4.SLE

Page 1

ความรูทั่วไปเกี่ยวกับ SLE โรคลูปส (Systemic Lupus Erythematosus : SLE)

โรค SLE หรือ โรคลูปส หมายถึง โรคที่มีการอักเสบของอวัยวะตาง ๆ เนื่องมาจากภูมิคุมกันของตัวเองมากเกินปกติ ทําใหเกิด อาการและอาการแสดงเกือบทุกระบบของรางกาย โรคจะกําเริบและทุเลาสลับกัน ในปจจุบันโรคนี้ยังไมสามารถรักษาใหหายขาด ได แตสามารถควบคุมอาการของโรคใหสงบ และดําเนินชีวิตไดตามปกติหากรักษาไดทันทวงที สาเหตุ สาเหตุที่แทจริงนั้นยังไมทราบแนนอน เชื่อวามีปจจัยหลายอยางที่สงเสริมใหเกิดโรคไดดังนี้ 1. พันธุกรรม พบวาในแฝดจากไขใบเดียวกันมีโอกาสเกิดโรคนี้ถึงรอยละ 30-50 และรอยละ 7-12 ของ ผูปวย SLE เปนญาติพี่นองกัน

เชน แมและลูกสาว หรือในหมูพี่นองผูหญิงดวยกัน

2. ติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย แตจนถึงปจจุบัน ยังไมสามารถคนพบเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เปนสาเหตุของโรคนี้ได


3. ฮอรโมนเพศโดยเฉพาะเอสโตรเจน โรคที่พบมากในสตรีวัยเจริญพันธุ บงชี้วานาจะมีความสัมพันธกับฮอรโมนเพศ นอกจากนี้

ความรุนแรงของโรคยังแปรเปลี่ยนตามการมีครรภ ประจําเดือน และการใชยาคุมกําเนิด

4. แสงแดดและสารเคมี ยาบางอยางเปนปจจัยที่สงเสริมใหผูที่มีปจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม แสดงอาการของโรคนี้ได

อาการและอาการแสดง อาการทั่วไป พบอาการไข รอยละ 40-85 มักจะเปนไขต่ํา ๆ และหาสาเหตุไมได นอกจากนี้จะมี - อาการออนเพลีย เบื่ออาหาร น้ําหนักตัวลด เปนอาการที่พบไดบอยในขณะโรคกําเริบ - อาการทางผิวหนังและเยื่อบุชองปาก ในระยะเฉียบพลันที่พบไดบอยที่สุด คือ ผื่นรูปปกผีเสื้อ ลักษณะเปนผื่นบวมแดงนูนบริเวณ

โหนกแกมและสันจมูก ผื่นจะเปนมากขึ้นเมื่อถูกแสงแดด อาการทางผิวหนังอีกอยางหนึ่งของโรคนี้คือ ปลายเทาซีดเขียวเมื่อถูกน้ํา หรืออากาศเย็น นอกจากนี้อาจพบผมรวง และแผลในปากได

- อาการทางขอและกลามเนื้อ เปนอาการที่พบไดบอยที่สุด สวนใหญเปนอาการปวดขอมากกวาลักษณะขออักเสบ มักเปนบริเวณ ขอเล็ก ๆ ของนิ้วมือ ขอมือ ขอไหล ขอเทา หรือขอเขา เปนเหมือนๆ กันทั้ง 2 ขาง รอยละ 17-45 พบอาการปวดกลามเนื้อ - อาการทางไต ผูปวยบางรายมาพบแพทยดวยอาการทางไตเปนอาการนํา อาการแสดงที่สําคัญของไตอักเสบจากลูปส ไดแก บวม

ปสสาวะเปนฟองตรวจพบโปรตีนในปสสาวะ ความดันโลหิตสูง

- อาการทางระบบเลือด อาการที่พบไดแก ออนเพลียหนามืดจากภาวะซีด เม็ดเลือดขาวต่ํา ทําให ติดเชื้อไดงาย และเกล็ดเลือดต่ํา

อาจพบจุดจ้ําเลือดออกตามตัวได

- อาการทางระบบประสาท อาการที่พบได คือ อาการชักและอาการทางจิตนอกจากนี้อาจมีอาการปวดศรีษะรุนแรง หรือมีออนแรง

ของแขนขา อาจพบไดในระยะที่โรคกําเริบ

- อาการทางปอดและเยื่อหุมปอด อาการที่พบบอยคือ เยื่อหุมปอดอักเสบ อาการแสดงคือเจ็บหนาอกโดยเฉพาะเวลาหายใจเขาสุด

ตรวจพบมีน้ําในชองเยื่อหุมปอด บางรายมีอาการปอดอักเสบซึ่งตองแยกจากปอดอักเสบติดเชื้อ

- อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่พบบอยคือเยื่อหุมหัวใจอักเสบ ซึ่งมักพบรวมกับเยื่อหุมปอดอักเสบ ผูปวยจะมาดวย

อาการ เจ็บหนาอก มีน้ําในชองเยื่อหุมหัวใจ เหนื่อยงาย โรคหลอดเลือดหัวใจสวนใหญเปนผลมาจากภาวะหลอดเลือดแข็งจากการ ไดรับยาสเตียรอยดนาน ๆ นอกจากนี้ภาวะความดันโลหิตสูง ก็เปนภาวะแทรกซอนที่พบไดบอยจากไตอักเสบเรื้อรัง และจากการ ไดรับยาสเตียรอยด

- อาการทางระบบทางเดินอาหาร ไมมีอาการที่จําเพาะสําหรับโรคลูปส อาการที่พบบอย ไดแก คลื่นไสอาเจียน เบื่ออาหาร ปวด ทอง ซึ่งเปนผลจากการใชยารักษาโรคลูปส เชน NSAIDS ยาสเตียรอยด อาการยังคงอยูไดแมจะหยุดยาไปเปนสัปดาห

การตรวจเพื่อชวยในการวินิจฉัย


- การตรวจนับเม็ดเลือด - การตรวจเลือดหาปฏิกิริยาภูมิคุมกันตาง ๆ เชน การตรวจ comb test , ANA, anti-dsDNA - การตรวจปสสาวะและ การตรวจปริมาณโปรตีนในปสสาวะ 24 ชั่วโมง ชวยบอกชนิด และความรุนแรงของภาวะอักเสบที่ไตได - การตัดชิ้นเนื้อไตเพื่อตรวจ ทําใหจําแนกการกําเริบและความเรื้อรังของโรคไดดีขึ้น แตตองอาศัยแพทยผูชํานาญ

การรักษาพยาบาล เมื่อไหรจึงจะใหการรักษา ผูปวยที่ไดรับการวินิจฉัยวาเปน หรืออาจเปนโรคลูปส ไมจําเปนตองไดรับการรักษาดวยยาเสมอไป โดยเฉพาะผูปวยที่มีอาการเพียง เล็กนอย ผูปวยจะไดรับการรักษาแบบประคับประคองอาการ แตควร ติดตามการดําเนินของโรคเปนระยะๆ ประมาณปละ 1-2 ครั้ง เมื่อมีความผิดปกติของการทํางานของอวัยวะระบบใดระบบหนึ่ง จึงจะไดรับการรักษาที่จําเพาะ

การรักษา ยังไมมีวิธีรักษาใดที่ทําใหหายขาดได แตการปฏิบัติตัวที่ดี การเลือกใชยาที่ถูกตองทั้งชนิด ขนาด และชวงเวลาที่เหมาะสม จะสามารถควบคุมอาการของโรคนี้ได การรักษาดวยยากลุม NSAIDS และยาตานมาลาเรีย (คลอโรควีนและไฮดรอกซีคลอโรควีน) ใน ผูปวยที่มีอาการเล็กๆนอยๆ ที่ไมมีปญหาตอการดําเนินชีวิตประจําวันมากนัก เชน ผูปวยที่มีอาการอยางโรคตามทางผิวหนัง มีผื่นที่ หนา ปวดขอและปวดกลามเนื้อ โดยที่ผลการตรวจทางปสสาวะปกติ อยางไรก็ตามในกรณียาเหลานี้ควบคุมอาการไมได อาจใหยาส เตียรอยดในขนาดต่ําๆ (prednisolone<10มก. /วัน) รวมดวย เมื่อควบคุมโรคไดจึงคอยลดยาลง ยาสเตียรอยด เชน prednisolone เปนยาหลักที่ใชในผูปวยที่มีอาการอักเสบของอวัยวะสําคัญตางๆจากโรคลูปส แพทยจะ ปรับขนาดของยาตามอาการและผลการตรวจทางหองปฏิบัติการ ถาไมไดผลอาจตองใหยากดระบบภูมิคุมกันอื่น ๆ รวมดวย

อาการขางเคียงของยาที่ใช 1. NSAIDS ทําใหระคายเคืองกระเพาะอาหาร บางรายเกิดแผลในทางเดินอาหาร ทําใหถายเปนเลือดได ยาสเตียรอยดทําใหน้ําหนัก

เพิ่มขึ้น จากการคั่งของเกลือและน้ํา และจากการรับประทานอาหารไดมากขึ้น

2. prednisolone ถาไดรับยาในขนาดสูง ๆ ตองระวังปญหาจากการติดเชื้อไดงายกวาปกติ นอกจากนี้อาจมีปญหาเกี่ยวกับการนอนไม

หลับ ความดันโลหิตสูง น้ําตาลในเลือดสูง กลามเนื้อออนแรง และถาไดรับยาเปนเวลานาน ๆ อาจเกิดภาวะกระดูกพรุนและ กระดูกหักงาย ประจําเดือนมาไมสม่ําเสมอ ความรูสึกทางเพศลดลง มีสิวขึ้น ปวดขอที่เกิดจากหัวกระดูกขาดเลือด และเกิดลักษณะ ของกลุมอาการคูชชิ่ง ไดแก หนากลม ไหลและคออูม ลําตัวอวน


3. ยาตานมาลาเรีย ( คลอโรควีนและไฮดรอกซีคลอโรควีน ) อาจมีอาการตาพรามัว เห็นภาพซอน กลัวแสงหรือตาบอดสีหรือทําให เลือดออกในจอตา ผูปวยที่ใชยาเหลานี้ตองตรวจตาอยางละเอียดโดยจักษุแพทยทุก 6 เดือน นอกจากนี้อาจพบอาการเบื่ออาหาร

ทองเสียหรืออาการกลามเนื้อออนแรงได

4. ยากดภูมิคุมกัน (เชน Cyclophosphomide, azathioprine) อาจกดไขกระดูก ทําใหเม็ดเลือดขาวต่ํา เกล็ดเลือดต่ําและซีดได นอกจากนี้

ทําใหมีคลื่นไสอาเจียน ปวดทอง กระเพาะปสสาวะอักเสบ กดการทํางานของรังไขทําใหมีประจําเดือนผิดปกติ และมีบุตรยากได การใชยาเหลานี้เปนระยะเวลานาน (ติดตอกันเกิน 2 ป) จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงตอโรคมะเร็งไดมากกวาคนทั่วไป

การปฏิบัติตัวในการควบคุมโรค 1. หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ดูแลรักษาความสะอาดของรางกายโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ ชองปาก 2. หลีกเลี่ยงแสงแดดและแสงไฟนีออนเนื่องจากทําใหโรคกําเริบได ใชครีมกันแดดเปนประจําทุกเชาโดยซื้อครีมกันแดดที่ปองกันทั้ง UVA และ UVB ที่มี SPF 15 ขึ้นไป และพยายามหลีกเลี่ยงการออกแดดโดยตรงในกรณีที่จําเปนตองใสเสื้อแขนยาว และสวมหมวก

รวมทั้งใชครีมกันแดดที่แรงขึ้น

3. รับประทานอาหารปรุงสุกผานความรอนใหม ๆ งดอาหารหมักดอง หลีกเลี่ยงการรับประทาน ขนมจีน ผักสด และสมตําตาม

รานคาทั่วไปในผูปวยที่มีอาการทางไตรวมดวย ควรรับประทานอาหารจํากัดเกลือ

4. ออกกําลังกายสม่ําเสมอ และบริหารขอเพื่อปองกันการเกิดขอพิการ (ยกเวนขณะมีขออักเสบ ) 5. หลีกเลี่ยงภาวะเครียดเนื่องจากอาจทําใหโรคกําเริบได 6. เมื่อเจ็บปวยไมซื้อยามากินเอง ควรไปพบแพทยที่รักษา 7. ไมควรเปลี่ยนแพทยหรือสถานรักษาดวยตนเอง เพราะจะทําใหแผนการรักษาขาดความตอเนื่อง 8. ไมควรปลอยใหตั้งครรภในระยะที่โรคกําเริบหรือใชยาขนาดสูง 9. ควรมาพบแพทยเมื่อมีอาการแสดงวาโรคกําเริบ เชน มีไข ขออักเสบมากขึ้น มีจ้ําเลือดตามตัว บวมขึ้น เหนื่อยขึ้น เจ็บแนน

หนาอก

อางอิง - สมจิต หนุเจริญกุล. (2536). การพยาบาลทางอายุรศาสตร เลม 3. พิมพครั้งที่ 3. บริษัท วีเอสพริ้นติ้ง จํากัด : กรุงเทพ ฯ. - สุชีลา จันทรวิทยานุชิต. (2538). ตําราโรคขอ. พิมพครั้งที่ 1.

โรงพิมพเรือนแกวการพิมพ :กรุงเทพฯ.


ตรวจทานโดยอาจารยบุญจริง ศิริไพฑูรย วันที่ 19 สิงหาคม 2546

การใช Transfer Factor (ทรานสเฟอร แฟกเตอร) ในโรค SLE

Transfer factor Tri-factor formula

คุณสมบัติของทรานสเฟอร แฟกเตอร แอดวานซ ฟอรมูลา บํารุงเพิ่มความแข็งแรงและปรับสมดุลของระบบภูมิคุมกัน ลดปญหาภูมิแพและภูมิเพี้ยน เชน โรคเบาหวาน โรค SLE โรคสะเก็ดเงิน โรคไต โรคภูมิแพ ชวยใหคําสั่งการผลิตอินซูลิน เพื่อนําน้ําตาลไปสูเซลลไดอยางมีประสิทธิภาพมากขึ้น ชวยลดความเสี่ยงจากโรคเบาหวาน นอกจากนั้นยังชวยลดปญหาเรื่องขอตอ ติดขัด การปวดเขาจากการงอพับ ภูมิคุมกันจะชวยใหสุขภาพของคุณดีขั้น อยางนา ประหลาดใจ สวนประกอบที่สําคัญ คือ มิลคโปรตีน ไอโซเลต 210 มิลลิกรัม, โปรตีนจากไขแดง 90 มิลลิกรัม ขนาดบรรจุ 1 ขวด มีปริมาณ 60 แคปซูล รับประทาน ครั้งละ 1-3 แคปซูล X 3เวลา กอนอาหาร

Transfer Factor Riovida Tri-factor formula


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.