คาอธิบายกฎหมายว่าด้วย ละเมิด (Torts Liability) (1)
บทนํา
(2)
ละเมิดที่เกิดจากการกระทําโดยไม่ชอบของตนเอง
(3)
ละเมิดที่เกิดจากการกระทําของผู้อื่น
(4)
ละเมิดที่เกิดจากทรัพย์สิ่งของหรือสัตว์เลี้ยง
(5)
ข้อต่อสู้ของจําเลยในคดีละเมิด
(6)
ค่าสินไหมทดแทน
1
บทที่ 1 บทนา (1)
เค้าโครงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (Civil and Commercial Code) คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนในเรื่องทางแพ่งและทาง พาณิชย์ ทางแพ่ง หมายถึง บทบัญญัติที่กําหนดถึงสถานะบุคคล (Law of person) ได้แก่ ลักษณะบุคคล ลักษณะครอบครัว ลักษณะมรดก (1) ลักษณะบุคคล กฎหมายได้บัญญัติรับรองสถานภาพของบุคคล (บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล) สิทธิ หน้าที่ และความสามารถของบุคคล ในฐานะของ ประธานและกรรมแห่งกฎหมาย (2) ลักษณะครอบครัว กฎหมายได้บัญญัติรับรองสถานภาพของการ เริ่มต้นของการสร้างครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภริยา ความสัมพันธ์ ระหว่างบิดามารดากับบุตร (3) ลักษณะมรดก กฎหมายได้บัญญัติรับรองถึงสิทธิในทางทรัพย์สินของ ทายาทในการสืบต่อจากเจ้ามรดก ทางพาณิชย์ หมายถึง บทบัญญัติที่กําหนดถึงทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งสิทธิ สิทธิเรียกร้อง ที่บุคคลแต่ละบุคคลพึงมีสิทธิและหน้าที่ระหว่างกัน 1.1.1 ทรัพย์สิน 1.1.2 หนี้ 1.1.3 ทรัพย์สิทธิ 1.1.4 บุคคลสิทธิ (2)
บ่อเกิดแห่งหนี้ (มูลแห่งหนี้) 2.1 นิติกรรม สัญญา เอกเทศสัญญา 2.2 ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ (นิติเหตุ) 2.3 กฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ 2.1 นิติกรรม หมายถึง การใด ๆ อันทําลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วย ใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ (มาตรา 149)
2
คําว่า “นิติกรรม” ย่อมมีนัยอยู่ในตัวว่าหมายถึง การกระทํา (กรรม) ที่มี ผลบังคับได้ตามกฎหมาย (นิติ) และย่อมหมายรวมถึงสัญญาด้วย เพราะสัญญาเป็น นิติกรรมหลายฝ่าย (ตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป) ที่เกิดจากการแสดงเจตนา (คําเสนอและ คําสนองถูกต้องตรงกัน) ของคู่สัญญา นิติเหตุ
นิติกรรม
สัญญา นิติเหตุ
ความหมายของนิติกรรมได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 149 “นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทาลงโดยชอบด้วย กฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ” จากบทบัญญัติข้างต้น การกระทําใดจะถือว่าเป็นนิติกรรมต้องเข้า องค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นการกระทําที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย 2. ต้องเป็นการกระทําโดยสมัครใจ 3. ต้องเป็นการกระทําที่มีความประสงค์จะสร้างความผูกพันระหว่างบุคคล 4. ต้องเป็นการกระทําที่ก่อให้เกิด “ความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ ” 1. ต้องเป็นการกระทาที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย หมายความว่า นิติกรรมเป็น การแสดงเจตนาของบุคคล ซึ่งกฎหมายรับรองว่าบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิแสดงเจตนา ได้อย่างอิสระ (Free Will) ซึ่งเรียกว่า “ความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนา ” หรือ “สัญญาต้องเป็นสัญญา ” แต่เช่นเดียวกันการแสดงเจตนาของบุคคลที่กฎหมาย ยอมรับต้องอยู่ภายใต้กติกา (ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของ ประชาชน) เช่น นายกิตติตกลงทําสัญญาจ้างนายหมอดีให้ไปทําร้ายนางสาวปู จะเห็น ได้ว่า เจตนา (ความศักดิ์สิทธิ์) ของนายกิตติต้องการทําร้ายนางสาวปู และการทําร้าย ร่างกายผู้อื่นนั้นย่อมถือได้ว่าขัดต่อกฎหมาย (ประมวลกฎหมายอาญา) ดังนั้น แม้
3
คู่สัญญามีความประสงค์ตรงกัน (ทําร้าย-ค่าจ้าง) แต่เมื่อขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้ง นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ (เสียเปล่าไร้ประโยชน์) ตามมาตรา 150 2. ต้องเป็นการกระทาโดยสมัครใจ หมายความว่า การแสดงเจตนาของ คู่สัญญาต้องเกิดขึ้นเพราะความสมัครใจโดยแท้ มิใช่ตกลงใจ (ใจสมัคร)เพราะถูกข่มขู่ บังคับ ขู่เข็ญ หลอกลวง ขาดสติสัมปชัญญะ สําคัญผิด กรณีทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ กฎหมายเรียกรวม ๆ ว่า “แสดงเจตนาโดยวิปริต” พิจารณาตามมาตรา 154-171 รู้ได้อย่างไรว่าบุคคลนั้นแสดงเจตนา รู้ได้ว่าบุคคลนั้นแสดงเจตนาที่การ กระทําของบุคคลนั้น กระทําโดยการเคลื่อนไหวทางกาย เช่น นายกิตติ เขียนหนังสือถึงนาย หมอดีขอซื้อรถยนต์ของนายหมอดี ในราคา 100,000 บาท และนายหมอดีทําหนังสือ ตอบตกลงมา หรือการเดินไปที่โรงอาหารชี้ไปที่น้ําเปล่า เจ้าของร้านหยิบน้ําเปล่ามาให้ แล้วเราจ่ายเงิน เป็นต้น กระทําโดยการเคลื่อนไหวทางวาจา เช่น บอกกับคนขายว่าต้องการเป๊ปซี่ หนึ่งขวด ถือว่าเป็นการแสดงเจตนา การไม่กระทํา (การนิ่ง) เช่น นายกิตติเดินเข้าไปที่ร้านขายเหล้า สั่งเหล้า มาดื่ม บริกรฟังเฉย ๆ ไม่ตอบอะไรกลับมา ต่อมาบริกรนําเหล้ามาไว้ที่โต๊ะ 1 ชุด การ สนองรับของบริกรโดยการนิ่งนี้เป็นการแสดงเจตนาสนองรับตามปกติประเพณีทางการ แล้ว (บางตําราใช้คําว่า “ธรรมเนียมประเพณีการค้า ” หรือ กรณีผู้เช่าเช่าบ้านของ ผู้ให้เช่าโดยมีกําหนดระยะเวลาเช่า 1 ปี พอครบกําหนดผู้เช่าไม่ออกยังคงพักอาศัยอยู่ ที่ห้องเช่าต่อไปและผู้ให้เช่าก็ไม่แจ้งให้ผู้เช่าย้ายออก จะเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างฝ่าย ต่างนิ่ง การนิ่งเช่นนี้กฎหมายถือว่าเป็นการแสดงเจตนาว่าจะอยู่ต่อโดยผู้ให้เช่าก็ไม่ ปฏิเสธอะไร สัญญาเช่ามีผลโดยปริยาย 3. ต้องมีความประสงค์จะสร้างความผูกพันระหว่างบุคคล หมายความ ว่า นิติกรรมจะต้องเป็นการกระทําใด ๆ ที่ผู้กระทําได้กระทําลงโดยมีความประสงค์ที่จะ ก่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย “ผลในทางกฎหมาย” คือ ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา อัน จะมีผลทําให้สามารถฟ้องร้องต่อฝ่ายที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาได้ นายกิตตินัดนางสาวปูเป้ไปดูภาพยนตร์ ปรากฏว่าถึงเวลานัดหมายนาย กิตติเบี้ยว นางสาวปูเป้มีสิทธิฟ้องร้องหรือไม่ กรณีนี้เป็นการกระทําหรือไม่ คําตอบ... เป็น กรณีนี้เป็นการกระทําที่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ คําตอบ...ไม่ กรณีนี้เป็นการ
4
กระทําโดยสมัครใจหรือไม่ คําตอบ...นายกิตติสมัครใจชวนแต่บังเอิญวันนัดติดธุระ แต่ในกรณีเช่นนี้การกระทําของนายกิตติมิได้มุ่งให้ผูกพันในทางกฎหมาย แต่ทาไป เพื่ออัธยาศัยไมตรี มารยาท หรือทางศีลธรรม จึงไม่ใช่นิติกรรม เช่นเดียวกัน พาลูกไปเที่ยวห้างสรรพสินค้า เดินชอปปิ้งผ่านแผนกของเล่น เด็ก ลูกงอแงร้องไห้อยากได้ของเล่น บิดาจึงแกล้งหลอกลูกว่าเดี๋ยวจะซื้อให้ เพื่อ ต้องการให้ลูกหยุดร้องไห้ ปรากฏว่าไม่ซื้อของเล่นให้ลูก ลูกจะบอกได้ไหมว่าบิดาผิด สัญญา คําตอบ...คงเช่นเดียวกับกรณีข้างต้น การที่บิดาพูดเช่นนั้นไม่ได้มุ่งให้เกิดความ ผูกพันทางกฎหมาย “ความผูกพันระหว่างบุคคล” หมายความว่า นิติกรรมต้องเป็นเรื่องของ นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคลเท่านั้น ตัวอย่าง นายกิตติทําพินัยกรรมยกที่ดินของ ตนทั้งหมดให้สุนัข พินัยกรรมดังกล่าวไม่สมบูรณ์ 4. ต้องก่อให้เกิด “ความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ ” หมายความว่า ความ ผูกพันระหว่างบุคคลกับบุคคลมีผลก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวเรื่องหนึ่งเรื่องใด ดังต่อไปนี้ 4.1 ก่อให้เกิดสิทธิ เช่น นางสาวปูซื้อรถยนต์จากนายกิตติ เป็นนิติกรรมที่ ก่อให้เกิดสิทธิระหว่างคู่สัญญา กล่าวคือ นางสาวปูย่อมมีสิทธิที่จะได้รถยนต์ ส่วนนาย กิตติย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงิน 4.2 เปลี่ยนแปลงสิทธิ เช่น จากกรณีที่ 1 กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จากเดิม เป็นของนายกิตติ เปลี่ยนแปลงมาเป็นของนางสาวปูเป้ หรือนายกิตติทําสัญญากู้ยืมเงิน จากนายหมอดี แต่ต่อมาตกลงกันว่านายหมอดีจะนําสร้อยทองไปชําระแทน การตกลง นี้ก็ถือเป็นนิติกรรมเพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงสิทธิที่จากเดิมจะได้เงินมาเป็นได้ สร้อยทอง 4.3 โอนสิทธิ เช่น นายกิตติทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายหมอดีต่อมา นาย หมอดีทําหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ไปให้กับนางสาวปูเป้ เจ้าหนี้ของตน หนังสือดังกล่าวถือเป็นนิติกรรมเพราะเป็นการโอนสิทธิ 4.4 สงวนสิทธิ เช่น การที่ลูกหนี้ได้ตกลงทําหนังสือรับสภาพหนี้แก่ เจ้าหนี้ ตามที่เจ้าหนี้ประสงค์เพื่อไม่ให้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ขาดอายุความ (สงวน ให้สิทธิเรียกร้องยังคงอยู่)
5
4.5 ระงับสิทธิ เช่น การที่ลูกหนี้นําเงินที่กู้ยืมเงินของเจ้าหนี้ไปมาชําระ หนี้ครบถ้วน ถือเป็นการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ เนื่องจากการชําระหนี้ของลูกหนี้เป็นการ ทําให้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ระงับสิ้นไป นิติกรรมยังแบ่งออกได้เป็นสองประเภทได้แก่ นิติกรรมฝ่ายเดียว หมายถึง นิติกรรมที่เกิดขึ้นและมีผลสมบูรณ์ โดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายเดียว เช่น พินัยกรรม ตัวอย่าง นายกิตติทํา พินัยกรรมยกทรัพย์สินและที่ดินทั้งหมดให้แก่นายหมอดีเพียงคนเดียว จะเห็นได้ว่า นายหมอดีไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือมิได้รู้ถึงการทําพินัยกรรมนี้เลย พินัยกรรมเกิดจาก การแสดงเจตนาโดยเขียนเป็นหนังสือของนายกิตติแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น หรือ การ ปลดหนี้ หรือ การบอกเลิกสัญญา ผู้แสดงเจตนาไม่ต้องรับคําสนองของอีกฝ่ายหนึ่งว่า ต้องการให้ปลดหนี้ หรือต้องการให้บอกเลิกสัญญาหรือไม่ ถ้าได้ความว่าบุคคลใด ต้องการปลดหนี้ หรือบอกเลิกสัญญาแม้กระทําฝ่ายเดียวก็มีผลเป็นนิติกรรมแล้ว นิติกรรมหลายฝ่าย (นิติกรรมสองฝ่าย) หมายถึง นิติกรรมที่ เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป หรือที่เรียกว่า “สัญญา” เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าทรัพย์ สัญญาเช่าซื้อ สัญญายืม เป็นต้น กล่าวโดยสรุป นิติกรรมเป็นการกระทาของบุคคลอันมีเจตนาเพื่อ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ สัญญามีความหมายว่าอย่างไร กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เหมือนกับ “นิติกรรม” แต่พออธิบายจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ว่า สัญญา คือ นิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการตกลงกันตั้งแต่ สองฝ่ายขึ้นไป มี ความสัมพันธ์เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน (ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่) ดังนั้น องค์ประกอบของสัญญาจึงต้องประกอบด้วย มีบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่าย ต้องมีเจตนาตรงกัน (การแสดงเจตนาคําเสนอและคําสนอง) วัตถุประสงค์.........ความมุ่งหมาย พอสรุปได้ว่า สัญญาคือนิติกรรมหลายฝ่าย ที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องแสดง เจตนาที่ตรงต่อความมุ่งหมายของกันและกัน ที่กล่าวถึง “เจตนา” เนื่องจากเหตุผล ทางปรัชญาว่า “นิติสัมพันธ์ทางหนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของเจตนาของบุคคล” ตรงนี้ บางตําราจะเรียกว่า “หลักความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา” (The Autonomy of the Will) เจตนาของบุคคลมีความสําคัญ เพราะ
6
1. เจตนาทําให้เกิดสัญญา 2. เจตนาเป็นเครื่องกําหนดเนื้อหาของสัญญา 3. เจตนาเป็นเครื่องกําหนดผลของสัญญา 2.2 นิติเหตุ มีการกระทําบางอย่างที่มิได้เกิดจากการแสดงเจตนาเข้าผูกพันของบุคคล เพื่อก่อหนี้ขึ้น แต่เป็นเหตุการณ์ที่กฎหมายกําหนดว่า หากเกิดการกระทําอย่างนี้ขึ้น บุคคลมีหน้าที/่ สิทธิ (หนี)้ เหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นจากธรรมชาติ เช่น การ ตายโดยธรรมชาติของบุคคลคนหนึ่ง ย่อมก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่ทายาท ได้แก่ สิทธิในการรับมรดกและ/หรือหน้าที่ในการชดใช้หนี้สินตามกองมรดก (บรรพ 4 5 และ 6 ) หรือเมื่อเกิดมามีสภาพบุคคล กาลเวลาผ่านมาครบ 20 ปี ก็เป็นเหตุการณ์ที่ กฎหมายกําหนดว่าบุคคลนั้นบรรลุนิติภาวะมีหน้าที่ เช่น รับราชการทหาร หรือมีสิทธิ ในการทํานิติกรรมสัญญาอย่างสมบูรณ์ เป็นต้น เรียกว่า “นิติเหตุ” 2.2.1 ความหมาย นอกจากเหตุการณ์ตามธรรมชาติแล้ว เหตุการณ์ที่เป็นปกติธรรมดาที่ บุคคลกระทําลงไปโดยมิได้มุ่งให้มีผลในทางกฎหมายก็อาจก่อให้เกิดหนี้ได้ เรียกว่า “นิติเหตุ” เช่น นายกิตติได้ประมาทเลินเล่อทําให้ทรัพย์สินของนายหมอดีเสียหาย จะ เห็นได้ว่า นายกิตติมิได้มีการแสดงเจตนา (มุ่งประสงค์) ต่อทรัพย์ของนายหมอดีเลย แต่การกระทําดังกล่าวกฎหมายกําหนดให้เกิดความผูกพันตามกฎหมาย (กฎหมาย บังคับว่ามีหนี้) กล่าวคือ นายกิตติต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยกฎหมาย กําหนดให้นายหมอดีมีสิทธิเรียกร้อง (มีสถานภาพเกิดความเป็นเจ้าหนี้ (Debtor)ลูกหนี้ (Creditor)) 2.2.2 ประเภท (1) ละเมิด กฎหมายได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะให้ ผู้ใดกระทําละเมิดต้องมีหน้าที่ (หนี)้ ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น “หนี้” ก็คือ ความผูกพันระหว่างผู้ทํา ละเมิดกับผู้เสียหายนั่นเอง หนี้ที่เกิดจากการกระทาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย Fault Liability/Wrongful Act/Obligation
7
(2) จัดการงานนอกสั่ง มาตรา 395 บัญญัติว่า บุคคลใดเข้าทํากิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่า ขานวานใช้ให้ทําก็ดี หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทําการงานนั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้องจัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ตามความ ประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของ ตัวการ ฉะนั้น การจัดการงานนอกสั่ง คือ การสอดเข้าไปทํากิจการที่เขาไม่ได้ว่า ขานวานใช้ แต่เมื่อผู้อื่นได้รับประโยชน์ กฎหมายบัญญัติว่า “สามารถเรียกให้ชดใช้ เงินได้” (มาตรา 401 ประกอบ 816 วรรคสอง) ก็คือ ก่อให้เกิดหนี้นั่นเอง เช่น มี พายุมาอย่างหนักเลยในชุมชนของเรา เผอิญวันนั้นนายหมอดีไม่อยู่บ้าน พายุพัดผ่าน ทําให้หลังคาบ้านเสียหายไปแถบหนึ่ง และทางราชการได้ประกาศเตือนให้ระวังว่าจะมี พายุมาอีก นายกิตติ เกรงว่าข้าวของ/ทรัพย์สินในบ้านของนายหมอดีจะเสียหาย จึงไป หาซื้อหลังคามาซ่อมแซมให้บ้านนายหมอดี จะเห็นได้ว่านายหมอดีย่อมได้รับประโยชน์ จากการนั้น เมื่อกลับมามีหน้าที่ต้องชดใช้ (3) ลาภมิควรได้ มาตรา 406 บัญญัติว่า บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคล อีกคนหนึ่งกระทําเพื่อชําระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะ อ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้น จําต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่งการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือ เป็นการกระทําเพื่อชําระหนี้ด้วย หมายความว่า การที่บุคคลใดได้ทรัพย์สินใดมา เพราะการที่บุคคลอีก บุคคลหนึ่งกระทําเพื่อการชําระหนี้ หรือได้มาด้วยประการอื่นโดยปราศจากมูลอันจะ อ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์ นั้นไว้จําต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่เขา นายสอนําเงินมาชําระหนี้ให้กับนายไก่ โดยเข้าใจ ผิดว่านายไก่คือนายไข่ (เจ้าหนี้) จะเห็นได้ว่ากรณีนี้ นายไก่ได้รับเงินไปโดยปราศจาก เหตุที่จะอ้างได้ว่า นายสอมาให้เพราะอะไร เมื่อไม่มีเหตุที่จะรับเงินไว้ กฎหมายจึง บัญญัติให้นายไก่มีหน้าที่ต้องคืนเงิน และนายสอมีสิทธิเรียกร้องเงินได้
8
(4) กฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ เช่น หนี้ภาษีอากร หนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ สรุป นิติเหตุ จึงเป็นเหตุการณ์ใด ๆ เมื่อเกิดขึ้น จักมีผลทําให้เกิด หน้าที่ (หนี)้ ตามกฎหมาย แม้ว่าผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ จะไม่ได้สมัครใจ (Free will) ก็ตาม (3) ความหมายของละเมิด ตามศัพท์ภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Tort” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “Tortus” ซึ่งมีความหมายว่า การกระทําความผิด (Wrong) หรือการกระทําโดยทุจริต (Crooked) (Professor Sam Blay, The nature of torts liability)
ความหมายทั่วไปละเมิดจึงหมายถึงการกระทําที่เป็นความผิด หรือการใช้สิทธิ โดยไม่สุจริต ความหมายทางกฎหมาย ละเมิดหมายถึง การกระทําโดยผิดกฎหมายทํา ให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อน และเมื่อความเสียหายเกิดขึ้น ผู้ที่เป็นผู้ ก่อความเสียหายมีหน้าที่ต้องชดใช้ความเสียหายนั้น (He who breaks must pay) (4) ละเมิดกับสัญญา (Tort and Contrast) ความเหมือน 1. อยู่ภายใต้ขอบข่ายกฎหมายเอกชน ที่บุคคลทั้งสองฝ่ายมีสถานะเสมอกัน 2. เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ ความแตกต่าง 1. หน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาย่อมเกิดจากใจสมัครของคู่สัญญา แต่ สําหรับละเมิดหน้าที่เกิดจากบทบังคับทางกฎหมายที่มีต่อผู้สร้างความเสียหายให้แก่ บุคคลอื่น 2. สัญญาเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ ต่อเมื่อลูกหนี้ไม่ปฏิบัติการชําระหนี้ และตกเป็น ผู้ผิดนัด (มาตรา 203-205) ส่วนละเมิดมาตรา 206 บัญญัติว่า ในกรณีหนี้อันเกิดแต่ มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทําละเมิด 3. คู่สัญญามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา สิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา สิ้นสุดเมื่อปฏิบัติตามสัญญา แต่เมื่อผิดสัญญาสามารถเรียกร้องให้คู่สัญญาอีกฝ่าย ปฏิบัติการชําระหนี้ตามวัตถุแห่งหนี้ และเจ้าหนี้ทรงสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย สําหรับกรณีละเมิดเจ้าหนี้มีสิทธิแต่เพียงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน 4. สัญญาคํานึงถึงเรื่องความสามารถของบุคคล และการแสดงเจตนา สําหรับ ละเมิดไม่คํานึงถึงเรื่องความสามารถของบุคคล แต่มีข้อยกเว้นบางกรณีของการแสดง เจตนา เช่น การให้ความยินยอม หรือการสมัครใจเข้าเสี่ยงภัย เป็นต้น
9
5. หน้าที่นําสืบในชั้นพิจารณาคดี ตามหลัก “ผู้ใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ผู้ นั้นต้องนาสืบข้อเท็จจริงนั้น ” กล่าวคือ คดีละเมิดผู้เสียหายมีหน้าที่ต้องสืบพิสูจน์ว่า ความเสียหายของตนเกิดจากการกระทําของจําเลย สําหรับสัญญาเจ้าหนี้ต้องนําสืบว่า ตนและลูกหนี้ผูกพันหรือมีนิติสัมพันธ์กันอย่างไร และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ปฏิบัติตาม สัญญานั้น (5) ละเมิดกับหนี้ (Tort Liability and Obligation) มาตรา 194 “ด้วยอานาจแห่งมูลหนี้เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ ปฏิบัติการชาระหนี้” ละเมิดก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องที่ผู้ถูกกระทํามีฐานะเป็นเจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้อง ให้ผู้กระทําละเมิดที่มีฐานะลูกหนี้ ปฏิบัติการชําระหนี้ (6) ประทุษร้ายทางแพ่งกับประทุษร้ายทางอาญา ละเมิดหรืออีกนัยหนึ่งคือการประทุษร้ายทางแพ่ง ซึ่งได้แก่การกระทําให้เกิด ความเสียหายทั้งแก่ ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ อนามัย หรือทรัพย์สินของผู้อื่น มีความ เหมือนและความแตกต่างจากการประทุษร้ายในทางอาญาดังนี้ ลักษณะความเหมือน (1) การประทุษร้ายไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งหรือทางอาญา เป็นเรื่องที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย (2) การประทุษร้ายทางแพ่งและการประทุ ษร้ายทางอาญา มีบทลงโทษ ทางกฎหมาย (3) กระทบกระเทือนต่อความสงบสุขของสังคม ทั้งในแง่ความสูญเสียทาง เศรษฐกิจและสังคม ลักษณะความแตกต่าง (1) ลักษณะของโทษกล่าวคือ ละเมิดจะพิจารณาจากระดับความเสียหาย ที่มีต่อผู้ถูกกระทํา ยิ่งมีความเสียหายมาก ค่าสินไหมทดแทนก็มากขึ้นตามลําดับ แต่ การประทุษร้ายทางอาญาพิจารณาตามฐานความผิดและโทษที่กฎหมายกําหนดไว้ (2) ความผิดสําเร็จกล่าวคือ ละเมิดจะพิจารณาว่าบุคคลนั้น กระทํา ความผิดฐานละเมิดต่อเมื่อมีความเสียหายหรือความเดือดร้อนเกิดขึ้นแก่ผู้ถูกกระทํา แต่ในทางอาญาจะพิจารณาจากองค์ประกอบความรับผิดในแต่ละฐานความผิด (3) นิตินโยบาย กล่าวคือ ละเมิดมีนิตินโยบาย เพื่อเยียวยาความเสียหาย ผู้ได้รับความเดือดร้อน จากการกระทําของผู้ทําละเมิดโดยกําหนดเป็นค่าสินไหม
10
ทดแทน (ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ) แต่ทางอาญามีนิตินโยบายเพื่อลงโทษมิให้ผู้อื่น ปฏิบัติฝ่าฝืน กฎหมายที่มุ่งประสงค์คุ้มครองความสงบสุขของสาธารณชน (ผลประโยชน์ทางสังคม) (4) หลักการตีความ ทางอาญาการบังคับใช้กฎหมายอาญาผู้ใช้ต้อง ตีความโดยเคร่งครัด เช่น คดีอาญาไม่มีความรับผิดฐานทําให้ทรัพย์สินของผู้อื่น เสียหายโดยประมาท เป็นต้น แต่สําหรับคดีแพ่ง การประทุษร้ายทางแพ่งกฎหมาย คลี่คลายให้นําผู้กระทําให้เกิดความเสียหายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย “Unlawful” มา ลงโทษ
11
บทที่ 2 ละเมิดที่เกิดการกระทาโดยไม่ชอบของตนเอง Fault Liability 2.1
หลักทั่วไป
มาตรา 420 บัญญัติว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทาต่อบุคคลอื่นโดย ผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทาละเมิด จาต้องใช้ค่า สินไหมทดแทนเพื่อการนั้น มาตรา 420 เป็นหลักกฎหมายทั่วไปแห่งละเมิด (Torts) ซึ่งเป็นความรับผิดที่ ผู้กระทําเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นเองโดยตรง มีหลักเกณฑ์พิจารณาดังนี้ (1) ต้องมีการกระทําต่อผู้อื่น (Fault) (2) โดยจงใจ (Intention) หรือ ประมาทเลินเล่อ (Negligence) (3) โดยผิดกฎหมาย (Unlawful) (4) เกิดความเสียหาย (Damage) หรือบาดเจ็บ (Injury) เมื่อพิจารณาครบองค์ประกอบข้างต้น บุคคลนั้นมีหนี้ (Liability) ที่ต้องชําระหนี้ต่อผู้อื่น คาอธิบาย (1) ผู้ใด/ผู้อื่น 1.1 ประธานแห่งกรรม (Subject) ตามที่ท่านได้ศึกษา หลักกฎหมายเอกชนจะพบว่า บุคคลตาม กฎหมายได้แก่ 1. บุคคลธรรมดา 2. นิติบุคคล และทั้ง 2 กรณีจะมีความรับผิดทางละเมิดได้ต่อเมื่อเกิดมีสภาพ บุคคลแล้ว กรณีบุคคลธรรมดา ตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ส่วนกรณีนิติบุคคล ตาม มาตรา 69 บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลจะต้องรับผิดต่อเมื่อเป็นผู้ก่อให้เกิดความ เสียหาย หากไม่ปรากฏว่า บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลนั้นเป็นผู้ก่อความเสียหาย ก็ไม่ จําต้องรับผิดชอบในผลนั้น
12
คําพิพากษาฎีกาที่ 1980/2519 กรรมการอํานวยการซึ่งได้รับมอบ ให้จัดการบริษัทคือผู้จัดการตาม มาตรา 1164 กรรมการบริษัทที่ไม่ใช่ผู้จัดการและไม่ มีหน้าที่จัดการธุรกิจของบริษัท ไม่ต้องร่วมรับผิดกับผู้จัดการในกรณีจงใจหรือประมาท เลินเล่อทําให้บริษัทเสียหายอันมิใช่สาเหตุโดยตรง หากกิจการนั้นเป็นการจัดการธุรกิจ ของบริษัท ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้จัดการ และมิได้อยู่ในข้อใดข้อหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1168 ซึ่งกรรมการทุกคนต้องรับผิดร่วมกัน กรรมการอํานวยการซึ่งได้รับมอบให้จัดการบริษัทคือผู้จัดการตาม ม าตรา 1164 กรรมการบริษัทที่ไม่ใช่ผู้จัดการและไม่มีหน้าที่จัดการธุรกิจของบริษัท ไม่ต้องร่วมรับ ผิดกับผู้จัดการในกรณีจงใจหรือประมาทเลินเล่อทําให้บริษัทเสียหายอันมิใช่สาเหตุ โดยตรง หากกิจการนั้นเป็นการจัดการธุรกิจของบริษัท ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ ผู้จัดการ และมิได้อยู่ในข้อใดข้อหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1168 ซึ่งกรรมการทุกคนต้องรับผิดร่วมกัน 1.2 วัตถุแห่งกรรม (Object) ได้แก่ ผู้อื่น บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลเช่นเดียวกับประธานแห่งกรรม ข้อสังเกต 1. วัตถุแห่งกรรมที่กฎหมายบัญญัติว่า “ผู้อื่น” ดังนั้น การกระทําที่ให้ ตนเองได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ อนามัย ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่าง หนึ่งอย่างใด ไม่เป็นความผิด เช่น กระทําอัตวินิบาตกรรมไม่เป็นละเมิด ดังนั้น คู่สมรส ของผู้ทําละเมิดจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการพยายามฆ่าตัวตายของคู่สมรส ของตนไม่ได้ 2. หากการกระทําละเมิดต่อสัตว์เลี้ยง เช่น วางยาเบื่อสุนัข ขับรถยนต์ โดยประมาทเลินเล่อชนสุนัขซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้อื่นตาย เช่นนี้ แม้ว่า บางกรณีในทาง อาญาจะบัญญัติไว้เป็นความผิด (ความผิดฐานทารุณกรรมสัตว์) แต่ในทางแพ่ง (ละเมิด) จะถือว่า สัตว์เลี้ยงแม้จะมีชีวิตจิตใจแต่ถือว่าเป็นทรัพย์ที่บุคคลที่เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์เป็นผู้ทรงสิทธิ์เท่านั้น แต่มีบางกรณีในเรื่องละเมิดที่ผู้กระทํามิได้เป็นผู้ก่อภัยขึ้น แต่บุคคล นั้นมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องเข้ามารับผิดร่วม เช่น ละเมิดที่เกิดจากการกระทําของ ผู้อื่น (Vicarious Liability) หรือละเมิดที่เกิดจากสัตว์เลี้ยง ซึ่งจะได้กล่าวถึงในบท ต่อ ๆ ไป
13
แต่ที่จะกล่าวถึงในบทนี้เป็นการกระทําละเมิดที่เกิดจากตนเองและ ตนเองจะต้องรับผิดชอบเยียวยาความเสียหายที่ตนก่อขึ้นนั้นที่เรียกว่าเป็นการกระทํา ละเมิดโดยแท้ (Fault Liability) (2)
การกระทาต่อผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย ความรับผิดทางละเมิด จําเลยจะต้องรับผิดเมื่อความเสียหายที่ เกิดขึ้นนั้นเป็นการกระทําของจําเลย การกระทําได้แก่ การแสดงอากัปกริยา อิริยาบถ หรือการ เคลื่อนไหว และให้หมายรวมถึง การไม่เคลื่อนไหวของร่างกาย เพราะตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคท้าย บัญญัติว่า “ซึ่งการกระทําถือเป็นข้อเท็จจริง (Fact) ที่ผู้กล่าวอ้าง (โจทก์) มีหน้าที่ต้องนําสืบ ( Burden of Proof) ให้ศาลเห็นว่า ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเกิดขึ้นจากการกระทําของจําเลย การรับฟังข้อเท็จจริงให้ เป็นที่ยุตินั้น ศาลมักจะฟังข้อเท็จจริงแห่งคดีอาญาเป็นยุติอย่างไร ส่วนคดีทางแพ่งก็ เป็นไปตามนั้น เพราะคดีละเมิดส่วนใหญ่จะเป็นคดีที่เป็นความผิดทางอาญา 2.1 ข้อเท็จจริงต้องฟังเป็นยุติตรงกัน 2.1.1 คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา “การกระทํา ให้หมายความรวมถึง การให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้นการที่จัดต้องกระทํา เพื่อป้องกันผลนั้นด้วย ” บทบัญญัติแห่งกฎหมายอาญา ย่อมต้องถูกนํามาใช้กับเรื่องละเมิด เนื่องจากในการพิจารณาคดีข้อเท็จจริงต้องมีบทสรุปปรับให้ยุติตรงกัน และความผิด ฐานละเมิดในทางแพ่งกับฐานความผิดอื่น ๆ ในคดีอาญาย่อมต้องเกี่ยวเนื่องกัน ที่ เรียกว่า “คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ” ซึ่งประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ให้ถือว่า ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ถ้าศาลในคดีอาญาพิจารณา ปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว รับฟังเป็นยุติอย่างไร กฎหมายกําหนดให้ศาลในคดีส่วนแพ่ง ต้องยึดถือข้อเท็จจริงนั้น ๆ ถือเป็นยุติตรงกัน โดยจะรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นที่ นอกเหนือจากศาลในคดีอาญามิได้ เหตุผลเพราะในความเป็นจริงหรือข้อเท็จจริงต้อง มีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะต้องมีความจริงที่เป็นสองเรื่องที่ขัดแย้งกันมิได้ ดังนั้น มาตรา 46 ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา จึงใช้กับ (1) คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (2) คําพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุด
14
(3) (4)
ผู้ที่จะถูกผูกพันตามคําพิพากษาคดีอาญาต้องเป็นหรือถือเป็น คู่ความในคดีอาญา ให้ผูกพันเฉพาะข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญา เท่านั้น
คําพิพากษาฎีกาที่ 2637/2542 แม้ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจําต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ซึ่งต้องถือว่าโจทก์เช่าที่ดินพิพาทจากเจ้า ของเดิมปลูกอ้อย และการที่จําเลยว่าจ้างคนงานเข้าไปเผาและตัดต้นอ้อยของโจทก์ใน ที่ดินพิพาทไปขายจําเลยกระทําไปโดยเชื่อว่าต้นอ้อยในที่ดินพิพาทเป็นของผู้อื่นซึ่งมอบ ให้จําเลยดูแลแทนและจําเลยไม่ทราบว่าโจทก์เช่าที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมปลูกอ้อย และต้นอ้อยในที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ก็ตาม แต่จําเลยจะต้องรับผิดในทางแพ่งฐาน กระทําละเมิดโจทก์หรือไม่ต้องพิจารณาว่าความเข้าใจของจําเลยดังกล่าวเป็นไปโดย ประมาทเลินเล่อหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าความเข้าใจว่าตนมีสิทธิทาได้ของจาเลย เป็นไปด้วยความประมาทเลินเล่อ จําเลยจึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดอันเกิดจาก การกระทําโดยประมาทของตน 2.1.2 คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา อุทาหรณ์ (1) นายกิตติ ยิง นายหมอดี ตายในทางอาญา นายกิตติ มี ความผิดทางอาญาฐานฆ่าผู้อื่น (มาตรา 288 ) และในขณะเดียวกัน นายกิตติ มี ความผิดฐานละเมิดในส่วนคดีแพ่งตามมาตรา 420 (2) นายกิตติ สั่งจ่ายเช็คเพื่อชําระหนี้จํานวน 100,000บาท ให้แก่นาย หมอดี ต่อมานายหมอดี เอาเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร ปรากฏว่า ธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากไม่มีเงินในบัญชี ดังนั้น นายหมอดี ฟ้องคดีอาญาในมูล ฐานความผิดตามพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการใช้เช็ค และนายหมอดี สามารถฟ้องให้ นายกิตติ รับผิดชดใช้เงินตามกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงิน (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์) ความแตกต่างระหว่าง 2 ตัวอย่างข้างต้น กล่าวคือตัวอย่างที่ (1) ข้อเท็จจริงในส่วนของการกระทําเดียวกัน มูลฐานความรับผิดมาจากการกระทํา หรือมาจากเหตุเดียวกันกับมูลฐานความรับผิดในคดีอาญา แต่ในตัวอย่างที่ (2 ) คดีแพ่งไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เพราะในเรื่องเช็คมูลฐานและองค์ประกอบความรับผิดในทางอาญาคือ
15
1.
ต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชําระหนี้ 2. ต้องทราบอยู่ก่อนว่าเงินในบัญชีของตนไม่มีเงินหรือ มีแต่ไม่เพียงพอ 3. ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่กฎหมายในทางแพ่ง กําหนดความรับผิดสําหรับการใช้ เช็คว่า 1.
คนที่จะมาเป็นโจทก์ ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ทรงเช็ค 2. ผู้ที่ต้องรับผิดต้องเป็นคนลงลายมือชื่อ ฉะนั้น มูลฐาน และองค์ประกอบความรับผิดในคดีแพ่งและคดีอาญาจึงเป็นคนละส่วนแตกต่างกัน ดังนั้น คดีเช็ค ในคดีแพ่งจึงมิได้เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในการใช้เช็ค เพราะฉะนั้น จึง ไม่อยู่ในบังคับประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาตรา 46 จะเอาคําพิพากษาคดีหนึ่งไปเกี่ยวข้องกับอีกคดี หนึ่งไม่ได้ ที่สําคัญที่ในคดีละเมิดจะต้องถือข้อเท็จจริงทั้งสองคดีตรงกัน เพราะ ในส่วนใหญ่ของคดีละเมิดนั้นจะเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เช่น คดีขับรถยนต์ชน คนบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต การกระทําโดยการขับรถยนต์ชนคนบาดเจ็บหรือตาย นั้นเป็นกระกระทําอันเดียว แต่เป็นมูลฐานในความรับผิดทางแพ่งและอาญาได้ เพราะ ในคดีอาญาจะต้องรับผิด อย่างน้อยผู้นั้นต้องประมาท และคดีแพ่ง มาตรา 420 เช่นกัน กฎหมายบัญญัติให้ผู้กระทําความผิด หากผู้นั้นประมาทเลินเล่อก็ต้องมีความ รับผิดเช่นกัน 2.1.3 คดีอาญาต้องมีคาพิพากษาถึงที่สุด ถ้ายังอยู่ในขั้นตอนของการอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษา หรืออุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษา แล้วแต่กรณียังมิอาจรับฟังได้ ดังนั้นในทางปฏิบัติ เมื่อมีคดีแพ่งที่เกี่ยวกับคดีอาญาเช่นนี้ ศาลในส่วนคดีแพ่งมักจะมี คําสั่งให้ชะลอการพิจารณาคดีชั่วคราว เพื่อรอผลในทางคดีอาญาก่อน 2.1.4 ผู้ที่จะถูกผูกพันตามคาพิพากษาคดีอาญาต้องเป็นคู่ความ หรือถือเป็นคู่ความในคดีอาญา เหตุผล เพราะผู้ที่ไม่เคยเป็นคู่ความในคดีอาญา เขาไม่เคย ต่อสู้ในประเด็นในคดีอาญามาก่อน การที่จะดําเนินคดีแก่ผู้นั้น โดยที่เขามิเคยได้มี โอกาสได้ต่อสู้ (Defense) และยกข้อเท็จจริงที่เขาไม่มีโอกาสต่อสู้มาขึ้นผูกมัดเขา จึง
16
ไม่เป็นการยุติธรรม ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลจึงต้องอนุญาตให้ผู้นั้น นําพยานหลักฐานเข้าสืบใหม่ได้ ตัวอย่าง นายกิตติ ขับรถชนโจทก์ได้รบั บาดเจ็บสาหัส โจทก์ฟอ้ ง นายกิตติ ต่อศาลเป็นคดีอาญาว่า ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส ตามมาตรา 300 (ประมวลกฎหมายอาญา ) ซึ่งปรากฏว่า ศาลอาญาได้พิจารณามีคํา พิพากษา ลงโทษจําคุก นายกิตติ 4 เดือน โดยโทษจําคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี ฟัง เป็นยุติได้ตามนั้น และในคดีแพ่งโจทก์ฟ้องนายกิตติฐานละเมิดเป็นจําเลยที่ 1 และ นายหมอดีเป็นจําเลยที่ 2 เนื่องจากนายหมอดีเป็นนายจ้างของนายกิตติ ตามมาตรา 425 จะเห็นได้ว่า จําเลยที่ 1 (นายกิตติ) ศาลในคดีส่วนแพ่ง ต้องฟัง ข้อเท็จจริงเป็นยุติตรงตามที่ศาลอาญาพิพากษา (ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ) โดยจําเลยที่ 1 ถูกกฎหมายปิดปากมิให้เถียงเป็นอย่างอื่น ส่วนจําเลยที่ 2 (นายหมอดี ) ไม่เคยเป็นคู่ความในคดีอาญาไม่เคยต่อสู้มาก่อน นายหมอดีจึงไม่ตกอยู่ ในบังคับแห่งประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เพื่อประโยชน์แห่งความ ยุติธรรม จําเลยที่ 2 จึงสามารถหาข้อโต้แย้งหรือพยานหลักฐานมาสืบหักล้างได้ ศาล ต้องอนุญาตให้สืบพยานใหม่ระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ 2 2.1.5 ผูกพันเฉพาะข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรง ในคดีอาญาเท่านั้น อุทาหรณ์ ศาลในคดีอาญา ฟังเป็นยุติว่าจําเลยขับรถชนโจทก์โดยประมาท (ข้อเท็จจริงโดยตรง) แต่โจทก์เองก็มีส่วนประมาทอยู่ด้วยไม่น้อย จึงเห็นสมควร ลงโทษสถานเบาให้จําคุกเพียง 1 เดือน ปรับ 2,000 บาท โทษจําคุกศาลให้รอลงอาญา 2 ปี ภายหลังโจทก์นําเรื่องดังกล่าวมาฟ้องคดีแพ่ง (ฐานละเมิด) โดย ที่จําเลยให้การต่อสู้ว่า 1. จําเลยไม่ได้ขับรถโดยประมาท และ 2. โจทก์เองก็มีส่วนผิดอยู่ด้วย จึงขอให้ศาลนําส่วนที่เป็นความผิดของโจทก์มาหักลบ ความผิดของจําเลย (มาตรา 422) กรณีเช่นว่านี้
17
จําเลยไม่สามารถกล่าวอ้างได้ เพราะคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่ เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (ศาลในคดีอาญา ตัดสินไว้เป็นยุติแล้วว่าจําเลยขับรถชนโจทก์ โดยประมาท) แต่ประเด็นปัญหาอยู่ที่ว่า โจทก์เองก็มีส่วนผิดอยู่ด้วยนั้น ย่อมไม่ผูกพันคดีแพ่ง เพราะไม่ใช่ข้อเท็จจริงของคดีโดยตรง จําเลยสามารถนําเอา ข้ออ้างในส่วนนี้มาต่อสู้ในคดีแพ่งได้และ ศาลต้องอนุญาตให้คู่ความนําพยาน หลักฐาน มาสืบพิสูจน์ได้ และศาลคดีแพ่งต้องตัดสินไปตามพยานหลักฐานใหม่ว่าจริง ๆ แล้ว โจทก์มีส่วนกระทําความผิดด้วยหรือไม่เพียงใด ตาม มาตรา 442 2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างละเมิดทางแพ่งกับความรับผิดทางอาญา (ประเด็นข้อกฎหมาย ) มาตรา 424 บัญญัติว่า “ในการพิจารณาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิด และกาหนดค่าสินไหมทดแทน นั้น ท่านว่าศาลไม่จาต้องดาเนินตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จาต้องพิเคราะห์ถึง การที่ผู้กระทาผิดต้องคาพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่” อุทาหรณ์ คนวิกลจริตถึงขนาดไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ไปเอาไม้ตีศีรษะนายกิตติ บาดเจ็บสาหัส ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 บัญญัติให้คนวิกลจริตนั้น มีความรับผิดทางอาญาฐานทําร้ายร่างกาย แต่ระงับโทษให้ (มีความผิดแต่ไม่มีโทษ) เนื่องจากเป็นภาวะแห่งจิต ซึ่งในคดีแพ่งมิได้ยกเว้นโทษให้เหมือนคดีอาญา เนื่องจากผู้เสียหาย สามารถฟ้องคนวิกลจริตผู้ทําละเมิด เป็นจําเลยที่ 1 และฟ้องบิดามารดาหรือผู้อนุบาล เป็นจําเลยที่ 2 และ3 ให้ร่วมรับผิดได้ตาม มาตรา 429 เพราะฉะนั้น คนวิกลจริตต้องรับผิดฐานละเมิดต่อ นายกิตติ ตาม มาตรา 424 หากพิจารณาเข้าองค์ประกอบตาม มาตรา 420 ซึ่งในการนี้ ขอให้ พิจารณาหลักที่ว่า เรื่องตามกฎหมายละเมิดให้พิจารณาจากกฎหมายละเมิด ไม่ต้อง พิเคราะห์ถึงกฎหมายอาญา การที่กฎหมายอาญา ยกเว้นโทษให้ก็เป็นเรื่องของ กฎหมายอาญาเนื่องจากบทลงโทษทางอาญามีลักษณะรุนแรงแตกต่างกับบทลงโทษ ทางแพ่งที่มุ่งสู่การเยียวยาความเสียหาย
18
เพื่อความเข้าใจ จะขอยกตัวอย่างอีกสักหนึ่งตัวอย่างประกอบ นาย กิตติ คนร้ายใช้มีดไล่แทงนายหมอดี นายหมอดี เห็นนางสาวปูอยู่ข้าง ๆ จึงใช้นางสาว ปูเป็นกําบัง ปรากฏว่ามีดแทงไปถูกนางสาวปู กรณีเช่นนี้ นายหมอดีจะมีความผิดทาง อาญาฐานทําร้ายผู้อื่น แต่กระทําไปด้วยความจําเป็น ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 เป็นบทยกเว้นโทษให้ถ้าบุคคลนั้นกระทําความผิดไปเพราะตกอยู่ในสภาพ จําเป็นอันมิอาจเลี่ยงได้ แต่สําหรับความรับผิดในทางแพ่ง (ละเมิด) หาเป็นเช่นนั้นไม่ นาย หมอดี ยังต้องรับผิดอยู่ เพราะครบองค์ประกอบตามมาตรา 420 ประกอบมาตรา 424 2.3 การกระทา “ผู้ใดกระทาต่อผู้อื่น ” การกระทําดังกล่าวนี้จะเป็นละเมิดต้องเป็นการกระทํา
ที่ผิดกฎหมาย (Fault) และก่อให้เกิดเหตุการณ์ร้าย ความเสียหายแก่ผู้อื่น (Damage) จึงแปลความได้ว่า หากกระทําลงไปแล้วแต่ไม่เกิดผลร้ายหรือความเสียหายก็ไม่ถือเป็น ละเมิด การกระทําดังกล่าวหมายความถึง การงดเว้นที่ก่อให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น เมื่อตนมีหน้าที่ (Duty) จะต้องป้องกันผลนั้น (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคท้าย) และการละเว้นด้วย ดังนั้นการกระทําแบ่งออกเป็น 1. การกระทา หมายถึง การแสดงอากัปกิริยา การเคลื่อนไหว และอยู่ ภายใต้บังคับของจิตใจ 1.1 มีการแสดงอากัปกิริยา หรือการเคลื่อนไหว (Movement) 1.2 ต้องอยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ “การกระทา ” ต้องพิจารณา 1.1, 1.2 ประกอบกันไปใน
ความหมายของ “และ ” เนื่องจากการ แสดงการเคลื่อนไหว หรือ ไม่ เคลื่อนไหว ที่เป็นการกระทํา เกิดจาก จิตใจของบุคคลนั้น ที่รู้สํานึกในการ กระทํา กล่าวคือ รู้ว่ากําลังเคลื่อนไหว หรือบังคับไม่ให้มีการเคลื่อนไหว เช่น
19
การยื่นมือไปข้างหน้า ยื่นเท้าไปข้างหน้า ก็เกิดจากจิตใจบังคับสั่งการ หรือเมื่อเห็นผู้อื่น ตกอยู่ในภยันตราย จิตใจบังคับให้บุคคลนั้นยืนอยู่เฉย ๆ กรณีเช่นนี้ ก็ถือได้ว่าบุคคล นั้นมีการกระทําโดยการไม่เคลื่อนไหวแล้ว อุทาหรณ์ ที่ 1 แต่ทว่า หากเป็น “การละเมอ ” ภาวะแห่งการกระทํา จึงอยู่นอกเหนือการควบคุมของจิตใจ ย่อมไม่ถือว่าเป็นการกระทํา อุทาหรณ์ ที่ 2 การถูกบุคคลอื่น ใช้กําลังกายบังคับ เช่น นาย ก. จับ มือนาย ข. ไปผลัก นาย ค. ในทางจักษุ นาย ข. เป็นผู้กระทําละเมิดต่อ นาย ค. เพราะ เป็นคนลงมือกระทํา แต่การกระทําดังกล่าว มิได้อยู่ภายใต้บังคับทางจิตใจของนาย ข. เอง ในทางกฎหมาย จึงถือว่าเรื่องดังกล่าวเป็น การกระทาโดยอ้อม ของนาย ก. นาย ข.เปรียบได้กับเป็นเครื่องมือ (Equipment) เช่นเดียวกับ การที่นาย ก.ได้ใช้ปืน/มีด/ ไม้ กระทําต่อบุคคลอื่นนั่นเอง อุทาหรณ์ ที่ 3 เหตุละเมิดที่เกิดจากบุคคลที่ไม่รู้สํานึก ซึ่งจะถือว่า บุคคลที่ขาดสํานึกนั้นรู้สํานึกถึงการกระทําของตนหรือไม่ เช่น การกระทําที่เกิดจาก โรคลมบ้าหมู โรคลมชัก หรือบุคคลวิกลจริต หรือ เด็กทารก (ไร้เดียงสา) กรณีเช่นนี้ ศาลฝรั่งเศสได้วางหลักดังกล่าวว่าการกระทําของบุคคลที่ ไม่รู้สํานึกไม่ถือเป็นละเมิด เข้าข่ายเป็นเหตุการณ์สุดวิสัย (เหตุสุดวิสัย : มาตรา 8 ประเทศไทย) ประเภท force majeure ดังที่ Ulpien (นักนิติศาสตร์ชาวโรมัน) ได้ เปรียบเทียบว่า คนที่ได้รับความเสียหาย จากการกระทําของคนบ้า (บุคคลที่ไม่รู้ สํานึก) เหมือนถูกกระเบื้องหลังคาหล่นใส่ศีรษะ จะไปเรียกร้องกับใครไม่ได้
ผู้รับภัย (ความเสียหาย)
การกระทํา
ผู้ก่อภัย
ขาดสํานึก (Imputable)
Force Majeure
ซึ่งจะเห็นได้ว่าบาปเคราะห์จึงไปตกแก่ผู้รับภัย (ผู้เสียหาย)
20
อุทาหรณ์ การที่คนบ้าถือมีดไล่แทงคนอื่นเป็นการกระทําที่อยู่ในบังคับของจิตใจ หรือไม่ เช่นนี้เป็นข้อเท็จจริงแห่งคดีที่ต้องพิเคราะห์ว่าขนาดแห่งความบ้ามีความ ร้ายแรงถึงขนาดไม่รู้สึกผิดชอบเลยหรือไม่ ถ้าคนบ้าขนาดไม่รู้ผิดชอบเลย อาจถือได้ว่า ไม่มีการกระทํา เช่นเดียวกันกับ เด็กที่ไร้เดียงสาขนาดไม่รู้สํานึกผิดชอบชั่วดี ดังนี้ กฎหมายจึงต้องกําหนดมาตรา 429 ให้ผู้ปกครองหรือผู้อนุบาลเข้ามาดูแลรับผิดถ้า มิได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี ข้อสังเกต แต่ถึงอย่างไร เรื่องเด็ก กับคนบ้า (วิกลจริต) เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา เป็นรายกรณี ๆ ไป อุทาหรณ์ นายกิตติ เคยเป็นทหารออกรบในสมรภูมิ จนได้รับบาดเจ็บและได้รับ ความกระทบกระเทือนทางสมองทําให้กลายเป็นคนวิกลจริต มีความคิดหลงผิด (delusion) ว่าโลกจะถึงกาลสิ้นสุด และพระเจ้าได้กําหนดโดยเลือกให้ตนเป็นผู้ต้อง เสียสละชีวิต เพื่อปกปักษ์โลก แต่นายกิตติ กลัวการฆ่าตัวเองตาย จึงก่อคดีอุฉกรรจ์ขึ้น เพื่อให้ตนถูกตัดสินประหารชีวิตโดยพยายามฆ่าลูกของตนเอง แต่ไม่สําเร็จ ภายหลังจึง พยายามกระทําความผิดอีก โดยคราวนี้ลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์เพื่อให้ตน ถูกตัดสินประหารชีวิตเช่นกัน เมื่อคดีความขึ้นสู่ศาล ในชั้นพิจารณาความผิดของนาย กิตติศาลพิจารณาแล้วไม่ถือว่า นายกิตติมีความผิดเนื่องจากจําเลยไม่ได้กระทําโดยการ ชักนําของเหตุผล (Guidance of reason) คดีดังกล่าวเทียบเคียงมาจากเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ (คดี R.V. Hadfield (1800)) กรณีนี้จะเห็นได้ว่า จําเลยรู้ดี ว่ากําลังฆ่าคน และยังรู้ด้วยว่าการฆ่าคนเป็นความผิด แต่ด้วยความหลงผิดว่าพระเจ้า สื่อสารให้ตนกระทําและจะเป็นการช่วยเหลือชาวโลกให้พ้นภัยพิบัติ จึงไม่อาจยับยั้งได้ กรณีเช่นนี้จะถือว่านายกิตติมีความผิดไม่ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน มาตรา 827 บัญญัติว่า “ผู้ใด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นในขณะที่ไร้สติสัมปชัญญะก็ดี หรือในขณะที่ ภาวะจิตใจถูกรบกวนอย่างรุนแรง ไม่อาจใช้ความรู้สึกนึกคิดโดยอิสระได้ก็ดี ไม่ ต้องรับผิดในความเสียหายนั้น แต่หากผู้นั้นทาตนเองให้ตกอยู่ในสภาวะเช่นนั้น โดยการเสพเครื่องดื่มมึนเมา หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายคลึงกัน ผู้นั้นจะต้องรับผิดใน
21
ความเสียหายใด ๆ ซึ่งตนได้ก่อให้เกิดขึ้น โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ในขณะตกอยู่ ในสภาวะเช่นนั้น เช่นเดียวกันได้กระทาไปโดยประมาทเลินเล่อ ความรับผิดจะไม่ เกิดขึ้น ถ้าเขาถูกนาไปสู่สภาวะเช่นนั้นโดยมิใช่ความผิดของเขาเอง” หลักเกณฑ์ (1) ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะไร้สติสัมปชัญญะหรือ ภาวะทางจิตใจ ถูกรบกวนอย่างรุนแรง หลงผิด (ภาพหลอน ประสาท) (2) ไม่ต้องรับผิดในการกระทํานั้น เว้นแต่ เหตุดังกล่าวเกิดเพราะ ตนเองยอมตนเข้าไปเสี่ยงภัยนั้น เช่น เสพสุรายาเมา ยาเสพติด เป็นต้น ตามอุทาหรณ์ข้างต้นศาลฎีกาไทยได้เคยมีคําพิพากษาที่ 780/2483 วินิจฉัยให้ จําเลยซึ่งเป็นคนวิกลจริตใช้มีดพร้าฟันภริยาของโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์ ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จําเลยต้องรับผิด แม้จะได้กระทําโดยวิกลจริตก็ตาม จําเลยอุทธรณ์ยังศาลฎีกาว่า การกระทําของคน วิกลจริตถือไม่ได้ว่า กระทําโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยยืนตาม ศาลล่างโดยให้เหตุผลว่า “ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ถือตามที่จาเลยอ้าง ” เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลจะเป็นผู้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเอง การกระทํา
ผลร้าย
สัมพันธ์กัน
ส่วนกรณีอื่นการขาดสํานึกเป็นละเมิด เช่น โรคลมบ้าหมู (ลมชัก) ย่อมไม่เรียกว่าเป็นการกระทําของตน เป็นเหตุสุดวิสัยแต่อยู่บนเงื่อนไขด้วยว่า “บุคคล นั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จักป้องกันได้” เพราะหากรู้ตัวว่าละเมอ หรือโรคลมชักบ่อย ๆ และ เกิดความเสียหายเป็นประจํา บุคคลนั้นย่อมคาดหมายได้ จะนํามาใช้เป็นข้ออ้างแก้ตัว ไม่ได้ ถือว่าประมาทเลินเล่อ เช่น คนเมาขนาดไม่รู้ว่าตนกระทําอะไรลงไป (ไม่รู้สํานึก) แต่ย่อม ทราบว่า การที่เสพยาเมาทําให้ตนมิอาจครองสติได้ ก็ถือเป็นเหตุประมาทเลินเล่อได้ เช่นกัน
22
ข้อพึงระวังว่า 1. หากปรากฏว่า จําเลยเคยป่วยเป็นโรคลมบ้าหมูแต่อาการของโรค ไม่เคยปรากฏขึ้นเลยในช่วง 14 ปีหลังมานี้ การที่จําเลยไปขับรถยนต์และเกิดอาการ ของโรคลมบ้าหมูขึ้น จนทําให้รถยนต์ประสบอุบัติเหตุชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บ ก็หาเอา ผิดกับจําเลยว่าประมาทเลินเล่อไม่ได้ (Hammotree V. Jenner, USA) 2. ในการเสพยาเมาต้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การเสพนั้นเกิดด้วย ความไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นของมึนเมา หรือเสพไปเพราะถูกอํานาจภายนอกบังคับ จะถือว่า ผู้นั้นประมาทเลินเล่อมิได้ 2. การงดเว้น (Omission) พิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรคท้าย “การ กระทาให้หมายความรวมถึง การให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้อง กระทาเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย” หลักเกณฑ์ (1) บุคคลนั้นมีหน้าที่ (Duty) (2) เป็นหน้าที่ต้องทําเพื่อป้องกันมิให้เกิดผล หน้าที่ (Duty) เกิดจาก 1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย หน้าที่ที่เกิดขึ้นเพราะกฎหมาย บัญญัติไว้ เช่น มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถ และฐานะของตน มาตรา 1963 บุคคลจําต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา มาตรา 1964 บิดามารดาจําต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้ การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจําต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะ แล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ มาตรา 1598/18 ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้อนุบาลบุตร ถ้าบุตรนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้นําบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อํานาจ ปกครอง มาใช้บังคับโดย อนุโลมแต่ถ้าบุตรของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่สิทธิ ตามมาตรา 1567 (2) และ (3)
23
อุทาหรณ์ การที่มารดาปล่อยให้บุตรทารกร้องไห้เนื่องมาจาก ความหิว จนกระทั่งทารกนั้นถึงแก่ความตาย มารดาจะอ้างว่าตนมิได้กระทําการอย่างใดเป็นการ ฆ่าลูกไม่ได้เพราะกฎหมายถือว่าการไม่กระทําตามหน้าที่ (อุปการะเลี้ยงดูบุตร) นั้น เป็นการกระทํา เนื่องจากมารดามีหน้าที่ที่จักต้องป้องกันผลร้ายที่ตามมา (ทุกข์ทรมาน เพราะความหิว หรือตาย) เมื่อมีการกระทําจึงมีความรับผิดทางอาญาฐานฆ่าคนตาย โดยเจตนาชนิดย่อมเล็งเห็นผล และในส่วนคดีแพ่งมารดามีความผิดฐานละเมิดด้วย 2.
หน้าที่เกิดจากผู้กระทาความผิดเป็นผู้ก่อ เนื่องจาก ผู้กระทํายอมตนเข้าผูกพันต่อสถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง ซึ่งรวมถึงหน้าที่ที่ต้อง ปฏิบัติตามสัญญาด้วย อุทาหรณ์ ที่ 1 นาย กิตติ เห็นคนชรากําลังจะเดินข้ามถนน ตนก็ขันอาสาพาคนชราข้ามถนน ปรากฏว่าถึงกลางถนน นาย กิตติ หันหลังกลับไม่พา ข้ามต่อเนื่องจากนึกได้ว่าลืมสิ่งของบางอย่างไว้ ท่านจะเห็นว่านาย กิตติ ได้สร้างหน้าที่ ให้เกิดแก่ตน หากไม่ทําต่อไป อาจทําให้คนชราที่ตนพาข้ามถนนไปอีกฝั่งหนึ่งเกิด อุบัติเหตุได้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับคนชรา ย่อมต้องถือว่าเป็นการกระทําของนายกิตติ อุทาหรณ์ ที่ 2 นางสาวปู รับจ้างดูแลเด็กตามสัญญาว่าจ้าง แล้วปล่อยปะละเลยไม่ดูแลจนเด็กตกระเบียงได้รับบาดเจ็บ จึงถือว่าการที่นางสาวปู ละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมเป็นการกระทําละเมิด อุทาหรณ์ ที่ 3 นายกิตติจอดรถของตนบนไหล่ทางด้าน ซ้ายมือ ไม่กีดขวางการจราจร แต่การที่ไม่ยอมเปิดไฟตามที่กําหนดในกฎกระทรวง เพื่อให้ผู้ขับขี่มองเห็นรถที่จอดอยู่ เป็นเหตุให้นายหมอดี ขับรถจักรยานยนต์ชนท้ายรถ ที่จอดอยู่ ถึงแก่ความตายเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของนายกิตติ ที่งดเว้นการ ที่จักต้องกระทํา เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลร้ายตามมา (คําพิพากษาฎีกาที่ 2210/2544) คําพิพากษานี้ จะเห็นได้ว่า ศาลพิจารณาจากหน้าที่ของบุคคล ที่อยู่ในภาวะเช่นนั้น (ภาวะรถเสีย) ที่มีกฎหมายกําหนดว่าต้องปฏิบัติอย่างไรเพื่อจัก ป้องกันมิให้เกิดผลร้ายขึ้น (อุบัติเหตุ) แต่การที่จําเลยไม่ทําตามก็เท่ากับว่าจําเลย ละเลยที่จะปฏิบัติตาม
24
อุทาหรณ์ ที่ 4 การที่พนักงานดับเพลิงไม่อยู่ประจําหน้าที่ ควบคุมเครื่องสําหรับช่วยผู้หนีไฟเกิดเพลิงไหม้และมีคนตายในไฟ พนักงานนั้นไม่มี ความผิดในการที่คนตาย เพราะมีหน้าที่คุมเครื่อง มิใช่มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันมิให้ ผู้ใดมีอันตรายโดยตรง (หน้าที่จักป้องกันเพื่อมิให้เกิดผลร้าย) อุทาหรณ์ ที่ 5 การที่นายจ้างไม่ให้อาหารและที่อยู่อัน สมควรแก่ลูกจ้างเป็นเหตุให้ลูกจ้างตาย นายจ้างไม่มีความผิดต่อลูกจ้างเพราะนายจ้าง ไม่มีหน้าที่จักต้องระวังมิให้เกิดผล อุทาหรณ์ ที่ 6 สามีไล่ภรรยาออกจากบ้านภรรยาถึงบ้าน บิดาแล้วไม่เข้าบ้าน นอนอยู่กับพื้นดินนอกบ้านถึงแก่ความตาย เนื่องจากอากาศหนาว จัด สามีไม่ต้องรับผิด เพราะหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมายย่อมหมดไปเมื่ออีกฝ่าย สามารถเลี้ยงตนเองได้ (ภรรยากลับไปบ้านบิดาแล้ว สามารถอยู่ในที่ที่ปลอดภัยได้ กล่าวคือภรรยาสามารถป้องกันมิให้เกิดผลร้ายได้) ส่วนการละเว้น ที่ถือเป็นการกระทํานั้น น้ําหนักแห่งความ รุนแรงย่อมน้อยที่สุด เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เฉพาะเจาะจงให้บุคคลใดมี หน้าที่จักต้องกระทําแต่เป็นคุณธรรมทางสังคม (ศีลธรรม) เมื่อเห็นคนตกอยู่ใน ภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ กลับไม่ช่วยตามความจําเป็น ละเว้นจึงเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของประชาชนทุกคน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การเรียกค่าสินไหมทดแทน กรณีละเว้นจึงไม่ค่อยนิยมใช้กัน ขอให้ พิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 374 ข้อสังเกต (1)
การละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของบุคคล บุคคลนั้นไม่ต้องรับผิด แต่อย่างใดหากไม่ปรากฏความเสียหายนั้น (2) การละเมิดเป็นประทุษกรรมที่กระทําต่อบุคคลโดยผิดกฎหมาย ด้วยอาการฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่ห้ามไว้ หรือละเว้นมี่กระทําในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้ กระทําหรือที่ตนมีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องกระทํา โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ การละเว้นไม่กระทําในสิ่งที่กฎหมายมิได้บัญญัติให้กระทําหรือตนไม่มีหน้าที่ตาม กฎหมายที่จะต้องกระทําจึงไม่ถือเป็นละเมิด
25
2.4 จงใจหรือประมาทเลินเล่อ 2.4.1
จงใจทางแพ่งกับเจตนาทางอาญา (Intentional torts against the person)
คําว่า “จงใจ ” ในทางแพ่ง กับคําว่า “เจตนา ” ในทางอาญา มี ความหมายเหมือนกัน เพราะ เป็นประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง ที่ต้องฟังเป็นยุติตรงกัน (ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ดังที่ได้เคยกล่าวแล้ว) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง กระทําโดยเจตนา ได้แก่การกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทําทํานั้น เจตนา แบ่งเป็น 2 ประเภท (1) เจตนาประเภทประสงค์ต่อผล หรือ (เจตนาโดยตรง) (2) เจตนาประเภทย่อมเล็งเห็นผล (เจตนาโดยอ้อม) อธิบาย (1) เจตนาประเภทประสงค์ต่อผล หมายถึง ผู้กระทํามุ่งประสงค์ต่อผลในขณะที่ลงมือกระทํา จะพิจารณาอย่างไรในทางกฎหมายมีหลักอยู่ว่า “กรรมเป็นเครื่องชี้ เจตนา” ขอให้พิจารณาเรื่องเจตนาประสงค์ต่อผลจากคําพิพากษาฎีกาที่ 360/2536 จําเลยกระทําผิดไปด้วยอารมณ์โกรธแค้นที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยมิได้ มุ่งประสงค์ต่อผลในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริงจึงเป็นการ กระทําที่ขาดเจตนาในการที่จะมุ่งกระทําการลักเข็มขัดผู้เสียหาย การกระทําของจําเลย จึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ แต่การที่จําเลยขู่เข็ญผู้เสียหายให้ส่งเข็มขัดให้ ย่อมเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้กระทําตามที่จําเลยประสงค์โดยทําให้กลัวว่าจะทําให้ เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้เสียหาย จําเลยจึงมีความผิดต่อเสรีภาพ ซึ่งทําให้เห็นได้ว่า พฤติการณ์ประกอบการกระทําจะเป็นเครื่องชี้ความ มุ่งประสงค์ของบุคคลนั้นว่าต้องการเรื่องใด เช่นกันกรณีนี้การที่จําเลยเอาเข็มขัดของ ผู้เสียหายไปนั้น เป็นการกระทําเพื่อให้ผู้เสียหายกลัว มิใช่มีเจตนาเอาทรัพย์นั้นไปไม่ (กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา)
26
(2)
เจตนาประเภทย่อมเล็งเห็นผล หมายถึง ผู้กระทําอาจไม่มุ่งประสงค์ต่อผลในขณะที่ลงมือกระทํา แต่ วิญํูชนสามารถย่อมเล็งเห็นผล (คาดหมาย) ได้ว่าจะเกิดผลอย่างนั้น (วิญํูชน : พิจารณาจากระดับความคิดของบุคคลในสภาพเช่นเดียวกับผู้กระทํา) เช่น ยิงปืนเข้าไป ในกลุ่มคน วิญํูชนย่อมเล็งเห็นว่าจะทําให้คนตายเมื่อเกิดมีคนตายจึงมีความผิดฐาน เจตนาฆ่าหรือ ฉุดคร่าผู้หญิงขับรถ ครั้นผู้หญิงจะลงจากรถกลับเร่งความเร็ว หญิงตก รถเพราะหลุดมือ ย่อมมีความผิดฐานฆ่าคนตาย โดยเจตนาประเภทย่อมเล็งเห็นผล คําพิพากษาฎีกาที่ 327/2540 นอกจากโจทก์จะมีมารดาผู้ตายเป็น ประจักษ์พยานแล้ว ยังมีแพทย์ผู้รักษาผู้ตายเบิกความสนับสนุนว่า วันเกิดเหตุมารดา ผู้ตายแจ้งว่า ผู้ตายถูกจําเลยจับโยนและพนักงานสอบสวนเบิกความว่า หลังจากผู้ตาย ถึงแก่ความตาย จําเลยได้มอบตัวและให้การรับสารภาพโดยนําชี้ที่เกิดเหตุ ซึ่งพยาน โจทก์สอดคล้องกันมีน้ําหนักน่าเชื่อ จําเลยเองก็เบิกความรับว่าวันเกิดเหตุได้ผลักผู้ตาย เข้าไปหามารดาผู้ตายจริง จึงเจือสมกับพยานโจทก์ และเมื่อผู้ตายตายเพราะกระดูกต้น คอท่อนที่ 7 เคลื่อนที่ไปข้างหลังจากการกระทําของจําเลยทําให้ภาวะ การหายใจ ล้มเหลว มิได้ตายเพราะโรคเลือดคั่งในสมองกําเริบอันเป็นอาการบาดเจ็บที่มีอยู่เดิม ซึ่งแม้จําเลยจะไม่มีเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายโดยตรง แต่ก็มีสาเหตุกับมารดาผู้ตาย การ ที่จําเลยจับผู้ตายซึ่งเป็นเด็กอายุเพียง 3 ปี โยนใส่มารดาผู้ตายหลายครั้งจนศีรษะผู้ตาย กระแทกตะกร้า กระดูกต้นคอเคลื่อน ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจเป็นต้นเหตุให้ผู้ตายถึง แก่ความตายได้ จําเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา คําพิพากษาข้างต้น กรรมที่เป็นเครื่องชี้เจตนาได้แก่การกระทําหรือ พฤติกรรมที่จําเลยแสดงออก เช่น โยนเด็กอายุ 3 ปี หลายครั้ง วิญํูชนย่อมตระหนัก ได้ถึงภยันตรายแก่ชีวิตที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก หรือ การที่จําเลยใช้ไขควงที่ฝนจนแหลมเป็นอาวุธแทงไปที่ร่างกาย ผู้เสียหายที่ 1 เพื่อให้ผิวหนังทะลุเป็นการเล็งเห็นผลว่าถึงตายได้ แสดงให้เห็นถึง ลักษณะจิตใจที่ไม่คํานึงถึงชีวิตผู้อื่น ผู้เสียหายที่ 1 เป็นเพศที่อ่อนแอกว่าไม่ได้เป็นฝ่าย ก่อเหตุขึ้นก่อน และไม่มีทางที่จะต่อสู้ชนะได้ จําเลยไม่มีความจําเป็นต้องใช้อาวุธ ประทุษร้ายผู้หญิง การใช้อาวุธที่ไม่ได้ป้องกันตัวเองย่อมมุ่งต่อผลคือชีวิต ทั้งอายุของ จําเลยในขณะที่กระทําความผิดนั้นสามารถรู้ผิดชอบและบังคับตนเองได้ไม่ได้มีจิตใจ บกพร่อง จําเลยสร้างภยันตรายให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตนเอง มิใช่เกิดจากความ ตื่นเต้น ความตกใจหรือความกลัวอันจะทําให้เห็นว่าจําเลยมีเพียงเจตนาทําร้ายตามที่ ฎีกา จําเลยจะแก้ตัวว่ามิได้กระทําโดยเจตนาฆ่าหาได้ไม่ (ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า จะถึงแก่ ความตาย)
27
คําพิพากษาฎีกาที่ 1748/2537 จําเลยถีบผู้ตายตกลงไปในแม่น้ํา ตรงที่ลึกประมาณครึ่งตัวผู้ตาย แล้วใช้แผ่นซีเมนต์ขนาดกว้าง 10 นิ้ว ยาว 1 ฟุต หนา 2 นิ้ว ทุ่มใส่ถูกศีรษะผู้ตายในระยะใกล้ขณะที่ผู้ตายกําลังจะปีนขึ้นมาบนฝั่ง เป็นเหตุให้ ผู้ตายได้รับบาดเจ็บถึงหมดสติจมน้ําตาย แม้บาดแผลภายนอกจะเป็นแผลถลอกที่ ศีรษะและแพทย์ให้ความเห็นว่าผู้ตายจมน้ําตาย แต่การตายเกิดจากการทําร้ายร่างกาย ของจําเลยโดยตรง จําเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการทุ่มแผ่นซีเมนต์ดังกล่าวจะทําให้ ผู้ตายได้รับอันตรายแก่กายถึงบาดเจ็บและตายได้หากไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือรักษา ให้ทันท่วงที ถือว่าจําเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายไม่ใช่เพียงเจตนาทําร้ายร่างกาย เมื่อพิจารณาเจตนากับจงใจ จะเห็นได้ว่าการกระทําโดยจงใจ (ละเมิด) เป็นการกระทําที่ต้องมีผลเสียหายเกิดขึ้น (Damage) แต่ในทางอาญา การกระทําถ้าได้ลงมือกระทําโดยเจตนาแล้วย่อมมี ความผิดได้ ไม่ต้องรอให้เกิดผลร้ายขึ้นที่เรียกว่าความผิดสําเร็จเมื่อครบองค์ประกอบ ความผิด ซึ่งศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่าในเรื่องละเมิดนั้น การกระทําโดย จงใจต้องกระทําโดยประสงค์ต่อผล คือ ความเสียหายแก่ผู้อื่น ถ้าไม่ประสงค์ต่อผล คือ ความเสียหาย แม้จะเล็งเห็นผลก็ไม่ใช่จงใจกระทําเป็นเพียงประมาทเลินเล่อได้เท่านั้น เพราะความรับผิดละเมิด พิจารณาจากผลเสียหาย (Damage) เป็นที่สําคัญ แต่ในทาง อาญาผลที่เกิดขึ้นไม่ใช่ประเด็นสําคัญ ความสําคัญอยู่ที่กระทําและเจตนา (ชัว่ ) ต่างหาก เช่นตัวอย่างที่ ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ยกตัวอย่างกรณี ก. ประทัดโยน ใส่ ข. ประทัดแตกไหม้เนื้อตัวและเสื้อผ้าของ ข. ได้รับความเสียหาย ประเด็นที่ 1 พิจารณาได้ว่า กรณีนาย ก. มีเจตนาประสงค์ร้ายต่อ นาย ข. ทางแพ่ง (ละเมิด) (1) จงใจ (2) ได้รับความเสียหายได้แก่ ร่างกาย และทรัพย์สิน (เสื้อผ้า) ทางอาญา (1) เจตนาประสงค์ต่อผล (2) ความผิดฐานทําร้ายร่างกาย (3) ความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ ประเด็นที่ 2 หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า นาย ก. ไม่ได้มีเจตนาจะให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้ใด
28
ทางแพ่ง (ละเมิด) (1) ประมาทเลินเล่อ (2) ได้รับความเสียหาย ได้แก่ ร่างกายและทรัพย์สิน ทางอาญา (1) ความผิดฐานทําร้ายร่างกายมีความผิดฐานกระทําโดยประมาทให้ผู้อื่นรับ อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 390 มิใช่เป็นการใช้กําลังทําร้ายผู้อื่น ตาม มาตรา 391 (2) มิใช่ความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์เพราะทําให้เสียทรัพย์โดยประมาท ไม่มี กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้จึงไม่มีความรับผิดในส่วนนี้ (1)
(ความผิด)
(2)
Fault
ผล
จงใจ (เจตนาประสงค์ต่อผล) ประมาทเลินเล่อ-เจตนาย่อมเล็งเห็น
(ละเมิด)
-ประมาท (1)
(ไม่มีความผิด) Without Fault
เหตุสุดวิสัย -
Act of Good - Force majeure
อุบัติเหตุโดยแท้ (2) (Inevitable Accident)
2.4.2 ประมาทเลินเล่อ (Unintentional Torts: Negligence) คําว่า “ประมาทเลินเล่อ ” ในทางแพ่งตรงกับคําว่า “ประมาท ” ในทาง อาญา หรือไม่ 2.4.2.1 ประมาทเลินเล่อ ประมาทเลินเล่อ เป็นองค์ประกอบความรับผิดประการหนึ่งที่จะต้อง รับผิดฐานละเมิด แต่คําว่า “ประมาทเลินเล่อ ” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มิได้อธิบายไว้ว่าการกระทําอย่างไร จึงจะเรียกว่าประมาทเลินเล่อ จึงต้อง อาศัยเทียบเคียงกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ บัญญัติว่า “กระทา โดยประมาท ได้แก่กระทาความผิดมิใช่โดยเจตนาแต่กระทา โดยปราศจากความ ระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทา อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
29
ซึ่งประมาทในคดีอาญา คือ การปราศจากความระมัดระวังที่จําเลยจัก ต้องมี (Carelessness) และอีกประการหนึ่งในเรื่องของประมวลวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 46 คดีแพ่งต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญา ดังนั้นคําว่าประมาท (ในทาง อาญากับประมาทเลินเล่อทางแพ่งย่อมต้องเหมือนกัน) ตัวอย่าง การเซ็นชื่อในเช็ค หรือ เซ็นชื่อในกระดาษเปล่าถือว่าประมาทเลินเล่อ ถึงอย่างไรจักต้องพิจารณาจากความเสียหาย (Damage) เป็นหลักสําคัญ กล่าวคือ ถ้า ความเสียหายไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ประมาทเลินเล่อ ผู้ที่ประมาท เลินเล่อก็ไม่มีความรับผิดฐานละเมิด คําพิพากษาฎีกาที่ 148/2538 จําเลยที่ 1 มีหน้าที่ปิดกั้นถนนซึ่งมี ทางรถไฟผ่านได้เปิดสวิตช์สัญญาณไฟ 5 ดวง และให้สัญญาณโคมไฟสีเขียวแก่จําเลย ที่ 2 ผู้ขับขบวนรถไฟเพื่อผ่าน แต่ไม่ได้นําแผงกั้นถนนไปปิดกั้นถนนเป็นสาเหตุทําให้ รถยนต์โดยสารแล่นข้ามชนตู้โดยสารรถไฟเป็นเหตุให้คนตาย การกระทําของจําเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทําโดยประมาท ในการพิจารณาถึงความประมาทเลินเล่อ ศาลในประเทศอังกฤษได้วางหลัก เรื่องประมาทเลินเล่อไว้ว่าต้องครบองค์ประกอบดังนี้ (1) บุคคลนั้นมีหน้าที่จะต้องใส่ใจระมัดระวัง (Duty of care) (2) บุคคลนั้นได้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ (A Breach of that Duty)
(3)
การฝ่าฝืนนั้นทําให้เกิดผลเสียหาย (Damage or injury)
ขั้นตอน Duty of Care
Breach
Damage
Tort
30
อุทาหรณ์ ที่ 1 โจทก์ (Donoghue) กับเพื่อนไปเที่ยวร้านอาหารแห่งหนึ่ง (Café) โดยโจทก์สั่งเครื่องดื่ม Ginger beer มาดื่ม ภายหลังดื่มจวนจะหมดขวดแล้ว โจทก์ สังเกตเห็นซากหอยทาก (Decomposed Snail) ที่ก้นขวดเบียร์ที่ดื่ม ซึ่งทําให้โจทก์ อาเจียนไม่หยุด คดีนี้ท่านจะเห็นได้ว่า โจทก์ไม่สามารถ ฟ้องเรียกร้องให้ร้านอาหารรับผิดได้ เนื่องจากร้านอาหาร ไม่มีความสัมพันธ์ที่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ (no contract) โจทก์ต้องฟ้องบริษัทที่ผลิตเบียร์ โดย The House of Lords ได้วินิจฉัยว่าจําเลยเป็นผู้ผลิตย่อมมี หน้าที่ (Duty) ต้องใส่ใจระมัดระวังผลเสียที่จะมีต่อ ผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ของตน (A duty of care to the consumer of their product) ซึ่งตนมิได้ใช้ความระมัดระวังนั้น ทําให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายแก่ร่างกาย(แพ้ อาเจียน) พิพากษาให้จําเลย (Stevenson) ต้องชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อเยียวยาโจทก์ กรณีดังกล่าว ถึงแม้ว่าโจทก์กับจําเลยจะไม่รู้จักหรือมีนิติสัมพันธ์กัน โดยตรง (ซื้อขายกัน) เพราะโจทก์ซื้อเบียร์จากร้านค้าซึ่งรับมาอีกทอดหนึ่ง แต่โจทก์จัด อยู่ในกลุ่มคนที่จําเลยสามารถคาดเห็นได้ (Foreseeability) คาดเห็นว่าจะเกิด อันตรายได้ หากว่าผลิตภัณฑ์ที่ตนผลิต จําหน่ายนั้นมีสิ่งปลอมปน และจําเลยทําผิด หน้าที่ที่ปล่อยปละละเลย ให้สิ่งปลอมปนนั้นลงไปและเกิดความเสียหายขึ้นจึงเป็น ความประมาทเลินเล่อที่ละเมิดต่อผู้อื่นต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Donoghue V. Stevenson, 1932, AC 562, HL) นอกจากนี้ ในคดี Donoghue V. Stevenson ยังได้สร้างหลักความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทําละเมิด เป็นหลักการ เพื่อพิจารณาความรับผิด ที่เรียกว่า “Neighbors” ซึ่งจะได้กล่าวถึงอีกครั้ง อุทาหรณ์ ที่ 2 จําเลยรับจ้างขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิ้ลไฟฟ้า ภายหลังลงมือขุดถนน เสร็จเกิดหลุม แต่จําเลยใช้เชือกสีกั้น และตั้งไฟฉุกเฉินไว้เพื่อเป็นสัญญาณบอกว่าห้าม เข้า ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งตาบอดเดินตกหลุมนั้น จนได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงฟ้องเรียกค่า สินไหมทดแทน โดยกล่าวอ้างว่า จําเลยกระทําละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งในชั้นพิจารณาคดี จําเลยให้การปฏิเสธว่า จําเลยได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีแล้ว HL (The House of Lord) วินิจฉัยว่าการที่จําเลยอ้างนั้นยังไม่ถือว่าเพียงพอ เพราะจําเลยควรคาดหมาย ได้ว่าในสังคมไม่ได้มีเฉพาะคนที่ปกติเท่านั้น คนพิการต่าง ๆ ก็มีทั่วไปจําเลยควร
31
คาดหมายได้ จําเลยจึงต้องมีหน้าที่ (Duty of Care) จึงเป็นประมาทเลินเล่อ ต้องรับ ผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Haley V. London Electricity Board, 1964, 3 All ER 185)
อุทาหรณ์ ที่ 3 จําเลย (สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก) มีหน้าที่อบรมฝึกอาชีพเด็ก หรือเยาวชนที่กระทําความผิด ถูกเจ้าของทรัพย์ที่เสียหายฟ้องเนื่องจากเด็กเยาวชนที่ อยู่ในความดูแลของตน ได้หนีออกจากสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก โดยขโมยเรือและ สร้างความเสียหายต่อเรือลําอื่นที่อยู่ใกล้เคียง เจ้าของเรือจึงฟ้องเรียกร้องให้สถานพินิจ และคุ้มครองเด็กต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เด็กหรือเยาวชนนั้นก่อขึ้น คดีนี้ HL(The House of Lord) วินิจฉัยว่า จําเลยมีหน้าที่ต้องระมัดระวัง (Duty of Care) มิให้ไปก่อให้เกิดความเสียหายกับเจ้าของทรัพย์สินที่อยู่บริเวณใกล้กับกับสถาน พินิจ การที่จําเลยอ้างว่าจําเลยทําหน้าที่เพื่อสาธารณะประโยชน์มิใช่ประเด็นข้ออ้าง และมิใช่เหตุผลที่ดีที่จะทําให้มีอภิสิทธิ์แต่ประการใด (Special Immunity) แต่ อย่างไรก็ดี ความรับผิดที่สถานพินิจพึงต้องรับผิดชอบนั้น ควรจะถูกจํากัด เฉพาะความ เสียหายที่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น เพราะความเสียหายเช่นว่านั้นสามารถคาด เห็นได้ (Foreseeability) (Home Office V. Dorset Yacht, 1970, 2 All ER 294, HL)
อุทาหรณ์ ที่ 4 ผู้ตายไปโรงพยาบาลเนื่องจากมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง (Stomach pains) และอาเจียน (Vomiting) เมื่อไปถึงโรงพยาบาลปรากฏว่า แพทย์ปฏิเสธที่จะตรวจรักษาโดยให้ผู้ตายกลับบ้าน เมื่อกลับบ้านได้ประมาณ 5 ชั่วโมง ก็ถึงแก่กรรม ผลการชันสูตรพลิกศพปรากฏว่า ผู้ตายตายเพราะพิษสารหนู (Arsenic Poisoning) ดังนั้น ครอบครัวของผู้ตายจึงฟ้องเรียกร้องโรงพยาบาลให้รับผิดชอบต่อ ความตาย ด้วยเพราะปฏิเสธการรักษา ในทางพิจารณาคดีได้ความว่ามีหลักฐานทาง การแพทย์ยืนยันว่า แม้ว่าแพทย์จะรักษามีความเป็นไปได้สูงมากว่า แต่ถึงอย่างไรผู้ตาย ก็ต้องตายอยู่ดี เนื่องจากสภาวะพิษในร่างกาย ดังนั้น ศาลจึงได้วินิจฉัยว่า การที่ โรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาเป็นความประมาทเลินเล่อ แต่มิใช่เป็นสาเหตุทําให้ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นละเมิดการที่ไม่เข้าองค์ประกอบข้อ 3 เพราะถึงตนจะปฏิบัติ ตามหน้าที่ ความเสียหายก็เกิดขึ้นอยู่ดี (Barnett V. Chelsea & Kensington Hospital, 1968, 1 All ER 1068, Nield J)
32
คดีดังกล่าว พิเคราะห์ได้ว่า แม้ตัวจําเลยจักมีหน้าที่ (Duty of Care) แต่หากปรากฏว่า ความเสียหายมิใช่เป็นเหตุมาจากความประมาทเลินเล่อของจําเลย จําเลยก็หามีความผิดไม่ ดังนั้น ขอให้ระลึกเสมอว่าจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้ ต้อง มี Fault (ความผิด) และ Damage/Injury (ความเสียหาย) ประกอบกันเสมอ บุคคลจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ คดีต่อไปจะแสดงให้เห็นหลักในการวินิจฉัยเรื่องหน้าที่โดยตรงที่ บุคคลนั้นต้องปฏิบัติ กล่าวคือ การจะพิจารณาว่าบุคคลนั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ประมาท เลินเล่อหรือไม่ ไม่ควรสร้างภาระให้แก่บุคคลนั้นจนเกินกว่าความเหมาะสม (Reasonable)
อุทาหรณ์ ที่ 5 โจทก์เป็นมารดาของผู้ตายซึ่งเป็นเหยื่อการฆาตกรรมรายล่าสุด ของ ฆาตกรฆ่าหั่นศพที่มีชื่อเรียกว่า Yorkshire Ripper โจทก์จึงยื่นฟ้องกรมตํารวจ โดย กล่าวอ้างว่าในคําฟ้องว่า การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตํารวจไร้ประสิทธิภาพ และ ล้มเหลวในการสืบสวน ซึ่งเหตุดังกล่าวเป็นผลให้ลูกของโจทก์ต้องถูกฆาตกรรม ซึ่งคดี นี้ The House of Lords พิเคราะห์คํากล่าวอ้าง ดังกล่าวแล้ว จึงวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ ตํารวจไม่มีหน้าที่ที่ต้องระมัดระวังหรือคุ้มครองผู้ตาย (บุคคลหนึ่งบุคคลใด) ให้พ้น จากการฆาตกรรมของฆาตกร ท่านจะพบว่า ในคดีละเมิดโจทก์จะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึง หน้าที่ที่จําเลยมีอยู่ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี โดยชี้ให้เห็นทั้งข้อ กฎหมายและข้อเท็จจริง ว่าจําเลยมีหน้าที่แต่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ เป็นเหตุให้เกิดความ เสียหายแก่โจทก์ อุทาหรณ์ ที่ 6 คดีนี้เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกร้องนายจ้าง เรื่องมีอยู่ว่าลูกจ้างทํา หน้าที่พนักงานทําความสะอาด หน้าต่างตามตึกที่นายจ้างรับเหมาทําความสะอาด ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในทางการที่จ้าง นายจ้างไม่ได้มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติ หน้าที่ของลูกจ้าง เช่น ให้ลูกจ้างปีนขอบหน้าต่าง ทําความสะอาด แทนที่จะมีบันไดให้ และลูกจ้างได้รับบาดเจ็บเพราะตกจากขอบหน้าต่างขณะปฏิบัติหน้าที่ ลูกจ้างจึงฟ้อง นายจ้างให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายประเด็นอยู่ที่ว่า นายจ้างมีหน้าที่ (Duty) ต่อลูกจ้าง หรือไม่ ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่า เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ที่
33
จําเป็นต่อการทํางานของลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างสามารถคาดเห็นได้จึงเป็นละเมิด (General Cleaning V. Christmas, 1952, 2 All ER 1110, HL) จากกรณีดังกล่าวภายหลังเกิดคดี Walker V. Northum ซึ่งศาลได้มี
คําพิพากษาให้ นาย Beeland ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หากนายจ้างใช้งาน ลูกจ้างหนักเกินควรจนเป็นเหตุให้ลูกจ้างต้องเจ็บป่วยรุนแรง นายจ้างพึงต้องคาดเห็น ได้เช่นกัน นอกจากนี้ขอย้อนกลับไปในคดี Donoghue ที่ศาลกําหนดหน้าที่ของ ผู้ผลิตที่พึงมีต่อลูกค้า ยังมีกรณีที่ร้านค้ามีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังให้ความ ปลอดภัยกับลูกค้าไม่เฉพาะตัวผลิตภัณฑ์ (Product) เท่านั้น ยังให้หมายความรวมถึง สถานที่ประกอบการของร้านค้าต้องมีความปลอดภัย (Safety) เพียงพอต่อลูกค้าอีก ด้วย อุทาหรณ์ ที่ 7 Ward V. Tesco, 1976
ศาลตัดสินให้ห้าง Tesco ต้องชดใช้ค่า สินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด ในการที่ลูกค้าได้รับบาดเจ็บเพราะลื่นขณะเดินซื้อของ ซึ่งข้อเท็จจริงแห่งคดี (Fact) ซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้พนักงานห้างฯ ปล่อยปละละเลย ไม่ทําความสะอาดพื้น เมื่อมีของตกหล่นลงพื้น (โยเกริ์ต) ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวัง และถือเป็นสํานึกเรื่องความปลอดภัยที่ ผู้ประกอบการต้องคํานึงถึงเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับที่ศาลสหรัฐอเมริกา ได้มีการวางหลักเกี่ยวกับเรื่อง ประมาทเลินเล่อว่า “ไม่มีความรับผิดในการกระทาโดยประมาท ถ้าหากการ กระทานั้นไม่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น” (ขาดขั้นตอนที่ 3) เช่น ก. ขับรถ 25 ไมล์ในเขตห้ามขับเกิน 15 ไมล์ ข. เด็กวิ่งไล่ลูก บอลตัดหน้ารถได้รับบาดเจ็บ ข้อเท็จจริงได้ความว่า แม้ว่าจะขับเพียง 5 ไมล์ ก็ไม่ สามารถเบรคห้ามรถไว้ทัน จะเห็นได้ว่า ความประมาทดังกล่าวมิใช่ต้นเหตุแห่งความ เสียหาย ก. จึงไม่ต้องรับผิด ถึงแม้ว่า ก. จะฝ่าฝืนกฎหมายก็ตาม แต่จักอย่างไรความ เสียหายก็เกิดขึ้นอยู่ดีขอให้เปรียบเทียบเคียงกับคดี Barnett สําหรับศาลไทยได้ใช้แนวทางตามการพิจารณาคดีตามศาลอังกฤษ เป็นแนวทางในการพิจารณาเรื่องความประมาทเลินเล่อเช่นกัน กล่าวคือใช้หลัก Duty of Care มาพิเคราะห์ถึงความประมาทเลินเล่อ ตัวอย่างเช่น
34
รถยนต์ของโจทก์ถูกรถยนต์ของผู้อื่นชน โจทก์จึงมาฟ้องจําเลยฐาน ละเมิดว่า รถยนต์ของจําเลยวิ่งสวนรถยนต์ที่ชนโจทก์ แม้ว่ารถยนต์ของจําเลยมิได้ชน รถยนต์ของโจทก์ก็จริง แต่รถยนต์ของจําเลยมิได้เปิดไฟหน้ารถในเวลากลางคืน เป็น เหตุให้ทัศนวิสัยตรงนั้นมืดกว่าปกติ เป็นผลทําให้รถยนต์ที่ชนโจทก์มองไม่เห็นโจทก์ ฉะนั้น การที่รถยนต์โจทก์ถูกชนจึงเป็นผลมาจากการกระทําประมาทเลินเล่อของจําเลย (การไม่เปิดไฟหน้ารถยนต์) กรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจําเลยไม่มีความผิดเพราะ ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ คนที่จะประมาทเลินเล่อต้องมีหน้าที่ จําเลยไม่มีหน้าที่ที่ต้อง ระวังมิให้รถยนต์โจทก์ถูกชน คําพิพากษาฎีกาที่ 2205-2206/2542 ตามสัญญาเช่าตู้นิรภัยเป็น การเช่าเพื่อเก็บทรัพย์สินซึ่งตู้นิรภัยอยู่ในความควบคุมดูแลของจําเลยที่ 1 ดังนั้น แม้ จําเลยที่ 1 จะไม่รู้เห็นการนําทรัพย์สินเข้าเก็บหรือนําออกจากตู้นิรภัย จําเลยที่ 1 ก็ไม่ หลุดพ้นจากความรับผิดหากทรัพย์สินที่เก็บในตู้นิรภัยนั้นสูญหายจริง และข้อเท็จจริง ยังปรากฏว่ามีลายนิ้วมือแฝงที่ตู้นิรภัยซึ่งมิใช่ของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 และมิใช่ของ เจ้าหนี้ที่ของจําเลยที่ 1 ด้วยเป็นข้อที่ชี้ให้เห็นว่า มีคนร้ายเข้าไปเปิดตู้นิรภัยและนําเอา ทรัพย์สินที่เก็บไปจริง จําเลยที่ 1 อ้างว่าอาจเป็นลายนิ้วมือแฝงของคนของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นั้นก็เป็นการคาดคะเนโดยปราศจากข้อเท็จจริงสนับสนุน การที่คนร้ายลักเอา ทรัพย์สินในตู้นิรภัยไปถือเป็นความบกพร่องในหน้าที่ของจําเลยที่ 1 ในการดูแล ป้องกันภัยแก่ทรัพย์สิน ความระมัดระวังของจําเลยที่ 1 จึงไม่พอ เป็นการละเมิดต่อ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 คําพิพากษาฎีกาที่ 769/2518 จําเลย (เทศบาล) เป็นผู้มีหน้าที่ ดูแลสะพานให้มีความมั่นคงแข็งแรงและเรียบร้อย การที่จําเลยปล่อยปละละเลยให้ สะพานยุบพัง ราวสะพานเป็นช่องโหว่อยู่ก่อนที่ผู้เสียหายตกลงไปประมาณ 2 เดือน ไม่ รีบซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย ปลอดภัยจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายตกลงไปทาง ช่องโหว่นั้น เป็นความประมาทเลินเล่อของจําเลยอันเป็นการกระทําละเมิดต่อผู้เสียหาย จําเลยต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับคําพิพากษาฎีกา 761/2518 และขอให้เทียบเคียงกับคํา พิพากษาฎีกาที่ 5188/2533 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สะพานที่เกิดเหตุไม่มีป้ายห้าม รถยนต์บรรทุกน้ําหนักเกิน 6 ตันผ่าน จําเลยซึ่งเป็นสุขาภิบาลมีหน้าที่ดูแลรักษา สะพานให้มีความมั่นคงแข็งแรงและเรียบร้อย เพื่อให้บริการสาธารณูปโภคแก่ ประชาชนและผู้ขับรถยนต์บรรทุกหนักผ่านข้ามสะพานจึงเป็นความประมาทเลินเล่อ ของจําเลย ดังนั้น เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นการกระทําโดยประมาทเลินเล่อของจําเลย แต่
35
เมื่อพิเคราะห์ถึงการที่นาย ส. ขับรถยนต์บรรทุกที่มีน้ําหนัก 9 ตัน และบรรทุกรําหนัก 7,230 กิโลกรัม ผ่านสะพานไม้ดังกล่าว ซึ่งบุคคลทั่วไปเห็นสภาพของสะพานที่เกิด เหตุแล้วย่อมจะไม่แน่ใจว่าสะพานดังกล่าวจะรับน้ําหนักรถและสิ่งของที่บรรทุกรวมกัน ประมาณ 16 ตันได้ เช่นนี้ เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างมากของนาย ส. ลูกจ้างกระทําในทางการที่จ้างของโจทก์อยู่ด้วย ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งหมดเพราะความผิดของลูกจ้างโจทก์ที่ 1 มีส่วนประกอบด้วยอย่างมาก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 442 ค่าสินไหมทดแทนอันโจทก์ควรจะ ได้รับมากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์แวดล้อมแห่งกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็น ประมาณ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223 และปรากฏว่านาย ส. มี ส่วนในความประมาทมากกว่าจําเลย โจทก์ที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ จําเลย ตามที่จําเลยได้ฟ้องแย้งไว้ คําพิพากษาคดีหลังสุด เป็นการตรวจสอบระดับความระมัดระวัง ที่ ไม่ได้พิเคราะห์เฉพาะแก่จําเลยที่มีหน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น ซึ่งในส่วนของโจทก์เอง ต้องได้ชื่อว่าใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน ซึ่งการวินิจฉัยเกี่ยวกับการมี ส่วนร่วมในการกระทําความผิดฐานละเมิดจะมีผลในเรื่องของการกําหนดค่าสินไหม ทดแทน มิใช่ลบล้างความประมาทเลินเล่อของอีกฝ่ายหนึ่ง ในคดีนี้เมื่อโจทก์ (รถบรรทุก) ฟ้องจําเลย (สุขาภิบาล) จําเลยก็ได้ให้การฟ้องแย้งกลับว่าโจทก์กระทํา ละเมิดกล่าวคือประมาทเลินเล่อทําให้สะพานที่อยู่ในความควบคุมดูแลของจําเลยได้รับ ความเสียหาย และเมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีปรากฏในชั้นพิจารณาคดีต่างฝ่ายต่างหา พยานหลักฐานเข้ามาสนับสนุนและหักล้างอีกฝ่ายหนึ่ง ก็มิได้ลบล้างความประมาท เลินเล่อของแต่ละฝ่ายได้ คงเป็นเพียงการกําหนดค่าเสียหายที่เหมาะสมแก่รูปคดี (ใน การนี้จะได้อธิบายถึงในเรื่องค่าเสียหายอีกคราวหนึ่ง) แต่ทว่า หากเกิด กรณีรถยนต์ชน กัน และได้ความว่า ทั้งสองฝ่ายต่างขับรถ ยนต์ มาด้วยความประมาทเลินเล่อ และ ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังนี้ ต่างฝ่ายต่างก็ไม่มีสิทธิที่จะ เรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน (พิจารณาตามคําพิพากษาฎีกาที่ 505 /2519) คําพิพากษาฎีกาที่ 370/2540 จํา เลยจัดอาคารที่จอดรถให้แก่ลูกค้า ผู้ที่นํารถเข้าไปจอดเป็นผู้หาที่จอดรถเองและเป็นผู้เก็บกุญแจไว้โดยไม่ต้องเสียค่าจอด แต่อย่างใด ส่วนการที่จําเลยจัดพนักงานไว้คอยฉีกหรือตรวจบัตรจอดรถยนต์ขณะที่นํา รถยนต์ออกจากอาคารที่จอดรถของจําเลยนั้น เป็นเพียงมาตรการช่วยรักษาความ ปลอดภัยให้เท่านั้น ที่โจทก์อ้างว่าลูกจ้างของจําเลยปล่อยให้รถยนต์ออกจากอาคารที่ จอดรถโดยไม่รับบัตรจอดรถคืนนั้น โจทก์มิได้นําสืบให้เห็นว่าลูกจ้างของจําเลยได้
36
ปล่อยรถที่โจทก์รับประกันภัยออกไปโดยประมาทเลินเล่ออย่างไร แต่กลับได้ความจาก พยานจําเลยว่าวันเกิดเหตุมีรถยนต์ออกจากอาคารที่จอดรถไปโดยไม่มีบัตรจอดรถรวม 3 คัน ลูกจ้างของจําเลยได้บันทึกทะเบียนรถยนต์ บัตรประจําตัวผู้ขับขี่หรือบัตร ประจําตัวประชาชนไว้แล้ว ไม่ปรากฏว่าได้ปล่อยรถคันที่โจทก์รับประกันออกไป แม้แต่ ว. พยานโจทก์ก็เบิกความรับว่าเคยขับรถเข้าไปจอดในห้างของจําเลยแล้วออกไปโดย ไม่คืนบัตรจอดรถ ลูกจ้างของจําเลยไม่ยอมให้ออกจนกระทั่งต้องแสดงเอกสารเกี่ยวกับ รถให้ดูจึงจะนํารถออกไปได้ แสดงว่าลูกจ้างของจําเลยได้ตรวจสอบและปล่อยรถ ถูกต้องตามระเบียบเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเองมิได้กระทําโดย ประมาทเลินเล่อดังที่โจทก์ฟ้อง จําเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การพิจารณาในส่วนประมาทเลินเล่อนี้ นอกจากจะพิจารณา หลักเกณฑ์ (1) หน้าที่ และ (2) การฝ่าฝืนหน้าที่แล้ว ผลร้ายที่ได้รับต้องเป็นธรรมต่อผู้ ก่อภัยด้วย กล่าวคือ ความเสียหายต้องสามารถคาดหมายได้ และเป็นธรรมหรือไม่ สร้างภาระให้แก่บุคคลนั้นเกินไป เช่น โจทก์ฟ้องจําเลยที่มีหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี เนื่องจากจําเลย ประมาทเลินเล่อในการเตรียมข้อมูลทางการเงิน ทําให้โจทก์หลงเชื่อว่ากิจการของ บริษัท A มีฐานะทางการเงินดี น่าลงทุน จึงได้ซื้อหุ้นไปจํานวนหนึ่งแต่ความจริงกลับไม่ เป็นเช่นนั้น หุ้นกลับมีมูลค่าลดลงเรื่อยมา กรณีเช่นนี้ศาลได้วินิจฉัยว่า ความเสียหาย ของโจทก์เป็นหน้าที่ที่โจทก์ควรคาดหมายได้ แต่มิใช่เรื่องที่จําเลยจะต้องร่วม รับผิดชอบด้วย แม้ว่าจําเลยจะเป็นผู้ที่ทํางานด้านการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน แต่ จําเลยไม่ได้มีหน้าที่ประกันความเสี่ยงด้านกําไรขาดทุนให้แก่ผู้ใด (Caparo V. Dickman, 1990)
หากความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากผู้เสียหายเอง เช่นนี้ย่อมมิอาจ เรียกร้องได้ เช่น นักโทษฆ่าตัวตายในห้องขังประจําสถานีตํารวจ ศาลวินิจฉัยว่า ตํารวจ ไม่ได้มีหน้าที่โดยทั่วไป เพื่อป้องกันมิให้นักโทษคนหนึ่งคนใดฆ่าตัวตาย เว้นเสียแต่ ตํารวจจะได้ทราบหรือควรจะทราบอยู่ก่อนว่าจะมีภัยเช่นว่านั้นเกิดขึ้น ตํารวจก็มิอาจ ปฏิเสธความรับผิดได้เช่นกัน (Orange V. Chief Constable of West Yorkshire, 2001) และขอให้เทียบเคียงกับคดี Kirkham V. Anderton, 1920. ที่กําหนดให้ตํารวจต้องรับผิดชอบการฆ่าตัวตายของนักโทษ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ ทราบว่านักโทษรายนี้ มีแนวโน้มที่จะกระทําอัตวินิบาตกรรม แต่มิได้ป้องกันผลแต่ อย่างใด
37
คําพิพากษาฎีกาที่ 273/2487 ในการปฏิบัติราชการการที่ข้าราชการ คนหนึ่งใช้ข้าราชการอีกคนหนึ่งไปรับเงินหรือสิ่งของ แล้วคนที่ไปรับยักยอก เมื่อไม่ได้ ความว่าผู้ใช้ประมาทเลินเล่อหรือจงใจให้ผู้อื่นเสียหายไม่ต้องรับผิด คณะกรรมการ จังหวัดรับสลากกินแบ่งรัฐบาลมาแล้วจ่ายให้คณะกรรมการอําเภออีกต่อหนึ่ง ปลัดอําเภอเคยใช้สารวัตรศึกษาไปรับสลากกินแบ่งนั้น โดยไม่เคยเกิดเรื่องเพิ่งมาเกิด ยักยอกคราวนี้ ไม่ต้องรับผิด คําพิพากษาฎีกาที่ 6114/2540 จําเลยที่ 2 ทําสัญญากับธนาคารรับ เป็นผู้ประสานงานในการส่งข้อมูลของธนาคารจากเครื่องส่งสัญญาณ เอส.โอ.เอส. ไป ยังสถานีตํารวจ ฯลฯ ด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์เพื่อขอความ ช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เมื่อเครื่องส่งสัญญา เอส .โอ.เอส. ที่จําเลยที่ 2 ติดตั้งไว้ที่เครื่องบริการเงินด่วนของธนาคารส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์ ของจําเลยที2่ เพราะถูกคนร้ายงัดทําลาย แต่เจ้าหน้าที่จําเลยที่ 2 ละเลยไม่แจ้งเหตุ ต่อไปยังสถานีตํารวจเพื่อขอความช่วยเหลือถือว่าจําเลยที่ 2 ผิดสัญญาแต่ไม่ถือเป็น การละเมิดต่อธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 สัญญาไม่มี ระบุว่าหากจําเลยที่ 2 ผิดสัญญาจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจํานวนเท่าใด จึงเป็น เพียงสัญญาให้บริการแก่ธนาคารเพื่อช่วยป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินของธนาคารอีก ทางหนึ่ง ไม่ใช่สัญญาที่จําเลยที่ 2 ตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารในกรณี ทรัพย์สินถูกโจรกรรม ธนาคารไม่มีสิทธิฟ้องจําเลยที่ 2 เพื่อเรียกค่าเสียหายตาม จํานวนเงินที่ถูกคนร้ายลักไป โจทก์ซึ่งใช้ค่าเสียหายให้ธนาคารเจ้าหนี้ผู้เอาประกันไป แล้วย่อมไม่อาจรับช่วงสิทธิของธนาคารมาฟ้องเรียกให้จําเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดต่อ โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคแรกได้ คําพิพากษาฎีกาที่ 511/2542 ข้อกําหนดองค์การการบินพลเรือน ระหว่างประเทศเรื่อง กฎทางอากาศและบริการจราจรทางอากาศ ได้ระบุถึงเครื่องบิน ขนาดกลางและขนาดเบาที่บินลงตามหลังเครื่องบินขนาดหนักต้องใช้ระยะเวลาอย่าง น้อยที่สุด 2 นาที และ 3 นาที ตามลําดับ แต่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบ เครื่องบินลําที่ ส. ขับกับเฮลิคอปเตอร์ของกรมตํารวจ ต่างเป็นเครื่องบินขนาดเบาทั้งคู่ จึงไม่เข้าข่ายข้อกําหนดฯ ตามที่โจทก์อ้างจากรายงานของคณะกรรมการสอบสวนได้ ความว่า ในทางปฏิบัติหอบังคับการบินหัวหินอนุญาตให้เครื่องบินทั้งสองชนิดลงพร้อม กันได้ และข้อเท็จจริงได้ความว่าที่สนามบินหัวหิน โจทก์จัดให้เฮลิคอปเตอร์จอดอยู่ ห่างจากขอบทางวิ่งของเครื่องบินประมาณ 30 เมตร เท่านั้น โดยจุดจอดของ เฮลิคอปเตอร์มีมานานร่วม 20 ปีแล้ว จึงเป็นความผิดของโจทก์ที่ทําให้จําเลยทั้งสอง
38
ไม่อาจจัดให้เฮลิคอปเตอร์จอดอยู่ห่างจากขอบวิ่งของเครื่องบินมากกว่า 90 เมตร ได้ กรณีดังกล่าวจึงโทษจําเลยทั้งสองไม่ได้ พยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบได้ความว่าหลังเกิด เหตุประมาณ 1 เดือน คณะทํางานของคณะกรรมการสอบสวนได้ทําการทดลอง ณ สนามบินหัวหิน เพื่อพิสูจน์ว่าอิทธิพลของกระแสอากาศมวลวนที่เกิดจากเฮลิคอปเตอร์ จะก่อให้เกิดอันตรายต่อการบินของเครื่องบินที่ ส. ขับได้ถูกกระแสอากาศมวลวนอัน เกิดจากเฮลิคอปเตอร์ หลังเกิดคดีนี้โจทก์ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ เกิดขึ้น ผลสรุปเห็นว่าจําเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ถูกต้อง พยานโจทก์ก็เบิกความ ยอมรับว่า ขณะเกิดเหตุจําเลยทั้งสองไม่ได้ฟังได้ว่าจําเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อ 2.4.2.2 ระดับของความระมัดระวัง การที่จําเลยจะให้การปฏิเสธว่า ไม่ประมาทเลินเล่อนั้น ในทาง พิจารณาคดีจะพิจารณาถึงระดับความระมัดระวังว่าบุคคลนั้นใช้เพียงพอแล้วหรือไม่ ซึ่ง อาศัยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ที่บัญญัติว่า “ปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทาอาจใช้ ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่” ประมาทเลินเล่อ จึงเป็นเรื่องของการไม่ใช้ความระมัดระวัง (ปราศจาก) หรือใช้ความระมัดระวังอยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอ ไม่ใช้ความระมัดระวัง
ประมาทเลินเล่อ
ความเสียหาย
ใช้แต่ไม่เพียงพอ
ใช้เพียงพอ
ไม่ประมาทเลินเล่อ
ความเสียหาย
รับผิด
ไม่รับผิด
39
กรณีที่ 1 บุคคลนั้นมีหน้าที่แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังย่อมชัดเจนอยู่ในตัวเอง ว่าหากเกิดความเสียหายขึ้น ตนมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ กรณีที่ 2 ประเด็นอยู่ที่ว่า ระดับความระมัดระวังที่จะถือว่าเพียงพอ อยู่แค่ ไหน และใช้เกณฑ์อะไรเป็นเครื่องบ่งชี้ ซึ่งตามกฎหมายใช้คําว่า “บุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและ พฤติการณ์” 1. วิสัยของบุคคลในภาวะเช่นนั้น 2. พฤติการณ์ที่บุคคลนั้นประสบ มาตรฐานที่กําหนดระดับความระมัดระวัง พิจารณาจาก “มาตรฐานวิญญูชน ” กล่าวคือ บุคคลทั่วไปมาเป็นเครื่องชี้วัด มาตรฐานความระมัดระวังต้องถือเกณฑ์คน ทั่วไปมาใช้ โดยปกติแล้วมาตรฐานวิญํูชนแบ่งเป็น 2 ประการ 1. ภาวะวิสัย (Objective Test) 2. อัตตวิสัย (Subjective Test)
ภาวะวิสัย
อัตตวิสัย
ภาวะวิสัย หมายถึง การพิจารณาโดยใช้เกณฑ์วัดจากมาตรฐานกลาง เป็น เกณฑ์ที่ดูจากบุคคลภายนอกมองเข้ามา อัตตวิสัย หมายถึง การพิจารณาโดยใช้เกณฑ์วัดจากมาตรฐานภายในของคน หนึ่งคนใดออกไป โดยทั่วไปการพิจารณาเรื่องประมาทเลินเล่อ จะใช้เกณฑ์พิจารณาแบบภาวะ วิสัยวิญํูชนเช่น นายกิตติดื่มเหล้าเมาแล้วขับรถยนต์กลับบ้าน นายกิตติมั่นใจว่า คนขับรถใช้ความระมัดระวังอย่างดีเยี่ยม แต่กลับไปชนคนอื่น นายกิตติอ้างว่าเวลาดื่ม เหล้าไปแล้ว การขับรถของตนจะดีเยี่ยมเป็นพิเศษ ซึ่งแม้ความเป็นจริงจะเป็นอย่างนั้น
40
จริง ๆ นายกิตติก็ไม่สามารถอ้างได้ เพราะเป็นการพิจารณาแบบอัตตวิสัยต้องพิจารณา แบบภาวะวิสัย แต่อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นอยู่ 2 ประการที่มิได้ใช้เกณฑ์ตามภาวะวิสัย ได้แก่ 1 . การที่จําเลยมีความบกพร่องทางกายภาพ เช่น ร่างกายพิการ ตาบอด แขน ขาดขาขาด เป็นเด็ก คนชรา ซึ่งเวลาที่จะพิจารณาว่าจําเลยใช้ความระมัดระวังเพียงพอ แล้วหรือไม่ นั้น ต้องพิจารณาถึงความบกพร่องต่างๆ ประกอบด้วย กล่าวคือ ให้ พิจารณาจากอัตวิสัยประกอบ ขอให้ท่านพิจารณาจากคดี R.V. Hadfield ที่เคย ยกตัวอย่างมาแล้วด้วย 2 . ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่ามาตรฐานวิญํูชน (ทั่วไป) เช่น แพทย์ ทนายความ วิศวกร สถานปนิก เป็นต้น ต้องมีมาตรฐานสูงกว่ามาตรฐานของวิญํูชน ข้อควรสังเกต กรณีเช่นว่านี้ ให้หมายความรวมถึงผู้ที่มิได้เชี่ยวชาญ แต่ได้ไปแสดงตน อวดอ้าง จนทําให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้น จะขอให้ใช้มาตรฐาน แบบวิญํูชนทั่วไปมิได้ เช่น นายกิตติเป็นหมอเถื่อนประกอบอาชีพอย่างแพทย์ อยู่ต่างจังหวัด ชาวบ้านทั่วไปเชื่อว่าเป็นแพทย์จริง ได้รับรักษาคนไข้โดยฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อที่สะโพก (มีเส้นประสาท) นายกิตติไม่ทราบ เพราะไม่มีความรู้ ปรากฏว่า เข็มฉีดยาที่แทงไป นั้นถูกเส้นประสาทเกิดเป็นฝีอักเสบตรงที่ฉีดยา ทําให้ต่อมาผู้ป่วยรายนั้นขาลีบ กรณี เช่นนี้นายกิตติจะมาแก้ตัวไม่ได้ว่า ตนไม่มีความรู้อย่างหมอที่แท้จริง โปรดเทียบเคียง ตามคําพิพากษาฎีกาที่ 760/2506, 2593/2521, 946/247 คําพิพากษาฎีกาที่ 292/2542 (คดีผ่าตัด หน้าอก) จําเลยที่ 2 ทําการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ที่มี ขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงที่โรงพยาบาลจําเลยที่ 2 อีก 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น โจทก์จึงให้แพทย์อื่นทํา การรักษาต่อ แม้ตัวโจทก์และนายแพทย์ ด. ผู้ทําการ รักษาโจทก์ต่อจากจําเลยที่ 2 จะไม่สามารถนําสืบให้ เห็นว่า จําเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดและ รักษาพยาบาลโจทก์อย่างไร แต่เมื่อจําเลยที่ 2 เป็น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ผ่าตัด จําเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เป็นพิเศษ การที่ นายแพทย์ ด. ต้องทําการผ่าตัดแก้ไขอีก 3 ครั้ง แสดงว่าจําเลยที่ 2 ผ่าตัดมามี
41
ข้อบกพร่องจึงต้องแก้ไขและแสดงว่าจําเลยที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัด และไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงขั้นตอนการรักษา ระยะเวลา และกรรมวิธีในการ ดําเนินการรักษา จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็นความประมาท เลินเล่อของจําเลยที่ 2 ถือได้ว่าจําเลยที่ 2 กระทําละเมิดต่อโจทก์ (เรื่องนี้จะนําไป พิเคราะห์อีกครั้งในเรื่องการกําหนดค่าเสียหาย) คําพิพากษาฎีกาที่ 7452/2541 จําเลยซึ่งเป็นแพทย์ได้แจ้งโจทก์ว่ามีเด็กตาย ในท้องโจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จําเลยขูดมดลูกและทําแท้งให้ แต่การที่จําเลยใช้ เครื่องมือแพทย์เข้าไปขูดมดลูกของโจทก์ทําให้มดลูกทะลุ ทั้งที่มดลูกของโจทก์มี ลักษณะเป็นปกติ มิได้มีลักษณะบางแต่อย่างใด และทําให้ลําไส้เล็กทะลักออกมาทาง ช่องคลอดยาว 5 เมตร เนื่องจากเครื่องมือแพทย์ที่ใส่เข้าไปในช่องคลอดได้เกี่ยวเอา ลําไส้ดึงออกมานั้นเอง จําเลยจึงไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามปกติวิสัยของผู้มีความรู้ ความสามารถในการประกอบวิชาชีพแพทย์ นับเป็นความประมาทเลินเล่อของจําเลย ซึ่งต่อมาแพทย์ที่ตรวจโจทก์ในภายหลังเห็นว่า หากนําลําไส้โจทก์กลับเข้าไปในร่างกาย อีกอาจมีการติดเชื้อในช่องท้อง จึงได้ทําการตัดลําไส้ที่ทะลักออกมาทิ้งไป จําเลยจึง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ หรือคดีต่อไปนี้ที่ศาลกําหนดให้ธนาคารในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพเช่นนั้นต้อง ใช้ความระมัดระวังในการทวงหนี้แก่ลูกหนี้ กล่าวคือ คําพิพากษาฎีกาที่ 976/2543 แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกัน กับลูกหนี้ของจําเลย แต่ก็มีภูมิลําเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจําเลย ไม่เคยย้ายภูมิลําเนา อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจําเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ ทนายความจําเลยหรือ จําเลย กลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ชําระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทําให้โจทก์เกิดความ กลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวันลง ข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทําให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหา มูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จําเลย และลงความเห็นว่าถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริง โจทก์จะ ถูกลงโทษ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้ง ความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความให้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ ดังกล่าว ดังนี้ กรณีถือได้ว่าจําเลยประมาทเลินเล่อ หรือไม่ไยดีต่อผลแห่งความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลัง โดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทําการ ตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจําเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความของจําเลย
42
หรือจําเลยทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจําเลย รวมทั้งจําเลยยังได้ยืนยันที่จะ ฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนําเรื่องไปร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวนจนถูกหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับนําข่าวไปเผยแพร่ทั่ว ราชอาณาจักร อันเป็นการกระทําต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทําให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์ ดังกล่าวจึงถือได้ว่าจําเลยได้กระทําละเมิดต่อโจทก์อันจําต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้ว ครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความผิดเพื่อละเมิด คําพิพากษาฎีกาที่ 5129/2546 จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาพลศึกษา ได้สั่งให้นักเรียนชั้น ม.1 วิ่งรอบสนามระยะทาง 200 เมตร ต่อ 1 รอบ จํานวน 3 รอบ เป็นการอบอุ่นร่างกายก่อนการเรียนวิชาพลศึกษาในภาคปฏิบัติ และได้สั่งให้นักเรียน วิ่งรอบสนามต่ออีก 3 รอบ เป็นการทําโทษที่วิ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเหมาะสม ตามสมควรแก่พฤติการณ์ แต่การที่สั่งให้วิ่งรอบสนามต่อไปอีก 3 รอบ และเมื่อ นักเรียนยังทําไม่ได้เรียบร้อย ก็สั่งให้วิ่งต่อไปอีก 3 รอบ ในช่วงเวลาหลังเที่ยงวันเพียง เล็กน้อย สภาพอากาศร้อนและมีแสงแดดแรง นับเป็นการใช้วิธีการลงโทษนักเรียนที่ ไม่เหมาะสมและไม่ชอบ เพราะจําเลยที่ 1 น่าจะเล็งเห็นได้ว่าการลงโทษนักเรียนซึ่งมี อายุระหว่าง 11 ถึง 12 ปี ด้วยวิธีการดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียน ได้เป็นความประมาทเลินเล่อ จนทําให้เด็กชาย พ. ซึ่งเป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนล้มลงใน การวิ่งรอบสนามรอบที่ 11 และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา เพราะสาเหตุระบบหัวใจ ล้มเหลว การตายของเด็กชาย พ. จึงเป็นผลโดยตรงจากการวิ่งออกกําลังตามคําสั่งของ จําเลยที่ 1 แม้จําเลยที่ 1 จะไม่ทราบว่าเด็กชาย พ. เป็นโรคหัวใจก็ตาม มิใช่เกิดจาก เหตุสุดวิสัย ถือได้ว่าจําเลยที่ 1 กระทําละเมิดเป็นเหตุให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย แต่ความไม่รู้ของจําเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นเหตุประกอบดุลพินิจในการกําหนดค่าสินไหม ทดแทนให้น้อยลง ข้อสังเกต (1 ) การแสดงตนว่าเชี่ยวชาญต้องถึงขนาดให้ประชาชน หลงเชื่อด้วย หากแสดงตนแต่คนไม่เชื่อถือก็ไม่เข้าข่าย (2) หากเป็นกรณีฉุกเฉิน (Emergency Case) ระดับของ เกณฑ์นี้ต้องพิจารณาตามสภาวะฉุกเฉินนั้นด้วย ที่เรียกว่า Emergency Doctrine เช่น จําเลยเป็นแพทย์สนาม อยู่ในภาวะสงคราม หรือเหตุแห่งภัยพิบัติระดับแห่งความ ระมัดระวังจะใช้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกับแพทย์ตามโรงพยาบาลทั่วไปมิได้ คําพิพากษาฎีกาที่ 3267/2540 รถหุ้มเกราะของโจทก์พลิก คว่ําขณะแล่นลาดตระเวนรักษาความสงบเรียบร้อย เจ้าพนักงานตํารวจในสังกัดโจทก์
43
ไปขอความร่วมมือจากจําเลยที่ 3 ให้นํารถบรรทุกสิบล้อไปลากจูงรถหุ้มเกราะกลับที่ตั้ง วิธีลากจูงใช้ลวดสลิงผูกกับส่วนหน้าของรถหุ้มเกราะแล้วนําไปผูกไว้กับท้ายรถบรรทุก สิบล้อ ให้ล้ําหน้าของรถหุ้มเกราะลอยสูงขึ้นจากพื้นถนน แต่ลากจูงไปได้ไม่ไกล ลวดสลิงขาด รถหุ้มเกราะเสียหลักชนกับรถเก๋งที่แล่นสวนทางมา โจทก์ชดใช้ ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งแล้วมาฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจําเลยทั้งสี่ เมื่อปรากฏว่าการผูก ล้อหน้าของรถหุ้มเกราะให้แขวนลอยอยู่ข้างท้ายรถบรรทุกสิบล้อจะช่วยให้กระชับมั่น สะดวกรวดเร็วและง่ายแก่การลากจูงประกอบกับไฮดรอลิกเสีย ทําให้ล้อหน้าของรถหุ้ม เกราะไม่หมุน จึงต้องลากจูงโดยให้ล้อหน้าลอย จึงเป็นเหตุจําเป็นที่ไม่อาจถือได้ว่าเป็น ความประมาทเลินเล่อของจําเลยที่ 1และที่ 2 ทั้งในบริเวณที่เกิดเหตุเมื่อมืดค่ําแล้ว อันตรายเคยมีผู้ก่อการร้ายลอบยิง หากไม่ลากรถหุ้มเกราะออกจากที่เกิดเหตุ ผู้ก่อการร้ายอาจเข้าโจมตีเผารถหุ้มเกราะจะเสียหายแก่ทางราชการ กรณีจึงไม่อยู่ใน วิสัยที่จําเลยที่ 1 และที่ 2 จะเลือกปฏิบัติเป็นอย่างอื่นนอกจากจะต้องลากจูงรถหุ้ม เกราะไปดีกว่าจะปล่อยให้เสี่ยงอันตรายและเสี่ยงต่อความบกพร่องในหน้าที่ กรณียัง ฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 1 และที่ 2 ประมาทเลินเล่อ คําว่า “วิสัย ” หมายถึง ลักษณะที่เป็นอยู่ของบุคคล ผู้กระทํา เป็นเด็ก พิการ หรือบกพร่องในทางกาย หรือจิตใจ ฉะนั้น การวินิจฉัยเรื่อง วิสัยต้องพิจารณาแค่ระดับความระมัดระวัง จําเพราะเจาะจงบุคคลในวิสัยนั้น ๆ เช่น เด็กก็ต้องถือระดับความระมัดระวังของเด็กทั่วไป (ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์) โปรดพิจารณาคําพิพากษาฎีกา 2101/2527 หรือตามคําพิพากษาฎีกาที่ 946,947/2475 721/2475 1414/2516 2593/2521 461/2536 ได้ พิจารณา โดยพิจารณาเรื่องวิสัยเป็นสําคัญ กล่าวคือหากบุคคลนั้นมีความชํานาญหรือมี ฝีมือยิ่งกว่าคนธรรมดาทั่วไป ระดับของความระมัดระวังต้องอยู่ในวิสัย เช่น ภาวะของ บุคคลในลักษณะของผู้เชี่ยวชาญ (3)
คําพิพากษาฎีกาที่ 625/2542 แม้ต่อมาอีก 2 ปี 11 เดือน 23 วัน จําเลยได้ฟ้องโจทก์ล้มละลาย แต่วงเงินที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจําเลยก็ถูกจํากัด อยู่เพียง 1,000,000 บาท ตามสัญญาค้ําประกัน กับทั้ง ส. ก็ได้ชําระหนี้ให้จําเลยตาม สัญญาค้ําประกันแล้วถึง 1,800,000 บาท และแม้โจทก์จะมีความรับผิดตามสัญญา จํานองประกันหนี้ของบริษัท ล. อีกในวงเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยด้วยก็ตาม ยอดหนี้ที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจําเลยเมื่อรวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแล้วก็ไม่มีทางถึง 15,332,017.82 บาทได้ การที่จําเลยบรรยายฟ้องในคดีล้มละลายว่าโจทก์ยังต้องรับ ผิดต่อจําเลยร่วมกับบริษัท ล. อีก 15,015,517.82 บาทโดยไม่บรรยายถึงวงเงินที่
44
โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาค้ําประกัน ทั้ง ว. ผู้รับมอบอํานาจของจําเลยยังได้เบิกความ ในชั้นพิจารณาอีกด้วยว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับบริษัท ล. ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 15,332,071.82 บาท จนศาลชั้นต้นพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาและพิพากษาให้ ล้มละลายทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทําโดยประมาทเลินเล่อในการ คํานวณยอดหนี้ของโจทก์ และเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตัวอย่างคําพิพากษาฎีกาอีกหนึ่งตัวอย่างที่ศาลวินิจฉัยให้ ธนาคารจําเลยต้องรับผิด เนื่องจากตนมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติ หน้าที่ในการตรวจสอบเช็คและระมัดระวังในการเบิกจ่ายเงินตามเช็ค แต่เมื่อไม่ได้ ปฏิบัติตามหน้าที่ให้สมกับตนมีอาชีวะเช่นนั้นแล้ว จึงต้องรับผิดชอบในความประมาท เลินเล่อของพนักงานของตน คําพิพากษาฎีกาที่ 6388/2544 ร. กับพวกรวมกันปลอม ข้อความในช่องผู้รับเงินในเช็ค โดยขีดฆ่าชื่อโจทก์ในช่องผู้รับเงินแล้วปลอมลายมือชื่อ ผู้มีอํานาจสั่งจ่ายของบริษัท ด. ลงกํากับโดยไม่มีตราประทับ ทั้งๆที่เงื่อนไขการลง ลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คมีว่าจะต้องกระทําโดยผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายของ บริษัท ด.ตามที่ระบุไว้ พร้อมทั้งประทับตราสําคัญของบริษัท เมื่อมีการนําเช็คมาเรียก เก็บเงินจากธนาคารจําเลยที่ 1 ธนาคารจําเลยที่ 1 โดยจําเลยที่ 2 มีหน้าที่ร่วมกัน ตรวจสอบเช็คที่นําไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารจําเลยที่ 1 จึงควรใช้ความระมัดระวัง ตรวจสอบให้ดีว่าเหตุใดจึงไม่มีการประทับตราสําคัญของบริษัทกํากับการแก้ไขและ สอบถามผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายก่อน เมื่อจําเลยทั้งสองไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง ตรวจสอบการแก้ไขเป็นเหตุให้ ร.กับพวกนําเช็คที่ปลอมนั้นเข้าฝากในบัญชีเพื่อเรียก เก็บ และธนาคารจําเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร. รับเงินไป จึงเป็นการ กระทําโดยประมาทเลินเล่อทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทําละเมิดต่อ โจทก์ (4) คําว่า “พฤติกรรม ” หมายถึง ข้อเท็จจริงประกอบการ กระทําเช่น ในการขับรถ พฤติกรรมที่จะถือว่าประมาทเลินเล่อหรือไม่ต้องพิจารณาจาก สภาพถนน แสงสว่าง ความพลุกพล่านของการจราจรที่จะเป็นตัวกําหนดให้ บุคคลใน ภาวะเช่นนั้น จะต้องใช้ระดับความระมัดระวังเพียงใด คําพิพากษาฎีกาที่ 3445/2535 รถโดยสารที่จําเลยขับยาง ล้อหลังระเบิดจําเลยจึงจอดรถไว้ชิดไหล่ทางด้านซ้าย ล้อหน้าอยู่ที่ไหล่ทาง ส่วนล้อหลัง ด้านขวาอยู่บนถนน แล้วมีพฤติการณ์ว่าจําเลยได้หากิ่งไม้มาวางและเปิดสัญญาณไฟ
45
กระพริบถือได้ว่าจําเลยใช้ความระมัดระวังเพียงพอแล้ว ไม่เป็นการกระทําโดยประมาท เลินเล่อ คําพิพากษาฎีกาที่ 3335/2540 รถโดยสารคัน เกิดเหตุที่จําเลยที่ 3 เป็นผู้ขับได้จอดอยู่บน สะพานด้วยเหตุรถเสียตั้งแต่เวลาประมาณ 22 นาฬิกา โดยจําเลยที่ 3 เปิดไฟกระพริบไว้ ทางด้านท้ายรถโดยสารและได้นําเบาะรถมาวาง พาดไว้กับทางด้านซ้ายรถโดยสาร ทั้งนํา ถุงพลาสติกมาผูกติดไว้เพื่อให้สามารถมองเห็น ได้เป็นเครื่องหมายในการป้องกันเหตุ แต่จุดที่ รถโดยสารจอดอยู่นั้นเลยส่วนโค้งกลางสะพานไป เพียง 30 เมตร และรถที่แล่นมาจะสามารถเห็น รถโดยสารที่จอดเสียนั้นต่อเมื่อขึ้นโค้งสะพาน แล้ว ไฟกระพริบที่จําเลยที่ 3 เปิดไว้ก็ดี เบาะรถตลอดจนถุงพลาสติกที่ผูกติดไว้ก็ดี ล้วนแต่อยู่ติดกับตัวรถโดยสารทั้งสิ้น ระยะห่างที่สามารถมองเห็นได้จึงอยู่ในระยะ เดียวกับที่รถโดยสารจอดเสียคือประมาณ 30 เมตร จากส่วนโค้งกลางสะพานเท่านั้น โดยเป็นระยะที่กระชั้นชิดซึ่งคาดเห็นได้ว่าอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่รถยนต์ที่สัญจร ได้ การกระทําของจําเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทําโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุโดยตรงที่ ก่อให้เกิดอันตราย กรณีข้างต้นเทียบเคียงกับหลักกฎหมายอังกฤษจะพบว่า จําเลยได้ใช้ความระมัดระวังในส่วนที่ตนพึงคาดหมายได้ (Foreseeability) และ สมควรแก่พฤติการณ์แล้ว (Reasonable Man Test) คําพิพากษาฎีกา 383/2537 จําเลยขับรถยนต์ด้วยความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผู้ตายวิ่งไล่ตีวัวข้ามถนนตัดหน้าช่องเดินรถที่จําเลยขับไปแล้ว แต่มีรถยนต์อีกคันหนึ่งแล่นมาผู้ตายจึงชะงักและถอยหลังกลับเข้ามาทางช่องเดินรถ ของจําเลยโดยกระทันหันในระยะกระชั้นชิด จําเลยไม่อาจหยุดรถหรือหลบไปทางอื่น ได้ ภาวะเช่นนั้นจําเลยไม่อาจคาดคิดได้ว่าจะมีคนวิ่งข้ามถนนตัดหน้าช่องเดินรถแล้ว กลับชะงัก และถอยหลังเข้ามาขวางหน้ารถที่จําเลยขับอีก การที่จําเลยขับรถชนผู้ตายจึง ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่เป็นประมาทเลินเล่อ
46
คําพิพากษาฎีกาที่ 491/2507 รถยนต์โดยสาร 2 คันแล่น ตามกันมาคันหนึ่งขอทางเพื่อจะแซงขึ้นหน้า แต่อีกคันหนึ่งกลับไม่ยอมให้แซงเร่ง ความเร็วขึ้น เพื่อแกล้งรถยนต์คันที่ขอทาง รถยนต์ทั้งสองคันจึงได้แล่นแข่งกันมาด้วย ความเร็วสูงเกินกว่าที่กฎหมายกําหนด และมีพฤติการณ์ประกอบว่า ถนนที่แข่งเป็น ถนนแคบและเป็นทางโค้ง เป็นการเสี่ยงอันตราย รถยนต์คันที่ขอทางเฉี่ยวกับ รถบรรทุกคันหนึ่งซึ่งจอดแอบข้างทางด้านขวา แล้วไปปะทะกับรถยนต์คันที่แล่นแข่ง กันมาตกถนนพลิกคว่ําคนในรถได้รับบาดเจ็บสาหัส กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าคนขับรถ รถยนต์ทั้งสองขับรถโดยประมาท คําพิพากษาฎีกา ที่ 685/2534 จําเลยขับรถจักรยานยนต์ ด้วยความเร็วประมาท 50 กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง ในขณะที่การจราจรไม่พลุกพล่าน ย่อมถือว่าไม่เร็วเกินไป ขณะเกิดเหตุ พนักงานขับรถจักรยานยนต์ตัดหน้า รถยนต์จําเลยในระยะกระชั้นชิด จําเลยไม่ อาจหยุดรถได้ทันจึงชนกันมิใช่ความ ประมาทของจําเลย แม้ขณะเกิดเหตุจะเริ่ม มืด แต่ยังมีแสงสว่างจากไฟฟ้าเกาะกลาง ถนนสามารถมองเห็นได้ ในระยะไกล พอสมควรและในการที่การจราจรไม่ พลุกพล่าน จําเลยไม่เปิดไฟหน้ารถ ก็ยังไม่ถือว่าประมาทเช่นกัน คําพิพากษาคดีดังกล่าว แม้จําเลยจะขับรถเร็ว ซึ่งบางครั้งอาจ เข้าข้อสันนิษฐานว่าผิดกฎหมายมาตรา 422 แต่เมื่อข้อเท็จจริงสืบหักล้างได้ว่า พฤติการณ์ดังกล่าวมิใช่สาเหตุของการก่อให้เกิดความเสียหาย กรณีนี้คือการจราจรไม่ พลุกพล่าน ประกอบกับทัศน ะวิสัยในการขับขี่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการขับขี่ของจําเลย หลักเช่นเดียวกับคําพิพากษาฎีกาต่อไปนี้ขอให้เทียบเคียงพิจารณา คําพิพากษาฎีกาที่ 872/2545 แม้โครงการเหล็กของบริษัท อ. ผู้รับจ้างเหมาก่อสร้างทางรถไฟฟ้า ธนายง จะยื่นล้ําเข้ามาในช่องเดินรถบางส่วน แต่ ก็วางมานานแล้ว โจทก์ขับรถยนต์โดยสารผ่านที่เกิดเหตุอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ย่อม ทราบดีว่าโครงเหล็กวางล้ําเข้ามาในช่องเดินรถ ขณะเกิดเหตุเป็นเวลา 17 นาฬิกา ยังมี แสงสว่างเพียงพอที่จะมองเห็นโครงเหล็กได้อย่างชัดเจน การที่โจทก์ขับรถยนต์โดยสาร
47
เข้าไปชนโครงเหล็กจนทําให้รถยนต์โดยสารของจําเลยได้รับความเสียหายนั้น เป็น ความประมาทเลินเล่อของโจทก์อย่างร้ายแรง จําเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ผู้ทํา ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ประกอบ มาตรา 438 ศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่า บริษัท อ. เป็นผู้ทํา ละเมิดต่อจําเลยและไม่ปรากฏว่าจําเลยมีระเบียบบังคับให้จําเลยต้องฟ้องผู้ร่วมละเมิด อีกทั้งไม่มีกฎหมายใดกําหนดให้ผู้เสียหายมีหน้าที่ต้องฟ้องผู้ร่วมละเมิดด้วย การที่ จําเลยซึ่งเป็นผู้เสียหายตัดค่าจ้างโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จําเลยนั้นจึง ชอบแล้ว (5)
ผู้ที่ได้ชื่อว่าประมาทเลินเล่อ ต้องไม่ใช้ความระมัดระวัง หรือใช้ไม่เพียงพอ ที่ผู้นั้นจะพึงใช้ความระมัดระวังได้ตามวิสัยและพฤติการณ์ วิสัยที่เกี่ยวกับความเห็นถึงผลร้าย หรืออันตรายของบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ นั้น ในประเทศอังกฤษ เคยมีกรณี Clay V. Crump, 1963 ศาลได้พิพากษา ลงโทษสถาปนิกและผู้คุมงานก่อสร้างและ รื้อถอนตึกอาคาร ให้ต้องรับผิดฐาน ละเมิด เพราะการที่คนงานลูกจ้างของตน ได้รับบาดเจ็บ เพราะการรื้อถอนสิ่งปลูก สร้าง เป็นเรื่องที่อยู่ในวิสัยของผู้ที่มีอาชีพและความเชี่ยวชาญเช่นนั้น จะสามารถ คาดหมายได้ (Foreseeability) และพฤติการณ์ของจําเลยก็มิได้ปรากฏว่าให้ความใส่ ใจตรวจสอบถึงโครงสร้างตึกก่อนรื้อถอนแต่อย่างใด จึงเป็นเหตุให้คนงานได้รับ บาดเจ็บ เป็นความประมาทเลินเล่อ หรือในคดี
Haley V. London Electricity Board,
1964, 3 All ER 185, HL
ที่ศาลวินิจฉัยให้บริษัทรับวางสายเคเบิลไฟฟ้า (จําเลย) ต้องใช้ความระมัดระวังต่อการกระทําของตนที่ขุดถนนเพื่อวางสาเคเบิลโดยต้อง คาดหมายให้ได้ว่าในสังคมมีคนหลายกลุ่ม การที่คนตาบอดได้รับบาดเจ็บย่อมต้องอยู่ ในวิสัยที่ผู้นั้นพึงคาดหมายได้
48
จําเลยเป็นคนขับรถมือใหม่ไปหัดขับรถยนต์โดยมีโจทก์นั่ง ควบคุมอยู่ด้วย การที่จําเลยขับไม่แข็งจึงไปชนกับเสาไฟฟ้า ทําให้จําเลยและโจทก์ ได้รับบาดเจ็บ ดังนั้นโจทก์จึงเรียกร้องให้จําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จําเลย อุทธรณ์ว่า กรณีเช่นนี้โจทก์เองก็มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วย เพราะโจทก์ควร คาดหมายได้ถึงอุบัติเหตุ เพราะจําเลยมือใหม่ โจทก์จึงมีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วย ขอให้ศาลกําหนดค่าสินไหมทดแทนลดลง ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าอยู่ในวิสัยที่ ผู้โดยสาร (โจทก์) สามารถคาดเห็นได้ (Nettleship V. Weston, 1971, 3 All ER 581, CA)
หรือคําพิพากษาฎีกาต่อไปนี้ จําเลยเป็นบริษัทขนส่งทางเรือ ต้องมีหน้าที่ใช้ความระมัดระวังความปลอดภัยของลูกค้า ลําพังเพียงคนขายตั๋วลูกจ้าง ของจําเลยได้ร้องห้ามคนกรูกันลงเรือย่อมไม่เพียงพอต่อหน้าที่ คําพิพากษาฎีกาที่ 608/2520 ข้อเท็จจริงน่าเชื่อตาม พยานหลักฐานของโจทก์ว่าท่าเรือสี่พระยาที่เกิดเหตุโจทก์เป็นผู้ครอบครองใช้ ประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะเกิดเหตุเรือของจําเลยกําลัง เข้าเทียบท่าเพื่อรับผู้โดยสาร สะพานไม้ที่ทอดสู่โป๊ะหัก เป็นเหตุให้โป๊ะคว่ํา เนื่องจาก ผู้โดยสารลงไปที่โป๊ะจํานวนมาก จึงถือเป็นความประมาทเลินเล่อของจําเลยที่ไม่ใช้ ความระมัดระวังดูแล ให้สะพานท่าเทียบเรืออยู่ในสภาพที่แข็งแรงมั่นคง ปล่อยให้ สะพานไม้ที่ทอดสู่โป๊ะแตกหัก เป็นเหตุให้โป๊ะคว่ําจมน้ํา และผู้ตายซึ่งรอโดยสารเรือ ของจําเลยที่โป๊ะจมน้ําตาย การตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงของการประมาทเลินเล่อ ของจําเลย และการที่จําเลยได้อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาว่า คนขายตั๋วของจําเลยได้ร้องห้าม คนมิให้ลงไปพร้อมกันที่โป๊ะเพราะเกรงว่าจะเกิดอันตราย แต่ผู้โดยสารไม่เชื่อฟัง การ ตายจึงเป็นผลมาจากความประมาทเลินเล่อของผู้ตายและผู้โดยสารเอง ข้อเท็จจริงได้ ความว่าผู้ตายลงไปที่โป๊ะก่อนแล้ว อนึ่ง การป้องกันอันตรายเช่นกรณีที่จําเลยอ้างนี้ชอบที่จําเลย จะทําเครื่องกั้นมิให้คนโดยสารลงไปที่โป๊ะพร้อม ๆ กันจํานวนมาก จนอาจเกิด อุบัติเหตุได้ไม่ใช่ใช้คนร้องห้ามดังที่จําเลยฎีกา จึงพิพากษาลงโทษจําเลย คําพิพากษาฎีกาที่ 5520/2536 จําเลยซึ่งเป็นครูประจําชั้น ให้เด็กนักเรียนในชั้นรวมทั้งผู้ตายซึ่งเป็นเด็กเล็ก อายุเพียง 11 ปี ไปช่วยทํางาน เกี่ยวข้องกับบ่อน้ําใหญ่ซึ่งมีช่วงลึกและเป็นอันตรายแก่เด็ก เมื่อเสร็จงานแล้วก็เพิกเฉย เสียมิได้ติดตามดูแลให้เด็กรีบกลับบ้าน หรือห้ามปรามมิให้ลงไปเล่นน้ําในบ่อนั้น เมื่อ ผู้ตายกับเพื่อน ๆ ลงเล่นน้ําในบ่อใหญ่แล้ว จําเลยก็มิได้ตักเตือนให้เล่นด้วยความ
49
ระมัดระวัง เพื่อจะได้ไม่ถลําลงไปในช่วงที่มีน้ําลึกและเป็นอันตราย ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้น จําเลยกับพวกก็นั่งดื่มสุราที่บริเวณใต้ต้นไม้ริมบ่อนั้น การที่ผู้ตายตายเพราะลื่นลงไป ในช่วงน้ําลึกและจมน้ําตาย ย่อมถือได้ว่าจําเลยให้ผู้ตายช่วยทําการงานในสถานที่ที่มี อันตรายแล้วปล่อยไม่ดูแลให้ปลอดภัยตามสมควรแก่วัยของผู้ตายซึ่งเป็นเด็กเป็นการ กระทําโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นละเมิด คําพิพากษาข้างต้น เป็นตัวอย่างที่ดีที่ทําให้ท่านเห็นว่า ศาล พิเคราะห์โดยพิจารณา หนึ่ง ตัวผู้กระทํา (มีหน้าที่พิเศษ) สอง วิสัยของผู้กระทํา สาม พฤติการณ์ของผู้กระทํา คําพิพากษาฎีกาที่ 3266/2522 จําเลยมีตําแหน่งเป็น นายอําเภอและได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานอนุกรรมการช่วยเหลือชาวนา ย่อมมีหน้าที่ ดําเนินการตามโครงการช่วยเหลือชาวนาให้เป็นที่เรียบร้อยทุกประการไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเงินหรือเรื่องอื่น ๆ การที่จําเลยไม่เอาใจใส่ในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับแต่งตั้งให้ สมกับที่ทางราชการไว้ใจ ถือได้ว่าจําเลยประมาทเลินเล่อ คําพิพากษาฎีกาที่ 756/2542 มูลละเมิดคดีนี้เกิดจากความ ประมาทเลินเล่อของจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจําเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ออกเช็คเพื่อชําระหนี้แก่บุคคลอื่น โดยเป็นเช็คขีด คร่อมและมีคําสั่งห้ามเปลี่ยนมือ แต่เช็คดังกล่าวถูกนําไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร จําเลยที่ 1 ในบัญชีจําเลยร่วมซึ่งมิใช่ผู้รับเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่าย เป็นการผิด ขั้นตอนไม่เป็นไปตามระเบียบ และจําเลยร่วมเบิกจ่ายเงินดังกล่าวจากบัญชีจําเลยร่วม แล้ว ส่วนคดีที่โจทก์กับจําเลยร่วมและ น. ทําสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้น สืบเนื่องมาจากจําเลยร่วมและ น. ร่วมกันนําเช็คของโจทก์หลายฉบับรวมทั้งเช็คที่เป็น มูลละเมิดในคดีนี้ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร โจทก์จึงดําเนินคดีอาญาแก่จําเลยร่วม และ น. ฐานฉ้อโกง แล้วมีการทําสัญญาประนีประนอมยอมความกันอันเป็นเรื่องระงับ ข้อพิพาทในทางอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และเป็น เรื่องเฉพาะตัวของจําเลยร่วมและ น. หาได้มีผลถึงจําเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งมีมูล หนี้มาจากการละเมิดเป็นคนละเรื่องกัน จําเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่พ้นความรับผิดต่อ โจทก์
50
สําหรับประเทศสหรัฐอเมริกาได้วางหลักในเรื่องระดับของ ความระมัดระวัง (Standard of Care) โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ (1) ความเสียหายต้องสามารถคาดหมายได้ (2)
(Reasonably foreseeable) หลัก BPL B = Burden of Adequate Precautions on Society
ได้ใช้ความระมัดระวังที่เพียงพอแล้ว P = Probability of Accident Occurring
พิจารณาจากโอกาสที่จะเกิดเหตุได้ L = Gravity of Resulting Injuring
ความรุนแรงของความเสียหาย อุทหรณ์คดี
The
McDonald's
"Hot Coffee Case” (New Mexico)
ซึ่งทางคณะลูกขุนได้มีคําวินิจฉัยให้บริษัท แมคโดเนล (จําเลย) ต้องรับผิดชดใช้ค่า สินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดให้แก่โจทก์ เนื่องจากความประมาทเลินเล่อทําให้โจทก์ ที่เป็นลูกค้าของจําเลยได้รับบาดเจ็บ ข้อเท็จจริงแห่งคดีมีอยู่ว่า โจทก์สั่งกาแฟร้อนจากพนักงานขายแบบ drivethrough พนักงานขายของจําเลยได้ส่งกาแฟร้อน ซึ่งในชั้นพิจารณาคดีได้ความว่า กาแฟมีระดับความร้อนประมาณ 180-190 องศาฟาเรนไฮด์ ให้แก่โจทก์ และปรากฏ ว่า เมื่อโจทก์รับกาแฟมาก็เอาถ้วยกาแฟวางไว้ระหว่างขาทั้งสองข้างจะเตรียมเทครีม และน้ําตาลเพื่อปรุงรส แต่ปรากฏว่ากาแฟได้กระฉอกลวกต้นขา สะโพก และตักของ โจทก์จนได้รับบาดเจ็บ (โจทก์นั่งอยู่ที่นั่งผู้โดยสาร) คดีนี้สาเหตุที่คณะลูกขุนวินิจฉัยให้ จําเลยมีความผิดฐานละเมิดเนื่องจาก จําเลยย่อมต้องพิจารณาได้ว่าโอกาสที่จะเกิดเหตุ ดังกล่าวมีอยู่สูง แต่จําเลยก็มิได้ใช้ความระมัดระวังในการเตือนหรือให้ข้อมูลแก่โจทก์ แต่อย่างใด คดีนี้ยังมีเรื่องน่าสนใจในประเด็นการกําหนดค่าเสียหายอีก ซึ่งจะได้ กล่าวถึงเมื่อถึงหัวข้อค่าเสียหายอีกคราวหนึ่ง
51
ฉะนั้นเมื่อเทียบเคียงได้ดังนี้แล้ว ศาลสหรัฐอเมริกาจะ พิจารณาคดีละเมิดในส่วนของความประมาทเลินเล่อ ว่าจําเลยจะพึงคาดหมายได้ หรือไม่ โดยคํานึงถึงการกระทําที่แสดงออกถึงความระมัดระวังของจําเลยช่วงเวลาที่พึง คาดหมายได้ หรือจําเลยได้พิจารณาหรือตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อย่างไร เช่น ขับรถเร็วในขณะที่คนมากหรือคนน้อย เป็นต้น 2.4.2.3 บทสันนิษฐานความประมาทเลินเล่อ มาตรา 422 บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่ง กฎหมายใดอันมีที่ประสงค์ เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ผู้ใดทาการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด” มาตรา 422 นี้ถือเป็นบทสันนิษฐานความประมาทเลินเล่อของจําเลยใน เบื้องต้น ใช้ประกอบกับมาตรา 420 (1) มีการกระทําอันเป็นการฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย หมายถึงกฎหมายที่ มีอํานาจบังคับอย่างกฎหมายบ้านเมือง ไม่ว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราช กําหนด พระราชกฤษฎีกา หรือ กฎหมายลําดับรอง อื่น ๆ (2) กฎหมายที่มีการฝ่าฝืนเป็นกฎหมายที่มุ่งประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่น (3) ความเสียหายต้องเกิดขึ้นจากการฝ่าฝืนกฎหมายนั้น (4) ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด ซึ่งเป็นการสันนิษฐานเบื้องต้นไว้ก่อนว่าเป็นอย่างนั้น แต่ผู้ที่เสียหายจากการ สันนิษฐานสามารถนําสืบหักล้าง หาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงได้ ซึ่งแตกต่าง จากมาตรา 434 มาตรา436 ที่กฎหมายปิดปากห้ามพิสูจน์หักล้างต้องด้วยสันนิษฐาน เด็ดขาดให้ต้องรับผิด ประเด็นที่ 1 มีการกระทาอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย คําพิพากษาฎีกา 502/2497, 446/2501 วินิจฉัยสรุปว่าระเบียบข้อบังคับ ของกระทรวงในการรักษาเงินของกระทรวงที่กระทรวงออกเองไม่ใช่กฎหมายผู้ที่ฝ่าฝืน ระเบียบนั้นจึงไม่ถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้ผิด ตาม มาตรา 422 ทั้งสองฎีกานี้เป็นเรื่องที่ จําเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การเงินปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบการเก็บรักษาเงินเป็นเหตุให้เงิน หายไป กระทรวงได้รับความเสียหาย แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบนั้นเป็นทางปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่ในกระทรวงนั้นถือปฏิบัติมาตลอด (ประเพณี ของหน่วยงาน) ไม่ถือว่าประมาทเลินเล่อ
52
คําพิพากษาฎีกา 383/2506, 588/2514 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยและ ระเบียบการคลังของเทศบาล เป็นเพียงระเบียบภายในมิใช่กฎหมาย ดังนั้นจะนํามา บังคับให้เทศมนตรีและสมุห์บัญชีต้องรับผิดเมื่อเงินหายเพราะไม่ทําตามระเบียบนั้น โดยทันทีตามมาตรา 422 ไม่ได้ ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปว่า การฝ่าฝืนระเบียบนั้น เป็นจงใจจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ ประเด็นที่ 2 กฎหมายที่มีการฝ่าฝืน เป็นกฎหมายที่มุ่งประสงค์จะปกป้อง บุคคลอื่น บุคคลอื่นในที่นี้ได้แก่ ผู้เสียหาย (มิใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง) มุ่งประสงค์ คุ้มครองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ผู้บริโภค ผู้ใช้รถใช้ถนน (กฎหมายจราจร) และ ผู้เสียหายต้องเป็นหนึ่งในกลุ่มที่กฎหมายให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ คําพิพากษาฎีกา 1137/2509 เทศบัญญัติห้ามก่อสร้างอาคารชิดแนวเขต ที่ดิน จําเลยมีที่ดินแล้วสร้างอาหารเต็มพื้นที่ดิน โดยที่ดินของโจทก์อยู่ติดกับที่ดินของ จําเลย ทําให้ที่ดินของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ฟ้องว่าจําเลยทําละเมิดเพราะ สร้างอาหารชิดแนวที่ดินผิดเทศบัญญัติ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย (ที่ดินราคาตก) ขอให้โจทก์รื้อถอนอาคาร ศาลวินิจฉัยว่าการที่จะเข้ามาตรา 422 ได้ต้องฝ่าฝืนกฎหมายพิเศษที่มุ่ง ประสงค์คุ้มครองกลุ่มบุคคล ซึ่งเทศบัญญัติที่ห้ามก่อสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดิน มิได้ มีความประสงค์คุ้มครองเรื่องราคาที่ดินจึงไม่เข้าข้อสันนิษฐานความรับผิดตามมาตรา 422 คําพิพากษาฎีกา 1169-1170/2509 วินิจฉัยว่า การที่รถยนต์จําเลยแล่นเข้า ไปชนรถยนต์โจทก์ทางด้านขวามือของถนน เบื้องต้นต้องสันนิษฐานตามกฎหมายว่า จําเลยเป็นผู้ผิด จําเลยมีหน้าที่ต้องนําสืบหักล้างว่าจําเลยมิใช่ผู้ผิด หรือ คําพิพากษา ฎีกา 1085/2510 วินิจฉัยว่า รถยนต์ของจําเลยขับมาด้วยความเร็วสูงเกินกว่าที่ กฎหมายกําหนด จึงถือได้ว่าเป็นการประมาทเลินเล่อ มีคดีของประเทศอังกฤษอยู่คดีหนึ่ง ศาลพิพากษาให้ จําเลยซึ่งฝ่าฝืนกฎหมาย เกี่ยวกับการบรรทุกสัตว์ลงเรือ ซึ่งกฎหมายกําหนดให้ ผู้ขนส่งต้องกั้นคอกสําหรับสัตว์ เหล่านั้นให้เป็นสัดส่วนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาดสัตว์ จําเลยรับขน แกะโดยทางเรือแต่มิได้ทําเป็นคอกตามที่กฎหมายกําหนด พอเรือถูกคลื่นซัดแรงทําให้ แกะที่อยู่บนดาดฟ้าเรือตกทะเลตาย โจทก์ (เจ้าของ) ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยกล่าว
53
อ้างว่าจําเลยประมาทเลินเล่อเพราะไม่ทําตามที่กฎหมายกําหนด กรณีเช่นนี้จะเห็นได้ ว่ากฎหมายมิได้คุ้มครองในเรื่องสัตว์ตกทะเลจึงมิเข้าข่าย กฎหมายที่เป็นกฎหมายพิเศษที่มุ่งประสงค์คุ้มครองบุคคลอื่น อันที่จะทําฝ่า ฝืนต้องอยู่ในบทสันนิษฐาน มาตรา 422 เช่น กฎหมายจราจร มุ่งประสงค์ใช้คุ้มครอง ผู้ใช้รถใช้ถนน ผู้ใดฝ่าฝืนต้องถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด เว้นแต่ถูกสันนิษฐานจะพิสูจน์ ได้ว่าตนไม่ประมาทเลินเล่อ (Burden of Proof) คําพิพากษาฎีกา 67/2539 การที่จําเลยที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกในเวลา กลางคืน บรรทุกรถแทรกเตอร์ และใบมีดจากไถของรถแทรกเตอร์ ล้ําออกมานอกตัว รถยนต์บรรทุก จําเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องติดไฟสัญญาณ ตามพระราชบัญญัติจราจรทาง บก พ.ศ. 2522 มาตรา 11 และ15 กฎกระทรวงและระเบียบของกรมตํารวจ แต่จําเลย มิได้กระทําตามหน้าที่ จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติที่มุ่งประสงค์ปกป้องบุคคลอื่น จึง เข้าข้อสันนิษฐานว่ามีความผิด ข้อยกเว้นของกฎหมายจราจรที่จะไม่เข้ามาตรา 422 คือกรณีขับขี่รถยนต์โดย ไม่มีใบอนุญาต เนื่องจากเรื่องใบอนุญาตขับขี่มีจุดมุ่งหมายที่จะจัดระเบียบระบบการ ขับขี่ ความปลอดภัยบนท้องถนนก็จริง แต่คนที่ขับชนโดยไม่มีใบขับขี่ อาจจะไม่มี องค์ประกอบเรื่องความเสียหายที่ต้องเกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะการที่ผู้ขับขี่ไม่ มีใบอนุญาตขับขี่ (Drive License) แล้วชนคนบาดเจ็บ/เสียชีวิต ความเสียหายมิได้ เกิดจากการที่ไม่มีใบขับขี่ แต่สาเหตุเกิดจากการขับรถไม่ดี การมีหรือไม่มีใบขับขี่จึงไม่ เกี่ยวกับการชน จึงไม่เข้าบทสันนิษฐานตามมาตรา 422 มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจ Vinee V. Wilson โจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการ ขับรถยนต์ของหลานจําเลยที่อยู่ในความปกครองของจําเลย โดยที่จําเลยซื้อรถยนต์ให้ หลายขับ ข้อเท็จจริงปรากฎว่าหลานจําเลยถูกปฏิเสธไม่ได้ใบขับขี่เพราะ ติดยาเสพติด และสุรา ศาลวินิจฉัยว่า การที่จําเลยทราบแล้วยังซื้อรถยนต์ให้กับหลานเท่ากับว่าจําเลย ประมาทเลินเล่อ สองกรณีข้างต้น เปรียบเทียบให้เห็นว่า สาระสําคัญของกฎหมายจราจร มี สาระสําคัญที่การขับดีหรือขับไม่ดี มิใช่การมี่ใบขับขี่หรือไม่มีเป็นสาระสําคัญ คําพิพากษาฎีกาที่ 1428/2515 จําเลยถ่ายน้ํามันเบนซินลงในเรือขนถ่ายโดย ผิดวิธีที่กําหนดในกฎกระทรวง เมื่อโจทก์ติดเครื่องเรือทําให้เรือระเบิด จึงฟ้องให้ จําเลยต้องรับผิดโดยอาศัยมาตรา 422 ประกอบมาตรา 420 และกฎกระทรวงนั้นมุ่ง คุ้มครองผู้ที่จะมาขนถ่ายน้ํามันให้ปลอดภัย แต่โจทก์นําหลักฐานพยานมาแสดงต่อ
54
ศาลไม่ได้ว่าเหตุที่ระเบิดเกิดจากการที่จําเลยมิได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังนั้น จึงไม่ ปรากฎว่าความเสียหายของโจทก์ต้องเกิดมาจากการกระทําความผิดของจําเลย คําพิพากษาฎีกาที่ 1466/2517 คนขับรถยนต์ของจําเลยจอดรถไว้ริมถนน ในเวลากลางคืน ท้ายรถล้ําออกไปในผิวจราจรโดยไม่ได้มีเครื่องหมายแสดงว่ามีรถจอด อยู่ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ซึ่งเป็นบทบัญญัติเพื่อป้องกัน อันตรายแก่บุคคลอื่น และเป็นหน้าที่ของคนขับรถของจําเลยจะต้องปฏิบัติตาม เป็น เหตุให้รถยนต์ของโจทก์ที่ขับมาตามทางแล้วชนกับรถยนต์ของจําเลย ได้รับความ เสียหาย ดังนี้จําเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ (คดีนี้โจทก์ก็มีส่วนผิด อยู่ด้วย เพราะขับรถด้วยความเร็วจึงมิอาจหยุดรถได้ทัน ศาลจึงลดค่าเสียหายลง ครึ่งหนึ่ง) คําพิพากษาฎีกาที่ 2497-2500/2520 พนักงานรถไฟของการรถไฟจําเลยไม่ ปิดไม้กั้นถนน เมื่อรถไฟจะผ่านตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟ และทางหลวง พ.ศ. 2464 เป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายที่ประสงค์ปกป้องอันตรายแก่ประชาชน รถยนต์ของโจทก์จึงไม่หยุด เพราะไม่เห็นรถไฟ และถูกรถไฟชน จําเลยต้องรับผิดฝ่าย เดียว คําพิพากษาฎีกาที่ 648/2513 จําเลยสมยอมกันทําสัญญากู้และสมยอมกัน ทํายอมความในศาล เป็นผลให้เกิดการโอนทรัพย์สินของจําเลยคนหนึ่งไปยังอีกคน หนึ่งให้พ้นจากการถูกบังคับชําระหนี้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ทําให้โจทก์ ไม่อาจบังคับเอาทรัพย์สินของจําเลยมาชําระหนี้ได้ เป็นการจงใจทําผิดกฎหมายอันเป็น ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ โจทก์ย่อมเสียหายทางทรัพย์สินแล้ว การกระทําดังนี้ ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจําเลยเป็นผู้ผิด คือได้ ทําละเมิดต่อโจทก์ จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คําพิพากษาฎีกาที่ 143/2498 รถที่ขับออกจากทางโค้งต้องให้รถที่แล่นอยู่ ในทางเอกผ่านไปก่อน มิฉะนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2474 มาตรา 12 เมื่อเกิดชนกับรถที่ขับออกจากทางโทจึงเป็นความประมาทเลินเล่อ ย่อมเป็นผู้ผิด หมายเหตุ ในการที่โจทก์ได้กล่าวอ้างว่าจําเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ให้เป็นไป ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ โจทก์ต้องนําพยานหลักฐานเข้าสืบให้เห็นว่า จําเลยได้ฝ่าฝืนจริง
55
ในขั้นแรกที่พิจารณาผ่านมานั้น ขั้นแรก บุคคลต้อง
กระทาการ จะโดย
หรืจงใจ อ
ประมาทเลินเล่อ
โดยผิด กฎหมาย ผู้อื่น ฝ่าฝืนบทกฎหมาย ไม่ฝ่าฝืนบทกฎหมาย ความเสียหาย โดยตรงแต่เป็นการ กระทําที่ไม่ชอบด้วย หลักกฎหมายทั่วไป การใช้สิทธิปกติถือว่าชอบ แต่การใช้สิทธิโดยมุ่งจะให้ เกิดความเสียหายแก่บุคคลนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ความสัมพันธ์ ระหว่างเหตุกับ ผล Causation
ขั้นต่อมา Damage
การกระทํา ความผิด
Causation
ความเสียหาย
หมายเหตุ ขอให้พิจารณาคําพิพากษาฎีกาที่ 457/2536
56
2.5 โดยผิดกฎหมาย (Unlawful) ข้อควรพิจารณา การกระทําที่ถือเป็นความผิด (Fault) ได้นั้นต้องเป็นการกระทําโดยผิด กฎหมาย (Unlawful) ได้แก่ มาตรา 420 ร่างภาษาอังกฤษใช้คําว่า Unlawful แปลเป็นภาษาไทยว่า โดย ผิดกฎหมาย A person who, willfully or negligently, unlawfully injuries the life, body, health, liberty, property or any right of other persons, is said to commit wrongful act and is bound to make compensation therefore. มาตรา 421 ร่างภาษาอังกฤษใช้คําว่า Unlawful แปลเป็นภาษาไทยว่า โดยมิ
ชอบด้วยกฎหมาย “The exercise of a right which only have the purpose of causing injury to another person is unlawful”
2.5.1 ฝ่าฝืนกฎหมายบทใดบทหนึ่งโดยชัดแจ้ง (Illegitimacy) การฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งนั้นเป็นเรื่องที่มีกฎหมาย บัญญัติห้ามการกระทําเช่นนั้นอยู่แล้วว่า หากผู้ใดกระทําการฝ่าฝืนบทบัญญัติที่ กฎหมายห้ามไว้มีบทลงโทษ อาทิ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษประหาร ชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ดังนั้นผู้ฝ่าฝืนย่อมถือว่ากระทํา โดยผิดกฎหมาย มาตรา 291 ผู้ใดกระทําโดยประมาทและการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่กินสองหมื่นบาท มาตรา 295 ผู้ใดทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือ จิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกิน สองปี หือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี และ ปรับไม่เกินหกพันบาท
57
มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็น เท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่ง ทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามหรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่ สามทํา ถอนหรือทําลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทําความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 2.5.2 มิได้ฝ่าฝืนบทกฎหมายโดยตรงแต่เป็นการกระทาที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายทั่วไป อุทาหรณ์ จําเลยเป็นพนักงานสอบสวนตามกฎหมายและมีอํานาจยึดรถได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อจําเลยใช้อํานาจของตนโดยสุจริต แม้จะ เกิดความเสียหายขึ้นกับโจทก์จําเลยก็จําต้องรับผิดฐานละเมิดไม่ ได้มีการวางหลักไว้ว่า หากบุคคลนั้นมีอํานาจตามกฎหมายให้กระทําการ ใดๆเมื่อไปกระทบสิทธิในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ต้องรับผิดในทางแพ่ง แม้ว่าการกระทํานั้จะกระทําโดยจงใจก็ตาม กฎหมายคุ้มครอง ซึ่งจะพบมากในการ ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตํารวจน เกี่ยวกับการจับกุม ซึ่งการจับกุมต้องเป็นการ จับกุมที่ชอบด้วยขั้นตอนและกระบวนการที่กฎหมาบัญญัติไว้เท่านั้น (Lawful Arrest) ในความหมายนี้ให้หมายความถึง บุคคลทั่วไปที่กฎหมายให้มีอํานาจนอกจาก เจ้าพนักงานด้วย ซึ่งสามารถเทียบเคียงกับกรณี Albert V. Lavin, 1981 ที่ศาล อังกฤษวางหลักว่า เมื่อประชาชนทุกคนมีหน้าที่รักษาความสงบสุขของสังคม ประชาชน ก็มีอํานาจที่จะกักตัวหรือจับกุมบุคคลที่ก่อภัยหรือสร้างความเดือดร้อนรําคาญให้แก่ สังคมได้ ไม่ถือเป็นละเมิด (ชอบด้วยกฎหมาย) ที่สําคัญก็คือ ท่านต้องจําแนกว่าตามมาตรา 420 “โดยผิดกฎหมาย ” บุคคลที่กระทํานั้นจะต้องไม่มีอํานาจ แต่หากบุคคลนั้นมีอํานาจหน้าที่ก็มิได้หมายความ ว่าจะไม่เป็นละเมิดเสมอไป เพราะมาตรา 421 ได้ขยายความว่าถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะมี อํานาจตามกฎหมาย หรือสัญญาหากได้ใช้อํานาจเกินขอบเขตหรือเกินส่วนไป ย่อมถือ ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย (Unlawful) คําพิพากษาฎีกาที่ 976/2543 แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับ ลูกหนี้ แต่ก็มีภูมิลําเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจําเลยไม่เคยย้ายภูมิลําเนา อีกทั้งเมื่อ โจทก์ติดต่อทนายความจําเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ ทนายความจําเลยหรือจําเลยกลับ
58
ยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ชําระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทําให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไป ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวันลงข่าวเผยแพร่ ไปทั่วราชอาณาจักร ทําให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าว การเป็นหนี้จําเลย และลงความเห็นว่าถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความ จริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความได้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว ดังนี้ กรณีถือได้ว่าจําเลยประมาทเลินเล่อหรือไม่ไยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจ เกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลังโดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทําการตรวจสอบ เกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจําเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความของจําเลยหรือ จําเลยทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจําเลย รวมทั้งจําเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิด ความกลัวและนําเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนถูกหนังสือพิมพ์รายวันนําข่าว ไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักร อันเป็นการกระทําต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทําให้ โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจําเลยได้กระทําละเมิดต่อโจทก์อันจําต้องใช้ค่า สินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้วครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความผิดเพื่อ ละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 2.5.3 การใช้สิทธิเกินส่วน บทขยายองค์ประกอบหลักทั่วไป มาตรา 421 บัญญัติว่า “การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่ บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย” มาตรา 421 จึงเป็นบทขยายองค์ประกอบมาตรา 420 เรื่อง “โดยผิด กฎหมาย” ดังนั้น ส่วนที่เกินขอบเขตของการใช้สิทธิจึงถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย หาไม่แล้วการกระทําโดยมีอํานาจ (สิทธิ) หาเป็นผิดกฎหมายแต่ประการใด ดังนั้น ขอให้สังเกตว่า กฎหมายใช้คําว่า “อันมิชอบด้วยกฎหมาย ” แต่การ กระทําที่จักเป็นละเมิดนั้น มาตรา 420 บัญญัติใช้คําว่า “โดยผิดกฎหมาย ” ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะเป็นการกระทําที่ไม่ผิดกฎหมาย อยู่ภายใต้สิทธิที่มีกฎหมายให้อํานาจไว้ แต่ บุคคลทุกคนต้องใช้สิทธิของตนไปในทางที่รังแต่สร้างความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ ผู้อื่น จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมาตรา 5 ประกอบ กับมาตรา 421 นี้ จําเลยจึง ต้องนําพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างฝ่ายโจทก์ว่า ตนได้ใช้สิทธิที่ตนมีอยู่โดยชอบด้วย กฎหมายอย่างสุจริต
59
ในขณะเดียวกับผู้กล่าวอ้างจะต้องชี้ให้ศาลเห็นได้ว่า การใช้สิทธิของจําเลย มีแต่จะทําให้ผู้กล่าวอ้างเสียหาย ซึ่งการทําให้ผู้อื่นเสียหายนั้นย่อมแสดงออกเป็นนัยอยู่ ว่า เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะใช้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นถือเป็นการกระทํา อันมิชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ การใช้สิทธิของตนเพื่อกลั่นแกล้งบุคคลอื่นให้ได้รับความเสื่อมเสีย ประโยชน์ ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต มาตรา 5 บัญญัติว่าในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชําระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทําโดยสุจริต อุทาหรณ์ การที่จําเลยแจ้งความเท็จจนโจทก์ถูกจับไปขังเป็นการกระทํา ละเมิดต่อโจทก์จําเลยมีสิทธิตามกฎหมายที่จะแจ้งความร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษตาม ความจริง แต่จําเลยไม่มีสิทธิที่จะกล่าวถึงผู้ใดโดยไม่เป็นความจริง ทําให้เขาเสียหายก็ เป็นละเมิด การแจ้งเท็จจําเลยทําเกินขอบเขตของสิทธิจึงไม่มีสิทธิเป็นการกระทําผิด กฎหมาย (คําพิพากษาฎีกาที่ 390/2489) ตัวอย่างข้างต้น ขอให้สังเกตว่าในการใช้สิทธิเกินส่วนที่มีผลทําให้การ กระทํานั้นเป็นผิดกฎหมายนั้น เมื่อจําเลยได้แจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานเพื่อให้จับกุม โจทก์ สามารถแยกได้ 2 ประเด็น 1. จําเลยมีสิทธิหรือไม่ หรือ 2. จําเลยใช้สิทธิเกินขอบเขตหรือไม่ เป็นที่น่าสังเกตคือ กฎหมายให้สิทธิบุคคลในการร้องทุกข์กล่าวโทษผู้อื่น ที่มาโต้แย้งสิทธิหรือรบกวนสิทธิ แต่กฎหมายมิได้บัญญัติให้สิทธิในการร้องทุกข์ กล่าวโทษผู้อื่นที่ไม่ได้โต้แย้งสิทธิหรือรบกวนสิทธิ ฉะนั้น การกระทําของจําเลยจึงไม่มี สิทธิตามกฎหมาย เมื่อไร้สิทธิจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนได้อย่างไร ซึ่งผู้เขียน เห็นว่า หากบุคคลนั้นไม่สุจริตกล่าวคือทราบอยู่แล้วว่า การที่ไปแจ้งความกล่าวโทษ ผู้อื่นนั้นเป็นความเท็จ จึงย่อมเท่ากับทราบว่า ตนไม่มีสิทธิ แต่ในทางกลับกันหากการ ไปแจ้งความร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษบุคคลใด ถ้าตนกระทําไปเพราะสําคัญผิด ใน ข้อเท็จจริงเช่นนั้น และปรากฏว่าข้อความที่นําไปกล่าวโทษเป็นเท็จจึงจะถือว่าเข้า มาตรา 421 มิใช่เกิดจากเจตนาที่ชั่วของตนตั้งแต่เริ่มแรก (โปรด Debate)
60
คําพิพากษาฎีกาที่ 826-827/2514 จําเลยไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน ให้ดําเนินคดีอาญาแก่โจทก์ โดยเชื่อว่าตนมีสิทธิและใช้สิทธิของตนโดยชอบด้วย กฎหมาย และยังไม่ได้ความว่า จําเลยจงใจ แกล้งให้โจทก์เสียหาย ไม่ถือเป็นละเมิด คําพิพากษาฎีกาที่ 1580/2519 ตัวแทนเครื่องหมายการค้าแจ้งต่อตํารวจ จนโจทก์ถูกจับดําเนินคดีอาญา เป็นการใช้สิทธิซึ่งยังฟังไม่ได้ว่าตัวแทนเจตนากลั่น แกล้งโจทก์ เพราะเครื่องหมายคล้ายคลึงกัน แม้ศาลยกฟ้องคดีอาญา ก็ไม่เป็นละเมิด ต่อโจทก์ คําพิพากษาฎีกาที่ 1617/2519 เจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนเสนอรัฐมนตรี มหาดไทยมีคําสั่งไม่อนุมัติให้โจทก์ซึ่งอยู่กินกับหญิงต่างด้าวซื้อที่ดิน โดยมีเหตุควรเชื่อ ได้ว่าโจทก์ซื้อเพื่ออยู่ร่วมเป็นสิทธิแก่คนต่างด้าว การกระทําของเจ้าพนักงานชอบด้วย กฎหมาย คําสั่งรัฐมนตรีเป็นที่สุดตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 74 เจ้าพนักงาน กระทําโดยสุจริตมิได้เจตนากลั่นแกล้งโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคําสั่ง รัฐมนตรี และเรียกค่าเสียหายจากเจ้าพนักงานและผู้จะขายที่ดิน คําพิพากษาฎีกาที่ 3938/2540 การที่โจทก์นําเจ้าพนักงานตํารวจไปยึด รถยนต์พิพาทไว้เป็นของกลาง ก็เป็นเพราะมีมูลเหตุเกิดจากพฤติการณ์ที่ ว. หลอกลวง ซื้อรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ แล้วไปขายต่อให้บุคคลภายนอกโดยไม่นําเงินค่ารถไป ชําระแก่โจทก์ ซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยว่ารถยนต์พิพาทยังเป็น กรรมสิทธิ์ ของโจทก์หรือ ว. การร้องทุกข์ให้ดําเนินคดีแก่ ว. ถือได้ว่าเป็นสิทธิของโจทก์ในฐานะประชาชนที่จะ กระทําได้โดยชอบธรรมไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจําต้องกระทําเพื่อป้องกันมิให้มีการทํา ละเมิดกฎหมายอันจะเกิดแก่โจทก์ และการที่เจ้าพนักงานตํารวจไปยึดรถยนต์พิพาทมา เป็นของกลาง แม้จะทําให้จําเลยได้รับความเสียหาย แต่ก็เป็นดุลพินิจและอํานาจของ เจ้าพนักงานตํารวจอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในการดําเนินคดีแก่ ว. ถือได้ว่าเป็นการ ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายให้อํานาจไว้ พฤติการณ์แห่งคดียังไม่ถึงขนาดที่จะรับฟัง ได้ว่าโจทก์กระทําโดยประมาทเลินเล่อ หรือมีเจตนาจงใจกลั่นแกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้ เกิดความเสียหายแก่จําเลยฝ่ายเดียว การกระทําดังกล่าวของโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิด ต่อจําเลย
61
คําพิพากษาฎีกาที่ 3367/2535 เหตุที่โจทก์ถูกออกจากงานเนื่องจาก จําเลยที่ 1 นําหนังสือร้องเรียนต่อธนาคารให้พิจารณาลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของ ธนาคารเนื่องจากโจทก์ถูกศาลพิพากษาลงโทษจําคุก แต่การกระทําของจําเลยที่ 1 เป็น การแจ้งให้ธนาคารทราบเท่านั้นธนาคารจะพิจารณาแล้วมีคําสั่งลงโทษโจทก์หรือไม่เป็น เรื่องของธนาคาร แม้การที่จําเลยที่ 1 มีหนังสือถึงธนาคารเป็นการกระทําให้โจทก์ได้รับ ความเสียหาย แต่ก็เป็นการใช้สิทธิในฐานะประชาชน ที่จะเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ได้ ส่วนการที่จําเลยที่ 1 และที่ 3 เบิกความต่อศาลในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องร้อง โดย กล่าวถึงคําพิพากษาที่โจทก์ลงโทษจําคุกก็เป็นการกระทําตามหน้าที่ในฐานะพยาน อัน เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย มิใช่เป็นการใช้สิทธิของจําเลยโดยเจตนา แกล้ง โจทก์เสียหายฝ่ายเดียว ทั้งเป็นการไขข่าวความจริง จึงไม่เป็นการกระทําละเมิดต่อ โจทก์ คําพิพากษาฎีกาที่ 1233/2501 การที่จําเลยแจ้งให้ตํารวจจับโจทก์แต่ ปรากฏว่า เมื่อสอบสวนแล้วตํารวจไม่สั่งฟ้องดําเนินคดี จําเลยจึงฟ้องโจทก์เอง และ ศาลได้มีคําพิพากษายกฟ้องโจทก์ ถือว่าจําเลยได้ใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต ไม่เป็น ละเมิด คําพิพากษาฎีกาที่ 360/2477 โจทก์ฟ้องว่า จําเลยนําความเท็จไปแจ้ง ต่อพนักงานว่าโจทก์ซื้อแร่ผิดพระราชบัญญัติ เจ้าพนักงานจับเอาแร่ของโจทก์ไป และ กรมการอําเภอเรียกโจทก์ไปไต่สวนเห็นว่าไม่มีผิด จึงให้ปล่อยตัวไปและคืนแร่ที่จับให้ โจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจําเลย ศาลเดิมตัดสินให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์ตัดสินกลับให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาเห็นว่าจําเลยแจ้งต่อพนักงานโดยมีเหตุอันควรน่าเชื่อว่าโจทก์ ได้ทําผิด พระราชบัญญัติการทําเหมืองแร่ และโจทก์สืบไม่ได้ว่าจําเลยทําไปโดยจงใจ หรือ ประมาทโดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหาย จึงตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์ คําพิพากษานี้จําเลยได้แจ้งความต่อพนักงานโดยสุจริตกล่าวคือ การ แจ้งความกล่าวหาว่าผู้ใดกระทําความผิดโดยมีเหตุอันสมควรและสุจริตใจ ย่อมได้รับ ความคุ้มครอง ฉะนั้น โจทก์จึงต้องนําสืบให้ศาลเห็นให้ได้ว่า การแจ้งความของจําเลยมี ความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กลั่นแล้งโจทก์ เมื่อนําสืบไม่ได้ศาลจึงยกฟ้องโจทก์ เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่ บุคคลอื่น ต้องพิจารณาจากความมุ่งหมายของกฎหมายเป็นสําคัญ ซึ่งผู้ที่กล่าวอ้างมี
62
หน้าที่นําสืบให้ศาลเห็นให้ได้ถึงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับความมุ่งหมายในอัตวิสัยของ บุคคลนั้น คําพิพากษาฎีกาที่ 6301/2541 จําเลยมียศพันตํารวจตรี ตําแหน่งรอง สารวัตรสืบสวนเป็นเพียงพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 2 (16) มิใช่สารวัตรตํารวจอันเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตํารวจชั้ผู้ใหญ่ ตามมาตรา 2(17) จําเลยจะจับผู้ใด และค้นในที่รโหฐานแห่งใด จะต้องมีหมายจับและหมายค้นด้วย เว้นแต่จะต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 78 และ 92 ดังนั้น การที่จําเลยจับโจทก์และค้นบ้านโจทก์ อันเป็นที่รโหฐาน โดยไม่ปรากฎว่ามีหมายจับและหมายค้นถูกต้อง ทั้งไม่ต้องด้วย ข้อยกเว้นตามตามกฎหมายที่จะจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายดังกล่าว การกระทํา ของจําเลยจึงเป็นเรื่องจงใจทําต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นละเมิดเมื่อโจทก์ได้รับ ความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทําดังกล่าว จําเลยจําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ซึ่งได้แก่การคืน ทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคา ทรัพย์สิน นั้นรวม ค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้น ด้วยตาม มาตรา 438 เป็นที่ประจักษ์ได้ว่า ศาลได้พิเคราะห์ว่าจําเลยไม่มีอํานาจเพราะอํานาจที่ จําเลยมีอยู่ตามกฎหมายมิใช่อํานาจที่จําเลยปฏิบัติจะถือว่าใช้อํานาจเกินขอบเขตไมได้ และเมื่อจําเลยกระทําไปโดยไร้สิทธิย่อมเป็นการกระทําโดยผิดกฎหมาย โดยจงใจ เมื่อ เกิดความเสียหายก็จําเลยย่อมต้องรับผิดฐานละเมิด ส่วนมาตรา 438 ที่ศาลยกขึ้น กล่าวอ้างในคําพิพากษานั้น เป็นการกําหนดการเยียวยาค่าสินไหมทดแทน ซึ่งกฎหมาย ให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกําหนดค่าสินไหมทดแทนโดยให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่ พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด (ซึ่งจะได้อธิบายในบทต่อ ๆ ไป) (หมายเหตุ : รโหฐาน-ที่อยู่อาศัยส่วนตัว) เมื่อกฎหมายได้ให้อํานาจแก่เจ้าหน้าที่ตํารวจจับกุมผู้ต้องหาในคดีอาญา หากแต่ (ก) จับกุมโดยเข้าใจว่า นาย ก.
คือ นาย ข. (ผู้ต้องหา) ดังนี้ ถือเป็นการกระทําอันไม่มีสิทธิ ต้องพิจารณาตามมาตรา 420 แม้ว่าตํารวจจะกระทําไป โดยไม่จงใจ แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าตนประมาทเลินเล่อ (วิสัยและพฤติการณ์) กล่าวคือ ควรคาดเห็นได้ว่า ผู้ที่ถูกจับไม่ใช่นาย ข. ตํารวจต้องรับผิดทางละเมิด (ข) หากตํารวจจับนาย ข. โดยไม่ผิดตัวต้องพิจารณาต่อไป อีกว่าเข้าข่ายมาตรา 421 หรือไม่ ซึ่งอาจเป็นละเมิดก็ได้ ถ้าตํารวจเข้าจับกุมโดยจงใจ
63
แต่จะให้เกิดความเสียหาย เช่น แกล้งไปจับในเวลาที่นาย ข. กําลังอยู่ในวงสังคม แต่ ต้องมีข้อเท็จจริงประกอบว่า ตํารวจสามารถจับกุมในที่อื่นได้แต่ก็ไม่ทํา คําพิพากษาฎีกาที่ 5824/2543 เมื่อเจ้าพนักงานตํารวจทั้งสามเริ่มจับกุม โจทก์ถือได้ว่าเจ้าพนักงานตํารวจทั้งสามได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว การควบคุมตัวโจทก์เพื่อ ไปส่งที่สถานีตํารวจย่อมถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้อง ว่า เจ้าพนักงานตํารวจทั้งสามทําร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตํารวจ ต้องถือว่าเจ้าพนักงานตํารวจทั้งสามกระทําละเมิดต่อโจทก์โดยได้กระทําในการปฏิบัติ หน้าที่ คําพิพากษาฎีกาที่ 964/2496 จําเลยปิดกั้นหนองน้ําเอกชน เพื่อป้องกัน มิให้ผักตบชวาเข้าไปในที่ของตน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการจับปลาในหนอง ผักตบชวา จึงไหลลอยตามนั้นไปในนาของโจทก์ทําให้ข้าวในนาเสียหาย ดังนั้น จําเลยมีสิทธิปิดกั้น ไม่เรียกว่าจําเลยใช้สิทธิมีแต่จะเกิดเสียหายแก่ผู้อื่น ไม่เป็นละเมิด คําพิพากษาฎีกาที่ 819/2518 น้ําไหลผ่านห้วยในที่ดินของจําเลย จําเลย จึงทํานบกักน้ําไว้ใช้ น้ําไม่อาจไหลลงสู่ห้วยเช่นตามปกติได้ เป็นเหตุให้น้ําท่วมนาผู้อื่น เสียหายจําเลยต้องใช้ค่าเสียหายนั้น เปรียบเทียบคําพิพากษาทั้งสองข้างต้น จะเห็นได้ว่า การกระทําของจําเลย ในทั้ง สองคดีทําให้ โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่กรณีทั้งสองที่ทําให้ผลแตกต่างกันคือ การนําสืบถึงความมุ่งประสงค์ในอัตวิสัยของจําเลยว่ามุ่งประสงค์ที่จะกลั่นแกล้งหรือไม่ นั้นเอง คําพิพากษาฎีกาที่ 45/2496 คําสั่งปลดข้าราชการออกตามบทกฎหมาย ที่ให้อํานาจไว้โดยสุจริตไม่มุ่งให้เกิดความเสียหาย แม้จะวินิจฉัยผิดพลาดก็หาเป็น ละเมิดไม่ คําพิพากษาฎีกาที่ 3050/2540 การที่ศาลแขวงราชบุรีพิพากษาให้โจทก์ ชําระหนี้แก่จําเลยนั้น มิได้พิพากษาให้โจทก์ชําระหนี้แก่จําเลยโดยนําเงินมาวางศาล ทั้ง ตามคําบังคับที่ศาลแขวงราชบุรีออกให้ตามคําขอของจําเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคํา พิพากษาก็มิได้ระบุสถานที่ใช้เงินไว้ด้วย กรณีจึงต้องบังคับตาม ป ระมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 324 ที่กําหนดสถานที่ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งว่าต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้น แต่ถ้าเป็นการชําระหนี้โดย ประการอื่นจะต้องชําระ ณ ภูมิลําเนาของจําเลย การที่โจทก์ชําระหนี้ตามคําพิพากษาแก่
64
จําเลยโดยนําเงินมาวางศาล จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จําเลยได้รับชําระหนี้จากโจทก์โดย ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ทั้งโจทก์ก็มิได้แจ้งการนําเงินมาวางศาลให้จําเลยทราบแต่ อย่างใด การที่จําเลยขอบังคับคดีโดยนําเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหุ้นของโจทก์ จึงเป็น การใช้สิทธิทางศาลตามที่จําเลยมีอยู่เพื่อขอบังคับให้เป็นไปตามคําพิพากษา เมื่อไม่ ปรากฏว่าจําเลยกระทําโดยไม่สุจริต จงใจหรือประมาทเลินเล่อเพื่อให้โจทก์ได้รับความ เสียหาย การกระทําของจําเลยจึงไม่ผิดกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ คําพิพากษาฎีกาที่ 2817/2543 โจทก์ที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยนโดยใช้เครื่องหมายการค้าจด ทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย คําว่า “WAHL” โจทก์ที่ 1 ย่อม เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าสําหรับปัตตะเลี่ยน ทําให้โจทก์ ที่ 1 มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นนําเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1ไปใช้โดยมิชอบ วัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าก็เพื่อแยกความแตกต่างระหว่าง สินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้ากับสินค้าของผู้อื่น และเพื่อระบุว่าสินค้านั้นเป็น เจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจําหน่ายสินค้าของตนการที่ ผู้สินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเพื่อนําไปจําหน่ายต่อไป ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา ของการค้า เมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จําหน่ายสินค้าของตน ในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่ จําหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้วจึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินํา สินค้าออกจําหน่ายอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จําเลยนําเข้าซึ่งสินค้า ปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จําเลยซื้อจากตัวแทนจําหน่ายสินค้าของ โจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มาจําหน่ายในประเทศไทยได้ แม้กล่องบรรจุสินค้าปัตตะเลี่ยนซึ่งมีเครื่องหมายการค้าคําว่า “WAHL” จะมีซองกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันห่อหุ้มกล่องและมีใบรับประกันที่มี เครื่องหมายการค้าเดียวกันระบุชื่อที่อยู่ของจําเลยว่าเป็นศูนย์บริการ ก็เป็นเครื่องหมาย การค้าที่แสดงว่าสินค้าปัตตะเลี่ยนในกล่องหรือหีบห่อนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 จําเลยเป็นเพียงแต่ผู้ให้บริการรับซ่อมปัตตะเลี่ยนให้เท่านั้น มิใช่แสดงว่าจําเลยเป็น เจ้าของหรือผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 การกระทําของจําเลยไม่เป็น การละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าคําว่า “WAHL” ของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้นําเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคําว่า “ WAHL ” ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจําหน่ายในประเทศไทย โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจําหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า
65
ดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่ผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นําเข้าซึ่ง สินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจําหน่ายในประเทศ ไทยผู้หนึ่งเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่า การที่จําเลยนําเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมาย การค้าคําว่า “ WAHL ” เข้ามาจําหน่ายในประเทศไทยเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะ ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 421 2.5.4 การใช้สิทธิที่ทาให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์เสียหายหรือ เดือดร้อนราคาญเกินสมควร (Private Nuisance) มาตรา 1337 บัญญัติว่า “บุคคลใดใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้เจ้าของ อสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ ว่าเป็นไปตามปกติ และเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตาแหน่งที่อยู่แห่ง ทรัพย์สินนั้นมาคานึง ประกอบไซร้ ท่านว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะ ปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไป ทั้งนี้ไม่ลบล้างสิทธิที่จะ เรียกเอาค่าทดแทน” มาตรา 1337 เป็นกรณีที่ใช้สิทธิทําให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับ ความเสียหาย หรือเดือดร้อนรําคาญจนเกินสมควร (1) กฎหมายบัญญัติให้ความคุ้มครองเฉพาะเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ (2) ความเสียหายนั้น ต้องมีระดับที่เกินสมควรแก่เหตุ (เหตุผลที่ไม่ อาจรับฟังได้ : Unreasonableness) (3) แม้จะเกิดจากการกระทําโดยไม่จงใจก็มีความผิดได้ หากบุคคลผู้ นั้นพึงคาดเห็นได้ถึงความเดือดร้อนรําคาญ (Foreseeability) ดังสุภาษิตลาตินที่ว่า Sic utere tuo utalienum non laedas (you must use your own property so as not to damage the property of others)
ซึ่งการกระทําดังกล่าวแม้จะเป็นการใช้สิทธิภายในแดนกรรมสิทธิ์แห่งตน แต่การสร้าง ความเดือดร้อนรําคาญให้แก่เพื่อนบ้านถือได้ว่าเพื่อนบ้านที่แย่ สมควรได้รับการตําหนิ ติเตียน (Culpably)
การทิ้งขยะบนที่ดินของตนเองก็เป็นการ สร้างความเดือดร้อนราคาญได้
66
คําพิพากษาฎีกาที่ 1719/1720-2499 โรงงานสีครั่งและผลิตครั่ง บริสุทธิ์ใช้ยาเคมีละลายกับน้ําทําการล้างครั่งทั้งกลางวันและกลางคืนส่งกลิ่นเหม็นอัน เป็นอันตรายแก่อนามัย และทําให้ผู้อยู่ใกล้เคียงเดือดร้อนรําคาญ เจ้าของโรงงานย่อม ต้องรับผิดฐานละเมิดต่อผู้ทีได้รับความเดือดร้อนรําคาญนั้น ท่านจะพบว่า สิทธิที่เจ้าของโรงงานประกอบธุรกิจนั้น ไม่ได้เป็น ความผิดกฎหมายในตัว น้ํายาหรือสารเคมีก็นําเข้าและได้รับอนุญาตถูกกฎหมาย แต่ เมื่อกากระทําเป็นอันตรายหรือก่อพิษภัยแก่เพื่อนบ้าน (Harmful or noxious activity) ย่อมต้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย คําพิพากษาฎีกาที่ 2296/2541 จําเลยที่ 1 และที่ 2 ปลูกสร้าง สะพานกว้าง 1 เมตร ยาว 50 เมตร ลงในคลองสําโรงผ่านหน้าที่ดินของโจทก์ในระยะ ประมาณ 1 ถึง 2 เมตร สะพานมีลักษณะมั่นคงและถาวร การปลูกสร้างสะพานของ จําเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการเล็งเห็นได้ว่าสะพานนั้นน่าจะหรืออาจทําให้ โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ที่ดินของ โจทก์เป็นทางขึ้นหรือทางลงคลองสําโรงดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้อาศัยและทําประโยชน์ อยู่ในที่ดินขณะปลูกสร้างสะพาน และการปลูกสร้างได้กระทําลงในคลองสาธารณะและ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนดังข้ออ้างของจําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ 4 โจทก์ก็มีสิทธิ จะฟ้องขอให้รื้อถอนสะพานที่ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์เพื่อยังความเสียหายหรือ เดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 คําพิพากษาฎีกาที่ 9671-9675/2544 โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออก จากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จําเลยอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงตาม ป ระมวลวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 224วรรคสอง ที่จําเลยอุทธรณ์ว่าที่ดินของ โจทก์มีทางเข้าออกหรือ สามารถเข้าออกหรือใช้ประโยชน์จากน้ําในคลองมหาสวัสดิ์ ได้อย่างสะดวก การที่ จําเลยอาศัยอยู่ในบริเวณที่ดินพิพาทมิได้ปิดบังหรือกีดขวาง ทางเข้าออกคลองมหา สวัสดิ์นั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตามกฎหมาย มาตรา ดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อ กฎหมายหรือข้อเท็จจริง ไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย การที่ศาลอุทธรณ์ หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้น วินิจฉัยตามที่จําเลยอุทธรณ์แล้ววินิจฉัยว่าที่ดิน ของโจทก์มีทางเข้าออกหรือสามารถเข้า หรือใช้ประโยชน์จากน้ําในคลองมหาสวัสดิ์ ได้อย่างสะดวก การที่จําเลยอาศัยอยู่ใน บริเวณที่ดินพิพาทมิได้ปิดบังหรือกีดขวาง ทางเข้าออกคลองมหาสวัสดิ์แต่อย่างใดนั้น เป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริง ได้ยุติไปแล้วตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น
67
เมื่อจําเลยใช้สิทธิของตนปลูกบ้านในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ปิด หน้าที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจะใช้หรือได้รับประโยชน์จากที่สาธารณ สมบัติของแผ่นดินนั้นได้โดยสะดวก ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกิน ที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ ได้รับความเสียหายเป็น พิเศษ กรณีต้องบทบัญญัติแห่ง ป ระมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 และ 1337 การที่จําเลยปลูกบ้านอยู่ก่อนก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ผู้มาทีหลังต้อง เสียสิทธิ ดังกล่าวไม่ โจทก์จึงมีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือความ เดือดร้อนให้สิ้น ไปโดยฟ้องจําเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่จําเลยปลูกสร้างอยู่ใน ที่ดินของกรม ชลประทานอันเป็นการกีดขวางทางที่โจทก์เข้าออกเพื่อใช้ประโยชน์ ในคลองมหาสวัสดิ์ อันเป็นทางสาธารณะได้ คําพิพากษาฎีกาที่ 1407/2535 จําเลยตอกเสาเข็มปลูกสร้างอาคาร โรงแรม 16 ชั้น ทําให้โจทก์ทนทุกขเวทนาแสนสาหัส นอนไม่หลับเพราะหนวกหู ฝุ่น ละอองจากการก่อสร้างทําให้บ้านเรือนสกปรก บ้านสั่นสะเทือน มีหินและไม้ตกลงบน หลังคาบ้านโจทก์อันอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อโจทก์และบริวารได้ ไม่ปรากฏว่าความ ทนทุกข์ทรมานสาหัสดังกล่าวเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจของโจทก์ แต่เป็นเรื่อง เสียหายต่ออนามัยและสิทธิที่จะอยู่อย่างสงบ (สิทธิส่วนตัว) ไม่ถูกรบกวนเพราะความ ทรมานนอนไม่หลับอันเนื่องจากฝุ่นละอองเสียงจากการก่อสร้างอันได้แก่การตอก เสาเข็ม และความหวาดระแวงอันเกิดจากสิ่งของตกหล่นลงมาบนหลังคาอันอาจเกิด อันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยในบ้านและตัวอาคาร รวมทั้งการอัดตัวของดินทําให้บ้านเรือน โจทก์เสียหายอันอาจเป็นอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยได้ คําพิพากษาฎีกาข้างต้น ได้นําหลักเพื่อนบ้านต้องไม่สร้างความ เดือดร้อนรําคาญให้แก่เพื่อนบ้าน มิเช่นนั้นได้ชื่อว่าเป็น Bad Neighbors ของศาล อังกฤษมาปรับใช้แก่กรณี ขอให้ย้อนกลับไปพิจารณาคดี Donoghue V. Stevenson ข้างต้น เช่นเดียวกันหลักการดังกล่าว มิได้หมายความเฉพาะการสร้างความ เดือดร้อน รําคาญด้านกายภาพ หรือโสตประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น เสียง กลิ่น เท่านั้น แต่ทว่าการสร้างความเดือดร้อนให้กับเจ้าของที่ดินข้างเคียง (เพื่อนบ้าน) ในทางความ กดดันทางจิตใจย่อมหมายรวมถึงเช่นเดียวกัน ขอให้ท่านพิจารณา “คดีหลุมฝังศพ ” ดังต่อไปนี้
68
นายหมอดีฟ้องศาลว่าตนเป็นเจ้าของที่ดิน อันมีแนวเขตที่ดินติดต่อ กับที่ดินของนายกิตติ ซึ่งนายกิตติได้ก่อสร้างสุสาน หรือหลุมฝังศพหรือฮวงซุ้ยแบบ ธรรมเนียมชาวจีนในบริเวณที่ดินของตนเอง ซึ่งห่างจากบ้านของนายหมอดีไม่เกิน 10 เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ และได้ฝังศพนางปูภรรยาของนายกิตติไว้ กรณีเช่นนี้ เมื่อพิจารณาตามสภาพของหลุมฝังศพที่มีศพฝังอยู่ย่อม ก่อให้เกิดความหวาดกลัวในเรื่องภูตผีวิญญาณและเป็นที่รังเกียจแก่ผู้ที่มิใช่ญาติผู้ตาย ซึ่งอยู่บ้านใกล้หลุมฝังศพ นอกจากนี้ระยะห่างที่ห่างกันเพียง 10 เมตร ย่อมทําให้นาย หมอดีจําต้องรับรู้ว่าตนอยู่ใกล้หลุมฝังศพ และต้องได้รับความกดดันทางจิตใจจากการ มีพิธีการเกี่ยวกับศพ ความเดือดร้อนดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดแก่นายหมอดี ข้อเท็จจริงเดียวกัน หากปรากฏว่าการก่อสร้างสุสานฝังศพนี้ ได้รับ อนุญาตจากทางการปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528 จะถือว่าเป็นการกระทําที่ไม่เป็นละเมิดใช่หรือไม่ ท่านคงพอที่จะพิเคราะห์ได้ แล้วว่า การได้รับอนุญาตจากทางการมีผลเพียงทําให้นายกิตติไม่ตกเป็นผู้กระทํา ความผิดตามพระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528 เท่านั้น แต่มิได้ หมายความว่านายกิตติจะมีอํานาจทําให้นายหมอดีเสียหายได้ เป็นคนละเรื่องคนละ ประเด็นกัน การอนุญาตเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจให้มีการฝังศพตามที่มีผู้มายื่นขอ เท่านั้น นอกจากนี้ขอให้พิจารณาจากคําพิพากษาฎีกาที่ 3407/2535 ข้อสังเกต 1. แต่หากปรากฏว่า โจทก์ปลูกบ้านอยู่อาศัยเมื่อประมาณ 2 ปีผ่าน มาแล้ว ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีจําเลยซึ่งเป็นโรงงานป่นกระดูกสัตว์ในละแวก ใกล้เคียงตั้งอยู่ก่อนแล้ว กรณีเช่นนี้ โจทก์ต้องคาดหมายได้ว่า จะมีกลิ่นเหม็น สร้าง ความรําคาญ ถือว่า โจทก์วิ่งเข้าหาภัยนั้นเอง มิใช่ความเดือดร้อนวิ่งเข้าไปหาโจทก์ โจทก์จะกล่าวอ้างว่า เพื่อนบ้านสร้างความเดือดร้อนรําคาญมิได้ ทั้งนี้ต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า เพื่อนบ้านดังกล่าวได้ปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ หรือไม่ ขอให้เทียบเคียงได้กับคดี Sturges V. Bridgeman, 1879
2. ความเดือดร้อนรําคาญนี้ แม้จะเกิดเพราะภัยธรรมชาติ เจ้าของ ทรัพย์ก็มีความรับผิดได้ หากตนทราบและไม่เข้าบรรเทาความเดือดร้อนรําคาญนั้น (Goldman v. Hargrave ,1967 และ Leakey V. National Trust,1980)
69
2.5.5 การใช้สิทธิที่จะทาให้สาธารณชนได้รับความเสียหาย หรือ เดือดร้อนราคาญเกินสมควร กรณีนี้โจทก์ต้องมี Special Damage กล่าวคือ โจทก์ต้องได้รับ ความเสียหายมากเป็นพิเศษ จากการใช้สิทธิเรียกชื่อว่า Public Nuisance ซึ่งได้แก่ การกระทําใด ๆ ที่มีกฎหมายบัญญัติคุ้มครองเป็นการเฉพาะโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ คุ้มครองสาธารณชน เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ พระราชบัญญัติ วัตถุ อันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้น กฎมายต่าง ๆ เหล่านี้จะบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองสวัสดิ ภาพและ/หรือสวัสดิภัยของสังคม สําหรับหลักกฎหมายอังกฤษ โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าตนได้รับความ เสียหายมากกว่าปกติทั่วไป เช่น จําเลยปล่อยทิ้งของเสียปฏิกูลลงในแม่น้ํา ซึ่งผิดต่อ พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ และการ ปล่อยของเสียทําให้ปลาตาย ซึ่งโจทก์เองมีอาชีพจับปลาจึงไม่อาจจับปลาได้ การกระทํา ของจําเลยทําให้โจทก์เสียหาย เป็นต้น การใช้สิทธิในลักษณะที่ไม่เหมาะสมและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้อื่นเกินสมควรแก่กรณี พิจารณาจากกฎหมายว่าเกินขอบเขตหรือไม่ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การใช้สิทธิตามมาตรานี้ในเบื้องต้นผู้กระทําต้องมี สิทธิที่จะทําได้ มาตรา 421 จึงเป็นบทขยายความของ “โดยผิดกฎหมาย ” ที่กล่าวอ้าง แล้ว อีกชั้นหนึ่ง กล่าวคือ แม้แต่จะทําโดยมีสิทธิตามกฎหมายแต่ถ้าใช้สิทธินั้นโดย ลักษณะที่มีแต่จะสร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่น ถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย บทบัญญัตินี้จึงดูเหมือนจะเป็นแต่ข้อยกเว้นหรือขยายความคําว่า โดยผิดกฎหมาย เท่านั้น ซึ่งหลักเกณฑ์ประการอื่นที่จะก่อให้เกิดความรับผิดทางละเมิดคงยังต้อง พิจารณาตามมาตรา 420 ให้ครบถ้วน
70
ข้อสังเกต 1. สิทธิเสรีภาพ สิทธิในความหมายของมาตรา 421 คือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งที่กฎหมาย รับรองให้โดยเฉพาะ เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิร้องทุกข์ (แจ้งความ) คดีอาญา การใช้สิทธิทางศาล (ฟ้องคดี) สิทธิตามสัญญา แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความ ถึงสิทธิในเสรีภาพ กล่าวคือ สิทธิที่จะทําอะไรก็ได้อย่างอิสระ (Freedom) แต่อยู่ภายใต้ ขอบเขตของกฎหมาย ดังนั้นคําว่า “เสรีภาพ ” จึงมิใช่สิทธิตามมาตรา 421 เพราะมิ เช่นนั้นในการทําละเมิดทุกรายจะมีและเป็นปัญหาเรื่องการใช้เสรีภาพทุกกรณี เช่น นายกิตติ ขายเสื้อผ้า ซึ่งนายหมอดีก็ขายเสื้อผ้าอยู่ในละแวกเดียวกัน จึง เป็นการแข่งขันทางการค้า ซึ่งหากนายกิตติหรือนายหมอดี คนหนึ่งคนใดค้าขายได้ไม่ดี จะอ้างว่าอีกฝ่ายทําละเมิดไม่ได้ โปรดพิจารณาตามคําพิพากษาฎีกา 1843/2517 1367/2517 2. การใช้สิทธิต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย การใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเรื่องผู้ใช้สิทธิได้รับประโยชน์ ถ้าไม่เกิดความเสียหาย แก่บุคคลอื่นย่อมกระทําได้ เช่นการปลูกสร้างตึกสูงบนพื้นดินที่ตนเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ ย่อมกระทําได้แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เพื่อนบ้าน (บังทิศทาง ลม แสงสว่าง) ในประเทศฝรั่งเศส ศาลได้นําหลักการใช้สิทธิเกินส่วนมาใช้พิจารณา กรณีที่เจ้าของที่ดินผู้หนึ่งได้นําปล่องไฟหลอกบนหลังคาบ้านของตน โดยมีเจตนากลั่น แกล้งเพื่อนบ้าน มิให้แสงสว่างเข้าหน้าต่างบ้านข้างเคียง เช่นเดียวกัน (ศาสตราจารย์ จี๊ด เศรษฐบุตร, Cour de Cassation, 1874) คําพิพากษาฎีกาที่ 1029/2519 การที่ จําเลยเช่าที่วัดทําท่าเทียบ เรือประมง ก่อสร้างรั้วและอาคารในที่ดินที่เช่า มิได้ทําให้โจทก์เดือดร้อนในเรื่องแสง สว่าง ทางลมและสุขภาพ แม้เจตนามิให้โจทก์แย่งค้าน้ําแข็งดองปลา ไม่เป็นการละเมิด ตามมาตรา 420 และ 421 คําพิพากษาฎีกาที่ 827/2521 โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและตึกแถวซึ่งอยู่ ติดกับถนนตลาดสดเทศบาลที่จําเลยที่ 1 สร้างเป็นที่ดินราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความดูแล ของจําเลยที่ 3 การที่จําเลยที่ 3 ให้จําเลยที่ 1 สร้างกําแพงสูงถึง 3 เมตรกั้นระหว่างที ดินโจทก์กับที่ราชพัสดุ เป็นเหตุให้ไม่มีผู้ใดซื้อหรือเข้าตึกแถวโจทก์ ถือเป็นการใช้สิทธิ ของตน เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคาดหมาย ถือได้ ว่าเป็นละเมิด โจทก์มีอํานาจฟ้องตามมาตรา 421 และมาตรา 1337
71
คําพิพากษาฎีกาที่ 1992/2538 ผู้กระทําหรือผู้ใช้สิทธิซึ่งมีแต่ละให้เกิด ความเสียหายแก่บุคคลอื่นอันเป็นการละเมิด ตามมาตรา 421 ต้องฟังได้ว่าผู้นั้นมี เจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้ง โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ฝ่ายเดียว เมื่อ โจทก์ติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้าของโจทก์บนคาดฟ้า ตึกแถวที่โจทก์เช่าเพื่อประโยชน์ ในทางการค้าของโจทก์ก็ได้ จําเลยก็มีย่อมมีสิทธิติดตั้งป้ายโฆษณางานในธุรกิจของ จําเลยบนคาดฟ้าตึกแถวที่จําเลยเช่าเพื่อประโยชน์ในกิจการของจําเลยได้เช่นกัน โดย ไม่คํานึงถึงว่าผู้ใดเป็นฝ่ายติดตั้งก่อ เมื่อไม่ปรากฏว่าจําเลยกระทําเพื่อจงใจกลั่นแกล้ง โจทก์ แม้ป้ายโฆษณาของจําเลยจะอยู่ใกล้ และปิดบังป้ายโฆษณาของโจทก์บ้าง ก็หา เป็นละเมิดต่อโจทก์ไม่ คําพิพากษาฎีกาที่ 592/2544 ซอยพิพาทอันเป็นภาระจํายอมที่โจทก์และ จําเลยใช้ร่วมกันกว้างประมาณ 5 เมตร จําเลยวางกระถางต้นไม้บนทางพิพาทใกล้ ประตูรั้วบ้านจําเลยเป็นผลให้ทางแคบลงเหลือประมาณ 4 เมตร เป็นลักษณะเดียวกับ ที่โจทก์ก่อกระถางอิฐเป็นแนวเดียวกับตึกแถวที่อยู่ติดรั้วบ้านโจทก์ และเพื่อป้องกันมิ ให้รถยนต์แล่นทับท่อระบายน้ําตรงทางพิพาท เมื่อโจทก์ยังคงขับรถยนต์แล่นเข้าออก ได้เป็นปกติการกระทําของจําเลยในทางพิพาทเป็นการใช้สิทธิโดยปกตินิยมส่วนการวาง ถังขยะไว้นอกบ้านเพื่อให้พนักงานเก็บขยะมาเก็บไปทิ้งเช่นเดียวกับคนทั่วไปถือปฏิบัติ กันเมื่อการวางถังขยะมิได้เกะกะกีดขวางทางเดินรถยนต์ ลักษณะของขยะก็มิได้น่า รังเกียจส่งกลิ่นเหม็นรบกวนแต่อย่างใด การกระทําของจําเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดย ปกตินิยม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ คําพิพากษาฎีกาที่ 940/2501 พิพากษาให้จําเลยมีความผิดละเมิด เพราะสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของตน การตอกเข็มทําให้ตึกข้างเคียงสะเทือน ดาดฟ้าร้าว คําพิพากษาฎีกาที่ 931/2523 เมื่อส่วนหนึ่งของสะพานลอยที่ กรุงเทพมหานครสร้างขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์ แม้จะอยู่บนทางเท้า แต่กีดขวาง ทางเข้าของโจทก์ โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเกินกว่าปกติ และเหตุอันควรเป็นละเมิด คําพิพากษาฎีกาที่ 1982/2518 โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องว่า เหตุที่ตึกของ โจทก์ทรุดเอียงได้รับความเสียหาย เนื่องจากจําเลยเก็บสินค้าที่เป็นพื้นคอนกรีตชั้นล่าง ของตึกจําเลย เกินกว่าอัตราที่พื้นคอนกรีตนั้นจะรับได้ทําให้พื้นคอนกรีตตึกจําเลยทรุด ต่ําลงและเป็นเหตุให้พื้นคอนกรีตของโจทก์ทรุดตาม ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ววินิจฉัยว่า
72
เหตุที่อาคารตึกของโจทก์ทรุดแตกร้าวและเอนเอียงเข้าหาตึกของจําเลย เป็นเพราะ จําเลยบรรทุกและเก็บสินค้าที่พื้นคอนกรีตชั้นล่างของตึกจําเลยมีน้ําหนักกินอัตรา ทํา ให้พื้นคอนกรีตชั้นล่างของตึกจําเลยทรุดลง จึงทําให้ตึกของโจทก์ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกันทรุด ตามไปด้วยและด้วยเหตุนี้ทําให้พื้นคอนกรีต คาน และผนังตึกของโจทก์แตกร้าว ตึก โจทก์เอนเอียงไปทางตึกจําเลย การที่จําเลยบรรทุกและเก็บสินค้าในตึกของจําเลยมี น้ําหนักเกินอัตราที่พื้นคอนกรีตชั้นล่างจะรับได้ เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิด เสียหายแก่โจทก์ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ คําพิพากษาฎีกาที่ 5613/2540 โจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ ทางพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์ในลักษณะเกินขอบเขตปกติแห่งการใช้รถยนต์สัญจรไป มาเข้าออกทางพิพาท โดยโจทก์ใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่จํานวนมากบรรทุก สินค้าเข้าออกผ่านทางพิพาทอันเป็นที่เห็นได้ว่าทางพิพาทจะชํารุดเสียหาย ไม่สะดวก และน่าเป็นอันตรายต่อผู้อื่นที่ใช้ทาง เสียงเครื่องยนต์รถบรรทุก กรรมกรบนรถยนต์ บรรทุก ควันเสียจากรถยนต์บรรทุก รบกวนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในหมู่บ้านจน เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถือได้ว่าทําการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์อันทําให้เกิดภาระ เพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ย่อมเป็นการกระทําโดยไม่มีสิทธิหรือไม่ชอบด้วย ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 การที่จําเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ และจําเลยที่ 2 ถึงที่ 15 ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ร่วมกันตั้งเสาทําคานปิดกั้นทาง พิพาทมิให้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ผ่านเข้าออก ส่วนรถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็ก ผ่านไปมาได้ ย่อมเป็นการกระทําของผู้มีอํานาจในทางพิพาท ที่จะปกป้องเยียวยาต่อ การกระทําอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ดังกล่าว และเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของ สามยทรัพย์ทําการทุกอย่างอันจําเป็นเพื่อรักษาภาระจํายอมตาม ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 และการกระทําของจําเลยไม่เป็นการประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจํายอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ 2.5.6 คาพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง คําพิพากษาฎีกาที่1971/2517 โจทก์จําเลยสมรสกันตามประเพณี โดยตกลง ว่าหากจําเลยสําเร็จการศึกษาแล้วจําเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เมื่อจําเลย สําเร็จการศึกษา จําเลยกลับไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์ต้อง สูญเสียความเป็นสาว และอยู่กันฉันสามีภริยากับจําเลยโดยไม่จดทะเบียนสมรส เกิด จากความสมัครใจของโจทก์ มิใช่เกิดจากการกระทําละเมิดของจําเลย การที่จําเลยไม่
73
จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ก็มิใช่เป็นการกระทําละเมิดต่อโจทก์หรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมี แต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ จําเลยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ คําพิพากษาฎีกาที่ 1617/2519 เจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนเสนอรัฐมนตรี มหาดไทย มีคําสั่งไม่อนุมัติให้โจทก์ซึ่งอยู่กับหญิงต่างด้าวซื้อที่ดิน โดยมีเหตุควรเชื่อ ได้ว่า โจทก์ซื้อเพื่ออยู่ร่วมเป็นสิทธิแก่คนต่างด้าว การกระทําของเจ้าพนักงานชอบด้วย กฎหมาย คําสั่งรัฐมนตรีเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 741 เจ้า พนักงานกระทําโดยสุจริตมิได้เจตนากลั่นแกล้งโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน คําสั่งรัฐมนตรี และเรียกค่าเสียหายจากเจ้าพนักงานและผู้จะขายที่ดิน คําพิพากษาฎีกาที่ 1053/2521 เจ้าหน้าตามคําพิพากษาเชื่อว่าร้านค้าเป็น ลูกหนี้ จึงยืนยันให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ในร้าน เป็นการใช้สิทธิทางศาล โจทก์ก็นําสืบไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ไม่สุจริตจงใจให้โจทก์เสียหาย ไม่ถือเป็นละเมิด คําพิพากษาฎีกาที่ 1590/2521 จําเลยฟ้องหย่าสามีระบุในฟ้องว่าได้ส่งเสีย เลี้ยงหญิงอื่นคือโจทก์เป็นภริยา เป็นคํากล่าวในกระบวนพิจารณาใช้สิทธิทางศาล ไม่ ปรากฎว่าจําเลยทําโดยไม่สุจริต ไม่เป็นหมิ่นประมาททั้งทางแพ่งและทางอาญา นอกจากนี้ขอให้ศึกษา คําพิพากษาฎีกาดังต่อไปนี้ประกอบ 7718/2538 843/2539 1695/2540 3815/2540 2296/2541 2299/2541
74
2.6 ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทากับผลเสียหาย บทบัญญัติมาตรา 420 ตอนท้าย การกระทําโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้ ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หมายความถึง การกระทําที่จะได้ชื่อว่าเป็นละเมิด ผู้กล่าวอ้าง จะต้องนําสืบให้ศาลเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกระทํากับผลเสียหายให้ได้ว่ามี ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพราะมีสุภาษิตลาตินมีอยู่ว่า Res Ipsa Loquitur ความ จริงย่อมปรากฏขึ้นและเผยความจริงของตัวเอง ดังนั้น ผลของการกระทําเป็นอย่างไรก็ ย่อมมีที่มาจากการกระทํานั้น - ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล (Causation) Fault
Damage
Causation
ในการที่จะให้บุคคลใด ต้องรับผิดในผลของการกรทําของตนต้องปรากฏว่า การกระทํา (งดเว้น ละเว้น) โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เกิดความ เสียหาย ซึ่งมีหลักวินิจฉัยโดยแบ่งเป็น 2 เรื่อง ซึ่งจะต้องพิจารณาความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประการนี้ประกอบกันจึงจะถือว่าละเมิด 1 . ความสัมพันธ์ของจาเลยต้องเป็นเหตุที่นาไปยังผลความเสียหาย โดยตรง (ผลธรรมดา) ของโจทก์ในความเป็นจริง (Causation in Fact) อุทาหรณ์ จําเลยนํารถที่เบรกไม่ดี (ถือว่าผิดกฎหมาย มาตรา 422) มาใช้ใน ท้องถนน จําเลยขับรถชนรถของโจทก์เสียหาย โจทก์จึงฟ้องให้จําเลยรับผิดฐานละเมิด ตามมาตรา 420 จําเลยนําพยานหลักฐานมาสืบว่าจําเลยมิได้มีโอกาสแตะเบรกเลย เนื่องจากรถโจทก์ขับฝ่าไฟแดงตัดหน้ารถจําเลยในระยะกระชั้นชิด ศาลเชื่อตามที่ จําเลยนําสืบ จะเห็นได้ว่าความเสียหายของโจทก์นั้นมิได้เกิดจากการที่รถยนต์ของ จําเลยบกพร่อง แต่เกิดเพราะโจทก์ขับรถตัดหน้ารถของจําเลย ความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุและผลในความเป็นจริงขาดกัน ไม่ถือว่าเป็นละเมิด ซึ่งจะเห็นได้ว่า การนําสืบของ จําเลย เพื่อหักล้างข้อกล่าวอ้างของโจทก์ เป็นความสําคัญยิ่งในคดีละเมิด เพื่อให้ศาล
75
เห็นว่าความเสียหาย (ผล) มิได้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพราะเมื่อพยานหลักฐาน ปรากฎชัดในกระบวนพิจารณาคดี ความจริงย่อมปรากฎขึ้นและเผยความจริงของ ตัวเอง (Res Ipsa Loquitur) การพิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของจําเลยนี้ในประเทศอังกฤษศาลได้วางหลัก ทดสอบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลหรือไม่ พิจารณาจาก หากจําเลยไม่กระทํา ผลเสียหายจะเกิดหรือไม่ หรือทฤษฎีเงื่อนไข (Condition Theory) เรียกว่า “But for test” กล่าวคือ โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ความเสียหายจะไม่เกิดขึ้น ถ้าจําเลยไม่กระทํา ขอให้ย้อนกลับไปพิจารณาคดี Barnett V. Chelsea หลัก But for test ที่ศาลไทยได้นํามาปรับใช้วินิจฉัยแก่คดี ยกตัวอย่างเช่น คําพิพากษาฎีกาที่ 1150/2498 จําเลยใช้ไม้พายตีผู้ตายซึ่งนั่งเรือลําเดียวกัน มาเรือล่ม ผู้ตายจมน้ําตาย จําเลยจะต้องรับผิดเฉพาะผลที่ดีหรือผลที่ผู้ตายจมน้ําตาย ด้วย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ตายกับจําเลยไม่มีสาเหตุกันมาก่อน ในวันนั้นเองก็ยังปรากฎ ว่าทั้งสองได้ร่วมวงเสพสุราและเล่นลิเกด้วยกัน เลิกแล้วจําเลยพายเรือไปส่งผู้ตายแต่ บังเอิญ เถียงกันขึ้นระหว่างทาง จําเลยจึงใช้พายตีบาดแผลเพียงฟกช้ําเท่านั้น โดยปกติ แล้วบาดแผลเท่านี้ไม่ถึงกับทําให้ตายได้ จําเลยจึงไม่ควรมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดย เจตนาแต่ถึงอย่างไร ความตายของโจทก์ เกิดเพราะเหตุที่จําเลยตีเพราะหากจําเลยไม่ตี เรือก็ไม่ล่ม และจําเลยก็ไม่จมน้ําตาย ดังนั้น ความตายของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงจาก การกระทํา (ตี) ของจําเลย คําพิพากษาฎีกาที่ 1973/2477 หากจําเลยใช้ความระมัดระวังพอแก่ฐานะที่ เป็นผู้ขับรถรางแล้ว ก็จะไม่มีทางเป็นอันตรายแก่โจทก์ ดังเหตุที่เกิดในคดีนี้ จําเลยจึง มีความผิดฐานทําให้บาดเจ็บสาหัสโดยประมาท คําพิพากษาฎีกาที่ 1431/2498 จําเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนรถของ โจทก์ รถของโจทก์ไปกระแทกเสาไฟฟ้า ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่รถของโจทก์ไป กระแทกกับเสาไฟฟ้าเป็นผลโดยตรงจากกําลังแรงดันของการที่รถของจําเลยชน ไม่ใช่ รถของโจทก์ไปชนเข้าเอง จําเลยต้องรับผิด มีข้อสังเกต มาตรา 222 วรรคสอง “แม้ความเสียหายเกิดแต่พฤติการณ์ พิเศษ ถ้าคาดเห็นได้ความรับผิดที่จะต้องใช้ค่าเสียหายในพฤติการณ์นั้นยังคงมีอยู่”
76
คําพิพากษาฎีกาที่ 1898/2518 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คนขับรถของจําเลย ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถที่บรรทุกยางรถยนต์ จนทําให้ยางรถยนต์ที่บรรทุก ตกลงไปจากรถ จึงเห็นได้ว่า การที่ยางรถยนต์ถูกคนร้านลักไปนั้นเกิดขึ้นเพราะ ความผิดของคนขับรถของจําเลยที่ขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้ชนรถบรรทุกยาง ซึ่ง ถ้าไม่ชนก็คงไม่ถูกคนร้ายลักในที่เกิดเหตุ จึงนับว่าการสูญหายของยางรถยนต์เป็นผล โดยตรงจากการละเมิดรายนี้ จําเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ในผลแห่ง ละเมิดของคนขับรถของจําเลย คําพิพากษาฎีกาข้างต้น ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ มีหมายเหตุท้ายฎีกาโดย อธิบายว่า การที่มีคนที่สามเข้ามาลักยาง หลักจากที่เกิดเหตุคือรถชนกันแล้ว เป็นเหตุ แทรกแซงที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งตามหลักจะต้องวินิจฉัยว่าเป็นที่คาดหมายได้หรือไม่ว่าน่าจะ เกิดเช่นนั้น อันเป็นผลจากากรละเมิดในครั้งแรกโดยเฉพาะการที่คนภายนอกทําความ เสียหายขึ้นโดยจงใจ หลักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทํากับผลในทางแพ่ง กับทางอาญาต่างกัน ทางอาญาบุคคลจะต้องรับผิดในการกระทําที่บุคคลทําความผิด โดยเจตนา แต่ในทางแพ่ง แม้ผู้อื่นทําผิดโดยจงใจ ถ้าเป็นที่คาดหมายได้ว่า เป็นผลจาก การทําละเมิดของผู้ใด (But for test) ผู้ทําละเมิดต้องรับผิดในผลที่บุคคลภายนอก กระทําโดยจงใจ (เพราะควรคาดหมายได้) เทียบเคียงกับคดี Stansbie V. Troman, 1948 จําเลยเป็นช่างตกแต่งบ้าน มีหน้าที่ต้องระมัดระวัง บ้านที่ตนเข้าไปรับจ้างตกแต่ง เมื่อมีเหตุที่คนร้ายเข้าไปขโมย ของ เพราะตนมิได้ปิดล๊อคบ้าน ย่อมถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจําเลย อุทาหรณ์ โจทก์ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากตกบันได ขณะไปใช้บริการในสถานที่ ของจําเลย เนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของจําเลยที่ไม่ทําความสะอาดสถานที่ ภายหลังโจทก์ได้ไปรักษาตัวจากอาการบาดเจ็บดังกล่าว หมอได้ฉีดยาป้องกันโรค บาดทะยัก แต่ความปรากฎว่า ในการฉีดยากันบาดทะยักต้องฉีดยาเป็นระยะ ๆ ตาม ขั้นตอนทางการแพทย์ และได้ความว่า เมื่อให้ยาไปจํานวนหนึ่งจะต้องรออีกครึ่งชั่วโมง เพื่อดูอาการข้างเคียง แต่หมอกับไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน รอเพียงนาทีเดียวและให้ยา เพิ่มจนครบ ขณะนั้นโจทก์ก็มิได้แสดงอาการข้างเคียงแต่ประการใด ภายหลังอีก ประมาณ 1 สัปดาห์ โจทก์เกิดอาการแพ้ยา มีผลข้างเคียงคือป่วยสมองอักเสบ (Brain Damage Encephalitis) กรณีเช่นนี้ ศาลวินิจฉัยให้จําเลยมีความรับผิดทางละเมิด โดยคําพิพากษาให้เหตุผลว่า การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการให้ยา หากมีข้อผิดพลาด อาการข้างเคียงต้องเกิดขึ้นภายในเวลาที่ให้รอ ดังนั้น ความบกพร่องของแพทย์จึงมิใช่
77
สาเหตุที่ทําให้โจทก์เจ็บป่วย ความเจ็บป่วยของโจทก์เป็นผลโดยตรงมาจากความ ประมาทเลินเล่อของจําเลย (Robinson V. Post Office, 1974, 2All ER 737) หากไม่ทําผลก็ไม่เกิด โจทก์ต้องนําสืบให้ให้ศาลเห็นให้ได้ว่า ความเสียหาย ของตนเกิดจากความจงใจ หรือความประมาทเลินเล่อของจําเลย เช่น โจทก์เจ็บป่วย เนื่องจากสาเหตุดื่มน้ําของจําเลย (เทศบาล) เพราะน้ําดื่มมีสิ่งเจือปน (Stubbs
V.
City of Rochester)
คําพิพากษาฎีกาที่ 131/2496 พิพากษาว่า ในเรื่องละเมิดกฎหมายดูผลแห่ง การกระทําอันเป็นผลธรรมดา หรือผลโดยตรง หรือผลใกล้ชิดกับเหตุการณ์เท่านั้น จริงอยู่ ถ้าจําเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์เก็บรักษาสมุดเช็ค และตรายางบัญชีไว้เองก็ เป็นการป้องกันอย่างดี ผู้ร้ายจะหาโอกาสปลอมเช็คไปเบิกเงินของโจทก์ได้ยาก แต่นั่น เป็นความคิดเห็นของบุคคล หามีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้มีหน้าที่เซ็นจําเลย (ผู้จัดการ องค์การรถไฟสายแม่กลอง) จะต้องใช้ความระมัดระวังรักษาดังที่โจทก์ต้องการนั้นไม่ จึงอาจตําหนิจําเลยในทางปกครองได้ แต่จําเลยไม่ต้องรับผิดฐานละเมิด เพราะไม่ใช่ ผลโดยตรงใกล้ชิดกับการกระทําของจําเลย คําพิพากษาฎีกาที่ 4546/2540 ในกรณีที่บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหม ทดแทนแก่กรรมการตามป ระมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 1169 และ 223 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่กร รมการทําให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท และความเสียหาย ดังกล่าวจะต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทําหรืองดเว้นในสิ่งที่ควรกระทํา โจทก์ฎีกา ว่าจําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นผู้กระทําการแทนจําเลยที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคล เมื่อนิติบุคคล ได้รับความเสียหายย่อมต้องเกิดจากการกระทําของผู้ที่ทําการแทนนั้น ปรากฏว่าความ เสียหายในคดีนี้เกิดจากการที่ ส. ขับรถบรรทุกแก๊สด้วยความประมาทเลินเล่อทําให้รถ พลิกคว่ํา ความเสียหายที่เกิดเพราะรถบรรทุกแก๊สมีสภาพและอุปกรณ์ไม่ถูกต้องก็เป็น เหตุประการหนึ่งที่ทําให้ได้รับผลร้ายแรงเท่านั้น แต่การที่รถบรรทุกแก๊สมีสภาพและ อุปกรณ์ไม่ถูกต้องนั้น มิใช่ผลโดยตรงของความเสียหาย เห็นได้จากการที่จําเลยที่ 1 นํา รถยนต์คันดังกล่าวมาใช้งานตั้งแต่ปี 2531 หากจะถือว่าเป็นการกระทําของจําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงวันเกิดเหตุจําเลยที่ 1 ก็มิได้เสียหาย แม้ จะเป็นการผิดกฎหมายในส่วนของการที่นํารถยนต์มาให้จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ชดใช้ ค่าเสียหาย ฉะนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในมูลละเมิดจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จําเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าเสียหายได้
78
ตามคําพิพากษาฎีกาทั้งสองคดีนี้ ศาลยึดหลักผลโดยตรงเป็นหลัก แต่ต้อง คํานึงถึงความใกล้ชิดกับเหตุเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยให้จําเลยต้องรับผิดหรือไม่ ซึ่ง เป็นการผ่อนปรนหลักการผลโดยตรง (ผลธรรมดา) เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ฉะนั้นมาตรการประการที่สองจึงเข้ามาใช้พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล 2. ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลในทางหลักกฎหมาย (Causation in Law)
กล่าวคือ ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลต้องไม่ไกลเกินกว่าที่จําเลยจะพึง คาดหมายได้ (Remoteness of Damage) ผลที่จําเลยได้ทําขึ้นใน Causation in fact ต้องไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ ถ้าผลใดไกลเกินกว่าเหตุ ถึงแม้ว่าเป็นผลที่เกิดจาก จําเลย (But for test) จําเลยก็หาจําต้องรับผิดไม่ จําเลยจะรับผิดเฉพาะผลที่เกิด ใกล้ชิดการกรทําของตนเท่านั้น (Proximate Cause) ขอให้ท่านพิจารณาคดีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คดี
Re Polemis (Polemis V. Furness, Whithy & Co, 1921 3 KB
560) จําเลยได้เช่าเรือโจทก์เพื่อบรรทุกน้ํามันเบนซินและ /หรือน้ํามันปิโตรเลียมบรรจุ
ในถัง ความปรากฏว่า ระหว่างเดินทางในทะเล มีคราบน้ํามันที่รั่วออกมาจากถังบรรจุ น้ํามันไปตกค้างอยู่ใต้ท้องเรือ และบางส่วนได้กลายเป็นไอน้ํามัน (Petro/Vapour) ซึ่งเมื่อเรือเข้าจอดเทียบท่าคนงานของจําเลยได้ทําไม้กระดานสําหรับทอดเดินข้ามตก ลงไปในท้องเรือ เป็นเหตุทําให้เกิดประกายไฟ (Spark) จนไฟลุกลาม และไอน้ํามัน ดังกล่าวเกิดจุดระเบิดขึ้น เรือได้รับความเสียหายทั้งหมด (Totally Destroyed) ข้อเท็จจริงในชั้นอนุญาโตตุลาการ ได้ความตรงกันว่า สาเหตุของไฟประทุขึ้นมี สาเหตุจากไม้กระดานตกลงไปกระทบกับน้ํามัน/ไอน้ํามันที่ตกค้างอยู่ คนงานของ จําเลยคงไม่อาจคาดหมายได้ว่าไม้กระดานตกลงไปจะก่อให้เกิดความเสียหายขนาดนั้น ศาลแห่งคดีวินิจฉัยว่า จริงอยู่ตามนั้น แต่เมื่อเป็นผลโดยตรงจากความ ประมาทเลินเล่อของคนงานของจําเลย (All the Direct Consequences of the negligent act of their servants) จําเลยต้องรับผิด ท่านจะเห็นได้ว่า คดี Re Polemis ศาลยึดหลักผลโดยตรง ซึ่งในทางวิชาการ ก็มีผู้คัดค้านว่า จะมีใครคาดหมายได้ถึงขนาดนั้น แต่ภายหลังได้เกิดคดี ๆ หนึ่งที่ศาลได้กลับมาถือหลัก Causation in Law ในคดี The Wagon Mound กล่าวคือ Overseas Tankship เป็นโจทก์ฟ้อง Morts Dook & Engineering (1961, 1All ER 404) ข้อเท็จจริงได้ความว่า เรือเดิน สมุทรชื่อ The Wagon Mound ได้บรรทุกน้ํามันเตาปริมาณมาก และโดยความ
79
ประมาทเลินเล่อของคนงานของจําเลย เป็นเหตุทําให้น้ํามันเตาในเรือรั่วไหลลอยทะเล ไปจนถึงอ่าวเมืองท่าใหญ่แห่งหนึ่ง ข้อเท็จจริงได้ความว่า น้ํามันได้ลอยเข้าไปเป็นระยะ กว่า 600 ฟุต ในระหว่างนั้น โจทก์เป็นอู่ซ่อมแซมเรือและได้ทําการซ่อมแซมเรือ รวมถึงการเชื่อมโลหะอยู่ โดยโลหะที่ถูกหลอมเหลว (Molten Metal) ได้ตกลงไปใน น้ําที่มีน้ํามันเตาลอยปนเปื้อนอยู่ ประกอบกับอากาศร้อนในช่วงเที่ยง ผนวกกับมีปุย ฝ้าย (Cotton) ลอยมาสําทับอีกโสตหนึ่ง จึงทําให้ไฟลุกไหม้ และลุกลามไปไหม้ท่าเรือ ของโจทก์ ศาลแห่งคดีวินิจฉัยว่า ความเสียหายของโจทก์เช่นนี้ โดยปกติจําเลยมิอาจ คาดหมายได้ (Foreseeability) จําเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายนั้น ท่านจะเห็นได้ว่า คดี Re Polemis คนงานของจําเลย ทําไม้กระดานหล่น กระทบกับท้องเรือที่มีไอน้ํามัน จึงเกิดประกายไฟและลุกลาม ทําให้เรือโจทก์เสียหาย ไม่มีเหตุแทรกซ้อนเข้ามา แม้ว่าจะไกลเกินกว่าคาดหมายได้ แต่ความเสียหายก็เป็นผล โดยตรงจากการกระทําโดยประมาทเลินเล่อของจําเลย แต่ในคดี The Wagon Mound คนงานของจําเลยกระทําโดยประมาทเลินเล่อ กล่าวคือ ปล่อยให้น้ํามันเตารั่ว จากเรือ แต่ลําพังนํามันเตามาถึงท่าเรือโจทก์ มิอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ แต่ที่ เกิดความเสียหายขึ้น เนื่องด้วยมีเหตุแทรกซ้อน โลหะหลอมเหลวที่คนงานของโจทก์ กําลังซ่อมแซมเรืออยู่ จึงมิใช่แต่เพียงผลที่เกิดโดยตรงจากการกระทําของจําเลย และ (1) น้ํามันเตาจะลอยไปที่ใด ย่อมคาดหมายไม่ได้ (2) เหตุแทรกแซงย่อมคาดหมายไม่ได้เช่นกัน จําเลยจึงมิต้องรับผิด ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ในเหตุเดียวกันนี้ เจ้าของเรือที่ได้รับความเสียหายได้ฟ้องอู่ซ่อมเรือ เนื่องจาก ไม่ใช้ความระมัดระวัง ทําให้เรือโจทก์ที่ซ่อมแซมอยู่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากจําเลย ควรคาดหมายได้ว่า เมื่อมีคราบน้ํามันลอยมาเป็นจํานวนมาก เช่นนั้น แล้วยังหลอม โลหะต่อไปจนทําให้เกิดไฟลุกไหม้ขึ้น สามารถคาดเห็นได้ว่า จะเกิดความเสียหาย ขึ้นกับเรือที่ซ่อมแซมอยู่ เพราะจําเลยมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญประจําสํานักงาน แม้วิศวกร จะพิจารณาแล้วว่าน้ํามันเตานั้นโอกาสที่จะลุกติดไฟน้อยมาก เมื่อวิเคราะห์จากอุณหภูมิ ของการเชื่อมโลหะ ซึ่งติดไฟได้ต้องประกอบด้วยสาเหตุอื่นประกอบอีก แสดงว่าจําเลย ก็ทราบแต่มิได้ปัดป้องความเสี่ยงนั้น จึงอยู่ในวิสัยที่คาดหมายได้ไม่ไกลเกินกว่าเหตุ ต้องรับผิด (The Wagon Mound (No.2) Oversea Tankship V. Miller Steamship, 1966, 2 All 709)
80
อุทาหรณ์ นายกิตติขับรถไปตามถนนหลวง และจอดรถไว้ข้างทาง (เวลา ตอนกลางคืน) โดยมิได้ให้อาณัติสัญญาณ นายหมอดีขับรถมาตามเส้นทางนั้น และ มองไม่เห็นรถนายกิตติในระยะไกล จะเห็นได้อีกทีในระยะกระชั้นชิด จึงมิอาจหักหลบ ได้จึงชน พิจารณาได้ว่า (1) นายกิตติจอดรถผิดกฎหมายจราจร จอดรถไว้ข้างทางโดยมิได้ให้อาณัติ สัญญาณ (2) นายหมอดีขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกําหนด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ความเสียหายนี้ นายกิตติซึ่งตกเป็นจําเลยควรคาดหมายได้ ว่า อาจจะมีรถขับตามมาแล้วเกิดภัยพิบัติขึ้น ไม่ไกลเกินกว่าเหตุ ความเสียหาย (Damage)
วิสัย
คาดหมายได้
ภาวะ
Foreseeability
อุทาหรณ์ โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่ได้รับ อันตรายจากสภาพการทํางานที่ไม่ปลอดภัย โจทก์ในฐานะนายจ้างต้องคาดหมายได้ แม้ว่าเริ่มแรกจะป่วยเจ็บก่อนลามป่วยด้วยโรคร้ายแรงในภายหลัง แต่ต้องได้ความว่า โรคร้ายแรงนั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการป่วยเจ็บเล็กน้อยนั้น (Smith V. Leech Brain & Co., 1961)
81
คาดหมายได้ Foreseeability
ไม่ไกลเกินกว่าเหตุ Remoteness of Damage
Novus Actus Interveniens New Act Intervening
เหตุแทรกแซง
เหตุโดยธรรมชาติ
เหตุโดยบุคคลที่สาม
เหตุโดยผู้เสียหาย
Natural Events
Act of Third Parties
Act of the Claimant
จากแผนผังข้างต้น ต้องทําความเข้าใจเสียก่อนว่า การกระทําที่ก่อให้เกิดผล เสียหายนั้น จําเลยต้องคาดหมายได้ว่าผลร้ายจะต้องหรือน่าจะเกิดขึ้นได้ สิ่งที่จะ เกิดขึ้นหรือน่าจะเกิดขึ้นนี้ต้องอยู่ในวิสัยที่จะสันนิษฐานได้ว่าไม่ไกลเกินกว่าเหตุ และ เช่นเดียวกันเพื่อหใความเป็นธรรมแก่ผู้กระทํา ผลเสียหาย (ผลร้าย) ที่เกิดขึ้น หาก เกิดจากเหตุแทรกแซงไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือบุคคลที่สาม หรือ ผู้เสียหาย ก็ ต้องเป็นเหตุแทรกแซงที่มีมูลเหตุเหมาะสมด้วย เหมือนอย่างคําพิพากษาฎีกาที่ 1898/2518 ที่ถือว่าระดับมาตรฐานของวิญํูชนย่อมพึงคาดหมายได้ ในคดีทาง อาญามีการยกตัวอย่างที่จําเลยผลักนายหมอดี ล้มลงกับพื้นปรากฏว่า นายหมอดีเป็น คนที่กระหม่อมบาง เมื่อล้มลงหัวกระแทกพื้น จึงถึงแก่ความตาย เช่นนี้ย่อมเกินความ คาดหมายของวิญํูชนทั่วไป เว้นเสียแต่จําเลยทรายอยู่ก่อนแล้วว่านายหมอดี มีสภาพ ร่างกายเช่นนั้น ก็ต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นต่อไป
82
หรือหากเป็นหตุการณ์ธรรมชาติที่เข้ามาแทรกแซงให้โจทก์ต้องเสียหายยิ่งขึ้น เนื่องจากขาดรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่น เรือของโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากถูกเรือ จําเลยซึ่งแล่นมาโดยประมาทเลินเล่อชน จนเสียหายต้องจอดซ่อมแซม เมื่อไม่สามารถ นํากลับมาเพื่อใช้งานได้เนื่องจากช่วงเวลานั้นมีพายุใหญ่เข้ามาทําให้ขาดรายได้ ความ เสียหายที่เพิ่มขึ้นนี้จําเลยหามีความรับผิดไม่ (Carslogic steamship Co. V. Royal Norwegian Government, 1952) เช่นเดียวกับเหตุการณ์แทรกแซงที่เกิดจาก บุคคลที่สาม (Third Parties) จําเลยก็ต้องรับผิดหากเป็นเรื่องที่อยู่ในวิสัยที่สามารถ คาดหมายได้เช่นกัน ขอให้พิจารณาจากคดี Stansbie V. Troman, 1948 หรือหากเป็นเหตุแทรกแซงที่เกิดขึ้นจากผู้เสียหายเอง และไม่เกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กันระหว่างเหตุและผล จําเลยจําต้องรับบาปเคราะห์นั้นไม่ ขอให้พิจารณาตาม คําพิพากษาฎีกาที่ 13581369/2526 จําเลยได้รื้อถอนห้องแถว เป็นเหตุให้สามีโจทก์ เสียใจเป็นอย่างมากจึงไปกระโดดน้ําฆ่าตัวตาย (Suicide, อัตวินิบาตกรรม ) การที่ โจทก์ต้องเสียค่าปลงศพสามี และไม่ได้ขายสินค้านั้น ความเสียหายหาได้เกิดจากการ กระทําของจําเลยไม่ คําพิพากษาฎีกาที่ 114/2510 จําเลยไม่ได้ขับรถเร็วและทางลากไม้ที่ขับมา นั้น เป็นทางจํากัดบังคับให้ขับโดยทางข้างหนึ่งเป็นคลองอีกข้างหนึ่งเป็นเขา จะขับให้ ห่างคลองไปอีกไม่ได้เพราะติดเขา การที่ล้อพ่วงเอียงนั้นก็เนื่องจากที่ตรงนั้นเป็นหลุม เอาหินกองไว้หินแตก เป็นเหตุให้ระดับล้อที่ผ่านไปทรุดต่ําลง และรถคันที่จําเลยขับ ไม่ได้คว่ํา หากผู้ตายไม่ด่วนตัดสินใจกระโดดจากรถเหมือนคนอื่นก็คงไม่ได้รับอันตราย แต่อย่างใด ดังนี้หาใช่ความประมาทของจําเลยไม่ เทียบเคียงกับคําพิพากษาฎีกาที่ 1436/2511 เมื่อคดีฟังได้ว่าจําเลยขับรถ ด้วยความประมาทแม้ผู้ตายกระโดดลงจากรถก่อน หากแต่ในระยะกระชั้นชิดกับ ภยันตรายที่จะเกิดขึ้นและในที่สุดก็ได้เกิดขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงภยันตรายเฉพาะหน้านั้น ก็ญังต้องถือว่า การกระทําของผู้ตายเป็นผลอันเกิดใกล้ชิดและเนื่องมาจากเหตุขับรถ ประมาทของจําเลย จําเลยจึงต้งอรับผิดฐานทําให้คนตายโดยประมาท
83
แต่อย่างไรก็ดี เหตุแทรกแซงโดยผู้เสียหายนั้น หากอยู่ในวิสัยที่ผู้กระทําละเมิด คาดเห็นได้ ผู้กระทําย่อมได้ชื่อว่ากระทําโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เกิดความ เสียหาย (ผล) ซึ่งถือได้ว่าไม่ไกลเกินไป (Remoteness of damage) จําเลยเป็น เจ้าหน้าที่ตํารวจที่ควบคุมผู้ต้องหาอยู่ในโรงพัก และปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในระหว่างชั้น สอบสวนผู้ต้องหารายนี้มีลักษณะหรือพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จะเห็นได้ว่า แม้เหตุแทรกแซงดังกล่าวเกิดขึ้น เพราะตัวผู้เสียหายเอง แต่เมื่อบุคคลนั้นมีหน้าที่ (Duty) ก็ต้องมีพฤติกรรมที่แสดงโดยประจักษ์ว่า บุคคลนั้นได้ระมัดระวังอย่างเต็มที่ แล้ว ในคดีนี้มิได้ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตํารวจได้ปฏิบัติการใด ๆ เพื่อป้องปัดภัยความ เสี่ยงดังกล่าว ศาลจึงวินิจฉัยให้จําเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ความเสียหายที่ เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของจําเลย (Reeves V. MPC, 1999, Kirkham V. Anderson ,1990, Pigney V. Pointer, 1957)
หรือ จําเลยในฐานะนายจ้างต้องรับผิดชอบใน ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง ตามที่ได้เคยแสดงให้ เห็นแล้วว่า นายจ้างต้องคาดหมายได้ เมื่อโจทก์ (ลูกจ้าง) ได้รับบาดเจ็บ (Injury) ที่ขาข้างซ้าย เนื่อง เพราะการปฏิบัติงาน การที่ขาข้างซ้ายบาดเจ็บจึงส่งผล ทําให้สมรรถนะการเดินของโจทก์ไม่คล่องและมี ประสิทธิภาพ ซึ่งวันหนึ่งโจทก์ต้องเดินขึ้นที่บันได และเหตุที่ตนขาเจ็บทําให้ตกลงมา เหตุการณ์ที่สองที่ทําให้โจทก์ต้องบาดเจ็บซ้ําอีกนี้ ท่านจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ต้อง ระมัดระวังตัวเอง ความเสียหาย มิใช่ภาระของจําเลยที่ต้องระมัดระวังจึงมิอาจถือได้ว่า เหตุการณ์ที่หนึ่งกับเหตุการณ์ใหม่เกี่ยวพันกันแต่อย่างใด จําเลยมิต้องรับผิด (Mckew V. Holland Hannen & Cubitts & Co, 1969, 3 ALL ER 1621)
84
2.7 ความเสียหาย “ให้เขาเสียหายแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี
ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทาละเมิด” นอกจากองค์ประกอบต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ผู้นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทําละเมิด ต้อง ปรากฏข้อเท็จจริงที่ฝ่ายโจทก์ต้องนําสืบให้ศาลเห็นว่า โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร และเพียงใด ซึ่งมาตรา 420 ได้รับรองความเสียหายไว้ตามกรณีต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความเสียหายแก่ชีวิต 2. ความเสียหายแก่ร่างกาย 3. ความเสียหายแก่อนามัย 4. ความเสียหายแก่เสรีภาพ 5. ความเสียหายแก่ทรัพย์สิน 6. ความเสียหายแก่สิทธิอื่นใด ความเสียหายที่กฎหมายรับรองไว้นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีกล่าวคือ อาการแห่งความบาดเจ็บแก่ชีวิต (ตาย) ร่างกาย อนามัย หรือเสรีภาพ ที่เรียกรวม ๆ ว่า Physical injury และความเสียหายในทางทรัพย์สิน ที่เรียกรวม ๆ ว่า Physical damage to the claimant’s property ซึ่งความเสียหายดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้ ด้วยทางจักษุ หรือรูปธรรม กรณีเช่นนี้ ศาสตราจารย์ไพจิตร ได้ให้ความเห็นว่าไม่มีความจําเป็นที่ต้อง บัญญัติว่าเสียหายต่าง ๆ ตามข้างต้น บัญญัติเพียงแค่คําว่า “สิทธิ ” ก็ครอบคลุม เพียงพอแล้ว แต่กระนั้นมีความเสียหายบางอย่างเกิดขึ้นที่มิใช่รูปธรรม ซึ่งเป็นอันตรายแก่ จิตใจ และ/หรือการขาดโอกาสทางเศรษฐกิจ (ขาดทุน) หรือค่าเสียหายที่อาจจะ เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้จะถือได้หรือไม่ว่าความเสียหายดังกล่าวผู้กระทําละเมิดต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
85
2.8 หมิ่นประมาททางแพ่ง มาตรา 423 บัญญัติว่า “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอัน ฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือ เป็นที่เสียหายแก่ทางทามาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดีท่านว่าผู้ นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่ การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้ ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับ ข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสาร เช่นนั้นหาทาให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ ” หมิ่นประมาททางแพ่งหรือการละเมิดบุคคลอื่นโดยการแสดงข้อความเท็จ (ฝ่า ฝืนต่อความจริง) ต้องเป็นกรณีที่ผู้กระทําละเมิดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม เทียบเคียงได้กับหมิ่นประมาทในคดีอาญา มาตรา 326 “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ สาม โดยประการน่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทํา ความผิดฐานหมิ่นประมาท...” คําพิพากษาฎีกาที่ 124/2487 การที่มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 ไว้ มิได้หมายความว่า การพูดอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่นจะมีได้ เฉพาะในกรณีดังบัญญัติไว้ในมาตรา 423 เท่านั้น (หมิ่นประมาท) การสบประมาทซึ่ง บางที่เรียกว่าหมิ่นประมาทซึ่งหน้าอันไม่อยู่ภายใต้มาตรา 423 (ดูหมิ่น) จะเป็นละเมิด หรือไม่ต้องพิจารณาแล้วแต่ว่าต้องตามข้อบัญญัติแห่งมาตรา 420 หรือไม่ หากต้องก็ เป็นละเมิด จะเห็นได้ว่า จะเข้าหลักมาตรา 423 ได้แก่ความผิดเรื่องหมิ่นประมาท ที่ กฎหมายอาญาอธิบายไว้ว่า คือการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม แต่กรณีหมิ่นประมาท ทางแพ่งนั้นกฎหมายมีเงื่อนไขว่าการใส่ความต่อบุคคลที่สามารถนั้นข้อความที่ผู้นั้นไข ข่าวแพร่หลายต้องเป็นข้อความที่เป็นเท็จ ซึ่งตรงกันข้ามกับหมิ่นประมาทในทางอาญา ที่การใส่ความกฎหมายมิได้บัญญัติว่าข้อความนั้นจะต้องเป็นความเท็จเสมอไป แม้เรื่อง บางเรื่องเป็นความจริงแต่ทว่าความจริงที่ใส่ความนั้นทําให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือแม้แต่น่าจะเสียหายต่อเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผิด ฐานหมิ่นประมาทที่เรียกว่า “ยิ่งจริง ยิ่งหมิ่นประมาท ” (The Greater the truth, the greater the libel) เช่น นายกิตติทราบว่านายหมอดีมีภรรยาน้อย และเป็นเรื่อง
86
จริง เมื่อนายกิตติเที่ยวนําเรื่องนี้ไปเปิดเผยสู่สาธารณะทําให้นายหมอดีเสื่อมเสียก็มี ความรับผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา แต่ในมาตรา 423 ไม่มีความรับผิด เนื่องจากมิได้ฝ่าฝืนต่อความจริง ข้อสังเกต หากบุคคลนั้นไขข่าวแพร่หลายซึ่งอาศัยข้อความจริง แต่มีผลร้ายแก่ บุคคลอื่น ย่อมไม่เข้าด้วยเงื่อนไขมาตรา 423 แต่มิได้หมายความผู้นั้นไม่มีความรับผิด หากครบองค์ประกอบตามมาตรา 420 ทั้งนี้ หากนายกิตติได้เตือนภรรยาน้อยของนายหมอดี ว่าเธอไปมีอะไรกับหมอ ดีหรือเปล่า ถ้ามีให้เลิกเสียเพราะหมอดีเค้ามีภรรยาอยู่แล้ว ถือว่าไม่หมิ่นประมาท เพราะเป็นเพียงการคาดคะเน ตามวรรคหนึ่ง หลักเกณฑ์แห่งการรับผิดตามมาตรา 423 1. ต้องมีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ (ฝ่าฝืนต่อความจริงจะทั้งหมดหรือ แต่เพียงบางส่วนก็ตาม) ไม่ว่าโดยวิธีกล่าวด้วยวาจา ไขข่าวแพร่หลาย เป็นลายลักษณ์ อักษร หรือโดยใช้สื่อชนิดใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น การวาดภาพ ปั้นรูป กิริยาท่าทาง แสดงออก ทําเครื่องหมายสัญลักษณ์ ฯลฯ อุทาหรณ์ การใช้ชื่อ เครื่องหมายสัญลักษณ์ฝ่าฝืนต่อความจริง คําพิพากษาฎีกาที่ 121/2539 ศูนย์ประสายงานทหารกองหนุนแห่งชาติ ซึ่ง เป็นส่วนราชการของสํานักงานนายกรัฐมนตรี โจทก์ยินยอมให้จําเลยนําชื่อกลุ่มสมาชิก กนช. มัคคุเทศก์และเครื่องหมายราชการไปใช้ได้ในขณะเปิดที่ทําการห้างหุ้นส่วนจํากัด ของจําเลย ขณะนั้นไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แต่โจทก์จะยกเลิกความยินยอมนั้นเสีย เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ยกเลิกแล้ว จําเลยก็ไม่อาจใช้ได้อีกต่อไป การที่โจทก์บอกให้ จําเลยยกเลิกเพิกถอนการใช้ชื่อและเครื่องหมายราชการของโจทก์แล้ว แต่จําเลยยังคง ใช้ชื่อ “กลุ่มสมาชิก กนช. ” เป็นชื่อของจําเลยและยังคงนําเอาเครื่องหมายราชการ ซึ่ง เป็นของโจทก์ไปติดไว้ที่ป้ายชื่อที่ทําการของจําเลยต่อไปอีก ย่อมเป็นการแอบอ้างอาศัย ชื่อหน่วยงานของโจทก์ไปใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในกิจการของตนและเป็นการไข ข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เพื่อหลอกหลวงประชาชนทั่วไปและ หน่วยราชการต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจผิดว่าศูนย์ดังกล่าวมีส่วนร่วมในการดําเนิน กิจการค้าด้านธุรกิจการท่องเที่ยวของจําเลยเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียติคุณของ โจทก์ จึงเป็นการกระทําละเมิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423
87
สํานักนายกรัฐมนตรีโจทก์เป็นส่วนราชการมิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการค้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการประกอบธุรกิจ ท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี เมื่อจําเลยได้กระทํา ละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้ชื่อเสียงและ เกียรติคุณของโจทก์ต้องเสียหาย ศาลย่อมมีอํานาจกําหนดค่าเสียหาย ให้โจทก์ได้ตาม ควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 438 หลังจากที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้ห้างหุ้นส่วนจํากัด จําเลยยกเลิกเพิกถอน การใช้ชื่อกลุ่มสมาชิก กนช. มัคคุเทศก์ เป็นชื่อจําเลยและเครื่องหมายราชการของ โจทก์แล้ว จําเลยก็ยังคงใช้ชื่อและเครื่องหมายราชการดังกล่าวโดยนําไปติดไว้ที่ป้ายชื่อ ที่ทําการของจําเลยต่อมา โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลา แม้ขณะยื่นคําฟ้อง คดี ของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ การละเมิดต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น บทบัญญัติมาตรา 423 และ 447 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กําหนดให้ผู้กระทําละเมิดชดใช้ค่า สินไหมทดแทนแก่เข้า เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น และศาลอาจสั่ง ให้ผู้กระทําละเมิดจัดการตามควรเพื่อให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีเท่านั้น ที่โจทก์ ขอให้เพิกถอนทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนจํากัดจําเลย เป็นกรณีที่บทบัญญัติมาตรา ดังกล่าวมิได้ให้ความคุ้มครองไว้ ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ตามคําขอดังกล่าวได้ ข้อความต้องเป็นเท็จ คําพิพากษาฎีกาที่ 6499/2540 จําเลยที่ 3 เป็นผู้ใหญ่บ้านในท้องที่เกิดเหตุ มานานประมาณ 15 ปีแล้ว ย่อมทราบความเป็นมาของหมู่บ้านตลอดจนความ เดือดร้อนของชาวบ้านอย่างแท้จริงเมื่อไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากหน่วยราชการ ใด ๆ และความเดือดร้อนเหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่จึงเป็นธรรมดาที่จําเลยทั้งหกกับพวก ซึ่ง เป็นข้าแผ่นดินจะพึงระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่พึ่งสุดท้ายของพสก นิกรทั้งปวง หนังสือทราบบังคมทูลของจําเลยทั้งหกกับพวกโดยหวังในพระเมตตา บารมีของพระองค์ท่านในอันที่จะขจัดปัดเป่าความเดือดร้อนที่มีอยู่ให้ระงับสิ้นไป เท่านั้น หาได้มีเจตนาที่จะทําให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง ทั้งโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินที่มีการถมดินรุกล้ําลํารางหรือลําลาดสาธารณประโยชน์สืบต่อจากผู้กระทําการ ดังกล่าว หาได้พ้นจากความรับผิดไปได้ไม่ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นเท็จแต่อย่างใด ดังนั้น การทําหนังสือกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงไม่เป็นการ
88
ละเมิดต่อโจทก์ คําพิพากษาข้างต้นพฤติการณ์ประกอบการกระทําของจําเลยสามารถ พิจารณาได้ 2 นัย กล่าวคือ นัยแรกเป็นเรื่องจริง นัยสองใช้สิทธิโดยสุจริต คําพิพากษาฎีกาที่ 844/2494 การที่จําเลยไปแจ้งต่อผู้ใหญ่บ้านว่า ก. เป็น ผู้ร้ายปล้นทรัพย์ฆ่าคน ซึ่งจําเลยรู้ว่าไม่เป็นความจริง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านคัดค้านต่อ พระอุปัชฌาย์ ผู้ใหญ่บ้านมีหนังสือถึงพระอุปัชฌาย์ จึงไม่บวชให้ ก. นั้น นับได้ว่า จําเลยกระทําละเมิดแล้ว พี่ชายของ ก. เป็นเจ้าภาพและออกเงินซื้อของในการ อุปสมบทย่อมมีอํานาจเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย คําพิพากษาฎีกาที่ 5249/2542 จําเลยเป็นบรรณาธิการมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทํา ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์มิ ให้บทประพันธ์หรือข้อความที่ลงพิมพ์กระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่น หรือขัดต่อ จรรยาบรรณของหนังสือพิมพ์ และต้องไม่ผิดต่อกฎหมาย หากมีข้อความใดละเมิด สิทธิของบุคคลอื่นหรือผิดต่อกฎหมาย จําเลยต้องรับผิดเสมือนหนึ่งจําเลยเขียน ข้อความนั้นด้วยตนเอง การที่หนังสือพิมพ์สยามบันเทิงรายสัปดาห์ลงข้อความหมิ่น ประมาทโจทก์ทําให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ทางเพศกับนายศ . อันเป็น ความเท็จและเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอีกทั้งข้อความในกรอบ ข่าวที่ลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ยังส่อไปในทางลามกอนาจาร ไม่เป็นการ สร้างสรรค์และขัดต่อจรรยาบรรณของหนังสือพิมพ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษจําคุก จําเลยเพียง 3 เดือน ไม่เกิดผลในการแก้ไขให้จําเลยกลับตนเป็นคนดีได้ก็ตาม แต่การ ลงโทษจําคุกระยะสั้นก็ยังทําให้จําเลยหลาบจําและเป็นการปรามผู้อื่นมิให้กระทําผิด เช่นเดียวกับจําเลยที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษให้จําเลยนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจําเลยฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาพิพากษายืน 1.1 ข้อความเท็จที่ว่าต้องไม่รวมถึงคําด่าทอที่เป็นไปไม่ได้ เว้นแต่ว่า คําด่าทอนั้นจะแสดงข้อเท็จจริงในตัวคําด่าได้ เช่น ด่าว่าเป็นสัตว์ต่าง ๆ เช่น เหี้ย สัตว์ เดรัจฉาน ชาติหมา หมูสกปรก เป็นผีห่าซาตาน ผีปอบ ในทางกฎหมายไม่ถือว่าเป็น การกล่าวเท็จ เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ ถือเป็นเพียงคําหยาบคายไม่สุภาพไม่ควรพูดในที่ สาธารณะเท่านั้น จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์มาตรา 423 แต่อาจมีความรับผิดตามมาตรา 420 ได้ เพราะการด่าทอถือว่าเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าก่อให้เกิด ความเสียหายแก่สิทธิที่จะไม่ให้ใครมาด่าทอได้
89
อุทาหรณ์ นายกิตติขึ้นกล่าวปราศรัยกับชาวบ้าน พูดถึงนายหมอดีว่า นายหมอ ดีเป็นนักการเมืองท้องถิ่นที่มีคุณภาพ มีการศึกษาสูง จบปริญญาทั้งด้านการบัญชีและ กฎหมาย ดังนั้นจึงเป็นนักการเมืองที่เชี่ยวชาญหาตัวจับได้ยาก ถือเป็นโชคดีของพ่อแม่ พี่น้องที่มีนักการเมืองท้องถิ่นที่มีคุณภาพสูงขนาดนี้ ไม่ต้องห่วงเลยครับว่า นายหมอดี สามารถเข้าไปจัดสรรงบประมาณจากโยกงบประมาณจากเรื่องนี้มาทําเรื่องนี้ได้ง่ายมาก เพราะเชี่ยวชาญเรื่องตกแต่งบัญชี และหาช่องว่างทางกฎหมาย กรณีนี้เป็นหมิ่น ประมาท ท่านจะเห็นได้ว่า เส้นแบ่งของหมิ่นประมาทกับคํากล่าวที่ไม่ควรกล่าวมิใช่อยู่ที่ คําที่แสดงออกมาอย่างเดียว แต่ต้องพิจารณาที่สาระสําคัญของการพูดว่าจุดมุ่งหมาย เพื่ออย่างไร การที่นักการเมืองพูดมีครับทุกคํา ใช้คําระรื่นหูมิได้หมายความว่าจะชอบ ด้วยกฎหมายเสมอไป อุทาหรณ์ นายกิตติ ด่าทอนางสาวปูว่า “ดอกทอง” ต่อหน้าธารกํานัลคําด่าทอ ต่อนางสาวปูเป็นทั้งดูหมิ่นซึ่งหน้าและในขณะเดียวกันถือเป็นการแสดงข้อความเท็จต่อ นางสาวปูทําให้ชื่อเสียง เกียรติคุณได้รับความเสียหาย เพราะวิญํูชนทั่วไปย่อมเข้าใจ อย่างดีว่าความหมายของคําว่า “ดอกทอง ” สื่อนัยความหมายว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี เนื่องจากคําว่าดอกทองทําให้คนทั่วไปเข้าใจความหมายเป็นหมิ่นประมาทได้ จึงมีความ ตามผิดมาตรา 423 หรือค่าทอว่า อีกระหรี่ เป็นต้น อุทาหรณ์ นายกิตติ เห็นพระบิณทบาตรผ่านมาร้องตะโกนด่าว่า ไอ้จึ้งเหลือง มาแล้วโว้ย กูไม่นับถือมัน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า 1.2 กรณีข้างต้นมิให้หมายรวมถึงคํามั่นสัญญาหรือการคาดการณ์ใน อนาคต หรือมิใช่ข้อความที่ยืนยัน เว้นแต่ จะมีการคาดหมายมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าที่กล่าว นั้นเป็นเท็จ เช่น มีเจตนาอยู่ตั้งแต่แรกแล้วว่าจะไม่ทํานิติกรรมแต่เจรจาให้ผิดไปจาก เจตนา อุทาหรณ์นายกิตติไปขอกู้ยืมเงินจากนายหมอดี 100,000 บาท นายหมอดี ปฏิเสธ โดยบอกนายกิตติว่า ถ้าไม่มีโฉนดที่ดินมาให้ยึดถือไว้ จะไม่ให้ยืมเงิน นายกิตติ บอกกลับไปว่าเอาเงินมาก่อนวันนี้ แล้วพรุ่งนี้จะนําที่ดินมาให้ พอถึงกําหนดนายกิตติ ไม่ยอมไปจดจํานอง กรณีดังกล่าวหากนายหมอดีพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้ว่าเจตนาที่ แท้จริงของนายกิตติไม่ต้องการไปจดจํานองจริง เช่นนี้ถือว่านายกิตติไขข่าวอันเป็นเท็จ
90
คําพิพากษาฎีกาที่ 6018/2541 จําเลยเป็นทนายความให้ จ. ซึ่งถูกโจทก์ฟ้อง ขอแบ่งมรดกและขอดําเนินคดีอย่างคนอนาถา ในการไต่สวนคําร้องจําเลยได้ซักค้าน โจทก์ว่า “โจทก์เป็นโจรรุ่นเดียวกับเสือขาวใช่ไหม ” ดังนี้ การที่จําเลยซักค้านโจทก์ ดังกล่าวเป็นการถามพยานในเวลาพิจารณาคดีเพื่อการวินิจฉัยชั่งน้ําหนักคําพยาน ไม่ใช่ข้อความที่ยืนยันว่าโจทก์เป็นโจรจึงไม่เป็นการใส่ความการกระทําของจําเลยไม่ เป็นการกระทําละเมิดต่อโจทก์ 2. จาเลยจะต้องจงใจ (รู้ว่าเป็นเท็จ) หรือประมาทเลินเล่อ (ควรรู้ว่า ข้อความเป็นเท็จ กฎหมายใช้คําว่า แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ ได้) เรื่องเจตนานี้เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป 3. เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหาย 3.1 ใส่ความต่อบุคคลที่ 3 และ 3.2 ความเสียหายดังต่อไปนี้เกิดขึ้นแก่ผู้ถูกใส่ความ 3.2.1 ชื่อเสียง 3.2.2 เกียรติคุณ 3.2.3 ทางทํามาหาได้ 3.2.4 ทางเจริญอย่างอื่น ความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ คําพิพากษาฎีกาที่ 237-238/2514 การที่จําเลยไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความ อันฝ่าฝืนต่อความจริงว่า โจทก์เป็นผู้ไม่นิยมการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข ย่อมทําให้โจทก์เสียหาย เนื่องจากถูกประชาชนคนไทยทั่วไปรังเกียจ และการ ไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงว่า โจทก์เป็นคนโลภอํานาจทาง การเมืองหรือมักใหญ่ใฝ่สูง ยอมทิ้งตําแหน่งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์มารับ ตําแหน่งนายกรัฐมนตรี และกลายเป็นผู้ที่ประชาชนชิงชังจนไม่อาจอยู่ในประเทศไทย ได้ ดังนี้ ย่อมเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์
91
ความเสียหายแก่ทางทามาหาได้ อุทาหรณ์ นายกิตติลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ว่าร้านตัดสูทคู่แข่งของตนปิด กิจการไปแล้ว เนื่องรวยแล้วเลิกกิจการ ซึ่งเป็นข้อความเท็จ ข้อความดังกล่าวไม่ได้ สร้างความเสียหายให้แก่ชื่อเสียง เกียรติคุณให้แก่โจทก์ แต่เป็นความเสียหายในทางทํา มาหาได้ จึงถือว่าผิดตามมาตรา 423 ความเสียหายแก่ทางเจริญ (ก้าวหน้า) อย่างอื่น อุทาหรณ์ ในการประชุมเลือกสรรอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีผู้สมัคร เข้ารับการเลือกสรรอยู่สองคน คือ นายกิตติ กับ นายหมอดี นางสาวปูซึ่งไม่ชอบนาย กิตติเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงแจ้งต่อที่ประชุมว่า นายกิตติเป็นผู้ที่มีความสามารถสูง ระดับประเทศ ซึ่งได้ข่าววงในมาว่านายกรัฐมนตรีกําลังเสนอแต่งตั้งนายกิตติให้ดํารง ตําแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงใหญ่กระทรวงหนึ่งพร้อมกับควบตําแหน่งรอง นายกรัฐมนตรี ทั้ง ๆ ที่เรื่องดังกล่าวนางสาวปูได้สร้างขึ้นมาเอง ด้วยเหตุนี้ ที่ประชุม กรรมการสรรหาเลยมีมติเลือกนายหมอดีแทนนายกิตติ กรณีเช่นนี้ จะเห็นได้ว่านายกิตติซึ่งเป็นบุคคลที่สามที่ถูกพาดพึงถึงโดยนางสาว ปูไขข่าวให้แพร่หลายซึ่งความเท็จเป็นเหตุทําให้เสียหายแก่ความเจริญของนายกิตติ จึง มีความรับผิดตามมาตรา 423 อุทาหรณ์ นายกิตติ โทรศัพท์ไปหานางปูภรรยาของนายหมอดีว่า สามีถูกรถชน นอนรักษาตัวอยู่ที่จังหวัดชลบุรี เนื่องจากนายหมอดีไปจังหวัดชลบุรีเพราะไปหาภรรยา น้อย นางปูจึงเดินทางไปหาสามีเสียค่าใช้จ่ายเร่งด่วนจํานวน 20,000 บาท นายกิตติ จึงอ้างว่าที่กล่าวไปเช่นนั้นเป็นการล้อเล่นเท่านั้น กรณีเช่นนี้จะเห็นได้ว่า นายกิตติต้อง รับผิดต่อนายหมอดีตามมาตรา 423 และรับผิดต่อนางปูตามมาตรา 420 คํา พิพากษาฎีกาที่ 3805/2537 การที่โจทก์จะเป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงและ เกียรติคุณเป็นที่รู้จักและยอมรับแก่บุคคลทั่วไปได้โจทก์ต้องสร้างคุณงามความดีเป็น เวลานาน การที่จําเลยไขข่าวแพร่หลายใส่ความโจทก์ในหนังสือพิมพ์รายวันว่าภรรยา โจทก์กําลังหาทนายความทําเรื่องขอหย่าขาดจากโจทก์ เพราะโจทก์มีความสนิทสนม ชอบกับหญิงอื่น ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนความจริง ย่อมทําให้ผู้ที่รู้จักโจทก์และได้อ่านข่าว ดังกล่าวคิดว่าโจทก์มีความประพฤติไปในทางที่ไม่ดี กระทําผิดศีลธรรมและ ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ครอบครัวของโจทก์เกิดความร้าวฉาน ก่อให้เกิด ความเกลียดชังและดูหมิ่นโจทก์ ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบข่าวนี้แล้วย่อมขาดความเคารพ
92
เชื่อถือ เป็นผลเสียต่อหน้าที่การงานและความเจริญก้าวหน้ากับทําให้เสื่อมเสียแก่ ชื่อเสียงและเกียรติคุณที่เคยมีอยู่ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย จําเลยต้องรับผิดใน มูลละเมิด คดีต่อไปนี้เป็นคดีที่หนังสือพิมพ์ข่าวสดได้พาดหัวข่าวในหน้า 1 ของฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2535 ว่า “สหรัฐยันบัญชีดํา ณรงค์ป่วย “สมบุญ” อะไหล่ ถ้า “ดอกบัว” ไม่ไหว “ชาติไทย” แทน “จิ๋ว” จัดทัพ 200 เสียง ดึง “ราษฎร” “บิ๊กเต้-บิ๊กตุ๋ย” บินด่วนเข้าเฝ้าฯ ครม. สูตร “ณรงค์” อาการร่อแร่ โฆษกสหรัฐแถลงยืนยันสั่งงดวีซ่า “ว่าที่นายกคนที่ 19” ของเมืองไทย ตั้งแต่เดือนกค. 2534 เพราะพัวพันยาเสพติด “ความหวังใหม่-ปชป.” ถล่มตามน้ํายับเยิน “จ๊อด” เรียกเหลิมเจ้าเก่าเข้า บก.สส. เจ้าตัว “ช๊อก” ล้มป่วยต้องเรียกหมอรักษาถึงบ้านด่วน เก็บตัวเงียบ...” ซึ่งในคดีนี้โจทก์ได้ยื่นฟ้องจําเลยที่ 1 (นายจ้าง) จําเลยที่ 2 (ลูกจ้าง) เป็นทั้ง คดีแพ่งและคดีอาญาในความผิดฐานหมิ่นประมาท และศาลในส่วนคดีอาญาก็ได้มีคํา พิพากษาว่าจําเลยที่ 2 (ลูกจ้าง) มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งในการพิพากษาคดี ส่วนแพ่งศาลจําต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อปรากฏว่าคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องได้ถึง ที่สุดโดยคําพิพากษาว่าจําเลยที่ 2 มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ในการพิพากษาคดี ส่วนแพ่งนี้ศาลฎีกาจําต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งฟังยุติแล้วว่าข้อความหรือ เนื้อหา รายละเอียดการลงข่าวดังกล่าวเป็นการใส่ความโจทก์ด้วยการเผยแพร่โฆษณา ทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่ทําให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง จําเลยที่ 2 ไม่อาจนําสืบพิสูจน์ว่าข้อความหรือเนื้อหารายละเอียดที่ใส่ความโจทก์นั้นเป็นความ จริงหรือเป็นการเสนอข่าวสารอันจําเลยที่ 2 มิได้รู้ว่าเป็นความจริง ศาลฎีกาจะฟัง ข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่
93
ประการที่หนึ่ง จะเห็นได้ว่า หลักกฎหมายที่เข้ามาประกอบในข้อเท็จจริงแห่ง คดีนี้ 1. คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (หมิ่นประมาท) 2. ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลในส่วนคดีอาญาฟังเป็นยุติอย่างไร ศาลใน ส่วนคดีแพ่งต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้น 3. ข้อเท็จจริงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีอาญา ดังนั้น เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดฟังเป็นยุติได้ว่า จําเลยที่ 2 กระทําความผิดฐาน หมิ่นประมาทโจทก์ จึงมีผลเท่ากับ จําเลยที่ 2 กระทําละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 วรรคหนึ่ง ประการที่สอง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จําเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจําเลยที่ 1 และกระทําการในทางที่จ้างของจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในการกระทํา ละเมิดของจําเลยที่ 2 ด้วยตามมาตรา 425 ที่บัญญัติว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับ ลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทําไปในทางการที่จ้างนั้น ประการที่สาม การกระทําของจําเลยที่ 2 ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ ชื่อเสียง เกียรติคุณ ขาดความเชื่อถือทางการค้า และสูญเสียโอกาสในการดํารง ตําแหน่งนายกรัฐมนตรี 4. ผู้รับสาสน์จาต้องเชื่อในข้อความที่ฝ่าฝืนต่อความจริงหรือไม่ ในคดีอาญาความผิดฐานหมิ่นประมาทได้มีคําพิพากษาฎีกาที่ 33973398/2516 2126/2522 2371/2522 สนับสนุนว่า ข้อความที่ใส่ความต้องเป็น หมิ่นประมาทนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพียงพฤติการณ์แห่งการกระทํา มิใช่ผล แห่งการกระทํา คดีหมิ่นประมาทจึงมิได้ต้องการผลถึงขนาดให้ผู้ฟังต้องเชื่อหรือไม่ ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยเอว่าคํากล่าวนั้นน่าจะทําให้เสียชื่อเสียงหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนมี ความเห็นที่แตกต่างจากนั้น กล่าวคือ ความรับผิดเพื่อละเมิดมีปรัชญาอยู่ที่การเยียวยา ความเสียหาย (Damage) ที่เกิดขึ้น ซึ่งหากไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นกล่าวคือ ไม่มี ใครเชื่อถือคํากล่าวหรือการไขข่าวของผู้ที่ไขข่าวแพร่หลายเป็นเท็จแล้ว แต่เมื่อไม่ได้ สร้างความเสียหายให้แก่ผู้นั้น ย่อมไม่มีความเสียหายที่จักด้องเยียวยา จึงไม่เป็นละเมิด คนที่กล่าวนั้นสังคมก็จะประณามว่าเขาไม่ดีเอง (ขอให้นักศึกษา Debate)
94
คําพิพากษาฎีกาที่ 256/2509 วินิจฉัยว่า ต้องเป็นการแสดงข้อความให้คนฟัง เชื่อจึงจะเกิดการดูหมิ่นขึ้นได้ ข้อวินิจฉัยข้อนี้อาจเคร่งครัดเกินไป เพียงแต่เป็น ข้อความที่น่าจะทําให้ดูหมิ่นได้ ไม่ต้องเชื่อหรือดูหมิ่นขึ้นแล้วก็เป็นความผิดฐานหมิ่น ประมาท ลักษณะที่น่าจะเกิดการดูหมิ่นไม่เกี่ยวกับการเชื่อข้อความที่กล่าว แม้ผู้ฟังรู้อยู่ ว่าเป็นคําเท็จก็เป็นหมิ่นประมาทได้ คําพิพากษาฎีกาที่ 1479/2542 โจทก์ฟ้องจําเลยว่าได้กล่าวหรือไขข่าว แพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นละเมิดมาตรา 423 คดีนี้ได้ความว่า โจทก์เป็นพนักงานการประปานครหลวง ตําแหน่งช่างฝีมือ 3 ส่วนทะเบียนและซ่อม บํารุง กองบริการภายใน จําเลยเป็นพนักงานการประปานครหลวง ตําแหน่ง ผู้อํานวยการบํารุงรักษา เมื่อประมาณต้นเดือนเมษายน 2534 จําเลยกระทําการละเมิด ต่อโจทก์ด้วยการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงโดยกล่าว ใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามว่า “ตอนที่สมัยโจทก์ยังทํางานอยู่ที่เขตบริการพระโขนง โจทก์ได้ไปลักเจาะท่อ ประปาใหม่ให้แก่โรงน้ําแข็งในพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการผิดระเบียบของการ ประปานครหลวง โจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนมีโทษหนักถึงไล่ออกจากงาน และตัว จําเลยเป็นกรรมการสอบสวนเอาความผิดแก่โจทก์ด้วย โจทก์ไปขอร้องให้ช่วยเหลือ มิฉะนั้นครอบครัวจะเดือดร้อน โจทก์ต้องถูกไล่ออกจากงาน จําเลยสงสารเห็นแก่ ครอบครัวจึงได้ช่วยเหลือให้โจทก์พ้นผิดจากการถูกลงโทษ ถ้าจําเลยไม่ช่วยเหลือ ก็ ต้องถูกไล่ออกจากงานไปแล้ว” ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จําเลยจงใจกล่าวใส่ความโจทก์เพื่อให้บุคคล อื่น ผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง และบุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โจทก์มี พฤติการณ์เช่นที่จําเลยใส่ความทําให้โจทก์ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง เสื่อมเสียต่อชื่อเสียง เกียรติคุณ และทางทํามาหาได้ โจทก์เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบศาล แรงงานกลาง ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการมาตรฐานความปลอดภัยในการทํางานของ กระทรวงมหาดไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการสหภาไทย ได้รับการเลือกตั้งเป็น กรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์การประปานครหลวง เป็นที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงาน แห่งชาติ เป็นที่ปรึกษาบริษัทเอกชนหลายแห่ง เป็นหัวหน้าหน่วยของบริษัทเมืองไทย ประกันชีวิต จํากัด และดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับบ้านและที่ดินจัดสรร โจทก์ขอคิด ค่าเสียหายที่ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ความเชื่อถือ และทางทํามาหาได้ทั้งสิ้นเป็นเงินหนึ่ง ล้านบาท และให้จําเลยโฆษณาคําพิพากษาของศาลในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ เด ลิมิเรอร์ บ้านเมือง และมติชน โดยจําเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
95
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์เคยได้รับเลือกเป็นกรรมการสหภาพแรงงานการ ประปาแห่งประเทศไทย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างศาลแรงงาน กรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ และโจทก์ยังมีอาชีพเป็นตัวแทนหา ประกันชีวิตของบริษัท ท. แม้ตําแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น จะไม่ได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งมิใช่เนื่องจากการหมิ่นประมาทของจําเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์เคยได้รับ เลือกตั้งหรือแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าว ย่อมแสดงว่าโจทก์เป็นผู้ที่มี ชื่อเสียงดี ได้รับการยกย่องจากเพื่อร่วมงานอย่างมาก นอกจากนั้นการที่โจทก์เป็น ตัวแทนหาประกันชีวิต โจทก์จะต้องไม่เป็นบุคคลที่มีความประพฤติเสียหาย จึงจะมีผู้ เชื่อถือซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านโจทก์ ฉะนั้น การที่จําเลยกล่าวหาโจทก์ในเรื่องที่ แสดงว่าโจทก์ไม่ซื่อสัตย์ ย่อมต้องกระทบต่อชื่อเสียงเกียรติคุณและทางทํามาหาได้ของ โจทก์อันทําให้โจทก์เสียหาย 5. ข้อยกเว้นมาตรา 423 5.1 ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับ ข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสาร เช่นนั้นหาทาให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ ข้อยกเว้นที่กฎหมายรับรองมิให้ผู้ไขข่าวเป็นเท็จมีความรับผิด ได้แก่ ก. ต้องเป็นการกล่าวความเท็จโดยประมาทเลินเล่อ (ผู้ใดส่งข่าวสาสน์อันตน มิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง) ข. ผู้ส่งข่าวสาสน์หรือผู้รับข่าวสาสน์มีทางได้เสียโดยชอบที่จะส่งหรือรับข่าว สาสน์นั้น ค. ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน อุทาหรณ์ นายกิตติเป็นญาติของนางปู และได้ทราบข่าวว่านายหมอดีสามีของ นางปูไปหาภรรยาน้อยที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงรีบโทรไปรายงานข่าวให้แก่นางปูรู้ ถึงแม้ว่าความจริงแล้วเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงเลย แต่นายกิตติไม่รอบคอบ ตรวจสอบให้ดีก่อน เพราะมีผู้พบเห็นแล้วแจ้งมาอีกทอดหนึ่ง กรณีเช่นนี้นายกิตติย่อม ได้รับความคุ้มครองตามข้อยกเว้นนั้น แต่ความปรากฏว่า นายกิตตินําเรื่องนี้ไปแจ้งต่อ เจ้านายของนายหมอดี จะเห็นได้ว่า ไม่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นแต่อย่างใด
96
5.2 บุคคลที่กล่าวนั้นกระทาไปโดยสุจริต กล่าวคือ บุคคลนั้นใช้สิทธิของตนตามที่กฎหมายรับรองให้กระทําได้ ขอให้ พิจารณาตามข้อยกเว้นความรับผิดฐานหมิ่นประมาทในคดีอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 บัญญัติว่า ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือ ข้อความใดโดยสุจริต (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตาม คลองธรรม (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชน ย่อมกระทํา หรือ (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดําเนินการอันเปิด เผยใน ศาลหรือในการประชุมผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทําความผิด พิสูจน์ได้ว่า ข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษแต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่ เป็นประโยชน์แก่ประชาชน คําพิพากษาฎีกาที่ 273-275/2502 ศาลในส่วนคดีอาญาพิพากษาว่า จําเลย โฆษณาข้อความไปตามความจริงโดยสุจริตเพื่อป้องกันประโยชน์การค้าของจําเลย ข้อนี้ ศาลทางแพ่งต้องถือตามคดีอาญาและต้องฟังว่าจําเลยมิได้ทําละเมิดตามมาตรา 423 คําพิพากษาฎีกาที่ 2373/2537 โจทก์และจําเลยที่ 1 ต่างเป็นผู้ประกอบ กิจการค้าภาพยนตร์ด้วยกันก่อนโจทก์ได้ลิขสิทธิ์การฉายภาพยนตร์พิพาท จําเลยที่ 1 ได้โฆษณาแนะนํา ภาพยนตร์พิพาทมาก่อน ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท โจทก์โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันทํานองว่าโจทก์ทุ่มเงินซื้อภาพยนตร์พิพาททําให้ จําเลยที่ 1 ช้ําใจเสียหน้า เสียน้ําตา เมื่อโจทก์เริ่มทําการฉายภาพยนตร์พิพาทแล้วก็ยังมี การโฆษณาเป็นทํานองทําลายชื่อเสียงของจําเลยที่ 1 อยู่เรื่อย ๆ ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ มีเจตนาทําลายชื่อเสียงจําเลยที่ 1 ทําให้ได้รับความเสื่อมเสียการที่จําเลยที่ 1 ออก โฆษณาโต้ตอบเพื่อป้องกันความเสียหายอันจะพึงเกิดขึ้นโดยตรง และเป็นการกระทํา โดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายอันจะเกิดแก่จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการกระทําโดยสุจริต เพื่อป้องกันตนตามคลองธรรม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
97
คําพิพากษาฎีกาที่ 6245/2537หนังสือพิมพ์ของจําเลยที่ 1 ซึ่งมีจําเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์โฆษณา ได้ลงพิมพ์ข้อความที่จําเลยที่ 3 เขียนคอลัมน์สรุปได้ ว่า ความซ่าส์มากกว่าแค้น ที่ตั้งรัฐสภาทั่วบริเวณถือว่าเป็นเขตพระราชฐานผู้ใดจะพก อาวุธไม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ดื่มสุราจนเกือบครองสติไม่อยู่ใช้ฝ่า มือตบหน้า ช.วุฒิสมาชิก 3 ฉาดในข้อหาฐานใช้ปากไม่สบอารมณ์ในการประชุม วุฒิสภาสมัยก่อน ในวันนั้นพิจารณากฎหมายเลือกตั้ง ช. ได้พูดจาประหนึ่งว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นไม่มีความรู้ความสามารถอะไร อย่างดีก็แค่หมาน้อยเห่า เครื่องบิน เมื่อคดีฟังได้ว่าโจทก์ได้ตบหน้า ช. จริงโดยได้กระทําเขตพระราชฐานและ โจทก์ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรถือได้ว่าเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยไม่น่าจะก่อ เหตุเช่นนั้น การที่จําเลยที่ 3 เขียนข้อความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าว จึงเป็นการ แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อม กระทํา ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ 5.3 มีเอกสิทธิ์คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 157 ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุม ร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคําใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความ คิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปเป็นเหตุ ฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้ เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคําในการประชุมที่มีการ ถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ หากถ้อยคําที่กล่าวในที่ประชุมไป ปรากฏนอกบริเวณรัฐสภา และการกล่าวถ้อยคํานั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญา หรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น ในกรณีตามวรรคสอง ถ้าสมาชิกกล่าวถ้อยคําใดที่อาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่ง มิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้นได้รับความเสียหาย ให้ประธานแห่งสภานั้นจัดให้ มีการโฆษณาคําชี้แจงตามที่บุคคลนั้นร้องขอตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่กําหนด ในข้อบังคับการประชุมของสภานั้น ทั้งนี้ โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลใน การฟ้องคดีต่อศาล มาตรา 158 เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 157 ย่อมคุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์ และผู้โฆษณารายงานการประชุมตามข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือ รัฐสภา แล้วแต่กรณี และคุ้มครองไปถึงบุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลง ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ตลอดจนผู้ดําเนินการถ่ายทอดการ
98
ประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธานแห่ง สภานั้น ด้วย โดยอนุโลม 6. การเยียวยาค่าเสียหาย มาตรา 447 บุคคลใดทําให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียง เมื่อผู้ต้องเสียหายร้อง ขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นจัดการตามควรเพื่อทําให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ ใช้ค่าเสียหายหรือทั้งให้ใช้ค่าเสียหายด้วยก็ได้ การเยียวยาศาลอาจมีคําสั่งบรรเทาความเสียหายดังนี้ 1. จัดการตามควรเพื่อชื่อเสียงกลับคืนดี เช่น ให้ลงหนังสือพิมพ์ขอโทษ หรือ การขอขมา เป็นต้น หรือ 2. ศาลสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือ 3. ทั้งสองกรณีข้างต้น คําพิพากษาฎีกาที่ 242/2515 การที่จําเลยด่าบุตรโจทก์อันมีความหมาย ทํานองว่า โจทก์และบุพการีเป็นคนสําส่อน มีบุตรกับชายอื่นซึ่งมิใช่สามีของตนนั้น เป็น ความเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียงและตัวบุคคล หาเกี่ยวกับทางการค้าขายไม่ โจทก์เรียก ค่าเสียหายโดยอ้างว่ารายได้จากการค้าตกต่ําลงหาได้ไม่
99
2.9 ละเมิดที่เกิดจากการกระทาของผู้ว่าจ้าง มาตรา 428 บัญญัติว่า ผู้ว่าจ้างทาของไม่ต้องรับผิดเพื่อความ เสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทาการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทา หรือในคาสั่งที่ตนให้ไว้หรือใน การเลือกหาผู้รับจ้าง การว่าจ้างตามบทบัญญัตินี้ หมายถึง การว่าจ้างทําของตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เอกเทศสัญญา มาตรา 587 อันว่าจ้างทําของนั้น คือสัญญา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทํางานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสําเร็จให้แก่บุคคล อีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสําเร็จแห่งการที่ทํา นั้น (1) เป็นสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือ ผู้รับจ้างมีหน้าที่จัดทํางานสิ่งใดสิ่ง หนึ่งจนสําเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างและเมื่องานสําเร็จย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ในขณะเดียวกันผู้ ว่าจ้างมีสิทธิได้รับงาน และมีหน้าที่ต้องชําระค่าจ้าง (2) คู่สัญญาไม่มีอํานาจบังคับบัญชา พิจารณาจากผลสําเร็จของงานที่ว่า จ้างและสินจ้างเมื่องานแล้วเสร็จ 2.9.1 หลัก เมื่อพิจารณาได้ว่าการว่าจ้างทําของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย ต่างมีอิสระของแต่ ละฝ่าย ดังนั้น เมื่อผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ก็หาเอาผู้ว่าจ้างเข้าไปมี ส่วนร่วมรับผิดด้วยไม่ คําพิพากษาฎีกาที่ 1176/2510เจ้าของรถยนต์นํารถยนต์ไปซ่อมที่อู่แล้ว เจ้าของรถยนต์วานให้ช่างซ่อมขับรถยนต์คันนั้นไปส่งที่อื่น เมื่อส่งเสร็จแล้วช่างซ่อมขับ รถกลับอู่เพื่อซ่อมแซมปรากฏว่าขณะกลับอู่เกิดขับชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย ดังนี้ ช่างซ่อมรถไม่ได้เป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของเจ้าของรถยนต์ เจ้าของรถยนต์ไม่ ต้องร่วมรับผิดในการละเมิดนั้น คําพิพากษาฎีกาที่ 457/2514 ผู้ว่าจ้างสั่งให้ผู้รับจ้างให้ทําการก่อสร้าง อาคารไปตามแบบแปลนที่ผู้ว่าจ้างได้ยื่นไว้ต่อเทศบาลและเทศบาลได้อนุญาตแล้ว เป็น คําสั่งกําชับให้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง ไม่เป็นคําสั่งที่เกี่ยวกับ การทําการก่อสร้างอาคารของผู้รับจ้าง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้สั่งให้
100
ผู้รับจ้างตอกเสาเข็มด้วยเครื่องจักรอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การตอก เสาเข็มจึงเป็นการกระทําของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คําพิพากษาฎีกาที่ 2502/2523 จําเลยที่ 1 รับจ้างล้างรถและเฝ้ารถซึ่ง จอดอยู่ริมถนนอันเป็นที่ซึ่งตนเฝ้ายามอยู่ด้วยโดยเจ้าของมิได้เข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่าง ใด คงต้องการแต่ผลสําเร็จของงานคือความสะอาดและความคงอยู่ของรถ จึงเป็นการ จ้างทําของมิใช่จ้างแรงงาน จําเลยที่ 1 มิใช่ลุกจ้างของเจ้าของรถ เมื่อนํารถไปขับโดย พลการจนถูกรถคันอื่นขับชนด้วยความประมาทของจําเลยที่ 1 แล้วไปชนโจทก์ได้รับ บาดเจ็บ เจ้าของรถจึงไม่ต้องรับผิดกับจําเลยที่ 1 ด้วย คําพิพากษาฎีกาข้างตน อธิบายให้เห็นสภาพของมาตรา 428 ว่า 1. ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา ได้แก่ ผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง 2. ลักษณะของงาน 3. พฤติการณ์ประกอบการกระทํา ซึ่งจะมีผลแตกต่างจากกรณีสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งในกรณีนั้นความรับผิด ของลูกจ้างนายจ้างจะต้องเข้าไปร่วมรับผิด หากความผิดนั้นเกิดขึ้นในทางการที่จ้างซึ่ง จะกล่าวถึงต่อไป 2.9.2 ข้อยกเว้น ข้อยกเว้นที่กฎหมายให้ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดอยู่ 3 ประการคือ 1. ความเสียหายเกิดเพราะผู้ว่าจ้างสั่งให้ทํางานที่เป็นละเมิด 2. ความเสียหายเกิดเพราะคําสั่งของตนเป็นเหตุให้ละเมิด 3. ความเสียหายเกิดเพราะการเลือกผู้รับจ้าง ประการที่ 1 ความเสียหายเกิดเพราะผู้ว่าจ้างสั่งให้ทางานที่เป็น ละเมิด กรณีนี้ ข้อเท็จจริงต้องปรากฏว่า การงานที่ว่าจ้างนั้นเป็นเหตุให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้อื่น อันเนื่องมาจากผู้ว่าจ้างสั่งให้ทําและผู้รับจ้างไม่ทราบถึงความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลอื่น เช่น นายกิตติว่าจ้างให้นายหมอดีซึ่งเป็นรับจ้างตกแต่งสวนมา ตัดต้นไม้บริเวณหลังบ้านนายกิตติ ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นต้นไม้ของนางสาวปู การที่ผู้ว่า จ้างรุกล้ําเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นย่อมเป็นความผิด และการตัดต้นไม้ผู้อื่นทําให้ ทรัพย์สินของนางสาวปูได้รับความเสียหาย แต่เมื่อผู้รับจ้างสุจริตและกระทําไป
101
เนื่องจากนายกิตติสั่งให้ทํา นายกิตติต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดทดแทนเพื่อละเมิด นั้น หากปรากฏว่านายหมอดีซึ่งก็อาศัยอยู่ในละแวกนั้น ย่อมน่าจะรู้ว่าพื้นที่นั้นเป็น ของนางสาวปู นายหมอดีก็มีความผิดตามมาตรา 420 เพราะเป็นความประมาท เลินเล่อของนายหมอดีด้วย คําพิพากษาฎีกาที่ 2474/2539 จําเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้างตอกเสาเข็มจาก จําเลยที่ 1 แม้จําเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ก่อสร้างอาคารได้ แต่การ ตอกเสาเข็มก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้าน โจทก์จะแก้ตัวให้พ้นผิดไม่ได้ การที่จําเลย ที่ 1 ว่าจ้างจําเลยที่ 2 ตอกเสาเข็มเพื่อสร้างอาคารสูง 30 ชั้น โดยจําเลยที่ 1 เลือกให้ ลงเสาเข็มโดยวิธีใช้ปั่นจั่นยกแท่งเหล็กตอก ทั้ง ๆ ที่ตระหนักดีว่าจะทําให้ที่ดิน ข้างเคียงถูกกระทบกระเทือนอย่างแรง อันเป็นเหตุให้บ้านโจทก์เสียหาย จําเลยที่ 1 จึง เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทําตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 ส่วนจําเลยที่ 2 เป็นผู้ประมาทเลินเล่อ จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 จึงต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทนแก่โจทก์ตามมาตรา 420 คําพิพากษาฎีกาที่ 162/2544 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จําเลยก่อสร้าอาคาร ขนาดต่าง ๆ ลงบนที่ดินของําเลย ซึ่งมีแนวเขตติดกับที่ดินของโจทกด้านทศตะวันตก และทิศใต้ โดยว่าจ้างบริษัท ค. ทําการขุดดินบริเวท่ดินของจําเลยด้านทศใต้ซึ่งติดกับ ที่ดินของโจทก์ แต่จําเลยในฐานะผู้ว่าจ้าง เป็นผู้มีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทํา หรือ คําสั่งที่ได้ให้ไว้ และเป็นผู้เลือกหาผู้รับจ้างเพราะบริษัท ค. มิได้ใช้ความระมัดระวังใน การทํางาน ทําให้ดินในเขตที่ดินของโจทก์เลื่อนไหลไป เป็นเหตุให้พื้นที่บริเวณรั้ว แตกร้าวและทรุดตัว คําฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคําขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนจําเลยจะมีส่วนผิดอย่างไรเป็น รายละเอียดทที่โจทก์จะนําสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จําเลยว่าจ้างบริษัท ค. ก่อสร้างฐานรากของอาคารโดยมีบริษัท ป. เป็นผู้ ควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบ จําเลยไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องหรือสั่งการในการ ทํางาน เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์อันเนื่องมาจากการกระทําของบริษัท ค. โจทก์ จะต้องไปเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัท ค. ซึ่งเป็นผู้กระทําละเมิด ไม่ใช่จากจําเลย เพราะว่าจําเลยไม่ได้กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด อันทําให้จําเลยต้องรับผิดตามประ มาวลกําหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428
102
ประการที่ 2 ความเสียหายเกิดเพราะคาสั่งของตนเป็นเหตุ กรณีนี้ แตกต่างกับกรณีแรก กรณีแรกเป็นเรื่องของงานที่ว่าจ้าง แต่กรณี ที่สองลักษณะของงานมิได้เป็นการละเมิดบุคคลอื่น แต่มีพฤติการณ์ของผู้ว่าจ้างที่ทําให้ เกิดความเสียหาย เช่น จ้างคณะมหรสพมาแสดง ในขณะแสดงนายกิตติส่งบทพูด ให้กับนักแสดงและสั่งให้พูดตามนั้นซึ่งเป็นคําเสียดสีและหมิ่นประมาทผู้อื่น กรณีเช่นนี้ ผู้ว่าจ้างต้องรับผิด และเช่นเดียวกัน หากผู้รับจ้างรู้หรือควรจะได้รู้ว่าการพูดดังกล่าว เป็นการเสียดสี หมิ่นประมาท บุคคลอื่น ย่อมมีความผิดตามมาตรา 423 ด้วย คําพิพากษาฎีกาที่ 851/2522 นิติบุคคลจ้างจําเลยที่ 2 ดําเนินการ ก่อสร้างตามแบบแปลน ถือได้ว่านิติบุคคลเป็นผู้เลือกหาผู้รับจ้าง การก่อสร้างต้อง เป็นไปตามการงานที่นิติบุคคลสั่งให้ทํา นิติบุคคลต้องรับผิดในละเมิดตามมาตรา 428 เช่นเดียวกับคําพิพากษาฎีกาที่ 1009/2522 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2542 จําเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างให้จําเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อสร้างอาคารตึกคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 22 ชั้น ใต้ดิน 1 ชั้น ซึ่งอยู่ติดกับ อาคารพิพาทของโจทก์และตามสัญญารับจ้างเหมางานก่อสร้างระหว่างจําเลยที่ 1 กับ จําเลยที่ 2 และสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างจําเลยที่ 1 กับจําเลยที่ 3 ได้ระบุไว้ชัด แจ้งว่าการก่อสร้างของจําเลยที่ 2 และที่ 3 จะต้องกระทําตามคําสั่งของจําเลยที่ 1 ตาม ข้อบังคับดังกล่าว หากจําเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตาม จําเลยที่ 1 มีสิทธิบอกเลิก สัญญาได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในระหว่างการก่อสร้าง จําเลยที่ 1 ได้ไป ควบคุมดูแลการก่อสร้างตลอดเวลาและมีข้อสัญญาให้จําเลยที่ 1 บอกเลิกได้ หาก จําเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของจําเลยที่ 1 เช่นนี้ย่อมถือได้ว่า จําเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทํา หรือคําสั่งที่ตนให้ไว้ ห รือในการเลือกหาผู้รับจ้าง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 428 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อการ ก่อสร้างอาคารของจําเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารของโจทก์ จําเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น คําพิพากษาฎีกาที่ 2540/2539 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 986 พร้อมสิ่งปลูกสร้างโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เช่าที่ดินและสิ่ง ปลูกสร้างดังกล่าว เพื่อประกอบการค้าเป็นห้องพักอาศัยให้เช่าใช้ชื่อว่าโรงแรงมาเม โซงค์ จําเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 915 ซึ่งมีเขตติดต่อกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 จําเลยที่ 2 เป็นเจ้าของโครงการก่อสร้างอาคารโรงแรมพัทยาเซ็นเตอร์ ซึ่งจะทําการ ปลูกสร้างลงบนที่ดินของจําเลยที่ 1 โดยจําเลยที่ 2 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารต่อ
103
เทศบาล จําเลยที่ 3 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารโรงแรมพัทยาเซ็นเตอร์จากจําเลยที่ 1 และที่ 2 จําเลยที่ 4 โดยจําเลยที่ 5 หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้รับจ้างตอกเสาเข็มตาม แผนผังในแบบแปลนและคําสั่งของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จําเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ว่าจ้าง และมีคําสั่งให้จําเลยที่ 3 ผู้รับเหมาทําการก่อสร้างอาคารโรงแรมพัทยาเซ็นเตอร์ตาม แบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลลงบนที่ดินของจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 3 เป็นผู้ สั่งซื้อเสาเข็มคอนกรีตและได้ว่าจ้างจําเลยที่ 4 ให้ทําการตอกเสาเข็มโดยจําเลยที่ 3 เป็นผู้เลือกหาผู้รับจ้างเอง จําเลยที่ 4 ได้ดําเนินการปรับพื้นที่และดําเนินการตอก เสาเข็มด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้กําแพงคอนกรีตพื้นปูบริเวณด้านหลัง อาคารห้องพัก ผนังอาคารห้องพัก ท่อน้ํา และสระน้ําของโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหาย และทําให้โจทก์ที่ 2 ต้องขาดรายได้จากการให้เช่าห้องพักเป็นเวลา 3 เดือน ขอให้ บังคับจําเลยทั้งห้าร่วมกันชดใช้เงินจํานวน 289,697 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ที่ 1 ให้จําเลยทั้งห้าร่วมกันชําระเงินจํานวน 144,281 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ที่ 2 จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้การว่า จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้กระทําละเมิดหรือต้อง ร่วมรับผิดในเหตุละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองเพราะจําเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าของที่ดิน จําเลย ที่ 2 เป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างและเป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างและจําเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคล ตามกฎหมายมิใช่ผู้รับเหมาก่อสร้างตอกเสาเข็มจากจําเลยที่ 1 และที่ 2 จําเลยที่ 1 ถึง ที่ 3 มิใช่นายจ้างหรือตัวการของจําเลยที่ 4 และที่ 5 การกระทําของจําเลยที่ 4 และที่ 5 ก็มิใช่การกระทําในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ค่าเสียหายตามฟ้องสูงเกินไป ขอให้ยกฟ้อง จําเลยที่ 4 และที่ 5 ขาดนัดยื่นคําให้การและจําเลยทั้งห้าขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จําเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันชําระเงิน จํานวน 289,697 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 271,062 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 28 ธันวาคม 2533) จนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ ที่ 1 และให้จําเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันชําระเงินจํานวน 144,281 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 135,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง จนกว่า ชําระเสร็จ แก่โจทก์ที่ 2 ให้ยกฟ้องจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จําเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิด ในความเสียหายของโจทก์ทั้งสองกับจําเลยที่ 4 และที่ 5 ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไป ตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฎีกา
104
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ว่า จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 หรือไม่ จําเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินที่มีการ ก่อสร้างและตอกเสาเข็ม จําเลยที่ 2 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างบนที่ดินของจําเลยที่ 1 โดยได้รับความยินยอมจากจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 3 เป็นผู้จ้างให้จําเลยที่ 4 ดําเนินการตอกเสาเข็มเพื่อการก่อสร้างบนที่ดินของจําเลยที่ 1 อีกทั้งจําเลยที่ 1 ก็เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการของจําเลยที่ 3 จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้นําสืบให้เห็นว่าขณะก่อสร้างนั้น ผู้ใดเป็นเจ้าของและรับผิดชอบในการก่อสร้างอาคารโรงแรมบนที่ดินของจําเลยที่ 1 ทั้งได้ความจากคําเบิกความของจําเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า เมื่อปรากฏว่าเกิดความเสียหาย แก่อาคารของโจทก์ที่ 1 จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็เคยเข้าไปตรวจดูแลซ่อมแซมให้บางส่วน พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่า จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการ ก่อสร้างอาคารโรงแรมบนที่ดินของจําเลยที่ 1 แม้จําเลยที่ 3 จะเป็นผู้จ้างให้จําเลยที่ 4 ในการตอกเสาเข็มแต่ก็เพื่อประโยชน์แก่จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ถือได้ว่าจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้ร่วมกันจ้างจําเลยที่ 4 ในการตอกเสาเข็มนั่นเอง การจ้างจําเลยที่ 4 ดังกล่าวก็ เพื่อความสําเร็จในการตอกเสาเข็มให้จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เท่านั้นจึงเป็นการรับจ้างทํา ของ ซึ่งโดยปกติผู้ว่าจ้างทําของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิด ขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทําการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วน การงานที่สั่งให้ทํา หรือในคําสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตามที่บัญญัติไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 ซึ่งการที่จําเลยที่ 4 ตอกเสาเข็ม ตามแผนผังแบบแปลนการก่อสร้างของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ห่างรั้วกําแพงของโจทก์เพียง 2 เมตร เท่ากับจําเลยที่ 4 ดําเนินการตามคําสั่งของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ย่อมตระหนักดีว่าการตอกเสาเข็มขนาดใหญ่ใกล้ที่ดินของผู้อื่นย่อมทําให้ที่ดิน ข้างเคียงถูกกระทบกระเทือนอย่างแรงอันเป็นเหตุให้อาคารและทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 เสียหายได้ ไม่ปรากฏว่าจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้กําชับสั่งให้จําเลยที่ 4 หาวิธีป้องกันความ เสียหายของที่ดินข้างเคียงที่อาจได้รับดังกล่าว ถือได้ว่าจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ผู้ว่าจ้างให้ ตอกเสาเข็มเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทํา จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงต้องรับผิดใน ความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฎีกาว่า คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ไม่ชอบเพราะวินิจฉัยโดยปราศจากพยานหลักฐานในสํานวนนั้น ศาลฎีกาตรวจ สํานวนแล้ว ไม่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะวินิจฉัยโดยปราศจากพยานหลักฐานใน สํานวนแต่อย่างใด ได้ใช้ดุลพินิจฟังพยานหลักฐานในสํานวนโดยชอบแล้ว ทั้งได้ พิพากษาให้จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาล ฎีกายกมากล่าวแล้ว เพียงแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้อ้างบทบัญญัติมาตราแห่ง
105
กฎหมายเท่านั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฎีกาของ จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฟังไม่ขึ้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ประการสุดท้ายว่า ศาล ชั้นต้นกําหนดให้รับผิดในค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 สูงเกินไปนั้นเห็นว่า โจทก์ที่ 1 มี นายยวน บุอัน เบิกความยืนยันว่า ได้ไปประเมินราคาค่าซ่อมแซมเกี่ยวกับกําแพงรั้ว และอาคารของโจทก์ที่ 1 ที่เสียหายแล้วเป็นเงิน 164,862 บาท ตามใบประเมินราคา เอกสารหมายเลข จ.8 และโจทก์ที่ 2 เบิกความยืนยันว่า โจทก์ที่ 1 ต้องซ่อมแซมสระ น้ําไปเป็นเงิน 106,200 และโจทก์ที่ 1 ได้ถ่ายภาพความเสียหายของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ไว้ตามเอกสารหมายเลข จ.8 เมื่อพิเคราะห์ภาพถ่ายเอกสารหมายเลข จ.7 ประกอบ คําเบิกความของพยานโจทก์ที่ 1 และใบประเมินราคาเอกสารหมายเลข จ.8 แล้วเห็น ว่า กําแพงรั้ว พื้นซีเมนต์ ตัวอาคารและสระน้ําของโจทก์ที่ 1 เสียหายเป็นจํานวนมาก ค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นกําหนดมาจึงเหมาะสมแล้ว ฎีกาของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ข้อนี้ฟัง ไม่ขึ้นเช่นกัน พิพากษายืน และให้ยกฎีกาของจําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ ที่ 2 คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจํานวน 3607.50 บาท แก่จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ค่าฤชาธรรม เนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ 2.9.3 ข้อสังเกต 2.9.3.1 ความรับผิดละเมิดตามมาตรา 428 กฎหมายบัญญัติให้เป็น ความรับผิดโดยส่วนตัว กล่าวคือ เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง มิใช่เป็นผลให้บุคคลอื่น เข้ามาเป็นลูกหนี้ร่วม เช่นกรณีความรับผิดละเมิดที่เกิดจากการกระทําของบุคคลอื่น (Vicarious Liability) หรืออนุโลมตามมาตรา 426 ได้ แต่หากปรากฏว่าผู้รับจ้างก็มี ส่วนจงใจหรือประมาทเลินเล่อทําให้บุคคลอื่นเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่า ละเมิดนั้นเป็น ความผิดส่วนตัวของผู้กระทําละเมิดคนนั้น ๆ ดังนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจจะ ไม่ได้ลําพังเกิดแต่บุคคลคนเดียวเท่านั้น อาจมีกรณีที่ผู้ทําละเมิดมีหลายคนได้ตาม มาตรา 432
106
2.9.3.2 โจทก์บรรยายฟ้องอย่างไร ให้พิพากษาตามคําขอท้ายฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่าจําเลยกระทําความเสียหายตามมาตรา 420 ซึ่งเป็น เรื่องละเมิดหลักทั่วไป มิใช่ให้จําเลยรับผิดตามมาตรา 428 ซึ่งเป็นเรื่องผู้ว่าจ้างทําของ ไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกใน ระหว่างทํางานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการสั่งการงานที่สั่งให้ทําหรือ ในคําสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง เพราะตามคําฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า จําเลยว่าจ้างใคร และมีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทําอย่างไร ถึงแม้ว่าความรับผิดตาม มาตรา 420 อาจซ้อนกับมาตรา 428 ได้ แต่เมื่อคําฟ้องจะต้องแสดงให้แจ้งชัดถึง สภาพแห่งข้อหาและคําขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ศาลจะไปพิพากษาให้จําเลยรับผิดตามมาตรา 428 มิได้ต้องพิจารณาตามมาตรา 420 ที่โจทก์ขอ โปรดพิจารณาตามคําพิพากษาฎีกาที่ 1882/2543
107
2.10 ความรับผิดกรณีผู้ทาละเมิดมีหลายคน มาตรา 432 บัญญัติว่า ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่ บุคคลอื่นโดยร่วมกันทาละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่า สินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่ สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจาพวกที่ทาละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิด เสียหายนั้นด้วย อนึ่งบุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทาละเมิด ท่านก็ให้ถือว่า เป็นผู้กระทาละเมิดร่วมกันด้วย ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ศาลจะวินิจฉัยเป็น ประการอื่น 2.10.1 หลักกฎหมาย หลัก ความรับผิดในกรณีผู้ทําละเมิดมีหลายคน ให้พิจารณาว่าบุคคลใดที่ ทําละเมิดเห็นเด่นชัดที่สุดบุคคลนั้นให้พิจารณาตามมาตราหลักกล่าวคือ มาตรา 420 และผู้กระทําละเมิดคนที่เหลือให้พิจารณาตามมาตรานี้ แต่หากในชั้นพิจารณาคดีได้ว่า บุคคลหลายคนร่วมกันทําละเมิด (ตัวการ) ยุยงส่งเสริม (ผู้ใช้) ผู้ช่วยเหลือ (ผู้สนับสนุน) ที่วงเล็บไว้คือการเทียบเคียงกับกฎหมายอาญา ให้ถือว่าเป็นผู้กระทํา ละเมิดร่วมกัน 2.10.1.1 ร่วมกันทําละเมิด-ร่วมกันรับผิด การร่วมกันทําละเมิด (Joint wrongful act) หมายถึงการมีเจตนาร่วมกัน ในการกระทําการใดเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น คําพิพากษาฎีกาที่ 1188/2502 สมคบกันหลอกลวงเจ้าของรถยนต์ว่า ขอเช่ารถยนต์ไปเล่นการพนันกันใกล้ ๆ แต่กลับนํารถยนต์ไปถึงกรุงเทพ โดยเจ้าของ รถยนต์มิได้ยินยอม เมื่อรถยนต์ไปชนโคเกิดความเสียหายขึ้น ย่อมถือว่าพวกที่ หลอกลวงเอารถยนต์ไปร่วมกันละเมิดต่อเจ้าของรถยนต์ จึงต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหาย แก่เจ้าของรถยนต์
108
อุทาหรณ์ นายกิตติเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุก นายหมอดีเป็นคนขับ รถยนต์บรรทุกคันนี้ ในวันเกิดเหตุนายหมอดีขับรถไปส่งของที่โกดัง เมื่อขนของลง เสร็จก็จอดรถทิ้งไว้แต่ตัวไปที่อื่น โดยทิ้งกุญแจเสียบไว้ที่สตาร์ทรถ นายกิตติจึงใช้ให้ นางสาวปู ไปดูรถ แต่มิได้สั่งให้ขับรถนั้นกลับมา แต่นางสาวปูขับรถกลับมาโดยพลการ และโดยความประมาทเลินเล่อชนกับรถคันอื่น กรณีเช่นนี้ จะถือว่า นายกิตติไม่จําต้อง ร่วมรับผิดกับนางสาวปู และการกระทําของนายหมอดีก็ไม่ถึงกับเป็นผลให้เกิดการ ละเมิดขึ้นโดยตรงและไกลเกินกว่าเหตุ อุทาหรณ์ ครบกําหนดสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์นายกิตติบอกเลิกสัญญา แก่นายหมอดี ปรากฏว่านายหมอดีผู้เช่าไม่ส่งมอบอาคารดังกล่าวคืน และนางสาวปูได้ ทําการค้าอยู่ในอาคารนั้นต่อมา จะเห็นได้ว่าการอยู่ต่อมาของนางสาวปูเป็นการละเมิด จึงถือว่านายหมอดีและนางสาวปูร่วมกันทําละเมิด ต้องร่วมกันรับผิดต่อนายกิตติ ผลของมาตรา 432 กฎหมายบัญญัติให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดเท่ากัน เว้นแต่สามารถพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้ว่าระดับความหนักเบาของใครมากน้อยกว่ากัน ก็ ต้องชดใช้ตามที่ตนกระทํานั้น ข้อสังเกต หากได้ความบุคคลหลายคนมิได้ร่วมกันกระทําละเมิดก็มิเข้า หลักเกณฑ์ตามมาตรา 432 ต้องพิเคราะห์ตามมาตรา 420 2.10.1.2 อะไรจะเป็นเครื่องแบ่งแยกว่าร่วมกันทําละเมิดหรือไม่ ให้พิจารณาจากการมีเจตนาร่วมกันในการกระทํา แต่ข้อให้พึงระลึกไว้ เสมอว่า กรณีร่วมกันทําละมิดนี้จะมีได้แต่เฉพาะกรณีจงใจกระทําละเมิดเท่านั้น การ ร่วมกันโดยประมาท เช่น เป็นผู้ใช้ ตัวการ ผู้สนับสนุนโดยประมาทเลินเล่อมิอาจเป็นได้ โดยสภาพของตัวมันเอง ขอให้ศึกษาตามคําพิพากษาฎีกาที่ 751/2498 การละเมิด อาจเกิดจากบุคคลหลายคนทําผิด โดยหลายคนประมาทเลินเล่อทําให้เกิดความ เสียหายขึ้นก็ได้ เช่นต่างฝ่ายต่างขับรถยนต์ชนกันโดยประมาท แต่จะเห็นได้ว่า เมื่อต่าง ฝ่ายต่างขับรถโดยประมาทแสดงว่า จําเลยทั้งสองมิได้ร่วมกันตามมาตรา 432 2.10.1.3 ข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องนําสืบ โจทก์ต้องนําพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่า บุคคลหลายคนร่วมกระทํา ละเมิดกับตน เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแสดงให้เห็นว่า การที่จําเลยที่ 2 ยักยอกเงินไป โดยมีจําเลยที่ 3 ร่วมด้วยนั้น ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจําเลยที่ 1
109
อันเป็นผลโดยตรงให้เกิดมีการยักยอกเงินรายนี้ จําเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับ จําเลยอื่น (คําพิพากษาฎีกาที่ 1389/2509) 2.10.2 ความรับผิดในกรณีผู้ทาละเมิดมีหลายคน อาจแบ่งได้เป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 กล่าวคือ ร่วมกันทาละเมิด ยุยงส่งเสริม ช่วยเหลือให้ผู้อื่นทา ละเมิด ข้อพิจารณาระหว่างผู้ทําละเมิดกับผู้เสียหาย ผู้เสียหายอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ ในมูลหนี้ละเมิดจะเรียกจากผู้ทําละเมิดในฐานะลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งก็ได้ หรือ สามารถเรียกเอาจากลูกหนี้ร่วมทุกคนก็ย่อมได้ โปรดเทียบเคียงคําพิพากษาฎีกาที่ 1472/2506 ซึ่งได้อธิบายว่า คําว่า “ร่วมกันใช้ ” มีความหมายว่า แต่ละคนจําต้อง ชําระหนี้อย่างสิ้นเชิง มาตรา 291 ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทําการชําระหนี้โดยทํานองซึ่งแต่ละ คนจําต้องชําระหนี้สิ้นเชิงไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชําระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียง ครั้งเดียว (กล่าวคือลูกหนี้ร่วมกัน) ก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชําระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคน หนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันกัน อยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชําระเสร็จสิ้นเชิง ในการนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่อาจแยกแยะได้ว่าผู้กระทําละเมิดคนใดก่อให้เกิด ความเสียหาย แต่หากว่าพวกที่ทําให้เกิดละเมิดร่วมกันแล้ว ก็จําต้องรับผิดร่วมกัน คําพิพากษาฎีกาที่ 436/2510 ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยทั้งสอง ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีละเมิดให้โจทก์ จําเลยทั้งสองจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกัน มีหน้าที่ต้องชําระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิง จําเลยจะแบ่งชําระให้โจทก์เป็นส่วน ๆ เฉพาะ ของจําเลยแต่ละคนหาได้ไม่ เมื่อความรับผิดร่วมกันของจําเลยทั้งสองต่อโจทก์มีอย่างนี้ ผู้ร้องกับ บ. ซึ่งเป็นผู้ค้ําประกันจําเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ โจทก์เสร็จสิ้นเชิงตามคําพิพากษาเช่นเดียวกัน จะให้ผู้ร้องกับ บ. รับผิดใช้ค่าสินไหม ทดแทนให้โจทก์เฉพาะส่วนของจําเลยที่ 1 โดยแบ่งคนละครึ่งกับจําเลยที่ 2 ไม่ได้ ดังนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคสาม จึงเป็น บทบัญญัติว่าด้วยส่วนแบ่งความรับผิดในเมื่อมีการเรียกร้องในระหว่างผู้ที่ต้องรับผิด ร่วมกัน
110
กรณีที่ 2 ข้อพิจารณาระหว่างตัวผู้กระทาละเมิดด้วยกันเอง มาตรา 296 ในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันทั้งหลายนั้น ท่านว่าต่างคนต่างต้อง รับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ถ้าส่วนที่ลูกหนี้ร่วมกัน คนใดคนหนึ่งจะพึงชําระนั้นเป็นอันจะเรียกเอาจากคนนั้นไม่ได้ไซร้ ยังขาดจํานวนอยู่ เท่าไร ลูกหนี้คนอื่น ๆ ซึ่งจําต้องออกส่วนด้วยนั้นก็ต้องรับใช้ แต่ถ้าลูกหนี้ร่วมกันคน ใดเจ้าหนี้ได้ปลดให้หลุดพ้นจากหนี้ร่วมกันนั้นแล้ว ส่วนที่ลูกหนี้คนนั้นจะพึงต้องชําระ ก็ตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ไป กล่าวคือ มาตรา 296 ลูกหนี้ผู้ทําละเมิดร่วมต้องรับผิดชอบชดใช้ให้แก่ ผู้เสียหายในส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะพิสูจน์โดยมีพฤติการณ์แบ่งแยกกันได้ชัดเจนว่า ให้เป็นไปตามส่วนก็พิจารณาไปตามนั้น เช่น นายกิตติ ร่วมกับนายหมอดี ไปทําละเมิด นางสาวปู ในชั้นพิจารณาปรากฏพฤติการณ์ว่านายกิตติทําละเมิด 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วน นายหมอดีทําละเมิด 70 เปอร์เซ็นต์ ในการนี้เมื่อนางสาวปูเป็นโจทก์ฟ้องโดย เรียกร้องให้นายกิตติซึ่งทําละเมิดเพียงแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ชดใช้เต็มจํานวนได้ แต่เพื่อ ความเป็นธรรมแก่นายกิตติ กฎหมายจึงอนุญาตให้นายกิตติมีสิทธิที่จะเรียกส่วนที่ตน จ่ายเกินไป 70 เปอร์เซ็นต์ คืนจากนายหมอดีได้ กฎหมายเรียกว่านายกิตติรับช่วงสิทธิ ของเจ้าหนี้ผู้เสียหายตามมาตรา 229 (3) ที่กฎหมายกําหนดให้การรับช่วงสิทธิของ บุคคลผู้มีความผูกพันร่วมกับผู้อื่น หรือเพื่อผู้อื่นในอันจะต้องใช้หนี้มีส่วนได้เสียด้วย ในการใช้หนี้นั้นและเข้าใช้หนี้นั้น ข้อสังเกต เช่นเดียวกันเมื่อเป็นละเมิดที่เกิดขึ้นจากการกระทําของตนเอง สิทธิดังกล่าวที่มีต่อผู้ทําละเมิดร่วมจึงมิใช่การใช้สิทธิไล่เบี้ย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติ ไว้เหมือนกับกรณี Vicarious liability แต่เป็นเรื่องของการรับช่วงสิทธิตามมาตรา 229 (3) ความแตกต่างของรับช่วงสิทธิกับสิทธิไล่เบี้ย คือ สิทธิไล่เบี้ย หมายความว่า เป็นสิทธิของตัวบุคคลนั้นโดยเฉพาะมิได้อาศัยสิทธิของผู้อื่น ไม่ได้อาศัยมูลหนี้ละเมิด อายุความแยกจากมูลหนี้มีอายุถึง 10 ปี ส่วนการรับช่วงสิทธิ หมายความว่า ตัวเองไม่มีสิทธิ แต่อาศัยสิทธิของ เจ้าหนี้ผู้เสียหายที่มีต่อลูกหนี้ผู้ทําละเมิด สิทธินั้นคือสิทธิที่มีต่อมูลหนี้ละเมิด อายุ ความจึงมีเพียง 1 ปี เท่านั้น ตามมาตรา 448
111
กรณีที่ 3 ข้อพิจารณาบุคคลต่างคนทาละเมิด 3.1 ความเสียหายแบ่งแยกได้หรือไม่ หากปรากฏว่าความเสียหาย แบ่งแยกได้ต่างคนต่างรับผิดชอบในผลแห่งการกระทํานั้น 3.2 ความเสียหายแบ่งแยกไม่ได้ กล่าวคือ ความเสียหายที่เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันแบ่งแยกจากกันมิได้ ต้องร่วมกันรับผิดแต่มิใช่ตามมาตรา 432 เพราะบุคคล หลายคนมิได้กระทําละเมิดโดยร่วมกันกระทํา ผิดมาตรา 420 แต่เกิดความเสียหายที่ แบ่งมิได้ต้องไปพิจารณาตามมาตรา 301 ถ้าบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชําระ มิได้ ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดเช่นอย่างลูกหนี้ร่วม กล่าวคือ 1. ระหว่างผู้ทํา ละเมิดกับผู้เสียหาย และ 2. ระหว่างผู้ทําละเมิดด้วยกัน ให้ย้อนกลับไปพิจารณาตาม กรณีที่ 1 และ 2 ข้างต้น คําพิพากษาฎีกาที่ 143-144/2521 รถยนต์ 2 คันสวนและชนกันตรง เส้นกึ่งกลางถนน เป็นความประมาทเลินเล่อของรถทั้งสองไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ความรับ ผิดจึงพับกันไป ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมกันรับผิดต่อคนที่ขี่จักรยานอยู่ข้างทางแล้วถูกรถ คันหนึ่งคว่ําทับตาย และขอให้เทียบเคียงคําพิพากษาฎีกาที่ 615-616/2523 3.3 ข้อยกเว้นในกรณีที่มิใช่ลูกหนี้ร่วม โดยพฤติการณ์ศาลเห็นสมควร แยกส่วนความรับผิดเป็นส่วน ๆ (กําหนดให้ศาลใช้ดุลยพินิจ) ซึ่งแตกต่างกับมาตรา 432 เป็นสิทธิของผู้เสียหายจะเรียกให้ผู้ทําละเมิดคนใดชําระเต็มจํานวนก็ได้ ศาลไม่มี สิทธิใช้ดุลยพินิจในการแบ่งส่วน แต่ที่กําหนดไว้ในมาตรา 432 ตอนท้ายที่ว่า “ใน ระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับ ผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น ” เป็นเรื่อง ของส่วนของความรับผิด ในแต่ละบุคคลที่ทําละเมิดหากพิสูจน์ได้เท่านั้น อุทาหรณ์ นายกิตติ ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อพานางสาวปูแฟนสาว ไปเที่ยวต่างจังหวัดลําพังการขับรถยนต์โดยประมาทของนายกิตติไม่ได้ทําให้เกิดความ เสียหาย แต่บังเอิญมีรถยนต์อีกคันหนึ่งขับโดยนายหมอดีวิ่งออกมาจากข้างทางมา กะทันหันโดยประมาทเลินเล่อเช่นกัน เกิดอุบัติเหตุ นางสาวปูตาบอด จะเห็นได้ว่าการ ที่นางสาวปูได้รับความเสียหายเกิดจากบุคคลสองคนได้แก่นายกิตติ และนายหมอดี คิดค่าเสียหายรวมแล้ว 1,000,000 บาท กรณีเช่นนี้เป็นกรณีที่ต่างคนต่างทําละเมิด และความเสียหายเป็นเรื่องที่แบ่งแยกมิได้ ดังนั้น นางสาวปูจะเรียกเอากับใครก็ได้
112
นางสาวปูจึงไปเรียกกับนายหมอดีจํานวน 1,000,000 บาท เพราะนาย กิตติเป็นแฟนหนุ่ม ดังนี้ นายหมอดีเถียงว่าก็ทําผิดคนละครึ่งทําไมมาเรียกเอาแต่ตน ท่านจะเห็นได้ว่าไม่เป็นธรรมกับนายหมอดีที่จะถูกปิดปากเช่นนั้น เนื่องจากโจทก์กับ นายกิตติมีความสัมพันธ์พิเศษ (Special Damage) เพราะเหตุนี้ ศาลจึงมีอํานาจใช้ ดุลยพินิจกําหนดสัดส่วนของความรับผิดตามความจริงได้ ศาลใช้อํานาจตามมาตรา 438 วรรคหนึ่งมายกเว้นมาตรา 301 ได้ แต่มิใช่มาตรา 432 คําพิพากษาฎีกาที่ 1188/2509 ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยละเมิดต่อ โจทก์ โดยจําเลยให้การหรือแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานทําให้โจทก์ต้องออกจาก ตําแหน่ง แต่ปรากฏว่าจําเลยที่ 1 ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ห่างกันกับ จําเลยที่ 2 ประมาณ 1 เดือน จําเลยต่างคนต่างให้การว่ารู้เห็นในหน้าที่ของตน จึงไม่มี ลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ทั้งตามฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้บรรยายว่าจําเลยเป็นลูกหนี้ร่วม จึงไม่ควรที่จะให้จําเลยรับผิดต่อโจทก์ร่วมกันหรือแทนกัน
113
บทที่ 3 ละเมิดที่เกิดจากการกระทาผู้อื่น ความรับผิดฐานละเมิดที่เกิดจากการกระทําของบุคคลอื่น (Vicarious Liability) 3.1 กรณีนายจ้างกับลูกจ้าง มาตรา 425 บัญญัติว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่ง ละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทาไปในทางการที่จ้างนั้น มาตรา 426 บัญญัติว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทานั้นชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น มาตรา 427 บัญญัติว่า บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้ บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลม 3.1.1 ข้อเปรียบเทียบ 3.1.1.1 สัญญาจ้างแรงงาน (นายจ้างกับลูกจ้าง) มาตรา 575 บัญญัติว่า อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทํางานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตก ลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทํางานให้ 3.1.1.2 สัญญาจ้างทําของ (ผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง) Employer-employee relationship
มาตรา 587 บัญญัติว่า อันว่าจ้างทําของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทํางานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสําเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสําเร็จแห่งการที่ทํานั้น 3.1.1.3 การทํางานในหน่วยงานราชการ (ส่วนราชการกับข้าราชการ) มาตรา 76 บัญญัติว่า ถ้าการกระทําตามหน้าที่ของผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้ มีอํานาจทําการแทนนิติบุคคล เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนิติบุคคลนั้น ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไห มทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นแต่ไม่สูญเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ย เอาแก่ผู้ก่อความเสียหาย ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่นเกิดจากการกระทําที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ หรืออํานาจหน้าที่ของนิติ บุคคล บรรดาบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งที่ได้เห็นชอบให้ กระทําการนั้นหรือได้เป็นผู้กระการทําดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายนั้น
114
กรณีข้าราชการในสังกัดไปกระทําละเมิดต่อบุคคลอื่น เช่น พลทหารกิตติเป็น พลขับประจํากองทัพบก ได้ขับรถไปส่งเอกสารตามหน้าที่ของตน ปรากฏว่าขับรถยนต์ โยประมาทชนนายหมอดีได้รับบาดเจ็บ ข้อพิจารณานี้จะพบว่า พลทหารกิตติมี ความผิดละเมิดตามมาตรา 420 ส่วนต้นสังกัดได้แก่ กระทรวงกลาโหม หรือ กองทัพบกต้องร่วมเข้ามารับผิดตามมาตรา 425 มิได้ เพราะพลทหารกิตติมิใช่เป็น นายจ้างลูกจ้างกัน คําพิพากษาฎีกาที่ 1133/2516 (ประชุมใหญ่) จําเลยที่ 2 เป็นพลาธิการกอง พลทหารม้าสั่งให้จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพลขับ ขับรถยนต์ของกองพลทหารม้าไปขน ปูนซีเมนต์ให้วัด ย่อมถือได้ว่าจําเลยที่ 2 เป็นตัวการ และจําเลยที่ 1 เป็นตัวแทนใน กิจการนั้นโดยปริยาย เมื่อจําเลยที่ 1 ขับรถยนต์กลับกองพลทหารม้าได้ชนรถโจทก์ เสียหาย จําเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิด แต่กิจการดังกล่าวมิใช่กิจการของกองทัพบก กองทัพบกจึงไม่ต้องรับผิด ต้องพิจารณาให้ได้ก่อนว่า เป็นสัญญาอะไร กล่าวคือความสัมพันธ์ของผู้ทํา ละเมิดกับผู้ที่จะต้องร่วมรับผิดมีความสัมพันธ์ทางใด เช่น นายจ้างลูกจ้าง ตัวการ ตัวแทน ผู้ใช้ผู้ถูกใช้ เป็นต้น 3.1.2 ข้อพิจารณาทั่วไป มาตรา 425 นี้เป็นการกําหนดเงื่อนไขในการดึงนายจ้างที่ไม่ได้เป็นผู้ทําละเมิด เข้ามารับผิดในการที่ลูกจ้างกระทําละเมิด เพราะ 1. การมอบหมายงานให้ปฏิบัติ 2. สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ 3.1.3 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาองค์ประกอบความรับผิด 3.1.3.1 ความสัมพันธ์ในลักษณะนายจ้างกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน (There must exist a relationship of employer and employee) ความรับผิดของนายจ้างที่ต้องร่วมรับผิดนั้น (Respondent Superior)
ต้อง ปรากฏนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน ทั้งนี้ ไม่จําต้องมีหนังสือจ้างงาน การเป็น นายจ้างลูกจ้างกันโดยพฤตินัยย่อมมีผลตามกฎหมาย ( The act applies to employees) แต่นัยสําคัญที่ต้องคํานึงถึงมากที่สุดคือการนั้นต้องมีค่าจ้างแรงงาน
115
ลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติงานในความควบคุมหรือตามคําสั่งของนายจ้าง ส่วน ค่าใช้จ่ายผลกําไรขาดทุนเป็นของนายจ้าง ลูกจ้างเพียงแต่รับค่าจ้างไปก้อนหนึ่งเท่านั้น ข้อพิจารณาคุณลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน ก. อานาจในการควบคุม ในการมีอํานาจควบคุมเหนือและบังคับบัญชาเหนือลูกจ้างนั้น ในทางหลัก กฎหมายอังกฤษได้อธิบายให้เข้าใจอย่างง่าย คือเปรียบสภาพกับเจ้านาย (Master) กับ คนรับใช้ (Servant) มาตรา 583 ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นําพาต่อคําสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทํา ความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทําประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าว ล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ ขอให้ท่านพิจารณาคําพิพากษาฎีกาที่ 1885/2497 722/25245 449/2530 ที่วินิจฉัยไปทํานองเดียวกันว่า การพิจารณาว่าเป็นการจ้างแรงงานหรือไม่ พิจารณาจากอํานาจควบคุมหรือสั่งการให้บุคคลนั้นปฏิบัติตาม ข. ค่าจ้างตอบแทนการทางาน คําพิพากษาฎีกาที่ 769/2485 ผู้เช่าเรือกลไฟมาเดินรับขนส่งโดยเจ้าของเรือ เป็นผู้ออกค่าจ้างคนเรือและค่าใช้จ่ายในเรือ ไม่เรียกว่าเป็นผู้แทนเจ้าของเรือหรือ นายจ้างของนายเรือ จึงไม่มีความรับผิดในผลแห่งละเมิดของนายเรือ จะเห็นได้ว่า ผู้เช่าเรือรับขนส่งมิได้เป็นผู้จ่ายค่าจ้างตอบแทนแก่นายเรือ จึง มิใช่นายจ้างลูกจ้างกัน คําพิพากษาฎีกาที่ 1176/2510 เจ้าของรถยนต์นํารถยนต์ไปซ่อมที่อู่ซ่อมรถ แล้ว เจ้าของรถได้วานให้ช่างซ่อมรถขับรถไปส่งให้ที่อื่น เมื่อส่งเสร็จแล้วช่างซ่อมรถขับ รถกลับอู่เกิดอุบัติเหตุ กรณีดังกล่าว ช่างซ่อมรถยนต์ไม่ได้เป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้าง ของเจ้าของรถยนต์ เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องร่วมรับผิดในละเมิดนั้น กรณีดังกล่าวไม่มีคุณลักษณะของการจ้างแรงงานเลย ซึ่งขอให้ท่านย้อนกลับไป พิจารณาถึงละเมิดความผิดโดยตนเองกรณีผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง
116
ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายอังกฤษจะพิจารณาว่าเป็นนายจ้างลูกจ้าง จากอํานาจที่มีในการเลือกบุคคลเข้ามาเป็นลูกจ้าง การจ่ายค่าตอบแทน และการ ควบคุมบังคับบัญชาลูกจ้าง การวาน ใช้ โดยพึ่งพาอาศัยไม่มีค่าจ้างมิใช่เป็นการจ้างแรงงานไม่เข้า องค์ประกอบตามมาตรา 425 ผู้ใช้ วาน พึ่งพาไม่ต้องรับผิดตามมาตรานี้ ผู้ที่ถูกใช้ วาน พึ่งพา จะต้องมีความรับตามมาตรา 427 แต่ต้องมีลักษณะของการเป็นตัวการ ตัวแทน มาตรา 427 บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการ และตัวแทนด้วยโดยอนุโลม สัญญาตัวแทนอาศัยหลักความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน คําพิพากษาฎีกาที่ 1049/2505 มารดาเป็นเจ้าของรถยนต์โดยสาร ได้ มอบหมายให้บุตรอายุ 28 ปี เป็นตัวแทนในการรับขนส่งผู้โดยสารเก็บผลประโยชน์ ให้แก่มารดา แม้ว่ามารดาจะมิใช่นายจ้างของบุตรแต่เมื่อบุตรขับรถโดยประมาททําให้ รถยนต์คว่ําเป็นเหตุให้ผู้โดยสารบาดเจ็บ ก็เป็นการละเมิดในการเป็นตัวแทนของ มารดา มารดาจึงต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 427 คําพิพากษาฎีกาที่ 4223/2542 จําเลยที่ 2 และบริษัท ธ. เป็นบริษัทในเครือ เดียวกันมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ ศูนย์การค้าแอร์พอร์ต พลาซ่า ร่วมกัน การที่บริษัท ธ. ทําสัญญาว่าจ้างจําเลยที่ 1 ให้ส่ง พนักงานรักษาความปลอดภัยของจําเลยที่ 1 มาดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้า ดังกล่าว จึงเป็นการกระทําเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่ศูนย์การค้าของบริษัท ธ. และ จําเลยที่ 2 ทั้งขณะเกิดเหตุจําเลยที่ 1 ยังทําหน้าที่ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยไป ดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่า ที่เกิดเหตุ พฤติการณ์ของ บริษัท ธ. กับจําเลยที่ 2 ที่ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยมีชื่อจําเลยที่ 2 และชื่อ ศูนย์การค้าดังกล่าวติดอยู่ในอาคารเดียวกัน และมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของ จําเลยที่ 1คอยดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้านั้น ย่อมเป็นที่แสดงให้ ผู้ใช้บริการเข้าใจว่าจําเลยที่ 2 เป็นเจ้าของหรือได้ร่วมกับเจ้าของศูนย์การค้าดังกล่าว มอบหมายให้จําเลยที่ 1 รวมทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจําเลยที่ 1 เป็น ตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการแทนจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็น ตัวการด้วย
117
การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจําเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตร จอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรม รถยนต์ เป็นผลโดยตรงทําให้รถยนต์ของนาย ส. ถูกลักไป และเป็นการประมาท เลินเล่อ จึงเป็นการกระทําละเมิดต่อนาย ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การกระทําดังกล่าวเป็นการกระทําไปในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 1 ดังนั้น จําเลยที1่ ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็น ลูกจ้างของตนในผลแห่งละเมิดต่อนาย ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ส่วนจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้จําเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแล รักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของศูนย์การค้าดังกล่าว จึง ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจําเลยที่ 2 ได้กระทําไปในทางการที่ มอบหมายให้ทําแทนนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 420 จําเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ คําพิพากษาฎีกาที่ 5545/2542 จําเลยที่ 1 ทํางานเป็นแคดดี้อยู่ในสนาม กอล์ฟของจําเลยที่ 2 จําเลยที่ 1 ได้ขับรถกอล์ฟบรรทุกผู้เล่นกอล์ฟชนโจทก์ได้รับ บาดเจ็บที่เข่าซ้ายและหลังเท้าซ้าย จําเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ดูแลครอบครอง เพราะการใช้ รถคันเกิดเหตุจะต้องผ่านการซื้อบัตรรถกอล์ฟโดยตรงจากจําเลยที่ 2 จําเลยที่ 2 จึง ได้รับประโยชน์ส่วนแบ่งเป็นค่าเช่าจากผู้เล่นกอล์ฟ และแม้การที่จําเลยที่ 1 ขับรถคัน เกิดเหตุจะมิใช่หน้าที่โดยตรงของจําเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งที่จําเลยที่ 2 มอบหมายให้ทําจําเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจําเลยที่ 2 ในด้านบริการแก่ผู้เล่น กอล์ฟ จําเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด และตาม ตัวอย่างกรณีพลทหารกิตติข้างต้น นายหมอดีจะสามารถฟ้อง กองทัพบกให้รับผิดตามมาตรา 427 ก็ไม่ได้ เพราะสัญญาตัวการตัวแทนเป็นเรื่องของ ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน กองทัพบกมิได้แต่งตั้งให้พลทหารกิตติเป็น ตัวแทนของตน แต่นายหมอดีสามารถฟ้องกองทัพบกได้ตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง ได้ เพราะพลทหารกิตติเป็นผู้แทนของกองทัพบก และการละเมิดอยู่ภายใต้ขอบเขตของ หน้าที่ กองทัพบกต้องชดใช้ให้นายหมอดี และจะได้สิทธิมาไล่เบี้ยกับพลทหารกิตติอีก ทอดหนึ่ง
118
มาตรา 76 บัญญัติว่า ถ้าการกระทําตามหน้าที่ของผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้มี อํานาจทําการแทนนิติบุคคล เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนิติบุคคลนั้น ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น แต่ไม่สูญเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ย เอาแก่ผู้ก่อความเสียหาย คําพิพากษาฎีกาที่ 179/2495 มีผู้ลอบเอาโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าของแจ้งหาย และ ขอใบแทนไปแล้วมาหลอกจํานองไว้กับโจทก์ ปรากฏว่า ใบโฉนดฉบับหลวงได้จดแจ้ง การออกใบแทนโฉนดพร้อมทั้ง วัน เดือน ปี ไว้ด้วยหมึกสีแดงเห็นได้อย่างสะดุดตา แต่เจ้าพนักงานที่ดินกระทําการโดยประมาทละเลยต่อการตรวจดูตามสมควร จึงได้มี การจํานองต่อกันเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ เจ้าพนักงานที่ดินต้องรับผิดในความ เสียหายที่เกิดขึ้น และกรมที่ดินก็ต้องรับผิดด้วยตามนัยแห่งมาตรา 76 คําพิพากษาฎีกาที่ 5129/2546 จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาพลศึกษา ได้สั่งให้นักเรียนชั้น ม.1 วิ่งรอบสนามระยะทาง 200 เมตร ต่อ 1 รอบ จํานวน 3 รอบ เป็นการอบอุ่นร่างกายก่อนการเรียนวิชาพลศึกษาในภาคปฏิบัติ และได้สั่งให้นักเรียน วิ่งรอบสนามต่ออีก 3 รอบ เป็นการทําโทษที่วิ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเหมาะสม ตามสมควรแก่พฤติการณ์ แต่การที่สั่งให้วิ่งรอบสนามต่อไปอีก 3 รอบ และเมื่อ นักเรียนยังทําไม่ได้เรียบร้อย ก็สั่งให้วิ่งต่อไปอีก 3 รอบ ในช่วงเวลาหลังเที่ยงวันเพียง เล็กน้อย สภาพอากาศร้อนและมีแสงแดดแรง นับเป็นการใช้วิธีการลงโทษนักเรียนที่ ไม่เหมาะสมและไม่ชอบ เพราะจําเลยที่ 1 น่าจะเล็งเห็นได้ว่าการลงโทษนักเรียนซึ่งมี อายุระหว่าง 11 ถึง 12 ปี ด้วยวิธีการดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียน ได้ เป็นความประมาทเลินเล่อ จนทําให้เด็กชาย พ. ซึ่งเป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนล้มลงใน การวิ่งรอบสนามรอบที่ 11 และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาเพราะสาเหตุระบบหัวใจ ล้มเหลว การตายของเด็กชาย พ. จึงเป็นผลโดยตรงจากการวิ่งออกกําลังตามคําสั่งของ จําเลยที่ 1 แม้จําเลยที่ 1 จะไม่ทราบว่าเด็กชาย พ. เป็นโรคหัวใจก็ตาม มิใช่เกิดจาก เหตุสุดวิสัย ถือได้ว่าจําเลยที่ 1 กระทําละเมิดเป็นเหตุให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย แต่ความไม่รู้ของจําเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นเหตุประกอบดุลพินิจในการกําหนดค่าสินไหม ทดแทนให้น้อยลง การที่จําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการครูในสังกัดของจําเลยที่ 2 ทําการสอนวิชา พลศึกษาในชั่วโมงวิชา พลศึกษาของนักเรียนชั้น ม. 1 ห้อง 1/4 ของโรงเรียน ว. เป็น การปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนของกรมสามัญศึกษาจําเลยที่ 2 การออกคําสั่ง ให้นักเรียนวิ่งรอบสนามเพื่ออบอุ่นร่างกายและการลงโทษนักเรียนให้วิ่งรอบสนาม ก็
119
ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวของจําเลยที่ 1 ทําให้เด็กชาย พ. นักเรียนคนหนึ่งในชั้นดังกล่าวถึงแก่ความตาย จําเลยที่ 2 จึงต้อง รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นมารดาของเด็กชาย พ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคหนึ่ง 3.1.3.2 ลูกจ้างต้องมีความรับผิดฐานละเมิด หนี้ในความรับผิดฐานละเมิดของลูกจ้างต้องยังไม่ระงับสิ้น หรือเปลี่ยนแปลง ไป นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างขับรถยนต์ชนโจทก์ได้รับความ เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้มีการตกลงเจรจาทําสัญญาประนีประนอมยอม ความ หนี้เดิมคือหนี้ละเมิดระงับสิ้นไป เกิดหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้น นายจ้างหลุดพ้นความรับผิด ดังนี้ หากเป็นเช่นนั้น ผู้เสียหายมีสิทธิแต่เพียงให้ลูกจ้าง ชําระตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ตกลงทํานั้น แต่ไม่มีสิทธิฟ้องนายจ้างให้ ร่วมรับผิดได้ คําพิพากษาฎีกาที่ 5435/2539 โจทก์ฟ้องว่าจําเลยที่ 1 กระทําละเมิดใน ทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2 ทําให้รถยนต์ของ ก. เสียหายอันเป็นการฟ้องจําเลยที่ 2 นายจ้างให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างตามมาตรา 425 คดีจึง ไม่มีประเด็นว่า จําเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ แม้ ข้อเท็จจริงได้ความว่าจําเลยที่ 2 ทําสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่ ก. ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับโจทก์ อันทําให้สิทธิเรียกร้องในมูล ละเมิดระงับสิ้นไปและทําให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิที่แสดงไว้ในสัญญา ศาลก็จะพิพากษาให้ จําเลยที 2 รับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษา เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคําฟ้องไม่ชอบด้วย ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 คําพิพากษาฎีกาที่ 4223/2542 จําเลยที่ 2 และบริษัท ธ. เป็นบริษัทในเครือ เดียวกันมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ ศูนย์การค้าแอร์พอร์ต พลาซ่า ร่วมกัน การที่บริษัท ธ. ทําสัญญาว่าจ้างจําเลยที่ 1 ให้ส่ง พนักงานรักษาความปลอดภัยของจําเลยที่ 1 มาดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้า ดังกล่าว จึงเป็นการกระทําเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่ศูนย์การค้าของบริษัท ธ. และ จําเลยที่ 2 ทั้งขณะเกิดเหตุจําเลยที่ 1 ยังทําหน้าที่ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยไป ดูแลรักษาความปลอดภัยที่เกิดเหตุ
120
ความข้างต้น จะเห็นได้ว่า พฤติการณ์ของบริษัท ธ. กับจําเลยที่ 2 ที่ประกอบ กิจการค้าร่วมกัน โดยมีชื่อจําเลยที่ 2 และชื่อศูนย์การค้าดังกล่าวติดอยู่ในอาคาร เดียวกันและมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจําเลยที่ 1 คอยดูแลรักษาความ ปลอดภัยในศูนย์การค้านั้น ย่อมเป็นที่แสดงให้ผู้ใช้บริการเข้าใจว่าจําเลยที่ 2 เป็น เจ้าของหรือได้ร่วมกับเจ้าของศูนย์การค้าดังกล่าวมอบหมายให้จําเลยที่ 1 รวมทั้ง พนักงานรักษาความปลอดภัยของจําเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัย ให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการแทนจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการด้วย การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจําเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตร จอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรม รถยนต์เป็นผลโดยตรงทําให้รถยนต์ของนาย ส. ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทําละเมิดต่อนาย ส. ตามมาตรา 420 และเมื่อได้กระทําไปในทางการที่ จ้างของจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความ ปลอดภัยในผลแห่งละเมิดตามมาตรา 425 ส่วนจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้ จําเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถ ของศูนย์การค้า จึงต้องรับผิดตามมาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 420 จากข้างต้น 1. ลูกจ้างพิจารณาองค์ประกอบของการกระทําละเมิดโดยตนเอง 2. ความระมัดระวังในฐานะผู้ประกอบอาชีพ ต้องระมัดระวังความเสียหายที่จะ เกิดแก่ผู้บริโภคที่จะเข้ามาใช้บริการภายในห้างร้านของตน ขอให้เทียบเคียงกับ Ward V. Tesco, 1976 3. พฤติการณ์ที่แสดงออกถึงการเป็นนายจ้างลูกจ้าง 4. ตัวแทนทําละเมิดตัวการต้องรับผิด ข้อสังเกต 1 การที่ลูกจ้างไปทําสัญญารับสภาพในหนี้ละเมิด (แตกต่างจากสัญญา ประนีประนอมยอมความ) เช่น ไปตกลงทําสัญญาว่าลูกจ้างทําละเมิดกับผู้เสียหายจริง ตกลงว่าจะชดใช้กันอย่างไร ต้องถือว่าหนี้ยังไม่ได้ระงับสิ้น คําพิพากษาฎีกาที่ 2885/2543 จําเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการสาขามีหน้าที่ดูแลงาน ของธนาคารจําเลยที่ 1 สาขาดังกล่าวทุก ๆ ด้าน มีอํานาจหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา พนักงานทุกคนในสาขาต้องคอยควบคุมดูแลให้พนักงานทุกคนทํางานด้วยความ เรียบร้อยและถูกต้องมิให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้าและบุคคลภายนอก ไม่อาจปัด
121
ความรับผิดชอบให้จําเลยร่วมซึ่งเป็นพนักงานและพนักงานคนอื่น การที่ปล่อยให้จําเลย ร่วมนําเช็คพิพาทที่ห้ามเปลี่ยนมือและขีดฆ่าคําว่าผู้ถือออก ซึ่งโจทก์ออกให้เพื่อชําระหนี้ แก่บุคคลอื่นเรียกเก็บเงินและนําเข้าบัญชีเงินฝากของตนโดยผิดขั้นตอนไม่เป็นไปตาม ระเบียบแล้วเป็นผู้รับเงินและเบิกจ่ายเงินไป โดยจําเลยที่ 2 ไม่ได้นําสืบให้เห็นว่าตนใช้ ความระมัดระวังควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของจําเลยร่วมและพนักงานที่เกี่ยวข้อง ตามสมควรแล้ว ต้องถือว่าได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการ ละเมิดต่อโจทก์จําเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย ส่วนการที่จําเลยร่วมและ น. ร่วมกันนําเช็คของโจทก์หลายฉบับ รวมทั้งเช็ค พิพาทไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งโจทก์ได้ดําเนินคดีอาญาแก่บุคคลทั้งสองฐาน ฉ้อโกงและยักยอก แล้วต่อมาทําสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาท ในทางอาญา ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจําเลยร่วมและ น. หามีผลถึงความรับผิดของ จําเลยทั้งสองซึ่งมีมูลจากการละเมิดและไม่ได้ร่วมตกลงประนีประนอมยอมความด้วยไม่ ฉะนั้น ต้องถือว่าหนี้ที่ระงับต้องเป็นหนี้ละเมิด มิใช่เรื่องอื่นใด คําพิพากษาฎีกาที่ 1060/2506 จําเลยที่ 1 ทําละเมิดต่อโจทก์ จําเลยที่ 2 เป็นนายจ้างจําเลยที่ 1 ปรากฏว่าโจทก์กับจําเลยที่ 1 ได้ทําสัญญาประนีประนอมยอม ความระงับข้อพิพาทกัน และโจทก์ยอมรับเงินตามสัญญาไปครบถ้วนแล้ว ดังนี้ เมื่อ ความรับผิดของจําเลยที่ 1 ได้ปลดเปลื้องไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็ไม่ มีความรับผิดที่จะให้จําเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าเสียหายอันใดอีกแม้โจทก์จะไม่ได้ทํา สัญญาประนีประนอมยอมความกับจําเลยที่ 2 ก็ตาม เมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องจําเลยที่ 1 ก็ย่อมหมดสิทธิฟ้องจําเลยที่ 2 ด้วยดุจกัน 2 มูลหนี้ของลูกจ้างต้องเป็นหนี้ละเมิดจะเป็นการกระทําละเมิดมาตราใด มาตราหนึ่งหรือหลายมาตราก็ตาม 3 มูลหนี้อื่นที่มิใช่มูลหนี้ละเมิดไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรานี้ 3.1.3.3 ละเมิดต้องทําไปในทางการที่จ้าง ในทางการที่จ้างนี้ (In the cause of employment) นั้น จะต้องอยู่ภายใต้ ขอบเขตของงานในทางการที่จ้าง (employer’s business, scope of employment) เช่น นายกิตติเป็นลูกจ้างประจําปั๊มน้ํามันมีหน้าที่เติมน้ํามัน ล้างรถยนต์ เช็ดกระจก นายกิตติได้ไปแก้เครื่องยนต์ให้กับนายหมอดีที่เครื่องยนต์ดับเพราะน้ําท่วม แล้วนํารถ ออกไปลองเครื่อง จะเห็นได้ว่า มิใช่อยู่ภายใต้ขอบเขตงานที่จ้าง แต่ความดังกล่าว ขอให้พิจารณาว่า นักกฎหมายได้พยายามอย่างยิ่งที่จะตีความความหมายของใน
122
ทางการที่จ้างให้มีขอบเขตที่กว้างขวาง ไม่เฉพาะแต่ที่ปรากฏในภาระงานเท่านั้น เพื่อ เอานายจ้างให้เข้ามาร่วมรับผิดมากที่สุด (ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ) แต่ทั้งนี้เพื่อความ เป็นธรรมแก่นายจ้าง ในการตีความก็ต้องอาศัยหลักที่ว่าไม่ไกลเกินกว่าการคาดหมาย ของนายจ้างด้วย 1. ไม่ไกลเกินกว่าการคาดหมายของนายจ้าง อุทาหรณ์ พนักงานขับรถยนต์ลูกจ้างของจําเลย ยินยอมให้ผู้ตรวจตั๋วซึ่งไม่มี ใบอนุญาตขับขี่ขับรถยนต์คันที่ตนขับอยู่แล้วเกิดทําให้ผู้อื่นเสียหาย นายจ้างของผู้ขับ รถยนต์ต้องรับผิดในความเสียหายนั้น เพราะถือว่าอยู่ในความคาดหมายของนายจ้าง ขอให้เทียบเคียงกับคําพิพากษาฎีกาที่ 147/2518 การที่ลูกจ้างขับรถยินยอมให้ลูกจ้าง อื่นขับรถ เมื่อเกิดเหตุละเมิด ลูกจ้างขับรถต้องรับผิดชอบ และการละเมิดนี้ย่อมนับว่า อยู่ในกรอบแห่งการจ้าง และคําพิพากษาฎีกาที่ 472/2524 อุทาหรณ์ นายกิตติลูกจ้างลอบไขกุญแจเอารถยนต์ของนายจ้างไปขับขี่โดย พลการ ต้องถือว่า นายกิตติเป็นผู้ครอบครอง นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง อุทาหรณ์ นายกิตติเป็นอาจารย์สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ใช้ให้พนักงาน ขับรถยนต์ของมหาวิทยาลัยคือนายหมอดี 1. ได้ให้นายหมอดีไปส่งหนังสือราชการไปส่งให้สํานักงานเลขาธิการ ผู้ว่า ราชการจังหวัดขอนแก่น 2. ได้ให้นายหมอดีไปรับภรรยาที่เพิ่งกลับมาจากไปเที่ยวต่างประเทศที่ สนามบิน ปรากฏว่า ระหว่างเดินที่เพื่อทําภารกิจทั้งสองนี้ นายหมอดีขับรถยนต์ไปชน นางสาวปู โดยทั้งสองกรณีนางสาวปูเป็นโจทก์ฟ้องนายหมอดีเป็นจําเลยที่ 1 นายกิตติ เป็นจําเลยที่ 2 และมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นจําเลยที่ 3 กรณีที่ 1 จะเห็นได้ว่า จําเลยที่คนขับรถต้องรับผิดตามมาตรา 420 จําเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเพราะทําตามหน้าที่ จําเลยที่ 3 ผิดตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง เพราะ จําเลยที่ 1 ทําหน้าที่ตามงานราชการ เมื่อทําละเมิดจําเลยที่ 3 ต้องเข้าร่วมรับผิดด้วย แล้วจึงเข้าไปสวมสิทธิของโจทก์ไปไล่เบี้ยคืนกับจําเลยที่ 1
123
กรณีที่ 2 จะเห็นได้ว่า การที่จําเลยที่ 2 สั่งให้จําเลยที่ 1 ไปรับภรรยามิใช่เป็น การสั่งให้ทําตามหน้าที่ราชการ เพราะฉะนั้นจําเลยที่ 3 หามีส่วนต้องรับผิดในละเมิด ของจําเลยที่ 1 ไม่ แต่จําเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในฐานะตัวการตัวแทน ตามมาตรา 427 ในกรณีที่สอง หากเปลี่ยนข้อเท็จจริงเป็นกรณีสัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมาย เอกชนมิใช่ข้าราชการ การที่ลูกจ้างขับรถของนายจ้างเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่แล้วแวะทํา ธุระส่วนตัวของลูกจ้าง แล้วนํารถยนต์ไปเก็บตามหน้าที่ไปชนรถผู้อื่นได้รับความ เสียหายโดยประมาทเลินเล่อในระหว่างขับรถไปเก็บนี้ นายจ้างยังคงต้องร่วม รับผิดชอบ อุทาหรณ์ นายหมอดีนายจ้างใช้ให้นายกิตติซึ่งเป็นคนขับรถยนต์ของตนไปรับ คนงานก่อสร้างที่ถนนศรีจันทร์มาปฏิบัติงานที่บริษัทตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยขอนแก่น ริมถนนมิตรภาพ นายกิตติขับรถออกไปแล้วได้เอารถไปเอากางเกงที่ตัดไว้ที่ห้างโลตัส (ขอนแก่น) ก่อน ระหว่างทางขับรถยนต์ไปชนนางปูตาย กรณีนี้ยังคงถือได้ว่า เป็นการ ปฏิบัติที่ลูกจ้างได้กระไปในทางการที่จ้างของนายจ้าง นายหมอดีจึงต้องร่วมรับผิด อุทาหรณ์ นายกิตติพนักงานขับรถยนต์บรรทุกข้าวสารของนายจ้าง ได้ไปรับ นายหมอดีให้โดยสารมาด้วย ปรากฏว่านายกิตติขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อทําให้ รถคว่ํา และนายหมอดีตาย ญาตินายหมอดีเรียกร้องให้นายจ้างรับผิดร่วมกับลูกจ้าง นายจ้างจะอ้างว่าเป็นการกระทําโดยส่วนตัวของนายกิตติไม่ได้ ถือว่านายจ้างควร คาดหมายได้ ข้อเท็จจริงข้างต้น หลักพิจารณาอยู่ที่ว่า ลูกจ้างยินยอมให้นายหมอดีโดยสาร ไปในรถยนต์ เมื่อเกิดความเสียหายก็ต้องรับผลนั้น เช่นเดียวกับ กรณีที่ลูกจ้างเป็นคนขับรถโดยสารและผู้เสียหายขึ้นรถแม้ว่าจะ ไม่ได้ชําระค่าโดยสาร เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นนายจ้างก็ยังต้องมีความรับผิด จะอ้าง ว่าผู้นั้นไม่ชําระค่าโดยสารไม่ได้ เพราะมันเป็นคนละเรื่องละประเด็นกัน เรื่องของการ ไม่ชําระราคาเป็นเรื่องทางนิติกรรม ส่วนเรื่องละเมิดเป็นเรื่องของนิติเหตุ
124
อุทาหรณ์ นายหมอดีนายจ้างของนายกิตติใช้ให้นายกิตติไปส่งสินค้าให้แก่ ลูกค้า ปรากฏว่า เมื่อไปถึงสถานที่ส่งมอบของนายกิตติเกิดมีปากเสียงกับลูกค้า เนื่องจากไม่พอใจที่ลูกค้าจู้จี้และเรื่องมาก นายกิตติไม่พอใจจึงชกต่อยลูกค้าจนได้รับ บาดเจ็บ กรณีเช่นนี้ จะเห็นว่า นายหมอดีนายจ้างสั่งการให้ไปส่งสินค้ามิใช่ให้ไป ทะเลาะเบาะแว้ง มิใช่กิจการที่นายจ้างมอบหมายให้กระทํา นายจ้างจึงไม่ต้องรับผิด และโปรดเทียบเคียงกับคําพิพากษาฎีกาที่ 1931/2518 1942/2520 คําพิพากษาฎีกาที่ 1811-1812/2516 (ประชุมใหญ่) จําเลยที่ 1 เป็นลูกจ้าง ของกรมทางหลวงแผ่นดินจําเลยที่ 2 ทําหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์วิจัยดิน หิน กรวด อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ ฉ. ช่างตรี กองวิเคราะห์วิจัย ฉ. นํารถยนต์ที่เป็นรถใช้ สําหรับใช้ในกิจธุระของกองทางไปใช้แล้วใช้ให้จําเลยที่ 1 นํารถไปล้าง จําเลยที่ 1 นํา รถไปล้างเสร็จแล้วได้ขับกลับที่พัก ระหว่างทางได้แวะไปเอาของที่บ้านพี่สาวจึงเกิดเหตุ ไปกระแทกกับรถยนต์ที่บุตรโจทก์นั่งมา เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย แม้ จําเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการขับรถยนต์ แต่การนํารถไปล้างก็ทําไปโดย ผู้บังคับบัญชาใช้ให้ไป และการล้างรถก็เป็นกิจการของจําเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่าจําเลยที่ 1 ได้กระทําละเมิดในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2 จําเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผล แห่งการละเมิดที่จําเลยที่ 1 ได้กระทําไป 2. ลูกจ้างทาละเมิดนอกเวลาปฏิบัติงาน 2.1 กรณีลูกจ้างทําละเมิดในช่วงพักกลางวัน อุทาหรณ์ นายกิตติเป็นพนักงานบริษัทไปทานข้าวนอกบริษัท โดยชวนนาย หมอดีพนักงานขับรถยนต์ของบริษัทไป แล้วเกิดชนโจทก์ได้รับความเสียหาย กรณี เช่นนี้ นอกจากนายหมอดีจะมีความผิดแล้ว ศาลฎีกาไทยยังเคยวินิจฉัยว่า ยังถือว่าอยู่ ในทางการที่จ้าง เพราะอยู่ในระหว่างพักช่วงแรกกับช่วงหลังคาบเกี่ยวต่อเนื่องกันอยู่ (ขอให้ศึกษาคําพิพากษาฎีกาที่ 677/2501 1169-1170/2509 970/2512 2086/2523 6359/2539) อุทาหรณ์ นายกิตติ ขับรถยนต์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของบริษัทคิตโต ภูมิลําเนาตั้งอยู่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นนายจ้าง และนายกิตติได้ขับรถยนต์ไปส่ง พนักงานเพื่อเข้าอบรมสัมมนาที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อขับรถยนต์ไปส่งเสร็จ ได้ขับรถ ออกไปรับประทานอาหารต่อที่จังหวัดอุดรธานีเป็นการส่วนตัวกับเพื่อน หลังจาก รับประทานอาหารเสร็จ นายกิตติได้ขับรถไปส่งเพื่อนแล้ว นายกิตติก็ขับรถยนต์เพื่อจะ
125
ไปรับพนักงานกลับจังหวัดนนทบุรี และด้วยความประมาทเลินเล่อของนายกิตติทําให้ รถที่ขับมาพลิกคว่ําไปทับนายหมอดีที่นั่งอยู่บริเวณริมถนนได้รับบาดเจ็บ การขับรถ ของนายกิตติย่อมถือว่าเป็นเวลาที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับงานในหน้าที่และยังอยู่ในระหว่าง ปฏิบัติงานตามหน้าที่ นอกจากนี้ ศาลขยายผลของในทางการที่จ้างโดยถือว่า การพักทานอาหารก็ เพื่อประโยชน์ในการทํางาน และแม้ว่าจะมีระเบียบ คําสั่ง ข้อห้าม ก็มิอาจปฏิเสธความ รับผิดได้ เนื่องจาก เป็นระเบียบ คําสั่งภายในจะมาใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ ขอให้ ศึกษาตามคําพิพากษาฎีกาต่อไปนี้ คําพิพากษาฎีกาที่ 677/2540 ก่อนเกิดเหตุ ๑ วัน พ. ได้ขอยืมรถยนต์ กระบะคันเกิดเหตุจากหัวหน้าช่างของจําเลยที่ ๔ ออกไปข้างนอกเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยว รับประทาน การรับประทานอาหารเป็นปัจจัยสําคัญในการดํารงชีพให้มีชีวิตอยู่ มีกําลัง ในการทํางาน ถึงแม้จําเลยที่ ๔ มีระเบียบว่า เมื่อเลิกงานแล้วคนงานจะออกไปจากที่ ก่อสร้างไม่ได้ และจะนํารถไปใช้หลังจากเลิกงานแล้วไม่ได้ก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายใน ระหว่างจําเลยที่ ๔ กับพนักงานจะนําระเบียบดังกล่าวไปใช้ยันกับบุคคลภายนอกเพื่อ ปัดความรับผิดหาได้ไม่ ปรากฏว่า พ. กับพวกซื้อก๋วยเตี๋ยวไม่ได้ จึงออกไปรับประทาน อาหารในเขตจังหวัดลําปาง จากนั้นจึงพากันไปที่บ้าน ว. ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ก่อสร้าง ๖๐ กิโลเมตร จึงยังเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบเขตการอนุญาตของหัวหน้าช่างผู้มีสิทธิ อนุญาตให้นํารถไปใช้แทนจําเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นนายจ้าง ถือได้ว่าจําเลยที่ ๔ ร่วมรู้เห็นใน การให้ พ. นํารถออกไปใช้ด้วย ดังนั้น การที่ พ. นํารถออกไปใช้ดังกล่าว เป็นการ กระทําในทางการที่จ้างของจําเลยที่ ๔ จําเลยที่ ๔ ในฐานะนายจ้างและจําเลยที่ ๕ ใน ฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดอันเกิดจากการนํารถไปกระทํา ให้เกิดอุบัติเหตุด้วย (ขอให้เปรียบเทียบกับคําพิพากษาฎีกาที่ 1169-1170/2509 970/2512 879-880/2514 1631-1634/2515 501-504/2517 2115/2517 2538/2518) ข้อสังเกตในประเด็นนี้ ระเบียบ คําสั่ง หรือข้อบังคับของนายจ้างโดยลําพังไม่ อาจใช้เป็นตัวตัดสินว่าการนั้นเป็นในทางการที่จ้างหรือไม่ แม้จะฝ่าฝืนก็เป็นในทางการ ที่จ้างได้ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่านายจ้างมีการบังคับใช้ระเบียบ คําสั่ง หรือข้อบังคับนั้น อย่างเคร่งครัดจริงหรือไม่ ซึ่งโดยทางปฏิบัติ ศาลมักจะไม่เชื่อว่านายจ้างได้บังคับใช้ ระเบียบ คําสั่ง หรือข้อบังคับนั้น ๆ จริง แต่ก็มีข้อสังเกตซ้อนลงไปอีกว่า ศาลก็มักจะ เชื่อว่าหากเป็นระเบียบ คําสั่ง หรือข้อบังคับของหน่วยงานราชการ หน่วยงานราชการจะ
126
ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งเวลาท่านทํางาน และอยู่ฝ่ายนายจ้างต้องนําประเด็นนี้ พิสูจน์ให้เห็นให้ศาลเห็นให้ได้ว่า ระเบียบ คําสั่ง หรือข้อบังคับดังกล่าวถือปฏิบัติอย่าง เคร่งครัด 2.2 กรณีลูกจ้างทําละเมิดในวันหยุดหรือนอกเวลาทํางานปกติ การทํางานในวันหยุดหรือนอกเวลาทํางานตามปกติ ต้องพิจารณาว่า งานที่ทํา อยู่นั้นเป็นงานในเนื้องานของกิจการของนายจ้างหรือไม่ ถ้าใช่ยังคงถือว่าเป็นการงาน ในทางการที่จ้าง แม้ว่าเวลาที่เกิดเหตุละเมิดจะเป็นเวลาค่ํานอกราชการก็ตาม (ขอให้ พิจารณาจากคําพิพากษาฎีกาที่ 1001/2514 574/2515) ขอให้ลองศึกษาจากคําพิพากษาฎีกาที่ 603/2510 ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ขับ รถยนต์บรรทุกของนายจ้าง ได้ขับรถยนต์บรรทุกของบุคคลอื่นที่นํามาฝากไว้กับ นายจ้างเพื่อไปเที่ยวงานวัดตอนกลางคืน โดยที่นายจ้างรู้เห็นยินยอม เช่นนี้ ก็ไม่ถือว่า เป็นเรื่องในทางการที่จ้าง คําพิพากษาฎีกาที่ 1772/2512 ลูกจ้างมีหน้าที่ขับรถยนต์ เมื่องานเลิกแล้วได้ ขับรถยนต์ของนายจ้างบรรทุกเครื่องครัวของคนงานอีกคนเอาไปส่งยังบ้านพี่สาวของ คนงานคนนั้นอันเป็นกิจธุระส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแล รถยนต์ แล้วไปชนบุตรของโจทก์ตาย การละเมิดนี้ไม่ใช่การกระทําในทางการที่จ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดด้วย คําพิพากษาฎีกาที่ 7.2/2517 กรมไปรษณีย์โทรเลขอนุญาตให้บุรุษไปรษณีย์ ขับรถยนต์ของกรมส่งข้าราชการในกรมนอกเวลาปฏิบัติราชการปกติ เพื่อข้าราชการจะ ไม่ต้องมาปฏิบัติราชการสายและอํานวยความสะดวกให้แก่ข้าราชการโดยที่บุรุษ ไปรษณีย์นั้น ได้รับค่าจ้างพิเศษรายเดือน การขับรถดังกล่าวจึงอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ และเป็นการทํางานตามทางการที่จ้างของกรมไปรษณีย์โทรเลข การได้รับเงินค่าจ้าง พิเศษเป็นค่าทํางานล่วงเวลาไม่ทําให้งานนั้นมิใช่งานของทางราชการ 3. ลูกจ้างรับค่าจ้างทางอื่นโดยไม่บอกนายจ้าง เช่น นายกิตติมีหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุก โดยผู้จ้างบรรทุกจะจ้างกับเจ้าของรถ หรือคนขับก็ได้ ถือว่ารับงาน วันหนึ่งนายกิตติรับจ้างบรรทุกของจากนายหมอดีโดยไม่ คิดจะไปบอกนางสาวปูเจ้าของรถบรรทุกนายจ้าง กรณีเช่นนี้ ยังคงถือว่า เป็นการทํา ละเมิดในทางการที่จ้าง นางสาวปูต้องร่วมรับผิด การที่นายกิตติลูกจ้างรับงานแล้วไม่
127
บอกนายจ้างคิดจะเอาค่าจ้างไว้เองไม่ทําให้เป็นการนอกหน้าที่อันจะเป็นเหตุให้นายจ้าง พ้นจากความรับผิดไม่ คงต้องถือว่านายกิตติคนขับรถยังเป็นลูกจ้างของเจ้าของรถอยู่ 4. การบรรยายฟ้อง ในคําฟ้องโจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้เห็นว่า ลูกจ้างได้กระทําในทางการที่จ้างใน การฟ้องร้องให้นายจ้างเข้ามาร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยลูกจ้างนี้ การ บรรยายฟ้องโจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้เห็นว่า ลูกจ้างได้กระทําละเมิดในทางการที่ จ้าง เช่น โจทก์ฟ้องว่าจําเลยที่ 1 เป็นนายจ้าง จําเลยที่ 2 เป็นลูกจ้าง สมคบกันเอา เพลิงจุดเผาป่าในสวนของจําเลยที่ 1 โดยประมาทเป็นเหตุให้เพลิงไหม้สวนโจทก์ เช่นนี้ เมื่อไม่มีการบรรยายฟ้อง นายจ้างไม่ต้องรับผิด ขอให้พิจารณาคําพิพากษาฎีกาที่ 400/2537 การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จําเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจําเลยที่ 2 มีหน้าที่ขับรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นของจําเลยที่ 2 จําเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้ รถยนต์ที่จําเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ ตามคําฟ้อง ดังกล่าวต้องฟังว่า โจทก์กล่าวหาว่าจําเลยที่ 1 กระทําละเมิดต่อโจทก์ จําเลยที่ 2ซึ่งเป็น นายจ้างของจําเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิด แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จําเลยที่ 1 ได้กระทําละเมิดในทางการที่จ้างของจําเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสําคัญอันเป็น ประเด็นแห่งคดีที่พึงกระทําให้จําเลยที่ 2 ต้องรับผิด คดีตามคําพิพากษาฎีกาข้างต้น โจทก์ได้ฟ้องจําเลยที่ 1 ลูกจ้างผู้กระทําละเมิด กล่าวคือ ขับรถยนต์เฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์โดยความประมาทเลินเล่อ รถยนต์โจทก์ (ทรัพย์) ได้รับความเสียหาย จําเลยที่ 2 เป็นนายจ้าง และมีจําเลยที่ 3 คือผู้รับ ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งในชั้นฎีกาจําเลยที่ 2 และ 3 อุทธรณ์ โดยนําหนังสือรับรองของ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมาสืบประกอบ ซึ่งหลักฐานดังกล่าวก็มิได้บ่งบอกว่าจําเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปในทางการที่จ้างในขณะเกิดเหตุละเมิดให้แก่จําเลยที่ 2 (นายจ้าง) และ เมื่อจําเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดจําเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจําเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
128
3.1.3.4 สิทธิไล่เบี้ย คําพิพากษาฎีกาที่ 2885/2543 จําเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการสาขามีหน้าที่ดูแลงาน ของธนาคารจําเลยที่ 1 สาขาดังกล่าวทุก ๆ ด้าน มีอํานาจหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา พนักงานทุกคนในสาขาต้องคอยควบคุมดูแลให้พนักงานทุกคนทํางานด้วยความ เรียบร้อยและถูกต้องมิให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้าและบุคคลภายนอก ไม่อาจปัด ความรับผิดชอบให้จําเลยร่วมซึ่งเป็นพนักงานและพนักงานคนอื่น การที่ปล่อยให้จําเลย ร่วมนําเช็คพิพาทที่ห้ามเปลี่ยนมือและขีดฆ่าคําว่าผู้ถือออก ซึ่งโจทก์ออกให้เพื่อชําระหนี้ แก่บุคคลอื่นเรียกเก็บเงินและนําเข้าบัญชีเงินฝากของตนโดยผิดขั้นตอนไม่เป็นไปตาม ระเบียบแล้วเป็นผู้รับเงินและเบิกจ่ายเงินไป โดยจําเลยที่ 2 ไม่ได้นําสืบให้เห็นว่าตนใช้ ความระมัดระวังควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของจําเลยร่วมและพนักงานที่เกี่ยวข้อง ตามสมควรแล้ว ต้องถือว่าได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการ ละเมิดต่อโจทก์จําเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย ส่วนการที่จําเลยร่วมและ น. ร่วมกันนําเช็คของโจทก์หลายฉบับ รวมทั้งเช็ค พิพาทไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งโจทก์ได้ดําเนินคดีอาญาแก่บุคคลทั้งสองฐาน ฉ้อโกงและยักยอก แล้วต่อมาทําสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาท ในทางอาญา ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจําเลยร่วมและ น. หามีผลถึงความรับผิดของ จําเลยทั้งสองซึ่งมีมูลจากการละเมิดและไม่ได้ร่วมตกลงประนีประนอมยอมความด้วยไม่ ข้อสังเกต 1. นายจ้างมีสิทธิไล่เบี้ยต่อเมื่อนายจ้างได้ชําระค่าเสียหายแทนลูกจ้างแล้ว หาก นายจ้างยังมิได้ชําระค่าเสียหายย่อมไม่มีสิทธิไล่เบี้ยกับลูกจ้าง คําพิพากษาฎีกาที่ 3102/2544 มาตรา 425 เป็นบทบัญญัติถึงหน้าที่และ ความรับผิดของนายจ้างที่ตองร่วมกับลูกจ้ารับผิดต่อความเสียหายที่บุคคลภายนอก ได้รับจากกากระทําละเมิดของลกจ้างเท่านั้น แต่ในระหว่างที่นายจ้างกับลูกจ้างสิทธิของ นายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างจะพึงมีต่อกันเพียงใดต้องเป็นไปตามมาตรา 426 เมื่อ โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างยังไม่ได้ชําระค่าเสียหายให้แก่ผู้ที่ถูก ช. ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทําละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเงินจํานวนดังกล่าวจาก ช. ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อ โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ในทางแพ่ง จึงไม่มีสิทธิฟ้อง จะเห็นได้ว่า นายจ้างเป็นโจทก์ฟ้องลูกจ้างและผู้ค้ําประกันลูกจ้างในการทํางาน เพราะเหตุที่ลูกจ้างไปทําละเมิดในทางการที่จ้าง การที่นายจ้างจะสวมสิทธิแทนบุคคลที่ ถูกกระทําละเมิดได้ต้องให้บุคคลที่เสียหายจากการที่ถูกลูกจ้างกรําละเมิดฟ้องร้องเอากับ
129
ตนก่อ เมื่อยังไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายใช้สิทธิฟ้องร้อง นายจ้างโจทก์จึงยังมิได้ถูกโต้แย้ง สิทธิแต่ประการใด จึงไม่มีอํานาจฟ้องตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง 2. โจทก์มีสิทธิเลือกฟ้องเฉพาะนายจ้าง โดยมิพักต้องฟ้องลูกจ้างผู้กระทํา ละเมิดด้วยก็ได้ มาตรา 291 บัญญัติว่า ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทําการชําระหนี้โดยทํานองซึ่ง แต่ละคนจําต้องชําระหนี้สิ้นเชิงไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชําระหนี้สิ้นเชิงได้แต่ เพียงครั้งเดียว (กล่าวคือ ลูกหนี้ร่วมกัน) ก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชําระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใด คนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพัน อยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชําระเสร็จสิ้นเชิง กฎหมายให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในการเลือกว่าจะบังคับเอาแก่ลูกหนี้คนใดคนหนึ่ง หรือจะเลือกเรียกเอากับลูกหนี้ทั้งหมดตามส่วนก็ได้ ลูกหนี้ไม่มีสิทธิเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไป เรียกกับลูกหนี้อื่นหรือตามสัดส่วนความเสียหายที่ลูกหนี้คนหนึ่งคนใดกระทําไปได้ เนื่องจากเป็นการสร้างภาระให้แก่เจ้าหนี้อีก เมื่อตนร่วมเป็นหนี้ จึงไม่มีสิทธิอ้างดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425 ที่ได้บัญญัติบังคับ ให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลุกจ้างในผลแห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างได้ทําละเมิดต่อ บุคคลภายนอกเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายนั้น เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนจะต้อง ชําระหนี้ โดยทํานองซึ่งแต่ละคนต้องชําระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว เจ้าหนี้ชอบจะ เรียกให้ชําระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ขอให้พิจารณาตามมาตรา 291 ตามคําพิพากษาฎีกาที่ 5444/2537 เมื่อจําเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของ ส. คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวก็ได้ ส่วนการที่จําเลยที่ 1 จะใช้สิทธิไล่ เบี้ยเอาจาก ส. ตามมาตรา 426 นั้น ก็ชอบที่จะกระทําได้อยู่แล้ว ไม่จําเป็นต้องรอให้ โจทก์ฟ้อง ส. ให้รับผิดเสียชั้นหนึ่งก่อนดังนี้ การที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ผู้ที่ทําละเมิดต่อ โจทก์โดยตรง แต่กลับมาฟ้องจําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของ ส. ให้รับผิดนั้น จึงเป็นการ กระทําที่ชอบด้วยมาตรา 291 แล้ว 3.1.3.5 คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิจารณาว่าลูกจ้างละเมิดหรือไม่ เมื่อศาลในส่วนคดีอาญาได้พิพากษา ให้ลูกจ้างมีความผิด และคดีถึงที่สุดแล้ว คําพิพากษาในคดีอาญานั้น ก็จะยังไม่ผูกพัน นายจ้าง หากนายจ้างนั้นไม่ได้ถูกฟ้องให้รับผิดในส่วนคดีอาญา ดังนั้น เมื่อผู้เสียหาย
130
นําความมาฟ้องเป็นคดีแพ่งฐานละเมิด นายจ้างยังมีสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้และนําสืบใน คดีแพ่งได้ว่า ลูกจ้างมิได้เป็นผู้กระทําความผิด พิจารณาจากคําพิพากษาฎีกาที่ 338/2516 2061/2517 และขอให้เทียบเคียงคําพิพากษาฎีกาที่ 1425/2539 3.1.3.6 ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อพิสูจน์ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมรับผิด กับลูกจ้างอย่างเด็ดขาด จะนําสืบหักล้างไม่ได้ 3.2 ความรับผิดทางละเมิดที่เกิดจากผู้เยาว์หรือคนวิกลจริต มาตรา 429 บัญญัติว่า บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์ หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทาละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของ บุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความ ระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทาอยู่นั้น 3.2.1 หลักเกณฑ์ในความรับผิดทางละเมิดตามมาตรา 429 1. กฎหมายบัญญัติห้ามนําเหตุเพราะความอ่อนวัย (ผู้เยาว์ : Minors) หรือ ความวิกลจริตมาเป็นข้ออ้างเพื่อหลุดพ้นความผิด (แตกต่างจากคดีอาญา) 2. บิดามารดา หรือผู้อนุบาลต้องร่วมรับผิด หากผู้เยาว์หรือคนวิกลจริตทําให้ บุคคลอื่นเสียหาย 3. เป็นข้อสันนิษฐานเบื้องตนที่ไม่เด็ดขาด เพราะ หากบิดามารดา หรือผู้ อนุบาลสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงหักล้างได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอย่างดีตาม สมควรแก่หน้าที่แล้ว 3.2.2 ผู้เยาว์ -คนวิกลจริต 3.2.2.1 บทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้เยาว์ มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปี บริบูรณ์ มาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทําการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทํา ตามบทบัญญัติมาตรา 1448 มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทน โดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็น โมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
131
มาตรา 22 ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่ง สิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง มาตรา 23 ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทําเองเฉพาะตัว มาตรา 24 ผู้เยาว์อาจทําการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่ง ตน และเป็นการอันจําเป็นในการดํารงชีพตามสมควร มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทําพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์ มาตรา 26 ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จําหน่ายทรัพย์สินเพื่อ การอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจําหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายใน ขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทําได้ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้าได้รับอนุญาตให้จําหน่าย ทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดผู้เยาว์ก็จําหน่ายได้ตามใจสมัคร มาตรา 27 ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการ ประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทําสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้าง แรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือ การจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่งให้ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ถ้าการประกอบธุรกิจหรือการทํางานที่ได้รับความยินยอมหรือที่ได้รับอนุญาต ตามวรรคหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์ ผู้แทนโดย ชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอมที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสีย ได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการบอกเลิกความยินยอมของผู้แทนโดยชอบ ธรรมได้การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือการเพิกถอนการ อนุญาตโดยศาล ย่อมทําให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์ สิ้นสุดลง แต่ไม่กระทบกระเทือนการใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทําไปแล้วก่อนมีการบอกเลิก ความยินยอมหรือเพิกถอนการอนุญาต 3.2.2.2 บทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวกับคนวิกลจริต มาตรา 28 บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือบิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้ พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาล
132
ให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้น เป็นคนไร้ความสามารถก็ได้ บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ใน ความอนุบาล การแต่งตั้งผู้อนุบาล อํานาจหน้าที่ของผู้อนุบาลและการสิ้นสุดของ ความเป็นผู้อนุบาล ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้ คําสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 29 การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทํา ลง การนั้นเป็นโมฆียะ มาตรา 30 การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ ความสามารถได้กระทําลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทําในขณะที่บุคคลนั้น จริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทําเป็นคนวิกลจริต มาตรา 31 ถ้าเหตุที่ทําให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้วและเมื่อ บุคคลผู้นั้นเองหรือบุคคลใด ๆ ดังกล่าวมาในมาตรา 28 ร้องขอต่อศาลก็ให้ศาลสั่ง เพิกถอนคําสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น คําสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 3.2.3 ความรู้สานึกในการกระทา ตามที่ท่านศึกษาในเบื้องต้นแล้วว่า ผู้เยาว์คือผู้หย่อนความสามารถประเภท หนึ่งที่กฎหมายเข้ามาให้ความคุ้มครองเนื่องด้วยเพราะเป็นผู้อ่อนวัยและอ่อน ประสบการณ์ การปล่อยให้ผู้เยาว์ใช้ชีวิตในสังคมโดยปราศจากการดูแลจากบุคคลที่มี หน้าที่ (ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ปกครอง) ย่อมอาจทําให้ผู้เยาว์ได้รับความเสียหาย ได้ แต่กระนั้นก็มิได้หมายความว่าผู้เยาว์ไม่มีความสามารถในการใช้สิทธิในทุกกรณี กฎหมายยังเปิดช่องให้ผู้เยาว์สามารถทํานิติกรรมสัญญาต่าง ๆ ได้หากแต่อยู่ภายใต้ เงื่อนไขของการได้รับความยินยอม และผู้เยาว์ที่จะขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบ ธรรมนั้น ต้องเป็นผู้เยาว์ที่รู้สึกผิดชอบชั่วดีแล้ว สําหรับกรณีละเมิดที่เป็นนิติเหตุ มิได้พิจารณาจากเงื่อนไขของใจสมัครของ คู่กรณี แต่พินิจถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นว่า ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะการกระทําของ บุคคลใด บุคคลนั้นก็มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งการกระทําในที่นี้ บุคคลที่กระทํา จะต้องมีสํานึกในการกระทําของตน ดังนั้น ผู้เยาว์ที่จะต้องรับผิดละเมิดต้องเป็นผู้เยาว์ ที่รู้สํานึกในการกระทํานั้นมิใช่เป็นเด็กทารกไร้เดียงสา
133
เช่นเดียวกันกับคนวิกลจริต เพราะการแบ่งระดับความจริตวิกลมีอยู่หลาย ระดับตั้งแต่ระดับของการเป็น ๆ หาย ๆ ไปจนถึงระดับหนักจนมิอาจรู้สํานึกในการ กระทําเอาเสียเลย ขอให้สังเกตว่า กฎหมายท่านได้บัญญัติใช้คําว่า “วิกลจริต ” ไม่ใช้ คําว่า “คนไร้ความสามารถ ” ผู้เขียนมีความเห็นว่า เพราะการตกเป็นคนไร้ ความสามารถ ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคําสั่งให้บุคคลนั้นตกเป็นคนไร้ความสามารถ โดยพิจารณาจากการวิกลจริตต้องถึงขนาด กล่าวคือบ้ามากและบ้าเป็นประจํา แต่เหตุที่ มาตรา 429 เลือกใช้คําว่าวิกลจริตเนื่องจากยอมรับว่าในความเป็นจริงมีบุคคลที่ วิกลจริตประเภทเป็น ๆ หาย ๆ หรือคุ้มดีคุ้มร้าย ซึ่งในขณะคุ้มดี หรือหายจาก วิกลจริตบางเวลาก็อาจกระทําความผิดได้
ผู้เยาว์ คนวิกลจริต
บิดามารดา ผู้อนุบาล
มาตรา 420 หรือละเมิดอื่น
มาตรา 429
การกระทา
จงใจ หรือ ประมาทเลินเล่อ
ศาลเป็นผู้วินิจฉัย 3.2.4 มูลเหตุที่ร่วมต้องรับผิด 3.2.4.1 บิดามารดา มาตรา 1564 บิดามารดาจําต้องอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาตาม สมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจําต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้
134
มาตรา 1567 ผู้ใช้อํานาจปกครองมีสิทธิ (1) กําหนดที่อยู่ของบุตร (2) ทําโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน (3) ให้บุตรทําการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป (4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย จากบทบัญญัติที่ยกขึ้นแสดงให้เห็นข้างต้น แสดงให้เห็นถึงหน้าที่และสิทธิ ของบิดามารดาที่มีต่อบุตร เมื่อบิดามารดามีหน้าที่ตามกฎหมายตลอดจนมีสิทธิ เช่น อบรมเลี้ยงดูบุตรหากไม่เชื่อฟังก็มีสิทธิว่ากล่าวสั่งสอนได้ เมื่อตนมิได้ใช้ความ ระมัดระวังตามสิทธิและหน้าที่ของตน ย่อมต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ ข้อสังเกต 1. ต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย คําพิพากษาฎีกาที่ 9184/2539 จําเลยที่ 2เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของจําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์การที่จําเลยที่ 1 ไปทําละเมิดผู้อื่นจะนําประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 มาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการที่จําเลยที่ 2 จะต้อง ร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ไม่ได้ แต่จําเลยที่ 2 เป็นผู้ปกครองดูแลจําเลยที่ 1 ต้องนํา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 มาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับจําเลยที่ 2 การที่จําเลยที่ 2 ให้จําเลยที่ 3 นํากุญแจรถจี๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินใน ร้านขายของของจําเลยที่ 3 ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จําเลยที่ 3 ขายของ จนเป็นเหตุ ให้จําเลยที่ 1 แอบหยิบเอากุญแจไปใช้ขับรถจี๊ปโดยประมาทชนรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับ ประกันภัยไว้เสียหาย ถือได้ว่าจําเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความ ระมัดระวังในการดูแลจําเลยที่ 1 บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทําอยู่นั้น จําเลยที่ 2 และที่ 3ต้องรับผิดร่วมกับจําเลยที่ 1 ในการกระทําละเมิดต่อโจทก์ 2. บุตรบุญธรรม มาตรา 1598/27 การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตาม กฎหมาย แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการ รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน มาตรา 1598/28 บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กําเนิดมาในกรณี
135
เช่นนี้ ให้บิดามารดาโดยกําเนิดหมดอํานาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญ ธรรมแล้ว การพิจารณาบุตรบุญธรรมให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเข้าร่วมรับผิดหากว่าบุตรบุญ ธรรมผู้เยาว์กระทําละเมิด เนื่องจาก ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบิดา มารดา 3.2.4.2 ผู้อนุบาล ความหมายของผู้อนุบาลในที่นี้ ต้องให้หมายความโดยทั่วไป มิได้จํากัดเฉพาะ ความหมายในทางกฎหมาย กล่าวคือ ผู้อนุบาลที่เกิดขึ้นจากคําสั่งของศาลเป็นผู้แต่งตั้ง เท่านั้น แต่ผู้อนุบาลในความหมายนี้ให้หมายความถึงผู้อนุบาลในความหมายทั่วไปคือผู้ ที่ทําหน้าที่ดูแลคนวิกลจริต แม้ว่าบุคคลนั้นศาลจะยังไม่ได้มีคําสั่งให้เป็นคนไร้ ความสามารถก็ตาม 3.2.5 บทสันนิษฐานความรับผิดไม่เด็ดขาด กําหนดให้ภาระการพิสูจน์ตกแก่จําเลย (ผู้ใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ผู้ นั้นต้องนําสืบให้ศาลเห็นถึงข้อเท็จจริงนั้น) เบื้องต้นกฎหมายสันนิษฐานให้บิดามารดา หรือผู้อนุบาลต้องเข้า มาร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์หรือคนวิกลจริตก่อน แต่สามารถนําพยานหลักฐานเข้าสืบ หักล้างให้ตนพ้นจากความรับผิดได้ (They or he can prove that proper care in performing their or his duty of supervision has been exercised)
“เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ ดูแลซึ่งทําอยู่นนั้ ” 3.2.6 อุทาหรณ์ 3.2.6.1 กรณีที่ถือว่าใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ ให้พิจารณาจากพฤติการณ์ของบิดามารดาเป็นสําคัญ คําพิพากษากาที่ 612/2488 ตามปกติย่อมเป็นการเหลือวิสัยที่บิดา มารดาจะดูแลป้องกันบุตรมิให้ไปฉุดคร่าหญิง บิดามารดาไม่ต้องร่วมรับผิด และเมื่อได้ ฉุดคร่ามาแล้ว บิดามารดาช่วยปิดบังเหตุการณ์จากผู้มาติดตามนั้น ก็ถือเป็นเรื่องแก้ให้ บุตรพ้นจากความร้ายมิใช่เป็นการปล่อยปละละเลยหรือส่งเสริบุตรให้บุตรไปทําละเมิด ข้อสังเกต บิดามารดากับผู้เยาว์ หรือผู้อนุบาลกับคนวิกลจริต กฎหมายบัญญัติให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาล ร่วมรับผิดเบากว่ากรณีนายจ้างลูกจ้าง
136
เพราะนายจ้างกับลูกจ้างนั้น นายจ้างจะต้องรับผิดเด็ดขาด แต่ในส่วนของบิดามารดา และผู้อนุบาลไม่ไดมีความรับผิดเด็ดขาด เพราะกฎหมายยกเว้นให้ว่าถ้าพิสูจน์ได้ว่าตน ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทําอยู่นั้น ก็มีผลทําให้ บิดามารดา หรือผู้อนุบาลหลุดพ้นความรับผิด คําพิพากษาฎีกาที่ 934/2517 โจทก์ยังเป็นเด็กอยู่ไปเล่นที่บ้าน จําเลย ถูกบุตรผู้เยาว์ของจําเลยยิงด้วยหนังสติ๊กนัยน์ตาบอด โจทก์มีอํานาจฟ้องให้ จําเลยรับผิดได้โดยลําพัง ไม่จําต้องฟ้องบุตรผู้เยาว์เข้ามาด้วย แต่ความเสียหายเกิดขึ้น โดยบังเอิญ จําเลยปล่อยให้บุตรยิงหนังสติ๊กเล่นอยู่แต่ภายในบ้าน บุตรของจําเลยยิง หนังสติ๊กมาทางบนเรือนเพียงครั้งเดียวก็ถูกโจทก์ ถือว่าจําเลยใช้ความระมัดระวัง สมควรแก่หน้าที่แล้ว จึงไม่ต้องรับผิด คําพิพากษาฎีกาที่ 62/2522 บิดามารดาของเด็กซึ่งหนีออกจากบ้าน ไปตั้งแต่ 12 ปี แม้ว่าล่ามโซ่ไว้ก็ยังหนี จนอายุ 18 ปี ไปรับจ้างขับรถยนต์ บิดามารดา ใช้ความระมัดระวังดีแล้ว นอกเหนืออํานาจที่บิดามารดาจะใช้ความระมัดระวังได้ บิดา มารดาจึงไม่ต้องรับผิดในการที่บุตรตนขับรถโดยประมาทให้บุคคลอื่นเสียหาย คําพิพากษาฎีกาที่ 2118/2540 จําเลยร่วมบุตรโจทก์นํารถยนต์ของ โจทก์พาเพื่อน ๆ ไปเที่ยวสถานบันเทิงโดยจําเลยร่วมให้ ฉ. เป็นผู้ขับไปยังสถาน บันเทิง ครั้นเลิกจากเที่ยวเมื่อเวลา 3 นาฬิกาของวันใหม่ เปลี่ยนให้จําเลยที่ 1 ขับ กลับจากสถานบันเทิงแล้วเกิดเหตุ การที่จําเลยที่ 1 ออกจากบ้านไปเที่ยวและที่จําเลย ร่วมยอมให้จําเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของโจทก์พาจําเลยร่วมกับเพื่อน ๆ กลับจากเที่ยว สถานบันเทิงไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อให้เห็นว่าจําเลยที่ 1 จะต้องไปทําหน้าที่ขับรถยนต์ ของโจทก์แทน ฉ. การที่จําเลยที่ 1 อาสาขับรถยนต์โจทก์ตอนขากลับต้องถือว่าเป็นการ สุดวิสัยของจําเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาจะรู้เห็นได้ ถือว่าจําเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทําอยู่ในขณะนั้นแล้ว เพราะไม่ได้ ความว่าจําเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ให้ไปกระทําหรือรู้แล้วยังยอมให้กระทํา ดังนั้นจําเลย ที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของจําเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 แต่หลังเกิดเหตุจําเลยที่ 2 ในฐานะบิดาโดยชอบธรรม ของจําเลยที่ 1 ได้ตกลงต่อหน้าพนักงานสอบสวนยินยอมชดใช้ค่าเสียหายในการ ละเมิดของจําเลยที่ 1 ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันเลยที่ 2 ส่วนจําเลยที่ 3 มิได้ตกลง ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ผูกพันจําเลยที่ 3
137
3.2.6.2 กรณีที่ไม่ถือว่าใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ ให้พิจารณาจากพฤติการณ์ของบิดามารดาเป็นสําคัญเช่นกัน 1. บิดามารดาอาจจะไม่ใช้ความระมัดระวังเลย หรืออาจจะใช้ความ ระมัดระวังแต่ไม่ถึงขนาดที่เพียงพอจะป้องกันผลร้ายได้ คําพิพากษาฎีกาที่ 847/2496 บุตรผู้เยาว์มีนิสัยชอบเล่นปืนมาก เพียงแต่บิดาเก็บปืนไว้บนหลังตู้ซึ่งผู้เยาว์หยิบไม่ถึง แล้วสั่งให้ ก. ให้เก็บปืนไว้เฉย ๆ มิได้กําชับว่าอย่าให้บุตรผู้เยาว์เอาไป บุตรผู้เยาว์หลอกเอาปืนไปจาก ก. แล้วไปยิงบุตร โจทก์ตาย ยังเรียกไม่ได้ว่าบิดาได้ใช้ความระมัดระวังสมควรแก่หน้าที่ดูแลตามมาตรา 429 แล้ว คําพิพากษาฎีกาที่ 941/2498 บิดาได้ปล่อยปละละเลยให้บุตรผู้เยาว์ คบเพื่อนเที่ยวเตร่ และขับรถยนต์ไปในที่ต่าง ๆ เสมอ ซึ่งบิดาย่อมรู้ว่าเป็นการกระทําที่ ฝ่าฝืนกฎหมายบ้านเมือง และใกล้จะก่ออันตรายให้แก่สาธารณชน ครั้งที่เกิดเหตุนี้ บุตรผู้เยาว์ก็ได้ขับรถยนต์ไปจากบ้านโดยบิดารู้เห็นแต่ก็มิได้ห้ามปรามตักเตือน ดังนี้ ต้องฟังว่าบิดาไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ผู้ปกครองบุตรโดยปกติ คําพิพากษาฎีกาที่ 1788/2499 บิดามารดาซึ่งเป็นผู้ปกครองบุตร ผู้เยาว์ รู้เห็นยินยอมให้บุตรผู้เยาว์ขับขี้รถยนต์และรถจักรยานยนต์มาช้านาน มิได้ห้าม ปรามตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล เมื่อผู้เยาว์ขับรถจักรยานยนต์ชนรถผู้เสียหายเป็นการ ละเมิดจึงต้องรับผิดในผลนั้น คําพิพากษาฎีกาที่ 620/2502 บิดารู้เห็นยินยอมให้ผู้เยาว์ขับรถยนต์ ไปส่งน้องไปโรงเรียนแทนตน เมื่อผู้เยาว์ขับรถไปชนผู้อื่นโดยละเมิดจึงต้องรับผิด ร่วมกับบุตรผู้เยาว์ และขอให้เทียบเคียงคําพิพากษาฎีกาที่ 1315/2520 1557/2523 คําพิพากษาฎีกาที่ 934/2508 การที่มารดาเห็นบุตรถือปืนและได้ว่า กล่าวตักเตือนแล้ว แต่บุตรไม่เชื่อฟังกลับนําปืนไปซ่อนเสียพอลับหลังก็นําปืนมาเล่น อีก พฤติการณ์เพียงแค่นี้ไม่ถือว่าได้ใช้ความระมัดระวังที่เพียงพอตามหน้าที่ดูแลของ ตนในฐานะเป็นมารดาไม่ คําพิพากษาฎีกาที่ 528/2523 แม้ว่าจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาจะได้เคย ห้ามปรามจําเลยที่ 1 ผู้เป็นบุตรผู้เยาว์ไม่ให้เอารถยนต์ไปใช้และได้เก็บลูกกุญแจรถไว้ เอง โดยเก็บไว้ในที่สูงก็ตาม แต่จําเลยที่ 1 รู้ที่เก็บและเคยเอารถออกไปขับ ย่อมแสดง
138
ให้เห็นว่าจําเลยที่ 2 รู้เห็นยินยอมให้จําเลยที่ 1 ขับรถ หาได้ใช้ความระมัดระวังในเรื่อง นี้ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลไม่ ถือว่าจําเลยที่ 2 หักล้างว่าตนใช้ความระมัดระวังตาม หน้าที่แล้วไม่ได้ คําพิพากษาฎีกาที่ 4943/2536 จําเลยร่วมรู้อยู่แล้วว่าจําเลยที่ 1 เป็น ผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และมีอาการเมาสุรา การที่จําเลยร่วมนํารถยนต์ของ โจทก์ ซึ่งเป็นมารดาออกไปให้จําเลยที่ 1 ขับขี่ไปเที่ยวเช่นนี้ ตามพฤติการณ์ต้อง เล็งเห็นว่าจะต้องเกิดอุบัติเหตุอย่างแน่แท้ จึงถือได้ว่าจําเลยร่วมมีส่วนก่อให้เกิดเหตุ ละเมิดในคดีนี้ด้วย จําเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิดกับจําเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า จําเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ร่วมกันกระทําละเมิดโดยร่วมกันใช้อาวุธปืน ยิงบุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่าจําเลยที่ 1 มิได้ ร่วมกับจําเลยที่ 3 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่กลับพิพากษาให้จําเลยที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยใน ผลแห่งการละเมิดของจําเลยที่ 3 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 ในฐานะบิดาซึ่งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลปล่อยให้จําเลยที่ 3 ซึ่ง เป็นบุตรผู้เยาว์หยิบฉวยอาวุธปืนของจําเลยที่ 1 ไปใช้ยิงผู้ตาย เป็นการนอกฟ้องนอก ประเด็นต้องห้างตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และปัญหา ดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความ มิได้ยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอํานาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จําเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดฐาน ละเมิดดังฟ้อง 2. หน้าที่ดูแลบุตรมิได้จํากัดเฉพาะในบริเวณบ้าน คําพิพากษาฎีกาที่ 356/2511 มารดาปล่อยให้บุตรผู้เยาว์ เล่นไม้ กระบอกพลุที่บ้านและที่โรงเรียนมาก่อน จนบุตรมีความสามารถทําให้ผู้อื่นเล่นได้ และ นําไปเล่นที่โรงเรียนเป็นเหตุให้เด็กนักเรียนคนหนึ่งตาบอด เช่นนี้ มารดาต้องรับผิด ร่วมกับบุตรในผลการทําละเมิดนั้น ที่มารดาโต้แย้งว่า การทําละเมิดของบุตรผู้เยาว์เกิดที่ โรงเรียนลับหลังตนนั้น หาใช่ข้อแก้ตัวทําให้ตนพ้นจากความระมัดระวังตามหน้าที่ไม่
139
3.2.6 อานาจฟ้อง 1. กรณีผู้เยาว์ 1.1 ผู้เยาว์ 1.2 บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย คําพิพากษาฎีกาที่ 6380/2537 สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่าง โจทก์และจําเลยเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันมีมูลเหตุจากการละเมิดที่ จําเลยขับรถยนต์ชนเด็กชาย ส. ผู้เยาว์เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่แม้ผู้ เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายจะกระทํามิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามมาตรา 1574 (12) โจทก์ฟ้องจําเลยในนามของตนเอง ทั้งโจทก์เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของเด็กชาย ส. จึงเป็นบุคคลภายนอกไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะกระทําการแทนผู้เยาว์ ในคดีนี้ ผู้เยาว์เป็นบุตรของโจทก์กับนาง ส. ซึ่งแต่งงานโดยไม่ได้จดทะเบียน สมรส และโจทก์ก็มิได้จดทะเบียนรับรองว่าผู้เยาว์เป็นบุตร 3.3 ความรับผิดของผู้รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ มาตรา 430 บัญญัติว่า ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแล บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จาต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทาลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของ ตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร 3.3.1 บุคคลที่รับดูแลผู้ไร้ความสามารถ ผู้เสียหายจะต้องสืบพิสูจน์ให้ได้ว่าบุคคลที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ (Teacher)-นักเรียน นักศึกษา (Student) นายจ้าง (Employer)-ลูกจ้าง (Employee) หรืออื่น เช่น ลุงป้า-หลาน ฯลฯ มิได้ใช้ความ ระมัดระวังตามสมควร ตามคําพิพากษาฎีกาที่ 356/2511 ที่ได้เคยกล่าวอ้างแล้ว ในกรณีบิดามารดา บุตร และศาลได้พิพากษาให้ลงโทษมารดาให้ร่วมรับผิดในการกระทําละเมิดของบุตร นั้น ในกรณีดังกล่าวเรื่องเกิดขึ้นที่โรงเรียน ผู้เสียหายจึงฟ้องครูประจําชั้นเป็นจําเลยอีก คนด้วย ซึ่งศาลพิเคราะห์ตามพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่า การที่มารดาปล่อยบุตร ผู้เยาว์เล่นไม้กระบอกพลุที่บ้านและที่โรงเรียนมาก่อน จนบุตรมีความสามารถทําให้คน อื่นเล่นได้ และนําไปเล่นที่โรงเรียนเป็นเหตุให้นักเรียนผู้หนึ่งตาบอดเช่นนี้ มารดาต้อง ร่วมรับผิดกับบุตรในผลของการทําละเมิดนั้น แต่ส่วนครูประจําชั้นของเด็กผู้ทําละเมิด ซึ่งในตอนเช้าเห็นหน้าเด็กนักเรียนเอากระบอกพลุมาเล่นกัน เกรงจะเกิดอันตราย ให้
140
เก็บไปทําลายและห้ามเด็กมิให้เล่นต่อไป แต่เด็กได้ใช้พลุยิงกันในเวลาหยุดพักกลางวัน และนอกห้องเรียน ถือได้ว่าครูประจําชั้นได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว จึงไม่ ต้องรับผิดร่วมด้วย ข้อพิจารณา ผู้ที่ดูแลที่จะต้องเข้ามาร่วมรับผิดกับบุคคลผู้ไร้ความสามารถต้อง มีหน้าที่ ซึ่งหน้าที่นั้นเกิดเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้ 1. หน้าที่เกิดจากสัญญา เช่น สัญญาว่าจ้างคนรับเลี้ยงบุคคลผู้ไร้ความสามารถ หรือครูบาอาจารย์ 2. หน้าที่เกิดจากธรรมจรรยา เช่น ญาติพี่น้องให้การอุปการะเลี้ยงดูบุคคลผู้ไร้ ความสามารถ หรือบิดาที่มิชอบด้วยกฎหมายให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ คําพิพากษาฎีกาที่ 2076/2518 หลานอายุ 13 ปีมาพักอาศัยเพื่อเรียน หนังสือกับตายาย ตายายเป็นผู้ดูแลต้องรับผิดในการกระทําละเมิดตามมาตรา 430 3. หน้าที่เกิดจากกฎหมายกําหนดไว้ เช่น สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและ เยาวชนย่อมมีหน้าที่ดูแลเด็กและ/หรือเยาว์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของตน โปรด พิจารณาจากคดี Home Office V. Dorset Yacht, 1970 ที่จําเลย (สถานพินิจและ คุ้มครองเด็ก) มีหน้าที่อบรมฝึกอาชีพเด็กหรือเยาวชนที่กระทําความผิด ถูกเจ้าของ ทรัพย์ที่เสียหายฟ้องเนื่องจากเด็กเยาวชนที่อยู่ในความดูแลของตน ได้หนีออกจาก สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก โดยขโมยเรือและสร้างความเสียหายต่อเรือลําอื่นที่อยู่ ใกล้เคียง เจ้าของเรือจึงฟ้องเรียกร้องให้สถานพินิจและคุ้มครองเด็กต้องรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายที่เด็กหรือเยาวชนนั้นก่อขึ้น คดีนี้ HL(The House of Lord) วินิจฉัยว่า จําเลยมีหน้าที่ต้องระมัดระวัง (Duty of Care) มิให้ไปก่อให้เกิดความเสียหายกับ เจ้าของทรัพย์สินที่อยู่บริเวณใกล้กับกับสถานพินิจ การที่จําเลยอ้างว่าจําเลยทําหน้าที่ เพื่อสาธารณะประโยชน์มิใช่ประเด็นข้ออ้าง และมิใช่เหตุผลที่ดีที่จะทําให้มีอภิสิทธิ์แต่ ประการใด (Special Immunity) แต่อย่างไรก็ดี ความรับผิดที่สถานพินิจพึงต้อง รับผิดชอบนั้น ควรจะถูกจํากัด เฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น เพราะความเสียหายเช่นว่านั้นสามารถคาดเห็นได้ 3.3.2 บุคคลดังกล่าวทําหน้าที่รับดูแล (supervision) กฎหมายกําหนดว่าการทําหน้าที่รับดูแลไม่ว่าจะเกิดเพราะมูลเหตุอะไรก็ตาม ให้พิจารณาถึงการดูแลอย่างเป็นประจํา (นิตย์) หรือชั่วคราวก็ตาม ซึ่งผู้ไร้ ความสามารถได้กระทําละเมิดในขณะที่ตนมีหน้าที่ดูแลนั้น
141
ก. ครูบาอาจารย์ ท่านจะต้องจําแนกข้อเท็จจริงว่า ครูบาอาจารย์นั้นมีระดับความใกล้ชิดดูแล บุคคลผู้ไร้ความสามารถ อยู่ในระดับใด ซึ่งหากเป็นกรณีผู้เยาว์ยิ่งเป็นเด็กเล็กระดับ ของการดูแลย่อมมากขึ้นตามลําดับของความสามารถของผู้เยาว์นั้น ขอบเขตมิได้พิจารณาเฉพาะในเวลาเรียน หรือภายในห้องเรียนเท่านั้น แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป ข. นายจ้าง ข้อพิจารณา มาตรานี้เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกับมาตรา 425 เพราะ จะ เข้ามาตรา 430 ได้ข้อเท็จจริงต้องปรากฏว่า ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ต้องมีลักษณะเกื้อกูลพิเศษยิ่งกว่าอํานาจการบังคับบัญชาของนายจ้าง กล่าวคือ นายจ้างมีพฤติการณ์พิเศษในการรับเลี้ยงดูแลลูกจ้างนั้น เช่น การทํางานในไร่/ฟาร์ม เป็นต้น 3.3.3 ผู้ไร้ความสามารถ ผู้ไร้ความสามารถตามมาตรานี้ให้หมายความอย่างเดียวกับมาตรา 429 กล่าวคือ 1. ผู้เยาว์ 2. คนวิกลจริต เหตุที่ตีความเช่นนี้ เนื่องจากมาตรา 430 เป็นมาตราสืบเนื่องจากมาตรา 429 ที่กล่าวถึงผู้ไร้ความสามารถ โดยหมายความถึงผู้เยาว์หรือคนวิกลจริต ข้อสังเกต มาตรา 430 เป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาด กล่าวคือ กําหนดให้ฝ่ายผู้เสียหาย (โจทก์) เป็นฝ่ายพิสูจน์ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลที่มีหน้าที่ดูแลบุคคลผู้ไร้ ความสามารถไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง ในขณะที่อยู่ในระหว่างดูแลของบุคคลนั้น ซึ่ง แตกต่างกับมาตรา 429 กฎหมายให้สิทธิแก่บิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการนําสืบ พิสูจน์เพื่อพ้นความรับผิดหากตนได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลตามสมควรแก่ หน้าที่
142
3.4 สิทธิไล่เบี้ย มาตรา 431 บัญญัติว่า ในกรณีที่กล่าวมาในสองมาตราก่อนนั้น ท่านให้นา บทบัญญัติแห่งมาตรา 426 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม เมื่อบิดา มารดา ผู้อนุบาลตามมาตรา 429 หรือผู้รับดูแลตามมาตรา 430 เข้า ร่วมรับผิดจากผู้เยาว์ คนวิกลจริต หรือบุคคลผู้ไร้ความสามารถ กฎหมายกําหนดให้ บุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นทรงสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ทําละเมิด (ตัวจริง) คืนได้ (ผู้เยาว์หรือคน วิกลจริต) อนึ่ง สําหรับผู้รับดูแลเมื่อได้ไล่เบี้ยเอากับผู้เยาว์หรือคนวิกลจริตแล้ว ปรากฏ ว่าผู้เยาว์หรือคนวิกลจริตไม่มีให้จะก้าวล่วงไปเรียกร้อง ให้บิดามารดา หรือผู้อนุบาลให้ ใช้หนีแ้ ทนบุคคลผู้ทําละเมิดไม่ได้ เหตุเพราะไม่มีกฎหมายเปิดช่องไว้เช่นกัน
143
บทที่ 4 ละเมิดที่เกิดจากทรัพย์สิ่งของหรือสัตว์เลี้ยง 4.1 ละเมิดที่เกิดเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ที่ก่อสร้างไว้ชารุด หรือบารุงรักษาไม่เพียงพอ มาตรา 434 บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือ สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชารุดบกพร่องก็ดี หรือบารุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี ท่านว่าผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ จาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้า ผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้องมิให้เกิดเสียหายฉะนั้นแล้ว ท่านว่าผู้เป็นเจ้าของจาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงความ บกพร่องในการปลูกหรือค้าจุนต้นไม้หรือกอไผ่ด้วย ในกรณีที่กล่าวมาในสองวรรคข้างต้นนั้น ถ้ายังมีผู้อื่นอีกที่ต้องรับผิดชอบ ในการก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วยไซร้ ท่านว่าผู้ครองหรือเจ้าของจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอา แก่ผู้นั้นก็ได้ จากบทบัญญัติข้างต้น จะเห็นได้ว่าตามวรรคหนึ่งเป็นมาตราหลักทั่วไปของ เรื่อง ละเมิดที่เกิดเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่ก่อสร้างไว้ชํารุดหรือ ชํารุดบกพร่องหรือบํารุงรักษาไม่เพียงพอ ส่วนวรรคสองเป็นบทขยายความใน ความหมายของสิ่งปลูกสร้างให้กว้างขึ้น และวรรคสุดท้ายเป็นเรื่องการกําหนดเรื่องสิทธิ ไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง 4.1.1 บทบัญญัติหลัก มาตรา 434 วรรคหนึ่ง “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่ง ปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชํารุดบกพร่องก็ดี หรือบํารุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี ท่านว่าผู้ ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ จําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้องมิให้เกิดเสียหายฉะนั้นแล้ว ท่านว่าผู้เป็น เจ้าของจําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน” ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ที่ ก่อสร้างไว้ชํารุดบกพร่อง หรือบํารุงรักษาไม่เพียงพอ
144
กฎหมายกําหนดให้ผู้ครองโรงเรือน (Possesser) ต้องรับผิดก่อน ซึ่งเป็น ความรับผิดแบบไม่เด็ดขาด เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้ครองโรงเรือนพิสูจน์ได้ “เว้นแต่ ผู้ครอบครองจะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว” ถ้าพิสูจน์ได้เช่น ว่านั้น เจ้าของโรงเรือนและ/หรือสิ่งปลูกสร้าง (Owner) ดังกล่าวต้องรับผิดโดย เด็ดขาด (Strict liability) เจ้าของจะพิสูจน์ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร แล้วไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายเปิดช่องไว้ ผู้ครองโรงเรือน
ระมัดระวังตาม สมควร
ผู้ครองโรงเรือน
4.1.1.1 โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ท่านอาจารย์เพ็ง เพ็งนิติ ได้ให้ความของคําว่า โรงเรือน และสิ่งปลูกสร้าง ไว้ใน หนังสือคําอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชย์ว่าด้วย ละเมิด ไว้ว่า “โรงเรือน หมายความถึง สิ่งปลูกสร้างบนพื้นดินหรือใต้ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย หรือประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น บ้าน ตึกแถว โรงมหรสพ และ ส่วนประกอบของโรงเรือน เช่น ประตู หน้าต่าง บันได ลิฟต์ โคมไฟ เครื่องปรับอากาศ ถือเป็นส่วนหนึ่งของตัวโรงเรือนทั้งหมด ไม่ใช่ของประดับ ภาพถ่ายเอาไปแขวนที่ฝา บ้านไม่ใช่ส่วนประกอบของโรงเรือน เป็นเพียงอุปกรณ์โรงเรือน คําว่า โรงเรือนตาม มาตรานี้มิได้จํากัดเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ ฉะนั้นเรือนแพจึงเป็นโรงเรือนประเภทหนึ่ง
(Strict liability) n. The automatic responsibility for equipment, materials or possessions which are inherently dangerous (such as explosives, wild animals, poisonous snakes or assault weapons), without having to prove negligence for any damages due to possession and/or use. Strict liability is equivalent to res ipsa loquitur in which control, ownership and damages are sufficient for the
strict liability มุ่งพิจารณาเพียงแค่ผลความ เสียหายว่าเกิดจากการกระทําเท่านั้น มิต้องพิสูจน์ว่าจําเลยกระทําลงไปด้วยความจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ. owner's liability.สรุปได้ว่า
145
สิ่งปลูกสร้าง หมายความถึง สิ่งปลูกสร้างอื่นที่นอกเหนือจากโรงเรือนที่คนทํา ขึ้นประเภทติดที่ดิน เช่น สะพาน เสาธง หอคอย กําแพง ถนน บ่อน้ํา สระน้ํา ท่อน้ํา หลุมรับน้ําโสโครก เขื่อน” 4.1.1.2 ชํารุดบกพร่อง หรือบํารุงรักษาไม่เพียงพอ เหตุที่ต้องรับผิดให้พิจารณาจาก ข้อเท็จจริง เช่น การก่อสร้างปลูกสร้างที่ไม่ มั่นคงแข็งแรงตามมาตรฐาน หรือ การขาดการ เอาใจใส่ในการบํารุงรักษา หรือซ่อมแซม เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อเพื่อนบ้าน ข้างเคียง 4.1.1.3 ผู้ครอบครอง หรือเจ้าของทรัพย์ ผู้ครอบครองทรัพย์ หมายถึง ผู้ที่มีสิทธิครอบครองเหนือทรัพย์ใน เวลานั้น เช่น เจ้าของ ผู้เช่า ผู้อาศัยตามสิทธิอาศัย หรือผู้รับดูแลตามสัญญา ฯลฯ เจ้าของทรัพย์ หมายถึง ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ก่อให้เกิดความ เสียหาย
146
4.1.1.4 ข้อยกเว้นความรับผิด ผู้ครอบครองสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังแล้ว ผู้ ครอบครองหลุดพ้นความรับผิด บาปเคราะห์ไปตกแก่เจ้าของทรัพย์ คําพิพากษาฎีกาที่ 1358-1359/2496 เจ้าของซ่อมแซมห้องเช่า ไม่ได้ เพราะผู้เช่าไม่ยอมออก โดยอาศัยความคุ้มครองตามกฎหมาย เจ้าของได้ ร้องเรียนต่อทางการแล้ว แต่ผู้เช่าก็ไม่ยอมออก และรับว่าถ้าเสียหายอย่างใดผู้เช่าจะ รับผิดชอบเอง กําแพงห้องพังลงทําให้อาคารข้างเคียงเสียหาย เจ้าของไม่ต้องรับผิด
จะเห็นได้ว่า กรณีนี้ ผู้เช่าในฐานะผู้ครอบครองเป็นผู้มีส่วนสร้างความ เสียหาย และพฤติการณ์ก็ปรากฏว่ามิได้ใช้ความระมัดระวัง จึงต้องรับผิด ขอให้ เทียบเคียงกับคําพิพากษาฎีกาที่ 985/2497 อาคารของจําเลยเอนปะทะอาคารของ โจทก์ ทําให้อาคารโจทก์เสียหาย จําเลยต้องรับผิด เหตุที่ผู้เช่าไม่ยอมออกไม่เป็นข้อแก้ ตัว เพราะข้อเท็จจริงคดีหลังไม่มีพฤติการณ์ว่าได้ใช้ความพยายามแก้ไขเยียวยาแล้ว คําพิพากษาฎีกาที่ 2140/2520 พายุที่พัดมาแรงตามฤดูกาล มิใช่ นอกฤดูกาลหรือแรงกว่าปกติตามฤดูกาลไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จําเลยเป็นเจ้าของอาคารให้ เช่าอาคารแต่ยังใช้อาคารอยู่ถือว่ายังครอบครองอาคารอยู่ ผนังหลังคาพังลงมาเพราะ ก่อสร้างไว้ชํารุดบกพร่องหรือบํารุงรักษาไม่เพียงพอทับหลังคาตึกและของในตึกของ โจทก์เสียหาย จําเลยต้องรับผิด หรือในคดี Clay V. Crump, 1963 ที่เคยกล่าวอ้างแล้วเมื่อคราว กล่าวถึงเรื่องความประมาทเลินเล่อ ได้แก่การรื้อถอนทําลายอาคาร (บริษัทรับจ้าง) เช่นหากมีการใช้เครื่องมือเพื่อรื้อถอน เช่น ใช้ระเบิดและปรากฏว่าทําให้ผู้อื่นได้รับ ความเสียหายกรณีเช่นนี้ มิได้เข้าข่ายตามมาตรา 434 นี้ จะต้องถือว่าเป็นการละเมิด
147
ตามมาตรา 420 หรือมาตรา 437 แล้วแต่กรณี เนื่องจากมาตรา 434 นี้ เจตนารมย์ ของกฎหมาย ซึ่งสามารถพิเคราะห์ได้จากตัวบทกฎหมายที่บัญญัติว่า “...เพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ ชารุดบกพร่องก็ดี หรือบารุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี ...” แสดงว่า ความรับผิดตามมาตรา 434 มุ่งประสงค์ต่อความเสียหายที่เกิดจาก โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่ก่อสร้างไว้ชํารุดบกพร่อง หรือบํารุงรักษาไม่ เพียงพอ ซึ่งถือว่าผู้นั้นละเลยไม่เอาใจใส่ (Reckless) ต่อสังคมหรือเพื่อนบ้าน ใกล้เคียงเอาเสียเลย 4.1.1.5 ข้อต่อสู้ของจําเลย ข้อแก้ตัวของเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง (1) เหตุสุดวิสัย (2) เจ้าของต้องสืบพิสูจน์หักล้างให้ได้ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องหรือการขาดการบํารุงรักษานั้น ข้อสังเกต กรณีลิฟต์จะถือว่าเป็นส่วนอื่นอันประกอบเป็นโรงเรือนหรือ เป็นทรัพย์อันตรายตามมาตรา 437 นั้น เป็นคนละส่วนกัน เพราะ ลิฟต์ที่ถือเป็น ส่วนประกอบของโรงเรือน อาจสร้างความเสียหายได้แม้มิได้ชํารุดหรือขาดการ บํารุงรักษาแต่อาจเข้ามาตรา 437 ได้ (ขอให้พิจารณาเป็นรายกรณี) 4.1.2 บทขยายความ มาตรา 434 วรรคสอง บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ให้ใช้บังคับได้ ตลอดถึงความบกพร่องในการปลูกหรือค้าจุนต้นไม้หรือกอไผ่ด้วย ตามวรรคสองเป็นบทขยายความให้นอกเหนือจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ 1. ต้นไม้ (Tree) 2. กอไผ่ (Bamboos) ความบกพร่องในการปลูก หมายถึง ข้อเท็จจริงแห่งการปลูก ต้นไม้หรือก่อไผ่ กระทําลงโดยมีความบกพร่อง
148
ความบกพร่องในการค้ําจุน หมายถึง บํารุงรักษาหรือปล่อยให้ต้นไม้หรือกอไผ่ ที่ตนปลูกไปสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น คําพิพากษาฎีกาที่ 1028/2505 โจทก์จําเลยต่างเป็นผู้เช่าที่ดินของวัดปลูก เรือนอาศัยอยู่ จําเลยได้ปล่อยปละละเลยให้ต้นมะม่วงที่ขึ้นอยู่ในที่ดินจําเลยเช่าแผ่ กิ่งก้านสาขาเข้ามาปกคลุมหลังคาเรือนของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีอํานาจฟ้องจําเลยฐานละเมิดและเรียกค่าเสียหายได้ตามมาตรา 434 กรณีนี้จะเห็นได้ว่า การที่จําเลยปล่อยปละละเลยให้ต้นมะม่วงที่ขึ้นอยู่ในที่ดิน จําเลยเช่าแผ่กิ่งก้านสาขาเข้ามาปกคลุมหลังคาเรือนของโจทก์ ถือว่าขาดการบํารุงรักษา ที่ดีที่ผู้ครองหรือเจ้าของจะต้องมีหน้าที่ คําพิพากษาฎีกาที่ 3593/2528 ต้นไม้ของจําเลยล้มเอนเข้าไปในที่ดินของ โจทก์ โจทก์บอกกล่าวให้จําเลยตัด จําเลยก็ไม่ยอมตัดและไม่ยอมให้โจทก์ตัดแสดงว่า จําเลยยังครอบครองและแสดงความหวงแหนเป็นเจ้าของต้นไม้นั้นอยู่ ดังนั้น ตราบใด ที่จําเลยยังคงปล่อยให้ต้นไม้ของจําเลยล้มเอนเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยไม่ยอมค้ําจุน หรือตัดออกเพื่อระงับความเสียหายอันจะพึงเกิดแก่โจทก์ต่อไป ย่อมถือได้ว่าจําเลย กระทําละเมิดต่อโจทก์ติดต่อกันมาอยู่ตราบนั้น โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนที่ยังไม่ พ้นกําหนด 1 ปี ย้อนหลังไปนับแต่วันฟ้อง 4.1.3 สิทธิไล่เบี้ย ผู้ครอบครองหรือเจ้าของทรัพย์เมื่อรับผิดไปแล้ว สามารถไปไล่เบี้ยได้กับผู้อื่น ที่มีส่วนผิดได้ เช่น วิศวกร สถาปนิก หรือ ผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น
149
4.1.4 การป้องกันโดยมิพักให้เกิดความเสียหายก่อน มาตรา 435 บัญญัติว่า บุคคลใดจะประสบความเสียหายอันพึงเกิดจาก โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นของผู้อื่น บุคคลผู้นั้นชอบที่จะเรียกให้จัดการ ตามที่จาเป็นเพื่อบาบัดปัดป้องภยันตรายนั้นเสียได้ มาตรา 435 ถือเป็นมาตราอุปกรณ์ประกอบมาตรา 434 เพื่อใช้เป็นการ ป้องกันสิทธิโดยไม่ต้องรอให้เกิดความเสียหายก่อน หากบุคคลที่อาจประสบความ เสียหายจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งหมายรวมถึงต้นไม้และก่อไผ่ด้วย คําพิพากษาฎีกาที่ 1620/2492 ในคดีที่โจทก์หาว่าจําเลยใช้ผนังตึกของโจทก์ เป็นฝากั้นห้องของจําเลย ขอให้จําเลยรื้อห้องจําเลยถ้าขัดข้องจะบังคับเช่นนั้นไม่ได้ ก็ ขอไม่ให้ใช้ผนังตึกของโจทก์เป็นฝากั้นห้องของจําเลยนั้น ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยไม่มี อํานาจจะทําเช่นนั้น ศาลก็ต้องมีคําบังคับในเรื่องนี้ โดยให้จําเลยจัดการกั้นฝาห้อง เพื่อให้พ้นจากสภาพใช้ผนังตึกของโจทก์เป็นฝาห้อง ถ้าไม่ทําก็ให้รื้อสิ่งปลูกสร้างออก ตามที่ศาลเห็นสมควรได้ คําพิพากษาฎีกาที่ 231/2504 การปลูกสร้างรุกล้ําเข้าไปในเขตห้องของโจทก์ โดยโจทก์ยินยอม แม้จะไม่เป็นการละเมิด แต่ก็ไม่ทําให้เกิดมีสิทธิที่ให้สิ่งปลูกสร้างรุก ล้ําอยู่ได้ตลอดไป เมื่อจําเลยรับโอนห้องรุกล้ํามาและไม่มีสิทธิที่จะให้สิ่งปลูกสร้างรุกล้ํา เขตห้องของโจทก์ได้ จําเลยก็ต้องรื้อไป เมื่อโจทก์มีสิทธิและบอกให้รื้อการซึ่งไม่เป็น ละเมิดก็กลายเป็นละเมิดได้ 4.1.5 ข้อสังเกต ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ ชํารุดบกพร่อง หรือบํารุงรักษาไม่เพียงพอ มิได้หมายรวมถึงสิ่งของตกหล่นหรือทิ้ง ขว้างจากโรงเรือน ซึ่งมีกําหนดไว้เป็นการเฉพาะตามมาตรา 436 แต่การที่มีชิ้นส่วน ของโรงเรือนหลุดออกมาและตกหล่นเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตามมาตรา 434 นี้
150
4.2 ละเมิดที่เกิดจากสิ่งของตกหล่น มาตรา 436 บัญญัติว่า บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบในความ เสียหายอันเกิดเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนนั้น หรือเพราะทิ้งขว้างของไปตกใน ที่อันมิควร 4.2.1 หลักกฎหมาย 1. ความเสียหายแก่บุคคลอื่น 2. อันเนื่องมาจากสิ่งของตกหล่นหรือทิ้งขว้างไปในที่อันมิควร สิ่งของตกหล่น กล่าวคือ สิ่งของตกลงมาจากที่สูง ทําให้บุคคลหรือทรัพย์สิน ของผู้อื่นที่อยู่เบื้องล่างได้รับความเสียหาย เช่น กระถางต้นไม้ที่วางอยู่บริเวณริม ระเบียงได้ตกลงมาถูกนายกิตติศีรษะแตก ทิ้งขว้าง กล่าวคือ มีลักษณะอาการของการขว้างปาสิ่งของจากที่สูงลงสู่ที่ต่ํา หรือจากที่ระดับเดียวกัน ไปในที่อันมิควรจะทิ้งขวาเพราะตนสามารถคาดหมายได้ว่า อาจจะเกิดความเสียาย เช่น ขว้างปาของที่ไม่ต้องการออกทางหน้าต่าง ที่ด้านนั้นมีผู้คน สัญจรไปมา ไปในที่อันมิควร หมายความว่า ลักษณะของการตกหล่นของสิ่งของหรือการ ทิ้งขวางต้องพิจารณาสถานที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการกระทําเช่นนั้น เช่น ทิ้งขว้างสิ่งของไป ในที่ทีมีผู้คนสัญจรไปมา หรือทิ้งขว้างไปในที่ของผู้อื่น เป็นต้น สิ่งของตกหล่นที่มิใช่ตกหล่นมาจากโรงเรือน เช่น ไฟนีออน เครื่องปรับอากาศ มิใช่ถือว่าเป็นสิ่งของตกหล่นจากโรงเรือน เพราะถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของ โรงเรือนตามมาตรา 434 หรือมิใช่เกิดจากการชํารุดบกพร่องและ/หรือการซ่อมบํารุง ไม่เพียงพอของโรงเรือนและ/หรือสิ่งปลูกสร้างตามมาตรา 434 เช่นกัน คําว่า “ของ” หมายถึงสิ่งของที่มีรูปร่าง (ทรัพย์) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปร่างแบบ ไหนก็ตาม เช่น ของแข็ง ของเหลว หรือแม้แต่เป็นสัตว์เลี้ยงก็รับผิดตามมาตรานี้ได้ 3. ผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิด ผู้อยู่ในโรงเรือน (Occupier) อาจารย์พจน์ ปุษปาคม ได้อธิบายไว้ว่า เป็นคํา มาจากต้นร่างภาษาอังกฤษดังกล่าว มีความหมายว่า บุคคลที่เป็นเจ้าของบ้านหรือ หัวหน้าครอบครัวเท่านั้น ดังนั้น จึงมีความหมายเฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น มิได้ หมายความรวมถึงนิติบุคคลด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบุคคลธรรมดาเท่านั้นที่สามารถ “อยู่ ” ในโรงเรือน และคําว่าโรงเรือนในมาตรานี้มุ่งประสงค์เฉพาะแต่ที่อยู่อาศัย
151
แต่เช่นเดียวกัน หากได้ความว่าโรงเรือนนั้นเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและประกอบธุรกิจก็ต้อง พิจารณาว่าเป็นโรงเรือนเช่นกัน นอกจากนี้ ผู้อยู่อาศัยตามมาตรานี้ ศาสตราจารย์ดร. จิ๊ด เศรษฐบุตร มี ความเห็นว่าไม่ได้หมายความถึงบุคคลที่อยู่เป็นการชั่วคราว เช่น แขกที่เชื้อเชิญให้มา พักเพียง 2-3 วัน เช่นเดียวกับอาจารย์เพ็ง เพ็งนิติ อธิบายไว้ เพราะบุคคลดังกล่าวไม่ มีอํานาจควบคุมดูแลในบ้าน แต่กระนั้น ถ้าความรับผิดปรากฏชัดแจ้งว่า เกิดจากการกระทําของบุคคล ดังกล่าวข้างต้น บุคลลเช่นนั้นย่อมมีความรับผิดตามมาตรา 420 อยู่ในตัวเอง หาใช่ผู้ อยู่อาศัยตามมาตรานี้ไม่ คําพิพากษาฎีกาที่ 1689/2518 จําเลยสร้างแฟลตให้คนเช่า ซึ่งอาจทิ้งของ และน้ําลงบนที่ดินถัดไป แม้จําเลยจะครอบครองและอาศัยอยู่ แต่ได้มีผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ทํา ละเมิดแยกครอบครองเป็นส่วนสัด จําเลยไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 436 ไม่เป็นการใช้ สิทธิโดยไม่สุจริตหรือจงใจหรือประมาทเลินเล่อทําละเมิดต่อโจทก์ 4.2.2 ข้อยกเว้น กรณีมาตรา 436 นี้เป็นเรื่องที่กฎหมายไม่อาจหาคนกระทําตัวจริงมารับผิดได้ ซึ่งหากปรากฏข้อเท็จจริงว่า บุคคลใดเป็นผู้ที่ทําให้สิ่งของนั้นตกหล่นและ/หรือทิ้งขวาง สิ่งของลงมานั้น บุคคลนั้นย่อมมีความรับผิดตามมาตรา 420 จงใจหรือประมาท เลินเล่อทําให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย
152
4.3 ละเมิดอันเกิดจากยานพาหนะ และทรัพย์อันตราย 4.3.1 ละเมิดอันเกิดจากยานพาหนะ มาตรา 437 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแล ยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดินด้วยกาลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบ เพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิด แต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง 4.3.1.1 หลักกฎหมายทั่วไป ความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยกําลังเครื่องจักรกล (“อันเดิน”“ด้วยกําลังเครื่องจักรกล”) กฎหมายกําหนดให้ผู้ควบคุมดูแล หรือผู้ ครอบครองต้องรับผิดชอบ ซึ่งเป็น บทสันนิษฐานความรับผิด โดยผู้รับผิดไม่ต้องมี ความผิด หรือ Fault กล่าวคือ ความรับผิดตามมาตรานี้มิต้องพิสูจน์ถึงความจงใจหรือ ประมาทเลินเล่อ กฎหมายลงโทษความเสียหายที่เกิดจากความบกพร่อง ละเลย หรือ ขาดความเอาใจใส่ของบุคคลนั้น องค์ประกอบตามมาตรา 437 วรรคหนึ่งมีอยู่ 2 ประการ ได้แก่ 1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก 2. ยานพาหนะอันเดินด้วยกําลังเครื่องจักรกล เว้นแต่ ผู้ควบคุมดูแลหรือผู้ครอบครองจะพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัย หรือความผิดนั้นเกิดจากความผิดของผู้เสียหายโดยแท้ ซึ่งเป็นการกลับภาระการพิสูจน์ จากผู้เสียหายมาที่ผู้ถูกกล่าวว่ากระทําละเมิด 4.3.1.2 คําว่า “ยานพาหนะ” หมายความว่า ทรัพย์ วัตถุหรืออุปกรณ์ที่นําพาคนหรือสิ่งของจากที่หนึ่งไปยัง อีกที่หนึ่งโดยบุคคลนั้นหรือสิ่งของมิต้องเคลื่อนไหว คําพิพากษาฎีกาที่ 627/2486 เรือกลไฟของจําเลยโยงเรือของโจทก์มา และ ทําให้เรือที่โยงมานั้นล่ม กรณีเข้าตามมาตรา 437 ข้อสังเกต 1. ลิฟต์ บันไดเลื่อน หรือทางเลื่อนเป็นยานพาหนะหรือไม่ ซึ่งในต่างประเทศ ถือว่าเป็นยานพาหนะ แต่ในส่วนของประเทศไทยให้ถือว่าเป็นทรัพย์อันตรายประเภท โดยสภาพทรัพย์นั้นตามวรรคสอง หรือตามมาตรา 434 แล้วแต่กรณี
153
2. รถยนต์ที่จอดไว้เมื่อไม่ได้ใส่ที่ห้ามล้อ (เบรกมือ) ไม่ถือว่าเข้ามาตรา 437 วรรคหนึ่ง แต่อาจผิดตามมาตรา 437 วรรคสอง หรือรถยนต์จอดติดเครื่องอยู่กับที่ ขวางในห้ามจอด ปรากฏว่ามีรถจักรยานวิ่งเข้ามาชน ไม่มีความผิดตามมาตรา 437 หรือรถจักรยานที่ใช้เท้าถีบไม่เข้ามาตรานี้ ในเรื่องนี้ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้มีหมายเหตุอยู่ 2 ประเด็นน่าสนใจ กล่าวคือ 1. มาตรา 437 วรรคหนึ่ง กฎหมายใช้คําว่า “เครื่องจักรกล ” แปลความได้ 2 อย่าง 1.1 เครื่องจักร (Engine) 1.2 เครื่องกล (Machine) กาลังเครื่องจักรกล จึงย่อมถือว่าถือว่าจักรยานถีบเป็นเครื่องกล (แรงกลที่เกิดจากการถีบปั่น) แต่ แนวคําพิพากษาศาลฎีกาไทยท่านมิได้จําแนกแยกแยะเช่นนั้น กฎหมายใช้คําว่ารวม เป็นคําว่า “เครื่องจักรกล” ซึ่งหมายความว่า การเดินด้วยเครื่องยนต์ ดังนั้น รถจักรยาน ถีบจึงไม่ถือว่าเป็นเครื่องจักรกลตามความหมายของกฎหมาย กาลังคน กาลังสัตว์ กาลังตามธรรมชาติ การเคลื่อนไหวที่นําไปยังอีกที่หนึ่งได้นั้น แม้ว่าจะเดินได้โดยกําลังอื่นนอกจาก กําลังเครื่องจักรกล เช่น กําลังสัตว์ (ช้ าง ม้า ลา ล่อ) กําลังคน (ลาก จูง) กําลังทาง ธรรมชาติ (ลม น้ํา) ก็มิได้หมายความตามมาตรา 437 วรรคหนึ่งนี้ 2. ถึงแม้ว่าจะไม่เข้ามาตรา 437 วรรคหนึ่ง ก็ไม่ต้องใช้มาตรา 420 แต่ให้ไป ใช้มาตรา 437 วรรคสองแทน เพราะอาจจัดอยู่ในประเภททรัพย์อันตราย 4.3.1.3 ความเสียหายเกิดแต่ยานพาหนะที่เดินด้วยกําลังเครื่องจักรกล คําพิพากษาฎีกาที่ 1292/2524 จําเลยได้นํารําบรรทุกดินมีน้ําหนักมากผ่าน หน้าบ้านโจทก์หลายเที่ยว ปรากฏว่าทําให้บ้านของโจทก์สั่นสะเทือนร้าว เป็นละเมิด ต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และตามมาตรา 437 วรรคหนึ่งนี้ ความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะ มิใช่ ยานพาหนะนั้นเองได้รับความเสียหาย ตัวอย่างคําพิพากษาฎีกาที่ 1188/2502 หาก ยืมรถยนต์ของผู้อื่นมาแล้ว ทําให้รถยนต์นั้นได้รับความเสียหาย กรณีเช่นนี้ เป็นความ รับผิดตามมาตรา 420 มิใช่ 437
154
4.3.1.4 ผู้ที่ต้องรับผิด 1. ผู้ครอบครอง 2. ผู้ควบคุม มาตรา 437 วรรคหนึ่งนี้ กฎหมายประสงค์จะเอาเพียงบุคคลหนึ่งบุคคลใด เท่านั้น ขอให้สังเกตว่า กฎหมายใช้คําว่า “หรือ ” ซึ่งโดยหลักแล้ว กฎหมายจะเอาผิด แก่ผู้ควบคุมให้ต้องรับผิดก่อนผู้ครอบครอง แต่ในบางกรณี ทั้งสองคนต้องรับผิดร่วมกัน ถ้าผู้ครอบครองได้นั่งไปด้วยและ ได้นั่งไปในฐานะผู้บงการคนขับผู้ครอบครองจึงอยู่ในฐานะผู้ควบคุมดูแลนั้นด้วย ข้อสังเกต ผู้ครอบครองหรือควบคุมดูแลมิจาต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ คําพิพากษาฎีกาที่ 3076/2522 เจ้าของเมาสุรานอนหลับอยู่ในรถยนต์ เพื่อน ของเจ้าของรถยนต์ขับรถไปธุระ แล้วชนผู้อื่นโดยละเมิด เจ้าของรถยนต์ไม่ถือว่าเป็นผู้ ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์ตามมาตรา 437 จากคําพิพากษาฎีกานี้ ทําให้ท่านเห็นได้ว่ากฎหมายมาตรา 437 มิได้ต้องการ เอาผิดกับตัวเจ้าของทรัพย์ แต่ต้องการเอาผิดกับผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย ดังนั้น ผู้ ครอบครองมิได้มีความหมายเช่นสิทธิครอบครองตามกฎหมาย (เช่น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ หรือผู้มีสิทธิตามกฎหมาย) ซึ่งแตกต่างกับกรณีตามมาตรา 433 และ434 ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป ขอให้ พิจารณาจากคําพิพากษาฎีกาดังต่อไปนี้ คําพิพากษาฎีกา ที่ 5679/2545 ตามมาตรา 437 ที่กําหนดว่าบุคคลใด ครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะใดอันเดินด้วยกําลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้น ต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น ผู้ครอบครอง หมายถึง ผู้ใช้ ยานพาหนะนั้นในฐานะเป็นผู้ยึดถือในขณะเกิดความเสียหาย หรือเป็นผู้ครอบครอง ยานพาหนะนั้นในขณะเกิดเหตุ ฉะนั้นเมื่อจําเลยมิได้เป็นผู้ขับหรือโดยสารไปในรถยนต์ ด้วย แม้จะมีชื่อในทะเบียนเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าจําเลย เป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถยนต์คันเกิดเหตุตามความในมาตราดังกล่าว จําเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง
155
4.3.1.5 มาตรา 437 ใช้กับกรณีเรื่องรถยนต์ชนกับคนหรือสิ่งอื่น (ทรัพย์สิน อื่น) ที่มิใช่รถยนต์ด้วยกัน กรณีรถยนต์ชนกับรถยนต์และต่างฝ่ายต่างเรียกร้องให้อีกฝ่ายต้องรับผิด จะ เห็นได้ว่า บทสันนิษฐานความรับผิดต่างยันกันอยู่ ซึ่งมีผลทําให้ต่างฝ่ายต่างได้รับ ประโยชน์และโทษจากบทสันนิษฐานเดียวกัน กล่าวคือ บุคคลแต่ละฝ่ายที่ครอบครอง หรือควบคุมยานพาหนะนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดจากจาก ยานพาหนะนั้น ดังนั้น จึงต้องกลับไปใช้บททั่วไปมาตรา 420 และให้ถือเสมือนว่าไม่มี บทสันนิษฐานนั้น คําพิพากษาฎีกาที่ 828/2490 ยานพาหนะที่เดินด้วยกําลังเครื่องจักรกล ด้วยกันโดนกันเสียหาย ไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 437 ในกรณีเช่นนี้หน้าที่นําสืบ ตกอยู่ในหลักธรรมดา คือฝ่ายใดกล่าวหาว่าอีกฝ่ายหนึ่งทําละเมิดฝ่ายที่กล่าวหาต้องนํา สืบก่อน (เทียบเคียงคําพิพากษาฎีกาที่ 1091/2523) คําพิพากษาฎีกาที่ 396/2544 โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจะได้รับประโยชน์จาก ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 ก็ต่อเมื่อโจทก์มิใช่ เป็นผู้ที่ครอบครองหรือควบคุมพาหนะอันเดินด้วยกําลังเครื่องจักรกล เมื่อเหตุเกิดขึ้น จากรถยนต์ของโจทก์และจําเลยซึ่งกําลังแล่นชนกัน เป็นยานพาหนะอันเดินด้วยกําลัง เครื่องจักรกลทั้งสองฝ่าย จึงมิใช่กรณีตามมาตรา 437 คําพิพากษาฎีกาที่ 5736/2544 โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจะได้รับประโยชน์จาก ข้อสันนิษฐานตามมาตรา 437 ก็ต่อเมื่อโจทก์มิใช่เป็นผู้ที่ครอบครองหรือควบคุม ยานพาหนะอันเดินด้วยกําลังเครื่องจักรกล เมื่อเหตุเกิดขึ้นจากรถยนต์ของโจทก์และ จําเลยซึ่งกําลังแล่นชนกัน เป็นยานพาหนะอันเดินด้วยกําลังเครื่องจักรกลทั้งสองฝ่าย จึงไม่ใช่กรณีตามมาตรา 437 โจทก์จึงมีหน้าที่นําสืบว่าจําเลยเป็นฝ่ายประมาท เพราะ โจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 อุทาหรณ์ นายกิตติคนขับรถทัวร์ได้ขับชนกับรถสิบล้อที่มีนายหมอดีเป็นคนขับ นายกิตติ ฟ้องนายหมอดีให้รับผิดตามมาตรา 437 วรรคหนึ่งไม่ได้ นายกิตติยังสามารถฟ้อง นายจ้าง (ถ้ามี) ตามมาตรา 425 ได้ และในทางกลับกันนายหมอดีก็กระทําได้ดังนั้น
156
ดุจกัน ผู้โดยสารที่นั่งรถทัวร์ของนายกิตติสามารถฟ้องได้ทั้งนายกิตติ นายหมอดี ตาม มาตรา 437 และนายจ้างของทั้งสองตามมาตรา 425 ให้ร่วมรับผิด และเพื่อความ เข้าใจอันดี ขอให้ท่านเปรียบเทียบกับคําพิพากษาฎีกาที่ 2379-2380/2532 เพราะ คําพิพากษาฎีกานี้ วินิจฉัยว่า คนโดยสารมาในรถยนต์ของจําเลยไม่ได้รับประโยชน์จาก ข้อสันนิษฐานตามมาตรา 437 อุทาหรณ์ นายกิตติ คนขับรถเมล์ ได้ขับรถเมล์โดยสารสาย 64 พอถึงป้ายรับส่งผู้โดยสาร กลับ กระชากรถออกไปทําให้คนตกจากรถ เสียชีวิต กรณีเช่นนี้นายกิตติมีความรับผิด ตามมาตรา 437 และที่สําคัญต้องพิจารณาต่อไปว่านายกิตติเป็นลูกจ้างของ ขสมก. หรือบริษัทรถร่วม ก็ต้องฟ้องเข้ามารับผิดในฐานะนายจ้างลูกจ้างด้วย อุทาหรณ์ นายหมอดีโดยสารรถยนต์คันหนึ่ง ที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารระหว่างกรุงเทพและ ขอนแก่น เมื่อรถยนต์วิ่งไปถึงปลายทางที่ขอนแก่น นายกิตติคนขับรถยนต์ได้เปิดประตู ให้คนโดยสารลงจากรถเรียบร้อยแล้ว คนขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสารจึงลงจาก รถไป นายหมอดีนึกขึ้นได้ว่าลืมโทรศัพท์มือถือไว้ในรถ จึงกดปุ่มที่ข้างประตูเพื่อเปิด ประตู เมื่อประตูเปิด นายหมอดีได้เดินขึ้นไปบนรถ แล้วหยิบโทรศัพท์มือถือซึ่งลืมไว้ แล้วเดินลงรถ เมื่อถึงบันไดประตูได้ปิดลงโดยอัตโนมัติ หนีบนายหมอดีจนถึงแก่ความ ตาย กรณีเช่นนี้นายกิตติต้องรับผิดฐานละเมิดตามมาตรา 437 โดยมิต้องพิสูจน์ว่าจง ใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ แต่ถึงอย่างไรเสียนายกิตติอาจยกข้อต่อสู้ในเรื่องต่าง ๆ ในหัวข้อต่อไปได้ขอให้ท่านพิจารณาต่อไป อุทธาหรณ์ กรณีที่ปรากฎเป็นภาพข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ เช่น กรณี นักศึกษา คนหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญหรือเอแบค ประสบอุบัติเหตุถูกแรงเหวี่ยง ทําให้พลัดตก จากรถร่วมขสมก. ขณะรถเลี้ยวที่แยก 4.3.1.6 ข้อยกเว้น ข้อแก้ตัว/ข้อต่อสู้ตามมาตรา 437 วรรคหนึ่ง มาตรา 437 วรรคหนึ่งตอนท้าย “...เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิด แต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายนั้นเอง”
157
1. เหตุสุดวิสัย มาตรา 8 คําว่า "เหตุสุดวิสัย " หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้อง ประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลใน ฐานะและภาวะเช่นนั้น 1. เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ และ 2. ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว (มาตรฐานวิญํูชน) เหตุสุดวิสัยเป็นเหตุที่ทําให้บุคคลผู้มีความรับผิด เช่น ผู้ที่ควบคุมหรือ ครอบครองยานพาหนะอันเดินด้วยกําลังเครื่องจักรกลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 437 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายอันเกิด จากยานพาหนะที่เดินด้วยกําลังเครื่องจักรกล หรืออาจทําให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากความ รับผิดในหนี้ได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 219 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่า “ถ้าการชาระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้น ภายหลังที่ได้ก่อหนี้และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอัน หลุดพ้นจากหนี้นั้น” เช่น นายหมอดีว่าจ้างให้นายกิตติขนไม้ที่กองอยู่หน้าบ้านของนาย หมอดี ซึ่งอยู่ ที่จังหวัด อุดรธานี ไปส่งที่จังหวัด ขอนแก่น แต่ก่อนกําหนดส่งเดินทางไม้ที่กองอยู่หน้า บ้านเกิดไฟไหม้ทั้งหมด การที่ไม้ถูกไฟไหม้ถือเป็นเหตุพ้นวิสัยตามความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 219 ดังนั้น เหตุสุดวิสัยจึงต้องเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติสุดวิสัยที่บุคคลคาดคิดว่าจะ เกิดมีขึ้น หากเป็นกรณีที่อาจป้องกันผลพิบัติได้ ถ้าได้จัดให้มีการระมัดระวังตาม สมควร มิใช่เหตุที่ไม่มีใครอาจจะป้องกันได้ อุทาหรณ์ นายกิตติขับรถยนต์มาด้วยความระมัดระวังอย่างดี เผอิญมีเด็กข้าม ถนน เหยียบเบรก ปรากฏว่า เบรกแตกรถยนต์เลยชนเด็กถึงแก่ความตาย มารดาจึงไป ฟ้องมาตรา 437 วรรคหนึ่ง ดึงผู้ควบคุมดูแลมารับผิด นายกิตติกล่าวอ้างว่ากรณี ดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัย กรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่า นายกิตติอ้างไม่ได้ เพราะกฎหมาย บอกว่ากรณีเช่นนี้วิญํูชนทั่วไปจะต้องไม่ปล่อยให้รถยนต์อยู่ในสภาพเช่นนั้น (เบรก แตก) อ้างมิได้ แต่ถ้าความปรากฏว่า เพิ่งไปซื้อรถใหม่มาอาจอ้างเหตุสุดวิสัยได้ เทียบเคียงคําพิพากษาฎีกาที่ 3081/2523
158
คําพิพากษาฎีกาที่ 634/2501 รถยนต์โดยสารคว่ําทําให้เกิดบาดเจ็บและตาย เป็นการละเมิดอันต้องรับผิดตามมาตรา 437 ข้ออ้างที่ว่ารถคว่ําเพราะน๊อตคันส่ง พวงมาลัยหลุดนั้น แม้จะจริงก็เป็นเรื่องที่เกิดจากเครื่องจักรกลของรถยนต์ ซึ่งเป็น หน้าที่ฝ่ายผู้ละเมิดต้องคอยตรวจตราดูแล จะฟังว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ เพราะไม่ใช่ เกิดจากภัยนอกอํานาจซึ่งไม่อาจรู้และป้องกันได้ คําพิพากษาฎีกาที่ 619/2510 จําเลยขับรถใช้อาณัติสัญญาณไฟแดงกระพริบ และเปิดแตรไซเรนมาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อจะขึ้นสะพานลดลง เหลือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถบรรทุกแล่นสวนมาบนสะพานโดยไม่หยุด และมีเด็ก วิ่งข้ามถนนตัดท้ายรถบรรทุกในระยะกระชั้นชิด ซึ่งจําเลยไม่สามารถหยุดรถยนต์ได้ทัน จึงต้องหักหลบแล้วไปชนผู้ตาย ถือได้ว่าความเร็วที่จําเลยใช้ในขณะข้ามสะพาน ไม่เป็น ความเร็วเกินสมควร ตามเวลา สถานที่ และพฤติการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้น จึงไม่เป็นการ ประมาทเลินเล่อ การที่เด็กวิ่งตัดหลังรถบรรทุกข้ามถนนผ่านหน้ารถจําเลยในระยะใกล้ เป็นเหตุบังเอิญมิอาจคาดหมายได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันเป็นเหตุที่ไม่มีใครป้องกัน ได้ เมื่อจําเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะที่ ประสบเหตุเช่นนั้นแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 437 คําพิพากษาฎีกาที่ 975/2510 กระบือของจําเลยขาดหลุดไปจากเชือกที่ผูก แล้วไปนอนแช่น้ําอยู่ในคลอง โจทก์แล่นเรือมายังห่างกระบือประมาณ 1 เส้น ได้เห็น กระบือนั้นอยู่แล้ว และเห็นว่ากระบือตัวที่อยู่ทางขวากับตัวที่อยู่ทางซ้ายห่างกันเพียง 1 วาเศษเท่านั้น เรือโจทก์กว้าง 1 เมตรเศษนับว่าอยู่ในระยะใกล้พอกับที่อาจถูกกระบือ ขวิดหรือชนกับกระบือข้างใดข้างหนึ่งได้ในเมื่อจะแล่นเข้าไปถึงกระบือนั้น และลําคลอง ในบริเวณนั้นก็กว้างเพียงประมาณ 3 ถึง 4 วาเท่านั้น ทั้งกระบือเป็นสัตว์ใหญ่ขวาง ลําคออยู่และโจทก์ได้เบาเครื่องแล้ว โจทก์มีโอกาสยับยั้งไม่เข้าใกล้ โดยหยุดเรืออยู่ เพียงนั้นก็ทําได้ แต่โจทก์หาได้ทําเช่นนั้นไม่ กลับแล่นเรือฝ่าเข้าไปจนเป็นเหตุให้เกิด อันตรายขึ้น กรณีจึงไม่เป็นเหตุอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัยที่โจทก์จะไม่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ได้ แม้จะถือว่าจําเลยมีส่วนประมาทอยู่ด้วย โดยที่จําเลยไม่รีบไปตามเอากระบือที่ขาด กลับมาในทันที อันเป็นการที่จําเลยต้องรับผิดตามมาตรา 433 ก็ยังไม่พอที่ถือว่าการ เสียหายนั้นเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายแต่ฝ่ายเดียว อันจะทําให้โจทก์พ้นความรับ ผิดไปตามข้อยกเว้นดังที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 437 การที่โจทก์แล่นเรือมาด้วย ความเร็วสูงฝ่าฝูงกระบือเข้าไป ทั้ง ๆ ที่ได้เห็น และมีโอกาสที่จะยับยั้งได้เช่นนี้ ถือเป็น ความประมาทของโจทก์
159
คําพิพากษาฎีกาที่ 695/ 2509 คําว่า “เหตุสุดวิสัย ” ตามประมวลวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึงเหตุที่ทําให้ศาลไม่สามารถมีคําสั่งขยาย ระยะเวลาหรือคู่ความมีคําขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดําเนิน กระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ มิได้หมายความถึงว่า “พฤติการณ์ณ์พิเศษ” ที่ ทําให้การดําเนินกระบวนพิจารณาไม่อาจกระทําได้ภายในกําหนดนั้นต้องเป็นเหตุ สุดวิสัย เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23 จึงไม่จําต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่ มีใครอาจป้องกันได้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 8 หากมี พฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคําสั่งขยายระยะเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่ กฎหมายกําหนดไว้ในการดําเนินกระบวนพิจารณา ย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การ สั่งขยายเวลาศาลมีอํานาจสั่งเองได้โดยคู่ความไม่ต้องร้องขอ คําพิพากษาฎีกาที่ 2015/2520 ผู้ตายวิ่งตัดหน้ารถยนต์ซึ่งจําเลยขับในระยะ กระชั้นชิดเป็นความประมาทของผู้ตายเองจําเลยไม่อาจห้ามล้อหยุดได้ทัน สุดวิสัยที่จะ ป้องกันได้ ไม่ใช่เกิดจากความประมาทของจําเลย กรณีต่อไปนี้ศาลพิพากษาไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่จําเลยจะอ้างเพื่อพ้นความรับ ผิดได้ คําพิพากษาฎีกาที่ 634/2501 รถยนต์โดยสารคว่ําและตายเป็นการละเมิดอัน จะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 ข้ออ้างที่ว่านอตคัน ส่งพวงมาลัยหลุดนั้น แม้จะจริงก็เป็นเรื่องที่เกิดจากเครื่องจักรกลของรถยนต์ซึ่งเป็น หน้าที่ฝ่ายละเมิดต้องตรวจตรา ดูแล จะฟังว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ เพราะไม่ใช่เกิด จากภัยนอกอํานาจซึ่งไม่อาจรู้และป้องกันได้ คําพิพากษาฎีกาที่ 3081/2523 ผู้ที่นํายานพาหนะอันเดินด้วยกําลัง เครื่องจักรกลมาใช้ในทาง มีหน้าที่ต้องตรวจสอบ รักษา เปลี่ยน แก้ ให้เครื่องจักรกล อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรงใช้การได้โดยปลอดภัยเสมอ จําเลยไม่มีพยานแสดงว่าเหตุ ที่เบรคแตกไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ แม้จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว จึงจะ อ้างเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้
160
คําพิพากษาฎีกาที่ 2668/2524 จําเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูง เมื่อเฉี่ยวชน รถคันหนึ่งแล้วก็ไม่สามารถหยุดรถได้ทันท่วงที ก่อนที่จะแล่นไปชนท้ายรถโจทก็ ซึ่งอยู่ ห่างจุดที่รถเฉี่ยวชนประมาณ 25 เมตร กรณีนี้เป็นเรื่องที่อาจป้องกันได้ถ้าจําเลยไม่ขับ รถจนเร็วเกินไป ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 จําเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ คําพิพากษาฎีกาที่ 1371/2527 พนักงานขับรถของจําเลยได้ขับรถซึ่งบรรทุก ของหนักออกนอกผิวจราจร เป็นเหตุให้ดินที่ขอบไหล่ถนนทรุดหรือยุบทําให้รถยนต์ เสียหลักตะแคงพลิกคว่ําตกลงไปข้างถนน ซึ่งพนักงานขับรถมีทางที่จะป้องกันมิให้เหตุ นั้นเกิดขึ้นได้หากใช้ความระมัดระวังตามสมควร เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นความประมาท เลินเล่อมิใช่เหตุสุดวิสัย คําพิพากษาฎีกาที่ 347/2529 การที่ล้อรถยนต์หลุดในขณะขับขี่ หากผู้ขับขี่ ใช้ความระมัดระวังตรวจตราถึงความสมบูรณ์ของรถยนต์ก่อนใช้ เหตุย่อมไม่เกิดเหตุที่ เกิดย่อมไม่ใช่เหตุสุดวิสัย คําพิพากษาฎีกาที่ 3360/2531 การที่ไฟฟ้าในรถยนต์ลัดวงจร ทําให้ไฟฟ้า หน้ารถดับเป็นเรื่องที่อาจตรวจสอบได้ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย 2. ความเสียหายเป็นความผิดของผู้เสียหายเองโดยแท้ กล่าวคือ ผู้เสียหายต้องผิดโดยสิ้นเชิง (100 เปอร์เซ็นต์) ผู้กระทําไม่ได้มีส่วน กระทําความผิดเลย แต่ถ้าผู้เสียหายมีส่วนผิดอยู่ด้วยเพียงบางส่วน ก็มิเข้าข้อยกเว้นนี้ 4.3.1.7 ผู้เสียหายไม่จําต้องพิสูจน์ถึงความเลวร้ายที่อยู่ในจิตใจของผู้กระทํา ความผิดว่ากระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไร เนื่องจากหากพิสูจน์ครบ องค์ประกอบข้างต้นกฎหมายตั้งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นกระทําละเมิด หรือที่ เรียกว่า ความรับผิดโดยเคร่งครัด หรือ Strict liability ซึ่งแตกต่างจากมาตรา 420 หลักทั่วไปที่ความรับผิดจะต้องเกิดเพราะความจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้บุคคลอื่น เสียหายหรือ liability with fault
161
4.3.2 ละเมิดอันเกิดจากทรัพย์อันตราย มาตรา 437 วรรคสอง บัญญัติว่า ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงผู้มีไว้ ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดย ความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย มาตรา 437 วรรคสองเป็นบทขยายความมาตรา 437 วรรคหนึ่ง กล่าวคือบท สันนิษฐานเด็ดขาดในวรรคหนึ่งให้มีความหมายขยายนอกเหนือจากยานพาหนะ ให้ หมายรวมถึงผู้ที่ครอบครองหรือผู้ดูแลทรัพย์อันตราย ดังต่อไปนี้ด้วย 1. ทรัพย์อันตรายได้โดยสภาพ 2. ทรัพย์อันตรายโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ 3. ทรัพย์อันตรายโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้น ลักษณะของทรัพย์อันตราย ความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์อันตราย 1. โดยสภาพของทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์อันตราย หมายความว่า สภาพของทรัพย์นั้นโดยตัวของมันเองทําให้เกิดอันตรายได้ เช่น กระแสไฟฟ้า ระเบิด สารเคมี เป็นต้น ขอให้สังเกต ภาษาอังกฤษใช้คําอยู่สองคํากล่าวคือ Ultrahazardous หรือ Abnormally Dangerous ซึ่งแปลความได้ตามมาตรา 437 วรรคสอง ทรัพย์ อันตราย หรือ ทรัพย์ที่สามารถสร้างความเสียหายได้โดยตัวเอง ตัวอย่าง เสาไฟฟ้าแรงสูง
162
สารเคมี
ระเบิด
163
2. โดยความมุ่งหมายที่จะใช้ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์อันตราย หมายความว่า เมื่อพิจารณาจากสภาพย่อมไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ทรัพย์นั้น อันตรายต่อเมื่อบุคคลที่นําไปใช้ (Usage) มีความมุ่งหมายให้เกิดอันตรายขึ้น เช่น ปืน มีด พลุไฟ เป็นต้น ตัวอย่าง พลุไฟ
ปืน
164
ถังแก๊ส
3. โดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์อันตราย หมายความว่า ขั้นตอน และ/หรือ กลไกในตัวทรัพย์นั้น อาจก่อให้เกิด อันตรายได้ เช่น ลิฟต์ บันไดเลื่อน เป็นต้น ข้อสังเกต ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่ากรณีของบันไดเลื่อนและ/หรือลิฟต์ อาจเข้า ข่ายความรับผิดละเมิดได้ทั้งมาตรา 420 434 หรือ 437 วรรคสอง ตัวอย่างคาพิพากษาฎีกา คําพิพากษาฎีกาที่ 762/2517 โรงงานของจําเลยใช้เครื่องจักรเดินด้วยไฟฟ้า และได้เกิดไฟไหม้ขึ้น เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้าถือว่าเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิด อันตรายได้โดยสภาพ จําเลยผู้มีไว้ในครอบครองจะต้องรับผิดเพื่อการเสียหายอันเกิด จากไฟฟ้านั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดจาก ความผิดของผู้เสียหายเอง จําเลยนําสืบแต่เพียงว่า การตั้งโรงงานและการติดตั้งไฟฟ้า ในโรงงานจําเลยได้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และมีเจ้าหน้าที่มา ตรวจเสมอเท่านั้น แต่ไฟไหม้ขึ้นอย่างไรจําเลยไม่ทราบ จําเลยมิได้นําสืบว่าการที่ไฟฟ้า เดินลัดวงจรเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ จําเลยจึงต้องรับผิด
165
คําพิพากษาข้างต้น ศาลวินิจฉัยว่า เครื่องจักรเดินด้วยไฟฟ้าเป็นทรัพย์ อันตรายโดยสภาพผู้ครอบครองต้องรับผิดเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับผู้อื่น และวรรค สองได้ใช้วรรคหนึ่งตอนท้ายเป็นบทส่งว่า หากเกิดเพราะเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจาก ผู้เสียหายโดยแท้ ถือว่าหลุดพ้นความรับผิด คําพิพากษาฎีกาที่ 179/2522 กระแสไฟฟ้าที่การไฟฟ้าผลิตจําหน่ายเป็นของ ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพเสาไฟฟ้าหัก เพราะไฟไหม้ซึ่งไม่ได้ถางและเคยไหม้เสาหัก มาแล้ว เป็นเหตุที่ใช้ความระมัดระวังป้องกันได้ ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย ขอให้เทียบเคียงกับ คําพิพากษาฎีกาที่ 529/2533 ที่ว่าหากการดังกล่าวพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ก็มีส่วนประมาท เลินเล่อด้วย คําพิพากษาฎีกาข้างต้น อธิบายถึงลักษณะแห่งทรัพย์อันตราย และพฤติการณ์ ของการใช้ความระมัดระวังว่าผู้ครอบครองยังไม่ได้ใช้ความระมัดระวังที่ตนพึง คาดหมายได้ ก็ไปว่ากันตามมาตรา 442 คําพิพากษาฎีกาที่ 4037/2545 แท่นไฮดรอริกสําหรับเทน้ําตาลดิบออกจาก รถยนต์บรรทุกซึ่งจอดอยู่บนแท่นไฮดรอริกนั้นลงฉางเก็บ เป็นทรัพย์อันเป็นของเกิด อันตรายได้โดยอาการกลไกของทรัพย์นั้น ซึ่งจําเลยที่ 1 ผู้มีไว้ครอบครองจะต้อง รับผิดชอบ เพื่อการเสียหายอันเกิดขึ้นแต่ทรัพย์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหาย นั้น เกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายนั้นเองตามวรรคหนึ่ง ตอนท้าย โจทก์จึงไม่ต้องนําสืบว่าเหตุที่เกิดความเสียหาย สืบเนื่องมาจากความ ประมาทเลินเล่อของลูกจ้างจําเลยที่ 1 น้ําตาลดิบที่บรรทุกมาในรถยนต์บรรทุกมีความชื้นสูงจึงเกาะกันแน่นแต่มิได้มี การทําให้น้ําตาลดิบแตกตัวทั้งหมดก่อนแล้ว จึงยกแท่นไฮดรอริกขึ้นเท การที่น้ําตาล ดิบเกาะกันแน่นอยู่ย่อมทําให้น้ําหนักเฉลี่ยไม่สม่ําเสมอ เมื่อถ่ายน้ําหนักออกมาจาก รถยนต์บรรทุกในทันทีทันใด จึงทําให้แหนบรถเกิดแรงต้านและดีดตัวรถให้ลอยขึ้น ข้ามที่กั้นล้อแล้วดึงโซ่ ที่มัดคานหน้าไว้ขาดก่อนที่จะไหลลงมากระโดดข้ามที่กั้นล้อทุก ล้อ ผู้ครอบครองต้องรับผิด คําพิพากษาฎีกาที่ 1659/2513 (ประชุมใหญ่) ได้วินิจฉัยว่า การที่ ช. เดินไป ตามทางเดิน มีเสาไฟฟ้าต้นหนึ่งล้มอยู่ ช. เดินไปถูกสายไฟฟ้าที่หย่อนเพราะเสาล้มนี้ เข้า จึงถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตาย เมื่อสายไฟฟ้านั้นเป็นสายไฟฟ้าในช่วงที่ต่อ
166
จากหม้อวัดไฟฟ้าไปยังบ้านของ จ. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าและอย่าในเขตที่ดินของ จ. และ ทางเดินที่ ช. เดินไปนั้นก็มิใช่ทางสาธารณะ เป็นแต่ทางเดินในที่ดินที่เจ้าของมิได้หวง ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเดินผ่าน ดังนี้ ย่อมถือไม่ได้ว่าสายไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันตรายโดย สภาพ อยู่ในความรอบครองของการไฟฟ้านครหลวงจําเลยตามมาตรา 437 วรรคสอง การไฟฟ้านครหลวงจึงไม่ต้องรับผิด คําพิพากษาฎีกาที่ 883/2518 ผู้ครอบครองดูแลสถานที่เก็บรถยนต์ ย่อม รวมถึงสายไฟฟ้าในบริเวณสถานที่นั้นซึ่งต่อออกมาจากบ้านพักไปยังกริ่งสําหรับ บ้านพักด้วย เด็กปีนรั้วเก็บดอกรัก ถูกสายไฟฟ้าซึ่งไม่มีฉนวนหุ้มที่ตกลงมาพาดอยู่กับ รั้วถึงแก่ความตาย ไม่มีร่องรอยที่เด็กในวัยนั้นจะคาดคิดว่าจะมีสายไฟฟ้าซึ่งไม่มี ฉนวนหุ้มพาดอยู่ ผู้ครอบครองต้องรับผิด ผู้ครอบครองต้องรับผิดมิได้ขยายความไปถึงผู้ดูแล คําพิพากษาฎีกาที่ 1919/2523 จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 เป็นสามีภริยากัน เป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุซึ่งจําเลยขึงสายทองแดงเปลือยปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้รอบ บ้านแล้วไม่ดูแลให้สายไฟฟ้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย เป็นเหตุให้สายไฟฟ้าตกลงมาพาด รั้ว ผู้ตายไปยืนปัสสาวะริมรั้วจึงถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตาย จําเลยเป็นผู้ ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของเกิดอันตรายโดยสภาพต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอัน เกิดแต่ไฟฟ้านั้น ส่วนจําเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้ดูแลบ้านเท่านั้น แม้จะเป็นผู้รับจ้างให้ช่าง ไฟมาเดินสายไฟดังกล่าว ก็ไม่ใช่ผู้ครอบครองไฟฟ้านั้น จึงไม่ต้องรับผิด จะเห็นได้ว่า มาตรา 437 วรรคสอง มิได้เลือกไล่สายกับผู้ครอบครองและผู้ ควบคุม แต่กําหนดให้ผู้ที่ยึดถือครอบครองทรัพย์นั้นไว้ เป็นผู้ต้องรับผิดชอบและไม่ ขยายความไปถึงผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพย์อันตรายนั้น หมายเหตุ ผู้ครอบครองทรัพย์อันตรายนั้น อาจเป็นคนเดียวกันกับผู้ควบคุม ได้หากเกิดเหตุผู้ครอบครองเป็นผู้ควบคุมทรัพย์ในขณะเดียวกัน อุธาหรณ์ จําเลยเป็นผู้คุมงานก่อสร้างได้นําเอาระเบิดเพื่อนํามาใช้ในการ ปฏิบัติงาน ซึ่งการติดตั้งระเบิดไดนาไมนั้น จําเลยต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง หรือที่เรียกว่า utmost care ปรากฏว่า แรงระเบิดทําให้ก้อนหินกระเด็นไปถูกโจทก์ที่ กําลังเดินอยู่บนถนน จําเลยจึงต้องรับผิดเด็ดขาดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์
167
4.4 ละเมิดที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์ (Liability relating to animal)
มาตรา 433 บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่า เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ จาต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตาม ชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหาย นั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น อนึ่งบุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอา แก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือ ยั่วสัตว์นั้น ๆ ก็ได้ 4.4.1 หลักกฎหมาย 1. ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ สัตว์เป็นตัวก่อให้เกิดความเสียหายโดยตัวของมันเอง มิใช่สัตว์นั้นไปทําร้าย หรือก่อให้เกิดความเสียหายจากการที่ถูกคนบังคับซึ่งจะเป็นคนละกรณีกัน 2. เจ้าของสัตว์ หรือผู้รับเลี้ยงไว้แทนเจ้าของ มาตรา 433 เป็นละเมิดเช่นเดียวกับมาตรา 437 ที่ผู้ที่รับผิดในความเสียหาย กฎหมายมุ่งประเด็นว่าใครเป็นผู้ดูแล (รับเลี้ยง) ในขณะกระทําละเมิด และ/หรือเป็น เจ้าของสัตว์ ซึ่งหากได้ความว่า เจ้าของสัตว์ได้มอบช้างให้ผู้อื่นไปดูแลเลี้ยงรักษา ไม่ว่า จะเกิดขึ้นจากสัญญา หรือพฤติการณ์ใด ๆ ที่เจ้าของสัตว์มิได้เกี่ยวข้องในการเลี้ยงหรือ รับจ้างด้วย เมื่อสัตว์นั้นได้ไปก่อความเสียหายแก่ผู้อื่น เจ้าของก็ไม่ต้องรับผิดชอบ ความข้อนี้ขอให้ท่านเปรียบเทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1607/2496 889/2510 อนึ่ง เจ้าของสัตว์ไม่ต้องพิจารณาเลยว่าจะเป็นเด็กไร้เดียงสาหรือผู้ไร้ ความสามารถใด เนื่องจากกฎหมายมิได้เขียนข้อยกเว้นเพราะเหตุดังกล่าวไว้ ต้อง พิจารณาจากข้อยกเว้นจริง ๆ ตามหัวข้อ 4.4.2 3. ต้องรับผิดในความเสียหายนั้น มาตรา 433 เป็นละเมิดเช่นเดียวกับ มาตรา 437 ที่ผู้เสียหายเพียงแต่บรรยาย ในฟ้องว่า บุคคลผู้รับเลี้ยง หรือเจ้าของสัตว์ได้ทําละเมิด โดยสัตว์ของบุคคลดังกล่าวทํา ให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายก็เพียงพอแล้ว มิจําเป็นต้องบรรยายฟ้องว่า จําเลยได้ กระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ ที่เรียกว่า Liability without Fault หรือ strict liability
168
4.4.2 เว้นแต่ 1. ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยง การรักษาตามชนิดและวิสัยของ สัตว์ ความระมัดระวังในการเลี้ยงรักษาให้พิเคราะห์ถึงลักษณะของสัตว์แต่ละชนิด (ประเภทของสัตว์ : species) หากได้ความว่าลักษณะของสัตว์นั้นเป็นสัตว์ที่ดุร้าย วิสัย (นิสัยตามธรรมชาติ: Nature) ทําให้ผู้เลี้ยงหรือเจ้าของต้องคํานึงถึงการเลี้ยงรักษาที่ เหมาะสม กล่าวคือ ต้องใช้ระดับความระมัดระวังที่สูงมากกว่าปกติ ก. สัตว์ป่า (Wild animal) หรือ ข. สัตว์เลี้ยง (Domesticated animal) อุธาหรณ์ นายกิตติเลี้ยงสุนัขพันธุ์รอตไวเลอร์ พาไปเดินออกกําลังกายที่ สวนสาธารณะ โดยตนมีเครื่องห้ามจูงสุนัข ขณะเดินผ่านผู้คนที่มาออกกําลังกาย ปรากฏว่าสุนัขเห็นเด็กกําลังวิ่งเล่น อยู่ในอาการไล่จับกัน สุนัขจึงวิ่งเข้าไปกัดเด็กนั้น จะ เห็นได้ว่า นายกิตติต้องพิเคราะห์ได้ว่าลักษณะของสุนัขตนเป็นเช่นใด (ดุ) และวิสัยใน การใช้ความระมัดระวังเพียงแค่มีเครื่องห้ามจูงสุนัขนั้นย่อมไม่เพียงพอ เนื่องจาก สามารถพิเคราะห์ได้ถึงพละกําลังและโอกาสความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น แม้ว่าสุนัขนั้นจะไม่
169
เคยทําร้ายใครก็ตาม แต่ความประการนี้มิใช่หลักตายตัวที่ท่านจะพึงยึดถือไว้เสมอไป เพราะข้อเท็จจริงในบางครั้ง เมื่อได้ความว่าสัตว์ของเราไม่เคยทําร้ายบุคคลหรือ ทรัพย์สินใดเลย ก็อาจอ้างได้ ขอให้พิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี แต่กรณีของ สุนัขพันธุ์รอตไวเลอร์ ย่อมตั้งสมมติฐานได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ดุร้าย เป็นต้น คําพิพากษาฎีกาที่ 2488/2523 สุนัขของจําเลยหลบหนีออกไปได้ขณะที่ จําเลยเปิดประตูบ้าน สุนัขจึงออกไปกัดโจทก์ได้ แสดงว่าจําเลยมิได้ใช้ความระมัดระวัง อันสมควรในการเลี้ยงดูสุนัขจําเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย คําพิพากษาฎีกาที่ 1006/2510 โจทก์กําลังบังคับช้างของโจทก์ให้ทํางานอยู่ ห่างแม่ช้างและลูกช้างของจําเลยประมาณ 2 เส้น ลูกช้างของจําเลยติดช้างของโจทก์ เข้าใจว่าโจทก์จะพาช้างของโจทก์ไป จึงทิ้งแม่วิ่งไปที่โจทก์และทําร้ายโจทก์ โดยผู้ดูแล ช้างและลูกช้างของจําเลยซึ่งขณะนั้นก็อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทําอะไร น่าจะดูลูกช้างให้ดีกลับ ปล่อยให้ลูกช้างวิ่งเข้าไปทําร้ายโจทก์แล้ววิ่งไปบอกให้ลูกช้างถอย นับว่าผู้เลี้ยงช้างมิได้ ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร มีข้อที่ควรพิเคราะห์ตามกฎหมาย Common law กรณีความเสียหายเกิดจาก สัตว์ป่าที่มีลักษณะดุร้าย เช่น นายกิตติเป็นเจ้าของลูกสิงโตและนํามาเลี้ยงไว้ที่บ้านตน ซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่และได้กั้นบริเวณสร้างรั้วแข็งแรงเป็นอย่างดี และเช่นกัน ข้อเท็จจริงได้ความว่า เจ้าลูกสิงโตตัวนี้ก็ไม่เคยที่จะทําร้ายใครหรอมีแนวโน้มมาก่อนว่า จะทําลายใคร แต่มีอยู่วันหนึ่ง ไม่รู้ด้วยเพราะเหตุใดเจ้าลูกสิงโตนี้หลุดออกไปยังถนน หน้าบ้านของนายกิตติ และทําร้ายนายหมอดีซึ่งเดินผ่านมาพอดี ได้รับความเสียหาย นายกิตตินําพยานหลักฐานเข้าสืบถึงความระมัดระวังเป็นอย่างดี แต่ไม่รู้อะไร เป็นเรื่อง บังเอิญเหลือเกินที่ลูกสิงโตตัวนี้หลุดออกมา ตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การ เลี้ยง การรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์แล้ว ข้ออ้างเช่นนี้ ไม่สามารถนํามายกเป็นข้อ พิสูจน์เพื่อแก้ตัวได้ เพราะถือว่า สัตว์ป่ามีลักษณะที่มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดอันตราย ได้
แต่จากตัวอย่างดังกล่าว หากกลับกันสัตว์ชนิดนั้น เป็นสัตว์เลี้ยง (Domestic) เช่น แมว สุนัข วัว หรือสุกร นายกิตติย่อมสามารถยกข้ออ้างดังก่าวเพื่อหลุดพ้นความ รับผิดได้
170
ในประเทศไทยเองก็ยังมิได้จําแนกแบ่งประเภทเช่นนั้น คงจะต้องปรับใช้โดย พิจารณาจากเจ้าของสัตว์ หรือผู้รับเลี้ยงไว้แทนเจ้าของได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควร แก่การเลี้ยง การรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ เพราะฉะนั้นเมื่อต้องวินิจฉัยแก่การ ดังกล่าวท่านต้องพิเคราะห์ระดับหรือมาตรฐานของความระมัดระวังให้สูงเสมอหากเป็น กรณีสัตว์ที่มีลักษณะจะเป็นอันตราย และก็น่าที่จะนําหลักกฎหมายดังกล่าวเข้ามา ประยุกต์ใช้ได้ 2. เหตุสุดวิสัย อุทาหรณ์กรณีเหตุสุดวิสัย ท่านอาจารย์พจน์ ปุษปาคม ได้ยกตัวย่างไว้เช่น นํา เกวียนเทียมโคเข้ามาในถนน โคตื่นเสียงแตรรถยนต์หรือตื่นเพราะเห็นรถยนต์แล่น สวนมา มิได้ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เพราะเจ้าของสามารถคาดหมายได้ว่า จะเกิด เหตุการณ์เช่นนั้น ขอยกอีกอุทาหรณ์เพื่อให้ท่านเข้าใจ นายกิตติเป็นเจ้าของฟาร์ม นกกระจอกเทศ โดยเลี้ยงไว้ขายเพื่อการบริโภค คืนหนึ่งมีพายุนอกฤดูกาลเข้ามาอย่าง หนักทําให้กรงพัง เป็นเหตุให้นกกระจอกเทศหลุดออกมา และไปเหยียบย่ําและจิกกิน สวนผลไม้ของนายหมอดีที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง กรณีเช่นนี้เมื่อเป็นเหตุภับพิบัติที่ เกิดขึ้น และผู้นั้นมิอาจป้องกันได้ย่อมถือได้ว่านายกิตติหลุดพ้นความรับผิด 4.4.3 สิทธิไล่เบี้ย มาตรา 433 วรรคสอง อนึ่งบุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่น อันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้น ๆ ก็ได้ 4.4.3.1 สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่ เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์ กล่าวคือ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่สัตว์ได้ทํา ร้ายหรือทําให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายนั้น เกิดมาจากสาเหตุที่มีบุคคลอื่นมาเร้า หรือยั่วสัตว์ทําความเสียหาย กฎหมายกําหนดให้เมื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งกล่าวคือ เจ้าของและ/หรือผู้รับเลี้ยงเมื่อต้องชดใช้ค่าเสียหายแล้ว มีสิทธิไล่เบี้ยในส่วนที่ตนต้อง เสียไปแก่ ผู้ที่มาเร้าหรือยั่วสัตว์ หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์ 4.4.3.2 การเร้าหรือการยั่วสัตว์ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไปว่า อย่างไรเป็นการเร้าหรือยั่วสัตว์ ท่านอาจารย์พจน์ ปุษปาคม ได้อธิบายไว้ว่า การกระทํา
171
ที่เป็นการเร้าหรือยั่วสัตว์อาจเป็นการกระทําที่ไม่ผิดกฎหมาย หรือมีอํานาจกระทําได้ เช่น มีการจูงม้าแข่งในถนนที่มีรถยนต์แล่น ผู้ขับรถยนต์บีบแตรเตือนรถยนต์ที่กําลัง เคลื่อนออกจากข้างถนน เสียงแตรดังทําให้ม้าตกใจทําให้รถยนต์คันอื่นเสียหาย จะเห็น ได้ว่า คนขับรถยนต์ไม่ได้เร้าสัตว์นั้น ผู้ที่บีบแตรรถยนต์มีสิทธิที่จะเตือนรถยนต์คันอื่น แต่หากเป็นกรณีที่ได้ความว่า มีเจตนา (จงใจ) บีบแตรเพื่อแกล้งม้าให้ตกใจ กรณี เช่นนี้ถือเป็นละเมิดได้ หรือกรณียั่วสัตว์ เช่น แกล้งจุดประทัดโยนใส่สุนัข สุนัขเลยไป สร้างความเสียหายทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่น จากคําพิพากษาฎีกาที่ 1006/2510 ข้างต้น น่าพิเคราะห์ว่า การกระทําของ โจทก์เป็นการยั่วช้างหรือไม่ แต่ก็คงกระจ่างชัดได้ว่า โจทก์คงมิได้มีเจตนาก่อให้เกิด การยั่วลูกช้างไม่ อันก่อให้เกิดสิทธิไล่เบี้ยได้ 4.4.3.3 ท่านจะสังเกตได้ว่า กรณีที่จะไล่เบี้ยเอากับ บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์ นั้น เจ้าของสัตว์หรือผู้รับเลี้ยงจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า บุคคลดังกล่าวมีเจตนาชั่วร้าย เนื่องจาก มาตรา 433 วรรคสองตอนท้าย กฎหมายใช้คําว่า “...บุคคลที่เร้าหรือยั่ว สัตว์นั้นโดยละเมิด... ” จึงตีความได้ว่า ละเมิดย่อมหมายถึงการเข้าองค์ประกอบตาม มาตรา 420 4.4.3.4 เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์ หมายความว่า สัตว์ของเราที่ไป ทําความเสียหายแก่ผู้อื่น เนื่องจากมีสัตว์อื่นมาเร้าหรือยั่ว ตัวเจ้าของสัตว์อื่นที่มาเร้า หรือยั่วนั้นต้องรับผิด เช่นเดียวกันต้องพิสูจน์ให้ได้ถึงการเช่นนั้น และบุคคลที่เป็น เจ้าของสัตว์ที่เร้าหรือยั่วจะต้องกระทําโดยจงใจหรืออย่างน้อยที่สุดต้องประมาทเลินเล่อ 4.4.4 ข้อสังเกต ความเสียหายที่เกิดจากสัตว์นี้ ต้องเป็นการกระทําของสัตว์เอง มิใช่เกิดจาก การที่เราเป็นผู้สั่งหรือบังคับให้สัตว์นั้นกระทํา เช่น การขับรถเทียมม้า ใช้วัวลากจูง เกวียน หรือการใช้สัตว์เป็นเครื่องมือเพื่อทําให้ผู้อื่นเสียหาย เช่น เลี้ยงสุนัข หรืองูพิษ กัดผู้อื่น กรณีเช่นนี้ มีความรับผิดตามมาตรา 420 หรือ 437 แล้วแต่กรณีเป็น Fault Liability แต่มิใช่มาตรา 433
172
บทที่ 5 ข้อต่อสู้ของจาเลยในคดีละเมิด Defenses to intentional torts
5.1 ข้อต่อสู้ของจาเลยในคดีละเมิด 1. ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 420 มาตรา 420 บัญญัติว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทําต่อบุคคลอื่นโดยผิด กฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทําละเมิด จําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อ การนั้น (ขอให้กลับไปพิจารณาหลักเกณฑ์ของละเมิด) การขาดองค์ประกอบ/หลักเกณฑ์ในข้อหนึ่งข้อใด จะทําให้บุคคลนั้นไม่มีความ รับผิดในทางละเมิด กล่าวคือขาดองค์ประกอบข้อหนึ่งข้อใดหรือหลายข้อรวมกัน 1. ต้องมีการกระทําต่อผู้อื่น 2. จงใจหรือประมาทเลินเล่อ 3. โดยผิดกฎหมาย 4. ความเสียหาย 2. เหตุสุดวิสัย เข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา 8 เหตุสุดวิสัย “คําว่า เหตุสุดวิสัย หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก้ดี จะให้ผล พิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบ เหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและ ภาวะเช่นนั้น” 3. กฎหมายบัญญัติยกเว้นความรับผิดเป็นกรณีเฉพาะ ขอพิจารณาที่สามนี้เป็นเรื่องของการมีเอกสิทธิ์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง หรือ Immunity 3.1 เอกสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 157 บัญญัติว่า ในที่ ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิก ผู้ใดจะกล่าวถ้อยคําใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือออกเสียง
173
ลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิก ผู้นั้นในทางใดมิได้ เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคําในการประชุม ที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ หากถ้อยคําที่กล่าวในที่ประชุม ไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภา และการกล่าวถ้อยคํานั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญา หรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น ในกรณีตามวรรคสอง ถ้าสมาชิกกล่าวถ้อยคําใดที่อาจเป็นเหตุให้ บุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้นได้รับความเสียหาย ให้ประธานแห่ง สภานั้นจัดให้มีการโฆษณาคําชี้แจงตามที่บุคคลนั้นร้องขอตามวิธีการและภายใน ระยะเวลาที่กําหนดในข้อบังคับการประชุมของสภานั้น ทั้งนี้ โดยไม่กระทบกระเทือน ถึงสิทธิของบุคคลในการฟ้องคดีต่อศาล มาตรา 158 บัญญัติว่า เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 157 ย่อม คุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุมตามข้อบังคับของสภา ผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี และคุ้มครองไปถึงบุคคลซึ่งประธาน ในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ตลอดจน ผู้ดําเนินการถ่ายทอดการประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับ อนุญาตจากประธานแห่งสภานั้นด้วยโดยอนุโลม สองมาตราข้างต้นเป็นเอกสิทธิ์ที่ใช้คุ้มครองสมาชิกรัฐสภา และ/หรือ ผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุมตามข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ในการกล่าวหรือไขข่าวตามมาตรา 423 3.2 เอกสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายอาญา เอกสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายอาญา พิจารณาได้จากมาตรา 329 หากผู้กล่าวหรือไขข่าวได้กระทําลงโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา 329
ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตน ตามคลองธรรม (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของ ประชาชนย่อมกระทํา หรือ (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดําเนินการอันเปิดเผยใน ศาลหรือในการประชุม ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
174
3.3 เอกสิทธิ์จากเขตอํานาจรัฐ เอกสิทธิ์ตามหัวข้อนี้เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับกฎหมายระหว่างประเทศ ในแผนกคดีเมืองที่ให้สิทธิพิเศษคุ้มกันรัฐ หรือผู้แทนของรัฐ รวมความตลอดถึงความ คุ้มกันขององค์การระหว่างประเทศรวมทั้งเจ้าหน้าที่และตัวแทนขององค์การระหว่าง ประเทศ การคุ้มกันจากเขตอํานาจรัฐเป็นเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศที่ ให้การคุ้มครองบุคคลบางประเภทหรือทรัพย์สินบางอย่างไม่ตกอยู่ภายใต้เขตอํานาจรัฐ อาทิ การใช้บังคับกฎหมาย การศาล และ/หรือการบริหาร บุคคลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ สามารถขอความคุ้มกันจากเขตอํานาจรัฐได้ 1. รัฐ ซึ่งในทางกฎหมายระหว่างประเทศนั้นให้หมายความรวมถึงรัฐและ องค์กรต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือองค์การทางการเมืองของรัฐซึ่งมีสิทธิที่จะใช้อํานาจ อธิปไตยของรัฐ หรือองค์กรและหน่วยงานของรัฐ ภายในขอบเขตที่องค์กรและ หน่วยงานนั้นมีสิทธิที่จะกระทําการอันเป็นการใช้อํานาจอธิปไตยของรัฐ หรือ ผู้แทน ของรัฐซึ่งกระทําการในฐานะเป็นผู้แทนรัฐ แต่กระนั้น การอ้างสิทธิเรื่องความคุ้มกันจากเขตอํานาจทางศาลและ การบริหารของรัฐอื่นแต่เฉพาะที่เป็นเรื่องประโยชน์ของรัฐโดยแท้เท่านั้น มิได้ขยาย ความไปถึงกิจการต่าง ๆ ในทางพาณิชย์ หรือการกระทําละเมิด ขอให้พิจารณาจากข้อบทที่ 13 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยความคุ้มกันของ รัฐ ค.ศ. 1982 ในกรณีที่รัฐกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอันเป็นเหตุให้บุคคลอื่น ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน ไม่ว่าการกระทําหรืองดเว้นการ กระทํานั้น จะเกิดขึ้นโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม หากความเสียหายเช่นว่านั้น เกิดขึ้นในดินแดนของรัฐผู้ใช้เขตอํานาจตุลาการแล้ว รัฐผู้กระทําละเมิดจะอ้างความคุ้ม กันจากเขอํานาจทางตุลาการของรัฐที่ความเสียหายเกิดขึ้นมิได้ 2. ผู้แทนของรัฐ ในกฎหมายระหว่างประเทศได้มีการจัดระดับความสําคัญของผู้แทน ของรัฐเพื่อประโยชน์ในการจัดลําดับอาวุโสและมารยาททางการทูต ดังนี้ 1. ชั้นเอกอัครราชทูต 2. ชั้นรัฐทูต/อัครราชทูต 3. ชั้นอุปทูต ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศ จึงให้สิทธิแก่ บุคคลดังกล่าวและคณะ ให้ได้รับความคุ้มกันจากเขตอํานาจทางอาญา ทางแพ่ง และ
175
ทางปกครองของรัฐผู้รับและตัวแทนทางทูต พิจารณาได้จากข้อบทที่ 31 แห่งอนุสัญญา กรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ค.ศ. 1961 ความคุ้มกันของเจ้าพนักงานกงสุลและสมาชิกในสถานทําการทาง กงสุล เกี่ยวกับการทําละเมิดนั้น จะเห็นได้ว่ามีข้อแตกต่างจากบุคคลต่าง ๆ ข้างต้น กล่าวคือเจ้าหน้าที่กงสุลหรือลูกจ้างทางกงสุลจะอ้างความคุ้มกันจากเขตอํานาจของรัฐ ผู้รับได้เฉพาะที่ได้กระทําลงในฐานะที่เป็นตัวแทนของรัฐผู้ส่งเท่านั้น นอกเหนือจากนี้มิ อาจอ้างได้เลยไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางสัญญาและ/หรือละเมิด แต่อย่างไรก็ตาม แม้ เจ้าหน้าที่กงสุลหรือลูกจ้างกงสุลจะได้กระทําการละเมิดในฐานะตัวแทนของรัฐ แต่มี ข้อยกเว้นถ้าเป็นกรณีละเมิดที่เกิดจากรถยนต์ เรือ หรืออากาศยาน (ทรัพย์อันเดินด้วย กําลังเครื่องจักรกลตามมาตรา 437) ก็มิอาจใช้เอกสิทธิ์อ้างความคุ้มกันได้ 3. ความคุ้มกันขององค์การระหว่างประเทศรวมทั้งเจ้าหน้าที่และ ตัวแทนขององค์การระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศรวมทั้งเจ้าหน้าที่และตัวแทนขององค์การ ระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศให้ขยายความ รวมถึงทบวงชํานัญการพิเศษ อาทิ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ องค์การอนามัย โลก องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น ข้อบทที่ 2 มาตรา 2 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกัน ของสหประชาชาติ ค.ศ. 1946 กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า สหประชาชาติตลอดทั้ง ทรัพย์สินและสินทรัพย์ของสหประชาชาติ (ทบวงชํานัญการพิเศษ) ไม่ว่าจะอยู่แห่งใด และไม่ว่าผู้ใดจะยึดถือครอบครองไว้ก็ตาม ย่อมได้รับความคุ้มกันจากการดําเนินคดี ทางกฎหมายทุกรูปแบบ ยกเว้นแต่เฉพาะในกรณีที่สหประชาชาติสละความคุ้มกันอย่าง ชัดแจ้งเท่านั้น แต่การสละความคุ้มกันอย่างชัดแจ้งขององค์การสหประชาชาติในกรณี เช่นว่านั้นย่อมไม่ขยายไปถึงมาตราการในการบังคับคดีด้วย 3.4 นิรโทษกรรม มาตรา 449 บุคคลใดเมื่อกระทําการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ดี กระทําตามคําสั่งอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หากก่อให้เกิดเสียหายแก่ผู้อื่นไซร้ ท่าน ว่าบุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ ผู้ต้องเสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้อง ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือจากบุคคลผู้ให้คําสั่งโดยละเมิดนั้นก็ได้
176
(1) เป็นการกระทําเพื่อป้องกันสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิจารณาประมวลกฎหมายอาญา เรื่องป้องกันตัวต้องพอสมควร แก่เหตุ ขอให้พิจารณาจากภาพประกอบ
( น
นายกิตติถือขวานหมายจะทําร้ายนายหมอดี นายหมอดีจึงหยิบปืนยิง นายกิตติจํานวน 1 นัดถึงแก่ความตาย (พอสมควรแก่เหตุ) ป้องปัดภยันตรายที่ใกล้จะ มาถึง 2) เป็นการกระทําตามคําสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย พิจารณาจากข้อเท็จจริง เจตนา และพฤติกรรม มาตรา 5 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชําระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคน ต้องกระทําโดยสุจริต 1. ต้องไม่กระทําเกินคําสั่งและ/หรือขอบอํานาจที่กฎหมายให้ไว้ คําพิพากษาฎีกาที่ 1358-1369/2506 การที่จําเลย (เทศบาลเมือง สระบุรี) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งได้สั่งการตาม ประกาศของคณะปฏิวัติรื้อห้องแถวที่โจทก์เช่าทั้งหมด มิใช่รื้อเฉพาะส่วนที่รุกล้ําทาง สาธารณะนั้น เป็นการทําเกินคําสั่ง ส่วนที่จําเลยทําเกินจะอ้างว่าเป็นนิรโทษกรรมตาม กฎหมายไม่ได้
177
2. บุคคลนั้นทราบหรือควรทราบว่าข้อเท็จจริงว่า ตนไม่มีสิทธิโดย ชอบ (ไม่สุจริต) อุทาหรณ์ นายกิตติเป็นเจ้าพนักงานขายทอดตลาดตามคําสั่งของทาง ราชการ ได้จัดการขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้อื่น ตนเพียงแต่มีหน้าที่ขาย โดยไม่ทราบ ว่าทรัพย์เป็นของผู้ใด เมื่อนายหมอดีซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ได้ห้ามแล้วว่า ทรัพย์ที่ถูกยึด มาดังกล่าวนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือตนได้ไปร้องคัดค้านไว้ เมื่อนายกิตติมิได้ แสดงให้เห็นว่าทางราชการมีสิทธิอย่างไรในการขายทอดตลาดทรัพย์นั้น นายกิตติหา อ้างว่าได้จัดการขายทรัพย์โดยคําสั่งของทางราชการได้ไม่ ขอให้เทียบเคียง คําพิพากษาฎีกาที่ 1920/2506 การที่อธิบดีกรม ศุลกากรสั่งขายทอดตลาดของที่ยึดตามที่กฎหมายให้อํานาจไว้แม้ต่อมาศาลจะสั่งไม่ริบ ของที่ยึดนั้นก็ตาม คําสั่งของอธิบดีที่สั่งขายไปนั้นก็ยังเป็นคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขายที่ยึดไปนั้นกระทําตามคําสั่งของอธิบดีศุลกากร ดังกล่าว จึงไม่เป็นละเมิด มาตรา 450 บัญญัติว่า ถ้าบุคคลทําบุบสลาย หรือทําลายทรัพย์สิ่ง หนึ่งสิ่งใดเพื่อจะบําบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน ท่านว่าไม่ จําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หากความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุภยันตรายถ้า บุคคลทําบุบสลาย หรือทําลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบําบัดปัดป้องภยันตรายอันมี แก่เอกชนโดยฉุกเฉิน ผู้นั้นจะต้องใช้คืนทรัพย์นั้นถ้าบุคคลทําบุบสลาย หรือทําลาย ทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะป้องกันสิทธิของตน หรือของบุคคลภายนอกจากภยันตราย อันมีมาโดยฉุกเฉิน เพราะตัวทรัพย์นั้นเองเป็นเหตุ บุคคลเช่นว่านี้หาต้องรับผิดใช้ค่า สินไหมทดแทนไม่ หากว่าความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุ แต่ถ้าภยันตรายนั้น เกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลนั้นเองแล้ว ท่านว่าจําต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ มาตรา 451 บัญญัติว่า บุคคลใช้กําลังเพื่อป้องกันสิทธิของตน ถ้า ตามพฤติการณ์จะขอให้ศาลหรือเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือให้ทันท่วงทีไม่ได้ และถ้ามิได้ทําใน ทันใด ภัยมีอยู่ด้วยการที่ตนจะได้สมดังสิทธินั้นจะต้องประวิงไปมากหรือถึงแก่สาบสูญ ได้ไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่การใช้กําลังดังกล่าวมาใน วรรคก่อนนั้น ท่านว่าต้องจํากัดครัดเคร่งแต่เฉพาะที่จําเป็นเพื่อจะบําบัดปัดป้อง ภยันตรายเท่านั้น
178
ถ้าบุคคลผู้ใดกระทําการดังกล่าวมาในวรรคต้น เพราะหลงสันนิษฐาน พลาดไปว่ามีเหตุอันจําเป็นที่จะทําได้โดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับ ผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลอื่น แม้ทั้งการที่หลงพลาดไปนั้นจะมิใช่เป็นเพราะ ความประมาทเลินเล่อของตน มาตรา 452 บัญญัติว่า ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตว์ของ ผู้อื่นอันเข้ามาทําความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์นั้น และยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหม ทดแทนอันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้ และถ้าเป็นการจําเป็นโดยพฤติการณ์แม้จะฆ่าสัตว์นั้น เสียก็ชอบที่จะทําได้แต่ว่าผู้นั้นต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของสัตว์โดยไม่ชักช้า ถ้าและหาตัว เจ้าของสัตว์ไม่พบ ผู้ที่จับสัตว์ไว้ต้องจัดการตามสมควรเพื่อสืบหาตัวเจ้าของ 3.5 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 บัญญัติว่า บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดย สุจริตไซร้ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นๆแต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่ เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง แต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อจะ บอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทําที่ดินให้เป็น ตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะทําไม่ได้โดยใช้เงินพอควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะ เรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้ มาตรา 1311 บัญญัติว่า บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดย ไม่สุจริตไซร้ท่านว่าบุคคลนั้นต้องทําที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ เว้นแต่ เจ้าของจะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของที่ดินต้องใช้ราคาโรงเรือน หรือใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้น แล้วแต่จะเลือก มาตรา 1312 บัญญัติว่า บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ําเข้าไปในที่ดิน ของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้นแต่ต้องเสียเงิน ให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจํายอม ต่อภายหลัง ถ้าโรงเรือนนั้นสลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดินจะเรียกให้เพิกถอนการาจดทะเบียนเสียก็ ได้ ถ้าบุคคลผู้สร้างโรงเรือนนั้นกระทําการโดยไม่สุจริต ท่านว่าเจ้าของ ที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทําที่ดินให้เป็นตามเดิมโดยผู้สร้างเป็นผู้ออก ค่าใช้จ่ายก็ได้ มาตรา 1313 บัญญัติว่า ถ้าผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีเงื่อนไขสร้าง โรงเรือนในที่ดินนั้น และภายหลังที่ดินตกเป็นของบุคคลอื่นตามเงื่อนไขไซร้ ท่านให้นํา บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ
179
4. ความยินยอมของผู้เสียหาย หลักกฎหมายละเมิดที่ผู้กระทําละเมิดจะไม่มีความรับผิดต่อเมื่อผู้ที่เสียหายให้ ความยินยอม เมื่อมีความยินยอมของผู้เสียหายทําให้การกระทํานั้น แม้จะเกิดความ เสียหายก็ไม่เป็นละเมิด (Volenti non fit injuria) : That to which a man consents cannot be considered an injury Volenti non fit injuria เป็นคํามาจากภาษาลาติน (Latin):
หมายความ ถึง การสมัครใจในการเข้าเสี่ยงภัยอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือบาดเจ็บกรณี เช่นนี้ผู้เสียหายมิอาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ กรณีเช่นนี้มักจะเกิดแก่กรณีของ การเล่นแข่งขันกีฬา หรือ ความยินยอมตามปกติประเพณี เป็นอาทิ voluntary assumption of risk. A defence in tort that means where a person engages in an event accepting and aware of the risks inherent in that event, then they can not later complain of, or seek compensation for an injury suffered during the event. This is used most often to defend against tort actions as a result of a sports injury.
อุทาหรณ์ โจทก์แจ้งแก่จําเลย (เพื่อน) ว่า เอาเลยเพื่อนตีที่ท้องฉันหน่อยจะ ทดสอบความแข็งแกร่ง กรณีเช่นนี้ ความยินยอมของโจทก์ทําให้โจทก์ได้รับความ คุ้มครองจากการฟ้องร้อง ประเด็นที่จะต้องพิจารณา 1. ผู้ที่มีสิทธิให้ความยินยอม หลัก ผู้เสียหายเป็นผู้ให้ความยินยอม ข้อยกเว้น บุคคลที่มีอํานาจให้ความยินยอมแทน ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความ เสียหายเป็นผู้ไร้ความสามารถ กรณีเช่น ผู้ใช้อํานาจปกครองหรือผู้ปกครองมีอํานาจให้ความยินยอมแทน ผู้เยาว์ หรือ ผู้อนุบาลให้ความยินยอมแทนคนไร้ความสามารถ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ จากกรณีเจ็บป่วยต้องให้แพทย์ทําการรักษาพยาบาล (ผ่าตัด) ความข้างต้น ขอให้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะโดยทั่วไปต้องให้ ผู้เสียหาย (ผู้ถูกกระทํา) เป็นผู้ให้ความยินยอมด้วยตนเองก่อน มีเพียงเหตุเฉพาะ ได้แก่ ขาดความสามารถในการแสดงเจตนาที่ทําให้บุคคลที่ทําหน้าที่ดูแลมีอํานาจใน การตัดสินใจแทน ส่วนให้ความยินยอมแก่ใครนั้น จะเห็นได้ว่า โดยปกติแล้วการให้ความยินยอม ต้องให้ความยินยอมเป็นการเฉพาะเจาะจงว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้กระทํา เว้นแต่ลักษณะ งานบางประเภท เช่น ยินยอมให้แพทย์รักษาโดยไม่ระบุตัวแพทย์
180
2. ความแตกต่างระหว่างการยอมเข้ารับภัยกับการรับรู้ภัย ผลของความยินยอมเป็นเหตุมาจากผู้เสียหายได้รับทราบข้อมูลหรือความ คาดหมายถึงความเสียหายที่ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน จึงสมัครใจเข้ารับภัยนั้น 3. ระยะเวลาของความยินยอม การให้ความยินยอมจะต้องมีอยู่ก่อนหรือขณะกระทําความผิด และต้องไม่ ปรากฏว่าผู้เสียหายได้ถอนความยินยอมแล้วไม่ว่าจะโดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายก็ตาม 4. ลักษณะของความยินยอม ความยินยอมอาจให้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ แต่สําหรับการนิ่งโดยหลัก แล้วไม่ถือว่าเป็นการให้ความยินยอม เว้นแต่ สามารถเข้าใจโดยสภาพและพฤติการณ์ ว่าให้ความยินยอม 5. ความยินยอมโดยสมัครใจ บุคคลนั้นต้องเข้าใจในผลแห่งความยินยอม และต้องเป็นไปด้วยความสมัคร ใจปราศจากการข่มขู่ หลอกลวง สําคัญผิด รับรู้ข้อมูลอย่างผิดพลาด หรืออยู่ในฐานะ เสียเปรียบในการเข้าใจข้อมูล เช่น ในต่างประเทศกรณีบุหรี่ การสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยใน ผลร้ายของบุหรี่อันเพราะเกิดจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ชวนเชื่อ ศาลต่างประเทศ ให้ความคุ้มครองโจทก์ว่ามิได้สมัครใจให้ความยินยอม เนื่องจากประชาชนอยู่ในฐานะ ของผู้รับรู้ข้อมูลด้อยกว่าผู้ประกอบธุรกิจ อุทาหรณ์ การที่ฝ่ายหญิงยอมร่วมประเวณีกับชาย เพราะฝ่ายชายหลอกลวงว่า จะรับเลี้ยงดูและจดทะเบียนสมรสภายหลัง กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นละเมิด เพราะการ ร่วมประเวณีเกิดจากความยินยอมของฝ่ายหญิง แต่หากฝ่ายชายร่วมประเวณีกับหญิง โดยทําให้หญิงสําคัญผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่นที่หญิงยินยอมร่วมประเวณี ย่อมไม่ถือว่า หญิงให้ความยินยอม 6. ความยินยอมที่ขัดต่อศีลธรรม แต่เดิมหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดทางแพ่งใช้ได้กับทุกกรณี ซึ่งแตกต่าง กับความยินยอมในคดีอาญาจะยกเว้นความรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อความยินยอมต้อง ไม่ขัดต่อสํานึกในศีลธรรมอันดี เช่น การท้าให้จําเลยยิงตนเองเพื่อลองวิชาอาคม ย่อม ไม่ถือเป็นการยกเว้นความรับผิดอาญา แต่จะไปฟ้องเรียกร้องทางแพ่งมิได้ หรือ ยินยอมให้แพทย์ผ่าตัด หรือยินยอมให้ช่างตัดผม โดยสภาพเป็นการทําร้ายร่างกาย แต่ เมื่อการกระทําดังกล่าวไม่เป็นขัดต่อศีลธรรมอันดี โจทก์จะไปเรียกร้องทางแพ่งและ/ หรือทางอาญามิได้ แต่ข้อให้สังเกตว่าในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการบังคับใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ซึ่งมีผลกลับหลักเดิมซึ่งจะ ได้กล่าวถึงในหัวข้อที่ 9 ต่อไป
181
7. ขอบเขตของความยินยอม ขอบเขตของความยินยอมมีหลักอยู่ว่า “ยินยอมเรื่องใด ยกเว้นความรับผิด เฉพาะเรื่องนั้น” ตัวอย่าง โจทก์พบจําเลยซึ่งเป็นแพทย์โสตประสาทเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บที่หู ข้างขวา และให้ความยินยอมแพทย์เพื่อผ่าตัดหูข้างขวา ในขณะช่วงเวลารักษาซึ่งโจทก์ ไม่รู้สึกตัว จําเลยตัดสินใจผ่าตัดหูข้างซ้ายเนื่องจากเห็นว่าจะเป็นการรักษาที่ได้ผลดีกว่า จะเห็นได้ว่า การกระทําของแพทย์เช่นนี้ย่อมไม่อยู่ในความคุ้มครองจากการถูกฟ้อง ละเมิด หรือ โจทก์ยินยอมให้แพทย์ผ่าตัดไส้ติ่ง แต่แพทย์กลับไปผ่าตัดกระเพาะอาหาร ด้วยความประมาทเลินเล่อ เช่นนี้แพทย์ต้องรับผิด แต่หากเป็นกรณีเหตุฉุกเฉินมิได้มีหลักกําหนดไว้ว่า ไม่ต้องอาศัยความยินยอม แต่สามารถอ้างหลักในเรื่องของความประมาทเลินเล่อได้ 8. ความเสี่ยงภัยเข้าช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภยันตราย 9. คําประกาศว่าไม่รับผิดชอบต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 8 ได้ บัญญัติว่า ข้อตกลง ประกาศ หรือคําแจ้งความที่ได้ทําไว้ล่วงหน้า เพื่อยกเว้นหรือจํากัด ความรับผิดเพื่อละเมิดหรือผิดสัญญาในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของ ผู้อื่น อันเกิดจากการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ตกลง ผู้ประกาศ ผู้แจ้ง ความ หรือของบุคคลอื่นซึ่งผู้ตกลง ผู้ประกาศ หรือผู้แจ้งความต้องรับผิดด้วย จะนํามา อ้างเป็นข้อยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดไม่ได้ ข้อตกลง ประกาศ หรือคําแจ้งความที่ได้ทําไว้ล่วงหน้าเพื่อยกเว้นหรือ จํากัด ความรับผิดในกรณีอื่นนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ซึ่งไม่เป็น โมฆะ ให้มีผล บังคับได้ เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น มาตรา 9 ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสําหรับการกระทําที่ ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของ ประชาชน จะนํามาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้ มาตรา 10 ในการวินิจฉัยว่าข้อสัญญาจะมีผลบังคับเพียงใดจึงจะเป็นธรรม และพอสมควรแก่กรณี ให้พิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ทั้งปวง รวมทั้ง (1) ความสุจริต อํานาจต่อรอง ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้ ความเข้าใจ ความ สันทัดจัดเจน ความคาดหมาย แนวทางที่เคยปฏิบัติ ทางเลือกอย่างอื่น และทางได้เสีย ทุกอย่างของคู่สัญญาตามสภาพที่เป็นจริง (2)ปกติประเพณีของสัญญาชนิดนั้น
182
(3)เวลาและสถานที่ในการทําสัญญาหรือในการปฏิบัติตามสัญญา (4) การรับภาระที่หนักกว่ามากของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
กับ
5. กรณีผู้เสียหายมีส่วนผิดด้วย มาตรา 442 บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่ง อย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นําบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มา ใช้บังคับ โดยอนุโลม มาตรา 223 บัญญัติว่า ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทําความผิดอย่างใดอย่าง หนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่าย ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณข้อสําคัญก็คือว่า ความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรวิธีเดียวกัน นี้ ท่านให้ใช้แม้ทั้งที่ความผิดของฝ่ายผู้ที่เสียหายจะมีแต่เพียงละเลยไม่เตือนลูกหนี้ให้ รู้สึกถึงอันตรายแห่งการเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่ อาจจะรู้ได้ หรือเพียงแต่ละเลยไม่บําบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วย อนึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา 220 นั้น ท่านให้นํามาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม หลักกฎหมายมีอยู่ว่า ให้หักลบความรับผิดชอบของผู้ที่ทําละเมิดลงตามส่วน จึงมีประเด็นปัญหาให้พิจารณาว่า 1. กรณีมีความผิดเสมอกัน 2. กรณีบุคคลที่สามมีส่วนผิด 3. กรณีนายจ้างมีส่วนผิด คําพิพากษาฎีกาที่ 2129/2542 หนังสือยินยอมให้ทําการปลูกสร้างอาคาร ร่วมผนัง เป็นข้อตกลงระหว่างจําเลยกับ ส. เจ้าของที่ดินในการก่อสร้างอาคารชิดแนว เขตที่ดินของตนและใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กกับผนังอาคารด้านติดกันนั้น ร่วมกัน โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยซื้อมาจากภรรยาและทายาทผู้รับมรดก ของ ส. เจ้าของที่ดินเดิมฐานรากที่รุกล้ําและเหล็กเส้นที่งอกเงยเกิดจากจําเลยกระทําไป ตามข้อตกลงในหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารร่วมผนัง แม้จะมีส่วนรุกล้ําก็ไม่เป็น การทําละเมิดต่อ ส. โจทก์รับโอนที่ดินของ ส. มาในสภาพที่มีการรุกล้ําอยู่ก่อนแล้ว จึง ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจําเลยเกี่ยวกับการรุกล้ํา คําพิพากษาฎีกาที่ 399/ 2546 ห้างจําเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสะพาน มีหน้าที่ต้องติดตั้งเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน ตลอดเวลา แต่กลับละเลยไม่ติดตั้งเครื่องหมายดังกล่าว ถือว่าจําเลยที่ 1 ประมาท
183
เลินเล่ออย่างร้ายแรง แม้ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่หากมี เครื่องหมายเตือนเชื่อว่าผู้ตายสามาถเห็นและชะลอความเร็วรถได้ทันและจะไม่ชนท่อ ระบายน้ําคอนกรีต เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพราะความประมาทของจําเลยที่ 1 มากกว่า จําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจําเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่ง ละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของผู้ตาย ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ควร จะได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวเป็นประมาณตาม มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 คําพิพากษาฎีกาที่ 880/2546 แม้ในปกหน้าด้านในของสมุดเงินฝาก จะมี ข้อความให้ผู้ฝากเงินเป็นผู้เก็บรักษาสมุดเงินฝากเองก็ตาม ก้เป็นเพียงคําแนะนํามิใช่ ข้อตกลงในการฝากเงิน ส่วนในคําขอเปิดบัญชีเงินฝากนั้นก็ไม่ได้มีเงื่อนไขโดยชัดแจ้ง ว่าผู้ฝากหรือโจทก์จะต้องเก็บรักษาสมุดเงินฝากไว้เอง คงมีแต่คําแนะนําว่าควรเก็บไว้ ในที่ปลอดภัยเท่านั้น การที่จําเลยที่ 2 ถอนเงินฝากของโจทก์ไปได้ จึงเกิดจากความ ประมาทเลินเล่อของพนักงานของจําเลยที่ 1 มิได้เป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์ฝาก สมุดเงินฝากไว้กับจําเลยที่ 2 การกระทําของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาท เลินเล่อในการกระทําละเมิดของจําเลยที่ 2 ด้วย ข้อสังเกต ศาลมีอํานาจยกบทบัญญัตินี้ขึ้นวินิจฉัยเองได้ คําพิพากษาฎีกาที่ 2864/2546 การพิจารณาว่าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะ ฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรนั้น เมื่อ ว. ผู้ขับรถโจทก์มีส่วนประมาท มากกว่าจําเลย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น การวินิจฉัย ว่าโจทก์และจําเลยต่างมีส่วนประมาทแต่โจทก์เป็นฝ่ายประมาทมากกว่าและกําหนดให้ จําเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หนึ่งในสามส่วนของค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับจึงไม่ชอบ ด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความ สงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอํานาจ ยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้
184
บทที่ 6 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด ค่าสินไหมทดแทน (Compensatory) คือการเยียวยาความเสียหาย/บาดเจ็บที่ ผู้เสียหายได้รับการจากถูกทําละเมิด การเยียวยาความเสียหายกฎหมายให้กําหนดเป็น ตัวเงินเท่านั้น โดยอยู่ภายใต้ปรัชญาว่า “ไม่มีผู้ใดค้ากาไรจากการเป็นคดีความ ” ซึ่ง จะได้ค่าสินไหมทดแทนมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมาก หรือน้อย ผู้ที่ถูกทําละเมิดมีสิทธิที่จะดําเนินการเพื่อให้ได้รับการเยียวยาได้หลายทาง ดังต่อไปนี้ 1. หลัก Self –Help เป็นหลักการเพื่อเข้ามาเพื่อขจัดหรือป้องปัดภัยพิบัติที่เกิดหรือจะเกิดขึ้นด้วย ตัวของผู้ประสบภัยเอง (1) ตามมาตรา 1337 บุคคลใดใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้เจ้าของ อสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะ เป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตําแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมา คํานึงประกอบไซร้ ท่านว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยังความ เสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไป ทั้งนี้ไม่ลบล้างสิทธิที่จะเอาค่าทดแทน หลักที่บุคคลที่ได้รับความเสียหายหรืออาจจะได้รับความเสียหายอาจใช้สิทธิ ป้องกันตัวเอง หากปรากฏว่า 1. เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ข้างเคียงที่ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนจาก การกระทําของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ข้างเคียง 2. ปฏิบัติการใด ๆ เพื่อขจัดความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้น 3. ไม่ลบล้างสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน (2) การทําละเมิดเพื่อบําบัดปัดป้องภยันตราย ตามมาตรา 450 ถ้าบุคคลทําบุบสลาย หรือทําลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อจะ บําบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน ท่านว่าไม่จําต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทน หากความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุภยันตราย ถ้าบุคคลทําบุบสลาย หรือทําลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบําบัดปัดป้อง ภยันตรายอันมีแก่เอกชนโดยฉุกเฉิน ผู้นั้นจะต้องใช้คืนทรัพย์นั้น
185
ถ้าบุคคลทําบุบสลาย หรือทําลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะป้องกันสิทธิของ ตน หรือของบุคคลภายนอกจากภยันตรายอันมีมาโดยฉุกเฉิน เพราะตัวทรัพย์นั้นเอง เป็นเหตุ บุคคลเช่นว่านี้หาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ หากว่าความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุ แต่ถ้าภยันตรายนั้นเกิดขึ้น เพราะความผิดของบุคคลนั้นเองแล้ว ท่านว่าจําต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ มาตรา 450 มีลักษณะที่แตกต่างจากมาตรา 449 เนื่องจากมาตรา 450 เป็น การป้องปัดภัยที่อาจเกิดจากธรรมชาติหรือสิ่งอื่นใดที่มิใช่เกิดจากผู้อื่น (บุคคล) ตาม มาตรา 449 “...หากก่อให้เกิดเสียหายแก่ผู้อื่นไซร้...” มาตรา 450 สามารถจําแนกได้ 2 กรณี (1) การทาละเมิดเพื่อบาบัดปัดป้องภยันตรายสาธารณะโดยฉุกเฉิน 1. บุคคลมีเจตนาเพื่อป้องปัดภยันตรายโดยกระทําละเมิดแก่ทรัพย์สิ่งใดสิ่ง หนึ่ง จะสังเกตได้ว่า กฎหมายกําหนดเฉพาะการทําความเสียหายแก่ทรัพย์มิใช่ บุคคล ดังนั้น การป้องกันภยันตรายแล้วไปกระทําละเมิดแก่บุคคลอื่นย่อมไม่เข้าข่าย การนิรโทษกรรม 2. บําบัดป้องกันภยันตรายสาธารณะโดยฉุกเฉิน ซึ่งตามวรรคหนึ่งเป็นการนิรโทษกรรมให้แก่การกระทําเพื่อเป็นการป้องกัน ภยันตรายสาธารณะโดยฉุกเฉิน เช่น การพังทํานบเพื่อป้องกันน้ําท่วม การพังรั้วเพื่อ เข้าไปดับเพลิง “สาธารณะ ” หมายความถึง เรื่องที่เกี่ยวกับส่วนรวมมิใช่เฉพาะบุคคลหนึ่ง บุคคลใดเฉพาะเจาะจง และเงื่อนไขที่เข้ามาบังคับอีกชั้นหนึ่งที่สามารถยกเป็นบทนิร โทษได้คือ “โดยฉุกเฉิน ” หมายความถึง ต้องรีบด่วนโดยพลัน เพื่อมิให้ผู้คนส่วน ใหญ่ได้รับความเสียหาย เพราะฉะนั้น ต้องชั่งน้ําหนักผลประโยชน์ที่ได้ว่าความเสียหาย ที่เกิดขึ้นต้องให้ประโยชน์แก่ส่วนรวมมากกว่าด้วย 3. ความเสียหายต้องไม่เกินสมควรแก่เหตุภยันตราย
186
(2) การทาละเมิดเพื่อบาบัดปัดป้องภยันตรายแก่เอกชน วรรคสอง ถ้าบุคคลทําบุบสลาย หรือทําลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบําบัด ปัดป้องภยันตรายอันมีแก่เอกชนโดยฉุกเฉิน ผู้นั้นจะต้องใช้คืนทรัพย์นั้น มาตรา 451 บุคคลใช้กําลังเพื่อป้องกันสิทธิของตน ถ้าตามพฤติการณ์จะ ขอให้ศาลหรือเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือให้ทันท่วงทีไม่ได้ และถ้ามิได้ทําในทันใด ภัยมีอยู่ ด้วยการที่ตนจะได้สมดังสิทธินั้นจะต้องประวิงไปมากหรือถึงแก่สาบสูญได้ไซร้ ท่านว่า บุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่การใช้กําลังดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าต้องจํากัดครัดเคร่งแต่เฉพาะที่จําเป็นเพื่อจะบําบัดปัดป้องภยันตรายเท่านั้น ถ้าบุคคลผู้ใดกระทําการดังกล่าวมาในวรรคต้น เพราะหลงสันนิษฐานพลาดไป ว่ามีเหตุอันจําเป็นที่จะทําได้โดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่า สินไหมทดแทนให้แก่บุคคลอื่น แม้ทั้งการที่หลงพลาดไปนั้นจะมิใช่เป็นเพราะความ ประมาทเลินเล่อของตน มาตรา 452 ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตว์ของผู้อื่นอันเข้ามาทํา ความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์นั้น และยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนอันจะพึง ต้องใช้แก่ตนได้ และถ้าเป็นการจําเป็นโดยพฤติการณ์แม้จะฆ่าสัตว์นั้นเสียก็ชอบที่จะทํา ได้แต่ว่าผู้นั้นต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของสัตว์โดยไม่ชักช้า ถ้าและหาตัวเจ้าของสัตว์ไม่พบ ผู้ที่จับสัตว์ไว้ต้องจัดการตามสมควรเพื่อสืบหาตัวเจ้าของ 2. ฟ้องคดีของให้ศาลมีคาสั่งห้ามบุคคลที่กระทาละเมิดยุติการกระทา (Injunction)
เช่น ลงหนังสือพิมพ์หมิ่นประมาท ขณะฟ้องร้องให้จําเลยรับผิด แล้วขอให้ ศาลมีคําสั่งห้ามกระทําสิ่งนั้นต่อไป ซึ่งการร้องขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามมีด้วยกันอยู่หลาย ทาง เช่น คําพิพากษาของศาลถือเป็นที่สุดของคําสั่งห้าม (Final) 3. ฟ้องขอให้ศาลมีคาสั่งแสดงสิทธิของตน (Declaration of Right) เพื่อยืนยันว่าตนมีสิทธิ ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า สิทธินั้นไม่ชัดเจน และมีคน มาล่วงสิทธินั้น และฟ้องต่อศาลให้ยืนยันสิทธิ เช่น คดีพิพาทในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่ชัดเจน โจทก์ว่าที่ดินเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ จําเลยบุกรุกเข้ามาขอให้ศาลขับไล่ จําเลย จําเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินที่ตนได้รับมรดกมา จําเลยขอให้ศาลมี คําสั่งยกฟ้องและขอให้ศาลมีคําสั่งแสดงสิทธิของตนในที่ดินนั้น 4. ฟ้องขอให้ศาลมีคาสั่งบังคับให้กระทาการ (Mandamus Order)
187
เช่น คดีฟ้องขับไล่ ฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง มาตรา 435 ละเมิดที่เกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ฝ่ายผู้เสียหาย สามารถกระทําดังนี้ 1. ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยรื้อถอนหรือกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ปลอดภัย ฉะนั้นต้องขอต่อศาลให้ชัดเจนว่าต้องการให้ศาลมีคําสั่งอย่างไร 2. หากจําเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์สามารถเข้าดําเนินการได้โดยค่าใช้จ่าย ทั้งหมดที่สมควรแก่เหตุให้ตกเป็นภาระของจําเลย มาตรา 447 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ โดย ขอให้ศาลสั่งให้จําเลยจัดทําการตามสมควรเพื่อทําให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีขึ้น ตัวอย่าง โจทก์ (ผู้เสียหาย) ได้ฟ้องจําเลยว่าได้กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่ง ข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นละเมิดมาตรา 423 คดีนี้ได้ความว่า โจทก์เป็น พนักงานการประปานครหลวง ตําแหน่งช่างฝีมือ 3 ส่วนทะเบียนและซ่อมบํารุง กอง บริการภายใน จําเลยเป็นพนักงานการประปานครหลวง ตําแหน่งผู้อํานวยการ บํารุงรักษา เมื่อประมาณต้นเดือนเมษายน 2534 จําเลยกระทําการละเมิดต่อโจทก์ด้วย การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงโดยกล่าวใส่ความโจทก์ ต่อบุคคลที่สาม ว่า “ตอนที่สมัยโจทก์ยังทํางานอยู่ที่เขตบริการพระโขนง โจทก์ได้ไปลักเจาะท่อ ประปาใหม่ให้แก่โรงน้ําแข็งในพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการผิดระเบียบของการ ประปานครหลวง โจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนมีโทษหนักถึงไล่ออกจากงาน และตัว จําเลยเป็นกรรมการสอบสวนเอาความผิดแก่โจทก์ด้วย โจทก์ไปขอร้องให้ช่วยเหลือ มิฉะนั้นครอบครัวจะเดือดร้อน โจทก์ต้องถูกไล่ออกจากงาน จําเลยสงสารเห็นแก่ ครอบครัวจึงได้ช่วยเหลือให้โจทก์พ้นผิดจากการถูกลงโทษ ถ้าจําเลยไม่ช่วยเหลือ ก็ ต้องถูกไล่ออกจากงานไปแล้ว” ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จําเลยจงใจกล่าวใส่ความโจทก์เพื่อให้บุคคล อื่น ผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง และบุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โจทก์มี พฤติการณ์เช่นที่จําเลยใส่ความทําให้โจทก์ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง เสื่อมเสียต่อชื่อเสียง เกียรติคุณ และทางทํามาหาได้ โจทก์เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบศาล แรงงานกลาง ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการมาตรฐานความปลอดภัยในการทํางานของ กระทรวงมหาดไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการสภาไทย ได้รับการเลือกตั้งเป็น กรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์การประปานครหลวง เป็นที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงาน แห่งชาติ เป็นที่ปรึกษาบริษัทเอกชนหลายแห่ง เป็นหัวหน้าหน่วยของบริษัทเมืองไทย
188
ประกันชีวิต จํากัด และดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับบ้านและที่ดินจัดสรร โจทก์ขอคิด ค่าเสียหายที่ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ความเชื่อถือ และทางทํามาหาได้ทั้งสิ้นเป็นเงินหนึ่ง ล้านบาท และให้จําเลยโฆษณาคําพิพากษาของศาลในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ เด ลิมิเรอร์ บ้านเมือง และมติชน โดยจําเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ท่านจะเห็นได้ว่า ในคดีนี้ โจทก์ถูกจําเลยกระทําละเมิดตามมาตรา 423 หมิ่น ประมาท ซึ่งโจทก์เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด และโดยขอให้ศาลสั่งให้ จําเลยจัดทําการตามสมควรเพื่อทําให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีขึ้น กล่าวคือ ขอให้ จําเลยโฆษณาคําพิพากษาของศาลในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ เดลิมิเรอร์ บ้านเมือง และมติชน โดยจําเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย 3. กรณีอื่น เช่น ให้ศาลมีคําสั่งให้จําเลยส่งข้อมูลเอกสารให้โจทก์ตาม รัฐธรรมนูญ 5. ค่าเสียหาย (Compensation) ค่าเสียหายหรือ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด กฎหมายได้วางหลักการกําหนด ค่าเสียหายไว้โดยบัญญัติไว้ตาม มาตรา 438 ว่า ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถาน ใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะ ละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความ เสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
5.1 หลักชดเชยความเสียหาย (Compensatory Damage) ในการกําหนดค่าเสียหายให้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ผู้ถูกกระทําละเมิด ซึ่ง ศาลจะไม่ให้โจทก์ได้รับกําไรจากสิ่งที่สูญเสีย ข้อยกเว้น 5.1.1 ค่าเสียหายแต่ในนาม (Nominal Damage) พิจารณาได้ว่า ค่าเสียหายจริง ๆ แล้วไม่มีที่จะต้องชดใช้ให้ แต่ถ้าไม่กําหนดให้ มีค่าเสียหายจะดูประหนึ่งว่ากฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครอง ศาลจึงกําหนดค่าเสียหาย ให้ เช่น นายกิตติ ด่าทอนายหมอดีต่อหน้าธารกํานัล เป็นต้น ขอยกตัวอย่าง ในคดีที่จําเลยหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งหมิ่นประมาทนักการเมือง ที่ได้เคยแสดงแล้วในเรื่องของมาตรา 423 นั้น คดีดังกล่าวศาลใช้ดุลยพินิจกําหนด ค่าเสียหาย ซึ่งโจทก์ได้ฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสอง (ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์) ที่กําหนดค่า เสียหายให้แก่โจทก์ห้าล้านบาท แต่โจทก์ฎีกาว่าห้าล้านบาทน้อยเกินไป ควรเป็นสิบ
189
ล้านบาท ในขณะเดียวกันจําเลยทั้งสองฎีกาว่าห้าล้านบาทมากเกินไปเช่นกัน ศาลฎีกา ได้วินิจฉัยดังต่อไปนี้ ขอให้ท่านพึงสังเกตข้อเท็จจริงแวดล้อมที่ศาลกําหนดค่าเสียหาย ดังนี้ โจทก์เป็นนักการเมืองอาวุโสมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไป เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ติดต่อกันถึง 6 สมัย เคยดํารงตําแหน่ง รัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ขณะเกิดเหตุเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ และเป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม โจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับ การสนับสนุนให้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อการกระทําละเมิดของจําเลยทั้งสอง ทําให้โจทก์ 1. เสียชื่อเสียง 2. ถูกดูหมิ่น 3. ถูกเกลียดชัง 4. ขาดความเชื่อถือทางการค้า 5. สูญเสียโอกาสในการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองกําหนดให้จําเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเหมาะสม แล้ว 5.1.2 ค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive Damage) หลักค่าเสียหายในเชิงลงโทษนี้นิยมแพร่หลายอย่างมากในประเทศ Common การกําหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษเพื่อไม่ต้องการให้ผู้อื่นเอาเยี่ยงอย่าง
law (Exemplatory Damage)
กรณีเช่นว่านี้ ศาลจะกําหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์สูงกว่าที่เป็นจริง ศาลอังกฤษจะใช้หลักค่าเสียหายเชิงลงโทษ อยู่ 2 กรณี 1. กรณีละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทําโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ หรือทุจริต เพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ประชาชน 2. กรณีละเมิดที่ตัวผู้กระทําละเมิดจงใจกระทําละเมิดเพื่อผลประโยชน์ในทาง เศรษฐกิจของตนเอง เช่น การลงหนังสือพิมพ์เผยแพร่ข่าวที่เป็นเท็จ แต่คํานวณรายได้ จากการขายหนังสือพิมพ์เมื่อหักกับค่าสินไหมทดแทนแล้วเห็นว่าได้กําไร ศาลก็จะ กําหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้สูงขึ้น กรอบของการกําหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็น อิสระของศาลที่สามารถกําหนดได้ในทุกกรณีมิได้จํากัดเพียงสองประการเหมือนศาล อังกฤษ สําหรับประเทศไทย ถือว่ากฎหมายละเมิดเป็นเครื่องมือทางกฎหมายเพื่อให้ สังคมยุติธรรมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้น ในการกําหนดค่าเสียหายหรือค่า สินไหมทดแทน มาตรา 438 บัญญัติว่า “ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด
190
เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ” เช่น คดีทําลายสุสานบรรพบุรุษ โจทก์นําคดีฟ้องศาลเป็นคดีละเมิด (ความเสียหายต่อ ทรัพย์) ซึ่งจะเห็นได้ว่าลําพังเพียงความเสียหายต่อทรัพย์สินมิได้มีราคาค่างวดเท่าไหร่ แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในหมู่ญาติพี่น้องมากมายเกินกว่าราคาทรัพย์ ศาลฎีกาเคย ตัดสินว่าศาลสามารถกําหนดค่าสินไหมทดทดแทนให้มากกว่าความเสียหายได้ 5.2 ความเสียหายที่กฎหมายไม่คุ้มครอง ความเสียหายที่กฎหมายรับรองต้องเป็นความเสียหายที่มีลักษณะแน่นอน ชัดเจนเป็นรูปธรรม 1. ความเสียหายต่อจิตใจ 2. ความเสียหายทางเศรษฐกิจ 3. ความเสียหายในอนาคต 5.3 ความเสียหายอย่างอื่นที่คานวณเป็นตัวเงินมิได้ มาตรา 446 บัญญัติว่า “ในกรณีทาให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ ดี ในกรณีทาให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทน เพื่อความที่เสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินด้วยอีกก็ได้ สิทธิเรียกร้องอันนี้ไม่โอนกัน ได้ และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือ ได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว อนึ่ง หญิงที่ต้องเสียหายเพราะผู้ใดทาผิดอาญาเป็นทุรศีลธรรมแก่ตนก็ ย่อมมีสิทธิเรียกร้องทานองเดียวกันนี้” หมายความว่า ความเสียหายอันไม่อาจคํานวณเป็นเงินได้ แต่ความเสียหาย เช่นว่านี้ต้องเป็นผล สืบเนื่องมาจากการกระทําละเมิด จําเป็นต้องเยียวยาหรือทดแทน ความเสียหายให้ เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสียหายมากยิ่งกว่าความเสียหายต่อ ร่างกายอีกด้วย ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน เช่น ความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่าง การรักษา พยาบาลหรือต้องทุพพลภาพพิการต่อไป ความเสียหายเช่นว่านี้กฎหมายให้ ศาล มีอํานาจกําหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหม ทดแทนเพื่อความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน ย่อมจะนําสืบคิดเป็นจํานวนเงินเท่าใด ไม่ได้อยู่ ในตัว การละเมิดทาให้ผู้เสียหายเครียด คดีผ่าตัดหน้าอกดังที่ได้กล่าวถึงในเรื่องความประมาทเลินเล่อ คดีนี้โจทก์ฟ้อง ว่าความประมาทเลินเล่อทําให้สภาพเต้านมทั้งสองข้างกลายเป็นก้อนเนื้อที่ติดกันเพียง ก้อนเดียว และหมดความรู้สึกในการตอบสนองการสัมผัสและไม่มีหัวนม หลังจาก
191
ได้รับการผ่าตัดแล้วมีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรงเป็นเหตุให้มีน้ําเหลืองไหลออกมาเป็น จํานวนมาก โจทก์เรียกร้องดังต่อไปนี้ 1. ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด 100,000 บาท 2. ค่ารักษาพยาบาลในการรักษาเต้านมเพิ่มขึ้น 73,135 บาท 3. ค่าความทนทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นความเสียหายอันมิใช่ ตัวเงิน 1,200,000 บาท 4. ค่ารักษาพยาบาลในอนาคต 700,000 บาท จะเห็นได้ว่า ประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพราะความเสียหายกรณีที่ 1 และ 2 สามารถพิสูจน์ได้ว่าเสียค่าใช้จ่ายไปจริงเท่าไหร่ ก็สามารถเรียกร้องได้ กรณีที่ 3 สําหรับการที่โจทก์มีอาการเครียดเนื่องจากอาการเจ็บปวด ต่อมา ภายหลังพบว่าการทําศัลยกรรมไม่ได้ผลทําให้โจทก์เครียดมาก กังวลและนอนไม่หลับ รุนแรงกว่าก่อนผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิม ความเครียดของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรง มาจากการผ่าตัด จําเลยต้องรับผิดและแม้ไม่มีใบเสร็จมาแสดงว่าได้เสียเงินไปเป็น จํานวนเท่าใดแน่นอน แต่น่าเชื่อว่าโจทก์ต้องรักษาจริง จึงเห็นสมควรกําหนดค่าใช้จ่าย ส่วนนี้เป็นเงิน 50,000 บาท ส่วนกรรีที่ 4 ค่าเสียหายอื่นเมื่อปรากฏว่าหลังจากแพทย์โรงพยาบาลอื่นได้ รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกติแล้ว จึงไม่อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความ เสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน เพราะไม่มีความเสียหายที่แน่นอน คําพิพากษาฎีกาที่ 5751/2544 การรถไฟแห่งประเทศไทย จําเลยที่ 9 ไม่ สามารถส่งโจทก์ทั้งสอง และผู้โดยสารอื่นต่อไปได้เพราะมีรถไฟตกรางอยู่ข้างหน้า จําเลยที่ 9 ย่อมมีหน้าที่ จัดหายานพาหนะอื่นขนส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นไปให้ ถึงจุดหมายปลายทาง อันเป็นการรับขนส่งผู้โดยสารตาม ป.พ.พ. มาตรา 608-609 และ พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 9 (7) การขนถ่ายผู้โดยสารของ จําเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 จากขบวนรถไฟของจําเลยที่ 9 ที่ปรากฏแก่โจทก์ทั้งสองและ บุคคล ภายนอกซึ่งไปมาระหว่างสถานีรถไฟ ล. กับสถานีรถไฟ ค. จึงเป็นการทําแทน จําเลย ที่ 9 นิติสัมพันธ์ระหว่างจําเลยที่ 9 กับจําเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 จึงอยู่ในฐานะ ตัวการและตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 หมายความว่า ความ เสียหายอันไม่อาจคํานวณเป็นเงินได้ แต่ความเสียหายเช่นว่านี้ต้องเป็นผล สืบ เนื่องมาจากการกระทําละเมิด จําเป็นต้องเยียวยาหรือทดแทนความเสียหายให้ เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสียหายมากยิ่งกว่าความเสียหายต่อร่างกายอีกด้วย ความ เสียหายที่มิใช่ตัวเงิน เช่น ความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่างการรักษา พยาบาลหรือ
192
ต้องทุพพลภาพพิการต่อไป ความเสียหายเช่นว่านี้กฎหมายให้ศาล มีอํานาจกําหนดให้ ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความ เสียหายที่มิใช่ตัวเงิน ย่อมจะนําสืบคิดเป็นจํานวนเงินเท่าใด ไม่ได้อยู่ในตัว เมื่อพิจารณาจากลักษณะบาดแผลกับวิธีการรักษาบาดแผลของ โจทก์ที่ 1 ซึ่ง ต้องผ่าตัดและเข้าเฝือกหลายครั้ง ต้องรับการรักษาเป็นเวลานานร่วม 3 ปี ต้องทนทุกข์ ทรมานต่อความเจ็บปวดของบาดแผลในระหว่างการรักษา อันเป็นเวลานาน ยิ่งกว่านั้น สภาพแขนซ้ายของโจทก์ที่ 1 ต้องทุพพลภาพ ตลอดชีวิต ทั้งเสียบุคลิกภาพเนื่องจาก ผลของการผ่าตัดทําให้แขนซ้ายสั้นกว่า แขนขวา ถือว่าเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน ที่โจทก์ที่ 1 ชอบจะเรียกร้องได้ โจทก์ที่ 2 ต้องออกจากงานมาดูแลโจทก์ที่ 1 โดย ตลอด ซึ่งก็ต้อง ขวนขวายหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโจทก์ที่ 1 รวมทั้งการดํารงชีพ ของโจทก์ที่ 1 ตลอดมาในระหว่างดําเนินคดีจนคดีถึงที่สุดเป็น เวลานานกว่า 10 ปี นอกจากนี้ในคดีละเมิด โจทก์ที่ 1 มีสิทธิ์เรียกดอกเบี้ยได้นับแต่ วันละเมิดเป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 แต่โจทก์ที่ 1 ก็มิได้เรียกร้องดอกเบี้ย ก่อนฟ้อง มาด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองกําหนดให้จําเลยที่ 9 เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อย ละ 15 ต่อปีของค่าเสียหายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) นั้นชอบแล้ว ค่าเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย มาตรา 444 ในกรณีทําให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้นผู้ต้อง เสียหายชอบที่จะได้ชดใช้ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป และค่าเสียหายเพื่อการที่เสีย ความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ทั้งในเวลาปัจจุบันนั้นและใน เวลาอนาคตด้วย ถ้าในเวลาที่พิพากษาคดี เป็นพ้นวิสัยจะหยั่งรู้ได้แน่ว่าความเสียหายนั้นได้ มีแท้จริงเพียงใด ศาลจะกล่าวในคําพิพากษาว่ายังสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคําพิพากษา นั้นอีกภายในระยะเวลาไม่เกินสองปีก็ได้ ค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่ บางส่วน การศึกษาเรื่อง “ค่าสินไหมทดแทน : ศึกษากรณีเสียความสามารถ ประกอบการงาน” วัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อให้ทราบว่า การเสียความสามารถ ประกอบการงานในกรณีที่เกิดจากการกระทําละเมิดแก่ร่างกายหรืออนามัย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย มาตรา 444 มีความหมายและขอบเขต เพียงใด กรณีใดบ้างที่จะถือว่าเป็นการเสียความสามารถประกอบการ มีหลักเกณฑ์ใน
193
การพิจารณาความเสียหายนี้อย่างไร ศาลไทยตีความและบังคับใช้บทบัญญัติของ กฎหมายอย่างไร ปัญหาในทางปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นมีประการใดบ้าง วิธีการศึกษาใช้ วิธีค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความ และคําพิพากษาของศาล ทั้งของ ไทยและต่างประเทศ แล้วนํามาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และขยายความบทบัญญัติของ กฎหมายไทยที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในเรื่องดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า บทบัญญัติในเรื่องการเสียความสามารถประกอบการงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย มาต รา444 เป็นเรื่องราวที่ผู้ถูกกระทํา ละเมิดอาจต้องพิการ หรือ ทุพลภาพ ทําให้เสียไปหรือเสื่อมลงของสมรรถภาพ , ประสิทธิภาพในการประกอบการงาน,การที่ต้องเสียโอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การ งาน เช่น การเลื่อนขั้น ฯลฯ ตลอดจนถึงการที่ต้องตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบหรือด้อย กว่าคนอื่นในตลาดแรงงาน เช่นเดียวกับประมวลกฎหมายลักษณะหนี้สวิส มาตรา 46 ซึ่งเป็นที่มาของมาตรานี้ การเสียความสามารถประกอบการงานตามมาตรานี้มิได้ หมายความถึงเฉพาะแต่ความสามารถที่ต้องเสียไปหรือเสื่อมลง ในการงานของเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับการทํามาหาได้เท่านั้นหากแต่ยังหมายความรวมถึง การงานที่เป็นกิจวัตร ประจําวันของผู้เสียหายด้วย การเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการเสียความสามารถประกอบการงาน โดยเฉพาะในส่วนของค่าเสียหายในอนาคตนั้น เป็นไปตามหลักในเรื่องความเสียหาย ที่แน่นอนแล้ว ในทางปฏิบัติของศาลไทย ศาลไทยยังคงยึดหลักกําหนดค่าเสียหายตามความ เสียหายที่ผู้เสียหายได้รับตามความเป็นจริงอยู่ โดยศาลจะกําหนดเป็นเงินก้อนได้ เพียงคราวเดียวแก่ผู้เสียหาย ศาลไทยยังมุ่งถึงประโยชน์ในแง่ของความแน่นอนที่ ผู้เสียหายจะได้รับการเยียวยาความเสียหายและได้รับเงินค่าเสียหายในทันที ปัญหา ในทางปฏิบัติมักเกิดขึ้นในคดีที่มีการเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการเสียความสามารถ ประกอบการงาน คือกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้ ประโยชน์ทดแทนตามกฎหมายประกันสังคม การศึกษาพบว่า เงินประกันภัย , เงิน ทดแทน หรือประโยชน์ทดแทน ไม่ใช่เงินหรือสิ่งที่ได้รับมา เพื่อเป็นการทดแทนความ เสียหายในกรณีละเมิดแต่อย่างใด สําหรับเงินประกันภัย เป็นเพียงกรณีที่ผู้เสียหาย สร้างหลักประกันให้แก่ตนเพิ่มเติมเท่านั้น จึงไม่ใช่ส่วนเงินทดแทนหรือประโยชน์ ทดแทนตามกฎหมายประกันสังคม ก็เป็นเพียงกรณีที่รัฐบังคับให้ลูกจ้างต้องมี หลักประกันเพิ่มเติม จึงไม่ใช่เรื่องที่ผู้กระทําละเมิดจะอ้างขึ้นเพื่อให้ตนไม่ต้องชดใช้ ค่าเสียหาย หรือนํามาเป็นข้ออ้างเพื่อลดค่าเสียหายที่ตนต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย แพ่งได้ไม่
194
ข้อเสนอแนะมี 2 แนวทาง แนวทางแรกเสนอให้ตีความ และบังคับใช้มาตรา 444 ที่มีอยู่ โดยให้ยึดถือตามหลักในเรื่องความเสียหายที่แน่นอนแล้ว และเสนอให้ใช้ ควบคู่ไปกับ มาตรา 438 โดยเสนอให้ศาลเป็นผู้มีบทบาทในการใช้ดุลยพินิจกําหนด ค่าเสียหายเพื่อการเสียความสามารถประกอบการงาน สําหรับแนวทางที่สอง ได้เสนอ ให้แก้ไขบทบัญญัติในมาตรา 444 ให้เหมาะสมและทันสมัยขึ้น อายุความ มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้นท่านว่าขาด อายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทําละเมิด แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมาย ลักษณะอาญา และมีกําหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้เอา อายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ อายุความ คาพิพากษาฎีกาที่ 292/2542 จําเลยที่ 2 ทําการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ที่มี ขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงที่โรงพยาบาลจําเลยที่1 หลังผ่าตัดแล้วจําเลยที่ 2 นัดให้ โจทก์ไปทําการผ่าตัดแก้ไขที่คลินิกจําเลยที่ 2 อีก 3ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น โจทก์จึงให้ แพทย์อื่นทําการรักษาต่อ แม้ตัวโจทก์และนายแพทย์ ด. ผู้ทําการรักษาโจทก์ต่อจาก จําเลยที่ 2 จะไม่สามารถนําสืบให้เห็นว่า จําเลยที่ 2ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดและ รักษาพยาบาลโจทก์อย่างไร แต่เมื่อจําเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรม ด้านเลเซอร์ผ่าตัด จําเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและ พฤติการณ์พิเศษ การที่นายแพทย์ ด . ต้องทําการผ่าตัดแก้ไขอีก 3 ครั้ง แสดงว่า จําเลยที่ 2 ผ่าตัดมีข้อบกพร่องจึงต้องแก้ไข และแสดงว่า จําเลยที่ 2 ไม่ใช้ความ ระมัดระวังในการผ่าตัด และไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงขั้นตอนการรักษา ระยะเวลา และ กรรมวิธีในการดําเนินการรักษา จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็น ความประมาทเลินเล่อของจําเลยที่ 2 ถือได้ว่าจําเลยที่ 2 กระทําละเมิดต่อโจทก์ พฤติการณ์ที่โจทก์ติดต่อรักษากับจําเลยที่ 2 ที่คลินิก และตกลงให้โจทก์เข้า ผ่าตัดในโรงพยาบาลจําเลยที่ 1 โจทก์จ่ายเงินให้จําเลยที่ 2 จํานวน 70,000 บาท ให้ จําเลยที่ 1 จํานวน 30,000 บาท ยังฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 1 เป็นนายจ้างหรือตัวการที่ ต้องร่วมรับผิด ในส่วนของค่าเสียหายนอกจากส่วนที่มีใบเสร็จ แม้โจทก์จะมีอาการเครียดอยู่ ก่อนได้รับการผ่าตัดจากจําเลยที่ 2 แต่เมื่อหลังผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิม
195
ความเครียดของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่าตัด จําเลยที่ 2 ต้องรับผิด และ แม้ไม่มีใบเสร็จมาแสดงว่าได้เสียเงินได้เป็นจํานวนเท่าใดแน่นอน แต่น่าเชื่อว่าโจทก์ ต้องรักษาจริง ศาลเห็นสมควรกําหนดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้สําหรับค่าเสียหายอื่นนั้นเมื่อ ปรากฏว่าหลังจากแพทย์โรงพยาบาลอื่นได้รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกติแล้ว โจทก์จึงไม่ อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนดพื่อความเสียหายอื่นอันมิใช่ตัวเงิน เหตุละเมิดเกิดวันที่ 12 เมษายน 2537 ต้องฟ้องภายใน 1 ปี ครบกําหนด ตรงกับวันหยุดสงกรานต์วันที่ 12 ถึง 14 เมษายน วันที่ 15 และวันที่ 16 เมษายน 2538 เป็นวันเสาร์อาทิตย์ ราชการหยุดทําการ โจทก์ยื่นฟ้องวันเปิดทําการวันที่ 17 เมษายน 2538 คดีไม่ขาดอายุความ คาพิพากษาฎีกาที่ 1942/2543 แม้จําเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นผู้ว่าจ้างจําเลยที่ 6 และที7่ ตอกเสาเข็มในการก่อสร้างภัตตาคาร แต่ได้ความว่าจําเลยที่ 1 มิได้ปล่อยให้ จําเลยที่ 6 และ ที่ 7 ตอกเสาเข็มไปตามแบบแปลนโดยลําพังจําเลยที่ 1 ให้ ก. เป็น วิศวกรผู้ควบคุมดูแลการตอกเสาเข็มทั้งหมด ก.จึงอยู่ในฐานะตัวแทนของจําเลยที่ 1 เมื่อ ก. เห็นแล้วว่าการตอกเสาเข็มของจําเลยที่ 6 และที่ 7 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ โจทก์ แต่มิได้สั่งห้ามหรือมิให้เปลี่ยนแปลงวิธีการทํางานเพื่อมิให้โจทก์ต้องเสียหายถือ ได้ว่าจําเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทําด้วย อายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 วรรคหนึ่ง มีกําหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหม ทดแทนซึ่งหมายความว่าต้องรู้ครบทั้งสองประการ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์พบความ เสียหายของรั้วและบ้านของโจทก์กับรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อ กลางเดือนมกราคม 2534 จําเลยที่ 1 ที่ 6และที่ 7 ฎีกาว่าความเสียหายเกิดก่อนเดือน ธันวาคม 2533 แต่มิได้ฎีกาโต้เถียงเรื่องที่โจทก์รู้ตัวว่าผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องฟังยุติตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อกลางเดือนมกราคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2534 คดีจึงไม่ขาด อายุความ พิพากษาฎีกาที่ 212/2544 โจทก์ฟ้องบังคับเพื่อให้จําเลยที่ 1 ดําเนินการระงับ ความเสียหายอันจะบังเกิดแก่โจทก์ต่อไป ไม่ได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายซึ่งเกิดจากการ ละเมิดโดยตรงจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
196
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจําเลยที่ 1 ปฏิบัติฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์. มาตรา 1342วรรคหนึ่งและวรรคสอง จนเป็นเหตุให้มีน้ําโสโครกซึมเข้าไปใน ที่ดินและบ้านของโจทก์และมีกลิ่นเหม็นไม่อาจพักอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านได้ ตามปกติสุข อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งเป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาด จึง เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรง จําเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้โจทก์ทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แม้จะได้ความว่า จําเลยที่ 1 ได้โอนอาคารชุดที่เกิดเหตุไปให้จําเลยที่ 2 แล้วก็ตาม จําเลยที่ 1 ก็ไม่อาจ อ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 มายกเว้นความผิดของตนได้ เพราะคดีนี้ความเสียหายมิได้เกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ก่อสร้างไว้ชํารุดบกพร่องหรือบํารุงรักษาไม่เพียงพอ ศาลฎีกายกฟ้องเพราะเหตุขาดอายุความ ศาลฎีกาได้ตรวจสํานวน ประชุมปรึกษาหารืออย่างละเอียดรอบคอบ คดีนี้มีปัญหา จําต้องวินิจฉัยในสองประเด็นว่า คดีส่วนแพ่งตามฟ้องโจทก์ ขาดอายุความแล้วหรือไม่ เห็นว่า นางดลพร ยื่นฎีกาว่าได้ทําคลอด ด.ช.กฤตบุญ เมื่อวันที่ 30 มี.ค.2534 ที่ รพ.พญาไท 1 โดยมีสูตินรี และกุมารแพทย์ ดูแลแล้วเกิดการรักษาพยาบาลที่ ผิดพลาด ทําให้ ด.ช.กฤตบุญ มีอาการขาซ้ายไม่มีแรง เนื่องจากสาเหตุติดเชื้อที่บริเวณ สะโพก ทําให้ขาทั้งสองข้างยาวไม่เท่ากัน พิการไปตลอดชีวิต อันเป็นเหตุละเมิด ตาม กฎหมายแพ่ง ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้กําหนดเงื่อนไขให้โจทก์ยื่นฟ้องภายใน 1 ปี นับตั้งแต่รู้ถึงเหตุแห่งละเมิด แต่ปรากฏว่า โจทก์ได้มายื่นฟ้อง เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2539 คดีจึงขาดอายุความ ในประเด็นที่สอง ซึ่งนางดลพรยื่นฎีกาว่า คดีนี้เป็นคดีอาญาเกี่ยวเนื่องกับคดี แพ่ง จึงต้องนําการนับเอาอายุความแห่งคดีอาญามาใช้บังคับ ซึ่งมีอายุความ 10 ปี คดีนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ ศาลฎีกาเห็นว่า คําฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงสภาพแห่งความผิดของจําเลย ใน ลักษณะอาญาว่า จําเลยได้กระทําโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แต่ ศาลฎีกาได้ตรวจคําฟ้องของโจทก์แล้ว ปรากฏว่า ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ครบ องค์ประกอบความผิดดังกล่าว แต่กลับมาบรรยายฟ้องว่า แพทย์มิได้ให้การรักษาอย่าง ระมัดระวัง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นสภาพความรับผิดในทางแพ่ง ดังนั้น คดีจึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามกฎหมายแพ่งว่าด้วยความรับผิดในทางละเมิด ฟ้องของโจทก์ จึงขาดอายุความเช่นเดียวกัน จึงพิพากษายื่นตามศาลล่าง
197
198