วารสาร มิตรชาวไร่ ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 เดือนพฤศจิกายน 2559

Page 1

ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำ�เดือนพฤศจิกายน 2559

A LITTLE BEYOND

มิตรชาวไร่รายเล็ก...หัวใจใหญ่ SPEACIAL SCOOP

THE VOLUNTEER มิตรอาสาฟื้นฟูป่าภูหลง

ฟาร์มดีไซน์เปลี่ยนแล้วปลื้ม

DESIGN BIGGER การรวมแปลงใหญ่ ให้ผลดีกว่า

หลากสไตล์มิตรชาวไ่ร่

WINTER DISEASES โรคภัยที่มาพร้อมสายลมหนาว


MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานกลุ่มมิตรผล ทุกแห่ง ทั่วประเทศ จัดพิธีน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายอาลัย ร�ำลึก ถึ ง พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ อั น หาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ข ององค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มหิ ต ลาธิ เ บศรรามาธิ บ ดี จั ก รี น ฤบดิ น ทร สยามิ น ทราธิ ร าช บรมนาถบพิ ต ร ที่ ท รงมี ต่อปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าตลอดระยะเวลา 70 ปี แห่งใต้ร่ม พระบารมี กลุ่มมิตรผล จะยังคงมุ่งมั่นด�ำเนินงานเพื่อสนองแนวปณิธาน และพระราชด�ำริอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์สุขของสังคมและ ประเทศชาติตอ่ ไป และร่วมกันยืนสงบนิง่ ไว้อาลัยต่อการเสด็จสวรรคต เป็นเวลา 9 นาที พร้ อ มได้ จั ด เตรี ย มสมุ ด ลงนามถวายอาลั ย เพื่ อ ให้ ค ณะ กรรมการ ผู ้ บ ริ ห าร พนั ก งานกลุ ่ ม มิ ต รผล และผู ้ ที่ ป ระสงค์ ลงนาม ได้ ร ่ ว มลงนามถวายอาลั ย ร� ำ ลึ ก ถึ ง พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ในองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ M

2


แสงอาทิตยอสั ดงลงตรงหนา ณ เวลาราตรีมาเยี่ยมกราย

สิน้ ทิวาลาลับเหมือนดับหาย มืดสนิทดารารายไรจำรูญ

ธ เสด็จสูหวงสรวงสวรรค พสกนิกรฤดีแดแมอาดูร

รอยพระบาทมิ ม ี ว ั น จั ก สิ ้ น สู ญ ขอเทิดทูนตามรอยทานนิรนั ดรเทอญ

ปวงขาพระพุทธเจา ขอนอมเกลานอมกระหมอม รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได ขาพระพุทธเจา ผูบริหารและพนักงาน กลุมธุรกิจกลุมงานออย กลุมมิตรผล



พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

EDITOR’S TALK

EDITOR’s TALK TEAM

ในห้ ว งเวลานี้ เป็ น เวลาที่ ป ระชาชนชาวไทยก� ำ ลั ง เศร้ า เสี ย ใจอย่ า งที่ สุ ด กั บ เหตุ ก ารณ์ ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคต พระองค์ทรงเป็นที่รักของคนไทยทุกคน ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา ภาพที่พสกนิกร ชาวไทยเห็นก็คือภาพที่พระองค์ท่านทรงงานอย่างหนัก เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทย “พ่อของแผ่นดิน” ทรงมีพระราชกรณียกิจจ�ำนวนมากมายเพื่อปวงชนชาวไทย จากโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริตั้งแต่ปี 2495 – 2556 มีจ�ำนวนถึง 4,447 โครงการ โดยเฉพาะโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริทางด้านการเกษตร จุดเริ่มต้นของหลาย โครงการมาจาก โครงการสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นโครงการส่วนพระองค์ที่ทรงจัดตั้งขึ้น ในปี พุทธศักราช 2504 สถานที่แห่งนี้เปรียบดั่ง “ห้องทดลองส่วนพระองค์” ที่ทรงศึกษาแนวทางแก้ปัญหาหรือพัฒนา สิ่งใหม่ แล้วจึงทดลองเพื่อให้ทรงแน่พระทัยว่าแนวทางดังกล่าวสามารถเกิดผลจริง จึงทรงพระราชทาน แนวทางดังกล่าวเพื่อดับทุกข์แก่ราษฎร ดังเช่นความห่วงใยที่ทรงมีต่ออาชีพเกษตรกรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมวิชา การเกษตรหรือกรมการข้าวเดิมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์น�ำพันธุ์ข้าวต่าง ๆ มาทดลองปลูก ในสวนจิตลดาและน�ำข้าวเปลือกส่วนหนึ่งที่ได้ไปท�ำพิธีหว่านในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นอกจากนี้ ยั ง มี เรื่ อ งของ ปลานิ ล ที่ ท างสมเด็ จ พระจั ก รพรรดิ อ ะกิ ฮิ โ ตะ เมื่ อ ครั้ ง ด� ำ รง พระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จ�ำนวน 50 ตัว พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลอง เลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา แล้ ว ในที่ สุ ด จากบ่ อ ภายในสวนจิ ต รลดา พั น ธ์ุ ป ลานิ ล จ� ำ นวนหมื่ น กว่ า ตั ว ได้ ถู ก แจกจ่ า ย ไปทั่วประเทศ จนถึงวันนี้ ปลานิลกลายเป็นหนึ่งในแหล่งอาหารโปรตีนที่ส�ำคัญของประชาชนชาวไทย นอกจากเรื่องอาหารแล้ว เรื่องจัดการน�้ำ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ มากมาย อย่างเช่น โครงการ จัดการน�้ำเสียด้วยกังหันน�้ำชัยพัฒนา โครงการแก้มลิง โครงการฝนหลวง อันแสดงให้เห็นว่าพระองค์ ทรงสนพระทัยเกษตรกรในประเทศ ด้ ว ยส� ำ นึ ก ต่ อ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ต่ อ พระองค์ ท่ า นอย่ า งหาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ข้าพระพุ ทธเจ้า “มิตรชาวไร่” ขอร่วมถวายความอาลัย แก่พระองค์ท่าน ด้วยความ จงรักภักดี กองบรรณาธิการ M

ประธานเจ้าหน้าทีก่ ลุม่ ธุรกิจกลุม่ งานอ้อย บรรเทิง ว่องกุศลกิจ ทีป่ รึกษา เทรเวอร์ ครูกส์ วิโรจน์ ภูส่ ว่าง วิชรัตน์ บุปผาพันธุ์ อภิวฒ ั น์ บุญทวี ไพฑูรย์ ประภาถะโร ปฏิพทั ธ์ นามเขต ทวีป ทัพซ้าย ทรงศักดิ์ เบญจพิพธิ เพิม่ ศักดิ์ งามผ่องใส จิระ กุพชุ ะ ทินกร กลมสอาด อดุลย์ ครองเคหัง ค�ำสี แสนศรี สมศักดิ์ รอดหลง กองบรรณาธิการ กลุม่ ธุรกิจกลุม่ งานอ้อย บริษทั มีเดีย มิกเซอร์ จ�ำกัด ศิลปกรรม/ออกแบบปก บริษทั มีเดีย มิกเซอร์ จ�ำกัด สอบถามข้อมูลเพิม่ เติมติดต่อ call center โทร 02-794-1888 เบนจามิน โคตรภูเวียง บริษทั ไร่ดา่ นช้าง จ�ำกัด โทร 084-360-9867 นิเวศ สุวรรณบุตร บริษทั ไร่อสี าน จ�ำกัด โทร 090-245-8864 www.mitrpholmodernfarm.com Copyright © 2015 Mitr Phol Group


หนึ่งมิตรชิดใกล้

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

TOGETHER IS BETTER

สานพลังประชารัฐ เราคือผู้นำ�แห่งยุคเกษตรสมัยใหม่ ประเทศไทย 4.0 เวลานี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหน พี่ น้องมิตรชาวไร่จะได้ยินหลายคนพู ดถึง “ยุคเกษตรสมัยใหม่” กันหนาหูมาก ้ ยิง ขึ น เหมื อนกันกับผมใช่ไหมล่ะครับ กลุม ่ มิตรผลของเราได้ผลักดันให้เกิด การพั ฒนาองค์ความรูใ้ หม่อย่าง “มิตรผล ่ โมเดิร์นฟาร์ม” น�ำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีการ ท�ำไร่ในบ้านเราในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากมิตรชาวไร่ในทุกพื้ นที่ที่เราเผยแพร่องค์ความรู้นี้ ออกไป ผมและทีมงานพวกเราทุกคนดีใจทีไ่ ด้เห็นพี่ นอ ้ งมิตรชาวไร่ยม ิ้ ได้ หลังจากได้เห็นผลของการปรับวิธก ี ารท�ำไร่ใหม่ ตามสไตล์ของแต่ละคน วันนีเ้ ริม ทยอยเห็ น ผลลั พ ธ์ ต ามทฤษฎี 2 ลด 2 เพิ ม กั น แล้ ว คื อ ทั ง ลดต้ น ทุ น และลดเวลาในการ ้ ่ ่ ้ ไปอีก เพราะหลังจากท�ำส�ำเร็จในไร่ของตนเองแล้ว ท�ำไร่ เพิ่ มทัง ้ งหลายคนยิม ้ รายได้และเพิ่ มผลผลิต พี่ นอ ้ กว้างกันมากขึน ยังได้รบ ั การยกย่องให้เป็นแบบอย่างและเป็นแรงบันดาลใจ ให้เพื่ อนมิตรชาวไร่ในละแวกใกล้เคียง หันมาท�ำตามกันอย่าง กว้างขวางแล้วในหลายพื้ นที่

06


พฤศจิกายน 2559

หนึ่งมิตรชิดใกล้

MITR PHOL MODERNFARM

อย่างที่ผมได้เล่าสู่กันฟังให้พ่ีน้องมิตรชาวไร่ได้รู้จักกับวิสัยทัศน์ใหม่ ของประเทศอย่าง “ประเทศไทย 4.0” ซึ่งกลุ่มมิตรผลของเราได้เข้าไป มี ส ่ ว นร่ ว มขั บ เคลื่ อ นประเทศ ในส่ ว นของภาคการเกษตรตามแนวทาง “สานพลั ง ประชารั ฐ ” ไปบ้ า งแล้ ว นั้ น วั น นี้ ยุ ค เกษตรสมั ย ใหม่ จ ะมาถึ ง ไวกว่ า ที่ เราคาดคิ ด กั น ไว้ แ ล้ ว นะครั บ ด้ ว ยการเดิ น หน้ า เต็ ม ก� ำ ลั ง ของ ทุ ก ภาคส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ ง โดยความคื บ หน้ า ล่ า สุ ด ที่ ถื อ เป็ น ย่ า งก้ า ว ที่ส�ำคัญของยุคเกษตรสมัยใหม่ คือ พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการ สานพลังประชารัฐ เกษตรแปลงใหญ่สมัยใหม่ (อ้อย) อ�ำนาจเจริญ ระหว่าง ภาครั ฐ น� ำ โดยเกษตรจั ง หวั ด อ� ำ นาจเจริ ญ ซิ ง เกิ ล คอมมานด์ ตั ว แทน เกษตรกรจังหวัดอ�ำนาจเจริญ และภาคเอกชนโดยกลุ่มมิตรผล ได้ร่วมกัน ท�ำโครงการน�ำร่องส่งเสริมการปลูกอ้อยอย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตเกษตรกรและชุมชน ทดแทนการปลูกข้าวและมันส�ำปะหลังในพื้นที่ ที่ ไ ม่ เ หมาะสม เพื่ อ ช่ ว ยให้ เ กษตรกรมี ร ายได้ ที่ มั่ น คง มี ค วามเป็ น อยู ่ ที่ดีขึ้น และส่งเสริมเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดอ�ำนาจเจริญ ให้เติบโตขึ้น ตามนโยบายของภาครัฐสูเ่ ศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-Economy) อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีกรอบความร่วมมือระหว่างกัน 5 ข้อ ดังนี้ 1.ทุกฝ่ายจะมุ่งมั่นร่วมกันพัฒนาการบริหารจัดการและองค์ความรู้ เพื่ อ เพิ่ ม ผลผลิ ต อ้ อ ยต่ อ ไร่ ใ ห้ สู ง ขึ้ น เพื่ อ ให้ เ กษตรกรมี ผ ลก� ำ ไรจาก การท�ำอ้อยให้มากที่สุด 2.ฝ่ายเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงการผลิต อ้อยคุณภาพ โดยการปลูกอ้อยแบบสมัยใหม่ ตามค�ำแนะน�ำของราชการ และกลุ่มมิตรผล 3.ตัวแทนเกษตรกรมีบทบาทประสานงานกับหน่วยงาน เพือ่ วางแผน การผลิ ต ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของตลาด รวมทั้ ง ดู แ ลติ ด ตาม การด�ำเนินงานของเกษตรกร 4.ส�ำนักงานเกษตรจังหวัดอ�ำนาจเจริญ จะท�ำหน้าทีส่ ง่ เสริมถ่ายทอด องค์ความรู้ ให้ค�ำแนะน�ำเรื่องการปลูกอ้อยที่ถูกต้อง

5.กลุ่มน�้ำตาลมิตรผล จะให้การสนับสนุนเกษตรกรแบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรได้ปลูกอ้อยพันธุ์ดี มีรายได้ที่มั่นคง จากสาระส� ำ คั ญ ของบั น ทึ ก ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งกั น ทั้ ง 5 ข้ อ ถือเป็นก้าวที่ส�ำคัญที่จะพลิกโฉมภาคการเกษตรของประเทศไทยให้เข้า สู่ยุคเกษตรสมัยใหม่ได้ โดยเริ่มต้นขับเคลื่อนจากพืชเศรษฐกิจอย่างอ้อย ในพื้นที่จังหวัดอ�ำนาจเจริญ ซึ่งจะเป็นต้นแบบของการหันหน้าเข้าหากัน ของทุกภาคส่วนภายใต้หลักความมีส่วนร่วม และจะขยายความร่วมมือนี้ ไปสู่พี่น้องเกษตรกรในอีกหลายพื้นที่ทั่วประเทศต่อไป ผมอยากให้พี่น้องมิตรชาวไร่ทุกคนได้ภูมิใจ และพร้อมเป็นต้นแบบ ที่ ดี ใ ห้ กั บ พี่ น ้ อ งเกษตรกรทั่ ว ประเทศนะครั บ เราทุ ก คนได้ มี ส ่ ว นร่ ว ม ในการช่วยกันพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไปสู่ยุค 4.0 แล้ว ทักษะ และองค์ความรู้ตามแนวทางมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มที่สอดคล้องกับยุคเกษตร สมั ย ใหม่ ที่ พ วกเราได้ ร ่ ว มท� ำ กั น มาตลอด วั น นี้ ก� ำ ลั ง จะได้ รั บ การส่ ง เผยแพร่ อ อกไป ส� ำ หรั บ คนที่ เริ่ ม ก่ อ นและส� ำ เร็ จ ก่ อ น ถื อ ว่ า ทุ ก ท่ า น คื อ กลุ ่ ม ผู ้ น� ำ แห่ ง ยุ ค เกษตรสมั ย ใหม่ ที่ จ ะขยั บ ขึ้ น ชั้ น ไปเป็ น ต้ น แบบ ที่ ดี เป็ น พี่ เ ลี้ ย งให้ กั บ เพื่ อ นเกษตรกรคนแล้ ว คนเล่ า ที่ ก ้ า วตามา เพื่ อ ช่ ว ยกั น ยกระดั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของอาชี พ เกษตรกรในภาพรวมของ ประเทศให้ได้กินดี อยู่ดี มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ ของประเทศต่อไป อย่ า ลื ม นะครั บ ขอเพี ยงตั้ ง ใจจริ ง ความส� ำ เร็ จ ก็อยู่แค่เอื้อม เพราะพวกเราคือผู้น�ำแห่งยุคเกษตรสมัยใหม่ ประเทศไทย 4.0 M

07


MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

AD 2 8


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

CONTENTS

CONTENTS

Special Scoop มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ฟาร์มดีไซน์เปลี่ยนแล้วปลื้ม Cover Story Eco Focus น้ำ�เปลี่ยนชีวิต หมอดิน อ้อยพันธุ์ดีมีอยู่จริง วิถีคนสู้ ฮีโร่มิตรชาวไร่ ของเล่นชาวไร่ โลจิสติกส์ บุรุษชุดเขียว Ironman สุขจากไร่ สูตรสุขภาพ หลากสไตล์มิตรชาวไร่

10 14 16 18 24 28 30 32 36 40 42 44 46 50 54 56

9


SPEACIAL SCOOP

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

THE VOLUNTEER มิตรอาสาฟื้นฟูป่าภูหลง กลุ่ ม มิ ต รผล น� ำ ทั พ “มิ ต รอาสา” กว่ า 600 ชี วิ ต ร่วมกิจกรรม “มิตรอาสาฟื้ นฟู ปา่ ภูหลง” ร่วมใจ “ปลูกต้นกล้า ทดแทนป่าไฟไหม้” ต้นน�ำ้ ภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ

กลุ่มมิตรผล ด�ำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยค�ำนึงถึงมาตรฐาน การผลิตควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชน ภายใต้แนวคิด “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ซึ่งยึดถือและยึดมั่นปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง ตลอด 60 ปี ได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของปัญหาและผลกระทบ ที่ เ กิ ด จากสถานการณ์ ไ ฟไหม้ ป ่ า ครั้ ง ล่ า สุ ด ณ บริ เวณ พื้ น ที่ ป่าภูหลง บนเทือกเขาภูแลนคา อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่ ป่าต้นน�้ำส�ำคัญที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักกว่า 3,000 ไร่ โดยมีสาเหตุมาจากการลักลอบเผาป่าเพื่อล่าสัตว์ของนายพราน นอกพื้นที่ 10


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

SPEACIAL SCOOP

กลุ่มมิตรผล โดยกลุ่มธุรกิจกลุ่มงานอ้อย ผู้น�ำด้านเกษตร สมัยใหม่และการบริหารจัดการไร่ออ้ ยยัง่ ยืน จึงได้จดั ทัพ “มิตรอาสา” น�ำทีมโดยคุณบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มธุรกิจ กลุ ่ ม งานอ้ อ ย ร่ ว มด้ ว ยพนั ก งานกลุ ่ ม มิ ต รผลและมิ ต รชาวไร่ ซึ่งมีทักษะฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ พร้อมด้วยชุมชนในพื้นที่ กว่า 600 คน ร่วมใจปลูกต้นกล้าคืนผืนป่า ต้นน�้ำ ปลูกต้นกล้าพะยูงและมะค่า จ�ำนวน 6,999 ต้น ทดแทนป่า ผืนสุดท้ายที่ถูกไฟไหม้ในพื้นที่ป่าภูหลง พร้อมมอบเงินสนับสนุน เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์ในการป้องกันไฟและฟื้นฟูป่ารวมถึงชุมชน ที่ได้รับผลกระทบ กว่า 900,000 บาท นอกจากกลุ่มมิตรผลจะมีพันธกิจในการช่วยยกระดับ คุณภาพชีวิตของมิตรชาวไร่แล้ว การดูแลสิ่งแวดล้อมคือ อีกหนึ่งเรื่องที่กลุ่มมิตรผลคอยดูแลเสมอมา M

11


SPEACIAL SCOOP

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL FAMILY

ผนึกกำ�ลังสร้างเครือข่ายมิตรชาวไร่เข้มแข็ง พร้อมก้าวสู่ยุคเกษตรสมัยใหม่ไปพร้อมกัน

เมือ่ วันที่ 23 - 26 กันยายน ทีผ่ า่ นมา กลุม่ มิตรผล จัดกิจกรรม Mitr Phol Family สานสัมพันธ์สร้างเครือข่ายมิตรชาวไร่ให้เข้มแข็ง น�ำตัวแทนครอบครัวมิตรชาวไร่กว่า 600 คน จากโรงงานน�้ำตาล มิตรผลทั้งภาคกลางและภาคอีสาน ร่วมศึกษาดูงานและพัฒนา ทักษะการท�ำไร่แบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม เพื่อเตรียมความพร้อม ก้าวสูย่ คุ เกษตรสมัยใหม อาทิ ศึกษากระบวนการปรับปรุงพันธุอ์ อ้ ยดี ณ ศู น ย์ ก ารปรั บ ปรุ ง พั น ธุ ์ อ ้ อ ยแห่ ง ประเทศไทย อ.ท่ า ม่ ว ง จ.กาญจนบุรี ศึกษาขั้นตอนการผลิตปุ๋ยที่มีคุณภาพ ณ โรงงานปุ๋ย ศั ก ดิ์ ส ยาม อ.บางเลน จ.นครปฐม เพื่ อ ให้ มิ ต รชาวไร่ ส ามารถ น� ำ กลั บไปต่ อ ยอดเพิ่ มประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต อ้ อ ยของตนเองได้ โดยคณะผู้บริหารในกลุ่มมิตรผล นอกจากนี้ ยังได้น�ำมิตรชาวไร่ มุ ่ ง ตรงสู ่ จั ง หวั ด ราชบุ รี เพื่ อ ไปร่ ว มงานเปิ ด สมามฟุ ต บอล

12


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

มาตรฐานระดับโลก น�ำโดยคุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรผล คุณบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มธุรกิจ กลุม่ งานอ้อย คุณอัมพร กาญจนก�ำเนิด ประธานเจ้าหน้าทีก่ ลุม่ ธุรกิจ กลุม่ งานการตลาด พาไปติดขอบสนาม มิตรผลสเตเดียม เชียร์ฟตุ บอล คูห่ ยุดโลก ระหว่าง ราชบุรี มิตรผล เอฟซี กับ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในบรรยากาศสุดคึกคักสไตล์ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก

SPEACIAL SCOOP

Mitr Phol Family เป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะ พั ฒนาคุณภาพชีวิตมิตรชาวไร่ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยตลอด 60 ปี ของการด�ำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล ควบคูไ่ ปกับการดูแลมิตรชาวไร่เสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ยังคงเป็นแนวทางปฏิบต ั ท ิ ก ี่ ลุม ่ มิตรผลยึดถือและปฏิบต ั ส ิ บ ื ต่อ กันมาตามปณิธาน "ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ" M

13


มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

BONSUCRO

มาตราฐานเกษตรยั่งยืนเพื่อโลก...เพื่อเรา ส� ำ หรั บ “มิ ต รชาวไร่ ” ที่ ร่ ว มเดิ น บนวิ ถี เ กษตรสมั ย ใหม่ กั บ มิ ต รผล โมเดิร์นฟาร์ม นี่คือหนึ่งในหลักส�ำคัญในปลูกอ้อยยั่งยืน

“บอนซู โ คร” (BONSUCRO) คื อ มาตรฐานการเกษตร ยั่งยืนที่คนในอุตสาหกรรมอ้อยและน�้ำตาลทั่วโลกให้การยอมรับ และส� ำ หรั บ ประเทศไทยนั้ น กลุ ่ ม มิ ต รผลเป็ น รายแรกที่ ไ ด้ รั บ การรับรองมาตรฐานนี้จากบอนซูโคร ทั้งยังเป็นรายที่ 2 ของเอเชีย และเป็นประเทศที่ 5 ของโลกอีกด้วย กลุ ่ ม มิ ต รผลผ่ า นการรั บ รองมาตรฐานนี้ ภ ายใต้ รู ป แบบ การท�ำการเกษตรสมัยใหม่ในการจัดการไร่ออ้ ย ไปจนถึงกระบวนการ ผลิตน�้ำตาล เพื่อสร้างความยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล 14


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

ส� ำ หรั บ การรั บ รองมาตรฐาน “บอนซู โ คร” นี้ จ ะต้ อ ง มีระบบและกระบวนการการผลิตอ้อยและน�้ำตาลตามที่ก�ำหนด ซึ่งครอบคลุมหลักการส�ำคัญ 5 ข้อได้แก่ 1. หลักปฏิบัติตามกฎหมายทุกระดับ การผลิ ต อ้ อ ยและน�้ำตาลต้องด�ำเนิน การอย่างสอดคล้ อ ง ตามกฎหมาย และปลูกอ้อยในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง 2. หลักเคารพสิทธิมนุษยชนและกฎหมายแรงงาน ต้ อ งเคารพสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและมาตรฐานแรงงานระหว่ า ง ประเทศ (ILO) ไม่ใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และต้องเตรียม น�้ำดื่มสะอาดอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งมีการดูแลเรื่องความปลอดภัย ในการท�ำงานของคนงาน 3. หลักบริหารจัดการปัจจัยการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ต้ อ งมี ก ารบริ ห ารจั ด การวั ต ถุ ดิ บ และกระบวนการผลิ ต อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างเช่น ในพื้นที่ชลประทานต้องมีผลผลิตอ้อย 13.92 ตันต่อไร่

มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม

4. หลักบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ต้องมีการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและ ระบบนิ เวศในพื้ น ที่ เ พาะปลู ก อ้ อ ย ต้ อ งไม่ ใช้ ส ารเคมี ต ้ อ งห้ า ม ทางการเกษตร และต้องไม่ใช้ปุ๋ยรวมถึงสารเคมีสูงเกินมาตรฐาน 5. หลักปรับปรุงธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อย่ า งเช่ น มี ก ารฝึ ก อบรมพนั ก งานและคนงานในงาน ที่รับผิดชอบเพื่อพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง การปล่อยใบอ้อยให้ คลุ ม ดิ น หลั ง การเก็ บ เกี่ ย วมากกว่ า 30 เปอร์ เซ็ น ต์ ข องพื้ น ที่ อ้อยตัดสด , การจัดการขยะของเสียจากการท�ำไร่อ้อยอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการ ด้ ว ยรู ป แบบการท� ำ ไร่ ส มั ย ใหม่ ต ามแนวทางของ มิ ต รผลโมเดิ ร์ น ฟาร์ ม ที่ส อดคล้ อ งกั บ มาตราฐานบองซู โ คร ่ าจากไร่ของเราและมิตรชาวไร่ ท�ำให้เรามัน ่ ใจได้วา่ อ้อยทุกล�ำทีม จะเป็นอ้อยดีมีคุณภาพ เป็นอ้อยรักษ์โลกที่สร้างความยั่งยืน ให้กับชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมได้จริง M

15


ฟาร์มดีไซน์เปลี่ยนแล้วปลื้ม

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

DESIGN BIGGER คุณวิโรจน์ ภู่สว่าง

ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจกลุ่มงานอ้อย

การรวมแปลงใหญ่ ให้ผลดีกว่า

มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม (Mitr Phol ModernFarm) คือนวัตกรรม ้ เพื่ อตอบโจทย์ยค การจัดการแปลงอ้อยแห่งความยัง ุ สมัย ่ ยืน คิดค้นขึน และการออกแบบการท�ำไร่อ้อยด้วยการท�ำ “ฟาร์ม ดีไซน์” (Farm Design) คือส่วนหนึ่งของมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ที่สะดวก ต่อการท�ำงานของเครื่องจักรกลการเกษตรที่มาช่วยชาวไร่อ้อย ท� ำ งานทั้ ง เครื่ อ งขึ้ น แปลงปลู ก เครื่ อ งปลู ก อ้ อ ย เครื่ อ งใส่ ปุ ๋ ย เครื่ อ งให้ น�้ ำ รถตั ด และรถบรรทุ ก ขนส่ ง อ้ อ ย ที่ ส ามารถผ่ า น เข้าออกในแปลงอ้อยได้อย่างสะดวก โดยไม่เหยียบย�่ำบนอ้อยตอ ลดการบดอัดของชั้นดิน และลดความเสียหายจากการเก็บเกี่ยว รวมทั้งยืดอายุการไว้ตอได้ด้วย 16

ท�ำไมต้องท�ำฟาร์มดีไซน์? เป้ า หมายเพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการจั ด การไร่ ลดการใช้ ทรัพยากร ทั้งวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์แรงงานสุดท้ายจะท�ำให้เงิน ในกระเป๋าของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ทั้งยังเหลือเวลาไปท�ำกิจกรรม อื่ น ๆ ที่ ส ร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ มทางเศรษฐกิ จ ได้ เ พิ่ มเติ ม ทั้ ง มี เวลาเพิ่ม ดูแลครอบครัว ช่วยยกระดับวิถีชีวิตของเกษตรกร ขนาดแปลงอ้ อ ยที่ เ หมาะสมจะช่ ว ยให้ เ กษตรกรท� ำ ไร่ อ ้ อ ยตามแบบมิ ต รผลโมเดิ ร ์ น ฟาร์ ม ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

ฟาร์มดีไซน์เปลี่ยนแล้วปลื้ม

การรวมแปลงอ้อยขนาดเล็ก ๆ ให้เป็นขนาดใหญ่ จึงเป็นอีกเรื่อง ส�ำคัญ ยกตัวอย่าง (ด้านขวา) แปลงเล็ก 5 แปลง รวมเป็นแปลงใหญ่ 1 แปลง ได้พ้ืนที่ 175 ไร่ ท�ำให้แถวอ้อยลดลงจาก 540 แถว เหลือ 216 แถว ส่งผลให้ลดการกลับรถลง 60% นอกจากนั้น ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก เช่น ค่าน�้ำมันรถ ค่าดูแลรักษา เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวและขนส่งอีกเป็นต้น การจับมือกัน ของชาวไร่ อ ้ อ ยรายย่ อ ย เพื่ อ ให้ ไ ด้ อ ้ อ ยแปลงใหญ่ ซึ่ ง จะเป็ น หนทางใหม่ของการท�ำฟาร์มดีไซน์ ท�ำให้ต้นทุนของมิตรชาวไร่ ลดลงอย่ า งเต็ ม เม็ ด เต็ ม หน่ ว ย นอกจากนี้ ไอเดี ย ฟาร์ ม ดี ไซน์ ยังแนะน�ำเราให้จัดวางพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ ให้เหมาะสมไปพร้อมกัน ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยลานกองอ้ อ ยในไร่ ที่ ต ้ อ งแบ่ ง พื้ น ที่ ไว้ ป ระมาณ ครึง่ ไร่เพื่อสะดวกต่อการขนส่งหลังใช้ชุดรถตัดอ้อยประกอบด้วย รถบรรทุกเซมิเทรลเลอร์ขนาด 30 ตัน รถหัวลากและตะกร้าท้าย บรรทุกอ้อยหรือรถบิน ขนาด 5-6 ตัน จ�ำนวน 2 คัน ที่จะเข้ามา ท�ำงานในแปลงอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้ น มารวมแปลงใหญ่ เ พื่ อการจั ด การอ้ อ ย ให้สะดวกกันเถิด M

17


MITR PHOL MODERNFARM

18

พฤศจิกายน 2559


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

A LITTLE BEYOND

มิตรชาวไร่รายเล็ก...

หัวใจใหญ่

จากอ้อย 15 ไร่

สู่วิสาหกิจชุมชนเรือนล้าน การเป็นมิตรชาวไร่ท่ีท�ำไร่อ้อยให้ได้ผลดี ใครว่ า จะมี แ ต่ มิ ต รชาวไร่ ร ายใหญ่ ท่ี มี ไ ร่ นับร้อยนับพั นไร่ แล้วถึงจะประสบความส�ำเร็จ เท่านัน ้ …

แม้ จ ะมี ที่ ดิ น เพี ย ง 15 ไร่ แต่ ห ากปลู ก อ้ อ ยตามแนวทางของ มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ก็สามารถผลิกผืนดินที่จากเดิมเคยปลูกอ้อยได้ เพียงไร่ละ 7 ตัน ให้พุ่งทะยานสู่ไร่ล่ะ 25 ตันได้อย่างสบายใจเฉิบได้เช่นกัน นอกจากจะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีเวลาเหลือมาท�ำอาชีพเสริม เพิ่มรายได้เข้ากระเป๋าให้กับมิตรชาวไร่ คือ ลดทั้งต้นทุน ลดเวลาท�ำไร่ เพิ่มทั้งรายได้ และเพิ่มผลผลิตไปพร้อม ๆ กัน ตามแนวทางเกษตร สมัยใหม่ที่เราในกลุ่มมิตรผลทุกคนร่วมเดินไปพร้อมกันอยู่ในขณะนี้ ชีวิตดี๊ดีแบบนี้ มีอยู่จริง แม่พรรณิกา มูลสันเทียะ มิตรชาวไร่ เล็กพริกขี้หนู จากโรงงานน�้ำตาลมิตรภูหลวง จังหวัดเลย คือต้นแบบ ความส�ำเร็จของการท�ำไร่บนพื้นที่เล็กๆ แต่ได้ผลผลิตที่เหนือค�ำบรรยาย แม่พรรณิกาท�ำอะไรกับไร่อ้อยของเขาถึงได้มีผลผลิตออกมา 25 ตัน/ไร่ แถมยังมีเวลาเหลือท�ำอาชีพเสริมรายได้ดีอีกต่างหาก และนี่คือเรื่องราว ที่ไม่ธรรมดาของแม่พรรณิกา

คุณพรรณิกา มูลสันเทียะ

19


Cover Story

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

ค่อยๆ ขยับระยะห่าจาก 90 ซม. มาเป็น 120 ซม. เรามีแปลงเล็กๆ 15 ไร่ การปลูก เทคนิคการใส่ปุ๋ยให้ถูกช่วงเวลาตามท่เี ขา มาแนะน�ำ� เพื่อให้อ้อยดึงธาตุอาหารไปใช้ มากท่สี ุด ก็จะได้อ้อยน้�ำ�หนักดี พอเราได้ ลองแล้วถึงได้รู้ ปรากฎว่าปีแรกได้ ผลผลิตถึง 25 ตันต่อไร่ ดีใจมากเลยค่ะ

“เมื่ อ ก่ อ น ตอนปลู ก อ้ อ ยครั้ ง แรก ตอนนั้ น อ้ อ ยยั ง ราคา ตันละ 450 บาทอยู่เลย พอหักต้นทุนค่าใช้จ่ายอะไรออกหมดแล้ว มันแทบไม่เหลืออะไรเท่าไหร่เลย เหลือแค่นดิ ๆ หน่อย ๆ ปลูกอ้อยกัน ตอนนั้นก็ยังไม่มีความรู้อะไร เราก็ปลูกกันไปตามประสาชาวบ้าน สุดท้ายออกมาได้ประมาณสัก 7-8 ตันต่อไร่ ช่วงปี 2537-38 เลย ต้องหยุดปลูกอ้อย แล้วหันไปปลูกอย่างอื่นอยู่ 3-4 ปี อย่างข้าวโพด ถั่วเขียว จนโรงงานน�้ำตาลมิตรผลมาสร้างแถวนี้นี่แหละ” เพราะการมาของโรงงานน�้ำตาลมิตรผล ท�ำให้แม่พรรณิกา หันกลับมาปลูกอ้อยอีกครั้ง โดยในช่วงแรกขายอ้อยให้กับลานอ้อย ที่มารับซื้อ จนถึงยุคหลังปี 2540 เป็นต้นมา เหมือนเป็นโชคของ พี่ น ้ อ งเกษตรกรชาวไร่ อ ้ อ ย เมื่ อ ราคาอ้ อ ยเริ่ ม ดี ขึ้ น จากที่ เ คย ขายได้ตันละ 450 บาท แม่พรรณิกาสามารถขายอ้อยได้ถึงตัน ละ 1,000 บาท สร้ า งความตื่ น เต้ น ปนดี ใจให้ กั บ แม่ พ รรณิ ก า เป็นอย่างมาก และความโชคดียังไม่หยุดอยู่เพียงเท่านั้น เมื่อ “กลุ่ม มิตรผล” ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาส�ำรวจพื้นที่เพื่อเตรียมช่วยชาวไร่ เพิ่มผลผลิต เปรียบเสมือนพระเอกขี่ม้าขาวเข้ามาช่วยแม่พรรณิกา

20

และมิตรชาวไร่ในแถบ อ.วังสะพุง จ.เลย ซึ่งแม่พรรณิกายังจ�ำได้ดี ถึงการมาในครั้งนั้นของมิตรผล “ทีมงานมิตรผลเขาเข้ามาหาแม่ แล้วถามว่า อยากได้ผลผลิต สูงขึน้ กว่านีไ้ หม? ซึง่ แน่นอน แม่กต็ อบกลับไปอย่างไม่ตอ้ งลังเลเลย ว่า ‘อยากสิ’ แต่สิ่งที่เขาแนะน�ำแม่นี่มันไม่เหมือนวิธีเก่า ๆ ที่เรา เคยปลูก เคยท�ำอ้อยกันมา แต่เราก็ตัดสินใจลองดูนะ ถ้าไม่ลอง มันก็ไม่รู้ใช่ไหมล่ะ จะเปลี่ยนมันก็ต้องหาความรู้ใหม่ ๆ เราก็เลยมา เข้าร่วมโครงการปลูกอ้อยตามอย่างโรงงานเขา เขาก็มีทีมมาอบรม ให้ความรู้หลายเรื่องเลย อย่าการปลูกงระยะห่างระหว่างร่องนี่ เมื่อก่อนเราปลูกกันห่างประมาณ 80-90 เซนติเมตรใช่ไหม ทีมงาน เขาก็ถามชาวไร่นะว่า ระหว่างปลูกอ้อยร่องถี่กับร่องห่าง คิดว่า แบบไหนจะดีกว่ากัน? ถ้าเอาตามทีเ่ ราท�ำ ๆ กันมา ก็ตอ้ งเลือกร่องถีส่ ิ ได้อ้อยหลายล�ำดี ปลูกร่องห่าง ๆ มันจะไปได้อ้อยมาก ๆ ได้ยังไง” นี่คือข้อสงสัยที่คาใจแม่พรรณิกาและชาวไร่หลายคน และ ก็เป็นทีมส่งเสริมจากมิตรผลที่เป็นผู้ให้ความกระจ่าง โดยชี้ให้เห็น ว่าการปลูกอ้อยร่องห่าง ถึงแม้จะได้ปริมาณล�ำอ้อยที่น้อยแต่ขนาด


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

Cover Story

21


MITR PHOL MODERNFARM

22

พฤศจิกายน 2559

คุณประจิม ห้องกระจก


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

แต่ ล ะล� ำ นั้ น ใหญ่ ขึ้ น กว่ า เดิ ม มาก โดยน� ำ มาเปรี ย บเที ย บขนาด ล�ำอ้อยของการปลูกระยะห่างที่ต่างกัน ท�ำให้แม่พรรณิกายอมรับ นับแต่วันนั้นแต่เริ่มหันมาปลูกอ้อยร่องห่างขึ้นจากเดิม “เมื่ อ สิ้ น สงสั ย เราก็ เริ่ ม มาท� ำ ไร่ ต ามเขาบ้ า ง แม่ เริ่ ม ท� ำ มาตั้งแต่ปี 2555 โดยค่อยๆ ขยับระยะห่างจาก 90 ซ.ม. มา เป็น 1.20 เมตร เรามีแปลงเล็ก ๆ รวมกันก็มี 15 ไร่อยู่ ไม่ใช่แค่ เรื่องปลูกนะ เรื่องเทคนิคการใส่ปุ๋ยให้ถูกช่วงเวลานี่เขาก็มาแนะน�ำ แม่ก็ปรับตามเขา ช่วงไหนควรใส่ปุ๋ยรองพื้น จะใส่ปุ๋ยครั้งต่อไป เมื่อไหร่ ใส่ยังไงให้อ้อยดึงธาตุอาหารไปใช้มามากที่สุด จะท�ำให้อ้อย มีน�้ำหนักดี พอเราได้ลองแล้วถึงได้รู้ ปรากฏว่าปีแรกได้ผลผลิต 25 ตันต่อไร่ แม่ดีใจมากเลยค่ะ นี่เป็นครั้งแรกเลยนะที่เราได้ผลผลิต สูงขนาดนี้ รวม 15 ไร่แล้วได้ผลผลิตถึง 375 ตัน เยอะมากๆ ทั้งที่ดินของเราไม่ค่อยดี เป็นดินลูกรัง ตอนแล้งนี่ดินแถวนี้แข็งมาก จนขุดไม่ลงเลย นี่ก็ได้กากหม้อกรองกับปุ๋ยซอยเมทจากโรงงาน มาใส่ช่วยบ�ำรุงให้ดินเราดีขึ้น ดินนี่ถ้ามันจะดีเราต้องเลิกท�ำอ้อย ไฟไหม้ น ะ แม่ ก็ ไ ม่ เ ผา เพราะแปลงไหนที่ เ ผาใบนี่ เ ห็ น เลยว่ า มันต่างกัน ซักพักเดี๋ยวมีเพลี้ยมา มีหนอนลงด้วยนะ”

Cover Story

และที่มากไปกว่านั้น การหันมาปลูกอ้อยตามแนวทางของ มิตรผล ยังท�ำให้แม่พรรณิกามีเวลาเหลือเพิ่มมากขึ้น จนสามารถ สร้ า งอาชี พ เสริ ม ทอหมวกและผ้ า พั น คอขายในช่ ว งหน้า หนาว ท� ำ รายได้ ห าเลี้ ย งครอบครั ว ได้ อ ย่ า งเป็ น กอบเป็ น ก� ำ จากการ รวมกลุ่มกับเพื่อนบ้านเป็นวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม “ท�ำไร่แบบใหม่นี่มีเวลาเหลืออยู่นะ เวลาท�ำไร่นี่กลุ่มพวกเรา ก็จะเล็ก ๆ นะ ก็จะมารวมกันมาคุยกันถึงแนวทางการปลูกอ้อย ช่วงไหน ท�ำอะไรบ้าง อย่างช่วงหลังใส่ปุ๋ยเสร็จในเดือนสิงหาคมก็จะทิ้งไว้ 3 เดือน มันว่างอยู่เราก็หันมารวมกลุ่มกันเขาเรียกวิสาหกิจชุมชน เราเลยมีอาชีพเสริม ตั้งเป็นกลุ่มชาวบ้านทอไหมพรม ทอหมวก และผ้าพันคอขายช่วงหน้าหนาว ก็มีขายให้คณะที่มาดูงานที่ไร่ มันก็ดีกับเราตรงที่ว่าเราอยู่บ้านกับลูกท�ำงานที่นี่ได้ไม่ต้องไปไหน” ถึ ง แม้ แ ม่ พ รรณิ ก าจะบอกกั บ เราว่ า ได้ อ าชี พ เสริ ม มาเพิ่ ม จากงานหลักอยากท�ำไร่ แต่เมื่อทราบถึงรายได้แล้วต้องบอกว่า ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ

เราภูมิใจกับไร่ของเรามาก แม้จะไม่ใหญ่โตอะไร ่ แต่ก็มีคนทีเขามาเห็น เขาก็ทำ�ตามเรา เพราะเขาคิดว่า ถ้าเล็กๆ อย่างเรายังทำ�ได้ เขาก็ต้องทำ�ได้ เขาเอาเราเป็นแบบอย่าง มันน่าภูมิใจตรงนี้

มาถึงวันนี้ ด้วยค�ำแนะน�ำและการส่งเสริมจากมิตรผลตั้งแต่ การเตรียมดิน การเลือกพันธุ์อ้อย เทคนิคการใส่ปุ๋ย ไปจนถึงการ ตัดอ้อยเข้าหีบ ท�ำให้อ้อยทั้ง 15 ไร่ของคุณพรรณิกาสามารถไว้ตอ ได้ถึง 4 ตอ โดยปีนี้จะเป็นอ้อยตอสุดท้ายก่อนรื้อแปลงปลูกใหม่ “รื้อแปลงรอบหน้า จะลองปลูกเอาให้ห่างซัก 1.55 เมตร เครื่องจักรจะได้เข้าไปได้ง่าย” แม่พรรณิกาพูดย�้ำความมั่นใจกับเราอย่างเป็นมั่นเป็นเหมาะ และด้วยความส�ำเร็จที่ไม่ได้เป็นความลับที่เปิดเผยไม่ได้ท�ำให้ใน วั น นี้ ต ้ อ งบอกว่ า บ้ า นของแม่ พ รรณิ ก านั้ น หั ว กระไดไม่ แ ห้ ง เลยทีเดียว เพราะแปลงอ้อยเรือนแสนของแม่พรรณิกาได้กลายเป็น แปลงสาธิ ต ที่ มี ทั้ ง คนไทยและเทศติ ด ต่ อ ขอมาดู ง านกั น อย่ า ง ไม่ขาดสาย ทั้งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนมิตรชาวไร่ ในละแวกใกล้ เ คี ย ง เรื่ อ ยไปจนถึ ง เกษตรกรนอกพื้ น ที่ ก็ เ คยมา เยี่ยมเยียนและดูงานที่ไร่แห่งนี้

“ถามถึงงานเสริมถักไหมพรมของกลุม่ แม่บา้ นของเราน่ะเหรอ ก็บอกเลยว่าท�ำเงินได้เพิ่มอีกปีละเป็นล้านเหมือนกันนะ หักค่า ใช้จ่ายต้นทุนออกที่เหลือก็เป็นของกลุ่มแม่บ้านทั้งหมด 15 คน บางคนท�ำน้อยได้น้อย ท�ำมากได้มาก คนนึงตั้งใจท�ำดี ๆ ก็ได้ หลักแสนอยู่ แม่วา่ มันเป็นโอกาสทีด่ ขี องชาวบ้าน ของสมาชิกในกลุม่ เป็ น ของโอท็ อ ปของต� ำ บลที่ ท างจั ง หวั ด เขาเข้ า มาสนั บ สนุ น เราจับกลุ่มกันมั่นคง มีการจดทะเบียนขึ้นเป็นวิสาหกิจชุมชนแล้ว” แม่ พ รรณิ ก า มิ ต รชาวไร่ ร ายเล็ ก หั ว ใจใหญ่ ปิ ด ท้ า ย การพูดคุยกับเราอย่างยิ้มแย้ม พูดถึงอ้อยทั้ง 15 ไร่ ที่แม่ฟูมฟัก มาด้วยความภาคภูมวิ า่ “เราภูมใิ จกับไร่ของเรามาก แม้จะไม่ใหญ่โตอะไร แต่กม ็ ี คนทีเ่ ขามาเห็น เขาก็ทำ� ตามเรา เพราะเขาคิดว่า ถ้าเล็กๆ อย่าง เรายังท�ำได้ เขาก็ต้องท�ำได้ เขาเอาเราเป็นแบบอย่าง มันน่า ภูมใิ จตรงนี”้ M

23


MITR PHOL MODERNFARM

Eco Focus

พฤศจิกายน 2559

SRF & CRF ่ ๋ นวั ต กรรมปุยเพื ออนาคต คุณจ�ำนาญ โคตรภูเวียง

ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการเทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการไร่

CONTROLLED RELEASE FERTILIZER FERTILIZER COATED WITH FERTILIZER NITROGEN

SOLUBLE POTASH

TRACE ELEMENTS

MAGNESIUM

PHOSPHORUS

่ ถือเป็นองค์ประกอบส�ำคัญทีช ่ ว ปุย ๋ คือ อาหารของพื ช ซึง ่ ยเพิ่ มธาตุอาหาร ให้กบ ั อ้อย ปัจจุบน ั ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ท�ำให้มก ี ารปรับปรุงพั ฒนา คุณภาพของปุ๋ยอยู่ตลอดจนมาถึงยุคของ “ปุ๋ยปลดปล่อยช้า (SRF)” และ “ปุย ๋ ควบคุมการปลดปล่อย (CRF)” ปุ๋ยปลดปล่อยช้า (Slow-Released Fertilizers, SRF) คื อ ปุ ๋ ย ที่ ถู ก พั ฒ นาให้ ใช้ ง ่ า ย มี คุ ณ สมบั ติ เ ป็ น ปุ ๋ ย ที่ ป ลดปล่ อ ย ธาตุ อ าหารออกมาให้ พื ช อย่ า งช้ า ๆ เพื่ อ ให้ ปุ ๋ ย มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ในการใช้งานมาก “ปุ๋ยปลดปล่อยช้า” เป็นปุ๋ยที่ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่าง ช้า ๆ และมีอัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารช้ากว่าปุ๋ยปกติทั่วไป 24

ซึ่ ง จะไม่ ส ามารถควบคุ มรู ปแบบของการปลดปล่ อ ยธาตุ อาหาร และช่ ว งเวลาการปลดปล่ อ ยได้ เ นื่ อ งจากมี ป ั จ จั ย ของจุ ลิ น ทรี ย ์ ดิน อุณหภูมิ และความชื้นของดินเข้ามาเกี่ยวข้อง ต่ า งจาก “ปุ ๋ ย ควบคุ ม การปลดปล่ อ ย (ControlledReleased Fertilizers, CRF)” ซึ่ ง เป็ น ปุ ๋ ย ที่ ส ามารถควบคุ ม การปลดปล่ อ ยธาตุ อ าหารตามความต้ อ งการของพื ช ได้


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

Eco Focus

โดยตัวปุ๋ยจะมีการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ตามช่วง ความต้องการของพืช สามารถวัดและควบคุมปริมาณได้ ข้ อ ดี ข องปุ ๋ ย ทั้ ง สองชนิ ด นี้ ก็ คื อ สามารถช่ ว ยลดการ สู ญ เสี ย ธาตุ อ าหาร และเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการใช้ ธ าตุ อ าหาร ของพืช ยังท�ำให้ช่วยลดการใช้ปุ๋ยลงถึง 20-30% เมื่อเปรียบเทียบ กับการใช้ปุ๋ยปกติสามารถลดความเสียหายต่อพืชที่เกิดจากปุ๋ยได้ รวมถึงช่วยลดจ�ำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ยและลดค่าแรงงานในการ ใส่ปุ๋ยได้อีกด้วย ด้วยสรรพคุณที่โดดเด่นของปุ๋ยทั้ง 2 ชนิดนี้จึงท�ำให้เป็น ที่ ต ้ อ งการของชาวไร่ เ กิ ด เป็ น นวั ต กรรม เพิ่ ม ผลผลิ ต และลด ขั้ น ตอนในการท� ำ งานลง แต่ ด ้ ว ยราคาที่ ยั ง สู ง กว่ า ปุ ๋ ย ธรรมดา ทั่ ว ไปอยู ่ ห ลายช่ ว งตั ว กลายเป็ น ความท้ า ทายใหม่ ข องมิ ต รผล โมเดิร์นฟาร์มที่ต้องหันมาสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่ อให้บรรลุทฤษฎี 2 ลด 2 เพิ่ ม พั ฒนาให้เกิดเป็น นวัตกรรมตามแนวทางเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งท�ำให้มิตรชาวไร่ ติดตามมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มอย่างต่อเนื่อง ในเร็วๆ นี้ จะมี ้ น่นอน ข่าวดีในเร็วๆ นีแ M

K H2O

ไอน้ำ�แทรกผ่าน สารเคลือบเม็ดโพลิเมอร์

N P K ความชื้นละลาย ธาตุอาหารในเม็ดปุ๋ย

N P

ธาตุอาหารแผ่กระจาย ออกจากสารเคลือบสู่เขตรากพืช

25


N

IO T O OM IAL

1PR

SPEC

¹ÔÇ ÎÍÅᏴ Çѹ¹Õé

«×éÍöá·Ã¡àµÍÃ

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

Å´ÊÙ§ÊØ´ TC38R 38 แรงมา

TC48R Plus 47 แรงมา

รับสวนลด

25,000

รับสวนลด

40,000

บาท*

56,000

บาท*

TD5.110 110 แรงมา รับสวนลด

บาท*

5610S 80 แรงมา 7610S 105 แรงมา

TS6.125 Rop 124 แรงมา TS6.140 Cab 139 แรงมา

รับสวนลด

20,000

20,000

บาท*

รับสวนลด

บาท*

บาท*

*หมายเหตุ : การอนุมัติสินเชื่อเปนไปตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโดยมิตองแจงใหทราบลวงหนา

TION

SPE

รับสวนลด

56,000

บาท*

AD 3 100,000

2PROMO

บาท*

TT4.90 88 แรงมา

รับสวนลด

รับสวนลด

CIAL

รับสวนลด

50,000

บาท*

TT4.55-75 55-75 แรงมา

TT55-75 55-75 แรงมา

50,000

TT45 47 แรงมา

¾ÔàÈÉ! ÃѺʋǹŴà¾ÔèÁ àÁ×èͼ‹Ò¹ÊÔ¹àª×èÍ

TT45 47 แรงมา

TT4.55 55 แรงมา

รับสวนลดเพิ่ม

7,000

TT4.75 75 แรงมา

รับสวนลดเพิ่ม

14,000

บาท**

TT4.90 88 แรงมา

รับสวนลดเพิ่ม

14,000

บาท**

รับสวนลดเพิ่ม

14,000

บาท**

บาท**

**หมายเหตุ : การอนุมัติสินเชื่อเปนไปตามเงื่อนไขที่ เงินติดลอ กำหนด ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโดยมิตองแจงใหทราบลวงหนา เงินติดลอ เปนเพียงผูใหสินเชื่อเชาซื้อ รายละเอียดของสินคาและการรับประกันคุณภาพเปนไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

L

«×éÍá·Ã¡àµÍà ÃØ‹¹ TT55 áÅÐ TT75

N OTIO

3PROM IA SPEC

¾ÃŒÍÁªØ´ÍØ»¡Ã³ µ‹Í¾‹Ç§

SET 1

TT55 55 แรงมา

TT75 75 แรงมา

SET 2

SET 1

SET 2

SET 3

ตัวเลือก TT55 SET 1 TT55 SET 2 TT55 SET 3

รายการ ใบมีด+ หรือ ริปเปอร 2 ขา

ใบมีด+ ผานพรวน 6 จาน 24”

ใบมีด+ หรือ บุกเบิก 3 จาน 24”

ใบมีด+เครื่องปลูกมัน บุงกี๋

ราคา 820,000 บาท 840,000 บาท 860,000 บาท

ตัวเลือก TT75 SET 1 TT75 SET 2

รายการ

ใบมีด+ ใบมีด+ หรือ ผานพรวน ริปเปอร 2 ขา 7 จาน 26”

9/9 หมู 1 ถนนบางนา-ตราด ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 โทรศัพท 02-730-7488 โทรสาร 02-730-7487 อีเมล info@apam.co.th เว็บไซต www.apam.co.th

หรือ

ใบมีด+ บุกเบิก 3 จาน 26”

ใบมีด+เครื่องปลูกมัน

***หมายเหตุ : การอนุมัติสินเชื่อเปนไปตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโดยมิตองแจงใหทราบลวงหนา ขอสงวนสิทธิ์โปรโมชั่นดังกลาว ไมสามารถเปลี่ยนเปนเงินสดได

26

คุมคาคุมราคา (สินคามีจำนวนจำกัด)***

ราคา 970,000 บาท 990,000 บาท

หมดเขต 30 พฤศจิกายน 2559 หรือจนกวาสินคาจะหมด

ʹ㨵Դµ‹Í ¼ÙŒá·¹¨Ó˹‹Ò·ÑèÇ»ÃÐà·È â·Ã.02-730-7488

www.apam.co.th


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

27


น้ำ�เปลี่ยนชีวิต

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

LAKE HEAVEN คุณปิยะ ก่อกุศล

ผู้ช�ำนาญการเทคนิคปฏิบัติการด้านน�้ำ

ขุดสระใหญ่ ผลผลิตอ้อยดี

รวมแปลงรวมน้ำ� ร่วมสร้างเป้าหมายผลผลิตอ้อย 20 ตันต่อไร่ไปด้วยกัน องค์ประกอบส�ำคัญที่จะท�ำให้ไร่อ้อยของเรามีผลผลิตงาม ๆ นอกจาก มิ ต รชาวไร่ จ ะต้ อ งใส่ ใ จในเรื่ อ งคุ ณ ภาพดิ น พั นธุ์ อ้ อ ย ลั ก ษณะแปลงแล้ ว ่ ในสิง ่ ะดึงมาใช้ในไร่ออ ่ ะวัดว่า ไร่ออ แหล่งน�ำ้ ทีจ ้ ย คือหนึง ้ ย ่ ส�ำคัญระดับต้น ๆ ทีจ ่ ำ� นัน ทีท ี่ ากน้อย ้ เรียกเงินเข้ากระเป๋ามิตรชาวไร่ได้กม

28


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

และที่อยากจะแนะน�ำคือ การท�ำแหล่งกักเก็บน�้ำในรูปแบบ ทะเลสาปขนาดใหญ่ ร่วมสร้างเป้าหมายผลผลิตอ้อย 20 ตันต่อไร่ ไปด้วยกัน แล้วเพื่อนมิตรชาวไร่คาดหวังผลผลิตอ้อยกันคนละกี่ตัน ต่อไร่ครับ? 15 ตัน , 20 ตัน หรือมากกว่านัน้ ถ้าเป้าหมายคือประมาณ 20 ตัน ต่อไร่แล้ว แน่นอนว่าเพือ่ นมิตรชาวไร่ตอ้ งเตรียมน�ำ้ ให้เพียงพอกับอ้อย ตลอดช่วงการเพาะปลูกไม่ตำ�่ กว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่เลยทีเดียว ด้วยสภาพอากาศของประเทศไทยที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ขนาดที่ว่าแห่นางแมวฝนดันแล้ง ปักตะไคร้ฝนกลับตก ท�ำให้เราไม่ กล้าทีจ่ ะฝากอนาคตอ้อยทีร่ กั ของเราไว้กบั ลมฟ้าฝน หันมาพึง่ ตนเอง อย่างทีเ่ ขาว่า ตนเป็นทีพ่ งึ่ แห่งตนด้วยการมีระบบชลประทานมาเติมเต็ม ให้มนี ำ�้ เพียงพอส�ำหรับบ�ำรุงอ้อยตลอดฤดู ทัง้ การขุดสระเพือ่ เก็บน�ำ้ ในช่วงฤดูฝน และการขุดบ่อบาดาล เพือ่ ใช้นำ�้ จากใต้ดนิ ซึง่ การขุดสระมีประโยชน์กบั เกษตรกรอย่างมาก เพราะจะช่วยเก็บน�ำ้ ในช่วงหน้าฝน เพือ่ ใช้ในช่วงฝนตกน้อย หรือช่วง หน้าแล้ง โดยตามต�ำราว่าไว้คอื พืน้ ที่ 10 ไร่ ควรมีการขุดสระขนาด 1 ไร่ ลึก 4 เมตร แต่ค�ำถามคือ ถ้าเป็นไร่อ้อยที่รวมแปลงใหญ่ สระเก็บน�ำ้ ต้องมีขนาดแค่ไหนกันล่ะ? เพื่อนมิตรชาวไร่ที่อยู่ในโครงการรวมแปลงใหญ่ของมิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม ซึ่งสนับสนุนให้ชาวไร่ที่มีแปลงอ้อยติดต่อกันรวมกัน เป็นแปลงใหญ่ สามารถสบายใจได้ เพราะทางมิตรผลมีแผนจะพัฒนา แหล่งน�้ำขนาดใหญ่ร่วมกับทางภาครัฐ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร รายย่อยในเรื่องชลประทาน และให้เกษตรกรได้ร่วมมือกันบริหาร จัดการน�้ำกันเอง โดยเฉพาะในภาคอีสานที่ถือว่าเป็นพื้นที่ประสบ ปัญหาขาดแคลนน�ำ้ และฝนทิง้ ช่วง การขุดสระขนาดใหญ่นั้นทางมิตรผลจะจัดหาที่ดินในบริเวณ

น้ำ�เปลี่ยนชีวิต

ทีเ่ หมาะสม เพือ่ สร้างอ่างเก็บน�ำ้ ขนาดยักษ์ความจุประมาณ 1 ล้านคิว เพือ่ ใช้เป็นจุดกระจายน�ำ้ ให้กบั แปลงอ้อยของเพือ่ นมิตรชาวไร่ในรัศมี 1 กิโลเมตรโดยการขุดสระนีน้ อกจากจะช่วยให้เพือ่ นมิตรชาวไร่มนี ำ�้ ไว้ใช้ได้ตลอดฤดูปลูกอ้อยแล้ว ยังสามารถใช้เลีย้ งปลา ช่วยเพิม่ มูลค่า ทางเศรษฐกิจได้อกี ด้วย ไม่น่าเชื่อใช่ไหมว่าการรวมแปลงนอกจากจะช่วยลดต้นทุน ในการเก็บเกี่ยวแล้ว ยังช่วยในเรื่องการกระจายทรัพยากรส�ำคัญ อย่างน�ำ้ ได้อกี ด้วย พอเพื่ อนมิตรชาวไร่มีน�้ำเพี ยงพอต่อการเพาะปลูกแล้ว ่ งจิบ เป้าหมายผลผลิตอ้อยต่อไร่ 20 ตัน ก็เป็นแค่เรือ ๊ ๆ M

29


หมอดิน

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

TAKE IT EASY ดร.ปรีชา พราหมณีย์

ที่ปรึกษากลุ่มงานพัฒนาและจัดการด้านอ้อย

ปลูกอ้อยดินทรายใครว่ายาก ล้วงลึกเทคนิคเตรียมดินทรายให้เหมาะกับการปลูกอ้อย

แบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ดินทรายถือว่าเป็นยาขมอย่างหนึ่งของการท�ำเกษตรเลยก็ว่าได้ ทั้งมี แร่ธาตุในดินต�่ำ อุ้มน�้ำได้น้อย ท�ำให้พืชที่ปลูกไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร แต่ถา้ เพื่ อนมิตรชาวไร่รเู้ คล็ดลับล่ะก็ ขอบอกว่าดินทรายจะกลายเป็นสวรรค์ ของชาวไร่ออ ้ ยเลยทีเดียว

30


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

หมอดิน

ดิ น ทรายมี จุ ด เด่ น อยู ่ ที่ มี ค วามร่ ว นซุ ย สู ง การเตรี ย มดิ น เพื่ อ ปลู ก อ้ อ ยจึ ง ไถพรวนเพี ย งสองครั้ ง แล้ ว ขึ้ น ร่ อ งอ้ อ ยได้ เ ลย ข้อดีจากการลดการไถพรวนดิน คือประหยัดค่าน�้ำมันเชื้อเพลิง เครื่ อ งยนต์ เ ครื่ อ งจั ก รใช้ ง านน้ อ ยไม่ สึ ก หรอเร็ ว ช่ ว ยเพื่ อ น มิตรชาวไร่ประหยัดเวลาการท�ำงาน และยังไม่ท�ำลายสัตว์ในดิน ที่เป็นประโยชน์ต่ออ้อยที่ตายจากการไถพรวนเร็วกว่าศัตรูพืชในดิน การไถพรวนมากเกินไปยังท�ำให้อินทรีย์วัตถุในดินที่จ�ำเป็นต่ออ้อย ลดลง เพราะถูกไถขึ้นมาเหนือดิน แล้วท�ำปฏิกิริยาเคมีกับอากาศ เปลี่ยนเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ลอยหายไป แถมบางครั้ ง หลั ง เก็ บ เกี่ ย ว ถ้ า ดิ น ยั ง ร่ ว นซุ ย ดี ก็ ป ลู ก อ้ อ ย ได้ใหม่โดยไม่ต้องไถเพิ่มอีกด้วย ที่ส�ำคัญห้ามเผาอ้อยโดยเด็ดขาด!! เพราะจะท�ำให้สูญเสียความชื้น และสารอาหารภายในดิน และยัง ไปท�ำลายโครงสร้างของดินให้เสียหายจนยากจะแก้ไขได้ นอกจากนี้ ก ารจะท� ำ ให้ ไ ด้ อ ้ อ ยคุ ณ ภาพดี ใ ห้ ผ ลผลิ ต สู ง ขึ้นอยู่กับการบ�ำรุงรักษาและเติมธาตุอาหารในดินอย่างสม�่ำเสมอ ให้ อ ้ อ ยน� ำ ไปใช้ ไ ด้ อ ย่ า งเหมาะสมถู ก ช่ ว งเวลา และต้ อ งไม่ ลื ม อีกปัจจัยส�ำคัญที่มาควบคู่กับดิน คือน�้ำและความชื้นในแปลงอ้อย ที่เหมาะสมด้วย ซึ่งปลายฝนแบบนี้เป็นช่วงที่เหมาะแก่การปลูก อ้อยอย่างยิ่งเพราะดินมีความชื้นที่พอเหมาะ ได้ เ คล็ ด ลั บ เตรี ย มดิ น ทรายปลู ก อ้ อ ยกั น ไปแล้ ว งั้ น ช้าอยูท ่ ำ� ไม ไปลงแปลงปลูกอ้อยกันเลยดีกว่า M

31


อ้อยพันธุ์ดีมีอยู่จริง

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

MPT 03-166 ดร.สมหวัง อนุสนธิ์พรเพิ่ม

ผู้ช�ำนาญการปรับปรุงพันธุ์

อ้อยพันธุ์ใหม่ไว้ตอดี ไม่บอกก็รู้ว่า ค�ำถามส�ำคัญในการปลูกอ้อยพี่ น้องมิตรชาวไร่ก็คือ “ปลูกอ้อยพั นธุ์ใดให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี!!”

“ปลูกอ้อยพันธุ์อะไรให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี?” นี่คือ ค�ำถามส�ำคัญส�ำหรับพี่น้องมิตรชาวไร่การท�ำไร่อ้อยให้ได้ผลผลิตต่อ ไร่สูงและดีขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ดินฟ้า อากาศ และ น�้ำซึ่งเป็นปัจจัยที่พี่น้องมิตรชาวไร่รู้ดีว่า บางพื้นที่สามารถควบคุม ได้ แ ละในบางพื้ น ที่ ไ ม่ ส ามารถรั บ รู ้ ล ่ ว งหน้ า ได้ ว ่ า จะดี ห รื อ ไม่ ดี แต่ท้ังนี้ปัจจัยที่พี่น้องมิตรชาวไร่สามารถก�ำหนดได้ว่าการท�ำไร่อ้อย ให้ได้ป ระสิ ท ธิ ภ าพและผลผลิ ต ที่ มี คุ ณ ภาพนั้ น คื อ ต้ อ งเลื อ ก พั น ธุ ์ อ ้ อ ยที่ ดี แต่ ล ะปี ก ลุ ่ ม มิ ต รผลมี ก ารพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง พั น ธุ ์ อ ้ อ ยใหม่ ออกมาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ปี ล ะ1-2 สายพั น ธุ ์ และอ้ อ ยพั น ธุ ์ “มิ ต รผลเอ็ ม พี ที 03-166” ถื อ เป็ น ความส� ำ เร็ จ ที่ ก ลุ ่ ม มิ ต รผล ได้ทุ่มเทค้นคว้าวิจัยให้กับพี่น้องมิตรชาวไร่ ซึ่งเราจะมาท�ำความรู้จัก กับอ้อยสายพันธุ์นี้ให้มากขึ้น “มิตรผลเอ็มพีที 03-166” คือหนึ่งในพันธุ์อ้อยที่กลุ่มมิตรผล ปรับปรุงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นของอ้อยพันธุ์นี้คือ เหมาะส�ำหรับปลูกในพื้นที่ดินเหนียว ร่วนเหนียว และร่วนทราย อ้ อ ยแตกกอและไว้ ต อดี ม าก เหมาะกั บ การไว้ ต อ เป็ น พั น ธุ ์ ที่ ให้ผลผลิตสูง ลอกกาบง่าย และน�้ำหนักล�ำดี ด้ ว ยคุ ณ สมสมบั ติ เ ช่ น นี้ “มิ ต รผลเอ็ ม พี ที 03-166” จึ ง เป็ น พั น ธุ ์ อ ้ อ ยที่ เ หมาะสมจะปลู ก แถวภาคกลางและภาค อี ส าน ซึ่ ง เกษตรกรที่ เ คยใช้ พั น ธุ ์ นี้ บ อกเป็ น เสี ย งเดี ย วกั น ว่ า ได้ผลดี

32


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

อ้อยพันธุ์ดีมีอยู่จริง

ลักษณะประจ�ำพั นธุ์ (ตาราง) ผลผลิต ความหวาน การเติบโต การแตกกอ การไว้ตอ ดินที่เหมาะสม เดือนปลูก เดือนเก็บเกี่ยว

15-20 ตัน/ไร่ 11-12 ซีซีเอส เติบโตช้าช่วงแรก ดีมาก ดีมาก เหนียว ร่วน ร่วนเหนียว ร่วนทราย ตุลาคม – กุมภาพันธุ์ กุมภาพันธ์ – มีนาคม

การรู้จักพั นธุ์อ้อยนอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านการ ศึกษาพั นธุ์แล้วอย่างน้อยที่สุดยังช่วยให้มิตรชาวไร่แน่ใจว่า อ้ อ ยที่ ป ลู ก นั้ น เป็ น พั นธุ์ ที่ ต้ อ งการ และเหมาะสมกั บ สภาพ พื้ นที่ของตนซึ่งจะท�ำให้สามารถปฏิบัติการต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสมขณะเดี ย วกั น ก็ จ ะมี ผ ลท� ำ ให้ ผ ลผลิ ต น�้ ำ ตาลต่ อ ไร่ ้ ด้วยครับ เพิ่ มขึน M

33


C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

AD 5 35


วิถีคนสู้

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

TOP SECRET ่

พ่อเอ็มพี อ้วนโฮม ภูหลวง เคล็ดลับอยู่ทีฟาร์มดีไซน์ ในยุ ค ที่ ก ารท� ำ เกษตรกรรม มี ก ารพั ฒนาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง การที่ พี่ น้ อ ง มิตรชาวไร่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการท�ำอาชีพเกษตรกรในยุคนี้นั้น จะต้อง เร่งพั ฒนาตัวเองให้เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้า เปิดรับนวัตกรรมและองค์ความรู้ ต่าง ๆ มาปรับใช้ในพื้ นที่อย่างเหมาะสม

36


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

วิถีคนสู้

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำ�ให้ผม เกิดความเชื่อมั่นในรูปแบบการปลูก แบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มมากขึ้น คำ�ถามที่เกิดขึ้นในหัวค่อย ๆ จางหายไป การปลูกอ้อยระยะชิดไม่ได้หมายความว่า จะได้ผลผลิตดี แต่ข้นอยู ึ ่กับการ ่ ่ จัดรูปแปลง ซึงเป็นหนึงในปัจจัย ในการทำ�ไร่อ้อยให้ได้ผลผลิตสูง

คุณเอ็มพี อ้วนโฮม พ่ อ เอ็ ม พี อ้ ว นโฮม โรงน�้ ำ ตาลมิ ต รภู ห ลวง จั ง หวั ด เลย เป็ น เกษตรกรต้ น แบบคนหนึ่ ง ที่ ก ้ า วขึ้ น สู ่ ก ารท� ำ การเกษตรกร ยุ ค ใหม่ ด้ ว ยการทยอยพลิ ก โฉมพื้ น ที่ ก ว่ า 170 ไร่ มาปลู ก อ้ อ ยในรู ป แบบ “มิ ต รผลโมเดิ ร ์ น ฟาร์ ม ” และจั ด วางระบบน�้ ำ ในไร่อ้อยใหม่เพื่อให้ง่ายต่อกาจัดการ และช่วยแก้ปัญหาแรงงาน ที่ขาดแคลน พ่อเอ็มพี เล่าให้ฟังว่า พื้นที่ปลูกอ้อยกว่า 170 ไร่ บางแปลง เป็นพื้นที่ราบ บางแปลงเป็นดินผสมหินและพื้นที่มีขนาดเล็กท�ำให้ การจัดการแปลงไม่เหมือนกัน ที่ผ่านมารูปแบบและวิธีการปลูกจะ เป็นแบบเดิม ๆ ใช้แรงงานคนปลูกและตัดอ้อยเป็นหลัก ซึ่งแต่ละ ฤดูกาลจะประสบปัญหาแรงงานไม่เพียง บ่อยครั้งที่แรงงานเจอ ต้นอ้อยล้มก็หยุดท�ำงาน ส่งผลให้บางปีการตัดอ้อยส่งโรงงานล่าช้า ไม่ทันกับฤดูหีบอ้อยของโรงงาน ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น นี้ เกิ ด ขึ้ น ซ�้ ำ แล้ ว ซ�้ ำ เล่ า จนพ่ อ เอ็ ม พี ก็ จ นปั ญ ญานึ ก ไม่ อ อกเหมื อ นกั น ว่ า จะแก้ ป ั ญ หานี้ อ ย่ า งไร

จนในที่ สุ ด ทางโรงงานน�้ ำ ตาลมาให้ ค� ำ แนะน� ำ ในการจั ด การกั บ แปลงอ้ อ ยอั น กว้ า งใหญ่ เช่ น นี้ ด ้ ว ยการท� ำ ฟาร์ ม ดี ไซน์ ขึ้ น ใหม่ เปลี่ยนรูปแบบการท�ำแปลงอ้อยแบบเดิม ๆ ที่เคยท�ำมา จากปั ญ หาที่ ก ล่ า วนี่ เ อง เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ให้ พ ่ อ เอ็ ม พี ต ้ อ ง ปรับตัววางแผนจัดรูปแบบแปลงให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้รับกับนวัตกรรม เครื่องจักรที่จะน�ำมาใช้งาน ซึ่งการจัดรูปแบบแปลงของพ่อเอ็มพี นั้นเป็นไปตามสูตรของมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มที่ว่า “ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง” “เราไม่ ไ ด้ เ ปลี่ ย นทั้ ง หมด ในช่ ว งแรกที่ เจ้ า หน้ า ที่โรงงาน เข้ามาแนะน�ำให้จัดรูปแบบแปลงปลูกแบบโมเดิร์นฟาร์ม ก็ยังท�ำใจ ไม่ได้เกิดค�ำถามกับตัวเองว่าท�ำไมปลูกห่าง ปลูกห่างแล้วจะได้ผลผลิต เท่ากับทีเ่ คยท�ำมาไหมแต่จากปัญหาแรงงาน ท�ำให้ผมปฏิเสธไม่ได้” พ่อเอ็มพี เริ่มปรับพื้นที่ราบ 40 ไร่ จาก 170 ไร่ มาทดลอง ปลูกแบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม จากการเข้ามาส่งเสริมของเจ้าหน้าที่ มิตรผลโดยใช้ระยะห่างระหว่างร่องที่ 1.50 เมตร และน�ำเอารถ 37


วิถีคนสู้

38

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

วิถีคนสู้

พร้อมเครื่องจักรเข้าไปท�ำงานในแปลงโดยที่ไม่ต้องง้อแรงงานคน เหมือนที่ผ่านมา และจากการจั ด รู ป แปลงใหม่ นี้ เ อง พ่ อ เอ็ ม พี ไ ด้ เ ห็ น การเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน อ้อยที่เคยไว้ตอได้ 3 รอบ หลังจาก ใช้ เ ทคโนโลยี สามารถไว้ ต อได้ ถึ ง 5 รอบ ผลผลิ ต เฉลี่ ย ไร่ ล ะ ไม่น้อยกว่า 13-14 ตัน ที่ส�ำคัญไม่ต้องอาศัยแรงงานคนในการ บริหารจัดการอย่างที่ผ่านมา “การเปลี่ ย นแปลงครั้ ง นี้ ท� ำ ให้ ผ มเกิ ด ความเชื่ อ มั่ น ใน รูปแบบการปลูกแบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มมากขึ้น ค�ำถามที่เกิด ขึ้นในหัวค่อยจางหายไป การปลูกอ้อยระยะชิดไม่ได้หมายความ ว่าจะได้ผลผลิตดี แต่ขึ้นอยู่กับการจัดรูปแปลง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัย ในการท�ำไร่อ้อยให้ได้ผลผลิตสูง” “จากเดิมที่ผมคิดว่า การปลูกอ้อย ต้องปลูกถี่สิ ถึงจะได้ ผลผลิตเยอะ ปลูกห่างมันต้องได้ผลผลิตน้อยกว่าแน่ ๆ แต่พอ เห็นปริมาณผลผลิตของอ้อยต่อไร่ที่ได้จากการปรับเปลี่ยนแปลง ของตัวเองตามที่เขาแนะน�ำ ท�ำให้ผมเชื่อค�ำพูดนี้แล้วว่า ‘ดินเลว ปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง’ เลยเปลี่ยนวิธีคิดในการปลูกอ้อยจากแต่ ก่อนไปเลย (หัวเราะ)” นอกจากนี้พ่อเอ็มพี ยังบอกอีกว่า การปรับรูปแบบแปลง ปลูกให้มีระยะห่าง ท�ำให้ต้องจัดวางระบบให้ง่ายและสะดวกขึ้น ยิ่งในช่วงอ้อยตอหากได้รับน�้ำเร็ว ก็จะแตกกอไว้ขึ้นจึงเลือกระบบ น�้ำหยด วางท่อช่วงละประมาณ 80 เมตร ตลอดความยาวของ แปลงปลู ก ซึ่ ง ช่ ว ยท� ำ ให้ ก ารให้ น�้ ำ ในไร่ อ ้ อ ยแต่ ล ะครั้ ง ไม่ ต ้ อ ง นั่งเฝ้า เพียงตั้งเปิด – ปิด วาล์ว และเอาเวลาที่เหลือไปท�ำงาน ในส่วนอื่นแทน ่ งจักรกลการเกษตรเข้าไป “การจัดรูปแปลงให้รถและเครือ ้ ท�ำงานในไร่ได้ ท�ำให้การบริหารจัดการสะดวกและรวดเร็วยิง ่ ขึน ผมตั้งใจจะพั ฒนาปรับเปลี่ยนพื้ นที่ท่ีสามารถจัดรูปแปลงใหม่ ม า ท� ำ ต า ม ห ลั ก ข อ ง มิ ต ร ผ ล โ ม เ ดิ ร์ น ฟ า ร์ ม ” พ่ อ เ อ็ ม พี กล่าวทิง ้ ท้าย M

39


ฮีโร่มิตรชาวไร่

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

PARASITOIDS คุณอภิชาติ ศรีวรมณ์

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายเพิ่มผลผลิตโรงงานน�้ำตาลมิตรผลกาฬสินธ์ุ

แตนเบียนปราบเกรียนทำ�ลายอ้อย

่ ำ� ลังเจริญงอกงามอาจไม่ใช่อย่างทีต ่ าเห็น เพราะ ไร่ออ ้ ยทีก ลึกลงไปที่กออ้อยอาจมีส่ิงมีชีวิตที่ไม่หวังดีต่ออ้อยของเรา ซ่อนอยู่ อย่างหนอนกออ้อย (Sugarcane Borer) ศัตรูพืช ที่ร้ายกาจอันดับต้น ๆ ที่คอยก่อกวนส่งผลให้ค่าความหวาน ของอ้อยลดลง และสูญเสียน�ำ้ หนักผลผลิตได้ถง ึ 2 ตันต่อไร่ เลยทีเดียว แต่ไม่เลวร้ายเท่าในบางพื้ นทีเ่ คยมีการระบาดจนถึงขัน ้ ต้องไถอ้อยทิง ้ เงินและเวลาไปมากมาย ้ เพื่ อปลูกใหม่เสียทัง

40


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

ฮีโร่มิตรชาวไร่

หนอนกออ้อย คือแมลงในระยะตัวอ่อนที่อาศัยอยู่ภายใน ล�ำต้นอ้อย ท�ำให้ไส้กลวงเกิดเป็นแผลภายใน โดยเมื่อหนอนกออ้อย ฟักจากไข่จะอยู่รวมเป็นกลุ่ม กัดกินผิวใบหรือหน่ออ้อยระยะเวลา สั้ น ๆ จากนั้ น จึ ง เจาะเข้ า ไปภายในล� ำ ต้ น และอาศั ย อยู ่ ภ ายใน พอหน่อที่อาศัยอยู่ตายก็จะย้ายไปท�ำลายหน่อใหม่ หนอนกออ้อย 1 ตัวจึงท�ำลายอ้อยได้ถงึ 3-4 หน่อ ต้นอ้อยทีโ่ ดนโจมตี ยอดจะแห้งตาย อาจส่งกลิ่นเหม็น บริเวณฐานหรือโคนล�ำจะมีรอยเจาะเป็นรู ส่งผล ให้ล�ำต้นอ้อยแตก การเจริญเติบโตชะงักลง การป้องกันและก�ำจัดหนอนกออ้อย มีทั้งการเลือกอ้อยพันธุ์ ที่มีความต้านทานสูง การลดปุ๋ยไนโตรเจนในระยะเริ่มปลูก รวมถึง ใช้สารเคมีก�ำจัด ซึ่งวิธีเหล่านี้ท�ำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แถมยังอาจเป็น อันตรายกับเพื่อนมิตรชาวไร่เองอีกด้วย วิธีหนึ่งที่ค่าใช้จ่ายน้อย และไม่เป็นอันตราย คือการใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น การใช้แตนเบียน มากำ�จัดหนอนกออ้อย ซึ่งปัจจุบัน เพื่อนมิตรชาวไร่อ้อยสามารถเพาะเลี้ยงได้เอง โดยแตนเบียนที่นิยมกันมีดังนี้ แตนเบียนหนอนโคทีเซีย (Cotesia flaviopes Cameron)

ตั ว เมี ย จะเข้ า ไปในรู ข องหนอนกออ้ อ ยแล้ ว วางไข่ ไ ว้ ตัวอ่อนแตนเบียนจะเติบโตในนั้น พอถึงระยะดักแด้ หนอนกออ้อย จะอ่อนแอและตายในที่สุด

แตนเบียนไข่ตริโคแกรมม่า (Trichogramma spp.)

จะวางไข่ไว้ในไข่ของหนอนกออ้อย นอกจากช่วยท�ำลายไข่ ของหนอนกออ้อยได้เป็นจ�ำนวนมากแล้ว ยังช่วยท�ำลายไข่ผีเสื้อ ศัตรูพืชอื่น ๆ อีกด้วย

การใช้ แ ตนเบี ย นในไร่ อ ้ อ ย ควรปล่ อ ยในอั ต รา 12,000 -20,000 ตั ว ต่ อ ไร่ จ� ำ นวน 6-7 ครั้ ง ต่ อ ฤดู ปลู ก จะสามารถลด การเข้าท�ำลายของหนอนกออ้อยได้เกือบ 70% ผลผลิตน�้ำตาลสูง กว่าแปลงที่ไม่มีการปล่อยแตนเบียนถึง 25% เลยทีเดียว เพื่ อนมิตรชาวไร่ทส ี่ นใจสามารถปรึกษาได้ที่ บริษท ั มิตรผล วิจย ั พั ฒนาอ้อยและน�ำ้ ตาลจ�ำกัด อ�ำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ครับ M

41


ของเล่นชาวไร่

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

ZONAL ROTAVATOR คุณกฤษณ์ สรรพอาสา

่ ในเสาหลักทีส ่ ำ� คัญของทฤษฎี 4 เสาหลัก ทีม ่ ต หนึง ิ รผล โมเดิรน ์ ฟาร์มน�ำเสนอให้เพื่ อนมิตรชาวไร่ไปลองใช้กน ั ก็คอ ื ลดการไถพรวน (Minimum Tillage) โดยวิธก ี ารคือมีการ ก�ำหนดให้ไถพรวนเฉพาะบนแปลงปลูกอ้อย (Bed Form) ้ มาในไร่ออ ่ กขึน ทีย ้ ยเท่านัน ้ เพื่ อช่วยรักษาโครงสร้างของดิน ลดพื้ นที่เตรียมดินลงประมาณ 35 % ช่วยประหยัดน�้ำมัน เชื้อเพลิง และลดเวลาในเตรียมดินก่อนปลูกอ้อย

ทำ�ให้งานเสร็จเร็วขึ้น

สามารถปลูกอ้อยใหม่ได้ทันเวลา ของเล่นชาวไร่ทนี่ ำ� มาเสนอเพือ่ นมิตรชาวไร่ในวันนี้ ตอบโจทย์ การลดการไถเตรียมดินปลูกอ้อยปลายฝนได้เป็นอย่างดี ขอแนะน�ำ ให้รู้จักกับเครื่องขึ้นเบดแบบโรตารี่ที่มีชื่อว่า “โซนอลโรตาเวเตอร์” (Zonal Rotavator) ที่หลายคนอาจเคยเห็นการท�ำงานของมัน ไปบ้ า งแล้ ว ว่ า ประสิ ท ธิ ภ าพการท� ำ งานของเจ้ า ของเล่ น ชิ้ น นี้ เป็นอย่างไร แน่นอนว่านอกจะช่วยเราพรวนดินให้ละเอียดเหมาะ แก่ ก ารปลู ก อ้ อ ยของเราแล้ ว ยั ง สามารถปรั บ ระดั บ การท� ำ งาน ให้เหมาะสมกับแนวร่องที่ก�ำหนดไว้ ลดการบดอัดของชั้นดินได้ ตามหลักการควบคุมแนววิ่งของรถ (Controlled Traffic) ได้ เป็นอย่างดี สมรรถนะการท�ำงานของเครื่องขึ้นเบดแบบโรตารี่ “โซนอล โรตาเวเตอร์” อยู่ที่ 20 ไร่ต่อวัน ใช้น�้ำมันเฉลี่ยเพียงไร่ละประมาณ 5.5 ลิตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าคุ้มค่าระดับหนึ่งเลยทีเดียว ของแถม อย่างหนึ่งที่ได้จากความรวดเร็วในการพรวนดินของเจ้าเครื่องนี้คือ ลดการท�ำลายไส้เดือนในดิน และจุลินทรีย์สารอาหารที่มีประโยชน์ ต่ออ้อยได้อีกด้วย

42

ผู้จัดการฝ่ายเครื่องมือเกษตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

ของเล่นชาวไร่

ลดใช้สารเคมี วิถีมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม

เครื่องขึ้นเบดแบบโรตารี่ Zonal Rotavator หน้าที่ : พรวนดินให้ละเอียดเฉพาะบน Bedform พร้อมขึ้น Bedform เพื่ อให้ดินละเอียด เหมาะแก่การปลูกอ้อย ความลึก : 20-25 เซนติเมตร ความละเอียดของดิน : ละเอียดดีพร้อมปลูก สมรรถนะ : 20 ไร่/วัน

43


โลจิสติกส์

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

GPS TRACKING คุณกฤษณ์ สรรพอาสา

ผู้จัดการฝ่ายเครื่องมือเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อยู่ไหนก็รู้แค่ดู “จีพีเอส” ่ เี พี ยงปีละเพี ยง 4 เดือนเท่านัน ฤดูเปิดหีบอ้อยทีม ้ เวลาจึงส�ำคัญเป็นอันดับ ต้น ๆ ที่เพื่ อนมิตรชาวไร่ไม่ควรมองข้าม ช่วงนี้นอกจากเวลาส่วนใหญ่ของ มิตรชาวไร่จะใช้ไปกับขั้นตอนการตัดอ้อยแล้ว การขนส่งโลจิสติกส์ผลผลิต จากไร่ออ ้ ยของเราเข้าสูงโรงงานหีบอ้อยเพื่ อน�ำไปแปรรูปก็สำ� คัญไม่แพ้ กน ั

44


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

โลจิสติกส์

ส่วนใหญ่โรงงานหีบอ้อยจะตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ ท�ำให้ การขนส่งผลผลิตอ้อยจากไร่อยู่ภายในรัศมีไม่เกิน 80 กิโลเมตร เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งที่เฉลี่ยอยู่ที่ 150 บาทต่อตัน รวมไปถึง ปัญหาเรื่องรถบรรทุกรอคิวหน้าโรงงานเป็นเวลานาน จากปัญหาที่เกิดขึ้นทางมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มได้พัฒนาระบบ โลจิ ส ติ ก ส์ อ ้ อ ยที่ ทั น สมั ย เข้ า มาช่ ว ยเพื่ อ นมิ ต รชาวไร่ ล ดต้ น ทุ น และสามารถขนส่งอ้อยเข้าสู่โรงงานได้อย่างรวดเร็วลดระยะเวลา ตั้งแต่การตัดถึงการหีบ อีกทั้งมีปริมาณการขนส่งต่อวันที่มากขึ้น ซึ่ ง ขั้ น ตอนทั้ ง หมดต้ อ งไม่ เ กิ น 24 ชั่ ว โมง เพราะหากปล่ อ ยไว้ อ้ อ ยจะสู ญ เสี ย น�้ ำ หนั ก ซี ซี เ อสหรื อ ค่ า ความหวานจะลดลง นั่นหมายถึงรายได้ของเกษตรกรก็น้อยลงตามไปด้วย โดยวิ ธี ก ารที่ มิ ต รผลโมเดิ ร ์ น ฟาร์ ม น� ำ มาใช้ คื อ การใช้ รถกึ่งพ่วงส�ำหรับขนส่งอ้อยที่สามารถบรรทุกอ้อยได้ถึง 35 ตัน ต่อคัน ควบคู่ไปกับรถหัวลากที่ติดตั้งระบบ “จีพีเอส” (GPS) เพื่อ จับพิกัดในการขนส่งอ้อย เพื่อบริหารจัดการทั้งเส้นทางที่ใกล้ที่สุด และไม่ให้รถกึ่งพ่วงจอดรอแบบไม่เกิดประโยชน์ โดยในระยะทาง ไม่เกิน 60 กิโลเมตร รถหัวลากจ�ำนวน 3 คัน และรถกึ่งพ่วง 8 คัน สามารถขนอ้ อ ยจากไร่ ไ ปยั ง โรงงานได้ ถึ ง 300-400 ตั น ต่ อ วั น เลยทีเดียว ่ ผมสิ เพราะเหตุนเี้ อง ติดตัง ้ จีพีเอสกันเถิด จะเกิดผล เชือ

M

45


บุรุษชุดเขียว Ironman

MITR PHOL MODERNFARM

SO FAR SO GOOD

ห่างกันสักพัก

เพื่อรับรายได้ที่มากขึ้น คุณไพฑูรย์ ประภาถะโร

46

ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การสายงานอ้อยภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พฤศจิกายน 2559

หลักปฏิบต ั ใิ นการท�ำไร่ออ ้ ยสมัยใหม่ ่ คือ “การเตรียม ประการส�ำคัญข้อหนึง แปลงปลูก” อาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจหลัก ของการปลู ก อ้ อ ยในระบบมิ ต รผล โมเดิร์นฟาร์มเลยที เ ดี ย ว เพราะการ เตรียมแปลงปลูกทีเ่ หมาะสมตามแนวคิด ที่ ว่ า “ดิ น เลวปลู ก ถี่ ดิ น ดี ป ลู ก ห่ า ง” นั้นมีแต่จะส่งผลดีต่อมิตรชาวไร่


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

“ชาวไร่ที่มีรถตัดอ้อยเริ่มหันมาเตรียมแปลงที่มีระยะห่าง ระหว่างแปลงที่ 1.85 เมตร เพื่อรองรับรถตัดกันบ้างแล้ว บางส่วน เริ่ ม ทดลองโดยใช้ ร ะยะที่ 1.65 เมตรก่อน เพราะต้องรอรื้ อ ไร่ ไม่กล้าเสี่ยงเปลี่ยนทันที” ทันทีที่เจอหน้ากันพี่ยุทธชัย สิงห์รัก ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายไร่ สาย 1 บริษัท ไร่อีสาน จ�ำกัด ที่มาพร้อมชุดไอรอนแมนสีเขียว เห็นมาแต่ไกล ก็รีบอัพเดตสถานการณ์ปัจจุบันให้เราฟัง พร้อม ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อดีของระยะห่างระหว่างแปลง 1.85 เมตร ทีท่ างมิตรผลโมเดิรน์ ฟาร์มได้พสิ จู น์แล้วว่าให้ประสิทธิภาพมากทีส่ ดุ อย่างเช่นการช่วยเพิ่มสมรรถนะการท�ำงานของรถตัด ช่วยประหยัด น�้ำมันเพราะจ�ำนวนร่องน้อยลง แก้ปัญหาเรื่องรถตัดขึ้นเหยียบย�่ำ ตออ้อย และช่วยประหยัดท่อนพันธุ์ได้กว่า 30% แหม...สาระความรู้มาเต็มแบบนี้สมกับที่เป็นบุรุษชุดเขียว ที่ เ คยให้ ค วามรู ้ แ ก่ เ กษตรกรชาวไร่ อ ้ อ ยมากกว่ า 200 ราย แรกเริม่ เดิมที สาเหตุทชี่ าวไร่ออ้ ยยังไม่กล้าตัดสินใจเปลีย่ นระยะห่าง

บุรุษชุดเขียว Ironman

แปลงปลูกนั้น เพราะกลัวผลผลิตลดลง พอพี่ยุทธได้ยินแบบนี้แล้ว ก็เลยลุยพื้นที่จริงเพื่อให้ความรู้ และท�ำให้เกษตรกรดูเป็นตัวอย่าง โดยพีย่ ทุ ธได้บอกเล่าประสบการณ์ทไี่ ด้พบปะแลกเปลีย่ นกับชาวไร่วา่ “ชาวไร่ที่ต้องรื้อแปลงปลูกใหม่ เรามีการชดเชยค่าท่อนพันธุ์ ไปช่วยเขาเตรียมแปลงปลูก และน�ำรถตัดไปสาธิตให้ดู พอเกษตรกร เห็นของจริงแล้วเกิดความเชื่อมั่นเปลี่ยนมาปลูกระยะ 1.85 เมตร ทันทีเลยก็มี” ้ ี่ ยท ่ ลูกพื ช นอกจากนีพ ุ ธยังมีหน้าทีโ่ น้มน้าวเกษตรกรทีป ชนิดอื่นให้หันมาปลูกอ้อย โดยบุรุษชุดเขียวของเราบอกว่า ยากกว่าการให้ชาวไร่ออ ้ ยมาใช้ระยะห่างระหว่างแปลงที่ 1.85 เมตร ่ ง เสียอีก เพราะส่วนใหญ่เกษตรกรทีย ั ไม่เคยปลูกอ้อยยังไม่มน ั่ ใจ ่ แม้ปากจะบอกว่าเป็นงานทีไ่ ม่งา่ ย แต่จาก ่ งราคาอ้อย ซึง เรือ ่ ง ้ เขียว สีหน้าและแววตาทีม ุ่ มัน ุ ธ สุดยอดไอรอนแมนเสือ ่ ของพี่ ยท ่ ได้เลยว่าไม่เกินความสามารถของเขาแน่นอน ของเราแล้ว เชือ M

47


MITR PHOL MODERNFARM

เราภูมิใจ ที่ได้ทำ�ให้มิตรชาวไร่ มีความสุขที่ยั่งยืน 48

2

พฤศจิกายน 2559

ทำ�ไร่ รายได้

ทฤษฎีสองลดสองเพิ่มของมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม

ผลลัพธ์ของเกษตรสมัยใหม่

พร้อมพามิตรชาวไร่ก้าวสู่ยุคประเทศไทย 4.0 แล้ววันนี้


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

49


สุขจากไร่

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

HAPPY LIFE

พนม ยศรุ่งเรือง... ทำ�ไร่สุขใจด้วยหลักธรรม ่ ว่าการท�ำไร่ออ ่ งมือทางการเกษตรต่าง ๆ ใครจะเชือ ้ ยนัน ้ นอกจากจะต้องใช้เครือ ่ ำ� คัญนอกจากจะช่วยให้ได้ผลผลิต แล้วเรายังสามารถใช้หลักธรรมะมาช่วยได้ ทีส ้ อีกด้วย ดีแล้ว ยังท�ำให้การท�ำไร่มค ี วามสุขมากขึน

50


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

สุขจากไร่

แม้จะมีทดี่ นิ อยูถ่ งึ 100 ไร่ แต่พอ่ พนม ยศรุง่ เรือง เกษตรกรใจดี แห่งมิตรชาวไร่ภูเขียวเขต 2 ก็ไม่ใช้พื้นที่ทั้งหมดไปกับปลูกอ้อย เพียงอย่างเดียว หากแบ่งพื้นที่เพาะปลูกให้กับข้าวและการเกษตร ผสมผสานในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กัน รวมถึงขุดสระน�้ำเพื่อเลี้ยงปลา และส�ำรองน�้ำไว้ใช้ท�ำการเกษตรอีกด้วย “ผมแบ่งพื้นที่ปลูกอ้อย 35 ไร่ ปลูกข้าว 35 ไร่ ส่วนที่เหลือ ก็ ท� ำ เป็ น พื้ น ที่ เ กษตรผสมผสานตามรอยพ่ อ หลวง เหมื อ นมี ร้านสะดวกซื้ออยู่หลังบ้านเวลาอยากได้อะไรก็ถือตะกร้าเดินเข้าไป กลับออกมาผักเห็ดหน่อไม้เต็มตะกร้าไปหมด ช่วยลดค่าใช้จ่าย ในบ้านไปได้มาก” สวนเกษตรผสมผสานของพ่อพนมนั้นมีทั้งผักผลไม้ มะม่วง นานาชนิด กล้วยไข่ แก้วมังกร รวมถึงสัตว์ต่าง ๆ ที่มาอาศัยทั้งนก เต่านา กระต่ายป่า ซึ่งพืชผลทางการเกษตรอื่นนอกจากอ้อยและ ข้าว พ่อพนมไม่จ�ำหน่ายแต่จะแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในบริเวณ ใกล้เคียง เมื่อถามถึงเหตุผลที่ไม่ขายผักผลไม้ เกษตรน�้ำใจงาม แห่งภูหลวงก็กล่าวด้วยเสียงอบอุ่นว่า เพราะได้มีโอกาสไปศึกษา ธรรมะกั บ หลวงพ่ อ จรั ญ ฐิ ต ธั ม โม วั ด อั ม พวั น จั ง หวั ด สิ ง ห์ บุ รี แล้วเกิดเลื่อมใสจึงน�ำหลักค�ำสอนของหลวงพ่อที่ว่า “ยิ่งให้ยิ่งได้” จึงน�ำมาลองปรับใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ด้วยการยึดหลักธรรมค�ำสอนของหลวงพ่อนี้ ท�ำให้นอกจาก พ่อพนมจะมีของกินในบ้านแบบไม่เคยขาดแล้ว ยังท�ำให้เพื่อนบ้าน

51


สุขจากไร่

52

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

สุขจากไร่

สร้างความพอดีกับชีวิต ใช้ชีวิตอยู่แบบพอเพียง

ใกล้เคียงของพ่อพนมรักใคร่พ่อพนมมาก ๆ เพราะความเอื้อเฟื้อ ความมีน�้ำใจของเขาท�ำให้คนที่อยู่ใกล้เคียงอย่างคอยช่วยเหลือ อั น เป็ น วิ ถี ที่ ง ดงามแบบไทย ๆ บ้ า นไหนได้ ป ลาก็ เ อามาแบ่ ง บ้านไหนมีส้มสูกลูกไม้ก็เอามาปันบ้านนี้เป็นประจ�ำ และหากไม่มี อะไรมาฝากจริง ๆ ก็มีชาวล้านเอาเอาแรงกายมาตอบแทนน�้ำใจ ของพ่อพนม พ่ อ พนมพู ด ติ ด ตลกว่ า ยั ง ไม่ รู ้ เ หมื อ นกั น ว่ า เวลาเอื้ อ เฟื ้ อ กับใครจะได้ผลอะไรกลับมาบ้าง แต่แปลกที่เวลาพ่อพนมต้องการ ความช่วยเหลืออะไรมีแต่คนอาสาอยากจะช่วยอย่างเช่น เมื่อถึง ฤดู ตั ด อ้ อ ย การหาคนมาตั ด อ้ อ ยไม่ เ คยเป็ น ปั ญ หาของไร่ อ ้ อ ย พ่อพนม แม้ปัจจุบันแรงงานตัดอ้อยจะค่อนข้างหายากก็ตาม “ไม่รเู้ หมือนกัน คนกลับบ้านก็ไม่มตี อ้ งมีมดั จ�ำไว้ มีแต่คนถาม ว่าจะตัดวันไหน แค่เราบอกวันเขาก็ไปบอกต่อกันเอง อาจเพราะ ผมมีของขวัญ มีเสื้อให้ เตรียมเครื่องดื่มคอยดูแลบริการตลอดเวลา มันถือเป็นน�้ำใจเขาท�ำงานให้เราก็ต้องให้เขา ผมใช้ความจริงใจ ไม่เอาเปรียบคน” ด้วยความที่ยึดหลักธรรมะในการด�ำรงชีวิต ท�ำให้พ่อพนม ตื่ น เช้ า มาท� ำ บุ ญ ตั ก บาตรทุ ก วั น ไม่ ข าด และเข้ า วั ด ฟั ง ธรรม ทุ ก วั น พระ ซึ่ ง เป็ น วั น เดี ย วที่ พ ่ อ พนมจะยอมหยุ ด ท� ำ งานที่ รั ก อย่างการท�ำไร่ แม้จะขยันจนแทบไม่มีวันหยุดแบบนี้แต่พ่อพนม ก็ ไ ม่ มี ค วามคิ ด ที่ จ ะเพิ่ ม พื้ น ที่ ท� ำ การเกษตรเนื่ อ งจากที่ มี อ ยู ่ ก็เพียงพอต่อการด�ำรงชีวิตแล้ว นี่คือการท�ำไร่อ้อยในแบบพ่อพนม ที่มีการผสมผสานระหว่าง การท�ำเกษตรสมัยใหม่แบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม กับหลักธรรมตาม ค�ำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่นอกจากจะได้ผลดี มีก�ำไรแล้ว ชีวิตยังมีความสุขใจกับทุกเรื่องราวดี ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต “สร้ า งความพอดี กั บ ชี วิ ต ใช้ ชี วิ ต อยู่ แ บบพอเพี ยง” พ่ อพนมกล่าวทิง ้ ท้ายพร้อมรอยยิม ้ M

53


สูตรสุขภาพ

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

WINTER DISEASES

โรคภัยที่มาพร้อมสายลมหนาว ่ นผ่านจากฤดูฝนเข้าสูฤ ่ นแปลง ช่วงเปลีย ่ ดูหนาวแบบนี้ อากาศในบ้านเราเริม ่ มีการเปลีย ่ ทีเ่ ราไม่ควรมองข้ามก็คอ สิง ื การดูแลสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะเพื่ อน ๆ มิตรชาวไร่ ่ หนึง ่ อ ทีต ้ งออกกลางแจ้งไปเผชิญกับดินฟ้าอากาศอยูเ่ ป็นประจ�ำ วันนีเ้ ราเลยมาแนะน�ำการเตรียมตัว ่ โรคส่วนใหญ่ทม ่ ำ� ลังจะมาเยือนกัน ซึง รับมือกับลมหนาวทีก ี่ าพร้อมฤดูหนาวได้แก่

1. ไข้ ห วั ด -ไข้ ห วั ด ใหญ่ อาการจะเริ่ ม ด้ ว ยการมี ไข้ สู ง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ไอ เมื่อเริ่มมีอาการ ควรนอนพักผ่อนให้มาก ๆ ดื่มน�้ำบ่อย ๆ ถ้าตัวร้อนมากควรใช้ผ้า ชุบน�้ำอุ่นเช็ดตัว หรือกินยาลดไข้ อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2-7 วัน แต่หากมีอาการไอมากขึ้น หรือมีไข้สูงนานเกิน 2 วัน ควรไปพบแพทย์ 2. โรคปอดบวม อาการโดยทั่วไปได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ หากมีความรุนแรง ต้องได้รับการรักษา อย่างทันท่วงที เนื่องจากเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดในเด็ก อายุต�่ำกว่า 5 ปี 3. โรคหัด โดยผู้ที่ป่วยจะมีอาการ น�้ำมูกไหล ไอ ตาแดง จะรุนแรงมากขึ้น และผื่นจะขึ้นประมาณวันที่ 4 ไข้จะลดเมื่อผื่น กระจายทั่วตัว ระหว่างนั้นอาจเกิดโรคแทรกซ้อน ปัจจุบันรัฐบาล ได้จัดให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันแก่เด็กทั่วประเทศอยู่แล้ว โดยจะ ฉีดให้ในช่วงอายุ 1 ปี และ 4-6ปี 4. โรคหัดเยอรมัน เกิด จากเชื้อไวรัส ท�ำให้เกิดอาการไข้ มี ผื่นคล้ายหัด แต่บางรายก็ไม่มี ในเด็กเล็กจะมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่ในผู้ใหญ่จะมีอาการประมาณ 1-5 วัน ติดต่อได้จากการหายใจ หากอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ต้องระวังเป็นพิเศษ 5. โรคสุ ก ใส มั ก จะเกิ ด ในเด็ ก อาการจะเริ่ ม ด้ ว ยไข้ ต�่ ำ ต่อมามีผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ และตามตัว แล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใส หลังมีไข้ 2-3 วัน จากนั้น ตุ่มจะเป็นหนอง และแห้งตกสะเก็ด หลุดออกเองประมาณ 5-20 วัน ส�ำหรับคนที่เคยเป็นแล้ว จะมี ภูมิต้านทานโรคตลอดชีวิต

54

6. โรคอุ จ จาระร่ ว ง ส่ ว นใหญ่ เ กิ ด จากเชื้ อ ไวรั ส ติ ด ต่ อ โดยการดื่มน�้ำ หรือกินอาหารที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนเข้าไป โดยจะ ถ่ า ยอุ จ จาระเป็ น น�้ ำ หรื อ ถ่ า ยเหลวบ่ อ ยครั้ ง โดยทั่ ว ไปอาการ ไม่รุนแรง รักษาโดยควรให้กินอาหารเหลวบ่อย ๆ เช่น น�้ำข้าวต้ม น�้ำแกงจืด หากยังถ่ายบ่อยให้ผสมสารละลายน�้ำตาลเกลือแร่ให้ดื่ม บ่อย ๆ อาการจะกลับเป็นปกติได้ภายใน 8-12 ชั่วโมง หากไม่ดีขึ้น ต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

สูตรสุขภาพ

่ วรท�ำในฤดูหนาว สิง ่ ทีค • •

รักษาความอบอุ่นให้ร่างกาย ด้วยเครื่องนุ่งห่ม ดื่มน�้ำอุ่น ๆ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิและความชุ่มชื้น ให้แก่ร่างกาย รวมทั้งรับประทานอาหารที่ให้ พลังงานแก่ร่างกายอย่างเพียงพอ เช่น อาหาร จ�ำพวกแป้ง ไขมัน

• • •

ออกก�ำลังกายให้พอเหมาะและสม�่ำเสมอ หากเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผิงไฟในที่อากาศถ่ายเท เพื่อป้องกัน การได้รับสารพิษจากควันไฟ

ข้อมูลจาก : ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 55


หลากสไตล์มิตรชาวไ่ร่

MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิ พฤศจิก กายน ายน 2559 2559

BLACK ALL AROUND นั บ เป็ น ความสู ญ เสี ย ที่ พ วกเราคนไทยทุ ก หมู่ เ หล่ า ไม่ อ ยากให้ เ กิ ด ขึ้น ส�ำหรับข่าวที่เป็นเสมือนฝันร้าย ที่อยากจะตื่นมาแล้วขอภาวนาให้ ่ งจริง .... ไม่ใช่เรือ

Cr. โพสต์ทูเดย์ หนึ่งสิ่งที่คนไทยล้วนปฏิบัติกันในช่วงนี้คือ การน้อมถวาย ข้อกแนะน� งกายทีจ่เหมาะสมกั ความจงรั ภักดีตำในการแต่ ่อพระบาทสมเด็ พระเจ้าอยูบ่หสถานการณ์ ัวภูมิพลอดุลยเดช ด้วยการแต่งกายถวายความอาลัย มิตรชาวไร่ฉบับนีเ้ รามีขอ้ ควรปฏิบตั ิ เกี่ยวกับการแต่งกายไว้ทุกข์โดยเลือกสวมใส่เสื้อผ้าอย่างเหมาะสม มาแนะน�ำกัน ตามประเพณีไทยการแต่งกายของพสกนิกรไทยเพื่อไว้อาลัย ต่อการสิ้นพระชนม์ของพระบรมวงศานุวงศ์ จะต้องสวมเสื้อผ้าสีด�ำ เป็ น พื้ น ฐาน ใช้ สี ข าว และสี เ ทา สลั บได้ เสื้ อ ผ้ า ควรออกแบบ อย่างสุภาพ ไม่มีลวดลาย ในส่วนของเครือ่ งแบบของหน่วยงานให้ใส่ ไว้ทุกข์ได้ เพราะถือว่าเป็นรูปแแบบที่สงบ และสุภาพแล้ว ในการนี้ รัฐบาลได้ขอความร่วมมือพสกนิกรชาวไทยทุกคน โปรดร่วมกันแต่งกายไว้ทุกข์ในช่วงนี้อย่างเหมาะสมมา ณ ที่นี้ 56


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

หลากสไตล์มิตรชาวไ่ร่

ข้อปฏิบัติการแต่งกายในช่วงไว้อาลัย โทนสีขาวดำ�

โทนสีสุภาพ

ไม่ควรใส่สีสด

ชุดข้าราชการ

ไม่ควรใส่เสื้อลายฉูดฉาด

เสื้อแขนสั้นไม่มีลาย

ไม่ควรใส่เสื้อขาด

เสื้อแขนยาว

กระโปรงสั้นสูงเหนือเข่า

กระโปรงยาว

ไม่ควรใส่ชุดล่อแหลม

ชุดกระโปรง เสื้อแขนกุด ควรมีผ้าคลุมไหล่

กรณีเครื่องแบบบริษัท ไม่มีสีขาวดำ� ให้ติดโบดำ�ที่อกซ้าย

อ้างอิง http://www.wongnai.com/article/how-to-wear-mourning-dress http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/722978

57


ด่านช้าง MPDC

035-418103-5 ต่อ 623

สิงห์บุรี MPSB

036-591475-6 ต่อ 1216 หรือ 081-280-0249

ภูเขียว

MPPK

081-9754801

ภูเวียง

MPPV

083-1447333

ภูหลวง MPPL

081-768-7648

กาฬสินธุ์ MPKS

043-134111

มิตรชาวไร่

มีปัญหาเร่งด่วน

เราช่วยท่านได้ ตลอด 24 ชม.


พฤศจิกายน 2559

MITR PHOL MODERNFARM

59


MITR PHOL MODERNFARM

พฤศจิกายน 2559

AD 9 60


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.