ติดตามอ่านหนังสือพิมพ์นครโพสต์ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2559 ปีที่ 12 ฉบับที่ 182

Page 1

ปีที่ 12 ฉบับที่ 182

โรงแรมตะมาลี เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

086-479-1946 FREE COPY

เปลี่ยน

CHANGE WE NEED

เปลี่ยน CHANGE WE NEED RADIO COMMUNITY

93 MHz คิดดี ท�ำดี ที่นี่เมืองนคร

ประจ�ำเดือนพฤษภาคม 2559

1

แหม็ดปัญญา อับสับแล้ววว...


2

เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

มหากาพย์ประปาเทศบาลนครนครศรีฯ 7)

จับตา! “รามสูรย์”

อาจขว้างขวานไม่พ้นคอตัวเอง?! ผ่านไปยกที่สองการประชุมสภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช เมื่อ 27 พ.ค.2559 การพิจารณาญัตติที่ต้องใช้เงิน 5 พันล้าน ซื้อน�้ำจากเอกชน แบบผูกขาด 30 ปี ปี่กลองยังไม่ทันเชิด 12 ส.ท.หายตัวอย่างไร้ร่องรอย ท่ามกลางประชาชนที่มาคอยชมลีลาไหว้ครู ส่งใบลาอ้างผวาประชาชน ที่มาติดตามพิธีกรรมการยกมือในสภาแห่งนี้ รวมทั้งเจ้าของญัตติ 5 พันล้าน “เชาว์นวัศ เสนพงศ์” หายตัว ไปด้วย ปล่อยให้ทีมบริหารท่านที่ปรึกษา ท่านเลขามานั่งรับหน้า 10 ส.ท. ที่พกข้อมูลเข้ามาเตรียมช�ำแหละตับไตไส้พุง แต่แน่นอนว่า องค์ประชุม ไม่ครบตาม ส่งผลให้ไม่สามารถประชุมได้ วันที่ 30 พ.ค.2559 เป็นอีกครั้งที่ เคารพ อิสระไพบูลย์ ประธาน สภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช นัดหมายประชุมสภาอีกครั้ง และถือ เป็นวันสุดท้ายที่อยู่ในสมัยประชุมนี้ หาก เชาว์นวัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรี นครนครศรีธรรมราช และ ส.ท.ที่อันตรธานหายตัวไปด้วยวิกฤต “ตาขาว เฉียบพลัน” ไม่ปรากฏตัวเข้าร่วมประชุมอีก ญัตติ 5 พันล้าน และอื่นๆ จะเป็นอันต้องตกไปตามกฎหมาย ห้วงเวลาประมาณ 10.00 น. ของวันที่ 30 พ.ค.นี้ จึงเป็นวัน พิสูจน์อีกคราครั้ง?! คงไม่ต้องพูดถึงอีกแล้วว่า วิกฤตการณ์ขาดแคลนน�้ำทั้งเมือง นครศรีธรรมราช โรงพยาบาลอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการให้บริการทางการแพทย์ อย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน นั่นจะเกิดขึ้นจากเจตนาหรือไม่ก็ตาม แต่ได้สร้าง ความตื่นรู้ให้แก่ชาวนครศรีธรรมราช รวมถึงการขอมีส่วนร่วมตรวจสอบ ของทุกฝ่ายเกิดขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน การวางแผนที่ ซั บ ซ้ อ นส� ำ หรั บ ความร�่ ำ รวยของใครบางคน ไม่ง่ายอีกแล้ว เหตุบังเอิญการซื้อที่ดินหลายแปลงควบรวมเป็นแปลงเดียว กันถึงกว่า 600 ไร่ ในพื้นที่ ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช ก�ำลังถูกจับตามองถึงการรองรับโครงการนี้หรือไม่ และเป็นความบังเอิญ ที่ไปสอดคล้องต่อการประกาศของบางคนเมื่อปี 2557 ว่า เอกชนจาก ประเทศอิสราเอลก�ำลังจะมาลงทุนใน ต.ช้างซ้าย เพื่อขายน�้ำให้แก่เทศบาล ด้วยมูลค่าลงทุนกว่า 3.6 พันล้าน แต่บังเอิญกลุ่มทุนอิสราเอลไม่มาซื้อที่ดิน บังเอิญมีคนซื้อที่ดิน ตรงนี้แปลงใหญ่สุด บังเอิญเป็นเพื่อนสนิทของใครบางคนที่บังเอิญมาเจอ กันพอดิบพอดี?!

แม้ว่าจะละล�่ำละลักบอกว่า เอกชนรายนี้ต้องการสร้างสนาม กอล์ฟ ไม่ได้เป็นบ่อน�้ำ และรับรองว่าจะไม่ซื้อน�้ำจากพื้นที่นี้โดยเด็ดขาด แต่ บังเอิญว่า เมื่อดูภูมิประเทศกลับพบว่า พื้นที่นี้ช่างเหมาะเจาะต่อการท�ำ บ่อน�้ำมากเพราะเป็นพื้นที่ลุ่มต�่ำ จาก 600 ไร่ หากท�ำสนามกอล์ฟคงใช้ราว 300 ไร่ เหลืออีก 300 ไร่ จ�ำต้องขุดดินขึ้นมาถมพื้นที่สนามกอล์ฟป้องกัน น�้ำท่วมในหน้าน�้ำหลาก บังเอิญ 300 ไร่ ที่เหลือจะกลายเป็นบ่อน�้ำที่สวยงามส�ำหรับ สนามกอล์ฟ และบังเอิญเป็นบ่อน�้ำขนาดจุน�้ำดิบได้มหาศาลเพียงแห่งเดียว ของเมืองนี้ และบังเอิญว่า TOR ซื้อน�้ำระบุคุณสมบัติพื้นที่เอกชนที่จะขายน�้ำ ไว้แค่ 150 ไร่ ไม่ห่างจากเขตเทศบาลแบบพอดิบพอดี เป็นความบังเอิญ ที่ลงตัวอย่างไม่เจตนา เวลาการด�ำรงต�ำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่นที่ถูกขยายไปจาก ค�ำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลายท้องถิ่นอาจเป็นตัวแบบ ที่ส�ำคัญ บรรดาเสนาธิการ คสช. ต้องขยับคิดความไม่รับผิดชอบต่อสภา ความไม่ชอบมาพากลในโครงการ การตรวจสอบความผิดปกติในการใช้ งบประมาณที่ไร้ค�ำตอบ ผู้มีอ�ำนาจใน คสช. คือ เพื่อนเรียน วปอ.รุ่นเดียวกัน ล้วนแต่เป็นความผยองในคอนเน็กชันที่ไม่มีใครกล้าท�ำอะไรได้ ตรวจสอบ ไม่ได้ หรืออะไรก็สุดแท้แต่ที่หลายคนเคยได้ยินได้ฟัง เหตุผลเหล่านี้พอที่จะเป็นส่งสารถึงผู้เป็นใหญ่ในบ้านเมือง นี้หรือไม่!! พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ผู้ออกค�ำสั่งนี้จะนั่งเฉยอยู่หรือ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ปลัดส�ำนักนายก รัฐมนตรี จะนั่งเฉยอยู่หรือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย จะนั่งเฉยอยู่หรือ พิศิษฐ์ ลีลาวัชโรภาศ ผู้ว่าการ ตรวจเงินแผ่นดิน จะนั่งเฉยอยู่หรือ หลายๆ โครงการที่อยู่ในกระบวนการ เชื่อว่าท่านคงมีค�ำตอบในเร็ววัน ส่วน พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จะเกษียณอายุราชการอีก 3 เดือนข้างหน้า ผลงานของท่านเป็นที่ประจักษ์ ท่านคงต้องเตรียมการขยับขยายไปพักผ่อนในวัยเกษียณ ซึ่งก็ไม่ว่ากัน ท้ายที่สุด การขยายเวลาด�ำรงต�ำแหน่งขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นทั่วประเทศของ คสช. อาจเป็นคุณูปการต่อประชาชน เฉพาะในพื้นที่ ที่ผู้บริหารเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง แต่พื้นที่ไหนที่ผู้บริหาร

หมายมั่นจะกวาดเอาความมั่งคั่งเข้าพกเข้าห่อของตัวเอง ที่นั่นย่อมเป็นได้ แค่ผีดิบที่รอสูบเลือดเนื้อภาษีชาวบ้าน ซึ่งถูกแปรเป็นอาหารผ่านเสาไฟฟ้า ผ่านสนามกีฬา และอีกสารพัดได้อย่างเสรี หลังกระแสของการต่อต้านโครงการซื้อน�้ำ และลามไปถึงการ ขับไล่ผู้บริหารเทศบาล ท่าทีเดิมจะต้องดันโครงการนี้ให้ได้ กลายเป็นต้อง ขอรับฟังประชาวิจารณ์ หรือประชาพิจารณ์ หรือจะท�ำประชามติ เป็นท่าที ผู้อ�ำนวยการใหญ่ แต่ดูเหมือนว่าจะสายไปแล้ว หากคิดเห็นเจตนาเช่นนั้น ตั้งแต่แรกคงไม่ต้องน�ำญัตติ 5 พันล้านนี้เข้าสู่สภาฯ เป็นการแก้เกมทาง การเมือง นี่คือการเมืองของจริง ท่าทีแม้จะไม่มีอ�ำนาจเกี่ยวข้องทั้งในระดับ ท้องถิ่น หรือระดับพื้นที่ทางการเมือง ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ก้าวล่วงเข้ามาในฐานะข้าคือตัวจริง “ข้าสั่งได้” “รามสูรย์” ที่พลาดท่าเสียที ขวานที่เคยขว้างออกไป มัน กระเด็นกระดอนกลับมาลงบนหัวตัวเอง จนเลือดสาดกันเป็นแถว ก็เป็นได้!! แม้ว่าความเคลื่อนไหวของ วัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรค ประชาธิปัตย์ คนสนิทของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก�ำลังเริ่มกระบวนการตรวจสอบความไม่ปกติของเทศบาลนครนครศรี ธรรมราช ผ่านส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) อาจยังไม่เพียงพอ เนื้อแท้ความเป็นประชาธิปัตย์ที่ต้องการรักษาความศรัทธา ที่มั่นคงของชาวนครศรีธรรมราชที่ค่อยๆ เสื่อมถอย ต้องแสดงความรับผิดชอบ ต่อประชาชน หากถามหาความรับผิดชอบจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คงไม่เพียงพอ เหตุเพราะไม่แตกต่างกับผู้กุมบังเหียนเทศบาลนครนครศรี ธรรมราช หากปล่อยไปย่อมกลายเป็นไฟลามทุ่ง เผาผลาญความศรัทธาต่อ พรรคประชาธิปัตย์ที่มีมาอย่างยาวนาน ประชาธิปัตย์ก�ำลังเสื่อมถอยด้วยน�้ำมือ “ครอบครัวประชาธิปัตย์” เฉกเช่นเหล็กกล้าที่ผุกร่อนย่อมเกิดจากสนิม แต่เนื้อในท่าทีของอดีต ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมดที่อยู่ในนครศรีธรรมราช อาจจะต้องเร่ง สมานความศรัทธา “นิ้ว” ไหนกลายเป็น “มะเร็งร้าย” ต้องตัดทิ้งไป!! สัมพันธ์ ทองสมัคร ผู้อาวุโสแห่งพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ผ่านร้อน หนาวของการเมืองในประเทศนี้มายาวนาน คงให้ค�ำตอบ และยินดีเป็น ที่ปรึกษาให้ได้ ข้อพิสูจน์ในค�ำพูดที่มองคนแบบทะลุปรุโปร่งกว่า 10 ปีที่เขา ไว้วันนี้มันคือ ความจริงทั้งหมด แต่ทว่า วิกฤตการขาดแคลนน�้ำประปาของเทศบาลนครนครศรี ธรรมราชคล้ายเป็นวิกฤตตัวประกัน แต่นั่นไม่แนบเนียนพอ หางโผล่มา เป็นระยะ กลไกอ�ำนาจรัฐต้องจัดการให้เสร็จสิ้น เมืองนครศรีธรรมราช มีประวัติยาวนาน เผาจวนผู้ว่าฯ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เผาโรงพักก็มีให้ประจักษ์เช่นกัน อย่าให้ประวัติศาสตร์ ซ�้ำรอยอีกคราครั้งเลย เพราะเมื่อถึงเวลานั้นไม่มีใครต้องการรับฟัง แนวทางการแก้ไขจากคนนั้นคนนี้อีกแล้ว?!?!

ญัตติซื้อน�้ำเอกชน 5 พันล้านตกสภา ทน.นครศรีฯ แล้ว

นายก-12 ก๊วน ส.ท.หายเกลี้ยง ชาวบ้านฮือไล่กระหึม ่

สภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราชล่มอีกครั้ง ญัตติซื้อน�้ำ 5 พันล้านตกแล้ว จ่อรายงานสภาท�ำหน้าที่ไม่ได้เสนอมหาดไทยพิจารณา จี้ตรวจสอบ ส.ท.ขาดประชุมอาจพ้นสภาพ ขณะที่ภาคประชาชนล่าชื่อ ร้อง คสช.แสดงความรับผิดชอบค�ำสั่งต่ออายุผู้บริหารท้องถิ่นจนประชาชน ได้รับความเดือดร้อน และอาจส่อความผิดปกติในเชิงนโยบายประโยชน์ ทับซ้อน จับตาสมัยประชุมหน้าซุกเข้าสภาอีกหรือไม่ วันนี้ (30 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ส�ำนักงานเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ประชาชนจ�ำนวนมากทยอยมาแสดงออก และขับไล่ นายเชาว์นวัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช ในระหว่างที่ สภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ขยายเวลาการประชุมไปอีก 1 ชั่วโมง จากเวลานัดหมายประชุมตามหนังสือของ นายเคารพ อิสระไพบูลย์ ประธาน สภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ในเวลา 10.00 น. ในช่วงของการรอสมาชิกเพื่อให้ครบองค์ประชุม ปรากฏว่า ท้ายที่สุดในเวลา 11 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่ครบ 1 ชั่วโมงตามกฎหมาย พบว่า นายเชาว์นวัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช เจ้าของ ญัตติไม่ปรากฏตัวเข้าร่วมประชุม นอกจากนั้น สมาชิกสภาเทศบาลขาดการ ประชุมโดยไม่ยื่นใบลา จ�ำนวน 9 คน และยื่นใบลา จ�ำนวน 3 คน สมาชิก ที่มารอประชุม จ�ำนวน 10 คน จึงมีจ�ำนวนไม่ครบองค์ประชุมกึ่งหนึ่ง คือ จ�ำนวน 11 คน ท�ำให้ไม่สามารถเปิดประชุมได้ ญัตติทุกญัตติที่บรรจุ อยู่ในวาระการประชุม รวมทั้งญัตติขอความเห็นชอบโครงการซื้อน�้ำจาก

เอกชน 30 ปี มูลค่า 5 พันล้านบาท เป็นอันต้องตกไปในสมัยการประชุมนี้ โดยหากจะยื่นเข้ามาพิจารณาใหม่ได้นั้นต้องเข้าสู่สมัยประชุมถัดไปในเดือน สิงหาคม 2559 ขณะที่ประชาชนในเขตเทศบาลจ�ำนวนมากได้มารวมตัวกัน และเตรียมที่จะเคลื่อนไหวขับไล่นายกเทศมนตรี โดยมีการรวบรวมรายชื่อ และร้องไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.เนื่องจากเห็นว่าเป็น ต้นเหตุในการขยายเวลาการด�ำรงต�ำแหน่งจนสร้างความเดือดร้อนให้แก่ ประชาชนตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา รวมทั้งจัดท�ำโครงการที่มีความผิดปกติ

ในการจัดซื้อน�้ำจากเอกชนถึง 5 พันล้าน โดยมีแนวโน้มจะเป็นการทุจริต เชิงนโยบาย โดย คสช.จะต้องตรวจสอบ และแสดงความรับผิดชอบ นายเคารพ อิสระไพบูลย์ ประธานสภาเทศบาลนครนครศรี ธรรมราช ระบุว่า ไม่อยากต�ำหนิเพื่อนสมาชิก ส.ท.ที่อาสามาเป็นตัวแทน ของประชาชน ส.ท.ทุกคนก่อนรับต�ำแหน่งสาบานต่อสภาว่าจะท�ำงานเพื่อ บ้านเมือง และประชาชน ไม่อยู่ในอาณัติของใคร “ทุกคนเป็นตัวแทนของชาวบ้านไม่ใช่ตัวแทนของกลุ่มทุน ถ้าเป็นแบบนั้นก�ำลังท�ำบาปต่อแผ่นดิน การขาดประชุมจะต้องมีเหตุผล มันส่อถึงวุฒิภาวะของสมาชิกสภาที่ไม่รับผิดชอบต่อบ้านเมือง” ด้าน นายวิฑูรย์ อิสระพิทักษ์กุล รองประธานสภาเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ระบุว่า สภาต้องท�ำรายงานถึงการประชุมที่ไม่สามารถเกิด ขึ้นได้ รวมทั้งกระบวนการที่สภาได้ด�ำเนินการไปตามขั้นตอนไปยังผู้ว่า ราชการจังหวัด กระทรวงมหาดไทย และในส่วนของประธานสภา และรอง ประธานสภาไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่า ผิดหรือไม่ผิดอย่างไร คงต้องเป็น เรื่องของกระทรวงมหาดไทย และรัฐบาลที่จะต้องวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องก�ำลังตรวจสอบการ ขาดประชุมของสมาชิกสภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งหากมีการขาด ประชุมโดยไม่มีความจ�ำเป็นเร่งด่วน หรือไม่มีเหตุผลเพียงพอ 3 ครั้ง จะ ส่งผลให้ขาดสมาชิกสภาพในการด�ำรงต�ำแหน่งตามกฎหมาย ซึ่งต่างก�ำลัง ตรวจสอบ ส.ท.ที่ขาดการประชุมทั้งหมดว่ามีใครอยู่ในข่ายหรือไม่.


เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

เกียรติยศและศักดิ์ศรีของท้องถิ่น

แนวรบด้านตะวันออก...

มีการเปลีย ่ นแปลง!?

“5 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก...” ใครคนหนึ่งบนโต๊ะ ในริมขวาสุดของร้านน�้ำชาเก่าแก่แห่งหนึ่ง ย่านกลางเมืองนคร เปิดประเด็นสนทนา ท่ามกลางบรรยากาศยามเช้าที่ระอุด้วย สถานการณ์ขาดแคลนน�้ำประปาอย่างหนัก “ช่วงนี้ไม่ค่อยเหม็นสาบคนจน แต่เหม็นสาบพวก ไม่ได้อาบน�้ำ” ...ใครอีกคนจากโต๊ะข้างเคียงกล่าวลอยๆ

“ได้ข่าวว่า...นายหัวใหญ่บ้านหัวหนน มีโครงการ ท�ำสนามกอล์ฟ กว้านซื้อที่ไว้หลายร้อยไร่ แถวในพรุช้างซ้าย” ชายวัยกลางคน รูปร่างสันทัด ตัดผมทรงลานบิน แต่งกายแลดู เหมือนคนท�ำงานนั่งโต๊ะ หนึ่งในสมาชิกโต๊ะในริมขวาสุด เปิด ประเด็นสนทนาใหม่ขึ้นมา

เรื่องเล่า... จากชุมชน

“ได้ยินมาเหมือนกันว่า ที่พวกเราไม่มีน�้ำล้างขี้อยู่ ทุกวันนี้เพราะพวกนั้นเล่นเกมส์การเมืองกัน ท�ำให้เห็นว่าแล้ง หาน�้ำไม่ได้ ต้องไปซื้อน�้ำดิบจากเอกชน” เด็กหนุ่มวัยไม่เกิน สามสิบในชุดสีกากี หนึ่งในสมาชิกบนโต๊ะอีกคน ออกความเห็น

“...แม่ แล้วไอ้พวกขายน�้ำรถละสามสี่ร้อยไปเอาน�้ำ จากไหนมาขาย หากว่าไม่มีน�้ำดิบ ผีทั้งเพ เขาเลือกกันให้เข้าไป ท�ำงาน แต่ไม่เห็นท�ำอะไรกัน นี่ก็ไม่ได้ขายของมาหลายคืนแล้ว ไม่มีน�้ำใช้ ซื้อไม่ไหว ของก็ขายยาก ต้องมาซื้อน�้ำล้างของเก้งอีก หยุดเสียก่อนดีกว่า หลาบ...” อีกเสียงจากชายพุงพลุ้ยโต๊ะใน ริมขวาสุด โพล่งออกมาอย่างเหลืออด

ปรากฏการณ์ ป ระชาชนที่ ค ลั่ ง แค้ น จากความ เดือดร้อนสะสมเรื่องน�้ำประปาเทศบาล ภายใต้การบริหาร ของนายกเทศมนตรี นายเชาวน์วัศ เสนพงศ์ เมื่อช่วงปลาย เดือนพฤษภาคม 2559 บ่งบอกสิ่งใดให้กับสังคมแห่งบ้านนี้ เมืองนี้ นครศรีธรรมราช... ประการแรก...สะท้ อ นชั ด ถึ ง ความล้ ม เหลว อย่างสิ้นเชิง ในการบริหารจัดการสาธารณูปโภคพื้นฐานของ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ในยุคปัจจุบัน

ประการที่สอง สะท้อนให้เห็นได้ว่า ระบอบ ประชาธิปไตย การแสดงออกของพี่น้องประชาชน ต่อการ แก้ไขปัญหาหรือข้ออุปสรรคต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐาน อันก่อ ให้เกิดความเดือดร้อนและส่งผลต่อการด�ำรงอยู่ของชีวิต ต้องเป็นสิทธิที่ใครที่อ�ำนาจใดๆ จะมากระท�ำละเมิดมิได้

ประการถัดมา สะท้อนให้เห็นอีกครั้งว่า บ้านนี้ เมืองนี้ นครศรีธรรมราช แม้จะมีจริตทางการเมืองบางอย่าง ที่ซึ่งบางครั้งทฤษฎีทางการเมืองใดๆ ก็อาจมิสามารถอรรถาธิบายได้ แต่ความตื่นรู้ในทางการเมืองรวมทั้งอาการกระสัน อยากมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง กลับยังคงเป็น เสน่ห์ที่คงอยู่มิเสื่อมคลาย

3

“น�้ำร้อนกา”...เสียงตะโกนขอน�้ำร้อนหรือชาเฉย ดังมาจากโต๊ะด้านหน้า ชายสูงวัย อดีตเจ้าของร้านที่ปลดระวาง ตัวเองแล้วมอบมรดกร้านน�้ำชาแห่งนี้ให้ลูกเขยรับหน้าที่ต่อ เดินกะหย่องกะแหย่งไปรับกาน�้ำจากโต๊ะที่ร้องสั่ง มาเติม น�้ำร้อนให้ตามธรรมเนียม

“พรรคพวกที่กรุงเทพฯ โทร.มาวันก่อน แหลงกัน เรื่องพรรคคนบ้านเรา เห็นว่าเลือกตั้งเที่ยวหน้า นายหัวใหญ่ บ้านหัวหนน ขอจองเก้าอี้รองหัวหน้าพรรค จะได้มีบทบาทคุม ภาคใต้ เก้าอี้รองหัวหน้าพรรคตัวใหญ่ ต้องหางานใหญ่ท�ำ ไม่รู้ ว่าท�ำสนามกอล์ฟนี่เป็นหนึ่งในงานใหญ่หรือไม่” ชายวัยกลางคน ทรงลานบิน เอ่ยต่อ...

“สนามกอล์ฟกับน�้ำประปา พี่หลวง” ชายพุงพลุ้ย ซักอย่างสนใจ

“หลานผมมันเป็นเอ็นจีโอ

มันเกี่ยวอะไรกันละ

ไอ้อีดสะวอเต้อร์ หรือ อะไรตะวันออก เป็นบริษัทใหญ่ที่ท�ำ เรื่องน�้ำให้กับพวกนิคมอุตสาหกรรม บริษัทใหญ่ๆ โรงงานใหญ่ๆ ที่ภาคตะวันออก แถวชลบุรี ระยอง แล้วมันมาเกี่ยวอะไรกับน�้ำ ประปาเทศบาลบ้านเรา” เสียงคุ้นๆ จากโต๊ะข้างเคียงลอยมา แทรกบทสนทนาของโต๊ะในริมขวาสุด “สนามกอล์ฟ เป็นธุรกิจใหญ่ ต้องใหญ่จริงทุนหนา จริงถึงจะท�ำได้ ใครจะเดินบนเส้นทางสายการเมืองในนาม พรรคบ้านเรา ก็ต้องไปเป็นสมาชิก ใครจะลง ส.ส. ก็ต้อง เป็น สมาชิกสนามกอล์ฟ แล้วสนามกอล์ฟก็ต้องมีระบบน�้ำอย่างดี ลองคิดเล่นๆ ที่ตั้งหลายร้อยไร่ ท�ำบ่อขุดสระใหญ่ๆ เอาน�้ำมา ใช้ในสนามกอล์ฟ เลี้ยงหญ้าดูแลกรีน ที่เหลือก็ไว้ขาย แล้วจะขายใคร ถ้าไม่ขายพรรคพวกเอง หมากนี้กินอย่างน้อยสามต่อแล้วเข้าฮอร์ส อีกต่างหาก เติ้นว่าหม้ายละ!”...เด็กหนุ่มในชุดสีกากี แสดงทัศนะ

“ฝากมึงบอกไอ้จิตร ที่เข้าไปเยี่ยวในห้องน�้ำแล้วไม่ราด ให้ไปหาหมอเบาหวานได้แล้วนะ มดขึ้นกินเยี่ยวมันเต็มโถแล้ว” ชายสูงวัยอดีตเจ้าของร้าน เอ่ยปากกับลูกเขยพอได้ยิน หลังใช้ขัน ขนาดพอประมาณตักน�้ำจากกะละมังล้างแก้ว ไปช�ำระล้างห้องน�้ำ หลังร้าน....

เคยได้ยินมันบอกว่า

และอี ก หนึ่ ง ประการ...ที่ ก ลายเป็ น บริ บ ทใหม่ ที่ทั้งกลุ่มการเมือง หรือกระทั่งพรรคการเมือง จ�ำเป็นต้องหัน มาให้ความสนใจใส่ใจ และให้ความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ อิทธิพลของโลกออนไลน์และโซเชี่ยล มีเดีย

แม้ ไ ม่ อ าจปฏิ เ สธบารมี ข องสื่ อ กระแสหลั ก อย่างทีวีดิจิตอลหลากหลายช่อง ที่น�ำเสนอข้อมูลข่าวสาร อันเกี่ยวเนื่องกับปัญหาน�้ำประปาของเทศบาลนครนครศรี ธรรมราช รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ระดับชาติ หลากหัวหลายสี ที่ร่วมด้วยช่วยประโคมข่าวคราวความเดือดร้อนแสนสาหัส ของชาวเมืองนคร อันเกิดจากปัญหาน�้ำประปาของเทศบาล นครฯ

แต่อิทธิพลของโซเชี่ยล มีเดีย ทั้งเฟซบุ๊ค ไลน์กลุ่ม ไลน์ส่วนตัว กลับกลายเป็นแนวรบที่ดุเดือดเกินบรรยายต่อ ปัญหาน�้ำประปาเทศบาลฯ ที่เกิดขึ้น เป็นสนามประลองยุทธ ที่ยืดเยื้อยาวนาน และที่ส�ำคัญ...เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง ที่เพียบพร้อมทั้งภาพและเสียง

จนสุ ด ท้ า ยกลายเป็ น ที่ นั ด หมายรวมพล คนยิกนายกฯ เชาวน์วัศ ตามมาในที่สุด...

เกียรติยศและศักดิ์ศรีของท้องถิ่น เจ้าของ : สหกรณ์ผู้สื่อข่าวจังหวัด นครศรีธรรมราช ประธานที่ปรึกษา : ดร.เพ็ญพร เกตุชาติ คณะที่ปรึกษา : ดร.กณพ เกตุชาติ, ภาวินทร์ ณ พัทลุง มานะ นวลหวาน, อครพล หนูทวี, สุทัศน์ เดชเดโช, ฉัตรชัย อรุณสุวรรณกร, ด.ต.นิรภัฏ วัฒนประเสริฐกุล, ดร.ณัฐวุฒิ ภารพบ ผู้อ�ำนวยการ : สุรโรจน์ นวลมังสอ ที่ปรึกษากฎหมาย : สมชาย ฝั่งชลจิตร บรรณาธิการที่ปรึกษา : เลิศ อักษรนิตย์ สาธิต รักกมล บรรณาธิการอาวุโส : จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร บรรณาธิการบริหาร : สุรโรจน์ นวลมังสอ

บรรณาธิการ : ณรงค์ ธีระกุล หัวหน้ากองบรรณาธิการ : ไพฑูรย์ อินทศิลา กองบรรณาธิการ : กฤษณะ ทิวัตถ์สิริกุล จอม กิจวิบูลย์ ณัฏฐ์ ธีระกุล ณัฐชนา ฤทธิผล กนกลักษณ์ เส้งคง รูปเล่ม/จัดหน้า : เมาลิด จิตต์ประไพย หัวหน้าฝ่ายโฆษณา : จรินท์พร บุญชัก ฝ่ายโฆษณา : ปราณี กาญจนโรจน์ การเงิน/ธุรการ : ปราณี กาญจนโรจน์ แยกสี-พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์เม็ดทราย ถ.ราชด�ำเนิน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โทร. 0-7534-1475, 08-1892-5960 ส�ำนักงานหนังสือพิมพ์นครโพสต์ : เลขที่ 2/1 ซ.อัศวรักษ์ 1 ถ.ราชด�ำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร. 0-7532-0227 email : nakhonpost@hotmail.com


4

เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

นตฺถิ กมฺมสมํ พลํ แรงเสมอด้วยแรงกรรมไม่มี หนังสือพิมพ์นครโพสต์ “เกียรติยศและ ศักดิ์ศรีของท้องถิ่น” ฉบับนี้ประจ�ำเดือน พฤษภาคม 2559 การเมืองเรื่องรัฐธรรมนูญ เข้าสู่โหมดการรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงประชามติ และเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ มีชัย ฤชุพันธ์ อย่างเป็นทางการ หลังจากส�ำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)จัดงาน จากนี้ไป ครู ก., ครู ข., และ “คิกออฟ 7 สิงหา ประชามติร่วมใจ ประชาธิปไตยมั่นคง”... ครู ค. ต้องปฏิบัติหน้าที่น�ำเอาสาระส�ำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ไปท�ำความเข้าใจกับประชาชน บรรทัดนี้ ‘อัศวรักษ์’ ขอขยายความแนะน�ำ ครู ก. ข. ค. ให้ได้รับรู้รับทราบกัน! ครู ก. ครู ข. และ ครู ค. มาจากข้อบัญญัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ที่ก�ำหนดให้กรรมการยกร่าง รัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. สามารถมอบหมาย ภารกิจให้แก่บุคลากรภาครัฐ และเครือข่าย ประชาสังคม ให้เป็นฝ่ายสนับสนุนงาน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญได้ ท�ำให้เกิดเครือข่ายวิทยากรกระบวนการ ระดับจังหวัด คือ ครู ก. , วิทยากรฯ ระดับ ‘อัศวรักษ์’ อ�ำเภอ ครู ข. และวิทยากรฯ ระดับหมู่บ้าน คือ ครู ค. ตามมา... ต้องติดตาม ดูกันต่อไปว่า ครู ก. ระดับจังหวัด 380 คน ครู ข. ระดับอ�ำเภอ 878 อ�ำเภอ อ�ำเภอละ 10 คน รวม 8,780 คน และ ครู ค. ระดับหมู่บ้านและชุมชน 80,491 หมู่บ้านและชุมชน รวม 321,964 คน จะร่วมด้วยช่วยกันท�ำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ อ.มีชัย ฤชุพันธ์ ไปได้ไกลถึงฝั่งฝันหรือไม่อย่างไร หลัง 7 สิงหาคม 59 เป็นอันได้รู้กันแน่นอน... ข่าวคราวอีกด้าน กลุ่มไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ อ.มีชัย ยังคงเคลื่อนไหวกันอยู่ แม้จะดูไม่คึกคัก แต่เกมเสมือนเพิ่งเริ่มต้องดูกันยาวๆ ที่ ประกาศตัวออกมาแล้ว มีอาทิ พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามอ�ำนาจรัฐ, กลุ่มนปช., กลุ่มนักศึกษานัก กิจกรรมในนามกลุ่มประชาธิปไตยใหม่, และกลุ่มเอ็นจีโอสายสิทธิ น�ำโดย ไพโรจน์ พลเพชร และ กลับมาทีก่ ารเมืองท้องถิน่ ชาวคณะ ทีย่ นื ยันชัดเจน ไม่รบั ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนีแ้ น่นอน... บ้านเรา...มหากาพย์น�้ำประปาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช เชื้อไฟปะทุทะลุองศาเดือด กลาย เป็นเรื่องขับไล่นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช เชาวน์วัศ เสนพงศ์ ออกจากต�ำแหน่ง ส่วน จะบานปลายกลายเป็นไวรัสร้ายบ่อนท�ำลาย “ตระกูลเสนพงศ์” ให้พ้นจากท�ำเนียบการเมือง เมืองนครหรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป... ปรากฏการณ์จริงที่เกิดขึ้นแล้ว หลังเกิด “วิกฤติ ศรัทธานายกฯ เชาวน์วัศ” คือ การไขก๊อกจากต�ำแหน่งของรองนายกเทศมนตรี 2 ราย ในเวลา ไล่เลี่ยกัน จะด้วยเหตุผล “ผมยิกออก” หรือ “ลาออกไว้ล่วงหน้าเพราะครบวาระ 2 ปี” หรือไม่ก็ตาม แต่กูรูการเมืองหลายค่ายฟันธงตรงกันนี่คืออาการ “หมาตายเห็บกระโดดหนี!”... ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน มหากาพย์น�้ำประปาเทศบาลนครศรีธรรมราชเที่ยวนี้ นอกจากจะได้ยินได้ฟังเสียง นกหวีดกันพอหอมปากหอมคอ ยังเผยร่องรอยความไม่ลงตัวในบรรดาขุนพลพรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดนครศรีธรรมราชออกมาให้เห็นพอเป็นบุญตา มวยรุ่นใหญ่ ทั้ง สัมพันธ์ ทองสมัคร, ชินวรณ์ บุณยเกียรติ, วิทยา แก้วภราดัย, และเทพไท เสนพงศ์ ล้วนถูกมวลน�้ำประปา ลากลงมาเป็น ผู้เล่น พอเป็นสีสันให้คอการเมืองได้หายคิดถึง… ส่งท้ายฉบับนี้... “เกตุชาติ อารีนา” สนาม

ในนาคร

มอบน�้ำดื่ม : เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา ดร.โจ กณพ เกตุชาติ น�ำน�้ำดื่มจ�ำนวน 5,000 ขวด มามอบ ให้โรงครัวโรงพยาบาลมหาราช เพื่อช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติขาดแคลนน�้ำอุปโภคบริโภคในเขต เทศบาลนครนครศรีธรรมราช

ปล่อยขบวนรถบรรทุกน�้ำช่วย รพ.มหาราช : ที่ริมถนนสายนครศรีธรรมราช - ทุ่งสง บริเวณข้างห้างเซ็นทรัล พลาซ่า สาขานครศรีธรรมราช อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช นายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัด นครศรีธรรมราช พร้อมด้วยนายแพทย์ทรงเกียรติ เล็กตระกูล ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลมหาราช และผู้แทนจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันปล่อยขบวนรถบรรทุกน�้ำ จ�ำนวน 25 คัน จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อบรรทุกน�้ำ จากหัวจ่ายน�้ำชั่วคราวของการประปาส่วนภูมิภาค ไปส่งให้กับโรงพยาบาลมหาราช ที่ประสบปัญหาวิกฤติ ขาดแคลนน�้ำประปาอย่างต่อเนื่อง

ฟุตซอลได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวของนครศรีธรรมราช พร้อมเผยโฉมแล้ว “สุรโรจน์ นวลมังสอ” เจ้าของสนาม ฝากเรียนเชิญเพื่อนมิตร ร่วมพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ในวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2559 ณ โรงเรียนเกตุชาติศึกษา หัวสะพานชะเมา… แล้วพบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดี


เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

5

กรมศิลปากรเริม ่ บูรณะพระบรมธาตุเจดีย์

กรมศิลปากรเริ่มบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช โดยจะขูดลอกสีอะคริลิคออกทั้งหมด แล้วใช้สีปูนหมักและปูนต�ำแบบ โบราณทาทับ ไม่มีการทาสีใดๆ อีก แล้วปล่อยให้เปลี่ยนแปลงไปตาม สภาพตามธรรมชาติ วันนี้ (27 พ.ค.59) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมส�ำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช นายศิริพัฒ พัฒกุล รองผู้ว่าราชการ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการในการน�ำเสนอ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร(พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช) เพื่อขึ้นบัญชี เป็นมรดกโลก ประจ�ำปี 2559 โดยมีคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วม ประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยที่ประชุมได้รับทราบรายงานความก้าวหน้า ในการด�ำเนินงานของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ รวมทั้งความคืบหน้าในการ บูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ นายศิริพัฒ พัฒกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า คณะกรรมการกองทุนมรดกโลก ได้รายงานยอดเงินกองทุน พระบรมธาตุสู่มรดกโลกให้ทราบว่าปัจจุบันมียอดเงินทั้งสิ้น 4,971,974.79 บาท ด้านคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ ได้รายงานความคืบหน้าการจัดท�ำ เอกสาร Normination Dozzier ฉบับภาษาอังกฤษ คาดว่าจะแปลแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2559 แล้วน�ำมาปรับปรุงแก้ไข จากนั้นส่งไปให้ กรมศิลปากรทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2559 เพื่อส่งไปให้คณะกรรมการมรดกโลกตรวจสอบความสมบูรณ์ ถูกต้อง ในขั้นต้น จากนั้นจะมีการส่งกลับมาให้ปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง ส่วนคณะ กรรมการฝ่ายบริหารจัดการพื้นที่แหล่งมรดกโลก ในส่วน Core Zone ได้มี การปรับปรุงแก้ไขปัญหาน�้ำท่วมขังในวัดพระมหาธาตุฯ เช่น การขุดลอก

ท่อระบายน�้ำทั้งที่อยู่ภายในวัดและเชื่อมต่อกับท่อระบายน�้ำของเทศบาล พร้อมทั้งออกแบบระบบการระบายน�้ำในระยะยาวเพิ่มเติมด้วย ส�ำหรับ พื้นที่ Buffer Zone ทางเทศบาลนครฯเตรียมปรับปรุงผิวถนนราชด�ำเนิน ตั้งแต่แยกประตูไชยสิทธิ์ถึงแยกตลาดแขก คาดว่าจะสามารถเริ่มด�ำเนินการ ได้ในเดือนมิถุนายน 2559 เมื่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและ ทีโอที น�ำสาย ไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ลงใต้ดินเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของคณะกรรมการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์จะได้จัดท�ำเอกสารประชาสัมพันธ์การสร้างความเข้าใจ ในขั้นตอนการน�ำเสนอวัดพระมหาธาตุฯขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รวมทั้ง การซ่อมแซมบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นต่อไป รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ส�ำหรับประเด็น ส�ำคัญคือการบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ที่เป็นคราบคล้าย สนิมนั้น ได้รับการรายงานจากนายอาณัติ บ�ำรุงวงศ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนัก ศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช ว่าได้มีการตรวจวิเคราะห์ครั้งสุดท้าย แล้วว่า คราบสีคล้ายสนิมดังกล่าวมากกว่าร้อยละ 90 เกิดจากสีของตะกั่ว ที่หุ้มปลียอดซึ่งอยู่ภายในเพื่อรองรับแผ่นทองค�ำที่หุ้มอยู่ภายนอก เป็นการ ป้องกันไม่ให้แผ่นทองสึกกร่อน เมื่อมีการเสียดสีของพื้นผิวจากแรงลม เป็น ภูมิปัญญาโบราณ แต่เมื่อคราบดังกล่าวไหลลงมากระทบและท�ำปฏิกิริยา กับแสงอาทิตย์และสีอะคริลิคสีขาว ท�ำให้เห็นชัดเจนขึ้น ส�ำหรับการซ่อมแซม บูรณะนั้นได้มีการลงนามในสัญญาจ้างแล้ว ในวงเงิน 5 ล้านบาทเศษ ใน จ�ำนวนนี้เป็นค่านั่งร้าน 5 แสนบาท ระยะเวลาด�ำเนินการ 180 วัน ซึ่ง ขณะนี้ผู้รับจ้างก�ำลังติดตั้งนั่งร้านเพิ่มเติมเพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแรง จากนั่งร้านเดิม เพื่อให้สามารถเจ้าหน้าที่ขึ้นปฏิบัติงานได้คาดใช้เวลาติดตั้ง

ทุ่มงบ 20 ล้าน ซ่อมศาลาประดู่หก จังหวัดนครศรีธรรมราช ทุ่มงบเกือบ 20 ล้านบาท ปรับปรุง ศาลาประดู่หก ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรม ของจังหวัด วันนี้(26 พ.ค.59) นายถาวรวัฒน์ คงแก้ว ปลัดจังหวัดนครศรี ธรรมราช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ตรวจสอบอาคารและพื้นที่ บริเวณโดยรอบของศาลประดู่หก ซึ่งอยู่ติดกับจวนผู้ว่าราชการจังหวัด และอยู่ตรงข้ามสนามหน้าเมือง หลังมีสภาพเก่าช�ำรุดทรุดโทรมมากแล้ว เพื่อเตรียมปรับปรุงอาคารศาลาประดู่หกที่อยู่ด้านหลัง และภูมิทัศน์ โดยรอบให้สวยงาม เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นจุดนัดพบ จัดกิจกรรม ของเยาวชนต่อไป นายถาวรวัฒน์ คงแก้ว ปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ มอบหมายให้ตนเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศาลาประดูหก 3 หน่วยงาน มาพูดคุยหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาศาลาประดูหก และภูมิทัศน์ โดยรอบเพือ่ ให้สวยงาม ซึง่ ประกอบด้วย เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ที่ รับผิดชอบดูแลอาคารศาลาประดู่หก อาคารด้านหลัง ส่วน อบจ.นครศรี ธรรมราช เป็นผู้รับผิดชอบดูแลอาคารด้านหน้าที่ติดริมถนนราชด�ำเนิน

และจังหวัดโดยที่ท�ำการปกครองจังหวัด รับผิดชอบดูแลที่ดินราชพัสดุ ดังกล่าว โดยในเบื้องต้นเทศบาลนครฯ จะปรับปรุงอาคารศาลาประดูหก ที่ช�ำรุดให้อยู่ในสภาพเดิมก่อน หลังจากนั้นจะมีการปรับปรุงศาลา ประดู่หกใหม่ พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบทั้งหมด เพื่อให้ดูสวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญของจังหวัด และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้าน ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช และพร้อมจัด แสดงประวัติความเป็นมาของศาลาประดู่หกตั้งแต่สมัยอดีตถึงปัจจุบัน

1 เดือน โดยในขั้นแรกจะมีการขูดลอกสีอะคริลิคสีขาวที่ทาองค์พระบรมธาตุ ออกทั้งหมดตั้งแต่ปล้องไฉนลงมา หากพื้นผิวส่วนใดที่ช�ำรุด หมดสภาพก็จะ ซ่อมแซม โดยใช้ปูนหมักและปูนต�ำแบบโบราณ ซึ่งจะไม่ใช้สีอื่นๆ ใดมาทา ทับอีก จะปล่อยให้สีองค์พระบรมธาตุเปลี่ยนไปตามธรรมชาติเหมือนใน อดีตที่ผ่านมา ซึ่งใช้เวลา 2-3 ปี สีจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีด�ำ นอกจากนี้ ยังมีการบูรณะกลีบบัวคว�่ำบัวหงายด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวต่อว่า ส�ำหรับ การบูรณะปลียอดองค์พระบรมธาตุนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้ให้ข้อ เสนอแนะต่อกรมศิลปากรว่า เห็นควรให้มีการบูรณะใหม่ทั้งหมดด้วย แม้ว่า จะต้องใช้งบประมาณจ�ำนวนมากและใช้เวลานานก็ตาม เพื่อให้มีสภาพ สมบูรณ์และงดงามมากที่สุด นายอาณัติ บ�ำรุงวงศ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักศิลปากรที่ 14 นครศรี ธรรมราช กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางส�ำนักศิลปากรที่ 14 จะได้น�ำข้อเสนอแนะ ของคณะกรรมการฯ ในการบูรณะปลียอดองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เสนอไป ยังกรมศิลปากรต่อไป อย่างไรก็ตามในระหว่างที่ก�ำลังมีการติดตั้งนั่งร้าน อยู่นั้น ทางส�ำนักศิลปากรที่ 14 ได้ด�ำเนินการติดตั้งกล้องวงจรปิด และ สร้างห้องคลังเก็บทรัพย์สินมีค่าที่วิหารธรรมศาลาควบคู่กันไปด้วย

รวมทั้งให้นักเรียน นักศึกษาได้ใช้สถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ และเป็นจุดนัดพบ ของผู้ปกครองเนื่องจากอยู่ใกล้โรงเรียน ซึ่งขณะนี้การออกแบบต่างๆ ใกล้ เสร็จสมบูรณ์ โดยตัวอาคารหลักของศาลาประดู่หก ยังคงเหมือนกับแบบ เดิมที่อยู่ในปัจจุบัน แต่จะมีการยกระดับให้สูงขึ้นเพื่อให้ความโดดเด่น และ มีศาลาบริวารอีก 4 หลัง พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบให้ดูสวยงาม โดย ใช้งบประมาณเกือบ 20 ล้านบาท

ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียง ประชามติร่างรัฐธรรมนูญนอกเขตจังหวัด ส�ำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดให้ผู้มีสิทธิออกเสียง ที่ต้องการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญนอกเขตจังหวัด ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 – 30 มิถุนายน 2559 นายวีระ ยี่แพร ผู้อ�ำนวยการการเลือกตั้งประจ�ำจังหวัดนครศรี ธรรมราช เปิดเผยว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้เปิดให้ ผู้มีสิทธิออกเสียงที่ต้องการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญนอก เขตจังหวัด ทั้งนี้ ผู้มสี ิทธิทอี่ ยูน่ อกเขตออกเสียงทีต่ นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตออกเสียงเป็นเวลาน้อยกว่า 90 วัน (เข้า มาอยู่หลังวันที่ 10 พฤษภาคม 2559) สามารถออกเสียงได้โดยต้อง ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด ซึง่ สามารถลงทะเบียนขอใช้ สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด ได้ 3 ช่องทาง คือ 1.ยื่นด้วยตนเอง กรุงเทพมหานคร ยื่นค�ำขอได้ที่ส�ำนักงานเขต ต่างจังหวัดยื่นค�ำขอที่ส�ำนักทะเบียนอ�ำเภอหรือส�ำนักทะเบียนท้องถิ่น

ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 – 7 กรกฎาคม 2559 ในวันและเวลา ราชการ ทั้งนี้ สามารถยื่นค�ำขอเป็นกลุ่มได้ โดยการมอบหมายผู้มีสิทธิอื่น ยื่นแทน เอกสาร หลักฐาน : - แบบ อ.ส.16 (รายบุคคล) หรือ แบบ อ.ส.16/ก (คณะบุคคล) หรือท�ำเป็นหนังสือฯ - ส�ำเนาบัตรประจ�ำตัวประชาชน พร้อมรับรองส�ำเนา หรือ - ส�ำเนาบัตรที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้และมีเลขประจ�ำ ตัวประชาชน พร้อมรับรองส�ำเนา 2. ยื่นทางไปรษณีย์ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 – 30 มิถุนายน 2559 โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นส�ำคัญ เอกสาร หลักฐาน : - แบบ อ.ส.16 (รายบุคคล) หรือ แบบ อ.ส.16/ก (คณะ บุคคล) หรือท�ำเป็นหนังสือฯ - ส�ำเนาบัตรประจ�ำตัวประชาชน พร้อมรับรองส�ำเนา หรือ

- ส�ำเนาบัตรที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้และมีเลขประจ�ำ ตัวประชาชน พร้อมรับรองส�ำเนา 3. ยื่นผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ http://election. dopa.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 – 30 มิถุนายน 2559 ตลอด 24 ชั่วโมง (ระบบปิดอัตโนมัติ เวลา 24.00 น. วันที่ 30 มิถุนายน 2559) เอกสาร หลักฐาน : - ไม่ต้องแนบเอกสาร เพียงแค่กรอกข้อมูลเลขประจ�ำตัวประชาชน หมายเลขหลังบัตรประจ�ำตัวประชาชน เลขรหัสประจ�ำบ้าน ข้อมูลส่วนบุคคล และเลื อ กเขตจั ง หวั ด และสถานที่ ที่ ป ระสงค์ จ ะใช้ สิ ท ธิ อ อกเสี ย ง นอกเขตจังหวัด ทั้งนี้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส�ำนักงาน กกต.ประจ�ำ จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร. 0 7535 5300


6

เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

สงครามน�้ำประปา

กับสัญญาทาส 30 ปี ใน

กาลครั้งก่อนนับย้อนถอยหลัง ยุคที่เทวดายังมีอิทธิพลต่อ ความเชื่อ ความคิด วิถีชีวิตสังคมไทยอยู่มาก เวลาจะท�ำอะไร ส�ำคัญก็จะอันเชิญสิ่งที่เชื่อมโยงกับความเชื่อ เพื่อน�ำไปสู่ความส�ำเร็จและ ผ่านอุปสรรคต่างๆ ได้โดยง่าย เราเคยได้ยินตั้งแต่เด็กๆ ว่า มีพิธีกรรมการ ขอฝนส�ำหรับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพี่น้องอีสาน ที่มีประเพณี ที่เรียกว่า “แห่นางแมว” ซึ่งก็จะเชื่อมโยงกับเทวดาผู้ประทานฝนมาให้วิถี ชีวิตกสิกรรมท�ำเกษตร พืชที่ต้องใช้น�้ำเป็นหลักและต้องใช้มากด้วย ส�ำหรับ บ้านเราภาคใต้(นคร) ถิ่นฐานที่ตั้งชัยภูมิดีเยี่ยม คือ หลังติดภูเขา หน้าติด ทะเล ซึ่งสภาพดินฟ้าอากาศจะมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ดินธาตุเหมาะแก่การ ท�ำการเกษตรปลูกพืช ผู้คนนครประกอบอาชีพชาวสวนชาวไร่ ได้ผลผลิต ค่อนข้างดี ถึงแม้ราคาผลิตผลการเกษตรจะไม่สูงนักก็พออยู่ได้ ไม่ถึงกับ อดยาก ที่น่าสนใจคือ เรามีของกินสมบูรณ์ น�้ำท่าบริบูรณ์ นาที่ลุ่ม... ไปที่ไหน ในบ้านเราไม่อด เหล่านี้อาจเป็น เหตุผลให้ คนใต้ ไม่ค่อยว่องไว จากชีวิต ที่ไม่ต้องดิ้นรนก็มีกิน ความอดทนแบบคนอีสาน สู้งานจึงเปลี่ยนเป็นสู้ทาง ความคิดวาทกรรมแทน วันนี้การต่อสู้ทางความคิดของคนบ้านเรา มีพัฒนาการสอดรับ กับยุคสมัย ณ วันที่เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย ส่งผลให้ข้อมูลข่าวสาร สื่อ ถึงกลุ่มเป็าหมายรวดเร็วทันทีที่นิ้วสัมผัส จนบางครั้งพลาดทั้งต้นทางถึง ปลายทาง ข้อมูลมากมายที่ถูกส่ง ก็ดูเหมือนต้องใช้สติใคร่ครวญข้อเท็จจริง และต้องหนักแน่นตามหลักพระธรรมค�ำสอนยิ่งขึ้นด้วย กระแสคลื่นการ น�ำเสนอ ถูกป้อนเข้าสู่ระบบมากมาย คลื่นข้อมูลลูกแรกเข้ามาไม่ทันครบ วงจร ไม่ทันสงบลูกที่สองสาม หรือสี่ก็อาจ จะถูกปล่อยมาเป็นระยะ โดยมีนัยส�ำคัญ ซึ่งหากกล่าวถึงช่วงจังหวะเวลานี้ ข่าวสาร ที่ ไ ด้ รั บ ความสนใจในโลกโซเชี่ ย ลมี เ ดี ย เฟสบุ๊ค, ไลน์, เว็ปไซด์ข่าวส�ำนักต่างๆ ต่างให้ความสนใจกับเรื่อง “น�้ำ” มากถึง มากที่สุด รอบเขตเทศบาล อยากออกมา สนับสนุนการสื่อสารกับสงครามน�้ำ(ประปา) โดยถือโอกาสเราท�ำความเข้าใจกับประปา นคร ในส่วนที่บริหารจัดการของเทศบาล นครนครศรีธรรมราช ซึ่งเทศบาลนคร มีการบริหารจัดการน�้ำประปาของตนเอง

ในรูปแบบเทศพาณิชย์ ขอขยายความค�ำว่า “เทศพาณิชย์” หมายความถึง การค้าขายของประเทศของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น เทศบาลนครมีประปาเป็นของตนเองมายาวนาน ตัง้ แต่จำ� ความ ได้ ท่อส่งน�้ำแต่เดิมครั้งตั้งหน่วยบริการส่งน�้ำถึงบ้าน ใช้ท่อเหล็ก ในยุคที่ ผู้คนบ้านเมืองยังไม่นิยมประปามากนัก เพราะแทบทุกบ้าน หรือกลุ่มบ้าน สามหลังห้าหลัง จะมีบ่อน�้ำตื้นที่ขุดไว้ เป็นน�้ำผิวดินใสสะอาด ไม่มีรส (จืด สนิท) ด้วยสภาพชุมชนในเขตเทศบาลที่บ้านเรือนตั้งทอดยาวตามแนวเนิน สันทรายหากทรายแก้วเดิม น�้ำผิวดินจึงค่อน ข้างใสสะอาด ดื่มใช้ได้ดี พอควร ส่วนน�้ำดื่มส่วนใหญ่จะใช้วิธีการรองน�้ำฝน อย่างเช่นที่กล่าวมาแล้ว ว่านครมีฝนตกลงมาให้ตลอดไม่ทิ้งช่วงยาว น�้ำฝนดื่มได้มลพิษในอากาศ น้อย ฝนห่าแรกอาจจะแค่ปิดฝาโอ่งตุ่มไว้ ห่าหลังๆ ก็รับกันเต็มที่เลย ดื่มกิน หุงข้าว ต้มปลาตามวิถี อยากจะบอกว่าน�้ำฝนดื่มแล้วรู้สึกอิ่มสดชื่น(มีน�้ำหนัก) หากเพียงแต่ปัจจุบัน ด้วยเหตุผลข้อ เท็จจริงเรื่องมลพิษในอากาศ ตลอดจน เหตุผลทางการค้า สร้างงานวิจัยออกมารองรับสร้างค่านิยม กระแสของ แฟชั่นสุขภาพ ส่งผลให้น�้ำฝนกาลเป็นสิ่งอันตรายโดยปริยาย ทั้งที่หากมอง กลับมาที่บ้านเรา กฎหมายผังเมืองที่ไม่เอื้ออ�ำนวยให้อนุญาตตั้งโรงงาน เขตอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมเคมีต่างๆ ที่ส่งผลต่ออากาศเป็นพิษ ไม่มี อีกทั้งหากจัดการดีๆ ในส่วนของการจัดเก็บน�้ำฝน เราก็จะมีสิ่งที่เรียก ว่า เทวดาทรงประทานมาให้ไว้แล้วตามธรรมชาติ ซึ่งอย่างไรก็ฝ่ากระแส ความเชื่อคน(ผู้บริโภค)ได้ กลับมาที่เรื่อง “น�้ำ” อีกครั้ง กับความส�ำคัญที่ทุกคนไม่ปฎิเสธ

ถึงความจ�ำเป็นซึ่งชีวิตประจ�ำวันตั้งก่อนตื่น จนถึงหลังหลับนอน ทั้งดื่มกิน (กรอง) บริโภคอุปโภคในครัวเรือน ใช้ส�ำหรับกิจการธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่ โก้งโค้งค้าขาย ไปจนถึงพันล้าน น�้ำมีส่วนเกี่ยวข้องอย่าส�ำคัญยิ่ง และเมื่อพูดเรื่องน�้ำในเมืองวันนี้ หาใช่น�้ำคลอง น�้ำบาดาล น�้ำบ่อไม่ แต่พระเอกตามท้องเรื่องวันนี้ คือ น�้ำประปา หัวข้อถกเถียงใน โลกโซเชี่ยลมีเดียหรือต่อยอดส่งต่อ ย่อยสลายข้อมูลกันตามร้านน�้ำชาก็ตาม เรื่อง สัญญาทาสน�้ำ 30 ปี ที่ผู้บริหารชุดปัจจุบันได้สัญญาตอนหาเสียง ไว้ต่อหน้าประชาชน ว่าน�้ำประปาจะดื่มกินได้ มาวันนี้สัญญาเหล่านั้น ยังคงอยู่ แต่ความหมายอาจเปลี่ยนไปเป็นสัญญาซื้อน�้ำจากภาคเอกชน ที่ส่งผลโดยตรงอย่างแรก คือ ราคาน�้ำที่ผู้ใช้น�้ำในเขตเทศบาล หรือรอบนอก พื้นที่ติดกัน หากจะขยายความจากการตอบโต้จากภาคประชาชน สื่อ กระแสหลัก สื่อท้องถิ่น รวมถึงสื่อธรรมชาติ หรือที่ประชาชนสื่อสารกันเอง วันนี้ข้อมูลทั้งระบบดูเหมือนจะมีเท่าๆ กัน นั่นแปลความว่า การออกมา ตอบโต้ หรือข้อสงสัย ท�ำความเข้าใจ เพื่อชี้แจงให้เป็นไปในทิศทางตน ต้องการให้เกิด คงจะไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะหากขัดแย้งกับสถานการณ์ ความจริงวันนี้ ซึ่งผู้ปกครองผู้บริหารคงต้องคิดให้จงหนักถึงผลที่จะตามมา ประเด็ น ส� ำ คั ญ หนึ่ ง ที่ เ กิ ด ความขั ด แย้ ง สร้ า งความเสี ย หาย อย่างมากกับประชาชน ความรู้สึกถึงการดึงสถานการณ์ขาดแคลนน�้ำช่วง หน้าแล้งมาเป็นเหตุแห่งวิธีการที่จะแก้ปัญหา น�ำไปสู่ทางออก โดยการเสนอ ญัตติเข้าสู่สภาเทศบาลนคร เพื่อขออนุมัติให้ท�ำสัญญาซื้อขายน�้ำประปา จากเอกชน ทั้งที่หากบริหารจัดการหาแหล่งน�้ำด้วยตนเองไม่ได้จริง อย่าง ที่ชาวบ้านเขาว่า แบบจนปัญญาสุดๆ แล้วยังมีทางเลือกอื่น อาทิ การประปา ภูมิภาค ที่ปลายระบบท่อส่งน�้ำอยู่แค่เอื้อม(หัวถนน) ต้องการที่ขาดอยู่กี่คิว ก็ซื้อเท่านั้น สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามข้อเท็จจริง ส�ำหรับช่วงเวลาที่พร่องน�้ำดิบ คือ ช่วงหน้าร้อน ฝนขาดช่วงเพียงไม่กี่สัปดาห์ พูดให้ฟังดูง่ายขึ้นว่า น�้ำประปา ขาดหยุดไหลจริงๆ แค่เพียง 1-2 เดือน ที่ขาดน�้ำดิบผลิตไม่ได้ จะซื้อน�้ำ เอกชนท�ำไมทั้งปี แล้วต้องซื้อตั้ง 30 ปี ส่งผลให้ชาวบ้านพูดกันเป็น วงกว้างถึงงานนี้ว่า ใครได้อะไร ใครเสียอะไร จากโครงการที่มีประโยชน์ ทับซ้อน(Preconcept) หรือเปล่า เลยเถิดไปจนถึงกล่าวกันว่า อันนี้จะเป็นลักษณะคล้ายกับ ทุจริตเชิงนโยบายหรือไม่ คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และหากเป็น เช่นนั้นจริงๆ ประชาชนคงต้อง ออกมาเรียกร้องสิทธิ์ความถูกต้อง ในฐานะ ผู้ได้รับผลกระทบกันแน่นอน.


เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

อาชีวะเมืองคอนปิด1สัปดาห์ ขาดน�้ำถึงขั้นนศ.ทะเลาะแย่ง

ผู ้ สื่ อ ข่ า วรายงานสถานการณ์ ก ารขาดน�้ ำ อุ ป โภค บริโภคของจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งโรงพยาบาล บ้านเรือนประชาชน และสถานศึกษา ล่าสุด วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ได้ประกาศหยุดการเรียน การสอนเป็นเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 23 – 27 พ.ค.59 เนื่องจาก ประสบปัญหาขาดแคลนน�้ำอย่างหนัก นักเรียน นักศึกษา รวมทั้ง ครู บุคลากรทางการศึกษาจ�ำนวนกว่า 4,000 คน ได้รับผล กระทบเรื่องน�้ำใช้ที่มีไม่เพียงพอส่งผลกระทบให้นักเรียนหลายคน ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินปัสสาวะหลายคน นายสุรพล โชติธรรมโม ผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยอาชีว ศึกษานครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า สถานการณ์ภัยแล้ง ขาดแคลน น�้ำ ส่งผลกระทบต่อวิทยาลัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากระบบน�้ำ ประปาของเทศบาลไม่สามารถจ่ายน�้ำให้วิทยาลัยได้ตามปกติ ท�ำให้ปริมาณไม่มีเพียงพอกับความต้องการของนักเรียน วิทยาลัย มีทเี่ ก็บน�ำ้ 30,000 ลิตร ซึง่ ได้รบั การช่วยเหลือเรือ่ งน�ำ้ จากหน่วยงาน ราชการต่างๆ เช่น วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช อบจ. นครศรีธรรมราช แต่ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจาก วิทยาลัยมีนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรวิทยาลัยที่มีกว่า 4,000 คน ที่ผ่านมาเป็นระยะเวลากว่า 1 เดือนแล้วที่วิทยาลัยพยายาม หาทางออก เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน�้ำใช้ในวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาทางวิทยาลัยจึงประกาศปิดการเรียน การสอน ตั้งแต่วันที่ 23 – 27 พ.ค.59 เพื่อหาทางแก้ปัญหา เรื่องน�้ำใช้ และเพื่อสุขภาพที่ดีนักเรียน นักศึกษา เพราะล่าสุด มีนักเรียน นักศึกษา โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษาผู้หญิง ป่วย เป็นโรคระบบทางเดินปัสสาวะหลายคน หากยังเปิดเรียน ตามปกติจะเกิดผลกระทบรุนแรงมากขึ้นอย่างแน่นอน” ด้านนายอมรเทพ ทิพย์รัตน์ นักศึกษาระดับ ปวส.2 สาขาวิชาคหกรรม กล่าวว่า ตอนนี้ได้รับความเดือดร้อน เรื่องน�้ำใช้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเวลาปัสสาวะอุจจาระ น�้ำในห้องน�้ำไม่มีเลย ก๊อกน�้ำไม่ไหล ช่วงเช้านักการฯ ทาง วิทยาลัย น�ำถังน�้ำใสน�้ำวางภายในห้องน�้ำ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากมีนักเรียนมาก ต่างก็แย่งเข้าห้องน�้ำ น�้ำในถังที่วิทยาลัย เตรียมไว้หมดภายในไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง ตอนนี้นักเรียนนักศึกษา ทะเลาะวิวาทแย่งน�้ำกันแล้ว ใครเข้าห้องน�้ำหลังก็ไม่มีใช้ ในขณะที่นักเรียน นักศึกษา ที่มีเงินก็จะซื้อน�้ำขวดมาใช้ ส่วนตัวน�ำไปใช้ในเวลาเข้าห้องน�้ำ แต่หลายคนต้องทนอั้น ปัสสาวะ อุจจาระ ไว้และกลับไปปัสสาวะ อุจจาระที่บ้านหรือ หอพัก จนเพื่อนๆ หลายคนโดยเฉพาะผู้หญิงป่วยเป็นโรค ท่อปัสสาวะอักเสบ จนผู้บริหารต้องแก้ปัญหาโดยการสั่งปิด โรงเรียน 1 อาทิตย์ดังกล่าว.

7

ปล่อยคาราวานรถน�้ำช่วยเหลือประชาชน : ที่บริเวณลานจอดรถหน้า อบจ.นครศรีธรรมราช นายสนั่น ศิลารัตน์ ปลัด อบจ.ปฏิบัติหน้าที่นายก อบจ.นครศรีธรรมราช และตัวแทนจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันปล่อยหน่วยบริการน�้ำด่วน(water express service) ซึ่งเป็นหน่วยพิเศษ แก้ปัญหาภัยแล้งของ อบจ.นครศรีธรรมราช โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมด�ำเนินการ อาทิ มทบ.41 กองทัพภาคที่ 4 การประปาส่วนภูมิภาค สาขานครศรีธรรมราช สมาคมสื่อมวลชนนครศรีธรรมราช ส.อบจ.นศ.เขต อ.เมือง และเครือข่ายน�้ำบาดาลปากนคร เพื่อแจกจ่ายช่วยเหลือประชาชนที่ก�ำลัง ประสบภัยแล้งขาดแคลนน�้ำอุปโภคบริโภค ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช

‘ดร.โจ’ เปิดแนวคิดแก้วิกฤติประปา สถานการณ์ภาวะวิกฤติน�้ำประปาในเขต เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้ทวีความรุนแรงขึ้น อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 2 - 3 เดือน ที่ผ่านมา ประชาชนต่างได้รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง รวมถึง หน่วยงานราชการ วัด โรงเรียน และห้างร้านธุรกิจต่างๆ ก็ล้วนแต่ได้รับผลกระทบเช่นกัน ท่ามกลางวิกฤติที่หนักหนาสาหัส กลับมี การพยายามน�ำเสนอโครงการจัดซื้อน�้ำประปาของเอกชน เป็นระยะเวลา 30 ปี มูลค่า 4,900 ล้านบาท เข้าสู่ สภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช แทนการแก้ปัญหา เฉพาะหน้าอย่างจริงจัง ดร.กณพ เกตุชาติ ผู้บริหารบริษัทเกษตร ลุ่มน�้ำ จ�ำกัด ได้โพสต์เฟสต์บุ๊คแสดงความคิดเห็นถึง สถานการณ์ ดั ง กล่ า วและโครงการจั ด ซื้ อ น�้ ำ ประปา จากเอกชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราชไว้ด้วย โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม ดร.กณพ เกตุชาติ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ก “ดร.โจ ทีมสมนึก” “วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภา / เยี่ยมซอยศรีธรรมโศกและ ป้อมเพชร เดือดร้อนเรื่องน�้ำกันทุกพื้นที่ เมื่อตอนเช้า ที่ร้านน�้ำชาสะพานยาว ได้ถกแถลงกันเรื่องเทศบาล

จะให้เอกชนเข้าท�ำกิจการประปา โดยมีสัญญาถึง 30 ปี ความเห็นผม คือ ควรเปิดประชาพิจารณ์อย่างละเอียดและกว้างขวาง ให้ ประชาชนได้ตัดสินใจอนาคตของเมืองเพราะเป็นเรื่องใหญ่และ ผูกมัดถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน” จากนั้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม หลังจาก ดร.กณพ ได้ ลงพื้นที่แจกน�้ำดื่มสะอาดเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้ แก่ชาวบ้านแล้ว ก็ได้น�ำเสนอแนวคิดพร้อมข้อมูลผ่านเฟสบุ๊กอย่าง น่าสนใจอีกครั้งว่า “วันที่ 10 พฤษภา /เอาน�้ำมาเยี่ยมชุมชนพะเนียด หยอกกันให้คลายเครียดยามน�้ำไม่ไหล ชาวบ้านยังสนใจเรื่องเทศบาล ให้เอกชนมาท�ำประปา 30 ปี เรื่องของประปาโดยย่อคือ คนในเขต เทศบาลมีประมาณหนึ่งแสนคน ใช้น�้ำวันละ 50,000 คิว ปกติ เทศบาลผลิ ต ได้ เ พี ย งพอกั บ ความต้ อ งการใช้ น้� ำ ของคนในเขต เทศบาล ในช่วงหน้าแล้งเทศบาลต้องแสดงฝีมือบริหารจัดการ น�้ำดิบที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดให้พอกับความต้องการใช้น�้ำ” “คราวนี้แทนที่จะแก้ปัญหา กลับจะให้เอกชนเข้ามาแก้ โดยจะซื้อน�้ำจากเอกชนทุกวันเป็นเวลา 30 ปี และอธิบายว่าพื้นที่ให้ บริการประปาคือเขตเทศบาลและรวมถึงพื้นที่ต�ำบลรอบนอกทั้งหมด มีคนในเขตและนอกเขตรวม 217,041 คน จึงต้องหาน�้ำประปามา เพิ่มอีก โดยต้องซื้อจากเอกชนวันละ 48,000 คิว ราคาคิวละ 9.42 บาท คิดเป็นเงิน 4,900 ล้านบาท” “ผมสงสัยว่าต�ำบลรอบนอกเขตเทศบาลเขาจะซื้อน�้ำ ประปาจากเทศบาลอีกหรือไม่ เพราะตอนนี้เทศบาลปากพูนและ เทศบาลท่าแพมีประปาและอ่างเก็บน�้ำเป็นของตัวเองแล้ว ต�ำบล ท่าเรือมีประปาหมู่บ้าน เทศบาลนาสารมีการประปาส่วนภูมิภาค ห้างเซ็นทรัลที่สร้างใหม่ก็ใช้การประปาส่วนภูมิภาค ตัวเลขประชากร ที่บวกเพิ่มขึ้นจากนอกเขตกว่าหนึ่งแสนคนต้องใช้น�้ำจากเทศบาล อีกหรือ น�้ำที่ซื้อมาวันละ 48,000 คิวจะไปขายใคร” “อากาศร้อน น�้ำไม่ไหล แล้วมีเรื่องประปาเอกชนโผล่มา อีก ท�ำให้ชาวบ้านส่งเสียงกันอื้ออึง ตอนนี้วาระปกติสี่ปีครบแล้ว จึง เป็นเทศบาลรักษาการ ดูจะไม่เหมาะที่จะเอาโครงการสัญญา 30 ปี เข้าผูกมัดกับเอกชนยาวนานแบบนี้” และในวันที่ 12 พฤษภาคม ดร.กณพ ได้ลงพื้นที่ต�ำบล มะม่วงสองต้น และได้ข้อมูลว่า “เย็นวันที่12พฤษภา/เยี่ยมประปา มะม่วงสองต้น อยู่ติดเขตเทศบาลลงไปทางสี่แยกประตูชัย อบต.ท�ำฝายและผลิตประปาเอง ประปาตามบ้านไหลดี จะมีปัญหา น�้ำไม่ไหลเฉพาะบ้านรุ่นเก่าที่ยังใช้ประปาของเทศบาลอยู่ ขอบคุณ ท่านนายกโมทย์และท่าน สจ.แอ๊ว ได้กรุณาให้ความเห็นเรื่อง ประปาอย่างคนรู้จริง ปัจจุบันต�ำบลรอบเทศบาลพัฒนาประปา ขึ้นเพื่อใช้เองและท�ำได้ดีด้วย เทศบาลเมืองปากพูนเคยใช้ น�้ ำ ประปาเทศบาลแต่ ต อนนี้ ผ ลิ ต น�้ ำ ประปาได้ เ องและขน ใส่รถมาช่วยในเขตเทศบาลนครด้วย”

แจกน�้ำดื่มช่วยบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน : เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.โจ กณพ เกตุชาติ พร้อมด้วย สมาชิกทีมสมนึก ได้ร่วมกันน�ำน�้ำดื่มสะอาดแจกจ่ายให้แก่พี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤติน�้ำประปา

เสวนาวิกฤติประปา : สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับสมาคม สื่อมวลชน สมาคมผู้สื่อข่าวจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดเวทีเสวนาประชาชน ประเด็น “วิกฤติประปา หาทางแก้อย่างไร” ที่ศาลาประดู่หก เพื่อระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาน�้ำประปาเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช โดยมีประชาชนแห่เดินทางมาร่วมแสดงความคิดเห็นกว่า 150 คน

วัดร่วมใจช่วยภัยแล้ง : พระปลัดบุญฤทธิ์ วิชฺชาธโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท้าวโคตร เปิดเผยว่า ทางวัดท้าวโคตรได้จัดโครงการ “วัดร่วมใจช่วยภัยแล้ง” เพื่อช่วยชาวบ้านที่ประสบปัญหาไม่มีน�้ำ อุปโภคบริโภค ญาติโยมประชาชนท่านใดในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ไม่มีน�้ำใช้ สามารถน�ำรถ และถังน�้ำ มาสูบน�้ำบ่อที่วัดได้ตลอดเวลา ไม่มีค่าใช้จ่ายใดใดทั้งสิ้น” ท�ำให้มีประชาชนทยอยมา เอาน�้ำจากวัดท้าวโคตรอย่างต่อเนื่อง


8

เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

ตามรอยมหากาพย์วิกฤติประปา สู่วิกฤติศรัทธาผู้บริหารเทศบาลฯ

โดย...กองบรรณาธิการ

ปัญหาวิกฤตขาดน�้ำประปาของผู้ใช้น�้ำของ ส�ำนักการประปาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช เป็น มาอย่างต่อเนือ่ งตลอดกว่า 2 เดือนที่ผ่านมา ท่าม กลางความสงสัยของหลายฝ่ายในหลากหลายประเด็น ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเรือ่ งของสภาพปัญหาน�้ำดิบ เรื่องของ ความโปร่ ง ใสของโปรเจคผู ก ขาดซื้ อ น�้ ำ ประปาจาก เอกชน 30 ปี ในวงเงินงบประมาณ 5 พันล้านบาท จุดชนวนวิกฤต ดันโปรเจคยักษ์เข้าสภาฯ อีกครั้ง ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมาว่า นายเชาวน์วัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช ได้น�ำญัตติ การขอความเห็นชอบให้เอกชนเข้ามาด�ำเนินการพัฒนาระบบประปา และ จ�ำหน่ายน�้ำประปาให้เทศบาลนครนครศรีธรรมราช และขอความเห็นชอบ ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายเกินกว่า 1 ปีงบประมาณ โดยในญัตตินี้เคยถูกเสนอไปแล้วเมื่อช่วงปี 58 แต่ไม่ประสบ ความส�ำเร็จ ต้องตกไป โดยได้น�ำกลับมาใหม่อีกครั้งในสมัยนี้ โดยมีสาระ ส�ำคัญคือ ให้เอกชนเข้ามาผลิตประปาส่งให้แก่เทศบาลตลอดระยะเวลา 30 ปี โดยเฉลี่ยเทศบาลจะต้องซื้อน�้ำจากเอกชน วันละ 48,000 ลบ.ม. ในราคาอัตราก้าวหน้าตลอด 30 ปี เฉลี่ยรวมมูลค่าที่เทศบาลจะต้องช�ำระ ค่าน�้ำให้แก่บริษัทเอกชนราว 5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ตกอยู่กับ เอกชนตลอดทั้ง 30 ปี โดยญัตตินี้ได้ถูกบรรจุเข้าเป็นวาระที่ 6 วาระ 6.7 ใน การประชุมสภาสมัยสามัญ สมัยที่ 2 ประจ�ำปี 2559 ในวันที่ 18 พ.ค.59 โดยหลังจากที่ญัตตินี้ได้ถูกเผยแพร่ออกมาในหลายช่องทาง โดยที่ประชาชนไม่เคยรับรู้มาก่อน และขาดการชี้แจงท�ำความเข้าใจ หรือ การเปิดรับฟังความคิดเห็นการให้สัมปทานแก่เอกชนผูกขาดน�้ำถึง 30 ปี กระแสความไม่พอใจเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ทุกฝ่ายต่างพุ่งเป้าไปที่การ ปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ว่าจะมีความ คิดเห็นอย่างไร และจะตัดสินใจอย่างไรในช่วงของวาระพิเศษของการด�ำรง ต� ำ แหน่ ง ส� ำ หรั บ โครงการผู ก ขาดนี้ ที่ ถู ก เสนอเข้ า มาโดยฝ่ า ยบริ ห าร ท่ามกลางเสียงเปรียบเปรยเหน็บแนมจากสังคมออนไลน์ ว่าภายหลังจาก ญัตตินี้ถูกน�ำเข้าสู่สภา ส่งผลให้ตลาดถั่วฝักยาว ราคาได้ถีบตัวสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง สท.ลงพื้นทีแ่ หล่งน�้ำดิบ ตรวจสอบเหตุวิกฤติประปา บ่ายวันที่ 9 พฤษภาคม 59 นายพิชัย ลี้วรกุล สมาชิกสภา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้ติดตามลงพื้นที่ตรวจสอบแหล่งน�้ำดิบทั้ง 3 แหล่ง ของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และได้เผยแพร่ข้อมูลพร้อมภาพ ที่ได้บันทึกว่า ได้เข้าตรวจสอบถึงสาเหตุที่น�้ำประปาในตัวเมืองเทศบาลขาด ที่โรงสูบน�้ำคลองท่าใหญ่ มีระดับที่แห้งลงจริง แต่ยังพอมีน�้ำ และสามารถ แก้ปัญหาได้ “เหตุเพราะบริเวณหัวสูบท่อมีทรายเป็นจ�ำนวนมากที่ปลายท่อ ไม่สามารถสูบน�้ำมาอย่างเต็มที่ได้ อีกทั้งยังใช้เพียงแค่เครื่องสูบตัวเล็ก ส่งเข้าบ่อเก็บน�้ำ ทั้งที่มีเครื่องสูบใหญ่ขนาด 12 นิ้ว ติดตั้งไว้ถึง 4 เครื่อง หากลองแก้ปัญหาโดยใช้รถขุดทรายบริเวณเหนือหัวสูบออกได้ประมาณ กว้าง 6 เมตร และลึกลงไปสัก 2-3 เมตร เพื่อให้หัวสูบตัวใหญ่ท�ำงานได้ น่าจะดี ฝากถึงผู้บริหาร ถ้าได้ลองแก้ปัญหเบื้องต้นดูด้วยความจริงใจ จริงจัง ร่วมมือกัน ผมว่าน่าจะท�ำได้โดยไม่ต้องยกให้เอกชน” นายพิชัย กล่าว ต่อมา นายพิชัย เข้าติดตามโรงสูบน�้ำแรงดันต�่ำที่วังก้อง ซึ่งมี ทั้งบ่อที่เจ้าของให้เปล่าและต้องเช่าใช้ นายพิชัย ระบุว่า ปริมาณน�้ำเยอะ พอสมควร แต่ลึกมาก มีการท�ำงานของเครื่องสูบน�้ำเพียง 1 ตัว จากที่มี 2 ตัว สามารถแก้ปัญหาโดยการติดเครื่องสูบน�้ำสลับ หรือเพิ่มเครื่องสูบได้อีก

และส่งไปยังโรงกรองทวดทอง ส่วนหัวสูบ ตัวเครื่องตั้งอยู่บนแพ ระดับน�้ำ อยู่ตรงไหนก็สามารถท�ำงานได้ครับ น�้ำจุดนี้ยังมีเยอะ สามารถแก้ปัญหา ช่วงวิกฤตหน้าแล้งได้อย่างดีทีเดียว ต่อมา ส.ท.รายนี้ยังติดตามต่อด้วยโรงสูบน�้ำแรงต�่ำที่นาทราย ซึ่งเทศบาลได้เช่าใช้เป็นรายปีมูลค่ากว่า 3 แสนบาทต่อปี มีเครื่องสูบ 2 ตัว บนแพ แต่ใช้สลับกันเพียง 1 ตัว ระดับน�้ำยังพอมีอีกเยอะ รับมือหน้าแล้ง ได้แน่นอน ทั้งนี้ อยากให้ฝ่ายบริหารมีความจริงใจในการแก้ปัญหา ซึ่งการตรวจสอบครั้งนี้ของสมาชิกสภาเทศบาลรายนี้ถือว่า เป็นการค้นพบข้อเท็จจริงโดยสมาชิกสภาเทศบาลเอง ท�ำให้หลายฝ่าย ตั้งข้อสังเกตว่า การขาดแคลนน�้ำเป็นการจงใจให้ความเดือดร้อนของ ประชาชนขยายวงกว้างมากขึ้น เพื่อเป็นเหตุผลในการอ้างให้เอกชนเข้ามา ผูกขาดกิจการประปาของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ใช่หรือไม่ เนื่องจากแสดงเห็นได้ชัดว่า แหล่งน�้ำส�ำรองยังมีเป็นจ�ำนวนมาก ผ่าพิรุธ! รายงานการศึกษาพัฒนาประปา หลังจากญัตตินี้ได้ถูกเผยแพร่ออกมา รวมทั้งมีการแจกจ่าย เอกสารซึ่งมีทั้งเอกสารรายงานการศึกษาโครงการนี้ ที่ถูกระบุหน้าปกว่า เสนอโดย ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีนาคม 2559 เอกสารก�ำหนดร่างขอบเขตงาน (TOR) ให้สมาชิกสภาและผู้เกี่ยวข้องพิจารณา ยิ่งพบข้อพิรุธของเอกสารในหลาย ประเด็น โดยในเอกสารรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ พบว่า เป็นเอกสาร ทางวิชาการที่ไม่มีระเบียบวิธีการศึกษาที่ชัดเจน โดยเฉพาะรายละเอียด ของการว่าจ้างจากเทศบาล ผู้รับผิดชอบการศึกษา ที่มาของแหล่งข้อมูล ห้วงระยะเวลาการศึกษาที่ชัดเจน ซึ่งระบุเพียงว่า 45 วัน ไม่มีค�ำน�ำ ไม่มี รายนามผู้ที่ท�ำการศึกษา ไม่มีการอ้างอิงที่มาแหล่งข้อมูลใดๆ ตลอดทั้งเล่ม ข้อมูลแสดงปลีกย่อยเป็น 6 บท บทที่ 1 และ 2 เป็นรายละเอียดทางกายภาพ ที่ทราบโดยทั่วไป ส่วนบทที่ 3 ถึง 6 เป็นรายละเอียดของระบบประปา “ข้อพิรุธของตัวเลขที่บ่งชี้ว่า ถูกปั้นแต่งขึ้นมาโดยไม่ได้อ้างอิง จากข้อเท็จจริงคือ จ�ำนวนประชากรในเขตเทศบาลที่อ้างข้อมูลเมื่อปี 2557 มีจ�ำนวน 106,322 คน จ�ำนวนครัวเรือน 43,285 ครัวเรือน และ ต่อมา ได้มีการนับรวมเอาข้อมูลตัวเลขจากต�ำบลรอบเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช เช่น ต�ำบลปากพูน นาทราย มะม่วงสองต้น มานับรวม

บริษัท นานาวัสดุภัณฑ์(1993) จ�ำกัด จ�ำหน่าย วัสดุก่อสร้างทุกชนิด, สี, สุขภัณฑ์ ถนนพัฒนาการคูขวาง (ข้างห้างสรรพสินค้าโรบินสันโอเชี่ยน) 85

โทร.075-317831 fax.075-344791

กับประชากรในเขตเทศบาลอีกเป็นตัวเลขรวม 217,074 คน โดยข้อ เท็จจริงนั้นข้อมูลปัจจุบัน ต�ำบลเหล่านี้ได้มีระบบประปาเป็นของตัวเอง แล้ว ไม่ต้องใช้น�้ำจากเทศบาลนครนครศรีธรรมราช อีกต่อไป แต่น่าสงสัย ว่า เหตุใดตัวเลขเหล่านี้จึงไม่ถูกตัดออกไป กลับยังมาบวกเพื่อแสดงให้เห็น ว่า ต้องการจัดซื้อน�้ำเพิ่มขึ้นหรือไม่” เอกสารชิ้นนี้ยังพบพิรุธท�ำนองคล้ายกับเป็นการก๊อบปี้ข้อมูล แล้วน�ำมาจัดเรียงใหม่ โดยข้อมูลหลายส่วนยังมีร่องรอยของเดิมที่ยังไม่แก้ไข เช่น การระบุตัวเลขหลักล้านล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดข้อผิดพลาด ขึ้น และในบทที่ 4 แสดงให้เห็นถึงการพยายามรวบรวมตัวเลขของผู้ใช้น�้ำ ให้มากขึ้นอย่างชัดเจน โดยการระบุตัวเลขพื้นที่สูงถึง 2,944.76 ตาราง กิโลเมตร ทั้งที่ข้อมูลความเป็นจริง อ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ทั้งอ�ำเภอ มีพื้นที่เพียง 617 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เป็นการระบุตัวเลขพื้นที่เกินจริง ถึงกว่า 5 เท่าตัว นอกจากนั้น ในตารางแสดงพื้นที่ ในตารางที่ 6.1-1 ยังมี ร่องรอยของข้อมูลเดิม หรืออาจเป็นความผิดพลาด เอกสารฉบับนี้ระบุ ไว้อย่างชัดเจนว่า แสดงพื้นที่บริการของการประปาในจังหวัดชลบุรี ซึ่ง ไม่น่าจะเกี่ยวข้องต่อการศึกษาที่นครศรีธรรมราช ท�ำให้ข้อมูลที่แพร่หลาย มาก่อนหน้านี้ว่า เอกชนผู้มีแนวโน้มมาเป็นผู้จ�ำหน่ายน�้ำให้แก่เทศบาล นครนครศรีธรรมราช จะมาจากภาคตะวันออกของประเทศไทย และมี ความสัมพันธ์ที่ดีกับพรรคการเมืองหนึ่งมีน�้ำหนักมากขึ้น ส่ ว นในการผลิ ต ประปาส� ำ หรั บ ผู ้ ใ ช้ น�้ ำ ในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ปัจจุบัน ต้องการใช้น�้ำราว 50,000 ลบ.ม./วัน และส�ำนัก การประปาสามารถผลิตได้ราว 52,000 ลบ.ม. และเมื่อต�ำบลรอบนอกเขต เทศบาลที่ไม่ต้องการน�้ำจากเขตเทศบาลแล้ว เนื่องจากผลิตได้เอง โดยที่ รายงานการศึกษาไม่ได้ระบุข้อมูลนี้ลงไป การจัดซื้อน�้ำของเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช แบบบังคับซื้อเพราะต้องซื้อ และจ่ายเงินให้เอกชนเกือบ 5 แสนบาททุกวัน ต่อน�้ำ 48,000 ลบ.ม.จะเอาน�้ำเหล่านี้ไปไว้ไหน น�้ำดิบ ที่อยู่ช่วงน�้ำหลาก หรือสถานการณ์ปกติที่มีอย่างเหลือเฟือจะถูกทิ้งไปเลย หรือไม่ ซึ่งการจัดท�ำรายงานฉบับนี้จึงมีข้อสงสัย และข้อพิรุธของข้อมูล ว่า มีการศึกษาจริงหรือไม่ เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบเป็นรูปเล่ม เพื่อเสนอเพียงเท่านั้นหรือไม่ ขณะที่เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้ระบุ ไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นการว่าจ้างแต่ไม่ได้ระบุวงเงินว่าจ้างไว้อย่างชัดเจน ซึ่งรูปแบบระเบียบวิธีการจัดท�ำเอกสาร และเนื้อหาข้อมูลเป็น

หจก.ลิ้มจี่เซ้ง

075-340632, 075-314052

จ�ำหน่าย :

เครื่องเขียน แบบเรียน อุปกรณ์ส�ำนักงาน **ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ร้าน

1709-1711 ถ.ราชด�ำเนิน ต.ท่าวัง อ.เมือง นครศรีธรรมราช


เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

ตะโกนดังลั่นให้เลิกประชุมสภา ในเวลาต่อมา นายเคารพ อิสระไพบูลย์ ประธานสภาเทศบาล นครนครศรีธรรมราช เห็นว่าเหตุการณ์หน้าห้องประชุมเริ่มมีความวุ่นวาย เกรงว่าอาจจะลุกลามรุนแรงถึงขั้นมีการท�ำร้ายร่างกายกันบาดเจ็บล้มตาย ได้ นายเคารพจึงได้ประกาศขอปิดประชุมการประชุมสภาฯ ในทันที ท�ำให้ สภาล่มกลางคัน ไม่สามารถพิจารณาญัตติต่างๆ ได้อีก หลังจากนั้นบรรดา สท.และเจ้าหน้าที่ต่างทยอยกลับออกจากห้องประชุม ในขณะที่กลุ่มประชาชน ผู้ชุมนุมประท้วงต้องการพบกับตัว ผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรี

ข้อสังเกตที่ส�ำคัญ อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อกับ ดร.วศพร เตชะพีระพานิช หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นภาควิชาที่ปรากฏอยู่ใน รายงานฉบับนี้ เพื่อขอข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์สายตรงของมหาวิทยาลัย ที่ระบุในเว็บไซต์ คือ 0-2889-2138 ต่อ 6379 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง 10.00 น. ของวันที่ 11 พ.ค. ปรากฏว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่รับสาย และเมื่อ ประสานขอข้อมูลผ่านอีเมล wasaporn.tec@mahidol.ac.th ปรากฏว่า ระบบล้มเหลว อีเมลถูกตีกลับไม่สามารถส่งเข้าไปได้ จี้คณะวิศวกรรม “มหิดล” แจงเอกสารรายงาน การศึกษาโครงการครึง่ หมื่นล้าน ความคืบหน้าล่าสุด สมาชิกสภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จ� ำ นวนหนึ่ ง ได้ เ ดิ น ทางไปยั ง ภาควิ ช าวิ ศ วกรรมโยธาและสิ่ ง แวดล้ อ ม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และน�ำเอารายงานการศึกษา โครงการศึกษาเพื่อด�ำเนินการพัฒนาระบบน�้ำประปาเทศบาลนครนครศรี ธรรมราช ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งถูกระบุหน้าปกเอกสารชิ้นนี้ว่า เสนอโดย ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล และสมาชิกสภาเทศบาลจ�ำนวนหนึ่งได้น�ำเอกสารชิ้นนี้เดินทางไป ยังมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อขอพบกับ ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้ตรวจสอบที่มาของ เอกสารชิ้นนี้ว่า มีการว่าจ้างบุคลากรภายในภาควิชาวิศวกรรมโยธาและ สิ่งแวดล้อม ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดท�ำรายงานการศึกษาชิ้นนี้หรือไม่ หรือเป็นการว่าจ้างบุคคลภายนอกแล้วน�ำเอาชื่อของคณะ หรือภาควิชา มาระบุในเอกสารโดยถูกต้องหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเป็นข้อมูลหลักฐาน ชิ้นส�ำคัญ ขณะที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องรายหนึ่งต่อเอกสารชิ้นนี้ ระบุว่า เป็นการว่าจ้างด้วยวงเงิน 200,000 บาท ส�ำหรับการจัดท�ำเอกสารทั้งหมด 10 เล่ม ซึ่งเฉลี่ยค่าจัดท�ำ 10 เล่ม ตกราคาเล่มละ 2 หมื่นบาท ส่งให้แก่ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช และหลังจากนี้ หากมีการตรวจพบข้อบกพร่อง อย่างร้ายแรงในเอกสาร กรรมการผู้ตรวจรับงานก�ำลังหวาดวิตกว่าจะได้รับ ผลกระทบตามมา เนื่องจากมีการลงนามรับงานเรียบร้อยแล้ว และมีการ จ่ายเงินค่าจ้างไปเรียบร้อยแล้วเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง คือ กรรมการผู้ตรวจรับผลงานชิ้นนี้ ส่วนผู้บริหารไม่ได้มีส่วนใดๆ ในการ รับผิดชอบ รองผู้ว่าฯ ลุยแก้ปัญหาวิกฤตประปา ท่ามกลางกระแสของความไม่พอใจ และความเดือดร้อนของ ประชาชน ที่เป็นลูกค้าของส�ำนักการประปาในความดูแลบริหารจัดการ ของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ยาวนานแรมเดือน ท้ายที่สุด นายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช หัวหน้าคณะท�ำงาน แก้ปัญหาการขาดแคลนน�้ำของประชาชน เข้าท�ำการตรวจสอบพื้นที่แหล่ง น�้ำดิบในย่านใกล้เคียงกับโรงสูบน�้ำท่าใหญ่ ต�ำบลท่าดี อ�ำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เป็นของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช เป็นที่น่า ดีใจ ตกใจ หรือเสียใจ แล้วแต่ผู้ติดตาม น�้ำปริมาณมหาศาลที่พร้อมจะถูก สูบเข้าสู่ระบบผลิตประปาของเทศบาลแห่งนี้ ทั้งที่เจ้าของที่ดินพร้อมที่จะ ให้สูบน�้ำเข้ามาโดยไม่ได้คิดมูลค่าใดๆ แต่เป็นที่น่าเสียใจส�ำหรับผู้ใช้น�้ำ วิสัยทัศน์ที่จะเตรียมความพร้อมหาไม่เจอ แต่รองผู้ว่าราชการจังหวัด รายนี้ต้องเป็นแม่งานในการสั่งงานการติดตั้งเครื่องสูบน�้ำจึงเริ่มขึ้น สิ่งนี้ คงจะสร้างความคับข้องใจส�ำหรับเป้าหมายที่มองไกลไปอีก 30 ปีข้างหน้า ไม่น้อย “น�้ำมีพอ” แต่ไม่มีแผนในการจัดการน�ำมาใช้ ไม่น่าจะผิดนัก ส� ำ หรั บ วิ ก ฤติ ก ารณ์ ข องผู ้ ใ ช้ น�้ ำ ของส� ำ นั ก การประปาเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ลามไปถึงความเสี่ยงต่อชีวิตผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพาระบบ การรักษาของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช น�้ำส�ำหรับศูนย์ ไตเทียมไม่มี ต้องหยุดบริการ เป็นผลพวงจากวิสัยทัศน์อันยาวไกล แต่สั้น เพียงแค่ 30 ปี ของใครบางคน ชาวบ้านนาทรายประท้วงเทศบาลฯ สูบน�้ำจนเดือดร้อน ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่มีการประกาศให้เขตเทศบาล นครนครศรีธรรมราช เป็นเขตประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน โดยนายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ก�ำชับให้เทศบาลนคร นครศรีธรรมราช เร่งหาแหล่งน�้ำเพื่อน�ำมาผลิตน�้ำประปาแจกจ่ายให้กับ ชาวบ้านในเขตเทศบาลอย่างเร่งด่วน โดยผู้บริหารเทศบาลนครนครศรี ธรรมราช ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ท�ำการสูบน�้ำจากบ่อน�้ำนาทรายเต็มพิกัด ตลอด 24 ชม. จนล่าสุดเมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 13 พ.ค.2559 ที่ผ่านมา ได้มีกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ ต.นาทราย เกือบ 100 คน ได้เดินทางมาปิดล้อม บ่อน�้ำนาทราย พร้อมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่เทศบาลนครนครศรีธรรมราช

9

หยุดท�ำการสูบน�้ำจากบ่อน�้ำดังกล่าว โดยชาวบ้านอ้างว่าการสูบน�้ำจาก บ่อดินดังกล่าวส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ต.นาทราย เป็นอย่างมาก โดยท�ำให้น�้ำในบ่อน�้ำของชาวบ้านแห้งตามไปด้วย น�้ำในดินไม่มีส่งผลให้ พืชผลการเกษตรแห้งเหี่ยวตาย และท�ำให้ตลิ่งพังได้รับความเดือดร้อน เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่เทศบาลฯ ไม่ยอมหยุดสูบน�้ำเพราะ ต้องรับค�ำสั่งจากผู้บริหารเทศบาลฯ เท่านั้น จึงจะหยุดสูบน�้ำจากบ่อดิน ดังกล่าวได้ สร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก ต่อมาได้มีนายเดชฤทธิ์ ลี่ด�ำรงวัฒนากุล รองนายกเทศมนตรี นครนครศรีธรรมราช ซึ่งดูแลเรื่องการประปาเทศบาลฯ ได้เดินทางมาเจรจา กับชาวบ้าน โดยพยายามชี้แจงว่าบ่อดินดังกล่าวเป็นของนายสุดเจริญ สุดสมบูรณ์ นายก อบต.นาทราย อ.เมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ของเอกชน ซึ่งทาง เทศบาลฯได้ท�ำสัญญาซื้อน�้ำอย่างถูกต้อง ในที่สุดนายค�ำรณ จิตรมาศ อายุ 50 ปี ตัวแทนชาวบ้านได้ น�ำชาวบ้านเดินทางไปยังนายสุดเจริญ สุดสมบูรณ์ นายก อบต.นาทราย พร้อมเรียกร้องให้หยุดสูบน�้ำจากบ่อดินก่อนที่สถานการณ์ขาดแคลนน�้ำ ในพื้นที่จะรุนแรงมากกว่านี้ นายนายค�ำรณจึงได้เจรจากับนายเดชสิทธิ์ รองนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช ขอร้องให้หยุดสูบน�้ำจากบ่อดิน เอาไว้ก่อน นายเดชฤทธิ์จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่หยุดเครื่องสูบน�้ำจากบ่อดินชั่วคราว และจะหาทางแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการน�้ำจากบ่อดินดังกล่าว อย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง ท�ำให้ชาวบ้านพอใจพากันเดินทางแยกย้ายกัน กลับไป. ชาวบ้านชุมนุมประท้วงคัดค้านสัญญาประปาทาส เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 18 พ.ค. ที่ห้องประชุมสภาเทศบาล นครนครศรีธรรมราช ชั้น 5 ส�ำนักงานเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้มีการ ประชุมสภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช สมัยสามัญสมัยที่ 2 ประจ�ำปี 2559 โดยมีวาระการประชุมอยู่หลายวาระ แต่มีวาระที่อยู่ในความสนใจ ของประชาชนในเขตเทศบาลก็คือวาระที่ 6 คือการเสนอญัตติของฝ่าย บริหาร เพื่อขอความเห็นชอบให้เอกชนเข้ามาด�ำเนินการพัฒนาระบบประปา และจ�ำหน่ายน�้ำประปาให้เทศบาลนครศรีธรรมราช เพราะประชาชน ส่ ว นใหญ่ ใ นเขตเทศบาลไม่ เ ห็ น ด้ ว ยที่ เ ทศบาลจะไปซื้ อ น�้ ำ จากเอกชน เป็นระยะเวลา 30 ปี มูลค่า 5 พันล้านบาท ปรากฏว่าขณะเริ่มเปิดประชุมสภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้มีกลุ่มประชาชนในเขตเทศบาลจ�ำนวนหลายร้อยคนได้มารวมตัวกันที่ บริเวณด้านหน้าส�ำนักงานเทศบาล โดยส่งเสียงตะโกนไม่เห็นด้วยกับญัตติ ของเทศบาลที่จะไปซื้อน�้ำจากเอกชน และได้แสดงความไม่พอใจและตะโกน ด่า ผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช และฝ่าย บริหารเทศบาล ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน�้ำประปาไม่ไหลในเขตเทศบาล มานานกว่า 5 ปี ล่าสุดชาวบ้านเดือดร้อนเนื่องจากขาดน�้ำต่อเนื่องหลาย เดือน ได้รับความเดือดร้อนไปทั่วทุกครัวเรือนเพราะไม่มีน�้ำอุปโภคบริโภค มานานหลายเดือนแล้ว ต้องไปซื้อน�้ำของเอกชนในราคาแพง กลุ่มประชาชนผู้ชุมนุมประท้วงจ�ำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ คาดว่า น่าจะเกิน 1,000 คน ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของต�ำรวจ สภ.เมือง และ กก.สส.ภ.จว.นครศรีธรรมราช ในขณะที่ประชุมสภาฯ บนห้องประชุมชั้น 5 ก็ด�ำเนินการไปตามขั้นตอน สร้างความไม่พอใจให้กับ กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง ซึ่งรวมตัวอยู่ด้านล่างส�ำนักงานเทศบาลฯ เป็นอย่าง มาก จึงพากันได้เฮกันบุกขึ้นไปยังห้องประชุมสภาชั้น 5 และไปออเต็มหน้า ห้องประชุมและพยายามที่จะบุกเข้าไปในห้องประชุม พร้อมส่งเสียงโห่ร้อง

การเจรจาตัวแทนชาวบ้าน-นายก ล่มไม่เป็นท่า จากนั้นตัวแทนชาวบ้าน 5 คนได้เข้าเจรจากับทางผู้บริหาร โดยเรียกร้องให้ยกเลิกญัตติโครงการซื้อน�้ำประปาจากเอกชนเสียและเร่ง แก้ปัญหาน�้ำประปาไม่ไหลโดยด่วน เพราะทุกฝ่ายร่วมกันตรวจสอบพบว่า ในปัจจุบันยังมีแหล่งดิบอีกจ�ำนวนมากแต่ทางเทศบาลฯ กลับไม่ยอมบริหาร จัดการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อให้ดูเหมือนว่าเกิดวิฤติในการผลิตน�้ำประปา ขึ้นจริงๆ เพียงเพื่อผลักดันโครงการให้เอกชนสัมปทานผลิตน�้ำขาเทศบาล 30 ปี เท่านั้น ปรากฏว่าในขณะก�ำลังพูดคุยเจรจากันอยู่นั้น ได้ชาวบ้าน คนหนึ่งเกิดทนไม่ไหวได้ตะโกนด่า ผศ.เชาวน์วัศ อย่างรุนแรงว่าตนและ ครอบครัวเลือกทีมเชาวน์วัศมาทั้งทีม แต่กลับมาบริหารผิดพลาดมาตลอด โดยเฉพาะเรื่องน�้ำประปาไม่ไหลเป็นแบบนี้มาตลอดกว่า 5 ปีแล้ว อยากให้ ผศ.เชาวน์ลาออกไปเสียดีกว่า เพราะอยู่ไปก็แก้ไขปัญหาอะไรไม่ได้ กลุ่ม ชาวบ้านที่เข้ามายืนฟังส่งเสียงโห่ร้องตลอดเวลา เจ้าหน้าที่ต�ำรวจ เห็นว่า เหตุการณ์เริ่มจะไม่ดี จึงรีบน�ำตัว ผศ.เชาวน์วัศ ออกจากห้องประชุมชั้น 5 ลงมาขึ้นรถยนต์กระบะที่เตรียมไว้ด้านล่าง ท่ามกลางก�ำลังที่คุ้มกันอย่าง แน่นหนาและขับรถน�ำออกไปจากส�ำนักงานเทศบาลอย่างรวดเร็ว โดยมี กลุ่มชาวบ้านที่มาชุมนุมประท้วงแห่ตะโกนไล่หลัง แกนน�ำชาวบ้านร้องเรียนศูนย์ด�ำรงธรรมฯ เวลาต่ อ มาหลั ง จากการชุ ม นุ ม ของชาวบ้ า นได้ เ ริ่ ม สลายตั ว ได้มีตัวแทนกลุ่มชาวบ้านในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ประมาณ 50 คน เดินทางเข้าร้องเรียนต่อศูนย์ด�ำรงธรรม จ.นครศรีธรรมราชเกี่ยวกับ การขาดน�้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยมีนายวีระพรรณ สุขะวัลลิ หัวหน้าศูนย์ด�ำรงธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้รับเรื่อง และมีนายดนัย เจียมวิเศษสุข รอง ผวจ.นศ. ในฐานะประธาน แก้ไขปัญหาขาดแคลนน�้ำจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เข้ารับฟังปัญหาและ ชี้แจงแนวทางแก้ปัญหาที่ทางจังหวัดได้ด�ำเนินการอยู่ในขณะนี้ ซึ่งใน เบื้องต้นได้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยการระดมรถขนน�้ำจากท้องถิ่นใน เขตพื้นที่จังหวัดเข้าแจกน�้ำแก่ประชาชนเพื่อบรรเทาปัญหาไปพลางก่อน และให้จังหวัดนครศรีธรรมราชช่วยเหลือแก้ปัญหาให้น�้ำประปาในเขต เทศบาลนครนครศรีธรรมราชไหลภายใน 3 วันและให้ทางจังหวัดตรวจสอบ พฤติกรรมของ ผศ.เชาวน์วัศ พร้อมให้ท�ำหนังสือถึง คสช.ใช้ ม.44 ปลด นายกเชาวน์วัศออกจากต�ำแหน่งนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช โดยเร่งด่วน ซึ่งกลุ่มชาวบ้านได้ท�ำหนังสือร้องเรียนชี้แจงรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ศูนย์ด�ำรงธรรมตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป.


10

เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

“เชาว์นวัศน์” พร้อม 12 สท.ตาขาวฉุกเฉิน!

ชิ่งประชุมสภาอ้างหวั่นความไม่ปลอดภัย โดย...กฤษณะ ทิวัตถ์สิริกุล / ผู้จัดการ Online

“เชาว์นวัศ” เจ้าของญัตติซื้อน�้ำจากเอกชน 5 พันล้าน แบบผูกขาด 30 ปี พร้อม สท.อีก 12 คน ชิ่งสภาอ้างหวั่นเกรง ความไม่ปลอดภัย ไม่ยอมเข้าร่วมประชุมพิจารณาญัตติที่ตนเอง เสนอ ขณะที่ประธานสภานัดประชุมใหม่อีกครั้ง 30 พ.ค.59 นี้ ด้าน ปชป.ขยับแก้วิกฤติกระแสชาวบ้านเซ็งลามพรรค “แจ๊ค วัชระ” บี้ สตง.ตรวจเทศบาล ส่วน “ฮูวัยดีย๊ะ” น้องสาว “ดร.สุรินทร์” จ่อไขก๊อกลาออกสิ้นเดือนนี้ วันนี้ (27 พ.ค.) จากกระแสของการติดตามการประชุมสภา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เพื่อพิจารณาญัตติขอความเห็นผูกพัน งบประมาณโครงการจัดซื้อน�้ำจากเอกชนแบบผูกขาด เป็นเวลา 30 ปี มูลค่า กว่า 5 พันล้านบาท ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประชาชนในเขต เทศบาลนครนครศรีธรรมราชจ�ำนวนมาก ได้มารวมตัวและยิ่งเพิ่มความ ไม่พอใจ โดยกลายเป็นกระแสของการขับไล่นายกเทศมนตรีนครนครศรี ธรรมราช ให้พ้นจากต�ำแหน่ง โดยในวันนี้ มีการเรียกประชุมสภาอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเลื่อนมาจากครั้งวันที่ 18 พ.ค. 2559 เนื่องจากองค์ประชุม ไม่ครบ หลังจากถึงเวลานัดหมาย เวลา 10.00 น. นายเคารพ อิสระไพบูลย์ ประธานสภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้ขยายเวลาการประชุมไป จนถึง 11.00 น. ซึ่งครบการรอประชุม 1 ชั่วโมงตามกฎหมาย ปรากฏว่า มีสมาชิกสภาเทศบาลแสดงตนเข้าร่วมการประชุมเพียง 10 คน ขณะที่ นายเชาว์นวัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็น เจ้าของญัตติโครงการจัดซื้อน�้ำจากเอกชนเป็นเวลา 30 ปี รวมทั้งสมาชิก สภาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช อีก 12 คน ไม่มาร่วมการประชุม โดย สมาชิกทั้ง 12 คนได้ใช้ใบลา อ้างเหตุผลและข้อความเดียวกันทั้งหมด แม้นแต่ต�ำหนิของเครื่องพิมพ์ยังเหมือนกันทั้งหมดเช่นเดียวกัน และอ้าง เหตุผลว่า เกรงความไม่ปลอดภัยเนื่องจากการชุมนุมของประชาชนเหมือนกัน มีเพียงการลงนามเฉพาะของแต่ละคนเท่านั้น ขณะที่ นายวิฑูรย์ อิสระพิทักษ์กุล รองประธานสภาเทศบาล นครนครศรีธรรมราช ได้แถลงถึงเหตุที่ไม่สามารถเปิดประชุมได้ จากการ ไม่มาประชุมของสมาชิกทั้ง 12 คน ขณะเดียวกัน ยังระบุว่า ประธานสภา ได้เรียกประชุมใหม่อกี ครัง้ ในวันที่ 30 พ.ค.2559 ซึง่ เป็นเหตุจำ� เป็นเร่งด่วน เนื่องจากจะหมดสมัยประชุมในวันดังกล่าว โดยต้องติดตามว่าทั้ง 12 คน รวมทั้งนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช จะเข้าร่วมประชุมหรือไม่ ซึ่งหากไม่มาร่วมในวันดังกล่าวและไม่สามารถเปิดสภาได้ จะส่งผลให้ญัตติ ซื้อน�้ำ 5 พันล้านบาท รวมทั้งญัตติอื่นๆ ตกไปทันที ส่วนบรรยากาศภายนอก ห้องประชุม ประชาชนจ�ำนวนมากยังคงเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของ ผู้บริหารเทศบาลอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ต�ำรวจเข้ารักษาความ ปลอดภัยเข้ม

ภายหลังจากไม่สามารถเปิดประชุมได้ นายวิฑูรย์ อิสระพิทักษ์กุล ในฐานะแกนน�ำกลุ่มนครธรรมาภิบาล ได้เปิดส�ำนักงานแถลงถึงการ ตรวจสอบเอกสารที่ไม่ชอบมาพากล ส�ำหรับโครงการนี้ ซึ่งสรุปความได้ว่า กรณีรายงานจากมหาวิทยาลัยมหิดล นั้น ผู้บริหารรับว่า เป็นข้อมูลทุติยภูมิ ที่ได้รับจากเทศบาลทั้งหมด โดยคณะผู้จัดท�ำไม่ได้ลงพื้นที่จริง ท�ำให้เกิด ปัญหาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เกิดการผิดพลาดของข้อมูล เนื่องจากเทศบาล ให้เวลาในการจัดท�ำเพียง 45 วัน และการเลือกซื้อน�้ำของเอกชนนั้น เป็น การเลือกของผู้บริหารเทศบาล ไม่ใช่การเลือกของมหิดล ซึ่งมีหน้าที่แค่ เสนอทางเลือกไปให้เท่านั้น และการตอบอย่างเป็นทางการจะมาถึงในอีก 2-3 วันข้างหน้า และยืนยันชัดเจนว่า จะคัดค้านการโครงนี้จนถึงที่สุด

วันเดียวกัน นางฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง รองนายกเทศมนตรี นครนครศรีธรรมราช น้องสาวของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการ อาเซียน ได้แต่งเครื่องแบบกากี มาเข้าร่วมประชุมในฐานะคณะผู้บริหาร ระบุว่า ไม่มีใครแจ้งให้ทราบเลยว่า ผู้บริหารและ สท. จะไม่มาร่วมประชุม อย่างไรก็ตาม สิ้นเดือนนี้จะได้แจ้งขอลาออกจากต�ำแหน่งแล้ว ซึ่งจะไป ท�ำหน้าที่อื่นไปตามทางที่ได้วางเอาไว้ ส่วนความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจและอาจนับได้ว่าเป็นปฏิกิริยา จากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการบริหารเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช โดยวานนี้ (26 พ.ค.) นายวัชระ เพชรทอง อดีต สส. พรรคประชาธิปัตย์ คนสนิทของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ ได้เข้ายื่นเรื่องต่อนายพิศิษฐ์ ลีลาวัชโรภาศ ผู้ว่าการตรวจเงิน แผ่นดิน ให้มีการตรวจสอบเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ในโครงการ จัดซื้อน�้ำจากเอกชน แม้ว่าจะยังไม่ผ่านสภา แต่โครงการนี้ได้ใช้จ่ายเงินมา ส่วนหนึ่งแล้วคือ การจัดจ้างท�ำรายงาน และอีกโครงการคือ งบประมาณ 13.4 ล้านบาท ที่ใช้ปรับปรุงสนามกีฬากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ เรื่องอยู่ใน สตง.กว่า 1 ปีแล้ว และยังไม่ทราบผลจะมีการพิจารณาเป็น อย่างไร.


เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

แหม........ท�ำไปได้

กน

ลุงว่าแบบนี้น่าจะดีกว่านะ บ้านที่มีแต่ผู้สูงอายุล�ำบากมากครับ” คุณอน่า อยู่ชุมชนพะเนียด บอกว่า ถังน�้ำแค่นั้นจะพออะไรกับ ชาวบ้านเป็นร้อยเป็นพัน เป็นแบบนี้มาหลายปีแล้วก็ยังไม่แก้ไขได้เลย เคยเห็นน�้ำมาใส่ครั้งแรกครั้งเดียว หิ้วถังจะไปใส่น�้ำ เอาฝ่ามือดันถัง น�้ำไม่มี สักหยดเดียว ถังน�้ำกับบ้านก็ไกลกัน ล�ำบากมาก ไม่รู้ทางเทศบาลคิดได้ยังไง เดือนร้อนมาก เป็นแบบนี้ไฟดับซะยังดีกว่า คุณนนท์ อายุ 35 ปี อยู่ชุมชนหน้าศาลแขวง มองว่า การเอา ถังน�้ำมาตั้งตามชุมชนถามว่าแก้ได้มั้ย ผมตอบว่าแก้ได้นะ แต่คุณแน่ใจไหม ว่าจะแก้ปัญหาได้ทุกบ้าน ผมเห็นบ้านไหนอยู่ห่างออกไปจะไม่ได้รับน�้ำ จากถังน�้ำนี้เลย น�้ำหนึ่งถังใช้ได้เพียงไม่กี่บ้าน และอาจจะส่งผลให้คนใน ชุมชนนั้นทะเลาะกันเพราะเกิดการแย่งน�้ำกัน ผมมองว่ามันเป็นการแก้ ปัญหาที่อยู่ปลายเหตุ หาได้มองต้นเหตุแห่งปัญหาไม่ ทั้งที่คุณก็มีประสบการณ์ อยู่แล้วทุกปี จะให้เรียกว่าผักชีโรยหน้า หรือ แก้ผ้าเอาหน้ารอดดีละครับ น�้ำมาวาง ล�ำพังลุงคงไปขนมาไม่ไหวหรอก อายุ 60 กว่าปีแล้ว ลุงซื้อน�้ำ สรุป...ผลงานเป็นที่ประจักษ์ ครั้งหน้าจะเลือกอีกหรือไม่ กับรถขายน�้ำ 1,000 ลิตร 400 บาท ใช้ได้หลายวัน เป็นแบบนี้มา 4 – 5 ปี ค�ำตอบอยู่ในใจพี่น้องทุกคน. แล้ว ไม่ใช่แต่ลุงที่ล�ำบากชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงล�ำบากกันถ้วนหน้า “เห็นข่าวในโทรทัศน์มีหน่วยงานลงพื้นที่แจกน�้ำตามบ้าน

หนุนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐ

ผ่านการกลัน ่ กรอง 213 กองทุน 106.5 ล้าน วันนี้(12 พ.ค.59) เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมศรีปราชญ์ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่า ราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุมคณะท�ำงาน ด�ำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทาง ประชารัฐจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อพิจารณาให้ความเห็นโครงการ เพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิ จ ฐานรากตามแนวประชารั ฐจั ง หวั ด หรือ คปจ. โดยมีคณะท�ำงานเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง นายวีระชัย สง่าหวัง หัวหน้าส�ำนักงานกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 9 ในฐานะเลขานุการคณะท�ำงาน กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติในคราวประชุม เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559 ได้ เห็นชอบหลักการและอนุมตั หิ ลักการโครงการ คปจ. ในกรอบวงเงิน 35,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนทุนให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หรือ กทบ. ส�ำหรับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน และเพื่อด�ำเนิน กิจกรรมอื่นๆ ที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมศักยภาพในการ ประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ในชุมชนให้ดีขึ้น เป็นกิจกรรมที่หมุนเวียน ต่อเนื่อง ไม่ใช้ท�ำครั้งเดียวจบ ส�ำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราชมี กทบ. จ�ำนวน 1,602 กองทุน แต่ที่เข้าหลักเกณฑ์ คปจ. จ�ำนวน 1,363 กองทุน ซึ่งปัจจุบันมี กทบ.ต่างๆ ได้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ คปจ.กองทุนละ 5 แสนบาท ในชุดแรก จ�ำนวน 213 กองทุน เป็นเงิน 106,500,000 บาท (106.5 ล้านบาท) จึงจ�ำเป็นต้องมีการประชุม คณะท�ำงานฯในระดับจังหวัด เพื่อพิจารณาให้ความเห็นต่อโครงการ ดังกล่าว แล้วส่งให้ส�ำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

โดย...

ี กวล

เทศบาลนครนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ท่ามกลางความอุดม สมบูรณ์ มีพื้นที่ใกล้เคียงเป็นพื้นที่ต้นน�้ำ แล้วไซร้เมื่อถึงหน้าร้อนของ ทุกปี น�้ำประปาในเขตเทศบาลไม่ไหลนับเดือน การบริหารทุกอย่าง อยู่ภายใต้ค�ำสั่งของผศ.เชาวน์วัศ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรีนครนครศรี ธรรมราช น่าสงสัยว่า...รอยหยักในสมองของผู้บริหารเทศบาลนครฯ ชุดนี้ ความถี่มันน้อยยิ่งนักหรืออย่างไร จึงแก้วิกฤติน�้ำประปาด้วยการเอาถัง บรรจุน�้ำขนาดใหญ่มาวางตามจุดต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้แน่ใจว่าแนวทาง ดังกล่าวตอบโจทย์แก้ปัญหาให้ชาวบ้านหรือไม่อย่างไร จึงลงพื้นที่สอบถาม กันตรงๆ ลองเอียงหูฟังเสียงชาวบ้านกันบ้างว่า...พวกเขาคิดเห็นอย่างไร...!? คุณธัญวรัตม์ ชีพอุบัติ อายุ 17 ปี อยู่ชุมชนหัวท่า บอกว่า ที่บ้านน�้ำไม่ค่อยมาเป็นอาทิตย์แล้ว พ่อจะสั่งซื้อน�้ำถังมาใช้ในบ้านวันละ ประมาณ 10 ถัง เคยถามพ่อเหมือนกันว่าท�ำไมไม่ไปเอาน�้ำที่ทางเทศบาล มาวางไว้ มาซื้อท�ำไมวันละเป็นร้อยๆ บาท แต่ได้ค�ำตอบว่า ไม่มีน�้ำเลยลูก ปริมาณน�้ำไม่เพียงพอ พอทางเทศบาลน�ำน�้ำมาใส่ ชาวบ้านละแวกใกล้เคียง ก็เอาถังมาต่อแถวยาว เพียงไม่กี่บ้านน�้ำก็หมดแล้ว คุณสุประไพร โชตยาสีหนาท อายุ 35 ปี ชุมชนคูขวาง กล่าวว่า ถังน�้ำที่เทศบาลมาวางไว้ช่วยเหลือชาวบ้าน แถวบ้านพี่ไม่มีนะ แต่พอเห็นขนาดที่น�ำมาช่วยเหลือแล้ว มันไม่สามารถรองรับกับความ ต้องการของชาวบ้านได้เลย พี่คิดว่าการเอาถังน�้ำมาวางมันเป็นการอุดปัญหา แต่อุดไม่มิดนะ เพราะปัญหานี้มันขยายวงกว้างและเดือดร้อนหนักมาก “ถือว่าไม่ใช้การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง แถมเป็นการเพิ่มภาระ หน้าที่ให้กับเจ้าหน้าที่อีกด้วย เป็นการกระท�ำที่ไม่สมเหตุสมผลเลย เพราะ เชื่อว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์” คุณลุงชาติ อยู่ชุมชนหน้าแขวงการทาง เห็นว่า ถังน�้ำที่น�ำ

11

หรือ สทบ. อนุมัติเพื่อโอนเงินเข้าบัญชีประชารัฐหมู่บ้านของ กทบ.แต่ละ กองทุนต่อไป นายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า รัฐบาลได้มีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดย ให้ทุกโครงการได้ถึงมือประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงขอให้คณะท�ำงาน ได้แสดงความคิดเห็น ชี้แนะอย่างเต็มที่หากมีข้อสงสัย หรือกังวลต่อโครงการใด ขอให้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เพื่อให้การด�ำเนินงานมีประสิทธิภาพ

ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งในที่ประชุมคณะท�ำงานฯ ครั้งนี้ได้ให้ความเห็น ให้ผ่านการกลั่นกรองทั้ง 213 กองทุน จากนั้นทางฝ่ายเลขานุการท�ำงานฯ จะได้เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงนาม เพื่อเสนอต่อไปให้ สทบ.ได้ พิจารณาเพื่ออนุมัติตามขั้นตอนต่อไป นายสวัสดิ์ มีแต้ม พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า โครงการเพิ่ ม ความเข้ ม แข็ ง ของเศรษฐกิ จ ฐานรากตามแนวประชารั ฐ จังหวัด หรือ คปจ. ที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนต่างๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช เสนอมาจ�ำนวน 213 กองทุนนี้เป็นชุดแรกเท่านั้น ยังมีโครงการที่รอการ เสนอจาก กทบ.ต่างๆ ที่เหลือในชุดที่สอง ชุดที่สามต่อไปอีก

ติวเข้มการออกหนังสือแสดงสิทธิ์ในทีด ่ ิน

วันนี้(14 พ.ค.59) เวลา 08.30 น.ที่ห้องศรีวิชัย ศาลากลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช นายศิริพัฒ พัฒกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรี ธรรมราช เป็นประธานเปิดการประชุมการฝึกอบรมเรื่องการออกหนังสือ แสดงสิทธิในที่ดิน ซึ่งส�ำนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดขึ้น เพื่อให้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในกระบวนการ ปฏิบัติงานออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินประเภทต่างๆ ที่ถูกต้อง สามมารถ น�ำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้อย่าง ถูกต้องตามค�ำสั่ง ระเบียบและข้อกฎหมายที่ก�ำหนดไว้ โดยมีนายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมในพิธี นายบุญเพิ่ม นาคด�ำ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวรายงาน

มีนายสุรพล ศรีวิโรจน์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักมาตรฐานการออกหนังสือส�ำคัญ กรมที่ดิน เป็นวิทยากร โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง สังกัดส�ำนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช ส�ำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาทุกสาขา ส�ำนักงานที่ดินจังหวัดส่วนแยก และ ส�ำนักงานที่ดินอ�ำเภอทุกอ�ำเภอ รวมกว่า 200 คน นายศิริพัฒ พัฒกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นหนึ่งในภารกิจหลักที่ส�ำคัญ ยิ่งของกรมที่ดินในการปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ที่ปรารถนาจะมีโฉนดที่ดินเป็นของตนเอง เพื่อเป็นรากฐานและหลักประกัน ที่มั่นคงในการด�ำเนินชีวิต ความคาดหวังของประชาชนต่อการออกหนังสือ แสดงสิทธิในที่ดินของกรมที่ดิน คือ มีความบริสุทธิ์ ถูกต้อง แม่นย�ำ และ รวดเร็ว ดังนั้นเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการต้องมีความบริสุทธิ์ใจ ไม่อคติ และขอ ให้ยึดมั่นว่าบางครั้งความส�ำเร็จในชีวิตราชการ ไม่จ�ำเป็นต้องมีความ ก้าวหน้าในราชการเสมอไปก็ได้ แต่ขอให้จงมีความภาคภูมิใจ ที่ได้ให้บริการ ประชาชนด้วยความสุจริต..


12

เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

นักศึกษา มวล. จัดพิธีบวชต้นไม้ริมถนนทางเข้าศูนย์แพทย์ฯ เมื่อวันที่ 18 พ.ค.59 นักศึกษา ศิษย์เก่า บุคลากรและ ประชาคมท่าศาลา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช น�ำโดย น.ส.บัณฑิตา อนุรักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ส�ำนักวิชาการจัดการ ประธานชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ร่วมกันจัดพิธีบวชต้นไม้บริเวณที่จะมี การสร้างถนนเข้าสู่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อแสดงออก เชิ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ใ นการอนุ รั ก ษ์ แ ละหวงแหนทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดได้ร่วมพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นประธานชมรมฯ ได้อ่านแถลงการณ์การอนุรักษ์ พันธุ์ยางนา ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัย และทรงน�ำไปปลูกไว้ในพื้นที่ต่างๆ ต่อด้วยนายกมลวิทย์ ทองเต็ม นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ส�ำนักวิชาศิลปศาสตร์ ประธานฝ่ายกิจการพิเศษ องค์การบริหาร องค์การนักศึกษาอ่านบทความของนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ผู้ร่วมบุกเบิก ก่อตั้งมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นมีการกล่าวถึงความเป็นมาของการปลูกต้นยางนา ในพื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นไปตามผังแม่บท และเป็นส่วน ประกอบส�ำคัญของอุทยานพฤกษศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและรายละเอียด อืน่ ๆ เพือ่ ให้ผรู้ ว่ มกิจกรรมได้รบั ทราบถึงเจตนารมณ์ของการปลูกต้นยางนา ในบริเวณดังกล่าว จากนั้นพระสงฆ์ท�ำพิธีเบิกฤกษ์บวชต้นยางนา ตามด้วย ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมทุ ก คนร่ ว มกั น น� ำ จี ว รพระท� ำ พิ ธี บ วชต้ น ยางนา โดยพร้อมเพรียงกัน นายวิชาญ เชาวลิต ผู้แทนประชาคมท่าศาลา กล่าวว่า การตัด ต้นไม้ท�ำลายป่าไม่ว่าที่ไหนเป็นสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย เพราะกว่าต้นไม้เหล่านี้ จะเจริญเติบโตได้ต้องใช้เวลานานหลายสิบปี หรือถึง 100 ปี ต้นไม้ภายใน มหาวิทยาลัยฯ จะมีประโยชน์ต่อศูนย์การแพทย์ฯ ในอนาคต ชาวบ้านที่มา ใช้บริการ จะได้ใช้ประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะญาติผู้ป่วยหรือผู้ป่วยเอง กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้ข้อสรุปบริหารจัดการแหล่ง ปิโตรเลียมหมดอายุ 3 แนวทาง มีทั้ง ระบบสัมปทาน ระบบแบ่งปัน ผลผลิต และจ้างผลิต เสนอให้คณะกรรมการปิโตรเลียม พิจารณา 18 พ.ค.นี้ ก่อนชง กพช.ไฟเขียว พร้อมเปิดเจรจา ปตท.สผ.-เชฟรอนก่อน หวั่นก�ำลังการผลิตสะดุด กระทบซัพพลายก๊าซประเทศ นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผย กับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในวันที่ 18 พฤษภาคมนี้ กรมจะเสนอแนวทาง บริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติที่จะหมดอายุสัมปทานให้คณะกรรมการ ปิโตรเลียมพิจารณา ซึ่งประกอบด้วยแหล่งเอราวัณ มีบริษัท เชฟรอน ประเทศไทยส�ำรวจและผลิต จ�ำกัด เป็นผู้รับสัมปทาน จะสิ้นสุดอายุสัมปทาน ในวันที่ 23 เมษายน 2565 ปัจจุบันมีก�ำลังการผลิต 206 ล้านลูกบาศก์ ฟุตต่อวัน และแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช มี บริษัท ปตท.ส�ำรวจและผลิต ปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เป็นผู้รับสัมปทาน จะสิ้นอายุ สัมปทานในวันที่ 7 มีนาคม 2566 ปัจจุบันมีก�ำลังการผลิตรวม 900 ล้าน ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยแนวทางการบริหารจัดการจะมีอยู่ 3 แนวทาง ประกอบ ด้วย 1.ระบบสัมปทาน 2.ระบบแบ่งปันผลผลิต (พีเอสซี) และ 3.ระบบ จ้างผลิต ซึ่งหากคณะกรรมการพิจารณาเลือกแนวทางใดทางหนึ่งแล้ว จะ น�ำข้อเสนอดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 30 พฤษภาคมนี้ ซึ่งหาก กพช.เห็นชอบ กรมจะพิจารณา ถึงแนวทางแก้ไขกฎหมาย และกติกาใหม่ และหากเป็นการเปิดประมูล ก็ยิ่ง มีหลายขั้นตอน คาดว่าจะใช้ระยะเวลาด�ำเนินการ 3 เดือน “ภายในเดื อ นพฤษภาคมนี้ จ ะมี ค วามชั ด เจนเรื่ อ งแนวทาง บริหารจัดการแปลงสัมปทานที่จะหมดอายุในปี 2565-2566 ตามมติ กพช.จะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งทางเอกชนเสนอให้เจรจากับรายเก่าก่อน ทาง ภาครัฐก็เห็นด้วย ส่วนการแก้ไขกติกาก็ท�ำควบคู่กันไป เพื่อให้เอกชน

เข้ามารับบริการในศูนย์การแพทย์ฯ ซึ่งแต่ละครั้งใช้เวลาอย่างน้อย 1 วัน หรือบางรายมาอยู่ครั้งละหลายวัน “เมื่อทราบข่าวว่าจะย้ายต้นไม้ก็รู้สึกหดหู่ การพัฒนาเพื่อความ เจริญแต่ท�ำไมต้องท�ำลายธรรมชาติซึ่งเป็นต้นทุนเดิม การบริหารจัดการที่ ชาญฉลาดต้องไม่ท�ำลาย แต่ควรต่อยอดปรับใช้ให้เหมาะสม อยากให้พิจารณา หนทางอื่น เว้นตรงส่วนนี้ไว้ให้เป็นพื้นที่ธรรมชาติ คิดว่าคนเราเป็นส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติ เพราะฉะนั้นเราต้องอยู่กับธรรมชาติ เราไม่ได้เป็นเจ้าของ ธรรมชาติ แต่ธรรมชาติเป็นเจ้าของเรา จึงควรปกป้องรักษาธรรมชาติไว้ ให้ดีที่สุด” นายวิชาญ กล่าว ขณะที่นายสุดใต้ ดีทองอ่อน อุปนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ กล่าวว่า นี่คือความร่วมแรงร่วมใจของทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ประชาคมวลัยลักษณ์และประชาชนทั่วไปที่ร่วมกิจกรรมเป็นจ�ำนวนมาก เป็นกิจหนึ่งในรอบหลายปีที่จะท�ำให้เกิดจิตส�ำนึกหวงแหนสมบัติสาธารณะ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นผลดีต่อนักศึกษาและมหาวิทยาลัยที่จะมีคนคอย สอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตาให้ มั่นใจว่ายางนาจะอยู่คู่กับศูนย์การแพทย์ฯ ใน อนาคตอย่างแน่นอน ส่วน ดร.เลิศชาย ศิริชัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการ นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องส�ำคัญของสังคม นักศึกษาที่มีอุดมการณ์ เพราะนี่คือสิ่งที่มหาวิทยาลัยอยากปลูกฝังให้นักศึกษา ตระหนักถึงความส�ำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยากเห็นการพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดขึ้นในสังคม เราต้องการให้นักศึกษามีความคิด มีทัศนคติ มีอุดมการณ์ เกิดการเรียนรู้และตระหนักร่วม เห็นความส�ำคัญ ในมุมมองเหล่านี้ “มหาวิทยาลัยมีนโยบายที่จะสร้างมหาวิทยาลัยสีเขียว อุดม ไปด้วยสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น เพราะฉะนั้นการทุกคนร่วมกันจัดกิจกรรมนี้ แสดงถึงความห่วงใย คิดว่าในอนาคต ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน รวมทั้ง

ภาคประชาสังคมและทุกคนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยทั้งหมดจะได้ร่วมกัน สร้างมหาวิทยาลัยของเราให้เป็นมหาลัยสีเขียว ตนเห็นแล้วก็ภูมิใจและ ดีใจที่เห็นการแสดงออกร่วมกันในเจตนารมณ์ ครั้งนี้” ดร.เลิศชายฯ กล่าว ในตอนท้าย ต่อมาวันที่ 19 พ.ค.59 ทีอ่ าคารบริหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีการประชุมประเด็นร้อนเรื่องที่มหาวิทยาลัยฯ จะขุดล้อมย้ายต้นยางนา เพื่อย้ายออกจากบริเวณที่นักศึกษาท�ำพิธีบวชต้นไม้ ซึ่งอยู่บริเวณทางเข้า ศูนย์การแพทย์โดยบริษัทพาวเวอไลน์ จะเป็นผู้ขุดล้อมย้าย โดยให้เหตุผล ว่าจะมีการท�ำถนนตามแปลนที่วางไว้ ในขณะ ดร.เลิศชาย ศิริชัย รักษาการ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาได้อ่านแถลงการณ์เพื่อขอให้ยุติการ เคลื่อนย้ายต้นยางนา ทางด้านพลตรีศรีศักดิ์ เลิศล�้ำ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ได้ชี้แจงเรื่องว่า การขุดล้อมย้ายต้นไม้เพราะจะมีการขยายถนนผ่านขนาน กั บ ถนนหลั ก เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการเดิ น ทางของรถฉุ ก เฉิ น ให้ เข้าสู่โรงพยาบาลได้รวดเร็วขึ้น เป็นถนนแห่งเส้นทางชีวิตมนุษย์ โดย มหาวิทยาลัยมอบหมายให้บริษัทพาวเวอไลน์เลือกบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ มาล้อมย้าย และจะพยายามหลีกเลี่ยงเกี่ยวกับต้นไม้ให้มากที่สุด ถ้าเสียหาย ก็จะให้เสียหายน้อยที่สุดด้วย ส�ำหรับกรณีการเคลื่อนย้ายต้นไม้ต้นยางนาที่บริเวณทางเข้า สถานที่ก่อสร้างศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยฯ นั้นนักศึกษาได้ร่วมกันปลูก พร้อมๆ กับต้นประดู่ริมถนนทางเข้ามหาวิทยาลัยฯ กว่า 10 ปี แล้วมา ถู ก ตั ด โค่ น ท่ า มกลางความกั ง ขาของบรรดาศิ ษ ย์ เ ก่ า และศิ ษ ย์ ป ั จ จุ บั น มาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อทางมหาวิทยาลัยฯ จะท�ำการล้อมย้ายต้นยางนาอีก ท�ำให้หวั่นกันว่าจะเกิดความเสียหาย จึงได้เข้ามาท�ำพิธีบวชต้นไม้เพื่อ แสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ขึ้นอีกครั้ง.

ภาครัฐเร่งสรุปสัมปทานปิโตรเลียม

เปิดทางเอกชนรายเดิมเข้าบริหาร

เปิดประเด็น

ไทย) อาจตัดสินใจชะลอปิดแท่นสงขลาออกไปก่อน จากเดิมที่แจ้งว่าจะ ปิดชั่วคราวเร็วๆ นี้ จากที่ก่อนหน้านี้ปิดชั่วคราวไปแล้ว 2 แท่น ได้แก่ แท่นสงขลา C และแท่นสงขลา G ก�ำลังการผลิตรวมกว่า 2 พันบาร์เรล ต่อวัน อย่างไรก็ตามจากราคาน�้ำมันดิบที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลดีต่อการ เปิดส�ำรวจและผลิตรอบ 21 โดยยังมีนักลงทุนสอบถามความคืบหน้าอย่าง ต่อเนื่อง นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.ส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า แปลงสัมปทานบงกช จะสิ้นสุดสัญญาในปี 2566 โดยในส่วนของแหล่งบงกชทางบริษัทพร้อมจะด�ำเนินการตามข้อก�ำหนด ของรัฐไม่ว่าจะเป็นการเจรจา หรือการเปิดประมูล ซึ่งต้องให้มีความชัดเจน ภายในปีนี้ ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อแผนลงทุน ทางบริษัทคงจะไม่สามารถ วางแผนระยะยาวในการรักษาก�ำลังผลิตระดับปัจจุบันที่ประมาณ 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ได้หลังปี 2566 ซึ่งน่าเป็นห่วงต่อแผนพลังงาน ของประเทศ เพราะแหล่งบงกชนับว่ามีก�ำลังผลิต 20% จากปริมาณ ความต้องการก๊าซทั้งหมดของประเทศที่ 5 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

ได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะหมดอายุสัญญา เพื่อไม่ให้กระทบต่อการ ผลิตก๊าซของประเทศ” นายวีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส�ำหรับความคืบหน้าการเปิดส�ำรวจ และผลิตปิโตรเลียมรอบ 21 อยู่ระหว่างขั้นตอนการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังจากคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียม และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เสร็จสิ้นเมื่อเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา โดยขั้นตอนต่อไปจะต้องส่งให้ทาง สนช. อีกครั้ง จากนั้นน่าจะ เปิดส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบ 21 ได้ ส่วนราคาน�้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นระดับ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่งผลดีต่อธุรกิจส�ำรวจขุดเจาะ โดยล่าสุดคาดว่าบริษัท คอสตอลเอนเนอร์ยี่ หรือบริษัท ซีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด (ประเทศ ที่มา ::: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

13

เรียนรู้อะไรจาก

ปัญหาน�้ำไม่พอใช้ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช นับเป็น ผลกระทบที่เกิดขึ้นจนเป็นวิกฤติน�้ำขาดแคลนครั้งใหญ่ในรอบหลายๆ ปี ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 19 พค.59 ได้มีตัวแทนชาวบ้านที่เดือดร้อนเข้าร้องเรียน ต่อศูนย์ด�ำรงธรรม จ.นครศรีธรรมราช ให้ช่วยแก้ไขปัญหาน�้ำขาดแคลน ในเขตเทศบาลที่ผ่านมาเป็นเวลาเกือบเดือน สะท้อนให้เราได้ตระหนักถึง ความส�ำคัญของการบริหารจัดการน�้ำ มีค�ำถามมากมายที่ผู้คนต่างช่วยกัน คิด และมีข้อสงสัยต่างๆ ที่ต้องการหาค�ำตอบ ในขณะที่เขตเมืองเติบโต อย่างต่อเนื่อง+การขยายตัวของชุมชนเมือง ความต้องการน�้ำเพิ่มขึ้นใน ทุกๆ ปี ค�ำถามแรก การเตรียมแหล่งน�้ำดิบเพื่อท�ำน�้ำประปาให้กับชุมชน เมือง ค�ำถามต่อมา การเตรียมตัวรับสภาพที่เกิดฝนแล้งนานจนแหล่งน�้ำดิบ ขาดน�้ำบวกกับความต้องการใช้น�้ำในพื้นที่ต้นน�้ำ-กลางน�้ำ เพื่อการเกษตร และอุปโภค-บริโภคในครัวเรือนเพิ่มขึ้นตามล�ำดับ พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ บนภูเขาแหล่งต้นน�้ำมีน�้ำลดลง-แต่มีผู้ใช้น�้ำมีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้น ความไม่ สมดุลระหว่างการมีน�้ำไว้ใช้กับการใช้น�้ำ “น�้ำมีน้อย-ใช้มาก-ไม่พอใช้” ท�ำอย่างไร? น�้ำสะอาดมีมาก-ใช้มาก-พอใช้” ที่การแทนค่าเพื่อให้ได้ค�ำตอบนี้ ล�ำดับแรกก็คือการมีแหล่งน�้ำดิบจาก เมื่อโจทย์คือ “น�้ำสะอาดมีมากจนพอใช้ไปอีก 20-30 ปี” มา ล� ำ คลองที่ ไ หลมาจากภู เ ขากั บ การสร้ า งแหล่ ง น�้ ำ ดิ บ ส� ำ รองในปริ ม าณ ที่เท่าไร ? ถึงจะสะอาดและพอใช้ แต่ความจริงในวันนี้.... แหล่งน�้ำดิบที่มี อยู่เดิมเพียงพอหรือไม่ ? สะอาดหรือไม่ ? ในภาวะขาดแคลนเกิดขึ้นจาก อะไร ? และถ้าควบคุมไม่ได้แล้วเกิดขึ้นอีกต้องท�ำอย่างไร ? ประเด็นใหญ่ ที่ไม่อาจมองข้ามได้เมื่อเกิดภาวะขาดแคลนน�้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการช่วยเหลือ ตนเองของชุมชนเมืองคือการขุดเจาะน�้ำใต้ดิน เพื่อน�ำมาใช้ก็จะมีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบแหล่งน�้ำใต้ดินในอนาคตจะแก้ปัญหานี้ อย่างไร ? กลับมาที่โจทย์หรือเป้าหมายคือ “มีน�้ำสะอาด-พอใช้” สิ่งต้อง มาพิจารณาก็คือ แล้วเราจะท�ำอะไร ? ท�ำอย่างไร ? ใช้งบประมาณ เท่าไร ? และจะลงมือท�ำเมื่อไร ? เสร็จได้เมื่อไร ? - การมีแหล่งน�้ำดิบส�ำรองขนาดใหญ่ที่รองรับการมีจนพอใช้ หน้าตาเป็นอย่างไร ? ภาพที่เราอยากเห็นและมั่นใจได้ว่าถ้าเรามีแหล่ง น�้ำดิบขนาดใหญ่นี้ แล้วเราสบายใจได้ว่าจะมี “น�้ำจนพอใช้” - การเลือกผู้บริหารจัดการน�้ำ เพื่อให้เรามีแหล่งน�้ำดิบที่มีอยู่ ตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อจัดสรรน�้ำในระบบประปาสู่ชุมชนเมือง

น�้ำไม่มีใช้

“สะอาดจนพอใช้” ในทุกฤดูกาล - การใช้เทคโนโลยีเพื่อการท�ำให้ น�้ำสะอาดจนถึงระดับดื่มได้ ในอนาคต” - ราคาน�้ำที่จ่ายไปถึงครัวเรือนและเขตเศรษฐกิจของเมือง จะ มีอยู่ในราคาที่เหมาะสม - การมีแผนจัดการส�ำรองในกรณีเกิดวิกฤติแล้งนานจนท�ำให้ ขาดแหล่งน�้ำจากธรรมชาติ ในช่วงที่โครงการต่างๆ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ รวมถึงเกิดภัยธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อแหล่งน�้ำดิบที่มีอยู่ - การสร้างจิตส�ำนึกในการใช้น�้ำอย่างมีคุณภาพและประหยัด ในภาคประชาชนผู้ใชบริการ การมองเห็นโอกาสบนปัญหาขาดแคลนน�้ำประปาในครั้งนี้ จึ ง เป็ น มุ ม มองที่ ส� ำ คั ญ ยิ่ ง ที่ จ ะได้ เ ริ่ ม ออกแบบการบริ ห ารจั ด การน�้ ำ ให้เกิประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ “มีน�้ำสะอาด พอใช้” นับได้ว่าเป็นการ วั ด ความเป็ น มื อ อาชี พ ของผู ้ บ ริ ห ารท้ อ งถิ่ น และทางจั ง หวั ด ที่ ไ ม่ อ าจ ปฎิเสธความรับผิดชอบนี้ไปได้ครับ..

นิเทศศาสตร์ มรภ.นศ. ชวนติดตาม “JANG HOO TEAM” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เชิ ญ ผู ้ ส นใจติ ด ตามชมผลงานของนั ก ศึ ก ษา หลักสูตรนิเทศศาสตร์ ภายใต้กลุ่ม Jang - Hoo ซึ่งเป็นการร่วมตัวกันจัดตั้งเป็นศูนย์ Team ปฏิบัติการสื่อชุมชนที่ตอบสนองความต้องการ ของชุมชน รศ.วิมล ด�ำศรี อธิการบดี มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครศรีธรรมราช ให้สัมภาษณ์ว่า “กลุ่ม Jang-Hoo Team เป็นการร่วมตัวของนักศึกษา นิเทศศาสตร์ในการผลิตสื่อ โดยได้เริ่มด�ำเนินการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ได้รับงานผลิตสื่อ VTR รายการโทรทัศน์เป็นหลัก และต่อมาในปี พ.ศ. 2558 ได้ท�ำบันทึกตกลงความร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบเี อส และองค์กรสือ่ ชุมชน ซึง่ ท�ำให้กลุม่ JangHoo Team ได้เติบโตขึ้น และพร้อมรับผลิตงานที่ หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งสื่อโทรทัศน์ งานโฆษณา และงานประชาสัมพันธ์ รวมถึงกิจกรรมอบรมสื่อสารชุมชนในรูปแบบต่างๆ จากความร่วมมือกว่า 5 ปีที่ผ่านมา บัดนี้ มีการรวมตัวอย่าง เป็นรูปธรรมภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการสื่อชุมชน Jang - Hoo Team ซึ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชได้ลงนามความร่วมมือพัฒนาต้นแบบ สื่อสาธารณะระดับชุมชน ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยมีมหาวิทยาลัย อีก 8 แห่งทั่วประเทศ และองค์กรสื่อชุมชนร่วมลงนามด้วย เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 และได้ด�ำเนินกิจกรรมร่วมกัน ทั้งการจัดอบรมพัฒนา

นักข่าวโทรทัศน์ชุมชนต้นแบบ การส่งนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมอบรม ณ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และต่างจังหวัด ตลอดจนการเผยแพร่รายการ นักข่าวพลเมืองทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสกว่า 20 ผลงาน” ด้านอาจารย์กรกฎ จ�ำเนียร อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรนิเทศศาสตร์ หนึ่งในที่ปรึกษาของศูนย์ปฏิบัติการสื่อชุมชน Jang-Hoo Team เผยว่า “การจัดตัง้ ศูนย์ปฏิบตั กิ ารสือ่ ชุมชนนี้ แต่แรกเริม่ ใช้ในนาม Jang-Hoo Film ก่อตั้งทีมด้วยนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์รุ่นปีการศึกษา 2554 เพื่อ ผลิตผลงานทีวีส่งช่องดาวเทียม IPM ส่งผลงานประกวดในรายการต่างๆ ต่อมาก็เน้นการท�ำงานชุมชน หลังจากนั้นนักศึกษาที่เป็นผู้ก่อตั้งทีมได้จบ การศึกษาไป นักศึกษารุ่นต่อมาจึงเล็งเห็นถึงความส�ำคัญการท�ำงานเพื่อ ชุมชน จึงได้สานต่ออุดมคติของรุ่นพี่ ได้รวมกลุ่มจากนักศึกษาที่สนใจจัดตั้ง กลุ่มศูนย์ปฏิบัติการสื่อชุมชน ภายใต้กลุ่ม“จังฮู้ทีม (JANG HOO TEAM)” ที่เปิดปฏิบัติการในปัจจุบัน นอกจากนี้ สมาชิก“JANG HOO TEAM” นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์จ�ำนวนหนึ่งได้ร่วมผลิตรายการโทรทัศน์กับ ผู้ผลิตอิสระ / สื่อชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช และสถานีโทรทัศน์ไทย พีบีเอส ภายใต้รายการ “แลต๊ะ แลใต้” ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ส่วนของนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ได้รับโอกาสเป็นส่วนหนึ่ง

ในการผลิต ท�ำให้นักศึกษาเข้าใจลักษณะการ ท�ำงานรายการโทรทัศน์ และได้ฝึกการวางตัว ในการเข้ า กั บ แหล่ ง ข่ า วและผู ้ เ กี่ ย วข้ อ งได้ ดีขึ้น” ดร.เมธาวี แก้วสนิท ประธาน หลักสูตรนิเทศศาสตร์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลักสูตรนิเทศศาสตร์ในปัจจุบันเน้นการเรียน การสอนที่ ใ ห้ นั ก ศึ ก ษาได้ ล งมื อ ปฏิ บั ติ จ ริ ง ในทุกวิชาเอก ทั้งหนังสือพิมพ์และสื่อสิ่งพิมพ์ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ นอกจากจะท�ำงานร่วมกับ สถานี โ ทรทั ศ น์ ไ ทยพี บี เ อสและเครื อ ข่ า ยสื่ อ อย่างต่อเนื่องแล้ว การที่จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการสื่อ ชุมชน การได้สร้างทีม “จังฮู้ทีม (JANG HOO TEAM)” ในลักษณะศูนย์ปฏิบัติการสื่อชุมชน กึ่งธุรกิจจ�ำลอง รับผลิตงานสื่อทุกประเภท เพื่อฝึกให้เด็กได้บริหารจัดการ ธุรกิจสื่อด้วยตนเอง เตรียมความพร้อมการเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีความ รอบรู้และสามารถปรับตัวได้ในทุกสภาพสังคม นายอนันตชัย พรหมเกื้อ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 นักศึกษาที่ได้มี โอกาสท�ำงานกับผู้ผลิตรายการอิสระ และประธานกลุ่มจังฮู้ทีม แสดง ความเห็นว่า การท�ำงานในนามจังฮู้ทีม เกิดจากนักศึกษาที่มีความสนใจ ได้รวมตัวกัน เพื่อที่จะฝึกประสบการณ์ระหว่างเรียน ซึ่งนักศึกษาที่เข้ารวม กลุ่มเป็นทีมงาน ท�ำเพราะใจรัก ไม่ได้บังคับในรายวิชาเรียน ซึ่งจะท�ำงาน ร่วมกับผู้ผลิตรายการอิสระ และชุมชนที่ต้องการผลิตสื่อเพื่อพัฒนาท้องถิ่น นายอนันตชัย กล่าวทิ้งท้ายโดยเชิญชวนให้นักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏนครศรีธรรมราช และบุคลากรในมหาวิทยาลัยที่สนใจ ช่วยกัน ประชาสัมพันธ์ ช่วยกันเสนอแนะชุมชนทีน่ า่ สนใจหรือชุมชนบ้านเกิด ติดต่อ Jang –Hoo Team ห้อง 2013 อาคาร20 มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราช หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์ คุณปณิดา เพชรสังข์ โทร. 085 3474138 กด Like รับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือสื่อสารเรื่องราวมาแลกเปลี่ยน กันได้ที่ Fanpage Jang –Hoo Team นิเทศศาสตร์ราชภัฏนครศรีธรรมราช


14

เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

สถานีความคิด

คลื่นวิทยุกระจายเสียงชุมชน คิดดี ท�ำดี ที่นี่เมืองนคร

FM

87.5 MHz. อ้อมค่าย

จ�ำหน่าย

อลูมิเนียม

กระจก อลูมิเนียม แผ่นยิปซั่ม แผ่นสมาร์ทบอร์ด และอุปกรณ์

383 ถ.อ้อมค่ายฯ ต.ปากพูน

บริการส่งถึงที่

PORNTEPLOHAKIT@GMAIL.COM

(เยื้องที่ว่าการอ�ำเภอเมืองฯ) 087-6291541, 086-7435556, 075-800325

บริการห้องพัก ห้องอาหาร ห้องประชุมสัมมนา งานเลี้ยงมงคลสมรส

แบงค์ & บอย ศูนย์รวมของเด็กเล่นทุกชนิด จ�ำหน่าย... สินค้าเบ็ดเตล็ด เครื่องใช้ครัวเรือน ของขวัญปีใหม่ ตุ๊กตา กิ๊ฟช้อป ฯลฯ bankandboyshop, bankandboy www.facebook.com/bankandboy

โทร.075-358405, 075-761702

095-3203270


เดือนพฤษภาคม 2559

FREE COPY

15

ตามดู ‘ทม.ปากพูน’

นายฤทธิชัย ศรีเมือง รองนายกเทศมนตรีเมืองปากพูน เทศบาลเมืองปากพูน มี 12 หมู่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ 96 ตาราง กิโลเมตร มีนายเฉลิม ศรีเมือง เป็นนายกเทศมนตรีเมืองปากพูนคณะ ผู้บริหารเทศบาลเมืองปากพูนชุดปัจจุบัน รวมถึงสมาชิกสภาเทศบาลเมือง ปากพูน เข้ารับต�ำแหน่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 และครบวาระการ ด�ำรงต�ำแหน่ง 4 ปี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา ปัจจุบันยังคง รักษาการต่อในต�ำแหน่งภายใต้ค�ำสั่ง คสช. ในช่วงปี 2556 - 2558 ปัญหาการขาดแคลนน�้ำประปาในพื้นที่ ต�ำบลปากพูน โดยเฉพาะโซนพื้นที่สองฝั่งถนนอ้อมค่ายวชิราวุธ ซึ่งเป็น พื้นที่รอยต่อและรับน�้ำประปาจากเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีความ เดือดร้อนรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปี 2557 ปัญหาขาดแคลนน�้ำ ประปารุนแรงหนักมากขึ้น จนถึงขั้นประชาชนในหมู่บ้านการเคหะรวมตัว กันประท้วงเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง นายฤทธิชัย ศรีเมือง รองนายกเทศมนตรีเมืองปากพูน เปิดเผยว่า ในช่วงปีแรกที่คณะผู้บริหารเข้ามาดูแลพื้นที่ ปัญหาเรื่องน�้ำ ก็ยังไม่รุนแรงมาก พอเข้าในช่วงปี 2556 ความรุนแรงเรื่องของความ ต้องการใช้น�้ำเริ่มที่จะมีปัญหามากขึ้น เนื่องจากมีความเจริญก้าวเข้ามา อย่างมากมาย โดยเฉพาะบริเวณถนนอ้อมค่ายวชิราวุธ มีผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะมาท�ำธุรกิจหรือว่ามาสร้างที่อยู่อาศัยก็มากขึ้น ฉะนั้นปัญหาการ ขาดแคลนน�้ำก็เลยเกิดขึ้นมากและมีความรุนแรงมากขึ้นในพื้นที่ “เมื่อก่อนที่ยังไม่มีความเจริญมากนัก ทางเทศบาลปากพูน ได้ท�ำการเชื่อมต่อท่อประปามาจากเทศบาลนคร แต่มาในระยะหลังทางล เทศบาลนครเอง ก็ยังมีน�้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในเขต ทางเทศบาลปากพูนเราเข้าใจว่าเราอยู่ปลายน�้ำ ในการช่วงแรกๆ ปล่อย น�้ำมาเต็มพิกัด ระยะหลังนี้ปล่อยมาไม่เต็มก�ำลัง และช่วงหลังปล่อยมา เป็นเวลา ท�ำให้ทางทีมบริหารปากพูนเกิดการคิดที่จะสร้างหม้อหุงข้าว เป็นของตัวเองซักที หากภายภาคหน้าวิกฤติหนักกว่านี้เราจะต้องแก้ปัญหา ให้กับชาวบ้านได้โดยที่ไม่ต้องคาดหวังจากที่อื่น” ฤทธิชัย เล่าต่อว่า เมื่อเกิดวิกฤติการขาดแคลนน�้ำประปา ทีมบริหารก็ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุม ได้ตกผลึกในการแก้ปัญหา ขึ้นเป็น 3 ระยะ คือระยะแรก เร่งด่วนฉุกเฉิน เป็นการแก้ปัญหาวิกฤต เฉพาะหน้า เราใช้รถน�้ำเท่าที่มีตอนนั้น 2 คัน วิ่งแจกจ่ายน�้ำให้ตามบ้าน ทั้งวันทั้งคืน เป็นการบรรเทาทุกข์เบื้องต้น เพื่อให้ชาวบ้านพอมีน�้ำใช้ไปก่อน โดยไม่ต้องคิดถึงก�ำไรเรื่องระบบประปาของเรา เพราะเป็นงานบริการของ ทางเทศบาลอยู่แล้ว ส่วนในการบริหารเชิงพาณิชย์ที่จะให้มีก�ำไรนั้นค่อยคิด

ฝ่าวิกฤติขาดน�้ำประปา สู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

ทีหลัง เราต้องช่วยเหลือชาวบ้านให้ได้มากที่สุด จนกว่าให้ชาวบ้านรู้สึก เป็นที่พึงพอใจ แล้วค่อยมาดูการบริหารการจัดการเรื่องของก�ำไรทีหลัง ระยะที่ 2 พัฒนาโครงสร้างระบบประปาให้สมบูรณ์ เป็นช่วง ของการสร้างความเข้าใจและพัฒนาโครงสร้างระบบประปาให้สมบูรณ์ เรา ได้มาท�ำความเข้าใจในเรื่องงบประมาณว่า หากเราจะจัดการดูแลของเราเอง เราต้องเข้าใจว่า น�้ำประปาที่รับมาจากเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดย ในพื้นที่ของเทศบาลนครเองก็ประสบปัญหามากมาย ในเวทีการประชุม ประชาคมท�ำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน เราก็ได้น�ำเสนอข้อมูลและ รับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน สร้างความเข้าใจในเรื่องของการจัดสรร งบประมาณมาแก้ปัญหาเรื่องน�้ำ ต้องคุยกันหลายรอบเพื่อที่จะจัดสรร งบประมาณเรื่องน�้ำให้มากที่สุดเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์และความต้องการ ในส่วนเรื่องอื่นๆ เรื่องโครงสร้างอื่นๆ เราก็มีความพร้อมเกือบสมบูรณ์แล้ว ฉะนั้น เรื่องน�้ำจึงเป็นความเดือดร้อนที่ค่อนข้างหนัก สุดท้ายเป็นที่สรุป เรื่องงบประมาณว่า ต้องจัดสรรงบประมาณมาแก้ปัญหาเรื่องน�้ำอย่างทัน ท่วงที ส่วนไหนที่เราสามารถขอความอนุเคราะห์ขอความช่วยเหลือจาก หน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้อง เราก็ต้องการด�ำเนินการ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ ของทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของนายกเอง ผู้บริหาร สมาชิกสภา หรือ ส่วนของข้าราชการ ที่มีความสามารถในการประสานความร่วมมือในการ ผลักดันงบประมาณลงพื้นที่ก็จะต้องร่วมช่วยกันทุกคน จึงเป็นที่มาของ งบประมาณในการแก้ไขปัญหาเรื่องน�้ำในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จนถึงตอนนี้ เรามีประปาหมู่บ้านทั้งหมด 20 แห่ง ครอบครุมทั่วพื้นที่ และระยะ 3 การสร้างความยั่งยืนในการบริหารจัดการน�้ำ พร้อมการสร้างความมั่นใจให้แก่ชาวบ้านได้ว่า เราสามารถพึ่งพาตนเอง ในเรื่องของน�้ำได้ โดยรองนายกเทศมนตรีเมืองปากพูนบอกว่า นอกจาก เราจะมีประปาขนาดใหญ่ครอบคลุมทุกพื้นที่แล้ว เราจะด�ำเนินการในการ ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนท่อประปา และสร้างระบบโยงใยระหว่างประปา แต่ละจุดทั้ง 20 แห่งของเรา เป็นระบบใยแมงมุมที่สามารถส่งน�้ำเข้าไป เชื่อมต่อกันทุกพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่จุดไหนมีปัญหาขึ้นมาได้ บริเวณอ่างเก็บน�้ำ 63 ไร่ ความลึก 7 เมตร ซึ่งสามารถเก็บน�้ำ ได้ประมาณ 400,000 คิว โดยได้งบประมาณมาจากกองพันทหารช่าง ที่ 41 และทางกองทัพได้ขุดให้จนแล้วเสร็จ จะเป็นจุดก่อสร้างโรงกรอง ประปาขนาดใหญ่ เมื่อแล้วเสร็จก็จะเป็นความมั่นคงด้านการจัดการน�้ำ ของพื้นที่ และนอกเหนือจากบริเวณอ่างเก็บน�้ำดังกล่าว เรายังมีแนวคิด

ในการสร้างแหล่งน�้ำส�ำรองอีกคือ บริเวณหนองช้างตาย มีพื้นที่ประมาณ 100 กว่าไร่ หนองพลายด�ำพื้นที่ประมาณ 50 - 60 ไร่ ในอนาคต หากพื้นที่บริเวณใดมีน�้ำไม่เพียงพอ ก็สามารถที่จะต่อท่อส่งน�้ำดิบเข้ามาที่ โรงกรองผลิตประปาของเราได้ นอกจากนี้ รองนายกเทศมนตรีเมืองปากพูนได้กล่าวถึงการใช้ บริการน�้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาคว่า เรื่องการน�ำประปาภูมิภาค เข้ามาในพื้นที่ ประชาชนในพื้นที่จะได้รับความเดือดร้อน เรื่องค่าใช้จ่าย ในชีวิตประจ�ำวัน จะเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของชาวบ้าน เราจึงกลับ มาทบทวนในความรับผิดชอบดูแลพี่น้องประชาชนในพื้นที่ หากเราจะไป เพิ่มภาระในการจ่ายค่าน�้ำให้กับชาวบ้าน ก็เป็นเรื่องที่เราต้องคิด ว่าถ้าเรา สามารถบริหารจัดการเองโดยที่พี่น้องประชาชนไม่เดือดร้อน เราก็จะท�ำ ตรงนี้ก่อน ในส่วนของพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน�้ำประปาอย่างหนัก ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมาอย่างพื้นที่สองฝั่งถนนอ้อมค่ายวชิราวุธ ในปีนี้ กลับสามารถผ่านพ้นช่วงหน้าแล้งได้โดยไม่เกิดวิกฤติ โดยทั้งนี้เกิดจากการ แก้ปัญหาอย่างจริงจังของเทศบาลเมืองปากพูนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง “การใช้น�้ำประปาจากเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ปัจจุบัน ก็ยังใช้อยู่ในส่วนหนึ่ง จากเดิมที่ 100% ถนนอ้อมค่ายวชิราวุธ ที่ใช้น�้ำ ประปาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ปัจจุบันก็คิดว่าไม่เกิน 20% หรือว่า ประมาณ 10 % ก็น่าจะเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงที่สุด” รองนายกเทศมนตรี เมืองปากพูนกล่าวยืนยัน ปัจจุบัน นอกจากเทศบาลเมืองปากพูนสามารถแก้ปัญหาน�้ำ ประปาในพื้นที่ได้อย่างเพียงพอแล้ว ยังมีการน�ำน�้ำไปช่วยเหลือประชาชน หน่วยงานหรือองค์กรนอกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อาทิ โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สถานีต�ำรวจภูธรเมืองนคร ศรีธรรมราช ตลอดถึงประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ด้วย ในส่วนของพื้นที่กองทัพภาคที่ 4 ค่ายวชิราวุธ ซึ่งมีระบบการ จัดการน�้ำประปาของตนเอง โดยรับน�้ำมาจากเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้รับความเดือดร้อนน�้ำประปาไม่เพียงพอเช่นกัน โดยหน่วยต่างๆ ในกองทัพ ได้แก้ปัญหา โดยการน�ำรถขนน�้ำจากเทศบาลเมืองปากพูนไปแจกจ่ายให้แก่ ก�ำลังพลและครอบครัว นายฤทธิชัย ศรีเมือง ยังได้กล่าวถึงปัญหาความเดือดร้อนเรื่อง วิกฤตน�้ำประปาว่าเกิดขึ้นทุกพื้นที่ หากส่วนราชการหรือพี่น้องประชาชน นอกพื้นที่ ต้องการที่จะให้เทศบาลเมืองปากพูนเข้าไปช่วยดูแลเรื่องน�้ำ เราก็ยินดี โดยทางนายกเทศมนตรีเมืองปากพูนได้ให้นโยบายไว้แล้วว่าหาก ได้รับประสานขอความช่วยเหลือ จะต้องรีบด�ำเนินการอย่างทันท่วงที นี่คือรูปธรรมความส�ำเร็จ ในการฝ่าวิกฤตปัญหาการขาดแคลน น�้ำประปาของเทศบาลเมืองปากพูน ที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการแก้ไขปัญหา อย่างจริงจัง มองเห็นปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชนเป็นเรื่อง เร่งด่วนที่จะต้องได้รับการดูแลแก้ไข เรียนรู้จากวิกฤตที่ผ่านมา รับฟังความ คิดเห็นจากทุกภาคส่วน สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สร้างความ เข้าใจในสภาพปัญหา จนเกิดความร่วมมืออันดี และเกิดความเข้มแข็งอย่าง ยั่งยืนในการจัดการน�้ำของพื้นที่ “เราภูมิใจที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องน�้ำได้เกือบ 100 % เป็น ความภาคภูมิใจของชาวปากพูนทุกคน” รองนายกเทศมนตรีเมืองปากพูน กล่าว


16พัฒ เดือนากุ นพฤษภาคม โบร์2559ต้อนรับรอมฎอน ฮ.ศ.1437

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา เยาวชนกลุ่ม ดร.โจ ยูธ คลับ พร้อมด้วยเยาวชนจากค่ายมวยศักดิ์สมาน รวมกว่า 60 คน ร่วมกิจกรรมพัฒนากุโบร์นอกโคก ร่วมกับพี่น้องมุสลิม ในโอกาสต้อนรับเดือนรอมฎอน อันประเสริฐ ฮ.ศ.1437 ที่จะมาถึง โดย กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “จิตอาสา พัฒนา ตนเอง สร้างสรรค์สังคม”

พิธีปิดการแข่งขันและ มอบโล่เกียรติยศพร้อมเงินรางวัล

FREE COPY


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.