ลม ธารน้ําแข็ง หรือการตกตะกอน ทางเคมี และหมายรวมตลอดถึงหินที่เกิดจากการสะสมของซากดึกดําบรรพ์ด้วย ตะกอนต่าง ๆ เหล่านี้จะมีการสะสมตัว เป็นชั้น ๆ และเมื่อมีการแข็งตัวกลายเป็นหินแล้วลักษณะการเรียงตัวเป็นชั้น ๆ ตามลําดับอายุยังปรากฏให้เห็นอยู่ จึงจัดประเภทให้เป็นหินชั้น
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
9
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 10 -
รูปที่ 3-1 แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดสกลนคร และคําอธิบายแผนที่
10
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 11 -
คําอธิบาย EXPLANATION
รูปที่ 3-1 แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดสกลนคร และคําอธิบายแผนที่ (ต่อ)
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
11
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 12 -
จากลักษณะทางกายภาพของหิน การเรียงลําดับชั้นหิน และซากดึกดําบรรพ์ พบว่าหมวดหิน ภูก ระดึงเกิ ด จากการสะสมตั วของตะกอนในแม่ น้ํ าแบบโค้ งตวั ดที่มี กระแสน้ํา รุนแรงตามร่องน้ํา และ หลังจากนั้นจึงเป็นการตกตะกอนบริเวณสองฝั่งของที่ราบลุ่มแม่น้ํา หนอง และบึง ในสภาวะภูมิอากาศที่ ค่อนข้างกึ่งแห้งแล้ง (Meesook, 2000) ในพื้นที่จังหวัดสกลนครไม่พบซากดึกดําบรรพ์ในหมวดหินภูกระดึง อายุของหมวดหินภูกระดึง ได้จากซากดึกดําบรรพ์ที่เคยพบในหลาย ๆ บริเวณ เช่น ซากดึกดําบรรพ์จระข้ Sunosuchus thailandicus (Buffetaut and Ingawat, 1984) ซากดึกดําบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลัง พวก fish scales, turtle plates, temnospondyl amphibian, crocodilian teeth, and theropod and sauropod dinosaur teech บริเวณบ้านโคกสนาม อําเภอคําม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จากหลักฐานของซากดึกดําบรรพ์ที่พบ หมวดหินภูกระดึง ควรมีอายุระหว่างจูแรสซิกตอนกลางถึงจูแรสซิกตอนปลาย (ก)
(ข)
รูปที่ 3-2 ลักษณะของหมวดหินภูกระดึง ยุคจูแรสซิก บริเวณริมถนนทางหลวงหมายเลข 227 (ก) หินโผล่ของชั้นหินทรายแป้ง (ข) หินทราย หินทรายแป้ง สลับชั้นหินโคลน
3.1.2 หมวดหินพระวิหาร นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ และดิ้น บุนนาค เป็นผู้ตั้งชื่อหินพระวิหารเมื่อปี พ.ศ. 2497 โดยจัดเป็น หมวดหินมีที่ตั้งแบบฉบับอยู่ที่เขาพระวิหาร ต่อมา Ward and Bunnag (1964) ได้ยกฐานะเป็นหมวดหิน พระวิหาร (Phra Wihan Formation) ความสัมพันธ์ของหมวดหินพระวิหารกับหมวดหินภูกระดึงที่วางตัวอยู่ล่างเป็นแบบต่อเนื่อง เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างหมวดหินพระวิหารและหมวดหินเสาขัวที่วางตัวอยู่ชั้นบน ลักษณะโดยทั่วไปประกอบด้วยหินทราย สีขาวและสีขาวปนเหลือง เป็นส่วนใหญ่ เนื้อละเอียด ถึงหยาบ มีการคัดขนาดดี บางบริเวณพบหินทรายเนื้อปนกรวดและหินกรวดมนสลับอยู่ ซึ่งประกอบด้วยเม็ด แร่ควอตซ์เป็นส่วนใหญ่ แสดงชั้นเฉียงระดับอยู่ทั่วไป พื้นที่จังหวัดสกลนครพบหมวดหินพระวิหารแผ่กระจายตัวทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของ จังหวัด บริเวณเทือกเขาภูพาน เช่น บริเวณภูผาเหล็ก ภูอ่างสอ ภูดินด่าง ภูผาแดง น้ําตกคําหอม น้ําตกสาวไห้
12
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 13 -
น้ําตกเหวสินธุ์ชัย ในเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน และบริเวณใกล้เคียง ลักษณะของหินโผล่จะเป็นพลาญหิน ของน้ําตกที่มีความสูงไม่มาก บริเวณน้ําตกคําหอมเป็นหินทรายสีขาว ขนาดเม็ดปานกลางถึงหยาบ บางส่วน เป็นหินทรายเนื้อปนกรวดและหินกรวดมน มีกุมภลักษณ์3 ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป (รูปที่ 3-3 (ก)-(ค)) ชั้นหิน มีทิศทางการเอียงเท (dip direction) ไปทางทิศใต้ด้วยมุมเท (dip angle) ประมาณ 10° (182/10, dip direction/dip angle) มีรอยชั้นเฉียงระดับให้เห็นหลายทิศทาง ส่วนใหญ่มีการเอียงเทไปทางทิศตะวันตก เฉียงใต้ด้วยมุมประมาณ 10°- 25° ส่วนที่น้ําตกสาวไห้จะพบการลําดับชั้นหินที่มีส่วนล่างสุดเป็นหินกรวดมน ปิดทับด้วยหินทรายเนื้อปนกรวด และหินทรายสีขาวอยู่บนสุด (รูปที่ 3-3 (ง)) แสดงรอยชั้นเฉียงระดับเอียงเท ไปทางทิศตะวันออกด้วยมุมประมาณ 20° (103/20) และมีรอยแตกเอียงเทไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยมุมประมาณ 75° (035/75) ส่วนน้ําตกเหวสินธุ์ชัย มีการลําดับชั้นหินที่มีหินทรายสีขาว เนื้อปานกลาง อยู่ล่างสุด ปิดทับด้วยหินทรายเนื้อปนกรวดและหินทรายที่มีรอยชั้นเฉียงระดับ (รูปที่ 3-3 (จ)) ชั้นหินมีทิศทาง การเอียงเทไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยมุมประมาณ 5° (060/05) และรอยแตก 2 แนวตั้งฉากกัน ได้แก่ รอยแตกที่มีการเอียงเทไปทางทิศตะวันออกด้วยมุมประมาณ 75° (260/75) ตัดกับรอยแตกที่เอียงเท ไปทางทิศเหนือด้วยมุมประมาณ 70° (345/70) จากลักษณะทางกายภาพของหิน การเรียงลําดับชั้นหิน และซากดึกดําบรรพ์ พบว่าหมวดหิน พระวิหารเกิดจากการสะสมตัวและตกตะกอนจากแม่น้ําประสานสายและมีบางช่วงเป็นแม่น้ําโค้งตวัด ใน สภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างกึ่งแห้งแล้งและร้อนชื้น (Meesook, 2000) ในพื้นที่จังหวัดสกลนครไม่พบซากดึกดําบรรพ์ในหมวดหินพระวิหาร อายุของหมวดหิน พระวิหารได้จากซากดึกดําบรรพ์ที่เคยพบในหลาย ๆ บริเวณ ซึ่งจากหลักฐานการเรียงลําดับชั้นหินและ อายุที่ได้จากซากดึกดําบรรพ์ต่าง ๆ หมวดหินพระวิหารควรมีอายุระหว่างยุคจูแรสซิกตอนกลางถึงครีเทเซียส ตอนต้น (กรมทรัพยากรธรณี, 2544) ในปัจจุบันพบรอยเท้าไดโนเสาร์ในชั้นหินทรายของหมวดหินพระวิหารหลายแห่งในพื้นที่ ภาคอีสาน อาทิ บริเวณภูแฝก กิ่งอําเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งอยู่ห่างจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 25 กิโลเมตร นอกจากนี้พื้นที่อื่น ๆ มีการพบรอยเท้าไดโนเสาร์ขนาดเล็กในหมวด หินพระวิหาร เช่น บริเวณหินลาดป่าชาด อําเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น
3.1.3 หมวดหินเสาขัว Ward and Bunnag (1964) ให้ชั้นหินแบบฉบับของหินหมวดหินเสาขัว (Sao Khua Formation) อยู่ที่ห้วยเสาขัว ทางเหนือของถนนสายอุดรธานี-หนองบัวลําภู และให้ความเห็นว่าประมาณร้อยละ 60-70 ประกอบด้วย หินทรายแป้ง สีน้ําตาลแกมแดง และปื้นสีเทา อีกประมาณร้อยละ 30 เป็นหินทราย สีแดงอ่อน เม็ดขนาดละเอียดถึงละเอียดมาก บางชั้นมีกรวดปน หินชนิดอื่นที่พบในหมวดหินเสาขัวก็คือ หินโคลน หินกรวดมนกระเปาะปูน สีน้ําตาลแกมแดง สีเทาแกมเขียว หินปูนสีเทา และหินทรายสีขาว ความสัมพันธ์ของหมวดหินเสาขัวกับหมวดหินพระวิหารที่วางตัวอยู่ล่างเป็นแบบต่อเนื่อง เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างหมวดหินเสาขัวและหมวดหินภูพานที่วางตัวอยู่ชั้นบน 3
กุมภลักษณ์ (pot hole) คือ บ่อกลม ๆ รูปหม้อ มักมีกรวดและทรายหยาบอยู่ที่ก้นบ่อ เกิดขึ้นเพราะน้ําในธารพัดเอา กรวดทรายมาหมุนวนอยู่ในแอ่งเล็ก ๆ บนหน้าหิน กรวด ทราย จะเป็นตัวครูดถู ขัดสี ทําให้แอ่งลึกลงและกว้างมากขึ้น นานปีเข้ากรวดเก่าหมดไปกรวดใหม่ก็เข้ามาแทนที่และหมุนกลิ้งอยู่ที่ตอนล่างของแอ่ง ทําให้แอ่งเดิมโตขึ้นและลึกเว้า จนเป็นรูปหม้อดังที่เห็นในปัจจุบัน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2544)
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
13
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 14 -
(ก)
(ง)
กุมภลักษณ์
(ข)
(จ) (ค)
รูปที่ 3-3 ลักษณะของหมวดหินพระวิหาร ยุคจูแรสซิก-ครีเทเชียส ที่โผล่ปรากฏบริเวณเทือกเขาภูพาน (ก) ลักษณะของหมวดหินพระวิหารบริเวณน้ําตกคําหอม มีกุมภลักษณ์ปรากฏให้เห็นอยูท่ ั่วไป (ข) หินทรายขนาดเม็ดปานกลางถึงหยาบ บางส่วนเป็นหินทรายเนื้อปนกรวดและหินกรวดมน (ค) แสดงลักษณะรอยชั้นเฉียงระดับที่เอียงเทไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ด้วยมุม 10°- 25° (ง) แสดงลําดับชั้นหินบริเวณน้ําตกสาวไห้ (จ) แสดงลําดับชั้นหินบริเวณน้ําตกเหวสินธุ์ชัย
14
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 15 -
ลักษณะโดยทั่วไปหมวดหินเสาขัว ประกอบด้วยชั้นหินสลับกันของหินทรายแป้ง หินโคลน หินทราย สีน้ําตาลแดงถึงสีแดงเข้ม หินกรวดมนเม็ดปูน และชั้นเม็ดปูน (calcrete horizon) ลักษณะตะกอน มีความคล้ายคลึงกับหมวดหินภูกระดึง แต่หมวดหินเสาขัวจะมี calcretes และ silcrets หนาและเด่นชัดกว่า ที่พบในหมวดหินภูกระดึงและหมวดหินโคกกรวด หมวดหินเสาขัวมีความหนาระหว่าง 200-760 เมตร ความหนา ของหมวดหินเสาขัวที่โผล่ให้เห็นในบางพื้นที่ เช่นบริเวณเทือกเขาภูพานมีความหนาโดยเฉลี่ย 120 เมตร โดยแปรเปลี่ยนอยู่ในช่วงความหนาระหว่าง 50-200 เมตร (กรมทรัพยากรธรณี, 2544) ในพื้นที่จังหวัดสกลนครพบหมวดหินเสาขัวกระจายตัวอยู่ทางด้านตะวันตก ตามแนว เทือกเขาภูพาน วางตัวอยู่ในแนวประมาณเหนือ-ใต้ โดยจะพบอยู่ 3 ลักษณะได้แก่ (1) หินทรายแป้งสีน้ําตาลแดง หินทรายเนื้อละเอียด สีน้ําตาลแดง หินโคลน พบ calcrete nodules และซากดึกดําบรรพ์หลายชนิด ลักษณะนี้น่าจะเป็นส่วนล่างของหมวดหินเสาขัว เช่นที่บริเวณ พิกัด 0396950E/1891106N (5843 II)I จะพบการสลับชั้นของหินโคลนที่มี calcrete nodules หินทรายแป้ง สลับกับชั้นเม็ดปูนและหินทราย (รูปที่ 3-4 (ก)) บริเวณบ่อหินที่อยู่โดยรอบศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจาก พระราชดําริ (รูปที่ 3-4 (ข)) และบริเวณอ่างเก็บน้ําห้วยตาดไฮใหญ่ ตําบลห้วยยาง อําเภอเมืองสกลนคร จะพบ หินทรายแป้งและหินทรายสีน้ําตาลแดง มี calcrete nodules จํานวนมาก และพบซากดึกดําบรรพ์ของ หอยสองฝาหลายชนิด (2) หินทรายเป็นชั้นบางถึงหนาปานกลาง สลับกับหินทรายแป้งและหินดินดาน สีน้ําตาลแดง มีไมกาปนมาก เช่น บริเวณร่องห้วยทางขึ้นวัดถ้ําผาแด่น (3) การสลับชั้นของหินทราย หินกรวดมนเม็ดปูน และหินโคลน ซึ่งเป็นส่วนบนสุดของ หมวดหินเสาขัวต่อเนื่องกับส่วนล่างของหมวดหินภูพาน เช่น บริเวณหน้าผาวัดถ้ําผาแด่น จะพบหินทรายเนื้อ ละเอียด สีเทาปนเขียว มีรอยชั้นเฉียงระดับ รองรับหินกรวดมนเม็ดปูน หินโคลน และหินทรายแป้ง สีน้ําตาล ปนม่วงและหินทรายสีเทาปนม่วงที่เป็นชั้นหนา โดยที่ส่วนบนสุดจะเป็นหินทรายสีขาว เนื้อปานกลางถึงหยาบ มีรอยชั้นเฉียงระดับ rip-up clasts เป็นชั้นหนาของหมวดหินภูพาน บริเวณถ้ําพระกกพุง บ้านลาดสมบูรณ์ ตําบลห้วยยาง อําเภอเมืองสกลนคร หมวดหินเสาขัวในบริเวณนี้พบว่า ชั้นล่างสุดเป็นชั้นหินโคลนที่มีเม็ดปูนปน หนาประมาณ 1-1.8 เมตร ถัดขึ้นมาเป็นชั้นเม็ดปูนที่มีขนาดเม็ดปูนตั้งแต่ 1-25 เซนติเมตร มีความหนา 20-40 เซนติเมตร ชั้นต่อมาเป็นชั้นสะสมตัวของซากดึกดําบรรพ์ประเภทหอยกาบคู่ (รูปที่ 3-4 (ค) และ (ง)) มีความหนาประมาณ 50 เซนติเมตร โดยบางช่วงของชั้นเม็ดปูนและชั้นสะสมตัวของซากดึกดําบรรพ์ ชั้นหิน มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านข้างเป็นหินทรายเนื้อละเอียดสลับชั้นกับหินโคลน มีลักษณะเป็นเลนส์ มีความหนา ประมาณ 70 เซนติเมตร ชั้นหินมีทิศทางการเอียงเทไปทางทิศใต้ด้วยมุมประมาณ 9° (195/09) พื้นที่จังหวัดสกลนครได้มีการสํารวจพบกระดูกไดโนเสาร์ในหมวดหินเสาขัวในหลายบริเวณ เช่นที่ภูยางอึ่งในเขตอุทยานแห่งชาติภูผายล (รูปที่ 3-5 (ก) และ (ข)) บ่อดินบริเวณบ้านโพนสวรรค์ ตําบล พังขว้าง อําเภอเมือง (รูปที่ 3-5 (ค)) บริเวณเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน (รูปที่ 3-5 (ง)) และบริเวณภูผา เหล็กในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก เป็นต้น จากลักษณะทางกายภาพของหิน การเรียงลําดับชั้นหิน และซากดึกดําบรรพ์ที่พบ หมวดหิน เสาขัวเกิดจากการสะสมตัวและตกตะกอนจากแม่น้ําโค้งตวัด ที่พบว่ามีตกตะกอนในร่องน้ําทั้งหินกรวดมน หินทราย และตะกอนที่สะสมตัวในที่ราบน้ําท่วมขัง ในสภาพอากาศที่เป็นแบบกึ่งแห้งแล้ง โดยพบว่าหิน มีสีแดงและมี caliche, calcrete nodules และ silcretes เด่นกว่าและหนากว่าในหมวดหินภูกระดึง หมวดหินนี้เกิดจากการตกตะกอนในสภาวะภูมิอากาศสมัยโบราณเป็นแบบกึ่งแห้งแล้ง (Meesook, 2000)
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
15
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 16 -
(ก)
(ข)
(ค)
(ง)
รูปที่ 3-4 ลักษณะของหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียส ที่โผล่ปรากฏบริเวณต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนคร (ก) การสลับชัน้ ของหินโคลนที่มี calcrete nodules, หินทรายแป้งสลับกับ calcrete horizon, calcrete horizon และหินทรายของหมวดหินเสาขัว บริเวณพิกัด 0396950E/1891106N (5843 III) (ข) ลักษณะของหินทรายแป้งและซากดึกดําบรรพ์ของหมวดหินเสาขัวบริเวณศูนย์ศึกษา พัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (ค) หมวดหินเสาขัว ประกอบด้วย ชั้นหินโคลนที่เม็ดปูน (ล่างสุด) ถัดมาเป็นชั้นเม็ดปูน ส่วนชั้นบนสุดปิดทับด้วยชั้นหินกรวดมนและหินทรายของหมวดหินภูพาน บริเวณถ้ํา พระกกพุง บ้านลาดสมบูรณ์ ตําบลห้วยยาง อําเภอเมือง (ง) ซากดึกดําบรรพ์หอยกาบคู่ที่พบในบริเวณ (ค) (วัฒนา ตันเสถียร และนรรัตน์ บุญกันภัย, 2547) หมวดหินเสาขัวจัดได้ว่าเป็นหมวดหินที่พบซากดึกดําบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังมากที่สุด ในบรรดาหินมหายุคมีโซโซอิกทั้งหลายที่พบในประเทศไทย ประกอบด้วย ปลาฉลามน้ําจืด เต่า จระเข้ ไดโนเสาร์ ทั้งประเภทกินเนื้อและกินพืช พวกสัตว์มีกระดูกสันหลัง และหอยกาบคู่ สําหรับจระเข้ที่พบในหมวดหินนี้เป็น พวก Goniopholis phuwiangensis ส่วนไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อเป็นชนิด Siamotyrannus isanensis ซึ่งไดโนเสาร์ชนิดนี้คาดว่าจะมีอายุเก่าแก่และบรรพ์บุรุษของ tyranosaurid นอกจากนี้ยังพบไดโนเสาร์ที่ คล้ายนกกระจอกเทศด้วย จากหลักฐานซากดึกดําบรรพ์ดังกล่าว รายงานฉบับนี้ให้หมวดหินเสาขัวควรมีอายุ ครีเทเซียสตอนต้น
16
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 17 -
(ก)
(ข)
ที่มาภาพ : องค์การบริหารส่วนตําบลเหล่าโพนค้อ
(ค)
ที่มาภาพ : คุณอดุลย์ ก้อนแพง
(ง)
ที่มาภาพ : ที่ทําการอุทยานแห่งชาติภูพาน
รูปที่ 3-5 ซากดึกดําบรรพ์ของกระดูกไดโนเสาร์ที่พบในหมวดหินเสาขัว ในบริเวณต่าง ๆ ของจังหวัดสกลนคร (ก) ลักษณะพืน้ ที่ภูยางอึ่งที่มีการพบซากดึกดําบรรพ์ของกระดูกไดโนเสาร์ อยู่ในเขตพื้นที่ อุทยานแห่งชาติภูผายล (ข) ลักษณะของกระดูกไดโนเสาร์ที่พบในบริเวณ (ก) (ค) ลักษณะพื้นที่บ่อดินบริเวณบ้านโพนสวรรค์ ตําบลพังขว้าง อําเภอเมืองสกลนคร ที่มีการพบซากดึกดําบรรพ์ของกระดูกไดโนเสาร์ (ในภาพเล็ก) (ง) ลักษณะของกระดูกไดโนเสาร์ที่พบในเขตบริเวณอุทยานแห่งชาติภูพาน
3.1.4 หมวดหินภูพาน ชั้นหินแบบฉบับของหมวดหินภูพาน (Phu Phan Formation) อยู่ที่ภูผาผึ้ง เทือกเขาภูพาน อําเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยทั่วไปหมวดหินภูพานประกอบด้วยหินทราย สีขาวปนเหลือง สีเทาปนขาว มีขนาดเม็ดปานกลางถึงเม็ดหยาบจนถึงเม็ดขนาดกรวดมน เป็นชั้นหนาและมีชั้นเฉียงระดับขนาดใหญ่ทั้ง plannar and trough cross-bedding โดยมีส่วนประกอบเป็นพวกควอตซ์สีขาว หินภูเขาไฟ หินเชิร์ตสีเทา เทาดํา น้ําตาลแดง ดํา เทาขาวและเขียว เม็ดตะกอนมีความมนดีแต่มีการจัดขนาดไม่ค่อยดี ในบางแห่งมีชั้น หินดินดานสีเทาดําสลับอยู่มีลักษณะเป็นเลนส์ หินชนิดอื่นที่พบในหมวดหินภูพาน ได้แก่ หินทรายแป้ง หินดินดาน หินกรวดมนเม็ดปูน และหินทรายสีน้ําตาลแกมแดง ความสัมพันธ์ของหมวดหินภูพานกับหมวดหินเสาขัวที่วางตัวอยู่ล่างเป็นแบบวางตัวแบบ ต่อเนื่อง เช่นเดียวกับความสัมพันธ์กับหมวดหินโคกกรวดที่วางตัวอยู่ด้านบน
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
17
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 18 -
ในพื้นที่จังหวัดสกลนครพบหมวดหินภูพานแผ่กระจายตัวอยู่ด้านทิศใต้ของจังหวัดสกลนคร บริเวณอําเภอภูพาน กุดบาก เมือง โคกศรีสุพรรณ พังโคน เต่างอย ส่องดาว วาริชภูมิ และกิ่งอําเภอน้ําอูน โดยมักพบหมวดหินภูพานเป็นลักษณะหน้าผาหินทราย ปิดทับหมวดหินเสาขัว เช่น บริเวณหน้าผาวัดถ้ําผาแด่น จะเป็นหินทรายสีขาว เนื้อปานกลางถึงหยาบที่มี rip-up clasts และบริเวณถ้ําพระกกพุง บ้านลาดสมบูรณ์ ตําบลห้วยยาง อําเภอเมืองสกลนคร จะเป็นหินทรายและบางส่วนเป็นหินทรายเนื้อปนกรวด สีขาว ขนาดชั้นหนา มีชั้นเฉียงระดับทั่วไป นอกจากนี้ยังพบหมวดหินภูพานในลักษณะของพลาญหิน เช่น บริเวณวัดเชิงดอยเทพรัตน์ จะเป็นหินทรายเนื้อปนกรวด ชั้นหินมีการเอียงเทไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยมุมประมาณ 10° (040/10) มีรอยชั้นเฉียงระดับเอียงเทไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยมุม 15°- 25° (รูปที่ 3-6) บริเวณวัดดานหินคํา จะเป็นหินทรายเนื้อปนกรวดและหินกรวดมน ชั้นหินเอียงเทไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยมุมประมาณ 10° (065/10) และมีรอยชั้นเฉียงระดับเอียงเทไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ด้วยมุมประมาณ 20°- 25° (ก)
(ข)
รูปที่ 3-6 ลักษณะของหมวดหินภูพาน ยุคครีเทเชียส ที่โผล่ปรากฏบริเวณต่าง ๆ เหนือเขื่อนน้ําอูน (ก) หินทรายชั้นหนามากของหมวดหินภูพาน บริเวณเหนือเขื่อนน้ําอูน (ข) ภาพใกล้แสดงหินทรายเนื้อขนาดปานกลางถึงหยาบ จุดเดียวกับรูป (ก) จากลักษณะทางกายภาพของหิน การเรียงลําดับชั้นหิน และซากดึกดําบรรพ์ที่พบ หมวดหิน ภูพานเกิดจากการสะสมตัวและตกตะกอนจากแม่น้ําประสานสายและมีบางช่วงเป็นแม่น้ําโค้งตวัด ที่มีปริมาณ น้ําและความแรงของน้ําสูงและสูงกว่าที่เกิดขึ้นกับหมวดหินพระวิหาร ในสภาพภูมิอากาศโบราณที่ค่อนข้าง ร้อนชื้นถึงกึ่งแห้งแล้ง (Meesook, 2000) จากการสํารวจไม่พบซากดึกดําบรรพ์ในหินหมวดนี้ แต่เคยมีการพบรอยเท้าไดโนเสาร์ชนิด กินเนื้อบนชั้นหินของหมวดหินภูพานที่ภูหลวง ในบางแห่งชั้นล่างสุดของหินทรายของหมวดหินภูพานมีซาก ดึ ก ดํ า บรรพ์ ห อยกาบคู่ อ ยู่ เ ป็ น ชั้ น ๆ แต่ เ ป็ น ซากดึ ก ดํ า บรรพ์ ที่ ถู ก พั ด พาจากหมวดหิ น เสาขั ว และมา ตกตะกอนใหม่อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามหลักฐานอายุจาก palynomorphs ให้อายุหมวดหินภูพานอยู่ ในช่วงอายุครีเทเซียสตอนต้น (Early Cretaceous) และจากการเรียงลําดับชั้นหินพบว่าหมวดหินภูพาน วางตัวอยู่บนหมวดหินเสาขัวที่มีอายุครีทรีเชียสตอนตันและวางตัวอยู่ล่างหมวดหินโคกกรวด รายงานฉบับนี้ ให้หมวดหินภูพานมีอายุครีเทเชียสตอนต้น
18
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 19 -
3.1.5 หมวดหินโคกกรวด Ward and Bunnag (1964) ตั้งชื่อหมวดหินโคกกรวด (Khok Kruat Formation) ตามชื่อ หมู่บ้านโคกกรวด อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่พบหินหมวดนี้โผล่ และชั้นหินแบบฉบับ อยู่ตามถนนสายมิตรภาพ ความสัมพันธ์ของหมวดหินโคกกรวดกับหมวดหินภูพานที่วางตัวอยู่ด้านล่างไม่โผล่ให้เห็น ในพื้นที่บางแห่งเนื่องจากถูกปกคลุมเป็นส่วนใหญ่ แต่ในบางพื้นที่ เช่นที่บริเวณอําเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี พบหมวดหินโคกกรวดวางตัวเป็นชั้นต่อเนื่องกับหมวดหินภูพาน มีการสะสมตัวและตกตะกอนจากแม่น้ํา ประสานสายเป็นแม่น้ําโค้งตวัด ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ของหมวดหินโคกกรวดกับหมวดหินมหาสารคามที่ วางตัวอยู่ชั้นบนจะไม่พบในพื้นที่บางแห่งเนื่องจากถูกปกคลุม แต่จากการเปรียบเทียบกับรอยสัมผัสที่พบ ต่อเนื่องกัน พบว่าเป็นการสัมผัสแบบไม่ต่อเนื่องกับ basal anhydrite ของหมวดหินมหาสารคาม และจาก seismic profiles ก็ยืนยันเช่นนั้น จึงอนุมานได้ว่าความสัมพันธ์ของหมวดหินโคกกรวดและหมวดหินมหาสารคาม เป็นแบบไม่ต่อเนื่อง และความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะแวดล้อมของ การตกตะกอนจากแม่น้ําโค้งตวัด ในสภาวะอากาศในสมัยโบราณจากค่อนข้างกึ่งแห้งแล้งเป็นแบบแห้งแล้ง (กรมทรัพยากรธรณี, 2544) โดยทั่วไปหมวดหินโคกกรวดประกอบด้วย หินทราย หินทรายแป้ง หินโคลน และหินกรวดมน สีน้ําตาลแดง สีแดงปนม่วง นอกจากนี้ยังพบชั้น calcrete nodules และ caliche อยู่ในชั้นบนสุดของหินโคลน การเรียงลําดับชั้นหินเป็นแบบการตกตะกอนเป็นช่วง ๆ เริ่มจาก channel conglomerates, channel sandstones, overbank siltstone และ flood-plain silstones and claystones ความหนาของแต่ละช่วง จะไม่เท่ากัน บางแห่งไม่พบ channel conglomerates ในชั้นล่างสุดอย่างไรก็ตามการเรียงลําดับชั้นหิน ไม่เด่นเท่ากับหมวดหินภูกระดึงและหมวดหินเสาขัว (กรมทรัพยากรธรณี, 2544) ในพื้นที่จังหวัดสกลนครพบหมวดหินโคกกรวดแผ่กระจายตัวอยู่ทางด้านทิศตะวันออก เฉียงใต้-ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดสกลนคร บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของอําเภอภูพาน กุดบาก เมือง โคกศรีสุพรรณ พังโคน เต่างอย ส่องดาว วาริชภูมิ และกิ่งอําเภอน้ําอูน เช่น บริเวณแก่งตาละปัดอยู่ในลําน้ําพุง ลักษณะเป็นหินทราย สีน้ําตาลแดง เนื้อละเอียดถึงหยาบปานกลาง และบริเวณอ่างเก็บน้ําหนองกุง อําเภอ สว่างแดนดิน (รูปที่ 3-7 (ก) และ (ข)) จากลักษณะทางกายภาพของหิน การเรียงลําดับชั้นหิน และซากดึกดําบรรพ์ พบว่า หมวดหิน โคกกรวดเกิดจากการสะสมตัวและตกตะกอนจากแม่น้ําโค้งตวัด ในสภาพภูมิอากาศในสมัยโบราณที่ ค่อนข้างกึ่งแห้งแล้ง และในช่วงปลายเป็นแบบแห้งแล้ง (Meesook, 2000) ในพื้นที่จังหวัดสกลนครมีการสํารวจพบซากดึกดําบรรพ์หอยกาบคู่น้ําจืดในหินทรายสีแดง ของหมวดหินโคกกรวด บริเวณเขื่อนน้ําพุง ได้แก่ Plicatotrigonioides (?) SP., Nippononaia carinate Kobayashi, Niotononaia (Mechongichoncha) subyuadrata Kobayashi, Nippononaia (Mechongichoncha) robusta Kobayashi,Plicatouni namphungensis, Unio sampanoides อายุครีเทเซียสตอนต้นถึงตอนกลาง โดยทั่วไปที่ราบสูงโคราชได้มีการพบซากไดโนเสาร์ในหมวดหินโคกกรวดมาเป็นเวลานาน (Buffetaut,1983) ซากไดโนเสาร์ที่พบครั้งแรกเป็นชิ้นส่วนของฟันและกระดูกไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อ (ceratopsian Psittacosaurus) เป็นไดโนเสาร์ใหม่ชื่อ Psittacoasurus sattayaraki ส่วนใหญ่ซากดึกดําบรรพ์ พบอยู่ในหินกรวดมนที่มีรูปร่างคล้ายเลนส์
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
19
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 20 -
(ก)
(ข)
รูปที่ 3-7 ลักษณะหินโผล่ปรากฎของหมวดหินโคกกรวด ยุคครีเทเชียส บริเวณสถาบันวิจัย และฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร ตําบลแร่ อําเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (ก) ชั้นหินทรายของหมวดหินโคกกรวด บริเวณบ่อน้ําหน้าสถาบันวิจัยฯ (ข) ลักษณะเป็นชั้นหินทราย และหินทรายแป้ง สีน้ําตาลแกมม่วง
3.1.6 หมวดหินมหาสารคาม Gardner et al. (1967) ได้ตั้งชื่อหมวดหินมหาสารคาม (Maha Sarakham Formation) และให้ชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่หลุมเจาะน้ําบาดาล F-34 บริเวณบ้านเชียงเหียน อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเจาะในปี พ.ศ.2504 หมวดหินมหาสารคามเปรียบเทียบได้กับหมวดหินนิรนาม (unnamed) ของ Ward and Bunnag (1964) ประกอบด้วยหินโคลน หินทรายแป้งและเกลือหินอยู่สลับกัน ตามข้อมูลหลุมเจาะ หมวดหินมหาสารคามมีความหนาทั้งหมด 610 เมตร แต่คาดว่าอาจจะหนาสูงสุดถึง 1,000 เมตรในบางแห่ง จากข้อมูลเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน หมวดหินมหาสารคามแบ่งออกได้เป็น 6 ลําดับชั้น ดังนี้ 1) แอนไฮไดรต์ชั้นฐาน (The basal anhydrite) มีความหนาจาก 0.8 ถึง 3.3 เมตร มี รอยต่อกับหินทรายแป้งของหินชุดโคกกรวดเด่นชัดมาก ซึ่งอาจเป็นรอย disconformity 2) เกลือหินชั้นล่าง (Lower Rock Salt) เป็นชั้นเกลือหินที่มีความหนามากที่สุด ประกอบด้วย แร่เกลือหินชั้นหนา และแร่โพแทสเซียม ส่วนที่มีความหนาสูงสุดวัดได้ 437 เมตร 3) หินโคลนชั้นล่าง (Lower claystone) มีสีน้ําตาลแกมแดง และมีจุดสีเขียวอยู่ทั่วไป มี สายแร่คาร์นัลไลต์ และเฮไลต์เล็ก ๆ อยู่ทั่วไป หินหมวดนี้มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 35 เมตร 4) เกลือหินชัน้ กลาง (Middle Rock Salt) ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเฮไลต์ แต่ในบางแห่ง พบชั้นแอนไฮไดรต์หรือยิปซัมอยู่ด้วย หินหน่วยนี้มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 100 เมตร 5) หินโคลนชั้นกลาง (Middle Claystone) มีลักษณะเหมือนหินชั้นล่างที่กล่าวมาแล้ว แต่ไม่มีสายแร่เล็ก ๆ ของคาร์นัลไลต์ หินหน่วยนี้มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 40 เมตร 6) เกลือหินชั้นบน (Upper Rock Salt) มีความหนาจาก 3 ถึง 65 เมตร ไม่พบแร่โพแทช ในหินหน่วยนี้เลย ความสัมพันธ์ของหมวดหินมหาสารคามกับหมวดหินโคกกรวดที่วางตัวอยู่ล่างเป็นแบบ ไม่ต่อเนื่อง (Sattayarak et al., 1991) ส่วนความสัมพันธ์กับหมวดหินภูทอกและหมวดหินเขาย่าปุกที่วางตัว อยู่ด้านบนเป็นแบบต่อเนื่อง
20
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 21 -
ลักษณะทั่วไปเป็นหินโคลนและหินทรายแป้งสีแดงปนส้ม ไม่ค่อยโผล่ให้เห็นบนผิวดิน เนื่องจากลักษณะหินที่มีความคงทนน้อย เกิดการผุพังได้ง่าย ในพื้นที่จังหวัดสกลนครพบหมวดหินมหาสารคาม ปรากฏหินโผล่บนพื้นผิวเล็กน้อย เช่นที่บริเวณทางด้านตะวันตกของหนองหาน (0407734E / 1902228N, 5843 III) จะเป็นบ่อขนาดใหญ่ที่มีเศษหินทรายแป้ง สีน้ําตาลแดงเข้มอยู่ด้านล่าง ปิดทับด้วยดินลูกรัง ไม่พบ ลักษณะโครงสร้างใด ๆ (รูปที่ 3-8 (ก)) และที่บริเวณสนามบินจังหวัดสกลนคร (รูปที่ 3-8 (ข)) โดยส่วนใหญ่ แล้วจะพบเป็นคราบเกลือจากการละลายของชั้นเกลือหินที่อยู่ในหมวดหินมหาสารคาม ปรากฏตามผิวดิน ในฤดูแล้งเป็นแห่ง ๆ เช่นที่ อําเภอพรรณานิคม (รูปที่ 3-8 (ค) และ (ง)) อําเภอบ้านม่วง และกิ่งอําเภอ เจริญศิลป์ เป็นต้น (ก)
(ข)
(ค)
(ง)
รูปที่ 3-8 ลักษณะของหมวดหินมหาสารคาม ยุคครีเทเชียส ที่โผล่ปรากฏบริเวณต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนคร (ก) ลักษณะของหมวดหินมหาสารคามที่พบทางด้านตะวันตกของหนองหาน (ข) ลักษณะของหมวดหินมหาสารคามที่พบบริเวณสนามบินจังหวัดสกลนคร (ค) คราบเกลือสีขาวที่พบอยู่ทั่วไปในหน้าแล้ง บริเวณห้วยกุดจอก บ้านสมสะอาด ตําบลพอกน้อย อําเภอพรรณานิคม (ง) แท่งตัวอย่างเกลือหินและหินเคลย์สีเทาดํา สีน้ําตาลแดง ของหมวดหินมหาสารคาม ที่ได้จากหลุมเจาะ GSK-5 บ้านดงมะไฟ ตําบลนาหัวบ่อ อําเภอพรรณานิคม
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
21
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 22 -
สภาวะแวดล้อมการตกตะกอนและภูมิอากาศโบราณ จากลักษณะทางกายภาพของหิน การเรียงลําดับชั้นหินและชั้นเกลือ ยิปซัมและแอนไฮไดรต์ หมวดหินมหาสารคามเกิดจากการสะสมตัวและ ตกตะกอนจากน้ําเค็มที่มาจากน้ําทะเลในแอ่ง หนองและบึง ในสภาพภูมิอากาศในสมัยโบราณที่เป็นแบบ แห้งแล้ง (Meesook, 2000) ในแผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทยมาตราส่วน 1:1,000,000 ของกรมทรัพยากรธรณี (2542) ให้อายุอยู่ระหว่างยุคครีเทเชียสตอนปลายถึงเทอร์เชียรีตอนต้น
3.1.7 หมวดหินภูทอก หมวดหินภูทอก (Phu Thok Formation) เป็นหมวดหินที่โผล่ให้เห็นบริเวณที่ราบสูงโคราช ตามขอบของแอ่งพื้นราบของแอ่งอุดรธานี-สกลนคร หมวดหินนี้ตั้งชื่อโดย จงพันธ์ จงลักษมณี และคณะ (2522) โดยมีชั้นหินแบบฉบับอยูที่ภูทอกน้อย อําเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ต่อมาสุวภาคย์ อิ่มสมุทร (2540) ได้ ศึกษาและวิจัยขั้นรายละเอียดของหมวดหินนี้บริเวณภูทอกน้อยและภูวัว พบว่าหมวดหินภูทอกประกอบด้วย หินทรายสองชนิด คือ หินทรายสีน้ําตาลแดงเนื้อหยาบปานกลางถึงละเอียด ชั้นหนาที่มีการวางชั้นเฉียงระดับ ขนาดใหญ่แทรกสลับกับหินทรายสีแดงแกมน้ําตาลถึงแดงแกมม่วง เนื้อละเอียดมากถึงหินทรายแป้ง มีเนื้อปูน ผสมที่มีโครงสร้างแบบลอนคลื่น ความหนาของหมวดหินภูทอกที่โผล่ให้เห็นในพื้นทีภ่ ูทอกและภูวัวโดยเฉลี่ย 205 เมตร (สุวภาคย์ อิ่มสมุทร, 2540) ในแต่ละ section ความหนาของชั้นหินทรายของหมวดหินภูทอกแตกต่างกันไป และเป็นความหนาที่เหลือจากการผุพังและถูกพัดพาไปแล้ว อย่างไรก็ตามชั้นหินของหมวดหินภูทอกมักพบ อยู่บนภูเขาโดด ๆ และบริเวณที่เป็นที่ราบลอนคลื่น ความสัมพันธ์ของหมวดหินภูทอกกับหมวดหินมหาสารคามที่วางตัวอยู่ล่างไม่โผล่ให้เห็นใน พื้นที่ราบ แต่จากหลักฐานแท่งหินจากหลุมเจาะน้ําบาดาลที่บ้านท่าพระ จังหวัดขอนแก่น พบว่าชั้นหินสีแดงของ หมวดหินภูทอกวางตัวอยู่บนชั้นเกลือของหมวดหินมหาสารคามในระดับความลึก 391 เมตรจากระดับผิวดิน แต่ ในบางแห่งของแอ่งอุดรธานี-สกลนคร เช่น บริเวณลุ่มน้ําก่ําในพื้นที่จังหวัดสกลนคร-นครพนม พบว่าชั้นหินสีแดง ของหมวดหินภูทอกวางตัวอยู่บนชั้นเกลือในระดับความลึก 98 เมตรจากระดับพื้นผิว (วีระพงษ์ ตันสุวรรณ และนรรัตน์ บุญกันภัย, 2541) โครงการศึกษาปัจจัยทางธรณีวิทยาที่ทําให้เกิดดินเค็ม (2547) ได้สํารวจทําแผนที่ธรณีวิทยา มาตราส่วน 1:50,000 ในพื้นที่โครงการ จากการศึกษาข้อมูลทั้งจากภาคสนามและหลุมเจาะสํารวจโดย วัฒนา ตันเสถียร และคณะ (2548) สันต์ อัศวพัชระ และคณะ (2548) และวีรชัย แพงแก้ว และไชยกาล ไชยรังษี (2548) สามารถแบ่งหมวดหินภูทอกได้เป็น 3 หมู่หิน ได้แก่
3.1.7 1 หมู่หินนาหว้า (Na Wa member, KTpt1) หมู่หินนาหว้ามีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่อําเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม พบกระจายตัวอยู่ตาม ลําน้ําอูน ลักษณะโดยทั่วไปประกอบด้วยหินโคลนและหินเคลย์ สีน้ําตาลแดง สีแดงส้ม หินทรายแป้ง สีน้ําตาลส้ม สภาพแวดล้อมการสะสมตัวคาดว่าเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนโดยทางน้ําในบริเวณที่ราบน้ําท่วมถึง (flood plain deposit) เนื่องจากหมู่หินนี้ประกอบด้วยหินเคลย์และหินโคลนเป็นส่วนใหญ่ ทําให้เนื้อหิน ไม่มีความคงทนเกิดการผุพังได้ง่าย จึงไม่ค่อยพบหินหมวดนี้ปรากฏให้เห็นบนพื้นผิวดิน ในพื้นที่จังหวัดสกลนครพบหมู่หินนาหว้าแผ่กระจายตัวบริเวณตอนกลางของจังหวัด เช่นที่ บริเวณบ่อขุดกักน้ําเพื่อการเกษตร บ้านหนองเปรย ตําบลขมิ่น อําเภอเมืองสกลนคร เป็นหินโคลนและ หินเคลย์ สีน้ําตาล ค่อนข้างผุ ไม่แสดงโครงสร้างใด ๆ (รูปที่ 3-9 (ก) และ (ข))
22
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 23 -
3.1.6.2 หมู่หินคําตากล้า (Kam Ta Kla member, KTpt2) หมู่หินคําตากล้ามีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่บ่อดินขนาดใหญ่ข้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บริเวณด้าน ตะวันออกเฉียงเหนือของอําเภอคําตากล้า จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย หินทรายแป้ง สีน้ําตาลแดง เป็น ชั้นบางแบบคลื่น สลับชั้นกับหินทรายเนื้อเฟลด์สปาร์ สีแดงอิฐ ขนาดเม็ดละเอียด บางส่วนมีเนื้อปูนปน แสดง ชั้นเฉียงระดับขนาดเล็กและแถบชั้นบาง พบรอยสัตว์ดึกดําบรรพ์ประเภทรูหนอน ในพื้นที่จังหวัดสกลนครพบหมู่หินคําตากล้าแผ่กระจายตัวเป็นบริ เวณกว้างทางตอนบน ของจังหวัด เช่นที่ด้านตะวันเหนือของระวางอําเภอกุสุมาลย์ บริเวณตอนเหนือของบ้านโพนสวรรค์จะเป็น หินทรายแป้งสีน้ําตาลแดง (รูปที่ 3-9 (ค))
(ก)
(ข)
(ค)
(ง)
รูปที่ 3-9 ลักษณะของหมวดหินภูทอก ยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรี ที่โผล่ปรากฏบริเวณต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนคร (ก) ลักษณะปรากฏของหมู่หินนาหว้า บริเวณบ่อขุดกักน้ําเพื่อการเกษตร บ้านหนองเปรย ตําบลขมิ้น อําเภอเมืองสกลนคร (ข) แสดงการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ตามรอยแตกในหินโคลนสีน้ําตาลแดง กลายเป็น สีเทาขาว ของหมู่หินนาหว้า บริเวณเดียวกับรูป (ก) (ค) หินทรายแป้งสีน้ําตาลแดงของหมู่หินคําตากล้า บริเวณตอนเหนือของบ้านโพนสวรรค์ (ง) ผลาญหินทรายเนื้อปานกลาง สีน้ําตาลแกมแดง ของหมูห่ ินภูทอกน้อยบริเวณวัดด่านม้า
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
23
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 24 -
3.1.7.3 หมู่หินภูทอกน้อย (Phu Thok Noi member, KTpt3) หมู่หินนี้มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่เขาภูทอกน้อย อําเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย หินทรายสีน้ําตาลแดง เนื้อหยาบปานกลางถึงละเอียด เป็นชั้นหนาที่มีการวางชั้นเฉียงระดับขนาดใหญ่ แทรกสลับ กับหินทรายสีแดงแกมน้ําตาลถึงแดงแกมม่วง เนื้อละเอียดมากถึงหินทรายแป้ง มีเนื้อปูนผสม ที่ มีโครงสร้างแบบลอนคลื่น ในพื้นที่จังหวัดสกลนครพบหมู่หินภูทอกน้อยแผ่กระจายตัวบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ของอําเภอบ้านม่วง เช่นที่วัดด่านม้า (พิกัด 0336101E 1983985N) โผล่ปรากฏเป็นผลาญหินทราย เนื้อปานกลาง สีน้ําตาลแกมแดง (รูปที่ 3-9 (ง)) จากลักษณะทางกายภาพของหินและการเรียงลําดับชั้นหิน คาดว่าหมวดหินภูทอกเกิดจาก การสะสมตัวและตกตะกอนทั้งจากแม่น้ําในลักษณะของแม่น้ําโค้งตวัดที่พัดพาตะกอนมาสะสมตัวเป็นครั้งคราว สลับกับการพัดพาของลม ในสภาพภูมิอากาศสมัยโบราณที่ค่อนข้างกึ่งแห้งแล้งถึงแห้งแล้ง (กรมทรัพยากรธรณี, 2544) อายุของหมู่หินภูทอกจากการศึกษาของคณะสํารวจต่าง ๆ ให้อายุหมวดหินภูทอก ดังนี้ Chonglakmani et. al. (1979) ให้อายุเทอร์เชียรี นเรศ สัตยรักษ์ (2527) ให้อายุเทอร์เชียรีตอนล่างถึง ตอนกลาง นเรศ สัตยรักษ์ และคณะ (2530) ให้อายุสมัย Turonian-Santonian ของยุคครีเทเชียสตอนปลาย สุวภาคย์ อิ่มสมุทร (2540) ให้อายุจากผลการศึกษาสนามแม่เหล็กโบราณอยู่ในช่วงปลายยุคครีเทเชียสตอนต้น ส่วนในแผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทยมาตราส่วน 1:1,000,000 ของกรมทรัพยากรธรณี (2542) ให้อายุอยู่ ระหว่างยุคครีเทเชียสตอนปลายถึงเทอร์เชียรีตอนต้น และเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ (2546) ให้อายุอ่อนกว่า สมัย Late Cenomanian
3.1.8 ตะกอนร่วนยุคควอเทอร์นารี ตะกอนยุคควอเทอร์นารี ประกอบไปด้วย ตะกอนร่วนและตะกอนกึ่งแข็งตัว ที่ผุพังจาก หินต้นกําเนิดแล้วถูกพัดพาจากที่สูงหรือภูเขาทั้งที่อยู่รอบ ๆ ทําให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนบนหินแข็ง ตะกอนยุคควอเทอร์นารีในเขตจังหวัดสกลนคร พบกระจายตัวตามแนวลุ่มน้ํา แม่น้ํา และที่ราบทั่วไป ตะกอนเหล่านี้ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างและถมที่ดินได้ จากการสํารวจสามารถแบ่งตะกอนอายุควอเทอร์นารี ได้เป็น 3 หน่วยตะกอน ได้แก่ 3.1.8.1 ตะกอนที่ผุพังอยู่กับที่ (Qr) เป็นตะกอนที่ผุอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ไปเพียงเล็กน้อย ลักษณะของตะกอนจะแตกต่างกันไป ในแต่ละบริเวณ ขึ้นอยู่กับหินต้นกําเนิดที่จะให้ตะกอนเหล่านั้น มักพบเป็นดินเคลย์ปนทราย และทรายแป้ง มีชั้นแม่รังและเศษหินปน วางตัวบนหินเดิมอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่จังหวัดสกลนครจะพบตะกอนหินผุกระจาย อยู่ทั่วไปเป็นหย่อม ๆ ทั้งพื้นที่ ลักษณะเป็นศิลาแลงชั้นหนาวางอยู่บนหินผุ ปิดทับด้วยดินลูกรังและตะกอนทราย เช่น บริเวณด้านเหนือของบ้านดอนเสาธงจะมีสระน้ําขนาดใหญ่ ลักษณะของตะกอนด้านล่างจะเป็นตะกอน ทรายแป้ง สีน้ําตาลแดง หนาประมาณ 1 เมตร ถูกปิดทับอยู่ด้วยตะกอนดินเหนียว สีเทาอ่อน ชั้นบนสุด จะเป็นชั้นศิลาแลงที่มีความหนาประมาณ 1 เมตร (รูปที่ 3-10 (ก)) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับบริเวณบ่อลูกรัง บ้านหนองบัว (รูปที่3-10 (ข)) โดยลักษณะของตะกอนด้านล่างจะเป็นตะกอนดินเคลย์-ดินเคลย์ปนทรายแป้ง สีขาว หนาประมาณ 0.5 เมตร ถูกปิดทับอยู่ด้วยชั้นศิลาแลงที่มีความหนาประมาณ 1 เมตร และชั้นดินบนสุด หนาประมาณ 0.1 เมตร
24
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 25 -
3.1.8.2 ตะกอนตะพัก (Qt) ตะกอนเหล่านี้เกิดจากการพัดพาตะกอนบนภูเขามาสะสมตัวบนที่ราบทําให้กลายเป็น เนินตะกอนแผ่กว้างในที่ราบ ส่วนใหญ่พบกระจายตัวทางตอนเหนือของอําเภออากาศอํานวย ประกอบด้วย ทราย ทรายแป้ง กรวด และลูกรัง 3.1.8.3 ตะกอนน้ําพา (Qa) ตะกอนเหล่านี้เกิดจากการพัดพาตะกอนโดยทางน้ํา มาสะสมตัวในที่ราบหรือที่ลุ่ม มีแม่น้ํา สายสําคัญที่พัดพาคือ ลําน้ําพุง ห้วยนาแก ห้วยอังฮา ห้วยนายอ ห้วยเล็ก ห้วยคาด ห้วยทราย และห้วยแม่ขอด พัดพามาสะสมตัวในบริเวณที่เป็นที่ราบ เป็นพวกตะกอนทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว เช่น บริเวณบ่อดิน ทางเหนือของบ้านงิ้วด่อน (รูปที่ 3-10 (ง)) พื้นที่ราบนี้มักเป็นแหล่งสะสมตัวของชั้นทรายแม่น้ํา บางแห่ง สามารถหาแหล่งทรายก่อสร้างและดินเหนียวสําหรับเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาได้ เช่นที่ บริเวณลําน้ําพุงในเขตตําบลตองโขบ อําเภอโคกศรีสุพรรณ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตทรายที่สําคัญของจังหวัดสกลนคร (รูปที่ 3-10 (จ)) แหล่งดินเหนียวเชียงเครือ อําเภอเมืองสกลนคร (รูปที่ 3-10 (ฉ)) และแหล่งดินเหนียวที่บ้าน กุดนาขาม อําเภอเจริญศิลป์ เป็นต้น โดยทั่วไปสภาพดินเป็นดินร่วนที่มีแร่ธาตุที่จําเป็นต่อพืชอุดมสมบูรณ์ เหมาะต่อการเพาะปลูก แต่เนื่องจากเป็นที่ราบจึงมักประสบกับน้ําท่วมขังในช่วงฤดูฝนเป็นประจํา จากสภาพแวดล้อมของการสะสมตัวของตะกอนร่วนยุคควอเทอร์นารีในบริเวณแอ่งสกลนคร อนุมานได้จากหลักฐานของเทกไทต์ที่พบในหน่วยตะกอนตะพักลําน้ําระดับสูง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็น เทกไทต์ชนิดเดียวกันกับที่พบในประเทศออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งวัดหาอายุ ได้ประมาณ 600,000-700,000 ปีก่อนปัจจุบัน (O’Keefe, 1976 ใน Bunopas et.al., 1999) Wongsomsak (1992) ได้สรุปว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับอยู่ตัว (base level) อาจ เนื่องมาจากกระบวนการแปรสัณฐาน จึงทําให้แม่น้ําโขงมีการกัดเซาะทางลึก ในช่วงเวลาต่าง ๆ ของสมัย ไพลสโตซีน ตะพักลําน้ําทั้งสามระดับคือส่วนที่เหลือของที่ราบลุ่มแม่น้ําโขงในอดีต ที่เกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยน ระดับข้างต้น ในส่วนของตะกอนที่ราบหุบเขาและที่ราบน้ําท่วมถึงก็เป็นกระบวนการสะสมตัวโดยน้ําพาปัจจุบัน ของแม่น้ําสายหลักและแม่น้ําสาขาต่าง ๆ ของแอ่งสกลนคร
3.2 ธรณีวิทยาโครงสร้าง ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่สําคัญมีหลายชนิด ได้แก่ การวางตัวของชั้นหิน ชั้นหินทั้งหมดจะมีแนวการวางตัวในทิศทางเกือบเหนือ-ใต้ ตะวันออก เฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งหมดเอียงเทไปทางทิศตะวันออก เข้าหาแอ่งสกลนคร แนวแตกหลักจะอยู่ในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือตะวันตกเฉียงใต้ รอยชั้นเฉียงระดับในหมวดหินพระวิหารจะเอียงเทไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในขณะที่ ในหมวดหินภูพานจะเอียงเทไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
25
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 26 -
(ก)
(ข)
(ค)
(ง)
(จ)
(ง)
รูปที่ 3-10 ลักษณะตะกอนร่วนยุคควอเทอร์นารีที่พบในบริเวณต่าง ๆ ของจังหวัดสกลนคร (ก) ตะกอนที่ผุพังอยู่กับที่บริเวณบริเวณด้านเหนือของบ้านดอนเสาธง (ข) ตะกอนที่ผุพังอยู่กับที่บริเวณบ่อลูกรังบ้านหนองบัว เป็นศิลาแลงชั้นหนาวางอยู่บนหินผุ (ค) ศิลาแลงได้ถูกนํามาใช้ทําผนังอุโบสถวัดคําประมง ตําบลสว่าง อําเภอพรรณานิคม (ง) ดินลูกรังที่พบมากในหลายพืน้ ที่ของจังหวัด ถูกนํามาใช้ประโยชน์ในการทําถนนลูกรัง (จ) ตะกอนน้ําพาบริเวณริมลําน้ําพุงในเขตตําบลตองโขบ อําเภอโคกศรีสุพรรณ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตทรายก่อสร้างที่สําคัญของจังหวัดสกลนคร (ฉ) แหล่งดินเหนียวบริเวณที่ราบลุ่มของบ้านเชียงเครือ อําเภอเมืองสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสกลนคร
26
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 27 -
3.3 ธรณีประวัติ กลุ่มหินโคราชตั้งแต่หมวดหินน้ําพองถึงหมวดหินโคกกรวดแสดงถึงลักษณะการสะสมตัว โดยขบวนการของทางน้ําแบบทางน้ําประสานสายกับทางน้ําโค้งตวัด ส่วนสภาพภูมิอากาศก็สลับกันระหว่าง กึ่งแห้งแล้งกับกึ่งร้อนชื้น กลุ่มหินโคราชเริ่มเกิดการสะสมตัวในแอ่งที่มีการทรุดตัวต่อเนื่องของหมวดหินน้ําพอง โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของแอ่งที่มีการสะสมตัวในตอนล่างแบบตะกอนรูปพัด (alluvial fan) ต่อเนื่อง เป็นตะกอนจากระบบทางน้ํา (fluvial system) และตะกอนขนาดเล็กของที่ราบน้ําท่วม (flood plain) หมวดหินภูกระดึงมีการสะสมตัวเป็นลักษณะวัฏจักรของทางน้ําโค้งตวัด ชนิดของตะกอนไม่ค่อยหลากหลาย เมื่อเทียบกับหมวดหินที่เหลือซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสะสมตัวแบบที่ราบน้ําท่วม แสดงถึงหนองน้ําในสภาพอากาศ ที่ค่อนข้างแห้งแล้งและค่อนข้างชื้นเป็นเวลานาน ต่อมามีปริมาณน้ําบนบกเพิ่มมากขึ้นสภาพอากาศมีความชื้น มากขึ้น เกิดการสะสมตัวแบบทางน้ําประสานสายของหมวดหินพระวิหารต่อเนื่องจากหมวดหินภูกระดึง มี ลักษณะเปลี่ยนแปลงทางด้านข้าง (lateral change) สภาพอากาศเปลี่ยนจากร้อนชื้นเป็นกึ่งแห้ง หมวดหิน เสาขัวมีการสะสมตัวแบบทางน้ําโค้งตวัดเช่นเดียวกับหมวดหินภูกระดึงแต่มีสภาพอากาศแห้งแล้งมากกว่า สังเกตจากตะกอนส่วนใหญ่เป็นสีแดงรวมถึงปริมาณของชัน้ เม็ดปูนและชั้นเม็ดซิลิกา หลังจากนั้นสภาพอากาศ มีการเปลี่ยนแปลงจากกึ่งแห้งแล้งเป็นกึ่งร้อนชื้นกลับกันอีกครั้ง หมวดหินภูพานตกตะกอนในทางน้ําประสานสาย โดยกระแสน้ํามีความรุนแรงมากกว่าในหมวดหินพระวิหาร ตะกอนเป็นพวกหินทรายหยาบ หินทรายกรวดมน และหินกรวดมน ขนาดของตะกอนมีหลากหลายมากกว่าและตะกอนมีขนาดใหญ่กว่า หลังจากนั้นสภาพแวดล้อม กลับมาเงียบสงบอีกครั้ง และเป็นการตกตะกอนของหมวดหินโคกกรวดในระบบทางน้ําโค้งตวัด ในสภาพ อากาศค่อนข้างกึ่งแห้งแล้งและต่อเนื่องกันไปจนถึงการตกตะกอนของหมวดหินมหาสารคามที่อากาศมีสภาพ แห้งแล้งมากที่สุด โดยการพบแร่ที่เกิดจากการระเหย evaporitic minerals ในตอนกลางและตอนบน ๆ ของหมวดหิน รอยผิด วิสัย ที่พบอยู่ร ะหว่า งหมวดหิน โคกกรวดกับ หมวดหิน ภูท อกแสดงถึงการหยุด การสะสมตัวของตะกอน ก่อนที่จะเริ่มการสะสมตัวใหม่อีกครั้งของหมวดหินมหาสารคามในสภาพที่มีน้ําทะเล ท่วมเข้ามาในแอ่งและมีสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งมากทําให้พบการสะสมตัวของแร่ชนิดต่าง ๆ ที่เกิดจาก ขบวนการระเหยของน้ําเช่นเกลือหินและเกลือโพแทช โดยมีวัฏจักรการเคลื่อนไหวของน้ําทะเลที่ท่วมเข้ามา ในแอ่งถึง 3 รอบ ทําให้พบการสะสมตัวของชั้นเกลือหินถึง 3 ชั้น หลังจากการสะสมตัวของหมวดหินมหาสารคาม สภาพแอ่งสะสมตะกอนจะเปลี่ยนแปลง อีกครั้งเมื่อน้ําทะเลถอยออกไปจากแอ่ง ตะกอนในแอ่งจะสะสมตัวโดยขบวนการของทางน้ําสลับการสะสมตัว โดยขบวนการของลมในสภาพภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้งทําให้เกิดการสะสมตัวของหินทราย หินทรายแป้งและ หินโคลนของหมวดหินภูทอก
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
27
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 28 -
บทที่ 4 ธรณีพิบัตภิ ัย ธรณีพิบัติภัย (Geohazard) เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยา อาทิ แผ่นดินไหว ดินถล่ม หลุมยุบ และสึนามิ เป็นต้น ในหลายเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยเกิดกระบวนการต่อเนื่อง แบบลูกโซ่ จากภัยหนึ่งไปสู่อีกภัยหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอันมาก เช่น แผ่นดินไหว ใต้ทะเลอาจนําไปสู่การเกิดสึนามิ หรือเหตุการณ์สึนามิอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งตามมา ฉะนั้น หากเข้าใจและตระหนักถึงภัยดังกล่าวแล้วก็จะเป็นประโยชน์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการลดผลกระทบ และความรุนแรงจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ในบทนี้จะกล่าวถึงข้อมูลธรณีพิบัติภัยที่กรมทรัพยากรธรณีได้ทําการศึกษาไว้ และอาจจะ เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย ดินถล่ม แผ่นดินไหว หลุมยุบ และตลิ่งทรุดตัว มีรายละเอียดดังนี้
4.1.ดินถล่ม ดินถล่มเป็นธรณีพิบัติภัยที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของมวลดินและหิน ลงมาตามลาดเขา ด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก ดินถล่มที่พบในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ ดินถล่ม ดินไหล รอยดินแยก และหินร่วงหรือหินถล่ม ปัจจัยที่ทําให้เกิดดินถล่มมี 4 ประการ คือ 1. ลักษณะธรณีวิทยาเป็นบริเวณที่มีหินผุให้ชั้นดินหนา โครงสร้างทางธรณีวิทยามีรอยเลื่อน รอยแตก ตัดผ่านชั้นหิน เป็นต้น 2. สภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ภูเขาสูงและมีความลาดชัน 3. ลักษณะสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยไม่ถูกหลักวิชาการ ได้แก่ สร้างบ้านและทําสวนทําไร่รุกล้ําพื้นที่ลําน้ําและภูเขา การตัดถนนผ่านภูเขาสูง หรือสร้างสิ่งก่อสร้าง ขวางทางระบายน้ํา เช่น ถนน สะพาน และท่อ เป็นต้น 4. ปริมาณน้ําฝนที่มากจนชั้นดินอุ้มน้ําไม่ไหว เกณฑ์ทั่วไปคือน้ําฝนมีปริมาณ 100 มิลลิเมตร ในรอบ 24 ชั่วโมง หรือมีปริมาณฝนสะสมที่ 300 มิลลิเมตร จากการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณี ประเทศไทยมีพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มและเสี่ยงภัย ดินถล่มทั้งสิ้น 51 จังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และต่อเนื่องลงมาถึงภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ถึง พ.ศ.2554 มีการเกิดดินถล่มขนาดใหญ่มากกว่า 10 จังหวัด และสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนในพื้นที่นั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ดินถล่มที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และสุโขทัย เมื่อเดือน พฤษภาคม 2549 (รูปที่ 4-1) มีผู้เสียชีวิต 83 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 674 หลัง ถนน 968 สาย สะพาน 134 แห่ง ทํานบ/ฝาย 197 แห่ง คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 300 ล้านบาท จังหวัดสกลนครไม่เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ราบสูง เพียงแต่ เคยเกิ ดเหตุการณ์รอยดินแยกขึ้น 2 ครั้ ง ในพื้นที่อําเภอวาริชภูมิ (รูปที่ 4-2) และอําเภอพรรณานิคม (รูปที่ 4-3) สร้างความเสียหายเล็กน้อยเท่านั้น โดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีได้เข้าทําการตรวจสอบ พื้นที่แล้ว
28
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 29 -
(ก)
(ข)
รูปที่ 4-1 ตัวอย่างเหตุการณ์ดินถล่มที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และสุโขทัย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549
รูปที่ 4-2 เหตุการณ์ดินแยกที่บ้านดงเชียงเครือ หมู่ 9 ตําบลปลาโหล อําเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
29
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 30 -
รูปที่ 4-3 เหตุการณ์รอยแยกที่บ้านโนนทรายคํา หมู่ 7 ตําบลสว่าง อําเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
4.2 แผ่นดินไหว แผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจาก การปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลัน ในการปรับสมดุล ของเปลือกโลกให้คงที่ มีสาเหตุมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ สาเหตุแรกเกิดจากการกระทําของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ําในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทําเหมืองแร่ เป็นต้น ส่วนสาเหตุที่สอง เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ ความร้ายแรงอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวสามารถบอกได้ในรูปของความรุนแรง (Intensity) และขนาด (Magnitude) มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวใช้หน่วยเป็น “มาตราริกเตอร์” (Richter scale) เป็น ตัวเลขที่ทําให้สามารถเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวต่าง ๆ กันได้ กรมทรัพยากรธรณีได้สํารวจรอยเลื่อนมีพลังพบว่า ประเทศไทยมีแนวรอยเลื่อนใหญ่ ๆ อยู่หลายแนว จํานวนทั้งสิ้น 13 กลุ่มรอยเลื่อน ครอบคลุม 22 จังหวัดของประเทศไทย (รูปที่ 4-4) ดังนี้ รอยเลื่อนแม่จัน (รวมรอยเลื่อนแม่อิง) รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน รอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนเถิน
30
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 31 -
รูปที่ 4-4 แผนที่แสดงแนวรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย (กรมทรัพยากรธรณี, 2549)
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
31
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 32 -
(รวมรอยเลื่อนแม่ยม) รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนปัว รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์ สามองค์ รอยเลื่อนระนอง รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และรอยเลื่อนท่าแขก นอกจากนี้กรมทรัพยากรธรณีได้ จัดทําแผนที่ที่กําหนดบริเวณที่มีความเสี่ยงภัยต่อแผ่นดินไหว ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548 (รูปที่ 4-5) ซึ่งวิเคราะห์จากแนวรอยเลื่อนมีพลัง ลักษณะธรณีวิทยา ความถี่และขนาดแผ่นดินไหวที่เกิดในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารนําไปใช้เป็นข้อพิจารณาใน การออกแบบก่อสร้างอาคารที่ต้องคํานึงถึงค่าความปลอดภัย สํ าหรั บจั งหวั ดสกลนครไม่ พบว่ ามี กลุ่ มรอยเลื่ อนมี พลั งพาดผ่ าน จั ดอยู่ ในเขตเสี่ ยงภั ย แผ่นดินไหวระดับ 0
4.3 หลุมยุบ โดยทั่วไปหลุมยุบ (Sinkhole) จะพบเป็นหลุมหรือแอ่งบนพื้นดิน ซึ่งมีลักษณะรูปร่างคล้ายกรวย หรือลึกชันเป็นเหวลึก หรือคล้ายปล่อง ปากหลุมเกือบกลม สาเหตุของหลุมยุบเกิดจากมีโพรงใต้ดินอยู่ด้านล่าง ต่อมาเพดานโพรงมีการพังทลายยุบตัวลง เกิดเป็นหลุมยุบขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปตําแหน่งหลุมยุบมักพัฒนาในบริเวณ ที่มีรอยแตก และเกิดขึ้นง่ายในบริเวณที่มีรอยแตกตัดกัน สาเหตุของการยุบตัวอาจเนื่องมาจากการสูบน้ําใต้ดิน หรือได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวหรือยานพาหนะที่สัญจรไปมาในบริเวณใกล้เคียง โพรงใต้ดินเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน คือ (1) มีน้ําฝนที่มีความเป็นกรดอย่างอ่อนละลายเอาหินจําพวกคาร์บอเนต ได้แก่ หินปูน หิน โดโลไมต์ ที่รองรับอยู่ด้านล่างออกไป จากนั้นจึงพัฒนาเกิดเป็นโพรงหรือถ้ําใต้ดิน (รูปที่ 4-6) (2) มีเกลือหินรองรับอยู่ด้านล่าง เมื่อมีการสูบน้ําเค็มเพื่อผลิตเกลือสินเธาว์จึงเกิดการละลาย ของเกลือหินทําให้เกิดโพรงเกลือขึ้น (รูปที่ 4-7) (3) น้ําใต้ดินพัดพาเอาตะกอนทรายที่รองรับด้านล่างออกไป เนื่องจากปริมาณและแรง พัดพาของน้ําใต้ดินเพิ่มขึ้น (รูปที่ 4-8) หลุมยุบเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งตามธรรมชาติและโดยการกระทําของ มนุษย์ หลุมยุบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอาจใช้เวลาหลายล้านปีหรือในเวลาอันรวดเร็ว เช่น กรณีที่เกิด แผ่นดินไหวขนาด 9.1 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ก่อให้เกิดหลุมยุบในหลายพื้นที่ทางภาคใต้ ของประเทศไทย ส่วนหลุมยุบที่เกิดขึ้นโดยการกระทําของมนุษย์มักเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว สาเหตุดังกล่าว ได้แก่ การสูบน้ําใต้ดิน และการสูบน้ําเค็มเพื่อผลิตเกลือสินเธาว์ เป็นต้น พื้นที่จังหวัดสกลนครมีพื้นที่เกิด หลุมยุบอันเนื่องจากโพรงเกลือ โดยพบมากที่บ้านโนนแสบง ตําบลหนองกวั่ง อําเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ดังแสดงในรูปที่ 4-9
4.4 ตลิ่งทรุดตัว ในประเทศไทยมีแม่น้ําลําคลองเป็นจํานวนมาก ซึ่งมีทั้งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่ เกิดจากการขุดขึ้นเพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคม เพื่อการเกษตร สาเหตุของตลิ่งทรุดตัว มี 2 สาเหตุ ดังนี้ (1) การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ําในแม่น้ํา ทําให้เกิดความต่างระดับของน้ําใต้ดินบนบก กับน้ําในแม่น้ํา เช่น ระดับน้ําในแม่น้ําลดลงเนื่องจากเป็นฤดูแล้ง การดูดทรายในแม่น้ํา การสร้างฝายหรือเขื่อน ตามแม่น้ํา การขุดลอกตะกอนในแม่น้ํา เป็นต้น (รูปที่ 4-10 (ก) และ (ข))
32
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 33 -
รูปที่ 4-5 แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย (กรมทรัพยากรธรณี, 2548)
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
33
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 34 -
รูปที่ 4-6 หลุมยุบที่เกิดจากโพรงหินปูน
รูปที่ 4-7 หลุมยุบที่เกิดจากโพรงเกลือ
34
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 35 -
รูปที่ 4-8 หลุมยุบที่เกิดจากโพรงทรายใต้ดิน
(ภาพเมื่อเดือนพฤษภาคม 2547)
รูปที่ 4-9 หลุมยุบบริเวณบ้านโนนแสบง ตําบลหนองกวั่ง อําเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ที่มีสาเหตุจากการสูบน้ําเกลือใต้ดินขึ้นมาเพือ่ ผลิตเกลือสินเธาว์ในปริมาณมากเกินไป
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
35
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 36 -
(2) ความแรงของกระแสน้ํา เช่น การเกิดสันดอนทรายกลางแม่น้ําทําให้กระแสน้ําเปลี่ยน ทิศทางพุ่งเข้าสู่สองฝั่งแม่น้ํา บริเวณทางน้ําโค้งตวัดทําให้เกิดการพังทลายด้วยกระแสน้ําในช่วงฤดูน้ําหลาก ตามธรรมชาติ (รูปที่ 4-10 (ค) และ (ง))
(ก)
(ข)
(ค)
(ง)
รูปที่ 4-10 เหตุการณ์ตลิ่งทรุดตัวและสาเหตุของการทรุดตัว (ก) และ (ข) กําแพงตลิ่งของวัดริมคลองสรรพสามิตพังลงมา โดยมีสาเหตุจากการปิดประตู ระบายน้ํา ทําให้ระดับน้ําใต้ดินสูงกว่าระดับน้ําในคลอง จึงเกิดแรงดันให้ตลิ่งพังลงมา (ค) และ (ง) ตลิ่งทรุดตัวเนื่องจากตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณทางน้ําโค้งตวัด ซึ่งแก้ไขโดย การสร้างรอดักตะกอน บริเวณโค้งนอกของทางน้ํา
36
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 37 -
บทที่ 5 แหล่งธรณีวิทยา กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นในอดีต ทําให้มีลักษณะพื้นที่ที่หลากหลาย และมีธรณีสัณฐานที่สวยงามแปลกตา ซึ่งมีคุณค่าต่อการศึกษาวิจัยทางธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นบางพื้นที่ยังมีทัศนียภาพสวยงามมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการ สมควรได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของท้องถิ่น แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ในพื้นที่จังหวัดสกลนครที่ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกทาง ธรรมชาติของท้องถิ่นอันควรอนุรักษ์ ในปีแห่งการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2532 มีจํานวน 4 แหล่ง ได้แก่ น้ําตกคําหอม น้ําตกตาดโตน ถ้ําพระทอง และ หนองหาน (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2543) ซึ่งบางแหล่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นและ มีชื่อเสียงมาก
5.1 แหล่งธรณีวิทยาทีเ่ ป็นเอกลักษณ์และโดดเด่น จังหวัดสกลนครมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงของเขาภูพานทางด้านใต้ของจังหวัด ทําให้มีแหล่งท่องเทีย่ วทางธรรมชาติหลายแห่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 กรมทรัพยากรธรณี ได้ดําเนินการ สํารวจแหล่งธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ภายใต้กิจกรรมจําแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณีรายจังหวัด จากการประเมินสภาพแหล่งธรรมชาติเหล่านี้ พบว่าจัดเป็น “แหล่งธรณีวิทยา4” ซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิชาการด้านธรณีวิทยา จํานวน 9 แหล่ง (รูปที่ 5-1) จัดเป็นแหล่งธรณีสัณฐาน5 ทั้งหมด แบ่งย่อยเป็นแหล่งธรณีสัณฐานประเภทต่าง ๆ ดังแสดงในตารางที่ 5-1 ตารางที่ 5-1 แหล่งธรณีวิทยาในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 4
5
ชื่อแหล่ง น้ําตกคําหอม น้ําตกปรีชาสุขสันต์ น้ําตกห้วยใหญ่ น้ําตกแม่อูน น้ําตกเก้าชั้น หนองหาน สะพานผีผ่าน ดานหินลานมันปลา ผาผักหวาน
พื้นที่ อําเภอ เมืองสกลนคร เมืองสกลนคร ภูพาน พรรณานิคม ส่องดาว เมืองสกลนคร ภูพาน ส่องดาว ส่องดาว
จังหวัด สกลนคร สกลนคร สกลนคร สกลนคร สกลนคร สกลนคร สกลนคร สกลนคร สกลนคร
ประเภทของแหล่งธรณีวิทยา แหล่งธรณีสัณฐานประเภทน้ําตก แหล่งธรณีสัณฐานประเภทน้ําตก แหล่งธรณีสัณฐานประเภทน้ําตก แหล่งธรณีสัณฐานประเภทน้ําตก แหล่งธรณีสัณฐานประเภทน้ําตก แหล่งธรณีสัณฐานประเภทหนอง บึง แหล่งธรณีสัณฐานประเภทภูมิประเทศโดดเด่น แหล่งธรณีสัณฐานประเภทภูมิประเทศโดดเด่น แหล่งธรณีสัณฐานประเภทภูมิประเทศแปลกตา
แหล่งธรณีวิทยา (Geosite) หมายถึง แหล่งธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิชาการด้านธรณีวิทยา ซึ่งแบ่งได้เป็น 7 ประเภท ประกอบด้วย 1) แหล่งลําดับชั้นหินแบบฉบับ 2) แหล่งหินแบบฉบับ 3) แหล่งแร่แบบฉบับ 4) แหล่งธรณีโครงสร้าง 5) แหล่งพุน้ําร้อน 6) แหล่งธรณีสัณฐาน และ 7) แหล่งซากดึกดําบรรพ์ ธรณีสัณฐาน (Geomorphology) หมายถึง ธรณีวิทยาที่ว่าด้วยพื้นผิวของโลก ซึ่งประมวลเอาทั้งรูปร่างธรรมชาติ กระบวนการเกิด การปรับตัวของพื้นผิวโลก ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงที่ประสบในปัจจุบัน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2544)
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
37
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 38 -
รูปที่ 5-1 แผนที่แหล่งธรณีวทิ ยาของจังหวัดสกลนคร
38
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 39 -
แหล่งธรณีวิทยาที่จัดได้ว่ามีศักยภาพในการพัฒนาเป็นท่องเที่ยวและสนับสนุนการเรียนรู้ ทางธรณีวิทยาของประชาชนในท้องที่ของจังหวัดสกลนคร ได้แก่ น้ําตกคําหอม น้ําตกปรีชาสุขสันต์ น้ําตก ห้วยใหญ่ และหนองหาน มีลักษณะดังนี้
5.1.1 แหล่งธรณีสัณฐานประเภทน้ําตก 1) น้ําตกคําหอม ที่ตั้ง น้ําตกคําหอมอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน ตําบลห้วยยาง อําเภอเมืองสกลนคร บริเวณริมทางหลวงหมายเลข 213 ใกล้พระตําหนักภูพานราชนิเวศน์ ห่างจากตัวจังหวัดสกลนครประมาณ 15 กิโลเมตร บริเวณพิกัดที่ 0395602 ตะวันออก และ 1893497 เหนือ ในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระวาง 5843 III น้ําตกคําหอมเป็นน้ําตกที่ค่อย ๆ ไหลลดหลั่นลงมาเป็นธารน้ํา มีขนาดไม่ใหญ่มาก มีต้นน้ํา มาจากเขาถ้ําดงลิงที่อยู่บนภูเขาเขียวเทือกเขาภูพาน แล้วไหลลงสู่อ่างเก็บน้ําห้วยเดียก น้ําตกจะมีความสวยงาม และมีน้ํามากในฤดูฝน (รูปที่ 5-2 (ก)) แต่หากเป็นฤดูร้อนจะไม่มีน้ําไหลเลย จะเห็นกุมภลักษณ์5ปรากฏตาม ทางน้ํา (รูปที่ 5-2 (ข)) น้ําตกคําหอมถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร เป็นที่รู้จักกันโดยแพร่หลายของชาวสกลนครและจังหวัดใกล้เคียง บริเวณโดยรอบน้ําตกมีทัศนียภาพที่ สวยงามร่มรื่น มีโขดหินมากมาย เหมาะแก่การนั่งพักผ่อนเป็นอย่างมาก จึงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ที่พาครอบครัวมาพักผ่อนในช่วงวันหยุด อีกทั้งระยะทางห่างจากตัวเมืองไม่มากนัก ลักษณะธรณีวิทยา พื้นที่น้ําตกคําหอมเป็นพลาญของหินทรายปนกรวด หินทรายเนื้อหยาบ ถึงหยาบมาก สีเทาปนขาว มีเม็ดตะกอนขนาดปานกลางถึงหยาบ มีเม็ดกรวดปนในเนื้อหิน ขนาดชั้นหนา และแสดงชั้นเฉียงระดับขนาดเล็ก โดยมีส่วนประกอบเป็นพวกควอตซ์สีขาว หินเชิร์ต สีเทา เทาดํา น้ําตาลแดง และเทาขาว เม็ดตะกอนมีการคัดขนาดไม่ดี จัดอยู่ในหมวดหินพระวิหารของหินกลุ่มหินโคราช มีอายุครีเทเชียส ตอนต้น (ประมาณ 148 ล้านปี) แนวทางการบริหารจัดการ น้ําตกคําหอมมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวใน ระดับจังหวัด พื้นที่โดยรอบบริเวณน้ําตกคําหอมมีการปรับสภาพภูมิทัศน์อย่างดี และการเดินทางเข้าถึง พื้นที่สะดวก ไม่ไกลจากตัวอําเภอเมืองสกลนครมากนัก แนวทางการพัฒนาคือ การรักษาความสะอาดของ แหล่งท่องเที่ยว และจัดทําป้ายให้เสนอความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น พันธุ์ไม้ และความรู้ทางธรณีวิทยา เช่น กระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกจนทําให้เกิดเป็นน้ําตกดังที่เห็นในปัจจุบัน เป็นต้น
5
กุมภลักษณ์ (pothole) หมายถึง บ่อกลม ๆ รูปหม้อ มักมีกรวดและทรายอยู่ที่ก้นบ่อ เกิดขึ้นเพราะน้ําในธารน้ําเอากรวด ทรายมาหมุนวนอยู่ในอ่างเล็ก ๆ บนหน้าหิน กรวดทรายจะเป็นตัวครูดถู ขัดสี ทําให้แอ่งลึกลงและกว้างมากขึ้น นานปี เข้ากรวดเก่าหมดไปกรวดใหม่ก็เข้าแทนที่และหมุนกลิ้งอยู่ตอนล่างของแอ่ง ทําให้แอ่งเดิมโตขึ้นและลึกเว้าจนเป็นรูปหม้อ ดังที่เห็นในปัจจุบนั (ราชบัณฑิตยสถาน, 2544)
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
39
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 40 -
(ก)
(ข)
(ค)
(ง)
กุมภลักษณ์
รูปที่ 5-2 ลักษณะพื้นที่ของน้ําตกคําหอม ในเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน (ก) น้ําตกมีความสวยงามและมีน้ํามากในช่วงฤดูฝน จะมีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนจํานวนมาก (ข) หินทรายและหินทรายปนกรวดของหมวดหินพระวิหาร แสดงชั้นเฉียงระดับ (ค) สภาพของน้ําตกในช่วงหน้าแล้ง ที่ไม่มนี ้ําไหลเลย จะพบกุมภลักษณ์ได้ตามทางน้ํา (ง) บริเวณทางเดินมีป้ายบอกทางเดินเพื่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน
2) น้ําตกปรีชาสุขสันต์ ที่ตั้ง อยู่ในเทือกเขาภูพาน เขตอําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระวางอําเภอพรรณานิคม 5743 I (รูปที่ 5-3) ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 24 กิโลเมตร ตามเส้นทางสาย สกลนคร - อุดรธานี ลักษณะน้ําตกเป็นลานหินลาดเขา คล้ายสไลเดอร์ มีความยาว 12 เมตร เป็นช่วงยาว ลดหลั่นเป็นชั้น อยู่สูงกว่าระดับทะเลปานกลางประมาณ 150-160 เมตร สามารถลงเล่นน้ําได้อย่างปลอดภัย น้ําจะมีมากในฤดูฝน การคมนาคมสะดวก สามารถเข้าถึงตัวน้ําตกได้ตลอดปี ลักษณะธรณีวิทยา พื้นที่น้ําตกปรีชาสุขสันต์เป็นหินทรายเนื้อปานกลาง สีน้ําตาล มีเม็ด ตะกอนขนาดปานกลาง ขนาดชั้นปานกลางถึงชั้นหนา แสดงชั้นเฉียงระดับเล็กน้อย โดยมีส่วนประกอบเป็น พวกควอตซ์ เม็ดตะกอนมีการคัดขนาดดี จัดอยู่ในหมวดหินโคกกรวด ของหินกลุ่มหินโคราช มีอายุครีเทเชียส ตอนต้น (ประมาณ 148 ล้านปี) แนวทางการบริหารจัดการ น้ําตกประชาสุขสันติ์มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ระดับท้องถิ่น แนวทางการพัฒนาคือ การปรับสภาพภูมิทัศน์ การปรับปรุงเส้นทางคมนาคมและจัดทําป้าย บอกเส้นทางเข้าพื้นที่ให้ชัดเจน การรักษาความสะอาดของแหล่งท่องเที่ยว และจัดทําป้ายให้เสนอความรู้
40
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 41 -
(ก)
(ข)
รูปที่ 5-3 ลักษณะพื้นที่ของน้ําตกปรีชาสุขสันต์ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร (ก) และ (ข) บริเวณน้ําตกเป็นลานหินลาดเขาของหินทรายเนือ้ ปานกลาง สีนา้ํ ตาล มีเม็ดตะกอนขนาดปานกลาง ขนาดชั้นปานกลางถึงชั้นหนา
3) น้ําตกห้วยใหญ่ ที่ตั้ง น้ําตกห้วยใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติภูพาน อยู่ห่างจากที่ทําการอุทยานฯ ประมาณ 12 กิโลเมตร บริเวณพิกัดที่ 0392694 ตะวันออก และ 1882198 เหนือ ในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระวางอําเภอกุดบาก 5743 II น้ําตกห้วยใหญ่เป็นน้ําตกขนาดเล็ก อยู่สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง ประมาณ 280-290 เมตร มีลักษณะเป็นลําน้ําที่ยุบตัวลงลดหลั่นเป็นชั้น ๆ (รูปที่ 5-4 (ก)) ลักษณะธรณีวิทยา พื้นที่น้ําตกห้วยใหญ่เป็นพลาญหินของทรายเนื้อหยาบถึงหยาบมาก สีเทาปนขาว (รูปที่ 5-4 (ข)) มีเม็ดกรวดมนปนในเนื้อหิน ขนาดชั้นหนา และแสดงชั้นเฉียงระดับขนาดเล็ก โดยมีส่วนประกอบเป็นพวกควอตซ์สีขาว หินภูเขาไฟ หินเชิร์ต สีเทา เทาดํา น้ําตาลแดง เทาขาว และเขียว เม็ดตะกอนมีการคัดขนาดดี จัดอยู่ในหมวดหินภูพานของหินกลุ่มหินโคราช มีอายุครีเทเชียสตอนต้น (ประมาณ 148 ล้านปี) (ก)
(ข)
รูปที่ 5-4 ลักษณะพื้นที่ของน้ําตกห้วยใหญ่ ในเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน (ก) เป็นน้ําตกที่มีขนาดเล็ก ที่ลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ (ข) ลักษณะของเนือ้ หินทรายปนกรวดของหมวดหินภูพาน
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
41
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 42 -
แนวทางการบริหารจัดการ น้ําตกห้วยใหญ่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ระดับท้องถิ่น แนวทางการพัฒนาคือ การปรับสภาพภูมิทัศน์ การปรับปรุงเส้นทางคมนาคมและจัดทําป้าย บอกเส้นทางเข้าพื้นที่ให้ชัดเจน การรักษาความสะอาดของแหล่งท่องเที่ยว และจัดทําป้ายให้เสนอความรู้ ด้านต่าง ๆ เช่น พันธุ์ไม้ และความรู้ทางธรณีวิทยา เป็นต้น
5.1.2 แหล่งธรณีสัณฐานประเภทหนอง บึง หนองหาน (หรือ หนองหาร) ที่ตั้ง หนองหานตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของอําเภอเมืองสกลนคร เป็นแหล่งน้ําธรรมชาติ ที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 123 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตการปกครอง เทศบาลเมืองสกลนครกับอีก 10 ตําบล ของอําเภอเมืองสกลนครและอําเภอโพนนาแก้ว ได้แก่ ตําบลธาตุเชิงชุม ตําบลธาตุนาเวง ตําบลเชียงเครือ ตําบลท่าแร่ ตําบลนาแก้ว ตําบลบ้านแป้น ตําบลนาตงวัฒนา ตําบลม่วงลาย ตําบลเหล่าปอแดง และตําบลงิ้วด่อน พื้นที่เหล่านี้ตั้งอยู่รายรอบหนองหานทั้งสิ้น หนองหานเป็นแหล่งน้ําธรรมชาติขนาดใหญ่มีน้ําเต็มอยู่ตลอดปี เนื่องจากเป็นแหล่งรับน้ํา จากลําน้ําหลายสาย (รูปที่ 5-5 (ก)) พื้นที่โดยรอบหนองหานมีการจัดภูมิทัศน์ไว้อย่างสวยงาม เป็นแหล่งพักผ่อน หย่อนใจและออกกําลังกายของคนสกลนคร (รูปที่ 5-5 (ข)) ในบริเวณหนองหานมีเกาะต่าง ๆ กว่า 20 เกาะ เช่น เกาะดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด บนเกาะมีวัดร้างและพระพุทธรูปเก่าแก่ นอกจากนั้นตามเกาะต่างๆ เหล่านี้จะมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่มากมาย จึงเป็นที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิด บางเกาะได้สร้างศาลาพักร้อน เช่น เกาะแก้ว เกาะดอนสะคาม และเกาะดอนสะทุง ฯลฯ หนองหานเป็นต้นน้ําของลําน้ําก่ําซึ่งไหลลงสู่แม่น้ําโขง ที่อําเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พื้นที่รอบ ๆ หนองหานมีความอุดมสมบูรณ์มากจึงเป็นแหล่งเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และประมง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในชุมชนรอบหนองหาน นอกจากนี้ หนองหานยังมีตํานาน นิทานพื้นบ้านเล่าสืบกันมาจนทุกวันนี้ คือ ตํานานฟานด่อนหรือเก้งเผือก และนิทานเรื่องกะฮอกด่อน หรือ กระรอกเผือก (ท้าวภังคี) (ก)
(ข)
รูปที่ 5-5 ลักษณะพื้นที่ของหนองหานและทัศนียภาพโดยรอบ (ก) หนองหานเป็นแหล่งน้ําขนาดใหญ่ มีน้ําเต็มตลอดปีและมีความอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านบริเวณรอบหนองหานมีการทําประมงและเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก (ภาพเล็ก) (ข) พื้นที่โดยรอบหนองหานมีการจัดภูมิทศั น์อย่างสวยงามเป็นที่พักผ่อนและออกกําลังกาย
42
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 43 -
แนวทางการบริหารจัดการ หนองหานมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในระดับ จังหวัด พื้นที่โดยรอบบริเวณหนองหานมีการปรับสภาพภูมิทัศน์อย่างดี และการเดินทางเข้าถึงพื้นที่สะดวก ไม่ไกลจากตัวอําเภอเมืองสกลนครมากนัก แนวทางการพัฒนาคือ การรักษาความสะอาดบริเวณโดยรอบ หนองหาน และจัดให้มีนิทรรศการให้ความรู้ด้านต่าง ๆ หมุนเวียนกัน เช่น แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสกลนคร ของดีสกลนคร ความรู้ทางธรณีวิทยา และตํานานหนองหาน เป็นต้น เพื่อสร้างจุดสนใจให้กับนักท่องเที่ยว ได้เข้ามาเยี่ยมชมมากขึ้น ส่วนแหล่งธรณีวิทยาอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร (รูปที่ 5-6) เป็นแหล่งที่มีศักยภาพใน การพั ฒ นาเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ท างธรณี วิ ท ยาไม่ สู งนั ก ยั ง ต้องมี ก ารพั ฒ นาแหล่ ง และสาธารณู ป โภคให้ มี ศักยภาพขึ้น เช่น การคมนาคมเข้าพื้นที่ ป้ายบอกเส้นทาง การปรับภูมิทัศน์โดยรอบ เป็นต้น
(ก)
(ข)
(ค)
(ง)
รูปที่ 5-6 แหล่งธรณีวิทยาอื่น ๆ ที่พบในพืน้ ที่จังหวัดสกลนคร (ก) สะพานหินธรรมชาติบริเวณดานหินลานมันปลา ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก (ข) ลานหินบริเวณดานหินลานมันปลา ซึ่งถูกกัดกร่อนตามธรรมชาติโดยน้ําฝนและลม ทําให้เกิดเป็นรูปลักษณ์แปลกตามากมาย (ค) สะพานผีผ่าน ในเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน (ง) เสาหินบริเวณผาผักหวาน ซึง่ มีภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์อยู่บริเวณเสาหิน (ภาพเล็ก) ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
43
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 44 -
5.2 แนวทางและมาตรการในการบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยา ในปี พ.ศ. 2553 กรมทรัพยากรธรณีได้ทําการศึกษาเพื่อการกําหนดนโยบายและแนวทาง การบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยา โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการพัฒนาใช้ประโยชน์แหล่งธรณีวิทยาอย่าง เหมาะสมยั่งยืน ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษานํามาซึ่งข้อเสนอแนะเพื่อ การบริหารจัดการใน 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ ระเบียบและข้อบังคับ การบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยาควรดําเนินไปภายใต้กฎระเบียบ หรือข้อบังคับ และการมีคู่มือแนวทางการบริหารจัดการสําหรับแหล่งธรณีวิทยาที่มีศักยภาพในการพัฒนาและ แหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยาที่ต้องป้องกันการถูกทําลาย ซึ่งจัดทําขึ้นร่วมกันระหว่างกรมทรัพยากรธรณี หน่วยงาน เจ้าของพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน การกําหนดขอบเขต การกําหนดขอบเขตแหล่งธรณีวิทยาให้มีความชัดเจนว่าแหล่งดังกล่าว ควรมีพื้นที่มากน้อยเพียงใด เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ นอกจากนี้แหล่งธรณีวิทยาที่มีการพัฒนาใช้ประโยชน์ อยู่แล้ว หรือมีศักยภาพในการพัฒนาในอนาคตยังควรมีการจัดแบ่งเขตหรือ zoning ออกเป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ และพืน้ ที่เพื่อการใช้ประโยชน์ เช่น พื้นที่เพื่อการพาณิชย์ พื้นที่สําหรับรองรับนักท่องเที่ยว หรือพื้นที่จอดรถ เป็นต้น การจัดการข้อมูลและความรู้ การบริหารจัดการด้านข้อมูลและความรู้เป็นเรื่องสําคัญ เพื่อนําไปสู่การใช้ประโยชน์สูงสุด แหล่งธรณีวิทยาที่มีคุณค่าทางวิชาการควรสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัย อย่างต่อเนื่อง มีการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ จัดทําระบบฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ การประสานงานระหว่างหน่วยงาน การประสานงานสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ มีการแบ่งภาระหน้าที่ในการบริหารจัดการแหล่งอนุรักษ์ ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญและความพร้อมระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ให้เข้าร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่และการวางแผนอนุรักษ์ การจัดหาทรัพยากร การจัดหาทรัพยากรทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร เพื่อให้การดําเนินการ ด้านการบริหารจัดการประสบความสําเร็จ บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน สาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นปัจจัยสําคัญในการสนับสนุนการ พัฒนาใช้ประโยชน์พื้นที่แหล่งธรณีวิทยานั้น ควรมีการจัดบริการขั้นพื้นฐานตามความจําเป็น และออกแบบให้ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเดิมของแหล่ง เช่น ถนน หรือสิ่งปลูกสร้างที่จําเป็น และมาตรการรักษาความ ปลอดภัยอย่างเหมาะสม ข้อเสนอแนะมาตรการการบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยาเหล่านี้ ควรมีการปรับให้เหมาะสม กับสภาพสังคมของแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นความเหมาะสมของภูมิประเทศ ความห่างไกล ลักษณะของวัฒนธรรม ของชุมชนในพื้นที่ และความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดรูปแบบการบริหารจัดการที่ เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์กับทุกฝ่าย พร้อมทั้งต้องมีระบบติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุงข้อบกพร่อง
44
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 45 -
บทที่ 6 ทรัพยากรแร่ 6.1 การแบ่งประเภทพื้นที่ทรัพยากรแร่ ข้อมูลทรัพยากรแร่ของจังหวัดสกลนครที่นําเสนอในเอกสารฉบับนี้ ได้จากการรวบรวม ข้อมูลจากแผนที่ทรัพยากรแร่มาตราส่วน 1:250,000 เป็นข้อมูลพื้นฐาน และได้ทําการปรับปรุงข้อมูลโดย การสํารวจเพิ่มเติมในภาคสนามในมาตราส่วน 1:50,000 และนําข้อมูลที่ได้มาจัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ “พื้นที่แหล่งแร่” และ “พื้นที่ศักยภาพทางแร่” ตามคําจํากัดความที่นิยามโดยคณะทํางานจัดทําแผนที่ ทรัพยากรแร่ (2542) และคณะอนุกรรมการด้านทรัพยากรแร่ (2551) ดังนี้ พื้นที่แหล่งแร่ หมายถึง พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งมีแหล่งแร่หรือแหล่งสินแร่ชนิดเดียวหรือ หลายชนิดรวมกันในพื้นที่นั้น รวมทั้งพื้นที่ที่มีคําขอประทานบัตรและ/หรือประทานบัตร ที่ได้ตรวจสอบ ความถูกต้องตามหลักวิชาการ การกําหนดขอบเขตพื้นที่แหล่งแร่ยึดถือข้อมูลวิชาการทางธรณีวิทยาแหล่งแร่ เป็นปัจจัยหลัก พื้นที่ศักยภาพทางแร่ หมายถึง พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่ยังไม่มีการค้นพบทรัพยากรแร่ (Undiscovered mineral resource) แต่มีแนวโน้มที่จะมีได้ โดยมีหลักฐานบ่งชี้จากข้อมูลทางธรณีวิทยา ธรณีวิทยาแหล่งแร่ ธรณีเคมี และธรณีฟิสิกส์ และรวมพื้นที่ที่มีแร่กระจัดกระจายในหินซึ่งมีนัยสําคัญ หรือมี บริเวณพบแร่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นที่นั้น รายงานฉบับนี้มุ่งเน้นความสําคัญไปที่พื้นที่แหล่งแร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พิสูจน์ทราบแน่ชัดแล้ว ว่ามี แร่ อยู่แน่ นอน และสามารถที่จะทํ าการประเมิ นปริมาณทรัพยากรแร่เบื้องต้นในแต่ล ะแหล่งแร่ได้ ส่วนพื้นที่ศักยภาพทางแร่ที่มีความสําคัญรองลงมานั้นไม่ได้การดําเนินงานสํารวจเก็บข้อมูลในครั้งนี้
6.2 การประเมินปริมาณทรัพยากรแร่ในพื้นที่แหล่งแร่ การประเมินทรัพยากรแร่สํารองของจังหวัดสกลนครในครั้งนี้ เป็นการประเมินที่เรียกว่า “ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้” ซึ่งหมายถึง ปริมาณสํารองที่ประเมินในพื้นที่ที่มกี ารพบแร่ แต่ยังมิได้มีการพิสูจน์ว่ามีปริมาณความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เป็นทรัพยากรแร่สํารองทีจ่ ะต้องทําการสํารวจ เพิ่มเติมจนถึงขั้นรายละเอียด เพื่อให้ทราบปริมาณและความสมบูรณ์ รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา ก่อนที่จะลงทุนทําเหมืองแร่ โดยในการประเมินใช้การประเมินทางสถิติ และวิชาการธรณีวิทยาเป็นปัจจัยหลัก หลักการประเมินปริมาณทรัพยากรแร่ของจังหวัดสกลนครในรายงานฉบับนี้ใช้ข้อมูลจาก หลุมเจาะสํารวจเป็นหลัก
6.3 ทรัพยากรแร่ของจังหวัดสกลนคร ทรัพยากรแร่ของประเทศไทย จําแนกตามการใช้ประโยชน์ที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการทรัพยากรแร่ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2554 ได้ 5 กลุ่ม คือ
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
45
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 46 -
1. กลุ่มแร่เพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ได้แก่ แร่เพื่อ อุตสาหกรรมซีเมนต์ และแร่เพื่อการก่อสร้าง 2. กลุ่มแร่พลังงาน ได้แก่ แร่ถ่านหิน หินน้ํามัน และแร่กัมมันตรังสี 3. กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ได้แก่ โลหะมีค่า เช่น ทองคํา แร่ตะกั่ว และสังกะสี แร่อุตสาหกรรม เช่น ดินขาว 4. กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร ได้แก่ โพแทช โดโลไมต์ เพอร์ไลต์ และฟอสเฟต 5. กลุ่มแร่เพื่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ได้แก่ โคลัมไบต์ แทนทาไลต์ และแร่หายาก (Rare Earth) เช่น โมนาไซต์ และซีโนไทม์ แร่เหล่านี้ส่วนมากพบเป็นแร่พลอยได้จากการทําเหมืองดีบุก ทรัพยากรแร่ของจังหวัดสกลนครสามารถจําแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่กําหนดไว้ ในยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรแร่ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2554 ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มแร่เพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ได้แก่ ทราย ก่อสร้าง 2) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ได้แก่ เกลือหิน และทรายแก้ว 3) กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร ได้แก่ โพแทช จังหวัดสกลนครมีทรัพยากรแร่สําคัญ คือ เกลือหิน โพแทช และทรายแก้ว (รูปที่ 6-1) ซึ่ง มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 6,587.21 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 68.73 ของพื้นที่จังหวัดสกลนคร และมี แหล่งทรายก่อสร้างครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 174.84 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีการนําทรัพยากรธรณี มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมขนาดเล็กด้วย
6.3.1 กลุ่มแร่เพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ทรายก่อสร้าง ทรายก่อสร้าง ไม่ใช่ “แร่” ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 เนื่องจาก ตามมาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ กล่าวว่า “แร่” หมายความว่า ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทาง เคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้น้อย ไม่ว่าจะต้องถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และ หมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินน้ํามัน หินอ่อน โลหะ และตะกรันที่ได้จากโลหะกรรม น้ําเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกําหนด เป็นดินอุตสาหกรรมหรือทรายอุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงน้ําเกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย ทราย หรือทรายก่อสร้าง เป็นวัสดุธรณีวิทยาที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างได้ ทรายเป็นวัสดุธรรมชาติ มีลักษณะเป็นเม็ดและร่วนซุย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเม็ด ระหว่าง 0.05-2.00 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอตซ์หรือหินเขี้ยวหนุมาน นอกจากนี้ยังพบเหล็กออกไซด์ แร่เฟลด์สปาร์ เศษหิน/แร่อื่น ๆ ขนาดเล็กปะปนอยู่ ทรายที่ผลิตขึ้นมาส่วนใหญ่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งจะต้องเป็นทรายสะอาด มีเม็ดทรายที่แข็ง ทนทานต่อการสึกกร่อนและผุพัง และต้องมีมลทินหรือส่วนประกอบอย่างอื่นปะปนอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ส่วนทรายที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ใช้ทําแบบหล่อหรือแบบพิมพ์ ใช้ในการกรอง ใช้ในการขัดสีและขัดมัน ใช้ในการฉาบผิว ใช้ในอุตสาหกรรมการทําสี ทําเครื่องขัดถู ทําอิฐ และอื่น ๆ จะต้องคํานึงถึงคุณสมบัติทางเคมี และทางกายภาพเป็นหลัก
46
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 47 -
รูปที่ 6-1 แผนที่ทรัพยากรแร่ของจังหวัดสกลนคร
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
47
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 48 -
แหล่งทรายก่อสร้างในจังหวัดสกลนครเป็นทรายแม่น้ํา ซึ่งสํานักนโยบายแผนและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดลําดับความสําคัญของการใช้ประโยชน์จากทรายแม่น้ํา ในจังหวัดสกลนคร ไว้ดังนี้ บริเวณที่ที่มีความเหมาะสมการใช้ประโยชน์สูง ได้แก่ ลําน้ําพุง ในบริเวณอําเภอภูพาน อําเภอโพนนาแก้ว อําเภอเต่างอย อําเภอโคกศรีสุพรรณ และอําเภอเมืองสกลนคร ลําน้ําอูน ในบริเวณ อําเภอพรรณนานิคมและอําเภอเมืองสกลนคร บริเวณพื้นที่ที่มีความเหมาะสมการใช้ประโยชน์ปานกลาง ได้แก่ แม่น้ําสงคราม ในเขตอําเภอ อากาศอํานวย ลําน้ํายาม ในเขตอําเภออากาศอํานวยและอําเภอวานรนิวาส บริเวณพื้นที่ที่มีความเหมาะสมการใช้ประโยชน์ต่ํา ได้แก่ ลําน้ํายาม ในเขตอําเภอเจริญศิลป์ และบางส่วนในเขตอําเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครมีสถานประกอบการขุดตักทรายแม่น้ําเพียงแห่งเดียว บริเวณลําน้ําพุง อยู่ ในเขตตําบลตองโขบ อํา เภอโคกศรีสุพรรณ ทรายที่ได้ส่ว นใหญ่มีขนาดปานกลาง-ละเอียด (รูปที่ 6-2) การใช้ทรายในจังหวัดสกลนครส่วนใหญ่นํามาจากจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร (ที่มาข้อมูล : สํานักงาน อุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร, 2555) ตารางที่ 6-1 กลุ่มแร่และชนิดของแหล่งแร่ในจังหวัดสกลนครจัดกลุ่มตามการใช้ประโยชน์ ปริมาณทรัพยากรแร่สาํ รอง ชนิดแร่ ที่มีศักยภาพเป็นไปได้ หมายเหตุ (ล้านตัน) 1. กลุ่มแร่เพือ่ พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ แร่เพื่อการก่อสร้าง - ทรายก่อสร้าง 40 174.84 345.88 2. กลุ่มแร่เพือ่ สนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม แร่อุตสาหกรรม จํานวนแหล่งแร่และเนื้อที่แหล่งแร่ 4,834,407.25 - เกลือหิน 56* 6,587.21 จํานวน แหล่งแร่
เนื้อที่แหล่งแร่ (ตร.กม.)
2
93.17**
116.46
ที่แสดงรวมถึงแร่โพแทชด้วย จํานวนเนือ้ ที่แหล่งแร่ที่แสดงรวมอยู่ ในแหล่งเกลือหินแล้ว
3. กลุ่มแร่เพือ่ การเกษตร - แร่โพแทช 1*
5,785.72**
113,224.42***
จํานวนแหล่งแร่และเนื้อที่แหล่งแร่ ที่แสดงรวมอยูใ่ นแหล่งเกลือหินแล้ว
6,762.05
4,948,094.01
- ทรายแก้ว
รวม
98
หมายเหตุ *
ในจํานวนแหล่งแร่ 56 แหล่งนี้ เป็นแหล่งแร่เกลือหินและโพแทชที่มีโครงสร้างเกลือหินชั้นเดียวที่เป็น พื้นที่โดมเกลือ 55 พื้นที่ และแหล่งแร่เกลือหินและโพแทชจํานวน 1 พื้นที่ ** เนื้อที่แหล่งแร่ที่แสดงนี้ รวมอยู่กับพื้นที่แหล่งแร่เกลือหินเนื้อที่รวม 6,587.21 แล้ว เนื่องจากพบแร่โพแทช และทรายแก้ว ร่วมกับแหล่งแร่เกลือหิน *** ปริมาณสํารองแร่ที่แสดงนี้ เป็นแร่ซิลไวต์ 4,481.48 ล้านตัน และเป็นแร่คาร์นัลไลต์ 108,742.94 ล้านตัน
48
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 49 -
(ข)
(ก)
รูปที่ 6-2 แหล่งทรายก่อสร้างบริเวณลําน้ําพุง อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร (ก) แหล่งทรายก่อสร้างที่สะสมตัวบริเวณลําน้ําพุง เป็นทรายขนาดปานกลาง-ละเอียด (ข) การผลิตทรายบริเวณนี้ทําโดยการขุดตักทรายที่บริเวณริมลําน้ํา ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้ของทรายก่อสร้าง สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2547) ได้จัดทําโครงการ วางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม จากการใช้ทรัพยากรทราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด (จังหวัด สกลนคร กาฬสินธุ์ ยโสธร อุบลราชธานี อํานาจเจริญ มุกดาหาร และนครพนม) ได้ทําการจัดลําดับความสําคัญ ของพื้นที่ศักยภาพทรัพยากรทราย โดยพิจารณาทั้งในส่วนของพื้นที่บนบกและบริเวณที่เป็นทางน้ํา ซึ่งผล การจัดลําดับความสําคัญในพื้นที่ศึกษานั้น จําแนกรหัสลําดับความสําคัญได้ 4 กลุ่ม คือ 222 221 212 และ 211 โดยมีความหมายของแต่ละกลุ่มพื้นที่ ดังนี้ รหัส 222 แสดงลักษณะพื้นที่ที่มีระยะห่างจากแหล่งไม่เกิน 30 เมตร การสะสมตัวของ ทรายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ พื้นที่ที่เป็นทางน้ําที่มีการดูดหรือขุดตักทรายไปแล้ว เมื่อถึงฤดูน้ําหลาก จะพาทรายมาทับถมพื้นที่อีก มีคุณสมบัติทางวิศวกรรมที่เหมาะสม ง่ายต่อขบวนการผลิต ทําให้ค่าใช้จ่าย ในการผลิตต่ําและคุณภาพเหมาะกับการใช้งานก่อสร้าง พบในบริเวณแม่น้ํามูล แม่น้ําชี แม่น้ําโขง รหัส 221 แสดงลักษณะพื้นที่ที่มีระยะห่างจากแหล่งไม่เกิน 30 เมตร มีการสะสมตัวของ ทรายอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ พื้นที่ที่เป็นทางน้ําที่มีการดูดหรือขุดตักทรายไปแล้ว เมื่อถึงฤดูน้ําหลากจะพา ทรายมาทับถมพื้นที่อีก ส่วนคุณสมบัติทางวิศวกรรม มีลักษณะที่มีขนาดไม่เหมาะสมและเหมาะสมปนกัน โดยอาจมีเศษดิน กิ่งไม้ ขนาดคละของเม็ด เมื่อนําไปใช้งานก่อสร้างต้องเปลืองเนื้อปูน เสียค่าใช้จ่ายในการแยก คัดขนาด เพื่อปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะกับการใช้งานก่อสร้าง พบตามลําน้ําขนาดเล็ก เช่น ลําน้ํายัง ห้วย ตุงลุง ลําโดมใหญ่ ลําน้ําปาว รหัส 212 แสดงลักษณะพื้นที่ที่มีระยะห่างจากแหล่งไม่เกิน 30 เมตร จะไม่มีการสะสมตัว ของทรายเมื่อมีการขุดตักหรือดูดไปแล้วจะทิ้งพื้นที่เป็นบ่อน้ําไว้ พื้นที่นี้จัดเป็นทรายบกหรือทรายที่เกิดจาก ทางน้ําเก่า ไม่มีการทับถมอีก มีคุณสมบัติทางวิศวกรรมที่เหมาะสม ง่ายต่อขบวนการผลิต ทําให้ค่าใช้จ่าย ในการผลิตต่ําและคุณภาพเหมาะกับการใช้งานก่อสร้าง บริเวณที่สามารถพบกลุ่มทรายรหัสนี้ ได้แก่ พื้นที่ ที่เป็นทรายบกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการไหลของแม่น้ํามูล แม่น้ําชี แม่น้ําโขง และลําเซบาย
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
49
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 50 -
รหัส 211 แสดงลักษณะพื้นที่ที่มีระยะห่างจากแหล่งไม่เกิน 30 เมตร จะไม่มีการสะสมตัว ของทรายเมื่อมีการขุดตักหรือดูดไปแล้ว จะทิ้งพื้นที่เป็นบ่อน้ําไว้ พื้นที่นี้จัดเป็นทรายบกหรือทรายที่เกิดจาก ทางน้ําเก่าไม่มีการทับถมอีก ส่วนคุณสมบัติทางวิศวกรรม มีลักษณะที่มีขนาดไม่เหมาะสมและเหมาะสม ปนกัน โดยอาจมีเศษดิน กิ่งไม้ ขนาดคละของเม็ดเมื่อนําไปใช้งานก่อสร้างต้องเปลืองเนื้อปูน เสียค่าใช้จ่าย ในการแยกคัดขนาด เพื่อปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะกับการใช้งานก่อสร้าง พบตามลําน้ําขนาดเล็ก บริเวณ ลําน้ําปาว ห้วยบังอี่ ห้วยบางทราย ลําเซบาย ลําน้ํายัง และลําโดมใหญ่ จากรหัสความสําคัญของพื้นที่ศักยภาพทรัพยากรทรายทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น นํามา จัดลําดับความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ออกเป็น 3 ระดับ คือ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รหัส 222 = ความเหมาะสมสูง รหัส 221 และ 212 = ความเหมาะสมปานกลาง รหัส 211 = ความเหมาะสมต่ํา ผลการศึกษาของสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้ ประเมินปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของทรายก่อสร้างจังหวัดสกลนคร แต่ระบุพื้นที่ที่มี ความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทราย 578.80 ตารางกิโลเมตร ซึ่งสามารถจัดลําดับความสําคัญ ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ แสดงไว้ในตารางที่ 6-2 กําหนดให้ชั้นทรายมีความหนาเฉลี่ยต่ําสุดที่ 1.00 เมตร โอกาสที่จะพบทรายในพื้นที่มี ร้อยละ 50 ดังนั้น ปริมาตรของทรัพยากรทราย (แน่น) ของจังหวัดสกลนครบนพื้นที่ 174.03 ตารางกิโลเมตร จะมีปริมาตร 87 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อผลิตทรายออกมา ทรายจะขยายตัว 1.5 เท่า ปริมาตรของทรัพยากร ทราย (หลวม) ของจังหวัดสกลนคร จะมีปริมาตร 130.50 ล้านลูกบาศก์เมตร กําหนดให้ทรายมีค่าความถ่วงจําเพาะ 2.65 ตันต่อลูกบาศก์เมตร ดังนั้น ปริมาณสํารองที่ มีศักยภาพเป็นไปได้ของทรายก่อสร้างในจังหวัดสกลนคร จะมีไม่น้อยกว่า 345.88 ล้านตัน ตารางที่ 6-2 พื้นที่ศักยภาพทรายที่มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ของจังหวัดสกลนคร ขอบเขตพื้นที่ อําเภอเมือง อําเภอโคกศรีสพุ รรณ อําเภอเจริญศิลป์ อําเภอเต่างอย อําเภอบ้านม่วง อําเภอพรรณานิคม อําเภอโพนนาแก้ว อําเภอภูพาน อําเภอวานรนิวาส อําเภออากาศอํานวย รวม
สัดส่วนของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ (ตร.กม.) สูง ปานกลาง ต่ํา 23.19 6.36 7.13 9.21 31.64 26.09 6.56 0.93 19.41 12.25 31.26 72.34 50.67 51.02
ที่มาข้อมูล : สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2547)
50
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 51 -
6.3.2 กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม 6.3.2.1 เกลือหิน เกลือใช้ถนอมรักษาอาหารให้คงทนอยู่นาน ซึ่งมนุษย์ใช้เกลือเพื่อถนอมอาหาร ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหรือผักมานานนับพัน ๆ ปี การใช้ประโยชน์ของเกลือ บางท่านอาจคิดว่าใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารของ มนุษย์เป็นหลัก เช่น ใช้ทํากับข้าวโดยมีส่วนผสมในน้ําปลา หรือของเค็มทั้งหลาย แต่นั่นเป็นส่วนที่น้อยที่สุด ในการที่มนุษย์เอาเกลือมาใช้ ที่จริงแล้วประมาณครึ่งหนึ่งหรือ 2 ใน 3 ของเกลือทั้งหมดถูกนําไปใช้ใน อุตสาหกรรมเคมี ธาตุตัวสําคัญที่เป็นที่ต้องการของวงการเคมี คือคลอไรด์ และโซดาไฟ (sodium hydroxide) ซึ่งได้มาจากการแยกน้ําเกลือโดยใช้กรรมวิธีทางไฟฟ้า (electrolysis) และเกลือเมื่อรวมกับหินปูนคาร์บอเนต แล้วจะได้โซดาแอช (sodium carbonate) และถ้าทําปฏิกิริยากับกรดซัลฟุริกก็จะให้กรดเกลือหรือไฮโดรคลอริก และซอลต์เค๊ก (salt cake) นอกจากนี้เกลือยังใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้าอีกด้วย เกลือหิน (Halite or Rock Salt, NaCl) ถือเป็นแร่ที่พบง่าย และพบมากที่สุดในบรรดา หินเกลือระเหย (evaporite) เนื่องจากเป็นสารละลายอยู่ในน้ําทะเลมากที่สุดถึงร้อยละ 80 ดังนั้น จึงมักพบ ชั้นเกลือหินที่ตกตะกอนบนโลกหนามาก บางครั้งอาจหนามากกว่า 1,000 เมตร และแผ่กระจายเป็นวงกว้าง อาจพบในแอ่งที่มีพื้นที่หลายพันตารางกิโลเมตรได้ ถ้าแร่เกลือมีเวลาตกผลึกพอจะมีรูปเป็นแบบลูกเต๋า ชัดเจน หรือเป็นรูปลูกเต๋าที่มีหน้าผลึกเป็นหลุมลึกลงไป เรียกว่า hopper shape forming crystal แต่ ตามปกติมักพบเป็นเม็ดเกลือที่มีขนาด 0.5-0.8 เซนติเมตร เกลือมีความแข็งประมาณ 2.5 มีความถ่วงจําเพาะ ประมาณ 2.16 มีลักษณะโปร่งแสงและโปร่งใส (transparent to translucent) เมื่อมีความบริสุทธิ์สูง เกลือจะมีสีขาวหรือสีขาวใส แต่ถ้ามีมลทิน เกลืออาจปนด้วยสีแดง สีน้ําตาลแดง สีส้ม สีเทา หรือสีเทาดํา ซึ่งสารที่ผสมในเกลืออาจเป็นตะกอนดิน สารเหล็ก จนถึงสารคาร์บอน เกลือหินที่ปนด้วยสารคาร์บอนทําให้มีสีดําคล้ายควันเป็นชั้น บางครั้งเรียก smoky dark bands halite บางครั้งเกลือหินเกิดเป็นชั้นสีน้ําตาลเหลืองคล้ายน้ําผึ้ง อาจเรียก honey หรือ yellowish brown halite อาจพบเกลือหินสีฟ้าหรือสีน้ําเงินได้บ้าง แต่มักพบในชั้นที่เกิดร่วมกับแร่ซิลไวต์หรือแร่คาร์นัลไลต์ ถ้าเม็ดเกลือ ถูกบีบหรือเกิดแรงเฉือน อาจทําให้เกิดเป็นเกลือหินสีขาวขุ่นคล้ายน้ํานม เรียกว่า milky white halite อย่างไรก็ตามหากเกลือถูกทําให้แตกด้วยแรงใดก็ตาม มักจะเกิดการตกผลึกใหม่ และเชื่อมรอยแตกเข้าด้วยกัน อย่างรวดเร็ว จึงมักไม่เห็นรอยเลื่อนในชั้นเกลือบ่อยนัก นอกจากเห็นเป็นผลึกใหม่ (recrystallied) เนื่องจากเกลือหินมักพบเป็นชั้นหินที่หนาและแผ่กระจายกว้างไกล ดังนั้น เกลือหินมักจะ ทําตัวแบบพลาสติก คือเคลื่อนที่ได้ งอได้ ไหลได้ ในกรณีเช่นนี้จึงมักพบว่าเกลือหินสามารถเปลี่ยนรูปแบบ ตัวเองหลังจากสะสมตัวเป็นชั้นแล้วได้ง่ายดาย เกลือหินสามารถดันตัวเองทะลุชั้นหินที่ปิดทับขึ้นมาได้ กลายเป็น โครงสร้างเกลือหินในทางธรณีวิทยาแบบต่าง ๆ เช่น โดมเกลือ6 (salt dome) หมอนเกลือ (salt pillow) สันเกลือ (salt ridge) ชั้นหินโค้งรูปประทุนเกลือ (salt anticline) และยอดเกลือ (salt diapier) ซึ่งในทาง ตรงกันข้าม ก็สามารถพบชั้นเกลือเป็นแบบแอ่งเกลือ (salt basin) ชั้นหินโค้งรูปประทุนหงายเกลือ (salt syncline) ซึ่งพบได้ทั่วไปในแหล่งเกลือหินทั่วโลก 6
โดมเกลือ (salt dome) หมายถึง ชั้นเกลือหินซึ่งถูกบีบอัดจากรอบด้านทําให้อูดตัวขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งใต้เปลือกโลก จนส่วนบนเห็นเป็นทรงกระทะคว่ํา (ราชบัณฑิตยสถาน, 2544)
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
51
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 52 -
สําหรับประวัติการสํารวจเกลือหินของประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ถึงปี พ.ศ. 2505 โดยกรมทรัพยากรธรณีทําการเจาะสํารวจและพัฒนาน้ําบาดาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ามีหลุมเจาะ สํารวจในบางหลุมพบน้ําบาดาลเค็ม บางหลุมพบเศษเกลือหิน และพบแผ่กระจายออกไปมากทุกที จนทําให้ เกิดแนวคิดการสํารวจแร่เกลือหินเพื่อผลิตโซดาแอชเพื่ออุตสาหกรรมเคมีในภาคอีสาน ในปี พ.ศ. 2508 กรมทรัพยากรธรณีมีโครงการสํารวจแอ่งแม่โขงตอนล่าง โดยมีการสํารวจ แร่หลายชนิดรวมถึงแร่เกลือหิน โดยมีการเจาะสํารวจที่จังหวัดชัยภูมิจํานวน 5 หลุม พบชัน้ เกลือหินที่น่าสนใจ ระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ผู้เชี่ยวชาญด้านแร่โพแทช จาก USGS (United State Geological Survey) ชื่อ Robert J. Hite มาเป็นที่ปรึกษาและศึกษาความเป็นไปได้ ร่วมกับนักธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี โดยมีนายธวัช จาปะเกษตร หัวหน้าฝ่ายสํารวจแร่อโลหะ กองเศรษฐธรณีวิทยา (ขณะนั้น) เป็นหัวหน้าโครงการสํารวจแร่โพแทชและเกลือหิน โครงการสํารวจแร่โพแทชและเกลือหิน โดยกรมทรัพยากรธรณี เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2516 และสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งมีหลุมเจาะสํารวจสํารวจทั้งสิ้น 194 หลุม ทั้งในแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร พื้นที่แหล่งแร่เกลือหิน ปกรณ์ สุวานิช (2535) นําเสนอรายงานเศรษฐธรณีวิทยา ฉบับที่ 4/2535 เรื่อง “โพแทชเกลือหิน ธรณีประวัติ การวิวัฒนาการโครงสร้างของหินชุดมหาสารคาม และปริมาณแร่สํารอง” แสดง วิธีการประเมินปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของเกลือหินและโพแทชทั้งในแอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร ไว้ 4 ประเภท คือ 1. โครงสร้างที่มีเกลือหินเพียงชั้นเดียวและมีเกลือหินล้วน ๆ 2. โครงสร้างที่มีเกลือหินชั้นเดียวและมีโพแทช 3. โครงสร้างที่มีเกลือหิน 2 ชั้น 4. โครงสร้างที่มีเกลือหิน 3 ชั้น วิธีการประเมินปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของเกลือหินและโพแทช ทั้ง 4 ประเภท นํามาประยุกต์ใช้ในการประเมินปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของเกลือหิน และโพแทชในพื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีของ กรมทรัพยากรธรณี พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสกลนครจะเป็นพื้นที่แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช และเป็น พื้นที่โดมเกลือ 55 พื้นที่ ข้อมูลจากโครงการสํารวจแร่โพแทชและเกลือหิน ในบริเวณจังหวัดสกลนครมีการเจาะ สํารวจ รวม 4 หลุมเจาะสํารวจ สรุปได้ดังนี้ 1. หลุมเจาะสํารวจ K-3 เจาะที่บริเวณวัดสว่างภูมิดล ตําบลสว่างแดนดิน อําเภอสว่าง แดนดิน รวมความลึก 477.62 เมตร จากระดับผิวดิน พบชั้นเกลือหิน 3 ชั้น และพบชั้นโพแทช - พบเกลือหินชั้นบน ยิปซัม และแอนไฮไดรต์ หนา 23.21 เมตร - พบเกลือหินชั้นกลาง และแอนไฮไดรต์ หนา 105.98 เมตร - พบชั้นโพแทช หนา 41.45 เมตร - พบเกลือหินชั้นล่างหนา 15.24 เมตร (หยุดเจาะในชั้นเกลือหินชั้นล่าง)
52
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 53 -
2. หลุมเจาะสํารวจ K-43 เจาะที่บริเวณวัดสุทธิมงคล ตําบลพรรณา อําเภอพรรณานิคม รวมความลึก 470.92 เมตร จากระดับผิวดิน พบชั้นเกลือหิน 3 ชั้น และพบชั้นโพแทช - พบยิปซัมของเกลือหินชั้นบน หนา 3.05 เมตร - พบเกลือหินชั้นกลาง หนา 90.83 เมตร - พบชั้นโพแทช หนา 22.25 เมตร - พบเกลือหินชั้นล่าง และแอนไฮไดรต์ หนา 153.80 เมตร (หยุดเจาะในหมวดหินโคกกรวด) 3. หลุมเจาะสํารวจ K-48 เจาะที่บริเวณวัดโนนวิเวกศรีเมือง บ้านหลักเมือง ตําบลวานรนิวาส อําเภอวานรนิวาส รวมความลึก 763.22 เมตร จากระดับผิวดิน พบชั้นเกลือหิน 3 ชั้น และพบชั้นโพแทช - พบแอนไฮไดรต์ของเกลือหินชั้นบน หนา 3.18 เมตร - พบเกลือหินชั้นกลาง และแอนไฮไดรต์ หนา 112.41 เมตร - พบชั้นโพแทช หนา 98.60 เมตร - พบเกลือหินชั้นล่างหนา 265.94 เมตร (หยุดเจาะในชั้นเกลือหินชั้นล่าง) 4. หลุมเจาะสํารวจ K-55 เจาะที่บริเวณวัดอัมพวัน (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าอัมพวัน) บ้านกุดจิก ตําบลนาคํา อําเภอวานรนิวาส รวมความลึก 827.23 เมตรจากระดับผิวดิน พบชั้นเกลือหิน 3 ชั้น และพบชั้นโพแทช - พบแอนไฮไดรต์ของเกลือหินชั้นบน หนา 3.66 เมตร - พบเกลือหินชั้นกลาง และแอนไฮไดรต์ หนา 112.37 เมตร - พบชั้นโพแทช หนา 82.30 เมตร - พบเกลือหินชั้นล่าง และแอนไฮไดรต์ หนา 348.69 เมตร (หยุดเจาะในหมวดหินโคกกรวด) จากผลการศึกษาและผลเจาะสํารวจในบริเวณจังหวัดสกลนครจํานวน 4 หลุมเจาะสํารวจ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น พบว่าโครงสร้างของเกลือหินและโพแทชมี 2 ประเภท คือ 1) มีเกลือหินชั้นเดียว เป็นพื้นที่โดมเกลือ 55 พื้นที่ ไม่มีผลการเจาะสํารวจ 2) มีเกลือหิน 3 ชั้น 4 หลุมเจาะสํารวจ (K-3, K-43, K-48 และ K-15) จากผลการศึกษา สามารถประเมินพื้นที่แหล่งแร่เกลือหินและโพแทชที่มีโครงสร้างเกลือหิน ชั้นเดียวที่เป็นพื้นที่โดมเกลือ 55 พื้นที่ มีพื้นที่ประมาณ 801.49 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่แหล่งแร่เกลือหิน และโพแทชที่มีโครงสร้างเกลือหินสามชั้น มีพื้นที่ประมาณ 5,785.72 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นพื้นที่แหล่งแร่ ทั้งหมด 6,587.21 ตารางกิโลเมตร ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของเกลือหิน 1) โครงสร้างที่มีเกลือหินชั้นเดียว (โดมเกลือ) ในบริเวณที่เป็นพื้นที่โดมเกลือของจังหวัดสกลนคร ไม่มผี ลการเจาะสํารวจสนับสนุน ดังนั้น จะใช้ค่าความหนาเฉลี่ยของชั้นเกลือหิน จากปกรณ์ สุวานิช (2535) โดยมีความหนาเฉลี่ยของชั้นเกลือหิน 157.12 เมตร และใช้พื้นที่แหล่งแร่ในการคํานวณ 801.49 ตารางกิโลเมตร กําหนดค่าความถ่วงจําเพาะของ เกลือหินเท่ากับ 2.16 ดังนั้น ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของเกลือหินชั้นเดียวในโดมเกลือ จะมีค่าดังนี้ เกลือหินชั้นล่าง (โดมเกลือ) = 801.49 x 106 x 157.12 x 2.16 = 272,008.71 ล้านตัน
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
53
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 54 -
2) โครงสร้างที่มีเกลือหินสามชั้น จากผลข้อมูลของหลุมเจาะสํารวจชั้นเกลือหินและชั้นโพแทชของจังหวัดสกลนคร ทั้ง 4 หลุม ดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ สามารถนํามาหาค่าเฉลี่ยของความหนาของชั้นเกลือหินและชั้นโพแทชของ จังหวัดสกลนคร ดังนี้ ค่าเฉลี่ยของความหนาของเกลือหินชั้นบน คือ 8.43 เมตร ซึ่งมาจากค่าที่ใช้ในการคํานวณ คือ [(23.21+3.05+3.81+3.66)/4] ค่าเฉลี่ยของความหนาของเกลือหินชั้นกลาง คือ 105.40 เมตร ซึ่งมาจากค่าที่ใช้ในการคํานวณ คือ [(105.98+90.83+112.41+112.37)/4] ค่าเฉลี่ยของความหนาของชั้นโพแทช คือ 61.15 เมตร ซึ่งมาจากค่าที่ใช้ในการคํานวณ คือ [(41.45+22.25+98.60+82.30)/4] ซึ่งเป็นการใช้ค่าความหนาของชั้นโพแทช ไม่รวมชั้นเกลือหินสี ค่าเฉลี่ยของความหนาของเกลือหินชั้นล่าง คือ 251.25 เมตร ซึ่งมาจากค่าที่ใช้ในการคํานวณ คือ [153.80+348.69)/2] ในกรณีนี้ใช้ค่าเฉลี่ยจากหลุมเจาะสํารวจ 2 หลุม (K-43 และ K-55) เนื่องจาก เจาะทะลุชั้นเกลือหินชั้นล่าง และหยุดการเจาะในหมวดหินโคกกรวด พื้นที่แหล่งแร่เกลือหินและโพแทชของจังหวัดสกลนคร คือ 5,785.72 ตารางกิโลเมตร ค่าความถ่วงจําเพาะของเกลือหินเท่ากับ 2.16 ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของเกลือหินทั้งสามชั้น จะมีค่า ดังนี้ เกลือหินชั้นบน = 5,785.72 X 106 x 8.43 x 2.16 = 105,382.25 ล้านตัน เกลือหินชั้นกลาง = 5,785.72 x 106 x 105.40 x 2.16 = 1,317,168.80 ล้านตัน เกลือหินชั้นล่าง = 5,785.72 x 106 x 251.25 x 2.16 = 3,139,847.49 ล้านตัน ดังนั้น ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของเกลือหินจังหวัดสกลนคร จะมี ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของเกลือหินชั้นบน 105,382.25 ล้านตัน เกลือหินชั้นกลาง 1,317,168.80 ล้านตัน เกลือหินชั้นล่าง 3,139,847.49 ล้านตัน และเกลือหินชั้นเดียวของโดมเกลือ 272,008.71 ล้านตัน รวมปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของเกลือหินจังหวัดสกลนครไม่น้อยกว่า 4,834,407.25 ล้านตัน ในจังหวัดสกลนครมีการขออนุญาตผลิตเกลือสินเธาว์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ตําบลกุดเรือคํา อําเภอวานรนิวาส (รูปที่ 6-3) ที่มีผู้ผลิตทั้งหมด 42 ราย จากทั้งหมด 49 ราย ที่ดําเนินการในจังหวัดสกลนคร นอกจากนั้น มีการดําเนินการอยู่ที่ตําบลคูสะคามและตําบลอินทร์แปลง อําเภอวานรนิวาส และตําบลหนองกวั่ง อําเภอบ้านม่วง (ที่มาข้อมูล : กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ http://www.dpim.go.th: สืบค้น ณ พฤษภาคม 2555) การผลิตเกลื อสิ นเธาว์ นี้ ดํ าเนิ นการโดยสูบเกลื อขึ้นมาตากหรื อต้ม การตากเกลือนั้นมี สองแบบ คือ แบบแรกใช้คอนกรีตเป็นแนวกั้นและเป็นพื้น แบบที่สองใช้คันดิน เกลือต้มมีรสชาติดีกว่าเกลือที่ ได้จากการตาก ซึ่งเกลือตากจะขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่าที่จะนํามารับประทาน จากข้อมูลของ สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสกลนครพบว่า ในปี พ.ศ. 2553 จังหวัดสกลนครมีการผลิตเกลือสินเธาว์รวม ทั้งสิ้น 62,335 ตัน/ปี (ตารางที่ 6-3) มีการผลิตมากที่สุดที่ตําบลกุดเรือคํา อําเภอวานรนิวาส
54
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 55 -
(ก)
(ข)
(ค)
(ง)
รูปที่ 6-3 การผลิตเกลือสินเธาว์ บริเวณตําบลกุดเรือคํา อําเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร (ก) การผลิตเกลือสินเธาว์แบบตาก แบบใช้คอนกรีตเป็นแนวกัน้ และเป็นพื้น (ภาพใหญ่) และแบบใช้คันดิน (ในภาพเล็ก) (ข) กลุ่มโรงต้มเกลือสินเธาว์ บริเวณตําบลกุดเรือคํา อําเภอวานรนิวาส (ค) การผลิตเกลือสินเธาว์โดยการสูบน้ําเกลือขึ้นมาต้ม เมื่อต้มจนได้ที่จะตักเกลือขึ้นมา พักไว้ เพื่อเตรียมบรรจุและจําหน่ายต่อไป (ง) การต้มเกลือสินเธาว์ของชาวบ้านบดมาด ตําบลพอกน้อย อําเภอพรรณานิคม โดยการนําคราบเกลือบนผิวดิน (ขี้ทา/ดินเอียด) มาต้ม ตารางที่ 6-3 แสดงปริมาณการผลิตเกลือสินเธาว์ในจังหวัดสกลนคร ลําดับ 1 2 3 4 5 6
หมู่บ้าน บ้านกุดเรือคํา หมู่ที่ 1 บ้านจําปาดงเหนือ หมูท่ ี่ 6 บ้านคําอ้อ หมู่ที่ 7 บ้านโนนแสบง หมู่ที่ 6 บ้านหนองกวั่ง หมู่ที่ 1 บ้านดอกนอ หมูท่ ี่ 1
ตําบล
อําเภอ
กุดเรือคํา กุดเรือคํา ดงเหนือ หนองกวั่ง หนองกวั่ง อินทร์แปลง
วานรนิวาส วานรนิวาส บ้านม่วง บ้านม่วง บ้านม่วง วานรนิวาส
ปริมาณเกลือทีผ่ ลิตได้ (ตัน/ปี) 22,625 18,560 8,750 6,000 4,000 2,400
ที่มา : สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร (ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2553)
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
55
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 56 -
6.3.2.2 ทรายแก้ว ทรายแก้ว หรือ ซิลิก้าแซนด์ (silica sand) มีปริมาณซิลิกาไดออกไซต์ (SiO2) หรือ แร่ควอตซ์ มากกว่า 95 เปอร์เซนต์ และมีสารประกอบอื่นปนเป็นจํานวนน้อย โดยเฉพาะมีเหล็กหรือเฟอริกออกไซต์ (Fe2O3) ไม่ควรเกิน 1 เปอร์เซนต์ ทรายแก้วเป็นทรายอุตสาหกรรม สําหรับอุตสาหกรรมแก้ว กระจก อุตสาหกรรมทําหลอดภาพ ปูนซีเมนต์ขาว ปูนซีเมนต์ขาว เซรามิก งานทําแม่พิมพ์ แบบหล่อ ทําไฟเบอร์กลาส ใช้ในการกรอง ทําสี ผงขัด เครื่องขัดถู ทําอิฐ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ทรายแก้วที่พบในบริเวณจังหวัดสกลนคร มีความสอดคล้องกับทรายแก้วที่พบในจังหวัด นครพนมที่มีต้นกําเนิดจากหมู่หินภูทอกน้อย ซึ่งพบหลักฐานที่เป็นหินโผล่เป็นเนินเล็ก ๆ บริเวณด้านตะวันตก ของอําเภอบ้านม่วง ไม่พบเป็นเทือกเขาใหญ่เหมือนภูลังกา (รูปที่ 6-4) พบเพียงหลักฐานว่าเป็นทรายสีขาว ซึ่งแผนที่ธรณีวิทยากําหนดเป็นหมวดหินภูทอกน้อย และกําหนดให้เป็นบริเวณที่มีศักยภาพของทรายแก้ว แหล่งทรายแก้วในพื้นที่จังหวัดสกลนครนี้ ยังไม่มีข้อมูลวิเคราะห์ปริมาณซิลิกาที่แน่นอน เพียงดูผ่านเลนส์เท่านั้น และพบว่ามีปริมาณควอตซ์อยู่มาก แต่เนื่องจากทรายแก้วเป็นทรายที่มีมูลค่ามากกว่า ทรายก่อสร้าง จึงได้กําหนดเป็นพื้นที่ศักยภาพไว้ก่อนที่จะมีการทําการศึกษาหาความสัมพันธ์ และต้นกําเนิด ทรายแก้วที่ชัดเจนต่อไป ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของทรายแก้ว แหล่งทรายแก้วพบครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 996,007 ตารางเมตร ความหนาของชั้น ทรายแก้วประมาณ 1 เมตร ความถ่วงจําเพาะของทรายแก้วประมาณ 2.5 และค่าสัมประสิทธิ์แปรผัน (K) ของทรายแก้วกําหนดให้มีค่าร้อยละ 50 หรือ 0.5 จะได้ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของ ทรายแก้วจํานวน 1.25 ล้านเมตริกตัน
(ก)
รูปที่ 6-4 แหล่งทรายแก้วบริเวณด้านตะวันตกของอําเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร (ก) ลักษณะของแหล่งทรายแก้วที่พบ (ข) ลักษณะของหินทราย หมวดหินภูทอกน้อย ที่เป็นหินต้นกําเนิดของทรายแก้ว ในบริเวณนี้
56
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
(ข)
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 57 -
6.3.3 กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร แร่โพแทช แร่โพแทชถึงร้อยละ 95 ถูกนําไปใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยเป็นแม่ปุ๋ยตัวหนึ่ง ใน 3 ตัวสําคัญ อันได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม นอกนั้นอาจนําไปใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ผลิต ผงซักฟอก สบู่ แก้ว เซรามิค และเกลือแร่แก้ท้องเสีย เป็นต้น แร่โพแทชที่ใช้เป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ผลิตได้จะแบ่งออกเป็นเกรดต่าง ๆ เช่น Muriate of potash เป็นพวกที่มีส่วนประกอบของ KCl อย่างเดียว พวก Sulfate of Potash เป็นปุ๋ยโพแทสเซียม ที่ประกอบด้วย K2SO4 เป็นหลัก ส่วนพวก Potassium, Magnesium Sulfate จะมีส่วนประกอบของ K2SO4.2MgSO4 เป็นหลัก แร่โพแทชที่พบในประเทศไทย เป็นแร่ซิลไวต์ (Sylvite, KCl) แร่คาร์นัลไลต์ (Carnallite, KCl.MgCl.6H2O) นอกจากนี้ภายในชั้นแร่โพแทชยังพบแร่แทชชีไฮไดรต์ (Tachyhydrite, CaCl22MgCl2.12H2O) เกิดร่วมด้วย แร่ซิลไวต์ (Sylvite, KCl) นับว่าเป็นแร่ที่สําคัญที่สุดของแร่โพแทช เนื่องจากเป็นแร่ที่มี ส่วนประกอบของ K2O สูงที่สุดในบรรดาแร่โพแทชด้วยกันคือมีมากถึงร้อยละ 63.17 โดยส่วนใหญ่แล้ว แร่ซิลไวต์จะมีสีขาว ใส หรือไม่มีสี หรือสีขาวแบบปุยเมฆ แต่ถ้าหากไม่บริสุทธิ์ แร่ซิลไวต์จะมีสีแดง เนื่องจาก มีแร่เหล็กชนิดฮีมาไทต์ (Hematite) สูง บางครั้งพบเป็นสีม่วงน้ําเงิน สีเหลืองแดง หรือสีเหลือง แร่ซิลไวต์ มีประกายแบบแก้ว มีความแข็งเท่ากับ 2 หลอมละลายได้ (fusible) มีความถ่วงจําเพาะเท่ากับ 1.93 มีดัชนี การหักเหของแสง (refractive index) เท่ากับ 1.49 ละลายน้ําง่าย มีรสขม ถ้าแร่ซิลไวต์เกิดแบบปฐมภูมิ ผลึกของแร่จะอยู่ในระบบไอโซเมตริก (isometric) เป็นรูปลูกเต๋า (cube) หรือรูปแปดเหลี่ยม (octahedral) แต่การเกิดแบบนี้พบน้อยมาก โดยทั่วไปแร่ซิลไวต์มักเกิดแบบทุติยภูมิ โดยเกิดแทนที่แร่คาร์นัลไลต์ บางที อาจพบผลึกแร่ซิลไวต์แบบเดียวกับแร่คาร์นัลไลต์ (psudo-carnallite) หรือมีเนื้อคล้ายตัวอมีบา (amoeboid texture) ส่วนใหญ่แร่ซิลไวต์จะเกิดร่วมกับแร่เกลือหินและแร่คาร์นัลไลต์ ส่วนแร่ซิลวิไนต์ (Sylvinite) หมายถึง แร่ที่ผสมระหว่างแร่ซิลไวต์กับแร่เกลือหิน แร่คาร์นัลไลต์ (Carnallite, KCl.MgCl.6H2O) เป็นแร่โพแทชชนิดที่พบมากที่สุดในโลก ถ้าแร่คาร์นัลไลต์บริสุทธิ์จะไม่มีสี ผลึกมองทะลุได้ หรืออาจมีสีขาว แต่ที่พบโดยทั่วไปมักมีสีแดง สีส้ม เนื่องจาก มีแร่เหล็กชนิดฮีมาไทต์ (Hematite) ผสมอยู่ด้วย ผลึกแร่คาร์นัลไลต์อยู่ในระบบออร์โธรอมบิก (orthorhombic) แต่ตามธรรมชาติมักพบเป็นเม็ดเกาะกันร่วมกับแร่เกลือหิน ปริมาณของ K2O ในแร่คาร์นัลไลต์ค่อนข้างต่ํา หรือมีอยู่ร้อยละ 16.95 หรือมีปริมาณของโพแทสเซียม (K) ร้อยละ 14.07 หากเทียบเป็นโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) จะมีร้อยละ 26.83 ในบางกรณีอาจพบว่าแร่คาร์นัลไลต์มีปริมาณ K2O สูงถึงร้อยละ 18-20 เนื่องจาก ถูกแทนที่ด้วยแร่ซิลไวต์ ซึ่งบางครั้งอาจพบว่าเม็ดแร่คาร์นัลไลต์เกิดเป็นวง ชั้นในเป็นแร่คาร์นัลไลต์ ในขณะ ที่ชั้นนอกเป็นแร่ซิลไวต์ ประกายของแร่คาร์นัลไลต์เป็นแบบแร่อโลหะ (nonmetallic shinning หรือ greasy luster) ความแข็งประมาณ 1 ความถ่วงจําเพาะ 1.61 ละลายน้ําได้ง่ายแม้ทิ้งไว้ในบรรยากาศปกติ การกําเนิด ของแร่คาร์นัลไลต์เป็นแบบปฐมภูมิ (primary deposits) คือเกิดตกตะกอนจากน้ําทะเลโดยตรง มักเกิด ร่วมกับแร่เกลือหิน แอนไฮไดรต์ หรือพบร่วมกับโบราไซต์บ้าง การนําเอาแร่คาร์นัลไลต์มาใช้ประโยชน์ ในฐานะแร่โพแทชค่อนข้างยุ่งยากและมีต้นทุนสูง เนื่องจากต้องมีกระบวนการกําจัดแมกนีเซียมออกไปก่อน แมกนีเซียมที่ถูกกําจัดออกไปก็กลายเป็นสารพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่มีจํานวนมาก ยากแก่การกําจัด
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
57
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 58 -
แร่แทชชีไฮไดรต์ (Tachyhydrite, CaCl22MgCl2.12H2O) เป็นแร่ที่ละลายน้ําได้เร็วที่สุด ตัวหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะเก็บไว้ในภาชนะปิดก็ตาม เนื่องจากในตัวแร่แทชชีไฮไดรต์มีน้ําประกอบอยู่ถึง 12 โมเลกุล แร่แทชชีไฮไดรต์มักมีสีเหลือง สีส้ม หรือสีขาว ผลึกใหญ่อาจถึง 2-3 เซนติเมตร หรือใหญ่กว่านั้น มักพบ มีความบริสุทธิ์สูง และอยู่เดี่ยว ๆ หรือหากพบปนกับแร่ชนิดอื่นส่วนใหญ่มักพบร่วมกับแร่คาร์นัลไลต์และ เกลือหิน แต่ผลึกจะเล็กกว่าที่พบเดี่ยว ๆ แร่แทชชีไฮไดรต์มีความถ่วงจําเพาะประมาณ 1.66 ประกอบด้วย CaCl2 ร้อยละ 21.44 H2O ร้อยละ 41.77 และ MgCl2 ร้อยละ 36.79 พื้นที่แหล่งแร่โพแทช จากข้อมูลของระบบฐานข้อมูลธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีของกรมทรัพยากรธรณี และ ข้อมูลจากหลุมเจาะสํารวจของโครงการสํารวจแร่โพแทชและเกลือหินจํานวน 4 หลุมในบริเวณจังหวัดสกลนคร (หลุมเจาะสํารวจ K-3, K-43, K-48 และ K-55) สามารถประเมินพื้นที่แหล่งแร่เกลือหินและโพแทชที่มี โครงสร้างเกลือหินสามชั้น มีพื้นที่ประมาณ 5,785.72 ตารางกิโลเมตร ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของโพแทช ปกรณ์ สุวานิช (2535) ได้อธิบายลําดับชั้นของแร่โพแทชที่พบจากข้อมูลหลุมเจาะสํารวจ หลุมเจาะสํารวจที่พบเกลือหินสามชั้นและแร่โพแทช จะมีบริเวณที่พบแร่โพแทช (Potash zone) มีความหนา ประมาณ 6.05-73.58 เมตร ความหนาเฉลี่ย 25.68 เมตร มีการเรียงลําดับจากบนลงล่าง ดังนี้ 1. ซิลไวต์ชั้นบน (Upper Sylvite) มีความหนา 0.00-3.04 เมตร 2. คาร์นัลไลต์ชั้นบน (Upper Carnallite) มีความหนา 0.00-5.28 เมตร ความหนาเฉลี่ย 1.24 เมตร 3. แทชชีไฮไดรต์ (Tachyhydrite) มีความหนา 0.00-17.73 เมตร ความหนาเฉลี่ย 6.44 เมตร 4. คาร์นัลไลต์ชั้นล่าง (Lower Carnallite) มีความหนา 0.00-72.16 เมตร ความหนาเฉลี่ย 14.20 เมตร 5. ซิลไวต์ชั้นล่าง (Lower Sylvite) มีความหนา 0.00-3.204 เมตร วิธีการประเมินปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของโพแทช นําเอาแนวคิด การประเมินจากปกรณ์ สุวานิช (2535) มาประยุกต์ใช้ในการประเมินปริมาณสํารองของโพแทช จังหวัดสกลนคร ที่พบชั้นโพแทชในหลุมเจาะสํารวจ 4 หลุม เป็นชั้นเกลือหิน 3 ชั้นและโพแทช โดยมีรายละเอียด ดังนี้ หลุมเจาะสํารวจ K-3 เจาะที่บริเวณวัดสว่างภูมิดล ตําบลสว่างแดนดิน อําเภอสว่างแดนดิน พบชั้นโพแทช หนา 41.45 เมตร เป็นคาร์นัลไลต์ชั้นบน มีปริมาณคาร์นัลไลต์ในชั้นแร่ ร้อยละ 40-90 หลุมเจาะสํารวจ K-43 เจาะที่บริเวณวัดสุทธิมงคล ตําบลพรรณา อําเภอพรรณานิคม พบ ชั้นโพแทช หนา 22.25 เมตร เป็นคาร์นัลไลต์ชั้นบน หนา 18.29 เมตร มีปริมาณคาร์นัลไลต์ในชั้นแร่ ร้อยละ 50 และเป็นคาร์นัลไลต์ชั้นล่าง หนา 3.96 เมตร มีปริมาณคาร์นัลไลต์ในชั้นแร่ ร้อยละ 5 หลุมเจาะสํารวจ K-48 เจาะที่บริเวณวัดโนนวิเวกศรีเมือง บ้านหลักเมือง ตําบลวานรนิวาส อําเภอวานรนิวาส พบชั้นโพแทช หนา 98.60 เมตร เป็นคาร์นัลไลต์ชั้นบน หนา 8.53 เมตร มีปริมาณคาร์นัลไลต์ ในชั้นแร่ ร้อยละ 10 เป็นคาร์นัลไลต์ชั้นล่าง หนา 70.51 เมตร มีปริมาณคาร์นัลไลต์ในชั้นแร่ ร้อยละ 60 และ เป็นซิลไวต์ชั้นล่าง หนา 19.56 เมตร มีปริมาณซิลไวต์ในชั้นแร่ร้อยละ 40 หลุมเจาะสํารวจ K-55 เจาะที่บริเวณวัดป่าอัมพวัน บ้านกุดจิก ตําบลนาคํา อําเภอวานรนิวาส พบชั้นโพแทชหนา 82.30 เมตร เป็นคาร์นัลไลต์ชั้นล่าง มีปริมาณคาร์นัลไลต์ในชั้นแร่ ร้อยละ 70-90
58
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 59 -
จากข้อมูลหลุมเจาะสํารวจทั้ง 4 หลุมที่กล่าวมาข้างต้น สามารถนํามาหาค่าเฉลี่ยของความหนา ของชั้นโพแทชของจังหวัดสกลนคร ได้หนา 61.15 เมตร ถ้าแยกการคํานวณแร่คาร์นัลไลต์และแร่ซิลไวต์ออกจากกัน จากข้อมูลหลุมเจาะทั้ง 4 หลุม ความหนาเฉลี่ยของชั้นคาร์นัลไลต์ คือ 56.26 เมตร ซึ่งมาจากค่าที่ใช้ในการคํานวณ คือ [41.45 + 22.25 + (98.60-19.56) + 82.30]/4 และมีปริมาณคาร์นัลไลต์ในชั้นแร่ เฉลี่ยร้อยละ 51.88 พื้นที่ที่ใช้ในการคํานวณ ประมาณ 5,785.72 ตารางกิโลเมตร ความหนาเฉลี่ยของชั้นซิลไวต์คือ 19.56 เมตร และมีปริมาณซิลไวต์ในชั้นแร่ เฉลี่ยร้อยละ 40 พื้นที่ที่ใช้ในการคํานวณประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช เนื่องจากมีโอกาสพบ แร่ซิลไวต์เพียงหลุมเจาะเดียว จากการเจาะสํารวจ 4 หลุม พื้นที่ที่ใช้ในการคํานวณประมาณ 1,446.43 ตารางกิโลเมตร ค่าความถ่วงจําเพาะของซิลไวต์เท่ากับ 1.98 ค่าความถ่วงจําเพาะของคาร์นัลไลต์เท่ากับ 1.61 ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของโพแทช จะมีค่า ดังนี้ แร่คาร์นัลไลต์ = 5,785.72 X 106 x 56.26 x 1.61 x 51.88/100 = 271,857.36 ล้านตัน แร่ซิลไวต์ = 1,446.43 x 106 x 19.56 x 1.98 x 40.00/100 = 22,407.40 ล้านตัน Suwanich (1986) ได้กําหนดแนวทางการประเมินปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพ เป็นไปได้ของแร่โพแทช ไว้ในหนังสือ “Potash and Rock Salt in Thailand: Nonmetallic Mineral Bulletin No. 2” โดยกําหนดว่าในชั้นของแร่คาร์นัลไลต์ ส่วนมากจะพบแร่คาร์นัลลิไทต์ (Carnallitite) หมายถึง แร่ที่ผสมระหว่างแร่คาร์นัลไลต์กับแร่เกลือหินมีโอกาสที่จะพบแร่คาร์นัลไลต์เพียงร้อยละ 40 และในชั้นแร่ ซิลไวต์ ส่วนมากจะพบแร่ซิลวิไนต์ (Sylvinite) หมายถึง แร่ที่ผสมระหว่างแร่ซิลไวต์กับแร่เกลือหิน มีโอกาส ที่จะพบแร่ซิลไวต์เพียงร้อยละ 20 ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของแร่คาร์นัลไลต์ จังหวัดสกลนคร จึงมี ไม่น้อยกว่า 271,857.36 x 0.4 = 108,742.94 ล้านตัน ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของแร่ซิลไวต์ จังหวัดสกลนคร จึงมี ไม่น้อยกว่า 22,407.40 x 0.2 = 4,481.48 ล้านตัน ดังนั้น ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ของแร่โพแทช จังหวัดสกลนคร จึงมี ไม่น้อยกว่า 108,742.94 + 4,481.48 = 113,224.42 ล้านตัน
ทรัพยากรธรณีที่นํามาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือน ดินเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ดินเหนียวมีความสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องปั้นดินเผา ชาวบ้านเชียงเครือ ตําบลเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ตามประวัติศาสตร์นั้นได้ อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศลาว จนเมื่อพบแหล่งดินที่มีความเหมาะสมสําหรับงานเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งชาวบ้านเชียงเครือนั้นเดิมเป็นผู้มีความถนัดในเรื่องเครื่องปั้นดินเผา สําหรับใช้ในครัวเรือน เช่น โอ่งน้ํา หม้อข้าว หม้อแกง ตลอดจนเครื่องใช้อื่น ๆ อยู่แล้ว จึงได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณบ้านเชียงเครือ และยังทํา เครื่องปั้นดินเผามาจนถึงปัจจุบัน (รูปที่ 6-5 (ก)-(ข)) บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
59
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 60 -
จากข้อมูลของสถาบันวิจัยโลหะวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แบ่งดินเหนียวบ้านเชียงเครือ ออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ดินชั้นบนที่ปิดทับอยู่บนดินเหนียวปนทราย ดินเหนียวสีน้ําตาลแกมเทา และดินเหนียว ปนทรายแป้งสีเทาอ่อน และได้คํานวณปริมาณสํารองของแหล่งดินเหนียวบ้านเชียงเครือ รวมทั้งสิ้น 886,920 ตัน นอกจากนี้ทางสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ ได้หาแหล่งอื่นเพื่อเป็นแหล่งปริมาณสํารองในอนาคต ได้แก่ แหล่งบ้านดอนเชียงบาน ซึ่งมีปริมาณสํารองดินเหนียวที่มีศักยภาพเป็นไปได้ 1,048000 ลูกบาศก์เมตร นอกจากจะมีการนําดินเหนียวบ้านเชียงเครือมาใช้เพื่อผลิตเครื่องปั้นดินเผาแล้ว ที่บ้าน หนองสนม ตําบลเชียงเครือ ก็มีการนําดินเหนียวมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทําอิฐดินเผาด้วย เมื่อเผาออกมา จะมีเนื้อสีน้ําตาลอมแดง (รูปที่ 6-5 (ค) และ (ง)) (ก)
(ข)
(ค)
(ง)
รูปที่ 6-5 อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียงเครือ ตําบลเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร (ก) แหล่งดินเหนียวบ้านเชียงเครือซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทําเครื่องปั้นดินเผา และรูปแบบ การขุดดินเหนียวขึ้นมาใช้ (ทีม่ าภาพ: http://www.material.chula.ac.th) (ข) เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านที่ขึ้นรูปไว้ ก่อนที่จะนําไปเผาจะมีสีเทาอมน้ําตาล (ภาพเล็ก) เมื่อผาแล้วจะมีสีส้มอมน้ําตาลแดง (ค) ดินเหนียวปนทรายและทรายแม่น้ําที่นาํ มาใช้เป็นวัตถุดิบในการทําดินเผาอิฐ บริเวณบ้านหนองสนม ตําบลเชียงเครือ (ง) หลังจากนํามาขึ้นรูปอิฐแล้ว ต้องตากแดดเป็นเวลา 3 วัน (ภาพเล็ก) ก่อนจะนําไปเผาซึ่ง ใช้เวลาในการเผา 3 วัน อิฐดินเผาที่ได้จะมีสีน้ําตาลอมแดง
60
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 61 -
ตารางที่ 6-4 ผลการวิเคราะห์ดินเหนียวบ้านเชียงเครือ ตําบลเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ลําดับ
SiO2
Al2O3 Fe2O3 CaO
MgO Na2O
K2O
TiO2
MnO
P2 O 5
H2 O
LOI
1
56.08 22.85
3.14.
0.58
0.58
<0.1
0.57
1.06
0.02
0.01
4.53
10.32
2
54.88 24.44
4.42
0.52
0.67
<0.1
0.76
1.09
0.02
0.03
2.47
10.70
3
63.89 24.65
4.02
0.60
0.64
<0.1
0.88
1.12
0.04
0.10
1.58
2.20
4
53.75 24.62
4.20
0.35
0.84
0.23
0.66
1.18
14.11
ที่มาข้อมูล : ลําดับที่ 1-3 ดร.ชาญ จรรยาวนิชย์ (2543) และลําดับที่ 4 สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทรายก่อสร้างเพื่อการก่อสร้าง ทรายก่อสร้าง นอกจากจะใช้ประโยชน์ในการผสมปูนในการก่อสร้างโดยตรง ยังสามารถ นํามาทําเป็นวัตถุดิบอื่น ๆ หรือเครื่องใช้อื่น ๆ ซึ่งจะเห็นโดยทั่วไปตามร้านขายวัสดุก่อสร้าง เช่น ม้าหิน ศาลพระภูมิ ซึ่งพบเห็นอยู่ทั่วไปแทบทุกแห่ง นอกจากนี้แล้ว ในจังหวัดสกลนครยังได้นําทรายมาทําเป็น วัตถุดิบในการทําอิฐดินเผาร่วมกับดินเหนียวดังที่ได้กล่าวมาในหัวข้อก่อนหน้านี้ และนําใช้เป็นวัตถุดิบใน การทําอิฐมวลประสานในพื้นที่อีกด้วย ซึ่งอิฐมวลประสานนั้นสามารถประยุกต์ใช้กับวัสดุที่มีในท้องถิ่นมา เป็นส่วนผสม เมื่อได้ส่วนประสมตามสูตรที่ต้องการจะต้องมีการทดสอบค่าให้ได้ตามมาตรฐาน โดยทั่วไป อิฐมวลประสานมีส่วนประกอบของดินลูกรัง ทราย และนํามาผสมกับปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์กับน้ําในอัตราส่วน ที่เหมาะสม แล้วนํามาอัดเป็นก้อนด้วยเครื่องมืออัดอิฐมวลประสาน (รูปที่ 6-6) ซึ่งอาจใช้แรงคนหรือใช้ ระบบไฮดรอริกกําลังสูง หลังจากนั้นต้องนํามาตากแดด และหล่อด้วยน้ําเป็นช่วง ๆ ประมาณ 10-15 วัน จึง จะสามารถนํามาใช้งานได้ (ข)
(ก)
รูปที่ 6-6 การทําอิฐมวลประสานบริเวณอําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร (ก) ทรายก่อสร้างและดินลูกรังซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทําอิฐมวลประสาน (ข) ลักษณะของอิฐมวลประสานที่ได้
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
61
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 62 -
6.4 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ การจั ด ลํา ดับ ความสํ าคัญ ของแหล่ง แร่ ในรายงานการจํ า แนกเขตเพื่ อการจั ดการด้ า น ธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีเล่มนี้ใช้มูลค่าของแหล่งแร่แต่ละแหล่ง (ปริมาณสํารองแร่ที่มีศักยภาพเป็นไปได้ x ราคาแร่ ณ เวลานั้น) เป็นเกณฑ์ในการจัดลําดับ ส่วนปัจจัยด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ นั้น ได้รับการพิจารณาในขั้นตอนการขออนุญาตเพื่อประกอบการเหมืองแร่ โดยกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment, EIA) และกระบวนการเห็นชอบของประชาชนใน ท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบในการขออนุญาตอยู่แล้ว กรมทรัพยากรธรณีซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการสํารวจ ตรวจสอบสภาพธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี และการประเมินศักยภาพแหล่งทรัพยากรธรณี จึงให้ความสําคัญกับศักยภาพและมูลค่าของแหล่งแร่ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนบริหารจัดการ ทรัพยากรแร่ของท้องถิ่น รวมทั้งเป็นองค์ความรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ โดยทางกรมทรัพยากรธรณี ได้นําเสนอแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ในภาพรวมในบทที่ 7 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ในรายงานฉบับนี้ จะพิจารณาจากแหล่งแร่ที่พบ ในจังหวัดสกลนครทุกชนิด ยกเว้นทรายก่อสร้าง (ไม่ใช่ “แร่” ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510) จึงพิจารณา เฉพาะแหล่งแร่เกลือหิน โพแทช และทรายแก้ว เท่านั้น ซึ่งมีแหล่งแร่รวม 58 แหล่ง มีมูลค่าของแหล่งแร่ รวม 7,129.48 ล้านล้านบาท สามารถจัดลําดับมูลค่าของแหล่งแร่ตามกลุ่มแร่การใช้ประโยชน์ จากแหล่งแร่ ที่มีมูลค่ามากไปหาน้อย ได้ดังแสดงในตารางที่ 6-4 และรูปที่ 6-7 ตารางที่ 6-4 การจัดลําดับมูลค่าแหล่งแร่ทพี่ บในจังหวัดสกลนคร ตามกลุ่มแร่การใช้ประโยชน์ ลําดับ ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
แหล่งแร่
เนื้อที่ ปริมาณสํารอง ราคาแร่* มูลค่าแหล่งแร่ (บาท/ตัน) (ล้านบาท) (ตร.กม.) (ล้านตัน) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร ที่ตั้ง
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร แหล่งทรายแก้ว เกลือหิน และโพแทชบ้านดงหม้อทอง โดมเกลือหนองหาน แหล่งทรายแก้ว เกลือหิน และโพแทชบ้านห้วยทราย โดมเกลือบ้านวาใหญ่ โดมเกลือบ้านขุนเจริญ โดมเกลือบ้านธาตุ โดมเกลือบ้านหนองแอก โดมเกลือบ้านขาม โดมเกลือสว่างแดนดิน โดมเกลือบ้านจําปา โดมเกลือวาริชภูมิ
ต.ดงหม้อทองใต้ อ.บ้านม่วง
5,692.55 4,562,398.54
1,100, 6,718,442,812.78 16,000 350, 1100, 88,078,273.82 16,000
70.30
61,190.40
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร 225.15
76,411.83
1,100
84,053,008.10
ต.ห้วยหลัว อ.บ้านม่วง
22.86
19,901.01
350, 1100, 16,000
28,645,773.21
ต.วาใหญ่ อ.อากาศอํานวย ต.ม่วงไข่ อ.พังโคน ต.ธาตุทอง อ.สว่างแดนดิน ต.ดงเหนือ อ.บ้านม่วง ต.ขัวก่าย อ.วานรนิวาส ต.สว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน ต.หนองลาด อ.วาริชภูมิ ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร
53.28 36.72 36.21 35.07 32.20 23.50 22.55 19.93
18,083.80 12,463.44 12,287.52 11,900.78 10,928.36 7,975.46 7,653.85 6,764.94
1,100 1,100 1,100 1,100 1,100 1,100 1,100 1,100
19,892,179.92 13,709,781.22 13,516,276.23 13,090,860.37 12,021,198.08 8,773,007.85 8,419,229.68 7,441,429.23
หมายเหตุ: * ราคาแร่ อ้างอิงจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ http://www.dpim.go.th ณ เดือนกรกฎาคม 2555
62
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 63 -
ตารางที่ 6-4 การจัดลําดับมูลค่าแหล่งแร่ทพี่ บในจังหวัดสกลนคร ตามกลุ่มแร่การใช้ประโยชน์ (ต่อ) ลําดับ ที่ 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45
เนื้อที่ ปริมาณสํารอง ราคาแร่* มูลค่าแหล่งแร่ (ตร.กม.) (ล้านตัน) (บาท/ตัน) (ล้านบาท) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร โดมเกลือบ้านช้างมิ่ง ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน 18.84 6,394.45 1,100 7,033,891.41 โดมเกลือบ้านโคกสี ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน 16.56 5,618.98 1,100 6,180,880.68 5,610.00 1,100 6,170,997.27 โดมเกลือห้วยอูน ต.สว่าง อ.พรรณานิคม 16.53 โดมเกลือบ้านก่อ ต.หนองสนม อ.วานรนิวาส 16.52 5,605.53 1,100 6,166,080.69 5,071.10 1,100 5,578,210.36 โดมเกลือบ้านทุ่งมน ต.ทุ่งแก อ.เจริญศิลป์ 14.94 โดมเกลือบ้านนาแต้ ต.ดงเหนือ อ.บ้านม่วง 12.91 4,381.18 1,100 4,819,300.03 4,232.97 1,100 4,656,270.06 โดมเกลือบ้านท่าสองคอน ต.บะฮี อ.พรรณานิคม 12.47 โดมเกลือบ้านดอกนอ ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส 11.54 3,917.72 1,100 4,309,495.62 3,713.66 1,100 4,085,021.39 โดมเกลือบ้านขมิ้น ต.วังยาง อ.พรรณานิคม 10.94 โดมเกลือบ้านหนองทุ่มน้อย ต.สว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน 10.82 3,671.24 1,100 4,038,360.95 3,255.23 1,100 3,580,756.09 โดมเกลือบ้านคําหมุน ต.เดื่อศรีคันไชย อ.วานรนิวาส 9.59 โดมเกลือบ้านเพีย ต.หนองบัวสิม อ.คําตากล้า 8.93 3,032.17 1,100 3,335,387.79 2,989.80 1,100 3,288,775.40 โดมเกลือบ้านหนองกวั่ง ต.หนองกวั่ง อ.บ้านม่วง 8.81 โดมเกลือบ้านหนองหวาย ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน 7.98 2,706.79 1,100 2,977,463.63 2,690.93 1,100 2,960,018.28 โดมเกลือบ้านศรีคงคํา ต.นาเพียง อ.กุสมุ าลย์ 7.93 โดมเกลือหนองกุดเค็ม ต.ธาตุ อ.วานรนิวาส 7.56 2,565.48 1,100 2,822,024.95 2,486.62 1,100 2,735,283.77 โดมเกลือหนองบ่อ ต.มาย อ.บ้านม่วง 7.33 โดมเกลือบ้านถ่อน ต.บ้านเหล่า อ.เจริญศิลป์ 6.67 2,263.45 1,100 2,489,799.93 2,201.34 1,100 2,421,468.90 โดมเกลือบ้านนาคูณ ต.บ้านต้าย อ.สว่างแดนดิน 6.49 โดมเกลือบ้านนาดอกไม้ ต.กุดเรือคํา อ.วานรนิวาส 6.44 2,184.02 1,100 2,402,418.62 2,082.95 1,100 2,291,243.14 โดมเกลือบ้านกลางเจริญ ต.ต้นผึ้ง อ.พังโคน 6.14 โดมเกลือบ้านดอนป่าติ้ว ต.อากาศ อ.อากาศอํานวย 6.07 2,060.51 1,100 2,266,564.12 2,055.73 1,100 2,261,300.39 โดมเกลือบ้านคําบก ต.บ้านถ่อน อ.สว่างแดนดิน 6.06 โดมเกลือหนองหวาย ต.หนองลาด อ.เมืองสกลนคร 6.00 2,035.09 1,100 2,238,596.26 2,007.54 1,100 2,208,298.09 โดมเกลือบึงแต้ ต.ด่านม่วงคํา อ.โคกศรีสุพรรณ 5.92 โดมเกลือบ้านหนองแวง ต.หนองแวงใต้ อ.วานรนิวาส 5.74 1,948.99 1,100 2,143,889.40 1,942.65 1,100 2,136,911.47 โดมเกลือบ้านนาอวนน้อย ต.ธาตุ อ.วานรนิวาส 5.72 โดมเกลือบ้านหนองหมากแซว ต.คําสะอาด อ.สว่างแดนดิน 5.44 1,847.42 1,100 2,032,162.23 1,611.91 1,100 1,773,098.16 โดมเกลือบ้านโพธิ์ทอง ต.หนองกวั่ง อ.บ้านม่วง 4.75 โดมเกลือบ้านเชิงชุม ต.เชิงชุม อ.พรรณานิคม 4.71 1,597.18 1,100 1,756,894.55 1,526.31 1,100 1,678,945.44 โดมเกลือหนองบึงควาย ต.หนองบัวสิม อ.คําตากล้า 4.50 โดมเกลือบ้านนาเรือง ต.ขมิ้น อ.เมืองสกลนคร 4.31 1,462.64 1,100 1,608,905.82 1,321.91 1,100 1,454,105.64 โดมเกลือหนองหวาย ต.โพนงาม อ.อากาศอํานวย 3.90 แหล่งแร่
ที่ตั้ง
หมายเหตุ: * ราคาแร่ อ้างอิงจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ http://www.dpim.go.th ณ เดือนกรกฎาคม 2555
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
63
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 64 -
ตารางที่ 6-4 การจัดลําดับมูลค่าแหล่งแร่ทพี่ บในจังหวัดสกลนคร ตามกลุ่มแร่การใช้ประโยชน์ (ต่อ) ลําดับ ที่ 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58
เนื้อที่ ปริมาณสํารอง ราคาแร่* (ตร.กม.) (ล้านตัน) (บาท/ตัน) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร โดมเกลือบ้านบะหว้า ต.บะหว้า อ.อากาศอํานวย 3.86 1,310.61 1,100 โดมเกลือบ้านบงเหนือ ต.บงเหนือ อ.สว่างแดนดิน 3.61 1,226.85 1,100 1,202.53 1,100 โดมเกลือบ้านท่าก้อน ต.ท่าก้อน อ.อากาศอํานวย 3.54 โดมเกลือบ้านหว้าน ต.บ่อแก้ว อ.บ้านม่วง 3.47 1,176.09 1,100 991.62 1,100 โดมเกลือกุดเลา ต.ห้วยหลัว อ.บ้านม่วง 2.92 โดมเกลือหนองหลวง ต.หนองหลวง อ.สว่างแดนดิน 2.59 877.65 1,100 869.35 1,100 โดมเกลือบ้านกล้วยน้อย ต.มาย อ.บ้านม่วง 2.56 โดมเกลือบ้านคําสะอาด ต.คําสะอาด อ.สว่างแดนดิน 1.42 482.43 1,100 410.95 1,100 โดมเกลือห้วยมาย ต.ดงหม้อทอง อ.บ้านม่วง 1.21 โดมเกลือบ้านบ่อร้าง ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน 0.90 305.24 1,100 299.97 1,100 โดมเกลือหนองสกัน ต.ดงหม้อทองใต้ อ.บ้านม่วง 0.88 โดมเกลือบ้านสันติสุข ต.ดงเหนือ อ.บ้านม่วง 0.63 212.62 1,100 79.33 1,100 โดมเกลือบ้านท่าช้าง ต.ดงเหนือ อ.บ้านม่วง 0.23 รวม 58 แหล่ง 6,587.21 4,911,046.85 แหล่งแร่
ที่ตั้ง
มูลค่าแหล่งแร่ (ล้านบาท) 1,441,672.24 1,349,539.43 1,322,783.53 1,293,703.52 1,090,787.24 965,415.20 956,284.47 530,677.80 452,047.81 335,762.85 329,966.43 233,884.55 87,262.34 7,129,479,453.02
หมายเหตุ: * ราคาแร่ อ้างอิงจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ http://www.dpim.go.th ณ เดือนกรกฎาคม 2555
64
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 65 -
รูปที่ 6-7 แผนที่แสดงลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ในกลุม่ แร่เพื่อเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมและกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร จังหวัดสกลนคร
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
65
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 66 -
บทที่ 7 การจําแนกเขตทรัพยากรแร่ และมาตรการหรือแนวทางการบริหารจัดการ 7.1 หลักเกณฑ์และปัจจัยที่ใช้ในการจําแนกเขตทรัพยากรแร่ การจําแนกเขตทรัพยากรแร่ เป็นการนําข้อมูลพื้นที่แหล่งแร่ทุกประเภท (ยกเว้นทราย ก่อสร้าง) มาพิจารณาร่วมกับเงื่อนไขข้อจํากัดการใช้พื้นที่ตามกฎหมาย เช่น พื้นที่หวงห้ามเข้าใช้ประโยชน์ พื้นที่ที่ผ่อนผันให้เข้าทําประโยชน์ได้เป็นกรณีพิเศษ และพื้นที่ที่อนุญาตให้เข้าทําประโยชน์ได้ ซึ่งข้อมูลพื้นที่ ต่าง ๆ เหล่านี้ ประกอบด้วย เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตป่าชายเลน เขตวนอุทยาน เขตพื้นที่ชุ่มน้ํา เขตพื้นที่แหล่งโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เขตพื้นที่แหล่งธรรมชาติ ที่ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกทางธรรมชาติของท้องถิ่นอันควรอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี เขตพื้นที่ แหล่งซากดึกดําบรรพ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เขตพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ 1 เขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เขตปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เขตพื้นที่ป่าที่เหมาะสมต่อการเกษตร เขตประกาศตามมาตรา 6 ทวิ และ 6 จัตวา ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และเขตพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจ ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีได้นําข้อมูลดังกล่าว มาใช้เป็นเกณฑ์ในการจําแนกเขตทรัพยากรแร่ (รูปที่ 7-1) สําหรับพื้นที่จังหวัดสกลนครที่อยู่ภายใต้ข้อจํากัด ของกฎหมายของแสดงดังรูปที่ 7-2 ในการจําแนกเขตทรัพยากรแร่ได้นําพื้นที่แหล่งแร่มาจําแนกออกเป็น 3 เขต คือ เขตสงวน ทรัพยากรแร่ เขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ และเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) เขตสงวนทรัพยากรแร่ หมายถึง พื้นที่แหล่งแร่ที่ควรสงวนรักษาทรัพยากรแร่ไว้ ซึ่ง
เป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้ข้อจํากัดของกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ไม่เอื้ออํานวยให้นํา ทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ควรเก็บรักษาไว้ให้ชนรุ่นหลังใช้ประโยชน์ยามจําเป็นเมื่อเกิด วิกฤติของประเทศเท่านั้น หลักเกณฑ์ในการพิจารณาจําแนกเขตสงวนทรัพยากรแร่ คือ พื้นทีแ่ หล่งแร่ที่อยูใ่ นเขตสงวน หวงห้ามต่าง ๆ อันได้แก่ ● เขตอุทยานแห่งชาติ ที่ได้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา ตามพระราชบัญญัติอุทยาน แห่งชาติ พ.ศ. 2504 ● เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่ได้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา ตามพระราชบัญญัติสงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2534 ● เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามพระราชบัญญัติสงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ● เขตป่าชายเลน ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจําแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในพื้นที่ป่าชายเลน ● เขตวนอุทยาน ที่ได้รับการจัดตั้งตามนัยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
66
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 67 -
●
●
● ●
เขตพื้นที่ชุ่มน้ํา ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ําที่มีความสําคัญระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ําหรือ Ramsar Convention Wetlands เขตพื้นที่แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางธรรมชาติ ของท้องถิ่นอันควรอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามพระราชบัญญัติสงวนและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 เขตพื้นที่แหล่งซากดึกดําบรรพ์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ซากดึกดําบรรพ์ พ.ศ. 2551 เขตพื้นที่แหล่งโบราณสถาน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
รูปที่ 7-1 หลักเกณฑ์การจําแนกเขตทรัพยากรแร่ ที่นําข้อมูลพื้นที่แหล่งแร่มาพิจารณาร่วมกับ เงื่อนไขข้อจํากัดการใช้พื้นที่ตามกฎหมาย
(2) เขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ หมายถึง พื้นที่แหล่งแร่ที่ควรเก็บรักษาเพื่อสํารองไว้ใช้
ประโยชน์ในอนาคต แต่เปิดโอกาสให้นําทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบันได้ โดยมีเงื่อนไขพิเศษ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้ข้อจํากัดของกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หลักเกณฑ์ในการพิจารณาจําแนกเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ คือ
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
67
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 68 -
● ● ● ● ●
เขตพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ 1 ตามผลการกําหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ํา โดยสํานักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ที่ได้ประกาศโดยกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ได้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา ตามพระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 เขตพื้นที่ป่าที่เหมาะสมต่อการเกษตร ตามผลการจําแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากร และที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโดยกรมป่าไม้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เขตประกาศตามมาตรา 6 ทวิ วรรคหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
(3) เขตพัฒนาทรัพยากรแร่ หมายถึง พื้นที่แหล่งแร่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาใช้ประโยชน์
ได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเขตสงวนทรัพยากรแร่และเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ ในการพัฒนาใช้ประโยชน์ต้อง อยู่ภายใต้กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎ ระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐและเอกชน หลักเกณฑ์ในการพิจารณาจําแนกเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ คือ ● เขตประกาศตามมาตรา 6 ทวิ วรรคสอง ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ● เขตประกาศตามมาตรา 6 ทวิ จัตวา ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ● เขตพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจ ตามผลการจําแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโดยกรมป่าไม้ ตามมติคณะรัฐมนตรี ● พื้นที่นอกเขตกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการสงวนและการอนุรก ั ษ์ทรัพยากรแร่ ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างพื้นที่แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช และพื้นที่โดมเกลือ บริเวณอําเภอ เมืองสกลนคร อําเภอโพนนาแก้ว โคกศรีสุพรรณ และกุสุมาลย์ ที่จําแนกเขตทรัพยากรแร่โดยนํามาพิจารณา ร่วมกับเงื่อนไขข้อจํากัดการใช้พื้นที่ตามกฎหมาย ตามหลักเกณฑ์การจําแนกเขตทรัพยากรแร่ตามที่ได้กล่าว มาในข้างต้น สามารถจําแนกเขตทรัพยากรแร่ได้ดังแสดงในรูปที่ 7-3 พื้นที่ที่เป็นเขตสงวนทรัพยากรแร่ (พื้นที่สีแดงในภาพ) เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ํา (หนองหาน) และเขตแหล่งโบราณสถานที่ประกาศขึ้น ทะเบียนแล้ว (ในรัศมี 1 กิโลเมตรจากที่ตั้งแหล่ง) ส่วนพื้นที่ที่เป็นเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ (พื้นที่สีเหลือง ในภาพ) เป็นพื้นที่อยู่ในเขตพื้นที่ตามประกาศมาตรา 6 ทวิ ใน พรบ.แร่ และเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ป่ากุสุมาลย์ ป่าหนองบัวโค้ง และป่าอุ่มจาน) ส่วนพื้นที่เขตพัฒนาทรัพยากรแร่ (พื้นที่สีเขียวในภาพ) เป็น พื้นที่ที่สามารถขออนุญาตเข้าไปพัฒนาใช้ประโยชน์แร่ตามกฎหมายได้โดยไม่ติดเงื่อนไขใด ๆ
7.2 ผลการจําแนกเขตทรัพยากรแร่ การจําแนกเขตทรัพยากรแร่เป็ นการนําข้อมูลพื้ นที่ แหล่งแร่ ทุกประเภทที่ พบในจังหวั ด สกลนคร ได้แก่ เกลือหิน โพแทช และทรายแก้ว (ยกเว้นแหล่งทรายก่อสร้าง) มาพิจารณาร่วมกับพื้นที่ที่อยู่ ภายใต้ข้อจํากัดทางกฎหมายต่าง ๆ (รูปที่ 7-2) ดังที่ได้กล่าวรายละเอียดไว้ในหัวข้อที่ 7.1 พื้นที่ทรัพยากรแร่ในจังหวัดสกลนครมีเนื้อที่รวม 6,587.21 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 68.58 ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัด มีมูลค่าของแหล่งแร่รวมทั้งหมด 7,350.33 ล้านล้านบาท
68
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 69 -
รูปที่ 7-2 แผนที่พื้นที่ที่อยู่ภายใต้ข้อจํากัดของกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และกฎระเบียบต่าง ๆ จังหวัดสกลนคร
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
69
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 70 -
ผลการจําแนกเขตทรัพยากรแร่ในจังหวัดสกลนคร สามารถจําแนกได้เป็น 3 เขต (รูปที่ 7-4) คือ เขตสงวนทรัพยากรแร่ มีเนื้อที่รวม 135.29 ตารางกิโลเมตร มูลค่าของแหล่งแร่รวม 114.37 ล้านล้านบาท เขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ มีเนื้อที่รวม 6,054.52 ตารางกิโลเมตร มูลค่าของแหล่งแร่รวม 6,882.42 ล้านล้านบาท และเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ มีเนื้อที่รวม 376.80 ตารางกิโลเมตร มูลค่าของแหล่งแร่รวม 353.53 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนพื้นที่เทียบกับเนื้อที่จังหวัดสกลนครทั้งหมดเป็น 1.41%, 64.02% และ 3.15% ตามลําดับ (ตารางที่ 7-1)
รูปที่ 7-3 ตัวอย่างพื้นที่แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช และพื้นที่โดมเกลือ บริเวณอําเภอเมือง โพนนาแก้ว โคกศรีสุพรรณ และกุสุมาลย์ ทีจ่ ําแนกเขตทรัพยากรแร่โดยใช้หลักเกณฑ์ การจําแนกเขตทรัพยากรแร่
70
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 71 -
รูปที่ 7-4 แสดงแผนที่จําแนกเขตทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
71
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 72 -
ตารางที่ 7-1 ผลการจําแนกเขตทรัพยากรแร่ในจังหวัดสกลนคร ที่
เขตทรัพยากรแร่
1 เขตสงวนทรัพยากรแร่ 2 เขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ 3 เขตพัฒนาทรัพยากรแร่ รวม
เนื้อที่แหล่งแร่รวม (ตร.กม.)
สัดส่วนเขตทรัพยากรแร่เทียบกับ เนื้อที่จังหวัดทั้งหมด (%)
มูลค่าของแหล่งแร่ (ล้านบาท)
135.29 6,054.52 376.80
1.41 64.02 3.15
114,369,719.71 6,882,423,934.48 353,532,460.35
6,587.21
68.58
7,350,326,114.53
7.2.1 เขตสงวนทรัพยากรแร่ ในเขตสงวนทรัพยากรแร่พบแหล่งแร่ในกลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร คือ เกลือหินและโพแทช แหล่งแร่ในเขตสงวนทรัพยากรแร่ครอบคลุมพื้นที่รวม 135.29 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้รวม 100,974.90 ล้านตัน มูลค่าของแหล่งแร่ รวมประมาณ 114.37 ล้านล้านบาท โดยสามารถแบ่งแหล่งแร่ในเขตสงวนทรัพยากรแร่ออกได้เป็น 21 แหล่งย่อย รายละเอียดของแหล่งแร่ที่พบอยู่ในเขตสงวนทรัพยากรแร่แต่ละแหล่ง เนื้อที่แหล่งแร่ ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพ เป็นไปได้ และมูลค่าแหล่งแร่ แสดงในตารางที่ 7-2 ซึ่งแสดงการจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ใน เขตสงวนทรัพยากรแร่ โดยใช้มูลค่าของแหล่งแร่เป็นเกณฑ์ในการจัดลําดับ (รูปที่ 7-5) ในเขตสงวนทรัพยากรแร่มีพื้นที่แหล่งแร่เกลือหินและโพแทชจํานวน 12 แหล่งย่อย และ พื้นที่โดมเกลือจํานวน 9 แหล่งย่อย พบอยู่ในพื้นที่เขตพื้นที่ชุ่มน้ํา (หนองหาน) เขตพื้นที่แหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน (ตารางที่ 7-3) และแหล่งธรรมชาติอันควร อนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี แหล่งแร่เกลือหินและโพแทชในเขตสงวนทรัพยากรแร่ มีเนื้อที่แหล่งแร่รวม 14.71 ตาราง กิโลเมตร ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้รวม 12,784.78 ล้านตัน มีมูลค่าของแหล่งแร่รวม 17.36 ล้านล้านบาท พื้นที่โดมเกลือในเขตสงวนทรัพยากรแร่ มีเนื้อที่แหล่งแร่รวม 120.58 ตารางกิโลเมตร ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้รวม 88,190.12 ล้านตัน มีมูลค่าของแหล่งแร่รวม 97.05 ล้านล้านบาท พื้นที่แหล่งแร่ที่อยู่ในเขตสงวนทรัพยากรแร่เหล่านี้มีข้อจํากัดในการเข้าใช้ประโยชน์ตาม กฎหมาย ไม่สามารถดําเนินการพัฒนาพื้นที่เหล่านี้เพื่อการทําประโยชน์เหมืองแร่ได้ เนื่องจากพื้นที่แหล่งแร่ เหล่านี้อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีคุณค่าเกินกว่าจะประเมินค่าได้ จึงควรจะสงวนรักษาเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังใช้ประโยชน์ ยามจําเป็นเมื่อเกิดวิกฤตของประเทศเท่านั้น แต่ทั้งนี้ควรจะมีการสํารวจเพื่อประเมินศักยภาพแหล่งแร่ให้ ชัดเจนโดยหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นข้อมูลสําหรับการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรแร่ของประเทศ เมื่อพิจารณาชนิดของแหล่งแร่ที่พบอยู่ในเขตสงวนทรัพยากรแร่แล้ว จะพบว่าแร่เกลือหิน และโพแทช รวมถึงพื้นที่โดมเกลือล้วนพบอยู่ในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ที่เปิดโอกาสให้ใช้ประโยชน์ตามกฎหมาย ได้ และปัจจุบันจังหวัดสกลนครมีสถานประกอบการเพื่อผลิตเกลือสินเธาว์ในพื้นที่มากพอเพียงอยู่แล้ว และมี ปริมาณการผลิตมากพอเพียงกับความต้องการใช้ในจังหวัดและยังสามารถส่งจําหน่ายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ด้วย จึงยังไม่มีความจําเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรแร่ในเขตสงวนทรัพยากรแร่ดังกล่าว ส่วนแร่โพแทชต้องมีการสํารวจ เพื่อประเมินศักยภาพแหล่งแร่ให้ชัดเจนโดยหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นข้อมูลสําหรับการวางแผนบริหารจัดการ ทรัพยากรแร่ของประเทศ หากในอนาคตมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาเป็นเหมืองแร่เพื่อประโยชน์ของชาติ แต่ทั้งนี้ต้องมีวิธีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อป้องกันการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
72
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 73 -
ตารางที่ 7-2 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ในเขตสงวนทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร ลําดับ ที่
แหล่งแร่
เนื้อที่ ปริมาณสํารอง ราคาแร่* มูลค่าแหล่งแร่ (ตร.กม.) (ล้านตัน) (บาท/ตัน) (ล้านบาท) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร ที่ตั้ง
1 โดมเกลือสว่างแดนดิน
ต.สว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน
5.54
49,147.14
1,100 54,061,859.18
2 โดมเกลือหนองหาน_C1
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร 95.31
32,344.56
1,100 35,579,015.88 3,707,267.80
1,672.97
1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000
6.04
2,049.99
1,100
2,245,992.56
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร
3.14
1,066.05
1,100
1,172,655.15
10 โดมเกลือบ้านธาตุ_C1
ต.ธาตุทอง อ.สว่างแดนดิน
3.14
1,066.50
1,100
1,172,655.12
11 โดมเกลือบ้านโคกสี
ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน
2.99
1,013.81
1,100
1,151,186.79
12 โดมเกลือหนองหาน_C4
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร
2.86
970.80
1,100
1,067,874.60
13 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C6
0.85
735.95
1,100, 16,000
999,349.60
14 โดมเกลือห้วยอูน
1.22
412.79
1,100
454,072.32
15 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C7
0.26
228.14
309,787.06
16 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C8
0.18
156.35
17 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C9
0.15
133.80
1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000
18 โดมเกลือบ้านธาตุ_C2
0.35
118.93
1,100
130,820.78
19 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C10
0.03
24.90
33,810.30
20 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C11
0.02
15.81
21 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C12
0.02
13.29
1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000
3 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C1
3.14
2,730.13
4 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C2
3.10
2,695.95
5 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C3
2.79
2,425.55
6 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C4
2.25
1,951.95
7 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C5
1.92
8 โดมเกลือหนองหาน_C2
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร
9 โดมเกลือหนองหาน_C3
รวม 21 แหล่ง
ต.สว่าง อ.พรรณานิคม
ต.ธาตุทอง อ.สว่างแดนดิน
135.29
100,974.90
3,660,858.43 3,293,686.97 2,650,574.93 2,271,749.21
212,310.14 181,683.10
21,469.37 18,040.42 114,405,719.71
หมายเหตุ: * ราคาแร่ อ้างอิงจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ http://www.dpim.go.th ณ เดือนกรกฎาคม 2555
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
73
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 74 -
รูปที่ 7-5 แผนที่แสดงลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ในเขตสงวนทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร
74
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 75 -
ตารางที่ 7-3 แสดงพื้นที่แหล่งแร่ในเขตสงวนทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร ที่อยูใ่ นเขตพื้นที่แหล่งโบราณสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ที่กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนไว้ ที่
แหล่งแร่
1
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C1
2
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C2
3
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C3
4
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C4
5
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C5
6
โดมเกลือหนองหาน_C2
7
โดมเกลือหนองหาน_C3
8
โดมเกลือบ้านธาตุ_C1
9
โดมเกลือบ้านโคกสี
10
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C5
11
โดมเกลือหนองหาน_C4
12
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C6
13
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C7
14
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_C7
15
โดมเกลือบ้านธาตุ_C2
พื้นที่ซ้อนทับแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ที่กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนไว้ แหล่งโบราณสถานวัดด่านม่วงคํา พระเจดีย์ (พระธาตุอูปโมงค์) วัดป่าธาตุทอง กู่พันนา พระธาตุนารายณ์เจงเวง วัดพทธาวาส หอไตร วัดพระธาตุเชิงชุม และสะพานขอม พระธาตุดุม วัดศรีธาตุการาม วัดทุ่งป่าผาง (กลุ่มโบราณสถาน) วัดพุทธาวาส แหล่งโบราณคดีบ้านดอนธงชัย และเจดีย์หิน พระธาตุมีชัย วัดบ้านโคกดอน วัดพุทธาวาส วัดทุ่งป่าผาง (กลุ่มโบราณสถาน) กู่พันนา
หมายเหตุ: * เขต/ตําแหน่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อ้างอิงจากฐานข้อมูลของกรมศิลปากร ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2555
7.2.2 เขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่มีแหล่งแร่ในกลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร คือ เกลือหิน โพแทช และทรายแก้ว แหล่งแร่ในเขตอนุรักษ์ ทรัพยากรแร่ ครอบคลุมพื้นที่รวม 6,054.52 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้รวม 5.14 ล้านล้านตัน มูลค่าของแหล่งแร่รวมประมาณ 6,882.42 ล้านล้านบาท โดยสามารถแบ่งแหล่งแร่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ ออกได้เป็น 74 แหล่งย่อย รายละเอียดของแหล่งแร่ที่พบอยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่แต่ละแหล่ง เนื้อที่ แหล่งแร่ ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้ และมูลค่าแหล่งแร่ แสดงในตารางที่ 7-4 ซึ่งแสดงการจัดลําดับ ความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ โดยใช้มูลค่าของแหล่งแร่เป็นเกณฑ์ในการจัดลําดับ (รูปที่ 7-6) ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่มีพื้นที่แหล่งแร่เกลือหินและโพแทชจํานวน 5 แหล่งย่อย พื้นที่ โดมเกลือจํานวน 67 แหล่งย่อย และแหล่งทรายแก้ว เกลือหิน และโพแทช จํานวน 2แหล่ง พบอยู่ในพื้นที่ เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ป่าดงผาลาด, ป่าดงจีนและป่าดงเชียงโม, ป่าดงหม้อทอง, ป่าดงพันนาและ ป่าดงพระเจ้า, ป่าดงอีบ่าง ป่าดงคําหมู และป่าดงคําเกิ้ง) เขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อการเกษตร และเขตพื้นที่ ตามมาตรา 6 ทวิ ของ พรบ.แร่ บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
75
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 76 -
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทชในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ มีเนื้อที่แหล่งแร่รวม 5,380.11 ตารางกิโลเมตร ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้รวม 12,784.78 ล้านตัน มีมูลค่าของแหล่งแร่รวม 6,349.69 ล้านล้านบาท พื้นที่โดมเกลือในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ มีเนื้อที่แหล่งแร่รวม 676.22 ตารางกิโลเมตร ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้รวม 382,640.49 ล้านตัน มีมูลค่าของแหล่งแร่รวม 420.90 ล้านบาท พื้นที่แหล่งทรายแก้ว เกลือหิน และโพแทช ที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ มีเนื้อที่แหล่งแร่ รวม 93.17 ตารางกิโลเมตร ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้รวม 76,639.60 ล้านตัน มีมูลค่าของแหล่งแร่ รวม 111.82 ล้านบาท การนําทรัพยากรแร่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่เหล่านี้ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบันต้องอยู่ ภายใต้มีเงื่อนไขพิเศษของข้อจํากัดของกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎ ระเบียบต่าง ๆ ดังนั้น หากมีความจําเป็น ที่ต้องพัฒนาเป็นเหมืองแร่เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ควรจะเลือกจากพื้นที่แหล่งแร่ ที่อยู่ในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ก่อน แต่ทั้งนี้ ควรมีการสํารวจและประเมินศักยภาพแหล่งแร่ในเขตอนุรักษ์ ทรัพยากรแร่เพื่อกําหนดเขตพื้นที่แหล่งแร่ที่มีศักยภาพสูงเป็นแหล่งแร่สํารอง หากมีความจําเป็นที่ต้องพัฒนา รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาอนุมัติ อนุญาต ให้ใช้พื้นที่และพัฒนาทรัพยากรแร่มาใช้ประโยชน์ ได้ตามความจําเป็น ในกรณีที่จะใช้ประโยชน์แหล่งแร่เชิงพาณิชย์ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องที่มีอํานาจ ในการอนุมัติ อนุญาต กํากับ ดูแล ต้องกําหนดมาตรการเป็นกรณีพิเศษในการควบคุมผลกระทบที่อาจเกิด ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติประเภทอื่น ๆ และการนําทรัพยากรแร่มาใช้ประโยชน์ต้องดําเนินการ ตามมาตรการที่กําหนด หรือตามกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะโดยเคร่งครัด แหล่งแร่เกลือหินและโพแทชที่พบอยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ล้วนพบอยู่ในเขตพัฒนา ทรัพยากรแร่ทั้งสิ้น จึงยังไม่มีความจําเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรแร่ดังกล่าวที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ ในปัจจุบันแต่อย่างใด ส่วนแหล่งทรายแก้วที่พบอยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่เท่านั้น ในปัจจุบันพื้นที่ จังหวัดสกลนครยังไม่มีภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ประโยชน์จากทรายแก้วแต่อย่างใด ส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ ทรายเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างเท่านั้น แต่ทรายแก้วมีมูลค่ามากกว่าทรายก่อสร้างมาก เพื่อประโยชน์ในการใช้ ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงยังไม่ควรนํามาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ก่อสร้างปัจจุบัน ตารางที่ 7-4 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร ลําดับ ที่ 1 2
เนื้อที่ ปริมาณสํารอง ราคาแร่* (ตร.กม.) (ล้านตัน) (บาท/ตัน) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร
แหล่งแร่
ที่ตั้ง
1,100, 16,000
6,335,370,008.83
159,240.75
1,100
175,164,825.62
70.30
57,831.13
350, 1100, 16,000
84,383,079.62
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร 103.15
35,008.27
1,100
38,509,049.49
ต.ห้วยหลัว อ.บ้านม่วง
18,808.47
350, 1100, 16,000
27,443,982.00
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ B1
โดมเกลือสว่างแดนดิน แหล่งทรายแก้ว เกลือหิน 3 และโพแทชบ้านดงหม้อทอง 4 โดมเกลือหนองหาน_B1 แหล่งทรายแก้ว เกลือหิน 5 และโพแทชบ้านห้วยทราย
มูลค่าแหล่งแร่ (ล้านบาท)
5,367.97 4,665,527.15
ต.สว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน 17.96 ต.ดงหม้อทองใต้ อ.บ้านม่วง
22.86
หมายเหตุ: * ราคาแร่ อ้างอิงจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ http://www.dpim.go.th ณ เดือนกรกฎาคม 2555
76
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 77 -
ตารางที่ 7-4 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร (ต่อ) ลําดับ ที่ 6
เนื้อที่ ปริมาณสํารอง ราคาแร่* มูลค่าแหล่งแร่ (ล้านบาท) (ตร.กม.) (ล้านตัน) (บาท/ตัน) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร โดมเกลือบ้านวาใหญ่ ต.วาใหญ่ อ.อากาศอํานวย 53.28 18,083.47 1,100 19,892,179.22
7
โดมเกลือบ้านขุนเจริญ
ต.ม่วงไข่ ด.พังโคน
36.72
12,463.44
1,100
13,709,781.22
8
โดมเกลือบ้านหนองแอก
ต.ดงเหนือ ด.บ้านม่วง
34.54
11,720.91
1,100
12,892,997.53
9
แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ B2
10.61
9,225.38
1,100, 16,000
12,527,240.07
แหล่งแร่
ที่ตั้ง
10 โดมเกลือบ้านธาตุ
ต.ธาตุทอง อ.สว่างแดนดิน
32.71
11,102.55
1,100
12,212,800.33
11 โดมเกลือบ้านขาม
ต.ขัวก่าย อ.วานรนิวาส
32.20
10,928.36
1,100
12,021,198.08
12 โดมเกลือบ้านจําปา
ต.หนองลาด อ.วาริชภูมิ
22.37
7,592.18
1,100
8,350,297.47
13 โดมเกลือวาริชภูมิ
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร
19.93
6,764.94
1,100
7,441,429.23
14 โดมเกลือบ้านช้างมิ่ง
ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน
18.84
6,394.45
1,100
7,033,891.41
15 โดมเกลือบ้านก่อ
ต.หนองสนม อ.วานรนิวาส
16.52
5,605.53
1,100
6,166,080.69
16 โดมเกลือห้วยอูน
ต.สว่าง อ.พรรณานิคม
15.31
5,197.20
1,100
5,716,924.95
17 โดมเกลือบ้านทุ่งมน
ต.ทุ่งแก อ.เจริญศิลป์
14.94
5,071.10
1,100
5,578,210.36
18 โดมเกลือหนองหาน_B2
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร 14.64
4,969.05
1,100
5,465,953.35
19 โดมเกลือบ้านโคกสี
ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน
13.57
4,605.18
1,100
5,065,693.90
20 โดมเกลือบ้านนาแต้
ต.ดงเหนือ ด.บ้านม่วง
12.91
4,381.18
1,100
4,819,300.03
21 โดมเกลือบ้านท่าสองคอน ต.บะฮี อ.พรรณานิคม
12.47
4,232.97
1,100
4,656,270.06
22 โดมเกลือบ้านดอกนอ
ต.อินทร์แปลง อ.วานรนิวาส
11.54
3,917.72
1,100
4,309,495.62
23 โดมเกลือบ้านขมิ้น
ต.วังยาง อ.พรรณานิคม
10.94
3,713.66
1,100
4,085,021.39
24 โดมเกลือบ้านหนองทุ่มน้อย ต.สว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน 10.82
3,671.24
1,100
4,038,360.95
25 โดมเกลือบ้านคําหมุน
ต.เดื่อศรีคันไชย อ.วานรนิวาส
9.59
3,255.23
1,100
3,580,756.09
26 โดมเกลือบ้านหนองกวั่ง
ต.หนองกวั่ง อ.บ้านม่วง
8.81
2,989.80
1,100
3,288,775.40
27 โดมเกลือบ้านเพีย
ต.หนองบัวสิม อ.คําตากล้า
8.16
2,769.98
1,100
3,046,971.70
28 โดมเกลือบ้านหนองหวาย ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน
7.98
2,706.79
1,100
2,977,463.63
29 โดมเกลือบ้านศรีคงคํา
ต.นาเพียง อ.กุสมุ าลย์
7.93
2,690.93
1,100
2,960,018.28
30 โดมเกลือหนองกุดเค็ม
ต.ธาตุ อ.วานรนิวาส
7.56
2,565.48
1,100
2,822,024.95
31 โดมเกลือหนองบ่อ
ต.มาย อ.บ้านม่วง
7.33
2,486.62
1,100
2,735,283.77
32 โดมเกลือบ้านถ่อน
ต.ธาตุ อ.วานรนิวาส
6.67
2,263.45
1,100
2,489,799.93
33 โดมเกลือบ้านนาคูณ
ต.บ้านต้าย อ.สว่างแดนดิน
6.49
2,201.34
1,100
2,421,468.90
34 โดมเกลือบ้านนาดอกไม้
ต.กุดเรือคํา อ.วานรนิวาส
6.44
2,184.02
1,100
2,402,418.62
หมายเหตุ: * ราคาแร่ อ้างอิงจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ http://www.dpim.go.th ณ เดือนกรกฎาคม 2555
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
77
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 78 -
ตารางที่ 7-4 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร (ต่อ) ลําดับ ที่
เนื้อที่ ปริมาณสํารอง ราคาแร่* มูลค่าแหล่งแร่ (ตร.กม.) (ล้านตัน) (บาท/ตัน) (ล้านบาท) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร 35 โดมเกลือบ้านกลางเจริญ ต.ต้นผึ้ง อ.พังโคน 6.14 2,082.95 1,100 2,291,243.14 แหล่งแร่
ที่ตั้ง
36 โดมเกลือบ้านดอนป่าติ้ว 37 โดมเกลือบ้านคําบก
ต.อากาศ อ.อากาศอํานวย ต.บ้านถ่อน อ.สว่างแดนดิน
6.07 6.06
2,060.51 2,055.73
1,100 1,100
2,266,564.12 2,261,300.39
38 โดมเกลือหนองหวาย 39 โดมเกลือบ้านหนองแวง
ต.หนองลาด อ.เมืองสกลนคร ต.หนองแวงใต้ อ.วานรนิวาส
6.00 5.74
2,035.09 1,948.99
1,100 1,100
2,238,596.26 2,143,889.40
40 โดมเกลือบ้านนาอวนน้อย ต.ธาตุ อ.วานรนิวาส 41 โดมเกลือบ้านหนองหมากแซว ต.คําสะอาด อ.สว่างแดนดิน
5.72 5.44
1,942.65 1,847.42
1,100 1,100
2,136,911.47 2,032,162.23
42 โดมเกลือบ้านโพธิ์ทอง
4.75
1,611.91
1,100
1,773,098.16
43 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_B3
1.50
1,303.51
1,100, 16,000
1,770,044.35
44 โดมเกลือบ้านเชิงชุม
ต.เชิงชุม อ.พรรณานิคม
4.71
1,597.18
1,100
1,756,894.55
45 โดมเกลือหนองบึงควาย
ต.หนองบัวสิม อ.คําตากล้า
4.50
1,526.31
1,100
1,678,945.44
46 โดมเกลือบ้านนาเรือง
ต.ขมิ้น อ.เมืองสกลนคร
4.31
1,462.64
1,100
1,608,905.82
47 โดมเกลือหนองหวาย
ต.โพนงาม อ.อากาศอํานวย
3.90
1,321.91
1,100
1,454,105.64
48 โดมเกลือบ้านบะหว้า
ต.บะหว้า อ.อากาศอํานวย
3.86
1,310.60
1,100
1,441,672.24
49 โดมเกลือบ้านบงเหนือ
ต.บงเหนือ อ.สว่างแดนดิน
3.61
1,226.85
1,100
1,349,539.43
50 โดมเกลือบึงแต้
ต.ด่านม่วงคํา อ.โคกศรีสุพรรณ 3.58
1,213.70
1,100
1,335,074.93
51 โดมเกลือบ้านหว้าน
ต.บ่อแก้ว อ.บ้านม่วง
3.47
1,176.09
1,100
1,293,703.52
52 โดมเกลือบ้านท่าก้อน_B1 ต.ท่าก้อน อ.อากาศอํานวย
3.19
1,083.50
1,100
1,191,847.49
53 โดมเกลือกุดเลา
ต.ห้วยหลัว อ.บ้านม่วง
2.92
991.62
1,100
1,090,787.24
54 โดมเกลือหนองหลวง
ต.หนองหลวง อ.สว่างแดนดิน
2.59
877.65
1,100
965,415.20
55 โดมเกลือบ้านกล้วยน้อย
ต.มาย อ.บ้านม่วง
2.56
869.35
1,100
956,284.47
56 โดมเกลือบ้านคําสะอาด
ต.คําสะอาด อ.สว่างแดนดิน
1.42
482.43
1,100
530,677.80
57 โดมเกลือห้วยมาย
ต.ดงหม้อทอง อ.บ้านม่วง
1.21
410.95
1,100
452,047.81
58 โดมเกลือบ้านบ่อร้าง
ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน
0.90
304.95
1,100
335,449.82
59 โดมเกลือหนองสกัน_B1
ต.ดงหม้อทองใต้ อ.บ้านม่วง
0.71
241.38
1,100
265,515.20
60 โดมเกลือบ้านท่าก้อน_B2 ต.ท่าก้อน อ.อากาศอํานวย
0.16
54.74
1,100
60,215.56
61 โดมเกลือบ้านท่าก้อน_B3 ต.ท่าก้อน อ.อากาศอํานวย
0.16
53.66
1,100
59,022.57
62 โดมเกลือหนองสกัน_B2
0.09
31.99
1,100
35,184.72
0.01
11.88
1,100, 16,000
16,129.23
ต.หนองกวั่ง อ.บ้านม่วง
ต.ดงหม้อทองใต้ อ.บ้านม่วง
63 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_B4
หมายเหตุ: * ราคาแร่ อ้างอิงจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ http://www.dpim.go.th ณ เดือนกรกฎาคม 2555
78
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 79 -
ตารางที่ 7-4 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร (ต่อ) ลําดับ ที่
เนื้อที่ ปริมาณสํารอง ราคาแร่* มูลค่าแหล่งแร่ (ตร.กม.) (ล้านตัน) บาท/ตัน) (ล้านบาท) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร 64 โดมเกลือหนองสกัน_B3 ต.ดงหม้อทองใต้ อ.บ้านม่วง 0.04 14.45 1,100 15,892.14 แหล่งแร่
ที่ตั้ง
65 โดมเกลือบ้านท่าก้อน_B4 ต.ท่าก้อน อ.อากาศอํานวย
0.03
9.34
1,100
10,276.98
66 โดมเกลือหนองสกัน_B4
0.02
8.17
1,100
8,988.49
67 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_B5
0.01
6.56
1,100, 16,000
8,903.36
68 โดมเกลือหนองสกัน_B5
ต.ดงหม้อทองใต้ อ.บ้านม่วง
0.01
3.40
1,100
3,745.27
69 โดมเกลือหนองหาน_B2
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร
0.01
3.04
1,100
3,346.40
70 โดมเกลือบ้านท่าก้อน_B5 ต.ท่าก้อน อ.อากาศอํานวย
0.004
1.29
1,100
1,420.93
71 โดมเกลือหนองสกัน_B6
0.002
0.58
1,100
639.90
0.001
0.20
1,100
217.82
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร 0.0003
0.11
1,100
120.67
0.09
1,100
95.22
ต.ดงหม้อทองใต้ อ.บ้านม่วง
ต.ดงหม้อทองใต้ อ.บ้านม่วง
72 โดมเกลือบ้านบ่อร้าง_B1 ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน 73 โดมเกลือหนองหาน_B3
74 โดมเกลือบ้านบ่อร้าง_B2 ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน รวม 74 แหล่ง
0.0003 6,149.49
5,135,354.56
6,882,423,934.47
หมายเหตุ: * ราคาแร่ อ้างอิงจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ http://www.dpim.go.th ณ เดือนกรกฎาคม 2555
7.2.3 เขตพัฒนาทรัพยากรแร่ ในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่มีแหล่งแร่ในกลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และ กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร คือ เกลือหินและโพแทช แหล่งแร่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ครอบคลุมพื้นที่รวม 302.42 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้รวม 5.14 ล้านล้านตัน มูลค่าของแหล่งแร่รวม ประมาณ 260,720.22 ล้านบาท โดยสามารถแบ่งแหล่งแร่ในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ออกได้เป็น 34 แหล่งย่อย รายละเอียดของแหล่งแร่ที่พบอยู่ในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่แต่ละแหล่ง เนื้อที่แหล่งแร่ ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพ เป็นไปได้ และมูลค่าแหล่งแร่ แสดงในตารางที่ 7-5 ซึ่งแสดงการจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ใน เขตพัฒนาทรัพยากรแร่ โดยใช้มูลค่าของแหล่งแร่เป็นเกณฑ์ในการจัดลําดับ(รูปที่ 7-7) แหล่งแร่ในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่จํานวน 34 แหล่งย่อยนี้ เป็นแหล่งแร่ที่มีเนื้อที่มากกว่า 0.16 ตารางกิโลเมตร (100 ไร่) ซึ่งเป็นขนาดพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาใช้ประโยชน์ทรัพยากรแร่ได้ จํานวนทั้งสิ้น 10 แหล่งย่อย ครอบคลุมพื้นที่รวม 299.26 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณสํารองที่มีศักยภาพ เป็นไปได้รวม 258,860.57 ล้านตัน มูลค่าของแหล่งแร่รวมประมาณ 351.30 ล้านล้านบาท รายละเอียด ของแหล่งแร่ที่พบอยู่ในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่และมีศักยภาพในการพัฒนาแต่ละแหล่ง เนื้อที่แหล่งแร่ ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้ และมูลค่าแหล่งแร่ แสดงในตารางที่ 7-4 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทชในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาใช้ประโยชน์ ได้ มีเนื้อที่แหล่งแร่รวม 296.92 ตารางกิโลเมตร ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้รวม 258,066.73 ล้านตัน มีมูลค่าของแหล่งแร่รวม 350.43 ล้านล้านบาท บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
79
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 80 -
รูปที่ 7-6 แผนที่แสดงลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร
80
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 81 -
ตารางที่ 7-5 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร ลําดับ ที่
เนื้อที่ ปริมาณสํารอง ราคาแร่* มูลค่าแหล่งแร่ (ตร.กม.) (ล้านตัน) (บาท/ตัน) (ล้านบาท) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร
แหล่งแร่
ที่ตั้ง
2 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_A2
60.26
52,370.70
3 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_A3
35.82
31,133.56
4 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_A4
28.23
24,539.83
5 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_A5
3.73
3,244.00
6 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_A6
2.40
2,086.84
7 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_A7
1.95
1,698.31
8 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_A8
1.52
1,324.75
9 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_A9
1.22
1,056.65
1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000
10 โดมเกลือบึงแต้
2.34
793.84
1,100
873,223.16
11 โดมเกลือบ้านสันติสุข_A1 ต.ดงเหนือ อ.บ้านม่วง
0.57
515.06
1,100
566,570.96
12 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_A10
0.41
355.86
1,100, 16,000
483,232.67
13 โดมเกลือบ้านเพีย
0.77
262.20
1,100
288,416.09
14 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_A11
0.20
174.79
1,100, 16,000
237,342.74
15 โดมเกลือบ้านหนองแอก
ต.ดงเหนือ อ.บ้านม่วง
0.53
179.88
1,100
197,826.85
16 โดมเกลือบ้านจําปา
ต.หนองลาด อ.วาริชภูมิ
0.18
62.67
1,100
68,923.21
17 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_A12
0.05
46.49
1,100, 16,000
63,122.83
18 โดมเกลือบ้านสันติสุข_A2 ต.ดงเหนือ อ.บ้านม่วง
0.06
54.82
1,100
60,298.13
19 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A13
0.04
35.39
1,100, 16,000
48,051.02
20 โดมเกลือบ้านท่าช้าง_A1 ต.ดงเหนือ อ.บ้านม่วง
0.11
35.76
1,100
39,338.53
21 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A14
0.03
25.92
35,201.14
22 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A15
0.03
25.26
1,100, 16,000 1,100, 16,000
23 โดมเกลือบ้านท่าช้าง_A2 ต.ดงเหนือ อ.บ้านม่วง
0.09
29.69
1,100
32,653.75
24 โดมเกลือบ้านท่าช้าง_A3 ต.ดงเหนือ อ.บ้านม่วง
0.04
13.88
1,100
15,270.06
1 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_A1
161.78 140,612.09
ต.ด่านม่วงคํา อ.โคกศรีสุพรรณ
ต.หนองบัวสิม อ.คําตากล้า
190,938,681.05 71,114,724.65 42,276,595.46 33,322,903.88 4,405,067.93 2,833,736.29 2,306,154.46 1,798,896.02 1,434,834.93
34,296.87
หมายเหตุ: * ราคาแร่ อ้างอิงจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ http://www.dpim.go.th ณ เดือนกรกฎาคม 2555
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
81
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 82 -
ตารางที่ 7-5 การจัดลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ที่อยู่ในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร ลําดับ ที่
เนื้อที่ ปริมาณสํารอง ราคาแร่* (ตร.กม.) (ล้านตัน) (บาท/ตัน) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และกลุ่มแร่เพื่อการเกษตร
แหล่งแร่
ที่ตั้ง
25 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A16
0.01
10.51
26 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A17
0.009
7.85
27 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A18
0.008
7.14
28 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A19
0.007
6.33
29 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A20
0.006
5.44
30 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A21
0.003
2.43
31 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A22
0.002
1.30
32 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A23
0.0006
0.56
33 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A24
0.0004
0.31
34 แหล่งแร่เกลือหินและโพแทช จ.สกลนคร_ A25
0.0001
0.13
รวม 34 แหล่ง
302.42
260,720.22
1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000 1,100, 16,000
มูลค่าแหล่งแร่ (ล้านบาท) 14,273.60 10,657.54 9,690.73 8,599.12 7,391.11 3,295.14 1,767.53 761.80 423.10 175.00 353,532,460.35
หมายเหตุ: * ราคาแร่ อ้างอิงจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ http://www.dpim.go.th ณ เดือนกรกฎาคม 2555
พื้นที่โดมเกลือในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาใช้ประโยชน์ มีเนื้อที่ แหล่งแร่รวม 2.34 ตารางกิโลเมตร ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้รวม 793.84 ล้านตัน มีมูลค่าของ แหล่งแร่รวม 873,223.16 ล้านบาท แหล่งแร่เกลือหินและโพแทชในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่เป็นแหล่งแร่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา ใช้ประโยชน์มากที่สุด ในปัจจุบันมีสถานประกอบการขนาดกลางถึงขนาดเล็กเพื่อผลิตเกลือสินเธาว์โดย วิธีการต้มและทํานาตากเป็นจํานวนมาก โดยส่วนใหญ่แล้วสถานประกอบการจะเจาะบ่อบาดาลลงไปในชั้น เกลือเพื่อสูบเอาน้ําเค็มเข้มข้นขึ้นมาต้มหรือตากตามกรรมวิธี แต่ทั้งนี้ การสูบน้ําบาดาลเค็มขึ้นมาในปริมาณ ที่มากเกินไปอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมข้างเคียงได้ อาทิเช่น การเกิดหลุมยุบ และการแพร่กระจาย ของความเค็ม เป็นต้น ดังนั้น จึงควรมีมาตรการในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น การกําหนดพื้นที่ เพื่อสูบน้ําเค็มและผลิตเกลือสินเธาว์ มีการควบคุมการสูบน้ําเค็มขึ้นมาไม่ให้มากเกินไป การจัดการระบบน้ําทิ้ง จากการทํานาเกลือหรือต้มเกลือ มีระบบติดตามและตรวจสอบกระบวนการผลิตและการจัดการพื้นที่ โดย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในพื้นที่ โดยภาครัฐเป็นผู้กํากับดูแลและให้ความรู้กับประชาชน ในส่วนของการต้มเกลือสินเธาว์ของชาวบ้านรายย่อยนั้น ส่วนใหญ่จะนําคราบเกลือที่ปรากฏตามผิวดินใน ฤดูแล้งมาต้มเพื่อให้ได้เกลือสินเธาว์ ซึ่งวิธีการนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมแต่อย่างใด
82
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 83 -
รูปที่ 7-7 แผนที่แสดงลําดับความสําคัญของแหล่งแร่ในเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ จังหวัดสกลนคร
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
83
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 84 -
นอกจากนี้ ภาครัฐควรเข้ามาช่วยสนับสนุนการเพิม่ มูลค่าของผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ เพราะ ถ้าขายในลักษณะเกลือทั่วไปจะได้ราคาที่ไม่สูงนัก หากมีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เกลือให้สามารถขายได้ ราคาดีขึ้น เช่น การทําเกลือขัดผิวสมุนไพร เกลือสปาแช่ตัว/แช่เท้า เป็นต้น โดยประชาชนในพื้นที่อาจจะมี การรวมกลุ่มแม่บ้านเพื่อทําเป็นผลิตภัณฑ์โอทอป ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้และพัฒนาอาชีพคนในพื้นที่อีกด้วย ส่วนแร่โพแทชซึ่งเป็นแร่สําคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยนั้น ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มี เหมืองโพแทช และไม่มีโรงแต่งแร่โพแทช แต่ก็มีการขออนุญาตสํารวจและศึกษาในหลายพื้นที่ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งในพื้ นที่อําเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครด้วย โดยบริษัท ไชน่า หมิงต๋ า คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จํากัด เป็นผู้ขออนุญาตสํารวจ ทั้งนี้ หากจะมีการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์แร่โพแทช แล้ว นอกจากการสํารวจและศึกษาสภาพธรณีวิทยาแหล่งแร่ว่ามีปริมาณสํารองมากพอที่จะพัฒนาหรือไม่ จะต้องศึกษาข้อดี-ข้อเสียและผลกระทบที่ต่อชุมชนและสภาพแวดล้อมในพื้นที่และข้างเคียงอย่างละเอียด รอบคอบด้วย
ทรัพยากรแร่กับทิศทางการพัฒนาจังหวัดสกลนคร การพัฒนาท้องถิ่นใด ๆ ทรัพยากรแร่ของท้องถิ่นมีผลต่อการกําหนดทิศทางการพัฒนา เช่นกัน ทรัพยากรแร่ของจังหวัดสกลนครมีแนวโน้มบ่งชี้ไปทางด้านเป็นแหล่งวัตถุดิบเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเกลือสินเธาว์ซึ่งมีอยู่เป็นปริมาณมาก แต่ทั้งนี้ในการผลิตเกลือสินเธาว์ขึ้นมาใช้ ในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ จึงควรมีการบริหารจัดการ ติดตามและตรวจสอบ อย่างเป็นระบบด้วย
7.3 ปัจจัยเพิ่มเติมในการพัฒนาใช้ประโยชน์แหล่งแร่ จากหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจําแนกเขตทรัพยากรแร่ดังกล่าว จะเห็นว่าเขตพัฒนาทรัพยากรแร่ เป็นเขตที่สามารถเข้าไปพัฒนาใช้ประโยชน์แร่ได้โดยไม่ติดเงื่อนไขใด ๆ แต่อย่างไรก็ตาม หากจะเข้าไปใช้ ประโยชน์ในเขตดังกล่าว จะต้องพิจารณาปัจจัยหลัก 3 ประเด็นเพิ่มเติม ดังนี้ ประเด็นแรก ด้านความสมบูรณ์และศักยภาพของแหล่งทรัพยากรธรณี ทั้งในส่วนของปริมาณ ทรัพยากรสํารอง สภาพธรรมชาติของแหล่งทรัพยากรที่สง่ ผลต่อความยากง่ายในการพัฒนา ประเด็นที่สอง ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจําเป็นต้องทําการวิเคราะห์ต้องการการใช้ประโยชน์ ใน ระดับภูมิภาค ในระดับประเทศ และอาจรวมถึงระดับต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ต้องพิจารณาถึงต้นทุนทั้ง ในส่วนการผลิต การขนส่ง และการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน ประเด็นทีส่ าม ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยต้องพิจารณาถึงผลกระทบทีจ่ ะเกิดขึน้ ระหว่าง การพัฒนาและหลังการพัฒนา ทั้งในส่วนของชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และชุมชนใกล้เคียง ส่วนของ ทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น และความเสี่ยงจากธรณีพิบัติภัยด้วย
84
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 85 -
7.4 มาตรการ หรือแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ในแต่ละเขต 7.4.1 เขตสงวนทรัพยากรแร่ (1) ควรมีการสํารวจเพื่อประเมินศักยภาพแหล่งแร่ในพื้นที่ที่ยังไม่มีการสํารวจหรือค้นพบ ทรัพยากรแร่ที่ชัดเจน และ/หรือพื้นที่ศักยภาพทางแร่ โดยหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นข้อมูลสําหรับการวางแผน บริหารจัดการทรัพยากรแร่ของประเทศ (2) พื้นที่แหล่งแร่ที่สํารวจพบแล้ว ไม่สมควรอนุญาตให้พัฒนาใช้ประโยชน์เพื่อการเหมืองแร่ ในปัจจุบัน หากในอนาคตมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาเป็นเหมืองแร่เพื่อประโยชน์ของชาติ รัฐอาจพิจารณา ให้นําทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ตามความจําเป็น (3) ควรกําหนดพื้นที่ที่มีลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่ หรือเป็นแหล่งแร่ต้นแบบ ให้เป็นพื้นที่ สําหรับการศึกษาเรียนรู้ไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนเข้ามาศึกษา เรียนรู้ได้ ทั้งนี้ หน่วยงานผู้กํากับดูแลพื้นที่ควรออกระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่
7.4.2 เขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ (1) ควรมีการสํารวจและประเมินศักยภาพแหล่งแร่ เพื่อกําหนดเขตพื้นที่แหล่งแร่ที่มี ศักยภาพสูงเป็นแหล่งแร่สํารอง หากมีความจําเป็นที่ต้องพัฒนาเป็นเหมืองแร่เพื่อประโยชน์ของชาติ รัฐและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาอนุมัติ อนุญาต ให้ใช้พื้นที่และพัฒนาทรัพยากรแร่มาใช้ประโยชน์ได้ตาม ความจําเป็น (2) ในกรณีที่จะใช้ประโยชน์แหล่งแร่เชิงพาณิชย์ หน่วยงานภาครัฐที่มีอํานาจเกี่ยวข้อง ในการอนุมัติ อนุญาต กํากับ ดูแล ต้องกําหนดมาตรการเป็นกรณีพิเศษในการควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติประเภทอื่น ๆ (3) การนําทรัพยากรแร่มาใช้ประโยชน์ต้องดําเนินการตามมาตรการที่กําหนด หรือตาม กฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะโดย
7.4.3 เขตพัฒนาทรัพยากรแร่ (1) อนุญาตให้ใช้ประโยชน์พื้นที่และแหล่งแร่เชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ บัญญัติไว้ เช่น กฎหมายว่าด้วยแร่ กฎหมายว่าด้วยการใช้ประโยชน์ที่ดิน กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้น (2) การนําทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้ประโยชน์ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาแหล่งแร่ที่ตอบสนอง ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันดับแรก เช่น แร่และหินเพื่อการก่อสร้าง แร่เพื่อการเกษตร และ แร่ที่เป็นวัตถุดิบหลักสําหรับอุตสาหกรรมพื้นฐานในประเทศ เป็นต้น ส่วนแร่ที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นแร่ดิบ หรือสินแร่โดยไม่มีการเพิ่มมูลค่าก่อน ควรกําหนดมาตรการควบคุมหรือจํากัดเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้ เพื่อเป็น การดูแลรักษาทรัพยากรแร่ที่ใช้แล้วหมดไป ไม่ให้สิ้นเปลืองหรือใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ (3) เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการพิจารณา อนุญาต ตามแนวทาง ระเบียบ และกฎหมายที่กําหนดไว้ โดยประเด็นสําคัญที่ต้องร่วมพิจารณา เช่น ข้อจํากัด เชิงพื้นที่ และมีส่วนร่วมในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการทําเหมือง เป็นต้น
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
85
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 86 -
(4) ผู้ประกอบการควรมีการเสนอผลตอบแทนพิเศษอื่นเพิ่มเติมให้แก่ชุมชนท้องถิ่นใน บริเวณที่มีการทําเหมืองแร่ โดยมีการหารือกับชุมชนท้องถิ่นถึงความต้องการร่วมกัน ซึ่งอาจจะเสนอได้ หลายรูปแบบ เช่น การจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีผู้แทนภาคประชาชนร่วมกําหนดแผนพัฒนา ดําเนินการ และติดตามตรวจสอบ เป็นต้น (5) เมื่อมีการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรแร่แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาค ประชาชนต้องเข้มงวดในการควบคุม กํากับดูแล และติดตามตรวจสอบ ให้การดําเนินการได้มาตรฐานตาม มาตรการที่กําหนดไว้
86
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 87 -
บทที่ 8 ข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรณีจังหวัดสกลนคร ตามที่กรมทรัพยากรธรณีได้ดําเนินโครงการจําแนกเขตด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี พื้นที่จังหวัดสกลนครในปีงบประมาณ 2555 จากผลการดําเนินงานพบว่า จังหวัดสกลนครมีทรัพยากรธรณี ที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นแหล่ง ทรัพยากรแร่ เช่น โพแทช เกลือหิน ทรายแก้ว และทรายก่อสร้าง นอกจากนี้ยังพบแหล่งธรณีวิทยาประเภท แหล่งธรณีสัณฐานที่มีความโดดเด่นอีกหลายแห่ง ได้แก่ น้ําตกคําหอม น้ําตกปรีชาสุขสันต์ น้ําตกห้วยใหญ่ น้ําตกแม่อูน น้ําตกเก้าชั้น หนองหาน สะพานผีผ่าน ดานหินลานมันปลา และผาผักหวาน ซึ่งเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวของจังหวัด สามารถสร้างรายได้ของประชาชนในท้องถิ่นได้ อีกทั้งมีแหล่งซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ เหล่าโพนค้อซึ่งมีศักยภาพในการการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาของประชาชนในท้องถิ่นได้ อย่างไรก็ตามการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรณีจําเป็นต้องมีแนวทางการบริหารจัดการที่ ชัดเจน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่า ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
8.1 แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรแร่จงั หวัดสกลนคร ทรั พยากรแร่ ที่ พบในจั งหวัดสกลนครสามารถจํ าแนกตามลั ก ษณะการใช้ ประโยชน์ ที่ กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรแร่ พ.ศ. 2550-2554 แบ่งออกเป็นได้เป็น 3 กลุ่ม โดย มีรายละเอียดและแนวทางการบริหารจัดการ ดังนี้
8.1.1 กลุ่มแร่เพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ทรายก่อสร้าง ในพื้นที่จัดหวัดสกลนครเป็นทรายแม่น้ําพบตามทางน้ําหลัก เช่น ลําน้ําพุง แม่น้ําสงคราม และลําน้ํ ายาม เป็ นต้ น จากการประเมินเบื้องต้นพบว่าแหล่ งทรายในจังหวัดสกลนคร ครอบคลุมพื้นที่ 174.84 ตารางกิโลเมตร จะมีปริมาตรทรายเมื่อผลิตออกมาแล้วประมาณ 345.88 ล้านตัน ปัจจุบันมีการขออนุญาติประกอบการขุดตักทรายเพียงแหล่งเดียวบริเวณลําน้ําพุง ในเขตตําบลตองโขบ อําเภอโคกศรีสุพรรณ นับเป็นแหล่งทรายก่อสร้างที่เป็นวัตถุดิบสําคัญในการพัฒนาสาธารณูปโภคและ การก่อสร้างภายในจังหวัดสกลนครเป็นอย่างมาก โดยเป็นวัสดุหลักผสมคอนกรีตเพื่อใช้ในงานก่อสร้าง แต่ทั้งนี้ควรมีมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นในช่วงดําเนินการ เช่น มาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมบริเวณริมน้ํา ควรกําหนดพื้นที่ที่อนุญาตให้ ดูดทรายในพื้นที่ที่มีศักยภาพการทับถมของทรายอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งควบคุมโดยคํานึงถึงปริมาณทราย ที่อยู่ในบริเวณนั้นและกําลังผลิตหรือกําลังเครื่องยนต์ดูดทราย เพื่อป้องกันการพังทลายของตลิ่ง มาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางอากาศและเสียง ในการประกอบกิจการ ดูดทรายจําเป็นต้องใช้เครื่องยนต์ที่ใช้ดูดและคัดแยกขนาดทราย ตลอดจนการขนส่งก่อให้เกิดปัญหาเสียงดัง รบกวน ควันดํา และการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง เช่น กําหนดช่วงเวลาการทํางานของเครื่องจักรและการขนส่ง การล้างล้อรถยนต์ที่เข้า-ออกและพรมน้ําบริเวณหน้างานเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง มาตรการป้องกันและลดผลกระทบจากคมนาคมขนส่ง การขนส่งทรายส่งผลให้มีปริมาณ จราจรหนาแน่นขึ้น ถนนอาจชํารุดเสียหายเนื่องจากไม่สามารถรองรับน้ําหนักบรรทุกได้และมีความเสี่ยงต่อ
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
87
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 88 -
การเกิดอุบัติเหตุได้สูงขึ้น จึงควรมีมาตรการลดผลกระทบ เช่น กําหนดน้ําหนักบรรทุกที่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ที่กรมทางหลวงกําหนด หรือไม่เกินพิกัดที่ถนนเส้นทางนั้นสามารถรองรับได้ ขนส่งเฉพาะในเวลากลางวัน เท่านั้น ปรับปรุงซ่อมแซมถนนให้อยู่ในสภาพดี และสามารถใช้งานได้อยู่เสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิด จากการที่ถนนชํารุด หรือเป็นหลุมเป็นบ่อ หากผู้ประกอบการไม่ดําเนินการเองให้จัดงบประมาณให้แก่ท้องถิ่น เป็นผู้ดําเนินการให้เหมาะสมกับสภาพความเสียหาย
8.1.2 กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เกลื อหิ น จากการประเมิ นปริมาณเกลือหินเบื้องต้นในพื้นที่จังหวัดสกลนคร พบว่ า มี ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้ประมาณ 4.83 ล้านล้านตัน แบ่งเป็นเกลือหินที่เกิดร่วมกับแร่โพแทช 4.56 ล้านล้านตัน และเกลือหินที่มีลักษณะแบบโดมเกลือ 0.27 ล้านล้านตัน มีมูลค่ารวม 5,317.85 ล้าน ล้านบาท ปัจจุบันเกลือหินส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือถูกใช้ประโยชน์ในการใช้เป็นวัตถุดิบในอุต สาหรรมหลายชนิดเช่นการทําโซดาไฟ (NaOH) โซดาแอช (Na2CO3) มีเพียงเล็กน้อยที่ใช้ในการประกอบ อาหาร โดยแหล่งผลิตสําคัญอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดสกลนคร ซึ่งส่วนใหญ่ ผลิตเกลือโดยสูบน้ําเกลือจากชั้นน้ําบาดาลขึ้นมาต้มหรือตากบนลาน สําหรับในพื้นที่จังหวัดสกลนครมีผู้ขออนุญาตประกอบการผลิตเกลือสินเธาว์รวมทั้งสิ้น 49 ราย ในพื้นที่ตําบลกุดเรือคํา ตําบลคูสะคาม และตําบลอินทร์แปลง อําเภอวานรนิวาส และตําบลหนองกวั่ง อําเภอบ้านม่วง โดยส่วนใหญ่แล้วสถานประกอบจะเจาะบ่อบาดาลลงไปในชั้นเกลือเพื่อสูบเอาน้ําเค็มเข้มข้น ขึ้นมาต้มหรือตากตามกรรมวิธี แต่ทั้งนี้ การสูบน้ําบาดาลเค็มขึ้นมาในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมข้างเคียงได้ อาทิเช่น การเกิดหลุมยุบ และการแพร่กระจายของความเค็ม เป็นต้น ดังนั้น จึงควรมี มาตรการในการบริหารจัดการอย่ างเป็ นระบบ เช่น การกํ าหนดพื้ นที่เพื่อสูบน้ําเค็มและผลิ ต เกลือสินเธาว์ การควบคุมการสูบน้ําเค็มขึ้นมาไม่ให้มากเกินไป การลดผลกระทบทางอากาศจากขี้เถ้าฝุ้งกระ จายที่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงสําหรับต้มเกลือ การจัดการระบบน้ําทิ้งจากการทํานาเกลือหรือต้มเกลือไม่ให้ ปนเปื้อนในพื้นที่เกษตรกรรม และหลุมยุบขนาดใหญ่จากการทํานาเกลือ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในพื้นที่ที่ผลิต เกลือสินเธาว์ของจังหวัดสกลนครด้วย มีระบบติดตามและตรวจสอบกระบวนการผลิตและการจัดการพื้นที่ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในพื้นที่ โดยภาครัฐเป็นผู้กํากับดูแลและให้ความรู้กับ ประชาชน ในส่วนของการต้มเกลือสินเธาว์ของชาวบ้านรายย่อยนั้น ส่วนใหญ่จะนําคราบเกลือที่ปรากฏตาม ผิวดินในฤดูแล้งมาต้มเพื่อให้ได้เกลือสินเธาว์ ซึ่งวิธีการนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมแต่อย่างใด นอกจากนี้ ภาครัฐควรเข้ามาช่วยสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ เพราะถ้าขายในลักษณะ เกลือทั่วไปจะได้ราคาที่ไม่สูงนัก หากมีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เกลือให้สามารถขายได้ราคาดีขึ้น เช่น การทําเกลือขัดผิวสมุนไพร เกลือสปาแช่ตัว/แช่เท้า เป็นต้น โดยประชาชนในพื้นที่อาจจะมีการรวมกลุ่ม แม่บ้านเพื่อทําเป็นผลิตภัณฑ์โอทอป ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้และพัฒนาอาชีพคนในพื้นที่อีกด้วย ทรายแก้ว พบในพื้นที่อําเภอบ้านม่วง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร มี ปริมาณสํารองประมาณ 1.25 ล้านตัน ปัจจุบันทรายแก้วถูกใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําแก้ว ทํากระจก เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา ใช้ทําเป็นแบบหล่อเหล็กในอุตสาหกรรมเหล็กหล่อ วัสดุขัดแบบพิมพ์หล่อเหล็ก ทําสีและใช้เป็นผงขัดสนิมเหล็กแทนการใช้กระดาษทราย แต่แหล่งทรายแก้วในพื้นที่จังหวัดสกลนครถึงแม้ จะมีคุณภาพดีสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมได้ แต่ด้วยปริมาณที่มีอยู่น้อยระยะทางที่ห่างไกลจากโรงงาน ที่มีความต้องการใช้ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดระยอง ทําให้ต้นทุนในการขนส่งมีราคาสูง นอกจากนั้น ในพื้นที่จังหวัดระยองและจังหวัดจันทบุรีก็ยังมีแหล่งทรายแก้วที่มีคุณภาพในระดับเดียวกัน มีปริมาณมาก และอยู่ใกล้โรงงานมากกว่า ดังนั้นในปัจจุบันทรายแก้วในจังหวัดสกลนครจึงไม่มีความจําเป็นต้องนําขึ้นมาใช้ ประโยชน์ 88
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 89 -
8.1.3 กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร โพแทช จากการสํารวจพบว่าโพแทชในจังหวัดสกลนครมี 2 ชนิด คือ แร่คาร์นัลไลต์ และ แร่ซิลไวต์ โดยแร่คาร์นัลไลต์มีปริมาณสํารอง 108,742.94 ล้านตัน และแร่ซิลไวต์มีปริมาณสํารอง 4,481.48 ล้านตัน รวมปริมาณสํารองทั้ง 2 ชนิดเป็น 113,224.42 ล้านตัน มีมูลค่าประมาณ 1,811.59 ล้านล้านบาท แร่โพแทชเป็นวัตถุดิบสําคัญในการผลิตปุ๋ยโพแทสเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืชที่ผสม อยู่ในปุ๋ยนอกเหนือจากไนโตรเจนและฟอสเฟต เพื่อเพิ่มผลผลิตให้แก่พืชผลการเกษตรประเภท ธัญพืช ข้าว ข้าวโพด ปาล์ม อ้อย ยางพารา เป็นต้น โดยในปี 2553 ประเทศไทยมีการนําเข้าปุ๋ยโพแทชทั้งปุ๋ยเชิงเดี่ยว และเชิงผสมถึง 1.5 ล้านตัน โพแทชจึงเป็นแร่ที่ประเทศไทยมีความต้องการสูง โดยการดําเนินการนําแร่โพแทช ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบันนิยมทําแบบเหมืองอุโมงค์ อย่างไรก็ตามการเปิดดําเนินการทําเหมืองแร่ประเภทนี้ อาจก่อให้เกิดผลกระทบหลายด้าน ดังนั้น การนําแร่ขึ้นมาใช้ประโยชน์จึงต้องคํานึงถึงหลักคิดและวิธีการที่สังคม โดยรวมได้ประโยชน์สูงสุด โดยคํานึงถึงมาตรการทั้ง 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ 1. ด้านนโยบายและมาตรการอุตสาหกรรมโพแทช - ควรพิจารณากําลังการผลิตแร่โพแทชและแนวโน้มความต้องการของตลาดโดยคํานึงถึง แนวโน้มความต้องการใช้ภายในประเทศเป็นลําดับแรก - มีการกําหนดแผนและมาตรการในการพัฒนาโครงการแหมืองแร่ โดยคํานึงถึงความคุ้มค่า ในแง่การลงทุน หรือความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ ร่วมกับเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม - มีการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมแร่โพแทชอย่างครบวงจร โดยเฉพาะ การนําแร่โพแทชไปใช้ผลิตปุ๋ยเคมี เพื่อทดแทนการนําเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ - ภาครัฐควรชี้แจงผลกระทบจากการทําเหมืองให้ชัดเจน รวมถึงมีกลไกในการตรวจวัดระดับ คุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน - การส่งแร่ออกนอกประเทศควรมีการแต่งแร่เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตปุ๋ย โพแทชก่อนเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยไม่มีการทําแร่ขายเป็นวัตถุดิบให้กับต่างประเทศ 2. ด้านการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนและธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อม - ควรมีการกําหนดใช้เครื่องมือในการประเมินผลที่จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ เช่น EIA, HIA, SEA และ SIA เป็นต้น - มีมาตรการป้องกัน เยียวยา ประกันความเสี่ยง การลดผลกระทบต่อสุขภาพ และ สิ่งแวดล้อม การชดเชยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดําเนินงานของโครงการที่ชัดเจน - มีการส่งเสริมจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดทําแผนการพัฒนา ในระดับพื้นที่ - มีการกําหนดแนวทางการปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติราชการทางปกครอง และการดําเนินกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐ อันมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล 3. ด้านมาตรการทางทางกฎหมาย - ปรับปรุงกฎหมายผู้ประกอบการทําเหมืองแร่ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับ มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยให้ความสําคัญกับสิทธิชุมชน สิทธิทรัพยากร สิทธิการรับรู้ข่าวสาร การเข้าถึงข่าวสาร และการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ในเชิงนโยบายอย่างแท้จริง บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
89
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 90 -
4. ระบบตอบแทนและชดเชยความเสียหายและการสูญเสียโอกาส - ประชาชนในพื้นที่ต้องต้องรับรู้ความจริงครบถ้วนเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก การทําเหมืองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเชื่อถือได้เพื่อสรุปแนวทางการบรรเทาผลกระทบด้านต่าง ๆ และ แนวทางการบรรเทาผลกระทบจากการพัฒนาแหล่งแร่โพแทชในรูปแบบต่าง ๆ ที่ชุมชนประสงค์จะได้รับ เช่น มีการตั้งกองทุนที่สร้างจากผลกําไรของผู้ประกอบการและหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อใช้ในการพัฒนา ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ การจ้างงานคนในพื้นที่ มีงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนท้องถิ่นและบุคคล การได้รับปุ๋ยในราคาถูก เป็นต้น จากผลการสํารวจจะเห็นได้ว่าทรัพยากรแร่ของจังหวัดสกลนครถึงแม้จะมีปริมาณมาก แต่ การนําทรัพยากรแร่มาใช้ประโยชน์นั้น อาจจะส่งผลกระทบหลายด้านโดยเฉพาะทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การนําทรัพยากรแร่ของจังหวัดสกลนครควรคํานึงถึงความต้องการการใช้ประโยชน์แร่ชนิดนั้นของ ประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก โดยคํานึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และต้องดําเนินการตามขั้นตอน ตามกฎหมาย โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
8.2 แนวทางการบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยาจังหวัดสกลนคร จากการสํารวจแหล่งธรณีวิทยาจังหวัดสกลนครภายใต้โครงการจําแนกเขตเพื่อการจัดการ ธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีรายจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 พบว่าแหล่งธรณีวิทยาที่มีความโดดเด่น ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร พบว่ามีแหล่งธรณีวิทยารวมทั้งสิ้น 9 แหล่ง ซึ่งแหล่งดังกล่าวมีศักยภาพในการพัฒนา เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาควบคู่กับการท่องเที่ยว เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ปลูกสร้างจิตสํานึกอนุรักษ์ธรรมชาติ และสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น โดยเส้นทางที่มีศักยภาพ ในการพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว ได้แก่ เส้นทางหนองหาน -น้ําตกตาดโตน-น้ําตกคําหอม-ถ้ําเสรีไทยผานางเมิน เนื่องจากแหล่งธรณีวิทยาตามเส้นทางดังกล่าวมีความโดดเด่นเป็นแหล่งธรรมชาติและแหล่ง ประวัติศาสตร์ สามารถเดินทางเข้าถึงพื้นที่ได้สะดวก แต่ทั้งนี้ควรมีการประชาสัมพันธ์แหล่ง การปรับสภาพ ภูมิทัศน์ การปรับปรุงเส้นทางคมนาคมและจัดทําป้ายบอกเส้นทางเข้าพื้นที่ให้ชัดเจน การรักษาความสะอาด ของแหล่งท่องเที่ยว และจัดทําป้ายให้ความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น พันธุ์ไม้ และความรู้ทางธรณีวิทยา เป็นต้น ส่วนแหล่งซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อซึ่งมีศักยภาพในการการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของจังหวัด ได้นั้น ยังต้องมีการพัฒนาแหล่งและเชื่อมเส้นทางการท่องเที่ยวจุดอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งมีสถานที่ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงประวัติศาสตร์หลายแห่งที่สามารถจัดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวได้ ทั้งนี้แนวทาง การบริหารจัดการแหล่งในภาพรวมควรเป็นไปตามมาตรการต่าง ๆ ดังนี้ 1. ระเบียบและข้อบังคับ การบริหารจัดการแหล่งทางธรณีวิทยาควรดําเนินไปภายใต้ กฎระเบียบหรือข้อบังคับ และการมีคู่มือแนวทางการบริหารจัดการสําหรับแหล่งธรณีวิทยาที่มีศักยภาพใน การพัฒนาและแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยาที่ต้องป้องกันการถูกทําลาย ซึ่งจัดทําขึ้นร่วมกันระหว่างกรมทรัพยากรธรณี หน่วยงาน เจ้าของพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน การกําหนดขอบเขต แหล่งทางธรณีวิทยา ควรมีการกําหนดขอบเขตให้ชัดเจน และมีการแบ่งเขตออกเป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์และพื้นที่เพื่อการใช้ ประโยชน์ให้ชัดเจน เช่น พื้นที่สําหรับรองรับนักท่องเที่ยว พื้นที่เพื่อการพาณิชย์ พื้นที่จอดรถ เป็นต้น เพื่อให้การบริหารจัดการในแต่ละเขตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยส่งผลกระทบต่อตัวแหล่งน้อยที่สุด 2. การจัดการข้อมูลและความรู้ ควรการเพิ่มความรู้ในแหล่งต่างๆ ตามศักยภาพของแหล่ง เช่น แหล่งซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ ซึ่งเป็นแหล่งที่พบกระดูกไดโนเสาร์และสามารถเชื่อมต่อ กั บจุดท่องเที่ ย วเชิ งอนุ รั ก ษ์ แ ละประวัติ ศาสตร์อื่ น ๆ ที่ อยู่ในบริ เวณใกล้เคียงได้ มีก ารพัฒ นาเส้น ทาง 90
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 91 -
การท่องเที่ยวไปในถึงระดับหนึ่งแล้ว แหล่งนี้จึงสามารถพัฒนาต่อเนื่องถึงระดับแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยา ของจังหวัด ในส่วนของแหล่งอื่น ๆ อาจพัฒนาโดยการให้ความรู้ด้านธรณีวิทยาผ่านป้ายสื่อความหมายหรือ แผ่นพับตามศักยภาพของแหล่ง อีกทั้งควรสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มคุณค่าแหล่ง และมีการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ จัดทําระบบฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ 3. การประสานงานระหว่างหน่วยงาน แหล่งธรณีวิทยาในจังหวัดสกลนครเป็นแหล่งที่มี ความเปราะบาง ดังนั้น การพัฒนาแหล่งจึงจําเป็นต้องมีการประสานงานสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ โดยให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญและ ความพร้อมระหว่างหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ให้เข้าร่วม ในการบริหารจัดการพื้นที่ และการวางแผนอนุรักษ์ 4. การจัดหาทรัพยากร ควรการจัดหาทรัพยากรทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร เพื่อให้ การบริหารจัดการประสบความสําเร็จ และเป็นไปตามเป้าหมานของแผนการบริหารจัดการที่ได้กําหนดไว้ 5. บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน สาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นปัจจัยสําคัญในการสนับสนุน การพัฒนาใช้ประโยชน์พื้นที่แหล่งทางธรณีวิทยานั้น ควรมีการจัดบริการขั้นพื้นฐานตามความจําเป็น และ ออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเดิมของแหล่ง เช่น ถนน หรือสิ่งปลูกสร้างที่จําเป็น และมาตรการ รักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ดี ข้อเสนอแนะมาตรการการบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยาเหล่านี้ควรมีการปรับ ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมของแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นความเหมาะสมของภูมิประเทศ ความห่างไกล ลักษณะของวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่ และความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดรูปแบบ การบริหารจัดการที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์กับทุกฝ่าย พร้อมทั้งต้องมีระบบติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่องเพื่อการปรับปรุงข้อบกพร่อง
8.3 ข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีเชิงพืน้ ที่ แหล่งเรียนรูซ้ ากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ •
หลักการและเหตุผล
กระบวนการทางธรณีวิทยาทําให้เกิดการสะสมตัวของสิ่งมีชีวิตในอดีต กลายเป็นซากดึกดําบรรพ์ ให้มนุษย์ได้ศึกษาเรียนรู้ถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่อดีตมาจนถึงยุคปัจจุบัน และสร้างสรรธรรมชาติ ที่สวยงาม ทําให้มี ลักษณะพื้นที่มีความหลากหลายและมีภูมิประเทศที่สวยงามแปลกตา แหล่งเหล่านี้ มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ และศึกษาวิจัยทางธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ พื้นที่ตําบลเหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเชิงประวัติศาสตร์หลายแห่ง เช่น น้ําตกศรีตาดโตน ถ้ําผาเก ถ้ําอ่างกุ้ง จุดชมวิวอ่างเก็บน้ําห้วยโท-ห้วยยาง จุดชมวิวเสาเฉลียง จุดชมวิวผาเจื่อน พระธาตุดอยอ่างกุ้ง ภูผาน้อย ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ อ่างแก้ว และผางาม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพบซากดึกดําบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่บริเวณภูยางอึ่งในเขตอุทยานแห่งชาติ ภูผายลอีกด้วย (รูปที่ 8-1) ด้วยความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ (รูปที่ 8-2) และสามารถเชื่อมโยง เส้นทางการท่องเที่ยวระหว่างแหล่งต่าง ๆ ได้ จึงนับว่าแหล่งซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อเป็น พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นจุดท่องเที่ยวและสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา และประชาชน ในท้องถิ่น
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
91
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 92 -
แหล่งซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ จึงสมควรพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทาง ธรณีวิทยาของจังหวัดสกลนครควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงประวัติศาสตร์ซึ่งมีอยู่หลายแห่ง ในพื้นที่ตําบลเหล่าโพนค้อ เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของตําบลเหล่าโพนค้อให้เป็นที่รู้จัก ของชาวสกลนครและเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป •
วิสัยทัศน์
แหล่งซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อได้รับการอนุรักษ์และถูกพัฒนาเป็นแหล่ง เรียนรู้ทางธรณีวิทยาของจังหวัดสกลนครและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน •
พันธกิจ
(1) จัดทําแผนการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้ออย่าง ยั่งยืน โดยคํานึงถึงความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (2) สร้างเครือข่ายอนุรักษ์ซากดึกดําบรรพ์จังหวัดสกลนคร เพื่อทําหน้าที่ดําเนินการเป็น ผู้เผยแพร่องค์ความรู้ซากดึกดําบรรพ์ อนุรักษ์ ทํานุบํารุง และปลูกจิตสํานึกการอนุรักษ์แหล่งซากดึกดําบรรพ์ (3) เสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์ วิธีการอนุรักษ์ และปลูกจิตสํานึกการอนุรักษ์ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบพื้นที่ เครือข่ายอนุรักษ์ซากดึกดําบรรพ์จังหวัดสกลนคร และบุคลากรการศึกษา (4) ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อให้เป็นที่รู้จักในฐานะ แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่สําคัญของจังหวัดสกลนคร (5) ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความองค์ความรู้และจุดสนใจของแหล่งเรียนรู้ ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ
รูปที่ 8-1 พื้นที่บริเวณภูยางอึ่งในเขตอุทยานแห่งชาติภูผายล ที่มกี ารค้นพบซากดึกดําบรรพ์กระดูก ไดโนเสาร์ (ก) แหล่งสํารวจพบซากดึกดําบรรพ์กระดูกไดโนเสาร์ และลักษณะของกระดูกไดโนเสาร์ ที่พบกระจายตัวตามผิวดิน (ข) เส้นทางเดินธรรมชาติไปยังแหล่งสํารวจพบซากดึกดําบรรพ์กระดูกไดโนเสาร์ มีลักษณะ ภูมิประเทศที่แสดงถึงการกัดกร่อนตามธรรมชาติของชั้นหิน ซึ่งดูแปลกตาน่าสนใจ และสามารถพัฒนาเป็นจุดศึกษาทางธรณีวิทยาร่วมกับแหล่งแหล่งซากดึกดําบรรพ์ได้
92
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 93 -
น้ําตกศรีตาดโตน
อ่างเก็บน้ําห้วยโท - ห้วยยาง
ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์
ถ้ําผานาง หรือถ้ําเสรีไทย
อุโบสถดิน วัดป่าพุทธนิมิตสีมาราม
รูปที่ 8-2 แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงประวัติศาสตร์ และพุทธสถานในพื้นที่ตําบลเหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
93
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 94 -
ความเชื่อมโยงกับนโยบายต่าง ๆ
•
(1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 85 กําหนดให้รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบาย ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย (1) กําหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยให้คํานึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งผืนดิน ผืนน้ํา วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และ การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและกําหนดมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยต้องให้ ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินนั้น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย (3) จัดให้มี การวางผังเมืองพัฒนาและดําเนินการตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อประโยชน์ในการดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และ (4) จัดให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําและทรัพยากรธรรมชาติ อื่นอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวนบํารุงรักษาและ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล (2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 คือ ประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาการท่องเที่ยว โดยมีเป้าประสงค์ที่เกี่ยวข้อง คือ การส่งเสริมและพัฒนากิจกรรม แหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ การรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวธรรมชาติอย่างยั่งยืน และการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการท่องเที่ยว (3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสกลนคร ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว และยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมดุล และยั่งยืน (4) แผนพัฒนาสามปี (ปี พ.ศ. 2556-2558) ขององค์การบริหารส่วนตําบลเหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 8 ยุทธศาสตร์ด้านการศาสนา วัฒนธรรม นันทนาการ และการท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนาที่ 8.3 แนวทางการพัฒนางานวิชาการ วางแผนเพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว อนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว •
ประเด็นยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ เหล่าโพนค้อ
(1) (2) (3) (4)
การจัดทําแผนการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ การจัดทําแผนการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและเครือข่ายอนุรักษ์ซากดึกดําบรรพ์ของภาคประชาชน การบริหารจัดการด้านองค์ความรู้องค์ความรู้เกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์ วิธีการอนุรักษ์ และปลูกจิตสํานึกการอนุรักษ์ (5) การศึกษาวิจัยต่อเนื่องในพื้นที่
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 :การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ เป้าประสงค์ เพื่อให้การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ซากดึกําดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ และยั่งยืน โดยคํานึงถึง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดย การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
94
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 95 -
กลยุทธ์หลัก (1) จัดการประสานการจัดทําแผนดําเนินงานด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่ โดยการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน (2) ผลักดันการจัดกิจกรรมวิชาการ กิจกรรมการท่องเที่ยว ที่กลมกลืนกับสภาพพื้นที่ และสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัด (1) จํานวนคณะทํางานจัดทําแผนการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ เหล่าโพนค้อ (2) จํานวนแผนการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ กิจกรรม (1) กิจกรรมการจั ดตั้งคณะทํ างานแผนการบริหารจั ดการแหล่ งเรี ยนรู้ ซากดึ กดํ าบรรพ์ ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ (2) กิจกรรมการกําหนดรูปแบบการก่อสร้างอาคาร สาธารณูปโภค และออกแบบภูมิสถาปัตย์ ให้มีความกลมกลืนกับสภาพพื้นที่ที่สวยงาม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : การส่งเสริมให้มีแผนการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ เหล่าโพนค้อ เป้าประสงค์ เพื่อให้แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งเรียนรู้ เกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่สําคัญของจังหวัดสกลนคร และมีผู้สนใจเดินทาง มาศึกษาและท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่ง กลยุทธ์หลัก (1) จัดการประสานการจัดทําแผนประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ เหล่าโพนค้อ (2) ประสานหน่วยงานที่มีศักยภาพในการประชาสัมพันธ์ร่วมผลักดันแหล่งเรียนรู้ซาก ดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อให้เป็นที่รู้จักของประชาชนจังหวัดสกลนคร (3) สร้างเอกลักษณ์และสัญลักษณ์ของแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ (4) จัดทําของที่ระลึกที่มีความสัมพันธ์กับแหล่งและวัฒนธรรมท้องถิ่น (5) สร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่ง ตัวชี้วัด (1) (2) (3) (4)
จํานวนแผนประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ จํานวนสัญลักษณ์ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ จํานวนรูปแบบของที่ระลึกที่มีความสัมพันธ์กับแหล่งและวัฒนธรรมท้องถิ่น ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่ง
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
95
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 96 -
รูปที่ 8-3 ตัวอย่างป้ายให้ความรู้และประชาสัมพันธ์แหล่งซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
96
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 97 -
รูปที่ 8-4 ตัวอย่างป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ที่พบในแหล่ง ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
97
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 98 -
รูปที่ 8-5 ตัวอย่างป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์กลุ่มสยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส ที่พบ ในแหล่งซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
98
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 99 -
รูปที่ 8-6 ตัวอย่างป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์กลุ่มสยามโมซอรัส สุธธี รนี ที่พบในแหล่ง ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
99
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 100 -
กิจกรรม (1) กิจกรรมการจัดทําแผนการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ เหล่าโพนค้อ (2) กิจกรรม Road show ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ (3) กิจกรรมการออกแบบสัญลักษณ์ประจําแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ (4) กิ จ กรรมศึ ก ษาเอกลั ก ษณ์ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ป ระจํ า ถิ่ น เป็ น ใช้ รู ป แบบของที่ ร ะลึ ก ที่ มี ความสัมพันธ์กับแหล่งและวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การสร้ า งกระบวนการมี ส่ ว นร่ ว มและเครื อ ข่ า ยอนุ รั ก ษ์ ซ ากดึ ก ดํ า บรรพ์ ข อง ภาคประชาชน เป้าประสงค์ เพื่อให้ภาคประชาชนมีบทบาทในการอนุรักษ์ พัฒนา แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ เหล่าโพนค้อ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาที่มีความสําคัญของจังหวัดสกลนคร กลยุทธ์หลัก (1) พัฒนาศักยภาพบุคลากรในท้องถิ่นให้สามารถเป็นแกนนําในการจัดทํากิจกรรมการ อนุรักษ์ในพื้นที่แหล่งเรียนรูซ้ ากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ (2) ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ เหล่าโพนค้อ (3) ส่งเสริมให้เยาวชนในท้องถิ่นทํากิจกรรมในการอนุรักษ์แหล่งซากดึกดําบรรพ์ร่วมกัน ตัวชี้วัด (1) จํานวนเครือข่ายและจํานวนเยาวชนอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ เหล่าโพนค้อ (2) จํานวนกิจกรรมการอนุรักษ์ที่เครือข่ายดําเนินการ กิจกรรม (1) จัดตั้งแกนนําเครือข่ายและสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ เหล่าโพนค้อ (2) จัดทํากิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการบํารุงรักษาซากดึกดําบรรพ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : การบริหารจัดการด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์ วิธีการอนุรักษ์ และ ปลูกจิตสํานึกการอนุรักษ์ เป้าประสงค์ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์ วิธีการอนุรักษ์ และ ปลูกจิตสํานึกการอนุรักษ์ศูนย์การเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ที่ถูกต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เครือข่ายอนุรักษ์ และสู่สาธารณะเพื่อให้เห็นความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์เหล่าโพนค้อ
100
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 101 -
กลยุทธ์หลัก (1) อบรม ถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์ วิธีการอนุรักษ์ ดูแลรักษา และปลูก จิตสํานึกการอนุรักษ์ศูนย์การเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ที่ถูกต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และแกนนําเครือข่ายอนุรักษ์ (2) ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรการศึกษา นักเรียน นักศึกษา โดยแกนนําเครือข่าย อนุรักษ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี (3) ขอการสนับสนุนบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์จากกรมทรัพยากรธรณี เป็นวิทยากรให้ความรู้ (4) จัดการเตรียมพื้นที่ อุปกรณ์สื่อความรู้ และรูปแบบพิพิธภัณฑ์/ศูนย์เผยแพร่ข้อมูล ตัวชี้วัด (1) จํานวนกิจกรรมอบรมถ่ายทอดความรู้ (2) จํานวนผู้เข้าร่วมการอบรมถ่ายทอดความรู้ที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์ วิธีการอนุรักษ์ และมีจิตสํานึกการอนุรักษ์ซากดึกดําบรรพ์ (3) จํานวนสื่อเผยแพร่ความรู้ กิจกรรม (1) กิจกรรมจัดการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์ วิธีการอนุรักษ์ ดูแลรักษา และปลูกจิตสํานึกการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์เหล่าโพนค้อ ที่ ถูกต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และแกนนําเครือข่ายอนุรักษ์ (2) กิจกรรมจัดทําค่ายถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรการศึกษา นักเรียน นักศึกษา โดยแกนนําเครือข่ายอนุรักษ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี (3) กิจกรรมจัดทํานิทรรศการ พิพิธภัณฑ์หรือศูนย์กลางการเรียนรู้/เผยแพร่ข้อมูลธรณีวิทยา และซากดึกดําบรรพ์ (4) กิจกรรมการจัดทําสื่อเผยแพร่ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : การศึกษาวิจัยต่อเนื่องในพื้นที่ เป้าประสงค์ เพื่อให้มีการศึกษาวิจัยต่อเนื่องในพื้นที่แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์เหล่าโพนค้อเพื่อเพิ่มความ องค์ความรู้และจุดสนใจ กลยุทธ์หลัก (1) จัดให้มีโครงการวิจัยแหล่งซากดึกดําบรรพ์เหล่าโพนค้อเพิ่มเติมในพื้นที่แหล่งโดย หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านซากดึกดําบรรพ์ (2) จัดการสํารวจเพิ่มเติมในพื้นที่ใกล้เคียง ตัวชี้วัด (1) จํานวนโครงการศึกษาวิจัยที่ดําเนินการในพื้นที่แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์เหล่าโพนค้อ (2) จํานวนซากดึกดําบรรพ์ที่เพิ่มเติมขึ้น บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
101
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 102 -
กิจกรรม (1) กิจกรรมศึกษาวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการให้ความรู้กับประชาชนและเพิ่มความสําคัญทางวิชาการให้กับแหล่ง (2) กิจกรรมสํารวจแหล่งเพิ่มเติมตามข้อมูลธรณีวิทยา •
(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) •
หน่วยงานรับผิดชอบ
องค์การบริหารส่วนตําบลเหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร อุทยานแห่งชาติภูผายล สํานักงานเขตการศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสกลนคร การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสกลนคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สํานักงานสกลนคร กรมทรัพยากรธรณี หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แผนการดําเนินงาน
(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11)
ปีที่ 1 กิจกรรมจัดตั้งแกนนําเครือข่ายและสร้างเครือข่ายแหล่งซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ เหล่าโพนค้อ จัดทํากิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการบํารุงรักษาซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ จัดตั้งคณะทํางานแผนการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ จัดทําแผนการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ จัดการเตรียมพื้นที่ อุปกรณ์สื่อความรู้ กิจกรรมการกําหนดรูปแบบการก่อสร้างอาคาร สาธารณูปโภค และออกแบบภูมิสถาปัตย์ ให้มีความกลมกลืนกับสภาพพื้นที่ที่สวยงาม กิจกรรมจัดทํานิทรรศการ พิพิธภัณฑ์หรือศูนย์กลางการเรียนรู้/เผยแพร่ขอ้ มูลธรณีวิทยา และซากดึกดําบรรพ์ กิจกรรมการจัดทําสื่อเผยแพร่ กิจกรรมการจัดทําแผนการประชาสัมพันธ์ศูนย์แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ เหล่าโพนค้อ กิจกรรมการออกแบบสัญลักษณ์ประจําแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ กิ จ กรรมศึ ก ษาเอกลั ก ษณ์ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ป ระจํ า ถิ่ น เป็ น ใช้ รู ป แบบของที่ ร ะลึ ก ที่ มี ความสัมพันธ์กับแหล่งและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ปีที่ 2 (1) อบรม ถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์ วิธีการอนุรักษ์ ดูแลรักษา และ ปลูกจิตสํานึกการอนุรักษ์แหล่งซากดึกดําบรรพ์ที่ถูกต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และแกนนําเครือข่ายอนุรักษ์
102
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 103 -
(2) ถ่ายทอดองค์ความรูใ้ ห้กับบุคลากรการศึกษา นักเรียน นักศึกษา โดยแกนนําเครือข่าย อนุรักษ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี (3) ขอการสนับสนุนบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์จากกรมทรัพยากรธรณี เป็นวิทยากรให้ความรู้ (4) กิจกรรมการจัดทําสื่อเผยแพร่ (5) กิจกรรมศึกษาวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการให้ความรู้กับประชาชนและเพิ่มความสําคัญทางวิชาการ ให้กับแหล่ง (6) กิจกรรมสํารวจแหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อเพิ่มเติมตามข้อมูล ธรณีวิทยา ปีที่ 3 (1) ค่ายอาสา กิจกรรมส่งเสริมความรู้ในวันสําคัญต่าง ๆ ณ แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ (2) ส่งเสริมสินค้าชุมค้า เป็นจุดจําหน่ายสินค้า ปีที่ 4 (1) พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาของจังหวัดสกลนคร (2) บริหารจัดการแหล่งให้เป็นไปตามแผนที่กําหนดไว้ในแผนการบริหารจัดการแหล่งที่ ได้รับความเห็นชอบจากคณะทํางาน •
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
(1) แหล่งเรียนรู้ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อถูกบริหารจัดการเป็นแหล่งเรียนรู้ ทางธรณีวิทยาที่มีศักยภาพของจังหวัดสกลนคร (2) มีกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ซากดึกดําบรรพ์ที่เข้มแข็งสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่กันได้ อย่างถูกต้อง และมีจิตสํานึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ (3) แหล่งเป็นที่รู้จักของชาวสกลนครและนักท่องเที่ยวทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างประเทศ (4) ประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวแหล่ง
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
103
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 104 -
เอกสารอ้างอิง กรมทรัพยากรธรณี, 2548ก, คู่มือปฏิบัติ แนวทางปฏิบัติในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบและบัญชีรายชื่อจังหวัดที่มีโอกาส เกิดหลุมยุบ, ศูนย์เฉพาะกิจธรณีพิบัติภัยอันสืบเนื่องจากแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์, กรมทรัพยากรธรณี, 124 หน้า. กรมทรัพยากรธรณี, 2548ข, การลดความเสี่ยงจากธรณีพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ, กรมทรัพยากรธรณี, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม, 30 หน้า. กรมทรัพยากรธรณี, 2548ค แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย, กองธรณีเทคนิค กรมทรัพยากรธรณี. กรมทรัพยากรธรณี, 2549, แผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย, กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี. กรมทรัพยากรธรณี, 2550ก, ธรณีวิทยาประเทศไทย กรุงเทพมหานคร: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม, 598 หน้า. กรมทรัพยากรธรณี, 2550ข, ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรแร่ พ.ศ. 2550-2554: กรมทรัพยากรธรณี, 34 หน้า. กรมทรัพยากรธรณี, 2550ค, สถานภาพการกัดเซาะชายฝั่งทะเลประเทศไทยปี พ.ศ. 2549, กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, 30 หน้า. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, 2550, รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการกําหนดมาตรฐานมลพิษและการจัดการ สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมเหมืองแร่และโลหกรรม (ต่อเนื่อง) ชนิดแร่โพแทช: จัดทําโดยคณะสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล. ปกรณ์ สุวานิช, 2521, แร่โปแตชภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย: เอกสารเศรษฐธรณีวิทยา, เล่มที่ 22, กรมทรัพยากรธรณี, 24 หน้า. ปกรณ์ สุวานิช, 2535, โพแทช-เกลือหิน ธรณีประวัติ การวิวัฒนาการโครงสร้างของหินชุดมหาสารคาม และปริมาณสํารอง: รายงานเศรษฐธรณีวิทยา, ฉบับที่ 4/2535, กรมทรัพยากรธรณี, 34 หน้า. ปกรณ์ สุวานิช, 2550, ธรณีวิทยาแหล่งแร่โพแทช-เกลือหินของไทย: บริษัท คัมภีร์วรรณ จํากัด, 195 หน้า ราชบัณฑิตสถาน, 2544, พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน: กรุงเทพ, 384 หน้า. ราชบัณฑิตสถาน, 2551, ศัพท์บัญญัติชื่อแร่และศัพท์บัญญัติชื่อธาตุ: พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพ, 80 หน้า. สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2549, การจัดทําข้อมูลเพื่อการวางแผนการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูแหล่งทราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด (เลย ชัยถูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ขอนแก่น หนองบัวลําภู อุดรธานี หนองคาย สกลนคร มหาสารคาม), 165 หน้า. สิน สินสกุล, สุวัฒน์ ติยะไพรัช, นิรันดร์ ชัยมณี และบรรเจิด อร่ามประยูร, 2545, การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งทะเล ด้านอ่าวไทย, กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี, 181 หน้า. สมใจ เย็นสบาย และวันเพ็ญ อ่วมใจบุญ, 2551, การเฝ้าระวังดินถล่ม, รายงานการประชุมวิชาการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, หน้า 434-447. Japakasetr, T., 1982, Phosphate in Thailand; Economic Geology Division, DMR., 7 p. Japakasetr, T. and Suwanich, P., 1982, Potash and Rock Salt in Thailand: Appendix A (Core log of K-holes), Nonmetallic Mineral Bulletin No. 2, Economic Geology Division, DMR., 252 p. Japakasetr, T. and Suwanich, P., 1982, Potash and Rock Salt in Thailand: Appendix F (Showing location map of drilled holes), Nonmetallic Mineral Bulletin No. 2, Economic Geology Division, DMR., 77 p. Suwanich, P. and Rattanajaruraks, P., 1982; Sequence of Rock Salt and Potash in Thailand: Nonmetallic Mineral Bulletin No. 1, Economic Geology Division, DMR., 32 p. Suwanich, P., 1986; Potash and Rock Salt in Thailand: Nonmetallic Mineral Bulletin No. 2, Economic Geology Division, DMR., 339 p. http://webgis.dmr.go.th/dmr3_gis/ http://www.dpim.go.th/mne/mn.php http://www.school.net.th/library/create-web/10000/arts/10000-4280.html http://www.suwannakam.com/BlockProfile.asp
104
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 105 -
ภาคผนวก ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ภาคผนวก ง
ข้อมูลสถานภาพทรัพยากรแร่ของประเทศไทย ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศักยภาพปิโตรเลียมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทย
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
105
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 106 -
ภาคผนวก ก ข้อมูลสถานภาพทรัพยากรแร่ของประเทศไทย ข้อมูล ณ สิ้นปี พ.ศ. 2554 ชนิดแร่
ราคาทรัพยากรแร่ (เฉลี่ย) พ.ศ. 2554 บาท
ถ่านหิน (ลิกไนต์)
960.00
หินปูน บะซอลต์ แกรนิต แอนดีไซต์ หินทราย
105.0 135.0 135.0 135.0 100.0
หินปูน หินดินดาน
120.0 90.0
ยิปซัม โซเดียมเฟลด์สปาร์ ดิน (ดินขาวและบอลเคลย์) เกลือหิน แบไรต์ ฟลูออไรต์ โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ ควอตซ์ โพแทช ทองคํา (โลหะ) สังกะสี เงิน (โลหะ) เหล็ก ทังสเตน ดีบุก ทองแดง (โลหะ)
495.0 700.0 550.0 1,100.0 1,485.0 4,065.0 1,700.0 750.0 9,920.0 1,534.7 63,271.8 34.4 1,854.1 99,383.3 574,583.0 277,140.7
หน่วย
ทรัพยากรแร่คงเหลือในแหล่งผลิต (ประทานบัตร) ปริมาณ (ตัน)
มูลค่า (ล้านบาท)
แร่เชื้อเพลิง ตัน 2,135,074,328.0 2,049,671,354,880.0 หินประดับและหินอุตสาหกรรมก่อสร้าง ตัน 1,867,331,324.0 196,069,789,020.0 ตัน 89,570,412.0 12,092,005,620.0 ตัน 259,897,422.0 35,086,151,970.0 ตัน 150,427,487.0 20,307,710,745.0 ตัน 30,011,490.0 3,001,149,000.0 หินอุตสาหกรรมซีเมนต์ ตัน 687,056,382.0 82,446,765,840.0 ตัน 81,376,680.0 7,323,901,200.0 แร่อโลหะ ตัน 162,356,945.0 80,366,687,775.0 ตัน 234,267,386.0 163,987,170,200.0 ตัน 140,957,656.0 77,526,710,800.0 ตัน 26,362,599.0 28,998,858,900.0 ตัน 1,274,839.0 1,893,135,915.0 ตัน 3,611,350.0 14,680,137,750.0 ตัน 922,077.0 1,567,530,900.0 ตัน 4,617,182.0 3,462,886,500.0 ตัน 0.0 0.0 แร่โลหะ กรัม 30 46,042 ตัน 2,829,205 179,008,949,503 กรัม 25 862 ตัน 35,470,263 65,765,059,926 ตัน 121,513 12,076,366,983 ตัน 63,853 36,688,848,938 ตัน 1,127,437 312,458,645,563
มูลค่ารวม ทรัพยากรแร่
3,384,479,864,831
ทรัพยากรแร่ที่มีศักยภาพเป็นไปได้ (พื้นที่แหล่งแร่) ปริมาณ (ตัน)
มูลค่า (ล้านบาท)
12,135,400,839.0
11,649,984,805,440.0
294,867,549,364.0 42,189,231,653.0 11,259,990,171.0 16,149,941,034.0 31,030,392,461.0
30,961,092,683,220.0 5,695,546,273,155.0 1,520,098,673,085.0 2,180,242,039,590.0 3,103,039,246,100.0
612,487,498,096.0 115,081,318,227.0
73,498,499,771,520.0 10,357,318,640,430.0
362,501,737.0 4,733,827,688.0 840,905,035.0 18,000,025,835,111.0 30,913,650.0 13,872,699.0 900,942,061.0 54,848,396.0 400,000,000,000.0
179,438,359,815.0 3,313,679,381,600.0 462,497,769,250.0 19,800,028,418,622,100.0 45,906,770,250.0 56,392,521,435.0 1,531,601,503,700.0 41,136,297,000.0 3,968,000,000,000,000.0
151 4,541,986 455 184,929,873 998,548 999,237 991,377
231,795 287,379,720,635 15,662 342,876,628,231 99,239,028,733 574,144,603,163 274,750,886,003
23,914,203,284,471,900
ปริมาณทรัพยากรแร่คงเหลือในแหล่งผลิต : ได้จากประทานบัตรทําเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ยกเว้นปริมาณทรัพยากรแร่ทองคําคงเหลือในแหล่งผลิตได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณไพรัช ชูโชติรส บริษัท อัคราไมนิ่ง จํากัด (ติดต่อส่วนตัว, สิงหาคม 2555) ปริมาณทรัพยากรแร่ที่มีศักยภาพเป็นไปได้ : ได้จากการประเมินทางสถิติและวิชาการธรณีวิทยา ที่มาข้อมูล : กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ราคาแร่ (เฉลี่ย) : ราคาประกาศเพื่อเรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่ ของ กพร.
106
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 107 -
รูปที่ ก-1 แผนที่แสดงตําแหน่งพืน้ ที่ทรัพยากรแร่ที่ได้รับอนุญาตให้ทําการผลิต (ประทานบัตรเหมืองแร่) (กรมทรัพยากรธรณี, 2550)
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
107
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 108 -
รูปที่ ก-2 แผนที่แสดงพืน้ ที่ทรัพยากรแร่ที่มศี ักยภาพเป็นไปได้ (กรมทรัพยากรธรณี, 2550)
108
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 109 -
ภาคผนวก ข ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ* ดินเค็ม คืออะไร ดินเค็ม (Saline soil) คือ ดินที่มีปริมาณเกลือชนิดต่าง ๆ ที่ละลายน้ําได้ ปะปนในเนื้อดินสูง จนเป็นอันตรายต่อพืช ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถดูดน้ําเข้าสู่ระบบรากได้สะดวก หรือเกิดสภาพที่เป็นพิษกับพืช ดังนั้นบริเวณที่เป็นดินเค็มจะมีลักษณะเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ไม่มีพืชขึ้น หรือมีวัชชพืชขึ้นอยู่เพียงเบาบางและ ในกรณีที่ดินเค็มจัดจะเห็นคราบเกลือสีขาวบนผิวดินเป็นบริเวณกว้าง (รูปที่ ข-1) ส่วนในฤดูฝนแม้จะไม่เห็น คราบเกลือแต่ก็จะสังเกตเห็นว่าพื้นที่ไม่มีพืชปกคลุมเหมือนเช่นที่พบในบริเวณใกล้เคียง
รูปที่ ข-1 ตัวอย่างพื้นที่ที่ประสบปัญหาดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ก) พื้นที่บริเวณห้วยกุดจอก บ้านสมสะอาด ตําบลพอกน้อย อําเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร มีคราบเกลือสีขาวตามผิวดินปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปในหน้าแล้ง (ข) พื้นที่บริเวณบ้านคางฮุง ตําบลพอกน้อย อําเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นพื้นที่ดินเค็ม ซึ่งแม้จะไม่มีคราบเกลือให้เห็น แต่ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ ทางเกษตรกรรมได้ มักพบหญ้าหัวเต่าขึ้นในบริเวณพื้นที่ดินเค็ม (ภาพเล็ก)
การวัดค่าความเค็มของดิน การวัดความเค็มของดินอาศัยการวัดค่าความนําไฟฟ้าของสารละลายจากดิน ซึ่งเป็นสัดส่วน โดยตรงกับปริมาณของเกลือในดิน โดยกําหนดว่าดินเค็มจะมีค่าความนําไฟฟ้าเกิน 4 มิลลิโมห์/เซนติเมตร มีจํานวนเป็นร้อยละของธาตุโซเดียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้น้อยกว่าร้อยละ 15 และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) น้อยกว่า 8.5
*
ที่มาข้อมูล : กรมทรัพยากรธรณี http://www.dmr.go.th สืบค้น ณ เดือนสิงหาคม 2555
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
109
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 110 -
ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมทรัพยากรธรณีเรียกหน่วยหินที่มีชั้นเกลือหินแทรกสลับว่า “หมวดหินมหาสารคาม (Maha Sarakham Formation)” ซึ่งลําดับชั้นดั้งเดิมประกอบด้วย ชั้นเกลือหิน (rock salt) 3 ชั้นแทรกสลับ กับหินตะกอนสีน้ําตาลแดง มีความหนารวมกันประมาณ 300-400 เมตร (รูปที่ ข-2) หมวดหินมหาสารคาม ส่วนใหญ่พบครอบคลุมพื้นที่บริเวณแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร (รูปที่ ข-3)
รูปที่ ข-2 ลําดับชั้นหินของหมวดหินมหาสารคาม ดัดแปลงจากผลการเจาะสํารวจบริเวณอําเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเกลือหินชั้นล่างสุดจะมีความหนามากที่สุด และจากการที่ชั้นเกลือมีความหนาแน่นต่ํา (1.8-2.1 ตัน/ลูกบาศก์เมตร) ในขณะที่ชั้นหินที่ปิดทับมีความหนาแน่นสูงกว่า (2.5-2.7 ตัน/ลูกบาศก์เมตร) จึง เกิดความแตกต่างของความหนาแน่นระหว่างมวลทั้งสองขึ้น ดังนั้น มวลเกลือจึงสามารถดันตัวเองให้ “ลอย” ขึ้นมา เกิดเป็น “เนินเกลือ (salt pillow)” “โดมเกลือ (dome)” หรือ “แท่งเกลือ (salt diapir)” ขนาดต่าง ๆ ได้ และจากการเจาะสํารวจพบว่าแท่งเกลือบางแห่งทางตอนกลางแอ่งโคราช มีความสูงถึง 1 กิโลเมตรจาก ระดับชั้นเกลือเดิม
110
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 111 -
รูปที่ ข-3 ภาพตัดขวางแสดงลักษณะของชั้นเกลือหิน (สีเหลือง) จากอําเภอพล จังหวัดขอนแก่น ถึงจังหวัดหนองคาย (ภาพจาก นเรศ สัตยารักษ์, 2533)
ปัจจัยร่วมทีท่ ําให้เกิดดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การที่จะเกิดดินเค็มในบริเวณใดนั้น นอกจากจะมีปัจจัยพื้นฐานแล้ว ยังต้องมีปัจจัยเฉพาะที่ ร่วมด้วย (รูปที่ ข-4) เช่น 1. เป็นพื้นที่ลุ่มต่ําที่มีระดับผิวดินอยู่ต่ํากว่าระดับน้ําใต้ดินเค็ม 2. เป็นพื้นที่ลุ่มต่ําที่อยู่สูงกว่าระดับน้ําใต้ดินน้อยกว่าระยะอิทธิพลของแรงดึงดูดของเหลว ในช่องว่างขนาดจิ๋ว (capillary forces) 3. เป็นพื้นที่ที่มีแนวรอยแตกของเปลือกโลกพาดผ่าน ทําให้น้ําบาดาลเค็มซึมผ่านรอยแตก ขึ้นมาสู่ผิวดินได้ง่าย 4. เป็นบริเวณที่มีแท่งเกลือลอยขึน้ มาอยู่ใกล้ผิวดิน ซึ่งยิ่งทําให้เกิดการละลายของเกลืออย่าง มหาศาล 5. เป็นบริเวณที่มีการตัดไม้ทําลายป่าอย่างกว้างขวาง น้ําฝนสามารถซึมผ่านลงไปในชั้นดิน ได้มากขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ําใต้ดินซึ่งเป็นน้ําเค็มสูงขึ้น จนอยู่ในระยะอิทธิพลของแรงดึงดูด ของเหลวในช่องว่างขนาดจิ๋ว น้ําเค็มจึงสามารถแพร่กระจายขึ้นสู่ผิวดินด้านบนได้ องค์ประกอบส่วนที่เป็นน้ําในน้ําบาดาลเค็มที่แพร่ขึ้นมาสู่ผิวดิน จะถูกระเหยขึ้นไปสู่อากาศ ในขณะที่ส่วนที่เป็นเกลือจะถูกทิ้งเอาไว้ที่ผิวดิน และมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นโดยลําดับ เมื่อกระบวนการเหล่านี้ ดําเนินไปนานเข้า คราบเกลือจํานวนมากจึงปรากฏให้เห็นบนผิวดิน
รูปที่ ข-4 ปัจจัยที่ทําให้เกิดดินเค็ม
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
111
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 112 -
นอกเหนือจากปัญหาที่เกิดจากธรรมชาติแล้ว การใช้ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์ในช่วงเวลา 20-30 ปีที่ผ่านมาหลายอย่าง มีส่วนเร่งให้เกิดดินเค็มเร็วขึ้น หรือเร่งการแพร่กระจายให้กว้างขวางกว่าเดิมด้วย ที่เห็นได้ชัดคือการตัดไม้ทําลายป่าและปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งทําให้ดุลยภาพของธรรมชาติเสียไป เนื่องจากการที่น้ําฝนซึมผ่านลงไปในดินได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ําใต้ดินเค็มสูงขึ้น จนอยู่ในระยะ ที่แรงดึงดูดของเหลวในช่องว่างขนาดจิ๋ว (capillary forces) สามารถพาเอาน้ําบาดาลเค็มขึ้นมาบนผิวโลกได้ ในขณะเดียวกันการสูญเสียป่าไม้ ทําให้อัตราการใช้น้ําผิวดินลดลง จึงมีส่วนทําให้ระดับน้ําใต้ดินสูงขึ้นอีกด้วย ผลกระทบที่เกิดจากการกระทําของมนุษย์อย่างอื่น ๆ ได้แก่ การสร้างเขื่อนในบริเวณที่ ไม่มีความเหมาะสมทางอุทกธรณีวิทยา ทําให้ระดับน้ําใต้ดินในบริเวณถูกยกสูงขึ้น หรือการทํานาเกลือ โดยขาดหลักวิชาการและขาดการจัดการน้ําเสียที่เหลืออย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้เกิดการแพร่กระจายของ น้ําเค็มไปยังที่ลมุ่ ต่ําและที่นา ซึ่งไม่เคยเกิดปัญหาดินเค็มมาก่อน พื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประมาณ 17.8 ล้านไร่ (รูปที่ ข-5) เป็นพื้นที่ ดินเค็มจัด 1.5 ล้านไร่ ดินเค็มปานกลาง 3.7 ล้านไร่ และเค็มน้อย 12.6 ล้านไร่ (อ้างอิงข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน http://www.ldd.go.th) ตารางที่ ค-1 แสดงระดับความเค็มและเกลือในดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ค่าการนําไฟฟ้า : EC ปริมาณเกลือในดิน (dS/m) (%) 2 < 0.1 2-4 0.1 - 0.2 4-8 0.2 - 0.4 8 - 16 0.4 – 0.8 > 16 > 0.8
112
ระดับความเค็ม ในดิน ไม่เค็ม เค็มเล็กน้อย เค็มปานกลาง เค็มมาก เค็มจัด
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
อิทธิพลต่อพืช ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช มีผลต่อพืชที่ไม่ทนความเค็ม มีผลต่อพืชหลายชนิด พืชที่ทนความเค็มได้เท่านั้นยังคเจริญเติบโตได้ดี พืชที่ชอบเกลือเจริญได้ดี
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 113 -
รูปที่ ข-5 แผนที่การกระจายตัวของดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน http://www.ldd.go.th)
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
113
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 114 -
ภาคผนวก ค ศักยภาพปิโตรเลียมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ * ก่อนการปฏิรูประบบราชการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กรมทรัพยากรธรณี ภายใต้ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีภารกิจหลัก 4 ด้าน ได้แก่ (1) สํารวจข้อมูลธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี (2) ขุดเจาะน้ําบาดาล อนุญาต และกํากับดูแลกิจการน้ําบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ําบาดาล พ.ศ. 2520 และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง (3) อนุญาตอาชาญาบัตรสํารวจแร่ ประทานบัตรทําเหมืองแร่ และกํากับ ดูแลด้านกิจการเหมืองแร่ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไข รวมถึงพระราชบัญญัติที่ เกี่ยวข้อง (4) ให้สัมปทาน และกํากับดูแลด้านกิจการปิโตรเลียม ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ภายหลังจากการปฏิรูประบบราชการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กรมทรัพยากรธรณี ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มภารกิจตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2545 เป็น 4 กรม คือ (1) กรมทรัพยากรธรณี สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) กรมทรัพยากรน้ําบาดาล สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (3) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม (4) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สังกัดกระทรวงพลังงาน ในปัจจุบัน กรมทรัพยากรธรณีมิได้ดําเนินการด้านการสํารวจปิโตรเลียมแต่อย่างใด ข้อมูล ศักยภาพปิโตรเลี ยมของภาคตะวั นออกเฉี ยงเหนือที่นําเสนอในรายงานฉบับนี้ เป็ นการรวบรวมข้ อมูล การสํารวจของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (http://www.dmf.go.th สืบค้น ณ เดือนสิงหาคม 2555) เพื่อ เป็นส่วนประกอบให้เห็นภาพรวมของทรัพยากรแร่จังหวัดสกลนคร
ศักยภาพปิโตรเลียมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม้ว่าธุรกิจด้านการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะดําเนินการ มาแล้วเกือบ 40 ปี แต่เนื่องจากธรณีวิทยาปิโตรเลียมและธรณีวิทยาโครงสร้างบริเวณนี้ค่อนข้างซับซ้อน ทําให้การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมประสบความสําเร็จไม่มากนัก ในปัจจุบันมีเพียงแหล่งก๊าซธรรมชาติ 2 แหล่ง คือ แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ําพอง และสินภูฮ่อม ซึ่งทั้งสองนี้เป็นแหล่งต้นแบบของการสํารวจ และพัฒนา ปิโตรเลียมในหินกักเก็บปิโตรเลียมที่เป็นหินปูน/หินคาร์บอเนตอายุเพอร์เมียน ลักษณะธรณีวิทยาปิโตรเลียมที่สําคัญของแหล่งก๊าซธรรมชาติทั้งสอง (รูปที่ ค-1 และ ค-2) มีดังนี้
แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ําพอง (Nam Phong) โครงสร้างน้ําพอง ครอบคลุมพื้นที่บริเวณอําเภอน้ําพองและอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็น โครงสร้างรูปประทุนคว่ําสามารถเห็นได้จากพื้นผิว มีแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับเทือกเขา ดงพญาเย็นหรือแนวของ Loei-Phetchabun foldbelt ข้อมูลใต้พื้นผิวบ่งบอกว่าใต้กลุ่มหินโคราชลงไป
* 114
ที่มาข้อมูล : กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ http://www.dmf.go.th สืบค้น ณ เดือนสิงหาคม 2555
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 115 -
ประกอบด้วยชั้นบางของกลุ่มหินห้วยหินลาด (ปิดทับบริเวณขอบของโครงสร้างรูปประทุน) และกลุ่มหินสระบุรี มีรอยเลื่อนย้อนที่เป็นปัจจัยทําให้เกิดโครงสร้างรูปประทุนคว่ํา ซึ่งรอยเลื่อนดังกล่าว (อาจมีอายุยุคเพอร์เมียน หรือไทรแอสซิก) ตัดผ่านจากหินฐานรากกลุ่มหินสระบุรี กลุ่มหินห้วยหินลาดจนถึงกลุ่มหินโคราชตอนล่าง รอยเลื่อนเหล่านี้ช่วยทําให้หมวดหินผานกเค้าหรือ Permian carbonaterocks มีความพรุนเพิ่มมากขึ้นด้วย จากข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนแสดงว่าหมวดหินน้ําพอง onlap บนโครงสร้างรูปประทุนของ กลุ่มหินสระบุรี ซึ่งบ่งบอกว่าโครงสร้างรูปประทุนคว่ําเกิดขึ้นและมีลักษณะเป็นโครงสร้างกักเก็บก่อนที่ปิโตรเลียม จะเกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดช่วงยุคจูแรสซิก-ครีเตเชียสตอนต้น บริเวณรอบ ๆ โครงสร้างรูปประทุนคว่ํา ของกลุ่มหินสระบุรี มีกลุ่มหินห้วยหินลาดชั้นบาง ๆ ปิดทับอยู่ด้านข้างและส่วนที่เป็นหมวดหินลําปาว หรือ Upper clastics ของกลุ่มหินสระบุรีซึ่งน่าจะเป็นหินต้นกําเนิดปิโตรเลียมที่ดีของโครงสร้างน้ําพองนีห้ ลุมเจาะ ในโครงสร้างน้ําพองมีทั้งสิ้น 9 หลุม ปัจจุบันผลิตก๊าซธรรมชาติ 30 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ได้ผลผลิตรวม ประมาณ 350 พันล้านลูกบาศ์ฟุต Generalized Stratrigraphy of Northeastern Thailand
รูปที่ ค-1 ลักษณะลําดับชั้นหินทั่วไปของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่มา : รังสรรค์ จารุศิริสวัสดิ,์ กองเชื้อเพลิงธรรมชาติ, 2543 สืบค้นจาก http://www.dmf.go.th สืบค้น ณ เดือนสิงหาคม 2555)
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
115
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 116 -
รูปที่ ค-2 แสดงรูปแบบโครงสร้างปิโตรเลียมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่มา : รังสรรค์ จารุศิริสวัสดิ,์ กองเชื้อเพลิงธรรมชาติ, 2543 สืบค้นจาก http://www.dmf.go.th ณ เดือนสิงหาคม 2555)
แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม (Phu Horm) โครงสร้างภูฮ่อมเป็นโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่กว่าโครงสร้างน้ําพอง ครอบคลุมบริเวณอําเภอ หนองแสง จังหวัดอุดรธานี เป็นโครงสร้างรูปประทุนคว่ํามีแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของโครงสร้าง น้ําพอง จากข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนแสดงให้เห็นว่าใต้กลุ่มหินโคราชเป็นกลุ่มหินสระบุรี มีแนวรอยเลื่อนย้อนมุมต่ํา เป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดโครงสร้างรูปประทุนคว่ํา กลุ่มหินสระบุรีที่พบในโครงสร้างนี้แตกต่างจากโครงสร้างน้ําพอง คือ พบที่ส่วนที่น่าจะเป็นหมวดหินผานกเค้าหรือ Permian carbonate rocks และหมวดหินศรีธาตุ แต่โครงสร้าง น้ําพอง พบส่วนที่เป็นหมวดหินลําปาว หรือ Upperclastics ด้วย หลุมเจาะบริเวณโครงสร้างภูฮ่อมมีจํานวน 8 หลุม และเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติที่อัตราการผลิต 95-135ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน2549 โดยมีปริมาณสํารองก๊าซธรรมชาติ 200 พันล้าน ลูกบาศ์ฟุต
การสํารวจศักยภาพปิโตรเลียมบริเวณจังหวัดสกลนคร พื้นที่จังหวัดสกลนครเคยมีการสํารวจสักยภาพแหล่งปิโตรเลียมในบริเวณเทือกเขาภูพาน แปลงสํารวจหมายเลข L14/50 โดยบริษัท JSX Energy Holdings Limited พื้นที่สัมปทานในการสํารวจ 3,934 ตารางกิโลเมตร (รูปที่ ค-3) ผลการสํารวจดังกล่าวพบว่าไม่มีศักยภาพปิโตรเลียม
116
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 117 -
รูปที่ ค-3 แสดงข้อมูลการสํารวจศักยภาพปิโตรเลียมในพื้นที่ภาตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่มา : กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ http://www.dmf.go.th สืบค้น ณ เดือนสิงหาคม 2555) (ก) ข้อมูลการสํารวจศักยภาพปิโตรเลียมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ข) แสดงสัมปทานปิโตรเลียมบนบก บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
117
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 118 -
ภาคผนวก ง ซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทย
รูปที่ ง-1 การสํารวจไดโนเสาร์ในประเทศไทย
118
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 119 -
รูปที่ ง-2 แหล่งที่พบฟอสซิลไดโนเสาร์ในประเทศไทย
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
119
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 120 -
รูปที่ ง-3 ไดโนเสาร์ชนิดต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทย
120
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 121 -
รูปที่ ง-4 อีสานดึกดําบรรพ์
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
121
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 122 -
รูปที่ ง-5 ไดโนเสาร์
122
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
- 123 -
คณะผู้จัดทํารายงาน “การจําแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร” คณะที่ปรึกษา นายนิทัศน์ นายทศพร นายพิทักษ์ นายไพรัตน์
ภู่วัฒนกุล นุชอนงค์ รัตนจารุรักษ์ จรรยหาญ
อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ผู้ตรวจราชการกรมทรัพยากรธรณี ผู้อํานวยการสํานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรณี
ด้านธรณีวิทยาและแหล่งธรณีวิทยา นายทรงกลด ประเสิรฐทรง นางสาววนิดา ระงับพิศม์
นักธรณีวิทยาชํานาญการ นักธรณีวิทยาชํานาญการ
ด้านธรณีพิบัติภัย นายสมชาย
รุจาจรัสวงศ์
นักธรณีวิทยาชํานาญการพิเศษ
ด้านทรัพยากรแร่ นางสาววนิดา นายวุฒิกานต์
ระงับพิศม์ สุขเสริม
นักธรณีวิทยาชํานาญการ นักธรณีวิทยาชํานาญการพิเศษ
ด้านการจําแนกเขตทรัพยากรธรณีและแนวทางบริหารจัดการ นางสาวอนัญญา เลิศนอก นักธรณีวิทยาชํานาญการ นายรัฐ จิตต์รัตนะ นักธรณีวิทยาชํานาญการ นายวุฒิพงษ์ ไชยเสน นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ นางรชนิชล ยี่สารพัฒน์ นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ นายวิรัช ศรสุรินทร์ นายช่างสํารวจ ด้านการมีส่วนร่วม นายศรันย์ นายวิรัช
อนุกูล ศรสุรินทร์
นายช่างสํารวจชํานาญงาน นายช่างสํารวจ
ด้านแผนที่ นายสมภพ นายพิทักษ์ นายวิรัตน์ นายกฤษณะ
วงศ์สมศักดิ์ เทียมวงศ์ หลิมสุนทร อ่อนสมกิจ
นักธรณีวิทยาชํานาญการพิเศษ นักธรณีวิทยาชํานาญการ นายช่างเขียนแบบชํานาญงาน ช่างฝีมือชั้น 2
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
123
การจําแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
124
บริหารจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี โดยการมีสวนรวมของประชาชนเพื่อประโยชนสุขแกสังคมโดยรวม
การจำแนกเขตเพื่อการจัดการดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสกลนคร
อ.บานมวง
“พระธาตุเชิงชุมคูบาน พระตำหนักภูพานคูเมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม”
อ.คำตากลา
อ.วานรนิวาส อ.เจริญศิลป
คำขวัญประจำจังหวัดสกลนคร
อ.สวางแดนดิน อ.พังโคน อ.สองดาว อ.วาริชภูมิ อ.นิคมน้ำอูน
กรมทรัพยากรธรณี เลขที่ 75/10 ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท 0-2621-9816 โทรสาร 0-2621-9820 http://www.dmr.go.th
อ.กุดบาก
อ