ิ ้ ราคาสนคาเกษตร
เรื่อง : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ
สำหรับราคาสินค้าทางการเกษตรในเดือนตุลาคม ราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะภาพ รวมของเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวในทิศทางเชิงบวก ทำให้มีกำลังส่งซื้อเข้ามาเพิ่มมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะ สินค้าประเภทพืชผักและผลไม้ จะปรับตัวสูงขึ้นเป็นเท่าตัวเนื่องจากเป็นเทศกาลกินเจ ประกอบกับหลายพื้นที่ของการทำการเกษตรประสบปัญหาน้ำท่วมทำให้ปรับตัวสูงขึ้น ดังนี้ ประเภท
รายการ
ราคา
ประเภท
ราคา ปศุสัตว์และ -กุง้ ขาวแวนาไมขนาด 51-60 ตัว/กก. ราคา 118-125 บาท/กิโลกรัม ประมง -ไข่ไก่คละ ร้อยละ 220-250 บาท
พืชอาหาร -ข้าวเปลือกเจ้านาปีพันธุ์ขาวดอกมะลิ 13,124.54-14,337.46 บาท/ตัน 105 ชนิด 100 %
-ข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ราคา 8,025.00-8,188.86 บาท/ตัน 6,794.00-6,965.23 บาท/ตัน -ข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 24-25% ราคา ราคา 8,150.56-9,326.08 บาท/ตัน -ข้าวเปลือกเจ้านาปีชนิด 5% -ข้าวเปลือกเหนียวนาปีเมล็ดยาว ราคา 12,277.11-14,078.55 ความชื้น 14-15% บาท/ตัน ราคา 8-12 บาท/กิโลกรัม -มันสำปะหลังสดคละ ราคา 16-30 บาท/กิโลกรัม -มันเทศ -อ้อยโรงงาน ราคา 938.14-1,009.50 บาท/ตัน -ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้น<14% ราคา 8.47-8.74 บาท/กิโลกรัม -ข้าวโพดหวาน ราคา 4-5 บาท/ฝัก ประเภท
รายการ
ราคา
รายการ
-ไข่เป็ดขนาดคละ -เนื้อหมูแดง -เนื้อหมูบด -ไก่บ้าน -เป็ด -ปลานิล -ปลาช่อน -ปลาดุกเลี้ยง -ปลาทับทิม -ปลากะพงขาว -ปูม้า -ปลาจีน -ปลาซาบะ -หอยแครง
ร้อยละ 280-320 บาท ราคา 95-112 บาท/กิโลกรัม ราคา 90-100 บาท/กิโลกรัม ราคา 90-95 บาท/กิโลกรัม ราคา 95-100 บาท/กิโลกรัม ราคา 37-48 บาท/กิโลกรัม ราคา 85-135 บาท/กิโลกรัม ราคา 45-50 บาท/กิโลกรัม ราคา 70-100 บาท/กิโลกรัม ราคา 130-150 บาท/กิโลกรัม ราคา 125-200 บาท/กิโลกรัม ราคา 35-40 บาท/กิโลกรัม ราคา 15-60 บาท/กิโลกรัม ราคา 35-60 บาท/กิโลกรัม
ราคา 14.06-15.00 บาท/กิโลกรัม ราคา 13.45-15.28 บาท/กิโลกรัม ราคา 4.08-4.72 บาท/กิโลกรัม 3.86-4.08 บาท/กิโลกรัม ประเภท รายการ ราคา ราคา พืชผัก -กระเทียมแห้งใหญ่คละ ราคา 87.70-100 บาท/กิโลกรัม ราคา 564.73-588.17 บาท/ตัน -กระเทียมสดแก่คละ ราคา 76.50-85.25 บาท/กิโลกรัม ราคา 21.07-21.31 บาท/กิโลกรัม ราคา 100-180 บาท/กิโลกรัม -เห็ดหอมสด -เห็ดฟาง ราคา 75-80 บาท/กิโลกรัม ประเภท รายการ ราคา ราคา 20- 40 บาท/กิโลกรัม -เห็ดนางฟ้า ผลไม้- -เมล็ดพริกไทยดำชนิดคละ ราคา 112.50-148.33 บาท/ ราคา 35-50 บาท/กิโลกรัม -แขนงคะน้า ไม้ยืนต้น กิโลกรัม ราคา 20-30 บาท/กิโลกรัม -ต้นคะน้า -ทุเรียนพันธุ์หมอนทองผลขนาดคละ ราคา 22.70-27.84 บาท/กิโลกรัม 150-200 บาท /กิโลกรัม -ผักชีไทย ราคา ราคา 99.71-107.27 บาท/กิโลกรัม -ยางพาราแผ่นดิบชั้น 3 ราคา 80-150 บาท/กิโลกรัม -พริกสวนหอม -ฝรั่งกิมจู ราคา 28-33 บาท/กิโลกรัม -มะนาวเบอร์ใหญ่ ร้อยละ 250-300 บาท ราคา 20-35 บาท/หวี -กล้วยน้ำว้า ราคา 100 บาท/กิโลกรัม -ต้นหอม ราคา 60-130 บาท/กิโลกรัม -ขนุนจำปากรอบ ราคา 13-20 บาท/กิโลกรัม -ผักบุ้งจีน -แตงโมจินตรา ราคา 12-15 บาท/กิโลกรัม -มะพร้าวอ่อนน้ำหอม -แตงไทย ราคา 12-20 บาท/กิโลกรัม ราคา 9-15 บาท/ลูก ราคา 15-30 บาท/กิโลกรัม ราคา 13-20 บาท/กิโลกรัม -สับปะรด -มะเขือ -ส้มเขียวหวาน ราคา 30-60 บาท/กิโลกรัม ราคา 20-40 บาท/กิโลกรัม -ถั่วฝักยาว 40-90 บาท/กิโลกรัม -ลองกอง ราคา ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ราคา 30-38 บาท/กิโลกรัม -ลำใย ตลาดสะพานปลา ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง พืชน้ำมัน -เมล็ดถั่วเหลืองเกรดสกัดน้ำมัน -เนื้อมะพร้าวตากแห้ง เกรดเอ -ผลปาล์มร่วงคละ -ผลปาล์มน้ำมันทั้งทะลาย นน.> 15 กก. ขึ้นไป -มะพร้าวผลแห้งทัง้ เปลือก ขนาดใหญ่ -ถั่วลิสงเปลือกแห้ง ชนิดคละ
เกษตรกรก้าวหน้า
เกษตรต่างแดน
เรื่อง & ภาพ : รศ.ดร.อานัฐ ตันโช มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เกษตรต่างแดนเดือนนี้ผมมีบางอย่างน่าสนใจจะมาเล่าสู่กัน ฟังครับ นั่นก็คือการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชในน้ำ ไม่ต้องอยู่ ในยุค water world ก็ทำกันได้ครับ สิง่ ทีผ ่ มพูดถึงก็คอื “อควาโพนิคส์” (Aquaponics) หลายคนอาจเคยได้ ยิ น กั น มาบ้ า งแล้ ว เกี่ ย วกั บ อควาโพนิคส์ ซึง่ บ้างก็กล่าวกันว่า อควาโพนิคส์ เกิดขึน้ ในยุคอียปิ ต์- โบราณ แต่บ้างก็ว่าเกิดขึ้นมานานแล้วในแถบเอเชียของเรานี่แหล่ะใน ประเทศจีน แต่เรื่องนี้มีการศึกษาวิจัยกันอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 จนปัจจุบันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นสามารถทำเป็นการค้าได้ อย่างกว้างขวางกันแล้วครับ ในกลุ่มธุรกิจเลี้ยงปลาในต่างประเทศ มาทำความรูจ้ กั กับ “อควาโพนิคส์” กันเลยครับ
อควาโพนิคส์ (Aquaponics)
เทคโนโลยีการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืชในน้ำ อควาโพนิคส์ (Aquaponics) เป็นการ ประสมประสาน 2 ศาสตร์ เ ข้ า ด้ ว ยกั น กล่ า ว คือทั้ง Aquaculture + Hydroponic โดยตั้งอยู่ บนพืน้ ฐานทีว่ า่ ต้องการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุม้ ค่ามากที่สุดหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ ผลผลิตที่ ได้จะมีถึง 2 อย่างด้วยกันคือ ปลา และพืชผัก ว่าไปแล้วก็ดูคล้าย ๆ กับ การกรองน้ำด้วยพืช (plant filtration) นั่นเอง แต่แตกต่างกันตรงที่ว่า ระบบการกรองน้ำด้วยพืชนั้นจะเน้นผลผลิตปลา เป็นสำคัญ โดยจะเอาปลาเป็นตัวตั้ง ไม่สนใจ เรื่องของผลผลิตพืชผักที่ได้ ขอให้เอาไนเตรท ออกจากน้ำเลี้ยงปลาให้มากที่สุดและให้ปลาที่ ผลิตในระบบนี้ปลอดภัยจากสารไนเตรทเป็นพอ สำหรับอควาโพนิคส์นั้นจะดูลึกลงไปถึงพืชผัก ด้วยว่า ปริมาณผลผลิตพืชผักที่ได้จะเป็นอย่างไร โดยเลือกทั้ง 2 อย่าง คือผลผลิตจากปลาที่เลี้ยง และพืชผักที่ปลูกในน้ำเลี้ยงปลาไปพร้อม ๆ กัน การทำอควาโพนิคส์ ในปัจจุบันมีทั้ง ขนาดเล็กภายในครัวเรือน และขนาดใหญ่ทาง การค้า โดย Myles Harston of AquaRanch Industries หรือ Harston’s AquaRanch เป็น ตัวอย่างหนึ่งของการทำ อควาโพนิคส์ขนาดใหญ่ ทางการค้า ซึง่ เลีย้ งปลานิล (Tilapia) ร่วมกับการ ปลูกพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ผักสลัด ผักกาดหวาน สมุนไพรชนิดต่าง ๆ มะเขือเทศและพริก ทีเ่ มือง ฟลานาแกน รัฐอิลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา กิจการของบริษัทนี้ขยายใหญ่ขึ้นเมื่อเข้ารับฝึก อบรมการทำอควาโพนิคส์ ในปี พ.ศ.2547 จาก University of the Virgin Islands โรงเรือนขนาด 16 x 75 ตารางเมตร ถู ก สร้ า งขึ้ น ให้ ส ามารถ เลีย้ งปลานิลได้ปลี ะ 12,000 ตัว ในบ่อเลีย้ งขนาด
เกษตรกรก้าวหน้า
5,448 ลิตร มีระบบเติมก๊าซออกซิเจน การกรอง ตะกอนขี้ปลา การหมุนเวียนน้ำระหว่างบ่อเลี้ยง ปลากับกระบะปลูกพืช ซึ่งเป็นการทำงานที่ผสมผสานกันระหว่างการดูแลปลาและการปลูกพืชใน ระบบไฮโดรโพนิคส์ ไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้น้ำ ประปาในเมืองฟลานาแกน ซึ่งผ่านการกำจัด คลอรีน และฆ่าเชื้อด้วยความร้อน 76-78 องศาเซลเซียส ผลผลิตปลาและสมุนไพรได้รับการ รับรองมาตรฐานสินค้าอินทรียจ์ ากประเทศสหรัฐ- อเมริกา เนื่องจากฟาร์มเลี้ยงปลาด้วยอาหาร ปลาอินทรีย์ ทำให้ปลาไม่ได้รับโลหะหนักที่ปน เปื้อนในอาหาร รวมทั้งสารปฏิชีวนะต่าง ๆ และ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งผู้เลี้ยงปลานิยมใส่ให้ กับปลาเพือ่ ใช้ในการเปลีย่ นเพศเมียเป็นเพศผูเ้ พือ่ ให้ปลาโตเร็ว แม้ ก ารเลี้ ย งปลาเป็ น วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก ของฟาร์ม แต่ผลผลิตสมุนไพรกลับเป็นแหล่งราย ได้ ห ลั ก ของฟาร์ ม นี้ โดยเฉพาะการผลิ ต เบซิ ล (พืชในตระกูลโหระพา) ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผล ผลิตได้มากถึง 1,080 กิโลกรัมต่อเดือน ในการ
เก็บเกี่ยวครั้งแรกหลังปลูกด้วยเมล็ด เบซิลเป็น พืชที่ได้รับความนิยมมาก และพบว่าเบซิลที่ปลูก ในระบบอควาโพนิคส์นี้ ใบจะมีขนาดใหญ่และ รสชาติดกี ว่าเบซิลทีป่ ลูกจากสวนทัว่ ไปมากสามารถ เก็บได้บ่อยถึง 10-12 ครั้งต่อ 1 รอบการปลูก นอกจากนี้ยังสามารถปลูก กุยช่าย (chives), ผักชีฝรั่ง (parsley) และ ไทม์ (thyme) ผลผลิต ที่ได้จากฟาร์มจะบรรจุหีบห่อแล้วส่งไปขายให้ ลูกค้าทีต่ ลาดสินค้าเกษตรธรรมชาติทเี่ มืองชิคาโก อควาโพนิคส์ เป็นเทคโนโลยีที่สามารถ ผลิตปลา หรือสัตว์นำ้ และพืชผักทีส่ ะอาดปลอดภัย ต้นทุนต่ำ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้พร้อมๆ กัน หากมีการจัดการที่ดีและเน้นอินทรีย์เป็นหลัก แล้ว ผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้อาจเรียกได้วา่ ผักไฮโดรโพนิคส์ อินทรีย์ ก็วา่ ได้ครับ เช่นนีแ้ ล้ว อควาโพนิคส์จึงน่า จะเป็นเทคโนโลยีทางเลือกหนึ่งของการปลูกพืช ในอนาคตทดแทนการปลูกพืชในดินทั่วไปก็ได้นะ ครับ หากโลกเรามีดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช น้อยลง “ต่างแดนทำได้เราก็ทำได้ครับ” ก
ชุมชนที่เข้าประกวด
ประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ครั้งที่ ๔ ขยายเครือข่ายการจัดการน้ำชุมชน สู่ความยั่งยืน
การจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว นับเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความเข้มแข็งและความมั่นคง ในการ จัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย ซึง่ ประเทศไทยมีชมุ ชนมากกว่าหกหมืน่ ชุมชน จึงนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสนับสนุนชุมชนให้มีการจัดการทรัพยากรน้ำ ที่มีประสิทธิภาพและประสานความร่วมมือเป็นเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำ ในระดับชุมชน
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับมูลนิธโิ คคา-โคลา ประเทศไทย และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน อย่างบริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ จำกัด (มหาชน) และองค์กรสาธารณ- กุศล ที่ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ จัดประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำ ชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ครั้งที่ ๔ รับรางวัลถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ได้จัด ขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยจัดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา มีวตั ถุ- ประสงค์เพื่อสนับสนุนชุมชนที่น้อมนำแนวพระราชดำริมาจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้เกิดการประสานความร่วมมือเป็นเครือข่ายการจัด การทรัพยากรน้ำชุมชน แล้วขยายผลสร้างแม่ข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนด้วย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นแบบอย่างให้ชุมชนอื่นนำไปประยุกต์ใช้บริหารจัด การน้ำอย่างมั่นคงและยั่งยืนในที่สุด สำหรับการประกวดครั้งที่ ๔ ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ นี้ ได้รับความสนใจจากชุมชน สมัครเข้าร่วมประกวด ๔๑ ชุมชน และผ่านการคัดเลือกรวม ๑๘ ชุมชน ซึง่ คณะกรรม- การตัดสินประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ จะสำรวจชุมชน ที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อพิจารณาตัดสินชุมชนเข้าสู่รอบชนะเลิศต่อไป ทั้งนี้ สำหรับการประกวดครั้งที่ ๓ ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๒ นั้น ทางสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) ในฐานะหน่วยงานหลัก ในการจัดประกวดฯ ได้นำผูแ้ ทนจากชุมชนทีไ่ ด้รบั รางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศาลาชัยพัฒนา พระราชวังสวน จิตรลดา เพือ่ รับพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ และ ถ้วยรางวัลรองชนะเลิศของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่
ชุมชนบ้านปิยะมิตร
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ชุมชนหนองปิ้งไก่ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ชุมชนน้ำแล้ง ที่พลิกสภาพความขาดแคลนน้ำทำนาและความยากจน โดยชาวบ้านร่วมมือกันพัฒนา แหล่งน้ำและบริหารจัดการระบบชลประทานเพื่อการเกษตร นำ “ระบบแต” ซึ่งเป็นการ จัดสรรน้ำอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันมาใช้ จนสามารถกักเก็บน้ำได้ ทำนาปีละ ๓ ครั้ง มีผลผลิต ๘๐ ถังต่อไร่ รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ บ้านปิยะมิตร ๓ อ.เบตง จ.ยะลา ชุมชนต้นน้ำที่ ประสบปัญหาการจัดการและการส่งน้ำ และเผชิญปัญหาน้ำหลากทุกปี แต่ได้นำแนว พระราชดำริดา้ นการจัดการน้ำมาใช้จนสามารถอนุรกั ษ์และดูแลป่าต้นน้ำ พืน้ ที่ ๓,๐๐๐ ไร่ สร้างฝายเก็บน้ำ ระบบประปา นำน้ำมาใช้ในการเลีย้ งปลาและปลูกผักเสริมรายได้ รวม ทั้งจัดตั้งกลุ่มลาดตระเวนสำรวจป่าต้นน้ำเพื่อเฝ้าระวังและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืน รางวั ลที่ ๓ ได้แก่ เครือข่ายชุมชนรักษ์ปา่ ต้นน้ำแม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ชุมชนต้นน้ำที่เผชิญปัญหาป่าไม้ถูกทำลายจากการตัดถนนและการทำเหมืองแร่ จึงหัน มาใช้แนวพระราชดำริในการตั้งเครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำลาว ทำฝายเพื่อทดน้ำและ ปลูกป่าทดแทน จนมีปา่ มีนำ้ กลับคืนมาอย่างอุดมสมบูรณ์สามารถนำไปใช้ในการเกษตร ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ และชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างพอเพียง
ชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว
ชุมชนหนองปิ้งไก่
โดยชุมชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศจากการประกวดการจัดการ ทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ครั้งที่ ๓ ได้เข้ามาร่วมเสวนา “เคล็ดลับการ จัดการน้ำชุมชน” สนทนาแลกเปลีย่ นประสบการณ์ในการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน ที่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริไปปรับใช้ รวมทั้งวิธีการจัดการต่างๆ ของชุมชนที่นำมา แก้ปัญหาด้านน้ำ จนเห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถเป็นแบบอย่างให้กับ ชุมชนอื่นๆ นำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการน้ำของชุมชนได้ให้แก่ชุมชนที่เข้าร่วม การประกวดโครงการฯ ในครั้งที่ ๔ นี้ด้วย เพื่อให้ชุมชนที่ชนะเลิศและรองชนะเลิศใน แต่ละปีมีการขยายผลการดำเนินงานและเพิ่มศักยภาพให้พร้อมที่จะเป็นแม่ข่ายขยาย ผลสำเร็จของการจัดการทรัพยากรน้ำในระดับชุมชน โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเครือ่ งมือสนับสนุนให้ชมุ ชนสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิง่ ขึน้ และ มีศักยภาพที่จะขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป
เล่มที่ 1 เดือน ตุลาคม 2553 ÃÒ§ҹ¾ÔàÈÉ »ÃÒªÞ ªÒǺŒÒ¹ ËعãËÁ‹ä¿áç
ดุจเดือน เหตรการ ะกูล บรรณาธิ
Otop
บอกอชวนคุย...เกษตกรก้าวหน้า องไทยและคนไทยอย่าง พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ วั ฯ ทรงเขา้ พระราชหฤทัย ในความเป็นไปของเมื าชนให้สามารถพึ่งตนเองได้แบบ ลึกซึ้ง พระองค์ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประช ความเปลี่ยนแปลงของกระแส “พออยู่พอกิน” และมีชีวิตความเป็นอยู่แบบอิสระ โดยไม่ต้องยึดติดกับ าชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” โลกาภิวัตน์ ยิ่งในปัจจุบันสภาวะทางเศรษฐกิจถดถอยลงอย่างรุนแรง พระร ่อให้ประเทศไทยสามารถยืนหยัด จึงสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยควรน้อมรับ พร้อมนำมาปรับใช้เพื ได้อย่างยั่งยืนต่อไป กษ์ ประจำเดือน ตุลาคม นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำ “นิตยสารเกษตรกรก้าวหน้า” ฉบับปฐมฤ นคอลัมน์ วิถีชาวนา วิถีชาวไร่ 2553 โดยเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรมากมาย ไม่ว่าจะเป็ ลุม่ คนทีท่ ำอาชีพด้านเกษตรกรรม ตลาดราคาสนิ ค้า ตลาดซือ้ ขาย ตอบจดหมาย และอืน่ ๆ เพราะต้องการให้ก ได้รับความรู้ข่าวสารแบบกระจายไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ มากขึ้น ีพด้านเกษตรกรรมจะ และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่ทุกสาระผู้ที่ประกอบอาช แนะรวมไปถึงมีข้อซักถามสงสัย สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง อย่างไรถ้าผู้อ่านท่านใดมีข้อเสนอ เรายินดีเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการแลกเปลี่ยน มิ พ์กว่า 200,000 เล่ม สามารถติดตามอา่ นนิตยสารเกษตรกรกา้ วหน้า แจกฟรี!! รายเดอื น ยอดพ ได้ที่ ธกส. อบต. สกต. ศูนย์วิจัยต่าง ๆ ได้แล้ววันนี้ agri-mag@maeban.co.th
สถานที่แจกนิตยสาร : ธ.ก.ส., Tabco, สกต., อบต., ศูนย์วิจัยการเกษตร, นิคมสหกรณ์, กลุ่มส่งเสริมการเกษตร, สำนักงานสหกรณ์อำเภอ, คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
18........ประมง
26.......ปศุสัตว์
2 ราคาสินค้าเกษตร 4 เกษตรต่างแดน 8 รายงานพิเศษ 10 วิถีชาวนา 14 วิถีชาวสวน 16 สัมภาษณ์พิเศษ 18 ประมง 20 วิถีชาวไร่
29....Otop
22 ปราชญ์ชาวบ้าน 24 รุ่นใหม่ไฟแรง 26 ปศุสัตว์ 27 ข่าว 28 ตลาดซื้อขาย 29 Otop 30 ตอบปัญหาเกษตร 31 ดวง
ขอขอบคุณ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรมส่งเสริมการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สถานีประมงน้ำจืด จ.กำแพงเพชร, องค์การสะพานปลา กรุงเทพฯ, ศูนย์เรียนรู้ อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ยุคล ลิ้มแหลมทอง อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นพดล แก้วสุพัฒน์ นายกสมาคมองค์การ บริหารส่วนตำบล เจ้าของ บริษัท แม่บ้าน จำกัด บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ดุจเดือน เหตระกูล เลขานุการผู้อำนวยการ ศิริพรรณ หนูนิล โทร. 0-2530-8120, 0-2934-7608 ผู้ช่วยบรรณาธิการ ทัศนีย์ เรืองติก กองบรรณาธิการ กรรณิกา ฝากาบล, เสกสรร หวังใจสุข พิสูจน์อักษร ณัฐชยา เณรเถาว์, ศราวุฒิ จันทร์ชื่น ฝ่ายภาพ สุบรรณ ชัยสวัสดิ์, วราพล เอมระดี, เสกสรร หวังใจสุข ภาพปกโดย อ.นุกูล แก่นจันทร์ ครีเอทีฟ ภาวิณีย์ บูรณะอนุสรณ์ ฝ่ายโฆษณา สุดธิดา มหิโคต, ไพลิน จิตตานนท์, ธัญรัศน์ ธนะเดช, ยุพิน จารุกานต์ประเสริฐ, วัชราภรณ์ ส่งสิริ, จันทิรา สิงห์ยอง, สุพรรณี ดีสวัสดิ์ พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ บริษัท แม่บ้าน จำกัด บริษัท แม่บ้าน จำกัด 1651 หมู่บ้านทาวน์อินทาวน์ ซอย 9 ถนนศรีวรา แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 0-2530-7345-9 แฟกซ์. 0-2559-3283 www.maeban.co.th ประธานกรรมการ ปรีดา เหตระกูล กรรมการผู้จัดการ/รองประธานกรรมการ สายการเงิน เหมือนจันทร์ เหตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ดุจเดือน เหตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ พงศ์สิริ เหตระกูล
วิ ถีชาวนา
เรื่อง : มะแม ภาพ : เสาวลักษณ์ บุญมา นักวิชาการเกษตร อบต.สำราญ จ.ยโสธร
นวัตกรรมทำนารูปแบบใหม่ด้วยวิธี โยนกล้า
ช่วงนี้นับได้ว่าเป็นฤดูกาลทำนาซึ่งหลายพื้นที่อาจจะปักดำเสร็จไปแล้ว ในขณะที่หลายพื้นที่อาจจะกำลังเริ่มต้น ทำนา ดังนั้นจึงอยากแนะนำนวัตกรรมการทำนาแบบใหม่ที่ ได้ผลกว่า จากนักวิชาการชำนาญการพิเศษด้วยวิธี การ “โยนกล้า” (parachute) จาก สำราญ อินแถลง นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ว่า “การโยนกล้า” เป็นนวัตกรรมการทำนาแบบใหม่ ในประเทศไทย ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไป ลดต้นทุนการทำนาและเพิ่มผลผลิต
โดยจากการศึกษาและปฏิบัติในการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ศูนย์บริการวิชาการเกษตร อันเนื่องมา จากพระราชดำริ (ของมูลนิธิชัยพัฒนา) อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 2545-2548 และเปรียบเทียบ ต้นทุนการผลิต ซึ่งพบว่าต้นทุนการทำนาแบบโยนกล้า เพื่อควบคุมข้าววัชพืชกับวัชพืชทั่วไป มีต้นทุนต่ำ ที่สุดและยังให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีทำนาแบบอื่น ๆ เมื่อดูจากการวิจัยศึกษาอายุต้นกล้าและศึกษาจำนวน ปริมาณต้นกล้าที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีพบว่าอายุกล้า 12-16 วัน และจำนวนต้นกล้า 50-60 ถาด (561 หลุม/ถาด) หรือ 70-80 ถาด (434 หลุม/ถาด/ไร่) มีความเหมาะสมมากที่สุด สามารถป้องกันและควบคุมข้าววัชพืชได้ดมี าก ใช้แรงงานเตรียมดินและเพาะกล้า 150-200 ถาด/คน/วัน ใช้แรงงานโยนกล้า 3-5 ไร่/คน/วัน ที่สำคัญคือ ใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 3-4 กิโลกรัม/ไร่ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ 80-85 เปอร์เซ็นต์ สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานได้ ทั้งนี้วิธีการโยนกล้า มีขั้นตอนการ ทำดังนี ้
1. ขั้นตอนการเตรียมเพาะกล้าพันธุ์ ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
- วิธีเตรียมถาดเพาะกล้าแบบแห้งนิยมมากที่สุดเพราะสะดวกรวดเร็วและง่ายกว่า โดยได้คิด ประยุกต์และพัฒนาขึ้นมาโดยการเพาะด้วยมือ เริ่มต้นต้องเตรียมย่อยดินแห้งให้ละเอียด เม็ดดินโตไม่ เกิน 0.5 เซนติเมตรดินนั้นต้องไม่มีเมล็ดข้าววัชพืช นำถาดพลาสติกมาวางกับพื้นที่ที่เตรียมไว้ พื้นที่ต้อง เสมอกันโดยวางเป็นแถวตอน 2-5 แผ่น (แล้วแต่ความสะดวกในการปฏิบัติงาน) หว่านดินไปก่อนครึ่ง หลุม จากนั้นหว่านเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ (แช่ 1 คืน หุ้ม 1 คืน หรือข้าวแห้ง) อัตราประมาณ 3-4 กิโลกรัม/ 50-60 ถาด/ไร่ (561 หลุม/ถาด) หรือ 70-80 ถาด/ไร่ (434 หลุม/ถาด) แล้วโรยดินตามลงไปให้เต็มเสมอ ปากหลุมพอดี (อย่าให้ดินล้นปากหลุมเพาะ เพราะจะทำให้รากข้าวพันกันและเวลาโยนต้นกล้าจะไม่ กระจายตัว) การใช้แรงงานเพาะข้าว 1 คน/400 ถาด/1 วัน (โยนได้ 5 ไร่) - การให้น้ำระยะแรกต้องให้วันละ 2 ครั้ง ระวังอย่าให้เมล็ดข้าวกระเด็น หรือให้น้ำแบบท่วมพื้น แปลงนา รักษาความชื้นแบบนี้จนกว่าข้าวงอก หากมีฝนตกให้หาวัสดุคลุม เช่น กระสอบเก่า ชาแลนท์ หรือฟางข้าวมาคลุมจนกว่าข้าวจะงอก วิธีนี้สามารถเพาะเมล็ดในร่มและย้ายถาดไปที่ที่เตรียมไว้ได้ พอข้าวอายุประมาณ 7 วันให้เอาวัสดุคลุมออกเมื่อกล้าข้าวอายุ 12-16 วัน ให้นำออกมาโยนได้ทันที ซึ่งความยาวต้นกล้าจะประมาณ 3-5 นิ้ว (แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพาะ) ใช้พื้นที่เพาะกล้า
เกษตรกรก้าวหน้า
ถาดโยนกล้า
ควบคุมข้าววัชพืช ต้นกล้าแตกกอได้รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ บรรเทาปัญหาโรคแมลง ต้นทุนต่ํากว่า เพิ่มผลผลิตได้สูงสุด 30% ต่อไร่*
ด้วยการทํานาแบบนาโยน
ถาดโยนกล้า หรือ ถาดเพาะกล้านาโยน เป็นถาด พลาสติกเกรด A คุณภาพดี สามารถใช้งานได้ หลายครั้ง เหมาะแก่เกษตรกรที่ต้องการ ลดต้นทุน ลดปัญหาข้าววัชพืชได้ดี และ ให้ผลผลิตสูง ถาด โยนกล้ามีให้เลือกทั้งแบบ 434 และ 561 หลุม/ ถาด ตุ้มกล้าน้ําหนักดีสวยงาม และ โยนถนัดมือ ถาดโยนกล้าสามารถเก็บรักษาเพื่อใช้ งานได้หลายครั้ง แบบใหม่
ถาดเพาะกล้าแบบใหม่ทรง 6 เหลี่ยม มีความทนทานและมีขนาดหลุมที่ใหญ่ กว่าแบบวงกลม จึงง่ายต่อการเพาะ และตั้งกอได้ง่ายกว่า อีกทั้งสามารถนํา ไปใช้ซ้ําได้หลายครั้ง
AD โยนกล้า 6 เหลี่ยม
ดั้งเดิม
ถาดเพาะกล้านาโยนแบบวงกลม เป็นแบบดั้งเดิมที่ใช้ในการทํานา โยน มีความทนทานและเป็นที่ ยอมรับ จึงมีคนใช้ทุกจังหวัด ต้น กล้าจะแน่นเป็นตุ้มทําให้กอข้าวมี คุณภาพและแตกกอได้เยอะ มีทั้งแบบ 434 และ 561 หลุม
กระบะหยอดเมล็ด สามารถควบคุมปริมาณเมล็ดต่อหลุม ง่ายต่อการใช้งานเพียงนําเมล็ดโรยลงไปใน กระบะแล้วร่อนลงหลุม นํากระบะเอาไปวางบนถาดแล้วเปิดรู เมล็ดก็จะหล่นตรงรู อย่างสม่ําเสมอ และเก็บง่าย สนับสนุนโดย: วิทยาลัยนานาชาติ ***สิ้นค้าทดสอบแล้วโดยศูนย์วิจัยข้าวและได้ทําการจดสิทธิบัตรแต่เพียงผู้เดียวใน
จัดจําหน่ายโดย หจก.กล้าดี 428 ถ.เจริญกรุง เขต สัมพันธวงศ์ กทม. 10100
มหาวิทยาลัยมหิดล
ติดต่อ : คุณ กิตติชัย ว่องไวมหาศาล โทร. 02-4223163 , 089-8144463 E-mail: khadee_888@hotmail.com
2. ขั้นตอนการเตรียมแปลง
- ก่อนทำนาให้พักแปลงนาให้แห้งอย่าง น้อย 1 เดือน เพื่อให้ข้าววัชพืชพ้นระยะพักตัว หรือให้เมล็ดข้าววัชพืชที่ร่วงในนาก่อนนี้พร้อมที่ จะงอกให้มากที่สุด ให้ขังน้ำในแปลง 1 คืน และ ปล่อยให้น้ำแห้งเองเพื่อล่อข้าววัชพืชงอกขึ้นมา เต็มที่ (ไม่ควรพ่นสารเคมีกำจัด) แล้วไถกลบทุบ เป็นปุย๋ ควรล่อวัชพืชอย่างน้อย 1 ครัง้ ขึน้ ไป จาก นัน้ ไถเตรียมดินเหมือนนาดำ หรือนาหว่านน้ำตม ทั่วไป แต่ปรับเทือกให้สม่ำเสมอมากที่สุด กรณี เป็นดินเหนียวรุ่งเช้าให้โยนต้นกล้าได้ ถ้าเป็นดิน ร่วนปนทราย หรือดินทรายหลังปรับเทือกให้โยน ต้นกล้าทันที
ประมาณ 15 และ 20 ตารางเมตร/50-60 ถาดและ 70-80 ถาด โยนได้ 1 ไร่ หรือพื้นที่เพาะ 1 ไร่นำ ไปโยนได้ 100 ไร่ พื้นที่เพาะต้องปรับพื้นผิวดิน ให้เสมอ - การเพาะต้นกล้าแบบเปียก วิธีเตรียม ถาดเพาะกล้าแบบเปียกไม่เป็นที่นิยม (นิยมใน ประเทศจีนและโยนได้ที่ละ 1-2 ต้นเท่านั้น) โดย เลือกแปลงนาที่ไม่มีข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไป ระบาด มีการเตรียมแปลงคล้ายกับเพาะกล้านาดำ ลูบเทือกให้ดนิ สม่ำเสมอ นำถาดเพาะกล้าวางเป็น แถวตอน 2-5 แผ่น (แล้วแต่ความสะดวกในการ ปฏิบตั งิ าน) ความยาวแล้วแต่แปลงกล้า แต่ละแถว ตอนห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อสะดวก ในการปฏิบตั งิ าน โดยนำดินชนกันระหว่างร่องทาง เดินใส่บนถาดให้เต็ม ปรับให้เสมอปากหลุมถาด (อย่าให้ดินล้นปากหลุมเพาะ เพราะจะทำให้ราก ข้าวพันกันเวลาหว่านต้นกล้าจะไม่กระจายตัว) จากนั้นหว่านเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ (แช่ 1 คืน หุ้ม 1 คืน หรือข้าวแห้ง) อัตราประมาณ 3-4 กิโลกรัม/ 50-60 ถาด (561 หลุม) และ 70-80 ถาด (434 หลุม)/ไร่ใช้แผ่นไม้คล้ายไม้บรรทัดกดหรือลูบ เมล็ดพันธุ์ให้จมเลนรักษาความชื้นตลอดไป หาก มีฝนตกต้องหาวัสดุมาคลุม เพื่อกันเมล็ดข้าว กระเด็นออกจากถาดเพาะ อายุข้าวประมาณ 7 วัน ให้นำวัสดุคลุมออก พอกล้าอายุ 12-16 วัน นำไปโยนได้ทนั ที หรือความยาวต้นกล้าประมาณ 3-5 นิ้ว ใช้พื้นที่เพาะกล้าเช่นเดียวกับวิธีเพาะ แบบแห้ง ก่อนนำไปโยนควรหยุดให้น้ำต้นกล้า โดยสังเกตพื้นแปลงเพาะกล้าหมาดน้ำ เกษตรกร บางรายนำเลนในร่องสวนขึ้นมาเพาะในที่เพาะ แบบแห้งก็ได้ผลดีเช่นกัน ซึ่งถือว่าใช้วัตถุดิบให้ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
10
เกษตรกรก้าวหน้า
3. ขั้นตอนการโยนต้นกล้า
- การโยนต้นกล้าที่แบบแห้ง ขณะโยน ต้นกล้าในแปลงควรมีน้ำอยู่เล็กน้อย ให้เดินถอย หลังโยน จับกล้าให้เต็มกำมือ โดยตวัดหงายมือ โยนต้นข้าวขึน้ สูงกว่าระดับศีรษะ ต้นกล้าจะกระ- จายตัวพุง่ ลงตัง้ ตรงหรือเอนเล็กน้อย ถาดเพาะให้ วางบนท่อนแขนครั้งละหลาย ๆ แผ่น แล้วแต่จะ รับไหว หากเห็นว่าต้นข้าวห่างกันไปให้โยนเพิ่ม เติมได้ วิธีโยนสามารถนำอุปกรณ์คล้ายเรือลงใน แปลงนาได้ เพื่อให้สามารถบรรทุกถาดกล้าได้ ครั้งละมาก ๆ และสะดวกในการโยน หรือถอน ต้นกล้าใส่ภาชนะหรือถังหว่านปุ๋ยนำไปโยนในนา หากทำนาจำนวนมากอาจนำแผ่นถาดกล้าไปวาง เรียงไว้ก่อนโยน ห่างกันประมาณ 4 x 6 เมตร เกษตรกร 1 คน โยนต้นกล้าได้ 3-5 ไร่/วัน หลัง หว่าน 1-2 วัน ให้เติมน้ำทันที และเพิ่มระดับน้ำ ขึน้ เรือ่ ย ๆ จนถึง 5-10 เซนติเมตร ซึง่ มีประสิทธิ
ภาพควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชได้ดีมาก รักษา ระดับน้ำจนถึงข้าวโตคลุมพื้นที่นาหรือจนถึงก่อน เก็บเกี่ยว 15-20 วัน - การโยนต้นกล้าแบบเปียก โยนได้ทีละ น้อย ไม่สะดวกและช้า เนือ่ งจากรากข้าวข้ามหลุม ไปยังหลุมอื่น จะทำให้รากพันกัน เวลาโรยทีละ กำมือต้นกล้าจะติดกัน ต้องเสียเวลาแยกต้นกล้า ก่อน การโยนแบบนี้ 1 คนจะโยนได้นอ้ ยกว่าแบบ แห้งคือ โยนได้ประมาณ 1 ไร่ 4. ขั้นตอนการปฏิบัติดูแลรักษา
- หลังโยนกล้า 1-2 วัน ให้เติมน้ำทันที จากนั้นให้เพิ่มระดับขึ้นเรื่อย ๆ ตามความสูง ของข้าว และรักษาระดับน้ำที่ 5-10 เซนติเมตร จนกว่าข้าวจะคลุมพื้นนา ซึ่งมีประสิทธิภาพใน การควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชได้ดีมาก (แต่ไม่ ควบคุมผักปอดนา ขาเขียด ซึง่ งอกในน้ำได้) การ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 หลังโยนกล้า 10-15 ด้วยสูตร 1620-0 หรือ 18-12-6 หรือ 16-12-8 อัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ให้ใส่หลัง จากใส่ ปุ๋ ย ครั้ ง แรก 15 วั น ด้ ว ยสู ต ร 46-0-0 อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ และการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ให้ใส่หลังจากใส่ปุ๋ครั้งที่สอง 15 วัน ด้วยสูตร 46-0-0 อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ การจัดการโรค แมลง ตามคำแนะนำกรมการข้าว - ข้อดีของการทำนาด้วยวิธีโยนต้นกล้า นับเป็นนวัตกรรมการทำนาวิธีใหม่ที่ป้องกันการ เกิดของข้าววัชพืชและวัชพืชทัว่ ไปได้ผลดี ประหยัด เมล็ดพันธุ์ลงได้ 80-85% โดยใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 3-4 กิโลกรัม/ไร่ ไม่ต้องถอนต้นกล้าไปปักดำ เหมือนนาปักดำด้วยคน (ทำให้ปวดหลัง) ต้นกล้า ที่โยนจะตั้งตัวได้ทันที เจริญเติบโตรวดเร็วและ แข็งแรง (ไม่หยุดชะงักเหมือนนาปักดำด้วยคน และปักดำด้วยเครื่อง) การแตกกอดีมาก และ เร็วกว่าวิธีอื่น ๆ จำนวนต้น/กอ มีมากกว่านา ปักดำการจัดการด้านโรค-แมลง ง่ายและได้ผลดี กว่าการหว่านน้ำตม ใช้ต้นทุนและแรงงานน้อย กว่าวิธีอื่น ๆ ในแปลงที่มีข้าววัชพืชระบาด ได้ ผลผลิตสูงและผลผลิตมีคณุ ภาพมาตรฐาน เหมาะ สำหรับการทำนาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ หรือการทำ นาข้าวอินทรีย์ หรือการทำนาแบบเกษตรพอเพียง หรือเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ ฯลฯ - ข้อจำกัดของการทำนาด้วยวิธีโยนกล้า เกษตรกรหนึ่งครอบครัวจะทำนาด้วยวิธีโยนต้น กล้าได้ไม่เกิน 10-15 ไร่/วัน ขั้นตอนการเตรียม เพาะกล้าอาจยุ่งยากบ้าง อุปกรณ์ถาดเพาะกล้า ยังไม่ค่อยมีจำหน่ายอย่างแพร่หลาย มีผู้รับจ้าง ทำนาด้วยวิธโี ยนกล้าน้อยต้องทำในเขตชลประทาน ที่มีการควบคุมน้ำได้ (เพื่อควบคุมข้าววัชพืช/ วัชพืชทั่วไป) แหล่งที่มีหอยเชอรี่ระบาด ต้องจัด การหอยเชอรี่ก่อนโยน ก
AD เจี๋ยไต๋
วิ ถีชาวสวน
เรื่อง : owenpui ภาพ : Pilin
ทุเรียนราชาผลไม้ ไทย ที่ขึ้นชื่อโด่งดังไปทั่วโลก ราคาแม้จะขึ้น ๆ ลง ๆ ไปตามฤดูกาล ก็ยังเป็นที่นิยม รับประทานสำหรับคนคอทุเรียนกันอย่างแพร่หลาย แต่ จะมี ใครรู้บ้างว่ากว่าจะได้มาซึ่งความอร่อย ไร้สารพิษ ตกค้ า ง แบบเน้ น ธรรมชาติ ๆ แม้ราคาทุเรียนจะแพง แสนแพงผู้บริโภคก็ไม่เกี่ยงงอนกับทุเรียนเมืองนนท์แต่ กลั บ เป็ น ที่ ต้ อ งการและชื่ น ชอบ มี ก ารสั่ ง จองจากผู้ บริโภคข้ามปีไม่ขาดสาย
คุณลุงแสวง นาคนาค
“คงเป็นเพราะรสชาติที่หวานเนื้อนุ่มอร่อย ยังคงไว้ซึ่งเสน่ห์ ความเป็นทุเรียนเมืองนนท์ได้เป็นอย่างดี แม้ปัจจุบันจะมีทุเรียนจาก ถิน่ อืน่ เข้ามาตีตลาดอยูร่ อบด้าน แต่ “แบรนด์” ทุเรียนจากเมืองนนท์ ก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เฉกเช่นเดิม ถึงขนาดต้องโทรจอง ล่วงหน้าเป็นแรมปีถึงจะได้ลิ้มรสชาติ แม้ราคาจะแพงหูฉี่สนนราคา หลายพันบาทต่อลูกก็ตามแต่ ลุงแสวง นาคนาค อดีตประธานชมรม ทุเรียนเมืองนนท์ 3 สมัยกล่าวด้วยความภาคภูมิใจ” แม้จะล่วงเลยวัย 68 ปีแล้ว แต่ลุงแสวงยังแข็งแรงและยึด อาชีพทำสวนทุเรียนไว้อย่างเหนียวแน่น “ลุงรับช่วงทำสวนทุเรียนต่อมาจากรุ่นพ่อ-แม่ 2 ไร่ และตอน นี้ได้ซื้อเพิ่มอีก 5 ไร่ รวมเป็น 7 ไร่ ในการพลิกฟื้นทุเรียนเมืองนนท์ ให้กลับมาอีกครั้ง หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 2538 หลายสวน ได้เลิกทำสวนทุเรียนแล้วหันไปขายที่ทางให้นายทุนเข้าจับจองพื้นที่ สร้างบ้านจัดสรรแทน ลุงอาศัยความเป็นลูกชาวสวนโดยกำเนิดทำให้มปี ระสบการณ์ เรียนรู้การทำสวนทุเรียนครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่ตอนอายุ 12 ปี จาก พ่อกับแม่ ไม่วา่ จะเป็นการตอนกิง่ ทีต่ อ้ งเลือกกิง่ พันธุด์ ี ๆ ไว้ทำพันธุ์ ลุงใช้ประสบการณ์ในการดูว่ากิ่งพันธุ์ไหนเหมาะที่จะทาบกิ่งเพื่อ ขยายพันธุ์ ราคากิง่ พันธุส์ มัยนัน้ ตกกิง่ ละ 15 บาท สมัยนีไ้ ม่มขี ายแล้ว เพราะไม่มีเวลามานั่งทาบกิ่งขาย สู้เอาเวลาหาวิธีดูแลผลผลิตทุเรียน ออกขายดีกว่า การยกแปลง ลอกท้องร่องรองรับน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ ใช้ในสวน หรือหากปีไหนไม่มีน้ำจริง ๆ จำเป็นที่จะต้องให้น้ำจาก คลองไหลเข้ามาในสวนแล้วกักเก็บไว้ใช้ ใช่ว่าจะเปิดให้น้ำไหลเข้ามาตลอดเวลาได้ ต้องดูช่วงระยะ เวลาและสีของน้ำในคลองประกอบด้วย เพราะเดี๋ยวนี้น้ำในคลองจะ มีสารเคมีจากหมู่บ้านจัดสรรไหลลงมาเป็นส่วนใหญ่ หากปล่อยให้ ไหลเข้ามาตามใจชอบ ทุเรียนก็จะให้ผลผลิตไม่ดี หรือไม่ให้ผลผลิต
เลยก็มีในบางปี 12
เกษตรกรก้าวหน้า
ทุเรียนเมืองนนท์… ราชาแห่งราชาผลไม้
การขายทุเรียน หรือผลไม้อนื่ ๆ ในสวนของลุงนัน้ สมัยก่อนลุงกับแม่จะพายเรือ ไปขายที่ตลาดท่าน้ำนนท์ ตอนนั้นจำได้ว่าราคากิโลละไม่แพงเหมือนในสมัยนี้ ที่พันธุ์ หมอนทองขายต่ำกว่ากิโลละ 200 บาท แต่หากเป็นทุเรียนพันธุก์ า้ นยาว ทีถ่ อื ว่าเป็นสุด ยอดของทุเรียนนนท์ ก้านยาวจะแพงหน่อยตกกิโลละพันบาทขึ้นไป ความอร่อยขึ้นชื่อของทุเรียนเมืองนนท์จะอยู่ที่รสชาติ เนื่องจากเป็นดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ของดินที่เกิดจากการพัดพาของตะกอน มีการควบคุมระดับน้ำซึ่ง ในช่วงหน้าฝนจะมีนำ้ หลากมา ฝนตกลงมามากจะทำคันน้ำและสูบน้ำออกจากท้องร่อง เพื่อรักษาระดับน้ำอย่าให้มีมาก เพราะระดับน้ำนับว่ามีส่วนสำคัญหากมีมากแล้วจะส่ง ผลต่อการทำลายระบบราก ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของลำต้นพลอยแย่ไปด้วย เพราะราก จะเป็นส่วนที่หาอาหาร การดูแลทุเรียนจะเน้นถึงการทำแบบธรรมชาติ ซึง่ จะส่งผลต่อการช่วยลดต้นทุน
และรสชาติจะดีกว่าการปลูกแบบสมัยใหม่ที่ใส่ปุ๋ย ใส่ยา ฉีดฮอร์โมน ซึ่งบางครั้งจะ เกิดการตกค้างซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ทุเรียนเมืองนนท์นี้แม้ผลจะไม่สวยไม่โต มีลกั ษณะสีเข้ม แก่จดั ปลายหนามจะไหม้และมีลกั ษณะคมกว่าทีอ่ นื่ ภายในเนือ้ จะสีเข้ม กว่า รสชาติจะอร่อย หวาน มัน เข้มข้นกว่าทุเรียนจากพื้นที่อื่น ๆ ทั้งพันธุ์ที่ปลูกเป็น พันธุ์ก้านยาว ชะนี หมอนทอง จะสีแจ๊ดสีเข้มกว่า มีลักษณะเนื้อละเอียดกว่า แต่สิ่งที่ สำคัญจะไม่ทำให้ผู้ที่ซื้อไปรับประทานเกิดผลกระทบจากสารตกค้าง สังเกตทุเรียน
นนท์จากคั่วก็ได้ ทุเรียนนนท์คั่วจะไม่ช้ำเด็ดขาด และเปลือกบางมาก รสชาติจะออกมัน ไม่หวานจัด แต่ถ้าช่วงไหนฝนตกชุกตอนเก็บเกี่ยวจะทำให้ ทุเรียนมีรสขม หรือเนื้อซีดในทันที เหตุผลอีกอย่างที่ทำให้ทุเรียนนนท์ราคา แพงเพราะผลผลิตน้อย เก็บเกีย่ วยากมาก เพราะ ต้นสูงเป็นสิบเมตรลุงต้องปีนขึ้นไปตัดด้วยตัวเอง ทุกลูกทุกต้น ปีนงึ ให้ผลไม่กรี่ อ้ ยลูกต่อหนึง่ ไร่แล้ว ที่ดินที่นนท์แพงมาก ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะ ผลิตทุเรียนนนท์ออกมาในปริมาณที่มากและขาย ราคาถูกได้เลย อย่างทุเรียนที่สวนของลุงส่วนมากจะเป็น ก้ า นยาวและหมอนทอง ส่ ว นพั น ธุ์ เ ก่ า แก่ เ ช่ น กบตาขำ กบแม่เฒ่า ทองย้อย พันธุ์ลวงก็มีแต่ น้อย สำหรับก้านยาวนั้นที่สวนมีประมาณ 50 กว่าต้น หมอนทองมี 40 ต้น ลูกที่โตมากหน่อย จะประมาณ 5 กิโลกรัมยังมีให้เห็นเลยหากดูแล ใส่ใจดีดี เหตุที่ลุงปลูกทุเรียนพันธุ์ก้านยาวเป็นหลัก เพราะลุงมองเรื่องการตลาดว่าพันธุ์ก้านยาวปลูก ได้ราคาดี และนักลิ้มลองนิยมและยังยกนิ้วให้ เป็นราชาแห่งผลไม้ เนื่องจากมีราคาแพง หารับ ประทานยาก รสชาติอร่อยมาก ทั้งหวาน มัน กลมกล่อม ลักษณะของทุเรียนตระกูลนี้ ลำต้น จะสูงชะลูดทิ้งกิ่ง เปลือกสีน้ำตาลและมีสะเก็ด บ้างเล็กน้อย ช่วงกิ่งยาวมากและเกือบตั้งฉาก กับลำต้น แผ่นใบเป็นรูปรีจนถึงเรียวยาวมีขนาด กว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1718 เซนติเมตร ฐานใบเป็นรูปเหลีย่ มป้านปลายใบ แหลมและงอโค้งก้านใบยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกเป็นรูปไข่ยาวรี ปลายแหลมและโคนดอกจะ เรียวก้านดอกจะยาวมาก ผลของทุเรียนก้านยาว จะมีให้เห็นสองทรง คือทรงกลมและทรงที่ได้รับ ความนิยมมากคือทรงฮวด จะมี 6 พูหนามขนาด โตเกื อ บเสมอกั น พั น ธุ์ นี้ ก้ า นยาวกว่ า พั น ธุ์ อื่ น เปลือกค่อนข้างหนา เนื้อมีลักษณะละเอียด นิ่ม
สีเหลือง รสชาติหวาน มัน กลมกล่อม เมล็ดกลม ก้านยาวของนนท์นั้น สีของเนื้อจะเข้มกว่าทุเรียน ก้านยาวนอก หรือทุเรียนที่มาจากต่างจังหวัด ทุเรียนตระกูลก้านยาวในนนทบุรีนิยมปลูกกัน ทุกสวน เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมาก สำหรับเคล็ดลับการดูแลทุเรียน ส่วนตัวแล้ว ลุงจะตืน่ มารดน้ำตอนตีหนึง่ ตีสอง เพราะเป็นช่วง ที่อากาศสมดุล ทำความชื้นให้ต้นไม้ได้ดี รดน้ำ ช่วงนี้จะทำให้ต้นไม้งาม ถ้ารดน้ำช่วงเช้าต้นไม้ จะเย็นแค่แป๊บเดียว เดีย๋ วก็จะร้อนเพราะแดดออก ถ้ารดช่วงเย็นไอร้อนจากดินจะทำให้ต้นไม้ไม่เย็น อีกเช่นเดียวกัน แต่ก่อนลุงก็เคยรดน้ำช่วงสายๆ แต่เนื่องจากลุงมีภารกิจอย่างอื่นที่ต้องทำ ทำให้ ต้องเปลีย่ นมารดน้ำตัง้ แต่ตหี นึง่ ตีสอง เพือ่ ทีจ่ ะได้ ไม่กระทบกับภารกิจอื่นๆ และสังเกตได้ว่าต้นไม้ ดูงามดีกว่าเดิม นอกจากนี้แล้วลุงมีความเชื่อว่าหากเอาใจ ใส่ดแู ลต้นทุเรียนทุกต้นเป็นอย่างดี คอยหาอาหาร จากธรรมชาติให้โดยการเอากิ่งใบไม้สุมที่โคนต้น เพื่อให้ซากเน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยแบบธรรมชาติ ดีกว่าใส่ปุ๋ยเคมีจะช่วยให้รักษารสชาติของทุเรียน ที่หวานมัน เนื้อเนียนละเอียด เนื้อหนึบ ใครกิน ต้องติดใจ ทุเรียนนนท์หนามจะคม ยิ่งแก่หนามก็จะ ยิ่งคม สีคล้ำ ผิวแห้ง หยิบแล้วรู้สึกเบามือ เห็น ภายนอกก็รแู้ ล้วว่าเนือ้ ข้างในจะเป็นยังไง สุกมาก สุกน้อยแค่ไหน ซึ่งคนที่อยู่กับทุเรียนอย่างตนจะ ดูรู้ได้ทันที โดยไม่ต้องปลอกเปลือกเลยก็ได้ สำหรับคนทีอ่ ยากจะลิม้ รสทุเรียนเมืองนนท์ นัน้ ลุงแสวงบอกว่า จะมีวางขายกันใกล้ ๆ ละแวก บ้านหรืออยูใ่ นจังหวัดนนทบุรี ส่วนมากจะมีลกู ค้า ที่พยายามเสาะแสวงหา หรือพวกลูกค้าประจำ ตามไปซื้อกันถึงในสวน ไปเลือกกันถึงบนต้นเลย ทีเดียว และถ้าจะกินทุเรียนเมืองนนท์ให้อร่อย นั้น หลังจากที่ทุเรียนแก่ลงจากต้นแล้ว จะต้อง เก็บไว้อีกสัก 3-5 วัน ให้ทุเรียนส่งกลิ่นหอมก่อน
เรียกว่าตัดให้เขาลืมต้นแล้วจะค่อย ๆ สุก จึงจะ กินได้รสชาติหอมอร่อย และสำหรับทุเรียนก้าน ยาวเมืองนนท์เมื่อกินแล้วเวลาเรอจะไม่มีกลิ่นอีก ต่างหาก ตอนนี้ชาวสวนเมืองนนท์ได้มีการจัดตั้ง เป็นกลุ่มเกิดเป็นชมรมสวนทุเรียนเมืองนนท์เพื่อ อนุรักษ์ทุเรียนเมืองนนท์ไว้ เนื่องจากราคาสูงเป็น แรงจูงใจ ทำให้มีชาวสวนปลูกเพิ่มขึ้น ลุงว่าดี หากมีพนื้ สวนทุเรียนหลงเหลือไว้ให้รนุ่ ลูกรุน่ หลาน สืบทอด ลุงยินดีจะให้ความรูถ้ า่ ยทอดแก่ชาวสวน ที่สนใจปลูกทุเรียนเมืองนนท์ทุกพื้นที่ อย่างทีเ่ คย ไปให้ข้อมูลความรู้แก่ชาวสวนที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ก็ได้รบั ผลตอบรับทีด่ ี ชาวสวนคนไหนสนใจติดต่อ ลุงได้ที่สวนโดยตรง หรือเบอร์ 0-2921-6230, 08-5921-8628 ก
คุณสมบัติทุเรียนนนท์แท้ ๆ
โดยคุณลุงแสวง นาคนาค เจ้าของสวน ทุเรียนที่อยู่กับสวนทุเรียนมากว่า 50 ปี เปิดเผย ถึงวิธีดูทุเรียนนนท์แท้ ให้ดูอย่างไร 1. ดูเปลือกทุเรียน หรือหนามทุเรียนจะ เรียงกันเป็นแถวสวยงาม หนามจะไม่หักงอ และ สีสวยเป็นธรรมชาติ 2. ทุเรียนนนท์ปอกง่าย แค่เอามีดปลาย แหลมแทงที่ยอด ออกแรงนิดหน่อยบิดใบมีดก็ แยกออกแล้ว 3. เมือ่ ฉีกเปลือกดูผลทุเรียน หรือพูทเุ รียน เนื้อทุเรียนจะเป็นสีเหลืองน่ารับประทาน 4. รสชาติจะหวานและเนื้อนุ่มอร่อย 5 .เม็ดตาย หรือเม็ดลีบ เพราะควรมีใน คุณสมบัติทุเรียนที่ดีมีคุณภาพ
13
ั ์ พิเศษ สมภาษณ
รายงานพิเศษ
เรื่อง & ภาพ : ทัศนีย์ เรืองติก
นพดล แก้วสุพัฒน์ นายกสมาคม
องค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้บ้านเมืองน่าอยู่ ดูแลสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐาน ของความสมดุลทุกด้านเพื่อชุมชน
คุณนพดล แก้วสุพัฒน์
องค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ดเดิม เป็นสภาตำบล และต่อมาได้รับการยกฐานะให้ จัดตัง้ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราช- บัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 โดย กำหนดให้ตราสัญลักษณ์ขององค์การบริหาร- ส่วนตำบลอ้อมเกร็ดเป็นรูปแสงสว่าง จากพาน รัฐธรรมนูญและมีการจับมือประสานกันภายใต้ พานรั ฐ ธรรมนู ญ ซึ่ ง หมายถึ ง ความร่ ว มมื อ ที่ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน บนพื้นฐานของความเป็น ประชาธิ ป ไตยที่ น ำไปสู่ ค วามเจริ ญ รุ่ ง เรื อ งใน อนาคต “เดิมนั้นตำบลอ้อมเกร็ดเป็นตำบลบาง- บัวทอง อำเภอบางบัวทอง มีพนื้ ทีย่ นื่ เข้าไปในเขต อำเภอปากเกร็ ด โดยมี ค ลองบางบั ว ทอง ซึ่ ง มี ลั ก ษณะคดเคี้ ย วคล้ า ยถุ ง ที่ ป กคลองล้ อ มรอบ บริเวณนั้น ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของอำเภอปากเกร็ด เพื่อให้เหมาะแก่สภาพทางภูมิศาสตร์และการ ปกครองทางราชการจึงให้การปกครองขึ้นอยู่กับ อำเภอปากเกร็ด เมือ่ การปกครองขึน้ อยูก่ บั อำเภอ ปากเกร็ดแล้วยังคงใช้ชื่อตำบลบางบัวทองอยู่ ซึ่ ง ชื่ อ ซั บ ซ้ อ นกั บ ตำบลในอำเภอบางบั ว ทอง ประชาชนจึงมีความเห็นพ้องต้องกันให้เปลี่ยน
14
เกษตรกรก้าวหน้า
ชื่ อ ใหม่ เ ป็ น ตำบลอ้ อ มเกร็ ด ตามลั ก ษณะภู มิ ประเทศของตำบล” นายกองค์การบริหารส่วนตำบล อ้อมเกร็ดให้รายละเอียด แม้ว่าองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชั้นเล็กในการจัด ชั้นองค์การบริหารส่วนตำบลของกองราชการ ส่วนตำบล กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิน่ พืน้ ที่ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น พื้ น ที่ ร าบลุ่ ม ริ ม แม่ น้ ำ เจ้ า พระยา ประกอบด้วยแม่น้ำลำคลองไหลผ่านหลายสาย เหมาะแก่ ก ารเกษตรกรรมในพื้ น ที่ มี น้ ำ อุ ด ม- สมบูรณ์ ซึง่ ประชากรส่วนใหญ่มอี าชีพเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา รับราชการและค้าขาย “พื้นที่ในตำบลอ้อมเกร็ดเป็นที่ราบลุ่ม มี คลองหลายสายไหลผ่าน เหมาะสำหรับการประ กอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาบ้าง ทำสวนเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะเป็นสวนมะม่วง สวนส้มโอ ซึ่งทาง เราจะจัดเจ้าหน้าที่ลงไปให้ความรู้ในเรื่องการทำ สวนและการใช้สมดุลทางธรรมชาติเข้าไปเกี่ยว ข้องเพื่อไม่ให้เกิดมลพิษขึ้นในอนาคต บางปี ผ ลผลิ ต ของชาวบ้ า น อย่ า งเช่ น มะม่วงจะออกพร้อมกัน ทำให้ราคาตก เราก็จะ ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปให้ความรู้ในการทำมะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม เก็บรักษาผลผลิตให้ขายได้ตลอดปี และตอนนี้กลายเป็นสินค้าโอทอปประจำตำบลอ้อมเกร็ดไปแล้วสำหรับมะม่วงดอง และมะม่วง แช่อิ่ม นอกจากนี้แล้วประชาชนในหมู่บ้านได้มี การรวมกลุ่มในลักษณะกลุ่มขนาดกลางและมี การประสานงานในลักษณะเครือข่ายติดต่อกัน ระหว่างกลุ่มในตำบล โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาค เกษตรกรรมซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานและเป็นราย ได้หลักของตำบลอ้อมเกร็ด ทางเราพยายามดูแล จัดสรรพื้นที่ปลูกส้มโอ ปลูกมะม่วงและหาตลาด ให้ไปวางจัดจำหน่าย อีกทั้งทางอบต.ได้จัดตั้ง กลุ่มสมาชิกเพื่อส่งเสริมการเกษตรให้แก่ชาวบ้าน โดยได้รบั การสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนเงินทุนจำนวน 20,000 บาท เพื่อใช้ใน การลงทุนแปรรูปสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง เช่น
แปรรูปมะม่วง ประชาชนตำบลอ้อมเกร็ดได้ร่วม กันปลูกสมุนไพร ที่ใช้ในการจัดทำสมุนไพรกัน ยุง เช่น ตะไคร้หอม โหระพา กะเพรา ยูคาลิป- ตัส และนำมาจำหน่ายให้กลุ่มเกษตรกรเพื่อใช้ เป็นวัตถุดิบในการจัดทำ นอกจากนี้ แ ล้ ว ยั ง มี ก ลุ่ ม ดอกไม้ จั น ทน์ , กลุม่ แม่บา้ นเกษตรกรทำสวนอ้อมเกร็ด, กลุม่ แม่บ้านเกษตรกรและกลุ่มสตรีประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง การจำหน่ายจะเป็นการนำผลิตภัณฑ์มารวมกัน จำหน่ายเพิ่มมูลค่าให้พี่น้องในชุมชนได้อีกทาง 4 ปีที่ผมอยู่ในตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด ผมจะพัฒนาโครง สร้างพื้นฐานให้บ้านเมืองน่าอยู่ ดูแลสิ่งแวดล้อม บนพืน้ ฐานของความสมดุลทุกด้านเพือ่ ชุมชนและ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในตำบลอ้อมเกร็ดให้ มีงานมีอาชีพและเลีย้ งตัวเองได้ทกุ คน นายก อบต.
กล่าวทิ้งท้ายด้วยแววตาที่มุ่งมั่น ก
วิรัช เถื่อนยืนยงค์ ผู้อำนวยการองค์การ สะพานปลา (อสป.) กล่าวถึงความร่วมมือพัฒนา พื้นที่ทำการสะพานปลากรุงเทพ เนื้อที่ทั้งหมด 8 ไร่ 29 ตารางวา สร้างเป็นอาคารปิดหรือที่เรียก ว่า Fish Moderntrade (ฟิชโมเดิรน์ เทรด) ว่าด้วย ความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครกับองค์การ สะพานปลา ทีร่ ว่ มกันพัฒนาพืน้ ทีอ่ งค์การสะพาน- ปลาเดิมให้เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจประมงครบวงจร ยกระดับคุณภาพสินค้าประมงของไทยให้ทนั สมัย ทัดเทียมกับต่างประเทศ ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างได้ใน ไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 แล้วเสร็จประมาณต้นปี 2556 “การพัฒนาองค์การสะพานปลาจะคืบหน้า ไปได้ เราต้องทำทุกอย่างควบคู่กันไปทั้งแผนแก้ การขาดทุนและเพิ่มรายได้ มีรายละเอียดชัดเจน ไม่ใช่วาดวิมานบนอากาศ เราจึงสร้าง Fish Modern trade (ฟิชโมเดิรน์ เทรด) ขึน้ เพือ่ ให้เป็นศูนย์กลาง ธุรกิจประมงครบวงจร ยกระดับมาตรฐานตลาดกลางสัตว์น้ำ ให้มีคุณภาพและสุขอนามัย สร้าง ความได้เปรียบด้านการแข่งขันธุรกิจประมงของ ประเทศ รวมทั้งใช้ศักยภาพที่ดินริมแม่น้ำเจ้า- พระยา พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเทีย่ วแห่งใหม่แนว ทางการพัฒนาองค์การสะพานปลา โดยปรับพืน้ ที่ 8 ไร่เป็นอาคารสูง 5 ชั้น มีที่จอดรถ ภายในมี ลักษณะเป็นช็อปขายสินค้าสัตว์น้ำทั้งน้ำจืดและ น้ำเค็ม โดยคัดเลือกสินค้าเกรดเอมาวางขายใน ราคาที่เป็นธรรมทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย มีการประมูล สินค้าสัตว์นำ้ เหมือนในต่างประเทศ เป็นแหล่งรวบ รวมสัตว์น้ำจากทั่วประเทศ มีภัตตาคาร 2 แห่ง คือริมแม่น้ำเจ้าพระยา และบนดาดฟ้าที่ผู้บริโภค สามารถเลือกซือ้ สินค้าสัตว์นำ้ ทีม่ คี วามสด สะอาด มาบริโภคได้เลย อีกทั้งมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้ มาตรฐาน ด้านขยะมีการแยกประเภทขยะตาม มาตรฐานของ กทม. นอกจากนี้ยังก่อสร้างอาคารสูง 15 ชั้น ขนาด 300 ห้อง ส่วนหนึ่งเป็นสวัสดิการพนักงาน องค์การสะพานปลาและแพปลา 18 แพปลาที่ทำ ธุ ร กิ จ กั บ เราเช่ า ในราคาพิเศษ ส่วนที่เหลือจะ เปิดเช่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ที่สนใจ เป็นการ หารายได้เพิ่มอีกส่วนหนึ่ง “ช่วงระหว่างก่อสร้างจะย้ายแพปลา 18 แพปลา ที่ เ ป็ น คู่ ค้ า ที่ ท ำธุ ร กิ จ กั บ สะพานปลา
คุณวิรัช เถื่อนยืนยงค์
Fish Moderntrade โฉมใหม่องค์การ
สะพานปลาไม่ใช่แค่วิมานในอากาศอีกต่อไป ยกระดับสะพานปลากรุงเทพ เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจประมงครบวงจร ให้มีคุณภาพและสุขอนามัย สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้านธุรกิจประมง ของประเทศไทยให้เหมือนตลาดปลาญี่ปุ่น และออสเตรเลียที่มีตลาดปลาอยู่กลาง เมือง อีกทั้งเป็นสถานที่ศึกษาและแหล่งท่องเที่ยวพร้อมดำเนินธุรกิจค้าสัตว์น้ำ ควบคู่กันไป กรุงเทพไปอยู่ที่สมุทรปราการ โดยปัจจุบันการ เดินทางใกล้กันนิดเดียว เร็ว ๆ นี้จะเชิญตัวแทน แพปลาทั้งหมดมาหารือถึงการย้ายไปท่าเทียบ เรือประมงสมุทรปราการ เพราะทีน่ นั่ มีพนื้ ที่ 84 ไร่ มี ทั้ ง ท่ า เที ย บเรื อ และสะพานแพปลา มี ร ะบบ สาธารณูปโภคพร้อมรองรับ มีบ่อบำบัดน้ำเสีย โรงคัดแยก รถห้องเย็นที่จอดได้มากกว่าหลาย สิบคัน ยืนยันได้เลยว่าแพปลาได้มีรายได้เพิ่ม
ขึ้นประมาณ 4-5 เท่าจากเดิมแน่นอน และเมื่อ สะพานปลากรุงเทพก่อสร้างเสร็จจะย้ายกลับมา พร้อมทำธุรกิจควบคู่ไปกับท่าเทียบเรือประมง สมุทรปราการ” สำหรับแผนพัฒนาขีดความสามารถของ สะพานปลาและท่าเทียบเรืออื่นๆ นั้น ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลาเน้นว่า ศักยภาพขององค์- การสะพานปลายังมีอยู่อีกมาก เพียงแต่ยังถูกดึง มาใช้ไม่เต็มที่ พนักงานทุกคนมีศักยภาพ แต่ยัง ขาดศูนย์รวมพลัง ดังนั้นระยะเวลา 4 ปีที่อยู่ใน ตำแหน่งผูอ้ ำนวยการองค์การสะพานปลาจะละลาย พฤติกรรมทีผ่ า่ น ๆ มาทีต่ า่ งคนต่างทำให้เดินหน้า ไปในทิศทางเดียวกัน โดยปัจจุบนั มีเพียง 5 แห่งคือ สะพานปลา กรุงเทพ, ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต, ท่าเทียบเรือ ประมงสงขลา, ท่าเทียบเรือประมงชุมพร และ ท่าเทียบเรือประมงระนองที่มีกำไรที่เหลืออีก 12 แห่งขาดทุน แต่สามารถทำให้มกี ำไรได้อยูท่ พี่ นักงานทุกคนต้องร่วมแรงร่วมใจในการก้าวเดิน และ
รักษาผลประโยชน์ขององค์กร อีกทั้งพื้นที่ทุกแห่ง ต่างมีศักยภาพในการลงทุน อย่างภูเก็ตจะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเทีย่ ว มีภัตตาคารริมทะเล ชุมพรหรือระนองจะให้เป็น แหล่งรวมสัตว์น้ำจากภาคใต้ทั้งหมดให้มารวม อยู่ที่นี่ หัวหินเป็นเมืองท่องเที่ยว มีพื้นที่ 3 ไร่ จะสร้างคอนโดริมทะเล ส่วนหนึ่งให้ชาวประมง อาศัย ที่เหลือเปิดให้คนมาพักหรือเช่า หรือที่ อุทัยธานีและนครสวรรค์จะไปตั้งแพน้ำจืด รวบ รวมสัตว์น้ำจืดมาอยู่ที่นี่ พร้อมนำสัตว์น้ำเค็มไป ขายควบคู่กันไป รวมถึงนำปลาน้ำจืดมาขายที่ สะพานปลากรุงเทพด้วย ทัง้ หมดนีจ้ ะสร้างรายได้ ให้องค์การสะพานปลาอีกมาก” วิรัชกล่าวด้วย ความมัน่ ใจถึงความสำเร็จทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลากล่าว ทิง้ ท้ายด้วยแววตามุง่ มัน่ ว่า เมือ่ สะพานปลากรุงเทพ โฉมใหม่เปิดให้บริการ สะพานปลาและท่าเทียบ เรือรวม 17 แห่งปรับปรุงเพือ่ เพิม่ รายได้ผลประกอบ การจากที่มีกำไรปีละไม่เท่าไร เคยสูงสุดปีละ 40 ล้านบาทจะเพิม่ ขึน้ อย่างต่ำเป็น 400-500 ล้านบาท ต่อปี พร้อมเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี โดยก่อนที่จะหมด สัญญาจ้าง 4 ปี การันตีได้เลยว่า พนักงานองค์- การสะพานปลาจะมีโบนัส 1-2 เดือนเป็นอย่างต่ำ สวัสดิการไม่น้อยหน้ารัฐวิสาหกิจอื่น ต่อไปเวลา นึกถึงสินค้าสัตว์น้ำต้องนึกถึง อสป.เหมือนที่จะ
ซื้อผลไม้ และอาหารที่มีคุณภาพส่วนใหญ่นึกถึง ตลาดอตก.นั่นเอง ก
เกษตรกรก้าวหน้า 15
วิถีประมง รายงานพิ เ ศษ สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง & ภาพ :
ปลาตะพาก ลุ่มน้ำปิง จ.กำแพงเพชร
ปลาตะพากเป็นปลาพื้นเมืองที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร และเป็นปลาเศรษฐกิจ พบได้ ในแม่น้ำปิง ซึ่งเป็นแม่น้ำ สายหลักไหลผ่านตัวเมืองกำแพงเพชร ปลาตะพากเป็นปลาพื้นเมืองที่ประชาชนนิยมบริโภค
คุณวรัญยู ขุนเจริญ
แต่ในปัจจุบนั ปลาตะพากมีจำนวนลดน้อย ลงเนือ่ งจากเป็นปลาทีม่ รี สชาติดจี งึ ถูกจับมาบริโภค มีคณุ ค่าทางโภชนาการประกอบกับสภาพแวดล้อม ทีเ่ สือ่ มโทรมและการตืน้ เขินของแม่นำ้ ทำให้ปลา มีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นทางสถานี ประมงน้ำจืดจังหวัดกำแพงเพชร ได้ทำการศึกษา และเพาะพันธุ์เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณปลาใน แหล่งน้ำธรรมชาติให้มากขึ้นและเป็นการอนุรักษ์ ปลาพื้นเมืองที่สำคัญไว้ นายวรัญยู ขุนเจริญ หัวหน้าสถานีประมง น้ำจืดจังหวัดกำแพงเพชร เล่าให้ฟงั ว่าปลาตะพาก เป็นปลาที่จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน มีชื่อเรียก หลายชื่อ เช่น ปลาปิก ปลาปากดำ ลักษณะของ ปลาตะพากมีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขาว แต่มี ขนาดใหญ่กว่า บริเวณส่วนท้องมีสีเหลืองทอง บริเวณส่วนหลังมีสีเข้มเป็นน้ำเงินอมเขียว ครีบ หลังและครีบหางสีส้มแกมเขียว ครีบท้องสีส้ม หรือสีเหลือง อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่ ว่ายน้ำได้เร็วและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา พบได้ในแม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำโขง “ปลาตะพากเป็นปลาทีเ่ พาะพันธุย์ ากมาก เพราะเป็นปลาตื่นตกใจง่าย มีความบอบช้ำง่าย 16
เกษตรกรก้าวหน้า
และเกิดความเครียด ทำให้มผี ลต่อการเพาะพันธุ ์ ทางสถานี ป ระมงน้ ำ จื ด กำแพงเพชรจึ ง ได้ น ำ เทคโนโลยีในเรื่องการจัดการพ่อแม่พันธุ์ที่เหมาะ สมมาใช้ผสมพันธุ์ จนสามารถเพาะพันธุ์ปลา ตะพากได้ โดยได้ทำการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาตะ- พากจากแม่น้ำปิง นำมาเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ระบบ น้ำหมุนเวียนและในกระชัง เพื่อให้ปลาปรับตัว
กลุ่มแม่บ้านทำปลาตะพากส้ม
โดยให้อาหารที่มีโปรตีนสูงเสริมด้วยวิตามินเริ่ม ต้นทางสถานีได้ทำการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลา ตะพากที่มีน้ำเชื้อดีและไข่แก่มาเพาะพันธุ์ด้วย การฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ ซูปรีแฟก 10 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม+ยา เสริมฤทธิ์ โมทีเลียม 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม ฉีดทั้งปลาเพศผู้และปลาเพศเมีย เพื่อเร่ง การวางไข่และเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อ แล้วปล่อยให้ พ่อแม่พนั ธุร์ ดั กันเองในบ่อซีเมนต์ ทีม่ นี ำ้ ไหลผ่าน ตลอดเวลา อัตราการปล่อยเพศผู้ 2 ตัว ต่อปลา เพศเมีย 1 ตัว หลังจากนั้นประมาณ 6-8 ชั่วโมง แม่ปลามีการวางไข่ ไข่ฟักออกเป็นตัวใช้เวลา ประมาณ 14 ชัว่ โมง 30 นาที ทีอ่ ณุ หภูมนิ ำ้ 29-31 องศาเซลเซียส จากนั้นเมื่อลูกปลาอายุประมาณ 2 วัน จึงนำไปอนุบาลต่อในตู้กระจกหรือบ่อดิน สำหรับการอนุบาลในตู้กระจก ในช่วง 7 วัน ให้
ปลาที่ขายในตลาด
เปรีบเทียบขนาด
โรติเฟอร์อย่างเดียว วันที่ 8-15 ให้โรติเฟอร์และ ไรแดงขนาดเล็ ก วั น ที่ 16-30 ให้ ไ รแดงและ อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดเล็กลอยน้ำโปรตีนไม่ น้อยกว่า 42 เปอร์เซ็นต์ จะได้ลูกปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร อัตรารอดประมาณ 40% ส่วนในบ่อดิน มีอัตรารอดประมาณ 10-20 % เมือ่ เราสามารถคิดค้นวิธขี ยายพันธุป์ ลาตะพากได้สำเร็จเราก็ส่งเจ้าหน้าไปแนะนำการ เพาะเลี้ยงให้พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ทราบถึงวิธี การเพาะเลีย้ งปลาตะพากเพือ่ เพิม่ ปริมาณให้ปลา ตะพากอยู่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป “ทั้งนี้หลักๆ เราจะเน้นการเพาะพันธุ์เพื่อ ปล่ อ ยคื น สู่ แ หล่ งน้ำธรรมชาติ โดยนำลูกปลา ตะพากปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อทดแทน ปลาตะพากที่ปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลงมาก และเป็นการเพิ่มผลผลิตในแหล่งน้ำธรรมชาติให้ มากขึ้น อีกทั้งจากผลการเพาะพันธุ์พบว่าปลา-
ตะพากสามารถเพาะพั น ธุ์ ไ ด้ 2 ครั้ ง ในรอบปี โดยครั้งแรกในเดือนมีนาคม-มิถุนายน และครั้ง ที่ ส องในเดื อ นตุ ล าคม-ธั น วาคมซึ่ ง เป็ น ข้ อ ได้ เปรียบกว่าปลาพืน้ เมืองชนิดอืน่ ๆ ของไทย ทีไ่ ม่ สามารถเพาะพันธุ์ได้ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว และหากนำปลาตะพากปล่อยในแหล่งน้ำขนาด ใหญ่ เช่น อ่างเก็บน้ำ เขื่อน แม่น้ำต่าง ๆ คาด ว่าจะได้ผลผลิตที่สูงกว่าปลาตะเพียนขาว ปลา ตะเพียนทอง ปลากระแห ซึง่ เป็นปลาทีม่ ลี กั ษณะ ใกล้ เ คี ย งกั น แต่ ป ลาตะพากมี ข นาดใหญ่ ก ว่ า (ขนาด 2-3 กก.) และเป็นปลาที่สามารถกินพืช น้ำขนาดใหญ่ได้ดี ขณะเดี ย วกั น เราส่ ง เสริ ม ให้ เ กษตรกร เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เพราะประชาชนนิยม บริโภค ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการเตรียมพ่อแม่ พั น ธุ์ ป ระมาณ 1-2 ปี เพื่ อ ผลิ ต ลู ก ปลาให้ ไ ด้ จำนวนมาก และทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมใน เรื่องการเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจโดยอาศัยข้อมูล จากการเจริญเติบโต ต้นทุนการผลิต และราคา จำหน่ายเป็นองค์ประกอบ ปลาตะพากชอบอาศัย อยู่ในแหล่งน้ำไหลที่มีระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 3 มิลลิกรัม/ลิตร จากการทดลองเลี้ยงในบ่อดิน พบว่า ปลาจะลอยหัวได้ง่ายเนื่องจากตอนเช้าใน บ่อดินมีออกซิเจนน้อย ปลาจึงตายได้ง่ายกว่า ปลาตะเพียนขาว อาจต้องให้ปลาใช้เวลาปรับตัว เหมือนปลาชนิดอื่น ๆ เช่นปลาตะเพียนขาว ดัง นั้น ทางเลือกที่ดีในขณะนี้คือการเลี้ยงในกระชัง ที่คาดว่าจะได้ผลดีกว่า ปัจจุบันสถานีฯ กำลังอยู่ ในช่วงของการเก็บข้อมูลการเลี้ยง โดยพบว่าการ เลี้ยงในกระชังขนาด 3x3x1.5 เมตร ปล่อยปลา
ปลาในบ่อดิน
ขนาด 50 กรัม จำนวน 500-1,000 ตัวต่อกระชัง เลี้ยงเป็นระยะเวลา 4 เดือน ได้น้ำหนักประมาณ 150-200 กรัม แต่จากข้อมูล ณ ปัจจุบัน พบว่าปลาตะ- พากที่เลี้ยงในกระชังขนาด 3x3x1.5 เมตร ปล่อย ปลาขนาด 50 กรัม จำนวน 1,000 ตัวต่อกระชัง เลี้ยง 4 เดือน จะได้น้ำหนักประมาณ 150 กรัม และการส่งเสริมด้านการตลาด ซึง่ ปัจจุบนั พบว่า มีการจำหน่ายปลาตะพาก ขนาด 1-2 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 60 บาท ส่วนใหญ่จะ เป็นปลาทีจ่ บั จากธรรมชาติ การเลีย้ งปลาตะพาก ให้ได้ขนาด 1 กิโลกรัม คาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำ กว่า 18 เดือน ทำให้ได้ผลตอบแทนที่ช้า ดังนั้น การเพิม่ มูลค่าผลผลิตปลาตะพาก โดยการแปรรูป เช่น ทำปลาส้มที่เกษตรกรรวมกลุ่มกันทำ มีรส ชาติอร่อยกว่าปลาตะเพียนขาวและมีกา้ งน้อยกว่า น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสม เนื่องจากการทำ ปลาส้ม ปลาขนาด 150-200 กรัม ก็สามารถทำ ได้ โดยปลาขนาด 150-200 กรัม ใช้เวลาเลี้ยง ในบ่อดินประมาณ 6-8 เดือน และเลีย้ งในกระชัง ประมาณ 4-5 เดือน ราคาจำหน่ายปลาส้มอยู่ที่ ประมาณ 100 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ ปลา ตะพากยังสามารถจำหน่ายเป็นปลาสวยงามได้ อีกทางหนึ่งด้วย เกษตรกรท่านใดที่สนใจวิธีการเพาะเลี้ยง ปลาตะพากสามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ สถานี ประมงน้ำจืดจังหวัดกำแพงเพชร ม.2 ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000 โทรศัพท์ 0-55713473 ก
ปลาที่เลี้ยงในกระชัง
เกษตรกรก้าวหน้า 17
วิถีชาวไร่ รายงานพิ เ ศษ owenpui
เรื่อง & ภาพ :
ํ มันสาปะหลั ง ที่วังไทร จ.กำแพงเพชร
คุณสุรินทร์ และภรรยา
ปัจจุบันสภาพอากาศแปรปรวน ฤดูกาลผิดเพี้ยน ฝนไม่ตกตามฤดู สร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรไปทั่ว ในเมื่อ ไม่มีน้ำฝนจะทำนา เกษตรกรหลายคนจึงต้องมองหาพืชที่ ใช้น้ำน้อยมาปลูกทดแทน อย่างเช่น มันสำปะหลัง เหมือนอย่าง เช่น เกษตรกร อ.วังไทร จ.กำแพงเพชร คุณสุรินทร์ พิชัย เกษตรกรตำบลวังไทร อำเภอขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ผู้ที่สนใจปลูก มันสำปะหลังเป็นหลัก สร้างรายได้ให้กับครอบ- ครัวเป็นกอบเป็นกำ อาศัยความขยัน ประหยัด และอดทนทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัว ดีขึ้นและมีความสุข “ผมเริม่ ต้นอาชีพเกษตรกรรมด้วยการปลูก มันสำปะหลังเป็นอาชีพหลัก เพราะมันสำปะหลัง เป็นพืชที่ทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี ไม่ต้อง เอาใจใส่ดูแลมากนัก ผลตอบแทนต่อไร่สูง และ มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าพืชอื่น ๆ หลายๆ ชนิด อีกทั้งแนวโน้มการตลาดมันสำปะหลังยังมีโอกาส ที่จะก้าวหน้าไปอีกไกล เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจ
ที่สำคัญอันดับหนึ่งของประเทศและจังหวัด และ ที่ ส ำคั ญ เป็ น พื ช ที่ ท นแล้ ง กว่ า พื ช เกษตรอื่ น ๆ
ประกอบกั บ ผมจบการศึ ก ษาสาขาพื ช ไร่ ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาก่อน จึงตัดสินใจ มาทำการเกษตรเน้นปลูกมันสำปะหลังร่วมกับ ครอบครัว เพราะผมมองว่าการปลูกมันสำปะหลัง ให้ได้ผลผลิตดี ราคาตลาดสูง มีตลาดรองรับ ตลอดฤดู ชนิดของมันสำปะหลัง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดหวาน เป็นมันสำปะหลังที่ใช้เพื่อการ บริโภค มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคต่ำ ไม่มีรส ขม สามารถใช้หัวสดทำอาหารได้โดยตรง เช่น นำไปนึ่ง เชื่อมหรือทอด ส่วนชนิดขม เป็นมัน สำปะหลังที่มีรสขม ไม่เหมาะสำหรับการบริโภค ของมนุษย์หรือใช้หัวสดเลี้ยงสัตว์โดยตรง เนื่อง จากมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูง มีความเป็น พิษต่อร่างกาย ต้องนำไปแปรรูปเป็นมันอัดเม็ด
หรือมันเส้นแล้วจึงนำไปเลี้ยงสัตว์ได้ สำหรับที่ไร่ผมจะปลูกทดลองสลับกันเพื่อ ศึกษาพันธุ์และหยั่งเชิงความต้องการของตลาด ควบคูก่ นั ไป โดยจะคัดเลือกใช้มนั สำปะหลังพันธุด์ ี ปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญ เติบโต เช่น พันธุ์ระยอง 1, ระยอง 3, ระยอง 5, ระยอง 60, ระยอง 90, เกษตรศาสตร์ 50 และ ศรีราชา 1 ซึ่งแต่ละพันธุ์มีลักษณะเด่นและด้อย ต่างกัน พันธุ์ที่กำลังนิยมอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 5 จะเห็นว่า พันธุ์มันสำปะหลังทั้ง 2 พันธุ์นี้ มีแนวโน้มขยาย พื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง เท่าที่ได้สังเกตดูในแปลง ปลูก โดยเฉพาะพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 จะให้ผล ผลิตสูงถึง 10 ตันต่อไร่และมีปริมาณแป้งประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพที่มีการปลูกและดูแล
ฉีดพ่นยากำจัดเพลี้ยแป้ง
รักษาอย่างดี ปัจจุบนั พืน้ ทีป่ ลูกมันสำปะหลังของผมปลูก กว่า 800 ไร่ แบ่งขุดขายทุกปีสลับกันไป ผลผลิต เฉลี่ยจะได้ประมาณไร่ละ 8-10 ตัน จะปลูกใน ลักษณะของการขุดหัวมันจำหน่ายและปลูกเพื่อ จำหน่ายพันธุ์มันสำปะหลังด้วย นอกจากนี้ยัง ได้ทำการทดลอง เพื่อการวิจัยร่วมกับทางมหา- วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอยู่ในช่วงระยะของ การบันทึกเก็บข้อมูล แต่ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่ม
เกษตรกรทั้งในชุมชนและนอกชุมชน ต่างก็มา สอบถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเรื่องพันธุ์มัน- สำปะหลังพันธุด์ ที เี่ หมาะสมกับพืน้ ทีอ่ ย่างต่อเนือ่ ง สำหรั บ การปฏิ บั ติ ดู แ ลรั ก ษาในแปลงที่ เคยได้ผลผลิตถึง 10 ตันต่อไร่ ซึ่งที่ดินแปลงนี้ มี ลักษณะของพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย ค่อนข้าง เป็นทรายขี้เป็ด พื้นที่เป็นที่ดอน ไม่มีการปลูกพืช หมุนเวียน สำหรับการปลูกมันของตนเองมีขั้น ตอนดังนี้ ขั้นที่ 1. การเตรียมดินปลูก ไม่มีการไถ ระเบิดดินดาน เนื่องจากเนื้อดินมีลักษณะเป็น ดินร่วนปนทราย การเกิดดานจะช้า การเตรียม ดินโดยใช้รถไถใหญ่ติดผาน 3 ไถหน้าดินให้ลึก เพื่อทำการพลิกดิน ทำให้อากาศถ่ายเทเข้าไป ได้ซึ่งจะส่งผลให้รากมันเจริญเติบโตได้ดี และ สามารถเก็บความชื้นไว้ในดินได้ดี จากนั้นก็ทำ การไถด้วยผาน 7 จะทำให้โครงสร้างดินละเอียด ขึ้น ทำให้เกิดการระบายน้ำ-อากาศได้ดี จากนั้น ก็จะทำการไถแปรด้วยรถไถใหญ่อีกครั้ง พร้อม ทำการยกร่องหากสภาพพื้นที่ส่วนใดมีการลาด เอียงก็ทำการยกร่องต่ำ และพื้นที่ราบก็ทำการ ยกร่องสูง จากประสบการณ์พบว่า หากมีการไถ เตรียมดินดีก็จะไม่มีวัชพืชขึ้น เพราะว่าต้นมัน สำปะหลังจะเจริญเติบโตได้ดีใบจะปกคุมร่อง ขั้นที่ 2. การเตรียมพันธุ์ปลูก ที่มาของ พันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูก นำมาจากแปลงทดลอง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มาทำการทด ลองอยู่ในพื้นที่นี้ ในแปลงนี้เลือกใช้พันธุ์ห้วยบง 60 เลือกใช้ท่อนพันธุ์สด สมบูรณ์ ไม่มีโรคและ
แมลงทำลาย ทำการตัดท่อนพันธุย์ าว 20-25 ซม. ทำการตัดตรงโดยการใช้เลื่อยวงเดือน ที่มีความ เร็วรอบ 1,450 รอบต่อวินาที ใช้มูเลขนาด 5 นิ้ว เป็นตัวฉุดและขนาด 2 นิ้วเป็นตัวตาม ซึ่งจะทำ ให้ท่อนพันธุ์ไม่บอบช้ำ ทำให้รากแตกได้ดี จาก นั้นทำการจุ่มท่อนพันธุ์ในน้ำยากระตุ้นการเกิด รากพวกเมททาลิ น แล้ ว นำมากองรวมกั น ใช้ กระสอบคลุมให้ท่อนพันธุ์มีความชื้น โดยบ่มทิ้ง ไว้ 2 วัน เพื่อกระตุ้นการเกิดราก ก่อนที่จะนำ ท่อนพันธุ์ไปปักลงแปลงปลูกที่เตรียมไว้แล้ว จะ ช่วยลดความเสีย่ งของท่อนพันธุห์ ากเจอกับสภาพ อากาศที่ไม่เหมาะสม ขัน้ ที่ 3. ระยะปลูกคือใช้ระยะห่างระหว่าง แถว 100 ซม. และระยะห่างระหว่างต้น 80 ซม. ในกรณีที่ใช้ระยะห่างนี้ก็เพื่อต้องการให้พื้นที่ขอบ ใบได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เกิดกระบวนการ สังเคราะห์แสง มีการสร้างแป้งสะสมไว้ทรี่ ากและ หัว สำหรับการปักท่อนพันธุ์ ปักลงดินลึก 1 ใน 4 ของท่อนพันธุ์ คือ 5 ซม. จะทำให้รากมีการ เจริญเติบโตได้ดี เพราะว่ามีอากาศถ่ายเทดีกว่า ปลู ก ลึ ก จะทำให้ ร ากเจริ ญ เติ บ โตช้ า เพราะมี ออกซิ เ จนน้ อ ยนั่ น เอง หลั ง ปลู ก ได้ 2 สั ป ดาห์ มั น สำปะหลั ง จะเริ่ ม แตกใบ ระหว่ า งนี้ ใ ห้ พ่ น น้ำยาปราบวัชพืชคลุมดินเพื่อป้องกันวัชพืชไม่ให้ รบกวนต้นมันที่กำลังแตกกิ่ง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ในปริมาณ 25 กก. /ไร่ สลับกับพ่นปุ๋ยทางใบโดย นำน้ำหมักขี้หมูผสมน้ำส่าเหล้า พ่น 15 วัน/ครัง้ หากไม่มีเพลี้ยแป้งรบกวน ไม่เกิน 7-8 เดือนก็ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว “เดี๋ ย วนี้ เ กษตรกรแทบทุ ก ภู มิ ภ าคนิ ย ม ปลูกมันสำปะหลัง นอกจากราคาสูง ได้ผลผลิต ทีแ่ น่นอนแล้ว ภาครัฐยังให้การสนับสนุนเกษตรกร
ท่านใดสนใจศึกษาการปลูกมันสำปะหลังสามารถ
มาศึกษาดูงานได้ ผมยินดี แต่ต้องติดต่อเข้ามา ที่เบอร์ 08-1674-0426 หรือ 0-5575-0046 เพื่อ
จะได้เตรียมสถานที่ให้สะดวกในการสอนเทคนิค และวิธีการปลูกมันสำปะหลัง” ก
เจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร สุ่มตรวจเพลี้ยแป้ง
คัดท่อนมันที่เหมาะสมเพื่อนำไปปลูก
เกษตรกรก้าวหน้า 19
์ ์ าน าน ปราชญชาวบ้ ปราชญชาวบ้
เรื่อง : owenpui ภาพ : น้องนิว
ปราชญชาวบ้าน ณ บ้านเขากลม สงวน มงคลศรีพันเลิศ
ยึดความถูกต้องก่อนถูกใจมาเป็นทีต่ งั้ นำเอาศาสนามาดำเนินการชีวติ คิดเผื่อแผ่และขยายผล เสียสละให้กับองค์กร ชุมชน ทั่วทั้งประเทศ ซึ่งเน้น การช่วยเหลือในด้านการให้ความรู้ ในรูปแบบของการเปลี่ยนความคิดก่อน วิธีทำ โดยเอาพื้นที่ที่ประกอบอาชีพเป็นห้องเรียนและเอาตัวเอง ครอบครัว เป็นครูนอกสถาบัน ในการให้ความรู้ เรียกว่า “ครูติดแผ่นดิน” ในช่วงของการดำเนินชีวติ ทีผ่ า่ นมาปราชญ์ สงวน มงคลศรีพันเลิศ เคยคิดอยากจะรวยจึงมุ่ง หน้าสู่การเป็นพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ใน จังหวัดสมุทรปราการ ไปเป็น “มนุษย์เงินเดือน” ตอนนั้นได้รับเงินเดือนประมาณ 28,000 บาท ปราชญ์สงวนมีความเห็นว่า “ถูกตีกรอบจนเกิน ไป จึงทำให้ชีวิตตีกรอบไปด้วย” เหตุผลคือเงิน เดือนและเงินในบัญชีไม่เหลือสักบาทในแต่ละ เดือน ปราชญ์สงวนจึงคิดถึงคำสอนของพ่อหลวง ซึ่งปราชญ์เรียกว่าพ่อ ด้วยคำสอนที่ให้ไว้ว่า “ให้ คิดถึงเรื่องกิน ก่อนเรื่องเงิน” และทำให้ตัดสินใจ เริ่มต้นการทำมาหากินแบบเกษตรกรบนพื้นที่ 8 ไร่ในจังหวัดกระบี่ การตั ด สิ น ใจกลั บ มาเริ่ ม ต้ น ชี วิ ต การ ทำเกษตรที่บ้านเกิดของภรรยาที่บ้านเขากลม ต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่ ในพื้นที่เกือบ 8 ไร่ เมื่อปี 2540 นั้น ปราชญ์สงวนได้ดำเนิน ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามกระแส พระราชดำรัสในพระบรมราโชวาทของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ทีไ่ ด้พระราชทานให้พสกนิกร ชาวไทย ซึ่งเน้นการพึ่งตนเอง เลือกมีกินก่อนมี เงิน โดยการประกอบอาชีพ ยึดความจริง, ความ
ปราชญ์สงวนสาธิตวิธีปลูกกล้วยแบบตีกลับ
20
เกษตรกรก้าวหน้า
เหมาะสม, ความรู้, ความไวและสถานที่ ในการ ประกอบอาชีพโดยการทำเกษตรแบบครบวงจร ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ให้ธรรมชาติเกื้อกูลกันเอง ที่สำคัญที่สุด ทุกกระบวนการของการทำการ เกษตรทีค่ รบวงจรสามารถกำหนดราคาเองได้ หลัง จากศึกษาและเรียนรู้เองจนตกผลึกทางความคิด ว่า เมื่อจะทำเกษตรแบบพอเพียงต้องสร้างโรงปุ๋ย ก่อน ประกอบกับพื้นที่เป็นสวนปาล์ม ทางปาล์ม มีเยอะก็ทำเป็นอาหารของวัว, แพะ (สัตว์ 4 กระ เพาะ) ครบวงจรโดยไม่ต้องกินหญ้า โดยใช้ทาง ปาล์มมาบดและหมัก เมื่อวัวและแพะถ่ายออก มา นำมูลของมันมาหมักในบ่อก๊าซชีวภาพ ใช้เป็น ก๊าซหุงต้ม ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซไปได้เยอะ ส่วนขี้วัวที่เหลือยังไปทำเป็นอาหารปลาและปุ๋ย หมักได้ โดยมีการคำนวณว่ามูลวัว 1 ตัวจะมี ปริมาณถึง 2 ตันต่อเดือน ทำให้ได้ก๊าซชีวภาพ 15-16 กิโลกรัมสำหรับใช้ในการปรุงอาหาร หลังจากทำก๊าซได้เพียงพอกับความต้อง การใช้แล้ว ขีว้ วั ขีไ้ ก่ทเี่ หลือเราก็นำมาทำปุย๋ หมัก เวลาหมักก็มีสูตรหมัก 2 ประเภทอีก คือ สูตร คนขยันและสูตรคนขี้เกียจ แบบขยันก็คือวิธีที่ทำ ทั่วไปเราไม่พูดถึง เราพูดถึงแบบขี้เกียจ คือ ใช้
ปราชญ์สงวน รับร
างวัลผู้ทำประโยชน
์เพื่อสังคม
ไก่มาเป็นตัวช่วยคลุกเคล้ามูลวัวกับส่วนผสมของ ปุ๋ยหมัก เพราะไก่จะทำงานวันละ 4 ชั่วโมง เช้า 2 ชั่ ว โมง เย็ น 2 ชั่ ว โมงไม่ มี วั น หยุ ด ราชการ ระหว่างคุ้ยเขี่ยหาอาหารไก่ขับถ่ายออกมา ปุ๋ย ชนิดนี้นำไปใช้ได้เลย เมื่อมีปุ๋ยแล้วก็ลงมือปลูกต้นไม้ ปลูกพืช แบบผสมผสาน ใช้ วิ ธี ป ลู ก ผั ก แบบไฮโซ เพื่ อ แสดงให้เห็นว่าคนไม่มีที่ดินก็ปลูกได้โดยการปลูก ผักบนที่สูง ใช้ยางรถยนต์เก่า ๆ มาเป็นกระถาง ไม่ว่าจะเป็นผักสลัด พริก มะเขือ ปลูกถั่วฝักยาว บนต้นกระถิน ป้องกันปลวกกิน ปลูกผักหลาย ชนิ ด สลั บ กั น เพื่ อ ป้ อ งกั น แมลง วิ ธี นี้ ไ ม่ ต้ อ งใช้ พื้นที่จำนวนมาก เมื่อมีผักแล้ว อาหารประเภท เนื้อสัตว์ก็สร้างกินเองได้ เขาเลือกที่จะขุดบ่อ เลี้ยงปลา นอกจากอาหารปลาจากมูลสัตว์แล้ว ใช้เปลือกผลไม้ที่หาได้ง่ายในสวนผลไม้ข้างบ้าน ทั้งเงาะ มังคุด ชมพู่ แม้กระทั่งเปลือกทุเรียนนำ มาใส่กากน้ำตาลหมักให้เปื่อยทิ้งไว้ 1 เดือน โยน ให้ปลากินได้ แต่ ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น สิ่ ง ที่ ท ำให้ ทุ ก คนที่ ม า เยือนเห็นแล้วต้องทึ่ง อึ้ง และบอกว่าคิดได้ไงเนี่ย คือวิธีการปลูกกล้วยแบบตีกลับที่แปลก แหวก แนว ด้วยการนำยอดกล้วยลงดินแทนวิธีเดิมๆ โดยการขุดหลุมให้พอๆ กับขนาดของหน่อ นำ หน่อชี้ฟ้าเอาส่วนต้นที่มีใบลงดินแล้วจึงกลบดิน ประมาณ 15 วันกล้วยจะแทงหน่อออกมา “มีคนพูดกับผมว่าคนทีเ่ ป็นปราชญ์สว่ น มากเป็นคนไม่ค่อยปกติ คิดอะไรไม่ค่อยเหมือน ชาวบ้านเค้า จริงแล้วผมก็คดิ ปกตินะ คิดพึง่ ตนเอง ไง มันเลยกลายเป็นว่าไม่คอ่ ยปกติ อย่างการปลูก กล้วยเอาปลายลง ไม่ใช่เรื่องไม่ปกติตรงไหนเลย เพราะถ้ า ปลู ก เอาโคนลงมั น จะได้ เ ครื อ หนึ่ ง ประมาณ 10 หวี แต่ถ้าปลูกเอาปลายลง ก็จะได้ 38-50 หวี เนือ้ ทีน่ อ้ ยปลูกทีเดียวได้ปลี ะอย่างน้อย
“การฝังลำต้นของต้นกล้วยลงไปใต้ดินในทิศตรงกันข้ามกับที่เคยปลูกกันอยู่ทั่วไป จะทำให้จุดเจริญส่วนยอดไม่ สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาการเป็นต้นได้ แต่จะทำให้ตาข้างทีอ่ ยูต่ ามซอกของกาบใบเจริญและพัฒนาเป็นต้นกล้วย ได้แทน จำนวนของต้นกล้วยหรือหน่อกล้วยที่จะเจริญมาใหม่จะมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของ หน่อที่ ใช้ปลูกและความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย” 10-12 เครือ แต่ถ้าปลูกเอาโคนลงมันได้ 3 เครือเท่านั้นเอง ซึ่งวิธีที่ผมคิด สามารถใช้ได้กับกล้วยทุกชนิด ทั้งนี้ ต้นกล้วยที่ได้จะมีความสูงไม่เกิน 1.50 เมตร และจะออก เครือเร็วกว่ากล้วยที่ปลูกด้วยวิธีการปกติคือการนำหน่อลงดิน และการปลูก ด้วยวิธีกลับหัวนี้ที่สำคัญขนาดของลูกกล้วยจะใหญ่ขึ้นกว่าปกติด้วย นอก จากนีแ้ ล้วผมยังเพิม่ มูลค่าของกล้วยด้วยการแต่งกลิน่ เข้าไป ทัง้ กล้วยรสทุเรียน รสสตรอว์เบอร์รี รสวานิลลา หรือรสสละ อยากได้กล้วยรสอะไรสามารถทำ ได้ตามใจชอบ ทำได้โดยพอตอนกล้วยออกปลีก็ไปเจาะหรือกรีดลำต้นเป็น รูปสามเหลีย่ มจนถึงไส้ทำให้เกิดแผล จากนัน้ นำหัวเชือ้ เข้มข้นและกลิน่ ต่างๆ ทีต่ อ้ งการ (สามารถหาซือ้ ได้ในท้องตลาดจำพวกเดียวกับทีใ่ ช้ทำกลิน่ ไอศกรีม) ตกขวดละ 10 กว่าบาท นำมาชุบสำลีแล้วยัดเข้าไปในไส้ต้นกล้วย จากนั้น ปิดไส้ต้นกล้วยให้เหมือนเดิม สัก 2 เดือนกล้วยก็สุกและจะได้กล้วยตามกลิ่น ที่ใส่เข้าไป วิธีการง่ายๆ แบบนี้ แต่สามารถเพิ่มมูลค่าจากเดิมขายกล้วยได้ หวีละ 10 บาท แต่พอแต่งกลิ่นและรสชาติพวกนี้แล้ว ขายดิบขายดีจนไม่พอ ขาย สามารถขายได้ถึงหวีละ 45 บาทเลยทีเดียว “ผมว่าทุกวันนีค้ นกลับบ้านไม่ถกู กัน ผมก็เลยมีโครงการกลับบ้านด่วน คือกลับมาอยู่กับความจริง เอาความจริงเป็นที่ตั้ง แล้วเอาความสุขเป็นตัว ชี้วัด ผมคิดค้นสูตรทั้งหมดเพื่อคนด้อยโอกาส คนที่ไม่มีที่ดินทำกิน และคน ขี้เกียจซึ่งก็ถือว่าด้อยโอกาสเหมือนกัน ผมได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าในหลวงท่าน ตรัสว่าให้พวกผมเป็นรถแบ็กโฮ ที่ล้วงจิตสำนึกของคนที่อยู่ลึกลงไปต้องรีบ ดึงขึน้ มา เพราะทุกวันนีผ้ คู้ นโดนปลูกและฝังไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยค่านิยมแบบ ผิดๆ มาตลอด ฉะนัน้ เราต้องทำความเข้าใจกันใหม่ให้คนในชุมชนกลับบ้าน เป็นทีต่ งั้ กลับมาหาความจริง คนทีบ่ อกว่าทำไม่ได้ ไม่มที ดี่ นิ ไม่เคยทำเกษตร
แนะนำการปลูกกล้วยแบบตีกลับ วิธีการทำ
1. เลือกหน่อกล้วยทีอ่ ยูห่ า่ งจากต้นใหญ่ (เพือ่ ให้ได้ เหง้าที่สมบูรณ์) หรือใช้ต้นกล้วยที่เก็บผลแล้วเป็นต้นพันธุ์ 2. ขุดต้นพันธุ์มาทั้งรากและเหง้า ระวังอย่าให้เป็น แผล 3. ตัดต้นพันธุโ์ ดยวัดจากเหง้าขึน้ มา ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร 4. ขุดหลุมลึกประมาณ 25 เซนติเมตร 5. ปลูกโดยฝังปลายต้นพันธุ์ลงในดิน
6. กลบดินแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 20 วัน ต้น กล้วยจะค่อย ๆ ทยอยกันงอกขึ้นมาประมาณ 3-4 ต้น ซึ่ง จะงอกเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความชื้นของดิน
เป็นแค่ข้ออ้าง คุณมีที่ดินแค่ 1 งานก็ทำได้แล้ว ผมเชื่อว่าจริง ๆ แล้วความ จนไม่มีหรอก ที่บอกว่าจนเพราะความไม่พอต่างหาก” ปัจจุบันมีการเปิดโรงเรียนชีวิตบนรากฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสถานที่พักอบรม ของหน่วยงานต่างๆ มีโรงอาหาร ที่พักพร้อม (พักตาม บ้านเรือน แบบ Home Stay) เพื่อให้ศึกษา วิถีชีวิตของคนพึ่งตนเองได้ใน พื้นที่ สนใจสอบถามได้ที่คุณสงวน 08-9590-6738 ก
ข้อดีของการปลูกพืชตีกลับ 1. วิธีการปลูกไม่ยุ่งยาก
2. ไม่ต้องใส่ปุ๋ยในการปลูกครั้งแรก เพราะต้นกล้วยจะกินอาหารจากต้นเดิม
3. ต้นใหม่ที่ได้จะเตี้ยกว่าเดิม แต่ให้ผลผลิตเร็วกว่าและมากกว่าเดิม
ข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการ 1. ปราชญ์คัดเลือกหน่อกล้วยที่อยู่ห่างจากต้นแม่ประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อนำไปปลูก
เพราะหน่อดังกล่าวจะมีความสมบูรณ์กว่าหน่อที่อยู่ใกล้ต้นแม่ เมื่อนำหน่อที่มีความสมบูรณ์มาปลูก แบบตีกลับ ก็จะได้หน่อใหม่ที่สมบูรณ์แข็งแรง 2. หลังจากการปลูกกล้วยแล้วไม่ต้องใส่ปุ๋ยใด ๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำให้จุด เจริญส่วนยอดหยุดเจริญเติบโต จนสังเกตเห็นว่า ส่วนบนสุดของโคนหน่อกล้วยที่ฝังไว้ยุบตัวลงจึง กระตุ้นการเจริญของตาข้าง ด้วยการใส่ปุ๋ยขี้แพะและปุ๋ยคอกลงไปโดยเฉพาะบริเวณส่วนที่ยุบหน่อ- กล้วยก็จะแตกหน่อประมาณ 3-4 หน่อต่อกอ จำนวนของหน่อใหม่ที่แตกออกมาจะมากหรือน้อยขึ้น อยู่กับความสมบูรณ์ของต้นเดิม เกษตรกรก้าวหน้า 21
่ ใหมไฟแรง ่ รุน
เรื่อง & ภาพ : มะแม
ความศรัทธาต่อแนวคิดของ “ในหลวง” ประกอบกับ การได้เรียนรูแ้ นวคิดด้านการเกษตรกับอาจารย์ยกั ษ์-วิวฒ ั น์ ศัลยกำธร ที่นำแนวคิด “เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืชด้วยวิธี เกษตรปลอดสารเคมี” พลิกฟื้นที่ดินทรุดโทรม ณ บ้านมาบเอื้อง ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัด ชลบุรี ให้กลายเป็นไร่เกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมีและมี ความอุดมสมบูรณ์ขนึ้ มาได้อย่างไม่นา่ เชือ่ และปัจจุบนั กลาย เป็นศูนย์ฝึกหลักของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบัน เศรษฐกิจพอเพียง ความคลางแคลงใจ ความสงสัยว่าจะทำ ได้จริงหรือ? ก่อนหน้านีข้ อง “โอ-อภิรตั สืบสงวน” นักธุรกิจหนุ่มซึ่งเรียนจบปริญญาโท ด้าน Con- struction Management จากรัฐมิซซูรี่ สหรัฐ- อเมริ ก า หายไปเป็ น ปลิ ด ทิ้ ง พร้ อ มเกิ ด แรง บันดาลใจ จนในทีส่ ดุ ต้องมาลงมือทำเกษตรอย่าง จริงจังในวันนี้ “ผมศรัทธาแนวคิดเรือ่ งเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว จนวันหนึ่งได้มารู้จักพี่ยักษ์ ซึง่ ท่านเป็นคนตัง้ มูลนิธกิ สิกรรมธรรมชาติ นำแนว คิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งกั บ เกษตรอิ น ทรี ย์ พึ่ ง พา ธรรมชาติและปลอดสารเคมีมาใช้ ผมได้เห็นได้ เรียนรู้จนความคลางแคลงใจต่าง ๆ กลายเป็น
ความเชือ่ ...เชือ่ ว่าบ้านเราเหมาะกับการทำเกษตร แล้วก็ต้องเป็นเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมีถึงจะดี ที่สดุ ครับ” เมือ่ เวลาลงตัวประจวบเหมาะ ไร่เกษตร- กรรมจำนวน 40 ไร่ ที่บ้านนาสร้าง จ.นครปฐม จึงค่อย ๆ เริม่ ปรับปรุงพืน้ ทีเ่ มือ่ ประมาณปี 2551 โดยวางแนวทางเอาไว้วา่ เป็นเกษตรอินทรียป์ ลอด สารพิษ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และกินทุก อย่างที่ปลูก...ปลูกทุกอย่างที่กิน “ก่อนหน้านี้ผมทำร้านทอง รู้สึกเลยว่า ชีวิตการทำธุรกิจเป็นวิถีชีวิตที่ไม่มีอิสระ อย่าง การเปิดร้านทองเวลาทั้งหมดอยู่ที่ร้านทอง จะ กระดิกไปไหนไม่ได้เลย เปิดขายทุกวันกลับบ้าน ดึกทุกวัน ซึง่ ผมมองว่านีเ่ ป็นชีวติ ทีน่ า่ เบือ่ มากจน กระทั่งหลุดจากชีวิตร้านทองมาทำอพาร์ตเมนท์ และโกดังให้เช่าจึงสามารถแบ่งเวลาที่เหลือให้ ตัวเองได้ทำสิ่งที่อยากทำมานาน นั่นคือการทำ เกษตร ผมไม่ได้แบ่งพืน้ ที่ 30 : 30 : 30 : 10 แบบ เป๊ะ ๆ นะครับ เพราะสภาพพืน้ ทีแ่ ต่ละทีไ่ ม่เหมือน กัน อย่างที่นี่มีแหล่งน้ำชลประทานที่พอเพียง ส่ ว นดิ น เป็ น ดิ น เหนี ย วบ้ า ง ดิ น ปนทรายบ้ า ง บางที่ ก็ เ ค็ ม จั ด เพราะฉะนั้ น เราต้ อ งทำความ เข้าใจและศึกษาข้อมูลดินของตัวเองให้ดีก่อน” ดังนั้นไร่ของคุณโอ จึงแบ่งพื้นที่ในการ ปลูกข้าว ประมาณ 15 ไร่ ขุดบ่อเลีย้ งปลา ทดลอง ปลูกพืชผักผลไม้ต่าง ๆ ทั้งล้มลุก ยืนต้น ใต้ดิน บนดิน ไม้เลี้อย ฯลฯ เช่น ถั่วฝักยาว บวบ ฟัก
ฟั ก ทอง มะเขื อ คะน้ า กวางตุ้ ง พริ ก ไพล กระชาย ขมิ้น ตะไคร้ โหระพา กะเพรา แมงลัก กล้ ว ย อ้ อ ย ผั ก หวาน แค ขี้ เ หล็ ก สบู่ ด ำ ไผ่ ขนุน มะม่วง มะนาว มะกรูด มะไฟ มะพร้าว เป็นต้น “ผมขุดบ่อไว้ภายในไร่หลายบ่อแล้วใส่ น้ำหมักชีวภาพลงไปด้วย น้ำหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักเศษพืช สัตว์ สมุนไพร ขยะ เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เรา ผลิตเองใช้เองและช่วยลดต้นทุนของเราได้มาก คือถ้าเราใช้สารเคมี มานั่งคิดตั้งแต่ต้นทุนการ ผลิต ผลผลิตที่ได้และราคา เทียบแล้วไม่คุ้ม ที่ สำคัญการใช้สารเคมีเป็นผลเสียกับวงจรชีวิตทุก ระบบ เพราะสารพิษนอกจากคั่งค้างในดินแล้ว คนบริโภคก็ยังได้รับสารพิษแบบไม่รู้ตัวอีก แต่ถ้า เราทำแบบเกษตรอินทรีย์ พอผลผลิตออกมาเรา จะรู้เลยว่าคุ้มค่ากว่ากันเยอะ ด้วยเราไม่มีต้นทุน เรื่องปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ยิ่งถ้าเป็นข้าว พอช่วงไหนราคาข้าวสูง ผมว่าชาวนารวยได้เลย ทีเดียวนะครับ อย่างข้าวในนาผมได้ผลผลิต 900
“เกษตรอินทรีย์”
ทำเร็วประสบผลสำเร็จก่อน อภิรัต สืบสงวน
กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ และเมื่อลองเทียบกับชาวนาที่ ใช้สารเคมี เขาจะได้ผลผลิต 600 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่เท่านั้น แถมต้นทุนยังสูงกว่าอีก นี่เป็นเรื่องจริง ที่ผมลองทำจริงมาแล้ว” การทำไร่เกษตรอินทรีย์มาเกือบ 2 ปี ทำ ให้เห็นทางที่ว่า ยิ่งใช้ความเป็นธรรมชาติมาก เท่าไหร่ ดินมีโอกาสที่จะอุดมสมบูรณ์มากขึ้นจน สามารถปลูกพืชผักอะไรก็ได้ โดยที่ต้นทุนในการ ผลิตลดลงอย่างมาก ก็จะมีความเป็นไปได้ “ผมเรียนรู้ว่ายิ่งเราใช้ยาฆ่าแมลงมาก เท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลเสียมากเท่านั้น เสียเพราะ สารเคมีเมื่อเรานำมาใช้เราก็ต้องใช้อยู่ร่ำไป แถม ยังต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นอันตราย ทั้งกับคนปลูก คนกิน และก็สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเรา เช่น นาข้าวถ้าใช้ปุ๋ยเคมี ต้นข้าวดูแล้วโต เร็วแต่แฝงด้วยความอ่อนแอ พอเจอเพลี้ยหรือ หนอนระบาด ต้นข้าวที่อ่อนแอก็จะโดนกินจน เหี้ยน ชาวนาก็เลยต้องฉีดยาฆ่าแมลงซึ่งอันตราย มากทั้งกับคนฉีดและคนที่กินข้าว นี่เป็นวงจร อุบาทว์ที่ไม่จบไม่สิ้น จริง ๆ แล้ว ต้นข้าวเป็น หญ้าชนิดหนึ่ง ขึ้นง่ายปลูกง่าย แค่เราต้องเข้าใจ ธรรมชาติของมัน แค่เราบำรุงดินให้ดี ทำให้ดิน
อุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ข้าวก็จะสมบูรณ์ได้ แล้ว อีกอย่างต้นข้าวจะสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง แข็งแกร่งได้เอง ดังนั้นถ้ามีการระบาดของเพลี้ย หรือหนอน ชาวนาก็จะไม่ได้รับผลกระทบเยอะ อาจจะมีบา้ งแต่ไม่มากมายซึง่ ก็เป็นเรือ่ งธรรมชาติ นีเ่ ป็นเรือ่ งจริงทีผ่ มสัมผัสเองลงมือเองมาแล้วครับ อีกอย่างการทำนาถ้าอยากลดต้นทุนใน การทำนา ผมแนะนำว่าฟางที่เหลือจากการทำ นาครั้งก่อนช่วยได้ อย่างของผมใช้ฟางมาคลุม แปลงผัก ปรากฏว่าฟางที่ใช้มีเมล็ดข้าวติดมา ดังนั้นในร่องผักที่ปลูกนอกจากมีผักแล้วยังมีต้น ข้าวขึน้ แซมมาด้วย ทีนผี้ มก็ถอนต้นกล้าทีแ่ ข็งแรง เหล่านี้มาดำในพื้นที่นา ทำให้ผมไม่มีต้นทุนเรื่อง ค่าเมล็ดพันธุ์ ยาฆ่าแมลงก็ไม่มี ปุ๋ยเคมีก็ไม่ใช้ เลยได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยจริง ๆ แต่ครั้งหน้า ผมกะว่าจะลองทำนาด้วยวิธีโยนกล้า เพราะเห็น บอกว่าวันหนึง่ คนคนเดียวโยนได้ตงั้ 5 ไร่ ไม่ตอ้ ง ดำนาซึ่งใช้แรงงานคนมากกว่า เท่ากับเป็นการ ลดต้นทุนลงไปอีก” การเปลี่ยนบทบาทจากนักธุรกิจสู่การทำ เกษตร ทำให้คุณโอเห็นถึงความแตกต่างในชีวิต ที่ ณ วันนี้ สามารถตอบตัวเองได้แล้ว ว่าแท้จริง
ชีวติ ต้องการอะไร ประกอบกับการยึดคำสอนของ ในหลวงเรื่อง “ความพอเพียง” ซึ่งบางคนอาจจะ มองว่าความพอเพียงคือ ต้องจนต้องมักน้อยและ เกิดขึ้นได้เฉพาะกับคนที่ทำอาชีพเกษตรเท่านั้น “ความพอเพียงไม่ใช่...พอ...เฉพาะคนที่ ทำเกษตรนะครับ ผมมองว่าทุกอาชีพสามารถ พอเพี ย งได้ อย่ า งคนรวยล้ น ฟ้ า เป็ น นั ก ธุ ร กิ จ คนอยู่ในเมือง คนอยู่ในชนบท ทุกคนพอเพียง ได้ เพราะความพออยู่ที่เราพอใจในระดับที่พอดี กับตัวเอง คนรวยก็พอได้ไม่ใช่ว่าต้องจนถึงเรียก ว่าพอ ผมว่าคนที่พอคือคนที่รู้จักแบ่งปัน เรารวย ได้แต่ต้องแบ่งปันถึงจะเรียกว่าพอ ไม่ใช่ฟุ้งเฟ้อ เกินตัว ผมว่ารวยแล้วใช้เงินเยอะไม่แปลก แต่จะ แปลกก็ต่อเมื่อมีน้อยแล้วใช้เยอะมากกว่า ผมทำ ธุรกิจถึงวันนี้รู้สึกว่าตัวเองพอแล้ว ถ้าจะต่อยอด ธุรกิจไปอีกก็ต่อได้ แต่ผมเลือกที่จะหยุด เพราะ ถ้าบุกไปเรื่อย ๆ แล้วชีวิตที่เหลือของผมมันคือ อะไรล่ะ? การหันมาทำเกษตรผมสบายใจ ทำให้มี เวลาให้ตัวเองได้ทำในสิ่งที่อยากทำ อาชีพเกษตร เป็นความมั่นคง จริง ๆ ผมมีข้าว มีผัก มีปลา ไม่มีความเดือดร้อนอะไร ในอนาคตไม่ว่าอะไร จะเกิดขึ้นผมก็ไม่ต้องกลัวเพราะเกษตรจะเลี้ยง ผมได้ อ ย่ า งแน่ น อน ยิ่ ง เมื อ งไทยเป็ น ดิ น แดน สุวรรณภูมิ ซึ่งเมืองนอกไม่ได้โชคดีเหมือนเรา เพราะสภาพอากาศของเขาไม่เอื้ออำนวยให้ทำ เกษตรอินทรีย์แบบเรา อย่างหน้าหนาวของเขา จะหนาวกว่าเรามาก จุลนิ ทรียไ์ ม่คอ่ ยอยากทำงาน เขาเลยต้องใช้ปยุ๋ เคมี แต่บา้ นเราเป็นเมืองร้อนชืน้ จุ ลิ น ทรี ย์ ใ นดิ น จะทำหน้ า ที่ อ ย่ า งขยั น ขั น แข็ ง ย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ย ให้กบั ต้นพืช เพราะฉะนัน้ ไม่มคี วามจำเป็นทีจ่ ะต้อง ใส่ปุ๋ยเคมีอีกเลย นี่คือความต่างระหว่างเกษตร เมืองหนาวกับเกษตรเมืองไทย ประเทศไทยเรา ถึงเหมาะกับการทำเกษตรมาก และก็น่าจะทำ เกษตรให้ประสบผลสำเร็จมากกว่าต่างประเทศ อีกด้วย เพราะฉะนั้นตอนนี้ผมกล้าบอกได้เลยว่า การทำเกษตรอินทรีย์ ใครเชื่อก่อนก็จะประสบ ผลสำเร็จก่อนอย่างแน่นอนครับ” ก
ตัวอย่าง การทำปุ๋ยอินทรีย์ “น้ำหมักหอยเชอรี่”
วัสดุอุปกรณ์ ถังพลาสติก 1 ใบ หอยเชอรี่ 3 กก. กากน้ำตาล 1 กก. น้ำสะอาด 10 ลิตร ขั้นตอนการหมักหอยเชอรี่ 1. นำหอยเชอรี่ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย-น้ำ คลุกเคล้าให้เข้ากัน 2. บรรจุในถังพลาสติกหรือโอ่งมังกร หาอิฐบล็อกทับบนหอย 3. ปิดฝาถังที่หมักให้สนิท หมักทิ้งไว้ 1 เดือน ก็จะได้ปริมาณน้ำหมักที่ ต้องการ 4. กรองเอาน้ำบรรจุใส่ขวดพลาสติกเก็บในที่ร่ม นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
เกษตรกรก้าวหน้า 23
ั ์ ปศุสตว
รายงานพิเศษ
เรื่อง & ภาพ : ศูนย์เรียนรูอ้ ำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรนิ ทร์
เลี้ยงไก่พื้นบ้าน เสริมรายได้
ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็น เพราะไก่พื้นบ้านมีรสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปาก ของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่าจะสามารถส่งเนื้อไก่ พื้นบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
ไก่พื้นบ้านปล่อยเลี้ยงได้ไม่เสียเวลาในการเลี้ยงดูมาก ส่วนมากจะกิน อาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้ไม่เหมือนไก่พันธุ์ ซึ่งทั้งไก่เนื้อและไก่ไข่จะต้อง เลีย้ งในโรงเรือนอย่างดีและมีอาหารผสมให้กนิ เต็มทีจ่ งึ จะได้ผลและต้องลงทุน มากด้วย นอกจากนีไ้ ก่พนื้ บ้านสามารถฟักไข่และเลีย้ งลูกเองได้ ในปีหนึง่ แม่ไก่จะไข่อย่างน้อย 3-4 รุ่น รุ่นหนึ่งจะฟักออกประมาณ 8-10 ตัว ตลอดทั้งปี แม่ไก่จะให้ลูกประมาณ 30-40 ตัว ถ้าเลี้ยงไว้ 3-4 แม่ เกษตรกรจะมีไก่กิน ตลอดปี เลีย้ งไก่พนื้ บ้านเป็นอาชีพขายได้ราคาดีทงั้ ตัวผูแ้ ละตัวเมียนอกจากเป็น ทีน่ ยิ มในประเทศแล้ว เดีย๋ วนีม้ กี ารสัง่ ซือ้ จากประเทศเพือ่ นบ้านเข้ามามากขึน้ ตลาดส่งออกทีส่ ำคัญได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สหรัฐอเมริกา ประเทศในแถบตะวันออกกลาง เพราะไก่พนื้ บ้านไทยมีรสชาติอร่อย เนือ้ แน่น และมีมันน้อย ทางเกษตรอำเภอและศูนย์การเรียนรู้ศีขรภูมิริเริ่มให้ชาวบ้าน หันมาเลี้ยงไก่พื้นบ้านในโรงเรือนเพื่อให้เลี้ยงได้ครั้งละมาก ๆ ตามความ ต้องการของตลาด โรงเรือนไก่สามารถทำเป็นเเบบง่าย ๆ ได้ โดยอาศัยวัสดุทมี่ ใี นท้องถิน่ เช่น ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้น ขนาดของโรงเรือนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่จะ เลี้ยง และขึ้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ใต้ถุนบ้านหรือบริเวณลานบ้าน เกษตรกร บางรายสร้างโรงเรือนดังกล่าวไว้สำหรับเลีย้ งไก่ แต่กม็ เี กษตรกรอีกจำนวนมาก ที่ยังเลี้ยงโดยการปล่อยให้ไก่เกาะคอนนอนตามใต้ถุนบ้าน หรือตามต้นไม้ ซึง่ การเลีย้ งเช่นนีท้ ำให้การดูแลรักษาทำได้ลำบาก ก่อให้เกิดความสูญเสียมาก พอสมควร ปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมักจะปล่อยให้ไก่หาอาหารกินเองตามมี ตามเกิด หรือตามธรรมชาติ โดยที่ผู้เลี้ยงอาจมีการให้อาหารเพิ่มเติมบ้างใน ช่วงตอนเช้าหรือตอนเย็น อาหารที่ให้ก็เป็นพวกข้าวเปลือก ปลายข้าวหรือ ข้าวโพด เป็นต้น จากสภาพการเลีย้ งดูแบบนีท้ ำให้ความสมบูรณ์ของไก่ผนั แปร ไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ คือ ในช่วงฤดูฝน ไก่จะมีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับทั้งเมล็ดวัชพืช หนอน และแมลงในปริมาณมาก ซึ่งอาหารทั้ง สองชนิดนีเ้ ป็นแหล่งของวิตามินและโปรตีนทีส่ ำคัญตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ใน ฤดูกาลนีม้ กี ารเจริญเติบโตและมีความแข็งแรงมากกว่าไก่ในฤดูอนื่ ๆ ส่วนใน ฤดูเก็บเกีย่ วและนวดข้าว ไก่กม็ โี อกาสทีจ่ ะได้รบั เศษอาหารทีต่ กหล่นมากทำให้ ไก่มีสภาพร่างกายอ้วนท้วนสมบูณ์พอสมควร ส่วนในฤดูแล้งมักจะประสบ ปัญหาไก่ขาดแคลนอาหารตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องน้ำ ซึ่งมักจะขาดอยู่เสมอ จำเป็นต้องเตรียมไว้ให้ไก่ด้วย การจำหน่ายไก่ กิโลกรัมละ 40-50 บาทขายออกแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ซึ่งถือว่ามีราคาดีพอสมควรเมื่อเกิดรายได้ขึ้นแล้วนำรายได้ไป เป็นทุนในการทำนาและเลี้ยงไก่ต่อไป หากมีการเลี้ยงที่ดี ดูแลที่ดี ไก่ไม่ตาย รายได้ก็มากขึ้นไปด้วย นอกจากนี้แล้วทุนที่เหลือจากการผลิตแล้วก็นำไปใช้ จ่ายในชีวติ ประจำวันของครอบครัวและฝากธนาคารไว้เป็นทุนสำรองต่อไป ก
แต่ปัญหาคือปริมาณไก่บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะ เกษตรกรส่วนมากประมาณร้อยละ 70-80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้าน แบบหลังบ้านประมาณ 10 -20 ตัวต่อครัวเรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยง แบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียพอสมควร แต่ถ้า เกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบโรงเรือนมาผสมผสานกับการ เลีย้ งแบบพืน้ บ้านและมีการปรับปรุงพันธุล์ กู ผสมระหว่างไก่บา้ นกับไก่พนั ธุแ์ ท้ แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้น อย่าง แน่นอน สุทนิ ทองขาว (ครูจอ่ ยนารุง่ ) หนึง่ ในเกษตรกรจากศูนย์เรียนรู้อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรนิ ทร์ทรี่ วมกลุม่ กันเลีย้ งไก่พนื้ บ้าน เป็นอาชีพเสริมจากการทำนาข้าวเล่าให้ฟัง ว่าเดิมทีเกษตรกรในหมู่บ้านจะทำนาข้าว เป็นหลัก แต่เพราะรายได้ไม่พออยู่พอกิน ประกอบกับค่าปุ๋ย ค่ายาฉีด ค่าแรงงาน และอืน่ ๆ สูงขึน้ อย่างน่าใจหายไม่คมุ้ ทุนและระยะเวลาว่างจากการทำนาไม่รู้ จะทำอะไร เห็นว่าเลีย้ งไก่บา้ นราคาดี มีตลาดรองรับทีแ่ น่นอน มีเจ้าหน้าทีจ่ าก ศูนย์การเรียนรู้ศีขรภูมิมาให้ความรู้ประกอบในการเลี้ยงไก่พื้นบ้านอย่าง สม่ำเสมอ จึงชักชวนกันรวม “กลุ่มนารุ่งก้าวไกล” ขึ้นเพื่อเลี้ยงไก่พื้นบ้าน เสริมรายได้ “การเลี้ยงไก่พื้นบ้านมีความแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง ของพันธุแ์ ละสายพันธุต์ ามสภาพท้องทีต่ า่ ง ๆ แต่อย่างไรก็ดมี กั จะมีวตั ถุประสงค์ การเลีย้ งทีเ่ หมือน ๆ กันคือ เลีย้ งเพือ่ เอาไข่และเนือ้ โดยปล่อยให้ไก่เหล่านัน้ หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ มีการเสริมอาหารให้บ้างเล็กน้อย ไก่พื้นบ้าน เหล่านี้มีสีต่าง ๆ กัน แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากและตลาดต้องการคือ ไก่ที่มี กลุ่มแม่บ้านทำปลาตะพากส้ม ผิวหนังสีเหลืองและขนสีดำ” ลุงสุทินเล่าให้ฟัง 24
เกษตรกรก้าวหน้า
ข้อควรระวังสำหรับการเลีย้ งไก่พนื้ บ้านควรมีการคัดเลือกลักษณะ ไก่ทดี่ เี อาไว้ทำพันธุ์ เพือ่ ทดแทนพ่อแม่พนั ธุร์ นุ่ แรก ๆ อยูต่ ลอดเวลาและ ที่สำคัญไม่ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ตัวหนึ่งตัวใดคุมฝูงนานเกินไป เนื่องจาก จะทำให้ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการผสมเลือดชืดมากขึ้น ซึ่งได้แก่ปัญหา อัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำ ปริมาณไข่ลดลงกว่าปกติและมีอตั ราการตาย ของลูกไก่สงู ขึน้ เป็นต้น ถ้าไก่พอ่ พันธุม์ จี ำนวนจำกัด อาจใช้วธิ แี ลกเปลีย่ น พ่อพันธุ์กับเพื่อนบ้านก็ได้
ข่าว รายงานพิ เศษ
เรื่อง & ภาพ : owenpui
“งานประชุมวิชาการและสืบสานตำนานไทย” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ พระราชดำเนินทรงเปิดการประชุมวิชาการไหมอาเซียน ครั้งที่ 2 และงาน “ตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไทย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2553” ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
“ประชุมการตรวจรับรองโรงงานแปรรูป”
สพ.ญ.ฉวีวรรณ วิริยะภาค รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ให้การต้อนรับและประชุมหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่กระทรวง เกษตร ป่าไม้และประมงญี่ปุ่น ที่เข้ามาตรวจรับรองโรง- งานเนื้อสัตว์ปรุงสุก จากไทยเพื่อพิจารณาให้การรับรอง โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ปรุงสุกส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ณ ห้องประชุม 1 ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์
“โครงการสมุดทะเบียนเกษตรกร”
นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการ- เกษตร เตรียมแผนจัดทำสมุดทะเบียน เกษตรกร นำร่อง ในพืน้ ที่ 6 ภาค 6 จังหวัด จังหวัดละ 10 อำเภอ รวมทัง้ สิน้ 6,000 หมู่บ้าน โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรสามารถนำข้อมูล ไปใช้วางแผนบริหารจัดการฟาร์ม พร้อมขอรับความช่วย เหลือจากภาครัฐในกรณีเกิดภัยพิบตั ิ อาทิ น้ำท่วม ดินถล่ม ภัยแล้ง โรคและแมลงศัตรูพืชระบาด รวมถึงการเข้าร่วม โครงการต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล
“นโยบายประกันราคาข้าว” บอร์ดคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) “ปุ๋ยตรามงกุฎ จัดแคมเปญแจกโชค” มีมติคงประกันรายได้ชาวนาปี 53/54 โดยข้าวเปลือกหอม “ปุ๋ยขยันตรามงกุฎ” ปุ๋ยปั้นเม็ดครบสูตร จัด มะลิ ตันละ 15,300 บาท รับประกันไม่เกิน 14 ตัน ข้าว- โปรโมชั่ น คื น กำไรให้ กั บ เกษตรกรไทยด้ ว ยแคมเปญ เปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน “ตรามงกุ ฎ สุ ด ยอดปุ๋ ย สุ ด ยอดโชค” ลุ้ น รั บ รางวั ล ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน มูลค่ารวมกว่า 1.5 ล้านบาท เพียงซื้อปุ๋ยตรามงกุฎสูตร ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน ใดก็ได้จำนวน 1 กระสอบ รับทันทีคูปองชิงโชค 1 ใบ ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน โดย เขียนชือ่ ทีอ่ ยูล่ งบนคูปอง แล้วส่งมาทีก่ ล่องรับชิน้ ส่วตาม กำหนดให้ใช้ราคานีเ้ ป็นเวลา 1 ปี จากเดิมทีค่ ณะอนุกรรมการ ร้านค้าที่ร่วมรายการทั่วประเทศ ลุ้นรับรถกระบะอีซูซุ 1 กขช. เสนอให้คงไว้ 3 ปี รางวัล, รถไถเดินตามคูโบต้า 2 รางวัล, รถมอเตอร์ไซค์ 5 รางวัล, และรางวัลอืน่ ๆ อีกมากมาย จับรางวัลลุน้ โชค ได้ถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกในวันที่ 30 ก.ค. 53 จับรางวัลครั้ง ที่ 2 ในวันที่ 1 ต.ค. และจับรางวัลครั้งที่ 3 ในวันที่ 5 พ.ย. สนใจร่วมส่งคูปองชิงโชคได้แล้วตั้งแต่วันนี้ถึง 15 ต.ค. 53 ยิ่งส่งยิ่งมีสิทธิ์ลุ้น
“อธิบดีกรมการค้า ประกาศลดราคาปุ๋ย”
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือลดราคาปุ๋ย ตามต้นทุนที่เป็นจริงแล้ว โดยปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 จะ ลดเหลือตันละ 11,000 บาท จากปัจจุบันที่ขาย 12,000 บาท สูตร 15-15-15 ลดเหลือ 14,000 บาท จาก 15,000- 16,000 บาท สูตร 21-0-0 เหลือตันละ 6,000 บาท จาก 6,500-7,000 บาท และสูตร 16-20-0 เหลือ 11,500 บาท จาก 14,000 บาท โดยราคานี้จะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. นี้ เป็นต้นไป
“CP ทุม่ ทุนนำอาหารไทยสูน่ ทิ รรศการระดับโลก” นายอูรบู นิ วิลสัน (Mr.Aurubind Wilsun) ผูช้ ว่ ย กรรมการผู้จัดการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (AVP Director of Culinary Development Executive Chef-CP FOOD) เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ใช้เงินลงทุน กว่า 40 ล้านบาท เปิด CP Food Pavilion (ซีพี ฟู้ด พา วิลเลี่ยน) โดยนำอาหารไทยและอาเซียนไปจำหน่ายแก่ ผู้เข้าชมงาน เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ อาหารภายใต้แบรนด์ CP ผ่านงานแสดงนิทรรศการ ระดับโลก-The World Exposition Shanghai China 2010 หรือ World Expo 2010 Shanghai China ที่จัด ขึน้ ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม-31 ตุลาคม 2553 ณ นคร เซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
“สวัสดิการกองทุนช่วยเหลือชาวนา” รัฐบาลตั้งกองทุนสวัสดิการช่วยชาวนา 17 ล้านคน เพื่อต้องการให้เป็นอาชีพที่มีศักดิ์ศรี ควรต้องได้สิทธิ ประโยชน์เท่าเทียม ป้องกันทายาททิ้งอาชีพเดิมเข้าโรงงาน แจงลักษณะคล้ายกองทุนประกันสังคม ทั้งเงินบำเหน็จ บำนาญ เงินสงเคราะห์บตุ ร โดยการเข้าเป็นสมาชิกแบบสมัครใจ เตรียมยกร่าง กม. เป็น พ.ร.บ. ตัง้ ตุก๊ ตาจ่าย 3% ของรายได้ รัฐสมทบ 2% ก เกษตรกรก้าวหน้า 25
ตลาดซื้อขาย เรื่อง : สมหวัง
สวัสดีแฟนๆ “ตลาดซื้อขาย” นิตยสารเกษตรกรก้าวหน้าทุกท่าน ตลาดซื้อขายของเราคึกคัก มากค่ะในช่วงนี้ มีหลากหลายผลผลิตทางการเกษตรที่แฟนๆ ตลาดซื้อขายส่งรายละเอียดข้อมูล สินค้าทางการเกษตรส่งเข้ามายังกองบรรณาธิการเพื่อลงตีพิมพ์ ขอบคุณค่ะ
ขายไก่งวง ไก่เบตง ไก่เก้าชัง่ ไก่ดำภูพาน อยู่ อ.เมือง จ.สงขลา ติดต่อคุณสุธรรม จันทรัตน์ การไฟฟ้าจังหวัดสงขลา โทร. 08-2435-4479, 0-7432-2790 ฟอร์ฟาร์ม จำหน่ายสุกรพันธุ์ (น้ำเชือ้ ) แลน- เรซ, ยอร์คเซียร์, เฟอร์ไลน์, ดูรอ๊ ค และลูกสุกรขุน สนใจติดต่อ 6 หมู่ 4 ต.ม่วงค่อม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี 15230 โทร. 08-1836-4241, 08-34319390, 08-5420-6605 ขายนกกระจอกเทศ อายุ 3 เดือน ราคาตัว ละ 6,000 บาท พร้อมบริการให้คำปรึกษา จัดส่ง และการจัดการฟาร์มต่าง ๆ ต้องการคอนแทรก ฟาร์มมิ่งจำนวนมาก เพื่อขยายการผลิตลูกนก กระจอกเทศ ติดต่อมณีรตั น์ โทร. 08-1817-1150 จำหน่ายอาหารกุง้ กุง้ กุลาดำ กุง้ ขาวแวนาไม กุ้งก้ามกร้าม อาหารปลาดุก อาหารปลากินพืช (เม็ดลอยเม็ดจม) เศษอาหารสำหรับเลีย้ งปลาเพือ่ ลดต้นทุนเพิ่มผลกำไร สนใจติดต่อได้ที่แอ๊ดบ้าน แพ้ว สมุทรสาคร โทร. 08-4070-8285 จำหน่าย กระชายดำ, กระชายหอม, พันธุ์ ขิง, ขมิ้นเหลือง, ขมิ้นขาว จากชาวเขาเผ่าม้ง ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ สนใจ สามารถติ ด ต่ อ สอบถามได้ ที่ 08-9206-6080 (คุณต๊ะ), 08-1044-2109 (คุณสมชาย)
ขายนกหงษ์หยก ลูกพันธุ์ผสมอังกฤษกับ ฮอลแลนด์ สีสันสวยงาม ตัวใหญ่ หลากหลาย สีสัน สนใจติดต่อเป็ดห่านบ้านพอเพียง คลอง17 อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา สนใจติดต่อ บังดีน 08-5011-0804, นิชม 08-7606-7944 เซ้ ง หรื อ ให้ เ ช่ า แผงขายต้ น ไม้ ใ นตลาด สนามหลวง 2 โซนต้นไม้ ซอย 5 มีประตูเปิด-ปิด น้ำประปา ไฟฟ้าเรียบร้อย พร้อมเข้าใช้ สนใจ ติดต่อได้ทนี่ นั ทพร โทร. 0-2980-1804 , 08-1484- 9927 ขายถ้วยรองน้ำยาง ขนาด 15 ออนซ์ ราคา 2.00 บาท/ถ้วย และขนาด 18 ออนซ์ ราคา 2.50 บาท/ถ้วย สนใจติดต่อ ธนเสฏฐ์ 08-1559-4902, สิตานัน 08-6880-7948, E-mail : cbt_thanasat@ hotmail.com E-mail : cbt_sitanun@hotmail. com จำหน่ายฟางอัดฟ่อน (ฟางอัดก้อน) เพื่อ นำไปเป็นอาหารสัตว์ เพาะเห็ด ใส่โคนต้นไม้หรือ คลุมหน้าดิน ทำปุ๋ยหมักเพื่อการเกษตร ทำบ้าน ฟางและอืน่ ๆ มีโกดังเก็บและมีจำหน่ายตลอดทัง้ ปี ราคาถูกขนาดกว้าง 40*40 ยาว 80 ซม. (เราใช้ เชือกป่านไม่ใช้ลวดเหล็ก) สนใจติดต่อ 08-4593- 1998 หรือ 08-3576-4431 หรือ E-mail : matan boon.j@hotmail.com
จำหน่ายกระบะเพาะต้นกล้าข้าว เสนอขาย ราคาถูก 1 ไร่ ใช้ 70-80 กระบะ กระบะละเกือบ 434 หลุม หลุมใส่เมล็ดกล้าข้าว 3-4 เมล็ด สนใจ ติดต่อสายชล โทร. 08-6366-9795
รับซื้อไม้ยูคาลิปตัส ขนาดไม้คัดรวมพิเศษ 1.5 (40%) & 2.5 (60%) นิว้ ความยาว 2-4 เมตร ส่งโรงงานที่บางปะกง ฉะเชิงเทรา รับไม่จำกัด ราคา 1,500 บาท สนใจติดต่อคุณน้ำ โทร. 086327-9353
ขายรำข้าวสาลี เกรด A สำหรับผสมอาหาร สัตว์ เลี้ยงหมู ไก่และวัว ส่งได้ทั้งกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด สั่งซื้อขั้นต่ำ 50 กระสอบ (1 คันรถ) ติดต่อคุณอานนท์ 08-6666-5571 หรือ E-mail : arnon-ngow@hotmail.com
จำหน่ า ยเป็ ด เทศ สายพั น ธุ์ ท่ า พระและ บาร์บารี่ (พัฒนาสายพันธุ์) มีทั้งลูกเป็ด เป็ดรุ่น พ่ อ พั น ธุ์ แม่ พั น ธุ์ จำนวนมากทั้ ง ปลี ก และส่ ง สนใจติดต่อ ส.สุนี ฟาร์ม อ.ทุ่งฝน จ.อุดรธานี โทร. 08-2211-8415, 08-6145-8815
กล้วยน้ำว้าพันธุเ์ กษตร และมะลิออ่ ง หน่อละ 25 บาท, กล้วยหอมทอง หน่อละ 25 บาท และ ต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอม ต้นละ 25บาท ติดต่อ สอบถามได้ที่คุณโก้ โทร. 08-5070-5405 ขายขี้เถ้าแกลบดำ ผสมเศษไม้ยูคาลิปตัส สับสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ย เพาะชำกล้าไม้ อุตสาหกรรมอิฐอัด อัดแท่งเป็นเชื้อเพลิง ส่งออก ฯลฯ ราคา 50 บาท/กิโลกรัม (ราคาไม่รวมขนส่ง) สนใจติดต่อคุณอัฑฒ์ มหาพล โทร. 08-4824 -1724 E-mail : utt87@hotmail.com รั บ ซื้ อ แป้ ง มั น สำปะหลั ง ตกเกรดทุ ก ชนิ ด รับซื้อไม่อั้น ให้ราคาดีที่สุด จ่ายเงินทันทีไม่ต้อง รอคิวนาน สนใจติดต่อคุณนนท์ โทร. 08-98881889 ต้องการขายกากผงชูรส เป็นเเป้งมัน 74.50 % เป็นของเหลือจากโรงงานผสมผลิตผงชูรส เหมาะ สำหรับเอาไปเป็นส่วนผสมผลิตอาหารสัตว์ของวัว หมู ปลา เเละอื่นๆ มีปริมาณมาก 100 ตันต่อ เดือนสนใจติดต่อทีค่ ณุ ทิพย์ โทร. 08-3989-9863, 08-6111-5288 ขายปลายข้าว รำข้าวจำนวนมาก ราคา กันเอง โรงงานอยูท่ สี่ พุ รรณบุรี ส่งทัว่ ประเทศราคา มิ ต รภาพ สนใจติ ด ต่ อ คุ ณ ธนาวุ ฒิ 08-6060- 6866 E-mail : j_workalways@hotmail.com รับซื้อกบเนื้อ จำนวนมากไม่อั้น ในพื้นที่ ภาคเหนือและภาคกลางโดยเฉพาะจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ พิจติ ร สนใจติดต่อ คุณต้น 08-9031-3150 E-mail : tonokiji@hotmail. com รับปรึกษา แก้ปญั หาเพลีย้ กระโดดในนาข้าว ฟรีทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สนใจติดต่อ อ.รักเกียรติ์ โทร. 08-4660-7711
ทางกองบรรณาธิการนิตยสารเกษตรกรก้าวหน้าขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้ง ที่ส่งรายละเอียดข้อมูลซื้อขายสินค้าเข้ามา ที่คอลัมน์ “ตลาดซื้อขาย” นะคะ ผู้อ่านท่านใดมีสินค้าทางการเกษตรและต้องการให้ทางกองบรรณาธิการ นิตยสารลงข้อมูลให้ กรุณาส่งจดหมาย หรืออีเมลล์ มาตามที่อยู่ด้านล่างนี้ค่ะ
26
บริษัท แม่บ้าน จำกัด 1651 หมู่บ้านทาวน์อินทาวน์ ซอย 9 ถนนศรีวรา แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 วงเล็บมุมซองว่า คอลัมน์ “ตลาดซื้อขาย” นิตยสารเกษตรกรก้าวหน้า หรือจะส่งมาที่ E-mail : tatsanee@maeban.co.th, kannika@maeban.co.th
เกษตรกรก้าวหน้า
OTOP
จักสานก้านมะพร้าว
เรื่อง : พี่เปี๊ยก
อัมพวา แม่กลอง
อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม รู้จักกันในนาม “แม่กลอง” ในรอบ ห้าปีที่ผ่านมา “อัมพวา” สมุทรสงครามคุ้นหูคนไทยมากขึ้น ยิ่งพูดถึง “ตลาด น้ำอัมพวา” แหล่งจำหน่ายผลผลิตทางเกษตรกรรมพืชผักผลไม้ อาหารทะเลสด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอื่น ๆ มากมาย ก็คุ้นเคยกันดี
“มะพร้าว” ในพื้นที่แม่กลองดูจะเป็นของคู่กันกับชาวสวนและชีวิตประจำวันตั้งแต่ ต้น ใบ ก้าน ผล ดอก เปลือก กะลา ทุกส่วนของมะพร้าวนำมาใช้บริโภคเป็นอาหารโดยตรง แปรรูปได้หลายอย่าง คุณอรพิน ประชานิยม อายุ 58 ปี ประธานกลุ่มจักสานก้านมะพร้าว บางช้าง อัมพวา จึงเห็นว่าฝาชี จักสานจากก้านมะพร้าววางขายอยู่ในตลาดเมืองแม่กลองขายเพียง 50 บาท จึงมีความสนใจเพราะ คุณอรพินเคยเห็นฝาชีแบบนีต้ งั้ แต่เด็ก ๆ เข้าใจว่าไม่นา่ จะมีแล้ว เมือ่ เห็นดังนัน้ ก็สนใจและพยายามสืบหา คนที่ทำฝาชีจากก้านมะพร้าวจนได้ความว่า ผู้จักสานฝาชีเป็นคนบ้านดาวโด่ง ต.ท่าคา อ.อัมพวา จาก นั้นจึงเชิญให้มาเป็นวิทยากรสอนสมาชิกกลุ่ม 15 คน ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้เจาะจงว่าจะมีผลิตภัณฑ์อะไร เพียงแต่รวมตัวกันจัดตัง้ กลุม่ แม่บา้ น และกำลังศึกษาว่าจะช่วยกันทำผลิตภัณฑ์อะไร เมือ่ อบรมการจักสาน ผลิตภัณฑ์จากงานจักสาน
กำลังขึ้นส่วนบนของโครงฝาชี
ชิ้นงานจากก้านมะพร้าวสมาชิกทำฝาชีได้ 2 คน สมาชิกก็ชว่ ยกันและเริม่ เข้าใจกระบวนการจักสาน ทั้งหมด จึงจัดตั้งกลุ่มเป็นทางการ ภายใต้การ แนะนำและบริหารจัดการจากพัฒนาชุมชน อำเภอ อัมพวา คุณอรพิน ประชานิยม เป็นประธานกลุม่ ตั้งแต่ปี 2544 และปี 2545 จึงได้ชื่อว่า “สินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” ในปี 2545 ทำการคัดสรรผลิตภัณฑ์จกั สาน ก้านมะพร้าวได้ 2 ดาว เนือ่ งจากยังขาดหลักเกณฑ์ บางประการและผลิตภัณฑ์ยังไม่เด่นเท่าที่ควร
สมาชิกกลุ่มจักสานมะพร้าว
จากนั้นสมาชิกได้เรียนรู้แบบการจักสานที่เกิด ลวดลายต่ า ง ๆ มากขี้ น อี ก ทั้ ง การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ในปี 2546 ทำการคัดสรรได้อีก 3 ดาว สมาชิกเริ่มมี ประสบการณ์ และขยายประเภทผลิตภัณฑ์มาก ขึน้ อีก ในปี 2548-2549 นำผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรรอีก คราวนีไ้ ด้ 4 ดาว หลังจากนัน้ ผลิตภัณฑ์ของกลุม่ ก็มีขึ้นมากมายตั้งแต่ ฝาชีขนาดต่างๆ กระจาด ตระกร้า โตก หมวก พาน ภาชนะใส่ขวดเครือ่ งดืม่ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้จากการศึกษารูปแบบจาก
คุณอรพิน ประชานิยม หัวหน้ากลุ่มจักสาน
ของเดิม ผสมผสานกับรูปแบบสมัยใหม่ อีกทัง้ ยัง ได้จากความต้องการของลูกค้าที่แนะนำให้กลุ่ม จักสานผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการ ด้านการบริหาร จัดการกลุ่มก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมการ พัฒนาชุมชน มีประธาน รองประธาน เหรัญญิก เลขานุการ ประชาสัมพันธ์และกรรมการกลางกลุม่ จะซื้อผลิตภัณฑ์จากสมาชิกตามราคาที่ตกลงกัน ด้วยความพอใจทั้งสองฝ่าย จากนั้นกลุ่มก็จะนำ ไปจำหน่ายยังสถานที่ต่าง ๆ ที่จัดแสดงสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตลาดน้ำอัมพวาและ จำหน่ายยังทีท่ ำการกลุม่ สมาชิกมีรายได้เดือนละ 2-3 พันบาทเป็นรายได้เสริมเพราะสมาชิกแต่ละ รายมีอาชีพหลักคือ ทำสวนผลไม้และค้าขายอยูแ่ ล้ว ทีท่ ำก็เพือ่ อนุรกั ษ์งานหัตถกรรมท้องถิน่ สมุทรสง- คราม และเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก วัสดุเหลือใช้ ปัจจุบันงานจักสานก้านมะพร้าว ของกลุ่มเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เป็นที่ศึกษาดู งานของนักเรียน นักศึกษาและกลุ่มแม่บ้านท้อง ถิน่ อืน่ ทัว่ ประเทศซึง่ เป็นความภาคภูมใิ จของกลุม่ และเหล่าสมาชิก จากแนวคิดทีจ่ ะอนุรกั ษ์งานศิลปหัตถกรรม จักสานจากก้านมะพร้าวจนเป็นที่มาของการรวม กลุม่ และนำผลงานออกมาเผยแพร่สามารถสร้าง งานสร้างเงินให้กบั ชาวบ้านทีเ่ ป็นสมาชิกจนกลายเป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้ และเป็นแบบอย่างให้กับ ชุมชนอืน่ นำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ให้กบั ชุมชน ที่รับผิดชอบ หวังว่ากลุ่มจักสานก้านมะพร้าว ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จะเจริญก้าวหน้าต่อไป กลุ่มจักสานก้านมะพร้าว บางช้าง 120/1 หมู่ 3 ต.บางช้าง อ.อัมพวา สมุทรสงคราม 75110 โทร. 08-5128-2618 ก เกษตรกรก้าวหน้า 27
ตอบปัญหาเกษตร
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
เปิดซองใหม่ ไขปัญหากับ “สาวเกษตร” สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านนิตยสารเกษตรกรก้าวหน้าทุกท่าน สาวเกษตรมา แล้ วค่ะ ก่อนอืน่ ต้องขอบพระคุณทุก ๆ คำถามทีส่ ง่ เข้ามาถามปัญหาเกษตร กับสาวเกษตรมากมายเสียจนต้องทยอยตอบคำถามเรียงลำดับก่อนหลัง กันเลยทีเดียวค่ะ เพือ่ ไม่ ให้เป็นการเสียเวลาเข้าเรือ่ งตอบคำถามเลยละกันนะคะ สวัสดีครับสาวเกษตร ผมมีข้อสงสัย 2 ประเด็นเกี่ยวกับ การทำนาข้าวมาถามสาวเกษตรครับ ประเด็นแรก ผมสงสัยว่าทำไมหลังจากตกกล้าข้าวแล้วพอ ข้าวงอกประมาณ 1-2 สัปดาห์ ใบข้าวจะมีสีขาวทั้งแปลง ไม่ทราบว่า เป็นเพราะเหตุใด และจะแก้ ไขอย่างไร ประเด็นที่สอง คือว่า มีหนอนและแมลงปีกแข็งระบาดในนา ข้าวควรทำอย่างไรดี จากการไปตรวจสอบแล้วพบว่า มีแมลงปีก แข็งคล้ายแมงกุดจีต่ วั เล็กกัดกินต้นข้าวในผิวดินในพืน้ ทีห่ ลายสิบไร่ อาการที่พบต้นข้าวมี ใบเหี่ยว ใบสีเหลือง เกิดในพื้นที่ ไม่มีนำท่วมขัง และมีหนอนคล้ายหนอนกระทู้ กัดกินใบข้าว ระบาดมากเหมือนกัน นอกจากกินใบข้าวแล้วใบหญ้าในบริเวณนั้นก็ ไม่เหลือเช่นกัน ช่วย บอกแนวทางแก้ ไขด้วย จะได้แนะนำเกษตรกรมือใหม่อย่างผมในการ ป้องกันกำจัดในเบื้องต้น ไม่อยากให้ถึงกับต้องเป็นพื้นที่ประสบภัย พิบัติครับ..จากหนุ่มร้อยเอ็ดชาวนามือใหม่ป้ายแดงครับผม
คำถามของคุณหนุม่ ร้อยเอ็ด นีเ้ ป็นข้อสงสัยทีส่ ง่ เข้ามาถามกันมาก เลยค่ะในช่วงนี้ หลังจากสาวเกษตรได้ไปค้นคว้าและถามผู้รู้มา ขอตอบเลย นะคะ ประเด็นแรก เหตุที่ใบข้าวมีสีขาวทั้งแปลงนั้น เพราะอาจจะเกิด จากหนอนห่อใบข้าวก็เป็นได้ เพราะหนอนชนิดนี้จะทำลายใบข้าว โดยแทะ ผิวข้าวส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้ใบข้าวเกิดเป็นแถบสีขาว ใบไม่สามารถปรุง อาหารได้ ทำให้ใบเป็นสีขาวแทนที่จะเป็นสีเขียว ส่วนวิธีการกำจัดแนะนำแบบชีวภาพ คือการใช้สมุนไพรหางไหลแดงผสมกับเหล้าขาวในอัตรา รากหางไหลแดง 1 ขีดต่อเหล้าขาว 70 ซีซี หมักไว้ 7 วันสามารถนำมาใช้ได้ วิธีการใช้คือ น้ำหมัก 20 ซีซีผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นในนาข้าวแล้วต้นกล้าจะค่อยๆ เป็นสีเขียวค่ะ ส่วนประเด็นที่สอง เรื่องแมลงปีกแข็งที่ระบาดอยู่นั้นน่าจะเป็น แมลงศัตรูข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่าแมลงหล่า การป้องกันกำจัดให้ใช้กับดักแสงไฟล่อ (เพราะเป็นแมลงที่ชอบ เล่นไฟ) หรือไม่กใ็ ช้สารเคมีตามคำแนะนำของเจ้าหน้าทีภ่ าครัฐใช้ในปริมาณ ที่ไม่มากจนเกินไปเพื่อป้องกันการไปทำลายต้นข้าวได้ ส่วนหนอนกระทู้กล้า ที่ระบาดถ้าในนามีน้ำอยู่ก็ไม่ต้องกลัว เดี๋ยวมันกินหมด (ส่วนที่พ้นระดับน้ำ) มันก็ลอยไปเองแล้วข้าวก็ขึ้นมาใหม่ถ้าระดับน้ำไม่สูงขึ้น แต่ถ้าไม่มีน้ำต้อง ใช้สารเคมีตามความเหมาะสมค่ะ ? ขี้ยอ ตามชายเล (จ.จันทบุรี) มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร บ้างครับ ช่วยเเนะนำข้อมูลให้หน่อยครับ..จากคุณณรงค์ จันทบุร ี
สำหรับปุ๋ยขี้ยอพบมากบริเวณป่าชายเลนจังหวัดจันทบุรีและตราด เป็นผลิตผลทางธรรมชาติอย่างแท้จริงระยะแรกชาวบ้านเรียกว่า “ขี้ยอ” เมื่อ 28
เกษตรกรก้าวหน้า
ชาวประมงนำขีย้ อไปถมทีป่ ลูกต้นไม้ ปรากฎว่าต้นไม้เจริญเติบโตให้ผลผลิตดี ต่อมาเมื่อเกษตรกรนำขี้ยอไปใช้แทนปุ๋ยอินทรีย์ ปรากฎว่าผักและผลไม้ ออกดอกออกผลดก รสชาติดี เพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรได้ ชาวบ้านจึง เรียกว่า “ปุ๋ยขี้ยอ” ประโยชน์ ปุ๋ยขี้ยอเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีแร่ธาตุทาง ทะเล โดยเฉพาะแคลเซียมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชหลายชนิดสูงมากความ เค็มมีเพียงเล็กน้อยเมื่อรดน้ำก็เจือจางไม่เป็นอันตรายต่อพืช ขณะนี้ ปุ๋ยขี้ยอ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ของชาวสวนผลไม้และสวนปาล์มจันทบุรีและ ตราด ใช้แล้วทำให้ดินร่วนซุย ใช้ในแปลงนาข้าวจะทำให้ไถพรวนง่าย หาก ได้ใช้อย่างต่อเนื่องจะทำให้โครงสร้างดินสมบูรณ์และปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี จะลดลง สามารถลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้อย่างดี วิธีใช้ สามารถใช้ปุ๋ยขี้ยอได้เช่นเดียวกับปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยคอก ทั่วไป จะนำไปใส่รองก้นหลุมเพื่อเตรียมแปลงเพาะก่อนทำการปลูกหรือนำ ไปคลุกเคล้ากับดินขณะไถพรวนแปลงนาหรือสวน หรือใส่บริเวณรอบโคน ต้นไม้ก็ได้ ปุ๋ยขี้ยอเหมาะมากสำหรับพืชอายุสั้นและพืชตระกูลผัก แต่ต้อง ใช้ในระยะเริ่มแรก ปริมาณการใช้ปุ๋ยขี้ยอขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของสภาพ ดินหรือแปลงนาแต่ละพื้นที่ หากพื้นที่ใดใส่ปุ๋ยเคมีมานาน สภาพดินจะแข็ง อินทรียธ์ าตุธรรมชาติมนี อ้ ย ควรใส่ปยุ๋ ขีย้ อในปริมาณมากเพือ่ เพิม่ อินทรียธ์ าตุ ให้มากขึ้น ?
มีวิธีทราบได้อย่างไรว่า ส้มโอที่เราปลูกไว้ สุกแล้วหรือยัง ครับ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ…เล็กหาดใหญ่
สาวเกษตรขอตอบเลยนะคะว่าส้มโอแทบทุกสายพันธุ์ ผลที่แก่ พร้อมเก็บเกีย่ วได้ให้สงั เกตทีต่ อ่ มน้ำมันทีผ่ วิ เปลือกจะห่างกันมากกว่าผลอ่อน และจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นับจากเริ่มออกดอกไปเป็นเวลา 8 เดือน คือจะ อยูใ่ นระหว่างเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน ยกเว้นพันธุข์ าวทองดี จะเก็บ ผลผลิตได้ในเดือนกันยายน-ตุลาคมค่ะ สุดท้ายนี้สาวเกษตรต้องขอขอบพระคุณทุกคำถามที่ส่งเข้ามานะ คะ เพราะทุกคำถามที่ส่งเข้ามาคือกำลังใจและแรงใจที่ทำให้สาวเกษตร ทราบว่าพี่น้องชาวเกษตรติดตามอ่านนิตยสารเกษตรกรก้าวหน้าค่ะ หาก คำถามของท่านใดตอบล่าช้าหรือยังไม่ได้ตอบสาวเกษตรก็ต้องขออภัยด้วย หรือท่านใดมีปัญหาข้องใจ ให้ส่งจดหมาย หรืออีเมลล์มาตามที่อยู่ด้านล่าง นี้ค่ะ ก
บริษัท แม่บ้าน จำกัด 1651 หมู่บ้าน ทาวน์อินทาวน์ ซอย 9 ถนนศรีวรา แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 วงเล็บมุมซองว่า สาวเกษตรไขปัญหา หรือจะส่งมาที่ E-mail : agri-mag@maeban.co.th, tatsanee@ maeban.co.th, kannika@maeban.co.th
ดวงชะตา รายงานพิ เศษ
เรื่อง : ภิญโญ พงศ์เจริญ นายกสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ
ราศีเมษ (13 เมษายน-14 พฤษภาคม) การงาน ได้รับมอบหมายให้วิ่งเต้นติดต่อเจรจาประสานงาน
ARIES
ราศีพฤษภ (15 พฤษภาคม-14 มิถุนายน) การงาน จะมีศัตรูเงียบที่พยายามทำเพื่อให้เกิดความเสียหาย
แต่ต้องระมัดระวังอารมณ์ของตนไว้ให้ดี จะทำให้มีผลงานดีขึ้น การเงิน ระวังเรื่องการใช้เงินและการลงทุนให้ดี ระวังการถูก หลอกลวง ควรใจเย็นรอจังหวะที่ดีสักระยะหนึ่งถ้าจะทำอะไร ความรัก ได้ของมีค่าจากเพศตรงข้าม ความรักจะมีการช่วย เหลือซึง่ กันและกัน มีผลประโยชน์รว่ มกัน ทำให้มหี ลักฐานมัน่ คง ยิ่งขึ้น มีโอกาสได้ร่วมเดินทางไกลไปกับคนรัก
TAURAS
ราศีเมถุน (15 มิถุนายน-15 กรกฎาคม) การงาน มีโอกาสได้หุ้นส่วนที่ดีได้ใช้ความรู้ ความสามารถ
ราศีกรกฎ (16 กรกฎาคม-16 สิงหาคม) การงาน จะมีคู่แข่งที่เป็นคนใกล้ชิด แต่ความดีทำให้ประสบ
อย่างเต็มที่ จะทำการสิ่งใดไม่ควรผลีผลาม
การเงิน โชคดีมีรายได้เพิ่มขึ้น มีโอกาสก็ควรช่วยเหลือบุคคล
GEMINI
LEO
CANCER
ไม่ทัน เป็นที่ไว้วางใจของผู้ใหญ่และเพื่อนร่วมงาน การเงิน มีเงินผ่านมือเข้ามามาก ถึงแม้จะหาเงินได้เก่ง แต่ก็มี รายจ่ายมากเป็นเงาตามตัว ความรัก อย่าไปคาดหวังหรือยึดมั่นจริงจังให้มากนัก ควรยับยั้ง ชั่งใจให้ดี เพราะมักจะมีเรื่องวุ่นวายในเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ อยู่ เสมอ
ราศีตุล (17 ตุลาคม-15 พฤศจิกายน) การงาน คู่แข่งขอคืนดี แต่ท่านควรฟังหูไว้หู และไม่ควรไว้
LIBRA
ความสำเร็จในชีวิตการงาน
การเงิน มีรายจ่ายเป็นกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ มีการซื้อ
อื่นบ้าง การค้ำประกันบุคคลหรือทรัพย์สินควรหลีกเลี่ยงหรือ ปฏิเสธเสียเลยจะดีกว่า ความรัก เพศตรงข้ามเข้ามาคบหาสมาคมด้วย มีโอกาสเดิน ทางร่วมกันนอกสถานทีห่ ลายครัง้ ทำให้เข้าใจกันดีขนึ้ เป็นโอกาส ทีด่ ที จี่ ะได้ประกาศความสัมพันธ์กนั นำคนรักไปเปิดเผยในสังคม คนที่มีครอบครัวแล้วก็สามารถครองรักกันได้ด้วยดี
ราศีสิงห์ (17 สิงหาคม-16 กันยายน) การงาน มีงานใหม่ ๆ เข้ามาให้ท่านทำมากมายจนทำแทบ
วางใจมากจนเกินไป รู้เขารู้เราไว้เป็นดีที่สุด การเงิน ทรัพย์สินเงินทองที่ผู้อื่นหยิบยืมไปแล้วยังไม่ได้คืนจะได้ กลับคืน และถูกใช้ไปเกี่ยวกับการรักษาหน้าตาในสังคม ความรัก ได้พบกับคนรักที่ถูกใจ ความรักกำลังสดชื่น คนรัก ของท่านจะเอาอกเอาใจท่านมากเป็นพิเศษและมีโอกาสดีได้อยู่ เป็นส่วนตัวกับคนรักมากกว่าช่วงใด ๆ
VIRGO
ผิดชอบสูง มีโอกาสได้เดินทางเพราะตำแหน่งหน้าทีก่ ารงาน การเงิน หากมีปัญหาด้านนี้ท่านจะสามารถเอาตัวรอดได้ด้วย ตนเองในทุกสถานการณ์ ความรัก สามารถตัดสินใจได้เกี่ยวกับเรื่องคนรัก คนที่ยังไม่ พบรักก็จะได้พบรักที่ผูกพันอันลึกซึ้ง พยายามเข้าใจคนรักอยู่ เสมอ มีความซือ่ สัตย์จงรักภักดี มีโอกาสได้ชว่ ยเหลือซึง่ กันและกัน ควรลดอาการจู้จี้ขี้บ่นลงไปบ้าง ก็จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
ราศีพิจิก (16 พฤศจิกายน-15 ธันวาคม) การงาน เจรจาติดต่อทางธุรกิจกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี มีเพื่อนร่วม งานคนใหม่ ระวังจะเกิดศัตรูจากสาเหตุเล็กน้อย
การเงิน การเงินของท่านจะดีขนึ้ ไปพร้อม ๆ กับตำแหน่งหน้าที ่ การงานที่สูงขึ้นด้วย
ความรัก แอบแฝงด้วยผลประโยชน์และความลุ่มหลง รักใหม่ที่
เกิดขึ้นถึงแม้จะเป็นรักที่ลึกซึ้ง จริงจัง มีความซื่อสัตย์และจงรัก ภักดีสักปานใด ก็หนีไม่พ้นอุปสรรค จึงควรมีความยับยั้งชั่งใจ SCORPIO เลือกสรรแต่ในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม มีปัญหาอะไรก็ควรแก้ไขให้ กระจ่างเสียแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะเข้าใจผิดมากจนเกินไป
ราศีมังกร (15 มกราคม-12 กุมภาพันธ์) การงาน แม้จะมีอปุ สรรคอยูบ่ า้ งแต่ดว้ ยแผนงานทีด่ แี ละมีบริวาร
ราศีธนู (16 ธันวาคม-14 มกราคม) การงาน จะได้เพือ่ นหรือหุน้ ส่วนทีถ่ กู ใจไว้คอยให้คำปรึกษาหารือ
SAGITTA RIUS
หาทรัพย์สินเข้าบ้าน มีรายได้พิเศษหรือได้เงินคืน ความรัก คนรักมีการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทำให้รู้ถึงคุณค่า ของความรัก เป็นความรักทีด่ แี ละมีความมัน่ คง จึงควรเอาใจเขา มาใส่ใจเราและยับยั้งชั่งใจให้ด ี
ราศีกันย์ (17 กันยายน-16 ตุลาคม) การงาน การทำงานต้องใช้ความละเอียดรอบคอบและความรับ
ในการทำงาน ควรหาเวลาว่างไปศึกษาหาความรูแ้ ละประสบการณ์ เพิ่มเติมบ้าง การเงิน การเงินยังคงแปรปรวน หามาได้มากก็ใช้ไปมาก จึง ควรมีความระมัดระวังการใช้จ่ายให้ดี ความรัก จะพบคนรักที่สวยงาม ตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา จากการ ที่มีคนมาสนใจหลายคนและเป็นคนหวั่นไหวได้ง่าย จึงทำให้ถูก คนรักต้องคุมเข้มจนหมดความสุข
แต่เมื่ออุปสรรคผ่านไปการงานของท่านก็จะสดใสขึ้น การเงิน หากมีหนี้สินอยู่บ้าง ควรชำระหนี้โดยเร็ว ทรัพย์สินที่ คิดว่าสูญเสียไปแล้วก็จะได้คืน ความรัก คนรักสามารถพึง่ พาอาศัยได้ มีความใกล้ชดิ สนิทสนม และเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
ให้การสนับสนุน ทำให้ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
การเงิน รายจ่ายเกี่ยวกับบุตรหลานบริวารจะลดลง มีโอกาสได้ ซื้อหรือจัดหาทรัพย์สินชิ้นใหม่
ความรัก พบรักที่แปลกใหม่ และต่างกันในหลาย ๆ ด้าน เป็น
่มีความมั่นคงจริงใจ รักเดียวใจเดียว คนรักที่ทำผิดก็จะได้ CAPRICORN CAPRICORN รัรับกทีการให้ อภัย สำหรับท่านที่มีคู่แล้วจะมีลาภและจะถูกทวงสิทธิ์ ตามกฏหมายบางข้อจากคู่ครอง
ราศีกุมภ์ (13 กุมภาพันธ์-14 มีนาคม) การงาน มีโอกาสได้ศึกษาวิชาการที่แปลกใหม่ งานที่ทำต้องใช้
จินตนาการและการวิเคราะห์เป็นสำคัญ การเงิน ผลงานที่ทำไว้ทำให้มีเงินทองมากขึ้น บัญชีการเงิน เดินสะพัดดี แต่ควรระมัดระวังการใช้จ่ายให้ดี เพราะอาจจะเสีย เงินโดยไม่จำเป็น AQUARIUS ความรัก ข่าวลือเรื่องรักวุ่น ๆ จางหายไป ความคลางแคลงใจ ถูกขจัดออกไปจนหมดสิ้น ความรักสดชื่นแจ่มใสดี เนื่องจากเป็น คนรักอิสระ จึงไม่ค่อยจะหึงหวงหรือวิ่งตามตื้อใคร
ราศีมีน (15 มีนาคม-12 เมษายน) การงาน ควรระมัดระวังเรื่องการคบเพื่อน เพราะอาจถูกหลอก
PISCES
ลวงทำให้เกิดอุบัติเหตุและปัญหากับเพื่อนร่วมงานได้ง่าย การเงิน ผู้ใหญ่จะมอบสิ่งของสำคัญให้ท่านครอบครอง จะได้ กรรมสิทธิใ์ นอสังหาริมทรัพย์ หากมีคดีเกีย่ วกับทรัพย์กจ็ ะชนะคดี ความรัก มีเพื่อนต่างเพศเข้ามาสนใจ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องตัด สินใจเรื่องความรัก และท่านก็สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง มีโอกาสได้พบรักอีก ในขณะที่จิตใจยังสับสนระหว่างคนสองคน เกษตรกรก้าวหน้า 29