WATKET BOOK FINAL

Page 1



อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 1



ค�ำนิยม “ การท�ำงานต่างต้องเผชิญกับปัญหาที่ต้องฝ่าฟันให้ได้ในทุกขณะ ” การจัดงาน อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน ย่านวัดเกตฯ เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากการที่ นักศึกษาได้รับฟัง และเข้าใจถึงกระบวนการท�ำงานของกลุ่มคนตัวเล็กกับการอนุรักษ์ (The Little People) ที่เป็นการท�ำงานเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดสิ่งดีงามและวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขต ย่าน ต่าง ๆ โดยรอบเมืองเชียงใหม่ สะท้อนผ่านการท�ำงานต่าง ๆ ของชุมชน นักศึกษารุ่นที่ 7 หลักสูตร การจัดการศิลปะและวัฒนธรรมนี้ ต่างมาจากหลายที่หากแต่ทุกคนตระหนักดีถึงคุณค่าที่แฝงอยู่ใน ทุกลมหายใจของผู้คนในชุมชน จึงตกลงเห็นพ้องที่จะท�ำงานร่วมกันกับชุมชน โดยเริ่มจากได้เห็น ความงดงามของงานสถาปั ต ยกรรม ศิ ล ปกรรมประดั บตกแต่ ง อาคาร และศาสนสถานในย่านวัด เกตการามแห่งนี้ ที่รวบรวมและเป็นหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ เนื่องจาก ย่านนี้มีประวัติความเป็นมายาวนาน มรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย อาทิ ศิลปะจีน ศิลปะตะวัน ตก และศิลปะล้านนา รวมถึงพิพิธภัณฑ์วัดเกตการามอีกด้วย เพื่ อ พลิ ก ฟื ้ น สิ่ ง ที่ เป็ น องค์ ค วามรู ้ ของชุมชน และเกิดความตระหนัก ความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของในมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ท�ำให้คณะนักศึกษาได้รู้ถึงความตั้งใจของชุมชนที่ต้องการจะพัฒนาให้เกิดสิ่งดีงามขึ้น เพื่อบ่งบอกตัว ตนแก่สังคมภายนอก ได้รับรู้และเป็นแรงกระตุ้นอีกทางหนึ่งในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมต่อไป

รศ. ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ประธานหลักสูตรการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกลุ่มคนตัวเล็กกับการอนุรักษ์



สารบัญ วัดเกตการาม .......................................................................... 3 พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม ........................................................... 5 ผ้าปักพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ............................................... 7 หลากเชื้อชาติ หลายศาสนา สู่เส้นทางการค้าย่านวัดเกตฯ .............11 มองวิถี ผ่านศิลปะสถาปัตยกรรม ย่านวัดเกตฯ ............................. 13


อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 2


อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 3

วัดเกตการาม วัดเกตการาม เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1971 ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน ณ บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำปิง โดยถือเป็นย่าน เศรษฐกิจของการค้าขายทางน�้ำกับหัวเมืองทางใต้จนถึงกรุงเทพฯ มาตั้งแต่อดีตทุก บ้านที่ท�ำการค้าจะมีท่าเรือเป็นของตนเอง ใช้เรือหางแมงป่อง (หรือเรือสะดอ เรือสีดอ เรือแม่ปะ) เป็นพาหนะขึ้นล่องตามล�ำน�้ำปิงความเจริญรุ่งเรืองของย่านวัดเกตเริ่ม ซบเซาลง นั บ ตั้ ง แต่ ก บฏพระยาปราบสงคราม (พญาผาบ) พ.ศ. 2432 เนื่องจากคน ไทยภาคกลางขึ้นมาข่มเหง และถูกคนจีนที่เป็นนายอากรเก็ บภาษี ต ้ นหมากต้ น พลู ก่อให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พญาผาบจึงได้รวบรวมผู้คนก่อการกบฏขึ้น และคิดฆ่า คนจีนที่ วัดเกตให้หมด คนจีนและลูกหลานคนจีนเกิดความเกรงกลัว พากันลี้ภัยข้าม ไปอยู่ฝั่งตะวันตก คงเหลือแต่เพียงครอบครัวนายหน้อย แซ่แต่เท่านั้นที่ยังอยู่ เพราะ เคยช่วยเหลือรับซื้อครั่งจากพญาผาบและชาวบ้านอ�ำเภอสันทราย จึงมีความรักใคร่ ชอบพอกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 มีการสร้างทางรถไฟมาถึงเชียงใหม่ และเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2477 มี อ ากาศยานมาลงที่ ส นามบิ น เชี ย งใหม่ เ ป็ น ครั้ ง แรก การ คมนาคมทางน�้ำถูกลดบทบาทลง เนื่องจากมีความยากล�ำบากกว่า ทั้งยังกินเวลาและ เสี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยสู ง ย่านวัดเกตจึงลดบทบาททางการค้ากลายเป็นย่านที่อยู่อาศัยเพียง อย่างเดียว คนที่อยู่ในย่านนี้ส่วนใหญ่ก็คือลูกหลาน


ปัจจุบันย่านวัดเกตเป็นทั้ง ย่ า นที่ อ ยู ่ อ าศั ย และย่ า นท่ อ งเที่ ย ว ทางวั ฒ นธรรมของเมื อ งเชี ย งใหม่ เพราะยั ง คงหลงเหลื อ มรดกทาง วัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้อง ไม่ได้ ด้วยการที่อยู่ริมน�้ำและเป็นย่าน การค้าจึงมีผู้คน จากต่างถิ่น ต่างเชื้อ ชาติ และเป็นที่รวมของผู้นับถือศาสนา ที่ ห ลากหลาย เข้ า มาอยู ่ อ าศั ย ตั้ ง ถิ่นฐานร่วมกันกับคนล้านนา จนได้มีการพัฒนา และสร้างรูปแบบของสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง อาคารบ้ า นเรื อ นที่ ท รงคุ ณ ค่ า มี ก ารผสมกลมกลื น ระหว่ า งของเดิ ม และของใหม่ ที่ ทั น สมั ย ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ และอาหาร ที่หลาก หลายเชื้อชาติ ศาสนา ทั้งหมดเกิดความสัมพันธ์ที่หล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวของคนใน ย่านวัดเกต ไม่ ว ่ า จะมาจากเชื้ อ ชาติ ศ าสนาใด แต่เมื่อมาอยู่รวมกันถือว่าได้ถูกหล่อ หลอมเป็นคนวัดเกต (วรวิมล ชัยรัต, 2549)

อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 4


อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 5

พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม ย่านวัดเกตการาม มีสิ่งของที่ ควรได้รับการอนุรักษ์จ�ำนวนมาก ชาวบ้าน จึ ง ได้ มี ก ารจั ด ตั้ ง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วั ด เกตการาม ขึ้ น เมื่ อวั น ที่ 19 ธัน วาคม พ.ศ. 2542 เพื่อ เป็นแหล่งเรียนรู้แก่เ ยาวชน โดยใช้ กุ ฏิ พระครู ชั ยศี ลวิมล (พ.ศ. 2429 – 2500) เดิ ม เรี ย กกั น ว่ า “โฮงตุ๊เจ้าหลวง” ภายหลั ง ได้ ปรั บ เป็นอาคารของพิพิธภัณฑ์ โดยอาศั ย ความร่ ว มมื อ ของคนในชุ ม ชนที่ เ รี ย กว่ า “ศรัทธาวัดเกต” โดยในอดี ต การเข้ า ชม พิพิธภัณฑ์แ ห่ ง นี้ จ ะมี คุ ณ จริ น ทร์ เบน (ตาแจ๊ ค ) ศรั ท ธาวั ด ท� ำ หน้ า ที่ และ ต้ อ นรั บ เยี่ ย มผู ้ ช ม ต่อมาเมื่อ คุณจรินทร์ เบน (ตาแจ๊ค) เสียชีวิต คุณสมหวัง ฤทธิเดช (ลุ ง หวั ง ) ได้ ท� ำ หน้ า ที่ แ ทน ถื อ ได้ ว ่ า พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ห่ ง นี้ มี ต ้ น ทุ น ทางวั ฒ นธรรม ทุนทางสังคม และทุนมนุษย์อยู่ สิ่งของที่จัด แสดงโดยมากเป็นของที่รับบริจาคมาจากทุก ที่ในระหว่างที่มีการก่อตั้ง

จรินทร์ เบน (ลุงแจ๊ค) ภาพจากมติชนออนไลน์


ผู ้ บ ริ จ าคคนส� ำ คัญคือ คุณจรินทร์ เบน และคุณอนันต์ ฤทธิเดช (เจ้าของ เฮื อ นรั ต นา หางดง) และยังมีรูปภาพเมืองเชียงใหม่ ใ นอดีต ถ่ายโดยคุณบุญเสริม สาตราภัย (ภาพที่จัดแสดงเป็นส�ำเนาภาพ พร้ อ มค� ำ อธิ บ ายที่ มี ก ารแปลเป็ น ภาษา อังกฤษโดย คุณสุรพงษ์ ภักดี) มีนักวิชาการ รวมทั้งมีการให้ความช่วยเหลือจากหน่วย งานภายนอก และสิ่งของจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มีมากมายหลายประเภท ทั้งศิลปะ และ ศาสนา โดยมีกลุ่มคนตัวเล็กกับการอนุรักษ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่เข้ามาช่วยในการท�ำป้ายอธิบาย ซึ่งเป็น จุดเริ่มต้นของการจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นกระบวนการ

อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 6


อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 7

ผ้าปักพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ผ้าปักโบราณผ้าก�ำปี๋

ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่ทรงถวายไว้ที่ วัดเกตการาม ผ้าก�ำปี๋หรือผ้ากั้งธรรม ค�ำว่า “ก�ำปี๋” หมายถึ ง หนึ่ ง ปี จ ะน� ำ มาใช้ ง าน หนึ่งครั้ง เป็นผ้าที่ใช้ประดับโต๊ะเวลาตั้งธรรมหลวง (การเทศน์มหาชาติ) เป็นผ้าที่ใช้ ส�ำหรับการขึงปิดบริเวณธรรมมาสน์เวลาสวดเทศน์มหาชาติเพื่อมิให้เห็นใบหน้าของ พระที่สวดและถือเป็นการถวายทานเพื่อค�้ำจุนพระพุทธศาสนา ผ้าก�ำปี๋ชุดของพระราช ชายาเจ้าดารารัศมี ทรงสร้างขึ้นถวายวัดเกตการาม ประกอบด้วยผ้ากั้งสามผืน มี ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการตกแต่งลวดลายบนผืนผ้าเป็นลวดลายสัตว์ในป่า หิมพานต์ ซึ่งคาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบการปักในสมัยรัตนโกสินทร์


ผ้าผืนแรกเป็นสีด�ำ ท�ำจากผ้าแพรจีน ปรากฏตราสั ญ ลั ก ษณ์ อั ก ษรย่ อ “อด” ไขว้กัน ซึ่ ง มี ที่ ม าจากพระนามของพระเจ้ า อิ น ทวิ ช ยานนท์ พระราชบิดา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่เจ็ด และพระนามของพระองค์เอง ด้านล่างมีการปัก บทประพันธ์ร้อยกรองเป็นกลอนสุภาพ ทั้งภาษาไทยและที่ เ ป็ น อั ก ษรธรรมล้ า นนา รวมทั้งมีลวดลายกิ่งไม้ประกอบอยู่กับตัวอักษร ซึ่งลวดลายทั้งหมดปักจากดิ้นเงินที่น�ำ เข้าจากต่างประเทศ และมีการขลิบขอบผ้าด้วยผ้าแพรลาย

พัตราภาพผ่องแผ้ว งามสะอาดลวดลาย เตือนจิตพินิศชาย ต้องจิตติดใจถ้วน

พรรณราย ปักล้วน เนตร์เพ็ง ชมเฮย ทุกผู้พิศเพลิน

โคลงสี่สุภาพ ที่ปรากฏบนผ้าก�ำปี๋

อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 8


อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 9

ผ้าผืนที่สอง เป็นผ้าก�ำมะหยี่หลายสี มีสีชมพู สีเขียวอ่อน สีครีม เป็นขอบ นอก ปักเป็นลายพรรณพฤกษาด้วยเลื่อมและดิ้น ตรงกลางผืนเป็นก�ำมะหยี่สีม่วงปัก เป็นลายครุฑยุดนาคด้วยเลื่อม ดิ้นและเส้นไหมสีต่างๆ ชายผ้ามีการตกแต่งด้วยการ สานแล่งเงินเป็นตาข่ายสามเหลี่ยมและช่อดอกจ�ำปี โดยเทคนิคการปักผ้ากั้งทั้งสาม ผืนเป็นการใช้เทคนิคการปักหักทองขวาง เป็นวิธีการปักดิ้นเงินหรือดิ้นทอง โดยวาง เรียงเส้นดิ้นให้ขวางตัวลาย เช่น ถ้าปักใบไม้ก็จะวางเรียงเส้นดิ้นทางขวางแทนการ เรียงเส้นดิ้นไปตามความยาวของรูปใบไม้ การที่วางเส้นดิ้นทางขวาง เส้นดิ้นจะไม่ แตกหรือแยกกัน เพราะเกาะพื้นได้แน่นกว่าการเรียงเส้นดิ้นตามความยาว หากเส้น ดิ้นมีความยาวมากอาจจะท�ำให้ลายแยกจากกัน วิธีปักดิ้นวิธีนี้เรียกว่าปักดิ้นหักทอง ขวาง


ส่วนผ้าผืนที่สาม เป็นผ้าก�ำมะหยี่หลายสี โดยมีสีชมพู สีเขียวอ่อน สีครีมเป็น ขอบนอก ปั ก เป็ น ลายพรรณพฤกษาด้ ว ยเลื่ อ มและดิ้ น ตรงกลางตรงกลางเป็นผ้า ก� ำ มะหยี่ สี ม่ ว งปั ก ลายสิงห์ด้วยเลื่อม ดิ้ น และเส้ น ไหมสี ต ่ า งๆ ซึ่งตัวสิงห์จะปักใน ลักษณะนูน โดยการท�ำให้นูนนั้นต้องใช้นุ่นลงก่อนและจะปักดิ้นทองทับลงไป ชายผ้ามี การตกแต่งด้วยการสานแล่งเงินเป็นตาข่ายสามเหลี่ยมและช่อดอกจ�ำปี

อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 10


อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 11

หลากเชื้อชาติ หลายศาสนา สู่เส้นทางการค้าย่านวัดเกตฯ พื้นที่ส�ำคัญอีกย่านหนึ่ง ของเมืองเชียงใหม่

“ย่านวัดเกตการาม” เป็นชุมชน ที่ อยู ่ติ ด แม่น�้ ำปิง ทางด้านทิศตะวันออก อดีตเคยเป็นย่านที่มีความเจริญทางการ ค้า มักใช้การสัญจรทางเรือล่องไปค้าขาย ทางเมืองตาก กรุงเทพฯ และเมืองอื่น ๆ ดังนั้น จึงมีครอบครัวทั้งเชื้อสายจีนและ คนเมือง ตั้ ง บ้ า นเรื อ นประกอบอาชี พ ค้าขายและใช้จักรยานเป็นพาหนะในการ ประกอบอาชีพ จนสามารถสร้ า งฐานะ ร�่ ำ รวยมั่ ง คั่ ง สื บ ต่ อ มายั ง ลู ก หลานใน ปัจจุบัน ชุมชนย่านวัดเกตมีความหลากหลายของกลุ ่มชาติพันธุ์ โดยอยู่ร่วมกันอย่างมี คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งความหลากหลายทางเชื้อชาติศาสนาไม่ใช่ประเด็น ส�ำคัญ หากจะแบ่งกลุ่มกันตามการนับถือศาสนา ศาสนาพุทธจะเป็นศาสนากลุ่มใหญ่ ที่สุด รองลงมาคือ ศาสนาคริสต์และอิสลามตามล�ำดับ โดยคนในแต่ละศาสนาได้ไป รวมกลุ่มกันเพื่อท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาอื่น ทั้งนี้ แต่ละกลุ่มอาจจะมีความเหลื่อมซ้อนในเชิงความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นอยู่บ้าง


คนในชุ มชนวัดเกตด�ำเนินชีวิตแบบเรีย บง่า ย ทุกคนมีศูนย์รวมจิตใจอย่าง เดี ย วกั น แต่ ปั จ จุ บันวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเปลี่ย นแปลง ทุกชีวิตต้องดิ้นรนเพื่อ การด�ำรงชีวิต จากที่เคยต้องพึ่งพิงธรรมชาติกลับกลายเป็นการใช้ธรรมชาติเป็นเครื่อง มือในการต่อชีวิตให้กับตนเอง

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญแบบก้าวกระโดด วิถีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงแม้กระทั่งอาชีพของผู้คน ในย่ า นวั ด เกต การประกอบธุรกิจที่เปลี่ยนไปตามยุค สมัย เช่น ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และ gallery จนในบางครั้งท�ำให้เราหลาย ๆ คนลืมเลือน อดีตที่ทรงคุณค่า ลืมสิ่งส�ำคัญที่เป็นรากฐานที่ครั้งหนึ่ง ท�ำให้มนุษย์เรามีชีวิตจนถึงทุกวันนี้

อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 12


อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 13

มองวิถี ผ่านศิลปะ สถาปัตยกรรม ย่านวัดเกตฯ ชุ มชนวั ด เกตเป็นย่า นการค้า ที่ส�ำคัญ ทางเศรษฐกิ จของเมื อ งเชี ยงใหม่ มา ตั้งแต่ในอดีต มี ผู ้ ค นหลากหลายทางเชื้อชาติอาศัย อยู ่ ร ่ ว มกั นมายาวนาน ส่งผลให้ ชุ ม ชนวั ด เกตมี เ อกลั ก ษณ์ ทั้ ง ในด้ า นวั ฒ นธรรม ซึ่ ง แสดงออกทางรู ป แบบ สถาปัตยกรรมและศิลปะภายในชุ ม ชนมี ค วามหลากหลายตามไปด้ ว ย สะท้ อ น ตั ว แทนของความเจริ ญ รุ่งเรืองในอดีตที่กระจายอยู่โดยรอบ แม้บางส่วนของตัว อาคารจะทรุดโทรมไปตามกาลเวลา แต่ ก็ ส ามารถปรั บ เปลี่ ย นให้ เ ป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ แ ละท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วัฒนธรรมได้

อาคารจีนผสมล้านนา

รูปแบบสถาปัตยกรรม

เป็นอาคารจีนพาณิชย์ มีพื้นที่เปิดโล่งบริเวณกลางบ้านซึ่งเชื่อมต่อไปยังด้าน หลังของตัวอาคาร โครงสร้างเป็นเสาและคานไม้ หลังคาทรงจั่วขวางตามยาวเหมือน เฮือนแป ประดับตกแต่งด้วยลายฉลุตามคติความเชื่อแบบจีน เช่น ลายหยูอี้ ลายพันธุ์ พฤกษา ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นช่องระบายอากาศด้วย เช่น บ้านท่าช้างและเดอะแกลลอรี่ (รูปซ้าย)


รูปแบบสถาปัตยกรรม

โคโลเนียลผสมล้านนา

ลั ก ษ ณ ะ อ า ค า ร มี ทั้ ง แ บ บ ชั้ น เดี ย วและสองชั้ น บางหลังมีการยก ใต้ ถุ น สู ง แบบเรื อ นพื้ น มีโถงระเบียง หน้าบ้าน หลังคาทรงปั้นหยายื่ น มุ ข หน้ า จั่ ว หน้ า บางหลังมีการประดั บ เสาไม้ กลึ ง บนหลั ง คา (สาระไน) แบบอิทธิพล ตะวันตก บ้าน 137 เสา ของคุณจรินทร์ เบน (ลุงแจ๊ค) ปัจจุบันดัดแปลงประยุกต์เป็น โรงแรม ในนาม “137 Pillars House “

เสาไม้ ก ลึ ง บนหลั ง คา หรือสาระไน

อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 14


อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 15

รูปแบบสถาปัตยกรรม

ตะวันตกผสมล้านนา ลักษณะอาคารสองชั้น รูปแบบ สถาปัตยกรรมมีความหลากหลาย บาง อาคารประดั บ ตกแต่ ง ด้ ว ยไม้ ฉ ลุ ล าย หลั ง คาเพิ ง หมาแหงน (Shade roof) มี การยื่นระเบียง รวมไปถึงการเพิ่มช่วง เสาด้านหน้ามีหลังคาคลุม ให้ มี พื้ น ที่ ใช้สอยหน้ า ร้ า นมากขึ้ น มี ก ารน� ำ เอา บานฝาไหลของเรือนพื้นถิ่นมาประยุกต์ ใช้แทนช่องระบายอากาศไม้ฉลุลาย

บ้านนิมมานเหมินทร์

บ้านเลขที่ 89

บ้านเลขที่ 91


วัดเกตการาม

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

วิหารวัดเกตการาม เป็นวิหารทรงล้านนา ก่ออิฐถือปูน ตัวอาคารมีลักษณะ คล้ายเรือส�ำเภา หลังคาคลุมราวบันไดนาค และมีเสาแปดเหลี่ยมคู่รองรับบัวหัวเสา ประดับด้วยแก้วอังวะ (แก้วจืน) ซึ่งเป็นตะกั่วอ่อนเคลือบด้วยสีต่างๆ เจดีย์จุฬามณี เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา ฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จ องค์ระฆังประดับด้วยแก้วอังวะ ส่วนพระอุโบสถแบบล้านนา ตั้ ง อยู ่ ท างทิ ศ ตะวั น ออก ก่ออิฐถือปูน ประดั บ ด้ วยปู น ปั ้ น ศิ ลปะแบบจี น นอกจากนี้ยังพบศิลปะการประดับแก้วอังวะในบริเวณดาวเพดาน ภายในวิหาร ผนังด้านหลังวิหาร และบันไดนาคอีกด้วย

อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 16


อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 17

หลักสูตรการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม เป็นหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เปิดขึ้นในปี พ.ศ. 2553 โดยมีวัตถุประสงค์ ในการส่งเสริม ศึกษา และรวบรวมความรู้ด้านต่าง ๆ ที่ เ กี่ ยวกั บ มรดกทางศิ ล ปะ และวัฒนธรรม ของผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียง ให้การ ศึกษาแก่บัณฑิตหลายด้าน เช่น ด้านศิลปวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การตลาดทางศิลปวัฒนธรรมและที่ส�ำคัญที่สุด คือ การถ่ายทอดความรู้ ด้านศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้แก่ประชาชน รวมถึ ง การสร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ร่วมให้เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง

ที่ปรึกษาโครงการ รศ. ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ รศ. สุนันทา รัตนาวะดี คณะท�ำงาน นายรัตนะ ภู่สวาสดิ์ นางสาวอรกัญญา อินทะวงค์ นายสถาพร เก่งพานิช นักศึกษาสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม รุ่นที่ 7 นางสาวพิมพิไล อุเทียม นายณัฐพงค์ สมยานะ นางสาวปาริชาต เกษมสุข นางสาววัชราภรณ์ ช่างเหล็ก นางสาวณิชาภา นิรัติศยภูติ นางสาวธัญญิกา จิรสันติธรรม นางสาวปัฐมาพร ทรายใหม่ นางสาวพัชรมน มูลละ นางสาวพัชรินทร์ คันธรส


อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน ย่านวัดเกตฯ

โครงการ “ พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม ให้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านวัดเกต ” จัดพิมพ์โดย กองบรรณาธิการ ออกแบบปก ออกแบบรูปเล่ม พิสูจน์อักษร ส�ำนักพิมพ์

: สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต�ำบลสุเทพ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 053-944849 และ 053-944433 : ณิชาภา นิรัติศยภูติ, ปัฐมาพร ทรายใหม่, พัชรมน มูลละ, พัชรินทร์ คันธรส : ธัญญิกา จิรสันติธรรมม : วัชราภรณ์ ช่างเหล็ก, ปาริชาต เกษมสุข : ณัฐพงค์ สมยานะ, พิมพิไล อุเทียม : มิสเตอร์เจมส์ 17/5 ถนนชลประทาน ต�ำบลสุเทพ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 053-400174 E-mail : mr_james2011@hotmail.com

อนุรักษ์ สืบสาน เล่าขาน

ย่านวัดเกตฯ 18


HOME COLLECTION





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.