1
การบูรณาการแผนชุมชน
2
การบูรณาการแผนชุมชน
คานา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ -๑๐ เน้น ให้ชุมชนเป็น ศูนย์กลางการพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง แผนชุมชนจึงได้รับความสนใจมากขึ้น แต่ส่วน ใหญ่ยังดาเนินการในลักษณะต่างคนต่างทา ขาดความร่วมมือที่จะสนับสนุนให้เกิด ประชาคม เพื่อบูรณาการ แผนในระดับ ตาบล ที่ใช้หลักการ มีส่วนร่วมของประชาชน อันจะเป็น การแก้ไขปัญหาของชุมชน และตอบสนองความต้องการของชุมชน ไปสู่ การปฏิบัติอย่างแท้จริง กรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมให้หมู่บ้านใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือ เสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง บน พื้นฐานของข้อมูล การคิด การตัดสินใจ และลงมือกระทาของคนในชุมชน โดย ดาเนินการส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชนในหมู่บ้าน เรื่อย มา มีเปูาหมายให้ทุก หมู่บ้านมีแผนชุมชนและใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา และ วางรากฐานวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในหมู่บ้าน ทั้งใน มิติที่ชุมชนช่วยกันทาเอง เสนอขอความร่วมมือ และขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในปี ๒๕๕๔ กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้กาหนดส่งเสริมให้ศูนย์ประสานงาน องค์การชุมชนตาบล (ศอช.ต.) ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่อยู่ในระดับตาบล มี ภารกิจในการบูรณาการ แผนชุมชน ได้เข้ามามีบทบาทรับผิดชอบในการบูรณาการ แผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ทุกหมู่บ้านในชุมชน ให้เป็นแผนชุมชน บูรณาการระดับ ตาบล เพื่อใช้ในการปรับปรุงเข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนนาไปพิจารณาเป็น ข้อบัญญัติงบประมาณประจาปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังส่งต่อให้ อาเภอ ใช้ในการบูรณาการแผนระดับอาเภอ เป็นแผนพัฒนาอาเภอ และส่งต่อให้ จังหวัด ใช้ในการบูรณาการแผนระดับจังหวัด เป็นแผนพัฒนาจังหวัด ตลอดจนส่งต่อให้ หน่วยงานภาคี ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพิจารณาสนับสนุนงบประมาณต่อไปอีกด้วย คณะผู้จัดทา ธันวาคม ๒๕๕๓
3
การบูรณาการแผนชุมชน
สารบัญ หน้า คานา สารบัญ การบูรณาการแผนชุมชน ทีมปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนชุมชนบูรณาการระดับตาบล การเตรียมทีมปฏิบัติการระดับตาบล วิธีการบูรณาการแผนชุมชนระดับตาบล การบูรณาการแผนระดับอาเภอ จังหวัด ตัวอย่างข้อมูลชุมชนที่ใช้ในการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ชุมชนด้วยเทคนิค SWOT การกาหนดอัตลักษณ์ชุมชน (Identity) กระบวนการแผนชุมชนเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ประชาคม (Civic Group) บทบาทของวิทยากรกระบวนการ หน้าที่ของวิทยากรกระบวนการ เทคนิคพื้นฐานในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การออกแบบกลุ่ม การออกแบบงาน (Task design) เทคนิคการตั้งคาถาม การกาหนดบทบาทของผู้ร่วมเรียนรู้ กติกาเบื้องต้นของการประชุม/เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การสร้างบรรยากาศกลุ่ม เทคนิคการสื่อสาร แผนที่ความคิด (Mind Map) เครื่องมือ/เทคนิคในกระบวนการ (วงจร) ทางานร่วมกับชุมชน กระบวนการแผนชุมชนเพื่อสร้างความสมานฉันท์ บรรณานุกรม
4
การบูรณาการแผนชุมชน
การบูรณาการแผนชุมชน “การทาให้ชุมชนเข้มแข็ง ไม่สามารถทาได้โดยการสร้างจากบุคคลภายนอก ชุมชน หรือทาโดยการสอน การฝึกอบรมเท่านั้น ชุมชนที่เข้มแข็งจะมีกระบวนการใน การจัดการของชุมชน มีการ คิดวิเคราะห์ เรียนรู้ร่วมกัน มีกิจกรรมแก้ไขปัญหา ของ ชุมชน รวมทั้ง เพิ่มคุณค่าทุนทางสังคมและเศรษฐกิจของคนในชุมชน ” ดังนั้นทุก ชุมชนจึงต้องร่วมมือกัน สร้างพลังชุมชน และใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมให้หมู่บ้านใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือ เสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง บน พื้นฐานของข้อมูล การคิด การตัดสินใจ และลงมือกระทาของคนในชุมชน โดย ดาเนินการส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชนในหมู่บ้าน เรื่อย มา มีเปูาหมายให้ทุก หมู่บ้านมีแผนชุมชนและใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา และ วางรากฐานวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในหมู่บ้าน ทั้งใน มิติที่ชุมชนช่วยกันทาเอง เสนอขอความร่วมมือ และขอรับการสนับสนุนงบประมาณ โดยบูรณาการแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เป็นแผนชุมชนบูรณาการระดับตาบล ที่ เสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แผนพัฒนาท้องถิ่น) อาเภอ (แผนพัฒนา อาเภอ) จังหวัด (แผนพัฒนาจังหวัด) ตลอดจนหน่วยงานภาคี ทั้งภาครัฐและเอกชน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ -๑๐ เน้น ให้ชุมชนเป็น ศูนย์กลางการพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง แผนชุมชนจึงได้รับความสนใจมากขึ้น แต่ส่วน ใหญ่ ยังดาเนินการในลักษณะต่างคนต่างทา ถ้า มีการร่วมมือ กันสนับสนุนให้เกิด ประชาคมในระดับตาบล นาเทคนิค/กระบวนการ วิธีการต่างๆ มาใช้ บูรณาการแผนชุมชนระดับตาบล แบบที่ใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ย่อมจะได้แผนพัฒนาที่ สมบูรณ์กว่า ประหยัดเวลา บุคลากร และงบประมาณ รวมทั้งเกิดความร่วมมือในการ นากิจกรรมโครงการตามแผนบูรณาการ ที่เป็น การแก้ไขปัญหาของชุมชน เป็นความ ต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ไปสู่การปฏิบัติอีกด้วย ในปี ๒๕๕๔ กรมการพัฒนาชุมชน จึง ส่งเสริมให้ ศูนย์ประสานงานองค์การ ชุมชนตาบล (ศอช.ต.) ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่อยู่ในระดับตาบล มีภารกิจใน การบูรณาการแผนชุมชน ได้เข้ามามีบทบาทรับผิดชอบในการบูรณาการแผนพัฒนา หมู่บ้าน/ชุมชน ทุกหมู่บ้านในชุมชน ให้เป็นแผนชุมชนบูรณาการระดับตาบล เพื่อใช้
5
การบูรณาการแผนชุมชน
ในการปรับปรุงเข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนนาไปพิจารณาเป็นข้อบังคับ งบประมาณประจาปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป นอกจากนี้ยังส่งต่อให้ อาเภอ ใช้ในการบูรณาการแผนระดับอาเภอ เป็นแผนพัฒนาอาเภอ และส่งต่อให้ จังหวัด ใช้ในการบูรณาการแผนระดับจังหวัด เป็นแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อใช้พิจารณา จัดทาคาของบประมาณต่อไปอีกด้วย
ทีมปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนชุมชนบูรณาการระดับตาบล เดิมในปี ๒๕๔๙ ได้กาหนดให้ เจ้าหน้าที่ภาคีภาครัฐระดับตาบล อบต. ศอช.ต. ภาคประชาชน, ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ มีผู้นา อช. เป็นเลขานุการ และ พัฒนากรเป็นผู้ประสานงาน/ทีมวิทยากรกระบวนการ สาหรับในปี ๒๕๕๔ กรมการพัฒนาชุมชน ได้กาหนดให้ปรับเพิ่มบทบาท ของ ศอช.ต. มีภารกิจหลักในการบูรณาการ แผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ร่วมกับทาง องค์การบริหารส่วนตาบล เพื่อให้ การใช้งบประมาณของรัฐสามารถ แก้ไขปัญหาของ ชุมชน หรือตอบสนองความต้องการของชุมชน ได้อย่างถูกต้องตรงจุด
การเตรียมทีมปฏิบัติการระดับตาบล จัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับตาบล เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็น ดังต่อไปนี้ ๑. สร้างความเข้าใจในกระบวนการบูรณาการแผนชุมชนให้ชัดเจน ๒. ยุทธศาสตร์จังหวัด ปี ๒๕๕๔ ; กรอบแผนงาน, การกาหนดอัตลักษณ์ และตาแหน่งในชุมชน ๓. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ ๔. กาหนดเปูาหมายการทางาน บทบาทหน้าที่ กระบวนการทางาน และ แผนปฏิบัติการของทีมงาน
วิธีการบูรณาการแผนชุมชนระดับตาบล ทีมปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนชุมชนบูรณาการระดับตาบล จัดเวทีบูรณาการ แผนพัฒนาหมู่บ้าน/ ชุมชนจากทุกหมู่บ้าน มาเป็นแผนชุมชน บูรณาการระดับตาบล โดยการจัดทาเอกสารรูปเล่มและส่งต่อแผนฯ ให้ อบต./ท้องถิ่น และอาเภอเพื่อ ประสานการปฏิบัติ ซึ่งอาจแบ่งเป็น ๓ ระยะ ดังนี้
6
การบูรณาการแผนชุมชน
๑. ก่อนดาเนินการ ๑) เชิญผู้เข้าร่วมเวที ; ผู้นาชุมชน ชาวบ้าน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีภาครัฐ ระดับตาบล และภาคเอกชน ๒) กาหนดเวลา และสถานที่ดาเนินการ ๓) เตรียมเอกสารแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน รายหมู่บ้าน ๔) เตรียมข้อมูลทั่วไประดับตาบล และยุทธศาสตร์จังหวัด ปี ๒๕๕๔ ๒. ระหว่างดาเนินการ ๑) การนาเสนอแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ของแต่ละหมู่บ้าน ๒) นาข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านมาวิเคราะห์ /สังเคราะห์เป็นภาพรวมของ ตาบล ด้วยเทคนิค SWOT กาหนดอัตลักษณ์ของตาบล กาหนดตาแหน่ง การพัฒนา ของตาบล และทิศทางการพัฒนาตาบล ตามศักยภาพของตาบล ๓) นาแผนงาน /โครงการ ในแผน พัฒนาหมู่บ้าน/ ชุมชน ของแต่ละ หมู่บ้านมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และจัดลาดับความสาคัญแผนงาน/โครงการ ๔) จัดกลุ่มแผนงาน/โครงการตามแหล่งงบประมาณ เป็น ๓ กลุ่ม และ กาหนดผู้รับผิดชอบ ประสานแผนของแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน คือ - แผน/โครงการกิจกรรมชุมชนของทุกหมู่บ้าน ที่ชุมชนดาเนินการ เองได้ หรือใช้ทุนของชุมชน - แผน/โครงการกิจกรรม ที่ต้องขอความร่วมมือในการสนับสนุน งบประมาณ หรือร่วมดาเนินการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือแหล่งทุนอื่นๆ - แผน/โครงการกิจกรรม ที่ขอใช้เงิน งบประมาณทั้งหมด หรือสาวน ใหญ่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ/เอกชนอื่นๆ ๓. หลังดาเนินการ จัดทาเอกสารแผนชุมชน บูรณาการ ระดับตาบล และส่งต่อแผนฯ ให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาเภอ เพื่อประสานการปฏิบัติ โดยมีองค์ประกอบ ของแผนชุมชนบูรณาการระดับตาบล ดังนี้ ๑. ข้อมูลสภาพทั่วไปของตาบล.......… ๒. ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ๓. ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของประชาชน ๔. อัตตลักษณ์ และตาแหน่งการพัฒนาของตาบล ฯลฯ
7
การบูรณาการแผนชุมชน
๕. การวิเคราะห์ศักยภาพตาบล (เช่น SWOT จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค โอกาส) ๖. จุดมุ่งเน้นการพัฒนาของตาบล ๗. วิสยั ทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์แผนชุมชนเชิงบูรณาการ ตาบล ๘. แผน/โครงการกิจกรรมที่สาคัญ (จากเวทีบูรณาการแผนชุมชนตาบล และการวิเคราะห์อัตตลักษณ์ การกาหนดตาแหน่งการพัฒนา และปัญหา /ความ ต้องการในการพัฒนาของตาบล ตามลาดับฯ) จากนั้น ทีมปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนชุมชน บูรณาการระดับตาบล อาจจัด เวทีเจรจาภาคีในการสนับสนุนกิจกรรมตามแผนชุมชน บูรณาการ ร่วมกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีภาครัฐระดับตาบล และภาคเอกชน เพื่อนาแผน/โครงการ กิจกรรมที่สาคัญ สู่การปฏิบัติ โดยมีแนวทางประสานแผน ใช้หลักบูรณาการด้านพื้นที่ด้านภารกิจ-ด้านการมีส่วนร่วม โดยการกาหนดพื้นที่เปูาหมาย จัดลาดับ ความสาคัญ ของปัญหาเร่งด่วน ปานกลาง หรือ ปกติ และมีการกาหนดภารกิจว่าหน่วยงานไหน เป็นเจ้าภาพ เรื่องอะไร ซึ่งแต่ละภารกิจก็จะมีเจ้าภาพที่ชัดเจน พร้อมทั้งมีหน่วยงาน ที่สนับสนุน และในส่วนของการมีส่วนร่วม จะมีทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ และภาคเอกชน
การบูรณาการแผนระดับอาเภอ เพื่อให้เห็นภาพการพัฒนาชุมชนระดับอาเภอ พัฒนาการอาเภอดาเนินการให้ เกิดการบูรณาการแผนชุมชนของตาบลต่าง ๆ ตามขั้นตอนดังนี้ ขั้นเตรียมการ ๑) ประสานทีมปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนชุมชน บูรณาการระดับตาบลทุก ตาบล ให้เตรียมแผน ที่ได้รับการบูรณาการระดับตาบลแล้ว ในประเด็นสาคัญ ดังนี้ ข้อมูลศักยภาพของตาบล ปัญหาสาคัญตาบล อัตลักษณ์ของตาบล การวางตาแหน่ง การพัฒนาตาบล และการวางตาแหน่งการพัฒนาของตาบล แผนงาน/โครงการ/ กิจกรรม แบ่งตามกลุ่ม ทาเอง ทาร่วม ทาให้ ๒) ประสานทีมปฏิบัติ การขับเคลื่อนแผนชุมชนระดับอาเภอ เพื่อร่วมเสนอ ผลการขับเคลื่อน การบูรณาการแผนชุมชนระดับตาบล
8
การบูรณาการแผนชุมชน
๓) ประสานส่วนราชการต่างๆ ระดับอาเภอ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ตามที่เห็นสมควรเพื่อเข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งนาข้อมูลสาคัญที่เกี่ยวข้องของ หน่วยงานเข้าร่วมประชุม ๔) พัฒนาชุมชนอาเภอเตรียมข้อมูล จปฐ. และ กชช. ๒ ค ในภาพรวม ระดับอาเภอ และข้อมูลแวดล้อมอื่น ๆ ที่สาคัญในระดับอาเภอ ๕) กาหนดวันเวลา สถานที่ประชุม รวมทั้งจัดเตรียมเอกสารแผนชุมชน ระดับ ตาบล และ วัสดุอุปกรณ์ที่จาเป็น ขั้นบูรณาการแผนชุมชนระดับอาเภอ ๑) จัดประชุมการบูรณาการแผนชุมชนระดับอาเภอ โดยมีนายอาเภอเป็น ประธาน พัฒนาการอาเภอในฐานะเป็นเลขานุการของคณะกรรมการสนับสนุนการ ขับเคลื่อนการจัดทาแผนชุมชนระดับอาเภอ เป็น ผู้ประสานงาน (ในกรณีที่อาเภอ คณะทางาน อกอ. ไม่สามารถดาเนินการได้) ๒) พัฒนาการอาเภอ เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. และ กชช. ๒ ค ระดับอาเภอยุทธศาสตร์ จังหวัด ส่วนราชการอื่น เสนอข้อมูลของตนเอง ร่วมกัน วิเคราะห์ศักยภาพของอาเภอ ตาบลต่างๆ เสนอแผนชุมชน บูรณาการระดับตาบล ตามลาดับ วิเคราะห์หาศักยภาพในภาพรวมของอาเภอ ปัญหาที่สาคัญของอาเภอ ความแตกต่าง หลากหลายของอัตลักษณ์ ตาแหน่งการพัฒนาตาบล และการพัฒนา อาชีพของตาบล เรียงลาดับความสาคัญ แผนงาน /โครงการ /กิจกรรม จัด ทา โครงการ /กิจกรรม สนับสนุนในภาพของอาเภอ จัดกลุ่มแผนงานโครงการตาม งบประมาณที่สนับสนุนเป็นแผนชุมชนทาเอง แผนท้องถิ่นสนับสนุน แผนหน่วยงาน ราชการสนับสนุน ๓) จัดประชาพิจารณ์แผนชุมชนบูรณาการระดับอาภอ และปรับปรุงแผน ๔) จัดทาเอกสารรูปเล่มนาเสนอเข้าเป็นแผนพัฒนาอาเภอ เพื่อส่งต่อให้ จังหวัด ใช้ บูรณาการเป็นแผนชุมชนบูรณาการระดับจังหวัด และแผนพัฒนาจังหวัด ต่อไป ๕) ติดตามการพิจารณาสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ และวิชาการ ตามลาดับความสาคัญของแผนงานโครงการ
9
การบูรณาการแผนชุมชน
การบูรณาการแผนชุมชนระดับจังหวัด พัฒนาการจังหวัด เป็นผู้ประสานให้เกิดการบูรณาการแผนชุมชนระดับ จังหวัด โดยดาเนินการประสานส่วนราชการต่างๆจัดประชุมคณะทางานเพื่อบูรณาการ แผนชุมชนระดับจังหวัด ทั้งนี้ ในกรณีที่จังหวัดมอบหมายให้ การบูรณาการ แผน ชุมชนระดับจังหวัด ร่วมกับ กบจ. สามารถดาเนินการร่วมกันได้ โดยมีรูปแบบวิธีการ ที่ปรับได้ตามการบูรณาการแผนชุมชนระดับอาเภอ
การจัดทา-ทบทวนปรับปรุงแผนชุมชน ชุมชนต้องทาอย่างสม่าเสมอ เพื่อให้แผนชุมชนเป็นปัจจุบัน เป็นแผนที่มี ชีวิตจริงๆ สามารถปรับเปลี่ยนแปลงได้ ทันต่อสถานการณ์ สังคมที่เปลี่ยนไปอย่าง รวดเร็ว ไม่ใช่ว่าทาเสร็จเป็นรูปเล่มแล้ว จะสิ้นสุดแค่นั้น แต่นั่นเป็นเพียงการเริ่มต้น ของการทางานพัฒนาชุมชนของตนเอง
ตัวอย่างข้อมูลชุมชนที่ใช้ในการวิเคราะห์ในแผนชุมชน ข้อมูลที่ใช้ในกระบวนการเรียนรู้เพื่อการจัดทาแผนชุมชน ข้อมูลเพื่อการ วิเคราะห์ ค้นหาอัตลักษณ์ ; กาหนดตาแหน่งชุมชน และการกาหนดตาแหน่งการ พัฒนา อาชีพ มีตัวอย่างดังนี้ ๑. ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ได้แก่ ๑) ข้อมูลทางกายภาพ (ศักยภาพในชุมชน) - จานวนประชากร หญิง – ชาย แยกตามอายุ (วัยแรงงาน วัย การศึกษา วัยเด็ก วัยชรา) จานวนครัวเรือน แยกตามฐานะความเป็นอยู่ การตั้ง บ้านเรือนในชุมชน - ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางนิเวศวิทยา จานวนที่ดิน พื้นที่ สาธารณะ ลักษณะดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน แหล่งน้ากินน้า ใช้ น้าการเกษตร - สภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศ การคมนาคม - พืชและสัตว์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ พืชและสัตว์ที่ปลูก ที่เลี้ยง - ปัญหาทางกายภาพ
10
การบูรณาการแผนชุมชน
๒) ข้อมูลทางสังคม การเมือง การปกครอง - ประวัติความเป็นมาของชุมชน เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ วิถีการ ดารงชีวิต วัฒนธรรมและ ประเพณีท้องถิ่น - ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในและภายนอกชุมชน - ผู้นาชุมชน/กลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายในชุมชน - การศึกษา และ สุขภาพ - โครงสร้างทางการปกครอง การแบ่งคุ้มบ้าน - กลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม - การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของชุมชนการมีส่วนร่วมของชุมชน บทเรียนที่ชุมชนได้รับ - ปัญหาทางสังคม การเมืองการปกครอง ๓) ข้อมูลทางเศรษฐกิจ - การประกอบอาชีพ อาชีพหลัก อาชีพรอง และ อาชีพเสริม - ความรู้ ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญ ในการประกอบอาชีพ - คนวัยแรงงาน จานวนคนมีงานทา คนว่างงาน แรงงานในอนาคต - ข้อมูลรายได้ รายจ่าย หนี้สิน เงินออม ในชุมชน - ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคในชุมชน หมู่บ้าน ตาบล อาเภอ จังหวัด - แหล่งทุนในชุมชน เช่น กองทุนต่าง ๆ ในชุมชน - ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์หลัก ผลิตภัณฑ์รอง ผลิตภัณฑ์ใน อนาคต - ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพใน ชุมชนแหล่งเรียนรู้ในชุมชน - วัตถุดิบในการผลิตสินค้าชุมชน แหล่งวัตถุดิบอื่น ๆ - ตลาดในชุมชน ช่องทางการตลาด และ เครือข่ายการตลาด - แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน - ปัญหาทางเศรษฐกิจ ในระดับครัวเรือน ระดับกลุ่ม และระดับ ชุมชน ๔) ข้อมูล กชช. ๒ ค
11
การบูรณาการแผนชุมชน
๒. ข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน ๑) ข้อมูล จปฐ. ๒) ข้อมูล บัญชี รับ – จ่าย ของครัวเรือน ๓) พฤติกรรมการบริโภคของครัวเรือนในหมู่บ้าน
จะค้นหาข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างไร ๑) ข้อมูลที่มีการจัดเก็บไว้แล้ว เช่น ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. ๒ค) ข้อมูลความจาเป็นพื้นฐานระดับครัวเรือน (จปฐ.) ข้อมูลสารสนเทศชุมชน ข้อมูลที่ หน่วยงานอื่นจัดเก็บ ๒) ข้อมูลที่ต้องออกแบบจัดเก็บใหม่ เช่น บัญชี รับ-จ่าย ครัวเรือน ข้อมูล ปัญหาในปัจจุบัน ข้อมูลเพิ่มเติมที่จะกาหนดอัตลักษณ์ชุมชน ข้อมูลเชิงคุณภาพหรือ ข้อมูลเชิงลึกข้อมูลอื่นๆ
ใครควรเป็นคนจัดเก็บข้อมูล ผู้นาชุมชนและประชาชนในชุมชนควรเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในชุมชน ร่วมกับนักพัฒนา ที่เข้าไปร่วมกันพัฒนาชุมชนเพราะจะเกิดประโยชน์หลายประการ เช่น ทาให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทาความเข้าใจในประเด็นคาถาม -คาตอบ ของแบบสอบถาม ทาให้ชุมชนรู้ที่มาที่ไปของข้อมูล สามารถบอกได้ว่าข้อมูลไหนจริง ข้อมูลไหน คลาดเคลื่อน คลาดเคลื่อนเพราะอะไร ข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่ชุมชนไม่เคย นึกถึง หรือไม่อยากเชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดเก็บข้อมูล สร้าง ความกระตือรือร้นและการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาชุมชนให้เกิดขึ้นในชุมชน ผู้นา ชุมชนและประชาชนสามารถสานต่อแนวคิดในการทากิจกรรมเพื่อการพัฒนาการ เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
การวิเคราะห์ข้อมูลทาอย่างไร “การวิเคราะห์ (Analysis)” หมายถึง การจาแนกแยกแยะองค์ประกอบของ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ออกเป็นส่วนๆ เพื่อค้นหาว่ามาจากอะไร มีองค์ประกอบอะไร ประกอบ ขึ้นมาได้อย่างไร เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน อย่างไร โดยประเด็นที่ต้องวิเคราะห์ มีดังนี้ ๑) ศักยภาพของชุมชน ด้านคน สุขภาพ ความรู้ ทรัพยากร
12
การบูรณาการแผนชุมชน
๒) ภาวะเศรษฐกิจของชุมชน จากบัญชี รับจ่าย ของครัวเรือน หนี้สิน ทรัพย์สินของ ชุมชน ๓) ระบบเศรษฐกิจของชุมชน ระบบอาหาร ระบบของใช้ ระบบทุน ระบบ การจัดการ ผลผลิต ๔) สถานการณ์ทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน ทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทาง สิ่งแวดล้อม ทุนมนุษย์ ๕) ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในครัวเรือน กลุ่มเครือข่าย และชุมชน ๖) สถานการณ์/ความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ๗) การพัฒนาชุมชนในอดีต และแนวโน้มการพัฒนาในอนาคต
วิธีวิเคราะห์ข้อมูล การจัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ชุมชน เช่น การใช้เทคนิค SWOT การจัดทาแผนที่หมู่บ้าน (Village Map) ผัง ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร (Venn diagram) ปฏิทินตามฤดูกาล (Seasonal calendar) การวิเคราะห์ภาพตัดขวาง (Tran section Analysis) เทคนิค AIC เป็นต้น
การวิเคราะห์ชุมชนด้วยเทคนิค SWOT เราต้องระลึกไว้เสมอว่า การใช้เทคนิค SWOT วิเคราะห์ชุมชนมีเปูาหมาย 2 ระดับ คือระดับผลผลิต (Output) และระดับผลลัพธ์ (Outcome) กล่าวคือ ไม่ เพียงต้องการให้ชุมชนกาหนดจุดแข็ง (Strengths) กับจุดอ่อน (Weakness) ของ ตนเอง (ปัจจัยภายใน) และโอกาส (Opportunities) กับอุปสรรค (Threats) จาก ภายนอก (ปัจจัยภายนอก ) ซึ่งเป็นเปูาหมายระดับผลผลิตได้ เท่านั้น หากแต่ยัง ต้องการให้ประชาชนในชุมชนได้เรียนรู้หลักการ กระบวนการและวิธีการวิเคราะห์ ชุมชนด้วยเทคนิค ซึ่งเป็นเปูาหมายระดับผลลัพธ์อีกด้วย การจัดประชุมระดม ความคิดเพื่อวิเคราะห์ชุมชน ต้องยึดหลักการสาคัญของการพัฒนาชุมชน ดังนี้ ๑. หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Participation) ๒. หลักการเรียนรู้ ร่วมกันของประชาชน (People’s Participatory learning)
13
การบูรณาการแผนชุมชน
การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค SWOT มีขั้นตอนดังนี้ ๑. การเตรียมความพร้อมผู้เข้าร่วมประชุม คนในชุมชน และคนนอกชุมชน ที่เป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ด้วยการแลกเปลี่ยน ให้ รับข้อมูล รวมทั้งเตรียมวัสดุอุปกรณ์สาหรับการประชุมให้ พร้อม เพียงพอ และ เหมาะสม ๒. การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน – จุดแข็ง และจุดอ่อน ในชุมชน ๓. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก – โอกาส และอุปสรรค นอกชุมชน ๔. การนาผลวิเคราะห์ไปใช้ - เป็นการนาผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการ วางแผนกลยุทธ์ของชุมชน ซึ่งควรมีขั้นตอน ดังนี้ ๔.๑ การสร้างกลยุทธ์ทางเลือก – นาผลการวิเคราะห์มากาหนดเป็น กลยุทธ์การพัฒนา โดย - การกาหนดภารกิจและวัตถุประสงค์ของชุมชน - การสร้างกลยุทธ์- จากการจับคู่ปัจจัยที่วิเคราะห์ ๔ แบบ (คือ จุด แข็ง-โอกาส จุดแข็ง-อุปสรรค จุดแข็ง-จุดอ่อน และ จุดอ่อน-อุปสรรค) ๔.๒ การปรับปรุงและประเมินกลยุทธ์ทางเลือก - ให้คะแนนเพื่อ เรียงลาดับความสาคัญ และรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมโดยสมาชิก
การกาหนดอัตลักษณ์ชุมชน (Identity) อัตลักษณ์ชุมชน หมายถึง ความเป็นตัวตนที่มีลักษณะเฉพาะของชุมชน เช่น วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อ ศิลปะ อาชีพ การแต่งกาย เป็นต้น ตัวอย่างของ อัตลักษณ์ชุมชน เช่น หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ล้านนา หมู่บ้านหัตถกรรมไม้ไผ่ เป็นต้น การกาหนดอัตลักษณ์ชุมชน จะต้องจัดให้มีเวทีเรียนรู้ วิเคราะห์ตนเองและ ชุมชน เพื่อให้เกิดการกาหนดตาแหน่งหมู่บ้าน(Positioning) และอาจรวมถึง กาหนด ตาแหน่งการพัฒนาอาชีพของหมู่บ้าน (Market Positioning) ด้วย
กระบวนการ/ขั้นตอนในการกาหนดตาแหน่งหมู่บ้าน (Positioning) ๑. นาผลการวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนภายใต้กระบวนการแผนชุมชนมา วิเคราะห์ เพื่อค้นหาอัตลักษณ์เฉพาะของชุมชนหรือความเป็นตัวตนของชุมชน ขอบเขตของข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ เช่น
14
การบูรณาการแผนชุมชน
๑.๑ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชน ๑.๒ ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อของชุมชน ๑.๓ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ อัตลักษณ์เฉพาะของชุมชน ๑.๔ สภาพพื้นที่ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ความ อุดมสมบูรณ์ของดิน น้า ปุาไม้ ๑.๕ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ๑.๖ อาชีพหลัก/รายได้ รวมทั้งแหล่งทุนภายในชุมชน ๑.๗ ข้อมูลด้านอื่น ๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยว โบราณสถาน เป็นต้น ๑.๘ ข้อมูลพื้นฐานชุมชน (จปฐ./กชช. ๒ ค.) ฯลฯ ๒. เวทีประชาคมร่วมกันนาผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามข้อ ๑. ตัดสินใจ ระบุอัตลักษณ์หรือความเป็นตัวตนของชุมชน โดยกาหนดตาแหน่งชุมชน (Positioning) ที่ต้องการพัฒนาไปสู่การเป็นหมู่บ้าน/ ชุมชนด้านใดด้านหนึ่ง อาทิเช่น การเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว การเป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม การเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรม การเป็นหมู่บ้าน OTOP การเป็นหมู่บ้านหัตถกรรม การเป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรม การเป็นหมู่บ้านค้าขายและบริการ ฯลฯ ๓. การกาหนดตาแหน่งการพัฒนาอาชีพของชุมชน (Market Positioning) การกาหนดตาแหน่งการพัฒนาอาชีพของชุมชน คือการที่ชุมชนกาหนดตาแหน่งว่า รายได้ของชุมชน จะมาจากอาชีพอะไรใน ๕- ๑๐ ปี ข้างหน้า ภายใต้การประเมิน ศักยภาพของตนเองตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง และระบบกลไกการตลาด จากการค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อกาหนดตาแหน่งของหมู่บ้าน / ชุมชนนาไปสู่การกาหนด ตาแหน่งการพัฒนาอาชีพ (Market Positioning) ให้ สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีขั้นตอนโดยสังเขป ดังนี้ ๓.๑ ชุมชนร่วมกันค้นหากิจกรรมอาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นจุดเด่น หรืออัตลักษณ์ของชุมชน ที่สามารถนามาสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ชุมชน ๓.๒ ชุมชนร่วมกันประเมินศักยภาพด้านอาชีพของชุมชนโดยพิจารณา จากผลการวิเคราะห์ ข้อมูลของชุมชน ดังนี้ • ความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน เช่น ทรัพยากรดิน น้า ปุาไม้ แหล่งน้า ฤดูกาล สิ่งแวดล้อม
15
การบูรณาการแผนชุมชน
• จานวนแรงงานภายในชุมชน เช่น คนวัยแรงงานหญิง -ชาย เด็กคนชรา รวมทั้ง แรงงานในอนาคต • ภาวะทางเศรษฐกิจของชุมชน เช่น รายรับ -รายจ่าย หนี้สิน แหล่ง ทุนภายใน-ภายนอก • ความรู้ทักษะการประกอบอาชีพ เช่น อาชีพในชุมชน ผลิตภัณฑ์ ชุมชน องค์ความรู/้ ทักษะอาชีพเดิม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีการผลิตต่าง ๆ • การจัดระบบเศรษฐกิจภายในชุมชน ระบบการผลิต ระบบทุน ระบบการบริหารจัดการ ระบบการอุปโภคบริโภค กลไกการตลาด และการคมนาคม • สถานการณ์ภายนอกชุมชนและระบบกลไกตลาด ฯลฯ ๔. ชุมชนร่วมกันวางแผนและกาหนดทิศทางการพัฒนาอาชีพให้สอดคล้อง กับการกาหนด ตาแหน่งของชุมชน โดยยึดหลักความเป็นอัตลักษณ์ชุมชน ความ แตกต่าง ไม่ลอกเลียนแบบ มีคุณภาพและ มาตรฐานสอดคล้องกับระบบและกลไก ตลาด และเป็นไปตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กระบวนการแผนชุมชนเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยการทาหน้าที่ของวิทยากร กระบวนการ (Facilitator) ถือว่าเป็นแนวทาง ทางออกที่เหมาะสมสาหรับสังคมไทย ในการให้ความรู้กับ ผู้นาชุมชน โดยเฉพาะสาหรั บคณะกรรมการศูนย์ประสานงาน องค์การชุมชน หรือผู้ที่ต้องเข้าร่วมทางานกับชุมชน ต้องคานึงถึงลักษณะสาคัญบาง ประการอยู่เสมอ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ได้แก่ - เป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ซึ่งแตกต่างไปจากเด็กนักเรียน ทั้งในด้านวัย กายภาพ และความคิด จิตใจ รวมทั้งบริบทในชีวิตของผู้เรียน มีมากกมายหลากหลาย - เป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมนั่นคือ ร่วมกันเรียนรู้ และ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน - อยู่ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ยืดหยุ่น ไม่เคร่งครัด อึดอัด เกินไป - การใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เป็นสิ่งสาคัญ
16
การบูรณาการแผนชุมชน
การมีส่วนร่วมของชุมชน หมายถึง การที่คนส่วนใหญ่ของชุมชนมีส่วนสาคัญในขบวนการใด ๆ ที่มีผล ต่อชุมชนนั้น ๆ โดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนนั้น การที่จะบ่งบอกถึงการมี ส่วนร่วมที่แท้จริงนั้น ควรจะมีส่วนร่วมอย่างน้อย ใน ๕ ขั้นตอน คือ (๑) ร่วมในการ ค้นหาและวิเคราะห์ปัญหา (๒) ร่วมในการวางแผน (๓) ร่วมในการลงทุนและการ ปฏิบัติงาน (๔) ร่วมในการติดตามประเมินผล และ (๕) ร่วมในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ประชาคม (Civic Group) หมายถึง การรวมกลุ่มหรือกลุ่มคนที่มาร่วมกันทากิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง มีเปูาหมายค่อนข้างชัดเจนและมีลักษณะเป็นรูปธรรม (สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ๒๕๔๒) มีปราชญ์ชุมชนอีสาน ท่านหนึ่ง (ขออภัยที่ไม่ทราบนามเพราะฟังต่อ ๆ กัน มา) ให้คาจากัดความว่า ประชาคม คือ การประกอบกันของ ๔ ฮ. ซึ่งประกอบด้วย - ฮ. โฮม หมายถึง การรวมกันของกลุ่มคน - ฮ. ฮัก หมายถึง การมีความรัก เอื้ออาทร ห่วงใยกัน - ฮ. เฮียน หมายถึง มีการเรียนรู้ร่วมกัน ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน - ฮ. เฮ็ด (ดี) หมายถึง การร่วมกันทากิจกรรม ที่ดีงามสร้างสรรค์ด้วยกัน สิ่งสาคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับประชาคม ก็คือ ประชาคม มีลักษณะเป็น ขวนการที่มีชีวิต มีการเคลื่อนไหว และอาจจะมีระบบหรือขั้นตอน จึงถือว่าเป็น ประชาคม มิใช่จบเพียงขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ดังที่มีหลายแห่ง ที่ใช้คาว่า ประชาคม ในความหมาย แค่ การเรียกประชุมชาวบ้าน เท่านั้น จึงต้องมีผู้ที่ทาหน้าที่เป็น วิทยากรกระบวนการ นั่นคือ ทีมปฏิบัติการขับเคลื่อนแผนชุมชน บูรณาการ ระดับ ตาบล โดยเฉพาะคณะกรรมการศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตาบล (ศอช.ต.)
บทบาทของวิทยากรกระบวนการ ในการส่งเสริมการบูรณาการแผนชุมชนระดับตาบล โดยการจัดเวทีประชาคม การประชุม แกนนาหมู่บ้าน กลุ่มต่างๆ จาเป็นจะต้องมีผู้ที่จะทาให้เกิดผลตาม จุดมุ่งหมายโดยรูปแบบในจุดมุ่งหมายเช่นกัน ในขณะเดียวกัน ก็มีการใช้เครื่องมือ และเทคนิค ที่หลากหลายขึ้นในกระบวนการต่าง ๆ จึงเกิดคาที่ใช้เรียกผู้ที่ทาหน้าที่นี้ ว่าวิทยากรกระบวนการ (Facilitator) ซึ่งในความหมายตรงตามรากศัพท์ แปลว่า ผู้ที่
17
การบูรณาการแผนชุมชน
ทาให้เกิดความสะดวก หรือผู้ที่ทาให้เกิดความง่าย ซึ่งในความหมายของการเรียนรู้ น่าจะหมายถึงผู้ที่เอื้ออานวยให้เกิดการเรียนรู้ เป็นโค้ช ให้คาปรึกษา คอยชี้แนะ ตั้ง คาถาม สะท้อนความคิด เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นกลาง ไม่อคติ ใช้การสื่อสาร สองทาง และให้กาลังใจ
หน้าที่ของวิทยากรกระบวนการ บทบาทกับหน้าที่ เป็นคาที่ควรควบคู่กันไป ในส่วนของบทบาทจะเน้นสิ่งที่ ควร (ต้อง) จะ (แสดง) เป็น และในส่วนของหน้าที่จะเน้นสิ่งที่ควร (ต้อง) กระทาหรือ ดาเนินการ ดังนั้นหน้าที่ของวิทยากรกระบวนการ คือ ๑. การทาความเข้าใจเปูาหมายและจุดประสงค์ของการประชุม เตรียม ประเด็นหลัก ตามเปูาหมายและวัตถุประสงค์ เพื่อมอบหมายให้ เวทีประชาคมระดม สมอง ๒. กาหนดกิจกรรมและกระบวนการที่สอดคล้องต่อเนื่องตามลาดับ ๓. ประสานงานเพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่สาคัญสาหรับผู้เข้าร่วมประชุม ใช้ประกอบการประชุม โดยแจ้งให้ผู้เข้าประชุม เตรียมล่วงหน้าหรือจัดนิทรรศการใน วันประชุม หรือนามาจุดประกายในช่วงเปิดประชุม หรืออาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ ประเด็นที่การประชุมต้องการนาเสนอ พูดคุยกัน ๔. ประสานงาน เชิญชวนให้ผู้เข้าประชุมต้องสามารถอยู่ร่วมกระบวนการได้ ตลอด รวมทั้งวิทยากรกระบวนการควรทราบข้อมูลพื้นฐานของชุมชน /บุคคล เพื่อ ปรับกระบวนการ/วิธีนาเสนอ ๕. ประสานงานในเรื่อง ลักษณะที่เอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมใน การเรียนรู้ และการทากิจกรรม เช่น มีบรรยากาศเป็นส่วนตัว ห้องประชุมไม่คับแคบเกินไป มี กระดาน/ผนังที่ใช้ติดแผ่นพลิก ๖. ประสานงานในเรื่อง วัสดุอุปกรณ์ เครื่องเขียนที่จาเป็น ๗. เตรียมงานและนัดหมายทีมวิทยากร ประชุมเพื่อทบทวนบทบาทหน้าที่ เปูาหมายและจุดประสงค์ ลาดับการเรียนรู้ รวมทั้งการเตรียมการล่วงหน้า เช่น ใบ งาน เกม ๘. หน้าที่สาคัญ คือ กระตุ้นให้สมาชิก ในเวที ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น อย่างเท่าเทียมกัน สะท้อน/ทบทวน/เชื่อมโยง สรุปประเด็นให้ตรงกับความหมายที่
18
การบูรณาการแผนชุมชน
แท้จริงของสมาชิกในเวทีประชาคม ใช้ศิลปะในการตัดการอภิปรายที่ยืดเยื้อเกินความ จาเป็น/นอกประเด็น /อาจกระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งในทางเสียหาย ๙. สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง มีความสนุกสนานในการแสดงความ คิดเห็น กระตุ้นให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่าสมาชิกที่เข้าประชุม ๑๐. สร้างความชัดเจนในข้อความของสมาชิกบางคนที่เขียนหรือพูดแล้วไม่ สื่อความหมายตามประเด็น ต้องซักถาม ให้เขียนหรืออธิบายเพิ่มเติม ๑๑. ต้องสามารถยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนกาหนดเวลาและกระบวนการได้ตาม ความจาเป็น ซึ่งจะทาให้กระบวนการราบรื่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ๑๒. ไม่มีหน้าที่บอกหรือสอนว่า ชุมชนมีปัญหาอะไร จะแก้ไขอย่างไร อนาคตควรเป็นอย่างไร แต่มีหน้าที่ในการกระตุ้น อธิบาย แม้กระทั่งการยกตัวอย่าง เพื่อให้สมาชิก ในเวที มองเห็นภาพหรือได้ข้อมูลประกอบการทากิจกรรมได้ และยังมี หน้าที่ช่วยสรุปใจความ กรณีสมาชิกมีปัญหาที่บอกได้แต่สรุปเป็นใจความที่เหมาะสม ไม่ได้ ๑๓. ต้องคานึงเสมอว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เป็นเพียง จุดเริ่มต้นของการลงมือกระทาเพื่อ อนาคตที่ดีกว่า การมีกิจกรรมลงมือทาต่อเนื่อง จากเวทีประชาคมต่างหากที่สามารถทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง ๑๔. ประสานงานให้สมาชิก ในเวทีประชาคม สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทักษะ ทรัพยากรที่จาเป็น เพื่อให้กลุ่ม สามารถวิเคราะห์ ตัดสินใจและปฏิบัติได้อย่าง เหมาะสม
เทคนิคพื้นฐานในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เทคนิคพื้นฐานในที่นี้นอกจากเป็นเทคนิคในการจัดกระบวนการเรียนรู้แล้ว ยังสามารถใช้ในกระบวนการพัฒนาที่ใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมทั่วไปได้ด้วย มิได้จากัด เฉพาะเรื่องกระบวนการเรียนรู้เท่านั้น
การออกแบบกลุ่ม การมีส่วนร่วมสูงสุด เกิดจากการออกแบบกลุ่มที่เหมาะสม ในแต่ละขั้นตอน ของกระบวนการกลุ่มแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อจากัดแตกต่างกันมาก บางประเภท เอื้อให้สมาชิกในกลุ่มมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ได้มากแต่อาจขาดความหลากหลาย ของแนวคิด จึงเหมาะสาหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากประสบการณ์ โดยยัง
19
การบูรณาการแผนชุมชน
ไม่ต้องการข้อสรุปที่สมบูรณ์ ข้อสรุปที่สมบูรณ์อาจได้มาจากการนาเสนอแลกเปลี่ยน ระหว่างกลุ่ม
ประเภทกลุ่ม ความหมาย ข้อบ่งใช้ ข้อจากัด กลุ่ม ๒ คน (Pair group) ให้สมาชิกจับคู่กัน ทากิจกรรม ที่ได้รับมอบหมาย : ต้องการให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการออกความเห็นหรือปฏิบัติ : ขาดความหลากหลาย ทางความคิดและประสบการณ์ กลุ่ม ๓ คน (Triad group) ให้สมาชิกจับกลุ่ม ๓ คน แต่ละคนมีบทบาทที่ ชัดเจน และหมุนเวียนบทบาทกันได้ : ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตามบทบาทและ สามารถเรียนรู้ได้ครบทุกบทบาท : ขาดความหลากหลายและกระจ่างชัดไปบ้าง กลุ่มย่อยระดมสมอง (Buzz group) เป็นการรวมกลุ่ม ๓ –๔ คน ขึ้น ชั่วคราวเพื่อแสดงความคิดเห็น : ต้องการให้สมาชิกมีส่วนร่วมในเวลาสั้นๆ โดยไม่ ต้องการข้อสรุป หรือต้องการข้อสรุปที่ไม่ลึกซึ้งมาก นัก : ขาดความลึกซึ้ง ไม่มีการอภิปรายกันอย่างลึกซึ้ง กลุ่มเล็ก (Small group) เป็นการจัดกลุ่ม ๕-๖ คน ทากิจกรรมที่ได้รับ มอบหมายจนลุล่วง : ต้องการให้สมาชิกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและอภิปรายได้ อย่างลึกซึ้ง จนได้ข้อสรุป : ใช้เวลามาก กลุ่มใหญ่ (Large group) เป็นการอภิปรายในกลุ่ม ๑๕ – ๓๐ คน ทั้งชั้น : ต้องการให้เกิดการโต้แย้งหรือการรวบรวมความคิดเห็นจากกลุ่มย่อยเพื่อหาข้อสรุป : บางคนอาจให้ความสนใจหรือมีส่วนร่วมน้อยใช้เวลามาก กลุ่มไขว้ (Cross-over group ) เป็นการจัดกลุ่ม ๒ ขั้นตอน โดยแยกให้ สมาชิกทากิจกรรมเฉพาะบางกลุ่มจนมีความเชี่ยวชาญ : ต้องการให้สมาชิกใช้ ศักยภาพของตนเองในสร้างความรู้ สมาชิกจะมีส่วนร่วมและได้เนื้อหามาก : ใช้เวลา มากอาจมีความรู้ที่ตกหล่น จากนั้นจึงให้สมาชิกจากแต่ละกลุ่มมาร่วมกันเป็นกลุ่ม ใหม่เพื่อบูรณาการ แบ่งกลุ่มย่อย (Sub group) เป็นการจัดกลุ่ม ๒ ขั้นตอนจากกลุ่ม ๘-๑๒ คน แต่ละกลุ่มถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๓-๔ กลุ่มเพื่อให้ทางานกลุ่มละ ๑ งาน (ที่ไม่ เหมือนกัน) จากนั้นจึงให้กลุ่มย่อยมารวมกันเพื่อบูรณาการเหมือนกลุ่มไขว้
20
การบูรณาการแผนชุมชน
กลุ่มปิรามิด (Pyramid group) รวบรวมความคิดเห็นโดยเริ่มจากกลุ่ม ๒-๔ คน ทวีขึ้นไปเป็นขั้นๆ จนครบทั้งชั้น : สร้างความตระหนักและเข้าใจความรู้สึกนึกคิด ของแต่ละกลุ่มหรือฝุาย : ขาดข้อสรุป และความลึกซึ้ง การร้อยรัดกระบวนการกลุ่มที่หลากหลายด้วยกันอย่างเหมาะสมในแต่ละ ขั้นตอนของกระบวนการ ทาให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างสูงสุดมีพลวัตหรือการ เคลื่อนไหวของการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิด /ประสบการณ์ ทาให้สมาชิกมีความ สนใจอย่างต่อเนื่อง
การออกแบบงาน (Task design) แม้การออกแบบกลุ่มที่หลากหลายจะช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมได้มาก แต่ ไม่ได้หมายความว่า การมีส่วนร่วมนั้นได้เกิดผลงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ เสียเวลา หัวใจสาคัญของการบรรลุงานสูงสุดจึงอยู่ที่การกาหนดงานให้กับกลุ่ม ซึ่งมี องค์ประกอบที่สาคัญของการกาหนดงาน ๓ ประการ คือ ๑. กาหนดกิจกรรมที่ชัดเจนว่าจะให้สมาชิกแบ่งกลุ่มอย่างไร เพื่อทาอะไรใช้ เวลามากน้อยแค่ไหน เมื่อบรรลุงานแล้วจะให้ทาอย่างไรต่อ (เช่น เตรียมเสนอหน้าชั้น ในเวลาที่กาหนดให้) ๒. กาหนดบทบาทของกลุ่มหรือสมาชิกที่ชัดเจน โดยปกติการกาหนด บทบาทในกลุ่มย่อยควรให้แต่ละกลุ่มมีบทบาทที่แตกต่างกัน เมื่อมารวมเสนอในกลุ่ม ใหญ่จึงจะเกิดการขยายเครือข่ายการเรียนรู้โดยไม่น่าเบื่อ การกาหนดบทบาทยัง รวมถึงสมาชิกในกลุ่มด้วย เช่น บทบาทของการนากลุ่ม การรวบรวมความเห็นการ นาเสนอ เป็นต้น ๓. ควรมีโครงสร้างของงานที่ชัดเจน ซึ่งบอกรายละเอียดของกิจกรรมและ บทบาทโดยทาเป็นข้อกาหนดงานที่วิทยากรแจ้งแก่สมาชิกหรือทาเป็นใบงานมอบ ให้กับกลุ่ม ซึ่งประการหลังจะเหมาะกับการทากลุ่มย่อยที่ต้องการทางานให้ได้ผลงาน ที่เป็นข้อสรุปของกลุ่ม โดยจัดทาเป็น - ใบงาน เป็นข้อกาหนดผลงาน หรือใบมอบหมายงานให้กลุ่มเล็ก หรือ กลุ่มย่อยระดมสมองที่มีรายละเอียดมาก และต้องการผลงานที่เป็นข้อสรุปของกลุ่มที่ มีความลึกซึ้งมาก มักใช้ในกิจกรรมสะท้อน ความคิด และอภิปราย และกิจกรรม ประยุกต์แนวคิด
21
การบูรณาการแผนชุมชน
- ใบชี้แจง เป็นงานที่มีรายละเอียดไม่มากนักในกลุ่มใหญ่ ก่อนทากิจกรรม กลุ่มวิทยากรอาจเขียนใส่กระดาษหรือแผ่นใส ให้สมาชิกอ่านพร้อมกันในชั้นหรือใน กลุ่มใหญ่ มักใช้ในกิจกรรมด้านประสบการณ์หรือประยุกต์แนวคิด
เทคนิคการตั้งคาถาม ลัก ษณะของคาถามที่จะก่อให้เกิดการอภิปรายนั้นจะต้องเป็นคาถามที่ กระตุ้น ยั่วความคิด ท้าทายความคิด และควรเป็นคาถามปลายเปิดมากกว่าคาถามปิด เพื่อประสิทธิภาพในการใช้คาถามวิทยากรควรมีกรอบหรือโครงสร้างของชุดคาถาม ดังนี้
โครงสร้างชุดคาถาม
ปัญหา สภาพเหตุการณ์ แนวทางปฏิบัติ
อดีต ปัจจุบัน อนาคต
๑. ใคร ๒. อะไร ๓. ที่ไหน ๔. เมื่อไหร่ ๕. อย่างไร ๖. ทาไม ๗. เพื่อใคร ๘. ใครได้ประโยชน์ ๙. ใครตัดสินใจ ๑๐. กลุ่มควรมีบทบาท หรือมีส่วนร่วมหรือ พึ่งตนเองอย่างไร
คาถามปิด เป็นคาถามเพื่อทราบข้อมูลโดยเฉพาะ ไม่ค่อยเอื้อให้เกิดการ เปิดเผยตนเอง ได้ข้อมูลน้อยมาก จะได้คาตอบเพียงสั้น ๆ หรือคาตอบใช่ ไม่ใช่ มัก เป็นคาถามที่ถามถึงใคร อะไร คาถามเปิด เป็นคาถามที่ไม่ได้กาหนดขอบเขตการตอบ ทาให้มีโอกาสพูดถึง ความคิด ความรู้สึกปัญหา ประสบการณ์ตามความต้องการของผู้ตอบ ผู้ตอบจะได้ เต็มที่สะดวกใจทาให้ทราบเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากมาย มักเป็นคาถามที่ถามเกี่ยวกับ ทาไม อย่างไร
22
การบูรณาการแผนชุมชน
จากโครงสร้างชุดคาถามอธิบายประกอบภาพได้ดังนี้ ส่วนที่ ๑ สี่เหลี่ยม ๒ รูปซ้ายมือจะแสดงถึงทฤษฎีหลักการและปัญหาหรือ สภาพเหตุการณ์แนวทางปฎิบัติของเรื่องที่จะอภิปราย ซึ่งโดยปกติแล้วเรื่องต่าง ๆ ที่ จะมีการอภิปรายกลุ่มนั้นจะมีองค์ประกอบสาคัญอยู่ ๒ ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง จะเป็น แนวทฤษฎี / หลักการ / ปัญหาของเรื่อง / สภาพเหตุการณ์นั้น ๆ และส่วนที่สอง เป็นแนวปฏิบัติของเรื่องนั้นๆ ส่วนที่ ๒ วงรี ๓ รูป ถัดมาจะแสดงถึงระยะเวลา ๓ ช่วง คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดยทั่วไปแล้ว เรื่องที่จะอภิปรายกลุ่มจะมีความเกี่ยวพันกับมิติของเวลา ๓ ช่วงดังกล่าว ส่วนที่ ๓ ด้านขวามือสุดของภาพเป็นชุดคาถามที่จะใช้กระตุ้นให้กลุ่มเกิด การอภิปรายมี ๑๐ คาถามส่วนใหญ่เป็นลักษณะคาถามปลายเปิด วิธีการใช้ชุดคาถามจะต้องนา ๓ ส่วนมาประกอบกัน แล้วผูกประโยคเป็นชุด คาถาม
การกาหนดบทบาทของผู้ร่วมเรียนรู้ ๑. ช่วยกันค้นหาข้อมูล ให้ข้อมูล / ประสบการณ์/ความคิด ๒. ร่วมกันวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล ประสบการณ์ความคิดรวบยอด สรุป ๓. ทางานภายในกลุ่มให้เป็นไปตามเวลาที่กาหนดให้ ๔. ค้นหาความคิดเห็นร่วม (Common ground ) ของกลุ่ม ๕. ช่วยกันกาหนดกิจกรรมที่จะนา “ความคิดเห็นร่วม ” ไปสู่การปฏิบัติ
กติกาเบื้องต้นของการประชุม/เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ๑. ทุกความคิดเห็นที่สมาชิกกล่าวต่อกลุ่มถือว่ามีความหมายมีคุณค่า แต่ไม่ มีการตัดสินว่าความคิดเห็นนั้นถูกหรือผิด สมาชิกสามารถอธิบายเหตุผลความรู้สึก ของตนต่อความคิดเห็นที่เสนอต่อกลุ่มโดยไม่มีการโต้เถียงสมาชิกกลุ่มจะช่วยกันเลือก/ ค้นหา ความคิดเห็นร่วมเพื่อถือเป็นความคิดเห็นร่วมกันของกลุ่ม ๒. ทุกความคิดเห็น /ข้อมูลที่สมาชิกเสนอต้องได้รับการบันทึกให้ปรากฎบน แผ่นพลิก เพื่อให้ผู้อื่นได้มองเห็นอย่างชัดเจนซึ่งจะช่วยให้สมาชิกอื่น ๆ นามาคิด สืบเนื่องต่อกันได้ เป็นการขยายเครือข่ายความคิด ๓. บริหารเวลาการทางานให้เป็นไปตามที่กาหนดทุกขั้นตอน
23
การบูรณาการแผนชุมชน
๔. กลุ่มจะทางานเกี่ยวข้องกับความคิดที่สมาชิกกลุ่มเห็นพ้องต้องกันเท่านั้น สิ่งที่ไม่เห็นพ้องจะถูกบันทึกและนามาพิจารณาได้อีกหากมีเวลาหรือนามาพิจารณาใน โอกาศต่อ ๆ ไป ๕. กลุ่มจะไม่ทางานในประเด็นที่สมาชิกกลุ่มมีความเห็นแตกต่างกัน ๖. สมาชิกที่เข้าร่วม ควรเข้าร่วมงานกับกลุ่มตั้งแต่เริ่มต้นอย่างต่อเนื่อง
การสร้างบรรยากาศกลุ่ม การสร้างบรรยากาศกลุ่มที่ดี และเหมาะสม เป็นกลยุทธ์ที่มีผลกระทบต่อ การเปิดเผยความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ของสมาชิกกลุ่มด้วยความเต็มใจและ จริงใจมีผลต่อการดาเนินงาน / อภิปรายภายในกลุ่ม บรรยากาศกลุ่มจึงควรมีลักษณะ เป็นกันเองระหว่างสมาชิกกลุ่มด้วยกันและระหว่างวิทยากรกับสมาชิกกลุ่ม ลักษณะ ประจาของคนไทยคือความรักสนุก ใฝุสัมพันธ์มากกว่าใฝุสัมฤทธิ์ แต่มีความเกรงใจ และไม่กล้าแสดงความคิดเห็น การจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อละลายพฤติกรรมและ สร้างสัมพันธ์ด้วยความสนุกสนานจะทาให้สมาชิกกลุ่มกล้าเปิดเผยตนเองด้วยความ เต็มใจและจริงใจ ทาให้การอภิปรายกลุ่มเป็นไปด้วยความราบรื่นและสมาชิกมีส่วน ร่วมเต็มที่ นอกจากนี้กิจกรรมนันทนาการยังใช้เพื่อการนาไปสู่การปรับทัศนคติที่ สะท้อนแง่คิด เป็นการนาเข้าสู่เรื่องที่จะอภิปรายได้ง่ายขึ้น เช่น การใช้เกมส์ เพลง นิทานนา
สถานที่ สถานที่เป็นปัจจัยสาคัญสาหรับการดาเนินกระบวนการแบบมีส่วนร่วม ควร เป็นสถานที่ ที่แยกเป็นสัดส่วนเฉพาะไม่พลุกพล่าน หรือถูกรบกวนจากเสียง ภาพ และบุคคลภายนอก ซึ่งจะช่วยให้กิจกรรมดาเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุดเป็นครั้ง คราว สมาชิกมีสมาธิในการร่วมกิจกรรมและเปิดเผยตนเองได้เต็มที่สถานที่ควรมี ลักษณะโล่ง มีเฉพาะเก้าอี้ ไม่มีโต๊ะเพื่อให้มีการเคลื่อนไหว เคลื่อนย้ายได้สะดวก ขณะดาเนินกิจกรรมกลุ่มมีการระบายอากาศที่ดี ไม่ร้อนอบอ้าว การจัดโต๊ะเก้าอี้ใน รูปแบบต่าง ๆ สามารถสื่อให้คนเกิดความรู้สึกรับรู้ถึงตาแหน่ง อานาจ ความร่วมมือ ความเท่าเทียม ความเป็นกันเอง ความเป็นพวกเดียวกัน การจัดเก้าอี้ที่เอื้อต่อ กระบวนกากลุ่มจึงควรจัดเก้าอี้เป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม รูปตัวยู รูปวงกลม โดยไม่มีโต๊ะ เพื่อให้สมาชิกกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์ด้วย อวจนภาษา (ภาษาร่างกาย ) มีความรู้สึก
24
การบูรณาการแผนชุมชน
เท่าเทียมกัน ลดความแตกต่างสถานภาพ รู้สึกเป็นกลุ่มเดียวกัน ไม่แปลกแยก แสดง ความคิดเห็นได้เต็มที่
เทคนิคการสื่อสาร การใช้ภาษากาย (อวจนภาษา) ภาษากายเป็นการแดสงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ใช้คาพูด แต่มีความหมายสามารถสื่อถึงความรู้สึก ซึ่งมนุษย์สามารถรับรู้ได้ ได้แก่ การวางตัวกิริยาการเคลื่อนไหว การแสดสีหน้าแววตา การประสานสายตา การสบตา น้าเสียง การจัดสถานที่ สิ่งแวดล้อม ภาษากายมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าภาษาพูด การใช้สถานที่ที่มิดชิดและสงบ ปราศจากการรบกวนและสิ่งเร้าจากภายนอก ทาให้ สมาชิกรู้สึกเป็นส่วนตัว การให้แสงสว่างทึม ๆ (Dim Light) ที่มีเสียงเพลงสมาธิ (Meditation Music1) หรือเพลงผ่อนคลาย (Relaxation Music) เบา ๆ ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย หรือเป็นสุขด้วยความสงบ และมีสันติ การจัดเก้าอี้ติดกันเป็นรูปเส้นโค้งโดยไม่มีโต๊ะ ให้ความรู้สึกถึงความเป็นกลุ่มเดียวกัน ความเท่าเทียมที่ไม่แตกต่าง ความใกล้ชิด ความคุ้นเคยเป็นกันเองการใช้น้าเสียงอ่อนโอยนุ่มนวล การสบตาและการยิ้มขณะค ตั้งคาถามหรือการพูดคุยด้วยแสดงให้เห็นถึงความเป็นกันเอง ความอบอุ่น ความไม่มี เงื่อนไขว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด การให้อภัย การยืนในระยะห่าง ๑-๒ ฟุต แสดงถึงความ ใกล้ชิด การแต่งกายด้วยชุดสุภาพเรียบง่าย และการวางตัวสบาย ๆ แสดงถึงความ เป็นกันเองเปิดเผย
การสื่อสารด้วยการเขียน การเขียนความคิดเห็น ข้อมูลประสบการณ์ลงในกระดาษแผ่นเล็ก ๆ โดยไม่ ระบุชื่อผู้เขียนแล้วส่งให้วิทยากรหรือเลขากลุ่มรวบรวมเป็นหมวดหมู่ เป็นการเปิด โอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน ทาให้ทุกคนกลั่นกรองความคิดเห็นได้ ดีกว่าการพูดเพียงอย่างเดียว อาจใช้เป็ นการนาขึ้นต้นเพื่อนาไปสู่การอภิปรายที่มี ประสิทธิภาพตามประเด็นทีได้เขียนรวบรวมไว้ภายในเวลาที่จากัด ความคิดเห็นที่ รวบรวมได้ ควรบันทึกสั้น ๆ บนกระดาษแผ่นพลิกให้ทุกคนอ่านเห็นได้ชัดเจน การเขียนความคิดเห็นของทุกคนบนกระดาษแผ่นใหญ่ที่ติดฝาผนังตาม ประเด็นที่ตั้งไว้ ทาให้รู้สึกเป็นอิสระในการแสดง ความคิดเห็น ความคิดเห็นของแต่ละ คนจะปรากฏให้สมาชิกทุกคนได้รับรู้ -ได้ ภ ายในเวลาที่จากัดส่งวเสริมการเรียนรู้
25
การบูรณาการแผนชุมชน
ความเข้าใจซึ่งกันและกันหลังจากนั้นใจึงให้แบ่งกลุ่มเพื่อช่วยกันสรุปประเด็นที่ปรากฏ บนผนังหนรือนามาเชื่อมโยงกับประเด็นคาถามที่ตั้งขึ้นใหม่ วิธีนี้เป็นวิธีการส่งเสริม การทางานเป็นกลุ่มอย่างมีส่วนร่วม ลดข้อโต้เถียงขัดแย้งและการข่มความคิดของ ผู้อื่น โดยมีวิทยากรช่วยสนับสนุนประคับประคองกระบวนการกลุ่มให้ดาเนินไปอย่าง มีประสิทธิภาพ ภายในเวลาที่กาหนด
แผนที่ความคิด (Mind Map) แผนที่ความคิด เป็นวิธีการช่วยบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพความคิดที่ หลากหลายในมุมมอง ที่กว้างและชัดเจนกว่าการบันทึกที่เราคุ้นเคย โดยยังไม่ จัดระบบระเบียบความคิดใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นวิธีการที่สอดคล้องกับโครงสร้างกกรคิด ของมนุษย์ที่บางช่วงสมองจะกระโดยออกนอกทางขณะกาลังคิดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างลุ่มลึกการทาแผนที่ความคิด เริ่มต้นด้วยการเขียนคาสั้น ๆ ในประเด็นที่เรา ต้องการ (Key Words) ไว้ กลางกระดาษแผ่นใหญ่ที่ไม่มีเส้นบรรทัดซึ่งวางไว้ใน แนวนอน ลากเส้นสิ่งที่สัมพันธ์กับประเด็นด้วยปากกาหลากสี ออกไปการทาแผนที่ ความคิดเป็นวิธีหนึ่งในการจดบันทึก ความคิดของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่ม โดยให้ สมาชิกทุกคนเสนอความคิดที่ตั้งไว้ อาจกาหนดกติกาให้เสนอเพียงคนละหัวข้อก่อน เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมทุกความคิดที่เสนอขึ้น วิทยากรจะบันทึกด้วยคาสั้น ๆ เขียน ตัวโตให้ทุกคนมองเห็น พร้อมทั้งโยงเส้นเข้ากับกิ่งต่าง ๆ ของผู้เสนอ วิธีนี้ทาให้ได้ ความคิดหลากหลาย การมองเห็นความคิดของผู้อื่นที่ถูกบันทึกไว้ทาให้คนอื่น ๆ บังเกิดความคิดใหม่สืบเนื่องต่อมาได้ เปรียบเสมือนการต่อภาพ Jigsaw นั่นเอง วิทยากรมีหน้าที่กระตุ้นให้สมาชิกอธิบายความคิด ให้กลุ่มฟังจนเข้าใจความหมายที่ สมาชิกอภิปรายไว้ การจัดความสาคัญความสัมพันธ์ และความเป็นไปได้ ตาม ความเห็นของสมาชิก กระทาได้โดยมอบ Sticker สีให้คนละ ๕-๘ แต้มเท่า ๆ กัน เพื่อให้สมาชิกนาไปติดข้างคาที่สมาชิกให้ความสนใจซึ่งอาจให้มากกว่า ๑ แต้ม ต่อ ๑ คาได้.
เครื่องมือ/เทคนิคในกระบวนการ (วงจร) ทางานร่วมกับชุมชน โดยทั่วไปแล้วการทางานพัฒนาจะมีกระบวนการขั้นตอน แต่เนื่องจาก กระบวนการไม่สิ้นสุด ยังต้องเคลื่อนต่อแบบพลวัต (Dynamic) จึงอาจเรียกได้ว่าเป็น วงจรของการพัฒนา ดังนี้
26
การบูรณาการแผนชุมชน
๑. การเตรียม (Pre - Study/Research Phase) ควรมีการเตรียมต่อไปนี้ ๑) เตรียมใจ ดังนี้ - ใจต้องเชื่อมั่นในศักยภาพของชุมชนที่จะพัฒนา ถ้าได้รับโอกาสและ การสนับสนุน - ใจต้องศรัทธาในกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน - ใจต้องศรัทธาในภูมิปัญญาและทุนทางสังคมของชุมชน - ใจต้องเปิดกว้างพร้อมรับสิ่งที่แตกต่างจากสมมติฐานหรือมุมมอง ของตนเอง - ใจต้องยอมรับความเท่าเทียมในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ - ใจต้องยอมเป็นหุ้นส่วน(เพื่อน)กับสมาชิกชุมชน ๒) เตรียมตัว ควรมีการเตรียมตัวให้แข็งแรงและมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม เพื่อให้ชุมชนยอมรับเป็นเพื่อนหรือลูกหลาน แทนการเห็นเป็นเจ้าเป็นนาย บุคลิกภาพเหล่านั้นได้แก่ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความน่าเชื่อถือ พร้อมร่วมมือและ ช่วยเหลือ เป็นผู้ฟังที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เกรงใจ เปิดเผย มองโลกในแง่ดี มีกิริยาที่ เหมาะสม ท่าทีเป็นมิตรน่าคบหาสมาคม ทาตัวแบบเสมอภาคหรือติดดินเหมือนคน ทั่วไป ๓) เตรียมความรู้ข้อมูลข่าวสาร ควรมีการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น แผนงาน โครงการ หลักฐาน หรือข่าวสารที่ต้องนาไปพูดคุย เกริ่นนาโครงการ กับสมาชิกใน ชุมชน เป็นการหาหัวข้อสนทนาที่จะช่วยสร้างความตระหนักในเรื่องนั้น ๆ ๔) เตรียมชุมชน เป็นการเตรียมให้ชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมกัน พัฒนาชุมชน เตรียมทีมช่วยเหลือในการศึกษาชุมชนแบบมีส่วนร่วมต่อไป โดยการ เตรียมชุมชนต้องนาข้อมูลข่าวสารมาบอกกล่าว และไม่ใช่เพียงแค่ให้ชุมชนลุกขึ้นมา ทาเท่านั้นต้องมองถึงการจะช่วยดูแลอย่างยั่งยืนต่อไปด้วย
๒. การศึกษาชุมชน (Study/Research Phase) การศึกษาชุมชนแบบมีส่วนร่วม เป็นการสืบค้นหาข้อมูลที่สาคัญ ทั้งใน ตัวของเนื้อหาและบริบทที่แวดล้อม เพื่อที่จะนาไปสู่การพัฒนาต่อไป กระบวน การศึกษาชุมชนแบบมีส่วนร่วมที่ให้ผลการศึกษาเป็นที่ยอมรับ คือ กระบวนการ PRA (Participatory Rapid Appraisal) เป็นการเก็บข้อมูลที่เปิดให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วน
27
การบูรณาการแผนชุมชน
ร่วม ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเป็นพนักงานสัมภาษณ์ เป็นนักสังเกตและได้วิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกันกับนักพัฒนา เครื่องมือในการศึกษาชุมชนมีมากมาย แต่ในที่นี้เสนอการใช้ เครื่องมือสาคัญ ๗ อย่างที่จะทาให้รู้และเข้าใจชุมชน ซึ่งไม่ใช่เพียงบุคคลภายนอก แต่ ทีมชุมชนก็จะค้นพบและรับทราบถึงสถานการณ์ของชุมชนได้เอง เครื่องมือ ๗ อย่าง ได้แก่ ๑) แผนที่เดินดิน (Participatory Mapping) เป็นการสร้างแผนที่ของ ชุมชน โดยการใช้เทคนิค การเดินแบบเดินเลาะทุกพื้นที่ของชุมชน(Transects Walk) โดยนักพัฒนาเดินร่วมกับสมาชิกในชุมชนนั้น ๗-๑๒ คน (ควรมีความหลากหลายของ กลุ่มเพื่อให้เห็นมุมมองที่แตกต่าง) เห็นอะไรที่น่าสนใจศึกษา ก็ถามชาวบ้านที่ไปด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสารวจทรัพยากรของชุมชน ขอบเขต และความสาคัญต่อ ชุมชน (แต่ไม่ควรมีขนาดใหญ่มากและไม่ทุรกันดารเกินไป ) บันทึกที่สาคัญอย่าง คร่าวๆ แล้วนามาลงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง นอกเหนือจากการต้องการได้แผนที่แล้ว การสร้างแผนที่เดินดินมีจุดประสงค์สาคัญ เพื่อสารวจทุน /ทรัพยากรของชุมชน สิ่งที่ น่าจะมีผลต่อคุณภาพชีวิต ว่า มีอะไร อยู่ที่ไหน เช่น บ้าน ร้าค้า โรงเรียน วัด บ่อน้า สิ่งสกปรก ถนน ฯลฯ วิธ๊นี้จะทาให้มองเห็นทั้งลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทาง สังคม บ้านที่เลี้ยงไก่ จานวนมาก บ้านที่มีวัวพ่อพันธุ์ ฯลฯ ทาให้มองเห็นเปูาหมาย หรือสิ่งที่จะต้องทาในอนาคต ๒) ผังเครือญาติ (Family Diagram) คือการถอดความสัมพันธ์ในเชิง เครือญาติหรือเชิงสายเลือดในชุมชน ผังเครือญาติมีความสาคัญต่อการทาความ เข้าใจกชุมชนและสังคมไม่ว่าจะเป็นเมือง หรือชนบท โดยมีเปูาหมายเพื่อ - เข้าใจโครงสร้างความสัมพันธุ์เชิงเครือญาติ อันเป็นความสัมพันธ์ที่ เป็นรากฐานของครอบครัวในชุมชน - รู้จักตัวบุคคลและความสัมพันธ์ทางสังคมของเขาได้ในระยะเวลาอันสั้น - ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหน้าที่ /นักพัฒนากับ ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ถ้ามีเวลาอยู่กับชุมชนไม่นาน การทาผังเครือญาติ ไม่จาเป็นต้องทาทุก ครอบครัว แต่ควรทาในกลุ่มที่ให้ความสนใจ เช่น กลุ่มผู้นา กลุ่มที่สังเกตได้ว่ามีผู้ใช้ นามสกุลนี้เยอะ กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ๓) โครงสร้างองค์กรชุมชน/เครือข่ายองค์กรในชุมชน เครื่องมือนี้ช่วย ให้เข้าใจโครงสร้างองค์กรชุมชนได้รอบด้าน ทั้งโครงสร้างที่เป็นทางการและไม่เป็น
28
การบูรณาการแผนชุมชน
ทางการ รวมทั้งช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ทางสังคมในแง่มุมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน นั้น ๆ นอกเหนือจากความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ วิธีการศึกษาใช้การสอบถาม พูดคุย และการสังเกต ควรจะศึกษาลักษณะแบบแผนความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ อย่างน้อย ๓ ด้าน ดังนี้ ๑) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ๒) ความสัมพันธ์ทางการเมือง ๓) ความสัมพันธ์ทางสังคม การทาความเข้าใจในความสัมพันธ์ ๓ ส่วนนี้จะทาให้เข้าใจถึง บทบาท อานาจ หน้าที่ และความสัมพันธ์เชิงอานาจที่มีอยู่จริงในชุมชน ไม่ใช่เพียง เป็นองค์กรในกระดาษเท่านั้น เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนไม่ได้แยกจากกันโดยเด็ดขาด จึงทาให้ เราได้ภาพความสัมพันธ์ที่ทับซ้อนกันไปมา แต่จะทาให้มองเห็นภาพองค์รวมอย่าง เป็นรูปธรรม และนั่นคือ เครื่องมือสาคัญที่ช่วยให้มองเห็นความแตกต่างหลากหลาย แต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ขององค์กรในชุมชน ทาให้การหาแนวทางพัฒนา /แก้ไขปัญหามี ประสิทธิภาพมากขึ้น ๔) ระบบ....ของชุมชน ระบบต่าง ๆ ของชุมชน มักจะมีแบบแผนจาก มิติทางสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ หรือค่านิยม มาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ บางเรื่องเป็นวิถี ชีวิตของชุมชน ระบบปศุสัตว์ของชุมชน ก็อาจจะมีบางอย่างต่างไปจากระบบปศุสัตว์ ของกรมปศุสัตว์หรือของภาครัฐ การใช้เครื่องมือนี้ ทาได้โดยการพูดคุย สังเกต สอบถาม หรือสนทนา กลุ่ม ถึง แบบแผนวิธีการการเลี้ยงสัตว์ของชาวบ้าน การดูแลเมื่อมีปัญหาเจ็บปุวยใน สัตว์ ขั้นตอนการรักษา หรือขั้นตอนการแก้ปัญหา เริ่มจากพึ่งพาใคร อย่างไร การทา อย่างนั้น อย่างนี้ ได้ข้อมูลมาจากไหน หรืออาจศึกษาถึงรูปแบบ กระบวนการในการ ซื้อ การดูแลแต่ละระยะ การจาหน่ายผลผลิต ของชาวบ้านประโยชน์ของเครื่องมือนี้ คือ ทาให้เราได้เรียนรู้ระบบของชาวบ้านซึ่งจะมีภูมิปัญญา วิถี/แนวทางในการดูแล ปศุสัตว์ในแบบที่สืบทอดกันมา ทาให้เข้าใจสถานการณ์และมองเห็นแนวทางการนา เทคโนโลยีสมัยใหม่ลงไปใช้ให้สอดคล้องกลมกลืนได้ ที่สาคัญ คือ ไม่ควรด่วนสรุป ตามที่รับรู้มาว่า วิธีการของชาวบ้านเป็นสิ่งผิดไม่ถูกต้อง ดดยที่ยังไม่เข้าใจในระบบ ของท้องถิ่น ๕) ปฏิทินชุมชน จุดมุ่งหมายของการใช้เครื่องมือนี้ คือ - สร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาวบ้าน ว่าในแต่ละรอบปี รอบเดือน หรือแต่ละวัน ชาวบ้านทาอะไร อย่างไร เมื่อไรบ้าง ทาให้เรารู้ จังหวะชีวิต ของ ชุมชน
29
การบูรณาการแผนชุมชน
- เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน เพราะการรู้จัก จังหวะและวิถีชีวิตของชุมชน คือ การรู้จักกาลเทศะในชีวิตชาวบ้าน เมื่อเราเข้าหา ชาวบ้านได้ถูกจังหวะจะสร้างความรู้สึกดี ๆ และเกิดบรรยากาศของความร่วมมือที่ดี - ช่วยให้การวางแผนงานชุมชนดีขึ้น เพราะเราและชาวบ้านจะ สามารถจัดตารางการทางานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านได้ แนวทางในการศึกษาปฏิทินชุมชนสามารถศึกษาปฏิทินได้๒ ลักษณะ คือ - ปฏิทินทางเศรษฐกิจ หรือปฏิทินการทามาหากิน ประกอบอาชีพ สร้างรายได้ ซึ่งสามารถใช้วิธีสังเกต สอบถาม เรื่อง อาชีพแบบไหนบ้าง แต่ละอาชีพ ต้องทาอะไร ช่วงไหน ถ้าไปต่างถิ่นจะกลับช่วงไหน เป็นต้น ข้อมูลกลุ่มนี้จะทาให้เรา มองเห็นชีวิตชุมชนที่มีหลายลักษณะ มีจังหวะชีวิตที่เป็นภาพรวม อันจะเป็น ประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ปัญหาหรือแนวทางแก้ไขต่าง ๆ - ปฏิทินทางวัฒนธรรม/สังคม เป็นการศึกษาเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณีหรือพิธีกรรมสาคัญที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในชุมชนนั้น ๆ ๖) ประวัติศาสตร์ชุมชน คือ การศึกษาถึงเรื่องราวความเป็นมาของ ชุมชนในด้านต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง ตามห้วง ระยะเวลาต่าง ๆ จากอดีตถึงปัจจุบัน เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือมีเหตุการณ์สาคัญ อะไรเกิดขึ้นบ้าง เปูาหมายสาคัญของเครื่องมือนี้ คือ - เข้าใจความเป็นมาของเรื่องราวต่าง ๆ ในชุมชนได้ดีขึ้น - ลดอคติส่วนตัวที่จะข้ไปตัดสินเรื่องราวต่าง ๆ ในชุมชน - ลดช่องว่างในการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชน การนาเสนอประวัติศาสตร์ชุมชนที่ศึกษาได้ จะนาเสนอในรูปแบบของ เทคนิคเส้นแบ่งเวลา (Time Line) ซึ่งประกอบด้วย ช่วงเวลา กับ เหตุการณ์หรือ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ๗) ประวัติชีวิต การศึกษาประวัติชีวิต คือ เครื่องมือที่ทาให้เราเห็น รายละเอียดของชีวิตผู้คน สร้างความเข้าใจในเรื่องราวชีวิตของชาวบ้าน รวมทั้ง สามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของชุมชนผ่านชีวิตของคนในชุมชนได้ด้วย และถ้า หากผู้ที่ศึกษาประวัติชีวิต เป็นคนในหมู่บ้านเอง ก็ยิ่งสร้างความเข้าใจ หรือถ้าเป็นการ ให้เยาวชนศึกษาประวัติชีวิตผู้เฒ่าผู้แก่ ก็จะทาให้ซาบซึ้งถึงถิ่นฐาน การต่อสู้ของคน รุ่นก่อนได้เป็นอย่างดี กลุ่มเปูาหมายสาคัญที่ควรทาประวัติชีวิต ได้แก่
30
การบูรณาการแผนชุมชน
- กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ ทาให้ได้ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนแถมจาก ประวัติชีวิตของท่าน - กลุ่มผู้นาชุมชน ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มองเห็น เส้นทางการก้าวเข้ามาเป็นผู้นา เห็นรูปแบบวิธีคิด วิธีทางาน และทิศทางการพัฒนา - กลุ่มคนจนคนทุกข์ยาก เป็นกลุ่มที่คนส่วนใหญ่รู้จักและเข้าใจชีวิต ของเขาน้อยมาก จึงต้องศึกษาและหาให้เจอ - กลุ่มเปูาหมายการทางาน ในกรณีปศุสัตว์ ได้แก่ กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ ซึ่ง อาจจะแยกไปตามความสนใจเฉพาะ เช่น กลุ่มเลี้ยงสัตว์ปีก กลุ่มเลี้ยงโค กลุ่มเลี้ยง แบบฟาร์ม กลุ่มเลี้ยงแบบพื้นบ้าน เป็นต้น
๓. การสร้างแผนชุมชน (Planning Phase) การสร้างแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม มีจุดสาคัญอยู่ที่ ความเป็นแผน ชุมชน และ การมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งประการหลังจะมีอิทธิพลต่อแผน เพราะยิ่ง ชุมชนมีส่วนร่วมมากยิ่งทาให้เกิดความรู้สึกเป็นแผนของชุมชนเองมากขึ้น แต่ถ้า ชุมชนมีส่วนร่วมน้อย ก็จะมีความรู้สึกว่าเป็นแผนของนักพัฒนา/เจ้าหน้าที่ ชาวบ้านมี หน้าที่มาช่วยให้แผนแล้วเสร็จเท่านั้น ไม่ได้คิดว่าจะเป็นแผนเพื่อการแก้ไขปัญหาหรือ พัฒนาชุมชนของเขา เนื่องจากลักษณะของสังคมไทย โดยเฉพาะในชนบทมักจะไม่ ค่อยกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ไม่กล้าออกมาเคียงบ่าเคียงไหล่ หรือพูดคุย เสวนา กับเจ้าหน้าที่ /นักพัฒนาจากภายนอก ดังนั้นการสร้างการมีส่วนร่วมจึงจาเป็นต้อง อาศัยบรรยากาศ เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ มาใช้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม เครื่องมือ ที่ช่วยในการสร้างแผนชุมชน ได้แก่ ๑) กระบวนการ เอ-ไอ-ซี (AIC) ๒) การประชุมเพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน (Future Search Conference) ๓) การวิเคราะห์เพื่อทาแผนแบบรู้เขารู้เรา (SWOT Analysis) ๔) การประชุมเพื่อร่วมสร้างอนาคตอย่างสร้างสรรค์ (Appreciative Aquiry : AI) ๕) การใช้หลัก อริยสัจจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ๖) การประชุมกลุ่มระดมสมอง นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกมากมาย จากประสบการณ์ในการทางาน พบว่า การใช้เครื่องมือเหล่านี้จะเหมาะกับในแต่ละกลุ่ม แต่ละท้องที่ แต่ละ สถานการณ์ ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงควรใช้แบบผสมผสาน ยืดหยุ่น ไม่จาเป็นต้อง
31
การบูรณาการแผนชุมชน
ปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งหมดครบถ้วนตามลาดับ นาเทคนิคเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ แบบผสมผสานตามจุดเด่นแต่ละส่วน โดยคานึงถึงการสร้างความร่วมมือ ความเข้าใจ ได้ดีเหมาะสมกับบรรยากาศ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป เช่น เครือ่งมือทั้ง ๖ อย่าง ข้างต้น มีลักษณะเด่น ต่างๆ ดังนี้ - กระบวนการ AIC กับ FSC. มีพื้นฐานวิธีคิดที่คล้ายกัน นั่นคือ เรียนรู้ อดีต ศึกษาปัจจุบัน กาหนดอนาคต เพียงแต่ FSC. ให้น้าหนักในเรื่องของการเรียนรู้ อดีตมากกว่า และมีขั้นตอนมากมายหลายขั้นกว่า FSC. มีจุดเด่นตรง การราลึกและเรียนรู้อดีต ซึ่งเข้ากับลักษณะคนใน ชนบทโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุค่อนข้างมากจะมีความสามารถและสนุกไปกับการเล่า เรื่องราวในอดีต ส่วน AIC มีจุดเด่นที่กระบวนการไม่ยุ่งยาก นาภาพอนาคตไปสู่การ วางแนวทางและแผนปฏิบัติการได้ในเวลาที่ไม่มากเกินไป - กระบวนการประชุมสร้างอนาคตอย่างสร้างสรรค์ (AI) มีจุดเด่น คือ ไม่ ไปฟื้นฝอยหาตะเข็บ ไม่หยิบยกเรื่องที่เป็นปัญหาในอดีต วึ่งอาจจะนาไปสู่ความ ขัดแย้งในกลุ่ม แต่เริ่มจากการค้นหาสิ่งดี ๆ ที่มี สร้างความภาคภูมิใจและมองอนาคต ข้างหน้าร่วมกัน เหมาะสมกับกลุ่มที่มีความขัดแย้งภายใน หรือระหว่างคน/องค์กร ที่มาร่วมสร้างแผน และเหมาะกับการทากลุ่มที่มีเวลาไม่มากนัก แต่จุดอ่อน คือ การ ไม่สามารถทบทวนบทเรียนในอดีตร่วมกัน ซึ่งอาจทาให้เกิดความผิดพลาดซ้ารอยได้ - กระบวนการ SWOT มีจุดเด่นอยู่ที่การวิเคราะห์ความพร้อมขององค์กร ซึ่งชัดเจนอย่างมาก บ่งบอกถึงความเป็นไปได้และการเลือกทิศทางกลยุทธ์ได้ดี แต่ถ้า ใช้กระบวนการ SWOT ทั้งหมดในการสร้างแผนชุมชน ก็เป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน และออกแรงทางความคิดมาก อาจจะไม่เหมาะกับ ลักษณะของชาวบ้านของ ไทย - การประชุมกลุ่มระดมสมอง ไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยาก แต่เหมาะสาหรับ ชุมชนที่เข้มแข็ง สมานฉันท์ คนในชุมชนพร้อมในการแสดงความคิดเห็น - กระบวนการ อริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีจุดเด่นอยู่ที่ ความคุ้นเคยของคนไทยส่วนใหญ่ มีกระบวนการเชื่อมโยง ตั้งแต่การพิจารณา วิเคราะห์เหตุและผล วางภาพแห่งความพ้นทุกข์ และแนวทางสู่การพ้นทุกข์ และ นาไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่อง จุดที่เป็นอุปสรรค คือ กรณีชุมชนนั้นไม่ใช่ พุทธศาสนิกชน และถ้าการพิจารณา ทุกข์ เน้นแต่เรื่องที่เป็นปัญหา จะทาให้กลุ่มรู้สึก ท้อแท้ ปวดหัว สมองตื้อ ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป
32
การบูรณาการแผนชุมชน
จากที่ กล่าวมา จะเสนอแนวทางสร้างแผนชุมชนมีส่วนร่วมที่ประยุกต์ จากเครื่องมือข้างต้น โดยยึด อริยสัจ ๔ เป็นกระบวนการหลัก บนพื้นฐานของห้วง เวลา อดีต ปัจจุบันและอนาคต สามารถสรุปเป็นแผนผังกระบวนการได้ ดังนี้ ขั้นเตรียม เตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมความรู้ข้อมูลข่าวสาร และศึกษา ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ได้ทีมงานชุมชนร่วมกระบวนการสร้างแผน ขั้นดาเนินการ ๑ อดีต (ทุกข์) รู้ทุกข์ รู้สุขของชุมชน ๑. ราลึกและเรียนรู้อดีต (เทคนิค Time Line) (จาก FSC.) ๒. ปัจจุบัน (สมุทัย) รู้เหตุแห่งทุกข์และสุข ๒. วิเคราะห์สาเหตุ – ผล จากอดีต – ปัจจุบัน (เทคนิค ผังเหตุ-ผล หรือผังก้างปลา หรือแผนผังต้นไม้) (จาก FSC.) ๓. ความภาคภูมิใจในตัวเองและท้องถิ่นที่อยู่ (เทคนิคจัดกลุ่มแบบ จับคู่) (จาก AI) ๓. อนาคต (นิโรธ) ทางแห่งการพ้นทุกข์ สร้างสุข ๔. สร้างภาพอนาคตที่ปรารถนาและจัดลาดับความสาคัญ (เทคนิค Mind Map และ Weight Ranking) (จาก FSC. และ AIC) ๕. วิเคราะห์ความพร้อมองค์กร (เทคนิค SWOT) (มรรค) วิธีปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ ๖. กาหนดแนวทางหลักในการพัฒนาสู่ภาพอนาคต (ไม่จากัดเทคนิค) ๗. กาหนดแผนปฏิบัติการที่สามารถลงมือทาได้ตามบทบาทหน้าที่ รับผิดชอบ (ไม่จากัดเทคนิค) เกณฑ์การจัดลาดับความสาคัญของปัญหา โดยใช้วิธีการ Rating Scales ซึ่งมีเกณฑ์ที่จะใช้สาหรับการจัดลาดับ ความสาคัญ รวม ๕ เกณฑ์ในการพิจารณา ประกอบด้วย ๑. ขนาดของกลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์ ๒. ความร้ายแรงและเร่งด่วนของปัญหา ๓. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ๔. การยอมรับร่วมกันของชุมชน ๕. ความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา/การดาเนินการ
33
การบูรณาการแผนชุมชน
ก่อนที่จะมีการนาแผนชุมชน/แผนชุมชนบูรณาการ ไปสู่การปฏิบัติ ควรมี การนาแผนไปผ่านกระบวนการประชาพิจารณ์ก่อน เนื่องจากผู้ที่ร่วมทาแผนชุมชน คือ กลุ่มคนส่วนหนึ่งที่เป็นตัวแทนจากชุมชน มิใช่เป็นสมาชิกชุม ชนทั้งหมด ดังนั้นจึง ควรมีกระบวนการที่นาแผนไปเสนอให้คนส่วนใหญ่ (อาจจะเป็นตัวแทนจากทุก ครอบครัว ) รับรู้และให้ข้อคิดเห็น เพื่อที่จะสร้างความเป็นเจ้าของแผนชุมชนในวง กว้าง โดยเทคนิคในการทาประชาพิจารณ์ มี ๒ แนวทาง คือ ๑) จัดเวทีประชาคม เหมาะกับชุมชนที่มีความเข้มแข็ง สมานฉันท์ สมาชิกพร้อมแสดงความคิดเห็น และ ๒) จัดกระบวนการหมุนเวียนเรียนรู้ เหมาะสาหรับชุมชนทั่วไป
๔. การปฏิบัติการตามแผน (Imprementation/Development Phase) ในกระบวนการปฏิบัติหรือดาเนินการตามแผน ก็คือ การลงมือทาตาม บทบาทหน้าที่ของ แต่ละกลุ่มองค์กร ตามที่กาหนดไว้ในแผน โดยชุมชนต้องมีการ แบ่งกลุ่มรับผิดชอบงาน ซึ่งควรเป็นไปตามความถนัดตามพื้นที่แล้วแต่ประเภทของ กิจกรรม รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ทั้งทีมสนับสนุน และทีมองค์การบริหารส่วน ท้องถิ่น ว่าต้องมีบทบาทอย่างไรในกระบวนการนี้สิ่งสาคัญ คือ การจดบันทึกเรื่องราว ที่แต่ละกลุ่มดาเนินการไป หรืออาจจะมีแบบฟอร์มให้ใช้เลย เพื่อที่จะเป็นการบันทึก หลักฐานการทางาน และเป็นประโยชน์ในการกากับติดตามของชุมชน โดยเฉพาะขั้น ลงมือทานี้ ก็คือ สุดยอดแห่งกระบวนการเรียนรู้ (Learning by Doing) ที่สามารถจะ ให้บทเรียนแก่ชุมชนได้เป็นอย่างดี ในขั้นตอนนี้ วิทยากรกระบวนการควรมีการกระตุ้น ทีมที่มีหน้าที่ในการ ติดตาม กากับ เพื่อดูความเรียบร้อยและรับทราบข้อมูลสถานการณ์ ซึ่งบางส่วนบาง กิจกรรมอาจจะมีปัญหา อุปสรรค ก็จะสามารถจัดเวทีปรับปรุงแนวทางของแผนได้
๕. การประเมินผล (Evaluation Phase) การประเมินผลแบบมีส่วนร่วม มีความหมายตามคา ๒ คา คือ การ ประเมินผล ในความหมายของการประเมินผล จะเริ่มครอบคลุมความตั้งแต่ การ กากับ การติดตาม ที่เรียกว่า การประเมินผลระหว่างการดาเนินการ เป็นการ ประเมินในระดับขั้นตอน กระบวนการ เพื่อให้ทราบความก้าวหน้า และสามารถปรับ
34
การบูรณาการแผนชุมชน
ทิศทางการดาเนินงานได้ทันเวลา ไม่ต้องรอจนเสร็จสิ้นรอบปี และ การประเมินผล เมื่อสิ้นสุดการดาเนินการ หมายถึง การประเมินผลเมื่อสิ้นสุดแต่ละระยะของการ ดาเนินงาน อาจจะเรียกว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการ กรณีที่ไม่มีโครงการต่อเนื่อง การ ประเมินผลหลังจากการดาเนินการนั้น เป็นการประเมินในระดับผลผลิต และผลลัพธ์ ส่วนการประเมินก่อนการดาเนินงาน น่าจะไม่ถือว่าเป็นการประเมินผล (Evaluation) แต่เป็นการประเมินสถานการณ์ (Assesment) และกรณีมีการทางานเป็นวงจร เมื่อ ประเมินผลในรอบปีหนึ่ง ก็ถือเป็นการประเมินสถานการณ์ก่อนดาเนินงานในปีต่อมา อีกคาหนึ่ง คือ การมีส่วนร่วม ได้กล่าวถึงแล้วในตอนต้น ว่า ชุมชนต้องมีบทบาท สาคัญในกระบวนการนี้ด้วย ในกรณีนี้ การประเมินผลแบบมีส่วนร่วม ทาได้โดยการมี ทีมชุมชนที่อาสา หรือ ชุมชนให้ความเชื่อถือ ไปติดตามผลงานตามแผน ในช่วงเวลา ต่าง ๆ บวกกับการใช้เทคนิคในการศึกษาหาข้อมูลตามเครื่องมือศึกษาชุมชนบางส่วน และใช้เทคนิค Mind Map กับกระบวนการกลุ่ม เป็นการประเมินเชิงคุณภาพก็ได้ สิ่งที่สาคัญจากการประเมินผลก็คือ พยายามชี้ให้เห็นสิ่งที่ชุมชนได้รับ มี ส่วนร่วมในการรับประโยชน์ หรือรับผลกระทบ เพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนรวมอย่าง ครบขั้นตอน
กระบวนการแผนชุมชนเพื่อสร้างความสมานฉันท์ สถานการณ์ในชุมชนยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและ ตลอดเวลา เป็นการเปลี่ยนไปสู่ความร่วมมือและความขัดแย้งของคน กลุ่ม องค์กร ในชุมชน ดังนั้นการทางานพัฒนาภายใต้กระแสที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด คงจะทา ในแบบเดิมๆ ที่เคยทากันมานานไม่ได้แล้ว การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวถึงนี้ไม่ใช่เฉพาะ การเปลี่ยนแปลงที่มองเห็นได้ด้วยตา เพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของ มนุษย์ในเรื่องความคิดเห็น การเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลง ในทางสร้างสรรค์ หากมองย้อนไปในอดีต จะเห็นว่ารัฐเป็นกลไกสาคัญในการพัฒนา ที่จะนาพาชีวิตของประชาชนไปยังจุดหมายปลายทางของรัฐต้องการ ซึ่งอาจไม่ใช่ ความต้องการของประชาชนผลจากการพัฒนาส่วนใหญ่มักจะตกกับกลุ่ม ผู้นาส่วน ใหญ่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทาให้ประชาชนรู้สึกว่ากิจกรรมหรือสิ่งต่างๆ ที่ทาไป เป็นจานวนมากเป็น เรื่องของรัฐหรือเป็นเรื่องของผู้นา “ไม่ใช่เรื่องของประชาชน ” ประชาชนจึงไม่ให้ความสนใจหรือเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามากนัก นอกจากนี้ ผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศที่รวดเร็วและเข้าถึงประชาชน
35
การบูรณาการแผนชุมชน
อย่างกว้างขวางเท่าเทียมในทุกระดับประกอบ พ.ร.บ.กระจายอานาจฯ ที่เปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม กิจกรรมต่างๆ ของชุมชนมากขึ้น ส่งผลให้การ ทางานพัฒนาต้องปรับยืดหยุ่นให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของ ประชาชน โดยคานึงความแตกต่างหลากหลายที่ต้องใช้รูปแบบ วิธีการที่สอดคล้อง เหมาะสมเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน มีการบูรณาการงาน มีการติดต่อสื่อสารใน ลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเสมอภาค เข้าถึงและรับรู้ข้อมูล ข่าวสารอย่างเท่าเทียมกัน และเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรม ร่วมกันกากับ ดูแลกิจกรรมเหล่านั้น ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเปูาหมายที่ร่วมกันกาหนดไว้ กากับดูแลงบประมาณของรัฐที่มาจากภาษีของประชาชน มีผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อ สร้างพลังการทางานร่วมกันอย่างมีวิสัยทัศน์ กระบวนการแผนชุมชน เป็นเครื่องมือ สาคัญที่จะ ต้องนามาใช้ในการ พัฒนาสังคมของชุมชนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ร่วมกันตลอดเวลา เพื่อนาไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ภายใต้ วิสัยทัศน์และงบประมาณของประชาชน เพื่อให้เป็นชุมชนที่สมานฉันท์ได้อย่างแท้จริง และเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
***********************
36
การบูรณาการแผนชุมชน
บรรณานุกรม - กองฝึกอบรม กรมการพัฒนาชุมชน. วิทยากรกระบวนการ(Facilitator) คือใคร. เอกสารโรเนียว. ๒๕๔๕ - กาญจนา แก้วเทพ. ทัศนะแบบองค์รวมในงานพัฒนา.สังคมพัฒนาปีที่ ๑๙ ฉ.๔/ ๒๔๓๔ (๙- ๒๓) . - โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์และคณะ. วิถีชุมชน คู่มือการเรียนรู้ที่ทาให้งานชุมชนง่าย ได้ผล และสนุก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.นนทบุรี : ๒๕๔๕ - ทวีศักดิ์ นพเกษร. วิกฤตสังคมไทยกับบทบาทวิทยากรกระบวนการ.เล่ม ๑ สานักงานกองทุนเพื่อสังคม ธนาคารออมสิน. กรุงเทพฯ : ๒๕๔๒ - ทวีศักดิ์ นพเกษร. วิกฤตสังคมไทยกับบทบาทวิทยากรกระบวนการ.เล่ม ๒ สานักงานกองทุนเพื่อสังคม ธนาคารออมสิน. กรุงเทพฯ : ๒๕๔๒ - ธีรพงษ์ แก้วหาวงษ์. กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประชาคม ประชา สังคม. คลังนานาวิทยา.ขอนแก่น : ๒๕๔๒ - สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คู่มือการเก็บข้อมูลภาคสนาม ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : ๒๕๔๒ - อรศรี งามวิทยาพงศ์. กรอบความคิดว่าด้วยกระบวนทัศน์สุขภาพ. เอกสารโรเนียว. - สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แนวทางบูรณา การแผนชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและเอาชนะความยากจน. กรุงเทพฯ : ๒๕๔๖ - สานักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน. แนวทางการพัฒนาคุณภาพแผนชุมชน. กรุงเทพฯ : ๒๕๕๐ - ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน. จากประชาคมสู่การ พัฒนาตาบลอย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ : ๒๕๕๓ - สานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร . แผนชุมชน . เอกสาร. กรุงเทพฯ : ๒๕๕๓
37
การบูรณาการแผนชุมชน
การบูรณาการแผนชุมชน ปีที่พิมพ์ ธันวาคม ๒๕๕๓ ขนาดหนังสือ
๓๔ หน้า จานวน ๑๘,๐๐๐ เล่ม
จัดทาโดย สานักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ชั้นที่ ๕ อาคาร B ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทร. ๐ ๒๑๔๑ ๖๑๖๓ โทรสาร ๐ ๒๑๔๓ ๘๙๑๙ เว็บไซต์ www.cdd.go.th ที่ปรึกษา นายสุรชัย ขันอาสา อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางกอบแก้ว จันทร์ดี รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายสมชาย วิทย์ดารงค์ ผู้อานวยการสานักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน ผู้เรียบเรียง นางศรีสุรินทร์ วัฒนรงคุปต์ นางบุบผา เกิดรักษ์ นายสุทธิพร สมแก้ว น.ส.ฐานิสร นันทพัฒน์ปรีชา นายรังสรรค์ หังสนาวิน นางระเบียบ จินดา นายมรุต ภูมิมี
หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน
38
การบูรณาการแผนชุมชน