Aphonse Maria Mucha

Page 1


Aphonse Maria Mucha เรียบเรียงโดย กาญจนา ผกาแก้ว


Self-portrait (1899)


Self-portrait in a Russian shirt 'rubashka', in the studio, Rue de la Grande Chaumière, Paris (Early 1890s)


Preface งานศิลปะที่มีลวดลายเส้นโค้งที่อ่อนช้อย ชดฉ้อย การโค้งงอของพืชพรรณ ไม้ตามธรรมชาติ เป็นงานที่คนทั่วไปแบบไม่มีความรู้ด้านศิลปะดูก็รู้ว่าสวย ความ สวยงามเหล่านั้นสามารถสะกดคนดูให้มีความหลงใหล งานศิลปะเหล่านี้เรียกว่า อาร์ตนูโวหรือในภาษาไทยเรียกกันว่า “นวศิลป์” “อัลโฟนส์ มูคา” เป็นหนึ่งในศิลปินแบบอาร์ตนูโว งานของมูคาส่วนใหญ่ จะเป็นงานโปสเตอร์ที่ทำ�กับโรงพิมพ์ที่เรียกกันว่าพาณิชย์ศิลป์ งานของมูคาเป็นงาน ที่มีเอกลักษณ์ด้วยเส้น ความสวยงามของคนที่เขาวาด องค์ประกอบที่มีการเกี่ยว กระหวัดของพรรณไม้ดอกไม้ต่าง ๆ ความโค้งงออ่อนช้อยสวยงาม การสีโทนอ่อน หรือสีพาสเทลดูนุ่มนวล ถือได้ว่างานของเขาเป็นงาน “ใหม่” ทำ�ให้งานของเขาเป็น ที่โด่งดังและเป็นที่นิยมในสมัยนั้น มูคาไม่เพียงแต่จะเป็นศิลปินที่ทำ�งานการ ออกแบบโปสเตอร์ให้กับโรงพิมพ์เพียงอย่างเดียว เขายัง เป็นนักออกแบบเครื่องประดับที่คนในวงการการออกแบบ เครื่องประดับยกย่อง ทั้งยังทำ�หนังสือเพื่อให้ความรู้กับ บุคคลทั่วไปอีกด้วย

อัลโฟนส์ มูคาจึงเป็นบุคคลที่น่าสนใจ

แต่จะเขียนเล่าตรงนี้คงไม่หมด หนังสือเล่มนี้ได้ รวบรวมและเรียงเรียงชีวิต การทำ�งาน และงานของมูคา ไว้แม้ไม่ทั้งหมดแต่ก็หวังว่าคุณคงได้รู้เรื่องของมูคามากขึ้น กาญจนา ผกาแก้ว พฤศจิกายน 2016 Zodiac (1896), lithography


Fruit (1897), lithography, Alphonse Mucha


Contents Art Nouveau 5 Alphonse Maria Mucha 11 - ประวัติและชีวิตส่วนตัว 12 - จุดพลิกผันทำ�ให้กลายเป็นศิลปินผู้โด่งดัง 15 - แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน 19 Works 30 - Gismonda (1894) 31 - The Seasons (series) (1896) 35 - Zodiac (1896) 37 - Reverie (1897) 38 - Head of a Girl 39 - Stained-glass Window designed 40 - Documents Decoratives 41 - Figures-Decoratives 42 - The Slav Epic 43 Reference 49


Art Nouveau (1890-1910)

อาร์ตนูโว พจนานุกรมศิลปะ ฉบับ ราชบัณทิตยสถาน ได้กำ�หนดเป็นศัพท์ภาษา ไทยว่า ‘นวศิลป์’ อาร์ตนูโวในภาษาฝรั่งเศส แปลว่าศิลปะใหม่ ซึ่งใช้เรียกชื่อศิลปะแบบใหม่ ในสมัยนั้น คือเปลี่ยนแนวคิดจากสร้างผลงาน ตามศาสนาความเชื่อมาเป็นการยกย่องความ งดงามอ่อนช้อย โค้งงอของธรรมชาติ

DANCE (1989), lithography Alphonse Mucha

5

อาร์ตนูโว เป็นลักษณะศิลปะ สถาปัตยกรรม และศิลปะประยุกต์ ซึ่งได้รับ ความนิยมสูงสุดในช่วง ค.ศ. 1890 ถึง 1905 โดยมีจุดเด่นคือใช้รูปแบบธรรมชาติ โดยเฉพาะ ดอกไม้และพืชอื่น ๆ มาทำ�เป็นลวดลายเส้นโค้ง ที่อ่อนช้อย มีจุดเริ่มต้นมาจากชื่อร้านของ แอส. บิง (Siegfried Bing) ที่ปารีสในปี 1895 ที่ชื่อ ว่า อาร์ตนูโว มีจุดเริ่มต้นมาจากชื่อร้านของ แอส.บิง (Siegfried Bing) ที่ปารีสในปี 1895 ที่ชื่อว่า ‘ลา นูโว’ (LíArt Nouveau) แปลว่า ศิลปะใหม่ ต่อมากลายเป็นชื่อเรียกศิลปะที่มีรูป แบบเฉพาะในด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบ และศิลปะอื่น ๆ


ลักษณะเด่น ลักษณะรูปแบบจะเป็นการลดทอนรูปแบบจากรุกขชาติ แมลง เปลือกหอย ใบไม้ และเถาวัลย์ตามธรรมชาติ นำ� มาประดิษฐ์เป็นลวดลายประดับทั้งภายในและภายนอก อาคาร ตลอดจนเครื่องใช้ ของประดับบ้าน และเครื่องแต่ง กาย ทำ�ให้นวศิลป์เป็นรูปแบบที่นำ�กลับมาใช้ตกแต่งเสมอ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในอาคารพาณิชย์ เช่น ร้านอาหาร ฝรั่งเศส ร้านขายเสื้อผ้าสตรี และกิจการเกี่ยวกับความงาม อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการหาวัสดุและแร่ธาตุจากธรรมชาติ ได้แก่ งาช้าง เงิน ทองแดง นำ�มาใช้ด้วยเช่นกัน

Hotel Tassel (1893-4) สถาปัตยกรรมแบบนูโวอาร์ต

อาร์ตนูโว ได้รับแรงบันดาลใจจาก รูปทรงและสีจากธรรมชาติ เช่น สี จากฤดูกาล เช่น สีออกส้มและ น้ำ�ตาลของฤดูใบไม้ร่วง สีจากพืช พรรณต่าง ๆ เช่น สีเขียวเข้ม สี เขียวตอง และสีของดอกไม้ เช่น สี ขาวนวลดอกมะลิ สีม่วงดอกไอริส สีแดงดอกป็อปปี เป็นต้น

Summer (1896), lithography Alphose Mucha

อาร์ตนูโวมีชื่อเรียกในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป ใน ภาษาเยอรมันเรียกว่า ยูเกินท์ชตีล (Jugendstil) แปล ว่า เยาว์ (Youth) ในอิตาลีเรียกว่า Stile Liberty ใน สเปนเรียกว่า Modrenista และออสเตรียเรียกว่า Sezessionstil (Secession Style)

ART NOUVEAU


ART NOUVEAU อาร์ต นูโว (Art Nouveau) ปรากฏตัวขึ้นครั้ง แรกในประเทศอังกฤษ โดยกลุ่มศิลปินกลาส โกว์สคูล ที่ปรารถนาจะนำ�เสนอแนวทางของ ศิลปะรูปแบบใหม่ ที่ผสมผสานกันระหว่าง Art and Craft หรือศิลปะและงาน โดยเน้นรูปแบบ งานศิลปะและการออกแบบที่มีการผสมผสาน ระหว่างศิลปะแนวใหม่ และรูปทรงศิลปะแบบ ดั้งเดิม ที่ยังคงเน้นรูปทรงและลวดลายแบบ ธรรมชาติ ในวิถีของการออกแบบที่อ่อนช้อย เกี่ยวกระหวัด เหนี่ยวพัน และพลิ้วไหว ในรูป แบบที่เรียกว่า Noodle Style

แต่กระนั้นก็มิได้ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ ของ ศิลปะการออกแบบที่มีมาก่อนหน้านี้โดยสิ้น เชิง หรืออาจกล่าวได้ว่า อาร์ต นูโว ถือเป็น รูปแบบศิลปะการออกแบบที่ไม่เพียงให้ความ สำ�คัญกับรูปลักษณ์เท่านั้น แต่ยังให้ความ สำ�คัญกับเรื่องของมิติ และรูปทรงอีกด้วย

The Great Wave off Kanagawa (1830) color woodblock, Katsushika Hokusai

Arts and Crafts Exhibition Society ticket by Walter Crane England, UK, 1890

อาร์ต นูโว มีต้นกำ�เนิดมาจากกลุ่ม อาร์ต แอนด์ คราฟท์ มูฟเมนต์ (Art and Crafts Movement) หรือ ศิลปะและงาน ในอังกฤษ และกลุ่ม ซิมโบลิสม์ (Symbolism) และความนิยมใน ศิลปะวัฒนธรรมญี่ปุ่น (Japonism) และรูปแบบสารพัดที่ผสมเข้ามาตั้งแต่แนวอียิปต์โบราณและ โรโคโค (Rococo)

7


แม้อาร์ต นูโว จะก่อกำ�เนิดขึ้นครั้งแรกใน อังกฤษ แต่กลับประสบความสำ�เร็จอย่าง สูงสุดในฝรั่งเศสแทน โดยเฉพาะการเปิดตัว ศิลปะเครื่องประดับสไตล์อาร์ต นูโว ครั้ง แรกเมื่อปี ค.ศ. 1895 ในงาน La Maison de art Nouveau ณ กรุงปารีส ซึ่งทำ�ให้ ศิลปะนูโวเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ตราบกระทั่ง ถึงทุกวันนี้

The Maison de l’Art Nouveau gallery of Siegfried Bing (1895)

Biscuits Lefevre Utile (1896) Alphonse Mucha lithography


Alphonse Maria Mucha 1860-1939

Mucha, in about 1906

11


Alfons Maria Mucha เป็นภาษาเช็ก อ่านเป็นภาษาไทยได้ว่า อัลโฟนส์ มารียา มูคา เป็นศิลปินแนวนวศิลป์ (Art Nouveau) ที่มีผลงานออกแบบอย่างหลากหลาย ทั้งภาพโปสเตอร์ ปฏิทิน ภาพประกอบหนังสือ งานพิมพ์ ภาพพิมพ์หิน งานโลหะ งานหนัง การออกแบบเครื่อง ประดับ และการออกแบบของตกแต่งบ้าน อีกทั้งยังมีผลงานวาดภาพเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อีก ด้วย นับว่าเป็นศิลปินมากความสามารถ และมีความเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวที่โดดเด่นคนหนึ่ง

Self-portrait on stepladder, working on the cartoon of the poster ‘Imprimerie Cassan Fils’ (1896)

อัลโฟนส์ มูคา เกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1860 ในเมืองอิวันชิตเซ (Ivančice) ภูมิภาคโม เรเวีย ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก เขามีความ สามารถในการร้องเพลง ส่วนศิลปะนั้น เริ่มต้น จัดเป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่งของเขา แต่ต่อมา เขาได้เข้าเรียนในโรงเรียนท้องถิ่น ความสนใจ ทางด้านศิลปะจึงเริ่มมีมากขึ้น


จุด เริ่ม ต้น ของ การ เป็น ศิลปิน

APHONSE MARIA MUCHA เมื่อเขามีอายุ 17 ปี ก็ได้ออกจากบ้านเพื่อมาทำ�งานเป็นจิตรกร ตกแต่งฉากเวทีที่ริงเทอาเทอร์ (Ringtheater) ในเวียนนา แต่โรงละครเกิด ไฟไหม้ทำ�ให้เขาต้องตกงาน และต่อมาได้ถูกเชิญให้ไปตกแต่งปราสาทของ เคานต์คาร์ล (Count Karl Khuen-Belasi) แห่งเอมมาโฮฟ (Emmahof) ในออสเตรีย ซึ่งถือเป็นผู้มีพระคุณต่อการสนับสนุนทางการเงินแก่เขาใน การเข้าเรียนศิลปะในสถาบันสอนการศึกษาที่มิวนิก

Self-portrait with posters for Sarah Bernhardt, in his studio, Rue du Val de Grace, Paris (1901)

ในปี ค.ศ. 1887 เขาก็ตัดสินใจเดินทางเข้า กรุงปารีสเพื่อศึกษาต่อที่สถาบันฌูว์ลีย็อง (Académie Julian) และสถาบันกาโลรอสซี (Académie Colarossi) ซึ่งช่วงนี้เขาได้เข้า เป็นสมาชิกของกลุ่มนาบี ซึ่งเป็นศิลปินในลัทธิ ประทับใจยุคหลัง (post-impressionism) ที่มีเทคนิคหลากหลาย พวกเขาทำ�งานศิลป์ ลงในหลายวัสดุนอกจากผ้าใบ ยังมีเซรามิก โปสการ์ด เสื้อผ้า นอกจากนั้นยังได้รับอิทธิพล จากคตินิยมศิลปะญี่ปุ่น ซึ่งกลายเป็นมางาน ศิลปะแบบนวศิลป์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1889

13

มูคาต้องออกจากสถาบันกาโลรอสซีเมื่อเคานต์ คาร์ลเสียชีวิต และหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นนัก เขียนการ์ตูน เขียนภาพลงนิตยสาร และภาพ ประกอบโฆษณา นับเป็นช่วงเวลาที่เขามีผล งานผลิตออกมาจำ�นวนมาก ซึ่งลักษณะงาน ก็ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบที่เคยร่ำ�เรียน มาจากสถาบันศิลปะ แต่ก็ทำ�ให้เขาได้สะสม ประสบการณ์จากทำ�งานและได้ศึกษาเรียนรู้ ศิลปะควบคู่กันไป และคงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผลัก ดันให้เขาประสบความสำ�เร็จด้านงานออกแบบ ตกแต่งต่อไป


Georges Fouquet (1858-1929), Paris, after design by Mucha: Ornamental Chain with pendants (1900)

Box for Lefèvre-Utile biscuits: Gaufrettes Vanille (c.1900)

Tin for Lefèvre-Utile biscuits (1899)

ALPHONSE MARIA MUCHA


จุดพลิกผันให้กลายเป็น ศิลปินผู้โด่งดัง ในปี ค.ศ. 1894 เกิดจุดเปลี่ยนในชีวิตมูคา เมื่อเขาวาดภาพ Gismonda ผลงานโปสเตอร์ชิ้นแรกที่ เขาวาดให้แก่ซารา แบร์นาร์ต (Sarah Bernhardt) ซึ่ง เขาได้งานชิ้นนี้อย่างบังเอิญ เนื่องจากภายในร้าน Lemercier ที่ซารา แบร์นาร์ต นางเอกละครผู้โด่งดังมาใช้ บริการมีแต่ผลงานของมูคาที่จัดแสดงอยู่คนเดียวเท่านั้น เขาจึงได้งานจากซารา แบร์นาร์ต และผลงานโปสเตอร์ สำ�หรับละครเรื่องนั้นส่งผลให้เขาโด่งดังอย่างมากในช่วง ปี 90 ยากที่จะหาใครมาเทียบได้ Portrait of actress Sarah Bernhardt (1844-1923) Poster for Victorien Sardou’s Gismonda starring Sarah Bernhardt at the Theatre de la Renaissance in Paris. 1894, lithograph

มูคาทำ�สัญญากับซารา แบร์นาร์ตเป็นเวลา 6 ปี ตลอดช่วงเวลานี้ เขาออกแบบโปสเตอร์ที่งดงามให้เธอ 9 ชิ้น รวมทั้งช่วยงานเธอ ทั้งออกแบบ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับและเวทีในละครต่าง ๆ ที่เธอมีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วย สาธารณชนเองก็ชอบงานของเป็นอย่างมาก

15


ALPHONSE MARIA MUCHA

Sarah Bernhardt as La Princesse Lointaine: poster for ‘La Plume’ magazine (1897)

16


ALPHONSE MARIA MUCHA

ในขณะเวลาเดียวกันกับการทำ� สัญญากับซารา มูคาก็ผูกมัดกับตัว เองด้วยสัญญาที่ทำ�ไว้กับโรงพิมพ์ Champenois ที่ซึ่งเขามีรายได้ ประจำ�จากการออกแบบโปสเตอร์ การทำ�งานร่วมกับโรงพิมพ์ครั้งนี้ นำ�ทางให้เขาได้แสดงความสามารถ ด้านงานภาพพิมพ์หิน (lithography) ก็ยิ่งส่งให้ชื่อเสียงของเขาเป็น ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เช่นภาพ ชุด The Seasons (1896) และ The Flowers (1898)

The Seasons (series) (1896) lithograph, F. Champenois, Paris

17


The Flowers (series) (1898) lithographs, F. Champenois, Paris

ALPHONSE MARIA MUCHA


ราวปี ค.ศ. 1900 ถือเป็นช่วงเวลาที่มูคาประสบความสำ�เร็จอย่างสูงสุดแทบในทุกด้าน ทั้งในด้านการเป็นศิลปินผู้โด่งดัง และยังเป็นอาจารย์สอนศิลปะการออกแบบด้วย เขาจัดทำ�หนังสือ Documents Decoratives และ Figures Decoratives ซึ่ง มีเนื้อหาเกี่ยวกับนวศิลป์อย่างสมบูรณ์ แสดงให้ เห็นถึงความใส่ใจที่เขามีต่อการศึกษาศิลปะใน โรงเรียน และพยายามที่จะเผยแพร่ความรู้ด้าน การออกแบบให้กว้างขวาง แม้หนังสือทั้งสองเล่ม จะสนับสนุนให้มูคาที่ชื่อเสียงที่โด่งดังมากขึ้น แต่ เมื่อหนังสือถูกจำ�หน่ายกลับถูกใช้เป็นเครื่องมือ ทางการค้า

ปกหนังสือ Documents Decoratives

ปกหนังสือ Figures-Decoratives

เนื่องจากสำ�นักพิมพ์ที่เขาทำ�สัญญาด้วยทำ�การ ตลาดโดยแถมหนังสือ Documents Decoratives เมื่อซื้อหนังสือ Figures Decoratives ซึ่ง เหมือนเป็นการไม่ให้คุณค่าของหนังสือเท่าที่ ควร ประกอบกับเมื่อออกจำ�หน่ายกลับทำ�ให้ เขายุ่งยากลำ�บากยิ่งขึ้น เพราะลูกค้าไม่ได้สั่งซื้อ งานตามแบบในหนังสือ แต่มักจะขอเปลี่ยนแบบ เพื่อให้ได้งานที่พิเศษไม่เหมือนใคร ซึ่งอาจเป็น เหตุผลที่มูคาตัดสินใจออกจากปารีสไปเผชิญโลก ใหม่ที่อเมริกาก็เป็นได้

ALPHONSE MARIA MUCHA


การย้ายจากปารีสสู่ อเมริกา

มูคาย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในเมือง นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อหวังที่จะพบโลกใหม่ ซึ่งคงสอดคล้องกับประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ในช่วงนั้นที่เป็นดินแดนแห่งโลกใหม่เป็นยุคแห่ง ความก้าวหน้าของสหรัฐอเมริกา (Progressive Era) ที่ซึ่งเขาทำ�งานด้านการออกแบบออกมา ควบคู่ไปกับการสอนวาดภาพและองค์ประกอบที่ สถาบันศิลปะชิคาโกด้วย

และเขายังได้พบรักและแต่งงานกับหญิง สาวชาวเช็กที่ชื่อ Marie Chytilova ในปี ค.ศ. 1906 ซึ่งภายหลังพวกเขามีลูกสาวและ ลูกชายด้วยกัน นอกจากนี้ มูคายังได้พบกับ ชาลส์ ริชาร์ด เครน นักอุตสาหกรรมชาว อเมริกันผู้ร่ำ�รวยและสนับสนุนให้เขาวาดภาพ ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐเช็กโดยไม่เกี่ยงเรื่อง ค่าใช้จ่ายและราคา

Self-portrait with the mirrored image of his wife Maruska (photomontage), Zbiroh Castle, West Bohemia (Early 1920s)

19


ALPHONSE MARIA MUCHA ในปี ค.ศ. 1910 มูคาและครอบครัว เดินทางกลับประเทศบ้านเกิด ที่ซึ่งเขาทำ�ผล งานชิ้นสุดท้าย ที่น่าจะได้รับแรงบันดาลใจและ มีพื้นฐานมาจากผลงานด้านประวัติศาสตร์ก่อน ๆ ของเขาเอง เช่น ปี ค.ศ. 1880 งานภาพ ปูนเปียก (fresco) ที่เอมมาโฮฟในโมเรเวีย, ภาพฝาผนังที่งานนิทรรศการนานาชาติ กรุง ปารีส ในปี ค.ศ. 1900, งานตกแต่งภายในโรง

ละครเยอรมันในนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1908 และ งานภาพฝาผนังให้กับศาลาว่าการกรุงปราก โดยผลงานชิ้นสุดท้ายนี้ชื่อว่า “The Slav Epic” ภาพแห่งประวัติศาสตร์แห่งมหากาพย์ ชนชาติสลาฟ ซึ่งเป็นผลงานที่ครอบงำ�การ ทำ�งานของมูคาในช่วงสุดท้ายของชีวิต

Self-portrait, working on a mural for the Lord Mayor’s Hall, Obecní dům, Prague (1910-1911)

21


ช่วงปลายปี ค.ศ. 1930 ลัทธิฟาสซิสต์เริ่มมีอำ�นาจมากขึ้นและมองว่าผลงาน “The Slav Epic” ของมูคามีแนวคิดชาตินิยม สลาฟ หากมองในแง่ร้ายก็เป็นการขัดต่อ อำ�นาจของลัทธิ และเมื่อกองทัพนาซีย้ายเข้าไปอยู่ในสโลวาเกีย มูคาเป็นคนแรกที่ กองทัพจับตัวไปสอบปากคำ� แต่เมื่อพบว่ามูคาป่วยด้วยโรคปอดบวมจึงได้รับการ ปล่อยตัวในที่สุด ทำ�ให้เชื่อกันว่า เขาอาจจะได้รับการกระทำ�กระเทือนจากเหตุการณ์ นี้ จนทำ�ให้เขาเสียชีวิตเนื่องจากปอด ติดเชื้อในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1939 ไม่นาน ก่อนที่จะเกิดการ รุกรานของสโลวาเกียโดย กองทัพเยอรมัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ตลอดชีวิตการทำ�งานศิลปะ ของมูคา แทบจะไม่มีเวลา Self-portrait, Prague (1930s) ไหนเลยที่เขาได้หยุดสร้าง งาน ซึ่งผลงานของเขาก็จะมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยผลงานนั้นก็มีความแตก ต่างกันหลาย ๆ ด้าน ทั้งศิลปะการออกแบบที่เป็นนวศิลป์อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งนำ�เสนอ อย่างหลากหลายรูปแบบ ทั้งภาพโปสเตอร์สำ�หรับซารา แบร์นาร์ตปฏิทิน ภาพประกอบ หนังสือ นอกจากนี้ เขายังมีงานด้านประวัติศาสตร์ซึ่งปรากฏผลงานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880 เรื่อยมา ควบคู่ไปกับงานศิลปะการออกแบบและตกแต่ง

22


แนวคิด

ในการสร้างสรรค์ผลงาน ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของมูคาส่วนใหญ่จะ มีเอกลักษณ์ที่สวยงาม แสดงให้เห็น ถึงความแข็งแกร่งของหญิงสาว กับ ความพริ้วไหวเบาบางของเสื้อผ้า แบบลัทธิคลาสสิกใหม่ (neoclassicism) และถูกมักจะแวดล้อมไป ด้วยดอกไม้นานาชนิด บางครั้งอาจ มีรัศมี (haloes) ปรากฏที่ด้านหลัง ศีรษะด้วย และความแตกต่างจาก นักทำ�โปสเตอร์ที่ร่วมสมัยกับมูค า คือ การใช้สีอ่อน ซีดจาง (Pastel Colors) ในการทำ�งาน นอกจาก นี้ งานของเขายังแฝงไปด้วยจิต วิญญาณ โชคชะตา และความลึกลับ

เนื่องจากเขาเคยกล่าวว่า โชคชะตา ของเขานั้นดีที่มีผู้อุปถัมภ์งานอยู่ เสมอ ดังนั้น งานในระยะนี้ของเขา จึงนับว่าเป็นการผสมผสานรูปแบบ ความงานของศิลปะตะวันตกเข้ากับ จิตวิญาณของศิลปะตะวันออกได้ อย่างลงตัว

Poster for ‘Job’ cigarette paper (1896)

23


ALPHONSE MARIA MUCHA

Judgement of Paris (calendar for Vieillemard printing company) (1895)

24


คริสต์ศตวรรษที่ 20 มูคายังคงทำ�งานออกแบบตกแต่งอยู่เช่นเดิม ทั้ง งานด้านการตกแต่งตามแนวนวศิลป์ และเขาได้ กล่าวไว้ว่า ศิลปะไม่มีอะไรมากไปกว่าเป็นเครื่อง มือสื่อสารทางจิตวิญญาณ (Art exists only to communicate a spiritual message)

Russia Restituenda [Russia Must Recover] (1922) Colour lithograph

Portrait of Mucha's Daughter, Jaroslava (c.1927-1935) Oil on canvas

ALPHONSE MARIA MUCHA


ALPHONSE MARIA MUCHA แต่จากความผิดหวังที่ได้รับ ผลกระจบจากพาณิชย์ศิลป์ เขาจึงหัน มาให้ความสนใจกับงานศิลป์ที่ดูสูงส่ง บริสุทธิ์และงานศิลปะเช็กจากบ้านเกิด ของเขา และเขาเมื่อได้พบกับชาลส์ ริ ชาร์ด เครน ที่สนับสนุนให้เขาวาดภาพ ประวัติศาสตร์เช็ก นับจากนั้นเขาก็เริ่ม สนในงานประวัติศาสตร์มากขึ้นจากเดิม และคงสอดคล้องกับแนวความคิดของ เขาที่ว่า เมื่ออายุมากขึ้น ก็อยากแสวงหา สิ่งใหม่ ๆ ให้กับชีวิตหรือคิดหวนสู่อดีต ที่อันรุ่งเรืองทางประวัติศาสตร์ ทำ�ให้ The Light of Hope (1933) Oil on canvas มูคาตัดสินใจย้ายจากกรุงปารีสมาที่ สหรัฐอเมริกา และท้ายที่สุดก็เดินทางกลับบ้านเกิดสืบเนื่องให้ผลงานช่วงปลายของชีวิตมูคานั้น มีลักษณะที่เป็นภาพประวัติศาสตร์ ที่สะท้อนแนวความคิดชาตินิยม เช่น ผลงาน “The Slav Epic” ที่เป็นภาพขนาดใหญ่ที่วาดเรื่องราวแห่งประวัติศาสตร์แห่งมหากาพย์ชนชาติสลาฟที่มี แนวคิดชาตินิยมอย่างชัดเจนนั่นเอง

'The Slav Epic' cycle No.1: The Slavs in Their Original Homeland (1912) Egg tempera on canvas

26


ALPHONSE MARIA MUCHA อัลโฟนส์ มูคาเป็นศิลปินที่มีความสามารถสูงและประสบความเสร็จเป็นอย่างมาก เขา ทำ�งานหลากหลายประเภท หลายสาขาวิชา ทั้งในเชิงพาณิชย์และวิจิตรศิลป์ ภาพวาดรูปผู้หญิง ดอกไม้ และธรรมชาติของเขาเป็นที่รู้จักกันดี รวมไปถึงความมีสุนทรีศาสตร์และปรัชญาในตัวสูง ผลิตผลงานออกมามากมายทั้งโปสเตอร์ ป้ายโฆษณา หนังสือออกแบบ อาทิการออกแบบเครื่อง ประดับ พรม วอลเพเปอร์ และฉากเวที ซึ่งผลงานต่างๆ เหล่านี้ได้รับการเรียกในระยะแรกว่า แบบ อย่างมูคา (Mucha Style) แต่ต่อมาได้กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อของนวศิลป์

ผลงานของมูคามีความเป็นเอกลักษณ์ สูงมาก แม้กาลเวลาจะผ่านพ้นไป แต่ ปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมและเป็นที่รู้ จักอยู่ และผลงานของเขาได้ส่งอิทธิพล ต่อการสร้างสรรค์ผลงานในปัจจุบัน

Movies Posters in the style of Art Nouveau artist Alphonse Mucha

27


งานวันศิลป์ พีระศรี ประจำ�ปี 2559 (124 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี) มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ โดยนักศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ รุ่นที่70


The Seasons: Spring (1900) Colour lithography


Alphonse Mucha’s Work

30


Gismonda 1894

Colour lithograph 216 x 74.2 cm

31


Gismonda เป็นละครกรีกเมโลดรามา (หนังรัก) สี่ฉาก โดย Victorien Sardou เปิด แสดงครั้งแรกในปี 1894 ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ที่ Théâtre de la Renaissance ในปารีส ซึ่งซา รา แบร์นาร์ตเป็นทั้งนักแสดงและผู้กำ�กับ โปสเตอร์ Gismonda มูคาผลิตขึ้นเพื่อโปรโมทการ แสดงนี้อีกครั้ง ซึ่งเปิดตัวใน 4 มกราคม 1895

Sarah Bernhardt on stage in Gismonda Last Act

ในภาพมูคาวาด แบร์นาร์ตเป็นหญิงไบแซนไทน์ที่ดูแปลกใหม่สวมใส่ชุดที่สวยงาม และศีรษะประดับด้วยกล้วยไม้ ในมีก้านปาล์ม เครื่องแต่งกายในภาพนี้ได้รับการสวมใส่ใน การแสดงรอบสุดท้ายที่เธอเข้าร่วมขบวนแห่เทศกาลอีสเตอร์ ภาพนี้ได้แสดงออกถึงการสร้างสรรค์เอกลักษณ์เฉพาะตัวของมูคาเอง ซึ่งได้ผสมผสาน สีและลายเส้นเข้าด้วยกันอย่างลงตัวแตกต่างจากภาพโปสเตอร์ทั่ว ๆ ไปอย่างชัดเจน ภาพนี้มูคา น่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมโดยรวมของเขาเอง ที่ออกแบบจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนาผลงานให้มีความชัดเจน โดยแสดงบุคลิกส่วนตัวของ Sarah Bernhardt ในมุมมอง ของเขา แล้วนำ�เธอเข้ากับภาพฉากละครที่อ่อนไหว ซึ่งมูคานำ�มาพรรณนาเป็นภาพระหว่างทาง ที่เธอเดินไปโบสถ์ ในบรรยากาศยุคศิลปะไบแซนไทน์ สื่อความหมายว่านางเอกละคร Sarah Bernhardt บนเวทีนั้นเป็นผู้เคร่งศาสนาไม่ได้เป็นแค่ผู้หญิงธรรมดา และเธอยังเป็นสัญลักษณ์ ของความฝันที่ไม่มีทางเข้าถึงได้ ภาพโปสเตอร์ของเขาได้ช่วยเสริมสร้างงานละครของนางเอก ละครผู้โด่งดังอย่างลงตัว เป็นสื่อสัมผัสถึงอารมณ์ของละครคลาสสิกของฝรั่งเศส ผสมผสานกับ ความเป็นตะวันออกและความลึกลับไม่ธรรมดาของละคร

ALPHONSE MUCHA’s WORK


The Seasons (series) 1896

Spring

33

Summer


Media type : Posters Medium : Colour lithograph Date : 1896 Printer/Makers : F. Champenois, Paris

Autumn

Winter

34


The Seasons (series) (1896) คือ ผลงานตกแต่งผนังชุดแรกที่กลายเป็น หนึ่งในชุดผลงานที่มีชื่อเสียงของเขา เป็นงานที่ได้รับมอบหมายจากโรงพิมพ์ Champenois ให้ผลิตงานออกมาอย่าง น้อยสองชุดโดยให้อยู่ในธีมเดียวกันในปี ค.ศ. 1897 และ 1900 Spring

Autumn

แนวคิดที่ปรากฏ ออกมาจาก The Seasons ไม่มีอะไรแปลกใหม่ เพราะ สามารถเห็นได้จากงานชิ้น สำ�คัญเก่า ๆ ของเขาในสื่อสิ่ง พิมพ์อื่น อย่างไรก็ตามภาพชุด นี้เป็นเหมือนนำ�ความงามของ สตรีแบบกรีกโรมันที่ดูคลาสสิก เข้ามาผสมผสานกับความเป็นชนบท ซึ่งสิ่งที่แสดงไม้ผลิ (Spring) ฤดูร้อนที่อบอ้าว (Summer) ฤดูใบไม้ร่วงที่เต็ม ไปด้วยผลไม้ (Autumn) และฤดูหนาวที่หนาวจัด (Winter) ลงไปในภาพพร้อมกับสื่อถึงวัฏจักรของธรรมชาติที่ เวียนไปเรื่อย ๆ ได้อย่างกลมกลืน และด้วยองค์ประกอบ ที่มีความเรียบง่ายแบนราบชวนให้นึกถึงเทคนิคแกะไม้ (Woodcut) ของญี่ปุ่น อันเป็นการเผยให้เห็นถึงการนำ� งานศิลปะญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ Winter

35

Summer


ALPHONSE MUCHA’s WORK

The Seasons (series) (1900) Lithography

36


Zodiac (1896) Media type: Decorative designs Medium: Colour lithograph Dimensions: 65.7 x 48.2 cm Printer/Makers: F. Champenois, Paris

Zodiac เป็นงานแรกของมูคา ภายใต้สัญญากับโรงพิมพ์ Champenois และเดิมทีมันถูกออกแบบมาเพื่อเป็น ปฏิทินภายในบริษัท ในส่วนขององค์ประกอบ มูคา วาดรูปเป็นสัญลักษณ์ราศีทั้ง 12 ราศีเป็น วงกลมข้างหลังของศีรษะผู้หญิงซึ่งเป็น ลวดลายตามแบบของมูคา ผู้หญิงหันด้าน ข้างมีความสง่างามของเครื่องประดับที่มี ลวดลายซับซ้อนที่อยู่บนศีรษะ

การออกแบบที่โดดเด่นของปฏิทิน Zodiac ได้ดึงดูดความสนใจของ Léon Deschamps, หัวหน้าบรรณาธิการของ La Plume เขาซื้อลิขสิทธิ์มาแจกเป็นปฏิทินของนิตยสาร สำ�หรับปี 1897 และมันก็กลายเป็นหนึ่งในการออกแบบที่นิยมมากที่สุดของ Mucha

ALPHONSE MUCHA’s WORK


Rêverie (1897) Media type: Decorative designs Medium: Colour lithograph Date: 1897 Dimensions: 72.7 x 55.2 cm Printer/Makers: F. Champenois, Paris

เหมือนกับภาพ Zodiac ที่ เดิมทีออกแบบเพื่อใช้เป็นปฏิทินปี 1989 ในบริษัท Champenois แต่อย่างไรก็ ตาม ภาพนี้เป็นที่นิยมทันทีที่นิตยสาร La Fume นำ�ไปตีพิมพ์เป็นให้รู้จักใน แบบ Decorative Panel ด้วยชื่อว่า Rêverie (Daydream)

การออกแบบของมูคาแสดงให้เห็นแววตาชวนฝันของหญิงสาวที่กำ�ลังเปิดหนังสือ Decoratives Design หรืออาจจะแผ่นกระดาษตัวอย่างของโรงพิมพ์ วงกลมด้านหลังของเธอโด่ดเด่นด้วยการ ตกแต่งอย่างปราณีตสวยงามด้วยดอกไม้และกิ่งก้าน และต่อมาก็กลายเป็นลายแพทเทิร์นลูกไม้

38


Head of a Girl

เครื่องประดับ Head of a Girl เป็นรูปปั้นหญิงสาวครึ่งตัว มูคาทำ�ขึ้นเพื่อจัดแสดงในงาน นิทรรศการนานาชาติ กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1900 เป็นรูปปั้นที่รับแรงบันดาลใจประติมากรรมใน สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) แต่เลือกวัสดุเงินและเทคนิคการปิดทองที่ทันสมัยเพื่อสร้าง ความโดดเด่นให้กับรูปปั้น ถึงแม้ไม่ทราบแน่นอนว่ามูคาต้องการบรรยายถึงซารา แบร์นาร์ต หรือ Cleo de Merode แต่รูปแบบนั้นสะท้อนการออกแบบอย่างชาญฉลาด ด้วยการทำ�ผมยาว เปิด หน้าด้วยผมที่ม้วน ร่างกายเปล่าเปลือย เสมือนรูปร่างเป็นรูปกรวย ให้ความหมายที่ลึกลับ ยากที่ จะหยั่งถึง เป็นอีกหนึ่งผลงานชิ้นเอกด้านการประดับตกแต่งงานปั้นของมูคา

39


Stained-glass Window designed at St. Vitus Cathedral, Prague (Early 1930s)

ขณะที่งานเฉลิมฉลองครบรอบพันปี ของวาตสลัฟที่ 1 ดุ๊กแห่งโบฮีเมีย (St. Wenceslas) ได้มีการให้ฟื้นฟูงานกอทิก ของมหาวิหารเซนต์วิตัส (St. Vitas Cathedral) แห่งปรากจนเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1929 โดยหน้าต่างประดับกระจกสีนี้ได้ ถูกติดตั้งในปี ค.ศ. 1931 ซึ่งหน้าต่างจะ มีภาพเซนต์วาสลัฟในวัยเด็กกับคุณยาย ของเขาอยู่ใจกลางภาพแวดล้อมไปด้วย ฉากเหตการณ์ของนักบุญซีริล (Saints Cyril) และเมโทดิอุส (Methodius) ที่ เผยแพร่ศาสนาคริสต์อยู่ท่ามกลางชาว สลาฟ ซึ่งนี้จะอยู่ด้านล่างของเยซูคริสต์ เสมอ และเป็นสัญลักษณ์ของธนาคาร ชาวสลาฟที่ให้การสนับสนุนเงินทุนใน การสร้างหน้าต่างประดับกระจกสีนี้

ALPHONSE MUCHA’s WORK


Documents Decoratives Book

หนังสือที่มูคาจัดทำ�ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1902 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ นวศิลป์ หนังสือจัดทำ�คล้ายกับเป็นสารานุกรมของงานประดับตกแต่งของมูคา เป็นการรวบรวม ผลงานออกแบบตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งขั้นออกมาเป็นผลงาน สะท้อนให้เห็นว่า ผลงานของเขาเริ่ม ต้นด้วยการศึกษาธรรมชาติ ภาพต้นไม้ ดอกไม้ และผลไม้ แล้วจึงพัฒนาภาพธรรมชาติมาเป็นรูป ทรงในการออกแบบ และใช้ภาพเดียวกันวางไว้ทั่ว ๆ งานทั้งงานพิมพ์ งานโลหะ และงานหนัง หนังสือเล่มนี้เหมาะแก่การใช้ในการประกอบการเรียนศิลปะสำ�หรับผู้เริ่มศึกษา เพราะ ทำ�ให้นักเรียนรู้เป็นขั้นตอน จากการเข้าใจธรรมชาติไปสู่การสร้างผลงานที่เสร็จสมบูรณ์

41


Figures Decoratives

Book

หนังสือที่มูคาจัดทำ�ขึ้นในช่วงเวลา เดียวกันกับหนังสือ Documents Decoratives แต่ Figures Decoratives จะเป็นการรวบรวมผลงานภาพ สรีระของมนุษย์ ภายในระยะเวลา การทำ�งาน 4 ปี เขาได้รวบรวมกริยา ท่าทางไว้มากมาย ซึ่งตีพิมพ์ควบคู่ ไปด้วยรูปทรงทางเรขาคณิตอันเป็น โครงของท่าทางเหล่านั้น ภาพส่วน ใหญ่จะเป็นภาพเด็ก ๆ และหญิงสาว ในอิริยาบถต่าง ๆ บางภาพเป็นภาพ เปลือย บางภาพมีผ้าพันร่างกายเป็นบางส่วน และบางภาพก็แต่งตัวเต็มยศ ลักษณะการวาดภาพ เหล่านี้เป็นการวาดด้วยดินสอใช้ลายเส้นง่าย ๆ นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า งานของมูคามีเสน่ห์ เย้ายวนและลึกลับ คาดว่าเป็นอิทธิพลจากเหล่านางแบบเชื้อสายสลาฟ การทำ�หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนพื้นฐานที่ดีในการส่งเสริมให้มูคาประสบความสำ�เร็จทั้งในการเป็น นักวาดภาพประกอบและการเป็นครู เป็นหนังสือสำ�หรับนักออกแบบที่ต้องการแรงบันดาลใจเพื่อ ไปพัฒนางานของตน เพราะลายเส้นของมูคาหนังสือเป็นงานที่เหมาะแก่การศึกษาตามความเป็น จริงมากกว่าสัดส่วนในอุดมคติของร่างกาย

ALPHONSE MUCHA’s WORK


The Slav Epic

Mucha working on the canvas 'The Coronation of the Serbian Tsar Štepán Dušan as East Roman Emperor' (The Slav Epic cycle No.6, 1924)

"The Slav Epic" (ผลงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของมูคา เป็นภาพแห่งประวัติศาสตร์ชนชาติ สลาฟยุโรปตะวันออก) มีทั้งหมด 20 ภาพ วาดช่วงปี ค.ศ. 1910-1928 ก่อนที่เขาจะลงมือวาดผล งานชุดนี้ เขาก็ได้ออกศึกษาประวัติศาสตร์ด้วยการไปเยือนสถานที่ต่าง ๆ ทั้งรัสเซีย โปแลนด์ และ คาบสมุทรบอลข่านเพื่อให้แน่ใจในความถูกต้อง และทยอยส่งภาพที่เสร็จไปจัดแสดงทั้งในกรุง ปราก นิวยอร์ก และชิคาโก ซึ่งได้รับการตอบรับและเสียงชื่นชมจากผู้คนเป็นอย่างมาก

43


รายชื่อภาพทั้ง 20 ภาพ 1.Slavs in their Original Homeland 2.The Celebration of Svantovit 3.The Introduction of the Slavonic Liturgy 4.The Bulgarian Tsar Simeon 5.The Bohemian King Přemysl Otakar II 6.The Coronation of the Serbian Tsar Stefan Dušan as East Roman Emperor 7.Jan Milíč of Kroměříž 8.Master Jan Hus Preaching at the Bethlehem Chapel 9.The Meeting at Křížky 10.After the Battle of Grunwald 11.After the Battle of Vítkov Hill 12.Petr Chelčický at Vodňany 13.The Hussite King Jiří of Poděbrady 14.Defense of Sziget against the 13Turks by Nicholas Zrinsky 15.The Printing of the Bible of Kralice in Ivančice 16.The Last days of Jan Amos 16Komenský in Naarden 17.Holy Mount Athos 18.The Oath of Omladina Under the Slavic Linden Tree 19.The Abolition of Serfdom in Russia 20. Apotheosis of the Slavs

Mucha posing as Jan Hus for 'Master Jan Hus Preaching at the Bethlehem Chapel' (The Slav Epic cycle No.8, 1916)


'The Slav Epic' cycle No.1: The Slavs in Their Original Homeland (1912) Egg tempera on canvas

ด้วยผลงานชิ้นนี้เอง ที่ก่อปัญหาให้กับเขาในช่วงสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากเป็นงานด้าน ประวัติศาสตร์ที่สะท้อนแนวความคิดชาตินิยมอย่างชัดเจน ซึ่งขัดต่ออำ�นาจทางการเมืองของลัทธิ ฟาสซิสต์ (มีอำ�นาจช่วงปี ค.ศ. 1929-1945) และเมื่อกองทัพนาซีย้ายเข้าไปอยู่ในสโลวาเกีย มูคา เป็นคนแรกที่กองทัพจับตัวไปสอบปากคำ� แต่ก็ได้รับการปล่อยตัวเนื่องจากเขาป่วย ทำ�ให้เชื่อกัน ว่า เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อเขามากและทำ�ให้เขาเสียชีวิตลงในที่สุด

‘The Slav Epic’ cycle No.2: The Celebration of Svantovit (1912)


ALPHONSE MUCHA’s WORK ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939-1945) ผลงาน "The Slav Epic" ถูกนำ�มาเก็บ ซ่อนไว้เพื่อป้องกันการทำ�ลายจากนาซี และด้วยบริบทสังคมในตอนนั้นที่นาซีมีอำ�นาจมาก ทำ�ให้ มูคาถูกมองว่าเป็นแค่ศิลปินชั้นรอง ไม่ได้ยกย่องใด ๆ เพราะงานของเขาเหินห่างจากแนวความ คิดแบบสังคมนิยมที่เป็นแนวปฏิบัติของผู้ปกครองกรุงปรากในช่วงนี้ หลังสงครามสิ้นสุด นาซีหมด อำ�นาจ ผลงานชุดนี้ถึงถูกนำ�มาจัดแสดงในภายหลัง

Mucha with the Slav Epic canvases exhibited in the the Klementinum, Prague (1919)

46


ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 ที่ผ่านมา ผลงาน "The Slav Epic" ทั้งหมด 20 ชิ้นก็ได้นำ�มาจัด แสดงอีกครั้งบริเวณชั้นล่างของพระราชวัง Veletržní ในกรุงปราก นิทรรศการที่จัดโดยหอศิลป์ แห่งชาติ

การจัดแสดงผลงาน “The Slav Epic” ในกรุงปราก เมื่อกรกฎาคม 2012

47


ALPHONSE MUCHA’s WORK

'The Slav Epic' cycle No.20: The Apotheosis of the Slavs, Slavs for Humanity (1926)

48


Reference แมมมอธ. มูชา ศิลปินอาร์ตนูโว. กรุงเทพฯ : เมเจอร์อาร์ต, 2544. เลนญ่า จิวเวลรี่. (24 สิงหาคม 2559). อาร์ต นูโว ศิลปะเหนือจินตนาการ ผสานความเป็น ธรรมชาติ. เข้าถึงได้จาก เลนญ่า จิวเวลรี่: http://www.lenyajewelry.co.th/KnowledgeView-235-อาร์ต_นูโว_ศิลปะเหนือจินตนาการ_ผสานความเป็นธรรมชาติ.html พิมพ์ชนก วิวัฒนศิริ. (2 สิงหาคม 2559). Alfons Maria Mucha. เข้าถึงได้จาก PUBHTML5: http://pubhtml5.com/yunn/siox/basic บ้านจอมยุทธ์. (n.d.). ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau). เข้าถึงได้จาก บ้านจอม ยุทธ์: http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/art_history/43.html kanone. (6 มิถุนายน 2554). ลวดลาย เส้นสาย สไตล์ อาร์ต นูโว ของอัลฟอนส์ มูชา. เข้าถึงได้ จาก Thaitop Wedding: http://www.thaitopwedding.com/wedding/อาร์ต-นูโว-อัลฟอน ส์-มูชา.html Mirror Production. (15 กันยายน 2559). ๑๒๔ ปี วันศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. เข้าถึงได้ จาก Facebook: https://web.facebook.com/pg/MirrorProductionSU/photos/?tab=album&album_id=1774566109427281 bell123456. (23 กรกฎาคม 2558). อาร์ตนูโว. เข้าถึงได้จาก Docslide: http://documents. tips/documents/-55b060011a28aba2668b47b7.html northtempest. (28 เมษายน 2556). ALPHONSE MUCHA อัลฟอนเซ่ มูคฮะ ศิลปินเอกของ เช็ก. เข้าถึงได้จาก Let’s Czech: http://letsczech.com/2013/04/28/mucha/ Wikipedia. (5 มิถุนายน 2558). อัลโฟนส์ มูคา. เข้าถึงได้จาก Wikipedia: https://th.wikipedia.org/wiki/อัลโฟนส์_มูคา zmarn. (25 พฤษภาคม 2555). ย้อนไปสมัย Art Nouveau ที่เค้าว่านี่แหละคือศิลปะแนวใหม่. เข้าถึงได้จาก MODxTOY: http://www.modxtoy.com/v1/?showtopic=184969

49


FIC123. (2012, May 15). CZECH ART NOUVEAU GEM BY ALFONS MUCHA ON VIEW AT THE NATIONAL GALLERY IN PRAGUE. Retrieved from FIC123 CB - E.U.: http:// fic123berichtvandedag.blogspot.com/2012/05/czech-art-nouveau-gem-by-alfonsmucha.html Mucha Foundation. (n.d.). ALPHONSE MUCHA TIMELINE. Retrieved from Mucha Foundation: http://www.muchafoundation.org/timeline/alphonse-mucha-timeline Mucha Foundation. (n.d.). Gismonda. Retrieved from Mucha Foundation: Mucha Foundation Mucha Foundation. (n.d.). MUCHA AT A GLANCE. Retrieved from Mucha Foundation: http://www.muchafoundation.org/gallery/mucha-at-a-glance-46 Mucha Foundation. (n.d.). Rêverie (1897). Retrieved from Mucha Foundation: http://www.muchafoundation.org/gallery/search-works/display/results/object/78 Mucha Foundation. (n.d.). Sarah Bernhardt. Retrieved from Mucha Foundation: http://www.muchafoundation.org/gallery/themes/theme/sarah-bernhardt Mucha Foundation. (n.d.). Slav Epic. Retrieved from Mucha Foundation: http:// www.muchafoundation.org/gallery/themes/theme/slav-epic Mucha Foundation. (n.d.). The Seasons (series) (1896). Retrieved from Mucha Foundation: http://www.muchafoundation.org/gallery/themes/theme/art-posters/ object/80 Mucha Foundation. (n.d.). Zodiac (1896). Retrieved from Mucha Foundation: http://www.muchafoundation.org/gallery/search-works/display/results/object/242 Victoria and Albert Museum. (n.d.). The Arts & Crafts Movement. Retrieved from Victoria and Albert Museum: http://www.vam.ac.uk/content/articles/t/the-artsand-crafts-movement/ Wikipedia. (2016, October 27). The Slav Epic. Retrieved September 22, 2016, from Wikipedia: https://en.wikipedia.org/wiki/The_Slav_Epic

50



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.