Vinyl11

Page 1

ชีววิถีเพื่อการพัฒนา บ้านคลองยางอย่างยั่งยืน

ตำ�บลคลองยาง อำ�เภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ อับดุลมานัฟ อิสมิง บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 อาจารย์พงษ์เทพ แก้วเสถียร ที่ปรึกษาโครงการ

บ้านคลองยาง หมู่ที่ 2 ตำ�บลคลองยาง อำ�เภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นหมู่บ้านที่มีความเก่า แก่ บ้านคลองยางมีภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน ที่พร้อมจะถ่ายทอดองค์ความรู้ เช่น การทำ�เสื่อปาหนัน หมอคลายเส้น มีศูนย์เรียนรู้ที่เป็นทุนของชุนชน ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาบ้าน คลองยางอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย 4 เรื่อง ได้แก่ การปลูกพืช (กสิกรรม) การเลี้ยงปลาในบ่อขนาดเล็ก (ประมง) การเลี้ยงไก่ไข่ (ปศุสัตว์) และ การบำ�บัดนํ้าเสีย (สิ่งแวดล้อม) โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) เป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสำ�เร็จ อย่างต่อเนื่อง ขยายผลสู่ครัวเรือน สู่ชุมชน และยังมีศูนย์เรียนรู้ศึกษาเส้นทางธรรมชาติป่าชายเลน กระบวนการทำ�งาน บ้านคลองยา ร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยี สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ กฟผ. ดำ�เนินงานโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืนบ้านคลองยาง ซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ การปลูกพืช (กสิกรรม) การเลี้ยงปลาในบ่อ ขนาดเล็ก (ประมง) การเลี้ยงไก่ไว้กินไข่ (ปศุสัตว์) และ การบำ�บัดนํ้าเสีย (สิ่งแวดล้อม) โดยใช้จุลินทรีย์ที่มี ประสิทธิภาพ เป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสำ�เร็จอย่าง ต่อเนื่อง โดยมีการให้ความรู้เรื่อง “ชีววิถี” การอบรม เชิงปฏิบัติการเรื่องการนำ�จุลินทรีย์ EM ประยุกต์เป็น นํ้ายาอเนกประสงค์ ปุ๋ยโบคาฉิ และแชมพู มีการจัด ตั้งศูนย์บริการ EM (บ้าน EM) ไว้บริการเป็นโซนๆ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของแต่ละโซน และในแต่ละโซน ก็มีการคิดค้นการนำ� EM ไปประยุกต์เป็นนวัตกรรมที่ หลากหลาย ผลสำ�เร็จของชุมชน มีศูนย์บริการ EM (บ้าน EM) 4 โซนด้วยกัน ได้แก่ โซนคลองควาย จุดบริการประจำ�โซนนี้อยู่ที่บ้าน คุณเฟื่องฟ้า นาแถมพลอย โซนหน้าโรงเรียน จุดบริการประจำ�โซนนี้อยู่ที่บ้านคุณร่อหิม ดาราพงศ์ โซน บ้านกลาง จุดบริการประจำ�โซนนี้อยู่ที่บ้านคุณวิรัตน์ สุภาพ โซนอนามัย จุดบริการประจำ�โซนนี้อยู่ที่ บ้านคุณสมิง สามารถ ทั้ง 178 ครัวเรือน หรือ 100 % มีการทำ�เกษตรชีววิถีโดยการหันมาใช้จุลินทรีย์ ในการเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผักปลอดสารเคมีโดยการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ นํ้า หมักชีวภาพ การเลี้ยงไก่โดยใช้นํ้าหมักดับกลิ่น การเลี้ยงปลาโดยการใช้ EM บำ�บัดนํ้าเสีย ส่งผลต่อ สุขภาพ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ดีขึ้น


ชุมชนคลองเสียวห่วงใยผู้สูงวัย

ตำ�บลเวียงสระ อำ�เภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัลวิสา แก้วอุดม บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ ที่ปรึกษาโครงการ

บ้านคลองเสียว เดิมชื่อบ้านคลองเสี้ยว ตามลักษณะของลำ�คลองที่ไหลผ่านหมู่บ้าน วิถีชีวิตที่ เปลี่ยนไปในปัจจุบันทำ�ให้การออกกำ�ลังกาย มีความสำ�คัญมากขึ้น และได้มีการส่งเสริมสนับสนุนการ ออกกำ�ลังกายในลักษณะต่าง ๆ มากขึ้น สำ�หรับในชุมชนคลองเสียวได้มีการคิดค้นท่าการออกกำ�ลังกายที่อยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมเดิม เพื่อ กระตุ้นส่งเสริมให้มีการออกกำ�ลังกายกันมากขึ้น นางพรจิต ชูชื่น ครูภูมิปัญญาด้านมโนราห์ของบ้าน คลองเสียว ได้ริเริ่มคิดท่าโนราบิกขึ้นมา 14 ท่า โดยนำ�ท่ามโนราห์มาประยุกต์เป็นท่าโนราบิกที่เป็น เอกลักษณ์ของชุมชนคลองเสียวเพื่อใช้ในการออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้สูงอายุชุมชน ซึ่งนอกจากจะ เป็นการสืบสานมโนราห์อีกทางหนึ่งแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้ออกกำ�ลังกายเพื่อ สุขภาพกายที่ดีอีกด้วย หลังจากมีการเปิดตัวโนราบิกของผู้สูงอายุและคนในชุมชนคลองเสียวในการแข่งขันกีฬาประจำ� อำ�เภอเวียงสระ “มหกรรมกี ฬาดีทั้งปี ที่เวียงสระ” ประจำ�ปี 2559 โนราบิกก็กลายเป็นการออกกำ�ลัง กายสำ�หรับผู้สูงอายุในชุมชนคลองเสียว ชุมชนใกล้เคียง และผู้ที่สนใจ พร้อม ๆ ไปกับการออกกำ�ลัง กายด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่น การรำ�ไม้พลอง การเดิน ทำ�ให้ผู้สูงอายุบ้านคลองเสียวมีการทำ�กิจกรรมร่วม กันมากขึ้น และมีการรวมตัวอย่างเป็นทางการมากขึ้น ภายใต้ชื่อ “ชมรมผู้สูงอายุบ้านคลองเสียว” ที่มี สมาชิกกว่า 30 คน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการทำ�งานจากเทศบาลตำ�บลเวียงสระ จำ�นวน 17,000 บาท


พัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ริมทางรถไฟ อำ�เภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

นางสาวพาซีย๊ะ ซีแต บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 ดร.ภญ.กรกมล รุกขพันธ์ / อาจารย์วรภัทร ไผ่แก้ว ที่ปรึกษาโครงการ

เด็กและเยาวชนริมทางรถไฟ ในพื้นที่ 3 ชุมชน : ชุมชนจันทร์วิโรจน์ ชุมชนจันทร์นิเวศน์ เทศบาล นครหาดใหญ่ และชุมชนคลองหวะอยู่ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จากการศึกษาข้อมูลเด็กริม ทางรถไฟ อายุระหว่าง 8- 18 ปี จำ�นวน 31 คน พบว่า มีเด็กที่เรียนหนังสือ 24 คน เกิดปัญหาขาด เรียนบ่อย และที่ออกจากโรงเรียนกลางคัน 4 คน เนื่องจากทางบ้านไม่สามารถส่งเรียน และเด็กบาง คนออกจากโรงเรียนเพื่อหาเงินเลี้ยงครอบครัว จากการทำ�โครงการที่ผ่านมา ได้เห็นศักยภาพของเด็กเยาวชนทั้งทางด้านกีฬา และด้านศิลปะ เด็ก จึงเกิดโครงการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนริมทางรถไฟ อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงพฤติกรรมเด็กและเยาวชนริมทางรถไฟ เพื่อสร้างแกนนำ�เด็กและ เยาวชนริมทางรถไฟทำ�กิจกรรมจิตอาสาที่มีประโยชน์กับชุมชน และเพื่อจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริม สุขภาวะของเด็กและเยาวชน การดำ�เนินงาน กิจกรรมสอนน้อง ผลที่ได้ทำ�ให้เข้าใจเด็กและ เยาวชน เด็กแสดงศักยภาพของตัวองมากขึ้น เด็ก มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดี มีมารยาท พูดจาสุภาพ มีความรับผิดชอบ เกิดทักษะในการ ดำ�เนินชีวิต กิจกรรมกล่อมใจพาน้องไปวัด เดือนละครั้ง ผล ที่ได้ คือ เด็กมีสมาธิ จิตใจดี อ่อนโยน มีจิตอาสา ช่วยเหลือผู้อื่น เด็กรู้จักการเป็นผู้ให้ทำ�บุญทำ�ความ ดีเพื่อตัวเอง เตรียมอาหารถวายเพลด้วยตัวเอง ลด พฤตกรรมก้าวร้าว กิจกรรมผ้าเช็ดเท้าเช็ดใจ เกิดทักษะในการทำ� ผ้าเช็ดเท้า เกิดผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ เกิดแกนนำ� กลุ่มเด็กและเยาวชน และสามารถเป็นวิทยากรน้อย สอนผู้อื่นได้ ผลงานอื่นๆ มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จำ�นวน 3 คน บัณฑิตอาสา และ แกนนำ�เยาวชนในพื้นที่ รวม 5 คน ในการรวมตัวเขียนโครงการเพื่อขอทุนจากสงขลาฟอรั่ม ในโครงการ ผักกับเด็กและเยาวชนสู่การเปลี่ยนแปลงชุมชนให้น่าอยู่ กิจกรรมแรกในโครงการนี้ คือ ทัศนศึกษาดู งานสวนผัก จากบ้านเบญจพฤกษ์ พบว่า เด็กเยาวชน เกิดแรงบันดาลใจ รักในการปลูกผัก เรียนรู้วิธี การทำ�นํ้าหมัก ปุ๋ยหมัก และเพาะปลูกผัก โครงการนี้อยู่ระหว่างการดำ�เนินงานถึงเดือนกรกฎาคม ติดต่อประธานชุมชนจันทร์วิโรจน์ นายประเทือง โกมล เบอร์โทรศัพท์ 0819599304


การจัดการสายนํ้าลำ�ห้วยบอน และอนุรักษ์พืชไม้นํ้าบนวิถีพอเพียง ชุมชนบ้านทุ่งทวย หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งทวย ต. นาเมืองเพชร อ.สิเกา จ.ตรัง

นางสาวอานีซะ มะยิ บัณฑิตอาสา รุ่นที่ 11 ผศ.ดร. สุวิทย์ จันทร์เพชร อาจารย์ที่ปรึกษา

บ้านทุ่งทวย หมู่ที่ 7 ตำ�บลนาเมืองเพชร อำ�เภอสิเกา จังหวัดตรัง ชุมชนมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย พอ เพียง ภายในชุมชนมีลำ�ห้วยชื่อว่าลำ�ห้วยบอน ซึ่งเป็นลำ�ห้วยที่คนในชุมชนใช้ประโยชน์ แต่ยังไม่ค่อยให้ ความสำ�คัญ จนมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งพยายามรักษาลำ�ห้วยแห่งนี้ไว้ โดยหาทุนเพื่อจัดกิจกรรมในชุมชน และได้ส่งเรื่องขอบัณฑิตอาสาเพื่อเข้าไปศึกษาชุมชนบ้านทุ่งทวยเพื่อร่วมกันคิดแก้ไขปัญหา ทีละก้าวอย่างมั่นคง หลังจากการศึกษาชุมชน ได้มีการจัดเวทีประชาคมขึ้นเพื่อคนในชุมชนได้เสนอ ให้มีการจัดการปัญหาในเรื่องของนํ้า จึงเป็นที่มาของโครงการ “การจัดการสายนํ้าลำ�ห้วยบอนและ อนุรักษ์พืชไม้นํ้าบนวิถีพอเพียงชุมชนบ้านทุ่งทวย” และได้มีการวางแผนกับคณะทำ�งาน เพื่อกำ�หนดวัน และรายละเอียดของการทำ�งานกิจกรรมต่างๆ ที่จะตอบวัตถุประสงค์ของโครงการ การจัดการนํ้าในลำ�ห้วยบอน กิจกรรมการทำ�ฝายนํ้าล้นแห่งที่ 6 คนในชุมชนมีความตื่นเต้นที่ได้มี ส่วนร่วมในการทำ�งาน และให้ความสนใจในการทำ�กิจกรรมเป็นอย่างมาก การที่คนในชุมชนมีบทบาท หน้าที่ในการทำ�กิจกรรม จะทำ�ให้คนในชุมชนรู้สึกภูมิใจ และรู้ว่าตนมีความสำ�คัญในการทำ�กิจกรรม ผลของการทำ�กิจกรรมการทำ�ฝาย ยังไม่ได้ตามวัตถุประสงค์คือนํ้าในห้วยยังคงแห้ง เนื่องจาก เหตุการณ์บ่อบำ�บัดนํ้าเสียของโรงงานแปรรูปยางพาราชำ�รุดที่เกิดขึ้นนั้นได้มีการสูบนํ้าจากห้วยบอน เพื่อไปดันนํ้าเสียให้ออกไปสู่ทะเล ทำ�ให้นํ้าในห้วยแห้งขอด กิจกรรมที่สองเป็นกิจกรรมการทำ�ป้ายรงณรงค์ไม่ให้มีการจับปลาที่ผิดวิธี จัดตั้งกลุ่มดูแลลำ�ห้วย เชิญชวนให้คนในชุมชนร่วมกันดูแลรักษาลำ�ห้วย ช่วยกันเป็นหูเป็นตา กิจกรรมที่สาม คือ กิจกรรมการแต่งสรรค์ลำ�ห้วย เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนใน ชุมชนที่จะต้องช่วยกันเก็บสิ่งปฏิกูล เช่น ขยะ เศษกิ่งไม้ที่หักไปขวางการไหลของนํ้า การตัดแต่งกิ่งไม้ ข้างคลอง การปรับภูมิทัศน์ข้างคลองให้มีความสวยงามมากขึ้น ผลของการทำ�กิจกรรมจะสังเกตเห็นใน เรื่องของการรักษาความสะอาดของห้วย เนื่องจากคนในชุมชนช่วยกันเป็นหูเป็นตาและไม่ทิ้งขยะลงใน ห้วยอีกด้วย กิจกรรมการส่งเสริมการปลูกพืชร่วมนํ้าริมลำ�ห้วยบอน เป็นกิจกรรมที่ร่วมทำ�กับเด็กๆ ในชุมชน เพื่อเป็นการปลูกจิตสำ�นึกให้เด็กมีความผูกพันกับสายนํ้าที่อยู่ข้างบ้านของตนเอง และให้เด็กๆ ในชุมชน ได้เรียนรู้และรู้จักพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ที่เป็นพืชพื้นบ้านของตนที่จะต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้


สานรัก สานสัมพันธ์ ศึกษาสร้างสรรค์ ในสถาบันศึกษาปอเนาะอัสสาอาดะห์ ชุมชนยูโย ตำ�บลบางขุนทอง อำ�เภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส นางสาวมาสาเอล ดาหายี บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11

ชุมชนยูโย ตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำ�บลบางขุนทอง อำ�เภอตากใบ จังหวัด นราธิวาส ซึ่งห่างจากที่ว่าการอำ�เภอตากใบ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 16 กิโลเมตร มีจำ�นวน ประชากร 1,106 คน ในสถานเลี้ยงเด็กกำ�พร้าอัสสาอาดะห์ มีเด็กกำ�พร้า จำ�นวน 36 คน มีเด็กด้อยโอกาส จำ�นวน 8 คน ปัญหาที่พบในสถานเลี้ยงเด็กกำ�พร้า คือ ความสะอาดทางด้านสภาพแวดล้อมและความ เป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่โดยรวม ส่งผลให้เด็กไม่ได้รับความสุขกับบรรยากาศที่ดีในการอยู่อาศัย สภาพแวดล้อมไม่น่าอยู่ ไม่ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งขาดแรงจูงใจและการให้ความสำ�คัญกับการศึกษา

วิธีการดำ�เนินงาน 1. ศึกษาข้อมูลบริบทชุมชน และข้อมูลสถานการณ์ เด็กกำ�พร้าและเด็กด้อยโอกาส โดยใช้แบบสำ�รวจและแบบ สัมภาษณ์ 2. จัดเวทีประชาคมคืนข้อมูล ร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เด็ก กำ�พร้า ผู้ปกครอง ผู้นำ�ชุมชน ผู้นำ�ศาสนา รวมทั้งโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำ�บลบ้านโคกงู 3. ร่วมคิดและเสนอแผนงานโครงการร่วมกับเด็กกำ�พร้า และเด็กด้อยโอกาส พร้อมทั้งจัดตั้งคณะทำ�งาน 4. ประชุมชี้แจงโครงการ เพื่อทำ�ความเข้าใจวัตถุประสงค์ และวิธีการดำ�เนินการโครงการ 5. การดำ�เนินงานกับเด็กกลุ่มเป้าหมาย โดยผ่านกิจกรรม ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้านร่างกาย และการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น 6. การปรับสภาพแวดล้อมบริเวณศูนย์โดยผ่านกิจกรรม การปลูกพืชผักสวนครัว และ Big Cleaning Day ผลที่เกิดขึ้น จากการดำ�เนินงานโครงการ เด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมต่อเนื่องจำ�นวน 30 คน มี ความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพร่างกายและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีความเป็นระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากความสะอาดของบริเวณศูนย์ที่พักและ สภาพแวดล้อมโดยรวมมีมากขึ้น สามารถแต่งตั้งคณะทำ�งานโครงการ จำ�นวน 1 ชุด ประกอบด้วยผู้ บริหารศูนย์ คณะครูและเด็กนักเรียน เด็กนักเรียนได้สะท้อนความรู้สึกที่มีต่อการจัดกิจกรรม ว่า “พี่บัณฑิตอาสาเข้ามาอยู่ร่วมกับพวกเราในสถานเลี้ยงเด็กกำ�พร้าแห่งนี้ เรารู้สึกเหมือนเรา สำ�คัญ เรารู้สึกว่าเขาให้ความสำ�คัญกับเรามาก เขาต้องการเปลี่ยนแปลงเราไปในทางที่ดีขึ้น พยายามเปลี่ยนความคิดให้มองโลกในเชิงบวก ไม่ให้รู้สึกว่าตัวเรามีปมด้อย เราดีใจที่มีกิจกรรม ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสถานเลี้ยงเด็กกำ�พร้า เราได้เรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน ณ วันนี้เรามีความสุข”


‘เยาวชนรักษ์เขาถ่าน’ ต้นกล้าพันธุ์ใหม่ ร่วมใจอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตำ�บลเขาถ่าน อำ�เภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

นิอาอีเสาะ ยามูสะนอ บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 ดร.ณัฐมน ราชรักษ์ ที่ปรึกษาโครงการ

ตำ�บลเขาถ่านตั้งอยู่ในพื้นที่อำ�เภอ ท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจาก ตัวเมืองประมาณ 36 กิโลเมตร ตั้ง อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ของไทย มีความอุดมสมบูรณ์ด้วย ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าชายเลน และสัตว์นํ้า เป็นแหล่งอาหารและการ ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ต้นกล้าเล็ก ๆ สู่…..ต้นกล้าพันธุ์ใหม่ที่ยิ่งใหญ่ แกนนำ�ชุมชนตำ�บลเขาถ่านได้แสดงความคิดเห็นในเวทีประชุมทุกครั้งของการประชุมกลุ่มสมาชิก เครือข่ายอนุรักษ์เขาถ่าน ถึงเรื่องการให้ความสำ�คัญกับเด็กและเยาวชนในชุมชน แกนนำ�ชุมชนอยาก ให้เยาวชนทำ�กิจกรรมหรือทำ�งานเคียงคู่กับกับผู้ใหญ่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน เช่น การปลูกป่าชายเลน จิตอาสาเก็บขยะตามแหล่งท่องเที่ยว การสร้างสำ�นึกรักษ์บ้านเกิด หรือแม้แต่การ ร่วมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้ในชุมชน บัณฑิตอาสาและแกนนำ�ชุมชนได้ช่วยกันดึงแกน นำ�เยาวชนเข้ามามีบทบาทเคียงคู่กับผู้ใหญ่ในชุมชน เพื่อหวังลดปัญหาเด็กและเยาวชนติดเกมส์ มั่วสุม อบายมุข และหันมาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จุดเริ่มต้นโครงการ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนให้มี ความยั่งยืน เพื่อสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำ�นึกของคนในชุมชนให้ช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากร ที่มีอยู่และส่งเสริมให้เด็กเยาวชนในชุมชนเรียนรู้ถึงความสำ�คัญของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน เสริมทักษะการสื่อสาร แนวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยนำ�เอาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ป่าชายเลน บ่อนํ้าร้อนนํ้าเค็ม ลานโลกพระจันทร์ เกาะขี้นก เกาะลอย คลองท่าฉาง ฟาร์ม หอยแครง หอยกัน ศูนย์เรียนรู้สมุนไพร ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต มาใช้เป็นทุน ความสำ�เร็จของโครงการ เกิดแกนนำ�เยาวชน จำ�นวน 40 คน ภายใต้ชื่อ “กลุ่มเยาวชนรักษ์เขาถ่าน” ที่สามารถเข้ามามีส่วน ร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนร่วมกับผู้ใหญ่ ในการเป็นผู้นำ�เที่ยวที่ผ่านการ อบรมยุวมัคคุเทศก์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ทำ�ให้เยาวชนได้แสดงออก ถึงศักยภาพในการเป็นผู้นำ� มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมากขึ้น ด้วยการเป็นคนนำ� เที่ยว แนะนำ�สถานที่ท่องเที่ยว คนจัดกิจกรรมการแสดง เตรียมอาหารว่างและเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อ ใช้ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาศึกษาดูงานในพื้นที่ เกิดความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง ผลลัพธ์ที่สำ�คัญที่เกิดขึ้นพร้อมกับรอยยิ้มนั้น ก็คือความสามัคคีของเด็กเยาวชนที่สามารถทำ�งานเคียง คู่กับผู้ใหญ่ และทำ�ให้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น


คนสามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชน บ้านทุ่งใหญ่ ปี 2

ตำ�บลบ้านนา อำ�เภอจะนะ จังหวัดสงขลา

นางสาวนูรมา มะลี บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 อาจารย์เทวิกา เทพญา ที่ปรึกษาโครงการ

แรกเริ่มเดิมที ชุมชนบ้านทุ่งใหญ่มีประชากรที่เป็นวัยผู้สูงอายุจำ�นวนมากถึง 195 คน คิดเป็นร้อยละ 15.66 ของจำ�นวนประชากรทั้งหมด ผลการสำ�รวจข้อมูลผู้สูงอายุ พบว่า ด้านร่างกายส่วนใหญ่มีโรคประจำ� ตัวและมีสภาพร่างกายถดถอยไปตามวัย แต่ส่วนใหญ่สามารถดูแลตนเองได้ ด้านจิตใจ มีหลายรายที่ ต้องอยู่คนเดียวในเวลาที่ลูกๆ ต้องไปทำ�งาน ทำ�ให้เกิดความเหงา ขาดคนดูแล บัณฑิตอาสาจึงได้มีการ ปรึกษาหารือกับทีมงานเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการอุดช่องว่างดังกล่าว จึงได้พัฒนาเป็นโครงการคน สามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่ ปี 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ 2) พัฒนากลุ่มยุวชนจิตอาสาบ้านทุ่งใหญ่เพื่อผู้สูงอายุ รุ่นที่ 1 ขึ้น และ 3) เพิ่มสายใยรักระหว่างผู้สูงอายุกับยุวชนจิตอาสา ก้าวเล็กๆ ที่นำ�สู่ระบบการดูแลผู้สูงอายุ 1) เสริมความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแล สุขภาพผู้สูงอายุด้วยการผสมผสานความรู้วิชาการสมัย ใหม่และความรู้ภูมิปัญญา 2) เสริมความรู้ เพิ่มทักษะยุวชนจิตอาสา 15 คน การ ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 3) ยุวชนจิตอาสาลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุตามบ้าน พร้อมกับนวดเพื่อผ่อนคลายและอ่านนิทานธรรม 4) ประกวดการอ่านนิทานธรรม วาดฝั่งฝันให้เป็น ยุวชนจิตอาสาตัวอย่าง ก่อเกิดผลผลิต พิชิตใจผู้สูงอายุบ้านทุ่งใหญ่ ทุกย่างก้าวและทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนบ้าน ทุ่งใหญ่ทั้งสิ้น มีการจัดตั้งกลุ่ม “ยุวชนจิตอาสาบ้านทุ่งใหญ่เพื่อผู้สูงอายุ” จำ�นวน 15 คน ซึ่งนับว่า เป็นยุวชนจิตอาสารุ่นแรกที่ก่อตัวขึ้นเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุ มีกิจกรรมการ นวด การอ่านคติธรรม รวมถึงการรับฟังเรื่องราวของผู้สูงอายุ โดยเด็กๆ จิตอาสากลุ่มนี้ได้ทำ�หน้าที่ แทนใจของคนในชุมชนเดียวกันในการถ่ายทอดความรัก ความห่วงใยและความเอื้ออาทรสู่ผู้สูงอายุ ทั้งยังช่วยให้ผู้สูงอายุมีจิตใจสงบ มีความสุข ซึ่งมีผลต่อการปรับตัวทางด้านจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ โดยตรง และยุวชนเองยังได้เรียนรู้ในการรู้จักเสียสละตนเองเพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่น มี โอกาสได้ฝึกฝนตนเองในการอ่านหนังสืออย่างมีสติ มีสมาธิและการอ่านอย่างถูกวิธี


สานสัมพันธ์ปันนํ้าใจ สานสายใยสู่เด็ก บ.อ.

ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา

นางสาวการีม๊ะ อีบอ บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 อาจารย์เปรมฤดี ดำ�รักษ์ ที่ปรึกษาโครงการ

โรงเรียนบันนังสตาอินทรฉัตร (บ.อ.) มิตรภาพที่ 200 ที่ระลึก ส.ร.อ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ตำ�บลบันนังสตา อำ�เภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นโรงเรียนเก่าแก่ที่คนในชุมชนให้ความสำ�คัญและคนในชุมชนส่วน ใหญ่จะส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ โรงเรียนบันนังสตาอินทรฉัตรฯ มีนักเรียนทั้งหมด 779 คน มีเด็กกำ�พร้าทั้งหมด 41 คน สาเหตุจากการเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ 28 คน จากสถานการณ์ความ ไม่สงบ 13 คน และมีเด็กด้อยโอกาสทั้งหมด 32 คน

วิธีการดำ�เนินงาน 1. ศึกษาข้อมูลบริบทโรงเรียน และข้อมูลสถานการณ์ เด็กกำ�พร้าและเด็กด้อยโอกาส โดยใช้แบบสำ�รวจและแบบ สัมภาษณ์ 2. จัดเวทีประชาคมคืนข้อมูลสถานการณ์เด็กกำ�พร้าและ เด็กด้อยโอกาส เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพ ร่วม กับคณะครู ผู้นำ�ศาสนา และเด็กนักเรียน 3. ชี้แจงโครงการให้กับคณะครูและเด็กนักเรียน สร้าง ความเข้าใจถึงแนวทางการดำ�เนินกิจกรรม 4. การดำ�เนินงาน โดยผ่านกิจกรรมด้านการเกษตร การ ประดิษฐ์จากสิ่งของเหลือใช้ กิจกรรมชีวิตฉันในจินตนาการ กิจกรรมรู้จักฉัน รู้จักเธอ และกิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์ 5. การจัดตั้งแกนนำ�ดูแลเด็กกำ�พร้าและเด็กด้อยโอกาส ในโรงเรียนและชุมชน ผลที่เกิดขึ้น จากการดำ�เนินงานทำ�ให้เด็กนักเรียน จำ�นวน 43 คน มีการสานสัมพันธ์ที่ดีกับคุณครู นักเรียนกับ รุ่นพี่ และกลุ่มเพื่อนด้วยกัน มีการพัฒนาศักยภาพด้านการพึ่งพาตนเอง ผ่านกิจกรรมด้านการเกษตร และงานประดิษฐ์ เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และโครงการฯ สามารถเชื่อมเยาวชนศิษย์เก่าโรงเรียน บันนังสตาอินทรฉัตรฯ จำ�นวน 14 คน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพเด็กนักเรียน ทำ�ให้เด็กนักเรียน เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการเข้าร่วมสังคมกับเพื่อน มีการพูดคุยและเข้าหาผู้อื่นมากขึ้น กล้าคิด กล้า แสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถจัดตั้งแกนนำ�ดูแลเด็กกำ�พร้าและเด็กด้อย โอกาสทั้งในโรงเรียน และในชุมชนที่มีเยาวชนศิษย์เก่าเป็นผู้ขับเคลื่อน ทำ�ให้โรงเรียนมีระบบการดูแล นักเรียน โดยมีฐานข้อมูลสถานการณ์เด็กกำ�พร้าและเด็กด้อยโอกาสที่ชัดเจน สามารถใช้ออกแบบและ พัฒนาศักยภาพเด็กนักเรียนให้ตรงกับความต้องการต่อไป


เยาวชนบางกล้วยนอกสืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บ้านบางกล้วยนอก ต.นาคา อ.สุขสำ�ราญ จ.ระนอง

ฮามือเสาะ หะยีตาเยะ บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 อาจารย์ศิริพร เพ็งจันทร์ ที่ปรึกษาโครงการ

บ้านบางกล้วยนอก หมู่ที่ 3 ตำ�บลนาคา อำ�เภอสุขสำ�ราญ จังหวัดระนอง มีทรัพยากรธรรมชาติ อุดมสมบูรณ์จากต้นนํ้าสู่ปลายนํ้า มีโครงการกระบวนการเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐาน ทรัพยากร 3 วงล้อเพื่อความมั่นคงและนำ�ไปสู่กระบวนการพึ่งพาตนเอง โดยเน้นการสร้างกระบวนการ ให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของคน อย่างไรก็ตาม เมื่อบัณฑิตอาสาได้ลงพื้นที่สำ�รวจและวิเคราะห์ชุมชนยังพบปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับ เยาวชน เช่น ปัญหาท้องไม่พร้อม อบายมุข เสพติดโซเชียลมีเดีย ขาดการเรียนรู้ภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ของท้องถิ่น รวมไปถึงการขาดความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนและชุมชน จึง จุดประกายให้มีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาด้านเยาวชนในชุมชน เพราะเยาวชนเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำ�คัญ ของประเทศ จำ�เป็นต้องส่งเสริมและพัฒนาให้มีศักยภาพและความพร้อมในหลายด้าน

กระบวนการทำ�งาน บางกล้วยนอกมีของดีเรื่องภูมิปัญญา แกนนำ�เยาวชนช่วยกันระดมความคิดเห็น จนได้ประเด็นที่ สามารถตอบโจทย์การพัฒนาศักยภาพเยาวชน และเกิดประโยชน์กับชุมชน โดยมาลงตัวที่ “สมุนไพร” มีการไปเรียนรู้ที่บ้านป้าเขียว ครูภูมิปัญญาสมุนไพรที่ให้ข้อคิดว่า “สมุนไพรไทย เป็นยาชั้นเลิศ แต่น่า เสียดายผู้คนกลับมองไม่เห็นค่าของมัน” แล้วช่วยกันลงพื้นที่ศึกษาเก็บข้อมูล สำ�รวจแหล่งสมุนไพร ชื่อสมุนไพร การใช้ประโยชน์ จนเกิดชุดความรู้ และนำ�มาต่อยอดด้วยการทำ�นํ้าสมุนไพร นํ้ามะนาว อัญชัน นํ้ากระเจี๊ยบ นํ้าชาลู่ เพื่อขายตามงานที่จัดในระแวกใกล้ ๆ ชุมชน โดยสมุนไพรที่นำ�มาต่อยอด ใช้ในการรักษาโรค คือ “ใบบัวบก” ที่นอกจากจะรักษาอาหารชํ้าในแล้ว ยังสามารถรักษาไมเกรนได้อีก ด้วย กระบวนการทำ�งานกับเยาวชนใช้หลักการ “PDCA” ตามเนื้อเพลงที่เยาวชนช่วยกันแต่ง “ก่อนจะ คิดจะทำ�อะไร PDCA (ซํ้า 2 ครั้ง) การวางแผนก็คือตัว P ส่วนตัว D ก็ลงมือทำ� Check ด้วย C แล้วมา แก้ไขปรับปรุงด้วย A” ที่สามารถฝึกการทำ�งานเป็นระบบ ให้เยาวชนได้คิดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเอง จนทำ�ให้เยาวชนรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ในการทำ�งาน มีการทำ�งานเป็นทีม ร่วมด้วยช่วยกัน กล้าแสดงความเห็น กล้าตัดสินใจ จนเกิดเป็นผล งานออกมา ผลสำ�เร็จ ตลอดการทำ�งานที่ผ่านมา ได้สร้างแกนนำ�เยาวชนจำ�นวน 20 คน ที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น รู้จักตนเอง เห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่น มีศักยภาพ จากเยาวชนที่ไม่กล้าแสดงออก กลับกล้าแสดงความคิดเห็น กล้า นำ�เสนอ สามารถเป็นผู้นำ�และผู้ตามที่ดี สามารถทำ�งานเป็นทีม รู้จักคิดและแก้ปัญหาได้เอง เรียนรู้ของดี ที่มีอยู่ในชุมชน และสามารถต่อยอดภูมิปัญญาเพิ่มมูลค่าด้วยผลิตภัณฑ์ลูกอมใบบัวบกและนํ้าสมุนไพร ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเยาวชนได้ ตามเป้าหมายของโครงการที่วางไว้


ครัวเรือนสะอาด ชุมชนกูแบอีเตะปลอดขยะ หมู่ที่ 10 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี

นางสาวสาลินี บอเถาะ บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 ผศ.ดร.นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

ชุมชนกูแบอีเตะ เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในหมู่ที่10 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี มีจำ�นวน 412 หลังคาเรือน เป็นบ้านเช่าเป็นส่วนใหญ่ มีประชากร 1,113 คน และมีประชากรต่างชาติที่ไม่ขึ้นทะเบียน ราษฎร์มาพักอาศัย เป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท จากการสังเกตพบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมการทิง้ ขยะไม่เป็นที่ ไม่มคี วามรูค้ วามเข้าใจกระบวนการ จัดการกับขยะ ข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2557 - กันยายน พ.ศ.2558 พบว่าตำ�บลบานามีปริมาณ ขยะมูลฝอยรวม 4,186.88 ตัน/ต่อปี เฉลี่ย 348.91ตันต่อเดือน และ 11.63 ตันต่อวัน มีปัญหาขยะ ล้นถังประกอบกับมีสัตว์มาคุ้ยเขี่ยเศษอาหาร เป็นที่มาของแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรค ชุมชนกูแบอีเตะมี ทีม อสม.ที่เข้มแข็งสามารถให้ความรู้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะ โดยใช้หลักแนวคิด 3R = Reduce (ลด) Reuse (ใช้ซํ้า) Recycle (นำ�กลับมาใช้ใหม่) วิธีการดำ�เนินงาน 1. จัดเวทีประชาคมเพื่อสะท้อนสถานการณ์ชุมชน และ จัด ลำ � ดั บ ความสำ�คัญของปัญหาเพื่อจัดทำ� โครงการและ ร่วมคิดและเสนอแผนงานโครงการร่วมกับชุมชน เพื่อขอ งบสนับสนุนจากโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ตำ�บลบานา และจัดเวทีประชุมชี้แจงโครงการ 2. อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ 3. การก่อตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลเพื่อชุมชน 4. การดำ�เนินงานกับคนในชุมชน โดยผ่านกิจกรรม รวม พลังคนกูแบอีเตะ ลดใช้ถุง ลดโลกร้อน 5. การดำ�เนินงานกับคนในชุมชน โดยผ่านกิจกรรม การ แปรรูปขยะ เพิ่มมูลค่าขยะ (การประดิษฐ์ การทำ�ปุ๋ยหมัก) และเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชมบ้านต้นแบบ ผลที่เกิดขึ้น การดำ�เนินงานโครงการ คนในชุมชนมีความรู้ความ เข้าใจและสามารถคัดแยกขยะ ปริมาณขยะในถังขยะลดลง คนในชุมชนใช้ถุงพลาสติกลดน้อยลง เกิดธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชนเปิดให้บริการทุกวันศุกร์ ซึ่งราย ได้ 20 % นำ�เข้าสู่ชุมชนมีเงินกองกลางเป็นสวัสดิการชุมชน เพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน เด็กและผู้ใหญ่มี ความสัมพันธ์ที่ดี คนในชุมชนรู้มูลค่าขยะและสามารถแปรรูปขยะ เปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนพฤติกรรมการ ทิ้ง รู้วิธีจัดการกับขยะ คนในชุมชนมีจิตสำ�นึกรักษ์ชุมชนมากยิ่งขึ้น ติดต่อชุมชนได้ที่ นางกุลธิดา พรหมสุวรรณ์ ประธานธนาคารขยะ โทรศัพท์ 0828333632


มัคคุเทศก์อาสากุนุงจนองใส่ใจธรรมชาติ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ชุมชนกุนุงจนอง ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา

นางสาวซารีฟะห์ นิหลง บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะดำ� อาจารย์ที่ปรึกษา

กุนุงจนองเป็นชุมชนที่อยู่ในเขตเทศบาลตำ�บลเบตง อำ�เภอเบตง จังหวัดยะลา ที่ตั้งของชุมชนโอบล้อม ไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่ มีภูเขาเอียงที่เป็นชื่อชุมชนตามภาษาถิ่นมาลายูที่ว่า “กุนุง” หมายถึง เขาหรือเนิน เขา ส่วน “จนอง” (จะนอง) หมายถึง เอียง มีประชากรจำ�นวน 1,099 คน 241 ครัวเรือน ร้อยละ 99.98 % นับถือศาสนาอิสลาม ชาวกุนุงจนองให้ความสำ�คัญกับทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน เนื่องจากต้องอาศัยทรัพยากรเหล่านี้ใน การทำ�งานเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว ทั้งกรีดยาง ขายหมาก ทำ�ปลาส้ม ทำ�กาแฟโบราณ และยังมีสถาน ทีพ่ กั ผ่อนให้กบั เด็กเยาวชน คือ ลำ�ธารทีไ่ หลผ่านรอบหมูบ่ า้ น และป่าชุมชนทีเ่ ป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ วิธีการดำ�เนินงาน โครงการมัคคุเทศก์อาสากุนุงจนองใส่ใจธรรมชาติเพื่อ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ก่อเกิดขึ้นมาจากคณะกรรมการ มั ส ยิ ด และเยาวชนที่ มี เ ป้ า หมายเดี ย วกั น ในการพั ฒ นา ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาศักยภาพเยาวชน จึงเกิด กิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมรวบรวมทุนชุมชน (คณะ กรรมการมัสยิด กลุม่ แม่บา้ น เยาวชน และทรัพยากรธรรมชาติ) เพื่อให้เห็นจุดแข็งที่ชุมชนมีอยู่ กิจกรรมสำ�รวจและพัฒนา ทรัพยากรชุมชน มีทั้ง จุดชมวิว ถํ้า ลำ�ธาร ป่าชุมชน เพื่อ สำ�รวจถึงความอุดมสมบูรณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งร่วม วางแผนในการพัฒนาต่อไปในอนาคต และกิจกรรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการเป็นมัคคุเทศก์แก่เยาวชนจิตอาสากุนุงจนอง ผลที่เกิดขึ้น จากกิจกรรมที่ผ่านมาทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ เยาวชน 25 คน แกนนำ�มัสยิด และชุมชน โดยเยาวชนมี ความกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าคิด และ กล้าลงมือทำ� กล้านำ�เสนอสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ในชุมชน ทำ�ให้เป็น กำ�ลังสำ�คัญของชุมชนในงานพัฒนาชุมชน ส่วนแกนนำ�มัสยิด เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำ�งานที่เป็นระบบและมีความเป็นวิชาการ ทำ�งานอย่างมีข้อมูลน่าเชื่อถือ ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการพัฒนามีผู้ดูแลทั้งความสะอาดและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร .....ติดตาม กลุ่มเราได้ทาง เฟสบุ๊ค: เยาวชนจิตอาสากุนุงจนอง......


สายใยชุมชน ใส่ใจผู้สูงอายุ ชุมชนป้อมหก เทศบาลนครหาดใหญ่

นางสาวอัสมะ สาเม๊าะ บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 อาจารย์อุไรวรรณ พัฒนสัตยวงศ์ ที่ปรึกษาโครงการ “ชุมชนป้อมหก” เป็นชุมชนริมทางรถไฟในเมืองหาดใหญ่ หลายคนรู้จักและคุ้นชินกับสภาพชุมชน แออัด ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนที่เร่งรีบ การดำ�เนินชีวิตของคนในชุมชนแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่าง กัน คือ เด็กและเยาวชนเรียนหนังสือ ผู้ใหญ่ทำ�งาน ส่วนผู้สูงวัยอยู่บ้าน จากการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย 335 คน จาก 137 ครัวเรือน พบว่า ประชากรที่อายุ 60 ปี ขึ้นไป มีจำ�นวน 47คน คิดเป็น ร้อยละ 14.02 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพ ผู้สูงอายุ 10 คน คิดเป็นร้อยละ 21.27 มีสภาวะเหงา ซึม เศร้า เนื่องจากถูกทอดทิ้ง ขาดการเอาใจใส่ดูแลจากลูกหลานที่ต้องออกไปทำ�งาน บัณฑิตอาสา ม.อ. ร่วมกับภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลหาดใหญ่ ศูนย์บริการสาธารณสุขและกองสวัสดิการ เทศบาลนครหาดใหญ่ จัดโครงการ “สายใยชุมชน ใส่ใจผู้สูงอายุ ชุมชนป้อมหก เทศบาลนครหาดใหญ่” มี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างแกนนำ�เด็กและเยาวชนใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง ผู้สูงอายุกับลูกหลาน วิธีดำ�เนินงาน 1. มีการประชุมชี้แจงโครงการ เพื่อสะท้อนสถานการณ์ข้อมูล การสำ�รวจสุขภาวะของผู้สูงอายุให้กับชุมชน 2. คณะทำ�งานและผู้สูงอายุร่วมคิด วางแผนการจัดกิจกรรม ร่วมกันในวันที่ 9 ธันวาคม 2558 ณ กองทุนขยะสร้างสุข 3. รูปแบบกิจกรรม คือ ตรวจสุขภาพ อบรมให้ความรู้การดูแล สุขภาพของผู้สูงอายุ และกิจกรรมทำ�บุญสุขใจ 4. สร้างแกนนำ�เด็กและเยาวชนใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ผ่านกิจกรรมจิตสบายเมื่อร่างกายแข็งแรง เยี่ยมบ้าน และรดนํ้าดำ�หัวผู้สูงอายุ ผลการดำ�เนินงาน 1. ในการจัดกิจกรรมมีจำ�นวนผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม 15-20 คน เด็กและเยาวชน 10-15 คน ผู้สูง อายุที่เข้าร่วมทุกกิจกรรมมีจำ�นวน 6 คน 2. เกิดภาคีเครือข่ายการทำ�งานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลหาดใหญ่ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล นครหาดใหญ่ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน อสม. ที่คอยขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพผู้สูงอายุ 3. กำ�หนดให้มีการจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุเดือนละ 1 ครั้ง 4. เกิดแกนนำ�เด็กและเยาวชนจิตอาสาที่เป็นลูกหลานของคนในชุมชน จำ�นวน 10คน 5. แกนนำ�เด็กและเยาวชนร่วมกิจกรรมการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุเดือนละ 1 ครั้ง 6. ผู้สูงอายุในชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการรวมกลุ่มหารือเพื่อจัดกิจกรรม และมีส่วนร่วมใน การทำ�กิจกรรม เช่น กิจกรรมจิตสบายเมื่อร่างกายแข็งแรง กิจกรรมเยี่ยมบ้าน รดนํ้าดำ�หัวผู้สูงอายุ 7. เด็กและเยาวชนได้เห็นภาพของผู้สูงอายุเป็นผู้ใหญ่ใจดีมีนํ้าใจช่วยสอนทำ�จักสาน พูดดี ต่างจากเดิม ที่ผู้สูงอายุชอบดุว่า เกิดความรู้สึกประทับใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและอยาก ดูแลเอาใจใส่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความรักจากลูกหลาน 8. เกิดแนวทางขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชน โดยคณะกรรมการชุมชนและเครือข่ายมีรูปแบบการ ทำ�งานชัดเจน ติดต่อชุมชนได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 089-8790992 คุณสัญญา คงมา ประธานชุมชนป้อมหก


การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการอนุรักษ์พลับพลึงธาร

บ้านห้วยทรัพย์ ตำ�บลคุระ อำ�เภอคุระบุรี จังหวัดพังงา มัสตูเราะห์ มะกะ บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 ผศ.สอรัฐ มากบุญ ที่ปรึกษาโครงการ

บ้านห้วยทรัพย์ หมู่ที่ 6 ตำ�บลคุระ อำ�เภอคุระบุรี จังหวัดพังงา มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และเป็นแหล่งกำ�เนิดต้นนํ้า มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี มีทุนทางธรรมชาติที่เป็นจุดเด่นของหมู่บ้าน คือ พลับพลึงธาร ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็น “ราชินีแห่งสายนํ้า” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หญ้าช้องหรือช้องนาง พบได้เพียงแห่งเดียวในโลกแถบจังหวัดพังงาตอนบนและระนองตอนล่าง พบในลำ�ธารที่ใสสะอาด ดอก เป็นช่อชูเหนือนํ้าสวยงามประดับลำ�ธาร สามารถชมดอกได้ปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนมกราคม สถานการณ์ปัญหา เมื่อเกิดนํ้าท่วม ภาครัฐจีึงมีแผนขุดลอกคูคลองเพื่อแก้ปัญหานํ้าท่วมในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม เมื่อพื้นที่ ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีต้นพลับพลึงธารแห่งเดียวของโลก และมีแนวโน้มลดจำ�นวนลงจนน่าเป็นห่วง เนื่อง จากถูกลักลอบเก็บหัวพลับพลึงธารไปขาย ซึ่งทั้งสองปัญหาเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของหน่วย งานและชาวบ้าน ทำ�ให้ปัจจุบันพลับพลึงธารลดลงจนน่าเป็นห่วง สู่กิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน การดำ�เนินงานโครงการพัฒนาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลัก โดยใช้คนบ้าน หลังคลองเป็นทีมแกนนำ�ตัวอย่างในการพัฒนาและอนุรักษ์พืชพรรณไม้นํ้าพลับพลึงธารแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีการดำ�เนินกิจกรรม คือ การอบรมให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์พลับพลึงธาร การจัดทำ�สื่อการเรียน รู้ การทำ�ฝายกั้นนํ้า การพัฒนาทัศนียภาพและการจัดการริมฝั่งคลอง และสุดท้ายการเพาะขยายพันธุ์ และปลูกเพิ่ม กิจกรรมทุกกิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ว่าด้วย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนใน ชุมชนในการอนุรักษ์พลับพลึงธารให้คงอยู่และมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งกิจกรรมก็ยังสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างคนในชุมชน และมิตรภาพในการอยู่ร่วมกัน นอกจากนี้ยังทำ�ให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้ เกิดประโยชน์อีกด้วย การที่จะทำ�ให้พลับพลึงธารอยู่ได้นั้นมีหลายปัจจัย แต่กิจกรรมในโครงการก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำ�ให้ พลับพลึงธารอยู่ได้ แต่ต้องมองเรื่องอื่นด้วยเช่น เรื่องต้นนํ้า ถ้าไม่มีการดูแลรักษาก็จะส่งผลทำ�ให้ พลับพลึงธารตายได้ สุดท้ายนี้ กล่าวได้ว่าการขับเคลื่อนโครงการนี้ทำ�ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมมากขึ้น อีกทั้งทำ�ให้บ้านและ นํ้า ใสสะอาดและน่าอยู่ ยิ่งได้มีพลับพลึงธารที่ขึ้นตามลำ�คลองแล้วยิ่งเป็นภาพที่น่ามองมากขึ้น จนกลาย เป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ของคนที่สัญจรผ่านไปมาได้


ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ เด็กกำ�พร้าและเด็กด้อยโอกาส

ตำ�บลมะนังดาลำ� อำ�เภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี นางสาวไซนะห์ เจ๊ะสะนิ บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 อาจารย์มัสลัน มะหามะ ที่ปรึกษาโครงการ

ตำ�บลมะนังดาลำ� เป็นตำ�บลหนึ่งในอำ�เภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ห่างจากอำ�เภอเมืองปัตตานี ประมาณ 50 กิโลเมตร เด็กและเยาวชนในตำ�บลมะนังดาลำ� อายุ 0-17 ปี มีจำ�นวน 2,386 คน มีิเด็ก กำ�พร้า 174 คน คิดเป็นร้อยละ 8 เด็กกำ�พร้าที่ทำ�การสำ�รวจ จำ�นวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 31 ของ จำ�นวนเด็กกำ�พร้าทั้งหมด และมีเด็กกำ�พร้าที่พิการจำ�นวน 3 คน จากการสำ�รวจข้อมูลเด็กในตำ�บลไม่มีปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเด็กที่พ่อแม่เสียชีวิต จากการเจ็บป่วย ส่วนเด็กที่บิดาเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐทุก คน มีพฤติกรรมการกินอาหารเช้าด้วยการซื้อตามร้านนํ้าชาใกล้บ้าน ส่วนมื้อเที่ยงรับประทานอาหารที่ โรงเรียน และมื้อเย็นจะรับประทานอาหารที่บ้าน เด็กเข้ารับบริการด้านสุขภาพที่ รพ.สต. มะนังดาลำ� โดยใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือทุนการศึกษาบางส่วน และซะกาตจาก ชุมชน แต่ทั้งนี้ เด็กบางคนมีปัญหาเรื่องการศึกษา การขาดเรียนและผลการเรียนตกตํ่า เมื่อจบชั้นมัธยม ต้นแล้วไม่ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น วิธีการดำ�เนินงาน 1. จัดเวทีประชาคม เพื่อสะท้อนข้อมูลสถานการณ์เด็ก กำ�พร้าและเด็กด้อยโอกาสในชุมชน และจัดลำ�ดับความสำ�คัญ ของปัญหา เพื่อจัดทำ�โครงการ 2. ร่วมคิดและเสนอแผนงานโครงการร่วมกับคณะทำ�งาน ชุมชน เสนอต่อโครงการบัณฑิตอาสาและสงขลาฟอรั่ม 3. ประชุมชี้แจงโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็ก กำ�พร้าและเด็กด้อยโอกาสตำ�บลมะนังดาลำ� 4. การดำ�เนินงานกับเด็กและเยาวชน โดยผ่านกิจกรรม รู้จักฉัน รู้จักเธอ อยู่อย่างสร้างสรรค์ กีฬาสานสัมพันธ์ จิตอาสา บำ�เพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน 5. การจัดตั้งคณะกรรมการดูแลเด็กกำ�พร้าและเด็กด้อย โอกาสในตำ�บลมะนังดาลำ� ผลที่เกิดขึ้น การดำ�เนินโครงการเกิดกลุ่มแกนนำ�จิตอาสา จำ�นวน 5 คน ที่มีส่วนร่วมวางแผนและทำ�กิจกรรม กับเด็กกำ�พร้าในชุมชน และมีเด็กและเยาวชนร่วมทำ�กิจกรรม จำ�นวน 40 คน เกิดกลไกการทำ�งาน ของชุมชน คือ คณะกรรมการเด็กกำ�พร้าและเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ตำ�บลมะนังดาลำ� จำ�นวน 13 คน ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำ�บลเป็นประธาน กำ�นันเป็นรองประธาน ตัวแทนจากผู้นำ� ศาสนา ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนผู้นำ�ชุมชน และตัวแทนเยาวชนที่เป็นเด็กกำ�พร้า มีบทบาทในการ ประสานงานและจัดการดูแลเด็กกำ�พร้าและเด็กด้อยโอกาสให้ทั่วถึง เพื่อการขับเคลื่อนงานให้มีความ ต่อเนื่องต่อไป


เรียนรู้ร่วมกัน สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ แก่เด็กและเยาวชน ชุมชนกะลูแป นางสาวซะรียะห์ อาแวกะจิ บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 ผศ.ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา ที่ปรึกษาโครงการ กะลูแป เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท อยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประมาน 3 กิโลเมตร มีครัวเรือนทั้งหมด 112 ครัวเรือน ประชากรจำ�นวน 800 คน จำ�นวนเด็กและเยาวชนอายุตั้งแต่ 4-24 ปี จำ�นวน 116 จากการศึกษาสถานการณ์ของเด็กและเยาวชน ช่วงอายุ 4-15 ปี จำ�นวน 30 คน แบ่งเป็น เพศ ชาย 10 คน หญิง 20 คน ผ่านการสัมภาษณ์ผู้ปกครองของเด็กและเยาวชน และถือโอกาสสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง พบว่า เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด จำ�นวน 16 คน ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด 14 คน ข้อสรุปที่ได้จากเวทีประชาคมทำ�ให้เกิดการจัดให้มี พื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน เช่น การนันทนาการ การแสดงออกทางความคิด การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน และพื้นที่ปลอดภัยสำ�หรับเด็กและเยาวชน

วิธีการดำ�เนินงาน 1. ออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลเด็กและเยาวชน เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ทราบประเด็นปัญหาของ เด็ก ความสามารถ ความสนใจของเด็กและผู้ปกครอง 2. จัดเวทีประชาคม (คืนข้อมูล) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนสถานการณ์ชุมชน และจัดลำ�ดับ ความสำ�คัญของปัญหาเพื่อจัดทำ�โครงการ เสนอแนวคิดการดำ�เนินกิจกรรมโครงการแบบมีส่วนร่วม 3. จัดเวทีชี้แจงโครงการ 4. ดำ�เนินการกิจกรรมโครงการร่วมกับเยาวชนจิตอาสา ได้แก่ กิจกรรมสานสัมพันธ์กีฬาพื้นบ้าน กิจกรรมวัยคิด วัยสร้างสรรค์ กิจกรรมศึกษาป่าชายเลน กิจกรรมศึกษาเกษตรพอเพียง และกิจกรรมสร้าง ความสุขยั่งยืนบนวิถีชีวิตพอเพียง

ผลที่เกิดขึ้น จากที่ชุมชนไม่เคยมีการรวมกลุ่มของเด็ก ได้มีการรวมกลุ่มทำ�กิจกรรมร่วมกัน 30 คน ภายใต้ ‘กลุ่ม เยาวชนกะลูแปหัวใจเดียวกัน’ เกิดแกนนำ�เยาวชนจิตอาสาจำ�นวน 5 คน ที่สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริม พื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเด็กๆ เยาวชนมีความตั้งใจ มีความกระตือรือร้นและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงชุมชน ต่อไป ขณะเดียวกันแกนนำ�เยาวชนเหล่านี้ยังได้รวมกลุ่มขอทุนสนับสนุนจากสงขลาฟอรั่ม เพื่อพัฒนา ตนเอง สร้างกิจกรรมสร้างสรรค์กับน้องเยาวชนหัวใจเดียวกัน ติดต่อชุมชนได้ที่เบอร์โทรศัพท์ : 086-2917331 นางสาวรุสณี สะอะ เยาวชนจิตอาสา สามารถติดตามเฟสบุคกลุ่มได้ที่ : ชุมชนกะลูแปหัวใจเดียวกัน


อนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้าน อาหารเป็นยา

บ้านศาลาแม็ง ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา จ.พัทลุง

นายหร้อหวาน วัชรจิรโสภณ ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์ ที่ปรึกษาโครงการ

ศาลาแม็ง เป็นชุมชนเล็กๆ ที่ล้อมรอบด้วยหุบเขา มีลำ�ธารที่ไหลผ่าน คนในชุมชนนับถือศาสนาอิสลาม เป็นชุมชนเกษตรกร มีวิถีชีวิตแบบชนบท มีครูภูมิปัญญา คือ นายหร้อหวาน วัชรจิรโสภณ หรือ ปะหร้อ หวาน ซึ่งเป็นปราชญ์ด้านสมุนไพรไทย โดยมุ่งหวังให้คนในชุมชนได้มีสุขภาพดีด้วยสมุนไพรและผักพื้นบ้าน หารือกันก่อน ชุมชนได้จัดเวทีประชาคมเพื่อวางแผนงานพัฒนาโครงการ “อนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้าน อาหารเป็นยา บ้านศาลาแม็ง” คนในชุมชนต้องการดำ�เนินงานใน 2 ประเด็น คือ ฟื้นฟูพันธุ์พืชพื้นบ้าน และ ส่งเสริมการนำ�ผักพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ฟื้นฟู อนุรักษ์ให้อยู่คู่ชุมชน กิจกรรมการปลูกพันธุ์ไม้พื้นบ้านบริเวณสองข้างถนนในชุมชน สร้างความ สนใจให้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี มีข้อตกลงว่าทุกคนในชุมชนสามารถมาเก็บพืชผักกินได้ กิจกรรมที่สอง คือการปลูกในพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นสวนป่าสมุนไพรให้อยู่คู่ลูกหลาน อาหารเป็นยา...เมนูชุมชน กิจกรรมการแลกแปลี่ยนเรียนรู้ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรค อ้วน ได้ค้นพบว่าชาวบ้านไม่มีความรู้ในโรคที่เป็น ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุเพราะอะไร จึงวางแผนที่จะ เพิ่มเติมความรู้โดยการประชุมกลุ่มโรค มีการตรวจสุขภาพเบื้องต้นเพื่อติดตามกลุ่มตัวอย่าง เช่น โรคความ ดันโลหิตสูงมีความดันโลหิตสูง พบ 7 คน ใน 14 คน จึงได้แนะนำ�ผักพื้นบ้าน และการลดรับประทานอาหาร รสเค็มจัดและผงชูรส เป็นต้น กิจกรรมเมนูสุขภาพ มีตัวแทนกลุ่มโรคและเยาวชนเข้าร่วมทั้งสิ้น 33 คน นายหร้อหวานให้ความรู้กับ ผู้เข้าร่วม เช่น กลุ่มเบาหวาน : แกงเลียง มานั้น ใส่ ตำ�ลึง สรรพคุณ ลดเบา หวานได้ / ฟักทอง ลดนํ้าตาลในเลือด ควบคุมนํ้าหนัก กลุ่มโรคอ้วน : แกงขี้เหล็ก ลดความดัน บำ�รุงโลหิต และเป็นยา ระบายอ่อนๆ กลุ่มความดัน : ต้มไก่กับฟักช่วย ขับเสมหะ แก้ไอ / นํ้าพริก มะอึก แก้เสมหะ แก้ไอ ดับพิษร้อนภายใน สำ�หรับข้าวสังข์หยัดมี กากใยอาหารสูง จึงมีประโยชน์ในการชะลอความแก่ ทำ�ให้ผู้เข้าร่วม ได้รู้และทราบสรรพคุณของผักพื้นบ้าน กิจกรรมเรียนรู้จากคลิปวิดิโอ รายการอาหารทานโรค ในหัวข้อความดันโลหิต กับอาหารธรรมชาติ เพื่อสุขภาพ กิจกรรมการเปิดคลิปวิโอ ผู้เข้าร่วมมีความสนใจ เพราะเป็นการบรรยายด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้าใจได้ง่าย ทำ�ให้ผู้เข้าร่วมได้รู้จักผักและสมุนไพรที่มีประยชน์ต่อการดูแลสุขภาพมากขึ้น นอกจาก นั้นการปรุงที่ถูกวิธี ไม่เค็ม ไม่ปรุงแต่งรส การทำ�สมาธิและการออกกำ�ลังกาย ก็จะช่วยดูแลให้สุขภาพดีขึ้น เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลง กระบวนการกลุ่มทำ�ให้ลดช่องว่างของการดูแลสุขภาพ “เมื่อรู้ ว่าไม่รู้” ทางทีมงานจึงพยายามเติมเต็ม ความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมอย่างเต็มที่ มุ่งหวังให้เกิดสุขภาพที่ดี เพื่อให้พันธุกรรมพืชกลับมาสู่ชุมชนบ้านศาลา แม็งตามเดิม ลดสารปนเปื้อนจากสารเคมีในอาหาร


การจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนบ้านหัวหิน ตำ�บลละงู อำ�เภอละงู จังหวัดสตูล

นางสาวไซนะ นาแว บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 ผศ. ดร. เก็ตถวา บุญปราการ ที่ปรึกษาโครงการ

บ้านหัวหิน เป็นหมู่บ้านติดทะเลอันดามัน ลักษณะพื้นที่เป็นหาดทรายทอดยาว มีจุดเด่นด้านทรัพยากร ที่อุดมสมบูรณ์ วิถีชีวิตที่ผูกพันกับทะเล มีกลุ่มกิจกรรมที่คอยขับเคลื่อนชุมชน นอกจากนี้ยังมีเกาะลิดีที่อยู่ ห่างจากชุมชนเพียง 5 กิโลเมตร เหมาะแก่การเรียนรู้และท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ประกอบกับมีคนใน ชุมชนกลุ่มหนึ่งมีความสนใจด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน แต่ยังขาดการจัดการและพัฒนาข้อมูลแหล่งเรียน รู้และการท่องเที่ยว บัณฑิตอาสาและแกนนำ�ชุมชนจึงร่วมคิดและดำ�เนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ 1. จัดทำ�แผนที่เดินดินแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อ ระดมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 2. ลงสำ�รวจข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ทำ�ความเข้าใจเรื่องราวจุดท่องเที่ยว แต่ละจุด และจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับแหล่งท่องเที่ยว แต่ละจุด 3. นำ�เสนอของดีในชุมชน เพื่อตรวจสอบข้อมูลและ ให้มีการแบ่งหน้าที่ทำ�งานร่วมกัน 4. วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำ�ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา มาวิเคราะห์หารูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับแหล่งท่อง เที่ยวของชุมชนเพื่อออกแบบกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยว ค้นพบสิ่งที่น่าสนใจ และสามารถจัดการท่องเที่ยวได้ 3 รูปแบบ โดยแบบแรกคือ > การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และชื่นชมธรรมชาติ มีสถานที่สำ�คัญคือเกาะลิดี สามารถเรียนรู้ระบบนิเวศ ป่าชายเลน แหล่งฟอสซิลชนิดฟองนํ้า มีอายุประมาณ 299 ล้านปี ถํ้ารังนกนางแอ่น การดำ�นํ้าดูปะการังนํ้า ตื้น ดอกไม้ทะเล หญ้าทะเล > การท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตและวัฒนธรรม เรียนรู้การทำ�อาชีพประมงพื้นบ้าน วิธีการหาหอย ซึ่งมี หลากหลายชนิด โดยเฉพาะหอยหลอด เป็นที่นิยมของชุมชน นอกจากนี้ยังมีอาหารพื้นบ้านที่มีรสชาติอร่อย และปลอดภัย > การท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ กลุ่มออมทรัพย์ที่สามารถดำ�เนินงานมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี และ เป็นฐานสำ�คัญของการพัฒนาชุมชนบ้านหัวหิน


สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยสู่ชีวิตสดใส มัสยิดสามัคคีธรรม ชุมชน กม.32 หมู่ 2 ตำ�บลอัยเยอร์เวง อำ�เภอเบตง จังหวัดยะลา

น.ส. นาดียะห์ สะมะแอเจ๊มะ บัณฑิตอาสา ม.อ. รุ่นที่ 11 ผศ. ณชพงศ จันจุฬา ที่ปรึกษาโครงการ ชุมชน กม . 32 หมู่ 2 ตำ�บลอัยเยอร์เวง อำ�เภอเบตง จังหวัดยะลา มีประชากรทั้งหมด 1,464 คน ผู้ สูงอายุมีจำ�นวนทั้งหมด 146 คน คิดเป็นร้อยละ 10 % ประชากรกรกลุ่มสูงอายุมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากความเหงาที่ต้องอยู่คนเดียวและอายุที่มากขึ้นมีความเสี่ยงต่อสุขภาพทางจิต และจากแบบประเมินผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำ�วัน (Barthel Activities of Daily Livin : ADL) จำ�นวน 50 คน พบว่ากลุ่มติดสังคม 47 % กลุ่มติดบ้าน 31 % และกลุ่มติดเตียง 22 % ซึ่งกลุ่มติดเตียงและติดบ้านส่งผลกระทบต่อครอบครัว และปัญหาการสื่อสาร ที่ไม่ตรงกันกับผู้ดูแล ไม่เข้าใจถึงความต้องการหรืออารมณ์ของผู้สูงอายุ ทำ�ให้ผู้ดูแลและผู้สูงอายุเกิดปัญหา สุขภาพจิตได้ง่าย จากการคัดกรองค่าความดันจำ�นวน 50 คน จำ�แนกกลุ่มที่คัดกรองตามแนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ผลปรากฏว่ามีผู้สูงอายุกลุ่มป่วย 44 % กลุ่มปกติ 31 % กลุ่มเสี่ยง 23 % กลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน 2 % สาเหตุของกลุ่มป่วยมากที่สุดสืบเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ไม่มีการออกกำ�ลัง กาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เมื่อชุมชนรับทราบก็ไม่นิ่งดูดาย เริ่มประสานงานทุกส่วนกับองค์กรที่เป็น ทางการ และไม่เป็นทางการเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมศักยภาพให้บุคคลรับรู้ สมรรถนะแห่งตน และรู้สึกสนุกต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ วิธีการดำ�เนินงาน 1. ร่วมกันทำ�เวทีประชาคม แสดงความคิดเห็นความต้องการของ ชุมชนเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เพื่อค้นหาแนวทางกิจกรรมและการพัฒนา โครงการ 2. ร่วมคิดและพัฒนาโครงการ และเสนอผลงานร่วมกับชุมชน 3. ประชุมชี้แจงโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยสู่ชีวิตสดใส ให้ ทราบกิจกรรมของโครงการฯ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบงาน 4. การดำ�เนินการจัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพตนเองของผู้ สูงอายุ ให้ความรู้ผู้ดูแลเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุด้านสภาพจิตใจ ส่ง เสริมผู้สูงอายุด้านการออกกำ�ลังกาย และกิจกรรม Bike for you ปั่น เพื่อเยี่ยมผู้สูงอายุ 5. จัดตั้งกลุ่มอาสาปั่นเพื่อเยี่ยมผู้สูงอายุ เดือนละ 2 ครั้ง ในชุมชน กม. 32 ตำ�บลอัยเยอร์เวง อำ�เภอเบตง จังหวัดยะลา ผลที่เกิดขึ้น จากการดำ�เนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยสู่ชีวิตสดใส ร่วมกับกรรมการมัสยิดสามัคคีธรรม และ หน่วยงาน รพ. สต. ทำ�ให้ทุกฝ่ายให้ความสำ�คัญ จัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ ทำ�ให้ผู้สูงอายุในชุมชน 30 คน ได้มาเจอกันผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้เห็นรอยยิ้มของผู้สูงอายุมาพบเจอกับเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันมานาน ผู้สูงอายุ รู้ถึงวิธีการดูแลสุขภาพของตนเอง และเกิดกลุ่มอาสาปั่นเพื่อเยี่ยมผู้สูงอายุ โดยจัดตั้งเป็นชมรมปั่นจักรยาน มัสยิดสามัคคีธรรม จัดให้มีการเยี่ยมผู้สูงอายุเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อเยี่ยมเยียนให้กำ�ลังใจ รับรู้ปัญหา ความ ต้องการ นำ�มาสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผู้ดูแลมีความเข้าใจสภาพร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุมากขึ้น ชุมชนมีความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.