ผลงานสร้างสรรค์ บรรจุภัณฑ์ที่ภาคภูมิใจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
ผลงานสร้ า งสรรค์ บรรจุ ภั ณ ฑ์ ที ่ภ าคภู มิ ใ จ
การออกแบบบรรจุภัณ ฑ์สมุน ไพร ชาเชียงดา ตรากาทอง กลุ ่มวิ สาหกิ จชุมชนสั นมหาพน อ.แม่แตง จ.เชีย งใหม่
เยาวนาถ นริ น ทร์ ส รศั ก ดิ ์ หลักสู ตรเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ สาขาวิ ช าเทคโนโลยี ก ารพิมพ์แ ละบรรจุภั ณฑ์
คณะศิล ปกรรมและสถาปั ตยกรรมศาสตร์ มหาวิท ยาลัยเทคโนโลยี ร าชมงคลล้านนา เชี ยงใหม่
คำนำ เอกสารวิชาการเล่มนี้ เกิดจากการรวบรวมประสบการณ์ด้านการสอนให้กับนักศึกษา การเป็นวิทยากร ในการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มชุมชน และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเชิงลึก ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบกราฟิก แก่ผู้ประกอบการ พัฒนาชุมชน สำนักส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และหน่วยงานต่างๆ ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลและเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ โดยยกกรณีศึกษา “การออกแบบบรรจุภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดา ตรากาทอง ของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่” ซึ่งผู้เขียนทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเชิงลึก ใน “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในพื้นที่ภาค เหนือ” โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในการให้คำแนะนำ ศึกษาข้อมูล ออกแบบ และจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ ให้เป็นผลสำเร็จ จัดงานนิทรรศการเผยแพร่ผลงานในสังคม จน นำไปสู่การจัดจำหน่ายของสินค้าในท้องตลาดได้ จากการที่ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากร ที่ปรึกษา กรรมการ และนักออกแบบ จะนำนักศึก ษาในรายวิชา การออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Packaging Design) ร่วมลงพื้นที่ทุกครั้งเมื่อมีโอกาส เพื่อให้นักศึกษาได้พบกับปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์กับผู้ประกอบ การโดยตรง และเพื่อฝึกทักษะในกระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตามนโยบายของมหาวิทยา ลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ต้องการให้นักศึกษามีทักษะแบบ Hands-Onอีกทั้งในเอกสาร วิชาการเล่มนี้ ผู้เขียนยังได้รวบรวมผลงานการออกแบบสร้างสรรค์ ที่ได้จัดทำออกแบบให้กับ กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ดังเช่น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของขวัญ ของที่ระลึกให้แก่ กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมนิลรุ้งปลายฟ้า ต.ป่าก่อดำ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย จนได้รับรางวัล “สุด ยอดผลิตภัณฑ์ของขวัญของที่ระลึก” แห่งจังหวัดเชียงราย ประจำปี 2557 ผู้เขียนขอขอบพระคุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ที่เป็นที่เล่าเรียนจน จบการศึกษา และยังให้โอกาสได้กลับมาทำงานในรั้วแห่งการเรียนรู้แบบ Hands-On อีกทั้งยัง สนับสนุน และส่งเสริมให้บุคคลากรเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน เพื่อเป็นการพัฒนาสังคมแห่งการ เรียนรู้ให้ยั่งยืน ขอขอบคุณคณาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะศิลป กรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ช่วยสนับสนุนร่วมกันทำงานด้วยดีเสมอมา และขอขอบคุณ กำลังใจ จากครอบครัวนรินทร์สรศักดิ์ ที่อบอุ่น ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารวิชาการเล่มนี้ จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการ ทำงานเพื่อสังคม เพื่อให้เป็นสังคมแห่งพัฒนาการเรียนรู้อย่างยั่งยืนในอนาคต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
สารบัญ
การออกแบบบรรจุภัณฑ์
1 2 3 4 5
หน้า 1 - 24
ผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สมุนไพรเชียงดา
หน้า 25 - 60
การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์
หน้า 61 -78
การบูรณาการ จากห้องเรียนสู่ชุมชน
หน้า 79 - 98
ผลงานด้าน การออกแบบสร้างสรรค์
หน้า 99 - 140
ภาคผนวก
Packaging Process ที่มา : http://www.sqcircle.com/packaging-range-for-lg/ [20 ธ.ค. 57]
บทที่ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ในกระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ต้องอาศัยความรู้และ ข้อมูลจากหลายด้าน ที่ต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์ในการ ทำงานด้านบรรจุภัณฑ์ที่สั่งสมมานาน อันเกิดจากการทำงานด้าน วิชาการ การศึกษา ค้นคว้าข้อมูล ทั้งด้านวัสดุ การออกแบบ และ ประสบการณ์ในการเรียนการสอน การเป็นวิทยากรในการอบรม และงานวิจัยด้านบรรจุภัณฑ์ และการออกแบบและพัฒนาบรรจุ ภัณฑ์เพื่อการให้บริการแก่ชุมชน เป็นต้น ซึ่งประสบการณ์และ ความชำนาญต่างๆ เหล่านี้เป็นเทคนิคส่วนบุคคล ซึ่งจะช่วยให้ สามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยกำหนดรูปร่าง รูปทรง คัดสรร วัสดุ วิธีการ ในการค้นหา คัดเลือก วัสดุบรรจุภัณฑ์ ออกแบบ โครงสร้างและออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ได้ในระยะเวลาอัน สั้น ซึ่ง ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ (2554) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์จะกระทำหน้าที่เป็นผู้สร้างภาพพจน์ (The Imagery Maker) จากข้อมูลต่างๆ ให้ปรากฏเป็นรูปลักษณ์ของ บรรจุภัณฑ์จริง 1
1
ความหมาย มยุรี ภาคลำเจียก. (2556 : 7) ได้กล่าวถึงความหมายของคำที่ เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ไว้ว่า การบรรจุภัณฑ์ การหีบห่อ การบรรจุหีบห่อ (Packaging) เป็นผลรวมของศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการเตรียม สินค้าเพื่อบรรจุ ขนส่ง จัดจำหน่าย เก็บรักษาและการตลาดให้สอดคล้องกับ สินค้า โดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ปัจจุบันวงการอุตสาหกรรมนิยมใช้คำว่า “การบรรจุภัณฑ์” มากกว่าการหีบห่อและการบรรจุหีบห่อ ประชิด ทิณบุตร. (2531 : 19) ได้อ้างคำกล่าวของ บริสตันและนีลล์ (Briston And Neill) ที่ได้ให้ความหมายของบรรจุภัณฑ์ไว้ 2 ประการกว้างๆ ไว้ คือ 1) การบรรจุภัณฑ์ คื อ ศิ ลปะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการตระ เตรียมสินค้าเพื่อการขนส่งและการขาย 2) การบรรจุภัณฑ์ คือวิธีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคให้อยู่ใน สภาพเรียบร้อยสมบูรณ์และมีราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ประชิด ทิณบุตร ยังกล่าวถึงว่ามีผู้นิยามความหมายของ บรรจุภัณฑ์ในอีกหลายความหมาย ได้แก่ การบรรจุภัณฑ์ หมายถึง การออกแบบสร้างสรรค์ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์ (Packaging) คือ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจน กระบวนการตลาดในการใช้วัสดุมาสรรค์สร้างภาชนะบรรจุหีบห่อให้กับผลิต ภัณฑ์เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้สอย รักษาคุณภาพ การขนส่ง และเพื่อ การสื่อสารต่างๆ บรรจุภัณฑ์ หมายถึง สิ่งห่อหุ้ม หรือบรรจุผลิตภัณฑ์ รวมถึงภาชนะ ที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์ จากแหล่งผลิต ไปยังแหล่งผู้บริโภค เพื่อ ประโยชน์ในการป้องกัน รักษาผลิตภัณฑ์ไม่ให้ชำรุดเสียหาย การบรรจุภัณฑ์ คือ สิ่งที่ห่อหุ้มหรือบรรจุ รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการ ขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งผู้บริโภคหรือแหล่งใช้ประโยชน์ เพื่อวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันและรักษาผลิตภัณฑ์ให้คงสภาพ ตลอด จนคุณภาพให้ใกล้เคียงกับเมื่อแรกผลิตมากที่สุด
อาจกล่าวโดย สรุป ได้ว่า "บรรจุภัณฑ์ หมายถึง สิ ่งที่อยู่ ภายนอก ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่อยู่ ภายในให้ปลอดภัย ช่วยให้สะดวกต่อการ จับถือ นำพา ขนส่ง ช่วยให้ ข้อมูลของสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค และการประชาสัมพันธ์ที่เกิด ประโยชน์ในทางการค้า” 2
หน้าที่ ของบรรจุภัณฑ์ บทบาทของบรรจุภัณฑ์แต่ก่อน ก็เพื่อเก็บรักษาสินค้าให้คงสภาพ แต่ เมื่อมีการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น บรรจุภัณฑ์จึงมีบทบาทในด้านการส่ง เสริมการตลาด เริ่มเน้นเรื่องความสวยงาม สะดุดตา ตลอดจนความสะดวกใน การนำไปใช้ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบัน มีหน้าที่ ดังนี ้ 1. ทำหน้าที่รองรับ (Contain) บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่รองรับสินค้าให้ รวมเป็นกลุ่มน้อยตามรูปร่างของภาชนะ 2. ป้องกัน (Protect) บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่ป้องกันสินค้าไม่ให้เสีย หายอันเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม 3. ทำหน้าที่รักษา (Preserve) คุณภาพสินค้าให้คงเดิมตั้งแต่ผู้ผลิต จนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย 4. บ่งชี้ (Identify) หรือแจ้งข้อมูล (Inform) รายละเอียดต่างๆ ของ สินค้าเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ และแหล่งที่มาหรือจุดหมายปลายทางโดยหีบห่อ ต้องแสดงข้อมูลอย่างชัดเจน 5. ดึงดูดความสนใจ (Consumer Appeal) และช่วยชักจูงในการซื้อ สินค้า เนื่องจากสินค้าชนิดใหม่มีเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา การแข่งขันทางด้าน ตลาดก็เพิ่มมากขึ้น หีบห่อจึงต้องทำหน้าที่แนะนำผลิตภัณฑ์ ต้องดึงความ สนใจของผู้ซื้อที่ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ 6. ช่วยเพิ่มผลกำไร (Profit Enhanced) เนื่องจากในตลาดมีสินค้า และคู่แข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าใดได้รับการออกแบบ เป็นอย่างดีจะสามารถดึงดูดตา ดึงดูดใจผู้บริโภคและก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด 7. สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ สร้างความเชื่อ ถือและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค 8. การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค 9. การแสดงตัว (Presentation) คือ การสื่อความหมาย บุคลิกของ สินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน ให้ชัดเจน
พฤกษชาติ ชีวะโอสถ (2548) ได้สรุปถึงการทำหน้าที่ของ บรรจุภัณฑ์ที่ดี ไว้ 4 ประการ คือ 1. การปกป้องคุ้มครอง (Protection) 2. ความสามารถในการบรรจุ (Container) 3. ความสะดวกในการใช้งาน (Convenience) 4. ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (Promotion)
3
ประเภท ของบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่จำแนกตามลักษณะการบรรจุและการขนถ่าย มี 3 ประเภท คือ 1. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 1 (Primary Packaging) เป็นบรรจุภัณฑ์ ชั้นในสุดอยู่ติดกับเนื้อของบรรจุภัณฑ์ ทำหน้าที่ห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้า 2. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 2 (Secondary Packaging) ทำหน้าที่ขาย และจูงใจให้ผู้บริโภค ซื้อผลิตภัณฑ์ 3. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 3 (Transportation Packaging) ทำหน้าที่ ขนส่งผลิตภัณฑ์
วัสดุ บรรจุภัณฑ์ วัสดุในการนำมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ มีหลากหลายชนิด เช่น กระดาษ พลาสติ ก โลหะ ไม้ และแก้ว เป็นต้น ในการเลือกใช้ วัสดุให้ เหมาะสมกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ ต้องนำเอาความรู้หลายด้านมา พิจารณาถึงความเป็นไปได้ในระบบการผลิต ความคุ้มค่ากับงบประมาณที่ ลงทุน ต้องผ่านขั้นตอนที่พิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อเข้าสู่กระบวนการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2557) กล่าว ถึง วัสดุทีใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ว่า บรรจุ ภัณฑ์แยกตามวัสดุหลักที่ใช้ในการ ผลิตได้ 4 ประเภท คือ
พลาสติก พลาสติก เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่อัตราการเจริญเติบโตสูงมาก คุณประโยชน์ของพลาสติกคือ มีน้ำหนักเบา ป้องกันการซึมผ่านของ อากาศและก๊าซได้ระดับหนึ่ง สามารถต่อต้านการทำลายของแบคทีเรีย และเชื้อ รา มี ส มบั ติ ห ลายอย่ า งที่ส ามารถเลื อ กใช้ ใ นงานที่เ หมาะสม พลาสติกบางชนิดยังเป็นฉนวนกันความร้อนอีกด้วย พลาสติกที่ใช้ใน อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์มีอยู่หลากหลายประเภท การศึกษาสมบัติของ พลาสติกแต่ละประเภท มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บรรจุภัณฑ์ พลาสติกที่เลือกใช้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์
4
บรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่มา : www.wbupdates.com [20 ธ.ค. 57]
แก้ว แก้ว นั บเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความเฉื่อยต่อการทำปฏิกิริยากับสารเคมี ชีวภาพต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุบรรจุภัณฑ์อื่นๆ และรักษาคุณภาพสินค้า ได้ดีมาก ข้อดีของแก้วคือ มีความใสและทำเป็นสีต่างๆ ได้ สามารถทนต่อแรง กดได้สูง แต่เปราะแตกง่าย ในด้านสิ่งแวดล้อมแก้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ สิ่งที่พึงระวังในเรื่องการบรรจุ คือ ฝาขวดแก้วจะต้องเลือกใช้ฝาที่ได้ขนาดและ ต้องสามารถปิดได้สนิทแน่น เพื่อช่วยรักษาคุณภาพและยืดอายุของสินค้า บรรจุภัณฑ์แก้ว ที่มา : www.industryintel.com [20 ธ.ค. 57]
บรรจุภัณฑ์โลหะ ที่มา : www.thedieline.com [20 ธ.ค. 57]
โลหะ โลหะ ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร วัสดุโลหะที่ใช้มี 2 ชนิด คือ - เหล็กเคลือบดีบุก เป็นบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรงป้องกัน อันตรายจากสิ่งแวดล้อมและสภาวะอากาศ การลงทุนในการผลิตไม่สูงนักและ ไม่สลับซับซ้อน สามารถใช้บรรจุอาหารได้ดี เนื่องจากสามารถปิดผนึกได้สนิท และฆ่าเชื้อได้ด้วยความร้อน ในแง่ของสิ่งแวดล้อมสามารถแยกออกจากขยะได้ ง่ายด้วยการใช้แม่เหล็ก - อะลูมิเนียม มักจะใช้ในรูปแผ่นเปลวอะลูมิเนียมหรือ กระป๋อง มีน้ำหนักเบา อีกทั้งมีความแข็งแรงทนต่อการซึมผ่านของอากาศก๊าซ แสง และกลิ่นรสได้ดี ในรูปของเปลวอะลูมิเนียม มักใช้เคลือบกับวัสดุอื่น ซึ่งให้ ภาพลักษณ์ที่ดี เนื่องจากความเงาวับของอะลูมิเนียมและเป็นตัวเหนี่ยวนำ ความเย็นได้ดี
เยื่อและกระดาษ เยื่อและกระดาษ นับได้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้มากที่สุดและมีแนวโน้ม จะใช้กันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการรีไซเคิลได้ง่ายอันเป็นผลจากการรณรงค์สิ่ง แวดล้อม กระดาษนับเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ประเภทเดียวที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ ได้จากการปลูกป่าทดแทน กระดาษที่ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ มีหลาย ประเภท และสามารถพิมพ์ตกแต่งได้ง่ายและสวยงาม นอกจากนี้ยังสะดวกต่อ การขนส่งจากผู้ผลิตไปยังผู้ใช้เนื่องจากสามารถพับได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการขนส่ง ประชิด ทิณบุตร (2531:42) ได้กล่าวถึงวัสดุบรรจุภัณฑ์กระดาษไว้ว่า กระดาษเป็นวัสดุที่แพร่หลายและนิยมใช้กันมากที่สุดเพราะสามารถออกแบบ สร้างสรรค์เป็นบรรจุภัณฑ์ได้มากมายหลายชนิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งต้อง อาศัยคุณสมบัติทางกายภาพของกระดาษที่สามารถ ตัด ดัด พับ งอ ได้ง่าย มากำหนดเป็นรูปร่าง รูปทรงต่างๆ เป็นถุง กล่อง ซอง หรือกระป๋อง ฯลฯ ดัง นั้น คุ ณ สมบั ติ ข องกระดาษที่ท ำจากเยื่อ ไม้ จึ ง ได้ รั บ การพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง คุณภาพมากขึ้น 5
กระดาษไม่ก่อปัญหามลภาวะสามารถทำเป็นหีบห่อได้มากมาย ตั้งแต่ ถุงชนิดต่าง ๆ กล่องกระดาษ ฯลฯ ซึ่งแต่ละชนิดมีความเหมาะสมกับการใช้งาน แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสินค้าและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นคุณสมบัติ ของกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้ธรรมดาจึงได้รับการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพขึ้น โดยการผนึกหรือเคลือบเข้ากับวัสดุอื่น ๆ เพื่อให้สร้างสรรค์เป็นโครงสร้างใหม่ ของบรรจุภัณฑ์ และทำหน้าที่บรรจุห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ได้หลายประเภทขึ้น เช่น กระดาษเคลือบฟิล์มพลาสติก (Plastic Coated Paper) กระดาษเคลือบขี้ผึ้ง (Wax Laminated Paper) กระดาษทนน้ำมัน (Greaseproof Paper) เป็นต้น ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษ ทั่วๆ ไป มี 8 รูปแบบ ดังนี้ คือ
ที่ปรากฏอยู่ในท้องตลาด
1. ซองกระดาษ (Paper Envelope) ซองกระดาษ ใช้บรรจุสินค้าต่าง ๆ เช่น ใบเลื ่อย หัวสว่าน ยาเม็ด เมล็ดพืช จดหมาย ฯลฯ การเลือกใช้ขนาดและชนิดของซองขึ้นกับชนิดของ สินค้าและความแน่นหนาที่ต้องการกระดาษที่ใช้ทำซองต้องพิจารณาถึงความ คุ้มครอง รูปร่าง และราคาเป็นหลัก
2. ถุงกระดาษ (Paper Bag) 2. ถุงกระดาษ (Paper Bag) มีทั้งแบบแบนราบ ใช้ใส่ อาหารชิ้น เล็กๆ ที่มีน้ำหนักเบา แบบมีขยายข้างและก้น ใช้บรรจุสินค้าที่มีปริมาณมาก เช่น แป้ง คุกกี้ ข้าวสาร ฯลฯ หรือใช้บุเป็นถุงในกล่องกระดาษแข็ง และแบบ ผนึก 4 ด้าน บรรจุสินค้าประเภทเครื่องเทศ คุณสมบัติของกระดาษที่ใช้ขึ้นกับ การใช้งานเป็นหลัก กล่าวคือ สินค้าที่มีน้ำหนักมากควรใช้กระดาษเหนียวซึ่งมี ค่าของการต้านแรงดันทะลุ และการต้านแรงดึง ขาด อยู่ในเกณฑ์สูง หาก สินค้ามีความชื้นสูงหรือเก็บในสภาวะเปียกชื้น กระดาษที่มีค่าการดูดซึมน้ำต่ำ ๆ เช่น กระดาษเคลือบไข กระดาษเคลือบพลาสติก เป็นต้น
ถุงกระดาษกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้า บ้านแม่ขิ อ. ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ออกแบบ จัดทำต้นแบบ และถ่ายภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
6
3. เยื่อกระดาษขึ้นรูป (Moulded Pulp Container) เยื่อกระดาษขึ้นรูป มีทั้งชนิดที่ทำจากเยื ่อบริสุทธิ์ซึ่งใช้บรรจุอาหาร สำเร็จรูปและอาหารที่เข้าตู้อบไมโครเวฟได้ และชนิดที่ทำจากเยื่อเศษกระดาษ ซึ่งใช้บรรจุ ไข่ ผัก ผลไม้สด และทำเป็นวัสดุกันกระแทก การเลือกใช้ต้องคำนึง ถึงชนิดของผลิตภัณฑ์ที่จะบรรจุเป็นสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ของผู้บริโภค
บรจุภัณฑ์เยื่อกระดาษขึ้นรูป ที่มา : www.pacificpulp.com [20 ธ.ค. 57]
4. ถุงกระดาษ หลายชั้น (Multi-Wall Paper Sack) ถุงกระดาษสำหรับขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่า 10 กิโลกรัม สินค้าที่นิยมคือ ปูนซีเมนต์ อาหารสัตว์ สารเคมี เม็ดพลาสติก ถุงประเภทนี้มี ทั้งแบบปากเปิด และแบบมีลิ้น แต่ละแบบอาจจะมีส่วนขยายข้างด้วยก็ได้ วัสดุ ที่ใช้ทำจากกระดาษเหนียวที่ทำจากเยื่อเส้นใยยาว เพื่อให้มีความเหนียวสูง หากต้องการเพิ่มคุณสมบัติในด้านป้องกันความชื้นก็อาจเคลือบด้วยพลาสติก หรือยางมัลตอยอีกชั้นหนึ่งวัสดุที่ใช้ทำถุงและซองกระดาษ ส่วนใหญ่นิยมใช้ กระดาษคราฟท์ (Kraft) ซึ่งมีความหนาบางนำมาซ้อนเป็นผนังหลายชั้น (Multiwall Bag) หรือเคลือบผิวแตกต่างกันไปตามหน้าที่ใช้สอย เป็นบรรจุ ภัณฑ์ที่ใช้กันมากสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องอุปโภคบริโภคในหน่วยขาย แบบปลีกย่อยซึ่งจัดได้ว่าเป็น Individual package อีกแบบหนึ่ง ที่มีความ ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นสื่อ โฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์ที่แสดงเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ได้ดีอีกด้วย ถุงกระดาษหลายชั้น ที่มา : http://i00.i.aliimg.com/photo/v1/114055672/KRAFT_PAPER_SACK_BAG_.jpg [1 ธ.ค. 57]
7
5. กระป๋องกระดาษขึ้นรูป (Paper/Composite Can) กระป๋องกระดาษขึ้นรูป เป็นบรรจุภัณฑ์รูปทรงกระบอกที่ได้จากการ พันกระดาษทับกันหลาย ๆ ชั้น พันแบบเกลียวหรือแบบแนวตรง ถ้าใช้กระดาษ เหนียวแต่เพียงอย่างเดียวจะเรียกว่า Paper Can นิยมใช้บรรจุของแห้ง แต่ถ้า ใช้วัสดุร่วมระหว่าง กระดาษเหนียว / อลูมิเนียมฟอยล์ / พลาสติก จะเรียกว่า Compostie Can ซึ่งมักจะบรรจุอาหารประเภทขนมขบเคี้ยวต่างๆ ฝากระป๋อง มักเป็นโลหะหรือพลาสติกบางครั้งจะใช้ฝาแบบมีห่วงเปิดง่าย (Easy Opening End) ก็ได้
ถุงกระดาษหลายชั้น ที่มา : http://i00.i.aliimg.com/photo/v1/114055672/ KRAFT_PAPER_SACK_BAG_.jpg [1 ธ.ค. 57]
6. ถังกระดาษ (Fibre Drum) มีลักษณะเช่นเดียวกับกระป๋องกระดาษ แต่มีขนาดใหญ่ใช้เพื่อการ ขนส่ง สินค้าที่นิยมบรรจุคือ สารเคมี เม็ดพลาสติก ฯลฯ การเลือกใช้ต้องคำนึง ความแข็งแรงเมื่อเรียงซ้อนเป็นหลักโดยการทดสอบค่าของการต้านแรงกด
ถังกระดาษหลายขนาด ที่มา : http://www.fibredrums.com/? attachment_id=980 [1 ธ.ค. 57]
8
7. กล่องกระดาษแข็ง (Paperboard Box) เป็ น บรรจุ ภั ณ ฑ์ ข ายปลี ก ที่ไ ด้ รั บ ความนิ ย มสู ง สุ ด สามารถทำจาก กระดาษแข็งได้หลายชนิด อาทิ กระดาษไม่เคลือบ กระดาษขาว - เทา กระดาษเคลือบ กระดาษการ์ด กระดาษอาร์ตมัน กระดาษฮาร์ตบอร์ด เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเคลือบวัสดุอื่น เช่น วานิช พลาสติก ไข เพื่อปรับ คุณสม บัติ ให้ดีขึ้น ปุ่น และสมพร คงเจริญเกียรติ (2541: 31) ได้ กล่าวถึงบรรจุ ภัณฑ์กล่องกระดาษแข็ง ที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ - กล่องกระดาษแข็งแบบพับได้ กล่ องกระดาษแข็งสามารถขึ้นรูป และจัดส่งเป็นแผ่นแบบราบ (Flat Blanks) เมื่อถึงโรงงานบรรจุ อาจนำไปทา กาวพร้อมบรรจุผลิตภัณฑ์หรือสินค้าหรือ บางครั้งตัวกล่องอาจทากาวตาม ขอบข้างกล่องไว้เรียบร้อย เพื่อทำการบรรจุและปิดฝากล่อง ได้ทันทีกล่อง กระดาษ มีทั้งแบบท่อ (Tube) และแบบถาด (Tray)
กล่องขนมคุณนายเบเกอรี่ ชนิดกล่องกระดาษแข็งแบบพับได้ ออกแบบและจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
9
- กล่องกระดาษแบบคงรูป (Rigid / Set Up Box) เป็นกล่องที่ขึ้น รูป และแปรรูปเป็นกล่องเรียบร้อยแล้วตัวอย่าง เช่น กลักไม้ขีด หรือกล่องใส่ รองเท้าแบบมีฝาครอบกล่อง การผลิตกล่องกระดาษคงรูปจะผลิตช้ากว่า กล่อง กระดาษแข็งแบบพับได้ ทำให้ราคาต่อหน่วยสูง ทั้งกระบวนการผลิต และการขนส่งส่วนดีของกล่องแบบนี้ คือสามารถใช้งานได้นาน และถ้ามีการ ออกแบบที่ดีจะช่วยเสริมคุณค่า ของสินค้าภายใน ให้สามารถดึงดูดความสนใจ ของผู้ซื้อได้ดีอีกด้วย
กล่องกระดาษแบบคงรูป ที่มา :www.doso.cn. [1 ธ.ค. 57]
- บรรจุภัณฑ์การ์ด (Carded Packaging) เป็นประเภทของบรรจุ ภัณฑ์ที่ประกอบด้วย กระดาษแผ่นหนึ่งและพลาสติกอีกแผ่นหนึ่ง ซึ่งอาจขึ้น รูปมาก่อนหรือไม่ก็ได้ ทำโดยแนบหรือเชื่อมติดแผ่นกระดาษและแผ่นพลาสติก เข้าด้วยกัน โดยมีสินค้าแทรกอยู่ตรงกลางบรรจุภัณฑ์ การ์ดนี้มี 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบบลิสเตอร์แพ็ค (Blister Pack) และแบบแนบผิว (Skin Pack)
บรรจุภัณฑ์ยา แบบบลิสเตอร์แพ็ค ที่มา : http://www.wisegeek.com/what-are-blisterpacks.htm# [1 ธ.ค.57]
10
- บรรจุภัณฑ์กระดาษแบบเคลือบหลายชั้น ด้วยเหตุที่บรรจุภัณฑ์ กระดาษมี จุ ด อ่ อ นคื อ รู พ รุ น ของกระดาษจึ ง มี ก ารปรั บ ปรุ ง โดยการเคลื อ บ พลาสติกและเปลวอลูมิเนียม ทำให้บรรจุภัณฑ์เคลือบหลายชั้นได้รับความนิยม สูงมาก ในการบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ กล่องรูปทรงอิฐ (Brick) บรรจุภัณฑ์กล่องรูปทรงจั่ว (Gable-Top) และ กระป๋อง กระดาษ เป็นต้น - กล่องกระดาษลูกฟูก (Carton) เป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่อง กระดาษที่มีคุณลักษณะแข็งแรงมากที่สุด จึงนิยมใช้ในการขนส่งสินค้า เพราะ นอกจากช่วยป้องกันสินค้าให้ปลอดภัยแล้ว ยังสามารถออกแบบได้ตาม ความ ต้องการ ทั้งขนาด รูปลักษณะและพิมพ์สอดสีได้สวยงาม จึงควรทำความ เข้าใจกับโครงสร้างของ กระดาษลูกฟูก และมาตรฐานของลอนกระดาษลูกฟูก
บรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกลอน E ที่มา : ผลงานนายธนการ พงษ์ดา The Winner Asia Star 2011 Student Package นักศึกษา ทลบ.บภ. ชั้นปีที่ 4 มทร.ล้านนา ถ่ายภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
โดยทั่วไปกล่องกระดาษลูกฟูกจะทำหน้าที่เพื่อการขนส่ง แต่สามารถ ออกแบบเพื่อการขายปลีกได้ โครงสร้างของกล่องกระดาษลูกฟูกขึ้นกับจำนวน แผ่นของกระดาษลูกฟูก ส่วนประกอบของกระดาษ ชนิดของลอน รูปแบบของ กล่อง ขนาดของกล่อง รอยต่อของกล่องและการปิดฝากล่อง การออกแบบ ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของสินค้าและสภาพการใช้งาน หากสินค้าเป็นประเภท ที่สามารถรับน้ำหนักกดทับได้ (อาหารกระป๋อง ขวดแก้ว ฯลฯ) การกำหนด คุณภาพของกล่องควรยึดค่าการต้านแรงดันทะลุเป็นหลัก แต่ถ้าสินค้าไม่ สามารถรับน้ำหนักกดทับได้หรือรับได้เพียงเล็กน้อย เช่น ผัก ผลไม้สด อาหาร บรรจุในขวดหรือถุงพลาสติก ฯลฯ ก็ควรกำหนดคุณภาพของกล่องด้วยค่าของ การต้านแรงกดของกล่อง โดยพิจารณาจากสภาพการลำเลียงขนส่งและเก็บ รักษาควบคู่กันไป
11
วัตถุประสงค์ ในการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ ดร.วรัตต์ อินทสระ. (2554) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ว่า มี 2 ประการ อย่างกว้างๆ คือ 1. เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเอื้ออำนวยคุณประโยชน์ ด้าน หน้าที่ใช้สอยได้ดี มีความปลอดภัยจากการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ ความประหยัด ความมีประสิทธิภาพ ในการผลิต การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษา การ วางจำหน่าย และการอุปโภค ซึ่งทั้งนี้การออกแบบต้องอาศัยความรู้และ ประสบการณ์ด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยเป็นหลักใหญ่ 2. เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร และสร้างผลกระทบทาง จิตวิทยาต่อผู้บริโภค โดยใช้ความรู้ทางแขนงศิลปะเข้ามา สร้างคุณลักษณะ ของการบรรจุภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติต่างๆ เช่น - ความมีเอกลักษณ์พิเศษของผลิตภัณฑ์ - ความมีลักษณะพิเศษที่สามารถสร้างความทรงจำหรือ ทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ และบริษัทผู้ผลิต - ความมีลักษณะพิเศษที่สามารถดึงดูดความสนใจของ ผู้อุปโภคตลอดจนให้เข้าใจ ถึงความหมายและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์
หลักในการ ออกแบบ บรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจแบ่งออกเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ ที่เห็นได้ ชัดเจนออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1. การออกแบบด้านโครงสร้าง 2. การออกแบบด้านกราฟิก การตั้งสมมุติฐานในเบื้องต้นว่าตลาดเป้าหมายได้รับการคัดเลือกและ ได้ลงไปศึกษาและกำหนดการวางตำแหน่งของตัวสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาด แล้วอย่างสมบูรณ์ ต่อไปก็เป็นขั้นตอนการดำเนินการเลือกวัสดุที่มีโครงสร้าง เหมาะสมสำหรับการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์จะต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง บรรจุ ภัณฑ์ และวัสดุบรรจุภัณฑ์ มีความสำคัญหรือมีหน้าที่พื้นฐาน ที่เป็นไปได้ทาง เศรษฐศาสตร์ 4 ข้อ โดยหน้าที่พื้นฐาน ใน 3 ข้อแรกจะเกี่ยวกับการออกแบบ โครงสร้างส่วนหน้าที่สุดท้ายจะโยงไปสู่การออกแบบกราฟิก ดังนี้ 12
บรรจุภัณฑ์ที่เน้นด้านประโยชน์ใช้สอย Function บรรจุ ภั ณ ฑ์ จ ะต้ อ งรองรั บ สิ น ค้ า ที่มี ป ริ ม าณและน้ ำ หนั ก ได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิผล ปริมาณบรรจุสามารถบอกได้โดยปริมาตรน้ำหนักหรือจำนวน หน่วยของผลิตภัณฑ์มิติของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมมีด้านความแข็งแรง และ ค่าใช้จ่ายดังนี้ - บรรจุภัณฑ์ที่มีมิติพอดีกับผลิตภัณฑ์ และมีพื้นที่ว่างภายในบรรจุ ภัณฑ์น้อยที่สุด จะทนทานต่อแรงกดและแรงดันจากการเคลื่อนย้ายได้ดีกว่า บรรจุภัณฑ์ที่มีช่องว่างภายในมาก โดยที่ผลิตภัณฑ์เองจะช่วยต้านแรงกดต่างๆ ที่กระทำต่อบรรจุภัณฑ์ ในขณะที่บรรจุภัณฑ์ที่มีช่องว่างมาก ตัวบรรจุภัณฑ์จะ รับแรงกดทั้งหมดเพียงลำพัง
บรรจุภัณฑ์ที่มีมิติพอดีกับผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ Inner Package สมุนไพรชาเชียงดาสันมหาพน ออกแบบ จัดทำบรรจุภัณฑ์ และถ่ายภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
- บรรจุภัณฑ์ที่มีมิติใหญ่กว่าผลิตภัณฑ์ จะสิ ้นเปลืองวัสดุที่ใช้ทำ บรรจุภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ในหลายๆ ประเทศ หน่วยงานคุ้มครอง ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม จะไม่ยอมรับบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่เกินผลิตภัณฑ์ ที่บรรจุอยู่ ในหลายๆประเทศมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการทำลายบรรจุภัณฑ์ ซึ่งคำนวณจากน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ การลดขนาดบรรจุภัณฑ์ให้เสียค่าใช้ จ่ายในการทำลายต่ำ จะต้องคำนึงถึงความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ ที่สามารถ รองรับผลิตภัณฑ์ได้อย่างปลอดภัยด้วย
13
บรรจุภัณฑ์ที่เน้นด้านความปลอดภัย Safety บรรจุภัณฑ์จะต้องคุ้มครองป้องกันสินค้าที่บรรจุอยู่ให้ปลอดภัยจาก การเสื่อมสภาพ,การแตกหัก,ความชื้นหรืออากาศ และการถูกลักขโมย การ ออกแบบบรรจุภัณฑ์จะต้องป้องกันสินค้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์จนกระทั้งถึง มือผู้บริโภค การใช้บรรจุภัณฑ์เกินความจำเป็นคือสิ่งที่ผิดพลาด เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายของบรรจุภัณฑ์ สูงเกินความต้องการหรือใช้บรรจุภัณฑ์น้อยเกินไป สินค้าก็อาจเกิดความเสียหายได้ สิ่งที่ควรระลึกไว้คือ บรรจุภัณฑ์ควรมีความ แข็งแรงเท่าที่สินค้าต้องการโดยมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
บรรจุภัณฑ์ไข่ Cocotte ที่เน้นการปกป้องสินค้า โดยใช้กระดาษแผ่นเดียวและไม่ใช้กาว เน้นการปกป้องและอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่มา : https://www.behance.net/gallery/COCOTTE/7924931 [12 ธ.ค. 2557]
บรรจุภัณฑ์ที่เน้นด้านการขนส่ง Transportation บรรจุภัณฑ์จะช่วยอำนวยความสะดวก ต่อการเคลื่อนย้ายและการ ขนส่งจนผลิตภัณฑ์ไปถึงมือผู้บริโภคในสภาพสมบูรณ์ สำหรับผู้ส่งออก ค่าใช้ จ่ายในการขนส่งจะเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้จะถูกเพิ่ม เข้าไปในตัวสินค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์จะมีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ในประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ การขนส่งโดยใช้แรงงานคนมีราคาถูกโดย ไม่ต้องใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในการขนย้าย แต่ในประเทศอุตสาหกรรมส่วน ใหญ่แล้วค่าใช้จ่ายแรงงานในการขนย้ายจะแพงมาก การเคลื่อนย้ายบรรจุ ภัณฑ์จะครอบคลุมถึงการเคลื่อนย้ายในการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ประโยชน์ ใหม่ หรือกระบวนการเคลื่อนย้ายในการทำลายบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว บรรจุ ภัณฑ์ควรถูกออกแบบให้ง่ายต่อการเปิดปิดและการหิ้วถือเคลื่อนย้ายไปตลอด ทั้งระบบในตลาดเป้าหมายที่อาจจะใช้เครื่องจักรหรือใช้แรงงานคน
14
บรรจุภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดาแบบขนส่ง ออกแบบ จัดทำบรรจุภัณฑ์ และถ่ายภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
บรรจุภัณฑ์ที่เน้นด้านความสวยงาม Aesthetic บรรจุภัณฑ์จะต้องส่งเสริมการขาย ผลิตภัณฑ์ทั้งในระยะเริ่มต้นและ ในระยะยาว เมื่อบรรจุภัณฑ์ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมในการรองรับ ป้ อ งกั น และเคลื่อ นย้ า ยแล้ ว บรรจุ ภั ณ ฑ์ จ ะต้ อ งทำหน้ า ที่เ ป็ น ผู้แ ทนขายที่ดี สำหรับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ ภาพกราฟิกที่มองเห็นจะทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ก็ต่อ เมื่อการออกแบบกราฟิกอยู่บนบรรจุภัณฑ์ที่มีการออกแบบโครงสร้างเหมาะ สม ภายใต้หน้าที่ส่งเสริมการขายบรรจุภัณฑ์ที่ดีจะต้องมีข้อมูลต่าง ๆ บน ฉลากครบถ้วนและถูกต้องตามกฎระเบียบทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและตลาด เป้าหมายบรรจุภัณฑ์จะต้องสะดุดตาตั้งแต่ครั้งแรกที่วางจำหน่ายและสร้าง ตราหรือยี่ห้อที่เชื่อถือได้
บรรจุภัณฑ์ชุดของขวัญผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมนิลวิสาหกิจชุมชนรุ้งปลายฟ้า อ.แม่ลาว จ.เชียงราย เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เน้นด้านความสวยงาม ออกแบบ จัดทำบรรจุภัณฑ์ และถ่ายภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
15
รูปแบบ โครงสร้างพื้นฐาน บรรจุภัณฑ์กระดาษ กล่อง RSC ลักษณะเป็นกล่องฝาชน ทรง 4 เหลี่ยม เปิดด้านบนและล่างได้ ฝาปิดชนกันสนิท เหมาะสำหรับใช้ในการบรรจุสินค้าทั่วไป ที่มีความแข็ง แรงพอประมาณ เช่น กล่องบรรจุอาหารกระป๋อง กล่องใส่คอมพิวเตอร์ กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้า
กล่องกระดาษทรงมาตรฐาน กล่อง RSC ที่มา : http://www.empirepackaginganddisplays.com/index.php/box-styles/ [10 ธ.ค. 57]
กล่อง FOL เป็นกล่องแบบฝาเกย ลั กษณะเป็นกล่อง 4 เหลี่ยม เปิดได้ทั้ง ด้านบนและล่าง ฝาทั้งบนและล่างมีลักษณะเกยกัน เหมาะสำหรับใช้ใน การบรรจุผลิตภัณฑ์ทั่วไป มีความแข็งแรงมาก สามารถป้องกันสินค้าได้ดี เช่น กล่องเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
กล่องกระดาษทรงมาตรฐาน กล่อง FOL ที่มา : http://www.empirepackaginganddisplays.com/index.php/box-styles/ [10 ธ.ค. 57]
16
กล่องแบบไดคัท Die-Cut ลักษณะขึ้นอยู่กับความต้องการและลักษณะของสินค้ามีความแข็ง แรง สวยงาม สามารถทำตามรูปร่างของสินค้าได้ มีรูปแบบที่สวยงาม สามารถออกแบบใช้งานได้ตามประสงค์ เช่น ใส่ผลไม้ ของเล่น หรือ กล่อง ของขวัญของที่ระลึก ที่มีรูปทรงสวยงาม เป็นต้น
กล่องแบบไดคัท Die Cut บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาประยุกต์ ตะวันล้านนา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ออกแบบ จัดทำต้นแบบ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
กล่องแบบฝาครอบ Rigid Box ลักษณะเป็นกล่อง 4 เหลี่ยม เปิดได้โดยการยกฝากล่องที่สวมกันด้าน บนออก สามารถครอบกันได้สนิท ซึ่งเหมาะสำหรับใช้บรรจุสินค้าที่ต้องการ แสดงให้เห็นสินค้าภายในชัดเจน ในขณะที่เปิดกล่องออกมา หรือต้องการ ระบายอากาศ เช่น กล่องใส่ผลไม้ กล่องขวัญ กล่องแบบ Rigid เป็นต้น
กล่องกระดาษทรงมาตรฐาน กล่อง Rigid Box ที่มา : http://www.packappeal.com/product_families/rigid_set-up_boxes.html [10 ธ.ค. 57]
17
ขั้นตอนการ ออกแบบ บรรจุภัณฑ์ มยุรี ภาคลำเจียก (2556 : 10) กล่าวถึงบทบาทของบรรจุภัณฑ์ต่อ การตลาดสรุปได้ว่า ในปัจจุบันการจะนำสินค้าเข้าสู่ความนิยมในท้องตลาด นอกเหนือจากสิ่งสำคัญที่ควรจะนำมาพิจารณา 4 Ps ซึ่งได้แก่ ราคา (Price) ผลิตภัณฑ์ (Product) สถานที่จำหน่าย (Place) และการส่งเสริ มการขาย (Promotion) แล้ว P อีกตัวหนึ่งที่นับเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญไม่ น้อยกว่า P ตัวอื่นๆ คือ บรรจุภัณฑ์ (Package) บรรจุภัณฑ์นับว่ามีบทบาท สำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ เนื่องจากสามารถเป็นสื่อโฆษณา ณ จุดขาย ปลี ก ไปสู่มื อ ผู้ซื้อ โดยตรง แสดงถึ ง ชื่อ เสี ย งของบริ ษั ท ผู้ผ ลิ ต ตราสิ น ค้ า คุณสมบัติ สรรพคุณและวิธีการใช้ของสินค้า และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้ สินค้าและองค์กรได้ เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาแก่สิ่ง แวดล้อม การส่งเสริมกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เป็นต้น นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามสะดุดตายังสามารถสร้างความประทับใจใน ตัวสินค้าและเพิ่มแรงกระตุ้นการซื้อของผู้บริโภคได้อีกด้วย บรรจุภัณฑ์จึง เปรียบเสมือนพนักงานขายคนหนึ่งที่มีส่วนส่งเสริมการขายอยู่อย่างเงียบๆ (Silent Salesman) การเรียนรู้ศึกษาเทคนิคการสร้างหรือออกแบบบรรจุ ภัณฑ์ นับเป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้ส่งออกสามารถใช้เป็นเครื่องมือผลิตสินค้าของตน ให้มีจุดขายแตกต่างจากสินค้าอื่นๆ และเพิ่มมูลค่าให้สินค้า จัดเป็นกลยุทธ์ ทางการตลาดที่ช่วยขยายหรือรักษาส่วนแบ่งตลาดได้อีกทางหนึ่ง ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2548 : 9) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ที่ดี สามารถ ดึงดูดความสนใจ เร้าความรู้สึกกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ และสร้างการจดจำให้ แก่ผู้บริโภคได้บรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนพนักงานขาย ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการ ขายและเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลอย่างยิ่งต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวต่อ ธุรกิจ ดังนั้น ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความ เข้าใจในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่แบรนด์ โลโก้ การสร้างการจดจำการออกแบบ กราฟิค ตลอดจนความรู้ในเรื่องการบรรจุหีบห่อและการขนส่งโลก กลไกราคา เพียงอย่างเดียว การตัดสินใจซื้อในคราวแรกและครั้งต่อๆ ไปของผู้บริโภค ผลักดันให้ผู้ผลิตต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปกับบรรจุภัณฑ์ ทั้งในด้าน คุณภาพ การสร้างความแตกต่าง และการสร้างการจดจำ เพื่อให้สินค้าเป็นที่ ยอมรับและถูกใจผู้บริโภค เมื่อบรรจุภัณฑ์สามารถทำหน้าที่เป็นพาหะนำส่งไปยังจุดขายด้วย โครงสร้างที่ออกแบบมาอย่างดี ณ สถานที่จัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ต้องแปลง กายทำอีกหน้าที่หนึ่ง คือ การช่วยส่งเสริมการขาย ณ จุดขาย ซึ่งอาจเป็น ตลาดในหมู่บ้าน ในเมือง หรืออาจจะไปขายถึงซุปเปอร์มาร์เก็ต ความสามารถ ที่จะช่วยชักชวนเชื้อเชิญอย่างเงียบๆ ให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อสินค้านี้เป็น 18
บทบาทของการออกแบบกราฟฟิกของบรรจุภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ ปุ่น และสมพร คงเจริญเกียรติ. (2541:71) จึงได้กล่าวถึงการจัดแบ่ง การออกแบบบรรจุ ภัณฑ์ ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ไว้ ดังนี้ 1. การออกแบบโครงสร้าง เป็นการออกแบบทางด้านเทคนิคและทาง กายภาพของบรรจุภัณฑ์ โดยเน้นกระบวนการบรรจุใส่ การรักษาคุณภาพด้วย การประเมินอายุของอาหาร (Shelf Life) และการป้องกันที่เหมาะสมต่อการ ขนส่งและการกระจายสินค้า 2. การออกแบบกราฟิก เป็นการออกแบบรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ เพื่อ สร้ า งแรงจู ง ใจในการซื้อ และสื่อ ความหมายให้ แ ก่ ผู้บ ริ โ ภค พร้ อ มทั้ง สามารถโน้มน้าวให้เกิดการสั่งซื้อ การออกแบบกราฟิกจะเน้นในเรื่องของการ ตกแต่งรูปลักษณ์ด้วยภาพพจน์ที่สร้างความประทับใจ โดยในการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์นั้น ผู้ออกแบบจะมี บทบาท ในการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ประเภท Individual Package และ Inner Package ที่สัมผัสอยู่กับผลิตภัณฑ์ชั้นแรกและชั้นที่ 2 เป็นส่วนใหญ่ ผู้ ออกแบบต้องศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่จะบรรจุ และออกแบบโครงสร้าง เพื่อรองรับการบรรจุได้อย่างเหมาะสม ให้มีรูปร่างที่เหมาะแก่การ จับ ถือ หิ้ว และอำนวยความสะดวกต่อการนำเอาผลิตภัณฑ์ภายในออกมาใช้อย่างสะดวก
การวางแผนใน การออกแบบ บรรจุภัณฑ์ ในกระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นักออกแบบ ต้องอาศัยความรู้ และข้อมูลจากหลายด้าน การอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการบรรจุ (Packaging spectialists) หลายๆ ฝ่าย มาร่วมปรึกษาและพิจารณาตัดสินใจ ซึ่งจากทฤษฏีของ ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ (2541:71) กล่าวว่า นักออกแบบจะกระทำหน้าที่เป็นผู้สร้างภาพพจน์ (The Imagery Maker) จากข้อมูลต่างๆ ให้ปรากฏเป็นรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์จริง ลำดับ ขั้นตอนของการดำเนินงาน นับตั้งแต่ตอนเริ่มต้น จนกระทั่งสิ้นสุดจนได้ผล งานออกมา ดังต่อไปนี้
1. กำหนดหรือวางแผนการดำเนินงาน Planing คือ การตั้งวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการผลิต เงินทุนงบ ประมาณ การจัดการ และการกำหนดสถานะ (Situation) ของบรรจุภัณฑ์
19
2. การศึกษาและการวิจัยเบื้องต้น Research ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและปัญหาของสินค้า หลักการ ทางการผลิต ตลอดจนการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องสอดคล้อง กัน กับการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ซึ่ง ประชิด ทิณบุตร (2531 : 86) ได้ให้ความหมายของ การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ว่า หมายถึง การกำหนดลักษณะ รูปร่าง รูปทรง ขนาด ปริมาตร ส่วนปริมาณอื่นๆ ของ วัสดุที่จะนำมาผลิตและประกอบเป็นภาชนะบรรจุ ให้เหมาะสมกับหน้าที่ใช้สอย ตลอดจนกรรมวิธีการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา และการขนส่ง
3. การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ Feasibility Study เมื่อได้ศึกษาข้อมูลแล้ว ก็เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ ด้วยการสเก็ต (Sketch Design) ภาพแสดงถึงรูปร่างลักษณะ และส่วน ประกอบของโครงสร้าง 2-3 มิติ หรืออาจใช้วิธีการอื่น ๆ ขึ้นรูปเป็นลักษณะ 3 มิติ ก็สามารถกระทำได้ ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ ขั้นต้นหลาย ๆ แบบ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในเทคนิควิธีการบรรจุ และการ คำนวณเบื้อ งต้ น ตลอดจนเงิ น ทุ น งบประมาณดำเนิ น การ และเพื่อ การ พิจารณาคัดเลือกแบบร่างไว้เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ในขั้นตอนต่อไป
ภาพ Sketch Design บรรจุภัณฑ์ 2 มิติ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ออกแบบ Sketch และถ่ายภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ชาคุณที ออกแบบ จัดทำ และถ่ายภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
20
4. การพัฒนาและแก้ไขแบบ Design Refinement ในขั้น ตอนนี้ผู้อ อกแบบจะต้ อ งขยายรายละเอี ย ดปลี ก ย่ อ ยต่ า งๆ (Detail Design Function) ของแบบร่างให้ทราบอย่างละเอียดโดยเตรียม เอกสารหรือข้อมูลประกอบ มีการกำหนดเทคนิคและวิธีการผลิต การบรรจุ วัสดุ การประมาณราคา ตลอดจนการทดสอบทดลองบรรจุ เพื่อหารูปร่าง รูป ทรงหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ ด้วยการสร้างรูปจำลองง่ายๆ (MOCK UP) ขึ้นมา
ภาพ Sketch Detail Cushion ภายในของบรรจุภัณฑ์ Giftset ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมนิล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนรุ้งปลายฟ้า อ.แม่ลาว จ.เชียงราย Sketch Detail Design และถ่ายภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
ภาพหุ่นจำลองของบรรจุภัณฑ์ Giftset ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมนิล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนรุ้งปลายฟ้า อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ออกแบบ จัดทำ และถ่ายภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
21
5. การพัฒนาต้นแบบจริง PROTOTYPE DEVELOPMENT เมื่อแบบโครงสร้างได้รับการแก้ไขและพัฒนา ผ่านการยอมรับแล้ว ลำดับต่อมาต้องทำหน้าที่เขียนแบบ (Mechanical Drawing) เพื่อกำหนด ขนาด รูปร่าง และสัดส่วนจริงด้วยการเขียนภาพประกอบแสดงรายละเอียด ของรู ป แบบแปลน (Plan) รู ป ด้ า นต่ า งๆ (Elevations) ทั ศ นี ย ภาพ (Perspective) หรือภาพแสดงการประกอบ (Assembly) ของส่วนประกอบ ต่างๆ ของบรรจุภัณฑ์ มีการกำหนดมาตราส่วน (Scale) บอกชนิดและ ประเภทวัสดุที่ใช้มีข้อความ คำสั่ง ที่สื่อสารความเข้าใจกันได้ในขบวนการผลิต เป็นบรรจุภัณฑ์ของจริง แต่การที่จะได้มาซึ่งรายละเอียดเพื่อนำไปผลิตจริงดัง กล่าวนั้น ผู้ออกแบบจะต้องสร้างต้นแบบจำลองที่สมบูรณ์ (Prototype) ขึ้น มาก่อนเพื่อวิเคราะห์ โครงสร้างและจำแนกแยกแยะส่วนประกอบต่าง ๆออกมา ศึกษา ดังนั้นต้นแบบบรรจุภัณฑ์ (Prototype) ที่จัดทำขึ้นมาในขั้นนี้จึงควร สร้างด้วยวัสดุที่สามารถให้ลักษณะและรายละเอียดใกล้เคียงกับบรรจุภัณฑ์ ของจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ เช่น อาจจะทำด้วยปูนพลาสเตอร์ ดิน เหนียว กระดาษ ฯลฯ และในขั้นนี้ การทดลองออกแบบกราฟิคบนบรรจุภัณฑ์ ควรได้รับการพิจารณาร่วมกันอย่างใกล้ชิด กับลักษณะของโครงสร้างเพื่อ สามารถนำผลงานในขั้นนี้มาคัดเลือกพิจารณาความมีประสิทธภาพของรูป ลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์
ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ (Prototype) Giftset ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมนิล วิสาหกิจชุมชนรุ้งปลายฟ้า อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ออกแบบ จัดทำ และถ่ายภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
22
6. การผลิตจริง (production) สำหรับขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายผลิตใน โรงงานที่จะต้องดำเนินการตามแบบแปลนที่นักออกแบบให้ไว้ ซึ่งทางฝ่ายผลิต จะต้องจัดเตรียมแบบแม่พิมพ์ของบรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามกำหนด และจะ ต้ อ งสร้ า งบรรจุ ภั ณ ฑ์ จ ริ ง ออกมาจำนวนหนึ่ง เพื่อ เป็ น ตั ว อย่ า ง (PreProduction Prototypes) สำหรับการทดสอบทดลองและวิเคราะห์เป็นครั้ง สุดท้าย หากพบว่ามีข้อบกพร่องควรรีบดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงดำเนินการผลิตเพื่อนำไปบรรจุและจำหน่ายในลำดับต่อไป
แบบ Die-Cut ต้นแบบ Cushion บรรจุภัณฑ์ Giftset ชุดเล็ก ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมนิล วิสาหกิจชุมชนรุ้งปลายฟ้า อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ออกแบบ จัดทำ และถ่ายภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ Prototype Giftset ชุดเล็ก ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมนิล วิสาหกิจชุมชนรุ้งปลายฟ้า อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ออกแบบ จัดทำ และถ่ายภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
23
บรรณานุกรม โกมิว. การออกแบบรรจุภัณฑ์. 20 ธันวาคม 2557. Retrieved : from the URL : http:// www.mew6.com/composer/package/package_8.php ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2548). ออกแบบให้โดนใจ. สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุ น กรมส่งเสริม อุตสาหกรรม. กรุงเทพ. ประชิด ทิณบุตร (2531). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. โอเอสพรินติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพ. ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ (2541). บรรจุภัณฑ์อาหาร. บริษัทแพคเมทส์. กรุงเทพ. ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ. การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ตอนที่ 1. 15 กุมภาพันธ์ 2554. Retrieved : from the URL : http://www. foodnetworksolution.com/news_and_articles/article/0102/การพัฒนาโครงสร้าง บรรจุภัณฑ์-ตอนที่-1 พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. วัสดุสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์. 20 ธันวาคม 2557 Retrieved : from the URL : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/ word/1788/packaging-material-วัสดุสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ พฤกษชาติ ชีวะโอสถ (2548). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ทุเรียนแปรรูปสำหรับสำนักงานเกษตร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร. งานวิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. สำนัก วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. มยุรี ภาคลำเจียก (2556). บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค. บริษัทโรงพิมพ์หยี่เฮง. กรุงเทพ วรัตต์ อินทสระ. บรรจุภัณฑ์ต้องปกป้องและคำนึงถึงสุนทรียภาพในการออกแบบ. 20 มิถุนายน 2554 Retrieved : from the URL : http://drwarat.blogspot.com/2011/06/blogpost.html
24
ผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สมุนไพรเชียงดา
บทที่
จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ เ ป็ น จั ง หวั ด หนึ ่ ง ที ่ มี ค วามโดดเด่ น ด้ า น วั ฒ นธรรมและภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่น ซึ่ง สะท้ อ นผ่ า น ภาษาพื้น เมื อ ง ประเพณี วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนจาก สินค้าของที่ระลึกต่างๆ ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งในและต่าง ประเทศ แต่ที่ผ่านมาพบว่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนบางผลิตภัณฑ์นั้น ยัง ไม่สามารถเข้าสู่กลุ่มตลาดระดับบนได้มากนัก ทั้งนี้อาจเพราะสินค้าเหล่า นั้นยังไม่ได้รับการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ ให้น่าสนใจ ดึงดูดใจ และ สนองตอบด้านประโยชน์ใช้สอยแก่ผู้บริโภคได้มากพอ ในปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ได้เข้ามามีบทบาทเสมือนตัวแทนพนักงาน ขาย และมีความสำคัญมากขึ้นในฐานะตัวแทนเพื่อนำเสนอสินค้า ด้วยรูป แบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ที่เด่นสดุดตา รูปแบบกราฟิกที่สวยงาม และ การนำเสนอข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ช่วยให้ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ อย่างน่าประทับใจ กระบวนการในการออกแบบและพัฒนากรรมวิธีในการ ผลิตบรรจุภัณฑ์ มีสาระครอบคลุมทั้งด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะความ ชำนาญผสานไปกับศิลปะและการออกแบบ ทำให้บรรจุภัณฑ์ เป็นศาสตร์ หนึ่งที่สำคัญต่อวงการธุรกิจในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
25
2
อีกทั้งบรรจุภัณฑ์ได้เพิ่มความสำคัญมากขึ้นทวีคูณ เนื่องจากการแข่งขันด้าน การตลาดที่เข้มข้น เพราะผู้บริโภคมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปตามยุค สมัย และที่สำคัญบรรจุภัณฑ์ได้เข้ามามีบทบาท ในการบ่งบอกระดับสินค้า ทางการตลาดและแสดงออกถึงภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์รวมไปถึงผู้ผลิตด้วย ทางภาครัฐได้มีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้อง ถิ่น ซึ่งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งมีนโยบายในการให้บริการวิชาการ แก่ชุมชนท้องถิ่น ได้ร่วมมือกันคัดเลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพในการ พัฒนาและมีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชน ให้เกิด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่า และช่วยเพิ่มมูลค่าและสร้างอรรถประโยชน์ให้ สูงขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ สร้างรายได้ และสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืน ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สันมหาพน ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็น 1 ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่ได้รับการคัดเลือกจาก สสว.และ มทร.ล้านนา ให้เข้าโครงการพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ จากการลงพื้น ที่ศึ ก ษาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชน พบว่ า ทางกลุ่ม มี ค วาม ต้องการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า และยกระดับสินค้าให้เป็นไปตาม กลไกของตลาดที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งจากการลงพื้นที่เพื่อศึกษาปัญหาด้าน บรรจุ ภั ณ ฑ์ เ ดิ ม ของสมุ น ไพรเชี ย งดา พบว่ า บรรจุ ภั ณ ฑ์ ชั้น ใน (inner package) หรือบรรจุภัณฑ์แบบขายปลีก เกิดปัญหาตั้งแต่การบรรจุซอง ฟอยล์ ชาสมุนไพรลงในกล่อง ไปจนถึงการนำซองชาออกมาจากช่องรอยปรุ ด้านล่างของกล่อง เนื่องจากขนาดของบรรจุภัณฑ์ชั้นใน ไม่สัมพันธ์กับขนาด ของซองฟอยล์ จึงทำให้เกิดพื้นที่ว่างในกล่อง ทำให้ซองฟอยล์ ไหลลงไปรวม กันอย่างไม่เป็นระเบียบ ปัญหาที่ตามมา คือไม่สามารถนำเอาซองชาออกมา จากช่องรอยปรุได้ตามความต้องการ ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ขนส่งเพื่อจัด จำหน่าย (outer package) พบปัญหาตั้งแต่การบรรจุเช่นกัน เพราะรูปแบบ การบรรจุแบบเดิม ใช้วิธีวางกล่องลงไปในบรรจุภัณฑ์ขนส่ง ในแนวขวาง จำนวน 6 กล่อง ทำให้ไม่สะดวกในการบรรจุและยากต่อการนำออกมา จำหน่าย และนอกจากนั้น บรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่ายยังไม่ได้ทำหน้าที่ใน การประชาสัมพันธ์สินค้าจัดจำหน่ายได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนของฝากล่องเป็น ลักษณะแบบพับขึ้นรูปเป็นหูหิ้ว ถ้าออกแบบให้มีขนาดไม่สัมพันธ์กันอาจเกิด ปัญหาตอนพับแบน เพื่อจัดวางลงในกล่องแบบขนส่งได้ ในฐานะที่เป็นผู้สอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ในวิชาเอกเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ที่ปรึกษาเชิง ลึ ก ในการออกแบบและพั ฒ นาบรรจุ ภั ณ ฑ์ ใ นโครงการออกแบบและพั ฒ นา บรรจุภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสันมหาพน ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 26
ได้เล็งเห็นความสำคัญในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สมุนไพรเชียงดา สินค้าวิสาหกิจชุมชน และเห็นว่าบรรจุภัณฑ์ที่ดี ควรต้องทำหน้าที่ของบรรจุ ภัณฑ์ที่สำคัญ 4 ประการ คือ การปกป้องคุ้มครอง (Protection) ความ สามารถในการบรรจุ (Container) ความสะดวกในการใช้งาน (Convenience) และทำหน้าที่การประชาสัมพันธ์ (Promotion) ได้อย่างสมบูรณ์
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สมุนไพรเชียงดาสันมหาพน ให้สามารถ ทำหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์ 2. เพื่อ ส่ ง เสริ ม เศรษฐกิ จ ระดั บ ชุ ม ชนและสนั บ สนุ น ให้ ผู้ป ระกอบการที่มี ศักยภาพ สร้างรายได้และสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืน 3. เพื่อ ให้ เ ป็ น การบู ร ณาการจากการเรี ย นการสอนสู่ชุ ม ชน และเพื่อ ให้ นักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจ เข้าใจกระบวนการในการออกแบบและ สร้างบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ และเป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนารูปแบบ บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อื่นๆ ต่อไป
ขอบเขตงาน 1. ศึกษาสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์สมุนไพรเชียงดา ปัญหา ของรูปแบบบรรจุ ภัณฑ์เดิม 2. วิเคราะห์ สรุปผล เพื่อนำไปสู่แนวความคิดในการออกแบบ และพัฒนา บรรจุภัณฑ์ใหม่ 3. กระบวนการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ 4. สรุปผลการออกแบบและข้อเสนอแนะ
27
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ขายปลีก (inner package) ที่ปกป้องคุ้มครองสินค้า ภายในให้ปลอดภัย สะดวกในการใช้งาน ตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค 2. ได้ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ขนส่งพร้อมจำหน่าย (outer packagefor sale) ที่ สามารถบรรจุบรรจุภัณฑ์ขายปลีกได้อย่างเหมาะสม และใช้งานง่าย อีกทั้ง สามารถแสดงตัว ณ จุดขาย (Display on Purchase) ได้ดี 3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสันมหาพน ได้บรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อ เป็นต้นแบบให้กลุ่มวิสาหกิจอื่นได้ 4. ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ สร้างรายได้และสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืน
แปลงปลูกต้นเชียงดา ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสันมหาพน ภาพถ่าย : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
28
ศึกษาข้อมูล สมุนไพรเชียงดา
สัมภาษณ์ สอบถามข้อมูลกับ คุณมุทิตา สุวรรณคำซาว ประธานกลุ่มวิสาหกิจสันมหาพน ภาพถ่าย : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
ประธานกลุ่มสมุนไพรอินทรีย์สันมหาพน คุณป้ามุทิตา สุวรรณคำ ซาว เป็นผู้นำกลุ่มชาวบ้านในชุมชนสันมหาพน เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญา ท้องถิ่นในการผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรผักเชียงดา สืบเนื่องมาจากในวัย เด็ก ป้ามุฑิตาเป็นเด็กที่ร่างกายอ่อนแอและเลี้ยงยากเจ็บป่วยบ่อยๆ หลวง อาของป้ามุทิตาซึ่งบวชเป็นพระมีความรู้ทางสมุนไพร ได้ใช้ภูมิปัญญาพื้น บ้าน นำเอาสมุนไพร คือผักเชียงดามารักษาป้ามุฑิตาจนเติบโตและแข็งแรง หายจากอาการอ่อนแอและเจ็บป่วยได้โดยเร็ว โดยการนำเอาใบผักเชียงดา 9 ใบ นำมาทุบแล้วแช่น้ำซาวข้าว นำน้ำที่ได้มาให้คุณพ่อของป้าเช็ดตัวให้ ทุกๆ วัน และได้ทำเชียงดาตากแห้งมาชงเป็นชาดื่มทุกวัน ทำให้เป็นแรง บันดาลใจให้ป้ามุทิตาได้พัฒนาสูตรสมุนไพรมาพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัย โดย ได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการของ BIO Tech ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ราชภัฎเชียงใหม่เข้ามาดูและเรื่องระบบการผลิต จนนำมาพัฒนารูปแบบให้ เป็น สมุนไพรชาเชียงดาในปัจจุบัน
ความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาในท้องถิ่น
คุณมุทิตา สุวรรณคำซาว ภาพถ่าย : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
แปลงเพราะต้นกล้าเชียงดา ภาพถ่าย : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
ผักเชียงดา เป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ เป็นผักที่ขึ้นในป่าแถบ ภาคเหนือของไทย ผักเชียงดานิยมนำมาปรุงอาหารรวมกับผักอื่นๆ เช่น ใช้ แกงรวมกับผักอื่น ผสมในแกงแค แกงเขียว แกงเลียง ต้มเลือดหมู ผัดรวม กับมะเขือ ไม่นิยมนำมาแกงหรือผัดเฉพาะผักเชียงดาอย่างเดียว เพราะ รสชาติจะออกขมเฝื่อน นอกจากนั้นใช้แบบ ต้มกิน นึ่งกิน กับพริกอร่อย มาก กินกับลาบ ใช้ยอดกินดิบ หรือ กินกับตำมะม่วงแบบสดๆ ปัจจุบันนี้มี เกษตรกรนำผักเชียงดามาปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่เพื่อเก็บยอดขาย เป็น เชิงการค้า เช่น จังหวัดลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน เป็นต้น ปัจจุบันสามารถพบผักเชียงดาขายอยู่ในตลาดสดทั่วไป นอกจากนี้ผักเชียงดา ยังเป็นสมุนไพรคือ รักษาโรคและอาการได้ หลายอย่าง สรรพคุณคล้ายฟ้าทะลายโจร แก้ไข้ แก้แพ้ แก้เบาหวาน ใน หน้าแล้งจะขุดรากมาทำยา หน้าฝนจะใช้เถาและใบ โดยสับตากแห้งบดชง เป็นชาดื่ม นอกจากนี้ยังใช้แก้แพ้ กินของผิด ฉีดยาผิด เวียนศีรษะ แก้ไข้ สันนิบาต (ชักกระตุก) หรือเมื่อเกิดอาการคิดมาก มีอาการหย่อง (ภาษา พื้นเมือง) คือ มีอาการจิตฟั่นเฟือนก็นำมากินได้ คนไทยใหญ่ยังใช้ ผักเชียง ดารักษาอาการท้องผูก โดยจะแกงผักเชียงดารวมกับผักตำลึงและยอด ชะอมกิน นิยมกินในหน้าร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกาย ยังเป็นยา บำรุงกำลังคือ เอาเครือทั้งใบม้วนมาต้มกิน เวลาไปทำไร่จะเหนื่อยล้าเพราะ เป็นพื้นที่สูง ที่ทำไร่ตามภูเขาสูง เมื่อปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เมื่อยตามเนื้อตัว จะพากันเอามาต้มกินทำให้หายเมื่อยหายเหนื่อย ทำงานได้เหมือนไม่เหนื่อย เลย ผักเชียงดาใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวาน 29
ข้อมูลสมุนไพร ชาเชียงดา ขั้นตอนการผลิตชาเซียงดา จะต้องเก็บใบอ่อนของต้นที่ยังมีน้ำค้าง เกาะอยู่บนยอดอ่อน ในตอนตีสี่ หรือ 04.00 น. จนถึง 09.00 น. เท่านั้น จากนั้นนำใบเชียงดาที่เก็บได้ ไปนวด-วน ด้วยมือ บนตะแกรงให้ได้ที่ แล้วจึง นำไปตากในโรงเรือน จากนั้นนำมาอบและบดในเครื่องจนได้ขนาดที่พอ เหมาะ จึงนำมาบรรจุลงถุงชา ในปริมาณถุงละ 2 กรัม และนำถุงชาบรรจุ ลงในซองฟอยล์ ปิดปากถุงด้วยเครื่องซีลถุงฟอยล์ นำมาบรรจุลงในกล่อง ขายปลีก จำนวน 25 ซอง (นน. สุทธิ 50 กรัม) และนำกล่องขายปลีก (50 กรัม) จำนวน 6 กล่อง บรรจุในกล่องขนส่งเพื่อจัดจำหน่าย (นน. สุทธิ 300 กรัม) ผลิตภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดามีลักษณะเป็นใบเชียงดาอบแห้ง และ บดหยาบบรรจุในซองชาชงสำเร็จรูป และบรรจุในซองฟอยล์ปิดผนึก เป็น บรรจุภัณฑ์ชั้นแรก (Individual Package) ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 2 หรือ บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Inner Package) มีลักษณะเป็นกล่องกระดาษแป้ง สี่เหลี่ยนผืนผ้าทรงตั้งสูง บรรจุซองฟอยล์จำนวน 25 ซอง มีรอยปรุช่อง เจาะด้านหน้า เพื่อเปิดเอาซองฟอยล์ชาสมุนไพร ออกมา ส่วนบรรจุภัณฑ์ ขนส่ง (Outer Package) ใช้วัสดุกระดาษลูกฟูก ลอน B พับขึ้นรูป มีหูหิ้ว บรรจุกล่องชั้นแรก (inner package) จัดเรียงลักษณะแบบขวาง จำนวน 6 กล่อง ลงใน บรรจุภัณฑ์แบบขนส่ง
สมุนไพรชาเชียงดาในรูปแบบบรรจุภัณฑ์เดิม ภาพถ่าย : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
30
ข้อมูลเกี่ยวกับ การตลาด กลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดา เป้าหมายจะเป็นกลุ่ม คนวัยทำงานและกลุ่มคนรักสุขภาพ ช่องทางในการจัดจำหน่าย คือ ในท้อง ถิ่น งานแสดงสินค้า นิทรรศการ เป็นต้น ปริมาตรบรรจุที่ต้องการจำหน่าย คือ กล่องขายปลีก (inner package) บรรจุซองฟอยล์ 25 - 30 ซอง และ กล่องขนส่งเพื่อการจำหน่าย (outer package for sale) ที่บรรจุกล่อง ขายปลีกจำนวน 6 กล่อง ส่วนตำแหน่งทางการตลาด (product positioning) สมุนไพรชาเชียงดาเป็นสินค้าระดับปานกลาง ราคาไม่สูงมาก จุดเด่นของสินค้า คือ เป็นสมุนไพรที่มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถปรับระดับ น้ำตาลในร่างกายได้ เหมาะกับผู้เป็นเบาหวาน จุดด้อย คือ เกิดปัญหาใน การเปิด-ปิด ใช้งานบรรจุภัณฑ์ไม่สะดวก มีข้อมูลที่ผิดพลาดบนบรรจุภัณฑ์ และสีของบรรจุภัณฑ์ยังไม่แสดงภาพลักษณ์ของสินค้าได้ชัดเจน
วิเคราะห์ปัญหา บรรจุภัณฑ์เดิม
วิเคราะห์ปัญหาด้านโครงสร้าง บรรจุภัณฑ์ Inner Package ซองฟอยล์ที่บรรจุถุงชา มีขนาด 6 X 7.8 cm. ส่วนขนาดของกล่อง มีขนาด 7.6 X 7.8 cm. ซึ่งมีขนาดความกว้างและ ความยาวไม่สัมพันธ์กับซอง เมื่อบรรจุซองฟอยล์ลงใน กล่องจึงทำให้เกิดช่องว่าง ภายในกล่องขึ้นทำให้ซอง เลื่อนไหลมาปนกันอย่าง ไม่เป็นระเบียบ
รอยปรุบนกล่องที่ทำขึ้นเพื่อให้ ถุงชาไหลออกจากช่องที่เจาะไว้บนกล่องนั้น เมื่อเจาะช่องแล้ว ไม่สามารถนำซองฟอยล์ ออกมาได้ เพราะช่องว่างที่เกิดขึ้นภายใน กล่อง ทำให้ซองภายในไหลมาตามช่อง ที่ว่างอยู่อย่างไม่เป็นระเบียบ เป็นเหตุให้ รอยปรุบนกล่อง ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ อันเนื่องมาจากขนาดภายในกล่อง และ ขนาดของซองที่บรรจุอยู่ภายใน ไม่สัมพันธ์กัน
31
พลาสติกที่ห่อหุ้มภายนอกของกล่อง เหลือชายไว้มากเกินไป ทำให้เกิดปัญหาการจัด วางเรียงกล่องในกล่อง Outer ได้ไม่ราบเรียบ เกิดปัญหาในการนำไปบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ ชั้นนอก
วิเคราะห์ปัญหาด้านกราฟิก บรรจุภัณฑ์ Inner
ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ยังไม่ถูกต้อง สมบูรณ์ ต้องปรับเรื่องราว (Story) บนบรรจุภัณฑ์
เพิ่มเติม และปรับเครื่องหมายที่ เกี่ยวข้องบนบรรจุภัณฑ์
วิเคราะห์ปัญหาด้านโครงสร้าง บรรจุภัณฑ์ Outer การบรรจุกล่อง Inner Package จำนวน 6 กล่อง ลงในกล่อง Outer Package เดิมใช้วิธีเรียงแบบแนวขวาง ทำให้ยากต่อการบรรจุและ นำกล่องขายปลีก ออกมา จำหน่าย
32
กล่อง Outer เดิม ออกแบบ ให้เป็น กล่องแบบมีหูหิ้ว แต่ ด้วยสัดส่วนของฝาที่ออกแบบ มา ไม่สามารถพับฝา และลิ้น กันฝุ่นให้แบนราบเพื่อการ ขนส่งได้ ทำให้กินเนื่อที่ในการ บรรจุ เพื่อการขนส่งในกล่อง ขนส่งจำนวนมากได้
การวางโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ บนแนว (Grain) ที่ผิด เป็นด้านขวางของกระดาษลูกฟูก
วิเคราะห์ปัญหาด้านกราฟิก บรรจุภัณฑ์ Outer
ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ยังไม่ถูกต้อง สมบูรณ์ เช่น คำว่า Free Caffeine และ บรรจุ 6 แพค
เพิ่มเติม และปรับเครื่องหมายที่ เกี่ยวข้องบนบรรจุภัณฑ์
33
สรุปผลเพื่อกำหนดแนวความคิดในการออกแบบ จากผลการวิเคราะห์ปัญหาของบรรจุภัณฑ์เดิม เพื่อการออกแบบ และพัฒนาบรรจุภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดานั้น ทั้งบรรจุภัณฑ์แบบขายปลีก (inner package) และบรรจุภัณฑ์แบบขนส่ง (outer package) ไม่สนอง ตอบต่อการบรรจุ และประโยชน์ใช้สอยในการใช้งาน ตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้ บริโภค โดยสรุปปัญหาได้ ดังนี้ 1. บรรจุภัณฑ์ขายปลีก (inner package) - บรรจุภัณฑ์ขายปลีกมีขนาดไม่สัมพันธ์กับซองชาที่บรรจุ - รูปแบบบรรจุภัณฑ์ไม่สนองตอบต่อการใช้งานทั้งการบรรจุ และนำมาใช้ - ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ต้องการการปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 2. บรรจุภัณฑ์ขนส่ง (outer package) - กล่องขายปลีกจัดวางในแนวขวางลงในบรรจุภัณฑ์ขนส่ง ทำให้ยากต่อการบรรจุและนำออกจำหน่าย - สัดส่วนของกล่องขนส่งแบบมีหูหิ้ว ไม่สามารถพับฝาและลิ้น กันฝุ่นให้แบนราบได้ - โครงสร้างของกล่องขนส่ง ไม่เอื้ออำนวยต่อการแสดงตัว ณ จุดขาย - ข้อความกราฟิกบนกล่องขนส่ง ไม่ถูกต้อง และต้องการปรับ ข้อมูลและเครื่องหมาย
ความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสันมหาพน ปัจจุบันทางกลุ่มมีความต้องการพัฒนาสินค้าวิสาหกิจชุมชน เพื่อยกระดับสินค้าจากการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามสะดุด ตามากขึ้น ทางกลุ่มมีความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ปกป้องสินค้าให้ ปลอดภัยจนถึงมือผู้บริโภค สามารถบรรจุกล่องขายปลีก ลงในกล่อง ขนส่งเพื่อจัดจำหน่ายได้โดยง่าย และต้องการพัฒนารูปแบบบรรจุ ภัณฑ์ให้สวยงาม เพื่อให้บรรจุภัณฑ์อำนวยความสะดวกตั้งแต่ผู้ผลิต บรรจุ ไปจนถึงมือผู้บริโภค และเป็นจุดสนใจ ณ จุดขายปลีกได้ดี
34
แนวความคิดใน การออกแบบ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดา และผลการสอบถามความต้องการของผู้ประกอบการแล้ว สรุปได้ว่าเกิด ปั ญ หาในรู ป แบบสิ น ค้ า และการจั ด จำหน่ า ย ลั ก ษณะของบรรจุ ภั ณ ฑ์ สมุนไพรชาเชียงดา ต้องครอบคลุมการใช้งานในลักษณะการขายปลีกและ ขนส่งเพื่อจัดจำหน่าย ทั้งการขายในงานเทศกาล ร้านของฝาก ห้างสรรพ สินค้า และงานแสดงสินค้าต่างๆ ได้บทสรุ ปแนวความคิดในการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ ดังนี้
Concept of Design แนวความคิ ด ในการออกแบบบรรจุ ภั ณ ฑ์ แ บบขายปลี ก (inner package) บรรจุภัณฑ์สามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค ในการเปิด-ปิด บรรจุภัณฑ์ได้ง่าย เมื่อเปิดนำซองฟอยล์ 1 ซองออกมาใช้แล้ว ต้องสามารถ เก็บซองชาส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ไว้ได้อย่างมิดชิด (Easy to Open & Safe to Store) ในส่วนบรรจุภัณฑ์ขนส่งเพื่อจัดจำหน่าย (outer package for sale) ซึ่งรวมหน่วย 6 กล่อง มีแนวความคิดให้บรรจุภัณฑ์ อำนวยความสะดวกใน การบรรจุและป้องกันสินค้าในระหว่างขนส่ง บรรจุภัณฑ์รวมหน่วยขนส่ง สามารถประชาสัมพันธ์และนำเสนอสินค้าได้ ณ จุดขาย (Display on Purchase) เพื่ออำนวยความสะดวกในการขายปลีกได้ดี
จากแนวความคิดในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ จึง ต้องคำนึงถึงการใช้งานตั้งแต่ผู้ผลิต จนถึงมือผู้บริโภค โดยกระบวนการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ 2. การออกแบบกราฟิก 3. การสร้างบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ
35
กระบวนการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์
ใช้ไม้วัดเวอร์เนีย มาวัดขนาดของซองฟอยล์ต่อ 1 ซอง และจำนวนโดย รวม 25 - 30 ซอง ที่จะบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 1 (Inner package)
วัดขนาดของ Individual Package ซองฟอยล์ต่อ 1 ซอง และจำนวนโดยรวม 25 - 30 ซอง ที่จะบรรจุลงใน บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Inner package)
วัดขนาด ซองฟอยล์จำนวน 25 ซอง มีขนาด 6 X 17.5 X .8 cm.
36
ออกแบบโครงสร้าง บรรจุภัณฑ์ จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการเลือกใช้วัสดุและโครงสร้าง ที่เหมาะสมกับบรรจุภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดา ด้วยการนำแนวความคิด ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ มาถ่ายทอดออกมาโดยการเขียนแบบร่าง จากแนวความคิด (Concept Sketch) เป็นภาพที่แสดงถึงรูปร่าง ลักษณะ และส่วนประกอบของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดา ทั้งรูปแบบบรรจุภัณฑ์รวมหน่วย (Inner package) และบรรจุภัณฑ์ ชั้นนอกเพื่อการจำหน่าย (Outer Package for sale) ในลักษณะ 2-3 มิติ
แบบร่าง Idea Sketch Design บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Inner Package)
Idea Sketch กล่อง Inner Package ภาพ Sketch : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการประมวล แนวความคิดสร้างสรรค์ขั้นต้น (Preliminary Idea) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ใน รูปแบบ รูปทรง การใช้ งาน วิธีการบรรจุ ภาพคลี่ และการคำนวณเบื้องต้น เพื่อการพิจารณาแบบ ร่าง โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในการคัดเลือกรูปแบบบรรจุภัณฑ์ชา เชียงดาที่เหมาะสมอย่างมีเหตุผล 37
การพัฒนา และแก้ไขแบบ จากแบบร่างขั้นต้น Idea Sketch นำรูปแบบที่ตรงตาม แนว ความคิดในการออกแบบ Concept of Design มาพัฒนารูปแบบต่อ เพื่อให้ ได้แบบที่เหมาะสม จากแบบที่ 1 มีลักษณะคล้ายลิ้นชัก เลื่อนออกได้ด้าน เดียวแต่อาจเกิดปัญหามีผงฝุ่นเข้าได้ แบบที่ 2 เป็นลักษณะที่พัฒนาจาก แบบที่ 1 แต่สามารถเลื่อนได้ทั้ง 2 ด้าน มีถาดใส่ซองฟอล์ยอยู่ภายใน มี กล่องชั้นนอกแต่ยังไม่มีปกกันฝุ่น ส่วนแบบที่ 3 พัฒนาจากแบบที่ 1 และ 2 ลักษณะกล่องสามารถเลื่อนเปิดออกได้ทั้ง 2 ด้าน ด้านบนของกล่อง ออกแบบให้มีฝาโค้งครึ่งวงกลม เมื่อเลื่อนปิดจะมีลักษณะซ้อนทับกัน แทน ลิ้นกันฝุ่น เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเข้าไปในกล่องได้ ช่วยปกป้องสินค้าได้ดี การออกแบบบรรจุภัณฑ์ อิงตามหลักการ UD (Universal Design) คือ ง่ายต่อการใช้งาน (easy to use) ง่ายต่อการเปิด (easy to open) ง่ายต่อการนำเข้า (easy to put in) ง่ายต่อการนำออก (easy to take off) และ ปลอดภัยในการใช้งาน (Safe to use)
Design Refinement
ภาพ Sketch Idea Development บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Inner package) ภาพ Sketch : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ 38
แบบร่าง Sketch Design บรรจุภัณฑ์ชั้นใน แบบร่าง Sketch Design กล่องบรรจุภัณฑ์ชั้นใน inner package แสดงภาพด้าน (elevation) ขนาด (dimention) และภาพแสดงรายละเอียด (detail) พร้อมทัศนียภาพ Perspective
Sketch แบบภาพด้านต่างๆ ของบรรจุภัณฑ์ในลักษณะ 3 มิติ เพื่อหารูปร่างรูปทรงที่เหมาะสม ภาพ Sketch : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
Sketch แบบภาพคลี่ (pattern) เพื่อการขึ้นรูปทดสอบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Inner package) ภาพ Sketch : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ 39
แบบภาพร่าง Sketch Design บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกเพื่อการจำหน่าย
Sketch Design รูปแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกเพื่อการจัดจำหน่าย (Outer package forSale) ภาพ Sketch : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ บรรจุภัณฑ์ชั้นนอเพื่อการจำหน่าย Outer Package for sale มีแนว ความคิดในการออกแบบ ให้สามารถเรียง บรรจุกล่อง Inner จำนวน 6 กล่อง ได้ และนำกล่องออกมาจำหน่าย ได้ง่ายๆ โดยเน้นตามหลักการ UD (Universal Design) คือ ง่ายต่อการใช้งาน (easy to use) ง่ายต่อการเปิด (easy to open) ง่ายต่อการนำเข้า (easy to put in) ง่ายต่อการนำออก (easy to take off) และสามารถแสดงตัวประชาสัมพันธ์สินค้าในจุดขาย (Display on purchase) ได้ดี
40
หุ่นจำลองเพื่อ ทดสอบโครงสร้าง ในขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนการจัดทำหุ่นจำลองเพื่อการทดสอบ โครงสร้าง (Model Study) จากแบบร่าง (Idea Sketch) บรรจุภัณฑ์ ชาเชียงดาที่คัดเลือกไว้ มาขยายวิเคราะห์รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ (Detail Design) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลิตที่เหมาะสม กับวัสดุ และโครงสร้าง โดยสร้างหุ่นจำลองบรรจุภัณฑ์ (Model Study) ขึ้นมาเพื่อทดสอบโครงสร้าง ศึกษา รูปทรง (Form) แผ่นคลี่ (Pattern) การใช้งาน (Function) วิธีการบรรจุ (Packing) และ หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ก่อนการสร้างต้นแบบเหมือนจริง (Prototype) ทดลองบรรจุ เพื่อหารูปร่าง รูปทรง หรือส่วนประกอบต่างๆ ที่เหมาะ สมกับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ
Pattern กล่อง inner เพื่อทดสอบ โครงสร้าง ภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
ทดสอบพับขึ้นรูป Pattern กล่อง inner ภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ 41
หุ่นจำลองเพื่อทดสอบโครงสร้าง บรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 1
ทดสอบพับขึ้นรูป Pattern ถาด ภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
ทดสอบพับขึ้นรูปโครงสร้าง ถาด และ การประกอบเข้ากับ inner ภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
ทดสอบการใช้งาน ของบรรจุภัณฑ์ชั้นใน ภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ 42
หุ่นจำลองเพื่อทดสอบโครงสร้าง บรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 2
นำเทปกาวมายึดกล่อง inner 6 กล่อง เพื่อวัด ขนาดของปริมาตรสุทธิ และทดสอบการบรรจุ ภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
ตัดและพับขึ้นรูปกล่อง Outer ตามแบบร่าง Sketch Design และทดสอบรูปทรง รอยพับ รอยตัด เพื่อให้เหมาะสม กับการใช้งาน พบปัญหาส่วนใดบันทึกไว้ และแก้ไขตามจุดต่างๆ ให้สมบูรณ์ ภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
43
เขียนแบบโครงสร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หลังจาก การตัด และพับขึ้นรูปโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ เพื่อการทดสอบ และ ได้ปรับแก้ไขโครงสร้างบรรจุภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว เราก็นำเอาโครงสร้างที่ได้ มา เขียนแบบภาพคลี่ (pattern) ทั้งบรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 1 Primary Package และ บรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 2 Secondary Package ด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator CS5 เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสม
เขียนแบบภาพคลี่ โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 1 (Primary packaging) ด้วยโปรแกรม Adobe Illustration ภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์
เขียนแบบภาพคลี่ โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ขั้นที่ 2 (Secondary packaging) ด้วยโปรแกรม Adobe Illustration ภาพ : เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ 44
ออกแบบกราฟิก บรรจุภัณฑ์ การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดา เพื่อ การสื่อสารต่อกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็นกลุ่มคนรักสุขภาพ กลุ่มคนวัย ทำงาน และกลุ่มผู้สูงวัย มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ภาพประกอบ สมุนไพรชาเชียงดา เป็นผลิตภัณฑ์จากต้นเชียงดา และมีส่วน สำคัญที่นำมาผลิตเป็นชาสมุนไพรคือ ส่วนที่เป็นยอดของต้นเชียงดา ดังนั้น ผู้ออกแบบจึงเลือกใช้ภาพถ่าย ถ้วยชาใส มีใบไม้สีอ่อนวางบนจานรองแก้ว ที่ใส่ชาสีเหลืองทองไว้ในถ้วยแก้ว ให้มีความรู้สึกว่าเป็นน้ำชาที่ชงจากใบ เชียงดาจากธรรมชาติ โดยนำภาพทั้งสอง มาจัดวาง ซ้อนทับให้เหมาะสม เพื่อให้สื่อถึงสมุนไพรพื้นบ้านจากธรรมชาติ สู่น้ำชาสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
ภาพแก้วชา ซ้าย : wallpapers55.com/glass-tea-cup/ [19 ม.ค. 56] ภาพชาเขียว ขวา : http://www.ycwb.com/images/2008-05/08/yzbyyh8561.jpg [19 ม.ค. 56]
โดยทั่วไปการใช้ภาพประกอบบนบรรจุภัณฑ์ไม่นิยมใช้ภาพของ สินค้าโดยตรง ตัวอย่างเช่น ภาพบนกล่องบรรจุชา ไม่นิยมใช้ภาพของใบ ชาแห้ง เพราะดูไม่น่ารับประทาน แต่ถ้าเราเลือกใช้ภาพน้ำชาที่ผ่านการ ชงแล้ว และบรรจุในถ้วย หรืออาจแสดงบรรยากาศของไร่ชา ที่มีต้นชา เรียงราย มีชาวไร่กำลังเก็บใบชาแทน เพราะภาพใบชาแห้งที่บรรจุอยู่ ภายใน คงไม่สร้างความประทับใจแก่ผู้บริโภคนัก
45
2. สี สีมีอิทธิพลต่อการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า เพื่อให้กลุ่มเป้า หมายจดจำสินค้าได้แม่นยำ พลังของสีสามารถกระตุ้นการรับรู้และปลุก เร้าอารมณ์ผู้บริโภคผ่านการมองเพียงไม่กี่วินาที นักออกแบบต้องมี ความรู้ในเรื่องแนวโน้มและความนิยมของตลาดปัจจุบัน ในการเลือกใช้ สีบนบรรจุภัณฑ์ จะพบว่ามีการนิยมใช้สีเขียวในบรรจุภัณฑ์กันมากขึ้น เพื่อสื่อถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ
โทนสีที่ได้จากยอดและใบ ของต้นเชียงดา
สีของยอดและใบ ของต้นเชียงดา
บรรจุภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดา เลือกโทนสีเขียวมาใช้บนบรรจุ ภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดา เพื่อสื่อถึงผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่มาจาก ธรรมชาติตั้งแต่ สีเหลืองอ่อน สีเขียว จนถึงสีน้ำตาล ที่มาจากโทนสี ของใบเชียงดา ตั้งแต่สีของใบอ่อน ใบแก่ มาจนถึงสีของใบชาอบแห้ง ในส่วนของลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ เป็นลวดลายที่มีรูปแบบ คลี่คลายมาจากช่อดอกเชียงดาซึ่งมีลักษณะเป็นช่อแน่น สีขาวอมเขียว อ่อน ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร สีลวดลายดอกเชียงดาเลือกใช้สีเขียวอ่อนเหลือบไล่มาถึงสี น้ำตาลเข้ม ซึ่งได้จากสีของใบแก่และดอกของต้นเชียงดา ให้สลับกับ ส่วนสีอ่อนแก่ กับพื้นสีเขียวที่ไล่จากความเข้มไปสู่สีเขียวอ่อนเกือบ เหลือง
46
รูปร่างและสีของดอกเชียงดา
สีและลวดลายที่คลี่คลายมาจากดอกเชียงดา
ตราสินค้า กาทอง ของวิสาหกิจชุมชนสันมหาพนนี้ เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ ได้ออกแบบไว้ให้กลุ่มฯ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เมื่อทำหน้าที่เป็น วิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งทางกลุ่มฯ ได้เข้าร่วมในโครงการอบรมความรู้ เรื่องความสำคัญของบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการส่งเสริมสินค้าวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมประกวด สินค้า OTOP ภาคเหนือ ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ ซึ่งทางกลุ่มฯ ได้ใช้เป็น ตราสินค้ามาจนถึงปัจจุบัน
ตราสินค้า กาทอง
ชื่อสินค้า เครื่องดื่มผักเชียงดา
ตราสินค้า กาทอง เป็น ใช้สีน้ำตาล ในลายเส้นและลวดลายของรูป กา ในส่วนของชื่อ “กาทอง” เป็นชื่อสินค้าที่ทางกลุ่มฯได้ออกแบบเอง และขอ ให้คงไว้ เนื่องจากผู้บริโภคได้จดจำลวดลายนี้เป็นเอกลักษณ์ของสินค้าแล้ว ซึ่ง ใช้เป็นสีส้มอิฐ และชื่อสินค้าของสมุนไพรชาเชียงดา ใช้ชื่อภาษาไทย “เครื่อง ดื่มผักเชียงดา” เป็นสีน้ำเงิน และชื่อภาษาอังกฤษ “Dried Gymnema Tea” ใช้สีเขียว มีลวดลายเป็นเส้นโค้งสีน้ำตาลล้อมรอบชื่อสินค้า
47
3. เครื่องหมาย ผลิตภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดามีคุณภาพดี ผ่านการค้นคว้างาน วิจัย ผ่านการตรวจมาตรฐาน อย. และได้รับรางวัลจากหลายสมาคมมา แล้ว เช่น ได้รับรางวัล OTOP , Chiangmai Brand และอื่นๆ โดยทาง กลุ่มวิสาหกิจสันมหาพน มีความต้องการปรับปรุงเครื่องหมายบน บรรจุ ภั ณ ฑ์ ให้ มี เ ครื ่ อ งหมายที ่ ส ำคั ญ บนบรรจุ ภั ณ ฑ์ เ พี ย ง 5 เครื่องหมายเท่านั้น คือ เครื่องหมาย OTOP, Chiangmai Brand, ฮา ราล และ อาหารปลอดภัย
4. ข้อความบนบรรจุภัณฑ์ ข้อความบนบรรจุภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดามีส่วนที่สำคัญ ตั้งแต่ - ชื่อสินค้า - ข้อความที่เป็นจุดขาย - จำนวนบรรจุ ปริมาตรสุทธิ - เรื่องราวเกี่ยวกับชาเชียงดา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ - แสดงที่อยู่ผู้ผลิต และวิธีใช้ - ราคา ….. บาท - เลขทะเบียนผลิตภัณฑ์ ที่สำคัญ
48
ชื่อสินค้า : เครื่องดื่มผักเชียงดา Dried Gymnema ข้อความที่เป็นจุดขาย : ทางเลือกใหม่สำหรับผู้รักสุขภาพ ชาสมุนไพร ตรากาทอง (Herbal Gurmar Tea Caffeine free and Sugar free) จำนวนบรรจุ : 25 ซอง Total amount 25 tea bags. น้ำหนักสุทธิ : 50 กรัม Total Net weight 50 grams. เรื่องราว : ผักเชียงดา (Gymnema Inodorum Dence) ผักเชียงดา เป็นพืชที่นำมาช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน และน้ำตาลในเลือดสูงในหลายๆ ประเทศมานานกว่า 2,000 ปี โดยไม่เป็นอันตรายต่อไตและตับอ่อน ใน ปั จ จุ บั น ได้ พั ฒ นาเป็ น เครื่อ งดื่ม แบบชา และแคปซู ล จากจั ง หวั ด เชียงใหม่ Story : Chiangda is a kind of vegetable originally found in the upper Northern Region of Thailand. Chiang-Da is well known in its common names which are “Gurmar Gymnema Inodorum Dence” has been used for healing Diabetes in India and other countries in Asia for over 2,000 years. Scientific papers published by many reliable institutes i.e. The US national Library of Medicine (NLM) and the National Institute of Health (NIH) indicate that the structure of Gymnema molecules called “Gymnemic acid” are similar to that of sugar molecules, allowing them to fill cell receptors in the lining the intestines thus preventing uptake of sugar molecules.
วิธีใช้ : 1 ซองชา ชงกับน้ำร้อน 2-3 แก้ว 1 Tea bag with 2-3 cups of hot water Instructions : Supports healthy blood sugar levels, supports healthy cholesterol levels diabetes.
ที่อยู่ผู้ผลิต : สันมหาพนสมุนไพรอินทรีย์ 37 หมู่ 4 ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่. โทรศัพท์ : 086-6709269, 081-8481459, 086-0540757 email : chiangda.gt@gmail.com , export.anya@gmail.com
49
สินค้าคุณภาพจากธรรมชาติ 100% รับรองการเพาะปลูก GAP ปราศจากสารเคมี มาตรฐาน อย. ฮาลาล Halal GMP Product of Thailand 100% Natural. Approved by Food and Drug Administration of Thailand GAP Good Aquaculture Practice Organic the halal standard institute of Thailand วันที่ผลิต : วันหมดอายุ : เลขทะเบียนพาณิชย์ : เลขทะเบียนวิสาหกิจชุมชน : เลขทะเบียนสถาที่ผลิต :
ข้อความบนบรรจุภัณฑ์มีหน้าที่สื่อความหมายถึงผู้บริโภค โดยตรง ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพสูงสุด ข้อความต่างๆ จึงควรใช้คำที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เรียบเรียงภาษาอย่างถูกต้อง และใช้ตัวอักษรที่สามารถอ่านได้ง่าย โดยผู้ซื้อสามารถทราบถึงที่มา ของสินค้า เรื่องราว วิธีการใช้ การเก็บรักษา เป็นต้น
บรรณานุกรม วรัตต์ อินทสระ. บรรจุภัณฑ์ต้องปกป้องและคำนึงถึงสุนทรียภาพในการออกแบบ. 20 มิถุนายน 2554 Retrieved : from the URL : http://drwarat.blogspot.com/2011/06/blog-post.html
50
จัดวางกราฟิก บนภาพคลี่ บรรจุภัณฑ์
ภาพคลี่ โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ชั้นในเพื่อการขายปลีก
ภาพคลี่ โครงสร้างบรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่าย 51
เขียนแบบ บรรจุภัณฑ์ เมื่อออกแบบและพัฒนาโครงสร้างและจัดวางกราฟิกบนบรรจุ ภั ณ ฑ์ เ รี ย บร้ อ ย คื อ การนำเอากราฟิ ก เช่ น รู ป ภาพ ข้ อ ความ เครื่องหมาย ลวดลาย สี และรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญ ที่จัดเตรียมไว้ มาจัดวางลงบนบรรจุภัณฑ์ในแต่ละด้าน ให้เหมาะสม จากนั้นเริ่มการ เขียนแบบ (Working Drawing) เพื่อการผลิต ด้วยโปรแกรม Adobe Illustration ในการกำหนดขนาด รูปร่าง และสัดส่วนจริง ด้วยการเขียน ภาพประกอบแสดงรายละเอียดของรูปแบบ รูปด้านต่าง ๆ (Elevation) ทัศนียภาพ (Perspective) ภาพแสดงการประกอบ (Detail) ภาพคลี่ (Pattern) ของบรรจุภัณฑ์ เพื่อทดสอบความเหมาะสมในการจัดวาง กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ก่อนการสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์ (Prototype) เพื่อการผลิต
ภาพด้านของบรรจุภัณฑ์ชั้นใน
ภาพด้านต่างๆ ของบรรจุภัณฑ์ และภาพ Detail Function จำลองภาพ วิธีการเปิด-ปิด และการใช้งาน บรรจุภัณฑ์ขายปลีก
52
ภาพด้านของบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกเพื่อการจำหน่าย
ภาพ Detail Function บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกเพื่อการจำหน่าย
ภาพด้านต่างๆ ของบรรจุภัณฑ์ และภาพ Detail Function จำลอง ภาพ วิธีการเปิด-ปิด และการใช้งาน บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก เพื่อการจำหน่าย
53
ภาพด้านของบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกเพื่อการขนส่ง
ภาพคลี่ Pattern ของบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกเพื่อการขนส่ง
ภาพ Detail Function จำลองภาพ การบรรจุกล่องชั้นนอก เพื่อการจำหน่ายได้ 6 กล่อง
54
การขึ้นรูปต้นแบบ บรรจุภัณฑ์ ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ (Prototype) ที ่จัดทำขึ้นมาในขั้นนี้ จั ดทำด้วย กระดาษคราฟท์ (Kraft) ที่สามารถให้ลักษณะ และรายละเอียดใกล้เคียงกับ บรรจุภัณฑ์ของจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ การทดลองออกแบบ กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ได้รับการพิจารณาร่วมกันกับลักษณะของโครงสร้าง เพื่อ ให้ มี ป ระสิ ท ธภาพของรู ป ลั ก ษณ์ ต้ น แบบบรรจุ ภั ณ ฑ์ ช าเชี ย งดา ที่ สมบูรณ์ ขั้นตอนในการสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์ชาเชียงดา มีลำดับขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1. พิมพ์กราฟิก นำไฟล์กราฟิกที่ได้ออกแบบไว้ บั นทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ควบคุมเครื่องพิมพ์ โดยเป็นไฟล์ .ai ที่เกิดจากการสร้างขึ้นในโปรแกรม Adobe Illustrator จากนั้นนำ Sticker ป้อนใส่เข้าไปในเครื่องพิมพ์ ตาม แนวที่กำหนดไว้บนแท่นพิมพ์ ตั้งเครื่องพิมพ์กำหนดขนาดสติ๊กเกอร์ แล้ว ป้อนคำสั่งผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุม เพื่อพิมพ์กราฟิกลงบน Sticker
จัดเตรียม File ในเครื่องควบคุม
ป้อนสติ๊กเกอร์เข้าเครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์แบบ Digital พิมพ์ Sticker
นำ Sticker มาเคลือบบนผิวอีกครั้ง
55
ขั้นที่ 2. ตัด pattern บรรจุภัณฑ์
นำกระดาษบรรจุภัณฑ์มา Mark เส้นขอบเพื่อ เตรียมติด Sticker
นำ Sticker ที่ปิดผิวแล้ว มาติดลงบนกระดาษ ที่ Mark เส้นขอบไว้
ใช้ผ้าสะอาดปาดรีด Sticker ลงบนกระดาษให้เรียบ
ใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์ควบคุมให้เครื่องตัด
ใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์ควบคุมให้เครื่อง ตัดตาม Pattern ที่กำหนดไว้
แกะ Pattern ออกจากโครงกระดาษบนแท่นตัด
56
ขั้นที่ 3. ทดสอบการพับขึ้นรูปต้นแบบกล่องชั้นใน
ใช้เทปกาวสองหน้าติดบริเวณติดกาว
พับก้นกล่องเพื่อทดสอบรอยต่อ
พับปิดก้นกล่องเพื่อทดสอบการปิดสนิท
สวมปิดกล่องกับถาดทดสอบขนาดความพอดี
ทดสอบการเลื่อนเปิดกล่อง
ทดสอบการเลื่อนปิดกล่อง 57
ขั้นที่ 4. ทดสอบการพับขึ้นรูปต้นแบบกล่องชั้นนอก
ใช้เทปกาวสองหน้าติดบริเวณติดกาว
พับก้นกล่องเพื่อทดสอบรอยต่อ
พับปิดก้นกล่องเพื่อทดสอบการปิดสนิท
ทดสอบการดึงเดือยเปิดฝากล่อง
ทดสอบรอยปรุการดึงช่องเปิดด้านหน้า
การพับฝากล่องขึ้นเพื่อทดสอบขนาดกราฟิก
58
เปิดฝากล่อง ดันใต้ฝาที่เป็นรอยปรุให้ยกขึ้น แล้วพับเข้าในกล่อง เพื่อทดสอบการมองเห็นของตราสินค้า
ทดสอบการบรรจุกล่อง inner 6 กล่อง
ทดสอบการพับขึ้นรูปเพื่อ Display
ทดสอบการดึง รอยปรุด้านหน้า กล่องเพื่อทดสอบ ความสะดวกในการ หยิบกล่องจาก ด้านล่าง ขึ้นมาได้ง่าย
59
ชุดต้นแบบบรรจุภัณฑ์สมุนไพรชาเชียงดา
60
การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์
บทที่
3