วารสารโครงการหลวง ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2556

Page 1



สารบัญ

ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2556 1 3 7

บทบรรณาธิการ คนและข่าว สาระน่ารู้

• เฮมพ์กับโครงการหลวง

10

ดี-สนุก

• ล่องเรือนํ้าโขง เที่ยวสวนองุ่นเวียงแก่น ก่อนพระอาทิตย์ ขึ้นที่ผาตั้ง

15

แนะนำ�ผลิตภัณฑ์ ผลิตผล

• ข้าวกล้อง ข้าวดอยซ้อมมือ โครงการหลวง

16

ดี-อร่อย • Mix Fruit Strawberry Jelly with Bubalos Yogurt

วัตถุประสงค์ เพื่อนำ�เสนอข่าวสาร ความเคลื่อนไหวในด้านต่างๆ ของมูลนิธิโครงการหลวง รวมทั้งเผยแพร่ผลงาน ทางวิ ช าการแนะนำ � ผลิ ต ผลและผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข อง มูลนิธฯิ เพือ่ ประโยชน์ตอ่ บุคลากรและผูส้ นใจทัว่ ไป

มูลนิธิโครงการหลวง เลขที่ 65 หมู่ 1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 053-278332, 053-277094, 053-274711 053-810765-8 ต่อ 108, 104, 344 โทรสาร 053-324000 http://www.royalprojectthailand.com E-mail : pr@royalprojectthailand.com

17

ก้าวใหม่

• การควบคุมศัตรูพืชโดยการใช้สารจุลินทรีย์ชีวภัณฑ์ใน โครงการหลวง

25

สุขภาพดี

• มาค้นหาสุขภาพที่ดีกันเถอะ

30

งานวิจัยใช้ได้จริง

• กุ ห ลาบพั น ธุ์ ใ หม่ โครงการหลวง...จากงานวิ จั ย สู่ ง าน ส่งเสริม

37

วิถีชนเผ่า

• บันทึกความทรงจำ�

41

คลินิกพืช

• กับดักกาวเหนียว (Sticky Traps) ใช้อย่างไรให้ได้ผล สูงสุด

46

บุคคลในเรื่อง

• นายตาเล่อะ ขันธ์เขียว

พิมพ์ที่

49

บริษัท ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำ�กัด 412/31 เชียงใหม่แลนด์ ถ.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 โทรศัพท์ 053-272079, 272081 E-mail : trio_cm@hotmail.com, iamtrio@gmail.com

50

ลัดเลาะร้านโครงการหลวง

• ร้านโครงการหลวง สาขา บองมาเช่ร์

เกร็ดและแก่นโครงการหลวง

• สามเหลี่ยมแร้นแค้น และสูตรพระราชทาน บริษัท เอ็น พี เอส สยาม สอบบัญชี จำ�กัด www.npssiam.co.th Tel. 02-711-5300


คณะผู้จัดทำ� ที่ปรึกษา

ศ.พิเศษ ดร.สันทัด ศ.ดร.กำ�พล คุณหญิงประจิตต์ วิจิตร สุทัศน์

บรรณาธิการ พรนันทน์

ROYAL PROJECT

โรจนสุนทร อดุลวิทย์ กำ�ภู ณ อยุธยา ถนอมถิ่น ปลื้มปัญญา ภู่สว่าง

ผู้ช่วยบรรณาธิการ จุรีพร อภิษฎา ณัฐกานต์

ชำ�นาญพล จันทร์อุดม เอมาวัฒน์

กองบรรณาธิการ ดร.วีรพันธ์ ดร.วชิระ ดร.กุลธนี ดร.อัญชัญ รุ้งตะวัน กาญจนา จารุทัศ ดวงใจ ประไพพักตร์ มาโนช จุทรีมาศ ศิริลักษณ์ จันทิรา

ศิลปกรรม วารุณี

พิสูจน์อักษร อดุลย์ สายชม

บทบรรณาธิการ

กันแก้ว เกตุเพชร ผิวนิล ชมพูพวง จันทรเปารยะ วิชิตตระกูลถาวร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา บุตรสำ�ราญ คำ�เกิด ปราครุฑ ชัยชนะ อธิคมวิศิษฐ์ แสงวัฒนะ สุริยะ ชมพล ธเนศนิตย์

JOURNAL

ปลายฝนต้นหนาว ฤดูแห่งการรอคอยสำ�หรับนักท่องเทีย่ ว ที่ชื่นชอบความงามของธรรมชาติ ความสุขที่ได้รับจากการเดิน สบายๆ ท่ามกลางสายหมอก เต็มอิ่มกับความงามของพรรณไม้ ที่ บ านชู ช่ อ ส่ ง กลิ่ น หอม อวดความงดงามของสี สั น ในทุ ก พื้นที่ของโครงการหลวง ซึ่งนอกจากพื้นที่ยอดยอดนิยมอย่าง อ่างขาง อินทนนท์ ม่อนแจ่ม แล้ว โครงการหลวงยังเริ่มพัฒนา ทีท่ อ่ งเทีย่ วใหม่ๆ เพือ่ เปิดทางให้ทกุ ท่านได้สมั ผัสกับบรรยากาศ ที่แตกต่าง และน่าจดจำ� หนาวนี้ นอกจากเราจะได้ต้อนรับการกลับมาของผลไม้ ลูกเล็ก สีสด รสหอมหวาน อย่างสตรอเบอรี่ โดยเฉพาะพันธุ์ พระราชทาน 80 แล้ ว ยั ง มี ผ ลิ ต ผลจากโครงการหลวงอี ก หลายชนิดที่ไม่ควรพลาดไม่ว่าจะเป็น องุ่นดำ�ทานง่ายไร้เมล็ด กีวีฟรู้ตอมเปรี้ยวอมหวานที่อุดมด้วยวิตามิน และผลไม้อื่นๆ อีกมากมาย ชิมผลไม้อิ่มท้องแล้ว ยังต้องขอแบ่งพื้นที่ไว้สำ�หรับ ชมความงามของไม้ ด อกให้ อิ่ ม ใจกั บ ผลงานจากการค้ น คว้ า ทดสอบของโครงการหลวง จนได้ กุ ห ลาบสายพั น ธ์ ใ หม่ 6 สายพั น ธุ์ ที่ อ วดโฉมครั้ ง แรกในงานสตรอเบอรี่ แ ฟร์ 2013 ทีผ่ า่ นมา ซึง่ ได้รบั การตอบรับอย่างดี ผลิตผลทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดนี้ ท่านสามารถเลือกซื้อได้ที่ร้ านโครงการหลวงสาขาใกล้บ้าน หรือจะรอชม พร้อมช็อป และชิม ผลิตผล ผลิตภัณฑ์ คุณภาพ ของโครงการหลวง ได้ที่ งานโครงการหลวง 2556 วันที่ 26-29 ธันวาคม 2556 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ไม่ผิด กติกาแต่อย่างใดค่ะ “มอบผลิตภัณฑ์โครงการหลวง เพือ่ แสดงถึงความรัก ความ ห่วงใยในสุขภาพ สำ�หรับคนที่คุณรักในเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้ นะคะ” แล้วพบกันในฉบับหน้าค่ะ พรนันทน์ ภู่สว่าง


คนและข่าว : People and News

01

8 AUGUST 2013 สิงหาคม 2556 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า จุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราช กุ ม ารี เสด็ จ ในพิ ธี เ ปิ ด งาน โครงการหลวง 44 ณ ศูนย์ ก า ร ค้ า เ ซ็ น ท รั ล เ วิ ล ด์ กรุงเทพฯ 8

กรกฎาคม 2556 หม่ อ มเจ้ า ภี ศ เดช รั ช นี ประธานมู ล นิ ธิ โครงการหลวง เป็นประธานเปิดอาคาร คั ด บรรจุ ศู น ย์ พั ฒ นาโครงการหลวง ทุ่งหลวง อำ�เภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้เข้ าชมเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ ผลผลิ ต ด้ ว ยเครื่ อ งทำ � ความเย็ น ระบบ สุญญากาศภายในอาคาร และขัน้ ตอนต่างๆ ตั้งแต่การคัดการบรรจุผลผลิต การเก็บ รักษา การเตรียมขนส่งผลผลิต พร้อมกันนี้ ยังได้ปลูกต้นมณฑาดอยหรือจำ�ปีป่า ไว้ที่ ด้านหน้าของอาคารคัดบรรจุของศูนย์ 31

03

30 JULY 2013

02

31 JULY 2013

กรกฎาคม 2556 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงเปิดงาน เทศกาลปทุมมา : ทิวลิปแห่งสยาม ณ อาคารนิทรรศการ 2 อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายฤทธิพงศ์ เตชะพันธุ์ รองผูว้ า่ ราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับแขกผูม้ ี เกียรติ ซึ่งประกอบด้วย กงสุลต่างประเทศ และแขก ผู้มีเกียรติทั้งภาครัฐและเอกชน จากนั้น ดร.อำ�พน กิตติอ�ำ พน ประธานกรรมการสถาบันวิจยั และพัฒนา พื้ น ที่ สู ง (องค์ ก ารมหาชน) กล่ า วรายงาน และ เชิ ญ ผู้ มี จิ ต ศรั ท ธาที่ ซื้ อ ภาพการกุ ศ ลถวายเงิ น แด่ หม่ อ มเจ้ า ภี ศ เดช รั ช นี เพื่ อ สมทบทุ น กองทุ น การศึ ก ษาสำ � หรั บ เยาวชนในพื้ น ที่ โ ครงการหลวง ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ 30


04

1-3 JUNE 2013 มิถุนายน 2556 มูลนิธิโครงการหลวง โดย สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับโรงเรียนบ้านขอบด้ง พร้อมทัง้ หน่วยงานในพืน้ ที่ จัดกิจกรรมค่ายมัคคุเทศก์นอ้ ย ดอยอ่างขาง ครั้งที่ 10 ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างเสริม และ พัฒนาทักษะด้านต่างๆ ให้แก่นักเรียน ก่อนที่จะออกมา ปฏิบัติงาน ต้อนรับนักท่องเที่ยว ณ หน่วยจัดการต้นนํ้า แม่เผอะ อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 1-3

มิถุนายน 2556 มูลนิธโิ ครงการหลวงร่วมจัดแสดงนิทรรศการและ จำ�หน่ายผลิตผลผลิตภัณฑ์ของโครงการหลวง ใน งาน “พิษณุโลก อินโดไชน่า เอ๊กซ์โป” ณ บริเวณ สี่แยกอินโดจีน ลานหน้า บริษัทไทวัสดุ จำ�กัด จังหวัดพิษณุโลก

05

1-10

1-10 JUNE 2013

Phitsanulok Indochina Expo 2013

มิถุนายน 2556 คณะเชฟ ซัพพลายเออร์ด้านอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำ� ของไทย และผู้จัดงาน Bangkok Restaurant Charity Week 2013 เข้าเยี่ยมชมแหล่ง ผ ลิ ต ผ ล ต่ า ง ๆ พ ร้ อ ม ทั้ ง ช ม กระบวนการหลั ง การเก็ บ เกี่ ย ว ผลผลิตของมูลนิธิโครงการหลวง ณ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อำ�เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนอง หอย อำ�เภอแม่รมิ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ผลิตผลมูลนิธิโครงการ หลวง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 24-25

06

24-25 JUNE 2013


07

18-19 JULY 2013

18-19 กรกฎาคม 2556

สถานเอกอั ค รราชทู ต ณ กรุ ง เบอร์ ลิ น สหพั น ธ์ สาธารณรัฐเยอรมัน ได้นำ�คณะสื่อมวลชนไทยและ เยอรมัน เข้าศึกษาดูงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวง หนองหอย อำ�เภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ สถานี เกษตรหลวงอิ น ทนนท์ อำ � เภอจอมทอง จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ และศู น ย์ ผ ลิ ต ผลมู ล นิ ธิ โ ครงการหลวง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

08 สิงหาคม 2556 มูลนิธิโครงการหลวงร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา พื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จัดการสัมมนา “สรุป ผลการปฏิบัติงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 และ แผนการปฏิบัติงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ของ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง” ณ โรงแรม ปาล์มมาลี บีช รีสอร์ท จ.ระยอง 13-17

13-17 AUGUST 2013

Palmeraie beach resort

ประมวลภาพกิ จ กรรมปลู ก ป่ า ในพื้ น ที่ โครงการหลวง ในรอบปี 2556


ผักอินทรีย์

โครงการหลวง

ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีสงั เคราะห์ ไม่ใช้พนั ธุพ ์ ชื ทีต่ ดั ต่อพันธุกรรม (GMOs) ใช้แต่วสั ดุธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม ผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่การปลูก ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว จนถึงการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ ได้ผกั ทีม่ คี ณ ุ ภาพและปลอดภัยต่อผูบ้ ริโภคและตัวเกษตรกรเอง ผูบ้ ริโภคจึงมัน่ ใจ ได้ในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัย สังเกตได้จากสัญลักษณ์ Organic Thailand ที่ติดอยู่บนถุงบรรจุ

(( มีจํำ�หน่ายในร้านโครงการหลวงทุกสาขา ))


ROYAL PROJECT JOURNAL

7

สาระน่ารู้ : Knowledge

เฮมพ์กับโครงการหลวง กองบรรณาธิการ

เฮมพ์ (Hemp) หรือ กัญชง มีถิ่นกำ�เนิดอยู่ในทวีปเอเชียกลาง และ ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก เฮมพ์เป็นพืชเส้นใยชนิดหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตของมนุษย์มาอย่างยาวนานหลายพันปี มี การนำ�เอาส่วนต่างๆ ของเฮมพ์มาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย เช่น เส้นใยนำ�มา ทำ�เป็นเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า กระดาษ เมล็ดบีบเอานํ้ามันที่มีคุณภาพดี ที่มี โอเมก้า 3 และ 6 มีการนำ�ส่วนต่างๆ มาใช้ในทางการแพทย์ เป็นต้น ต่อมาช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เฮมพ์ได้ถูกลดบทบาทและความสำ�คัญลง เนื่องจาก มีเส้นใยสังเคราะห์มาทดแทนเส้นใยธรรมชาติอย่างเฮมพ์ ทำ�ให้พื้นที่เพาะปลูก เฮมพ์ทั่วโลกลดลง ประเทศที่มีการปลูกเฮมพ์ที่สำ�คัญ ได้แก่ เกาหลีเหนือ จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส ชิลี และยูเครน ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปได้กำ�หนดให้เฮมพ์ ต้องมีปริมาณสารเสพติด (THC) ตํ่ากว่า 0.3% ดังนั้นในปัจจุบันยุโรปจึงมีการ เพาะปลูกเฮมพ์เพื่อใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมกันอย่างแพร่หลาย และมี แนวโน้มที่จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เฮมพ์ใน ประเทศไทยนัน้ ได้ปลูกโดยชาวเขาเผ่าม้งบนพืน้ ทีส่ งู มาอย่างยาวนาน ดังจะเห็น ว่าชุดประจำ�เผ่าของชนเผ่าม้งดั้งเดิมทำ�มาจากเฮมพ์ แต่เนื่องจากตามกฎหมาย ของประเทศไทย เฮมพ์ถกู จัดให้เป็นพืชเสพติดเช่นเดียวกับกัญชา ดังนัน้ การปลูก เฮมพ์ของชาวเขาช่วงนัน้ จึงเป็นการลักลอบปลูก ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ ทรงสนพระทัยผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ และได้มพี ระราชเสาวนีย์ ให้มกี ารศึกษาการเพาะปลูกเฮมพ์อย่างจริงจังในประเทศไทยตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2547


8

ROYAL PROJECT JOURNAL

เป็นต้นมา ในปี 2549-2552 สภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ได้สนับสนุนงบประมาณให้มลู นิธิ โครงการหลวง ร่วมกับ สถาบันวิจยั และพัฒนาพืน้ ทีส่ งู (องค์ ก ารมหาชน) ศึ ก ษาวิ จั ย ในหั ว ข้ อ ต่า งๆ เช่ น การปลูกและดูแลรักษาที่ดี การแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากเฮมพ์ การตลาดเฮมพ์ รวมถึ ง การพิ จ ารณา หามาตรการที่เหมาะสมสำ�หรับสนับสนุนการปลูก เฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงของประเทศไทย แต่เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อน จึง พบว่าสภาพแวดล้อมเป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูก เฮมพ์มาก โดยเฉพาะการปลูกให้ได้ THC ตํ่ากว่า 0.3% อย่างไรก็ตามโครงการหลวงได้มีการศึกษา

HEMP

พ์


ROYAL PROJECT JOURNAL

9

วิจยั เรือ่ งพันธุเ์ ฮมพ์ในประเทศไทย ได้ท�ำ การปรับปรุง พันธุ์เฮมพ์จนสำ�เร็จโดยใช้วิธีการคัดเลือกรวม (mass selection method) ได้เฮมพ์พันธุ์ดีจำ�นวน 4 พันธุ์ คือ RPF 1, RPF 2, RPF 3 และ RPF 4 สำ�หรับนำ�ไป ใช้เป็นพันธุ์ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในปัจจุบัน จาก ผลการดำ�เนินงานทีผ่ า่ นมาของโครงการหลวงจะเห็น ได้ว่ามีความก้าวหน้าไปมาก มีองค์ความรู้ที่เกิดจาก การวิจยั จากการปฏิบตั งิ าน ทีเ่ พียงพอสำ�หรับผลักดัน ให้มีการปลูกเฮมพ์ได้ในเมืองไทย และโครงการหลวง ได้ให้ความสำ�คัญกับเฮมพ์ซึ่งเป็นพืชที่น่าสนใจอีก ชนิดหนึ่งสำ�หรับส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นพืช เศรษฐกิจบนพื้นที่สูงต่อไป

เอกสารอ้างอิง สำ�นักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร. 2556. รายการขอให้ออกหนังสือพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน. กรมวิชาการเกษตร. Available source: http://www.doa.go.th/pvp/newpp54.htm (18 มิ.ย. 56) Ranalli, P. 1999. Advances in hemp research. Food Products Press (Haworth Press), London. 272 p. Ehrensing, D.T. 1998. Feasibility of industrial hemp production in the United States Pacific Northwest. Available source: http://extension.oregonstate.edu/catalog/ html/sb/sb681/ (September 28, 2008). Jobling, T. and P. Warner. 2001. New tropical industrial hemp. Proceeding of the 10th Australian Agronomy Conference 2001, Australian Society of Agronomy.


10

ROYAL PROJECT JOURNAL

ดี-สนุก : Travel

ล่องเรือนํ้าโขง

เที่ยวสวนองุ่นเวียงแก่น ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นที่ผาตั้ง เส้นทาง: ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยแล้ง-ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย วารสารโครงการหลวงฉบับนี้ คอลัมน์ดี-สนุก มีเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรใหม่ๆ มาแนะนำ�ให้ ผู้อ่านได้วางแผนเที่ยวกันในช่วงฤดูหนาวที่จะถึงนี้ ในพื้นที่ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย ซึ่งเป็นอำ�เภอที่มี แม่ นํ้ า โขงไหลผ่ า นคั่ น ระหว่ า งประเทศเพื่ อ นบ้ า น อย่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทัง้ เป็น ที่ตั้งของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยแล้ง และ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง

Phatung


ROYAL PROJECT JOURNAL

11

จุดที่ 1 : แม่นํ้าโขงเราต่างเพื่อนพี่น้องกัน

แม่นํ้าโขงมีต้นกำ�เนิดจากที่ราบสูงทิเบต ไหลผ่ าน 6 ประเทศ จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ก่อน ออกสู่ทะเลจีนใต้ ในเขตจังหวัดเชียงรายแม่นํ้าโขงไหลผ่าน อ.เชียงแสน อ.เชียงของ อ.เวียงแก่น โดยมีจุดสุดท้ายที่แม่นํ้า โขงจะไหลจากไทยเข้าสู่เขตลาว ที่ “แก่งผาได” บ้านห้วยลึก ต.ม่วงยาย อ.เวียงแก่น นักท่องเที่ยวสามารถเริ่มนั่งเรือสัมผัส วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องไทย-ลาว ได้ที่จุดชมวิวบ้านห้วยเอียน ต.หล่ายงาว อ.เวียงแก่น ที่นี่เป็นจุดที่ แม่นํ้าโขงไหลผ่าน มีทัศนียภาพสวยงามเห็นแนวภูเขาและฝั่งประเทศลาวไทยอย่างชัดเจน มีห้องนํา้ สะอาด ไว้บริการนักท่องเที่ยวที่จอดแวะพัก และมีท่าเรือไว้บริการสำ�หรับล่องเรือท่องแม่นํ้าโขงไปยังแก่งผาได โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนพฤษภาคม จะเป็นช่วงนํา้ ลดน้อยลง ทำ�ให้มองเห็นแก่งหินน้อย-ใหญ่ ทีโ่ ผล่พน้ แม่นาํ้ และตลอดสองริมฝัง่ โขงยังคงมองเห็นภาพทีค่ นุ้ ตาของชาวบ้านแถวนีค้ อื พีน่ อ้ งชาวลาวทีใ่ ช้ชวี ติ ริมโขงทำ�การเกษตร และนั่งเรือข้ามฝั่งมาจับจ่ายใช้สอย ผูกสัมพันธ์กับคนในฝั่งไทย นักท่องเที่ยวยังสามารถ แวะจอดเรือรับประทานอาหารที่มีเมนูเด็ดเป็นปลาสดๆ จากแม่นํ้าโขง มาปรุงหลากหลายเมนู ก่อนสิ้นสุด ขึ้นฝั่งที่แก่งผาได


12

ROYAL PROJECT JOURNAL

จุดที่ 2 : เที่ยวสวนองุ่นที่ศูนย์ฯ ห้วยแล้ง หลังจากขึ้นฝั่งชมแก่งหินที่ผาไดแล้ว มาเที่ยว ชิม ซือ้ องุน่ ไร้เมล็ดกันต่อทีศ่ นู ย์พฒ ั นาโครงการหลวง ห้ ว ยแล้ ง ต.ปอ อ.เวี ย งแก่ น ซึ่ ง มี พื้ น ที่ ส่ ว นใหญ่ เป็นภูเขาสูง มองลงมาสามารถเห็น อ.เวียงแก่น และ สายของแม่ นํ้ า โขงอย่ า งชั ด เจน ที่ นี่ น อกจากการ ส่ ง เสริ ม แปลงเกษตรพื ช ผั ก แล้ ว ยั ง มี ไ ฮไลท์ ข อง แปลงพืชผลที่ในแต่ละปีสร้างรายได้อย่างสวยงาม ให้เกษตรในพื้นที่ ได้แก่ การปลูกองุ่นดำ�ไร้เมล็ด ภายในโรงเรือนพลาสติก โดยในปัจจุบันศูนย์พัฒนา โครงการหลวงห้ ว ยแล้ ง มี เ กษตรกรที่ ป ลู ก องุ่ น ดำ � ไร้เมล็ด จำ�นวน 20 ราย มีผลผลิตออกจำ�หน่ายปีละ ประมาณ 4 ตัน รวมเป็นมูลค่ากว่า 500,000 บาท

สวนองุ่น

GRAPES GARDEN

ช่วงเดือนพฤศจิกายน - มกราคมที่มีผลผลิตออกมาก เทศบาลอำ�เภอเวียงแก่นและศูนย์พัฒนาโครงการ หลวงห้ ว ยแล้ ง จึ ง ได้ ร่ ว มกั น จั ด งาน “เทศกาล เที่ ย วสวนองุ่นอำ�เภอเวียงแก่น” เพื่อกระตุ้นให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วเข้ า มาท่ อ งเที่ ย วในพื้ น ที่ ชมแปลง เกษตร เลือกซื้อองุ่นดำ�ไร้เมล็ดสดๆ ปลอดภัยโดยที่ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเก็บองุ่นจากต้นได้ด้วย ตนเอง เกิดการกระจายรายได้สู่เกษตรกรและชุมชน ให้ยั่งยืน


ROYAL PROJECT JOURNAL

13

จุดที่ 3 : ก่อนพระอาทิตย์จะมาที่ผาตั้ง สนุ ก สนานและเลื อ กซื้ อ องุ่ น ติดไม้ติดมือกันแล้ว เดินทางต่อไปยัง ดอยผาตั้งเพื่อเข้าที่พักและเตรียมตัว ขึ้ น ไ ป ช ม ท ะ เ ล ห ม อ ก แ ล ะ ร อ ดู พระอาทิตย์ขนึ้ ในเช้าอีกวัน ดอยผาตัง้ ตั้งอยู่ที่ ต.ปอ อ.เวียงแก่น หมู่บ้าน ผาตั้งอยู่สูงจากระดับนํ้าทะเล 1,635 เมตร มีภูเขาสูงเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบ ระหว่างเชิงเขาเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่ ระหว่างเทือกเขาดอยยาว-ดอยผาหม่น ที่ดอยผาตั้งเป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนา โครงการหลวงผาตัง้ เดิมเป็นหน่วยย่อย ของศูนย์พฒ ั นาโครงการหลวงห้วยแล้ง ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมศูนย์และ เข้าชมแปลงเกษตร เช่น บร็อคโคลี แรดิชชิโอ ถั่วลันเตาหวาน กะหลํ่า ม่วง ฯลฯ แปลงไม้ผล เช่น พี้ช พลับ บ๊วย เคพกูสเบอร์รี่ เป็นต้น ภายใน พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง ไม่มีที่พัก และร้านอาหารบริการ แต่มีบ้านพัก รีสอร์ทเอกชนให้บริการอยู่หลายแห่ง มีอาหารอร่อยๆ ในแบบชาวจีนยูนนาน ไว้บริการ ซึ่งชาวจีนยูนนานที่อาศัย อยู่ ท่ี น่ี น้ั น อดี ต เคยเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของกองพล 93 ที่ อ พยพเข้ า มา ตัง้ ถิน่ ฐานอยูบ่ นดอยผาตัง้ เช่นเดียวกับ ที่ดอยแม่สลอง กินอิ่มนอนหลับกันเต็มที่ เช้ามืด อี ก วั น มากั น ต่ อ ที่ “ดอยผาตั้ ง ” ลั ก ษณะพื้ น ที่ สู ง ชั น ด้ า นทิ ศ ตะวั น ออกติดกับประเทศลาว เป็นสถานที่ ท่ อ ง เ ที่ ย ว ที่ ขึ้ น ชื่ อ สำ � ห รั บ ช ม พระอาทิ ต ย์ ขึ้ น และทะเลหมอกใน

ตอนเช้าและชมพระอาทิตย์ตกในเวลาเย็น อากาศเย็นสบายตลอด ทัง้ ปี มีความสูงจากระดับนํา้ ทะเลประมาณ 1,800 เมตร เส้นทางเดิน ขึน้ ยอดดอยอยูต่ ดิ กับสถานทีจ่ อดรถและร้านค้าบริการ จากยอดดอย สามารถมองเห็นแม่นํ้าโขงฝั่งลาวและสามารถมองเห็นยอดภูชี้ฟ้าที่ อยู่ห่างออกไปกว่า 25 กิโลเมตรได้ชัดเจน บนดอยผาตั้งมีจุดชมวิว สำ�คัญได้แก่ จุดชมวิวผาบ่อง จุดชมวิวช่องเขาขาด เนิน 102 เป็นจุด ชมวิวที่มีนักท่องเที่ยวนิยมขึ้นไปชมทะเลหมอกในบรรยากาศ 360 องศา และเฝ้าดูพระอาทิตย์ขึ้น ยิ่งช่วงฤดูหนาวอากาศเย็นจับใจ


14

ROYAL PROJECT JOURNAL

VIEW POINT

D O I P H AT U N G CHIANG RAI

เหมือนถูกโอบกอดด้วยสายหมอก ดอกไม้และใบหญ้าถูกเกาะไปด้วยละอองนํา้ ภาพของพระอาทิตย์ทลี่ อยขึน้ มาเบือ้ งหน้าสร้างความประทับใจ ต่อด้วยเนิน 103 เป็นจุดชมวิวสูงสุดในบริเวณนี้ นักท่องเทีย่ วยังสามารถใช้บริการมัคคุเทศก์นอ้ ย ซึ่งเป็นนักเรียนชาวจีนยูนนาน นำ�เดินเที่ยว เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชน ผาตั้งให้นักท่องเที่ยวได้ฟัง และเก็บภาพประทับใจตามจุดต่างๆ ได้ ข้อมูลการเดินทาง ศูนย์พฒ ั นาโครงการหลวงห้วยแล้ง : บ้านห้วยแล้ง ตำ�บลปอ อำ�เภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย 57310 โทร. 081-2873473 การเดินทาง จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทางหมายเลข 118 สายเชียงใหม่-เชียงราย ผ่านแยก ศรีทรายมูล-อำ�เภอเวียงชัย-พญาเม็งราย-ขุนตาล-เชียงของ (บ้าน ท่าเจริญ) ถึงอำ�เภอเวียงแก่น ใช้เส้นทางหลวงสาย 115 ถึง กม.ที่ 58 บ้านโล๊ะ หมู่ที่ 2 เลี้ยวขวาขึ้นเขาตรงไปประมาณ 9 กิโลเมตร เส้นทางสู่ศูนย์พัฒนา โครงการหลวงห้วยแล้งนี้สามารถใช้รถยนต์ทุกประเภท ยกเว้นฤดูฝนต้องใช้ รถโฟร์วีลไดร์ฟ หรือใช้รถรับจ้างสายเชียงราย-เวียงแก่น ขึ้นที่สถานีขนส่ง ผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย ศูนย์พฒ ั นาโครงการหลวงผาตัง้ : บ้านผาตัง้ ตำ�บลปอ อำ�เภอเวียงแก่น จังหวัด เชียงราย 57310 โทร. 053-163-308, 089-5610615 การเดินทาง จากจังหวัดเชียงรายใช้เส้นทางเชียงราย-เวียงชัย-พญาเม็งราย-บ้านต้า (ทางหลวงหมายเลข 1233, 1173 และ 1152) ประมาณ 50 กิโลเมตร บ้านต้า-บ้านท่าเจริญ (ทางหลวง 1020) 45 กิโลเมตร บ้านท่าเจริญเวียงแก่น-ปางหัด (ทางหลวง 1155) ประมาณ 17 กิโลเมตร และปางหัด-ดอยผาตั้ง อีก 15 กิโลเมตร จาก ทางแยกขึ้นสู่ดอยผาตั้งประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเข้าไปยังที่ทำ�การศูนย์ฯ ระยะทาง 500 เมตร รวมระยะทาง 160 กิโลเมตร หมายเหตุ* เส้นทางท่องเที่ยวที่แนะนำ�ใช้เวลาประมาณ 2 วัน 1 คืน ก่อนเดินทางต่อไปยังภูชี้ฟ้าได้


ข้าวกล้อง ข้าวดอยซ้อมมือ โครงการหลวง แนะนำ�ผลิตภัณฑ์ ผลิตผล

เป็นข้าวไร่บนทีส่ งู ของเกษตรกรไทยภูเขา ส่วนใหญ่จะปลูกในสภาพพืน้ ทีม่ ี ความสูง 700–1,200 เมตร จากระดับนํ้าทะเล ซึ่งมีความแตกต่างตามความสูง และชนเผ่าของเกษตรกรผู้ปลูก พันธุ์ข้าวจึงมีความหลากหลาย ผสมผสานของ ชนิดข้าวในการปลูก เป็นภูมปิ ญ ั ญาและวิถกี ารปลูกข้าว เพือ่ ให้มสี �ำ หรับบริโภค อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ลดความเสี่ยงของความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศบนพื้นที่สูง โดยใช้พันธุ์ขา้ วที่ปลูกแตกต่างกันผสมในการ ปลูก ทำ�ให้ได้ขา้ วทีม่ คี วามหลากหลายของเมล็ดข้าว สีเมล็ดข้าว และขนาดความ สั้น-ยาว ของเมล็ด ในข้าวที่ปลูกในพื้นที่เดียวกัน ทำ�ให้ข้าวที่ได้มีสีหลากหลาย แตกต่าง ความเหนียวนุ่ม ร่วน ผสมอยู่ในการหุงต้ม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพันธุ์ ข้าวไร่ชาวไทยบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็น ข้าวกล้อง-ข้าวซ้อม มูลนิธิโครงการหลวง

ข้าวดอยซ้อมมือ เป็นข้าวทีผ่ า่ นการกะเทาะเปลือกแล้ว ขัดสีเพียงเล็กน้อย ทำ�ให้การหุงต้มเร็วขึ้น มี คุ ณ ค่ า ทางโภชนาการสู ง อุ ด มไปด้ ว ย สารอาหารและวิตามิน บี1 บี2 ไนอาชิน ฟอสฟอรัส แคลเซียม ทองแดง เหล็ก โปรตีน ไขมัน (ทีไ่ ม่มคี อเลสเตอรอล) คาร์โบไฮเดรต และเส้นใย

ข้าวกล้องดอย

Highland Brown Rice By Royal Project Foundation

เป็นข้าวที่กะเทาะเปลือกออกเพียงอย่างเดียว ไม่ ผ่านการขัดสี เมล็ดข้าวจะมีสขี นุ่ เป็นข้าวทีม่ จี มูกข้าวและ เยือ่ หุม้ เมล็ดข้าวอยูม่ าก ซึง่ เป็นส่วนทีม่ คี ณ ุ ค่าอาหาร อุดม ด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส ซิลเิ นียม แมกนีเซียม ที่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา โรคโลหิตจาง ป้องกันโรค ปากนกกระจอก มีไนอะซินช่วยระบบผิวหนังและเส้น ประสาท และป้องกันโรคเพลลากรา (โรคที่เกิดจากการ ขาดไนอะซิน จะมีอาการท้องเสีย ประสาทไหว โรค ผิวหนัง)


เมนูง่ายๆ ใครๆ ก็ ทํำ�ได้ Mix Fruit Strawberry Jelly with Bubalos Yogurt

ส่วนผสม / Ingredients 1. Mango

มะม่วงนวลคํำ� หั่นเต๋าเล็ก 100 กรัม

ย อภัยวงศ์

ถ่ายภาพ โดย คุณพลอ

วิธีทํำ�

2. Peach

พี้ช ในนํ้าเชื่อม 2 ลูก

1. นํำ�เจลลี่ แกะวางใส่จาน นํำ�ผลไม้ตัด เป็นชิ้นเล็กๆ ให้สวยงาม 2. ตักโยเกิร์ตราดบนเจลลี่ให้ทั่ว 3. วางผลไม้ เรี ย งให้ ส วยงาม เสร็ จ เรียบร้อยพร้อมรับประทาน

4. Grape

องุ่นม่วงไร้เม็ด 5 ลูก 7. Bubalos Yogert

โยเกริ์ตโครงการหลวง รสธรรมชาติ 1 ถ้วย

3. Strawberry jelly

เจลลี่สตอเบอรี่โครงการหลวง 1 ถ้วย

5. Persimmon

ลูกพลับ


ROYAL PROJECT JOURNAL

17

ก้าวใหม่ : Feature

การควบคุมศัตรูพืช

โดยการใช้สารจุลินทรีย์ชีวภัณฑ์ในโครงการหลวง รศ.ดร.นุชนาฏ จงเลขา / ศูนย์อารักขาพืช มูลนิธิโครงการหลวง

มูลนิธิโครงการหลวงได้ดำ�เนินการทำ�แผนการผลิตพืชเป็น 3 ระบบ ด้วยกัน คือ 1) การเพาะปลูกที่ดี หรือ GAP (Good Agricultural Practice) 2) การเพาะปลูกที่ดีระดับโลก หรือ GGP (Global GAP) และ 3) อินทรีย์ หรือ Organic โดยทั้งสามระบบนี้ใช้หลักการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือ IPM (Integrated Pest Management) เป็นแกน ซึง่ หมายถึงเลือกเอาวิธกี ารทีเ่ หมาะสมมาใช้ในเรือ่ งของการจัดการดิน การจัด การนํา้ การจัดการพืช และการจัดการศัตรูพชื อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพทุกขัน้ ตอนของการปลูกพืช ใน ระบบ GAP และ GGP สามารถใช้สารเคมีก�ำ จัดศัตรูพชื ได้ตามความจำ�เป็น และอยูใ่ นความควบคุม ดังนัน้ สาร ปลอดภัย จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ (Antagonistic microorganisms) ชีวภัณฑ์ (Bioproducts) จากจุลินทรีย์ การ จัดการด้วยวิธีกล การใช้กับดักและใช้เหยื่อล่อ อื่นๆ จึงถูกนำ�มาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 สัปดาห์ก่อน เก็บเกี่ยวผลผลิต สำ�หรับการปลูกพืชระบบอินทรีย์ จุลินทรีย์ (เชื้อสด) และชีวภัณฑ์ (ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์) นํ้าหมักสมุนไพร สารธรรมชาติ เช่น กำ�มะถัน จุนสี (copper sulfate) สารสกัดด้วยนํ้าจากใบยาสูบ โล่ติ้น ขมิ้น กระเทียม ผลพริกขี้หนู อื่นๆ ได้ถูกนำ�มาใช้เป็นหลักในการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช สำ�หรับ ทาก การใช้กากชาแช่นาํ้ แล้วนำ�นํา้ กรองพ่นไล่นบั ว่าได้ผลพอประมาณ จะต้องใช้รว่ มกับการโรยแกลบ (เปลือก เมล็ดข้าว) รอบแปลงปลูกป้องกันไม่ให้ทากเข้าแปลง จึงจะได้ผลดี ส่วนหอยทากและหอยศัตรูพืชอื่นๆ ใช้วิธี จับและทำ�ลายแหล่งอาศัย การนำ�ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy) ของศัตรูพืชมาเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณ แล้วนำ�ไปปล่อยในแปลงปลูกพืชอินทรีย์ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทำ�กันอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการใช้วิธีการ ส่งเสริมให้พชื แข็งแรงต่อต้านเชือ้ โรค เช่น การใช้นมสด ไคโตซาน พ่นให้กบั พืชในช่วงทีพ่ ชื อ่อนแอในช่วงอากาศ ร้อนและแห้งแล้ง เป็นต้น (นุชนารถ, 2546; นุชนาฏ, 2549)


18

ROYAL PROJECT JOURNAL

ครัง้ นีจ้ ะนำ�เฉพาะเรือ่ งของการนำ�จุลนิ ทรียช์ วี ภัณฑ์มาใช้ควบคุมศัตรูพชื ซึง่ หมายถึงทัง้ เชือ้ โรคและแมลงและสัตว์ศตั รูพชื เนือ่ งจากในแต่ละเรือ่ งมีรายละเอียดมาก และเรือ่ งของจุลนิ ทรีย์ เป็นเรื่องสำ�คัญที่กำ�ลังผลักดันให้ใช้กันมากขึ้น เพื่อลดการใช้สารเคมีลงให้ได้มากที่สุด จุลินทรีย์ กลุม่ แรก คือ กลุม่ ของเชือ้ ราทีม่ กี ารใช้กนั แพร่หลายและเกษตรกรยอมรับเป็นอย่างมากคือ เชือ้ รา ไตรโคเดอร์มา (Trichoderma) เชื้อราชนิดนี้มีในธรรมชาติสามารถแยกเชื้อนี้ได้จากดิน จาก พืช (Endophytic fungi) ราสกุล (genus) นี้มีหลายชนิด (species) และแต่ละชนิดก็ยังมีความ แตกต่างกันในเรื่องของประสิทธิภาพในการทำ�ลายเชื้อราโรคพืช ไตรโคเดอร์มาเจริญเติบโตเร็ว มากและสร้างสปอร์ได้มากและรวดเร็ว จึงสามารถครอบครองพื้นที่และแย่งอาหารจากเชื้อรา โรคพืช นอกจากนี้บางชนิดยังสามารถสร้างสารปฏิชีวนะ (เกษม, 2532) และสร้างเอนไซม์ชนิด ต่างๆ เช่น ไคทิเนส (chitinase) โปรติเนส (protinase) และกลูโคเนส (1-3 glucanase) เพื่อใช้ ในการย่อยสลายผนังเซลล์ของเชือ้ ราโรคพืช ซึง่ ความสามารถในการผลิตเอนไซม์ดงั กล่าวของรา ไตรโคเดอร์มาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน ในขณะที่ส่วนประกอบของผนังเซลล์ของราโรคพืชก็มีความ แตกต่างกันในเรื่องของชนิดและปริมาณของสารที่เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ นอกจากนี้ ยังพบการพันของเส้นใย โดยราไตรโคเดอร์มาพันรอบเส้นใยของราโรคพืชและที่ปลายเส้นใย จะพบการเจาะเข้าไปในเส้นใยของราโรคพืช และเจริญเป็นเส้นใยอยู่ภายในของเส้นใยของรา โรคพืช ซึง่ ต่อมาพบการแฟบของเส้นใยการยุบตัวและการหายไปของราโรคพืช ราไตรโคเดอร์มา ชนิดฮาเซียนัม (T. harzianum) ได้รับความสนใจ นำ�มาศึกษาวิจัยทดสอบการใช้ควบคุม โรคเหี่ยวเหลือง (Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici) ของมะเขือเทศ โรคราดำ�ในใบ มะเขือเทศ (Pseudocercoopora fuligena) โรคดอกจุดสนิมของกล้วยไม้สกุลหวาย (Curvularia eragrostidis) ราปฏิปักษ์นี้ยังมีชนิดอื่นๆ เช่น T. fuligena, T. virens, T. hamatum และ T. koningii เป็นต้น และสามารถใช้ควบคุมโรคได้ทั้งราชั้นตํ่า เช่น รา Pythium และรา Phytophthora และในกลุ่มรานํ้าค้าง ขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมโรคทางรากที่เกิดจากรา ในดินได้ดี โรคเน่าของผลไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของเบอร์รี่ เช่น สตรอเบอรี่ ราสพ์เบอรี่ การใช้สปอร์แขวนลอยของรานี้พ่นในขณะที่สภาวะอากาศขึ้นได้ผลดีเช่นกัน


ROYAL PROJECT JOURNAL

19

ภาพที่ 1 ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาของมูลนิธิโครงการหลวง สำ�หรับควบคุมโรคพืชที่เกิด จากเชื้อรา ก.) เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสด และ ข.) หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา ราเพซิโลมัยซีส (Paecilomyces) เป็นราอีกชนิดหนึ่งที่ทางโครงการหลวงแนะนำ�ให้ใช้ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม ซึ่งเป็น ศัตรูสำ�คัญของพืชผัก ไม้ตัดดอกหลายชนิด ราเพซิโลเป็นปรสิตของไข่ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช โดยวิธีการนำ�ไปใช้ก็กระทำ�เช่นเดียวกับราไตรโคเดอร์มา คือ ขยายเชื้อในปุ๋ยหมักและรำ�ข้าว (ภายใต้สภาวะชื้น) จนเชื้อเจริญและสร้ างสปอร์เต็มกองปุ๋ยหมัก จึงนำ�ไปใช้หว่านผสมลงดินหรือใช้รองก้นหลุม เมือ่ ทำ�การย้ายต้นกล้า ลงปลูก หรือผสมวัสดุเพาะกล้า หรือผสมวัสดุปลูกไม้กระถางเป็นต้น (นุชนารถ, 2546; นุชนาฏ, 2549) เชื้อรานี้ทำ�ลายไข่ของไส้เดือน ฝอยโดยการสร้างเส้นใยบนเปลือกของไข่ และสร้างเอนไซม์ย่อยผนัง และแทงเข้าไปภายในไข่ทำ�ลายไข่ให้เสียได้ มีเชื้อราในดินหลายชนิด ที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยได้ เช่น บางชนิดของราต่อไปนี้ Verticillium, Paecilomyces, Penicillium, Fusarium, Dihcrospora, Trichoderma และ Rhizopus สำ�หรับ V.chlamydosporium เป็นราที่พบแพร่กระจายในดิน รอบๆ รากพืช และเป็นปรสิตไส้เดือน ฝอยรากปม (Muekhtar and Pervazi, 2003) และมีรายงานการ สำ�รวจพบเชื้อรานี้ในประเทศสเปน ออสเตรเลีย รวมทั้งประเทศไทย ด้วย จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการ พบว่า P. lilacinus เป็นปรสิต ของ Meloidogyne incognita โดยสามารถเข้าไปทำ�ลายไข่ของ ไส้เดือนฝอยนี้ได้ภายใน 5 วัน (Jalata, 1986) ส่วน V. chladosporium เป็นปรสิตต่อไข่และ ตัวเต็มวัยเพศเมีย และสามารถสร้างเอนไซม์ย่อยโปรตีนซึ่งเป็นองค์ประกอบของผนังชั้นนอก ของเปลือกไข่ของ M. incognita ได้ (Zuckerman et al., 1994) นอกจากนี้ยังมีราที่เป็นศัตรู ของไส้เดือนฝอย ในลักษณะเป็นตัวหํ้าคือสร้างอวัยวะพิเศษ เช่น ห่วง ตุ่มเหนียว สำ�หรับดักจับ ไส้เดือนฝอยที่เข้าใกล้และใช้เป็นอาหาร (สุมาลี เม่นสิน และชัยวัฒน์ โตอนันต์, 2555) ดังนั้น จึงมีเรื่องที่น่าสนใจสำ�หรับการทำ�วิจัยและทดสอบอีกมาก


20

ROYAL PROJECT JOURNAL

ภาพที่ 2 ก.) เชื้อราเพซิโลมัยซีส (เชื้อสด) สำ�หรับกำ�จัดไข่ของไส้เดือนฝอยรากปม และ ข.) ไข่ไส้เดือน ฝอยถูกเชื้อราทำ�ลาย แบคทีเรียที่ใช้กำ�จัดเชื้อโรคพืช แบคทีเรียที่นำ�มาใช้ในโครงการหลวงในปัจจุบันคือ บาซิลลัส ซึ่งมีชีวภัณฑ์จำ�หน่ายทั่วไป คือ Bacillus subtilis หรือเรียกย่อๆ ว่า บีเอส (Bs) ศูนย์อารักขาพืชมีแบคทีเรียชนิดใกล้เคียง กันนี้ ซึ่งได้จากผลงานวิจัย (นุชนาฏ จงเลขา และนิตยา โนคำ�, 2550) คือ B. subtilis/ amyloliquefaciens และทำ�เป็นชีวภัณฑ์ ใช้ ชื่ อ ว่ า BK33 สำ � หรั บ แบคที เรี ย ดั ง กล่ า ว ทำ�ลายเชื้อโรคพืชได้ทั้งเชื้อราและแบคทีเรีย บางชนิด เช่น สามารถควบคุมโรคที่เกิดจาก เชื้อรา Sclerotium, Fusarium อื่นๆ ในขณะ ทีม่ คี วามสามารถควบคุมโรคเน่าเละ โรคเหีย่ ว ที่ เ กิ ด จากแบคที เรี ย ได้ ดี พ อสมควร เมื่ อ ใช้ ร่วมกับการจัดการดินที่เหมาะสม แบคทีเรีย สร้ า งสปอร์ แ ละสร้ า งสารพิ ษ ซึ่ ง สามารถ คงชีวิตและคงประสิทธิภาพในสารพา เช่น โดโลไมท์ได้ จึงสามารถนำ�เซลล์แขวนลอย ของแบคทีเรียและสารพิษนัน้ ไปใช้แช่เมล็ดพืช ก่อนนำ�ไปเพาะ หรือนำ�ไปใช้พน่ บนใบพืช หรือ พ่นลงดิน เพื่อควบคุมโรคได้เป็นอย่างดี

Strawberry l a n r u o J t c e Royal Proj


ROYAL PROJECT JOURNAL

21

ภาพที่ 3 เชือ้ แบคทีเรีย Bacillus subtilis/amyloliquefaciens สำ�หรับควบคุมโรคพืชทีเ่ กิดจากเชือ้ รา และเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช ก.) เชื้อแบคทีเรีย B. subtilis/amyloliquefaciens ที่เจริญ บนอาหารเลี้ยงเชื้อ NA (Nutrient Agar) และ ข.) ชีวภัณฑ์ของ B. subtilis/ amyloliquefa ciens บีเค 33 เชื้อรากำ�จัดแมลง มีเชื้อราหลายชนิดที่เป็นปรสิตของแมลงที่โครงการหลวงนำ�มาใช้ขณะนี้ คือ เชื้อรา Metarhizium และ Beauveria ทั้งสองสกุลนี้ได้ มีการผลิตเป็นการค้าแล้ว ทางศูนย์อารักขาพืช ทำ�การผลิตเชื้อสดเอง จากความอนุเคราะห์ของ ดร.มาลี ตัง้ ระเบียบ (ศูนย์วจิ ยั เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.ลำ�ปาง) ซึ่งได้ให้เชื้อตั้งต้นและแนะนำ�วิธีการเลี้ยง ขณะนี้ นักวิชาการศูนย์อารักขาพืชกำ�ลังวิจยั เพือ่ หาเชือ้ รา สกุลอื่นๆ รวมทั้งสองสกุลนี้ในพื้นที่โครงการหลวง เพือ่ ให้ได้ราทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูงยิง่ ขึน้ ลักษณะการ ทำ�ลายแมลงของเชื้อรา คือ สปอร์ของเชื้อราที่ ติดกับส่วนใดส่วนหนึ่งของแมลง จะงอกเส้นใย เข้าทางช่องเปิด เช่น รูหายใจ บาดแผลที่เกิดบน ลำ � ตั ว เมื่ อ ความชื้ น เหมาะสมเชื้ อ ราจะงอก เส้นใยทะลุเข้าไปตามผนังของลำ�ตัว ตรงรอยต่อ ระหว่างปล้อง หรือข้อต่อของระยางค์ตา่ งๆ เชือ้ รา สร้างเอนไซม์ต่างๆ เช่น lipase, chitinase และ proteinase ช่วยย่อยสลายผนังของลำ�ตัวชัน้ ต่างๆ เมื่อเชื้อราเข้าไปในช่องว่างภายในลำ�ตัวแมลงแล้ว จะแย่งธาตุอาหารต่างๆ มาเลี้ยงเส้นใยและ เจริญเติบโตจนเต็มตัวแมลง ซึ่งจะเบียดเบียนทำ�ลายตัวแมลง และแทงทะลุออกมาภายนอก ปกคลุมตัวแมลงจนตายในที่สุด


22

ROYAL PROJECT JOURNAL

ภาพที่ 4 เชื้อรากำ�จัดแมลงในรูปเชื้อสด ก.) เชื้อราบิววาเรีย และ ข.) เชื้อราเมทาไรเซียม

เชื้อแบคทีเรียกำ�จัดแมลง เชื้อแบคทีเรียที่นำ�มาใช้กำ�จัดแมลงที่นิยมใน ปัจจุบันคือ สกุลบาซิลลัส เช่นเดียวกัน แต่เป็นชนิด ธูริงเจนซิส (Bacillus thuringiensis) หรือเรียกย่อๆ ว่าบีที (Bt) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ (variety) แต่ละ สายพันธุ์มีความเฉพาะเจาะจงในการทำ�ลายแมลง ทางโครงการหลวงยังไม่ได้ผลิตราชนิดนี้ แต่ส่งเสริม ให้ใช้ชีวภัณฑ์ที่เป็นการค้า ทั้งนี้เนื่องจากขั้นตอน และวิธีการเตรียมในปริม าณมากๆ ยังเป็นปัญหา อยู่ แบคทีเรียสกุลนี้มีคุณสมบัติในการกำ�จัดหนอน ในระยะที่ยังเล็ก แบคทีเรียสร้างสารพิษ เมื่อหนอน กินพืชที่มีแบคทีเรียเข้าไป หนอนจะได้รับพิษจาก แบคทีเรีย ทำ�ให้หยุดกินอาหาร ส่วนสปอร์ที่เข้าไป ในตั ว แมลงก็ จ ะแบ่ ง ตั ว เพิ่ ม ปริ ม าณอย่ า งรวดเร็ ว จึงกระจายไปทั่วตัวซึ่งทำ�ให้เกิดพิษทำ�ให้แมลงตาย ดังนั้นการใช้บีทีพ่นกำ�จัดหนอนจะใช้เวลาประมาณ 2 วันกว่าจะเห็นหนอนเริ่มตาย เกษตรกรจึงต้อง เข้ า ใจถึ ง ประสิ ท ธิ ภ าพของการใช้ แ บคที เรี ย กำ � จั ด หนอนด้วย อนึง่ การใช้จลุ นิ ทรียท์ กุ ชนิดจำ�เป็นต้องเข้าใจถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม กับประสิทธิภาพ ของการทำ�ลายด้วย ในสภาวะแห้งแล้งการใช้ชวี ภัณฑ์ จะได้ผลน้อย หากจำ�เป็นต้องใช้ก็ควรเลือกพ่นตอน เย็นไม่มีแดด เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์มีกิจกรรมในการ ทำ�ลายในช่วงกลางคืน ซึ่งมีความชื้นจากนํ้าค้าง

เชื้อไวรัสกำ�จัดหนอน การทำ�ลายหนอนแมลงของเชื้อไวรัสมีลักษณะ เดียวกับเชื้อแบคทีเรีย กล่าวคือ หนอนต้องกินพืชที่ มีเชื้อไวรัสเข้าไป ผลก็คือหนอนจะเบื่ออาหารและไม่ วางไข่ ลำ�ตัวขาวซีดหรือขาวขุ่น และอาจมีจุดแต้ม สีจางๆ หรือสีเข้ม ต่อมาลำ�ตัวหนอนจะแตกนํ้าไหล เยิม้ ออกมา สำ�หรับไวรัสทางโครงการหลวงได้น�ำ ไวรัส เอ็นพีวี (NPV: Nuclear Polyhedrosis Virus) มา ส่งเสริมให้ใช้ปราบหนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม และหนอนคืบกะหลํ่าปลี ทางศูนย์อารักขาพืชไม่มี นโยบายจะผลิตเอง เนื่องจากมีความยากในการผลิต

ภาพที่ 5 เชื้อไวรัสเอ็นพีวี (NPV: Nuclear Polyhedrosis Virus) กำ�จัดหนอน


ROYAL PROJECT JOURNAL

23

ไส้เดือนฝอยปราบหนอน ไส้เดือนฝอยสกุล Steinernema ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตร โดยกองกีฏและสัตววิทยา คุณวัชรี สมสุข ได้ทำ�การวิจัยและนำ�ผลมาใช้ส่งเสริมได้แล้ว คือ S. carpocapse ปัจจุบันมี จำ�หน่ายในชื่อการค้า นีมา ดีโอเอ (NEMA DOA) ซึ่ ง ทางศู น ย์ อ ารั ก ขาพื ช ได้ สั่ ง มาเพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ เกษตรกรใช้ นอกจากนี้ยังมี S. thailandensis ซึ่ง ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด ได้ค้นพบจากงานวิจัย และได้ส่งเสริมเกษตรกรใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน ดร.นุชนารถ ได้กรุณาให้ความอนุเคราะห์ให้ไส้เดือน ฝอยมาทดสอบในพื้นที่โครงการหลวง สำ�หรับวิธีการ ทำ � ลายหนอนโดยไส้ เ ดื อ นฝอย คื อ การเข้ า ไปใน ตัวหนอนตามช่องเปิดต่างๆ และเข้าไปสู่กระแสเลือด ไส้เดือนฝอยมีแบคทีเรียอยู่ในลำ�ไส้ซึ่งจะถูกขับถ่าย ออกมาจากไส้เดือนฝอย ทำ�ให้เลือดไส้เดือนฝอยเป็นพิษ ขณะเดียวกันไส้เดือนฝอยจะมีการ ขยายพันธุเ์ พิม่ ปริมาณ และใช้อาหารในตัวหนอนจนหมด เมือ่ หนอนตายไส้เดือนฝอยจะออกจาก ตัวแมลง และไปทำ�ลายหนอนตัวอื่น ต่อไป ก

ภาพที่ 6 ก.) ไส้เดือนฝอยปราบหนอน สกุล Steinernema thailandensis ในโพลิเมอร์ และ ข.) S. carpocapse (NEMA DOA) ที่ทำ�ลายหนอน สำ�หรับจุลินทรีย์ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนที่ใช้มาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีชนิดอื่นๆ เช่น แอคทิโนมัยซีส (actinomycetes) ยีสต์ (yeast) และราในสกุลอื่นๆ ที่ได้ผ่านการวิจัยและ คัดเลือกพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกำ�ลังอยู่ระหว่างการวางแผนวิจัยทดสอบในระดับแปลงปลูก โดยหวังว่าในอนาคตจะมีการผลิตจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น เพียงพอต่อการนำ�ไป ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ทั่วถึง นั่นหมายถึงการใช้สารเคมีก็จะค่อยๆ หมดไปในที่สุด


24

ROYAL PROJECT JOURNAL

เอกสารอ้างอิง เกษม สร้อยทอง. 2532. เทคโนโลยีในการควบคุมพืชโดยชีววิธี. ภาควิชาเทคโนโยลีการจัดการศัตรูพืช คณะ เทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ.132 หน้า. จิระเดช แจ่มสว่าง วรรณวิไล อินหนู พราวมาส เจริญรักษ์ และนภดล สอดแสงอรุณงาม. 2555.ประสิทธิภาพ ของเชื้อรา Trichoderma harzianum และเชื้อแบคทีเรีย Bacillus spp. ในการลดการเกิดโรคกล้า เน่ายุบของกล้าข้าว. การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 10. หน้า 9. นุชนารถ จงเลขา. 2546. คู่มือการควบคุมโรคและศัตรูต่างๆ ของพืชผักแบบผสมผสานสำ�หรับเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมผักบนที่สูง. ศูนย์อารักขาพืช มูลนิธิโครงการหลวง. 164 หน้า นุชนาฏ จงเลขา. 2549. คู่มือการป้องกันกำ�จัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน (ไอพีเอ็ม) สำ�หรับเกษตรกรมูลนิธิ โครงการหลวง, สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 94 หน้า นุชนาฏ จงเลขา และนิตยา โนคำ� 2550. การใช้จลุ นิ ทรียป์ ฏิปกั ษ์บางชนิดในการควบคุมโรคกล้วยไม้. รายงาน การวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาคุณภาพไม้ดอกเศรษฐกิจ (กล้วยไม้). คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 47 หน้า. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำ�ปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. 2551. เชื้อรากำ�จัด แมลง. 25 หน้า. สุมาลี เม่นสิน และชัยวัฒน์ โตอนันต์. 2555. การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพเชื้อราปฏิปักษ์ไส้เดือน ฝอยรากปมในพืชผักบนพื้นที่สูง. การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 10. หน้า 25. Jakata, P. 1986. Biological control of plant parasitic nematodes. Annual Review Phytopatho logy 24: 453-489. Mukhtar, T. and T.Pervaz. 2003. In vitro evaluation of ovicidal and larvicidal effects of culture filtrate of Verticillium chlamydosporium against Meloidogyne javanica. International Journal of Agriculture and Biology 5(4): 576-579. Zuckerman, B.M., M.Matheny and N.Acostas. 1994. Control of plant parasitic nematode by nematicidal strain of Aspergillus niger. Journal of Chemical Ecology 20(1): 33-43.


ROYAL PROJECT JOURNAL

สุขภาพดี : Healthy

มาค้นหาสุขภาพที่ดีกันเถอะ กองบรรณาธิการ

มี ผู้ ก ล่ า วว่ า โรคบางโรค เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดอุดตัน โรค ต่อมลูกหมากโต ฯลฯ ที่คนจำ�นวนมากเป็นกันอยู่ แท้จริงมิใช่โรค เพราะไม่ได้ เกิดจากเชือ้ โรค โรคเหล่านีส้ ว่ นใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะในร่างกาย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการดำ�เนินชีวิตที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ข้อความต่อไปนีจ้ ะเป็นการขยายความรูปแบบการดำ�เนินชีวติ และการมีสขุ ภาพ ที่ดีที่เหมาะสม ทั้งร่างกาย และจิตใจที่จะนำ�ผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะผู้สูงอายุไปสู่ ความสุข มีสุขภาพพลานามัยที่ดีและมีอายุยืนยาวขึ้น จากคำ�จำ�กัดความขององค์การอนามัยโลก ในการกำ�หนดอายุขัยของ ประชากรทั่วโลกว่า ประชากรวัยกลางคน คือ ผู้ที่มีอายุก่อน 65 ปี ผู้ที่มีอายุ ระหว่าง 65-74 ปี ถือเป็นวัยผู้สูงอายุตอนต้น และอายุ 75 ปีขึ้นไป จึงจะถือว่า เป็นวัยผูส้ งู อายุอย่างแท้จริง โดยอาศัยตามหลักการทางชีววิทยาในการวิเคราะห์ อายุขัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ควรมีอายุประมาณ 5-7 เท่าของช่วงเวลาที่ เจริญเติบโตเต็มที่ สำ�หรับมนุษย์ระยะเวลาทีเ่ จริญเติบโตเต็มที่ จะนับตัง้ แต่ชว่ งที่ ฟันซีส่ ดุ ท้ายขึน้ (อายุ 20-25 ปี) ดังนัน้ 5-7 เท่าของระยะเวลาทีเ่ จริญเติบโตเต็มที่ มนุษย์จึงควรมีอายุขัย 100-175 ปี อย่างไรก็ดีเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าอายุขัย ของมนุษย์โดยเฉลี่ยควรเป็น 120 ปี ดังนั้นการจะมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ช่วงอายุ 70-80 ปี หรือต่อไปจนถึงอายุ 90-100 ปี ก็ยังมีความ เป็นไปได้ แต่ปัจจุบันด้วยความเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ

25


26

ROYAL PROJECT JOURNAL

วิถีชีวิต ฯลฯ ล้วนส่งผลให้คนจำ�นวนมากมีอายุเพียง 40 ปี ก็เริ่มประสบปัญหาสุขภาพไม่ แข็งแรงเสียแล้ว มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยก่อนเวลาอันควร หรือทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ทั้งๆ ที่มี อายุไม่ถึงครึ่งหนึ่งของอายุขัยที่ควรจะเป็น ในขณะที่เรามีการพัฒนาประเทศในเชิง เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม สิ่งแวดล้อม ต่างส่งผลให้ผู้คนมีฐานะมากขึ้น ระดับมาตรฐานการครองชีพ สูงขึ้น แต่คนกลับเสียชีวิตเร็วขึ้น ด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเนื้องอก โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งโรคเหล่านี้ไม่ได้เกิดจาก “สังคมที่เจริญขึ้นทางวัตถุ” แต่อย่างใด แต่เป็นเพราะผู้คน มีจิตสำ�นึกและความรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอ ทำ�ให้เสียดุลยภาพในการดำ�รงชีวิต ยกตัวอย่าง จากสถานการณ์สุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2553 โรคที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพประชากร โลกอันดับหนึ่ง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด มีผู้ถูกคร่าชีวิตกว่า 17.5 ล้านคน คิดเป็น อัตราส่วน ¼ ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด สำ�หรับในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตกว่า 3.5 หมื่นราย (เฉลี่ย ชั่วโมงละ 4 คน) และคาดว่าในปี 2558 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวทั่วโลกถึง 20 ล้านคน คณะทำ�งานขององค์การอนามัยโลกได้ให้คำ�แนะนำ�ว่า เพียงแต่ใช้มาตรการป้องกัน ก็สามารถลดอัตราการเสียชีวติ ได้ถงึ ครึ่งหนึ่ง โดยต้องให้ความสำ�คัญกับ “สามครึ่งนาที” และ “สามครึ่ง ชั่วโมง” ดังกรณีตัวอย่าง ผู้สูงอายุ รายหนึ่ ง ที่ มี สุ ข ภาพเป็ น ปกติ ดี แต่ได้เสียชีวิตอย่างฉับพลันในช่วง กลางคืน สาเหตุเพียงเพราะตื่นมา เข้ า ห้ อ งนํ้ า กลางดึ ก โดยลุ ก จาก ที่ น อนเร็ ว เกิ น ไป เลื อ ดสู บ ฉี ด ไป เลี้ยงสมองไม่ทัน ทำ�ให้สมองขาด เลื อ ด ความดั น ลดตํ่ า จึ ง หน้ า มื ด ล้มลง ศีรษะฟาดพื้น กะโหลกศีรษะแตก ถึงขั้นหัวใจวาย ดังนั้น “สามครึ่งนาที” ที่กล่าวถึง ก็คือ เมื่อตื่นอย่ารีบลุกขึ้นเลยทันที ควรนอนอยู่บนเตียงก่อนสักครึ่งนาที เมื่อลุกขึ้นแล้วให้นั่ง อยู่ก่อนครึ่งนาที หลังจากนั้นยกขาทั้งสองข้างลงจากเตียง แล้วให้รออีกครึ่งนาที จึงค่อยลุก เดินเข้าห้องนํ้า ทั้งสามขั้นตอนใช้เวลาอย่างละครึ่งนาที ภาวะสมองขาดเลือดก็จะไม่เกิด หัวใจ ก็จะเป็นปกติ ลดภาวะการเกิดหัวใจวายฉับพลัน และลดภาวะเส้นเลือดอุดตัน ได้อีกด้วย ส่วน “สามครึ่งชั่วโมง” ก็คือ ช่วงเช้าหลังจากตื่นนอนให้ออกกำ�ลังกายสักครึ่งชั่วโมง (รำ�มวยไท้เก็ก หรือวิ่งเหยาะไม่น้อยกว่า 3 กิโลเมตร หรือการออกกำ�ลังที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย) เวลา เที่ยงนอนกลางวันสักครึ่งชั่วโมง ตามความต้องการของนาฬิการ่างกายมนุษย์ เวลาเย็นช่วง หกโมงเย็นถึงหนึ่งทุ่ม ให้เดินช้าๆ สักครึ่งชั่วโมง หากปฏิบัติได้ดังนี้ ผู้สูงอายุจะนอนหลับสนิท ช่วยลดภาวะการเกิดโรคทางหัวใจ หรือโรคความดันโลหิตสูงได้ ถือเป็นการป้องกันไว้ก่อน ย่อมดีกว่าการรักษาในภายหลังแน่นอน


ROYAL PROJECT JOURNAL

27

รูปแบบของการดำ�เนินชีวิตที่ทำ�ให้สุขภาพแข็งแรงนั้น ประกอบ ด้วย “โภชนาการทีส่ มเหตุสมผล การออกกำ�ลังกายแต่พอดี ลดเหล้า เลิกบุหรี่ จิตใจสงบ” ก็สามารถทำ�ให้ความดันโลหิตลดลงได้ถงึ ร้อยละ 50 โรคสมองขาดเลือดและโรคหัวใจลดลงได้ร้อยละ 75 โรคเบาหวาน ลดลงได้ร้อยละ 50 เนื้องอกลดลงได้หนึ่งในสาม ส่งผลให้มีอายุยืนยาว เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ประการสำ�คัญไม่ต้องเสียเงิน เสียทองในการรักษาเลย โภชนาการที่สมเหตุสมผล 1. นมหนึ่งกล่องทุกวัน คนเราส่วนใหญ่จะขาดแคลเซียม ซึ่งจะ ส่งผลให้กระดูกเปราะบาง หักง่าย ปวดกระดูก กระดูกงอก ปวดเอว ปวดหลัง ปวดเข่า หลังค่อม ยิ่งแก่ยิ่งเตี้ย การดื่มนมสมํ่าเสมอจะส่งผล ให้ผวิ พรรณดี สุขภาพเส้นผมเป็นเงางาม มีกล้ามเนือ้ ทีพ่ ฒ ั นา การดืม่ นม ก่อนนอนจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม และหากดื่มนมที่มีส่วนผสม ของวิตามินจะดียิ่งขึ้น 2. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต การควบคุมอาหารมื้อหลักเป็น วิธีลดนํ้าหนักที่ดี โดยยึดหลัก “กินนํ้าแกง (ซุป/แกงจืด) ก่อนอาหาร จะแบบบาง” ซึ่งการกินนํ้าแกงก่อนรับประทานอาหาร จะช่วยให้ระบบ ประสาทส่วนกลางมีการตอบสนองลดลง ทำ�ให้รับประทานได้ช้าลง ความ คาร์โบไฮเดรต อยากอาหารก็จะลดลงถึง 1 ใน 3 ช่วยให้ลดปริมาณอาหารที่รับประทาน ลงได้ จึงควรจำ�ให้ดีว่า 3. มีหยาบมีละเอียด ไม่หวานไม่เค็ม สามสี่ห้ามื้อ อิ่มเพียงเจ็ดแปด ส่วน มีหยาบมีละเอียด คือ อาหารธัญพืชหยาบและละเอียดผสมกัน เช่น ข้าวโพด แป้งข้าวโพด มันฝรั่ง สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ช่วยให้ร่างกายได้ รับสารอาหารที่เหมาะสม สามสี่ห้ามื้อ หมายถึง รับประทานอาหารวันละ 4-5 มื้อ ในปริมาณ น้อยๆ กินอิม่ เพียงเจ็ดแปดส่วน หมายถึง ไม่ควรรับประทานอาหารแต่ละมือ้ จนอิ่มเต็มที่ การจำ�กัดปริมาณอาหาร เป็นวิธีการลดแคลอรี่ที่ดี ช่วยรักษา ผลไม้ สุขภาพร่างกายให้แข็งแรงมีอายุยืนนานได้ 4. ผั ก ผลไม้ 500 กรั ม การรั บ ประทานผั ก ผลไม้ บ่ อ ยๆ (ก่ อ น มือ้ อาหาร) จะช่วยลดอาการป่วยของโรคมะเร็งได้มากกว่าครึง่ หรือป้องกัน โรคมะเร็งได้

ผัก


28

ROYAL PROJECT JOURNAL

การออกกำ�ลังกายแต่พอดี แสงแดด นํ้า อากาศ และ การออกกำ � ลั ง กาย เป็ น ต้ น กำ � เนิ ด แห่ ง สุ ข ภาพและชี วิ ต ซึ่ ง ล้ ว นแต่ เ ป็ น ปั จ จั ย ที่ สำ � คั ญ มากของการมีสขุ ภาพทีแ่ ข็งแรง “การเดิน” เป็นการออกกำ�ลัง กายที่ดีที่สุด เพราะโครงสร้าง ของร่างกายมนุษย์ถกู ออกแบบ มาเพื่อเดิน มีประโยชน์ในการ ป้องกันโรคความดันโลหิต โรค ตับแข็ง โรคหัวใจ การลดนํา้ หนัก อย่ า งไรก็ ต ามการออกกำ � ลั ง กายมากเกินควร ก็อาจเสียชีวติ อย่างฉับพลันได้ เดินอย่างไรจึงจะดีที่สุด ให้ยึดตัวเลข 3 5 7 3 คือ เดินให้ได้ 3 กิโลเมตร เวลา 30 นาทีขึ้นไป 5 คือ ใน1 สัปดาห์เดิน ออกกำ�ลังกายให้ได้ 5 ครั้ง 7 คือ ปริม าณการออก กำ�ลังกายที่เหมาะสม ร้อยละ 70 ซึ่งนอกจากการเดินแล้ว เราสามารถออกกำ�ลังกายด้วย

วิธีอื่นได้ เช่น การรำ�มวยไท้เก็ก ฝึกโยคะ ซึ่งสามารถช่วยในการปรับ ระบบประสาท และพัฒนาความสมดุลของร่างกายไม่ให้หกล้มง่าย ลดเหล้าเลิกบุหรี่ เหล้า หากดืม่ ในปริมาณน้อยจะเป็นประโยชน์ตอ่ ร่างกาย........หาก ปริมาณมากก็จะเกิดโทษ บุหรี่ หากสูบหนึ่งเท่าก็จะเกิดโทษกับร่างกาย 4 เท่า หากเลิก ไม่ได้ขอเพียงสูบวันละไม่เกิน 5 มวน อันตรายก็จะลดลง รักษาดุลยภาพของจิตใจ เป็นมาตรการทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ของการดูแลรักษาสุขภาพ การมีสขุ ภาพ ที่ดีไม่ได้เป็นเพราะอยู่ดีกินดี หรือมีทรัพย์สินเงินทอง แต่อยู่ที่รูปแบบ การดำ�เนินชีวิตที่แตกต่างกัน และมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ จิตใจ อาทิ การมีนํ้าใจ จิตใจกว้างขวาง โอบอ้อมอารี ไม่มีจิตใจคับแคบ หรือมี อารมณ์ที่รุนแรง โกรธง่าย เอาเป็นเอาตายกับทุกสิ่งทุกอย่าง เหตุ ใ ดการรั ก ษาดุ ล ยภาพของจิ ต ใจจึ ง มี ค วามสำ � คั ญ มาก ยกตัวอย่าง โรคเส้นเลือดอุดตัน โรคหัวใจ โรคสมองขาดเลือดทีเ่ ราเผชิญอยู่ ไม่ได้เป็นโรคที่เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน แต่เป็นสิ่งที่ค่อยๆ ก่อตัว โดย ใช้เวลาหลายปีหรือหลายสิบปี จึงจะเป็นเส้นเลือดอุดตันได้ ผูท้ มี่ อี ายุ 4050 ปี ต่างมีภาวะเส้นเลือดแคบลงทุกปี โดยเฉลีย่ ร้อยละ 1-2 หากสูบบุหรี่ ก็จะมีความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเส้นเลือดสูง จะทำ�ให้เส้นเลือดแคบลง ถึงร้อยละ 3-4 ต่อปี อย่างไรก็ดีเพียงเป็นคนอารมณ์เครียด โกรธง่าย


ROYAL PROJECT JOURNAL

ก็ ส ามารถทำ � ให้ เ ส้ น เลื อ ดตี บ ตั น ได้ ถึ ง 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลา 1 นาที เป็น เหตุให้เสียชีวติ โดยทันทีแน่นอน โดยเฉพาะ การที่ มี อ ารมณ์ ที่ แ ปรปรวนไม่ มั่ น คงนั้ น ส่งผลที่ร้ายแรงมาก ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่อง ของโรคภัยไข้เจ็บไม่ว่าจะหนักหรือเบาต่าง ก็มีความสัมพันธ์กับสภาวะทางจิตใจทั้งสิ้น (ยกตัวอย่างมะเร็ง หน้า 30-31)...ความสุข ของคนไม่มีกำ�หนดกฎเกณฑ์ ไม่มีปริมาณ แต่หากต้องการ โอสถพิเศษแห่งสุขภาพ แปดอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ ที่สุด ได้แก่ 1. ความเมตตา จงมีจิตใจที่เปี่ยมไป ด้วยความรักความเมตตาต่อเพื่อนร่วมโลก 2. จิตใจที่ดีงาม ขอให้มองโลกด้วย ความงามและความคิดในเชิงบวก 3. ศีลธรรม จะกระทำ�การสิ่งใดให้ คำ�นึงถึงคุณธรรมจริยธรรม 4. ความใจกว้ า ง รู้ จั ก การให้ อ ภั ย เพราะคนเรา แต่ละคนต่างก็มีข้อบกพร่อง

29

5. ความกตัญญู ชมรมผู้สูงอายุเคยทำ�การสำ�รวจปัจจัยที่ ทำ�ให้ผสู้ งู อายุมคี วามสุข พบว่า ไม่ใช่เงินทองหรือตำ�แหน่งหน้าที่ การงาน ขอเพียงมีลกู ทีก่ ตัญญูอยูเ่ คียงข้างก็มคี วามสุขทีแ่ ท้จริง แล้ว 6. ความซื่อสัตย์ อ่อนน้อมและจริงใจ ที่ควรปฏิบัติต่อ ผู้อื่น ละอายใจที่จะทำ�ความผิด 7. อุทิศตนเพื่อสังคม 8. กระทำ�การสิ่งใดโดยไม่หวังผลตอบแทน เอาตัวยาทั้งแปดอย่างต้มด้วยนํ้าใจ คอยระวังไม่ให้นํ้าใจ เหือดแห้ง ในหม้อแห่งความยุติธรรม ตั้งสติให้มั่นคง ไตร่ตรอง อย่างถีถ่ ว้ น ไม่หลงใหลในลาภยศ จะทำ�การสิง่ ใดต้องใช้สติปญ ั ญา ใคร่ครวญให้รอบคอบก่อน มีจิตใจที่สงบมั่นคง โยนอารมณ์ที่ แปรปรวนทิง้ ไป มองโลกในแง่ดี ศรัทธาในสิง่ ทีถ่ กู ต้องมีคณ ุ ธรรม ให้บริโภคยานี้อย่างสมํ่าเสมอ จิตใจก็จะสงบ มีบุคลิกภาพที่ ดีขึ้น ลืมอัตตาตัวตน สิ่งเหล่านี้จะให้ผลดี 6 ประการ ได้แก่ ทำ�ให้เป็นคนซื่อสัตย์ จริงจังกับการทำ�งาน อุทิศตนให้กับสังคม มีความสุขกับชีวติ ช่วยให้สขุ ภาพดี ร่างกายแข็งแรง อายุยนื ยาว คลายความทุกข์อันอาจก่อผลร้ายแก่ตัวเอง ดังนั้นการมีภาวะจิตใจเป็นสุข ประการแรก คือ ช่วย เหลือให้ผู้อื่นมีความสุข ประการที่สอง คือ ความเพียงพอ เป็นสุขเสมอ และประการที่สาม คือ มีความสุขจากความดีที่ ได้กระทำ�จึงกล่าวได้ว่า สุขภาพดีเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของเรา ทุกคน และการที่จะมีสุขภาพดีได้ไม่อาจพึ่งพาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีใดๆ ไม่อาจพึ่งพายารักษา หมอรักษาที่ดีที่สุดคือ ตัวเราเอง (ตามสัญชาตญานของผู้ป่วย หมอเป็นเพียงผู้ที่คอย ช่วยเหลือผู้ป่วยเท่านั้น) ข้อมูล สรุปคำ�บรรยายของศาสตราจารย์หง เจา กวาง รองประธานอนุกรรมการศึกษาและวิจยั โรคหลอดเลือดแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประดัง ปรีชญายางกรู อดีตอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และ โสภณ เตชะอำ�นวยวิทย์ แปลและเรียบเรียง


30

ROYAL PROJECT JOURNAL

งานวิจัยใช้ได้จริง : Research

R

O

S

E

กุหลาบพันธุ์ใหม่

โครงการหลวง...จากงานวิจัยสู่งานส่งเสริม วชิระ เกตุเพชร และ อดิศร กระแสชัย / ฝ่ายงานไม้ดอก สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์

กุหลาบเป็นไม้ดอกที่มีความสำ�คัญของประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณการปลูกและ การใช้อย่างกว้างขวาง สำ�หรับประเทศไทยมีเกษตรกรปลูกกุหลาบตัดดอกเป็นอาชีพ จำ�นวนมากมานานแล้ว แต่พันธุ์กุหลาบที่ใช้ในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ เป็นพันธุ์ที่ได้ จากการปรับปรุงพันธุ์ในต่างประเทศ ยังไม่มีพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์กุหลาบ ภายในประเทศไทยขึน้ ใช้เอง เหตุผลทีจ่ �ำ เป็นต้องมีการปรับปรุงพันธุก์ หุ ลาบขึน้ ใช้ภายใน มูลนิธโิ ครงการหลวง เนือ่ งจากกุหลาบเป็นไม้ตดั ดอกทีม่ คี วามสำ�คัญทางเศรษฐกิจ มีการ ปลูกและใช้อย่างกว้างขวางภายในประเทศ กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการพัฒนาพันธุ์ ในเขตอบอุ่น แต่ถูกนำ�มาปลูกในเขตร้อน ซึ่งปัจจุบันถูกพัฒนาให้เหมาะสมในการปลูก


ROYAL PROJECT JOURNAL

ภายใต้โรงเรือนที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อม หาก นำ�มาปลูกในสภาพที่ไม่เหมาะสม การให้ผลผลิตจะไม่ดี เท่าที่ควรซึ่งในอดีตจะเห็นได้ว่า เมื่อสั่งซื้อเข้ามาทดสอบ สามารถคัดเลือกพันธุท์ เี่ หมาะสมกับประเทศไทยได้เพียง ไม่กพี่ นั ธุเ์ ท่านัน้ และพันธุด์ งั กล่าวนีผ้ ปู้ ลูกบางรายจะต้อง ชำ�ระค่าธรรมเนียม (royalty) ให้กับบริษัทผู้ปรับปรุง พันธุ์ตามข้อตกลง และมีการคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิ บัตรยาวนานถึง 17 ปี ประกอบกับประเทศไทยยังไม่มี กฎหมายคุ้มครองพันธุ์ที่สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิบัตร พันธุ์พืชในต่างประเทศ ทำ�ให้บริษัทปรับปรุงพันธุ์ไม่มี ความมั่นใจที่จะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์พันธุ์ จึงยังคง สงวนพันธุก์ หุ ลาบใหม่ทดี่ เี อาไว้ให้กบั พืน้ ทีป่ ลูกทีส่ ามารถ รักษาข้อตกลงได้เท่านั้น โดยทั่วไปส่วนใหญ่เกษตรกร ของประเทศไทยมีข้อจำ�กัดด้านเงินลงทุน จึงไม่สามารถ หาซื้อพันธุ์กุหลาบใหม่มาปลูกได้ ดังนั้นหากเราให้ความ สำ�คัญด้านการปรับปรุงพันธุ์ คัดเลือกพันธุใ์ ห้มคี ณ ุ ภาพดี และเหมาะสมกั บ สภาพดิ น ฟ้ า อากาศของเมื อ งไทย แล้ว จะทำ�ให้มีโอกาสที่จะได้พันธุ์กุหลาบที่เหมาะสม และเจริญเติบโตได้ดีกว่าพันธุ์ที่ปลูกอยู่ทุกวันนี้ อีกทั้งจะ เป็นการช่วยประหยัดต้นทุน ในด้านการสัง่ ซือ้ ต้นกุหลาบ จากต่างประเทศได้จำ�นวนหนึ่ง ปัจจุบันหลายประเทศ ได้ มี แ นวโน้ ม ปรั บ ปรุ ง พั น ธุ์ กุ ห ลาบขึ้ น ใช้ เ องบ้ า งแล้ ว เช่น สถาบันวิจัยพืชสวนนานาชาติ เมืองปูซาน ประเทศ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน มณฑลยูนาน ยังสนับสนุนให้มี การใช้พนั ธุก์ หุ ลาบทีป่ รับปรุงพันธุข์ นึ้ เอง (PBR Varieties from Local Breeders) จำ�นวน 23 พันธุ์ โดยบรรจุลง ในแคตตาล๊อกดอกไม้ในตลาดประมูลในคุนหมิงร่วมกับ พันธุ์กุหลาบจากต่างประเทศจำ�นวน 60 พันธุ์ คิดเป็น สัดส่วนถึงร้อยละ 38.3 ดังนั้น การพัฒนาพันธุ์กุหลาบ ขึ้นใช้เองภายในประเทศจึงมีความจำ�เป็นอย่างยิ่ง เพื่อ ให้ได้พนั ธุท์ สี่ ามารถปรับตัวได้ดี มีผลผลิตและคุณภาพสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำ�คัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการลดการนำ�เข้ากุหลาบจากต่างประเทศ เพราะ พันธุ์กุหลาบเดิมย่อมเสื่อมความนิยมลงได้ตามกาลเวลา มูลนิธโิ ครงการหลวง จึงจำ�เป็นต้องสร้างพันธุก์ หุ ลาบใหม่ ให้แตกต่างจากตลาดทั่วไปเพื่อปรับกลยุทธ์ทางด้านการ

31

ตลาด การที่มูลนิธิฯ มีพันธุ์พืชใช้เองย่อมทำ�ให้ สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน และมีพันธุ์ ที่หลากหลายตอบสนองความต้องการของตลาด และสร้างมูลค่าให้กับมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อ ทดแทนการนำ � เข้ า ได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยพั น ธุ์ ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิข์ องมูลนิธฯิ และมีปลูกเฉพาะ เกษตรกรภายใต้การดูแลของมูลนิธิฯ เท่านั้น ซึ่ง ถือเป็นการเพิม่ ทางเลือกให้เกษตรกรเลือกปลูกให้ เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองต่อไป งานวิจัยที่ผ่านมา พบว่ามีงานวิจัยด้านการ ปรับปรุงพันธุ์กุหลาบในประเทศไทยน้อยมาก เพราะการนำ�เข้าพันธุใ์ หม่จากต่างประเทศมาปลูก ใช้ระยะเวลาและงบประมาณน้อยกว่า อย่างไร ก็ตามวิธดี งั กล่าว ไม่ได้พฒ ั นาบุคลากรทางด้านไม้ ดอก และต้องอาศัยเทคโนโลยีการผลิตและพันธุ์ พืชจากต่างประเทศอยูต่ ลอด จึงไม่สามารถพัฒนา ประเทศไปสูค่ วามยัง่ ยืนได้ อย่างไรก็ตามการวิจยั เพื่อพึ่งตนเองได้ มีความจำ�เป็น สำ�คัญและเป็น


32

ROYAL PROJECT JOURNAL

ประโยชน์ต่อประเทศในภายภาคหน้า มูลนิธิโครงการหลวงได้ตระหนักถึง ความสำ�คัญดังกล่าวที่จะต้องสร้างบุคลากร องค์ความรู้ และพัฒนาพันธุ์พืช ขึ้นใช้เอง เพื่อทดแทนการซื้อพันธุ์มาจากต่างประเทศได้เป็นบางส่วน โดย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากฝ่ายวิจัย มูลนิธิโครงการหลวง เพื่อวิจัย ปรับปรุงพันธุก์ หุ ลาบมาอย่างต่อเนือ่ ง เริม่ ต้นตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2545-2547 ในโครงการปรับปรุงพันธุ์กุหลาบคาร์เนชั่น และอะกาแพนทัส ซึง่ พบว่าได้จ�ำ นวนต้นกล้าลูกผสมค่อน ข้างน้อย เกิดจากการทีย่ งั ไม่ทราบเทคนิคในการผสมเกสร เพาะเมล็ด และดูแลลูกผสม ในปี พ.ศ. 2547-2549 จึงได้ ทำ�วิจัยในโครงการศึกษาเทคนิคการผสมเกสรและเพาะ เมล็ดกุหลาบ ควบคู่ไปกับโครงการพัฒนาพันธุ์กุหลาบ โดยการกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์และการขยายพันธุ์ กุหลาบโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การกระตุ้นให้เกิด การกลายพันธุ์ด้วยรังสีเอกซ์และแกมมา พบว่าสามารถ ชักนำ�ให้เกิดการกลายพันธุ์ได้น้อย ลักษณะการกลาย พันธุ์ดังกล่าวไม่คงตัวและไม่ได้ต้นที่ดีกว่าเดิม จึงดำ�เนิน การปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการผสมเกสรเพียงอย่างเดียว ซึ่งพบว่ าได้จำ�นวนต้นลูกผสมมากขึ้นและเพียงพอต่อ การคัดเลือก แต่ยังขาดรูปแบบในการคัดเลือก ในปี พ.ศ. 2549-2551 จึงได้ท�ำ วิจยั เพิม่ เติมในโครงการประเมินพันธุ์ กุหลาบตัดดอกลูกผสม จนกระทั่งได้ลูกผสมที่มีลักษณะ ดี ซึ่งต้องทำ�การทดสอบผลผลิตและคุณภาพต่อไป ในปีพ.ศ. 2552-2554 จึงได้ทำ�วิจัยต่อในเรื่องการประเมินและทดสอบลูกผสมกุหลาบตัดดอก สำ�หรับเกษตรกรภายใต้การดูแลของมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อคัดเลือก ลูกผสมจนได้พันธุ์ที่เหมาะสำ�หรับตัดดอกในการปรับปรุงพันธุ์กุหลาบ มูลนิธิโครงการหลวง ได้ใช้เชื้อพันธุกรรมของกุหลาบตัดดอก ที่เป็นที่นิยม ในขณะนัน้ จำ�นวน 28 พันธุม์ าจับคูผ่ สม จากนัน้ ทำ�การเพาะเมล็ด คัดเลือก และติดตา เพื่อทดสอบผลผลิต จนกระทั่งในปี 2555 ได้ออกพันธุ์ใหม่ซึ่ง ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร ในซีรี่ส์ “RPF” จำ�นวน 6 พันธุ์ เป็น กุหลาบตัดดอก 4 พันธุ์ ได้แก่ RPF-Magenta Pink, RPF-Lanna Beauty, RPF-Red Garnet, RPF-Coral Beauty และกุหลาบประดับสวน 2 พันธุ์ ได้แก่ RPF-Crimson Sweet, RPF-Inthanon Pride และในปี พ.ศ. 2556 นี้ มูลนิธิฯ อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนกุหลาบพันธุ์ใหม่ จำ�นวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ 04-005, 04-010, 04-119, 04-137 และ 05-049 ซึ่งได้เปิดตัวครั้ง แรกในงานสตรอเบอรี่แฟร์ 2013 ณ เซ็นทรัลชิดลม กรุงเทพฯ ในระหว่าง วันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 พบว่าได้รับความสนใจจากผู้ที่สนใจมา ร่วมงานเป็นอย่างดี


ROYAL PROJECT JOURNAL

สำ�หรับการส่งเสริมกุหลาบพันธุ์ใหม่ ในปี พ.ศ. 2555 ได้มี เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมในการทดสอบพันธุ์กุหลาบใหม่ มีทั้งหมด 10 ราย เป็นเกษตรกรจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา จาก หมูบ่ า้ นบวกเต๋ย โดยฝ่ายวิจยั ได้สง่ มอบกุหลาบพันธุใ์ หม่เพือ่ ทดลอง ปลูกส่งเสริมนำ�ร่องให้กบั ทางศูนย์ฯ จำ�นวน 200 ต้น/สายพันธุ์ โดย ในปี พ.ศ. 2556 มีแผนที่จะขยายพันธุ์ 7 สายพันธุ์ๆ ละ 3,000 ต้น โดยมีแผนที่จะส่งทดสอบตลาด ครั้งละ 300 ดอก หรือ ประมาณ สัปดาห์ละ 1,000 ดอก นอกจากนีย้ งั มีเกษตรกรทีศ่ นู ย์ฯ ม่อนเงาะ สนใจปลูกกุหลาบพันธุใ์ หม่เพิม่ เติม จำ�นวน 3 ราย รายละ 200 ต้น คาดว่ากุหลาบพันธุ์ใหม่ดังกล่าวจะมีการจัดแสดงในงานโครงการ หลวงปลายปีนี้ และจะมีจ�ำ หน่ายอย่างแพร่หลายมากขึน้ ในอนาคต ซึ่งถือเป็นการสร้างอาชีพที่ความมั่นคงให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กุหลาบพันธุ์ใหม่ที่ขึ้นทะเบียนแล้วในปี พ.ศ. กุหลาบตัดดอก

RPF-Magenta Pink สี ช มพู ด อกใหญ่ สี ช มพู อ มม่ ว ง ทรงดอกบัว ให้ผลผลิต 200-220 ดอก/ตรม./ปี รอบการตัด 55-60 วัน อายุปักแจกันนาน 15-17 วัน

2555

RPF-Coral Beauty สีแอพริคอตดอกใหญ่ ให้ผลผลิต 200-220 ดอก/ตรม./ปี รอบการ ตัด 50-60 วัน อายุปักแจกันเฉลี่ย 9-11 วัน

33

RPF-Red Garnet สี แ ดงกำ � มะหยี่ ดอกใหญ่ ให้ ผลผลิต 200-220 ดอก/ตรม./ปี รอบการตัด 65-70 วัน อายุปัก แจกันเฉลี่ย 14-16 วัน

RPF-Lanna Beauty สีขาวขลิบชมพูดอกใหญ่ ใบเป็น มัน ให้ผลผลิต 220-240 ดอก/ ตรม./ปี รอบการตัด 48-77 วัน อายุปักแจกันเฉลี่ย 10-13


34

ROYAL PROJECT JOURNAL

กุหลาบประดับสวน

RPF-Inthanon Pride RPF-Crimson Sweet RPF-RH-04-005 สี ข าวครี ม ทรงดอกสวยงาม สีชมพูบานเย็น ดอกใหญ่มาก กลิน่ สีส้มหลังขาว กลีบดอกหนาทน ออกดอกดกทั้งแปลง หอมอ่อนๆ ออกดอกเร็วและดก การขนส่ง ให้ผลผลิต 190-200 ดอก/ตรม./ปี รอบการตัด 48-54 วัน อายุปักแจกันเฉลี่ย 13 วัน กุหลาบที่กำ�ลังขึ้นทะเบียนใหม่ในปี พ.ศ. 2556

RPF-RH-04-137 สีชมพูครีมให้ผลผลิต 230-250 ดอก/ตรม./ปี รอบการตัด 48-50 วัน อายุปักแจกันเฉลี่ย 14 วัน

RPF-RH-04-119 สีชมพูครีมมีกลิ่นหอมคล้ายเทียน หอม มี ค วามถี่ ห นามปานกลาง ให้ผลผลิต170-185 ดอก/ตรม./ ปี รอบการตัด 50-57 วัน อายุปัก แจกัน 11-12 วัน

RPF-RH-05-049 สี แ อพริ ค อต ทรงดอกแปลกตา ให้ผลผลิต 210-225 ดอก/ตรม./ ปี รอบการตัด 48-53 วัน อายุปัก แจกัน 10-13 วัน


ROYAL PROJECT JOURNAL

35

กุหลาบที่ทดสอบในแปลงปลูกที่อินทนนท์

เกษตรกรบวกเต๋ยที่สนใจปลูกกุหลาบลูกผสมนำ�ร่อง RPF-RH-04-010 สีส้มอมชมพูเหลือบ ดอกคงระยะ การบานได้นาน ให้ผลผลิต 200220 ดอก/ตรม./ปี รอบการตัด 50-55 วั น อายุ ปั ก แจกั น เฉลี่ ย 11-12 วัน งานโครงการหลวง เชียงใหม่

กุหลาบลูกผสมที่เตรียมลงปลูกในแปลงของเกษตรกร คาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดในเดือนสิงหาคมนี้

เกษตรกรที่สนใจปลูกกุหลาบพันธุ์ใหม่ จำ�นวน 3 ราย ที่ศูนย์ ฯ ม่อนเงาะ


เฟิน ตัดใบและเฟิ น กระถาง ผลิตภัณฑ์โครงการหลวง

งานพัฒนาเฟินตัดใบและเฟินกระถาง ดำ�เนินงานต่อเนื่องมาจากโครงการ วิจัยเฟินเศรษฐกิจเพื่อปลูกทดแทนฝิ่น ในความร่วมมือระหว่างโครงการหลวงและ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยดำ�เนินงานทีส่ ถานีวจิ ยั ดอยปุย อำ�เภอเมือง จังหวัด เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2524 และในปี 2532 ได้ขยายพื้นที่ไปยังหน่วยวิจัยขุนห้วย แห้ง สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อำ�เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน ทั้ง 2 สถานีมีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ขยายพันธุ์สำ�หรับเป็นเฟินกระถาง และเฟิน ตัดใบเพื่อการค้า หลากหลายชนิด อาทิ เช่น เฟินรัศมีโชติ เฟินสกุลกนกนารี และ สกุลก้านดำ� นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์เฟินที่หายาก สำ�หรับให้ผู้ที่สนใจ ได้เข้าชมและซื้อได้ทุกวัน

มีจำ�หน่ายที่ ุย โทร.08 3324 0615 และ ป สถานีวิจัยดอย วงอินทนนท์ ล สถานีเกษตรห 190 0 โทร.08 1961


ROYAL PROJECT JOURNAL

วิถีชนเผ่า : Tribal people and their way of life

MEMORY บันทึกความทรงจำ� ผู้เขียน ครูกิ่งดาว ปัญญา / ครูชำ�นาญการพิเศษ โรงเรียนมิตรมวลชนเชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก

การทำ�งานในพื้นที่โครงการหลวงในอดีตกระทั่งปัจจุบัน มักมีเรื่องที่เกี่ยวพันกับบุคคล หรือหน่วยงานต่างๆ ใน ชุมชน วัด โรงเรียน.....ทีล่ ว้ นแล้วเป็นความประทับใจ ความสะเทือนใจ ด้วยความสุข สมหวัง เศร้าโศก เสียใจ จนกลายเป็นความทรงจํา เรื่องราวที่เกิดขึ้นตาม ตัวอักษร เป็นความทรงจำ�ของคุณครูบนดอยท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้สัมผัสชีวิตจริงของนักเรียนที่ อยู่ในความดูแล.....เชื่อว่าผู้ที่ได้อ่านเรื่องราวเหล่านี้คงเข้าใจในสภาพการทำ�งานในห้วงระยะ เวลานั้นๆ ได้เป็นอย่างดี นํ้าตาเทียน คืนนีท้ อ้ งฟ้ามืดสนิท เทียนไขเล่มหนึง่ ถูกจุดไว้กลางห้อง เปลวเทียน ริบหรี่ขับนํ้าตาเทียนค่อยๆ เอ่อล้นและไหลรินลงมาเป็นสาย....

“ครู ค รั บ ขโมย ขโมย” เสี ย งดั ง ลั่ น มาจากกลุ่ ม นักเรียนชั้น ป.4 ซึ่งอยู่ในช่วงพัก ฉันชะโงกหน้าออกไปมอง อย่างสนใจ เพราะฉันรู้ดีว่าเด็กๆ พวกนี้มักมีสิ่งที่น่าสนใจ อยู่เสมอ เสียงจากเด็กชายบูชีรายงานลั่นว่า มีขโมยแอบกินกับข้าวที่ทำ�ไว้ที่บ้านพักครู แล้วเด็ก คนอื่นๆ ก็แข่งกันตะเบ็งเสียงขึ้นมาบ้าง มีทั้งเสียงภาษาไทยที่ไม่มีตัวสะกดและภาษากะเหรี่ยง จ้อกแจ้กจอแจฟังไม่ได้ศัพท์ ฉันก็เลยตะเบ็งเสียงแข่งกับเด็กบ้าง เมื่อกลุ่มนกกระจอกน้อย เงียบเสียงลง ฉันจึงจัดการซักไซ้ไล่เรียงจน (คิดว่า) ได้ใจความ จึงให้เด็กทัง้ กลุม่ ออกตามจับขโมย

37


38

ROYAL PROJECT JOURNAL

“มี 5 คนครับ มี 5 คน” เสียงของเด็กชายบูชี อีกเช่นเคย มาพร้อมกับขโมยรุน่ จิว๋ พิเศษ สภาพ ของเด็กตัวน้อยๆ เหล่านั้น มันสะเทือนใจฉันอย่างรุนแรง เด็กทั้ง 5 คน เนื้อตัวมอมแมม ทุกคนอยู่ ในชุดที่เหมือนกันหมด คือ ท่อนบนใส่เสื้อที่อยู่ในขนาดของพ่อมากกว่าที่จะเป็นของลูก และเก่า ครํ่าคร่าจนมองดูแล้ว เดาไม่ออกว่ามันเคยเป็นสีอะไร ท่อนล่างว่างเปล่า อาศัยความยาวของตัว เสื้อบังไว้ บางคนเสื้อขาดจนมองเห็นพุงที่โตกว่าส่วนอื่นโผล่ออกมา ทั้งหมดยืนเรียงแถว หน้าจ๋อย ท่าทางหวาดๆ บางคนก็มีนํ้าตาคลอเต็มเบ้าตา เพราะต่างกลัวโทษทัณฑ์ที่ตนจะได้รับ วันนั้นฉันตัดใจที่ไม่ทำ�โทษ หรือสั่งสอนเด็ก แม้จะสวมวิญญาณครูสักกี่ดวงก็ตามก็ทำ�ไม่ได้ เลยมอบเด็กทั้ง 5 ให้อยู่ในดุลยพินิจของครูใหญุ่ “กินจริงหรือเปล่า” เสียงห้าว ดุ จากครูใหญ่ “กินคับ” ทุกคนตอบพร้อมกัน ด้วยเสียงเริ่มขึ้นจมูกแล้ว บางคน ส่งสายตามายังฉัน เหมือนจะวิงวอนขอให้ฉันทำ�อะไรสักอย่างให้เขา “กินของใคร” เสียงครูใหญ่ยังคงสอบสวนไปเรื่อยๆ “กินของคูคับ” เสียงตอบเจือสะอื้น เมื่อสอบสวนจนรู้ที่มาที่ไปแล้ว ครูใหญ่ก็เริ่มอบรม สั่งสอน แล้วก็มีเสียง ควับ ควับ ควับ สลับกับเสียงร้องจ้ าของเด็ก เมื่อ เสร็จสิ้นแต่ละคนเดินผ่านหน้าฉันออกไปด้วยนํ้าตานองหน้า “เหตุทเี่ ด็กทำ�ไปเพราะท้องหิว” ฉันเอ่ยกับครูใหญ่ทกี่ �ำ ลังเก็บไม้เรียว ครูใหญ่นิ่งไปครู่หนึ่งเหมือนกับว่ากำ�ลังขับไล่บางสิ่งบางอย่างออกไป “แม้ไม่อยากทำ�ก็จำ�ใจต้องทำ� เพื่อให้เด็กได้หลาบจำ� ต่อไปจะไม่มีใจกำ�เริบเสิบสาน คิด ขโมยของทีใ่ หญ่ขนึ้ ไปอีก ต้องดัดเมือ่ ยังเป็นไม้ออ่ น ต้องสอนเมือ่ ยังเล็ก อีกอย่างต้องเฆีย่ นเพือ่ ไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่เด็กคนอื่น” ครูใหญ่อธิบาย ฉันกลับไปยังห้องเรียนอีกครั้งเด็กบางคนยังคงสะอื้นอยู่ ฉันเดินไปลูบหัวเด็กที่กำ�ลังสะอื้น อยู่นั้น พร้อมกับกลืนสิ่งหนึ่งลงไปอย่างยากเย็น ไม่มีแม้กระทั่งคำ�ปลอบโยน ทุกสิ่งทุกอย่างถูก กลืนหายเข้าไปในอก ฉันได้แต่พูดสั้นๆ ว่า “ทีหลังถ้าอยากกินให้ขอครูนะ” เด็กยกมือปาดนํ้าตา พร้อมพยักหน้าหงึกๆ เทียนดับแล้ว.... ฉันยังไม่สามารถ ข่มตาให้หลับลงได้ บัดนีน้ าํ้ ตาของเด็กคงแห้งแล้ว แต่ฉนั ยังคงต้องหลัง่ นํา้ ตา อยู่ในอกอย่างเงียบๆ นํ้าตาแห่งความเวทนา เมื่อใดหนอ..... พวกเธอถึงจะมีทุกสิ่งทุกอย่างอย่างที่เด็กๆ เขาพึงจะมีกัน บันทึกจากความทรงจำ� 23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 อาหารที่ถูกขโมย คือ ปลาทูเค็มทอด 2 ตัว


ROYAL PROJECT JOURNAL

“หมาช่วยสอบ” เดชา เด็กนักเรียนชั้น ป.6 รูปร่างผอมบาง ตัวเล็ก เนือ้ ตัวมอมแมม เสือ้ ทีใ่ ส่คอ่ นข้างสกปรก ด้วย ท่าทางทีข่ าดความเชือ่ มัน่ ในตนเอง จึงมักจะถูกเพือ่ น ที่โตกว่ารังแกจนร้องไห้แทบทุกวัน เดชา เป็นลูกคนที่ 3 ในจำ�นวนพีน่ อ้ ง 7 คน ของ แม่ใหญ่ ซึ่งเป็นเมียคนที่ 1 ของพ่อ (พ่อของเดชามี เมีย 2 คน) ส่วนแม่น้อยมีลูก 6 คน ครอบครัวของ เดชาจึงเป็นครอบครัวใหญ่แต่ยากจน พ่อของเดชา ติดยาเสพติด หน้าที่ดูแลครอบครัวจึงตกเป็นของ แม่ใหญ่และแม่น้อย บางครั้งลูกที่โตบ้างแล้วจำ�เป็น ต้องช่วยแม่ทำ�งานกันตัวเป็นเกลียว แบบปากกัด ตีนถีบ ชนิดทีเ่ รียกว่า หาเช้ากินเช้า หาคํา่ กินคํา่ เดชา เองก็ต้องออกไปรับจ้างหักข้าวโพด ขุดดิน ปลูกถั่ว และทุกอย่างเท่าที่เด็กอย่างเดชาจะทำ�ได้ เรื่องการ เรียนไม่ต้องพูดถึง ขาดๆ หยุดๆ ตามความต้องการ จำ�เป็นของปากและท้อง ผลการเรียนจึงลุ่มๆ ดอนๆ พอเอาตัวรอดเป็นชั้นๆ ไป

39

ปีนเี้ ดชาอยูช่ นั้ ป.6 ซึง่ เป็นชัน้ สูงสุดของโรงเรียน เดือนมีนาคม ครูชั้น ป.6 ได้นัดหมายให้ช่างภาพมา ถ่ายรูปเด็กนักเรียนทีโ่ รงเรียนเพือ่ นำ�มาติดใบสุทธิ ซึง่ เป็นการอำ�นวยความสะดวกให้กบั นักเรียน เพราะการ เข้าไปถ่ายรูปในอำ�เภอไม่ใช่เรื่องง่ายสำ�หรับนักเรียน เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และที่ สำ�คัญการไปถ่ายรูปในตัวอำ�เภอ จะต้องเสียค่ารถ ค่าเดินทางเพิ่มเข้าไปอีก “พรุ่งนี้นักเรียนแต่งชุดนักเรียนให้เรียบร้อย ที่สุดมาโรงเรียน เพราะว่าจะมีช่างภาพมาถ่ายรูป ให้นกั เรียนเพือ่ ใช้ตดิ ใบสุทธิ” ครูสมานบอกนักเรียน “ครูขา เราไม่มาถ่ายรูปได้ไหมคะ” วิภา เด็ก นักเรียนยากจนอีกคนหนึง่ ถามขึน้ มาด้วยเสียงขลาดๆ เบาๆ “ไม่ได้ ถ้าเธอไม่ถ่ายรูป เธอก็จะไม่จบ เพราะ ไม่มีรูปติดใบสุทธิ” ครูสมานชี้แจง

วันรุ่งขึ้น นักเรียนชั้น ป.6 ทุกคนแต่งชุดนักเรียนที่ดีที่สุดของตนมาโรงเรียน มีบางคนใส่ชุดค่อนข้างใหม่ และหลายคนใส่ชดุ กลางเก่ากลางใหม่ แต่กซ็ กั รีดสะอาดเรียบร้อย เดชาก็ใส่ชดุ ทีด่ ที สี่ ดุ ของเขามาเช่นกัน เป็น กางเกงสีนํ้าตาลซีดๆ ที่ปลายขากางเกงเห็นด้ายเส้นใหญ่สีดำ�เย็บแบบหยาบๆ เป็นแนวกันไว้ไม่ให้ผ้าปลายขา กางเกงขาดรุ่งริ่งไปมากกว่านี้ ส่วนเสื้อนั้นเป็นสีขาวมอๆ หลวมโคร่งใหญ่กว่าตัวของเดชา จนปลายแขนเสื้อ ยาวเกือบจรดข้อศอก “สมเดช ถอดเสือ้ ของเธอออกมาให้เดชายืมหน่อย เดีย๋ วรูปจะออกมาไม่หล่อ” ครูสมานพูดกับสมเดช เดชารับเสื้อจากเพื่อนด้วยท่าทางที่ประหม่าเล็กน้อยคงจะอายเพื่อน หรือนึกน้อยใจที่ตนเองไม่มีเสื้อผ้าใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับตัวเองใส่เหมือนคนอื่นเขา


40

ROYAL PROJECT JOURNAL

“วันที่ 13 มีนาคม เขาจะเอารูปมาให้เรา ให้ นักเรียนนำ�เงินมาจ่ายเขาคนละ 60 บาทนะครับ” ครูสมานบอกนักเรียนทุกคน พอถึงวันนัดหมาย นักเรียนหลายคนนำ�เงินมา จ่ายค่ารูป และหลายคนที่ยังไม่มีเงินครูสมานจึงเอา เงินของตนเองออกแทนไปก่อน เดชาก็เป็นหนึ่งใน จำ�นวนนั้นที่ไม่มีเงินจ่ายค่ารูปถ่ายของตน จากนั้น นักเรียนหลายคนต่างนำ�เงินมาจ่ายให้ครูสมาน เร็วบ้าง ช้าบ้างตามที่จะหาได้ แต่จนแล้วจนรอด เดชาก็ไม่มี เงินที่จะนำ�เงินมาคืนให้ครูจนใกล้ถึงวันสอบ “เดชา พรุ่งนี้เป็นวันสอบวันสุดท้ายแล้ว ถ้า เธอไม่นำ�เงินมาจ่ายค่ารูปให้ครู ครูจะไม่อนุญาต ให้เธอสอบนะ เธอจะมาทำ�นิสยั เสียกับครูไม่ได้” ครู สมานพูดดังๆ หน้าห้องเรียน ซึง่ ครูสมานคงจะเข็ดกับ นักเรียนที่ชอบชักดาบทุกปี ที่แกออกเงินให้ก่อนแล้ว มีนักเรียนหลายคนไม่รับผิดชอบนำ�เงินมาจ่ายคืน วันรุ่งขึ้นเดชาไม่มาสอบ ด้วยจำ�นวนนักเรียนที่ ไม่มาก และการเป็นคนที่ชอบเอาใจใส่เด็กๆ ของครู ใหญ่ ทำ�ให้ครูใหญ่สังเกตเห็นว่าเดชาขาดสอบในวัน สุดท้ายจึงให้ครูพาณีไปตามหาเดชาในหมู่บ้านซึ่งอยู่ ไม่ไกลจากโรงเรียนนัก “เดชาออกจากบ้านไปแต่เช้ามืดแล้วข้าวก็ยงั ไม่ได้กิน อุ้มหมาของมันไปด้วยไม่รู้ว่าไปไหน” แม่ ของเดชาบอกกับครูพาณี สมบัติชิ้นเดียวที่เดชามีและเป็นของรักของเขา คือลูกหมา 2 ตัวที่เลี้ยงไว้เป็นลูกหมาตัวเล็กมีขนสีดำ� สั้นเกรียนและผอมโซจนแทบจะนับซี่โครงได้ทุกซี่

ถ้าสังเกตใกล้ๆ จะเห็นหมัดไต่เพ่นพ่านไปมาตามลำ� ตัว และ บางจุดเริ่มส่อเค้าว่าจะเป็นขี้เรื้อนบ้างแล้ว ถึงแม้วา่ ลูกหมาทัง้ สองตัวจะดูไม่คอ่ ยน่ารักในสายตา คนอืน่ ๆ แต่เดชาก็รกั ลูกหมาของเขามากและถึงแม้วา่ เขาจะไม่ค่อยมีอาหารที่เหลือเฟือ เขาก็แบ่งปันให้ลูก หมาด้วยเสมอ จนบ่อยครั้งที่กินไม่อิ่มทั้งคนทั้งหมา “อาจารย์นอ้ ยครับ ช่วยซือ้ หมาของผมได้ไหม ผมขายให้ตัวละ 30 บาท” เดชาอุ้มหมาของเขาไป ขายให้กับอาจารย์น้อย ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายไม้ผลของ โครงการหลวง เดชาอุ้มหมาของตนเดินไปเป็นระยะ ทางเกือบ 2 กิโลเมตร อาจารย์นอ้ ยมองดูเดชาครูห่ นึง่ และยื่นเงินให้ 60 บาทไม่รู้ว่าท่านคิดอย่างไรที่ซื้อลูก หมาคู่นั้นไว้ เดชากำ�เงินหกสิบบาทแน่น วางลูกหมาลง เขา หยุดมองลูกหมาทั้งคู่ เพียงแวบเดียว แล้ววิ่งแน่บไป อย่างรวดเร็วโดยไม่หันกลับมามองลูกหมาที่เห่าเสียง ดังและวิ่งตามมา “ครู ค รั บ ผมเอาเงิ น ค่า รู ป มาจ่ า ยให้ ค รู แ ล้ ว ครับ” เดชาพูดด้วยเสียงที่หอบเหนื่อย พร้อมทั้งใช้ มือปาดเหงื่อที่ไหลย้อยตามใบหน้าและลำ�คอ เรื่ อ งนี้ ถ่ า ยทอดจากการฟั ง เรื่ อ งราวของเด็ ก นักเรียน ทีน่ �ำ เงินจากการขายลูกหมาทีต่ นรักมาให้ครู เพือ่ จะได้สอบวันสุดท้าย เดชาเรียนจบไปแล้วหลายปี ตอนนี้เขารับจ้างทำ�ไร่อยู่ในหมู่บ้าน ว่างๆ เขาฝึก การแสดงกังฟู ในช่วงที่มีเทศกาลปีใหม่ม้ง หากใคร มาเที่ยวที่บ้านม้งห้วยลึกจะเห็นการแสดงกังฟู ซึ่งมี เดชาเป็นหัวหน้าทีม................


ROYAL PROJECT JOURNAL

41

คลินกิ พืช : Plant Clinic

กับดักกาวเหนียว (Sticky Traps) ใช้อย่างไรให้ได้ผลสูงสุด

Sticky Traps

ศูนย์อารักขาพืช มูลนิธิโครงการหลวง

ในปัจจุบนั เป็นทีท่ ราบกันว่าการป้องกันกำ�จัดศัตรูพชื โดยการใช้สารเคมี เพียงอย่างเดียวนัน้ มักไม่ได้ผล เนือ่ งจากเกษตรกรมีการใช้สารเคมีก�ำ จัดศัตรูพชื ไม่ถูกต้องและใช้มานานแล้ว จึงทำ�ให้ศัตรูพืชเกิดดื้อสารเคมี ดังนั้นการจัดการ ศัตรูพืชต้องใช้วิธีการหลายวิธีร่วมกัน โดยเลือกใช้วิธีต่างๆ ให้ถูกต้อง ถูกเวลา และเหมาะสมกับชนิดของศัตรูพชื รูจ้ กั กันว่า การจัดการศัตรูพชื แบบผสมผสาน (Integrated pest management) โดยมี 3 หลักใหญ่ คือ 1. การป้องกัน (Prevention) 2. การสังเกตอย่างใกล้ชิด (Surveillance) 3. การจัดการเมื่อพบการระบาด (Intervention) สำ�หรับการใช้กบั ดักกาวเหนียว (Sticky Traps) เป็นอีกวิธหี นึง่ ทีเ่ กษตรกร ให้ความสนใจนิยมใช้เนื่องจากคุณสมบัติไมมีสีไมมีกลิ่น และไมมีพิษตอสิ่ง แวดลอม ใชในการควบคุมปริมาณตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูพืชไดหลายชนิด มี ประสิทธิภาพสูงในการจับแมลง เพื่อใช้ติดตามประเมิน (monitoring) ดูชนิด ของแมลง เพื่อเป็นการทำ�นายการระบาดของแมลงแต่ละชนิดและใช้ติดตาม ประเมินดูความหนาแน่น ของประชากรของแมลง ปริมาณแมลงศัตรูพชื ในแปลง ปลูกเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการจัดการแมลงศัตรูพืชด้วยวิธีต่างๆ ในปัจจุบัน


42

ROYAL PROJECT JOURNAL

การใช้กับดักกาวเหนียว (Sticky Traps) เป็นวิธีหนึ่ง ของการกำ�จัดแมลงศัตรูพืชโดยวิธีกล (Mechanical control) ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถกำ�จัดแมลงศัตรูพืช ไดอย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ มีวธิ กี ารทำ�โดยใช้กระดาษ หรือพลาสติกแข็งสวนทับด้วยถุงพลาสติกใส และทา กาวเหนียวสำ�หรับดักแมลงศัตรูพืชให้ทั่วแล้วนำ�ไป ปักในแปลงปลูก โดยที่การปักในแปลงจำ�นวนกาว เหนียวต้องมีจำ�นวนมาก (Mass trapping) เพื่อให้ ดักจับแมลงที่บินเข้ามาในแปลงมากที่สุดและทำ�ให้ จำ�นวนประชากรของแมลงศัตรูพชื ลดลงอย่างรวดเร็ว สามารถลดการใช้สารเคมีกำ�จัดแมลงได้ถึง 50-80% ในการใช้กับดักกาวเหนียวดักจับตัวเต็มวัยของ แมลงสามารถดักได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อนระยะ ปีก เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันหนอนชอนใบ ริ้น ยุง ด้วงปีกแข็ง ผีเสือ้ เพลีย้ กระโดด และแมลงวันบ้าน เนื่องจากกับดักกาวเหนียวสามารถดักแมลงได้หลาย ชนิดดังนั้นการใช้กับดักต้องทราบชนิดของแมลงศัตรู พืชทีเ่ ข้าทำ�ลายในแปลงปลูกเพือ่ ให้กบั ดักกาวเหนียว ที่เหมาะสมต่อไป

สีทแี่ ตกต่างกันของกับดักกาวเหนียวนัน้ มีผลต่อ การตอบสนองแมลงศัตรูพืช โดยสีของกับดักแต่ละสี ทำ�ให้แมลงมาติดกับดักได้ เนื่องจากความยาวคลื่น (Wavelengths) ที่สะท้อนจากกับดักมีความยาวที่ แตกต่างกันซึ่งแสดงออกมาในรูปสีต่างๆ เช่น ม่วง ฟ้า เขียว เหลือง ส้ม แดง แต่สีที่ส่วนใหญ่นิยมใช้ คือ สีเหลือง นํา้ เงิน แดง ขาว ชมพู ม่วง ดำ� และสีใส แมลง สามารถรับรูช้ ว่ งแสงระหว่าง อัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ถึง สีแดง (Red) แต่แมลงสามารถมองเห็น แสงสีเขียว เหลือง ฟ้า และอัลตราไวโอเลต แต่แมลง ไม่สามารถมองเห็นสีแดง ซึ่งพฤติกรรมของแมลง เมื่อเห็นแสงที่สะท้อนมาในสีต่างๆ มีผลต่อการหา อาหาร นำ�ทาง และผสมพันธุ์ จากพฤติกรรมเหล่านี้ แมลงต้องเข้าหาและออกจากแหล่งกำ�เนิดแสงในสี ต่างๆ เพื่อการดำ�รงชีวิต เช่น ผึ้ง (Bees) และผีเสื้อ กลาง (Butterflies) สามารถมองเห็นสีความยาวแสง สูง (360-588 nm) สีมว่ ง นํา้ เงิน ฟ้า เขียว และสีเหลือง เป็นช่วงทีแ่ มลงสามารถตอบสนองได้ จากพฤติกรรมนี้ สามารถกำ�หนดสีของกับดักให้ตรงกับการตอบสนอง ของแมลงที่แสดงพฤติกรรมต่างได้

ตารางที่ 1 ช่วงความยาวของแสงในระดับต่างๆ Ultraviolet Violet Blue Blue-green Green Yellow-green Yellow Orange Red Infra-red

<380 nm 380-450 450-500 500-520 520-550 550-570 570-600 600-630 630-680 >680


ROYAL PROJECT JOURNAL

43

ตารางที่ 2 สีของกับดักกาวเหนียวที่ใช้ในการดักแมลงชนิดต่างๆ สีของกับดักกาวเหนียว ชนิดแมลงที่ติดกาวเหนียว สีเหลือง (Yellow) เพลี้ยอ่อน (Aphids) ด้วงหมัดผัก (Flea beetle) เพลี้ยจักจั่น (leaf hopper) แมลงหวี่ขาว (White fly) ตัวเต็มวัยแมลงวันหนอนชอนใบ (Leaf minors) ตัวเต็มวัยผีเสื้อกลางวัน (Butterflies) บั่วรา (Fungus Gnats) แมลงวัน (Flise) สีเหลือง (Neon Yellow) เพลี้ยไฟ (Thripidae) สีนํ้าเงิน (Blue) เพลี้ยไฟ (Thrips) เพลี้ยจักจั่นสีนํ้าตาล (Matsumuratettix hiroglyphicus) สีชมพู (Neon Pink) เพลี้ยไฟ (Thrips) สีเขียว (Green) เพลี้ยไฟ (Caliothrips fasciatus) สีขาว (White) เพลี้ยไฟ (Ceratothripoides claratris)

ปริมาณของแมลงที่ติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง ในการวางกับดักกาวเหนียวมีผลต่อชนิดแมลงศัตรูพืชที่มาติดกับดัก ซึ่งขึ้นอยู่ กับระดับความสูงของพืช แหล่งที่อยู่อาศัย และขอบเขตการหาอาหารของแมลง ศัตรูพืช เช่น ในพืชผัก กะหลํ่า คะน้า ผักกินใบชนิดต่างๆ ต้องวางกับดักกาวเหนียว เหนือต้นพืชประมาณ 20-30 เซนติเมตร โดยใชกบั ดักประมาณ 60-80 กับดัก/พืน้ ที่ 1 ไร ในชวงที่มีการระบาดมาก สวนในช่วงที่มีการระบาดน้อยใช้ 15-20 กับดัก/ไร่ ในมะเขือเทศ พริก และแตงกวา ติดกับดักกาวเหนียวบริเวณในทรงพุ่มสูงจากพื้น 1-1.5 เมตร ระยะห่าง 2-3 เมตร และหากปลูกในโรงเรือนให้ติดกับดักกาวเหนียว บริเวณประตูทางเข้า หรือติดบริเวณรอบโรงเรือน ในไม้ผลหรือพืชที่มีขนาดใหญ่ ใช้ตดิ กับดักกาวเหนียวบริเวณทรงพุม่ ด้านในและด้านนอกโดยเฉพาะบริเวณใบอ่อน โดยติดต้นละ 3-5 อัน ให้ติดตามความเหมาะสมกับช่วงเวลาการระบาดของแมลง แต่ละชนิด เพือ่ ให้แมลงศัตรูพชื ทีบ่ นิ มาติดกับดักได้ สำ�หรับการวางกับดักในต้นฝ้าย นั้นต้องวางกับดักกาวเหนียวสีเหลืองที่ความสูง 60 เซนติเมตร สามารถดักจำ�นวน เพลี้ยไฟ และแมลงหวี่ขาวได้ปริมาณมาก


44

ROYAL PROJECT JOURNAL

ลักษณะการติดกับดักกาวเหนียวในพริกหวาน ผัก และไม้ผล กาวเหนียว (Glue) ควรเป็นกาวที่สามารถ ทนทานต่อความร้อน การชะล้างของนํ้า มีความ เหนียวยาวนาน 5-10 วัน ต้องสำ�รวจปริมาณแมลงที่ ติดในกับดักกาวเหนียวทุก 5-7 วัน หากพบว่าปริมาณ ของแมลงติดมากเต็มพื้นที่กาวเหนียวให้เปลี่ยนและ ทากาวใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เมื่อ จำ�เป็นต้องวางกาวเหนียวในบริเวณกลางแจ้งให้ส�ำ รวจบ่อยครัง้ ขึน้ สำ�หรับผลิตภัณฑ์กาวเหนียวทีเ่ กษตรกรใน พื้นที่โครงการหลวงนิยมใช้มี 2 รูปแบบ คือ แบบนํ้า และแบบครีม ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ เช่น ยี่ห้อ ติดหนึบ ขุนแผน แม๊กเนท บีทูเกิ้ล

รูปแบบการวางกับดักกาวเหนียวในแบบเอียง (45 องศา) และแบบตั้งฉาก (90 องศา) รูปแบบการติดตั้งกับดักกาวเหนียว แบบบาน ราบ (180 องศา) แบบตั้งฉาก (90 องศา) และแบบ เอียง (45 องศา) นั้นขึ้นอยู่กับชนิดของศัตรูพืช หาก ต้องการลดปริมาณของแมลงที่บินในอากาศ เช่น แมลงวัน แมลงหวี่ขาวต้องวางกับดักแบบเอียง (45 องศา) หรือ แบบบานราบ (180 องศา) หากต้องการ กำ�จัดแมลงที่อยู่ในต้นพืช เช่น เพลี้ยไฟ ด้วงหมัด กระโดด ต้องวางกับดักกาวเหนียว แบบตั้งฉาก (90 องศา)


ROYAL PROJECT JOURNAL

45

การใช้กับดักกาวเหนียว (Sticky Traps) เพือ่ ให้เกิดประโยชน์สงู สุดต้องใช้ให้ถกู วิธตี รงตามวัตถุประสงค์ของผูใ้ ช้ หากต้องการติดกับกับกาวเหนียว เพื่อตรวจสอบปริมาณการระบาดของเพลี้ยไฟต้องให้กับดักกาวเหนียวสีชมพูและสีนาํ้ เงิน ต้องการวัดปริมาณ ของแมลงหวี่ขาวต้องใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง ดังนั้นกาวดักกาวเหนียวเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการติดตาม ประมาณการระบาดของแมลงได้ และยังสามารถเป็นกับดักล่อแมลงที่สามารถลดประมาณของแมลงศัตรูพืช ในแปลงปลูก โดยลดการใช้สารเคมีกำ�จัดแมลงศัตรูพืชในแปลงได้อีกทางหนึ่ง เอกสารอ้างอิง ศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 2. 2556. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับแมลง (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล : http://www. dnp.go.th/FOREMIC/WEB%20SITE2/know_insect.php นุชนาฏ จงเลขา. 2552. คู่มือการจัดการศัตรูไม้ผล สำ�หรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมไม้ผล. ศูนย์อารักขาพืช มูลนิธิ โครงการหลวง. เชียงใหม่. 202 หน้า. จตุรงค พวงมณี ระพีพงศ เกษตรสุนทร กุหลาบ อุตสุข พิมพรรณ นันตะภูมิ และ กรรณิการ มณีหาญ. 2550. การเปรีบเทียบความแตกต่างของสีที่ใช้เป็นกับดักแมลงในการผลิตผักปลอดสารพิษ. หน้า 144 148. ใน รายงานการประชุมวิชาการ ศวพก. ปี 2550. กรุงเทพฯ Claudio C. P, and Richard K. L. Sticky Traps: A Useful Tool for Pest Scouting Programs. (Online): http://ohioline.osu.edu/hyg-fact/1000/1033.html . Harman J.A., Mao C.X., and Morse J.G. 2007. Selection of color of sticky trap for monitoring adult bean thrips, Caliothrips fasciatus (Thysanoptera: Thripidae). (Online): http://www.ncbi.nlm.nih.gov/ pubmed/ 17125151. John R. M. 2006. COLOR VISION. (Online): http://www.cals.ncsu.edu/course/ent425/tutorial/ colorvision.html . Straw NA, Williams DT, and Green G. 2011. Influence of sticky trap color and height above ground on capture of alate Elatobium abietinum (Hemiptera: Aphididae) in Sitka spruce plantations. (Online): http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22182620.


46

ROYAL PROJECT JOURNAL

บุ​ุคคลในเรื่อง : People in the news

นายตาเล่อะ ขันธ์เขียว ชาวเผ่ากะเหรี่ยง อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านห้วยห้อม ศูนย์พัฒนา โครงการหลวงแม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ปัจจุบัน อายุ 83 ปี

เรื่ อ งเก่ า ๆ สมั ย ในหลวงและหม่ อ มเจ้ า มาที่ หมู่บ้านเรายังจำ�ได้ดี เมื่อปี 2510 เฮาอายุ 50 กว่า ท่านมาดูตรงที่เดี๋ยวนี้เป็นอ่างเก็บนํ้า แต่ก่อนเป็น ห้วยเล็กๆ รอบๆ เป็นไร่ ท่านบอกว่าตรงนี้เป็นต้น นํ้าลำ�ธารต้องดูแล มีคนต้องมีนํ้าและป่า มีคนไม่มีนํ้า ไม่มีป่าอยู่ไม่ได้ เราต้องพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอน เฮาจำ�คำ�ในหลวงมาคิด เลยสร้างอ่างเก็บนํ้าตัวแรก เป็นตัวผู้ไว้ใช้ในสวน ตอนนี้มีอา่ งตัวเมียไว้ใช้ในคอก แกะ และเกิดอ่างตัวลูกไว้ปลูกข้าวในเดือนตุลาคม ถึงพฤศจิกายน เดือนอื่นก็ใช้เก็บนํ้า อยากบอกไปถึง ในหลวงและหม่อมเจ้าว่าเฮาดูแลอย่างดีจนอ่างมีลูก หลานไว้เก็บนํ้าใช้พอ


ROYAL PROJECT JOURNAL

หม่อมเจ้ามาทีบ่ า้ นเฮาหลายครัง้ นอนทีบ่ า้ นพ่อหลวงริกะโตะ บางครั้งมาหลายคน มีผู้หญิงสวยๆ หลายคนมาด้วย มีครั้งหนึ่ง ในหลวงและหม่อมเจ้ ามาเจอเฮาในหลวงจำ�เฮาได้ หม่อมเจ้า ถามเฮาว่ายังอยู่ดียังไม่ตายหรือ ตอนนั้นหม่อมเจ้าแข็งแรงมาก เดินไปเดินมาได้สบาย ตอนนี้ยังแข็งแรงดีอยู่หรือเปล่า แต่เฮา ยั ง แข็ ง แรงดียังไม่ตาย เฮาเตรียมต้อนรั บ ในหลวงอย่า งเต็ ม ที่ ถางหญ้ารอบๆ อย่างสะอาด พอในหลวงมาเห็นดุว่าพวกเฮาที่ ถางต้นไม้จนโล่ง บอกว่าปล่อยทิ้งไว้เป็นป่าไม่ต้องถาง เฮาหวังดี อยากให้สะอาดเป็นความเข้าใจผิดของพวกเฮา

ทุ ก ครั้ ง ที่ ใ นหลวงมาจะเห็ น หม่ อ มเจ้ า มาด้ ว ย อยากให้หม่อมเจ้ามาเป็นตัวแทนในหลวงดูความ เปลี่ยนแปลง

ROYAL PROJECT

J O U R N A L

ทุกครั้งที่ในหลวงมาจะเห็นหม่อมเจ้ามาด้วย อยากให้ หม่อมเจ้ามาเป็นตัวแทนในหลวงดูความเปลี่ยนแปลง จะให้ ดูต้นนํ้าลำ�ธาร อ่างเก็บนํ้า ดูสวนเมื่อก่อนไม่มีอะไร เดี๋ยวนี้มี ต้นกาแฟ เสาวรส ผัก มะนาว หมาก มะละกอที่เด็กก็กินได้ ผู้ใหญ่กินได้ หมูก็กินได้

47


ร้านค้าโครงการหลวง กรุงเทพฯ

1. ร้านโครงการหลวง สาขา อ.ต.ก. ตลาด อ.ต.ก. ถ.กำ�แพงเพชร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-279-1551

เชียงใหม่

1. ร้านโครงการหลวง สาขาสุเทพ บริเวณคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ : 053-211-613, 053-944-087 2. ร้านโครงการหลวง สาขา ท่าอากาศยาน จ.เชียงใหม่ โทรศัพท์ : 053-270-222 ต่อ 2127 3. ร้านค้าโครงการหลวง เชียงใหม่ 89 พลาซ่า 25/26 เชียงใหม่พลาซ่า ถ.เชียงใหม่-ลำ�พูน ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โทรศัพท์ : 053-141-855

เชียงราย

ชั้น G เซ็นทรัลพลาซ่า เชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 โทรศัพท์/แฟกซ์ : 053-179920

ประจวบคีรีขันธ์

ร้านโครงการหลวง สาขา หัวหิน

บ้านคชาทอง เลขที่ 214 ซ.หัวหิน 84 ถ.เพชรเกษม ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โทรศัพท์ : 032-514-085

อุดรธานี

ร้านค้าโครงการหลวง สาขา อุดรธานี ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอุดรธานี ถ.ประจักษ์ศิลปาคม ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 โทรศัพท์ : 042-92127

277/1-3, 271/5

2. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-942-8656-9 ต่อ 23 3. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานดอนเมือง ชั้น 2 อาคารผู้โดยสารขาออกภายในประเทศดอนเมือง กรุงเทพฯ โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-535-6112 4. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา ดิโอลด์สยามพลาซ่า ดิโอลด์สยามพลาซ่า ถ.ตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-225-0623 5. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา บองมาเช่ร์ 105/1 (ห้อง ป.13) ถ.เทศบาลสงเคราะห์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-158-0673 6. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต PLZ.B.SHP022A 94 ชั้น B ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ถ.พหลโยธิน ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-958-5925 7. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารขาออกภายในประเทศ โทรศัพท์ 02-134-8888 ต่อ 6260 8. ร้านค้าโครงการหลวง สาขา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำ�นักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อาคาร 3 (ภายในโรงอาหาร) ถ.งามวงศ์วาน ลาดยาว กรุงเทพฯ โทรศัพท์/แฟกซ์ 02-953-1170 9. ร้านค้าโครงการหลวงหัตถกรรม สาขา เซ็นทรัลเวิลด์ 4.4/1-4/2.4/4 ชั้น 2 เซ็นทรัลเวิลด์ โซน D ติด lsetan ถ.ราชดำ�ริ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-640-7000 ต่อ 7974


ร้านโครงการหลวง

สาขา บองมาเช่ร์

Bon Marché Market Park

ปลายปี พ.ศ. 2550 มูลนิธโิ ครงการหลวง ได้ขยาย สาขาร้ า นจำ � หน่ า ยสิ น ค้ า โครงการหลวงเพิ่ ม ขึ้ น ใน บริเวณตลาดบองมาร์เช่ เลขที่ 105/1 (ห้ อ ง ป.13) ถนน เทศบาลสงเคราะห์ ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์/ โทรสาร 02-158-0673

การเดินทาง สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทาง แรกจากถนนวิภาวดีรังสิต ขาออก ถึงวัดเสมียนนารี เลี้ยวซ้าย ข้ามทางรถไฟแล้วตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร ตลาดจะอยู่ทาง ซ้ายมือ ส่วนอีกเส้นทาง คือ จากถนนประชาชื่น เลี้ยวซ้ายเข้า ถนนประชานิเวศน์ เลยสีแ่ ยกไฟแดงประมาณ 2 กิโลเมตร ตลาด บองมาร์เช่จะอยู่ด้านขวามือ ให้กลับรถ เพื่อเข้าตลาด ที่จอด รถสะดวกสบาย เพราะนอกจากจะมีที่จอดบริเวณรอบตลาด บองมาร์เช่ แล้ว ยังมีอาคารสำ�หรับจอดรถ 4 ชั้น ไว้ให้บริการ แก่ลูกค้าอีกด้วย

Royal Project

F o u n d a t i o n


ROYAL PROJECT JOURNAL

เกร็ดและแก่นโครงการหลวง :

50

สามเหลี่ยมแร้นแค้น และสูตรพระราชทาน เรื่องเล่าจากหนังสือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง พระนิพนธ์ ของหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ความตอนหนึ่งจากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง.....ความว่า เมื่อต้นปี 2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขับรถพระที่นั่งไปบ้านแม้วดอยปุย ใกล้พระตำ�หนักภูพิงคราชนิเวศน์ และได้ทอดพระเนตรต้นท้อ (peach) ที่แม้วเอากิ่งพันธุ์ดี มาต่อกับต้นตอพื้นเมืองตามโครงการแต่ปีก่อน และมีรับสั่งถามเจ้าของว่าปลูกฝิ่นได้เงิน เท่าไหร่ และเก็บท้อพื้นเมือง (ลูกเล็ก) ขายได้กี่บาท ก็ทรงทราบว่าฝิ่นกับท้อพื้นเมืองทำ�เงิน ให้เกษตรกรเท่าๆ กัน


ROYAL PROJECT JOURNAL

51

ก็ จ ะสาบสู ญ ไปเองตามธรรมชาติ ไม่ ต้ อ งใช้ กำ � ลั ง ผลักดันแต่อย่างใด จึงวันนั้นเอง วันที่ 28 มกราคม 2513 ก็มีรับสั่ง ให้ดำ�เนินการ และพระราชทานเงิน 200,000 บาท แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งมีสถานีวิจัยน้อยๆ ใกล้ พ ระตำ � หนั ก เพื่ อ ซื้ อ สวนใกล้ ๆ กั น เพื่ อ เป็ น สิริมงคล สวนนี้จึงได้ชื่อว่าสวนสองแสน และคณะ 3M ก็ขยายกิจการอันในทีส่ ดุ กลายเป็นโครงการหลวง สูตรพระราชทาน ตอนนี้ ข อเชิ ญ กระแสพระราชปรารภภาษา อังกฤษต่อสโมสรโรตารีเมือ่ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2513 ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ดังนี้ “อย่างไรก็ตาม การหาเงินไม่ใช่เป็นเรื่องที่ ลำ�บากนัก ปัญหานัน้ คือจะใช้เงินอย่างไรจึงจะดี จะ ให้ผลตอบแทนสูงสุด” ปัญหานีม้ สี งิ่ ทีก่ �ำ หนดให้สามตัว คือ สาม M และ สมการ คือ M1+ M2+ M3 = ผลสำ�เร็จ ซึ่ง M1 = เงิน M2 = คน M3 = วิธี M2 ใช้ M1 ด้วย M3 M1 เงิน ได้มาจากกระเป๋าท่านและข้าพเจ้า M2 คื อ ผู้ ร่ ว มงานของเรานั้ น มาจากหลาย ระดับ ตั้งแต่นักเศรษฐศาสตร์ผู้เคยเป็นรัฐมนตรีไป จนพลตำ�รวจ ครูโรงเรียนชาวเขา ทุกคนเป็นอาสา สมัคร ไม่ได้อะไรพิเศษ หรือโอกาสจะเลื่อนขั้นเงิน เดือน วันหยุดงานสุดสัปดาห์พวกนีย้ อมเดินทางไกลๆ ไปถิ่นทุรกันดารฝ่าภยันตรายหลายประการ เมื่อทีมผู้เชี่ยวชาญเกษตร พัฒนาที่ดิน และแพทย์ไปทำ�งานตามดอยก็จะใช้ เฮลิคอปเตอร์ทหารอากาศหรือตำ�รวจ นักบิน ฮ. นีต้ ามปกติบนิ รบอยูท่ เี่ ชียงรายและน่าน และมาเชียงใหม่เพื่อคลายความตึงเครียด สำ�หรับเรื่อง M3 คือ วิธีทำ�งานนั้น จุดสำ�คัญ คือ อย่าให้ยุ่งยาก จะต้องให้ความช่วยเหลือโดยเร็ว โดยตรง ไม่มีขั้นตอนสีแดงพันแข้ง พันขาไม่มีคณะกรรมการเป็นทางการ จึงไม่ต้องเสียเวลาประชุมอย่างยืดยาด จะปรึกษา หารืออะไรกันก็ท�ำ ในท้องที่ เวลารับประทานอาหารกลางวันใกล้นาํ้ ตก หรือระหว่างเยีย่ ม หมู่บ้านชาวเขาดังที่เกิดขึ้นที่ดอยปุย

แต่คนอื่นเขาคิดกันว่าอย่างไร เขาคิดว่า ฝิ่นทำ�ให้ผู้ปลูกรวยอย่ างมหาศาล จึงเอาอย่างชาวต่างประเทศ เรียกบริเวณที่ปลูกว่า “สามเหลี่ยมทองคำ�” ทุกวันนี้ เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ ที่ มี ห น้ า ที่ ป ราบปรามยาเสพติ ด และหาพื ช อื่ น ปลู ก แทนฝิ่ น ก็ ยั ง ใช้ ชื่ อ นี้ อ ยู่ ทำ � ให้ ผู้ ที่ ใช้ ค วามคิ ด เพียงนิดหน่อยแน่ใจว่าไม่มีอะไรจะแทนฝิ่นได้ ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดว่า ถ้ า ท้ อ ลู ก นิ ด ๆ ยั ง ทำ � เงิ น ให้ เ กษตรกรได้ ดี เ ท่ า ฝิ่ น แล้ว เราก็ควรจะเปลี่ยนยอดให้ออกลูกมาเป็นท้อ ใหญ่ หวานฉํ่า สีชมพูเรื่อ ดังกับแก้มสาวในนิทานจีน เมื่อรายได้จากท้อและผลไม้อื่นสูงกว่าฝิ่นแล้ว ฝิ่น



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.