Green Hospital

Page 1

รู้เขา รู้เรา เข้าใจเพื่อนร่วมทางสร้างสุขภาวะคนใต้ ทราบกันดีว่าโรคภัยหลายอย่างมีอาหารเป็นเหตุ จน เรียกกันว่า ‘กินอะไร ได้อย่างนั้น’ แต่ก็เป็นเรื่องที่เลี่ยงยากใน สังคมที่เราไม่ได้ปรุงอาหารเอง โดยเฉพาะเมื่อต้องไปพักรักษา ตัวในโรงพยาบาล โรงพยาบาลหาดใหญ่ได้รับนโยบาย Clean & Green Hospital จากกระทรวงสาธารณสุขมองว่า แนวคิด Food Safety Hospital นั้นมีมิติที่สามารถทำ�ร่วมกับชุมชนหรือ เกษตรกรในพื้นที่ได้ จึงได้ร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ ริเริ่มรับเอา วัตถุดิบทางด้านอาหารเข้ามาใช้ในโรงครัวของโรงพยาบาล ซึ่ง แต่ละวันที่นี่ต้องจัดการอาหารมากกว่า 2,000 ชุด คุณรุ่งฤดี ศิริรักษ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำ�นาญการ พิเศษ โรงพยาบาลหาดใหญ่ เล่าว่า เดิมทีโรงพยาบาลสั่งซื้อ วัตถุดิบด้านอาหารเฉพาะจากผู้ประกอบการรายใหญ่ในรูป แบบการแข่งขันเสนอราคา เน้นเลือกที่ราคาถูก แต่ในเมื่อมาท บทวนว่าหากยึดตามนโยบายอาหารปลอดภัยแล้ว วัตถุดิบ เหล่านี้อาจไม่ได้ดีพอสำ�หรับผู้ป่วย จึงเปิดโอกาสให้เกษตรกร เข้ามาขายกับโรงพยาบาล “เราได้ ร่ ว มกับเครือข่ายในพื้นที่เลือกเกษตรกรที่ น่าเชื่อถือ กำ�หนดหลักเกณฑ์ การตรวจแปลง การกำ�หนด มาตรฐาน ไปจนถึงวิธีการจ่ายเงินให้เหมาะสมต่อทั้งระเบียบ โรงพยาบาลและตัวเกษตรกรเอง จนตอนนี้เราสามารถ กำ�หนดเมนูอาหารของโรงพยาบาลได้ล่วงหน้า 3 เดือน เพื่อ ให้เครือข่ายเกษตรกรมีเวลาวางแผนการปลูกให้สอดคล้อง กัน เราหันมาใช้ผักพื้นบ้านมากขึ้น รวมทั้งทบทวนราคาพืช ผักกันทุกสามเดือนเพื่อให้ตรงกับสถานการณ์จริง จากการ เก็บข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า นอกจากเราจะไม่ต้องซื้อสินค้า แพงกว่าเดิมแล้ว ยังช่วยประหยัดเงินโรงพยาบาลได้อย่าง น้อย 20% ด้วย”

3

จากแปลงผักชุมชน ส่งตรงครัวโรง’บาล ใช้มาตรฐาน PGS

รับรองคุณภาพด้วยเครือข่าย ในเรื่ อ งการกำ � หนดมาตรฐานเพื่ อ รองรั บ คุ ณ ภาพ สินค้าจากเครือข่ายเกษตรกรนั้น คุณกำ�ราบ พานทอง แกนนำ� เครือข่ายเล่าว่า การรับรองคุณภาพความปลอดภัยของสินค้า เกษตรมีหลายมาตรฐาน หลายระดับ ทางเครือข่ายได้เลือก ใช้มาตรฐาน PGS หรือ Participatory Guarantee System หรือระบบการรับรองโดยการมีส่วนร่วม ดำ�เนินการในนาม ของ ‘เครือข่ายเกษตรกรสุขภาพจังหวัดสงขลา’ ที่กำ�หนด ‘มาตรฐานร่วม’ ในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การจัดการปัจจัย การผลิต การควบคุมปกป้องแปลง ระบบการตรวจ ประเมิน และลงโทษ จัดตั้งทีมตรวจแปลงที่ประกอบด้วยตัวแทนจาก หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ โรงพยาบาล สสจ. เกษตรจังหวัด เกษตร และสหกรณ์ ศวพ. เครือข่ายผู้ผลิต ผู้บริโภค รวม 9 คน ทำ� หน้าที่ลงตรวจคุณภาพของแปลง ก่อนจะนำ�ข้อมูลเข้าที่ประชุม ใหญ่เพื่อให้การรับรอง หรือแนะนำ�เพื่อแก้ไขต่อไป หลังจากนั้น ถึงจะเข้าสู่กระบวนการวางแผนการปลูก/ผลิต เพื่อนำ�สินค้าส่ง เข้าครัวโรงพยาบาลผ่านตัวแทนที่มีหน้าที่รวบรวมและชำ�ระค่า สินค้าให้ก่อน

“ตอนนี้เรามีกลุ่มวิสาหกิจ 2 ราย จากอำ�เภอจะนะ และระโนด ที่ทำ�หน้าที่เป็นตัวกลางรวบรวมผลผลิต ตรวจ สอบสินค้าจากเกษตรกรรายย่อย จ่ายค่าสินค้าล่วงหน้าแก่ รายย่อย แล้วนำ�มาส่งให้ครัวโรงพยาบาล ในขณะที่ตัวกลาง นี้จะต้องรับภาระรอรับชำ�ระเงินนานร่วมเดือนตามระเบียบ ของโรงพยาบาล แต่ก็เป็นกลไกที่ช่วยให้เกษตรกรรายย่อยมี รายได้ที่นำ�ไปหมุนเวียนเพาะปลูกใหม่ได้ทันที” แนวทางการส่งผลผลิตอาหารปลอดภัยจากเกษตรกร ตรงสู่ครัวโรงพยาบาลหาดใหญ่นี้เพิ่งดำ�เนินงานมาได้ไม่นานนัก ยังต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้น ขยายเครือข่ายเพื่อ เพิ่มกำ�ลังการผลิตจนสามารถป้อนได้เต็ม 100 % ของความ ต้องการสินค้าของครัวโรงพยาบาลต่อไป


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.