MY HOME MY POWER PLANT 11-2563

Page 1

วารสารโรงไฟฟ าแม เมาะ

ป ที่ 26 ประจำเดือนพฤศจ�กายน 2563


MY

HOME MY POWER PLANT

18 พฤศจิกายน 2563 นายมาโนช ชูชาติวรรณกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ เหมื อ งแม่ เ มาะ นายเชิ ด ชั ย แสนสี ห า ผู ้ อ� ำ นวยการฝ่ า ยจั ด การธุ ร กิ จ นายพนม บวรวงศ์เสถียร ผู้อ�ำนวยการฝ่ายบ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และนายพัฒนพงศ์ ขันทา ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ให้การต้อนรับนายสิทธิชยั บุญสะอาด วิศวกรใหญ่ดา้ นส�ำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง นายศุภกรณ์ วชิราภรณ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานทางหลวง ที่ 1 เชียงใหม่ กรมทางหลวง ข้าราชการกรมทางหลวง หัวหน้าส่วนราชการ

อ�ำเภอแม่เมาะ ผูน้ ำ� ชุมชนอ�ำเภอแม่เมาะ ในโอกาสร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือระหว่าง กฟผ.และกรมทางหลวง ในการปรับปรุงถนนบริเวณ สามแยกทางเข้าบ้านใหม่มงคลหรือเนินไส้กรอก(ทางหลวงหมายเลข 1348 ตอนเข้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ระหว่าง กม.9+250 – 9+850 ) ให้มคี วามปลอดภัย ได้มาตรฐานทางวิศวกรรม ณ ห้องมุง่ งานเลิศ อาคารประชาสัมพันธ์แม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง

บทบรรณาธิการ เป็นอีกหนึ่งปีแห่งความสุข กับเทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ ครั้งที่ 16 ที่จบงานอย่างสวยงาม เต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มจากนักท่องเที่ยวที่ได้เข้ามา สั ม ผั ส บรรยากาศอั น สดชื่ น ใน กฟผ.แม่ เ มาะ ภาพความงดงามของดอกไม้ นานาพรรณ และกิจกรรมภายในงานที่ถูกเผยแพร่ออกไปจะเป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่ ชี้ วั ด ถึ ง ความใส่ ใ จของ กฟผ.แม่ เ มาะ ต่ อ การรั ก ษาสภาพแวดล้ อ ม ตลอดจนส่งเสริมให้ อ.แม่เมาะ เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดล�ำปาง ที่ ห ้ า มพลาดในทุ ก ๆ ปี นอกจากการสร้ า งสภาพแวดล้ อ มดี ๆ ในพื้ น ที่ แ ล้ ว กฟผ.แม่เมาะ ยังต้องบริหารจัดการด้านความมั่นคงทางการผลิตให้สอดคล้อง กับแผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) โดยล่าสุด ครม. ได้เห็นชอบ การปรับแผน PDP 2018 ซึ่งรายละเอียดแผนจะส่งผลอย่างไรต่อการด�ำเนินงาน ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ติดตามอ่านได้ท่ีคอลัมน์โรงไฟฟ้าของเรา ได้เลยค่ะ บรรณาธิการ หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ กองบรรณาธิการ หมวดข้อมูลข่าวสาร แผนกประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ส�ำนักงาน แผนกประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ อาคารประชาสัมพันธ์แม่เมาะ กฟผ.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง 52220 โทร : 054-252734 ออกแบบและจัดพิมพ์โดย FINE DAE CREATIVE ORGANISER Co., Ltd. โทร : 053-810801 แฟกซ์ : 053-810811

2

MY HOME MY POWER PLANT

วิสัยทัศน์สายงาน ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 ผลิตไฟฟ้าเพื่อความมั่นคง ยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม SMART ENERGY FOR SUSTAINABILITY

พันธกิจสายงาน ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 มุ่งเน้นนวัตกรรมในการผลิตไฟฟ้า ให้มีสมรรถนะสูง มั่นคง แข่งขันได้ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสร้างคุณค่าร่วมกับ ผู้มีส่วนได้เสียอย่างสมดุล


ปริมาณนํ้าคงเหลือใช ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ าและใช เพื่อ การอุปโภคบริโภคของ กฟผ.แม เมาะกําลังวิกฤติ

• ไม เป ดนํ้าทิ้งไว เมื่อไม ได ใช งาน หรือเป ดนํ้าให แรงแต พอควร • ใช ภาชนะรองนํ้าขณะล างหน า ล างมือ ไม ควรปล อยให นํ้าไหลทิ้ง ตลอดเวลา • ลดความถี่ในการรดนํ้าต นไม และสนามหญ า • ลดความถี่ในการฉีดล างงานทําความสะอาด และลานคอนกรีต • ลดความถี่ในการล างรถ • ตรวจสอบการใช นาํ้ ในกระบวนการทํางาน ระบบประปาสุขภัณฑ หากพบชํารุดให แก ไขทันที • ใช นาํ้ ทีผ่ า นการบําบัดนํามาใช สาํ หรับงานรดนํา้ ต นไม สนามหญ า และลานคอนกรีต • ผู บังคับบัญชาทุกระดับสนับสนุนการปฏิบัติตาม มาตรการการประหยัดนํา้ สร างความตระหนัก อย างต อเนื่องสมํ่าเสมอ

นายเชิดชัย แสนสีหา ผู้อ�ำนวยการฝ่ายจัดการธุรกิจ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ.ห่วงใยในสวัสดิภาพของผู้สัญจรบนถนนสายผาลาดถึง โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โดย กฟผ.ได้ร่วมกับกรมทางหลวงได้จัดท�ำแผนการ ปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาถนนสายดั ง กล่ า ว โดยจั ด ให้ มี ก ารปรั บ เปลี่ ย น ผิ ว ทางจราจรจากแอสฟั ล ท์ ติ ก คอนกรี ต เป็ น คอนกรี ต มี ก ารขยาย ความกว้างไหล่ทางจราจรข้างละ 1 เมตร เป็น 2.5 เมตร ติดตัง้ อุปกรณ์อำ� นวย ความปลอดภัย และขยายผิวการจราจรบริเวณสามแยกทางเข้าบ้านใหม่ มงคลเพิม่ บริเวณช่วงเนินไส้กรอก ระยะทาง 600 เมตร วงเงินงบประมาณ อุดหนุนจ�ำนวน 25 ล้านบาท เพื่อให้ผู้สัญจรมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ส�ำหรับการลงนามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กฟผ.และกรมทางหลวง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาถนนช่วงเนินไส้กรอกให้มี ความปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล สร้างความมัน่ ใจให้กบั ผูใ้ ช้รถใช้ถนน ให้ทกุ ภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้องเกิดความปลอดภัยในการเดินทาง ทัง้ นีโ้ ครงการ ดังกล่าวคาดว่าจะเริม่ ด�ำเนินการได้ในต้นปี 2564

PDP2018 Revision1

ยืดอายุโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 9 และ 12-13 เสริมความมั่นคง ทางพลังงานของภาคเหนือ แผนพั ฒ นาก� ำ ลั ง ผลิ ต ไฟฟ้ า ของ ประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (PDP 2018 Revision1) ผ่านการ เห็ น ชอบจากคณะรั ฐ มนตรี เมื่ อ วั น ที่ 20 ตุลาคม 2563 โดยปรับเป้าหมายและ แผนการจ่ า ยไฟฟ้ า ของโรงไฟฟ้ า พลั ง งาน หมุนเวียนให้สอดคล้องกับนโยบายโรงไฟฟ้า ชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนปรับ แผนการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบและแผนการปลด โรงไฟฟ้าออกจากระบบของโรงไฟฟ้าหลัก ประเภทเชื้ อ เพลิ ง ฟอสซิ ล บางโรงให้ มี ความเหมาะสมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม PDP 2018 Revision1 ยังคงไว้ซึ่งก�ำลังผลิตไฟฟ้า ตามสัญญา ณ ปลายแผนในปริมาณเท่าเดิม ตามแผน PDP2018

ในส่ ว นของโรงไฟฟ้ า แม่ เ มาะ PDP 2018 Revision1 ได้ ก� ำ หนดให้ ยื ด อายุ โรงไฟฟ้าแม่เมาะเครือ่ งที่ 9 ทีม่ กี ำ� ลังการผลิต ติดตั้ง 300 เมกะวัตต์ออกไปอีก 3 ปี เป็นปลด ระวางในปี 2568 พร้อมกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 10-11 จากก�ำหนดเดิมที่ต้องปลดใน ปี 2565 เพื่อรักษาความมั่นคงในระบบไฟฟ้า ของพืน้ ทีภ่ าคเหนือตอนบน และลดความเสีย่ ง กรณีที่ก� ำ ลั ง ผลิ ต ไฟฟ้ า ที่ จ่ า ยผ่ า นระบบส่ ง ไฟฟ้าทีร่ ะดับแรงดัน 230 กิโลโวลท์ ของสถานี ไฟฟ้าแม่เมาะ 3 เกิดเหตุขัดข้อง นอกจากนั้น ยั ง ก� ำ หนดให้ ยื ด อายุ โ รงไฟฟ้ า ที่ มี ต ้ น ทุ น ต�่ำอย่างโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 12-13 ซึ่งเดิมมีก�ำหนดปลดในปี 2568 เป็นปลด ในปี 2569 เพื่อลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าใน ภาพรวมของประเทศ อีกด้วย

อ่านรายละเอียด PDP2018 Revision1 ฉบับเต็มได้ที่

MY HOME MY POWER PLANT

3


MY

HOME MY POWER PLANT

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ร่วมกับ NANOTECH วิจัยพัฒนาระบบ จ�ำแนกตรวจติดตามฝุน่ ละอองขนาดเล็ก PM 2.5 “การพัฒนาระบบจ�ำแนกตรวจติดตามฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และมลภาวะทางอากาศ” เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง แผนกสิง่ แวดล้อม โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ร่วมกับส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยี (NANOTECH)ร่วมกันวิจัยเพื่อหาคุณลักษณะ ฝุ่นละอองแต่ละช่วงฤดูกาลที่สัมพันธ์กับแหล่งก�ำเนิดและบริเวณแหล่ง ชุมชนที่ท�ำการเก็บตัวอย่าง ระยะเวลาด�ำเนินการวิจัย 2 ปี ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2565 ซึง่ เมือ่ ต้นเดือนพฤศจิกายน ทีผ่ า่ นมาทีมวิจยั ได้เข้าติดตัง้ เครือ่ งมือและเก็บตัวอย่างฝุน่ ละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน จ�ำนวน 2 ชุด โดยชุดที่ 1 ประกอบไปด้วย เครื่องตรวจวัด ก๊าซโอโซน, เครือ่ งตรวจวัดฝุน่ ละอองขนาด 1, 2.5 และ 10 ไมครอน ตัง้ การบันทึก ตลอด 24 ชัว่ โมง ส่วนชุดที่ 2 จะประกอบไปด้วยเครือ่ งตรวจวัดฝุน่ ละอองขนาด ไม่เกิน 2.5 ไมครอน ตั้งการบันทึกทุกชัว่ โมงตลอด 24 ชัว่ โมง และเครือ่ งเก็บ ตัวอย่างฝุ่นละอองในบรรยากาศขนาดต�่ำกว่า 2.5 ไมครอนเพื่อน�ำตัวอย่าง ฝุน่ ทีเ่ ก็บได้ไปหาคุณลักษณะ โดยจะเก็บตัวอย่างฝุ่นละออง 14 จุด ประกอบด้วย 1. บ้านท่าสี 2. บ้านสวนป่าแม่เมาะ 3. ด่านรักษาความปลอดภัย กฟผ.แม่เมาะ 4. บ้านแม่จาง 5. เหมื อ งแม่ เ มาะ 6. บ้ า นสบป้ า ด 7. จุ ด ทิ้ ง เถ้ า ลอย 8.บ้ า นห้ ว ยคิ ง

9. โรงไฟฟ้าแม่เมาะ 10. สวนพฤกษชาติ 11. โรงงานเซรามิค อ.เมืองล�ำปาง 12. ศูนย์ราชการแม่เมาะ 13. เหมืองหินปูน และ 14 บ้านหัวฝาย โดยจะท�ำการ เก็บตัวอย่างฝุน่ จนถึงเดือนกรกฎาคม 2564 เมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัยราวเดือนเมษายน 2565 จะได้ผลสรุป จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์คุณลักษณะที่แสดงถึงลักษณะ จ�ำเพาะบางประการที่สอดคล้องกับแหล่งที่มาของฝุ่นขนาดเล็กได้ ท�ำให้ ระบุได้ว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กมีค่าสูงในช่วงฤดูหมอกควัน (ม.ค. – เม.ย.) มีแหล่งก�ำเนิดจากไหนบ้างและมีสดั ส่วนประมารเท่าไหร่นอกจากนัน้ ทีมวิจยั จะออกแบบแอปพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศที่สามารถดูค่าฝุ่นละออง PM 2.5 แบบเรียลไทม์ได้อกี ด้วย

กองแพทย์ฯ พัฒนาโมเดล ฉีดยาเบาหวานด้วยตัวเอง ช่วยผู้ป่วยมั่นใจ ไร้กังวล โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ติดอันดับยอดฮิตของชาวโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ผู้ปฏิบัติงานต่างพากันมาขอรับยาและค�ำปรึกษาจากกองการแพทย์แม่เมาะ (กกม-ห.) จ� ำ นวนมาก โดยเฉพาะเรื่องการฉีดยาอิ นซู ลิ นเข้ า สู ่ ร ่ า งกาย ด้ ว ยตั ว เอง ที่ ผู ้ ป ่ ว ยมี ค วามกั ง วล ความไม่ มั่ น ใจ เพราะกลั ว จะฉี ด ยา ผิดวิธี จึงเกิดเป็นไอเดียให้ทมี งานจาก กกม-ห. น�ำโดย นางพรวิมล ปรปักษ์ขาม พยาบาลวิ ช าชี พระดับ 7 และสมาชิก จัดท�ำโมเดลจ�ำลองสอนฉีดยา เบาหวานด้วยตัวเอง และได้รับรางวัล Kaizen suggestion system (KSS) ดีเด่น ประจ�ำเดือน มิถุนายน-กันยายน 2563 แต่เดิมทาง กกม-ห. ใช้วิธีการเปิดวิดีโอเป็นสื่อการสอนให้ผู้ป่วย แต่ก็ยังไม่สามารถท�ำให้ผู้ป่วยกล้าฉีดยาด้วยตัวเองได้ จึงประดิษฐ์อุปกรณ์ ที่ท�ำจากฟองน�้ำห่อหุ้มด้วยพลาสติกแบบยืดเพื่อจ�ำลองเป็นผิวหนังที่ซับน�้ำ เสมือนการดูดซึมยาของร่างกาย พร้อมกับท�ำต�ำแหน่งฉีดยาแต่ละเข็มไว้ด้วย เพื่อจะได้ไม่ฉีดซ�้ำกับบริเวณเดิม วิธีการคือ ให้ผู้ป่วยได้ทดลองใช้เข็มจริง ที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน มีการสอนตั้งแต่วิธีการจับเข็ม การถอดปลอกเข็ม การฉีดยา และการเก็บเข็ม ฝึกท�ำซ�้ำๆ จนกว่าจะมั่นใจ และท�ำถูกต้อง อย่างไรก็ตามโรคเบาหวาน เป็นโรคที่ควบคุมการเกิดได้ หากเรามี จากการเก็บสถิติหลังการสอนใช้โมเดล ปรากฏว่า ค่าน�้ำตาลของผู้ป่วย สุขนิสยั ทีด่ ีในการรับประทานอาหาร ออกก�ำลังกายอย่างสม�ำ่ เสมอ ไม่เครียด เพียงเท่านี้ก็จะท�ำให้ห่างไกลโรคได้แน่นอน ที่ผ่านการฝึกนั้น มีค่าคงที่ สามารถควบคุมน�้ำตาลได้

4

MY HOME MY POWER PLANT


มางานเทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ ครัง้ แรกเมือ่ ปีทแี่ ล้ว งานใหญ่มากคนเยอะ มาก แต่ปีนี้เมื่อได้เข้ามาในงานครั้งแรก ก็ รู ้ สึ ก แปลกใจ เพราะคนไม่ แ น่ น หนา ร้านค้าไม่ได้เยอะเหมือนปีที่ผ่านมา รู้สึก สงบ และมีพื้นที่ให้ตัวเองได้ถ่ายภาพตลอดจนชื่นชมธรรมชาติรอบๆ ตัว ได้ อ ย่ า งสะดวกมากขึ้ น โดยรวมแล้ ว กฟผ.แม่ เ มาะ มี ก ารจั ด งานที่ ดี อ�ำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม ท่ามกลางเหมือง และโรงไฟฟ้า

กฟผ.แม่เมาะ เป็นสถานที่ที่เปิด ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ ม าท่ อ งเที่ ย วตลอด ทั้งปี ซึ่ ง ตนเลื อกที่ จ ะมากางเต๊นท์ที่นี่ เพราะมัน่ ใจในระบบรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการควบคุมเหตุรำ� คาญทีอ่ าจเกิด กับนักท่องเทีย่ ว เช่น การใช้เสียงดัง การดืม่ แอลกอฮอล์ ซึง่ ตอนแรกวางแผน ว่าจะนอนแค่คืนเดียว พอได้มาเห็นสถานที่ บรรยากาศแล้ว เลยนอนสองคืน นอกจากนั้น ต�ำแหน่งการจัดงานเทศกาลท่องเที่ยวปีนี้ ใกล้กับจุดกางเต็นท์ ท�ำให้สะดวกมากทัง้ เรือ่ งอาหาร การชมทุง่ บัวตอง การแสดงดนตรี โดยเฉพาะ การแสดงนกแก้วของชมรมคนรักษ์นก ท�ำให้ตนประทับใจมาก

ผ ม มี โ อก า ส ไ ด ้ ม า เ ที่ ย ว เทศกาลท่ อ งเที่ ย วแม่ เ มาะทุ ก ปี ปี นี้ ถื อ เป็ น ปี พิ เ ศษที่ ไ ด้ เ ข้ า ร่ ว ม กิ จ กรรม “MAEMOH RUN FIT พิ ชิ ต ทุ ่ ง บั ว ตอง” รู ้ สึ ก ประทั บ ใจ เส้นทางการวิ่งมาก ด้วยระยะทางการวิ่งที่พอดีบวกกับเส้นทางราบ ปนขึน้ เนิน ท�ำให้มคี วามท้าทาย แถมยังได้เห็นทุง่ บัวตองทีบ่ านสวยงาม เต็มที่ ท่ามกลางอากาศทีเ่ ย็นสบาย ฝากถึงนักท่องเทีย่ วทีอ่ ยากมาเทีย่ ว ว่าทุ่งบัวตองตอนนี้บานสวยงามรอให้ทุกท่านมาเยี่ยมชม รับรองว่า ไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน

ปีนี้เป็นปีที่สองที่ได้มาร่วม กิ จ กรรมปั ่ น จั ก รยานท่ อ งเที่ ย ว แม่เมาะ เลยลองเปลีย่ นบรรยากาศ การพั ก ผ่ อ นด้ ว ยการลงทุ น ซื้ อ เต๊ น ท์ ใ หม่ แ ละพาครอบครั ว มา กางนอนที่ทุ่งบัวตองแม่เมาะ สถานที่ที่นี่สวยงาม ร่มรื่น เหมาะกับ ครอบครัวที่มีเด็กๆ เค้าจะได้มีพื้นที่ไว้วิ่งเล่น ซึ่งการจัดงานแบบ New Normal ถือว่ามีข้อดี เพราะไม่แออัด ท�ำให้นักท่องเที่ยวได้ ชื่นชมบรรยากาศได้อย่างเต็มที่ MY HOME MY POWER PLANT

5


โครงการการประเมินวัฏจักรชีวติ (Life Cycle Assessment :LCA) และ พัฒนาระบบตรวจติดตามและวิเคราะห์คา่ มลสารคาร์บอนไดออกไซด์ของการผลิต ไฟฟ้าจากถ่านหินลิกไนต์ เป็นงานวิจัยร่วมระหว่างฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สังกัดส�ำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีระยะด�ำเนินการทัง้ หมด 2 ปี ตัง้ แต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2561 – เดือนมกราคม 2563 โดยมีขอบเขตการด�ำเนินงานวิจยั ได้แก่ การประเมินวัฏจักรชีวติ และพัฒนาระบบตรวจติดตามและวิเคราะห์คา่ มลสาร CO2 ของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลิกไนต์ ตลอดจนการศึกษาผลกระทบสิง่ แวดล้อม และการใช้นำ�้ ของกระบวนการผลิตถ่านหินลิกไนต์และหินปูนจากเหมืองแม่เมาะ ล่าสุด วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 นายอรรถพล อิม่ หน�ำ ผูช้ ว่ ยผูอ้ ำ� นวยการ ฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะ-1 เป็นประธานเปิดการสัมมนาผลการด�ำเนินงาน

ภายใต้โครงการ “การประเมินวัฏจักรชีวติ และพัฒนาระบบตรวจติดตามและวิเคราะห์ ค่ามลสารคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลิกไนต์” ณ ห้องประชุมเมาะหลวง อาคารสมานฉันท์ธชั ชวาล ศูนย์ฝกึ อบรมแม่เมาะ การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง โดยมี ดร.นงนุช พูลสวัสดิ์ หัวหน้าโครงการวิจยั ฯ และนักวิจยั จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สังกัดส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นผูบ้ รรยาย สรุปผลการวิจยั โดยพบว่า ผลกระทบทางสิง่ แวดล้อมในกระบวนการผลิตกระแส ไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะมีแนวโน้มลดลง เนือ่ งจากประสิทธิภาพการท�ำงานของ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนเครื่องที่ 1 (MM-T1) มีค่าสูงกว่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครือ่ งที่ 4-7 เดิม ตลอดจนยังมีอตั ราการใช้ถา่ นหินลิกไนต์ทลี่ ดลงอีกด้วย

การเปรียบเทียบผลกระทบทางสิ่งแวดล อมของการผลิตไฟฟ า จากถ านหินลิกไนต ของโรงไฟฟ า MM-T4 - MM-T7 MM-T8 - MM-13 และ MM-T1 100 80 60 40 20 0 Climate change Human toxicity, Human toxicity, non-cancer cancer effects effects โรงไฟฟ าแม เมาะเครื่องที่ 4-7

Impact category

Particulate matter

Photochemical ozone formation

โรงไฟฟ าแม เมาะเครื่องที่ 8-13

Unit

Climate change kg CO2 eq Human toxicity, non-cancer effects CTUh Human toxicity, cancer effects CTUh Particulate matter kg PM2.5 eq Photochemical ozone formation kg NMVOC eq Acidification molc H+ eq Mineral, fossil & ren resource depletion kg Sb eq Water scarcity index m3

Acidification

Mineral, fossil & ren resource depletion

Water scarcity index

โรงไฟฟ า MM-T1

โรงไฟฟ า MM-T4 - MM-T7

โรงไฟฟ า MM-T8 - MM-13

โรงไฟฟ า MM-T1

1.18484 2.46E-07 6.50E-08 0.00001 0.00043 0.00018 2.83E-07 0.00102

0.9372 1.95E-07 5.14E-08 4.22E-06 0.0003 0.0001 2.42E-07 0.0018

0.8919 1.86E-07 4.90E-08 4.22E-06 0.0003 0.0001 2.16E-07 0.0011

เมือ่ พิจารณาค่าคาร์บอนฟุตพรินท์ (Carbon Footprint : CFP) ในกระบวนการ ในปี 2563 ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครือ่ งที่ 8-13 และ โรงไฟฟ้า MM-T1 (ทดแทน ผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินลิกไนต์ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครือ่ งที่ 4-13 ในปี 2560 โรงไฟฟ้าแม่เมาะเครือ่ งที่ 4-7) มีคา่ ลดลงเหลือ 0.93 กิโลกรัมต่อหน่วยการผลิต ทีม่ คี า่ CFP 1.10 กิโลกรัมต่อหน่วยการผลิต 1 กิโลวัตต์ชวั่ โมง (kWh) พบว่าค่า CFP 1 กิโลวัตต์ชวั่ โมง (kWh)

6

MY HOME MY POWER PLANT


เปรียบเทียบผลกระทบทางด านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของการผลิตไฟฟ าจากถ านหินลิกไนต 1 kWh 1.80 1.60 1.40 1.20 1.00

1.71

การผลิตแยกรายโรงไฟฟ า ของโรงไฟฟ าแม เมาะ

1.41

1.34

1.18

1.24

1.22

1.28

Australia

Germany

Turkey

1.30

0.94

0.89

0.80 0.60 0.40 0.20 0.00 MM-T1 MM-T4 - MM-T7 MM-T8 - MM-13

Indonesia

Taiwan

Russia

ROW

หมายเหตุ : ค าผลกระทบทางสิ่งแวดล อมของการผลิตไฟฟ าจากถ านหินลิกไนต ของประเทศต างๆ อ างอิงจากฐานข อมูล ecoinvent database version 3.5 ในโปรแกรม SimaPro

นอกจากนัน้ เมือ่ เปรียบเทียบผลกระทบทางสิง่ แวดล้อมด้านการเปลีย่ นแปลง สภาพภูมอิ ากาศในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครือ่ งที่ 4-13 และ MM-T1 พบว่ามีค่าผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต�่ำกว่าประเทศอื่นๆ ทีใ่ ช้ถา่ นหินเป็นเชือ้ เพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น อินโดนีเซีย ไต้หวัน ออสเตรเลีย และเยอรมนี เป็นต้น

ทัง้ นี้ ผลการวิจยั จะแสดงให้เห็นถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ในกระบวนการ ผลิตกระแสไฟฟ้า ของ กฟผ.แม่เมาะ ตลอดจนสามารถน�ำค่าไปเป็น ตัวก�ำหนดการลดปริมาณการปล่อยก๊าซ GHG ในปีตอ่ ๆ ไป นอกจากนัน้ ผลลัพธ์จากการ ศึกษาโครงการจะท�ำให้ได้ระบบ EGAT Green House Gas Scan (EGAT GHG Scan) เป็นระบบติดตามออนไลน์ที่แสดงผลค่าวัตถุดิบหลักในการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ได้ มลภาวะจากการผลิต และผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตไฟฟ้า เพือ่ น�ำมาเป็นค่า อ้างอิงในการวิเคราะห์ พัฒนา ปรับปรุง คุณภาพในการผลิตในอนาคตอีกด้วย MY HOME MY POWER PLANT

7


MY

HOME MY POWER PLANT

กฟผ.แม่เมาะ สนุนชุมชน ปลูกกล้าไม้ป่า-ไม้ประดับ

ดอกไม้และต้นไม้น้อยใหญ่ในโรงไฟฟ้าและ เหมื อ งแม่ เ มาะ รวมทั้ ง ป่ า ไม้ โ ดยรอบ นอกจาก จะสวยงามและช่วยเพิ่มออกซิเจนแล้ว หลายคนอาจ ยังไม่รวู้ า่ พันธุไ์ ม้ทรี่ ม่ รืน่ ยืนต้นเหล่านี้ มาจากฝีมอื ของ ชุมชนรอบ กฟผ.แม่เมาะ เรานีเ่ อง ทุกปี กองฟืน้ ฟูสภาพเหมืองแม่เมาะ จะร่วมกับ กองชุมชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะจัดงานจับฉลาก และคั ด เลื อ กกลุ ่ ม ชุ ม ชนมารั บ หน้ า ที่ ป ลู ก ต้ น กล้ า ให้กบั เรา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ กล้าไม้ปา่

รับประโยชน์สองต่อ

และกล้าไม้ดอก แยกใช้ตามลักษณะงาน ส�ำหรับ กล้าไม้ดอกไม้ประดับ อย่างดอกบัวดิน ว่านแสงอาทิตย์ แดงชาลี ลิน้ มังกร ฯลฯ จะน�ำมาปลูกสร้างทัศนียภาพ ภายใน กฟผ.แม่เมาะ กล้าไม้ดอกต้องอาศัยการฟูมฟัก เป็นพิเศษ กฟผ. จะรับซือ้ ทัง้ เมล็ดพันธุ์ หัวพันธุ์ และ กล้าไม้มาจากชุมชนทีเ่ ชีย่ วชาญในการเพาะไม้ประดับ ส่วนกล้าไม้ปา่ ต้องเป็นกล้าไม้ยนื ต้น เช่น กล้าสัก จามจุรี ประดู่ มะเดือ่ เต็งรัง ทองกวาว ฯลฯ กฟผ. จะน�ำไป ปลูกปกคลุมดินในพื้นที่ทิ้งดิน ช่วยรักษาและป้องกัน

การพังทลายของหน้าดิน และเพิม่ พืน้ ทีป่ า่ สนนราคา รับซื้อที่ต้นละ 8 บาทกว่าไปจนถึง 12 บาท ขึ้นอยู่ กับสภาพความสมบูรณ์และความสูงของกล้าไม้ ซึง่ ตัง้ แต่ ปี 2557 กฟผ.แม่เมาะ ปลูกไปแล้วกว่า 1,900,000 ต้น บนพืน้ ทีก่ ว่า 12,000 ไร่ เรียกได้วา่ เป็นประโยชน์สองต่อ เพราะนอกจาก กฟผ.แม่เมาะ จะได้เพิ่มพื้นที่สีเขียว ให้แก่สงิ่ แวดล้อมไปทัว่ บริเวณแล้ว ยังเป็นการส่งเสริม อาชีพให้กบั ชุมชนอีกด้วย

ช่วยองค์กร ประหยัดวันละนิด ชีวิตไม่ติดลบ ! ได้รับเสียงฮือฮาพอสมควร! หลังจากมาตรการควบคุมค่าใช้จ่าย ของ กฟผ. ถูกปล่อยออกมาเมือ่ เดือนตุลาคม 2563 แต่พบว่ายังมีหลายคน ไม่รู้ว่าเราต้องรัดเข็มขัดในเรื่องใดบ้าง วันนี้ “บอกต่อ...เรื่องใกล้ตัว” จึงมาสรุปอีกซักรอบ ไฮไลท์แรกคือ การกวดขันค่าล่วงเวลา ก�ำหนดท�ำได้เฉพาะ งานจ�ำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะระดับ 8 ขึน้ ไป ให้ทำ� เฉพาะจ�ำเป็นอย่างยิง่ การจั ด งานคุ ณ ภาพ ไม่ ใ ห้ เ วี ย นกั น เป็ น เจ้ า ภาพ แต่ ใ ห้ จั ด ผ่ า นสื่ อ อิเล็กทรอนิกส์แทน เช่นเดียวกับการจัดอบรม สัมมนา ให้จัดเฉพาะ หลักสูตรที่จ�ำเป็น เน้นจัดอบรมผ่าน E-learning ภายในสถานที่ของ กฟผ. เป็นหลัก นอกจากนี้ ยั ง ให้ ค วบคุ ม ค่ า ใช้ จ ่ า ยในหมวดอื่ น ๆ ด้ ว ย ได้ แ ก่ การจัดงานเลีย้ งและกีฬาสี ให้พจิ ารณาจัดเท่าทีจ่ ำ� เป็น ค่าใช้จา่ ยเดินทาง ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าเครื่องมือ ค่าน�้ำมันรถ ค่าปรับปรุงห้องท�ำงาน ค่าโทรศัพท์ ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้ค่าใช้จ่ายขององค์กรเหมาะสมกับสภาวะ ทางการเงิน และด�ำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

8

MY HOME MY POWER PLANT

ที่มา – ค�ำสั่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ ค.90/2563 เรื่อง มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายของ กฟผ.


คุณภาพอากาศแมเมาะ 25 ตุลาคม – 24 พฤศจิกายน 2563 อยูในเกณฑมาตรฐาน

การท�ำงานอย่างปลอดภัยในสถานประกอบการท�ำให้เรามีคณ ุ ภาพชีวติ ที่ ดีขนึ้ เพราะนัน่ หมายถึง การได้ทำ� งานเพือ่ เลีย้ งชีพอย่างมัน่ คง ไม่ได้รบั บาดเจ็บ พิการหรือเสียชีวติ จนท�ำให้ครอบครัวเดือดร้อน ดังนัน้ การท�ำงานอย่างปลอดภัย จึงเป็นสุดยอดปรารถนาของผู้ปฏิบัติงานทุกคน แน่นอนว่าการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง มักสร้างความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สินเสมอ ฉะนั้นการส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานคิดค้นอุปกรณ์เพื่อช่วย การท�ำงานให้เกิดความปลอดภัยจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยยกระดับคุณภาพ ชีวติ ในการท�ำงานให้ดขี นึ้ บนพืน้ ฐานของความปลอดภัย และการพัฒนางานทีม่ ี ความต่อเนือ่ ง ดังจะเห็นได้จากทีผ่ า่ นมาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ มีการส่งเสริมผลงาน คุณภาพ สิ่งประดิษฐ์ เป็นประจ�ำทุกปี รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงาน ส่งผลงานการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (KSS : Kaizen Suggestion System) ทั้งประเภทเทคนิคการผลิตและบ�ำรุงรักษา และประเภทสนับสนุน และบริการ โดยได้จัดมอบรางวัลเพื่อสร้างขวัญและก�ำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน เป็นประจ�ำทุกเดือน ขอยกตั ว อย่ า งสิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ผลงานการพั ฒ นางานที่ เ ริ่ ม จาก สิ่งใกล้ตัวที่สามารถปรับปรุงแก้ไข ได้ด้วยตนเอง อาทิ “เครื่องมือ ถอย Long Retractable soot Blower ค้าง” ที่ได้แนวคิด มาจากประแจอเนกประสงค์กับ ตัวล๊อกแฮนด์จักรยาน มีด้ามจับ มั่นคงใช้ยึดจับท่อยาวที่ใช้ฉีดพ่น ไอน�้ ำ แรงดั น สู ง เมื่ อ เกิ ด ปั ญ หา ติ ด ขั ด ท� ำ ใ ห ้ ล ด เ ว ล า ใ น ก า ร แก้ไขปัญหา และที่ส�ำคัญคือลด ความเสี่ ย งต่ อ การเกิ ด อุ บั ติ เ หตุ ถู ก น�้ ำ ร้ อ นลวกหรื อ สั ม ผั ส กั บ ท่อเหล็ก ร้อน และ “เครื่ อ งมื อ พิ เ ศ ษ ส� ำ ห รั บ ถ อ ด แ ล ะ ใ ส ่ Rotor ของ Motor 380 V” ที่ได้ออกแบบอุปกรณ์ยก Rotor โดยได้แนวคิดมาจากคานกระดกตามหลักการโมเมนต์ของแรง ที่ใช้งานร่วม กับเครนเพื่อยก Rotor และสามารถถอดใส่ Rotor ได้สะดวก ช่วยลดเวลาใน การท�ำงาน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดกับบุคคลคือ การยกของหนัก วัตถุหนีบ กระแทก หรืออาจท�ำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหาย ซึ่งจุดประสงค์หลักของ การคิดค้นเครื่องมือหรือวิธีการต่างๆ ล้วนมาจากความต้องการมีคุณภาพชีวิต ในการท�ำงานที่ดี นั่นก็คือความปลอดภัยอย่างยั่งยืนในการท�ำงาน ดังนั้นการสร้างเสริมความปลอดภัยในสถานประกอบการจึงเป็นอีก วิธีหนึ่งที่ส�ำคัญยิ่งต่อการเพิ่มผลผลิตที่จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การ เกิ ด การเรี ย นรู ้ พั ฒ นาตนเอง จนน� ำ ไปสู ่ ก ารสร้ า งนิ สั ย แห่ ง การรั ก ษา ความปลอดภัย (Safety Habit) ซึ่งเรื่องของความปลอดภัยในการท�ำงานนี้ จึงเป็นเรื่องที่มีความส�ำคัญเคียงบ่าเคียงไหล่เฉกเช่นเดียวกับ ความมั่นคง ในการท�ำงาน เพื่อจะได้ท�ำให้เราทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้น หรือมีคุณภาพชีวิต ที่สูงขึ้น นั่นเอง ข้อความบางส่วนจากบทความ เรือ่ ง ความยัง่ ยืนบนความปลอดภัย ของ ดร.วิฑรู ย์ สิมะโชคดี

420 116

161 58

39

5

75

330

120

780

300

320

TSP/24 hr.

PM10/24 hr.

SO2/1 hr.

SO2/24 hr.

NO2/1 hr.

= ค าเฉลี่ยสูงสุดที่ได จากเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ กฟผ.แม เมาะ = ค ามาตรฐาน กําหนดโดยกรมควบคุมมลพิษ TSP/24 hr. PM10/24 hr. SO2/1 hr. SO2/24 hr. NO2/1 hr.

: : : : :

ฝุ นละอองรวม เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ฝุ นละอองขนาดไม เกิน 10 ไมครอน เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ก าซซัลเฟอร ไดออกไซด เฉลี่ย 1 ชั่วโมง ก าซซัลเฟอร ไดออกไซด เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ก าซไนโตรเจนไดออกไซด เฉลี่ย 1 ชั่วโมง *หน วยเป น ไมโครกรัม / ลูกบาศก เมตร

ดัชนีคุณภาพอากาศบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน พื้นที่บานพัก ผูปฏิบัติงาน (สถานีบานหวยคิง ไมมีการตรวจวัด PM10) และพื้นที่ ชุมชน ดัชนีคุณภาพอากาศอยูในเกณฑ ดีมาก เหมาะสําหรับกิจกรรม กลางแจงและการทองเที่ยว

คุณภาพนํ้าทิ้งจากโรงไฟฟาแมเมาะ เดือนพฤศจิกายน 2563

ความเป น กรด-ด าง

5.5-9.0

อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส)

ไม เกิน

40 Cํ

ค าปริมาณออกซิเจน ทีใ่ ช ในการย อยสลาย ค าออกซิเจน จุลนิ ทรีย ; BOD ที่ละลายในนํ้า ; DO ค าไขมัน-นํ้ามัน (มิลลิกรัม/ลิตร) (มิลลิกรัม/ลิตร) (มิลลิกรัม/ลิตร)

ไม เกิน

5.0

ไม เกิน

20

ไม ได กําหนด

7.91 29.1 0.65 1.55 6.95 ผ าน ผ าน ผ าน ผ าน

อยู ในเกณฑ ที่ดี*

: ค ามาตรฐานนํ้าทิ้งจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม : ผลการตรวจวัดคุณภาพนํ้าที่ผ านการบําบัดแล ว ของโรงไฟฟ าแม เมาะ *ปริมาณค าออกซิเจนที่ละลายในนํ้า (DO) ที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตในนํ้า ควรมีค าไม ตํ่ากว า 4 มิลลิกรัม/ลิตร MY HOME MY POWER PLANT

9


MY

HOME MY POWER PLANT

คปอส-ฟม. ตรวจความปลอดภัยพื้นที่ MI โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 12 10 พฤศจิกายน 2563 นายประเสริฐ พนมเกียรติศกั ดิ์ ช.อฟม-2. พร้อมด้วย คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการท�ำงาน โรงไฟฟ้าแม่เมาะ (คปอส-ฟม.) เข้าตรวจเยีย่ มการปฏิบตั ดิ า้ นความปลอดภัยใน การท�ำงานบริเวณพืน้ ทีง่ าน Minor Inspection (MI) โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครือ่ งที่ 12 และได้สรุปผลการตรวจเยี่ยม ณ ห้องประชุมแม่เมาะ (137) อาคารบริหารโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะ ให้หน่วยงานปรับปรุงระบบแสง สว่างของพืน้ ทีท่ ำ� งานให้เพียงพอ ตรวจสอบการท�ำงานในพื้นที่ อับอากาศให้มคี วามเหมาะสม ควรมีจุดคัดแยกขยะที่มีสาร อั น ตรายปนเปื ้ อ นให้ ชั ด เจน ซึ่งเบื้องต้นหน่วยงานได้รับข้อ เสนอแนะเพื่อน�ำไปปรับปรุง ต่อไป

การแสดงธรรมเทศนา “งานได้ผล คนเป็นสุข” โดยพระมหาสมปอง 11 พฤศจิกายน 2563 นายธานี โพธิ์เอี้ยง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการผลิต เหมืองแม่เมาะในฐานะประธานอนุกรรมการเผยแผ่ธรรมะด้านธรรมศึกษา ชมรมพุทธศาสน์ กฟผ. สาขาภาคเหนือ เป็นประธานเปิดการบรรยาย ธรรมเทศนาในหัวข้อ “งานได้ผล คนเป็นสุข” ณ ห้องรักองค์การ อาคาร ประชาสัมพันธ์แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง บรรยายโดย พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต และพระอาจารย์ ดร.สมพงษ์ รัตนว์โร พระนักเทศน์ชื่อดัง ของประเทศไทย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.แม่เมาะ สามารถน�ำหลักธรรม ไปประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน ให้ทำ� งานและใช้ชวี ติ ได้อย่างมีสติและเป็นสุข

อรม.ประกาศเจตนารมณ์เป็นองค์กรแห่งคุณธรรม 13 พฤศจิกายน 2563 นายพนม บวรวงศ์เสถียร อรม. พร้อมด้วยผูป้ ฏิบตั งิ านในสังกัด ร่วมกิจกรรมแสดงพลังประกาศเจตนารมณ์องค์การส่งเสริมคุณธรรม โดยจัดกิจกรรม เดินรณรงค์จากถนนหน้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะหน่วยที่ 12 ไปยังสนามหน้าโรงไฟฟ้าพลัง ความร้อนแม่เมาะ เครือ่ งที่ 1 จากนัน้ อรม. ได้นำ� ผูร้ ว่ มกิจกรรมประกาศ เจตนารมณ์ ขั บ เคลื่ อ นองค์ ก าร เป็นหน่วยงานคุณธรรม โดยยึดหลัก คุณธรรมวินัย คุณธรรมจิตอาสา เป็นกติกาของหน่วยงานเพือ่ น�ำไปสู่ การเกิ ด สั ง คมคุ ณ ธรรมที่ มั่ น คง มัง่ คัง่ ยัง่ ยืน

สายงาน ชฟฟ2. จัดงาน KM Day สายงาน รวฟ. แบบ New normal

24-25 พฤศจิกายน 2563 นายนิมติ ร ศรีวกิ ลุ ช.อรม-1. ประธานคณะท�ำงาน หน่วยงานสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ พร้อมด้วยคณะท�ำงาน และผู้ปฏิบัติงาน โรงไฟฟ้ า แม่ เ มาะ ร่ ว มงานการจั ด การความรู ้ มุ ่ ง สู ่ น วั ต กรรม สายงาน รองผูว้ า่ การผลิตไฟฟ้า (รวฟ.) โดยในปีนนี้ ำ� ระบบ VDO conference เข้ามา เป็นเครื่องมือส�ำคัญในการเชื่อมโยงทุกพื้นที่เขตเขื่อน โรงไฟฟ้าให้สามารถ สื่อสารกันได้ ภายในงานมีการน�ำเสนอผลงานองค์ความรู้ดีเด่นระดับฝ่าย และผลงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ CoPs ทั้ง 16 กลุ่ม พร้อมกับจัดให้ ผู้เข้าร่วมงานมีส่วนร่วมในการโหวตคัดเลือก Best Practice อีกด้วย ณ ห้องประชุมแม่เมาะ (137) อาคารบริหารโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

10

MY HOME MY POWER PLANT

กองการแพทย์แม่เมาะจัดบรรยายให้ความรู้ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยเบาหวาน 26 พฤศจิกายน 2563 นายแพทย์เกชา ยอดยิง่ นายแพทย์ระดับ 10 กกม-ห. เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารโครงการ DM Boost Care ครัง้ ที่ 2 ประจ�ำปี 2563 จัดโดยกองแพทย์แม่เมาะ เพือ่ ส่งเสริมสุขภาพ และเสริมทักษะ ในการดูแลตนเอง ส�ำหรับผูป้ ฏิบตั งิ าน กฟผ.แม่เมาะ ทีป่ ว่ ยเป็นโรคเบาหวาน ตลอดจนเพิ่ ม ทั ก ษะการดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยโรคเบาหวานแก่ ที ม สหสาขาวิ ช าชี พ ของกองการแพทย์แม่เมาะให้มีความเชีย่ วชาญมากยิ่งขึน้ ณ ห้องรักองค์การ อาคารประชาสัมพันธ์แม่เมาะ


เติมต่ อวั ยฝั น พั ฒ นาทั ก ษะกี ฬาฟุต บอล แก่ เด็ ก และเยาวชนอ� ำ เภอแม่เ มาะ “โตขึ้ น อยากเป็ น อะไร” คงเป็ น ค�ำถามยอดฮิตในวัยเด็กที่เราเจอมากที่สุด แต่ ล ะคนก็ ย ่ อ มมี ค วามฝั น ในวั ย เด็ ก ที่ แตกต่ า งกั น ไปตามสาขาอาชี พ ที่ ต น อยากเป็ น และอาชี พ “นั ก ฟุ ต บอล” ก็คงเป็นค�ำตอบหนึ่งที่เด็กหลายคนใฝ่ฝัน เพราะมีไอดอลเป็นนักฟุตบอลสุดเท่หท์ โี่ ลด แล่นบนเส้นทางลูกหนังเป็นแรงบันดาลใจ ด้วยจุดประกายตรงนีเ้ องจึงท�ำให้การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ร่วมขับเคลือ่ น “โครงการฝึกอบรมทักษะ กีฬาฟุตบอลเพือ่ สุขภาพ ส�ำหรับเด็กและ เยาวชน ประจ�ำปี 2563” โดยแผนกส่งเสริม อาชีพและพัฒนาชุมชน กองชุมชนสัมพันธ์ โรงไฟฟ้าแม่เมาะขึ้น เพื่อเป็นการสานฝัน ให้กับเด็กและเยาวชนในอ�ำเภอแม่เมาะ ได้ เ รี ย นรู ้ ทั ก ษะกี ฬ าฟุ ต บอลกั บ โค้ ช

S

มากประสบการณ์อย่างนายวุฒศิ รา ค�ำมา หรือโค้ชพี่เก๋ นักฟุตบอลทีมแม่เมาะซิตี้ และเจ้าหน้ า ที่ แ ผนกส่ ง เสริ ม อาชี พ และ พัฒนาชุมชน ในทุกวันพุธ ณ โรงเรียน กอรวกวิทยา ต.จางเหนือ และวันพฤหัสบดี ณ โรงเรียนสบจางวิทยา ต.นาสัก ให้กับ นักเรียนที่สนใจได้เรียนรู้เทคนิคการเล่น กีฬาฟุตบอลเบือ้ งต้นเพือ่ พัฒนาทักษะของ ตนเองให้สามารถเข้าไปแข่งขันในระดับ ที่สูงขึ้น ตลอดจนร่วมสนับสนุนอุปกรณ์ กี ฬ าและชุ ด กี ฬ าส่ ง เสริ ม ให้ นั ก เรี ย น ในพืน้ ที่ อ.แม่เมาะ ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ในการเล่นกีฬาพร้อมพัฒนาสังคมอย่าง ยั่ ง ยื น โดยล่ า สุ ด ที ม ฟุ ต ซอลภายใต้ การฝึกสอนของ กฟผ.แม่เมาะ ก็ได้คว้า รางวัลอันดับที่ 1 และรางวัลอันดับที่ 3 รุน่ อายุไม่เกิน 17 ปี และรุน่ อายุไม่เกิน 19 ปี

Sense of belonging รักองค์การ

นายชรินทร ขันทะบุตร หบฟม3-ฟ. กบรม3-ฟ. อรม.

จากรายการแข่งขัน “สามัคคีคพั ” ในระดับ ภาคเหนืออีกด้วย นายธนวัฒน์ อินปัญโญ หรือ น้องก้อง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน สบจางวิทยา หนึง่ ในผูเ้ ล่นกีฬาฟุตซอลทีม ลู ก ลิ ก ไนต์ เล่ า ว่ า “ด้ ว ยความที่ ผ มมี ความสนใจด้านกีฬาฟุตบอลอยูแ่ ล้ว รวมถึง มีนกั กีฬาฟุตบอลในดวงใจคือ เนย์มาร์ จึง เป็นแรงบันดาลใจให้อยากเล่นได้เก่งๆ แบบ เขา การได้เข้าร่วมในโครงการนีถ้ อื ว่าเป็นอีก หนึง่ ช่องทางในการฝึกทักษะทีด่ มี ากๆ เพราะ ได้เรียนรู้เทคนิคจากผู้มีประสบการณ์จริง ได้ฝึกความเป็นทีมเวิร์คกับเพื่อนๆ ในทีม ซึ่งปัจจุบันผมก็ได้เดินสายเป็นผู้เล่นให้กับ หลายที ม ที่ ส นใจก็ ถื อ ว่ า เป็ น การพั ฒ นา ทั ก ษะเพื่ อ ต่ อ ยอดสู ่ ก ารเป็ น นั ก กี ฬ า อาชีพต่อไปได้”

นายวุฒิศรา ค�ำมา

นายธนวัฒน์ อินปัญโญ

4-13 ธันวาคม 2563 จั ง หวั ด ล� ำ ปาง ร่ ว มกั บ กฟผ.แม่ เ มาะ และหน่ ว ยงานในพื้ น ที่ จังหวัดล�ำปาง จัดงาน “ฤดูหนาวและของดีนครล�ำปาง” ประจ�ำปี 2564 ณ บริเวณมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตล�ำปาง ต.บ่อแฮ้ว อ.เมือง จ.ล�ำปาง

หน้าที่หลักที่ได้รับมอบหมาย คือ รับผิดชอบในส่วนของงานบ�ำรุง รักษาโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นงานที่ท้าทาย เพราะต้องสัมพันธ์กับเงื่อนไขเวลา หากท�ำให้โรงไฟฟ้ากลับมาเดินเครื่องได้ช้า องค์กรจะเสียผลประโยชน์ ก็เหมือนเราสูญเสียรายได้ไปด้วย นอกจากนี้ภารกิจด้าน CSR ก็เป็นอีก หนึ่งงานที่ได้เข้าร่วม และตั้งใจท�ำให้เต็มที่เหมือนงานหลัก เพื่อช่วยสร้าง ภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางที่ดี โดยเฉพาะงานถ่ายภาพที่ ปกติมักจะท�ำเป็นงานอดิเรก ถ้าช่วงไหนงานซ่อมบ�ำรุงยังไม่เร่งด่วน ก็จะ ไปช่วยงานถ่ายภาพประชาสัมพันธ์กิจกรรมในชุมชน กิจกรรม CSR ของ พี่ๆในองค์กร เพราะถือว่าเป็นงานที่เราชอบ และท�ำให้มีโอกาสได้พบเจอ คนมากมาย ฝึกพัฒนาฝีมือส่วนนี้ ที่ส�ำคัญคือมีความสุขในระหว่างการ ท�ำงาน และเชื่อว่าถ้าภาพถ่ายสวย ก็จะช่วยให้สะท้อนถึงภาพลักษณ์ที่ดี ขององค์กร และจะช่วยให้คนภายนอกเข้าใจและยอมรับภารกิจ กฟผ. ได้ MY HOME MY POWER PLANT

11


บ้านพักชัยพฤกษ์

บ้านพักแฟลต

บ้านพักสุดชิลล์ที่บริหารงานโดย กฟผ.แม่เมาะ ที่พักใกล้แหล่งท่องเที่ยวภายใน กฟผ.แม่เมาะ อากาศสดชื่นได้ใกล้ชิดธรรมชาติ

บ้านพัก ของ กฟผ.แม่เมาะ ที่มีถึง 206 ห้อง เตรียมสําหรับต้อนรับคณะฝึกอบรม หรือศึกษาดูงาน ราคาหลักร้อย แต่บริการและความประทับใจเกินล้น ราคาห้องพัก 500 บาท / 1 คืน จํานวน 116 ห้อง 350 บาท / 1 คืน จํานวน 92 ห้อง **ไม่มีอาหารเช้า ติดต่อจองห้องพัก 0 5425 6919, 0 5425 6848

ลด

ราคาห้องพัก 1,200 บาท / คืน (ราคาพร้อมอาหารเช้า) ติดต่อจองห้องพัก 0 5425 4993, 0 5425 4994

ลด

ลด

50%

40%

20%

สําหรับผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.

สําหรับโรงเรียนและสถาบันการศึกษา

สําหรับข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ

รวมที่พักรายวันในพื้นที่ อ.แม่เมาะ โรงแรมเฮือนแม่เมาะ (บ.เวียงสวรรค์) สาละวินรีสอร์ท (บ.ห้วยรากไม้)

ดําเนิ นงานโดยชุมชนคนแม่เมาะ ได้ใกล้ชิดกับวิถีชุมชนคนแม่เมาะ

090-6566056 , 089-2612856

083-4722081 , 098-5699153

สถานี แม่เมาะโฮมสเตย์ (บ.แม่เมาะสถานี ) แอนฟาร์มรีสอร์ท (บ.สบเมาะ)

094-7395103

088-2698888

ลัดดาอพาร์ทเม้นท์ (บ.เมาะหลวง) ที่พักศูนย์เรียนรู้ฯม.7 (บ.ใหม่นาแขม)

081-7465969 , 081-0427601 089-7006715

อินทนิ ลเฮ้าส์ (บ.ใหม่มงคล)

080-8573471 , 086-7285320

อู่แก้วรีสอร์ท (บ.ห้วยรากไม้)

084-1759894

บางรักรีสอร์ท (บ.เมาะหลวง ป่าไม้)

085-7233735

กฟผ.แม เมาะ http://maemoh.egat.co.th

กฟผ.แม เมาะ

@maemoh.powerplant

Maemoh.egat.com/hellomaemoh

054 252 734

maemohnews@egat.co.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.