สถานการณ์ความยากจน และความเหลื่อมล้ําของ ประเทศไทย ปี 2553 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม กันยายน 2554
สารบัญ หน้า
บทสรุปผู้บริหาร
ก.
บทที่ 1 สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทย บทนํา 1.1 สถานการณ์ความยากจนและลักษณะความยากจนในประเทศไทยปี 2553
1 1 1
บทที่ 2 สถานการณ์ความเหลื่อมล้ําในสังคมไทย 2.1 ความเหลื่อมล้ําในการกระจายความมั่งคั่ง 2.2 ความเหลื่อมล้ําด้านการเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ 2.3 สาเหตุ/ปัจจัยพื้นฐานของปัญหาความเหลื่อมล้ํา
21 22 31 62
บทที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนา นโยบายรัฐบาล และการดําเนินโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาความ ยากจนและลดความเหลื่อมล้ําในสังคม 3.1 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําในสังคม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 3.2 นโยบายรัฐเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา 3.3 การดําเนินการสําคัญเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา 3.4 สาระสําคัญและผลการดําเนินงานของโครงการสําคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนและ ความเหลื่อมล้ํา
70
บทที่ 4 สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 4.1 ปัจจัยเสียงต่อปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําในอนาคต 4.2 สรุปการดําเนินนโยบายและมาตรการในการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําที่ สําคัญในช่วงปี 2552 – 2553 4.3 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
162 162 166
ภาคผนวก ภาคผนวก ก. การประมวลข้อมูลและองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับความยากจน และความ เหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ และสังคม ภาคผนวก ข. สรุปสาระสําคัญของยุทธศาสตร์แก้ปัญหาความยากจนและปัญหาการกระจาย รายได้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภาคผนวก ค. แผนภาพนําเสนอภาพรวมสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ํา
70 83 85 86
167 171 178 194
ก
บทสรุปผู้บริหาร รายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ําในประเทศไทยปี 2553 เป็นรายงานการ วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ําในสังคมไทยรวมถึงการชี้ประเด็นเชิงโครงสร้างทาง เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นจุดอ่อนและความเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของความยากจนและความเหลื่อมล้ํารวมทั้ง อาจจะทําให้ปัญหารุนแรงขึ้นได้ในอนาคต จากการประมวลข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของ ครัวเรือน (Socio-economic Survey) ตั้งแต่อดีตจนถึงล่าสุดในปี 2553 และข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิอื่น หลายแหล่ง ทั้งนี้โดยทําการวิเคราะห์ทั้งในเชิงหลักฐานประจักษ์และวิชาการ วิเคราะห์ครอบคลุมความยากจน และความเหลื่อมล้ําทั้งในมิติของรายได้ โอกาสในการเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ และการเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรม รวมทั้งการติดตามความคืบหน้าการดําเนินมาตรการและโครงการรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ําในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี 2552 ถึงปัจจุบันซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเด็น ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํากลับมาได้รับลําดับความสําคัญมากขึ้นและมีการกําหนดนโยบายและ การดําเนินมาตรการภายใต้กรอบต่าง ๆ เช่น โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะที่ 1 และ 2 โครงการประชา วิวัฒ น์ และการปฏิรู ป ประเทศไทย รายงานฉบับ นี้มีวัต ถุป ระสงค์เ พื่อ ใช้เ ป็น องค์ความรู้ และพื้ น ฐานการ วิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายและการเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและความ เหลื่อมล้ําในระยะต่อไป และเพื่อจะได้กําหนดแนวทางการติดตามความก้าวหน้าการดําเนินมาตรการในการ แก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําที่กําหนดภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นโยบายรัฐบาล และ ภายใต้แผนปฏิรูปประเทศไทย ตลอดจนเพื่อเผยแพร่และใช้ประโยชน์สําหรับสาธารณชนและนักวิชาการ การวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ําในสังคมไทย มีข้อสรุปสําคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทยในปี 2553 1.1 ความยากจนในประเทศไทยลดลงต่อเนื่องทั้งจํานวนและสัดส่วนคนจน โดยล่าสุด ในปี 2553 มีคนจนจํานวน 5.08 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 7.8 ของจํานวนประชากรรวม ลดลงต่อเนื่องจาก จํานวนคนจน 5.27 ล้านคนหรือร้อยละ 8.12 ในปี 2552 และคนจนจํานวน 5.8 ล้านคนหรือร้อยละ 8.95 ใน ปี 2551 ความยากจนที่ลดลงในปี 2553 เป็นผลการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการดําเนินมาตรการของรัฐบาล ในการช่วยเหลือค่าครองชีพและการจัดสวัสดิการสําหรับกลุ่มด้อยโอกาสมีความทั่วถึงมากขึ้น ในปี 2553 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 7.8 เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวทําให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและมีการปรับเพิ่มค่าจ้าง แรงงาน ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่ดีขึ้นส่งผลดีต่อรายได้ ในขณะเดียวกันการให้ความช่วยเหลือของ รัฐ บาลเพื่อลดค่า ครองชีพและการจัดสวัส ดิการต่า ง ๆ แก่ป ระชาชนยังคงดํา เนิน การต่อเนื่องและมีความ ครอบคลุมกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั่วถึงมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและคนพิการ ส่งผลให้ปัญหาความยากจน ลดลง โดยทีส่ ัดส่วนคนยากจนลดลงต่อเนื่องเหลือร้อยละ 7.75 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีจํานวนคนจน ประมาณ 5.1 ล้านคน ในปี 2553 จากสัดส่วนคนจนร้อยละ 8.12 หรือ 5.279 ล้านคนในปี 2552 และร้อยละ 8.95 ในปี 2551 จะเห็นว่าในปี 2552 นั้นเศรษฐกิจไทยประสบปัญหาและหดตัวร้อยละ 2.3 แต่รัฐบาลได้ ดําเนินมาตรการหลายด้านเพื่อลดผลกระทบจึงสามารถพยุงสถานการณ์ไม่ให้ปัญหาความยากจนรุนแรงขึ้น โดยการให้ความช่วยเหลือค่าครองชีพและการจัดสวัสดิการด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน เช่น เงินสงเคราะห์เบี้ยยัง ชีพผู้สูงอายุ คนพิการ การลดภาระค่าใช้จ่ายน้ําประปาและไฟฟ้าของครัวเรือน การให้บริการรถไฟชั้น 3 และ รถเมล์ฟรี เป็นต้น การช่วยค่าครองชีพในหลายด้านทําให้เส้นความยากจนมีระดับค่าใช้จ่าย (รายได้) ที่ต่ํากว่า ในกรณีที่ไม่มีการช่วยค่าครองชีพ ซึ่งเป็นส่วนสําคัญที่ทําให้สัดส่วนคนจนลดลง นอกจากนั้น ยังพบว่า ในปี
ข 2552 รายได้ที่มาจากการให้ความช่วยเหลือหรือสวัสดิการมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนือ่ งเป็นร้อยละ 10.12 จากร้อย ละ 9.92 ในปี 2550 และร้อยละ 3.39 ในปี 2549 1.2 กลุ่มที่เรียกว่า “เฉียดจน” หรือ “เกือบจน” มีถึงประมาณ 4.9 ล้านคนหรือร้อยละ 7.6 ของประชากร กลุ่มนี้ที่มีความอ่อนไหวต่อภาวะวิกฤตต่าง ๆ ได้ง่าย เมื่อรวมคนจนกับคนเกือบจน (Near Poor) แล้วมีประชากรถึงประมาณ 10 ล้านคนหรือร้อยละ 15.4 ของประชากรรวมที่เป็นกลุ่มยากลําบากและมี ความเสี่ยงในการดํารงชีวิต ชี้ว่าความยากจนยังคงเป็นปัญหาสําคัญของประเทศไทย และกลุ่มดังกล่าวเป็น กลุ่มเป้าหมายสําคัญที่ต้องเร่งยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตโดยรวม ทั้งนี้คนเกือบจนซึ่งเป็นประชากรที่มี ระดับรายได้หรือรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคสูงกว่าเส้นความยากจนไม่เกิน 20% นั้นมีโอกาสจะตกเป็นคน จนได้ง่ายหากได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงหรือวิกฤตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ คนเกือบจนมี สัดส่วนที่ใกล้เคียงกับคนจนในแต่ละปีโดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา 1.3 ความยากจนมีแนวโน้มลดลงในทุกภูมิภาค แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ ภาคเหนือยังสูงกว่าในภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะความยากจนในเขตชนบท ในปี 2553 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสัดส่วนคนจนสูงถึงร้อยละ 13.3 ของประชากรในภาค เป็นคนจนจํานวนประมาณ 3 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 59.2 ของคนจนทั้งประเทศ ภาคเหนือมีสัดส่วนคนจนร้อยละ 10.5 ของประชากรในภาค เป็นคนจนประมาณ 1.29 ล้านคนซึ่งเป็นร้อยละ 25.3 ของคนจนทั้งประเทศ สําหรับคนจนในเขตชนบททั้งหมดมีประมาณ 4.5 ล้า นคนเป็ น ร้ อยละ 88.8 ของคนจนทั้ งประเทศ โดยเฉพาะในชนบทของภาคตะวัน ออกเฉีย งเหนือ และ ภาคเหนือมีคนจนประมาณ 2.7 ล้านคน และ 1.1 ล้านคน ตามลําดับ รวมเป็น 3.8 ล้านคน 1.4 ประชากรวัยเด็กและผู้สูงอายุมีสัดส่วนคนจนสูงกว่าวัยแรงงาน โดยมีสัดส่วนคน จนร้อยละ 10.2 และ 10.9 ตามลําดับ โดยที่สัดส่วนผู้สูงอายุยากจนเป็นร้อยละ 13.80 ของผู้สูงอายุในชนบท ทั้งหมด หรือมีประมาณเกือบ 1 ล้านคน ส่วนประชากรวัยเด็กที่ยากจนคิดเป็นร้อยละ 12.74 ของประชากร วัยเด็กในชนบททั้งหมด หรือประมาณ 1.3 ล้านคน การที่สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความเสี่ยงที่จะ เกิดปัญหาความยากจนในกลุ่มผูส้ ูงอายุจึงมีมากขึ้นโดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ยากจนและอยู่คนเดียว นอกจากนั้น คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและเด็กมีความเสี่ยงจากภัยพิบัติธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมากกว่า กลุ่มอื่น ดังนั้นการวางระบบป้องกันภัยพิบัติจะต้องเตรียมแผนช่วยเหลือกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุที่มีความพร้อม และชัดเจน จากข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2553 พบว่า ผู้สูงอายุที่ยากจนและ อยู่คนเดียวมีทั้งหมดกว่า 93,000 คน สําหรับเด็กยากจนนั้นจะมีความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพและศักยภาพการ เรียนรู้ โดยเฉพาะผลกระทบในช่วงปฐมวัย 0-5 ปี ซึ่งสําคัญสําหรับการเริ่มต้นการพัฒนาทุนมนุษย์ 1.5 ความยากจนยังคงกระจุกตัวหนาแน่นอยู่ในเขตชนบทซึ่งมีสัดส่วนคนจนถึงร้อย ละ 10.4 เทียบกับร้อยละ 2.6 ในเขตเมือง ในปี 2553 ประมาณ 4.5 ล้านคนหรือร้อยละ 88.8 ของคนจน รวม 5.08 ล้านคนอาศัยอยู่ในชนบท โดยเฉพาะในเขตชนบทของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจนประมาณ 2.7 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 54.0 ของคนจนทั้งประเทศ และเขตชนบทของภาคเหนือมีคนจนประมาณ 1.1 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 22.5 ของคนจนทั้งประเทศ ความยากจนรายพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นไปตามลักษณะ โครงสร้างการกระจายตัวของประชากร ซึ่งประมาณร้อยละ 69 ของประชากรทั้งประเทศอยู่ในเขตชนบท และ อาชีพหลักของคนในชนบทอยู่ในภาคการเกษตรและเป็นผู้ที่ไม่มีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจรวมกันสูงถึงร้อยละ 52.4 ของประชากรในเขตชนบททั้งหมด ในขณะที่ในเขตเมืองกลุ่มอาชีพดังกล่าวมีเพียงร้อยละ 18.1 ของ ประชากรในเขตเมือง สาเหตุของความยากจนในชนบทที่สําคัญอีกประการหนึ่งเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง
ค นั่นคือการขาดการเข้าถึงบริการทางสังคม สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงของ ประชาชน 1.6 ปัญหาคนจนเมืองยังต้องเฝ้าระวังเนื่องจากมีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงต่อ คุณภาพชีวิตมากกว่าคนจนในชนบท แม้ว่ากระแสการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมืองได้เริ่มชะลอตัวลงบ้าง แต่ โดยรวมยังมีปัจจัยผลัก (push factors) การย้ายถิ่นสู่เมืองอยู่หลายประการ ได้แก่ ปัญหาที่ทํากิน ความแห้ง แล้ง ความเหลื่อมล้ําคุณภาพบริการทางสังคม และความขาดแคลนในด้านปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้ง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ํา ที่ทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรเข้าสู่เมืองและทํางานในสาขาการ ผลิตที่ผลผลิตและผลิตภาพต่ํา โดยเฉพาะในสาขาการก่อสร้างในช่วงนอกฤดูกาลทํานาซึ่งเป็นการเคลื่อนย้าย เป็ น ฤดู ก าล รวมทั้ ง การเคลื่ อ นย้ า ยเข้ า สู่ ภ าคการค้ า และบริ ก ารที่ ใ ช้ ทั ก ษะต่ํ า และค่ า จ้ า งแรงงานต่ํ า ใน ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยดึง (pull factors) ในเขตเมืองโดยเฉพาะในกรุงเทพและปริมณฑลหลายอย่างทั้งบริการ สาธารณะที่มีคุณภาพและทั่วถึงและโอกาสในการหางานทํา จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนการจ้างงานในภาคเกษตรปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากภาคเกษตรซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนเข้าสู่ภาคค้าส่ง ค้าปลีก การก่อสร้าง และภาคบริการอื่น ๆ ส่วนหนึ่งเพราะเป็นสาขาที่ ใช้แรงงานทักษะต่ําประกอบกับเศรษฐกิจสาขาการค้าปลีก ค้าส่ง โรงแรมและภัตตาคารมีการขยายตัวมาก 1.7 ช่องว่า งและระดั บความรุ น แรงของความยากจนลดลงอย่า งต่อ เนื่อ งตั้ง แต่ ปี 2545 แต่เริ่มทรงตัวตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน หลังเศรษฐกิจฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตในปี 2545 และมีการ ดําเนินโครงการแก้ปัญหาความยากจนที่มีความครอบคลุมมากขึ้น ช่องว่างความยากจน (poverty gap) มี แนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากร้อยละ 2.75 ในปี 2545 มาเป็นร้อยละ 1.33 ในปี 2553 ชี้ว่าค่าเฉลี่ยรายจ่าย (รายได้) ของกลุ่มที่อยู่ใต้เส้นความยากจนมีความแตกต่างกับรายจ่าย (รายได้) ที่ระดับเส้นความยากจนน้อยลง ตามลําดับ สะท้อนว่าส่วนต่างที่จะต้องยกระดับรายได้และรายจ่ายของกลุ่มยากจนให้ก้าวพ้นความยากจนนั้น เป็นจํานวนน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้ (รายจ่าย) ที่ระดับเส้นความยากจน อย่างไรก็ตาม เมื่อช่องว่างความ ยากจนในช่วงตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาค่อนข้างทรงตัวที่ประมาณร้อยละ 1.3-1.5 เป็นสัญญาณว่าปัญหาความ ยากจนส่วนที่ยังมีอยู่นั้นน่าจะเป็นความยากจนเชิงโครงสร้างที่ค่อนข้างเรื้อรังเป็นส่วนสําคัญ และความยากจน ดังกล่าวเป็นผลจากการพัฒนาในอดีตที่ประชาชนบางกลุ่มขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา สาธารณสุข และ ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ ในปัจ จุบันกลุ่มดังกล่าวซึ่งส่ว นใหญ่เ ป็นผู้สูงอายุ สมาชิกครอบครัว ที่ หัวหน้าครอบครัวมีการศึกษาต่ํา และครัวเรือนเกษตรบางส่วน ทําให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวไม่สามารถเข้ามามี ส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์จากโอกาสทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเนื่องจากขาดการพัฒนาศักยภาพและทักษะ ทางอาชีพ สถานการณ์ดังกล่าวจึงบ่งชี้ว่า ต้องสามารถระบุกลุ่มดังกล่าวเพื่อกําหนดมาตรการช่ว ยเหลือที่ เหมาะสม ซึ่งรวมถึงสวัสดิการรุ่นผู้สูงอายุ การฝึกทักษะอาชีพสําหรับกลุ่มที่ยังอยู่ในกําลังแรงงานรวมทั้งการ ดูแลเรื่องเข้าถึงทรัพยากรในการประกอบอาชีพ และการสนับ สนุนด้านการศึกษาสําหรับบุตรหลานที่ต้อง พิจารณาการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากการเรียนฟรีทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึงการศึกษาฟรีที่จัดให้ นอกจากนี้ความรุนแรงของปัญหาความยากจนที่ลดความรุนแรงลงตามลําดับ แต่ ค่อนข้างทรงตัวตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาก็เป็นสัญญาณเตือนว่ามีปัญหาความยากจนที่เป็นความยากจนเรื้อรัง (Chronic poverty) ในระดับหนึ่ง ที่จําเป็นต้องอาศัยทั้งการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างด้านการเข้าถึงบริการทางสังคม และทรัพยากรผนวกกับการจัดสวัสดิการทางสังคมที่เข้าถึงกลุ่มยากจนรุนแรงได้อย่างแท้จริง
ง 2. สถานการณ์ด้านความเหลื่อมล้ําในสังคมไทย 2.1 การกระจายด้ า นรายได้ ใ นช่ ว ง 20 กว่ า ปี ที่ ผ่ า นมาดี ขึ้ น เพี ย งเล็ ก น้ อ ยและมี ช่องว่างระหว่างแต่ละกลุ่มชั้นรายได้อย่างชัดเจน ในช่วงปี 2531-2552 ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ด้านรายได้อยู่ในระดับ 0.48-0.54 โดยมีค่าเท่ากับ 0.485 ในปี 2552 ซึ่งสะท้อนว่า ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตกอยู่กับคนกลุ่มเล็กๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนรวยที่สุด 10% (Decile ที่ 10) ซึ่งเป็นเจ้าของรายได้ถึง 38.41% กลุ่มชั้นรายได้รองลงมาอีก 10% (Decile ที่ 9) เป็น เจ้าของรายได้ร้อยละ 15.98 และกลุ่มที่ 8 เป็นเจ้าของรายได้ร้อยละ 11.41 ส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่เหลือเป็นเจ้าของ รายได้ไม่ถึงกลุ่มละ 10% โดยเฉพาะกลุ่ม 10% ที่ 1 คนจนที่สุดนั้นถือครองรายได้เพียงร้อยละ 1.69 ของ รายได้ทงั้ หมด ความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มชั้นรายได้ต่าง ๆ จึงมีมาก ทั้งความแตกต่างของรายได้กลุ่ม คนรวยทีส่ ุดกับกลุ่มระดับกลาง และความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มชั้นรายได้ระดับกลางเอง โดยเฉพาะ หากเปรียบเทียบรายได้ของกลุ่มคนรวยที่สุด 10% แรกกับกลุ่มคนจน 10% ล่างสุดนั้นห่างกันถึง 22.79 เท่า การกระจายรายได้ดีขึ้นในปี 2553 กว่าในปี 2552 เล็กน้อยจากค่าจ้างแรงงานที่มีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกับมี การดํา เนิน งานต่อ เนื่องของโครงการประกัน รายได้ เ กษตรกรซึ่งเป็น การสร้า งความมั่น คงในรายได้ ให้กั บ เกษตรกรรายย่อยซึ่งมีรายได้ต่ํา และการให้สวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ เป็นการกระจายรายได้ ไปสู่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาสในสังคมที่ส่งผลให้การกระจายรายได้ดีขึ้น 2.2 ความเหลื่อมล้ําด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาดีขึ้นเล็กน้อย และมีการกระจายดีกว่าด้านรายได้ กลุ่ม “คนจน” และ “เกือบจน” เป็นกลุ่มคนที่มีมาตรฐานการดํารงชีวิตที่ด้อยกว่าคนอื่นๆในสังคม ซึ่งในช่วงปี 2531-2553 ความเหลื่อมล้ําด้านชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นเล็กน้อย ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค อยู่ในระดับ 0.39-0.45 โดยมีค่าลดลงเหลือเท่ากับ 0.394 ใน ปี 2553 กลุ่มชั้นที่ 10 ที่ใช้จ่ายสูงสุด (Decile ที่ 10) กับกลุ่มชั้นที่ 1 ที่ใช้จ่ายต่ําสุด (Decile ที่ 1) มีมาตรฐาน การดํารงชีวิตที่ต่างกัน 11.08 เท่า 2.3 สินทรัพย์ทางการเงินกระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มน้อย ในขณะที่โอกาสของการเข้าถึง บริการสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินของธุรกิจขนาดเล็กและผู้มีรายได้น้อยยังมีจํากัด เงินออมในบัญชีเงิน ฝากธนาคารกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนจํานวนน้อยเช่นกัน โดยที่ประมาณร้อยละ 40 อยู่ในบัญชีที่มีขนาด 10 ล้านบาทขึ้นไปจํานวน 73,253 บัญชีซึ่งเป็นจํานวนบัญชีเพียงร้อยละ 0.092 ของจํานวนบัญชีเงินฝากออม ทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจําทั้งหมด ในขณะที่บัญชีเงินฝากขนาดเล็กซึ่งมีจํานวนบัญชีเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 99.9 ของจํานวนบัญชีเงินฝากทั้งหมดนั้นคิดเป็นจํานวนเงินฝากร้อยละ 60 2.4
การถือครองที่ดินและทรัพย์สินอื่นๆ ก็มีความกระจุกตัวมากเช่นกัน
1) ข้อมูลจากสํานักงานที่ดิน 399 แห่ง แสดงว่าบุคคลธรรมดาที่ถือครองที่ดิน แปลงขนาดเกิน 100 ไร่มีเพียง 4,613 ราย ในจํานวนนี้มีเพียง 121 รายที่ถือครองที่ดิน 500-999 ไร่ และอีก เพียง 113 รายที่ถือครองที่ดินเกินกว่า 1,000 ไร่ สําหรับกลุ่มนิติบุคคลที่ถือครองที่ดินตั้งแต่ 100 ไร่ขึ้นไปนั้น มีจํานวน 2,205 ราย ซึ่งในจํานวนนีม้ ีเพียง 42 รายที่ถือครองที่ดินเกินกว่า 1,000 ไร่ 2) เมื่อพิจารณาข้อมูลเอกสารสิทธิถ์ ือครองที่ดิน รวมโฉนด น.ส.3ก. และ น.ส. 3 จากสํานักงานที่ดิน 399 แห่ง พบว่า ร้อยละ 94.4 ของเอกสารสิทธ์ทั้งหมด มีการถือครองที่ดินน้อยกว่า 14 ไร่/แปลง และประมาณร้อยละ 0.03 ของเอกสารสิทธิ์ทั้งหมด มีการถือครองที่ดินมากกว่า 100 ไร่/แปลง
จ ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณ 21 ล้านคน และนิติบุคคลประมาณ 1 ล้านรายถือครองที่ดินไม่เกิน 4 ไร่ ต่อรายโดยมี โ ฉนด ในขณะที่ค นจนจํ า นวนมากไม่มีที่ดิน ทํา กิน และไม่มีเ อกสารสิทธิ ทั้งนี้ข้ อมูล จากศูน ย์ อํา นวยการต่ อสู้ เ อาชนะความยากจนแห่ ง ชาติ (ศตจ.) ในปี 2547 รายงานว่ า มี ผู้ ไม่ มี ที่ ดิน ทํ า กิ น จํา นวน 889,022 ราย มีที่ดินทํากินแต่ไม่เพียงพอ จํานวน 517,263 ราย มีที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ 811,279 ราย นอกจากนั้นเกษตรกรในชนบทส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาการอยู่อาศัยและทํากินในพื้นที่ของรัฐโดยไม่ชอบด้วย กฎหมายและถูกจับกุมดําเนินคดีในข้อหาบุกรุที่ดินของรัฐและเอกชนอย่างไม่เป็นธรรม โดยข้อมูล ณ สิ้นเดือน ธั น วาคม 2553 มี เ กษตรกรถู ก ดํ า เนิ น คดี แ ละถู ก คุ ม ขั ง อยู่ ใ นเรื อ นจํ า หรื อ สภาพที่ ต้ อ งขั ง แล้ ว 836 ราย ประชาชนที่เ กี่ย วข้องกับ คดีที่ดิ น คนจนที่อยู่ ใ นระหว่า งการพิจ ารณาคดีและที่ยัง ไม่ ได้เ ข้ า สู่กระบวนการ ยุติธรรมมีเป็นจํานวนหลายแสนครอบครัว 3) ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2552 แสดงว่า ครัวเรือนที่ถือครองที่ดินทําการเกษตรมีลักษณะการมีความแตกต่างกันมากระหว่างชั้นรายได้ต่าง ๆ ดังนี้ 3.1) หากเปรียบเทียบระหว่างชั้นรายได้ พบว่า ครัวเรือนในชั้นรายได้สูง เป็นเจ้าของที่ดินทําการเกษตรที่มีขนาดใหญ่ในสัดส่วนที่สูงกว่าครัวเรือนในระดับรายได้ต่ํา เช่น ร้อยละ 21.3 ของครัวเรือนที่มีที่ดินเกษตรจํานวน 40 ไร่ขึ้นไปนั้นอยู่ใน Quintile ที่ 5 ในขณะที่ร้อยละ 13.9 อยู่ในกลุ่ม รายได้ต่ําสุด แต่สําหรับการถือครองที่ดินขนาดเล็กนั้นผู้ถือครองส่วนใหญ่อยู่ในชั้นรายได้ต่ํา เช่น ร้อยละ 35.8 ของครัวเรือนที่ถือครองที่ดินน้อยกว่า 2 ไร่อยู่ในชั้นรายได้ต่ําสุด และเพียงร้อยละ 7.5 อยู่ในชั้นรายได้สูงสุด 3.2) เมื่ อ พิ จ ารณาในแต่ ล ะชั้ น รายได้ พบว่ า สํ า หรั บ ครั ว เรื อ นในชั้ น รายได้ต่ําสุด (Quintile ที่ 1) มีครัวเรือนเพียงร้อยละ 5.1 ที่ถือครองที่ดินขนาด 40 ไร่ขึ้นไป ขณะที่ประมาณ ร้อยละ 70 ถือครองที่ดินน้อยกว่า 20 ไร่ แต่สําหรับครัวเรือนที่อยู่ในชั้นรายได้สูงสุด (Quintile ที่ 5) นั้น ประมาณร้อยละ 68 ถือครองที่ดินตั้งแต่ 20 ไร่ขึ้นไป และมีเพียงร้อยละ 14 ที่ถือครองที่ดินน้อยกว่า 10 ไร่ 2.5 โอกาสในการเข้าถึงบริการด้านการศึกษามีความแตกต่างกันมากโดยเฉพาะใน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป และคุณภาพการศึกษายังมีความแตกต่างกันมากระหว่างพื้นที่ทั้งที่ สะท้อนด้วยผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและการกระจายทรัพยากรทางการศึกษา โอกาสในการพัฒนาอาชีพและ สร้างรายได้จึงมีความแตกต่างกันมากและเป็นความเสี่ยงที่จะทําให้คนจนติดกับดักความจนจากรุ่นสู่รุ่น ความ แตกต่างในโอกาสทางการเข้าศึกษาระหว่างกลุ่มซึ่งสะท้อนจากอัตราเข้าเรียน แสดงว่า กลุ่มประชากรกลุ่ม ยากจนที่สุด (ร้อยละ 10 แรก) มีโอกาสได้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (อัตราการเรียนอย่างหยาบ) เพียง ร้อยละ 53.30 และอัตราการเรียนสุทธิเท่ากับร้อยละ 37.94 และสัดส่วนของประชากรที่สามารถเข้าเรียนได้ หรือเข้าถึงการศึกษาเพิ่มขึ้นตามฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลําดับ โดยที่ในปี 2553 กลุ่มประชากรที่มีฐานะ ความเป็นอยู่ดีที่สุดร้อยละ 10 มีอัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 98.05 และอัตราการเข้าเรียนสุทธิเท่ากับร้อยละ 71.28 ในระดับอุดมศึกษาโอกาสการเข้าเรียนมีสัดส่วนน้อยลงเป็นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 24.16 ของกลุ่มประชากรวัยอุดมศึกษา และในจํานวนนี้เป็นคนจนเพียงจํานวนน้อย ในกลุ่มรายได้สูงสุดนั้นมีอัตรา การเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาร้อยละ 90.40 และอัตราการเข้าเรียนสุทธิเท่ากับร้อยละ 45.54 ในขณะที่กลุ่ม ที่ประชากรในกลุ่มชั้นรายได้อื่น ๆ นั้นอัตราการเข้าเรียนมีเพียงไม่ถึงครึ่ง โดยเฉพาะในระดับชั้นรายได้ที 4 ลง มาอัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบต่ํากว่าร้อยละ 10 แต่หากพิจารณาจากอัตราการเรียนสุทธิ พบว่าต่ํากว่าร้อย
ฉ ละ 10 สําหรับชั้นรายได้ 6 ลงมา โดยที่อัตราการเข้าเรียนของคนจนในระดับอุดมศึกษาทั้งที่เป็นอัตราหยาบ และสุทธิมีเพียงร้อยละ 1.32 และ 1.06 ตามลําดับ 2.6 ความเหลื่อมล้ําในบริการด้านสุขภาพ การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพของคนไทยมี ความครอบคลุมเกือบถึงร้อยละ 99.36 แต่การบริการสาธารณสุขยังคงมีปัญหาคุณภาพโดยเฉพาะยังมีความ เหลื่อมล้ําในการกระจายบุคลากรและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ในแต่ละภูมิภาครวมทั้งรูปแบบบริการ ในปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่ใช้บริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ 3 ระบบหลัก คือ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้า จํานวน 47.7 ล้านคน (75.20%) ระบบประกันสังคมจํานวน 9.9 ล้านคน (15.60%) และระบบสวัสดิการ รักษาพยาบาลข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจจํานวน 4.9 ล้านคน (7.75%) อย่างไรก็ตาม บริการทางการแพทย์ที่ ได้รับแต่ละระบบยังไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากมีรูปแบบและวิธีการจ่ายเงินที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ การกระจายบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเหลื่อมล้ําส่งผลให้คุณภาพ การบริการมีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เห็นได้จากอัตราบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากรของแต่ละ ภูมิภาคยังคงมีความเหลื่อมล้ํากัน โดยบุคลากรทางการแพทย์ (แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และพยาบาลเทคนิค) ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและภาคกลาง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี อัตราบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่ํากว่าทุกภาค กล่าวคือบุคลากรทางการ แพทย์ 1 คนต้องดูแลประชากรสูงถึง 4,854 คนซึ่งมากกว่าภูมิภาคอื่น อาจจะส่งผลให้การบริการด้อยคุณภาพ จากการรีบเร่งดูแลประชากรให้ครบถ้วน ในขณะทีก่ รุงเทพมหานครแพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,243 คน 3. ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา สะท้อนถึงปัญหาในเชิงโครงสร้า งที่สําคัญ ใน หลายด้าน ดังนี้ 3.1 โครงสร้างทางเศรษฐกิจเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มเจ้าของทุนมากกว่าเจ้าของแรงงาน และธุ ร กิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อมมี ก ารพั ฒ นาช้า ฐานการผลิต ที่ ภ าคอุ ต สาหกรรมมี ข นาดใหญ่ ขึ้ น ตามลําดับโดยเฉพาะบทบาทของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นตามลําดับ มูลค่าผลผลิตและผลิต ภาพสูงกว่าภาคเกษตรมาก ผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มาจากฐานการส่งออกสินค้า อุตสาหกรรมเป็นสําคัญ จึงเป็นผลตอบแทนของทุนและผู้ประกอบการเป็นสัดส่วนใหญ่ ในช่วงที่ผ่านมานั้น รายได้ที่ค่าตอบแทนแรงงานและสวัสดิการเป็นสัดส่วนเฉลี่ยเพียงประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติใน ขณะที่รายได้ส่วนอื่นเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 แม้ว่าผู้ที่มีฐานรายได้จากเงินเดือนและค่าจ้างจะเป็นประชากร ส่วนใหญ่ของประเทศ จึงกลายเป็นช่องว่างระหว่างชนชั้นรายได้ และระหว่างสาขาการผลิต นอกจากนั้น โครงสร้างการผลิตที่มีแรงงานนอกระบบในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 62.4 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขาดหลักประกัน การเข้าถึง สวั ส ดิ ก ารสั ง คมยั ง มี จํ า กั ด และรั ฐ บาลขาดข้ อ มู ล ที่ จ ะเข้ า ถึ ง กลุ่ ม นี้ ไ ด้ ทํ า ให้ กํ า หนดมาตรการช่ ว ยเหลื อ เฉพาะเจาะจงได้ยาก 3.2 การกระจายบริการพื้นฐานของรัฐมีความเหลื่อมล้ําทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ทั้งบริการทางการศึกษา สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อันเป็นผลจากการพัฒนาที่กระจุกตัวอยู่ใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมทั้งเมืองใหญ่ต่าง ๆ และการรวมศูน ย์บ ริหารจัดการภาครั ฐทํา ให้ ความก้าวหน้าและโอกาสทางเศรษฐกิจแตกต่างกันมากในระดับพื้นที่ เป็นปัจจัยดึงดูดให้เกิดการย้ายถิ่นจาก ชนบทสู่ เ มื อ ง กลายเป็ น ปั ญ หาความยากจนเมื อ งที่ เ ป็ น ช่ อ งว่ า งทางสั ง คม มี ค วามเสี่ ย งที่ จ ะเกิ ด ปั ญ หา อาชญากรรมและความขัดแย้งในสังคมได้ง่าย
ช 3.3 โครงสร้างภาษียังไม่เป็นธรรมจึงไม่ช่วยสนับสนุนการกระจายผลประโยชน์การ พัฒนา โครงสร้างที่ทําให้เกิดความไม่ธรรม เช่น 3.3.1 การพึ่งพิงภาษีทางอ้อมเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าภาษีทางตรง แม้สัดส่วนภาษี ทางอ้อมมีแนวโน้มลดลง แต่ภาษีทางตรงไม่เพิ่มมาก ล่าสุดในปี 2553 ภาษีทางอ้อมมีสัดส่วนร้อยละ 51.8 ต่อ รายได้ภาษีรวมในขณะที่ภาษีทางตรงมีสัดส่วนร้อยละ 36.6 ทั้งนี้ภาษีทางอ้อมเป็นภาษีที่ผู้ถูกเก็บสามารถผลัก ภาระไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ผู้ผลิตสามารถผลักภาระภาษีมูลค่าเพิ่มไปให้ผู้บริโภคได้โดยการขึ้นราคาสินค้า ซึ่งใน ระยะหลังภาษีมูลค่าเพิ่มมีสัดส่วนสูงขึ้น (ในภาษีทางอ้อม) อย่างรวดเร็ว และสุทธิแล้วคนรายได้ต่ํามีอัตรา ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่ายเมื่อเทียบกับรายได้สูงกว่าผู้มีรายได้สูงเนื่องจากสัดส่วนรายจ่ายต่อรายได้สูงกว่า 3.3.2 โครงสร้างภาษีไม่สอดคล้องกับขนาดฐานภาษีหรือมูลค่าของกิจกรรม หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี โดยที่ภาษีมีโครงสร้างที่เอื้อประโยชน์ต่อฐาน รายได้จากทรัพย์สินและความมั่งคั่ง (Wealth income) มากกว่ารายได้ที่เป็นตอบแทนค่าแรงงาน (wage income) ประชาชนที่ทํางานรับค่า จ้า งหรือเงินเดือนเป็นลักษณะประจํานั้นมีร ะบบภาษีควบคุมที่เข้มงวด ชัดเจน ในขณะที่ผลประโยชน์จากทรัพย์สินและผลตอบแทนจากเงินทุนนั้นมักจะมีภาระภาษีในสัดส่วนที่ต่ํา กว่าเนื่องจากมีเกณฑ์การกําหนดมูลค่าฐานภาษีที่บิดเบือนและมักจะมีช่องโหว่ของกฎหมายภาษีให้สามารถ หลบเลี่ยงภาระภาษีได้ง่าย 3.3.3 การใช้ภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบํารุงท้องที่ในปัจจุบันทําให้เกิด ความไม่เป็นธรรมหลายประการที่เกิดจากลักษณะการใช้ฐานภาษีและอัตราภาษี เช่น ภาษีในปัจจุบันภาษี บํารุงท้องที่ยังใช้ฐานราคาปานกลางของที่ดินปี 2521-2524 จึงไม่สอดคล้องกับความเจริญของพื้นที่ดินที่ พัฒนาแตกต่างกันและเกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้เสียภาษีด้วยกัน มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่ากันแต่ ค่ารายปีแตกต่างกันขึ้นอยู่ความพอใจของผู้เช่าและผู้ให้เช่า และอัตราภาษีมีลักษณะถดถอย เป็นต้น 3.3.4 การลดหย่อนและการให้ประโยชน์ทางภาษีเอื้อต่อกลุ่มรายได้ระดับบน มากกว่าระดับล่าง โดยที่ผู้มีรายได้สูงมีช่องทางลดหย่อนภาษีได้มากกว่า เมื่อคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ภาษี บางประเภท เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม กลุ่มรายได้ระดับล่างจึงมีสัดส่วนภาระภาษีที่สูงกว่า และสัดส่วนของรายได้ ธุรกิจเอกชนขนาดเล็กและขนาดกลางต้องจ่ายภาษีมากกว่าขนาดใหญ่ รวมทั้งการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้น การออมที่ให้กับการลงทุนในวงเงินสูงในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) และการลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund: LTF) ก็เอื้อต่อผู้มีรายได้สูงเท่านั้น ดังนั้น ระบบภาษีแทนที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดกลไกการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาอีกทางหนึ่งกลับซ้ําเติม ให้เกิดความเหลื่อมล้ําในด้านรายได้ 3.3.5 การเข้าถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจขนาดเล็ก-กลางมีน้อย และ ภาระภาษีสุทธิต่อรายได้ของบริษัทขนาดเล็กสูงกว่าบริษัทขนาดใหญ่ โดยที่วิสาหกิจขนาดเล็กมักจะขาด คุณสมบัติตามข้อกําหนดในการใช้สิทธิประโยชน์ และบริษัทขนาดเล็กชําระภาษีเป็นสัดส่วนต่อรายได้มากกว่า บริษัทขนาดใหญ่ เช่น บริษัทขนาดเล็กชําระภาษีประมาณร้อยละ 3 และบริษัทขนาดใหญ่ชําระประมาณร้อย ละ 1-1.5 ของรายได้1
1
ผลการศึกษาของมูลนิธิสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
ซ 3.4 ปัญหาระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน ปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นมีความเชื่อมโยงกับปัญหา ความยากจนและความเหลื่อมล้ํา ความเหลื่อมล้ําในโอกาสทางเศรษฐกิจ ปัญหาความขัดแย้งในการเข้าถึง ทรัพยากรที่ดิน ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ และปัญหาที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ สาเหตุ ของความเหลื่อมล้ําในการถือครองที่ดิน ปัญหากรรมสิทธิ์ และความขัดแย้งระหว่างราษฎรและภาครัฐทั้งใน 2 ลักษณะคือ (1) การประกาศเขตที่ดินของรัฐทับที่ดินทํากินที่อยู่อาศัยของราษฎรที่อยู่มาก่อน และ (2) ราษฎร เข้าทํากินในที่ดินของรัฐหลังประกาศเขตสงวนหวงห้าม ได้แก่ 3.4.1 หน่วยงานบริหารจัดการที่ดินของประเทศไทยยังขาดเอกภาพ ที่ดินของรัฐ ส่วนใหญ่จึงขาดความชัดเจนในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน 3.4.2 ปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับแนวคิดสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติ ที่ส่งผลให้เกิด ความขัดแย้งระหว่างรัฐและราษฎรในการใช้ประโยชน์ในที่ดิน คือ 1) กฎหมายที่ดินและป่าไม้ ให้อํานาจรัฐในการบริหารจัดการ ขาดมิติ การมีสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน 2)
การประกาศเขตสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐ มิได้มีการสํารวจที่ดิน
ในราษฎรทํากินและอาศัยอยู่เดิม 3) การขาดระบบฐานข้อมูลที่ดินที่มีประสิทธิภาพ แผนที่แนวเขตที่ดิน ของรัฐมีแนวเขตพื้นทีท่ ับซ้อนกันเองหรือมีหลักเขตไม่ชัดเจน 3.5 การเข้ า ถึ ง กระบวนการยุ ติ ธ รรม คนจนและชายขอบยั ง ไม่ ส ามารถเข้ า ถึ ง กระบวนการยุติธรรมได้อย่างทั่วถึงส่วนหนึ่งเป็นเพราะการออกแบบไว้ยากต่อการเข้าถึง เช่น การเน้นแบบแผน ของขั้นตอนปฏิบัติของทางราชการโดยเคร่งครัด ต้องมีเอกสารหลักฐานครบถ้วน การใช้ภาษาที่ยากต่อการ เข้าใจ การผูกขาดอํานาจไว้ที่รัฐโดยไม่กระจายสู่ชุมชน รวมทั้งการที่การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมีค่าใช้จ่าย สูง การดําเนินคดีใช้เวลายาวนานทําให้ต้นทุนสูง 3.6 การบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารราชการแผ่นดินที่ขาดประสิทธิภาพและ ความโปร่งใส รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและการทุจริตคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐ และการละเว้นหรือ เลื อ กปฏิ บั ติ ต่อ ประชาชน เป็ น สาเหตุ ส่ว นหนึ่ ง ที่ ทํ า ให้ ก ารดํ า เนิน นโยบายสาธารณะและการจั ด บริ ก าร สาธารณะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนยังขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการใช้งบประมาณ แผ่นดินโดยไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยและมีความบิดเบือนในการจัดสรร บางส่วน เป็นการใช้จ่ายที่ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายหรือปัญหาเร่งด่วนที่ควรจะได้รับลําดับความสําคัญและมีการเลือก ปฏิ บั ติ ใ นหลายมาตรฐาน การบริ ห ารจั ด การที่ ดี ข องภาครั ฐ จะมี ส่ ว นช่ ว ยที่ สํ า คั ญ ในการเพิ่ ม ฐานะโดย เปรียบเทียบของกลุ่มคนจนผ่านระบบการใช้จ่ายสาธารณะของรัฐบาล 4. นโยบายเพื่ อ การแก้ ไ ขปั ญ หาความยากจนและลดความเหลื่ อ มล้ํ า ที่ สํ า คั ญ ในช่ ว งปี 2552– 2553 การดําเนินนโยบายเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ําที่สําคัญในช่วงปี 2552– 2553 นั้นประกอบด้วยนโยบายระยะสั้นและนโยบายระยาว ได้แก่ 1) การเพิ่มและสร้างเสถียรภาพ รายได้ของประชาชน เช่น การสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความ
ฌ จํานงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ เป็นต้น 2) การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน 3) ด้านคุณภาพชีวิต ทั้งการจัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา ตอนปลาย พร้อ มทั้ง เพิ่มประสิ ทธิภ าพการบริ ห ารจั ด การให้เ กิด ความเสมอภาค เป็น ธรรมในโอกาสทาง การศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ฯลฯ การ ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอม ไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยาย กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรี เพิ่มขึ้น และปฏิรูประบบประกันสังคมและจัดระบบดูแลด้านสวัสดิการของแรงงาน โดยขยายความคุ้มครองถึง บุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในด้านการเจ็บป่ว ย และเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ให้แก่ผู้ประกันตน การ จัดระบบดูแลสวัสดิการของกลุ่มแรงงานนอกระบบ รวมทั้งการคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทย เป็น ต้น 4) ด้านสวัสดิการทางสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เช่น การจัดหาที่ดินทํากินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ สร้างความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านและแหล่งทุนอื่นๆ ในระดับชุมชน ให้มี กลไกที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ เป็นต้น 5) การปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ เช่น จัดหาที่ดินทํากินให้แก่ เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน เร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจน และชุมชนที่ทํากิน อยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน และการแก้ปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความ เป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดําเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดิน ทํา กิน ให้ แ ก่เ กษตรกร รวมทั้ง การขยายการให้ บ ริก ารสาธารณู ป โภคขั้น พื้ น ฐาน ที่มี ความจํ า เป็ น ต่ อการ ดํารงชีวิตของประชาชนให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึงเพียงพอ และมีคุณภาพทั้งบริการน้ําสะอาด ไฟฟ้า สื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐาน ที่อยู่อาศัย รวมทั้งพัฒนาถนนไร้ฝุ่น 5. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การดําเนินนโยบายและมาตรการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําตั้งแต่ในอดีต ถึงปัจจุบันนั้นนับว่าการแก้ปัญหาความยากจนมีกรอบการดําเนินการที่ชัดเจน เป็นระบบ และมีความต่อเนื่อง มากกว่าการดําเนินนโยบายและมาตรการเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ํา ซึ่งการแก้ปัญหาความยากจนส่วนหนึ่ง เป็นการดําเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบในภาวะวิกฤตเป็นครั้งคราวโดยที่ให้ความสําคัญต่อผลต่อเนื่องในการ กระจายรายได้และโอกาสค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม นโยบายในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ํานั้นเริ่มมีชัดเจน และครบวงจรมากขึ้ น ในช่ ว งเริ่ ม ต้น ของการปฏิ รูป ประเทศไทยและคาดว่ า จะชั ด เจนมากขึ้ น ในช่ว งของ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่กําหนดให้ยุทธศาสตร์สร้างความเป็นธรรมในสังคมเป็นยุทธศาสตร์แรกของแผนฯ โดยที่การสะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ํานั้นมีความครอบคลุมในหลากหลายมิติทั้งด้านรายได้ โอกาสในการ เข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐานของรัฐ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ การดําเนินนโยบายในการแก้ปัญหาความยากจนและการลดช่องว่างในสังคมไทย นั้นนับว่า การดํา เนินการแบบครอบคลุมทั้งหมดตามสิทธิพื้นฐานนั้นมีความคืบหน้าไปมาก แต่การกําหนด กลุ่มเป้าหมายเพื่อดําเนินการให้เกิดประสิทธิผลอย่างจริงจังในการยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มด้อยโอกาส และให้เกิดผลในการลดช่องว่างโดยการสร้างแต้มต่อสําหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสนั้นนับว่ายังขาดความชัดเจน และขาดการพัฒนาเครื่องมือหรือข้อมูลในการเข้าถึงได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น รายงานการวิเคราะห์ สถานการณ์ความยากจนและความเหลือ่ มล้ําจึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้ 5.1 การบริหารจัดการและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีฐานการพัฒนาที่ทั่วถึง และยั่งยืน พร้อมทั้งเศรษฐกิจฐานรากให้มีความหลากหลายและแข็งแกร่งมากขึ้น วางรากฐานภาคเกษตร ให้เข้มแข็ง และสร้างความมั่นคงให้เกษตรกร มีระบบประกันความเสี่ยงและการดูแลเสถียรภาพราคาสินค้า
ญ เกษตรอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมกิจการทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระจาย ผลกําไรสู่สังคมเชิงบวก 5.2 การเพิ่ ม ศั ก ยภาพและโอกาสคนจนบนหลั ก ของการกระจายโอกาสและ ผลประโยชน์การพัฒนาไปสู่คนจนและคนด้อยโอกาส โดยการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและสร้าง รายได้ เช่น การสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การปฏิรูปที่ดินเพื่อ การเกษตร และการสนับสนุนการเข้าถึงทรัพยากรรวมถึงแหล่งเงินลงทุนสําหรับการสร้างอาชีพและรายได้ ชุมชน รวมทั้งการอบรมและเสริมสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ ควบคู่ไปกับการใช้นโยบายด้านอื่นๆ ใน การเพิ่มศักยภาพและโอกาสของกลุ่มคนยากจนและคนด้อยโอกาส 5.3 การยกระดับระบบคุ้มครองทางสังคมสําหรับคนจนและคนด้อยโอกาสซึ่งรวมถึง การเข้าถึงบริการทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง โดยที่ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้า นที่ อ ยู่ อ าศัย ด้ า นสวั ส ดิก ารที่ ดู แ ลคนตั้ ง แต่ เ กิ ด จนตาย จั ด ระบบความสั มพั น ธ์ ข องสวั ส ดิ ก ารสั ง คมที่ ดําเนินการโดยภาครัฐ สวัสดิการสังคมที่ดําเนินการโดยท้องถิ่น และสวัสดิการสังคมที่ดําเนินการโดยภาค ประชาชนให้เชื่อมโยงกันสนับสนุนซึ่งกันและกัน 5.4 ปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบให้สนับสนุนการกระจายรายได้และเป็นเครื่องมือใน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสร้างความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรและ การถือครองทรัพย์สิน โดยเน้นการจัดเก็บภาษีทางตรงมากขึ้นโดยเฉพาะภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าทรัพย์สินและ ฐานรายได้ที่ไม่ใช่ผลตอบจากการทํางาน ปรับปรุงกฎเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์และการลดหย่อนทางภาษีให้ เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประชาชนในระดับฐานล่างและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เร่งรัดการบังคับ ใช้กฎหมายภาษีสิ่งแวดล้อมเพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และวางระบบฐานข้อมูลและพัฒนากลไกในการนําภาค นอกทางการทั้งแรงงานและผู้ป ระกอบการเข้ า สู่ร ะบบภาษี ควบคู่ ไปการปรับ การจัด สรรงบประมาณให้ สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย 5.5 การสนับสนุนโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาคและสร้าง ระบบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่เข้มแข็งรวมทั้งขยายการให้บริการทางกฎหมาย ประชาชน ได้รับความเป็นธรรมและความชอบธรรมในทุกขั้นตอนของข้อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ การสนับสนุนให้ แรงงานในเศรษฐกิจนอกระบบมีสิทธิขั้นพื้นฐาน การขยายขอบเขตการให้บริการทางกฎหมายแก่คนจน (โดยเฉพาะสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิของแรงงาน และสิทธิทางธุรกิจ) การพิจารณาคดีของศาลด้วยความเป็นธรรม เพื่อประโยชน์แก่คนจน การทําให้ทุกคนมีหลักฐานทางกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายการดําเนินธุรกิจ อย่างเป็นธรรม เป็นต้น รวมทั้งการกระจายอํานาจสู่ประชาชนให้สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง 5.6 การปรั บ ปรุ ง ระบบการบริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น ของภาครั ฐ ให้ ส นั บ สนุ น การ แก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา ทั้งการปรับกระบวนทรรศน์และบทบาทของหน่วยงานภาครัฐให้ ดําเนินดําเนินการร่วมกันอย่างบูรณาการเป็นองค์รวม การเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการในการแก้ปัญหา ดั ง กล่ า ว รวมถึ ง การจั ด สรรงบประมาณที่ เ อื้ อ ต่ อ การแก้ ปั ญ หาความเหลื่ อ มล้ํ า ดํ า เนิ น การได้ ต รงตาม กลุ่มเป้าหมายและสนับสนุนสาขาเศรษฐกิจที่เป็นฐานสําหรับกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ 5.7 การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการดําเนินนโยบายและมาตรการเพื่อแก้ปัญหาความ ยากจนและความเหลื่อมล้ํา ประกอบด้วย
ฎ 5.7.1 การกํา หนดกลุ่มเป้าหมายในการดํา เนินนโยบายและมาตรการเพื่อการ แก้ปัญหาความยากจนและลดช่องว่างทางรายได้และโอกาสทางอาชีพ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มด้อยโอกาส โดย ที่เป้าหมายการดําเนินนโยบายในระยะต่อไปควรมีลักษณะเฉพาะเจาะจง (Targeting) มากกว่าการครอบคลุม ทั้งหมด ทั้งนี้ควรพิจารณาใช้ตาข่ายทางสังคม (Social safety net) สําหรับกลุ่มที่ยากจนมากและเรื้อรังเพื่อให้ สามารถดํารงชีวิตในระดับมาตรฐานขั้นต่ําได้ และการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มคนยากจนแบบ องค์รวมทั้งในรูปของการให้เงินอุดหนุนและสิ่งของ เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานที่จําเป็นและสามารถ ต่อยอดในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง 5.7.2 การพัฒ นาระบบฐานข้อ มูล ในระดั บพื้ น ที่ แ ละกลุ่ มคนเพื่อให้ส ามารถ ขับเคลื่อนนโยบายและดําเนินมาตรการได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง เช่น แผนที่ความยากจน และ ข้อมูลประชากร เป็นต้น รวมทั้งการนําข้อมูล จปฐ. และ กชช. 2 ค. มาใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่ การปฏิบัตมิ ากขึ้น 5.7.3 การพัฒนาและวางระบบการติดตามประเมินผลการดําเนินนโยบายเพื่อ แก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับประเทศ เพื่อให้สามารถปิดช่องว่างหรือ ลดความซ้ําซ้อนการดําเนินการและใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งพัฒนากรอบการ ติดตามและประเมินผลกระทบจากภาวะวิกฤตต่าง ๆ ต่อกลุ่มยากจนและด้อยโอกาสซึ่งสามารถใช้เป็นระบบ เตือนภัยได้ด้วย ทั้งนี้การดําเนินการให้เกิดประสิทธิผลนั้นจะต้องใช้กลไกเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาความ ยากจนให้เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําโดยใช้หลักการของการกระจายผลประโยชน์จาก กลุ่มบนลงสู่กลุ่มล่างให้เป็นธรรมมากขึ้น โดยผ่านทาง (1) กลไกภาครัฐ โดยปรับโครงสร้างภาษีรายได้ การเร่ง บังคับใช้ภาษีทรัพย์สิน ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง และการเร่งบังคับใช้ภาษีสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานการจัดเก็บภาษี อย่ า งประสิท ธิ ภ าพและนํ า ไปจัด สรรใช้ ป ระโยชน์ อ ย่า งมีป ระสิ ทธิ ภ าพและโปร่ง ใสที่ มีก ารจั ด สรรให้ต รง กลุ่มเป้าหมายที่ต้องเร่งแก้ปัญหา (2) กลไกภาคธุรกิจเอกชน การสนับสนุนการดําเนินการโดยภาคเอกชนใน การช่วยแก้ปัญหาความยากจนและการลดความเหลื่อมล้ําภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) และวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprises: SE) ทั้งการใช้แรงจูงใจด้านภาษี การประกาศเกียรติคุณ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล และองค์ความรู้ และดําเนินการร่วมกัน และ (3) กลไกชุมชนและท้องถิ่น ในการสะท้อนปัญหาและความต้องการในระดับพื้นที่ และการขับเคลื่อนการปฏิบัติ รวมทั้งการใช้ทุนทางสังคมและความเข้มแข็งชุมชนเพื่อช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
บทที่ 1 สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทย บทนํา นิยาม “คนจนหรือความยากจน” มิได้จํากัดเฉพาะคนจนที่ขัดสนทางเศรษฐกิจหรือด้านรายได้ในการ ยังชีพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงความยากจนเชิงโครงสร้างที่เกิดจากความขัดสนในหลาย ๆ ด้านที่มีผลทําให้ ขาดศักยภาพในการดํารงชีวิต ทั้งการขาดการศึกษาหรือได้รับการศึกษาน้อย การขาดทรัพยากร ขาดที่ดินทํา กินหรือที่ดินทํากินมีขนาดเล็ก การขาดการรวมกลุ่มและการมีส่วนร่วมทางการเมือง การขาดข้อมูลข่าวสาร ความรู้ในการประกอบอาชีพ รวมทั้งการมีภาระการพึ่งพาสูง ตลอดจนไม่สามารถเข้าถึงบริการของรัฐและ ความช่วยเหลือต่างๆ ของรัฐ อันนําไปสู่ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม นั่นคือความยากจนหมาย รวมถึงทั้งความจนด้านรายได้ ความจนโอกาส และความจนด้านสิทธิ ซึ่งเป็นลักษณะที่มักจะเกิดขึ้นอย่าง เชื่อมโยงถึงกัน เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน ความจนด้านรายได้ที่เกิดขึ้นมักจะมาจากความจนด้านโอกาส และการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานที่พึงจะได้อันเป็นผลจากการบริหารราชการแผ่นดินที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดความ โปร่งใส และมีการคอรัปชั่นที่ส่งผลกระทบต่อการจัดสรรทรัพยากร รวมทั้งเป็นผลต่อเนื่องจากการพัฒนาใน อดีตที่ทําให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเอื้อประโยชน์เฉพาะต่อบางกลุ่มในสังคมเป็นหลัก ในการวัด ความยากจน ในรายงานนี้จะใช้วิธีการวัดความยากจนแบบสัมบูรณ์ (absolute poverty) โดยใช้เส้นความ ยากจน (poverty line)1เป็น เกณฑ์ ในการวัด และใช้ข้อมูล จากการสํา รวจภาวะเศรษฐกิจ และสังคมของ ครัวเรือนโดยงสํานักงานสถิติแห่งชาติ เป็นข้อมูลฐานในการศึกษาวิเคราะห์ การวิเคราะห์ความยากจนในรายงานฉบับนี้ครอบคลุมมิติด้านรายได้ และมิติด้านโอกาสในการเข้าถึง บริการพื้นฐานของรัฐ ได้แก่ การศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการสังคม และบริการโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น รวมทั้งการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมกับลักษณะปัญหาความยากจนใน ประเทศไทย โดยนําเสนอสถานการณ์และลักษณะความยากจนในระดับภาพรวมของประเทศและระดับพื้นที่ นอกจากนั้นสถานการณ์ความยากจนยังสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ําในสังคมระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ กลุ่มคนจน เป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ํากว่ากลุ่มอื่น ๆ ในสังคม และมักจะมีความเหลื่อมล้ําในเรื่องการถือครองสินทรัพย์อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เช่น สิน ทรัพย์ทางการเงิน ที่ดินและทรัพย์สิน อื่น ๆ ความยากจนด้า นรายได้มักจะกลายเป็น อุป สรรคในการเข้ า ถึ งบริ การทางสัง คม บริ การพื้ น ฐานของรั ฐ และกระบวนการยุติ ธ รรม เป็ น ผลตามมา โดยเฉพาะในสังคมที่ขาดการบริหารราชการแผ่นดินที่ดี ดังนั้นการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความเหลื่อมล้ําจึง วิเ คราะห์ครอบคลุมในทุกมิติ ได้แก่ ความแตกต่างด้า นรายได้ การเข้า ถึงทรัพยากรของกลุ่มคนที่มีความ แตกต่างด้านฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ความเหลื่อมล้ําระหว่างสาขาการ ผลิต ระหว่างสาขาอาชีพ และระหว่างแรงงานในระบบ-นอกระบบ เป็นต้น
1
เส้นความยากจน(povertyline) เป็นเครื่องมือสําหรับใช้วัดภาวะความยากจน โดยคํานวณจากต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของปัจเจกบุคคลในการได้มา ซึ่งอาหารและสินค้าบริการที่จําเป็นพื้นฐานในการดํารงชีวิต ซึ่งบุคคลที่มีรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยต่ํากว่าเส้นความยากจนจะถือว่า เป็นคนจน
2 1.1
สถานการณ์ความยากจนและลักษณะความยากจนในประเทศไทยในปี 2553
1.1.1 ความยากจนโดยรวมของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2553สัดส่วนคนจนลดลง เป็นร้อยละ 7.75 หรือมีประมาณ 5 ล้านคน แต่ยังมีกลุ่มเสี่ยงหรือที่เรียกว่าเกือบจนอีกร้อยละ 7.55รวม เป็นคนจนและกลุ่มเสี่ยงประมาณ 10ล้านคน ความยากจนที่ลดลงในปี 2553เป็นผลจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดี ขึ้นและการดําเนินมาตรการของรัฐบาลในการช่วยเหลือค่าครองชีพและการจัดสวัสดิการสําหรับกลุ่มด้อย โอกาสมีความทั่วถึงมากขึ้นในปี 2553เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวชัดเจนโดยขยายตัวร้อยละ 7.8เป็นผลทั้งจากการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งส่งให้การส่งออกของไทยขยายตัวมากและปัจจัยสนับสนุนภายในประเทศ ได้แก่ การดําเนินมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล การดําเนินนโยบายการเงินและการคลังมี ความผ่อนคลาย ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้นตามภาวะตลาดโลกและการรักษาเสถียรภาพราคาภายในประเทศ ประกอบกับปัญหาการเมืองที่คลี่คลายลงมากในช่วงครึ่งหลังของปี จากปัจจัยดังกล่าวทําให้ความเชื่อมั่นของ ประชาชนและภาคธุรกิจปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนและการใช้จา่ ยครัวเรือนเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวทําให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและมีการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงาน ประกอบกับ ราคาสินค้าเกษตรที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลเพื่อลดค่าครองชีพและการจัด สวัสดิการต่าง ๆ แก่ประชาชนยังคงดําเนินการต่อเนื่องและมีความครอบคลุมกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั่วถึงมากขึ้น จึง ส่งผลให้สัดส่วนคนยากจนลดลงต่อเนื่องเหลือร้อยละ 7.75 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีจํานวนคนจน ประมาณ 5.1 ล้านคน ในปี 2553 จากสัดส่วนคนจนที่ลดลงเป็นร้อยละ8.12หรือ5.279ล้านคน ทั้งนี้แม้ว่าในปี 2551ราคาน้ํามันและราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นและภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวจากผลกระทบจากปัญหา การเมืองภายในประเทศและเริ่มมีผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลก2ซึ่งส่งผลให้ความยากจนเพิ่มขึ้น เป็นร้อย ละ 8.95 ของประชากรทั้งประเทศแต่ในปี 2552ซึ่งเศรษฐกิจไทยประสบปัญหาโดยหดตัวร้อยละ 2.3รัฐบาลได้ ดําเนินมาตรการหลายด้านเพื่อลดผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย รุนแรงมากขึ้นก็ได้ช่วยพยุงสถานการณ์ไม่ให้ปัญหาความยากจนรุนแรงขึ้นโดยการให้ความช่วยเหลือค่าครอง ชีพและการจัดสวัสดิการด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน เช่น เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คนพิการ การลดภาระ ค่าใช้จ่ายน้ําประปาและไฟฟ้าของครัวเรือน การให้บริการรถไฟชั้น 3 และรถเมล์ฟรี เป็นต้นการช่วยค่าครอง ชีพในหลายด้านทําให้เส้นความยากจนมีระดับค่าใช้จ่าย (รายได้) ที่ต่ํากว่าในกรณีที่ไม่มีการช่วยค่าครองชีพ3 ซึ่งเป็น ส่ว นสํา คัญ ที่ทํา ให้สัดส่ว นคนจนลดลง นอกจากนั้น พบว่า ในปี 2552รายได้ที่มาจากการให้ความ ช่วยเหลือหรือสวัสดิการมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นร้อยละ 10.12 จากร้อยละ 9.92 ในปี 2550 และร้อยละ 3.39 ในปี 2549 1.1.2 อย่างไรก็ดี ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่มีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจนเพียงเล็กน้อยถึงประมาณ 5 ล้านคนซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะยากจนได้ง่ายหากเผชิญกับภาวะวิกฤตคนเกือบจน (Near Poor) คือ ประชากรที่มีระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคสูงกว่าเส้นความยากจนไม่เกิน 20% นับเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงทีจ่ ะตกอยู่ในภาวะความยากจนได้ง่ายหากได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่ร้ายแรง หรือได้รับผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ เช่น การถูกเลิกจ้าง พืชผลการเกษตรเสียหาย และ กระทบจากวิกฤตด้านเศรษฐกิจ เป็นต้นและในความเป็นจริงนั้นกลุ่มที่เรียกว่า “เกือบจน” นั้นมักจะได้รับ ผลกระทบโดยตรงจากภาวะวิกฤตมากกว่ากลุ่มที่ย ากจนเรื้อรังเสียด้ว ยซ้ํา คนเกือบจนหรือกลุ่มเสี่ย งจะมี สัดส่วนที่ใกล้เคียงกับคนจนในแต่ละปีโดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ดังนั้นเมื่อพิจารณารวมทั้งคนจนและ 2 3
เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.5 การช่วยค่าครองชีพ เช่น ค่าน้าํ ประปา ค่าไฟฟ้า และรถไฟโดยสาร กระทรวงพาณิชย์ จึงให้ราคาของบริการสาธารณะดังกล่าวเท่ากับศูนย์
3 กลุ่มเสี่ยงแล้วพบว่าความยากจนยังคงเป็นปัญหาที่มีลําดับสําคัญของประเทศเพราะเป็นปัญหาของประชาชน มากถึงประมาณ 10ล้านคน ในปี 2553 สัดส่วนคนเกือบจนคิดเป็นร้อยละ 7.55 ของประชากรทั้งประเทศหรือประมาณ 4.946ล้านคน เมื่อรวมกับคนจนได้ว่าสัดส่วนคนจนและกลุ่มเสี่ยงจะมีถึงร้อยละ 15.3 ของประชากรรวมทั้ง ประเทศ หรือมีประมาณ 10 ล้านคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับลําดับความสําคัญในการดําเนิน มาตรการด้านสวัสดิ การและการสร้ างเสถี ยรภาพด้านรายได้ อย่ างไรก็ ตาม การขาดฐานข้ อมู ลในการบ่ งชี้ (Identification) ที่ดี เช่น การขาดแผนที่ความยากจน และการขาดฐานข้อมูลประชากรและระบบทะเบียนที่มี ความสมบูรณ์จึงไม่เอื้อต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการดําเนินนโยบาย การดําเนินมาตรการช่วยเหลือด้านค่า ครองชีพและเบี้ยยังชีพแก่กลุ่มคนต่าง ๆ ทั้งที่มีลักษณะดําเนินการเป็นครั้งคราวและเป็นการถาวรภายใต้ระบบ สวัสดิการต่าง ๆ นั้น ไม่สามารถไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่ยากจนได้ทั้งหมด (exclusion error) เนื่องจากคนจน ส่วนใหญ่อยู่นอกภาคทางการและขาดข้อมูลทะเบียนที่จะเจาะลงไปถึง เช่นกลุ่มเกษตรกรยากจน และแรงงาน ที่ไม่อยู่ในภาคทางการ (Informal sector) หรือแม้แต่การจดทะเบียนผู้สูงอายุและคนพิการ ดังนั้นจึงยังมีกลุ่ม ที่มีปัญหารุนแรงแต่เข้าไม่ถึงการให้บริการ และขนาดของความช่วยเหลือก็ไม่เพียงพอที่จะช่วยให้พ้นภาวะ ความยากจนได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเกิดความคลาดเคลื่อนในเรื่องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ควรจะได้ อย่างแท้จริงบ้าง (exclusion error) ดังกล่าวบ้างแต่อย่างน้อยมาตรการช่วยเหลือและสวัสดิการสังคมดังกล่าว สามารถช่วยป้องกันไม่ให้กลุ่มอ่อนไหวหรือคนเกือบจนต้องตกอยู่ในภาวะยากลําบากมากขึ้น นั่นคือเป็นการ บรรเทาปัญหาความยากจนไม่ให้รุนแรงขึ้น แต่ในระยะต่อไปมีความจําเป็นต้องเร่งพัฒนาเครื่องมือที่จะช่วยใน การบ่งชี้และเข้าถึงกลุ่มที่ควรได้รับลําดับความสําคัญในการแก้ปัญหาอย่างแท้จริงเพื่อให้การดําเนินมาตรการ ในการให้ความช่วยเหลือ การจัดสวัสดิการ และการเยียวยาเป็นครั้งคราวในการบรรเทาผลกระทบจากภาวะ วิกฤตต่าง ๆ เกิดประสิทธิผลและการใช้จ่ายงบประมาณรัฐบาลมีประสิทธิภาพ การดําเนินมาตรการช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมายตามความเร่งด่วนและความรุนแรงของปัญหานั้นนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนแล้วยัง จะช่วยลดความแตกต่างในสังคมควบคู่ไปด้วย 1.1.3 ในช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมาปัญหาความยากจนลดลงอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์ การพัฒนาแต่สถานการณ์ยังมีความอ่อนไหวต่อภาวะวิกฤตต่าง ๆ เมื่อวัดจากด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภค บริโ ภคอัน เป็นสิ่งจํา เป็นพื้นฐานในการดํารงชีวิต สัด ส่วนคนจนลดลงตามลํา ดับ จากที่เ คยสูงถึงกว่า ร้อยละ 42.21 ในปี 2531 และร้อยละ 28.43 ในปี 2535 มาเป็นร้อยละ 14.75 ในปี 2539 ก่อนที่ประเทศไทยจะ ประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ซึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540-2541นั้นสัดส่วนคนจนเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 17.46หรือคนจนถึง 10.2ล้านคน ในปี 2541 และยังมีผลต่อเนื่องตามมา(lagged effect)ที่ ก่อให้เกิดปัญหาความยากจนรุนแรงขึ้นเป็นร้อยละ 20.98 ในปี 2543 ซึ่งยังเป็นช่วงต้นของการฟื้นตัวทาง เศรษฐกิจและยังต้องแก้ไขปัญหาการว่างงานที่มีอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 3.6หรือประมาณ 1.3ล้านคน4 และเป็นช่วงต้นของการลงทุนด้านสังคมควบคู่ไปด้วยภายใต้โครงการ Social Investment Program (SIP) การฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้นหลังจากนั้นได้ช่วยลดปัญหาความยากจนลงตามลําดับจากร้อยละ 14.93 ในปี 2545 ลดลงเหลือร้อยละ 9.55 ของประชากรทั้งประเทศ ในปี 2549บรรลุเป้าหมายที่ กําหนด
4
เป็นการว่างงานในระดับสูงต่อเนื่องจากร้อยละ 4.4 (1.42 ล้านคน) ในปี 2541 และร้อยละ 4.2 (1.37 ล้านคนในปี 2542)
4 เป้าหมายลดสัดส่วนคนยากจนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 12 ของประชากรภาย ในปี 2549ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แม้ว่าในปัจจุบันปัญหาความยากจนจะได้คลี่คลายลงตามลําดับ แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะส่งผล กระทบต่อเศรษฐกิจและการดําเนินชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรงได้ ทั้งวิกฤตด้านเศรษฐกิจ วิกฤตการณ์ราคา อาหารและพลังงานสูง โรคอุบัติใหม่ และวิกฤตการณ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ผันผวนและรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่มีกลุ่มเสี่ยงอยู่เป็นจํานวนไม่น้อยการเฝ้าระวังปัญหาความยากจนจึงยังมีลําดับ ความสําคัญ 1.1.4 ช่องว่างและระดับความรุนแรงของความยากจนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545แต่เริ่ม ทรงตัวตั้งแต่ปี 2549จนถึงปัจจุบัน หลังจากการฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตในปี 2545และเป็นช่วงมีการดําเนิน โครงการแก้ปัญหาความยากจนที่มีความครอบคลุมมากขึ้นช่องว่างความยากจน (poverty gap) มีแนวโน้ม ลดลงต่อเนื่อง จากร้อยละ 2.75 ในปี 2545มาเป็นร้อยละ 1.33ในปี 2553ชี้ว่าค่าเฉลี่ยรายจ่าย (รายได้) ของ กลุ่มที่อยู่ใต้เส้นความยากจนมีความแตกต่างกับรายจ่าย (รายได้) ที่ระดับเส้นความยากจนน้อยลงตามลําดับ ช่องว่างที่น้อยลงบ่งชี้ว่าส่วนต่างที่จะต้องยกระดับรายได้และรายจ่ายของกลุ่มยากจนให้ก้าวพ้นความยากจน นั้นเป็นจํานวนน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้ (รายจ่าย) ที่ระดับเส้นความยากจน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณา ช่องว่างความยากจนในช่วงตั้งแต่ปี 2550เป็นต้นมา พบว่า ค่อนข้างทรงตัวที่ประมาณร้อยละ 1.3-1.5ซึ่งเป็น สัญญาณเตือนว่า แม้ว่าช่องว่างความยากจนจะลดลง แต่ปัญหาความยากจนส่วนที่ยังมีอยู่นั้นน่าจะเป็นความ ยากจนเชิงโครงสร้างที่ค่อนข้างเรื้อรังเป็นส่วนสําคัญ และความยากจนดังกล่าวเป็นผลจากผลของการพัฒนาใน อดีตที่มีประชาชนบางกลุ่มขาดโอกาสในการที่จะเข้าถึงการศึกษา สาธารณสุข และปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานที่มี คุณภาพ ในปัจจุบันกลุ่มดังกล่าวซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ สมาชิกครอบครัวที่หัวหน้าครอบครัวมีการศึกษาต่ํา และครัว เรือนเกษตรบางส่ว น การไม่ ได้การพัฒ นาศักยภาพและทักษะทางอาชีพจึงทํา ให้ป ระชาชนกลุ่ ม ดังกล่าวไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์จากโอกาสทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น สถานการณ์ ดัง กล่า วจึง บ่ งชี้ ว่ า ต้ องสามารถระบุ ก ลุ่ม ดั งกล่ า วเพื่อ กํ า หนดมาตรการช่ ว ยเหลื อ ที่เ หมาะสม ซึ่ง รวมถึ ง สวัส ดิการรุ่นผู้สูงอายุ การฝึกทักษะอาชีพสํา หรับ กลุ่มที่ยังอยู่ ในกํา ลังแรงงานรวมทั้งการดูแลเรื่องเข้า ถึง ทรัพ ยากรในการประกอบอาชีพ และการสนับ สนุน ด้า นการศึ กษาสํา หรับ บุต รหลานที่ต้อ งพิ จ ารณาการ ช่วยเหลือเพิ่มเติมจากการเรียนฟรีทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึงการศึกษาฟรีที่จัดให้ เมื่อพิจารณาความรุนแรงของปัญหาความยากจน สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทาง เดียวกับช่องว่างความยากจน นั่นคือ ปัญหาความยากจนลดความรุนแรงลงตามลําดับ แต่ค่อนข้างทรงตัวตั้งแต่ ปี 2550เป็นต้นมา จึงเป็นสัญญาณเตือนว่ามีปัญหาความยากจนที่เป็นความยากจนเรื้อรัง (Chronic poverty) ในระดับหนึ่ง ที่มีความจําเป็นต้องอาศัยทั้งแก้ปัญ หาเชิงโครงสร้างในเรื่องการเข้า ถึงบริการทางสังคมและ ทรัพยากรผนวกกับการจัดสวัสดิการทางสังคมที่เข้าถึงกลุ่มยากจนรุนแรงได้อย่างแท้จริง 1.1.5 ประเทศไทยไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายในการที่จะลดสัดส่วนคนจนลงเป็นร้อยละ 4.0ภายในปี 2554ตามที่กําหนดเป้าหมายไว้ในแผนฯ พัฒนาฉบับที่ 10เนื่องจากหลายสาเหตุประกอบกัน ได้แก่ 1) ตั้งแต่ปี 2549เป็นต้นมาประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้านทั้งปัญหาการเมือง ภายในประเทศ และปัญหาราคาน้ํามันแพง รวมทั้งปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกในช่วงปี 2551-2552ที่ ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สามารถดําเนินการได้เต็มศักยภาพ ภาคธุรกิจเอกชนมีความจําเป็นต้องลด
5 การจ้างงานเป็นครั้งคราว ประกอบกับการเผชิญกับปัญหาภัยพิบัติหลายครั้ง การแก้ปัญหาความยากจนจึงมี ความคืบหน้าไม่มาก โดยเฉพาะหากพิจารณาจากจํานวนคนจนที่ค่อนข้างทรงตัว อยู่ที่ประมาณ 5ล้านคน 2) ในสัดส่วนความยากจนรวมที่ร้อยละ 7-9นั้นพิจารณาว่าความยากจนในระดับประมาณ ร้อยละ 4-5 ของประเทศนั้น อาจจะเป็น ความจนเรื้อรัง (chronic poverty) ที่ ไม่ต อบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงขึ้นลงทางเศรษฐกิจเท่าใดนักทั้งในช่วงขาขึ้นและขาลง เนื่องจากมักจะเป็นความยากจนในเชิง โครงสร้างซึ่งเกิดจากการขาดโอกาสเข้าถึงการศึกษา สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ในอดีตจึง ส่งผลให้ในปัจจุบันคนกลุ่มหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นครอบครัวยากจนขาดโอกาสในอดีตและมีผลต่อเนื่องต่อรุ่นต่อ ๆ มาทีข่ าดศักยภาพในการหารายได้ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบันที่โครงสร้างเปลี่ยนแปลงไปและเป็นโอกาสของผู้ ที่มีการศึกษาดี ซึ่งปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้างนั้นต้องแก้ไขโดยการปรับเชิงโครงสร้างในเรื่องการเข้าถึง บริการทางสังคม และปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อย่างไรก็ตามในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจะต้องอาศัยตาข่าย คุ้มครองสังคม (social safety net) เข้ามาช่วยพยุงด้วยเพื่อไม่ให้เกิดภาวะกับดักหรือวงจรความยากจนที่ส่ง ต่อจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูกรุ่นหลาน 3) การพัฒนาทางเศรษฐกิจเริ่มตอบสนองในการลดความยากจนได้ช้าลงเนื่องจากระดับการ พัฒนามีความก้าวหน้าไปมากแล้วและยังมีปัญหาการกระจายรายได้ค่อนข้างมาก ซึ่งมีความสอดคล้องกับการ วัดระดับความรุนแรงของปัญหาความยากจน (Poverty severity) ซึ่งแม้จะลดลงต่อเนื่องแต่เริ่มมาทรงตัวที่ ประมาณ 0.40ในช่ ว ง 4-5ปี ที่ ผ่ า นมา ทั้ ง นี้ โดยทฤษฎี นั้ น การกระจายรายได้ ที่ ดี ขึ้ น อั น เป็ น ผลจากการ เปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างและมีความยั่งยืนในระยะยาว (permanent redistribution of income) จะมี ส่วนช่วยโดยตรงในการลดปัญหาความยากจนหรือเรียกว่า ผลจากการกระจายต่อความยากจน และช่วยทําให้ การลดปัญหาความยากจนมีความยืดหยุ่นหรือตอบสนองต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้น นั่นคือมีส่วนช่วย ให้ผ ลประโยชน์จ ากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตกทั่วถึงกลุ่มยากจนได้ดีขึ้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดความ ยากจนจึงขึ้นอยู่กับ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ลักษณะหรือองค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (เช่น การ ขยายตัวที่มีฐานมาจากการขยายตัวทางการเกษตรช่วยลดปัญหาความยากจนได้มากกว่า) และลักษณะของการ กระจายรายได้ ภาพที่ 1 การกระจายรายได้ สัดส่วนความยากจน และรายได้ต่อหัว 0.600 0.580 0.560 0.540 0.520 0.500 0.480 0.460 0.440 0.420 0.400
Gini coefficient (LHS)
50.00
สัดส่วนคนจน (%) (RHS)
40.00
การเปลี่ยนแปลงของ Real GDP per capita (RHS)
30.00 20.00 10.00 -10.00
2531 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 2550 2551 2552 2553 ที่มา: การสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.
6 ตารางที่ 1 ตัวชี้วัดความยากจนและการกระจายรายได้ ทั่วราชอาณาจักร ปี 2531-2553 ตัวชี้วัด
2531
2533
2535
2537
2539
2541
2543
2545
2547
2549
2550
2551
2552
2553
11.40 8.05 6.62 3.92 2.85 3.35 4.24 2.75 2.01 1.81 1.45 1.49 1.35 1.33 ช่องว่างความยากจน 4.30 2.82 2.23 1.22 0.85 0.99 1.30 0.81 0.56 0.53 0.41 0.40 0.36 0.37 ความรุนแรงปัญหาความยากจน 633 692 790 838 953 1,130 1,135 1,190 1,242 1,386 1,443 1,579 1,586 1,678 เส้นความยากจน (บาท/คน/เดือน) 42.21 33.69 28.43 18.98 14.75 17.46 20.98 14.93 11.16 9.55 8.48 8.95 8.12 7.75 สัดส่วนคนจน (ร้อยละ) 22.1 18.4 15.8 10.7 8.5 10.2 12.6 9.1 7.0 6.1 5.4 5.8 5.3 5.1 จํานวนคนจน (ล้านคน) 39.08 31.73 25.80 17.18 13.19 15.31 18.45 13.21 10.19 8.74 7.82 8.47 7.18 6.81 สัดส่วนครัวเรือนยากจน(ร้อยละ) 5,105 4,230 3,699 2,587 2,079 2,420 3,070 2,311 1,869 1,663 1,508 1,639 1,418 1,381 จํานวนครัวเรือนยากจน(พันครัวเรือน) สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini 0.487 0.515 0.536 0.520 0.513 0.507 0.522 0.507 0.493 0.515 0.497 0.485 coefficient) ของรายได้ สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ของรายจ่ายเพื่อการอุปโภค 0.439 0.443 0.450 0.438 0.431 0.409 0.428 0.418 0.425 0.418 0.397 0.401 0.396 0.394 บริโภค ความเหลื่อมล้ําในรายได้กลุ่มรวยสุด 20% 11.88 13.28 14.90 14.07 13.52 13.06 14.55 13.23 12.10 13.92 12.47 11.31 สุดท้ายต่อกลุ่มจนสุด 20% แรก (เท่า) ความเหลื่อมล้ําในรายจ่ายเพื่อการอุปโภค บริโภคกลุ่มรายจ่ายมากสุด 20% สุดท้าย 8.33 8.54 8.99 8.36 8.21 7.40 8.09 7.72 8.00 7.90 7.07 7.13 6.97 6.91 ต่อกลุ่มรายจ่ายน้อยสุด 20% แรก (เท่า) 52.4 54.5 55.6 56.6 57.6 58.7 59.9 61.2 62.9 63.4 63.9 64.5 65.0 65.5 ประชากรทั่วประเทศ (ล้านคน) 13,061 13,332 14,341 15,059 15,760 15,801 16,641 17,487 18,336 19,022 19,278 19,354 19,739 20,298 จํานวนครัวเรือนทั้งหมด (พันครัวเรือน) ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนสํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคมสศช. : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2551 และปี 2553 ไม่มีการสํารวจด้านรายได้ของครัวเรือน : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2549 ปี 2550 และปี 2522 ได้ปรับข้อมูลรายได้ ที่บันทึกติดลบหรือขาดทุน ให้เป็น 0 (ศูนย์) หมายเหตุ ช่องว่างความยากจน (Poverty Gap Ratio)หมายถึงช่องว่างระหว่างรายจ่ายของคนที่ตกอยู่ใต้เส้นความยากจนกับเส้นความยากจนเพื่อบ่งชี้ว่าคนจนเหล่านี้มีระดับรายจ่ายต่ํากว่าเส้น ความยากจนมากน้อยเพียงใดโดยเป็นการหาค่าเฉลี่ยร้อยละของช่องว่างระหว่างเส้นความยากจนกับรายจ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนของครัวเรือนยากจนคนจนที่มีรายจ่ายต่ํากว่าเส้นความ ยากจนมากก็จะมีความยากลําบากมากกว่าผู้ที่มีรายจ่ายใกล้เส้นความยากจน ความรุนแรงของปัญหาความยากจน (Severity of Poverty)เป็นการวัดที่พิจารณาให้ความสําคัญกับกลุ่มคนจนที่มีปัญหาความยากจนรุนแรงหรือมีรายจ่ายต่ํากว่าเส้นความยากจนมากๆ เพื่อบ่งชี้ภาวะการกระจายรายจ่ายในกลุ่มคนจนที่อยู่ใต้เส้นความยากจนโดยทําการถ่วงน้ําหนักมากให้กับค่าที่ต่ํากว่าเส้นความยากจนมากตัวชี้วัดนี้จะช่วยตรวจสอบติดตาม ความก้าวหน้าของสถานการณ์ของความยากจนที่สุดซึ่งแม้จะมีจํานวนน้อยแต่เป็นกลุ่มที่จะหลุดพ้นจากความยากจนได้ยากที่สุด เส้นความยากจน (Poverty line)เป็นเครื่องมือสําหรับใช้วัดภาวะความยากจนโดยคํานวณจากต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของปัจเจกบุคคลในการได้มาซึ่งอาหารและสินค้าบริการจําเป็นพื้นฐาน ในการดํารงชีวิต สัดส่วนคนจนคํานวณจากจํานวนประชากรที่มีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่ํากว่าเส้นความยากจน หารด้วยจํานวนประชากรทั้งหมด คูณด้วย 100 จํานวนคนจนหมายถึงจํานวนประชากรที่มีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่ํากว่าเส้นความยากจน ค่าสัมประสิทธิ์จีนี่ (Gini coefficient) เป็นเครื่องมือในการวัดความไม่เท่าเทียมในรูปของสัดส่วน (Gini ratio) ซึ่งค่าอยู่ระหว่าง 0 กับ 1 ยิ่งค่าเข้าใกล้ 1 มากเท่าไรแสดงว่าความไม่เท่า เทียมกันของรายได้ยิ่งมีมากขึ้นโดยคํานวณจากการใช้ค่าของพื้นที่ระหว่าง Lorenz curve ของการกระจายรายได้กับเส้นการกระจายรายได้สัมบูรณ์เป็นตัวตั้งและค่าของพื้นที่ใต้เส้นการ กระจายรายได้สัมบูรณ์ทั้งหมดเป็นตัวหาร
ตารางที่ 2 สถานการณ์ความยากจนในช่วงแผนฯ พัฒนาฉบับที่ 9-10 ปี พ.ศ. 2545 2547 2549 2550 2551 2552 2553
เป้าหมายของแผนฯ แผนฯ 9 ลดสัดส่วนคนยากจนให้เหลือไม่เกิน ร้อยละ 12 ของประชากร ในปี 2549 แผนฯ 10 ลดสัดส่วนคนยากจนให้เหลือไม่เกิน ร้อยละ 4 ของประชากร ในปี 2554
สัดส่วนคนจน
จํานวนคนจน (ล้านคน)
เส้นความยากจน (บาท/คน/เดือน)
ร้อยละ 14.95 ร้อยละ 11.16 ร้อยละ 9.55
9.1354 7.0186 6.0567
1,190 1,242 1,386
ร้อยละ 8.49 ร้อยละ 8.95 ร้อยละ 8.12 ร้อยละ 7.75
5.4217 5.7719 5.2788 5.0767
1,443 1,579 1,586 1,678
ที่มา: การสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.
7
ภาพที่ 2 เส้นความยากจน สัดส่วนคนจน จํานวนคนจน (วัดจากรายจ่ายเพื่อการบริโภค) ปี 2531-2553 60
1,586 1,443 1,579 1,678 1,386
50 42.21 1,242 1,130 1,135 1,190 40 33.69 953 790 838 30 20.98 633 692 28.43 18.98 18.4 15.8 14.93 14.75 17.46 20 11.16 9.55 22.1 12.6 10.7 8.5 10.2 9.1 7.0 6.1 8.49 5.4 8.955.8 8.125.3 7.755.1 10 0 2531 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 2550 2551 2552 2553 สัดส่วนคนจน(%) จํานวนคนจน(ล้านคน) เส้นความยากจน(บาท/คน/เดือน)
1,800 1,500 1,200 900 600 300 0
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.
ตารางที่ 3 สัดส่วนและจํานวน คนจน จนมาก จนน้อย และเกือบจน (วัดจากรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค) สัดส่วนคนจน (%)
เกือบจน จํานวนคนจน (พันคน) จํานวน ร้อยละต่อจํานวน สัดส่วน คนจนทั้งหมด ปี พ.ศ. จน จนมาก จนน้อย (%) จน จนมาก จนน้อย เกือบจน จนมาก จนน้อย 2531 42.21 25.41 16.80 13.09 22,120 13,316 8,804 6,858 60.2 39.8 2533 33.69 17.85 15.84 13.61 18,376 9,735 8,641 7,425 53.0 47.0 2535 28.43 14.84 13.59 11.65 15,795 8,246 7,549 6,472 52.2 47.8 2537 18.98 8.60 10.38 12.24 10,738 4,863 5,875 6,928 45.3 54.7 2539 14.75 6.14 8.61 10.84 8,492 3,535 4,958 6,237 41.6 58.4 2541 17.46 7.43 10.02 11.96 10,243 4,361 5,882 7,018 42.6 57.4 2543 20.98 9.29 11.69 12.11 12,555 5,561 6,994 7,248 44.3 55.7 2545 14.93 5.64 9.29 11.06 9,135 3,450 5,686 6,764 37.8 62.2 2547 11.16 4.21 6.95 9.26 7,019 2,647 4,372 5,824 37.7 62.3 2549 9.55 3.80 5.75 8.19 6,057 2,412 3,644 5,193 39.8 60.2 2550 8.48 2.95 5.54 8.09 5,422 1,883 3,539 5,169 34.7 65.3 2551 8.95 2.98 5.97 9.03 5,772 1,923 3,848 5,828 33.3 66.7 2552 8.12 2.74 5.38 7.85 5,279 1,783 3,496 5,101 33.8 66.2 2553 7.75 2.81 4.94 7.55 5,077 1,839 3,238 4,946 36.2 63.8 ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนสํานักงานสถิติแห่งชาติประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูล และตัวชี้วัดภาวะสังคมสศช. หมายเหตุ : จนคือมีระดับรายจ่ายเพือ่ การอุปโภคบริโภคต่ํากว่าเส้นความยากจน จนมากคือ มีระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่ํากว่าเส้นความยากจนเกินกว่า 20% จนน้อยคือ มีระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่ํากว่าเส้นความยากจนไม่เกิน 20% เกือบจนคือ มีระดับรายจ่ายเพือ่ การอุปโภคบริโภคสูงกว่าเส้นความยากจนไม่เกิน 20%
1.1.6 ลักษณะของความยากจนในประเทศไทย การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความยากจนมี2 แนวทางหลัก วิธีแรก เป็นการศึกษาโดยใช้ วิธีทางสถิติวิเคราะห์แบบ Multivariate Analysis5 เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้ประชาชนตกอยู่ในภาวะความ 5
สรุปย่อจาก Deolalokar, Anil. (2002) Poverty Profile, Determinants of Poverty, and Government Social Assistance to the Poor in Thailand: Results from the Socioeconomic Survey 2000รายงานวิจยั เบื้องต้น เสนอต่อสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
8 ยากจนและระดับของผลกระทบที่เกิดขึ้น วิธีที่สอง เป็นการประเมินสาเหตุของปัญหาความยากจนแบบมีส่วน ร่วม (Participatory Poverty Assessment) 6 คือการเปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นที่รวมถึงคนจนและคนด้อย โอกาสได้เ ข้า มามีส่ว นร่ว มในการวิเคราะห์ส าเหตุของปัญหาความยากจนที่คนในชุมชนประสบอยู่ ซึ่งผล การศึกษาทั้ง 2 วิธี ได้ข้อสรุปที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากจนของครัวเรือน ประกอบด้วย ครัวเรือนมีขนาดใหญ่ ภาระความรับผิดชอบสูง(เช่น มีลูกมาก มีสมาชิกในครัวเรือนที่พิการ) อาชีพไม่มั่นคง หรื อ มี ร ายได้ น้ อ ย สมาชิ ก ในครอบครั ว มี การศึ ก ษาต่ํ า ขาดโอกาสในการเข้ า ถึ ง บริก ารสาธารณสุ ข ขาด ความสามารถหรือทักษะทางอาชีพและการลงทุน และปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุน ความแปรปรวนของราคา ผลผลิต และวิกฤตทางเศรษฐกิจและภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งปัจจัยดังกล่าวยังคงเป็นปัจจัยสําคัญที่สะท้อนให้ เห็นถึงลักษณะของความยากจนในประเทศไทยในปัจจุบัน การวิเคราะห์จากข้อมูลการสํารวจเศรษฐ-สังคม สรุปได้ ว่าความยากจนในประเทศไทยมีลักษณะ ดังนี้ 1) ความยากจนในระดับพื้นที่:ความยากจนมีแนวโน้มลดลงอย่างทั่วถึงในทุกภูมิภาค แต่มี ความกระจุกตัวหนาแน่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบทปัญหา ความยากจนที่แตกต่างกันระหว่างพื้นที่สะท้อนความแตกต่างรายได้ระหว่างภูมิภาคและพื้นที่นั่นคือ บ่งชี้ถึง ปัญหาการกระจายรายได้ 1.1 แม้ว่าปัญหาความยากจนลดลงในทุกภูมิภาค แต่เมื่อพิจารณารายภาค พบว่า ปัญหาความยากจนยังคงกระจุกตัวหนาแน่นอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือโดยในปี 2553 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนคนจนสูงถึงร้อยละ 13.3 ของประชากรในภาค และภาคเหนือมีสัดส่วนคน จนร้อยละ 10.5 ของประชากรในภาคทั้งนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจนประมาณ 3 ล้านคนหรือคิดเป็น ร้อยละ 59.2 ของคนจนทั้งประเทศ (5.08 ล้านคน) และภาคเหนือมีคนจนประมาณ1.29 ล้านคนหรือคิดเป็น ร้อยละ 25.3 ของคนจนทั้งประเทศ ปัญหาความยากจนกระจุกตัวหนาแน่นอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ ภาคเหนือโดยเฉพาะในเขตชนบท ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร(ผู้ ถือครองทําการเกษตรผู้ทําประมงป่า ไม้และบริการเกษตร คนงานเกษตร) และเป็นผู้ที่ไม่มีส่ว นร่ว มทาง เศรษฐกิจ(เด็ก คนชรา แม่บ้าน นักเรียน คนพิการไม่สามารถทํางานได้ ผู้มีรายรับจากบําเหน็จบํานาญ) โดย ประชากรกลุ่มดังกล่าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 53.7 ของประชากรทั้งหมดในภาค และในภาคเหนือมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.1 ของประชากรทั้งหมดในภาคทั้งนีภ้ าคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ การเกษตรขนาดใหญ่แต่มีปัญหาดินเค็มแพร่กระจายเพิ่มขึ้นและขาดแคลนน้ําเพื่อการเกษตรในช่วงหน้าแล้ง ในขณะที่ภาคเหนือมีพื้นที่ถือครองขนาดเล็ก ดินมีระดับความอุดมสมบูรณ์ต่ําจากการชะล้างพังทลายและการ ใช้ ส ารเคมีส ูง และพื ้น ที ่ช ลประทานมีน ้อ ย รวมทั ้ง การเปลี ่ย นแปลงของสภาพภูม ิอ ากาศทํ า ให้เ กิด ภัย ธรรมชาติ(น้ําท่วม ภัยแล้ง) จึงส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรและรายได้ของเกษตรกรทั้ง 2 ภูมิภาค ประกอบกับรายได้ประจําของครัวเรือนเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ ภาคเหนือต่ํากว่าในภูมิภาคอื่นๆ ที่มีสาขาอาชีพหลักเดียวกัน โดยเฉพาะประชากรที่ประกอบอาชีพหลักด้าน การเกษตรจะมีรายได้เฉลี่ยต่ํากว่าอาชีพอื่น นอกจากนี้โครงสร้างแรงงานของทั้ง 2 ภูมิภาคดังกล่าวส่วนใหญ่ เป็นแรงงานนอกระบบเกินกว่าร้อยละ 70 ของแรงงานทั้งหมดในภาค จึงมีรายได้ไม่แน่นอนและยังไม่สามารถ เข้าถึงระบบประกันสังคมอีกด้วย
6
สรุปย่อจาก ศิริรัตน์ ธานีรณานนท์ และคณะ (๒๕๔๕) วิธีการประเมินปัญหาความยากจนแบบมีส่วนร่วม รายงานวิจยั เบื้องต้น เสนอต่อ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
9
ภาพที่ 3 การกระจายตัวของคนจนจําแนกรายภาคปี 2553 5.8%
1.1%
3.0%
ภาพที่ 4 สัดส่วนคนจน (ด้ด้านรายจ่าย) ย จําแนกรายภาค 30 25 20 15 10 5 0
3.33% 2.2% 25 25.3%
59.2%
24.5
16.8 17.8
20.3 12.0
2539 กรุงเทพฯและปริมณฑล ตะวันตก เหนือ ใต้
23.1
ตะวันออก กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ
13.0
14.6
12.9
13.3
2545 2549 2550 ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ ตะวันตก กรุงเทพฯและปริมณฑล
13.7
13.3
11.1
10.5
2551 2552 เหนือ ตะวันออก กลาง
2553
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครั งคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. สศช
ตารางที่ 4 รายได้ประจําของครัวเรือนเฉลี่ยต่อคน จําแนกตามสถานภาพเศรษฐกิจและสั จและสังคมของครัวเรือน และภาค หน่วย : บาท/คน/เดือน สถานภาพเศรษฐกิจและสังคม ของครัวเรือนปี 2552
ตอน.
เหนือ
ใต้
ตะวัน ออก 6,178 6,003 6,613 4,367 6,969 12,714 3,025 3,501 6,470 5,450 6,293 6,598
ตะวัน ตก 4,731 4,553 5,099 2,834 7,157 10,300 2,817 3,487 5,007 3,646 5,670 5,370
กลาง
กทม.& ปริมณฑล 6,575 7,035 5,911 12,800 11,250 18,348 4,160 5,956 7,912 6,509 14,289 11,216
ผู้ถือครองทําการเกษตร 2,696 3,875 7,471 7,669 669 - เป็นเจ้าของที่ดิน 2,657 3,685 7,546 7,576 576 - เช่าที่ดิน 3,179 4,279 5,054 7,769 769 ผู้ทําประมง ป่าไม้ และบริการเกษตร 2,214 2,358 3,006 3,401 401 ผู้ดําเนินธุรกิจของตนเองที่ไม่ใช่การเกษตร 6,498 5,704 8,168 7,819 819 ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการและนักบริหาร 11,226 12,365 12,656 14,309 309 คนงานเกษตร 2,445 2,839 3,366 3,304 304 คนงานทั่วไป 2,726 3,435 2,938 3,662 662 เสมียน พนักงาน พนักงานขายและให้บริการ 4,281 5,188 5,661 5,914 914 ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต 2,771 3,580 3,510 5,051 051 ผู้ไม่ปฏิบัติงานเชิงเศรษฐกิจ 3,630 4,537 7,549 6,015 015 รวม 4,339 4,965 6,707 7,167 167 ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดย สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. สศช
รวม 4,159 4,047 4,694 2,646 7,684 14,358 3,074 3,387 5,916 4,306 5,242 6,239
ตารางที่ 5 โครงสร้างแรงงานในระบบและนอกระบบ จําแนกตามภาค ปี 2548, 2550 ถึง 2553 ภาค กรุงเทพมหานคร กลาง เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ ทั่วราชอาณาจักร จํานวน (ล้านคน)
2548 70.8 53.1 27.3 19.5 43.0 37.9 (13.77)
ร้อยละแรงงานในระบบ (%) 2550 2551 2552 68.3 68.4 67.0 52.4 50.8 50.9 25.5 25.7 26.2 20.2 20.6 21.4 40.6 39.7 40.2 37.3 36.3 36.6 (13.84 84) (13.73) (14.05)
ที่มา : การสํารวจแรงงานนอกระบบ สํานักงานสถิ นสถิติแห่งชาติ
2553 66.2 51.6 28.4 22.4 41.9 37.6 (14.56)
2548 29.2 46.9 72.7 80.5 57.0 62.1 (22.54)
ร้อยละแรงงานนอกระบบ (%) 2550 2551 2552 2553 31.7 31 31.6 33.0 33.8 47.6 49 49.2 49.1 48.4 74.5 74 74.3 73.8 71.6 79.8 79 79.4 78.6 77.6 59.4 60 60.3 59.8 58.1 62.7 63 63.7 63.4 62.4 (23.28) (24 24.11) (24.32) (24.13)
10 ภาพที่ 5 เปรียบเทียบรายได้ต่อหัวในแต่ละภาค
บาท/คน/ปี
> ประเทศ
350,000
กรุงเทพและปริมณฑล 300,000 250,000 200,000
การที่อัตราการขยายตัว ของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมาก เฉพาะในบางพื้นที่ ส่งผล ให้การกระจายรายได้ เหลื่อมล้ํากันมากขึ้น
ภาคตะวันออก ภาคกลาง ประเทศ
150,000
ภาคตะวันตก < ประเทศ
100,000
ภาคใต้ ภาคเหนือ
50,000
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรุงเทพและปริมณฑล ภาคตะวันออเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก
ภาคตะวันออก ภาคใต้ เชียงใหม่
52
50
48
46
44
42
40
36
ภาคกลาง ภาคเหนือ ทั้งประเทศ
38
34
32
30
26
28
24
0
ปี 25xx
1.2 ในปัจจุบันความยากจนยังคงกระจุกตัวหนาแน่นอยู่ในเขตชนบทซึ่งมีสัดส่วน คนจนถึงร้อยละ 10.4เทียบกับร้อยละ 2.6ในเขตเมืองส่วนหนึ่งเป็นไปตามลักษณะโครงสร้างกระจายตัวของ ประชากร ซึ่งร้อยละ 69 ของประชากรทั้งประเทศอยู่ในเขตชนบท และอาชีพหลักของคนในชนบทอยู่ในภาค การเกษตร(ผู้ถือครองทําการเกษตรผู้ทําประมงป่าไม้และบริการเกษตร คนงานเกษตร) และเป็นผู้ที่ไม่มีส่วน ร่วมทางเศรษฐกิจ7 ซึ่งรวมกันสูงถึงร้อยละ 52.4 ของประชากรในเขตชนบททั้งหมด ในขณะที่ในเขตเมืองกลุ่ม อาชีพดังกล่าวมีเพียงร้อยละ 18.1 ของประชากรในเขตเมืองทั้งหมดเท่านั้น นอกจากนี้ รายได้ประจําของ ครัวเรือนเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนของประชากรในเขตชนบทต่ํากว่ารายได้ในเขตเมืองที่อยู่ในสาขาอาชีพเดียวกัน นอกจากนั้นผู้ที่มีอาชีพหลักทางด้านการเกษตรจะมีรายได้เฉลี่ยต่ํากว่าอาชีพอื่นสาเหตุแห่งความยากจนใน ชนบทที่สําคัญอีกประการหนึ่ง คือการขาดการเข้าถึงบริการทางสังคม สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่มี คุณภาพอย่างทั่วถึงของประชาชนในชนบท เนื่องจากบริการพื้นฐานของรัฐทั้งสถานศึกษา สถานพยาบาล และ อื่นๆ กระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองเป็นส่วนใหญ่ คนชนบทจึงมีในการโอกาสเข้าถึงได้น้อยกว่าและเสียค่าใช้จ่ายใน การเดินทางเพื่อไปใช้บริการสูงกว่าคนในเขตเมืองซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตพบว่าในปี 2553 ในจํ า นวนคนจนรวม 5.08ล้ านคนนั้ นประมาณ4.5 ล้ า นคนหรื อ คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 88.8 อาศั ย อยู่ ใ นชนบท โดยเฉพาะในเขตชนบทของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจนประมาณ 2.7 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 54.0 ของคนจนทั้งประเทศ และเขตชนบทของภาคเหนือมีคนจนประมาณ 1.1 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 22.5 ของคนจนทั้งประเทศ 1.3 แม้ว่าความยากจนส่วนใหญ่เป็นปัญหาความยากจนในชนบทแต่ยังต้องเฝ้า ระวังปัญหาคนจนเมืองเนื่องจากมีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าปัญหาที่ทํากิน ความแห้งแล้ง และความขาดแคลนในด้านปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรตกต่ํานับว่าเป็น ปัจจัยผลัก (push factors) ที่ทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรเข้าสู่เมืองและทํางานในสาขา การผลิต ที่ ผ ลผลิ ต และผลิ ต ภาพต่ํ า โดยเฉพาะในสาขาการก่ อสร้ า งในช่ ว งนอกฤดูก าลทํ า นาซึ่ ง เป็ น การ เคลื่อนย้ายเป็นฤดูกาล รวมทั้งการเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคการค้าและบริการที่ใช้ทักษะต่ําและค่าจ้างแรงงานต่ํา ในขณะเดียวกันก็มีปัจจัยดึง (pull factors) ในเขตเมืองโดยเฉพาะในกรุงเทพและปริมณฑลทั้งบริการ 7
ผู้ที่ไม่มีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจหมายถึงเด็ก คนชรา แม่บา้ น นักเรียน คนพิการไม่สามารถทํางานได้ ผู้มีรายรับจากบําเหน็จบํานาญ.
11 สาธารณะที่มีคุณภาพและเข้าถึงได้มากกว่าและโอกาสในการหางานทําจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ในช่วง 20ปี ที่ผ่านมาสัดส่วนการจ้างงานในภาคเกษตรปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากภาค เกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนเข้าสู่ภาคค้าส่ง ค้าปลีก การก่อสร้าง และภาคบริการอื่น ๆ ส่วนหนึ่งเพราะ เป็นสาขาที่ใช้แรงงานทักษะต่ําประกอบกับ เศรษฐกิจสาขาการค้าปลีก ค้าส่ง โรงแรมและภัตตาคารมีการ ขยายตัวมาก แม้ว่าผลตอบแทนต่อหัวของสาขาเศรษฐกิจดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้นช้ากว่าในภาคอุตสาหกรรม การเงินการธนาคาร และภาคราชการ แต่เมื่อเทียบกับค่าแรงงานในภาคเกษตรแล้วค่าจ้างแรงงานในภาค การค้าและบริการก็ยังคงสูงกว่าในภาคเกษตร นอกจากนั้น แรงงานที่เ คลื่อนย้า ยจากภาคเกษตรนั้น มักจะไม่มีความชํา นาญ เฉพาะด้านจึงทําให้ขาดความยืดหยุน่ และเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมหลายประเภทได้ยาก อาทิ อุตสาหกรรมกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นต้องใช้ทักษะเฉพาะด้านและเป็นทักษะที่สูงกว่า ดังนั้นแม้ว่า แรงงานในภาคบริการจะเพิ่มขึ้นมากแต่ส่วนแบ่งรายได้ก็ยังน้อยเมื่อเทียบกับภาคอุตสาหกรรม การเงินการ ธนาคารและภาคราชการ คาดว่าปัจจัยผลักและปัจจัยดึงดังกล่าวจะยังมีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่นจากชนบทสู่ เมือง ปัญหาคนจนเมืองจึงยังมีความสําคัญ โดยเฉพาะในเรื่องปัญหาที่อยู่อาศัยความแออัดและสุขอนามัย รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมในเมืองที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในชีวิตของคนจนเมือง ทั้งนี้คนจนเมืองนั้น อาจจะทั้งเป็นเหยื่อและผู้ก่อเหตุอาชญากรรมต่าง ๆ เพราะแรงกดดันในการดํารงชีวิตและการขาดระบบเครือ ญาติสนับสนุนได้เช่นกัน ปัญหาเด็กและผู้สูงอายุที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งของการย้ายถิ่นเข้าสู่ เมือง นอกจากนี้ รายได้และมาตรฐานการดํารงชีวิตในเมืองที่สูงกว่ามาตรฐานเฉลี่ยมากก็จะยิ่งเป็นความ แตกต่างระหว่างกลุ่มคนจนกับกลุ่มอื่นในเมืองได้มากและเกิดเป็นความแตกแยกในสังคม การแก้ปัญหาความยากจนเมืองจึงต้องดําเนินการอย่างครบวงจรทั้งปัญหาที่เกิด จากปั จ จั ย ผลั ก และปั จ จั ย ดึ ง เช่ น การลดช่ อ งว่ า งระหว่ า งโอกาส และคุ ณ ภาพบริ ก ารทางสั ง คมและ สาธารณูปโภคในเขตเมืองกับเขตชนบท การเตรียมความพร้อมด้านนโยบายที่อยู่อาศัยและการจัดระเบียบ สังคมในเมือง ภาพที่ 6 สัดส่วนคนจนเขตเมือง (เมื่อวัดจากรายจ่ายเพื่อการบริโภค) จําแนกรายภาค ปี 2545-2553
ภาพที่ 7 สัดส่วนคนจนเขตเชนบท (เมื่อวัดจากรายจ่ายเพื่อการ บริโภค) จําแนกรายภาค ปี 2545-2553
20
30 25 ร้อยละ
ร้อยละ
15 10 5 0 กลาง กทม เหนือ
ทั่วประเทศ
15 10 5
2545
2549
2550
2551
2552
2553
5.01
1.94
2.32
1.66
1.57
1.60
2.24 13.54
ตะวันออกเฉียงเหนือ 11.93 ใต้
20
4.39 6.43
0.51 6.5 8.61 3.94 3.62
1.14 5.9 5.75 4.69 3.35
0.76 6.26 5.8 2.79 2.96
0.86 5.44 6.85 2.07 3.01
0.64 4.41 5.33 1.33 2.57
0
2545
2549
2550
2551
2552
2553
กลาง
8.97
3.94
3.43
3.77
3.03
3.51
เหนือ
22.06
13.31
14.61
15.05
12.67
12.72
ตะวันออกเฉียงเหนือ 25.60
18.46
14.58
16.55
15.18
15.54
ใต้
11.24
6.00
6.28
4.98
5.75
4.09
ทั่วประเทศ
18.93
12.04
10.65
11.54
10.42
10.41
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.
12 ตารางที่ 6 จํานวนคนจน (เมื่อวัดจากรายจ่ายเพื่อการบริโภค) จําแนกตามภาคและเขตพื้นที่ ปี 2545-2553 เขตเมือง(พันคน) เขตชนบท (พันคน) 2545 2549 2550 2551 2552 2553 2545 2549 2550 2551 2552 กรุงเทพมหานคร 145 29 64 42 48 36 กลาง 243 98 119 85 84 92 848 428 377 403 321 เหนือ 318 147 134 155 145 144 1,972 1,263 1,384 1,451 1,205 ตะวันออกเฉียงเหนือ 464 319 216 231 278 264 4,363 3,301 2,614 3,019 2,776 ใต้ 88 85 102 65 52 36 695 387 410 322 370 ทั่วประเทศ 1,257 678 636 577 607 571 7,878 5,379 4,786 5,194 4,672 (ร้อยละ) (13.76) (11.19) (11.73) (10.00) (11.49) (11.24) (86.24) (88.81) (88.27) (90.00) (88.51) ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. ภาค
2553 362 1,143 2,740 261 4,506 (88.76)
ตารางที่ 7 โครงสร้างประชากร รายได้ประจําเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนของประชากร และสัดส่วนคนจน จําแนกตามสถานภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน และเขตพื้นที่ ปี 2552 สถานภาพเศรษฐกิจและสังคม ของครัวเรือน ผู้ถือครองทําการเกษตร - เป็นเจ้าของที่ดิน - เช่าที่ดิน ผู้ทําประมง ป่าไม้ และบริการเกษตร ผู้ดําเนินธุรกิจของตนเองที่ไม่ใช่การเกษตร ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพนักวิชาการและนักบริหาร คนงานเกษตร คนงานทั่วไป เสมียน พนักงาน พนักงานขายและให้บริการ ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต ผู้ไม่ปฏิบัติงานเชิงเศรษฐกิจ รวม
โครงสร้างประชากร (%) เมือง ชนบท รวม 4.9 30.3 22.4 3.9 25.1 18.5 1.0 5.2 3.9 0.8 2.5 1.9 28.8 14.9 19.2 17.5 6.6 10.0 1.2 4.7 3.6 1.0 0.8 0.8 24.6 13.2 16.7 10.0 12.2 11.5 11.2 14.9 13.8 100.0 100.0 100.0
รายได้ประจํา(บาท/คน/เดือน) เมือง ชนบท รวม 5,214 4,082 4,159 5,186 3,968 4,047 5,317 4,638 4,694 3,610 2,510 2,646 9,628 5,991 7,684 17,307 10,815 14,358 3,518 3,022 3,074 4,056 3,014 3,387 7,187 4,850 5,916 5,709 3,789 4,306 9,479 3,806 5,242 9,577 4,736 6,239
สัดส่วนคนจน(%)1 เมือง ชนบท รวม 10.64 14.82 14.54 11.44 15.15 14.91 7.63 13.20 12.74 16.86 29.23 27.70 1.63 3.71 2.75 0.13 1.17 0.60 11.65 14.82 14.49 4.65 7.55 6.52 2.29 4.33 3.40 4.54 7.61 6.78 5.89 15.60 13.14 3.01 10.42 8.12
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.1/ หมายถึง สัดส่วนของคนที่อยู่เมือง (ชนบท) ที่อยู่ในสาขาอาชีพนั้นที่เป็นคนจน
ตารางที่ 8 โครงสร้างประชากร รายได้ประจําเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนของประชากร และโครงสร้างคนจน จําแนกตามสถานภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน และเขตพื้นที่ ปี 2552 สถานภาพเศรษฐกิจและสังคม ของครัวเรือน ผู้ถือครองทําการเกษตร - เป็นเจ้าของที่ดนิ - เช่าที่ดิน ผู้ทําประมง ป่าไม้ และบริการเกษตร ผู้ดําเนินธุรกิจของตนเองที่ไม่ใช่การเกษตร ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพนักวิชาการและนักบริหาร คนงานเกษตร คนงานทั่วไป เสมียน พนักงาน พนักงานขายและให้บริการ ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต ผู้ไม่ปฏิบัติงานเชิงเศรษฐกิจ รวม
โครงสร้างประชากร (%) เมือง ชนบท รวม 4.9 30.3 22.4 3.9 25.1 18.5 1.0 5.2 3.9 0.8 2.5 1.9 28.8 14.9 19.2 17.5 6.6 10.0 1.2 4.7 3.6 1.0 0.8 0.8 24.6 13.2 16.7 10.0 12.2 11.5 11.2 14.9 13.8 100.0 100.0 100.0
รายได้ประจํา(บาท/คน/เดือน) เมือง ชนบท รวม 5,214 4,082 4,159 5,186 3,968 4,047 5,317 4,638 4,694 3,610 2,510 2,646 9,628 5,991 7,684 17,307 10,815 14,358 3,518 3,022 3,074 4,056 3,014 3,387 7,187 4,850 5,916 5,709 3,789 4,306 9,479 3,806 5,242 9,577 4,736 6,239
โครงสร้างคนจน (%)1 เมือง ชนบท รวม 17.3 43. 40.1 14.7 36.6 34.0 2.6 6.5 6.1 4.3 6.9 6.6 15.6 5.3 6.5 0.8 0.7 0.7 4.7 6.6 6.4 1.5 0.6 0.7 18.7 5.5 7.0 15.1 8.9 9.6 22.0 22.3 22.3 100.0 100.0 100.0
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. 1/ หมายถึง สัดส่วนของคนที่อยู่เมือง (ชนบท) ที่อยู่ในสาขาอาชีพนั้นที่เป็นคนจน
13 1.4 จังหวัดที่มีปัญหาความยากจนเรื้อรัง 5จังหวัด ประกอบด้วย แม่ฮ่องสอนศรี สะเกษ นครพนม ตาก และสระแก้ว และกาฬสินธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความหนาแน่นของคนจนสูงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและ ซึ่งเป็นจังหวัด เดียวที่ติด ลํา ดับจังหวัด ที่มีสัด ส่วนคนจนสูงสุด 10 ลําดับแรกตลอดช่วงปี 2545-2553 สะท้อนถึงภาวะความยากจนเรื้อรัง โดยเฉพาะช่วงปี 2549-2553เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด โดยปี 2553สูงถึงร้อยละ 59.8 ของประชากรทั้งจังหวัด นั่น คือเกินกว่า ครึ่งหนึ่งเป็นคนยากจน สาเหตุที่จังหวัด แม่ฮ่องสอนมีปัญหาความยากจนที่รุนแรง เนื่องจากข้อจํากัดเรื่องที่ดินทํากิน พื้นที่ทําการเกษตรมีน้อยและ จํากัด เกษตรกรบางส่วนยังขาดที่ทํากินมีการบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์/ป่าสงวนแห่งชาติทําไร่เลื่อนลอย รวมทั้ง ข้อจํากัดด้านการศึกษาประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงขาดโอกาสในการศึกษาจึงไม่มีความรู้ที่จะใช้ใน การประกอบอาชีพ นอกจากนี้ จากสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาทําให้การคมนาคมขนส่งเป็นไปด้วยความ ยากลําบาก และบริการพื้นฐานของรัฐ (สาธารณสุข ไฟฟ้า น้ําประปา และโทรศัพท์) ไม่สามารถเข้าถึงได้อย่าง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในบางพื้นที่ยังเข้าไปไม่ถึง นอกจากนี้ ยัง มีจัง หวั ด ศรี สะเกษ นครพนม ตาก และสระแก้ ว ที่ติ ด ลํ า ดั บ จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 ลําดับแรกเกือบทุกปี รวมทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ติดลําดับที่ 3 ต่อเนื่องมา ตั้งแต่ปี 2551-2553ซึ่ง 5 จังหวัดดังกล่าวน่าจะจัดได้ว่าเป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาความยากจนเรื้อรังที่ควร เอาใจใส่เป็นพิเศษเช่นเดียวกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตารางที่ 9 จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 ลําดับแรก ในปี 2545- 2553 จังหวัดที่มสี ัดส่วนคนจนสูง (% ของประชากรในจังหวัด) ปี 2545 ปี 2547 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 หนองบัวลําภู ตาก แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน (36.9) (52.5) (65.2) (63.6) (64.9) (59.8) (46.4) 2 ตาก สกลนคร บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ศรีสะเกษ ศรีสะเกษ ศรีสะเกษ (44.2) (34.3) (30.7) (28.7) (38.2) (35.9) (36.1) 3 นราธิวาส สุรินทร์ นราธิวาส บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ กาฬสินธุ์ กาฬสินธุ์ (42.2) (33.4) (27.1) (23.9) (26.5) (27.0) (30.9) 4 สระแก้ว แม่ฮ่องสอน นครพนม น่าน นครพนม นครพนม นครพนม (42.1) (33.4) (26.0) (20.3) (25.0) (25.0) (28.8) 5 สุรินทร์ ชัยภูมิ อุบลราชธานี นราธิวาส เชียงราย บุรีรัมย์ ตาก (38.6) (32.9) (25.1) (20.0) (22.9) (23.2) (28.0) 6 แม่ฮ่องสอน นครพนม สระแก้ว สระแก้ว สระแก้ว นราธิวาส บุรีรัมย์ (33.8) (27.1) (21.7) (19.9) (20.7) (22.8) (20.7) 7 ศรีสะเกษ สระแก้ว ศรีสะเกษ ปัตตานี ปัตตานี ตาก ปัตตานี (33.1) (24.9) (21.2) (19.7) (20.7) (20.7) (18.5) 8 บุรีรัมย์ หนองบัวลําภู ตาก สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปัตตานี สกลนคร (33.1) (24.6) (20.9) (19.6) (20.7) (19.5) (17.8) 9 เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ น่าน สุโขทัย สุรินทร์ ลําปาง สระแก้ว (33.0) (24.6) (19.3) (19.3) (19.5) (18.3) (17.2) 10 ลําปาง มุกดาหาร กาฬสินธุ์ นครพนม ตาก อุตรดิตถ์ ชัยภูมิ (32.7) (23.5) (18.6) (17.9) (18.6) (17.6) (13.8) ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. ลําดับ ที่ 1
14 2) ความยากจนตามกลุ่มวัย:ประชากรวัยเด็กและผู้สูงอายุมีสัด ส่วนคนจนสูงกว่า วัย แรงงาน โดยเฉพาะที่อยู่ในชนบท ประชากรวัยเด็กและผู้สูงอายุมีสัดส่วนคนจนสูงกว่าวัยแรงงานโดยเฉพาะที่อยู่ในชนบท ผู้สูงอายุที่ยากจนคิดเป็นร้อยละ 13.80 ของผู้สูงอายุในชนบททั้งหมด หรือประมาณเกือบ 1 ล้านคน ส่วน ประชากรวัยเด็กที่ยากจนคิดเป็นร้อยละ 12.74 ของประชากรวัยเด็กในชนบททั้งหมด หรือประมาณ 1.3 ล้าน คน และโดยรวมของประเทศเด็กและผู้สูงอายุที่ยากจนมีสัดส่วนร้อยละ 10.2 และ 10.9ตามลําดับ เนื่องด้วย ศักยภาพของผู้สูงอายุและเด็กซึ่งมีความสามารถจํากัดในการทํางานหาเลี้ยงตนเอง จึงเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง ต่อภาวะความยากจน นอกจากนี้ สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาความยากจนใน กลุ่มผู้สูงอายุจึงมีมากขึ้นโดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ยากจนและถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว นอกจากนี้คุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุและเด็กนั้นมีความเสี่ยงจากภัยพิบัติธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงมากกว่า กลุ่มวัยทํางานที่ช่วยเหลือตนเองในภาวะวิกฤตได้ดีกว่า ซึ่งการวางระบบป้องกันภัยพิบัติจะต้องคํานึงผลกระทบ ต่อแต่ละกลุ่มประชากรประกอบด้วย จากข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2553 พบว่า ผู้สูงอายุที่ยากจนและอยู่คนเดียว มีทั้งหมดกว่า 93,000 คน สําหรับเด็กยากจนนั้นจะมีความเสี่ยงทั้งใน เรื่องสุขภาพและคุณภาพการเรียนรู้จึงจะต้องให้การดูแลด้านอาหารและการศึกษาเพื่อให้เติบโตได้เหมาะสม ตามวัยและมีทักษะความรู้เพียงพอที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ในอนาคต จะได้หลุดพ้นจากความยากจน และช่วงวัยสําคัญที่สุดสําหรับการพัฒนาทุนมนุษย์ก็คือการเริ่มต้นในช่วงปฐมวัย 0-5ปี ตารางที่ 10 สัดส่วนและจํานวนคนจน จําแนกตามเขตพื้นที่และตามกลุ่มวัยประชากร ปี 2550–2553 เขตพื้นที่
กลุ่มวัยประชากร
เขตเมือง
วัยเด็ก (ต่าํ กว่า 15 ปี) วัยแรงงาน (15-59 ปี) ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) รวม วัยเด็ก (ต่าํ กว่า 15 ปี) วัยแรงงาน (15-59 ปี) ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) รวม วัยเด็ก (ต่าํ กว่า 15 ปี) วัยแรงงาน (15-59 ปี) ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) รวม
เขตชนบท
ทั่วประเทศ
2550 5.01 2.35 6.39 3.36 12.71 8.54 15.63 10.66 10.87 6.52 13.21 8.49
สัดส่วนคนจน (ร้อยละ) จํานวนคนจน (พันคน) 2551 2552 2553 2550 2551 2552 2553 4.43 4.24 3.72 179.9 162.6 156.8 149.6 2.11 2.25 1.84 305 279.1 307.1 276.6 5.26 5.09 4.6 151 135.7 142.9 144.5 2.96 3.01 2.57 635.9 577.4 606.8 570.7 13.4 12.3 12.74 1,458.40 1,499.10 1,320.90 1,299.20 9.29 8.65 8.61 2,285.20 2,520.20 2,355.80 2,257.30 17.5 14.52 13.8 1,042.20 1,175.20 995.3 949.5 11.54 10.42 10.41 4,785.80 5,194.50 4,672.10 4,506.00 11.18 10.24 10.19 1,638.30 1,661.70 1,477.70 1,448.80 6.94 6.51 6.14 2,590.20 2,799.30 2,662.90 2,533.80 14.1 11.78 10.92 1,193.30 1,310.90 1,138.20 1,094.00 8.95 8.12 7.75 5,421.70 5,771.90 5,278.80 5,076.70
ที่มา : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนสํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดย สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.
3) ความยากจนตามกลุ่มอาชีพ/สาขาการผลิต: คนจนส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตร พิจารณาจากโครงสร้างเศรษฐกิจและแรงงานของประเทศ พบว่า ภาคเกษตรรองรับ แรงงานถึง 14.55ล้านคนหรือร้อยละ 38.24ของผู้มีงานทําทั้งหมดในปี 2553ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมใน ประเทศภาคเกษตรเป็น เพียงร้อยละ 8.3 จึงเป็นปัญหาทั้งความยากจนในภาคเกษตรและความเหลื่อมล้ํา ระหว่างสาขาการผลิต การวิเคราะห์ปัญหาความยากจนตามสถานภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัว เรือน พบว่าคนจนส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนถึงโครงสร้างอาชีพของประชากรที่ส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพหลักด้านการเกษตรแต่รายได้ประจําของครัวเรือนที่ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตรโดยเฉลี่ยต่ํากว่า
15 อาชีพอื่น รายได้จากการเกษตรมักจะไม่สม่ําเสมอขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และเกษตรกรบางส่วนขาด ที่ดินทํากินเป็นของตัวเอง จากปัจจัยและโครงสร้างดังกล่าวประเทศไทยจึงมีปัญหาความยากจนในภาคเกษตร มาอย่างต่อเนื่อง สําหรับประชากรทุกกลุ่มอายุ ในปี 2552สัดส่วนความยากจนในภาคเกษตรมีสูงถึงร้อยละ 15.45เทียบกับสัดส่วนคนจนร้อยละ 5.28สําหรับภาคนอกการเกษตร และเมื่อพิจารณาจากภาพรวมคนจนจํานวน 5.3ล้านคนในปี 2552ก็พบว่าถึงร้อยละ 53.20 อยู่ในภาคการเกษตรในขณะที่อีกร้อยละ 46.80กระจายอยู่ในภาค เศรษฐกิจอื่น ๆ ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนประเภทผู้ดําเนินธุรกิจของตนเองที่ไม่ใช่ การเกษตร คนงานทั่วไป พนักงานขาย และปฏิบัติงานในภาคการผลิตต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากพิจารณา เฉพาะกลุ่มวัยแรงงาน (มีอายุ 15ปีขึ้นไป) ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานตามสาขาการผลิตภาคเกษตรและภาคนอกเกษตร8 พบว่า ในปี 2553ภาคเกษตรมีสัดส่วนคนจนร้อยละ 12.90 ของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในภาคเกษตร ทั้งหมด หรือคนจนผู้ปฏิบัติงานภาคเกษตรมีประมาณ 2.04 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77.4 ของคนจนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งหมด (จํานวน 2.64 ล้านคน)ที่ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตรทั้งผู้ถือครองทําการเกษตรที่เป็น เจ้าของที่ดินหรือเช่าที่ดิน ผู้ทําประมง/ป่าไม้/บริการเกษตร และคนงานเกษตรและอีกร้อยละ 23.6เป็นคนจนที่ อยู่นอกภาคการเกษตรโดยทีม่ ีเกษตรกรยากจนประมาณ 6.6 แสนคนที่ไม่มีที่ดินทํากินเป็นของตนเองซึ่งต้องเช่า ที่ดินและต้องไปรับจ้างผู้อื่นทําการเกษตร ตารางที่ 11 สัดส่วนและจํานวนคนจน(เมื่อวัดจากรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค)จําแนกตามสถานภาพเศรษฐกิจสังคม ของครัวเรือน สถานภาพเศรษฐกิจของครัวเรือน ผู้ถือครองทําการเกษตร - เป็นเจ้าของที่ดิน - เช่าที่ดิน ผู้ทําประมง ป่าไม้ และบริการเกษตร ผู้ดําเนินธุรกิจของตนเองที่ไม่ใช่การเกษตร ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการ และนักบริหาร คนงานเกษตร คนงานทั่วไป เสมียน พนักงาน พนักงานขายและให้บริการ ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต ผู้ไม่ปฏิบัติงานเชิงเศรษฐกิจ ความยากจนเฉลี่ยทั้งประเทศ
สัดส่วนคนจน(ร้อยละ)1/ 2545 2549 2550 23.37 15.76 13.93 22.96 15.69 13.67 25.53 16.05 15.12 14.88 27.80 27.41 4.85 4.11 4.06 0.69 1.36 0.69 38.85 17.39 16.54 23.98 12.21 15.43 6.13 3.32 2.85 14.42 7.83 6.70 19.04 14.47 12.83 14.93 9.55 8.48
2552 14.54 14.91 12.74 27.70 2.75 0.60 14.49 6.52 3.40 6.78 13.14 8.12
จํานวนคนจน (พันคน)2/ 2545 2549 2550 3,489 2,326 2,007 2,889 1,876 1,620 600 450 388 67 348 388 539 490 506 39 79 43 1,639 483 378 239 72 83 503 294 248 1,154 659 574 1,467 1,307 1,196 9,135 6,057 5,422
2552 2,118 1,797 321 351 343 39 339 36 369 507 1,178 5,279
ที่มา : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. 1/ สัดส่วนคนจนในที่นี้เป็นการพิจารณาเฉพาะในแต่ละกลุม่ อาชีพนั้น ๆ เช่น ในกลุ่มที่ถือครองทําการการเกษตรในปี 2552มีผู้ทอี่ ยู่ใต้เส้นความยากจนของ กลุ่มนั้น ๆร้อยละ 14.54 2/ เป็นการคํานวณรวมทุกกลุ่มอายุ
8
ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (Socio-economic survey) ของสํานักงานสถิติแห่งชาติ ทําการสํารวจครอบคลุมด้าน รายได้เพียงเฉพาะปีเว้นปี ซึ่งในปี 2553 ทําการสํารวจที่ครอบคลุมเฉพาะด้านรายจ่าย ดังนั้นการสํารวจที่จาํ แนกตามสถานภาพทางเศรษฐกิจและ สังคมของครัวซึ่งเป็นการสํารวจทุกกลุม่ อายุ จึงไม่มีข้อมูลในปี 2553 การวิเคราะห์ถึงปัญหาความยากจนที่จาํ แนกตามกลุ่มเกษตรและนอกภาค การเกษตรที่ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุจึงมีข้อมูลล่าสุดถึงปี 2552 เท่านั้น สําหรับในปี 2553 นั้นความยากจนในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรใช้ผล การสํารวจที่เป็นสถานะรายบุคคลจําแนกตามประเภทอุตสาหกรรมและเขตพื้นที่เฉพาะประชากรในวัยแรงงาน (15 ปีขึ้นไป)
16
ภาพที่ 8 เปรียบเทียบความยากจน ตามสาขาการผลิตภาคเกษตรและภาคนอกเกษตร (ทุกกลุม่ อายุ) 30
26.51
25 20
15.45
15 ร้อยละ
10 9.48
5
5.28
-
2545
2547
2549
2550
2552
5,195 3,941
3,998 3,021
3,157 2,900
2,773 2,649
2,808 2,471
9,135
7,019
6,057
5,422
5,279
สัดส่วนคนจนภาคเกษตร สัดส่วนคนจนภาคนอกเกษตร
26.51
21.05
16.80
15.31
15.45
9.48
6.88
6.50
5.78
5.28
สัดส่วนคนจนรวม
14.93
11.16
9.55
8.48
8.12
คนจนภาคเกษตร คนจนภาคนอกเกษตร คนจนรวม
พันคน 10,000 9,000 8,000 7,000 6,000 5,000 4,000 3,000 2,000 1,000 -
ที่มา : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช..
ภาพที่ 9 เปรียบเทียบความยากจน ตามสาขาการผลิตภาคเกษตรและภาคนอกเกษตร (เฉพาะผู้ที่ทํางานอายุ 15 ปีขึ้นไป) 25
23.80
20 15 ร้อยละ
3,751
12.90
10 5
2,040
5.17
2.67 596
921 -
2545
2549
2550
2551
2552
2553
คนจนภาคเกษตร คนจนภาคนอกเกษตร
3,751 921
2,351 600
2,126 581
2,283 659
2,149 553
2,040 596
คนจนรวม สัดส่วนคนจนภาคเกษตร
4,671 23.80
2,951 14.98
2,707 13.87
2,942 14.79
2,702 13.80
2,636 12.90
สัดส่วนคนจนภาคนอกเกษตร
5.17
3.00
2.79
3.06
2.56
2.67
สัดส่วนคนจนรวม
พันคน 5,000 4,500 4,000 3,500 3,000 2,500 2,000 1,500 1,000 500 -
13.92 8.27 7.49 7.95 7.26 6.91 ที่มา : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช..
17
100 80 60 40
ภาพที่ 10 โครงสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โครงสร้างแรงงาน และโครงสร้างคนจน จําแนกตามภาคเกษตรและภาคนอกเกษตร (อายุ 15 ปีขึ้นไป) 91.1 91.3 91.2 91.0 90.4 90.1 80.3 80.2 79.7 79.5 78.5 77.6 60.5 60.2 60.2 61.0 60.7 57.5 42.5 39.3 39.8 39.0 39.8 39.5
20 10.0 0
19.7 2545
9.6
19.8
9.0
20.3
2547 2549 % GDP ภาคเกษตร % แรงงานภาคนอกเกษตร
22.4
21.5 8.7
8.8
2550 2551 % GDP ภาคนอกเกษตร % คนจนภาคเกษตร
8.9
91.7 77.4 61.7 38.3 22.6
20.5 8.3
2552 2553 % แรงงานภาคเกษตร % คนจนภาคนอกเกษตร
ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ % คนจนคํานวณจากจํานวนคนจนที่ไม่รวมกลุ่มที่ไม่ได้ปฏิบัติงานเชิงเศรษฐกิจและกลุม่ ทีท่ ํางานในองค์กรระหว่างประเทศ
4) ความยากจนตามระดับการศึกษา: สัดส่วนคนจนลดลงตามระดับการศึกษาที่ สูงขึ้น และรายได้เฉลี่ยของประชากรเพิ่มสูงขึ้นตามระดับการศึกษาที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่จบการศึกษา ระดับปริญญาตรีและสูงกว่า ในขณะที่ผู้ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ํากว่าจะมีโอกาสเป็นคนจนสูง กว่ากลุ่มอื่น ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2552แสดงว่ารายได้เฉลี่ย ของประชากรเพิ่มสูงขึ้นตามระดับการศึกษาที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูง กว่า มีร ายได้ เ ฉลี่ ยสูง กว่า ผู้ที่จ บการศึก ษาระดับ อื่น อย่า งเห็ น ได้ ชัด คนไทยส่ว นใหญ่(ร้ อยละ 62.6) จบ การศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ํากว่าจึงทําให้คนกลุ่มนีเ้ ผชิญกับข้อจํากัดในการสร้างฐานอาชีพจึงมีโอกาสที่ จะเป็นคนจนค่อนข้างสูง นอกจากนี้จากข้อมูลสัดส่วนคนจนได้ชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนคนจนจะลดลงตามระดับ การศึกษาที่สูงขึ้น ผู้ที่มีก ารศึก ษาระดับประถมศึกษาและต่ํากว่า มีโอกาสเป็นคนจนสูง เนื่องจากระดับ การศึกษาเป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างโอกาสการมีงานทําหรือการประกอบอาชีพ ซึ่งจะนําไปสู่การสร้างรายได้ สําหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว ตารางที่ 12 จํานวนและสัดส่วนคนจน (เฉพาะประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป) จําแนกตามระดับการศึกษา ปี 2550-2553 การศึกษาสูงสุด
สัดส่วนคนจน (%) จํานวนคนจน (พันคน) 2550 2551 2552 2553 2550 2551 2552 2553 ไม่เคยเรียน 24.60 26.04 22.03 20.76 716.0 676.2 601.2 547.1 ก่อนประถมศึกษา 12.16 11.15 11.17 11.59 200.1 185.1 181.4 190.3 ประถมศึกษา 10.14 10.88 9.75 9.47 3,418.0 3,668.7 3,240.2 3,132.8 มัธยมต้น 5.24 6.24 6.36 5.63 441.5 541.1 564.4 510.0 มัธยมปลายและอนุปริญญา 2.21 2.12 2.30 2.31 138.4 172.5 200.5 203.9 ปริญญาตรีและสูงกว่า 0.08 0.11 0.31 0.08 3.2 5.1 15.0 4.0 การศึกษาอื่นๆและไม่ทราบ 35.95 28.61 21.80 41.82 4.3 18.4 8.7 18.8 รวม 8.37 8.86 8.01 7.61 4,921.5 5,267.1 4,811.4 4,607.0 ที่มา : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนสํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดย สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคมสศช.
18
ภาพที่ 11 รายได้เฉลี่ยตามระดับการศึกษา ปี 2552 รวม การศึกษาอื่นๆและไม่ทราบ ปริญญาตรีและสูงกว่า มัธยมปลายและอนุปริญญา มัธยมต้น ประถมศึกษา ก่อนประถมศึกษา ไม่เคยเรียน
6,375 6,570 16,603 8,109
-
2,000
4,000
5,955 4,814 4,500 4,094
รายได้เฉลี่ย(บาท/คน/เดือน)
6,000
10,000 12,000 14,000 16,000 18,000
8,000
ที่มา : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. หมายเหตุ : เป็นประชากรตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป
5) ผลการสํารวจปัญหาความยากจน จากการสํารวจครัวเรือนยากจนที่สุดในจังหวัดต่างๆ โดย สศช. ได้แก่ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ ตาก แม่ฮ่องสอน และสระแก้ว และเจาะจงชุมชนตัวอย่างที่มีการพัฒนา ในระดับ 1 (ล้าหลัง) หรือระดับ 2 (ปานกลาง) ตามเกณฑ์พัฒนา กชช. 2 ค โดยให้ผู้นําชุมชนเป็นผู้คัดเลือก ครัวเรือนที่ยากจนทั้งสิ้น 960 ครัวเรือน ในกลุ่มตัวอย่างนี้เมื่อจําแนกตามรายได้พบว่า เป็นครัวเรือนจนมาก ร้อยละ 70 จนร้อยละ 10 เกือบจนร้อยละ 6 และไม่จนร้อยละ 14 ทั้งนี้ ซึ่งในการวิเคราะห์จะรวมเป็นกลุ่ม ยากจนทั้งหมด เนื่องจากยังเป็นกลุ่มที่มีความเป็นอยู่ยากลําบากในชุมชน ซึ่งผลการสํารวจ มีข้อสรุปดังนี้ 5.1) ลักษณะของครัวเรือนยากจน มีดังนี้ - หัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกครัวเรือนยากจนมีปัญหาด้านสุขภาพ หัวหน้า ครัวเรือนเป็นผู้สูงอายุร้อยละ 38.3 และร้อยละ 25.6 มี ตารางที่ 13 รายได้ แหล่งที่มา และการเรียนหนังสือ ร้อยละ ปัญหาสุขภาพด้วย นอกจากนี้ ร้อยละ 47.2 ของครัวเรือน รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือน น้อยกว่า 1,300 บาท 70 ยากจนที่ทําการสํารวจมีสมาชิกในครัวเรือนอย่างน้อย 1 1,301-1,600 บาท 10 6 คนมีโรคประจําตัว ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและ 1,601-1900 บาท มากกว่า 1,900 บาท 14 เบาหวาน และครัวเรือนร้อยละ 13.3 มีสมาชิกเป็นผู้พิการ แหล่งที่มาของรายได้ ร้อยละ เฉลี่ยต่อครัวเรือน (บาท) 3,837.4 - รายได้จากผู้ย้ายถิ่นและเบี้ย รายได้ รับจ้างทั่วไป 37.0 การขายพื ช ผลเกษตร 25.3 ยังชีพเป็นแหล่งรายได้ที่สําคัญ แหล่งรายได้ของครัวเรือน คนในครอบครัวไปทํางานต่างถิ่น 24.1 ยากจนมาจากการรับจ้างร้อยละ37 ขายพืชผลเกษตรร้อย เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุและคนพิการ 8.1 การค้ า ขาย 2.2 ละ25.3 จากคนในครอบครัวไปทํางานต่างถิ่นร้อยละ 24.1 อื่นๆ 3.3 โดยร้อยละ 54.4 ของครัวเรือนมีสมาชิกอย่างน้อย 1 คนไป สมาชิกในครัวเรือนอายุ 6-15 ปี เรียนหนังสือ ร้อยละ 92.2 ทํางานต่างถิ่น และมีร้อยละ 40.9 ส่งเงินมาช่วยครอบครัว ได้ได้เเรีรียยนนบางคน 2.7 เฉลี่ยเดือนละ 1,100 บาท ขณะที่เงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพ ไม่ได้เรียนทุกคน 5.1 สมาชิ ก ในครั ว เรื อ นอายุ 15 ปี ขึ น ้ ไปเรี ย น ร้ อ ยละ ผู้สูงอายุและผู้พิการเป็นสัดส่วนของรายได้ประมาณร้อยละ หนังสือ 67.2 8 ซึ่งถือเป็น แหล่งรายได้สําคัญ ในการช่ว ยบรรเทาความ ได้เรียน ได้เรียนบางคน 6.9 เดือนร้อนในครอบครัว ซึ่งผลการสํารวจพบว่า ผู้สูงอายุที่ ไม่ได้เรียนทุกคน 25.9 ได้รับเบี้ยยังชีพมีร้อยละ 94.8 และผู้พิการได้รับเบี้ยพิการ ที่มา : รายงานผลการสํารวจความคิดเห็นและทัศนคติรายไตรมาส ร้อยละ 80.6 โดยผู้ไม่ได้รับส่วนใหญ่เพิ่งครบรอบวัยผู้สูงอายุและอยู่ระหว่างดําเนินการ
19 - คนจนส่วนใหญ่ได้รับบริการพื้นฐานแต่ยังมีบางกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงทั้ง การดูแลแม่และเด็ก โดยร้อยละ 91 ของหญิงมีครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ ร้อยละ 95.5 ได้รับวัคซีนครบ รวมทั้งเด็กอายุต่ํากว่า 3 ปี ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีร้อยละ 92.5 ขณะที่ยังมีเด็กกลุ่มอายุไม่เกิน 5 ปี และกลุ่ม อายุ 6-12 ปี ขาดสารอาหารร้อยละ 7.8 และ 10.2 ตามลําดับ เด็ก 3-5 ปีในครัวเรือนยากจนได้เข้าเรียนศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กร้อยละ 90.3 อย่างไรก็ตาม มีเด็กอายุ 6-15 ปี ที่ไม่ได้เข้าเรียนร้อยละ 7.8 เนื่องจากไม่มี ค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือใช้ในชีวิตประจําวันและต้องเป็นแรงงานในการหารายได้ให้ครอบครัว ขณะที่ ครัวเรือนที่มีเด็กอายุมากกว่า 15 ปี ได้เรียนต่อทุกคนมีร้อยละ 67 มีบางคนได้เรียนต่อร้อยละ 7 และไม่มีใคร ได้เรียนเลยร้อยละ 26 ซึ่งการไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสังคมที่เป็นพื้นฐานจําเป็นเหล่านี้จะเป็นข้อจํากัดทํา ให้ไม่สามารถหลุดพ้นจากกับดักความยากจนได้ในอนาคต - การเข้าถึงแหล่งเงินทุน พบว่า ครัวเรือนยากจนเป็นหนี้สินร้อยละ 73 ผู้ไม่เป็น หนี้ร้อยละ 34.5 โดยมีสาเหตุจากการที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ การเข้าถึงโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอก ระบบมีเพียงร้อยละ 19 ที่ได้ใช้ประโยชน์ เนื่องจากไม่สามารถทําตามเงื่อนไขที่กําหนดได้ เช่น ขาดคนค้ํา ประกัน ขาดหลักทรัพย์ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีบางครัวเรือนที่ไม่สามารถใช้น้ําประปาหรือไฟฟ้าแม้จะมีการ จัดบริการ เนื่องจากไม่มีเงินวางท่อหรือเดินสายไฟฟ้าได้ เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการของรัฐที่ไม่ใช่สวัสดิการสําหรับ ทุกคนที่มีการเข้าถึงมากที่สุด ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านร้อยละ 52.8 รองลงมาได้แก่ การประกันรายได้เกษตรกร ร้อยละ 40 ป่าชุมชน/แหล่งน้ําสาธารณะร้อยละ 33 และแก้ไขหนี้นอกระบบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ทําการสํารวจ มีความเห็น ว่า โครงการที่ส ามารถช่ว ยบรรเทาความยากจนมากที่ สุด ได้แก่ การประกัน รายได้เ กษตรกร รองลงมาคือ การแก้ไขหนี้นอกระบบ ป่าชุมชน/แหล่งน้ําสาธารณะ และกองทุนหมู่บ้าน 5.2) บทบาทการมีส่วนร่วมและการได้รับประโยชน์จากกิจกรรมและทุนในชุมชนโดย ภาพรวมจากการสํารวจกลุ่มตัวอย่างจํานวน 50 หมู่บ้าน 960 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนยากจนส่วนใหญ่เข้า ร่วมกิจกรรมชุมชนร้อยละ 85.4 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างครัวเรือนยากจนนั้น ครัวเรือนจนมากเข้ามามีส่วน ร่วมน้อยกว่ากลุ่มอื่น ขณะเดียวกันก็ได้รับความช่วยเหลือน้อยกว่ากลุ่มอื่น โดยกิจกรรมต่างๆ และการรวมกลุ่ม ในชุมชนมีดังนี้ - การรวมกลุ่มอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้/ลดต้นทุน มีหมู่บ้านที่ยังมีการรวมกลุ่ม ประกอบอาชีพ 35 หมู่บ้าน จากกลุ่มตัวอย่างจํานวน 50 หมู่บ้านมีทั้งโครงการที่ประสบความสําเร็จ เช่น กลุ่ม เพาะเห็ด กลุ่มเลี้ยงโค ฯลฯ และที่ไม่ประสบความสําเร็จ เช่น กลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้าย ฯลฯ ปัญหาของการดําเนินงานส่วนใหญ่เป็นเรื่องการตลาด การพึ่งพาวัตถุดิบภายนอกทําให้ต้นทุนการผลิตสูง ไม่มี เจ้าหน้าที่คอยดูแลให้คําแนะนํา ไม่มีเงินทุน ขาดการส่งเสริมต่อยอดอาชีพ รายได้น้อยและขาดความต่อเนื่อง โดยคนจนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจหรือเข้าร่วมเพียงช่วงเริ่มต้น เนื่องจากกลุ่มไม่มีการจ่ายเป็นค่าจ้าง รายวันในการทํางาน มีแต่เงินปันผลซึ่งไม่เพียงพอกับรายจ่ายและไม่ทันเวลากับความต้องการใช้จ่าย - การจัด ตั้ งกลุ่ม ออมทรัพย์ มี ชุม ชนที่มี กลุ่ม ออมทรัพ ย์ 31 หมู่ บ้า น โดย ดําเนินงานทั้งที่ทําร่วมกับกองทุนหมู่บ้านซึ่งเป็นการบังคับให้มีการฝากเงินเพื่อเป็นหลักประกันในการกู้เงิน และเป็นกลุ่มออมทรัพย์ซึ่งใช้เป็นแหล่งเงินกู้ของสมาชิก ทั้งนี้ มี 1 แห่งที่จังหวัดศรีสะเกษที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างนิสัยการออมให้กับสมาชิก และให้สมาชิกสามารถกู้ได้ นอกจากนี้ สมาชิกยังมีสวัสดิการต่างๆ เช่น ได้เงิน สงเคราะห์กรณีเสียชีวิต เป็นต้น โดยภาพรวมคนยากจนไม่ค่อยสนใจการออมเนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอกับ รายจ่ายอยู่แล้ว และเนื่องจากเป็นหมู่บ้านและชุมชนยากจน จึงพบว่าไม่มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน
20 - การรวมกลุ่มอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นสวัสดิการ เช่น กลุ่มร้านค้า ทําให้สามารถซื้อ สินค้าได้ในราคาประหยัดและสะดวก กลุ่มธนาคารข้าว/ฉางข้าว/โรงสีข้าว เพื่อช่วยเหลือในการรับฝากข้าวเมื่อ ราคาตก ทําการสีข้าวในราคาถูก รวมทั้งให้กู้ยืมข้าวเพื่อเพาะปลูก/ขาดแคลนข้าวบริโภค และให้ฟรีสําหรับคน จน กลุ่มน้ําดื่มพอเพียงเพื่อแก้ไขปัญหาน้ําดื่มไม่สะอาด ให้ชุมชนบริโภคในราคาถูก ตลอดจนกลุ่มฌาปนกิจ รถ กู้ชีพ ฯลฯ เป็นการทํากิจกรรมตามลักษณะความต้องการและความสามารถในการดําเนินงานของแต่ละชุมชน เป็นโครงการที่ค่อนข้างเป็นประโยชน์ต่อทุกคน รวมถึงคนจนและด้อยโอกาส แม้จะไม่สามารถช่วยให้พ้นจาก ความยากจนแต่ช่วยบรรเทาความยากลําบากและทําให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น - ความพยายามในการช่วยเหลือตัวเองให้หลุดพ้นจากความยากจน ครัวเรือน ยากจนมีความเห็นว่าสามารถหลุดจากความยากจนได้เพียงร้อยละ 46 โดยร้อยละ 70 พยามยามช่วยตัวเองให้ หลุดพ้นจากความยากจนโดยขยันทํางานมากขึ้น ลดรายจ่ายและหาอาชีพใหม่ๆ ครัวเรือนที่คิดว่าตัวเองจนและ จนมากที่พยายามช่วยตัวเองให้หลุดพ้นความยากจนเพียงร้อยละ 63 และ 67 ขณะที่ครัวเรือนคิดว่าตัวเอง เกือบจนกลับมีถงึ ร้อยละ 84 โดยเห็นว่าผู้ที่มีโอกาสหลุดพ้นความยากจนคือ คนที่มีลูกเรียนสูงๆ การมีแหล่งน้ํา ทําการเกษตรตลอดปี มีสมาชิกครัวเรือนในวัยทํางานที่มีความขยันอดทนและไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย - การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในชุมชน ผู้นํา ชุมชนส่ว นใหญ่ที่ทํา การสํา รวจมี ความเห็นว่า ครัวเรือนในชุมชนส่วนใหญ่ยากจน จึงไม่สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันให้คนจนในชุมชน เดียวกันหลุดพ้นความยากจนได้ เพราะทุกครัวเรือนต่างทํามาหากินและดูแลครอบครัวตัวเอง การให้ความ ช่วยเหลือเป็นการบรรเทาความเดือนร้อนซึ่งหากชุมชนมีความเข้มแข็งก็จะสามารถช่วยเหลือกันได้มากยิ่งขึ้น ขณะที่คนจนเองต้องให้ความร่วมมือในการพัฒนาตนเองและประกอบอาชีพ โดยมีภาครัฐให้การสนับสนุนทั้ง งบประมาณและการส่งเสริมอาชีพ จะทําให้คนมีรายได้ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้
บทที่ 2 สถานการณ์ความเหลื่อมล้ําในประเทศไทย สถานการณ์ด้านความเหลื่อมล้ําในสังคมไทย ความเหลื่อมล้ําในสังคมไทยยังเป็นปัญหาสําคัญ ซึ่งสถานการณ์สะท้อนได้ในหลายมิติ ทั้งในมิติของ รายได้และทรัพย์สิน โอกาสการเข้า ถึงบริการสาธารณะที่มีคุณภาพทั้งตามสิทธิพื้น ฐานและโอกาสที่เ ป็น ทางเลื อ ก การเข้ า ถึ ง ทรั พ ยากรที่ เ ป็ น ปั จ จั ย หลั ก ในการประกอบอาชี พ และสร้ า งรายได้ และการเข้ า ถึ ง กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งการเข้าร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ปัญหาความเหลื่อมล้ํา ในสังคมไทยที่กลายเป็นปัญหาสําคัญในปัจจุบันนั้นเป็นผลพวงมาจากปัญหาพื้นฐานหลายด้านที่สั่งสมมานาน ทั้งผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัญหาทางสังคม และการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมในอดีตที่ให้ลําดับความสําคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาทางสังคม ในขณะที่การพัฒนา เศรษฐกิจมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วแต่การพัฒนาคุณภาพคนคุณภาพชีวิตและระบบการคุ้มครองทาง สังคมมีความก้าวหน้าช้ากว่า การพัฒนาเศรษฐกิจเองก็เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและบริการทางการค้าและ การเงินมากกว่าด้านการเกษตรและบริการด้านการศึกษาและสาธารณสุข มูลค่าเพิ่มและผลิตภาพการผลิตภาค เกษตรเพิ่มขึ้นช้ากว่าสาขาการผลิตอื่นมากในขณะที่ครัว เรือนเกษตรเป็นประชาชนส่ว นใหญ่ของประเทศ นอกจากนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจ ในอดีต มักจะกําหนดการขยายตัว เป็น เป้าหมายสํา คัญมากกว่า การสร้า ง เสถียรภาพ การเพิ่มผลิตภาพ และการกระจายผลประโยชน์ของการพัฒ นาอย่างเป็นธรรมให้ควบคู่กันไป นโยบายภาษี มั ก มุ่ ง เน้ น ในการกระตุ้ น เศรษฐกิ จ และการจั ด เก็ บ รายได้ แ ต่ ไ ม่ ค่ อ ยให้ ค วามสํ า คั ญ ในเรื่ อ ง ผลกระทบต่อการกระจายรายได้และการจัดสรรและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผลจากการพัฒนาในอดีต จึงส่งผลให้โครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่สมดุล มีการพึ่งพิงการ ส่งออกในสัดส่วนที่มากขึ้นตามลําดับ การมุ่งเน้นการพัฒนาการส่งออกโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อเร่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Export-led growth)ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่เข้มข้นขึ้นตามลําดับนั้น ทําให้ภาคอุตสาหกรรมมีความก้าวหน้ามากกว่าภาคเกษตรแม้ว่าภาคเกษตรต้องรองรับแรงงานถึงร้อยละ 4050ในช่วงทศวรรษทีผ่ ่านมานอกจากนี้ การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมโดย ที่การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมในประเทศยังล้าหลังโดยที่โอกาสในการเชื่อมต่อเป็นอุตสาหกรรม สนับสนุน (Supporting industries) กับธุรกิจรายใหญ่โดยมีอํานาจการต่อรองที่ดีนั้นยังมีน้อย ช่องว่างระหว่าง ภาคธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยจึงขยายใหญ่ขึ้น นอกจากนั้นความไม่ชัดเจนในเรื่องสิทธิ์การออกเสียงที่กําหนด ภายใต้พระราชบัญญัติการดําเนินธุรกิจของคนต่างด้าวในอดีตก็มีส่วนสําคัญที่ทําให้เกิดการเป็นตัวแทนถือหุ้น ของนักธุรกิจต่างชาติโดยที่อํานาจในการบริหารและสิทธิ์ในการออกเสียงส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของต่างชาติ ในขณะที่กลุ่มทุนอุตสาหกรรมมีอํานาจการต่อรองและมีอิทธิพลต่อการตัดสินเชิงนโยบายของรัฐบาลลักษณะ ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจึงเอื้อต่อกลุ่มเจ้าของทุนมากกว่าเจ้าของแรงงาน ในขณะที่โครงสร้างภาษี รายได้กําหนดช่วงชั้น รายได้ที่ห่างมากและไม่เป็นธรรม มีการพึ่งพิงภาษีทางอ้อมเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าภาษี ทางตรงจึงทําให้เกิดการผลักภาระ และมีโครงสร้างภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อฐานรายได้จากทรัพย์สินและทุน มากกว่าต่อรายได้ที่เป็นเงินเดือนและค่าจ้างในขณะที่การลดหย่อนและการให้ประโยชน์ทางภาษีก็เอื้อต่อกลุ่ม รายได้ระดับบนมากกว่าระดับล่าง ผู้มีรายได้สูงมีช่องทางของการลดหย่อนภาษีมาก นอกจากนี้การบริหาร ราชการแผ่นดินโดยภาคราชการและภาคการเมืองที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดความโปร่งใส และคอรัปชั่น จึงเอื้อ ประโยชน์ต่อบางกลุ่มผลประโยชน์ในสังคม การบังคับใช้ภาษีขาดประสิทธิภาพ มีการหลบเลี่ยงภาษีในรูปแบบ
22 ต่าง ๆ การบังคับใช้กฎหมายในภาพรวมยังขาดประสิทธิผลหรือมีการบังคับใช้กฎหมายในหลายมาตรฐานทําให้ คนบางกลุ่มไม่ ได้รับการคุ้มครอง ขาดโอกาสและเข้าไม่ถึงทรัพยากร ในขณะที่ความล่า ช้าในการกระจาย อํานาจและการขาดการเสริมพลังให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและการบริหารจัดการทรัพยากร ได้อย่างจริงจังส่งผลกระทบต่อสิทธิชุมชนและการจัดสรรทรัพยากรเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงของกลุ่มรากหญ้า และชุมชน การกระจุกตัวของปัจจัยโครงสร้า งพื้นฐานและการรวมศูน ย์ของการบริห ารราชการแผ่นดิน ที่ ส่วนกลางทําให้เศรษฐกิจมีความก้าวหน้าแตกต่างกันมากในระหว่างพื้นที่ ระหว่างภาค และระหว่างเมืองและ ชนบท นอกจากนี้การคุ้มครองทางสังคมก็ยัง ไม่ครอบคลุม ทั่ว ถึง โดยเฉพาะในด้า นคุณภาพนั้น ยัง มีความ แตกต่างกันมากในระหว่างพื้นที่และกลุ่มคนต่างๆ แรงงานที่อยู่นอกภาคทางการและกลุ่มด้อยโอกาสเข้าถึงการ คุ้มครองทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ได้เพียงจํานวนน้อย การวิเคราะห์จากข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน และข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ มีข้อสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์และลักษณะความเหลื่อมล้ําในสังคมไทยในมิตติ ่าง ๆ ในปัจจุบัน ดังนี้ 2.1
ความเหลื่อมล้ําในการกระจายความมั่งคั่ง (Wealth distribution)
ความเหลื่อมล้ําในสังคมไทยนับ ว่ายังเป็นปัญหาที่รุน แรงและก่อให้เกิดความขัดแย้ง ในสังคม ใน ปัจจุบันความมั่งคั่ง (Wealth distribution) มีการกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนจํานวนน้อยโดยเฉพาะในกลุ่มที่ ร่ํารวยที่สุดร้อยละ 10 (Decile 10) โดยสะท้อนให้เห็นทั้งในด้าน 1) รายได้ 2) สินทรัพย์ทางการเงิน (Financial assets) ซึ่งประกอบด้วยเงินออมในบัญชีเงินฝากธนาคาร การถือครองตราสารหนี้ในตลาดตราสาร หนี้ และหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ และ 3) การเป็นเจ้าของที่ดินและทรัพย์สินอื่นๆ (Physical assets) นอกจากนั้นยังมีความเหลื่อมล้ําในมิติอื่น ๆ ทั้งการเข้าถึงบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ การเข้าถึงทรัพยากร การเข้าถึงข้อมูลและข่าวสาร การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม และความเหลื่อมล้ําทางสังคมอื่น ๆ เช่น การกีดกัน/การแบ่งแยกระหว่างเพศ กลุ่มอายุ และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่กลายเป็นข้อจํากัดสําหรับการพัฒนาประเทศให้เต็มศักยภาพ และเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดปัญหาการ กระจายความมั่งคั่งระหว่างกลุ่มประชาชนต่าง ๆ 2.1.1 การกระจายรายได้ :ในช่ วง 20 กว่า ปี ที่ผ่ านมาการกระจายรายได้ ในภาพรวมดี ขึ้ น เล็กน้อยและยังมีช่องว่างระหว่างทุกกลุ่มรายได้อีกมากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคด้านรายได้ (Gini coefficient) อยู่ในระดับ 0.48-0.54 ในช่วงปี 2531-2553ทั้งนี้โดยที่การกระจายรายได้ดีขึ้นเล็กน้อยในปี 2553ค่า สั ม ประสิ ทธิ์ ค วามไม่ เ สมอภาคด้ า นรายได้ ภาพที่ 12 สัดส่วนรายได้ของประชากร ปี 2552 ลดลงจาก0.485ในปี 2552 เป็นประมาณ 0.48ในปี 1.69 2.88 กลุ่ม 10% ที่ 1 (จนที่สุด) 2553และเมื่อวัดจากด้านรายจ่ายสัมประสิทธิ์ความไม่ 3.72 4.61 กลุ่ม 10% ที่ 2 เสมอภาคอยู่ในช่วง 0.39-0.45โดยมีค่าเท่ากับ 0.394 กลุ่ม 10% ที่ 3 5.65 ในปี 2553ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547เป็นต้น กลุ่ม 10% ที่ 4 38.41 6.92 มา อย่า งไรก็ต ามค่า สัมประสิทธิ์ความไม่เ สมอภาค กลุ่ม 10% ที่ 5 กลุ่ม 10% ที่ 6 ด้านรายได้ที่มีประมาณ 0.48นั้นสะท้อนว่าประเทศ 8.73 กลุ่ม 10% ที่ 7 ไทยยังมีปัญหาการกระจายรายได้ในระดับปานกลาง กลุ่ม 10% ที่ 8 11.41 ผลประโยชน์ ส่ ว นใหญ่ จ ากการเจริ ญ เติ บ โตทาง 15.98 กลุ่ม 10% ที่ 9 เศรษฐกิจยังตกอยู่กับคนกลุ่มเล็กๆ โดยเฉพาะกลุ่มคน กลุ่ม 10% ที่ 10 (รวยที่สุด) รวยที่สุด 10% (Decile ที่ 10) เป็นเจ้าของรายได้ถึง 38.41% กลุ่มชั้นรายได้รองลงมาอีก 10% (Decile ที่ 9) เป็นเจ้าของรายได้ร้อยละ 15.98และกลุ่มที่ 8 เป็น
23 เจ้าของรายได้ร้อยละ 11.41 ส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่เหลือเป็นเจ้าของรายได้กลุ่มละไม่ถึง10% โดยเฉพาะกลุ่ม10% ที่1หรือกลุ่มคนจนที่สุดร้อยละ 10ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่อยู่ใต้เส้นความยากจนและกลุ่มเสี่ยง นั้นถือครอง รายได้เพียงร้อยละ 1.69 ของรายได้ทั้งหมด ความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มชั้นรายได้ต่าง ๆ จึงมีมาก ทั้งความแตกต่างของรายได้กลุ่มคนรวยที่สุดกับกลุ่มระดับกลาง และความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มชั้น รายได้ระดับกลางเอง (60% ตรงกลาง) โดยเฉพาะหากเปรียบเทียบรายได้ของกลุ่มคนรวยที่สุดกับกลุ่มคนจน ทีส่ ดุ นั้นห่างกันถึง 22.79 เท่า และเป็นที่น่าสังเกตว่า รายได้เฉลี่ยของกลุ่มรายได้ชั้นที่1หรือคนจนที่สุดถึงกลุ่ม ชั้นที่ 7 มีรายได้เฉลี่ยต่ํากว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําด้าน รายได้จึงควรพิจ ารณาบนพื้นฐานของความแตกต่า งระหว่างกลุ่มชั้นรายได้ต่าง ๆไม่จํากัดอยู่เฉพาะความ แตกต่างระหว่างกลุ่มคนที่มีรายได้สูงสุดกับต่ําสุดเท่านั้น การขยายฐานกลุ่มรายได้ระดับกลางให้กว้างขึ้นโดย การยกระดับกลุ่มรายได้ต่ําให้สูงขึ้นโดยการสนับสนุนการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเป็นธรรม การสร้างโอกาสทาง การศึกษาของบุตรหลาน และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ รวมทั้งการจัด สวัสดิการที่จําเป็นตามสิทธิพื้นฐานให้สามารถส่งถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง และการสนับสนุนของกลุ่ม ระดับกลางที่มีต่อกลุ่มระดับล่างนับ ว่ามีความสําคัญซึ่งกลุ่มระดับกลางส่วนใหญ่มักจะเป็นกลุ่มข้า ราชการ พ่อค้า คนกลาง และผู้ป กครองในระดับท้องถิ่น รวมทั้งกลุ่มธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม การเชื่อมต่อ ระหว่างกลุ่มคนระดับกลางกับระดับล่าง 1) การวัดด้านรายได้: แม้จะไม่ได้มีการสํารวจด้านรายได้ในปี 2553 แต่เครื่องชี้ หลายรายการบ่งชี้ว่าการกระจายรายได้ในปี 2553ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งสะท้อนได้จาก (1) รายได้จากค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น แม้ว่าส่วนแบ่งของรายได้จากค่าจ้างส่วนใหญ่จะตกอยู่กับกลุ่ม 10% รวยที่สุด ที่มีส่วนแบ่งสูงถึงร้อยละ 36.96 ของรายได้จากค่าจ้างทั้งหมด แต่กลุ่ม 10% ที่ 1 (จนที่สุด) กลุ่มชั้นที่ 2 และ กลุ่มชั้นที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย มีส่วนแบ่งของรายได้จากค่าจ้างเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ําด้าน รายได้จากค่าจ้างแรงงานลดลง (2) มีการดําเนินงานที่ต่อเนื่องของโครงการประกันรายได้เกษตรกรซึ่งเป็นการ สร้างความมั่นคงในรายได้ให้กับเกษตรกรรายย่อย(3) การให้สวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการคนละ 500 บาท/คน/เดือน เป็นการกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาสในสังคมที่ส่งผลให้ การกระจายรายได้ดีขึ้น ตารางที่ 14 สัดส่วนรายได้ของประชากร จําแนกตามกลุ่มประชากรตามระดับรายได้ (Decile by Income) กลุ่มประชากร ตามระดับรายได้ กลุ่ม 10% ที1่ (จนที่สุด) กลุ่ม 10% ที2่ กลุ่ม 10% ที3่ กลุ่ม 10% ที4่ กลุ่ม 10% ที5่ กลุ่ม 10% ที6่ กลุ่ม 10% ที7่ กลุ่ม 10% ที8่ กลุ่ม 10% ที9่ กลุ่ม 10% ที1่ 0(รวยที่สุด) รวม
2531 1.78 2.80 3.60 4.45 5.50 6.89 8.84 11.78 17.14 37.23 100.0
2533 1.69 2.60 3.35 4.19 5.19 6.51 8.32 11.18 16.54 40.43 100.0
2535 1.53 2.42 3.13 3.93 4.90 6.20 7.96 10.95 16.54 42.44 100.0
2537 1.59 2.48 3.25 4.10 5.17 6.51 8.39 11.29 16.50 40.72 100.0
สัดส่วนรายได้ของประชากร (ร้อยละ) 2539 2541 2543 2545 1.62 1.68 1.51 1.63 2.56 2.62 2.44 2.59 3.34 3.44 3.22 3.42 4.21 4.31 4.05 4.31 5.26 5.33 5.09 5.36 6.57 6.67 6.41 6.71 8.48 8.48 8.36 8.57 11.42 11.34 11.47 11.50 16.58 16.62 17.05 16.48 39.95 39.51 40.40 39.42 100.0 100.0 100.0 100.0
2547 1.78 2.76 3.58 4.46 5.53 6.87 8.66 11.50 16.41 38.44 100.0
2549 1.34 2.50 3.37 4.29 5.38 6.74 8.62 11.46 16.37 39.92 100.0
2550 1.59 2.70 3.54 4.46 5.53 6.89 8.74 11.47 16.16 38.91 100.0
2552 1.69 2.88 3.72 4.61 5.65 6.92 8.73 11.41 15.98 38.41 100.0
24
ตารางที่ 14 สัดส่วนรายได้ของประชากร จําแนกตามกลุ่มประชากรตามระดับรายได้ (Decile cile by Income) กลุ่มประชากร สัดส่วนรายได้ของประชากร (ร้อยละ) ตามระดับรายได้ 2531 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 2550 2552 สัดส่วนกลุ่มที1่ 0/กลุ่มที1่ 20.91 23.96 27.65 25.62 24.62 23.57 26.80 24.17 21.65 65 29.72 24.42 22.79 (เท่า) ที่มา :ข้ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนสํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชีว้ ัดภาวะ สังคมสศช. : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2549, ปี 2550และปี2552มีมีการบันทึกข้อมูลรายได้ติดลบหรือขาดทุน : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2551และปี 2553ไม่ ไม่มีข้อมูลด้านรายได้ของครัวเรือน รายได้หมายถึง รายได้ประจําที่ไม่ ไม่รวมรายรับอื่นๆ (เช่ เช่น เงินทุนการศึกษา มรดก พินยั กรรม ของขวัญประกันสุขภาพ ประกันภัยและประกันชีวิต/ ประกันสังคม เงินถูกสลาก เงินรางวัลค่านายหน้าและเงินได้จากการพนัน เป็นต้น)
ตารางที่ 15 รายได้เฉลี่ยและการถือครองรายได้ของประชากร จําแนกกลุ่มประชากรตามระดับรายได้ (Decile by income) ปี 2552 กลุ่มประชากร ตามระดับรายได้ กลุม่ 10% ที่ 1 (จนทีส่ ุด) กลุ่ม 10% ที่ 2 กลุ่ม 10% ที่ 3 กลุ่ม 10% ที่ 4 กลุ่ม 10% ที่ 5 กลุ่ม 10% ที่ 6 กลุ่ม 10% ที่ 7 กลุ่ม 10% ที่ 8 กลุ่ม 10% ที่ 9 กลุ่ม 10% ที่ 10 (รวยที่สดุ ) เฉลี่ย
รายได้เฉลี่ย (บาท/คน /คน/เดือน) 1 1,051 1 1,796 2 2,319 2 2,879 3 3,523 4 4,322 5 5,446 7 7,116 9 9,969 23 23,965 6 6,239
ช่วงรายได้
สัดส่วนรายได้ (ร้ร้อยละ) ยละ
- 31,138 - 1,521 1,522 - 2,053 2,053 - 2,589 2,589 - 3,184 3,185 - 3,874 3,874 - 4,814 4,814 - 6,164 6,165 - 8,221 8,221 - 12,404 12,407 - 886,790
1.69 2.88 3.72 4.61 5.65 6.92 8.73 11.41 15.98 38.41
กลุ่มรวยสุดต่อ กลุ่มอืน่ ๆ (เท่า) 22.79 13.34 10.33 8.32 6.8 5.55 4.4 3.37 2.4 1 7.83
ที่มา : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํ มวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. สศช
ภาพที่ 13 สัดส่วนการถือครองรายได้ในช่วงปี 2531-2552
25
ภาพที่ 14 ดัชนีสมั ประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini-coefficient) ของรายได้วัดเป็นรายภาคของประเทศไทย
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครั คมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. สศช : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2549, ปี 2550 และปี 2552 ได้ปรับข้อมูลรายได้ที่มีค่าน้อยกว่าศูนย์ (ขาดทุน) ให้เป็นศูนย์
ตารางที่ 16 สัดส่วนรายได้ ยได้จากค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน และรายได้จากค่าจ้างเฉลี่ยต่อคน ของผู้มีงานทําอายุ 15 ปีขึ้นไป เฉพาะที่มีรายได้เป็นตัวเงิน จําแนกตามกลุ่มผู้มีงานทําตามระดับรายได้ 10 กลุ่ม (Decile) Decile) 15 ! "# 10% 1 (( ) ) "# 10% 2 "# 10% 3 "# 10% 4 "# 10% 5 "# 10% 6 "# 10% 7 "# 10% 8 "# 10% 9 "# 10% 1 0 ( ) ) 1 0/ 1 ( )
( $ %) 2549 1.85 3.67 4.81 5.56 6.21 7.18 8.56 10.83 16.22 35.11 100.0 18.97
2550 1.96 3.69 4.77 5.61 6.14 7.12 8.57 10.66 16.04 35.43 100.0 18.09
2551 2.02 3.70 4.64 5.39 6.05 6.94 8.34 10.26 15.66 37.01 100.0 18.28
2552 2.02 3.71 4.69 5.46 6.12 7.02 8.39 10.33 15.75 36.50 100.0 18.04
2553 2.22 3.85 4.80 5.34 6.07 6.87 8.15 10.12 15.62 36.96 100.0 16.66
& (* / / +$ ) 2549 1,468 2,914 3,808 4,410 4,926 5,692 6,784 8,590 12,869 27,826 7,930
2550 1,623 3,053 3,950 4,648 5,085 5,898 7,093 8,828 13,283 29,333 8,279
2551 1,827 3,334 4,187 4,857 5,458 6,256 7,526 9,257 14,120 33,374 9,020
2552 1,809 3,317 4,200 4,874 5,470 6,270 7,503 9,231 14,082 32,622 8,938
2553 2,133 3,696 4,608 5,135 5,838 6,596 7,826 9,728 15,000 35,509 9,607
ที่มา : การสํารวจภาวะการทํางานของประชากร ไตรมาส 3 (กรกฎาคม-กันยายน) สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. สศช
2) ความเหลื่อมล้ําด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชน: ในช่วง 20 กว่าปีทีท่ีผ่านช่ น องว่างด้านชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทีที่วัดจากรายจ่ายเพื่อการ อุปโภคบริโภคดีขึ้นบ้างและมีช่ชอ่ งว่างที่แคบกว่าด้านรายได้การใช้จ่จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็ ภค นสิ่งที่สะท้อน มาตรฐานการดํารงชีวิตและสวัสดิการของประชาชนโดยตรง าร ในสังคมไทยมีคนจนประมาณ 5.1 ล้านคน (ร้อย ละ 7.75 ของจํานวนประชากรทั้งหมด) หมด ซึ่งเป็นผู้ที่มีมีระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่ํากว่าเส้นความ ยากจนหรือเป็นผู้ที่ได้ ได้รับสารอาหารและสินค้าอื่น ๆ ที่เป็นสิ่งจําเป็นพื้นฐานต่อการดํารงชีวิตในปริมาณที่ไม่ เพียงพอ และยังมีกลุ่มที่เรียกว่า “เกื เกือบจน” บจน คือมีระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคสูงกว่าระดั ระ บมาตรฐาน ขั้นต่ําในการดํารงชีวิตหรือสูงกว่าระดับเส้นความยากจนไม่เกินร้อยละ 20 นั้นมีอยู่ถึง 4.9 ล้านคน (ร้อยละ 7.55 ของจํานวนประชากรทั้งหมด)) ซึ่งกลุ่ม “คนจน”และ “เกือบจน” เป็นกลุ่มคนที่มีมาตรฐานการดํารงชีวิต ที่ด้อยกว่าคนอื่นๆในสังคม
26 ในช่ ว ง 20 กว่ า ปี ที่ ผ่ า นมาคุ ณ ภาพชี วิ ต โดยเฉลี่ ย ของประชาชนดี ขึ้ น ตาม ความก้า วหน้าของการพัฒ นา ความเหลื่อมล้ําด้านชีวิต ความเป็น อยู่ของประชาชนมีช่องว่า งลดลงบ้างค่า สั ม ประสิ ท ธิ์ ค วามไม่ เ สมอภาคด้ า นรายจ่ า ยเพื่ อ การ ภาพที่ 15 สัดส่วนรายจ่ายของประชากร ปี 2553 อุปโภคบริโภค (Gini coefficient) อยู่ในระดับ 0.392.80 3.96 กลุ่ม 10% ที่ 1 (จ่ายน้อยสุด) 4.82 0.45 ในช่วงปี 2531-2553 โดยมีค่าเท่ากับ 0.439ในปี กลุ่ม 10% ที่ 2 5.68 กลุ่ม 10% ที่ 3 2531และมีค่าลดลงเหลือเท่ากับ 0.394ในปี 2553 และ 30.99 กลุ่ม 10% ที่ 4 มีความรุนแรงน้อยกว่าความเหลื่อมล้ําด้านรายได้ (ค่า 6.70 กลุ่ม 10% ที่ 5 สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคด้านรายได้เท่ากับ 0.485 7.92 กลุ่ม 10% ที่ 6 ในปี 2552 และคาดว่าน่าจะอยู่ในระดับประมาณ 0.48 กลุ่ม 10% ที่ 7 9.58 15.68 กลุ่ม 10% ที่ 8 ในปี 2553)ทั้งนี้เนื่องจากในด้านรายจ่ายนั้นประชาชน 11.87 กลุ่ม 10% ที่ 9 บางส่วนมีการก่อหนี้ทั้งในระบบและหนี้สินนอกระบบ กลุ่ม 10% ที่ 10 (จ่ายมากสุด) เพื่อนํามาใช้จ่ายได้โดยเฉพาะในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ํา ทั้งนี้ความเหลื่อมล้ําด้านชีวิตความเป็นอยู่ ระหว่างกลุ่มชั้นที่ 10 ที่ใช้จ่ายสูงสุด (Decile ที่ 10) กับกลุ่มชั้นที่ 1 ที่ใช้จ่ายต่ําสุด (Decile ที่ 1) ต่างกันถึง 11.08 เท่า ตารางที่ 17 สัดส่วนรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชากร จําแนกกลุ่มประชากรตามระดับรายจ่าย (Decile by Expenditure) กลุ่มประชากร ตามระดับรายจ่าย กลุ่ม 10% ที่ 1 (จ่ายน้อยสุด) กลุ่ม 10% ที่ 2 กลุ่ม 10% ที่ 3 กลุ่ม 10% ที่ 4 กลุ่ม 10% ที่ 5 กลุ่ม 10% ที่ 6 กลุม่ 10% ที่ 7 กลุ่ม 10% ที่ 8 กลุ่ม 10% ที่ 9 กลุ่ม 10% ที1่ 0 (จ่ายมากสุด) รวม สัดส่วนกลุ่มที1่ 0/ กลุม่ ที1่ (เท่า)
2531
2533
2535
2537
2.53
2.49
2.39
2.5
สัดส่วนรายจ่ายของประชากร (ร้อยละ) 2539 2541 2543 2545 2547 2.52
2.73
2.56
2.65
2.56
2549
2550
2552
2553
2.52
2.76
2.8
2.8
3.55 3.51 3.35 3.55 3.57 3.76 3.59 3.68 3.61 3.61 3.88 3.91 3.96 4.31 4.28 4.15 4.33 4.4 4.57 4.37 4.52 4.43 4.49 4.73 4.74 4.82 5.13 5.08 4.99 5.14 5.27 5.44 5.23 5.4 5.33 5.39 5.62 5.63 5.68 6.09 6.02 5.98 6.11 6.22 6.43 6.23 6.41 6.34 6.45 6.68 6.66 6.7 7.3 7.23 7.23 7.34 7.38 7.73 7.42 7.64 7.6 7.73 7.92 7.94 7.92 8.99 8.85 8.86 9.05 9.11 9.43 9.11 9.3 9.26 9.4 9.56 9.58 9.58 11.41 11.25 11.38 11.39 11.47 11.87 11.76 11.63 11.5 11.76 11.92 11.89 11.87 15.5 15.62 15.68 15.56 15.75 16.08 16.04 15.67 15.43 15.92 15.88 15.8 15.68 35.18 35.66 35.98 35.03 34.31 31.97 33.69 33.11 33.95 32.73 31.05 31.04 30.99 100
100
100
100
13.89 14.31 15.03 14.02
100
100
100
100
100
100
100
100
100
13.6 11.72 13.17 12.51 13.26 12.98 11.24 11.07
11.1
ที่มา : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. รายจ่ายหมายถึง ค่าใช้จา่ ยอุปโภคบริโภคไม่รวมค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค(เช่นภาษี เงินบริจาคเงินทําบุญ ค่าเบี้ยประกัน สลากกินแบ่ง ดอกเบี้ยแชร์)
27 ตารางที่ 18 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยและการถือครองรายจ่ายฯของประชากร จําแนกกลุ่มประชากรตามระดับรายจ่ายฯ (decile by Expenditure) ปี 2553 กลุ่มประชากร รายจ่ายเฉลีย่ สัดส่วนรายจ่าย(ร้อย กลุ่มรวยสุด/กลุ่ม ช่วงรายจ่าย ตามระดับรายจ่าย (บาท/คน/เดือน) ละ) (เท่า) กลุ่ม 10% ที1่ (จ่ายน้อยสุด) 1,289 372.4-1,604.5 2.80 11.08 กลุ่ม 10% ที2่ 1,824 1,604.7-2,026.0 3.96 7.83 กลุ่ม 10% ที3่ 2,218 2,026.1-2,416.5 4.82 6.43 กลุ่ม 10% ที4่ 2,615 2,416.8-2,827.4 5.68 5.46 กลุ่ม 10% ที5่ 3,082 2,827.4-3,348.2 6.70 4.63 กลุ่ม 10% ที6่ 3,649 3,348.3-3,987.8 7.92 3.91 กลุ่ม 10% ที7่ 4,411 3,987.9-4,879.0 9.58 3.23 กลุ่ม 10% ที8่ 5,465 4,880.2-6,148.3 11.87 2.61 กลุ่ม 10% ที9่ 7,221 6,148.3-8,667.7 15.68 1.98 กลุ่ม 10% ที1่ 0 (จ่ายมากสุด) 14,272 8,668.1-247,798.3 30.99 1.00 เฉลี่ย 4,605 4.82 ที่มา :ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนสํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคมสศช.
3) ความเหลื่อมล้ําด้านสินทรัพย์ทางการเงิน:สินทรัพย์ทางการเงินกระจุกตัวอยู่ใน คนกลุ่มน้อยในขณะที่โอกาสของการเข้าถึงบริการสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินของธุรกิจขนาดเล็กและผู้ มีรายได้น้อยยังมีจํากัดเงินออมในบัญชีเงินฝากธนาคารกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนจํานวนน้อยเช่นกัน เงินออมที่ เป็นเงินฝากบัญชีธนาคารประมาณร้อยละ 40 นั้นอยู่ในบัญชีที่มีขนาด 10 ล้านบาทขึ้นไปจํานวน 73,253 บัญชี หรือคิดเป็นจํานวนบัญชีเพียงร้อยละ 0.092 ของจํานวนบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจํา ทั้งหมด ในขณะที่บัญชีเงินฝากขนาดเล็กซึ่งมีจํานวนบัญชีเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.9 ของจํานวนบัญชีเงินฝาก ทั้งหมดนั้นคิดเป็นจํานวนเงินฝากอีกร้อยละ 60 ดังนั้นการให้ผลประโยชน์ทางภาษีด้านเงินฝากจึงต้องยึดหลัก ของลักษณะการกระจายของฐานเงินฝากประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบด้วย9 สําหรับเงินลงทุนที่มีอยู่ใน ตลาดตราสารหนี้และตลาดหลักทรัพย์นั้นส่วนใหญ่เป็นของกลุ่มคนจํานวนไม่มากและลักษณะการออกตราสาร ทางการเงินและและตราสารทุนนั้นมักจะเป็นข้อจํากัดที่ทําให้ผู้มีเงินน้อยไม่สามารถถือครองได้หรือสามารถถือ ครองได้เพียงส่วนเล็กน้อย10ดังนั้นผลประโยชน์ด้านผลตอบแทนการลงทุนในตราสารทางการเงิน เงินปันผล และภาษีจากส่วนเพิ่มของทุนหรือภาษีส่วนต่าง/ส่วนเพิ่มของราคาทรัพย์สิน (Capital gain tax) ส่วนใหญ่จึง มักจะตกอยู่กับผู้ออมรายใหญ่มากกว่ารายย่อย นอกจากนั้นการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นการออมที่ให้น้ําหนัก มากสํ า หรั บ การออมระยะยาวที่ เ ป็ น วงเงิ น สู ง เช่ น กรณี ข องการลงทุ น กั บ กองทุ น รวมเพื่ อ การเลี้ ย งชี พ (Retirement Mutual Fund: RMF)และการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund: LTF)นั้นเป็นผลประโยชน์ทางภาษีที่กระจุกตัวในกลุ่มรายได้สูง นอกจากนั้นมูลค่าหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นในตลาด หุ้นก็เป็นผลประโยชน์ของคนกลุ่มเล็กๆ เป็นสําคัญ ภายในกลุ่มธุรกิจเองก็นับว่ามีความเหลื่อมล้ําสูง จะเห็นว่า รายได้ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่ม 20% บนสุด (วัดจาก market value) นั้นสูงถึงร้อย ละ 80-85 ในช่วงปี 2547-2551 ในขณะที่รายได้ของกลุ่มล่างสุด 20% คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 1% ซึ่งความ แตกต่างด้านขนาดและรายได้ภายในกลุ่มธุรกิจเองนั้นสะท้อนกับการกระจายรายได้บุคคลธรรมดาที่อยู่ภายใน
9 10
ในปัจจุบันเงินฝากบัญชีฝากประจําระยะเวลาต่าง ๆ ชําระภาษีร้อยละ 15 บางส่วนเป็นเงินก้อนเดียวกันกับเงินฝากในสถาบันการเงิน ในปัจจุบันยังไม่จําแนกข้อมูลตามขนาด ownership ของพันธบัตร/ตราสารหนี้ได้
28 กลุ่ม 30% รวยที่สุดนั่นเอง ซึ่งภายในกลุ่มนี้ก็มีความแตกต่างกันมาก11 ดังนั้นการบังคับใช้กฎหมายการป้องกัน การผูกขาดทางการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องมีความโปร่งใสและเข้มงวด เช่นเดียวกับการเคารพสิทธิ และปฏิบัติต่อแรงงานอย่า งเป็น ธรรม การประกอบธุร กิจ ด้ว ยความเป็น ธรรม และมีความรับ ผิด ชอบต่อ ผู้บริโภคที่เหมาะสม รวมทั้งการกํากับดูแลของภาครัฐให้ภาคธุรกิจเอกชนดําเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนา องค์กร/การกํากับดูแลกิจการที่ดี/การจัดทํารายงานด้านสังคม ผลกระทบด้านสุขภาพ/และสิ่งแวดล้อม/ มาตรฐานการดําเนินธุรกิจที่ดีตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ สําหรับบริษัทจดทะเบียน ในขณะที่ภาค ธุรกิจเอกชนเองก็ต้องมีความตื่นตัวในการรับผิดชอบต่อสังคมและการคืนกําไรสู่สังคม (Corporate social responsibility และ Social enterprises) ภาพที่ 16
4) การถือครองที่ดินและทรัพย์สินอื่นๆ ก็มีความกระจุกตัวมากเช่นกันทั้งนี้ข้อมูลจาก ภาพที่ 17 การกระจายการถือครองที่ดิน สํานักงานที่ดิน 399 แห่ง แสดงว่าบุคคลธรรมดาที่ถือครองที่ดิน แปลงขนาดเกิน 100 ไร่มีเพียง 4,613 ราย โดยที่ในจํานวนนี้มี เพีย ง 121 รายที่ถือครองที่ดิน 500-999 ไร่ และอีกเพียง 113 รายที่ถือครองที่ดินเกินกว่า 1,000 ไร่ สําหรับกลุ่มนิติบุคคลที่ถือ ครองที่ดินตั้งแต่ 100 ไร่ขึ้นไปนั้นมีจํานวน 2,205 ราย โดยที่ 100 ราย ถือครองที่ดินจํานวน 500-999 ไร่ และมีเพียง 42 รายที่ถือ 11
โดยเฉพาะกลุ่มคนรวยที่สุด 10% สุดท้ายนั้นเป็นเจ้าของรายได้ถึง 38.41% กลุ่มรองลงมา (Decile ที่ 9) เป็นเจ้าของรายได้ร้อยละ 15.98 และ กลุ่ม decile ที่ 8 เป็นเจ้าของรายได้ร้อยละ 11.41
29 ครองที่ดินเกินกว่า 1,000 ไร่ เมื่อพิจารณาสัดส่วนเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน (ไร่/แปลง) โดยใช้ข้อมูล เอกสารสิทธิ์ รวมโฉนด น.ส.3ก. และ น.ส.3จากสํานักงานที่ดิน 399 แห่ง พบว่า ร้อยละ 94.4 ของเอกสาร สิทธ์ทั้งหมด มีการถือครองที่ดิน น้อยกว่า 14 ไร่/แปลง ในขณะที่ประมาณร้อยละ 0.03 ของเอกสารสิทธิ์ ทั้งหมด มีการถือครองที่ดินมากกว่า 100 ไร่/แปลงในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณ 21 ล้านคน และนิติ บุคคลประมาณ 1 ล้านรายที่ถือครองที่ดินไม่เกิน 4 ไร่ต่อรายโดยมีโฉนด ในขณะที่คนจนจํานวนมากไม่มีที่ดิน ทํากินและไม่มีเอกสารสิทธิโดยข้อมูลจากศูนย์อํานวยการต่อสู้เอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ในปี 2547 รายงานว่ามีผู้ไม่มีที่ดินทํากินจํานวน 889,022 ราย มีที่ดินทํากินแต่ไม่เพียงพอ จํานวน 517,263 ราย มีที่ดิน แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ 811,279 ราย นอกจากนั้นเกษตรกรในชนบทส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาการอยู่อาศัยและ ทํากินในพื้นที่ของรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและถูกจับกุมดําเนินคดีในข้อหาบุกรุที่ดินของรัฐและเอกชนอย่าง ไม่เป็นธรรม โดยข้อมูล ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553 มีเกษตรกรถูกดําเนินคดีและถูกคุมขังอยู่ในเรือนจําหรือ สภาพที่ต้องขังแล้ว 836 ราย ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ดิน คนจนที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีและที่ยัง ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมีเป็นจํานวนหลายแสนครอบครัว นอกจากนั้นผลการศึกษาโดยมูลนิธิสถาบันที่ดิน ยังพบว่าที่ดินที่มีการครอบครองโดย ประชาชนทั่วไปมี 120ล้านไร่ ซึ่งมากกว่าร้อยละ 90ของจานวนนี้กระจุกตัวอยู่ในมือของคนเพียงร้อยละ 10 หรือประมาณ 6ล้านคนสอดคล้องกับผลศึกษาของโครงการวิจัยนโยบายและมาตรการการคลังเพื่อความเป็น ธรรมในการกระจายรายได้12 ที่พบว่า เจ้าของที่ดิน 50 รายแรก จาก 1.46 ล้านราย ถือครองที่ดินร้อยละ 10 ของที่ดินในกรุงเทพมหานครทั้งหมดและการวิจัยของมูลนิธิสถาบันที่ดินพบว่าร้อยละ 70ของที่ดินที่มีการถือ ครองในประเทศไทยถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ หรือใช้ ประโยชน์ไม่ถึงร้อยละ 50แสดงให้เห็นว่ามีคนจํานวนหนึ่งในสังคมไทยถือครองที่ดินจานวนมาก โดยไม่ได้ นํามาใช้ประโยชน์ หากแต่เก็บที่ดินไว้เพื่อเก็งกําไร จึงเป็นความสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจและเป็นข้อจํากัดต่อ กลุ่มคนระดับล่างและกลางเข้าถึงที่ดินได้ ดังนั้นการเร่งการบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เข้มงวดและสะท้อนโครงสร้าง การถือครองที่ดินรวมทั้งลักษณะการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างแท้จริงนั้นจะเป็นผลกระทบที่เป็นการเสีย ผลประโยชน์เฉพาะต่อประชาชนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น ผลประโยชน์ที่รัฐบาลได้รับจากภาษีนั้นแม้จะเป็นจํานวน ไม่มากและไม่เป็นสัดส่วนที่สําคัญของรายได้ภาษีรวมแต่จะช่วยลดแรงกดดันต่อราคาที่ดินและช่วยให้ผู้มีรายได้ น้อยมีโอกาสในการถือครองที่ดินได้ดีขึ้น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการ กระจายการถือครองที่ดินอันเป็นทรัพยากรสําคัญสําหรับการสร้างโอกาสทางอาชีพสําหรับคนจน และเป็น เครื่องมือที่ผลักดันให้การจัดสรรและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากขึ้น
12
ดวงมณี เลาวกุล, โครงการวิจัยนโยบายมาตรการการคลังเพือ่ ความเป็นธรรมในการกระจายรายได้
30
ภาพที่ 18 ความเหลื่อมล้ําอันเนือ่ งมาจากโอกาสการเข้าถึงทรัพยากร
ภาพที่ 19 สัดส่วนของการถือครองที่ดิน 50 อันดับแรกต่อพื้นที่ที่สามารถถือครองทั้งหมดใน 8 จังหวัด ปี 2552
การกระจุกตัวของการถือครองรายได้และสินทรัพย์ในปัจจุบันเป็นโครงสร้างที่เป็น ความเสี่ ยงที่จ ะยิ่ งทํ า ให้ป ระชาชนมี ค วามแตกต่ า งในด้า นรายได้ ม ากขึ้น ได้ ใ นอนาคตอั น เนื่อ งมาจาก ผลตอบแทนจากการทรัพย์สิน ที่ดิน และผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทางการเงินต่าง ๆ หากโครงสร้างภาษียัง เอื้อประโยชน์ต่อรายได้ที่เป็นฐานทรัพย์สินและทุน นอกจากนั้น ปัญหาความเหลื่อมล้ําดังกล่าวเป็นอุปสรรค สําคัญต่อการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน กลุ่มคนที่มีโอกาสและเข้าถึง บริการสาธารณะและทรัพยากรได้มากกว่าก็จะมีศักยภาพในการที่จะตักตวงผลประโยชน์และได้รับผลพวงจาก
31 การดําเนินนโยบายได้มากกว่า13 โดยเฉพาะในกรณีที่นโยบายเศรษฐกิจมุ่งเน้นการขยายตัวในระดับมหภาคโดย ขาดองค์ประกอบนโยบายในระดับจุลภาคและการกําหนดกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม ดังนั้นการดําเนินนโยบาย ทางเศรษฐกิจจึงยังขาดประสิทธิผลในการลดปัญหาความยากจนในเชิงโครงสร้างให้คืบหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ความเหลื่อมล้ําทางด้านรายได้และโอกาสก็จะมากขึ้นได้ในช่วงที่เศรษฐกิจสาขาที่ใช้ทุนเป็นหลัก ขยายตัวสูงและเป็นสาขานําในภาพรวมของเศรษฐกิจ ในปัจจุบันแม้ว่าปัญหาความยากจนด้านรายได้และ รายจ่ายที่ใช้เส้นความยากจนเป็นเส้นแบ่งนั้นจะลดลงตามลําดับและลดความรุนแรงลงมากในช่วง 30 ปีที่ผ่าน มา แต่ความยากจนทางรายได้ส่วนหนึ่งนั้นเป็นความยากจนเชิงโครงสร้าง (Structural poverty) ที่เกิดจาก ความเหลื่อมล้ําเชิงโครงสร้าง (Structural inequalities) ประกอบด้วย การขาดโอกาสและเข้าไม่ถึงสิทธิ์ พื้นฐานอันพึงมีพึงได้ การขาดระบบการคุ้มครองสิทธิที่เหมาะสม (จากระบบการค้า การจ้างงาน และความ ไม่เป็นธรรมอื่นๆ) และการเข้าไม่ถึงบริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม รวมทั้งการขาดระบบการ คุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมทั่วถึง ปัญหาความยากจนด้านโอกาสและสิทธินั้นจะทําให้กลุ่มเสี่ยงและด้อย โอกาส (กลุ่มเกือบจน และกลุ่มคนจน) ขาดภูมิคุ้มกันจากผลกระทบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติต่างๆ และเข้าสู่ภาวะความยากจน หรือความยากจนที่รุนแรงขึ้น ปัญหาความเหลื่อม ล้ําในการเข้าถึงทรัพยากร การคุ้มครอง โอกาส และบริการสาธารณะที่มีคุณภาพก็จะยิ่งซ้ําเติมให้ปัญหาความ ยากจนในเชิงโครงสร้างและที่มีลักษณะเรื้อรังรุนแรงขึ้นได้ในระยะยาว 2.2
ความเหลื่อมล้ําด้านการเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ
2.2.1 โอกาสในการเข้าถึงบริการด้านการศึกษา: มีความแตกต่างกันมากโดยเฉพาะในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป จึงส่งผลให้โอกาสในการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้มีความแตกต่างกันมาก และ เป็นความเสี่ยงที่จะทําให้คนจนติดกับดักความจนจากรุ่นสู่รุ่น 1) ในภาพรวมของประชากรทั้งประเทศการเข้าเรียนในระดับภาคบังคับเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการเข้าเรียนลดลงตามลําดับระดับการศึกษาที่สูงขึ้นตามลําดับ รัฐบาลได้กําหนด การศึกษาภาคบังคับเป็น 12 ปี เพื่อยกระดับการเรียนรู้ของเด็ก ตามพระราชบัญญัติการศึกษา ปี 2542 โดยไม่ เก็บค่าเล่าเรียนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นมา ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษา จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มขึ้นมาก โดยปี 2553 มีอัตราเข้าเรียนอย่างหยาบ (Gross Enrollment Rate)14 ในระดับประถมศึกษาถึงร้อยละ 102.56 และในระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 89.1และอัตราการเข้าเรียนสุทธิหรือ ของเฉพาะประชากรในวัยนั้น ๆ อยู่ที่ร้อยละ 85.72และร้อยละ 69.6ตามลําดับอย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่ระดับ การศึกษาที่สูงขึ้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (รวม ปวช.) และระดับอุดมศึกษา (รวม ปวส.) อัตราการเข้าเรียนของ ประชากรในวัยนั้น ๆ ลดลงเป็นเพียงร้อยละ 56.42และ 13.53ตามลําดับนอกจากนี้การขยายโอกาสการศึกษา แก่เด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการเรียนฟรีตั้งแต่ชั้นก่อนประถมศึกษาจนถึงปริญญาตรี เพิ่มขึ้น ทําให้มีเด็กพิการ และเด็กพิเศษด้านต่างๆ ได้เข้าถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.2 ล้านคน เรียนต่อระดับปริญญาตรีสูงขึ้นเป็น 4,562 คน รวมทั้งขยายโอกาสทางการศึกษาแก่คนส่วนใหญ่ที่อยู่นอกระบบโรงเรียนทําให้มีจํานวนผู้เรียนนอก ระบบโรงเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 5.6 ล้านคน ในปี 2552
13
ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ําเชิงโครงสร้างสูงนั้นความยืดหยุ่นของการแก้ลดความยากจนต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(growth elasticity of poverty reduction)จะต่ํา และการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําเชิงโครงสร้างต้องดําเนินการเป็นลําดับความสําคัญแรก 14 สัดส่วนจํานวนนักเรียนในระดับชั้นเรียนนั้น ๆ ต่อจํานวนประชากรวัยเรียนในวัยสําหรับชั้นเรียน/ระดับการศึกษานั้น ๆ ในกรณีที่มีนักเรียนที่เข้า เรียนเร็วกว่ากําหนดหรือช้ากว่ากําหนดค่า Gross Enrolment Rate จะมีค่าเกินร้อยละ 100
32 2) โอกาสในการเข้าศึกษามีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มโดยเฉพาะตั้งแต่ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไปซึ่งสะท้อนจากอัตราเข้าเรียนอย่างหยาบ(Gross Enrollment Rate)และอัตรา การเข้าเรียนสุทธิ โดยกลุ่มประชากรกลุ่มยากจนที่สุด (ร้อยละ 10 แรกหรือ Decile ที่1)หรือกลุ่มที่มีฐานะ ความเป็นอยู่ด้อยที่สุดนั้นมีโอกาสได้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพียงร้อยละ 53.30และอัตราการเรียน สุทธิเท่ากับร้อยละ 37.94สําหรับคนจนซึ่งมีชีวิตความเป็นอยู่ต่ํากว่าระดับมาตรฐานการดํารงชีวิตขั้นต่ําหรือต่ํา กว่าเส้นความยากจนสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้เพียงร้อยละ 49.31 เท่านั้น ทั้งนี้ สัดส่วนของประชากรที่สามารถเข้าเรียนได้หรือเข้าถึงการศึกษาจะเพิ่มขึ้นตามกลุ่มประชากรที่มีฐานะความ เป็นอยู่ดีขึ้นตามลําดับ โดยที่กลุ่มประชากรที่มีฐานะความเป็นอยู่ดีที่สุดร้อยละ 10 (Decile ที่10)มีโอกาสเข้า เรียนเข้าถึงการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ร้อยละ 98.05และเมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มประชากรที่อยู่ ในวัยอุดมศึกษาหรืออัตราการเข้าเรียนสุทธิมีร้อยละ 71.28ในปี 2553 ในระดับอุดมศึกษาประชาชนมีโอกาสได้เข้าเรียนในสัดส่วนที่น้อยลงมาเป็นเฉลี่ย เพียงร้อยละ 24.16 ของกลุ่มประชากรวัยอุดมศึกษาและในจํานวนนี้เป็นคนจนเพียงจํานวนน้อยโดยที่ใน กลุ่มรายได้สูงสุดนั้นอัตราการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา (อย่างหยาบ) ร้อยละ 90.40และอัตราการเข้าเรียน สุทธิเท่ากับร้อยละ 45.54ในขณะที่กลุ่มที่ประชากรในกลุ่มชั้นรายได้อื่น ๆ นั้นอัตราการเข้าเรียนมีเพียงไม่ถึง ครึ่ง โดยเฉพาะในระดับชั้นรายได้ที 4ลงมา (Decile ที่ 1-4) อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบต่ํากว่าร้อยละ 10 แต่หากพิจารณาจากอัตราการเรียนสุทธิ พบว่าต่ํากว่าร้อยละ 10สําหรับชั้นรายได้ Decile ที่ 1-6โดยที่อัตรา การเข้า เรี ย นของคนจนในระดั บ อุด มศึ ก ษาทั้ ง ที่เ ป็ น อั ต ราหยาบและสุ ท ธิ มี เ พี ย งร้ อยละ 1.32และ 1.06 ตามลําดับ 15
ตารางที่ 19 อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบและอัตราการเข้าเรียนสุทธิ ในแต่ละระดับชัน้ ปี 2550-2553 ระดับการศึกษา อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมต้น มัธยมปลาย (รวม ปวช.) อุดมศึกษา(รวม ปวส.)
อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบ 2550 2551 2552 2553 25.49 90.26 93.50 94.84 105.79 105.48 105.17 102.56 87.54 87.11 86.91 89.10 77.23 77.23 80.46 79.34 23.65 24.28 25.36 24.16
2550 N.A. 87.96 67.54 55.53 12.30
อัตราการเข้าเรียนสุทธิ 2551 2552 62.98 65.50 87.67 86.96 67.67 68.01 54.47 56.72 12.83 12.80
2553 64.78 85.72 69.59 56.42 13.53
ที่มา :ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนสํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคมสศช. หมายเหตุ : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับอนุบาล = จํานวนนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาทั้งหมด คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 3-5ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับอนุบาล = จํานวนนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาอายุ 3-5ปี คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 3-5ปี : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับประถมศึกษา = จํานวนนักเรียนระดับประถมศึกษาทั้งหมด คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 6-11ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับประถมศึกษา = จํานวนนักเรียนระดับประถมศึกษาอายุ 6-11ปี คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 6-11ปี : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับมัธยมต้น = จํานวนนักเรียนระดับมัธยมต้นทั้งหมด คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 12-14ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมต้น = จํานวนนักเรียนระดับมัธยมต้นอายุ 12-14ปี คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 12-14ปี : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับมัธยมปลาย (รวม ปวช.) = จํานวนนักเรียนระดับมัธยมปลายและปวช.ทั้งหมด คูณ 100หารประชากรอายุ 15-17ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมปลาย (รวมปวช.) = จํานวนนักเรียนระดับมัธยมปลายและปวช.อายุ 15-17ปี คูณ 100หารประชากรอายุ 15-17ปี : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับอุดมศึกษา (รวม ปวส.) = จํานวนนักเรียนระดับปริญญาตรีและปวส.ทั้งหมด คูณ 100หาร ประชากรอายุ 18-21ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับอุดมศึกษา (รวม ปวส.) = จํานวนนักเรียนระดับปริญญาตรีและปวส..อายุ 18-21ปี คูณ 100หารประชากรอายุ 18-21ปี 15
หากสะท้อนจากอัตราเข้าเรียนสุทธิ (Net Enrollment Rate) ซึ่งเป็นการเข้าเรียนตามอายุปกติ(18-21 ปี)ที่ควรจะเรียนอยู่ในระดับอุดมศึกษา แล้ว พบว่าสัดส่วนจะลดลงเกือบครึ่งหนึง่ ของอัตราเข้าเรียนอย่างหยาบ นั่นคือมีเพียงร้อยละ 13.50
33 ตารางที่ 20 อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบและอัตราการเข้าเรียนสุทธิ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (รวม ปวช.) จําแนกตามกลุ่มประชากรตามระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค (decile) ปี 2550-2553 กลุ่มประชากรตามระดับรายจ่าย 10% ที่ 1 จ่ายน้อยสุด 10% ที่ 2 10% ที่ 3 10% ที่ 4 10% ที่ 5 10% ที่ 6 10% ที่ 7 10% ที่ 8 10% ที่ 9 10% ที่ 10 จ่ายมากสุด รวม
อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบ 2550 2551 2552 39.23 41.08 51.21 60.13 61.42 67.37 68.56 71.81 71.31 68.77 70.19 81.49 75.92 74.59 74.56 89.61 83.01 83.22 81.14 80.18 88 86.33 88.52 96.16 101.8 98.1 98.11 101.4 110.52 99.05 77.23 77.23 80.46
2553 53.3 60.77 71.04 71.41 80.63 76.72 89.12 95.79 101.22 98.05 79.34
2550 30.77 45.01 48.48 48.63 57.03 59.47 58.66 62.11 70.25 75.61 55.53
อัตราการเข้าเรียนสุทธิ 2551 2552 31.33 36.42 43.73 45.52 49.06 51.41 46.82 55.01 53.21 52.24 55.37 59.38 59.84 61.01 62.72 69.78 69.02 70.25 79.25 71.12 54.47 56.72
2553 37.94 41.1 51.44 51.44 58.49 56.94 57.95 67.84 73.09 71.28 56.42
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ,ประมวลผลโดย สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. หมายเหตุ : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับมัธยมปลาย=จํานวนนักเรียนระดับมัธยมปลายทั้งหมดคูณ100หารจํานวนประชากรอายุ 15-17 ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมปลาย=จํานวนนักเรียนระดับมัธยมปลายอายุ 15-17 ปี คูณ 100 หาร จํานวนประชากรอายุ 15-17 ปี
ตารางที่ 21 อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบและอัตราการเข้าเรียนสุทธิ ในระดับระดับอุดมศึกษา (รวม ปวส.) จําแนกตามกลุ่มประชากรตามระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค (decile) ปี 2550-2553 กลุ่มประชากรตามระดับรายจ่าย 10% ที่ 1 จ่ายน้อยสุด 10% ที่ 2 10% ที่ 3 10% ที่ 4 10% ที่ 5 10% ที่ 6 10% ที่ 7 10% ที่ 8 10% ที่ 9 10% ที่ 10 จ่ายมากสุด รวม
อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบ 2550 0.87 2.32 4.37 4.37 8.05 14.08 14.38 31.7 41.21 93.78 23.65
2551 1.01 4.6 5.69 8.15 6.22 15.03 25.15 30.81 43.5 88.31 24.28
2552 0.77 5.85 4.24 6.69 13.09 15.92 21.59 34.05 47.26 85.88 25.36
อัตราการเข้าเรียนสุทธิ 2553 1.32 2.41 3.05 9.14 13.1 13.16 18.24 31.19 51 90.4 24.16
2550 0.58 1.26 2.4 3.1 4.42 7.51 5.87 16.46 21.7 48.97 12.3
2551 0.85 3.07 3.18 3.67 2.89 7.44 12.92 16.24 22.12 48.98 12.83
2552 0.07 2.46 1.72 2.34 5.57 6.72 12.08 16.75 24.71 45.85 12.8
2553 1.06 1.16 2.33 5.57 8.48 7.77 10.56 18.81 28.46 45.54 13.53
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ,ประมวลผลโดย สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. หมายเหตุ : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับอุดมศึกษา (รวม ปวส.) = จํานวนนักเรียนระดับปริญญาตรีและ ปวส.ทั้งหมด คูณ 100 หาร จํานวนประชากรอายุ 18-21 ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับอุดมศึกษา (รวม ปวส.) = จํานวนนักเรียนระดับปริญญาตรีและ ปวส..อายุ 18-21 ปี คูณ 100 หาร จํานวนประชากรอายุ 18-21 ปี
3) โอกาสการเข้าศึกษามีความแตกต่างกันในระหว่างภูมิภาคโดยเฉพาะการศึกษาใน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป ในระดับประถมศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับอัตราการเข้าเรียนของ ประชากรร้อยละ 102.56โดยที่อัตราการเข้าเรียนสุทธิหรือของประชากรในช่วงวัยนั้น ๆ เท่ากับร้อยละ 85.70 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูง และเป็นอัตราที่ไม่แตกต่างกันมากในระหว่างภูมิภาค แต่เริ่มมีความแตกต่างระหว่างภูมิภาค ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป โดยแตกต่างระหว่างภาคมากที่สุดในระดับอุดมศึกษา โดยประชากร
34 กรุงเทพมหานครมีโอกาสเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษานี้สูงสุดถึงร้อยละ 56.10 (อัตราอย่างหยาบ) และอัตรา สุทธิเท่ากับร้อยละ 34.82 ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าเรียนในระดับนี้เพียงร้อยละ 17.20(อัตราอย่าง หยาบ) และร้อยละ 8.54(อัตราสุทธิซึ่งเป็นการเข้าเรียนตามอายุปกติ 18-21 ปี)ต่ํากว่าในพื้นที่กรุงเทพและ ปริมณฑลถึง 3 เท่า เช่นเดียวกับภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ซึ่งต่ํากว่ากรุงเทพประมาณ2 เท่า โอกาส เข้ า ศึ ก ษาในระดับ อุ ด มศึก ษาที่ แ ตกต่ า งกั น มากระหว่ า งพื้ น ที่ นั้ น มี ส าเหตุ ทั้ งจากฐานะทางเศรษฐกิ จ ของ ครอบครั ว ที่ แ ตกต่ า งกั น ระหว่ า งพื้ น ที่ แ ละการกระจุ ก ตั ว ของสถาบั น การศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษาใน กรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่ ๆ ที่เป็นศูนย์กลางความเจริญในแต่ละภูมิภาค ประกอบกับนักศึกษาที่มี ภูมิลําเนาที่ไม่ใช่จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องที่พักอาศัย เพิ่มเติมนอกเหนือจากค่าเล่าเรียนที่ปกติก็สูงอยู่แล้ว ดังนั้นจึงทําให้จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรใน กรุงเทพสูงสุดคือเฉลี่ย 10.4 ปี และภาคเหนือต่ําสุดเฉลี่ย 7.5 ปี ในขณะที่ปัญหาการเข้าถึงการศึกษาในชนบท เนื่องจากการไม่ส่งบุตรหลานเข้าเรียน ปัญหาทางเศรษฐกิจ การย้ายตามครอบครัวไปประกอบอาชีพอื่นๆ และ ระบบส่งต่อเด็กนักเรียนขาดประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยในเมืองสูงกว่าชนบทคือ 9.0 ปี และ 6.7 ปี ตามลําดับ ตารางที่ 22 อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบและอัตราการเข้าเรียนสุทธิ ในแต่ละระดับชัน้ จําแนกตามภาค ปี 2553 อนุบาล ภาค
อัตราอย่าง หยาบ กทม. 78.00 กลาง 85.70 เหนือ 101.10 ตะวันออกเฉียงเหนือ 100.40 ใต้ 96.00 รวม 94.84
ประถม
อัตรา อัตราอย่าง สุทธิ หยาบ 60.20 102.20 64.60 104.00 69.20 102.60 62.90 100.90 66.70 104.80 64.00 102.56
มัธยมต้น
อัตรา อัตราอย่าง สุทธิ หยาบ 87.20 88.30 87.60 91.40 85.60 87.10 84.10 92.40 86.90 79.40 85.70 89.09
อัตรา สุทธิ 71.20 72.20 69.20 71.10 61.50 69.50
มัธยมปลาย อุดมศึกษา (รวม ปวช.) (รวม ปวส.) อัตราอย่าง อัตรา อัตราอย่าง อัตรา หยาบ สุทธิ หยาบ สุทธิ 93.90 67.40 55.66 34.82 78.00 57.30 22.22 13.47 83.80 57.10 19.88 10.45 76.80 54.70 17.19 8.54 76.20 53.50 20.98 9.68 79.34 56.40 24.16 13.53
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิตแิ ห่งชาติ,ประมวลผลโดย สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชีว้ ัดภาวะสังคม สศช. หมายเหตุ : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับอนุบาล = จํานวนนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาทั้งหมด คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 3-5ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับอนุบาล = จํานวนนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาอายุ 3-5ปี คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 3-5ปี : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับประถมศึกษา = จํานวนนักเรียนระดับประถมศึกษาทั้งหมด คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 6-11ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับประถมศึกษา= จํานวนนักเรียนระดับประถมศึกษาอายุ 6-11ปี คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 6-11ปี : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับมัธยมต้น = จํานวนนักเรียนระดับมัธยมต้นทั้งหมด คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 12-14ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมต้น = จํานวนนักเรียนระดับมัธยมต้นอายุ 12-14ปี คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 12-14ปี : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับมัธยมปลาย (รวม ปวช.) = จํานวนนักเรียนระดับมัธยมปลายและปวช.ทัง้ หมด คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 15-17ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมปลาย (รวม ปวช.) = จํานวนนักเรียนระดับมัธยมปลายและปวช.อายุ 15-17ปี คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 15-17ปี : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับอุดมศึกษา (รวม ปวส.) = จํานวนนักเรียนระดับปริญญาตรีและปวส.ทั้งหมด คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 18-21ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับอุดมศึกษา (รวม ปวส.) = จํานวนนักเรียนระดับปริญญาตรีและปวส..อายุ 18-21ปี คูณ 100หาร จํานวนประชากรอายุ 18-21ปี
35 ตารางที่ 23 จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ย จําแนกตามภูมิภาคและ เขตปกครอง ภาค/เขตปกครอง
ปี 2552 กทม. 10.4 กลาง 8.1 เหนือ 7.5 ตะวันออกเฉียงเหนือ 7.9 ใต้ 8.1 ในเขตเทศบาล 9.0 นอกเขตเทศบาล 6.7 ที่มา : ปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรไทย ปี 2552 สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
4) การเข้าถึงการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษายังมีความเหลื่อม ล้ําระหว่างประชากรในเขตเมืองกับชนบท การเข้าถึงการศึกษาโดยสะท้อนจากอัตราเข้าเรียนอย่างหยาบ (Gross Enrollment Rate) ในปี 2553 พบว่า ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (รวม ปวช.) ประชากรในเขต เมืองเข้าถึงการศึกษาในระดับนี้สูงถึงร้อยละ 90.08 ขณะที่ประชากรในเขตชนบทเข้าถึงเพียงร้อยละ 74.15 โดยผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีสามารถเข้าถึงในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่อยู่ในครัวเรือนยากจนทั้งที่ อยู่ในเขตเมืองและอยู่ในเขตชนบท โดยคนจนที่มีชีวิตความเป็นอยู่ต่ํากว่าระดับมาตรฐานการดํารงชีวิตขั้นต่ํา หรือต่ํากว่าเส้นความยากจนสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้เพียงร้อยละ 50.26 ในเขต เมือง และร้อยละ 49.17ในเขตชนบท ส่วนคนที่มีชีวิตความเป็นอยู่สูงกว่าระดับมาตรฐานการดํารงชีวิตขั้นต่ํา จนถึงมีฐานะดี สามารถเข้าถึงการศึกษาระดับนี้ได้สูงถึงร้อยละ 91.24 ในเขตเมือง และร้อยละ 76.71 ในเขต ชนบท สําหรับการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (รวม ปวส.) มีโอกาสที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดย ประชากรในเขตเมืองเข้าถึงการศึกษาในระดับนี้สูงถึงร้อยละ 38.89 ขณะที่ประชากรในเขตชนบทเข้าถึงเพียง ร้อยละ 14.49 โดยผู้ที่มีโอกาสเข้าศึกษาส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่ในระดับที่สูงกว่าระดับมาตรฐานการ ดํารงชีวิตขั้นต่ําหรือสูงกว่าเส้นความยากจน ส่วนคนจนในเมืองสามารถเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาได้เพียงร้อย ละ 2.09 ในเขตเมือง และร้อยละ 0.62 สําหรับกลุ่มที่อยู่ในเขตชนบท ตารางที่ 24 อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบและอัตราการเข้าเรียนสุทธิในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(รวม ปวช.) จําแนกตามเขตพื้นที่และความยากจน ปี 2551-2553 เมือง
2551 ชนบท
รวม
ไม่ยากจน ยากจน รวม
87.33 38.57 85.98
77.71 41.99 73.88
80.54 41.69 77.23
ไม่ยากจน ยากจน รวม
61.43 28.52 60.52
54.25 34.74 52.16
56.36 34.18 54.47
ความยากจน
2552 เมือง ชนบท รวม อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบ 83.99 82.74 83.14 40.95 51.15 50.02 82.74 79.44 80.46 อัตราเข้าเรียนสุทธิ 61.87 56.97 58.56 30.54 36.48 35.82 60.96 54.83 56.72
เมือง
2553 ชนบท
รวม
91.24 50.26 90.08
76.71 49.17 74.15
81.66 49.31 79.34
63.94 34.50 63.11
54.97 35.83 53.20
58.03 35.66 56.42
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิตแิ ห่งชาติ,ประมวลผลโดย สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชีว้ ัดภาวะสังคม สศช. หมายเหตุ : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับมัธยมปลาย (รวม ปวช.) = จํานวนนักเรียนระดับมัธยมปลายและปวช.ทั้งหมด คูณ 100หารประชากรอายุ 15-17ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมปลาย (รวม ปวช.) = จํานวนนักเรียนระดับมัธยมปลายและปวช.อายุ 15-17ปี คูณ 100หาร ประชากรอายุ 15-17ปี
36 ตารางที่ 24 อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบและอัตราการเข้าเรียนสุทธิในระดับอุดมศึกษา (รวม ปวส.) จําแนกตามเขตพืน้ ที่และความยากจน ปี 2551-2553 ความยากจน
เมือง
2551 ชนบท
รวม
ไม่ยากจน ยากจน รวม
43.50 4.94 42.87
15.52 0.76 14.43
25.69 1.20 24.28
ไม่ยากจน ยากจน รวม
24.85 3.03 24.49
7.02 0.76 6.56
13.50 1.00 12.83
2552 เมือง ชนบท รวม อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบ 46.87 14.98 26.98 0.76 1.00 0.97 45.89 13.78 25.36 อัตราเข้าเรียนสุทธิ 26.26 6.03 13.64 0.76 0.09 25.72 5.51 12.80
เมือง
2553 ชนบท
รวม
39.54 2.09 38.89
15.85 0.43 14.49
25.66 0.62 24.16
22.95 1.55 22.58
8.29 0.43 7.60
14.36 0.55 13.53
ที่มา : การสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิตแิ ห่งชาติ,ประมวลผลโดย สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชีว้ ัดภาวะสังคม สศช. หมายเหตุ : อัตราเข้าเรียนอย่างหยาบระดับอุดมศึกษา(รวม ปวส.) = จํานวนนักเรียนระดับอุดมศึกษาและปวส.ทั้งหมด คูณ 100หารประชากรอายุ 18-21ปี : อัตราเข้าเรียนสุทธิระดับอุดมศึกษา(รวม ปวส.) = จํานวนนักเรียนระดับอุดมศึกษาและปวส.อายุ 18-21ปี คูณ 100หาร ประชากรอายุ 18-21ปี
5) ความแตกต่างด้านคุณภาพการศึกษาในระหว่างพื้นที่แม้ว่าคนไทยมีการศึกษาโดย เฉลี่ยสูงขึ้น จากการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี แต่คุณภาพการศึกษาที่ สะท้อนจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ํามาโดยตลอด จะเห็นว่า จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย ที่มีอายุ 15-59 ปี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 8.6 ปีในปี 2548 เป็น 9.0 ปีในปี 2553นอกจากนี้ การขยาย โอกาสทางการศึกษาที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้อัตราส่วนนักเรียนที่เข้าเรียนในระบบโรงเรียนต่อประชากรในกลุ่ม อายุ 3-17 ปี ในทุกระดับชั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 84.02 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 87.99 ในปี 2553แต่ในด้านคุณภาพที่สะท้อนด้วยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าภาพรวมโดยเฉลี่ยของประเทศยังต่ําและมี ความแตกต่างระหว่างภูมิภาคอย่างชัดเจนทั้งนีก้ ารประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาหลักทุกภูมิภาคได้ไม่ถึงร้อยละ 50 โดยที่ นั ก เรี ย นในกรุ ง เทพมหานครและปริ ม ณฑลมี ค ะแนนเฉลี่ ย สู งสุ ด ในทุ ก สาขาวิ ช า ในขณะที่ ภ าค ตะวันออกเฉียงเหนือมีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบ (ONET)ในชั้นมัธยมต่ําที่สุด โดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษนั้นมีความแตกต่างระหว่างภาคมากนอกจากนี้ จากการประเมินศักยภาพด้านการอ่านและ คณิ ต ศาสตร์ ยั ง พบว่ า นั ก เรี ย นที่ อ ยู่ ใ นเขตเมื อ งและโรงเรี ย นขนาดใหญ่ จ ะมี ศั ก ยภาพด้ า นการอ่ า นและ คณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนในชนบทและโรงเรียนขนาดเล็กทั้งนี้อาจจะเกิดจากปัญหาการขาดแคลนครูความ พร้อมด้านทรัพยากรการเรียนและมาตรฐานของสถานศึกษาซึ่งจากผลการศึกษาปัจจัยทางโรงเรียนกับคุณภาพ การเรียนรู้ของสถาบันส่งเสริมการสอนคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พบว่า มีปัญหาการขาดแคลนครูใน ทุกภูมิภาคโดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลนมากที่สุด ขณะที่กรุงเทพและปริมณฑลขาดแคลนครูน้อย ที่สุด ส่วนความพร้อมด้านทรัพยากรการเรียน พบว่า มีเพียงกรุงเทพและปริมณฑลที่ไม่ขาดแคลน ขณะที่ภาค ตะวั น ออกเฉี ย งเหนือ ขาดแคลนรุ น แรงมากที่สุ ด สํ า หรับ ผลการประเมิน ในส่ว นของสถานศึก ษา พบว่ า สถานศึกษาที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ยังมีสัดส่วนค่อนข้างต่ํา แม้ว่าสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้มาตรฐานตาม เกณฑ์การประเมินรอบสอง (ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2553) ของสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษาจะเพิ่มขึ้นสองเท่าเป็นร้อยละ 77.01แต่ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนในภาคกลาง นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาคุณภาพด้านการศึกษาที่พิจารณาจากความสอดคล้องของ คุณสมบัติของผู้ที่จบการศึกษากับความต้องการของตลาดและการมีองค์ความรู้พื้นฐานที่จําเป็นสามารถต่อยอด ด้วยการกบรมเพื่อการฝึกทักษะในระดับสูงขึ้นไปก็นับว่ายังมีปัญหาและนับว่าเป็นการปรับตัวด้านการพัฒนา การศึกษาที่ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีความต้องการแรงงานทักษะวิชาชีพ เพิ่มขึ้น (ปัจจุบันสัดส่วนของนักเรียนสายสามัญต่อนักเรียนสายอาชีพอยู่ที่ 55:45 ในขณะที่ความต้องการใน
37 ตลาดเป็ น ประมาณ 70:30) เช่ น เดีย วกั บ วิ ช าชีพ ระดับ สู ง ในหลายแขนงวิ ช าของสาขาวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ วิศวกรรมศาสตร์ยังขาดแคลนในขณะที่ผู้จบการศึกษาด้านสังคมศาสตร์มีเกินความต้องการในตลาดและต้องไป ทํางานตําระดับซึ่งเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงในหลายมิติ ทั้งจากการพัฒนาคุณภาพครู(บุคลากรทางการศึกษา) คุณภาพของสถาบันการศึกษาและพัฒนาทักษะ คุณภาพของระบบการศึกษาและพัฒนาทักษะ การบริหาร จัดการด้านการศึกษารวมถึงการกระจายอํานาจด้านการศึกษา รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (เอกชน ชุมชน) ที่ยังมีน้อยและขาดการขยายผลจากต้นแบบที่ประสบความสําเร็จ คุณภาพของแหล่งความรู้ อื่นๆ เช่น วัด ชุมชน และการเชื่อมโยงทุนทางสังคมยังมีน้อย ตารางที่ 25 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (คะแนนผลการสอบวิชาหลัก) ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2549–2553 วิชา/ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีท3ี่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มัธยมศึกษาปีท6ี่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา
2549
2550
42.74 43.77 37.34 43.17
36.58 38.87 34.51 49.57
43.94 31.15 30.85 39.34 41.68
48.05 34.70 28.68 35.21 41.75
50.33 29.56 32.37 34.88 37.94
50.70 32.49 30.93 34.62 37.76
2551 (ร้อยละ) 42.02 47.54 38.67 51.68 (ร้อยละ) 41.04 32.64 34.56 39.39 41.37 (ร้อยละ) 46.50 36.08 30.68 33.70 34.72
2552
2553
38.58 43.75 37.77 38.67
31.22 34.85 20.99 41.56
35.35 26.05 22.54 29.16 39.70
42.80 24.18 16.19 29.17 40.85
46.47 28.56 23.98 29.04 36.00
42.61 14.99 19.22 30.90 46.51
ที่มา: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ตารางที่ 26 ศักยภาพด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ จําแนกตามเมืองชนบท และขนาดโรงเรียน การอ่าน เมือง ชนบท ขนาดโรงเรียนตั้งแต่ 1,500 คนขึ้นไป ขนาดโรงเรียนต่ํากว่า 1,500 คน
2543 445.28 414.58 462.47 413.57
2549 437.23 393.64 439.0 394.69
คณิตศาสตร์ 2543 2549 444.84 434.5 418.40 397.41 463.59 439.62 415.78 394.71
ที่มา : เควิน แม็คโดนอล และคณะ “บทสรุปเบื้องต้นการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) ในประเทศไทย ฉบับแก้ไข 14 เมษายน 2552
38 ตารางที่ 27 สัดส่วนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านการประเมินคุณภาพ จําแนกตามภูมิภาค (ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2554) ภาค กลาง ตะวันตก ตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้ เฉลี่ยทัง้ ประเทศ
รอบแรก (พ.ศ.2543-48) 50.97 43.94 41 34 31.29 29.58 36.21
รอบสอง (พ.ศ. 2549-53) 81.62 71.45 79.38 79.18 72.35 72.89 77.01
ที่มา : สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช หมายเหตุ : 1. การประเมินรอบแรก จํานวนสถานศึกษาพื้นฐานทั้งหมด 30,010 แห่ง 2.การประเมินรอบสอง จํานวนสถานศึกษาพื้นฐานทั้งหมด 34,161 แห่ง
ตารางที่ 28 ดัชนีการขาดแคลนครูและความพร้อมด้านทรัพยากรการเรียน ภาค
ดัชนีการขาดแคลนครู 0.27 0.56 0.64 0.75 0.89 0.96 0.31 0.38 0.82
กทม.และปริมณฑล กลาง เหนือบน เหนือล่าง อีสานบน อีสานล่าง ใต้ ตะวันออก ตะวันตก
ดัชนีความพร้อมทรัพยากรการเรียน 0.19 -0.36 -0.69 -0.10 -1.07 -1.28 -0.54 0.38 -0.67
ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ตารางที่ 29 ผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้น ป.6, ม.3 และ ม.6 ปีการศึกษา 2553 วิชาหลัก
กรุงเทพ และ ปริมณฑล
ประถมศึกษาปีที่ 6 ภาษาไทย 33.51 ภาษาอังกฤษ 23.78 คณิตศาสตร์ 38.32 วิทยาศาสตร์ 45.37 สังคมศึกษา 50.11 มัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาษาไทย 45.49 ภาษาอังกฤษ 21.01 คณิตศาสตร์ 27.13 วิทยาศาสตร์ 30.92 สังคมศึกษา 45.30 มัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาษาไทย 49.34 ภาษาอังกฤษ 27.68 คณิตศาสตร์ 21.49 วิทยาศาสตร์ 35.18 สังคมศึกษา 50.27 ที่มา: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
กลาง
คะแนนเฉลี่ย ตะวันออก เหนือ เฉียงเหนือ
ใต้
31.13 19.52 35.13 41.44 47.82
31.31 22.96 34.78 41.22 46.74
29.98 18.67 33.46 40.55 45.78
30.12 18.01 32.65 39.65 45.27
42.98 15.44 24.05 28.90 41.54
41.74 15.16 23.46 28.76 38.82
42.89 15.35 23.99 29.33 40.98
41.69 14.77 22.70 28.14 39.17
43.76 18.99 15.03 31.27 46.87
39.27 15.82 12.21 28.81 44.64
42.41 18.33 14.49 30.98 46.65
40.87 17.56 13.66 29.80 45.41
39 6) ความเหลื่อมล้ําของการกระจายบุคลากรทางการศึกษารวมถึงสาขาขาดแคลน การพัฒนาการศึกษาของไทยยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนครูทั้งในด้านปริมาณและในเชิงคุณภาพ การ ติดตามผลการปฏิรูปการศึกษาในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีการขาดแคลนครูทั้งในเชิงปริมาณในบางระดับ และบางสาขา และเชิงคุณภาพในทุกระดับการศึกษา โดยเฉพาะการอาชีวศึกษา ซึ่งนับว่าเป็นระดับการศึกษา ที่มีความสําคัญมากในการต่อยอดเพื่อการพัฒนากําลังคนสายอาชีพ จากการประมวลผลข้อมูลการขาดแคลน ครูของสํา นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้น ฐานในปี 2550 พบว่า สัด ส่ ว นครูมีจ ริงต่ อนัก เรีย นโดย ภาพรวมเท่ากับ 1:21 เฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และใน 3 จังหวัดเขตเศรษฐกิจและท่องเที่ยว ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และภูเก็ต เท่านั้น ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ดีกว่า 1:25 ตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการพัฒนา ของประเทศในเอเชี ย สํ า หรั บ การศึ ก ษาระดั บ อาชี ว ศึ ก ษา อั ต ราส่ ว นครู ต่ อ นั ก เรี ย นของสํ า นั ก งาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาในปี 2551 เท่ากับ 1:24 โดยทีย่ ังขาดแคลนครูสายอาชีวศึกษาประมาณ 15,000 คนและต้องใช้ครูช่างอัตราจ้างมาช่วยสอนอยู่ ขณะที่ปัญหาการขาดแคลนครูในต่างจังหวัดและพื้นที่ห่างไกล รวมถึงพื้นที่ทุรกันดารยังมีอยู่ทั่วไป 7) การจัดสรรงบประมาณยังมีความเหลื่อมล้ําระหว่างอุดมศึกษากับการศึกษาขั้น พื้นฐาน การจัดสรรงบประมาณเฉลี่ยต่อหัวระดับอุดมศึกษาสูงกว่าระดับการศึกษาพื้นฐานประมาณ 3-7 เท่า โดยปี 2550 มีการจัดสรรงบประมาณระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเฉลี่ย 15,746 บาทต่อคน ขณะที่รายจ่าย รั ฐ บาลในระดั บ อุด มศึ ก ษา สาขาศิล ปกรรมและสถาปั ต ยกรรมประมาณ50,451 บาทต่ อ คน และสู ง ถึ ง 197,418 บาทต่อคน ในสาขาบริการทางการแพทย์ขณะที่ผู้มีโอกาสเข้าถึงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้ปาน กลางและสูงที่สามารถรับภาระรายจ่ายเพื่อการศึกษาได้มากขึ้นและยังเป็นสร้างโอกาสให้กลุ่มประชากรที่มี ฐานะความเป็นอยู่ดีกว่าให้สามารถพัฒนาอาชีพและรายได้ที่ยิ่งมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเป็นกลุ่มที่จบ การศึกษาแล้วไปประกอบอาชีพในภาคธุรกิจเอกชนเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้จะต่างก็มีส่วนในการพัฒนาประเทศแต่ ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณาลักษณะการอุดหนุนการศึกษาที่สอดคล้องกับฐานะรายได้ผู้ปกครองด้วยทั้งนี้เพื่อ ช่วยลดช่องว่างในอนาคต 16 8) ในขณะที่สังคมไทยยังเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ําทางการศึกษาในระหว่าง กลุ่มรายได้และระหว่างพื้นที่ ในภาพรวมคุณภาพการศึกษาไทยก็ยังด้อยกว่าหลายประเทศดังนี้ 8.1) จากข้อมูลของ IMD ปี 2551 แสดงว่า สัดส่วนรายจ่ายด้านการศึกษาของ ไทยต่อ GDP อยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกที่ประมาณร้อยละ 3.9 ของ GDPทั้งนี้ หากนํา เอาคะแนนผลสอบวิช าคณิต ศาสตร์แ ละวิทยาศาสตร์มาเป็น ตัว ชี้วั ด ประสิทธิภ าพ พบว่า คุณภาพ การศึกษาของไทยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ํา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเปรียบเทียบกับเกาหลีที่มีการใช้จ่ายด้าน การศึกษาต่อ GDP ใกล้เคียงกับไทย ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาการบริหารจัดการด้านการศึกษา 8.2) อัตราครูต่อนักเรียนของไทยอยู่ในระดับที่ต่ํากว่าประเทศในกลุ่มอาเซียน บางประเทศ เช่น สิงค์โปร์ มาเลเซีย และรวมถึงอิน โดนีเซีย รวมทั้งประเทศไทยยังมีอัตราการซ้ําชั้นของ นักเรียนสูงถึงร้อยละ 9.20 นอกจากนี้ในการประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในปี 2551-2552 โดย World Economic Forum (WEF) พบว่าคุณภาพทางการศึกษาในระดับประถมศึกษาของ ไทยอยู่ในระดับกลาง (อันดับที่ 64 จากทั้งหมด 134 ประเทศ) ในขณะที่การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาอยู่ใน เกณฑ์ที่ต่ํากว่า และความรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ยังอยู่ในเกณฑ์ไม่สูงนัก (อันดับที่ 55 จากทั้งหมด 16
ดร.ชัยยุทธ ปัญญาสวัสดิ์สุทธิ,์ “ทุนมนุษย์กับผลตอบแทนทางการศึกษา”
40 134 ประเทศ) รวมถึงการให้บริการด้านวิจัยและการฝึกอบรมที่ยังมีอยู่ไม่มากนัก (อันดับที่ 51 จากทั้งหมด 134 ประเทศ) ภาพที่ 20 สัดส่วนรายจ่ายด้านการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ต่อ GDP
ตารางที่ 30 ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพด้านการศึกษา อัตราระดับความรู้ อัตราการเรียน อัตราการเรียน ชั้นมัธยมขึ้นไป ระดับประถม ระดับมัธยมศึกษา นอร์เวย์ 87.50 98.40 112.50 ออสเตรเลีย 73.40 104.90 147.90 นิวซีแลนด์ 67.90 101.20 120.40 อเมริกา 89.70 98.00 94.30 อังกฤษ 58.20 104.00 97.40 สิงค์โปร์ 94.50 59.10 มาเลเซีย 92.10 50.50 97.90 69.10 จีน 93.70 38.40 112.10 74.00 ศรีลังกา 90.60 44.90 105.10 87.00 ไทย 93.50 20.60 อินโดนีเซีย 92.00 26.80 120.90 75.80 เวียดนาม 92.50 104.10 66.90 อินเดีย 62.80 22.20 113.10 57.00 ลาว 72.70 111.80 43.90 กัมพูชา 77.00 115.90 40.40 ที่มา : Human Development Report, 2553 ประเทศ
อัตราการรู้ หนังสือ
หน่วย : ร้อยละ อัตราการเรียน ระดับอุดมศึกษา 75.90 75.00 79.10 81.60 59.00 29.70 22.10 18.00 9.70 13.50 13.40 7.00
41 ภาพที่ 21 คะแนนผลสอบวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษา
ตารางที่ 31 อัตราการออกจากระบบการศึกษา อัตราการซ้ําชั้น และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพด้านการศึกษา ประเทศ
อัตราการออกจาก ระบบการศึกษา 0.20 0.00
นอร์เวย์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกา 1.50 อังกฤษ สิงค์โปร์ มาเลเซีย 7.80 จีน 0.40 ศรีลังกา 2.00 ไทย อินโดนีเซีย 19.90 เวียดนาม 7.90 อินเดีย 34.10 ลาว 33.20 กัมพูชา 45.60 ที่มา: Human Development Report, 2553
อัตราการซ้ําชั้น
0.30 0.30 0.80 9.20 2.90 1.00 3.40 16.80 11.20
อัตราครูต่อนักเรียน 15.80 17.10 14.30 20.10 19.50 17.50 18.30 22.50 21.20 21.40 20.90 40.70 48.50
หน่วย : ร้อยละ อัตราการอบรมครู
93.50 98.60 96.90 98.20
2.2.2 ความเหลื่อมล้ําในบริการด้านสุขภาพ: การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพของคนไทยมีความ ครอบคลุมเกือบทั้งหมด100% แต่การบริการสาธารณสุขยังคงมีปัญหาคุณภาพโดยเฉพาะยังมีความเหลื่อมล้ํา ของการกระจายบุคลากรทางการแพทย์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ในแต่ละภูมิภาค ตลอดจนรูปแบบบริการที่ ให้การคุ้มครองและวิธีการจ่ายเงินของแต่ละระบบ
42 1) ความแตกต่างระหว่างระบบประกันสุขภาพหลักประกันสุขภาพการเพื่อให้ทุกคน สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้เมื่อยามเจ็บป่วยและป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากภาระค่ารักษาพยาบาลได้ พัฒนามาเป็นลําดับ เช่น การมีสวัสดิการรักษาพยาบาลสําหรับข้าราชการและครอบครัว โครงการบัตรสุขภาพ ระบบประกันสังคมที่ครอบคลุมด้านการรักษาพยาบาล จนกระทั่งมี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545ทําให้ในปัจจุบันคนไทยสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพครอบคลุมเกือบ 100% (ร้อยละ 99.36)โดย ส่วนใหญ่ใช้บริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ 3ระบบหลักคือระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จํานวน 47.7 ล้ า นคน (75.20%) ระบบประกั น สั ง คมจํ า นวน 9.9 ล้ า นคน (15.60%) และระบบสวั ส ดิ ก าร รักษาพยาบาลข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจจํานวน 4.9 ล้านคน (7.75%) นอกจากนี้ ยังมีบุคคลที่มีสิทธิอื่นๆและ บุคคลที่มีปัญหาสถานะสิทธิอีกประมาณ 5 แสนกว่าคนซึ่งรวมบุคคลที่มีปัญหาสถานะสิทธิ 4.57 แสนคนที่ ได้รับสิทธิเข้าถึงบริการสาธารณสุขตามมติครม.วันที่ 23 มีนาคม 2553 อย่างไรก็ตามยังมีบุคคลที่ยังไม่มีสิทธิ ใดๆ อีกประมาณ 4 แสนกว่าคน อย่า งไรก็ต ามมาตรฐานบริก ารทางการแพทย์ ที่ไ ด้รับ แต่ละระบบหลั ก ประกั น สุขภาพยังไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากมีรูปแบบและวิธีการจ่ายเงินที่แตกต่างกัน โดยระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใช้ระบบงบประมาณแบบปลายปิดที่กําหนดวงเงินค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนไว้ ล่วงหน้า ขณะที่ระบบสวัสดิการข้าราชการมีลักษณะการเบิกจ่ายแบบปลายเปิดที่จ่ายค่าบริการตามรายการที่ สถานพยาบาลเรียกเก็บ (Fee for services) ส่งผลให้ผู้ป่วยในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้รับ การบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพมาตรฐานสูงกว่าอีก 2 ระบบ เช่น การได้รับยาที่เป็นยานอกบัญชียาหลัก ยาต้นแบบนําเข้าจากต่างประเทศ และยาที่มีราคาแพง รวมถึงการได้รับหัตถการบางอย่างที่สูงกว่า เช่น การผ่า ท้องคลอด การผ่าตัดส่องกล้อง การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น นอกจากนี้ จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างระบบประกันสังคมและระบบรักษา ฟรี(ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า)17ในปี 2554 พบว่าระบบหลักประกันสุขภาพมีความเหลื่อมล้ํากันมาก โดยมีหน่วยงานบริหารจัดการที่แตกต่างกันในเรื่องเดียวกัน ค่าใช้จ่ายรายหัวและสิทธิประโยชน์แตกต่างกัน ค่อนข้างมาก แสดงให้เห็นถึงปัญหาการจัดสรรทรัพยากรของประเทศกล่าวคือ ด้านค่าใช้จ่ายต่อหัวและสิทธิ ประโยชน์ พบว่า สิทธิประกันสังคมมีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อปีเป็นจํานวนเงิน 2,105 บาท ภายใต้การจ่ายเงินของ ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล ในขณะที่สิทธิรักษาฟรีมีค่าใช้จ่ายต่อหัว2,546.48 บาทโดยมีรัฐบาลเป็น ผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว สําหรับเรื่องของการรักษาผู้ป่วยใน(inpatient) นั้นพบว่า สิทธิประกันสังคม จะต้องจ่ายแบบเหมาจ่าย ส่วนสิทธิรักษาฟรีนั้นจ่ายให้ตามกลุ่มโรค (Diagnosis Related Disease: DRG) ส่วนผู้ประกันตนที่เป็นป่วยนอกก็ต้องจ่ายตามจริงที่ตนต้องรักษา ขณะที่สิทธิรักษาฟรีรัฐบาลจะจ่ายให้ตาม อัตราค่าเหมาจ่ายรายหัวร่วมกับโครงการพิเศษอื่นๆ อย่างไรก็ตามการพิจารณาแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ํานั้น ต้องคํานึงถึงหลักการหลายอย่างประกอบกัน เช่น ปรัชญา/หลักการของแต่ละระบบ หลักคิดเรื่องการให้แต้ม ต่อแก่ผู้ด้อยโอกาส และประสิทธิภาพและการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม รวมทั้งหลักการขั้นบันไดของการจัด ให้มีการคุ้มครองทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ (staircase of social protection)
17
โดย นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
43 ภาพที่ 22 ร้อยละความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ 100 98 96 94 92 90 88
99.16
99.47
99.36
2547 2548 2549 2550 2551 ที่มา : สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2552
2553
95.47 92.47
93.01
2545
2546
96.25
97.82
98.75
ตารางที่ 32 ความครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพระหว่างปี พ.ศ. 2550ถึง พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2553 ประเภทของ สิทธิหลักประกันสุขภาพ จํานวน(คน) ร้อยละ จํานวนคน) ร้อยละ จํานวนคน) ร้อยละ จํานวนคน) ร้อยละ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 46,672,613 74.79 46,949,267 75.06 47,558,456 75.86 47,729,516 75.20 สิทธิประกันสังคม 9,581,665 15.35 9,835,528 15.73 9,616,602 15.34 9,899,687 15.60 สิทธิข้าราชการรัฐวิสาหกิจ 5,132,556 8.22 5,002,106 8.00 4,955,313 7.90 4,918,544 7.75 สิทธิอื่นๆ 242,395 0.39 237,375 0.38 232,135 0.37 516,254 0.81 ผู้ที่ยังไม่ลงทะเบียนสิทธิ 779,263 1.25 522,352 0.84 332,541 0.53 407,289 0.64 รวม (1) 62,408,492 100 62,546,628 100 62,695,047 100 63,471,290 100 ความครอบคลุมหลักประกัน 61,629,229 98.75 62,024,276 99.16 62,362,506 99.47 63,064,001 99.361/ สุขภาพของประเทศ บุคคลรอพิสูจน์สถานะ 897,371 71.54 1,156,404 75.86 1,440,173 80.94 1,347,031 87.51 คนไทยในต่างประเทศ 57,020 4.55 55,167 3.62 14,328 0.81 15,261 0.99 คนต่างด้าว 299,929 23.91 312,888 20.52 324,904 18.26 176,981 11.50 รวม(2) 1,254,320 100 1,524,459 100 1,779,405 100 1,539,273 100 รวมประชากรทั้งประเทศ 63,662,812 64,071,087 64,474,452 65,010,563 (1) + (2) ที่มา:สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1/อัตราการครอบคลุมลดลงในปี 2553 นั้นน่าจะเป็นผลเนื่องมาจากในปี 2553 กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ได้รับการรับรอง จากมติ ครม.ให้มีสิทธิได้รับบริการในหลักประกันสุขภาพ จํานวน 457,409 คน ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้ได้ลงทะเบียนสิทธิไปแล้ว ในปี 2553 จํานวน 288,224 คน โดยข้อมูลรวมอยู่ในกลุ่มสิทธิอื่นๆ แต่บางส่วนยังไม่ได้ลงทะเบียนสิทธิ จึงทําให้ข้อมูลผู้ที่ไม่ลงทะเบียนสิทธิในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น จํานวน 407,289 คน และมีส่วนส่งผลให้ความครอบคลุมลดลง
2) ความเหลื่อมล้ํา ของการกระจายบุคลากรทางการแพทย์ส่งผลให้คุณภาพการ บริการมีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคสะท้อนได้จาก อัตราบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากรของแต่ละ ภูมิภาคยังคงมีความเหลื่อมล้ํากัน โดยบุคลากรทางการแพทย์(แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และ พยาบาลเทคนิค)ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและภาคกลางส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการกระจุก ตัวน้อยที่สุดจึงทําให้อัตราบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าทุกภาค กล่าวคือบุคลากรทางการแพทย์ 1 คนต้องดูแลประชากรมากกว่าภูมิภาคอื่นอาจจะส่งผลต่อการให้บริการด้อย คุณภาพลงจากการรีบเร่งดูแลประชากรให้ครบถ้วนอาทิในกรุงเทพมหานครแพทย์1 คนต่อประชากร 1,243 คน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแพทย์ 1 คนต่อประชากรสูงถึง 4,854 คน
44
ตารางที่ 33 อัตราส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากร รายภาค ปี 2550 - 2552 ภาค
แพทย์
ทันตแพทย์
ทั้งประเทศ กรุงเทพมหานคร ภาคกลางไม่รวมกรุงเทพฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้
1:2,778 1:850 1:2,683 1:5,308 1:3,279 1:3,354
1:13,525 1:4,869 1:13,131 1:22,020 1:14,852 1:15,918
ทั้งประเทศ กรุงเทพมหานคร ภาคกลางไม่รวมกรุงเทพฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้
1:2930 1:955 1:2,839 1:5,028 1:3,386 1:3,694
1:13,148 1:5,515 1:13,169 1:20,472 1:13,434 1:13,100
ทั้งประเทศ กรุงเทพมหานคร ภาคกลางไม่รวมกรุงเทพฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้
1:3,324 1:1,243 1:3,145 1:4,854 1:4240 1:3,815
1:14,833 1:8,875 1:13,033 1:20,723 1:15,337 1:14,044
เภสัชกร ปี 2550 1:7,347 1:1,618 1:2,626 1:12,197 1:1,450 1:1,118 ปี2551 1:7,534 1:4,143 1:6,270 1:11,445 1:7,844 1:7,551 ปี2552 1:8,253 1:6,843 1:6,498 1:11,347 1:8,416 1:7,666
พยาบาล วิชาชีพ
พยาบาล เทคนิค
1:597 1:240 1:554 1:999 1:638 1:619
1:4,787 1:4,472 1:3,569 1:7,248 1:5,104 1:3,759
1:576 1:332 1:519 1:819 1:567 1:558
1:6,747 1:5,685 1:5,357 1:10,544 1:5,911 1:6,091
1:624 1:431 1:552 1:825 1:630 1:573
1:7,673 1:2,271 1:7,645 1:14,438 1:9,653 1:8,831
ที่มา : รายงานทรัพยากรสาธารณสุข ปี 2550, 2551, 2552สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
3) ปัญหาความเหลื่อมล้ําของการกระจายครุภัณฑ์ทางการแพทย์(ได้แก่ CTscanMRI เครื่องสลายนิ่วเครื่องเลเซอร์เครื่องอัลตร้าซาวด์เครื่องล้างไตและรถพยาบาล)สะท้อนได้จาก อัตราครุภัณฑ์ทาง การแพทย์ต่อประชากรของแต่ละภูมิภาคยังคงมีความเหลื่อมล้ํากัน โดยครุภัณฑ์ทางการแพทย์ยังคงกระจุกตัว อยู่ ในกรุ งเทพมหานครและภาคกลางส่ วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการกระจุกตัวน้อยที่สุ ดจึงทําให้อัตรา ครุภณ ั ฑ์ทางการแพทย์ต่อประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าทุกภาค กล่าวคือครุภัณฑ์ทางการแพทย์1 หน่วยจะต้องรองรับประชากรที่มีโอกาสมาใช้บริการมากกว่าภูมิภาคอื่น แต่เนื่องจากครุภัณฑ์ทางการแพทย์เป็น เครื่องมือและเทคโนโลยีขั้นสูงทางการแพทย์และราคาแพงจึงเป็นข้อจํากัดทางด้านการเงินซึ่งครุภัณฑ์ทางการ แพทย์จงึ มีให้บริการเฉพาะในโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น
45 ตารางที่ 34 จํานวนครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ทั่วประเทศ ปี 2545-2552 2545 2546 2547 2548 2549 2550 รวมทั้งประเทศ 6,566 6,699 7,228 7,785 8,507 9,232 CT scan 306 252 268 291 302 310 MRI 52 36 32 42 54 43 เครื่องสลายนิ่ว 75 73 75 76 90 74 เครื่องเลเซอร์ 71 71 45 60 94 80 เครื่องอัลตร้าซาวด์ 1,643 1,734 1,892 1,987 2,125 2,291 เครื่องล้างไต 1,343 1,673 1,852 2,057 2,348 2,785 รถพยาบาล 3,076 2,860 3,064 3,272 3,494 3,649 ที่มา : ข้อมูลทรัพยากรกระทรวงสาธารณสุข ปี 2545-2552
2551 9,403 320 51 74 70 2,075 2,779 4,034
2552 9,217 282 39 68 84 2,158 2,651 3,935
รถ พยาบาล
รวม
ตารางที่ 35 จํานวนครุภัณฑ์ทางการแพทย์ รายภาค ปี 2550-2552 ภาค
CT scan
MRI
เครื่อง สลายนิ่ว
กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ รวม
91 96 42 48 33 310
28 3 3 4 5 43
21 14 16 12 11 74
กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ รวม
65 120 51 53 31 320
17 12 9 6 7 51
9 20 15 18 12 74
15 11 6 1 6 39
5 21 19 14 9 68
กรุงเทพมหานคร 55 ภาคกลาง 106 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 55 ภาคเหนือ 29 ภาคใต้ 37 รวม 282 ที่มา : ข้อมูลทรัพยากร กระทรวงสาธารณสุข
เครื่อง เครื่องอัล เลเซอร์ ตร้าซาวด์ ปี 2550 61 522 9 588 2 560 3 369 5 252 80 2,291 ปี 2551 35 323 19 589 8 530 3 369 5 264 70 2,075 ปี 2552 33 323 33 615 10 623 6 323 2 274 84 2,158
เครื่อง ล้างไต 926 816 419 376 248 2,785
463 940 951 709 586 3,649
2,112 2,466 1,993 1,521 1,140 9,232
755 879 449 442 254 2,779
340 992 1,089 903 710 4,034
1,544 2,631 2,151 1,794 1,283 9,403
548 957 569 328 249 2,651
287 1,047 1,147 718 736 3,935
1,266 2,790 2,429 1,419 1,313 9,217
46
, 36 $ , - ./ 12 ,$3 %4 - 3 2550-2552 4 5
CT scan
MRI
5 ? )#
5 ? # A
5 ? # A
5 ? #
@ C ! #
" C D 5 4 5"# 4 5 " F D ? 4 5 D ? 4 5G
1:62,704 1:159,762 1:509,077 1:247,528 1:261,444 1:203,011
1:203,789 1:5,112,390 1:7,127,083 1:2,970,338 1:1,725,528 1:1,463,570
1:271,719 1:1,095,512 1:1,336,328 1:990,113 1:784,331 1:850,453
3 2550 1:93,543 1:1,704,130 1:10,690,625 1:3,960,451 1:1,725,528 1:786,669
1:10,931 1:26,084 1:38,181 1:32,199 1:34,237 1:27,470
1:6,162 1:18,796 1:51,029 1:31,599 1:34,789 1:22,597
1:12,324 1:16,316 1:22,483 1:16,758 1:14,723 1:17,247
1:2,702 1:6,219 1:10,728 1:7,812 1:7,568 1:6,817
" C D 5 4 5"# 4 5 " F D ? 4 5 D ? 4 5G
1:87,901 1:129,273 1:419,886 1:224,062 1:280,587 1:197,544
1:336,092 1:1,292,732 1:2,379,353 1:1,979,216 1:1,242,599 1:1,239,491
1:634,841 1:775,639 1:1,427,612 1:659,739 1:724,850 1:854,244
3 2551 1:163,245 1:816,462 1:2,676,773 1:3,958,431 1:1,739,639 1:903,057
1:17,689 1:26,337 1:40,404 1:32,182 1:32,948 1:30,465
1:7,568 1:17,648 1:47,693 1:26,867 1:34,245 1:22,747
1:16,805 1:15,638 1:19,664 1:13,151 1:12,251 1:15,670
1:3,700 1:5,896 1:9,955 1:6,619 1:6,780 1:6,721
" C D 5 4 5"# 4 5 " F D ? 4 5 D ? 4 5G
1:103,759 1:147,918 1:390,350 1:407,740 1:237,236 1:225,026
1:380,449 1:1,425,387 1:3,578,211 1:11,824,449 1:1,462,953 1:1,627,114
1:1,141,348 1:746,632 1:1,129,962 1:844,603 1:975,302 1:933,198
3 2552 1:172,931 1:475,129 1:2146,927 1:1,970,742 1:4,388,860 1:755,446
1:17,668 1:25,495 1:34,461 1:36,608 1:32,035 1:29,406
1:10,414 1:16,384 1:37,732 1:36,050 1:35,252 1:239,374
1:19,884 1:14,975 1:18,718 1:16,469 1:11,926 1:16,126
1:4,508 1:5,620 1:8,839 1:8,333 1:6,685 1:6,885
: # C " " ) H I)
4) ความแตกต่างในฐานะทางเศรษฐกิจ กับการเข้าถึงหลัก ประกันสุขภาพ: ใน ภาพรวมสัดส่วนประชากรทุกกลุ่มชั้นรายได้เข้าถึงหลักประกันสุขภาพไม่แตกต่างกัน โดยเฉลี่ยประมาณร้อย ละ 97.8โดยกลุ่มชั้นที1่ (จนสุด) จนถึงกลุ่มชัน้ ที5่ ซึ่งเป็นกลุ่มชั้นระดับล่างและระดับกลางมีหลักประกันสุขภาพ โดยที่เกินกว่าร้อยละ 85จะใช้บริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า ในขณะที่กลุ่มชั้นที่10 รวยสุด มี การกระจายการใช้บริการ โดยที่ ร้อยละ 34.1 อยูภ่ ายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า ร้อยละ 31.9 อยู่ใน ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ร้อยละ 18.1 อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคม และอีกใช้ร้อยละ 8.6 ใช้ มากกว่า 1 ระบบ และส่วนที่เหลือใช้บัตรประกันสุขภาพเอกชนและสวัสดิการของนายจ้าง ตารางที่ 37 ร้อยละของประชากรที่เข้าถึงหลักประกันสุขภาพ จําแนกตามกลุ่มประชากรตามระดับรายได้ ปี 2549-2552 กลุ่มประชากร ตามระดับรายได้ 10% ที1่ จนสุด 10% ที2่ 10% ที3่ 10% ที4่ 10% ที5่ 10% ที6่ 10% ที7่ 10% ที8่ 10% ที9่ 10% ที1่ 0 รวยสุด รวม
ประชากรทั้งหมด 2549 2550 2552 96.70 97.31 97.84 97.93 97.69 98.51 97.47 97.66 98.45 97.66 97.95 98.47 97.66 97.31 98.60 96.41 96.43 97.68 95.91 95.70 97.44 95.60 95.33 97.38 94.84 95.08 97.47 93.74 94.46 96.56 96.39 96.49 97.84
ประชากรเขตเมือง 2549 2550 2552 96.10 95.45 95.02 96.34 95.36 97.31 95.56 95.34 96.92 95.48 96.66 96.66 94.93 95.60 96.82 94.03 92.88 96.08 92.70 93.43 96.20 93.36 93.31 95.76 93.47 93.13 96.13 92.59 92.82 95.11 93.73 93.76 96.02
ประชากรเขตชนบท 2549 2550 2552 96.74 97.47 98.16 98.11 97.99 98.68 97.81 98.06 98.76 98.12 98.23 98.93 98.46 97.79 99.15 97.39 97.76 98.42 97.77 97.04 98.18 97.40 97.02 98.68 96.33 97.20 98.87 95.53 97.11 98.93 97.51 97.65 98.66
ที่มา : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิตแิ ห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.
47
ตารางที่ 38 ร้อยละของประชากรที่เข้าถึงหลักประกันสุขภาพ จําแนกกลุ่มประชากรตามระดับรายจ่ บรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ปี 2549-2553 กลุ่มประชากร ตามระดับรายจ่าย 10% ที1่ จ่ายน้อยสุด 10% ที2่ 10% ที3่ 10% ที4่ 10% ที5่ 10% ที6่ 10% ที7่ 10% ที8่ 10% ที9่ 10% ที1่ 0 จ่ายมากสุด รวม
2549 96.46 98.21 97.87 98.07 96.86 96.67 96.30 95.36 94.59 93.54 96.39
ประชากรทั้งหมด 2550 2552 97.21 97.94 97.59 98.59 98.02 98.37 97.75 98.69 97.18 98.39 97.14 98.10 96.26 97.93 95.38 97.62 94.95 97.00 93.45 95.76 96.49 97.84
2553 97.41 98.74 98.78 98.53 98.69 98.08 98.22 97.84 97.67 95.53 97.95
2549 95.93 96.90 96.30 96.01 94.17 93.97 93.76 93.60 92.81 92.30 93.73
ประชากรเขตเมือง 2550 2552 94.22 95.25 96.12 97.57 97.09 97.02 96.10 97.39 93.45 97.00 94.55 97.11 94.47 96.49 93.23 96.34 93.84 95.22 91.46 94.54 93.76 96.02
2553 2549 92.93 96.50 97.88 98.36 97.47 98.12 97.54 98.49 97.24 97.68 96.38 97.72 97.13 97.75 96.48 96.76 96.49 96.69 93.86 95.45 96.19 97.51
ประชากรเขตชนบท 2550 2552 97.45 98.22 97.78 98.74 98.17 98.61 98.11 98.98 98.25 98.81 98.16 98.52 97.23 98.80 97.19 98.69 96.25 99.12 96.59 98.04 97.65 98.66
2553 97.86 98.90 99.08 98.80 99.28 98.93 99.02 99.08 9.19 98.79 98.85
ที่มา : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสั ละสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิตแิ ห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชีว้ ัดภาวะสังคม สศช.
แต่อย่ อย่างไรก็ตาม โอกาสในการเลือกใช้สถานบริการยัยังมีความแตกต่างกันระหว่าง กลุ่มรายได้ จากผลการศึ ผลการศึกษาของวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร พบว่า เมื่อคิดรวมเฉพาะการใช้บริการที่สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป(รวมโรงพยาบาลศู ไป นย์) และโรงพยาบาลเอกชน กลุ่มคนจนที่สุดเลือกใช้ บริการสถานีอนามัยสูงสุด (36%-40 40%) ขณะที่กลุ่มคนรวยที่สุดใช้ ดใช้โรงพยาบาลเอกชนสูงสุด (50%) แสดงให้ เห็นว่าโอกาสในการเลือกใช้บริการโดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนจํ ารโดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนจํากัดอยู่เพียงผู้มีรายได้สูง และเช่นเดียวกับ การใช้บริการโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูน ย์ที่สูงสุดในกลุ่มที่มีรายได้สูงสุดเช่นกัน ลักษณะความ แตกต่างของการเลือกใช้บริการอาจจะส่งผลต่อคุณภาพของบริการที่ได้รับตามศักยภาพของสถานพยาบาล ซึ่ง จะกระทบมากหากการเจ็บป่วยนันั้นต้องรักษาในสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูง ภาพที่ 23 ร้อยละของการเลือกใช้สถานบริการเมื่อป่วยตามระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน 2549 100% 50%
18.2 12.4 34.6
29.3 12 30.9
34.8
27.7
0% คนจนสุด
จน
37.7 12.9 27.5 21.9 ปานกลาง
45.9
56.2
18.7 18.8 16.6
23.8 13.3 6.8
รวย
รพ.เอกชน รพ.รัฐอื่นๆ รพ.ชุมชน สถานีอนามัย
รวยที่สุด
ที่มา : วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร และคณะ “วิวิเคราะห์จากรายงานการสํารวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ.2549” พ
2.2.3
ความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงบริการด้านสวัสดิการสังคม
1) ผู้สูงอายุและคนพิการมีโอกาสเข้าถึงสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยยังชีพ คนพิการอย่างเท่าเทียมกันในรูปแบบการดําเนินนโยบายที่ครอบคลุมทั่วถึง (Universal coverage) โดย ถือเป็นสิทธิพื้นฐานแต่ แต่บางส่วนยังไม่ได้รับเบี้ยยังชีพเนื พเนื่องจากมีความประสงค์ไม่ขอรับเอง หรือกําลังอยู่ใน กระบวนการขึ้นทะเบียนอย่ อย่างไรก็ตามกลุ่มที่อยู่ชายขอบมักไม่ทราบข้อมูลข่าวสารจึจึงยังเข้าไม่ถึงเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุและคนพิการเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้กับผู้ที่จดทะเบียนขอรับสิทธิ ซึ่งเดิมให้เฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย
48 หรือยากจน ต่อมาตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2552 รัฐได้ให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุ(อายุ 60 ปีขึ้นไป)ครอบคลุมทุก คน และตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2553 รัฐได้ให้เบี้ยยังชีพแก่คนพิการครอบคลุมทุกคน โดยได้รับคนละ 500 บาท/เดือน จึงทําให้ผู้สูงอายุเข้าถึงเบี้ยยังชีพเพิ่มสูงมากในปี 2552โดยเพิ่มจาก 1.78 ล้านคนในปี 2551 เป็น 5.41 ล้านคนในปี 2552และผู้พิการเข้าถึงเบี้ยยังชีพเพิ่มสูงมากในปี 2553โดยเพิ่มจาก 2.6 แสนคนในปี 2552 เป็น 8.3 แสนคนในปี 2553นอกจากนี้รัฐได้สงเคราะห์ค่าจัด การศพผู้สูงอายุต ามประเพณี ให้แก่ผู้สูงอายุ สัญ ชาติ ไทยทุ ก คนที่มี อ ายุ 60 ปี ขึ้ น ไปที่ ถึ งแก่ก รรมรายละ 2,000 บาท โดยในปีง บประมาณ 2553 ได้ ช่วยเหลือจํานวน 91,339 ราย และมีการผลักดันมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือคนพิการโดยการยกเว้นภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาเฉพาะส่วนของเงินได้พึงประเมินที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีสําหรับเงินได้พึงประเมินที่ผู้ มีเงินได้เป็นคนพิการ ภาพที่ 24 จํานวนผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ (คน) 6,000,000 5,000,000 4,000,000 3,000,000 2,000,000 1,000,000 -
5,651,968 5,408,659
1,783,776
20,000
2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ สํานักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองพัทยา
ภาพที่ 25 จํานวนผู้พิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพ(คน)
1,000,000
835,061
500,000 0
24,000
25,172
42,308
235,495
236,012
262,742
2547 2548 2549 2550 2551 2552 ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ สํานักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองพัทยา
2553
ผู้สูงอายุที่ยากจนได้รับเบี้ยยังชีพในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้สูงอายุไม่ยากจน เนื่องจาก ผู้สูงอายุที่ครอบครัวมีฐานะทางเศรษฐกิจดีจะไม่ไปขึ้นทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพ โดยผู้สูงอายุที่ยากจนได้รับเบี้ย ยังชีพคิดเป็นร้อยละ 87.8 ของผู้สูงอายุที่ยากจนทั้งหมด และผู้สูงอายุที่ยากจนทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท ได้รับเบี้ยยังชีพในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้สูงอายุไม่ยากจนในเขตชนบทได้รับเบี้ยยังชีพในสัดส่วนที่สูง กว่าในเขตเมือง ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพจะมีสัดส่วนสูงในกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีและจะมีสัดส่วน ลดลงตามฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้เป็นการใช้งบประมาณที่ตรงกับกลุ่มที่ควรมีลําดับความสําคัญที่ ควรได้รับความช่วยเหลือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่ยากจนและด้อยโอกาสในสังคม
49
ตารางที่ 39 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2553
ไม่ยากจน ยากจน รวม
เขตเมือง 69.76 87.45 70.58
เขตชนบท 84.82 87.86 85.24
รวม 79.76 87.80 80.64
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. ตารางที่ 40 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2553 จําแนกกลุ่มประชากรตามระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค และเขตพื้นที่ กลุ่มประชากรตามระดับ ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค เขตเมือง เขตชนบท รวม 10% ที1่ จ่ายน้อยสุด 86.07 87.91 87.72 10% ที2่ 88.85 88.29 88.38 10% ที3่ 86.91 88.93 88.54 10% ที4่ 84.62 89.70 88.64 10% ที5่ 81.28 86.96 85.48 10% ที6่ 79.36 85.42 83.55 10% ที7่ 73.67 86.08 80.85 10% ที8่ 71.10 74.11 72.71 10% ที9่ 62.14 73.80 67.07 10% ที1่ 0 จ่ายมากสุด 44.13 58.52 48.35 รวม 70.58 85.24 80.64 ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลผลโดย สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.
คนพิการที่ยากจนได้รับเบี้ยยังชีพในสัดส่วนที่สูงกว่าคนพิการไม่ยากจน เนื่องจาก ผู้ที่ครอบครัวมีฐานะทางเศรษฐกิจดีจะไม่ไปขึ้นทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพ โดยคนพิการที่ยากจนได้รับเบี้ยยังชีพ คิดเป็นร้อยละ 51.82 ของคนพิการที่ยากจนทั้งหมด และคนพิการที่ยากจนในเขตชนบทได้รับเบี้ยยังชีพใน สัดส่วนที่สูงกว่าในเขตเมือง คือร้อยละ 53.57 และร้อยละ 40.90 ตามลําดับสําหรับคนพิการไม่ยากจนได้รับ เบีย้ ยังชีพเพียงร้อยละ 35.30 ของคนพิการไม่ยากจนทั้งหมด โดยในเขตชนบทได้รับเบี้ยยังชีพในสัดส่วนที่สูง กว่าในเขตเมืองเล็กน้อยสะท้อนได้ว่าคนพิการเข้าถึงเบี้ยยังชีพได้น้อยกว่าผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามคนพิการที่ ได้รับเบี้ยยังชีพจะมีสัดส่วนสูงในกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีและจะมีสัดส่วนลดลงตามฐานะทางเศรษฐกิจ ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นการใช้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพนําเงินไปช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่เป็น กลุ่มคนด้อยโอกาสในสังคม
50
ตารางที่ 41 ร้อยละของผู้พิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพความพิการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2553 ไม่ยากจน ยากจน รวม
เขตเมือง 30.16 40.90 31.04
เขตชนบท 37.30 53.57 40.19
รวม 35.30 51.82 37.82
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.
ตารางที่ 42 ร้อยละของคนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพความพิการ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2553 จําแนกกลุ่มประชากรตามระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค และเขตพื้นที่ กลุ่มประชากรตามระดับ คนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพ รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค เขตเมือง เขตชนบท รวม 10% ที1่ จ่ายน้อยสุด 42.40 54.52 53.08 10% ที2่ 44.58 41.12 41.52 10% ที3่ 51.62 43.15 44.79 10% ที4่ 37.53 41.51 40.49 10% ที5่ 44.51 37.01 39.00 10% ที6่ 27.89 31.31 30.39 10% ที7่ 25.04 28.52 27.42 10% ที8่ 27.89 37.29 33.19 10% ที9่ 15.83 21.52 18.81 10% ที1่ 0 จ่ายมากสุด 10.89 26.22 16.19 รวม 31.04 40.19 37.82 ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลผลโดย สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชีว้ ัดภาวะสังคม สศช.
2) แรงงานของประเทศได้ รั บ การคุ้ ม ครองทางสัง คมเพี ย งร้ อ ยละ 37.6 ขณะที่ แรงงานส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 62.4 ยังไม่มีการคุ้มครองทางสังคมอย่างเป็นระบบในปี 2553 แรงงานที่ได้รับ การคุ้มครองทางสังคมคิดเป็นร้อยละ 37.6 ของแรงงานทั้งประเทศส่วนแรงงานนอกระบบซึ่งเป็นแรงงานส่วน ใหญ่ คือร้อยละ 62.4 ของแรงงานทั้งประเทศยังไม่ได้รับการคุ้มครองทางสังคมอย่างเป็นระบบ ในปี 2553 มี แรงงานนอกระบบจํานวน 24.13 ล้านคน จากผู้มีงานทําทั้งสิ้น 38.69ล้านคน เมื่อพิจารณาในรายสาขา พบว่า แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ทํางานอยู่ในภาคเกษตร โดยมีจํานวนถึง 13.8 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 57.3 ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากโครงสร้างการผลิตและรูปแบบ การทํางานเปลี่ยนแปลงไป อาทิ การเพิ่มขึ้นของการจ้างงานแบบเหมาค่าแรง/เหมาช่วง การจ้างงานบางเวลา รวมถึงการเพิ่มขึ้นของการประกอบธุรกิจส่วนตัวทั้งนี้แรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังไม่ได้รับการ คุ้มครองทางสังคมอย่างเป็นระบบสูงที่สุดซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77.6 ของแรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งหมด ในขณะที่แรงงานในกรุงเทพมหานครที่ยังไม่ได้รับการคุ้มครองทางสังคมมีเพียงร้อยละ 33.8 ของ แรงงานในกรุงเทพมหานครทั้งหมดแม้ว่าปัจจุบันรัฐได้ให้ความสําคัญกับการขยายความคุ้มครองไปสู่แรงงาน นอกระบบ โดยการนํ า แรงงานนอกระบบเข้ า สู่ ร ะบบประกั น สั ง คมภาคสมั ค รใจตามพระราชบั ญ ญั ติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533มาตรา 40โดยเปิดทางเลือกในการสมทบเป็น 2 ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงิน สมทบ 100 บาท (ประชาชนจ่าย 70 บาท รัฐบาลอุดหนุน 30 บาท) โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณีคือ เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต และทางเลือก
51 ที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท (ประชาชนจ่ ประชาชนจ่าย 100 บาทรัฐบาลอุดหนุน 50 บาท) โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ เช่นเดียวกับทางเลือกที่ 1 และเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีบําเหน็จชราภาพอีก 1 กรณี ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงิน สมทบตามทางเลือกที่ 2 นั้น สามารถจ่ายเงินสมทบกรณีบําเหน็จชราภาพเพิ ชราภาพเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาทแต่อย่างไรก็ตามยังมีผู้สนใจเข้ เข้าสู่ระบบประกันสังคมภาคสมัครใจตามมาตรา รใจ 40ไม่ ไม่มากเท่าที่ควร ตารางที่ 43 สัดส่วนของแรงงานในระบบและนอกระบบของประเทศไทย ปี 2548 – 2553 ปี แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ
2548 37.9 62.1
2549 38.5 61.5
2550 37.3 62.7
2551 36.3 63.7
2552 36.6 63.4
2553 37.6 62.4
ที่มา : การสํารวจแรงงานนอกระบบ สํานักงานสถิติแห่งชาติ ภาพที่ 26 สัดส่วนแรงงานในระบบ รายภาค ปี2553 (%) 66.2 70 51.6 60 41.9 37.6 50 40 28.4 22.4 30 20 10 0
ภาพที่ 27 สัดส่วนแรงงานนอกระบบ รายภาค ปี2553 100 80 60 40 20 0
71.6 33.8
48.4
77 77.6 58.1
62.4
ที่มา : การสํารวจแรงงานนอกระบบ สํานักงานสถิติแห่งชาติ
อย่างไรก็ตาม ยังมีความเหลื่อมล้ําด้านรายได้และค่าตอบแทน แรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่จะมี จะมีรายได้น้อย มีลักษณะงานที่ไม่แน่นอนและต่อเนื่อง เช่น แรงงานรับจ้างภาคเกษตร ผู้รับงานไปทํา ที่บ้าน จึงมีรายได้เฉลี่ยต่ํากว่าวันละ 150 บาท ส่วนใหญ่ร้อยละ 37.4 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ มักจะมีชั่วโมงการทํางานต่อวันมากถึง 8 ชั่วโมง หรือ 12 ชั่วโมง จึงทําให้แรงงานนอกระบบไม่ แรงงานนอกระบบไม่มีโอกาสที่จะ ทํางานอื่นเพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น ขณะที่แรงงานในระบบมีอัตราค่าจ้างที่แน่นอนและมีรายได้ไม่ต่ํากว่า ค่าจ้างขั้นต่ํา ทําให้ช่องว่างรายได้ของแรงงานในระบบและนอกระบบแตกต่างกันมากขึ้น นอกจากนี้ แรงงานนอกระบบไม่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องความปลอดภั ความปลอดภัยในการ ทํางานและการถูกเลิกจ้าง เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคเกษตรและประมง งานบริการ หัตถกรรมและ อาชีพต้องใช้แรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่ได้รับการดูแลจากหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับความปลอดภัยจาก การทํางาน โดยส่วนใหญ่ได้รับอันตรายจากสารเคมี และเครื่องมือที อที่เป็นอันตราย ทําให้แรงงานนอกระบบมี อัตราการได้รับบาดเจ็บจากการทํางาน 174 ต่อ 1,000 ประชากร ขณะที่แรงงานในระบบมีอัตราการบาดเจ็บ จากการทํางานอยู่ที่ 106 ต่อ 1,000 000 ประชากร สูงกว่า 1.64 เท่า ซึ่งการได้รับบาดเจ็บและอันตรายจากการ ทํางานเป็นความเสี่ยงที่สําคัญต่อสุขภาพและความสามารถในการประกอบอาชี ภาพและความสามารถในการประกอบอาชีพซึ่งส่งผลต่อการทํางานและ รายได้ของแรงงาน นอกจากนี้ แรงงานนอกระบบที แรงงานนอกระบบที่เป็นผู้รับงานมาทําที่บ้าน ลูกจ้างรายวันยังไม่ได้รับการ คุ้มครองกรณีการถูกเลิกจ้าง
52 1) การเข้าถึงบริการไฟฟ้าภายในบ้าน ครัวเรือนร้อยละ 99.58 มีไฟฟ้าใช้ ภายในบ้าน จะมีบ้างเล็กน้อยในกลุ่มครัวเรือนที่ยากจนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการ ซึ่งจะเป็นครัวเรือนที่ อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุระกันดานหรือไม่มีเงินเพียงพอที่จะติดตั้งมิเตอร์หรือไม่มีเลขที่บ้าน 2) การเข้าถึงบริการน้ําประปาภายในบ้าน ยังมีครัวเรือนประมาณร้อยละ 27.02 ที่ยังไม่มีน้ําประปาใช้ภายในบ้าน และยังมีความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงบริการน้ําประปาภายในบ้าน ระหว่างครัวเรือนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกัน และมีความเหลื่อมล้ําระหว่างครัวเรือนที่อยู่ในเขตเมือกับ เขตชนบท แม้ว่าการให้บริการน้ําประปาแก่ครัวเรือนมีความครอบคลุมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 64.97 ของครัวเรือนทั้งหมด ในปี2549 ได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 72.98 ในปี 2553 แต่ก็ยังมีครัวเรือนที่ยังไม่มี น้ําประปาใช้ภายในบ้านโดยเฉพาะครัวเรือนที่ยากจนหรือครัวเรือนที่มีรายได้ต่ํา เมื่อเปรียบเทียบครัวเรือน ยากจนกับครัวเรือนไม่ยากจน พบว่า ครัวเรือนไม่ยากจนมีน้ําประปาใช้ภายในบ้านในสัดส่วนที่สูงกว่าครัวเรือน ยากจนทั้งที่อยู่ในเขตเมืองและเขตชนบท นอกจากนี้ การมีน้ําประปาใช้ในครัวเรือนจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นตาม การเพิ่มขึ้นของระดับรายได้ในครัวเรือน โดยในปี 2553 กลุ่มครัวเรือน 10% ที่1 จนสุด มีน้ําประปาใช้ภายใน บ้านครอบคลุมร้อยละ 59.93 ขณะที่ กลุ่มครัวเรือน 10% ที่10 รวยสุด มีน้ําประปาใช้ภายในบ้านครอบคลุม ร้อยละ 86.03 และครัวเรือนในเขตเมืองมีน้ําประปาใช้ภายในบ้านครอบคลุมในสัดส่วนที่สูงกว่าในเขตชนบท กล่าวคือมีความครอบคลุมร้อยละ 86.70 และ ร้อยละ 65.16 ตามลําดับ อย่างไรก็ตาม การให้บริการน้ําประปาของภาครัฐยังมีความเหลื่อมล้ํา ระหว่า งพื้นที่แม้ว่าในภาพรวมครัวเรือนส่ว นใหญ่ส ามารถเข้า ถึงบริการน้ําประปาที่ภ าครัฐ จัดหา แต่การ ให้บริการทั้งในส่วนของประปานครหลวง (กปน.) ประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ประปาเทศบาลและประปา หมู่บ้านยังมีความไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือ ในปี 2553 ประชากรในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลได้รับบริการ น้ําประปาถึงร้อยละ 96.4 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่พื้นที่เขตเทศบาลในส่วนภูมิภาคยังมีการขาดแคลน น้ําประปาในหลายพื้นที่ โดยภาคเหนือขาดแคลนมากที่สุดถึง 432,559 ลบ.ม./วัน รองลงมาคือภาคใต้และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ18 จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ต้องประสบปัญหา น้ําประปาไม่ไหล น้ําไหลอ่อนและแรงดันน้ําไม่สม่ําเสมอ ส่วนพื้นที่นอกเขตเทศบาล จากการสํารวจของกรม ทรัพยากรน้ํา พบว่าในปี 2552 ยังมีหมู่บ้านที่ไม่มีระบบประปาจํานวน 6,491 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 8.8 ของหมู่บ้านทั้งหมด และมีหมู่บ้านที่มีระบบประปาแต่ชํารุดจํานวน 18,267 หมู่บ้านคิดเป็นร้อยละ 24.7 ของ หมู่บ้านทั้งหมด และหากคิดเป็นจํานวนครัวเรือน จากข้อมูล กชช.2ค ในปี 2552 มีครัวเรือนในชนบทที่ยังไม่มี น้ําประปาใช้ถึง 1,697,784 ครัวเรือนหรือร้อยละ 19.8 นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนในชนบทเกือบ 2,000 แห่งที่ ขาดแคลนน้ําสะอาดสําหรับการอุปโภคบริโภค ซึ่งการขาดแคลนน้ําสะอาดสําหรับการอุปโภคบริโภคอาจส่งผล ต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่นั้นๆ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนซึ่งจะเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนา ประเทศ รวมทั้งยังส่งผลให้งบประมาณในการรักษาพยาบาลของรัฐ เพิ่มขึ้น ดังนั้น ภาครั ฐ ต้องมีการวาง แผนการจัดการน้ําอย่างครบวงจรทั้งการหาแหล่งน้ําดิบเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตน้ําประปาในแหล่งที่ขาดแคลน น้ํา เช่น แหล่งท่องเที่ยวและแหล่งอุตสาหกรรม และขยายบริการประปาให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ในชนบท โดย การสนับสนุนด้านงบประมาณแม้ว่าการลงทุนอาจมีผลตอบแทนไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจก็ตาม เนื่องจากเป็น พื้นที่ห่างไกล
18
โครงการศึกษาความต้องการน้ําสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคของประเทศไทย สศช. ปี 2552
53 ประชาชนในชนบทบริโภคน้ําที่มีมาตรฐานต่ํา กว่า คนในเมือง ซึ่งอาจ ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนปัจจุบันการกําหนดมาตรฐานการตรวจสอบน้ําเพี่อการอุปโภคบริโภคมี ความหลากหลาย โดยคนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลและเขตเมืองในภูมิภาค บริโภคน้ําประปาที่ได้รับการ ตรวจสอบและควบคุมตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ขณะที่ประปาเทศบาลและประปาหมู่บ้านอ้างอิง มาตรฐานของกรมอนามัย ซึ่งมีพารามิเตอร์หลายตัวที่ต่ํากว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก เช่น ตะกั่วและ เหล็ก เป็นต้น นอกจากมาตรฐานที่ต่ํากว่าแล้ว ประปาเทศบาลและประปาหมู่บ้านยังให้ความสําคัญกับการสุ่ม ตรวจคุณภาพน้ําน้อยกว่ากปน.และ กปภ. โดยพบว่าเทศบาลบางแห่งมีการตรวจสอบคุณภาพน้ําทางด้าน กายภาพ เคมีและแบคทีเรียเพียง 2 ครั้งต่อปี และบางแห่งไม่ตรวจสอบเลย ขณะที่ กปภ.จะสุ่มตรวจทางเคมี 1 ตัวอย่าง/เดือน ส่วนกปน.จะสุ่มตรวจ 1 ตัวอย่างต่อสถานีสูบจ่ายน้ําและเส้นท่อระบบจ่ายน้ําปีละไม่น้อยกว่า 1,200 ตัว อย่าง19 และจากการสุ่มตรวจคุณภาพน้ําของกรมอนามัยระหว่างปี 2550-2553 พบว่าคุณภาพ น้ําประปาเทศบาลและหมู่บ้านมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 40 และ 20 ตามลําดับ ปัญหาหลักของคุณภาพน้ําที่ตรวจพบทุกประเภท คือการปนเปื้อนแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัล โคลิฟอร์มแบคทีเรีย ที่จะนําไปสู่การเกิดโรคอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ ไวรัสตับอักเสบเอ และพยาธิ จะเห็นได้ ว่า คนที่อ าศัย ในเขตชนบทและเขตเทศบาลบางส่ว น ต้องได้รั บ ผลกระทบจากการบริ โ ภคน้ํ า ที่ ไ ม่ส ะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งอาจจะทําให้เสียค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพมากขึ้น เป็นการซ้ําเติมปัญหาความยากจนของคนชนบทให้รุนแรงขึ้น ดังนั้นภาครัฐต้องให้ความสําคัญกับเรื่องคุณภาพ ของน้ําของประปาเทศบาล และประปาหมู่บ้า นที่ยังต่ํากว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยการส่งเสริมศักยภาพของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารกิจการประปา เช่น การจัดอบรมให้ความรู้ที่จําเป็นเกี่ยวกับกิจการ ประปา เป็นต้น
19
โครงการศึกษาความต้องการน้ําสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคของประเทศไทย สศช. ปี 2552
54 ตารางที่ 44 ร้อยละของครัวเรือน จําแนกตามกลุ่มครัวเรือนตามระดับรายได้ และการเข้าถึงบริการพื้นฐาน ปี2549-2552 (บริการพื้นฐาน : ไฟฟ้าภายในบ้าน น้ําประปาภายในบ้าน โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลือ่ นที)่ 3 2550
77 - 9 * 10% 1 ( ) 2.39 97.61 1.40 98.60 10% 2 1.39 98.61 0.60 99.40 10% 3 0.93 99.07 0.45 99.55 10% 4 0.68 99.32 0.30 99.70 10% 5 0.24 99.76 0.39 99.61 10% 6 0.39 99.61 0.21 99.79 10% 7 0.41 99.59 0.11 99.89 10% 8 0.11 99.89 100.00 10% 9 0.14 99.86 100.00 10% 1 0 ) 0.07 99.93 0.04 99.96 0.68 99.32 0.35 99.65 :; 3 %3 94- 9 * 10% 1 ( ) 46.45 53.55 43.49 56.51 10% 2 45.88 54.12 40.08 59.92 10% 3 41.88 58.12 40.03 59.97 10% 4 40.63 59.37 37.93 62.07 10% 5 37.43 62.57 35.82 64.18 10% 6 37.79 62.21 32.09 67.91 10% 7 33.26 66.74 29.81 70.19 10% 8 25.82 74.18 25.25 74.75 10% 9 21.97 78.03 19.71 80.29 10% 1 0 ) 19.23 80.77 17.12 82.88 35.03 64.97 32.13 67.87 < = 2 2+: > 10% 1 ( ) 96.84 3.16 96.90 3.10 10% 2 95.43 4.57 94.36 5.64 10% 3 92.13 7.87 91.33 8.67 10% 4 88.44 11.56 88.32 11.68 10% 5 84.06 15.94 83.93 16.07 10% 6 77.68 22.32 78.13 21.87 10% 7 70.94 29.06 72.00 28.00 10% 8 66.06 33.94 68.51 31.49 10% 9 58.01 41.99 61.17 38.83 10% 1 0 ) 40.43 59.57 40.31 59.69 77.00 23.00 77.50 22.50 < = 2 + $ 10% 1 ( ) 57.53 42.47 45.49 54.51 10% 2 48.18 51.82 36.13 63.87 10% 3 40.53 59.47 30.45 69.55 10% 4 34.68 65.32 27.33 72.67 10% 5 26.94 73.06 22.09 77.91 10% 6 23.22 76.78 17.04 82.96 10% 7 18.24 81.76 12.79 87.21 10% 8 14.05 85.95 9.94 90.06 10% 9 9.32 90.68 6.42 93.58 10% 1 0 ) 5.25 94.75 3.56 96.44 27.79 72.21 21.12 78.88 : #( "" ) (4 K LM" (N# ) 5 5 ? ) " )@ N D O , # #P ) "C Q M #N# O 4 ) 5 )KO. "# 5 ? ! 5 ?
3 2549
3 2552
1.91 1.54 1.24 0.99 1.34 1.42 0.87 0.98 0.87 0.79 1.19
98.09 98.46 98.76 99.01 98.66 98.58 99.13 99.02 99.13 99.21 98.81
40.18 34.61 33.11 32.57 30.28 29.43 27.41 19.92 21.24 15.66 28.44
59.82 65.39 66.89 67.43 69.72 70.57 72.59 80.08 78.76 84.34 71.56
97.13 94.95 92.37 90.83 86.33 81.17 74.82 70.18 60.72 42.86 79.13
2.87 5.05 7.63 9.17 13.67 18.83 25.18 29.82 39.28 57.14 20.87
25.27 18.51 15.98 13.45 12.88 10.79 7.60 5.38 3.78 2.18 11.58
74.73 81.49 84.02 86.55 87.12 89.21 92.40 94.62 96.22 97.82 88.42
55 ตารางที่ 45 ร้อยละของครัวเรือน จําแนกตามกลุ่มครัวเรือนตามระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบรืโภค และการเข้าถึงบริการพื้นฐาน ปี 2553 (บริการพื้นฐาน : ไฟฟ้าภายในบ้าน น้ําประปาภายในบ้าน โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที)่ 5 ? ?
77 - 9 * 10% 1 ( ) 1.58 98.42 0.83 99.17 10% 2 0.43 99.57 0.28 99.72 10% 3 0.55 99.45 0.46 99.54 10% 4 0.23 99.77 0.09 99.91 10% 5 0.16 99.84 0.04 99.96 10% 6 0.17 99.83 0.11 99.89 10% 7 0.15 99.85 0.14 99.86 10% 8 0.14 99.86 0.02 99.98 10% 9 0.02 99.98 0.04 99.96 10% 1 0 ( ") 0.11 99.89 0.03 99.97 0.30 99.70 0.10 99.90 :; 3 %3 - 9 * 10% 1 ( ) 40.07 59.93 31.18 68.82 10% 2 34.36 65.64 25.65 74.35 10% 3 31.99 68.01 25.17 74.83 10% 4 33.13 66.87 19.26 80.74 10% 5 29.02 70.98 20.09 79.91 10% 6 30.90 69.10 19.58 80.42 10% 7 27.22 72.78 14.50 85.50 10% 8 22.20 77.80 11.50 88.50 10% 9 20.14 79.86 9.60 90.40 10% 1 0 ( ") 13.97 86.03 6.22 93.78 27.02 72.98 13.30 86.70 < = 2 2+: > 10% 1 ( ) 98.91 1.09 97.08 2.92 10% 2 97.42 2.58 92.64 7.36 10% 3 95.65 4.35 87.71 12.29 10% 4 93.51 6.49 85.07 14.93 10% 5 89.64 10.36 82.18 17.82 10% 6 86.15 13.85 77.56 22.44 10% 7 80.40 19.60 70.68 29.32 10% 8 74.30 25.70 67.12 32.88 10% 9 67.49 32.51 60.28 39.72 10% 1 0 ( ") 52.88 47.12 44.23 55.77 81.14 18.86 65.72 34.28 < = 2 + $ 10% 1 ( ) 24.43 75.57 24.07 75.93 10% 2 15.30 84.70 16.36 83.64 10% 3 13.10 86.90 13.10 86.90 10% 4 11.67 88.33 11.32 88.68 10% 5 10.72 89.28 9.42 90.58 10% 6 9.74 90.26 8.51 91.49 10% 7 8.20 91.80 6.74 93.26 10% 8 5.64 94.36 4.83 95.17 10% 9 4.10 95.90 4.68 95.32 10% 1 0 ( ") 2.57 97.43 2.18 97.82 9.55 90.45 6.43 93.57 : #( "" ) (4 K LM" (N# ) 5 5 ? ) " )@ ND O , # #P ) "C Q M #N# O 4 ) 5 )KO. "# 5 ? ! ( C? " P45! P45 5 ?
5 ? D
5 ? O ! 1.66 0.45 0.57 0.27 0.20 0.20 0.16 0.25 0.25 0.42
98.34 99.55 99.43 99.73 99.80 99.80 99.84 99.75 100.00 99.75 99.58
40.99 35.83 33.41 36.69 32.38 36.19 35.92 31.86 34.23 28.72 34.84
59.01 64.17 66.59 63.31 67.62 63.81 64.08 68.14 65.77 71.28 65.16
99.10 98.23 97.30 95.68 92.44 90.17 87.04 80.77 77.13 69.33 89.92
0.90 1.77 2.70 4.32 7.56 9.83 12.96 19.23 22.87 30.67 10.08
24.47 15.12 13.10 11.76 11.21 10.32 9.20 6.37 3.31 3.33 11.33
75.53 84.88 86.90 88.24 88.79 89.68 90.80 93.63 96.69 96.67 88.67
56 ตารางที่ 46 ร้อยละของครัวเรือนยากจนและไม่ยากจน จําแนกตามการเข้าถึงบริการพื้นฐาน ปี 2553 (บริการพื้นฐาน : ไฟฟ้าภายในบ้าน น้ําประปาภายในบ้าน โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที)่ +$ : ?
+$ @, +$
+$ @,4 *
"(
"(
0.18 1.91 0.30
99.82 98.09 99.70
77 - 9 * 0.07 99.93 1.08 98.92 0.10 99.90
0.25 2.03 0.42
99.75 97.97 99.58
"(
"(
26.09 39.80 27.02
73.91 60.20 72.98
:; 3 %3 - 9 * 12.96 87.04 27.39 72.61 13.30 86.70
34.15 41.57 34.84
65.85 58.43 65.16
"(
"(
79.84 98.90 81.14
20.16 1.10 18.86
< = 2 2 +: > 64.96 35.04 97.38 2.62 65.72 34.28
88.97 99.11 89.92
11.03 0.89 10.08
8.91 34.83 11.33
91.09 65.17 88.67
< = 2 + $ "( 7.70 92.30 5.74 94.26
"( 34.91 65.09 35.42 64.58 9.55 90.45 6.43 93.57 : #( "" ) (4 K LM" (N# ) 5 5 ? ) " )@ ND O , # #P ) "C Q M #N# O 4 ) 5 )KO.
โครงสร้ า งราคาค่ า น้ํ า มี ค วามแตกต่ า งกั น ทํ า ให้ เ กิ ด ความเหลื่ อ มล้ํ า ระหว่างประชาชนในแต่ละพื้นที่หากพิจารณาการกําหนดราคาค่าน้ําของแต่ละหน่วยบริการจะพบว่ามีความ แตกต่างกันมากระหว่างคนที่อยู่อาศัยในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการใช้น้ําขั้นต่ําในช่วง 0-30 ลบ.ม. ปรากฎว่าคนที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรีและสมุทรปราการ เสียค่าน้ําในอัตรา 8.50 บาท/ลบ.ม. ซึ่งต่ํา มากเมื่อเทียบกับคนที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัด ที่ต้องจ่ายค่าน้ําในอัตราก้าวหน้า คือ 10.20- 13.20 บาท/ ลบ.ม. (รายละเอียดปรากฎตามตาราง) ทําให้คนกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นประชากรส่วนน้อยเมื่อเทียบกับคนในภูมิภาคได้รับ ผลประโยชน์จากการใช้น้ําในราคาถูก ทั้งๆ ที่ไม่มีแหล่งน้ําเป็นของตนเอง และมีการใช้น้ําที่ฟุ่มเฟือยเมื่อเทียบ กับคนในจังหวัดอื่น สําหรับคนอีกกลุ่มที่ต้องจ่ายค่าน้ําในราคาแพงคือคนที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออก (ชลบุรี พัทยา แหลมฉบัง ศรีราชา พนัสนิคม และบ้านบึง) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม โดยบ้านอยู่อาศัยที่ ใช้น้ําระหว่าง 0-30 ลบ.ม. เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าคนในกรุงเทพฯ ประมาณ 2 เท่า ทั้งนี้เนื่องจากการผลิตน้ําใน เขตดังกล่าวมีต้นทุนสูง เนื่องจากต้องผลิตน้ําประปาเพื่อสนองความต้องการของผู้ที่เข้ามาลงทุนซึ่งส่วนใหญ่ เป็นคนในพื้นที่อื่นสําหรับคนในชนบทซึ่งใช้ระบบประปาเทศบาลและประปาหมู่บ้าน จะเสียค่าน้ําในอัตราต่ํา ประมาณ 2-13 บาทต่อลบ.ม. ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการเมืองท้องถิ่นที่ต้องการให้ประชาชนรับภาระ ได้ แม้ว่าคนชนบทจะได้รับประโยชน์จากการจ่ายค่าน้ําในอัตราต่ําทําให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน แต่อาจ ต้องแลกกับการได้บริโภคน้ําและได้รับบริการที่ไม่มีดีพอเนื่องจากประปาเทศบาลหรือประปาหมู่บ้านไม่มี รายได้เพียงพอที่จะนํามาปรับปรุงคุณภาพน้ําและประสิทธิภาพการให้บริการ จากการที่หน่วยงานที่ให้บริการด้านประปาทําหน้าที่กํากับและดูแลด้าน โครงสร้า งอัต ราค่า น้ํา และคุ ณภาพการให้บ ริก ารด้ว ย ทํา ให้บ ริ การและคุณ ภาพน้ํ า ในบางพื้น ที่ยังต่ํ า กว่ า มาตรฐานสากลและเกิดความไม่เท่าเทียมกัน20 จึงควรผลักดันให้มีการจัดตั้งองค์กรเฉพาะเพื่อแยกบทบาทการ กําหนดนโยบาย การกํากับดูแลและการประกอบกิจการออกจากกัน และรัฐควรกําหนดอัตราค่าน้ําที่สะท้อน ต้นทุน มีความเป็นธรรมต่อทั้งผู้ใช้น้ําและผู้ให้บริการ รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ําและมีการใช้น้ํา อย่างประหยัด 20
แนวทางการจัดการน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภคของประเทศ สํานักวิเคราะห์โครงการลงทุนภาครัฐ สศช.
57
ตารางที่ 47 อัตราค่าใช้น้ําประเภทผู้อยู่อาศัยของ กปน. กปภ. และเทศบาล เปรียบเทียบช่วงการใช้น้ําไม่เกิน 30 ลบ.ม. ปริมาณการใช้ น้ํา(ลบ.ม.)
กปน.
กปภ.1/
0-30 0-10 11-20 21-30
8.50 -
10.20 10.95 13.20
ราคาต่อ ลบ.ม. ประปาเทศบาล กปภ.2/ นครราชสีมา(ในเขต เทศบาล) 14.20 4.00 14.95 5.00 17.20 6.00
ประปาเทศบาล นครราชสีมา(นอกเขต เทศบาล) 7.00 8.00 10.00
ที่มา : กปน. กปภ. และสํานักงานประปาเทศบาลนครราชสีมา หมายเหตุ : 1/ ยกเว้น ชลบุรี พัทยา แหลมฉบัง ศรีราชา พนัสนิคม และบ้านบึง 2 / เฉพาะชลบุรี พัทยา แหลมฉบัง ศรีราชา พนัสนิคม และบ้านบึง
3) การเข้าถึงบริการโทรศัพท์โทรศัพท์เคลื่อนที่มีใช้เกือบทุกครัวเรือน (ร้อย ละ 90.45 ของครัวเรือนทั้งหมด) แต่โทรศัพท์พื้นฐานมีครัวเรือนเข้าถึงบริการเพียงร้อยละ 18.86 ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นครัวเรือนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและอยู่ในเขตเมือง ปัจจุบันโทรศัพท์เป็นปัจจัยสําคัญสําหรับ ติดต่อสื่อสารในด้านอาชีพธุรกิจและธุระส่วนตัว แต่ด้วยบริการโทรศัพท์พื้นฐานมีข้อจํากัดด้านคู่สายซึ่งมีน้อย โดยเฉพาะในเขตชนบท จึ ง หั น มาใช้ โ ทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ กั น แทบทุ ก ครั ว เรื อ น และครั ว เรื อ นมี ก ารใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 72.21 ของครัวเรือนทั้งหมด ในปี 2549 เพิ่มเป็นร้อยละ 90.45 ในปี 2553 อย่า งไรก็ต ามเป็นที่น่า สังเกตว่า ครัว เรือนในเขตเมืองและครัว เรือนในเขตชนบท มี โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้ในครัวเรือนในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกัน โดยสัดส่วนการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นตามการ เพิ่มขึ้นของระดับรายได้ในครัวเรือน ในปี 2553 กลุ่มครัวเรือน 10% ที่1 จนสุด มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้ภายใน บ้านครอบคลุมร้อยละ 75.57 ขณะที่ กลุ่มครัวเรือน 10% ที่10 รวยสุด มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้ภายในบ้าน ครอบคลุมร้อยละ 97.43 การให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์สาธารณะยังกระจุกตัวอยู่ใน เขตเมืองแม้ว่าประเทศไทยจะได้มีการพัฒ นาโครงสร้า งพื้น ฐานด้า นการสื่อสารและโทรคมนาคมมาอย่า ง ต่อเนื่อง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วยังอยู่ในเกณฑ์ต่ํา โดยในปี 2552 จํานวนเลขหมายโทรศัพท์ ที่เปิดใช้ 6.58 ล้านเลขหมายหรือ 10.4 เลขหมายต่อประชากร 100 คน อยู่ในอันดับที่ 53 จาก 58 ประเทศ เทียบกับมาเลเซียและญี่ปุ่น 15.9 และ 38.0 เลขหมายต่อประชากร 100 คนตามลําดับ และยังมีการกระจุก ตัวของการให้บริการ โดยกรุงเทพมหานครมีจํานวนโทรศัพท์ที่เปิดใช้บริการ 37 เลขหมายต่อประชากร 100 คน สูง กว่ า ในภูมิ ภ าคที่ มี เ พี ย ง 5.99 เลขหมาย ต่า งกัน ถึ ง 6 เท่ า ขณะเดี ย วกั น การให้บ ริ การโทรศั พ ท์ สาธารณะยังกระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง และมีแนวโน้มลดลงจาก 0.33 ล้านเครื่อง เป็น 0.30 ล้านเครื่องในช่วงปี 2550-2552 โดยกรุงเทพมหานครมีโ ทรศัพท์สาธารณะ 10.9 เครื่องต่อประชากร 1,000 คน มากกว่าใน ภูมิภาคที่มีเพียง 3.7 เครื่องต่อประชากร 1,000 คน ต่างกันถึง 3 เท่า และในหมู่บ้านมีโทรศัพท์สาธารณะเฉลี่ย 1.5 เลขหมายต่อหมู่บ้าน หรือหมู่บ้านมีโทรศัพท์สาธารณะประมาณร้อยละ 70.5 ของหมู่บ้านทั้งหมด และ 1 ใน 4 เป็นโทรศัพท์เ สีย ส่งผลให้พื้นที่นอกเขตเทศบาลยังมีความขาดแคลนโทรศัพท์ส าธารณะ โดยเฉพาะ ประชาชนที่ไปใช้บริการในสถานที่สาธารณะของหมู่บ้าน เช่น โรงเรียน สถานสงเคราะห์คนชรา สถานีอนามัย
58 มีความต้องการใช้โทรศัพท์สาธารณะในสถานที่ดังกล่าวถึงร้อยละ 80 จึงจําเป็นที่รัฐจะต้องจัดบริการพื้นฐานให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ตารางที่ 48 จํานวนโทรศัพท์พื้นฐาน และหมายเลขที่เปิดใช้ต่อประชากร 100 คน จําแนกตามพื้นที่ รายการ โทรศัพท์พื้นฐาน จํานวนหมายเลขที่เปิดใช้ (ล้านเลขหมาย) จํานวนหมายเลขที่เปิดใช้ต่อประชากร 100 คน - กรุงเทพมหานคร - ภูมิภาค โทรศัพท์สาธารณะ จํานวนหมายเลขที่เปิดใช้ (ล้านเลขหมาย) จํานวนหมายเลขทีเ่ ปิดใช้ต่อประชากร 1,000 คน - กรุงเทพมหานคร - ภูมิภาค
2550
2551
2552
6.71 10.64 38.82 6.09
6.66 10.51 37.77 6.10
6.58 10.37 36.99 5.99
0.33 5.17 12.19 4.03
0.31 4.93 11.16 3.92
0.30 4.66 10.88 3.65
ที่มา : รายงานประจําปี2553 บริษัท ทีโอที จํากัดมหาชน
การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของคนไทยยังมีน้อย นําไปสู่ความได้เปรียบ และเสียเปรียบระหว่างคนในประเทศปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลสารสนเทศและความรู้ การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถสร้างความแตกต่างของรายได้ สถานภาพทางสังคม และการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ขณะที่คนไทยยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่าง ทั่วถึง ในปี 2553 มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือเพียงร้อยละ 30.9 22.4 และ 61.8 ของประชากรตามลําดับ และยังมีความแตกต่างระหว่างภูมิภาคโดยกรุงเทพมหานครมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และ อินเทอร์เน็ตสูงกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึง 1.8 และ 2.1 เท่าตามลําดับหากพิจารณาถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่ง เป็นเครื่องมือที่จะทําให้เข้าถึง และใช้ประโยชน์สารสนเทศและความรู้นั้น คนไทยเข้าถึงเพียงประมาณ 1 ใน 5 เท่านั้น อีกทั้งยังกระจุกตัวในกรุงเทพมหานครและภาคกลาง อยู่ในเขตเทศบาลมากกว่านอกเขตเทศบาลถึงกว่า 2 เท่า ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังมีความเหลื่อมล้ํา ในการได้รับ บริการที่บ างพื้น ที่มีอิน เทอร์เ น็ ต ความเร็วสูงใช้แต่บางพื้นที่มีอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ํา โดยผู้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมีเพียงร้อยละ 19.3 ของผู้ ใช้ อิน เทอร์ เ น็ต หรื อมี จํา นวน 2.67 ล้า นคน จากผู้ ใ ช้อิ น เทอร์เ น็ ต จํ า นวน 13.8 ล้ า นคน เนื่อ งจาก โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่สะดวกและทั่วถึง รวมทั้งข้อจํากัดด้านโครงข่ายคมนาคมที่จะเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย อินเทอร์เน็ตของประชาชน และราคาที่เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในชนบทที่ขาดโอกาสเข้าถึง แหล่งข้อมูลข่าวสารความรู้ที่จะนําไปสู่การลดช่องว่างทางรายได้ ทํา ให้ ไม่สามารถหลุดพ้นจากวงจรความ ยากจนได้
59
ภาพที่ 28 ร้อยละผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต จําแนกตามเขตการปกครอง พ.ศ. 2547 - 2553 $!% 50 45 40 35 30 25 20 15 10 5 0
33.2
36.3
35.5
36.9
39.2 29
21.4
23.4
21.2
21.3
19.7
10.2
7.2
2547
2548
4)
2549
32.8
43.4 35.1
!
24.8
" ! 22.3
15.6 8
42
11.4
2550
23.3
23.6
13.4
14.5
2551
2552
25.2 16.5
# !
# " !
2553
ความเหลื่อมล้ําในคุณภาพด้านคมนาคมทางบก
คุณ ภาพมาตรฐานของถนนในเขตชนบทจะด้ อยกว่ า ในเขตเมื อง จึ ง ส่งผลกระทบต่อการดํารงชีวิตของคนในชนบททําให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น แม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านถนนของ ประเทศจะได้รับการพัฒนาเป็นถนนคอนกรีตและลาดยางถึงร้อยละ 90 และรัฐบาลได้มีโครงการถนนไร้ฝุ่น ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 แล้วก็ตาม แต่ยังมีประชาชนในชนบทที่ประสบปัญหาการคมนาคม ขนส่งทางถนนลูกรัง ซึ่งมีระยะทางประมาณ 20,000 กม. หรือร้อยละ 10 ของระยะทางทั้งหมด โดยมีหมู่บ้าน ที่ประสบปัญหาระดับรุนแรง ถนนใช้การได้ไม่ดีตลอดปีจํานวน 2,973 หมู่บ้านหรือร้อยละ 4.2 ของหมู่บ้าน ทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ ในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ และหมู่บ้านที่มีปัญหาระดับ ปานกลางจํา นวน 31,511 หมู่บ้าน ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคระหว่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองกับเขตชนบท และระหว่างเขต ชนบทกับเขตชนบทที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรม เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการของรัฐ อย่างเท่าเทียมกันทั้งนี้ประชาชนที่ใช้ถนนลูกรังจะมีภาระค่าใช้จ่ายในการดํารงชีวิตมากกว่าผู้ที่ใช้ถนนลาดยาง กล่าวคือในการเดินทางและขนส่งพืชผลทางการเกษตรจะใช้น้ํามันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 4 กิโลเมตรต่อลิตร (ถนน ลูกรัง รถยนต์ ใช้ความเร็ว เฉลี่ย 40 กิ โลเมตรต่อชั่วโมง จะใช้น้ํามัน เชื้อเพลิง 14 กิ โลเมตรต่อลิตร ขณะที่ ถนนลาดยางใช้ความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้น้ํามันเชื้อเพลิง 18 กิโลเมตรต่อลิตร) และมีค่าบํารุงรักษา รถยนต์มากกว่า 1.5 เท่า หรือ 2,558 บาทต่อปี (โดยรถยนต์ที่ใช้ถนนลูกรังมีค่าบํารุงรักษาปีละ 7,540 บาท ขณะที่รถยนต์ที่ใช้ถนนลาดยาง 4,982 บาท21) และในด้านผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิต ประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบจากฝุ่นละออง ต้องเสียค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลโรคที่เกี่ยวกับฝุ่นละออง ประมาณร้อยละ 1.6 ของรายได้ต่อเดือนหรือประมาณ 131 บาทหรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของค่ารักษาพยาบาลทุกโรคของแต่ละ ครอบครัว 22 และในแต่ล ะปีอาจจะมีผู้ เ สีย ชี วิต ประมาณ 4,000-5,500 คน จากประชากร 10 ล้า นคน23 นอกจากนี้ยังเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น เช่น การเชื่อมโยงสู่แหล่งท่องเที่ยว และการ จําหน่ายสินค้า OTOP เป็นต้น สถานการณ์ความเหลื่อมล้ําดังกล่าว จึงเป็นการซ้ําเติมคนจน ซึ่งเป็นผู้ที่มี รายได้ต่ํา แต่กลับต้องรับภาระต่อต้นทุนการดํารงชีวิตที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการ พัฒนา รัฐจะต้องลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐให้ทั่วถึง มีถนนที่ได้มาตรฐาน สามารถเดินทาง 21
บริษัท อิซูซุ ประเทศไทย จํากัด วิทยาลัยการสาธารณสุข, 2538 23 บริษัทแฮกเลอร์ เบลลี่ เซอร์วิส, 2541 22
60 และขนส่งสินค้าตลอดฤดูกาลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีต้นทุนการเดินทาง ขนส่งลดลง เพื่อ ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทให้ดีขึ้น นําไปสู่การหลุดพ้นจากความยากจน การบริการของรถไฟด้อยประสิทธิภาพกระทบต่อประชาชนที่มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการหลัก ขณะที่ประชาชนที่มีฐานะหันไปใช้บริการอื่นทดแทน ปัจจุบันคนไทยเดินทางทางถนน ร้อยละ 74 ทางรถไฟร้อยละ 21 และ ทางอากาศร้อยละ 5 และมีแนวโน้มเดินทางทางถนน และอากาศเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว ขณะที่รถไฟมีขีดความสามารถและคุณภาพการให้บริการที่ต่ําใน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความสะดวก รวดเร็ว ความตรงต่อเวลา และความปลอดภัย ทําให้ปริมาณผู้โดยสาร ลดลงร้อยละ 2.49 ในช่วงปี 2546 – 2553 หรือจาก 54,130 พันคน เป็น 45,124 พัน คน ในช่ว งเวลา ดังกล่าว โดยที่รถไฟเป็นบริการพื้นฐานที่มีอัตราค่าโดยสารต่ําสุด ประมาณ 0.19 บาทต่อกิโลเมตร (รถโดยสาร 1.18 รถยนต์ส่วนบุคคล 5.79 บาทต่อกิโลเมตร) ประชาชนที่มีรายได้น้อยจึงเป็นผู้ใช้บริการหลัก โดยเฉพาะ รถไฟชั้น 3 ถึงร้อยละ 83 ของผู้โดยสารทั้งหมด ขณะที่ร้อยละ 93 ของทางรถไฟเป็นระบบทางเดี่ยว ทําให้ต้อง รอการสับหลีกขบวนรถ ซึ่งการรถไฟจะให้ความสําคัญการสับหลีกกับขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์เป็นลําดับ แรก และจัดให้ขบวนรถโดยสารเชิงสังคมอยู่ในลําดับค่อนข้างต่ํา อีกทัง้ ข้อจํากัดความเร็วเฉลี่ยประมาณ 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรถไฟตกรางเฉลี่ยปีละ 106 ครั้ง ส่งผลให้รถโดยสารเชิงสังคมเดินทางไม่ตรงต่อเวลาถึง ร้อยละ 47.8 ของขบวนรถไฟทั้ งหมด กระทบต่ อผู้ ใช้ บ ริ การที่ ใช้ ร ะยะเวลาการเดิ น ทางมากกว่า บริ การ สาธารณะอื่นๆ สามารถนําเวลาที่สูญเสียไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อีกไม่น้อย ต่างกับผู้ที่มีฐานะทาง เศรษฐกิจดี สามารถเปลี่ยนไปใช้บริการการเดินทางทางถนนและทางอากาศซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว และตรง เวลามากกว่า อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านรถไฟ โดยมีมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 ได้เห็นชอบแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่ง ประเทศไทย (พ.ศ. 2553-2558) เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มความปลอดภัยการให้บริการ ความ ตรงต่อเวลา และความรวดเร็วในการให้บริการ คาดว่าความสําเร็จของแผนฯ ดังกล่าว จะทําให้ประชาชนที่ ด้อยโอกาสจะสามารถเข้าถึงบริการรถไฟที่ได้มาตรฐานและเป็นธรรมมากขึ้น 2.2.5
ความเหลื่อมล้ําด้านกระบวนการยุติธรรม
สิทธิด้านกระบวนการยุติธรรมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนไทยควรจะได้รับ แต่คนไทยส่วน หนึ่ ง ยั ง ไม่ ส ามารถเข้ า ถึ ง กระบวนการยุ ติ ธ รรมได้ อ ย่ า งเสมอภาคโดยเฉพาะคนจน ทั้ ง นี้ ก ารเข้ า ไม่ ถึ ง กระบวนการยุติธรรมมี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบดั้งเดิม เกิดจากความแตกต่างกันด้านเศรษฐกิจและสังคม และ รูปแบบสมัยใหม่เกิดจากการรับรู้ทางสังคมว่าได้รับการเลือกปฏิบัติ (รศ. ดร. จุฑารัตน์ เอื้ออํานวย) สภาพ ปัญหาความเหลื่อมล้ําและความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของสังคมไทย มีลักษณะดังนี24้ เช่น กฎหมายไม่ยอมรับสภาพความเท่าเทียมของคน หมายถึง ระบบคิดของกฎหมายตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า ทุกคนเสมอภาคกัน ในขณะที่สังคมมีความหลากหลาย ทุกคนจึงไม่เท่าเทียมกันส่งผลให้การต่อสู้ทางกฎหมาย ของ 2 ฝ่ายไม่ทัดเทียมกัน การออกแบบกฎหมายจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกิดความไม่เท่าเทียม นอกจากนั้น คนจนและชายขอบยังไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างทั่วถึงส่วนหนึ่งเป็นเพราะการออกแบบไว้ ยากต่อการเข้าถึง เช่น การเน้นแบบแผนของขั้น ตอนปฏิบัติของทางราชการโดยเคร่งครัด ต้องมีเ อกสาร
24
รศ. ดร. จุฑารัตน์ เอื้ออํานวย
61 หลักฐานครบถ้วน การใช้ภาษาที่ยากต่อการเข้าใจ การผูกขาดอํานาจไว้ที่รัฐโดยไม่กระจายสู่ชุมชน รวมทั้งการ ที่การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมีค่าใช้จ่ายสูง การดําเนินคดีใช้เวลายาวนานทําให้ต้นทุนสูง 1) ปัญหาการร้องทุก ข์และข้อขัดแย้งต่า งๆ ในสังคมมีแ นวโน้มสูงขึ้น แม้ว่า จะมี หลายหน่วยงานของรัฐได้จัดให้มีบริการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมในรูปแบบต่างๆ แต่ การดําเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่าง รวดเร็ว ยั ง ขาดประสิ ทธิ ภ าพและไม่ทั่ ว ถึ ง ซึ่ ง ในปั จ จุบั น กระทรวงยุ ติธ รรมและหน่ ว ยงานที่ เ กี่ย วข้ องได้ สนับสนุนให้มี “เครือข่ายยุติธรรมชุมชน” ซึ่งหมายถึง ประชาชน กลุ่ม หรือองค์กรที่มีความสนใจและสมัครใจ ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสานความร่วมมือในการป้องกัน เฝ้าระวังปัญหาอาชญากรรม ตลอดจน เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการและเสริมสร้างความยุติธรรมและ ความสงบสุข โดยกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานหลักได้เข้าไปจัดการฝึกอบรม ให้ความรู้ ทางด้านกฎหมาย และเป็นผู้ให้คําปรึกษา เชื่อมต่อให้ชุมชนดูแลกันเอง ปัจจุบันเครือข่ายยุติธรรมชุมชนที่มี ความเข้มแข็งได้จัดตั้ง "ศูนย์ยุติธรรมชุมชน" เพื่อดําเนินกิจกรรมต่างๆ ที่จะแก้ไขปัญหาผู้เสียหายและผู้ได้รับ ผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน 2) กระทรวงยุติธรรมได้จัดตั้งให้มีกองทุนยุติธรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นไปด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม แต่ยังมีสัดส่วนการ ช่วยเหลือต่อคดีทั้งหมดที่ต่ํามาก โดยกองทุนยุติธรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการสนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านกฎหมาย การฟ้องร้อง การดําเนินคดี หรือการบังคับคดี การ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือการคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพของประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมถึงผู้ที่กระทําการใดๆ เพื่อปกป้อง คุ้มครอง หรือ รักษาทรั พยากรธรรมชาติห รือ สิ่งแวดล้อมซึ่งการดํา เนิน การของกองทุน ยุติ ธ รรมมีจํ า นวนที่ เ พิ่ มขึ้น ทุก ปี กล่าวคือ จากเพียง 177 รายในปีงบประมาณ 2550 เป็น 1,402 รายในปีงบประมาณ 2553 ซึ่งมียอดรวม ทั้งสิ้น 2,646 รายนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 อย่างไรก็ตาม จํานวนการช่วยเหลือดังกล่าวเมื่อเทียบเคียงกับ จํานวนคดีที่เกิดขึ้น (คดีอาญาจํานวน 498,576 คดี และคดีแพ่งจํานวน 491,294 คดี ในปี พ.ศ.2550) นับว่ามี สัดส่วนที่ต่ํามาก ซึ่งหากจะขยายการช่วยเหลือผู้ต้องหาผ่านกองทุนยุติธรรมแล้ว จําเป็นที่จะต้องให้ผู้ต้องหา หรือประชาชนทั่วไปสามารถยื่นคําขอร้องสิทธิหรือเข้าถึงระบบการช่วยเหลือเยียวยาที่สะดวกกว่าในปัจจุบันที่ เป็นในลักษณะของหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดหรือระดับกรมที่ส่วนกลาง 3) หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะองค์กรศาลยุติธรรมประสบปัญหา คดีค้างพิจารณาในศาลเป็นจํานวนมากขณะที่ระบบกลั่นกรองขาดประสิทธิภาพ ทําให้การพิจารณาเกิด ความล่าช้า นําไปสู่ปัญหาการขาดความเป็นธรรม โดยจากข้อมูลของศาลยุติธรรมทั้งสามระดับ พบว่าแม้ จํานวนคดีค้างจะมีแนวโน้มที่ลดลง แต่จํานวนคดีค้างทั้งคดีใหม่และปริมาณคดีค้างที่มีอยู่เดิมเป็นจํานวนมาก โดยในปี พ.ศ.2550มีคดีความที่ค้างพิจารณาในศาลฎีกาจํานวน 28,424 คดี เพิ่มขึ้นเป็น 33,754 คดีในปี พ.ศ. 2553ในขณะที่ปี พ.ศ.2550 มีคดีความที่ค้างพิจารณาในศาลอุทธรณ์จํานวน 58,276 คดี ลดลงเป็น 18671 คดี และมีคดีความที่ค้างพิจารณาในศาลชั้นต้นจํานวน 193,727 คดี ลดลงเป็น 151,103 คดีในขณะเดียวกัน ปริมาณที่เข้าสู่ศาลปกครองที่ผ่านมานั้นมีคดีเข้าสู่ศาลจนถึง 31 ม.ค. 54 จํานวน 63,148 คดี โดยมีสถิติสูงขึ้น ในช่วง 5 ปีระหว่างปี 2549-2553 ซึ่งคดีที่ได้พิจารณาพิพากษาเสร็จ มีจํานวน 48,698 คดี และยังอยู่ระหว่าง การพิจาณา 14,098 คดี ซึ่งการที่มีคดีค้างในกระบวนการยุติธรรมนั้นก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน ที่เป็นคู่ความในคดี ทั้งฝ่ายผู้เสียหาย จําเลย และสังคม ซึ่งอาจนํามาสู่ความเหลื่อมล้ําในสังคม เช่น กรณีจําเลย
62 อาจถูกขังในระหว่างการดําเนินคดี การต้องคดีความรวมถึงการถูกตัดสิทธิและโอกาสหลายประการ โดยเฉพาะ เรื่องของการทํางานชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือที่อาจมีผลต่อหน้าที่การงานธุรกิจหรื จหรือการรับตําแหน่งต่าง ๆ ในสังคมในขณะที่ฝ่ายผู้เสียหายเองก็อาจจะต้องเผชิญความทุกข์จากความรู้สึกที่ไม่ได้รับความยุติธรรมอย่างทัน การณ์ รวมถึงทุกข์ทรมานจากการรอคอยการตัดสิน รวมถึงการที่ประชาชนโดยทั่วไปที่อาจได้รับผลกระทบใน ทางอ้อมด้วย ตารางที่ 49 จํานวนคดีทั้งหมดที่คา้ งหรืออยู่ระหว่างการดําเนินการของศาล 2550 2551 2552 2553
ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ 193,727 58,276 276 174,906 56,800 800 169,714 47,627 627 151,103 18,671 671
ศาลฎีกา 28,424 29,295 34,055 33,754
รวม 280,427 261,001 251,396 203,528
4) ประชาชนทั่วไปยังขาดความรู ขาดความรู้และความเข้าใจในกระบวนการยุติธรรมเป็นสาเหตุ หนึ่งของความไม่เ ป็น ธรรมในสังคม โดยกระทรวงยุติธ รรมได้ทํา การวิเ คราะห์ถึงปัจ จัย อุป สรรคต่อการ บริหารงานยุติธรรม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมายต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อวิถี ชีวิต รวมทั้งขั้นตอนต่างๆของกระบวนการยุ กระบวนการยุติธรรมซึ่งในการสํารวจรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ และ ประชาชนทั่วประเทศตามโครงการร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยนั้น พบประเด็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน คือ การทํางานที่ไม่ประสิทธิภาพ/เลื เลือกปฏิบัติการ/ละเลยการปฏิ าร ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐทั้งในส่วนกลาง นกลา และท้องถิ่นทําให้เกิดความไม่เสมอภาคและเกิดความเหลื่อมล้ําของสังคมไทยและประชาชน นอกจากนั้น ใน การสํารวจรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ และประชาชนทั่วประเทศตามโครงการร่วมเดินหน้าปฏิรูป ประเทศไทยนั้น พบประเด็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน คือ การทํางานที่ไม่ประสิทธิภาพ/เลื าพ เลือกปฏิบัติการ/ละเลย การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น การคอรัปชั่นกระจายไปในวงกว้าง ซับซ้อน และเชื่อมโยงทุกวงการทั้งภาคการเมือง ภาคราชการ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ทําให้เกิดความไม่ เสมอภาคและเกิดความเหลื่อมล้ําของสังคมไทย 2.3 สาเหตุ/ปัจจัยพื้นฐานของปัญหาความเหลื่อมล้ํา การกระจุกตัวของความมั่งคั่งอยู่ในกลุ่มคนเพียง จํานวนน้อยในสังคมนั้นเป็นผลพวงจากเหตุปัจจัยที่เป็นพื้นฐานในหลายมิติทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัญหาทางสังคม และการบริหารราชการแผ่นดิน ที่เรื้อรังมานาน ประกอบด้วย 2.3.1 โครงสร้ รงสร้างและนโยบายเศรษฐกิจเอื้อประโยชน์ต่อเจ้าของทุนมากกว่าแรงงาน สัดส่วน รายได้ที่เป็นผลตอบแทนแรงงานต่ํากว่าผลตอบแทนทุน การพัฒนาเศรษฐกิจมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่การพัฒนาคุณภาพคนคุณภาพชีวิตและระบบการคุ้มครองทางสังคมนั้นยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร โดยที่การ พัฒนาเศรษฐกิจเองก็กําหนดเป้าหมายในด้านการขยายตัวเป็นเป้าหมายสําคัญมากกว่าการสร้างเสถียรภาพ การเพิ่มผลิตภาพ และการกระจายผลประโยชน์ของการพัฒนาอย่างเป็นธรรมให้ควบคู่กันไป ผลการพัฒนาจึง ส่งผลให้โครงสร้างเศรษฐกิจอ่อนแอและบิดเบือนซึ่งทําให้เกิดความเหลื่อมล้ําทั้งในด้านรายได้ านรายได้ นอกจากนี้การ กระจุกตัว ของปัจ จัย โครงสร้างพื้นฐานและการรวมศูน ย์ของการบริห ารราชการแผ่น ดิน ที่ส่ว นกลางทํา ให้ เศรษฐกิจมีความก้าวหน้าแตกต่างกันมากในระหว่างพื้นที่ ระหว่างภาค และระหว่างเมืองและชนบท และการ มุ่งเน้นการพัฒนาการส่งออกโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเพื สาหกรรมเพื่อเร่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Export-
63 led growth) ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่เ ข้มข้นขึ้นตามลําดับนั้น ทําให้ภาคอุตสาหกรรมมีความก้าวหน้า มากกว่า ภาคเกษตร และกลุ่มทุน มีอํา นาจการต่อรองและมีอิทธิพลต่อการตัด สิ น เชิงนโยบายของรั ฐ บาล ลักษณะของการเจริญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ จึงเอื้ อต่อกลุ่ม เจ้า ของทุน มากกว่า เจ้า ของแรงงาน ในขณะที่ โครงสร้างภาษีที่ไม่เป็นธรรม การพึ่งพิงภาษีทางอ้อมเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าภาษีทางตรงจึงทําให้เกิดการผลัก ภาระ และมีโครงสร้างที่เอื้อประโยชน์ต่อฐานรายได้ในส่วนที่เป็น non-wages ประเภทรายได้จากทรัพย์สิน รวมทั้งการลดหย่อนและการให้ประโยชน์ทางภาษีก็เอื้อต่อกลุ่มรายได้ระดับบนมากกว่าระดับล่าง โดยที่ผู้มี รายได้สูงมีช่องทางลดหย่อนมาก
12,000,000
ภาพที่ 29 มูลค่า GDP, GNP, NI และ ค่าตอบแทนแรงงาน
ภาพที่ 30 การแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ: เจ้าของทุนได้ผลตอบแทนมากกว่าแรงงาน 70.0
10,000,000
61.4 60.1
60.0 GD P
GNP
6,000,000
(ร้อยละ)
(ล้านบาท)
8,000,000
63.2 63.0
50.0 40.0
39.9 36.8 37.0 38.6
58.3
60.0 60.8 61.3 59.1 58.4 59.0 56.5 56.4 57.6 57.0 57.0 57.2
41.7
43.5 43.6 42.4 43.0 43.0 42.8 41.6 41.0 40.0 39.2 38.7 40.9
NI
4,000,000
30.0
2,000,000
2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
0
20.0
wage Non-wage 2536 2538 2540 2542 2544 2546 2548 2550 2552 ที่มา: สํานักงานสถิติแห่งชาติ หมายเหตุ รายได้อื่น ๆ ที่มิใช่ค่าจ้างได้แก่ กําไรสุทธิจากการทําธุรกิจ กําไรสุทธิจากการทําการเกษตร รายได้จากทรัพย์สิน เป็นต้น
การส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออกที่อาศัยแรงงานและวัตถุดิบราคาถูกเป็นฐานในการเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันและการเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่อาศัยความได้เปรียบจาก แรงงานค่าแรงต่ําและความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรทําให้อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าของไทยอยู่ในระดับ ล่างของห่วงโซ่มูลค่า (value chain) การเพิ่มมูลค่า (value creation) จากการใช้นวัตกรรมและความคิด สร้างสรรค์นั้นมีน้อย ในขณะที่ความได้เปรียบด้านทรัพยากรและลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศในอดีตทํา ให้ประเทศไทยขยายฐานการผลิตให้มีความหลากหลายมากขึ้น (diversification) โดยไม่ต้องเผชิญกับแรง กดดันที่จะไต่ห่วงโซ่มูลค่าให้สูงขึ้นไปจนกระทั่งที่ประเทศต้องสูญเสียความได้เปรียบด้านทรัพยากรและแรงงาน ค่า แรงถูก นอกจากนี้การคุ้มครองกลุ่มอุต สาหกรรมที่ใช้แรงงานทักษะฝีมือต่ํา และค่า จ้างแรงงานต่ํา เพื่อ ประโยชน์ในการสร้างงานเป็นเป้าหมายหลักทําให้ต้องกดค่าจ้างแรงงานไว้เพื่อรักษาขีดความสามารถในการ แข่งขันด้านราคา ประกอบกับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมี ความก้าวหน้าช้า ผลิตภาพแรงงานจึงเพิ่มขึ้นช้าซึ่งไม่เอื้อต่อการเพิ่มค่าจ้างแรงงานได้เท่าใดนัก เมื่อความได้เปรียบด้านแรงงานและทรัพยากรของประเทศไทยลดลงในขณะที่การแข่งขันใน ตลาดโลกก็รุนแรงขึ้นประเทศไทยจึงถูกกดดันให้ปรับฐานการผลิตไปสู่การผลิตที่ใช้ทุนและเทคโนโลยีที่เข้มข้น ขึ้น แต่นับว่าประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมคุณภาพต่ําราคาถูก (สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้า low-end) และการผลิตส่วนใหญ่ยังมีลักษณะของการรับจ้างทําของ (OEM) ที่การสร้างมูลค่าในประเทศมีน้อย (value creation) โดยที่การสร้างนวัตกรรมและการสร้างแบรนด์มีน้อย ประเทศไทยจึงตกอยู่ในกลุ่มประเทศที่ เป็นกลุ่ม mass production การไต่ระดับขึ้นสู่ first tier และ second-tier ยังไม่ประสบความสําเร็จและยัง เป็น nut cracker อยู่ตรงกลางที่มักจะต้องเผชิญกับสงครามราคาโดยไม่สามารถตั้งราคาสินค้าได้25 ภายใต้ 25
โดยเปรียบเทียบราคาสินค้าออกโดยเฉลี่ยต่ํากว่าราคาสินค้านําเข้า (relative price) และมักจะลดลงเมื่อการแข่งขันรุนแรงขึ้น
64 เงื่ อ นไขดั ง กล่ า วผู้ ป ระกอบการจึ ง มั ก กดดั น ต้ น ทุ น ค่ า จ้ า งแรงงานเพื่ อ รั ก ษาต้ น ทุ น การผลิ ต ให้ แ ข่ ง ขั น ได้ นอกจากนั้นการนําเข้าเทคโนโลยีและสินค้าทุนทําให้ต้องเสียผลประโยชน์ออกนอกประเทศเป็นสัดส่วนที่สูง และทุนซึ่งมีจํานวนจํากัดโดยเปรียบเทียบกับจํานวนแรงงานทําให้ผลตอบแทนต่อเจ้าของทุนสูงกว่าค่าจ้าง แรงงาน ดั ง นั้ น การขยายตั ว ของฐานการส่ ง ออกจึ ง เอื้ อ ประโยชน์ ต่ อ กลุ่ ม เจ้ า ของทุ น มากกว่ า แรงงาน (Functional income distribution) นอกจากราคาสินค้าส่งออกต่ําแล้วผลิตภาพแรงงานโดยเฉลี่ยยังต่ําและเพิ่มขึ้นช้า จึงไม่ช่วย ประหยั ด ต้ น ทุ น การผลิ ต ต่ อ หน่ ว ย ประกอบกั บ แรงงานยั ง ขาดทั ก ษะที่ ห ลากหลายจึ ง ไม่ ยื ด หยุ่ น ในการ เคลื่อนย้ายระหว่างสาขาการผลิต (low mobility) จึงเป็นข้อจํากัดต่อการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงาน โดยเฉพาะ ในกลุ่มแรงงานทักษะต่ําและแรงงานไร้ฝีมือนั้นอํานาจต่อรองอยู่ในมือของผู้ประกอบการ การทดแทนด้วย แรงงานต่างด้าวก็ลดแรงกดดันต่อค่าจ้างแรงงานด้วยเช่นกัน ในด้านการคุ้มครองแรงงานนั้นแม้ว่าได้มีระบบ ประกันทางสังคมสําหรับแรงงานมาแล้ว 20 ปี แต่เป็นการคุ้มครองเฉพาะแรงงานในระบบโดยไม่คุ้มครอง แรงงานนอกระบบ และผู้ประกอบการบางส่วนเลี่ยงการคุ้มครองของกฎหมายโดยหันไปจ้างงานแบบประเภท ทําของเพื่อเลี่ยงการจ่ายค่าสวัสดิการ26 ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมานั้นรายได้ที่ค่าตอบแทนแรงงานและสวัสดิการ เป็นสัดส่วนเฉลี่ยเพียงประมาณร้อยละ 40 ของรายได้รวมในขณะที่รายได้ที่เป็น non-wage นั้นคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 60 นอกจากนั้นจะเห็นว่าผลตอบแทนแรงงานนั้นเพิ่มขึ้นช้ากว่าส่วนที่เป็นกําไร ค่าเช่า และดอกเบี้ย อีกนัยหนึ่งผลตอบแทนแรงงานเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่ารายได้ประชาชาติ (National income) โดยเฉพาะในช่วงที่ เศรษฐกิจเริ่มซบเซาตั้งแต่ปลายปี 2549 นั้นผลตอบแทนแรงงานได้รับแรงกดดันมารายได้อื่น อย่างไรก็ตาม ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540-2541 และช่วงของการฟื้นตัว 2-3 ปีหลังจากนั้นการลงทุนที่สูงมากเกินไป ในช่วง 10 ปีก่อนหน้านั้นทําให้ผลตอบแทนทุนต่ําเนื่องจากมีกําลังการผลิตส่วนเกินที่ไม่ได้ดําเนินการจํานวน มาก ในภาพรวมของเศรษฐกิจไทยค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นช้ากว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเมื่อหักผลของเงินเฟ้อซึ่งเป็นภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นออกแล้วค่าจ้างที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดย เป็นการปรับเพิ่มขึ้นในระดับที่เพียงสามารถบรรเทาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น และสะท้อนถึงผลิตภาพแรงงานที่ เพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบการจ่ายค่าจ้างส่วนใหญ่ยังอิงกับระดับการศึกษา มากกว่าทักษะหรือความสามารถเฉพาะในการทํางาน ดังนั้น การปรับผลตอบแทนค่าแรงงานภายใต้แนว ทางการกําหนดมาตรฐานทางวิชาชีพ (TVQ) จะทําให้การปรับค่าจ้างเงินเดือนมีความเป็นธรรมมากขึ้น และจะ จูงใจให้แรงงานให้ความสําคัญกับการฝึกฝนและอบรมเพิ่มทักษะอย่างต่อเนื่อง
26
มาตรา 40 ภายใต้ พ.ร.บ. ประกันสังคม
65
ภาพที่ 32 ดัชนีค่าจ้างและดัชนีราคาผูบ้ ริโภค
ภาพที่ 31 เปรียบเทียบดัชนีค่าจ้างเฉลีย่ ค่าจ้างแท้จริง และ GDP 160
GDP ณ ราคาคงที่ ดัชนีค่าจ้างเฉลี่ย ดัชนีค่าจ้างที่แท้จริง
ดัชนี
140 120 100 80
2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
ผลิตภาพแรงงานไทยโดยเฉลี่ยยังต่ํากว่าในหลายประเทศในเอเชียจึงเป็นข้อจํากัดหนึ่งในการ ยกระดับค่าจ้างแรงงานโดยที่ยังสามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไว้ได้ ดังนั้นการเพิ่ม ผลิตภาพแรงงานรวมทั้งแรงงานนอกระบบจึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําในด้านโอกาสทางอาชีพ ซึ่ง รวมทั้งโอกาสทางอาชีพและการสร้างรายได้ของกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องมีการปรับตัวภายใต้โครงสร้างการผลิตที่มี การใช้ทุนและเทคโนโลยีสูงขึน้ ภาพที่ 33 เปรียบเทียบผลิตภาพแรงงานในภาคการผลิต ! ผลิตภาพแรงงาน ดัชนี ป ี 1995 = 100 # $% 1995 = 100
260
ภาพที่ 34 เปรียบเทียบอัตราการเติบโตของราคาสินค้าส่งออก $ , ,A*<,@$ A $$ , ? -B A- 5 ) 5 ) " D O 2004 = 100
ราคาสินค้าส่งออกต่อหน่วย ดัชนีปี 2004 = 100
135
240
China
130
220
125
200
120
180
115
160
Vietnam
140
Korea
105
120
Singapore
100
100
Malaysia
95
110
90
80 1995
1996
China
1997
1998
Korea
1999
2000
Malaysia
2001
2002
2003
Singapore
2004
2005
Thailand
2006 Vietnam
2004
2005
Asia Pacific
2006 South-eastern Asia
2007
2008 Thailand
โครงสร้างการผลิตรายสาขา โครงสร้างการจ้างงานรายสาขา และผลิตภาพแรงงานรายสาขา ทําให้เกิดความเหลื่อมล้ําทางด้านรายได้ในระหว่างกลุ่มอาชีพ มูลค่าเพิ่มและผลิตภาพในภาคเกษตรที่ต่ํากว่าใน สาขาอื่นในขณะที่ต้องรองรับแรงงานในสัดส่วนถึงประมาณร้อยละ 40 ของแรงงานรวมของประเทศทําให้ รายได้ต่อหัวในภาคเกษตรอยู่ในระดับต่ํา และมีปัญหาความยากจนในภาคเกษตรที่รุนแรงกว่าในภาคเศรษฐกิจ อื่น รายได้ที่เป็นค่าจ้างแรงงานในภาคเกษตรต่อรายได้ประชาชาติหรือรายได้รวมของประเทศนั้นอยู่ในระดับ ต่ําเพียงประมาณร้อยละ 4 และเมื่อพิจารณาจากแหล่งที่มาของรายได้ประชาชนก็จะเห็นว่ารายได้จากการทํา การเกษตรเพิ่มขึ้นช้ากว่ารายได้จากส่วนอื่น ดังนั้นจึงมีความจําเป็นต้องวางแนวทางในการสร้างฐานการผลิต เกษตรที่เข้มแข็ง การเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคการค้าปลีก ค้าส่ง ก่อสร้าง โรงแรมและ ภัตตาคาร ซึ่งรองรับแรงงานที่ ไม่มีความชํา นาญเฉพาะด้า นและรายได้ต่ํา การขยายตัว ของภาคเศรษฐกิจ ดังกล่าวเป็นปัจจัยดึงให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานหนุ่มสาว แรงงาน ที่เหลืออยู่ในภาคเกษตรโดยเฉลี่ยจึงเป็นแรงงานสูงอายุ แม้ว่าการทํางานในภาคการค้าและบริการค้าปลีก ค้า ส่ง และโรงแรมภัตตาคารจะมีรายได้ต่ํา แต่โดยเปรียบเทียบสัดส่วนจํานวนแรงงานต่อสัดส่วนรายได้ในภาค การค้าและบริการดังกล่าวยังสูงกว่าของภาคเกษตร
66 ทักษะแรงงานเป็นข้อจํากัดของการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ที่ใช้ทุนและเทคโนโลยีสูงขึ้น ความเหลื่อมล้ําในด้านการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและคุณภาพการศึกษาทําให้เกิด ความเหลื่อมล้ําของรายได้แรงงานในสาขาการผลิตต่าง ๆ สัดส่วนของรายได้แรงงานในภาคการค้าและบริการ ต่อรายได้ประชาชาติที่ลดลงในขณะที่สัดส่วนการจ้างงานต่อการจ้างงานรวมของประเทศเพิ่มขึ้นนั้นสะท้อนถึง ผลิตภาพการผลิตและผลตอบแทนในภาคอุตสาหกรรมและภาคการเงินการธนาคารที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าในภาค เศรษฐกิจอื่น ๆ ที่ทําให้สามารถปรับเพิ่มค่าจ้างได้เร็วกว่า โดยเฉพาะในสาขาการผลิตที่ขาดแคลนแรงงาน ทักษะสูง รวมทั้งในภาคราชการ
800
ภาพที่ 36 รายได้ครัวเรือนจําแนกตามแหล่งที่มา
ภาพที่ 35 ดัชนีรายได้ครัวเรือนจําแนกตามแหล่งที่มา (2531 = 100)
รายได้อื่นๆ
100% 90%
70%
400
60%
เงินที่ได้รบั เป็นการช่วยเหลือ
50%
200
40%
กําไรสุทธิจากการทําการเกษตร
30%
0 52
2552
2550
2549
2547
2545
2544
2543
2542
2541
รายได้อื่นๆ+รายได้จากทรัพย์สิน
2539
รายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน
0%
2537
เงินที่ได้รับเป็นการช่วยเหลือ
2535
กําไรสุทธิจากการทําธุรกิจที่มิใช่การเกษตร
กําไรสุทธิจากการทําการเกษตร
2533
ค่าแรงและเงินเดือน
กําไรสุทธิจากการทําธุรกิจที่มิใช่ การเกษตร
10%
2531
50
49
47
45
44
43
42
41
39
37
35
33
20%
31
O
รายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน
80%
600
ค่าแรงและเงินเดือน
ภาพที่ 37 การเปลี่ยนแปลงจํานวนแรงงานและผลตอบแทนแรงงาน % of domestic compensation
46
% of Total employment 39.0
5.0
44
38.0
4.0
42
37.0
3.0
40
6.0
% of Total employment
2.0
เกษตรกรรม
38
empoloyment (LHS) wage (RHS)
1.0 0.0
ก่อสร้าง
33.0
34
32.0
7.0
4.5
5.0
6.8
4.0
4.5
6.6
4.0
6.4
3.5
6.2
3.0
6.0
2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
13.0 12.0
% of Total employment 7.4 7.2
3.0
empoloyment (LHS) wage (RHS) 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
5.5
3.5
14.0
34.0
6.0
empoloyment (LHS) wage (RHS)
15.0
35.0
36
% of domestic compensation 6.5
5.0
% of domestic compensation 16.0
36.0
2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
% of Total 5.5 employmen t
การผลิต
ค้าส่งค้าปลีก/โรงแรมภัตตาคาร
empoloyment (LHS) wage (RHS)
% of domestic compensation 26.0 24.0 22.0 20.0 18.0 16.0 14.0 12.0 10.0
2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
67
7.5
การเงินการธนาคาร
% of Total employment
% of domestic compensation 1
7.0 6.5 6.0
% of Total employment 15.0 14.5
0.9
14.0
0.8
13.5
4.0 3.5 3.0
13.0
empoloyment (LHS)
5.5
0.7
wage (RHS)
5.0
0.6
% of domestic compensation 4.5
การบริหารราชการแผ่นดิน
empoloyment (LHS) wage (RHS)
12.5 12.0
2.5 2.0
2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
ที่มา: NESDB, NSO
ภาพที่ 38 สัดส่วนแรงงานแยกระดับการศึกษา แรงงานมีแนวโน้มมีการศึกษาสูงขึ้นในทุกสาขาการผลิต 100.0
(ร้อยละ)
แรงงานที่มีการศึกษาระดับประถมหรือต่ํากว่า
(ร้อยละ)
80.0
แรงงานที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า 65.6
70.0
90.0
61.8
60.0
80.0
74.7
50.0
70.0
66.6
40.0
40.8 36.2
30.0
60.0
20.0 46.4 44.1
0.0
2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
40.0
11.8 7.9
10.0
2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
50.0
เกษตรกรรม
การผลิต
เกษตรกรรม
การผลิต
ก่อสร้าง
ก่อสร้าง
ค้าปลีก ค้าส่ง
ค้าส่ง ค้าปลีก
การธนาคาร
บริหารราชการ
ที่มา: สํานักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลผลโดย สศช.
ภาพที่ 39 ผลิตภาพการผลิตจําแนกรายสาขาการผลิต ผลิตภาพแรงงานจําแนกรายสาขา
(บาท/คน)
(บาท/คน)
600,000
1,800,000 1,600,000 1,400,000 1,200,000 1,000,000 800,000 600,000 400,000 200,000 0
500,000 400,000 300,000 200,000 100,000 0 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
การเปลี่ยนแปลงผลิตภาพแรงงาน
(ร้อยละ) (ร้อยละ) 30.0 20.0 25.0 15.0 20.0 15.0 10.0 10.0 5.0 5.0 0.0 -5.0 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 0.0 -10.0 -15.0 -5.0
การผลิต
ภาคการเกษตร
การผลิต
การก่อสร้าง
การค้าส่ง ค้าปลีก ซ่อมยานพาหนะและของใช้
การก่อสร้าง
การค้าส่ง ค้าปลีก ซ่อมยานพาหนะและของใช้
โรงแรม และภัตตาคาร
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และคมนาคม
โรงแรม และภัตตาคาร
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และคมนาคม
การเงินการธนาคาร
การค้าอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจให้เช่าและธุรกิจอื่นๆ
การเงินการธนาคาร
การค้าอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจให้เช่าและธุรกิจอื่นๆ
ภาคการเกษตร
การไฟฟ้า ก๊าซ และประปา (RHS)
การไฟฟ้า ก๊าซ และประปา (RHS)
68
ภาพที่ 40 การจ้างงานแยกตามภาคเศรษฐกิจ ค่าจ้างแรงงานแยกตามภาคเศรษฐกิจ (บาท/คน/เดือน)
เฉลี่ยทั้งประเทศ ภาคเกษตร อุตสาหกรรม ก่อสร้าง การเงินการธนาคาร
3.0
สัดส่วนต่อค่าจ้างเฉลีย่ ทั้งประเทศ แยกตามภาคเศรษฐกิจ
2.5 2.0 1.5 1.0
เฉลี่ยทั้งประเทศ อุตสาหกรรม การเงินการธนาคาร
ภาคเกษตร ก่อสร้าง
0.5 2534 2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
0.0 2534 2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
25,000 22,500 20,000 17,500 15,000 12,500 10,000 7,500 5,000 2,500 0
(เท่า)
2.3.2 โครงสร้างภาษีทไม่ ไี่ ม่สนับสนุนการกระจายรายได้และไม่เป็นธรรม 1) การพึพึ่ ง พิ ง ภาษี ท างอ้ อ มเป็ น สั ด ส่ ว นที่ สู ง กว่ า ภาษี ท างตรง แม้ สั ด ส่ ว นภาษี ทางอ้อมมีแนวโน้มลดลง แต่ภาษีทางตรงไม่เพิ่มมาก ภาษีมูลค่าเพิพิ่มเป็นภาษีที่ผลักภาระไปให้ผู้บริโภคได้ง่าย และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะหลัง เช่น ผู้ผลิตสามารถผลักภาระภาษีมูลค่าเพิ่มไปให้ผู้บริโภคได้ โดยการขึ้นราคาสินค้า และการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือการใช้อัตราภาษีเท่ากับศูนย์สําหรับการขายบาง ประเภท เช่น การขายสิ ายสินค้าหรือบริการระหว่างผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก การขายพืชผล ทางการเกษตร ดังนั้นในทางปฏิบัติผู้ประกอบการจึงเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่ต่ํากว่าร้อยละ 7 ล่าสุดในปี 2553 ภาษีทางอ้อมมีสัดส่วนร้อยละ 51.8 ต่อรายได้ภาษีรวมในขณะที่ภาษีทางตรงมีสัดส่วนร้อยละ 36.6 ซึ่งในระยะหลังภาษีมูลค่าเพิ่มมีสัดส่วนสูงขึ้น (ในภาษีทางอ้อม) อย่างรวดเร็ว และสุทธิแล้วคนรายได้ต่ํามี อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่ายเมื่อเทียบกับรายได้สูงกว่าผู้มีรายได้สูงเนื่องจากสัดส่วนรายจ่ายต่อรายได้สูง กว่า 2) โครงสร้างภาษีไม่สอดคล้องกับขนาดฐานภาษี ขนาดฐานภาษีหรือมูลค่าของกิจกรรมหรือมูลค่า ทางเศรษฐกิจที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี โดยที่ภาษีมีโครงสร้างที่เอื้อประโยชน์ต่อฐานรายได้จาก ทรัพย์สินและความมั่งคั่ง (Wealth Wealth income) income มากกว่ารายได้ที่เป็นตอบแทนค่าแรงงาน (wage income) ประชาชนที่ทํางานรับค่าจ้างหรือเงินเดื นเดือนเป็นลักษณะประจํานั้นมีระบบภาษีควบคุมที่เข้มงวดชัดเจน ในขณะ ที่ผลประโยชน์จากทรัพย์สินและผลตอบแทนจากเงินทุนนั้นมักจะมีภาระภาษีในสัดส่วนที่ต่ํากว่าเนื่องจากมี เกณฑ์การกําหนดมูลค่าฐานภาษีที่บิดเบือนและมักจะมีช่องโหว่ของกฎหมายภาษีให้สามารถหลบเลี่ยงภาระ ภาษีได้งา่ ย 3) การใช้ภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบํารุงท้องที่ในปัจจุบันทําให้เกิดความไม่ เป็นธรรมหลายประการที่เกิดจากลักษณะการใช้ฐานภาษีและอัตราภาษี เช่น ภาษีในปัจจุบันภาษีบํารุง ท้องที่ยังใช้ฐานราคาปานกลางของที่ดินปี 2521-2524 จึงไม่สอดคล้องกับความเจริญของพื้นที่ดินที่พัฒนา แตกต่างกันและเกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้เสียภาษีด้วยกัน มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่ากันแต่ค่ารายปี แตกต่างกันขึ้นอยู่ความพอใจของผู้เช่าและผู้ให้เช่า และอัตราภาษีมีลักษณะถดถอย เป็นต้น
69 4) การลดหย่อนและการให้ประโยชน์ทางภาษีเอื้อต่อกลุ่มรายได้ระดับบนมากกว่า ระดับล่าง โดยที่ผู้มีร ายได้สูงมีช่องทางลดหย่อนภาษีไ ด้มากกว่า เมื่อคิด เป็น สัดส่วนต่อรายได้ภ าษีบ าง ประเภท เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม กลุ่มรายได้ระดับล่างจึงมีสัดส่วนภาระภาษีที่สูงกว่า และสัดส่วนของรายได้ธุรกิจ เอกชนขนาดเล็กและขนาดกลางต้องจ่ายภาษีมากกว่าขนาดใหญ่ นอกจากนั้นการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้น การออมที่ให้กับการลงทุนในวงเงินสูงในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) และการลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund: LTF) ก็เอื้อต่อผู้มีรายได้สูงเท่านั้น รวมทั้ง การยกเว้นภาษีส่วนเพิ่มของทุน (capital gain tax) ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือแม้แต่การหักลดหย่อน ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัยก็เอื้อสําหรับผู้มีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไปมากกว่ากลุ่มรายได้ต่ํา ดังนั้นระบบ ภาษีแทนที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดกลไกการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาอีกทางหนึ่งกลับซ้ําเติมให้เกิด ความเหลื่อมล้ําในด้านรายได้ 5) การเข้าถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจขนาดเล็ก-กลางมีน้อย และภาระภาษี สุทธิต่อรายได้ของบริษัทขนาดเล็กสูงกว่าบริษัทขนาดใหญ่ โดยที่วิสาหกิจขนาดเล็กมักจะขาดคุณสมบัติตาม ข้อกําหนดในการใช้สิทธิประโยชน์ และบริษัทขนาดเล็กชําระภาษีเป็นสัดส่วนต่อรายได้มากกว่าบริษัทขนาด ใหญ่ เช่น บริษัทขนาดเล็กชําระภาษีประมาณร้อยละ 3 และบริษัทขนาดใหญ่ชําระประมาณร้อยละ 1-1.5 ของ รายได้27 2.3.3 ปัญหาเข้าถึงบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ (การศึกษา สาธารณะสุข และปัจจัยโครงสร้าง พื้นฐานต่าง ๆ) การเข้าถึงทรัพยากรที่ดิน น้ํา แหล่งเงินทุนและอื่น ๆ ทําให้การขาดโอกาสทางอาชีพและ รายได้ รวมทั้งการขาดการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มคนจน การเข้าไม่ถึงการคุ้มครองแรงงานและการคุ้มครอง ทางสังคมอื่น ๆ การขาดการพัฒ นาทักษะและศักยภาพแรงงานที่เป็น ระดับ ล่า งอย่า งต่อเนื่อง โดยที่ยังมี ช่องว่างในเรื่องการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นองค์ความรู้และมี การกลั่นกรองที่เหมาะสม ก็ยิ่งทําให้เกิดความเหลื่อมล้ําในด้านโอกาสทางอาชีพและการสร้างรายได้ 2.3.4 การบริหารราชการแผ่นดินโดยภาคราชการและภาคการเมืองที่ขาดประสิทธิภาพ ขาด ความโปร่งใส และขาดความเท่าเทียมในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ประกอบกับการขาดประสิทธิผล ในการบังคับใช้กฎหมายหรือมีการบังคับใช้กฎหมายในหลายมาตรฐานทําให้คนบางกลุ่มไม่ได้รับการคุ้มครอง ขาดโอกาสและเข้าไม่ถึงทรัพยากร 2.3.5 ความล่าช้าในการกระจายอํานาจและการขาดการเสริมพลังให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการพัฒนาและการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างจริงจังส่งผลกระทบต่อสิทธิชุมชนและการจัดสรร ทรัพยากรเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงของกลุ่มรากหญ้าและชุมชน นอกจากนี้การคุ้มครองทางสังคมก็ยังไม่ ครอบคลุมทั่วถึงโดยเฉพาะในด้านคุณภาพนั้นยังมีความแตกต่างกันมากในระหว่างพื้นที่และกลุ่มคนต่าง ๆ
27
ผลการศึกษาของมูลนิธิสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
70
บทที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนา นโยบายรัฐบาล และการดําเนินโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ําในสังคม 3.1
ยุทธศาสตร์แ ละแนวทางการพัฒนาเพื่อแก้ ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําในสังคมตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.1.1 ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติการ กําหนดเป็นยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและการปัญหาการกระจายรายได้นั้นมีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยุทธศาสตร์และแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจนมีความชัดเจนและมีน้ําหนักมากกว่าการแก้ปัญหาการ กระจายรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงแผนฯ 9 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สําคัญในเรื่องการ พัฒนาด้านสวัสดิการทางสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างอาชีพที่มั่นคงต่อเนื่องมาจน ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (2555-2559) โดยสรุปสามารถแบ่งยุทธศาสตร์ในการพัฒนาออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มแรก เป็นการเสริมสร้างฐานรากของสังคมให้เ ข้มแข็ง โดยมุ่งเน้น พัฒ นาคุณภาพคน สร้า งความ เข้มแข็งแก่ชุมชน และสังคมเป็นแกนหลัก รวมทั้งมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลกัน กลุ่มที่สอง เป็นการปรับตัวทางเศรษฐกิจยุคใหม่ ให้สามารถแข่งจันและพึ่งตนเองได้ และกลุ่มที่สาม เป็นการ ปฏิรูประบบการบริหารจัดการให้เกิดธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วน โดยทีก่ รอบยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความ ยากจน ประกอบด้วยแนวทางการดําเนินงาน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การดําเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน ทั้งด้านการ ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การใช้นโยบายการเงิน การใช้นโยบายการคลัง และการใช้นโยบาย การค้าและการเงินระหว่างประเทศ 2) การเพิ่มศักยภาพและโอกาสคนจน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพคนจนในชนบท และคน จนเมือง และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 3) การพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคมและผู้ด้อยโอกาส ได้แก่ การพัฒนาระบบบริการให้ เข้ า ถึ ง คนจนและผู้ ด้ อ ยโอกาส การจั ด สวั ส ดิ ก ารสั ง คมให้ มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ ปั ญ หาของชุ ม ชนและ กลุ่ม เป้า หมายคนยากจนและผู้ด้อ ยโอกาส การเตรีย มความพร้อมในการสร้า งหลั กประกัน ทางสังคมแก่ ประชากรแต่ละช่วงวัย 4) การจัด การทรัพยากรธรรมชาติ โดยการส่งเสริมบทบาทชุมชนในการบริห ารจัด การ ทรัพยากร การเร่งรัดการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากร การปรับปรุงและเร่งรัดกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากร การพัฒนากลไกแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง 5) การปรับ ปรุงระบบบริห ารภาครัฐ /สิทธิ/ การบวนการยุติธรรมเพื่อแก้ ไขปัญ หาความ ยากจน ได้แก่ การปรับกระบวนทัศน์และบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ ราชการในการแก้ไขปัญหาความยากจน และการพัฒนาระบบข้อมูลและการติดตามประเมินผล ทั้งนี้โดยที่ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นั้นได้กําหนดเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนคนยากจนลง ให้ไม่เกินร้อยละ 12 ของประชากรภายในปี 2549 ซึ่งการผลักดันในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤต การสร้าง
71
ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก และการจัดให้มสวัสดิการทางสังคมที่เป็นระบบมากขึ้นทําให้สัดส่วนคน ยากจนลดลงเหลือร้อยละ 9.6 ในปี 2549 โดยที่จํานวนคนจนก็ลดลงเช่นกันเป็น 6.1 ล้านคน(จากร้อยละ 14.9 และ 9.1 ล้านคนในปี 2545 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนฯ)28สําหรับในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.25502554) ได้กําหนดวัตถุประสงค์สําคัญประการหนึ่ง คือ การเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เป็น รากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และอนุรกั ษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน นําไปสู่การพึ่งตนเองและลดปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ โดยกําหนดไว้ภายใต้เป้าหมายการ พัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน โดยให้ทุกชุมชนมีแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม และองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นนําแผนชุมชนไปใช้ประกอบการจัดสรรงบประมาณ การแก้ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และขยาย โอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยตั้งเป้าหมายการลดสัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความ ยากจนลงเหลือร้อยละ 4 ภายในปี 2554 ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ทุกยุทธศาสตร์ต่างก็มีแนวทางการพัฒนาที่เชื่อมโยงถึงการ แก้ปัญหาความยากจนทั้งยุทธศาสตร์การพัฒนาคนจากระดับปัจเจก การสร้างความเข้มแข็งชุมชน การปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการที่ดี โดยที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่จะช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน แนวทางสําคัญ ๆ ที่เชื่อมโยงถึงการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยตรงที่ระดับฐานรากและการสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อ เชื่อมโยงต่อเนื่องในการแก้ปัญหาความยากจนเช่น 1) การสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการบูรณาการกระบวนการผลิตบนฐาน ศักยภาพ และความเข้มแข็งของชุมชนอย่างสมดุล เน้นการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างพอเพียงภายในชุมชน สนับสนุนให้ชุมชนมีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ สนับสนุนการนําภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมา ใช้ในการสร้างสรรค์คุณค่าของสินค้าและบริการและสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการลงทุนสร้างอาชีพ และรายได้ที่มีการจัดสรรประโยชน์อย่างเป็นธรรมแก่ชุมชน ส่งเสริมการร่วมลงทุนระหว่างเครือข่ายองค์กร ชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสร้างระบบบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชนควบคู่กับการพัฒนาความรู้ ด้านการจัดการ การตลาด และทักษะในการประกอบอาชีพ 2) การบริหารจัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ด้วยการส่งเสริมการรวมตัว ร่วมคิด ร่วม ทําในรูปแบบที่หลากหลาย และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตามความพร้อมของชุมชน มีกระบวนการจัดการองค์ ความรู้และระบบการเรียนรู้ของชุมชนอย่างเป็นขั้นตอน มีเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกชุมชน มี กระบวนการเสริมสร้า งศั กยภาพชุม ชนและองค์กรปกครองส่ ว นท้อ งถิ่น ให้ส ามารถพัฒ นาต่อ ยอดให้เ กิ ด ประโยชน์แก่ชุมชนในการนําไปสู่การพึ่งตนเอง รวมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง 3) การสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและ พัฒนาให้เป็นฐานที่ใหญ่ขึ้นของระบบเศรษฐกิจ มีผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้น รวมทั้งนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มา พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่อย่างเป็นระบบ และนําไปผลิตสินค้าและบริการ สร้างรายได้ให้ชุมชน ควบคู่กับการทําวิจัยพื้นบ้านที่ นักวิจัยในชุมชนร่วมกับสถาบันการศึกษาและภาครัฐ
28
ในขณะที่จัดทําแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นั้นสัดส่วนความยากจนเท่ากับร้อยละ 21 หรือเป็นคนจนจํานวน 12.6 ล้านคนในปี 2543
72
4) การจัดระบบพื้นที่ทางการเกษตรที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรการลงทุน ด้านสังคมของรัฐ และการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานและการคุ้มครองแรงงานที่เหมาะสม 5) สนับสนุนผู้ด้อยโอกาสให้มีงานทําเหมาะสมตามศักยภาพ โดยผลักดันให้ภาคเอกชน ร่ ว มกั บ ชุ ม ชนและสถาบั น การศึ ก ษาจั ด การฝึ ก อบรมอาชี พ และสร้ า งงานให้ ผู้ ด้ อ ยโอกาสทั้ ง ในสถาน ประกอบการและอาชีพอิสระ 6) พลิกฟื้นแหล่งอาหารตามธรรมชาติให้เพียงพอกับการดํารงชีวิตโดยเฉพาะคนยากจนและ ด้อยโอกาส ส่งเสริมการบริโภคที่ปลอดภัย ใช้สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย และวัฒนธรรมในการเสริมสร้างสุขภาวะ ที่ดี โดยส่งเสริมการนําภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ที่มีอยู่และองค์ความรู้ใหม่ มาพัฒนาให้เกิดความอุดม สมบูร ณ์ สร้า งและใช้ป ระโยชน์จ ากความหลากหลายทางชีว ภาพ แทนการใช้ส ารเคมี รวมทั้งผสมผสาน เทคโนโลยีสะอาดในการทําเกษตรกรรม 7) การจัดสวัสดิการทางสังคมที่เป็นรูปแบบและเป็นระบบมากขึ้น โดยมุ่งเน้นที่กลุ่มด้อย โอกาสเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก 3.1.2 ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการกระจายรายได้ การลดปัญหาความเหลื่อมล้ํา และการสร้าง ความเป็นธรรม ในด้านการกระจายรายได้และการลดการเหลื่อมล้ํานั้นได้กําหนดเป้าหมายให้รายได้ของกลุ่ม ที่รายได้สูงสุดร้อยละ20 แรกมีสัดส่วนไม่เกิน 10 เท่าของรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้ต่ําสุดร้อยละ 20 ภายในปี 2554 โดยกําหนดเป็นพันธกิจในการเสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม โดยที่การ พัฒนากลไกสนับสนุนการแข่งขันและกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจการปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ โดยทีม่ ีจุดประสงค์เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็น ธรรม และคํานึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งสร้างกลไกในการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาสู่ ประชาชนในทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรมในทุกด้านทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ เป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ โดยที่มีกลไกในการรักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างเป็นธรรมและ อย่างยั่งยืน สํา หรับ แนวทางการพัฒ นาในช่ว งแผนฯ 11 นั้ น ให้สํา คัญ มากขึ้ น กับ การแก้ปัญ หาความ เหลื่อมล้ําและความไม่เป็นธรรมโดยมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้าง การกําหนดเป้าหมายในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําจึงขยาย ครอบคลุมทั้งเป้าหมายการกระจายรายได้ ความเป็นธรรมในการเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน การเข้าถึงบริการทาง สังคมที่มีคุณภาพ และการเข้าถึงโอกาส ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างเป็นธรรมมากขึ้น โดยรวมถึง การสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรในการประกอบอาชีพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมและการสร้างงาน ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ทั่วถึง (Inclusive growth) โดยกําหนดตัวชี้วัดที่สําคัญ เช่นการลด สัดส่วนและจํานวนคนที่อยู่ใต้เส้นความยากจน การลดสัดส่วนรายได้ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุดร้อย ละ 10 กับกลุ่มที่มีรายได้น้อยสุดร้อยละ 10และการลดความแตกต่างในโอกาสทางอาชีพและรายได้ระหว่าง กลุ่มคนต่าง ๆ และระหว่างพื้นที่ เป็นต้น ทั้งนี้การแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําในอนาคตต่อไป นั้นจะเป็นผลการพัฒนาที่มาจากการนําทุกยุทธศาสตร์ที่กําหนดในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ไปปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ ผล โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความยากจนให้มีความยั่งยืนนั้นต้องอาศัยการขับเคลื่อนทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม
73
สิ่งแวดล้อม และการเมือง ที่มีกลุ่มคนจนเป็นเป้าหมายสําคัญในการรับผลประโยชน์ด้วย นั่นคือมีการกระจาย ผลประโยชน์ไปยังกลุ่มยากจนและด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง แต่อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ที่เป็นเงื่อนไขจําเป็น (Necessary conditions) ในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ําที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความยากจนและลด ความเหลื่อมล้ําในสังคมที่สําคัญ คือ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม และยุทธศาสตร์การพัฒนา คนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ซึ่งม่สาระสําคัญ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม มุ่งสร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมไทยเข้าถึง บริการทางสังคมที่มีคุณภาพและสามารถดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจน คนด้อย โอกาส แรงงานนอกระบบ แรงงานต่างด้าว รวมทั้งชนกลุ่มน้อยและต่างชาติพันธุ์ สร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่ง ทุน ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรที่จะเป็นฐานการประกอบอาชีพที่มั่นคง ยกระดับรายได้ สร้างความ มั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ทุกคนในสังคมไทย สนับสนุนให้ประชาชนทุกคน ได้รับการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานอันพึงมีพึงได้ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค การทําและบังคับใช้ กฎหมายให้เ กิด ประโยชน์ต่อทุกคน สร้า งความโปร่งใสในกระบวนการตัดสินใจของระบบบริหารราชการ แผ่นดินบนพื้นฐานของการใช้หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม และจริยธรรม และหลักผลประโยชน์ส่วนรวมของ ประเทศ รวมทั้งยึดหลักความมีอิสระและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และสนับสนุนให้ภาคีการพัฒนาทุกภาค ส่วนมีส่วนร่วมแก้ไข โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สําคัญ คือ การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุก คนในสังคมไทยสามารถจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสในชีวิตให้แก่ตนเอง การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคน ตามสิทธิพึงมีพึงได้ เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันระดับปัจเจกและสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการ พัฒนาประเทศ การเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนสามารถเพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตในสังคมและสร้างการมีส่วนร่วม ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสูส่ ังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน มุ่งพัฒนาคุณภาพ คนไทยทุกกลุ่มวัยให้มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีจิตสํานึกวัฒนธรรมที่ดีงามและรู้คุณค่าความเป็นไทย มีโอกาสและสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง และเป็นพลังทางสังคมในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม ยกระดับการพัฒ นาคุณภาพการศึกษาไทยให้ ได้มาตรฐานสากล และเพิ่มโอกาสทาง การศึกษาและการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย และเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางครอบครัวชุมชนและสังคม ให้มั่นคงและเอื้อต่อการพัฒนาคนอย่างสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สําคัญ คือ การส่งเสริมคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ประเทศในอนาคต และการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตารางที่ 50 เป้าหมาย ยุทธศาสตร์และแนวทางมาตรการด้านการกระจายรายได้ แผนพัฒนาฯ แผนฯ 1
เป้าหมาย ไม่มเี ป้าหมายการกระจายรายได้
ยุทธศาสตร์/แนวทาง วัตถุประสงค์ของแผนฯ คือ การยกมาตรฐานการครองชีพของ ประชาชนให้มีระดับสูงขึ้นกว่าเดิม ด้วยการระดมและใช้ ทรัพยากรเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นประโยชน์มากที่สดุ เพื่อ ขยายการผลิตและเพิ่มพูนรายได้ประชาชาติให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
แผนฯ 2
ไม่มเี ป้าหมายการกระจายรายได้
วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องแผนฯ คื อ การเพิ่ ม รายได้ แ ละยกระดั บ มาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น โดยการระดม กําลังทรัพยากรของประเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อ
74
แผนพัฒนาฯ
แผนฯ 3
เป้าหมาย
พยายามลดความเหลื่อมล้ําในระดับรายได้ และความแตกต่างในระดับความเป็นอยู่ ของประชากรในชนบท
ยุทธศาสตร์/แนวทาง ขยายพลังการผลิตและเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของ ประเทศ รวมทั้งการกําหนดนโยบายที่สําคัญๆ เช่น นโยบาย พัฒนาชนบทเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศและเพื่อ กระจายผลการพัฒนาออกไปให้ถึงประชาชนในส่วนภูมิภาค ต่างๆ การส่งเสริมความเจริญในภูมิภาคและการลดความแตกต่าง ของรายได้โดยมีเป้าหมาย (1) พยายามลดความเหลื่อมล้ําใน ระดั บ รายได้ แ ละความแตกต่ า งในระดั บ ความเป็ น อยู่ ข อง ประชากรในชนบท โดยอาศัยมาตรการและโครงการพัฒนาส่วน ภูมิภาคต่างๆ (2) ดําเนินโครงการอันเป็นการสร้างพื้นฐานที่เป็น ประโยชน์ ต่ อการแก้ ไขให้ล ดความเหลื่อ มล้ํา ดั งกล่ าวลงเป็ น ลําดับ ทั้งนี้ได้มีมาตราการเพิ่มรายได้ประชาชนชนบท โดย การก่ อ สร้ า งขั้ น พื้ น ฐานให้ ป ระโยชน์ ต กถึ ง มื อ ประชาชนโดย แท้ จ ริ ง เช่ น ระบบส่ ง น้ํ า และทางหลวงชนบท ซึ่ ง โครงการ ประเภทนี้จะก่อให้เกิดจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย การดํ า เนิ น การส่ ง เสริ ม ความเป็ น ธรรมของสั ง คมโดยมี เป้าหมายสําคัญ คือ การเพิ่มและกระจายบริการสังคมของรัฐ เพื่ อ ลดความแตกต่ า งในสภาพความเป็ น อยู่ ข องประชาชน ระหว่างภูมิภาคต่างๆ และภายในเขตเมืองให้น้อยลง ทั้งนี้มีแนว ทางการพัฒนาโดยเน้นเร่งรัดกระจายบริการทางสังคมของรัฐให้ ถึงประชาชนในชนบทห่างไกล และประชาชนที่มีฐานะยากจน ในเขตเมืองต่างๆ โดยทั่วถึงยิ่งขึ้น
แผนฯ 4
ไม่มเี ป้าหมายการกระจายรายได้
แผนฯ 4 มุ่งสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ภายใต้พื้นฐานของ ความมั่นคงแห่งชาติโดยเน้นการลดความเหลื่อมล้ําในฐานะของ บุคคลทางเศรษฐกิจให้ลดลง และมุ่งที่จะเสริมสร้างสวัสดิภาพ ทางสังคมแก่คนส่วนใหญ่ในชาติมากกว่าเป็นแผนพัฒนาฯ ที่ เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก วัตถุประสงค์หลักประการหนึ่ง คือเพื่อลดช่องว่างในฐานะทาง เศรษฐกิจและสังคมในหมู่ประชาชนให้ลดน้อยลง โดยเร่งให้มี การกระจายรายได้และยกฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของ ชาวนาชาวไร่ ผู้ ใ ช้ แ รงงาน ตลอดทั้ ง ความยากจนและ กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้มั่นคง มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ตลอดทั้งการ เร่งกระจายความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและการขยายบริการ สังคมให้ไปถึงมือประชาชนในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นชนบท อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น แผนฯ 4 ได้กําหนดแนวทางการกระจายรายได้และการพัฒนา ภาคและท้องถิน่ อย่างเป็นระบบขึน้ เป็นครั้งแรก
75
แผนพัฒนาฯ
เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์/แนวทาง แนวทางการพัฒนาภาค ในด้านการกระจายรายได้และขจัด ความยากจน: พื้นที่เป้าหมาย กําหนดพื้นที่ที่สมควรเร่งรัดการ พัฒนาเป็นพิเศษ โดยถือระดับรายได้และความยากจน ได้แก่ (1) พื้นที่ในเขตชนบทที่ประสบปัญหาความยากจนและล้าหลัง โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ (2) พื้นที่ ในเขตเมื อ งที่ มี ปั ญ หาทางเศรษฐกิ จ และการว่ า งงานสู ง โดยเฉพาะในภาคตะวัน ออกเฉี ยงเหนือ ภาคเหนื อ สํ าหรั บ กลุ่ ม เป้ า หมาย กํ า หนดกลุ่ ม เป้ า หมายที่ ส มควรได้ รั บ การ พิ จ ารณาช่ ว ยเหลื อ เป็ น อั น ดั บ แรก คื อ ผู้ ป ระกอบอาชี พ เกษตรกรรมในเขตชนบท ซึ่งประสบปัญหาในเรื่องที่ทํากินและ ความยากจน รวมทั้งแรงงานรับจ้างในชนบทซึ่งไม่มีที่ดินและไม่ อาจเช่าไร่นาประกอบอาชีพได้ ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับ การพิจารณาช่วยเหลือเร่งด่วนในอันดับต่อไป คือ ผู้ที่มีรายได้ไม่ เพียงพอกับการครองชีพในเขตเมือง มาตรการส่งเสริมการกระจายรายได้ ประกอบด้วย 1.มาตรการการแก้ ไ ขปั ญ หาผู้ มี ร ายได้ น้ อ ยในชนบท ประกอบด้วย(1) การช่วยเหลือชาวไร่ชาวนาอย่างมีแบบแผน และระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยจัดทําแผนส่วนรวม ซึ่งจะครอบคลุมปัญหาหลักของชาวนาชาวไร่ โดยเฉพาะปัญหา ที่ดิน ปัญหาหนี้สินและปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทาง กฎหมาย เช่น ศาลเกษตร พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่านา (2) พิจารณาให้กฎหมายแรงงานครอบคลุมถึงแรงงานรับจ้างในภาค เกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเกษตรชลประทานที่มี การจ้างแรงงานเป็นจํานวนมาก (3) เพิ่มการบริการทางสังคม แก่ ช าวชนบทที่ ย ากจน โดยเน้ น หนั ก ในด้ า นสาธารณสุ ข การศึกษานอกโรงเรียน และด้านสาธารณูปการในชนบท 2.มาตรการช่ว ยผู้มี รายได้น้ อยในเขตเมือง ปรับปรุงระบบ ค่ า จ้ า งแรงงานและสวั ส ดิ ก ารแรงงานให้ ส อดคล้ อ งกั บ ประสิทธิภาพการผลิตและภาวะค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลง ใน ขณะเดียวกันเน้นการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพ แรงงาน 3.มาตรการด้านการเงินการคลังของรัฐ ปัญหาการกระจาย รายได้นั้น นอกจากจะดําเนินการโดยการยกระดับการผลิตและ รายได้ของผู้มีรายได้น้อยแล้ว ยังจําเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ระบบการเงินและการคลัง เพื่อให้ผู้ที่มีฐานะดีมีส่วนรับผิดชอบ ต่อ การแก้ ไ ขปั ญหาของชาติ บ้ านเมื อ งเพิ่ ม ขึ้ นตามความเป็ น ธรรมด้วย โดย(1) ปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากรใหม่ เพื่อให้เป็น ธรรมยิ่งขึ้น เพิ่มประเภทและอัตราภาษีอากรอื่นๆ เช่น ภาษี ที่ดิน ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ภาษีกําไรจากทรัพย์สิน เป็นต้น (2) กําหนดนโยบายการเงินการคลังที่สนับสนุนการลงทุนที่ช่วย ให้ เ กิ ด การกระจายรายได้ ดี ขึ้ น เช่ น การลงทุ น เพื่ อ จั ด ทํ า
76
แผนพัฒนาฯ
เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์/แนวทาง โครงการที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อย การสร้างระบบขนส่ง เพื่อมวลชน และส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการใช้แรงงานและที่ ส่งผลทางเศรษฐกิจโดยตรงแก่ผู้มีรายได้น้อย แนวทางการพัฒนา : ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมให้ สามารถขยายการผลิต เพื่อ การส่ง ออกและเป็ นการพั ฒนา อุตสาหกรรมที่สามารถสนับสนุนการกระจายรายได้และเพิ่ม การมีงานทําในส่วนภูมิภาคโดยเน้นหนักในอุตสาหกรรมผลิต วัตถุดิบและอุตสาหกรรมส่งออก ตลอดทั้งอุตสาหกรรมที่ส่งผล เชื่ อ มโยงต่ อ การพั ฒ นาเกษตรและทรั พ ยากรธรรมชาติ ข อง ประเทศที่จะก่อให้เกิดรายได้และการจ้างงานให้แก่คนส่วนใหญ่
แผนฯ 5
ไม่มเี ป้าหมายการกระจายรายได้
แผนฯ 5 เป็น “แผนนโยบาย” ที่มีความชัดเจนพอที่จะแปลง ไปสู่ภาคปฏิบัติได้และมีลักษณะพิเศษ คือ (1) เน้น “การปรับ โครงสร้ างเศรษฐกิ จ ” มากกว่า “การมุ่ง ขยายอัต ราความ เจริญทางเศรษฐกิจ” แต่อย่างเดียว (2) เน้น “ความสมดุล” ในการพั ฒนาเศรษฐกิ จและสั งคมของประเทศ โดยมุ่ งการ กระจายรายได้และความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค สร้างความเป็น ธรรมในสังคม และการกระจายการถือครองสินทรัพย์เศรษฐกิจ ให้ ม ากขึ้ น ขณะเดี ย วกั น จะเน้ น ความสมดุ ล ของการพั ฒ นา ระหว่างสาขาเศรษฐกิจ ระหว่างพืน้ ที่และระหว่างกลุ่มเป้าหมาย ต่างๆ มากกว่าที่จะปล่อยให้ผลประโยชน์จากการพัฒนาเกิดขึ้น เฉพาะบางพื้นที่หรือตกอยู่ในบางกลุ่มชนอย่างที่เคยเป็นมา (3) เน้น “การแก้ปัญหาความยากจน” ของคนชนบทในเขตล้า หลัง เป็นเป้าหมายสําคัญเพื่อให้ประชาชนในชนบทเหล่านี้ได้มี โอกาสช่วยตัวเองและมีส่วนร่วมในขบวนการผลิตและพัฒนา ประเทศได้ต่อไปในอนาคต ในการปรั บโครงสร้า งการผลิ ตด้ านการเกษตร มี เป้ าหมาย สําคัญควบคู่กันไป คือการสร้างความเป็นธรรมกับผู้ผลิตมากขึ้น โดยสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในระดับราคาที่ สูงและเป็นธรรม เร่งรัดการกระจายการถือครองที่ดิน เพิ่มขีด ความสามารถของเกษตรกรโดยการรวมกลุ่มและขยายความรู้ และบริ ก ารให้ ถึ ง มื อ และกว้ า งขวางมากขึ้ น ตลอดจนการ สนั บสนุน อุต สาหกรรมเกษตรในชนบทเพื่ อเพิ่ม รายได้ใ ห้แ ก่ เกษตรกรที่ไร้ที่ทํากินให้มีงานทํานอกฤดูกาลเพาะปลูกด้วย การกระจายบริการทางสังคม เน้นการจัดบริการสังคมต่างๆ เช่ น การศึ ก ษา สาธารณสุข และความยุ ติ ธรรม ให้ส ามารถ สนองความต้ อ งการพื้ นฐานของประชาชนและกระจายไปสู่ ชนบท เพื่อลดความเหลื่อมล้ําด้านการให้สวัสดิการสงเคราะห์ ให้มากขึ้น
77
แผนพัฒนาฯ แผนฯ 6
เป้าหมาย ไม่มเี ป้าหมายการกระจายรายได้
ยุทธศาสตร์/แนวทาง แนวทางการพัฒ นาประการหนึ่ งคื อ มุ่ง กระจายรายได้แ ละ ความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทมากขึ้น โดยให้ยึดกลุ่มผู้มี รายได้น้อย ทั้งในภูมิภาคและชนบท เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ ควรได้รับผลจากการพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาระบบการผลิต การตลาด และการสร้างงาน มี วัตถุประสงค์และเป้าหมายประการหนึ่ง เพื่อบรรเทาปัญหา ความยากจนในชนบทและปัญหาการกระจายรายได้ โดยให้ ความสําคัญแก่เกษตรที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาชนบทใน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 และพื้นที่เป้าหมายที่จะกําหนดเพิ่มเติม โดยคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับ ที่ 6 โดยกํา หนดเป้ า หมายเพิ่ ม การสร้ า งงานในระยะของ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ไม่ต่ํากว่า 3.9 ล้านคน แนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้กําหนด แนวนโยบายการพัฒนากลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่อยู่ในข่ายยากจน และชุ ม ชนแออั ด ในบริ เ วณกรุ ง เทพมหานครและปริ ม ณฑล ประมาณ 500,000 คน โดยการจัดสร้ างที่อยู่ อาศัยและการ ปรับปรุงชุมชนแออัดให้สามารถรับบริการพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง ตลอดจนสนับสนุนให้มีความมั่นคงในสิทธิการถือครองที่ดินเพื่อ อยู่อาศัยในช่วงระยะเวลาที่แน่นอน ดําเนินการจัดที่อยู่อาศัยให้ ในกรณีที่มีการรื้อย้ายชุมชนแออัด และส่งเสริมการมีส่วนร่วมใน การพั ฒ นาชุ ม ชนของตน ตลอดทั้ ง การจั ด ระบบกา ร ประสานงานระหว่ า งหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งให้ ชั ด เจน และ สนั บ สนุ น ให้ อ งค์ ก รเอกชนเข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มเพื่ อ นํ า ไปสู่ ก าร พึ่งตนเองได้ รวมถึงการฝึกอบรมอาชีพและการศึกษาภาคบังคับ ในหมู่ผู้มีรายได้น้อยอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน แผนการจัดที่อยู่อาศัยและปรับปรุงชุมชนแออัดมีดังนี้ 1. จัดสร้างที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อยจํานวน 22,000 หน่วย โดยให้มีการจัดเก็บค่าบริการตามความเหมาะสม 2. ปรับปรุงชุมชนแออัดจํานวน 20,000 หน่วย 3. สนับสนุนให้ภาคเอกชนลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มี รายได้น้อย ตลอดทั้งปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงบทบาท ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้สนับสนุนทางด้านการเงินแก่ ภาคเอกชนในการลงทุนทางด้านนี้ เพื่อจะได้แบ่งเบาภาระของ ภาครัฐบาลในการจัดที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยด้วย แผนพั ฒ นากลุ่ ม ผู้ มี ร ายได้ น้ อ ย โดยเน้ น การจั ด บริ ก าร สาธารณะให้ทั่ ว ถึง ตลอดทั้ ง การส่ง เสริ ม อาชี พเพื่ อยกฐานะ ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยวิธีการให้มีส่วนร่วมในกรพัฒนาชุมชน ของตน การประสานงานระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง และ
78
แผนพัฒนาฯ
เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์/แนวทาง สนับสนุนให้องค์การเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชน แออัดในเขตมหานคร ดังนี้ 1. จัดสร้างที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยและปรับปรุงชุมชนแออัด โดยเฉพาะด้านน้ําประปา ไฟฟ้า ทางเท้า การสุขาภิบาล และ อื่น ๆ ทั้ ง นี้ ให้ชุ ม ชนมี ส่ว นร่ว มในการพั ฒนาให้ ม ากและอาจ พิจารณาจัดเก็บค่าบริการต่างๆ ตามความเหมาะสม 2. สนับสนุนการศึกษา การฝึกอบรมอาชีพ และการพัฒนา ฝีมือแรงงาน ตลอดจนการศึกษาภาคบังคับในหมู่ผู้มีรายได้น้อย อย่างทั่วถึงโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน 3. สนับ สนุ นการจั ดตั้ง กองทุน พัฒ นาชุ มชนผู้มี รายได้ น้อ ย เพื่อประโยชน์ในด้านการรักษาพยาบาล การโภชนาการ และ การจัดตั้งศูนย์เลี้ยงดูเด็ก 4. จัดระบบการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสนั บสนุ นองค์ การเอกชนเข้ ามามี ส่วนร่ว มในการพั ฒนา เช่ น การลดหย่ อ นภาษี ใ ห้ เ อกชนในโครงการพั ฒ นากลุ่ ม ผู้ มี รายได้น้อยในเมือง พิจารณาข้อจํากัดด้านระเบียบข้อบังคับใน การกําหนดมาตรฐานการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้ น้อย การช่วยเหลือสนับสนุนสถาบันการเงินเอกชนเป็นแหล่ง เงินทุนเพื่อการประกอบธุรกิจส่วนตัวขนาดย่อม
แผนฯ 7
ลดความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุม่ คน ในประเทศ โดยใช้นโยบายและมาตรการ ยกระดั บ รายได้ ข องกลุ่ ม ผู้ มี ร ายได้ น้ อ ย โดยเฉพาะในชนบทเป็นกรณีพิเศษ
แนวทางการกระจายรายได้ ใ นการสร้ า งโอกาสทางด้ า น เศรษฐกิจและสังคม จะเน้นการกระจายฐานทางเศรษฐกิจไปสู่ ภูมิภาคเพื่อเพิ่มการมีงานทําในภาคนอกเกษตร เน้นการเข้าถึง ปัจจัยในการผลิต เช่น ที่ดินทํากิน และสินเชื่อ ตลอดจนบริการ พื้นฐานต่างๆ เพื่อยกระดับการผลิต คุณภาพชีวิต และความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนยากจน ทั้งนี้เน้นการพัฒนาให้สอดคล้อง กั บ ความต้ อ งการของท้ อ งถิ่ น โดยการกระจายอํ า นาจการ บริหารงานพัฒนาสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นส่วนทางด้านการเพิ่มขีด ความสามารถของประชากรกลุ่มเป้าหมายจะมุ่งเน้นการเพิ่ม ศั ก ยภาพให้ ป ระชากรกลุ่ ม เป้ า หมายโดยขยายโอกาสทาง การศึกษาจัดฝึกอบรมและบริการให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
แผนฯ 8
ลดช่องว่างการกระจายรายได้ระหว่างกลุ่ม ผู้มีรายได้สูงสุดและต่ําสุด โดยเน้นกลุ่มผู้มี รายได้ปานกลางลงมาถึงผู้มีรายได้น้อยให้มี สัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 50 ของรายได้ประชาชาติ เมื่อสิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
แนวทางการเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพและ การมีงานทํา ด้วยการสนับสนุนให้มีการกระจายกิจกรรมทาง เศรษฐกิจและบริการทางสังคมและการศึกษา รวมทั้งการพัฒนา เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ เมือง และชุมชน ตาม ศักยภาพและความเหมาะสม เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการมีงานทํา และลดความเหลื่อมล้ําของรายได้ ซึ่งจะมุ่งต่อกลุ่มคนที่อาศัย อยู่ในภูมิภาคและชนบท โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรและคนจนใน เมือง
79
แผนพัฒนาฯ แผนฯ 9
เป้าหมาย ไม่มเี ป้าหมายการกระจายรายได้
ยุทธศาสตร์/แนวทาง ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ ส่งเสริมการค้าบริการที่มีศักยภาพเพื่อสร้างงานและ กระจายรายได้ โดยพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มการจ้างงาน และกระจายรายได้สู่ชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ใน การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และพัฒนาธุรกิจบริการ ที่มีศักยภาพใหม่ๆ ให้สอดคล้องกั บศักยภาพของท้อ งถิ่น ซึ่ ง รวมถึงวิถีชีวิต สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีพื้นบ้าน ตลอดจนการส่งเสริมไทยเที่ยวไทย และ การประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ยุ ท ธศาสตร์ ก ารบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม กํา หนดเขตการใช้ ป ระโยชน์ ที่ ดิ น ในพื้ น ที่ ที่ ส มควร อนุรักษ์เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ควบคู่ไปกับการสร้างแรงจูงใจ ผ่านมาตรการด้านสินเชื่อ ภาษี และระบบตลาดเพื่อกระจาย สิทธิการถือครองที่ดินในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรแต่มิได้ ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พร้อมทั้งให้มีกลไกสนับสนุนด้าน การเงินเพื่อรับซื้อที่ดินซึ่งเจ้าของประสงค์จะจําหน่ายจ่ายโอน และนํามาให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทํากินเช่าทําการเกษตร
แผนฯ 10
รายได้ของกลุ่มที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ20 แรกมีสัดส่วนไม่เกิน10เท่าของรายได้ของ กลุ่มที่มีรายได้ต่ําสุดร้อยละ 20 ภายในปี 2554
วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ สมดุลและยั่งยืน เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการ ลงทุ น ให้ เ ป็ น ธรรม และคํ า นึ ง ถึ ง ผลประโยชน์ ข องประเทศ รวมทั้ ง การสร้ า งกลไกในการกระจายผลประโยชน์ จ ากการ พัฒนาสู่ประชาชนในทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน การสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและการ กระจายผลประโยชน์ จ ากการพั ฒ นาอย่ า งเป็ น ธรรมโดย ส่งเสริมการแข่งขันการประกอบธุรกิจในระบบอย่างเสรีเป็ น ธรรมและป้ อ งกั น การผู ก ขาดกระจายการพั ฒ นาโครงสร้ า ง พื้ น ฐานไปสู่ ภู มิ ภ าคอย่ า งสมดุ ล และเป็ น ธรรมให้ ป ระชาชน เข้ า ถึง บริก ารได้ อ ย่า งทั่ วถึ ง เพี ย งพอและสอดคล้ องกั บความ ต้องการของพื้นที่เพิ่มประสิทธิภาพและความครอบคลุมของ การให้บริการของระบบการเงินฐานรากให้สามารถสนับสนุน การพัฒนาศักยภาพชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนา องค์กรการเงินชุมชนให้เข้มแข็งรวมทั้งดําเนินนโยบายการคลัง เพื่อส่งเสริมการกระจายรายได้โดยกระจายอํานาจการจัดเก็บ ภาษี ก ารจั ด ทํ า งบประมาณและการเบิ ก จ่ า ยและการก่ อ หนี้ ภายใต้กรอบการรักษาวินัยทางการคลังสู่ท้องถิ่น
80
แผนพัฒนาฯ
แผนฯ 11
เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์/แนวทาง ยุทธศาสตร์การพั ฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จั ด ทํ า ระบบฐานข้ อ มู ล และทะเบี ย นการบุ ก รุ ก ใช้ ประโยชน์ที่ดินของรัฐเพื่อวางระบบกระจายการถือครองที่ดินให้ คนยากจนมีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเอง
ลดช่องว่างรายได้ระหว่างกลุ่มคนและพื้นที่ ต่างๆ ตัวชี้วัด สัดส่วนรายได้ระหว่างกลุม่ ประชากร สัดส่วนรายได้ระหว่างพื้นที่
ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคมมุ่งสร้างภูมิคุ้มกัน ตั้งแต่ระดับปัจเจก ครอบครัว และชุมชน เพื่อให้เป็นสังคมที่มี คุณภาพ สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงและบริหาร จัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสําคัญกับ การสร้ า งความมั่ น คงทางเศรษฐกิ จ และสั ง คมให้ ทุ ก คนใน สังคมไทยสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ ได้รับการ คุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมทั่วถึงและมีคุณภาพเท่าเทียมกัน มีโ อกาสเข้ า ถึง ทรัพ ยากรและโครงสร้ างพื้ นฐานในการสร้ า ง อาชีพและรายได้ที่มั่นคง สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างเสมอภาค ได้รับการคุ้มครองสิทธิ ผลประโยชน์และความ มั่ น คงปลอดภั ย ในชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น อย่ า งเท่ า เที ย ม และ สามารถดํ า รงชี วิต อยู่ไ ด้ อย่ า งมี ศั กดิ์ ศ รี ภายใต้ร ะบบบริห าร จัดการภาครัฐที่โปร่งใส ยึดประโยชน์ส่วนรวม และเปิดโอกาส การมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในกระบวนการพัฒนา ประเทศ ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหาร และพลังงาน การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิต ภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน สนับสนุนการกระจายการ ถือครองที่ดินอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เร่งรัดการจัดให้มี องค์กรและระบบบริหารจัดการที่ดินให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อ เป็นกลไกในการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและ ดํ า เนิ น การให้ เ กษตรกรมี ก รรมสิ ท ธิ์ ใ นที่ ดิ น เพื่ อ ประกอบ เกษตรกรรมอย่างทั่วถึง และสนับสนุนการใช้ประโยชน์ทดี่ ินของ รัฐอย่างคุ้มค่าโดยเกษตรกรและชุมชน รวมทั้งเร่งรัดการออก เอกสารสิทธิ์หรือจัดสรรสิทธิในที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ไร้ที่ทํากิน ให้มีที่ดินเป็นของตนเองอย่างเป็นธรรม การสร้ า งความมั่ น คงในอาชี พ และรายได้ ใ ห้ แ ก่ เกษตรกร โดยพัฒนาระบบการสร้างหลักประกันด้านรายได้ของ เกษตรกรให้ มี ค วามมั่ น คงและครอบคลุ ม เกษตรกรทั้ ง หมด พัฒนาระบบประกันภัยพืชผลการเกษตร ส่งเสริมระบบการทํา การเกษตรแบบมีพันธสัญญาที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ยกระดับ คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้นโดยพัฒนา ระบบสวัสดิการให้ครอบคลุมเกษตรกรในทุกสาขาอาชีพ
81
แผนพัฒนาฯ
เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์/แนวทาง ยุทธศาสตร์ การจั ดการทรั พยากรธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้ อม อย่างยั่งยืน ก า ร พั ฒ น า ร ะ บ บ ก า ร บ ริ ห า ร จั ด ก า ร ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ โปร่งใสและเป็นธรรมอย่างบูรณาการ โดยส่งเสริมสิทธิและ พั ฒ นาศั ก ยภาพชุ ม ชนในการเข้ า ถึ ง และใช้ ป ระโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติ ปรับปรุงกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความ เหลื่อมล้ําในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติของ ชุมชน กระจายการถื อ ครองที่ ดิ น ให้ เ กิ ด ความเป็ น ธรรม โดยกําหนดมาตรการเพื่อกระจายการถือครองที่ดินให้เป็นธรรม เช่น จัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า ให้มีการใช้ประโยชน์จาก พื้นที่รกร้าง และจัดให้มรี ะบบและองค์กรบริหารจัดการที่ดินให้ เป็ น รู ป ธรรมโดยเร็ ว รวมทั้ ง กํ า หนดมาตรการป้ อ งกั น การ สูญเสียกรรมสิทธิ์ที่ดินของเกษตรกรรายย่อยเพื่อคุ้มครองความ มั่นคงและฐานการดํารงชีวิตของเกษตรกรยากจน
ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมี คุณภาพและยั่งยืน บริ ห ารจัด การด้ านการคลัง โดยเร่ ง รั ด การนํ า ภาษี ใหม่ๆ ที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นธรรม ในสังคม เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีทรัพย์สิน และ ภาษีสิ่งแวดล้อม ที่มา : แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ถึง ฉบับที่ 11, สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตารางที่ 51 การกระจายรายได้หรือความเหลื่อมล้ําด้านรายได้ ปี พ.ศ.
เป้าหมายการกระจายรายได้
แผนฯ 1 ระยะที2่ (พ.ศ.2507-2509) ไม่มเี ป้าหมายการกระจายรายได้ แผนฯ 2 (พ.ศ.2510-2514) ไม่มเี ป้าหมายการกระจายรายได้ แผนฯ 3 (พ.ศ.2515-2519) พยายามลดความเหลื่อมล้ําในระดับ รายได้และความแตกต่างในระดับความ เป็นอยู่ของประชากรในชนบท แผนฯ 4 (พ.ศ.2520-2524) ไม่มเี ป้าหมายการกระจายรายได้
สัดส่วนรายได้ของประชากร ตามกลุ่มประชากรตาม ระดับรายได้(Quintile by income) (หน่วย:ร้อยละ) กลุ่ม1 กลุ่ม2 กลุ่ม3 กลุ่ม4 กลุ่ม 5 รวม จนสุด รวยสุด
ความเหลื่อม ล้ํา กลุม่ 5/ กลุม่ 1 (เท่า)
82
ปี พ.ศ.
2531 2533 2535 2537 2539
2541 2543
2545 2547 2549
เป้าหมายการกระจายรายได้
แผนฯ 5 (พ.ศ.2525-2529) ไม่มเี ป้าหมายการกระจายรายได้ แผนฯ 6 (พ.ศ.2530-2534) ไม่มเี ป้าหมายการกระจายรายได้ แผนฯ 7 (พ.ศ.2535-2539) ลดความแตกต่างของรายได้ระหว่าง กลุ่มคนในประเทศ โดยใช้นโยบายและ มาตรการยกระดับรายได้ของกลุ่มผู้มี รายได้นอ้ ย โดยเฉพาะในชนบทเป็น กรณีพิเศษ แผนฯ 8 (พ.ศ.2540-2544) ลดช่องว่างการกระจายรายได้ระหว่าง กลุ่มผูม้ ีรายได้สูงสุดและต่ําสุด โดยเน้น กลุ่มผูม้ ีรายได้ปานกลางลงมาถึงผูม้ ี รายได้น้อยให้มสี ัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้น อย่างน้อยเป็นร้อยละ 50 ของรายได้ ประชาชาติ เมื่อสิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 แผนฯ 9 (พ.ศ.2545-2549) ไม่มเี ป้าหมายการกระจายรายได้
สัดส่วนรายได้ของประชากร ตามกลุ่มประชากรตาม ระดับรายได้(Quintile by income) (หน่วย:ร้อยละ) กลุ่ม1 กลุ่ม2 กลุ่ม3 กลุ่ม4 กลุ่ม 5 รวม จนสุด รวยสุด
ความเหลื่อม ล้ํา กลุม่ 5/ กลุม่ 1 (เท่า)
4.58 4.29
8.05 12.38 20.62 7.54 11.70 19.50
54.37 56.97
100 100
11.88 13.28
3.96 4.07 4.18
7.06 11.11 18.90 7.35 11.67 19.68 7.55 11.83 19.91
58.98 57.23 56.53
100 100 100
14.90 14.07 13.52
4.30 3.95
7.75 12.00 19.82 7.27 11.50 19.83
56.13 57.45
100 100
13.06 14.55
4.23 4.54 3.84
7.72 12.07 20.07 8.04 12.41 20.16 7.67 12.12 20.08
55.91 54.86 56.29
100 100 100
13.23 12.10 14.66
แผนฯ 10 (พ.ศ.2550-2554) 2550 รายได้ของกลุ่มที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ 4.30 8.01 12.42 20.22 55.06 100 12.81 20แรกมีสัดส่วนไม่เกิน10เท่าของรายได้ 4.56 8.33 12.57 20.14 54.39 100 2552 11.92 ของกลุ่มที่มีรายได้ต่ําสุดร้อยละ 20 ภายในปี 2554 แผนฯ 11 (พ.ศ.2555-2559) ลดช่องว่างรายได้ระหว่างกลุ่มคนและ พื้นที่ต่างๆ ตัวชี้วัด สั ด ส่ ว น ร า ย ไ ด้ ร ะ ห ว่ า ง ก ลุ่ ม ประชากร สัดส่วนรายได้ระหว่างพื้นที่ ที่มา : แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ถึง ฉบับที่ 11, สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิตแิ ห่งชาติ, ประมวลผลโดย สศช. หมายเหตุ : ปี 2549, ปี 2550 และปี 2552 มีการบันทึกข้อมูลรายได้ติดลบหรือขาดทุน
83
3.2
นโยบายรัฐบาลเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา
นโยบายเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ําที่สําคัญในช่วงปี 2552 – 2553นั้น ประกอบด้วยทั้งนโยบายระยะสั้นและนโยบายระยาว ดังนี้ 3.2.1 การเพิ่มและสร้างเสถียรภาพรายได้ของประชาชน 1) สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่ สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจํานง โดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ 2) การสร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุน เศรษฐกิจพอเพียงและจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้ รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ํา และทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน 3) การสร้างเสถียรภาพรายได้เกษตรกร ได้มีการดําเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกร ในพืช 3 ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสําปะหลัง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2552 โดยในปี 2552/2553 มี เกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจทั้ง 3 ชนิดข้างต้นขึ้นทะเบียน จํา นวน 4,468,178 ราย วงเงินจ่ายชดเชยให้ เกษตรกร 36,498 ล้านบาท สําหรับในปี 2553/2554 มีเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจทั้ง 3 ชนิดขึ้นทะเบียน จํานวน 4,937,175 ราย (ข้อมูลสะสม ณ วันที่ 25 เมษายน 2554) วงเงินจ่ายชดเชยให้เกษตรกรแล้ว 35,593 ล้า นบาท ทั้ ง นี้ เมื่ อ วั น ที่ 8 มี น าคม 2554 คณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ มี ม ติ เ ห็ น ชอบในหลั ก การร่ า งระเบี ย บสํ า นั ก นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกันรายได้เกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งร่างระเบียบฯ มีสาระสําคัญได้แก่ การ กําหนดให้มีคณะกรรมการการประกันรายได้เกษตรกรแห่งชาติ แนวทางการดําเนินการประกันรายได้เกษตรกร และการกําหนดชนิดสินค้าเกษตรในโครงการ รวมถึงเห็นชอบคู่มือการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจและคู่มือ การจัดทําสัญญาประกันรายได้ และให้มีการดําเนินโครงการต่อไปได้ 4) สร้ า งระบบประกั น ความเสี่ ย งทางการเกษตร กระทรวงการคลั ง โดยสํ า นั ก งาน เศรษฐกิ จ การคลั ง (สศค.) และหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้อ งได้ ร่ ว มกั น จั ด ทํ า ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ใ นการพั ฒ นาการ ประกัน ภัย พืชผลอันเนื่องมาจากภัย ธรรมชาติ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2553-2555) เพื่อศึกษาและกําหนดแนว ทางการดําเนินการอย่างเหมาะสมสําหรับการประกันภัยพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ และมันสําปะหลัง รวมทั้งการจัดทําโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2554 ซึ่งเป็นโครงการ นําร่องในพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี 57 ล้านไร่ทั่วประเทศ โดยยุทธศาสตร์ฯ และโครงการดังกล่าว ได้ผ่านความ เห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณากรอบแนวทางการประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ และ คณะรัฐมนตรีแล้ว ในขณะนี้อยู่ระหว่างการชี้แจงแนวทางปฏิบัติให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร และสมาคมประกันวินาศภัย เป็นต้น 5) จัด ตั้งสภาเกษตรกรแห่ง ชาติ เพื่อให้เ กษตรกรมีส่ว นร่ว มในการเสนอนโยบายและ วางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบและมีระบบการคุ้มครอง รักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้ง พัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง โดยพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ได้มีผล บังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2553
84
3.2.2 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน 1) ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุน ตําราในวิชาหลักให้แก่ทุก โรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรี เป็นต้น 2) ดําเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และ บริการสาธารณูปโภคโดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการ ของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด 3.2.3 ด้านคุณภาพชีวิต 1) จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา ตอนปลาย พร้อ มทั้ง เพิ่มประสิ ทธิภ าพการบริ ห ารจั ด การให้เ กิด ความเสมอภาค เป็น ธรรมในโอกาสทาง การศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ฯลฯ 2) ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอม ไกล่ เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาระดับ อาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น 3) ปฏิรูประบบประกันสังคมและจัดระบบดูแลด้านสวัสดิการของแรงงาน โดยขยายความ คุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในด้านการเจ็บป่วย และเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นๆ ให้แก่ผู้ประกันตน การจัดระบบดูแลสวัสดิการของกลุ่มแรงงานนอกระบบ รวมทั้งการคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทย 4) ส่งเสริมการมีงานทําของผู้สูงอายุและคนพิการ ให้มีรูปแบบที่หลากหลายเหมาะสมตาม ความสามารถ อาทิ การทํางานแบบบางเวลา การทํางานชั่วคราว 5) ปรับปรุงระบบบริก ารด้านสาธารณสุข โดยยกระดับ สถานีอนามัย เป็น โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพประจําตําบล พัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ 6) ส่ ง เสริ ม บทบาทอาสาสมั ค รสาธารณสุ ข ประจํ า หมู่ บ้ า น (อสม.) ทั่ ว ประเทศให้ ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วย ในโรงพยาบาล และการเฝ้า ระวัง โรคในชุมชน โดยจัด ให้มีส วัส ดิการค่า ตอบแทน ให้แก่ อสม. เพื่อสร้า ง แรงจูงใจ หนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ 3.2.4 ด้านสวัสดิการทางสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1) แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดหาที่ดินทํากินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพ และสร้างรายได้ สร้างความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านและแหล่งทุนอื่นๆ ในระดับชุมชน ให้มีกลไกที่โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ 2) ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนําไปสู่การลดหนี้ หรือยืดระยะเวลา ชําระหนี้ หรือพักชําระหนี้ 3) เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพการอยู่อาศัย คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ชุมชน โดยเฉพาะชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น
85
4) ส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ทุพพลภาพผู้ที่อยู่ ในภาวะยากลําบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พึ่งตนเองได้ 3.2.5 การปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ 1) จัดหาที่ดินทํากินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน เร่งรัดการออกเอกสาร สิทธิให้แก่เกษตรกรยากจน และชุมชนที่ทํากินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน 2) แก้ปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดําเนินการจัดการ หนี้สินของเกษตรกรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทํากินให้แก่เกษตรกร 3) ขยายการให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่มีความจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของ ประชาชนให้กระจายไปสู่ภู มิภ าคอย่า งทั่ว ถึงเพีย งพอ และมีคุ ณภาพทั้ งบริการน้ํา สะอาด ไฟฟ้า สื่อ สาร โทรคมนาคมพื้นฐาน ที่อยู่อาศัย รวมทั้งพัฒนาถนนไร้ฝุ่น โครงการสําคัญที่มีการดําเนินการอยู่ในปัจจุบันเพื่อให้เกิดผลต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและ ความเหลื่ อ มล้ํ า ของประเทศไทยและเป็ น โครงการที่ มี ส่ ว นในการพั ฒ นาหรื อ ยกระดั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของ ประชาชนที่ยากจนและผู้มีรายได้น้อยตลอดจนผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้ดีขึ้น ทั้งการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ด้าน การศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านสวัสดิการสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งเป็นโครงการที่สร้างโอกาสในการ เข้าถึงบริการพื้นฐานของรั ฐของประชาชนในระดับล่างได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลในภาพรวมต่อการลดความ ยากจนและความเหลื่อมล้ําของประเทศไทย
3.3
การดําเนินโครงการสําคัญเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา โครงการที่สําคัญๆ สามารถจัดกลุ่มเป็นโครงการระยะสั้น และระยะยาว ได้ดังนี้
3.3.1 โครงการ/มาตรการระยะสั้น ได้แก่ (1) มาตรการลดภาระค่า ครองชีพของประชาชน (ไฟฟ้า ประปา รถเมล์ รถไฟ) โดยรัฐรับภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้าสําหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90หน่วยต่อ เดื อ น ค่ า ใช้ จ่ า ยค่ า โดยสารรถประจํ า ทางของ ขสมก.ประเภทรถโดยสารธรรมดาที่ ใ ห้ บ ริ ก ารในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จํานวน 800คันใน 73เส้นทาง ค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถไฟชั้น 3เชิงสังคม จํานวน 164ขบวนต่อวัน และรถไฟชั้น 3เชิงพาณิชย์ จํานวน 8ขบวนต่อวัน (ทั้ง 3 มาตรการสิ้นสุดวันที่30 มิถุนายน 2554) ค่าใช้จ่ายการใช้น้ําสําหรับผู้ใช้น้ําประเภทที่อยู่อาศัยและผู้เช่าที่อยู่อาศัยที่มีปริมาณการใช้น้ํา ระหว่าง 0ถึง 20ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน (สิ้นสุดวันที่30 มิถุนายน 2553) และ (2) โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน ซึ่งเป็นการจัดฝึกอบรมให้กับกลุ่มผู้ว่างงาน ผู้ถูก เลิกจ้างและผู้จบการศึกษาใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ 3.3.2 โครงการ/มาตรการระยะยาว รัฐได้ดําเนินโครงการต่าง ๆ หลายโครงการที่เกี่ยวข้องกับการ แก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา โดยแต่ละโครงการมีจุด เน้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนในด้านต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งสามารถจัดกลุ่มของโครงการ ได้ดังนี้
86
1) ด้านเศรษฐกิจ เน้นการสร้างงาน สร้างรายได้ ส่งเสริมการประกอบอาชีพ การพัฒนา ทักษะอาชีพ การเข้า ถึงที่ดินทํากิน และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพของประชาชน โดย กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จะเป็นประชากรวัยแรงงานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งโครงการในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย 5 โครงการที่สําคัญ คือ โครงการประกันรายได้เกษตรกร โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) กองทุน หมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และโฉนดชุมชน 2) ด้านการศึกษา เน้นการลดภาระค่าใช้จ่ายบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน สร้าง และขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและประชาชนทั่วไปอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ รวมทั้งการเข้า ถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยกลุ่มเป้า หมายที่ได้รับประโยชน์จ ะเป็น ประชากรวัย เด็กและเยาวชนเป็น ส่ว นใหญ่ ซึ่ง โครงการในกลุ่มนี้ ประกอบด้ว ย 2 โครงการที่สํา คัญ คือ โครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 3) ด้านสุขภาพ เน้นให้คนไทยเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ มีความครอบคลุมในเชิงปริมาณ และเชิง คุณภาพ โดยกลุ่ มเป้ า หมายที่ ได้ รับ ประโยชน์จ ะเป็น ประชากรทุ กกลุ่ มวัย ซึ่ ง โครงการในกลุ่ม นี้ ประกอบด้วย 2 โครงการที่สําคัญ คือ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และโครงการส่งเสริมอาสาสมัคร สาธารณสุขประจําหมู่บ้าน(อสม.)เชิงรุก 4) ด้านสวัสดิการสังคมและความมั่นคงในชีวิต เน้นการจัดสวัสดิการให้กับประชาชนกลุ่ม ต่าง ๆ ทั้งในรูปของตัวเงินและอื่นๆ (อาหารกลางวัน) การสร้างความมั่นคงในรายได้ และการสร้างความมั่นคง ด้านที่อยู่อาศัย โดยกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ นักเรียน และประชาชนทั่วไป ซึ่ง โครงการในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย 8 โครงการที่สําคัญ คือ โครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ (เบี้ยยังชีพ) โครงการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ โครงการอาหารกลางวันของนักเรียน กองทุนสวัสดิการ ชุมชน กองทุนเศรษฐกิจพอเพียง โครงการบ้านมั่นคง โครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอก ระบบ 5) ด้านการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ มีโครงการที่สําคัญ 1 โครงการ คือ โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งน้ําและได้รับประโยชน์จากแหล่งน้ํา ในการประกอบอาชีพและการอุปโภคบริโภค และส่งเสริมการกระจายรายได้ การจ้างงานในแหล่งพื้นที่พัฒนา แหล่งน้ํา 3.4
สาระสําคัญและผลการดําเนินงานของโครงการสําคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความ เหลื่อมล้ํา 3.4.1 นโยบาย/โครงการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําจากการให้สวัสดิการรายได้ 1) โครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ (เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ)
ความเป็นมา (1) การจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพของผู้สูงอายุ เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนา สังคมและสวัสดิการ โดยจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพหรือถูกทอดทิ้ง ขาดผู้ อุปการะเลี้ยงดู ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ ต่อมาในปี 2547 ได้โอนความรับผิดชอบมายังกรม
87
ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และในปี 2550 ได้เพิ่มเงินสงเคราะห์ของผู้สูงอายุจาก 300 บาทต่อเดือน เป็น 500 บาท ต่อเดือนตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ (2) รั ฐ บาลได้ แ ถลงนโยบายต่ อ รั ฐ สภาเมื่ อ วั น ที่ 30 ธั น วาคม 2551 ที่ จ ะดํ า เนิ น การสร้ า ง หลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุทุกคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปให้ได้รับสิทธิและสวัสดิการเบี้ยยังชีพเดือนละ 500 บาท ตลอดชีพ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 เป็น ต้น ไป โดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติได้ออกระเบีย บ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552 เพื่อขับเคลื่อน นโยบายสู่การปฏิบัติ หลักการและวัตถุประสงค์ นโยบายโครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ (เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ) มีวัตถุประสงค์ในการ สร้า งหลักประกัน ด้า นรายได้แก่ผู้สูงอายุ โ ดยจัด สวัส ดิการเบี้ย ยังชีพผู้สูงอายุ ให้ทั่ว ถึง โดยการจัด สรรเงิ น สวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพิ่มจาก 300 บาท เป็น 500 บาทให้ทั่วถึงกลุ่มเป้าหมายคือประชากรไทยที่มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่ไม่ได้รับสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ทุกคนที่มาลงทะเบียนขอรับสิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีสัญชาติไทย และไม่ได้รับ สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจํา บํานาญ กลไกการดําเนินงาน คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา สถานะปัจจุบัน จํานวนผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพปัจจุบันเพิ่มขึ้นมากจาก1,763,966 คนหรือร้อยละ 23.9 ของประชากร สูงอายุทั้งหมดในปี 2551 เป็น 5,652,893 คน ในปี 2553 หรือร้อยละ 73.6 ของประชากรสูงอายุทั้งหมดในปี 2553 ตารางที่ 52 จํานวนผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ ปี 2546 2547 2548 2549 2550 2551 25521/
จํานวนประชาการ อายุ 60 ปีขึ้นไป (พันคน) 6,354 6,546 6,757 6,935 7,147 7,394 7,681
จํานวนผู้สูงอายุที่ได้รับ เบี้ยยังชีพ 400,400 440,000 528,531 1,079,837 1,763,178 1,763,966 5,448,843
งบประมาณ (ล้านบาท) 1,442.400 1,584.000 1,906.180 3,903.367 10,579.068 10,583.796 21,963.075
สัดส่วนผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยัง ชีพ (ร้อยละ) 6.3 6.7 7.8 15.6 24.7 23.9 70.9
88
2553 8,011 5,652,893 32,779.232 73.6 ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สํานักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หมายเหตุ1/ การจ่ายเบี้ยยังชีพปี 2552 ประกอบด้วย 1) เบี้ยยังชีพผู้ยากไร้ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กทม. และ เมืองพัทยา จํานวน 2,386,428 คน 2) นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทุกคน ยกเว้นผู้ได้รับบํานาญจากรัฐบาล เริ่มตั้งแต่เมษายน 2552 จํานวน 3,576,661 คน
การแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ํา ผลการดําเนินนโยบายนับว่ามีส่วนในเรื่องการแก้ปัญหาความยากจนในกลุ่มผู้สูงอายุแต่ยังไม่ปรากฏ หลักฐานที่ชัดเจนว่าช่วยลดช่องว่างรายได้ (รายจ่าย) ของกลุ่มชั้นรายได้ต่าง ๆ ได้หรือไม่เพียงใดแต่มีประเด็น ดังนี้ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาทซึ่งเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2552นับว่ามีส่วนช่วยให้ในแก้ปัญหาความยากจน ในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยสัดส่วนคนจนวัยสูงอายุลดลงมากจากร้อยละ 14.10 ในปี 2551เหลือเพียงร้อยละ 11.78 ในปี 2552 แม้ว่าเป็นปีที่เศรษฐกิจถดถอย และลดลงต่อเนื่องเป็นร้อยละ 10.92 ในปี 2553เป็นที่น่าสังเกตว่าปี 2552 เป็นช่วงเปลี่ยนแปลงที่สําคัญที่การยกระดับสวัสดิการทางสังคมที่จัดแก่กลุ่มยากจนและด้อยโอกาสได้มี ส่วนช่วยในแก้ปัญหาความยากจน สัดส่วนคนจนวัยสูงอายุลดลงเร็วกว่ากลุ่มอื่นโดยลดลงถึงร้อยละ 16.45 เทียบกับความยากจนในภาพรวมที่ลดลงเพียงร้อยละ 9.22 ความยากจนสําหรับวัยเด็กวัยเด็กและวัยแรงงานที่ ลดลงร้อยละ 8.48และ 6.13 ตามลําดับ เมื่อพิจารณาการได้รับสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาทต่อเดือนเปรียบเทียบในระหว่างกลุ่มชั้น รายได้ พบว่ากลุ่มยากจนมีการเข้าถึงในสัดส่วนที่สูงกว่า โดยกลุ่มประชากรที่มีค่าใช้จ่ายต่ําที่สุด (หรือรายได้ ต่ําสุด Quintile 1) ได้รับสวัสดิการเพิ่มขึ้นจากสัดส่วนร้อยละ 69.59 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 88.05 ในปี 2553 ขณะที่กลุ่มประชากรที่มีค่าใช้จ่ายระดับที่สอง (Quintile 2) มีสัดส่วนการได้รับสวัสดิการเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 66.02 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 88.59 ในปี 2553 ซึ่งในปัจจุบันเป็นกลุ่มประชากรที่มีสัดส่วนการได้รับ สวัสดิการสูงที่สุด ขณะที่กลุ่มประชากรที่มีค่าใช้จ่ายสูงในปี 2553 (Quintile ที่ 3-5) มีสัดส่วนที่ได้รับเบี้ยยัง ชีพร้อยละ 84.5676.93 และ 57.03 ตามลําดับ นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือด้านสวัสดิการกับกลุ่มผู้สูงอายุทุกคนจึงมี ส่วนช่วยในการลดปัญหาความยากจนลง แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันที่แน่ชัดว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยลดปัญหา ความเหลื่อมล้ําด้วย ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าประชากรทุกกลุ่มรายได้มีการเข้าถึงสวัสดิการมากขึ้น แม้ว่ากลุ่มที่มี รายได้สูงจะยังมีสัดส่วนที่ได้รับเบี้ยยังชีพต่ํากว่ากลุ่มอื่น แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะช่วยลดช่องว่างรายได้ และรายจ่ายได้อย่างมีนัยสําคัญ ตารางที่ 53 สัดส่วนคนจนจําแนกตามกลุ่มอายุ 2539 วัยเด็ก (<15ปี) วัยแรงงาน(15-59ปี) ผู้สูงอายุ (60ปี+) รวม วัยเด็ก (<15ปี)
2541
18.93 21.96 12.35 15.15 18.33 19.89 14.76 17.46 16.02
2543
2545 2547 สัดส่วนคนจน 26.89 19.16 14.48 17.95 12.43 9.15 24.15 19.18 14.58 20.98 14.93 11.16 อัตราการเปลี่ยนแปลง 22.45 -28.75 -24.44
2549
2550
2551
2552
2553
12.38 7.39 14.51 9.55
10.86 6.51 13.19 8.48
11.18 6.94 14.10 8.95
10.24 6.51 11.78 8.12
10.19 6.14 10.92 7.75
-14.52
-12.21
2.94
-8.48
-0.44
89
2539 วัยแรงงาน(15-59ปี) ผู้สูงอายุ (60ปี+) รวม
2541 2543 22.66 18.42 8.51 21.42 18.28 20.16
2545 -30.73 -20.58 -28.80
2547 -26.38 -24.01 -25.28
2549 -19.23 -0.44 -14.43
2550 2551 -11.93 6.56 -9.10 6.87 -11.16 5.48
2552 -6.13 -16.45 -9.22
2553 -5.72 -7.33 -4.59
ที่มา: สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม ประมวลผลจากข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน
ภาพที่ 41 สัดส่วนประชากรที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จําแนกตามกลุ่มรายจ่าย 100.00 80.00
88.05 69.59
88.59 66.02
60.00
84.56
76.93
60.02 48.95
40.00
57.03 30.65
2552 2553
20.00 Quintile 1
Quintile 2
Quintile 3
Quintile 4
Quintile 5
ที่มา: สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม ประมวลผลจากข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน
ปัญหาอุปสรรค (1) การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมีขั้นตอนการดําเนินงานที่ไม่รัดกุม ทําให้ผู้สูงอายุได้รับเงินล่าช้า (2) ระบบฐานข้อมูลการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยังขาดการเชื่อมโยงกับระบบทะเบียนราษฎร์ ทําให้ ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบข้อมูล คุณสมบัติของผู้สูงอายุ สถานที่อยู่ และสถานภาพการมีชีวิต 2) ส่ ง เสริ ม บทบาทอาสาสมั ค รสาธารณสุ ข ประจํ า หมู่ บ้ า น (อสม.) ทั่ ว ประเทศให้ ปฏิบัติงานเชิงรุก ความเป็นมา (1) กระทรวงสาธารณสุ ข ได้ นํ า การสาธารณสุ ข มู ล ฐาน มาเป็ น กลวิ ธี ห ลั ก ในการพั ฒ นา สาธารณสุขของประเทศภายใต้หลักการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองในรูปแบบ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) เป็นแกนนําในการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ในชุมชน ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ (2) รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสําคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ในการ เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชนเชิงรุกอย่างเป็นระบบ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 เห็น ชอบโครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)เชิงรุก เพื่อสร้า ง แรงจูง ใจและสนับ สนุน การทํา งานของ อสม. ทั่ว ประเทศให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ โดยจ่า ย ค่าตอบแทน อสม. ที่มาลงทะเบียนคนละ 600 บาท ต่อเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 เป็นต้นมา และ กําหนดหน้าที่ในการดูแลประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่มได้แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ละหญิงหลังคลอด กลุ่มเด็ก แรกเกิด-อายุ 6 ปี กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้พิการ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้านสาธารณสุขอื่นๆ ในชุมชน
90
หลักการและวัตถุประสงค์ (1) เพื่อส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงาน เชิงรุก มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนการทํางานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน โดยเฉพาะใน 4 กลุ่มเป้าหมาย คือหญิงตั้งครรภ์และหญิง หลังคลอดการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ ทั้งนี้โดยมีกลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ทั่ว ประเทศ ที่ มาลงทะเบี ย นแสดงตน และจัด ทํา รายงานผลการปฎิบัติง านรายเดือ นในการดูแ ล ประชาชน 4 กลุ่มเป้าหมาย (2) ของชุมชน
เพื่อสร้างกระแสการเคลื่อนไหวของประชาชนให้มีส่วนร่วมพัฒนาสุขภาพด้านสาธารณสุข
กลไกการดําเนินงาน (1) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จัดทําระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่า ด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าป่วยการและแนวทาง หลักเกณฑ์การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจํา หมู่บ้าน (อสม.) เชิงรุก พ.ศ.2552 และทําหนังสือขอความร่วมมือไปยังกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นใน การโอนงบประมาณไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (2) กรมส่งเสริมการปกครองส่ว นท้องถิ่น โอนงบประมาณค่า ป่ว ยการของ อสม.ให้องค์การ บริหารส่วนจังหวัด และทําหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อทราบและให้กํากับการดูแลการเบิกจ่าย งบประมาณค่าป่วยการของ อสม.โดยแจ้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ดําเนินการพิจารณาอนุมัติโครงการและ เบิกจ่ายงบประมาณแก่สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการเบิกจ่ายเงิน ค่าป่วยการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) เชิงรุก พ.ศ. 2552 สถานะปัจจุบัน ในปีงบประมาณ 2553 มี อสม. ที่ปฏิบัติงานเชิงรุกด้านส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชนและ ได้รับค่าตอบแทนคนละ 600 บาทต่อเดือน จํานวน 953,470 คน เป็นเงินงบประมาณ 7,029.67 ล้านบาท เทียบกับปี 2552 มี อสม.จํานวน 979,066 คน และงบประมาณ 3,553.27 ล้านบาท (เม.ย.-ก.ย.2552) ทั้งนี้ ผลการปฏิบัติงานของ อสม. เป็นดังนี้ ตารางที่ 54 ผลการปฏิบัติงานของ อสม. เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย แนะนําหญิงตั้ง/ฝากครรภ์ เยี่ยมแนะนําหญิงหลังคลอด แนะนําแม่ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่าง เดียว 6 เดือน เยี่ยมบ้านและให้คําแนะนําแก่ ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ เยี่ยมบ้านและให้คาํ แนะนําผู้พิการ
ผลการดําเนินงาน (คน) 2552 2553 140,348 126,289 123,383 106,473 242,765 246,588
ร้อยละที่ดําเนินการ ได้ตามเป้าหมาย 2552 2553 93.48 94.15 99.84 99.24 71.80 73.85
2552 150,137 123,581 338,113
2553 134,142 107,291 333,923
5,476,629
4,756,017
2,524,726
3,033,845
46.10
63.79
484,251
506,221
407,255
439,386
84.10
86.20
91
การดูแลสุขภาพกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด อสม.ได้เยี่ยมและให้คําแนะนําเกี่ยวกับการ ดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาและหญิงหลังคลอดเพื่อให้เด็กไทยซึ่งเป็นอนาคตที่ สําคัญของชาติได้รับการดูแลที่ดี มีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ดําเนินการได้เฉลี่ยร้อยละ 9399 ของเป้าหมาย แนะนําแม่ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ดําเนินการได้ร้อยละ 71-74 เนื่องจากสภาพ เศรษฐกิจและสังคมที่ผู้หญิงจะต้องไปทํางานนอกบ้าน จึงไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในระยะเวลา ถึง 6 เดือนได้ เยี่ยมบ้านและให้คําแนะนําดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ ดําเนินการได้เพียงร้อยละ46-64 เนื่องจากการ เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทําให้ชุมชนมีจํานวนผู้สูงอายุที่มากกว่ากลุ่มป้าหมายอื่น ๆ อีกทั้งการแนะนําดูแลสุขภาพแก่ ผู้สูงอายุต้องใช้เวลามากกว่ากลุ่มอื่นๆ จึงอาจทําให้ผู้สูงอายุที่ยากจนยังเข้าไม่ถึงบริการในส่วนนี้ได้ เยี่ยมบ้านและให้คําแนะนําผู้พิการ ดําเนินการได้ร้อยละ 84-86 ซึ่งจะทําให้ผู้พิการได้รับคําแนะนํา ในการดูแลสุขภาพและการดําเนินชีวิตประจําวันของตน ปัญหาอุปสรรค (1) ศักยภาพการเรียนรู้ของ อสม.. มีหลายระดับ จึงเป็นข้อจํากัดในการดําเนินงาน ทั้งในเรื่อง ของทักษะการจัดการ การประสานงาน การบูรณาการงานรวมทั้งการจัดทําและการเขียนรายงานที่ค่อนข้าง ช้าส่งผลให้การดําเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ (2) กลไกการสนับสนุนการทํางานของ อสม. ยังมีปัญหาในเรื่องการฝึกอบรมความรู้ อสม. ใหม่ ตามหลักสูตรมาตรฐานมีค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่มีเพียงการจัดประชุมที่สถานีอนามัยทุกเดือนและเน้นเรื่องการ เฝ้าระวังโรคระบาด เนื่องจาก งบประมาณที่มีจํานวนจํากัด (3) ภาระงานที่เพิ่มขึ้นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาจก่อให้เกิดช่องว่างต่อการดูแลความเข้มแข็ง ของการปฏิบัติงานในพื้นที่ของ อสม. 3) โครงการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ ความเป็นมา (1) ประเทศไทยได้ประกาศใช้พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่มุ่งให้รัฐต้องจัด สวัสดิการให้แก่ผู้พิการที่ได้รับการจดทะเบียน ต่อมาได้ยกเลิก พ.ร.บ. ดังกล่าวและตรา พ.ร.บ. ส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เพื่อปรับปรุงแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน และใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนงานด้านส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการไทย ให้สามารถเข้าถึงสิทธิด้านสวัสดิการ และบริการจากรัฐ อย่างทั่วถึง และเป็นธรรม (2) การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ เป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้กับคนพิการที่จดทะเบียนขอรับสิทธิ เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้ถ่ายโอนภารกิจด้าน สงเคราะห์ให้กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และเทศบาลเมืองพัทยา ตาม พ.ร.บ. กําหนดแผนและ ขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ต้องมีภูมิลําเนา
92
อยู่ในเขตพื้นที่ ดังกล่าว มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะ ไม่สามารถประกอบ อาชีพเลี้ยงตนได้ (3) ในปลายปี 2552 รัฐบาลได้กําหนดให้มีโครงการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการและให้กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย สํารวจคนพิการ และให้ค นพิการลงทะเบีย นขอมีบัต รประจํา ตั ว คนพิก ารเพื่อ ขอรับ สิ ทธิเ บี้ย ความพิ การ ที่ เ ทศบาล อบต. สํานักงานเขตในกทม. และเมืองพัทยาที่ผู้พิการมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งรัฐบาลได้ให้เบี้ยความพิการแก่แบบ ถ้วนหน้าเดือนละ 500 บาทต่อราย ตลอดชีพ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 เป็นต้นไป โดยสํานักงบประมาณได้ จัดสรรงบประมาณไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และท้องถิ่นจะจ่ายเงินสดหรือนําเข้าบัญชีผู้พิการหรือของ ผู้ดูแลคนพิการที่ได้รบั มอบอํานาจ หลักการและวัตถุประสงค์ โครงการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการทุกคน ได้รับสวัสดิการเบี้ยความพิการ ถ้วนหน้า รวมทั้งสิทธิอื่นๆ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งจะเอื้ออํานวยให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยรัฐบาลจ่ายเบี้ย ความพิการแก่แบบถ้วนหน้าเดือนละ 500 บาทต่อราย ตลอดชีพ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 เป็นต้นไป โดยมี เป้าหมายให้คนพิการทุกคนที่ขึ้นทะเบียนคนพิการได้รับเบี้ยยังชีพถ้วนหน้า ตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 เป็นต้นไป
กลไกการขับเคลื่อน คณะกรรมการส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต คนพิ ก าร (กพช.) มี น ายกรั ฐ มนตรี เ ป็ น ประธาน กระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น (อบต. เทศบาล) กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา สถานะปัจจุบัน ปัจจุบันคนพิการได้รับสิทธิและสวัสดิการเบี้ยความพิการตลอดชีพเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็น 837,257 คน ในปี 2553 จากจํานวน 262,742 ในปี 2552 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า อย่างไรก็ตาม จากการสํารวจความพิการ และภาวะทุพพลภาพ ในปี 2550 พบว่ามีผู้พิการทั้งสิ้น 1.87 ล้านคน ดังนั้นจึงคาดว่ายังมีผู้พิการที่มีฐานะ ยากจนอีกจํานวนมากที่ไม่ได้จดทะเบียน เพื่อรับเบี้ยความพิการเนื่องจากเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ ตารางที่ 55 จํานวนผู้พิการที่ได้รับเบี้ยความพิการ ปีงบประมาณ 2547 2548 2549 2550
จํานวนผู้พิการได้รับเบี้ยความพิการ(คน) รวม อปท. กทม. เทศบาล เมืองพัทยา 24,000 23,370 630 25,172 24,370 784 18 42,308 38,600 3,688 20 235,495 229,985 5,498 12
รวม 144.00 151.03 253.85 1,413.37
งบประมาณ (ล้านบาท) อปท. กทม. 140.22 146.22 231.60 1,379.91
3.78 4.70 22.13 33.32
เทศบาล เมืองพัทยา 0.11 0.12 0.14
93
2551 2552 2553
236,012 262,742 837,257
229,985 255,475 801,317
5,995 7,194 35,292
32 73 650
1,416.62 1,577.32 3,262.11
1,379.91 1,532.85 3,117.07
36.33 43.60 141.14
ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
ปัญหาและอุปสรรค (1) งบประมาณไม่เ พีย งพอกับ จํา นวนผู้ล งทะเบีย น มีผู้พิการมาลงทะเบีย นมากกว่า ที่ ได้ขอ งบประมาณรายจ่ายไว้ ทําให้มีผู้พิการได้รับเบี้ยยังชีพล่าช้า (2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดการประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้พิการทราบถึงขั้นตอนการเข้าถึงสิทธิ และการดําเนินงานต่างๆ ทําให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน และยังมีผู้พิการอีกจํานวนมากที่ยังไม่ได้มาใช้สิทธิ (3) ปัญหาการรับรอง “ความพิการ” ด้วยเครื่องมือและแบบประเมินทางการแพทย์ โดยในกรณี ของคนพิการทางสติปัญญาที่ยังไม่มีแบบประเมินหรือวิธีการคัดแยกที่ชัดเจน โดยเฉพาะคนพิการทางสติปัญญา ในประเภทเกี่ยวกับการเรียนรู้ (Learning Disabilities - LD) และออสทิสติก ที่แทบจะมีพฤติกรรมเหมือนกับ คนทั่วไปในสังคมบางรายยังไม่สามารถระบุได้ถึงความพิการส่วนนี้ ทําให้ไม่สามารถทําบัตรคนพิการเพื่อขอรับ สิทธิได้
3.4.2 นโยบาย/โครงการแก้ปัญหาความยากจนและเหลือมล้ําในมิติด้านแรงงาน 1)
โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน
(ต้นกล้าอาชีพ) ความเป็นมา สืบเนื่องจากผลกระทบจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงเกิดการว่างงานขึ้น ทั้งเกิดจาก การเลิกจ้าง ผู้สําเร็จการ ศึกษาใหม่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน และการว่างงานตามธรรมชาติ ซึ่งในปี พ.ศ.2551 มี แรงงานที่ว่างงานแล้วประมาณ 5 แสนคน และ คาดว่าในปี พ.ศ.2552 จะมีเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1,000,000 คน ดังนั้น เพื่อบรรเทาปัญหาการว่างงาน รัฐบาลจึงกําหนดมาตรการส่ง เสริมการจ้างงานในระยะสั้น การ เร่งรัดบรรจุกําลังคนในตําแหน่งงานว่าง และการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อสร้างโอกาสในการมีงานทําขึ้น โครงการเพิ่ มศัก ยภาพผู้ว่ า งงานเพื่อสร้า งมูล ค่ า ทางเศรษฐกิจ และสังคมในชุมชนนี้ จึงเป็น โครงการตาม มาตรการเร่งด่วน ที่จะ เพิ่มศักยภาพให้ผู้ว่างงานให้มีความสามารถและทักษะเพิ่มขึ้น มีความตื่นตัว รับรู้ใน ความสําคัญของการสร้างงาน สร้างธุรกิจในระดับ ชุมชนท้องถิ่น ผู้ผ่านการฝึกอบรมจะสามารถนําความรู้และ ทักษะกลับไปทํางานในภูมิลําเนาได้ หลักการในการฝึกอบรม จะคํานึงถึงภูมิลําเนาบ้านเกิด ครอบครัว พื้นความรู้และทักษะที่ได้รับจาก การทํา งานในอาชีพเดิม ภาค/จังหวัด และศักยภาพความเจริญ ในแต่ล ะเขตพื้น ที่ทั้งด้า นการเกษตรและ อุตสาหกรรม การฝึกอบรมจะเป็นการต่อยอดความรู้และทักษะเพื่อพัฒนาความชํานาญเฉพาะทางในวิชาชีพ
0.38 0.88 3.90
94
รองรับการกลับไปสร้างงาน ทํางานที่เป็นประโยชน์ในท้องถิ่นบ้านเกิด ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนพัฒนา ศักยภาพของ หมู่บ้านและชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงให้มีมาตรฐานและเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การจัดทําวิสาหกิจชุมชน การเพิ่มผู้ ประกอบการอิสระรายย่อยในชุมชน หรือพัฒนาทักษะวิชาชีพเพื่อคืนกลับ เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และ/หรือมีทางเลือกใหม่เข้าสู่ภาค อุตสาหกรรมด้วยคุณภาพฝีมือแรงงานที่สอดคล้อง กับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และ/หรือปรับเปลี่ยนตนเองเป็นผู้ประกอบ การตามความสนใจและ ความถนัด รวมทั้งมีความรู้ความสามารถด้านการเกษตรเพื่อยังชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อดํารงตน และครอบครัวอยู่อย่างมีความสุขได้ ในระยะยาวยังสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการ แข่งขันของประเทศและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย หลักการและวัตถุประสงค์ โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน (ต้นกล้าอาชีพ)มี วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะให้กับผู้ว่างงานที่กําลังจะเลิกจ้าง ถูกเลิกจ้าง และผู้สําเร็จการศึกษาใหม่และยังไม่มี งานทําให้มีทักษะทางวิชาชีพมากขึ้น พร้อมทั้งอุดหนุนรายได้กับผู้เข้าอบรมแบ่งเป็น ค่าฝึกอบรม 5,000 บาท ต่อคนต่อเดือน ค่า เบี้ย เลี้ย ง 4,800 บาทต่อคนต่อเดือน ค่า พาหนะเดินทาง 720 บาทต่อคนต่อเดือน ค่า พาหนะเดินทางมาเข้าอบรมครั้งแรก และเดินทางกลับครั้งละ 1,000 บาท และค่าเงินอุดหนุนเพื่อประกอบ อาชีพ 4,800 บาทต่อคนต่อเดือน (ไม่เกิน 3 เดือน) โดยมีกลุ่มผู้ว่างงานเป้าหมาย 500,000คน กลุ่มเป้าหมาย ผู้ว่างงาน จํานวนประมาณ 500,000 คน โดยให้ความสําคัญกับผู้ที่จะกลับภูมิลําเนาก่อน (1) ผู้ว่างงานสนใจฝึกอบรมอาชีพ รวมทั้งประชาชนผู้สนใจเข้ารับการอบรมปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อนําความรู้กลับไปใช้ในหมู่บ้านชุมชนท้องถิ่น (2) ผู้ที่กําลังอยู่ในข่ายจะถูกเลิกจ้างงาน และภาคธุรกิจต้องการให้เพิ่มทักษะโดยมีข้อตกลงให้ ทํางานต่อหลังการฝึกอบรม (3) ผู้ ถู ก เลิ ก จ้ า งแรงงานจากภาคอุ ต สาหกรรมและประสงค์ จ ะเพิ่ ม พู น ทั ก ษะมากขึ้ น และ หลากหลาย เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานของตนเอง (4)
ผู้สําเร็จการศึกษา ให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ
กลุ่มเป้าหมายชะลอการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมายนี้ หมายถึง แรงงานที่อยู่ในสถานประกอบการที่เป็น SMEs และเป็นสถานประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเลิกจ้างงาน และมีความประสงค์จะพัฒนา ทัก ษะฝี มือ ให้ กั บ พนัก งานเพื่ อ สามารถประกอบธุร กิ จ ได้ อย่ า งต่ อเนื่อ งเมื่ อภาวะเศรษฐกิจ ฟื้ น ตั ว โดยให้ ความสําคัญกับสาขาการผลิตและบริการที่มีโอกาสฟื้นตัวเร็ว เช่น อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและบริการต่อเนื่อง บริ ก ารดู แ ลผู้ สู ง อายุ อาหารแปรรู ป เสื้ อ ผ้ า เครื่ อ งหนั ง ชิ้ น ส่ ว นยานยนต์ อะไหล่ โลจิ ส ติ ก ส์ ซึ่ ง สถาน ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานฯ ต้องดําเนินการ ดังนี้
95
(1) สถานประกอบการต้องจัดทําข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา ได้แก่ ชื่อและที่อยู่ของสถาน ประกอบการ เป็นสถานประกอบ การในระบบประกันสังคม มีข้อมูลสถานะการเงิน ข้อมูลการสั่งซื้อ-ส่งออก ข้อมูลจํานวนและรายชื่อพนักงาน/ลูกจ้างที่ต้องการอบรม เพิ่มทักษะ (2) สถานประกอบการ นําส่งข้อมูลตามข้อ 1 ให้กับองค์กรผู้แทนภาคการผลิต และบริการ ที่ สังกัดหรือที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภา อุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อตรวจรับรองความ ถูกต้องของข้อมูล (3) องค์กรผู้แทนภาคการผลิต และบริการประสานกับ สถาบัน จัด ฝึกอบรมที่เ ป็นหน่วยงาน ราชการ เพื่อหารือจัดเนื้อหาหลักสูตรที่เหมาะสม และรวบรวมส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรพร้อมทั้ง นําส่งข้อมูลตามข้อ1ที่ผ่านการรับรองแล้วเพื่อพิจารณาและนําเสนอคณะกรรมการบริหารโครงการ ฯ เพื่อ อนุมัติการเข้าร่วมโครงการ ต่อไป (4) สถานประกอบการที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องจัดทําข้อตกลงร่วม (MOU) เพื่อยืนยันการ ไม่เลิกจ้างเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยทําMOU กับ SP และมีองค์กรที่ให้การรับรองข้อมูลลงนามเป็นพยาน กลไกการดําเนินงาน การดําเนินงานตามโครงการฯ มี 3 ลักษณะ ได้แก่ (1)
โครงการต้นกล้าปกติเป็นการจัดฝึกอบรมให้กับกลุ่มผูว้ ่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้างและผู้จบการศึกษา
ใหม่ โครงการชะลอการเลิกจ้างเป็นการจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานในสถานประกอบการที่อยู่ใน กลุ่มได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ (2)
โครงการต้นกล้าพิเศษเป็นการจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานของภาครัฐที่มีโครงการจ้างงาน และต้องการจัดฝึกอบรมในรูปแบบการฝึกปฏิบัติงาน (on the job training: OJT)ก่อนการบรรจุงาน (3)
โดยมีกระบวนการ ขั้นตอนและหลักเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้ (1) กําหนดให้มีสถาบันจัดฝึกอบรม (Service Provider) ที่หลากหลาย ประกอบด้วย กลุ่ม ผู้รับผิดชอบ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1.1) มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (1.2) กลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคม เช่น เครือข่ายปราชญ์ช าวบ้า น สถาบันองค์กร พัฒนาชุมชน มูลนิธิ สมาคม องค์การ เอกชน และภาคธุรกิจเอกชน เป็นต้น (1.3) กลุ่มส่วนราชการอื่น ที่มีกิจกรรมด้านการฝึกอบรม เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น แต่ละหน่วยเสนอหลักสูตรฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับศักยภาพและ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแต่ละประเภท พร้อมทั้งชี้ให้เห็นโอกาสในการมีงานทําเมื่อผ่านการฝึกอบรม แล้ว โดยข้อเสนอประกอบด้วย เนื้อหาสาระหลักสูตรและวิธีการที่ชัดเจน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ขนาด/ จํานวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่อหลักสูตร สถานที่ฝึกและค่าใช้จ่ายต่อหัว เริ่มฝึกอบรมได้ตั้งแต่ เดือนเมษายน เป็นต้นไป
96
(2) โครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วย ส่วนสําคัญ 2 ส่วน ส่วนแรก ได้แก่ ความรู้พื้นฐานในการ ประกอบอาชีพ เช่น ทัศนคติ ความรับผิดชอบ วินัยในการทํางาน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความ ยั่งยืนในชุมชน ฯลฯ และส่วนที่สอง ได้แก่ ความรู้ความ สามารถในวิชาชีพ เช่น การเกษตรเพื่อยังชีพ การใช้ พลังงานทดแทน การค้า ขาย การใช้ โ ปรแกรมคอมพิว เตอร์ ในการประกอบอาชีพ เช่น การบัญ ชี เป็น ต้น หลั กสู ต รการฝึ กอบรมควรมี ลัก ษณะเบ็ ด เสร็ จ สามารถประกอบอาชีพ ได้เ มื่อ สิ้น สุด การฝึก อบรม ทั้ งการ ประกอบ อาชีพในภาคเกษตร การประกอบอาชีพในวิสาหกิจชุมชน การประกอบอาชีพในสาขาบริการ เช่น การท่องเที่ยว การดูแลผู้สูงอายุ การทํางานธุรการ การประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมและบริการเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถของกําลังคนในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ ภาคเศรษฐกิจและสังคมเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว ตลอดทั้ง การประกอบอาชีพอิสระในชุมชน (3) สร้างความเชื่อมโยงระหว่างหลักสูตรการฝึกอบรมกับการจ้างงานและการประกอบอาชีพ ภายใต้โครงการต่างๆ ของแผน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ เช่น โครงการคืนครูให้นักเรียน การจ้างงานภายใต้โครงการ เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน เป็นต้น ตลอดจน ความร่วมมือกับสถานประกอบการต่างๆ (4) การจัดระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศเพื่อรองรับหลักสูตรการฝึกอบรมที่มีการจัด หมวดหมู่ มีรหัสชัดเจนในแต่ละ หลักสูตร สถานที่ จํานวนผู้เข้าฝึกอบรม เป็นต้น ข้อมูลการลงทะเบียนผู้ว่างงานที่ สามารถกําหนดให้มีการลงทะเบียนได้ทั่วประเทศ เช่น ที่สํานักงานแรงงานจังหวัด และสถาบันการศึกษา เป็น ต้น ทั้งนี้ ระบบฐานข้อมูลผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถขจัดการลงทะเบียน ซํ้าซ้อนได้ด้วย (5) ให้มีก ารประชาสัมพันธ์ โครงการผ่านสื่อที่หลากหลายเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่า ง กว้างขวางและทั่วถึง โดยจะเน้นสร้าง ความเข้าใจในหลักการของโครงการ วิธีการลงทะเบียนเข้าโครงการฯ การเปิดตัวโครงการฯ และการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเป็น ระยะๆ และจัดให้มีหน่วยบริการข้อมูลข่าวสาร ของโครงการ (Call center) (6) จัดระบบติดตามการปฏิบัติงาน และการประเมินผลโครงการอย่างใกล้ชิด ตลอดจนอํานวย ความสะดวกในการส่งผู้ผ่านการ อบรมในแต่ละรุ่นลงสู่พื้นที่ชุมชนถิ่น กําเนิด และสนับสนุนให้เ กิดการทํา วิสาหกิจชุมชน และ/หรือธุรกิจ และการจ้างงานในพื้นที่ โดย ประสานด้านแหล่งทุนและการให้คําปรึกษาต่างๆ เช่น กรณีจะประกอบอาชีพใหม่ เป็นต้น (7) ค่าใช้จ่ายสําหรับการฝึกอบรมจัดสรรโดยตรงให้สถาบันจัดฝึกอบรม (Service Provider) ตามจํานวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้ลง ทะเบียนไว้ อัตราการเบิกจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนการจัดฝึกอบรมให้เป็นไปตาม ระเบียบของทางราชการ หากมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมออก กลางคันต้องรายงานให้คณะกรรมการบริหารฯ ทราบโดยด่วน ขั้นตอนและวิธีการ การกําหนดวิธีการดําเนินงานเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรม การจัดหาสถาบันจัดฝึกอบรม (Service Provider) มีการจัดประชุมชี้แจงให้แก่กลุ่มหน่วยงานที่สนใจ จะเป็ น สถาบั น จั ด ฝึ ก อบรมรวม 3 กลุ่ ม ได้ แ ก่ 1. กลุ่ ม มหาวิ ท ยาลั ย /สถาบั น การศึ ก ษา ประกอบด้ ว ย มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถานศึกษาในสังกัด สํานักงาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา รวม 32 หน่วยงาน 2. กลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคม และ 3. กลุ่มส่วนราชการ
97
อื่นๆ ที่ปฏิบัติงานด้านฝึกอบรม เข้าประชุมรวม 51 หน่วยงาน นอกจากนี้ ได้มีการติดต่อให้ข้อมูลแก่หน่วยงาน ต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มผู้สนใจอีกเป็นจํานวนมาก โดยสถาบันจัดฝึกอบรมทั้ง 3 กลุ่ม ได้เสนอ หลักสูตรฝึกอบรมรวมทั้งสิ้นกว่า 14,000 หลักสูตร การวิเคราะห์กลั่นกรองหลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์กลั่นกรองหลักสูตรฝึกอบรมให้เป็นไปตาม โครงสร้างหลักสูตรที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯให้ความเห็นชอบประกอบด้วยส่วนสําคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพ และ ความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และมีลักษณะเบ็ดเสร็จ สามารถ ประกอบอาชีพในวิสาหกิจชุมชน ประกอบอาชีพในสาขาบริการ เช่น การท่องเที่ยว การดูแลผู้สูงอายุ การ ทํางานธุรการ การประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมและบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกําลังคนในการ สร้างมูล ค่า เพิ่มแก่ภาคเศรษฐกิจ และสังคมเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว รวมทั้งการประกอบอาชีพอิส ระในชุมชน คณะอนุกรรมการกลั่นกรองหลักสูต รฝึกอบรม มีสํา นักงานคณะกรรมการพัฒ นาการเศรษฐกิจ และสังคม แห่ง ชาติเ ป็น หลั กในการดํา เนิ น งาน และมี ผู้ ทรงคุ ณวุ ฒิจ ากภาคธุ ร กิจ เอกชนและส่ว นราชการร่ ว มเป็ น คณะทํางาน เกณฑ์ในการวิเคราะห์กลั่นกรองหลักสูตรฝึกอบรม เป็น หลักสูต รระยะสั้น ไม่เ กิน 1 เดือนและสอดคล้องกับ วัต ถุป ระสงค์ โครงการที่มุ่ง ให้ ผู้ ฝึกอบรมกลับไปทํางานประกอบอาชีพในภูมิลําเนาได้ กลุ่มเป้าหมาย
เป็ น หลั ก สู ต รที่ อ บรมเสร็ จ สิ้ น แล้ ว สามารถนํ า ไปประกอบอาชี พ ได้ และสอดคล้ อ งกั บ
มีข้อมูลครบถ้วน มีรายละเอียดเกี่ยวกับสถาบันจัดฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย สาขาอาชีพ สาระ ของหลักสูตร ระยะเวลาสําหรับการฝึกอบรม เวลาเริ่มการฝึกอบรม ความสามารถในการจัดฝึกอบรมในแต่ละ รุ่น (Min-Max) จํานวนรุ่นที่สามารถจัดได้ และสถานที่ตั้งของหน่วยฝึกอบรม เป็นต้น ยื น ยั น การฝึ ก อบรมตามหลั ก สู ต ร หลั ก สู ต รฝึ ก อบรมที่ ผ่ า นการพิ จ ารณาจากคณะอนุ ก รรมการ กลั่นกรองหลักสูตรฯจะส่งให้สถาบันจัดฝึกอบรมพิจารณายืนยันขอจัดฝึกอบรมและ/หรือเพิ่มเติมรายละเอียดที่ จําเป็นก่อนนําเข้าเสนอบน Web Page ของโครงการเพื่อให้ผู้ว่างงานลงทะเบียน เลือกหลักสูตรฝึกอบรมตาม ความสนใจ การกําหนดวิธีการดําเนินงานเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จากจํานวนผู้ว่างงานในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งมีจํานวนถึง 5 แสนคน และคาดว่าในปี พ.ศ.2552 จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1,000,000 คน นั้น เป็น ประเด็นสําคัญที่ทําให้โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานฯ คํานึงถึงแนวทางการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือ สํา คัญในการปฏิบัติงาน ซึ่ง โครงการฯ ได้จัดทําระบบฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศให้มี ประสิทธิภาพ เพื่อรองรับกระบวนการปฏิบัติ งานในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยระบบสารสนเทศจะทําหน้าที่เป็น ศูนย์กลางระหว่างโครงการฯ ผู้ว่างงาน สถาบันจัดฝึกอบรม และองค์กร ผู้จ้างงาน เป็นต้น การทํางานของ ระบบได้ออกแบบบนพื้นฐานการทํางานของโครงการฯ ตั้งแต่ต้นกระบวนการ คือเริ่มรับสมัครผู้ว่างงาน ไปจน จบ กระบวนการของโครงการฯ คือการติดตามผลการฝึกอบรม และส่งกลับผู้ผ่านการอบรมกลับไปยังชุมชน ท้องถิ่น โดยระบบจะออกแบบ แยกเป็นระบบย่อย (Module) เพื่อง่ายต่อการจัดการและการขยายระบบ และ สามารถอํา นวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับระบบ ในการเข้าถึงระบบย่อยเพื่อใช้งานตาม วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานต่างๆ โดยรายละเอียดของระบบประกอบด้วย
98
ระบบฐานข้อมูลสําหรับผู้ว่างงานที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เป็นระบบเก็บและจัดการฐานข้อมูลของผู้ ว่า งงานที่ส มั ครเข้ า ร่ว มโครงการฯ ซึ่งจะนํา ข้ อมูล ที่ ได้ ไปใช้ ในการบริ ห ารและจัด การ โครงการฯร่ว มกั บ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการตั้งแต่ต้นจนจบ ระบบบริหารจัดการข้อมูลและประกาศของโครงการฯ เป็นระบบบริหารจัดการเนื้อหา (Content Management System) เพื่อแสดงความเคลื่อนไหว ของโครงการฯ ตั้งแต่ต้นจน จบโครงการฯ รวมทั้งเป็น ช่องทางเข้าสู่ระบบย่อยเพื่อเข้ามาทํางานตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ระบบลงทะเบียนสําหรับผู้ว่างงาน เพื่อเข้ารับสิทธิการฝึกอบรม เป็นระบบให้ผู้ว่างงานลงทะเบียน รายละเอียดส่วนตัว ชื่อ รหัสบัตรประจําตัวประชาชน ภูมิลําเนาเดิมและที่อยู่ปัจจุบันที่ ติดต่อได้ อาชีพเดิม และสถานที่ทํางาน เริ่มว่างงานเมื่อใด ความต้องการฝึกอบรมและการประกอบอาชีพหลังการฝึกอบรม เป็นต้น ระบบตรวจสอบตั ว ตนของผู้ ล งทะเบี ย น ระบบจะเก็ บ ข้ อ มู ล เลขประจํ า ตั ว ประชาชน ข้ อ มู ล ประกันสังคม เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้ว่างงาน ณ สถานที่จัดฝึกอบรมตามที่ผู้ว่างงานได้รับสิทธิให้เข้า ฝึกอบรม ซึ่งสถานที่จัดฝึกอบรมจะตรวจสอบสําเนาบัตรประชาชนได้ตามต้องการ ระบบการคั ด กรองผู้ มีคุ ณสมบั ติต ามเกณฑ์ เ ข้ า รั บ การฝึก อบรม เป็น ระบบคัด กรองผู้ว่ า งงานที่ มี คุณสมบัติครบถ้วนเข้ารับการฝึกอบรมโดยคัดเลือกตามเกณฑ์กลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม คือ ผู้ว่างงานที่สนใจ ฝึกอบรมอาชีพ ผู้ที่กําลังอยู่ในข่ายถูกเลิกจ้าง ผู้ถูกเลิกจ้างแรงงานจากภาคอุตสาหกรรม และผู้สําเร็จการ ศึกษา ซึ่งระบบสามารถคัดกรองและแยกผู้ว่างงานออกเป็นกลุ่มดังกล่าวข้างต้นได้ เพื่อการจัดการและติดตาม ผล นอกจากนี้ ระบบสามารถกําหนดสิทธิการเข้ารับการฝึกอบรม เช่น ผู้อยู่ในกองทุน กยศ. เป็นต้น ระบบการคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตร เป็นระบบคัดแยกผู้เข้าร่วมโครงการออกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการประกอบอาชีพหลังฝึกอบรม ได้แก่ ปฏิบัติงานใน กองทุนเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน ประกอบอาชีพของตนเอง ปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน หรือกลับเข้าทํางานใน หน่วยเดิม ซึ่งระบบจะทําการคัดเลือกและกําหนดให้ผู้วา่ งงานสามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้เฉพาะในหลักสูตร ที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการประกอบอาชีพเท่านั้น ซึ่งจะให้มีตัวเลือก 2 หลักสูตร แต่ได้รับสิทธิฝึกอบรม เพียง 1 หลักสูตรต่อคนเท่านั้น ระบบบริหารจัดการหลักสูตร เป็นระบบที่ใช้ในการบริหารและจัดการจํานวนผู้สมัครเข้ารับการอบรม ตามจํานวนที่นั่งในแต่ละหลักสูตรของแต่ละสถาบัน ได้แก่ การกําหนดตารางการจัดฝึกอบรม การจัดจํานวน รอบการฝึกอบรม การจัดที่นั่งของแต่ละรอบ การจองที่นั่ง การขึ้นบัญชีสํารองรายชื่อในกรณีที่นั่งเต็ม เป็นต้น ระบบการติดตามและรายงานผลการฝึกอบรมสําหรับสถาบันจัดฝึกอบรม เป็นระบบอํานวยความ สะดวกให้แก่สถาบันจัดฝึกอบรมในการรายงานผลการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งในภาพ รวมและใน รายละเอียด รวมทั้งการประเมินผลหลักสูตรและการจัดฝึกอบรม เพื่อให้โครงการสามารถติดตามผลการปฏิบัติ งานของสถาบันจัดฝึกอบรมได้อย่างใกล้ชิดและรวดเร็วทัง้ ในกรุงเทพและต่างจังหวัด ระบบการติดตามและรายงานตัวของผู้ผ่านการฝึกอบรมและกลับไปปฏิบัติงานในท้องถิ่น เป็นระบบ ช่วยอํานวยความสะดวกในการรายงานความเคลื่อนไหวของผู้ผ่านการฝึกอบรมเมื่อกลับไปปฏิบัติงานในท้องถิ่น หรือในหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้โครงการสามารถติดตามและประเมินผลผู้ผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์ที่กําหนด ได้
99
Help Desk เป็นระบบช่วยอํานวยความสะดวกในการบริหารจัดการประสานงานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง การกําหนดแนวทางหลักเกณฑ์การจัดสรรและวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณ กรอบแผนงานโครงการ เพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานฯ จํานวน 6,900 ล้านบาท โดยมีกรอบรายการค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม 5,000 บาท/คน/เดือนโดยเฉลี่ย กําหนดให้จ่ายให้สถาบันจัด ฝึกอบรม เช่น ส่วนราชการ มหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคม มูลนิธิ สมาคม องค์กรเอกชน เป็นต้น เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการจัดอบรม เช่น ค่าวิทยากร ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้า ค่านํ้าประปา) และค่า ใช้ จ่ายอื่นๆ โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ค่าเบี้ยเลี้ยงระหว่างการอบรม 4,800 บาท/คน/เดือนโดยเฉลี่ย จ่ายตามวันที่เข้าอบรมจริง จํานวน 160 บาท/คน/วัน โดยผู้ เข้าอบรมแต่ละคนต้องแสดงหลักฐานการรับเงินรายบุคคล ค่าพาหนะเดินทางระหว่างการอบรม 720 บาท/คน/เดือน โดยเฉลี่ยจ่ายตามวันที่เข้าอบรม จริง จํานวน 30 บาท/คน/วัน โดยผู้เข้าอบรมแต่ละคนต้องแสดงหลักฐานการรับเงินรายบุคคล -
ค่าพาหนะเดินทางมาเข้ารับการฝึกอบรมครั้งแรก ในอัตราเหมาจ่าย 1,000 บาท/คน
ค่าใช้จ่ายในกรณีผ่านการอบรมแล้ว ผู้ผ่านการฝึกอบรมประสงค์จะกลับไปประกอบอาชีพในภูมิลําเนา กรณีผ่ า นการฝึก อบรมแล้ว และประสงค์ จ ะกลับ ภูมิ ลํ า เนา สามารถขอรั บ เงิน อุด หนุน เพื่ อการ ประกอบอาชีพจากโครงการฯ ดังนี้ เงินอุดหนุนเพื่อการประกอบอาชีพ จํานวน 4,800 บาท/คน/เดือน เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน ทั้งนี้ต้อง ได้รับอนุมัติจากคณะ กรรมการบริหารฯ ค่าพาหนะเดินทางกลับภูมิลําเนา เหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาท/คน ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติจากคณะ กรรมการบริหารฯ และจะได้รับเงินค่าพาหนะเดินทางกลับภูมิลําเนา พร้อมกับเงินอุดหนุนเพื่อการประกอบ อาชีพในเดือนแรก โดยการรับรองการกลับไปทํางานในภูมิลําเนาจากฝ่ายปกครองในพื้นที่ (กํานัน/ผู้ใหญ่บ้าน หรือประธานชุมชน และนายอําเภอ หรือผู้อํานวยการเขต หรือนายกเทศมนตรี หรือนายกเมืองพัทยา แล้วแต่ กรณี) สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี จะเป็นหน่วยเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการประกอบอาชีพและค่า เดินทางกลับ ภูมิลําเนาให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมแล้ว และประสงค์จะกลับไปทํางานในชุมชนภูมิลําเนา โดยมี กระบวนการ ดังนี้ ให้ Service Provider แจกแบบฟอร์มให้ผู้ผ่านการอบรมที่ประสงค์จะกลับภูมิลําเนาเพื่อไปประกอบ อาชีพลงทะเบียน ตามแบบฟอร์มที่กําหนด พร้อมทั้ง ส่งสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาหน้าสมุด บัญชีเงินฝากธนาคารของ ผู้เข้ารับการอบรม ตามที่คณะกรรมการบริหารฯกําหนดและให้ Service Provider รวบรวมส่งเอกสารดังกล่าวทั้งหมด ให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีรวบรวมรายชื่อผู้ผ่านการอบรมและประสงค์จะกลับภูมิลําเนาเพื่อ ไปประกอบอาชีพ เสนอคณะกรรมการบริหารฯ พิจารณาอนุมัติ
100
สํ า นั ก งานปลั ด สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี แ จ้ ง ผลการพิ จ ารณาของคณะกรรมการบริ ห ารฯ ต่ อ สํ า นั ก งบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณ สํานักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ผู้ผ่านการอบรมฯ ต้องไปรายการตัวต่อพนักงานฝ่ายปกครอง เพื่อรับรองการกลับไปประกอบอาชีพ หรือทําประโยชน์ให้ ชุมชน ภายในวันที่ 7 ของเดือน ให้นายอําเภอ หรือนายกเทศมนตรี หรือนายกเมืองพัทยา หรือผู้อํานวยการเขต ในกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี มี หนังสือแจ้งการรับรองตามข้อ 5) ส่งให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีภายในวันที่ 15 ของ เดือน กรณีผู้ผ่านการอบรม รายงานตัวภายหลังวันที่ 7 ของเดือนให้พนักงานฝ่ายปกครอง สถานะปัจจุบัน ผลการดําเนินงาน พบว่าอัตราการว่างงานภาพรวมลดลงจากร้อยละ 2 ในไตรมาศ 1 ปี 2552 เป็น ร้อยละ 1.2 ในไตรมาส 3 ปี 2552ขณะที่ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานลดลง จาก 250,557 คนในไตรมาส 1 ปี 2552 เป็น 149,108 คน ในไตรมาส 3 ปี 2552 ด้า นการสร้า งผู้ป ระกอบอาชีพอิส ระพบว่า จํา นวนผู้ประกอบอาชีพอิส ระในภาพรวมเพิ่มขึ้น จาก 11.55 ล้านคนในไตรมาส 1 ปี 2552 เป็น 12.36 ล้านคน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ตามลําดับ ด้ า นรั ก ษาสภาพการจ้ า งงานของพนั ก งาน สามารถรั ก ษาสถานภาพของผู้ มี ง านทํ า ในสถาน ประกอบการที่อยู่ ในกลุ่มที่ ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจได้ทั้งสิ้น 596 สถานประกอบการ จํานวน แรงงานได้ประโยชน์ 71,314 คน และยังช่วยพัฒนาให้แรงงานมีทักษะในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น เพื่อให้ สถานประกอบการสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องเมื่อสภาพเศรษฐกิจฟื้นตัว การแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา โครงการต้นกล้าอาชีพเป็นนโยบายที่รัฐบาลนําออกมาใช้เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี 25512552 ซึ่งในช่วงเวลานั้นคาดว่าวิกฤตจะส่งผลกระทบต่อแรงงานประมาณ 1 ล้านคน โดยผลกระจบจากวิกฤต รุนแรงที่สุดคือช่วงปลายปี 2551– ต้นปี 2552นโยบายดังกล่าวทําให้แรงงานยังคงได้รับการจ้างงานอยู่กับ บริษัทผู้ประกอบการ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนคนจนของผู้มีงานทํา พบว่า สัดส่วนคนจนมีการเพิ่มขึ้นจากปี 2550ที่ร้อยละ 7.50เป็นร้อยละ 7.97ในปี 2551และลดลงมาเหลือเพียงร้อยละ 7.28และ 6.88ในปี 2552– 2553 ตามลําดับ ส่วนหนึ่งเกิดจากการดําเนินนโยบายดังกล่าวที่ทําให้คนยังมีรายได้ และมีงานทําร่วมกับการ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2552 ตารางที่ 56 สัดส่วนผู้มีงานทํายากจน 2549 2550 2551 สัดส่วนคนจนในกลุ่มผู้มีงานทํา (ร้อยละ) 8.27 7.50 7.97
2552 7.28
2553 6.88
ที่มา: สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม ประมวลผลจากข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน
3.4.3 นโยบายแก้ปญ ั หาความยากจนและเหลื่อมล้ําของเกษตรกร
101
1)
โครงการประกันรายได้เกษตรกร
หลักการและวัตถุประสงค์ โครงการประกันรายได้เกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว มัน สําปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อันเป็นการลดภาระรายจ่ายภาครัฐในการช่วยเหลือเกษตรกรภายหลัง โดย การประกันรายได้จะดําเนินโครงการผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ปัจจุบันมีการดําเนิน โครงการแล้วเสร็จ 2 รอบ (ปี2552/2553) ขณะที่ปัจจุบันรอบ 1 ปี 2553/2554 ยังไม่แล้วเสร็จ กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรผู้ผลิตมันสําปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวเปลือก (หอมมะลิ (รวมข้าวเปลือกพันธุ์ กข. 15) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ข้าวเปลือกเจ้าข้าวเปลือกปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว) ในพื้นที่เ พาะปลูกทั่ว ประเทศ กลไกการดําเนินงาน เป็นการดําเนินงานผ่านสํานักงานเกษตรอําเภอและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยที่สํานักงานเกษตรอําเภอจะให้บริการรับขึ้นทะเบียนและออกใบรับรองเพื่อให้เกษตรกรใช้เป็นหลักฐานใน การไปทําสัญญากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อเข้าร่วมโครงการประกันรายได้ต่อไป ทั้ง นี้ ธกส. ได้ รั บ การจัด สรรค่ า ใช้จ่ า ยในการบริ ห ารจั ด การโครงการประกั น รายได้ เ กษตรกรปี ก ารผลิ ต 2552/53 เป็นวงเงิน 1,706 ล้านบาท โดยให้ ธกส. เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามจํานวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เท่านั้น สถานะปัจจุบัน ผลการดํ า เนิ น งานรอบที่ 1ปี 2552/53 มี เ กษตรกรจดทะเบีย นทั้ง สิ้น 4,468,178ราย ทํา สั ญ ญา 4,092,617 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.59 ของที่จดทะเบียน มีการใช้สิทธิชดเชยแล้ว 3,956,177 ราย คิดเป็นร้อย ละ 88.54 ของที่จดทะเบียน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 36,498 ล้านบาท แบ่งเป็น1. ข้าวมีเกษตรกรได้รับเงินชดเชย 3,195,820 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 28,427 ล้านบาท 2. มันสําปะหลัง มีเกษตรกรได้รับเงินชดเชย 380,595 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,433 ล้านบาท 3.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีเกษตรกรได้รับเงินชดเชย 379,762 ราย รวม เป็นเงินทั้งสิ้น 5,637 ล้านบาท ตารางที่ 57 ผลการดําเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรรอบที1่ ปี 2552/53 ทพศ. (ราย(1)
ประชาคมแล้ว ธกส.รับผลการ ส่งให้ธกส. (ราย) ประชาคม (ราย) (1)
ข้าวเปลือก (76จังหวัด) มันสําปะหลัง (45จังหวัด) ข้าวโพดฯ (38จังหวัด) รวม
3,619,394.0 448,299.0 400,485.0 4,468,178.0
3,495,827.0 445,161.0 398,690.0 4,339,678.0
(1)
3,411,838.0 445,789.0 398,396.0 4,256,023.0
ทําสัญญา (ราย) (2)
การใช้สิทธิ (ราย) (2)
3,272,875.0 427,221.0 392,521.0 4,092,617.0
3,195,820.0 380,595.0 379,762.0 3,956,177.0
หมายเหตุ (1) แหล่งข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร (2) แหล่งข้อมูลจาก ธ.ก.ส. สํานักงานใหญ่ ทั้งนี้โครงการได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 28กุมภาพันธ์ 2553และในส่วนของภาคใต้สิ้นสุดวันที่ 31พฤษภาคม 2553
การใช้สิทธิ (บาท) (2) 28,427,413,599 2,433,643,906 5,637,097,053 36,498,154,558
102
ผลการดําเนินงานรอบที่ 2ปี 2552/53 มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น835,692ราย ผ่านประชาคมแล้ว 834,026 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.80 ของที่ขึ้นทะเบียน เกษตรกรได้รับใบรับรองแล้ว 831,388 ราย คิดเป็น ร้อยละ 99.48 ของที่ขึ้นทะเบียน ทําสัญญาแล้ว 825,052 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.73 ของที่ขึ้นทะเบียน มีการ ใช้สิทธิชดเชยแล้ว 784,421 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.86 ของที่ขึ้นทะเบียน รวมเป็นเงินชดเชยทั้งสิ้น 18,554 ล้านบาทซึ่งการดําเนินงานได้สิ้นสุดโครงการแล้วในทุกภาคเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2553 ตารางที่ 58 ผลการดําเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรรอบที่2ปี 2552/53 ทพศ. (ราย)(1) ข้าวเปลือก
835,692.0
ประชาคมแล้ว ส่งให้ธกส. (ราย)(1)
ธกส.รับผลการ ประชาคม (ราย)
834,026.0
831,388.0
(1)
ทําสัญญา (ราย)(2) 825,052.0
การใช้สิทธิ (ราย)(2)
การใช้สิทธิ(บาท) (2)
784,421.0 18,554,238,863
หมายเหตุ (1) แหล่งข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร (2) แหล่งข้อมูลจาก ธ.ก.ส. สํานักงานใหญ่ ทั้งนี้โครงการได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 28กุมภาพันธ์ 2553และในส่วนของภาคใต้สิ้นสุดวันที่ 31พฤษภาคม 2553
ความก้ า วหน้ า รอบที่ 1ปี 2553/54 ณ วั น ที่ 21กุ ม ภาพั น ธ์ 2554เกษตรกรขึ้ น ทะเบี ย นทั้ ง สิ้ น 4,928,205ราย คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 112.62 ของเกษตรกรที่ ขึ้ น ทะเบี ย น ปี 2552/53 ผ่ า นประชาคมแล้ ว 4,785,702 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.11 ของที่ขึ้นทะเบียน เกษตรกรได้รับใบรับรองแล้ว 4,777,611ราย คิดเป็น ร้อยละ 96.94 ของที่ขึ้นทะเบียน ทําสัญญาแล้ว 4,628,730ราย คิดเป็นร้อยละ 93.92 ของที่ขึ้นทะเบียน และ ได้ มี ผู้ ม าใช้ สิ ท ธิ ช ดเชยแล้ ว จํ า นวน 3,012,881ราย คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 61.14ของที่ ขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น เงิ น 34,976.117ล้านบาท โดยสรุปได้ดังนี้ ตารางที่ 59 ผลการดําเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรรอบที่1ปี 2553/54 ทพศ. (ราย)(1)
ประชาคมแล้ว ธกส.รับผลการ ส่งให้ธกส. ประชาคม (ราย) (1) (1) (ราย)
ทําสัญญา (ราย)(2)
การใช้สิทธิ (ราย)(2)
การใช้สิทธิ(บาท) (2)
ข้าวเปลือก (76จังหวัด)
3,869,911
3,780,555
3,775,107
3,745,892
มันสําปะหลัง (45จังหวัด)
565,881
541,255
540,268
455,920
0
0
ข้าวโพดฯ (38จังหวัด)
492,413
463,892
462,236
426,918
0
0
รวม 4,928,205 4,785,702 4,777,611 4,628,730 หมายเหตุ (1) แหล่งข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร (2) แหล่งข้อมูลจาก ธ.ก.ส. สํานักงานใหญ่ โครงการจะดําเนินไปจนถึง 15มีนาคม 2554และในส่วนภาคใต้ 15กรกฎาคม 2554 ข้อมูล ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554
3,012,881 34,976,117,251
3,012,881 34,976,117,251
การดําเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกร จะส่งผลดีต่อเกษตรกร ดังนี้ (1) เกษตรกรที่ เข้ าร่ วมโครงการจะได้ รั บส่ วนต่างระหว่างเกณฑ์ กลางอ้ างอิงกั บราคา ประกันเป็นเงินโดยตรงจากรัฐกรณีราคาตลาดต่ํากว่าราคาประกัน ช่วยให้เกษตรกรไม่ขาดทุนจากการขาย ผลผลิต (2) การจดทะเบียนเกษตรกรและพื้นที่เพาะปลูกเพื่อทําประกันราคาจะช่วยลดปัญหา การสวมสิทธิ์จากผลผลิตของประเทศเพื่อนบ้าน
103
(3) ไม่เป็นภาระกับการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลเนื่องจากรัฐบาลจะจ่ายส่วนต่าง ระหว่างราคาตลาดอ้างอิงกับราคาประกันให้กับเกษตรกรเท่านั้นรัฐบาลไม่ต้องรับภาระเกี่ยวกับการแปรสภาพ และการจัดเก็บผลผลิตในสต็อกของรัฐบาล (4) ลดปัญหาการทุจริตและการแสวงหาประโยชน์จากการรับจํานําของผู้ที่เกี่ยวข้องใน ขั้นตอนต่างๆคงเหลือเพียงระดับเกษตรกร และเจ้าหน้าที่จดทะเบียน (5) กลไกการค้าผลิตผลเข้าสู้ภาวะปกติ กลับมามีการแข่งขันรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ไม่ต้อง เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการค้า ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวจนถึง ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 สามารถมีเกษตรกรใช้สิทธิ ขอรับส่วนระหว่างเกณฑ์กลางอ้างอิงกับราคาประกันเป็นจํานวน 7,753,479 ราย เป็นวงเงินเบิกจ่าย จํานวน 90,028ล้านบาท การแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา การกล่าวถึงผลจากการแก้ปัญ หาความยากจนและความเหลื่อมล้ําภายใต้ โครงการประกันรายได้ เกษตรกรนั้น ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่สะท้อนการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจนนัก แต่ตามหลักการของโครงการการ ประกันรายได้ทําให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอนมากขึ้นขณะเดียวกันช่วงเวลาดังกล่าว (2552-2553) ราคา สินค้าเกษตรมีการปรับตัวมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรด้วย โดยเมื่อพิจารณาถึงปัญหา ความยากจนของผู้ มี งานทํา ในสาขาเกษตรกรรม พบว่า ตั้ งแต่ ปี 2551 ถึ ง 2553 สั ด ส่ว นคนจนในสาขา เกษตรกรรมมีแนวโน้มลดลงมากจากร้อยละ 15.00ในปี 2551 เหลือเพียงร้อยละ 13.04 ในปี 2553 ภาพที่ 42 สัดส่วนคนจนของผู้มีงานทําในสาขาเกษตรกรรม 15.50
15.10
14.50
15.00 14.05
13.98
13.50
13.04
12.50 2549
2550 2551 2552 เกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้
2553
ที่มา: สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม ประมวลผลจากข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน
ปัญหา/อุปสรรคของการปฏิบัติงาน (1) ด้านการขึ้นทะเบียน (1.1) เนื่องจากโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก3ชนิดเป็นโครงการ ใหม่ที่แตกต่างจากโครงการรับจานาข้าวนาปีที่เคยปฏิบัติมาในระยะแรกของการดาเนินงานโครงการประกัน รายได้เกษตรกรเจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ชัดเจนขาดการประชาสัมพันธ์ในเบื้องต้นตลอดจนการสั่งการ
104
ของผู้มีอํา นาจหน้าที่เกี่ยวกับ การแยกรายละเอีย ดข้อมูลยังไม่ชัดเจนมักจะสั่งการภายหลังทําให้เจ้าหน้า ที่ เสียเวลาในการกรอกข้อมูลใหม่และในช่วงแรกนั้นเกษตรกรมีความสับสนในการขึ้นทะเบียนระหว่าง ทบก.01 และทพศ.1-3ทําให้การดําเนินการล่าช้า (1.2) บางพื้นที่มีการอยู่ร่วมกันหลายชนเผ่า (เช่น พื้นที่ในจังหวัดทางภาคเหนือ) เกษตรกร บางรายไม่ ส ามารถพู ด ภาษาไทยได้ ทํ า ให้ ย ากต่ อ การติ ด ต่ อ สื่ อ สารการสื่ อ สารทางภาษาทํ า ให้ ก ารลง รายละเอียดในการกรอกข้อมูลต้องใช้เวลาเนื่องจากต้องผ่านล่ามแปล (1.3) ระยะเวลาในการดําเนินงานจํากัด และระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลน้อยเกินไป (1.4) การประชาสัมพันธ์จากส่วนกลางมีน้อย (1.5) ในบางพื้นที่ การคมนาคมไม่ส ะดวกโดยเฉพาะในฤดูฝ น และบางหมู่บ้านไม่มีถนน เข้าถึง ทําให้ต้องเดินเท้าเข้าหมูบ่ ้านซึ่งต้องใช้เวลา (1.6) การสั่งการไม่เป็นหนังสือแต่มักขึ้นในเว็บไซด์ และมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยจนทําให้ผู้ ปฏิบัติสับสน (2) ด้านระบบสารสนเทศ (2.1)
โปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยควรจะมีการทดสอบการใช้โปรแกรมก่อนที่จะนํามาใช้
(2.2) โปรแกรมที่ใช้ไม่สามารถรายงานข้อมูลได้ครบถ้วนต้องมาทําข้อมูลด้วยมือซึ่งทําให้การ ทํางานล่าช้าบางครั้งข้อมูลเกษตรกรที่บันทึกแล้วหายเมื่อมาตรวจสอบหรือหาข้อมูลของเกษตรกรไม่พบระบบ ปิดก็ไม่สามารถแก้ไขได้ (2.3) อุปกรณ์/เครื่องมือสารสนเทศ (คอมพิวเตอร์/ระบบอินเตอร์เน็ต) ไม่ทันสมัยและมีไม่เพียงพอกับ เจ้าหน้าที่ (2.4) ปัญหาในข้อมูลผิด พลาดเมื่อสิ้น สุดการรับขึ้นทะเบีย นแล้วโปรแกรมปิดไม่สามารถ แก้ไขได้ต้องทําเรื่องขอแก้ไขถึงกรมส่งเสริมการเกษตรขออนุมัติเปิดโปรแกรมจึงจะแก้ไขได้ (3) ด้านการทําสัญญาประกัน (3.1) เกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินทํากินยากต่อการตรวจสอบพื้นที่จริง (3.2) เกษตรกรมาทําสัญญาไม่ครบตามที่ขึ้นทะเบียนไว้เนื่องจากเกษตรกรอยู่ห่างไกลยาก ต่อการมาติดต่อกับธนาคารและทางธกส. ก็ไม่สามารถเข้าไปให้บริการได้เนื่องจากพื้นที่ยากลําบาก (3.3) เกษตรกรบางรายไม่มีสมุดคู่ฝาก (3.4) เกษตรกรบางรายไม่เข้าใจในระบบการประกันรายได้ของรัฐบาลเช่นปัจจุบันราคาข้าว เหนียวที่ประกันน้อยกว่าราคากลางซึ่งรัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แต่ในความคิดของเกษตรกรๆต้องได้รับ เงินชดเชยแม้ราคาข้าวที่ขายได้จะมากกว่าราคากลาง (3.5) ข้อมูลของเกษตรกรในใบรับรองการขึ้นทะเบีย นเกษตรกรบางรายไม่ตรงกับ ข้อมูล ที่ธกส.ได้รับและธกส.ได้รับข้อมูลจากส่วนกลางช้าบางครั้งเกษตรกรนําใบรับรองมาติดต่อแล้วหากแต่ธกส.ไม่ สามารถดําเนินการได้เนื่องจากไม่มีชื่อในระบบ
105
(4) ด้านการใช้สิทธิตามสัญญา เงินชดเชยไม่สามารถโอนเข้าบัญชีได้เนื่องจากบางบัญชีได้ถูกยกเลิกสาเหตุจากขาดการติดต่อ ทางธนาคารมานานทําให้เกษตรกรต้องเสียเวลาในการขอเปิดสมุดบัญชีเงินฝากใหม่ (5) ด้านอื่น ๆ (5.1)
การสั่งการการขึ้นทะเบียนและการจัดทําประชาคมการทําสัญญาควรจะดําเนินการคู่กันไป
(5.2) การสั่งการของกรมมีการดําเนินการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งทําให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ตัดสินใจในการทํางานลําบาก (5.3) ในบางพื้นที่ (เช่นจังหวัดยะลา) การเพาะปลูกข้าวส่วนใหญ่เพื่อเลี้ยงชีพในครัวเรือน เท่านั้น ไม่ได้มีจุดประสงค์มุ่งเน้นเพื่อการซื้อขาย และเป็นเกษตรกรรายย่อย จึงไม่เห็นความสําคัญในการเข้า ร่วมโครงการเท่าที่ควร 2)
โฉนดชุมชน29
ความเป็นมา รัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนําของนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี มีนโยบายเศรษฐกิจด้าน การเกษตรเกี่ยวกับการจัดการที่ดินที่ว่า“คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทําเกษตรกรรมที่ได้มีการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานแล้วเพื่อเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรในระยะยาวฟื้นฟูคุณภาพดิน จัดหาที่ดินทํากินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดินและเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกร ยากจนและชุมชนที่ทํากินอยู่ในที่ดินของรั ฐที่ไม่มีสภาพป่า แล้ว ในรูป ของโฉนดชุมชนรวมทั้งสนับสนุนการ พัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร”อันเป็นที่มาของนโยบายการออกโฉนดชุมชนซึ่งเป็นวิธีการในการ ทํางานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนที่จะสร้างความไว้วางใจความยอมรับเพื่อนําไปสู่การแก้ปัญหา ในทุกพื้นที่และมีกรอบแนวคิดกติกาที่จะนําไปสู่การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําของสังคมไทยในอนาคตอย่าง ยั่งยืน หลักการและวัตถุประสงค์ โฉนดชุมชนมีวัตถุประสงค์เพื่อ1)แก้ไขปัญหาความยากจน ที่เกิดจากไร้ที่ดินทํากิน ไร้ที่อยู่อาศัยรวมทั้ง ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชนที่เข้าไปครอบครองที่ดิน 2) เพื่อการกระจายการถือครอง ที่ดินอย่างเป็นธรรม สร้างโอกาสในการหารายได้ หรือเข้าถึงแหล่งของทุน 3) เพื่อความยั่งยืนของการพัฒนา ในการอนุรักษ์ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะเรื่องของป่าไม้ทนี่ ับวันจะลดลง กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเกษตรกรที่ยากจนไร้ที่ทํากิน ทั้งในเขตเมืองและชนบททั่วประเทศ กลไกการดําเนินงาน 29
โฉนดชุ ม ชนหมายความถึ ง หนั ง สื อ อนุ ญ าตให้ ชุ ม ชนร่ ว มกั น บริ ห ารจั ด การการครอบครองที่ ดิ น และใช้ ป ระโยชน์ ใ นที่ ดิ น ของรั ฐ เพื่อสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชนซึ่งชุมชนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้โดยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
106
คําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรีที่71/2552ลงวันที่9มีนาคม 2552แต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการเพื่อ แก้ ไ ขปั ญ หาของเครื อ ข่ า ยปฏิ รู ป ที่ ดิ น แห่ ง ประเทศไทยโดยมี น ายกรั ฐ มนตรี เ ป็ น ประธานได้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะอนุกรรมการ 7 คณะ เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการของประชาชน จนนําไปสู่การเสนอระเบียบ สํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชนพ.ศ. 2553ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที1่ 1มิถุนายน2553 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 กําหนดให้มีคณะกรรมการ ประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน หรือ ปจช.เพื่อเสนอนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์วิธีดําเนินงานการ ตรวจสอบพื้นที่ที่ให้มีโฉนดชุมชนและเน้นกลไกขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อ ช่วยเหลือในการดําเนินงานรวม 4 คณะ หลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินการโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553ชุมชนที่สามารถยื่นคําขอเพื่อดําเนินงาน โฉนดชุมชนจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี1้ ) มีการรวมตัวกันเป็นชุมชนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันที่ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชนพ.ศ. 2553ใช้บังคับ (ก่อนวันที่11มิถุนายนพ.ศ. 2550) 2) มีคณะกรรมการชุมชนคณะหนึ่งกระทําการแทนในนามของชุมชนจํานวนอย่างน้อยเจ็ดคน3) เป็น ชุมชนที่ได้เข้าครอบครองที่ดินของรัฐเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่ดินทํากินในลักษณะที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐนั้น 4) เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการบริหารจัดการที่ดินอย่างเป็นระบบโดยมีกฎระเบียบที่ ชัดเจนหรือมีหลักฐานการดําเนินงานของชุมชนไม่น้อยกว่า3ปี5) ชุมชนใดรวมตัวกันเป็นสมาคมสหกรณ์กลุ่ม เกษตรกรหรื อเป็ นชุ มชนตามกฎหมายอื่ นหากมี คณะกรรมการที่ มี คุ ณ สมบั ติ ที่ ไ ม่ ขั ด หรื อ แย้ ง กั บ ประกาศ คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการในการดําเนินงานโฉนดชุมชน สามารถยื่น คํา ขอเพื่อ ดํา เนิน งานโฉนดชุม ชนได้6 ) การยื่น ความประสงค์ขอโฉนดชุ มชน สามารถยื่น ได้ ที่ สํานักงานโฉนดชุมชนสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี กลไกการขับเคลื่อน ประกอบด้วย (1)
คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้ (1.1)
เสนอนโยบาย แผนงานและงบประมาณในการดําเนินงานโฉนดชุมชนต่อคณะรัฐมนตรี
(1.2) กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการดําเนินงานโฉนดชุมชนตามระเบียบนี้ (1.3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีความพร้อมในการดําเนินงานโฉนดชุมชน รวมทั้ง การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง (1.4) ตรวจสอบและพิจารณาความเหมาะสมของชุมชนที่อาจได้รับอนุญาตจากหน่วยงาน ของรัฐในการดําเนินงานโฉนดชุมชน ตลอดจนติดตามการดําเนินงานโฉนดชุมชนในแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ (1.5) ประสานงานและติ ด ตามหน่ ว ยงานของรั ฐ ในการดํ า เนิ น การตามนโยบายและ แผนงานของงานโฉนดชุมชน (1.6) แต่ ง ตั้ ง คณะอนุ ก รรมการหรื อ คณะทํ า งานให้ ป ฏิ บั ติ ง านตามที่ ค ณะกรรมการ มอบหมาย
107
(1.7) ดําเนินการหรือปฏิบัติงานอื่นใดที่เกี่ยวกับโฉนดชุมชนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ คําสัง่ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง (2)
คณะอนุกรรมการ 3 คณะ
(2.1) คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและระเบียบ มีอํานาจหน้าที่ในการเสนอความเห็น เรื่องหลักเกณฑ์ด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงานการจัด โฉนดชุมชน และเสนอแนวทางด้านกฎหมายในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินงานการจัดโฉนด ชุมชนต่อคณะกรรมการ ปจช. (2.2) คณะอนุกรรมการสํารวจและตรวจสอบพื้นที่ในการจัดให้มีโฉนดชุมชน มีอํานาจ หน้าที่ในการสํารวจและตรวจสอบพื้นที่ที่จะดําเนินการจัดโฉนดชุมชนเพื่อนําเสนอต่อคณะกรรมการ ปจช.
- คณะทํ า งานสํ า รวจและตรวจสอบพื้ น ที่ ใ นการจั ด ให้ มี โ ฉนดชุ ม ชนภาคเหนื อ ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ และภาคกลาง (2.3) คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์โฉนดชุมชน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ ปจช. ในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดําเนินงานการจัดให้มีโฉนดชุมชนและนโยบายของรัฐบาลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ได้รับทราบและมีความเข้าใจที่ถูกต้อง (3) สํานักงานโฉนดชุมชน สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีโดยมอบให้ผู้ตรวจราชการสํานัก นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นอนุกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ ทําหน้าที่ผู้อํานวยการสํานักงานจัดโฉนด ชุมชนทําหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางรับคําร้องของชุมชนต่าง ๆ ที่ประสงค์จะขอดําเนินงานโฉนดชุมชน สถานะปัจจุบัน สถานะการดําเนินงานล่าสุด มีชุมชนที่ได้ยื่นความประสงค์ขอโฉนดชุมชนทั้งสิ้น จํานวน 197 ชุมชน เนื้อที่ประมาณ 837,880 ไร่ จํานวนประชากรที่ได้รับประโยชน์ 134,760 คน 33,921 ครัวเรือน แบ่งเป็น ภาคเหนือจํานวน 12 จังหวัด 91 ชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด 41 ชุมชน ภาคใต้ 7 จังหวัด 54 ชุมชม ภาคกลาง 7จังหวัด 7 ชุมชน และกทม. 4 ชุมชน และมีชุมชนที่ได้รับความเห็นชอบให้ดําเนินงานออก โฉนดชุมชนรวม 35 ชุมชน เนื้อที่ประมาณ 38,872 ไร่ ปัจจุบันได้มีการออกโฉนดชุมชน 2 แห่งให้แก่ สหกรณ์บ้านคลองโยง จํากัด ตําบลคลองโยงอําเภอ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และชุมชนบ้านแม่อาว ตําบลนครเจดีย์ อําเภอป่าซาง จังหวัดลําพูน รวมเนื้อที่ 10,970 ไร่ จํานวนประชากรที่ได้รับประโยชน์ และมีที่ดินทํากินเป็นของตัวเอง 5,824 คน 1,512 ครัวเรือน ตารางที่ 60 จํานวนชุมชนที่ยื่นขอชุมชนที่ได้รับความเห็นชอบให้ดําเนินงาน และชุมชนที่ได้รับโฉนดชุมชน ชุมชนภาค/ จังหวัด เหนือ/12 ตะวันออก เฉียงเหนือ/11 ใต้/7 กลาง/7
ชุมชนที่ยื่นประสงค์ขอโฉนดชุมชน ชุมชนที่ได้รับความเห็นชอบให้ดําเนินงาน เนื้อที่ เนื้อที่ จํานวน ประชากร ครัวเรือน จํานวน ประชากร ครัวเรือน จํานวน (ไร่) (ไร่) 91 319,449 46,145 11,912 4 9,413 5,492 1,556 1 41 457,885
54,732 12,431
11
2,932
2,478
587
54 7
22,002 11,030
15 24,722 1 1,800
6,023 969
1,886 180
49,551 10,990
5,944 3,438
1
ชุมชนที่ได้รับโฉนด เนื้อที่ ประชากร ครัวเรือน (ไร่) 9170 4855 1332
1,800
969
180
108
กทม. 4 5 851 198 รวม 197 837,880 134,760 33,921 ข้อมูลวันที่ 4 เม.ย.54
4 5 35 38,872
851 15,813
198 4,407
2 10,970
5,824
1,512
การแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา โครงการโฉนดชุมชนเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ช่วยเหลือเกษตรกรให้มีทีดินทํากิน เพื่อสร้างความมั่นคง ทางด้านรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจะช่วยลดปัญหาความยากจน เนื่องจากเกษตรกรเป็นกลุ่ม อาชีพที่มีปัญหาความยากจนมากที่สุด ในปี 2553 สัดส่วนคนจนของผู้มีงานทําให้สาขาเกษตรกรรมคือร้อยละ 13.04 สูงที่สุดเมื่อเทียบกับสาขาอื่น นอกจากนี้การแก้ปัญหาดังกล่าวยังช่วยให้กลุ่มประชากรที่มีรายได้ต่ําสุดมี รายได้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นผลให้ความเหลื่อมล้ําปรับตัวดีขึ้น ปัญหาอุปสรรค กฎหมายและระเบี ย บต่ า งๆซึ่ ง ไม่ เ อื้ อ อํ า นวยต่ อ การดํ า เนิ น งานโฉนดชุ ม ชนจึ ง มอบหมายให้ คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและระเบียบดําเนินการศึกษาข้อกฎหมายและระเบียบของแต่ละหน่วยงานทั้ง ของกรมที่ดินกรมธนารักษ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการแก้ไขในส่วนของกฎหมายและระเบียบให้ สอดคล้องกับการดําเนินงานโฉนดชุมชนต่อไป 3)
โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก
หลักการและวัตถุประสงค์ โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก เป็นโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในสาขาบริหาร จัดการทรัพยากรน้ํามีวงเงินลงทุนรวม 3 ปี (2553– 2555) เป็นเงิน 212,818 ล้านบาท ประกอบด้วย 4 แผนงาน คือ (1) การอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ํา (2) การบริหารจัดการน้ําในพื้นที่ชลประทานเดิม (3) การจัดหา แหล่งน้ําและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน และ (4) การป้องกันและบรรเทาอุทกภัย โดยในปี 2553 มีวงเงินลงทุน รวม 60,389 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการลงทุนของภาครัฐและเพิ่มความสามารถใน การแข่งขันของประเทศ เพิ่มการจ้างงาน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และกระจายการลงทุนด้าน บริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน โดยพัฒนาแหล่งน้ําธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ที่เสริมสร้างศักยภาพการผลิต ของประเทศ ในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ เร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ําให้ทั่วถึงและเพียงพอต่อการผลิตทางการเกษตร โดยมีโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กอยู่ ภายใต้แผนงานการอนุรักษ์ฟื้ น ฟูแหล่งน้ํา และแผนงานการจัด หาแหล่งน้ํ า และเพิ่มพื้น ที่ ช ลประทาน ให้ ประชาชนมีน้ําเพียงพอสําหรับอุปโภคบริโภค เลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ และปลูกพืชสวนครัวในฤดูแล้ง รวมทั้งเสริม การทํานาหรือปลูกพืชได้อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ในปีงบประมาณ 2553 โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กที่อยู่ภายใต้สองแผนงานดังกล่าว ได้รับอนุมัติรวม 3,057 โครงการ งบประมาณทั้ งสิ้ น 16,889.16 ล้ า นบาท แบ่ งเป็ น การอนุรั ก ษ์ ฟื้น ฟู แหล่ ง น้ํา ของกรม ทรัพยากรน้ํา จํานวน 2,394 โครงการ ในวงเงิน 5,881.72 ล้านบาท และการชลประทานขนาดเล็กของกรม ชลประทาน จํานวน 663 โครงการ ในวงเงิน 11,655.23 ล้านบาท การดําเนินโครงการเป็นไปในหลากหลาย รูปแบบ เช่น ขุดลอกคูคลองเดิม ขุดบ่อน้ํา ขุดสระน้ํา สร้างอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก สร้างฝาย และติดตั้งเครื่องสูบน้ํา เป็นต้นทั้งนี้การพัฒนาแหล่งน้ําขนาดเล็ก ของกรมทรัพยากรน้ําเป็นการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟูแหล่งน้ําขนาด เล็กให้กลับคืนสู่สภาพธรรมชาติที่ใช้ประโยชน์ได้สูงสุดเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งน้ําและได้รับประโยชน์จาก
109
แหล่งน้ําอย่างยั่งยืน ในการประกอบอาชีพและการอุปโภคบริโภคของท้องถิ่นชุมชน อีกทั้งสามารถส่งเสริมให้มี การกระจายรายได้ การจ้างงานในแหล่งพื้นที่พัฒนาแหล่งน้ํา กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่อยู่ใกล้โครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กและชลประทานขนาดเล็ก กลไกดําเนินงาน กรมทรัพยากรน้ํา ดําเนินงานโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ํา และกรมชลประทานดําเนินงานโครงการ ชลประทานขนาดเล็ก สถานะปัจจุบัน ผลการดําเนินงานโดยรวมของโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็กแล้วเสร็จและมีการเบิกจ่ายงบประมาณไป แล้วกว่าร้อยละ 86 ของจํานวนโครงการและวงเงินงบประมาณที่ได้ลงนามในสัญญาแล้ว ซึง่ ประกอบด้วย โครงการอนุรักษ์ฟื้น ฟูแหล่งน้ํา (ของกรมทรัพยากรน้ํา) ดําเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 84.29 โดย โครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณทั้งหมด 2,394 โครงการ วงเงิน 5,881.72 ล้านบาท ลงนามในสัญญาไป แล้วทั้งสิ้น 2,374 โครงการ วงเงิน 5,584.4 ล้านบาท ณ วันที่ 12 มกราคม 2554 มีการเบิกจ่ายงบประมาณ ไปแล้วเป็นเงิน 4,587.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.15 มีโครงการที่ดําเนินการแล้วเสร็จรวม 2,001 โครงการ หรือร้อยละ 84.29 และยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างดําเนินการอีก 373 โครงการหรือร้อยละ 15.71 คาดว่าจะ แล้วเสร็จทุกโครงการในเดือนมีนาคม 2554 โครงการชลประทานขนาดเล็ก (ของกรมชลประทาน) ดําเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 94.87 โดย โครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณทั้งหมด 663 โครงการ วงเงิน 10,655.23 ล้านบาท ลงนามในสัญญาครบ ทุกโครงการตามกรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ณ วันที่ 12 มกราคม 2554 มีการเบิกจ่ายงบประมาณ ไปแล้วเป็นเงิน 9,970.58 ล้านบาทหรือร้อยละ 93.57 มีโครงการที่ดําเนินการแล้วเสร็จรวม 629 โครงการ หรือร้อยละ 94.87 และยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างดําเนินการอีก 34 โครงการหรือร้อยละ 5.13 คาดว่าจะมี โครงการที่แล้วเสร็จต่อเนื่องทุกเดือน และมี 2 โครงการสุดท้ายทีจ่ ะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2554 ตารางที่ 61 ผลการดําเนินโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก ปีงบประมาณ 2553 แผนงาน/จํานวนโครงการ/งบประมาณ
แผนงาน ตาม พ.ร.ก.
โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ํา (กรมอทรัพยากรน้ํา) - จํานวนโครงการ 2,402 (ร้อยละ) - งบประมาณ (ล้านบาท) 6,062.92 (ร้อยละ) โครงการชลประทานขนาดเล็ก (กรมชลประทาน) - จํานวนโครงการ 665 (ร้อยละ) - งบประมาณ (ล้านบาท) 11,598.41 (ร้อยละ) รวม - จํานวนโครงการ 3,067
งบประมาณที่ได้รับ การจัดสรร
ลงนาม ในสัญญา
2,394 (100) 5,881.72 (100)
2,374 (99.16) 5,584.40 (94.95)
663 (100) 10,655.23 (100)
663 (100) 10,655.23 (100)
3,057
3,037
การเบิกจ่าย งบประมาณ
โครงการที่แล้ว เสร็จ 2,001 (84.29)
4,587.40 (82.15) 629 (94.87) 9,970.58 (93.57) 2,630
110
(ร้อยละ) (100) - งบประมาณ (ล้านบาท) 17,661.33 16,546.95 (ร้อยละ) (100) ที่มา : กรมทรัพยากรน้ํา และกรมชลประทาน ณ วันที่ 12 มกราคม 2554
(99.35) 16,239.63 (98.14)
(86.60) 14,557.98 (89.64)
การประเมินผลโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก 30 พบว่า การดําเนินโครงการสามารถกระจายการลงทุน ด้า นบริการสาธารณะขั้น พื้น ฐานในการพัฒ นาแหล่งน้ํา ธรรมชาติและจัด หาแหล่งน้ํา ให้ป ระชาชนเพิ่มขึ้น ก่ อ ให้ เ กิ ด การกระจายบริ ก ารพื้ น ฐานและลดความเหลื่ อ มล้ํ า ทางเศรษฐกิ จ และสั ง คม แต่ ยั ง ไม่ บ รรลุ วัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในแง่การเพิ่มการจ้างงานในท้องถิ่น การบริหารจัดการโครงการยังขาด การมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเฉพาะในการกํากับดูแลและบํารุงรักษา เมื่อพิจารณาในเชิงความคุ้มค่ายังไม่ สามารถประเมินได้ชัดเจน ปัญหาและอุปสรรค การดําเนินโครงการแหล่งน้ําขนาดเล็ก 31 บางแห่งขาดประสิทธิภาพเกิดการพังทลายของขอบคูคลอง และสระน้ํา/บ่อน้ํา แหล่งน้ําที่ดําเนินการแล้วเสร็จขาดการบํารุงรักษาอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อความยั่งยืนของ แหล่งน้ําที่สร้าง และจากการสํารวจความเห็นของประชาชน พบว่าประมาณร้อยละ 21.2 ของแหล่งน้ําตาม โครงการฯ ยังต่ํากว่ามาตรฐาน 4)
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ความเป็นมา ในอดีตที่ยังไม่มี พ.ร.บ. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรพ.ศ. 2542 การพัฒนาการเกษตรที่ผ่านมา เป็นการกําหนดนโยบายโดยทางราชการซึ่งมิได้เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและมีส่วน ร่วมในการกําหนดนโยบายเพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่และการประกอบเกษตรกรรมของตนเองจึงทําให้ไม่ สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริงด้วยเหตุดังกล่าวจึงได้มี พรบ. กองทุน ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรพ.ศ. 2542 เพื่อจัดตั้งองค์กรที่รับผิดชอบในการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรอย่าง ต่อเนื่องและเป็นอิสระโดยการประสานความร่วมมือระหว่างข้าราชการในระดับกําหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติการ นักวิช าการ และเกษตรกร เป็น ผู้ กํา หนดนโยบายในการบริห ารกองทุน ฟื้น ฟูเ กษตรกรและเปิด โอกาสให้ เกษตรกรที่ขาดปัจจัยในการประกอบอาชีพรวมตัวกันเป็นองค์กรเกษตรกรเพื่อทําแผนและโครงการในการ ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนซึ่งจะมีการจัดระบบการติดตามและประเมินผลการดําเนินการเพื่อให้การฟื้นฟู และพัฒนาสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรสัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมายของการจัดให้มีกองทุน ตาม พ.ร.บ. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรพ.ศ. 2542 ซึ่ง พ.ร.บ. ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2542 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ คือ วันที่ 19พฤษภาคม 2542เป็นต้นไป วัตถุประสงค์
30
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, รายงานการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทย เข้มแข็ง 2555, มกราคม2554. 31 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, รายงานการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทย เข้มแข็ง 2555, มกราคม2554.
111
กองทุนฟืน้ ฟูและพัฒนาเกษตรกรมีวัตถุประสงค์(1)ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร(2)ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ เกษตรกรรมของเกษตรกร (3)พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรมเพื่อ สร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร (4)พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ระหว่างเกษตรกรและ (5) การแก้ไขปัญหาหนี้ในระบบของเกษตรกร กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกร 510,000 ราย ตามโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร แบ่งเป็น กลุ่มแรก เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และเป็นหนี้กับสถาบันการเงินของรัฐ จํานวน 8 หมื่นราย กลุ่ม ที่สอง ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ แต่เป็นหนี้กับสถาบันการเงินของรัฐ จํานวน 3.5 แสนราย และกลุ่มที่ สาม ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ และเป็นหนี้กับสถาบันการเงินเอกชน สหกรณ์ และนิติบุคคล จํานวน 8 หมื่นราย กลไกการดําเนินงาน คณะกรรมการกองทุนฟื้น ฟูแ ละพัฒนาเกษตรกรโดยมีน ายกรัฐ มนตรีห รือรองนายกรั ฐมนตรีซึ่ง นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการมีอํานาจหน้าที่สําคัญในการกําหนดนโยบายและออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศในการบริหารกิจการของกองทุนรวมทั้งออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงินการ เก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร การพิจารณาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาขององค์กรเกษตรกรการติดตามและประเมินผลการดําเนินการ ตามแผนและโครงการตลอดจนแต่งตั้ง ถอดถอนคณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการ คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรมีอํานาจหน้าที่สําคัญในการควบคุมการใช้ จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ นโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ ของคณะกรรมการ กองทุน รวมทั้งอนุมัติแผนฟื้นฟูและพัฒนาขององค์กรเกษตรกรที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน สํา นั ก งานกองทุน ฟื้น ฟูแ ละพั ฒนาเกษตรกรรั บ ผิ ด ชอบงานธุร การและรวบรวมข้อ มูล ต่า ง ๆ ที่ เกี่ยวกับการดําเนินงานของคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหารประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้ทราบถึง นโยบาย ระเบี ย บ และหลั ก เกณฑ์ ใ นการฟื้ น ฟู แ ละพั ฒ นาเกษตรกรพิ จ ารณาเสนอความเห็ น ต่ อ คณะ กรรมการบริหารรวมทั้งติดตามและประเมินผลการดําเนินการตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหาร ผลการดําเนินงาน ในการประชุ ม คณะรั ฐ มนตรี เ มื่ อ วั น ที่ 7 เมษายน 2553 รองนายกรั ฐ มนตรี (พลตรี สนั่ น ขจร ประศาสน์) ประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจของนายกรัฐมนตรี ได้เสนอการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) และเป็นสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ โดยการพักชําระต้นเงินครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน โดยให้เกษตรกรผ่อนชําระหนี้ต้นเงิน ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามงวดและระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี ต้นเงินและดอกเบี้ยที่พักไว้ จะได้รับการลดให้ทั้งหมดเมื่อเกษตรกรได้ชําระหนี้คืนงวดสุดท้ายแล้ว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่เสนอ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการแก้ไขปัญหาหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร จํานวนประมาณ 510,000 ราย โดย
112
จัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จํานวนเงิน 1,140 ล้านบาท จัดสรร งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 จํานวน 2,200 ล้านบาท และ 2,530 ล้านบาท ตามลําดับ ให้สํานักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้และเพื่อ สนับสนุนการฟื้นฟูพัฒนาอาชีพหลักในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต รวมทั้งมอบหมายให้สํานักงานกองทุน ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจัดสรรงบประมาณของกองทุนฟื้นฟูฯ ในการสนับสนุนแก้ไขปัญหาหนี้และฟื้นฟู อาชีพเกษตรกรให้แก่ห น่ว ยงานที่เ กี่ย วข้องตามความจํา เป็น และมอบหมายให้สํา นักงานกองทุน ฟื้น ฟูฯ ประสานงานกั บ ธนาคารทั้ ง 4 แห่ ง ได้ แ ก่ ธนาคารเพื่ อ การเกษตรและสหกรณ์ ก ารเกษตร บมจ. ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการให้ บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ และ ผู้บริหารของธนาคารทั้ง 4 แห่ง มีความเห็นร่วมกันว่าการจัดกลุ่มเกษตรกร หลักเกณฑ์และแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกร ควรเป็นดังนี้ กลุ่มแรก ต้องเป็นเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ และ เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ให้ปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการให้พักชําระเงินต้นจํานวนครึ่งหนึ่งและดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน ส่วนเงินต้นที่เหลืออีกครึ่งให้ผ่อนชําระเป็นงวดแต่ต้องไม้เกิน 15 ปี และดอกเบี้ยเงินต้นที่พักไว้แต่แรกนั้นจะ ได้รับการลดให้ทั้งหมดเมื่อเกษตรกรชําระหนี้คืนงวดสุดท้ายแล้ว และยังจะได้รับการสนับสนุนฟื้นฟูพัฒนา อาชีพเกษตรกร กลุ่มที่ 2 คือเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีสถานะหนี้ไม่ ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ เป็นหรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ แต่ยังไม่ขึ้นทะเบียน หนี้ ให้ปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการให้พักชําระเงินต้นจํานวนครึ่งหนึ่งและดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน ส่วนเงินต้นที่ เหลืออีกครึ่งให้ผ่อนชําระเป็นงวดแต่ต้องไม่เกิน 15 ปี และดอกเบี้ยเงินต้นที่พักไว้แต่แรกนั้นจะได้รับการลดให้ ทั้งหมดเมื่อเกษตรกรชําระหนี้คืนงวดสุดท้ายแล้ว และยังจะได้รับการสนับสนุนฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเกษตรกร กลุ่มที่ 3 เกษตรกรที่เป็นลูกหนี้สถาบันอื่น หรือตามที่คณะกรรมการกองทุนกําหนด จะปรับโครงสร้าง หนี้ให้หลังจากที่ได้ดําเนินการปรับโครงสร้างหนี้รวมทั้งฟื้นฟูพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มที่ 1 และ 2 แล้ว 3.4.4 นโยบายแก้ปัญหาความยากจนและเหลือมล้ําจากการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน 1)
กองทุนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน
ความเป็นมา รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ดําเนินนโยบายตามที่ แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้มีการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น เพื่อจัดสรร งบประมาณโดยตรงไปยังหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศเพิ่มเติมจากวงเงินงบประมาณที่เคยได้จัดสรรเดิม ทั้งนี้ ไม่ได้เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติเงินคงคลังพ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ดําเนินการในรูปแบบของ “โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน” ซึ่งคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552 ลงมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (ศพช.) หรือ โครงการ
113
ชุมชนพอเพียง และให้มีสํานักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (สพช.) หรือ สํานักงานชุมชนพอเพียง เป็นหน่วยงานภายในสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ทําหน้าที่บริหารจัดการโครงการ หลักการและวัตถุประสงค์ โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน เป็นโครงการที่มีการดําเนินการต่อเนื่องจากโครงการ SML โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดสรรงบประมาณโดยตรงไปยังหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศเพิ่มเติมจากวงเงินงบประมาณที่เคยจัดสรร เดิม เพื่อ ให้ทุ กชุม ชนได้รับ โอกาสในการเข้ า ถึง งบประมาณของรั ฐ อย่า งรวดเร็ว ครอบคลุ มทั่ว ถึง และมุ่ ง ขับเคลื่อนให้ทุกภาคส่วนในชุมชนร่วมกันบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีศักยภาพเพิ่มมาก ขึ้น เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ ลดต้นทุนและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ระดับชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและสร้างโอกาสในการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเสริมสร้างศักยภาพ เศรษฐกิจในระดับฐานรากให้กับชุมชน เกณฑ์การจัดสรรงบประมาณโดยตรงไปยังชุมชน ตามขนาดจํานวนประชากรของชุมชน ยึดหลัก ความเป็นจริงตามจํานวนประชากรของชุมชน ซึ่งใช้ประชากรตามทะเบียนราษฎร์ ตามประกาศกรมการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยได้แบ่งตามขนาดจํานวนประชากรของชุมชน ออกเป็น 7ขนาด ดังนี้
ชุมชนที่มีประชากร 1-50คน ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 1แสนบาท
ชุมชนที่มีประชากร 51-150คน ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 2แสนบาท
ชุมชนที่มีประชากร 151-250คน ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 3แสนบาท
ชุมชนที่มีประชากร 251-500คน ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 4แสนบาท
ชุมชนที่มีประชากร 501-1,000คน ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 5แสนบาท
ชุมชนที่มีประชากร 1,001-1,500คน ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 6แสนบาท
ชุมชนที่มีประชากร 1,500คน ขึ้นไป ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 7แสนบาท
สํา หรับ ชุมชนที่ยัง ไม่ได้รับ งบประมาณโครงการพัฒ นาศักยภาพของหมู่บ้า นและชุมชนตามแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในปี 2551 จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณเต็มจํานวน ส่วนชุมชนที่ได้รับ การสนับสนุนงบประมาณในปี 2551 แล้ว จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณกึ่งหนึ่งของเกณฑ์ข้างต้น กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน กลไกการดําเนินงาน โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน มีการบริหารโครงการฯในรูปของ “คณะกรรมการ บริห ารโครงการเศรษฐกิจ พอเพีย งเพื่อ ยกระดับ ชุมชน” ชื่อย่อ “คพช.” ซึ่ง ได้รับ แต่งตั้งตามคํา สั่งสํา นั ก นายกรัฐมนตรี โดยมีบทบาทหน้าที่หลักในการกําหนดขอบเขตรูปแบบการบริหารจัดการ และแนวทางการ ดําเนินงานโครงการ รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดําเนินโครงการ
114
และจัดสรรงบประมาณสู่ชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โดยมีสํานักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (สพช.)ทําหน้าที่บริหารจัดการโครงการ นอกจากนี้ มีคณะอนุกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนโครงการ 7 คณะ ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการอํานวยการ โครงการ คณะอนุกรรมการประชาสัมพัน ธ์และขับเคลื่อนทางสังคม คณะอนุกรรมการพัฒ นาชุมชนให้ เข้มแข็ง คณะอนุกรรมการสร้างภาคีความร่วมมือ คณะอนุกรรมการตรวจสอบและติดตาม คณะอนุกรรมการ ประเมินผล และ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร วิธีการดําเนินการ ชุมชนร่วมประชุมประชาคม เลือกกรรมการ ร่วมคิด และเขียนโครงการตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเสนอต่อสํานักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (สพช.) เพื่อพิจารณา และรับการจัดสรรงบประมาณหมู่บ้านละ 100,000 – 700,000 บาท ตามขนาดของชุมชน หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกโครงการ โครงการต้องสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน มีความยั่งยืน มีผลวัดได้และผลลัพธ์นั้นควร มีผลต่อเนื่องไม่สิ้นสุดในครั้งเดียว และต้องเข้าหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ เป็นโครงการที่เป็นรูปธรรมเกิดประโยชน์สําหรับผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากจนโดยเฉพาะเด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ เป็นโครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ การเพิ่มรายได้ และสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน
ท้องถิ่น
เป็นโครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการคุม้ ครองและรักษา ป่า น้ํา และดิน
เป็นโครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
เป็นโครงการเพื่อประโยชน์ของชุมชนตามที่คณะอนุกรรมการมีมติเห็นชอบ
ผลการดําเนินงาน การสร้างรายได้และศักยภาพเศรษฐกิจในระดับฐานรากโดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงได้ น้อมนําแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็ง มี ความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนจํานวน 84,563 หมู่บ้าน หรือชุมชนทั่วประเทศให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองและพึ่งกันเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่ง ปัจจุบันมีจํานวนชุมชนที่ได้รับเงินโอนเข้าบัญชีชุมชนแล้ว เบิกจ่ายงบประมาณจํานวนทั้งสิ้น 5,367.63 ล้าน บาท มีผู้ได้รับประโยชน์จํานวน 21,716 หมู่บ้านมีโครงการที่ประสบความสําเร็จ เช่น การจัดทําถ่านไม้เพนต์สี ปุ๋ยชีวภาพ โรงสีชุมชน และโรงเห็ด เป็นต้น 2)
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ความเป็นมา กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นโครงการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน จัดตั้งขึ้นตาม นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลตั้งแต่ ปี 2544 ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งภายใต้นโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าของรัฐบาล
115
ที่จัด สรรเงิน อุดหนุน ให้แก่หมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท ในลักษณะเงิน ทุน หมุน เวีย น โดยมี วัตถุประสงค์ (1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง สําหรับให้ประชาชนกู้ยืมเงินในอัตรา ดอกเบี้ยต่ํา นําไปใช้ลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ (2) ส่งเสริมพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการเงินทุนของตนเอง (3) เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพา ตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองในการเรียนรู้และพัฒนาความคิดริเริ่ม ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพและ ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านและชุมชนเมือง ต่อมา ในช่วงปี 2546-2549 มีการเพิ่มทุนให้กับกองทุนที่ มีการบริหารจัดการที่ดีอีกกองทุน ละ 1 แสนบาท จํา นวน 23,256 แห่ง และในปัจจุบันรั ฐ บาลได้อนุมัติ โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระยะที่ 2 โดยวันที่ 29 กันยายน 2552 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ตามมติคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (ครั้งที่ 3/2551 วัน ที่ 14 กันยายน 2552) อนุมัติโครงการเพิ่มทุนแก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระยะที่ 2 ใช้งบประมาณจากแผนปฏิบัติการไทย เข้มแข็ง 2555 วงเงิน 19,559.2 ล้า นบาท มีห ลักการคือ เพิ่มวงเงิน การลงทุน แก่กองทุน หมู่บ้า นฯ ที่จ ด ทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วตามขนาดของสมาชิกที่ระบุในวันที่ได้รับการอนุมัติให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หาก ไม่มีการระบุจํานวนสมาชิกในการยื่นขอจะทะเบียนให้ใช้ข้อมูลของกองทุนฯ ในวันที่จัดตั้งกองทุนฯ โดย (1) กองทุนที่มีขนาดสมาชิก 50-150 คนเพิ่มทุน 200,000 บาทต่อกองทุน (2) กองทุนที่มีขนาดสมาชิก 151-350 คนเพิ่มทุน 400,000 บาทต่อกองทุน (3) กองทุนที่มีขนาดสมาชิก 351 คนขึ้นไปเพิ่มทุน 600,000 บาทต่อ กองทุ น โดยมี ร ะยะเวลาดํา เนิน งานโครงการ ตั้ ง แต่ กุม ภาพั น ธ์ 2553 ถึ ง ธั น วาคม 2555 หน่ ว ยงานที่ รับผิดชอบ คือ สํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ หลักการและวัตถุประสงค์ โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อให้หมู่บ้านและชุมชน เมืองมีเงินทุนเพิ่มขึ้น สร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินของประชาชน และการรองรับความต้องการเงินทุนเพื่อ การประกอบอาชีพ ตลอดจนผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมทักษะอาชีพตามโครงการต้นกล้าอาชีพ (2) เพื่อลดการกู้ยืม เงินนอกระบบ และมีเป้าหมายในการเพิ่มสมาชิกกองทุนฯ ที่สามารถกู้เงินได้ ลดการกู้ยืมเงินนอกระบบของ ประชาชน และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของชุมชนเพื่อการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในชุมชนที่เป็นสมาชิกกองทุน กลไกการดําเนินงาน รัฐ บาลได้ออกระเบียบสํา นักนายกรัฐ มนตรีว่าด้วยคณะกรรมการกองทุน หมู่บ้า นและชุมชนเมือง แห่งชาติ พ.ศ. 2544 เพื่อให้มีแนวทางและกลไกการทํางานของกองทุนที่เชื่อมโยงทั้งในระดับส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย ส่วนกลาง มีคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ทําหน้าที่กําหนดนโยบาย การ จัดตั้งและแนวทางการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กําหนดแผนการจัดหาทุนและจัดสรรเงินให้แก่ กองทุ น ฯ ตลอดจนจั ด ทํ า ร่ า งกฎหมายและออกระเบี ย บข้ อ บั ง คั บ กองทุ น หมู่ บ้ า นฯ โดยมี สํ า นั ก งาน คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ทําหน้าที่เป็นสํานักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
116
ส่วนภูมิภาค มีคณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดําเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด ทํา หน้า ที่รับ ขึ้นทะเบีย นกองทุน หมู่บ้า น สนับสนุน ให้เ กิดการเตรียมความพร้อมของหมู่บ้านและชุมชนเมือง ติดตามตรวจสอบการดําเนินงานของกองทุนในจังหวัดและประสานความร่วมมือสนับสนุนด้านวิชาการและการ จัดการตามสภาพปัญหาและความต้องการของกองทุนในจังหวัด และมีคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอําเภอ ทําหน้าที่สนับสนุนการเตรียมความพร้อม สร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านและชุมชนเมือง สนับสนุนและติดตาม การดําเนินกิจกรรมของกองทุน การจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การขอขึ้น ทะเบีย นกองทุน ฯ หมู่บ้า นและชุมชนที่ป ระชาชน 3 ใน 4 ได้ร่ว มกัน คัด เลือ ก คณะกรรมการกองทุนฯ จัดทําระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารจัดการกองทุนแล้ว ให้ไปยื่น แบบคําขอขึ้นทะเบียนกับธนาคารออมสิน หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่คณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกําหนด พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง คือ ระเบียบ ข้อบังคับของกองทุน หมู่บ้านหรือชุมชนเมือง และเปิดบัญชีกับธนาคาร การรับเงินจัดสรร คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอําเภอ ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการ กองทุน หมู่บ้า นและชุม ชนเมือ งแห่งชาติ จะประเมิ น ความพร้อมของกองทุน หมู่บ้ า นและชุมชนเมืองโดย พิจารณาจากการคัดเลือกคณะกรรมการ คุณสมบัติและความรู้ความสามารถของกรรมการ การมีส่วนร่วมของ ประชาชน ระเบียบข้อบังคับของกองทุน การเปิดบัญชีเงินฝากของกองทุน เป็นต้น และแจ้งผลการพิจารณาต่อ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่ออนุมัติเงินจัดสรรต่อไป การบริหารกองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง คณะกรรมการกองทุน จํานวน 9 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ซึ่งมาจากการคัด เลือกกันเองโดยสมาชิก เป็น ผู้รับผิด ชอบบริหารจัด การกองทุน ทั้ง ในเรื่องการรับ สมาชิก การพิจารณาให้กู้เงิน จัดทําบัญชีส่งมอบเงิน รวมทั้งตรวจสอบ กํากับ ดูแลจัดสรรผลประโยชน์ของ เงินกองทุน ทั้งนี้ คณะกรรมการมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 2 ปี และไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน แนวทางการบริหารกองทุนคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีแนวทางการบริหาร กองทุนหมู่บ้านฯดังนี้ การรับสมาชิกต้องเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชนและไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม ตามข้อบังคับของกองทุนฯทั้งนี้คณะกรรมการฯสามารถกําหนดระเบียบให้สมาชิกถือหุ้นของกองทุนหรือมีเงิน ฝากสัจจะไว้ที่กองทุนและให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจําปีผู้ถือหุ้นอย่างน้อยปีละ1ครั้ง การกู้ ยื ม เงิ น สมาชิ ก ที่ ป ระสงค์ จ ะกู้ เ งิ น ยื่ น คํ า ขอกู้ โ ดยต้ อ งระบุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ชั ด เจนต่ อ คณะกรรมการกองทุนโดยการพิจารณาอนุมัติจะต้องไม่เกินรายละ20,000บาทถ้าหากเกินให้เป็นคําวินิจฉัยชี้ ขาดของสมาชิกทั้งนี้การเรียกหลักประกันและการกําหนดอัตราดอกเบี้ยให้พิจารณากําหนดตามความเห็นชอบ ของสมาชิก การชําระคืนคณะกรรมการพิจารณาระยะเวลาชําระคืนตามความเหมาะสมในแต่ละรายแต่ ไม่เกิน1ปีส่วนการผิดสัญญาให้ผู้กู้เสียเบี้ยปรับตามที่สมาชิกร่วมกันกําหนดยกเว้นในกรณีที่ประชุมสมาชิก เห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งให้ยกเลิกหรือลดเบี้ยปรับ
117
การทํา บัญ ชีและตรวจสอบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัด ทํา บัญ ชีและรายงานผลการ ดําเนิน งานต่อสมาชิกเดือนละ1ครั้งและสรุปผลการดําเนิน งานประจําปีร ายงานต่อคณะกรรมการกองทุน หมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติอย่างน้อยปีละ1ครั้ง สถานะปัจจุบัน การเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระยะที่ 2 ได้จัดสรรงบประมาณตามนโยบายไทยเข้มแข็ง ของรัฐบาล เป็นเงิน 19,559.2 ล้านบาท เพื่อเพิ่มทุนให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศที่มีความ พร้อมและความต้องการ โดยจัดงบประมาณสนับสนุนตามจํานวนสมาชิกกองทุน คือ กองทุนที่มีขนาดสมาชิก 50-150 คน เพิ่มทุน 200,000 บาท/กองทุน กองทุนที่มีขนาดสมาชิก 151-350 คน เพิ่มทุน 400,000 บาท/ กองทุน กองทุนที่มีขนาดสมาชิก 351 คนขึ้นไป เพิ่มทุน 600,000 บาท/กองทุน ซึ่งปัจจุบันกองทุนหมู่บ้านฯ ได้รับการเพิ่มทุนแล้ว จํานวน 70,011 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 88.44 ของจํานวนกองทุนทั้งหมด (กองทุน เป้าหมายที่จะเพิ่มทุนทั้งหมด 79,255 กองทุน) วงเงิน 16,633.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 85.04 ของ วงเงินงบประมาณที่ตั้งไว้สําหรับการเพิ่มทุนทั้งหมด 19,559.2 ล้านบาท และกองทุนที่ยังไม่ได้เพิ่มทุนอีก 9,164 กองทุน เป็นกองทุนที่ไม่ขอเพิ่มทุน 356 กองทุน และขอเพิ่มทุนแต่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน จํานวน 8,808 กองทุน ตารางที่ 62 ผลการดําเนินโครงการเพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 2 (ณ เดือนกันยายน 2553) ภาค
1) เหนือ 2) ตะวันออกเฉียงเหนือ 3) กลาง 4) ใต้ 5) กรุงเทพมหานคร 6) ชุมชนทหาร รวม
จํานวน กองทุน
17,052 33,837 17,638 9,038 952 738 79,255
จํานวน กองทุนที่จด ทะเบียนนิติ บุคคลแล้ว
จํานวน กองทุน
16,792 33,354 16,802 7,217 581 582 75,328
16,246 32,687 14,985 5,979 106 88 70,091
การเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านฯ ระยะที่ 2 ร้อยละ วงเงินที่เพิ่ม ทุน ของกองทุน ของกองทุนที่จด (ล้ า นบาท) ทั้งหมด ทะเบียนนิติ บุคคลแล้ว 95.27 96.75 4,061.60 96.60 98.00 7,460.80 84.96 89.19 3,539.20 66.15 82.85 1,520.0 11.13 18.24 26.0 11.92 15.12 25.80 88.44 93.05 16,633.40
ร้อยละ
20.77 38.14 18.09 7.77 0.13 0.13 85.04
ที่มา : สํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ณ เดือนกันยายน 2553
ขยายระยะเวลาการชําระคืนเงินกู้ เพื่อให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองนําเงินกู้ไปลงทุนจน ได้ผลตอบแทนกลับคืนมาเพื่อชําระคืนเงินกู้ โดยไม่ต้องไปกู้เงินนอกระบบมาชําระหนี้กองทุน คณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจึงได้ขยายเวลาการชําระเงินกู้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดตั้งและบริหาร กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จาก 1 ปี เป็น 2 ปี ซึ่งคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สามารถแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับระเบียบฯข้างต้นเพื่อดําเนินการช่วยเหลือสมาชิก การจัดตั้งสถาบันการเงินชุมชน คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้จัดสรร งบประมาณ 30.5 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันการเงินชุมชนในปี 2553 จํานวน 1,000 แห่ง (จากเดิมที่มีการจัดตั้งแล้ว 1,023 แห่ง) ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับกองทุนหมู่บ้านและ
118
ชุมชนเมืองที่มีความต้องการและพร้อมที่จะเป็นสถาบันการเงินชุมชนให้สามารถดําเนินการจัดตั้งเป็นสถาบัน การเงินชุมชน เพื่อให้บริการแก่สมาชิกและประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืนยิ่งขึ้น การติดตามช่วยเหลือการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งชาติได้จัดงบประมาณ 6.3 ล้านบาท เพื่อให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด/อําเภอ และเครือข่าย กองทุนหมู่บ้านฯ ระดับจังหวัด/อําเภอ/ตําบล ได้ติดตามช่วยเหลือกองทุนหมู่บ้านฯ ที่ยังไม่สามารถจดทะเบียน เป็นนิติบุคคลได้อีกประมาณ 3,000 กองทุนให้สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ภายในปี 2553 การจัดอบรมให้ความรู้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้านกฎหมายและบัญชี เพื่อ เสริมสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพในการดําเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ทั่วประเทศ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้จัดงบประมาณ 104,139.2 ล้านบาท สําหรับจัดอบรมสร้างวิทยากรบัญชีกองทุนหมู่บ้านฯประจําอําเภอ 3,363 คน สร้างวิทยากรกฎหมายกองทุน หมู่บ้านฯประจําอําเภอ 2,847 คน อบรมกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชน ด้านบัญชีกองทุนละ 1 คน รวม 79,255 คน และด้านกฎหมายกองทุนละ 1 คน รวม 79,255 คน การแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา ปัญหาสําคัญอีกประการของโครงการฯคือ การเข้าถึงโครงการฯของกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มคน จนที่แท้จริงยังอยู่ในระดับต่ํา โดยจากการศึกษาข้อมูลการสํา รวจภาวะเศรษฐกิจและสังคม ของครัวเรือน ระหว่างปี 2545 ถึง 2553 ของสํานักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า เมื่อทําการวิเคราะห์สัดส่วนครัวเรือนที่กู้ยืม กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จําแนกตามระดับของค่าใช้จ่าย ทั้งแบบร้อยละ 10 และ ร้อยละ 20 แล้วนั้น จะเห็นว่า กลุ่มครัวเรือนที่ได้รับเงินกู้ยืมจากกองทุนหมู่บ้านมากที่สุด ไม่ใช่กลุ่มครัวเรือนที่ยากจนที่สุด (กลุ่ม ครัวเรือนที่มีรายจ่ายน้อยที่สุด) อีกทั้ง กลุ่มครัวเรือนที่ยากจนที่สุด ยังมีสัดส่วนการได้รับเงินกู้ยืมที่ลดลงเรื่อยๆ ในช่วงระยะเวลาสามปีหลัง แสดงถึงการเข้าถึงโครงการฯที่ลดลงของกลุ่มครัวเรือนที่เป็นเป้าหมายหลักของ โครงการ ในขณะเดียวกัน สัดส่วนการได้รับเงินกู้ยืมของกลุ่มครัวเรือนที่ร่ํารวยที่สุด (มีรายจ่ายสูงที่สุด) กลับ เพิ่มสูงขึ้น ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ดังแผนภูมิด้านล่าง ภาพที่ 42 สัดส่วนครัวเรือนที่กู้ยืมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจําแนกตามระดับของค่าใช้จ่ายร้อยละ 10 กลุ่มครัวเรือนที่ม ี รายจ่ายสูงที่ส ุด 100% 90% 80% 70%
2.78 5.75 8.48 10.19 12.50
60% 12.36 50% 40% 30% 20% 10%
4.44 7.17
4.24 6.90
3.80 6.95
9.01
8.87
8.73
3.67 6.21
3.81 7.08
4.54 7.41
8.60
8.61
9.14
9.47
10.10
10.12
9.23
9.41
9.10
10.80
11.46
11.44
10.59
11.10
12.33
12.62
11.66
12.76
12.50
12.56
12.53
12.44 13.64 13.55
12.82 13.48 13.04
12.76 13.32
13.51 12.66
12.00
12.46 8.90
7.37
2552
2553
11.97
9.39
9.81
7.29
8.33
9.47
2545
2547
2549
2550
2551
0%
12.96
12.56
13.95
13.23
12.39
12.99
11.25
11.47
กลุ่มครัวเรือนที่ม ี รายจ่ายน้อ ย ลํา ดับ9 กลุ่มครัวเรือนที่ม ี รายจ่ายน้อ ย ลํา ดับ8 กลุ่มครัวเรือนที่ม ี รายจ่ายน้อ ย ลํา ดับ7 กลุ่มครัวเรือนที่ม ี รายจ่ายน้อ ย ลํา ดับ6 กลุ่มครัวเรือนที่ม ี รายจ่ายน้อ ย ลํา ดับ5 กลุ่มครัวเรือนที่ม ี รายจ่ายน้อ ย ลํา ดับ4 กลุ่มครัวเรือนที่ม ี รายจ่ายน้อ ย ลํา ดับ3 กลุ่มครัวเรือนที่ม ี รายจ่ายน้อ ย ลํา ดับ2 กลุ่มครัวเรือนที่ม ี รายจ่ายน้อ ยที่ส ุด
ภาพที่ 43 สัดส่วนครัวเรือนที่กู้ยืมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจําแนกตามระดับของค่าใช้จ่ายร้อยละ 20
119
100%
8.53
11.60
11.13
10.74
9.88
10.89
11.95
19.13
18.10
18.14
17.70
18.08
19.24
24.86
22.46
23.90
24.26
22.92
23.71
23.80
25.31
25.03
27.20
26.52
26.08
25.96
26.17
22.62
21.78
19.68
20.34
23.43
21.36
18.84
2549
2547
2549
2550
2551
2552
2553
90% 80%
18.67
70% 60% 50% 40% 30% 20% 10% 0%
กลุ่ม ครัวเรือนที่ มีรายจ่ายสูง ที่สุด กลุ่ม ครัวเรือนที่ มีรายจ่ายน้ อย ลําดับ4 กลุ่ม ครัวเรือนที่ มีรายจ่ายน้ อย ลําดับ3 กลุ่ม ครัวเรือนที่ มีรายจ่ายน้ อย ลําดับ2 กลุ่ม ครัวเรือนที่ มีรายจ่ายน้ อย ที่สุด
ที่มา: ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน, สํานักงานสถิติแห่งชาติ
เมื่อทําการวิเคราะห์การได้รับเงินทุนจากโครงการฯของประชาชนที่อาศัยอยู่ภายใต้เส้นความยากจน พบว่า ให้ผลไปในทิศทางเดียวกัน โดยทั้งสัดส่วนของผู้กู้ที่เป็นคนจนเทียบกับผู้กู้ทั้งหมด และสัดส่วนของคนจน ที่ได้รับการอนุมัติกู้ยืมจากโครงการฯเทียบกับคนจนทั้งหมดนั้น ถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ํา โดยมีค่าอยู่ระหว่างร้อย ละ 8 ถึง 11 เท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่า การเข้าถึงโครงการฯของกลุ่มเป้าหมายหลักยังมีอุปสรรคอยู่มาก ตารางที่ 63 การกู้ยืมเงินกองทนหมู่บ้าน ปี ร้อยละของคนได้กู้ที่เป็นคนจน ร้อยละของคนจนที่ได้กู้จากกองทุนหมู่บ้าน 2549 9.16 9.86 2550 8.75 9.97 2551 10.39 9.93 2552 8.39 9.36 2553 8.01 9.38 ที่มา: ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน, สํานักงานสถิติแห่งชาติ
จากการประเมินผลโครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระยะที่ 2 32 พบว่า การดําเนิน โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการส่งเสริมอาชีพ และการสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน โดยการเพิ่มทุนมีผลให้สมาชิกกองทุนที่ไม่เคยได้รับการพิจารณาให้กู้เงินมาก่อนได้รับโอกาสในการกู้เงินถึงกว่า ครึ่ง (ร้อยละ 52) ของจํานวนผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้กู้เงินกองทุนหลังจากรัฐบาลเพิ่มเงินกองทุน แสดงให้เห็น ว่า โครงการฯบรรลุวัต ถุป ระสงค์ ในการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้า ถึงแหล่งเงิน ทุน มากขึ้น นอกจากนี้ยัง สามารถแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้บางส่วน โดยเงินกู้จากกองทุนฯ นําไปชําระหนี้นอกระบบได้บางส่วนคิดเป็น ร้อยละ 60.0 ของผู้เป็นหนี้นอกระบบทั้งหมด (175,495 คน) หรือประมาณ 105,297 คน เนื่องจากมีภาระหนี้ สูง โดยช่วยประหยัดค่าดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบได้เฉลี่ยเดือนละ 3,289.60 บาทต่อราย ปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติงาน 32
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, รายงานการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทย เข้มแข็ง 2555, มกราคม2554.
120
จากการสอบถามความคิดเห็น 33 สมาชิกบางส่วนมีความเห็นว่ายังมีปัญหาและอุปสรรคสําหรับการ กู้ยืมเงิน เช่น (1) เงินกู้ที่ได้รับไม่เพียงพอกับความจําเป็นที่ต้องใช้จริง เนื่องด้วยข้อจํากัดด้านเงินทุนของกองทุน ฯ และจํานวนสมาชิกที่มีมากต้องมีการกระจายเงินให้ทั่วถึง (2) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้บางกองทุนฯมีอัตราสูงถึง ร้อ ยละ 12 ต่ อปี ในขณะที่บ างกองทุ น คิ ด ร้ อยละ 2 ต่อ ปี ทํา ให้ ส มาชิ กกองทุน ที่กู้ เ งิ น เกิด การได้เ ปรี ย บ เสียเปรียบด้านต้นทุนการเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ การดําเนินงานกองทุนฯ ขาดแคลนเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ ทันสมัย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น รวมทั้งขาดการสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้แก่ คณะกรรมการกองทุนฯ โดยเฉพาะการจัดทําบัญชี และการบริหารความเสี่ยงจากการให้กู้ยืมเงิน เป็นต้น ตลอดจนการจัดสรรเงินกู้ให้สมาชิกไม่คํานึงถึงความจําเป็นของสมาชิกแต่มีลักษณะเอื้อต่อพวกพ้องจึงสร้าง ปัญหาหนี้เสียให้กองทุน และขาดการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดําเนินการกองทุนฯให้สมาชิกได้รับรู้อย่าง ทั่วถึง 3)
กองทุนสวัสดิการชุมชน
ความเป็นมา กองทุนสวัสดิการชุมชน เกิดขึ้นจากชาวบ้านในชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างระบบ ร่วมกันบริหาร จัดการและร่วมกันรับผลประโยชน์ จึงเป็นกองทุนที่ “ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของ” เพื่อเป็นหลักประกันความ มั่นคงในชีวิต บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง การช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในชุมชน ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็น การจัดสวัสดิการของชาวบ้าน โดยชาวบ้าน เพื่อชาวบ้าน เป็นการให้อย่างมีคุณค่าและการรับอย่างมี ศักดิ์ศรี มีกระบวนการดําเนินการที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่น ใช้หลักศาสนา และการมี ส่วนร่วมของคนอย่างกว้างขวาง ต่อมาในปี 2550 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการ ชุมชนท้องถิ่นระดับชาติ คณะอนุกรรมการสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นระดับจังหวัดทุกจังหวัด และรัฐบาลจัด งบประมาณสนับสนุนการขับเคลื่อนขยายการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตําบล และสมทบงบประมาณใน การจัดสวัส ดิการชุมชน ทําให้เกิด กองทุนสวัส ดิการชุมชนตําบลขึ้น 3,138 ตํา บล โดยการดําเนินการของ กองทุนฯ มีการจัดสวัสดิการสําหรับสมาชิกและผู้ยากลําบากในชุมชน ครอบคลุมตั้งแต่การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่น รับ ขวัญ เด็กเกิด ใหม่ ทุ น การศึก ษา ค่า ใช้จ่า ยยามเจ็บ ป่ว ย พัฒ นาอาชีพ บํา นาญ ฌาปนกิจ และ สวัสดิการด้านต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันและความพร้อมของแต่ละกองทุน และในปัจจุบัน รัฐบาลให้การสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนตามแนวทางสวัสดิการชุมชน โดยรัฐบาลและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจะให้การสนับสนุนและสมทบงบประมาณกองทุนสวัสดิการชุมชนโดยตรงให้กับชุมชน หลักการและวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ที่สําคัญของสวัสดิการชุมชน คือ การสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคงของคนในชุมชน ซึ่งหมายรวมถึงทุกอย่างที่จะทําให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในรูปของสิ่งของ เงินทุน น้ําใจ การ ช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย นอกจากนี้ รัฐบาลให้การสนับสนุนการ จัดสวัสดิการชุมชน เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงของชุมชนฐานราก ฟื้นฟูทุนทางสังคม ความเข้มแข็ง 33
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, รายงานการติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทย เข้มแข็ง 2555, มกราคม2554.
121
ชุมชนในการจัด การดูแล ช่ว ยเหลือเกื้อกูล ซึ่งกัน และกัน เปิด โอกาสให้ทุกพื้น ที่ส ามารถจัด ตั้งและพัฒ นา คุณภาพสวัสดิการชุมชนอย่างทั่วถึง โดยสนับสนุนการพัฒนาความเข้มแข็งของกองทุนสวัสดิการชุมชนให้มี คุณภาพในการบริหารจัดการสามารถดูแลสมาชิกและผู้ด้อยโอกาสได้กว้างขวางทั่วถึง และพัฒนาสวัสดิการ ชุมชนให้มีความหลากหลายขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนให้มีการขยายผลครอบคลุม ทั่วประเทศ กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในชุมชนที่เป็นสมาชิกกองทุน กลไกการดําเนินงาน กลไกการดําเนินงานในการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน มีดังนี้ กลไกระดับชาติ คือ คณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาการจัดสวัสดิการชุมชน มีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน มีบทบาทในการให้ความเห็นชอบนโยบาย แผนงาน และแผนงบประมาณดําเนินงาน และกํากับดูแลการบริหารจัดการโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน กลไกระดับจังหวัด คือ คณะกรรมการสนับสนุนการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชน มีผู้ว่าราชการ จังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน มีบทบาทในการกําหนดแนวทาง/แผนงาน และสนับสนุนการดําเนินงาน ประสานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชนอย่าง บูร ณาการ พิจ ารณาให้ความเห็น ชอบคุณ สมบัติแ ละโครงการขององค์ กรสวัส ดิก ารชุ มชนที่เ สนอรับ การ สนับสนุน ตลอดจนจัดระบบการติดตามประเมินผล กลไกระดับตําบล คือ คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนตําบล ประกอบด้วยผู้ที่สมาชิก ของกองทุนสวัสดิการชุมชนแต่ละแห่งดําเนินการคัดสรรกันเอง มีบทบาทหน้าที่ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ ชุมชน จัดระบบบริหารจัดการ จัดสวัสดิการ เชื่อมประสานการทํางานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสนอ โครงการเพื่อการสนับสนุนงบประมาณตามโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนและรายงานผลการ ดําเนินงานต่อสมาชิกและสาธารณะ สถานะปัจจุบัน ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนขยายผลไปทั่วประเทศ รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น โดยมีนโยบายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ขยายผลการดําเนินงานส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชน ให้ครอบคลุม ชุมชนทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดระบบการช่วยเหลือดูแลสมาชิกในชุมชนกันเองตั้งแต่เกิดจนตาย โดยประชาชน ในชุมชนมีส่วนร่วมกันออมและบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน และรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณเป็นเงิน 727.3 ล้านบาท เพือ่ สมทบเข้ากองทุนสวัสดิการชุมชน ในอัตรา 1:1 จํานวน 5,100 กองทุนทั่วประเทศ พร้อม ทั้งประกาศเป็นนโยบายสําคัญเพื่อให้มีการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการชุมชนตามโครงการสนับสนุนการจัด สวัส ดิการชุมชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ตํา บลทั่ว ประเทศจํานวน 7,927 แห่ง ภายในปี 2555 ทั้งนี้กํา หนด จ่ายเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนชุดแรก ในวันที่ 11 มกราคม 2553 นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2553 กระทรวงมหาดไทยมีห นังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อแจ้งแนวทางการสนับ สนุน การดํา เนินงาน กองทุนสวัสดิการชุมชนของ อปท. โดย (1) สนับสนุนให้ประชาชนจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน (2) สนับสนุน
122
การพัฒนาการดําเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชน (3) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล และเมืองพัทยา สามารถสมทบทุนงบประมาณกองทุนสวัสดิการชุมชน ด้วยความเป็นอิสระและศักยภาพการคลัง และ (4) องค์ การบริห ารส่ ว นจัง หวัด สามารถอุ ด หนุ น งบประมาณให้ เ ทศบาล องค์ ก ารบริ ห ารส่ว นตํ า บล สมทบ งบประมาณกองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชนได้รับเงินสมทบจากรัฐแล้วจํานวน 2,048 กองทุน ปัจจุบันในปี 2553 มี กองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตําบล ที่ดําเนินการโดยชุมชนเป็นของชุมชน จํานวน 3,443 กองทุน สมาชิก ประมาณ 1.4 ล้านคน รวมเงินออมที่เป็นของชุมชน 790 ล้านบาท สมาชิกเข้าร่วมกองทุน 26,549 หมู่บ้าน และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้รับงบประมาณสมทบกองทุนฯ จํานวน 727.30 ล้านบาท ได้สมทบกองทุน สวัสดิการชุมชนที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ในอัตรา 1 บาท/คน/วัน หรือปีละ 365 บาท/คน จํานวน 2,048 กองทุน สมาชิกกองทุนทั้งหมด 1,199,654 คน ทั้งนี้ กองทุนสวัสดิการชุมชน ได้จัดสวัสดิการให้กับ สมาชิกและชุมชนอย่างหลากหลายที่มากกว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งกองทุนฯบางแห่ง ได้จัดสวัสดิการ กว่า 20 ประเภท ครอบคลุมเรื่อง กองทุนการศึกษา การพัฒนาอาชีพ กองทุนการกีฬา ผู้ประสบภัย แก้ปัญหาหนี้ นอกระบบ การแก้ปัญหาที่ดิน กองทุนต้นไม้ ฯลฯ ตารางที่ 64 กองทุนสวัสดิการชุมชน และการสมทบงบประมาณจากรัฐบาล ในปี 2553 กรุงเทพ ปริมณฑล ตะวันออก
รายการ
กลางบน/ ตะวันตก
1. กองทุนที่จัดตั้งแล้ว จํานวนกองทุน 373 625 จํานวนสมาชิก 119,877 205,180 จํานวนเงินกองทุน 152,694,358 127,987,409 จํานวนหมูบ่ ้าน 2,953 4,880 2. กองทุนที่ได้รับการสมทบ (365 บาท/คน/ปี) จํานวนกองทุน 193 342 จํานวนสมาชิก 125,927 136,049 ทั้งหมด เงินกองทุนทั้งหมด 85,959,806.35 140,010,467.68 จํานวนสมาชิก/กองทุน 652 406 จํานวนเงิน/กองทุน 931,522.54 255,728.76
เหนือ
ตะวันออก เฉียงเหนือ
ใต้
รวมหรือเฉลี่ย
733 357,941 148,236,450 5,486
1,093 370,459 172,116,163 9,398
619 370,459 189,693,934 3,832
3,443 1,446,262 790,728,314 26,549
360 217,883
747 423,146
406 296,649
2,048 1,199,654
179,783,850.38 605 238,777.24
87,459,236.94 566 245,513.45
183,398,544.65 730 344,853.37
676,611,906.0 585 330,376.90
ที่มา : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3.4.5 นโยบาย/โครงการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําในกลุ่มเด็ก 1)
โครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ
หลักการและวัตถุประสงค์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพ.ศ. 2550 ได้กําหนดให้มีการจัดการศึกษาขั้น พื้นฐานให้บุคคลไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่า งทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่า ย ซึ่งรัฐบาลชุด ปัจจุบันได้ เล็งเห็นความสําคัญของการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาเป็นพิเศษ จึงได้จัดทําโครงการเรียนฟรี เรียน ดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน15 ปี
123
ตั้ง แต่ชั้ น อนุบ าล1ถึ ง มั ธ ยมศึ กษาตอนปลายทั้ งประเภทสามั ญ ศึ กษาและประเภทอาชี ว ศึ ก ษาโดยไม่ เ สี ย ค่าใช้จ่าย วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ การลดภาระค่าใช้จ่ายเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน สร้างและขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและประชาชนทั่วไปอย่างทั่วถึง รวมทั้งให้ ผู้เรียนได้รับการศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่หลักสูตรกําหนดและมีคุณภาพสูงขึ้น โดยรั ฐ จะสนั บ สนุ น ค่าใช้จ่าย 5 รายการ ได้แก่ ค่าเล่าเรียนค่าหนังสือเรียนค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียนและค่า กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โครงการเริ่มดําเนินการตั้งแต่ภาคเรียนที่1ปีการศึกษา 2552 โดยใช้วิธีการ ประหยัดงบประมาณโปร่งใสมีปัญหาในทางปฏิบัติน้อยที่สุดและการมีส่วนร่วมของภาคี4ฝ่ายได้แก่ตัวแทนครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาในการตัดสินใจร่วมกันสําหรับการดําเนินการที่นอกเหนือจาก เกณฑ์มาตรฐานการจัดสรรที่กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดไว้ กลุ่มเป้าหมาย นักเรียน นักศึกษาในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1- มัธยมศึกษาตอน ปลาย ทั้งสายสามัญและอาชีวศึกษา กลไกการดําเนินงาน (1) การจั ด สรรงบประมาณในโครงการเรี ย นฟรี 15 ปี จะจั ด สรรให้ ส ถานศึ ก ษาในสั ง กั ด กระทรวงศึกษาธิการและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สํานักงานส่งเสริม การศึกษาเอกชน และสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียน หน่ ว ยงานนอกสั ง กั ด กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ได้ แ ก่ สถาบั น บั ณ ฑิ ต ย์ พั ฒ นศิ ล ป์ สํา นักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และ กองบัญชาการตํารวจตระเวนชายแดน (2) อัต ราเงินอุด หนุน ค่า ใช้จ่า ยต่อหัวตามมติคณะรัฐ มนตรีวัน ที่ 21 พฤศจิกายน 2549 และ ค่าใช้จ่ายตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ได้แก่ ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียนและค่า กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 มกราคม 2552 ตารางที่ 65 อัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัว ตามระดับการศึกษา ระดับการศึกษา ก. ในระบบ ร.ร. 1. ก่อนประถมฯ 2. ประถมศึกษา 3. ม. ต้น 4. ม. ปลาย
รวมอัตรา ค่าเล่าเรียน/ อุดหนุนรายหัว อุดหนุนราย หัว 2,830 3,563 5,919
1,700 1,900 3,500
ค่า หนังสือ เรียน
ค่า อุปกรณ์ การเรียน
200 433 669
200 390 420
หน่วย : บาทต่อคนต่อปี ค่า ค่ากิจกรรม เครื่องแบบ พัฒนาคุณภาพ นักเรียน ผู้เรียน 300 360 450
430 480 880
124
ระดับการศึกษา
รวมอัตรา ค่าเล่าเรียน/ อุดหนุนรายหัว อุดหนุนราย หัว 6,607 3,800
ค่า หนังสือ เรียน 897
ค่า อุปกรณ์ การเรียน 460
4.1 สามัญศึกษา 4.2 อาชีวศึกษา 4.2.1 ช่างอุตสาหกรรม 10,810 6,500 2,000 460 4.2.2 พาณิชยกรรม 9,210 4,900 2,000 460 4.2.3 คหกรรม 9,810 5,500 2,000 460 4.2.4 ศิลปกรรม 10,510 6,200 2,000 460 4.2.5 เกษตรกรรม 1) ทั่วไป 10,210 5,900 2,000 460 2) ปฏิรูป 16,210 11,900 2,000 460 ข. นอกระบบ ร.ร. 1. ประถมศึกษา 1,960 1,100 580 2. ม. ต้น 3,240 2,300 720 3. ม. ปลาย 3.1 สามัญศึกษา 3,680 2,300 800 3.2 อาชีวศึกษา 6,300 4,240 1,000 ที่มา : การนํานโยบายสู่การปฏิบัติ : เรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ, สกนธ์ ชุมทัพ
ค่า เครื่องแบบ นักเรียน 500
ค่ากิจกรรม พัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน 950
900 900 900 900
950 950 950 950
900 900
950 950
-
280 580
-
580 1,060
สถานะปัจจุบัน ผลการดําเนินงานปัจจุบันรัฐได้จัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาทุกสังกัดรวมทั้งประเทศ จํานวน 19,296.097 ล้านบาท เริ่มดําเนินการตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 มีนักเรียนได้รับประโยชน์จํานวน 12,471,611 คน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการจํานวน 11,884,236 คน นอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจํานวน 590,375 คน และในปี 2553 มีนั กเรี ย นได้ รั บ ประโยชน์ 12,480,473 คน สัง กัด กระทรวงศึ กษาธิก าร 11,741,541 คน นอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 738,932 คน ซึ่งในปี 2554 ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพของ โครงการโดยกําหนดให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ได้หนังสือ ฟรี โดยไม่ต้องยืมเรียน รวมทั้งรัฐบาลได้ผลักดันงบประมาณปี 2554 เพิ่มเป็น 80,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ได้ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส เด็กชายขอบและอื่นๆให้มีโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง โดยจัดให้มีโครงการเด็กพิการเรียนฟรีตั้งแต่ชั้นก่อนประถมศึกษาจนถึงปริญญาตรี เพิ่มจํานวนนักเรียนพิการ ขั้นพื้นฐานในสังกัดสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สพฐ.) จาก 19,914 คน เป็น 20,981 คน เรียนต่อระดับ ปริญญาตรีสูงขึ้น เป็น 4,562 คน มีโรงเรียนเรียนร่วม 15,530 โรง จํานวนนักเรียน 189,437 คน งบประมาณ ในปี 2553 ทั้งหมด 1,496,480,100 บาท การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลือ่ มล้ํา การศึกษาถือเป็นนโยบายระยะยาวที่ใช้แก้ไขปัญหาความยากจน จากการคํานวณเส้นความยากจน โดยประมวลผลข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พบว่า ประชากรมีระดับการศึกษาสูง จะตกเป็นคนจน น้อยกว่าประชากรที่มีการศึกษาต่ํา ในปี 2553 ผู้ไม่เคยเรียนหนังสือ ตกเป็นคนจนถึงร้อยละ 20.76 ขณะที่ผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ตกเป็นคนจนเพียงร้อยละ 0.09
125
ตารางที่ 66 สัดส่วนคนจนตามระดับการศึกษา ไม่เคยเรียน ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมต้น มัธยมปลาย อนุปริญญา ปริญญาตรี การศึกษาอื่นๆ ไม่ทราบระดับการศึกษา รวม
ปี 2549 26.48 14.61 11.32 5.88 2.03 0.51 0.06 14.97 6.64 9.39
ปี 2550 24.60 12.16 10.14 5.24 2.03 0.68 0.08 33.68 1.10 8.37
ปี 2551 26.04 11.15 10.88 6.24 2.57 0.49 0.12 36.41 0.81 8.86
ปี 2552 22.03 11.17 9.75 6.36 2.76 0.63 0.34 29.46 8.01
ปี 2553 20.76 11.59 9.47 5.63 2.71 0.83 0.09 51.36 7.61
ที่มา: สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม ประมวลผลจากข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน
ปัญหาและอุปสรรค
ผู้ปกครองยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี เรียนดีอย่างมีคุณภาพ
ผู้ปกครองที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ไม่สะดวกในการจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนเองเนื่องจากมีปัญหา ในการเดินทาง และเรื่องใบเสร็จรับเงิน หนังสือเรียนควรจัดสรรให้ฟรีทุกระดับ โดยไม่ต้องคืนเพราะนักเรียนต้องใช้ศึกษาสําหรับการ เตรียมตัวสอบในระดับชั้นต่อไป 2)
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพือ่ การศึกษา (กยศ.)
หลักการและวัตถุประสงค์ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28มีนาคม พ.ศ. 2538ในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491โดยได้เริ่ม ดําเนินการให้กู้ยืมครั้งแรกในปีการศึกษา 2539ต่อมารัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในการกํากับดูแล ของกระทรวงการคลัง กยศ. มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เงินกู้ยืมแก่นักเรียนนักศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญ และสายอาชีวศึกษา)และระดับอุดมศึกษา ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับ การศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จําเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา เพื่อได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงช่วย แบ่งเบาภาระด้านการเงินของผู้ปกครองและเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติโดยรวมโดยมุ่งหวังว่าผู้ กู้ยืมจะสามารถเล่าเรียนได้จนสําเร็จตามหลักสูตรมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมรวมถึงมีจิตสํานึกใน การชําระหนี้คืนเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับรุ่นน้องต่อไป กลุ่มเป้าหมาย นั ก ศึ ก ษาในระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลายสายสามั ญ และอาชี ว ศึ ก ษาและระดั บ อุ ด มศึ ก ษา โดย คุณสมบัติที่สําคัญของผู้กู้คือ เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์โดยครอบครัวมีรายได้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี ผล การเรียนผ่านเกณฑ์ของสถานศึกษาและเป็นผู้มีความประพฤติดี เป็นต้น
126
กลไกการดําเนินงาน กยศ. มีคณะกรรมการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน โดยจะ ทําหน้าที่พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้คณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่หนึ่ง34 และคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่ สอง 35 ซึ่ ง คณะอนุ ก รรมการทั้ ง สองคณะจะพิ จ ารณาจั ด สรรให้ กั บ สํ า นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาและ สถาบันการศึกษาต่อไปส่วนสถานศึกษาจะพิจารณาให้กู้ยืมเป็นรายปี จํานวนนักศึกษาที่จะได้รับเงินกู้ขึ้นกับ วงเงิน กู้ยืมที่ส ถานศึกษาได้รับ จัด สรร โดยเงิน กู้ยืมที่จ่า ยเข้า บัญ ชีของสถานศึกษาได้แก่ ค่า เล่า เรีย นและ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ส่วนเงินที่จ่ายเข้าบัญชีของนักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมได้แก่ ค่าครองชีพ (ค่าที่ พักและค่าใช้จ่ายส่วนตัว)และผู้กู้ยืมจะต้องชําระเงินกู้คืนพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี หลังจากสําเร็จการศึกษาหรือเลิกศึกษามาแล้ว 2 ปี สถานะปัจจุบัน ปัจจุบัน มีจํานวนนักเรียน นักศึกษากู้ยืมสะสมตั้งแต่ปี 2539 – มีน าคม 2553จํา นวนทั้งสิ้น 3,475,458 ราย ได้รับงบประมาณตั้งแต่เริ่มดําเนินการจนถึงปีงบประมาณ 2553 จํานวนทั้งสิ้น 339,036 ล้าน บาท แบ่งเป็นผู้กู้เพื่อศึกษาในระดับปริญญาตรีกว่าร้อยละ 50 และวงเงินกู้คิดเป็นร้อยละประมาณ 73 ของ วงเงินกู้ทั้งหมด เนื่องจากการศึกษาระดับปริญญาตรีมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้เมื่อ วันที่ 28 ม.ค. 2552 ครม. ได้อนุมัติแนวทางการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้ยืมเพื่อการศึกษา ดังนี้คือ 1) กําหนดเป้าหมายการกู้ในปี 2552 โดยใช้มาตรการการเงินสนับสนุนให้ผู้เรียนสายสามัญกับสาย อาชีพ 2) สนับสนุนให้นักศึกษาระดับ ปวส./ปวท. และปริญญาตรีเข้าศึกษาในสาขาที่ขาดแคลน และ 3) สนับสนุนให้นักศึกษาที่ไม่มีโอกาสกู้เงิน กยศ. ในปีแรกของการศึกษามีโอกาสกู้เงิน กยศ.ในปีต่อไปจนสําเร็จ การศึกษา ทุกระดับการศึกษา การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ํา ในปี 2553นักเรียน/นักศึกษายากจนที่เข้ารับการศึกษาตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลายถึงปริญญาตรีมี การกู้ยืมเพื่อการศึกษาเพียง3,812คนคิดเป็นร้อยละ 1.83ของนักเรียน/นักศึกษาที่ยากจนเข้ารับการศึกษา ตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลายถึงปริญญาตรีทั้งหมด ขณะที่นักเรียนยากจนที่ไม่ได้กู้มีจํานวนถึง 204,134 คน ตารางที่ 67 นักเรียน/นักศึกษายากจนที่เข้ารับการศึกษาตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลายถึงปริญญาตรี นักเรียน/นักศึกษายากจนที่เข้ารับการศึกษา ตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลายถึงปริญญาตรี ไม่กู้ยืม กู้ยืม รวม
2549
2550
2551
2552
2553
131,214 1,666 132,880
140,975 630 141,605
173,910 3,763 177,673
211,062 4,371 215,433
204,134 3,812 207,946
ปัญหาและอุปสรรค
34
รับผิดชอบจัดสรรเงินให้นักเรียน นักศึกษาในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสํา นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน สํานักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาและหน่วยงานอื่นยกเว้นนักเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 35 รับผิดชอบจัดสรรเงินให้นักเรียน นักศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับอุดมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
127
ความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระดับอุดมศึกษา ซึ่งอาจกระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนฯ นอกจากนี้ปัจจุบันยังเป็นจัดสรรเงินกู้ให้ผู้เรียนที่มคี วามจําเป็นทางการเงินแต่ยังไม่สอดคล้องสาขาขาดแคลนที่ จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ 3)
โครงการอาหารกลางวันของนักเรียน
หลักการและวัตถุประสงค์ โครงการอาหารกลางวั น เกิ ด ขึ้ น จากความตระหนั ก ของรั ฐ บาลที่ ต้ อ งการแก้ ไ ขปั ญ หาภาวะทุ พ โภชนาการในเด็กประถมศึกษา ซึ่งภาวะดังกล่าวทําให้การเจริญเติบโตของเด็กทั้งร่างกายและสติปัญหาไม่ เป็นไปตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ในระยะแรกกระทรวงศึกษาธิการได้จัดอาหารกลางวันให้นักเรียน ในสังกัด แต่ขาดงบประมาณในการดําเนินการจึงไม่สามารถจัดอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ใน ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. 2535 โดยจัดสรรงบประมาณให้จนครบ จํานวน 6,000 ล้านบาท และนําดอกผลไปใช้จ่ายโดยมีเป้าหมายคือ เด็กขาดสารอาหารและเด็กยากจนจํานวนร้อยละ 30 ของเด็กในแต่ละสถานศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลในขณะนั้นได้กําหนดเป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาลในการส่งเสริมให้ นั ก เรี ย นทุ ก คนได้ รั บ ประทานอาหารกลางวั น ทุ ก วั น และตั้ ง แต่ ปี ง บประมาณ 2544 เป็ น ต้ น มา กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารได้ ถ่ า ยโอนงบประมาณค่ า อาหารกลางวั น ให้ ก ระทรวงมหาดไทยดํ า เนิ น การ ตาม พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดตั้งและจัดสรรงบประมาณเองตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองเรื่องอาหารกลางวันของนักเรียน และเพื่อจัดอาหารกลางวันที่มีปริมาณและคุณค่าทางโภชนาการ ให้นักเรียนให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มี น้ําหนักและส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา ถึงประถมศึกษาปีที่ 6โดยโรงเรียนขนาดเล็ก(เด็กน้อยกว่า 120 คน) และโรงเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับจัดสรรครบ 100 % แต่โรงเรียนที่มีเด็กมากกว่า 120 คนได้รับ จัดสรรประมาณร้อยละ 85 ของนักเรียน กลไกการดําเนินงาน รัฐบาลจัดสรรเงินให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป และกรม จะโอนเงินให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรให้โรงเรียนต่อไป จากนโยบายของรั ฐบาลที่ต้องการให้เด็กทุกคนได้รับ ประทานอาหารกลางวันทุกคน แต่ เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะนําเงินอื่นมาสมทบให้กับโรงเรียนในสังกัด อปท. ขณะที่ โ รงเรี ย นในสั ง กั ด กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารและสั ง กั ด อื่ น ที่ ยั ง มี ปั ญ หาเด็ ก ขาดแคลนสารอาหาร คณะกรรมการกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางจะพิจารณานํารายได้จากดอกผลของกองทุนสมทบให้ ผลการดําเนินงาน
128
การจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าอาหารกลางวันแก่เด็ก ได้มีการปรับปรุงอัตราและหลักเกณฑ์ การจัดสรรมาโดยลําดับ จากอัตราคนละ 6 บาท ในปี2542 เพิ่มเป็น 10 บาทในปี 2549 และ 13 บาท ในปี 2552จํานวนเด็กที่ได้รับจัดสรรเพิ่มจากร้อยละ 30 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 85 ในปัจจุบัน โดยจํานวนเด็กที่ ได้รับประโยชน์เพิ่มจาก 2,639,595 คน ในปี 2542 เป็น 6,083,013 คน ในปี 2553 และในปี 2554 กําหนด เป้าหมายไว้ที่ 6,218,800 คน ตารางที่ 68 การจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าอาหารกลางวันแก่เด็ก ปี
อัตราจัดสรร (ร้อยละ)
2542 2549 2550 2551 2552 2553 2554
6 10 10 10 13 13 13
จํานวนวัน 200 200 200 200 200 200 200
ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับ ประโยชน์ 30 40 50 60 60 60 85
จํานวนนักเรียน (คน) 2,139,994 2,639,595 2,571,972 5,960,358 4,717,378 6,083,013 6,218,800
ที่มา กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ปัญหาและอุปสรรค การจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าอาหารกลางวันให้นักเรียนยังไม่สามารถจัดได้ครบ100%ตามโนย บายของรัฐบาล ทําให้ท้องถิ่นต้องจัดหางบประมาณเพิ่มเติมเอง หากไม่สามารถดําเนินการได้ก็ต้องใช้การเฉลี่ย งบให้ทั่วถึง ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณอาหารที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของเด็กและอาจส่งผลต่อ สุขภาพของเด็กได้ 3.4.6 นโยบาย/โครงการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําด้านที่อยู่อาศัย 1)
โครงการบ้านมั่นคง
หลักการและวัตถุประสงค์ หลักการสํา คัญ โครงการบ้า นมั่น คง เป็น การดํา เนิน การโดยองค์กรชุมชน โครงการบ้านมั่น คงจะ ดําเนินการ โดยใช้การบริหารการเงินแทนการบริหารโครงการก่อนสร้างแบบเดิมที่รัฐเป็นผู้ดําเนินการให้ โดย รัฐจะอุดหนุนงบประมาณค่าพัฒนาระบบ -สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อมถึงชุมชนโดยตรง ทําให้ชุมชนเป็น ตัวตั้งในการดําเนินกระบวนการทุกขั้นตอนสามารถคิด วางแผน และจัดการได้อย่างเต็มที่ โดยมีหน่วยงาน ท้องถิ่นและมหาวิทยาลัยเป็นผู้ช่วยสนับสนุน ตามแนวทางใหม่นี้ ชาวบ้านจะเปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้รับ ประโยชน์” หรือ “ผู้ขอรับความช่วยเหลือ” เป็น “เจ้าของโครงการ” ร่วมกันทั้งชุมชนและใช้กระบวนการบ้าน มั่นคงเป็นกระบวนการพัฒนาที่จะเปลี่ยนสภาพ วิธีคิด สถานภาพและความสัมพันธ์ของชุมชนกับสังคมให้ดีขึ้น เป็นการสร้างความมั่นคงในการครอบครองที่ดิน เนื่องจากความมั่นคงในการถือครองที่ดินจะเป็น พื้นฐานให้เกิดการสร้างชุมชนที่มั่นคง ยั่งยืน โดยเน้นที่ดินของรัฐที่ดินของเอกชนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ รวมทั้ง การหาที่ดินใหม่ในกรณีที่จะต้องมีการรื้อย้ายอันจะนําไปสู่การกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรม เช่น การ ซื้อที่ดิน การเช่า ระยะยาว เป็น ต้ น โดยเน้น สิทธิร่ ว มกัน ของชุมชนในการอยู่ อาศัย ตลอดจนการปรับ แก้ กฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น
129
บ้านมั่นคงมิใช่เป็นเพียงการสร้างที่อยู่อาศัยที่มั่นคงเท่านั้น แต่จะเน้นการสร้างชุมชนที่มั่นคง เข้มแข็ง เป็นกระบวนการที่นําไปสู่การสร้างความมั่นคงของชีวิตด้านสังคมและเศรษฐกิจ เป็นสังคมที่มีความเอื้ออาทร ต่อกัน มีความสัมพัน ธ์ต่อกัน และมีการจัดการร่วมกัน เป็น การพัฒ นาโครงการที่มั่น คงทางด้า นสังคมและ เศรษฐกิจ สภาพกายภาพที่สวยงาม มีศักดิ์ศรี และการจัดการไปพร้อมๆ กัน บ้า นมั่ น คงจะเน้น การแก้ปั ญ หาร่ว มกั น ทั้ง เมื อ ง โดยมุ่ ง ให้ เ กิ ด แนวทางและแผนการแก้ ปั ญ หาที่ ครอบคลุมทุกชุมชนที่ไม่มีความมั่นคงในเมือง สนับสนุนให้เกิดกลไกการพัฒนาเมืองร่วมกัน โดยชุมชนเป็น แกนหลัก ร่วมกับภาคีต่างๆ เช่น หน่วยงานท้องถิ่น เทศบาล สถาบันการศึกษา ผังเมือง นักพัฒนาเอกชน ฯลฯ เพื่อร่วมกันวางแผนและจัดกระบวนการพัฒนาเมืองควบคู่กันไป โครงการบ้านมั่นคง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตในการอยู่อาศัยของคนจนในเมือง โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยในชุมชนแอดอัดและชุมชนบุกรุกและพัฒนาชุมชนแออัดให้เป็นชุมชนน่าอยู่ที่มีความ มั่นคงในการอยู่อาศัย ชาวชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นกระบวนการเพื่อสร้างความพร้อม ความสามารถให้ องค์กรท้องถิ่น องค์กรชุมชน สถาบันการศึกษา และองค์กรพัฒนาอื่นๆ ในการร่วมกันจัดการแก้ไขปัญหาคน จนและที่อยู่ในท้องถิ่นร่วมกัน กลุ่มเป้าหมาย คนจนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดและชุมชนบุกรุกในเขตเมือง กลไกการดําเนินงาน ขบวนการองค์กรชุมชน องค์กรชุมชนทั้งระดับชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน จะเป็นกลไกหลักใน การทํางานและการจัดการ ทั้งนี้เพราะชุมชนเป็นเจ้าของปัญหาและรู้ความต้องการของตนเอง และมีพลังอย่าง หลากหลาย เช่น การออมทรัพย์ ช่างชุมชน เป็นต้น คณะกรรมการโครงการบ้านมั่นคงระดับเมือง เป็นกลไกที่เห็นภาพรวมของการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย ทั้งเมือง มีองค์ประกอบของชุมชนที่ประสบปัญหาหน่วยงานท้องถิ่น เทศบาล เจ้าของที่ดิน สถาบันการศึกษา มี บทบาทในการกําหนดทิศทาง วางแผน เพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยทั้งเมือง สนับสนุนการทํางานขององค์กรงชุมชน เพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและเมือง เป็นกลไกกลางในการประสานงานเพื่อการพัฒนา แก้ไขปัญหา และประสาน หน่วยงานอื่นๆ เพื่อสนับสนุนองค์กรชุมชน ภาพที่ 44 ความสัมพันธ์ของกลไกการดําเนินโครงการบ้านมั่นคง
130
ภาพที่ 45 รูปแบบการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนผู้มีรายได้น้อยทั้งเมือง
ภาพที่ 46 ระบบความสัมพันธ์ของงานพื้นที่และงานบ้านมั่นคงภาค โดยให้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (area base)
หลักเกณฑ์และกระบวนการเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง (1) เกณฑ์การพิจารณาผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นผู้อยู่อาศัย ที่มีบ้านของตนเอง ผู้อาศัย หรือบ้านเช่าที่อาศัยอยู่จริง ในชุมชนที่ไม่มีความมั่นคงในที่ดิน ชุมชนบุกรุก ชุมชนที่ประสบปัญหาการไล่ที่ ชุมชนที่เช่าระยะสั้น ทั้งที่ดินรัฐและที่ดินเอกชน รวมถึง กลุ่มบุกรุกขนาดเล็กที่กระจัดกระจายในเมือง
131
กรณีกลุ่มบ้านเช่า ต้องเป็นผู้อยู่อาศัยจริงและมีระยะเวลาการอยู่อาศัยในชุมชน ต่อเนื่องไม่ต่ํา กว่า 5 ปี ยกเว้น ผู้เ ช่า ที่มีเ หตุจํา เป็นต้องย้า ยออกจากชุมชนแต่อยู่ ในพื้นที่ ใกล้เ คีย งกัน ให้ คณะกรรมการชุมชน พิจารณาเป็นกรณีๆ ไปตามความเดือดร้อน กรณีกลุ่มบุกรุกขนาดเล็กที่กระจัดกระจาย หรือ ผู้จดทะเบียนปัญหาสังคมและ ความยากจนฯ ต้องมีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนดของผู้มีสิทธิในการจองซื้อบ้านเอื้ออาทร กรณี ชุ ม ชนที่ อ ยู่ ใ นที่ ดิ น ของตนเอง ให้ พิ จ ารณาเป็ น กรณี ๆ ไปตามความ
เดือดร้อน
(2) เกณฑ์การพิจารณาสิทธิ์ในโครงการบ้านมั่นคง การพิจารณาสิทธิ์ให้บ้านละ 1 สิทธิ์ กรณีบ้านที่มีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 5 คนขึ้นไป และมีความแออัด สามารถพิจารณาให้สิทธิ์เพิ่มได้ไม่เกิน 1 สิทธิ์ การพิจารณาเพิ่มสิทธิ์ให้กับบ้านที่อยู่อาศัยกันอย่างแออัด ให้พิจารณาเรื่องรายได้รายจ่ายประกอบด้วย โดย บ้านที่ได้รับสิทธิเพิ่มต้องเป็นครอบครัวที่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายได้ และการได้สิทธิ์เพิ่มจะไม่ส่งผลให้พ่อแม่ หรือผู้สูงอายุในบ้านต้องถูกทอดทิ้ง กรณีกลุ่มบ้านเช่า ต้องเป็นผู้อาศัยอยู่จริง และมีระยะเวลาการอยู่อาศัยใน ชุมชนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกเว้นผู้เช่าที่ย้ายที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน ให้คณะกรรมการชุมชนพิจารณาเป็น กรณี ๆ ไป แต่อย่างไรก็ตาม ผู้จะได้สิทธิไม่ควรอาศัยอยู่ในชุมชนต่ํากว่า 2 ปี บ้านหลังหนึ่งสามารถรับสิทธิ์ได้ เพียงโครงการเดียว กรณีการย้ายไปสร้างชุมชนในที่ดินใหม่ หากเป็นเจ้าของบ้านเช่า แต่เจ้าของบ้านไม่ได้อยู่ อาศัยจริงในชุมชน และต้องการที่ดินในชุมชนใหม่เพื่อประโยชน์ในการสร้างรายได้ มิใช่เพื่อการอยู่อาศัยจริง ของตนเองและบุตรหลาน ไม่สามารถให้สิทธิได้ กรณีย้ายไปสร้างชุมชนใหม่ ผู้ได้รับสิทธิต้องมีแผนการเข้าอยู่ อาศัย หรือปลูกสร้างบ้านในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี กรณีบางครอบครัวต้องประสบปัญหาครอบครัว ไม่สามารถ จ่ายค่าที่อยู่อาศัยได้ชุมชนอาจพิจารณาให้ครอบครัวนั้น ๆ แก้ปัญหาโดยการแบ่งห้องให้เช่า (3)
หลักเกณฑ์การสนับสนุนงบอุดหนุนให้เปล่า โครงการบ้านมั่นคงไทยเข้มแข็ง 2553 งบอุดหนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัย 25,000 บาท
งบพั ฒ นาระบบสาธารณู ป โภคชุ ม ชน ปรั บ ปรุ ง ในที่ ดิ น เดิ ม 30,000 บาท ปรับปรุงในที่ดินใหม่ 50,000 บาท งบบริห ารจัดการปรับ ปรุงชุมชน คํา นวณจากงบพัฒ นาระบบสาธารณูป โภค ชุมชน ร้อยละ 5 โดยมีเกณฑ์ขั้นต่ําไม่ต่ํากว่า 50,000 บาท และไม่เกิน 500,000 บาท 2,000 บาท
งบบริหารจัดการการพัฒนากระบวนเมือง 8,000 และกันงบสํารองบางส่ว น
ขั้นตอนและกลไกการดําเนินงาน (1) ชุมชนทําการสํารวจข้อมูลครัวเรือนผู้เดือดร้อนในชุมชน รวมถึงกลุ่มบุกรุกชุมชน จั ด ทํ า เกณฑ์ ก ารพิ จ ารณาผู้ เ ข้ า ร่ ว มโครงการและเกณฑ์ ก ารพิ จ ารณาสิ ท ธิ์ เ สนอให้ เ ครื อ ข่ า ย และหรื อ คณะกรรมการเมืองให้ความเห็นชอบ (2) จัดประชุมสมาชิกในชุมชน เพื่อตรวจสอบ และให้การรับรองผู้เดือดร้อนและรับรอง การพิจารณาสิทธิ์ของชุมชน โดยเครือข่ายหรือขบวนชุมชนมีส่วนร่วมด้วย
132
(3) ชุมชนเสนอหลักเกณฑ์ รายชื่อผู้เดือดร้อนและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เครือข่าย องค์กรชุมชนในเมืองนั้น ๆ หรือคณะกรรมการเมืองรับรองผู้เดือดร้อนและรับรองการพิจารณาสิทธิ์ของชุมชน (4) จัดประชุมสมาชิก เพื่อร่วมกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์หรือสหกรณ์ ดําเนินกิจกรรม ออมทรัพย์ การสร้างความเข้าใจร่วมกันของสมาชิก และทําความตกลงร่วมกันเรื่องแนวทางการปรับปรุงหรือ พัฒนาชุมชน ออกแบบวางผังชุมชนใหม่ และแบบบ้าน (5) นําเสนอโครงการตามขั้นตอนในระดับภาค อาทิ นําเสนอต่อเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาค คณะทํางานโครงการบ้านมั่นคงภาค (ตามคําสั่งของ พอช.) และคณะทํางานพิจารณากลั่นกรองสินเชื่อ บ้านมั่นคงไทยเข้มแข็ง (6) นําเสนอโครงการที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองตามข้อ 7) แล้ว ต่อคณะอนุกรรมการ โครงการบ้านมั่นคงไทยเข้มแข็งเพื่อพิจารณาอนุมัติ (7)
จัดระบบการบริห ารจัดการงบประมาณ และการบริหารจัด การงานก่อสร้างเพื่อ
ดําเนินโครงการ สถานะปัจจุบัน ในปี 2553รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณวงเงิน 3,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้กับสหกรณ์หรือ กลุ่ มออมทรัพย์ที่ เป็นกลไกหลักในการดํ าเนินโครงการของชุ มชน มี เ ป้ า หมายการสนั บ สนุ น รวม 11,000 ครัวเรือน ได้อนุมัติงบประมาณในการสนับสนุนการพัฒนากระบวนการในเมือง 73 จังหวัด 277 เมือง/เขต 191 โครงการ จํานวนเงินรวม 141.79 ล้านบาท ได้ให้การสนับสนุนพัฒนาครอบคลุม 71 จังหวัด 274 เมือง/ เขต 858 โครงการ 1,546 ชุมชน ผู้รับประโยชน์ 90,813 ครัวเรือน งบสนับสนุนสาธารณูปโภคจํานวนเงิน 2,887.98 ล้านบาท งบบริหารจัดการการปรับปรุงชุมชนจํานวน 116.58 ล้านบาท
133
2)
โครงการบ้านเอื้ออาทร
หลักการและวัตถุประสงค์ รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสําคัญ และความจําเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในการอยู่ อาศัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และยกระดับคุณภาพชี ณภาพชีวิต ให้แก่ผู้ด้อยโอกาสกลุ่มผู้มีรายได้น้อย จึงได้ มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงการคลัง ร่วมดําเนินการแก้ไข ปัญหาดังกล่าว โดยให้การเคหะแห่งชาติจัด สร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ด้อยโอกาสกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมถึง ข้า ราชการชั้น ผู้น้อย และพนักงานหน่ว ยงานของรั ฐ เพื่อให้ได้เ ช่า ซื้อที่อยู่อาศัย เป็น ของตนเองในราคาที่ สามารถรับภาระได้ วัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานโดยได้จัดสร้างที่อยู่อาศัยให้กับ ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง รวมถึงข้าราชการชั้นผูน้น้ อ้ ยและพนักงานหน่วยงานราชการ กลุ่มเป้าหมาย ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง รวมถึงข้าราชการชั้นผู้น้อยและพนักงานหน่วยงานราชการ กลไกดําเนินงาน การเคหะแห่งชาติจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยให้สินเชื่อผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ หลักเกณฑ์ในคั ในคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
134
(1)
คุณสมบัติ : หลักฐาน : เงื่อนไข ของผู้จองสิทธิตามเกณฑ์ของการเคหะแห่งชาติ
(2)
มีสัญชาติไทย บรรลุนิติภาวะและไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(3)
มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 30,000 บาท/เดือน
(4)
ไม่มีบ้านพร้อมที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง
(5) ไม่เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับการเคหะแห่งชาติ และหากเป็นคู่สัญญาเช่าจะต้องคืนอาคารเช่า เมื่อได้สิทธิเช่าซื้อบ้านเอื้ออาทร (6) จองสิทธิได้
ผู้ที่เคยได้สิทธิเช่าซื้ออาคารของการเคหะแห่งชาติ และโอนสิทธินั้นให้ผู้อื่นไปแล้ว ไม่สามารถ
(7) ต้องมีภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัดที่ตั้งโครงการอย่างน้อย 6 เดือน หากมีภูมิลําเนาอยู่ต่างถิ่นต้องมี หลักฐานแสดงว่าประกอบอาชีพอยู่ในจังหวัดหรือพื้นที่ที่ตั้งโครงการอย่างน้อย 6 เดือน (8) ผู้ที่ประสบปัญหาเดือดร้อนจากกรณีถูกไฟไหม้ หรือถูกไล่ที่ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี จะ พิจารณาให้สิทธิไม่เกินร้อยละ 20 ของแต่ละโครงการ (9) ทุกโครงการ
ให้สิทธิจองอาคารได้ครอบครัวละ 1 หน่วยและ 1 โครงการเท่านั้น หากจองเกินจะถูกตัดสิทธิ
(10)
สามารถรับภาระและเงื่อนไขการเช่าซื้อได้โดยผ่านเกณฑ์การพิจารณาจากการเคหะแห่งชาติ
(11)
ห้ามการโอนสิทธิเช่าซื้อภายในระยะเวลา 5 ปี
(12) ห้ามนําอาคารไปให้บุคคลอื่นอยู่อาศัยหรือเช่าช่วง หรือหากตรวจสอบพบภายหลังมีการแจ้ง คุณสมบัติที่เป็นเท็จจะถูกบอกเลิกสัญญา และริบเงินที่ชําระไว้แล้วทั้งหมด สถานะปัจจุบัน โครงการบ้านเอื้ออาทรมีเป้าหมายการดําเนินงานครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ตามมติคณะรัฐ มนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2552 จํานวน 281,556 หน่วย ซึ่งมีผลการดําเนินงานตั้งแต่ ปี 2546 จนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ประกอบด้วย โครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 250 โครงการ จํานวน 240,186 หน่วย อยู่ ระหว่างก่อสร้าง 56 โครงการ จํานวน 40,983 หน่วย อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง 1 โครงการ จํานวน 356 หน่วย และอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับหน่วยดําเนินการเพิ่มบางโครงการตาม Active Demand อีกจํานวน 31 หน่วย โดยได้ส่งมอบอาคารให้แก่ผู้พักอาศัยแล้ว จํานวน 174,545 หน่วย 3.4.7 นโยบาย/โครงการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําด้านสวัสดิการสุขภาพ 1)
โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
หลักการและวัตถุประสงค์ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลกับ ประชาชนในปี 2545–2552 พบว่า ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพครอบคลุมร้อยละ 99.47 และคาดว่าปี 2554 หลักประกันจะครอบคลุมประชากร จํานวน 47.99 ล้านคน
135
สถานะปัจจุบัน การดําเนินงานที่ผ่านมา พบว่า ก่อนมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประชาชนมีหลักประกัน สุขภาพเพียงร้อยละ 78.2 แต่หลังจากมีการดําเนินการโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2545 – 2552 พบว่า ประชาชนมี หลักประกันสุขภาพครอบคลุมถึงร้อยละ 99.47 โดยปี 2554 ครอบคลุมประชากร จํานวน 47.99 ล้านคน อัตราเหมาจ่ายรายหัว 2,546.48 บาท งบประมาณเป็นเงิน 129,280.89 ล้านบาท ทั้งนี้มีการขยายสิทธิ ประโยชน์เพิ่มเติมทั้งบริการสุขภาพผู้ป่วย HIV/AIDS บริการทดแทนไตสําหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย บริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง) และบริการสุขภาพผู้ป่วยจิตเวช รวมทั้งการขยายสิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมคนไร้สัญชาติ เฉพาะที่เกิดในประเทศไทยแต่ยังไม่ สามารถพิ สูจ น์ สัญ ชาติ ได้ แ ละอาศั ย อยู่ ใ นประเทศไทยเป็น เวลานาน จํ า นวนประมาณ 457,000สํ า หรั บ โรงพยาบาลตามแนวชายแดน 172 แห่ง การใช้บัตรประจํา ตัว ประชาชนแทนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าในการเข้ารับบริการในสถานบริการ สาธารณสุขทุกระดับและหน่วยบริการสาธารณสุขที่เข้า ร่ว มโครงการทั่ว ประเทศ เมื่อวันที่ 1 ตุล าคม 2553 โรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่เพื่อคนไทยสุขภาพดี มีรอยยิ้ม(โรงพยาบาล 3 ดี) เป็นการพัฒนาการบริหาร จัดการภายในโรงพยาบาลให้มีคุณภาพ ในด้านกายภาพ (Structure) มีสภาพแวดล้อมดี บรรยากาศดีด้านการ บริการ (Service)พัฒนาระบบบริการลดการรอนาน ให้บริการที่รวดเร็ว และด้านการบริหารดี (System)เปิด ให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 12 สิงหาคม 2553 ตารางที่ 69 แสดงความครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพ ระหว่างปี พ.ศ. 2550–2553 ประเภท
ปี 2550
ปี 2551
จํานวน(คน) ร้อยละ
ปี 2552
ปี 2553
จํานวน(คน)
ร้อยละ
จํานวน(คน)
ร้อยละ
จํานวน(คน)
ร้อยละ
สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า
46,672,613
74.79
46,949,267
75.06
47,558,456
75.86
47,729,516
75.20
สิทธิประกันสังคม
9,581,665
15.35
9,835,528
15.73
9,616,602
15.34
9,899,687
15.60
สิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
5,132,556
8.22
5,002,106
8.00
4,955,313
7.90
4,918,544
7.75
สิทธิอื่นๆ
242,395
0.39
237,375
0.38
232,135
0.37
516,254
0.81
ผู้ที่ยังไม่ลงทะเบียนสิทธิ
779,263
1.25
522,352
0.84
332,541
0.53
407,289
0.64
รวมประชากร
62,408,492
100.00
62,546,628
100.00
62,695,047
100.00
63,471,290
100.00
ความครอบคลุมหลักประกัน สุขภาพของประเทศ
61,629,229
98.75
62,024,276
99.16
62,362,506
99.47
63,064,001
99.36
บุคคลรอพิสูจน์สถานะ
897,371
71.54
1,156,404
75.86
1,440,173
80.94
1,347,031
87.51
คนไทยในต่างประเทศ
57,020
4.55
55,167
3.62
14,328
0.81
15,261
0.99
คนต่างด้าว
299,929
23.91
312,888
20.52
324,904
18.26
176,981
11.50
รวมประชากร
1,254,320
100.00
1,524,459
100.00
1,779,405
100.00
1,539,273
100.00
63,662,812
100.00
64,071,087
100.00
64,474,452
100.00
65,010,563
100.00
รวมประชากรทั้งประเทศ
ที่มา:สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
136
การแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ํา เมื่อพิจารณาคนยากจนที่เข้าถึงหลักประกันสุขภาพ พบว่า คนจนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนผู้มีบัตรประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 94.52ในปี 2549เป็นร้อยละ 95.34 ในปี 2553 สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตของคนจนที่ดีขึ้น และยังมีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ด้านการรักษาพยาบาลให้กับคนจนอีกด้วย ตารางที่ 70 ร้อยละของคนจนที่เข้าถึงบัตรประกันสุขภาพ สัดส่วนคนยากจนจําแนกตามการเข้าถึงบัตรประกันสุขภาพ
2549
2550
2551
2552
2553
ไม่มีบตั รประกันสังคม
5.48
4.84
4.69
4.43
4.66
94.52
95.16
95.31
95.57
95.34
มีบัตรประกันสังคม
ที่มา: สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม ประมวลผลจากข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน
ปัญหาและอุปสรรค อัตราเหมาจ่ายรายหัวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 1,202.40 บาท ปี 2545 เป็น 2,546.48 บาท ปี 2554 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อภาระงบประมาณของภาครัฐในระยะยาว
3.4.8 นโยบาย/โครงการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําด้านอื่นๆ 1)
โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
หลักการและวัตถุประสงค์ โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ของประชาชนสามารถนําเงินเหลือจากการลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยมา ออมเงินและเพื่อใช้จ่ายในส่วนที่จําเป็น รวมทั้งเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของประชาชนให้มีความเข้มแข็งและ สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรมีการดํารงชีพและประกอบอาชีพภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ตลอดจนส่งเสริมและกระตุ้นประชาชนให้มีการออมเงินเพื่อรักษาวินัยทางการเงินอันเป็นรากฐานที่ สําคัญของครอบครัวและประเทศชาติ กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนผู้มีปัญหาหนี้นอกระบบที่เกิดจากเหตุสุจริตจําเป็นและเป็นภาระหนัก ซึ่งมีมูลหนี้ไม่เกิน 200,000บาท กลไกการดําเนินงาน
137
กระทรวงการคลัง ได้เ ปิด รับ ลงทะเบีย นพร้อมข้อเสนอเงิน กู้ภ ายใต้เ งื่อนไขพิเ ศษผ่า นสาขาของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสินทั่วประเทศ และศูนย์ลงทะเบียน 12 แห่งใน กรุงเทพฯ โดยมีกรมบัญชีกลางเป็นหน่วยงานประมวลผล คัดกรอกประเภทลูกหนี้ และสรุปยอดลูกหนี้นอกระบบ หลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นหนี้ที่เกิด ก่อนวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552ทั้งนี้ จะต้องผ่านการเจรจาหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ย ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี ใน 3 ปีแรก สําหรับธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้ระยะเวลาการผ่อนชําระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัคร ใจทําสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี ผู้กู้สามารถชําระหนี้ก่อนกําหนดได้ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม การให้ความช่วยเหลือด้านการให้สินเชื่อจะดําเนินการผ่านธนาคารของรัฐทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน)ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) และธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) เริ่มตั้งแต่ 1ตุลาคม 2552 ถึง 30 กันยายน 2553 รวมระยะเวลา 1ปี สถานะปัจจุบัน ผลการดําเนินการ ลูกหนี้ลงทะเบียนผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน รวมทั้งสิ้นจํานวน 1,184,868 ราย มูลหนี้ 123,202.42 ล้านบาท เจรจาประนอมหนี้สําเร็จจํานวน 570,778 ราย เจรจาไม่สําเร็จจํานวน 140,147 ราย และยุติเรื่องจํานวน 405,010 รายณ วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ธนาคารรัฐทั้ง 6 แห่งได้อนุมัติ เงินให้ลูกหนี้จํานวน 411,654 ราย รวมเป็นเงินให้กู้ 34,616.73 ล้านบาท กระทรวงการคลังได้จัดตั้ง 1689สายตรงหนี้นอกระบบ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 เพื่อเป็นอีก ช่องทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหา และทําให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงการบริการภาครัฐที่รวดเร็ว ตรงตาม ความต้ อ งการ และสามารถแก้ ไขปั ญ หาต่ า งๆ ได้อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิภ าพโดยสรุป ผลการรับ เรื่ องร้ อ งเรี ย น ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2553 รวมทั้งสิ้นจํานวน 20,190 ราย (ไม่ระบุธนาคาร จํานวน 1,106 ราย เรื่องอื่นๆ จํานวน 346 ราย) คิดเป็นมูลหนี้จํานวน 2,336,167,509 บาทซึ่งผลการดําเนินการณ วันที่ 16 ธันวาคม 2553 ได้ส่งเรื่องให้ธนาคารรัฐทั้ง 6 แห่ง ดําเนินการแล้วเสร็จ 5,999 ราย อยู่ระหว่างการดําเนินการของธนาคาร จํานวน 9,748 ราย ธนาคารส่งคืนกระทรวง 1,930 ราย รัฐบาลมีโครงการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในช่วงเวลาต่อไป โดยมุ่งเน้นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง แหล่งเงินทุนในระบบให้แก่ลูกหนี้นอกระบบ ซึ่งการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นการพัฒนาระบบการเงินระดับฐาน ราก (Microfinance) เพื่อลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม กระทรวงการคลังได้เปิดโครงการบัตรลดหนี้ วินัยดีมี วงเงิน ซึ่งเป็นการต่อยอด จากการอนุมัติสินเชื่อโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ เพื่อป้องกันมิให้ลูกหนี้ที่ เข้าสู่ระบบแล้ว กลับไปสู่วงจรหนี้นอกระบบอีก เมื่อธนาคารอนุมัติเงินกู้แล้ว ธนาคารจะมอบบัตรลดหนี้ วินัยดี มีวงเงิน เป็นบัตรสําหรับสมาชิกซึ่งเข้าร่วมโครงการของกระทรวงการคลัง สําหรับบัตรลดหนี้นั้นจะมีรหัสแท่ง (Barcode) สําหรับใช้ในการชําระเงินกู้รายเดือนของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ หากลูกหนี้จ่ายผ่อนชําระเงินกู้ รายเดือนตรงตามกํา หนด เป็น ระยะ 1 ปี ธนาคารจะมีว งเงิน สํา รองฉุกเฉิน ให้ ในเดือนที่ 13 ซึ่งผู้ถือบัต ร สามารถนําบัตรไปกดเอาเงินสดจากตู้ ATM ของธนาคารที่ร่วมโครงการ (ยกเว้นธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์) ได้ไม่เกิน 4 ครั้ง ต่อ 1 ปี
138
สําหรับการปรับปรุงขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคของโครงการนั้น กระทรวงการคลังได้ดําเนินการศึกษา เกี่ยวกับการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและพัฒนาระบบการเงินระดับฐานราก ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่ไม่ได้ รับโอกาสเข้าถึงการบริการทางการเงินและแหล่งเงินทุนมากที่สุด นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ยืนยันใน หลักการที่จ ะจัด ตั้งบริษัทของบริษัทไปรษณีย์ ไทย จํา กัด เพื่อดํา เนิน การธนาคารเพื่อรายย่อยหรือไมโคร ไฟแนนซ์ รวมทั้งการนําแรงงานนอกระบบ เช่น หาบเร่แผงลอย คนขับรถแท็กซี่ วินมอร์เตอร์ไซค์ และอื่นๆ ให้ เข้าสู่ระบบประกันสังคม เมื่อเวลาเจ็บป่วยจะได้มีการรักษาพยาบาลที่ดีพอสมควรระดับหนึ่ง และที่สําคัญจะได้ มีการสํารองวงเงินฉุกเฉินรถที่ใช้ประกอบอาชีพ หากเกิดเสียหายหรืออุบัติเหตุต้องหยุดงานหลายวันจะได้ไม่มี ปัญหาการผ่อนชําระค่างวดส่งรถ เป็นต้น ปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติงาน การร้องเรียนว่าลูกหนี้บางรายไม่ได้รับการอนุมัติให้สินเชื่อ และลูกหนี้บางรายได้รับการอนุมัติสินเชื่อ ล่าช้าเนื่องจากต้องรอการตรวจสอบหลักฐาน 2)
การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน (ไฟฟ้า ประปา รถเมล์ รถไฟ)
หลักการและวัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จ ะเกิด ขึ้น กับ ประชาชนในระยะสั้น โดยเฉพาะในกลุ่มของ ประชาชนที่มีรายได้น้อย กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีรายได้น้อย ภายใต้เงื่อนไขของแต่ละมาตรการ กลไกการดําเนินงาน การดําเนินงานโดยผ่านหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าพระนคร ขนส่ง มวลชนกรุงเทพมหานคร การรถไฟแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง และการประปาภูมิภาค ผลการดําเนินงาน วันที่ 4 กรกฎาคม 2552คณะรัฐมนตรี (รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี) เห็นชอบมาตรการลดภาระค่าครองชีพประชาชน เป็นระยะเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2551 – 31 มกราคม 2552 ดังนี้ - รั ฐ บาลรั บ ภาระค่ า น้ํ า ประปาครั ว เรื อ นที่ ใ ช้ ไ ม่ ต่ํ า กว่ า 50 ลู ก บาศก์ เ มตรต่ อ เดื อ น ครอบคลุมผู้ใช้น้ําทั้งประเทศ - รัฐบาลรับภาระค่าไฟทั้งหมดสําหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วยต่อเดือนส่วนครอบครัว ที่ใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง ของค่าไฟฟ้าทั้งหมด
139
- รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการให้บริการรถโดยสารประจําทางขององค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ (ขสมก.) ที่เป็นรถโดยสารธรรมดา หรือ รถร้อน จํานวน 800คัน ใน 73เส้นทาง เพื่อให้บริการในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล -
รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการให้บริการโดยรถไฟชั้น 3ไม่ปรับอากาศ ฟรีทั่วประเทศ
วันที่ 20 มกราคม 2552 คณะรัฐมนตรี (รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เห็นชอบให้มีการ ขยายมาตรการลดภาระค่ า ครองชี พของประชาชน (ครั้ ง ที่ 1) เป็ น ระยะเวลา 6เดื อ น เริ่ ม ตั้ ง แต่ วั น ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ดังนี้ - รัฐรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ําสําหรับผู้ใช้น้ําประเภทที่อยู่อาศัยและผู้เช่าที่อยู่อาศัยที่มี ปริมาณการใช้น้ําระหว่าง 0ถึง 30ลูกบาศก์เมตรต่อเดือนซึ่งเป็นปริมาณการใช้ที่ตอบสนองความจําเป็นพื้นฐาน ของประชาชน -
รัฐรับภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้าสําหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90หน่วยต่อเดือน
- รัฐรับภาระค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถประจําทางของ ขสมก.ประเภทรถโดยสารธรรมดาที่ ให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จํานวน 800คันใน 73เส้นทาง - รัฐรับภาระค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถไฟชั้น 3เชิงสังคม จํานวน 164ขบวนต่อวัน และรถไฟ ชั้น 3เชิงพาณิชย์ จํานวน 8ขบวนต่อวัน วันที่ 14 กรกฎาคม 2552 คณะรัฐมนตรี (รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เห็นชอบการขยาย ระยะเวลาการดําเนินมาตรการลดค่าครองชีพของประชาชน (ครั้งที่ 2) ต่อไปจนถึงวันที่ 31ธันวาคม 2552 วันที่ 15 ธันวาคม 2552 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการขยายระยะเวลาในการดําเนินมาตรการลด ภาระค่าครองชีพของประชาชนต่อไปอีก3เดือน (1มกราคม – 31มีนาคม 2553) (ครั้งที่ 3) โดยปรับลดการ ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายน้ําประปาของครัวเรือนลงจากรัฐรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ําสําหรับผู้ใช้น้ําประเภทที่อยู่ อาศัยที่มีปริมาณการใช้น้ําระหว่าง0 ถึง 30ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน เหลือเป็น 0 ถึง 20ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน (ประมาณ 130ลิตรต่อคนต่อวัน) เพื่อสร้างจิตสํานึกให้ประชาชนมีการใช้น้ําประปาอย่างประหยัดและคุ้มค่า วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาการดําเนินมาตรการ ลดภาระค่าครองชีพของประชาชนต่อไปจนถึงวันที่30 มิถุนายน 2553 (ครั้งที่ 4) โดยยกเลิกการช่วยเหลือ ค่าใช้จ่ายน้ําประปาของครัวเรือน(เหลือ 3 มาตรการ) วันที่ 29 มิถุนายน 2553 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการขยายระยะเวลาการดําเนินการมาตรการ ลดภาระค่าครองชีพของประชาชนต่อไปจนถึงวันที3่ 1ธันวาคม 2553 (ครั้งที่ 5) ผลการดําเนินมาตรการ (1)
มาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน
ภาครัฐรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้ไฟฟ้าสําหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือนและ สําหรับผู้เช่าอาศัยในอาคารชุดหรือห้องเช่าที่ผู้ประกอบการถูกต้องตามกฎหมาย เป็นอาคารชุดหรือห้องเช่าที่มี ระดับราคาเช่า ไม่เกิน 3,000 บาท/ห้อง/เดือน และใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยไม่เกิน 90 หน่วย/เดือน/ห้อง และได้ลงทะเบียน
140
ไว้กับ กฟน. และ กฟภ.ซึ่งผลการดําเนินงาน มีครัวเรือนได้รับประโยชน์ 9.16 ล้านครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 85.51 มีรายละเอียดดังนี้ ตารางที่ 71 ผลของมาตรการลดไฟฟ้าของครัวเรือน รัฐวิสาหกิจ ผู้ได้รบั ประโยชน์ (ล้านครัวเรือน)
สัดส่วนผู้ได้รับ ประโยชน์ต่อผู้ใช้ ไฟฟ้าทั้งหมด (ร้อยละ)
1 ส.ค. 52 31 ธ.ค. 52
1 ม.ค. 53 31 มี.ค. 53
1 เม.ย. 53 31 มิ.ย. 53
1 ก.ค. 53 30 ก.ย. 53
ค่าใช้จ่าย (ล้านบาท)
กฟน.
0.73
25.81
454.26
293.52
242.50
280.64
กฟภ.
8.43
59.70
5,364.53
3,305.83
2,878.67
3,186.40
รวม
9.16
85.51
5,818.79
3,599.35
3,121.17
3,467.04
ที่มา: กฟน.และ กฟภ.
(2) มาตรการลดค่าใช้จ่ายการเดินทางรถโดยสารประจําทาง ภาครัฐรับภาระค่าใช้จ่ายการจัดรถ โดยสารประจําทางธรรมดาจํานวน 800 คันต่อวัน ใน 73 เส้นทางให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งผลการดําเนินงานมีรายละเอียดดังนี้ ตารางที่ 72 มาตรการลดค่าใช้จ่ายการเดินทางรถโดยสารประจําทาง รัฐวิสาหกิจ ผู้ได้รับประโยชน์ (ล้านตั๋ว)
ค่าใช้จ่าย (ล้านบาท) 1 ส.ค. 52 - 1 ม.ค. 53 - 1 เม.ย. 53 - 1 ก.ค. 53 – 31 ธ.ค. 52 31 มี.ค. 53 31 มิ.ย. 53
ขสมก. ที่มา: ขสมก.
603.66
1,050.55
622.12
640.32
30 ก.ย. 53 726.81
(3) มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟฟ้าชั้น 3ภาครัฐรับภาระค่าใช้จ่ายการจัดรถไฟ ชั้น 3 เชิงสังคม จํานวน 164ขบวนต่อวัน และรถไฟชั้น 3 ระยะทางไกล ในขบวนรถเชิงพาณิชย์จํานวน 8 ขบวน ต่อวัน ให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งผลการดําเนินงานมีรายละเอียดดังนี้ ตารางที่ 73 มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟฟ้าชั้น 3 รัฐวิสาหกิจ ผู้ได้รับประโยชน์ (ล้านคน)
ค่าใช้จ่าย (ล้านบาท) 1 ส.ค. 52 - 1 ม.ค. 53 – 1 เม.ย. 53 - 1 ก.ค. 53 – 31 ธ.ค. 52 31 มี.ค. 53 31 มิ.ย. 53
รฟท.
53.99
423.78
250.45
266.91
30 ก.ย. 53 248.03
ที่มา: รฟท.
(4) มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ําประปาของครัวเรือน ภาครัฐรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ําสําหรับผู้ใช้ น้ําประเภทที่อยู่อาศัยที่มีปริมาณการใช้น้ําระหว่าง 0 - 30 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ซึ่งผลการดําเนินงานมีรายละเอียด ดังนี้
141
ตารางที่ 74 มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ําประปาของครัวเรือน รัฐวิสาหกิจ ผู้ได้รับประโยชน์ (ล้านครัวเรือน)
ค่าใช้จ่าย (ล้านบาท) 1 ส.ค. 52 – 1 ม.ค. 53 – 1 เม.ย. 53 – 1 ก.ค. 53 – 31 ธ.ค. 52 31 มี.ค. 53
31 มิ.ย. 53
30 ก.ย. 53
กปน.
1.11
1,062.28
392.06
-
-
กปภ.
2.07
1,917.15
809.98
-
-
รวม
3.18
2,979.43
1,202.04
-
-
ที่มา: กปน. และ กปภ.
3)
โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP)
ความเป็นมา เนื่องจากเกิดปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจในประเทศไทยเมื่อปี 2540 ประชาชนประสบปัญหาในการ ครองชีพโดยเฉพาะประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจึงได้นํานโยบาย การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับรากหญ้ามาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีความเชื่อว่าหากประชาชนใน ชนบทซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวได้ในที่สุด ซึ่ง โครงการ “หนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ก็เป็นโครงการหนึ่งในนโยบายดังกล่าวโดยได้ดําเนินการตั้งแต่ปี 2544 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ“หนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวคิดที่ ต้องการให้แต่ละหมู่บ้านมีผลิตภัณฑ์หลักเป็นของตัวเอง โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบ ทรัพยากรของท้องถิ่น มาทําการพัฒนาจนกลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมีจุดเด่นที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น หลักการและวัตถุประสงค์ โครงการ“หนึ่งตํา บล หนึ่งผลิต ภัณฑ์”หรือ OTOPเป็น การส่งเสริมสนับ สนุน กระบวนการพัฒ นา ท้องถิ่น สร้างชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ ด้วยการนํา ทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจุดเด่น ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถี ชีวิ ต ของท้ อ งถิ่ น และมีมู ล ค่า เพิ่ ม เป็ น ที่ต้ อ งการของตลาดทั้ง ในและต่ า งประเทศ โดยโครงการ OTOPมี วัตถุประสงค์(1) สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน(2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน(3) ส่งเสริมการใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น(4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ (5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของ ชุมชน ซึ่งเป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง โดยรัฐสนับสนุนด้านความรู้ การจัดการเทคโนโลยีเพื่อ พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์ด้านการตลาดการจัดการเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนไปสู่ตลาดทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ กลุ่มเป้าหมาย ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP กลไกการดําเนินงาน
142
มีกลไกทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ได้แก่ คณะกรรมการอํานวยการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ อนุกรรมการบริหาร อนุกรรมการส่งเสริมการผลิต อนุกรรมการส่งเสริมการตลาด อนุกรรมการมาตรฐาน และพัฒ นาคุณภาพผลิต ภัณฑ์อนุกรรมการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิต ภัณฑ์จังหวัด อนุกรรมการหนึ่งตํา บลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์อําเภอ เป็นต้น ผลการดําเนินงาน การเพิ่ มประสิ ทธิภ าพการจัด การกลุ่ มการขึ้ น ทะเบี ย นผู้ ผ ลิ ต ผู้ ป ระกอบการ OTOP เพื่อจั ด ทํ า ฐานข้อมูลนําไปใช้กําหนดแผนการส่งเสริมและพัฒนา ในปี 2553 ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ขึ้นทะเบียน กับกรมการพัฒนาชุมชนจํานวน 33,228 รายโดยแยกเป็นประเภทผู้ผลิตกลุ่มชุมชนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 66.8 ผู้ผลิตที่เป็นเจ้าของรายเดียว ร้อยละ 31.0 และผู้ผลิตที่เป็น SMEs ร้อยละ 2.2 โดยผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด มีจํานวน 85,173ผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก ร้อยละ 36.8 ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายร้อยละ 25.1 ประเภทอาหารร้อยละ 23.9 ประเภทสมุนไพรที่ ไม่ใช่อาหารร้อยละ 10.6 และประเภทเครื่องดื่มร้อยละ 3.6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP ไทยเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP ได้พัฒนาคุณภาพและรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานสูงขึ้นตามเกณฑ์การคัดสรรต่างๆเป็นการสร้าง ระบบการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ให้เป็นที่ยอมรับ ของสังคมและผู้บริโภคทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ในปี 2553 มีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดสรรทั้งหมด 10,982ผลิตภัณฑ์ โดยอยู่ในระดับ 5 ดาว 1,449 ผลิตภัณฑ์(ร้อยละ 13) ระดับ 4 ดาว 3,498 ผลิตภัณฑ์(ร้อยละ 32) ระดับ 3 ดาว 2,904 ผลิตภัณฑ์(ร้อยละ 26) ระดับ 2 ดาว 2,654 ผลิตภัณฑ์(ร้อยละ 24) และระดับ 1 ดาว 477 ผลิตภัณฑ์(ร้อยละ 4) การเพิ่มช่องทางการตลาด โดยการจัด งานแสดงและจําหน่ายสินค้า ทั้งในระดับภูมิภาคและใน ระดับประเทศ เพื่อสร้างโอกาสและประชาสัมพันธ์ด้านการตลาด ตลอดจนเพิ่มช่องทางการจําหน่ายให้แก่ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ที่เข้า ร่วมงาน และมีการตื่น ตัว ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้บ ริโภค ซึ่ง โครงการ OTOP ส่งผลให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีรายได้จากการ จําหน่ายสินค้า OTOP ในปี 2553 ประมาณ 68,484 ล้านบาท ถ้านับตั้งแต่ปี 2545 – 2553 (เดือนกันยายน 2553) มีรายได้รวมทั้งสิ้นประมาณ 508,827 ล้านบาท
143
ยอดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ตั้งแต่ปี 2545 – 2553 (เดือนกันยายน) 100,000,000,000
77,882,969,036
ยอดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP (บาท)
80,000,000,000
72,864,375,995 68,868,243,070 56,510,492,120 47,506,651,216 34,242,427,816
60,000,000,000 40,000,000,000 20,000,000,000
68,484,199,770 65,753,468,519
16,714,848,168
2545
2546
2547
2548
2549
2550
2551
2552
2553
ปัญหาและอุปสรรค โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในส่วนของผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการที่อยู่ได้มักมาจากธุรกิจที่มี อยู่ก่อนแล้วแต่ผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นใหม่ส่วนใหญ่ล้มเหลวไปในเวลาอันสั้นซึ่งความล้มเหลวเกิดจากปัจจัย หลายอย่าง เช่น คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานการขาดการศึกษาว่ามีตลาดรองรับหรือไม่ และการขาด การสนับสนุนด้านเทคนิคจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถจริง36 3.4.9 แผนปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทยเพื่ออนาคตคนไทยที่เท่าเทียมและเป็นธรรมมุ่งเน้นให้คน ไทยทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีหลักประกันทางสังคมที่มีคุณภาพ มีที่ทํากิน มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง สามารถรับรู้ ถึงสิทธิและเข้าถึงบริการของหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวกและรวดเร็วภายใต้การบังคับใช้ กฎหมายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาได้รับการศึกษาและการ เรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สามารถยกระดับทักษะและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนซึ่งได้กําหนดยุทธศาสตร์ และแนวทางการดําเนินงานดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและขยายระบบสวัสดิการสังคม 1.1)
การจัดระบบสวัสดิการสังคมให้ครอบคลุมทุกกลุ่มในสังคม โดย
(1) การจัดสวัสดิการสําหรับแม่ที่ตั้งครรภ์และเด็กอายุ 0-2 ปี ด้วยการจัดนม บํารุงครรภ์ให้กับหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป และจัดอาหารเสริมพิเศษประเภทโปรตีนและนมให้กับหญิงตั้งครรภ์กลุ่ม เสี่ย ง มี โ ครงการ “พ่อแม่มื อใหม่เ ลี้ย งลูก ถูกวิธี” โดยเป็น การให้มีอาสาสมัค รไปเยี่ ย มบ้า น ให้คํา ปรึกษา คําแนะนําการเลี้ยงดูลูกที่ถูกวิธี รวมทั้งส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน (2) การจั ด สวั ส ดิ ก ารให้ แ ก่ เ ด็ ก 3–5 ปี เร่ ง รั ด ให้ มี ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก ครอบคลุมทุกตําบลทั่วประเทศภายในปี 2554 รวมทั้งพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีอยู่ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เท่าเทียมกันทั่วประเทศ และจัดสวัสดิการแก่เด็กก่อนวัยเรียนในเขตพื้นที่ก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ พร้อมทั้งมี มาตรการลดหย่อนภาษีในอัตราที่สูงจูงใจให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดสวัสดิการสําหรับเด็กก่อนวัย เรียนในท้องถิ่นและในสถานประกอบการ 36
บทความ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ วันที่ 14 ตุลาคม 2553 “ธุรกิจขนาดย่อย(ยับ)” โดย ดร.ไสว บุญมา
144
(3) การสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตให้แก่แรงงานนอกระบบ โดย (3.1) กําหนดมาตรการสนับสนุนอาชีพอิสระ โดยการเพิ่มรายได้และการ ลดต้นทุนในการทําธุรกิจ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทํางานและสร้างศีลธรรม การเข้าถึงสวัสดิการและ แหล่งเงินทุนในระบบ และการเพิ่มความปลอดภัยและการเข้าถึงบริการสาธารณะให้กับกลุ่มผู้ที่ทํางานกะ กลางคืน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น (3.2) จัด ระบบสถาบั น การเงิ น เพื่ อพั ฒ นาชุ มชน และองค์ ก รการเงิ น ชุมชน เพื่อให้แรงงานนอกระบบสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ เพื่อให้มีโอกาสเป็นเจ้าของรถหรือธุรกิจ และ เพื่อให้มีสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อการประกอบอาชีพและดํารงชีพ (3.3) ขยายระบบสวัสดิการเพื่อแรงงานนอกระบบ ได้แก่ ปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ขมาตรา40 แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ ก องทุ น ประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยพัฒนาสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 พร้อมเสนอ 3แนวทางเลือกตามความ เหมาะสม และเพิ่มการสมทบเบี้ยประกันจากภาครัฐ •
จัดทําโครงการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพเข้มแข็ง เพื่อให้มีการ รวมตัวกันแรงงานนอกระบบตามฐานอาชีพ ในกลุ่มคนอาชีพเดียวกัน และอาจมีหลักแหล่งที่ประกอบการ ละแวกเดียวกัน เพื่อให้มีการจัดสวัสดิการและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยสามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐและ แหล่งทุนมากยิ่งขึ้น •
ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยการกวดขัน และ ปรับการใช้กําลังของตํารวจ และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงอย่างเป็นระบบ และพัฒนากลไกการเฝ้าระวังภาค ประชาชน ผ่านเครือข่ายสื่อชุมชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร และระบบโทรทัศน์วงจรปิด ในเขต กทม.และปริมณฑล •
1.2)
การแก้ไขปัญหาที่ดินทํากินและที่อยู่อาศัย โดย
(1) การแก้ ไ ขปัญ หาที่ ดิน ทํ า กิ น ของประชาชน โดยจั ด ตั้ งกลไกระดั บ ชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ดําเนินกระบวนการรวบรวม คัดกรองกรณี/คดีปัญหาที่ดินจากพื้นที่อย่างเป็น ระบบเพื่อการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาและเยียวยา รวมทั้งสนับสนุนการให้ความรู้ คําปรึกษา แนะนําข้อกฎหมาย โดยระดมความร่วมมือจากอาสาสมัครด้านกฎหมาย เพื่อแก้ไขบรรเทาปัญหาด้านที่ดินทํากินของประชาชน (2) การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยการจําแนกพื้นที่ที่มีปัญหาออก จากพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐทุกประเภท สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนให้จัดทําแผนที่การใช้ประโยชน์ ที่ดินทํากิน “แผนที่ทํามือ” ทบทวนปรับแนวนโยบายการบริหารพื้นที่ป่าไม้ สร้างเอกภาพในการบริหารจัดการ ที่ดินให้เป็นระบบในรูปแบบการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการระดับชาติ (3) การจัดที่ดินทํา กินเพื่อการเกษตร พร้อมความช่วยเหลือเกษตรกรแบบ บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมพัฒนาเกษตรกรตั้งแต่การผลิตถึงการส่งให้ผู้บริโภค
145
(4) การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม โดยประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษการเกษตร เพื่อคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม พร้อมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อกําหนดนโยบายและมาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกรอย่างครบวงจร (5) จัดให้มีโครงการบ้านมั่นคงชนบทเพื่อผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาสในชนบท มีเป้าหมายจํานวน 50,000 ครัวเรือน ใน 500 ตําบล โดยการซ่อม/สร้างและจัดหาที่อยู่ใหม่ให้แก่คนยากจน และผู้ด้อยโอกาสในระดับตําบล 1.3) การป้ อ งกั น อาชญากรรม โดยให้ มี ศู น ย์ ป้ อ งกั น และปราบปรามปั ญ หา อาชญากรรมอย่างเป็นระบบครบวงจร สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังภาคประชาชนด้วยการแจ้งเหตุผ่านสื่อวิทยุ สื่อ online ขยาย/เพิ่ม “เครือข่ายชุมชนปลอดภัย” ลดพื้นที่เสี่ยงด้วยการเพิ่มจุดตรวจ สายตรวจ ติดตั้งกล้อง วงจรปิด เพิ่มแสงสว่าง ปรับสภาพพื้นที่รกร้าง รณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเอง และสร้าง ช่องทางให้ผู้ประสบเหตุสามารถแจ้งเหตุและได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วทันท่วงที 2) ยุทธศาสตร์การสร้างอนาคตของชาติด้วยการพัฒนาคน เด็กและเยาวชน 2.1) การสร้ า งโอกาสทางการศึ ก ษาและพั ฒ นาทั ก ษะอาชี พ ให้ ก ลุ่ ม เด็ ก และ เยาวชนให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ครอบคลุม 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มเด็กนอกระบบการศึกษา มุ่งให้กลับเข้าสู่การศึกษาและเรียนรู้ พัฒนา ทักษะอาชีพ โดย (1.1) ค้นหากลุ่มเป้าหมายในพื้นที่และสร้างสิ่งจูงใจในการกลับมาศึกษา และพัฒนาทักษะอาชีพ (1.2) พัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ (1.3) การสนับ สนุน การเรี ย นรู้ การพั ฒ นาทางวิ ช าการ ทั ก ษะอาชี พ ควบคู่กับการมีรายได้ระหว่างเรียน (Work Study Program) โดยจัดการเรียนการสอนในและนอกระบบให้มี ความยืดหยุ่น สอดคล้องกับบริบ ทของเด็ก เอื้อต่อการทํา งาน และการศึกษาต่อในอนาคต รวมทั้งพัฒนา อาชีวศึกษาให้เชื่อมโยงการพัฒนาทักษะอาชีพ (2) กลุ่มเด็กพิการ มุ่งสร้างหลักประกันการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้/โรงเรียน และ สิ่งอํานวยความสะดวกในการเรียนรู้พัฒนาทักษะ สามารถประกอบอาชีพและพึ่งตนเองได้โดย (2.1) ค้นหาเด็กพิการให้มาลงทะเบียน และจัดให้มีสถานศึกษา แหล่ง เรียนรู้ และสื่อการเรียนการสอน จัดให้มีโรงเรียนร่วมกับเด็กปกติ จังหวัดละ 1 แห่ง และเตรียมครูสําหรับเด็ก พิการ (2.2) เชื่อมต่อการเรียนรู้ของเด็กพิการสู่การประกอบอาชีพ โดยให้ศูนย์ การศึกษาพิเศษเตรียมการศึกษาและเชื่อมโยงต่อยอดผู้เรียนสู่การประกอบอาชีพ จัดกิจการ/ธุรกิจที่เหมาะสม กับความพิการ เพื่อให้มีการทํางานในระหว่างเรียน และฝึกทักษะในการประกอบอาชีพ (3) กลุ่มประชากรที่ต้องการเรียนต่อและเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และการยกระดับทักษะให้สูงขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการประกอบอาชีพ โดย
146
(3.1) จัดหลักสูตรตามความสนใจ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน ให้ อ่านออกเขียนได้ และมีทักษะด้านคณิตศาสตร์และการทําบัญชี (3.2) การส่งเสริมการยกระดับทักษะเพื่อการประกอบอาชีพในสถาน ประกอบการ การเป็ น ผู้ ป ระกอบการรายย่ อ ย และการสร้ า งและพั ฒ นาเกษตรกรรุ่ น ใหม่ โดยปรั บ ปรุ ง หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบการรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน การฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น (ต้นกล้า อาชีพ) พัฒนาความรู้และทักษะใหม่ในการสร้างทางเลือกอาชีพ และสร้างความร่วมมือในการสร้างเกษตรกร รุ่นใหม่ โดยพัฒนาอาชีวศึกษาควบคู่กับการสนับสนุนที่ดินทํากินและแหล่งทุน รวมทั้งพัฒนาชุมชนให้เป็น แหล่งเรียนรู้ (4) กลุ่มเด็ก ชนบทห่า งไกล มุ่ง ให้ ได้รับ การศึกษาที่มีคุณภาพและสามารถ ดํารงชีวิตอยู่ในพื้นที่ได้ โดย (4.1) กําหนดโรงเรียนชนบทขนาดเล็กที่จําเป็นต้องมี โดยจัดทํา School mapping (4.2) ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพควบคู่กับการยกระดับ ทักษะการทํางานและการประกอบอาชีพในพื้นที่ โดยจัดหลักสูตรที่สัมพันธ์สอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต และการดํารงชีวิตในพื้นที่ และการนําผู้ร/ู้ ปราชญ์ชาวบ้านร่วมถ่ายทอดความรู้ (4.3) จัดหาครูในโรงเรียนชนบทขนาดเล็กให้เพียงพอ อาทิ โครงการทุน ครูชนบท โครงการบัณฑิตอาสาสมัคร/นักศึกษาฝึกสอน (4.4) สร้างระบบจูงใจครูในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยให้ทุนพัฒนาครู (4.5) จั ด ระบบเสริ ม ในการจั ด การเรี ย นการสอน โดยใช้ เ ทคโนโลยี สารสนเทศเป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษา และสนับสนุนให้มีโรงเรียนพี่เลี้ยง (5) กลุ่มเด็กที่ถูกดําเนินคดี มุ่งให้ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ มีงานทํา และ สามารถดํารงชีวิตเป็นคนดีของสังคม โดย (5.1) การพั ฒ นาทั ก ษะอาชี พ และการมี ง านทํ า จั ด หาครู ผู้ ส อนที่ มี คุณภาพ สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาทักษะอาชีพ และให้รางวัล/ประกาศเกียรติคุณแก่ ภาคเอกชน (5.2) สร้างแรงจูงใจโดยการลดหย่อนภาษี ในอัตราสูงให้แก่ภาคธุรกิจ เอกชนที่ดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมโดยการจัดกิจกรรมหรือสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยงานของรัฐในการ จัดกิจกรรมหรือสวัสดิการ ทั้งในด้านการบําบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่ถูกดําเนินคดีและ อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม 2.2) การสร้างสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”มุ่งปฏิรูป ค่านิยมที่สังคมมีต่อครูด้วยการเชิดชูและมอบรางวัลให้แก่ครูที่สอนดีเพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ครูร่วมท้องถิ่นและ ครูทั้งประเทศ
147
(1) คัดเลือกครูสอนดี 60,000คนจากทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยสังคมมีส่วน ร่วมในการคัดเลือกอย่างโปร่งใส มีกระบวนการคัดเลือกที่พิจารณาถึงผลลัพธ์ของการเรียนการสอนต่อการ เรียนรู้ของนักเรียน (2) สนั บสนุ น ทุ น “ครู สอนดี” ในเขตพื้ น ที่ห่ า งไกลหรื อ พื้น ที่ด้ อ ยโอกาส ทางการศึกษา จํานวน 600คน โดยครูสอนดีผู้รับทุนมีภารกิจในการสร้างครูสอนดีหน้าใหม่เพิ่มขึ้นหรือดําเนิน กิจกรรมทางวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนหรือพัฒนาขีดความสามารถ (3) การให้รางวัลแก่จังหวัดดีเด่นในการคัดเลือกครูสอนดีอย่างโปร่งใสและ เป็นธรรมจํานวน 10จังหวัด โดยพิจารณาจากภาคส่วนต่างๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดเลือกครูสอนดีอย่าง โปร่งใสและเป็นธรรมโดยคณะกรรมการระดับจังหวัดที่ได้รับรางวัลจะนําไปใช้ในการพัฒนาการศึกษาของ จังหวัดในปีถัดไป 3) ยุทธศาสตร์การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การเมือง และความไม่เท่าเทียมในสังคม 3.1) การสร้างความเท่าเทียมในกระบวนการยุติธรรม ให้ประชาชนรับรู้สิทธิและ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม โดย (1) จัดตั้งเครือข่ายยุติธรรมชุมชนและตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนอย่างน้อยตําบล ละ1 ศูนย์ฯ ทั่วประเทศ โดยให้ประสานการจัดตั้งศูนย์ฯ ไว้ที่องค์การบริหารส่วนตําบล (2) เพิ่มช่องทางในการรับข้อร้องเรียนและให้ค วามช่วยเหลือเยียวยาแก่ ผู้เสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมผ่านสายด่วนกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและ เครือข่ายยุติธรรมชุมชน (3) จัดทําคู่มือประชาชนเรื่องกระบวนการยุติธ รรมและผังภาพขั้นตอนการ ดําเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทีเ่ ป็นรูปธรรมและเข้าใจง่าย (4) เคร่ ง ครั ด กํ า กั บ ให้ ตํ า รวจปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายและระเบี ย บในการ สอบสวนคดี (5) การพิจารณากฎหมายที่มีส่วนก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ําในสังคม 3.2)
การเร่งปรับกฎเกณฑ์ต่างๆ ของภาครัฐที่มีช่องว่างอันนําไปสู่การทุจริต โดย
(1) จัดทํามาตรการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data Directives) เพื่อเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง งบประมาณรายจ่าย โครงการภาครัฐ (2) ลงสัตยาบันในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นของภาครัฐ รวมทั้งเร่งรัด ประกาศให้สัตยาบัน “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น” (3) การใช้ สื่ อเพื่ อสั งคมทั้ งในระดั บประเทศและท้ องถิ่ น เพื่ อให้ ประชาชน สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และให้สื่อเป็นช่องทางการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับประชาชน โดยใช้ สื่อเพื่อสังคมทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่นเป็นช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่ ถูกต้องและเป็นกลาง
148
ตารางสรุปสาระสําคัญของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
กลไกการดําเนินงาน
ผลการดําเนินงาน
1. มาตรการลดภาระค่า ครองชีพของประชาชน (ไฟฟ้า ประปา รถเมล์ รถไฟ)
เพื่อบรรเทาผลกระทบทาง เศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับ ประชาชนในระยะสัน้ โดยเฉพาะในกลุ่มของ ประชาชนที่มรี ายได้น้อย
กลุม่ ประชาชนที่มรี ายได้ น้อย ภายใต้เงื่อนไขของ มาตรการได้แก่ รัฐ รับภาระค่าใช้จา่ ยของ ครัวเรือนที่ใช้น้ําระหว่าง 0-20 ลบ.ม. ต่อเดือน ใช้ ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อ เดือน จัดรถเมล์ฟรี ประเภทรถโดยสาร ธรรมดา และรับภาระค่า โดยสารรถไฟชั้น 3
การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค การ ไฟฟ้านครหลวง ขนส่งมวลชน กรุงเทพ การรถไฟแห่ง ประเทศไทย การประปานคร หลวง และการประปาส่วน ภูมิภาค
มาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน มีผู้ ได้รับประโยชน์ 9.16 ล้านครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 85 ของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยสารประจํา ทาง มีผู้ได้รับประโยชน์ 603.66 ล้านตั๋ว มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 มีผู้ได้รับประโยชน์53.99ล้านคน มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ําประปาของครัวเรือน มี ผู้ ไ ด้ รั บ ประโยชน์ 3 .18ล้ า นคน (ยกเลิ ก การ ช่วยเหลือกรณีนี้ตามมติครม. เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2553)
2. โครงการเพิ่มศักยภาพ ผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจและสังคม ในชุมชน (ต้นกล้าอาชีพ)
เพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ ว่างงาน ผู้อยู่ในข่ายจะ ถูกเลิกจ้างและผูส้ ําเร็จ การศึกษาใหม่ให้มี ความสามารถและทักษะ เพิ่ม สามารถนํากลับไป ประกอบอาชีพใน ภูมิลําเนาได้ เพื่อช่วยให้ผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้างและผู้สําเร็จ
ผู้ว่างงานจํานวน 500,000 คน โดยเฉพาะผู้ ที่จะกลับภูมิลําเนา ครอบคลุมกลุ่มต่างๆ ดังนี(้ 1) ผู้ว่างงานที่สนใจ ฝึกอาชีพและผู้สนใจ อบรมปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงเพื่อนํากลับไปใช้ ในชุมชน(2) ผู้อยู่ในข่าย จะถูกเลิกจ้างและธุรกิจ
สถาบันจัดอบรม 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. มหาวิทยาลัย/ สถาบันการศึกษา 2. เครือข่ายประชาสังคม เช่น มูลนิธิ สถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน เป็นต้น 3. ส่วนราชการ เช่น กรมพัฒนา ฝีมือแรงงาน และกรมส่งเสริม การเกษตร เป็นต้น
มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ผูเ้ ข้ารับการฝึกอบรม ได้รับการจ้างงานเพิ่ม โดยอัตราการว่างงานใน ภาพรวมลดลงจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสแรกปี 2552 เหลือเป็นร้อยละ 1.8 และ 1.2 ในไตรมาส 2 และ 3 สอดคล้องกับกับจํานวนผู้ประกันตนที่ ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานที่ลดลงจาก 250,557 เป็น 181,266 และ 149,108 คน ในช่วงเวลาดังกล่าว สร้างผูป้ ระกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึน้ ผู้เข้ารับ การฝึกอบรมได้ประกอบอาชีพอิสระ โดยจํานวนผู้
โครงการระยะสั้น
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน
149
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
กลไกการดําเนินงาน
ผลการดําเนินงาน
การศึกษาใหม่ ให้มี รายได้ในช่วงระยะเวลา หนึ่งและหาทางเลือก ใหม่ในการประกอบ อาชีพ
ต้องการให้เพิ่มทักษะ เพื่อให้กลับมาทํางานต่อ หลังฝึกอบรม(3) ผู้ถูกเลิก จ้างต้องการพัฒนาและ ยกระดับฝีมือของตนเอง (4) ผู้สําเร็จการศึกษาใหม่ แรงงานในสถาน ประกอบการประเภท SMEs ที่ได้รับผลกระทบ จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา และมีแนวโน้มจะเลิกจ้าง แรงงาน จึงต้องการเพิ่ม ทักษะให้แรงงานเพื่อ เตรียมพร้อมเมื่อ เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะสาขาการผลิต และบริการที่ฟื้นตัวเร็ว
โดยมีการกําหนดหลักสูตรที่ เชื่อมโยงกับการจ้างงานและการ ประกอบอาชีพ จัดระบบ ฐานข้อมูลและสารสนเทศเพื่อ รองรับหลักสูตร และสามารถ ลงทะเบียนได้ทั่วประเทศ สําหรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ได้จัดสรรโดยตรงให้สถาบัน ฝึกอบรมตามจํานวนผู้ ลงทะเบียน และเมื่อผ่านการ อบรมแล้วประสงค์จะกลับไป ประกอบอาชีพในภูมิลําเนา สามารถขอรับค่าพาหนะ เดินทางกลับและรับเงินอุดหนุน เพื่อการประกอบอาชีพจํานวน 4,800 บาท/คน/เดือน เป็นเวลา ไม่เกิน 3 เดือน โดย คณะกรรมการบริหารฯ เป็นผู้ พิจารณาอนุมัติและสํานักปลัด สํานักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วย เบิกจ่ายเงินอุดหนุนและค่า ดําเนินทางกลับภูมิลําเนา
ประกอบอาชีพอิสระในภาพรวมเพิ่มขึ้นจาก 11.55 ล้านคนในไตรมาสแรกปี 2552 เป็น 12.06 และ 12.36 ล้านคน ในไตรมาสที่ 2 และ 3 รักษาสภาพการจ้างงาน โดยพัฒนาทักษะการ ประกอบอาชีพให้พนักงานในสถานประกอบการที่ ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ จํานวน 71,314 คน และเมื่อสภาพเศรษฐกิจฟื้นตัว สถานภาพประกอบการสามารถดําเนินธุรกิจต่อได้
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน
150
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
กลไกการดําเนินงาน
ผลการดําเนินงาน
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน
1.เพื่อช่วยเหลือให้ เกษตรกรได้รับราคามัน สําปะหลัง ข้าวโพดเลีย้ ง สัตว์และข้าวเปลือกที่ สูงขึ้น 2.เพื่อเป็นการใช้กลไก ตลาดในการสร้าง เสถียรภาพราคาในระยะ ยาวและมีความยั่งยืน 3.เพื่อลดภาระงบประมาณ ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการ ช่วยเหลือเกษตรกร
เกษตรกรผู้ผลิตมัน สําปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ และข้าวเปลือก ใน พื้นที่เพาะปลูกทั่ว ประเทศ
สํานักงานเกษตรอําเภอจะ ให้บริการรับขึ้นทะเบียนและ ออกใบรับรองเพื่อให้เกษตรกร ใช้เป็นหลักฐานในการไปทํา สัญญากับธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรเพื่อเข้าร่วมโครงการ ประกันรายได้
ผลการดําเนินงานรอบที่1ปี 2552/53เกษตรกร จดทะเบี ยนทั้ งสิ้ น 4,468,178ราย มี ก ารใช้ สิ ท ธิ ชดเชยแล้ ว 3,956,177 รายรวมเป็ น เงิ น ทั้ ง สิ้ น 36,498 ล้านบาท ผลการดํ า เนิ น งานรอบที่ 2ปี 2552/53 เกษตรกรขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น835,692ราย มีการใช้ สิ ท ธิ ช ดเชยแล้ ว 784,421 ราย รวมเป็ น เงิ น ชดเชยทั้งสิ้น 18,554ล้านบาท ผลการดํ า เนิ น งานรอบที่ 1ปี 2553/54 เกษตรกรขึ้นทะเบียนทั้งสิน้ 4,928,205ราย ได้มีผู้ มาใช้สิทธิชดเชยแล้วจํานวน 3,012,881ราย รวม เป็นเงินทั้งสิ้น 34,976.117ล้านบาท
ด้านการขึ้นทะเบียน (1)เนื่องจากโครงการ ประกันรายได้แตกต่างจาก โครงการรับจํานําข้าวที่ เคยปฏิบัตมิ า จึงทําให้ เจ้าหน้าที่มีปญ ั หาในการ ปฏิบัติงาน รวมทั้ง เกษตรกรเกิดความสับสน ในการขึ้นทะเบียน (2)เกษตรกรบางรายพูด ภาษาไทยไม่ได้ (3)ระยะเวลาในการจัดเก็บ ข้อมูลน้อยเกินไป(4)การ คมนาคมไม่สะดวก ด้านระบบสารสนเทศ โปรแกรมมีการ เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ สามารถรายงานข้อมูลได้ ครบถ้วน อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ และการแก้ไขข้อมูลทําได้ ยาก
โครงการระยะยาว ด้านเศรษฐกิจ 3. โครงการประกัน รายได้เกษตรกร
151
วัตถุประสงค์
4. โครงการหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP)
กลุ่มเป้าหมาย
เพื่อสร้างงานและเพิ่ม ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ รายได้ เสริมสร้างความ OTOP เข้มแข็ง ส่งเสริมการใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและ การพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ตลอดจนส่งเสริม ความคิดริเริม่ สร้างสรรค์ ของชุมชน
กลไกการดําเนินงาน
ผลการดําเนินงาน
กลไกทั้งในส่วนกลางและ ภูมิภาค ได้แก่ คณะกรรมการ อํานวยการหนึ่งตําบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์แห่งชาติ อนุกรรม ด้านต่างๆในส่วนกลาง อนุกรรมการหนึ่งตําบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์จังหวัด อนุกรรมการหนึ่งตําบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์อําเภอ เป็นต้น
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกลุม่ โดย ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ขึ้นทะเบียนกับ กรมการพัฒนาชุมชน จํานวน 33,228 ราย ในปี 2553 การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการคัดสรรสุดยอด ผลิตภัณฑ์ OTOP ไทยเพื่อส่งเสริมการพัฒนา คุณภาพและรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน สูงขึ้น สร้างยอมรับของสังคมและผู้บริโภคทั้งใน และต่างประเทศในปี 2553 มีผลิตภัณฑ์ทผี่ ่าน
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน ด้านการทําสัญญา ประกันเช่น เกษตรกรไม่มี เอกสารสิทธิในที่ดนิ ทํากิน ไม่มีสมุดคู่ฝาก ข้อมูลไม่ ตรงกับข้อมูลของธกส. และอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น ด้านการใช้สิทธิตาม สัญญาเงินชดเชยไม่ สามารถโอนเข้าบัญชีได้ เนื่องจากบางบัญชีได้ถูก ยกเลิกสาเหตุจากขาดการ ติดต่อทางธนาคารมานาน ทําให้เกษตรกรต้อง เสียเวลาในการขอเปิด สมุดบัญชีเงินฝากใหม่ ผู้ประกอบการที่อยู่ได้จะ เป็นธุรกิจที่มีอยู่ก่อนแล้ว แต่ผู้ประกอบการที่ เกิดขึ้นใหม่ส่วนใหญ่ ล้มเหลวในเวลาอันสั้นซึ่ง เกิดจากคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน ขาดการศึกษาด้าน การตลาดรองรับ และ
152
วัตถุประสงค์
5. กองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง
6. กองทุนฟื้นฟูและ พัฒนาเกษตรกร
กลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้หมู่บ้านและ ประชาชนในชุมชนที่ ชุมชนเมืองมีเงินทุน เป็นสมาชิกกองทุน เพิ่มขึ้น สร้างโอกาสการ เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อ การประกอบอาชีพและ สร้างรายได้ของ ประชาชน รวมทั้งลด การกู้ยืมเงินนอกระบบ
ส่งเสริมและสนับสนุน การรวมกลุ่มการฟื้นฟู และพัฒนาอาชีพของ เกษตรกรพัฒนาความรู้ ในด้านเกษตรกรรม และ การแก้ไขปัญหาหนี้ใน ระบบของเกษตรกร
เกษตรกร 510,000 ราย แบ่งเป็น กลุ่มแรก เป็น สมาชิกกองทุนฯ และ เป็นหนี้กับสถาบัน การเงินของรัฐ จํานวน 8 หมื่นราย กลุม่ ที่สอง ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุน
กลไกการดําเนินงาน
ผลการดําเนินงาน
การคัดสรรทั้งหมด 10,982ผลิตภัณฑ์ การเพิ่มช่องทางการตลาด โดยการจัดงาน แสดงและจําหน่ายสินค้าผู้ผลิต/ผูป้ ระกอบการ OTOP มีรายได้จากการจําหน่ายสินค้า OTOP ใน ปี 2553 ประมาณ 68,484 ล้านบาท มีทั้งในระดับส่วนกลางและ กองทุนหมู่บ้านฯ ได้รับการเพิม่ ทุนแล้ว ส่วนภูมภิ าคโดยคณะกรรมการ จํานวน 70,011 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 88.44 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ของจํานวนกองทุนทั้งหมด แห่งชาติ ทําหน้าที่กําหนด ขยายระยะเวลาการชําระคืนเงินกู้ จาก 1 ปี เป็ น 2 ปี นโยบาย คณะกรรมการ
กองทุนหมู่บ้านและชุมชน เมืองทําหน้าที่บริหาร จัดการกองทุนฯ
คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรกําหนด นโยบายและออกระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารกิจการ ของกองทุน คณะกรรมการ บริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนา เกษตรกร ควบคุมการใช้
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการแก้ไขปัญหาหนี้และ ฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร จํานวนประมาณ 510,000 ราย โดยจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง 2553 จํานวนเงิน 1,140 ล้านบาท ให้สํานักงาน กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อแก้ไข ปัญหาหนี้และเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูพัฒนาอาชีพ หลักในการลดต้นทุนและเพิม่ ผลผลิต
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน ขาดการสนับสนุนด้าน เทคนิคจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถจริง สมาชิกบางส่วนมี ความเห็นว่ายังมีปญ ั หา การกู้ยืมเงิน เช่น เงินกู้ที่ ได้รับไม่เพียงพอกับ ความจําเป็นที่ต้องใช้จริง เนื่องจากเงินกองทุนมี จํากัดและจํานวนสมาชิก มีมากรวมทั้ง) อัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้บาง กองทุนฯมีอัตราสูงถึง ร้อยละ 12 ต่อปี ในขณะที่บางกองทุนคิด ร้อยละ 2 ต่อปี
153
วัตถุประสงค์
7. โฉนดชุมชน
1.เพื่อแก้ไขปัญหาความ ยากจน 2. แก้ปัญหาความ ขัดแย้งระหว่างหน่วย ราชการและประชาชนที่ เข้าไปถือครองที่ดิน 3.เพื่อการกระจายการถือ ครองที่ดินอย่างเป็น ธรรม 4.เพื่อให้เกิดการพัฒนา อย่างยั่งยืนของ ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม
กลุ่มเป้าหมาย
กลไกการดําเนินงาน
ฯ แต่เป็นหนี้กับสถาบัน การเงินของรัฐ จํานวน 3.5 แสนราย และกลุ่มที่ สาม ไม่ได้เป็นสมาชิก กองทุนฯ และเป็นหนี้ กับสถาบันการเงิน เอกชน สหกรณ์ และนิติ บุคคล จํานวน 8 หมื่น ราย
จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของ กองทุน สํานักงานกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร รับผิดชอบงานธุรการและ รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ เกี่ยวกับการดําเนินงาน
กลุ่มเกษตรกรที่ยากจน ไร้ที่ทํากิน ทั้งในเขต เมืองและชนบททั่ว ประเทศ
คณะกรรมการ ประสานงานเพื่อจัดให้มโี ฉนด ชุมชน (ปจช.) คณะอนุกรรมการด้าน กฎหมายและระเบียบ คณะอนุกรรมการสํารวจ และตรวจสอบพื้นที่ในการจัดให้ มีโฉนดชุมชน คณะอนุกรรมการ ประชาสัมพันธ์โฉนดชุมชน สํานักงานโฉนดชุมชน
ผลการดําเนินงาน
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน
ชุมชนยื่นความประสงค์ขอโฉนดชุมชน จํานวน 197 ชุมชน ชุมชนได้รับความเห็นชอบให้ดําเนินงานออก โฉนดชุมชนรวม 35 ชุมชน ออกโฉนดชุมชน 2 แห่งให้แก่ สหกรณ์บ้าน คลองโยง จํากัด ตําบลคลองโยงอําเภอพุทธ มณฑล จังหวัดนครปฐม และชุมชนบ้านแม่อาว ตําบลนครเจดีย์ อําเภอป่าซาง จังหวัดลําพูน รวม เนื้อที่ 10,970 ไร่ จํานวนประชากรที่ได้รับ ประโยชน์ และมีที่ดินทํากินเป็นของตัวเอง 5,824 คน 1,512 ครัวเรือน
ยังมีกฎหมาย และ ระเบียบต่างๆที่ไม่ เอื้ออํานวยต่อการ ดําเนินงานโฉนดชุมชน
154
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
กลไกการดําเนินงาน
ผลการดําเนินงาน
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน
8.โครงการเรียนฟรี เรียน ลดภาระค่าใช้จ่ายของ นักเรียน นักศึกษาตั้งแต่ ระดับอนุบาล 1ดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ผู้ปกครอง สร้างและขยายโอกาส มัธยมศึกษาตอนปลาย ทางการศึกษา ผู้เรียนได้รับ การศึกษาตามมาตรฐาน
จัดสรรเป็นเงินอุดหนุนให้ หน่วยงานที่รับผิดชอบด้าน การศึกษาในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการและนอก สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดย เป็นค่าใช้จ่ายสําหรับค่าเล่า เรียน ค่าหนังสือเรียน ค่า อุปกรณ์การเรียน ค่า เครื่องแบบนักเรียนและค่า กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
นักเรียน นักศึกษาได้รับเงินช่วยเหลือค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่า เครื่องแบบนักเรียนและค่ากิจกรรมพัฒนา คุณภาพผู้เรียน โดยปี 2552 และ 2553 นักเรียน ได้รับประโยชน์ 12,471,611 คน และ 12,480,473 คน ตามลําดับ
9.กองทุนเงินให้กยู้ ืมเพื่อ การศึกษา (กยศ.)
รัฐบาลจัดสรรเงินเป็นกองทุน หมุนเวียนให้ กยศ. คณะกรรมการกองทุนจะจัดสรร เงินให้คณะอนุกรรมการ 2 คณะ เพื่อนําไปจัดสรรให้สํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาและ สถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นผู้ พิจารณาตัดสินการกู้ยืมของ นักเรียน
ให้เงินกู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 จนถึงเดือนมีนาคม 2553 จํานวนทั้งสิ้น 3,475,458 ราย งบประมาณทั้งสิ้น 339,036 ล้าน บาท
ผู้ปกครองยังขาด ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับนโยบายเรียน ฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมี คุณภาพ ผู้ปกครองที่อยู่ในถิ่น ทุรกันดาร ไม่สะดวกใน การจัดซื้ออุปกรณ์การ เรียนเอง เด็กต้องคืนหนังสือ เรียน เมื่อจบการศึกษาแต่ ละชั้นเรียน ความต้องการกู้ยืม เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน ระดับอุดมศึกษา ซึ่งอาจ กระทบต่อเสถียรภาพของ กองทุนฯ การจัดสรรเงินกู้ยังไม่ สอดคล้องกับสาขา การศึกษาที่จําเป็นต่อการ พัฒนาประเทศ
ด้านการศึกษา
เพื่อให้นักเรียนนักศึกษา ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ กู้ยืมเงินเพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการศึกษา และค่าใช้จ่ายในการครอง ชีพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาส ทางการศึกษา
นักเรียนนักศึกษาใน ระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย และะดับ อุดมศึกษา ที่ครอบครัวมี รายได้น้อยกว่า 200,000 บาท ต่อปี
155
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
กลไกการดําเนินงาน
ผลการดําเนินงาน
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน
ประชาชนผู้มรี ายได้น้อย สปสช.
ครอบคลุมประชากรจํานวน 44.73 ล้าน ในปี 2552 ทั้งนี้ มีการขยายสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม สําหรับผู้ป่วยHIV/ AIDS ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะ สุดท้าย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจิตเวช รวมทั้งการขยายสิทธิ์หลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมคนไร้สญ ั ชาติประมาณ 457,000 คน สําหรับโรงพยาบาลตามแนว ชายแดน 172 แห่ง
อัตราเหมาจ่ายรายหัวมี แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผล กระทบต่อภาระ งบประมาณของภาครัฐ ในระยะยาว
อาสาสมัคร สาธารณสุข ประจําหมู่บ้าน ทั่วประเทศที่มา ลงทะเบียนและ ทํารายงานส่งเสริม สุขภาพใน 4 กลุ่มเป้าหมาย ส่งทุก เดือน
อสม.ได้ให้การส่งเสริมและดูแลสุขภาพประชาชน กลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม สรุปได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 การดูแลสุขภาพกลุ่มหญิงตั้งครรภ์/ฝาก ครรภ์สามารถดําเนินการได้จํานวน 140,348 และ 126,289 คน ในปี 2552 และ 2553 คิดเป็นร้อย ละ 93.48 และร้อยละ 99.24 ตามลําดับ กลุ่มที่ 2 แนะนําแม่ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่าง เดียว 6 เดือน สามารถดําเนินการได้จํานวน 242,765 และ 246,588 ในปี 2552 และปี 2553 คิดเป็นร้อยละ 71.80 และ 73.85 ตามลําดับ กลุ่มที่ 3 เยี่ยมบ้านและให้คาํ แนะนําผู้สูงอายุ สามารถดําเนินการได้จํานวน 2,524,726 และ 3,033,845 คนในปี 2552 และ 2553 คิดเป็น
ศักยภาพการเรียนรู้ ของอสม.มีหลายระดับ จึงเป็นข้อจํากัดในการ ดําเนินงาน กลไกการสนับสนุน การทํางานของ อสม. ยัง มีปัญหาในเรื่องการ ฝึกอบรมความรู้อสม. ใหม่เนื่องจากเน้นเรื่อง การเฝ้าระวังโรคระบาด และงบประมาณมีจํากัด ภาระงานที่เพิ่มขึ้น ของเจ้าหน้าที่สธ.ทําให้ เกิดช่องว่างในการดูแล
ด้านสุขภาพ 10. โครงการหลักประกัน เพื่อให้ประชาชนทุกคน สุขภาพถ้วนหน้า โดยเฉพาะผู้ยากไร้ มี หลักประกันสุขภาพได้รับ บริการรักษาพยาบาล การ ฟื้นฟูสภาพการส่งเสริม สุขภาพและการป้องกัน โรคซึ่งจําเป็นต่อสุขภาพ และการดํารงชีวิตและมี คุณภาพได้มาตรฐานและ เท่าเทียมกัน 11. โครงการส่งเสริม เพื่อส่งเสริม อาสาสมัครสาธารณสุข สนับสนุนให้ อสม. ประจําหมู่บ้าน(อสม.) ทั่วประเทศสามารถ เชิงรุก ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพใน ชุมชนและเป็นการสร้าง แรงจูงใจให้ปฏิบัติ งานได้ อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ เพื่อสร้างกระแส ให้ประชาชนมีส่วน ร่วมพัฒนาสุขภาพ ด้านสาธารณสุข ของชุมชน
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น
156
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
กลไกการดําเนินงาน
ผลการดําเนินงาน ร้อยละ 46.10 และร้อยละ 63.79 ตามลําดับ กลุ่มที่ 4 เยี่ยมบ้านและให้คาํ แนะนําผู้พิการ สามารถดําเนินการได้จํานวน 407,255 และ 439,386 ในปี 2552 และ 2553 คิดเป็นร้อยละ 84.10 และร้อยละ 86.20 ตามลําดับ
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน ความเข้มแข็งของการ ปฏิบัติงานในพื้นที่ของอ สม.
ด้านสวัสดิการสังคม และความมั่นคงใน ชีวิต 12. โครงการสร้าง หลักประกันด้านรายได้ ให้แก่ผู้สูงอายุ (เบี้ยยัง ชีพ)
เพื่อสร้าง หลักประกันด้านราย ได้แก่ผสู้ ูงอายุโดยจัด สวัสดิการเบีย้ ยังชีพให้ ทั่วถึง
ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ทุก คนที่มาลงทะเบียนและ ไม่ได้รับเงินเดือน บํานาญจากหน่วยงาน งานรัฐ จะได้รับเบีย้ ยัง ชีพคนละ 500 บาท ต่อ เดือนตลอดชีพ
คณะกรรมการผูส้ ูงอายุ แห่งชาติ อปท. (อบต. กทม. เมืองพัทยา)
13. โครงการจัด สวัสดิการเบี้ยความ พิการ
คนพิการที่มีบัตร ประจําตัวคนพิการทุก คนได้รบั สวัสดิการความ พิการถ้วนหน้า
คนพิการทุกคนที่ขึ้น ทะเบียนคนพิการได้รับ เบี้ยยังชีพคนละ 500 บาทต่อเดือนตลอดชีพ
คณะกรรมการส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (กพช.) มีนายกรัฐมนตรีเป็น ประธาน กระทรวงการพัฒนา สังคมและความร่วมมือของ
จํานวนผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพ 5,448,843 คน และ 5,652,893 คน ในปีงบประมาณ 2552 และ 2553 คิดเป็นร้อยละ 70.9 และ 73.6 ของ ประชากรสูงอายุทั้งหมด ใช้งบงบประมาณ 21,963 และ 32,779 ล้าน บาท ในปีงบประมาณ 2552 และ 2553
ขั้นตอนการจ่ายเบี้ย ยังชีพไม่รัดกุม ทําให้ ผู้สูงอายุได้รับเงินล่าช้า ระบบฐานข้อมูลการ จ่ายเบี้ยยังชีพไม่ เชื่อมโยงกับทะเบียน ราษฎร์ ทําให้การ ตรวจสอบล่าช้ากระทบ ต่อการจัดทํา งบประมาณ จํานวนคนพิการที่ลงทะเบียนและได้รับเบี้ยยัง จํานวนผู้ลงทะเบียน ชีพเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด จาก 262,742 คนใน มากกว่างบประมาณที่ ปี 2552 เป็น 837,257 คน ในปี 2553 หรือ ขอไว้ จึงต้องของบเพิ่ม เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า ทําให้ผู้พิการได้รับเบี้ยยัง ชีพล่าช้า
157
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
14. โครงการอาหาร กลางวันของนักเรียน
ลดภาระค่าใช้จ่าย ของผู้ปกครองเรื่อง อาหารกลางวันของ นักเรียน เพื่อจัดอาหารกลาง วันที่มีคุณภาพ
นักเรียนระดับก่อน ประถมศึกษา ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6
15. กองทุนสวัสดิการ ชุมชน
การสร้างหลักประกัน เพื่อความมั่นคงของคน ในชุมชน ซึ่งหมาย รวมถึงทุกอย่างที่จะทํา ให้คนในชุมชนมีความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในรูป
ประชาชนในชุมชนที่ เป็นสมาชิกกองทุน
กลไกการดําเนินงาน มนุษย์ (พม.) กทม. และ เทศบาลเมืองพัทยา สํานักงบประมาณจะจัดสรร งบประมาณลงไปที่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยตรง จากนั้นจะโอนเบี้ยเข้า บัญชีของผู้พิการ หรือผู้ได้รับ มอบอํานาจ หรือรับเป็นเงินสด หากผู้พิการหรือผู้รับมอบ อํานาจแจ้งความประสงค์ไว้ สงป.จัดสรรเงินให้กรม ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นใน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป จากนั้นกรมฯ จัดสรรให้จังหวัด ตามข้อมูลจํานวนนักเรียน ณ วันที่ 10 มิ.ย. ของทุกปี ซึ่ง จังหวัดแจ้งมา และจังหวัดส่ง เงินต่อให้อปท.เป็นหน่วย เบิกจ่ายให้กับทุกโรงเรียน กลไกระดับชาติ คือ คณะกรรมการส่งเสริม พัฒนาการจัดสวัสดิการชุมชน กลไกระดับจังหวัด คือ คณะกรรมการสนับสนุนการ ขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชน
ผลการดําเนินงาน
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน
รัฐบาลเพิม่ อัตราค่าอาหารกลางวันจาก 10 บาท เป็น 13 บาทตั้งแต่ปี 2552 เด็กได้รับประทานอาหารกลางวันเพิ่มจากร้อย ละ 50 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 60 ในปี 2553 และกําหนดเป้าหมายร้อยละ 85 ในปี 2554 จํานวนเด็กที่ได้รับประโยชน์เพิม่ จาก 2,571,972 คน ในปี 2550 เป็น6,083,013 คนใน ปี 2552
การจัดสรร งบประมาณเพื่ออาหาร กลางวันจัดสรรไม่ครบ ร้อยละ 100 ตาม นโยบายของรัฐบาล
ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนขยาย ผลไปทั่วประเทศ โดยประชาชนในชุมชนมีส่วน ร่วมกันออมและบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการ ชุมชน และรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณเป็นเงิน 727.3 ล้านบาท เพื่อสมทบเข้ากองทุนสวัสดิการ ชุมชน ในอัต รา 1:1 จํ านวน 5,100 กองทุ นทั่ ว
158
วัตถุประสงค์
16. กองทุนเศรษฐกิจ พอเพียง
กลุ่มเป้าหมาย
ของสิ่งของ เงินทุน น้ําใจ การช่วยเหลือ เกื้อกูล เป็นเรื่องที่ เกี่ยวกับวิถีชีวิตตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เพื่อจัดสรรงบประมาณ ประชาชนในหมู่บ้าน/ โดยตรงไปยังหมู่บ้านและ ชุมชน ชุมชนทั่วประเทศ เพิ่มเติมจากวงเงิน งบประมาณทีเ่ คยจัดสรร เดิม เพื่อให้ทุกชุมชน ได้รับโอกาสในการเข้าถึง งบประมาณของรัฐอย่าง รวดเร็วครอบคลุมทั่วถึง และให้ทุกภาคส่วนใน ชุมชนร่วมกันบริหาร จัดการและพัฒนา ศักยภาพของตนเองเพิ่ม มากขึ้น เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ ลดต้นทุน และปัจจัยการผลิต รวมทั้งพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติ ระดับชุมชนให้มี มูลค่าเพิ่มขึ้น
กลไกการดําเนินงาน
ผลการดําเนินงาน
กลไกระดับตําบล คือ คณะกรรมการกองทุน สวัสดิการชุมชนตําบล
ประเทศ กองทุนสวัสดิการชุมชนได้รับเงินสมทบจากรัฐ แล้วจํานวน 2,048 กองทุน
มีการบริหารโครงการฯในรูป ของ “คณะกรรมการบริหาร โครงการเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อยกระดับชุมชน” ชื่อย่อ “คพช.” โดยมีสํานักงาน เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับ ชุมชน (สพช.)ทําหน้าที่บริหาร จัดการโครงการ นอกจากนี้ มีคณะอนุกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนโครงการ 7 คณะ
ปัจจุบัน มีจํานวนชุมชนที่ได้ รับเงิน โอนเข้าบัญ ชี ชุ ม ชนแล้ ว เบิ ก จ่ า ยงบประมาณจํ า นวนทั้ ง สิ้ น 5,367.63 ล้านบาท มีผู้ ได้รั บประโยชน์จํ านวน 21,716 หมู่บ้านมีโครงการที่ประสบความสําเร็จ เช่น การจัด ทํา ถ่านไม้ เพนต์ สี ปุ๋ยชี วภาพ โรงสี ชุมชน และโรงเห็ด เป็นต้น
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน
159
17. โครงการบ้านมั่นคง
18. โครงการบ้านเอื้อ อาทร
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
กลไกการดําเนินงาน
ผลการดําเนินงาน
เพื่อพัฒนาชุมชน แออัดให้เป็นชุมชนน่า อยู่ ชาวชุมชนมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นและเป็น กระบวนการเพื่อสร้าง ความพร้อม ความสามารถให้องค์กร ท้องถิ่น องค์กรชุมชน สถาบันการศึกษา และ องค์กรพัฒนาอื่นๆ ใน การร่วมกันจัดการแก้ไข ปัญหาคนจนและที่อยู่ใน ท้องถิ่นร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาการ ขาดแคลนที่อยู่อาศัยที่ ได้มาตรฐาน
ผู้อยู่อาศัยในชุมชน แออัด และชุมชนบุกรุก ในเมือง
องค์กรชุมชน และเครือข่าย มีผู้ได้รับประโยชน์ 91,333 ครัวเรือน ใน 76 องค์กรชุมชน จัดกระบวนการ จังหวัด 269 เมือง/เขต เพื่อคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ เสนอคณะกรรมการเมืองให้ความ เห็นชอบ รัฐบาลสนับสนุนสินเชื่อ ให้กับสหกรณ์หรือกลุ่มออม ทรัพย์ทเี่ ป็นกลไกหลักในการ ดําเนินโครงการของชุมชน
ผู้ด้อยโอกาสและผูม้ ี รายได้น้อยในเขตเมือง รวมถึงข้าราชการชั้น ผู้น้อยและพนักงาน หน่วยงานราชการ โดยมี คุณสมบัติที่สาํ คัญ อาทิ ครอบครัวมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน ไม่มีบ้านพร้อมที่ดินเป็น ของตนเอง
การเคหะแห่งชาติจัดสร้าง ที่อยู่อาศัยให้กับ กลุ่มเป้าหมายโดยให้สินเชื่อ ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์
ตั้งแต่ปี 2546 จนถึง 31 ธันวาคม 2553 มี โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ 250 โครงการ จํานวน 240,186 หน่วย อยู่ระหว่างก่อสร้าง 56 โครงการ จํานวน 40,983 หน่วย อยู่ระหว่างจัดหาผูร้ ับจ้าง 1 โครงการ จํานวน 356 หน่วย และอยู่ระหว่าง การพิจารณาปรับหน่วยดําเนินการอีก 31 หน่วย และได้ส่งมอบอาคารให้ผู้พักอาศัยแล้ว 174,545 หน่วย
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน
160
19. โครงการแก้ไข ปัญหาหนี้นอกระบบ
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
กลไกการดําเนินงาน
ผลการดําเนินงาน
เพื่อช่วยเหลือให้ ประชาชนที่มีหนี้นอก ระบบเข้าเป็นหนี้ใน ระบบ เพื่อช่วยลดภาระ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ของประชาชนให้ลดลง เพื่อช่วยให้ประชาชน มีเงินเหลือจากการลด ภาระการจ่ายดอกเบี้ย มาออมเงินและเพื่อใช้ จ่ายในส่วนที่จําเป็น เพื่อฟื้นฟูและพัฒนา อาชีพของประชาชนให้มี ความเข้มแข็งและ สามารถสร้างรายได้ที่ มั่นคงให้แก่เกษตรกร มี การดํารงชีพและ ประกอบอาชีพภายใต้ แนวปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง
ประชาชนผู้มีปญ ั หา หนี้นอกระบบที่เกิดจาก เหตุสจุ ริต จําเป็นและ เป็นภาระหนัก ซึ่งมีมลู หนี้ไม่เกิน 200,000บาท
กระทรวงการคลังได้ เปิดรับลงทะเบียนพร้อม ข้อเสนอเงินกู้ภายใต้เงื่อนไข พิเศษผ่านสาขาของธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร ธนาคารออมสินทั่ว ประเทศ และศูนย์ลงทะเบียน 12 แห่งในกรุงเทพฯ โดยมี กรมบัญชีกลางเป็นหน่วยงาน ประมวลผล คัดกรองประเภท ลูกหนี้ และสรุปยอดลูกหนี้ นอกระบบ
ลูกหนี้ลงทะเบียนผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคาร ออมสิน รวมทั้งสิ้นจํานวน 1,184,868 ราย มูล หนี้ 123,202.42 ล้านบาท เจรจาประนอมหนี้ สําเร็จจํานวน 570,778 ราย เจรจาไม่สําเร็จ จํานวน 140,147 ราย และยุติเรื่องจํานวน 405,010 รายณ วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ธนาคารรัฐทั้ง 6 แห่งได้อนุมัตเิ งินให้ลูกหนี้จํานวน 411,654 ราย รวมเป็นเงินให้กู้ 34,616.73 ล้าน บาท
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน ลูกหนี้บางรายไม่ได้ รับการอนุมตั ิให้สินเชื่อ และบางรายได้รับอนุมตั ิ สินเชื่อล่าช้าเนื่องจาก ต้องรอการตรวจสอบ หลักฐาน
161
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
กลไกการดําเนินงาน
ผลการดําเนินงาน
พัฒนาแหล่งน้ํา ธรรมชาติและฟื้นฟู ทรัพยากรและเร่งรัดการ จัดหาแหล่งน้ําให้ทั่วถึง และเพียงพอ เพื่อใช้ใน การประกอบอาชีพและ การอุปโภคบริโภคของ ท้องถิ่นชุมชน อีกทั้ง สามารถส่งเสริมให้มีการ กระจายรายได้ การจ้าง งานในแหล่งพื้นที่พัฒนา แหล่งน้ํา
เกษตรกรและประชาชน ทั่วไปที่อยู่ใกล้โครงการ แหล่งน้ําขนาดเล็กและ ชลประทานขนาดเล็ก
กรมทรัพยากรน้ํา ดําเนินงาน โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ํา และกรมชลประทาน ดําเนินงานโครงการ ชลประทานขนาดเล็ก
โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ํา (ของกรม ทรัพยากรน้ํา) ดําเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 84.29 โครงการชลประทานขนาดเล็ก (ของกรม ชลประทาน) ดําเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 94.87
ด้านการสร้างโอกาส ในการเข้าถึงบริการ โครงสร้างพื้นฐาน ของรัฐ 20. โครงการแหล่งน้ํา ขนาดเล็ก
ปัญหา/อุปสรรคของ การปฏิบัติงาน
162
บทที่ 4 สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 4.1
ปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําในอนาคต
สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ําในสังคมไทยนับว่ายังเป็นปัญหาสําคัญเร่งด่วน โดยที่มี กลุ่มคนจนและกลุ่มเสี่ยงถึงประมาณ 10 ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 15 ของประชากรรวมของ ประเทศ ซึ่งกลุ่มยากจนและเกือบจนนี้เป็นกลุ่มระดับรายได้และรายจ่ายต่ําสุดของสังคมชี้ถึงปัญหาช่องว่าง ด้านรายได้ระหว่างกลุ่มคนในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มล่างสุดกับกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม เช่น กลุ่มที่รายได้ สูงสุด 10% นั้นเป็นเจ้าของรายได้สูงถึง 11เท่าของรายได้ของกลุ่ม 10% ล่างสุด ช่องว่างทางรายได้เป็นเพียง ปัญหาในมิติเดียวของปัญหาความเหลื่อมล้ําของสังคมไทยที่เชื่อมโยงกับความเหลื่อมล้ําในมิติอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงทรัพยากร บริการพื้นฐานของรัฐ และกระบวนการยุติธรรม นอกจากปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําในปัจจุบัน ยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่อาจจะเป็น ความเสี่ยงให้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํายิ่งรุนแรงขึ้นได้ ดังนี้ 4.1.1 กระแสโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีทางการค้า การเงิน และการลงทุนที่เข้มข้นขึ้น 1) กระแสโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีทางการค้าการเงินและการลงทุนส่งต่อการการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในด้านหนึ่งการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีมากขึ้นของสินค้า บริการ เงินทุน และผู้คน ช่วยสนับสนุนศักยภาพและผลิตภาพการผลิตของประเทศส่งผลให้ประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ มากขึ้น กระตุ้นการจ้างงานและช่วยลดปัญหาความยากจน แต่อย่างไรก็ตามผลต่อการกระจายรายได้ไม่มี ความชัดเจน ในทางทฤษฏีการเปิดเสรีทําให้ประเทศสามารถส่งออกสินค้าที่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ37 และให้ผลตอบแทนกับประเทศนั้นมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทําให้เทคโนโลยีที่แฝงมากับสินค้าและบริการไหล (spillover) เข้าประเทศและก่อให้เกิดผลิตภาพมากขึ้น แต่การไหลเข้ามาของเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นสาเหตุ สําคัญที่ทําให้เกิดความเหลื่อมล้ําระหว่างแรงงาน กล่าวคือเทคโนโลยีโดยมากมักเอื้อประโยชน์กับแรงงานมี ทักษะให้ได้รับผลตอบแทนมากกว่าแรงงานทักษะต่ํา (Skill Bias Technological Change) ซึ่งโครงสร้างการ ส่งออกสินค้าของไทยเป็นการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี เป็นหลัก แต่ภาคอุตสาหกรรมรองรับการจ้างงานเพียงร้อยละ 15 ในขณะที่แรงงานส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 40 อยู่ในภาคเกษตรกรรม ดังนั้นผลตอบแทนที่เกิดจากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เน้นใช้เทคโนโลยีจะเกิด ประโยชน์กับแรงงานกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น และอาจจะยิ่งทําให้เกิดความแตกต่างระหว่างแรงงานกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะแรงงานที่อยู่ในภาคการผลิตเพื่อการส่งออกและแรงงานที่อยู่นอกภาคทางการ นอกจากนี้แรงงานไทยประมาณร้อยละ 50-60 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาเท่านั้น ขณะที่ผู้มีงานทําที่ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีจํานวนเพียงประมาณร้อยละ 11 สะท้อนให้เห็นว่า โครงสร้างการผลิตที่มีฐานการผลิต มีส่วนผลักดันให้อุปสงค์ต่อแรงงานมีทักษะเพิ่มมากขึ้น แต่อุปทานของ แรงงานกลับพัฒนาไม่เพียงพอกับอุปสงค์ หรือเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน จึงเป็นผลให้ค่าจ้างแรงงานที่มีทักษะมีความ แตกต่างกับแรงงานทักษะต่ํามาก ในขณะเดียวกันแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เข้มข้นจากประเทศไทยทั้งในรูปของการขยายการลงทุนของนักลงทุนไทยในต่างประเทศและการขยายการ 37
Heckscher-Olin theory
163 ลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศในประเทศอื่นโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาจจะส่งผลกระทบต่อกลุ่ม แรงงานทักษะต่ําดดยเฉพาะในกลุ่มสตรีและมีอายุมาก แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ขยายฐานสาขาบริการ ทั้งด้านการเงิน โทรคมนาคมสื่อสาร และบริการการแพทย์เพิ่มขึ้นและเป็นโอกาสสําหรับกลุ่มกําลังคนที่มี การศึ กษาและทั กษะสู ง ดั งนั้ น จึ ง เป็ น ความเสี่ ย งที่จ ะทํา ให้ ช่อ งว่า งของรายได้ และโอกาสทางอาชี พของ ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ยิ่งกว้างขึ้น 2) ผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี การเปิดเสรีของตลาดเงินลดข้อจํากัด เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศทําให้การทําธุรกรรมทางการเงินระหว่า งประเทศและการ เคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศเป็นไปโดยสะดวกและเสรีมากขึ้น และมีต้นทุนต่ําลง เงื่อนไขดังกล่าวส่งผล ให้ประเทศไทยมีโอกาสที่จะมีเงินทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้นและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ขณะเดียวกันประเทศไทยก็มี ความเสี่ยงที่ตลาดการเงินจะมีความผันผวนได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดการเงินของประเทศไทยมี ขนาดเล็ก หากเงินลงทุนไหลเข้าเป็นการเก็งกําไรและมีความเสี่ยงที่จะไหลออกในปริมาณสูงก็จะส่งผลเสียต่อ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและมีผลต่อเนื่องต่อสถานการณ์การจ้างงานในอนาคตได้ โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะ ต่ําที่มักจะเป็นแรก ๆ ที่ได้รับผลรับผลกระทบ 3) ผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ภายใต้ความตกลงการค้าและการลงทุน เสรีจะลดข้อจํากัดการเคลื่อนย้ายแรงงานด้วยโดยเฉพาะแรงงานทักษะ ทําให้แรงงานมีการเคลื่อนย้ายระหว่าง ประเทศได้อย่างอิสระมากขึ้น ในกรณีของประเทศไทยอาจเกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานที่มีทักษะสูงของไทย ไปยังประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีค่าจ้างสูงกว่าทําให้เกิดการขาดแคลนแรงงานทักษะ ซึ่งจะกดดันให้ค่าแรงงาน ทักษะสูงขึ้น ในขณะที่แรงงานทักษะต่ําจากประเทศเพื่อนบ้านก็เคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะ ส่งผลกดดันค่าจ้างของแรงงานไทยในกลุ่มทักษะใกล้เคียงกันให้ต่ําลง จะทําให้ช่องว่างระหว่างแรงงานทักษะ กับแรงงานทักษะต่ํายิ่งมีมากขึ้น หรืออาจทําให้เกิดการว่างงานทักษะต่ํามากขึ้นด้วย นอกจากนี้หากภาครัฐไม่มี การจัดการแรงงานที่เคลื่อนย้ายเข้ามาอย่างเป็นระบบ อาจส่งผลเชื่อมโยงต่อปัญหาอาชญากรรม การแพร่ ระบาดของโรค และความมั่นคงทางสังคมได้ เป็นต้น 4) ผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม ผลกระทบที่สําคัญอีกอย่างหนึ่งของการเปิดเสรี ทางการค้าคือ การเคลื่อนย้ายสินค้าที่ปราศจากภาษี ทําให้สินค้าจากประเทศอื่นที่มีมูลค่าต่ํากว่าสามารถเข้า มาเจาตลาดสินค้าในประเทศได้มากขึ้น โดยเฉพาะกรณีการเปิดเสรีกับประเทศกําลังพัฒนาที่ยังมีเศรษฐกิจ พื้นฐานคือภาคเกษตรกรรม อาทิ FTA ไทย-จีน ผลกระทบจากการเปิดเสรีดังกล่าวทําให้เกษตรกรผู้ปลูกหอม กระเทียม ส้มเป็นจํานวนมากจําเป็นต้องปิดกิจการลง ทั้งนี้ FTA ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของ ไทยอีกกรณีคือ การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศอาเซียน ซึ่งมีฐานทรัพยากรการผลิตที่ใกล้เคียงกันอาจทําให้ เกษตรกรอีกเป็นจํานวนมากได้รับผลกระทบด้วย หากไม่ได้รับการเยียวยาและการพัฒนาอาชีพเสริมอย่าง เหมาะสม 5) ผลกระทบจากการเลื่อนไหลทางเทคโนโลยีทั้งที่ติดมากับการนําเข้าสินค้าทุน และ แรงงาน รวมทั้งการถ่า ยทอดเทคโนโลยีจากบรรษัทข้า มชาติ เทคโนโลยีดังกล่าวเมื่อมีการเรียนรู้จะทําให้ แรงงานของไทยมีผลิตภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งมีส่วนเอื้อประโยชน์ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต แต่แรงงาน กลุ่มที่ขาดทักษะต่ําก็จะไม่ได้รับโอกาสดังกล่าว ก็จะยิ่งทําให้เกิดความแตกต่างด้านรายได้ระหว่างแรงงานที่มี ทักษะสูงและแรงงานที่มีทักษะต่ํา ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพตั้งแต่ ในอดีตทําให้ประชาชนส่วนหนึ่งก้าวไม่ทันหรือไม่สามารถปรับตัวทันการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
164 และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งรวมทั้งช่องว่างทางเทคโนโลยี (Digital divide) ที่กว้างขึ้นในภาวะที่การ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ภายใต้ บ ริ บ ทการพั ฒ นาที่ ก ระแสโลกาภิ วั ต น์ มี ค วามเข้ ม ข้ น มากขึ้ น และการพั ฒ นา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นจะส่งผลกระทบที่ รุนแรงกว่าต่อกลุ่มประชาชนที่มีรายได้ต่ํา กลุ่มเกษตรกร ประชาชนที่มีการศึกษาต่ํา อายุมาก และด้อยโอกาส 4.1.2 ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะก่อให้เ กิดเหตุการณ์ผันผวนของ ปริมาณน้ําฝนแสงแดด อุณหภูมิ และฤดูกาล เกิดการสูญเสียชนิดพันธุ์ของแมลงที่ทําหน้าที่ผสมพันธุ์ เพิ่มการ ระบาดของแมลงศัตรูพืช เกิดการแพร่ระบาดของโรคในพืชและสัตว์เศรษฐกิจที่ยากแก่การป้องกันและควบคุม มากขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ ภาวะโลกร้อนยังส่งผล กระทบต่อการเกิดภัยพิบัติทั้งภัยแล้ง วาตภัย อุทกภัยและเกิดโคลนถล่มเพิม่ ขึ้นทั้งความถี่และความรุนแรง เกิด ความเสีย หายในพื้ น ที่เ กษตร ความเสื่ อ มโทรมทรัพ ยากรทางทะเลและพื้ น ที่ ช ายฝั่ง ต้อ งอพยพโยกย้ า ย ประชากร เกิดการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อภาวะ ความยากจนและความเหลื่อมล้ํา ดังนี้ 1) ภาคเกษตรมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียผลผลิตและรายได้ทั้งจากการเกิดภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความรุนแรงมากขึ้น การแพร่พันธุ์แมลงศัตรูและโรคพืชหลายชนิด การแพร่ระบาดของ โรคในสัตว์เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง การสูญเสียรายได้ขณะที่ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นทําให้ภาคเกษตรมีภาวะเสี่ยงต่อความยากจนเพิ่มขึ้น และครอบครัวที่ยากจนจะเผชิญ ปัญหาและความยากจนมากกว่ากลุ่มอื่นเนื่องจากมีข้อจํากัดในการปรับตัวและกระจายความเสี่ยงในการผลิต 2) การสูญเสียที่อยู่อาศัยและที่ทํากิน ประชาชนประสบความยากลําบากต้องใช้ทุน แรงงานและเวลาในการซ่อมแซมบ้านเรือน มีปัญหาที่ดินทํากิน เกิดการอพยพโยกย้ายถิ่นของประชากรและ ปัญหาการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อปัญหาสังคม ความยากจนและสิ่งแวดล้อม 3) ความเสื่อมโทรมของดิน ทรัพยากรทางทะเลและภาวะขาดแคลนน้ําทําให้เกิดการ แย่งชิงและความขัดแย้งการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ําในการ จัดสรรทรัพยากรรุนแรงขึ้น ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนทําให้ต้องมีการเตรียมการเพื่อลดความเสี่ยงและความสูญเสียที่ จะเกิดขึ้น รวมทั้งมีการบริหารจัดการและใช้ทรัยพากรที่มีอยู่อย่างจํากัดอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและ ทั่วถึง 4.1.3 สังคมผู้สูงอายุการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างสมบูรณ์ในอีก 15 ปีข้างหน้า เนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ลดลง สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปทําให้คน แต่งงานช้าลงหรือไม่แต่งงาน หรือแต่งงานแต่ไม่มีลูก ส่งผลให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง โดยประชากรวัยเด็กมี สัดส่วนลดลง วัยแรงงานเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2554 หลังจากนั้นมีแนวโน้มลดลง ส่วนประชากรสูงอายุมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจะมีสัดส่วนมากกว่าประชากรวัยเด็กตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2568 โดยจะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปเป็น 1 ใน 5 หรือเกือบ 15 ล้านคนของประชากรทั้งประเทศ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ อัตราส่วนภาระพึ่งพิงที่กลุ่มวัยแรงงานจะต้องดูแลประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น โดยอัตราส่วนพึ่งพิง วัยสูงอายุเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากร้อยละ 14.30 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 33.29 ในปี 2568 ขณะที่อัตราการ
165 พึ่งพิงวัยเด็กลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาแนวโน้มโครงสร้าง ความเสี่ยงและผลกระทบต่อความยากจน และความเหลื่อมล้ํา มีดังนี้ 1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัว และแนวโน้มการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ เพิ่มขึ้นมีผลต่อภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุ ทําให้ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อความยากจนโครงสร้าง ครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ครอบครัวขนาดเล็กทีม่ ีสมาชิกเพียง 3-4 คน และมีแนวโน้มไปสู่ครัวเรือนที่อยู่ คนเดียว หรือเป็นโสดมากขึ้น ทําให้สังคมไทยที่เคยเอื้อเฟื้อช่วยเหลือเกื้อกูลกันลดน้อยลง ขณะเดียวกันคนวัย หนุ่มสาวมุ่งทํางานหนักขึ้นและต้องออกไปทํางานในต่างถิ่น ส่งผลให้ผู้ที่คาดว่าจะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในอนาคต ลดลง ผู้สูงอายุต้องอยู่โดดเดี่ยวตามลําพังมากขึ้น รวมทั้งอาจไม่มีบุตรหลาน ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินเช่นใน อดีต ประกอบกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะทําให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น จึงมีความเสี่ยงต่อผู้สูงอายุที่จะเจ็บป่วยมากขึ้น รวมทั้งผู้สูงอายุยังมีโรคเรื้อรังทําให้มีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแล เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้จากการศึกษา38 พบว่าต้นทุนรวม ค่าใช้จ่ายการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือ เฉลี่ย 44,329บาทต่อคนต่อปี หากเป็นผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือ และต้องจ้างผู้ดูแลจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 96,352 บาทต่อคนต่อปี แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะส่งผลต่อผู้สูงอายุที่จะมีโอกาสยากจนเพิ่มขึ้นหากไม่มี ระบบการเตรียมการรองรับที่ดี 2) แรงงานนอกระบบยังขาดหลักประกันรายได้รองรับเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ขณะที่รัฐ ยังไม่มีนโยบายส่งเสริมการมีงานทําของผู้สูงอายุที่มีชัดเจนในปี 2553 มีแรงงานนอกระบบถึง 24.3 ล้านคน ที่ยังไม่มีหลักประกันรายได้ยามชราภาพเนื่องจากหลักประกันรายได้ที่รัฐดําเนินการยังไม่จูงใจและเข้าถึงกลุ่มคน ดังกล่าว แม้ว่ากระทรวงการคลังได้จัดตั้งกองทุนบําเหน็จบํานาญแห่งชาติ แต่ประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไปมีโอกาส ได้รับเงินบํานาญจํานวนน้อยเพราะมีช่วงเวลาการส่งเงินเข้ากองทุนสั้น แม้รัฐจะมีสวัสดิการขั้นพื้นฐานจ่ายเบี้ย ยังชีพ 500 บาทต่อเดือนแต่ก็ไม่เพียงพอกับการยังชีพ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุก็จะต้องทํางานต่อเพื่อให้มี รายได้เลี้ยงดูตนเอง ขณะที่ภาครัฐยังขาดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่เหมาะสม สําหรับผู้สูงอายุ จึงทําให้ประชากรสูงอายุ ซึ่งมีจํานวนเพิ่มขึ้นตามลําดับมีโอกาสเป็นคนจน หากไม่เตรียมการ รองรับที่ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุในอีก 15 ปีข้างหน้า (ปี 2568) 3) ระบบการศึ ก ษาไม่ สามารถผลิ ต กํ า ลั ง คนให้ ต อบสนองกั บความต้ องการของ ตลาดแรงงานได้ อีกทั้งการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี จะกระทบต่อภาวะการหางานทําของประชากรวัยแรงงาน ขณะที่แนวโน้มต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแลประชากรวัยเด็ก และผู้สูงอายุเพิ่มสูงมากขึ้น การที่ประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงในอนาคต ขณะที่คนกลุ่มนี้เป็นแกนหลักสําคัญที่ จะเพิ่มผลผลิต ให้กับ ประเทศ แต่ระบบการศึกษายัง ไม่สามารถผลิต และพัฒ นากํา ลังคนให้ส อดรับ กับ ทิศ ทางการพัฒนาประเทศ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ หากผลิตภาพแรงงานไม่สามารถเพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย ประมาณร้อยละ 3 ต่อปี ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศชะลอตัว กระทบต่อแนวโน้มการลงทุนและ การจ้างงานของประเทศ อีกทั้งในปี 2558 จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือเสรีในกลุ่มประชาคมอาเซียน โดย ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ซึ่งอาจมีผลลบต่อผู้ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในอีก 5 ปีข้างหน้า หากสถาบันการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ยังไม่ได้เตรียมความพร้อมกับการเปิดเสรีแรงงานดังกล่าว รวมทั้ง กลุ่มคนที่ ทํา งานที่จ ะต้องได้รับ การฝึกอบรมความรู้ความชํา นาญใหม่เ พิ่ มขึ้น ในภาวะที่อุ ต สาหกรรมบาง ประเภทอาจจะสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน 38
รศ.ดร.วรเวศห์ สุวรรณระดาโครงงานวิจัยเรื่อง การเงินการคลังสําหรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในเขตกรุงเทพมหานคร, 2552
166 ขณะเดียวกันประชากรวัยแรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูเด็กและผู้สูงอายุ โดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ สูงขึ้น ที่เป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป ทําให้ประชากรวัยแรงงานมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อ รายได้เพิ่มสูงขึ้น กระทบต่อระดับการออมของครัวเรือนจนอาจนําไปสู่ภาวะความยากจน 4.2
สรุปการดําเนินนโยบายและมาตรการในการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําที่สําคัญ ในช่วงปี 2552 – 2553ประกอบด้วยทั้งนโยบายระยะสั้นและนโยบายระยาวดังนี้ 4.2.1 การเพิ่มรายได้และสร้างเสถียรภาพรายได้ของประชาชน
1) สร้า งหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ ไม่เ พีย งพอแก่การยังชีพ หรือไม่ สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจํานง โดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ 2) การสร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุน เศรษฐกิจพอเพียงและจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้ รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ํา และทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน 3) การจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและ วางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบและมีระบบการคุ้มครอง รักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้ง พัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง 4) การสร้างและการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะในกลุ่มพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และมันสําปะหลัง 4.2.2 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน 1) ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตําราในวิชาหลักให้แก่ทุก โรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรี เป็นต้น 2) ดําเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และ บริการสาธารณูปโภคโดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการ ของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด 4.2.3 ด้านคุณภาพชีวิต 1) จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา ตอนปลาย พร้อ มทั้ง เพิ่มประสิ ทธิภ าพการบริ ห ารจั ด การให้เ กิด ความเสมอภาค เป็น ธรรมในโอกาสทาง การศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ฯลฯ 2) ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอม ไกล่ เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาระดับ อาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น 3) ปฏิรูประบบประกันสังคมและจัดระบบดูแลด้านสวัสดิการของแรงงาน โดยขยายความ คุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในด้านการเจ็บป่วย และเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นๆ ให้แก่ผู้ประกันตน การจัดระบบดูแลสวัสดิการของกลุ่มแรงงานนอกระบบ และการคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทย รวมทั้งการจัดสวัสดิการสําหรับแม่ที่ตั้งครรภ์และเด็กอายุ 0-2 ปี ด้วยการจัดนมบํารุงครรภ์ให้กับหญิงตั้งครรภ์
167 ทั่วไป และจัดอาหารเสริมพิเศษประเภทโปรตีนและนมให้กับหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง และการจัดสวัสดิการ ให้แก่เด็ก 3–5 ปี เร่งรัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กครอบคลุมทุกตําบลทั่วประเทศภายในปี 2554 รวมทั้งพัฒนา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีอยู่ให้มีคุณภาพมาตรฐานเท่าเทียมกันทั่วประเทศ 4) ส่งเสริมการมีงานทําของผู้สูงอายุและคนพิการ ให้มีรูปแบบที่หลากหลายเหมาะสม ตามความสามารถ อาทิ การทํางานแบบบางเวลา การทํางานชั่วคราว 5) ปรับปรุงระบบบริการด้า นสาธารณสุข โดยยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพประจําตําบล พัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ และส่งเสริม บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพใน ท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคใน ชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทน ให้แก่ อสม. เพื่อสร้างแรงจูงใจ หนุนเสริมให้ป ฏิบัติงานได้อย่า ง คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ 4.2.4 ด้านสวัสดิการทางสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1) จัด หาที่ ดิน ทํ า กิ น ให้ แ ก่ผู้ มี ร ายได้ น้ อย ส่ง เสริ ม อาชี พและสร้ า งรายได้ สร้า งความ เข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านและแหล่งทุนอื่นๆ ในระดับชุมชน ให้มีกลไกที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ 2)
ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนําไปสู่การลดหนี้ หรือยืดระยะเวลา ชําระหนี้
หรือพักชําระหนี้ 3) เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพการอยู่อาศัย คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ชุมชน โดยเฉพาะชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น 4) ส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ทุพพลภาพผู้ที่อยู่ ในภาวะยากลําบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พึ่งตนเองได้ 4.2.5 การปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ 1) จัดหาที่ดินทํากินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน เร่งรัดการออกเอกสาร สิทธิให้แก่เกษตรกรยากจน และชุมชนที่ทํากินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน 2) แก้ปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดําเนินการจัดการ หนี้สินของเกษตรกรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทํากินให้แก่เกษตรกร 3) ขยายการให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่มีความจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของ ประชาชนให้กระจายไปสู่ภู มิภ าคอย่า งทั่ว ถึงเพีย งพอ และมีคุ ณภาพทั้ งบริการน้ํา สะอาด ไฟฟ้า สื่อ สาร โทรคมนาคมพื้นฐาน ที่อยู่อาศัย รวมทั้งพัฒนาถนนไร้ฝุ่น 4.3
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
การดําเนินนโยบายและมาตรการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันนั้นนับว่ามีกรอบ การดําเนินการที่ค่อนข้างชัดเจน เป็นระบบ และมีความต่อเนื่องมากกว่าการดําเนินนโยบายและมาตรการเพื่อ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ํา ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการดําเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบในภาวะวิกฤตเป็นครั้งคราวโดย ที่ไม่ค่อยได้คํานึงถึงผลต่อเนื่องต่อการกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ํา อย่างไรก็ตาม นโยบายในการ
168 แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ํานั้นเริ่มชัดเจนและครบวงจรมากขึ้นภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศไทยและคาดว่าจะ ชัดเจนมากขึ้นในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่กําหนดให้ยุทธศาสตร์สร้างความเป็นธรรมในสังคมเป็น ยุทธศาสตร์หนึ่งของแผนฯ และการสะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ํามีความครอบคลุมในหลากหลายมิติทั้งด้าน รายได้ โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐานของรัฐ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ การดําเนินนโยบายในการแก้ปัญหาความยากจนและการลดช่องว่างในสังคมไทยมุ่งเน้น การดําเนินการแบบครอบคลุมทั้งหมด (Universal coverage) ตามสิทธิพื้นฐานซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก แต่ การกําหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อดําเนินการให้เกิดประสิทธิผลอย่างจริงจังในการยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่ม ด้อยโอกาสและให้เกิดผลในการลดช่องว่างโดยการสร้างแต้มต่อสําหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสนั้นนับว่ายังขาดความ ชัดเจน ดังนั้นในระยะต่อไปการดําเนินนโยบายนั้นควรให้ลําดับความสําคัญกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําใน เชิงโครงสร้างเพื่อให้มีการกระจายโอกาสและทรัพยากรที่ดีขึ้นจึงจะช่วยให้การแก้ปัญหาความยากจนบรรลุผล ได้เ ร็ว ขึ้ น ควบคู่ ไปกั บ การกํา หนดเป้า หมายการขยายฐานคนชั้น กลางให้ เ พิ่ม ขึ้น ทั้งนี้ รั ฐ บาลต้ องพั ฒ นา เครื่องมือที่จะช่วยให้การดําเนินนโยบายสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง การแก้ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ําจึงจะสามารถบรรลุผลควบคู่กันไป โดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้ 1) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีฐานการพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน เศรษฐกิจฐานรากมี ความหลากหลายและแข็งแกร่งมากขึ้น และเพิ่มศักยภาพและโอกาสคนจนบนหลักของการกระจายโอกาส และผลประโยชน์ก ารพัฒนาไปสู่ค นจนและคนด้ อยโอกาสอย่า งเป็น ธรรม โดยการสร้า งโอกาสในการ ประกอบอาชีพและสร้างรายได้ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบทและพื้นที่ห่างไกล การปฏิรูปที่ดิน เพื่อการเกษตร และการสนับสนุนการเข้าถึงทรัพยากรรวมถึงแหล่งเงินลงทุนสําหรับการสร้างอาชีพและรายได้ ชุมชน รวมทั้งการอบรมและเสริมสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ การสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร และมีระบบประกันความเสี่ยง ควบคู่ไปกับวางรากฐานภาคเกษตรให้เข้มแข็ง และส่งเสริมกิจการทางเศรษฐกิจ เชิงสร้า งสรรค์ที่เ ป็นมิต รกับ สิ่งแวดล้อมและกระจายผลกําไรสู่สังคมเชิงบวก รวมทั้งการเสริมสร้า งความ เข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ 2) การยกระดับระบบคุ้มครองทางสังคมสําหรับคนจนและคนด้อยโอกาส รวมถึงการเข้าถึง บริการทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง โดยการยกระดับบริการให้เข้าถึงคนจนและผู้ด้อยโอกาส การจัด สวัสดิการให้มีความสอดคล้องกับปัญหาของชุมชนและกลุ่มเป้าหมายคนจนและผู้ด้อยโอกาส และการสร้าง หลักประกันทางสังคมแก่ประชากรในทุกช่วงวัยตั้งแต่เกิดจนตาย รวมทั้งจัดระบบความสัมพันธ์ของสวัสดิการ สังคมที่ดําเนินการโดยภาครัฐ สวัสดิการสังคมที่ดําเนินการโดยท้องถิ่น และสวัสดิการสังคมที่ดําเนินการโดย ภาคประชาชนให้เชื่อมโยงกันสนับสนุนซึ่งกันและกัน ควบคู่ไปกับการกระจายบริการทางสังคมที่มีคุณภาพให้ คนจนและผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงได้ โดยพิจารณาให้การสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้สามารถเข้าถึง บริการได้ 3) ปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบให้สนับสนุนการกระจายรายได้และเป็นเครื่องมือในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสร้างความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรและการถือ ครองทรัพย์สิน โดยเน้นการจัดเก็บภาษีทางตรงมากขึ้นโดยเฉพาะภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าทรัพย์สินและฐาน รายได้ที่ไม่ใช่ผลตอบแทนจากการทํางาน ปรับปรุงกฎเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์และการลดหย่อนทางภาษีให้ เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประชาชนในระดับฐานล่างและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เร่งรัดการบังคับ ใช้กฎหมายภาษีสิ่งแวดล้อมเพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และวางระบบฐานข้อมูลและพัฒนากลไกในการนําภาค
169 นอกทางการทั้งแรงงานและผู้ป ระกอบการเข้ า สู่ร ะบบภาษี ควบคู่ ไปการปรับ การจัด สรรงบประมาณให้ สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย 4) การปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผ่นดินของภาครัฐและกระบวนการยุติธรรมให้ สนับสนุน การแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํา ทั้งการปรับ กระบวนทรรศน์และบทบาทของ หน่วยงานภาครัฐให้ดําเนินการร่วมกันอย่างบูรณาการและเป็นองค์รวม การเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ การจัด สรรงบประมาณที่เ อื้อต่อการแก้ปัญ หาความเหลื่อมล้ํา ตรงตามกลุ่มเป้า หมายและสนับ สนุน สาขา เศรษฐกิ จ ที่ เ ป็ น ฐานสํ า หรั บ กลุ่ ม คนส่ ว นใหญ่ ข องประเทศ รวมทั้ ง การสนั บ สนุ น โอกาสในการเข้ า ถึ ง กระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาคและสร้างระบบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่เข้มแข็งรวมทั้ง ขยายการให้บริการทางกฎหมาย ประชาชนได้รับความเป็นธรรมและความชอบธรรมในทุกขั้นตอนของข้อ กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ การสนับสนุนให้แรงงานในเศรษฐกิจนอกระบบมีสิทธิขั้นพื้นฐาน การขยาย ขอบเขตการให้บริการทางกฎหมายแก่คนจนโดยเฉพาะสิทธิในทรัพย์สินและสิทธิของแรงงาน การพิจารณาคดี ของศาลด้วยความเป็นธรรมเพื่อประโยชน์แก่คนจน และการทําให้ทุกคนมีหลักฐานทางกฎหมาย รวมทั้งการ กระจายอํานาจสู่ประชาชนให้สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องพัฒนาเครื่องมือและกลไกเพื่อการดําเนินนโยบายให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ 4.1) การกําหนดกลุ่มเป้าหมายและการพัฒนาระบบฐานข้อมูลในระดับพื้นที่และกลุ่ม คนเพื่อการดําเนินนโยบายในการแก้ปัญหาความยากจนและลดช่องว่างทางรายได้และโอกาสทางอาชีพ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มด้อยโอกาส โดยที่เป้าหมายการดําเนินนโยบายในระยะต่อไปควรมีลักษณะเฉพาะเจาะจง (Targeting) มากกว่าการครอบคลุมทั้งหมด ทั้งนี้ควรพิจารณาใช้ตาข่ายทางสังคม (Social safety net) สําหรับกลุ่มที่ยากจนมากและเรื้อรังเพื่อให้สามารถดํารงชีวิตในระดับมาตรฐานขั้นต่ําได้ และการสนับสนุนและ ให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มคนยากจนแบบองค์รวมทั้งในรูปของการให้เงินอุดหนุนและสิ่งของ เพื่อให้สามารถ เข้าถึงบริการพื้นฐานที่จําเป็นและสามารถต่อยอดในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งนี้โดยต้องพัฒนาระบบ ฐานข้อมูลในระดับพื้นที่และกลุ่มคนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง เช่น แผน ที่ความยากจน และ ข้อมูลประชากร เป็นต้น รวมทั้งการนําข้อมูล จปฐ. และ กชช. 2 ค. มาใช้ประโยชน์ในการ ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติมากขึ้น 4.2) การใช้กลไกเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําเชิงโครงสร้างเป็นวาระ เร่งด่วนเพื่อนํา ไปสู่ก ารแก้ปัญหาความยากจนที่สัมฤทธิ์ผลได้เ ร็วขึ้ น โดยใช้หลัก การของการกระจาย ผลประโยชน์จากกลุ่มบนลงสู่กลุ่มล่างให้เป็นธรรมมากขึ้น โดยผ่านทาง (1) กลไกภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม การใช้กฎหมายภาษี และการจัดสรรงบประมาณ เป็นต้น (2) กลไกภาค ธุรกิจเอกชน ภายใต้การดําเนินการเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) และ การดําเนินการวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprises: SE) โดยรัฐอาจใช้แรงจูงใจด้านภาษี การประกาศ เกียรติคุณ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล และองค์ความรู้ และการดําเนินการร่วมกัน และ (3) กลไก ชุมชนและท้องถิ่นในการขับเคลื่อนการปฏิบัติที่สะท้อนปัญหาและความต้องการในระดับพื้นที่อย่างแท้จริง รวมทั้งการใช้ทุนทางสังคมและความเข้มแข็งชุมชน 4.3) การพัฒนาและวางระบบการติดตามประเมินผลการดําเนินนโยบายเพื่อแก้ปัญหา ความยากจนและความเหลื่อมล้ําตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับประเทศ เพื่อให้สามารถปิดช่องว่างหรือลดความ
170 ซ้ําซ้อนการดําเนินการและใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งพัฒนากรอบการติดตาม และประเมินผลกระทบจากภาวะวิกฤตต่าง ๆ ต่อกลุ่มยากจนและด้อยโอกาสซึ่งสามารถใช้เป็นระบบเตือน ภัยได้ด้วย ทั้ ง นี้ ต้ อ งใช้ ก ลไกเพื่ อ สนั บ สนุ น การแก้ ปั ญ หาความยากจนให้ เ กิ ด ขึ้ น ไปพร้ อ มๆ กั บ การ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําด้วยโดยใช้หลักการของการกระจายผลประโยชน์จากกลุ่มบนลงสู่กลุ่มล่างให้เป็น ธรรมมากขึ้น โดยผ่านทาง (1) กลไกภาครัฐ โดยปรับโครงสร้างภาษีรายได้ การเร่งบังคับใช้ภาษีทรัพย์สิน ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง และการเร่งบังคับใช้ภาษีสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานการจัดเก็บภาษีอย่างประสิทธิภาพและ นํา ไปจัด สรรใช้ป ระโยชน์ อย่ า งมีป ระสิท ธิภ าพและโปร่ ง ใสที่ มีก ารจัด สรรให้ต รงกลุ่ มเป้า หมายที่ต้ องเร่ ง แก้ปัญหา (2) กลไกภาคธุร กิจ เอกชน ภายใต้แนวคิด ความรับ ผิด ชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) และวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprises: SE) ทั้งการใช้แรงจูงใจด้านภาษี การ ประกาศเกียรติคุณ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล และองค์ความรู้ และดําเนินการร่วมกัน และ (3) กลไกชุมชนและท้องถิ่น ในการสะท้อนปัญหาและความต้องการในระดับพื้นที่ และการขับเคลื่อนการปฏิบัติ รวมทั้งการใช้ทุนทางสังคมและความเข้มแข็งชุมชนเพื่อช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
171
ภาคผนวก ก. การประมวลข้อมูลและองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับความยากจน และความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ และสังคม การประมวลข้อมูลและองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับความยากจนและความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในส่วนนี้ประกอบด้วย แนวคิด/ทฤษฎีเกี่ยวกับการวัดความยากจนและความเหลื่อมล้ําใน รูปแบบต่างๆ และแนวคิด/ทฤษฎีในการกําหนดเส้นความยากจนทางการของประเทศไทย รวมทั้งนโยบายทั้ง นโยบายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและนโยบายรัฐบาล ตลอดจนโครงการสําคัญที่เกี่ยวข้อง กับการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ําของประเทศไทย
ทฤษฎีและแนวความคิด 1.1 การวัดความยากจนและความเหลื่อมล้ําในรูปแบบต่างๆ นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายเกี่ยวกับความยากจน ดังเช่น Amartaya Sen (1992) มี ความเห็นว่าความยากจนเป็นความล้มเหลวของการมีสมรรถนะพื้นฐานในอันที่จะเข้าถึงระดับต่ําสุดซึ่งเป็นที่ ยอมรับกัน ได้แก่ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับกายภาพด้านพื้นฐาน การมีอาหารดี มีเสื้อผ้า ที่พักที่เหมาะสมและการ หลีกเลี่ย งความตายที่ป้องกันได้ ตลอดจนความสําเร็จ ด้านสังคมที่ซับ ซ้อนมากขึ้น ได้แก่ การเข้า ไปมีส่ว น ร่วมกับชุมชนและสาธารณะ United Nations Committee on Economic, Social and Culture Rights (2001) ได้ให้นิยามว่า ความยากจนหมายถึงการที่บุคคลขาดทรัพยากร ความสามารถ ทางเลือก ความปลอดภัย และกําลังอันจะทํา ให้ตนบรรลุสู่มาตรฐานในการดํารงชีพและด้านอื่นๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิทธิทางสังคม Committee for Poverty Alleviation (2003) มีความเห็นว่าความยากจนมีหลายรูปแบบ ดังเช่น การมีรายได้และปัจจัยการผลิตในระดับต่ําจนไม่สามารถดําเนินชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน การขาดอาหารและมี ภาวะทุพโภชนาการ มีปัญหาด้านสุขภาพ ขาดการเข้าถึงบริการด้านการศึกษาและบริการขั้นพื้นฐาน มีการ เจ็บป่วยและการตายจากโรคต่าง ๆ ไร้ที่อยู่อาศัยและที่พักพิงมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย มีการแบ่งแยก และโดดเดี่ ย วทางสั งคม ตลอดจนขาดการมี ส่ ว นร่ ว มในการตัด สิ น ใจทั้ ง ในด้ า นการปกครอง สั ง คมหรื อ วัฒนธรรมในการดําเนินชีวิต สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (2546) ได้ให้ความหมายความยากจนโดยทั่วไปว่าหมายถึง ความ ยากจนในเชิงเศรษฐกิจ โดยการพิจารณาระดับรายได้หรือฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลว่ามีรายได้ไม่เพียงพอ กับการดํารงชีพได้ตามมาตรฐานขั้นต่ํา หรือมีรายได้ต่ํากว่ามาตรฐานคุณภาพชีวิตขั้นต่ําที่ยอมรับในแต่ละสังคม โดยสรุปนั้น สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2546) ได้ให้นิยามของ ความยากจนหรือคนจนว่าไม่ได้จํากัดเฉพาะคนที่ขัดสนทางด้านเศรษฐกิจหรือรายได้เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึง ความยากจนเชิงโครงสร้างที่เกิดจากความขัดสนในหลาย ๆ ด้าน ที่มีผลทําให้ขาดศักยภาพในการดํารงชีวิต ทั้ง ขาดการศึกษาหรือได้รับการศึกษาน้อย การขาดทรัพยากร ขาดที่ดินทํากินหรือมีที่ดินทํากินขนาดเล็ก การขาด การรวมกลุ่มและการมีส่วนร่วม การขาดข้อมูลข่าวสารหรือความรู้ในการประกอบอาชีพ การมีภาระพึ่งพาสูง การที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐ ซึ่งนําไปสู่ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม
172 จากความหมายหรือนิยามของความยากจนตามที่กล่าวมานี้ส่งผลให้เกิดแนวคิดและวิธีการในการวัด ความยากจนในหลากหลายวิธี ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ คือ เกณฑ์ที่ใช้ร ายได้ห รือรายจ่า ยเป็น เครื่องมือในการวัดความยากจน การวัดความยากจนในแง่คุณภาพชีวิต และเกณฑ์ที่ใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลายใน การวัดความยากจน 1) การวัดความยากจน โดยใช้รายได้/รายจ่ายเป็นตัวชี้วัด มีวิธีวัด 2 วิธใี หญ่คือ 1.1) เชิงสัมบูรณ์ (Absolute poverty) คํานวณว่า รายได้/รายจ่ายขนาดไหนที่คนเราจะใช้ยัง ชีพและดํารงชีวิตต่อไปได้ (มีอาหารกินกี่แคลลอรี่ และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็นอื่น ๆ เช่น ค่าเช่าบ้าน, เสื้อผ้า, เชื้อเพลิง ฯลฯ) และวัดว่าคนที่มีรายได้/รายจ่ายต่ํากว่าเส้นความยากจนถือว่าเป็นคนยากจน โดยตั้งแต่ ไทยมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นแบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ตามคําแนะนําของธนาคารโลก ในปี พ.ศ. 2504 การวัดความยากจนโดยธนาคารโลกและนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ใช้แนวคิดรายได้/รายจ่ายที่ พอเพียงแก่การบริโภคขั้นพื้นฐานเป็นหลัก โดยคํานวณจากจํานวนแคลลอรี่ของอาหารที่คนเราจําเป็นต้อง บริโภคและการใช้จ่ายที่จําเป็นอื่น ๆ ออกมาว่าคนเราควรจะมีรายได้/รายจ่ายเท่าไหร่ จึงจะพอซื้อหาอาหาร และเครื่องใช้ไม้สอยที่จําเป็นเพียงพอแก่การดํารงชีพต่อไป และใช้ตัวเลขนี้เป็นเส้นความยากจน คือใครที่มี รายได้/รายจ่ายต่อหัวต่อเดือนต่ํากว่าเส้นนี้ก็ถือว่ายากจน โดยมีการปรับตัวเลขนี้ทุกปีตามอัตราเงินเฟ้อ 1.2) เชิงเปรียบเทียบ (Relative poverty) พิจารณาจากการกระจายรายได้ของกลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมเดียวกัน คือ การวัดโดยใช้การเปรียบเทียบรายได้ของคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ว่ามีความแตกต่างใน ส่ว นแบ่ง ของรายได้ทั้ งหมดมากน้อ ยอย่า งไร เช่น การแบ่ ง คนออกเป็น 5 กลุ่ ม กลุ่ มละร้ อ ยละ 20 ของ ประชาชน กลุ่มคนที่รายได้ต่ําที่สุดร้อยละ 20 สุดท้าย ถือว่าจนเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ หรือการเปรียบเทียบ กับรายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนทั้งประเทศ โดยผู้ที่รายได้ต่ํากว่ารายได้ถัวเฉลี่ยก็จัดว่าเป็นคนยากจนกว่าคนอื่น ๆ นอกจากนั้น การวัดความยากจนในแง่เปรียบเทียบรายได้เฉลี่ยสามารถที่จะเปรียบเทียบระหว่างคนในอาณา บริเวณ เป็นภูมิภาค จังหวัด หมู่บ้าน ซึ่งจะให้ประโยชน์ในแง่การจํากัดพุ่งเป้าอาณาบริเวณในการศึกษาวิจัย หรือการกําหนดนโยบายสาธารณะ 2) การวัดความยากจนในแง่คุณภาพชีวิต ปัจจุบันนักวิชาการและหน่วยงานพัฒนาต่าง ๆ ตระหนักมากขึ้นว่า คนเราไม่ได้ยากจนขัดสนใน เชิงเศรษฐกิจหรือรายได้เท่านั้น แต่ยังยากจนขัดสนในเชิงสังคม การเมือง วัฒนธรรมด้วย เช่น คนที่มีปัญหา ด้านสุขภาพ การศึกษาต่าง ๆ มีปัญหาด้านเชื้อชาติ เพศ วัย มีสถานะทางการเมืองและสังคมต่ํา การไม่มีสิทธิ โอกาส การเข้ า ถึ ง บริ ก ารพื้ น ฐานด้ า นต่ า ง ๆ ทั ด เที ย มกั บ คนอื่ น ขาดความมั่ น คงปลอดภั ย และความ สะดวกสบายในวิถีชีวิตโดยรวม ฯลฯ จึงได้มีความพยายามสร้างดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตโดยรวมของคนขึ้นมา 2.1) การวัดข้อมูลความจําเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ) โดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ดําเนินการสํารวจจัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลในระดับครัวเรือนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต ที่ได้ กําหนดมาตรฐานขั้นต่ําไว้ว่า คนควรจะมีคุณภาพชีวิต ในเรื่องต่าง ๆ อย่า งไร จึงจะมีชีวิตที่ดีและสามารถ ดํารงชีวิตอย่างมีความสุข โดยเครื่องชี้วัด จปฐ แบ่งเป็น 6 หมวด 42 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย สุขภาพดี มีบ้าน อาศัย ฝักใฝ่การศึกษา รายได้ก้าวหน้า ปลูกฝังค่านิยมไทย และร่วมใจพัฒนา โดยจะมีการปรับปรุงเครื่องชี้วัด จปฐ ตามระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2.2) การวัดข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช 2 ค) เป็นการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ระดับหมู่บ้าน เพื่อแสดงความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ และสังคม จัดทําโดยกรมการ
173 พัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย แบ่งเป็น 6 กลุ่ม 31 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการ ประกอบอาชีพและมีงานทํา ด้านสุขภาพและอนามัย ด้านความรู้และการศึกษา ด้านความเข้มแข็งของชุมชน และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนา โดยจะมีการปรับปรุงตัวชี้วัด กชช 2 ค ตามระยะเวลา ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเกณฑ์พื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช 2 ค) นี้สามารถนํามากําหนด พื้นที่เป้าหมายยากจนได้ 2.3) การวัดดัชนีความขัดสน (Index of Deprivation-IHD) โดยสํานักงานโครงการพัฒนาแห่ง สหประชาชาติ ประจํา ประเทศไทย (UNDP Thailand) จากแนวคิด ของดั ช นีก ารพัฒ นาคน (Human Development Index-HDI) ที่ UNDP ใช้วัดเปรียบเทียบระหว่างประเทศต่าง ๆ กว่า 170 ประเทศ และพิมพ์ รายงานเผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2523 ดัชนีการพัฒนาคน ใช้ข้อมูลที่สําคัญ 3 ข้อ คือ ระดับรายได้ที่จําเป็นแก่การ สามารถมีชีวิตที่ดี ข้อมูลสุขภาพโดยดูจากอายุขัยเฉลี่ยของประชากรและอื่น ๆ และข้อมูลการศึกษา โดยดูจาก ข้อมูลการอ่านออกเขียนได้ การมีโอกาสได้เรียน และอื่น ๆ โดย UNDP ประจําประเทศไทย ได้เริ่มโครงการทํา รายงานเฉพาะประเทศไทย ใช้วิธีเปรียบเทียบการพัฒนาระหว่างจังหวัดต่าง ๆ โดยได้พัฒนาดัชนีขึ้นใหม่ให้ เหมาะสมกับสภาพการณ์พัฒนาคนของประเทศไทย เรียกว่า ดัชนีความขัดสน (Index of Deprivation-IHD) เป็นดัชนีรวมที่มองการพัฒนาใน 8 มิติคือ สุขภาพ การศึกษา การทํางาน รายได้ ที่อยู่อาศัย การอุปโภคบริโภค การคมนาคมขนส่ง และสถานภาพสตรี ซึ่งถือว่าทั้ง 8 มิติสําคัญเท่ากัน แต่ละมิติมีดัชนีย่อยแต่ละด้าน รวมเป็น ดัชนีความขัดสน 48 ตัวชี้วัด 3) ตั วชี้ วั ดการแก้ ไขปั ญหาความยากจนเพื่ อการติ ดตามและประเมิ นผล พั ฒนาโดย มหาวิ ทยาลั ย เกษตรศาสตร์ ร่ ว มกั บ สํ า นั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ประกอบด้วย 8 มิติความยากจน คือ ก) ความยากจนมิติรายได้ หมายถึง การขาดแคลนรายได้หรือมีรายได้ต่ํา กว่าระดับพอยังชีพของคนทั่วไปหรือมีรายได้แต่ไม่เพียงพอสําหรับค่าใช้จ่ายที่จําเป็นหรือมีรายได้ไม่แน่นอน เพราะมีอาชีพที่ไม่มั่นคง ขาดปัจจัยการผลิต เช่น ที่ดิน เงินทุน และมีภาระหนี้สิน ข) ความยากจนมิติการ ทํางาน หมายถึง การขาดโอกาสหรือทางเลือกในการประกอบอาชีพเนื่องจากขาดแคลนปัจจัยการผลิตหรือ ขาดความสามารถ ทําให้ไม่มีงานทําหรือต้องทํางานที่ได้รับค่าตอบแทนต่ํา ไม่มีความมั่นคง มีความเสี่ยง และ ไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ค) ความยากจนมิติการศึกษา หมายถึง การขาดการศึกษาหรือมีการศึกษาในระดับต่ําหรือ ขาดโอกาสในการเพิ่มพูนความรู้ การเสริมทักษะ และความสามารถ เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงบริการด้าน การศึกษาหรือความขัดสนทางเศรษฐกิจหรือการขาดข้อมูลข่าวสาร ง) ความยากจนมิติสุขภาพ หมายถึง ความ ไม่แข็งแรงสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ และชีวิตความเป็นอยู่ อันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา เพราะไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขหรือความขัดสนทางเศรษฐกิจ จ) ความยากจนมิติที่อยู่อาศัย หมายถึง การขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เป็นหลักแหล่ง ขาดสุขลักษณะ แออัด และไม่ปลอดภัย ฉ) ความยากจนมิติการเข้าถึงบริการ หมายถึง การขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ของภาครัฐ เช่ น ด้ า นสาธารณู ป โภค ด้ า นการศึ ก ษา ด้ า นสาธารณสุ ข และสวั ส ดิ ก ารต่ า ง ๆ หรื อ ขาดโอกาสในการ ครอบครองปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐาน ช) ความยากจนมิติการมีส่วนร่วม หมายถึง การดําเนินชีวิตที่ขาดการมี ส่วนร่วมในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการปกครองประเทศ และ ซ) ความยากจนมิติการมีเอกลักษณ์ หมายถึง การดําเนินชีวิตที่มีการแบ่งแยกโดดเดี่ยวทางสังคม ขาดการ ลักษณะเด่นทางสังคม วัฒนธรรม และการปกครองของประเทศ สําหรับความเหลื่อมล้ําในสังคมนั้น เป็นประเด็นที่ได้มีการกล่าวถึงกันมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งความเหลื่อมล้ําในสังคมนี้มีความหมายที่กว้างตั้งแต่ความเหลื่อมล้ําในการถือครองรายได้หรือการกระจาย
174 รายได้ ความเหลื่อมล้ําในโอกาสทางการศึกษา ความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงบริการภาครัฐ หรือความเหลื่อมล้ํา ในการพัฒนาเชิงพื้นที่ เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ําในลักษณะใดต่างส่งผลกระทบต่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศทั้งสิ้น ซึ่งในรายงานนี้ จะพิจารณาความเหลื่อมล้ําในแง่ของการกระจายรายได้ เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม แนวคิดว่าด้วยความเหลื่อมล้ําในการกระจายรายได้นั้นต่างจากแนวคิดและการวัด ความยากจนเป็นอย่างมาก การวัดความเหลื่อมล้ําในการกระจายรายได้ เป็นการพิจารณาว่ารายได้นั้นมีการ กระจายในสังคมหรือในกลุ่มแต่ละกลุ่มอย่างไร ซึ่งมีแนวทางที่แพร่หลาย ได้แก่ สัดส่วนระหว่างค่าสูงสุดกับตํ่า สุด (maximum to minimum ratio) ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (coefficient of variation) ดัชนีไทล์ (Theil) และดัชนีจีนี (Gini index) 1) สัดส่วนระหว่างค่าสูงสุดกับต่ําสุด (maximum to minimum ratio) เป็นการเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัว โดยการหาสัดส่วนระหว่างคนหรือกลุ่มคนที่มีรายได้สูงสุดกับคนหรือกลุ่มคนที่มีรายได้ตํ่า สุด หรือการหาสัดส่วนค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวระหว่างพื้นที่ โดยสัดส่วนที่ได้ยิ่งมีค่าใกล้กับ 1 เท่าใด ก็หมายความ ว่ามีความเหลื่อมล้ําน้อยเท่านั้น สัดส่วนยิ่งมากก็ยิ่งมีความเหลื่อมล้ํามาก อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยหลักของวิธีการ นี้ คือ ตัวเลขที่วิเคราะห์มาไม่สามารถบอกได้ว่าความเหลื่อมล้ําระหว่างกลุ่มคนหรือพื้นที่อื่นๆ เป็นอย่างไร ค่าสูงสุดหรือตํ่าสุดอาจเป็นค่าผิดปกติ (outlier) ที่ไม่ได้แสดงถึงภาพรวมของความเหลื่อมล้ําได้ กระนั้นก็ตาม วิธีการนี้ถือเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อน ทําได้อย่างรวดเร็วและเข้าใจได้ง่าย ซึ่งวิธีการนี้ ยังสามารถพิจารณาจาก สัดส่วนรายได้ (share of income) ซึ่งเป็นการวัดการกระจายรายได้ โดยพิจารณาจากสัดส่วนรายได้ที่กลุ่ม ประชากรได้รับ เช่น กลุ่มคนรวยสุดร้อยละ 10 แรก กับกลุ่มคนจนสุดร้อยละ 10 2) ค่าสัมประสิทธิการแปรผัน (coefficient of variation - CV) เป็นการวัดค่าการกระจายตัว รอบค่าเฉลี่ย ซึ่งสามารถคํานวณได้หลายวิธีการด้วยกัน วิธีการหนึ่งคือการคํานวณค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่า ลอการิทึม โดยค่าสัมประสิทธิ์ CV จะมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ซึ่งคือความเท่าเทียมสมบูรณ์ เมื่อทุกพื้นที่มีรายได้เฉลี่ย เท่ากันหมด ไปจนถึง U1−N ซึ่งคือความเหลื่อมล้ําสมบูรณ์ เมื่อพื้นที่เดียวมีรายได้ทั้งหมดของประเทศ แต่ใน ความเป็นจริงแล้วจะไม่มีทั้งความเท่าเทียมสมบูรณ์และความเหลื่อมล้ําสมบูรณ์ ซึ่งข้อจํากัดของวิธีการนี้ คือ จะสามารถใช้ได้เพียงการเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ําเชิงพื้นที่ภายในประเทศในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน แต่ไม่ สามารถนําผลการวิเคราะห์ไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นได้ เพราะค่าความเหลื่อมล้ําจะขึ้นอยู่กับจํานวนพื้นที่ หรือจังหวัดที่ นํามาใช้ในการคํานวณ ข้อจํากัดดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการให้ค่าน้ําหนักตามส่วนแบ่ง ประชากรของแต่ละพื้นที่ 3) ดัชนีการกระจายรายได้ที่แพร่หลาย ประกอบด้วย ค่าสัมประสิทธิจีนี (Gini Coefficient) ซึ่ง มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 คือ ตั้งแต่ความเท่าเทียมสมบูรณ์ถึงความเหลื่อมล้ําสมบูรณ์ กล่าวคือ ยิ่งค่าจีนีใกล้กับ 1 เท่า ใดก็ จ ะมี ความเหลื่อมล้ํา มากขึ้น เท่า นั้ น การวิ เ คราะห์ ด้ว ยดัช นี ไทล์ (Theil) โดยหากดัช นี ไทล์มีค่ า 0 หมายถึงมีความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ และ Atkinson index ซึ่งมีค่าระหว่าง 0 และ 1 โดยค่า 0 หมายถึงมีความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ ในขณะที่ ค่า 1 หมายความว่า เป็นความเหลื่อมล้ําโดยสมบูรณ์
1.2
แนวคิดและทฤษฎีในการกําหนดเส้นความยากจนทางการของประเทศไทย
งานบุกเบิกชิ้นสําคัญ 2 ชิ้นในการพัฒนาเส้นความยากจนของประเทศไทย คือ เมธีและจินตนา ในปี 2518 ที่มุ่งหาเส้นความยากจนสัมบูรณ์ ด้วยการใช้ฟังก์ชั่นการบริโภค การใช้ความต้องการอาหารขั้นต่ํา
175 หรือความพอเพียงทางด้านอาหาร เป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยสรุปออกมาเป็นรายได้ที่เพียงพอที่จะซื้อ อาหารและสินค้าหรือบริการอื่นที่จําเป็นในการดํารงชีพขึ้นต่ํา และ Kakwani and Medhi (1998) ที่ได้พัฒนา ต่อยอดจากเส้นความยากจนเดิม โดยได้กําหนดความหมายของ “คนจน” ทั่วไป ว่า หมายถึง บุคคลที่มีรายได้ ไม่เพียงพอในการใช้จ่ายเพื่อสนองความต้องการพื้นฐานขั้นต่ําในการดํารงชีพ “เส้นความยากจน” จึงเป็น เกณฑ์มูลค่าความต้องการพื้นฐานขั้นต่ําทั้งด้านอาหาร และสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร หรือปัจจัยสี่ เพื่อใช้แบ่งว่า บุคคลใดเป็นคนจน ดังนั้น เส้นความยากจน จึงเป็นผลรวมของเส้นความยากจนด้านอาหาร (food poverty line) และเส้นความยากจนด้านสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (non-food poverty line) โดย “เส้นความยากจนด้าน อาหาร” มีแ นวคิด มาจากการได้ รับ พลัง งานที่ เ พีย งพอต่ อการดํ า รงชีพ โดยแปลงความต้อ งการพลัง งาน (แคลอรี) ของครัวเรือนตามมาตรฐานโภชนาการที่เหมาะสมของคนไทยเป็นตัวเงินตามแบบแผนการบริโภค เฉลี่ ย ของคนไทย ในขณะที่เ ส้น ความยากจนด้า นสิน ค้า ที่ ไม่ ใ ช่อาหารนั้น คํา นวณโดยวิธี เ ทีย บเคี ย ง โดย กําหนดให้สัดส่วนค่าใช้จ่ายการบริโภคอาหาร และสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร ของคนจนมีค่าประมาณร้อยละ 60 และ 40 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามลําดับ โดยใช้หลัก Engel Law ซึ่งให้น้ําหนักกับเรื่องอาหาร (Food) และการบริโภคที่ไม่ใช่อาหาร (Non-Food) กําหนดเป็นสัดส่วนคงที่และใช้กับทุกพื้นที่ จุดอ่อนของเส้นความยากจนเดิมอยู่ที่สมมติฐานว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านอาหารคิดเป็นร้อยละ 60 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เท่ากันในทุกพื้นที่และเท่ากันในทุกๆ ปี ซึ่งการใช้สัดส่วนร้อยละ 60 ไม่มีเหตุผลทาง ทฤษฎีรองรับเพียงพอ และไม่สอดคล้องกับข้อมูลการใช้จา่ ยจริงของครัวเรือนยากจนไทยบางส่วน รวมทั้งไม่ได้ แยกการคํานวณความต้องการสินค้าที่มิใช่หมวดอาหาร (non-food consumptions) ออกเป็นหมวดย่อย แต่ คิดรวมกันไปทีเดียว นอกจากนี้ไม่อนุญาตให้รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนยากจนแตกต่างกันไปตามพื้นที่ ทํา ให้ป ระสบปัญ หา เช่น ประชากรที่อาศัย อยู่น อกเขตเมืองหรือนครใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานครอาจมี ค่าใช้จ่ายจําเป็นที่นอกเหนือกว่าครัวเรือนในเขตชนบท (เช่น ค่าเช่าบ้านหรือค่าอาหารที่บริโภคนอกบ้านสูงกว่า เป็นต้น) การจัด ทําเส้น ความยากจนใหม่ (2545) เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย กับ United Nation Development Program (UNDP) และสํานักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยใช้โครงสร้างประชากรจากสํามะโนประชากรในปี 2543 เป็นฐาน ในการคํานวณ และได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการคํานวณจากการวัดมูลค่าทางด้านรายได้มาเป็นแนวคิดจากวัด มูลค่าทางด้านการบริโภคของคน และได้นําความต้องการสารอาหารและโปรตีนขั้นต่ําตามเพศและกลุ่มอายุมา ใช้ในการคํานวณ (กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2546) อาศัยหลักการประหยัดต่อ ขนาดมาใช้ในการคํานวณด้วย รวมทั้ง นําหลักการที่ว่า “ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในต่างพื้นที่ และต่างสังคมกัน จะ มีมาตรฐานการครองชีพที่แตกต่างกัน แต่เมื่อมีการบริโภคตามรูปแบบการบริโภคของครัวเรือนแล้ว แต่ละ ครัวเรือนจะได้รับความพึงพอใจที่เท่ากัน” โดยมีวิธีการคือการนําดัชนีราคาผู้บริโภคจําแนกตามจังหวัดและ พื้นที่ (ในเขต-นอกเขตเทศบาล) มาปรับค่าใช้จ่ายในด้านอาหาร และไม่ใช่อาหาร ทําให้ได้เป็นค่าใช้จ่ายแท้จริง ที่สามารถนํามาเปรียบเทียบกันทั้งประเทศ โดยมีรายละเอียดแต่ละหลักการ ดังนี้ 1) ทฤษฏีอรรถประโยชน์ หมายถึง ความพึงพอใจที่ได้มาจากการบริโภคสินค้าและบริการ โดย ถ้าคนบริโภคสินค้าในระดับเพียงพอต่อการยังชีพจะได้รับความพอใจแค่ระดับหนึ่ง แต่เป็นเกณฑ์ที่แสดงให้เห็น ว่าคนนั้นมีการบริโภคที่เพียงพอในการดํารงชีพหรือไม่ ซึ่งการวัดอรรถประโยชน์ในระดับการบริโภคที่เพียงพอ ต่อการยังชีพนั้นทําได้ยาก ทําให้จําเป็นต้องหาตัวแทนในการนํามาคํานวณ ซึ่งในการคํานวณเส้นความยากจนนี้ ได้กําหนดให้ครัวเรือนที่มีระดับรายได้ต่ําสุดร้อยละ 20 เป็นตัวแทน โดยนําความต้องการสารอาหารและ
176 โปรตีนมาเป็นฐานในการคํานวณ และปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ นอกจากนั้น เมื่อทราบมูลค่า การบริโภคที่แท้จริงที่สะท้อนให้เห็นถึงการบริโภคที่เพียงพอต่อการยังชีพแล้ว ยังสามารถนํามาประยุกต์ใช้ใน การหามูลค่าการบริโภคสินค้าที่ไม่ใช่อาหารได้ด้วย กล่าวคือ การบริโภคของเขาจะเป็นการบริโภคสินค้าที่มี ความจําเป็นในการดํารงชีวิตเท่านั้น ตารางผนวกที่ 1 ความต้องการสารอาหารและโปรตีน อายุ น้อยกว่า 1 ปี 1-3 4-5 6-8 9-12 13-15 16-18 19-30 31-50
ความต้องการสารอาหาร (แคลอรี)่ ขั้นต่ําของ คนไทย (กรัมต่อวัน) ชาย หญิง 800 800 1,000 1,000 1,300 1,300 1,400 1,400 1,700 1,600 2,100 1,800 2,300 1,850 2,150 1,750 2,100
1,750
ความต้องการโปรตีนขั้นต่ําของคนไทย (กรัมต่อวัน) ชาย หญิง 16 16 19 19 25 25 28 28 42 42 61 57 62 48
57
51-70 2,100 1,750 ตั้งแต่ 71 ปีขึ้นไป 1,750 1,550 ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2003 (http://www.anamai.moph.go.th)
52
2) แนวคิดการประหยัดต่อขนาด หมายถึง ครัวเรือนหนึ่งสามารถซื้อสินค้าแต่ละประเภทได้ครั้ง ละมากๆ รวมทั้งการบริโภคสินค้าประเภทหนึ่งของคนใดคนหนึ่งในครัวเรือนก็ทําให้คนอื่นได้รับประโยชน์ไป ด้วย เช่นการใช้ไฟฟ้า เป็นต้น เหตุผลดังกล่าวทําให้การคํานวณเส้นความยากจนทางการในปี 2545 นําแนวคิด การประหยัดต่อขนาดมาใช้ โดยการศึกษาในครั้งนี้แบ่งการประหยัดต่อขนาดกับสินค้าทั้ง 10 หมวด ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เชื้อเพลิงและแสงสว่าง เครื่องใช้ประจําบ้าน ยาและค่ารักษาโรค ค่าใช้จ่าย ส่วนบุคคล ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายสื่อสารคมนาคม ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา โดยการประหยัดต่อขนาดในการ บริโภคสินค้าแต่ละหมวดจะมีความแตกต่างกัน แต่การจะระบุว่าสินค้าหมวดใดมีการประหยัดต่อขนาดเท่าใด นั้นเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการประหยัดต่อขนาดที่ใช้ในการคํานวณเส้นความยากจนทางการในปัจจุบันจึงเกิดจาก ประสบการณ์ของผู้วิจัย โดยพบว่า หมวดอาหารมีค่าการประหยัดต่อขนาดเท่ากับ 0.9 หมายความว่าอาหาร เป็นสินค้าที่ใช้ร่วมกันได้น้อย ขณะที่สินค้าบางประเภทเช่นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลมีค่า เท่ากับหนึ่ง หมายถึง สินค้าที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้เลย กล่าวโดยสรุป คือ การประหยัดต่อขนาดมีค่าระหว่าง 0-1 โดยถ้าประหยัดต่อขนาดเท่ากับ 0 หมายความว่าคนในครัวเรือนสามารถใช้ร่วมกันได้อย่างเต็มที่ ขณะที่ เท่ากับ 1 หมายความว่าไม่สามารถใช้ร่วมกันได้เลย
177 ตารางผนวกที่ 2 ระดับการประหยัดต่อขนาด หมวด 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
รายการ อาหาร ค่าเสื้อผ้าและรองเท้า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ค่าเชื้อเพลิงและแสงสว่าง ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในบ้าน ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล ค่าเดินทางและคมนาคม ค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสาร ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา
Economy of Scale 0.9 0.9 0.2 0.2 0.2 1.0 1.0
สัดส่วนคนทํางานและนักเรียน สัดส่วนคนทํางานและนักเรียน สัดส่วนนักเรียน
3) การเปลี่ยนการวัดความยากจนทางด้านรายได้มาเป็นด้านรายจ่าย สศช.ได้เปลี่ยนการวัด ความยากจนทางด้า นมาเป็น ทางด้านรายจ่า ย โดยพิจ ารณาจากระดับ รายจ่า ยเพื่อการบริ โ ภคเฉลี่ย ของ ประชากรเทียบกับเส้นความยากจน เนื่องจากข้อมูลด้านรายจ่ายมีจุดเด่นหลายด้าน คือ ก. ด้านความต่อเนื่อง ข้อมูลหลักในการนํามาพัฒนาเส้นความยากจนและวิเคราะห์ ภาวะความยากจน นั้น ได้จากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของสํานักงานสถิติ แห่งชาติ ซึ่งเดิมมีการสํารวจข้อมูลทั้งด้านรายได้และด้านรายจ่ายของครัวเรือน ปีเว้นปี (เช่น ปี 2545, 2547, 2549) และตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป สํานักงานสถิติแห่งชาติ จะทําการสํารวจทุกปี โดยในปี พ.ศ.ที่ลงท้ายด้วย เลขคี่ จะเน้นสํารวจด้านรายจ่าย สําหรับปีที่ลงท้ายด้วยเลขคู่ จะสํารวจข้อมูลทั้งรายได้และรายจ่าย ดังนั้นหาก วัดภาวะความยากจนด้านรายจ่ายเพื่อการบริโภคแล้ว จะทําให้สามารถประเมินภาวะความยากจนได้ทุกปี ข. ด้านความแม่นตรงของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลด้านรายจ่ายจะมีความแม่นตรงกว่า ด้านรายได้ เนื่องจากประชาชนเต็มใจที่จะให้ข้อมูลด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคโดยไม่ปิดบังอีกทั้งรายจ่าย สําคัญเพื่อการบริโภคของคนในครัวเรือนนั้น สมาชิกครัวเรือนคนอื่นก็พอรู้อยู่บ้าง ในขณะที่การจัดเก็บข้อมูล ด้านรายได้นั้นบางครัวเรือนจะให้ข้อมูลเฉพาะรายได้หลักบางส่วน และอาจไม่แจ้งรายได้ส่วนอื่นๆ โดยอาจจะ เกรงผลกระทบในเรื่องของการเสียภาษี นอกจากนี้อาจไม่ทราบรายได้ของสมาชิกในครัวเรือนคนอื่นๆ ทําให้ การสํารวจข้อมูลด้านรายได้ไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริงเท่าที่ควร ค. ด้า นความผัน ผวนของข้อมูล รายได้ครัว เรือนในแต่ล ะปีจ ะผัน แปรตามภาวะ เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง และรายได้ของเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่จะผันผวนไปตามระดับราคา ผลผลิต สภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการระบาดของโรคและแมลง ส่วนรายจ่ายของประชาชนจะขึ้นอยู่กับแบบ แผนหรือพฤติกรรมการบริโภคของครัวเรือนซึ่งจะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ง. ด้านความตรงของการวัด การวัดความยากจนด้านรายจ่าย จะสะท้อนถึงความ พอเพียงในการได้รับสารอาหารและสินค้าจําเป็นพื้นฐานขั้นต่ําในการดํารงชีวิตได้โดยตรง เพราะเป็นเหตุการณ์ ที่ประชาชนใช้จ่ายจริง ในขณะที่การวัดด้วยรายได้นั้นเป็นเพียงการแสดงให้เห็นถึงโอกาสที่ประชาชนสามารถ ซื้อหาสิ่งจําเป็นพื้นฐานได้เท่านั้น
178
ภาคผนวก ข สรุปสาระสําคัญของยุทธศาสตร์แก้ปัญหาความยากจนและปัญหาการกระจายรายได้ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) วัตถุประสงค์ คือ การยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้มีระดับสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย การระดม และใช้ท รั พยากรเศรษฐกิ จ ของประเทศให้ เ ป็ น ประโยชน์ มากที่ สุด เพื่อ ขยายการผลิ ต และเพิ่ม พู น รายได้ ประชาชาติให้รวดเร็วยิ่งขึ้น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2510-2514) วัตถุประสงค์ของแผน คือ การเพิ่มรายได้และยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น โดยการระดมกําลังทรัพยากรของประเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อขยายพลังการผลิตและเพื่อรักษา เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการกําหนดนโยบายที่สําคัญๆ เช่น นโยบายพัฒนาชนบทเพื่อ เสริมสร้างความมั่นคงของประเทศและเพื่อกระจายผลการพัฒนาออกไปให้ถึงประชาชนในส่วนภูมิภาคต่างๆ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-2519) การส่งเสริมความเจริญในภูมิภาคและการลดความแตกต่า งของรายได้ โดยมีเป้า หมาย (1) พยายามลดความเหลื่อมล้ําในระดับรายได้และความแตกต่างในระดับความเป็นอยู่ของประชากรในชนบท โดย อาศัยมาตรการและโครงการพัฒ นาส่ว นภูมิภ าคต่า งๆ (2) ดํา เนินโครงการอัน เป็นการสร้างพื้น ฐานที่เป็น ประโยชน์ต่อการแก้ไขให้ลดความเหลื่อมล้ําดังกล่าวลงเป็นลําดับ ทั้งนี้ได้มีมาตราเพิ่มรายได้ประชาชน ชนบท โดยการก่อสร้างขั้นพื้นฐานให้ประโยชน์ตกถึงมือประชาชนโดยแท้จริง เช่น ระบบส่งน้ํา และทางหลวง ชนบท ซึ่งโครงการประเภทนี้จะก่อให้เกิดจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย การดําเนินการส่งเสริมความเป็นธรรมของสังคม โดยมีเป้าหมายสําคัญ คือ การเพิ่มและกระจาย บริการสังคมของรัฐ เพื่อลดความแตกต่างในสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ระหว่างภูมิภาคต่างๆ และ ภายในเขตเมืองให้น้อยลง ส่วนแนวทางการพัฒนา เน้นเร่งรัดกระจายบริการทางสังคมของรัฐให้ถึงประชาชน ในชนบทห่างไกล และประชาชนที่มีฐานะยากจนในเขตเมืองต่างๆ โดยทั่วถึงยิ่งขึ้น แนวทางการพัฒนา • สนับสนุนการกระจายรายได้ให้ทั่วถึง รัฐมีนโยบายที่จะเร่งรัดพัฒนาการเกษตร และดําเนิน โครงการที่ ใช้แรงงานชนบทเป็นจํานวนมาก และการจัดตั้งอุตสาหกรรมในชนบทเพื่อเพิ่มพูนรายได้ ให้แก่ ประชากรในท้องถิ่น นอกจากนั้น รั ฐมีนโยบายที่จ ะช่ว ยให้ป ระชาชนผู้มีรายได้น้อยในชนบทให้ได้รับการ สนับสนุนในด้านการวางแผนครอบครัว ตลอดจนพยายามเปลื้องภาระภาษีอากรแก่ผู้ผลิตในชนบท ซึ่งเป็นการ วางรากฐานสําหรับการกระจายรายได้ที่ยุติธรรมยิ่งขึ้น • การกระจายผลการพัฒนาให้มีความเป็นธรรมแก่ระบบสังคมส่วนรวม โดยเฉพาะในเขตชนบท และท้องถิ่นห่างไกลยังอยู่ในสภาพขาดแคลน โดยเร่งรัดการก่อสร้างระบบการคมนาคมขนส่ง รวมทั้งขยาย บทบาทของการพัฒ นาในส่ว นภูมิภ าคและส่ ว นท้ องถิ่ น ให้ก ว้า งขวางยิ่ง ขึ้น โดยมุ่ ง ให้ ความสํา คัญ กั บ การ พัฒนาการเกษตรและการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกร และการพัฒนาในด้านสังคมในระดับที่สูงขึ้น กว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา การสาธารณสุข และการสาธารณูปการ ซึ่งเป็นรากฐานของความ
179 เจริญและการกินดีอยู่ดีของประชาชน บริการสังคมของรัฐนี้จะพยายามขยายให้ถึงประชาชนทั้งที่อยู่ในเขต ทุรกันดารห่างไกลและชนชั้นผู้น้อยซึ่งมีรายได้ต่ําและมีความเดือดร้อนในการครองชีพประจําวันที่อยู่ในเขต เมืองและนครหลวงด้วย แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524) มุ่งสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ภายใต้พื้นฐานของความมั่นคงแห่งชาติโดยเน้นการลดความเหลื่อม ล้ําในฐานะของบุคคลทางเศรษฐกิจให้ลดลง และมุ่งที่จะเสริมสร้างสวัสดิภาพทางสังคมแก่คนส่วนใหญ่ในชาติ มากกว่าเป็นแผนพัฒนาฯ ที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก วัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดช่องว่างในฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ประชาชนให้ลดน้อยลง โดย เร่งให้มีการกระจายรายได้และยกฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวนาชาวไร่ผู้ใช้แรงงาน ตลอดทั้งความ ยากจนและกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้มั่นคง มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ตลอดทั้งการเร่งกระจายความเจริญทางด้าน เศรษฐกิจและการขยายบริการสังคมให้ไปถึงมือประชาชนในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นชนบทอย่างกว้างขวาง ยิ่งขึ้น แนวทางการพัฒนา • ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมให้สามารถขยายการผลิตเพื่อการส่งออก และเป็นการพัฒนา อุตสาหกรรมที่สามารถสนับสนุนการกระจายรายได้และเพิ่มการมีงานทําในส่วนภูมิภาค โดยเน้นหนักใน อุตสาหกรรมผลิตวัตถุดิบและอุตสาหกรรมส่งออก ตลอดทั้งอุตสาหกรรมที่ส่งผลเชื่อมโยงต่อการพัฒนาเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติของประเทศที่จะก่อให้เกิดรายได้และการจ้างงานให้แก่คนส่วนใหญ่ • เร่งขยายและกระจายบริการเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายบริการทางด้าน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ การคมนาคมและขนส่ง และการไฟฟ้าให้ออกไปสู่ส่วนภูมิภาคและชนบท เพื่อ สนับสนุนการผลิตและปรับปรุงสภาพของชุมชนในชนบท โดยมีการวางแผนกระจายบริการขั้นพื้นฐานดังกล่าว ให้ประสานกันภายในแต่ละสาขาและระหว่างสาขา ตลอดทั้งการปรับนโยบายราคาบริการสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการหลายด้านให้เอื้ออํานวยต่อการกระจายรายได้และสร้างความเป็นธรรมต่อผู้ผลิตในส่วนภูมิภาค และชนบทยิ่งขึ้น • วางแนวการขยายและการกระจายบริ ก ารสั ง คมให้ ไ ปถึ ง มื อ ประชาชนในชนบทอย่ า ง กว้างขวาง เพื่อให้การกระจายบริการสังคมสอดคล้องและสนับสนุนนโยบายการกระจายรายได้และการพัฒนา เศรษฐกิจในชนบท ตลอดทั้งการขจัดความเหลื่อมล้ําการให้บริการสังคมระหว่างชนบทกับเมือง โดยเริ่ม ดําเนินงานพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่กําลังเปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันก็มุ่งที่จะให้คนไทยได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน โดยกระจายบริการการศึกษาสู่ ท้องถิ่นและส่วนภูมิภาค และเน้นการผลิตบุคลากรในระดับต่างๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของท้องถิ่น เช่นเดียวกับด้านบริการสาธารณสุข โดยจะเพิ่มการให้บริการรักษาพยาบาลฟรีแก่ผู้ยากจน ส่วนด้านการสังคม สงเคราะห์ นั้ น จะเน้ น การบริ ก ารด้ า นการสงเคราะห์ แ ละสวั ส ดิ ก ารแก่ ก ลุ่ ม ผู้ มี ปั ญ หาทางสั ง คมและ กลุ่มเป้าหมายพิเศษ ซึ่งได้แก่ ชาวเขา คนชรา ผู้ทุพพลภาพ บุคคลไร้ที่พึ่ง ผู้อาศัยในแหล่งเสื่อมโทรมและ นักโทษ ส่วนทางด้านสวัสดิภาพของแรงงานนั้น ก็จะดําเนินโครงการและมาตรการที่จะช่วยปูพื้นฐานให้ผู้ใช้ แรงงานได้มีสวัสดิภาพการทํางานที่มั่นคงปลอดภัย และมีหลักประกันในชีวิตที่ดีขึ้นโดยจะใช้มาตรการต่างๆ ที่ ก่อให้เกิดความเข้าใจและร่วมมืออันดีจากฝ่ายนายจ้าง
180 • แนวทางการเร่งรัดพัฒนาการเกษตรที่สําคัญ เร่งรัดงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเป็นพื้นฐานที่สําคัญต่อ การพัฒนาการเกษตร โดยมุ่งปรับปรุงสิทธิการถือครองที่ดินสําหรับให้เ กษตรกรที่ไม่มีที่ดินทํากิน เป็นของ ตนเอง หรือมีที่ดินน้อยไม่เพียงพอแก่การเพาะปลูก หรือผู้เช่าเข้าอยู่อาศัยทํากิน ในระยะต่อมาจะดําเนินการ ปรับปรุงทรัพยากรการเกษตรและเพิ่มปัจจัยการผลิตควบคู่กับการให้บริการด้านอื่นๆ นอกจากนี้ เกษตรกรชั้น ผู้น้อยที่ยากจนในบางท้องถิ่นของภาคต่างๆ จําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากรัฐเป็นกรณีพิเศษ โดยจัด วางโครงการพัฒนาเกษตรเป็นเฉพาะพื้นที่ขึ้นเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ํา ในด้านความเป็น อยู่ในหมู่เกษตรกร ด้วยกันเอง • การกระจายรายได้และแนวทางการพัฒนาภาคและท้องถิ่น แผนฯ 4 ได้กําหนดแนวทางการ กระจายรายได้และการพัฒนาภาคและท้องถิ่นอย่างเป็นระบบขึ้นเป็นครั้งแรก แนวทางการพัฒนาภาค ในด้านการกระจายรายได้และขจัดความยากจน พื้นที่เป้าหมาย กําหนดพื้นที่ที่สมควรเร่งรัดการพัฒนาเป็นพิเศษ โดยถือระดับรายได้ และความยากจน ได้แก่ (1) พื้นที่ในเขตชนบทที่ประสบปัญหาความยากจนและล้าหลัง โดยเฉพาะในภาค ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ และภาคเหนื อ (2) พื้ น ที่ ใ นเขตเมื อ งที่ มี ปั ญ หาทางเศรษฐกิ จ และการว่ า งงานสู ง โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ กลุ่มเป้าหมาย กําหนดกลุ่มเป้าหมายที่สมควรได้รับการพิจารณาช่วยเหลือเป็นอันดับ แรก คือ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตชนบท ซึ่งประสบปัญหาในเรื่องที่ทํากินและความยากจน รวมทั้ง แรงงานรับจ้างในชนบทซึ่งไม่มีที่ดินและไม่อาจเช่าไร่นาประกอบอาชีพได้ ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการ พิจารณาช่วยเหลือเร่งด่วนในอันดับต่อไป คือ ผู้ที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับการครองชีพในเขตเมือง มาตรการส่งเสริมการกระจายรายได้ มาตรการการแก้ไขปัญหาผู้มีรายได้น้อยในชนบท ประกอบด้วย (1) การช่วยเหลือ ชาวไร่ชาวนาอย่างมีแบบแผนและระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยจัดทําแผนส่วนรวม ซึ่งจะครอบคลุม ปัญหาหลักของชาวนาชาวไร่ โดยเฉพาะปัญหาที่ดิน ปัญหาหนี้สินและปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทาง กฎหมาย เช่น ศาลเกษตร พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่านา (2) พิจารณาให้กฎหมายแรงงานครอบคลุมถึง แรงงานรับจ้างในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเกษตรชลประทานที่มีการจ้างแรงงานเป็นจํานวน มาก (3) เพิ่มการบริการทางสังคมแก่ชาวชนบทที่ย ากจน โดยเน้น หนักในด้านสาธารณสุขการศึกษานอก โรงเรียน และด้านสาธารณูปการในชนบท มาตรการช่วยผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง ปรับปรุงระบบค่าจ้างแรงงานและสวัสดิการ แรงงานให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพการผลิตและภาวะค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกันเน้นการ แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพแรงงาน มาตรการด้ า นการเงิ น การคลั งของรั ฐ ปั ญ หาการกระจายรายได้ นั้ น นอกจากจะ ดําเนินการโดยการยกระดับการผลิตและรายได้ของผู้มีรายได้น้อยแล้ว ยังจําเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบ การเงินและการคลัง เพื่อให้ผู้ที่มีฐานะดีมีส่วนรับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองเพิ่มขึ้นตาม ความเป็นธรรมด้วย โดย (1) ปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากรใหม่ เพื่อให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น เพิ่มประเภทและอัตรา ภาษีอากรอื่นๆ เช่น ภาษีที่ดิน ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ภาษีกําไรจากทรัพย์สิน เป็นต้น (2) กําหนดนโยบาย การเงินการคลังที่สนับสนุนการลงทุนที่ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ดีขึ้น เช่น การลงทุนเพื่อจัดทําโครงการที่
181 อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อย การสร้างระบบขนส่งเพื่อมวลชน และส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการใช้แรงงาน และที่ส่งผลทางเศรษฐกิจโดยตรงแก่ผู้มีรายได้น้อย แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ได้ปรับแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ “แนวใหม่” ซึ่งแตกต่างไปจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่แล้วๆ มา โดยถือว่าเป็น “แผนนโยบาย” ที่มีความชัดเจน พอที่จะแปลงไปสู่ภาคปฏิบัติได้และมีลักษณะพิเศษ ดังนี้คือ ประการแรก : เน้น “การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ” มากกว่า “การมุ่งขยายอัตราความเจริญทาง เศรษฐกิจ” แต่อย่า งเดียว ทั้งนี้เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจและการผลิตภายในประเทศสามารถปรับ ตัวรับกัน สถานการณ์ของโลกในอนาคต โดยเน้นการ “เพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจและการเพิ่มผลผลิต” เป็น หลัก แทนที่จะมุ่งเป้าหมายที่จะขยายอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจส่วนรวมแต่เพียงอย่างเดียวอย่างที่เคยกระทํามา ทั้งนี้เพราะมีความจําเป็น จะต้องฟื้น ฟูฐ านะการเงิน ของประเทศที่ได้ใช้จ่ายเกิน ตัว และแก้ปัญหาการขาด ดุลการค้าและการคลังของประเทศให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม โดยร่วมกันสร้างวินัยเศรษฐกิจในชาติเพื่อควบคุม รายจ่ายที่ไม่จําเป็นและประหยัดการใช้พลังงานของประเทศให้ลดลง ขณะเดียวกัน จําเป็นที่จะต้องเร่งการผลิต เพื่อส่งออกหารายได้เข้าประเทศให้มากขึ้น ประการที่สอง : เน้น “ความสมดุล” ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมุ่งการ กระจายรายได้และความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค สร้างความเป็นธรรมในสังคม และการกระจายการถือครอง สินทรัพย์เศรษฐกิจให้มากขึ้น ขณะเดียวก็จะเน้นความสมดุลของการพัฒนาระหว่างสาขาเศรษฐกิจ ระหว่าง พื้นที่และระหว่างกลุ่มเป้าหมายต่างๆ มากกว่าที่จะปล่อยให้ผลประโยชน์จากการพัฒนาเกิดขึ้นเฉพาะบางพื้นที่ หรือตกอยู่ในบางกลุ่มชนอย่างที่เคยเป็นมา ประการที่สาม : เน้น “การแก้ปัญหาความยากจน” ของคนชนบทในเขตล้าหลัง เป็นเป้าหมาย สํา คัญ เพื่อให้ป ระชาชนในชนบทเหล่า นี้ได้มีโ อกาสช่ว ยตัวเองและมีส่วนร่วมในขบวนการผลิตและพัฒ นา ประเทศได้ต่อไปในอนาคต ประการที่สี่ : มุ่งการประสานงานพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารงานรักษาความมั่นคง ของชาติ ให้สอดคล้องสนับสนุนกันอย่างได้ผล ประการที่ห้า : เน้นการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยการปฏิรูปขบวนการวางแผนงาน การจัดทํา งบประมาณแผ่นดิน การบริหารกําลังคนให้สอดประสานกัน ขณะเดียวกันจะทําการปรับหรือพัฒนาองค์กรของ รัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้สามารถนําเอานโยบายและแผนงานพัฒนาที่สําคัญไปปฏิบัติให้ได้ตาม เป้ า หมายที่ ว างไว้ โดยการจั ด ทํ า “แผนปฏิบั ติก าร” ระดับ กระทรวงและสาขาการพั ฒ นาที่ สํา คัญ ๆ ขึ้ น ขณะเดียวกันสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะจัดทํา “แผนลงทุนระยะ 3 ปี” เพื่อเป็นแนวในการจัดทํางบประมาณแผ่นดินและระดมเงินกู้และความช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยถือ ว่าแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 เป็นแผนวางกรอบนโยบายเท่านั้น ขณะเดียวกันจะเร่งให้มีการกระจายอํานาจการ พัฒ นา บริ ห ารประเทศไปสู่ ส่ว นภู มิภ าคและท้ องถิ่น ให้ มีส่ ว นร่ว มในการพัฒ นาชุม ชนของตนเองมากขึ้ น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาชนบท ประการสุดท้าย : เน้น “บทบาทและระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน” ให้เข้ามาร่วมในการปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจการผลิตในสาขาเกษตร อุตสาหกรรม การพัฒนาพลังงานและเร่งการส่งออก โดยรัฐจะ
182 ทบทวนกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อลดการแทรกแซงและอํานวยความสะดวกต่อการพัฒนาธุรกิจของ เอกชนตามเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 โดยจะเสริมสร้างบทบาทและสมรรถภาพขององค์กรหรือ สถาบันธุรกิจเอกชนที่สําคัญให้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการ พัฒนาประเทศต่างๆ ต่อไป การแก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ 5 ได้กํ า หนดจุด ประสงค์ ก ารพั ฒ นาชนบทเป็ น เป้าหมายหลักสําคัญประการหนึ่ง เพื่อมุ่งพัฒนาชนบทในพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาที่แล้ว มาให้สามารถช่วยตัวเองได้ในอนาคต โดยจะมุ่งพัฒนาชาวชนบทที่ยากจนให้ขึ้นสู่ระดับพอมีพอกินและ สามารถก้าวไปสู่ขั้นการอยู่ดีกินดีขึ้นในระยะยาวต่อไป แผนพัฒ นาชนบทยากจนได้ยึด ถือหลักการที่ จ ะดํา เนิน การพั ฒ นาให้ค วามสํา คัญ แก่พื้น ที่ย ากจน หนาแน่นก่อน โดยการปรับปรุงให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น และให้ประชาชนเข้ามามี บทบาทในการแก้ปัญหาที่พวกเข้าเผชิญอยู่ให้มากที่สุดมิใช่เป็นการให้จากรัฐบาลแต่ฝ่ายเดียว การดําเนินการให้เป็นไปตามจุดประสงค์การพัฒนาชนบทดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลได้ประกาศพื้นที่ เป้าหมายเพื่อการพัฒนาชนบทในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ให้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายรวม 216 อําเภอ 30 กิ่งอํา เภอ ในเขตภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคใต้ โดยกํา หนดให้ส่วนราชการจัด สรร งบประมาณและโครงการลงในพื้นที่เป้าหมายดังกล่าวให้มากที่สุด แผนงานและโครงการพัฒนาชนบทยากจนได้มุ่งหลักประกัน 3 ประการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย “พอ อยู่พอกิน” คือให้หลักประกันที่จะให้ชาวชนบทล้าหลังมีระบบการศึกษาและความรู้เกี่ยวกับการทํามาหา กินและหลักประกันที่จะทําให้ชาวชนบทมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ และได้รับสิ่งจําเป็นในการดํารงชีวิต ตามสมควรอย่างเหมาะสมในแต่ละท้องที่ โดยประกอบด้วยโครงการสําคัญๆ เช่น โครงการประมงหมู่บ้าน โครงการก่อสร้างแหล่งน้ําหมู่บ้าน โครงการธนาคารโค – กระบือ โครงการจัดสร้างโรงพยาบาลอําเภอ โครงการสาธารณสุขมูลฐาน โครงการเร่งรัดปรับปรุงดิน โครงการพัฒนาดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น โดยสาระภายใต้แผนนโยบายเพื่อแก้ปัญหาความยากจนสรุปได้ดังนี้ (1) การปรับโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตร มีเป้าหมายสําคัญควบคู่กันไป คือการสร้า ง ความเป็นธรรมกับผู้ผลิตมากขึ้น โดยสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในระดับราคาที่สูงและเป็น ธรรม เร่งรัดการกระจายการถือครองที่ดิน เพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรโดยการรวมกลุ่มและขยาย ความรู้และบริการให้ถึงมือและกว้างขวางมากขึ้น ตลอดจนการสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตรในชนบทเพื่อเพิ่ม รายได้ให้แก่เกษตรกรที่ไร้ที่ทํากินให้มีงานทํานอกฤดูกาลเพาะปลูกด้วย (2) การพัฒนาโครงสร้างและกระจายบริการทางสังคม โดยเน้นการลดอัตราเพิ่มของประชากร ควบคู่ ไปกับ การพัฒ นาคุณภาพประชากรและการพัฒ นาจิต ใจ ทั้งการเสริมสร้างสังคมให้มีระเบีย บ วินัย วัฒนธรรม ศีลธรรม จริยธรรมอันดีงาม ตลอดจนการจัดบริการสังคมต่างๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และ ความยุติธรรม ให้สามารถสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนและกระจายไปสู่ชนบท เพื่อลดความ เหลื่อมล้ําด้านการให้สวัสดิการสงเคราะห์ให้มากขึ้น
183 (3) แก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง จุดประสงค์หลักเพื่อมุ่งพัฒนาชนบทในพื้นที่ที่ยัง ไม่ ได้รับประโยชน์จ ากการพัฒ นาที่แล้ว มาให้สามารถช่ว ยตัว เองได้ ในอนาคต โดยมุ่งพัฒนาชาวชนบทที่ ยากจนให้ขึ้นสู่ระดับพอมีพอกินและสามารถก้าวไปสู่ขั้นการอยู่ดีกินดีขึ้นในระยะยาวต่อไป ครอบคลุมพื้นที่ เป้าหมายรวม 216 อํา เภอ 30 กิ่งอําเภอ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคใต้ โดย กําหนดให้ส่วนราชการจัดสรรงบประมาณและโครงการลงในพื้นที่เป้าหมายดังกล่าวให้มากที่สุด (4) แผนงานและโครงการพัฒ นาชนบทยากจน ได้ มุ่ง หลั กประกั น 3 ประการที่ จ ะนํา ไปสู่ เป้าหมาย “พออยู่พอกิน” คือให้หลักประกันที่จะให้ชาวชนบทล้าหลังมีระบบการศึกษาและความรู้เกี่ยวกับ การทํามาหากินและหลักประกันที่จะทําให้ชาวชนบทมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ และได้รับสิ่งจําเป็นในการ ดํารงชีวิตตามสมควรอย่างเหมาะสมในแต่ละท้องที่ โดยประกอบด้วยโครงการสําคัญๆ เช่น โครงการประมง หมู่บ้าน โครงการก่อสร้างแหล่งน้ําหมู่บ้าน โครงการธนาคารโค – กระบือ โครงการจัดสร้างโรงพยาบาลอําเภอ โครงการสาธารณสุขมูลฐาน โครงการเร่งรัดปรับปรุงดิน โครงการพัฒนาดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็น ต้น เป้าหมายของการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง เพื่อให้ประชาชนผู้ยากจนมีฐานะพออยู่ พอกิน และช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้นตามลําดับนั้น ได้กําหนดเป้าหมายไว้ดังนี้ - เป้าหมายทางเศรษฐกิจ เพิ่มการผลิตจากระดับที่ต่ํากว่าร้อยละ 1 ต่อปี ให้เพิ่มขึ้นอีกโดยเฉลี่ย ร้อยละ 2.0 ต่อปี - เป้าหมายทางสังคม จัดให้มีระบบสาธารณสุขมูลฐานบริการทางการแพทย์ในระดับอําเภอและ หนังสือประกอบการเรียนให้ทั่วถึงในเขตชนบทยากจนภายใน 2 ปี และให้บริการทางโภชนาการแก่เด็กและ หญิงมีครรภ์ 2.2 ล้านคน ให้บริการน้ําสะอาดแก่ประชาชน ประมาณ 3 ล้านคน และบริการทางกฎหมายแก่ เกษตรกรยากจนไม่ต่ํากว่า 5,000 คน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) แนวทางการพัฒนาประการหนึ่ง มุ่งกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทมากขึ้น โดยให้ยึดกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทั้งในภูมิภาคและชนบท เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ควรได้รับผลจากการพัฒนา ประเทศ เป้าหมายของการพัฒนาชนบท ได้แยกออกเป็น เป้าหมาย ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะแก้ปัญหาความ ยากจนของประชาชนในชนบทต่อเนื่องจากที่ดําเนินการไว้แล้วในแผนฯ 5 โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตด้านเกษตรในเขตล้าหลังให้เพียงพอต่อการบริโภค มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งให้การว่างงานตามฤดูกาลใน ชนบทลดน้อยลง เป้าหมายทางด้านสังคม จะให้ประชาชนในชนบทเข้าถึงบริการสังคมขั้นพื้นฐานที่จําเป็นแก่ การดํ า รงชีวิต และการประกอบอาชี พ มีค วามปลอดภัย ในชี วิต และทรั พย์สิ น รวมทั้ง ให้มี ความสามารถ พึ่งตนเองได้ในที่สุด และมีส่วนร่วมในการพัฒนาความเป็นอยู่และกําหนดวิถีชีวิตของตนเองตามหลักเกณฑ์ที่ กําหนดไว้ในความจําเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ของประชาชนในชาติ ส่วนเป้าหมายทางด้านความมั่นคงนั้น แผนพัฒนาชนบทจะมุ่งขจัดเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความมั่นคงในพื้นที่ชนบท โดยการนําเอาระบบ และระบวนการพัฒ นาเศรษฐกิจ และสังคมเข้า ผสมผสาน และสนับ สนุน ต่อนโยบายด้า นความมั่น คงของ ประเทศ
184 แนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล • กําหนดแนวนโยบายการพัฒนากลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่อยู่ในข่ายยากจน และชุมชนแออัดใน บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประมาณ 500,000 คน โดยการจัดสร้างที่อยู่อาศัยและการปรับปรุง ชุมชนแออัดให้สามารถรับบริการพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง ตลอดจนสนับสนุนให้มีความมั่นคงในสิทธิการถือครอง ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยในช่วงระยะเวลาที่แน่นอน ดําเนินการจัดที่อยู่อาศัยให้ในกรณีที่มีการรื้อย้ายชุมชนแออัด และส่ ง เสริ มการมี ส่ ว นร่ ว มในการพั ฒ นาชุ ม ชนของตน ตลอดทั้ งการจั ด ระบบการประสานงานระหว่ า ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน และสนับสนุนให้องค์กรเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อนําไปสู่การพึ่งตนเองได้ รวมถึงการฝึกอบรมอาชีพและการศึกษาภาคบังคับในหมู่ผู้มีรายได้น้อยอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน • แผนการจัดที่อยู่อาศัยและปรับปรุงชุมชนแออัด มีดังนี้ 1. จัดสร้างที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อยจํานวน 22,000 หน่วย โดยให้มีการจัดเก็บค่าบริการ ตามความเหมาะสม 2.
ปรับปรุงชุมชนแออัดจํานวน 20,000 หน่วย
3. สนับ สนุน ให้ภ าคเอกชนลงทุนพัฒ นาที่อยู่อาศัยสํา หรับ ผู้มีรายได้น้อย ตลอดทั้งปรับ ปรุง กฎเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงบทบาทของธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้สนับสนุนทางด้านการเงินแก่ภาคเอกชนในการ ลงทุนทางด้านนี้ เพื่อจะได้แบ่งเบาภาระของภาครัฐบาลในการจัดที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยด้วย • แผนพัฒนากลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยเน้นการจัดบริการสาธารณะให้ทั่วถึง ตลอดทั้งการส่งเสริม อาชีพเพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยวิธีการให้มีส่วนร่วมในกรพัฒนาชุมชนของตน การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนให้องค์การเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชนแออัดในเขต มหานคร ดังนี้ 1. จัดสร้างที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยและปรับปรุงชุมชนแออัด โดยเฉพาะด้านน้ําประปา ไฟฟ้า
ทางเท้า การสุขาภิบ าล และอื่นๆ ทั้งนี้ ให้ชุมชนมีส่วนร่ว มในการพัฒ นาให้มากและอาจพิจ ารณาจัด เก็บ ค่าบริการต่างๆ ตามความเหมาะสม 2. สนับสนุนการศึกษา การฝึกอบรมอาชีพ และการพัฒนาฝีมือแรงงาน ตลอดจนการศึกษาภาค บังคับในหมู่ผู้มีรายได้น้อยอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน 3. สนั บ สนุ น การจั ด ตั้ ง กองทุ น พั ฒ นาชุ ม ชนผู้ มี ร ายได้ น้ อ ย เพื่ อ ประโยชน์ ใ นด้ า นการ รักษาพยาบาล การโภชนาการ และการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงดูเด็ก 4. จัดระบบการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนองค์การเอกชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการพัฒนา เช่น การลดหย่อนภาษีให้เอกชนในโครงการพัฒนากลุ่มผู้มีรายได้น้อยในเมือง พิจารณา ข้อจํา กัด ด้า นระเบีย บข้อบังคับในการกํา หนดมาตรฐานการก่อสร้า งที่อยู่อาศัย สํา หรับผู้มีร ายได้น้อย การ ช่วยเหลือสนับสนุนสถาบันการเงินเอกชนเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการประกอบธุรกิจส่วนตัวขนาดย่อม • แผนพัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค แผนงานพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยเน้นก่อสร้างที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อย ในลักษณะบ้าน สร้างบางส่วนตามโครงการที่อยู่อาศัย หาดใหญ่ ราชบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชลบุรี อุดรธานี ลําปาง นครราชสีมา และอุบลราชธานี ประมาณ 3,000 หน่วย
185 แผนงานพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นสนับสนุนให้ส่วนท้องถิ่นมีบทบาทหลัก ในการ ช่วยเหลือกลุ่มผู้ยากจนในเมืองศูนย์กลาง 24 เมือง จํานวนประมาณ 400,000 คน ให้ได้รับบริการสาธารณะ ต่างๆ อย่างทั่วถึง และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผู้ยากจน โดยการส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมความ ชํานาญเฉพาะด้าน การประกอบอาชีพส่วนตัวแบบครบวงจร รวมทั้งให้การสนับสนุนตามความจําเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายโภชนาการและการศึกษาของเยาวชนที่ยากจน และการค้ําประกันสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพของ ผู้ยากจน เป็นต้น • การปรับปรุงโครงสร้างการผลิตและบริการ แผนพัฒนาระบบการผลิต การตลาด และการสร้างงาน มีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ประการหนึ่ง เพื่อบรรเทาปัญหาความยากจนในชนบทและปัญหาการกระจายรายได้ โดยให้ความสําคัญแก่ เกษตรที่อยู่ ในพื้น ที่เ ป้า หมายการพัฒนาชนบทในแผนพัฒ นาฯ ฉบับที่ 5 และพื้น ที่เ ป้า หมายที่จ ะกํา หนด เพิ่มเติม โดยคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 โดยกําหนดเป้าหมายการสร้าง งานในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ให้เพิ่มไม่ต่ํากว่า 3.9 ล้านคน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) เป้าหมายการกระจายรายได้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้ และการกระจายการพัฒนา ดังกล่าวข้างต้น เห็นควรกําหนดเป้าหมายการกระจายรายได้ ดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มเป้าหมาย กําหนดกลุ่มเป้าหมายไว้รวม 6 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มเกษตรกรยากจน (2) กลุ่ม แรงงานรับจ้างภาคเกษตรกรรม (3) กลุ่มประกอบอาชีพส่วนตัวขนาดเล็กและธุรกิจขนาดย่อม (4) กลุ่มลุก จ้างเอกชนผู้มีรายได้น้อย (5) กลุ่มข้าราชการและพนักงานของรัฐ (6) กลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 2. ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดํา รงชีพอยู่ได้ โดยได้รับ สิ่งจํา เป็น พื้นฐานแก่การดํารงชีพอย่า ง พอเพียง และมีความสามารถในการพัฒนาฐานะความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น 3. เป้าหมายด้านจํานวนคนยากจน ลดสัดส่วนของประชากรที่อยู่ใต้ขีดความยากจนจากร้อย ละ 23.7 ในปี 2531 ให้เหลือต่ํากว่าร้อยละ 20 ในปี 2539 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 4. เป้าหมายลดความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มคนในประเทศ โดยใช้นโยบายและ มาตรการยกระดับรายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะในชนบทเป็นกรณีพิเศษ 5. ชนบทล้าหลัง
พื้นที่เป้าหมาย คือ เมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค พื้นที่เศรษฐกิจใหม่ และพื้นที่
แนวทางการกระจายรายได้ เพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ จําเป็นต้องกําหนดนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจและ สังคม เพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถแก่ประชากรในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ให้สามารถเข้ามามีส่วน ร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศ และได้รับผลตอบแทนจากการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ในการสร้างโอกาสทางด้านเศรษฐกิจและสังคมนั้น นโยบายทางด้านการกระจายรายได้จะเน้นการ กระจายฐานทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาค เพื่อเพิ่มการมีงานทําในภาคนอกเกษตร เน้นการเข้าถึงปัจจัยในการผลิต เช่น ที่ดินทํากิน และสินเชื่อ ตลอดจนบริการพื้นฐานต่างๆ เพื่อยกระดับการผลิต คุณภาพชีวิต และความ
186 เป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนยากจน ทั้งนี้จะเน้นการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น โดยการกระจาย อํานาจการบริหารงานพัฒนาสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น ส่วนทางด้านการเพิ่มขีดความสามารถของประชากรกลุ่มเป้าหมายในการกระจายรายได้ จะมุ่งเน้น การเพิ่มศักยภาพให้ประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยขยายโอกาสทางการศึกษาจัดฝึกอบรมและบริการให้เป็น ประโยชน์ต่อตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ นโยบายและมาตรการ ประกอบด้วย 1. ดําเนินนโยบายด้านการเงินการคลังและการพัฒนาตลาดทุน ให้มีผลในการสนับสนุนการ กระจายรายได้ยิ่งขึ้น โดยการกระจายอํานาจทางการคลัง การกระจายหุ้น และการใช้มาตรการทั้งทางด้าน ภาษีและรายจ่ายของรัฐมุ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคมมากขึ้น 2. กําหนดนโยบายและมาตรการสําหรับการกระจายการถือครองทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ ประชาชนมีหลักประกัน ทั้งในด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทํากินมากขึ้น โดยเฉพาะด้านที่อยู่อาศัย ควรเน้นหนัก ในเขตเมืองซึ่งมีปัญหารุนแรงขึ้นทุกขณะ 3. เน้น การปรับปรุงระบบการผลิต โดยเฉพาะในด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและ พาณิชกรรมเพื่อสนับสนุนการกระจายรายได้มากขึ้น ประเด็นสําคัญที่สุด ได้แก่ ทางด้านเกษตรกรรมให้มีการ ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.4 ต่อปี และให้มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการผลิตและราคาที่จะทําให้รายได้ ของเกษตรกรไม่ผันผวนขึ้นลงมากเกินไป 4. พัฒนาเมืองและการกระจายบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ส่วนภูมิภาคให้ มากขึ้น รวมทั้งการกระจายอํานาจการบริหารไปให้จังหวัดและส่วนท้องถิ่นได้มีโอกาสตัดสินใจ เพื่อแก้ปัญหาที่ ตนเองเผชิญอยู่ตามความเหมาะสม 5. ดําเนิน การพัฒนาชนบท โดยมุ่งกระจายอํานาจบริหารงานพัฒนาไปสู่ส่ว นภูมิภ าคและ ท้องถิ่น โดยจัดให้มีงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของคนยากจน ในชนบท ขณะเดียวกันวางมาตรการเพื่อสนับสนุนบทบาทขององค์กรประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน และ ภาคธุรกิจเอกชนเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาชนบทอย่างมีประสิทธิภาพ 6. ในระยะยาวควรกําหนดนโยบายพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยให้การศึกษาที่เหมาะสม อัน จะเป็น รากฐานต่อการพัฒ นาในอนาคตข้า งหน้า โดยเฉพาะอย่า งยิ่งการเพิ่มโอกาสการศึกษาในระดับ มัธยมศึกษาในให้สูงขึ้นสําหรับประชาชนในชนบท นอกจากนี้ควรพิจารณาถึงปัญหาด้านสาธารณสุข สวัสดิการ แรงงานและสังคมต่างๆ ควบคู่ไปด้วย แนวนโยบายและมาตรฐานดังกล่าวข้างต้นนี้ หากได้มีการดําเนินการอย่างจริงจังแล้ว สถานการณ์การ กระจายรายได้จะดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็จะไม่เลวลงไปกว่าเดิม ทั้งนี้เพราะว่าเกษตรกรยากจน และกลุ่มผู้มี รายได้น้อยอื่นๆ จะมีความสามารถในการพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น มีที่ดินทํากิน มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย และรายได้ รวมทั้งได้รับการศึกษาฝึกอบรมและบริการสาธารณสุข ซึ่งจะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการเข้า มามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาและได้รับประโยชน์จากการพัฒนามากขึ้น ในขณะเดียวกันการกระจายการ พัฒนาเมืองศูนย์กลางในภูมิภาคและบริการพื้นฐานสู่สวนภูมิภาคจะเป็นการสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้เป็น แหล่งที่มาของรายได้ และการมีงานที่สําหรับคนในชนบท ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ําของรายได้ระหว่างภาค และระหว่างเมืองกับชนบทลงเป็นลําดับ
187 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ภายใต้ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง โดยมีเป้าหมายยุทธศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและ ชนบทเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง ลดช่องว่างการกระจายรายได้ระหว่างกลุ่มผู้มีรายได้สูงสุดและต่ําสุด โดยเน้นกลุ่มผู้มีรายได้ ปานกลางลงมาถึงผู้มีรายได้น้อยให้มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยเป็นร้อยละ 50 ของรายได้ประชาชาติ เมื่อ สิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 กระจายการให้บริการทางเศรษฐกิจและสังคมที่จําเป็นสําหรับการพัฒนาศักยภาพของคนและ อาชีพ เพื่อให้คนในทุกชุมชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างพอเพียง รวดเร็ว และมีคุณภาพ ลดสัดส่วนคนยากจนของประเทศให้เหลือร้อยละ 10 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 สร้างโอกาสให้กลุ่มคนยากจนจํานวน 8 ล้านคน ในการประกอบอาชีพการเกษตรให้มีรายได้ พอเพียงและมีทางเลือกที่จะดํารงชีวิตอยู่ในชนบทได้อย่างมั่นคง แนวทางการเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพและการมีงานทํา ด้วยการสนับสนุนให้มี การกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและบริการทางสังคมและการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาเพื่อให้เกิดความ เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ เมือง และชุมชน ตามศักยภาพและความเหมาะสม เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการมีงานทํา และลดความเหลื่อมล้ําของรายได้ ซึ่งจะมุ่งต่อกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคและชนบท โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร และคนจนในเมือง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ได้มีการกําหนดไว้ในวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคน ไทยในการพึ่งพาตนเอง ให้ได้รับโอกาสในการศึกษาและบริการทางสังคมอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับกลไก ภาครัฐให้เอื้อต่อการแก้ปัญหา และมีเป้าหมายให้มีการดําเนินมาตรการทางเศรษฐกิจที่เอื้ออาทรต่อคนจน พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างศักยภาพให้คนจนเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกัน สามารถพึ่งตนเอง ได้ เพื่อลดสัดส่วนคนยากจนของประเทศให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ ๑๒ ของประชากรในปี ๒๕๔๙ ทั้งนี้ ได้กําหนดแนวทางไว้ภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน ว่าด้วยการแก้ปัญหา ความยากจนในชนบทและเมืองภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ที่มุ่งเน้นการปรับ กระบวนทัศน์และการจัดการการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเป็นองค์รวม เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เน้น ที่ตัวคนจนด้วยการพัฒนาศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถให้คนจนก่อร่างสร้างตัวพึ่งตนเองมากขึ้น และพัฒนา สภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาเชิงระบบและโครงสร้าง โดยมีการปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐ ปฏิรูปกฎหมาย และปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง และใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยการดํารงชีวิตได้อย่างเหมาะสมไม่ขัดต่อกฎระเบียบ (2) ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ว่าด้วยการ ส่งเสริมการค้าบริการที่มีศักยภาพเพื่อสร้างงานและกระจายรายได้ โดยพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มการจ้าง งานและกระจายรายได้สู่ชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และ
188 พัฒนาธุรกิจบริการที่มีศักยภาพใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น ซึ่งรวมถึง วิถีชีวิต สภาพแวดล้อม ตามธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีพื้นบ้าน ตลอดจนการส่งเสริมไทยเที่ยวไทย และการประสานความ ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยการกําหนดเขต การใช้ป ระโยชน์ที่ ดิน ในพื้น ที่ ที่ส มควรอนุรักษ์เ ป็ น พื้น ที่เ กษตรกรรม ควบคู่ ไ ปกับ การสร้า งแรงจูง ใจผ่า น มาตรการด้ า นสิ น เชื่ อ ภาษี และระบบตลาดเพื่ อ กระจายสิ ท ธิ ก ารถื อ ครองที่ ดิ น ในพื้ น ที่ ที่ เ หมาะสมต่ อ การเกษตรแต่มิได้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พร้อมทั้งให้มีกลไกสนับ สนุน ด้านการเงิน เพื่อรับซื้อที่ดินซึ่ง เจ้าของประสงค์จะจําหน่ายจ่ายโอนและนํามาให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทํากินเช่าทําการเกษตร ทั้งนี้ได้ลําดับความสําคัญในการพัฒนาเพื่อแก้ไข้ปัญหาความยากจน ที่มุ่งจัดการแก้ไข ปัญหาอย่างเป็นองค์รวม เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เน้นที่ตัวคนจนและสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาเชิงระบบ และโครงสร้าง เป็นลําดับดังนี้ (1) เสริมสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง โดยการ กระจายบริการศึกษา สาธารณสุขที่มีทางเลือกเหมาะกับวิถีชีวิตของคนยากจน และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่ง ความรู้ แหล่งข้อมูลข่าวสาร (2) สร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญต่อการดํารงชีวิตและประกอบอาชีพของคนยากจน ให้คนยากจนมีส่วนร่วมในการดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน (3) พัฒนาโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต แก่คนยากจน โดยการปรับปรุงรูปแบบและแนวการดําเนินงานให้เข้าถึงกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสได้ อย่างแท้จริง รวมทั้งจัดสวัสดิการสังคมที่สอดคล้องกับปัญหาและตรงกับความต้องการของคนยากจนและ ผู้ด้อยโอกาสในแต่ละพื้นที่ (4) พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งเพื่อสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถ ให้คนยากจนสามารถก่อร่างสร้างตัวและพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มเป็นองค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการร่วมคิดร่วมทํา ร่วมแก้ไขปัญหาของตน ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและเพิ่มรายได้ ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างครบวงจร สนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีที่เ หมาะสม สร้า งผลิต ภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เชื่อมโยงสู่ตลาดภายในและต่างประเทศได้ (5) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสให้คนยากจน โดย สนับสนุนให้มีการจัดทําแผนปฏิบัติการแก้ไขความยากจนที่มีความชัดเจนของกลุ่มเป้าหมายคนยากจนในแต่ละ พื้นที่ มีมาตรการเฉพาะตามศักยภาพของกลุ่มคนยากจนในชนบทและในเมือง รวมทั้งให้มีการประสานแผนงาน และปรับระบบการจัดสรรงบประมาณลงสู่กลุ่มเป้าหมายคนยากจนอย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหาในแต่ละ พื้นที่ ตลอดจนมีการพัฒนาเครือ่ งชี้วัดความยากจนให้ถูกต้องและปรับได้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง (6) เร่งปฏิรูปกฎหมายและปรับกฎระเบียบ ให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิ และความเสมอ ภาคในด้า นต่า งๆ อาทิ สิทธิ การเข้า ถึ งข้อมูล ข่า วสาร สิ ทธิการดูแ ลจัด การทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิการ ประกอบการจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิทธิการถือครองที่ดินสําหรับกลุ่มคนยากจนในภาคเกษตรที่ไร้ที่ทํากิน
189 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) เป้าหมายของแผนฯ การลดสัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลงเหลือร้อยละ 4 ภายในปี 2554 ยุทธศาสตร์ การแก้ปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ ได้ปรากฏใน (1) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์และ เป้าหมายปรากฏในยุทธศาสตร์ดังนี้ • วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม และ คํานึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งการสร้างกลไกในการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาสู่ประชาชน ในทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม • เป้าหมาย กําหนดให้รายได้ของกลุ่มที่รายได้สูงสุดร้อยละ 20 แรกมีสัดส่วนไม่เกิน 10 เท่าของรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้ต่ําสุดร้อยละ 20 ภายในปี 2554 โดยมีแนวทางการสนับสนุน ให้เกิดแข่งขันที่เป็นธรรมและการกระจายผลประโยชน์ จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรม โดยการบริหารจัดการเศรษฐกิจและการสร้างเครื่องมือและกลไกในป้องกัน การผูกขาดในทุกตลาด และทําให้เกิดการกระจายประโยชน์อย่างทั่วถึงเพื่อให้การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ช่วยพัฒนาวิสาหกิจต่าง ๆ ให้เข้มแข็ง คุ้มครองผู้บริโภค แก้ปัญหาความยากจน และมีกระจายรายได้ที่ดีขึ้น โดย 1. การส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมในประเทศ โดยเน้นให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก และผู้ประกอบการใหม่สามารถประกอบธุรกิจในระบบได้อย่างเสรีและเป็นธรรม รวมทั้งป้องกันการผูกขาด และป้องกันไม่ให้เกิดการกระทําอันไม่เป็นธรรม โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการบังคับใช้กฎหมาย การแข่งขันทางการค้า ตลอดจนทบทวนมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้เอื้อต่อการประกอบการของนักลงทุน ภายในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศภายใต้สภาพแวดล้อมของการแข่งขันที่เป็นธรรม 2. การกระจายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาคอย่างสมดุลและเป็นธรรม ให้ ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง เพียงพอ และสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ โดยเน้นการ มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นระบบ ขยายโครงข่ายการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้ได้อย่างกว้างขวางให้แก่ ประชาชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส เด็กและสตรี รวมทั้งพัฒนาระบบประปาในพื้นที่ชนบทให้ทั่วถึง เพียงพอ และวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับแหล่งงาน และพื้นที่ฐานการผลิต รวมทั้งให้ความสําคัญ ในการสร้างชุมชนที่น่าอยู่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และลดความเหลื่อมล้ําของการได้รับบริการ พื้นฐานของประชาชนในเขตเมืองและชนบท 3. การเพิ่มประสิทธิภาพและความครอบคลุมของการให้บริการของระบบการเงิน ฐานรากให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยการพัฒนาองค์กรการเงิน ชุมชนให้มีความเข้มแข็งเพื่อส่งเสริมการออมรายย่อยและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และการใช้สถาบันการเงิน เฉพาะกิจเป็นกลไกในการระดมเงินทุนให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและเศรษฐกิจฐานราก โดย 3.1 สนั บ สนุ น องค์ ก รการเงิ น ชุ ม ชนให้ มี ฐ านะเป็ น นิ ติ บุ ค คล มี อิ ส ระในการ ตัดสินใจและดําเนินงาน และให้สามารถทําธุรกรรมในนามกลุ่มได้ภายใต้กรอบการกํากับดูแลที่ออกแบบให้เป็น มาตรฐานหรือกติกากลางเพื่อคุ้มครองผู้มีส่วนได้เสียโดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เช่นเดียวกับสหกรณ์
190 3.2 เพิ่มขี ด ความสามารถบุ คลากรในระดับ ชุ มชนให้ส ามารถบริห ารจัด การ เงินทุนและการทําบัญชีของกลุ่มการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีจริยธรรมเพื่อให้มีความโปร่งใสในการ เปิดเผยข้อมูลและสร้างธรรมาภิบาลในองค์กรระดับชุมชนนั้น ๆ 3.3 สร้างกลไกเชื่อมโยงเงินทุนระหว่างกลุ่มการเงินด้วยกัน และกลุ่มการเงินกับ สถาบันการเงิน เพื่อให้การระดมทุนภายในประเทศและการบริหารสภาพคล่องทางการเงินเกิดประโยชน์สูงสุด ในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ 3.4 ใช้ส ถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็น กลไกในการระดมเงิน ทุนให้กับ วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมและเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินผลการดําเนินงาน ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น การแยกบัญชีธุรกิจเชิงพาณิชย์กับธุรกิจตามนโยบาย เพื่อการตรวจสอบ ประเมินผลการดําเนินงาน และใช้ในการสนับสนุนเงินทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา และการสร้าง ความมั่นคงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4. การดํา เนิน นโยบายการคลังเพื่อส่งเสริมการกระจายรายได้ กระจายอํา นาจสู่ ท้องถิ่นเพื่อการกระจายความเจริญไปทั่วทุกภูมิภาค โดยการกระจายอํานาจด้านการจัดเก็บภาษี การกระจาย อํานาจด้านการจัดทํางบประมาณและการเบิกจ่าย และการกระจายอํานาจด้านการก่อหนี้ ภายใต้กรอบการ รักษาวินัยทางการคลัง การเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการเตรียมความพร้อม ด้านกฎระเบียบและความรับผิดชอบ โดย 4.1 พัฒนาแหล่งรายได้ขององค์การส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สามารถพึ่งพิงรายได้ที่ จัดเก็บเองได้มากกว่าเงินอุดหนุนจากรั ฐบาลกลาง โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี ให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และการแบ่งแยกประเภทการจัดเก็บภาษีโดยรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นอย่างชัดเจน การปฏิรูปโครงสร้างภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ เช่น การนําภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาใช้แทนภาษี โรงเรือนและที่ดินและภาษีบํารุงท้องที่ การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มรายได้ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และการปฏิรูปการบริหารจัดการเงินเหลือจ่ายสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ เอื้อประโยชน์สูงสุดต่อการหารายได้จากการบริหารเงินสะสม 4.2 แบ่งบทบาทการดํา เนินภารกิจ อย่างชัดเจน ทั้งการแบ่งบทบาทระหว่า ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง การดําเนินภารกิจร่วมกันในการให้บริการสาธารณะ และการ ดําเนินภารกิจร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองที่มีความเชื่อมโยงกัน 4.3 ให้อิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทํางบประมาณของตนเอง อย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทํา การบริหารจัดการ การ ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้จ่าย และการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การบริหารการคลังส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นและ ชุมชน 4.4 จัดทํากรอบงบประมาณที่ครอบคลุมงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรภายใต้ ยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อให้สะท้อนกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่แท้จริง 4.5 กระจายอํานาจด้านการก่อหนี้และการบริหารหนี้ให้กับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดและการรักษาเสถียรภาพโดยรวมของประเทศ โดยทีร่ ัฐบาลไม่ค้ําประกันเงินกู้
191 (2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของ ฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาดังนี้ เป้าหมาย การตอบสนองความต้องการและความจําเป็นในการดํารงชีวิต ออกกรรมสิทธิ์ ที่ดิน (โฉนด) 10,000,000 ไร่ จัดสรรที่ทํากินให้ผู้ไร้ที่ทํากินไม่น้อยกว่า 700,000 ราย แนวทางการพัฒนา การจัดทําระบบฐานข้อมูลและทะเบียนการบุกรุกใช้ประโยชน์ที่ดินของ รัฐเพื่อวางระบบกระจายการถือครองที่ดินให้คนยากจนมีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเอง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) วัตถุประสงค์ของแผน เพื่อเสริมสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสังคมสันติสุข เป้าหมายหลักของแผน ความเหลื่อมล้ําในสังคมลดลง สัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลง ตัวชี้วัด สัดส่วนรายได้ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ ๑๐ กับกลุ่มที่มีรายได้น้อย ร้อยละ ๑๐ สัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจน สัดส่วนแรงงานนอกระบบที่สามารถเข้าถึงการคุ้มครองทาง สังคม ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยมีเป้าหมายและตัวชี้วัด ดังนี้ - เป้าหมายการกระจายรายได้ ลดช่องว่างรายได้ระหว่างกลุ่มคนและพื้นที่ต่างๆ - ตัวชี้วัด สัดส่วนรายได้ระหว่างกลุ่มประชากร และ พื้นที่ สาระสําคัญของยุทธศาสตร์ ดังนี้ • การสร้ า งความมั่ น คงทางเศรษฐกิ จ และสั ง คมให้ ทุ ก คนในสั ง คมไทยควบคู่ กั บ การ เสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสในชีวิตให้แก่ตนเอง โดยปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจให้มีฐานการพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่มีความหลากหลายและแข็งแกร่งมาก ขึ้น ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดความเป็นธรรม ปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบให้สนับสนุนการกระจาย รายได้และเป็นเครื่องมือสร้างความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรและการถือครองทรัพย์สิน พัฒนาการใช้ ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจ เอกชนในการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมแก่คนในสังคมไทย รวมทั้งยกระดับคุณภาพของ ระบบการคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุมทุกคนอย่างทั่วถึง สอดคล้องกับความต้องการและความจําเป็น • การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิขั้นพื้นฐาน และเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันระดับ ปัจเจกและสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัด สินใจในการพัฒนาประเทศ โดยพัฒนาระบบบริการ สาธารณะให้มีคุณภาพและมีช่องทางการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง รวมทั้งการจัดหาที่อยู่อาศัยของผู้มี รายได้น้อยและการเข้าถึงระบบสาธารณูปโภค พัฒนาระบบสวัสดิการทางสังคมให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ พัฒนาระบบการเงินฐานรากและระบบการออมที่หลากหลาย เสริมสร้างเจตคติด้านความเสมอภาคระหว่าง หญิงและชาย และพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุมประชาชนทุกคนตามสิทธิ และ สามารถเข้าถึงบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
192 • การเสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วนสามารถเพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตในสังคมและมีส่วน ร่วมในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี โดยให้ทุกคนสามารถแสดงออกทาง ความคิดอย่างสร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของชุมชนในการจัดการปัญหาของชุมชนด้วย ตัวเอง สนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ ส่งเสริมให้ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นพลังร่วมในการพัฒนาสังคม พัฒนามาตรฐานระบบการคุ้มครองผู้บริโภค เพิ่มช่องทางการเข้า ถึงข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภค ส่งเสริมบทบาทสตรีในระดับการ บริหารและการตัดสินใจทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ • การสานสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้มีคุณค่าร่วมและตระหนักถึงผลประโยชน์ ของสังคม และเสริมสร้างการบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีระบบการตรวจสอบและการ รับผิดชอบที่รัดกุม โดยสร้างค่านิยมใหม่ที่ยอมรับร่วมกันบนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจและเกื้อกูลกันในสังคม ส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองที่มีธรรมาภิบาลนําไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่ถูกต้องและเหมาะสม เสริมสร้าง ระบบบริหารราชการให้เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ มีระบบถ่วงดุลอํานาจการตรวจสอบที่เข้มงวดและรอบด้าน พัฒ นาข้า ราชการให้ มีคุณ ภาพสูง มีคุ ณธรรม จริ ย ธรรมทางอาชี พ และมีความรับ ผิ ด รับ ชอบ ปฏิรูป การ เมืองไทยทั้งระบบให้เ ป็นประชาธิป ไตยของมวลชน สร้างความเท่าเทียมในกระบวนการยุติธรรมและเพิ่ม ช่ อ งทางในการรั บ ข้ อ ร้ อ งเรี ย นและให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เยี ย วยาแก่ ผู้ เ สี ย หายและผู้ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจาก กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสนับสนุนการใช้สื่อเพื่อสังคมทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น และสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นพลังหนุนเสริมในการพัฒนา (2) ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน • การพั ฒ นาทรัพ ยากรธรรมชาติ ที่เ ป็ น ฐานการผลิต ภาคเกษตรให้ เ ข้ม แข็ง และยั่ง ยื น สนับสนุนการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เร่งรัดการจัดให้มีองค์กรและระบบ บริหารจัดการที่ดินให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อเป็นกลไกในการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและ ดําเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึง และสนับสนุนการใช้ประโยชน์ ที่ดินของรัฐอย่างคุ้มค่าโดยเกษตรกรและชุมชน รวมทั้งเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิ์หรือจัดสรรสิทธิในที่ดิน ให้แก่เกษตรกรผู้ไร้ที่ทํากินให้มีที่ดินเป็นของตนเองอย่างเป็นธรรม • การสร้ า งความมั่ น คงในอาชี พ และรายได้ ใ ห้ แ ก่ เ กษตรกร โดยพั ฒ นาระบบการสร้ า ง หลักประกันด้านรายได้ของเกษตรกรให้มีความมั่นคงและครอบคลุมเกษตรกรทั้งหมด พัฒนาระบบประกันภัย พืชผลการเกษตร ส่งเสริมระบบการทําการเกษตรแบบมีพันธสัญญาที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ยกระดับคุณภาพ ชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้นโดยพัฒนาระบบสวัสดิการให้ครอบคลุมเกษตรกรในทุกสาขาอาชีพ (3) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ประการ หนึ่ง คือ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ • การพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ โปร่ งใสและเป็น ธรรมอย่ า งบูร ณาการ โดยส่ งเสริม สิทธิ และพัฒ นาศัก ยภาพชุ มชนในการเข้า ถึ งและใช้ ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ปรับปรุงกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน
193 • กระจายการถือครองที่ดินให้เกิดความเป็นธรรม โดยกําหนดมาตรการเพื่อกระจายการถือ ครองที่ดินให้เป็นธรรม เช่น จัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า ให้มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่รกร้าง และจัดให้ มีระบบและองค์กรบริหารจัดการที่ดินให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว รวมทั้งกําหนดมาตรการป้องกันการสูญเสีย กรรมสิทธิ์ที่ดินของเกษตรกรรายย่อยเพื่อคุ้มครองความมั่นคงและฐานการดํารงชีวิตของเกษตรกรยากจน (4) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน • บริหารจัดการด้านการคลัง โดยเร่งรัดการนําภาษีใหม่ๆ ที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการ สร้างความเป็นธรรมในสังคม เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีทรัพย์สิน และภาษีสิ่งแวดล้อม ตารางผนวกที่ 3 สัดส่วนรายได้ของประชากร จําแนกตามกลุ่มประชากรตามระดับรายได้ (Quintile by income)
2531 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 2550 2552
กลุ่ม 20% ที่ 1 (จนที่สุด) 4.58 4.29 3.96 4.07 4.18 4.30 3.95 4.23 4.54 3.84 4.30 4.56
กลุ่ม 20% ที่ 2 8.05 7.54 7.06 7.35 7.55 7.75 7.27 7.72 8.04 7.67 8.01 8.33
กลุ่ม 20% ที่ 3 12.38 11.70 11.11 11.67 11.83 12.00 11.50 12.07 12.41 12.12 12.42 12.57
กลุ่ม 20% ที่ 4 20.62 19.50 18.90 19.68 19.91 19.82 19.83 20.07 20.16 20.08 20.22 20.14
กลุ่ม 20% ที่ 5 (รวยที่สุด) 54.37 56.97 58.98 57.23 56.53 56.13 57.45 55.91 54.86 56.29 55.06 54.39
รวม 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100
สัดส่วน กลุ่มที5่ /กลุ่ม ที1่ (เท่า) 11.88 13.28 14.90 14.07 13.52 13.06 14.55 13.23 12.10 14.66 12.81 11.92
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลผลโดย สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช. : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2549, ปี 2550 และปี 2552 มีการบันทึกข้อมูลรายได้ติดลบหรือขาดทุน : ข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2551 และปี 2553 ไม่มีการสํารวจด้านรายได้ของครัวเรือน รายได้ หมายถึง รายได้ประจํา ที่ไม่รวมรายรับอื่นๆ (เช่น เงินทุนการศึกษา มรดก พินัยกรรม ของขวัญ ประกันสุขภาพ ประกันภัยและประกัน ชีวิต/ประกันสังคม เงินถูกสลาก เงินรางวัล ค่านายหน้าและเงินได้จากการพนัน เป็นต้น)
194
ภาคผนวก ค. แผนภาพนําเสนอภาพรวมสถานการณ์ความยากจนและความเหลือ่ มล้ํา
1
สํานักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม กันยายน 2554
รายงานการวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ําในสังคมไทย ทั้งในมิติด้าน รายได้ รายจ่าย โอกาสในการเข้าถึงบริการทางสังคม ทรัพยากร และกระบวนการยุติธรรม รวมทั้ง การชี้ถึงประเด็นเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นจุดอ่อนและความเสี่ยงที่อาจจะทําให้ ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ํารุนแรงขึ้นได้ในอนาคต มีหัวข้อดังนี้ สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทยในปี 2553 สถานการณ์ด้านความเหลื่อมล้ําในสังคมไทยในมิติต่าง ๆ สาเหตุของความเหลื่อมล้ํา และประเด็นความเสี่ยงในอนาคต นโยบายเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความ เหลื่อมล้ําทีส่ ําคัญในช่วงปี 2552– 2553 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ความยากจนของประเทศไทยลดลงต่อเนื่องทั้งจํานวนและสัดส่วนคนจน ในปี 2553 มีคนจนประมาณ 5.1 ล้านคนหรือร้อยละ 7.8 ของประชากร 60 50 1,190 1,130 1,135
42.21
40
1,242
33.69 790
30
692
633
20 22.1
1,443
1,678
838
1,500 1,200
953
900
28.43
18.4
1,386
1,800
1,579 1,586
- เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 7.8 - การช่วยเหลือค่าครองชีพ - การจัดสวัสดิการสําหรับ กลุ่มด้อยโอกาส - การจ้างงานเพิม่ - ราคาสินค้าเกษตรสูง
20.98 18.98
15.8
10
17.46
14.75
10.7
8.5
10.2
600
14.93 12.6
11.16 9.55 7.8 8.49 8.95 8.12 9.1 5.1 7.0 6.1 5.4 5.8 5.3
0
300 0
2531 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 2550 2551 2552 2553 สัดส่วนคนจน(%)
จํานวนคนจน(ล้านคน)
เส้นความยากจน(บาท/คน/เดือน)
ที่มา : ข้อมูลจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สํานักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสํานักพัฒนาฐานข้อมูลและ ตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.
โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ดีกว่า - อินโดนีเซีย (ยากจน 13.30%) - เวียตนาม (14.5%) - ฟิลิปปินส์ (25.50%) - อินเดีย (27.50%) - บราซิล (21.40%) - จีน (16%) รวมทั้ง CLMV 3
แต่ยังมีกลุ่มที่เรียกว่า “เฉียดจน” หรือ “เกือบจน” ถึงประมาณ 4.9 ล้า นคนหรือร้อยละ 7.6 ของประชากร กลุ่มนี้มีความอ่อนไหวต่อภาวะ วิกฤตต่าง ๆ ได้ง่าย กลุ่มคนจน + คนเกือบจน = 10 ล้านคน (ร้อยละ 15.3 ของประชากรทั้งประเทศ)
เกือบจน คือ มีระดับ (รายได้)
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคสูง กว่าเส้นความยากจนไม่เกิน 20% จน คือมีระดับ (รายได้)รายจ่ายเพื่อ การอุปโภคบริโภคต่ํากว่าเส้นความ ยากจน จนมาก คือ มีระดับ (รายได้) รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่ํา กว่าเส้นความยากจนเกินกว่า 20% จนน้อย คือ มีระดับ (รายได้) รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่ํา กว่าเส้นความยากจนไม่เกิน 20%
4
ลักษณะความยากจน (Poverty Profile) ร้อยละ 10.2 ของเด็ก และร้อยละ 10.9 ของผู้สูงอายุ เป็น คนจน ร้อยละ 53 ของคนจนทั่วประเทศทํางานในภาคเกษตรกรรม 4.5 ล้ า นคนของประชากรยากจนอยู่ ใ นชนบท คิ ด เป็ น สัดส่วนคนจนร้อยละ 10.4 เทียบกับร้อยละ 2.6 ในเขตเมือง แต่ ค วามยากจนเมื อ งเป็ น ปั ญ หาที่ มี ค วามซั บ ซ้ อ นและ กระทบต่อคุณภาพชีวิตรุนแรงกว่า ร้ อ ยละ 59.2 ของคนจนทั่ ว ประเทศอาศั ย อยู่ ใ นภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 25.3 ของคนจนทั่วประเทศ อาศัยอยู่ในภาคเหนือ จั ง ห วั ด ที่ มี ปั ญ ห า ค ว า ม ย า ก จ น เ รื้ อ รั ง 5 จั ง ห วั ด ประกอบด้วย แม่ฮ่องสอน ศรีสะเกษ นครพนม ตาก และ สระแก้ว และกาฬสินธุ์
วัยเด็ก (ต่ํากว่า 15 ปี)
สัดส่วนคนจน (ร้อยละ) 2550 2551 2552 2553 10.9 11.2 10.2 10.2
วัยแรงงาน (15-59 ปี)
6.5
6.9
6.5
6.1
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) รวม
13.2 8.5
14.1 9.0
11.8 8.1
10.9 7.8
กลุ่มวัยประชากร
สัดส่วนคนจนแยกตามภูมิภาค 1.1%
5.8%
3.0%
3.3% 2.2% 25.3%
59.2%
กรุงเทพฯและปริมณฑล กลาง ใต้
ตะวันออก เหนือ
ตะวันตก ตะวันออกเฉียงเหนือ
จํานวนคนจนแยกตามเขตพื้นที่ จํานวนคนจน (พันคน) 570.7
4,506.0
เขตเมือง เขตชนบท
5
การกระจายด้านรายได้ การกระจายรายได้ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาดีขึ้นเพียงเล็กน้อย
สัดส่วนรายได้ของประชากร ปี 2552 2.88
1.69
ผู้มีรายได้สงู สุด 10% มีรายได้เป็น 22.8 เท่า ของผู้มีรายได้ต่ําสุด 10% ผู้มีรายได้สงู สุด 20% มีรายได้เป็น 11.3 เท่า ของผู้มีรายได้ต่ําสุด 20%
Gini coefficient ด้านรายได้มีค่าประมาณ 0.48 ในปี 2553 ลดลงเพียงเล็กน้อยจาก 0.485 ในปี 2552 การกระจายดีขึ้นบ้าง การกระจายรายได้ ป รั บ ตั ว ดี ขึ้ นบ้ า งในปี 2553 จากปี 2552 เนื่องจากค่าจ้างแรงงานดีขึ้น มีการประกันรายได้เกษตรกรราย ย่อยที่มีรายได้ต่ํา ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้น และการให้สวัสดิการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการคนละ 500 บาท/คน/เดือน เป็น การกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาส ในสังคม แต่ นั บ ว่ า ยั ง มี ปั ญ หาการกระจายรายได้ ใ นระดั บ ปานกลาง ใกล้เคียงกับประเทศมาเลเซีย (0.492) ฟิลิปปินส์ (0.445) และ จีน (0.469) แต่มีปัญหามากกว่าเกาหลีใต้ (0.316) สิงคโปร์ (0.425) สหรัฐฯ (0.408) และญี่ปุ่น (0.249) เป็นต้น กลุ่มคนรวยที่สุด 10% เป็นเจ้าของรายได้ถึง 38.41% กลุ่มชั้น รายได้รองลงมาเป็นเจ้าของรายได้เพียงร้อยละ 15.98 โดยที่กลุ่ม ชั้ นกลางเองก็ มี ค วามแตกต่ า งกั นมาก ขณะที่ ก ลุ่ ม คนจนที่ สุ ด 10% ถือครองเพียงร้อยละ 1.69 ของรายได้ทั้งหมด
กลุ่ม 10% ที่ 1 (จนที่สุด) กลุ่ม 10% ที่ 2
3.72 4.61
กลุ่ม 10% ที่ 3 กลุ่ม 10% ที่ 4
5.65 38.41
กลุ่ม 10% ที่ 5
6.92
กลุ่ม 10% ที่ 6 8.73
กลุ่ม 10% ที่ 7 กลุ่ม 10% ที่ 8
11.41
15.98
กลุ่ม 10% ที่ 9 กลุ่ม 10% ที่ 10 (รวยที่สุด)
สัดส่วนรายได้ของประชากร จําแนกตามกลุ่มประชากรตามระดับรายได้ (Decile by Income) 2552 2550 2549 2547 2545 2543 2541 2539 2537 2535 2533 2531
กลุ่ม 10% ที1่ (จนที่สุด) กลุ่ม 10% ที2่ กลุ่ม 10% ที3่ กลุ่ม 10% ที4่ กลุ่ม 10% ที5่ กลุ่ม 10% ที6่ กลุ่ม 10% ที7่ กลุ่ม 10% ที8่ กลุ่ม 10% ที9่
0
20
40
60
80
100
กลุ่ม 10% ที1่ 0(รวยที่สุด)
6
ความเหลื่อมล้าํ ด้านรายจ่าย สัดส่วนรายจ่ายของประชากร ปี 2553 2.80
ผูม้ ีรายจ่ายสูงสุด 20% มีรายจ่ายเป็น 11.1 เท่า ของผู้มีรายจ่ายต่ําสุด 20%
4.82
ผู้มีรายจ่ายสูงสุด 10% มีรายจ่ายเป็น 6.9 เท่า ของผู้มีรายจ่ายต่ําสุด 10%
• ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ด้านรายจ่ายอยู่ในระดับ 0.394 ในปี 2553 ลดลง จากระดับ 0.396 ในปี 2552 และ 0.401 ในปี 2551 ชี้ว่ากระจายดีขึ้น • กลุ่มรายจ่ายมากที่สุด 10% เป็นผู้ใช้จ่ายถึง 31.0% • กลุ่มชั้นรายจ่ายรองลงมาอีก 10% เป็นผู้ใช้จ่ายร้อย ละ 15.7 • กลุ่มที่ถัดลงมา (กลุ่มที่ 8) ใช้จ่ายร้อยละ 11.9 • แต่กลุ่มอื่น ๆ ที่เหลือ ใช้จ่ายไม่ถึงกลุ่มละ 10% • โดยเฉพาะกลุ่ม 10% คนจนที่ สุด นั้น มีก ารใช้จ่ า ย เพียงร้อยละ 2.8 ของรายจ่ายทั้งหมด
3.96
5.68 30.99 6.70 7.92 9.58
15.68 11.87
กลุ่ม 10% ที่ 1 (จ่ายน้อยสุด) กลุ่ม 10% ที่ 2 กลุ่ม 10% ที่ 3 กลุ่ม 10% ที่ 4 กลุ่ม 10% ที่ 5 กลุ่ม 10% ที่ 6 กลุ่ม 10% ที่ 7 กลุ่ม 10% ที่ 8 กลุ่ม 10% ที่ 9 กลุ่ม 10% ที่ 10 (จ่ายมากสุด)
สัดส่วนรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชากร จําแนกกลุ่มประชากรตามระดับ รายจ่าย (Decile by Expenditure)
2553 2552 2550 2549 2547 2545 2543 2541 2539 2537 2535 2533 2531
กลุ่ม 10% ที1่ (จ่ายน้อยสุด) กลุ่ม 10% ที2่ กลุ่ม 10% ที3่ กลุ่ม 10% ที4่ กลุ่ม 10% ที5่ กลุ่ม 10% ที6่ กลุ่ม 10% ที7่ กลุ่ม 10% ที8่ กลุ่ม 10% ที9่ กลุ่ม 10% ที1่ 0(จ่ายมากสุด)
0
20
40
60
80
100
7
การถือครองที่ดินและสินทรัพย์กระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มน้อย การถือครองที่ดนิ และทรัพย์สินอื่นๆ มีความกระจุกตัว
สิน ทรัพย์ท างการเงิน กระจุกตัว อยู่ ใ นคนกลุ่ม น้ อ ยในขณะที่ โ อกาสของการเข้ า ถึ ง บริ ก าร สินเชื่อในระบบสถาบันการเงินของธุรกิจขนาด เล็กและผู้มีรายได้น้อยยังมีจํากัด
ที่ดินที่มีการครอบครองโดยประชาชนทั่วไปมี 120 ล้านไร่ ซึ่ง มากกว่าร้ อยละ 90 ของจํ านวนนี้กระจุก ตัวอยู่ในมือของคน เพียงร้อยละ 10 (มูลนิธิสถาบันที่ดิน ) 8
อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบและอัตราการเข้าเรียนสุทธิ จําแนกตามกลุ่มประชากรตาม ระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค (decile) ปี 2553 มัธยมศึกษาตอนปลายรวม ปวช. อุดมศึกษา รวม ปวส. กลุ่มประชากรตาม อัตราการเข้า อัตราการเข้า อัตราการเข้า อัตราการเข้า ระดับรายจ่าย เรียนอย่างหยาบ เรียนสุทธิ เรียนอย่างหยาบ เรียนสุทธิ 10% ที่ 1 จ่ายน้อยสุด 10% ที่ 2 10% ที่ 3 10% ที่ 4 10% ที่ 5 10% ที่ 6 10% ที่ 7 10% ที่ 8 10% ที่ 9 10% ที่ 10 จ่ายมากสุด
53.3 60.8 71.0 71.4 80.6 76.7 89.1 95.8 101.2 98.1
37.9 41.1 51.4 51.4 58.5 56.9 58.0 67.8 73.1 71.3
1.3 2.4 3.1 9.1 13.1 13.2 18.2 31.2 51.0 90.4
1.1 1.2 2.3 5.6 8.5 7.8 10.6 18.8 28.5 45.5
หมายเหตุ: อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบ หมายถึง ร้อยละของจํานวนผู้เรียนทีเ่ ข้าเรียนในแต่ละระดับการศึกษาทั้งหมดเปรียบเทียบกับ จํานวนประชากรที่อายุตามเกณฑ์ อัตราการเข้าเรียนสุทธิ หมายถึง ร้อยละของจํานวนผู้เรียนทีเ่ ข้าเรียนที่มชี ว่ งอายุตามเกณฑ์ทั้งหมด เปรียบเทียบกับจํานวน ประชากรที่ชว่ งอายุตามเกณฑ์
80 60 40 20 0
10% 1
อุดมศึกษา
60 50 40 30 20 10 0
100
มัธยมศึกษาตอนปลาย
โอกาสในการเข้าถึงบริการด้านการศึกษามีความ แตกต่างกันมากโดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายขึ้นไป ในขณะที่คุณภาพการศึกษายัง มีความแตกต่างระหว่างพื้นที่
10% 10
2550
2551
2552
2553
2550 .
2551 .
2552 .
2553 .
จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ย จําแนกตามภูมภิ าคและเขตปกครอง ภาค/เขตปกครอง ปี 2552 กทม. 10.4 กลาง 8.1 เหนือ 7.5 ตะวันออกเฉียงเหนือ 7.9 ใต้ 8.1 ในเขตเทศบาล 9.0 นอกเขตเทศบาล 6.7 ที่มา : ปีการศึกษาเฉลีย่ ของประชากรไทย ปี 2552 สํานักงานเลขาธิการสภา การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
9
คนไทยมีการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถึงร้อยละ 99.4 แต่คณ ุ ภาพมาตรฐานการ บริการยังมีความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ ทรัพยากรและบุคลากรทางการแพทย์ยงั กระจุกตัวใน กทม. และเมืองใหญ่ 25,000
จํานวนประชากรต่อบุคลากรทางการแพทย์ 1 คน ปี 2552
20,000 15,000 10,000 5,000 0 แพทย์ ทั้งประเทศ
ทันตแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เภสัชกร
ภาคกลางไม่รวมกรุงเทพฯ
พยาบาลวิชาชีพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยาบาลเทคนิค ภาคเหนือ
ภาคใต้
ที่มา : รายงานทรัพยากรสาธารณสุข ปี 2552 สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข 10
การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของคนไทยยังมีน้อย เป็นช่องว่างทางดิจิตัล (การเข้าถึงองค์ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร) • ในปี 2553 มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และ โทรศัพท์มือถือเพียงร้อยละ 30.9 22.4 และ 61.8 ของประชากรตามลําดับ • คนไทยที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพียงประมาณ 1 ใน 5 (22.4%) นั้นกระจุกตัวในกรุงเทพมหานครและภาค กลางเป็นส่วนใหญ่ และอยู่ในเขตเทศบาลถึงกว่า 2 เท่าของนอกเขตเทศบาล • ผู้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมีเพียงร้อยละ 19.3 ของผู้ใช้อนิ เทอร์เน็ตหรือมีจํานวน 2.67 ล้าน คน จากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจํานวน 13.8 ล้านคน • มีความแตกต่างระหว่างพื้นที่ โดยกรุงเทพมหานคร มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตสูงกว่าภาค ตะวันออกเฉียงเหนือถึง 1.8 และ 2.1 เท่าตามลําดับ
ร้อยละผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต จําแนกตามเขตการปกครอง พ.ศ. 2547 - 2553 50 45 40 35 30 25 20 15 10 5 0
42 33.2
35.5
36.3
36.9
43.4
39.2 35.1 32.8 29
21.4
21.2
19.7
23.4
24.8
21.3
22.3
10.2
11.4
2549
2550
15.6 7.2
8
2547
2548
23.3
23.6
13.4
14.5
2551
2552
25.2 16.5
2553
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเขตเทศบาล
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นอกเขตเทศบาล
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเขตเทศบาล
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนอกเขตเทศบาล
11
สาเหตุของความเหลื่อมล้ํา / ปัญหาเชิงโครงสร้าง • ด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
1) โครงสร้างเศรษฐกิจเอื้อประโยชน์ต่อเจ้าของทุนมากกว่าเจ้าของแรงงาน ผลตอบแทนแรงงานเพียงร้อยละ 40 ของรายได้ ประชาชาติ 2) โครงสร้างเศรษฐกิจเอื้อประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมมากกว่าเกษตรกรรม ผลิตภาพอุตสาหกรรมและมูลค่าผลิตภัณฑ์สูงกว่า เกษตร 3) แต่แรงงานประมาณ 40% ยังคงกระจุกตัวในภาคเกษตรกรรม
• โครงสร้างภาษียังไม่เป็นธรรม
1) การพึ่งพิงภาษีทางอ้อมเป็นสัดส่วนทีส่ ูงกว่าภาษีทางตรง (ร้อยละ 51.8 ต่อร้อยละ 36.6) 2) การใช้ภาษีโรงเรือน ที่ดินและภาษีบํารุงท้องที่ในปัจจุบันทําให้เกิดความไม่เป็นธรรมหลายประการจากลักษณะของการใช้ฐานภาษี และอัตราภาษี 3) โครงสร้างภาษีไม่สอดคล้องกับลักษณะฐานภาษี การลดหย่อนและการให้ประโยชน์ทางภาษีเอื้อต่อกลุ่มรายได้ระดับบนมากกว่า ระดับล่าง 3.1 โครงสร้างภาษีเอื้อประโยชน์ต่อฐานรายได้จากทรัพย์สินและความมั่งคั่ง มากกว่ารายได้ที่เป็นผลตอบแทนค่าแรงงาน 3.2 ผู้มีรายได้สงู มีช่องทางลดหย่อนภาษีได้มากกว่าผู้มีรายได้ต่ํา 3.3 ภาระภาษีสทุ ธิต่อรายได้ของบริษัทขนาดเล็กสูงกว่าบริษัทขนาดใหญ่ และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ SMEs มีน้อย
• โครงสร้างทางสังคม 1) การกระจายบริการพื้นฐานของรัฐยังมีความเหลื่อมล้ําทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เป็นเหตุของความยากจนเชิงโครงสร้างในบาง พื้นที่ 2) แรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบกับการเข้าถึงหลักประกันทางสังคม และการคุ้มครองโดยกฎหมาย 3) ช่องว่างการเข้าถึงองค์ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
12
สาเหตุของความเหลื่อมล้ํา / ปัญหาเชิงโครงสร้าง • ปัญหาระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน
1) หน่วยงานบริหารจัดการทีด่ ินของประเทศไทยยังขาดเอกภาพ ทีด่ ินของรัฐส่วนใหญ่จึงขาดความชัดเจนในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดนิ
2) ปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับแนวคิดสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติ ทีส่ ่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐและราษฎรในการใช้ประโยชน์ใน ที่ดิน 2.1 กฎหมายทีด่ ินและป่าไม้ ให้อํานาจรัฐในการบริหารจัดการ ขาดมิตกิ ารมีสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน 2.2 การประกาศเขตสงวนหวงห้ามที่ดนิ ของรัฐ มิได้มกี ารสํารวจทีด่ ินในพืน้ ที่ราษฎรทํากินและอาศัยอยู่เดิม 2.3 การขาดระบบฐานข้อมูลทีด่ ินที่มีประสิทธิภาพ แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐมีแนวเขตพื้นที่ทบั ซ้อนกันเองหรือมีหลักเขตไม่ ชัดเจน
• การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียม คนจนชายขอบยังเข้าสู่กระบวรการยุติธรรมไม่ทั่วถึง • การบริหารราชการแผ่นดิน
1) ขาดประสิทธิภาพ 2) ขาดความโปร่งใส 3) ปัญหาคอรัปชั่น (ทําให้การใช้จ่ายงบประมาณสิ้นเปลืองและโครงการภาครัฐไม่ยั่งยืนหรือไม่เกิดประโยชน์แท้จริงต่อกลุ่มคน/พื้นที่ เป้าหมาย)
13
• • • •
• โอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี • มาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการ สาธารณูปโภค
สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผสู้ ูงอายุ การจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมบทบาท อสม. จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ
• จัดหาทีด่ ินทํากินให้แก่เกษตรกร ยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน โฉนด ชุมชน • แก้ปัญหาหนีส้ ิน ฟืน้ ฟูอาชีพและความ เป็นอยู่ของเกษตรกร • ขยายการให้บริการสาธารณูปโภคขั้น พื้นฐาน สู่ภมู ิภาคอย่างทัว่ ถึง
% & #' (
! " # $
• เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัด การศึกษาครอบคลุมประชากรในกลุม่ ผู้ด้อยโอกาส • ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา • ปฏิรูประบบประกันสังคมและจัดระบบ ดูแลด้านสวัสดิการของแรงงาน • ส่งเสริมการมีงานทําของผู้สูงอายุและ คนพิการ • ปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข
• ส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางสังคม • เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพการอยู่อาศัย คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ชุมชน • จัดหาทีด่ ินทํากินให้แก่ผู้มรี ายได้น้อย • ปรับโครงสร้างหนีภ้ าคประชาชน 14
กระแส โลกาภิวัตน์ที่เข้ม ข้นขึ้น และการเปิด เสรีทางการค้า การเงิน และการ ลงทุน • การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีมากขึ้นของ สินค้า บริการ เงินทุน และผู้คน • มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจและการเงิน จะผันผวนได้ง่าย • มีความเสี่ยงจากการเคลือ่ นย้ายของ แรงงานที่มที ักษะสูงไปยังประเทศที่ พัฒนาแล้วซึ่งมีค่าจ้างสูงกว่า ทําให้ เกิดการขาดแคลนแรงงานทักษะ กดดันให้ค่าแรงงานทักษะสูงขึ้น • เกษตรกรได้รับผลกระทบจาก ประเทศที่ผลิตสินค้าใกล้เคียงกัน • การเลื่อนไหลทางเทคโนโลยีทําให้มี ช่องว่างทางความรู้และโอกาส และ ความแตกต่างด้านรายได้มากขึ้น
ภาวะโลกร้อนและ การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ
• ภาคเกษตรมีความเสี่ยงต่อการ สูญเสียผลผลิต พื้นที่ทํากิน และ รายได้ทั้งจากการเกิดภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความ รุนแรงมากขึ้น • การสูญเสียที่อยู่อาศัยและที่ทํากิน • ความเสื่อมโทรมของดิน ทรัพยากรทางทะเลและภาวะขาด แคลนน้ํา กระทบประชาชนรายได้ น้อยรุนแรงกว่า • กลุม่ รายได้น้อยปรับตัวได้ยากกว่า ในท่ามกลางภัยพิบัติ
สังคมผู้สูงอายุ
• การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ครอบครัว และแนวโน้มการ เจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ความยากจนผู้สูงอายุอาจสูงขึ้นได้ • แรงงานนอกระบบยังขาด หลักประกันรายได้รองรับเมื่อเข้าสู่ วัยสูงอายุ ขณะที่รัฐยังไม่มีนโยบาย ส่งเสริมการมีงานทําของผู้สูงอายุที่ มีชัดเจน • กลุม่ ผู้สูงอายุอ่อนไหวต่อภัยพิบัติ และวิกฤตเศรษฐกิจจะยิ่งทําให้ขาด การดูแล
สร้างโอกาสการประกอบอาชีพ ปฏิรูปที่ดนิ เพื่อการเกษตร พัฒนาระบบน้ํา สร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และกระจายผลกําไรสูส่ ังคม ปรับโครงสร้าง เชิงบวก เศรษฐกิจให้มี สร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ฐานการพัฒนาที่ ทั่วถึงและยั่งยืน
กําหนดกลุม่ เป้าหมาย และ ปรับปรุงระบบ พัฒนาระบบฐานข้อมูลในระดับ การบริหาร พื้นที่และกลุม่ คน ราชการแผ่นดิน สนับสนุนการเข้าถึงกระบวนการ ของภาครัฐ ยุติธรรมอย่างเสมอภาค การใช้กลไกรัฐ/เอกชน/ชุมชน/ท้องถิ่น สนับสนุนการแก้ปญ ั หาความเหลื่อมล้ําเชิงโครง สร้างเป็นวาระเร่งด่วน พัฒนาและวางระบบการติดตามประเมินผลการดําเนิน นโยบายตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับประเทศ ตามกลุ่ม/พื้นที่ เป้าหมาย
จัดสวัสดิการให้สอดคล้องกับปัญหาของชุมชน
และกลุ่มเป้าหมาย กระจายบริการทางสังคมให้มีคุณภาพให้คนจน และผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงได้ สร้างหลักประกันทางสังคมแก่คนทุกช่วงวัย ยกระดับระบบ จัดระบบความสัมพันธ์ของ คุ้มครองทางสังคม สวัสดิการสังคมให้ดําเนินการโดย ภาครัฐ ท้องถิ่น และ ภาคประชาชน สําหรับคนจนและ เชื่อมโยงสนับสนุนซึ่งกันและกัน คนด้อยโอกาส
ปรับโครงสร้าง ภาษีทั้งระบบ
จัดเก็บภาษีทางตรงมากขึ้น ปรับปรุงเกณฑ์การให้สิทธิ
ประโยชน์และลดหย่อนภาษีให้เกิด ประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประชาชน ฐานล่าง และSMEs เร่งรัดการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม วาระบบฐานข้อมูลและพัฒนากลไกในการนําภาค นอกทางการทั้งแรงงานและผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบ ปรับการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับความ ต้องการของพื้นทีและกลุม่ เป้าหมาย 16