My Home My Power Plant 12-2561

Page 1


บทบรรณาธิการ สวัสดีปีใหม่ 2562 และยินดีต้อนรับท่านผู้อ่านทุกท่านกลับสู่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ของเราหลั ง ช่ ว งวั น หยุ ด ยาวแห่ ง การสั ง สรรค์ โรงไฟฟ้ า แม่ เ มาะเปิ ด ศั ก ราชใหม่ เสริมสิริมงคลให้แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้วยการท�ำบุญตักบาตรร่วมกัน ให้มีขวัญ และก�ำลังใจในการท�ำงานตลอดทัง้ ปี และเพื่อเป็นการมอบของขวัญวันปีใหม่ให้แก่ท่าน ผู้อ่าน My Home My Power Plant ฉบับนี้ ได้คัดสรรสาระเรื่องราวพิเศษ ให้ท่านได้ ภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์พัฒนาผลงาน ตลอดจนผลักดันโครงการ ต่างๆ เสริมสร้างความแข็งแกร่งและมั่นคงขององค์กรในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ภารกิจ หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า การพัฒนาคุณภาพงาน ตลอดจนการร่วมกันดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม ให้องค์กรสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างกัลยาณมิตรเสมอมา

วิสัยทัศน์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

2

INNOVATE POWER SOLUTIONS FOR A BETTER LIFE นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตที่ดีกว่า MY HOME MY POWER PLANT

บรรณาธิการ หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ กองบรรณาธิการ หมวดข้อมูลข่าวสาร แผนกประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ส�ำนักงาน แผนกประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ อาคารประชาสัมพันธ์แม่เมาะ กฟผ.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง 52220 โทร : 054-252734 ออกแบบและจัดพิมพ์โดย FINE DAE Magazine โทร : 053-810801 แฟกซ์ : 053-810811

พันธกิจ

มุ่งเน้นนวัตกรรมในการผลิตไฟฟ้า ให้มีสมรรถนะสูง แข่งขันได้ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล


เริม่ ต้นปีใหม่รบั สิง่ ดีๆ ด้วยวันมงคล วันที่ 9 มกราคม 2562 ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้ร่วมท�ำบุญ ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งถวายแด่พระสงฆ์ในอ�ำเภอแม่เมาะ จ�ำนวน 9 รูป เพือ่ ความเป็นสิรมิ งคล นอกจากนัน้ แล้ว นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า2 นายชัยพร ไพฑูรย์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และนายพนม บวรวงศ์เสถียร ผู้อ�ำนวยการฝ่ายบ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้กล่าวอวยพร มอบข้อคิดและแนวทางการท�ำงานในปี 2562 แก่ผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า2 "สวัสดีปีใหม่ผู้ปฏิบัติงาน ทุกคน ดีใจที่พวกเราได้ผ่านปีเก่ามาสู่ปีใหม่ได้อย่างปลอดภัย และได้มาร่วมท�ำบุญด้วยกันในวันนี้ เพราะการท�ำบุญปีใหม่เป็น สิ่งที่ดีที่จะท�ำให้เรามีเรื่องดีๆและสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต ในปีใหม่ นี้มีอะไรใหม่ๆที่พวกเราต้องท�ำร่วมกัน เริ่มต้นเรื่องราวดีๆ ด้วย เดือนพฤษภาคม จะมีพระราชพิธบี รมราชาภิเษก เรือ่ งต่อมาคือ มีการเลือกตัง้ ในส่วนของพวกเราทุกคน หากแผน PDP ออกมา ก็จะมีภารกิจที่ต้องท�ำอีกมากมาย ขอให้ทุกคนร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน ในปี 2562 นี้ ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายอ�ำนวยอวยพร ให้ทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรง มีจิตใจที่แข็งแกร่ง มีสติปัญญา ที่เฉียบแหลม และร่วมกันน�ำพาให้ กฟผ. ก้าวไปสู่ยุค 4.0 อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะ “ปีใหม่ หากเราอยากเริ่มอะไรใหม่ๆ และสิ่งที่ดี ขอให้ทุกคนเริ่มต้น ท�ำกันได้เลย อย่างตนในปีนี้ตั้งใจปรับสิ่งใหม่ๆ ขึ้นปีใหม่จึงเริ่ม เขียนไดอารี่ ทีท่ ำ� ให้สามารถย้อนดูวา่ ในแต่ละวันทีผ่ า่ นมานัน้ ได้ ท�ำอะไรไปแล้วบ้าง เพือ่ จะได้นำ� มาปรับปรุงตัวเราได้ การท�ำงาน ในอนาคตขอให้ทกุ คนมีความสามัคคี มีอะไรให้ปรึกษาหารือกัน พูดคุยกันในไลน์ให้นอ้ ยลง แต่พบปะพูดคุย พบหน้ากันมากขึน้ ” ผู้อ�ำนวยการฝ่ายบ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ “ปีใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งนโยบายและการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างใหม่ เพือ่ ปรับเปลีย่ นองค์กรของเราให้ดขี นึ้ การท�ำงาน ร่วมกันพวกเราต้องมีความรัก ความสามัคคี ความเสียสละ ดังนัน้ ในปีใหม่ขอให้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ หมู เช่นเดียวกับปีหมู”

คุณภาพอากาศแม่เมาะ เดือนพฤศจิกายน 2561 ทุกค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ รายงานผลการ ตรวจวัดคุณภาพอากาศเดือนพฤศจิกายน 2561 ในพื้นที่อ�ำเภอแม่เมาะ จังหวัดล�ำปาง จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของ กฟผ.จ�ำนวน 11 สถานี โดยผลการตรวจวัดฝุ่นละอองรวม (TSP), ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และผลการตรวจวัดฝุน่ ละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) จ�ำนวน 4 สถานี พบว่า มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส�ำหรับดัชนีคุณภาพอากาศบริเวณพื้นที่บ้านพักผู้ปฏิบัติงานและ พื้นที่ชุมชน อยู่ในเกณฑ์ดี ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ส่วนพื้นที่ปฏิบัติงาน อยู่ในเกณฑ์ดี-ปานกลาง มีฝุ่นขนาดเล็กสูง ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

83

49

113

10

88

330

120

780

300

320

TSP/day

PM10/day

SO2/hr.

SO2/day

NO2/hr.

= ค าที่วัดได สูงสุดจากเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ กฟผ.แม เมาะ = ค ามาตรฐาน กําหนดโดยกรมควบคุมมลพิษ TSP/day PM10 SO2/hr. SO2/day NO2/hr.

: : : : :

ฝุ นละอองรวม ในคาบ 24 ชั่วโมง ฝุ นละอองขนาดไม เกิน 10 ไมครอน ในคาบ 24 ชั่วโมง ก าซซัลเฟอร ไดออกไซด ในคาบ 1 ชั่วโมง ก าซซัลเฟอร ไดออกไซด ในคาบ 24 ชั่วโมง ก าซไนโตรเจนไดออกไซด ในคาบ 1 ชั่วโมง *หน วยเป น ไมโครกรัม / ลูกบาศก เมตร MY HOME MY POWER PLANT

3


ศึกษารายละเอียด โครงการฯ

โรงไฟฟ้าแม่เมาะได้ด�ำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทยมาอย่างต่อเนื่องกว่า 34 ปี ด้วยโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครือ่ งที่ 4-7 ก�ำลังจะปลดระวางในระยะเวลาอันใกล้ โครงการโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครือ่ งที่ 4-7 (MMRP1) จึงถือก�ำเนิดขึน้ เพื่อรักษาความมั่นคงต่อระบบไฟฟ้าของประเทศ แต่โรงไฟฟ้าคงไม่สามารถสร้างเสร็จได้อย่างสมบูรณ์ หากไม่ได้รับความร่วมมือ จากทุกฝ่ายทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนชุมชนรอบพื้นที่ อ.แม่เมาะ ซึ่งก่อนจะถึงปลายทางในการเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า อย่างเป็นทางการนั้น กระบวนการก่อสร้างจะต้องท�ำควบคู่ไปกับการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย น�ำไปจัดท�ำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการจะสามารถด�ำเนินการ โดยส่งผลกระทบต่อชุมชน รอบพื้นที่การก่อสร้างน้อยที่สุด

13 มกราคม 2560 25 มีนาคม 2560

เครื่องกําเนิดไฟฟา (Generator) ถูกขนสงมายังโครงการฯ

เริ่มการติดตั้งแกนหมุนของกังหันไอนํ้าความดันตํ่า (Low Pressure Turbine Rotor)

6 เมษายน 2560 เริ่มติดตั้งเครื่องกําเนิดไฟฟา (Generator)

29 ตุลาคม 2559

ติดตั้งเครื่องอุนนํ้าปอน สําหรับหมอไอนํ้า (Deaerator)

9 สิงหาคม 2560

ทดสอบรับกระแสไฟฟาแรงดัน 115 กิโลวัตต เขาสูระบบ

19 มีนาคม 2561 ทดสอบการจุดเตาครั้งแรก

4

MY HOME MY POWER PLANT

1


ค.1

ค.3

29 เม.ย. 60

รับฟังความคิดเห็นในการกําหนดขอบเขต และแนวทางการประเมินผล

2

ศึกษา สภาพแวดล้อม 4 ด้าน

กําหนดขอบเขต การศึกษา

3

23 ก.ย. 60

รับฟังความคิดเห็นในการกําหนด ทบทวนร่างรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

4

กําหนดมาตรการป้องกันและแก้ไข และมาตรการติดตามตรวจสอบ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

การประเมินผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

ค.2

5

6

รับฟังความคิดเห็นในขั้นตอนการประเมินและจัดทํารายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

8

เสนอรายงานต่อสํานัก นโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

15-16 ม.ค. 61

ร่างรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

13-16 มิ.ย. 60

เดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้า เมื่อระบบและ EHIA ของโครงการฯ มีความพร้อม 100%

24 พ.ย. 60

ง.

7

คชก. ลงตรวจพื้ นที่ ก่อสร้างและพื้ นที่ โดยรอบ

14 ก.ค. 61

สํานักงาน กกพ. ดําเนินการจัดประชุม รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสีย 22 มี.ค. 61

12

คณะรัฐมนตรีพิจารณา อนุมัติโครงการฯ

25 เมษายน 2558

พิธีลงเสาเข็มตนแรก MMRP1 (First Piling)

19 กันยายน 2559

เริ่มติดตั้งเสาเอกของเครื่องดักจับฝุน แบบไฟฟาสถิต (ESP)

10

18 ก.ค. 61 กก.วล. เห็นชอบ

11

คชก. พิ จารณารายงาน EHIA มีความเห็นว่ารายงานมีข้อมูลเพี ยงพอ และให้ สผ. มีหนังสือแจ้งให้สํานักงาน กกพ. ดําเนินการขั้นตอนต่อไป

สผ.สรุปความเห็นฯ ต่อ กก.วล.

8 มกราคม 2559 พิธียกเสาเอก MMRP1

9 20 กุมภาพั นธ์ 2559

เริ่มการกอสรางปลองโรงไฟฟาฯ

16 พฤษภาคม 2559

เริ่มการกอสรางอาคารหลักโรงไฟฟาฯ

26 พฤษภาคม 2561

ทดสอบการเชื่อมระบบการผลิตกระแสไฟฟา (First Synchronization)

อยูระหวางการทดสอบระบบทุกสวน ใหมีความพรอมกอนกําหนดจายกระแสไฟฟา เชิงพาณิชยอยางเปนทางการภายในป 2562

MY HOME MY POWER PLANT

5


โรงไฟฟ้าน�้ำพองคว้ารางวัลชมเชยมูลนิธิ “ก�ำธน สินธวานนท์” ประจ�ำปี 2560 29 มกราคม 2561 ตัวแทนโรงไฟฟ้าน�้ำพอง เข้ า รั บ รางวั ล มู ล นิ ธิ “ก� ำ ธน สิ น ธวานนท์ ” ประจ�ำปี 2560 ประเภทรางวัลชมเชย สาขา บริหารและการเงิน จากผลงาน ระบบสารสนเทศ เพือ่ การบริหารบุคคลโรงไฟฟ้าน�ำ้ พอง (Namphong Power Plant Personnel Information System: NPIS) ณ หอประชุมเกษม จาติกวนิช ส�ำนักงานใหญ่ กฟผ. โดยมีนายวีระวัฒน์ ชลายน อดีตผูว้ า่ การ กฟผ. ในฐานะประธานมูลนิธิ “ก�ำธน สินธวานนท์” เป็นผูม้ อบ

ในปี 2561 นับเป็นปีทมี่ กี ารเปลีย่ นแปลงใน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เรียกได้ ว่าเป็นช่วงผ่านเข้าสูย่ คุ Disruptive Technology อย่างเต็มตัว มีผลต่อการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันรวม ไปถึงส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ต่างๆ ท�ำให้หลายหน่วยงานเร่งปรับตัว ปรับการ ท�ำงาน โดยน�ำนวัตกรรมมาเป็นตัวช่วยขับเคลือ่ น สายงานผูช้ ว่ ยผูว้ า่ การผลิตไฟฟ้า2 ซึง่ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โรงไฟฟ้าน�ำ้ พอง โรงไฟฟ้าวังน้อย และโรงไฟฟ้ า ลานกระบื อ ได้ รั ก ษาคุ ณ ภาพ ในการท�ำงานไว้อย่างดีเยี่ยม สามารถคว้ารางวัล ใหญ่ๆ ในระดับประเทศและนานาชาติมาได้อย่าง มากมาย ดังนี้

โรงไฟฟ้าลานกระบือ ไม่เกิดอุบัติเหตุติดต่อกัน 11 ปี คว้าโล่ประกาศเกียรติคุณระดับทอง (Zero Accident Campaign 2018) จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน 28 มิถนุ ายน 2561 กองการผลิตโรงไฟฟ้าลานกระบือ พร้อมด้วยคณะท�ำงานเข้ารับ โล่ประกาศเกียรติคณ ุ กิจกรรมการรณรงค์ลดสถิตอิ บุ ตั เิ หตุจากการท�ำงานให้เป็นศูนย์ ประจ�ำปี 2561 หรือ Zero Accident Campaign 2018 ระดับทอง ในงาน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครัง้ ที่ 32 ณ ศูนย์นทิ รรศการและการประชุม ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร

ผู้ปฏิบัติงาน ชฟฟ2. คว้า 3 เหรียญทองจากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์ นานาชาติ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน 13 -15 กันยายน 2561 ผูป้ ฏิบตั งิ าน ชฟฟ2. ร่วมแสดงผลงานและเข้ารับรางวัลจากเวทีการ ประกวดและจัดแสดงผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ในงาน 10th International Exhibition of Inventions (IEI) 2018 ณ เมืองฝอซาน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยได้รบั รางวัล เหรียญทองจ�ำนวน 3 รางวัล ดังนี้ 1. ประเภทเทคโนโลยีดา้ นพลังงาน จากผลงาน “ตัวควบคุมการไหลประสิทธิภาพสูงส�ำหรับ ควบคุมการไหลของก๊าซไอเสียในหอก�ำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์” ผลงานของผูป้ ฎิบตั งิ าน ฝ่าย การผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะ, ฝ่ายบ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และผูช้ ว่ ยผูว้ า่ การผลิตไฟฟ้า2 2. ประเภทเทคโนโลยีดา้ นพลังงาน จากผลงาน “ระบบทดสอบเซอร์โววาล์วอินเล็ทไกด์ เวน” ผลงานของผูป้ ฏิบตั งิ านสังกัดแผนกบ�ำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมและเครือ่ งวัด กองบ�ำรุงรักษา โรงไฟฟ้าวังน้อย 3. ประเภทด้านความปลอดภัย จากผลงาน “อุปกรณ์ตรวจสอบการท�ำงานพัดลม ระบายอากาศตูร้ ะบบควบคุม” ผลงานของผูป้ ฏิบตั งิ านสังกัดแผนกบ�ำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุม และเครือ่ งวัด กองบ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้าน�ำ้ พอง

6

MY HOME MY POWER PLANT


โรงไฟฟ้าแม่เมาะ คว้ารางวัลชนะเลิศ 2 รางวัลจากเวที Thailand Coal Awards 2018 นักประดิษฐ์ โรงไฟฟ้าแม่เมาะคว้ารางวัลเหรียญทองแดง จากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

26 กันยายน 2561 ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) เข้ารับรางวัล Thailand Coal Awards 2018 ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ โดยโรงไฟฟ้า แม่เมาะ ได้รบั รางวัลชนะเลิศจ�ำนวน 2 รางวัล ดังนี้ 1. ประเภทการด� ำ เนิ น การด้ า นถ่ า นหิ น ที่ เป็นเลิศ (Best Practices Category) ได้รับรางวัล ชนะเลิศด้านการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในการ ผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 500 เมกะวัตต์ ขึน้ ไป จากผลงาน“การปรับปรุง หม้อน�ำ้ ของโรงไฟฟ้า ถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดเพือ่ ใช้ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน คุณภาพต�ำ่ ” (The Boiler Modification of Clean Coal Power Plant for Utilizing Low-Rank Coal) 2. ประเภทความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมและ สิ่งแวดล้อม (CSR) ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากผลงาน “ถอดบทเรียนศาสตร์พระราชา สู่แนวทางเพื่อการ พัฒนาพืน้ ที่ อ.แม่เมาะ อย่างยัง่ ยืน”

1 - 4 พฤศจิ ก ายน 2561 ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านแผนกบ� ำ รุ ง รั ก ษา หม้อน�ำ้ กลาง กองวางแผนและบ�ำรุงรักษากลาง ฝ่ายบ�ำรุงรักษา โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เข้าร่วมน�ำเสนอผลงานในเวทีประกวดและ จัดแสดงผลงานวิจยั สิง่ ประดิษฐ์และนวัตกรรม (The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products : iENA 2018) ณ เมืองนูเรมเบิรท์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยได้รบั รางวัลเหรียญทองแดง จากผลงานเรือ่ ง “การยกระดับกระบวนการ เชือ่ มซ่อมหม้อน�ำ้ ด้วยอุปกรณ์ชว่ ยกันลม” (Enhancement of Boiler Welding with Wind Shield Box)

4 สิ่งประดิษฐ์สายงาน ชฟฟ2. คว้ารางวัลชมเชยจากเวทีแสดง ผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ กฟผ.ปี 2561 เตรียมตัว น�ำเสนอผลงานในระดับนานาชาติ 14-15 พฤศจิกายน 2561 งานมหกรรมการแสดงผลงานที่คิดค้นหรือสิ่ง ประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์แก่ กฟผ.ประจ�ำปี 2561 สายงาน ชฟฟ2.ได้รับ รางวัลชมเชย จ�ำนวน 4 ผลงาน จากผลงานของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ กฟผ.เข้าร่วมแสดงผลงานทั้งหมด 39 ผลงาน ดังนี้ 1. รถสายพานล�ำเลียงเถ้าถ่าน หินและยิปซั่ม ผลงานของผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และฝ่าย บ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ 2. ระบบควบคุมอุณหภูมิการเผา ไหม้ของเครื่องกังหันก๊าซแบบอัตโนมัติ ผลงานของผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านกองการผลิ ต โรงไฟฟ้าลานกระบือ 3. เครื่ อ งมื อ ถอดประกอบและ คืนสภาพอุปกรณ์วัดอุณหภูมิไอร้อนจาก ห้องเผาไหม้กงั หันก๊าซ ผลงานของผูป้ ฏิบตั ิ งานโรงไฟฟ้าวังน้อย 4. เครือ่ งมือถอย Long retractable soot blower ค้าง ผลงานของผูป้ ฏิบตั งิ าน ฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทั้งนี้ผลงานที่ได้รับรางวัลจะถูกคัดเลือก น�ำไปประกวดในเวทีการแสดงผลงานและ สิ่งประดิษฐ์ในระดับนานาชาติต่อไป

3 ผลงานสิ่งประดิษฐ์สายงาน ชฟฟ2. คว้าหรียญทองแดงจาก เวที SIIF 201 ที่สาธารณรัฐเกาหลี 6-9 ธันวาคม 2561 สายงาน ชฟฟ2. สามารถคว้ารางวัลเหรียญทองแดง จากเวทีงานประกวดและจัดแสดงผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ Seoul International Invention Fair (SIIF 2018) 3 ผลงานดังนี้ 1. “อุปกรณ์เก็บตัวอย่างขีเ้ ถ้า (Fly Ash) แบบอัตโนมัต”ิ (Automatic Fly Ash Sampling Collector) โรงไฟฟ้าแม่เมาะหน่วยที่ 6 ผลงาน ของผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายบ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และฝ่ายการผลิต โรงไฟฟ้าแม่เมาะ 2. “ระบบควบคุมเชือ้ เพลิงแบบอัตโนมัตขิ องเครือ่ งผลิตไฟฟ้ากังหัน ก๊าซ (Enhancement of fuel gas control system in gas turbine)” ผลงานของผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะ 3. “ระบบควบคุมแรงดันสายส่งอัตโนมัต”ิ ผลงานของ ผูป้ ฏิบตั งิ าน ฝ่ายบ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ MY HOME MY POWER PLANT

7


การท�ำงานของกองชุมชนสัมพันธ์ ใน พ.ศ. ใหม่ นโยบายด้าน CSR ของ กฟผ.แม่เมาะ ที่เปลี่ยนแปลงไป และมุมมองใหม่ จากใจนายกสมาคมพัฒนาแม่เมาะ นอกจากการปรับโครงสร้างภายในองค์กรแล้ว วิธีการท�ำงาน กับชุมชนเองก็ได้ปรับตัวล้อไปกับทิศทางขององค์กรเช่นกัน ในปี 2562 “กองชุมชมสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ” (กชส-ฟ.) หนึ่งในหน่วยงานหลัก ของ กฟผ.แม่เมาะ ทีเ่ ปรียบเสมือนฟันเฟืองชิน้ เอกในการขับเคลือ่ นนโยบาย ด้านชุมชนสัมพันธ์ จึงมีการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญอยู่หลายด้าน

นายสุนทร ดาวประเสริฐ

การท�ำงานด้านชุมชนสัมพันธ์ ให้ส�ำเร็จนั้น จ�ำเป็นต้องด�ำเนินการทั้งในภาพใหญ่ และภาพเล็กให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน กฟผ. ภาพใหญ่คิดอย่างไร เดินอย่างไร เราจ�ำเป็นต้องรู้ และร่วมมือกัน ต้องร้องเป็นเพลงเดียวกันให้ ได้ 8

MY HOME MY POWER PLANT

นายสุ น ทร ดาวประเสริ ฐ หั ว หน้ า กองชุ ม ชนสั ม พั น ธ์ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ กล่าวถึงแนวทางการท�ำงานของกองชุมชนสัมพันธ์ที่ เปลีย่ นแปลงไปในปี 2562 ว่า “ผมเชือ่ ว่าคงไม่มใี ครปฏิเสธได้วา่ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมมีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ส�ำคัญมาก ต่อการท�ำงานของ กฟผ.แม่เมาะ เรามักถูกพาดพิงถึงเรื่องผลกระทบ จากการด�ำเนินงานที่มีต่อชุมชน ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ควรได้รับการ พิจารณาและให้ความสนใจ ในอนาคตโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ ต่ า งก็ ต ้ อ งลดขนาดลงตามก� ำ ลั ง การผลิ ต และทรั พ ยากร แต่ สิ่ ง ที่ยังคงเท่าเดิมหรือมีขนาดใหญ่ขึ้นคือชุมชน หากจะบอกว่าหน่วยงาน ด้านชุมชนสัมพันธ์จะต้องขนาดใหญ่ขึ้นตามชุมชนนั้นคงไม่ใช่ทิศทาง ขององค์กรที่ควรจะเป็น ภายใน กชส-ฟ. จึงต้องท�ำให้คนในองค์กร มีความรับผิดชอบต่อสังคมฝังอยู่ในใจ และตระหนักเสมอว่าชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นส่วนส�ำคัญต่อการด�ำเนินงานของเรา เมื่อใดเราสามารถท�ำ “CSR in mind” ได้ งานด้านชุมชนสัมพันธ์ก็จะ สามารถท�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในอนาคต กฟผ. จะต้อง ลดขนาดหรือหายไปจาก อ.แม่เมาะ อย่างแน่นอน แต่ที่จะต้องอยู่ ต่อไปคือชุมชน เราค�ำนึงถึงเรื่องนี้อยู่เสมอ กชส-ฟ. จึงต้องสร้าง ความเข้าใจที่ถูกต้องกับชุมชน และร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิด การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทัง้ นี้ กชส-ฟ. ขอขอบคุณทุกหน่วยงานทีร่ ว่ มมาเป็นกองจิตอาสา แม้วา่ เราจะมีภารกิจหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ กฟผ. ต้องค�ำนึง ถึงผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ เพื่อให้ทิศทางการ ท�ำงานของ กฟผ. กับงานด้าน CSR ไปด้วยกันได้”


อีกหนึง่ ประเด็นทีไ่ ด้รบั ความสนใจจากทัง้ ชุมชน และชาว กฟผ.แม่เมาะ คือการบริหารงบ CSR ทีป่ รับเปลีย่ นไปในปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การบริหารจัดการงบพัฒนาชุมชน 4 ต�ำบล ได้แก่ ต.แม่เมาะ ต.สบป้าด ต.นาสัก ต.จางเหนือ นายศีลวันต์ โสฬสลิขติ วิทยากรระดับ 6 รักษาการหัวหน้าแผนกแผนงานและข้อมูล กล่าวถึง แผนงานและงบประมาณ CSR ที่ใช้ในการพัฒนาชุมชนว่า “งบดังกล่าวมีทั้งแผนงานที่ด�ำเนินการ โดย กฟผ. และแผนงานที่ กฟผ. ก�ำหนดแนวทางให้ชมุ ชนเป็นผูพ้ จิ ารณาผ่านกระบวนการประชาคม ในปี 2560 ได้มขี อ้ ตกลงระหว่างผูบ้ ริหารระดับสูงของ กฟผ.แม่เมาะ และผูน้ ำ� ชุมชน ให้มกี ารจัดสรรงบ ประมาณทีเ่ ปิดโอกาสให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมมากขึน้ โดยจัดสรรงบประมาณให้ชมุ ชนต�ำบลแม่เมาะ ต�ำบลสบป้าด ต�ำบลนาสัก และต�ำบลจางเหนือ ต�ำบลละ 5 ล้านบาทต่อปี เริม่ แผนงานนีใ้ นปี 2561 โดย ได้จำ� กัดขอบเขตโครงการเฉพาะในส่วนของแผนการพัฒนาสาธารณูปโภคทีจ่ ะใช้งบประมาณในส่วนนีไ้ ด้ อุปสรรคทีเ่ กิดขึน้ คือ หลายชุมชนในพืน้ ทีต่ งั้ อยูใ่ นเขตป่าสงวน ท�ำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ จากงบส่วนนีไ้ ด้ (ตามกฎหมาย พืน้ ทีป่ า่ สงวนไม่สามารถพัฒนาสาธารณูปโภคได้) ในปีนี้ กฟผ. จะหารือกับ ส่วนราชการ โดยเฉพาะนายอ�ำเภอแม่เมาะ เพือ่ หาแนวทางทีจ่ ะบูรณาการโครงการต่างๆ ภายใต้งบ ประมาณนี้ ด้วยการแต่งตัง้ คณะอนุกรรมการของกรรมการบริหารงานอ�ำเภอแม่เมาะ (กบอ.แม่เมาะ) เพือ่ กลัน่ กรองโครงการ และขยายขอบเขตการใช้งบให้สามารถเสนอโครงการทีเ่ หมาะสมกับแต่ละพืน้ ทีไ่ ด้” ด้าน ต.บ้านดง ทีแ่ ม้จะไม่ได้รบั ค่าภาคหลวงแร่ เนือ่ งจาก กฟผ. ไม่ได้ใช้พนื้ ทีท่ ำ� เหมืองดังเช่น ในอดีต แต่ปจั จุบนั ยังคงเป็นบริเวณทีท่ งิ้ ดินอยู่ จึงได้ถกู จัดสรรงบประมาณให้เป็นกรณีพเิ ศษ ภายใต้ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวติ ราษฎร ต.บ้านดง 20 ล้านบาท โดยจัดสรรให้ อบต.บ้านดง บริหารจัดการ นายศีลวันต์ โสฬสลิขิต งบเพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคและโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตต่างๆ ผ่านกระบวนการประชาคมใน ทีป่ ระชุมหมูบ่ า้ น นอกจากงบพัฒนาชุมชนแล้ว อีกหนึง่ ความเปลีย่ นแปลงส�ำคัญทีช่ าว กฟผ.แม่เมาะ ยังคงให้ความสนใจไม่แพ้กนั คือ นโยบายการ ยุตกิ ารบริจาคเงินให้กบั สมาคมพัฒนาแม่เมาะ (สพม.) นายศีลวันต์ โสฬสลิขติ กล่าวถึงความเป็นมา และสถานการณ์ปจั จุบนั ของสมาคม พัฒนาแม่เมาะ (สพม.) ว่า “แต่เดิม กฟผ. บริจาคเงินให้กบั สพม. ในอดีตทีผ่ า่ นมานัน้ เป็นไปตามระเบียบ กฟผ. ทีไ่ ด้ระบุไว้ชดั เจน ตัง้ แต่ระเบียบ กฟผ. ฉบับที่ 18 ฉบับที่ 20 ฉบับที่ 44 และฉบับที่ 47 โดยได้บงั คับใช้เรือ่ ยมา จนกระทัง่ ส�ำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ขอตรวจสอบ งบประมาณการด�ำเนินการด้าน CSR รวมถึงงบประมาณที่ กฟผ. บริจาคให้กบั สพม. ท�ำให้ กฟผ. มีความจ�ำเป็นต้องชะลอการบริจาค งบประมาณดังกล่าว ตัง้ แต่ปี 2559 เป็นต้นมา ปัจจุบนั ผลการพิจารณาของ สตง. ได้ให้ความเห็นว่างบประมาณที่ กฟผ. บริจาคให้กบั สพม. มีวตั ถุประสงค์ทซี่ ำ�้ ซ้อนกับงบประมาณกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ตาม พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 สุดท้าย คณะกรรมการ กฟผ. จึงได้มมี ติแจ้งยุตกิ ารบริจาคงบประมาณให้กบั สพม. ปีละ 30 ล้านบาท ตามแนวทางของ สตง. ปัจจุบนั กฟผ. อยูใ่ นระหว่างการสือ่ สารและหาทางออกร่วมกับ สพม. รวมถึงชุมชน ทีย่ งั มี ข้อกังวลใจว่า กฟผ. จะให้การดูแลน้อยลงจากทีเ่ คยปฏิบตั กิ นั มาอย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ นี้ หน้าทีข่ องชาว กฟผ.แม่เมาะ ทีจ่ ะร่วมกันได้คอื สร้างความเชือ่ มัน่ ให้กบั ชุมชน ให้ตระหนักด้วยใจว่า กฟผ. และชุมชน จะยังคงดูแลซึง่ กันและกันเช่นเดิม ผ่านแต่ละชุมชนทีห่ น่วยงานเป็นฝ่ายและกองจิตอาสาอยู่ แม้วา่ สถานการณ์ดา้ นกฎหมายอาจมีความซับซ้อนมากขึน้ ก็ตาม” ถึงแม้วนั นีส้ ถานการณ์ของ สพม. จะเปลีย่ นแปลงไป หลังจากทีค่ ณะกรรมการ กฟผ. มีมติยกเลิก การบริจาคงบประมาณเนือ่ งจากเห็นว่ามีวตั ถุประสงค์การด�ำเนินการทีเ่ หมือนกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้า โรงไฟฟ้าแม่เมาะ แต่สมาคมฯ ยังคงยืนหยัดเดินหน้าโครงการและกิจกรรมภายใต้พนั ธกิจเดิม โดยมี กฟผ. เป็นพันธมิตรทีพ่ ร้อมจะบูรณาการร่วมกับสมาคมฯ เพือ่ ส่งเสริมการอยูร่ ว่ มกันระหว่าง กฟผ.แม่เมาะ และชุมชน อย่างเป็นกัลยาณมิตร ทัง้ ในด้านการศึกษา เทคโนโลยี ตลอดจนการอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรม และสืบทอดภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่

นางสาวพนิดา ทักษิณาพิมุข

นางสาวพนิดา ทักษิณาพิมุข นายกสมาคมพัฒนาแม่เมาะ กล่าวว่า “สถานการณ์การ เปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ถือเป็นความท้าทายของสมาคมฯทีต่ อ้ งปรับตัว ซึง่ ถือเป็นโอกาสในการทบทวน การท�ำงาน และปรับโครงสร้างภายในหน่วยงาน ในวันนี้ สมาคมฯจะยังคงด�ำเนินโครงการและกิจกรรม ต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์และวิสยั ทัศน์เดิมคือ เป็นหน่วยงานทีส่ ง่ เสริมการศึกษา เสริมคุณค่าภูมปิ ญ ั ญา และสร้างคนดีสู่สังคม แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือ การยกเลิกโครงการเชิงบริจาคและสงเคราะห์ แต่มุ่งเน้นการด�ำเนินงานของสมาคมฯไปที่โครงการเพื่อความยั่งยืนเป็นหลัก เช่น โครงการด้าน การศึกษา โครงการแม่เมาะเมืองคนดีที่น่าอยู่ โครงการวัยวัฒนาร่วมรักษาภูมิปัญญาไทย และ โครงการแลกเปลีย่ นเรียนรูข้ องชุมชน ฯลฯ โดยจะยังมี กฟผ. ให้การสนับสนุนผ่านกองทุนพัฒนา ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และจาก กฟผ. เองในบางส่วนด้วย จึงขอยืนยันกับชุมชนได้วา่ ความสุขของ คนแม่เมาะจะไม่ได้ลดลงเลย แต่จะปรับไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต ดังค�ำขวัญของ สมาคมฯทีว่ า่ ปลูกความรู้ ปลูกปัญญา ประชามีสขุ ” MY HOME MY POWER PLANT

9


งานแม่เมาะฮาล์ฟมาราธอนปี 61 มีนักวิ่งร่วมประลองฝีเท้า

ตลอด 1 ปี ทีผ่ า่ นมา Unseen EGAT Mae Moh ท�ำหน้าทีค่ น้ หาเรือ่ งราวดีๆ ที่หลายคนยังไม่รู้ภายในองค์กรที่กว้างใหญ่แห่งนี้ มาเสิร์ฟผู้อ่านถึงที่ทุกเดือน My Home My Power Plant ฉบับพิเศษแบบนี้ก็ต้องมีอะไรพิเศษๆ หน่อย

เกือบหมื่นคน

ไม่อยากจะเม้าท์ ส�ำหรับงาน เดิน-วิ่งฯ แม่เมาะฮาล์ฟมาราธอน ครั้งที่ 27 ปี 2561 มีผู้สมัครเข้า ร่ ว มการแข่ ง ขั น เป็ น จ� ำ นวนมาก มี ย อดนั ก วิ่ ง ประเภทฮาล์ ฟ มาราธอน จ�ำนวน 1,657 คน ประเภทมินิมาราธอน จ�ำนวน 3,274 และประเภทมินิมาราธอน จ�ำนวน 4,871 คน รวมแล้ว 9,802 คน เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่างานเดิน-วิ่งฯ ครั้งนี้มาแรงแซงทางโค้งจริงๆ

ไม่เ พี ย งเท่ า นั้ น รายได้ ส ่ ว นหนึ่ ง ของ การจัดงานเดิน-วิ่งฯ มอบเป็นทุนการ ศึกษาแก่เยาวชน จ.ล�ำปาง แล้วกว่า

6 ล้านบาท

ภายใต้ชื่อกองทุนสงเคราะห์และพัฒนาจังหวัดล�ำปาง ตั้ ง แต่ ป ี 2544-2561 มอบแล้ ว 770 ทุ น เป็ น เงิ น ทั้ ง สิ้ น 6,671,768 บาท ถือเป็นการสนับสนุนการศึกษา อาหารกลาง วัน อุปกรณ์การเรียนและกีฬา นอกจากนี้กองทุนดังกล่าวยังใช้ ช่วยเหลือประชาชนในพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั ภัยพิบตั หิ รือความเดือดร้อน อื่นๆ อีกด้วย

10

MY HOME MY POWER PLANT

1,700 ฝายชะลอน�้ำ ที่ กฟผ.แม่เมาะ คืนความสมบูรณ์ ให้ผืนป่า 10 ปีแล้วที่ร่วมด้วยช่วยกันสร้างฝายชะลอน�้ำแก้ไขปัญหาน�้ำท่วม น�้ำไม่พอใช้ ไปพร้อมกับชุมชนและส่วนราชการ ตอบโจทย์การอนุรกั ษ์ธรรมชาติ ตัง้ แต่ปี 2552-2561 สร้ า งฝายชะลอน�้ ำ ในพื้ น ที่ อ� ำ เภอแม่ เ มาะและพื้ น ที่ ใ กล้ เ คี ย งแล้ ว 1,700 ฝาย แถมแต่ละฝายยังไม่ธรรมดา เป็นฝายชะลอน�้ำติด GPS ซะด้วยสะดวกต่อการส�ำรวจ ความเปลี่ยนแปลงและความเสียหาย เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและเตรียมการซ่อมแซม ร่วมกับชุมชน "การใส่ใจสิ่งแวดล้อม" เป็นอีกหนึ่งภารกิจหลักของโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่ปฏิบัติมา อย่างต่อเนื่องควบคู่กับการผลิตไฟฟ้าในรอบ 9 ปี (ปี 2553-2561) ที่ผ่านมา

โรงไฟฟ้าแม่เมาะเดินหน้าเพิ่มพื้นที่สีเขียว แล้วกว่าหมื่นต้น

บนพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ 334 ไร่ จ� ำ นวน 11,899 ต้ น และยั ง มี แ ผน จั ด กิ จ กรรมปลู ก ต้ น ไม้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ทุกปี โดยมีชุดงานภูมิทัศน์ของแผนก งานบริเวณ กองโยธาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ รับหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ต้นไม้ คอยดูแล รักษา ส�ำรวจว่าต้นไม้ต้นใดไม่แข็งแรง และท�ำการปลูกทดแทนต่อไปจ้า


ขอรวบรวมความ Unseen เพื่อให้ผู้อ่านได้ย้อนถึงที่สุดแห่งความมุ่งมั่น ตั้งใจท�ำ ภารกิจหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าและยังให้ความส�ำคัญในการดูแลสิง่ แวดล้อม ชุมชน และสังคมโดยรอบอีกด้วย

ใครๆ ก็มาแม่เมาะ ในรอบ 6 ปี คณะดูงานพุง่ กว่า

4 แสนคน

แล้วรูย้ งั ?? กฟผ.แม่เมาะ เป็นอีกหนึง่ แหล่งท่องเทีย่ วทีห่ ลายคนต่างนึกถึง ดูจาก ข้อมูลคณะดูงานทีเ่ ข้ามาเยีย่ มชมใน กฟผ.แม่เมาะ รอบ 6 ปี ตัง้ แต่ปี 2556 - 2561 จ�ำนวน 449,649 คน ยังไม่นับ Event ต่างๆไม่ว่าจะเป็นงานเทศกาล ท่องเที่ยวแม่เมาะ งานเดิน-วิ่งฯแม่เมาะฮาล์ฟมาราธอนที่จัด เป็นประจ�ำทุกปี ถือเป็นเครือ่ งการันตีได้วา่ กฟผ.แม่เมาะ เป็น แหล่งท่องเทีย่ วทีม่ คี วามน่าสนใจ จะชมธรรมชาติกบั สวน สวยๆและมาต่อทีล่ านสไลด์เดอร์กไ็ ด้ จะเรียนรูแ้ หล่ง พลังงานไฟฟ้าของไทยก็ดี มาเที่ยว กฟผ.แม่เมาะ ทีเ่ ดียวเรียกได้วา่ ครบถ้วน

กฟผ.แม่เมาะ แหล่งเรียนรู้ของ นักศึกษาฝึกงาน ปีละกว่า คน

1,200

ทุกๆ ปีบ้านหลังใหญ่หลังนี้จะเปิดต้อนรับนักศึกษาจาก สถาบันทัว่ ประเทศกว่า 1,200 คนต่อปี โดยจะให้โอกาสนักศึกษา ที่มีภูมิล�ำเนาอยู่ในอ�ำเภอแม่เมาะและจังหวัดล�ำปาง รวมถึง จังหวัดใกล้เคียงเป็นอันดับแรก เข้ามาฝึกประสบการณ์จริงนอก ห้องเรียน ผ่านครูที่เป็นผู้ปฏิบัติงานคอยเติมเต็มประสบการณ์ เพิ่มทักษะ เพื่อให้นักศึกษาพร้อมส�ำหรับการท�ำงานในอนาคต แถมยังสนับสนุนค่าอาหารกลางวัน วันละ 200 บาทต่อคน และ มีบริการรถรับ-ส่ง อีกด้วย

ปิดท้ายที่สุดของ Unseen ด้วยความห่วงใยของ กฟผ. ดูแลสุขภาพชุมชน

มาถึงเทศกาลยอดฮิตนั่นคือเทศกาล ท่องเที่ยวแม่เมาะ ที่ยอดนักท่องเที่ยว

ทะลุลา้ นเรียบร้อยแล้วจ้า งานนี้มีมนต์เสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี 14 ปีแล้ว กว่า 1 ล้าน สายตาได้ มาพิสูจน์ว่าสิ่งที่ กฟผ. สรรค์สร้างอย่างตั้งใจมีคุณค่าท�ำให้ กฟผ.แม่เมาะ กลายเป็นหนึ่ง แลนด์มาร์คของนักท่องเทีย่ ว ทีพ่ ร้อมให้มาสัมผัสความสดชืน่ ในทุกฤดูกาล เป็นส่วนหนึง่ ที่ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวของ จ.ล�ำปาง เข้ากับสโลแกน ล�ำปางปลายทางฝัน

ภายใต้โครงการหน่วยบริการสุขภาพเคลื่อนที่ของกอง การแพทย์แม่เมาะ ที่ด�ำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจ�ำ ทุกปี ตั้งแต่ปี 2535 โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตรวจรักษา ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้นแก่ชุมชนและเข้าเยี่ยม บ้านผู้พิการโดยใน 5 ต�ำบล 44 หมู่บ้าน ของ อ.แม่เมาะ มีผู้เข้า รับบริการกว่า 8,000 คนต่อปีเลยทีเดียว MY HOME MY POWER PLANT

11



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.