ตามรอยธรรมบูรพาจารย์
ที่ระลึกในงานฉลองสมโภช พระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์ เมืองออนทาริโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ISBN : ______________ พิมพ์ครั้งที่ ๑ : พฤษภาคม ๒๕๕๔ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม ดำเนินการจัดพิมพ์ : “สาละ” ๙/๖๐๙ ซ.กระทุ่มล้ม ๖ ถ.พุทธมณฑล ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๒๐ โทร. ๐๒-๔๒๙๒๔๕๓, ๐๘๕-๔๒๙๔๘๗๑
คำอนุโมทนา พระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรม สารี ริ ก ธาตุ ข องพระบรมศาสดาสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า บรรจุ พ ระธาตุ
พระอรหันตสาวก บรรจุอัฐิธาตุ เกศาธาตุ อังคารธาตุ ของบูรพาจารย์ พระป่ากรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และบรรจุอัฐบริขาร อัฐิธาตุ ของพระเดชพระคุณ พระโพธิธรรมาจารย์เถร (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ) พระอรหันต์ผู้เป็นดั่งประทีปธรรมในต่างแดน และเป็นเจดีย์ทรงไทย แห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา การก่อสร้างพระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์ สำเร็จลุล่วงไป ด้ ว ยดี เพราะอาศั ย การเสี ย สละ พลั ง สามั ค คี ข องคณะสงฆ์ คณะ กรรมการบริหาร คณะศิษย์วดั ภูรทิ ตั ตวนาราม พร้อมทัง้ พุทธศาสนิกชน ทุกหมู่เหล่าทุกเชื้อชาติ หนังสือที่ระลึกงานฉลองสมโภชพระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์ ได้อนุญาตให้คณะกรรมการผู้จัดทำ รวบรวมประวัติย่อวัดภูริทัตตวนาราม ประวัติย่อของพระโพธิธรรมาจารยเถร (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ) ผู้ก่อตั้ง สถาปนา และอดีตเจ้าอาวาสวัดภูริทัตตวนาราม และรวมชีวประวัติ ปฏิปทา คติธรรมคำสอน ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ที่องค์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ให้ความเคารพนับถือ
จึ ง ขออนุ โ มทนาสาธุ ก ารในกุ ศ ลศรั ท ธาของคณะสงฆ์ คณะ กรรมการบริหาร วัดภูริทัตตวนาราม และพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ พร้อมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่เสียสละทุ่มเทกำลัง กาย กำลังทรัพย์ กำลังศรัทธา กำลังใจ ตั้งแต่เริ่มต้นการสร้างเจดีย์ จนกระทั่งแล้วเสร็จ และทำการฉลองสมโภช ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย อำนาจกุศลศรัทธาอันบริสุทธิ์ท ี่
ทุ ก ท่ า นได้ บ ำเพ็ ญ จงเป็ น พลวปั จ จั ย อำนวยให้ ทุ ก ท่ า นประสพแต่ ความสุขความเจริญ เจริญในธรรม เจริญในหน้าที่การงาน เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ ร่ำรวย มีชัย ปลอดภัย ร่มเย็น ตลอดจิรกาลนาน เทอญ
พระครูวิทูรธรรมนิเทศ เจ้าอาวาสวัดภูริทัตตวนาราม
คำนำ หนังสือตามรอยธรรมบูรพาจารย์ จัดทำขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึก
ในงานฉลองสมโภชพระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์ และน้อมบูชา พระคุณพ่อแม่ครูบาอาจารย์ พระป่ากรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บู ช าพระคุ ณ แด่ อ งค์ ห ลวงปู่ สุ วั จ น์ สุ ว โจ พระอริ ย สงฆ์ ผู้ ส ถาปนา วั ด ภู ริ ทั ต ตวนาราม พระอริ ย สงฆ์ ผู้ เ ป็ น ดั่ ง ประที ป ธรรมในต่ า งแดน หนังสือตามรอยธรรมบูรพาจารย์เล่มนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมจากชีวประวัติ ของพ่ อ แม่ ค รู บ าอาจารย์ พระป่ า กรรมฐาน ที่ เ ผยแพร่ ใ นเว็ บ ไซต์
บู ร พาจารย์ ด อทคอม www.burapajan.com และที่ เ ผยแพร่ ท าง หนังสือพิมพ์ การจั ด ทำหนั ง สื อ ตามรอยธรรมบู ร พาจารย์ เ ล่ ม นี้ พระครู
วิทูรธรรมนิเทศ (พระอาจารย์สำรวย ตายโน) เจ้าอาวาสวัดภูริทัตตวนาราม พร้ อ มทั้ ง คณะกรรมการบริ ห ารวั ด ภู ริ ทั ต ตวนาราม คณะ กรรมการจัดงานฯ มีมติเห็นชอบอนุมัติให้ผู้เขียนเป็นผู้รวบรวมและ ดำเนิ น การจั ด พิ ม พ์ เพื่ อ แจกเป็ น ธรรมทานในงานฉลองสมโภช พระพุทธรัตเจดีย์ศรีบูรพาจารย์ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้ เขี ย นต้ อ งขอกราบขอบพระคุ ณ อย่ า งสู ง ยิ่ ง กั บ คณะครู บ า อาจารย์ ที่เมตตาให้คำปรึกษาในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ทุก ๆ รูป ๑. พระครู พุ ท ธิ ส ารสุ น ทร (หลวงพ่ อ บุ ญ กู้ อนุ วั ฑ ฒโน) วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
๒. พระราชสิทธิโมลี (หลวงพ่อสมาน คุณากโร) วัดพุทธบูชา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ๓. พระครู วิ ทู ร ธรรมนิ เ ทศ (พระอาจารย์ ส ำรวย ตายโน) วัดภูริทัตตวนาราม รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ๔. พระอาจารย์เริ่มชัย ชินวังโส วัดพุทธธัมมธโร รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ๕. พระอาจารย์ถาวร ญาณวีโร วดั ป่าถ้ำโพรง อ.ภูพาน จ.สกลนคร ๖. พระอาจารย์สุริยัน วรคุโณ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ๗. พระอาจารย์สาธิต ชยสาธิโต วัดป่านพชัยมงคลธรรม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ และกราบขอบพระคุณคณะสงฆ์วัดภูริทัตตวนาราม พร้อมทั้ง ขอขอบคุณ คุณป้าแนนซี่ วู และคณะกรรมการบริหารวัดภูริทัตตวนาราม ที่อำนวยความสะดวก ติดต่อประสานงานในการจัดทำหนังสือ การจัดทำหนังสือตามรอยธรรมบูรพาจารย์เล่มนี้ ใช้เวลาในการ รวบรวมต้นฉบับ ๓ วัน อาจมีข้อขาดตกบกพร่องอยู่บ้างไม่มากก็น้อย จึงต้องขออภัยท่านผู้อ่าน มา ณ โอกาสนี้ และผู้เขียนขอยึดถือตาม โอวาทธรรมของหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ที่ว่า “ถ้าขาดให้ช่วยต่อ ไม่พอให้ ช่วยเพิ่ม ถ้าตกให้ช่วยเติม ช่วยแต่งต่อให้บริบูรณ์”
ตะวัน คำสุจริต ในนามคณะผู้จัดทำ
สารบัญ
ประวัติพระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์ ประวัติวัดภูริทัตตวนาราม หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดป่าดอนธาตุ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
๑๑ ๑๗ ๒๕
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
๒๙
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
๓๕
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ๕๙ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ๗๗ วัดภูริทัตตวนาราม รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พระอาจารย์สำรวย ตายโน ๑๐๕ วัดภูริทัตตวนาราม รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา รายนามผู้บริจาคทำบุญ ๑๑๔ สร้างพระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์
ป ร ะ วั ติ
พระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์ พระครูวิทูรธรรมนิเทศ (สำรวย ตายโน) เจ้าอาวาสวัดภูริทัตตวนาราม พร้ อ มด้ ว ยคณะสงฆ์ คณะกรรมการบริ ห ารวั ด คณะศิ ษ ย์
วั ด ภู ริ ทั ต ตวนาราม มี ค วามเห็ น ชอบที่ จ ะสร้ า งพระพุ ท ธรั ต นเจดี ย์ ศรี บู ร พาจารย์ เพื่ อ บรรจุ พ ระบรมสารี ริ ก ธาตุ ข องพระบรมศาสดา สั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า พระธาตุ พ ระปั จ เจกพุ ท ธเจ้ า พระอรหั น ตธาตุ ของพระสาวก และอั ฐิ ธ าตุ อั ง คาร เกศา ของพระบู ร พาจารย์
พระป่ า กรรมฐานสายหลวงปู่ เ สาร์ กั น ตสี โ ล หลวงปู่ มั่ น ภู ริ ทั ต โต และประดิ ษ ฐานรู ป หล่ อ เท่ า องค์ จ ริ ง บรรจุ อั ฐ บริ ข าร อั ฐิ ธ าตุ ของ พระโพธิ ธ รรมาจารย์ เ ถร (หลวงปู่ สุ วั จ น์ สุ ว โจ) ผู้ ก่ อ ตั้ ง สถาปนา วั ด ภู ริ ทั ต ตวนาราม และเพื่ อ น้ อ มถวายเป็ น พุ ท ธบู ช า ธรรมบู ช า สังฆบูชา
12
13
พระครูวิทูรธรรมนิเทศเข้ารับพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ประทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยพระเทพสารเวทีเป็นผู้แทนในการมอบ
คณะศิษยานุศิษย์เข้ารับพระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
และนั บ เป็ น มหามงคลอย่ า งสู ง ยิ่ ง แก่ วั ด ภู ริ ทั ต ตวนาราม ที ่
เจ้ า ประคุ ณ สมเด็ จ พระญาณสั ง วร สมเด็ จ พระสั ง ฆราช สกลมหา- สั ง ฆปริ ณ ายก ทรงพระประทานนามพระเจดี ย์ และทรงประทาน พระบรมสารีริกธาตุ เพื่อบรรจุในพระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์
พระเถรานุเถระจำนวน ๗๐ รูป ที่เดินทางมาร่วมงานประชุมคณะสงฆ์ ธรรมยุตในประเทศสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ ๒๕/๒๕๕๒ ที่วัดภูริทัตตวนาราม เป็ น เจ้ า ภาพจั ด งานประชุ ม ร่ ว มเจริ ญ พุ ท ธมนต์ ใ นพิ ธี ว าง ศิลามงคล
พระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์ วัดภูริทัตตวนาราม มีลักษณะ ทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุข มียอดเป็นองค์เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๙ เมตร สูง ๑๒ เมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ทั้งหมด จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา โดยทำพิธีวาง ศิลามงคล เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ โดยพระธรรมเมธาจารย์ วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ประธาน และ
พระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์ ถือเป็นเจดีย์บรรจุพระบรม- สารี ริ ก ธาตุ แ ห่ ง แรกในประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า ให้ พุ ท ธศาสนิ ก ชนทุ ก หมูเ่ หล่า ทุกเชือ้ ชาติ ได้มากราบไหว้สกั การะบูชา เพือ่ ความเป็นศิรมิ งคล แก่ชวี ติ
14
15
พระครูวิทูรธรรมนิเทศ จุดเทียน ธูป บูชาพระรัตนตรัย
พระธรรมเมธาจารย์วางศิลามงคลสร้างเจดีย์
พระธรรมเมธาจารย์ วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร เจิมแผ่นศิลามงคล
พระเถรานุเถระเจริญชัยมงคลคาถาในพิธีวางศิลามงคล
ป ร ะ วั ติ
วัดภูริทัตตวนาราม วัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศ สหรัฐอเมริกา วัดป่ากรรมฐานในประเทศสหรัฐอเมริกา มีชื่อภาษา อั ง กฤษว่ า Buddhist Temple of America ตั้ ง อยู่ ณ บ้ า นเลขที ่
5615 Howard St Ontario California 91762 U.S.A. ก่ อ ตั้ ง เมื่ อ
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ โดยพระเดชพระคุณ พระโพธิธรรมาจารย์เถร (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ) มีเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน ๕ เอเคอร์ วัดภูริทัตตวนาราม ถื อ เป็ น วั ด ที่ มี ค วามสมบู ร ณ์ แ บบถู ก ต้ อ งตามกฎหมายใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นองค์กรการกุศลไม่แสวง ผลกำไรจากทางการแคลิ ฟ อร์ เ นี ย และจดทะเบี ย นยกเว้ น ภาษี จ าก รัฐบาลกลาง
18
19
อุโบสถ
ศาลาการเปรียญ
พระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์
วัดภูริทัตตวนาราม มีศาสนวัตถุสำคัญ คือ ๑. อุโบสถ ๒. ศาลาการเปรียญ ๓. พระพุทธรัตนเจดีย์ศรีบูรพาจารย์
อาคารที่พักสงฆ์
20
21
กุฏิที่ปฏิบัติธรรมพระสงฆ์ และทางจงกรม
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ออกรับบิณฑบาตโปรดญาติโยม ณ วัดภูริทัตตวนาราม
บ้านพักสำหรับแม่ชี
ห้องน้ำห้องสุขา สำหรับฆราวาส
๔. อาคารที่ พั ก สงฆ์ จ ำนวน ๓ หลั ง มี ห้ อ งพั ก จำนวน ๑๗ ห้อง มีห้องน้ำพระสงฆ์จำนวน ๖ ห้อง ๕. อาคารสำนักงาน ๖. กุฎิที่ปฏิบัติธรรมพระสงฆ์ และทางจงกรม ๗. บ้านพักสำหรับแม่ชี มีเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน ๑ เอเคอร์ ๘. ห้องน้ำห้องสุขาสำหรับฆราวาส
วัดภูริทัตตวนาราม ได้จัดให้มีการอบรมศีลธรรม อบรมจิตภาวนา แก่พุทธศาสนิกชน และผู้สนใจทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ในวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันพระ โดยในแต่ละวันนั้นช่วงเช้าก่อนฉันภัตตาหาร จะมีการอบรม ธรรมะแก่พุทธศาสนิกชนที่มาถวายภัตตาหารเป็นประจำทุกวัน รวมทั้ง เปิดพระธรรมเทศนาของหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ พระธรรมเทศนาของ ครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ให้แก่ผู้มา บำเพ็ญกุศลได้รับฟัง
22
23
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ นำคณะญาติโยม ถวายผ้าป่าสามัคคี
วั ด ภู ริ ทั ต ตวนาราม ได้ จั ด ทำเว็ บ ไซต์ วั ด ภู ด อทโออาจี www. watpu.org เผยแพร่ประวัติวัด กิจกรรม ข่าวสาร ของทางวัด รวมทั้งเผยแพร่หลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ชีวประวัติ ปฏิ ป ทา คติ ธ รรมคำสอนของครู บ าอาจารย์ พ ระป่ า กรรมฐาน สาย หลวงปู่ มั่ น ภู ริ ทั ต โต และจั ด ทำสื่ อ ในการเผยแพร่ พ ระพุ ท ธศาสนา เช่น หนังสือธรรมะ หนังสือทำวัตรสวดมนต์ ซีดีธรรมะ วีซีดีธรรมะ ดีวีดีธรรมะ แจกเป็นธรรมทาน วัดภูริทัตตวนาราม มีการพัฒนาวัดเรื่อยมาตั้งแต่สมัยหลวงปู ่
สุวัจน์ สุวโจ เป็นเจ้าอาวาส และมีโครงการพัฒนาวัดให้มีความเจริญ รุ่งเรือง เป็นถาวรวัตถุในทางพระพุทธศาสนาต่อไป เช่น ๑. พัฒนาซ่อมแซมศาลาการเปรียญ ๒. พัฒนาซ่อมแซมอาคารที่พักสำนักชี ๓. พัฒนาซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างภายในวัด
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ และ ท่านพระอาจารย์สำรวย ตายโน
วัดภูริทัตตวนาราม เป็นวัดป่ากรรมฐาน ยึดถือการปฏิบัติตาม ปฏิ ป ทาสายหลวงปู่ มั่ น ภู ริ ทั ต โต ซึ่ ง องค์ ห ลวงปู่ สุ วั จ น์ สุ ว โจ ได้
วางรูปแบบการปฏิบัติเอาไว้อย่างสมบูรณ์ ส่วนกิจวัตรประจำวันเน้น หนั ก ทางด้ า นการปฏิ บั ติ ธ รรม เดิ น จงกรม นั่ ง สมาธิ ภ าวนา อบรม ศีลธรรมแก่พุทธศาสนิกชน วัดภูริทัตตวนาราม ปัจจุบันมีพระครูวิทูรธรรมนิเทศ (พระอาจารย์ สำรวย ตายโน) เป็นเจ้าอาวาส และประธานกรรมการบริหาร รักษา ข้อวัตรปฏิบัติ ดำเนินรอยตามหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ผู้เป็นบูรพาจารย์
หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดป่าดอนธาตุ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พระอริยสงฆ์ผู้เป็นบิดาแห่งพระป่ากรรมฐาน พระผู้ เ ป็ น อาจารย์ ข องหลวงปู่ มั่ น ภู ริ ทั ต โต นามเดิ ม ท่ า นชื่ อ เสาร์ เกิดเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๒ ตรงกับวันจันทร์ เดือนยี่ ปีระกา ณ บ้านข่าโคม ต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี การอุปสมบท : ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา ที่วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ต่อมาได้ญัตติเป็นพระธรรมยุต
ณ วั ด ศรี ท อง อ.เมื อ ง จ.อุ บ ลราชธานี โดยมี พ ระครู ท า โชติ ป าโล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์
26
27
ปฏิ ป ทา : ปกติ แ ล้ ว หลวงปู่ เ สาร์ กั น ตสี โ ล ท่ า นไม่ ค่ อ ยชอบ พูด ไม่เทศน์ มีอุปนิสัยเยือกเย็น มีพรหมวิหารธรรมประจำใจ ชอบ ปลูกต้นไม้ ภายหลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรม แสวงหาความสงบวิเวกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ทั้งในเขตประเทศไทย และประเทศลาว ต่อมาท่านได้จาริกปฏิบัติธรรมผ่านไปทางบ้านคำบง อำเภอโขงเจี ย ม จั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี พร้ อ มทั้ ง รั บ เอาหลวงปู่ มั่ น
ภูริทัตโต มาเป็นลูกศิษย์ สั่งสอนเรื่องภาวนา แนะนำการปฏิบัติธรรม กรรมฐาน ภาวนาพุทโธ
กันตสีโลวาท
การมรณภาพ : หลวงปู่ เ สาร์ กั น ตสี โ ล ท่ า นได้ ม รณภาพ ด้วยอาการอันสงบในอุโบสถ วัดอำมาตยาราม แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว เมื่ อ วั น ที่ ๓ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๔๘๘ สิ ริ ร วมอายุ ไ ด้
๘๒ ปี ๓ เดือน ๑ วัน ต่อมาคณะศิษย์ได้อัญเชิญสรีระขององค์ท่าน มาบำเพ็ ญ กุ ศ ลที่ วั ด เลี ย บ อ.เมื อ ง จ.อุ บ ลราชธานี และได้ ถ วาย เพลิ ง ศพขององค์ ท่ า นพร้ อ มพระมหาเถระในจั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี ที่ทุ่งศรีเมือง คือ ๑. พระศาสนดิลก (เสน ชิตโสโน) ๒. พระมหารัฐ รฏฐปาโล ๓. พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ท่านเป็นพระอรหันต์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กรอปด้วยศีลและธรรม มีศีลาจาริยวัตรที่งดงาม จึงสมดังพระอริยสงฆ์ ผู้เป็นพระบูรพาจารย์ ผู้เป็นพระบิดาใหญ่แห่งสายพระป่ากรรมฐาน
๑. ให้ พ ากั น ละบาปและบำเพ็ ญ บุ ญ อย่ า ให้ เ สี ย ชี วิ ต ลมหายใจ ไปเปล่าที่ได้มีวาสนามาเกิดเป็นมนุษย์ ๒. เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของ สัตว์มาประพฤติ มนุษย์ของเราจะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์ อีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ ๓. ทำให้ดู มันยังไม่ดู ปฏิบัติให้ดูอยู่ทุกวัน มันยังไม่ปฏิบัติตาม เทศน์ให้ฟัง มันจะฟังหรือพวกเจ้า ข้อยเฮ็ดให้เบิ่งยังบ่เบิ่ง เทศน์ให้
พวกหมู่เจ้าฟัง หมู่เจ้าสิฟังฤๅ ๔. กายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริต พากันตั้งใจรักษากายให้ บริสุทธิ์ รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ ๕. พิจารณาความตายให้มาก ไม่ว่าคน ว่าสัตว์ เกิดมาแล้วก็ต้อง ตาย เพราะเกิดกับตายเป็นของคู่กัน
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
หลวงปู่ มั่ น ภู ริ ทั ต โต พระปรมาจารย์ ใ หญ่ ส ายกรรมฐาน มี
ลู ก ศิ ษ ย์ ลู ก หามากมายทั่ ว ทั้ ง ประเทศไทยและต่ า งประเทศ เป็ น พระอริ ย ะสงฆ์ ผู้ ป ฏิ บั ติ ดี ป ฏิ บั ติ ช อบ กรอปด้ ว ยศี ล และธรรม มี ศี ล าจาริ ย วั ต รที่ ง ดงาม นามเดิ ม ท่ า นชื่ อ มั่ น นามสกุ ล แก่ น แก้ ว
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๑๓ ณ บ้ า นคำบง ตำบลโขงเจี ย ม อำเภอโขงเจี ย ม จั ง หวั ด อุบลราชธานี บิ ด าท่ า นชื่ อ นายคำด้ ว ง แก่ น แก้ ว มารดาท่ า นชื่ อ นางจั น ทร์ แก่นแก้ว มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๙ คน หลวงปู่มั่นเป็นคนโต
30
31
การบรรพชา : เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี หลวงปู่มั่นได้บรรพชาเป็น สามเณรเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ณ วัดบ้านคำบง บวชได้ ๒ พรรษา ท่านได้ลาสิกขาตามคำร้องขอของบิดามารดา เพื่อออกไปช่วยการงาน ทางบ้าน การอุปสมบท : เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้
กราบลาบิดามารดา เพื่อขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา ท่ า นอุ ป สมบทในวั น ที่ ๑๒ มิ ถุ น ายน พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๓๔ ณ วัดศรีทอง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลั ง จากบวชแล้ว ท่านได้ไปอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับอาจารย์ ของท่าน คือหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ณ วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัด อุ บ ลราชธานี และเดิ น ธุ ด งค์ ป ฏิ บั ติ ธ รรมไปตามสถานที่ ต่ า งๆ ทาง ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนือ จนท่านได้รับผลสูงสุดในการปฏิบัติ ธรรมนั้น คือสำเร็จเป็นพระอรหันต์นั่นเอง การมรณภาพ : หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ และได้ถวายเพลิงศพขององค์ท่าน ในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓ ณ วัดป่าสุทธาวาส ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
พิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
32
33
ภูริทัตโตวาท
๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าเลิศ ได้สมบัติทั้งปวงไม่ประเสริฐเท่า ได้ตน เพราะตนเป็นบ่อเกิดแห่งสมบัติทั้งปวง ๒. ความยิ่งใหญ่ คือความไม่ยั่งยืน ความไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และแน่นอน ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ คือชีวิตที่อยู่ด้วยทาน ศีล เมตตา และกตัญญู ชีวิตที่มีความดี อาจมิใช่ความยิ่งใหญ่ แต่ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ต้อง อาศัยคุณธรรมความดีเท่านั้น ๓. ทาน ศีล ภาวนา ธรรมทั้งสามนี้ เป็นรากแก้วของความเป็น มนุษย์ และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องเป็น ผู้เคยสั่งสมธรรมเหล่านี้มาอยู่ในนิสัยของผู้จะมาสวมร่างเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ด้วยมนุษย์อย่างแท้จริง อุโบสถวัดป่าสุทธาวาส สร้างครอบที่ถวายเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
๔. หาคนดีมีศีลธรรมในใจ หายากยิ่งกว่าเพชรนิลจินดา ได้คน เป็นคนดีเพียงคนเดียว ย่อมมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นล้าน เพราะเงิน เป็นล้าน ไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจ เหมือน คนดีทำประโยชน์ ๕. คนฉลาดปกครองตนให้มีความสุขและปลอดภัย ไม่จำเป็น
ต้องเที่ยวแสวงหาทรัพย์มากมาย หรือเที่ยวกอบโกยเงินเป็นล้าน มา เป็นเครื่องบำรุงจึงมีความสุข
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอริยสงฆ์ผู้มีพลังจิตเมตตาต่อปวงชน ทั้งหลาย ท่านถือเป็นลูกศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็น พระอริยสงฆ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดจนพระบรมวงศา- นุ ว งศ์ ใ ห้ ค วามเคารพนั บ ถื อ เป็ น อย่ า งมาก นามเดิ ม ท่ า นชื่ อ ฝั้ น นามสกุ ล สุ ว รรณรงค์ เกิ ด เมื่ อ วั น อาทิ ต ย์ ที่ ๒๐ เดื อ นสิ ง หาคม พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๔๒ ตรงกั บ วั น ขึ้ น ๑๓ ค่ ำ เดื อ น ๙ ปี กุ น ณ บ้ า นม่ ว งไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิ ค ม จั ง หวั ด สกลนคร บิดาของท่าน ชื่อว่า เจ้าไชยกุมาร (เม้า) สุวรรณรงค์ มารดาของท่าน ชื่อว่า นางนุ้ย สุวรรณรงค์ การบรรพชา : เมื่ออายุได้ ๑๙ ปี หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านได้ บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๖๑
36
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงกราบสรีระสังขารหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ในวันพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร ขององค์ท่าน
37
พระครูป้อง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสังข์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระนวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ญั ต ติ เ ป็ น พระธรรมยุ ต : หลวงปู่ ฝั้ น อาจาโร ท่ า นมี ค วาม เลื่อมใสศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติและปฏิปทาอันงดงามของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และต่อมาท่านได้ญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่ อ วั น ที่ ๒๑ พฤษภาคม พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๖๘ ณ วั ด โพธิ ส มภรณ์ อำเภอเมื อ ง จั ง หวั ด อุ ด รธานี โดยมี พระธรรมเจดี ย์ (จู ม พั น ธุ โ ล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระรถ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมุก เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “อาจาโร” แปลว่า ผู้มีความ ประพฤติดี หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ชอบการเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปตามสถานที่ต่าง ๆ ตามป่าเขา ลำเนาไพร ป่ า ช้ า เงื้ อ มถ้ ำ เงื้ อ มผา เพื่ อ หาความสงบวิ เวกในการ บำเพ็ ญ สมณธรรม เดิ น จงกรม นั่ ง สมาธิ ภ าวนา จนได้ ส ำเร็ จ เป็ น
พระอรหันต์ บรรลุธรรมขั้นสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงกราบนมัสการหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร
การอุปสมบท : เมื่ออายุของท่านครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หลวงปู่ฝั้น ท่ า นได้ อุ ป สมบทเป็ น พระภิ ก ษุ ใ นทางพระพุ ท ธศาสนา ณ อุ โ บสถ วั ด สิ ท ธิ บั ง คม บ้ า นไฮ่ อำเภอพรรณานิ ค ม จั ง หวั ด สกลนคร โดยมี
การมรณภาพ : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร มรณภาพเมื่อวันที่ ๔ เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ณ วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร สิริรวมอายุได้ ๗๗ ปี ๔ เดือน พรรษา ๕๒ พรรษา และได้รับพระราชทานเพลิงศพในวันเสาร์ที่ ๒๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จมาเป็นองค์ประธาน ในพิธี พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์
38
39
อาจาโรวาท
๘. จิ ต ของเรามั น ไม่ ห ยุ ด ให้ มั น นิ่ ง มั น ก็ ไ ม่ นิ่ ง เที่ ย วก่ อ ภพ น้อย ๆ ใหญ่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ภะวา ภะเว สัมภวันติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ทรง มีพระราชปุจฉากับหลวงปู่ฝั้นว่า “ทำอย่างไรประเทศชาติ ประชาชน จะอยู่ดีกินดี มีความสามัคคีปองดองกัน” หลวงปู่ฝั้นทรงถวายวิสัชนาว่า “ให้เข้าหาพระศาสนา เพราะ ศาสนาสอนให้ละชั่ว กระทำความดี ทำใจให้ผ่องใส” ๑. บุญบาปสิ่งใด ๆ ใจถึงก่อน ใจเป็นรากฐาน ใจเป็นประธาน มันสำเร็จที่ดวงใจ ๒. ตั ว บุ ญ คื อ ใจสบาย เย็ น อกเย็ น ใจ ตั ว บาปคื อ ใจไม่ ส บาย ใจเดือดใจร้อน ๓. ความเจ็ บ ไข้ ไ ด้ พ ยาธิ อ าพาธโรคา เป็ น ของธรรมดาสำหรั บ
สัตว์โลก ๔. เราไม่อยากเป็นกรรมเป็นเวร เราก็ต้องตัด ตัดอารมณ์น่ะล่ะ ให้อยู่ในที่รู้ ให้กำหนดดูความรู้ อยู่ตรงใหนแล้วเราก็เพ่งอยู่ตรงนั้น ๕. ปัญญาคือ ความรอบรู้ในกองสังขาร ๖. กรรมทั้งหลายไม่ได้มาจากอื่นไกล มาจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของเราเท่านี้ ๗. พุทธะคือผู้รู้ มันมีอยู่ยังงั้น มันดับไม่เป็น สูญไม่เป็น
๙. ถ้าคนไม่ได้ทำ ไม่ได้หัด ไม่ได้ขัด ไม่ได้เกลา ที่ไหนเล่าจะ มีพระอรหันต์ในโลก ๑๐. ให้ ส ติ ก ำหนดที่ ผู้ รู้ อ ย่ า ส่ ง ไปข้ า งหน้ า ข้ า งหลั ง ข้ า งซ้ า ย ข้ า งขวา ข้ า งบนข้ า งล่ า ง อดี ต อนาคต กำหนดอยู่ ที่ ผู้ รู้ แ ห่ ง เดี ย ว เท่านั้นหละ ๑๑. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ที่ใจ ในใจ ๑๒. ลางคนวัดก็ไม่เข้า พระเจ้าก็ไม่นบ วันศีลก็ไม่ละ วันพระ ก็ไม่ถือ แล้วจะเอาดีมาจากไหน ๑๓. ให้พากันพิจารณาให้มันรู้มันเห็นลงไป เชื่อมั่นลงไป เห็นจริง แจ้งประจักษ์ลงไป ๑๔. จำไว้พุทโธ ธัมโม สังโฆ ทำอะไร ๆ ก็พุทโธ กลัวก็พุทโธ ใจไม่ดีก็พุทโธ ขี้เกียจก็พุทโธ ๑๕. ท่านสอนให้พิจารณากรรมฐานก่อนม๊ดเวลาบวช พิจารณา เพราะเหตุใดเล่า เพื่อไม่ให้หลงถือทิฏฐิมานะอหังหาร ถือว่าเป็นตัว
เป็นตนเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเราเป็นเขา มันจึงหลง ๑๖. เราต้องปฏิบัติอย่างฝากตาย
40
41
๑๗. ศี ล ห้ า นี้ คื อ ขาสอง แขนสอง ศรี ษ ะอั น หนึ่ ง เรารั ก ษาห้ า อย่างนี้ ไม่ให้ไปทำโทษห้า คืออันใดเล่า ปาณานั่นก็โทษ อทินนานั่น
ก็โทษ กาเมนั่นก็โทษ มุสานั่นก็โทษ สุรานั่นก็โทษ พระพุทธเจ้าให้ ละเว้น เวรมณีคือละเว้น
พระกรรมฐานขาดไปองค์ ห นึ่ ง คนแก่ ฟั น หลุ ด หมด พระกรรมฐาน ก็ขาดไปองค์หนึ่ง ๒๖. วิธีอื่นไม่มีจะตัดบาปตัดกรรมตัดเวร นอกจากเรานั่งสมาธินี้
๑๘. อยากสวยให้ถือศีล อยากรวยให้ทำทาน อยากปัญญาชาญ ให้ภาวนา
๒๗. เราเป็ น ผู้ ก่ อ กรรม ก่ อ เวร ก่ อ ภั ย ไม่ มี ใ ครก่ อ ให้ ไม่ ใช่ เทวบุตรเทวธิดาสร้างให้ พี่น้องสร้างให้ บิดามารดาสร้างให้ เราสร้าง เอาเอง
๑๙. จิ ต ของเราสงบเป็ น สมาธิ มั น รู้ สึ ก เบา ส-บ๊ - า-ย เย็ น อก เย็นใจ หายทุกข์ หายยาก หายลำบากรำคาญ
๒๘. มโนกรรมคื อ ความน้ อ มนึ ก ระลึ ก กรรมอั น ใดไว้ เป็ น บุ ญ หรือเป็นบาป เราจะรับผลของกรรมนั้นสืบไป
๒๐. ผู้รู้ไม่ใช่ของแตกของทำลาย ของตายของดับ ๒๑. ถ้ า ใจเราดี แ ล้ ว ทำอะไร๊ ก็ ดี ไปไหน ๆ ก็ ดี ทำการงานก็ ดี ทำราชการก็ดี ครอบครัวก็ดี พี่น้องก็ดี ชาวบ้านร้านตลาดก็ดี ประเทศ ชาติก็ดี ๒๒. ความสุขอันใดเสมอจิตสงบไม่มี ๒๓. ธรรมของพระพุ ท ธเจ้ า แปดหมื่ น สี่ พั น พระธรรมขั น ธ์ นั้ น
อยู่ที่ตัวเราไม่ใช่ที่ไหนอื่น ๒๔. กรรมดี ก รรมชั่ ว ผู้ นี้ เ ป็ น ผู้ ก ำเอาเป็ น ผู้ ท ำเอา ไม่ เ ห็ น มี
กรรมมาจากต้นไม้ภูเขาเลากา ไม่เห็นมีกรรมมาจากฟ้าอากาศ มาจาก กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมเท่านี้หละ ๒๕. เราเกิดมามีกรรมฐานห้ามาพร้อม ทีนี้เด็กกับคนแก่ พระ- กรรมฐานขาดไปองค์หนึ่ง ทันตา ฟันไงล่ะเด็กมันเกิดมาฟันยังไม่เกิด
๒๙. บุญคือความสุข บุญคือความเจริญ บุญคือคุณงามความดี มั น ดี ต รงไหนล่ ะ เงิ น เขาก็ ไ ม่ ไ ด้ ว่ า เขามี ค วามสุ ข ถามดู ซี่ เงิ น เจ้ า มี ความสุขไม๊ เขาเฉยอยู่ไม่ใช่เรอะ นี่หละ ถ้าใจเราไม่สงบ มันก็ไม่มี ความสุขละ ถ้าใจเราไม่ดีความดีก็ไม่มีซี๊ ๓๐. อยากรู้อะไรตามที่เป็นจริง ให้น้อมเข้ามาภายใน โอปนยิโก เพราะอะไร ๆ มันเกิดจากภายใน มาจากภายใน ๓๑. ใจเราดีแล้ว ส-บ๊-า-ย ไม่มีภัยไม่มีเวร ไม่มีบาปไม่มีกรรม ไม่มีความชั่วช้าลามก ๓๒. สิ่งทั้งหลายทั้งหมดเกิดจากดวงใจของเรา มโนความน้อมนึก ๓๓. เอ้า นั่งเข้าที่ นั่งเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นั่ง ให้ ส-บ๊-า-ย สบาย วางท่าวางทางให้สง่าผ่าเผย ยิ้มแย้มแจ่มใส หลับตา งับปากซะ ลิ้นก็ไม่กระดุกกระดิก ให้ระลึกคำบริกรรมว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ สามหน แล้วให้ระลึกเอาในใจว่า พุทโธ แต่คำเดียว
42
43
๓๔. เรามาทำบุ ญ เราได้ บุ ญ มั น อยู่ ต รงไหน บุ ญ เป็ น ตั ว ยั ง ไง ให้มันรู้ซี่
๔๔. แดดร้อนหรือ อากาศหนาวหรือ ถามเขาดูซี่ แดดเขาว่า ร้ อ นไหม อากาศเขาว่ า หนาวไหม เขาไม่ ไ ด้ ว่ า อะไรไม่ ใช้ เรอะ เรา ตังหากเป็นตัวร้อน ตัวหนาว
๓๕. สมุทัย คือ มหาสมุทร จมในมหาสมุทร คือ หลงสมมุติ ๓๖. จงเอาพระเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ที่กราบที่ไหว้ ๓๗. เมื่อจิตสงบนิ่งแล้วเราอย่าไปหา ไปหาแล้วมันเป็นตัณหา ๓๘. เรานั่ ง อยู่ นี่ มั น เกิ ด กี่ ภ พกี่ ช าติ แ ล้ ว ภเว ภวา สั ม ภวั น ติ มันเที่ยวก่อภพน้อย ๆ ใหญ่ ๆ อยู่ มันห้ามไม่ได้ เรานั่งสมาธินี้เพื่อห้าม ไม่ให้เกิด ๓๙. เราทำอย่างนี้เรียกปฏิปติบูชา บูชาพระพุทธเจ้าอย่างเลิศ อย่างประเสริฐที่สุด บุญอันใดจะเท่าเรานั่งสมาธิภาวนานี้ไม่มี ๔๐. ถ้ า หยุ ด หาเสี ย เมื่ อ ใด มาตั้ ง ใจปฏิ บั ติ ธ รรม ก็ เ ห็ น ธรรม เมื่อนั้น ๔๑. เวลานี้เราเข้าใจอย่างอื่นว่าเป็นศาสนา ไปเรียนอย่างอื่น ไม่ใช้โอปนยิกธรรม ไม่น้อมเข้ามาหาตัวเราก็ไม่เห็นซี่ ๔๒. เพ่ ง ดู ม โน อาการสามสิ บ สองเพ่ ง ให้ เ ห็ น แจ่ ม แจ้ ง ภควา ผู้จำแนกแจกธรรม แจกเข้าแล้วมันก็ไม่มีคน อันนั้นเป็นผม เป็นขน เป็นเล็บ เป็นฟัน เป็นผิวหนัง เป็นตับไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารเก่า อาหารใหม่ มันไม่ใช่ตัวตนนี่ มันไม่ใช่คนนี่ ๔๓. ธรรมะแปดหมื่นสี่พันไม่ใช่อะไร รวมแล้วได้แก่ พระสูตร คือลมหายใจเข้า พระวินัยคือลมหายใจออก พระปรมัตถ์ผู้รู้ที่อยู่ข้างใน
๔๕. ถ้าเราทำความชั่วไว้ ธรรมนั้นก็นำเราไปทุคติ ๔๖. ความรู้สึก เบาตนเบาตัว เบาร่างเบากาย หายทุกข์หายยาก หายความลำบาก รำคาญ ส-บ๊-า-ย เย็นอกเย็นใจ นั่นหละความสุข ๔๗. มันเกิดตรงไหนก็ดับตรงนั้น ไม่รู้จักที่เกิด ไปดับที่อื่น มัน ก็ไม่ดับซี่ อุปมาเหมือนดับไฟฟ้า ดับดวงนี้ดวงนั้นก็ยังอยู่ ดับดวงนั้น ดวงอื่นยังอยู่ คนผู้ฉลาดดับที่หม้อแบตเตอรี่ มันก็มืดม๊ดทั่วพระนคร อั น นี้ ไ ปดั บ จิ ต ดวงเดี ย วก็ ห มด ไม่ ต้ อ งไปดั บ ตาดั บ หู ดั บ จมู ก ดั บ ลิ้ น
ดับกายดับใจ ดับที่ใจดวงเดียวแล้วดับม๊ด เพราะทั้งหมดมันเกิดจากใจ ๔๘. มโนความน้อมนึก ใจนึกอันไดก็เป็นยังงั้น มันนึกเอา มัน น้อมไป ท่านไม่ให้น้อมไป ให้น้อมเข้ามา โอปนยิโก ท่านไม่ให้ส่งไป ให้ ส่งเข้ามา ๔๙. ความพ้นทุกข์เป็นยังไงเล่า พูดง่าย ๆ คือจิตเราไม่ทุกข์ มันก็ พ้นทุกข์ จิตยังมีทุกข์อยู่ มันก็ไม่พ้นทุกข์ ๕๐. เราจะเข้าสู่สงคราม กิเกสสงครามคืออะไรเล่า คือความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้ เวลาเราจะดับขันธ์ให้ตั้งสติเพ่งตรง ผู้รู้ เข้าถึงสมาธิคือจิตตั้งมั่น มันก็ไม่หวั่นไม่ไหวในทุกขเวทนาทั้งหลาย เวทนาก็สักแต่เวทนา สัญญาก็สักแต่ว่าสัญญา สังขารวิญญาณก็สัก
แต่ว่าเป็นสังขารวิญญาณ นึกถึงแต่ผู้รู้ รู้เท่าสังขารรู้เท่าวิญญาณ เรื่อง มันเป็นยังงั้น
44
45
๕๑. ร่างกายคือต้นศาสนา กว้างศอกยาววาหนาคืบนี่เอง นี่หละ ตู้พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ก็อยู่ในตู้นี้หละ
๕๘. อาทิกัลยาณัง งามเบื้องต้นคือผู้มีศีล มัชเฌกัลยาณัง งาม ท่ามกลางคือผู้มีสมาธิปริโยสานกัลยาณัง งามที่สุดคือผู้มีปัญญา
๕๒. อกุสลัง จิตตัง อกุศลจิต คือ จิตทุกข์จิตยาก จิตวุ่นจิตวาย จิตเดือดร้อน จิตฟุ้งซ่าน รำคาญนี่ให้พิจารณาดูซี่ มันไม่ได้เกิดจากอื่น อกุศลทั้งหลายมันเกิดจากจิต
๕๙. การปฏิบัติถ้าไม่ได้ทำจริง มีแต่เรียนก็ไม่รู้ พระพุทธศาสนา คื อ การประพฤติ ป ฏิ บั ติ ยั ง น้ อ ย การกระทำยั ง น้ อ ยความรู้ มั น ก็ น้ อ ย ความเห็นมันก็น้อยเห็นแต่เผิน ๆ
๕๓. ให้เราเป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจให้เรียบร้อย เมื่อมีความสำรวมยังงี้จะไปฆ่าคนฆ่าสัตว์ตัวโต ๆ ยังไง แม้แต่มดตัวแดง แมงตัวน้อยท่านก็ไม่ให้กระทำ ไม่ให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
๖๐. บางคนกลั ว ผี เวลาเพ่ ง ผี อ ยู่ ที่ ไ หนล่ ะ วั น หนึ่ ง ๆ ฝั ง กี่ ศ พ ทีคนตายไปกลัว ทีฝังในตัวเองไม่กลัว กี่ศพล่ะวันนี้ ผีปลาทูปูเค็มผีวัว
ผีควาย ผีเป็ดไก่สุกร เต็มอยู่ในท้องม๊ด ทำไมไม่กลัวล่ะ
๕๔. จุติแปลว่าความเคลื่อน ภาษาเราว่าตาย แท้ที่จริงนั้น จิต วิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย และไม่ใช่ของสูญหาย
๖๑. มั น ขั ด ตรงไหนข้ อ งตรงไหน แก้ ใ ห้ ม๊ ด ชำระออกให้ ม๊ ด
อย่าให้มีขัดอย่าให้มีข้อง อย่าให้มียุ่งยากให้มีเหยิง อย่าให้วุ่นอย่าให้วาย วางให้ ส-บ๊-า-ย ซาบาย
๕๕. ท่านว่ามันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็น ทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช้ตัวตน จิตของเราถ้ามันเที่ยง ไม่แปรผันโยกย้ายไปมา ก็พึงพาอาศัยได้ นี่มันไม่เป็นยังงั้น บอกให้มันนิ่งมันก็ไม่นิ่ง บอกให้ไป ทางนี้มันไปทางโน้น ยังงี้จึงพึ่งไม่ได้ เราจึงต้องมาพากันทำสมาธิ ๕๖. เหมื อ นกะเราปลู ก ต้ น ไม้ เราต้ อ งรั ก ษาตั น รั ก ษาโคนมั น
ใส่ปุ๋ยรดน้ำ โคนมันดีต้นมันก็ต้องดี ดอกผลไม่มีใครบังคับมันเกิดเอง ต้ น มั น ดี ด อกผลมั น ดี อั น นี้ เ อาอะไรเป็ น ต้ น คื อ ดวงใจเป็ น ต้ น เมื่ อ
ใจเราดีแล้ว ทำอะไรก็ดี หาอะไรก็ดี ๕๗. เมื่อใจไม่ดีแล้ว นึกพุทโธ พุทโธ ตัดมันเสีย
๖๒. เมื่อใจไม่ดีทำอะไรก็ไม่ดี การงานก็ไม่ดี สมัครผู้แทนก็ไม่ดี ค้าขายก็ไม่ดี ทำมาหากินก็ไม่ดี ครอบครัวก็ไม่ดี พี่น้องก็ไม่ดี ชาวบ้าน ร้านตลาดก็ไม่ดี ประเทศชาติก็ไม่ดี ๖๓. เมื่อจิตเราดีทำอะไรก็ดี ค้าขายก็ดี ทำมาหากินก็ดี เล่าเรียน ก็ดี ครอบครัวก็ดี ชาวบ้านร้านตลาดประเทศชาติก็ดี ๖๔. เมื่อจิตเราคิดดีก็เป็นสุข นั่งก็สุขนอนเป็นสุข เดินเป็นสุขยืน เป็ น สุ ข จิ ต สุ ข จิ ต สบาย เมื่ อ จิ ต สบายแล้ ว ทำอะไรก็ ส บาย ค้ า ขาย ก็สบาย ทำราชการก็สบาย ครอบครัวก็สบาย พ่อแม่พี่น้องก็สบาย ชาวบ้านร้านตลาดก็สบาย ประเทศชาติก็สบาย
46
47
๖๕. พุทธะคือผู้รู้ ความรู้นี้ไม่ใช่สว่างไม่ใช่แจ้ง ไม่ใช่หลง ความ ที่มันหลงเราก็รู้อยู่ มืดเราก็รู้อยู่ สว่างเราก็รู้อยู่ สุขมันก็รู้ทุกข์ก็รู้ยังงี้ ๖๖. ถ้ า จิ ต เราไม่ ดี ก็ ทุ ก ข์ ย ากวุ่ น วายเดื อ ดร้ อ น หนั ก หน่ ว ง ง่วงเหงาหาวนอน เดือดร้อนฟุ้งซ่านรำคาญ ๖๗. กิ เ ลสทั้ ง หลายมั น เกิ ด จากภายใน ทุ ก ข์ ห ลายมั น เกิ ด จาก ภายใน สุขทั้งหลายมันเกิดจากภายใน ๖๘. ให้เลือกเฟ้นหัวใจของเรา ใจมันมีมาก ใจดีใจชั่ว ใจทุกข์ ใจสุข ใจนรกใจเปรต ใจสัตว์เดรัจฉานก็มี ใจใบ้ใจบ้าเสียจริตก็มี ใจ หู ห นวกใจตาบอด ใจกระจอกงอกง่ อ ย ใจขี้ เรื้ อ นกุ ฏ ฐั ง ก็ มี คนเรามี
หลายใจ ใจเทวบุตรใจเทพธิดา ใจพระอินทร์ใจพระพรหม ใจท้าวพญา มหากษัตริย์ก็มี ใจคนมั่งมีศรีสุขก็มี ใจเศรษฐีคหบดีก็มี ใจนายร้อย นายพันนายพลก็มี ใจจอมพลก็มี เลือกเอาซี่ ๖๙. ถ้าดวงใจไม่ยาก มันก็ไม่มีอะไรยาก สิ่งทั้งหลายเขายาก อะไรเขาไม่ได้ว่าอะไร เขาไม่ทุกข์ไม่ยากอะไรซักอย่าง เขาเฉยอยู่หมด ๗๐. จิ ต ตั้ ง มั่ น นั้ น เป็ น ยั ง ไง มั น ไม่ ไ ด้ ส่ ง ไปข้ า งหน้ า มาข้ า งหลั ง ข้างบนข้างล่าง ตั้งจำเพาะอยู่ที่รู้ ความรู้อยู่ที่ไหนเราก็เพ่งดูอยู่ตรงนั้น
พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร
๗๓. กรรมทั้งหลายไม่ได้มาจากอื่นไกล เกิดจากใจ จากวาจา จากกายของเราเอง ๗๔. หนังนี่สวยยังไงล่ะ อาบน้ำชำระอยู่ทุกวัน ลองไม่อาบซัก
ห้าวันเป็นไงล่ะ สกปรกไม่ใช่เรอะ นี่หละเห็นยังงี้แล้วเราไม่หลง
๗๑. คนตายไปแล้ ว จะอยู่ ยั ง ไง พอขาดแป๊ ป ที่ นี่ ก็ ข าดปั๊ บ ไป ติดเกาะที่ใหม่แล้ว ไม่อยู่แล้ว จะอยู่ทำไมนั่นยังงั้นหร๊อก
๗๕. เปรียบภายนอกเหมือนกับเราทำการทำงาน มันต้องรวม เข้ามาการงานจึงสำเร็จ อันนี้ก็จิตของเราเช่นเดียวกัน ถ้าไม่รวมเป็น มัคคสมังคี เข้าเป็นจิตดวงเดียวแล้ว มันก็เลยไม่สำเร็จ ถ้าเรารวมจิตลง ในอันรู้อันเดียวแล้ว ของอันเดียวเท่านี้หละ นั่นหละสำเร็จตรงนั้น
๗๒. เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีตอนาคต อดีตล่วงไปแล้ว ดีก็ดีมาแล้ว ชั่วก็ชั่วมาแล้ว อนาคตก็ยังมา ไม่ถึงทำปัจจุบันนี้ให้ดีอนาคตก็ต้องดี
๗๖. สรุปหัวข้อใจความในพระพุทธศาสนา คือ กายกับใจเป็น
ที่ตั้งแห่งมรรคและผล
48
49
๗๗. หากภิกษุสามเณรบวชแล้วเล่าเรียนศึกษา สำรวมสิกขาวินัย ของตนเรียบร้อย รู้จักแล้วศีลของเราก็ ๒๒๗ สามเณร ๑๐ เราสำรวม ยังงี้ศาสนามันก็เจริญนะซี่ เดี๋ยวนี้มันไม่เป็นยังงั้น ศาสนาเลยเสื่อมเสีย คนทั้งหลายจึงดูหมิ่น เพราะเราไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา มีแต่ศรีษะโล้น และผ้าเหลืองว่าเป็นพระเท่านั้น
๘๔. ต่อไปให้เข้าวัดฟังธรรม ฟังดูหัวใจของเรามันดีเป็นอย่างไง ล่ ะ คื อ จิ ต เราสงบ มั น ดี๊ ใจเราดี มี ค วามสุ ข ความส-บ๊ - า-ย เย็ น อก เย็นใจ ไม่ทุกข์ไม่ร้อน ไม่วุ่นไม่วาย ส-บ๊-า-ย พุทโธใจเบิกบาน ใจสว่าง ใจไสว ใจผ่องใส ใจสะอาดปราศจากทุกข์ ปราศจากโทษ ปราศจากภัย ปราศจากเวร ปราศจากความชั่วช้าลามก ปราศจากความทุกข์ความจน
๗๘. ปฏิบัติไว้อย่าให้มันขาดซี่ ไม่ได้มากก็ให้ได้น้อย ต้องหมั่น เข้าวัดฟังธรรมเสียก่อนจึงจะนอน ทีงานการล่ะอุตสาหะทำจนเหงื่อไหล จนเหนื่อย งานภายในของเราล่ะ เราไม่รักษา ใครจะรักษา
๘๕. เราทั้งหลายเกิดมานี้ย่อมมีความมุ่งมาดปรารถนาอยู่เป็น
สามนัย นัยหนึ่งต้องการวัตถุเงินทองข้าวของมาก ๆ นัยสองต้องการรูป สวย ๆ งาม ๆ อายุยืน นัยสามต้องการมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เหตุใด จึงไม่ได้สมความปรารถนา ก็เพราะเราไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ ท่านได้ วางข้อปฏิบัติไว้คือ มีทาน มีศีล มีภาวนา สามนัยนี้ให้พากันรู้จัก
๗๙. ศีลห้าท่านให้ละเว้นโทษห้าอย่าง เมื่อละเว้นแล้วอยู่ที่ไหน ก็เป็นศีล ในป่าในดง อยู่ในรถในเรือก็เป็นศีล นี่มาว่ากับพระ ปาณา- ติปาตา พอยุงกัดก็ตบปั๊บ รับกันวันยังค่ำก็ไม่เป็นศีล ๘๐. เราจำแนกแจกแล้วมันไม่มีคน มันมีแต่ผู้รู้เท่านั้น มันก็เป็น แต่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ไปเสียแล้ว ๘๑. ถ้าเราไม่ได้วัดดูแล้ว มันก็ไม่รู้จักว่ามันอยู่ที่ไหน สถานที่ใด ถ้าเราวัดดูแล้วเราก็รู้ว่ามันไม่ได้อยู่ที่อื่น มันอยู่กับดวงใจของเรานี่หละ ดวงใจของเราเป็นผู้ปรุงผู้แต่ง เป็นผู้ก่อภพก่อชาติ เป็นผู้ก่อกรรมก่อเวร ก่อภัย เราก็มาเห็นดวงใจของเรานี่หละ แล้วก็มาแก้ที่ดวงใจเท่านี้หละ ๘๒. ศาสนาไม่ ไ ด้ อ ยู่ กั บ พระพุ ท ธเจ้ า ไม่ ไ ด้ อ ยู่ กั บ ภู เขาเลากา ท่านบัญญัติไว้กับตัวคน คนเป็นตัวพระพุทธศาสนา ๘๓. เมื่ อ ใจไม่ ส งบ ใจไม่ ดี มั น ก็ ทุ ก ข์ ย ากวุ่ น วายเดื อ ดร้ อ น นี่หละนำสัตว์ทั้งหลายให้ตกทุกข์ได้ยาก ในปัจจุบันและเบื้องหน้า
๘๖. ธรรมทั้งหลาย กุศลธรรม อกุศลธรรม เราทำมาทั้งหมด มิใช่เทวบุตรเทวธิดาทำให้พระอินทร์พระพรหมทำให้ ธรรมทั้งหลาย ไม่ได้เกิดจากท้องฟ้าอากาศ ต้นไม้ภูเขาเลากา จากบ้านจากเมืองถนน หนทาง เกิดจากดวงใจของเรา ๘๗. ชราปิทุกขา ความเฒ่าแก่ชราคร่ำคร่าทรุดโทรมนี่หละเป็น ทุกข์ ลุกก็ยากนั่งก็ยาก ทางท้องก็อยากทางปากกลืนไม่ลงกินไม่ได้ คนไม่มีฟันอยากจะกินของแข็งก็กินไม่ได้ นี่หละทุกข์ อาตมาก็ถึงแก่ หมดแล้ ว จะลุ ก แหมดั ง อึ๊ ด จึ ง ลุ ก ได้ พุ ท โธ๊ เ ดิ น ไปมาเซนั่ น เซนี่ โอ ทุกข์ รู้จักไหมล่ะทุกข์น่ะ ต้องเป็นยังงี้ทุกคน ๘๘. ไม่มีตัวตนสัตว์บุคคล เราเขาอะไรซักอย่าง เราเพ่งดูซี่ มัน ไม่เป็นแก่นเป็นสารที่ไหนเลย ถ้าเป็นแก่นเป็นสาร ทำไมคนจึงล้มหาย ตายไป เป็นแก่นเป็นสารเป็นตัวเป็นตนของเรา ทำไมเป็นหวัด เป็นไอ
50
51
เป็นไข้ ทำไมเป็นเป็นหนาวเป็นร้อน เป็นทุกข์เป็นยาก เพราะเหตุน ี้
พึงเห็นว่า มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
๙๔. ใจมันทุกข์ยาก ให้หนักให้หน่วง ให้ง่วงให้เหงา ให้ทุกข์ ขัดตนขัดตัว เจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้ ให้เกิดโรคเกิดภัย เกิดกิเลสจัญไร เกิดความชั่วช้าลามก เกิดความทุกข์ความอยากขึ้นมา
๘๙. ให้มาดูรูปธรรมนามธรรม รูปธรรมคืออัตภาพร่างกายของ เรานี้ นามธรรมคือดวงใจของเรา มันจะอยู่ชั้นใด ภูมิใดภพใด ดูให้มัน เห็นซี่ ๙๐. ให้พากันหยุดเสาะหาธรรมเสีย จึงจะเห็นธรรม ให้ดูสิ่งที่ ปรากฏอยู่ในตัวของเรา สิ่งที่รู้อยู่ในตัวของเรา สิ่งที่ปรากฏอยู่นั่นหละ ความรู้สึกอยู่ที่ไหนให้ดูตรงนั้น ให้กำหนดไว้ตรงนั้น ให้เพ่งลงตรงนั้น เพ่งดูดวงใจของเรา ๙๑. สติวินโย สติเป็นวินัย สติคือความรู้ความระลึกได้ ความ รู้อยู่ สติเป็นวินัยนำตนออกจากความชั่ว นำความชั่วออกจากตน เมื่อ
มีสติแ ล้ ว ไม่ ห ลง ไม่หลงก็ไม่ทำความชั่ว เราจงมากำจัดความหลงนี ้
คือทำตัวให้มีสติ นั่งสมาธิก็หัดสติ พิจารณาก็หัดสติ เมื่อมีสติอยู่แล้ว เป็นผู้รู้อยู่แล้วมีวินัย ๙๒. แต่ก่อนเราไม่มีโอกาสปฏิบัติ ว่าคากิจคาการคาบ้านคาช่อง คาลูกคาหลาน ก็เดี๋ยวนี้นั่งอยู่นี่คาอะไรเล่า มันคาดวงใจเราเท่านี้หล่ะ เรื่องมันไม่ใช่คาอื่น ให้รีบมาแก้เสียวันนี้ แก้วันนี้ได้แล้วก็ได้ม๊ด ๙๓. ใจเราดีมีความสุขความส-บ๊-า-ย นั่งก็สบายเบาตนเบาตัว เบาร่างเบากาย หายโรคหายภัย หายเคราะห์หายเข็ญ หายกิเลสจัญไร หายความชั่วช้าลามก หายความทุกข์ความจน
๙๕. พยาธิปิทุกขา เกิดพยาธิ ความเจ็บไข้ได้พยาธิอาพาธโรคา เกิ ด ขึ้ น ในตั ว ของเราแล้ ว ยิ่ ง ทุ ก ข์ ห นั ก เข้ า ไปทุ ก ที หนั ก เข้ า ข้ า วน้ ำ โภชนาหาร ของอะไรอร่อยก็เลยหายหมด จืดจางไปหมด ขมไปหมด จึงว่าทุกข์ว่ายาก ๙๖. มรณัมปิทุกขัง ทุกข์คือความตาย มันหนักเหลือประมาณ หาที่อยู่ไม่ได้ ยกแข้งยกขาก็ไม่ได้ หนักเข้าลืมตาก็ไม่ได้ หนักเข้าหายใจ ก็ไม่ได้ ขาดหมดลมหายใจ ดับขันธ์ไปจุติ ๙๗. ตาสำหรับเห็นรูป ใจเป็นผู้ว่ารูปดีรูปชั่ว รูปไม่ดีไม่ชั่ว แท้ ที่จริงรูปทั้งหลายเขาไม่ได้ว่าเขาดี เขาไม่ได้ว่าเขาชั่ว เราเป็นผู้ไปว่าเอา สมมุติเอา ๙๘. วิ ธี ดั บ บาปดั บ กรรม ดั บ ความชั่ ว ทั้ ง หลาย ดั บ ภั ย ดั บ เวร จะล้างบาปล้างกรรม ล้างภัยล้างเวรทั้งหลายนั่น ไม่มีวิธีอื่นนอกจากเรา นั่งสมาธิ เมื่อนั่งสมาธิจิตเป็นหนึ่งแล้ว เป็นจิตอันเดียวแล้ว บาปกรรม ทั้งหลายมันก็ไม่มี ภัยเวรทั้งหลายมันก็ไม่มี ความชั่วทั้งหลายมันก็ไม่มี มีแต่ความสุขน่ะซี่ ๙๙. สุ ข เพราะเหตุ ใ ด สุ ข เพราะใจสงบ ทุ ก ข์ เ พราะเหตุ ใ ด เพราะใจไม่สงบ มันไปก่อกรรมก่อเวรไม่หมดซักที กรรมเก่าก็ไม่หมด กรรมใหม่ก็เติมเรื่อยไป มันจะหมดซักทีเรอะ
52
53
๑๐๐. ให้เราเข้าวัดฟังธรรม วัดดูซิว่าจิตของเราเวลานี้อยู่ในชั้นใด ภูมิใดในภพอันใดให้รู้จักให้เรานึกพุทโธ๊ พุทโธ บริกรรมเพ่งเล็งดูจิตของ เราในพุทโธ นั้น ถ้าจิตของเราเป็นกุศลมันเป็นยังไง คือมันสงบ มัน ไม่ส่งหน้าส่งหลัง ส่งซ้ายส่งขวา ส่งบนส่งล่าง ตั้งจำเพาะท่ามกลางผู้รู้ พุทโธ พุทโธ มันมีใจเยือกใจเย็น ใจสุขใจสบาย กายะลหุตา จิตตะ- ลหุตา จิตเบากายมันก็เบา ไม่หนักไม่หน่วง ไม่ง่วงไม่เหงา หายทุกข์
หายยาก หายความลำบากรำคาญ สบายอกสบายใจ นั่นหละตัวบุญ ตัวกุศลแท้
ลำบากรำคาญ ให้อดให้จน ให้เป็นใบ้เป็นบ้า หูหนวกตาบอด ปากกืก กระจอกงอกง่อย ขี้ทูดกุฏฐัง ตกระกำลำบาก ทำมาหากินไม่พอปาก พอท้อง ข้าวขาดแลงแกงขาดหม้อ เสื้อขาดหน้าผ้าขาดหลัง นี่หละ ตัวบาป
๑๐๑. เราทั้งหลายมาอย่างนี้ ก็ต้องการแสวงหาที่พึ่งอันแท้จริง
ของตน เราจะเอาอะไรเป็นสรณะที่พึ่งในสามโลกนี้ ไม่มีสิ่งอื่นนอกจาก พุทโธ ธัมโม สังโฆ เท่านี้หละมีเท่านี้ ให้พึงรู้พึงเข้าใจ ๑๐๒. ให้พากันพึงรู้พึงเห็นในทุกข์ ท่านว่า ชาติปิทุกขา เกิดเป็น ทุกข์ ขดอยู่ในครรภ์มารดาตั้งสิบเดือน ติงตัวก็ไม่ได้ เหลียวซ้ายแลขวา ก็ไม่ได้ มืดมิดเป็นโลกันตะนรก ไม่เห็นอะไรซักอย่าง ไม่เห็นฟ้าเห็น อากาศ ตอนหลุดออกจากครรภ์มารดา ท่านเปรียบเหมือนกับตกเหว ร้อยช่วง ๑๐๓. ดูสิ่งเหล่านี้เป็นคนหรืออะไร ให้มารู้จักนะ รู้จักโม หัวใจ ตั ว เรามั น จึ ง จะรั ก ษาได้ เราไม่ เ ห็ น นะ ไม่ เ ห็ น โมแล้ ว หั ว ใจตั ว เรา ก็รักษาไม่ได้ มันก็ทะเยอทะยานในรูปในเสียง ในกลิ่นในรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ๑๐๔. อาการบาปเป็ น ยั ง ไง คื อ เราประพฤติ ไ ม่ ดี ท ำไม่ ดี มั น ให้ ทุ ก ข์ ใ ห้ โ ทษแก่ เรา มั น ให้ เจ็ บ ให้ ป วด ให้ เ ป็ น ทุ ก ข์ เ ป็ น ยาก เป็ น
๑๐๕. รู้จักว่าเหนื่อยก็หยุดซี่ เปรียบเหมือนเราทำงาน รู้จักว่า เหนื่อยแล้วก็หยุด อุปมาภายนอกอย่างนั้น รู้จักทุกข์ก็หยุด อย่าไป ก่อกรรมก่อเวรก่อภัยต่อไป หยุดนิ่งให้มันว่างม๊ด พอจิตสงบนิ่งได้แล้ว จิตตะลหุตา จิตก็เบา กายะลหุตา กายก็เบา จิตตะมุทุตา จิตมันอ่อน นิ่มนวล อิ่มอกอิ่มใจ ส-บ๊-า-ย นั่นหละพ้นทุกข์ตรงนี้หละ ๑๐๖. คนเดี๋ยวนี้ไม่มีศรัทธาความเลื่อมใส เพราะไม่รู้จักบาปบุญ ไม่เห็นตัวมัน ทำบาปก็ไม่เห็นตัวบาป ทำบุญก็ไม่เห็นตัวบุญมันเป็น
ยังไง ตัวบาปตัวบุญคือ ตัวเรานั่งอยู่เดี๋ยวนี้เองหละ ไม่ใช่อื่นไกลศีรษะ ดำ ๆ คอกิ่ว ๆ คือคนนี้หละตัวบาปตัวบุญ ๑๐๗. ศาสนาท่านไม่ได้หมายอื่นเป็นศาสนา ในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านให้ละความชั่วทำความดี ทั้งกาย วาจา และดวงใจ ท่านไม่ได้ว่า อื่นเป็นศาสนา ผู้ใดมาชำระดวงใจให้ผ่องใส เอตังพุทธานสาสนัง นั่น เป็นศาสนา สมาธิคือจิตตั้งมั่น นายช่างเขาตั้งเสาเขาตั้งยังไง เขาตั้ง แล้วเขาก็มองดูข้างหน้าข้างหลัง เอาระดับจับดูมันเที่ยงหรือไม่เที่ยง มันเอนเอียงไปข้างไหน เขาก็ผลักขึ้นมาแล้วเขาก็เล็งดูจนมันเที่ยงตรง เขาก็ฝังไว้ให้มันแน่น นี่เรียกว่า “ฐีติภูตัง” เราก็ตั้งใจของเราให้มันเป็น ของเที่ยง วิญญาณของเรามันไม่เที่ยง เดี๋ยวนี้เราก็ต้องให้มันเที่ยง มัน จึงจะเป็นพระนิพพานได้ เรื่องมันเป็นยังงั้น
54
55
๑๐๘. นิมนต์พระไปชักบังสุกุลว่าชักให้คนตาย แท้ที่จริงน่ะให้ พวกเราดู แต่ก่อนเขาก็เป็นเหมือนอย่างเรานี่หละ ห่วงนั่นห่วงนี่คานั่น คานี่ มาเดี๋ยวนี้ตายแล้วเป็นอย่างไรล่ะ ไม่คาอะไรซักอย่าง เคยว่าเจ็บ
ว่าปวด ยุงกัดก็ตีปวดนั่นปวดนี่ ทีนี้เอาไปเผาไม่เห็นว่าอะไรเลย ไม่เห็น อุ้ยซักคำเดียว แข้งขาหูตาจมูกเขาก็มีครบเหมือนเราหมด ดูซี่พวกเรา ทั้งหลายมันต่างกันตรงไหน
๑๑๒. ให้พากันเข้าวัดนะ วัดดูจิตใจของเรา ต้องวัดเสมอ นั่ง ก็วัดนอนก็วัด เดินยืนก็วัด วัดเพราะเหตุใด ให้มันรู้ไว้ว่าจิตเรามันดี หรือไม่ดี ไม่ดีจะได้แก้ไข ต้องวัดทุกวัน ตัดเสื้อผ้าก็ยังวัดไม่ใช่เรอะ ไม่วัดจะใช้ได้อะไรล่ะ
๑๐๙. อาการสามสิบสองนี้มันเป็นแต่อาการ มันเป็นคนที่ไหนเล่า ปิ ต ตั ง น้ ำ ดี ยั ง งี้ เสมหั ง น้ ำ เสลดยั ง งี้ บุ พ โพน้ ำ เหลื อ งยั ง งี้ โลหิ ตั ง น้ำเลือดยังงี้ เป็นคนที่ไหนเล่า จะไปหลงยังไงน้ำเหล่านี้ไม่ใช่เป็นของเรา เป็นของทิ้งทั้งหมดไม่ใช่เหรอ ถ้ามันเห็นยังงี้มันก็ละสักกายทิฏฐิได้ มัน ก็ถอนอุปทานขันธ์ได้เอง ท่านจึงบอก เอหิปัสสิโก จงร้องเรียกสัตว์ ทั้งหลายมาดูธรรม ท่านไม่ให้ไปดูธรรม ให้มาดูธรรม คือมาดูรูปธรรม นามธรรมที่ตัวเรานี่หละ ๑๑๐. มิใช่อื่นสุขมิใช่อื่นทุกข์ จิตของเราเป็นผู้สุขผู้ทุกข์ เราก็ดูซิ เวลานี้เห็นอะไรสุขซักอย่าง เห็นอะไรทุกข์ซักอย่างในโลกนี้ หรือว่า ต้ น ไม้ ภู เขาเลากาเขาเป็ น ทุ ก ข์ หรื อ ว่ า ฟ้ า อากาศเขาเป็ น ทุ ก ข์ หรื อ ข้าวน้ำโภชนาหารเขาเป็นทุกข์ หรือบ้านช่องเป็นทุกข์ อะไรเป็นทุกข์ พิจารณาดูซิ ๑๑๑. เมื่อเราเห็นจริงยังงี้แล้ว เราก็ละได้วางได้ จาโคปฏินิสัคโคมุตติอนาลโย คือความสละ ความละความวาง จิตมันก็ว่างเบาตน เบาตั ว เบาร่ า งเบากาย หายทุ ก ข์ ห ายยากน่ ะ ซี่ นี่ ห ละข้ อ สำคั ญ ให้ พากันเข้าใจ
๑๑๓. ต้องนั่งพิจารณาดูให้มันรู้มันเห็น ไม่ต้องไปหาที่ไหนนะ ให้ดูสิ่งที่มีอยู่ในใจเรานี่หละ มันมืดหรือมันสว่าง นี่หละอัตตะโนนาโถ เป็นที่พึ่งของตนแท้ ๑๑๔. ญาติโยมว่าศาสนาอยู่กับพระ พระว่าศาสนาอยู่กับพระ พุทธเจ้า เลยพากันทอดธุระม๊ด ข้อนี้ให้รู้จัก ตัวเราคือตัวพระพุทธศาสนา ๑๑๕. มันสงสัยอยู่เลยละไม่ได้ จิตมันเลยวุ่นวาย วนเวียนอยู่ เวี ย นตายเวี ย นเกิ ด ตายแล้ ว เกิ ด เกิ ด แล้ ว ตาย ไม่ รู้ สั ก กี่ กั ป กี่ กั ล ป์
อนันตชาติ ๑๑๖. สมมุ ติ ว่ า เราไปฆ่ า เขา เขาจะดี ใจไหม เขามาฆ่ า เราล่ ะ เราจะดีใจไหม พิจารณาดูซี่ข้อนี้ เราไม่ต้องการอย่างนั้นเราก็ต้องไม่ทำ เมื่อเราไม่ได้ทำอย่างนั้น โทษทั้งหลายมันก็ไม่มี เกิดมาเราก็อายุยืนนาน ไม่ตายพลัดพรากจากกัน ไม่ตายแต่น้อยแต่หนุ่ม ๑๑๗. คนไม่มีความรู้แล้ว อุปมาเหมือนคนตายเห็นไม๊ล่ะ จิต วิญญาณไม่มีแล้วเหลือแต่ธาตุสี่ มันเลยพึ่งอะไรไม่ได้ ๑๑๘. คนว่า ทุกวันนี้ศาสนาหมดคราวหมดสมัย พระอรหันต์ ก็ ไ ม่ มี มรรคผลไม่ มี เ สี ย แล้ ว คนเข้ า ใจอย่ า งนั้ น เสี ย มาก หมดคราว
56
57
หมดสมัย แท้ที่จริงในธรรมคุณท่านบอกว่า อกาลิโก ไม่เลือกกาลเลือก เวลาเลือกฤดู ได้ผลอยู่เสมอ ธรรมะทั้งหลายมันหมดไม่เป็น เพราะว่า ธรรมทั้งหลายไม่ได้อยู่ที่อื่นไกล ตัวของเรานี้เป็นธรรม มรรคผลการ ที่ไม่มี เพราะอาศัยคนไม่ปฏิบัติ เมื่อคนไม่ปฏิบัติแล้ว ก็เลยไม่มีมรรค ไม่มีผล ถ้าคนยังปฏิบัติอยู่ มรรคผลมันก็มีอยู่ตราบนั้น ถ้าคนไม่ปฏิบัติ แล้ว ก็จะเอามรรคมาจากไหนเล่า มรรคคือการกระทำ เมื่อเรากระทำ แล้วก็จะได้รับผล นี่ไม่ได้กระทำแล้วจะเอาผลมาจากไหนล่ะ ท่านจึง บอกว่า อกาลิโก ไม่มีกาลไม่มีเวลา แท้ที่จริงธรรมทั้งหลายมีแต่ไหน แต่ไรมา มันมีอยู่อย่างนั้น
๑๒๒. ประเทศชาติของเราจะอยู่ได้ อาศัยคุณงามความดี นี่เรื่อง มั น เป็ น อย่ า งนั้ น อย่ า ให้ เ ป็ น มิ จ ฉาทิ ฏ ฐิ เห็ น ผิ ด เป็ น ชอบ ประกอบ เหมือนแมงเม่าเห็นไฟ ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือเรานั่งดูแหละ สั ม มาแปลว่ า ความชอบ เราทำแล้ ว ชอบอกชอบใจ ดี อ กดี ใจ ได้ รั บ ความเบิกบาน ได้รับความสุขความสบาย ไม่วุ่นวายเดือดร้อน นี่เรื่อง มันเป็นอย่างนี้ นำความสุขความเจริญให้ ในปัจจุบันและเบื้องหน้า
๑๑๙. หั ว ข้ อใจความในพระพุทธศาสนา คือกายกับใจนี้ เป็น ที่ตั้งแห่งพระพุทธศาสนา เป็นที่ตั้งแห่งคุณพระพุทธเจ้า เป็นที่ตั้งแห่ง พระธรรม เป็นที่ตั้งแห่งพระสงฆ์ เป็นที่ตั้งแห่งมรรคและผล ๑๒๐. นี่ ธ รรมะคำสั่ ง สอนของพระพุ ท ธเจ้ า รวมเข้ า ไว้ ใ นจิ ต ดวงเดียว เอกัง จิตตัง ให้จิตเป็นของเดิม จิตตัง ความเป็นอยู่ ถ้าเรา น้อมเข้าถึงจิตแล้ว ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ถ้าเราไม่รวมแล้วมันก็ไม่สำเร็จ ทำการทำงานทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ต้องรวมถึงจะเสร็จ ถ้าไม่รวมเมื่อไร ก็ไม่สำเร็จ ๑๒๑. ท่านมหาบพิตร ท่านก็เห็นเราทั้งหลายมีความดี มีความ ใจดี มีความสุขความสบาย ท่านก็ได้รับความสุขความสบาย เหมือนกับ บิดามารดา ลูกไม่ดีบิดามารดาก็เป็นทุกข์ ถ้าลูกดีบิดามารดาก็เป็นสุข
๑๒๓. เอ้า ต่อไปจะไม่อธิบายอะไรล่ะ ต่างคนต่างฟังใจของเรา ดูให้มันแน่นอนลงไปเชื่อมั่นลงไป ให้มันได้หลักได้ฐานของตน ได้ที่พึ่ง ของตนเอง ๑๒๔. เมื่ อ เหล่ า ท่ า นทั้ ง หลายได้ พ ากั น สดั บ ตรั บ ฟั ง แล้ ว ใน โอวาทศาสนี ย์ ธ รรมะคำสั่ ง สอนนี้ ซึ่ ง แสดงโดยย่ น ย่ อ พอเป็ น เครื่ อ ง ปฏิ บั ติ ประดั บ สติ ปั ญ ญาบารมี ข องท่ า นทั้ ง หลาย ให้ พ ากั น โยนิ โ สมนสิ ก าร กำหนดจดจำ นำไปประพฤติ ป ฏิ บั ติ ฝึ ก หั ด ตนของตน ให้ เป็นไปในศีล เป็นไปในธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว แต่นี้ต่อไป พวกท่านทั้งหลายจะประสบแต่ความสุข ความเจริญ งอกงาม ดังได้แสดงมา เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์แห่งประวัติศาสตร์ พระมหาบุรุษผู้ภักดีต่อแผ่นดินสยาม ท่านถือกำเนิดในตระกูลชาวนา ผู้มั่งคั่ง เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖ ณ บ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี บิดาท่านชื่อนายทองดี โลหิตดี มารดาท่านชื่อ
นางแพงศรี โลหิ ต ดี มี พี่ น้ อ งร่ ว มมารดารบิ ด าจำนวน ๑๖ คน ใน วัยหนุ่มท่านเป็นคนขยันหมั่นเพียร แข็งแรง เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ เป็นแรงสำคัญในครอบครัว การอุปสมบท : อายุ ๒๑ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุใน ทางพระพุ ท ธศาสนา ตามคำร้ อ งขอของบิ ด ามารดา เพื่ อ อยากเห็ น ผ้ า เหลื อ งของลู ก อุ ป สมบทในวั น ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๗๗ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล)
60
61
เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นบวชแล้วท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย จนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม ๓ ประโยค ปฏิปทา : ครั้นศึกษาปริยัติธรรมจบแล้ว ท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า
จะออกปฏิบัติธรรมเพื่อให้หลุดพ้นทุกข์ภัยในโลกนี้ ต่อมาได้ไปฝากตัว เป็ น ศิ ษ ย์ ห ลวงปู่ มั่ น ภู ริ ทั ต โต ที่ วั ด ป่ า บ้ า นโคก อ.โคกศรี สุ พ รรณ จ.สกลนคร และได้ ติ ด ตามปฏิ บั ติ ธ รรมศึ ก ษาข้ อ วั ต รปฏิ บั ติ ไ ปตาม สถานที่ต่าง ๆ จนกระทั่งหลวงปู่มั่นมรณภาพ บรรลุธรรม : พอเสร็จจากการถวายเพลิงศพแล้ว ท่านขึ้นไป ปฏิบัติธรรมที่วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ และได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์ทำลายกิเลสให้หมดสิ้นไปจากใจ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ บนหลังเขาวัดดอยธรรมเจดีย์ เมื่อท่านได้บรรลุโมกขธรรมแล้ว ท่านได้นำธรรมะมาสอนสั่งสาธุชนทั่วทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ ท่านบำเพ็ญประโยชน์ส่วนตนได้แล้ว ท่านก็ยังได้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อ ประเทศชาติบ้านเมือง สงเคราะห์โลก สงเคราะห์ประเทศชาติบ้านเมือง ให้มีความผาสุขร่มเย็นเทียมเท่านานาประเทศ เปิดโครงการช่วยชาติ : หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เมตตา เล่าถึงสาเหตุแห่งการเปิดโครงการช่วยชาติว่า การช่วยชาติที่แท้จริง
ให้ ต่ า งหั น มาแก้ ไขที่ ต้ น เหตุ คื อ การทรงมรดกธรรมของพระ
พุ ท ธศาสนา เอาศี ล เอาธรรม ความประพฤติ ดี ง าม ด้ ว ยเหตุ ผ ล
หลักเกณฑ์เข้ามาอุดหนุนจิตใจ จนมีหลักประกันภายในใจ เรียกว่า
มี ห ลั ก ใจ โดยหั น กลั บ มาปรั บ ปรุ ง ตั ว เราแต่ ล ะคน ๆ ให้ มี ค วาม
ประหยั ด ไม่ ลื ม เนื้อลืมตัว ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ด้วยการอยู่การกิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน นมัสการหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ณ สวนแสงธรรม พุทธมลฑลสาย ๓ กรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเสด็จนมัสการหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยพระองค์ทรงถวายตัวเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงตามหาบัว
62
63
การใช้การสอยการไปการมา โดยให้ดูแบบของพระผู้มีหลักเกณฑ์ ภายในใจ เป็ น แบบอย่ า งของความประหยั ด ของผู้ มี ห ลั ก เกณฑ์ เหตุผ ล ให้ มี ธ รรมคอยเหนี่ ยวรั้ งไว้ในใจไม่ ให้ ถูกลากจู งด้ว ยกิ เลส ตัณหาราคะ ด้วยความโลภโมโทสัน จนเลยเขตเลยแดน เหมือนรถ
ที่มีแต่เหยียบคันเร่ง ไม่เหยียบเบรก ย่อมเป็นภัยอันตรายร้ายแรง
ต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ในที่สุด หากต่างมีการหันมาอุดหนุนทั้งทาง ด้านหลักทรัพย์ และหลักใจควบคู่กันไป ปัญหาต่าง ๆ ของชาติย่อม ทุเลาเบาบางลงเป็นลำดับ ๆ ไป
หลวงตามหาบัว ท่านรวบรวมเข้าคลังหลวงได้ทั้งหมด ทองคำ ๑๒,๗๕.๕๐ กิโ ลกรั ม เงิน ดอลลาร์ ๑๐,๘๐๓,๖๐๐ เหรี ยญสหรั ฐ - อเมริกา ส่วนเงินบาทไทยนั้น ท่านนำไปซื้อดอลลาร์ ซื้อทองคำ เพื่อ นำเข้าคลังหลวง นอกจากการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว ท่านยัง เมตตาสร้างโรงพยาบาล สร้างสถานสงเคราะห์เด็กกำพร้า สร้างสถานที่ ราชการ ฯลฯ รวมเป็นเงินที่ท่านสงเคราะห์โลกแล้ว นับเป็นเงินไทย คงหาประมาณมิได้ นับล้านล้านล้านบาทไทย แม้องค์ท่านจะละสังขาร เข้าสู่นิพพานจากไปแล้วก็ตาม ท่านก็ยังห่วงชาติบ้านเมืองเป็นอย่างมาก ท่านได้ทำพินัยกรรมของท่านเอาไว้ว่า เงินทุกบาททุกสตางค์ ที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายร่วมทำบุญในงานศพของท่านครั้งนี้ ให้นำไปซื้อ ทองคำเข้าคลังหลวงทั้งหมด
ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๔๐ ประเทศไทยถู ก โจมตี ค่ า เงิ น บาทจาก ไอเอ็มเอฟ (IMF) ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวยากหมากแพง องค์หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านประกาศตัวเป็นผู้นำชาติไทย และเมตตา เปิ ด โครงการช่ ว ยชาติ ในวั น ที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๑ ณ สวน แสงธรรม พุทธมลฑลสายสาม กรุงเทพมหานคร โดยมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธาน ฝ่ า ยฆราวาส โครงการช่ ว ยชาติ ช่ ว ยเหลื อ ชาติ ไ ทย เปิ ด รั บ บริ จ าค ทองคำ เงิ น บาทไทย เงิ น ตราสกุ ล ต่ า งประเทศ เพื่ อ รวบรวมเข้ า คลังหลวง อันเป็นหัวใจหลักสำคัญยิ่งของชาติไทย เป็นหลักค้ำประกัน ของประเทศชาติ บ้านเมือง เงินทุกบาททุกสตางค์ ท่านบริจาคผ่าน หลวงตา ไม่ มี รั่ ว ไหลแตกซึ ม ไปทางไหน หลวงตาท่ า นนำไปเข้ า
คลังหลวงทั้งหมด ท่านเป็นผู้กำกับดูแลบัญชีเองทั้งหมด เรียกได้ว่า บริสุทธิ์ล้านเปอร์เซ็น
การมรณภาพ : หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านอาพาธ ด้วยโรคปอดอักเสบ และลำใส้อักเสบ โดยเข้ารักษาอาการอาพาธที่ โรงพยาบาลศิ ริ ร าช ซึ่ ง คณะแพทย์ โรงพยาบาลศิ ริ ร าช คณะแพทย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น คณะแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี ได้กราบอาราธนานิมนต์ท่านเข้ารับรักการรักษา เมื่ออาการอาพาธดีขึ้น ได้กลับมาพักรักษาตัวที่วัดป่าบ้านตาด จนกระทั่งมรณภาพเข้าสู่นิพพาน ในวันอาทิตย์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔ เวลา ๐๓.๕๓ น. สิริรวม อายุ ไ ด้ ๙๗ ปี ๕ เดื อ น ๑๘ วั น รวมพรรษา ๗๗ พรรษา และ พระราชทานเพลิงสรีระสังขารในวันเสาร์ที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔ โดย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเป็นองค์ประธาน ในพิธี
64
65
สรีระสังขารองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เมรุที่พระราชทานเพลิงสรีระสังขารองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
ญาณสัมปันโนวาท
๑. พระพุ ท ธเจ้ า ท่ า นยกกรรมเป็ น สำคั ญ นตฺ ถิ กมฺ ม สมํ พลํ อำนาจแห่งกรรมเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง ท่านว่า ใครอย่าประมาทกรรม การกระทำสำคั ญ นะ คำว่ า กรรมคื อ การกระทำ ทำดี ผ ลต้ อ งเป็ น ดี ทำชั่วผลต้องเป็นชั่ว ทำอะไรผลต้องเป็นอย่างนั้นขึ้นมา ให้พากันจำ เอาไว้ นตฺถิ โลเก รโห นาม ที่ลับไม่มีในโลก คนอื่นไม่เห็นเจ้าของ ก็เห็น เจ้าของก็รู้ว่าทำอยู่ แล้วจะเป็นที่ลับได้ยังไง เมื่อเจ้าของก็รู้เห็น อยู่ในการทำของตนทั้งดีและชั่ว ให้ระวังตัวเอง อย่าไปเอาคนอื่นมาส่อง มามองมาดู ให้ดูเจ้าของเองเป็นผู้ทำ ทำดีหรือทำชั่ว
ในวันงานพระราชทานเพลิงสรีระสังขารองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ๕ มีนาคม ๒๕๕๔
66
67
๒. บาปบุญนรกสวรรค์นี้สด ๆ ร้อน ๆ อยู่กับตัวของเราทุกคน เรา อย่าทิ้งบาปไปไว้กาลนั้นสมัยนี้ ทิ้งบุญไปไว้ทวีปโน้นทวีปนี้ บาปก็ดีบุญ
ก็ดีตัวของเราเองเป็นคลังแห่งบาปแห่งบุญ เป็นคลังแห่งนรกตลอดถึง นิพพาน ตัวของเราเป็นภาชนะรับรองได้ทั้งนั้น ขอให้จิตเป็นผู้ก้าวเดินนี้ พาดำเนินให้ถูกทางนะ จิตนี้จะพาก้าวเดินไป ถ้าไปในทางที่เลวก็ลงจม มหานรก ถ้ า ไปทางที่ ดี ก็ ถึ ง ขั้ น สู ง สุ ด ได้ แ ก่ พ ระนิ พ พาน จากธรรมที่ ถูกต้องของพระพุทธเจ้า ถ้าใครเชื่อพระพุทธเจ้าขึ้นถึงที่สุดได้ ถ้าใคร ไม่เชื่อฟังแล้วจมได้ พากันจำเอา
มาศึ ก ษาก็ ดู ซิ ท่ า นทำยั ง ไง ๆ ดู เ อา นี่ พู ด อย่ า งตรงไปตรงมา เอาภาษาธรรมมาพูด ไม่ได้เอาภาษาโลกประจบประแจงเลียแข้งเลียขา เจริญพร ๆ ไม่เอาไม่ใช่ภาษาธรรม ภาษาธรรมผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก บอกตามตรงเลย ธรรมพระพุ ท ธเจ้ า ท่ า นสอนโลกสอนอย่ า งตรงไป ตรงมา
๓. ความดีงามท่านรักษาตลอดเวลา เรามีแต่การทำลายตลอด เวลามั น เข้ า กั น ไม่ ไ ด้ มาวั ด มาวาก็ เ ถ่ อ ก็ ม องดู นั้ น ดู นี้ ดู ด้ ว ยความ เพลิ ด เพลิ น ดู เ พื่ อ เป็ น คติ เ ครื่ อ งเตื อ นใจตนไม่ ค่ อ ยมี ดี ไ ม่ ดี เข้ า มา ก็จะมาให้คะแนนพระตัดคะแนนพระ วัดนั้นเป็นอย่างนั้น พระเณร องค์นั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เจ้าของเป็นยังไงไม่ดู นั่น พระท่านรักษา ของท่านอยู่ตลอดเวลาบกพร่องที่ตรงไหน สำหรับวัดนี้พูดได้ตรงเป๋งเลย ว่า พระเหล่านี้ปฏิบัติธรรมวินัยข้อไหนผิดชี้มา ขนาดนั้นนะท่านปฏิบัติ ท่านเอาจริงเอาจังมาก เราจะมาตัดคะแนนให้คะแนนท่าน...เลว มาไม่ดูแบบดูฉบับ ดูเป็นคติตัวอย่างอะไรเลย มาแบบเร่อ ๆ ร่า ๆ พระท่ า นไม่ พู ด แหละ ไม่ ท ราบว่ า เกรงใจเขาหรื อ เกรงใจเรา เรานี่ เกรงธรรมอย่างเดียว นอกนั้นไม่เกรงอะไรทั้งนั้น ธรรมนี่เราเคารพมาก เกรงธรรมมาก จึ ง ต้ อ งได้ ตี เข้ า สู่ ธ รรม ความสวยงามเลิ ศ เลออยู่ กั บ
ธรรม เวลามาก็ให้ได้คติเครื่องเตือนใจบ้างซิมาวัดมาวา กี่วันถึงจะได้ เข้ามาวัด ครั้นมาแล้วก็ไม่ได้เรื่องได้ราวอะไรกลับไปบ้าน คนเก่ามา คนเก่ากลับไป เรื่องก็ของเก่านั่นแหละไม่เกิดประโยชน์
๔. ศาสนาจะไม่มีเหลือเพราะไม่มีผู้ปฏิบัติ เหยียบไปย่ำมาอยู่งั้น ละ ธรรมธาตุถูกกิเลสตัณหาเหยียบแหลก มรรคผลนิพพานไม่มี ๆ ที่มี ก็ มี แ ต่ ค วามฟุ้ ง เฟ้ อ เห่ อ เหิ ม ความดิ้ น ความดี ด ทะเยอทะยานนั่ น ละ ที่เหยียบธรรมอยู่ทุกวันนี้ หาความสุขไม่ได้นะพวกนี้พวกหาความสุข ไม่ได้ ท่านที่ถูกกิเลสเหยียบท่านไม่มีอะไร ก็มีแต่พวกกิเลสมาเหยียบ แล้ วก็ เ หยี ย บหั ว มัน เอง ไม่ใช่ เหยี ย บพระพุ ท ธเจ้ า เหยี ย บหั ว มั นเอง จะไปเหยียบท่านได้ยังไง ท่านพ้นแล้วนี่ พากันตั้งใจปฏิบัตินะนักปฏิบัติ เรา อย่ามาเร่ ๆ ร่อน ๆ หัวใจฝึกให้ดีดีได้ ทำให้เลวเลวได้ ใจเป็นของ ฝึกได้มาจากพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เป็นศาสดาได้เพราะการฝึกฝน อบรม สาวกได้เป็นเพราะการอบรมศึกษา ไม่อบรมตายทิ้งเปล่า ๆ มีแต่ ลมหายใจฝอด ๆ แตกลงไปนี้ก็เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ใจก็ไปเสวยกรรม ตัวเอง ซึ่งส่วนมากมักจะทำแต่ความชั่วจมลง ๆ เท่านั้น หาความดีไม่มี ติดตัวนะ ๕. จะเห็นได้เวลาเข้ามาวัดป่าบ้านตาด วัดอื่นท่านจะว่าหรือไม่ว่า ก็ตาม แต่วัดนี้เอาจริง เพราะท่านปฏิบัติจริง ๆ การประพฤติปฏิบัติ เอ้า ตำหนิมาบอกนี้ได้เลย เรื่องศีลเรื่องธรรมของท่านที่ปฏิบัติมา ตำหนิ ตรงไหนท่านบกพร่องตรงไหน ท่านข้ามเกินหลักธรรมหลักวินัยข้อไหน
68
69
เราดูแลตลอดเวลาดูพระดูเณรของเรา แล้วท่านก็ปฏิบัติอย่างเต็มเม็ด เต็มหน่วยจากการศึกษามาแล้วด้วยกัน จึงไม่มีที่ต้องติท่าน เป็นการ เก็บรักษาสมบัติอันมีคุณค่าอยู่ตลอดเวลาต่างองค์ต่างรักษา ทีนี้เห็น พวกเปรตพวกผีพวกยักษ์พวกมารเพ่น ๆ พ่าน ๆ เข้ามามันดูไม่ได้นะ คนหนึ่งรักษาปฏิบัติแทบเป็นแทบตาย คนหนึ่งมาเพ่น ๆ พ่าน ๆ ไม่ม ี
ราค่ำราคานะ ตัวเองหยิ่งนะนั่น ว่าโก้ว่าเก๋เข้ามาในวัด จนจะดูไม่ได้นะ มันเลอะเทอะไหม ท่านทั้งหลายเห็นว่าวัดนี้เป็นวัดควายเหรอ ท่าน ทั้งหลายเป็นเจ้าของควายมาตรวจดูเหรอ มาตัดคะแนนมาให้คะแนน มั น เน่ า เฟะหมดแล้ ว นะ ก้ า วเข้ า มาในวั ด มองดู เ ห็ น แล้ ว นี่ พระท่ า น ดูตลอดเวลา สติปัญญาติดแนบอยู่กับท่านพินิจพิจารณาตลอด ใคร เข้ามาดีชั่วเห็นหมดรู้หมดคิดหมด นี้มาเพ่น ๆ พ่าน ๆ มันดูไม่ได้นะ ถ้า ใคร ๆ เข้ามาอย่างนี้อย่าเข้ามาในวัดนี้ เราไม่เห็นอะไรเลิศยิ่งกว่าธรรม อย่าเอายศถาบรรดาศักดิ์สมบัติเงินทองข้าวของมาอวดดิบอวดดีกับ ธรรมของพระพุทธเจ้านะ ไม่มีอะไรเลิศยิ่งกว่าธรรม จำให้ดีนะ อย่าเอา มาอวดสิ่งเหล่านี้ ถ้าจะเอานี้เข้ามาอวดแล้วอย่าเข้ามา เราไม่ต้องการ ไม่มีใครเลิศเลอไปตามสิ่งเหล่านี้ที่ส่งเสริมให้ดี นอกจากธรรมเท่านั้น
พากันจำให้ดี
ยังไง ยกให้ตูมทางนี้ ตูมให้ทางนี้ ไปอย่างนั้นนะ ส่วนที่ยังเหลืออยู่ก็ เหลืออยู่เพื่ออย่างนี้แหละ ให้ท่านทั้งหลายทราบเอาไว้ว่าหลวงตาบัว
ไม่เก็บ ตายแล้วมันจะมาเป็นเปรต เราไม่อยากเป็นเปรต หลวงตา องค์ นี้ ไ ม่ ใช่ ห ลวงตาเปรต ตายแล้ ว ดี ด ผึ ง เลย ท่ า นทั้ ง หลายอย่ า ได้ ประมาทบุญนะ เวลานี้กิเลสตัณหามันเข้าเหยียบย่ำทำลายจิตใจจะหา ธรรมหาบุญหากุศลในใจไม่ได้นะ กิเลสมันลากไปอันนั้นดีอันนี้ดี มีแต่ เรื่องเลว ถ้ากิเลสลากไปมีแต่ความเลว ธรรมลากขึ้นมามีแต่ความดี แต่ มันไม่อยากให้ลากกิเลส มันลากลง ๆ จมกันทั้งนั้น พากันจำเอา
๖. ใครจะมาตำหนิติเตียนยกโทษยกกรณ์ ว่าหลวงตาบัวมีเงิน เท่านั้นเท่านี้ในบัญชี คนนี้จะจมนะ เจตนาของหลวงตาบัวไม่ได้อยู่ใน เงินบั ญ ชี เ พื่ อ จะกอบโกย มีไว้เพื่อจ่าย เวลาไหนจำเป็น มีมากน้อย เพียงไรเอานี้ออกมาให้ทันกัน ที่เราเก็บไว้เก็บไว้อย่างนี้ต่างหาก คือหาก มีความจำเป็น มันมีอยู่บ่อย ๆ ทางโน้นมานี้ จำเป็นอะไรควรจะยกให้
๗. ให้ฟื้นฟูธรรมขึ้นสู่หัวใจ บ้านเมืองเราจะมีความสงบนะ โลก ทั้งโลกเป็นฟืนเป็นไฟเผาไหม้กันมันเจริญที่ไหน เจริญด้วยฟืนด้วยไฟ กัดฉีกกันกินเป็นเถ้าเป็นถ่าน รบกันที่นั่นฆ่ากันที่นี่เพื่อหาความสุข มัน มีแต่หาความทุกข์ทั้งนั้น ฆ่าเขาตายคนหนึ่งเท่ากับฆ่าเราตายคนหนึ่ง เขาเจ็บเท่านั้นเราเจ็บเท่านี้ เท่ากัน ๆ เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่ให้เบียดเบียน ทำลายกัน เพราะเป็นการทำลายตัวเอง เช่นเดียวกับการทำลายคนอื่น ท่านสอนไว้อย่างนั้นธรรม เราจะเห็นได้ชัดเจนจิตที่บริสุทธิ์เต็มส่วนแล้วไม่มีอะไรกับอะไรเลย ในโลกไม่มีสมมุติไม่มี จะเบียดเบียนอิจฉาอะไรใครเท่าเม็ดหินเม็ดทราย ไม่มี สมบูรณ์แบบ เต็มไปด้วยความเมตตาสงสารโลกเท่านั้นเอง ให้
พากันตั้งใจอบรมจิตใจบ้าง การวิ่งเต้นขวนขวายในเรื่องธาตุเรื่องขันธ์ ต่ า งคนต่ า งดิ้ น ต่ า งดี ด อยู่ แ ล้ ว การขวนขวายอรรถธรรมเข้ า สู่ ใจนี้ มี น้อยมาก เพราะฉะนั้นโลกจึงหาความสุขได้ยาก ถ้ามีธรรมในใจมีมาก มีน้อยมีความสุขนะ
70
71
๘. ถ้าไม่มีธรรมเดือดร้อนมากนะโลก มีอะไรก็ตามถ้าไม่มีธรรม แฝงอยู่แล้วหาความสุขไม่ได้ ขอให้มีธรรมแฝงอยู่เถอะ คนทุกข์คนจน คนมั่งคนมีมีความสุขตามขั้นตามภูมิของตน ถ้าไม่มีธรรม เป็นเศรษฐี
ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรนะคนไม่มีธรรม มีแต่จะกินจะกลืนจะเอาจะรีด จะไถทุกทิศทุกทางดิ้นรนกระวนกระวายอยู่งั้น ดีไม่ดีคนมียิ่งเป็นทุกข์ กว่าคนจน คนที่ไม่มีธรรมนะ
เรื่องตำหนิติเตียนกันนี้เร็วยิ่งกว่าลิง มันเป็นยังไงพวกนี้มาอบรม ศีลธรรม มันไม่ฟังบ้างหรือ เดี๋ยวนี้ฟังหรือยัง โฮ้ มันผิดกันมากนะ เราเอาปัจจุบันนี้ ในวัดเรานี้เราไม่เคยชำระอธิกรณ์คดีเรื่องพระทะเลาะ เบาะแว้งกัน ไม่ลงรอยกันยังไง ๆ ไม่เคยมีตั้งแต่สร้างวัดมา เราปกครอง ด้วยศีลด้วยธรรมด้วยความเข้มงวดกวดขัน พระมาปฏิบัติตามก็แบบ เดียวกัน ถ้าใครไม่ดีเราเป็นคนชี้แจงเอง เตือนก็เราเตือนเอง เห็นว่า
ไม่เป็นท่าเราไล่เอง นี้ยุ่งกันไปหมดทั้งวัดทั้งวา มาหานินทากาเลกัน
อะไร เข้ า หากั น มี แ ต่ เรื่ อ งนิ น ทากาเลโจมตี กั น เป็ น ประโยชน์ อ ะไร สิ่งเหล่านี้น่ะ มาหาธรรมหรือมาหาสิ่งเหล่านี้ เอาไปพิจารณาทุกคนนะ
๙. เสาะหาเรื่องแต่คนอื่น เรื่องเจ้าของไม่หา เรื่องเจ้าของนี่ตัว เรื่ อ งใหญ่ มั น อยู่ ที่ หั ว ใจ มั น ดั น ออกมาให้ พู ด ให้ จ า ตาก็ แ หลมคมไป ในทางที่ดูถูกดูหมิ่นดูเพื่อความเพ่งโทษคนอื่น หูก็เหมือนกัน ไม่ได้ฟัง เพื่อมรรถเพื่อผลนะ ฟังเพื่อนรกอเวจีทั้งนั้นพวกนี้น่ะ ดูก็ดูเพื่อนรกอเวจี ไม่ได้ดูเพื่อมรรคเพื่อผล โอ้ ทุเรศนะเรา ทำไมจึงมีตั้งแต่เรื่องอย่างนี้ เข้ามาบวชในศีลในธรรมนึกว่าจะเสาะแสวงหาศีลหาธรรม มันหาตั้งแต่ ความสกปรกโสมมเป็นฟืนเป็นไฟมาเผากันนี่ซิ เป็นยังไงพวกนี้น่ะ ถ้าได้โจมตีเขาได้ว่าให้เขาอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว มันเป็นมรรคเป็น ผลแล้วเหรอ ความดีงามทำไมไม่หา เสาะแสวงนักไอ้เรื่องการนินทา สรรเสริญโจมตีคนนั้นคนนี้ มันเสียหาย ให้หยุดนะอย่ามาทำในวัดนี ้
วัดนี้ไม่มีสิ่งอย่างนี้ มีแต่อรรถแต่ธรรม มองดูกันถ้าใครผิดใครพลาด ก็มองดูเขาด้วยความให้อภัยซึ่งกันและกัน หากมีโอกาสที่จะเตือนกันก็ เตือนด้วยความเป็นธรรม แล้วผู้รับคำเตือนก็จะโมโหโทโสไปไหน ถ้า เป็ น ธรรมด้ ว ยกั น แล้ ว ท่ า นยั ง บอก ผู้ เ ตื อ นเหมื อ นผู้ ใ ห้ ส มบั ติ ผู้ รั บ เหมือนผู้รับสมบัติ ธรรมท่านว่างั้น เป็นของมีค่ามากทั้งคำเตือนทั้งผู้รับ แล้วนี่ทำไมมันจึงไม่ยอมฟังคำเตือนคำพูดกัน
อย่ามาปากเปราะปากบอนอยู่ในวัดนี้ไม่ดี ใช้ไม่ได้ ถ้าเราจับได้ ไล่หนีเลย เราไม่เหมือนใคร เทวบุตรเทวดาอินทร์พรหมไม่เหนือธรรม ธรรมเหนือเทวบุตรเทวดาอินทร์พรหม อย่าเอาสิ่งเหล่านี้อวดธรรม โฮ้ เลอะเทอะ สิ่งเหล่านี้เร็วมากทีเดียวออกง่าย เร็วมาก เพราะมัน
เสาะหาแต่ สิ่ ง เหล่ า นี้ ถ้ า เสาะหาธรรมแล้ ว จะเห็ น ธรรม เห็ น ธรรม เห็ น เป็ น ไปเพื่ อ ความสงบ เก็ บ ความรู้ สึ ก ไว้ ไ ด้ ดี เป็ น ความสงบ ไม่ ปากเปราะปากบอน ถ้าพูดกันก็พูดด้วยเจตนาดี ผู้ฟังก็ฟังด้วยเจตนา ที่ จ ะรั บ เอาไปเพื่ อ ความเป็ น ธรรมแก่ ตั ว เอง ท่ า นสอนกั น ท่ า นสอน อย่างนั้น ในหลักธรรมวินัยว่างั้น คือเตือนกันให้เตือนกันได้ด้วยความ เป็นธรรม ผู้รับก็ให้รับด้วยความเป็นธรรม ท่านว่างั้น ธรรมท่านแสดง ไว้อย่างนี้
72
73
นี่นำธรรมมาแสดง มันฟังหรือเปล่าพวกนี้ หรือจะเอาทิฐิมานะมา เหยียบย่ำทำลายวัดวาอาวาสศาสนาเหรอ ใช้ไม่ได้นะ เลอะเทอะ ๆ เรา ยิ่งแก่มาค่อยปล่อยไป ๆ มันก็อย่างนี้ ว่าปล่อยหรือไม่ปล่อยก็ได้ว่ากัน อยู่อย่างนี้จะว่าไง มันไม่ค่อยสนใจอะไรละ สำหรับพระเราเราชม ตั้งแต่ มาอยู่วัดป่าบ้านตาด ว่าขนาดนั้นนะ เรียบมาตลอด ไม่เคยมีองค์ไหน ว่าเป็นยังไงต่อยังไง ที่จะได้ชำระกันว่าใครผิดใครถูกนั้นไม่เคยมีตั้งแต่ สร้างวัดป่าบ้านตาด เรียบมาตลอดอย่างนี้ละ นั่นชื่อว่าท่านเสาะแสวงหา ธรรมนะพระ พระหาธรรมต้องเป็นความสงบสุขร่มเย็น ให้อภัยกันได้ ใครไม่ดียังไงก็เตือนกันด้วยความเป็นธรรม ผู้รับก็รับด้วยความเป็นธรรม ก็เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย นี้ก็เป็นคติตัวอย่างแก่กันได้ดี นั่น ไม่ได้คอยแต่ จะเห่าจะกัดกันตลอดเวลา
ฟังหรือยังพวกนี้น่ะ เราอกจะแตกแล้วนะผู้ปกครอง พระเต็มวัด ท่านไม่เคยมี ฟังซิน่ะไม่อายท่านบ้างเหรอ พระวัดเรานี้ตั้งแต่สร้างวัด มาไม่มี เราเป็นผู้ปกครองเข้มงวดกวดขันด้วยกันทุกคน เราผู้ปกครอง ก็เข้มงวดกวดขันคอยดูแลสอดส่องพระเณร องค์ไหนปฏิบัติผิดพลาด ประการใด ส่วนมากที่จะเจตนาไม่มีละ ท่านผิดพลาดด้วยความไม่มี เจตนาความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มีได้เตือนได้อย่างนั้น ทางนั้นก็ยอมรับ ปุ๊บ ๆ ไปเลย เรื่องก็เรียบไปเลยเพราะเป็นธรรม ผู้สอนสอนด้วยความ เป็นธรรม ผู้ฟังก็ฟังด้วยความเป็นธรรม แล้วปฏิบัติเป็นธรรมจะมีเรื่อง อะไร อันนี้มันไม่เป็นธรรม เตือนกันก็ไม่ได้ด้วยคอยแต่จะกัดกัน ไป ที่ ไ หนยิ ง เขี้ ย วยิ ง ฟั น ใส่ กั น โอ้ มั น น่ า ทุ เรศนะพวกนี้ มั น อยากใหญ่
อยากโตไปในสิ่งเหล่านั้นเหรอ มามีอำนาจบาตรหลวงไปอย่างนั้นเหรอ อำนาจหมากั ด กั น ดู ไ ม่ ไ ด้ น ะ เอาละนี่ ส ายแล้ ว มี ธุ ร ะจะไปของเรา ไม่ว่ามันก็ได้ว่า มันขวางหน้าขวางตาขวางหูขวางใจอยู่ตลอดเวลา
มันเป็นยังไง ผู้หญิงน่ะมันปากเปราะ เราไม่ได้ติหนิผู้หญิงทั่ว ๆ ไป นะ ส่วนมากมันมักปากเปราะ เสาะแสวงหาแต่โทษคนอื่น โทษเจ้าของ เต็มหัวอกหัวใจมันไม่ว่ามันสนใจ มันดูแต่คนอื่น แล้วก็เลยเอาเรื่อง อั น นั้ น ละมาเป็ น มรรคเป็ น ผล ถ้ า ได้ พู ด เรื่ อ งตำหนิ ติ ฉิ น นิ น ทาโจมตี คนนั้นคนนี้แล้ววันนี้ได้มรรคได้ผลมาก ค่อนข้างจะขึ้นโสดา สกิทาคา อนาคา อรหั น ต์ น ะ อรหั น ต์ เ ก่ ง อรหั น ต์ นิ น ทาอรหั น ต์ โจมตี ค นอื่ น อรหันต์เสาะแสวงหาคนอื่น อรหันต์อย่างนี้มันหันไปอย่างนั้น ใครเป็น ยังไง หันไปนี้คนนั้นไม่ดีอย่างนี้ หันไปนี้คนนี้ไม่ดีอย่างนี้ มีแต่คนไม่ดี เต็มวัดเต็มวา ตัวนรกมันไม่ว่าตัวมัน นั่นละตัวนรก
๑๐. พากันอบรมให้ดีนะ อย่ามาทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่ในที่ไหน ส่วนมากในครัวมักมี มันหายกโทษยกกรณ์กันนินทากาเล มาภาวนา เพื่ออรรถเพื่อธรรม มองดูกันด้วยความเป็นธรรม มองดูกันด้วยความ เมตตาสงสารด้วยความให้อภัย มันหาเพ่งโทษใส่กัน ไปที่ไหนแบ็บ ๆๆ มีแต่เรื่องนินทากาเลกันเกิดประโยชน์อะไร มาศึกษาอบรมธรรมะทำไม จึงเอากิเลสตัณหาเข้ามาพอกหัวใจ พอกหัวคน มองดูตัวมีแต่ตัวโทษ ตัวนินทาคนนั้นนินทาคนนี้ คนนั้นไม่ดีอย่างนั้นคนนี้ไม่ดีอย่างนี้ ตัวไม่ดี ไม่ดู ดูตัวนี้ให้ดีซิ มันดีหมดแล้วใครเลวใครร้ายก็เป็นเรื่องของเขา ๆ ไป หมดทั่วโลกดินแดน เราไม่มีอะไรที่ต้องติแล้วพอ
74
75
อั น นั้ น มั น เป็ น ไปตามสภาพของสั ต ว์ แ ต่ ล ะบุ ค คลมี ก รรมเป็ น
ของตั ว ทุ ก คน มั น แสดงออกตามกรรมของมั น เราไม่ มี ไ ด้ มี เ สี ย แล้ ว ก็สนุกดูละซิถ้าจะว่าสนุกนะ ถ้ามีได้มีเสีย ดูพอได้ได้ พอเสียเสียนะ ถ้าจิตหมดทางได้ทางเสีย ทุกสิ่งทุกอย่างพอเต็มตัวแล้วไม่มีได้มีเสีย
จะดูดีดูชั่วอะไรก็ดูได้ทั้งนั้นเต็มตา นี่ละจิตถ้าฝึกอบรมแล้วเป็นอย่างนั้น ให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เป็นอฐานะ ให้เป็นอย่างอื่นอย่างใดไปไม่ได้เลย ละจิต
ตามธรรม แต่วิ่งตามกับกิเลส พวกนี้พวกฉิบหาย จำได้เท่าไรก็ไม่เกิด ประโยชน์ เป็นหนอนแทะกระดาษไปเท่านั้น ถ้านำธรรมจากกระดาษ คือหนังสือที่ท่านสอนไว้นั้นมาปฏิบัติตัวเอง มันก็เป็นน้ำดับไฟในหัวใจ ของทุกคน ๆ นั่นละ ให้พากันจำเอา
๑๑. ถ้ามีแต่โลกล้วน ๆ เราอย่าไปหวังนะว่าโลกนี้จะเจริญ มันจะ เจริญด้วยฟืนด้วยไฟหนักเข้า ๆ จนเป็นเถ้าเป็นถ่านทั่วโลก ดินแดน ถ้าไม่มีธรรมเป็นน้ำดับไฟโลกหาความสงบไม่ได้ ต้องให้หมุนเข้าสู่อรรถ สู่ธรรม ไม่เช่นนั้นไม่ได้ ฉิบหายหมด เราทุกคนหัวใจทุกคนนี้มันเป็นไฟ อยู่ในหัวใจนั่นดู ไฟที่เขากองไว้ทุกแห่งทุกหนทุกหมู่บ้านทุกครัวเรือน นั้น ไม่ได้ร้อนเหมือนใจเป็นไฟนะ ใจเป็นไฟนี้ร้อนมากเอาความฉิบหาย ใส่โลกได้โดยไม่สงสัย ไฟร้อนไม่เป็นไร แต่หัวใจร้อน พิลึกมาก ฉิบหาย ได้ เพราะฉะนั้นจึงเอาธรรมเป็นน้ำดับไฟเข้าสู่ใจใจจะสงบร่มเย็น ยกตัวอย่างเช่น โจรห้าร้อยคนกลับตัวหมดเลยเชียว พอได้ฟัง ธรรมของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งสำเร็จมรรคผลนิพพานจำนวนไม่น้อย ในโจรห้าร้อยคน ผู้ที่ไม่ได้สำเร็จก็เป็นกัลยาณชน เป็นคนดีประพฤติ ปฏิบัติแก้ไขดัดแปลงตนเองเป็นคนดีต่อไป แล้วเป็นสิริมงคลแก่โลกใน อันดับต่อมา นี่ก็เหมือนกันธรรมพระพุทธเจ้าอันเดียวกัน กิเลสประเภท เดียวกัน ธรรมะประเภทเดียวกัน แก้กิเลสได้ประเภทเดียวกันถ้านำมา แก้ ถ้าจะนอนกอดคัมภีร์เฉย ๆ เป็นหนอนแทะกระดาษไม่สนใจปฏิบัติ
โลกไม่ได้ร้อนที่ไหน ไม่ได้เย็นที่ไหน ไม่ได้ทุกข์มหันตทุกข์ที่ไหน ไม่ได้เป็นสุขเป็นบรมสุขที่ไหน เป็นที่หัวใจแห่งเดียว ขอให้ใจได้รับการ อบรมในทางที่ถูกที่ดีจะเป็นน้ำดับไฟในหัวใจเจ้าของโดยลำดับ แล้ว โลกนี้จะเป็นโลกที่ร่มเย็นเป็นสุขถ้าหันหน้าเข้าสู่ธรรม ถ้าหันหน้าวิ่งตาม กิเลสแล้วตายทั้งเขาทั้งเรา เจริญมีแต่เจริญลมปาก หัวใจคนและความ เคลื่อนไหวของมนุษย์มีแต่เอาไฟเผากัน ๆ หาความสุขความสงบไม่ได้ถ้า ไม่มีธรรม ถ้ามีธรรมแล้วอยู่ที่ไหนสบายหมดนั่นละ ใหญ่เท่าไรยิ่งให้ ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ผู้น้อย ๆ เหมือนพ่อกับแม่เลี้ยงดูลูก ลูกขนาดไหน มีกี่คนเลี้ยงดูโตกันไปหมด ๆ เพราะความรักความเมตตาสงสาร อันนี้ โลกเมื่อเห็นใจซึ่งกันและกันแล้วโลกก็สงบได้ นี่จะเอาแต่ใจเราอย่าง เดียว ๆ ใจเรามันเป็นไฟเผาโลกไม่รู้ตัว ต่างคนต่างเผากันมันก็แหลกได้ ละซิ พากันจำเอา
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดภูริทัตตวนาราม รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
พระเดชพระคุณ พระโพธิธรรมาจารย์มหาเถระ หรือหลวงปู่ สุวัจน์ สุวโจ พระอริยเจ้าผู้เป็นดังประทีปธรรมในต่างแดน วัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา องค์ท่านเป็น ลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และเป็นลูกศิษย์เอกของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ นามเดิมท่านชื่อ อุ้ง นามสกุล ทองศรี เกิด เมื่ อ ศุ ก ร์ ที่ ๒๙ สิ ง หาคม พ.ศ.๒๔๖๒ ณ บ้ า นตากู ก ตำบลตากู ก อำเภอเมือง จ.สุรินทร์ บิดาท่านชื่อ บุตร มารดาท่านชื่อ กึง ทองศรี ท่านมีพี่น้องรวมกัน ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓
78
การบรรพชาอุ ป สมบท : พ.ศ.๒๔๘๑ ท่ า นได้ บ รรพชาเป็ น สามเณรฝ่ า ยมหานิ ก าย ที่ วั ด กระพุ ม รั ต น์ บ้ า นตากู ก ตำบลตากู ก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระอาจารย์เทน เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชได้ ๑ ปี ท่านได้ลาสิกขาเพื่อออกมาช่วยเหลือบิดามารดาในการ ทำงาน อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พ.ศ.๒๔๘๒ หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ท่าน ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ณ วัดกระพุมรัตน์ ตำบลตากูก อำเภอเมื อ ง จั ง หวั ด สุ ริ น ทร์ โดยมี พ ระครู ธ รรมทั ศ น์ พิ ม ล เป็ น
พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เทน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ กาลต่อมา หลวงปู่สุวัจน์ ท่านได้ออกเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปตามสถานที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งได้พบหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในข้อ
วัตรปฏิบัติ เลยไปขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่ฝั้น ท่านก็เมตตารับไว้ เป็นศิษย์ดังปรารถนา พร้อมทั้งขอญัตติเป็นพระธรรมยุต ณ วัดสุทธจิ น ดา อำเภอเมื อ ง จั ง หวั ด นครราชสี ม า โดยมี พ ระธรรมฐิ ติ ญ าณ (สังข์ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญฺญาพโล เป็น พระกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมธร ทองดี เป็นพระอนุสาวนาจารย์
พระอุ ปั ช ฌาย์ ข นานนามฉายาให้ ว่ า “สุ ว โจ” แปลว่ า “ผู้ ว่ า กล่ า ว
ตักเตือนง่าย” ปฏิ ป ทา : ภายหลั ง จากญั ต ติ แ ล้ ว ท่ า นได้ ตั้ ง ใจศึ ก ษาข้ อ วั ต ร ปฏิบัติ อุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และติดตามเดินธุดงค์ปฏิบัติ ธรรมตามสถานที่ต่าง ๆ หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ต่อมาท่านฝากตัวเป็นศิษย์
79
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ แจกหนังสือธรรมะ
หลวงปู่ มั่ น ภู ริ ทั ต โต ที่ วั ด ป่ า บ้ า นหนองผื อ ตำบลนาใน อำเภอ พรรณานิ ค ม จั ง หวั ด สกลนคร หลวงปู่ มั่ น ได้ สั่ ง หลวงปู่ สุ วั จ น์ ว่ า “อาจารย์ของเธอคือท่านฝั้น ตอนนี้ก็แก่มากแล้ว สมควรที่จะต้อง ทดแทนบุ ญ คุ ณ เธอไม่ ต้ อ งมาอยู่ กั บ เราที่ นี่ ให้ ไ ปปฏิ บั ติ ท่ า นฝั้ น ศึ ก ษาและปฏิ บั ติ กั บ ท่ า นฝั้ น ก็ เ พี ย งพอแล้ ว ” หลวงปู่ สุ วั จ น์ จึ ง ได้ กราบลาหลวงปู่มั่น มาอยู่กับหลวงปู่ฝั้นเช่นเดิม ภายหลังจากหลวงปู่ฝั้น มรณภาพแล้ ว ท่ า นจึ ง มาสร้ า งวั ด ถ้ ำ ศรี แ ก้ ว อำเภอภู พ าน จั ง หวั ด สกลนคร ปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ ท่านได้เดินทางมาประเทศสหรัฐอเมริกา นำหลั ก ธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า นำข้ อ
วัตรปฏิบัติของพระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาเผยแพร่ ให้กับพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โปรยปรายสายธาร ธรรมให้ชุ่มฉ่ำจิตใจแก่มวลสาธุชน ท่านจึงเปรียบประดุจเพชรน้ำหนึ่ง แห่งวงศ์กรรมฐาน เปรียบประดุจดังประทีปธรรมในต่างแดน
80
81
สุวโจวาท
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ อุปสมบทพระภิกษุ ในวัดภูริทัตตวนาราม
ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ ท่านได้บุคเบิกสร้างวัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ รัฐแคลิฟอร์เนียถวายเป็นอาจาริยบูชาแด่หลวงปู่มั่น ภู ริ ทั ต โต หลวงปู่ ฝั้ น อาจาโร วั ด แห่ ง นี้ ถื อ เป็ น วั ด ป่ า กรรมฐานวั ด
แห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา รักษาข้อวัตรปฏิบัติและปฏิปทาจาก หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ฝั้น อาจาโร (ปัจจุบันพระอาจารย์สำรวย ตายโน เป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ) รวมทั้งได้สร้างวัด เมตตาวนาราม เมืองเวเลเซ็นต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ สร้างวัดป่าเขาน้อย ตำบลเสม็ด อำเภอ เมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การมรณภาพ : หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ท่านประสบอุบัติเหตุทาง รถยนต์ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ทำให้ท่านเดินไม่ได้ และสุขภาพไม่แข็งแรง มาโดยตลอด จนเมื่ อ กระทั่ ง วั น ที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๕ เวลา ๑๓.๑๒ น. ท่านได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอันสงบ สิริรวมอายุได้
๘๒ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ๖๑ พรรษา
๑. พระธรรมคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงวางไว้ ให้รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิตใจ โดยอาศัยหลักศีล สมาธิ ปัญญา ศี ล สมาธิ ปั ญ ญาอย่ า ไปดู ที่ ตั ว หนั ง สื อ ความจดจำด้ ว ยสั ญ ญานั้ น
ยังไม่ใช่ ยังเป็นรู้ภายนอก ศีล สมาธิ ปัญญานั้นก็คือการสำรวมกาย รักษากายนี้เอง เราก็ดูที่กาย เราสำรวมแล้วหรือยัง เรียบร้อยหรือยัง
ในตั ว เราเอง ในการเข้ า สู่ สั ง คมสมาคมเรี ย บร้ อ ยเป็ น ระเบี ย บตามที่ พระพุทธเจ้าพาดำเนินมาหรือไม่ ในกาย ในวาจาคำพูดของเรา เรา มีสติคุ้มครองรักษา เลือกคำพูดได้สะอาดบริสุทธิ์มากน้อยแค่ไหน เรา ก็ต้องรู้ตัวเราเอง ๒. ที่เราสวดมนต์ไหว้พระอยู่เสมอ ก็อย่าไหว้แต่วาจา อย่ากราบ แต่ด้วยมือ ต้องจิตใจน้อมระลึกถึงความจริงด้วย ให้เกิดขึ้นในจิตใจ ให้มีศรัทธาความผ่องใสในจิตในใจ จะเห็นอานิสงส์ จะได้เกิดความ อุ ต สาหะพยายาม เกิ ด ความพากเพี ย ร เกิ ด สติ ร ะลึ ก คุ้ ม ครองรั ก ษา ตั ว เรา ให้ เ ป็ น ผู้ ห มดจดสะอาดไปถึ ง สภาพแห่ ง ความบริ สุ ท ธิ์ ให้ จิ ต ตั้งมั่นในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ ได้ชื่อว่าเราเจริญรอยตาม เป็นสาวกของพระองค์ ผู้เชื่อฟังผู้ทำตามพระองค์ เราเป็นผู้เดินตาม พระองค์ต่อ ๆ มา เราเป็นสาวกผู้น้อง ผู้ลูก ผู้หลาน แต่สุดท้ายเดิน
ตาม ๆ กันไป ๓. ถ้ า พวกเราพร้ อ มเพรี ย งกั น รั ก ษาธรรมวิ นั ย แบบฉบั บ ของ ครูบาอาจารย์ อย่าไปเถลไถลแบบใหม่ ๆ แบบเขาว่าโลกเจริญก็เลย
82
83
สรีระสังขารองค์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดป่าเขาน้อย จังหวัดบุรีรัมย์ เจดีย์พิพิธภัณฑ์บรรจุอัฐิธาตุ อัฐบริขาร หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ที่วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์
ลืมพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โลกมันเจริญแค่ไหนมันเพียงแค่กาม เท่านั้นแหละ ผลที่สุดโรคเอดส์รุมหัวมันหมดแล้ว มันเจริญของโลกนี ่
มันจะอัศจรรย์สักเท่าไร ธรรมของเรามันอัศจรรย์จริง ๆ เพราะฉะนั้นจึง อยากให้หมู่พวกเชื่อในธรรมในวินัย เมรุพระราชทานเพลิงสรีระสังขารองค์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ณ วัดป่าเขาน้อย จังหวัดบุรีรัมย์
๔. ขอให้หมู่พวกลูกหลานทุกคนที่บวชเข้ามานี้ อย่าไปมุ่งหวังว่า ให้โยมเขามีศรัทธาให้คนนั้นมีศรัทธา ไม่ต้อง ขอให้เรามีศรัทธาคนเดียว ให้ปฏิบัติจริงทำจริง ยังไม่ต้องมองคนอื่นให้มองตัวเรา พระพุทธเจ้า
84
85
พระองค์ก็มองพระองค์ก่อน พระองค์ไม่ได้วิ่งไปสอนโลกก่อน พระองค์ สอนพระองค์จนเสร็จกิจแล้ว พระองค์จึงสอนคนอื่น
๙. เหมือนกับหลวงปู่มั่น ผมไปดูไปอยู่ใกล้ชิดแล้ว ท่านไม่ค่อย เอาใจใส่เรื่องญาติโยมสักเท่าไร ท่านเอาใจใส่พระเราสามเณรของเรา ถ้าเราดีแล้วโยมเขาก็ดีด้วย ท่านพูดอย่างนั้นนะ ผมจำชัดจริง ๆ
๕. เราไปหาความสุขที่อื่นเป็นเวลายาวนาน ไม่เคยได้รับความสุข ที่แท้จริง เมื่อเรามาอบรมจิตใจให้สงบ จึงจะเกิดความสุขอยู่ที่นี้ อยู่ท ี่
ตั ว ของเราในตั ว ของเรานี่ ไม่ ใช่ มี แ ต่ ทุ ก ข์ อ ย่ า งเดี ย ว ถ้ า เราสามารถ มีความฉลาดเพียงพอ เราก็จะได้รับความสุข นี่แหละเราจะได้ความสงบ อยู่ในความไม่สงบนี่แหละ ก็เหมือนกับเราจะได้ความแจ้งอยู่ในที่มืด
นี่แหละ ๖. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องบุคคลผู้มีความสำรวมกาย มีความ สำรวมวาจา ว่ามีกายสะอาด มีวาจาสะอาดบริสุทธิ์ สามารถจะเป็น บุญเป็นกุศล นำผลให้ได้สุคติได้มนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัติ ๗. ความทรงจำจดจำ แม้จะได้สูตรใดสูตรหนึ่งต้องจำได้ ปาฏิโมกข์ควรให้คล่องให้ถูกต้องตามภาษาที่ได้บัญญัติไว้ ชื่อว่าเราได้ศึกษา ปริยัติธรรมเช่นเดียวกัน ปริยัติธรรมเป็นหลักของการปฏิบัติ เพราะ เป็นศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เราถือเป็นหลักการปฏิบัติ ถ้า ไม่มีหลักสิ่งเหล่านี้แล้วก็ถือว่าเลื่อนลอยไปตามกิเลส ตามอารมณ์ที่มี กิเลสเจือที่จิตใจของเรา เราจะถือเป็นแบบฉบับที่ใจชอบหรือไม่ชอบ ตามใจของเราไม่ ไ ด้ ต้ อ งถื อ หลั ก โอวาทศาสนธรรมคำสอนขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสนาอยู่มาถึงพวกเราเป็นเวลายาวนาน ก็ต้องมีหลัก อาศัยหลักนี้เป็นเครื่องรองรับหมู่คณะ ๘. พระพุ ท ธเจ้ า พระองค์ รู้ ดี รู้ ช อบด้ ว ยพระองค์ เ องแล้ ว พระองค์ได้ทรงสั่งสอนพวกเราทั้งหลายให้ประพฤติตาม
๑๐. สั ท ธรรมคำสอนของพระพุ ท ธเจ้ า โดยศี ล สมาธิ ปั ญ ญา แล้ ว ยั ง ผ่ อ งใสสดใสบริ สุ ท ธิ์ ไ ม่ เ สื่ อ มสู ญ อั น ตรธาน แต่ จิ ต ใจของเรา นี่แหละไม่ฉลาด ไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่จิตใจของเรา ยังเถลไถล ยั ง อนุ โ ลมไปตามอารมณ์ จิ ต ใจของเราที่ ผ สมกั บ กิ เ ลสคื อ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ ง่วงเหงาหาวนอน ฟุ้งซ่านรำคาญ วิจิกิจฉาในจิตในใจ สิ่งเหล่านี้เป็น เครื่องที่ผสมในจิตใจของเรา ด้วยมองเห็นพระสัทธรรมคำสอนพระ พุ ท ธเจ้ า ไม่ แจ้ ง ชั ด เราเถลไถลอยู่ เราจึ ง ไม่ ส ามารถที่ จ ะข้ า มแม่ น้ ำ
อันเต็มไปด้วยอันตราย เพื่อให้พ้นอันตรายเหล่านั้นได้ ไม่มีสติ ไม่มี ปัญญา เพราะเหตุนั้นเราจึงจำเป็นต้องได้รับความทุกข์ ความเศร้าหมอง ทางจิตใจอยู่เสมอ ๑๑. คำสอนพระพุทธเจ้าสอนกิเลสไม่ได้สอนอันอื่น อยู่ที่ไหน ก็ชำระที่นั่นปฏิบัติที่นั่น ผมก็ทำตามมาตลอดไม่ได้ลดละ ฉะนั้นขอให้ พวกเราช่วยกันตั้งใจปฏิบัติดูแลต่อไป เรื่องธรรมของพวกเราจะต้อง ช่วยกันทะนุบำรุงรักษา ๑๒. เพราะฉะนั้นพวกเราตั้งใจปฏิบัติ ใครสงสัยอะไรก็รีบชำระ เรื่องศีล เรื่องอะไรก็รีบชำระ รีบปฏิบัติให้มันเห็นตรง อุชุปฏิปันโน จริง ๆ อย่าทำเหลาะแหละเหลวไหลโลเล
86
87
๑๓. ได้โอกาสดีแล้วทุกองค์อยู่ที่ไหนก็ขอร้องพวกเราทุก ๆ คน ให้เร่งทำความเพียรอย่าไปยุ่งกับญาติกับโยมมากนัก อย่าไปยุ่งกับอย่างอื่น พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ของเราท่านได้กำลังมา ได้สอนพวกเรา มา ไม่ได้ไปยุ่งกับโยมชาวบ้านมากนะ ท่านเด็ดเดี่ยว เมื่อท่านทำกิจ กำลังท่านพอแล้ว ท่านจึงมาทำ ที่เราเห็นภายหลังที่ท่านได้ฉันดี นอนดี อยู่ดี อันนี้มันเรื่องเปลือก ไม่ใช่เรื่องแก่น ไม่ใช่สิ่งที่เราจะต้องสนใจ สนใจแต่ทำความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน เฉพาะในจิตในใจเฉพาะ มัน ไม่ใช่มากนะอันเรื่องที่จะพ้นทุกข์นี่
อาจารย์ที่ท่านไม่พูด นึกว่าท่านไม่พ้นไม่ใช่นะ ไม่ใช่ว่าท่านไม่ได้อะไร บางคนไปเห็นนึกว่าท่านไม่เทศน์ไม่สอน นึกว่าท่านไม่เก่งเหมือนตัวเอง บาปกินไม่รู้ตัว
๑๔. พวกเราทั้งหลาย ถ้าหากว่าพอจะมีบุญวาสนา มีศรัทธาอยู่ ในจิตเป็นกองทุนแล้ว ก็พยายามสร้างศรัทธากับวิริยะความพากเพียร ปัญญาขึ้นมา คู่นี้แหละที่ปฏิบัติ ผมจะอยู่อเมริกาก็ตาม อยู่ที่ไหนก็ตาม ธรรมะเท่านี้แหละ พลังนี้แหละเป็นตัวสำคัญ ๑๕. อยากให้ ห มู่ พ วกทั้ ง หลายที่ ไ ด้ บ วชเข้ า มาแล้ ว น่ ะ ต้ อ งเร่ ง ความเพียร ไม่ต้องทำอะไรที่ไหนล่ะ ดูกายกับจิตนี้ ผมก็ทำตามแบบ ครู บ าอาจารย์ ส อนนี้ เ อง แต่ ค วามที่ เราพู ด เดี๋ ย วนี้ ไ ม่ ใช่ เราเป็ น ผู้ รู้ คนเดียวนะ มันยังรู้ว่าครูบาอาจารย์ของเราก็พ้นทุกข์ไปมากแล้ว ๑๖. หลวงปู่ฝั้นนี่ท่านพ้นแล้วนะ มันเชื่อนะ เราโง่เราไม่รู้ ครูบา อาจารย์ของเรานี่ ผู้ปฏิบัติจริง ๆ ถึงท่านไม่พูดนี่ ไม่จำเป็นจะต้องพูด มันหมดสิ้นสุดในกิจ มันรู้บอกในขณะนั้นว่ากิจที่จะต้องทำอีกเสร็จสิ้น แล้ว ๑๗. บางองค์ ที่ ท่ า นรู้ ท่ า นรู้ จ ริ ง แต่ บ างองค์ ที่ ท่ า นไม่ บั ญ ญั ต ิ
มาพูด ไม่ได้ตั้งมาพูดมันรู้เลย อย่างหลวงปู่ขาว หลวงปู่แหวน ครูบา
๑๘. ปั ญ ญาเรานะมั น ไปไม่ ไ ด้ น ะ เราต้ อ งอาศั ย พระพุ ท ธเจ้ า เพราะฉะนั้นการปฏิบัติมันต้องยึดหลักพระองค์แล้วก็เร่งทำความเพียร เพราะทำแล้วจะต้องรู้ นอกจากพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารที่เรา ใกล้ชิดที่เห็นปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันผมก็ยึดหลวงปู่บ้านตาด เพราะนิสัยชอบท่านมาก การพิจารณาการพลิกแพลงอะไรต่าง ๆ นิสัย เราชอบหลวงปู่บ้านตาดกับหลวงปู่ฝั้นเหมือนกันนะ แต่ผมเสียอันหนึ่ง
ที่มันไม่อดทนในญาติโยมเหมือนท่านเท่านั้นแหละ แต่เรื่องพลิกแพลง สติปัญญาที่ท่านแนะนำมาน่ะผมชอบ ๑๙. พูดให้หมู่เพื่อนฟังก็อยากให้หมู่ใครคนใด ประสบเหตุการณ์ อย่างไร ขอให้บอกให้เล่าให้ฟังเพื่อจะได้เป็นพยานขึ้นมา หรือถ้าหากว่า หมู่พวกทุกองค์เร่งทำความเพียรไม่เหลวไหล และศาสนธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้า เฉพาะศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพ้นทุกข์แน่นอน ขอให้ พวกเราพยายาม ๒๐. องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็ตรัสว่าพระองค์ได้ตรัสรูแล้ว ทีนี้พอพระองค์สอนอัญญา- โกณฑัญญะก็ได้บรรลุธรรม แน่ะมันเป็นพยานแล้วทีนี้ ๒๑. ใครสงสั ย อะไรก็ ถ ามได้ บางที ต อบให้ ไ ด้ ถ้ า ตอบไม่ ไ ด้ ก็แล้วไป บางทีก็คิดไม่ออก แต่หลวงปู่มั่นท่านท้าทายนะ เอ้า..สงสัย ตรงไหนถามมา ท่านก็พูดเผง ๆ ตรง ๆ ไปเลย หลวงปู่มั่นน่ะ
88
89
๒๒. ไปอยู่ อ เมริ ก าได้ ท ำความเพี ย รต่ อ เนื่ อ งกั น ประจำ ทาง จงกรมกับกุฏิก็อยู่ใกล้กันได้ทำตลอด อากาศก็ดีมันสัปปายะอันหนึ่ง
แต่ ส ำคั ญ ว่ า จิ ต ของเราอย่ า ไปหลงความเจริ ญ ของบ้ า นเมื อ งของเขา ถ้าไปเอาอันนั้นมานี้แล้วเสร็จ ธรรมหายไปหมดเลย แต่จิตใจของคน มันไม่อัศจรรย์เลย แม้แต่เขาจะวิเศษอย่างไรมันไม่อัศจรรย์เลย อัศจรรย์ แต่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ธรรมของพระองค์ ส ามารถที่ จ ะพ้ น ทุ ก ข์ ความสุ ข จนขนาดที่เทวดานี่พระองค์ยังเห็นโทษ ขนาดนั่งฌานสงบ ที่เรานั่งสงบ มีความสุข พอใจในความสุขอันนั้นแต่พระองค์ก็ยังเห็นโทษ
๒๕. แต่เราอย่าลืมว่าเราเป็นตัวกา อย่าไปเข้าใจว่าตัวเราเป็น ทองทั้งตัว อาศัยภูเขาทองอยู่ เรายึดภูเขาทองเฉย ๆ นี่รูปเปรียบฉันใด ตัวเราเองต้องพิจารณาตัวเราเอง
๒๓. ท่านสอนกรรมฐานว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อไม่ให้มัวเมา ในวัย ไม่มัวเมาในชีวิต ไม่มัวเมาในความไม่เป็นโรค ไม่มัวเมาในความ เป็นอยู่ ให้รู้สภาพตามความเป็นจริง ตัวของเรานี้คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ เป็นของชำรุดทรุดโทรมคร่ำคร่าเปลื่อยเน่า ใครจะมา กราบความเปลื่อยเน่าสักการะบูชาอันนี้ ใครจะบูชาสิ่งไหนนี้เราต้อง กำหนดรู้ให้เห็นชัด ๒๔. ที่เขากราบไหว้บูชาสักการะเวลานี้ ก็เพราะบารมีขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เรามาอยู่อาศัยบารมี ของท่าน เรายึดหลักของท่าน เหมือนกับกาไปยึดหลักภูเขาทอง เวลา เขามองไปแล้วตัวกาก็เป็นทองไปด้วย เมื่อตราบใดกายังจับภูเขาทอง อยู่นั้น เขาก็มองเห็นเป็นทองอยู่อย่างนั้น ถ้าทอดทิ้งภูเขาทองบินไป ตามลำพังแล้ว มันก็เป็นกาดำ ๆ ดี ๆ นี่แหละ
๒๖. คำสอนพระพุทธเจ้าก็เป็นคำสอนพระพุทธเจ้าที่เราได้อาศัย ส่วนกาคือเรา ก็เป็นกาเปลื่อยเน่าผุพังเหมือนกับคนธรรมดา ถ้าสิ่ง เหล่านี้เป็นเหมือนของธรรมดา ทำไมเขาจึงกราบไหว้ ทำไมเขาถึงบูชา เพราะเงาของภู เขาทองนี่ เ อง เพราะอานุ ภ าพพระพุ ท ธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะฉะนั้นเราควรกราบ ควรไหว้ ควรปฏิบัติ ๒๗. อย่าเข้าใจอย่าหลงลืมตัวเองว่าเรามีผู้กราบไหว้สักการะบูชา เขาได้ทำบุญให้ทาน เราได้รู้จักคนมาก แต่คนนับถือก็ให้อุปการะเลี้ยงดู เรา เลยไปถื อ ตั ว เราเองเป็ น เกณฑ์ ใช้ ไ ม่ ไ ด้ แม้ ว่ า คนไม่ รู้ ค วามจริ ง
ของเรา เขาก็ยังหลงใหลอยู่ มีตัวอย่างมากต่อมากแล้ว เอาตัวเองเป็น อุปมาแล้ว ยังพยายามปฏิบัติให้คนรักให้คนชอบ ให้คนนับถือ ไม่ได้ แก้ไขจิตใจของตนเองให้เป็นตามคำสอนพระพุทธเจ้า โดยความถูกต้อง หรือโดยความชอบ ผลที่สุดก็ถูกทอดทิ้ง ถูกขจัดออก อยู่กับหมู่คณะ ไม่ได้ ถูกประณามถูกลงโทษ ด้วยความสำคัญตัวเองผิด มัวเมาหลง ตัวเองผิด เราต้องพิจารณา ๒๘. ขอให้เราทั้งหลายพึงมีสมณสัญญา ความระลึกหมายว่าเรา เป็นสมณะผู้ปฏิบัติผู้สงบ อยู่ที่ไหนให้สงบ เป็นหัวหน้าด้วยความสงบ เป็นหัวหน้าในความเพียร เป็นหัวหน้าในการเดินจงกรม ไม่เป็นหัวหน้า ใครก็เป็นหัวหน้าจิตใจของเรา เป็นความเพียรในจิตใจของเรา ความ ขยันในจิตใจของเรา ความสงบในจิตใจของเรา ให้ระลึกตัวเราอยู่เสมอ
90
91
ให้ รั ก ตั ว ของเราเป็ น ที่ รั ก เราจะต้ อ งรั ก ษาตั ว เราให้ ดี อย่ า ปล่ อ ยให้ สมกับเรารักตัวของเรา ที่พระพุทธเจ้าว่า ถ้าตัวเราเป็นที่รักของเราแล้ว เราก็มุ่งรักษาเราให้บริสุทธิ์หมดจดสะอาด อย่าไปทำความชั่วอันสกปรก แก่ตัวของเราเอง
๓๔. ร่ า งกายต้ อ งการสิ่ ง ที่ ล ะเอี ย ดเท่ า นั้ น เอง ไม่ ไ ด้ ต้ อ งการ สิ่งหยาบ ๆ จิตใจก็ต้องการสิ่งที่ละเอียด เราควรระลึกนึกน้อมไปให้ ละเอียดสงบลึกซึ้งไปตามลำดับ
๒๙. เพราะฉะนั้นทุกท่าน เมื่อได้ยินได้ฟังแล้วจดจำไว้ให้ดี ตั้งใจ ประกอบความพากความเพียร ทั้งกลางวันและกลางคืนให้ได้รู้ธรรม ถึ ง ธรรม เห็ น ธรรมที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ได้ พ าพบเห็ น มาแล้ ว ได้ เ ห็ น ตาม พระองค์ เราก็จะได้ความสุขความเจริญ ๓๐. เราต้ อ งการจิ ต ให้ ส งบ ที แรกเรามี แ ต่ ล ะเราไม่ เ อา คื อ พยายามภาวนาละเอาแต่สิ่งเดียวคือสติกับความรู้ตัวกำกับไว้ เราละ อารมณ์ภายนอกมากเท่าไหร่ยิ่งดี ปล่อยวางมากเท่าไหร่ยิ่งดี ๓๑. เพราะอาศัยความที่เรามีสติรักษาจิตใจของเราไม่ให้เผลอได้ สมาธิอยู่ตรงที่จิตของเราไม่เผลอ เมื่อจิตไม่เผลอจิตก็ตั้งมั่นได้ ถ้าจิต เผลอเมื่อไหร่จิตก็ตั้งตัวไม่ได้ ล่มอยู่เรื่อย ขาดอยู่เรื่อย ๓๒. เราจะได้รับความในสุขในท่ามกลางที่มันทุกข์นี่แหละ ถ้าเรา ฉลาดเราจะได้รับความสงบในท่ามกลางที่วุ่นวาย ๓๓. เมื่อมันสร้างทุกข์ขึ้นมาได้ เราก็ต้องสร้างความสุขมาแทนได้ เมื่อมันสร้างความไม่สงบก่อกวนวุ่นวายได้ เราก็ต้องสร้างความสงบได้ พยายามละสิ่งที่ไม่สงบ ให้ตั้งอยู่ในความสงบให้ได้ เราต้องยึดธรรม เป็นเครื่องรักษาเป็นเครื่องปกป้อง
๓๕. กำลังของจิตใจที่เป็นธรรมชาติสะอาดบริสุทธิ์มีพลังมหาศาล สามารถจะเอาชนะสิ่งทั้งหลายทั้งปวงได้ ๓๖. การเรี ย นรู้ ธ รรมะเป็ น ความดี เรี ย นรู้ เรี ย นทำ เรี ย นจำ เรียนปฏิบัติ ๓๗. สิ่ ง ใดที่ ช่ ว ยให้ ใจเราสะอาดทำ สิ่ ง ใดที่ ท ำใจเราดำเลิ ก กิ จ การใดดี ใ ห้ รี บ ทำ กรรมดั น ใดไม่ ดี ทิ้ ง ทุ ก สิ่ ง ก็ จ ะเรี ย บร้ อ ยไปเอง ความสงบเป็นยอดแห่งความสุข ความทุกข์เป็นยอดแห่งความไม่สงบ ๓๘. บุคคลผู้มีความเคารพ ไปที่ไหนไม่มีภัย ไม่มีอันตราย เป็น ผู้ปลอดภัยในที่ต่าง ๆ เป็นที่รักของของบัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลาย เป็น มหานิยมในตัว ๓๙. เพียงความเคารพข้อเดียวเท่านั้น จะเป็นหนทางบริสุทธิ์ให้ เกิดในทางศีล ในทางสมาธิ ในทางปัญญาแก่ผู้ปฏิบัติ ในมรรคาปฏิปทา ของพระอริยะอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์ เราไม่ต้องไปดูที่อื่น มองที่จิตใจ ของเรานี่แหละ มองด้วยความเคารพ จะต้องเป็นผู้ฉลาดแน่นอน จะ ต้องเป็นผู้สมบูรณ์บริบูรณ์แน่นอน ๔๐. พระธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม เมื่อประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้แก่คนทุก ๆ คน ไม่เลือกหน้าว่าบุคคลนั้น บุคคลนี้ หรือตระกูลนั้น เพศนั้นภูมินี้ บ้านนั้นเมืองนี้
92
93
๔๑. การทำบุญทำกุศลก็เพื่อบำรุงจิตใจของเรานี่แหละ เหมือน กันกับเรารับประทานอาหาร ต่างคนต่างรับประทาน ต่างคนก็ต่างได้รับ ประโยชน์อยู่ทุก ๆ คน มีประโยชน์แก่เราเอง ตัวของเราเอง ฉันใด ที่เรา ทำบุญทำกุศล ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างเคารพนับถือเลื่อมใส ต่างคน ต่างตั้งใจประพฤติ ตั้งใจฝึกหัดกาย ฝึกหัดวาจา ฝึกหัดจิตใจของเรา ก็ได้รับประโยชน์แก่เราเอง ฉันนั้น ๔๒. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ล้วนแต่เป็นคำสอน การฝึกอบรมกาย วาจา ใจ ให้มีมารยาทเรียบร้อย ให้มีความสำรวม ให้มีความระวัง ให้มีสติ ให้มีสมาธิ ให้มีปัญญา กายวาจาของบุคคล ผู้ใดได้ฝึกฝนอบรมอย่างถูกต้อง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงพาฝึกฝนมา ตามหลักที่พระองค์ตรัสไว้ กายของเราก็เป็นกายที่เรียบร้อย เป็นกาย ที่มีระเบียบ เป็นกายที่สะอาด เป็นกายที่งาม ๔๓. คนงามด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าอยู่ด้วยกันถึงร้อย ถึงพัน ถึ ง หมื่ น ถึ ง แสน ก็ มี ค วามเรี ย บร้ อ ย ยิ่ ง อยู่ ด้ ว ยกั น มากเท่ า ไรยิ่ ง มี ความงามมาก ถ้าขาดความสำรวมไม่งามเลย ก็เป็นบริษัทที่วุ่นวาย เป็ น บริ ษั ท ที่ ไ ม่ เรี ย บร้ อ ย เป็ น บริ ษั ท ที่ ไ ม่ มี ร ะเบี ย บ ไม่ ใช่ บ ริ ษั ท ของ พระพุทธเจ้า ให้เข้าใจความงามที่แท้จริงไว้ ๔๔. ยังไงมีชีวิตอยู่วันเดียว แต่ขอให้ได้ทำกุศล ก็ยังประเสริฐ
กว่าชีวิตอยู่ร้อยปีที่ทำบาป ๔๕. บางคนก็ จ นเพราะไม่ มี บางคนก็ จ นเพราะมี ไ ม่ พ อ ถ้ า คนไหนรู้จักพอ คนนั้นแหละไม่จน
การเดินของชีวิต
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา การฟังเทศน์นั้นฟังเป็นครั้งคราว เราจำไว้แล้วมาดูธรรมอีกครั้งหนึ่ง คื อ ดู ใจของเรานั่ น เอง ในอิ ริ ย าบถยื น เดิ น นั่ ง นอน เพราะฉะนั้ น
ถ้ า เราจั บ หลั ก อั น นี้ ไ ด้ แ ล้ ว เราได้ ฟั ง ธรรมทั้ ง วั น ที่ มี อ ยู่ ใ นใจของเรา เพราะอารมณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ทางจิ ต ใจเรี ย กว่ า ธรรมารมณ์ ในส่ ว นดี ก็ มี ส่วนไม่ดีก็มี ส่วนที่มีประโยชน์ก็มี ส่วนไม่มีประโยชน์ก็มี ทุกคนมีอยู่ อย่างนั้น ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง มีประจำอยู่เสมอ
94
95
ถ้ า เราไม่ ฟั ง ให้ ชั ด ไม่ ดู ใ ห้ ชั ด เดี๋ ย วเราไปเลื อ กผิ ด สิ่ ง ที่ พ ระ พุ ท ธเจ้ า ให้ ทิ้ ง เรากลั บ ไปทำ สิ่ ง ที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ว่ า อั น นี้ ถู ก อั น นี้ ไ ด้ ประโยชน์กลับไม่รู้จัก แล้วไปทิ้งเสีย เหมือนกับเราอยากจะไปสวรรค์ หลวงปู่ฝั้นท่านว่าเมื่อเราอยากไปสวรรค์ หันหลังใส่สวรรค์ เวลาเดินไป ก็ยิ่งจะห่างออกจากทางสวรรค์ เราไม่อยากไปนรก แต่หันหน้าไปสู่นรก ไม่หันหน้าหนี มุ่งไปเรื่อย มันก็ยิ่งใกล้กับนรกเข้าไปทุกที
การปฏิบัติถึงแม้นว่าจะทุกข์บ้าง ไม่สบายบ้าง จิตไม่ชอบบ้าง แต่พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงรับประกัน รับรองว่าอันนี้เป็นทางที่ถูกแล้ว เช่น รักษาศีล พระพุทธเจ้าทรงรับประกันในอริยสัจธรรมทั้ง ๔ มีมรรค สั จ เป็ น ต้ น คื อ รั ก ษากาย รั ก ษาวาจา ตลอดถึ ง สั ม มาอาชี ว ะชอบ พระพุทธเจ้ารับรองว่าเป็นอริยมรรค ถึงแม้นจิตใจของเราไม่ชอบ ก็ ให้เราเห็นว่าเป็นทางที่พระพุทธเจ้าทรงรับรอง ถ้ายังไม่เห็นด้วย ก็ให้ ภาวนาพิ จ ารณาจนมั น เห็ น ว่ า โอ้ ! เป็ น ความจริ ง ถ้ า เราเห็ น ความ เป็นจริง มีความเห็นด้วยแล้ว ก็กลับเห็นตรงกันข้ามถ้าเราไม่รักษา เรา ไปทำผิ ด เข้ า โทษก็ เ กิ ด ขึ้ น แก่ ตั ว ของเรา นี่ ! เห็ น โทษด้ ว ย เห็ น คุ ณ ด้วย เรียกว่าเห็นสมบูรณ์ เกิดความดำริสมบูรณ์ เกิดเห็นสัมมาทิฏฐิที่ สมบูรณ์ ก็เป็นเหตุให้เกิดการปฏิบัติสมบูรณ์ไปด้วย มีผลทำให้เรามี ความเชื่อมั่นยิ่ง ๆ ขึ้นไป ศรัทธาของเราก็เป็นกำลังแก่เราต่อไป
เราอยากได้ความดี แต่เราไม่ได้ตรวจว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดีให้รู้จัก อะไรเป็ น สิ่ ง ดี ห ลอก ๆ เฉพาะหน้า ไม่นานก็เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น ทำให้เราวุ่นวาย นี่! อันนี้ต้องระวัง บางทีสิ่งที่ดีอยู่เฉพาะหน้า อาจจะ ทำให้เราเห็นว่าไม่ดี ไม่ชื่นใจ ไม่ผ่องใสในจิตใจ แต่เมื่อนานไปแล้วมัน
มีผลดี เหมือนกับมะม่วงเมื่อมันยังดิบ ๆ อยู่ เปรี้ยวไม่น่ารับประทาน เวลามันสุกก็น่ารับประทาน ถ้าเราไม่รู้จัก ไม่เคยรู้จัก พอได้มาก็เห็นแต่ ส่วนเปรี้ยวเท่านั้น ตัดมันทิ้งเลย อาจจะไม่ดีเท่าไหร่ แต่นานไปแล้ว
ก็จะดีมีคุณค่ามาก แต่บางทีเฉพาะหน้ามันดี แต่นานไปแล้วไม่ดีก็มี เพราะฉะนั้นให้เรารู้จักสิ่งเหล่านี้ แล้วให้ใช้ได้ทั้ง ๒ ถ้าดีเฉพาะหน้า เราใช้แล้วก็ทิ้งไม่ต้องเก็บ ถ้ามีประโยชน์ควรใช้ก็ใช้ แต่ส่วนที่ดีระยะ ยาว ไม่ดีเฉพาะหน้า เราก็ใช้ให้เหมาะสม อย่าเพิ่งบริโภค ดูแลรักษา จนถึงเวลานั้น มีผลมีประโยชน์ มันมีอยู่อย่างนี้ฉันใด ธรรมะในจิตใจ ก็เหมือนกับภายนอกนี่แหละ บางทีเราคิดเห็นเฉพาะหน้า แต่นานไป แล้วมันไม่ดี บางทีมันเห็นอยู่เฉพาะหน้า แต่เราจะต้องอดทน ต้องเพียร พยายาม เมื่อสำเร็จแล้วมันดี
ส่วนไหนที่ยังไม่รู้ก็เป็นเหตุให้รู้เพิ่มขึ้นมาอีก ทั้งในส่วนกุศล และ อกุ ศ ลเราก็ รู้ ก็ เ ป็ น เหตุ ใ ห้ เ ป็ น พลั ง ในการที่ จ ะละที่ จ ะเว้ น ได้ เ พิ่ ม ขึ้ น อีกมาก กว้างขวางขึ้นไป เราก็เป็นผู้ปลอดภัย เป็นผู้มีความผ่องใส ปลอดภัยในจิตในใจ มีความสุขเวลาผลออกมา สังคมจึงเห็นได้ เป็นที่ รั บ รอง เหมื อ นกั บ พระพุ ท ธเจ้ า ตอนที่ พ ระองค์ ส ร้ า งบารมี ตอนที่ พระองค์ออกปฏิบัติ สังคมไม่เห็นด้วยหรอก ไม่มีใครเห็นด้วย เพราะ จิ ต ของเขารั บ ไม่ ไ ด้ รู้ ไ ม่ ไ ด้ แต่ จิ ต ของพระองค์ ล ะเอี ย ดกว่ า ไวกว่ า
กว้างขวางกว่า สติปัญญาของประชาชนในครั้นนั้นก็เห็นแคบ ๆ คือถ้า พระองค์อยู่ด้วย หมกมุ่นอยู่ด้วยกันนั่นแหละดี แต่พระองค์เห็นว่าการ หมกมุ่นอยู่อย่างนี้ไม่ได้ เหมือนลูกที่เกิดมาก็อยากจะให้พ่อแม่อยู่ด้วย
96
97
ตลอดเวลา ไม่ให้พ่อแม่ไปทำการทำงาน พ่อแม่จะหนีจากก็ร้องไห้ ไป ทำงานก็ขัดขวางไม่ให้ไป เพราะเขาไม่รู้ ยังไม่รู้เดียงสา เมื่อเขารู้แล้วว่า ได้ผลได้ประโยชน์ การดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการงาน ก็ไม่มีใครขัดขวาง ถ้ารู้ด้วยกัน
พุทธบริษัทพระพุทธเจ้าสอนให้เห็นการเดินทางของชีวิตของเรา เอง ทั้งที่ผ่านมา ทั้งปัจจุบัน ตลอดถึงวันข้างหน้า เรียกว่าเป็นผู้ไม่ ประมาท เรียกว่าชีวิตไม่ไร้จากประโยชน์ พระองค์ได้ทำมาแล้ว ถ้า พระองค์ปล่อยพระองค์ไปแบบโลก ๆ ทั่วไปแล้ว ก็คงจะไม่มีอะไรได้มา สอนพวกเรา นี่พระองค์ได้วางศาสนา ได้วางกฏเกณฑ์ ครูบาอาจารย์ หรื อ พระอริ ย สงฆ์ ทั้ ง หลาย ย่ อ มเอาพระองค์ เ ป็ น ตั ว อย่ า ง ดำเนิ น
เป็นตัวอย่าง เอาธรรมที่พระองค์วางไว้ ยึดมั่นเป็นตัวอย่าง ท่านจึงเป็น
ผู้ไม่ประมาท
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว คนทั้งหลายจึงชื่นชมยินดีภายหลัง นี่ถ้าหากว่าพระองค์ไม่ตัดสินใจอย่างนั้น ก็ไม่มีอะไรจะให้ชื่นชม มัน
ก็ อ ยู่ แ บบโลกที่ เ คยอยู่ กั น มาแล้ ว นั่ น แหละ เพราะฉะนั้ น การที่ เรา ประพฤติปฏิบัติธรรม เราก็ต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง จะให้มัน พร้อมทุกอย่างไม่ได้หรอก เราต้องเอาตัวของเราเอง ตามหลักคำสอน ของพระพุทธเจ้าเห็นว่าชีวิตของเรานี้มันหมดไป ๆ สิ้นไป ขยับไปทุกวัน ยิ่งผู้เกิดมาก่อนแล้ว มันก็ใกล้ค่ำเข้าไปทุกที ถ้าเป็นต้นไม้ก็อยู่ใกล้ตลิ่ง คลื่นน้ำมาเมื่อไหร่ก็ตีดินพังลงไป จะพังลงเมื่อไหร่นี่ เราไม่ทราบ เมื่อไม่ทราบชีวิตอันนี้แล้ว เราต้องตัดสินใจเอง ว่าเราจะทำอะไร เราจะเก็ บ อะไร สะสมอะไร สิ่ ง ไหนที่ เรามี แ ล้ ว สิ่ ง ไหนที่ เรายั ง ไม่ มี สิ่งไหนที่เราผ่านมาแล้วเห็นมาแล้ว เป็นอะไร อย่างไรมา ชีวิตที่ผ่านมา แล้ ว เราก็ รู้ เพราะตั ว เราเองเป็ น ผู้ ผ่ า น มี อ ะไรเหลื อ มี อ ะไรที่ เ ป็ น ประโยชน์ บ้ า ง เราก็ ต รวจดู ใ ห้ มั น ชั ด ชี วิ ต ต่ อ ไปนี้ เราจะทำอย่ า งไร เราก็จะต้องรู้ คนอื่นรู้ละเอียดเหมือนกับตัวเราเองไม่ได้ แต่ถ้าหากว่า เราปล่ อ ยจิ ต ให้ วุ่ น วายแต่ เรื่ อ งอื่ น เราไม่ รู้ เ ลย ว่ า ชี วิ ต หมดไปหรื อ เหลืออยู่อย่างไร เราจะไปอย่างไร อย่างนี้มืด ไม่ใช่นักภาวนา ไม่ใช่
พุทธบริษัท
ท่ า นจึ ง ไม่ ป ล่ อ ยให้ เ ลื่ อ นลอยไปตามกระแสของคลื่ น ของโลก ที่มีอยู่ก่อนแล้ว ท่านพยายามตัดคลื่นตัดกระแส เข้าไปสู่ฝั่งไปสู่เกาะ อันมั่นคง นี่เราทั้งหลายควรพินิจพิจารณา ชีวิตของเราเองคนอื่นแทน ไม่ได้ คนอื่นรู้ไม่ได้ เพราะภาระมีทุก ๆ คน ต่างคนก็ต่างช่วยตัวเอง สร้างความดีขึ้นด้วยตัวของเราเอง นี้แลเป็นทางที่ควร เป็นทางที่เหมาะ เรียกว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม ด้วยความ ไม่ประมาท ต่อไปตั้งใจรับพร
98
99
ผิ ด แล้ ว ชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ข องเราก็ ไ ม่ ร าบรื่ น ด้ ว ย มี เวรมี ภั ย เวลา เกิดขึ้นแล้ว ไม่ทราบว่ามาทางไหน แก้ไขได้อย่างไร เลยไปหาหมอดู หมอก็บอกไปแก้ดวงแก้ดาว แก้อะไรไปทางโน้น ใครรับรอง ดวงดาว เขามาทำอะไร ไม่ใช่ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ไปแก้ประเภทนั้น
อุบาสกแก้ว อุบาสิกาแก้ว
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา วั น นี้ อ ย่ า ให้ ส อบตก ต้ อ งสอบเองตรวจเองให้ มั น ได้ ให้ มั น ได้ คะแนน ได้รางวัล ตัวของเราเอง คือความสงบและความสุขเป็นรางวัล ที่เกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติของเรา ธรรมะที่เราเรียนรู้ ถ้าพูดถึง ความจริ ง แล้ ว มั น ก็ ไ ม่ ม ากมายอะไร ในอริ ย สั จ ทั้ ง ๔ มณฑลของ ธรรมนั้น เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป เท่านั้น
เอง มณฑลที่เราสอดส่องและกำหนดพิจารณาและปฏิบัติ ทุกข์ทั้งหลาย ก็มีอยู่เท่านี้ เราพอที่จะรู้ได้เห็นได้ ถ้าพ้นจากทุกข์ ก็พ้นจากสิ่งเหล่านี้ พ้นจากแค่นี้ จากกายจากใจนั่นเอง ก้อนเดียวนี่แหละ มีอยู่ ๒ อย่าง สำคัญมากคือ กายกับใจ กายก็เป็นธรรม ในก็เป็น ธรรม เรียกว่า รูปธรรมคือกาย นามธรรมคือใจ นี่เรียนรู้รูปรู้นาม ที่เรา มาปฏิ บั ติ ถ้ า เราหลงไม่ รู้ เราก็ ส ำคั ญ ผิ ด เมื่ อ จิ ต รู้ ไ ม่ จ ริ ง รู้ ไ ม่ ต รง
พระพุทธเจ้าพระองค์ให้แก้ที่ตัวของเรา คือให้เลิกละสิ่งที่เป็นบาป เป็นเวรเป็นกรรม เพราะเวรกรรม ถ้าเราไม่ทำ มันก็ไม่มี พระองค์ตรัส
ว่าบาปไม่แก่บุคคลผู้ไม่กระทำ กรรมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ประกอบ พระ พุ ท ธเจ้ า ไม่ ท ำบาป พระองค์ ก็ ไ ม่ มี บ าป พระองค์ พิ สู จ น์ ด้ ว ยตั ว ของ พระองค์ เ องได้ ให้ เ ป็ น พยานหลั ก ฐาน พระองค์ จึ ง มาบอกสอนแก่ พวกเรา พระองค์ทำความดี ก็ได้รับความดีจริง ๆ ได้รับความเคารพ นับถือ ได้รับความเลื่อมใสในโลกทั้ง ๓ ไม่ใช่แต่มนุษย์โลกอย่างเดียว ทั้งมนุษย์โลก ทั้งเทวโลก ทั้งพรหมโลก ยอมเคารพนับถือ ยอมปฏิบัติ ตาม เมื่อพระองค์เป็นผู้ประเสริฐ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็เป็นมนุษย์เหมือน กับเรา เป็นชาติมนุษย์เหมือนกับเรา มีขันธ์เหมือนกับเรา มีอายตนะ เหมือนกับเรา ดังนั้นเราก็ควรปฏิบัติได้ ไม่ควรปฏิเสธตัวเอง ว่าเราเป็น ผู้มีบุญวาสนาน้อย บุญกุศลส่งเราให้ได้อัตภาพเป็นมนุษย์ที่เรียกว่า “กิจฺโฉ มนุสปริลาโภ” การที่ได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นลาภอันประเสริฐ ได้ขันธ์อย่างนี้ ไม่ใช่ที่จะเป็นเรื่องง่าย สัตว์ที่ไม่เป็นมนุษย์ ดูบนแผ่นดิน มีมากเหลือเกิน หลายเท่าพันทวี ดูสัตว์ในน้ำ ที่ไม่ใช่มนุษย์ก็มากเหลือเกิน การเกิด แต่ละครั้ง แต่ละท้องเยอะแยะยัดเยียดกันเกิด เพราะอะไร เพราะสัตว์ เหล่านั้นไม่มีบุญ เป็นสัตว์ที่บาปที่อาภัพ เลยไปเกิดไปกองอยู่ อยากจะ เกิดสูงกว่านั้น ดีกว่านั้นก็เกิดไม่ได้ เพราะไม่มีบุญกุศลส่งมา
100
101
สัตว์ที่เกิดเป็นมนุษย์ก็ยังมากกว่าผู้ที่ไปเกิดในสวรรค์ นี่ การเกิด ในสวรรค์มีน้อย เพราะอะไร เพราะผู้ที่เกิดในสวรรค์นั้น จะต้องเป็นผู้มี บุ ญ จะต้ อ งเป็ น ผู้ รู้ จั ก บุ ญ ได้ ก ระทำบุ ญ ไว้ แ ล้ ว ด้ ว ยกาย วาจา ใจ ได้รักษาศีล ได้ปฏิบัติภาวนา ได้มีศรัทธาความเชื่อในทางธรรม เชื่อมั่น ในจิ ต ในใจ เชื่ อ กรรมว่ า ทำดี ไ ด้ ดี แล้ ว ก็ พ ยายามละเว้ น กรรมอั น ชั่ ว
ซึ่งคนอื่นจะทำด้วยความสนุกสนาน ด้วยความพอใจอย่างไร
เพราะฉะนั้ น เราทั้ ง หลายพยายามศึ ก ษาให้ รู้ ในความดี ที่ เรา กระทำ ยิ่งเราเห็นความดีที่เรากระทำไว้ชัดเจนเท่าไหร่ กำลังใจของเรา ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นอีกไม่ยากเลย ถึงไกลเท่าไร ก็ไม่ไกล เพราะด้วยพลังแห่ง ศรั ท ธา จะยากเท่ า ไรก็ ก ลายเป็ น ของง่ า ย ถ้ า ไม่ มี ใจศรั ท ธา ถ้ า ไม่ มี ความพอใจ จะอยู่ต่อหน้าก็ทำไม่ได้ ปฏิบัติไม่ได้ มันยากเพราะความ พอใจไม่มี เหมือนกับเราไม่พอใจในการทำบาป ถึงแม้บาปจะมีให้ทำ สักเท่าไหร่ เราก็ไม่ทำ เพราะเหตุใด เพราะเราเชื่อในธรรมคำสอนของ พระพุทธเจ้า พระองค์มีสัจจะวาจา ตรัสจริง ไม่เปลี่ยนแปลง
ส่วนผู้ที่มีศรัทธาในธรรมนั้น ไม่ทำ ไม่เห็นเป็นเรื่องสนุกสนาน ในการทำบาป กลับมาเห็นในการทำบุญเสียอีก ได้ความผ่องใสในจิตใจ เหนือกว่าคนที่ทำบาป สมมุติว่าคนไปเที่ยวมหรสพ กินเหล้า คนที่ไป เที่ยวในสถานที่เหล่านั้น จิตใจเป็นอย่างไร เราก็เคยไปเที่ยวมาแล้ว
จิตใจเป็นอย่างไร เมื่อเรามาปฏิบัติธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มา รักษาศีล มาเจริญสมาธิ รักษาจิตภาวนา จิตใจเป็นอย่างไร เราก็พอ ที่จะรู้ได้ ในตัวของเราเป็นพยาน
ถึงแม้ว่าการกระทำบาปจะได้ผลตอบแทนอันน่าพึงพอใจ ในสิ่ง
ที่ดีที่ชอบก็ตาม แต่สิ่งที่ได้จากการกระทำไม่ดีนั้น เราก็ถือว่าเป็นสิ่งที ่
ไม่ดีไปด้วย ได้มาก็เป็นโทษไปด้วย เพราะได้มาโดยทางไม่ชอบ ถึง
วัตถุเหล่านั้นมันจะดี แต่จิตใจมันเสีย เพราะทุกข์ มันทุกข์อยู่ที่ใจ ไม่ได้ อยู่กับวัตถุ โทษก็โทษอยู่ที่ใจ ไม่ได้อยู่กับวัตถุ
ยิ่งภาวนาให้จิตใจสงบ ปล่อยวางอารมณ์ภายนอกออก แล้วมา เหลือ แต่ ธ รรมะในจิตในใจ เอาคุณพระพุทธเจ้ าไว้ในใจ ระลึกพุทโธ ธัมโม สังโฆ แล้วก็ระลึกแต่พุทโธ พุทโธ ทำใจของเราให้ผ่องใส ใจ อย่ า งนี้ เรี ย กว่ า ใจบำเพ็ ญ บุ ญ ใจปฏิ บั ติ ธ รรม สมควรแก่ ธ รรม พระ พุทธเจ้า ชื่อว่าสักการะบูชา เชื่อฟังพระพุทธเจ้า ผู้ที่เลื่อมใสในศาสนา จริ ง ๆ ท่ า นเรี ย กว่ า “อุ บ าสกแก้ ว อุ บ าสิ ก าแก้ ว ” แก้ ว คื อ รั ต นะ อุบาสกรัตนะ อุบาสิการัตนะ บริษัทรัตนะ คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กลายเป็นแก้วอย่างประเสริฐ
เพราะฉะนั้นผู้ภาวนาดูใจรู้ใจ จึงเห็นความชั่วได้ชัด เห็นความดี
ได้ ชั ด ตามความเป็ น จริ ง สามารถทำความดี ไ ด้ ต ลอด ไม่ มี อุ ป สรรค สำหรับคนผู้ภาวนา ที่เห็นที่มีศรัทธาความเชื่อในจิตในใจ ตามหลักธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า จะอยู่ที่ไหนประเทศใดก็ตาม ทำดีได้ ที่นั่น ไม่ว่ากลางวันกลางคืน ไม่ว่าอิริยาบทใด ให้จิตใจได้มีที่พึ่งที่ยึดตลอด เวลา เราก็ไม่มีเวรไม่มีภัย พ้นจากเวรจากภัยอันตราย พ้นจากสภาพ อันตกต่ำ ยกระดับจิตใจของเราให้สูง ด้วยคุณธรรมตามคำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
102
103
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสโดยย่อ ๆ ว่า “การยินดีในธรรม ชนะเสียซึ่งการยินดีทั้งปวง” เราได้สิ่งของที่ยินดีทั้งหมดนั้น สู้การยินดี ในธรรม ได้ สั ม ผั ส ความดี ค วามสุ ข ในทางธรรมไม่ ไ ด้ เพราะยิ น ดี ใ น ข้าวของนั้น เดี๋ยวของนั้นก็หมดไป พลัดพรากจากกันไป ทำให้ทุกข์ใจ ตามเข้ามาอีก ส่วนยินดีในการประพฤติธรรมนั้น ไม่มีการพลัดพราก จากกันเลย เป็นที่พึ่งได้ตลอด ทั้งในโลกปัจจุบัน ทั้งโลกหน้า ส่งให้เรา ตลอด จนไปถึงพระนิพพาน ให้ถึงที่สุด ในทางนี้
ในจิตในใจตลอดเวลา ไม่ได้อยู่ที่ไหน ญายะปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ให้ถึงธรรม เพื่อให้บรรลุธรรม มุ่งมั่นไม่ถอยหลัง สามีจิปฏิปันโน ปฏิบัติ ชอบ เพื่ออบรมตามที่ว่า “ชอบ” คือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ นี่ เราควบคุมการเห็น ควบคุมการดำริของเรา ให้มันชอบไปตามทาง ตามธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติมา
เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นที่พึ่งอย่างประเสริฐ เป็นเพื่อน เป็นมิตรที่ดีตลอดเวลา ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหน ติดตามเราไป อาศัยได้เป็น ที่พึ่งได้ เพราะฉะนั้นขอให้เราทั้งหลายศึกษาให้รู้ที่พึ่งของเรา ที่พึ่งของ เราอย่างประเสริฐคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระสงฆ์ อ ยู่ ที่ ไ หน ไม่ ใช่ พ ระสงฆ์ นั่ ง อยู่ ที่ โ น้ น ที่ นี้ ที่ นุ่ ง เหลื อ ง ห่ ม เหลื อ ง อยู่ ต ามวั ด ตามวา ไม่ ใช่ ต รงนั้ น คุ ณ ของพระสงฆ์ คื อ สุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี พึ่งตรงนี้ เราปฏิบัติดี ก็ได้คุณพระสงฆ์อยู่ในใจ อุชุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติตรง ถ้าเราตรวจดูจิตใจของเรา เราปฏิบัติตรง ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้แวะหลีกเลี่ยงไปที่ไหน ไปตามทาง เหมือนกับเราขับรถ ตามกฏจราจร มันก็ปลอดภัย ปฏิบัติ ตรงต่ออริยมรรค อริยผล ตรงต่อศีล ต่อสมาธิ ต่อปัญญา ต่อวิชชา ต่อวิมุติ นี่ เรียกว่าปฏิบัติตรง มุ่งตรงไปอย่างนี้ จิตใจไม่ได้คิดไปอย่างอื่น ต้องการไปอย่างอื่น ต้องการให้ชีวิต ของเราเดินทางไปอย่างนี้ ทางที่ปลอดภัย อุชุปฏิปันโน ปฏิบัติตรง เมื่อปฏิบัติอย่างนี้ เราได้ที่พึ่ง เรามีที่พึ่ง ได้พระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง มีอยู่
เราก็จะได้เป็นที่พึ่ง เป็นสาวก สาวิกา ผู้รู้ตาม เห็น ผู้ปฏิบัติตาม ถึงที่สุดได้ ไม่ต้องอาศัยอย่างอื่น อาศัยศรัทธานี่เแหละ เป็นสิ่งสำคัญใน จิตในใจ ถ้าไม่เชื่อใคร ๆ ก็ให้เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ ทรงแสดงไว้ดีแล้ว เรียกว่า “สวากขาโต” พระองค์ตรัสรู้ไว้ดีแล้ว ชอบ แล้ว ตรงแล้ว ไม่ได้หลอกลวง ไม่เคยมีปรากฏว่า ธรรมคำสอนพระ พุ ท ธเจ้ า หลอกลวงปวงชนชาวโลก ไม่ มี มี แ ต่ ส วากขาโต พระองค์ ตรัสไว้ชอบแล้ว เพราะฉะนั้นขอให้เราทั้งหลายตั้งใจปฏิบัติ อย่าท้อถอย ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จิตใจจะได้ไม่มัวหมอง จะได้ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา เราก็จะได้ เบิกบาน ชีวิตนี้เราก็จะได้มีผลกำไร ในชีวิตไม่ล่วงไปเปล่าไปหมดไปจาก คุณงามความดี ปรากฏชัด ถึงคนอื่นไม่รู้ เรารู้เพราะเราเป็นผู้ปฏิบัต ิ
เราเห็ น เรา เราทำอะไรอยู่ เราก็ รู้ ไม่ ต้ อ งให้ ใ ครมายกย่ อ ง เราเอง ยกฐานะเราเอง เรารู้เอง ทำด้วยสติปัญญาของเราเอง ได้ยินได้ฟังแล้ว จดจำไว้ให้ดี ตั้งใจปฏิบัติตาม ด้วยความไม่ประมาท จากนี้ไปภาวนาต่อ
พระอาจารย์สำรวย ตายโน วัดภูริทัตตวนาราม รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
พระครูวิทูรธรรมนิเทศ หรือ ท่านพระอาจารย์สำรวย ตายโน เจ้าอาวาสวัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ลูกศิษย์รุ่นใหญ่ผู้สืบทอดมรดกธรรม ของหลวงปู่ สุวัจน์ สุวโจ นามเดิมท่านชื่อ สำรวย นามสกุล จันทร์เหลือง เกิดเมื่อวันเสาร์
ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๒ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ บ้านศรีฐาน ตำบลกระจาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร บิดาท่าน ชื่อ นายเพ็ง จันทร์เหลือง มารดาท่านชื่อ นางเนา จันทร์เหลือง มี พี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด ๑๑ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๘ การบรรพชา : เมื่อบิดามารดาเห็นความตั้งใจของพระอาจารย์ สำรวย จึงนำไปฝากกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าภูธรพิทักษ์ ซึ่งเป็น วัดป่าใกล้บ้าน หลวงปู่ฝั้น ท่านก็เมตตารับพระอาจารย์สำรวยไว้เป็น
106
107
ศิษย์ และมอบหน้าที่ให้หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ เป็นผู้ดูแล ฝึกหัดขัดเกลา นิสัย รวมทั้งฝึกหัดคำขานนาค เมื่อท่องบนคำขานนาคได้แล้ว หลวงปู่ ฝั้นจึงนำพระอาจารย์สำรวยไปบรรพชาเป็นสามเณร พระอาจารย์สำรวย ตายโน อายุ ๑๙ ปี ๔ เดือน ๑๑ วัน ได้ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๑ ณ อุโบสถ วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมี พระวิบูล- ธรรมภาณ (หลวงพ่อมหาไพบูลย์ อภิวัณโณ) วัดศรีโพนเมือง เป็น พระอุปัชฌาย์ ครั้นบวชแล้วได้มาศึกษาและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าภูธรพิทักษ์เช่นเดิม หลวงปู่ฝั้นได้มอบหมายให้หลวงปู่ สุวัจน์ สุวโจ เป็นอาจารย์สอนกรรมฐาน สั่งสอนอบรมข้อวัตรปฏิบัติ ส่วนการอบรมจิตภาวนา หลวงปู่ฝั้นท่านจะเมตตาให้การอบรมอยู่เป็น ประจำทุกวันในเวลาเย็น หลังทำวัตรสวนมนต์ โอวาทที่ท่านเมตตา อบรมท่านพระอาจารย์สำรวยตอนหนึ่งว่า “ให้ตั้งใจปฏิบัติกรรมฐาน อย่าเกียจคร้านเราบวชเข้ามาแล้ว ใช้ปัญญาพิจารณาดูผมขนเล็บฟัน หนัง ในทุกอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน ให้ดูกายนี้เป็นของไม่งาม” เมื่อได้รับโอวาทจากหลวงปู่ฝั้นแล้ว ท่านพระอาจารย์ก็มีกำลังใจในการ ปฏิบัติธรรม การอุ ป สมบท : เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ นำท่านพระอาจารย์สำรวยเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุใน ทางพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๒ โดยมีพระวิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อ มหาไพบูลย์ อภิวัณโณ) วัดศรีโพนเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าภูธรพิทักษ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ ม หาประมู ล รวิ วั ง โส วั ด ป่ า สุ ท ธาวาส เป็ น พระ อนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ขนานนามฉายาให้ว่า “ตายโน” แปลว่า “ผู้ไม่ตาย” ครั้นอุปสมบทแล้ว ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ณ วัดป่าภูธรพิทักษ์ตามเดิม โดยมีหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ เป็นประธานสงฆ์ อบรม ธรรมปฏิบัติแทนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ผู้เป็นอาจารย์ เนื่องจากในสมัยนั้น หลวงปู่ฝั้น ท่านขึ้นไปบุกเบิกสร้างวัดถ้ำขามใหม่ ๆ ครั้นพอถึงฤดูกาล เข้าพรรษา ท่านพระอาจารย์สำรวยได้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด หัด ท่องบนทำวัตรสวดมนต์ ศึกษาพระธรรมวินัย รวมทั้งอุปัฏฐากหลวงปู ่
สุวัจน์ผู้เป็นพระอาจารย์
108
109
พอออกพรรษาหลวงปู่สุวัจน์ ท่านแนะนำให้ออกธุดงค์เพื่อปฏิบัติ ธรรมที่เทือกเขาภูพาน เพื่อต่อสู้กับกิเลสน้อยใหญ่เบาบางลงไป
คณะศิษย์พระอาจารย์สำรวย ตายโน
พอออกพรรษา ท่านได้กราบลาหลวงปู่สุวัจน์ ขึ้นไปพักปฏิบัติ ธรรมกั บ หลวงพ่ อ แบน ธนากโร ที่ วั ด ดอยธรรมเจดี ย์ ต.ตองโขบ อ.โคกศรี สุ พ รรณ ซึ่ ง ตั้ ง อยู่ บ นหลั ง เขาภู พ าน เป็ น ที่ ส ถานสงบวิ เวก เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม อยู่กับหลวงพ่อแบน ท่านสอนให้เร่ง ภาวนาทำความเพียร ไม่ประมาท พิจารณากายให้เห็นเป็นของไม่งาม ใช้ปัญญาพิจารณาต่อสู้กับกิเลสที่เกิดขึ้น รู้เท่าทันจิต รู้เท่าทันกิเลส จึงได้ประโยชน์ในการปฏิบัติดีเป็นอย่างยิ่ง ท่ า นพระอาจารย์ ส ำรวยเล่ า ว่ า “อยู่ กั บ หลวงพ่ อ แบนนาน
พอสมควร แล้วหวนกลับสู่วัดป่าภูธรพิทักษ์ สำนักเดิมเพื่อโปรด
โยมบิดา ปกติโยมบิดานั้นท่านจะมาถวายภัตตาหารเข้าวัดฟังธรรม ทุกวัน พอทานอาหารเสร็จแล้วก็จะรับบาตรของครูบาอาจารย์ไป
ล้าง ทำอย่างนี้เป็นกิจวัตรประจำ เมื่อเห็นโยมบิดาอยู่ในศีลกินใน ธรรมก็รู้สึกปลื้มใจยิ่ง”
ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร : ได้โอกาสกราบลาหลวงปู ่
สุวัจน์ ออกธุดงค์เพียงองค์เดียวบนเทือกเขาภูพาน บุกป่าฝ่าดงเพื่อ ทำความเพี ย รปฏิ บั ติ ธ รรม เดิ น จงกรม นั่ ง สมาธิ ภ าวนาตามป่ า เขา ลำเนาไพรอันเงียบสงบ เดินทางถึงถ้ำแห่งหนึ่งทำความเพียร ขณะ กำลังพักผ่อน ผีมาตีมาดึงขาออกจากถ้ำและใช้ลวดหนามฟาดลงที่กาย แต่ท่านพระอาจารย์สำรวยมีสติไม่เผลอกำหนดคำบริกรรมภาวนาพุทโธ กำหนดจิตดูด้วยเหตุผลว่า “จะมาตีเราเพราะอะไร มาอยู่ถ้ำนี้ไม่ได้
หวังอะไร จงอย่าได้โกรธโปรดให้อภัย ด้วยตั้งในมาภาวนา ผีรับทราบ ด้วยเจตนา ก็ไม่มารบกวนต่อไป” พักบำเพ็ญภาวนาอยู่ในถ้ำแห่งนี้นานพอสมควร จึงได้กลับไป จำพรรษที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ กับหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ผู้เป็นบุรพาจารย์ พอออกพรรษาแล้ ว กราบลาหลวงปู่ สุ วั จ น์ ขึ้ น ไปพั ก ปฏิ บั ติ ธ รรมที ่
วัดถ้ำขาม บนเทือกเขาภูพานกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพระอาจารย์ สำรวยเล่าว่า “ที่ถ้ำขามอากาศดีทุกยาม ขึ้นไปแล้วจิตสงบ ได้ฟัง ธรรมะหลวงปู่ฝั้น เกิดความรู้หลายอย่าง ส่วนมากท่านจะสอนให้
ภาวนาพุ ท โธ ไม่ ใ ห้ เ ผลอออกจากพุ ท โธ ธั ม โม สั ง โฆ ให้ มี พุ ท โธ ภายในใจ สุข ทุกข์ท่านให้กำหนดรู้ มีสติเสมอทุกลมหายใจ” พักปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ฝั้นนานพอสมควร จนใกล้เข้าพรรษา ได้กราบลาลงมาจำพรรษาที่ ๔ ณ วัดป่าภูธรพิทักษ์ พรรษานี้มี หลวงปู่ ขาน เป็นหัวหน้าสำนัก โดยหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ นั้นขึ้นไปจำพรรษา
110
111
เป็นเจ้าอาวาสวัดภูริทัตตวนาราม : ประมาณเดือนมิถุนายน ของทุกปี คณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดให้มีการ ประชุ ม คณะสงฆ์ ทั่ ว ทั้ ง ประเทศ ซึ่ ง ในปี นี้ วั ด ภู ริ ทั ต ตวนาราม เป็ น เจ้ า ภาพจั ด การประชุ ม หลวงปู่ สุ วั จ น์ สุ ว โจ มี ค วามประสงค์ จ ะขอ ลาออกจากการเป็ น ประธานกรรมการบริ ห ารคณะสงฆ์ ธ รรมยุ ต ใน ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า เพราะท่ า นบริ ห ารมานานหลายปี แ ล้ ว และ ให้ท่านพระอาจารย์สำรวย มาเป็นเจ้าอาวาสแทนท่านที่วัดภูริทัตตวนาราม บุกเบิกสร้างวัดถ้ำศรีแก้ว ณ บ้านภูพานทอง อำเภอกุดบาก (ปัจจุบัน เป็นอำเภอภูพาน) ยุ ค บุ ก เบิ ก วั ด ภู ริ ทั ต ตวนารามกั บ หลวงปู่ สุ วั จ น์ สุ ว โจ : พระอาจารย์ ส ำรวย ตายโน ถื อ ว่ า ท่ า นเป็ น พระยุ ค บุ ก เบิ ก สร้ า งวั ด
ภูริทัตตวนาราม กับหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ผู้เป็นอาจารย์ วัดแห่งนี้อาศัย แรงศรั ท ธาญาติ โ ยมชาวไทย และชาวต่ า งชาติ ห ลากหลายเชื้ อ ชาติ เผ่าพันธุ์ วัดภูริทัตตวนาราม หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ สร้างขึ้นเพื่อบูชา พระคุ ณ และเป็ น อนุ ส รณ์ ส ถานแก่ ห ลวงปู่ มั่ น ภู ริ ทั ต โต หลวงปู่ ฝั้ น อาจาโร ผู้เป็นบุรพาจารย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทุกชนชั้น เป็น สถานที่บำเพ็ญศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนา เป็นที่ประพฤติปฏิบัติ ธรรมบำเพ็ญจิตภาวนา และเป็นวัดป่ากรรมฐานดำเนินการปฏิบัติตาม แนวปฏิ ป ทาของหลวงปู่ มั่ น ภู ริ ทั ต โต ผู้ เ ป็ น พระบิ ด าแห่ ง พระป่ า กรรมฐาน
ครั้ น ถึ ง วั น ประชุ ม เจ้ า ประคุ ณ สมเด็ จ พระญาณวโรดม วั ด
เทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ได้เมตตามอบใบแต่งตั้งเจ้าอาวาส วัดภูริทัตตวนาราม แก่ท่านพระอาจารย์สำรวย ตายโน เมื่อท่านได้รับ หน้าที่นี้แล้ว ท่านได้ทำหน้าที่ด้วยดีเสมอมาตามความสามารถ ท่าน พระอาจารย์เล่าว่า “การเป็นพระภาระก็มาก ลำบากเรื่องหน้าที่ ต้อง ทำทุกอย่างในวัด ต้องประสานกับคนส่วนมากทั้งชายหญิง การเป็น เจ้าอาวาสถ้าประมาทก็ผิดพลาดเร็วไว ได้บริหารวัดภูริทัตตวนาราม มา ปีแรกนั้นนำศรัทธาญาติโยมสร้างกำแพงรอบวัด และป้ายหน้าวัด ส่วนปีที่สองได้ต่อเติมซ่อมศาลาหอฉันใหม่ รวมทั้งพัฒนาปรับปรุง เรื่องต่าง ๆ ภายในวัดให้เรียบร้อยสวยงาม” ลาออกจากการเป็ น เจ้ า อาวาสวั ด ภู ริ ทั ต ตวนาราม : ท่ า น พระอาจารย์เล่าถึงการบริหารวัดภูริทัตตวนารามว่า “การทำหน้าที่
บางครั้ ง ก็ มี ค นดี ช่ ว ยเหลื อ บางครั้ ง ก็ น่ า เบื่ อ มี ค นอวดรู้ อ วดฉลาด
บางคนดีแต่พูด บางคนไม่พูดแต่ทำการงานดีจริงจัง บางคนทำดี
112
113
เอาหน้ า บางคนทำความดี เ พื่ อ หวั ง บุ ญ บางคนทำบุ ญ เพื่ อ หวั ง
ผลประโยชน์ การเป็นผู้นำที่วัดบางครั้งก็เจอปัญหามากเหมือนกัน เพราะต้ อ งยุ่ ง เกี่ ย วกับคนมีกิเลส ภายหลังจากบริหารวัดภูริทัตตวนารามมาได้สี่ปี ถือว่าครบเทอมพอดี และตั้งใจจะกลับไปพัฒนา
วั ด อุ ด มธรรมวนาราม บ้ า นหนองค้ า ตำบลนาม่ อ ง อ.กุ ด บาก จ.สกลนคร เนื่ อ งจากมี โ ครงการใหญ่ ซึ่ ง วางเอาไว้ เ มื่ อ ในพรรษา
พอถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๐ จึงได้ยื่นหนังสือลาออกจากการ
เป็ น เจ้ า อาวาสวั ด ภู ริ ทั ต ตวนาราม ในที่ ป ระชุ ม คณะสงฆ์ ธ รรมยุ ต
วัดอลาสก้าญาณวราราม พร้อมทั้งชี้แจงต่อที่ประชุมคณะสงฆ์ให้ ทราบ ซึ่งทุกรูปก็เข้าใจในเหตุผล ไม่ขัดข้องให้ลาออกตามความ ประสงค์”
ท่านพระอาจารย์สำรวย ตายโน ท่านนำคณะศิษย์ทั้งพระและ ฆราวาสพัฒนาวัดอุดมธรรมวนาราม จนเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีศาสนวัตถุ ศาสนสมบัติหลายอย่าง อาทิเช่น อุโบสถ ศาลาการเปรียญ พระบรมธาตุเจดีย์ศรีสกล โรงฉันน้ำร้อนน้ำปานะ ศาลาโรงครัว กุฏิ ที่พักพระสงฆ์ กุฏิที่พักแม่ชี กำแพงรอบวัด สระน้ำขนาดใหญ่
พัฒนาวัดอุดมธรรมวนาราม : เมื่อท่านได้ลาออกจากการเป็น เจ้ า อาวาสวั ด ภู ริ ทั ต ตวนารามแล้ ว ท่ า นได้ ก ลั บ เมื อ งไทยพั ฒ นาวั ด อุดมธรรมวนาราม บ.หนองค้า ต.นาม่อง อ.กุดบาก จ.สกลนคร ตาม ความประสงค์ อั น ดั บ แรกสร้ า งเมรุ เ ผาศพ โดยอาศั ย แรงทรั พ ย์ แรง ศรั ท ธาจากชาวบ้ า นหนองค้ า และหมู่ บ้ า นใกล้ เ คี ย ง ต่ อ มาท่ า นพา คณะศิษย์สร้างอุโบสถ โดยทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ แล้วเสร็จประมาณเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๓ และทำ พิ ธี ฉ ลองอุ โ บสถผู ก พั น ธสี ม าฝั ง ลู ก นิ มิ ต เมื่ อ วั น ที่ ๕-๘ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ ต่อมาท่านพระอาจารย์สำรวย ได้สร้างสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ ภายในวัดขนาดใหญ่ข้างอุโบสถ รวมทั้งเป็นที่อาศัยดื่มกินของสัตว์ป่า ภายในวัด อาทิเช่น กระรอก กระแต และสัตว์ป่านานาชนิด
เมื่อท่านพระอาจารย์สำรวย ตายโน ได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาส แล้ว ท่านทำหน้าที่แทนหลวงปู่สุวัจน์อย่างเต็มความสามารถ รักษา ข้อวัตรปฏิบัติและปฏิปทาที่หลวงปู่ท่านพาดำเนินมา อบรมศีลธรรม ข้อวัตรปฏิบัติพระภิกษุสามเณรและฆราวาส
เป็นเจ้าอาวาสวัดภูริทัตตวนารามแทนหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ : ภายหลังจากหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ได้มรณภาพและพระราชทานเพลิงศพ แล้ว คณะศิษย์วัดภูริทัตตวนาราม ได้อาราธนาท่านพระอาจารย์สำรวย ตายโน กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดภูริทัตตวนาราม แทนหลวงปู่สุวัจน์ สุ ว โจ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง โดยได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง เมื่ อ วั น ที่ ๑๘ มิ ถุ น ายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ท่านพระอาจารย์สำรวย ตายโน ท่านเป็นลูกศิษย์องค์สำคัญและ ลูกศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ ของหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ เป็นพระที่น่าเคารพเลื่อมใส มีปฏิปทาและศีลาจาริยวัตรที่งดงาม