บทที่ 6 ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค
6.5 การออกแบบ กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ 6.5.1 บทบาทหน้าที่ของกราฟิก 6.5.2 องค์ประกอบของกราฟิกบรรจุภัณฑ์ 6.5.3 ระบบการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ 6.5.4 กฏระเบียบและข้อบังคับ ของกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์
การออกแบบกราฟิก •
การออกแบบกราฟิก หมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะ ส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้าง บรรจุภัณฑ์ ให้ สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจในอันที่จะ ให้ผลทางจิตวิทยา ต่อผู้อุปโภค บริโภค
การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ สามารถสร้างสรรค์ได้ 2 ลักษณะ
•
ลักษณะ 2 มิติ
•
ลักษณะ 3 มิติ
ลักษณะ 2 มิติ
•
ลักษณะ 2 มิติ เช่น บนพื้นผิวแผ่นราบของวัสดุ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะอาบดีบุก หรืออลูมิเนียม โฟม ฯลฯ ก่อนนำวัตถุต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบกัน เป็นรูปทรงของบรรจุภัณฑ์
ลักษณะ 3 มิติ
•
ลักษณะ 3 มิติก็อาจทำได้ 2 กรณีคือ ทำเป็นแผ่นฉลาก (label) หรือ แผ่นป้าย ที่นำไปติดบนแผ่นบรรจุภัณฑ์ประเภท rigid forms ที่ขึ้นรูป มาเป็นภาชนะบรรจุสำเร็จมาแล้ว หรืออาจจะสร้างสรรค์ บนผิวภาชนะ บรรจุ รูปทรง 3 มิติ โดยตรงก็ได้เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติกเป็นต้น
6.5.1 บทบาทหน้าที่ของกราฟิก
บทบาทหน้าที่ของกราฟิก •
บทบาทของกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความ สำคัญต่อการบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็น ส่วนประกอบที่สำคัญ นอกเหนือไปจากการบรรจุและ การป้องกันผลิตภัณฑ์โดยตรง ทำให้บรรจุภัณฑ์มีหน้าที่ เพิ่มขึ้นมา โดยที่ลักษณะกราฟิกบรรจุภัณฑ์และสลาก ได้แสดงบทบาทหน้าที่สำคัญ อันได้แก่
1. การสร้างทัศนคติที่ดีงามต่อ ผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต
2. การชี้แจงและบ่งชี้ให้ผู้บริโภค ทราบถึงชนิดประเภทของผลิตภัณฑ์
3. การแสดงเอกลักษณ์เฉพาะ
4. การแสดงสรรพคุณและวิธีใช้
การออกแบบกราฟิก บรรจุภัณฑ์แบ่งเป็นประเภท ต่างๆ ดังนี้
1. การออกแบบเป็นชุด (Package Uniform)
2. การเรียงต่อ เป็นภาพ ณ จุดขาย
3. การออกแบบ แสดงศิลปะท้องถิ่น
4. การออกแบบแบบ ของขวัญของที่ระลึก
6.5.2
องค์ประกอบของ กราฟิกบรรจุภัณฑ์
การเลือกใช้แบบอักษร (Fonts) •
การสื่อสารด้วยตัวอักษรที่แตกต่างและโดดเด่นอย่าง สม่ำเสมอ ครั้งแล้วครั้งเล่าจะช่วยประทับความทรงจำไว้ ในสมองผู้บริโภคโดยอัตโนมัติ
•
“การเลือกใช้แบบอักษรนั้น จะต้องพิจารณาความเหมาะ สมทั้งรูปทรง บุคลิก และอารมณ์ ”
การเลือกใช้แบบอักษร (Fonts)
Jae Dansie. October 4, 2012. Different fonts say different things https://litandscribbles.wordpress.com/2012/10/04/colors-fonts-and-photos/
ประเภทของตัวพิมพ์ (Typeface Classifications) การเลือกใช้ฟอนท์ให้มีประสิทธิภาพจะต้องทำความ เข้าใจคุณสมบัติอันแท้จริงของตัวพิมพ์แต่ละประเภท รูป ร่างหน้าตาบุคลิกของฟอนท์ รวมทั้งความสะดวกและความ เหมาะสมในการใช้งาน นอกจากนั้นยังต้องรู้จักเลือกใช้ ฟอนท์หลายแบบร่วมกันได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน
กลุ่มตัวพิมพ์แบบไม่มีเชิง (Sans Serif) ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ตัวอักษรเรียบงานดูสะอาดตา และประหยัดเนื้อที่ใน การเรียงพิมพ์ เหมาะกับการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่ต้องพิมพ์ อักษรขนาดเล็กบนพื้นที่อันจำกัด ตัวพิมพ์แบบ Sans Serif นี้จะช่วยให้งานพิมพ์ดูโปร่งตาหมึกพิมพ์จะไม่ทึบตัน บริเวณที่เป็นส่วนประดิษฐ์ของเชิง (Serif) แบบอักษรใน กลุ่มนี้ที่เป็นที่นิยมได้แก่ Helvetica
ABCabc
ประเภทของตัวพิมพ์ (Typeface Classifications)
https://untilsundaypost.wordpress.com/classification/
การจัดระยะตัวอักษร (Letter Spacing) •
การนำฟอนท์มาใช้ในการออกแบบชื่อตราสินค้าหรือชื่อ บริษัท การจัดช่องไฟ การปรับเปลี่ยนความสูง กว้าง และ รูปร่างของอักษรเพื่อช่วยชดเชยการเบี่ยงเบนสายตา และสร้างความราบรื่นในการอ่าน เป็นเรื่องที่ต้อง พิถีพิถันเป็นอย่างมาก
การจัดระยะตัวอักษร (Letter Spacing)
ความชัดเจนในการอ่าน (Legibility)
ภาพประกอบ (Illustration) •
ภาพที่ปรากฎบนบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นเรื่องสำคัญซึ่งนักออกแบบจะ ละเลยเสียมิได้ เพราะภาพนั้นมีบทบาทสำคัญทั้งในเรื่องการ ดึงดูดสายตา สร้างความแตกต่าง สิ่งเร้า และการจดจำ เพื่อให้ ง่ายต่อการพิจารณาเลือกใช้ภาพ เราอาจแบ่งประเภทของภาพ ประกอบออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ
•
ภาพถ่าย ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น คือ สื่อสารให้ผู้บริโภครู้สึกได้ว่า เป็นของจริง
•
ภาพวาดซึ่งได้เปรียบตรงที่สามารถสร้างขึ้นได้ตรงตามความคิด ความต้องการมากกว่า
ภาพประกอบ (Illustration)
ภาพถ่าย
ภาพวาด
สี (Color)
วงจรสี Color Wheel พื้นฐาน 12 สี
กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ สีขั้นที่ 1
กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ สีขั้นที่ 2
กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ สีขั้นที่ 3
ตราสินค้า (Brand)
•
ตราสินค้า (Brand) หมายถึง ชื่อ ข้อความ สัญลักษณ์หรือรูป แบบหรือสิ่งเหล่านี้รวมกัน เพื่อบ่งชี้ให้เห็นถึงสินค้า หรือบริการ ของผู้ขายหรือกลุ่มของผู้ขายที่แสดงความแตกต่างจากคู่แข่งขัน
6.5.3
ระบบการพิมพ์ บนบรรจุภัณฑ์
ระบบการพิมพ์ : 1. ระบบเล็ตเตอร์เพรส (letterpress) •
เป็นระบบการพิมพ์ที่ เก่าแก่ที่สุด มีกรรมวิธี การพิมพ์ที่ค่อนข้างช้า และใช้ในการพิมพ์ จำนวนน้อย ส่วนมาก นิยมใช้ในการพิมพ์ ฉลากบนวัสดุที่ทำจาก กระดาษสามารถใช้ พิมพ์บนกระดาษแข็ง และกระดาษลูกฟูก
ระบบการพิมพ์ : 2. ระบบเฟล็กโซกราฟฟี (flexography)
•
เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบเล็ตเตอร์เพรส นิยมใช้กันอย่างแพร่ หลายในแวดวง การพิมพ์ บรรจุภัณฑ์กระดาษ กระดาษแข็ง กระดาษ ลูกฟูก พลาสติกอ่อนและอะลูมิเนียมฟอยล์ ระบบนี้เหมาะสำหรับ กรรมวิธีสำหรับวัสดุอ่อนที่ใช้ ในกระบวนการผลิตเป็นม้วน ส่วนการ พิมพ์กระดาษลูกฟูกจะใช้พิมพ์บนกระดาษแผ่นเรียบก่อนแล้วจึงนำมาปิด ทับอีกครั้งโดยใช้กาว
ระบบการพิมพ์ : 3. กราเวียร์ (gravure)
•
ใช้ได้กับการพิมพ์บนวัสดุประเภทกระดาษฟอยล์ ฟิล์มพลาสติกหรือ วัสดุอ่อนที่มีพื้นผิวเรียบ เป็นระบบการพิมพ์ที่เหมาะสมสำหรับการ ผลิตที่ต้องการชิ้นงานจำนวนมาก และเป็นระบบที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง
ระบบการพิมพ์ : 4. ออฟเซ็ท (offset) หรือ ลิโทกราฟฟี (lithography)
•
เป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุดในการพิมพ์บรรจุภัณฑ์กระดาษ กระดาษ แข็ง และแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก ระบบออฟเซ็ทเป็นการพิมพ์วิธีเดียว สำหรับการพิมพ์แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก โดยสามารถใช้การพิมพ์ทั้ง แบบป้อนม้วนแผ่นวัสดุเข้าเครื่องและการพิมพ์แบบป้อนเป็นม้วน
ระบบการพิมพ์ : 5. ซิลค์สกรีน (silk screen)
•
ใช้ได้ทั้งการพิมพ์บนตัวบรรจุภัณฑ์โดยตรง เช่น ขวดแก้ว และการพิมพ์ ฉลากทั่วไป ซิลค์สกรีนเป็นระบบที่ค่อนข้างช้าและอุปกรณ์ที่ใช้มีราคาถูก แต่สามารถให้ผลงานที่มีคุณภาพดีเยี่ยม
ระบบการพิมพ์ : 6. ดิจิตัลพริ้นติ้ง (digital printing)
•
ด้วยการพัฒนารูปแบบการพิมพ์โดยอาศัยคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดการปฏิวัติในวงการ พิมพ์ฉลาก สัญลักษณ์และเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์ การพิมพ์ด้วยระบบนี้ใช้เครื่องหมาย แบบอิงค์เจ็ทและเลเซอร์ ซึ่งมีข้อดีคือ ตัดขั้นตอนในการทำเพลทและแยกสีออกไป สั่งงาน ด้วยซอฟท์แวร์และเทคนิคการทำงานระบบคอมพิวเตอร์สู่เพลท (direct computer toplate, CTP) ทำให้สามารถผลิตงานด้วยความรวดเร็วอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
การแบ่งประเภทของหมึกพิมพ์ตาม ระบบของการใช้งานมีดังนี้ •
ระบบเล็ตเตอร์เพรสและออฟเซ็ท ใช้หมึกพิมพ์ประเภท oil-based inks
• ระบบออฟเซ็ทแบบป้อนวัสดุเป็นม้วนใช้หมึกประเภท hot-set inks • ระบบกราเวียร์และเฟล็กโซกราฟฟี ใช้หมึกพิมพ์ประเภท liquid inks • ระบบเล็ตเตอร์เพรสแบบป้อนวัสดุเป็นม้วนและระบบซิลค์สกรีน ใช้ หมึกพิมพ์ประเภทที่มีคุณสมบัติกึ่งกลางระหว่างหมึกพิมพ์ประเภท oilbased และ liquid inks
6.5.4
กฏระเบียบและข้อบังคับ ของกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์
กฏระเบียบและข้อบังคับ ของกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ •
ข้อความ เครื่องหมาย รูป รอยประดิษฐ์ ที่แสดงไว้บนฉลากอาหาร ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อของภาชนะบรรจุ คือ คำจำกัดความของ ฉลาก ตามกฎหมายฉลากยังแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. ฉลากที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค 2. ฉลากที่จำหน่ายให้ผู้ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร 3. ฉลากที่จำหน่ายเป็นวัตถุดิบให้โรงงานผลิตอาหาร 4. ฉลากที่ผลิตเพื่อส่งออก
รายละเอียดที่ต้องแสดงบนฉลาก
•
1. ชื่ออาหาร ภาษาไทยต่อเนื่องกันในแนวนอน ตัวอักษรสีเดียวกัน ขนาดไม่เล็กกว่า 5 ม.ม. และต้องไม่เล็กกว่าชื่ออาหารภาษาต่าง ประเทศ แสดงว่า “ตรา” หรือ “เครื่องหมายการค้า” ตามด้วยชื่อตรา โดยคำว่าตราต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของชื่อตรา
2. เลขสารบบอาหาร ในเครื่องหมาย อย.
•
ขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของกรอบตัดกับสีพื้นของฉลาก
3. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า 3.
•
โดยระบุคำว่า “ ผลิตโดย ” หรือ “ นำเข้าและจัดจำหน่าย โดย และใน กรณีอาหารนำเข้าให้แสดงชื่อประเทศผู้ผลิตด้วย ”
4. ปริมาณสุทธิ
•
เป็นระบบเมตริก ถ้าเป็นอาหารผง แห้ง หรือก้อน ให้แสดงน้ำหนักสุทธิ ส่วนของเหลวให้แสดงเป็นปริมาตรสุทธิ และอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิด สนิท ถ้าแยกเนื้ออาหารออกจากน้ำได้ ให้แสดงน้ำหนักเนื้ออาหารด้วย
5. วันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ ควรบริโภคก่อน 5.
โดยมีคำว่า “ผลิต” หรือ “หมดอายุ” หรือ “ ควรบริโภคก่อน ” กำกับไว้ • อาหารที่เก็บได้ไม่เกิน 90 วัน ให้แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือ หมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน • อาหารที่เก็บได้เกิน 90 วัน ให้แสดงเดือนปีที่ผลิต หรือวัน เดือนปีที่หมดอายุ / ควรบริโภคก่อน • อาหารที่กำหนดให้ต้องแสดงวันเดือนปีที่หมดอายุ เช่นนม เปรี้ยว นมพาสเจอร์ไรส์ ขนมปัง ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์
6. ส่วนประกอบสำคัญ 6.
แสดงเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ • แสดงจากปริมาณมากไปน้อย • กรณีอาหารที่ต้องเจือจางก่อนบริโภค ให้แสดงส่วน ประกอบสำคัญเมื่อเจือจางหรือละลายแล้ว • อาหารที่ได้รับการยกเว้น เช่น ฟรุตคอกเทล ฟรุตสลัด ไม่ต้องแสดงส่วนประกอบสำคัญ
7. วิธีใช้ / วิธีบริโภค 8. คำแนะนำในการเก็บรักษา
9. ข้อความที่กำหนดให้แสดง •
ถ้ามีการใช้สิ่งเหล่านั้นเป็นส่วนประกอบ เช่น ใช้วัตถุกัน เสีย เจือสีธรรมชาติ เจือสีสังเคราะห์ ใช้เป็นวัตถุปรุง แต่งรสอาหาร หรือ แต่งรสเลียนธรรมชาติ ใช้เป็นวัตถุที่ ให้ความหวานแทนน้ำตาล ตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร และคำเตือนตามที่กำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์ บางประเภท เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาหารที่มีว่าน หางจระเข้ สุรา เป็นต้น
เครื่องหมายการค้า (Marks) เครื่องหมายการค้า หมายถึงโลโก้หรือตราสัญลักษณ์ที่ได้รับการจดสิทธิคุ้มครอง ตามกฎหมาย ซึ่งตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 มี 4 ประเภท คือ 1. เครื่องหมายการค้า ( Trademark) ใช้กำกับสินค้าเช่น Coke Pepsi 2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) ใช้กับธุรกิจบริการ เช่น ของการบินไทย 3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) ใช้รับรองคุณภาพสินค้าหรือบริการ ของผู้อื่น เชลส์ชวนชิม 4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) เป็นเครื่องหมายที่ใช้โดยบริษัท สมาคม หรือรัฐวิสาหกิจในเครือเดียวกัน เช่น Unilever หรือรูปช้างในตะกร้อของเครือ ปูนซีเมนต์ไทย
โลโก้ที่สามารถจดทะเบียนได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ • มีลักษณะบ่งบอกเฉพาะ • ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย • ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น
บาร์โค้ด (Barcode) บาร์โค้ด คือ เลขหมายประจำตัวสินค้า เพื่อบ่งบอกถึง ข้อมูลของสินค้า เช่น ราคา รสชาติ น้ำหนักหรือปริมาณ บรรจุ แหล่งผลิต เลขหมายเฉพาะนี้ จะถูกแปลงเป็นรหัส แท่ง ที่สามารถอ่านได้จากเครื่องแสกนได้อย่างถูกต้อง ระบบของบาร์โค้ดสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก คือ EAN (The European Article Numbering) ประเทศที่ใช้ระบบนี้ต้อง เป็นสมาชิกของ EAN สำหรับประเทศไทยจะอยู่ภายใต้ ความรับผิดชอบของ GS1 Thailand ภายใต้สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตัวเลขของบาร์โค้ดสำหรับ บรรจุภัณฑ์เพื่อขายปลีก จะมี 13 หลัก ดังนี้ 1. 885 : รหัสประเทศ 2. 1234 : รหัสโรงงานผลิต 3. 56789 : รหัสสินค้า 4. 8 : ตัวเลขตรวจสอบ
ในกรณีที่บรรจุภัณฑ์มีขนาดเล็ก ไม่สามารถพิมพ์บาร์โค้ดตัวเลข 13 หลักได้ ผู้ผลิตต้องขอรหัสสินค้า 4 หลัก จาก GS1 Thailand ได้ ซึ่งไม่ อนุญาตให้ไปออกเลขรหัสเอง รหัสบาร์โค้ดที่ขอใหม่ จะเหลือ 8 หลักเท่านั้น
หมายเลข 1 นี้เรียกว่า Logistic Variant (LV) ซึ่งเป็นเลขใดก็ได้จาก 1-8 แต่ แนะนำว่าควรใช้เลข 1 เพราะตัวเลขที่ตรวจสอบจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวเลข ข้างหน้า เพื่อพิสูจน์ว่าตัวเลขข้างหน้าถูกต้องหรือไม่ ตัวเลขตรวจสอบได้มาจาก การคำนวณซึ่งมีสูตรอย่างชัดเจน ผู้ใช้บาร์โค้ด คือผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค สามารถติดต่อให้ผู้ทำฟิล์มมาสเตอร์ (ต้นฉบับบเพื่อการพิมพ์) คำนวณตัวเลข ตรวจสอบให้ได้
ขนาดของบาร์โค้ด •
ขนาดบาร์โค้ดของบรรจุภัณฑ์ขายปลีก 13 และ 8 หลัก มีขนาดมาตรฐาน คือ ขนาด 37.29 X 25.91 มม. ซึ่ง สามารถลดและขยายขนาดได้ แนะนำว่าควรอยู่ในช่วง 80% ถึง 200% ขนาดที่เล็กกว่า 80% มักจะไม่ถูก ยอมรับจากตลาดต่างประเทศ เพราะสร้างปัญหาในการ แสกนบาร์โค้ด
•
ขนาดของบรรจุภัณฑ์ขายปลีกบาร์โค้ด 13 หลัก • เล็กสุด 80 %
: 29.83 มม. X 20.73 มม.
• ใหญ่สุด 200 %
: 74.58 มม. X 51.82 มม.
ขนาดของบรรจุภัณฑ์ขายปลีกบาร์โค้ด 8 หลัก • เล็กสุด 80 %
: 21.38 มม. X 17.01 มม.
• ใหญ่สุด 200 %
: 53.46 มม. X 42.62 มม.
ขนาดบาร์โค้ดของบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง 14 หลัก ขนาดมาตรฐานที่แนะนำ คือ • เล็กสุด 25 %
: 44.725 มม. X 22.30 มม.
• ใหญ่สุด 100 %
: 142.75 มม. X 32.00 มม.
ตำแหน่งของบาร์โค้ดของ บรรจุภัณฑ์ขายปลีก แบบหน่วยย่อย
ตำแหน่งของบาร์โค้ดของ บรรจุภัณฑ์ขายปลีกแบบรวมหน่วย
QR Code (Quick Response)
รหัสคิวอาร์ QR Code คือ บาร์โค้ดสองมิติชนิดหนึ่ง ที่ประกอบด้วยมอดูล Module สีดำเรียงตัว กัน มีสัณฐานสี่เหลี่ยม มีพื้นหลังสีขาว ที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนคิวอาร์ ในโทรศัพท์มือ ถือที่มีกล้อง และสมาร์ตโฟน เพื่อถอดข้อมูลในรูปข้อความ หรือโปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล และอื่นๆ ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลสินค้า
ปี 2552 นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่นชื่อว่า Takashi Murakami ได้ปฏิวัติ วงการ QR Code เมื่อได้ออกแบบ Image QR Code เพื่อโปรโมท โฆษณาชุด "SUPERFLAT FIRST LOVE" ของ Louis Vuitton จนทำให้ โฆษณาชุดดังกล่าวเป็นที่กล่าวขวัญและจดจำ
Super Flat First Love for LV by Takashi Murakami : http://youtu.be/XJLc8bddXrU
ประโยชน์ของ QR Code ในการ ช่วยทำการตลาด มี 8 ประการ •
1. ใช้ QR Code ในการบอกข้อมูลในการติดต่อกับ บริษัท
•
2. หมั่นสร้างเนื้อหาที่มีอยู่คุณภาพอยู่เสมอ
•
3. รู้กลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการให้ใช้งาน
•
4. วาง QR Code ให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด
ประโยชน์ของ QR Code • •
5. ใช้ QR Code แทนการหมุนโทรศัพท์ 6. ทำให้ QR Code สามารถใช้งานได้กับสมาร์ทโฟน ของทุกคน
•
7. ใช้ QR Code ในการนำเสนอส่วนลดต่างๆ
•
8. สร้าง QR Code ให้ดูน่าสนใจ
References •
ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2548). ออกแบบให้โดนใจ. สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. กรุงเทพ.
•
มยุรี ภาคลำเจียก (2557). บทความเรื่อง มาทบทวนการใช้ “บาร์โค้ด” กันเถอะ วารสารบรรจุภัณฑ์ไทย ปีที่ 24 ฉบับที่ 108 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557. กรุงเทพ.
•
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). 2546. องค์ประกอบของการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์. ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพ.
•
ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การออกแบบบรรจุภัณฑ์. (online) available : http://www.agro.cmu.ac.th/department/PKT/Packaging1.1/PACKAGINGLEARNING0-1.htm. [5/14/2552]
•
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. รหัสคิวอาร์. (online) available : http://th.wikipedia.org/wiki/รหัสคิวอาร์. [5 ธ.ค. 57] info@gomew.com. (2003). องค์ประกอบของการออกแบบ. (online) available : http://www.mew6.com/composer/ package/package_10.php. [5/14/2552]
•
toongpang. July 27, 2012. มารู้จัก QR Code กันเถอะ. (online) available : http://www.vcharkarn.com/varticle/ 43994. [5 ธ.ค. 57]
•
charathBank. 8 เคล็ดลับในการใช้ QR Code ช่วยทำการตลาด. (online) available : http://thumbsup.in.th/ 2012/05/tips-qr-code-marketing/. [5 ธ.ค. 57]
•
สุธาทร สุทธิสนธิ์. 27 กุมภาพันธ์ 2553. สร้างแบรนด์ให้โดดเด่นด้วย Image QR Code. (online) available : http:// www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9530000028461. [6 ธ.ค. 57]
Movies •
•
•
•
•
•
Solopress. เผยแพร่เมื่อ 13 พ.ค. 2014. Offset Lithographic Printing - How It Works Video | Presented by Solopress. (online) available : http://youtu.be/pNZb7CXUjs0. [5 ธ.ค.57] Consolidated Label. อัปโหลดเมื่อ 14 ธ.ค. 2011. Flexographic Printing: Technical Process. (online) available : http://youtu.be/vuGptR330VU. [5 ธ.ค.57] Iris Zhou. เผยแพร่เมื่อ 14 มิ.ย. 2013. Flexo Printing Machine, Paper Cup Printing Machine, Paper Cup Die Cutting Machine. (online) available : http://youtu.be/t46uqGqge4E. [5ธ.ค.57] janoschka prepress supplier. เผยแพร่เมื่อ 6 มี.ค. 2013. full process of rotogravure cylinder production by Janoschka. (online) available : http://youtu.be/5hb3EKQv4ic. [5ธ.ค.57] DaShenPrinting. อัปโหลดเมื่อ 14 พ.ค. 2011. Intermittent Rotary Letterpress Printing Machine (RH-300-R4C) - TAIWAN DA SHEN PRINTING MACHINE . (online) available : http://youtu.be/ tNUB4yLGO5E. [5ธ.ค.57] juan manuel gomez. เผยแพร่เมื่อ 16 มิ.ย. 2014. Superflat ~First Love~ for Louis Vuitton Takashi Murakami 2009. (online) available : http://youtu.be/XJLc8bddXrU. [5ธ.ค.57]