โครงงานพิเศษ ออ. ปี 2564 ตัวอย่างที่ 2 - Narusorn Mksl

Page 1

ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร Satisfication of customers using Pet Café in Dusit at Bangkok

ปฏิญญา สายสิญจน์ PATINYA SAISIN

โครงงานพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2563


ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร Satisfication of customers using Pet Café in Dusit at Bangkok

ปฏิญญา สายสิญจน์ PATINYA SAISIN

โครงงานพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2563

ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร


ชื่อโครงงานพิเศษ ชื่อ-นามสกุล ชื่อปริญญา ปีการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา

ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ปฏิญญา สายสิญจน์ คหกรรมศาสตรบัณฑิต 2563 อาจารย์นฤศร มังกรศิลา

คณะกรรมการการสอบโครงงานพิเศษได้ให้ความเห็นชอบโครงงานพิเศษฉบับนี้แล้ว

..........................................................................................................ประธานกรรมการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์)

......................................................................................................................กรรมการ (อาจารย์เกษม เขษมพุฒเรืองศรี)

.....................................................................................................................กรรมการ (อาจารย์นฤศร มังกรศิลา)

โครงงานพิเศษฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

.................................................................... (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัชญา แพมงคล) หัวหน้าสาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร วันที.่ ..............เดือน................พ.ศ. ..................

……………………………………………………… (อาจารย์ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล) คณบดีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ วันที่............เดือน.............พ.ศ. ................


ชื่อโครงงานพิเศษ ชื่อ นามสกุล ชื่อปริญญา สาขาวิชา คณะ ปีการศึกษา

ความพึงพอใจของผู้บริโภคทีใ่ ช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ปฏิญญา สายสิญจน์ คหกรรมศาสตรบัณฑิต อุตสาหกรรมการบริการอาหาร เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ 2563

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงที่ ส่งผลต่อการเข้าร้านของผู้บริโภคในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต ที่ส่งผลต่อ การเข้าร้านของผู้บริโภคในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคล เกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงที่ส่งผลต่อการเข้าร้านของผู้บริโภคในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่เข้ามาใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานครจำนวน 405 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, F-test ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ ระหว่าง 26 – 30 ปี ศึกษาอยู่ในระดับ การศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า อาชีพรัฐวิสาหกิจ และมีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท พฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า ประเภทการ เลือกใช้บริการ คือ สัตว์เลี้ยงภายในร้าน เหตุผลที่เลือกใช้บริการ คือ พบปะสังสรรค์ ช่วงเวลาที่ เลือกใช้บริการ 15.01 - 17.00 น. ช่องทางในการติดต่อกับทางร้าน คือ Facebook ความเหมาะสม ของราคาอาหารและเครื่องดื่มในการใช้บริการต่อครั้งอยู่ที่ 96 – 120 บาท และเหตุผลที่กลับมาใช้ซ้ำ คือ ประทับใจในการบริการ ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้ส ่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยผู้บริโภคมีความพึงพอใจในด้านกระบวนการ และด้ า นบุค ลากร มากที ่ ส ุด รองลงมา ได้ แ ก่ ด้ า นการสร้ า งและนำเสนอลั กษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คำสำคัญ: ความพึงพอใจ ผู้บริโภค คาเฟ่สัตว์เลี้ยง


Special project Author Degree Major program Faculty Academic Year

Satisfaction of customers using Pet Café in Dusit at Bangkok Patinya Saisin Bachelor of Home Economics Food Service Industry Home Economics Technology 2020

ABSTRACT The objective of this study were to study the satisfaction of customers using Pet Café in Dusit at Bangkok and service marketing mix was satisfaction level of customers using Pet Café in Dusit at Bangkok. A sample group was 405 customers who has used the service at Pet Café in Dusit at Bangkok,statistical technique was used in this study Data was analyzed by, percentage, mean, standard deviation, hypothesis tests for this study were t-test and value frequency (One-way Anova Analysis of Variance). The results of this study indicated that principally of the consumer are male who was between 26-30 years. They have a high vocational certificate or equivalent,worked as a state enterprises and received average salary 15,001-20,000 bath/month.The satisfaction of customers using Pet Café in Dusit at Bangkok using Pet Café in Dusit at Bangkok is Service selection type is pet in Pet Café,reason for choosing Pet Café is meeting,the service using at 15.01-17.00 am. Contact Pet Café customer using is Facebook, reasonable price for food and beverage for customer using 96-120 bath/time and reason for using service is service.The satisfaction of customers using Pet Café in Dusit at Bangkok using with marketing mix (7P’s) was at the high level when considerind each side, all high level that the satisfaction of customers focused on the process and people was ; the next on they focused on the physical evidence, product, promotion, price and place

Key Words: Satisfaction, Customers, Pet Café


กิตติกรรมประกาศ การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสติ กรุงเทพมหานคร เป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงงานพิเศษตามหลักสูตรปริญญาคหกรรมศาสตรบัณฑิต ได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้ศึกษาขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์นฤศร มังกรศิลา อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานพิเศษที่เสียสละเวลาอันมีค่า ให้คำปรึกษา แนะนำตลอดจนข้อคิดเห็นและมอบความรู้ทางด้านวิชาการ การวิเคราะห์ผลทางสถิติต่าง ๆ ขอบพระคุ ณ ผู ้ ช ่ วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ โพธิ ์ พฤกษานั นท์ และอาจารย์ เกษม เขษมพุ ฒเรื องศรี กรรมการสอบโครงงานพิเศษ ขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ อาจารย์ ดร.นุจรี บุรีรัตน์ คุณหทัยชนก วิบูลเจริญ และคุณศิริภัทร จันโทวาท ที่สละเวลาในการเป็น เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ ความครอบคลุมของ เนื้อหาและความถูกต้องในสำนวนภาษา ในการดำเนินการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาขอกราบขอบพระคุณ บิดา มารดา และบุคคลในครอบครัวทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนทั้ง กำลังใจและกำลังทรัพย์ ตลอดจนความห่วงใยอย่างไม่เคยขาดหาย สุดท้ายนี้ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณ คณาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้ความรู้ และประสิทธิ์ประสาทวิชาต่าง ๆ ทำให้ผู้ศึกษามี ความรู้ ความสามารถ ให้ ดำเนินงานการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดี และหากโครงงานพิเศษนี้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใดก็ ตาม ขอมอบความดีทั้งหมดให้แก่ทุกท่านที่กล่าวมา ปฏิญญา สายสิญจน์


สารบัญ หน้า บทคัดย่อ Abstract กิตติกรรมประกาศ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ บทที่ 1 บทนำ 1.1 ทีม่ าและความสำคัญของปัญหา 1.2 วัตถุประสงค์การศึกษา 1.3 สมมติฐานการศึกษา 1.4 ขอบเขตของการศึกษา 1.5 กรอบแนวความคิด 1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ 1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับด้านประชากรศาสตร์ 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7 P’s 2.4 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคาเฟ่แมว 2.5 งานวิจัยทีเ่ กี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดำเนินการ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

ก ข ค ง จ ฉ 1 1 2 2 2 4 5 5 6 6 7 9 14 20 25 25 26 27 27


สารบัญ (ต่อ) หน้า 3.5 สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล บทที่ 4 ผลการศึกษาและอภิปรายผล 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลส่วนบุคคล 4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการ ร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) 4.4 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการ ร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ 4.6 อภิปรายผล บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล 5.2 ข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ภาคผนวก ข ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ ภาคผนวก ค ผลตรวจสอบวัดคุณภาพเครื่องมือ ประวัติผู้ศึกษา

28 30 31 33 36 42

55 55 59 59 61 63 73 74 75 81 96


สารบัญตาราง ตารางที่

หน้า

4.1 จำนวนและค่าร้อยละของข้อมูลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน 4.2 จำนวนและค่าร้อยละของข้อมูลเกี่ยวกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 4.3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 4.4 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านผลิตภัณฑ์ 4.5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านราคา 4.6 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 4.7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านการส่งเสริมการตลาด 4.8 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านกระบวนการ 4.9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านบุคลากร 4.10 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านการสร้าง และนำเสนอลักษณะทางกายภาพ 4.11 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค ด้านเพศ

31 33 36 37 38 38 39 40 40 41

43


สารบัญตาราง (ต่อ) ตารางที่ 4.12 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้านอายุ 4.13 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา 4.14 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้านอาชีพ 4.15 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้านรายได้ต่อเดือน 4.16 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้านรายได้ต่อเดือนเปรียบเทียบรายคู่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 4.17 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้านรายได้ต่อเดือนเปรียบเทียบรายคู่ ด้านการส่งเสริมการตลาด 4.18 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้านรายได้ต่อเดือนเปรียบเทียบรายคู่ ด้านการส่งเสริมการตลาด 4.19 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ

หน้า 44

46

48

50

52

53

54

55


สารบัญภาพ ภาพที่ 2.1 เมนูภายในร้าน 2.2 ราคาเครือ่ งดื่ม 2.3 Facebook Fanpang ของทางร้าน 2.4 โปรโมชั่นพิเศษ 2.5 สต๊าฟของทางร้านจะเป็นคนคอยดูแลแมวและให้บริการแก่ลูกค้า 2.6 พนักงานภายในร้านมีหน้าที่ทั้งดูแลแมวและให้บริการลูกค้า 2.7 พนักงานให้บริการลูกค้ารวมไปถึงคอยช่วยเหลือแก่ลูกค้า 2.8 Caturday Cat Café 2.9 Makura Café 2.10 Mohu Mohu Café 2.11 Cat Café Healthy Juice 2.12 CatNip Café

หน้า 9 10 10 11 12 12 13 15 16 17 18 19


บทนำ บทที่ 1 1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา คาเฟ่แมวเป็นไอเดียที่เริ่มต้นที่ ประเทศไต้หวัน ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2541 คาเฟ่แมวเปิด ให้บริการที่ประเทศไต้หวัน เมืองไทเป ชื่อคาเฟ่ “Cat Flower Garden” จุดกำเนิดของร้านนั้นเกิด จากเจ้าของร้านพบแมวจรจัดและสุนัขจรจัดจำนวนหนึ่ง ด้วยความที่ครอบครัวของเจ้าของร้านคาเฟ่ แมวเป็นครอบครัวที่รักสัตว์ จึงเกิดความสงสารและได้รับแมวจรจัดและสุนัขจรจัดมาเลี้ยง เดิมทีตอน เปิดร้านครั้งแรกมีแมวเพียงแค่ 5 ตัว แต่ตอนนี้ได้มีจำนวนของสัตว์เพิ่มมากขึ้น คาเฟ่แมว Cat Flower Garden ได้มีการเปิดให้บริการมาแล้วถึง 18 ปี แต่ปัจจุบันทางร้านได้มีการเปลี่ยนชื่อร้าน เป็น Café & Cats 1998 และคาเฟ่แมวแห่งนีม้ ักจะถูกเรียกว่าเป็นคาเฟ่แมวแห่งแรกของโลก ทางร้าน จึงได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ไม่ใช่ ร้านในโลกที่มีสัตว์เลี้ยงในร้านกาแฟ แต่เป็ นร้านแรกที่ได้รับ รายงานจากสื่อมวลชนในวงกว้าง ว่าเป็นร้านแรกในโลกและได้มีชื่อเสียงขึ้นมา ร้านนี้ตั้งอยู่นอกสถานี Zhishan ในเขต Shilin เมืองไทเป โดยคาเฟ่แมวแห่งนีจ้ ะไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าใช้บริการ หรือ เรียกว่าค่าเข้าบริการ แต่จะมีกฎในการซื้อเครื่องดื่มหรือเบเกอรีในราคาที่ทางร้านนั้นได้กำหนดไว้เป็น ราคาขั้นต่ำ คาเฟ่แมวแห่งนี้ได้รับความนิยมอย่างมากจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เนื่องจากทางร้าน ได้ตอบสนองตามความต้องการของคนที่ไม่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ ปัจจุบันคาเฟ่สัตว์เลี้ยงนั้นได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศไม่ ว่าจะเป็นคาเฟ่แมว สุนัข นกฮูกและสัตว์ อื่น ๆ อีกมากมาย ในกรุงเทพก็ได้มีคาเฟ่ ชนิดนี้หลายแห่ง ธุรกิจนี้ได้มีการขยายตัว เป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว เพื่อ ตอบรับตามความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่ สามารถเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นของตนเองได้ มีการวิเคราะห์ถึงเบื้องหลังกระแสความสำเร็จของคาเฟ่แมว ว่า การอยู่กับสัตว์เลี้ยงสามารถสร้างความสุขทางจิตใจ และทำให้คลายเครียดลงเนื่องจากการเลี้ยง สัตว์หรือการเล่นกับสัตว์ จะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนผ่อนคลาย และยับยั้งการหลั่งฮอร์ โมน ความเครียด ซึ่งทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์จะมีระดับความดันโลหิตและอัตราการเต้นของ หัวใจต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้เลี้ยง แต่บรรดาคนรักสัตว์จำนวนมากโดยเฉพาะ ที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่มี อุปสรรคมากมายที่ไม่สามารถทำให้เลี้ยงสัตว์เลีย้ งเป็นของตัวเองได้ ได้แก่ ไม่มีเวลาในการดูแล ทำงาน ไม่เป็นเวลา ต้ องเดินทางบ่อยครั้ง งบประมาณในการเลี้ยงสัตว์น้อยเนื่องจากการเลี้ยงสั ตว์ได้มี


2

ค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เช่น ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น หรือ ที่อยู่อาศัยไม่เอื้ออำนวยต่อการ เลี้ยงสัตว์เนื่องจากอาศัยอยู่คอนโดหรือที่พักอาศัยที่ไม่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์เลี้ยง จากสาเหตุดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับ ความพึงพอใจของ ผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานครซึ่งผลการศึก ษาที่จะได้เป็น ประโยชน์แก่ผู้ประกอบการธุรกิจคาเฟ่แมว เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาการบริการโดย ใช้ส่วนประสมทางการตลาดให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค

1.2 วัตถุประสงค์การศึกษา 1.2.1 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงที่ส่งผลต่อการเข้าร้านของ ผู้บริโภคในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 1.2.2 เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้ บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต ที่ส่งผลต่อการเข้าร้านของผู้บริโภคในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 1.2.3 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงที่ส่งผลต่อการเข้าร้านของผู้บริโภคในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

1.3 สมมติฐานการศึกษา ผู้บริโภคที่มีข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้าน คาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานครแตกต่างกัน

1.4 ขอบเขตของการศึกษา ในการศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 1.4.1 ขอบเขตของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.4.1.1 ขอบเขตด้านประชากร ขอบเขตของการศึกษาครั้งนี้ จะศึกษาผู้เข้าใช้บริการร้านคาเฟ่ แมวในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เนื่องด้วยเป็นเขตที่มีโรงเรียนสถานศึกษาและสถานที่ทำงานเยอะ ที่มีประชากรอยู่ หนาแน่น มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มีความหลากหลายในการดำรงชีวิต ซึ่งผู้บริโภคค่อนข้างมี ความแตกต่างกันในการหาที่พักผ่อนและคลายเครียด จำนวนประชากรในเขตดุสิต เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยมีเพศชาย 48,615 คน เพศหญิง 41,154 รวมทั้งหมด 89,769 คน (สำนักบริหารการ ทะเบียน กรมการปกครอง, 2562)


3

1.4.1.2 ขอบเขตของกลุ่มตัวอย่าง เนื่องด้วยไม่ทราบจำนวนประชากรที่ เข้าใช้บริการร้านคาเฟ่ ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่แน่นอนการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจึงกำหนดค่าระดับความเชื่อมั่นที่ 95 % และค่า ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้คือ ±5 % โดยตารางกลุ่มตัวอย่างสำเร็จรูปแบบ ทาโร ยามาเน่ (Yamane) พบว่าจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ได้มีจำนวน 405 ตัวอย่าง (ธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2563) 1.4.2 ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่ที่ส่งผลต่อการเข้าร้านของผู้บริโภคในเขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ และด้านการสร้าง และนำเสนอลักษณะทางกายภาพ 1.4.3 ด้านระยะเวลา การศึ ก ษาครั ้ ง นี ้ ใ ช้ เ วลา 7 เดื อ น เริ ่ ม ต้ น ตั ้ ง แต่ เดื อ นเมษายน 2563 ถึ ง เดื อ น พฤศจิกายน 2563 1.4.4 ด้านสถานที่ การศึ ก ษาในครั้ ง นี้ มุ ่ ง ศึ ก ษาประชากรในเขตดุ สิ ต ที ่ม ีพ ฤติก รรมการเข้า ใช้บ ริการ ร้านคาเฟ่แมว


4

1.5 กรอบแนวความคิด

ตัวแปรต้น

ตัวแปรตาม

(Independent variable)

(Dependent variable)

ข้อมูลส่วนบุคคล 1. 2. 3. 4. 5. 6.

เพศ อายุ สถานะภาพ วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ปัจจัยส่วนประสม

ทางการตลาดบริการ 7P’s 1. ด้านผลิตภัณฑ์ 2. ด้านราคา 3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 4. ด้านการส่งเสริมทางการตลาด 5. ด้านบุคลากร 6. ด้านกระบวนการ 7. ด้านการสร้างและนำเสนอ ลักษณะทางกายภาพ

พฤติกรรมการเข้าใช้บริการ 1. โอกาสที่เลือกใช้บริการ 2. เหตุผลที่เลือกใช้บริการ 3. ช่วงเวลาที่เลือกใช้บริการ 4. ช่องทางในการติดต่อกับทาง ร้าน 5. โอกาสที่จะกลับมาใช้ซ้ำ


5

1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ 1.6.1 ความพึงพอใจ หมายถึง สภาวะจิตที่ปราศจากความเครียด เป็นความรู้สึกของบุคคล ในทางบวก ความชอบ ความสบายใจ ความสุขใจต่อสภาพแวดล้อมในด้านต่าง ๆ หรือเป็นความรู้สึกที่ พอใจต่ อ สิ ่ ง ที ่ ท ำให้ เ กิ ด ความชอบ ความสบายใจ และเป็ น ความรู ้ ส ึ ก ที ่ บ รรลุ ถ ึ ง ความต้ อ งการ (ลักษณวรรณ พวงไม้มิ่ง, 2545) 1.6.2 ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอ หรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้า หรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม (ชูชัย สมิทธิไกร, 2553) 1.6.3 ร้ า นคาเฟ่ หมายถึ ง ร้ า นกาแฟ หรื อ คาเฟ่ เป็ น ร้ า นประกอบกิ จ การเกี ่ ย วกั บ กาแฟ ลักษณะร้านแบบคาเฟ่นั้น เป็นการรวมรูปแบบระหว่าง "ภัตตาคาร" และ "บาร์" เข้าด้วยกัน โดยทั่วไปคาเฟ่จะไม่จำหน่ายเครื่องที่มีแอลกอฮอล์ จะเน้นไปที่เครื่องดื่มประเภท กาแฟ ชา หรือ ช็อกโกแลต และอาจมีอาหารว่าง ซุป แชนวิช ขนมอบและขนมหวานที่เสิร์ฟเคียงกับเครื่องดื่ม เช่น คาเฟ่สัตว์ 1.6.4 คาเฟ่แมว หมายถึง คาเฟ่รูปแบบหนึ่งที่มีแมวอยู่ในร้าน โดยที่ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ สามารถ รับประทานอาหาร เครื่องดื่ม โดยสามารถถ่ายรูปกับแมว ให้อาหารสำหรับแมวในร้านได้

1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อนำข้อมูลที่ได้นั้นมาเป็นแนวทางเพื่อปรับปรุงธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการของผู้บริโภค


บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการศึ ก ษาความพึ ง พอใจของผู ้ บ ริ โ ภคที ่ ใ ช้ บ ริ ก ารร้ า นคาเฟ่ ส ั ต ว์ เ ลี ้ ย งในเขตดุ สิ ต กรุงเทพมหานคร ผู้ศึกษาได้รวบรวมทฤษฎี แนวคิด เอกสารข้อมูลทั่วไป ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกรอบการศึกษา ดังนี้ 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ 2.2 ความรู้เกี่ยวกับประชากรศาสตร์ 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7P’s 2.4 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคาเฟ่ 2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ 2.1.1 ความหมายความพึงพอใจ คมสัน อินทะเสน และคณะ (2560) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกของ บุคคลที่ได้รับการตอบสนองจากการปฏิบัติงานและได้รับผลตอบแทนจนทำให้เกิดความสุขทำให้ บุคคลเกิดความรู้สึกกระตือรือร้นมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานเกิดขวัญและกำลังใจส่งผลให้มีงานมี ประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ จิราพร กำจัดทุกข์ (2552) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่เป็นการยอมรับ ความรู้สึกที่ยินดีความรู้สึกชอบในการได้รับบริการหรือได้รับการตอบสนองตามความคาดหวังหรือ ความต้องการที่บุคคลนั้นได้ตั้งไว้ สมบัตร บารมี (2551) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกเป็นสุขที่เกิด จาก ทัศนคติทางด้านบวกที่มีต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นทั้งจากภายในและภายนอกของปัจเจกบุคคล กชกร เป้าสุวรรณ และคณะ (2550) กล่าวว่า ความหมายของความพึงพอใจว่า สิ่งที่ควร จะเป็นไปตามความต้องการ ความพึงพอใจเป็นผลของการแสดงออกของทัศนคติของบุคคลอีกรูปแบบ หนึ่ง ซึ่งเป็นความรู้สึกเอนเอียงของจิตใจที่มีประสบการณ์ที่มนุษย์เราได้รับอาจจะมากหรือน้อยก็ได้ และเป็นความรู้สึกที่มีผลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นไปได้ทั้งทางบวกและทางลบ แต่ก็เมื่อได้สิ่งนั้นสามารถ ตอบสนองความต้องการ หรือทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ ก็จะเกิดความรู้สึกบวกเป็นความรู้สึก


7

ที่พึงพอใจ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าสิ่งนั้นสร้างความรู้สึกผิดหวังก็จะทำให้เกิดความรู้สึกทางลบ เป็ น ความรู้สกึ ที่ไม่พึงพอใจ กาญจนา อรุณสุขรุจี (2546) กล่าวว่า ความพึงพอใจของมนุษย์เป็นการแสดงออกทาง พฤติกรรมที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปร่างได้ การที่จะทราบว่าบุคคลมีความพึงพอใจ หรือไม่ สามารถสังเกตโดยการแสดงออกที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและต้องมีสิ่งเร้าที่ตรงต่อความ ต้องการของบุคคล จึงจะทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจ ดังนั้นการสิ่งเร้าจึงเป็นแรงจูงใจของบุคคลนั้น ให้เกิดความพึงพอใจในงานนั้น สรุปได้ว่าความพึงพอใจ หมายถึง สรุปความพึงพอใจ คือ การทำให้ความรู้สึกของบุคคล ที่ได้รับบริการในสิ่งที่ดีเป็นที่พอใจ ประทับใจ ตามที่ผู้รับบริการตั้งใจ ไว้หรือมากกว่าที่คิดไว้ การจะ ทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจได้ หน่วยให้บริการต้องวางระบบโครงสร้างที่ดีสอดคล้องสั มพันธ์กันทุก ฝ่าย เช่น ด้านเครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทันสมัย ด้านบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าใจในหมีหน้าที่ และต้องมีใจรักใน การให้บริการ ด้านสถานที่สะอาดพื้นที่เหมาะสมกับการให้บริการ มีความเชื่อมั่น และมั่นใจเมื่อมารับบริการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งจากองค์ประกอบอีกหลาย ๆ ด้านที่ จะนำไปสู่จุดสูงสุดในเรื่องความพึงพอใจ

2.2 แนวคิดเกี่ยวกับด้านประชากรศาสตร์ ประชากรศาสตร์ (Demography) หมายถึง แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับประชากรมีรากฐานของ คำศัพท์ภาษากรีก มาจากคำว่า “Demo” หมายถึง “People” ที่แปลว่า ประชากร หรือประชาชน และ คำว่า “Graphy” หมายถึง “Description” มีความหมายว่า ลักษณะ ซึ่งการนำคำศัพท์ทั้งสอง มารวมกัน ก็จะได้ความหมายว่า วิชาที่เกี่ยวกับ ประชากรศาสตร์ (Demography) เป็นศาสตร์ที่ศึกษา ลักษณะและคาดการณ์จำนวนประชากร ได้แก่ การเกิด การเจ็บป่วย การแต่งงาน การเจริญพันธุ์ การ ย้ายถิ่น และการตาย ปัญญา และการวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analytics and Intelligence) เป็น ศาสตร์ที่บูรณาการสามศาสตร์ คือ หนึ่ง สถิติ/คณิตศาสตร์ สอง วิทยาการคอมพิวเตอร์/ระบบและ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสาม บริหารธุรกิจ เพื่อแปลงข้อมูลสู่สารสนเทศและปัญญาทางธุรกิจที่ นำไปสู่ปัญญาในการแข่งขัน (Competitive Intelligence) และความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ (Business Competitive Advantage) (กุมโชค ติณสูลานนท์, 2560) กุมโชค ติณสูลานนท์ (2560) กล่าวว่า ประชากรศาสตร์ (Demography) หมายถึง การ จำแนกบุคคลออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามลักษณะประชากร (Demographic Characteristics) ได้แก่ อายุ เพศ สถานทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา สถานภาพสมรส เป็นต้น ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วน แล้วแต่ส่งผลต่อความต้องการที่แสดงออกต่อ พฤติกรรมทั้งสิ้น ดังนั้น พฤติกรรมการตัดสินใจของ ผู้บริโภค จะต้องอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ ทางประชากรศาสตร์เป็นแนวทางในการศึกษา เนื่องจาก


8

ปัจจัยของบุคคลหนึ่งแตกต่างกันตามลักษณะ ประชากรศาสตร์ ถือเป็นพื้นฐานในการกำหนดในการ ตัดสินใจของผู้บริโภคแตกต่างกัน และเป็นตัวชี้วัดด้านประชากรศาสตร์ที่มีความง่าย ชัดเจน และ สะดวกต่อการแบ่งกลุ่ม ดังนี้ 1) อายุ (Age) ผลิตภัณฑ์สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุแตกต่างกัน นักการ ตลาดจึงใช้ประโยชน์จากอายุเป็นตัวแปรด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างของส่วนการตลาด นักการ ตลาดสามารถใช้ประโยชน์จากการแบ่งแยกอายุของผู้บริโภคในการกำหนด หรือศึกษาความ ต้องการ ในสินค้าของผู้บ ริโภคได้ เนื่องจากอายุมีความต้อ งการเลือกซื้อสินค้า ที่มีความจำเป็นต่อสินค้า ที่ แตกต่างกัน หรือบริโภคสินค้าที่แตกต่างกัน เช่น วัยเด็กมีความต้องการของสินค้าต่างจากผู้สูงอายุ 2) เพศ (Sex) ผู ้ ห ญิ ง และผู ้ ช ายมี ค วามชอบ ทั ศ นคติ แ ละความคิ ด ที ่ แ ตกต่ า งกั น ทำให้ ว ิ ธ ี ก ารที่ นักการตลาดจะใช้กับผู้หญิงและผู้ชายไม่ เหมือนกัน แต่ในปัจจุบันเรื่องเพศเปลี่ยนไปในทางที่ซับซ้อน มาก ยิ่งขึ้นทำให้ค่านิยม ความคิด วิธีคิด วิธีการตัดสินใจและทัศนคติที่แตกต่างกันในการเลือกซื้อ สินค้า 3) สถานภาพสมรส (Marital Status) ประเภทของสภาพสมรสจะมีผลต่อการตัดสิน ใจของบุคคล เนื่องจากวิธีคิด ทัศนคติ ความจำเป็น หรือแนวทางการตัดสินใจ หรือบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความคิด ของบุคคลจะมีความ แตกต่างกัน ตามสภาพสมรส เช่น บุคคลสถานภาพโสดจะมีอิสระทางความคิด สามารถตัดสิน ใจได้ ด้วยตัวเองเพียง ลำพัง การตัดสินใจต่าง ๆ ได้อิสระและใช้เวลาน้อยกว่าคนที่สมรสแล้ว เป็นต้น 4) รายได้ การศึกษา และอาชีพ (Income, Education and Occupation) เป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดส่วนของตลาด โดยใช้เกณฑ์ด้านรายได้ ซึ่งการเลือกซื้ อ สินค้าอาจจะมาจากรูปแบบของการดำรงชีวิต อาชีพ การศึกษา รสนิยมส่วนตัว เป็นต้น เพื่อให้ สามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น กลุ่มรายได้เกี่ยวกับเกณฑ์อายุ เละ อาชีพร่วมกัน เป็นต้น ฉลองศรี พิม ลสมพงศ์ (2548) ได้กล่าวถึง ความหมายของปั จจั ยทางประชากรศาสตร์ (Demographic Factor) หมายถึงลักษณะของประชากรได้แก่ขนาดขององค์ประกอบของครอบครัว เพศ อายุ การศึกษาประสบการณ์ระดับรายได้อาชีพเชื้อชาติสัญชาติซึ่งโดยรวมแล้วจะมีผลต่อรูปแบบ ของอุปสงค์


9

2.3 แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7P’s 7P’s เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ Philip Kotler ได้วางไว้เป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการ ซึ ่ ง ใช้ ส ่ ว นประสมการตลาด (Marketing Mix) หรื อ 7P’s ที ่ ต ่ อ ยอดมาจาก 4P’s มาใช้ ก ำหนด กลยุทธ์การตลาด ซึ่งประกอบด้วย กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product Strategy) กลยุทธ์ด้านราคา (Price Strategy) กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย (Place Strategy) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategy) กลยุ ท ธ์ ด ้ า นบุ ค ลากร (People) กลยุ ท ธ์ ด ้ า นกระบวนการ (Process Strategy) แ ล ะ ก ล ย ุ ท ธ์ ด ้ า น ก า ร ส ร ้ า ง แ ล ะ น ำ เ ส น อ ล ั ก ษ ณ ะ ท า ง ก า ย ภ า พ ( Physical Evidence/Environment and Presentation) ซึ่งนำมาวิเคราะห์ธุรกิจต่อได้ (วิเชียร วงศ์ณิชชากุล, 2550)

ภาพที่ 2.1 : เมนูภายในร้าน ที่มา : Edt eatguide (2557) 1) กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product Strategy) เป็นสิ่งที่เสนอขายเพื่อตอบสนองต่อความ ต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย โดยผลิตภัณฑ์นั้นอาจจะมีตัวตน สามารถมองเห็น จับต้อง หรือ ทดลองชิมได้ เช่น สินค้า หรืออาจจะไม่มีตัวตน เช่น บริการ ความคิด เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่จะประสบ ความสำเร็จในตลาดจะต้องมีรูปแบบ ลักษณะคุณภาพ และคุณสมบัติอื่น ๆ ตรงตามความต้องการ ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย สามารถกล่าวได้ว่าผลิตภัณฑ์เป็นองค์ประกอบตัวแรกใน 4P’s หรือส่วน ประสมทางการตลาดที่ลูกค้าให้ความสนใจในการเลือกซื้อ


10

ภาพที่ 2.2 : ราคาเครื่องดื่ม ที่มา : Edt eatguide (2557) 2) กลยุทธ์ด้านราคา (Price Strategy) เป็นสิ่งที่กำหนดมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของ เงินตราหรือมูลค่าที่ยอมรับในการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ ซึ่งการกำหนดราคาขึ้นอยู่กับปัจจัย สำคัญหลายประการ คือ ต้องให้เหมาะสมกับต้นทุนค่าใช้จ่ายของผู้ขาย ความสามารถในการซื้อของ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทางการตลาด เช่น คู่แข่งขัน กฎหมายข้อบังคับต่าง ๆ เป็นต้น

ภาพที่ 2.3 : Facebook Fanpang ของทางร้าน ที่มา : Edt eatguide (2557) 3) กลยุ ท ธ์ ด ้ า นการจั ด จำหน่ า ย (Place Strategy) เป็ น กระบวนการในการเคลื ่ อ นย้ า ย ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือตลาดเป้าหมาย ซึ่งมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัด จำหน่ายหรือการกระจายสินค้า ได้แก่ การขนส่ง การคลังสินค้า การเก็บรักษาสินค้า การบริหารสินค้า คงเหลือ เป็นต้น โดยอาจมีการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการผ่านสถาบันคนกลางต่าง ๆ เช่น พ่อค้า


11

ปลีก พ่อค้าส่ง ตัวแทนจำหน่ายหรือนายหน้า เพื่อทำให้การจัดจำหน่ายสินค้าดี ขึ้น อย่างไรก็ตามใน การจัดจำหน่ายจะต้องมีการวางแผนที่รัดกุมว่าจะวางจำหน่ายสินค้าที่ไหน เมื่อไหร่ ผ่านคนกลางคือ ใคร จะใช้วิธีการขนส่งแบบไหนจึงจะประหยัด สะดวก รวดเร็ว จะเก็บรักษาสินค้าอย่างไรจึงจะ เหมาะสม เป็นต้น

ภาพที่ 2.4 : โปรโมชั่นพิเศษ ที่มา : Edt eatguide (2557) 4) กลยุ ท ธ์ ด ้ า นการส่ ง เสริ ม การตลาด (Promotion Strategy) การส่ ง เสริ ม การตลาด เป็นกลยุทธ์ที่ต้องการส่งเสริมการตลาดไปยังลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เช่น การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา การส่งเสริมด้านการขาย เป็นต้น


12

ภาพที่ 2.5 : สต๊าฟของทางร้านจะเป็นคนคอยดูแลแมวและให้บริการแก่ลูกค้า ที่มา : Edt eatguide (2557) 5) กลยุทธ์ด้านบุคลากร (People) ในธุรกิจการบริการนัน้ เป็นไปไม่ได้เลยทีจ่ ะไม่มบี ุคลากรที่ให้ การบริการเหล่านั้น เกี่ยวข้องกับการจัดการบุคลากรหรือคน ซึ่งเกี่ยวข้องกับลูกค้าโดยตรง ทำให้ พนักงานจำเป็นต้องมีการปฏิสัมพันธ์ลูกค้า ซึ่งต่างสินค้าที่คนส่วนใหญ่จะอยู่ในขบวนการผลิตไม่ได้ ออกมาพบลูกค้าเหมือนกับการบริการ ดังนั้นการคัดเลือกคนที่เหมาะสมและฝึกอบรมอย่างดีเป็นสิ่งที่ สำคัญอย่างมากในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

ภาพที่ 2.6 : พนักงานภายในร้านมีหน้าที่ทั้งดูแลแมวและให้บริการลูกค้า ที่มา : Edt eatguide (2557) 6) กลยุทธ์ด้านกระบวนการ (Process) กระบวนการในการให้บริการ โดยเป็นหัวใจสำคัญอีก ประการสำหรับการให้บริการ คือขั้นตอนการให้บริการต้องมีมาตรฐานที่ชัดเจน เพื่อพนักงานจะได้ เข้าใจขั้นตอนการให้บริการได้อย่างถูกต้องชัดเจน ว่าต้องทำอะไร อย่างไร ที่จะสามารถตอบสนอง


13

ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว การออกแบบกระบวนการทำงาน ถ้าออกแบบดี ๆ รวมถึงการ เขียนคู่มือในการทำงาน แล้ วสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพนักงานโดยแต่ละคนอาจทำงานได้ หลายอย่าง เช่น พนักงานเสิร์ฟร้านอาหารสามารถรับออเดอร์ เช็ดโต๊ะ จัดโต๊ะ

ภาพที่ 2.7 : พนักงานให้บริการลูกค้ารวมไปถึงคอยช่วยเหลือแก่ลูกค้า ที่มา : Edt eatguide (2557) 7) กลยุ ท ธ์ ด ้ า นการสร้ า งและนำเสนอลั ก ษณะทางกายภาพ (Physical Evidence and Presentation) เป็นแสดงให้เห็นถึงลักษณะทางกายภาพแลการนำเสนอให้กับลูกค้าให้เห็นเป็น รูปธรรมพยายามสร้างคุณภาพโดยรวมทั้งทางด้ายกายภาพและรูปแบบการให้บริการเพื่อสร้างคุณค่า ให้กับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นด้านการแต่งกายสะอาดเรียบร้อย การเจรจาต้องสุภาพอ่อนโยนและการ ให้บริการที่รวดเร็ว หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ลูกค้าควรได้รับ สรุปได้ว่า เนื่องจากสภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ และการแข่งขันทางการค้าที่เข้มข้นและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ นักการตลาดสมัยใหม่จำเป็นต้องปรับปรุง การดำเนินงานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านการตลาดให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ในอดีต องค์กรธุรกิจต่าง ๆ อาจมีแนวความคิดเน้นหนักทางการขายอย่างเดียว โดยจะเริ่มต้นจากสินค้าที่มีอยู่ หรือการผลิตสินค้าที่สามารถผลิตได้ แล้วใช้วิธีการส่งเสริมการขายต่าง ๆ เพื่อขายสินค้าที่มีอยู่ให้ได้ ยอดขายหรือกำไรสูงสุด แต่ในปัจจุบันการเน้นหนักด้านการขายอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะประสบ ความสำเร็จได้ ต้องอาศัยแนวความคิดทางด้านการตลาดเข้ามาแทนที่ โดยในแนวทางความคิดด้าน การตลาดองค์กรธุรกิจต่าง ๆ จะเริ่มต้นจากลูกค้าที่มีอยู่ และลูกค้าที่มีแนวโน้มว่าจะซื้อสินค้าของ กิจการค้นหาความต้องการของลูกค้าแล้วพัฒนากิจกรรมทางการตลาดให้เหมาะสม และผลิตสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้านั้นในขณะเดียวกันกับการทำให้เป้าหมายของกิจการบรรลุผล หรือได้กำไรตามที่ต้องการและเป็นที่พอใจของลูกค้าด้วย โดยต้องมีการวางแผนงานทางด้านการ


14

บริหารอย่างรัดกุม ไม่ใช่คำนึงถึงแต่การตลาดเท่านั้นหากต้องมีการประสานงาน ร่วมมือกันเป็นอย่างดี กับฝ่ายอื่น ๆ ในกิจการ และต้องคำนึงถึงหัวใจสำคัญของการตลาด โดยเฉพาะส่วนประสมทาง การตลาดทั้ง 4 ประการ

2.4 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคาเฟ่แมว ตามข้อมูลของสมาคมพิทักษ์สัตว์ คาเฟ่สัตว์เริ่มจากคาเฟ่แมวในออสเตรีย แต่ต้องปิดไป ระหว่างเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากนั้น คาเฟ่แมวมาเปิดอีกครั้งในไต้หวัน และเริ่มได้รับความ นิยมในญี่ปุ่น จนมาถึงไทยที่นอกจากแมวแล้ว ยังมีการนำสัตว์อื่น ๆ เช่น กระต่าย หรือสัตว์ป่าต่างถิ่น เข้ามาเลี้ยงด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีคาเฟ่เปิดทำการเพิ่มมากขึ้นแต่ก็ยัง ไม่มีข้อมูลบันทึกว่าคาเฟ่ในไทย ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า มีกี่แห่ง เพราะผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า บางแห่ง เจ้าของไม่ไปจดทะเบียนกับทางการ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี หรือหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบ จึงทำให้ ควบคุมได้ยาก ทั้งเรื่องสวัสดิภาพ ความเป็นอยู่ของสัตว์ และที่สำคัญที่ สุด คือสุขภาพอนามัยของ ลูกค้าที่เข้าไปเล่นกับสัตว์ ที่ขาดการควบคุมดูแล ไม่เหมือนคาเฟ่สัตว์บางแห่งในต่างประเทศที่กำหนด ชั ด เจน เช่ น ห้ า มเด็ ก เล็ ก เข้ า ไปเล่ น กั บ สั ต ว์ คาเฟ่ น ั ้ น เรี ย กได้ ว ่ า มี ก ารแพร่ ก ระจายไปใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเนื่องจากได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับคนรักสัตว์ และราคาค่าเข้า คาเฟ่แมวก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย เรียกได้ว่าราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 199 บาท ไปจนถึง 350 บาทและ บางคาเฟ่จะไม่มีการเรียกเก็บค่าเข้าใช้บริการ แต่จะบังคับในการซื้อเครื่องดื่มและอาหารต่อบุคคล


15

คาเฟ่แมวที่ได้รับความนิยม 5 แห่งในกรุงเทพมหานคร

ภาพที่ 2.8 : Caturday Cat Café ที่มา : Edt eatguide (2557) 1) Caturday Cat Café Caturday Cat Café ภายในร้านตกแต่งอย่างน่ารักและมีน้องแมวหลากหลายสายพันธุ์ที่จะ เดินเล่นไปมาอย่างอิสระ สามารถถ่ายรูปและเล่นกับน้องแมวได้ แต่มีกฎคือห้ามอุ้มแมวนอกจากนี้ยังมี บริการขนม เครื่องดื่มให้กินกันแบบชิล ๆ ด้วย ที่อยู่ : โครงการ Coco Walk ถ.พญาไท ตรงข้ามโรงแรมเอเซีย กทม. โทรศัพท์ : 02-656-5247 เวลาเปิด – ปิด : วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 11.00 – 21.00 น. (ปิดวันจันทร์) วันอังคาร-วันศุกร์ 12.00 – 21.00 น.


16

ภาพที่ 2.9 : Makura Café ที่มา : Painaidii สารพันคำถาม “ไปไหนดี ที่ไหนดี อะไรดี “เรามีคำตอบ (2557) 2) Makura Café Makura Café ที่ได้ชื่อว่าเป็น คาเฟ่แมวป่วน และซนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระวัง กระเป๋าคุณไว้ให้ดี ๆ เพราะอาจโดนน้องแมวยึดเป็นบ้าน เรียกได้ว่าเป็นร้านเล็ก ๆ บรรยากาศกันเอง แต่น้องแมวมีจำนวนมาก ที่อยู่ : ซอยศรีนครินทร์ 51 อยู่ตรงทางเข้าตลาดนัดรถไฟศรีนครินทร์ กทม. โทรศัพท์ : 087-087-6080 เวลาเปิด – ปิด : วันจันทร์ 12:00 – 21:00 น. วันอังคาร ปิด วันพุธ 12:00-22:30 น. วันพฤหัสบดี 12:00-21:00 น. วันศุกร์-วันอาทิตย์ 12:00-22:30 น.


17

ภาพที่ 2.10 : Mohu Mohu Café ที่มา : หมวดหมี (2561) 3) Mohu Mohu Cafe’ Mohu Mohu Cafe’ ขึ้นชื่อว่าเป็นคาเฟ่แมวที่สะอาดมาก เพราะว่าทางร้านนี้จะมีการ แบ่งโซนที่ชัดเจนมาก ส่วนของการทานอาหารและโซนของน้องแมว จะมีในส่วนของขนมและ เครื่องดื่มให้บริการ ราคาไม่แพง น้องแมวทุกตัวในร้านเป็นมิตร เข้ามาอ้อนและแมวแต่ละตัว คือ อ้วน และตัวใหญ่น่ากอดมาก เพื่อน ๆ คนไหนชอบแมวอ้วนร้านนี้ไม่ผิดหวังค่ะ คาเฟ่แมวแห่งนี้มีการเก็บ แมวจรมาเลี้ยงจำนวน ที่อยู่ : 105/5 ถนนนเรศ แขวง สีพ่ ระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน ยกเว้นวันอังคาร 12:00 - 20:00 น. โทรศัพท์ : 082 362 6206 Facebook : Mohu Mohu Cafe’


18

ภาพที่ 2.11 : Cat Café Healthy Juice ที่มา : Urban Creature (2560) 4) Cat Cafe Healthy Juice Cat Cafe Healthy Juice เป็นคาเฟ่น้องแมวย่านรังสิตที่มีแมวมากกว่า 40 ตัว มีหลากหลาย สายพันธุ์ ทุกตัวสามารถอุ้มเล่นได้อย่างใกล้ชิด ขี้อ้อน แถมยังไม่จำกัดเวลาอีกด้วย บรรยากาศร้าน อบอุ ่ น ธรรมชาติ มี ก ารให้ บ ริ ก ารอาหารและเครื ่ อ งดื ่ ม ให้ เ ลื อ กทานแบบหลากหลาย จะมีอะไรดีไปกว่าได้เล่นกับแมว และได้ทานอาหารและเครื่องดื่ม ที่อยู่ : 300/241 พหลโยธิน 87 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา ปทุมธานี 12130 เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน ยกเว้นวันอังคาร 11:30 - 20:30 น. โทรศัพท์ : 089 683 4891 Facebook : Cat Cafe Healthy Juice


19

ภาพที่ 2.12 : CatNip Café ที่มา : Pet Hipster (2556) 5) CatNip Cafe' CatNip Cafe' เป็นคาเฟ่แมวที่มีบรรยากาศภายในร้านอบอุ่นมากมีดนตรีเปิดคลอ ฟังสบาย เจ้าของร้านเป็นกันเอง บริการดี น้องแมวมีหลากหลายสายพันธุ์ แมวไม่ตื่นคน ขี้อ้อน ร้านนี้ยังขึ้นชื่อ ในเรื่องของอาหารด้ว ย มีทั้งอาหารคาว ขนมเค้ก และรับทำเค้กในวันสำคัญ ๆ ด้วยนะ เครื่องดื่ม ไอศกรีม ที่อยู่ : ซอยนราธิวาส ถนนราธิวาสราชนครินทร์ 8 สาทร กรุงเทพมหานคร 10120 เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน ยกเว้นวันพุธ 11:00 - 19:00 น. โทรศัพท์ : 089 665 6425 Facebook : CatNip Cafe'


20

2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อรประภา ปัจจัย (2561) ศึกษาเรื่อง กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของ ผู้ประกอบการร้านคาเฟ่หมาใหญ่ใจดีในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา 1) ลักษณะของการดำเนินธุรกิจร้านคาเฟ่หมาใหญ่ใจดี 2) สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันและ 3) กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษา จากผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจ ร้านคาเฟ่หมาใหญ่ใจดีในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานครและเก็บ รวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจใน การดำเนิน การจำนวนลูกค้า จำนวนคู่แข่ง ต้นทุนค่าเช่า รูปแบบกิจการเจ้าของคนเดียว รูปแบบ สินค้าที่ให้บริการจะมีเครื่องดื่มและอาหาร กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีความ หลากหลาย 2) ผลกระทบที่เกิดจากสภาพแวดล้อมด้าน ผู้มีศักยภาพใหม่สินค้าทดแทนอำนาจการ ต่อรองของผู้ซื้อ 3) ใช้กลยุทธ์การแข่งขันด้วยการสร้างความแตกต่าง กลยุทธ์มุ่งเน้นต้นทุนต่ำ กลยุทธ์ มุ่งเน้นการบริการที่รวดเร็ว ผลการศึกษาข้อสรุปและข้อเสนอแนะของการศึกษา ครั้งนี้สามารถ นำไปใช้เป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจร้านคาเฟ่สุนัขหรือธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกัน กรวิกา ตระการวิจิตร (2560) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่แมวใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในปัจจุบันกระแสการนั่งรับประทานอาหาร ขนม เครื่องดื่มในร้าน ที่ตกแต่งสวยมีสไตล์ บรรยากาศดี นัดพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงในร้านที่มีสไตล์ดังกล่าวแทนการนัด พบในร้านตาม ห้างสรรพสินค้ากำลังเป็นที่นิยม ประกอบกับคนรุ่นใหม่พักอาศัยในคอนโดมิเนียมมาก ขึ้น ซึ่งมีข้อจำกัดในการมีสัตว์เลี้ยง ด้วยสถานที่ไม่กว้างขวาง ไม่สามารถส่งเสียงดังได้ จึงไม่เอื้ออำนวย ต่อการเลี้ยงสัตว์ หรื ออาศัยในอพาร์ทเมนต์ที่ไม่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ จึงไม่มีโอกาสที่จะเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงเป็นของตนเอง ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดที่จะนำเอาคาเฟ่มารวมกับสัตว์เลี้ยงเป็นการผสมผสาน ระหว่างธุรกิจร้านอาหารกับธุรกิจสัตว์เลี้ยงเข้าด้วยกัน โดยสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายเสมือนอยู่บ้าน ผู ้ ใ ช้ บ ริ ก าร สามารถนั ่ ง รั บ ประทานขนม เครื ่ อ งดื ่ ม ไปพร้ อ ม ๆ กั บ เล่ น กั บ สั ต ว์ เ ลี ้ ย งในร้ า นได้ ทำให้คาเฟ่สัตว์เลี้ยงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาเฟ่แมวซึ่งเป็นสัตว์ที่กำลังได้รับ ความนิยมเห็นได้ จากยอดผู้ติดตามในเพจแมวต่าง ๆ มีจำนวนมากขึ้น เช่น เพจทูนหัวของบ่าว Kingdom of Tiger ที่มียอดผู้ติดตามมากถึง 3 ล้านคน ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นว่าคนไทยในปัจจุบัน สนใจสัตว์เลี้ยงอย่างแมวมากขึ้น งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้ บริการร้านคาเฟ่แมวใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้ปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ต่อเดือน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ปัจจัยด้านราคา (Price) ปัจจัยด้านช่องทางจัดจำหน่ าย (Place) ปัจจัยด้านการ ส่งเสริม การตลาด (Promotion) ปัจจัยด้านบุคคล (People) ปัจจัยด้าน กระบวนการ (Process) ปัจจัยกลยุทธ์ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (Physical


21

Evidence/Environment and Presentation) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุง สินค้าและ บริการของร้านคาเฟ่แมวให้ตรงตามความต้องของผู้บริโภค รวมถึงเป็นข้อมูลสำหรับงานวิจัยต่อยอด ในอนาคต เพื่อกำหนดขอบเขตของงานวิจัยฉบับนี้ โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มคนที่ เคยใช้บริการร้าน คาเฟ่แมวที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถาม จำนวน 404 ชุด ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่แมว ในเขตกรุ ง เทพมหานครและปริ ม ณฑล ได้ แ ก่ ปั จ จั ย ด้ า นบุ ค ลากรและปั จ จั ย ด้ า นกระบวนการ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการออกแบบตกแต่งร้านและแผนที่ร้าน ปัจจัยด้านผลิตภั ณฑ์สำหรับแมว และสินค้าที่ระลึก ปัจจัยด้านสถานที่ และการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านรายการอาหารและ จำนวนของแมวในขณะที่ปัจจัย ด้านสายพันธุ์แมวและชื่อเสียงของร้านไม่มีผลต่อการเลือกใช้บริการ ร้านคาเฟ่แมวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับปัจจัยด้านลักษณะประชากรศาสตร์พบว่า อาชีพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่แมวที่แตกต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มอาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ และผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว มีการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่แมวในเขต กรุ ง เทพมหานครและปริ ม ณฑล มากกว่ า พนั ก งานเอกชน ในขณะที ่ ป ั จ จั ย ด้ า นลั ก ษณะ ประชากรศาสตร์อื่น ๆ ได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน ไม่มีผลต่อการเลือกใช้บริการ ร้านคาเฟ่แมวในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล สรวิศ สาระสุทธิ (2560) ศึกษาเรื่อง แผนกลยุทธ์ร้านคาเฟ่สุนัข อินุมาชิ โครงการค้นคว้า อิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์การปรับปรุงธุรกิจของร้านคาเฟ่สุนัข อินุมาชิ โดยผู้วิจัย เล็งเห็นช่องทางการทำธุรกิจจากแนวโน้มของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเป็นการ ผสมผสานระหว่างธุรกิจคาเฟ่ร้านอาหาร เข้ากับธุรกิจดูแลสัตว์เลี้ยง ซึ่งทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการร้าน คาเฟ่ได้ประสบการณ์ใหม่ พร้อมกับทำกิจกรรมร่วมกับสัตว์เลี้ยงที่ชื่นชอบ อันเป็นการสร้างความ แตกต่างให้กับร้านอินุมาชิ ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น โครงการ ค้นคว้าอิสระนี้ทำการศึกษาและวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางการตลาด ตลอดจนอุตสาหกรรมร้านอาหาร ร้านคาเฟ่ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง พฤติกรรมผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องรวมถึงการจัดทำ แผนกลยุทธ์ด้านการตลาด การเงิน และการดำเนินงาน เพื่อออกแบบแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ให้สอดคล้อง กับความต้องการของผู้บริโภค และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด โดยแผนกลยุทธ์ฉบับนี้ จะสามารถเพิ่มอัตราการทำกำไรและรายได้โดยตั้งเป้าผลตอบแทนกว่า 30% ในปีแรก รวมถึงเพิ่ม ความพึงพอใจของผู้บริโภค โดยใช้กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด กลยุทธ์ทางการดำเนินงาน และ กลยุทธ์ด้านการเงินเข้ามาประกอบ เพื่อให้ร้านอินุมาชิ คาเฟ่ สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่ สร้าง ความสามารถในการแข่งขัน โดยอาศัยเงินลงทุน และค่าใช้จ่ายทางการปรับปรุงที่เหมาะสมกับรายได้ และค่าใช้จ่ายของร้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ


22

ศลิศา สุทธิเสริม (2560) ศึกษาเรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสถานประกอบการ ที่ใช้ส ัตว์เลี้ยงในการนันทนาการ (คาเฟ่สัตว์) เนื่องด้วยสถานการณ์ประกอบการที่ใช้สัตว์เพื่ อ นันทนาการหรือที่เรียกกันว่า “คาเฟ่สัตว์”นั้นเป็นร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม ที่ผู้เข้ามาใช้บริการ สามารถนั่งรับประทานอาหารร่วมโต๊ ะ และได้สัมผัสกับสัตว์อย่างใกล้ชิด ปัญหาสำคัญประการหนึ่งก็ คื อ เรื ่ อ งสุ ขอนามัย สถานประกอบการประเภทนี ้ค วรคำนึง ถึง ให้ มาก เนื ่ อ งจากในแต่ละสถาน ประกอบการ มีผู้เข้ามาใช้เป็นจำนวนมาก รวมถึงสัตว์ที่เดินไปมาภายในร้าน ที่สามารถจะอยู่บนโต๊ะ บนชั้นหนังสือ หรือแม้แต่ในส่วนประกอบอาหารก็ตาม ถ้าเป็นเช่นนั้นอาจเกิดการแพร่กระจายของ เชื ้ อ โรค ทำให้ เ กิ ด ความเสี ่ ย งต่ อ สุ ข ภาพได้ มี ก ารปนเปื ้ อ นในอาหารซึ ่ ง เชื ้ อ โรคบางชนิ ด นั้ น อาจแพร่กระจายจากสัตว์เลี้ยงสู่คน ไม่ว่าจะเป็นทางผิวหนัง บาดแผล การรับประทานอาหารรวมทั้ง การหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไป หรือการดูแลความสะอาดภายในร้านไม่เพียงพอ หรือการขับถ่ายของ สัตว์การกำจัดมูลสัตว์ การที่สัตว์และคนอยู่ร่วมกันในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดและเป็นห้องปิด อากาศไม่ ถ่ายเทดี มีเพียงเครื่องปรับอากาศที่เป็นตัวช่วยหมุนเวียนอากาศภายในเท่านั้น ก็อาจทำให้เกิดการฟุ้ง กระจายของขน มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ จนเกิดโรคในที่สุดการควบคุมสัตว์ไม่ให้ก่อความ ให้รำคาญ เป็นต้น หากเปรียบเทียบกับร้านจำหน่ายอาหารเครื่องดื่มทั่วไปที่มีมาตรการทางกฎหมาย มาควบคุมดูแลในเรื่องของความสะอาด และสุขอนามัยต่าง ๆ ใน สถานประกอบการ ที่ใช้สัตว์เลี้ยง เพื่อนันทนาการยิ่งจำเป็นต้องมีกฎหมายที่มีมาตรการที่รัดกุมยิ่งกว่า เนื่องจากมีผลกระทบในเรื่อง สุขภาพแล้วยังมีผลต่อสุขภาพจิตด้วยเช่นกัน อัจฉรีย์ อรรถบดีสกุล (2559) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าของร้าน คาเฟ่แมว (Cat Café) จำนวน 8 แห่ง ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื ่ อ ศึ ก ษาอิ ท ธิ พ ลของภาพลั ก ษณ์ ข องธุ รกิ จ ส่ ว นประสมทางการตลาด (4P) และคุ ณ ภาพการ ให้บริการที่มีต่อความภักดีของลูกค้าของร้านคาเฟ่ แมว (Cat Café) จำนวน 8 แห่ง ในเขตจังหวัด กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นลูกค้าที่เข้ามาใช้ บริการในร้านคาเฟ่ แมว ( Cat Café) จำนวน 8 แห่ ง ในเขตจั ง หวั ด กรุ ง เทพมหานคร ใช้ แ บบสอบถามแบบเลื อ กตอบ 5 ส่ ว น ส่วนที่ 1 ข้อมูลด้านสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ หลัก และรายได้ต่อเดือน เป็นลักษณะคำถามแบบปลายปิด ส่วนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของ ธุรกิจ ในด้านสถาบัน องค์กร ผู้บริหารหรือฝ่ายบริหาร การกระทำต่อประชาชนหรือผู้บริโภค ความดี และบุคลากรขององค์กร เป็นลักษณะคำถามแบบปลายปิด ส่วนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับส่วนประสมทาง การตลาด (4P) ในด้านของ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่ายและส่งเสริมการขาย เป็น ลักษณะคำถามแบบปลายปิด ส่วนที่ 4 คำถามเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการในด้านของความเชื่อถือ ได้ ความมั่นใจ ลักษณะที่สัมผัสได้ความเอาใจใส่ลูกค้า และความสามารถตอบสนอง เป็นลักษณะ คำถามแบบปลายปิด ส่วนที่ 5 คำถามเกี่ยวกับความภักดีของลูกค้าเป็นลักษณะคำถามแบบปลายปิด


23

สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่ วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ การวิเคราะห์ความ แปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เป็นนักเรียน/ นักศึกษา ช่วงอายุที่เข้าใช้บริการอยู่ที่ระหว่าง 16-30 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ ในระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 10,000 บาทหรือต่ำกว่า ภาพลักษณ์ของธุรกิจ ส่วนประสมทางการตลาด และ คุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าของร้านคาเฟ่แมว (Cat Café) จำนวน 8 แห่ง ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จันจิรา ศรีสมบูร ณ์ (2557) ศึกษาเรื่อง การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคาเฟ่สัตว์ เลี้ยงใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้ Model ACSI งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที ่มี ความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้บริการคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้ แ บบจำลอง Thailand Customer Satisfaction Index Model (TCSI) ที ่ ม ี ต ้ น แบบมาจาก แบบจำลอง The American Customer Satisfaction Index Model (ACSI) ซึ ่ ง มี ว ั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจคาเฟ่สัตว์เลี้ยง สามารถเข้าใจ พฤติกรรมของผู้บริโภคได้มากขึ้น และนำ ผลการวิจัยนี้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีความเหมาะสมกับคุณภาพและราคา เพื่อ ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงได้เป็นอย่างดีอันจะนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจได้ ในท้ายที่สุด โดยในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีวิจัยเชิง คุณภาพ โดยมี กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มคนที่ใช้และเคยใช้บริการคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายระยะเวลา 1 ปี ที ่ ผ ่ า นมา จำนวน 165 คน ซึ ่ ง ผู ้ ว ิ จ ั ย ใช้ ว ิ ธ ี ก ารเลื อ กกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งแบบ เฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยการใช้ แ บบสอบถามในรู ป แบบชุ ด ข้ อ มู ล และ แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) โดยทำการวิจัยและเก็บในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2558 ภายหลังจากที่ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาแล้ว ทางผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และประมวลผล โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) สำหรั บ อธิ บ ายลั ก ษณะทางประชากรของกลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง และข้ อ มู ล พฤติกรรมในการเข้าใช้บริการคาเฟ่สัตว์เลี้ยงของกลุ่มตัวอย่าง และส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์โมเดล สมการโครงสร้าง (SEM) เพื่อใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้กับตัวแปรแฝง โดยใช้ โปรแกรม AMOS ในการวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า จากผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคาเฟ่สัตว์เลี้ยงใน เขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล คือ ปัจจัยด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกค้าให้ความสำคัญเป็น อันดับแรก รองลงมาคือ คุณค่าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจัยด้านความคาดหวังของลูกค้า ไม่ได้ส่งผล โดยตรงต่อความพึงพอใจของ ลูกค้า แต่จะส่งผลทางอ้อมผ่านปัจจัยด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และ คุณค่าของผลิตภัณฑ์ และจาก การวิจัยยังพบความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้าอีกด้วย โดยปัจจัยด้าน ความพึงพอใจส่งผลโดยตรงทางบวกต่อความภักดีของลูกค้า ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เมื่อลูกค้าเกิดความพึง


24

พอใจก็จะทำให้เกิดความภักดีกลับมาใช้ซ้ำรวมถึงแนะนำให้คนรู้จักเลือกใช้เช่นกัน สุดท้ายนี้ผู้วิจัยหวัง เป็นอย่างยิ่งว่าผลการวิจัยนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจคาเฟ่สัตว์เลี้ยง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เป็นแนวทางในการกำหนดและวางแผน บริหารจัดการผลิตภัณฑ์ ธุรกิจของตน เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


บทที่ 3 วิธีดำเนินการ การศึกษาเรื ่อง ความพึ งพอใจของผู้ บริ โ ภคที่ใ ช้ บริการร้า นคาเฟ่ สั ต ว์ เลี้ ย งในเขตดุ สิ ต กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.5 สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.1.1 ประชากร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มประชากรที่เข้าใช้บริการคาเฟ่ แมวใน เขตดุสิต ซึ่งจำนวนประชากรในเขตดุสิต ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 พบว่ามีเพศชาย 48,615 คน เพศหญิง 41,154 คน รวมทั้งหมด 89,769 คน (สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, 2562) 3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มประชากรที่เข้าใช้บริการคาเฟ่ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการเลือกแบบสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) ซึ่งคำนวณหา ขนาดของกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งตามตารางสำเร็ จ รู ป ของทาโร ยามาเน่ (Yamane) ตามแนวคิ ด ของ (ธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2563) โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95% เนื ่ อ งด้ ว ยไม่ ท ราบจำนวนประชากรที่ เ ข้ า ใช้ บ ริ ก ารร้ า นคาเฟ่ ใ นเขตดุ สิ ต กรุงเทพมหานคร ที่แน่นอนการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจึงกำหนดค่าระดับความเชื่อมั่นที่ 95 % และ ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ ±5 % โดยตารางกลุ่มตัวอย่างสำเร็จรูปแบบ ทาโร ยามาเน่ (Yamane) จำนวนตัวอย่างที่ใ ช้ ในการศึกษาครั้งนี้จึงเท่ากับ 384 คน ทั้งนี้ผู้ศึกษาเห็นควรเก็บ แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างให้ได้ 405 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วน


26

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 3.2.1 ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูล คื อ แบบสอบถามความพึงพอใจ ของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานครซึ่งคำถามตามประเด็นใน กรอบแนวศึกษา โดยลักษณะของแบบสอบถามจะประกอบด้วย ลักษณะคำถามปลายปิด และ ลักษณะคำถามปลายเปิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ต อบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานะภาพ วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ลักษณะคำถามปลายปิด (Closed-End Question) ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับ พฤติกรรมการเข้าใช้บริการของผู้บริโภคที่ใช้บริการ ร้านอาหารคาเฟ่ ประกอบด้วย โอกาสที่เลือกใช้บริการ เหตุผลที่เลือกใช้บริการ ช่วงเวลาที่เลือกใช้ บริการ ช่องทางในการติดต่อกับทางร้ าน โอกาสที่จะกลับมาใช้ซ้ำ ลักษณะแบบสอบถามเป็ นแบบ ตรวจสอบรายการ ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้าน คาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานครประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการ จัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ และด้านกายภาพและการ นำเสนอลักษณะคำถามปลายปิด (Closed-End Question) โดยคำถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน ประเมินค่า (Rating scale) ดังนี้ ระดับคะแนน 1 คือ ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด ระดับคะแนน 2 คือ ระดับความพึงพอใจน้อย ระดับคะแนน 3 คือ ระดับความพึงพอใจปานกลาง ระดับคะแนน 4 คือ ระดับความพึงพอใจเห็นมาก ระดับคะแนน 5 คือ ระดับความพึงพอใจมากที่สุด ตอนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความพึงพอใจของ ผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ลักษณะคำถามปลายเปิด (Open-End_Question) คำถามมีจำนวน 1 ข้อ 3.2.2 การหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ผู้ศึกษาได้ทำการทดสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา ด้วยการตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) โดยนำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรง โดยพิจารณา หาค่า IOC ที่มีค่าตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป (ธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2563) โดยใช้เกณฑ์ ดังนี้


27

ให้คะแนน +1 ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ให้คะแนน 0 ถ้าไม่แน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ให้คะแนน -1 ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ นำคะแนนที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่า IOC ผลที่ได้จากการคำนวณค่าความ เหมาะสมของเนื้อหา และความถูกต้องของสำนวนภาษาได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 ถือว่าข้อ คำถามทั้งหมดสามารถวัดได้และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยการทดสอบค่าดัชนีความสอดคล้อง ของเนื้อหาคำถามครอบคลุมข้อมูลที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ วิธีการทดสอบโดยนำ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือในการศึกษาในครั้งนี้ จำนวน 3 ท่าน 1. อาจารย์ ดร.นุจรี บุรีรัตน์ 2. คุณหทัยชนก วิบูลเจริญ 3. คุณศิริภัทร จันโทวาท

3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ประกอบการศึกษาในครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูล 2 ส่วน ดังนี้ 3.3.1 ข้อมูลปฐมภูมิ ใช้แบบสอบถามรวบรวมโดย การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เข้าใช้บริการคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จำนวน 405 ชุด ทำการเก็บข้อมูลแบบสอบถามด้วยตนเอง โดยการใช้แบบสอบถามแบบเจาะจง จากผู้เข้าใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง 3.3.2 ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลที่ได้จากเอกสารทางวิชาการ บทความ วารสาร หอสมุดแห่งชาติ รวมถึงการสืบหา ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่ ใช้ในการสนับสนุนการศึกษาครั้งนี้ให้มีความสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น

3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ทางสถิติ โดยได้นำข้อมูลจาก แบบสอบถามที่ได้เก็บรวบรวมนำมาเปลี่ยนรหัสตัวเลข (Code) แล้วบันทึกลงโปรแกรมเพื่อดำเนินการ 3.4.1 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 3.4.1.1 การคำนวณหาข้ อ มู ล เกี ่ ย วกั บ ข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลของผู ้ ต อบแบบสอบถาม ตอนที่ 1 ใช้วิธีการนี้หาค่าความถี่แล้วสรุปผลเป็นค่าร้อยละ 3.4.1.2 การคำนวณหาข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่ จาก แบบสอบถามตอนที่ 2 ใช้วิธีนี้หาค่าความถี่แล้วสรุปผลเป็นค่าร้อยละ


28

3.4.1.3 การคำนวณหาข้อมูลการวิเคราะห์ ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้าน คาเฟ่ ส ั ต ว์ เ ลี ้ ย งในเขตดุ ส ิ ต กรุ ง เทพมหานคร จากแบบสอบถามตอนที ่ 3 ใช้ ว ิ ธ ี ห าค่ า เฉลี่ ย (Mean : x̅) และค่ า ส่ ว นเบี ่ ย งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ซึ ่ ง มี เ กณฑ์ ใ นการ กำหนดค่าน้ำหนักของการประเมินเป็น 5 ระดับตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) ดังนี้ ระดับความพึงพอใจ ค่าน้ำหนักคะแนนของตัวเลือกตอบ มากที่สุด กำหนดให้มีค่าเท่ากับ 5 คะแนน มาก กำหนดให้มีค่าเท่ากับ 4 คะแนน ปานกลาง กำหนดให้มีค่าเท่ากับ 3 คะแนน น้อย กำหนดให้มีค่าเท่ากับ 2 คะแนน น้อยที่สุด กำหนดให้มีค่าเท่ากับ 1 คะแนน เกณฑ์การแปลความหมายเพื่อจัดระดับคะแนนเฉลี่ยค่าความพึงพอใจ กำหนดเป็นช่วงคะแนน ดังต่อไปนี้ คะแนนเฉลี่ย ระดับความพึงพอใจ คะแนนเฉลี่ย 4.50-5.00 แปลความหมายว่า มีความพึงพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.50-4.49 แปลความหมายว่า มีความพึงพอใจมาก คะแนนเฉลี่ย 2.50-3.49 แปลความหมายว่า มีความพึงพอใจปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.50-2.49 แปลความหมายว่า มีความพึงพอใจน้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.49 แปลความหมายว่า มีความพึงพอใจน้อยที่สุด 3.4.1.4 การคำนวณหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในความพึงพอใจของ ผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จากแบบสอบถามที่ 4 ใช้วิธี วิเคราะห์เนื้อหา แล้วสรุปเป็นค่าความถี่ โดยเรียงลำดับจาก มากไปน้อย

3.5 สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษาครั้งนี้ใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 3.5.1 ค่าสถิติเชิงพรรณนา 3.5.1.1 ค่าความถี่ และร้อยละ เพื่อใช้อธิบายลักษณะข้อมูลเกี่ยวกับ ปัจจัยพื้นฐาน บุคคล และผู้เข้าใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 3.5.1.2 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อใช้อธิบายถึง ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s


29

3.5.2 ค่าสถิติใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน 3.5.2.1 สถิติ t-test ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่ม โดยนำมาใช้ ทดสอบความ ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ โดยใช้สูตร Independent Samples t-test ณ ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติที่ร้อยละ 95 (ธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2563) 3.5.2.2 สถิ ต ิ F-test ใช้ ว ิ เ คราะห์ ค วามแปรปรวนทางเดี ย ว (One-way ANOVA Analysis of Variance) ใช้ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่มขึ้นไป โดยนำมาทดสอบ ความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงโดยจำแนก เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ต่อเดือน กรณีพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 หรือระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ด้วยวิธีการทดสอบแบบ LSD (Least Significant Difference) (ธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2563)


บทที่ 4 ผลการศึกษาและอภิปรายผล

การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อคาเฟ่สัตว์เลี้ยงโดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาด บริการ (7P’s) ผู้ศึกษาได้นำข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 405 ชุด ที่ผ่านการตรวจสอบความสมบูรณ์ แล้วมาทำการวิเคราะห์ด้ว ยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลการแปรความหมาย แยกการนำเสนอในรูปแบบตาราง ประกอบด้วยคำบรรยาย มีลำดับการนำเสนอดังนี้ 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลส่วนบุคคล 4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมู ลพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) 4.4 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ 4.6 อภิปรายผล ในการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้กำหนดสัญลักษณ์ และอักษรในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ x̅ แทน ค่าคะแนนเฉลีย่ n แทน จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t แทน ค่าสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน t-test F แทน ค่าสถิติที่ใช้พิจารณาความมีนัยสำคัญจากการแจกแจงแบบ Df แทน ค่าความเป็นอิสระ (Degree of Freedom) SS แทน ผลรวมกำลังสอง (Mean of Squars) Sig. แทน นัยสำคัญทางสถิติ (Significance)


31

4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลส่วนบุคคล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อ เดือน โดยใช้จำนวนและค่าร้อยละ ดังตารางที่ 4.1 ตารางที่ 4.1 จำนวนและค่าร้อยละของข้อมูลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน (n=405 คน) ข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน ค่าร้อยละ 1. เพศ ชาย 210 51.9 หญิง 195 48.1 รวม 405 100 2. อายุ ต่ำกว่า/เท่ากับ 20 ปี 58 14.3 21-25 ปี 148 36.5 26-30 ปี 161 39.8 มากกว่า 30 ปี 38 9.4 รวม 405 100 3. ระดับการศึกษา ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย 25 6.2 มัธยมศึกษาตอนปลาย 79 19.5 อนุปริญญา (ปวส.) หรือเทียบเท่า 172 42.5 ปริญญาตรี 109 26.9 สูงกว่าปริญญาตรี 20 4.9 รวม 405 100


32

ตารางที่ 4.1 (ต่ อ ) จำนวนและค่ า ร้ อ ยละของข้ อ มู ล ได้ แ ก่ เพศ อายุ ระดั บ การศึ ก ษา อาชี พ และรายได้ต่อเดือน (n=405 คน) ข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน ค่าร้อยละ 4. อาชีพ นักเรียน/นักศึกษา 105 25.9 ราชการ 26 6.4 รัฐวิสาหกิจ 126 31.1 รับจ้าง 61 17.6 ธุรกิจส่วนตัว 77 19 รวม 5. รายได้ต่อเดือน ต่ำกว่า/เท่ากับ 10,000 บาท 10,001-15,000 บาท 15,001-20,000 บาท 20,001 บาทขึ้นไป รวม

405

100

64 127 170 44 405

15.8 31.4 42 10.9 100

จากตารางที่ 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการคาเฟ่สัตว์เลี้ยง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 210 คน คิดเป็นร้อยละ 51.9 และเพศหญิง 195 คน คิดเป็นร้อยละ 48.1 ด้านอายุ พบว่า ผู้ที่มีอายุ 26-30 ปี จำนวน 161 คน คิดเป็นร้อยละ 39.8 ผู้ที่มีอายุ 21-25 ปี จำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 36.5 ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า/เท่ากับ 20 ปี จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 14.3 และผู้ที่ มีอายุมากกว่า 30 ปี จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 9.4 ด้านระดับการศึกษา พบว่า ผู้ที่มีระดับการศึกษา อนุปริญญา (ปวส.) หรือเทียบเท่า จำนวน 172 คน คิดเป็นร้อยละ 42.5 ผู้ที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 26.9 คน ผู้ที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 6.2 และผู้ที่มีระดับการศึก ษาสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 4.9 ด้านอาชีพ พบว่า ผู้ที่มีอาชีพรัฐวิสาหกิจ จำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 31.1 ผู้ที่มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 105


33

คน คิดเป็นร้อยละ 25.9 ผู้ที่มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 19 ผู้ที่มีอาชี พรับจ้าง จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 14.6 ผู้ที่มีอาชีพราชการ จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 6.4 และผู้ที่มี อาชีพพนักงานเสิร์ฟ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 3 ด้านรายได้ต่อเดือน ผู้ที่มีรายได้ต่อเดือน 15,00120,000 บาท จำนวน 170 คน คิดเป็นร้อยละ 42 ผู้ที่มีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท จำนวน 127 คน คิดเป็นร้อยละ 31.4 ผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า /เท่ากับ 10,000 บาท จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 15.8 ผู้ที่มีรายได้ต่อเดือน 20,001 บาทขึ้นไป จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 10.9

4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ผลการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ด้า นข้ อมู ลพฤติก รรมการเข้ า ใช้ บ ริ ก ารร้ า นคาเฟ่ สั ต ว์ เ ลี ้ ย งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้จำนวนและค่าร้อยลละ แสดงตารางที่ 4.2 ตารางที่ 4.2 จำนวนและค่าร้อยละของข้อมูลเกี่ยวกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้าใช้ บริการร้านคาเฟ่ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (n=405 คน) พฤติกรรมการเข้าใช้บริการ จำนวน ค่าร้อยละ 1. ประเภทของการเลือกใช้ บริการ (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ) อาหารและเครื่องดื่ม 102 13.3 เบเกอรี 83 10.8 สัตว์เลี้ยงภายในร้าน 311 40.4 ส่วนลด/โปรโมชั่น 111 14.4 ราคาเหมาะสม 81 10.5 ใกล้สถานที่ทำงาน/ 79 10.3 สถานศึกษา การบริการของพนักงาน 2 0.3 รวม 405 100


34

ตารางที่ 4.2 (ต่อ) จำนวนและค่าร้อยละของข้อมูลเกี่ยวกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกีย่ วกับพฤติกรรมการ เข้าใช้บริการร้านคาเฟ่ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (n=405 คน) พฤติกรรมการเข้าใช้บริการ จำนวน ค่าร้อยละ 2. เหตุผลที่เลือกใช้บริการ พักผ่อน 121 29.9 อ่านหนังสือ 34 8.4 นั่งทำงาน 46 11.4 พบปะสังสรรค์ 204 50.4 รวม 3. ช่วงเวลาทีเ่ ลือกใช้บริการ 9.00-12.00 น. 12.01-15.00 น. 15.01-17.00 น. 17.01-20.00 น. รวม 4. ช่องทางในการติดต่อกับทางร้าน Line Facebook E-mail Instagram รวม

405

100

34 130 191 50 405

8.4 32.1 47.2 12.3 100

61 333 5 6 405

15.1 82.2 1.2 1.5 100


35

ตารางที่ 4.2 (ต่อ) จำนวนและค่าร้อยละของข้อมูลเกี่ยวกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกีย่ วกับพฤติกรรมการ เข้าใช้บริการร้านคาเฟ่ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (n=405 คน) พฤติกรรมการเข้าใช้บริการ จำนวน ค่าร้อยละ 5. ความเหมาะสมของราคาอาหาร และเครื่องดื่มในการใช้บริการต่อครั้ง 45-70 บาท 36 8.9 71-95 บาท 120 29.6 96-120 บาท 216 53.3 มากกว่า 121 บาท 32 7.9 รวม 405 100 6. เหตุผลที่จะกลับมาใช้ซ้ำ เคยใช้บริการมาก่อน 44 10.9 โปรโมชั่น 68 16.8 ประทับใจในการบริการ 236 58.3 บรรยากาศของร้าน 57 14.1 รวม 405 100 จากตารางที่ 4.2 จำนวนและค่ า ร้ อ ยละของข้ อ มู ล เกี ่ ย วกั บ ผลการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล เกี ่ ย วกั บ พฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านประเภทของการเลือกใช้ บริการ สัตว์เลี้ยงภายในร้าน จำนวน 311 คน คิดเป็นร้อยละ 40.4 ส่วนลด/โปรโมชั่น จำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 14.4 อาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ 13.3 เบเกอรี่ จำนวน 83 คิด เป็นร้อยละ 10.8 ราคาเหมาะสม จำนวน 81 คิดเป็นร้อยละ 10.5 ใกล้สถานที่ทำงาน/สถานศึกษา จำนวน 79 คิดเป็นร้อยละ 10.3 และการบริการของพนักงาน จำนวน 2 คิดเป็นร้อยละ 0.3 ด้านเหตุผลที่เลือกใช้ บริการ พบปะสังสรรค์มีจำนวน 204 คน คิดเป็นร้อยละ 50.4 พักผ่อน จำนวน 121 คิดเป็นร้อยละ 29.9 นั่งทำงาน จำนวน 46 คิดเป็นร้อยละ 11.4 อ่านหนังสือ จำนวน 34 คิดเป็นร้อยละ 8.4 ด้านช่วงเวลาที่ เลื อ กใช้ บ ริ ก าร ช่ ว งเวลา 15.01 -17.00 น. จำนวน 191 คน คิ ด เ ป็ น ร้ อ ยละ 47.2 ช่วงเวลา 12..01-15.00 น. จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 32.1 ช่วงเวลา 17.01-20.00 น. จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 12.3 และช่วงเวลา 9.00-12.00 น. จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 8.4 ด้านช่องทางใน


36

การติดต่อกับทางร้าน Facebook จำนวน 333 คน คิดเป็นร้อยละ 82.2 Line จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อย ละ 15.1 Instagram จำนวน 6 คน คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 1.5 E-mail จำนวน 5 คน คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 1.2 ด้านความเหมาะสมของราคาอาหารและเครื่องดื่มในการใช้บริการต่อครั้ง ราคา 96-120 บาท จำนวน 216 คน คิดเป็นร้อยละ 53.3 ราคา 71-95 บาท จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 29.6 ราคา 45-70 บาท จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 8.9 ราคามากกว่า 121 บาท จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 7.9 ด้าน เหตุผลที่จะกลับมาใช้ซ้ำ ประทับใจในการบริการ จำนวน 236 คน คิดเป็นร้อยละ 58.3 โปรโมชั่น จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 16.8 บรรยากาศของร้าน จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 14.1 และเคยใช้บริการ มาก่อน จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 10.9 4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้า นความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ย งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) มีจำนวน 7 ด้าน ได้แก่ ด้ า นผลิ ต ภั ณ ฑ์ ด้ า นราคา ด้ า นช่ อ งทางการจั ด จำหน่ า ย ด้ า นส่ ง เสริ ม การตลาด ด้ า นกระบวนการ ด้านบุคลากร และด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ โดยใช้สถิติ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แสดงตารางที่ 4.3 - 4.10 ตารางที่ 4.3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มี ผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้ บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7P’s S.D. ระดับ 𝐱̅ ความพึงพอใจ 1. ด้านผลิตภัณฑ์ 4.46 0.58 มาก 2. ด้านราคา 4.44 0.58 มาก 3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 4.41 0.62 มาก 4. ด้านส่งเสริมการตลาด 4.45 0.57 มาก 5. ด้านกระบวนการ 4.47 0.45 มาก 6. ด้านบุคลากร 4.47 0.56 มาก 7. ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ 4.46 0.56 มาก รวม 4.45 0.53 มาก


37

จากตารางที่ 4.3 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความ พึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมในระดั บ มาก (𝐱̅ = 4.5) เมื ่ อ พิ จ ารณาเป็ น รายด้ า น พบว่ า อยู ่ ใ นระดั บ มากทุ ก ข้ อ โดยเรี ย งลำดับ จากค่า เฉลี่ ยมากไป น้ อ ย ด้ า นกระบวนการ (𝐱̅ = 4.47) ด้ า นบุ ค ลากร (𝐱̅ = 4.47) ด้านผลิตภัณฑ์ (𝐱̅ = 4.46) ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (𝐱̅ = 4.46) ด้านการส่งเสริม การตลาด (𝐱̅ = 4.45) ด้านราคา (𝐱̅ = 4.44) และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (𝐱̅ = 4.41) ตารางที่ 4.4 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ ใช้ บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านผลิตภัณฑ์ S.D. ระดับความพึงพอใจ 𝐱̅ 1. สะอาด น่ารับประทาน 4.53 0.61 มากที่สุด 2. รสชาติของเบเกอรีและเครื่องดื่มมีมาตรฐาน 4.46 0.64 มาก และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค 3. รายการอาหารและเครื่องดื่มของทางร้านมี 4.44 0.64 มาก ความดึงดูดต่อผู้บริโภค 4. ร้านอาหารมีรายการอาหารใหม่ๆออกมา 4.42 0.66 มาก นำเสนอ รวม 4.46 0.58 มาก จากตารางที่ 4.4 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความ พึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า มี ค วามพึ ง พอใจโดยภาพรวมในระดั บ มาก (𝐱̅ = 4.46) เมื ่ อ พิ จ ารณาเป็ น รายข้ อ พบว่ า สะอาด น่ารับประทาน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (𝐱̅ = 4.53) รองลงมาคือ รสชาติของเบเกอรีและ เครื่องดื่มมีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค (𝐱̅ = 4.46) รายการอาหารและเครื่องดื่มของทางร้าน มีความดึงดูดต่อผู้บริโภค (𝐱̅ = 4.44) และร้านอาหารมีรายการอาหารใหม่ๆออกมานำเสนอ (𝐱̅ = 4.42)


38

ตารางที่ 4.5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัย ที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้ บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านราคา ด้านราคา S.D. ระดับความพึงพอใจ 𝐱̅ 1. ปริมาณอาหารอยู่ในราคาที่เหมาะสม 4.43 0.64 มาก 2. คุณภาพของอาหารและเครื่องดื่มเหมาะสม 4.45 0.62 มาก กับราคา 3. ความสวยงาม การจัดตกแต่งอาหาร 4.44 0.63 มาก เหมาะสมกับราคา 4. ราคาคุ้มค่ากว่าเมื่อเทียบกับร้านอื่น 4.44 0.66 มาก รวม 4.44 0.58 มาก จากตารางที่ 4.5 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความ พึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านราคา พบว่า มีความ พึงพอใจโดยภาพรวมในระดับมาก (𝐱̅ = 4.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุก ข้อ โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไป น้อย คุณภาพของอาหารและเครื่องดื่มเหมาะสมกับราคา (𝐱̅ = 4.45) ความสวยงาม การจัดตกแต่งอาหารเหมาะสมกับราคา (𝐱̅ = 4.44) ราคาคุ้มค่ากว่าเมื่อเทียบกับร้านอื่น (𝐱̅ = 4.44) และปริมาณอาหารอยู่ในราคาที่เหมาะสม (𝐱̅ = 4.43) ตารางที่ 4.6 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้ บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย S.D. ระดับความพึงพอใจ 𝐱̅ 1. เดินทางสะดวก 4.42 0.66 มาก 2. สามารถสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นได้ 4.40 0.69 มาก หลากหลาย รวม 4.41 0.62 มาก


39

จากตารางที่ 4.6 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความ พึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านช่องทางการจัด จำหน่าย พบว่า มีความพึงพอใจโดยภาพรวมในระดับมาก (𝐱̅ = 4.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย เดินทางสะดวก (𝐱̅ =4.42) และสามารถสั่ง อาหารผ่านแอพพลิเคชั่นได้หลากหลาย (𝐱̅ = 4.40) ตารางที่ 4.7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้ บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการส่งเสริมการตลาด S.D. ระดับความพึงพอใจ 𝐱̅ 1. มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่น่า 4.45 0.65 มาก ดึงดูดใจ เช่น มีบัตรส่วนลดหรือบัตร สะสมแต้ม 2. มีการประชาสัมพันธ์ร้านผ่านทาง 4.45 0.61 มาก เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อดึงดูดลูกค้า 3. มีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง 4.45 0.63 มาก 4. มีการประชาสัมพันธ์ที่น่าดึงดูด มีความ 4.45 0.63 มาก น่าสนใจ รวม 4.45 0.57 มาก จากตารางที่ 4.7 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความ พึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านการส่งเสริม การตลาด พบว่า มีความพึงพอใจโดยภาพรวมในระดับมาก (𝐱̅ = 4.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุก ข้อ โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ น่าดึงดูดใจ เช่น มีบัตรส่วนลดหรือบัตรสะสมแต้ม (𝐱̅ = 4.45) มีการประชาสัมพันธ์ร้านผ่านทางเครือข่าย สังคมออนไลน์เพื่อดึงดูดลูกค้า (𝐱̅ = 4.45) มีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง (𝐱̅ = 4.45) และมี การประชาสัมพันธ์ที่น่าดึงดูด มีความน่าสนใจ (𝐱̅ = 4.45)


40

ตารางที่ 4.8 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้ บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านกระบวนการ ด้านกระบวนการ S.D. ระดับความพึงพอใจ 𝐱̅ 1. กระบวนการสั่งอาหารและเครื่องดื่มมี 4.51 0.63 มากที่สุด ลำดับขั้นตอนที่ง่าย 2. การบริการมีความรวดเร็วและถูกต้อง 4.44 0.61 มาก 3. การคิดเงินและทอนเงินรวดเร็วและมีความ 4.47 0.62 มาก แม่นยำ รวม 4.47 0.45 มาก จากตารางที่ 4.8 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความ พึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านกระบวนการ พบว่า มีความพึงพอใจโดยภาพรวมในระดับมาก (𝐱̅ = 4.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า กระบวนการสั่ง อาหารและเครื่องดื่มมีลำดับขั้นตอนที่ง่าย อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (𝐱̅ = 4.51) รองลงมาการ คิดเงินและทอนเงินรวดเร็วและมีความแม่นยำ (𝐱̅ = 4.47) และการบริการมีความรวดเร็วและถูกต้อง (𝐱̅ = 4.44) ตารางที่ 4.9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้ บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านบุคลากร ด้านบุคลากร S.D. ระดับความพึงพอใจ 𝐱̅ 1. พนักงานมีความสุภาพ 4.49 0.61 มาก 2. พนักงานแต่งกายสะอาด เรียบร้อย 4.47 0.62 มาก 3. พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานของ 4.47 0.59 มาก ตน และสามารถให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้ 4. พนักงานมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดตี ่อลูกค้า 4.46 0.65 มาก 5. พนักงานมีความกระตือรือร้นในการทำงาน 4.46 0.63 มาก รวม 4.47 0.56 มาก


41

จากตารางที่ 4.9 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความ พึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านบุคลากร พบว่า มีความพึงพอใจโดยภาพรวมในระดับมาก (𝐱̅ = 4.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุก ข้อ โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พนักงานมีความสุภาพ (𝐱̅ = 4.49) พนักงานแต่งกายสะอาด เรียบร้อย (𝐱̅ = 4.47) พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานของตน และสามารถให้คำแนะนำแก่ ลูกค้าได้ (𝐱̅ = 4.47) พนักงานมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า (𝐱̅ = 4.46) และพนักงานมีความกระตือรือร้น ในการทำงาน (𝐱̅ = 4.46) ตารางที่ 4.10 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้ บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะ ทางกายภาพ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ S.D. ระดับความพึงพอใจ 𝐱̅ 1. ชื่อร้านมีเอกลักษณ์ จดจำได้ง่าย 4.46 0.62 มาก 2. การตกแต่งร้านทั้งภายในและภายนอกมี 4.45 0.63 มาก ความโดดเด่น 3. ร้านมีการดูแลทำความสะอาดอยู่เสมอ 4.47 0.61 มาก 4. ภาพเมนูอาหารและเครื่องดื่มมีความ 4.46 0.63 มาก ดึงดูด น่าสนใจ รวม 4.46 0.56 มาก จากตารางที่ 4.10 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยที่มีผลต่อความ พึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านการสร้างและ นำเสนอลักษณะทางกายภาพ พบว่า มีความพึงพอใจโดยภาพรวมในระดับมาก (𝐱̅ = 4.46) เมื่อพิจารณา รายข้อ โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า ร้านมีการดูแลทำความสะอาดอยู่เสมอ (𝐱̅ = 4.47) รองลงมา ชื่อร้านมีเอกลักษณ์ จดจำได้ง่าย และภาพเมนูอาหารและเครื่องดื่มมีความดึงดูด น่าสนใจ (𝐱̅ = 4.46) และการตกแต่งร้านทั้งภายในและภายนอกมีความโดดเด่นมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (𝐱̅ = 4.45)


42

4.4 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริ โ ภคที่ใช้บริ การร้านคาเฟ่ส ัตว์เ ลี้ยงในเขตดุ สิ ต กรุงเทพมหานคร โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ผลการเปรีย บเที ยบความพึ ง พอใจของผู้ บ ริโ ภคที่ ใช้บ ริ การร้ า นคาเฟ่ ส ัต ว์เ ลี ้ย งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของ ผู้บริโภคโดยใช้สมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test และจำแนกตามสถานภาพข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าใช้ บริการด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน โดยทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ F-test (Oneway ANOVA Analysis of Variance) สมมติ ฐ านหลั ก ข้ อมู ล ส่ ว นบุ ค คล ด้ า นเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่ต่างกัน สมมติฐานที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีผลทำให้ ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้ านคาเฟ่สัตว์ เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน โดยทดสอบสมมติฐานทางสถิติเพื่อการทดสอบ ดังนี้ สมมติฐาน H0 : µเพศชาย = µเพศหญิง สมมติฐาน H1 :µเพศชาย = µเพศหญิง สมมติฐาน H0 : µอายุต่ำกว่า/เท่ากับ 20 ปี = µอายุ 21-25 ปี = µอายุ 26-30 ปี = µ มากกว่า 30 ปี สมมติฐาน H1 :มีอายุอย่างน้อยหนึ่งกลุ่มที่ทำให้ความพึงพอใจเฉลี่ยแตกต่างจากอายุกลุ่มอื่น สมมติฐาน H0 :µต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย = µมัธยมศึกษาตอนปลาย = µอนุปริญญา (ปวส.) หรือเทียบเท่า = µปริญญาตรี =

µสูงกว่าปริญญาตรี สมมติ ฐ าน H1: มี ร ะดั บ การศึ ก ษาอย่ า งน้ อ ยหนึ ่ ง กลุ ่ ม ที ่ ท ำให้ ค วามพึ ง พอใจเฉลี ่ ย แตกต่ าง จากกลุ่มอื่น สมมติฐาน H0 : µนักเรียน/นักศึกษา = µราชการ = µรัฐวิสาหกิจ = µรับจ้าง = µธุรกิจส่วนตัว สมมติฐาน H1 :มีระดับอาชีพอย่างน้อยหนึ่งกลุ่มที่ทำให้ความพึงพอใจเฉลี่ยแตกต่างจากกลุ่มอื่น สมมติฐาน H0 :µต่ำกว่า/เท่ากับ10,000 บาท = µ10,001-15,000 บาท = µ15,001-20,000 บาท = µ20,001 บาทขึน้ ไป สมมติฐาน H1 :มีระดับรายได้ต่อเดือนอย่างน้อยหนึ่งกลุ่มที่ทำให้ความพึงพอใจเฉลี่ยแตกต่าง จากกลุ่มอื่น 4.4.1 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลชอง ผู้บริโภคด้านเพศ โดยใช้สถิติ t-test แสดงตารางที่ 4.11 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้


43

บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศ ตารางที่ 4.11 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูล ส่วนบุคคลของผู้บริโภค ด้านเพศ ส่วนประสมทางการตลาด ชาย หญิง t sig บริการ(7P’s) (n=210 คน) (n=195 คน) S.D S.D 𝐱̅ 𝐱̅ 1. ด้านผลิตภัณฑ์ 2. ด้านราคา 3. ด้านช่องทางการ จัดจำหน่าย 4. ด้านการส่งเสริม การตลาด 5. ด้านบุคลากร 6. ด้านกระบวนการ 7. ด้านการสร้างและ นำเสนอลักษณะ ทางกายภาพ รวม *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

4.49 4.47 4.44

0.56 0.55 0.57

4.43 4.41 4.38

0.60 0.99 0.60 1.11 0.66 0.95

0.40 0.26 0.15

4.47

0.54

4.42

0.59 0.85

0.77

4.46 4.50 4.47

0.44 0.54 0.55

4.48 4.44 4.46

0.46 0.45 0.59 0.99 0.58 0.18

0.94 0.78 0.98

4.47

0.51

4.43

0.55 0.74

0.78

จากตารางที่ 4.11 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วน บุคคลของผู้บริโภคด้านเพศ โดยใช้สถิติ t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า ผู้บริโภค เพศชายและเพศหญิง ไม่ส่งผลต่อ ความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน


44

ตารางที่ 4.12 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูล ส่วนบุคคล ด้านอายุ ส่วนประสมทาง แหล่งความ SS DF MS F Sig. การตลาดบริการ แปรปรวน (7P's) 1.ด้านผลิตภัณฑ์ ระหว่างกลุ่ม 1.63 3.00 0.54 1.63 0.18 ภายในกลุ่ม 133.47 401.00 0.33 รวม 135.11 404.00 2.ด้านราคา ระหว่างกลุ่ม 1.50 3.00 0.50 1.50 0.21 ภายในกลุ่ม 132.96 401.00 0.33 รวม 134.45 404.00 3.ด้านช่องทางการจัด ระหว่างกลุ่ม 1.40 3.00 0.47 1.22 0.30 จำหน่าย ภายในกลุ่ม 152.57 401.00 0.38 รวม 153.96 404.00 4.ด้านการส่งเสริม ระหว่างกลุ่ม 1.34 3.00 0.45 1.39 0.24 การตลาด ภายในกลุ่ม 128.75 401.00 0.32 รวม 130.09 404.00 5.ด้านบุคลากร ระหว่างกลุ่ม 1.29 3.00 0.43 2.14 0.09 ภายในกลุ่ม 80.74 401.00 0.20 รวม 82.03 404.00 6.ด้านกระบวนการ ระหว่างกลุ่ม 1.93 3.00 0.64 2.05 0.11 ภายในกลุ่ม 126.07 401.00 0.31 รวม 128.00 404.00


45

ตารางที่ 4.12 (ต่อ) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตาม ข้อมูลส่วนบุคคล ด้านอายุ ส่วนประสมทาง แหล่งความ การตลาดบริการ แปรปรวน (7P's) 7.ด้านการสร้างและ ระหว่างกลุ่ม นำเสนอลักษณะ ภายในกลุ่ม ทางกายภาพ รวม รวม ระหว่างกลุ่ม ภายในกลุ่ม รวม *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

SS

DF

MS

F

Sig.

1.10 127.80 128.91 1.39 112.46 113.85

3.00 401.00 404.00 3.00 401.00 404.00

0.37 0.32

1.15

0.33

0.46 0.28

1.65

0.18

จากตารางที่ 4.12 ผลการทดสอบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ด้านอายุ ด้วยสถิติ F-test จากวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน


46

ตารางที่ 4.13 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูล ส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา ส่วนประสมทาง แหล่งความ SS DF MS F Sig. การตลาดบริการ แปรปรวน (7P's) 1. ด้านผลิตภัณฑ์ ระหว่างกลุ่ม 1.22 1.00 0.30 0.91 0.46 ภายในกลุ่ม 133.89 400.00 0.33 รวม 135.11 404.00 2. ด้านราคา ระหว่างกลุ่ม 0.56 1.00 0.14 0.42 0.79 ภายในกลุ่ม 133.89 400.00 0.33 รวม 134.45 404.00 3. ด้านช่องทางการจัด ระหว่างกลุ่ม 2.05 1.00 0.51 1.35 0.25 จำหน่าย ภายในกลุ่ม 151.91 400.00 0.38 รวม 153.96 404.00 4. ด้านการส่งเสริม ระหว่างกลุ่ม 0.86 1.00 0.21 0.67 0.62 การตลาด ภายในกลุ่ม 129.23 400.00 0.32 รวม 130.09 404.00 5. ด้านบุคลากร ระหว่างกลุ่ม 0.51 1.00 0.13 0.63 0.64 ภายในกลุ่ม 81.25 400.00 0.20 รวม 282.03 404.00 6. ด้านกระบวนการ ระหว่างกลุ่ม 1.05 1.00 0.26 0.83 0.51 ภายในกลุ่ม 126.95 400.00 0.32 รวม 128.00 404.00


47

ตารางที่ 4.13 (ต่อ) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตาม ข้อมูลส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา ส่วนประสมทาง แหล่งความ SS DF MS F Sig. การตลาดบริการ แปรปรวน (7P's) 7. ด้านการสร้าง ระหว่างกลุ่ม 0.60 1.00 0.15 0.47 0.76 และนำเสนอ ภายในกลุ่ม 128.31 400.00 0.32 ลักษณะทาง รวม 128.91 404.00 กายภาพ รวม ระหว่างกลุ่ม 0.88 1.00 0.22 0.78 0.54 ภายในกลุ่ม 112.97 400.00 0.28 รวม 113.85 404.00 *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 4.13 ผลการทดสอบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้าน ระดับการศึกษา ด้วยสถิติ F-test จากวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน


48

ตารางที่ 4.14 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูล ส่วนบุคคล ด้านอาชีพ ส่วนประสมทาง แหล่งความ SS DF MS F Sig. การตลาดบริการ แปรปรวน (7P's) 1. ด้านผลิตภัณฑ์ ระหว่างกลุ่ม 1.34 5.00 0.27 0.80 0.55 ภายในกลุ่ม 133.76 399.00 0.34 รวม 135.11 404.00 2. ด้านราคา ระหว่างกลุ่ม 2.67 5.00 0.53 1.62 0.15 ภายในกลุ่ม 131.78 399.00 0.33 รวม 134.45 404.00 3. ด้านช่องทางการจัด ระหว่างกลุ่ม 2.70 5.00 0.54 1.42 0.21 จำหน่าย ภายในกลุ่ม 151.26 399.00 0.38 รวม 153.96 404.00 4. ด้านการส่งเสริม ระหว่างกลุ่ม 1.47 5.00 0.29 0.91 0.47 การตลาด ภายในกลุ่ม 128.61 399.00 0.32 รวม 130.09 404.00 5. ด้านบุคลากร ระหว่างกลุ่ม 0.51 5.00 0.10 0.50 0.78 ภายในกลุ่ม 81.52 399.00 0.20 รวม 82.03 404.00


49

ตารางที่ 4.14 (ต่อ) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตาม ข้อมูลส่วนบุคคล ด้านอาชีพ ส่วนประสมทาง แหล่งความ SS DF MS F Sig. การตลาดบริการ แปรปรวน (7P’s) 6. ด้านกระบวนการ ระหว่างกลุ่ม 1.19 5.00 0.24 0.75 0.59 ภายในกลุ่ม 126.81 399.00 0.32 รวม 128.00 404.00 7. ด้านการสร้างและ ระหว่างกลุ่ม 1.81 5.00 0.36 1.14 0.34 นำเสนอลักษณะทาง ภายในกลุ่ม 127.10 399.00 0.32 กายภาพ รวม 128.91 404.00 รวม ระหว่างกลุ่ม 1.30 5.00 0.26 0.92 0.47 ภายในกลุ่ม 112.56 399.00 0.28 รวม 113.85 404.00 *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 4.14 ผลการทดสอบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้าน อาชีพ ด้วยสถิติ F-test จากวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยภาพไม่แตกต่างกัน


50

ตารางที่ 4.15 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูล ส่วนบุคคล ด้านรายได้ต่อเดือน ส่วนประสมทาง แหล่งความ SS DF MS F Sig. การตลาดบริการ แปรปรวน (7P's) 1. ด้านผลิตภัณฑ์ ระหว่างกลุ่ม 3.05 4.00 0.76 2.31 0.06 ภายในกลุ่ม 132.05 400.00 0.33 รวม 135.11 404.00 2. ด้านราคา ระหว่างกลุ่ม 2.89 4.00 0.72 2.19 0.07 ภายในกลุ่ม 131.57 400.00 0.33 รวม 134.45 404.00 3. ด้านช่องทางการจัด ระหว่างกลุ่ม 3.89 4.00 0.97 2.60 0.04* จำหน่าย ภายในกลุ่ม 150.07 400.00 0.38 รวม 153.96 404.00 4. ด้านการส่งเสริม ระหว่างกลุ่ม 3.04 4.00 0.76 2.39 0.05* การตลาด ภายในกลุ่ม 127.05 400.00 0.32 รวม 130.09 404.00 5. ด้านบุคลากร ระหว่างกลุ่ม 2.61 4.00 0.65 3.28 0.01* ภายในกลุ่ม 79.43 400.00 0.20 รวม 82.03 404.00


51

ตารางที่ 4.15 (ต่อ) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูล ส่วนบุคคล ด้านรายได้ต่อเดือน ส่วนประสมทาง แหล่งความ SS DF MS F Sig. การตลาดบริการ แปรปรวน (7P’s) 6. ด้านกระบวนการ ระหว่างกลุ่ม 2.51 4.00 0.63 2.00 0.09 ภายในกลุ่ม 125.49 400.00 0.31 รวม 128.00 404.00 7. ด้านการสร้างและ ระหว่างกลุ่ม 1.73 4.00 0.43 1.36 0.25 นำเสนอลักษณะทาง ภายในกลุ่ม 127.18 400.00 0.32 กายภาพ รวม 128.91 404.00 รวม ระหว่างกลุ่ม 2.66 4.00 0.66 2.39 0.05* ภายในกลุ่ม 111.20 400.00 0.28 รวม 113.85 404.00 *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 4.15 ผลการทดสอบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้าน รายได้ต่อเดือน ด้วยสถิติ F-test จากวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านบุคลากร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีทดสอบของ LSD ผลการเปรียบเทียบในรายคู่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดและด้านบุคลากร แสดงดังตารางที่ 4.16 -4.18


52

ตารางที่ 4.16 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูล ส่วนบุคคลด้านรายได้ต่อเดือนเปรียบเทียบรายคู่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ต่ำกว่า/ 10,00115,00120,001 รายได้ต่อเดือน x̅ เท่ากับ 15,000 บาท 20,000 บาท ขึ้นไป 10,000 บาท 4.23 4.37 4.47 4.56 1. ต่ำกว่า/เท่ากับ 4.23 -0.24* -0.33* -0.02 10,000 บาท 2. 10,001-15,000 บาท 4.37 -0.11 -0.12 3. 15,001-20,000 บาท 4.47 -0.09 4. 20,001 ขึน้ ไป 4.56 *มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 4.16 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD พบว่า ความพึงพอใจใน การเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย จำแนก ตามข้อมูลส่วนบุคคล ด้านรายได้ต่อเดือน เป็นรายคู่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 มีจำนวน 2 คู่ ได้แก่ กลุ่มรายได้ต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท มีความพึงพอใจด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มากกว่ากลุ่มรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า /เท่ากับ 10,000 บาท และกลุ่มรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท มีความพึงพอใจด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มากกว่ากลุ่มรายได้ต่อเดือนต่ำ กว่า 10,000 บาท ส่วน รายคู่อื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน


53

ตารางที่ 4.17 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูล ส่วนบุคคลด้านรายได้ต่อเดือนเปรียบเทียบรายคู่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ต่ำกว่า/ 10,00115,00120,001 รายได้ต่อเดือน ขึ้นไป x̅ เท่ากับ 15,000 บาท 20,000 บาท 10,000 บาท 4.33 4.43 4.52 4.60 1. ต่ำกว่า/เท่ากับ 4.33 -0.20* -0.27* -0.17 10,000 บาท 2. 10,001-15,000 บาท 4.43 -0.09 -0.16* 3. 15,001-20,000 บาท 4.52 -0.07 4. 20,001 ขึน้ ไป 4.60 *มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 4.17 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD พบว่า ความพึงพอใจใน การเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร การส่งเสริมการตลาด จำแนกตาม ข้อมูลส่วนบุคคล ด้านรายได้ต่อเดือน เป็นรายคู่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 มีจำนวน 3 คู่ ได้แก่ กลุ่มรายได้ต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท มีความพึงพอใจในด้านการส่งเสริมการตลาดมากกว่า กลุ่มรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า /เท่ากับ 10,000 บาท กลุ่มรายได้ต่อเดือน 15,001 - 20,000 บาท มีความพึง พอใจใน ด้านการส่งเสริมการตลาดมากกว่ากลุ่มรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า /เท่ากับ 10,000 บาท และกลุ่ม รายได้ต่อเดือน 20,001 ขึ้นไป มีความพึงพอใจในด้านการส่งเสริมการตลาดมากกว่ากลุ่มรายได้ต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท ส่วนรายคู่อื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน


54

ตารางที่ 4.18 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้าน รายได้ต่อเดือนเปรียบเทียบรายคู่ ด้านบุคลากร ต่ำกว่า/ 10,00115,00120,001 รายได้ต่อเดือน x̅ เท่ากับ 15,000 บาท 20,000 บาท ขึ้นไป 10,000 บาท 4.30 4.40 4.52 4.55 1. ต่ำกว่า/เท่ากับ 4.30 0.10 0.22* 0.26* 10,000 บาท 2. 10,001-15,000 บาท 4.40 0.12 0.15 3. 15,001-20,000 บาท 4.52 0.04 4. 20,001 ขึน้ ไป 4.55 *มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 4.18 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD พบว่า ความพึงพอใจใน การเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านบุคลากร จำแนกตามข้อมูลส่วน บุคคล ด้านรายได้ต่อเดือน เป็นรายคู่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 มีจำนวน 2 คู่ ได้แก่ กลุ่มรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท มีความพึงพอใจในด้านบุคลากรมากกว่ากลุ่มรายได้ต่อเดือน ต่ำกว่า/เท่ากับ 10,000 บาท และกลุ่มรายได้ต่อเดื อน 20,001 ขึ้นไป มีความพึงพอใจในด้านบุคลากร มากกว่ากลุ่มรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า/เท่ากับ 10,000 บาท ส่วนรายคู่อื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน


55

4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ ตารางที่ 4.19 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ ลำดับที่ ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ 1 ทางร้านควรรักษาความสะอาดมากขึ้น 2 ควรปรับเรื่องความรวดเร็วในการให้บริการ

ความถี่ (คน) 6 1

จากตารางที่ 4.19 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะพบว่า ทางร้านควรรักษาความ สะอาดมากขึ้นมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และควรปรับเรื่องความรวดเร็วในการให้บริการมีค่าเฉลี่ยรองลงมา

4.6 อภิปรายผล จาการศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อ ร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงโดยใช้หลักส่วนประสมทาง การตลาดบริการ (7P’s) สามารถอภิปรายผล ดังรายละเอียดดังนี้ 4.6.1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่มีต่อ ร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงโดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาด บริ ก าร (7P’s) พบว่ า ส่ ว นใหญ่ เป็ นเพศชาย มี อ ายุ อ ยู ่ท ี่ 26 – 30 ปี ศึ ก ษาอยู ่ในระดับ การศึกษา อนุปริญญาหรือเทียบเท่า อาชีพรัฐวิสาหกิจ และมีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท 4.6.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลพฤติกรรมการเข้าใช้ บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า ประเภทการเลือกใช้บริการ คือ สัตว์เลี้ยงภายในร้าน เหตุผลที่เลือกใช้บริการ คือ พบปะสังสรรค์ ช่วงเวลาที่เลือกใช้บริการ 15.01 - 17.00 น. ช่องทางในการติดต่อกับทางร้าน คือ Facebook ความเหมาะสมของราคาอาหารและเครื่องดื่มในการใช้บริการต่อครั้งอยู่ ที่ 96 – 120 บาท และเหตุผลที่กลับมาใช้ซ้ำ คือ ประทับใจในการบริการ 4.6.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยผู้บริโภคมีความพึงพอใจในด้านกระบวนการ และด้ า นบุ ค ลากร มากที ่ ส ุ ด รองลงมา ได้ แ ก่ ด้ า นการสร้ า งและนำเสนอลั ก ษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ 4.6.3.1 ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อ โดย สะอาด น่ารับประทาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ รสชาติของเบเกอรีและเครื่องดื่มมีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค รายการอาหารและเครื่องดื่มของทางร้านมีความดึงดูด ต่อผู้บริโภค และ


56

ร้านอาหารมีรายการอาหารใหม่ ๆ ออกมานำเสนอ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ วิจัยของ สุกัญญา ละมุล (2559) เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟสด คาเฟ่อเมซอน พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อด้านผลิตภัณฑ์หรือการบริการโดยชนิด เครื่องดื่มมีความหลากหลาย ภาชนะและบรรจุภัณฑ์มีความสวยงามและเมนูเบเกอรีมีความหลากหลายให้ เลือกสรรค์ 4.6.3.2 ด้านราคา พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อโดยคุณภาพ ของอาหารและเครื่องดื่มเหมาะสมกับราคา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความสวยงาม การจัด ตกแต่งอาหารเหมาะสมกับราคา ราคาคุ้มค่ากว่าเมื่อเทียบกับร้านอื่น และปริมาณอาหารอยู่ในราคาที่ เหมาะสม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ วิจัยของ กรวิกา ตระการวิจิตร (2560) เรื่อง ปัจจัยที่มีผล ต่อการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่แมวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ปัจจัยด้านราคา มีผล ต่อการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่แมว ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผู้ใช้บริการให้ความสำคัญกับ ราคาของสินค้าที่จำหน่ายภายในร้าน ต้องมีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพและปริมาณ 4.6.3.3 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความพึงพอใจในระดับมาก ทุกข้อโดย เดินทางสะดวก มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ สามารถสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั ่น ได้ หลากหลาย มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ วิจัยของ สุกัญญา ละมุล (2559) เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อ พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟสด คาเฟ่อเมซอน พบว่า ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมหลังการ ซื้อในการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้า นกาแฟสด คาเฟ่อเมซอน ดังนั้น ร้านกาแฟสด คาเฟ่อเมซอน ควรมี การปรับปรุงในเรื่องของการจัดสถานที่แบ่งเป็นสัดส่วน การเผยแพร่เพื่อให้เกิดการรับทราบข้อมูลและ ให้บริการผ่านทางเว็บไซต์ มีที่ตั้งของทางร้านหาง่าย สะดวกต่อการเดินทาง 4.6.3.4 ด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความพึงพอใจในระดับมาก ทุกข้อโดย มีการจัดกิจกรรมส่ง เสริม การขายที ่น่ า ดึ ง ดู ดใจ เช่น มีบัตรส่วนลดหรือ บั ตรสะสมแต้ ม มีการประชาสัมพันธ์ร้านผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อดึงดูดลูกค้า มีการประชาสัมพันธ์หลากหลาย ช่องทาง และมีการประชาสัมพันธ์ที่น่า ดึงดูด มีความน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากันทุกรายข้อ ซึ่ง สอดคล้องกับ วิจัยของ สุกัญญา ละมุล (2559) เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้ บริการร้านกาแฟสด คาเฟ่อเมซอน พบว่า ผู้ใช้บริการมีระดับความคิดเห็นในด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ ในระดับปานกลาง ดังนั้นทางร้านควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดให้มากยิ่งขึ้น 4.6.3.5 ด้านกระบวนการ พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อโดย กระบวนการสั่งอาหารและเครื่องดื่มมีลำดับขั้นตอนที่ง่าย รองลงมา ได้แก่ การคิดเงินและทอนเงินรวดเร็ว และมีความแม่นยำ และการบริการมีความรวดเร็วถูกต้อง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ วิจัยของ


57

ดาเรศ รังสีธรรมปัญญา (2559) เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านคาเฟ่แมว แคทเทอเดย์ Caturday Cat Café พบว่า ปัจจัยด้านกระบวนการ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจใน การใช้บริการคาเฟ่แมวแคทเทอเดย์ Caturday Cat Café มากที่สุด เพราะผู้ใช้บริการมีความคาดหวังจาก การใช้บริการจากทางร้าน ซึ่งประกอบไปด้วย การบริการมีความรวดเร็ว การบริการมีความถูกต้อง ความ ถูกต้องในการคิดราคาของสิน ค้า และมีการตอบสนองต่อข้อร้องเรียนของลูกค้าอย่างรวดเร็ว ไม่เพิกเฉย จากที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเป็นการบริการพื้นฐานที่ผู้ประกอบการทั่ว ๆ ไปควรจะมี ไม่ว่าจะเป็น คาเฟ่สัตว์ เลี้ยง ร้านอาหารทั่วไป หรือร้านค้าอื่น ๆ ที่จะต้องให้ความสำคัญเอาใจใส่ต่อกระบวนการการให้บ ริการ ก็ จะทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความพึงพอใจต่อการใช้บริการ การบริการพื้นฐานที่มาจากกระบวนการและการ ดูแลลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญ และยังสอดคล้องกับ วิจัยของ ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ (2541) เรื่อง การ บริหารการตลาดยุคใหม่ ที่กล่าวว่า กระบวนการการจัดการ เพื่อส่งมอบคุณภาพในการให้บริการกับลูกค้า ได้รวดเร็ว และประทับใจ บริการที่ดีที่สุดจะต้องกำหนดมาตรฐานด้านการให้บริการระดับสูง ระบบเพื่อ ติดตามการให้บริการ ธุรกิจต้องคอยตรวจสอบการทำงานด้านการให้บริการทั้งของบริษัทและคู่แข่ง เพื่อ ใช้วัดผลการทำงาน แก้ไขปัญหาตามข้อเสนอแนะของลูกค้า และนำคำติชมจากลูกค้าเพื่อนำข้อมูลไป แก้ไขปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดีขึ้น 4.6.3.6 ด้านบุคลากร พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อโดย พนักงานมีความสุภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ พนักงานแต่งกายสะอาด เรียบร้อย พนักงานมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานของตน และสามารถให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้ และพนักงานมีมนุษย์สัมพันธ์ ที่ดีต่อลูกค้า พนักงานมีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ วิจัยของ สุธี เสริมชีพ (2559) เรื่อง กลยุทธ์การบริหารร้าน Pet Café ให้ประสบความสำเร็จ พบว่า คุณภาพด้านการ บริการ พนักงานบริการ การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ ร้าน Pet café และเมื่อผู้เข้าใช้บริการเกิดความพึงพอใจย่อมส่งผลต่อความภักดีต่อร้าน Pet café 4.6.3.7 ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความ พึงพอใจในระดับมากทุกข้อโดย ร้านมีการดูแลทำความสะอาดอยู่เสมอ รองลงมา ได้แก่ ชื่อร้านมี เอกลักษณ์ จดจำได้ง่าย ภาพเมนูอาหารและเครื่องดื่มมีความดึงดูดน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และการ ตกแต่งร้ านทั้งภายในและภายนอกมีความโดดเด่น มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ วิจัยของ ดาเรศ รังสีธรรมปัญญา (2559) เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านคาเฟ่แมว แคทเทอเดย์ Caturday Cat Café พบว่า ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ เป็น ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ซึ่งปัจจัยด้านนี้ประกอบไปด้วย บรรยากาศ แสงสว่างเพียงพอ การปรับ อากาศและอุณหภูมิภายในร้านอย่างเหมาะสม มีการจัดวางพื้นที่ภายในร้านอย่างเหมาะสม


58

4.6.4 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของ ผู้บริโภคโดยใช้สมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test และจำแนกตามสถานภาพข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าใช้ บริการ โดยทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ F-test 4.6.4.1 เพศ พบว่า ผู้บริโภคเพศชายและเพศหญิงไม่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกใช้ บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4.6.4.2 อายุ พบว่ า อายุ โดยภาพรวมไม่ แ ตกต่ า งกั น ที ่ ร ะดั บ นั ย สำคั ญ ทางสถิ ติ ที่ระดับ 0.05 4.6.4.3 ระดับการศึกษา พบว่า ระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แ ตกต่ า งกั น ที่ระดั บ นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4.6.4.4 ด้ า นอาชี พ พบว่ า อาชี พ โดยภาพไม่ แ ตกต่ า งกั น ที ่ ร ะดั บ นั ย สำคั ญ ทางสถิ ติ ที่ระดับ 0.05 ผ 4.6.4.5 รายได้ต่อเดือน พบว่า ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และ ด้านบุคลากร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย โดยผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือน 10,000 – 15,000 บาท และผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือน 15,000 – 20,000 บาท มีความพึงพอใจด้านช่องทางการจัด จำหน่าย มากกว่าผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า/เท่ากับ 10,000 บาท 2) ด้านการส่งเสริมการตลาด โดยผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท และผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือน 20,001 ขึ้นไป มีความพึงพอใจด้านการส่งเสริมการตลาด มากกว่า ผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า/เท่ากับ 10,000 บาท 3) ด้านบุคลากร โดยผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท รายได้ต่อ เดือน 15,001 – 20,000 บาท มีความพึงพอใจด้านบุคลากร มากกว่าผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า / เท่ากับ 10,000 บาท และผู้บริโภครายได้ต่อเดือน 20,001 บาท ขึ้นไป มีความพึงพอใจด้านบุคลากร มากกว่าผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท


บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเข้าใช้บริการคาเฟ่สัตว์เลี้ยงที่ส่งผลต่อการเข้าร้านของผู้บริโภคใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ที่มีผลต่อความ พึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต ที่ส่งผลต่อการเข้าร้านของผู้บริโภคในเขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้าใช้บริการ ร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงที่ส่งผลต่อการเข้าร้านของผู้บริโภคในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ผู้ ศึกษาได้ท ำการเก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จำนวน 405 คน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 405 คน จากนั้นนำไป วิเคราะห์ผลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ สรุปผลได้ ดังนี้

5.1 สรุปผล การศึกษา เรื่อง ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อคาเฟ่สัตว์เลี้ยงโดยใช้หลักส่วนประสม ทาง การตลาดบริการ (7P’s) ดังนี้ 5.1.1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่มีต่อคาเฟ่สัตว์เลี้ยงโดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาด บริ ก าร (7P’s) พบว่ า ส่ ว นใหญ่ เป็ นเพศชาย มี อ ายุ อ ยู ่ท ี่ 26 – 30 ปี ศึ ก ษาอยู ่ในระดับ การศึกษา อนุปริญญาหรือเทียบเท่า อาชีพรัฐวิสาหกิจ และมีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท 5.1.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า ประเภทการเลือกใช้บริการ คือ สัตว์เลี้ยงภายในร้าน เหตุผลที่ เลือกใช้บริการ คือ พบปะสังสรรค์ ช่วงเวลาที่เลือกใช้บริการ 15.01 - 17.00 น. ช่องทางในการติดต่อกับทางร้าน คือ Facebook ความเหมาะสมของราคาอาหารและเครื่องดื่มในการใช้บริการต่อครั้งอยู่ที่ 96 – 120 บาท และเหตุผลที่กลับมาใช้ซ้ำ คือ ประทับใจในการบริการ 5.1.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านข้อมูลความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


60

เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยผู้บริโภคมีความพึงพอใจในด้านกระบวนการ และด้ า นบุ ค ลากร มากที ่ ส ุ ด รองลงมา ได้ แ ก่ ด้ า นการสร้ า งและนำเสนอลั ก ษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ 5.1.3.1 ด้านกระบวนการ พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อโดย กระบวนการสั่งอาหารและเครื่องดื่มมีลำดับขั้นตอนที่ง่าย รองลงมา ได้แก่ การคิดเงินและทอนเงินรวดเร็ว และมีความแม่นยำ และการบริการมีความรวดเร็วถูกต้อง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 5.1.3.2 ด้านบุคลากร พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อโดย พนักงานมีความสุภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ พนักงานแต่งกายสะอาด เรียบร้อย พนักงานมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานของตน และสามารถให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้ และพนักงานมีมนุษย์สัมพันธ์ ที่ดีต่อลูกค้า พนักงานมีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 5.1.3.3 ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อโดย สะอาด น่ารับประทาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ รสชาติของเบเกอรีและเครื่องดื่มมีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค รายการอาหารและเครื่องดื่มของทางร้านมีความดึงดูดต่อผู้บริโภค และ ร้านอาหารมีรายการอาหารใหม่ๆออกมานำเสนอ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 5.1.3.4 ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความ พึงพอใจในระดับมากทุกข้อโดยร้านมีการดูแลทำความสะอาดอยู่ เสมอ รองลงมา ได้แก่ ชื่อร้านมี เอกลักษณ์ จดจำได้ง่าย ภาพเมนูอาหารและเครื่องดื่มมีความดึงดูดน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และการ ตกแต่งร้านทั้งภายในและภายนอกมีความโดดเด่น มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 5.1.3.5 ด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความพึงพอใจในระดับมาก ทุกข้อโดย มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่น่าดึงดูดใจ เช่น มีบัตรส่วนลดหรือบัตรสะสมแต้ม มีการ ประชาสัมพันธ์ร้านผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อดึงดูดลูกค้ า มีการประชาสัมพันธ์หลากหลาย ช่องทาง และมีการประชาสัมพันธ์ที่น่าดึงดูด มีความน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากันทุกรายข้อ 5.1.3.6 ด้านราคา พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อโดยคุณภาพ ของอาหารและเครื่องดื่มเหมาะสมกับราคา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความสวยงาม การจัด ตกแต่งอาหารเหมาะสมกับราคา ราคาคุ้มค่ากว่าเมื่อเทียบกับร้านอื่น และปริมาณอาหารอยู่ในราคาที่ เหมาะสม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 5.1.3.7 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ภาพรวมและรายข้อมีความพึงพอใจในระดับมาก ทุกข้อโดย เดินทางสะดวก มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ สามารถสั่งอาหารแอพพลิเคชั่นได้หลากหลาย มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด


61

5.1.4 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของ ผู้บริโภคโดยใช้สมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test และจำแนกตามสถานภาพข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าใช้ บริการ โดยทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ F-test 5.1.4.1 เพศ พบว่า ผู้บริโภคเพศชายและเพศหญิงไม่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกใช้ บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 5.1.4.2 อายุ พบว่า อายุ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5.1.4.3 ระดับการศึกษา พบว่า ระดับการศึก ษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5.1.4.4 ด้านอาชีพ พบว่า อาชีพ โดยภาพไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5.1.4.5 รายได้ต่อเดือน พบว่า ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และ ด้านบุคลากร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

5.2 ข้อเสนอแนะ 5.2.1 ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา จากผลการศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ที่ 26 – 30 ปี ศึกษาอยู่ในระดับการศึกษา อนุ ป ริ ญ ญาหรือ เที ยบเท่า (ปวส) อาชี พ รั ฐ วิ ส าหกิ จ และมี ร ายได้ ต ่อ เดื อ น 15 ,001 – 20,000 บาท ซึ่งผู้บริโภคให้ความสำคัญกับด้านกระบวนการ ในกระบวนการสั่งอาหารและเครื่องดื่มมีลำดับขั้นตอนที่ ง่าย เพราะว่าเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการและมีความรวดเร็วในการสั่งอาหารและ เครื่องดื่ม รองลงมาพบว่า การบริการมีความรวดเร็วและถูกต้อง เพราะเนื่องจากผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ต้องการความรวดเร็วและความสะดวกในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเกี่ยวกับการบริการหรือด้านของการ ชำระเงิน และการคิดเงินและทอนเงินรวดเร็วและมีความแม่นยำ มีผลต่อความพึงพอใจ และในด้านของ ด้านบุคลากร พบว่า พนักงานมีความสุภาพ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เนื่องจากการเป็นพนักงานที่ดีควรมีความ สุภาพเป็นอย่างแรก รองลงมาพบว่า พนักงานแต่งกายสะอาด เรียบร้อย เนื่องจากพนักงานแต่งกาย สะอาดถือว่าเป็นวิธีการเรียกลูกค้าอย่างหนึ่ง รองลงมาพบว่า พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงาน ของตน และสามารถให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้ เนื่องจากการที่ ลูกค้าบางคนอาจจะต้องการคำอธิบาย


62

เกี่ยวกับสินค้าหรือการบริการ รองลงมาพบว่า พนักงานมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า เนื่องจากการที่ บริหารร้านนั้นการที่พนักงานมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า และพนักงานมีความกระตือรือร้นในการทำงาน เพราะ ในการทำงานด้านการบริการนั้นควรมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ลูกค้าเกิด ความ ประทับใจที่จะกลับมาใช้บริการซ้ำเนื่องจากพนักงานมีความเต็มใจที่จะทำงานของตน 5.2.2 ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป 5.2.2.1 ควรศึกษาเกี่ยวกับความภักดีในการใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยง 5.2.2.2 ควรศึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการนำไปใช้ที่ส่งผลต่อผู้บริโภค


เอกสารอ้างอิง Edt eatguide. (2557). Caturday Cat Café โครงการ Coco Walk. ค้ น หาเมื ่ อ วั น ที ่ 3 เมษายน 2 5 6 4 , จ าก https://www2.edtguide.com/index.php/www/drink/415435/caturdaycat-cafe Hype & Stuff. (2562). Enjoy A Meal Among Adorable Cats In Bangkok At Caturday Cat Cafe. ค้นหาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564, จาก https://hypeandstuff.com/caturday-catcafe-bangkok/ Painaidii สารพันคำถาม “ไปไหนดี ที่ไหนดี อะไรดี “เรามีคำตอบ. (2557). มาคุระ แคท คาเฟ่ คาเฟ่ ถูกใจสาวกคนเลิฟแมว!!. ค้นหาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564, จาก http://www.painaidii.com/diary/diary-detail/001273/lang/th/ Pet Hipster. (2561). CATNIP CAFÉ บ้านหลังเล็กที่พร้อมต้อนรับคนรักแมว. (2563). ค้นหาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564, จาก http://pethipsters.com/catnip-cafeUrban Creature. (2563). เปิดย่าน ‘สะพานใหม่’ ลุยงานอาร์ต แวะโคเวิร์คกิ้ง จบด้วยเช็กอินที่คาเฟ่ สุดชิค . (2563). ค้นหาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564, จาก https://urbancreature.co/plumcondo-saphanmai/ กชกร เป้ า สุ ว รรณและคณะ. (2550). ความคาดหวั ง และความพึ ง พอใจต่ อ การมาศึ ก ษาที ่ ต่ อ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ศูนย์พิษณุโลก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต กรวิกา ตระการวิจิตร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่แมวในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กาญจนา อรุณสุขรจี . (2546). ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ การเกษตรไชยปราการจำกัด. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กุ ม โชค ติ ณ สู ล านนท์ . (2560). ปั จ จั ย ที ่ ม ี ผ ลต่ อ ความพึ ง พอใจของผู ้ ซ ื ้ อ สิ น ค้ า ผ่ า นช่ อ งทาง อิเ ล็กทรอนิกส์บ น Lazada. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


64

คมสัน อินทะเสนและคณะ. (2560). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหาร ส่วนตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญารัฐศาสตร บัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย จั น จิ ร า ศรี ส มบู ร ณ์ . (2557). การศึ ก ษาความพึ ง พอใจของผู ้ ใ ช้ บ ริ ก ารคาเฟ่ ส ั ต ว์ เ ลี ้ ย งในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้Model ACSI. บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จิราพร กำจัดทุกข์. (2552). ความพึงพอใจหลังการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ฉลองศรี พิมลสมพงษ์. (2548). การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดาเรศ รังสีธรรมปัญญา. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการคาเฟ่แมว แคทเทอเดย์ Caturday Cat Café. การค้ น คว้ า อิ ส ระหลั ก สู ต รบริ ห ารธุ ร กิ จ มหาบั ณ ฑิ ต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. 2563. พิมพ์ครั้งที่ 18.ซีเอ็นยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. ลักษณวรรณ พวงไม้ม ิ่ง . (2545). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของราษฎรผู้พิทั กษ์ป่าประจ้ า หน่วยป้องกันรักษาป่าจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหาร ทรัพยากรป่าไม้, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2550). หลักการตลาด Principles of marketing. (พิมพ์ครั้งที่ 11), ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ศลิศา สุทธิเสริม. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสถานที่จ ำหน่ายอาหารที่มีสัตว์เลี้ยง เพื่อนันทนาการ (คาเฟ่สัตว์เลี้ยง). การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธีระฟิลม์ และไซเท็กซ์ จำกัด. สมบัตร บารมี. (2551). ปัจจัยทีมีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทมหพันธ์ ไฟเบอร์ซีเมนต์ จํากัด (มหาชน). รายงานการวิจัยคณะรัฐประศาสนศาสตร์ : สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.


65

สรวิ ศ สาระสุ ท ธิ . (2560). แผนกลยุ ท ธ์ ร ้ า นคาเฟ่ ส ุ น ั ข อิ น ุ ม าชิ . สำนั ก งานวิ ท ยทรั พ ยากร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2562). ระบบสถิติทางการทะเบียน. สืบค้นเมื่อ วันที่ 7 กันยายน 2563, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/stat/ สุ ก ั ญ ญา ละมุ ล . (2559). ปั จ จั ย ที ่ ม ี ผ ลต่ อ พฤติ ก รรมการตั ด สิ น ใจเลื อ กใช้ บ ริ ก ารร้ า นกาแฟสด คาเฟ่อเมซอน. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สุธี เสริมชีพ. (2559). กลยุทธ์การบริหารร้าน Pet café ให้ประสบผลสำเร็จ. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วน หนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. หมวดหมี. (2561). [รีวิว] MohuMohu Cafe : ที่สุดของคาเฟ่แมว เลี้ยงแมวจร ดูแลโคตรดี อาหาร โคตรอร่อย!. (2561). ค้นหาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564, จาก https://hmuadhmee.com/2018/02/18/mohumohucafe/ อรประภา ปัจจัย. (2561). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการร้านคาเฟ่ หมาใหญ่ใจดี ในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนี่งของการศึกษา ตามหลักสูตรมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป มหาวิทยาลัยศิลปากร. อัจฉรีย์ อรรถบดีสกุล . (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าของร้านคาเฟ่( Cat Café) จำนวน 8 แห่ ง ในเขตจั ง หวั ด กรุ ง เทพมหานคร. การค้ น คว้ า อิ ส ระหลั ก สู ต รศิ ล ปศาสตร์ มหาบัณฑิตวิทยาลัย การจัดการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.


ภาคผนวก


ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา


68

แบบสอบถาม เรื่อง ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร คำชี ้ แ จง แบบสอบถามฉบั บ นี ้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของรายวิ ช าโครงงานพิ เ ศษของนั ก ศึ ก ษาหลั ก สู ต ร คหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร มีวัตถุประสงค์การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของ ผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่ สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขและ พัฒนาการบริการโดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการให้เหมาะสมแก่ความต้องการของผู้บริโภค แบบสอบถาม แบบสอบถามในการศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่2 ข้อมูลพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ส่วนที3่ ข้อมูลความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ส่วนที่4 ข้อเสนอแนะ

ขอแสดงความนับถือ คณะผู้ศึกษา


69

ตอนที่1 ข้อมูลส่วนบุคคลผู้ตอบแบบสอบถาม คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย √ ลงในช่อง ☐ หน้าตัวเลือกที่ต้องการและกรุณากรอกรายละเอียดลง ในช่องที่กำหนดเลือกข้อนั้นๆ 1. เพศ ☐ 1) ชาย

☐ 2) หญิง

☐ 1) ต่ำกว่า/เท่ากับ 20 ปี

☐ 2) 21-25 ปี

☐ 3) 26-30 ปี

☐ 4) มากกว่า 30 ปี

2. อายุ

3. ระดับการศึกษา ☐ 1) ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย

☐ 2) มัธยมศึกษาตอนปลาย

☐ 3) อนุปริญญา (ปวส.) หรือเทียบเท่า

☐ 4) ปริญญาตรี

☐ 5) สูงกว่าปริญญาตรี 4. อาชีพ ☐ 1) นักเรียน/นักศึกษา

☐ 2) ราชการ

☐ 3) รัฐวิสาหกิจ

☐ 4) รับจ้าง

☐ 5) ธุรกิจส่วนตัว

☐ 6) อื่น ๆโปรดระบุ.............

5. รายได้ต่อเดือน ☐ 1) ต่ำกว่า 10,000 บาท

☐ 2) 10,001-15,000 บาท

☐ 3) 15,001-20,000 บาท

☐ 4) 20,001 บาทขึ้นไป


70

ตอนที่2 ข้อมูลพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย √ ลงในช่อง ☐ หน้าตัวเลือกที่ต้องการและกรุณากรอกรายละเอียด ลงในช่องที่กำหนด 6. ประเภทของการเลือกใช้บริการ (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ) ☐ 1) อาหารและเครื่องดื่ม ☐ 2) เบเกอรี ☐ 3) สัตว์เลี้ยงภายในร้าน ☐ 4) ส่วนลด/โปรโมชั่น ☐ 5) ราคาเหมาะสม ☐ 6) ใกล้สถานที่ทำงาน/สถานศึกษา ☐ 7) อื่น ๆโปรดระบุ.................................................................. 7. เหตุผลที่เลือกใช้บริการ ☐ 1) พักผ่อน ☐ 2) อ่านหนังสือ ☐ 3) นั่งทำงาน ☐ 4) พบปะสังสรรค์ ☐ 5) อื่น ๆโปรดระบุ.................................................................. 8. ช่วงเวลาที่เลือกใช้บริการ ☐ 1) 9.00-12.00 น. ☐ 2) 12.01-15.00 น. ☐ 3) 15.01-17.00 น. ☐ 4) 17.01-20.00 น.


71

9. ช่องทางในการติดต่อกับทางร้าน ☐ 1) Line ☐ 2) Facebook ☐ 3) E-mail ☐ 4) อื่น ๆโปรดระบุ.................................................................. 10. ความเหมาะสมของราคาอาหารและเครื่องดื่มในการใช้บริการต่อครั้ง ☐ 1) 45-70 บาท ☐ 2) 71-95 บาท ☐ 3) 96-120 บาท ☐ 4) มากกว่า 121 บาท 11. เหตุผลที่จะกลับมาใช้ซ้ำ ☐ 1) เคยใช้บริการมาก่อน ☐ 2) โปรโมชั่น ☐ 3) ประทับใจในการบริการ ☐ 4) บรรยากาศของร้าน


72

ตอนที่3 ข้อมูลความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย √ ลงในช่อง ☐ หน้าตัวเลือกที่ต้องการและกรุณากรอกรายละเอียดลง ในช่องที่กำหนดถ้าเลือกข้อนั้นๆ ระดับคะแนน 1 คือ ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด ระดับคะแนน 2 คือ ระดับความพึงพอใจน้อย ระดับคะแนน 3 คือ ระดับความพึงพอใจปานกลาง ระดับคะแนน 4 คือ ระดับความพึงพอใจมาก ระดับคะแนน 5 คือ ระดับความพึงพอใจมากที่สุด ความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการคาเฟ่ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านผลิตภัณฑ์ 12 สะอาด น่ารับประทาน 13 รสชาติของเบเกอรีและเครื่องดื่มมีมาตรฐานและเป็นที่ ยอมรับของผู้บริโภค 14 รายการอาหารและเครื่องดื่มของทางร้านมีความดึงดูดใจต่อ ผู้บริโภค 15 ร้านอาหารมีการปรับปรุงรายการอาหารอยู่เสมอ ด้านราคา 16 ปริมาณอาหารอยู่ในราคาที่เหมาะสม 17 คุณภาพของอาหารและเครื่องดื่มเหมาะสมกับราคา 18 ความสวยงาม การจัดตกแต่งอาหารเหมาะสมกับราคา 19 ราคาคุ้มค่ากว่าเมื่อเทียบกับร้านอื่น ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 20 เดินทางสะดวก 21 สามารถสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นได้หลากหลาย

ระดับความคิดเห็น 5

4

3

2

1


73

ความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการคาเฟ่ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้านการส่งเสริมการตลาด 22 มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่น่าดึงดูดใจ เช่น มีบัตร ส่วนลดหรือบัตรสะสมแต้ม 23 มีการประชาสัมพันธ์ร้านผ่านทางเครื่อข่ายสังคมออนไลน์เพื่อ ดึงดูดลูกค้า 24 มีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง 25 มีการประชาสัมพันธ์ที่น่าดึงดูด มีความน่าสนใจ ด้านกระบวนการ 26 กระบวนการสั่งอาหารและเครื่องดื่ม มีลำดับขั้นตอนทีเ่ ข้าใจง่าย 27 การบริการมีความรวดเร็วและถูกต้อง 28 การคิดเงินและทอนเงินรวดเร็วและมีความแม่นยำ ด้านบุคลากร 29 พนักงานมีความสุภาพ 30 พนักงานแต่งกายสะอาด เรียบร้อย 31 พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานของตน และ สามารถให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้ 32 พนักงานมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดตี ่อลูกค้า 33 พนักงานมีความกระตือรือร้นในการทำงาน ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ 34 ชื่อร้านมีเอกลักษณ์ จดจำได้ง่าย 35 การตกแต่งร้านทั้งภายในและภายนอกมีความโดดเด่น 36 ร้านมีการดูแลทำความสะอาดอยู่เสมอ 37 ภาพเมนูอาหารและเครื่องดื่มมีความดึงดูด น่าสนใจ

ระดับความคิดเห็น 5

4

3

2

1


74

ตอนที ่ 4 ข้ อ เสนอแนะเกี ่ ย วกั บ ความพึ ง พอใจในการเข้ า ใช้ บ ริ ก ารร้ า นคาเฟ่ ส ั ต ว์ เ ลี ้ ย งในเขตดุ สิ ต กรุงเทพมหานคร (ถ้ามี) ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................


ภาคผนวก ข ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ


76


77


78


79


80


ภาคผนวก ค ผลการตรวจวัดคุณภาพเครื่องมือ


82

ผลการตรวจเครื่องมือ (ค่า IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คนของแบบสอบถามการศึกษา เรื่อง ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านคาเฟ่สัตว์เลีย้ งในเขตดุสติ กรุงเทพมหานครโดยใช้หลักส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s)

ข้อที่ 1 2 3 4 5

ผลการคำนวณค่า IOC แบบสอบถามตอนที่ 1 ตอนที่ 1 คะแนนความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ รวม ค่า IOC คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1 1 1 3 1.00 1 1 1 3 1.00 1 1 1 3 1.00 1 1 1 3 1.00 1 1 1 3 1.00

สรุปผล ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้


83

ข้อที่ 6 7 8 9 10 11

ผลการคำนวณค่า IOC แบบสอบถามตอนที่ 2 ตอนที่ 2 คะแนนความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ รวม ค่า IOC คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1 0 1 2 0.67 1 1 1 3 1.00 1 1 1 3 1.00 1 0 1 2 0.67 0 1 1 2 0.67 0 1 1 2 0.67

สรุปผล ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้


84

ข้อที่ 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30

ผลการคำนวณค่า IOC แบบสอบถามตอนที่ 3 ตอนที่ 3 คะแนนความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ รวม ค่า IOC คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1 0 1 2 0.67 1 1 1 3 1.00 1 0 1 2 0.67 0 1 1 2 0.67 0 1 1 2 0.67 1 1 1 3 1.00 1 0 1 2 0.67 1 1 0 2 0.67 1 -1 1 2 0.33 1 0 1 2 0.67 1 0 0 1 0.33 1 1 1 3 1.00 1 0 1 2 0.67 1 0 1 2 0.67 1 0 1 2 0.67 1 0 0 1 0.33 1 1 1 3 1.00 1 1 0 2 0.67 1 0 1 2 0.67

สรุปผล ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ตัดทิ้ง ใช้ได้ ตัดทิ้ง ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ตัดทิ้ง ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้


85

ข้อที่ 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40

ผลการคำนวณค่า IOC แบบสอบถามตอนที่ 3 (ต่อ) ตอนที่ 3 คะแนนความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ รวม ค่า IOC คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1 0 1 2 0.67 1 1 1 3 1.00 1 1 1 3 1.00 1 0 1 2 0.67 1 1 1 3 1.00 1 1 1 3 1.00 1 0 1 2 0.67 1 0 1 2 0.67 1 0 1 2 0.67 1 0 1 2 0.67

สรุปผล ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้ ใช้ได้


86

ประวัติผู้ศึกษา ชื่อ-นามสกุล วัน เดือน ปีเกิด ที่อยู่ปัจจุบัน Email วุฒิการศึกษา

นางสาวปฏิญญา สายสิญจน์ 25 สิงหาคม พ.ศ.2541 184 ม.11 ซ.ประชาราษฎร์ 4 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 patinya-sai@rmutp.ac.th ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร พ.ศ. 2563 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีนนทบุรี พ.ศ. 2559

ทุนการศึกษา/ ทุนวิจัย/ รางวัลและผลงานดีเด่น

-


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.