ไก่บ้าน

Page 1

“ไก่บ้าน” ที่สุดแห่งพันธุกรรมไทย พัฒนาการเลี้ยงได้ในเชิงพาณิชย์ ค่อนข้างชัดเจนว่ารสชาติและเนือ้ สัมผัส ของ “ไก่บ้าน” หรือ “ไก่พื้นเมืองของไทย” เป็นที่ถูกปากและติดใจของคนไทยมากกว่า ไก่เนื้อที่เลี้ยงในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ เมื่อนำ�มาทำ�เป็นเมนูไทย ๆ อย่างต้มยำ� แกงป่า ต้มน้ำ�ปลา ทอดเกลือ ฯลฯ ซึ่งยาก ที่ไก่ชนิดไหนจะมาเทียบเคียงได้ และเนือ้ ไก่ บ้านที่รสชาติดีนี้ยังมีไขมันต่ำ� จึงถือว่าเป็น อาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วย

สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน” 1


แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของไก่บ้านหรือไก่พื้นเมือง คือ ความแข็งแรงทนทาน สามารถทนต่อสภาพ แวดล้อมที่ร้อนชื้นของไทยได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ ไก่พื้นเมืองมีลักษณะเลี้ยงง่าย ซึ่งในอดีตเกษตรกร หรื อ ชาวบ้ า นในชนบทเลี้ ย งไก่ พื้ น เมื อ งโดยปล่ อ ย ให้หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ ให้นอนตามร่มไม้ ชายคา หรือดีหน่อยก็มีเล้าที่ทำ�ง่าย ๆ จากวัสดุเหลือ ใช้และไม่มีระบบการจัดการมากนัก แต่ไก่พื้นเมือง ก็ยังสามารถเจริญเติบโตพร้อมทั้งยังให้ผลผลิตและ เพิ่มจำ�นวนอย่างต่อเนื่องได้ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้นับ เป็นต้นทุนทางธรรมชาติที่สำ�คัญ สมควรอย่างยิ่งที่มี การนำ�มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจังโดยเฉพาะ เกษตรกรรายย่อย ซึ่งเหมาะที่จะนำ�ไปพัฒนาและใช้ ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน 2 สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน”

ลั ก ษณะที่ เ ลี้ ย งง่ า ยของไก่ พื้ น เมื อ งยั ง เป็ น คุณสมบัตทิ เี่ อือ้ ต่อวิถชี วี ติ ของคนไทยทีป่ ระกอบอาชีพ ด้านการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ด้วย ทำ�ให้เกิดการทำ� เกษตรแบบผสมผสาน โดยการปลูกพืชเลีย้ งสัตว์รวม กัน มูลไก่ที่ได้ก็เป็นปุ๋ยอินทรีย์อย่างดีให้กับพืช ส่วน ผลผลิตพืชที่มีคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของ ตลาดหรือจำ�หน่ายไม่ได้ ก็สามารถนำ�มาเป็นอาหาร ของไก่พื้นเมือง เป็นการสร้างมูลค่าให้กับผลผลิตใน รูปแบบอื่น และการอยู่ง่าย กินง่าย ของไก่พื้นเมือง ยังสามารถพัฒนาระบบการเลี้ยงตามแนวธรรมชาติ หรือเลี้ยงในระบบอินทรีย์ได้อีกด้วย ทำ�ให้ได้เนื้อไก่ ที่มีคุณภาพดี ปลอดสารเคมีตกค้าง 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นกระแสนิยมของผู้บริโภคในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ก็ต้องยอมรับว่าประสิทธิภาพ การให้ผลผลิตและการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมือง ค่อนข้างต่ำ� โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับไก่เนื้อที่เลี้ยงใน ระบบอุตสาหกรรม ซึ่งใช้เวลาเพียงเดือนกว่า ๆ ก็นำ� มาบริโภคได้ ขณะที่ไก่พื้นเมืองที่เกษตรกรเลี้ยงต้อง ใช้เวลาเลีย้ งหลายเดือนกว่าจะได้ขนาดตามทีต่ อ้ งการ ซึ่งก็เป็นเหตุผลสำ�คัญทำ�ให้ที่ผ่านมาจึงไม่มีการเลี้ยง ไก่พื้นเมืองในเชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง ส่วนใหญ่เลี้ยง ติดบ้านไว้บริโภคหรือจำ�หน่ายในพืน้ ทีเ่ ท่านัน้ และเมือ่ สภาพสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ชนบทเริ่มกลายเป็น เมือง ประกอบกับมาตรการด้านการป้องกันควบคุม โรคในสัตว์ปีกของไทย จากปัญหาการระบาดของ


ไข้หวัดนกตั้งแต่ปี 2547 ทำ�ให้ไก่บ้านที่คนไทยเคย เลี้ยงกันอย่างแพร่หลายและกระจายอยู่ทั่วประเทศมี จำ�นวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากข้ อ มู ล ของกรมปศุ สั ต ว์ ร ะบุ ว่ า ปั จ จุ บั น ประเทศไทยมี ไก่พื้นเมืองอยู่ประมาณ 68 ล้านตัว ขณะที่มีการบริโ ภคไก่พื้นเมืองรวมกัน ทั่วประเทศ มากกว่าปีละ 293 ล้านตัว แน่นอนว่าผลผลิตที่มียัง ไม่เพียงพอกับความต้องการ และเป็นความต้องการที่ ต่อเนือ่ งด้วย ซึง่ สะท้อนมาทีเ่ รือ่ งของตลาดเพราะเห็น ได้ว่าไก่พื้นเมืองแท้ ๆ ค่อนข้างเป็นที่ต้องการ ยิ่งช่วง เทศกาลหรือวันหยุดยาว ไก่บ้าน (เมนูยอดฮิตของคน ไทย) หาซือ้ แทบไม่ได้ ทัง้ ยังมีราคาทีแ่ พง กิโลกรัมละ 85-90 บาท โดยเฉพาะช่วงตรุษจีน มีราคาถึงกิโลกรัม ละ 120 บาทเลยทีเดียว

ปั จ จั ย หนึ่ ง ที่ ทำ �ให้ ไ ก่ พื้ น เมื อ งขยายจำ � นวนได้ ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ก็คือรูป แบบการเลี้ยงของเกษตรกร ที่ ไม่ได้ให้ความสำ�คัญ กับระบบการจัดการที่ถูกต้องเท่าที่ควร ส่วนใหญ่ยัง คงเลี้ยงแบบปล่อยให้ไก่หากินอาหารตามธรรมชาติ อาจมีเสริมเศษอาหาร ข้าวโพดและข้าวเปลือกบ้าง แต่ด้วยที่ ไ ม่มีการจัดการที่ถูกต้อง ทำ�ให้ไก่ได้รับ โภชนาการไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตโดยตรง ไก่ตัวหนึ่ง อาจต้องใช้เวลาเลี้ยงนานเกือบปีกว่าจะจับจำ�หน่าย ได้ และการที่ ไม่มีระบบการจัดการที่ดี ทำ�ให้มีการ ผสมพันธุ์กันเองภายในฝูง เกิดปัญหาเลือดชิด ไก่มี ความอ่อนแอ แคระแกร็น เลี้ยงยากและเกิดความ สูญเสียตามมา อีกทั้งการปล่อยไก่ให้เดินไปได้อย่าง สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน” 3


อิสระ (ประกอบกับไม่มีการทำ�วัคซีนป้องกันโรคที่ สำ�คัญ) ทำ�ให้ไก่มีโอกาสสัมผัสเชื้อโรค ป่วยและมี ความอ่อนแอ เห็นได้ว่าช่วงที่ิอากาศเปลี่ยนแปลง ปลายฝนต้นหนาว ไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อยมักตายพร้อม กันจำ�นวนมาก เกษตรกรเรียกไก่ทตี่ ายในลักษณะนีว้ า่ เป็น “โรคห่า” ทำ�ให้การเลีย้ งในลักษณะนีจ้ งึ มีจ�ำ นวน ไก่ในฝูงได้ไม่มากนัก ดังนั้น การจะเลี้ยงไก่พื้นเมืองในเชิงพาณิชย์ให้ ประสบความสำ�เร็จได้นั้น จำ�เป็นต้องปรับเปลี่ยนรูป แบบและวิธีการที่เอื้อให้ไก่สามารถให้ผลผลิตจำ�นวน มากได้ พร้อมทั้งลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นระหว่าง การเลี้ยงให้น้อยที่สุด ทำ�อย่างไรให้ไก่พื้นเมืองที่ต้อง ใช้ระยะเวลาการเลีย้ งทีน่ านให้สามารถมีผลตอบแทน ที่คุ้มค่าได้ ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่สายพันธุ์ที่นำ�มาเลี้ยง ควรเป็นสายพันธุ์ที่ดี อาหารที่ ใช้ต้องมีโภชนาการที่ เหมาะสมกับไก่แต่ละระยะ พร้อมกับมีระบบการเลีย้ ง การจัดการและการป้องกันโรคที่ดีด้วย เชื่อว่าจาก ปัจจัยเรือ่ งราคาและความต้องการของตลาด จะทำ�ให้ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองประสบความสำ�เร็จได้ไม่ยาก 4 สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน”

อยากเลี้ยงไก่ “ใจต้องมาก่อน” แม้ไก่พื้นเมืองจะมีลักษณะที่เลี้ยงง่าย แข็งแรง ทนทานและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของไทยได้ ดี แต่ทว่าก็ยังคงต้องการปัจจัยต่าง ๆ เพื่อใช้ในการ เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดัง นั้นก่อนตัดสินใจเริ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง จำ�เป็นต้องถาม ตัวเองให้แน่ ใจก่อนว่าเป็นคนชอบเลี้ยงสัตว์หรือไม่ สามารถอยู่และดูแลไก่ที่เลี้ยงเป็นเวลานาน ๆ ได้ไหม รวมถึงสมาชิกในครอบครัวมีใจรักและพร้อมช่วยดูแล หรือเปล่า เพราะการเลีย้ งไก่เป็นงานทีค่ อ่ นข้างจุกจิก ต้องมีเวลาเอาใจใส่พอสมควร โดยเฉพาะช่วงที่ไก่ยัง เล็กต้องคอยมาดูอย่างใกล้ชิด หากไม่มีใจรักเป็นทุน ด้วย ก็ยากที่จะประสบความสำ�เร็จ เมื่อมีใจรัก ก็ต้องมีใจที่ใฝ่รู้ด้วย กล่าวคือต้องมี การศึกษาหาความรู้และเพิ่มพูนทักษะความชำ�นาญ ด้านการเลีย้ งและการจัดการฟาร์มอยูเ่ สมอ โดยความ รู้และความชำ�นาญอาจเกิดได้จาก 2 ทาง คือ จาก ตำ�รา แหล่งข้อมูล รวมถึงจากผู้รู้ที่ถ่ายทอดออกมา ให้ และอีกทางคือ การหมัน่ ศึกษาด้วยตนเอง โดยการ


สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน” 5


สังเกตนิสัยใจคอและพัฒนาการของไก่ที่เลี้ยงอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งการสังเกตนี้เองทำ�ให้สามารถเข้าใจไก่ และเห็นโอกาสการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาก ขึน้ สามารถจัดการให้ไก่ทเี่ ลีย้ งอยูอ่ ย่างสุขสบาย แข็ง แรงสมบูรณ์ พร้อมที่จะให้ผลผลิตที่ดีได้ สถานที่เลี้ยง ก็เป็นอีกสิ่งที่สำ�คัญ เพราะแม้เรา จะมี ใจรักในการเลี้ยงไก่ แต่ ใช่ว่าเพื่อนบ้านจะมี ใจ รักเช่นเดียวกับเรา ดังนั้นการเลี้ยงต้องมีระบบการ จัดการและการสุขาภิบาลที่ดี มีรั้วรอบขอบชิดเพื่อไม่ ให้ไก่สร้างความเดือดร้อนรำ�คาญใจให้กบั ผูอ้ าศัยใกล้ เคียง ทั้งเป็นการป้องกันพาหะและสัตว์เลี้ยงที่เข้ามา ทำ�ร้ายไก่ของเราด้วย พร้อมกับรักษาความสะอาด เป็นประจำ� เพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน นอกจากนีต้ อ้ งพิจารณาให้ดวี า่ ไก่ทเี่ ลีย้ งไม่สร้าง ปัญหาหรือเป็นอุปสรรคกับอาชีพหลัก และควรมีวิธี การจัดการอย่างไร เช่น ถ้ามีอาชีพหลักปลูกผัก การ เลี้ยงไก่พื้นเมืองก็อาจสร้างความเสียหายกับผลผลิต ได้ ดังนั้นอาจมีตาข่ายล้อมรอบบริเวณที่ ใช้เลี้ยงให้ มิดชิด เป็นต้น แต่ถ้าอาชีพหลักเอื้อประโยชน์ต่อการ เลี้ยงไก่พื้นเมืองด้วยก็ถือเป็นข้อดีอย่างยิ่ง เนื่องจาก ไก่พนื้ เมือง กินง่าย อยูง่ า่ ย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม แต่ทว่ามีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า ดังนั้น แหล่งอาหารที่นำ�มาเลี้ยงไก่ ถ้าเป็นผลพลอยได้จาก อาชีพหลักก็ชว่ ยลดต้นทุนการเลีย้ งได้เป็นอย่างดี เช่น พืชผลที่ไม่ได้คณ ุ ภาพ ถูกแมลงกัดกิน อย่างชมพู่ ฝรัง่ 6 สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน”

กล้วย มะม่วง มะละกอ ล้วนนำ�มาใช้เป็นอาหารไก่ พื้นเมืองได้ทั้งสิ้น ตลอดจนพื้นที่สวน ที่มักเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัยของหนอนและแมลง ถือเป็นแหล่งอาหาร ของไก่พื้นเมืองที่เข้าไปคุ้ยเขี่ยและจิกกิน เป็นการลด จำ�นวนศัตรูพืชด้วยวิธีธรรมชาติ มูลไก่ที่ถ่ายลงไปยัง เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ด้วย เป็นการใช้หรือสร้างโอกาสจาก การทำ�อาชีพหลัก ทำ�ให้ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไม่สูงมาก ทั้งยังเอื้อประโยชน์ต่ออาชีพหลักด้วย ถ้าเกษตรกร ต้องการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ผู้ที่จะเลี้ยงต้องพิจารณาสิ่ง เหล่านี้ควบคู่กันด้วย ย้อนรอย “ไก่บ้าน” ตำ�นานที่ยังมีชีวิต เป็นเวลากว่า 3,000 ปี แล้วที่มนุษย์ได้นำ�ไก่ป่าที่ มีต้นกำ�เนิดมาจากไก่ป่า (แถวทวีปเอเชีย โดยเฉพาะ ในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย และจีนตอนใต้) มาเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งก็เป็น


จุดเริ่มต้นแห่งการดำ�รงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และกัน ไก่อาศัยการเลี้ยงดูและการป้องกันอันตราย จากมนุษย์ ในขณะทีม่ นุษย์อาศัยไก่และไข่เป็นอาหาร เรียกว่าเป็นกระบวนการวิวัฒนาการของสัตว์และ มนุษ ย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง การวิวัฒนาการ ของไก่เป็นไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เป็นเจ้าของซึ่ง ก็ข้ึนอยู่กับธรรมชาติ บางปีเกิดภัยธรรมชาติรุนแรง สัตว์เลี้ยงตายลง หรือมีโรคระบาดรุนแรง ไก่จะตาย มากแต่ไม่ตายหมด จะมีเหลือให้ขยายพันธุ์จำ�นวน หนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะเหลือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจำ�นวนนี้จะเป็นตัวขยายพันธุ์เพิ่มจำ�นวน ตัวที่แข็ง แรงทนทานเท่านั้นจึงจะอยู่รอดเป็นการคัดเลือกโดย ธรรมชาติ จึงเป็นมรดกวัฒนธรรมจนเป็นไก่พื้นเมือง สืบทอดมาให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุกวันนี้ และเป็น มรดกวัฒนธรรมและเทคโนโลยีชีวภาพที่หลากหลาย เป็นทรัพย์สนิ ภูมปิ ญ ั ญา ของชาวบ้านโดยแท้ ชาวบ้าน จดจำ�และเข้าใจการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและไก่พื้น เมืองควบคู่กันตลอดมา ส่วนใหญ่แล้วคนจะอาศัยไก่ มากกว่าไก่อาศัยคน คือ ไก่สามารถคุ้ยเขี่ยหากินเอง ได้ตามธรรมชาติ ส่วนคนเมือ่ ไม่มอี าหารและไม่มเี งิน ใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะต้องอาศัยไก่เป็นผู้ให้ ดั ง นั้ น ไก่ พื้ น เมื อ งจึ ง เป็ น ไก่ ที่ มี วิ วั ฒ นาการ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงพันธุ์มาโดยอาศัยพื้นฐานของ ธรรมชาติเป็นหลัก จึงทำ�ให้ไก่พื้นเมืองมีหลากหลาย สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะมีจุดเด่นเป็นคุณสมบัติ เฉพาะตัว เช่น ความต้านทานโรคและแมลง สามารถ เติบโตและขยายพันธุภ์ ายใต้สภาพแวดล้อมการเลีย้ งดู ของเกษตรกรในชนบทโดยเฉพาะรายย่อย จึงเหมาะที่ จะทำ�การอนุรักษ์ และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน “ไก่บ้าน” อนาคตไกล ปั จ จุ บั นไทยมี ก ารผลิ ตไก่ เ นื้ อ ประมาณ 960 ล้ า นตั ว /ปี ในจำ � นวนนี้ บ ริ โ ภคภายในประเทศถึ ง 72 เปอร์เซ็นต์ หรือมีการบริโภคเนื้อไก่เฉลี่ย 15 กิโลกรัม/คน/ปี ที่เหลือส่งออกจำ�หน่ายต่างประเทศ สำ�หรับเนื้อไก่ที่วางจำ�หน่ายในตลาดของไทย มี 4 สายพันธุ์หลักได้แก่ ไก่เนื้อ ไก่โต้ง/ซี (ไก่ไข่ตัวผู้)

ไก่ลูกผสมพื้นเมือง และไก่พื้นเมือง มีงานวิจัยระบุ ว่า เนื้อไก่ที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุดคือ เนื้อไก่พื้น เมือง เพราะมีรสชาติดแี ละมีความแน่นนุม่ ของเนือ้ ซึง่ คล้ายกับประเทศในภูมิภาคเอเชียประเทศอื่น ๆ โดย เฉพาะจีนซึง่ ผูบ้ ริโภคชอบรสชาติและเนือ้ สัมผัสของไก่ พืน้ เมือง ทำ�ให้ไก่พนื้ เมืองและไก่ลกู ผสมพืน้ เมืองของ จีนมีส่วนแบ่งในตลาดเนื้อไก่มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ขณะทีป่ ระเทศไทยไก่พนื้ เมืองและไก่ลกู ผสมพืน้ เมือง ทีเ่ ลีย้ งกันอยูท่ งั้ ในระบบฟาร์มและตามหมูบ่ า้ น มีสว่ น แบ่งในตลาดน้อยมาก เพียง 6-7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ไก่พื้นเมืองของไทยจึงมีโอกาสพัฒนาด้านการตลาด ไปได้อีกไกลมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่หน่วยงานรัฐและผู้ เกี่ยวข้องกำ�ลังให้ความสนใจ เนื่องจากไก่พื้นเมือง ถือว่าเป็นสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ มีความต้องการ ของตลาด ถ้าหากได้รับการสนับสนุนและมีนโยบาย ในการผลักดันที่ชัดเจนจะเป็นโอกาสของไก่พื้นเมือง เกษตรกร รวมไปถึงผู้ประกอบการด้วย โอกาสของไก่พื้นเมืองไทย พันธุ์ไก่พื้นเมืองของไทยมีข้อได้เปรียบที่ ไม่ต้อง นำ�เข้าพันธุ์มาจากต่างประเทศ เหมือนกับไก่เนื้อหรือ ไก่ไข่ทเี่ ป็นพันธุท์ างการค้า และยังมีความหลากหลาย ของพันธุ์ ทำ�ให้สามารถรองรับลูกค้าและผู้บริโภคที่ หลากหลายตามไปด้วย อย่างเช่น ไก่ประดู่หางดำ� ไก่ เขียวหางดำ� มีแข้งเป็นสีด�ำ ซึง่ เป็นลักษณะสีแข้งทีน่ ยิ ม ของคนไทยและประเทศในอาเซียน ส่วนไก่เหลืองหาง ขาว ไก่แดง ไก่ชี มีแข้งสีเหลืองซึง่ เป็นทีน่ ยิ มในคนจีน เป็นต้น ณ ปัจจุบันถือได้ว่าประเทศไทยได้มีการผลิตไก่ พื้นเมืองพันธุ์แท้แบบอุตสาหกรรม ส่งตลาดอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสทำ�ให้เกิดอาชีพที่ ต่อเนื่องไปอีกหลายขั้นตอน เป็นยุทธศาสตร์แนวใหม่ ของไทยในการผลิตไก่พนื้ เมืองของประเทศ ซึง่ เป็นไก่ ที่มีเนื้อคุณภาพสูงกว่าไก่พันธุ์เนื้อ ทั้งรสชาติ คุณค่า ทางกายภาพและเคมี ส่งผลให้มีการสร้างศักยภาพ ของไก่ พื้ น เมื อ งไทยอย่ า งมากเพื่ อ การแข่ ง ขั น ใน อนาคตทั้งตลาดในและต่างประเทศ สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน” 7


“ไก่พื้นเมืองพันธุ์ดี” มีทั่วประเทศไทย หากพูดถึงไก่พนื้ เมืองของไทย มีอยูด่ ว้ ยกันหลาก หลายสายพันธุ์ ซึง่ มีลกั ษณะและสีสนั แตกต่างกันออก ไป โดยกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น ไก่เบตง ไก่คอล่อน และไก่เก้าชั่งอยู่ทางภาคใต้ ไก่ ชีฟ้า ไก่แม่ฮ่องสอน เป็นไก่พื้นเมืองทางภาคเหนือ นอกจากนี้ยังมี ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่ดำ� และไก่ชน อยู่ทั่วประเทศเช่นกัน แต่ส่วนมากแล้วไก่พื้นเมืองที่ เกษตรกรเลีย้ งกันทัว่ ไป เป็นไก่พนื้ เมืองสายพันธุไ์ ก่ชน ซึง่ เป็นไก่พนื้ เมืองทีม่ รี ปู ร่างใหญ่ ยาว ลึก ตัวผูม้ ขี นาด ใหญ่และมักมีนสิ ยั จิกตีกนั ส่วนตัวเมีย มีขนาดเล็กกว่า เหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ ไก่ ช น เนื่ อ งจากเจริ ญ เติ บ โตได้ ดี แม่ พั น ธุ์ ไ ข่ ด ก เลี้ยงลูกค่อนข้างเก่ง ทำ�ให้มีอัตราการรอดสูง จึง ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ซึ่งไก่พื้นเมืองไทย ที่เป็นไก่ชน สามารถแยกตามลักษณะของสีขนได้ถึง 17 สี เช่น เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ� ประดู่มะขาม ประดู่ แสมดำ�มะขามไหม้ ประดู่แข้งเขียวตาลาย ประดู่แดง ประดู่หางขาว ประดู่เลา เหลืองเลา เขียวกา ไก่แดง ไก่ชี ไก่เขียวหางดำ� ไก่เทาดำ� ไก่เทาทอง ไก่ทองแดง ไก่ด่าง ไก่ด่างน้ำ�ดอกไม้ ไก่ด่างดอกหมาก เป็นต้น 8 สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน”


ตัง้ แต่ปี 2553 ซึง่ ถือเป็นสายพันธุไ์ ก่พนื้ เมืองทีม่ คี วาม เหมาะสมที่นำ�มาเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

โดยปกติแล้ว ไก่พื้นเมืองทุกสายพันธุ์ให้ผลผลิต เนื้อที่มีคุณภาพดีและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งสิ้น แต่ สำ� หรั บ การเลี้ ย งในรูป แบบฟาร์ม ที่มุ่ง เน้นให้ ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพเดียวกันทั้งหมดซึ่งทำ�ให้ เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่านั้น จำ�เป็นต้อง ใช้สายพันธุ์ที่ดีและให้ผลผลิตที่แน่นอน เมื่ อ ปี 2545-2550 กรมปศุ สั ต ว์ ไ ด้ ร่ ว มกั บ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั หรือ สกว. ดำ�เนิน งานวิจัยโครงการสร้างฝูงไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ขึ้นมา จำ�นวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ไก่ประดู่หางดำ�เชียงใหม่ ไก่เหลืองหางขาวกบินทร์ ไก่แดงสุราษฎร์ และ ไก่ ชีท่าพระ ทำ�ให้ได้ไก่พันธุ์แท้จากขั้นตอนและวิธีการ คัดเลือกตามหลักวิชาการ มีลักษณะประจำ�พันธุ์ท้ัง ลักษณะทางคุณภาพ และ ลักษณะทางปริมาณ ซึ่ง ระบุชนิดพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยได้อย่างชัดเจน เป็น เอกลักษณ์ตามลักษณะประจำ�พันธุ์ เช่นเดียวกับไก่ พันธุ์แท้ของต่างประเทศทั่วโลก ทำ�ให้ประเทศไทย สามารถแสดงความเป็ น เจ้ า ของพั น ธุ์ ไ ด้ ซึ่ ง กรม ปศุสัตว์ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์ไก่พื้นเมืองทั้ง 4 พันธุ์นี้

“ประดู่หางดำ�เชียงใหม่” รุ่นใหญ่ของไก่พื้นเมือง “ไก่ประดูห่ างดำ�เชียงใหม่” เป็นสายพันธุท์ ดี่ �ำ เนิน การวิจยั และพัฒนาพันธุท์ ศี่ นู ย์วจิ ยั และบำ�รุงพันธุส์ ตั ว์ เชียงใหม่ สำ�หรับลักษณะทั่วไปของไก่ประดู่หางดำ� เชียงใหม่ เพศผู้มีรูปร่างสูงตรง มีส่วนของคอ แข้ง ขา ยาว มีลักษณะเชื่องเมื่ออยู่กับผู้เลี้ยง แต่จะดุร้าย เมื่อเจอไก่แปลกหน้า มีท่าทางปราดเปรียว กล้า และ สง่างาม มีสีขนหาง ลำ�ตัว ปาก และแข้งเป็นสีดำ� สี สร้อยคอ-หลังเป็นสีแดงประดู่ ใบหน้าสีแดง หงอนถัว่ สีตาเหลืองอมน้ำ�ตาล ผิวหนังมีสีขาวอมเหลือง ส่วน เพศเมียต่างจากเพศผู้ที่ไม่มีสร้อยคอหลัง มีขนาดตัว และหงอนเล็กกว่า สำ�หรับลักษณะทางเศรษฐกิจของไก่ประดู่หาง ดำ�เชียงใหม่ ในกรณีการเลี้ยงในสภาพฟาร์ม ไก่ตัว เมียสามารถให้ไข่ฟองแรกเมื่ออายุ 188 วัน โดยมี น้ำ�หนักตัวที่ 2,136 กรัม และให้ผลผลิตไข่ได้ 147 ฟอง/ตัว/ปี มีน้ำ�หนักไข่ 50 กรัม มีอัตราการผสม ติด 85 เปอร์เซ็นต์ อัตราการฟักของไข่มีเชื้อ 89 เปอร์เซ็นต์ เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้มีน้ำ�หนัก 3,584 กรัม ตัวเมียน้ำ�หนัก 2,382 กรัม สำ�หรับน้ำ�หนักส่งตลาด ที่ 12 สัปดาห์ ตัวผู้มีน้ำ�หนัก 1,357 กรัม ตัวเมียมีน้ำ� หนัก 1,091 กรัม แต่ถ้าเลี้ยงที่ 16 สัปดาห์ ตัวผู้มีน้ำ� หนัก 1,902 กรัม ตัวเมียมีน้ำ�หนัก 1,436 กรัม สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน” 9


กรณีเลี้ยงในสภาพหมู่บ้าน ไก่ตัวเมียให้ไข่ฟอง แรกเมื่ออายุ 225 วัน โดยมีน้ำ�หนักตัวที่ 1,873 กรัม และให้ไข่ได้ 4 ตับ/ตัว/ปี หรือประมาณ 42 ฟอง/ปี อัตราการฟักของไข่มเี ชือ้ 66 เปอร์เซ็นต์ เมือ่ โตเต็มที่ ตัวผู้มีน้ำ�หนัก 2,698 กรัม ตัวเมียน้ำ�หนัก 1,687 กรัม สำ�หรับน้ำ�หนักส่งตลาด เลี้ยงที่ 16 สัปดาห์ ตัวผู้มีน้ำ� หนัก 1,456 กรัม ตัวเมียมีน้ำ�หนัก 1,188 กรัม “ไก่เหลืองหางขาวกบินทร์” พันธุกรรมดีที่รอการต่อยอด “ไก่เหลืองหางขาวกบินทร์” เป็นสายพันธุท์ ดี่ �ำ เนิน การวิจยั และพัฒนาพันธุท์ ศี่ นู ย์วจิ ยั และบำ�รุงพันธุส์ ตั ว์ กบินทร์บุรี สำ�หรับลักษณะทั่วไปของไก่เหลืองหาง ขาวกบินทร์ ของคอ แข้ง ตัวผู้มีรูปร่างสูงตรง มีส่วน ขายาว มีลักษณะเชื่องเมื่ออยู่กับผู้เลี้ยง แต่จะดุร้าย เมื่อเจอไก่แปลกหน้า มีท่าทางปราดเปรียว กล้า และ สง่างาม มีสีขนหางดำ�แซมขาว สีขนลำ�ตัวดำ�กระขาว สร้อยคอ หลัง ปีก เป็นสีเหลือง และสีเหลืองอม ส้ม ใบหน้าสีแดง หงอนถั่วหรือหงอนหิน ปาก แข้ง ตา เป็นสีเหลือง ผิวหนังมีสีขาวอมเหลือง ส่วนตัว 10 สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน”

เมียมีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่สีขนลำ�เป็นสีดำ� หรือ มีกระขาวเพียงแค่ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีสร้อยคอ และมีขนาดตัวที่เล็กกว่า สำ�หรับลักษณะทางเศรษฐกิจของไก่เหลืองหาง ขาวกบินทร์ กรณีเลีย้ งในสภาพฟาร์ม ตัวเมียสามารถ ให้ไข่ฟองแรกเมื่ออายุ 189 วัน โดยมีนำ้�หนักตัว ที่ 1,937 กรัม ให้ผลผลิตไข่ 111 ฟอง/ตัว/ปี มี น้ำ�หนักเฉลี่ย 48 กรัม อัตราการผสมติดอยู่ที่ 8085 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการฟักของไข่มีเชื้อ 86-88 เปอร์เซ็นต์ เมือ่ โตเต็มทีต่ วั ผูม้ นี �้ำ หนัก 3,145 กรัม ส่วน ตัวเมียมีน�ำ้ หนัก 2,288 กรัม น้�ำ หนักส่งตลาดเมือ่ เลีย้ ง ที่ 12 สัปดาห์ ตัวผูน้ �ำ้ หนักอยูท่ ่ี 1,252 กรัม ส่วนตัวเมีย มีน�ำ้ หนัก 1,001 กรัม และถ้าเลีย้ งที่ 16 สัปดาห์ ตัวผูม้ ี น้�ำ หนัก 1,725 กรัม และตัวเมียมีน�ำ้ หนัก 1,321 กรัม กรณีทเี่ ลีย้ งในสภาพหมูบ่ า้ น ตัวเมียจะให้ไข่ฟอง แรกเมื่ออายุ 226 วัน มีน้ำ�หนักตัว 1,887 กรัม โดย สามารถให้ไข่ 3-4 ตับ/ตัว/ปี หรือประมาณ 36 ฟอง ต่อปี มีอัตราการฟักของไข่มีเชื้อ 58-60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้มีน้ำ�หนัก 2,781 กรัม ส่วนตัวเมียมี น้ำ�หนัก 1,910 กรัม และน้ำ�หนักส่งตลาดเมื่อเลี้ยง


กรณีเลี้ยงในสภาพหมู่บ้าน แม่ไก่ให้ไข่ฟองแรก เมื่ออายุ 231 วัน น้ำ�หนักตัว 1,745 กรัม โดยให้ไข่ ได้ 3 ตับ/ตัว/ปี น้ำ�หนักไข่ 38 กรัม มีอัตราการฟัก ของไข่มีเชื้อ 55 เปอร์เซ็นต์ ส่วนน้ำ�หนักส่งตลาด ที่ 16 สัปดาห์ ตัวผู้มีน้ำ�หนัก 1,342 กรัม ตัวเมียมี น้ำ�หนัก 1,009 กรัม

16 สัปดาห์ ตัวผู้มีน้ำ�หนัก 1,311 กรัม และตัวเมียมี น้ำ�หนัก 1,080 กรัม “ไก่แดงสุราษฎร์” พันธุ์พื้นเมืองที่ไม่ควรมองข้าม “ไก่แดงสุราษฎร์” เป็นสายพันธุ์ที่ดำ�เนินการ วิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและบำ�รุงพันธุ์สัตว์ สุ ร าษฎร์ ธ านี สำ � หรั บ ลั ก ษณะทั่ วไปของไก่ แ ดง สุ ร าษฎร์ ตั ว ผู้ มี รู ป ร่ า งสู ง ตรง มี ส่ ว นขายาว มี ลักษณะเชื่องเมื่ออยู่กับผู้เลี้ยง แต่จะดุร้ายเมื่อเจอไก่ แปลกหน้า มีท่าทางปราดเปรียว กล้า และสง่างาม สี ขนหางดำ�แซมขาว สีขนลำ�ตัวเป็นสีแดง สร้อยคอ หลัง เป็นสีแดง ใบหน้าสีแดง หงอนถั่ว ตา ปาก แข้งมีสี เหลือง สีหนังขาวอมเหลือง ส่วนตัวเมียลักษณะทัว่ ไป คล้ายตัวผู้ ที่แตกต่างก็คือไม่มีขนสร้อยคอ หลัง สีขน ที่ลำ�ตัวเป็นสีแดง มีขนาดตัวและหงอนเล็กกว่า สำ�หรับลักษณะทางเศรษฐกิจของไก่แดงสุราษฎร์ กรณีเลี้ยงในสภาพฟาร์ม ตัวเมียให้ไข่ฟองแรกเมื่อ อายุ 192 วัน น้ำ�หนักตัว 1,843 กรัม ให้ผลผลิตไข่ได้ 114 ฟอง/ตัว/ปี น้ำ�หนักไข่เฉลี่ยที่ 48 กรัม มีอัตรา การผสมติด 62 เปอร์เซ็นต์ และมีอัตราการฟักไข่ มีเชือ้ 63 เปอร์เซ็นต์ ตัวผูเ้ มือ่ โตเต็มทีม่ นี �้ำ หนัก 3,026 กรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำ�หนัก 2,035 กรัม น้ำ�หนักส่ง ตลาดเมื่อเลี้ยง 12 สัปดาห์ ตัวผู้มีน้ำ�หนัก 1,203 กรัม และตัวเมียมีน้ำ�หนัก 943 กรัม และถ้าเลี้ยง 16 สัปดาห์ ตัวผู้มีน้ำ�หนัก 1,602 กรัม และตัวเมียมี น้ำ�หนัก 1,189 กรัม

“ไก่ชีท่าพระ” พันธุกรรมที่น่าจับตา “ไก่ชีท่าพระ” เป็นสายพันธุ์ที่ดำ�เนินการวิจัย และพัฒนาพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและบำ�รุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ สำ�หรับลักษณะทั่วไปของไก่ชีท่าพระ ตัวผู้ มีรูปร่าง โปร่ง ขนลำ�ตัว สร้อยคอ สร้อยหลังและขนหางมีสขี าว ปากและแข้งสีเหลือง ใบหน้าสีแดง หงอนถั่ว ผิวหนัง สีขาวอมเหลือง ส่วนเพศเมีย มีลักษณะเหมือนเพศผู้ แต่ไม่มีขนสร้อยคอ

สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน” 11


12 สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน”


สำ�หรับลักษณะทางเศรษฐกิจของไก่ชีท่าพระ กรณีเลี้ยงในสภาพฟาร์ม ตัวเมียให้ไข่ฟองแรกที่อายุ 224 วัน น้ำ�หนักตัว 1,707 กรัม ให้ผลผลิตไข่ได้ 115 ฟอง/ตัว/ปี น้ำ�หนักไข่ 46 กรัม อัตราการผสม ติด 84 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการฟักของไข่มีเชื้อ 88 เปอร์เซ็นต์ เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้มีน้ำ�หนัก 3,648 กรัม ตัวเมียมีน้ำ�หนัก 1,826 กรัม และน้ำ�หนักส่งตลาด เมื่อเลี้ยง 12 สัปดาห์ ตัวผู้มีน้ำ�หนักอยู่ที่ 1,271 กรัม และตัวเมียมีน้ำ�หนัก 989 กรัม และถ้าเลี้ยงที่ 16 สัปดาห์ ตัวผู้มีน้ำ�หนัก 1,678 กรัม และตัวเมียมี น้ำ�หนัก 1,254 กรัม กรณีเลีย้ งในสภาพหมูบ่ า้ น ตัวเมียให้ไข่ฟองแรก เมื่ออายุ 236 วัน น้ำ�หนักตัว 1,435 กรัม ให้ไข่ได้ 3 ตับ/ตัว/ปี หรือจำ�นวน 37 ฟอง/ปี อัตราการฟัก ของไข่มเี ชือ้ อยูท่ ี่ 65 เปอร์เซ็นต์ เมือ่ โตเต็มทีต่ วั ผูม้ นี �้ำ หนัก 2,490 กรัม ตัวเมียมีน้ำ�หนัก 1,506 กรัม ส่วน น้ำ�หนักส่งตลาดเมื่อเลี้ยง 16 สัปดาห์ ตัวผู้มีน้ำ�หนัก 2,490 กรัม และตัวเมียมีน้ำ�หนัก 1,003 กรัม

จะงอยปากสีเหลือง เจริญเติบโตเร็ว และเนือ่ งจากทัง้ สองพันธุ์ ถือว่าเป็นไก่พื้นเมือง จึงมีลักษณะทนต่อ สภาวะอากาศที่แปรปรวนได้ดีเยี่ยมทั้งสองพันธุ์ เนื้อ นุม่ หอมกรอบอร่อย และเมือ่ นำ�มาผสมพันธุก์ นั ทำ�ให้ ได้ไก่ที่มีคุณภาพเนื้อที่ดีที่สุดสำ�หรับผู้บริโภค โดยให้ ชื่อว่าไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ ลักษณะทั่วไปของไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ รูปร่างสมส่วน สวยงามทัง้ เพศผูแ้ ละเพศเมีย ลักษณะ หงอนหินประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ และ 15 เปอร์เซ็นต์ มีลักษณะหงอนหนอนจักร ขนสีเหลืองทอง แข้งสี เหลือง จะงอยปากเหลือง หนังเหลืองเรียบเนียน เนื้อ นุ่มหวานกรอบ มีรสชาติอร่อยเป็นเอกลักษณ์ประจำ� พันธุ์ เลี้ยงง่ายแข็งแรง ทนโรค เหมาะสมอย่างยิ่ง สำ�หรับการทำ�การเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และใช้ทรัพยากรทีม่ อี ยู่ให้เกิดประโยชน์สงู สุด โดยใช้ พืชผลพลอยได้ทางการเกษตรเป็นแหล่งอาหารเพื่อ การเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี

“ไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์” พันธุกรรมดี มีประสิทธิภาพสูง “ไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์” เป็นไก่พื้นเมือง พันธุ์ลูกผสม ระหว่างไก่พื้นเมืองของไทย ไก่พันธุ์ ตะเภาทอง ที่ มี ข นาดตั วใหญ่ ลั ก ษณะหงอนหิ น เหมือนไก่พื้นเมือง (ไก่ชน) ผิวหนัง สีแข้ง สีขนและ จะงอยปากเหลืองอ่อน กับไก่พื้นเมืองของจีน ชื่อว่า ไก่สามเหลือง หรือไก่ซาอึง้ ซึง่ มีขนาดตัวเล็ก ลักษณะ หงอนจักรขนาดค่อนข้างใหญ่ ผิวหนัง สีแข้ง สีขนและ สร้างเงินล้านด้วย “ไก่บ้าน” 13


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.