5
5-7 สิงหาคม 62
คุณอานนท์ มีศรี นายกสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช นำ�เสนอเรื่องแนวคิดการพัฒนาจริยธรรมสื่อ เพื่อสังคมว่า เดิมทีการสื่อสารจากสื่อชุมชนต่าง ๆ สามารถ ทำ�ได้โดยตรงทันทีไปยังทั้งระดับพื้นที่ ระดับนโยบาย หรือ สาธารณะ คุณวรวิชญ์ กฐินหอม นักวิชาการเครือข่ายสมาคม สื่อชุมชนภาคใต้ เกริ่นนำ�ว่า ปัจจุบันเป็นบุคคที่สื่อมีอำ�นาจต่อ สังคม และทุกคนมีสื่ออยู่ในมือคือสมาร์ทโฟน แต่ไม่ใช่ว่าทำ� สื่อแล้วจะสื่อสารได้มีคุณภาาพทุกคน มีเหตุการณ์หลายเรื่องที่ เคยทำ�ไปสู่ความเข้าใจผิด ความขัดแย้งกันในสังคม ซึ่งเป็นผล จากการเสพสื่อในช่องทางและแง่มุมของตนเอง
ที่ผ่านมา ทางสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ได้ทำ�โครงการ เน้นไปที่คนทำ�สื่อ ผ่านเครือข่ายสื่อชุมชนในภาคใต้ได้รับการ สนับสนุนจาก สจรส. มอ. โดยการเอาคนทำ�สื่อชุมชนมารวม ตัวกัน แล้วคิดว่าเราจะทำ�อย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก การทำ�สื่อ ทำ�ให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นว่า สื่อที่จะสื่อสารออก ไปต้องมีคุณภาพ คนทำ�สื่อต้องมีความคิด มีจิตใจที่เป็นธรรม ต่อสังคม เรียกรวมกันว่า ‘จริยธรรมสื่อ’ เมื่อปีที่ผ่านมา ภายในงานสร้างสุข ครั้งที่ 10 ได้มี ข้อเสนอเชิงนโยบายไปยังภาคีสร้างเสริมระดับประเทศ เช่น เสนอไปยัง สสส. ว่า ต้องให้หนุนเสริมศักยภาพกอง บก. ภาค ใต้ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพในภาคใต้ ใช้โมเดลเครือข่ายสื่อภาค
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
6
กรอบแนวคิด “จริยธรรมเพื่อสุขภาวะทางสังคม” ผู้ร่วมเสวนา
คุณอานนท์ มีศรี
คุณฐิติชญาน์ บุญโสม
คุณทวีศักดิ์ ปิยวิสุทธิกุล
คุณวรวิชญ์ กฐินหอม
อ. ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา
อ.กรกฎ จำ�เนียร
ใต้เป็นต้นแบบในการสื่อสารด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และ ขยายเครือข่ายไปยังภูมิภาคอื่น รวมทั้งได้มีข้อเสนอไปยัง สปสช. ให้ร่วมกับ พชอ. สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารเพื่อการเข้าถึงสิทธิวิถีวัฒนธรรม ภาคในภาคใต้ผ่านเครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้ และสนับสนุน เครือข่ายสื่อในการสร้างความเข้าใจด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ในระดับพื้นที่ เสนอต่อ สช. ให้ตั้งศูนย์พัฒฯานโยบายสาธารณะแบบ มีส่วนร่วมภาคใต้ ร่วมกับเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ผลักดัน ประเด็นจริยธรรมสื่อชุมชน ผ่านกระบวนการนโยบายสุขภาพ แห่งชาติ พร้อมทั้งปรับกลไกการสื่อสาร นอกจากนี้ ยังได้มีข้อ เสนอเชิงนโยบายไปยังภาคีเครือข่ายด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ระดับประเทศ คุณฐิติชญาน์ บุญโสม เครือข่ายสื่อฯ กล่าวว่า คงต้อง มองถึงการเปลี่ยนแปลงของสื่อในปัจจุบัน ซึ่งคนไทย 80 % ใช้ โซเชียลมีเดีย การจะสร้างจริยธรรมสื่อได้นั้น คนทำ�สื่อก็ต้อง มีจริยธรรมก่อน แล้วค่อยคิดไปถึงสถาบันการศึกษาที่สอนใน เรื่องสื่อ รวมถึงหน่วยงานที่กำ�กับดูแลงานด้านสื่อต้องมีความ พร้อมด้านนี้ด้วย คนที่นั่งอยู่ในงานเสวนานี้ ก็นับได้ว่าเป็นคนที่มี จริยธรรม แต่เราจะก้าวข้ามออกจาก ‘อาชีพสื่อ’ ได้อย่างไร แต่ ควรขยับออกมาเป็น Influencer หรือคนที่มีอิทธิพลต่อคนอื่น โดยเฉพาะต่อเครือข่ายสื่อหรือต่อผู้รับสาร จะได้เป็น ‘สื่อน้ำ�ดี’ แล้วขยายมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม สื่อชุมชนในระดับปัจเจกนั้นแต่ละคนมี ตัวตนสูงมาก ดังนั้น แม้จะมีกรอบจริยธรรมในภาพกว้างแล้ว แต่ละคนก็อาจจะมีการกำ�หนดแนวทางจริยธรรมของตนเอง เพิ่มเติมให้เหมาะสมกับบริบทของตัวเองด้วยก็ได้ อาจารย์ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าดีใจที่เราจะได้มาคิดถึง ‘เรื่องศีลธรรม’ เพราะ นั่นหมายความว่าเราพยายามยกระดับตัวเอง และให้คนอื่น ยอมรับเราด้วย เพื่อสร้างความเชื่อใจจากผู้อื่นด้วย ซึ่งจาก ประสบการณ์การทำ�งานก่อนหน้านี้ก็ได้มีการพูดคุยกันเรื่องนี้ มาบ้างแล้ว ประเด็นแรกคือ ยุคปัจจุบันเป็น ‘ยุคหลังค วามเป็นจริง’ หรือ ‘Post-truth’ คือเรามองข้ามความจริงไป
7 แล้ว เรานำ�ความรู้สึก มีอคติมาตัดสิน ซึ่งเป็นความท้าทายของ คนทำ�สื่อว่าเราจะกำ�กับตัวเองอยู่ในยุคนี้อย่างไร แนวปฏิบัติอย่างหนึ่งที่ควรทำ�ในยุคนี้คือต้องคง ‘พื้นที่ แห่งการถกเถียง’ ไว้ ให้คนที่คิดต่างได้มีพื้นที่ได้พูดคุย หน้าที่ ของสื่อคือแสวงหาความจริงจากทุกฝ่ายมานำ�เสนอ ให้ผู้รับสาร ได้นำ�ข้อเท็จจริงไปนำ�เสนอกับความเชื่อผิด ๆ เอง สิ่งที่อยากเสนอในเชิงรูปธรรมคือ ‘การมีอิสระ’ สำ�คัญ มากเพราะถ้าเราทำ�งานอยู่ภายใต้การกำ�กับควบคุมของใครสัก คนก็ไม่ต่างจากเราเป็นลูกจ้าง เป็นกระบอกเสียงให้ใครสักคน ถ้าเราเป็นลูกจ้างของสำ�นักข่าวสักที่หนึ่ง เราก็จะไม่สามารถ วิจารณ์สำ�นักข่าวนั้นได้อย่างเต็มที่ ประการต่อไปคือ ทำ�อย่างไรให้ผู้รับสื่อมีความรู้ในการ รับสื่อมากพอ อย่างในอดีตที่การเผยแพร่สื่อค่อนข้างมีความ เข้มงวดกว่า แต่จะทำ�อย่างไรให้ประชาชนมีอาวุธทางความคิด ในการรับรู้สื่อในปัจจุบันได้ ประเด็นที่สามคือ การคำ�นึงถึงเรื่องความแตกต่าง หลากหลาย ซึ่งความแตกต่างนั้นเป็นเรื่องธรรมดาของสังคม ทำ � อย่ า งไรว่ า ตอนที่ นำ � เสนอสื่ อ จะต้ อ งคิ ด เรื่ อ งความหลาก หลายตรงนี้ด้วย ไม่ว่าจะในเรื่องพหุวัฒนธรรม เรื่องเพศ หรือ เรื่องบริบทต่าง ๆ ต่อมาคือการเคารพการเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน ซึ่งเราเริ่มให้ความสำ�คัญกับเรื่องนี้มากขึ้น อย่างเช่นในเรื่องการ เผยแพร่ภาพเด็ก คนกลุ่มเปราะบาง แม้จะเป็นคนขอทาน คน ต่างด้าว ก็ต้องเคารพในสิทธิของเขา รวมทั้งการสื่อสารในเรื่อง ความอ้วน ความผอม ก็เป็นเรื่องที่ต้องระวังด้วย หน้าที่ของสมาคมสื่อชุมชนฯ ของเราอีกอย่างที่สำ�คัญ คือการตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจริยธรรมของสื่อชุมชนอาจแตกต่างไปจากจริยธรรมของนัก ข่าวทั่วไปอยู่บ้าง แต่ก็ต้องประกาศเจตนารมณ์นี้ให้ชัดเจน นอกจากนี้ จะทำ�อย่างไรให้จริยธรรมที่เราประกาศ ออกไปอยู่ในวิถีของเพื่อนร่วมงานหรือเครือข่ายสื่อ จะ ถ่ายทอดแนวคิดนี้อย่างไรไปยังคนทำ�งาน เช่น ช่างภาพ คนคิด นโยบายด้านสื่อ “หากเรามีจริยธรรม กฎหมายก็ไม่จำ�เป็น แต่หาก เราขาดจริยธรรม สังคมก็จะโหยหากฎหมายมาบังคับใช้ใน สังคม สื่อชุมชนจึงต้องกำ�หนดจริยธรรมของเราเองให้ได้”
ส่วนในฐานะอาจารย์และนักวิชาการนั้น ได้นำ� นักศึกษาได้มีโอกาสร่วมเรียนรู้การทำ�หน้าที่สื่อในพื้นที่ เช่น ประเด็นสันติภาพ สำ�หรับแนวปฏิบัติด้านการวางกรอบ จริยธรรมสื่อนั้น คนทำ�งานต้องวางแนวทางร่วมกัน โดยอาจ ศึกษาจากเคสที่เคยเกิดขึ้นที่ผ่านมา เรียนรู้ ถอดบทเรียน แล้ว ออกมาเป็นข้อตกลงร่วมกัน คุณทวีศักดิ์ ปิยวิสุทธิกุล นายกสมาคมสื่อวิทยุ โทรทัศน์พังงา อันดามัน นำ�เสนอว่า เมื่อเราเป็นนัดจัดรายการ แล้วมีคนฟังเราเพียงหยิบมือเดียว แล้วเราอยากสื่อสารสิ่งดี ๆ ในตำ�บลเราออกไป ก็ทำ�ไม่ได้ แต่พอมีโซเชียลมีเดียเข้ามาทำ�ให้ เราเผยแพร่ได้กว้างมากขึ้นถึงระดับต่างประเทศได้ ส่วนมุมมองในเรื่องจริยธรรมสื่อนั้น แต่ละคนต้อง ‘เป็น’ มาแล้ว เรื่องแบบนี้สอนกันไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าเราจะ เปลี่ยนไม่ได้ เราสามารถพยายามปรับเปลี่ยนตัวเองได้จะได้ไม่ แตกต่างกับสิ่งที่เราพยายามบอกสังคม สำ�หรับข้อกังวลคือ ยังไม่แน่ใจว่าจะบังคับข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมสื่อได้ทั้งหมดหรือไม่ และในบางครั้ง จะต้องนำ�เสนอข่าวให้ไวต่อสถานการณ์เร่งด่วน แต่โดยส่วนตัว หากมีอะไรที่ไม่แน่ใจหรือมีคนทัก ก็จะตัดเนื้อหาที่มีความสุ่ว เสี่ยงไว้ก่อน อาจารย์กรกฎ จำ�เนียร มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราช มองว่า ได้เห็นด้วยหลายเรื่องกับทุกท่าน ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องของจริยธรรมของคน กลุ่มแรกคือ นักวิชาชีพ ที่ มักถูกนักวิชาการตำ�หนิ แล้วถูกโต้กลับอยู่เสมอระหว่างสอง กลุ่มนี้ ซึ่งยังมีอีกกลุ่มที่สำ�คัญคือ ผู้ชมหรือผู้รับสาร กรณีอย่าง การจับกุมยาเสพติด ที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่มักนำ�เสนอหน้าตา ของผู้ถูกจับกุมอย่างชัดเจน โดยเรื่องนี้มักได้คำ�ตอบว่าเป็น เพราะอยากตอบสนองความต้องการของผู้ชม มีอีกเรื่องที่ควรรู้ คือ พรบ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 14-16 ในเรื่องการทำ�ให้เสื่อม เสีย อับอาย ซึ่งทั้งหมดนี้มีบทบังคับทางกฎหมาย
8
“รู้ เรื่อง เพื่อน” จดหมายข่าวออนไลน์เพื่อพี่น้องประชาสังคมภาคใต้
ข้อได้เปรียบของนักสื่อสารชุมชนคือ การมีเครือข่าย และรู้จักบริบทพื้นที่ดี แต่สิ่งที่นักสื่อสารชุมชนจะต้องระวัง มากสามอย่าง คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจำ�นวนมาก ทักษะการ สืบค้นข้อมูล ทักษะการผลิตวีดีโอ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมา นำ�เสนอได้ดีที่สุด สิ่งที่ตนเองกังวลคือ การที่เยาวชนไปหลงติดตามหลง เชื่อ Influencer ผิด ๆ เช่น คนแคสท์เกม ที่เยาวชนมีโอกาส หลงผิดไปทำ�ให้มีพฤติกรรมผิด ๆ ได้ เช่น ในต่างประเทศมี เยาวชนกราดยิงในโรงเรียนแล้วยอมรับว่าทำ�เหมือนในเกม คุณวรวิชญ์ กฐินหอม นักวิชาการเครือข่ายสมาคม สื่อชุมชนภาคใต้ แสดงความคิดเห็นในเรื่องจริยธรรมสื่อว่า สำ�หรับสื่อชุมชนนั้น เราเป็นทั้งผู้สื่อสาร นักคิดเนื้อหา และผู้รับ สาร ไปในคราวเดียวกัน ทำ�ให้บางครั้งเราต้องยอมรับกับความ แตกต่าง คิดให้รอบคอบ ซึ่งบางครั้งจากประสบการณ์ก็เคยได้ รับความจริงจากสิ่งที่เราไม่ชอบเหมือนกัน “ผมเป็นห่วงสังคมปัจจุบัน ที่เราเสพสื่อโซเชียล เยอะมาก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้สื่อโซเชียลมากแต่ยัง ขาดทักษะรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารในโซเชียล” สำ�หรับข้อเสนอในเรื่องจริยธรรมสื่อนั้น เราต้องมี ความรู้ในทุก ๆ ด้าน บวกกับทัศนคติและอุดมคติของนักสื่อสาร เราต้องทำ�ให้คนทำ�สื่อในชุมชนสามารถคิด วิเคราะห์ได้ว่า ผล ของสิ่งที่จะสื่อสารออกไปนั้นจะเกิดผลกระทบอะไรต่อใครบ้าง สุดท้ายคือ คาดหวังว่าสิ่งที่เราทำ�อยู่นี้จะเป็นการวาง บรรทัดฐานที่ดีนี้ จะช่วยให้เขาได้เป็นนักสื่อสารที่ดีต่อไปใน อนาคต คุณเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว แกนนำ�สื่อชุมชนจากจังหวัด ภูเก็ต มีข้อกังวลว่า จากที่ได้จัดทำ�ข้อเสนอเชิงนโยบายไปยัง หน่วยงานต่างๆ เมื่อปีกลายนั้น ควรจะต้องมีฟีดแบคกลับมาว่า ข้อเสนอต่าง ๆ ที่หน่วยงานระดับนโยบายรับไปนั้นมีความคืบ หน้าอย่างไรบ้าง มีการตอบกลับมาบ้างหรือไม่ หรือติดขัดอยู่ ตรงไหน ซึ่งคิดว่างานด้านสื่อชุมชนควรจะเป็นงานที่ฝังตัวอยู่ ในกลไกของหน่วยงานระดับนโยบายนี้ได้ นอกจากนี้ ปัจจุบันมีสื่อที่มาได้ผลิตเนื้อหาเอง แต่นำ� เสนอเพียงเนื้อหาที่เก็บมาจากสื่อโซเชียล ไม่ได้กลั่นกรองความ ถูกต้องของเนื้อหา ซึ่งสื่อกลุ่มนี้เองทำ�ให้ภาพลักษณ์ของสื่อ ด้อยลง ทำ�ให้สื่อทั้งหมดถูกเหมารวม ดังนั้นสื่อชุมชนภาคใต้จะ
ต้องมีจุดยืนในเรื่องนี้ จะต้องเป็นสื่อที่ให้ความรู้อย่างเท่าทัน อย่างในพื้นที่ภูเก็ตมีข่าวดี ๆ เยอะมาก ในเรื่องแบบ นี้เราก็ขอรับการสนับสนุนจากท้องถิ่นได้ เช่น อบจ. เทศบาล รวมทั้งนำ�เสนอสิ่งที่มีประโยชน์ในแต่ละช่วงเวลา เช่น สภาวะ จราจร สถานการณ์ไข้เลือดออก รวมทั้งสอนคนในแต่ละวิชาชีพ ให้ทำ�หน้าที่สื่อด้วย เช่น สอน อสม. บอกเล่าเรื่องไข้เลือดออก สิ่งที่เราทำ�ในสังคมนั้น เราเป็นผู้ให้ข้อมูลไปเรื่อย ๆ แต่ก็ต้อง พยายามเกาะเกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐไว้ด้วยเพื่อเข้าถึงงบ ประมาณด้วย พร้อมทั้งนำ�เสนอสิ่งที่ดี ๆ ต่อสังคม คุณณรากาญจน์ บุญนวล ให้ข้อมูลว่า ตนเอง เริ่มต้นมาจากการเป็นดีเจเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งในสมัยก่อน กรมประชาสัมพันธ์เข้มงวดเรื่องวิชาชีพสื่อมวลชนมาก แต่ สถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะผู้ประกอบ การจะเน้นในเรื่องของรายได้มากขึ้นทำ�ให้เสียจุดยืนในเรื่อง มาตรฐานวิชาชีพไป คุณศุภกิจ นิลพันธ์ ในฐานะผู้เข้าร่วมเสวนาได้แลก เปลี่ยนความคิดเห็นว่า ในบางครั้งสื่อก็ทำ�หน้าที่โดยลืมที่จะ ปกป้องตัวเอง เช่นการนำ�เสนอข่าวที่ขาดความระมัดระวัง มีโอกาสถูกฟ้องกลับได้ง่าย รวมทั้งในเรื่องการนำ�เสนอการ ทำ�งานของเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องมีความระวังอย่างมาก ไม่เร่งด่วน นำ�เสนอโดยขาดการตรวจสอบความถูกต้องรอบด้าน คุณภูรดา วิชัยดิษฐ์ ร่วมแลกเปลี่ยนว่า ในเรื่องการนำ� เสนอข่าวและการเสพสื่อนั้นมีความคิดที่แตกต่างหลากหลาย แต่หากเรามีสามัญสำ�นึกที่ดีเราก็สามารถนำ�เสนอสิ่งดี ๆ สู่ สังคมได้