Graphic on Packaging

Page 1

หน่วยที่ 6

การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์

วามหมาย

การออกแบบกราฟิก สําหรับงาน บรรจุภัณฑ์ (graphic design for packaging) หมายถึง การสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจ อันจะมีผลทางจิตวิทยา ต่อผู้บริโภค เช่น การให้มโนภาพถึง สรรพคุณ การใ ช้งาน การเก็บ รักษา เป็นต้น การออกแบบ (design) หมายถึง การจัดองค์ ประกอบของหลายสิ่งสร้างสรรค์ ให้มีความสัมพันธ์ กัน ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน หรือ แตกต่างกัน นํามาจัดด้วยการใช้สายตา ทําให้เกิด จุดสนใจ

บรรจุภัณฑ์ (packaging) หมายถึง หน่วยรูปแบบ วัตถุภายนอกที่ทําหน้าที่ปกป้องคุ้มครองหรือ ห่อ หุ้มผลิตภัณฑ์ภายในอย่างมีระบบเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ ปลอดภัย สะดวกต่อการขนส่ง เอื้ออํานวยให้เกิด ประโยชน์ในทางการค้าและการบริโภค

กราฟิก (graphic) หมายถึง การสื่อความหมายด้วย การใช้ศิลปะและศาสตร์ ทางการใช้เส้นภาพวาด ภาพเขียน แผนภาพ ตลอดจนสัญลักษณ์ ทั้งสีและ ขาว-ดํา ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน เข้าใจความ หมายได้ทันที ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ

หน้าที่ของกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ • สร้างทัศนคติที่ดีงามต่อผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต • ชี้แจงและบ่งชี้ให้ผู้บริโภคทราบถึงชนิด ประเภทของผลิตภัณฑ์ • แสดงเอกลักษณ์เฉพาะสําหรับผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ • แสดงสรรพคุณและวิธีใช้ของผลิตภัณฑ์


การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ การออกแบบกราฟิก สําหรับงานบรรจุภัณฑ์ สามารถ สร้างสรรค์ได้ทั้งลักษณะ 2 มิติ บนพื้นผิวแผ่นราบของ วัสดุ ก่อนนําวัสดุต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันเป็นรูปทรง ของบรรจุภัณฑ์ ส่วนในลักษณะ 3 มิติ ก็อาจจะกระทํา ได้ 2 กรณีคือ ทําเป็นแผ่นฉลาก (Label) หรือแผ่นป้าย นําไปติดบนบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปเป็นภาชนะบรรจุสําเร็จ มาแล้ว หรืออาจจะสร้างสรรค์บนผิวภาชนะบรรจุรูป ทรง 3 มิติ โดยตรงก็ได้

ลักษณะกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ แสดงบทบาทหน้าที่สําคัญ อันได้แก่ 1

การสร้างทัศนคติที่ดีงามต่อผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ทําหน้าที่ เปรียบเสมือนสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ในอันที่จะเสนอต่อผู้อุปโภค บริโภค แสดงออกถึงคุณงามความดีของผลิตภัณฑ์และความรับผิดชอบที่ผู้ผลิตมีต่อผลิต ภัณฑ์นั้นๆ

2

การชี้แจงและบ่งชี้ให้ผู้บริโภคทราบถึง ชนิด ประเภทของผลิตภัณฑ์

3

การแสดงเอกลักษณ์เฉพาะสําหรับผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ เช่น ตราสินค้า เป็นต้น

4

การแสดงสรรพคุณและวิธีใช้ของผลิตภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์เป็นตัวแทนของกระบวนการส่งเสริมการขายทางด้านการตลาด ณ จุดขาย ที่สามารถจับต้องได้ ทําหน้าที่เป็นสื่อโฆษณาได้อย่างดีเยี่ยม ณ จุดขาย รูปทรงของบรรจุ ภัณฑ์เปรียบได้กับตัวโครงร่างกายของมนุษย์ สีที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนผิวหนัง ของมนุษย์ คําบรรยายบนบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับปากที่กล่าวแจ้งแถลงสรรพคุณ การ ออกแบบอาจจะเขียนเป็นสมการอย่างง่าย ๆ ได้ดังนี้ การออกแบบ = คําบรรยาย + สัญลักษณ์ + ภาพพจน์ เนื่องจากการออกแบบภาพพจน์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งอาจ แสดงออกได้ด้วย จุด เส้น สี รูปวาด และรูปถ่าย ผสมผสานกันออกมาเป็นพาณิชย์ศิลป์บน บรรจุภัณฑ์ ด้วยหลักการง่าย ๆ 4 ประการ คือ SAFE ซึ่งมีความหมายว่า S A F E

Simple Aesthetic Function Economic

เข้าใจง่ายสบายตา มีความสวยงาม ชวนมอง ใช้งานได้ง่าย สะดวก ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม


กราฟิกบรรจุภัณฑ์กับบทบาททางการตลาด หน่วยขนส่งใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สําหรับจุดขายใหม่ การเพิ่มหิ้ง ณ จุดขายที่เรียกว่า POP (Point of Purchase) อาจมีส่วนช่วยส่งเสริม การขายเมื่อเปิดช่องทางการจัด จําหน่ายใหม่ การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยัง 3. เจาะตลาดใหม่ มีความจําเป็น มีบทบาทช่วยเสริมกิจกรรมต่าง ๆ อย่างยิ่งที่ต้องออกแบบบรรจุ ภัณฑ์ใหม่ในการเจาะตลาดใหม่ ทางด้านการตลาด ดังนี้ หรือกลุ่มเป้าหมายใหม่ ในบาง กรณีอาจจําเป็นต้องเปลี่ยน ตามที่ได้อธิบายแล้วว่า บรรจุภัณฑ์มีบทบาทในส่วนผสม ตราสินค้าใหม่อีกด้วย การตลาดในการทําหน้าที่เสริม 4. ผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการตลาดในแต่ละขั้น ใหม่เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับ ตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ รายละเอียดปลีกย่อยในการช่วย สินค้าเก่า เช่น เปลี่ยนจากการ เสริมกิจกรรมต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้ ขายกล้วยตากแบบเก่า เพิ่ม ผลิตภัณฑ์ใหม่มาเป็นกล้วยตาก ชุบน้ําผึ้ง อาจใช้บรรจุภัณฑ์เก่าแต่ 1. การใช้โฆษณา บรรจุภัณฑ์จํา ต้องออกแบบให้จําได้ง่าย ณ จุด เปลี่ยนสีใหม่เพื่อแสดงความ ขาย หลังจากกลุ่มเป้าหมายได้ สัมพันธ์กับสินค้าเดิมหรืออาจใช้ เทคนิคของการออกแบบบรรจุ เห็นหรือฟังโฆษณามาแล้ว ใน ภัณฑ์ยูนิฟอร์มดังจะกล่าวต่อไป กลยุทธ์นี้บรรจุภัณฑ์มักจะต้อง เด่นกว่าคู่แข่งขันหรือมีกราฟฟิกที่ ในบทนี้ แต่ในกรณีที่เป็นสินค้า สะดุดตาโดยไม่ต้องให้กลุ่มเป้า ใหม่ถอดด้ามจําต้องออกแบบ บรรจุภัณฑ์ใหม่หมด แต่อาจคง หมายมาองหา ณ จุดขาย ตราสินค้าและรูปแบบเดิมไว้เพื่อ 2. การเพิ่มช่องทางการจัด สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่ม จําหน่าย ช่องทางการจัดจําหน่าย ที่เคยเป็นลูกค้าประจําของสินค้า ที่เปลี่ยนแปลงไปอาจจําเป็นต้องมี เดิม การออกแบบปริมาณสินค้าต่อ

5. การส่งเสริมการขาย จําเป็น อย่างยิ่งต้องมีการออกแบบบรรจุ ภัณฑ์ใหม่ เพื่อเน้นให้ผู้บริโภค ทราบว่ามีการเพิ่มปริมาณสินค้า การลดราคาสินค้า หรือการแถม สินค้า รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ ย่อมมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภค มีความอยากซื้อมากขึ้น 6. การใช้ตราสินค้า เป็นสิ่งจําเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีเพื่อสร้างความ ทรงจําที่ดีต่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่มี ตราสินค้าใหม่ควรจะได้รับการ ออกแบบใหม่ด้วยการเน้นตราสิน ค้า รายละเอียดในเรื่องนี้จะได้ กล่าวต่อไปในหัวข้อตราสินค้า 7. เปลี่ยนขนาดหรือรูปทรงของ บรรจุภัณฑ์ โดยปกติสินค้าแต่ละ ชนิดมีวัฏจักรชีวิตของตัวมันเอง (Product Life Cycle) เมื่อถึง วัฏจักรชีวิตช่วงหนึ่ง ๆ จําเป็นต้อง มีการเปลี่ยนโฉมของบรรจุภัณฑ์ เพื่อยืดอายุของวัฏจักร ในบาง กรณี การเปลี่ยนขนาดอาจเกิด จากนวัตกรรมใหม่ทางด้านบรรจุ ภัณฑ์ เช่น การเลือกใช้วัสดุใหม่จึง มีการเปลี่ยนรูปทรงหรือขนาด ไม่ ว่าจะเป็นสาเหตุใดก็ตามมีความ จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อ รักษาหรือขยายส่วนแบ่งการ ตลาด


ส่วนประกอบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ เป็นการบอกถึงเรื่องราวของสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน ให้ผู้บริโภคทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่มี ทั้งผลดีและ ผลเสียของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลที่นักออกแบบกราฟิค ควรนําเสนอมีดังนี้ • ประเภท • ส่วนประกอบหรือส่วนผสมโดยประมาณ • คุณค่าทางสมุนไพร • ขั้นตอนหรือวิธีใช้ • การเก็บรักษา • วันที่ผลิตและวันหมดอายุ • คําบรรยายสรรคุณ • ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต

ภาพเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์ 1. คําแนะนําในการยกขน ภาพเครื่องหมายที่แสดงไว้บนหีบห่อ 2. ข้อความมูลฐาน อาจจะเขียนข้อความมูลฐานเตือนให้ใช้ความระมัดระวังไว้ใต้ภาพเครื่องหมายการด้วย ภาษาของประเทศต้นทางและ / หรือปลายทาง 3. สี ภาพ เครื่องหมายที่กล่าวในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ต้องเขียนหรือพิมพ์ด้วยสีดําทั้งหมด ถ้า สีของหีบห่อทําทําให้เครื่องหมายได้ไม่ชัดเจน ให้ใช้ป้ายซึ่งสีตัดกันตามความเหมาะสมเป็นพื้น ซึ่งถ้าจะให้ดี ควรเน้นสีขาว อาจเขียนเป็นเครื่องหมายไว้บนป้ายนําไปติดกับหีบห่อ หรือถ้าจะให้ดี ใช้พิมพ์แบบฉลุ (Stencil) บนหีบห่อโดยตรง

จํานวนตําแหน่งของภาพเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์ 1. จํานวนภาพเครื่องหมายแบบเดียวกันบนหีบห่อขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ใช้และขนาดรูปร่างของหีบห่อ ด้วย ภาพเครื่องหมายแสดงอันตรายต้องแสดงไว้ก่อนภาพเครื่องหมายอื่น ๆ และต้องเขียนหรือพิมพ์ภาพ เครื่องหมายอื่น ๆ ใกล้ภาพเครื่องหมายเท่าที่จะทําได้สะดวก และควรเขียนหรือพิมพ์ไว้ในระดับเดียวกัน 2. เครื่องหมาย “ คล้องที่นี่ ” และ “ ศูนย์กลางความถ่วง ” จะต้องเขียนหรือพิมพ์ให้ตรงตามตําแหน่งนั้น ๆ จริง ๆ เพื่อแสดงความหมายของภาพเครื่องหมายนั้น ขนาดของภาพเครื่องหมาย ภาพเครื่องหมายไม่จําเป็นต้องล้อมกรอบและขนาดเบ็ดเสร็จของภาพเครื่องหมายควรเป็น 10 ซม ., 15 ซม . หรือ 20 ซม . อย่างใดอย่างหนึ่ง


การวางแผนในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ 1. การวิเคราะห์หมวดหมู่สินค้า (category analysis) นักการตลาดวิเคราะห์หมวด หมู่สินค้าได้จากการสํารวจร้าน ค้า (store audits) การวิจัย (research) และการค้นข้อมูลจาก สื่อต่างๆ (media) 2. วิเคราะห์บรรจุภัณฑ์ของบริษัท และคู่แข่ง (competitive analysis) นักการตลาดมีการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ เปรียบเทียบจุดแข็ง และจุดอ่อนบรรจุภัณฑ์ของบริษัท และของคู่แข่งขัน เพื่อใช้ในการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความ โดดเด่นกว่าของคู่แข่งขันเมื่อวาง ขายในร้านค้า ซึ่งสามารถกระตุ้น ให้เกิดความจดจํา เห็นชัด และ ต้องการซื้อสินค้าของบริษัท มากกว่าของคู่แข่งขัน

ประเภทของสินค้า คุณสมบัติหรือ คุณสมบัติของสินค้าบนบรรจุ คุณลักษณะเฉพาะ รวมทั้งยัง ภัณฑ์ สามารถสร้างการจดจํา สร้าง ความภักดีต่อตราสินค้า สร้างการ 5. การจัดลําดับความสําคัญของ การสื่อสาร รับรู้คุณค่าและสร้างความเชื่อมั่น (communication ดังนั้นชื่อตราสินค้าเป็นสิ่งสําคัญ priorities) มากที่นักการตลาดต้องสร้างและ เป็นการลําดับความสําคัญ ต้องใช้เวลานานในการสร้างขึ้น ว่าส่วนไหนที่มีความสําคัญมาก 3. การวางตําแหน่งตราสินค้าให้ มา ที่สุด เช่น ชื่อตราสินค้า ชัดเจน (brand positioning คุณสมบัติ และฉลาก สําคัญ objections) 4. อรรถประโยชน์ของสินค้า มากที่สุด รองลงมา เป็น ก่อนที่จะทําการออกแบบบรรจุ (product attributes) รูปภาพแบบไหนที่จะใช้ หรือว่า ภัณฑ์ นักการตลาดได้กําหนด เป็นการนําเสนอคุณสมบัติ สําคัญเท่ากันหมด เป็นต้น ตําแหน่งตราสินค้า สิ่งที่สําคัญอีก ประโยชน์ ข้อมูลที่ชัดเจน ได้ใจ องค์ประกอบบนบรรจุภัณฑ์ คือ ความ และเข้าใจง่าย เนื่องจาก ชื่อตราสินค้า เพราะบ่งบอกให้ผู้ พฤติกรรมผู้บริโภคใช้เวลาไม่กี่ บริโภคทราบถึงตราสินค้า วินาทีเท่านั้นในการอ่าน


6. เกณฑ์การออกแบบบรรจุ ภัณฑ์ (package design criteria) นักการตลาดได้ทําการ พัฒนามาตรฐานการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ภายใต้พื้นฐานของ การบริหารการตลาด และสรุป ข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ (package design brief) คือแนวทางการคิด การ วิเคราะห์ และเป็นข้อมูลที่ สามารถนําไปใช้ในการ วางแผนการตลาด ซึ่งมีข้อมูล ดังต่อไปนี้ - ประวัติของตราสินค้า - ข้อมูลพื้นฐานการตลาด - หมวดหมู่สินค้า - สินค้าคู่แข่ง - ความหลากหลายของ สินค้า - คุณสมบัติของสินค้า

- คุณค่าต่างๆ - กลุ่มเป้าหมาย - แนวโน้มการตลาดใน ปัจจุบัน - อายุและช่วงรายได้ของผู้ บริโภค - ต้นทุนและเวลา การสรุปข้อมูลเกี่ยวกับ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ จะ ทําให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมี ข้อมูลเดียวกัน ซึ่งทําให้หลีก เลี่ยงความเข้าใจผิด ต้นทุนที่ ไม่คาดคิดและความล่าช้าที่ อาจเกิดขึ้น 7. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ร่วมกับกลยุทธ์การตลาด ในปัจจุบันนี้ระบบการจัด จําหน่ายมีความทันสมัยและ เป็นระบบใหม่มากขึ้น มีสินค้า วางขายเป็นจํานวนมาก แต่ละ

ประเภทจะมีสินค้าที่เป็นของคู่ แข่งวางขายอยู่จํานวนมากเช่น กัน ภายใต้สภาวะการขายและ การแข่งขันเช่นนี้ ผู้ซื้อจะใช้ เวลาไม่นานในการเลือกซื้อและ เดินจากสินค้าประเภทหนึ่งไป ยังสินค้าอีกประเภทหนึ่ง ใน สภาวะความเป็นจริงผู้ซื้อใช้ เวลาน้อยมาก ณ จุดขายใน ขณะที่สินค้ามีให้เลือกมากมาย ดังนั้นบรรจุภัณฑ์ควรจะมีความ สามารถในการสร้างความ มั่นใจให้แก่ลูกค้าเพื่อตัดสินใจ ซื้อและหยิบสินค้าวางลงในรถ เข็น จึงจัดว่าเป็นบทบาทของ บรรจุภัณฑ์ และบทบาททาง ด้านการตลาดในยุคปัจจุบัน ทําให้มีนักการตลาดควรที่จะ เข้าใจสรีระการอ่านและ ประสาทสัมผัสของลูกค้า เช่น


7.1 สรีระในการอ่านและประสาทสัมผัส ผลจากการวิจัยพบว่าการสร้างความประทับใจของ บรรจุภัณฑ์ลูกค้าจะเกิดในระยะไม่เกิน 3 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่กลุ่มเป้าหมายเริ่มเห็น อ่าน หรือรู้ว่า เป็นสินค้าอะไร ผลิตโดยใคร และจํารายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ได้ ดังนั้นบรรจุภัณฑ์ที่จะสามารถ สร้างความประทับใจได้ดีควรมีจุดเด่นของสินค้าที่เรียกว่า unique selling point นอกจากนั้นใน ระยะไม่เกิน 1 เมตร ลูกค้าสามารถมองดูบรรจุภัณฑ์และทําการเปรียบเทียบหารายละเอียดเพื่อ ความมั่นใจ และใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อ ส่วนระยะประมาณ 20 เซนติเมตร คือ ระยะที่กลุ่มเป้าหมายจะหยิบบรรจุภัณฑ์ขึ้นมาศึกษาเปรียบเทียบและตัดสินใจ


7.2 สรีระการอ่าน ณ จุดขาย ภายในซูเปอร์มาร์เก็ต ชั้นวางสินค้ามีหลายประเภท สินค้าในแต่ละส่วนจะถูกจัดวางเรียง เป็นชั้นๆ จากการศึกษาสรีระการอ่านของคนพบว่า โดยเฉลี่ยการอ่านรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ ที่อยู่บนชั้นวางสินค้าจะอยู่ที่ระยะห่างไม่เกิน 1 เมตร จากชั้นวางสินค้า ณ ระยะห่างประมาณ 90 เซนติเมตร สายตาที่กวาดอ่านไปตามแนวราบหรือแนวของชั้นวางสินค้าจะอยู่ในระยะประมาณ 130 เซนติเมตร ซึ่งจากการศึกษาการอ่านในแนวดิ่งพบว่า ระดับความสูงที่สายตาจะให้ความ สนใจมากที่สุดอยู่ระดับความสูงจากพื้นประมาณ 110 เซนติเมตร ชั้นวางสินค้าที่อยู่สูงจากพื้น ตั้งแต่ระดับ 60-125 เซนติเมตรจะเป็นระยะความสูงของชั้นวางที่ได้รับความสนใจมากกว่าระยะ ความสูงอื่นๆ


สรุปได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบความสูงของชั้นวางสินค้าที่มีระดับความสูงกว่าไหล่กับชั้นวางสินค้าที่มี ระดับความสูง ต่ํากว่าไหล่ลงมาผู้บริโภคจะหยิบสินค้าจากชั้นวางสินค้าที่อยู่ระดับต่ํากว่าไหล่


8. การตัดสินใจออกแบบบรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์การตลาดและสภาพตลาดเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนให้นักการตลาดทําการ ตัดสินใจเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีมักจะใช้เวลานานและ ซับซ้อน ค่าใช้จ่ายสูง และเป็นส่วนหนึ่งที่ทําให้เกิดความสําเร็จแก่ตราสินค้าหรือสินค้า ซึ่งมีการ เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกันดังนี้ เช่น 1. การเปลี่ยนแปลงแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบโต้การแข่งขัน (package redesign to counter competitive pressure) 2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ตราสินค้าที่มีอยู่ดูทันสมัยขึ้นหรือเป็นการปรับเปลี่ยน ตําแหน่ง (package design to update or reposition an existing brand) 3. การออกแบบบรรจุภัณฑ์สําหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ (package design for new products) 4. การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขยายสายตราสินค้า (package design for brand line extensions)


References ชัยรัตน์ อัศวางกูร. ออกแบบให้โดนใจ. สํานักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริม อุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม. กรุงเทพ. 2548. nininana. การออกแบบกราฟิกบรรจุัณฑ์. [ออนไลน์] แหล่งที่มา. http://designprt.212cafe.com/ archive/2008-07-25/to-communicate-8-2-3-2-label-rigid-forms-3-1-2-103-pouch-brand-image-4-layout-slogan-the-silent-sal/ [12/พ.ค./52] __________________ . การออกแบบบรรจุภัณฑ์. [ออนไลน์] แหล่งที่มา. http://www.mew6.com/ composer/package/package_22.php [16/มิ.ย./52]


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.