Healing under fire (เยียวยาในไฟใต้)

Page 1



ตรังกานู

เยียวยาในไฟใต้

วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ Louisa Chan Boegli สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

มูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) และ the Rugiagli Initiative (tRI) • บุคคลทั่วไปอาจผลิตซ�้ำเนื้อหาใด ๆ ของหนังสือเล่มนี้ได้ แต่ขอให้จัดกิตติกรรมประกาศอย่างเหมาะสม • ตัวอย่างการอ้างอิงในบรรณานุกรม: มูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) และ the Rugiagli Initiative (tRI) เยียวยาในไฟใต้ พ.ศ. 2558 ISBN: 978-616-92204-1-1


สารบัญ ค�ำน�ำ สุรินทร์ พิศสุวรรณ ค�ำนิยม ประเวศ วะสี ปฐมบท

4 6 8

บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บทที่ 4 บทที่ 5

บทน�ำ

12

ชายแดนใต้: จะว่าสงครามก็ไม่ใช่ สันติกไ็ ม่เชิง? วิถขี องการคลีค่ ลายความขัดแย้งอย่างสันติ

20

กระบวนการสันติภาพของวิชาชีพสุขภาพท่ามกลางไฟใต้

30

ระบาดวิทยาของความรุนแรงในเขตไฟใต้

47

บทที่ 6 บทที่ 7 บทที่ 8 บทที่ 9

การปรับตัวรับความท้าทายและหลีกเลี่ยงการเลือกข้าง

56

เริ่มต้นจากความไม่พร้อม จนถึงการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

66

สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข กับการรังสรรค์สันติภาพ

75

การเสริมสร้างสมรรถนะเพื่อการท�ำงานด้านสุขภาพและสันติภาพ: ความร่วมมือในภาคใต้ของประเทศไทย

78

ศานติ-สุขภาพศึกษาส�ำหรับวิชาชีพทางการแพทย์

91

กฎหมายสิทธิมนุษยชนในบริบทภาคใต้ของประเทศไทย: ผลกระทบต่อบุคลากรด้านสาธารณสุข

99

บทที่ 10 บทที่ 11 บทที่ 12 บทที่ 13

Louisa Chan Boegli สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ Norbert Ropers

วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์, เมตตา กูนิง, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย และ วัลภา ฐาน์กาญจน์

สถิติสาธารณสุขที่ส�ำคัญในพื้นที่ไฟใต้

รอฮานิ เจะอาแซ และ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

เมตตา กูนิง, มายือนิง อิสอ, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย และ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และ วิทู พฤกษนันท์

เพชรดาว โต๊ะมีนา

อนันต์ชัย ไทยประทาน

Gabriella Arcadu, Louisa Chan Boegli, Urs Boegli วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ และ สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

Klaus Melf และ พรรณทิพย์ ฉายากุล

ไพสิฐ ภูษิตตระกูล

38

เมือ่ การแพทย์เพียงล�ำพังเป็นสิง่ ทีไ่ ม่เพียงพอ: หลักการเบือ้ งต้นของการต่อรองส�ำหรับแพทย์

108

การจัดการความคลางแคลง และการสร้างความเชื่อใจ

115

Kimberlyn Leary Urs Boegli

กิตติก รรมประกาศ เกี่ยวกับผู้เขียน

124 126


ค�ำน�ำ สื่อมวลชนนานาชาติมักไม่ค่อยสนใจ และยังมีความเข้าใจน้อยมาก ในเรื่องความขัดแย้ง ในชายแดนใต้ ซึ่งยาวนานมาหลายทศวรรษและมีความขัดแย้งหลายมิติ อย่างไรก็ตามองค์ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ก�ำลังเพิ่มพูนขึ้นจากผลงานของนักวิชาการทั้งไทยและต่างชาติ และผลงานเหล่านี้ ก�ำลังได้รับการตรวจสอบอย่างกว้างขวางและเข้มข้น

ความขัดแย้งในชายแดนใต้มิใช่เป็นปัญหาเล็กน้อย แต่ได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 6,000 คน และท�ำให้คนอีกนับพัน ๆ คนต้องขวัญผวา หรือกลายเป็นคนพิการ หลายพันคนจ�ำต้องย้ายถิ่นฐาน ไปอยู่ที่อื่น เนื่องจากสถานการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างเป็นเอกเทศภายในประเทศ โดยมีความเกี่ยวโยงกับ ภายนอกน้อยมาก จึงนับเป็นโอกาสที่ประชาชนจากทุกหมู่เหล่าที่มีความปรารถนาดีจะได้ร่วม มือกันแก้ไขปัญหาอย่างสันติด้วยบทบาทเชิงรุกที่มีมโนธรรม การปล่อยให้การแก้ปัญหานี้เนิ่นช้า ออกไปย่อมท�ำให้ความแตกแยกขยายตัวรุนแรงยิ่งขึ้น และยังเชื้อเชิญให้บุคคลหรือองค์กรภายนอก เข้ามาก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นอีกด้วย นับเป็นเรือ่ งทีน่ า่ ยินดีอย่างยิง่ ทีไ่ ด้เห็นกลุม่ นักวิชาชีพทางการแพทย์ในภาคใต้ลงมือแก้ปญ ั หา นี้อย่างจริงจัง ด้วยความเห็นอกเห็นใจ และให้ความเข้าใจต่อคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายในชายแดนใต้ ซึ่ง ได้แก่พี่น้องชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูและชุมชนไทยพุทธ บุคลากรทางการแพทย์กลุ่มนี้ ซึ่งมีทั้งชาว พุทธและมุสลิมเป็นนักวิชาชีพทีไ่ ด้รบั ความไว้วางใจอย่างสูงสุด พวกเขาได้ยอมเสีย่ งชีวติ ของตนออก ไปท�ำงานในแนวหน้าของความขัดแย้ง ด้วยตระหนักว่านักวิชาชีพอย่างพวกเขานั้นควรต้องด�ำเนิน ชีวิตไปตามครรลองของบทบัญญัติที่ว่าจะ ‘ไม่ก่อโทษ’ (Do No Harm) จนท�ำให้สามารถชนะใจ ชาวบ้านในท้องถิ่นได้ สิ่งที่กล่าวมานี้นับเป็นทรัพย์สินอันมีค่า และเป็น ‘ต้นทุนทางสังคม’ ที่อาจน�ำไปใช้ประโยชน์ เพื่อวัตถุประสงค์ที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นในสังคมของเรา ความนิยมชมชอบและมิตรไมตรีของประชาชนที่ มีตอ่ พวกเขา อันหมายถึงความไว้วางใจทีป่ ระชาชนมีให้แก่บคุ ลากรทางการแพทย์ และความนับถือ ทีพ่ วกเขามีให้แก่แพทย์และพยาบาลผูซ้ งึ่ แสดงออกให้เห็นถึงความเสียสละอย่างปราศจากความเห็น แก่ตัว สิ่งเหล่านี้นับเป็นรากฐานอันแข็งแกร่งต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งได้อย่างสันติและยั่งยืน

4


เป็นที่ประจักษ์กันมาแล้วโดยชุมชนโลกว่า ทุกความขัดแย้งที่มีความรุนแรงยังมีพื้นที่ให้แก่ บุคลากรทางการแพทย์เสมอ เพื่อแสวงหาข้อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ไม่ว่าความขัดแย้งนั้นจะยุ่งยาก เพียงใด เกิดขึ้นมาแล้วยาวนานเพียงใด หรือหยั่งรากลงลึกไปแล้วเพียงใดก็ตามแต่ เป็นสิ่งที่น่า ปลื้มปีติที่แพทย์และพยาบาลจากมหาวิทยาลัยในภาคใต้ จากโรงพยาบาลในจังหวัด และจากคลินิก ในท้องถิ่น ได้มีบทบาทในการพัฒนาประเทศ และการสร้างความสมานฉันท์ในชุมชนเป็นระยะเวลา ไม่นอ้ ยมาแล้ว พวกเขาเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลีย่ นแปลง เป็นผู้สนับสนุนการพัฒนา ซึง่ รวมทุกกลุม่ ชนเข้ามาและก่อให้เกิดความเสมอภาคยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งช่วยก่อตั้งกลุ่มแนวร่วมขึ้นเพื่อผลักดัน นโยบายที่ดี รวมทั้งร่วมสร้างสังคมไทยที่มีสันติภาพและเป็นธรรมให้เกิดขึ้น ด้วยวิสยั ทัศน์ทมี่ องเห็นถึงประโยชน์ของการแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ บั นักวิชาชีพทีม่ คี วามคิดไปใน แนวทางเดียวกันจากทัว่ โลก บุคลากรทางการแพทย์ในภาคใต้จงึ ได้ตดิ ต่อและร่วมมือกับผูเ้ ชีย่ วชาญ จากต่างชาติ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความส�ำเร็จและความล้มเหลวของพวกเขา จากแนวปฏิบัติที่เป็น เลิศ และจากรูปแบบของการท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพในฐานะ ‘ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง’ เพื่อ สังคมไทยที่ดีขึ้น เยียวยาในไฟใต้ – เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวและเรื่องเล่าเกี่ยวกับบทบาทอันน่ายกย่อง ของนักวิชาชีพด้านสุขภาพในภาคใต้ของประเทศไทย พวกเขาได้แสวงหาหนทางเยียวยาบาดแผล ในบริบทอันกว้างใหญ่ของสังคมไทย โดยมิได้สนใจแค่เพียงแต่บาดแผลทางกายภาพเท่านั้น โดยที่กล่าวมานี้ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเรื่องราววีรกรรมของผู้กล้าหาญที่ควรได้รับความสนใจ จากทุกท่าน และมิใช่เป็นเพียงแค่เพื่อการรับรองคุณค่าของความเสียสละโดยปราศจากประโยชน์ ส่วนตนของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังเป็นการชื่นชมวัตถุประสงค์ที่ยิ่งใหญ่และน่ายกย่องยิ่งกว่านั้น ที่ พวกเขาต้องการแบ่งปันเรื่องราวต่อผู้อื่น ว่ากลุ่มผู้เสียสละกลุ่มหนึ่ง ผู้‘ไม่ก่อโทษ’ แต่มีกุศลจิตแก่ ทุกผูท้ กุ นาม ได้กอ่ ผลประโยชน์อนั มีความหมายยิง่ ในการแสวงหาข้อแก้ปญ ั หาอย่างยัง่ ยืนต่อปัญหา อันเจ็บปวดและมีราคาแพงในภาคใต้ของประเทศไทย

สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) นครศรีธรรมราช 5


ค�ำนิยม การเยียวยาท่ามกลางไฟ กรณีศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้

ยุคปัจจุบนั ยังเต็มไปด้วยความรุนแรงอย่างโจ่งแจ้ง และอย่างเงียบ (silent violence) การ

สร้างสันติภาพจึงเป็นอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ การทีส่ ามจังหวัดชายแดนใต้ ซึง่ เป็นทีอ่ ยูข่ องคน มุสลิมมลายูภายในราชอาณาจักรไทย มีความขัดแย้งเรื้อรังเชิงประวัติศาสตร์ต่อเนื่องยาวนาน และ ระเบิดเป็นความรุนแรงที่ท�ำลายชีวิตพลเมืองผู้บริสุทธิ์ไปหลายพันคน รวมทั้งที่บาดเจ็บอีกนับเป็น จ�ำนวนหมื่น ซึ่งมีความพยายามหลายประการที่จะคลี่คลายความขัดแย้งเหล่านั้น แต่ยังไม่ส�ำเร็จ หนึง่ ในความพยายามนัน้ คือ กลุม่ คนทีร่ วมตัวกันตัง้ มูลนิธเิ พือ่ การเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ ชายแดนใต้ (มยส.) หรือ The Deep South Relief and Reconciliation Foundation (DSRR) โดยเริม่ แรกมีศาสตราจารย์นายแพทย์ธาดา ยิบอินซอย เป็นประธาน และสืบต่อมาโดยศาสตราจารย์ นายแพทย์วรี ะศักดิ์ จงสูว่ วิ ฒ ั น์วงศ์ เป็นประธานมูลนิธฯิ คนปัจจุบนั มูลนิธฯิ นีป้ ระกอบด้วยบุคคลที่ มีความเชื่อร่วมกันว่า การเยียวยาโดยไม่เลือกขั้วเลือกข้าง แต่ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ จะน�ำ ไปสู่การเยียวยาจิตใจและสังคม จึงได้ด�ำเนินการมูลนิธิฯ ตามปณิธานนี้ ในยุโรปได้มกี ลุม่ คนทีร่ วมตัวกันเรียกว่า the Rugiagli Initiative (tRI) จากความเชือ่ ทีว่ า่ แพทย์ ทีท่ ำ� งานอยูใ่ นพืน้ ทีท่ มี่ คี วามขัดแย้งรุนแรงนัน้ ย่อมมีศกั ยภาพทีจ่ ะสร้างสันติภาพเพราะบริการทางการ แพทย์อันเป็นงานเชิงมนุษยธรรมที่เข้าถึงทุกฝ่ายท่ามกลางความรุนแรง เมื่อแพทย์และบุคลากร ทางสาธารณสุขที่ท�ำงานในพื้นที่ของความขัดแย้งนั้นมีความเข้าใจเรื่องกระบวนการสันติภาพ เรื่อง สุขภาพ-สันติภาพก็นา่ จะประกบคูก่ นั ไป กลุม่ tRI จึงแสวงหาพืน้ ทีท่ ที่ ำ� งานสนับสนุนตามสมมติฐาน ข้างต้น และพบว่าพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นที่น่าสนใจ ประกอบกับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ทำ� งานให้บริการเชิง มนุษยธรรมโดยไม่เลือกข้างอยู่แล้ว อย่างเสียสละ อดทน และกล้าหาญ โดยหวังว่าการเยียวยาด้วย หัวใจของความเป็นมนุษย์นนั้ จะช่วยเยียวยาจิตใจและสังคมทีบ่ าดเจ็บได้ในทีส่ ดุ ซึง่ นายแพทย์สภุ ทั ร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลชุมชนที่อ�ำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นตัวแทนแห่งความ มุ่งมั่นของเครือข่ายบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนใต้ได้เป็นอย่างดี และนายแพทย์สุภัทร ยังเป็นเลขานุการมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.)

6


หนังสือเล่มนี้เกิดจากการประชุมร่วมกันของ มยส.และ tRI ที่จังหวัดกระบี่เมื่อปลายปี พ.ศ. 2556 ได้รบั การสนับสนุนจัดพิมพ์จากสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ การประชุมคราวนีน้ ำ� เอาความรูค้ วาม คิดทางสากลเข้ามาแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ บั ประสบการณ์จริงจากการท�ำงานในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนใต้ ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข การเรียนรูร้ ว่ มกันในทางปฏิบตั ิ (Interactive learning through action) ถือเป็นเครื่องมือส�ำคัญที่สุดที่จะฝ่าความยากใด ๆ ไปได้ในที่สุด โดยที่เห็นว่าเรื่องสุขภาพกับสันติภาพน่าจะเป็นคู่แฝดกัน จึงได้มีข้อเสนอว่าในแพทยศาสตร์ ศึกษา น่าจะมีหลักสูตรที่เกี่ยวกับสันติภาพและการสร้างทักษะในการเจรจาเพื่อสันติภาพ เรื่องนี้ ยังรอพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติ ถ้าท�ำได้คงจะไม่ได้มีผลเฉพาะต่อการลดความขัดแย้งในพื้นที่เท่านั้น แต่จะมีประโยชน์ในเวชปฏิบตั อิ กี ด้วย เพราะสันติภาพเป็นเรือ่ งของสัมพันธภาพด้วยความเสมอภาค และการเคารพความเป็นมนุษย์ของกันและกัน แพทย์จะเป็นกัลยาณมิตรต่อทุกฝ่ายมากขึ้น ผมมีความชื่นชม ที่มีผู้มีหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์ทั้งในพื้นที่และในนานาชาติ ที่เข้ามาเรียนรู้ ร่วมกันในการปฏิบัติ โดยผมเชื่อว่า ในที่สุดความดีที่มนุษย์มีต่อกัน และมีปัญญาร่วมกัน จะน�ำไป สู่การเยียวยาโลกและสร้างยุคสมัยแห่งสันติภาพเกิดขึ้นได้ ความพยายามอันสูงส่งเช่นนี้จะเป็น ความงามที่ประดับไว้ในแผ่นดิน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี นักวิชาการด้านสาธารณสุขและราษฎรอาวุโส ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

7


ปฐมบท จากใจของกองบรรณาธิการและ นักเขียนฝ่ายไทยถึงผู้อ่านที่เป็นคนไทย หนังสือเล่มนี้มีเบื้องหลังที่มาอย่างไร

กลางปี พ.ศ. 2556 คุณ Louisa Chan Boegli และคณะของ the Rugiagli Initiative หรือ tRI มาชักชวนเครือข่ายของเราร่วมกันจัดประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารเรือ่ งบทบาทของฝ่ายสาธารณสุขในการสร้าง สันติภาพพืน้ ทีไ่ ฟใต้ โดยได้ชกั ชวนวิทยากรนานาชาติมาร่วมให้ความรูแ้ ละแนวคิด พอจัดเสร็จ เธอกับ สถานทูตสวิสก็ชวนพวกเราท�ำหนังสือเล่มนีโ้ ดยมีนกั เขียนหลักคือ คณะผูจ้ ดั ประชุมและวิทยากร และมี นักเขียนเสริมจากภายนอกอีกเล็กน้อย ทุกคนมองเห็นว่าหนังสือเล่มนีเ้ มือ่ เผยแพร่ออกไปก็จะเป็นตัวอย่าง ให้แก่นานาชาติในเรือ่ งการใช้ศกั ยภาพของวงการสาธารณสุขในการลดปัญหาความขัดแย้งในพืน้ ทีซ่ งึ่ มี ความรุนแรง พวกเราเห็นด้วย และเสนอให้ทำ� หนังสือทีแ่ ปลเป็นภาษาไทย นอกเหนือจากฉบับนานาชาติ อย่างไรก็ตาม หนังสือฉบับนานาชาติยอ่ มมีนกั เขียนและกองบรรณาธิการนานาชาติ ทิศทางของ หนังสืออาจจะไม่ได้เน้นด้านคนไทยมากพอ ทางบรรณาธิการฝ่ายไทยจึงเขียนปฐมบทนี้ ให้คนไทยอ่านโดย เฉพาะ ส่วนเนือ้ หาในบทอืน่ ๆ ยังคงสอดคล้องกับฉบับนานาชาติอยูเ่ กือบทัง้ หมด

ท�ำไมต้องให้คนต่างชาติมายุง่ ด้วย

ประการแรกทีอ่ าจมีปญั หา คือ ท�ำไมเรือ่ งของคนไทยจึงไม่ให้คนไทยด�ำเนินการกันเอง ต้องให้ตา่ ง ชาติเข้ามายุง่ ด้วย มีผลประโยชน์อะไรแอบแฝงหรือเปล่า ค�ำตอบก็คอื เรือ่ งไฟใต้เป็นเรือ่ งของพืน้ ทีภ่ าคใต้ ทีส่ ง่ ผลกระทบต่อประเทศไทยโดยรวม ถ้าถามว่าใครมีหน้าทีก่ ต็ อ้ งถามต่อไปว่าใครเป็นคนก�ำหนดหน้าที่ เหล่านัน้ ประเทศไทยต้องก�ำหนดว่าเป็นคนไทยต้องรักษาดินแดนไทย ส่วนกลุม่ แบ่งแยกดินแดนอาจก�ำหนด ว่ามีหน้าทีท่ จี่ ะต้องแยกดินแดนออกไปหรือลดอิทธิพลของไทย ส�ำหรับพวกเราซึง่ อยูใ่ นพืน้ ที่ เราเป็นคนไทย ส่วนใหญ่กเ็ ป็นข้าราชการ มีหน้าทีด่ แู ลสุขภาพและวิชาการในพืน้ ทีใ่ ห้พฒ ั นา แต่เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ท�ำให้ เห็นว่าเรามี ‘น่าที’่ เพิม่ เติมทีจ่ ะต้องลดความรุนแรงและความสูญเสียในพืน้ ที่ น�ำสันติภาพกลับคืนมา โดยไม่ เชือ่ ว่าปัญหาจะแก้ได้ดว้ ยการใช้ความรุนแรงหักหาญ เพราะตลอดเวลาทีผ่ า่ นมานัน้ เห็นแต่ความสูญเสียของ ทัง้ สองฝ่าย นอกเหนือจากงานในหน้าทีร่ าชการแล้ว เราจึงท�ำ ‘น่าที’่ ช่วยเหลือเพือ่ นมนุษย์ในพืน้ ทีท่ งั้ สอง 8


ชาติพนั ธุบ์ รรเทาความเดือดร้อนจากความรุนแรงและหาทางบรรเทาอารมณ์ทรี่ นุ แรงไปพร้อม ๆ กัน โดย เชือ่ และยึดถือหลักปฏิบตั วิ า่ ความรุนแรงเหมือนผีปศิ าจ ชอบปฏิบตั กิ ารในความมืดในพืน้ ทีซ่ งึ่ จ�ำกัดด้วย ความไม่รไู้ ม่เข้าใจ การกีดกันรังเกียจเดียจฉันท์ และถือว่า ‘เป็นอาณาบริเวณในอธิปไตยของข้าใครอย่ามา เกีย่ ว’ ถ้าเมือ่ ไรพืน้ ทีส่ ว่างไสวไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ยอมรับความเท่าเทียมและความหลากหลาย เกิดการ มีสว่ นร่วมอย่างกว้างขวางแล้ว อิทธิพลของผีปศิ าจแห่งความรุนแรงก็จะลดลง การน�ำเรือ่ งในพืน้ ทีม่ าเล่า ให้คนไทยทัว่ ไปรับรูเ้ พือ่ ให้เกิดความเข้าใจและมีโลกทัศน์ทถี่ กู ต้องต่อเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ เป็น ‘น่าที’่ ทีพ่ วก เราควรท�ำ แต่ดกึ ด�ำบรรพ์ความรุนแรงเกิดขึน้ ทุกแห่งในโลกมนุษย์ยอ่ มเป็นธรรมดาโลก ถ้าเพือ่ นมนุษย์ทวั่ โลกได้เรียนรูเ้ ท่าทันความรุนแรงในแหล่งต่าง ๆ ซึง่ มีทงั้ เหมือนกันและต่างกัน การแก้ไขปัญหาความรุนแรง ก็จะรอบด้านและมีพลังขึน้ ความร่วมมือกับกลุม่ นานาชาติทสี่ ง่ เสริมให้ทมี งานสุขภาพเข้าร่วมลดความ ขัดแย้งในระดับรากหญ้า แลกเปลีย่ นกับประสบการณ์ตรงของระบบสาธารณสุขในไฟใต้ทไี่ ด้รว่ มเยียวยา พีน่ อ้ งต่างกลุม่ ต่างชาติพนั ธุ์ เป็นการเสริมความเข้มแข็งของกระบวนการสันติภาพโลก และของพืน้ ทีเ่ อง ผูอ้ า่ นหลายท่านอาจจะสงสัยว่าพวกเราเครือข่ายในพืน้ ทีม่ พี นื้ ฐานอะไร รวมตัวกันอย่างไร ค�ำตอบ บางส่วนอยูใ่ นบททีห่ นึง่ และบททีส่ อง แต่โดยสรุปแล้ว เราเป็นคนในพืน้ ทีท่ งั้ หมด เกาะกลุม่ กันแก้ปญั หา สุขภาพและวิชาการมาก่อนเหตุการณ์ไฟใต้ พืน้ ฐานหลักของเราอยูท่ มี่ หาวิทยาลัยและระบบสาธารณสุข แต่กม็ ผี คู้ นทีท่ ำ� งานจิตอาสา ทัง้ ได้รบั และไม่ได้รบั ค่าตอบแทนอยูใ่ นพืน้ ทีอ่ กี จ�ำนวนหนึง่ นอกจากนี้ ยังมี ผูค้ นเอาใจช่วยและสนับสนุนด้านต่าง ๆ ในระดับประเทศอีกจ�ำนวนหนึง่ กลุม่ ต่างชาติทรี่ ว่ มงานชุดนีม้ า ภายหลัง แต่ในช่วงของการจัดประชุมเตรียมหนังสือนี้ เราท�ำงานร่วมกันอย่างใกล้ชดิ ส่วนในอนาคตนัน้ อยูท่ จี่ ะร่วมมือกันท�ำอะไร การร่วมมือท�ำงานกับบุคลากรต่างชาติชดุ นีท้ ำ� ให้เราร่วมมือภายในกันเองมาก ขึน้ กว่าธรรมดาด้วย

หนังสือเล่มนีจ้ ะช่วยสร้างสันติภาพในพืน้ ทีไ่ ด้อย่างไร

ค�ำตอบมีอยูว่ า่ สันติภาพและความรุนแรงนัน้ มีพลังผลักดันหลักอยูท่ ใี่ จ สันติภาพไม่ได้จำ� กัดเฉพาะ การไม่มคี วามรุนแรง เหมือนสุขภาพไม่ได้จำ� กัดอยูท่ กี่ ารไม่มโี รค สันติภาพจะเข้มแข็งขึน้ เมือ่ บุคคลทุกฝ่าย มีขอ้ มูลและองค์ความรูด้ า้ นสันติภาพมากขึน้ เหมือนบุคคลจะมีสขุ ภาพดีขน้ึ เมือ่ เข้าใจกฎเกณฑ์ทางสุขภาพ ว่าจะสร้างความเข้มแข็งของร่างกาย สติปญั ญา และอารมณ์ความรูส้ กึ ได้อย่างไร ถ้าเราจัดท�ำหนังสือเล่ม นีไ้ ด้ดี ผูค้ นอ่านแล้วเข้าใจพืน้ ฐานความขัดแย้งในพืน้ ที่ มองเห็นปัญหาว่าพืน้ ทีม่ คี วามล้าหลังอยูแ่ ล้วโดย พืน้ ฐาน (ตัวอย่างด้านสถานะสุขภาพของประชากรในบทที่ 4 เข้าใจได้วา่ การปล่อยให้พนื้ ทีล่ า้ หลัง ไม่ได้รบั การพัฒนาความเข้มแข็งในอัตลักษณ์ของตนนัน้ เป็นปัจจัยน�ำไปสูค่ วามรุนแรง เราก็จะช่วยกันแก้ไขป้องกัน 9


ไม่ให้มคี วามเหลือ่ มล�ำ้ ทางสังคมในประเทศไทยและในภูมภิ าค ภูมภิ าคของเราก็จะเจริญรุดหน้า ต่อไปได้ ปัญหาจึงมีอยูว่ า่ คนไทยจะได้อา่ นหนังสือนีห้ รือ อ่านแล้วจะเห็นด้วยไหม คุณภาพของหนังสือนี้ ดีพอหรือยัง พวกเราทุกคนจึงขอน้อมรับค�ำติชมจากท่านผูอ้ า่ น เพือ่ พัฒนางานต่อไปในอนาคต

นอกจากแนวคิดด้านสร้างสันติภาพแล้ว หนังสือเล่มนีจ้ ะให้อะไรกับผูอ้ า่ นได้อกี อ่านแล้วจะ ต่างกับไม่ได้อา่ นอย่างไรบ้าง

ส�ำหรับผูเ้ ขียนฝ่ายไทยในพืน้ ที่ หนังสือถ่ายทอดประสบการณ์ตรงของนักวิชาการและนักสาธารณสุข จ�ำนวนมาก ตัวอย่างเช่น นอกจากผูอ้ า่ นส่วนหนึง่ จะมีความสงสัยว่าหมอชาวพุทธหลายคนอยูใ่ นพืน้ ที่ ได้อย่างไร ท�ำไมไม่ยา้ ยออก ผูอ้ า่ นก็ยงั จะได้เห็นว่าหมอมุสลิมในพืน้ ทีก่ ม็ ปี ญั หาความปลอดภัยเช่นเดียวกัน ทัง้ จากฝ่ายรัฐทีอ่ าจจะหวาดระแวงความจงรักภักดีในบางครัง้ และจากกระบวนการและแนวร่วมในพืน้ ที่ ทีอ่ าจจะไม่พอใจทีแ่ พทย์เป็นตัวแทนของรัฐฝ่ายไทยทีอ่ าจจะขัดขวางการท�ำงานเชิงยุทธศาสตร์ของเขา นอกจากการตัง้ รับแล้ว ท�ำอย่างไรแพทย์และนักวิชาการใฝ่สนั ติทงั้ สองฝ่ายจะท�ำงานด้านรุกในระดับต่าง ๆ เพือ่ ลดความรุนแรงได้ ซึง่ เราคงไม่สามารถไปร่วมเจรจาให้กองก�ำลังสองฝ่ายหยุดรบและไม่ทำ� ร้ายผูบ้ ริสทุ ธิ์ แต่งานพวกเราทีก่ ระท�ำอยู่ น่าจะช่วยลดความเดือดร้อน และช่วยบรรเทาความเจ็บช�ำ้ น�ำ้ ใจในระดับปัญญา ชนและรากหญ้าลงได้ระดับหนึง่ นอกจากนี้ หนังสือเล่มนีแ้ สดงผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลทางสถิตทิ ไี่ ม่เคยเผย แพร่มาก่อน ว่าชาวบ้านในพืน้ ทีไ่ ฟใต้มปี ญ ั หาสุขภาพพืน้ ฐานน่าเป็นห่วงเพียงไร การบาดเจ็บล้มตายเกิด ขึน้ แก่ใครบ้าง ใครเป็นเป้าหมายหลัก/รองทีถ่ กู โจมตีดว้ ยก�ำลังอาวุธ การเพิม่ ก�ำลังทหารและการเจรจา มีผลต่อการลดความรุนแรงได้อย่างไร ทีส่ ำ� คัญส�ำหรับผูอ้ า่ นชาวไทย คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกับปัญหาในพืน้ ที่ และวิธกี าร อืน่ ๆ ในการลดปัญหาระยะยาว เพิม่ ศักยภาพของพืน้ ที่ เช่น สันติศกึ ษาส�ำหรับแพทย์ เทคนิคในเจรจา ต่อรองเพือ่ ไกล่เกลีย่ ความขัดแย้ง สุดท้าย ทีมงานฝ่ายไทยขอฝากแก่คนไทยทุกคนว่า ความขัดแย้งในสังคมไทยไม่ได้มีเฉพาะ ในพื้นที่ไฟใต้อย่างเดียว การศึกษาความขัดแย้งและกระบวนการแก้ไขปัญหาในไฟใต้อาจจะช่วย จุดประกายในอนาคต ให้ท่านได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขความขัดแย้งในรูปแบบอื่นในพื้นที่ต่าง ๆ

10


บทที่ 1 บทน�ำ

Louisa Chan Boegli สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

บทที่ 2 ชายแดนใต้: จะว่าสงครามก็ไม่ใช่ สันติก็ไม่เชิง? วิถีของการคลี่คลายความขัดแย้งอย่างสันติ Norbert Ropers

บทที่ 3 กระบวนการสันติภาพของวิชาชีพสุขภาพ ท่ามกลางไฟใต้

วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์, เมตตา กูนิง, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย และ วัลภา ฐาน์กาญจน์

บทที่ 4 สถิติสาธารณสุขที่ส�ำคัญในพื้นที่ไฟใต้ รอฮานิ เจะอาแซ และ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

บทที่ 5 ระบาดวิทยาของความรุนแรงในเขตไฟใต้

เมตตา กูนิง, มายือนิง อิสอ, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย และ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

11


บทที่ 1 บทน�ำ Louisa Chan Boegli สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หนังสือเล่มนีส้ ำ� รวจความสัมพันธ์ระหว่างมิตทิ างด้านสุขภาพและด้านศานติ โดยใช้สถานการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่ไฟใต้เป็นกรณีศึกษา การจัดท�ำหนังสือเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการประชุม เชิงปฏิบัติการเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 หนังสือนี้สะท้อนให้เห็นประสบการณ์ของผู้ประกอบ วิชาชีพด้านสาธารณสุขในพื้นที่ไฟใต้ และความร่วมมือระดับนานาชาติในการแบ่งปันแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และรูปแบบวิธีด�ำเนินการในการท�ำงานในพื้นที่แห่งความขัดแย้ง เพื่อปูหนทางสู่งาน สร้างสันติภาพ คณะผู้เขียนประกอบด้วยกลุ่มแพทย์และสาธารณสุข นักวิจัย และนักวิชาการ เนื้อหาของ หนังสือมีสามส่วน ส่วนที่หนึ่งสรุปภูมิหลังของความขัดแย้ง น�ำเสนอสถานการณ์ของปัญหาสุขภาพ และความรุนแรงในพื้นที่ ส่วนที่สองน�ำเสนอตัวอย่างการปรับตัวของบุคลากรการแพทย์เพื่อให้ บริการด้านสาธารณสุขได้ท่ามกลางความรุนแรง และนวตกรรมความร่วมมือใหม่ ๆ ส่วนที่สามเป็น บทบรรยายความรู้และทักษะที่จ�ำเป็นในงานเพื่อสันติภาพ รวมทั้งการรับมือกับสถานการณ์ความ ขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ บทความและกรณีศกึ ษาเหล่านีเ้ รียบเรียงขึน้ ส�ำหรับผูป้ ระกอบวิชาชีพด้านสุขภาพในพืน้ ทีท่ มี่ ี ความขัดแย้งรุนแรงในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้ ผู้อ่านได้เรียนรู้แนวทางและวิธีการต่าง ๆ เผื่อจะน�ำไปปรับใช้กับการงานของตน กองบรรณาธิการขออุทิศคุณงามความดีของหนังสือฉบับนี้ แก่ชายหญิงผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วย เหลือรักษาพยาบาลผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในพื้นที่ซึ่งมีการสู้รบทั่วโลก และขอคารวะต่อกลุ่มแพทย์ และสาธารณสุขทั่วโลกที่ท�ำงานด้านสันติภาพไปพร้อม ๆ กับงานด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เสี่ยงภัย

12


ภูมิหลังของนวัตกรรมความร่วมมือครั้งนี้

หนังสือ เยียวยาในไฟใต้ เป็นผลผลิตจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธเิ พือ่ การเยียวยาและสร้าง ความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (DSRR หรือ มยส.) ซึง่ เป็นองค์กรเครือข่ายทีม่ ฐี านปฏิบตั กิ ารอยูภ่ าคใต้ ของประเทศไทย กับ the Rugiagli Initiative (tRI; องค์กรสันติภาพขนาดเล็กมีฐานอยู่ในอิตาลี และสวิตเซอร์แลนด์) มยส.และ tRI มีวิสัยทัศน์เห็นพ้องกันว่า แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ มี ศักยภาพในการหนุนเสริมการสร้างสันติภาพและลดความรุนแรง ท่ามกลางสถานการณ์ความขัด แย้งทีใ่ ช้อาวุธ ส�ำหรับนวัตกรรมครัง้ นีเ้ ราเน้นทีผ่ ปู้ ระกอบวิชาชีพสุขภาพหลาย ๆ สาขาในพืน้ ทีไ่ ฟใต้ เช่น แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา ทันตแพทย์ นักกายภาพบ�ำบัด เภสัชกร และผูบ้ ริหารโรงพยาบาล ตลอดจนนักระบาดวิทยาและแพทย์นิติเวช มูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2553 มูลนิธินี้เป็นเครือข่ายของบุคคลที่มีพื้นฐานต่างกัน ได้แก่ แพทย์ นักวิชาการ และ องค์กรพัฒนาเอกชนในพืน้ ที่ ร่วมกันท�ำงานด้านสันติภาพและการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งนับตัง้ แต่ความ รุนแรงปะทุขึ้นในปี พ.ศ. 2547 กิจกรรมทางด้านวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุ รุนแรง ส่วนกิจกรรมด้านมนุษยธรรมนัน้ เครือข่ายตัง้ ระบบให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เฉพาะหน้า แก่ครอบครัวของผูไ้ ด้รบั บาดเจ็บและเสียชีวติ ให้รอดพ้นจากการคุกคามข่มขู่ ในระยะปานกลางช่วย เยียวยาด้านจิตใจและสร้างอาชีพ และในระยะยาวเครือข่ายสร้างความเข้มแข็งและพลังของคนใน พื้นที่ สร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่น�ำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรง ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และ การเมือง ต้นปี พ.ศ. 2556 ศาสตราจารย์นายแพทย์วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง มยส. และเป็นประธานคนปัจจุบัน พร้อมทีมงาน ได้ริเริ่มโครงการสนับสนุนให้บรรดาแพทย์ ก้าวข้ามออก นอกบทบาทของแพทย์ตามประเพณีปฏิบัติที่เป็นมาแต่อดีต โดยรวมงานด้านสันติภาพเข้ามาด้วย ในปีเดียวกัน มยส.ได้พบกับ องค์กร tRI ซึ่งมีเป้าด้านการสร้างสันติภาพผ่านกระบวนการสุขภาพ ทั้งสององค์กรจึงร่วมมือกันค้นคิดกิจกรรมครั้งนี้ด้วยกัน

13


วัตถุประสงค์หลักของความร่วมมือ คือ การเข้าถึงผู้ปฏิบัติอาชีพด้านสุขภาพ เพื่อเพิ่มพลังขีด ความสามารถของบุคลากรเหล่านีใ้ นการสนับสนุนการสร้างสันติภาพ เสริมความเข้าใจซึง่ กันและกัน ระหว่างกลุม่ คนต่างชาติพนั ธุต์ า่ งวัฒนธรรม ซึง่ จะน�ำไปสูก่ ารลดความรุนแรงในทีส่ ดุ นวัตกรรมครัง้ นี้ ด�ำเนินการในพืน้ ทีไ่ ม่ไกลจากบริเวณซึง่ มีความรุนแรงจากไฟใต้ ในขณะเดียวกันก็คำ� นึงถึงสวัสดิภาพ ความปลอดภัยของผู้เกี่ยวข้องทุกคนด้วย ความริเริ่มร่วมมือนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 เมื่อ มยส. ได้ชักชวน บรรดาแพทย์และบุคลากรด้านสุขภาพที่ท�ำงานอยู่ในพื้นที่ไฟใต้ มาร่วมประชุมโต๊ะกลมกับ tRI ถกบทบาทของผู้ท�ำงานสาธารณสุขในการเสริมสร้างสันติภาพ นับเป็นครั้งแรกที่บุคลากรวิชาชีพ เหล่านี้ได้มาพูดจากันในเรื่องสุขภาพและสันติภาพ ผลลัพธ์อย่างแรกที่ได้จากการนี้ คือ ความ กะตือรือร้นของผูร้ ว่ มหารือแต่ละคนทีอ่ ยากรูว้ า่ จะเพิม่ เติมศักยภาพและบทบาททางด้านนีไ้ ด้อย่างไร ผู้เข้าร่วมประชุมต้องการรู้เป็นพิเศษว่าในฐานะบุคลากรวิชาชีพทางการแพทย์ ตนเองน่าจะ ได้เรียนรูอ้ ะไรบ้าง จึงจะมีสว่ นร่วมในการเสริมสร้างสันติภาพได้ พวกเขาจึงเสนอให้มกี ารจัดประชุม เชิงปฏิบตั กิ ารเพือ่ ทีจ่ ะเสริมความรูแ้ ละทักษะในการทีจ่ ะรับมือและแก้ไขประเด็นความขัดแย้งยาก ๆ ในงานประจ�ำที่ท�ำอยู่ในพื้นที่ไฟใต้ เพื่อป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งลุกลามออกไป รวมกันเสริมสร้าง พื้นฐานความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ลดความรุนแรงระหว่างชุมชนคู่ขัดแย้ง ในที่สุด การประชุมเชิงปฏิบัติการตามข้อเสนอนี้ก็เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 มี วิทยากรประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยและนานาชาติด้านสันติศึกษาและการลดความ ขัดแย้ง กลุม่ แพทย์เพือ่ สันติภาพ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านสิทธิมนุษยชน ด้านจริยศาสตร์ ด้านการเจรจาต่อรอง และนักวิเคราะห์ความขัดแย้ง (รายละเอียดของการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนั้นมีอยู่ในบทที่ 9)

ท�ำไมถึงต้องท�ำเรื่องนี้ที่ภาคใต้

แพทย์และบุคลากรด้านสุขภาพในพืน้ ทีไ่ ฟใต้ คือกลุม่ ผูป้ ระกอบวิชาชีพอันทีเ่ ป็นทีเ่ คารพนับถือ มากทีส่ ดุ กลุม่ บุคคลเหล่านีไ้ ด้กำ� หนดแนวทางการท�ำงานร่วมกันและถือปฏิบตั ติ งั้ แต่ความรุนแรงเริม่ แผ่ขยายเมื่อสิบปีก่อน แนวทางดังกล่าวได้แก่ การรักษาความเป็นกลาง การบูรณาการทีมงานให้มี พืน้ ฐานของบุคลากรหลากหลาย เช่น มีทงั้ เพศชายและเพศหญิง มีสมาชิกทีมงานทีน่ บั ถือศาสนาและ มีวฒ ั นธรรมทีแ่ ตกต่างกัน ความช�ำนาญการด้านเทคนิคพิเศษทีห่ ลากหลาย ท�ำให้วงการสาธารณสุข เป็นเสาหลักในพื้นที่ มีบทบาทเป็นที่ยอมรับอย่างสูง แต่ก็ด�ำเนินการอย่างเงียบ เรียบง่าย ไม่เด่นดัง 14


การด�ำเนินการตามแนวคิดดังกล่าวช่วยให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ไม่ตกเป็นเป้าหมายการ โจมตีของฝ่ายหนึง่ ฝ่ายใดในพืน้ ทีแ่ ละบริบทแห่งความขัดแย้ง บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึง ชุมชนและหมูบ่ า้ นต้องห้ามทีบ่ คุ คลทัว่ ไปภายนอกเข้าไม่ถงึ วิชาชีพนีจ้ งึ มีเงือ่ นไขและศักยภาพพิเศษ ที่จะท�ำหน้าที่เป็น ‘ผู้ประสาน’ สันติภาพในระยะยาว อันที่จริง ตลอดทศวรรษของไฟใต้ บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ไฟใต้ต้องเผชิญหน้ากับ ความท้าทายในภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ท�ำให้ต้องค้นคิดหาทางรับมือให้ตัวเองอยู่รอดเพื่อ สามารถประกอบภารกิจดูแลสุขภาพประชาชนตลอดเวลา เรื่องเล่ารายละเอียดวิธีการของบุคคล เหล่านี้ในบทที่ 6 สะท้อนให้เห็นว่าเขาต้องใช้ศานติวิธีที่ค้นคิดขึ้นมาเองในการเผชิญความขัดแย้ง งานสาธารณสุขที่รับผิดชอบจึงด�ำเนินการต่อไปได้ เช่นเดียวกันกับการท�ำงานด้านสุขภาพช่วยให้ ท�ำงานด้านสันติภาพได้ง่ายขึ้น

ข้อต่อเชื่อมระหว่างสุขภาพและสันติภาพ

ในบรรณพิภพ มีทฤษฎีและวิธีการปฏิบัติสนับสนุนแนวคิดว่าภาคส่วนสุขภาพต้องช่วยสร้าง สันติภาพ องค์กรและบุคคลทีท่ มุ่ เทสนับสนุนการเชือ่ มโยงเหล่านี้ ได้แก่ องค์การอนามัยโลก (WHO) สถาบันสันติภาพสหรัฐอเมริกา และผู้เชี่ยวชาญการจัดการความขัดแย้งระดับโลก เช่น Johann Galtung ค�ำศัพท์จากแหล่งต่าง ๆ ทีใ่ ช้สรุปแนวคิดนี้ ได้แก่ ‘สุขภาพ: สะพานสูส่ นั ติภาพ’ หรือ ‘Health as a Bridge for Peace’ (WHO) , ‘สันติสุขผ่านสุขภาพ’ หรือ ‘Peace through Health’ (Neil Arya และ Joanna Santa Barbara มหาวิทยาลัย McMaster ประเทศแคนาดา), และ ‘การแพทย์ สันติสุข’ (‘Medical Peace Work’ ประเทศนอร์เวย์) ศัพท์แสงเหล่านี้มีแนวทางการปฏิบัติเหมือน กัน บรรณาธิการหนังสือฉบับนี้จะขอใช้ศัพท์ว่า ‘รอยเชื่อมสุขภาพกับศานติ’ หรือ ‘Health and Peace Nexus’ แนวคิดนี้น�ำเสนอครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 โดยองค์การอนามัยโลกสาขาทวีปอเมริกา (Pan American Health Organization หรือ PAHO) เป็นชุดโครงการร่วมกันระหว่างชาติและระหว่าง องค์กรที่รัฐมนตรีสาธารณสุขในแถบทวีปอเมริกาสนับสนุน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ‘ความห่วงใย ด้านสุขภาพร่วมกันสามารถมีชยั ชนะเหนือความแตกแยกระหว่างประชาชนและประชาชาติตามกลุม่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และชาติพันธุ์ได้’ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น แพทย์กลุ่มหนึ่งจากประเทศ 15


คู่ขัดแย้งในสงครามเย็น คือสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ได้ร่วมกันจัดตั้งเครือข่าย ‘แพทย์ นานาชาติเพื่อการป้องกันสงครามนิวเคลียร์’ หรือ ‘International Physicians for the Prevention of Nuclear War’ โดยมีพื้นฐานความเชื่อว่า ‘ความรับผิดชอบ (ด้านสุขภาพ) ต้องรวมถึง ความมุ่งมั่นป้องกันสงครามนิวเคลียร์’ ด้วย มีการยอมรับและปรับใช้แนวคิดนี้ในปี พ.ศ. 2524 เมื่อสมัชชาสุขภาพโลก (World Health Assembly) ซึ่งเป็นองค์กรที่ก�ำกับดูแลองค์การอนามัยโลก ได้ยืนยันตามมติที่ 34.38 ว่า ‘บทบาท ของแพทย์และบุคลากรด้านสุขภาพในการผดุงสันติภาพ เป็นปัจจัยทีม่ นี ยั สูงสุดในการได้มาซึง่ สุขภาพ ดีถ้วนหน้า (Health for All)’ อาจเป็นได้ว่าข้อโต้แย้งที่น่าเชื่อถือที่สุดส�ำหรับแนวคิด ‘รอยเชื่อมสุขภาพกับศานติ’ ก็คือ ภัยคุกคามที่ร้ายกาจจากอาวุธและสงครามที่มีต่อสุขภาพของสาธารณชน ในปี พ.ศ. 2539 องค์การ อนามัยโลกและธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2563 สงครามจะเป็นสาเหตุของการเสีย ชีวิตและทุพพลภาพล�ำดับที่แปด แน่นอนว่า ความรุนแรงจากการใช้อาวุธและยุทโธปกรณ์มีผล โดยตรงมหาศาลในการท�ำลายชีวิตและสร้างความเจ็บป่วย ไม่เพียงเท่านั้น สงครามยังท�ำให้ผู้คน นับล้านต้องตกอยู่ในสภาวะล่อแหลม ย�่ำแย่ เร่ร่อน พลัดพรากจากที่อยู่อาศัย ขาดบริการสุขภาพ สิ่งแวดล้อมเอื้ออ�ำนวยการแพร่กระจายของโรคติดต่อ นอกจากนี้ สงครามสมัยใหม่ยังสร้างความ สะพรึงกลัว ท�ำร้ายจิตใจของคนนับล้าน ปัญหาสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้นท�ำให้เพิ่มปัญหายาเสพติด และถ่วงรั้งผู้คนไม่ให้คืนสู่พลังการผลิตที่มีชีวิตชีวาอย่างที่เคยมีเคยเป็น กลุ่มสนับสนุนแนวคิด ‘รอยเชื่อมสุขภาพกับศานติ’ ชี้ว่า การท�ำงานเพื่อสันติภาพเป็นส่วน หนึ่งที่ดีของวิถีการท�ำงานสาธารณสุข โดยเน้นว่า ค่านิยมที่ลุ่มลึกของวิชาแพทย์สองประการ คือ ความบริสทุ ธิใ์ จต่อเพือ่ นนุษย์ กับการใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในการหาข้อสรุป ทัง้ สองประการนี้ สร้างความชอบธรรมให้บคุ ลากรทางการแพทย์ทำ� งานข้ามพรมแดนและข้ามวัฒนธรรม บ่อยครัง้ มีขอ้ สมมติทเี่ ป็นทีย่ อมรับว่า ความรูค้ วามสามารถทีไ่ ด้รบั มาจากการฝึกสอนอย่างเข้มข้นและเมตตาธรรม ที่ปลูกฝังอยู่ในสายวิชาชีพแพทย์นี้ เป็นความดีงามที่นักสร้างสันติภาพต้องได้รับการพัฒนาเช่นกัน

16


เพือ่ ความชัดเจนยิง่ ขึน้ ต่อแนวคิดรอยเชือ่ มสุขภาพกับศานตินี้ เราถือว่า ศานติ หรือ สันติภาพ หรือ สันติสขุ ก็คอื ภาวะทีม่ คี วามสัมพันธ์อนั ดีตอ่ กัน ปัจเจกบุคคลกับชุมชน สามารถเข้าถึงสิง่ จ�ำเป็น ในการด�ำรงสุขภาวะอย่างสะดวก มั่นคง และ เท่าเทียม ในท�ำนองเดียวกับแนวคิดที่ว่าสุขภาพดีนั้น มิได้หมายเพียงถึงภาวะปลอดโรค ศานติก็มิได้จ�ำกัดอยู่เพียงการปลอดสงครามและความรุนแรง เมื่อตีความตามนี้ รอยเชื่อมสุขภาพกับศานติ ก็สามารถแตกแขนงหลากหลาย ครอบคลุม ปฏิบัติการอื่น ๆ รวมทั้งการรณรงค์ต่อต้านสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสันติภาพต่าง ๆ เช่น การใช้อาวุธ ร้ายแรง การไม่ได้รับความยุติธรรม มายาคติ และการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน การศึกษาด้าน ต่าง ๆ เช่น จริยศาสตร์ สิทธิมนุษยชนและสันติภาพผ่านเรื่องสุขภาพ การรวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลระบาดวิทยาและข้อมูลเชิงนิติเวชศาสตร์ในเรื่องที่เป็นผลจากความขัดแย้งที่ใช้อาวุธและการ ประกันการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนา และการได้รับการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ด้านสุขภาพอย่าง เท่าเทียม บุคลากรทางการแพทย์นับร้อยนับพันบนโลกนี้ก�ำลังเข้าร่วมกระบวนการลดผลกระทบ จากการรบพุ่ง กระจายให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งรวมถึงการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต เพื่อผ่อนเบาผลกระทบในระยะยาวทั้งด้านสังคมและจิตใจ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีผลต่อความยั่งยืน ของสันติภาพไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง กระบวนการสร้างสันติภาพระหว่างคูข่ ดั แย้งนัน้ โดยทัว่ ไปจะมีการเจรจาหรือการต่อรองเป็น ชุดต่อเนือ่ งหลาย ๆ ครัง้ ซึง่ ปกติมกั ต้องมีคนกลางเป็นฝ่ายทีส่ าม วิธกี ารเจรจาหลักแบบนีเ้ รียกกันว่า ‘วิถีที่ 1’ (‘Track I’) ซึ่งก็คือวิถีทางการทูตเพื่อให้ได้มาซึ่งความสมานฉันท์และข้อยุติร่วมกันในการ แก้ปมความขัดแย้งทีใ่ ช้กำ� ลังอาวุธ อีกวิถหี นึง่ ทีเ่ ข้าใจกันแพร่หลายน้อยกว่าวิถที ี่ 1 คือ กระบวนการ สันติภาพแบบ ‘วิถีที่ 2’ (‘Track II’) ซึ่งต้องอาศัยบทบาทการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการของประชา สังคม (รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์) กระบวนการสันติภาพในวิถีที่ 2 นี้ จะช่วยให้ข้อมูลและ สนับสนุนกระบวนการแบบการทูตตามวิถีที่ 1 ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น กระบวนการนี้ อาศัยการสร้างความ สัมพันธ์ ความไว้เนื้อเชื่อใจและความมั่นใจระหว่างกลุ่มที่ขัดแย้งกัน ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ เข้ามามีส่วนร่วมในวิธีนี้ได้ในหลายบริบท

17


มีบันทึกวิธีการและรูปแบบนี้และรูปแบบอื่น ๆ ของการใช้กระบวนการสุขภาพส่งเสริม สันติภาพในเขตความขัดแย้งหลายแห่งในโลก เช่น ในตะวันออกกลาง อัฟกานิสถาน อดีตประเทศ ยูโกสลาเวีย และศรีลงั กา ซึง่ แพทย์จากทัง้ สองฝ่ายของความขัดแย้งร่วมมือกันวางแผนการให้บริการ สุขภาพ และฟื้นฟูการให้บริการหลังความขัดแย้งยุติความรุนแรง ซึ่งรวมทั้งการดูแลสุขภาพจิต แต่ เรื่องที่ยังมิได้รับการวิจัยอย่างเป็นระบบ คือ การศึกษาว่า แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ได้มีส่วนส�ำคัญมากเพียงไหน ระดับใด ในการเข้าช่วยยุติการสู้รบและท�ำให้สันติสุขเป็นไปอย่าง ยัง่ ยืน กระบวนการสันติภาพ ‘วิถที ี่ 2’ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์เข้าไปช่วยปรับแก้ความขัดแย้ง โดยตรงจะได้ผลเพียงไร เรือ่ งนีต้ อ้ งการการพินจิ พิเคราะห์และจดบันทึกอย่างเป็นระบบมากขึน้ กว่านี้

บทเรียนจากไฟใต้

ทัง้ กระบวนการแบบการทูตตาม ‘วิถที ่ี 1’ และเส้นทางประชาสังคมตาม ‘วิถที ี่ 2’ ต่างก็ดำ� เนิน การอยู่แล้วในขณะที่ มยส. กับ tRI เริ่มปรึกษาหารือกัน รัฐบาลไทยในช่วงนั้น (พ.ศ. 2555-2556) มีนโยบายที่จะจัดการเจรจาสองฝ่ายกับฝ่ายตรงกันข้ามอย่างเป็นทางการโดยมีรัฐบาลมาเลเซียเป็น คนกลาง ภายใต้นโยบายนี้ ภาคประชาสังคมและกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วม กิจกรรมการสร้างสันติภาพด้วย แต่ทว่าในพืน้ ทีไ่ ฟใต้นนั้ คุณหมอทัง้ หลายรูส้ กึ สะดวกใจกับการร่วมมือเพือ่ พัฒนาบริการและ การเข้าถึงบริการสาธารณสุข มากกว่าการเข้าไปสร้างสันติภาพหรือปรับแก้ความขัดแย้งโดยตรง ความส�ำคัญสูงสุดของพวกเขาคือการค้นคิดทางเลือกใหม่ทจี่ ะเขารับมือสถานการณ์เพือ่ ความอยูร่ อด ปลอดภัยของตนเอง พร้อมกันกับการให้บริการรักษาพยาบาลทีด่ ที สี่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ บุคลากรเหล่านี้ ส่วนใหญ่จงึ เห็นว่า การสานสัมพันธ์และความเข้าใจร่วมกันระหว่างบุคลากรทีท่ ำ� หน้าทีอ่ ย่างเดียวกัน แต่มีพื้นฐานวัฒนธรรมจาก‘ฝ่ายตรงข้าม’ เป็นเรื่องที่เพียงพอแล้ว การเข้าไปท�ำหน้าที่โดยตรงใน กระบวนการสันติภาพกิจกรรมทางการเมือง เป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงเกินไป อย่างไรก็ตาม เมื่อความริเริ่ม ร่วมมือนีเ้ กิดขึน้ บุคลากรทางการแพทย์บางส่วนทีเ่ ริม่ ต่างเริม่ เล็งเห็นถึงศักยภาพในการใช้ตำ� แหน่ง และต้นทุนทางสังคมของตนมาสร้างประโยชน์ต่อกระบวนการสันติภาพ

18


บทสรุปของการหารือในรอบแรกเห็นว่าเราจะเพิ่มการเรียนรู้การแพทย์กับสันติภาพอย่างไร ดี บุคลากรทางการแพทย์ยังเห็นว่างานสันติภาพเป็นเรื่องที่อ่อนไหวในบริบทของภาคใต้ แต่หลาย คนก็แสดงความพร้อมในการเข้าร่วม ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในบรรดาหัวข้อทางวิชาการต่าง ๆ ที่มีให้ เลือกในหลักสูตรฝึกอบรม สิ่งที่ทุกคนมีความเห็นร่วมกันว่าส�ำคัญเร่งด่วนสุด คือ การหาทางเลือก เพื่อรับมือกับความเสี่ยงประจ�ำวัน ความท้าทายและทางสองแพร่งแห่งจรรยาบรรณ หรือ ethical dilemma (ซึง่ มีรายละเอียดและตัวอย่างในบทต่อไป) อย่างไรก็ตาม หัวข้ออืน่ ๆ ทีม่ คี วามสนใจร่วม กันอยูร่ ะดับหนึง่ ได้แก่ การใช้การแพทย์เป็นสือ่ สันติภาพ การวิเคราะห์ความขัดแย้ง และการพัฒนา กระบวนการสันติภาพ มีความเชือ่ ร่วมกันว่าหัวข้อเหล่านีจ้ ะเปิดโลกทัศน์ชว่ ยให้บคุ ลากรสาธารณสุข ท�ำงานสร้างสันติสุขได้ดีขึ้น ประสบการณ์การท�ำงานร่วมกันระหว่าง มยส. tRI และบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ไฟใต้เท่า ที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เห็นว่ามีอีกหลายประเด็นที่ควรได้รับการวิจัย เช่นว่า เราจะน�ำแนวทาง ‘รอยเชื่อม สุขภาพกับศานติ’ มาประยุกต์ใช้ได้ทกุ สถานการณ์ขา้ มความแตกต่างได้ทกุ วัฒนธรรม และใช้กบั ทุก ความขัดแย้งได้หรือไม่ ใช้กบั บุคลากรทางการแพทย์ซงึ่ มีแนวโน้มทีอ่ าจจะติดกับดักของความขัดแย้ง เสียเองได้หรือไม่ ความริเริ่มแบบไหนจึงจะเชื่อมโยงกับสันติภาพยั่งยืนได้ดีกว่า ในทางกลับกัน เป็น ไปได้หรือไม่ที่การให้บุคลากรสาธารณสุขเข้ามาช่วยสร้างสันติภาพกลับจะเพิ่มอันตรายต่อพวกเขา มากขึน้ ในช่วงทีเ่ กิดกระแสความขัดแย้งสูง การเพิม่ ความรูแ้ ละทักษะการสร้างสันติภาพกับบุคลากร ทางการแพทย์ในห้วงเวลาแห่งความขัดแย้งท�ำได้จริงหรือ ถ้าได้ ควรจะท�ำช่วงไหนจึงจะดีทสี่ ดุ หัวข้อ ไหนที่ส�ำคัญเป็นสากลจนทุกคนต้องรับรู้ และหัวข้อใดควรออกแบบหลักสูตรที่ใช้กับเฉพาะพื้นที่ กองบรรณาธิการเชื่อว่า เราต้องช่วยกันท�ำงานอย่างเป็นทีม จัดเก็บบันทึกกิจกรรมของ บุคลากรทางการแพทย์ทกี่ ำ� ลังป้องกันและลดผลกระทบจากความขัดแย้งในการใช้อาวุธ รวมทัง้ ฟืน้ ฟู ชุมชนที่แตกสลายเพื่อให้ได้ศานติสุขภาวะที่ยั่งยืนคืนมาในที่สุด

19


บทที่ 2

ชายแดนใต้ จะว่าสงครามก็ไม่ใช่ สันติก็ไม่เชิง วิถีของการคลี่คลายความขัดแย้งอย่างสันติ Norbert Ropers เป็นที่ชัดเจนว่าความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยนั้นคือหนึ่งในความ ขัดแย้งทีม่ กี ารใช้ความรุนแรงแห่งหนึง่ ในโลก แต่กเ็ ป็นข้อพิพาทภายในประเทศซึง่ เป็นทีร่ บั รูก้ นั น้อยมาก ถึงแม้วา่ การขยายตัวของความขัดแย้งดังกล่าวนับตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2547 จะน�ำไปสูก่ ารสูญเสียชีวติ ไปแล้ว กว่า 6,000 ราย และบาดเจ็บอีกเกือบ 11,000 คน แต่ไม่คอ่ ยปรากฏเป็นข่าวในสือ่ มวลชนนานาชาติ มากนัก ความพยายามสร้างสันติภาพทีร่ ฐั บาลได้รเิ ริม่ มาตัง้ แต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 นัน้ ได้สร้าง ความหวังว่าจะหาข้อยุตใิ นความขัดแย้งทีว่ า่ นีไ้ ด้ แต่แล้วก็ตอ้ งหยุดชะงักไปหลังจากทีด่ ำ� เนินการไปได้ เพียงหกเดือน เพราะทัง้ สองฝ่ายต่างเข้าร่วมกระบวนการอย่างไม่คอ่ ยเต็มใจและไม่ครอบคลุมทุกกลุม่ มากเพียงพอ ในขณะเดียวกันเมือ่ ไม่นานมานี้ ความพยายามดังกล่าวก็ถกู บดบังและกันออกไปจากความ สนใจเพราะความขัดแย้งทางการเมืองในกรุงเทพฯ มาตัง้ แต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 จนกระทัง่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กอ่ การยึดอ�ำนาจในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 และประกาศ จะเดินหน้าการพูดคุยสันติภาพต่อไป แต่ยงั ไม่แน่ชดั ว่าจะออกมาในรูปแบบใด นักวิเคราะห์ความขัดแย้งบางคนเชื่อว่า อีกหน่อยพื้นที่ปาตานี1 แห่งนี้ก็จะคล้ายกับบางพื้นที่ ในโลกทีต่ กอยูใ่ นสถานการณ์ทเี่ รียกกันว่า ‘จะว่าสงครามก็ไม่ใช่ จะว่าสันติกไ็ ม่เชิง’ กล่าวคือ จะเป็น พืน้ ทีซ่ งึ่ รัฐไทยและหน่วยงานความมัน่ คงเข้าควบคุมสถานการณ์ โดยมีเหตุการณ์ความรุนแรงในระดับ ต�่ำที่ยังคงยืดเยื้อเรื้อรัง ทั้งยังมีเรื่องประท้วง มีความวุ่นวาย ปรากฏขึ้นเป็นพัก ๆ หลายคนอธิบาย ว่า ตราบที่ยังขาดความจริงจังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่จะช่วยกันปรับแก้แรงขับเคลื่อนของ ความขัดแย้ง และเห็นพ้องต้องกันที่จะน�ำไปสู่การประนีประนอมที่แท้จริงแล้ว ตราบนั้นสภาพการ ชะงักงันคุมเชิงซึ่งกันและกันก็จะด�ำรงอยู่ไปนานเท่านาน 1 การสะกดชื่อทางประวัติศาสตร์นี้มีอยู่สองรูปแบบ กล่าวคือ ค�ำไทยว่า ‘ปัตตานี (Pattani)’ ซึ่งเป็นแบบอย่างของการเรียกขานชื่อ จังหวัดชายแดนใต้จงั หวัดหนึง่ รวมทัง้ ชือ่ ตัวเมือง และค�ำในภาษามลายูวา่ ‘ปาตานี (Patani)’ ซึง่ ท้าวความถึงรัฐสุลต่านปาตานีในสมัยก่อน และ เป็นค�ำทีผ่ สู้ นับสนุนขบวนการปาตานีนยิ มใช้ เอกสารฉบับนีจ้ ะขอใช้รปู แบบการสะกดทัง้ สองตามบริบททีก่ ล่าวถึง อนึง่ นักเคลือ่ นไหวด้านสันติภาพ ชาวต่างประเทศบางคนจะเขียนค�ำนี้ว่า ‘Pa(t)tani’ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบว่า ผู้เขียนรับรู้ถึงความแตกต่างดังกล่าวนี้

20


นักวิเคราะห์บางคนออกจะพิจารณาสถานการณ์นใี้ นแง่ดหี น่อย โดยมีขอ้ โต้แย้งหลักว่า ห้าปีที่ ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังเกิดขึ้นในพื้นที่นี้อยู่บ้างแล้ว โดยที่ทั้งภาคประชาสังคม สื่อ ทางเลือกและสือ่ ท้องถิน่ สถาบันทางวิชาการ และทีส่ ำ� คัญก็คอื ความริเริม่ จากกลุม่ เครือข่ายสุขภาพ และสันติภาพที่ได้สะท้อนออกมาในหนังสือเล่มนี้2 ได้ร่วมกันสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมสนับสนุน วัฒนธรรมสันติภาพ แสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งที่เป็นอยู่ นักวิเคราะห์ กลุม่ นีก้ ล่าวถึงการพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการทีเ่ ริม่ ต้นในปี พ.ศ. 2556 พร้อมระบุวา่ มีตวั แปร บางอย่างในกระบวนการดังกล่าวที่พิจารณาจากมุมมองของรัฐไทยแล้วยากจะยอมรับ และบาง ส่วนก็ไม่ง่ายที่จะย้อนกลับไปจุดเดิม เช่นว่า การยอมรับสถานการณ์ในภาคใต้ว่าเป็นความขัดแย้ง ทางการเมือง และต้องการการหาทางออกทางการเมือง การยอมรับสถานะของขบวนการติดอาวุธ ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนที่เป็นทางการในการพูดคุยสันติภาพ และการยอมรับบทบาทของมาเลเซีย ให้ท�ำหน้าที่บางอย่างในฐานะฝ่ายที่สาม ในทางกลับกัน ความพร้อมของคณะท�ำงานที่เป็นตัวแทน ของฝ่ายขบวนการทีจ่ ะหาทางออกภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญไทยก็ถกู ตีความว่าเป็นการโอนอ่อน ผ่อนปรนอย่างมีนัยส�ำคัญ เรือ่ งทีน่ กี้ ค็ ล้ายกับความขัดแย้งทีย่ ดื เยือ้ เรือ้ รังภายในประเทศอืน่ ๆ รากเหง้าและประวัตศิ าสตร์ ของสถานการณ์ในภาคใต้เป็นเรือ่ งทีต่ า่ งฝ่ายต่างเห็นแย้งแตกต่างกัน หนทางทีเ่ ป็นธรรมทีส่ ดุ เห็นจะ ได้แก่การตระหนักยอมรับว่าความคิดและการกระท�ำของทั้งสองฝ่ายนั้นล้วนมีอิทธิพลมาจากเรื่อง เล่าและวาทกรรมในทางประวัติศาสตร์ เราจะไม่เจาะลึกลงไปในรายละเอียดของประวัติศาสตร์ที่ ขัดแย้งกันที่ว่านี้ แต่จะสรุปคร่าว ๆ ว่า ภูมิภาคแห่งนี้ได้ก่อร่างมาตั้งแต่ครั้งประมาณคริสต์ศตวรรษ ที่หนึ่งในสมัยอาณาจักรลังกาสุกะ มีอิทธิพลของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ก่อนที่ศาสนาอิสลาม จะแผ่ขยายมาถึงภูมิภาคนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา อาณาจักรหรือรัฐสุลต่านมลายูแห่ง ปาตานี ได้เจริญรุง่ เรืองถึงขัน้ เป็น ‘ยุคทอง’ ทัง้ ด้านการค้าและด้านการเมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ขณะเดียวกันคาบสมุทรแห่งนี้ก็เฉกเช่นกับส่วนอื่น ๆ ของอินโดจีน ต้องดิ้นรนต่อสู้ช่วงชิงความเป็น ใหญ่กันตลอด ผลัดสลับเปลี่ยนพันธมิตรและระดับของความเป็นรัฐบริวารที่แตกต่างกันไป กระทั่ง อาณาจักรปาตานีในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้เสื่อมถอยถึงจุดสิ้นสุด พ่ายแพ้ต่ออาณาจักรสยามใน ปี ค.ศ. 1785 (หรือ พ.ศ. 2328) แต่นั้นมาภูมิภาคแถบนี้ก็จ�ำต้องส่งส่วยบรรณาการให้แก่อาณาจักร สยาม แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งการปกครองตนเองในระดับหนึ่ง ช่วงระยะนี้ด�ำรงอยู่กระทั่งมีการผนวกรวม ภูมิภาคแถบนี้เข้ากับสยามประเทศอย่างเป็นทางการ ภายใต้บริบทสนธิสัญญาแองโกล-สยาม ใน ปี ค.ศ. 1909 (หรือ พ.ศ. 2452) 2

หมายถึงหนังสือ Healing under Fire: The Case of Southern Thailand ซึ่งได้จัดพิมพ์เป็นภาษาไทย ชื่อว่า ‘เยียวยาในไฟใต้’

21


ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 รัฐบาลสยามก็ลดระดับการปกครองตนเองของภูมิภาคนี้ลง ทั้งนี้ เพือ่ รับการคุกคามจากประเทศมหาอ�ำนาจยุโรปทีแ่ ผ่ขยายอ�ำนาจเข้ามาปกครองดินแดนอินโดจีน ในช่วงยุคล่าอาณานิคมและความจ�ำเป็นในการสร้างชาติของตนให้เข้มแข็ง หนึ่งในนักการศึกษา ผู้ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ กรมพระยา ด�ำรงราชานุภาพ ท่านมีดำ� รัสความเข้าใจอย่างเป็นทางการ ด้วยประโยคหนึง่ ซึง่ อ้างถึงกันบ่อย ๆ ว่า ‘ปัตตานีเป็นของ [อาณาจักร] ไทยมาตัง้ แต่ไหนแต่ไร นานจนจดจ�ำเวลาไม่ได้แล้ว’ ในทางตรงกันข้าม กับมุมมองนี้ ชาวมลายูมสุ ลิมทีม่ กี ารศึกษาก็จะเน้นไปทีป่ ระวัตศิ าสตร์แห่งอาณาจักร/รัฐสุลต่านแห่ง ปาตานี ก่อนความแพ้พ่ายต่อสยามในปี พ.ศ. 2328 ทั้งยังเน้นไปที่ความยึดถือเชื่อมั่นของคน ปาตานี-มลายูต่อวัฒนธรรมประเพณี ภาษา และศาสนาที่โดดเด่นของตน คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงที่กระแสสร้างชาติขึ้นถึงขีดสุดและกระทบต่อความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐสยาม/ไทยกับชาวมลายูมสุ ลิมในชายแดนภาคใต้สว่ นใหญ่ ทัง้ ในด้านเนือ้ หาสาระและด้าน สัญลักษณ์ รัฐใช้แนวคิดในการหลอมรวม ‘ความเป็นไทย’ [ชาติ ศาสนา (พุทธ) และพระมหากษัตริย]์ ในฐานะตัวบ่งชีใ้ นเชิงสัญลักษณ์ของชาติและผลักดันกลยุทธ์หลายหลากในการรวมเอาอัตลักษณ์ของ ชนกลุ่มน้อยให้เข้าสู่ปริมณฑลของชาติไทย เนื่องจากช่วงศตวรรษนี้โลกทั้งโลกได้เปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว จากสงครามโลกทั้งสองครั้ง สงครามเย็น และสิ่งที่ตามมา ผู้น�ำทางการเมืองที่กรุงเทพฯ ก็ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายไปมาระหว่างการกลืนชาติกับการปรับความสัมพันธ์ให้ประนีประนอม กันได้ในพื้นที่ภาคใต้ ในเวลาเดียวกัน คนในพื้นที่ก็ต้องเผชิญกับทั้งช่วงเวลาที่มีการต่อต้านขัดขืน อย่างหนักกับช่วงของการปรับตัว ปัจจุบนั คนมุสลิมมลายูรนุ่ ใหม่สว่ นใหญ่ ซึง่ มีอยูป่ ระมาณร้อยละ 80 ของประชากรในพื้นที่นั้นคุ้นเคยกับการสนทนาด้วยภาษาไทย เรียนรู้วัฒนธรรมและระบบการเมือง ของไทย แต่ก็ยังคงยึดมั่นในภาษา วัฒนธรรมประเพณี และศาสนาของตน บนเวทีการเมือง วาทกรรมทีป่ ระชันกันระหว่างรัฐกับขบวนการมลายูมสุ ลิมนัน้ เป็นทีโ่ ดดเด่น ขึ้นมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาสู่ระบอบรัฐธรรมนูญอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขในปี พ.ศ. 2475 โดยเฉพาะในบริบทของการช่วงชิงอ�ำนาจที่ศูนย์กลางพระนคร ในช่วง ทศวรรษที่ 1930 และ 1940 (หลังปี พ.ศ. 2475 ถึงปี พ.ศ. 2492) ระหว่างชนชัน้ ปกครองปีกอ�ำนาจ นิยมกับปีกเสรีนิยม ในขณะที่ผู้น�ำประเทศไทยให้ความสนใจกับการสร้างความเป็นปึกแผ่นโดยการ รวมศูนย์อ�ำนาจเข้าสู่ส่วนกลางและที่ชายแดน หลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วพลิกผันที่ เกิดขึ้นระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการปาตานีกลับให้ความสนใจกับการแสวงหา รูปแบบโครงสร้างการปกครองที่เป็นทางเลือกอื่น 22


Duncan McCargo ศาสตราจารย์ชาวอังกฤษด้านรัฐศาสตร์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศึกษา อธิบายถึงประเด็นส�ำคัญของค�ำว่าความขัดแย้ง ว่าเป็น ‘ความชอบธรรมที่ประชันขันแข่ง กัน’ (competing legitimacy) หน่วยงานรัฐมักจะหลีกเลี่ยงค�ำว่า ‘ความขัดแย้งด้วยก�ำลังอาวุธ’ (armed conflict) ในการนิยามความรุนแรงที่ก�ำลังด�ำเนินอยู่นี้ แม้จะดูเหมือนว่าความไม่ชอบใจ ถ้อยค�ำดังกล่าวจะเปลี่ยนไปบ้างแล้วก็ตาม พวกเขาเน้นไปในจุดที่ว่า ความรุนแรงดังกล่าวนี้ไม่ได้ มาจาก ‘การก่อการร้าย’ ที่ปฏิบัติการโดย ‘ผู้ก่อความไม่สงบ’ เท่านั้น หากแต่ยังมีสาเหตุมาจาก อาชญากรรมหรือความขัดแย้งส่วนตัวอีกด้วย สิ่งที่ไม่อาจโต้แย้งได้ก็คือตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา ลักษณะของขบวนการต่อต้านก็ เปลี่ยนไปในช่วงจุดสูงสุดของสงครามเย็น จากที่น�ำโดยชนชั้นน�ำสายจารีตมาสู่องค์กรติดอาวุธที่ขับ เคลื่อนด้วยอุดมการณ์มากยิ่งขึ้น องค์กรส�ำคัญ ๆ ในช่วงนั้นยังท�ำงานอยู่จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าองค์กร เหล่านั้นจะผ่านการแตกตัวและรวมตัวกันหลายครั้ง กระทั่งมีการปรับโครงสร้างภายในกันอีกหลาย หน ดังเช่น แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติปาตานี (BNPP) องค์การปลดปล่อยสหปาตานี (PULO) และ แนวร่วมปฏิวตั แิ ห่งชาติ (BRN) นักสังเกตการณ์สว่ นใหญ่ประเมินว่า PULO เป็นองค์กรทีท่ ำ� งานอย่าง แข็งขันอย่างมากกระทัง่ ถึงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษทีแ่ ล้ว และ BRN ได้กลายเป็นองค์กรหลักในการ ต่อสู้ที่ใช้ก�ำลังอาวุธหลังปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) เป็นต้นมา ส่วน BNPP นั้น ไม่มีปีกการทหาร ของตนอีกต่อไปแล้ว กลุ่มหลัก ๆ ที่ได้แยกตัวออกมาก็เปลี่ยนชื่อไปเป็นแนวร่วมปลดปล่อยอิสลาม ปาตานี (BIPP) ในเวลาต่อมา เมื่อเริ่มต้นเข้าสู่คริสต์ศตวรรษใหม่ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา) นักเคลื่อนไหวที่ติด อาวุธรุ่นใหม่ได้เข้าครองการน�ำในองค์กรปาตานี-มลายู อย่างน้อยที่สุดก็ในระดับพื้นที่ ถึงแม้ว่าจะ สันนิษฐานกันว่าการน�ำยังอยู่ในมือของกลุ่มคนระดับตัดสินใจในองค์กรอย่าง BRN และ PULO อยู่ ก็ตาม แต่ค�ำถามที่ว่าเหตุใดคลื่นความไม่สงบระลอกล่าสุดที่ต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบันนั้นจึงเริ่มต้น ขึ้นในช่วงนั้น เรื่องนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ส�ำหรับปริมณฑลสาธารณะแล้ว ปี พ.ศ. 2547 เป็นปี ที่คนทั่วไปกล่าวขานว่าเป็นปีเริ่มต้นความรุนแรงระลอกใหม่ เพราะมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น ต่อเนื่องอย่างชัดแจ้ง แต่แท้จริงแล้วการยกระดับความรุนแรงเริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2544 สาธารณชนรู้สึกถึงความเปลีย่ นแปลงในระดับพืน้ ฐานในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 เมือ่ กองก�ำลังติด อาวุธกลุม่ ใหญ่กลุม่ หนึง่ บุกเข้าโจมตีกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ�ำเภอ เจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ยิงทหารเสียชีวิตไป 4 นาย และปล้นอาวุธไปเป็นจ�ำนวนมาก ในเวลา ใกล้เคียงพร้อมกันนั้นก็ได้มีการวางเพลิงเผาโรงเรียน 20 แห่ง และสถานที่ราชการอีกจ�ำนวนหนึ่ง 23


ค� ำ อธิ บายทั่ ว ไปซึ่ ง เป็นที่เห็นพ้องต้องกันก็คือ การปรับเปลี่ยนนโยบายภาคใต้ในยุค ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี (ช่วง พ.ศ. 2544-2549) มีส่วนอย่างมากต่อการยกระดับ ความรุนแรงดังกล่าว ศูนย์อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อ เป็นกลไกแก้ปญ ั หาและสร้างความเชือ่ มัน่ ไว้วางใจระหว่างผูน้ ำ� ในกรุงเทพฯ กับผูท้ รงอิทธิพลต่าง ๆ ใน ภูมภิ าคก็ถกู ยุบลงไปโดยรัฐบาลชุดนี้ (ต่อมา ศอ.บต. ถูกรือ้ ฟืน้ จัดตัง้ ขึน้ ใหม่) และสัง่ การให้เจ้าหน้าที่ ต�ำรวจเปลี่ยนมาใช้นโยบาย ‘รักษาความสงบเรียบร้อย’ (Law and Order) อย่างเหี้ยมเกรียม ภาย ใต้การพิจารณาว่ากองก�ำลังติดอาวุธส่วนใหญ่เป็น ‘โจร’ ที่ข้องเกี่ยวกับอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ แต่ก็ยังมีค�ำอธิบายเพิ่มเติมที่ประชันกับทัศนะข้างต้น หนึ่งในนั้นระบุว่า สมาชิกบางส่วนของ ขบวนการฯ ได้มกี ารเตรียมการเพือ่ ก่อความรุนแรงระลอกใหม่มานานตัง้ แต่กลางทศวรรษ 1990 (ช่วง พ.ศ. 2533-2542) ในบริบทของวาทกรรมหลังสงครามเย็นว่าด้วย ‘การปะทะกันระหว่างอารยธรรม’ และเพื่อตอบโต้มาตรการของหน่วยงานความมั่นคงทั้งฝ่ายทางการไทยและทางการมาเลเซียที่ร่วม กันยับยั้งกิจกรรมของผู้ก่อความไม่สงบ อีกค�ำอธิบายหนึ่งเน้นไปที่การตอบโต้กับ ‘สงครามต่อต้าน การก่อการร้าย’ ที่น�ำโดยประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) เป็นต้นมา ซึ่งได้ กระตุ้นความคิดที่น�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากมากยิ่งขึ้นในความขัดแย้งภายในประเทศใน พื้นที่ต่าง ๆ ที่มีชนชาวมุสลิมเกี่ยวข้อง และเราคงไม่สามารถมองข้ามความจริงอันเปราะบางที่ว่า พลังขับเคลื่อนความรุนแรงที่ร้ายกาจที่สุดก็คือความรุนแรง หลังการเข้าโจมตีปล้นอาวุธในเดือน มกราคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดความรุนแรงใหญ่ 2 ครั้ง ซึ่งได้กลายเป็นความทรงจ�ำบาดลึกที่จะอยู่กับ ชนชาวมุสลิมมลายูในพื้นที่นี้ไปอีกนาน นั่นคือ เหตุการณ์กรือเซะในเดือนเมษายน พ.ศ. 2547 และ โศกนาฏกรรมตากใบในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน ในกรณีแรก ความไม่สงบที่ปะทุขึ้นรอบ ๆ บริเวณมัสยิดกรือเซะ ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของ ชาวบ้าน ได้น�ำไปสู่การบุกจู่โจมอย่างหนัก โดยใช้วิธีการระดมยิงสังหาร ท�ำให้ผู้ก่อการเสียชีวิตไป 31 คน ส่วนในกรณีที่สอง การชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานีต�ำรวจได้น�ำไปสู่การเข้าสลายการชุมนุม โดยทหาร และจบลงด้วยการจับกุมเด็กหนุ่มหลายร้อยคนมัดมือไพล่หลังคว�่ำหน้าลง แล้วให้นอน กองก่ายซ้อนทับกันในรถบรรทุกของกองทัพ เพื่อที่จะเดินทางไปยังสถานที่ควบคุมตัวของกองทัพ ในพื้นที่ซึ่งอยู่ไกลออกไป ระหว่างการเดินทางมีผู้ถูกจับกุมเสียชีวิตไป 78 คน เกือบทั้งหมดเป็นผล มาจากขาดอากาศหายใจ แม้ว่าต่อมากองทัพบกได้แสดงความรับผิดชอบต่อความโหดร้ายที่เกิดขึ้น โดยจ่ายสินไหมชดเชยให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีบุคลากรของรัฐคนใดถูกไต่สวน เพื่อต้องรับผิดชอบ 24


ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา พืน้ ทีแ่ ห่งนีก้ ป็ ระสบกับชุดของเหตุการณ์ความรุนแรงและการ ตอบโต้กันไปมาอย่างต่อเนื่อง พลรบและพลเรือนของทั้งสองฝ่ายถูกเข่นฆ่า ถูกท�ำร้ายจนพิกลพิการ สูญเสียชีวติ คนในครอบครัว บางครัง้ ก็สญ ู เสียบ้านเรือนทีอ่ ยูอ่ าศัย ต้องอพยพหลบลีห้ นีภยั ไปอยูท่ อี่ นื่ หรือไม่ก็อยู่อย่างหวาดผวาไปตลอดชีวิต น่าเศร้าที่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทุก ๆ ครั้ง นอกจากจะ ส่งผลกระทบต่อเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายแล้ว ยังก่อให้เกิดความเคืองแค้นที่น�ำไปสู่การใช้ความรุนแรง เป็นวัฏจักรแห่งความชั่วร้ายที่ยืดเยื้อเรื้อรังไม่สิ้นสุด การตอบสนองของรัฐไทยหลังปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา มุ่งเน้นไปที่มาตรการหลัก 4 รูปแบบ คือ การดูแลในเรื่องความมั่นคงปลอดภัย การพัฒนา การศึกษา และการรักษากฎหมาย ซึ่งรวมถึง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative justice) ด้วย ในบรรดามาตรการเหล่านี้มีความ ก้าวหน้าในบางระดับ แม้ว่าจะยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องประสิทธิผลและประสิทธิภาพของ มาตรการต่าง ๆ การเพิ่มระดับของมิติในด้านความมั่นคง (Securitization) ในพื้นที่ ทั้งการเพิ่ม จ�ำนวนก�ำลังพลที่ประจ�ำการอยู่ ทั้งในหน่วยทหาร กองก�ำลังป้องกันตนเอง และกองก�ำลังอื่น ๆ ได้ ลดระดับของความรุนแรงลงจริงในปี พ.ศ. 2550 แต่ก็ยังปรากฏว่าระดับความรุนแรงนั้นได้กลายมา เป็นความขัดแย้งที่มีลักษณะยืดเยื้อเรื้อรังไปแล้ว ในท�ำนองเดียวกัน ยังมีการใช้จ่ายงบประมาณสูงลิ่วไปยังโครงการต่าง ๆ ด้วยข้ออธิบายที่ว่า งบประมาณเหล่านี้จะช่วยบูรณาการประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบ เศรษฐกิจของประเทศ แต่ผลสะเทือนอย่างที่ต้องการก็ยังคงมีอยู่อย่างจ�ำกัด งบประมาณที่จัดสรร มานั้นส่วนใหญ่ถูกใช้ในการลงทุนภาครัฐ แทนที่จะสนับสนุนในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ทัง้ ยังมีปญ ั หาไม่นอ้ ยในเรือ่ งการทุจริตคอรัปชัน่ และการจัดการงบประมาณทีผ่ ดิ พลาด ส่วนในเรือ่ ง การศึกษา การรักษากฎหมาย และกระบวนการยุตธิ รรมเชิงสมานฉันท์นนั้ ก็พบว่ามีความก้าวหน้าที่ ส�ำเร็จลุลว่ งบางอย่าง แต่อปุ สรรคหลัก ๆ ก็ยงั ไม่ได้ถกู หยิบยกขึน้ มามากนัก นัน่ คือ ความจ�ำเป็นในการ ปฏิรปู ระบบธรรมาภิบาลให้สามารถรับมือกับปัญหาของความขัดแย้งทีเ่ กีย่ วข้องกับความชอบธรรมได้ สถานการณ์การเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปในปี พ.ศ. 2556 หลังรัฐบาลที่น�ำโดยพรรคเพื่อไทย ภายใต้การน�ำของอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร (น้องสาวคนเล็กของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร) ซึ่งได้ประกาศเจตนารมย์ที่จะเข้าสู่กระบวนการพูดคุยสันติภาพกับตัวแทนกลุ่ม BRN อันที่จริงนี่ก็ไม่ใช่การริเริ่มครั้งแรกในการพูดคุยกันโดยตรงระหว่างสองฝ่าย เพราะได้มีความ พยายามลักษณะนีอ้ ย่างไม่เปิดเผยมาแล้วหลายครัง้ บางครัง้ ก็ดว้ ยความสนับสนุนจากฝ่ายทีส่ าม แต่ 25


ก็ยงั ไม่มคี รัง้ ใดเลยทีไ่ ด้ผลลัพธ์เป็นเรือ่ งเป็นราว การริเริม่ ในปี พ.ศ. 2556 นัน้ ถือเป็นก้าวส�ำคัญทีน่ ำ� ไปสูก่ ระบวนการสันติภาพทีม่ คี วามหวังในอนาคต นัน่ คือการทีร่ ฐั บาลไทยยอมรับเป็นครัง้ แรกอย่าง เป็นทางการ ว่าความไม่สงบทีเ่ กิดขึน้ นัน้ ขับเคลือ่ นด้วยความขัดแย้งทางการเมือง และจ�ำเป็นต้องหา ทางออกด้วยวิธกี ารทางการเมือง นอกจากนี้ ยังได้เชิญให้รฐั บาลมาเลเซียเข้ามามีสว่ นในการอ�ำนวย ความสะดวกในการพูดคุยอีกด้วย การเข้ า มาข้ อ งเกี่ ย วของประเทศมาเลเซี ย ถู ก วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ จ ากบางคนว่ า ไม่ มี ค วาม เป็นกลางมากพอ ข้อวิพากษ์เหล่านั้นมาจากทั้งในหน่วยงานความมั่นคงของไทย ฝ่ายขบวนการ ปาตานี-มลายู และจากผู้สังเกตการณ์นอกประเทศ แต่ก็มีคนอื่นกล่าวแย้งว่า ทั้งไทยและมาเลเซีย ต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่จะท�ำให้ชายแดนของทั้งสองประเทศมีเสถียรภาพ จากเงื่อนไข ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ก�ำลังใกล้ก่อตัวขึ้น และเชื่อว่าโอกาสที่จะตกลงกันทางการเมือง จะส�ำเร็จมากยิ่งขึ้นหากมาเลเซียได้มีส่วนในการร่วมสร้างสันติภาพครั้งนี้ ในการเข้าร่วมกระบวนการพูดคุยสันติภาพ คณะพูดคุยฝ่าย BRN ได้ยอมรับที่จะน�ำไปสู่ ทางออกของความขัดแย้งภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การโอนอ่อนผ่อนปรนดัง กล่าวนีไ้ ด้กลายมาเป็นทีโ่ ต้เถียงกันอย่างมากเมือ่ ต่อมาคณะพูดคุยฝ่าย BRN ได้ยนื่ ข้อเสนอห้าประการ ซึ่งผู้แทนรัฐบาลไทยบางส่วนมีความเห็นว่าแข็งกร้าวเกินไปและไม่อาจยอมรับได้ ข้อเสนอประการ แรกเกีย่ วโยงกับการยอมรับว่าประชาชนปาตานี-มลายูในพืน้ ทีแ่ ห่งนีม้ สี ทิ ธิในการก�ำหนดชะตากรรม ของตนเอง อันเนือ่ งมาจากการทีถ่ กู ยึดครองเป็นอาณานิคมโดยรัฐสยามในอดีต ข้อเรียกร้องทีว่ า่ นีไ้ ม่ ได้ลว่ งละเมิดกรอบรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการใด ๆ ข้อเรียกร้องข้ออืน่ ๆ เกีย่ วข้องกับการยอมรับ สถานะของ BRN ในฐานะที่เป็นตัวแทนที่ชอบธรรมของชนปาตานีมลายู ข้อเรียกร้องที่ให้มาเลเซีย เป็นคนกลางไกล่เกลีย่ (Mediator) ซึง่ มิใช่เป็นเพียงผูอ้ ำ� นวยความสะดวก (Facilitator) ข้อเรียกร้อง ทีใ่ ห้ตวั แสดงนานาชาติและภาคประชาสังคมได้เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ และข้อเรียกร้องทีต่ อ้ งการให้ ปล่อยตัว ‘นักโทษการเมือง’ ข้อเรียกร้องเหล่านี้มิใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใดเมื่อเปรียบเทียบกับข้อเรียกร้องของ ขบวนการก่อความไม่สงบในกรณีความขัดแย้งภายในประเทศในทีอ่ นื่ ๆ ทีข่ อ้ ตกลงสันติภาพมักจะน�ำ ไปสูก่ ารปกครองตนเองในรูปแบบใดรูปแบบหนึง่ ในท้ายทีส่ ดุ แต่สงิ่ ทีท่ ำ� ให้ขอ้ เรียกร้องของกลุม่ BRN ครั้งนี้ยากก็คือ การที่ผู้น�ำกลุ่มนั้นยืนยันว่ารัฐบาลไทยจะต้องยอมรับข้อเสนอ ‘ในหลักการ’ ในขณะ ที่คณะพูดคุยฝ่ายรัฐไทยนั้น ไม่มีทั้งอ�ำนาจในการที่จะหยิบยื่นการผ่อนปรนทางการเมืองใด ๆ และ 26


ยังไม่มีความสามารถมากพอที่ลงลึกในการพูดคุยเพื่อพัฒนากระบวนการสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจ ต่อกัน ตลอดจนข้อตกลงร่วมกันที่มีเนื้อหาสาระมากขึ้นไปกว่านั้น เช่นเดียวกันกับกระบวนการสันติภาพในที่อื่น ๆ ประสบการณ์ท�ำนองนี้น�ำไปสู่ความผิด หวังด้วยกันทั้งสองฝ่าย ปัญหาหลักอยู่ที่ความเข้าใจต่อค�ำว่า ‘สันติภาพ’ ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ส�ำหรับรัฐบาลไทย สังคมไทยกระแสหลัก และสื่อมวลชน สันติภาพนั้นหมายถึงเพียงการยุติการใช้ ความรุนแรงเป็นด้านหลัก แต่ส�ำหรับขบวนการปาตานีมลายูและผู้ให้การสนับสนุนจ�ำนวนมากเห็น ว่าสันติภาพนั้นยังหมายรวมถึงการย้อนไปจัดการกับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อก่อให้เกิด ความเท่าเทียมและเคารพศักดิ์ศรีมากยิ่งขึ้น ทั้งยังหมายถึงการตระหนักยอมรับสิทธิในการก�ำหนด ชะตากรรมของตนเอง (ระดับภายใน) ([Internal] Self-determination) ความคาดหวังที่แตก ต่างระหว่าง ‘สันติภาพเชิงลบ’ (Negative peace) และ ‘สันติภาพเชิงบวก’ (Positive peace) นับเป็นอุปสรรคปมใหญ่ของความพยายามในการหาข้อยุตคิ วามขัดแย้งภายในภูมภิ าคชายแดนใต้นี้ ดังนัน้ เพือ่ ให้สามารถก้าวข้ามปมปัญหานีไ้ ด้ เป็นเรือ่ งจ�ำเป็นทีท่ งั้ สองฝ่ายจะต้องเรียนรูท้ จี่ ะพิจารณา ความขัดแย้งจากมุมมองของอีกฝ่ายหนึ่ง ความสามารถในการพิจารณาความขัดแย้งจากมุมมองของอีกฝ่ายนีเ้ ป็นสิง่ จ�ำเป็นเมือ่ ต้องการ ให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ของความพยายามเพื่อสันติภาพ เช่น ข้อตกลงหยุดยิง เป็นต้น ในกรณีส่วนใหญ่ แล้ว บรรดาผู้ก่อความไม่สงบจะเต็มใจที่จะพักรบอย่างเป็นทางการก็ต่อเมื่อฝ่ายเขามั่นใจมากพอ ว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีความจริงจังที่จะโอนอ่อนผ่อนตามทางการเมืองอย่างเป็นรูปธรรมได้ การขาดความ เชือ่ มัน่ ไว้วางใจและขาดความต่อเนือ่ งมัน่ คงของการเจรจาเป็นสาเหตุหลักสองประการทีอ่ ธิบายได้ว่า เหตุใดการหยุดยิงที่จ�ำกัดห้วงเวลาในช่วงการถือศีลอดของปี 2556 (10 กรกฎาคม - 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556) ถึงไม่ได้ผล แม้ในตอนต้นดูคล้ายว่าจะไปได้สวยก็ตาม คสช. ได้กล่าวย�ำ้ ว่ามีความปรารถนาทีจ่ ะเดินหน้าการพูดคุยสันติภาพต่อไป ระหว่างนีก้ ไ็ ด้จดั ตั้งโครงสร้างของหน่วยงานก�ำกับดูแลและหน่วยงานบริหารเพื่อรองรับเป้าประสงค์ดังกล่าว ขณะ เดียวกัน คสช. ยังได้แถลงด้วยว่า จะไม่มีวาระในการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารปกครองใด ๆ และ เมือ่ ไม่นานมานี้ คสช. ยังได้แถลงอีกว่า ข้อเสนอทัง้ ห้าประการของกลุม่ BRN ไม่ควรถูกบรรจุเป็นวาระ หากแต่รัฐบาลปรารถนาที่จะรับฟังความคิดเห็นและข้อเรียกร้องจาก ‘ชาวบ้านในพื้นที่’ มากกว่า

27


ค�ำถามปลายเปิดข้อส�ำคัญประการหนึ่ง คือ การด�ำเนินกระบวนการครั้งใหม่นี้จะอ้างอิง เอกสารการพูดคุยสันติภาพที่ลงนามไปเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมาก น้อยเพียงไร นีอ่ าจเป็นประเด็นทีส่ ำ� คัญส�ำหรับรัฐบาลมาเลเซียทีต่ อ้ งการได้รบั การมอบหมายในบาง ระดับเพื่อที่จะแสดงบทบาทในฐานะฝ่ายที่สาม ซึ่ง คสช. ยังมิได้คัดค้านโดยหลักการแต่ประการใด นอกจากนี้ อีกเรือ่ งหนึง่ ทีย่ งั คงไม่ชดั เจนก็คอื บรรดาขบวนการติดอาวุธจะสนองตอบต่อโครงสร้างที่ จัดขึน้ ใหม่อย่างไร และกลุม่ BRN จะสามารถค้นคิดแนวทางทีส่ ร้างสรรค์อย่างไรส�ำหรับค�ำแถลงก่อน หน้านี้ที่ระบุให้มีการยอมรับข้อเรียกร้องทั้งห้าประการก่อนที่จะเริ่มต้นการพูดคุยรอบใหม่ การคลี่คลายความขัดแย้งภายในประเทศที่ยืดเยื้อเรื้อรังเป็นงานระยะยาวที่ต้องใช้เวลา หลายปี หรือกระทัง่ หลายสิบปี กระบวนการสันติภาพส่วนมากมีทงั้ ช่วงดีขน้ึ และเลวลง หนึง่ ในเรือ่ งที่ เรียนรูไ้ ด้จากกรณีทปี่ ระสบความส�ำเร็จในรอบ 30 ปีทผี่ า่ นมา อย่างเช่น ในไอร์แลนด์เหนือ หรือเมือ่ เร็ว ๆ นี้ที่มินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ก็คือ ตัวแสดงและองค์กรภาคประชาสังคมได้แสดงบทบาท ส�ำคัญในกระบวนการสันติภาพ หากไร้ซึ่งแรงสนับสนุนจากพวกเขาที่ต่อเนื่อง พร้อมความพยายาม ทัง้ ในด้านทีเ่ ปิดกว้างและลึกซึง้ รวมถึงบางครัง้ ทีย่ งั ได้ชว่ ยรือ้ ฟืน้ คืนกระบวนการสันติภาพทีช่ ะงักงัน ให้ด�ำเนินการต่อไปได้ สันติภาพที่ได้มาในไอร์แลนด์เหนือและมินดาเนาก็คงเป็นไปไม่ได้ หนึง่ ในความริเริม่ เมือ่ ตอนต้นปี พ.ศ. 2557 ก็คอื เครือข่ายในพืน้ ทีซ่ งึ่ มีชอื่ ว่า ‘พืน้ ทีก่ ลางสร้าง สันติภาพจากคนใน’ (Insider Peacebuilders Platform, IPP) ซึ่งได้จัดท�ำเอกสารข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายขึ้นมาฉบับหนึ่งมีชื่อว่า ‘เราจะท�ำให้กระบวนการสันติภาพเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร?’ กลุ่มนักเคลื่อนไหวสันติภาพดังกล่าวไม่เพียงแต่ชี้ให้เห็นข้อจ�ำกัดสองสามประการของกระบวนการ สันติภาพในปี พ.ศ. 2556 หากแต่ยังชูให้เห็นคุณูปการของกระบวนการดังกล่าวด้วย พร้อมทั้ง น�ำเสนอชุดของข้อเสนอแนะทีจ่ ะท�ำให้ความพยายามเพือ่ สันติภาพต่อจากนีใ้ ห้บรรลุผลได้มากยิง่ ขึน้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ พวกเขาเสนอว่าฟากฝ่ายต่าง ๆ ทีอ่ ยูใ่ นกระบวนการพูดคุยและเจรจาจะต้องช่วย กันจัดตัง้ โครงสร้างพืน้ ฐานทีแ่ ข็งแรง เพือ่ เปิดให้มโี อกาสในการสร้างความไว้วางใจและความเชือ่ มัน่ ซึง่ กันและกัน รวมทัง้ ให้มกี ารสนับสนุนอย่างมืออาชีพในการรับมือกับการท�ำงานในประเด็นความขัด แย้งทีม่ กี ารโต้เถียงกันอย่างหนัก นอกจากนัน้ พวกเขายังมีขอ้ เสนอทีใ่ ห้มกี ารปรับปรุงการมีสว่ นร่วม ของประชาชนให้มีหลากหลายระดับ (Multi-track) จากทุกกลุ่มคน ทุกชนชั้น ทุกเชื้อชาติศาสนา เพื่อให้กระบวนการสันติภาพนั้นวางอยู่บนฐานที่เปิดกว้างและยืดหยุ่นมากพอที่จะรองรับความ ท้าทายทั้งหลายที่กระบวนการสร้างสันติภาพจะต้องฟันฝ่า 28


บุคลากรทางการแพทย์เป็นตัวแทนที่ส�ำคัญอีกกลุ่มหนึ่งส�ำหรับการท�ำงานเชิงรุกในการแปร เปลีย่ นความขัดแย้งในชายแดนใต้ ด้วยฐานะทีเ่ ป็นทีย่ อมรับในพืน้ ทีแ่ ละฝังรากลึกภายในชุมชนมลายู มุสลิม ไทยพุทธ และไทยจีน และด้วยมาตรฐานความเป็นมืออาชีพและจริยธรรมในการประกอบ อาชีพ พวกเขาเหล่านีย้ อ่ มตระหนักดีถงึ ความจ�ำเป็นเร่งด่วนในการแปรเปลีย่ นความขัดแย้งอย่างสันติ และตระหนักในศักยภาพของตนเองที่จะเป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนผ่านครั้งนี้

29


บทที่ 3

กระบวนการสันติภาพของวิชาชีพสุขภาพท่ามกลางไฟใต้ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์, เมตตา กูนิง, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย และ วัลภา ฐาน์กาญจน์ ในปี พ.ศ. 2505 ส�ำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เริม่ วางแผนสร้างมหาวิทยาลัย แห่งแรกในภาคใต้ เพือ่ เพิม่ โอกาสทางการศึกษาระดับสูงในภูมภิ าคซึง่ ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ทีส่ ดุ ระยะ นัน้ เยาวชนมุสลิมชายแดนใต้เกือบทัง้ หมดได้รบั การศึกษาในระบบปอเนาะ ซึง่ ไม่สามารถแข่งขันกับ เยาวชนจากพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ประเทศไทยต้องใช้เวลานับทศวรรษในการลด ช่องว่างทางการศึกษานี้ เมือ่ แรกเริม่ มหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ได้ถกู ก�ำหนดให้สร้างทีช่ ายฝัง่ ทะเล ต�ำบลรูสะมิแล อ�ำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยได้รบั งบประมาณครัง้ แรกในปี พ.ศ. 2508 เพือ่ ก่อตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่การตรวจสอบทางวิชาการพบว่าพืน้ ดินของมหาวิทยาลัยอ่อน และอยูใ่ กล้ทะเลมากเกินไป ไม่เหมาะ ส�ำหรับการจัดตัง้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ซงึ่ ต้องการฐานรากทีแ่ ข็งแรงและห่างไกลจากละอองน�ำ้ ทะเล จึง มีการปรับพิมพ์เขียวของมหาวิทยาลัยภาคใต้ให้ไปก่อสร้างทีต่ ำ� บลคอหงส์ อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นอีกหนึง่ วิทยาเขต วิทยาเขตนีเ้ น้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึง่ รวมทัง้ วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ส่วนวิทยาเขตปัตตานีเน้นทางด้านศึกษาศาสตร์ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2510 มหาวิทยาลัยภาคใต้ได้รับพระราชทานนามว่า ‘มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์’ โดยมีชอื่ ย่อของมหาวิทยาลัยว่า ‘ม.อ.’ ซึง่ ย่อจากพระนาม ‘มหิดลอดุลยเดช’ เพือ่ เพิม่ โอกาสทางการ ศึกษาให้แก่ชาวใต้ ม.อ. เปิดโอกาสให้นักเรียนที่จบการศึกษามัธยมปลายจากโรงเรียนในภาคใต้ให้ สอบเข้าก่อนโดยมีสัดส่วนครึ่งหนึ่งของการรับทั้งหมด ครึ่งที่เหลือมาจากการสอบรวมทั่วประเทศ ทั้งนี้ เยาวชนภาคใต้จึงมีโอกาสในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยถึงสองรอบ ในระยะสองทศวรรษแรก ม.อ. ให้ความส�ำคัญกับการจัดการศึกษา มีงานวิจยั ด้านสุขภาพน้อย มาก โดยเฉพาะพื้นที่มุสลิมชายแดนใต้ซึ่งมีสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากบริบทสยามทั่วไป จน กระทั่งในปี พ.ศ. 2529 มูลนิธิฟอร์ดได้ให้ทุนวิจัยขนาดใหญ่สนับสนุนการจัดตั้งหน่วยระบาดวิทยา ที่คณะแพทยศาสตร์เพื่อท�ำวิจัยปัญหาสุขภาพภาคใต้ 30


หน่วยระบาดวิทยาตัง้ ยุทธศาสตร์ของงานวิจยั ไว้อย่างชัดเจน เน้นการค้นคว้าปัญหาสุขภาพจากความ ยากจนและความแตกต่างด้านสังคมและการเมือง จึงมีงานวิจยั ภาคสนามชายแดน พบปะผูค้ นในหมูบ่ า้ น สร้างการมีสว่ นร่วมบ่มเพาะเยาวชน นักวิจยั ภาคสนามและเจ้าหน้าทีใ่ นหน่วยฯ ทีม่ าจากวัฒนธรรมมุสลิม มลายู ให้ได้เรียนรูม้ โี อกาสในการท�ำงานเพือ่ ให้เท่าเทียมกับเยาวชนทีม่ าจากวัฒนธรรมหลักของสยาม ด้วยคุณภาพและมาตรฐานงานวิจยั ในพืน้ ที่ซงึ่ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ และการ ร่วมมือของระบบสาธารณสุขในพื้นที่ ผลงานวิจัยจึงเป็นที่ยอมรับและน�ำไปปรับปรุงนโยบายและ แผนงานของระบบสาธารณสุข ในทีส่ ดุ มีสว่ นช่วยในการป้องกันการระบาดและลดความรุนแรงของปัญหา โรคติดเชือ้ และโรคจากความยากจนต่าง ๆ เช่น การตายของมารดาและทารก โรคอุจจาระร่วงและทางเดิน หายใจ บาดทะยักในเด็กแรกคลอด และโรคหนอนพยาธิ เป็นต้น โดยทีผ่ ลงานของหน่วยระบาดวิทยาเป็นทีย่ อมรับอย่างกว้างขวาง ในปี พ.ศ. 2535 องค์การอนามัย โลกจึงได้ให้การสนับสนุนหน่วยระบาดวิทยาให้จดั ตัง้ หลักสูตรระบาดวิทยานานาชาติ ผลิตนักวิจยั สุขภาพ รุน่ ใหม่ให้กบั สถาบันวิจยั ต่าง ๆ ในเอเซีย นับจากก่อตัง้ จนถึงปี พ.ศ. 2557 ทีจ่ ดั ท�ำหนังสือฉบับนี้ หลักสูตร นีไ้ ด้ผลิตดุษฎีบณ ั ฑิตและมหาบัณฑิตรวมแล้วกว่า 150 คน จาก 17 ประเทศในเอเซียและแอฟริกา ผลงาน วิจยั ทีผ่ า่ นมาท�ำให้หน่วยระบาดวิทยาได้รบั ทุนวิจยั จากองค์การนานาชาติและแหล่งทุนวิจยั ในประเทศไทย อย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ ช่วยเพิม่ ศักยภาพของหน่วยระบาดวิทยาในการแก้ปญั หาสาธารณสุขของภาคใต้โดยรวม ในปี พ.ศ. 2547 สืบเนือ่ งจากความส�ำเร็จดังกล่าว ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) ได้รว่ มกับ ม.อ. สนับสนุนการจัดตัง้ ‘สถาบันวิจยั และพัฒนาสุขภาพภาคใต้’ หรือ วพส. ช่วงระยะเวลาทีเ่ ริม่ เปิดการท�ำงานของ วพส. ก็บงั เอิญเป็นช่วง เดียวกันกับการปะทุระเบิดของไฟใต้

ความรุนแรงเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่ส�ำคัญที่สุดของภาคใต้

การลุกลามอย่างไม่คาดฝันของไฟใต้น�ำมาซึ่งความสลดหดหู่ ความรู้สึกมืดมนในอนาคตของ คนในพืน้ ทีแ่ ละคนในชาติโดยรวม นอกจากบาดเจ็บและเสียชีวติ แล้ว บาดแผลติดเชือ้ ทางสังคมจาก ความหวาดระแวง ความโกรธและความเกลียดชังทางชาติพันธุ์ และศาสนาแพร่ขยายลุกลามและ ร้าวลึก วพส. ถือว่านีค่ อื โรคทางสังคมทีร่ า้ ยแรงนีท้ า้ ทายการบ�ำบัดเยียวยาชาวใต้ให้รอดพ้นภัยนี้ รวม ทัง้ ป้องกันไม่ให้กลับคืนมาอีก วพส.ถือเป็นพันธกิจหลักขององค์กรและเครือข่ายทีจ่ ะต้องด�ำเนินการ ในระยะยาว ฟื้นคืนศานติ ความรักใคร่ปรองดองระหว่างเพื่อนมนุษย์ในพื้นที่ไฟใต้นี้ให้ได้ 31


จากการวิเคราะห์ผมู้ สี ว่ นได้เสียกลุม่ ต่าง ๆ ในและนอกพืน้ ที่ วพส.ก�ำหนดว่าจะต้องเสริมก�ำลัง พันธมิตรด้านวิชาการระดับอาจารย์มหาวิทยาลัย ศิษย์เก่าในพืน้ ที่ เสริมก�ำลังใจใช้วกิ ฤตไฟใต้ให้เป็น โอกาสในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจยั และวิชาการให้รบั ใช้ชมุ ชนในพืน้ ทีใ่ ห้มากขึน้ ต้องสร้างฐาน ในพื้นที่ไฟใต้ให้เข้มแข็ง ที่ ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี (ซึ่งปัจจุบันเป็นที่มั่นหลัก) มหาวิทยาลัยนราธิวาส ราชนครินทร์ซึ่งเพิ่งเปิดขึ้นใหม่ และ วิทยาลัยด้านสุขภาพในยะลา ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา และ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรยะลา มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างความเข้มแข็งทางการวิจัยและพัฒนา เสริมสมรรถนะใน การวิเคราะห์ข้อมูล และการน�ำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนและประเมินผลงานทางสาธารณสุข กิจกรรมเหล่านี้เสริมขวัญและก�ำลังใจการท�ำงาน ในที่สุด สถาบันเหล่านี้ก็พร้อมที่จะเข้าสู่การวิจัย และพัฒนาเพื่อศานติสุขภาวะ สอดคล้องกับความพร้อมในการสนับสนุนทางทรัพยากรของหน่วย งานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เช่น ศูนย์อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ กระทรวงสาธารณสุขเอง

วิชาชีพสุขภาพ เสาหลักเสาหนึ่งแห่งกระบวนการสันติภาพ

เพือ่ เสริมการท�ำงานด้านสันติภาพและการพัฒนาของสถาบันการศึกษาทีเ่ กีย่ วข้องให้เข้มแข็ง ยิ่งขึ้น หน่วยระบาดวิทยาได้ให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกเป็นพิเศษแก่นักวิชาการสาธารณสุข ในภาคใต้ ปัจจุบัน ดุษฎีบัณฑิตเหล่านี้ได้เป็นอาจารย์ประจ�ำในสถาบันต่าง ๆ ในพื้นที่ เมื่อครบ รอบทศวรรษของไฟใต้ หน่วยระบาดวิทยามีศิษย์เก่าระดับปริญญาเอกท�ำงานในจังหวัดปัตตานี และนราธิวาส 6 คน ศิษย์เก่าเหล่านี้ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ 2 คน ได้รับทุนจากในประเทศ และนานาชาติด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาและสันติภาพในภาคใต้ 4 คน รัฐบาลได้จดั ตัง้ คณะกรรมการอิสระเพือ่ ความสมานฉันท์จงั หวัดชายแดนใต้ (กอส.) ในปี พ.ศ. 2548 เพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหาความรุนแรง ในปีนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเวศ วะสี รองประธาน กอส. ได้หารือกับอาจารย์ ม.อ. และ องค์กรพัฒนาเอกชนในพืน้ ที่ ร่วมกันวิจยั ประเมินผล ว่าผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากความรุนแรงไฟใต้ได้รบั ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐมีมากน้อยเพียงไร เครือข่ายของ วพส. ในปัตตานีหาค�ำตอบโดยสร้างฐานข้อมูลจากรายงานข่าวต่าง ๆ หาจ�ำนวน เหตุการณ์และผู้ได้รับผลกระทบ เทียบตัวเลขที่ประมวลจากรายงานการให้ความช่วยเหลือของรัฐ 32


ฐานข้อมูลเหล่านี้พัฒนามาเป็นฐานข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบ ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้ง ฐานข้อมูลการเฝ้าระวังผู้บาดเจ็บจากความรุนแรงในโรงพยาบาลต่าง ๆ ของรัฐ ข้อมูลเหล่านี้น�ำมา พัฒนาเป็นฐานข้อมูลใหญ่ของพื้นที่ ใช้ในการตั้งเป้าหมายการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐ และการเยี่ยมเยียวยาทางจิตใจจากทีมงานในพื้นที่ พัฒนาการส�ำคัญอย่างหนึ่งโดยคนกลุ่มเดียวกันนี้ คือ การให้ความช่วยเหลือครอบครัว ผู้ได้รับผลกระทบ ในปี พ.ศ. 2548 ทีมงานด้านฐานข้อมูลร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครด้านจิตวิทยาใน จังหวัดปัตตานีได้จัดตั้ง ‘ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุ ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.)’ อีกสองปีต่อมาก็มีการก่อตั้ง ศวชต. นราธิวาส และ ศวชต. ยะลา ทีม่ หาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตามล�ำดับ งานการ เยี่ยมเยียนให้ความช่วยเหลือและระบบฐานข้อมูลจึงครอบคลุมพื้นที่ไฟใต้ทั้งหมด กลุ่มสตรีที่สูญเสียสามี คือ กลุ่มเป้าหมายหลักของการให้ความช่วยเหลือ ศวชต. ช่วยเหลือ ต่อเนื่องเป็นรายคน จัดกิจกรรมฟื้นฟูจิตใจ พัฒนาอาชีพเพิ่มรายได้เป็นรายกลุ่มโดยมีสมาชิกทั้งที่ เป็นพุทธและมุสลิม คนเหล่านี้ค่อย ๆ คุ้นเคยกัน และเสริมก�ำลังใจซึ่งกันและกัน แม้จะมาจากคนละชาติพันธุ์และภาษา สตรีเหล่านี้ก็มีปัญหาที่จะต้องเผชิญเหมือน ๆ กัน คือ ความยากล�ำบากของครอบครัวจากการเสียชีวิตของสามี ด้วยความปรารถนาสันติภาพและการมี กิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกัน พวกเธอจึงรวมตัวเป็น ‘กลุ่มสตรีจิตอาสา’ ช่วยกันเอง และช่วยเพื่อน สตรีใหม่ ๆ ที่เพิ่งประสบปัญหาเหมือนกัน เยียวยาจิตใจกันเอง กลุ่มสตรีเหล่านี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของ กลไกสันติภาพท่ามกลางไฟใต้

แพทย์ก็ตกเป็นเป้าได้

ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติในเรื่องความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าถึงคนไทยทุกคนทุกหย่อมหญ้าไม่เว้นสามจังหวัดชายแดนใต้ ประชาชน ในแต่ละอ�ำเภอมีโรงพยาบาลชุมชนของตน การบริการสาธารณสุขในพื้นที่ด�ำเนินการร่วมกัน โดยเจ้าหน้าที่ทั้งสองศาสนาก่อนเกิดไฟใต้ถึงสองสามทศวรรษ ปัญหาที่เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องเผชิญ ร่วมกัน คือ โรคภัยไข้เจ็บของประชาชนอันมีสาเหตุมาจากความล้าหลังทางการศึกษา ความยากจน และการขาดการปรับตัวที่ดี ซึ่งมีความรุนแรงในพื้นที่ไฟใต้มากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ (ดูราย 33


ละเอียดในบทที่ 4) ความพยายามร่วมกันเหล่านี้ส่งผลดีต่อประชาชนอย่างชัดเจน เช่น การคลอด อย่างปลอดภัย (ในโรงพยาบาล) เพิ่มจากร้อยละ 20 ในช่วงทศวรรษ 2520 เป็นร้อยละ 80 ในต้น ทศวรรษ 2540 ม.อ. โดยเฉพาะอย่างยิง่ หน่วยระบาดวิทยา มีประวัตยิ าวนานเรือ่ งความร่วมมือกับสาธารณสุข ทัง้ ในพืน้ ทีแ่ ละส่วนกลางในการเผชิญปัญหาจากความรุนแรง ทีมงานทัง้ สองฝ่ายประชุมหารือร่วมกันเป็น ระยะอย่างต่อเนือ่ งเพือ่ ก�ำหนดยุทธศาสตร์ในการท�ำงาน ด้านหนึง่ เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขเป็นข้าราชการ ต้องท�ำงานให้รฐั บาล จึงเป็นเป้าหมายการโจมตีเนือง ๆ อีกด้านหนึง่ โรงพยาบาลส่วนใหญ่กอ็ ยูใ่ นเขต ก่อการ กองก�ำลังของทัง้ สองฝ่ายอาจจะปะทะกันเมือ่ ไรก็ได้ ตามหลักสากลแล้วควรจะห้ามทุกฝ่ายพก อาวุธเข้าโรงพยาบาลเพือ่ ความปลอดภัยของทุกฝ่าย แต่โรงพยาบาลก็ไม่สามารถขอร้องกองก�ำลังของ รัฐให้ทำ� แบบนัน้ ได้ ทีร่ า้ ยไปกว่านัน้ คือ บางครัง้ ทหารก็ตงั้ จุดตรวจและจุดพักพลใกล้ ๆ โรงพยาบาล นอกจากนี้ แพทย์ยงั ต้องท�ำงานด้านนิตเิ วช ให้ขอ้ มูลหรือวัตถุพยานเพือ่ การพิสจู น์หลักฐาน ซึง่ บางครัง้ ก็โดนกดดันจากมวลชนฝ่ายตรงข้ามรัฐ โดยเฉพาะญาติของชาวบ้านทีเ่ สียชีวติ เครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนในเขตไฟใต้ได้กำ� หนดจุดยืนร่วมกันตัง้ แต่ตน้ ว่า เพือ่ ให้สามารถท�ำงาน ได้ โรงพยาบาลต้องรักษาความเป็นกลาง ให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ตอ่ ทุกฝ่ายโดยค�ำนึงถึงหลัก มนุษยธรรม ไม่มกี ารจ�ำแนก ในขณะเดียวกันก็ตอ้ งจัดการรักษาความปลอดภัยให้เข้มงวดขึน้ ในจุดทีเ่ คย หละหลวม เช่น รัว้ รอบขอบชิดต้องมีแสงสว่างอย่างทัว่ ถึงในเวลาค�ำ่ คืน และเครือ่ งมือสือ่ สารต้องได้รบั การตรวจสอบปรับให้อยูใ่ นสภาพทีด่ ที สี่ ดุ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การท�ำงานของรถพยาบาลในตอนกลางคืน จนแล้วจนรอด ความสูญเสียก็ยงั เกิดขึน้ อย่างน่าสลด สถานีอนามัยถูกเผา 2 แห่งในปี พ.ศ. 2549 และ เพิม่ เป็น 6 แห่ง ในปี พ.ศ. 2550 หนึง่ ในนัน้ เกิดขึน้ ในเวลาราชการตอนกลางวัน เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขประจ�ำสถานีอนามัยซึง่ เป็นไทยพุทธ 2 นาย ถูกสังหาร จากนัน้ ทีท่ ำ� งานถูกเผา โดยผูก้ อ่ การ ไม่ทำ� ร้ายเจ้าหน้าทีท่ เี่ ป็นมุสลิม เหตุการณ์นเี้ ร่งให้เจ้าหน้าทีไ่ ทยพุทธขอย้ายออกนอกพืน้ ที่ รัฐบาลแก้ปญั หาเจ้าหน้าทีข่ อย้ายออกโดยการให้กำ� ลังใจ และเพิม่ เงินเสีย่ งภัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เองก็เพิม่ บทบาทในการผลิตแพทย์รนุ่ ใหม่ให้พนื้ ที่ ดังกล่าวแล้วตอนต้นบทว่า พืน้ ฐานการศึกษาของ เยาวชนในพืน้ ทีไ่ ฟใต้ออ่ นกว่าระดับเฉลีย่ ของประเทศมาก ไม่พร้อมทีจ่ ะเข้ามาเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัย ทาง ม.อ. จึงได้จดั ให้คณะศึกษาศาสตร์สอนเสริมพิเศษแก่นกั เรียนมัธยมปลายในพืน้ ที่ ก่อนสอบเข้าเรียนแพทย์ 34


มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ซงึ่ เกิดขึน้ ใหม่หลังไฟใต้กเ็ ปิดคณะแพทยศาสตร์ ระหว่างทีย่ งั ไม่เข้มแข็ง การศึกษาในระยะแรกด�ำเนินการที่ ม.อ. กระทรวงสาธารณสุขก็เพิม่ อัตราพยาบาลถึง 3,000 อัตรา และ พัฒนาโรงพยาบาลศูนย์ยะลาให้เป็นโรงเรียนแพทย์ในระดับคลินกิ การพัฒนาก�ำลังคนทางด้านการแพทย์ใน เขตไฟใต้ทงั้ หมดคัดเลือกนักศึกษาจากพืน้ ทีไ่ ฟใต้ จัดการศึกษาในพืน้ ทีช่ ายแดนใต้ และมีเงือ่ นไขให้ผเู้ รียน จบกลับท�ำงานในพืน้ ที่ วิธกี ารแบบนีช้ ว่ ยแก้ปญั หาการขาดแคลนก�ำลังคนด้านสุขภาพในพืน้ ทีไ่ ฟใต้ได้อย่างดี

บัณฑิตอาสา สะพานเชื่อมสู่ชุมชน

เมือ่ ไฟใต้ลกุ ลามในปี พ.ศ. 2547 งานภาควิจยั สนามของหน่วยระบาดวิทยาต้องหยุดไป 1-2 ปี วพส. วางยุทธศาสตร์วา่ เพือ่ ทีจ่ ะฟืน้ ฟูและพัฒนาให้นกั วิชาการกับชุมชนติดต่อกัน ต้องมีตวั กลางเชือ่ ม โดยที่ ม.อ.เป็นสถาบันทีไ่ ด้รบั ความเชือ่ ถือด้านการศึกษาระดับสูงในพืน้ ที่ มีประวัตกิ ารผลิตบัณฑิตให้พนื้ ที่ มากว่าสามทศวรรษ ศิษย์ของ ม.อ. ย่อมมีความผูกพันทีด่ ตี อ่ สถาบัน หากได้รบั การพัฒนาเสริมศักยภาพ ก็จะเป็นผูน้ ำ� ในชุมชนได้ดยี งิ่ ขึน้ และเป็นสะพานแข็งแรงเชือ่ มระหว่าง ม.อ.กับชุมชน วพส.จึงได้เชิญ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการพัฒนานักพัฒนาชนบทจากส่วนกลางและภาคใต้มาช่วยกันวางแผนการณ์ฝกึ อบรม ‘บัณฑิตอาสา ม.อ.’ หรือ บอ.มอ. การฝึกเน้นการพัฒนาคุณธรรมและเพิม่ สมรรถนะด้านแนวคิดและทักษะ ในการจัดการปัญหาชุมชน โครงการบัณฑิตอาสาเป็นสะพานเชือ่ มระหว่างนักวิชาการกับชุมชนได้อย่างดี ทัง้ ยังบ่มเพาะผูน้ ำ� แห่งการเปลีย่ นแปลงในอนาคต แต่ละปี วพส. จะฝึกอบรม บอ.มอ. รุน่ ละ 20-30 คน โดยมีการปฐมนิเทศรวมกันสองสัปดาห์ ก่อนส่ง ออกไปปฏิบตั งิ านในชุมชนซึง่ มีพเี่ ลีย้ งในพืน้ ทีแ่ ละพีเ่ ลีย้ งจากโครงการบัณฑิตอาสาเองช่วยกันติดตามดูแล บอ.มอ.แต่ละคนจะวินจิ ฉัยชุมชนทีต่ นท�ำงาน หาแกนและจับกลุม่ กิจกรรมเพือ่ การพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาพ สิง่ แวดล้อม และการเรียนรูใ้ หม่ ๆ ของชุมชน ระหว่างฝึกจะมีพเี่ ลีย้ งและอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ในภาคใต้เข้าไปเยีย่ มในชุมชน ระยะเวลาการฝึกรุน่ ละหนึง่ ปี ตัง้ แต่เริม่ ต้นจนถึงปัจจุบนั มี บอ.มอ. ฝึกจนครบ หลักสูตรรวม 194 คน ส่วนใหญ่ทำ� งานอยูใ่ นภาคใต้ บอ.มอ. ทีฝ่ กึ จบไปแล้วหางานท�ำได้งา่ ยมากเนือ่ งจาก เป็นทีต่ อ้ งการของโครงการต่าง ๆ ของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน รวมทัง้ เครือข่ายของ วพส. เอง การที่ บุคคลเหล่านีไ้ ด้รบั การพัฒนาความเป็นผูน้ ำ� น่าจะมีสว่ นช่วยในการสร้างสันติภาพในชุมชนได้ในอนาคต

เรียนรูก้ ระบวนการสันติภาพจากอาเจะห์ อินโดนีเซีย

นอกเหนือจากการท�ำงานสร้างสรรค์กำ� ลังคนในพืน้ ที่ วพส. ยังสร้างสันติภาพในเขตไฟใต้จาก ภายนอกประเทศ ในกรณีนี้ คือ อาเจะห์ อินโดนีเซีย ซึง่ มีสว่ นคล้ายคลึงกับภาคใต้ของไทยหลายประการ 35


แม้พนื้ ทีท่ งั้ สองจะมีประเทศมาเลเซียและช่องแคบมะละกาคัน่ กลาง คนในสองพืน้ ทีก่ ม็ กี ารไปมาหาสูแ่ ละ ความสัมพันธ์กนั ไม่นอ้ ย ภาษาพูดของอินโดนีเซียใกล้เคียงกับภาษาปาตานี หรือ มะลายูถนิ่ ในพืน้ ทีช่ ายแดน ใต้ วัฒนธรรม วิถชี วี ติ และลักษณะพืน้ ทีข่ องทัง้ สองแห่งคล้ายกันมาก ประชาชนทัง้ สองฝ่ายประสบปัญหา ได้รบั ผลกระทบจากความรุนแรงเนือ่ งจากความขัดแย้งกับรัฐบาลกลาง อาเจะห์ได้รบั ความเสียหายจาก มหันตภัยสึนามิ เช่นเดียวกับชายฝัง่ ตะวันตกของไทย แต่สนึ ามิชว่ ยให้อาเจะห์ได้สนั ติภาพ ส่วนภาคใต้ของ ไทยนัน้ ไฟใต้ยงั ลุกโชนอยู่ กลางเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2548 ก่อนครบรอบหนึง่ ปีของสึนามิเพียงไม่กวี่ นั ศาสตราจารย์ วีระศักดิ์ จงสูว่ วิ ฒ ั น์วงศ์ ผูอ้ ำ� นวยการ วพส. รองศาสตราจารย์อไุ ร หัตถกิจ จากคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. และ อาจารย์มสั ลัน หมัดสาและ จากวิทยาลัยอิสลามยะลา (ขณะนีค้ อื มหาวิทยาลัยฟาฏอนี) ได้เดินทาง ไปอาเจะห์เพือ่ แสวงหาความร่วมมือกับอาเจะห์ สภาพของอาเจะห์ในขณะนัน้ ยังทุลกั ทุเลบอบช�ำ้ จาก ภัยสึนามิอยูม่ าก ทีมงานฝ่ายไทยกับมหาวิทยาลัยเซียกัวลาของอาเจะห์ได้เขียนโครงการร่วมกันขอความ ช่วยเหลือทางการเงินจากมูลนิธริ อ็ กกีเ้ ฟลเลอร์เพือ่ ให้สนับสนุนความร่วมมือระหว่าง ม.อ. กับ โรงเรียน พยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซียกัวลา ต่อมามูลนิธิ The Robert Wood Johnson Foundation สหรัฐอเมริกา ได้สมทบทุนให้ความช่วยเหลือเพิม่ เติม ม.อ. (ซึง่ ก็คอื วพส.) ร่วมมือทางฝ่ายอาเจะห์สามด้าน คือ ช่วยจัดตัง้ คณะพยาบาลศาสตร์ แลกเปลีย่ น บุคลากรระดับต่าง ๆ ซึง่ กันและกัน และ จัดระบบอาสาสมัครพัฒนาสุขภาพชุมชนของอาเจะห์ มีการ ฝึกอบรมบุคลากรทัง้ ทีอ่ าเจะห์เองและในภาคใต้ของไทยในเรือ่ งการวินจิ ฉัยเพือ่ พัฒนาชุมชน การเตรียมความ พร้อมรับมือกับภัยพิบตั ิ การวิจยั สุขภาพชุมชน และการทดลองทางห้องปฏิบตั กิ ารเพือ่ แก้ปญ ั หาโรคพืช ซึง่ เจ้าหน้าทีเ่ กษตรจากอาเจะห์มารับการอบรมทีค่ ณะทรัพยากรธรรมชาติของ ม.อ. กิจกรรมฝึกอบรมทีเ่ ป็นระบบทีส่ ดุ คือ การทีอ่ าจารย์รนุ่ ใหม่ของอาเจะห์เข้าเรียนในหลักสูตร ปริญญาโทและเอกของ ม.อ. รวมราว 20 คน มีการเดินทางแลกเปลีย่ นตัง้ แต่ระดับอธิการบดีของทัง้ สอง มหาวิทยาลัย อาจารย์ นักศึกษา อาสาสมัคร จนถึงชาวบ้าน ตลอดจนอดีตสมาชิกกองก�ำลังของอาเจะห์ ทัง้ นีเ้ พือ่ เรียนรูแ้ ลกเปลีย่ นประสบการณ์ในการแก้ปญั หา ในทีส่ ดุ โครงการพัฒนาชุมชนด้านสุขภาพก็กลาย เป็นส่วนหนึง่ ของคณะพยาบาลศาสตร์ในอาเจะห์

36


รากฐานส�ำหรับกระบวนการสันติภาพ

ท่ามกลางบรรยากาศอันหดหู่ และภาวะการถูกคุกคามของไฟใต้ วิกฤตถูกเปลีย่ นให้เป็นโอกาส นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยและเครือข่ายได้มีบทบาทส�ำคัญในการสร้างสันติภาพและการพัฒนา ความสลดหดหูเ่ ปลีย่ นเป็นก�ำลังใจและประสบการณ์ ซึง่ เพิม่ ศักยภาพในการสร้างสันติภาพท่ามกลางไฟใต้ ทีมงานสาธารณสุขทัง้ ในระดับมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และ สถานีอนามัยมีกำ� ลังใจในการฟืน้ ฟูเยียวยา พืน้ ที่ รอรับสันติภาพทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต

37


บทที่ 4

สถิติสาธารณสุขที่ส�ำคัญในพื้นที่ไฟใต้ รอฮานิ เจะอาแซ และ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ไฟใต้ท�ำให้การพัฒนาทางสังคมในพื้นที่ล้าหลังกว่าภูมิภาคอื่นของประเทศ แม้ว่าท่ามกลาง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นบุคลากรวิชาชีพสุขภาพยังคงท�ำงานหนักเพื่อเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บ และ น�ำมาซึ่งความผาสุกของชุมชน แต่ดัชนี้ชี้วัดสุขภาพสะท้อนถึงสภาพปัญหาและความล้าหลังทาง สุขภาพของประชาชนในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้เขียนจะให้รายละเอียดในบทนี้ ในช่วงที่มี เหตุการณ์รุนแรง หน่วยงานทางราชการหลายแห่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่ส�ำหรับหน่วยงาน ด้านสาธารณสุขนั้นยังสามารถด�ำเนินงานได้บ้าง ดังที่จะน�ำเสนอในบทที่ 7 ปัญหาด้านสุขภาพของ ประชาชนจึงมีสาเหตุมาจากความล้าหลังทางเศรษฐกิจ สังคม และความยากล�ำบากในการด�ำเนิน งานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ข้อมูลด้านประชากรในภาคใต้ตอนล่าง

ประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับถือศาสนาอิสลาม โดยจังหวัดปัตตานี นราธิวาสและยะลามีสัดส่วนประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 82 ส่วนจังหวัดสงขลาและ สตูลมีร้อยละ 46 ในปี พ.ศ. 2552 จังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี มีอัตราครัวเรือนที่มีรายได้ ต�่ำกว่าเส้นความยากจนเท่ากับ ร้อยละ 15, 12 และ ร้อยละ 41 และมีรายได้ต่อหัวประชากรต่อปี อยู่ในล�ำดับที่ 32, 49 และ 52 ตามล�ำดับ2 ประชากรในจังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส และ ยะลา ในปี พ.ศ. 2556 มีจ�ำนวน มากกว่า 3.6 ล้านคน แผนภูมิปิระมิดประชากร (ภาพที่ 1) แสดงให้เห็นว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอัตราการเจริญพันธุ์ลดลง อายุขัยยืนยาวขึ้น และมีอัตราประชากรที่พึ่งพิงสูง3 อายุขัยเฉลี่ยเมื่อ แรกเกิดของประชากรปัตตานีในปี พ.ศ. 2553 เท่ากับ 60.6 ปีในเพศชาย และ 67.3 ปีในเพศหญิง4 ซึ่งน้อยกว่าอายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของคนไทยที่พบว่าเท่ากับ 71.9 ปี ในเพศชาย และ 78.8 ปี ใน เพศหญิงในปีเดียวกัน5 อัตราการเพิ่มของประชากรคงที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี ระหว่างปี พ.ศ. 255025546 อัตราเกิดคงที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยมีอัตราการเกิดอยู่ระหว่าง 17.5 ถึง 19 ต่อประชากร 1,000 คนต่อปี อัตราตายเท่ากับ 5.5 ต่อประชากร 1,000 คนต่อปี ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งต�่ำกว่าค่า เฉลี่ยของประเทศเล็กน้อย7 38


ช่วงอายุ

ภาพที่ 1 ปิรามิดประชากรในเขตชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย, 2555

จ�ำนวนประชากร

อนามัยแม่และเด็ก

ที่มา: ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2555

อัตราตายของมารดาและทารก ภาพที่ 2 แสดงอัตราตายของมารดาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงระหว่าง ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2554 และสูงกว่าเกณฑ์ชี้วัดระดับประเทศซึ่งก�ำหนดให้ไม่เกิน 18 รายต่อ เด็กเกิดมีชีพแสนราย ในปี พ.ศ. 2555 จังหวัดชายแดนภาคใต้อัตราตายของมารดาเท่ากับ 30.5 รายต่อเด็กเกิดมีชีพแสนราย8 อัตราตายของมารดาในพื้นที่มีความรุนแรง ซึ่งได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สูงกว่าพืน้ ทีท่ ไี่ ม่มเี หตุการณ์คอื จังหวัดสงขลาและสตูล โดยมีสาเหตุหลักคือการ ตกเลือดในระยะคลอดและหลังคลอด9 ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ, อัตราความยากจนปี พ.ศ. 2552: สถิติรายจังหวัด, กรุงเทพมหานคร. อ้างแล้ว 3 ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ, จ�ำนวนประชากรจ�ำแนกตามจังหวัดและอายุ พ.ศ. 2555, กรุงเทพมหานคร. 4 ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี, รายงานประจ�ำปี พ.ศ. 2554, ปัตตานี: ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี, 2555. 5 ส�ำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2554, นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 6 ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ, จ�ำนวนประชากรจากทะเบียน อัตราการเปลี่ยนแปลง และความหนาแน่นของประชากร จ�ำแนกเป็นราย อ�ำเภอ พ.ศ. 2550-2554, กรุงเทพมหานคร. 7 ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ, จ�ำนวนการเกิด การตาย จ�ำแนกตามเพศ พ.ศ. 2547-2555, กรุงเทพมหานคร. 8 ศูนย์อนามัยที่ 12, อัตราตายของมารดา: รายงานสถิติประจ�ำปี พ.ศ. 2549-2555, ยะลา: ศูนย์อนามัยที่ 12: 2556. 9 กรมอนามัย, สาเหตุการเสียชีวิตของมารดา: รายงานสถิติจากโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว, ค้นจาก www.saiyairakhospital. com/newdemo/admin/user_department_report.html [เมื่อ 30 พฤษภาคม 2556]. 1 2

39


อัตรา ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 ราย

ภาพที่ 2: อัตราตายของมารดาจ�ำแนกตามพื้นที่ความรุนแรง

ที่มา: ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา, 2556 ในปี พ.ศ. 2553 ส�ำนักงานสถิติแห่งสหประชาชาติประมาณการว่าอัตราตายของทารกใน ประเทศไทยเท่ากับ 11.4 ต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 ราย10 ส�ำหรับอัตราทารกตายในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ในปี พ.ศ. 2554 อยู่ระหว่าง 8.5-10.9 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 ราย ซึ่งต�่ำกว่าเกณฑ์ชี้วัด ระดับประเทศ ทั้งนี้อาจมาจากการรายงานไม่ครบ (ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ) อัตราตาย ของทารกในพื้นที่ที่มีเหตุความไม่สงบสูงกว่าพื้นที่ที่ไม่มีเหตุการณ์ โดยพบว่าอัตราตายของทารกใน จังหวัดปัตตานีเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 หลังจากที่มีการปะทุของเหตุความรุนแรง โดยสาเหตุ การตายของทารกภายใน 28 วันแรก คือ ความผิดปรกติแต่กำ� เนิด และภาวะแทรกซ้อนระหว่างการ ตั้งครรภ์ ซึ่งได้แก่ สายสะดือผิดปรกติ การตกเลือดก่อนคลอด เด็กขาดออกซิเจนระหว่างการคลอด ส่วนการตายของทารกหลังอายุ 28 วัน ส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อ การตายและการป่วยของเด็กอายุต�่ำกว่า 5 ปี อัตราตายของเด็กอายุต�่ำกว่า 5 ปีในประเทศไทยลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากพัฒนาการของ เศรษฐกิจสังคมและการสาธารณสุขทีด่ ขี นึ้ 11 อัตราตายเด็กอายุตำ�่ กว่า 5 ปีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2552 เท่ากับ 13.7 รายต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 ราย ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ อัตรา ตายของเด็กอายุต�่ำกว่า 5 ปี ที่ได้จากการลงทะเบียนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของประเทศ 10 United Nations Statistics Division, Country profile. Available from http://data.un.org/CountryProfile. aspx?crName=Thailand#Summary [accessed 20 July 2013]. 11 ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, เป้าหมายแห่งสหัสวรรษของประเทศไทย รายงานปี พ.ศ. 2552. ค้นได้จาก www.un.org/millenniumgoals/pdf/MDG_Report_2009_ENG.pdf [เมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2556].

40


ในปี พ.ศ. 2550 – 2552 ในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา และสตูล เท่ากับ 15, 19.4, 13.4, 12.2 และ 8.2 ต่อเด็กเกิด 1,000 รายตามล�ำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราตายในพื้นที่ที่มีความ รุนแรงนั้นสูงกว่าพื้นที่ที่ไม่มีความรุนแรง อัตราป่วยด้วยโรคปอดบวม (ซึง่ ส่วนใหญ่เกิดในเด็ก) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่ากับ 1,541 รายต่อประชากร 100,000 คนต่อปี อัตราป่วยด้วยโรคหัดอยู่ระหว่าง 20-40 รายต่อประชากร 100,000 คนต่อปีระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2555 (บก. ประเทศไทยตัง้ เป้าหมายทีจ่ ะลดโรคหัด ให้เหลือน้อยกว่า 1 รายต่อประชากรล้านคนต่อปีในปี พ.ศ. 2563) และมีรายงานการป่วยด้วยโรคไอ กรนทีจ่ งั หวัดยะลา 1 ราย และจังหวัดสงขลา 1 รายในปี พ.ศ. 2553 นอกจากนีย้ งั พบการระบาดของ โรคคอตีบในพื้นที่ระหว่าง พ.ศ. 2550-2555 โดยมีจ�ำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 97 ราย เสียชีวิต 27 ราย12 ภาวะโภชนาการ ปัญหาทุพโภชนาการของเด็กอายุต�่ำกว่า 5 ขวบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาส�ำคัญ โดยมีความชุกของภาวะขาดสารอาหารในเด็กอายุตำ�่ กว่า 5 ปีในพืน้ ทีค่ วามรุนแรงสูงกว่าค่าเฉลีย่ ของ ประเทศ 1.5-2 เท่า13 ซึ่งองค์การอนามัยโลกตั้งเป้าหมายว่าควรมีเด็กอายุต�่ำกว่า 5 ปี น�้ำหนักน้อย แคระแกร็น และผอม ไม่เกิน ร้อยละ 10, 20 และ 5 ตามล�ำดับ14 แต่ในสามจังหวัดไฟใต้ในปี พ.ศ. 2553 ค่าดัชนีเหล่านีเ้ ท่ากับร้อยละ 19.3, 27.6 และ 7.4 ตามล�ำดับ ส่วนความชุกของเด็กอ้วนเท่ากับ ร้อยละ 3.6 ซึ่งต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศเล็กน้อย จังหวัดสตูลและสงขลามีความชุกของเด็กอ้วน ที่อายุต�่ำกว่า 5 ปี เท่ากับร้อยละ 11 และ 10 ตามล�ำดับในปีเดียวกัน ซึ่งต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ แต่สูงกว่าที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสซึ่งมีอัตราเด็กอ้วนเท่ากับร้อยละ 5 ในเขตไฟใต้ ความชุกของเด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทไี่ ด้รบั พลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอ เท่ากับร้อยละ 27 และ 7 ตามล�ำดับ ในปี พ.ศ. 2554 แต่พบว่าเด็กมีการบริโภคเกลือโซเดียมและ น�้ำตาลสูงกว่าปริมาณที่แนะน�ำส�ำหรับคนไทยถึง 2 เท่า15 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงในอนาคต ในการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน และโรคไต กรมควบคุมโรค, รายงานการเฝ้าระวังโรค พ.ศ. 2550-2555, นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. R. Jeharsae et al., ‘Dual Dietary Intake Problems Among Under-Five-Year-Old Children Living in the Armed Conflict Area of Southern Thailand’, J Med Assoc Thai, 2011, 94:8. 14 M. De Onis and M. Blössner, WHO Global Database on Child Growth and Malnutrition, Geneva: World Health Organization, 1997. 15 กรมอนามัย, ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจ�ำวันส�ำหรับคนไทย, นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2546. 12 13

41


ร้อยละ 15-20 ของหญิงมีครรภ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือด แดง (haematocrit) ต�ำ่ กว่า 33% ในการฝากครรภ์ครัง้ แรก ค่าความชุกนีส้ งู กว่าค่าเฉลีย่ ทัว่ ประเทศ ซึ่งพบร้อยละ 1016 การส�ำรวจอุจจาระของหญิงที่มาฝากครรภ์ในพื้นที่ไฟใต้พบหนอนพยาธิผ่านดิน (ซึง่ อาจจะก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง) ร้อยละ 18 และหญิงมีครรภ์ในพืน้ ทีซ่ งึ่ มีเหตุการณ์รนุ แรงมีความ เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารสูงกว่าหญิงมีครรภ์ในพื้นที่ปรกติ17 การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ อัตราการเกิดโรคเอดส์ในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนือ่ งจาก 55.4 ต่อแสนประชากรในปี พ.ศ. 2547 เป็น 0.4 ต่อแสนประชากรในปี พ.ศ. 255518 อัตราป่วยด้วยโรคเอดส์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศและลดลงจาก 31.2 ต่อแสนประชากร เป็น 0.006 ต่อแสนประชากรใน ช่วงเวลาเดียวกัน (ภาพที่ 3)19 จ�ำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสะสมจากโรคเอดส์ในห้าจังหวัด (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) เท่ากับ 12,484 และ 2,822 รายตามล�ำดับในปี พ.ศ. 255520 ในปี พ.ศ. 2555 สัดส่วนระหว่างผูต้ ดิ เชือ้ เพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 2.6 ต่อ 1 โดยพบในกลุม่ ผูใ้ ช้แรงงานร้อยละ 42 เกษตรกรร้อยละ 18 และ ชาวประมง ร้อยละ 7 ทีเ่ หลือประกอบอาชีพอืน่ ๆ ผู้ป่วยเอดส์ในปี พ.ศ. 2555 ประมาณร้อยละ 47 มีอายุระหว่าง 25-35 ปี อัตราการติดเชื้อในกลุ่ม แม่บ้านมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนอัตราการติดเชื้อในปีเดียวกันในเด็กอายุต�่ำกว่า 20 ปี เท่ากับร้อยละ 4.818 ในปี พ.ศ. 2555 ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ในภาคใต้ตอนล่าง เท่ากับ ร้อยละ 0.5 ในกลุ่มที่ฝากครรภ์ ส่วนกลุ่มที่ไม่ฝากครรภ์พบร้อยละ 3.5 อัตราการติดเชื้อจากแม่ สู่ลูกเท่ากับร้อยละ 3.621 ศูนย์อนามัยที่ 12, ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์: รายงานสถิติ พ.ศ. 2550-2555, ยะลา: ศูนย์อนามัยที่ 12. P. Sukchan et al., ‘Inadequacy of Nutrient Intake Among Pregnant Women in the Deep South of Thailand’, in Conflict and Health, Vol. 10, 2010, p. 572. 18 ส�ำนักระบาดวิทยา, สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ พ.ศ. 2555, ค้นจาก www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2011/ index.html [เมื่อ 15 พฤษภาคม 2556]. 19 ส�ำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12, รายงานสถานการณ์โรคเอดส์ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง, สงขลา: ส�ำนักการป้องกันและ ควบคุมโรคที่ 12, 2555. 20 ส�ำนักระบาดวิทยา, จ�ำนวนผู้ป่วยเอชไอวี เอดส์และจ�ำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ พ.ศ. 2527-2554. ค้นจาก www.boe.moph. go.th/report.php?cat=68l [เมื่อ 11 พฤษภาคม 2557]. 21 ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12, การป้องกันการติดเชือ้ จากแม่สลู่ กู : รายงานสถิติ พ.ศ. 2552-2555, สงขลา: ส�ำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12. 16 17

42


ภาพที่ 3: อุบัติการณ์ของโรคเอดส์, 2547-2553

ที่มา: ส�ำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข, 2555 ปัญหายาเสพติด ในปี พ.ศ. 2555 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า ร้อยละ 5.5 ของเด็กในประเทศไทยเข้ารับการบ�ำบัดรักษายาเสพติด22 การส�ำรวจนักเรียนในโรงเรียนในภาคใต้ พบว่าความชุกของการใช้สารเสพติดในเด็กนักเรียนมัธยมปลายในปี พ.ศ. 2545 -2547 เท่ากับร้อย ละ 5-723 อัตราการใช้สารเสพติดในห้าจังหวัดชายแดนใต้อยู่ระหว่าง 80-380 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงเป็นสองเท่าของค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ22 โดยพบสารเสพติดที่ใช้กันมากในกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ ภาคใต้ คือ ‘สีค่ ณ ู ร้อย’ ซึง่ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยน�ำ้ ต้มใบกระท่อม (Mitragyna speciosa Korth.) ยาแก้ไอ และยากล่อมประสาท การเสพกระท่อมในภาคใต้สงู ขึน้ จาก ร้อยละ 2.3 ในปี พ.ศ. 2545 เป็น ร้อยละ 6 ในปี พ.ศ. 255424 ส่วนความชุกของการใช้ยาบ้า (methamphetamine) ลดลงจาก ร้อย ละ 2.8 ในปี พ.ศ. 2545 เป็นร้อยละ 2.3 ในปี 254722 และเพิ่มเป็นร้อยละ 3.4 ในปี พ.ศ. 255423 22 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, การติดตามสถานการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด พ.ศ. 2554-2555, กรุงเทพมหานคร. 23 S. Assanangkornchai et al., ‘Substance Used Among High School Students in Southern Thailand: Trends over three years (2002–2004)’, Drug and Alcohol Dependence, No. 86, 2007, pp. 167–174. 24 สาวิตรี อัษณางกรชัย และคณะ. สถานการณ์การใช้สารเสพติดในภาคใต้. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2554.

43


โรคเรื้อรัง โรคเรือ้ รังหรือบางครัง้ ใช้คำ� ว่า ‘โรคไม่ตดิ ต่อ’ เป็นสาเหตุหลักของการป่วยและการตายในทุก ภาคของประเทศไทย โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพทีพ่ บบ่อยทีส่ ดุ (ตาราง ที่ 1)25 ส�ำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ประมาณการว่า ในปี พ.ศ. 2556 จ�ำนวนผู้ป่วยโรค ไม่ติดต่อทั่วประเทศมีจ�ำนวน 626,073 คน มีการส�ำรวจภาคสนามทั่วประเทศทุกห้าปี แต่เนื่องจาก ปัญหาเรื่องความปลอดภัยในระยะสิบปีที่ผ่านมา ท�ำให้ไม่มีการเก็บข้อมูลจากพื้นที่ไฟใต้ (บก.-- เพิ่ง เริ่มต้นท�ำใหม่ในปี พ.ศ. 2557 แต่ข้อมูลยังไม่ได้รับการประมวลผล) สถิติในตารางที่ 1 เป็นข้อมูลที่ ได้จากการให้บริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลภาครัฐในพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตารางที่ 1: อัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อแสนประชากรจ�ำแนกตามจังหวัด ในปี พ.ศ. 2557 โรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ถุงลมโป่งพอง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองตีบ

สงขลา 442.5 202.8 103.3 61.6 93.5

ปัตตานี 345.2 138.1 91.8 57.9 48.5

ยะลา นราธิวาส 326.5 442.3 121.0 143.1 99.5 116.4 56.6 86.1 56.9 54.5

สตูล 456.9 215.9 91.8 71.1 73.8

ที่มา: ส�ำนักโรคไม่ติดต่อ, 2557 ภาพที่ 4 แสดงอัตราตายจากโรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ เบาหวาน และ ถุงลมโป่งพอง อัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจและอัมพาตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 25 ส�ำนักโรคไม่ติดต่อ, จ�ำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและอัตราป่วยตาย พ.ศ. 2550-2556, ค้นจาก http://thaincd.com/ information-statistic/non-communicable-disease-data.php [เมื่อ 11 พฤษภาคม 2557].

44


อัตราป่วยตายต่อแสนประชากร

ภาพที่ 4: อัตราป่วยตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังระหว่างปี พ.ศ. 2550-2556

ที่มา: ส�ำนักโรคไม่ติดต่อ, 2557 การเข้าถึงบริการสุขภาพ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทยช่วยให้คนไทยเข้าถึงบริการได้ดขี นึ้ รวม ทัง้ คนในพืน้ ทีไ่ ฟใต้ อัตราการเข้าถึงบริการฝากครรภ์และการดูแลหลังคลอดในประเทศไทยสูงถึงร้อย ละ 99 ในปี พ.ศ. 255226 ส่วนอัตราการเข้าถึงบริการอนามัยแม่และเด็กในพืน้ ทีไ่ ฟใต้ดขี นึ้ ชัดเจนแต่ ก็ยังคงต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ และไม่บรรลุเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goal) ตามมาตรฐานสหประชาชาติ อัตราการฝากครรภ์ในพื้นที่ไฟใต้ในระหว่างตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์แรกเท่ากับร้อยละ 75 และฝากครรภ์ครบ 4 ครั้งตามมาตรฐานเท่ากับร้อยละ 9027 อัตรา การคลอดบุตรโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 95 ในปี พ.ศ. 2550 เป็นร้อยละ 98 ใน ปี พ.ศ. 2555 อัตราการคลอดบุตรโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส ต�่ำกว่าจังหวัดสตูลและสงขลา 26 27

ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ, การส�ำรวจอนามัยเจริญพันธุ์ พ.ศ. 2549, กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2555. ศูนย์อนามัยที่ 12, รายงานสถิติอนามัยแม่และเด็ก พ.ศ. 2550-2555, ยะลา.

45


การเข้าถึงบริการและคุณภาพการบริการส�ำหรับโรคติดเชื้อ HIV และโรคเรื้อรังดีขึ้นตาม ล�ำดับ ความครอบคลุมการได้รับยาต้านไวรัส HIV เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.8 ในปี พ.ศ. 2553 เป็น ร้อยละ 82.9 ในปี พ.ศ. 2556 โครงการป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกช่วยลดอุบัติการณ์การติดเชื้อ HIV ของทารกในจังหวัดชายแดนภาคใต้จากร้อยละ 6.4 ในปี พ.ศ. 2545 เหลือร้อยละ 0.7 ในปี พ.ศ. 2552 อย่างไรก็ตาม ความครอบคลุมของการตรวจเลือดด้วยวิธี DNA Polymerase Chain Reaction ในทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีภายในสองเดือนหลังคลอดต�่ำกว่าร้อยละ 70 ในปี พ.ศ. 255527 28

การได้รบั วัคซีนพืน้ ฐานของเด็กไทยมีความครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 80 ในปี พ.ศ. 254929 และ 255330 ส�ำหรับเด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้ความครอบคลุมในการได้รับวัคซีนพื้นฐานต�่ำกว่านั้น มาก การส�ำรวจใน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2553 พบว่าความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนพื้นฐาน ของเด็กในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสต�่ำกว่าร้อยละ 60 ซึ่งท�ำให้มีการแพร่ระบาดของโรค ทีป่ อ้ งกันได้ดว้ ยวัคซีนในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างปี พ.ศ. 2550-255531 การศึกษาพบว่า เด็กที่อาศัยในพื้นที่ท่ีมีความรุนแรงของเหตุความไม่สงบมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับวัคซีนสูงเป็น 2.4 เท่าเมื่อเทียบกับเด็กที่อาศัยในพื้นที่ที่ไม่มีความรุนแรง32

บทสรุป

ด้วยความมุ่งมั่นในการท�ำงานของทีมงานสาธารณสุขในพื้นที่ ดัชนีสาธารณสุขส่วนใหญ่ ดีขึ้น แต่ยังต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ อุปสรรคส�ำคัญที่ท�ำให้ท�ำงานได้ล�ำบาก คือ การเข้าพื้นที่ ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายก่อการได้ไม่สม�่ำเสมอเนื่องจากปัญหาความปลอดภัย อุปสรรคส�ำคัญที่สอง ที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ ความล้าหลังทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอันน�ำมาซึ่งพฤติกรรมที่ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ วงจรชั่วร้ายจึงวนเวียนอยู่ระหว่างกับดักความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม ความรุนแรง การให้บริการสุขภาพที่ไม่ทั่วถึง และปัญหาสุขภาพ ซึ่งชาวบ้านก้าวหลุดพ้นได้ยาก เรา ทุกคนได้แต่หวังว่าวงจรชั่วร้ายนี้จะสิ้นสุดลงด้วยสันติภาพและการพัฒนา ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้บุคลากร สาธารณสุขสามารถมีส่วนช่วยได้ National Health Security Office Retion 12, ‘PMTCT: An official statistic 2009-2012’. Yala. Thailand: MOPH, 2013 National Statistical Office and UNICEF, Multiple Indicator Cluster Survey December 2005–February 2006, Bangkok: UNICEF Thailand Country Office, 2006. 30 กรมควบคุมโรค. การส�ำรวจความครอบคลุมของการได้รบั วัคซีนขัน้ พืน้ ฐานและวัคซีนในนักเรียน พ.ศ. 2551, นนทบุรี กระทรวงสาธารณสุข, 2552. 31 ส�ำนักระบาดวิทยา, รายงานประจ�ำปี พ.ศ. 2550-2556. ค้นจาก www.boe.moph.go.th/Annual/Total_Annual.html [เมือ่ 12 กรกฎาคม 2556]. 32 R. Jeharsae, Effects of Armed Violence on Growth and Development of one-to-five-year-old Children in Southern Thailand, Songkhla: Prince of Songkla University, 2011. 28 29

46


บทที่ 5

ระบาดวิทยาของความรุนแรงในเขตไฟใต้ เมตตา กูนิง, มายือนิง อิสอ, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย และ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ในปี พ.ศ. 2548 ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี รองประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อ ความสมานฉันท์ชายแดนใต้ได้สนับสนุนให้นกั วิจยั จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตดิ ตามประเมิน ผลอุบัติการณ์ความรุนแรงและความเสียหายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยนักวิจัยจากคณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้พัฒนาระบบฐาน ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจาก หลายแหล่ง เช่น ฝ่ายทหาร ต�ำรวจ และการรายงานข่าวหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง และหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น ระบบฐานข้อมูลนี้เป็นงานประจ�ำส่วนหนึ่งของศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) จนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงสาธารณสุขได้เข้าร่วมงาน โดยการจัดเก็บข้อมูลเฝ้าระวังผู้ บาดเจ็บและเสียชีวิตซึ่งโรงพยาบาลของรัฐในพื้นที่ชายแดนใต้ให้การรักษาพยาบาล ระบบนี้เรียก ว่า VIS หรือ (Violence-related Injury Surveillance system, VIS) ระบบนี้จึงเป็นแหล่งข้อมูล ส�ำคัญของ ศวชต. อีกแหล่งหนึ่ง ทุก ๆ เดือนระบบทั้งสองจะออกรายงานร่วมกันเพื่อเผยแพร่ไปยัง ระบบสาธารณสุขและเครือข่ายวิชาการ ระบบรายงานนี้ ใ ช้ ป ระกอบการวางแผนเตรี ย มการรั ก ษาพยาบาลการเยี ย วยาผู ้ ไ ด้ รั บ ผลกระทบและครอบครัว ซึ่งด�ำเนินการร่วมกันโดยภาครัฐและ ศวชต. เอง รายงานทีน่ ำ� เสนอในบทนีเ้ ป็นผลการศึกษาจากระบบฐานข้อมูลของ ศวชต. วิเคราะห์แนวโน้ม ของความรุนแรงตามช่วงเวลา (ปี ฤดูกาล วันในสัปดาห์ และเวลาในแต่ละวัน) สถานที่เกิดเหตุ และ ผู้ได้รับผลกระทบ (อายุ เพศ อาชีพ และ ศาสนา) ข้อมูลครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และ สงขลาในช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2556

ขีดจ�ำกัดของข้อมูล

ข้อมูลนีเ้ ป็นข้อมูลความรุนแรงทุกประเภท ซึง่ การวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาในบทนีถ้ อื ว่าทุก คนทีไ่ ด้รบั ความเสียหายล้วนเป็นเพือ่ นมนุษย์ดว้ ยกัน ควรทีท่ กุ ฝ่ายต้องช่วยกันลดความรุนแรง จึงไม่ ได้จ�ำแนกประเภทว่ารายใดเป็นคดีอาชญากรรมทั่วไป แม้ว่ารัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการสามฝ่าย (ต�ำรวจ ทหาร และ พลเรือน) ส�ำหรับรับรองว่ารายใดเป็นผูไ้ ด้รบั ผลกระทบประเภทใดเพือ่ การจัดสรร 47


งบประมาณส�ำหรับ ‘การเยียวยา’ ข้อมูลนีร้ วบรวมจากหลายแหล่ง คณะผูว้ เิ คราะห์ได้พยายามตรวจ สอบและจัดการกรณีรายงานซ�ำ้ อย่างดีทส่ี ดุ แต่กไ็ ม่สามารถรับประกันความถูกต้องได้ทงั้ หมด แต่ขอ้ จ�ำกัดเหล่านี้ไม่น่าจะท�ำให้ข้อสรุปที่ได้ในตอนท้ายผิดไปมาก ศูนย์อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินบาง ส่วนเพื่อให้ ศวชต. สามารถท�ำงานด้านข้อมูลในระยะหลัง แต่ ศอ.บต. ไม่ได้แทรกแซงการวิเคราะห์ หรือการรายงานผลนี้แต่อย่างไร

แนวโน้มสถานการณ์

ภาพที่ 1 เป็นกราฟแสดงแนวโน้มจ�ำนวนผู้ได้รับผลกระทบที่บาดเจ็บและเสียชีวิตระหว่าง ปี พ.ศ. 2536 ถึง 2556 เห็นได้ชัดว่าจ�ำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ต่อถึงปี พ.ศ. 2548 และสูงสุดในปี พ.ศ 2550 รวมจ�ำนวนผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 22,979 ราย เสียชีวิต 7,567 ราย (ดัง กล่าวแล้วในบทที่ 2 ว่ากว่า 6,000 รายน่าจะเสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่ สงบ) พิการ 553 ราย สูญหาย 55 รายในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ทราบสถานภาพ จ�ำนวนเหตุรุนแรงทั้งหมด 21,254 ครั้ง ร้อยละ 44 เกี่ยวข้องกับอาวุธปืน ร้อยละ 22 เกี่ยวข้องกับระเบิด ที่เหลือส่วนใหญ่ เป็นการวางเพลิง หรือ การใช้มีดฟัน-แทง

จ�ำนวนเหยื่อของความรุนแรง

ภาพที่ 1 แนวโน้มจ�ำนวนผู้ได้รับผลกระทบที่บาดเจ็บและเสียชีวิต ระหว่างปี พ.ศ. 2536 ถึง 2555

ปี พ.ศ.

48


ภาพที่ 2 แสดงจ�ำนวนผู้บาดเจ็บรายเดือนในแต่ละปี ยอดจ�ำนวนขึ้น ๆ ลง ๆ ในแต่ละปี ไม่มี อิทธิพลของฤดูกาลที่ชัดเจน เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 มีจำ� นวนผู้บาดเจ็บสูงที่สุด รวม 700 คน ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์การวางระเบิดลานจอดรถใต้โรงแรมใหญ่ใจกลางเมือง หาดใหญ่ พร้อม ๆ กับการโจมตีในจังหวัดอื่น ๆ หลายจุด

ปี พ.ศ.

จ�ำนวนเหยื่อของความรุนแรง

ภาพที่ 2 จ�ำนวนผู้บาดเจ็บรายเดือนระหว่าง พ.ศ. 2547 ถึง 2556

เดือน

ภาพที่ 3 แสดงจ�ำนวนผู้บาดเจ็บจ�ำแนกตามวันในสัปดาห์ ถ้าไม่นับการระเบิดใจกลางเมือง หาดใหญ่ในวันเสาร์ดงั กล่าวแล้ว การบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดขึน้ ในวันธรรมดามากกว่าวันเสาร์-อาทิตย์

วันในสัปดาห์

จ�ำนวนเหยื่อของความรุนแรง

ภาพที่ 3 จ�ำนวนผู้บาดเจ็บจ�ำแนกตามวันในสัปดาห์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง 2556

ปี พ.ศ.

49


ภาพที่ 4 แสดงการกระจายรายชัว่ โมง การบาดเจ็บเริม่ ต้นในตอนรุง่ สาง แล้วเพิม่ อัตราในช่วง ชั่วโมงเร่งด่วน จ�ำนวนลดลงเล็กน้อยในช่วงเวลาท�ำงาน (ยกเว้นกรณีระเบิดในตัวเมืองหาดใหญ่ใน ปี พ.ศ. 2555) การบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีกในช่วงครึ่งหลังของตอนบ่ายจนถึงเวลาค�่ำ หลังเที่ยงคืนแล้ว จ�ำนวนผู้บาดเจ็บค่อยลดลง

จ�ำนวนเหยื่อของความรุนแรง

ภาพที่ 4 จ�ำนวนผู้บาดเจ็บรายชั่วโมงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง 2555

เวลาในแต่ละวัน

ภาพที่ 5 เปรียบเทียบจ�ำนวนผู้บาดเจ็บในจังหวัดต่าง ๆ จังหวัดนราธิวาสมีจ�ำนวนผู้บาดเจ็บ สูงสุดในเกือบทุกปี ส่วนจังหวัดสงขลามีจ�ำนวนน้อยสุด สามจังหวัด คือ ปัตตานี นราธิวาส และ ยะลา มีผู้บาดเจ็บสูงสุดในปี พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นจ�ำนวนผู้บาดเจ็บก็มีแนวโน้มลดลง หลังปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมาจ�ำนวนโดยรวมเปลีย่ นแปลงไม่มากนัก จะเห็นได้วา่ จ�ำนวนผูบ้ าดเจ็บในจังหวัดยะลา ต�ำ่ กว่าในจังหวัดนราธิวาสไม่มากนัก ทัง้ ทีย่ ะลาเป็นจังหวัดเล็ก มีจำ� นวนประชากรเพียงเกินครึง่ หนึง่ ของนราธิวาส ดังนั้น จังหวัดยะลาจึงเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการบาดเจ็บล้มตายสูงที่สุด ในปี พ.ศ. 2555 จังหวัดสงขลามีผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้นจากเหตุระเบิดรุนแรงที่กล่าวถึงข้างต้น

50


จังหวัด

จ�ำนวนเหยื่อของความรุนแรง

ภาพที่ 5 เปรียบเทียบแนวโน้มผู้บาดเจ็บในแต่ละจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง 2556

ปี พ.ศ.

ภาพที่ 6 แสดงจ�ำนวนบริเวณ หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่ถูกโจมตีหรือเกิดเหตุ บริเวณหรือสถานที่ แบ่งออกเป็น 11 ประเภท ถนนหลวงเป็นบริเวณที่เกิดเหตุมากที่สุดจากการลอบโจมตีและการลอบ สังหาร อันดับสองคือร้านค้าและบ้านพัก โรงเรียนของรัฐเป็นสถานที่เกิดเหตุล�ำดับถัดมา รวมแล้วมี การวางเพลิง 945 ครั้ง สถานที่ราชการ 593 ครั้ง และที่ตั้งกองก�ำลังทหาร 525 ครั้ง

จ�ำนวนเหยื่อของความรุนแรง

ภาพที่ 6 จ�ำนวนเหยื่อความรุนแรงจ�ำแนกตามสถานที่ที่เกิดเหตุ พ.ศ. 2544 ถึง 2556

ปี พ.ศ.

51


ภาพที่ 7 จ�ำแนกผู้บาดเจ็บตามอายุและเพศโดยแบ่งเป็นช่วงละ 15 ปี เป็นไปตามการคาด คะเน คือ ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่เป็นชายวัยฉกรรจ์

จ�ำนวนเหยื่อของความรุนแรง

ภาพที่ 7 จ�ำนวนผู้บาดเจ็บจ�ำแนกตามเพศและช่วงอายุ พ.ศ. 2547 ถึง 2556

ช่วงอายุของเหยื่อความรุนแรง

ภาพที่ 8 จ�ำนวนผู้บาดเจ็บตามพื้นฐานทางสังคม จากผู้บาดเจ็บทั้งหมด 22,377 ราย ส่วน ใหญ่เป็นประชาชนธรรมดา ซึง่ เป็น 2 ถึง 3 เท่าของล�ำดับรองลงไปซึง่ ก็คอื กองก�ำลังทหารและต�ำรวจ เมือ่ เหตุการณ์เริม่ ต้นในปี พ.ศ. 2547 สัดส่วนนีล้ ดลงเมือ่ รัฐส่งกองก�ำลังทหารเข้าไปประจ�ำการตัง้ แต่ พ.ศ. 2549 ในปี 2556 เมือ่ มีการเจรจาอย่างเป็นทางการ จ�ำนวนผูบ้ าดเจ็บก็เป็นพลเรือนน้อยลง และ เป็นทหารและต�ำรวจมากขึ้น สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเจรจาท�ำให้เป้าหมายเปลี่ยนจากผู้อ่อนแอ ไปเป็น เป้าทีม่ คี วามเข้มแข็ง เปลีย่ นจากการสร้างความสะพรึงกลัวแก่ประชาชนเป็นการแสดงออกถึงความ เเก่กล้าทางการรบพุ่ง จ�ำนวนผู้น�ำชุมชน เช่น ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ที่บาดเจ็บ มีพอ ๆ กับจ�ำนวนเด็กที่บาดเจ็บ ถัดมาเป็นข้าราชการพลเรือนทั่วไป จากข้อมูล มีครูถูกท�ำร้าย 304 ราย ส่วนผู้น�ำศาสนาทั้งสองฝ่าย คือ พระสงฆ์ในพุทธศาสนาถูกท�ำร้าย 39 รูป และผูน้ ำ� ศาสนาอิสลามถูกท�ำร้าย 31 ท่าน ในภาพรวม ถูกท�ำร้ายประมาณ 10 รายต่อปี สุดท้ายเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 16 รายในรอบสิบปี

52


จ�ำนวนเหยื่อของความรุนแรง

ภาพที่ 8 จ�ำนวนผู้บาดเจ็บจ�ำแนกตามสถานะอาชีพ ระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึง 2556

ปี พ.ศ.

ภาพที่ 9 จ�ำแนกผูบ้ าดเจ็บตามศาสนาทีน่ บั ถือและอาชีพการงาน โดยรวมแล้วยอดผูบ้ าดเจ็บที่ นับถือศาสนาอิสลาม (7,013 ราย) มากกว่าชาวพุทธ (5,672 ราย) แต่ประชากรในพืน้ ทีเ่ ป็นชาวมุสลิม ถึงร้อยละ 80 ดังนัน้ ความเสีย่ งของชาวพุทธในพืน้ ทีจ่ งึ สูงกว่าชาวมุสลิมในพืน้ ทีถ่ งึ 3 เท่า ประชากร ส่วนใหญ่ในพืน้ ทีเ่ ป็นชาวมุสลิม ต�ำรวจ ทหาร และ อาสาสมัครติดอาวุธจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีบ่ าดเจ็บจึง เป็นชาวมุสลิมด้วย อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาสิบปีทผี่ า่ นมา ทหารต�ำรวจทีบ่ าดเจ็บทีเ่ ป็นชาวพุทธ มีมากกว่าสามเท่าของชาวมุสลิม ส่วนข้าราชการพลเรือนและครูทถี่ กู ท�ำร้ายนัน้ ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ

จ�ำนวนเหยื่อของความรุนแรง

ภาพที่ 9 จ�ำนวนผูบ้ าดเจ็บจ�ำแนกตามศาสนาทีน่ บั ถือและอาชีพการงาน ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง 2556

ประเภทเป้าของการถูกท�ำร้าย

53


ภาพรวมของผลการวิเคราะห์

เหตุการณ์การบาดเจ็บเกิดขึน้ ในวันธรรมดามากกว่าวันหยุด เกิดเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน ผูบ้ าดเจ็บส่วนใหญ่เป็นชายวัยท�ำงานโดยมีเด็กและผูส้ งู อายุปะปนอยูบ่ า้ ง พลเรือน รวมทัง้ ข้าราชการ ทั่วไปและครูบาดเจ็บมากกว่าทหารต�ำรวจ รองลงมาจึงเป็นเด็กและครู การส่งก�ำลังทหารเข้าไปใน พื้นที่ไม่ได้ลดความรุนแรง ชาวพุทธมีความเสี่ยงสูงกว่าชาวมุสลิมในทุกกรณี การเจรจาน่าจะมีผล ช่วยลดความรุนแรงต่อพลเรือน ซึ่งดูเหมือนจะเปลี่ยนเป้าหมายการโจมตีมาเป็นทหาร เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขมีการสูญเสียเหมือนกันแต่ไม่สงู เท่ากับข้าราชการอาชีพอืน่ ข้อสรุปส�ำคัญสุดท้าย คือ ยัง ไม่เห็นแนวโน้มจากข้อมูลว่าความสูญเสียเหล่านี้จะหมดไปในอนาคตอันใกล้ สิ่งที่ไม่ได้คาดหวังมาก่อน คือ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยชาวบ้านได้ โดยควรหลีกเลี่ยงและระมัดระวัง การเดินทางไปยังสถานทีห่ รือเวลาทีม่ อี ตั ราความเสีย่ งสูง สุดท้าย ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าภัยต่อพลเรือน ลดน้อยลงเมื่อเริ่มมีการเจรจา ดังนั้นการเจรจาควรด�ำเนินต่อไปเพื่อหาทางออกระงับความรุนแรง จากความขัดแย้ง

54


บทที่ 6 การปรับตัวรับความท้าทายและหลีกเลี่ยงการเลือกข้าง สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และ วิธู พฤกษนันท์

บทที่ 7 เริ่มต้นจากความไม่พร้อม จนถึงการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพชรดาว โต๊ะมีนา

บทที่ 8 สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข กับการรังสรรค์สันติภาพ อนันต์ชัย ไทยประทาน

บทที่ 9 การเสริมสร้างสมรรถนะเพื่อการท�ำงาน ด้านสุขภาพและสันติภาพ: ความร่วมมือในภาคใต้ของประเทศไทย

Gabriella Arcadu, Louisa Chan Boegli, Urs Boegli วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ และ สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

55


บทที่ 6

การปรับตัวรับความท้าทายและหลีกเลี่ยงการเลือกข้าง สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และ วิธู พฤกษนันท์ ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยให้ความส�ำคัญอย่างมากกับการพัฒนาสาธารณสุขใน ชนบท มีโครงสร้างพื้นฐานทั้งโรงพยาบาลระดับต่าง ๆ และสถานีอนามัยกระจายอย่างทั่วถึง รวม ทั้งมีทรัพยากรมนุษย์ด้านสุขภาพทุกสาขาอาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และ สาขาอื่นค่อนข้างพร้อมสรรพทุกพื้นที่ งานสุขภาพเป็นงานมวลชน และเป็นเรื่องที่ประชาสังคมและชุมชนทุกระดับต้องมีส่วนร่วม ระบบสาธารณสุขไทยมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมูบ่ า้ น หรือ อสม. เชือ่ มต่อระหว่างประชาชน กับเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุข ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ประเทศไทยก้าวเข้าสูย่ คุ นโยบายหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า ได้ประสบความส�ำเร็จ ช่วยให้ชาวบ้านเข้าถึงบริการทางการแพทย์โดยไม่ตอ้ งกังวล ถึงปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นบริการง่าย ๆ ระดับปฐมภูมิ ไปจนถึงการรักษาที่ต้องใช้ต้นทุน สูง เช่นโรคมะเร็ง ทั่วโลกจึงชื่นชมประเทศไทย ให้ฉายาว่าเป็นประเทศสุขภาพดีต้นทุนต�่ำ (Good health at low cost) ระบบสุขภาพในชายแดนใต้กไ็ ด้อานิสงส์จากการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศเช่นกัน แม้ว่าภาพรวมของดัชนีสุขภาพที่นี่จะสู้พื้นที่อื่นไม่ได้ (ดังที่ได้แสดงไว้ในบทที่ 4) แต่ด้วยโครงสร้าง เดิมที่แข็งแกร่ง ระบบบริการสุขภาพในชายแดนใต้ก็ยังคงท�ำหน้าที่ได้ดี ไฟใต้ที่ร้อนแรงไม่เพียงแต่ ไม่สามารถเผาท�ำลายบริการสุขภาพ แต่กลายเป็นความท้าทายให้หน่วยงานเรียนรู้ปรับตัวเข้ากับ สิ่งท้าทายใหม่ ๆ และพัฒนาผลงานให้ทีมงานสามารถเป็นที่พึ่งที่ดีของประชาชนผู้เคราะห์ร้ายได้ดี ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ไฟใต้สามารถยืนหยัดจัดบริการสุขภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอด ทศวรรษของความรุนแรง เป็นระบบของทางการเพียงระบบเดียวเท่านั้นที่ยังด�ำรงกิจกรรมในระดับ รากหญ้าในพืน้ ทีส่ แี ดงได้ดที สี่ ดุ ในช่วงทีม่ อี ำ� นาจรัฐทับซ้อน ความรุนแรงจากการปะทะสูง เช่น ในปี พ.ศ. 2550 มีพนื้ ทีถ่ งึ เกือบหนึง่ ในสามทีท่ มี งานสาธารณสุขเข้าไปท�ำงานไม่ได้เนือ่ งจากปัญหาความ ปลอดภัย แต่ปจั จุบนั ลดลงเหลือไม่ถงึ ร้อยละ 10 ของหมูบ่ า้ นทัง้ หมด ส่วนหนึง่ เนือ่ งจากสถานการณ์ ที่ดีขึ้น อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ชาวบ้านในเขตนั้น ๆ ยอมรับทีมงานสาธารณสุขมากขึ้นตามล�ำดับ

56


ความท้าทายพื้นฐานมีสองประการ ประการแรก คือ การรักษาตนเองและทีมงานให้อยู่รอด ปลอดภัย เพราะทีมงานสาธารณสุขท�ำงานด้วยบริบททีโ่ ล่งแจ้งโปร่งใสย่อมเป็นทีจ่ บั ตาดูของคูข่ ดั แย้ง ทัง้ สองฝ่าย มีโอกาสทีอ่ าจจะถูกสงสัยหวาดระแวงจากฝายหนึง่ ฝ่ายใดได้งา่ ย ประการทีส่ อง คือ ต้อง รักษาระดับการท�ำงานให้เป็นที่พึ่งของประชาชนที่เจ็บป่วยได้ บทนี้จึงได้น�ำเสนอตัวอย่างบุคลากร และเรื่องราวว่าพวกเขาฟันผ่าอุปสรรคเหล่านี้มาได้อย่างไร

ระบบบริการสุขภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้

จากตารางที่ 1 ประชากรในเขตไฟใต้มีประมาณ 2 ล้านคน ร้อยละ 80 เป็นชาวมุสลิม ส่วนสี่ อ�ำเภอชายแดนของจังหวัดสงขลาซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไปด้วย มีประชากรราว 3 แสน คน ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งนับถือศาสนาพุทธ ทุกอ�ำเภอของเขตไฟใต้จะมีโรงพยาบาลตั้งอยู่ อย่างน้อยก็เป็นโรงพยาบาลชุมชนซึ่งมีเตียงผู้ ป่วยอย่างน้อย 30 เตียง ทีมงานสาธารณสุขไม่ต�่ำกว่าแห่งละ 100 คน อ�ำเภอที่มีโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 300 เตียงขึน้ ไป คือ อ�ำเภอเมืองของทุกจังหวัด อ�ำเภอเบตงจังหวัดยะลา และ อ�ำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ที่อ�ำเภอเมืองยะลาและอ�ำเภอหาดใหญ่มีโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาล สงขลานครินทร์ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ นอกจากนี้ในทุกต�ำบลยังมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล (ชือ่ เดิมคือสถานีอนามัย) ซึง่ ไม่มเี ตียงรับผูป้ ว่ ยแต่มเี จ้าหน้าทีป่ ระจ�ำอย่างน้อย 4 คน เฉลีย่ ประมาณ อ�ำเภอละ 10 แห่ง ชาวบ้านเกือบทุกคนจะมีรถมอเตอร์ไซค์ประจ�ำบ้านช่วยให้เดินทางมาถึงสถานี อนามัยได้ในเวลาไม่เกิน 15 นาที และถึงโรงพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่งได้ภายในครึ่งชั่วโมง ตารางที่ 1 ประชากรและสถานบริการสุขภาพในจังหวัดชายแดนใต้ (ข้อมูลกลางปี 2556) จ�ำนวนอ�ำเภอ (แห่ง) ปัตตานี 12 นราธิวาส 13 ยะลา 8 4 อ�ำเภอ ของสงขลา 4 รวมทั้งสิ้น 37 จังหวัด

ประชากร สัดส่วนที่เป็น จ�ำนวนโรงพยาบาลทัว่ ไป จ�ำนวน (คน) คนมุสลิม (%) /โรงพยาบาลชุมชน สถานีอนามัย 735,164 86.3 1 / 11 128 760,783 89.1 2 / 11 111 493,818 76.6 (1*)+1 / 6 80 317,715 2,307,480

55.4 80.9

(2*)+1 / 3 3*+5 / 31

62 381

หมายเหตุ * = โรงพยาบาลศูนย์ที่มีเตียงมากกว่า 500 เตียงตั้งอยู่ในจังหวัดยะลาและสงขลา ที่มาของข้อมูล: กระทรวงสาธารณสุข, 2557

57


ประมาณเกือบหนึ่งในสามของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนเป็นมุสลิมในขณะที่โรงพยาบาล ศูนย์/โรงพยาบาลทัว่ ไปมีแพทย์มสุ ลิมประมาณร้อยละ 10 ส่วนพยาบาลมากกว่าครึง่ เป็นมุสลิม โดย พืน้ ทีท่ มี่ ปี ระชากรมุสลิมส่วนมาก มีพยาบาลทีเ่ ป็นมุสลิมมากกว่าร้อยละ 80 ส่วนโรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไปมีพยาบาลที่เป็นมุสลิมน้อยกว่าครึ่ง

การรับมือกับความรุนแรงที่เพิ่มสูงขึ้น

ในระยะแรกของปี พ.ศ. 2547 กระทรวงสาธารณสุขและสถาบันด้านสุขภาพในพืน้ ที่ ได้สมั มนา หารือกันหลายครั้งเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ความรุนแรง ความปลอดภัยของบุคลากร ด้านสุขภาพและสถานบริการเป็นเรื่องส�ำคัญ เพราะถ้าทีมสาธารณสุขอยู่ไม่ได้ ปัญหาสุขภาพจะ ซ�้ำเติมความเดือดร้อนของชาวบ้านจากความรุนแรงของไฟใต้ เครือข่ายทีมงานสาธารณสุขสรุปว่า ภูมิคุ้มกันจากชุมชนและประชาชนในพื้นที่เป็นสิ่งส�ำคัญ ที่สุดที่จะให้ความปลอดภัยต่อทีมสาธารณสุขในระยะยาว ยุทธศาสตร์ส�ำคัญของพวกเรา คือ การ เสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างชุมชนกับบุคลากรด้านสุขภาพให้มั่นคงขึ้นไปอีก เพื่อจะอยู่ ได้อย่างปลอดภัยในพื้นที่ล่อแหลม ทีมสุขภาพต้องเป็นกลาง ช่วยเหลืองานด้านสุขภาพแก่ทุกคน ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมโดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งทุกสถานบริการเห็นด้วยกับยุทธศาสตร์และหลักการ นี้ และน�ำไปปรับใช้อย่างพร้อมเพรียง เมื่อประคองตัวรักษาตัวรอดจากความรุนแรงได้ระดับหนึ่งแล้ว องค์กรสาธารณสุขก็เริ่มปรับ ตัวให้มีงานเชิงรุก เพื่อท�ำให้สุขภาพของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นกว่าเดิม ที่ส�ำคัญ คือ การผสม ผสานแนวคิดของศาสนาของประชาชนกับการพัฒนาสุขภาพทีใ่ ช้วทิ ยาศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบนั ทีมงานสุขภาพประกอบด้วยบุคลากรทัง้ สองศาสนา ซึง่ ทัง้ สองฝ่ายต่างเผชิญกับชะตากรรมเดียวกัน มี ญาติพนี่ อ้ งในพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั ผลกระทบจากความรุนแรงด้วยกันทัง้ สิน้ จึงต้องหันหน้าเข้าหากัน เอาชนะ ความเสี่ยงภัยและความยากล�ำบากเพื่อบริการประชาชน กลยุทธ์เหล่านี้นับว่าได้ผล ตลอดระยะเวลาหนึ่งทศวรรษของความรุนแรงที่ผ่านมา ทีมงาน เครือข่ายสาธารณสุขในพื้นที่ยังคงท�ำงานเกาะติดพื้นที่อยู่ได้ท่ามกลางความขัดแย้งของสองฝ่าย แม้ จะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขถูกท�ำร้ายและบางรายเสียชีวิต แต่จ�ำนวนก็น้อยกว่าข้าราชการสายอื่น ๆ (ดูรายละเอียดได้จากบทที่ 5)

การท�ำงานอยูต่ รงกลางระหว่างคูข่ ดั แย้ง ท�ำให้ทมี งานสาธารณสุขล�ำบากใจทัง้ ขึน้ ทัง้ ล่อง ใช่ว่าความเป็นกลางและการให้บริการด้านสุขภาพแก่ทุกคนโดยไม่แบ่งแยกจะเพียงพอใน การเผชิญปัญหา หลายครั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในวังวนของความขัดแย้ง และ 58


ตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ จะตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะพบกับผลเสียทั้งสิ้น การยึดหลัก จรรยาบรรณวิชาชีพ และมีวิธีการที่ดีในการเจรจาต่อรอง หลบหลีกอันตรายในระยะยาว อาจจะ ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ 1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรท�ำงานให้ฝ่ายความมั่นคงมากน้อยเพียงไร ครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2548 ชายคนหนึ่งเข้าไปที่สถานีอนามัยด้วยบาดแผลฉกรรจ์คล้ายถูกยิง ที่เท้า ซึ่งเกินความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่จะรักษาได้ จึงน�ำส่งต่อไปที่โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ซึ่ง ชายคนนั้นก็ได้รับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน แต่ถูกจับกุมด้วยข้อหาร่วมก่อความไม่สงบ ยังผลให้คนใน ชุมชนทีเ่ ห็นต่างจากรัฐเชือ่ ว่าเจ้าหน้าทีอ่ นามัยรายนัน้ ได้แจ้งข่าวจนน�ำไปสูก่ ารถูกจับกุม สุดท้ายเขา ก็ทำ� งานอยู่ ณ ทีเ่ ดิมไม่ได้ ต้องย้ายออกจากพืน้ ทีเ่ พือ่ ความปลอดภัย เมือ่ มองย้อนกลับไป ตอนทีพ่ บ คนเจ็บคนนี้ครั้งแรกเขาจะต้องล�ำบากใจมากเพียงใด หากจะไม่ส่งต่อผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาล ก็ผิดจรรยาบรรณ เพราะผู้ป่วยคงจะเสียชีวิตหรือทุพพลภาพในที่สุด แต่เมื่อส่งไปตามจรรยาบรรณ คนเจ็บก็ต้องถูกจับและเจ้าหน้าที่ต้องเพิ่มความเสี่ยง ในที่สุดเจ้าหน้าที่คนนี้ได้เลือกที่จะยืนบนหลัก จริยธรรมแห่งวิชาชีพ ช่วยผู้ป่วยไว้ก่อน แม้ว่าตนเองจะมีความเสี่ยงก็ตาม การอยู่ใกล้ชิดกับหน่วยทหารก็เป็นเรื่องที่ต้องล�ำบากใจอีกเรื่องหนึ่ง บ่อยครั้งที่หน่วยทหาร ขอร้องให้โรงพยาบาลร่วมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่หรือหน่วยปฏิบัติการจิตวิทยาเคลื่อนที่ ใน ฐานะบุคลากรภาครัฐ บุคลากรด้านสุขภาพก็ควรที่จะให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐ แต่ การเข้าร่วมกิจกรรมในหลาย ๆ กรณี อาจสุ่มเสี่ยงที่จะท�ำให้บุคลากรด้านสุขภาพสูญเสียความเป็น กลางและลดทอนความไว้เนื้อเชื่อใจจากชุมชนลงไป การเข้าร่วมอาจจะถูกมองในแง่ลบจากชุมชน แต่การปฏิเสธไม่เข้าร่วมออกหน่วยหรือร่วมกิจกรรมของรัฐก็อาจน�ำไปสูค่ วามคลางแคลงใจจากฝ่าย ความมัน่ คงได้เช่นกัน ยิง่ บุคลากรด้านสุขภาพทีเ่ ป็นมุสลิม ซึง่ มีสดั ส่วนกว่าครึง่ ในพืน้ ที่ ทางเลือกของ ทางออกก็คอื โรงพยาบาลจัดหน่วยแพทย์เคลือ่ นทีเ่ อง ทีไ่ ปด้วยตนเองแยกจากปฏิบตั กิ ารของหน่วย แพทย์ทหารเพื่อความเป็นกลาง 2. การปกป้องความลับของผู้ป่วยกับงานความมั่นคงของฝ่ายรัฐ การสืบสาววงศาคณาญาติเป็นงานข่าวทีส่ ำ� คัญทีใ่ ช้ในการติดตามผูต้ อ้ งสงสัย บ่อยครัง้ ทีห่ น่วย ทหารในพืน้ ทีไ่ ด้เข้าไปทีส่ ถานีอนามัย เพือ่ ขอแฟ้มประวัตคิ รอบครัวของคนในชุมชน เนือ่ งจากแต่ละ สถานีอนามัยจะมีแฟ้มประวัตแิ ละผังเครือญาติของคนในชุมชนเพือ่ ใช้ในการติดตามสร้างเสริมสุขภาพ และรักษาพยาบาล ถ้าไม่ให้ข้อมูลเหล่านีแ้ ก่ฝา่ ยความมัน่ คงเมือ่ ได้รบั การร้องขอ ก็อาจจะถูกมองว่า เอาใจออกห่าง แต่ถา้ ให้ขอ้ มูลก็จะเป็นการผิดจรรยาบรรณและจะสูญเสียความไว้วางใจจากประชาชน ในพื้นที่ ปกติเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยมักจะปฏิเสธค�ำขอดังกล่าวด้วยเหตุผลเพื่อการปกปิดความ ลับของผู้ป่วยตามหลักจริยธรรมทางการแพทย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางการทหารก็มักจะยอมผ่อนปรนให้ 59


3. นิติเวชศาสตร์ ความยุติธรรมกับบริบทวัฒนธรรมชุมชน นิตเิ วชศาสตร์เป็นหนึง่ ในเครือ่ งมือทีส่ ำ� คัญทางการแพทย์ในการอ�ำนวยความยุตธิ รรมและสร้าง ความเป็นธรรมในสถานการณ์ความไม่สงบและความขัดแย้ง แต่อย่างไรก็ตาม มีความท้าทายหลายประการ ในการปรับปรุงระบบนิตเิ วชศาสตร์ในพืน้ ทีไ่ ฟใต้ ความท้าทายประการแรกคือความปลอดภัยของทีมนิตเิ วชศาสตร์เองในการชันสูตรพลิกศพ ณ จุด เกิดเหตุนอกโรงพยาบาล เมือ่ มีเหตุการณ์เกิดขึน้ จะต้องมีทมี งานออกไปตรวจหาหลักฐานทางนิตเิ วชศาสตร์ แต่เหตุการณ์เหล่านีอ้ าจจะเกิดเหตุรนุ แรงซ�ำ้ ทันที เช่น อาจจะมีระเบิดทีม่ งุ่ เป้าท�ำอันตรายต่อกองก�ำลัง ฝ่ายรัฐทีเ่ ข้าไปสนับสนุนน�ำคนบาดเจ็บออกจากพืน้ ที่ หรือมีระเบิดอืน่ ๆ หลงเหลือเล็ดรอดการตรวจค้น ของพนักงานฝ่ายรัฐ ถ้าเป็นพืน้ ทีป่ รกติ แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนจะได้รบั การร้องขอให้รว่ มชันสูตรตาม กฎหมาย ณ จุดเกิดเหตุ แต่ในพืน้ ทีอ่ นั ตรายทีว่ า่ นีเ้ ป็นทีต่ กลงกันว่าแพทย์ควรอยูร่ อท�ำการชันสูตรบาดแผล หรือศพทีโ่ รงพยาบาล แทนการออกไปชันสูตร ณ จุดเกิดเหตุ สถานการณ์ความรุนแรงในเกือบทุกเหตุการณ์ในพืน้ ทีช่ ายแดนภาคใต้ แทบจะไม่ใครกล้าเป็นพยาน ไม่วา่ ในฐานะประจักษ์พยานหรือพยานทีอ่ ยูร่ ว่ มเหตุการณ์ เนือ่ งจากความกลัวต่อการตกเป็นเป้าจากทัง้ สอง ฝ่าย การปิดหูปดิ ตาปิดปากจึงเป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ เสมอ ซึง่ เข้าใจได้ถงึ ความยากล�ำบากในการวางตัวของคนใน พืน้ ที่ ความจริงทีจ่ ะน�ำไปสูค่ วามยุตธิ รรมจึงไม่อาจจะปรากฏได้อย่างง่ายดาย วัฒนธรรมในพืน้ ทีก่ เ็ ป็นอีกอุปสรรคทีท่ า้ ทาย เช่น กรณีทผี่ เู้ สียชีวติ ถูกยิงและกระสุนปืนฝังอยูภ่ ายใน ร่างกาย ตามกฎหมายไทยระบุวา่ จะต้องการผ่าชันสูตรน�ำลูกกระสุนส่งมอบเป็นหลักฐานแก่พนักงาน สอบสวนในฐานะวัตถุพยานทางนิตวิ ทิ ยาศาสตร์ แต่โดยวิถวี ฒ ั นธรรมของคนมุสลิมในพืน้ ทีน่ นั้ กลับไม่ ต้องการให้มกี ารผ่าศพ เพราะถือว่าเป็นการปฏิบตั ทิ ไี่ ม่เคารพต่อศพ แพทย์ในพืน้ ทีจ่ งึ เผชิญกับทางเลือก ทีจ่ ะผิดใจกับชาวบ้าน หรือจะท�ำงานต�ำ่ กว่ามาตรฐานวิชานิตเิ วชศาสตร์ ปล่อยคดีให้อยูใ่ นความมืดต่อไป อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวค่อยคลี่คลายขึ้นในปี พ.ศ. 2553 แพทย์ในพื้นที่และแพทย์ นิตเิ วชศาสตร์ได้ไปศึกษาดูงานด้านนิตเิ วชศาสตร์ทปี่ ระเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ภายใต้การสนับสนุนทุน จากมูลนิธเิ อเชีย เพือ่ ศึกษาว่าการผ่าชันสูตรศพในประเทศทัง้ สองนีเ้ ป็นอย่างไร จากหลากหลายมาตรการที่ เป็นประโยชน์ ผลของการดูงานพบว่า พิธฟี ตั วา (การชีแ้ นวทางการปฏิบตั โิ ดยผูร้ ทู้ างศาสนา) เป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญ มีฟตั วาชีช้ ดั ว่า การชันสูตรผ่าศพเป็นสิง่ ทีท่ ำ� ได้ตามหลักศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะเพือ่ ผดุงความยุตธิ รรม ความเห็นนีต้ รงกับความเห็นของส�ำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ทัง้ หมดนีน้ ำ� มาสู่ การจัดสัมมนาเรือ่ ง ‘การแพทย์กบั ความยุตธิ รรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้’ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 เพือ่ กระจายความรูจ้ ากการดูงานและแนวปฏิบตั จิ ากการฟัตวาให้แก่แพทย์ทปี่ ฏิบตั งิ านในพืน้ ที่ นอกจาก นี้ ยังได้จดั พิมพ์หนังสือเผยแพร่ชอื่ ว่า ‘ชันสูตรศพมุสลิม ประสบการณ์จากมาเลเซีย-สิงคโปร์’ ด้วยความ 60


พยายามทีละเล็กทีละน้อย การชันสูตรผ่าศพก็ได้รบั การยอมรับมากขึน้ ในพืน้ ทีข่ ดั แย้งแห่งนี้ โดยสรุปก็ คือ การท�ำงานร่วมกันระหว่างแพทย์กบั ผูน้ ำ� ศาสนาช่วยลดความขัดแย้งกับชาวบ้าน และน�ำมาซึง่ ความ ยุตธิ รรมต่อผูเ้ สียชีวติ ได้ แต่ทั้งนี้ ทั้งสามจังหวัดชายแดนใต้มีแพทย์นิติเวชเพียงคนเดียว เกินกว่าที่จะรับงานมากมาย ทั้งหมดได้ งานชันสูตรศพส่วนใหญ่จึงต้องด�ำเนินการโดยแพทย์ทั่วไปในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ. 2552 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมูลนิธิเอเชีย จึงได้จัดหลักสูตรอบรม ฟื้นฟูด้านนิติเวชศาสตร์ส�ำหรับแพทย์และผู้ช่วยแพทย์ และปี พ.ศ. 2553 จัดการอบรมเรื่องการ ตรวจชันสูตรศพ ณ จุดเกิดเหตุให้แก่แพทย์ ปัจจุบันนี้จึงเป็นหลักสูตรอบรมประจ�ำปีภายใต้ความ ร่วมมือกับส�ำนักงานอัยการภาค 9 4. กองก�ำลังทหารในบริเวณสถานบริการสาธารณสุข ในช่วงทีส่ ถานการณ์ไฟใต้มคี วามรุนแรงสูงสุดระหว่างปี พ.ศ. 2548-2551 กองก�ำลังฝ่ายความ มัน่ คงใช้ยทุ ธวิธตี งั้ จุดตรวจค้นถาวรตามถนนสายส�ำคัญเต็มพืน้ ที่ รวมทัง้ บริเวณหน้าสถานีอนามัยหรือ โรงพยาบาล ซึ่งอาจจะท�ำให้ภาพลักษณ์ของสถานีอนามัยดูน่ากลัวและไม่เป็นกลาง และเกิดความ รูส้ กึ ว่าปิดกัน้ การเข้าถึงบริการของผูท้ คี่ ดิ เห็นต่างจากรัฐ นอกจากนีย้ งั อาจจะเพิม่ ความเสีย่ งของโรง พยาบาลทีจ่ ะถูกลูกหลงจากการโจมตีจดุ สกัดนัน้ ๆ ทางสาธารณสุขจึงขอร้องให้ไม่มกี องก�ำลังอยูใ่ นรัว้ โรงพยาบาล แต่การตัง้ จุดสกัดหรือกองก�ำลังนอกรัว้ สถานบริการสุขภาพก็ยงั คงด�ำเนินการตามปรกติ ผลลัพธ์ในรอบสิบปี คือ ไม่ปรากฏว่าฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบุกเข้าไปถล่มโรงพยาบาล (ต่างกับสถานี ต�ำรวจและทีว่ า่ การอ�ำเภอซึง่ ถูกถล่มในบางโอกาส) อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการเผาหรือวางระเบิดสถานี อนามัยในยามวิกาล มีเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขถูกยิงเสียชีวติ ในโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยบ้างแต่ไม่ มาก มีเหตุการณ์ระเบิดหน้าส�ำนักงานสาธารณสุข และในลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ของโรงพยาบาล ซึง่ เชื่อว่ามีจุดประสงค์ในการลอบโจมตีกองก�ำลังหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ใช่ฝ่ายสาธารณสุข

ยุทธศาสตร์ความปลอดภัยส�ำหรับบุคลากรด้านสุขภาพและสถานบริการสุขภาพ

ในตอนต้นบทได้กล่าวถึงความตระหนักถึงความปลอดภัยของเครือข่ายสาธารณสุข ในตอน นี้จะยกตัวอย่างกรณีศึกษา 1. การสร้างศรัทธาและความไว้วางใจจากชุมชน สถานีอนามัยแห่งหนึง่ ในจังหวัดปัตตานี รับผิดชอบ 6 หมูบ่ า้ น และในจ�ำนวนนีม้ หี มูบ่ า้ นไทยพุทธ อยู่ 1 หมูบ่ า้ นทีล่ อ้ มรอบด้วยหมูบ่ า้ นมุสลิม ถนนทีเ่ ดินทางเข้าสูห่ มูบ่ า้ นไทยพุทธได้กลายมาเป็นพืน้ ทีท่ รี่ บั รู้ ว่าเป็นเส้นทางก่อเหตุทมี่ คี วามเสีย่ งสูง และไทยพุทธเสียชีวติ หลายคน หัวหน้าสถานีอนามัยก็เป็นไทยพุทธ สิง่ ทีส่ ถานีอนามัยท�ำได้ คือ การแสดงตัวอย่างความเป็นทีมทีส่ มานฉันท์ระหว่างเจ้าหน้าทีท่ งั้ สองศาสนา 61


ภายในสถานบริการ ให้บริการสุขภาพทีด่ ที สี่ ดุ แก่ทกุ คนในชุมชนเพือ่ สร้างศรัทธาจากประชาชนในพืน้ ที่ และใช้งานสาธารณสุขเป็นแกนในการสร้างความสมานฉันท์ หนึง่ ในโครงการทีป่ ระสบความส�ำเร็จสูงคือ งานอนามัยแม่และเด็ก ซึง่ ได้แก่ การฝากครรภ์ การส่งต่อไปคลอดทีโ่ รงพยาบาล การติดตามแม่หลังคลอด การติดตามการให้วคั ซีนพืน้ ฐานแก่เด็ก ให้ความใส่ใจและเยีย่ มบ้านในรายทีม่ ปี ญั หา งานเหล่านีไ้ ด้รบั การ ยอมรับจากชุมชนอย่างมาก และทีส่ ำ� คัญหากมีนโยบายหรือแนวปฏิบตั ใิ ด ๆ ทีก่ ระทรวงสาธารณสุขสัง่ การ ลงมา เจ้าหน้าทีส่ ถานีอนามัยจะน�ำนโยบายหรือแนวทางดังกล่าวไปปรึกษากับโต๊ะอิหม่ามและผูน้ ำ� ชุมชน ทัง้ 6 หมูบ่ า้ นด้วยทุกครัง้ เพือ่ ปรับนโยบายดังกล่าวให้สอดคล้องกับวิถชี มุ ชน กลวิธดี งั กล่าว ท�ำให้สถานี อนามัยได้รบั ความไว้วางใจ มีสว่ นส�ำคัญในการสร้างการมีสว่ นร่วมของประชาชน จนกระทัง่ ความขัดแย้ง ในต�ำบลก็ถกู ลดทอนให้นอ้ ยลงตามไปในระดับหนึง่ 2. มาตรการความปลอดภัยในสถานบริการสุขภาพ ดังกล่าวแล้วว่า ความปลอดภัยของเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขและผูป้ ว่ ยเป็นเรือ่ งส�ำคัญทีท่ างผูน้ ำ� สาธารณสุขหารือกันอย่างต่อเนือ่ งโดยเฉพาะในระยะแรก ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา โรงพยาบาล ซึง่ เป็นตัวอย่างของการปรับปรุงด้านนีอ้ ยูใ่ นจังหวัดยะลา เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง ดูแล ประชาชน 84,000 คน ซึง่ เกือบทัง้ หมดนับถือศาสนาอิสลาม อยูใ่ นพืน้ ทีแ่ นวหน้าของความขัดแย้ง แต่ ก็มแี พทย์ พยาบาล และบุคลากรอาชีพอืน่ ทีเ่ ป็นคนไทยพุทธร่วมงานอยูด่ ว้ ย การปรับปรุงด้านความ ปลอดภัยภายหลังเมือ่ เริม่ มีเหตุการณ์รนุ แรงขึน้ ในปี พ.ศ. 2547 ได้แก่ การสร้างความปลอดโปร่งทาง ทัศนวิสยั รอบ ๆ โรงพยาบาล การตัดต้นไม้ให้โปร่ง มองเห็นการเคลือ่ นไหวต่าง ๆ นอกอาคารได้งา่ ย เพิม่ แสงสว่างในเวลาค�ำ่ คืน เสริมความแข็งแรงของรัว้ และติดตัง้ กล้องวงจรปิด รถพยาบาลส่งต่อผูป้ ว่ ย ทุกคันต้องมีระบบวิทยุสอื่ สารระหว่างการส่งต่อผูป้ ว่ ยไปโรงพยาบาลใหญ่ ฝึกอบรมและเพิม่ เวรยาม รักษาความปลอดภัยให้ครบและพร้อมตลอด 24 ชัว่ โมง มีรถรับส่งเจ้าหน้าทีร่ ะหว่างโรงพยาบาลกับ ตัวเมือง จัดเตรียมสถานทีพ่ กั ส�ำหรับเจ้าหน้าทีเ่ วรบ่ายและเวรดึกเพือ่ ลดการเดินทางในยามวิกาล เพิม่ สัดส่วนบุคลากรเพศชายในเวรบ่ายและดึก และเพิม่ การส�ำรองอาหารของโรงครัวให้อยูไ่ ด้ถงึ 3 วัน มีการ ฝึกอบรมและซ้อมแผนเผชิญเหตุ เช่น กรณีการพบกล่องต้องสงสัยว่าบรรจุวตั ถุระเบิดภายใน เป็นต้น มาตรการเหล่านีค้ อื ความพยายามทีจ่ ะดูแลบุคลากรและพืน้ ทีโ่ รงพยาบาลให้ปลอดภัยจากการตกเป็น เป้า ตลอดสิบปีแห่งไฟใต้โรงพยาบาลศูนย์เสียบุคลากรคือยามรักษาความปลอดภัยชาวพุทธทีถ่ กู คนร้าย เข้าไปยิงในโรงพยาบาลในช่วงต้นของปี พ.ศ. 2547 เพียงคนเดียว หลังจากนัน้ ก็ไม่มกี ารสูญเสียเพิม่ เติม โดยทีโ่ รงพยาบาลไม่เคยร้องขอให้ฝา่ ยความมัน่ คงมาดูแลความปลอดภัยให้แก่หน่วยงาน 3. การจัดบริการทางการแพทย์ที่สอดคล้องกับวิถีมุสลิม หลายอ�ำเภอในเขตไฟใต้มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากกว่าร้อยละ 95 การปรับเอา วิถีวัฒนธรรมมุสลิมเข้ามาใช้ในระบบบริการสุขภาพเป็นงานเชิงรุกที่ส�ำคัญ โรงพยาบาลชุมชนซึ่ง เป็นผู้น�ำในแนวทางนี้ ได้แก่โรงพยาบาลจะแนะ จังหวัดนราธิวาส โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา 62


โรงพยาบาลไม้แก่น และโรงพยาบาลมายอ จังหวัดปัตตานี (รายหลังนี้ผู้อ�ำนวยการเป็นไทยพุทธ) มี การสนับสนุนกระบวนชุดความรู้ในการประยุกต์วิถีมุสลิมเข้ากับระบบการแพทย์แบบตะวันตกโดย ‘สมาคมจันทร์เสีย้ วการแพทย์และสาธารณสุข’ ซึง่ เป็นองค์กรพัฒนาสุขภาพทีเ่ จ้าหน้าทีส่ าธารณสุข มุสลิมร่วมกันก่อตัง้ ขึน้ ในปี พ.ศ. 2546 เป็นแกนกลางในการประสานงาน ตัวอย่างของกิจกรรมได้แก่ การปรับเปลี่ยนโรงครัวให้ได้รับมาตรฐานฮาลาล การปรับพื้นที่บริการให้มีจุดละหมาดมากขึ้น การ ปรับยาของผู้ป่วยให้สอดคล้องกับช่วงเดือนถือศีลอด การอ�ำนวยโอกาสให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อยู่ กับครอบครัวและมีการอ่านยาซีนให้พรในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต การจัดให้มีมุมอาซานให้พรแก่ เด็กแรกเกิด การสนับสนุนการเว้นระยะการมีบุตรเพื่อสุขภาพของมารดาแทนการจัด ‘บริการการ คุมก�ำเนิด’ การจัดการชันสูตรศพให้ทันกับการน�ำไปประกอบพิธีทางศาสนาเพื่อให้มีการฝังศพให้ ทันใน 24 ชั่วโมง เป็นต้น ความเคารพในวัฒนธรรมท้องถิน่ ของชาวมุสลิมซึง่ เป็นคนส่วนใหญ่ในพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ได้แก่ การใช้ ภาษามลายูถนิ่ ทีเ่ รียกว่า ยาวี เป็นหนึง่ ในภาษาหลักในการสือ่ สารกับประชาชนในพืน้ ที่ บุคลากรด้าน สุขภาพทีเ่ ป็นไทยพุทธก็พยายามเรียนรูแ้ ละหลายคนพูดได้คล่องพอสมควร ป้ายในโรงพยาบาลจะมี สองภาษาทั้งไทยและมลายู อนุญาตให้ญาติผู้หญิง (บางครั้งรวมทั้งโต๊ะบีแด หรือ ผดุงครรภ์โบราณ) เข้าไปให้ก�ำลังใจในห้องคลอดได้ โดยที่ปรกติโรงพยาบาลของรัฐจะห้ามญาติเข้า และจัดให้บุคลากร ทางการแพทย์ที่ตรวจภายในเป็นผู้หญิง นอกโรงพยาบาล ทีมงานสาธารณสุขก็ยงั มีกจิ กรรมสร้างเสริมสุขภาพบนพืน้ ฐานของวิถปี ฏิบตั ิ ทางศาสนาอิสลาม เช่น การใช้มัสยิดเป็นจุดบริการตรวจสุขภาพส�ำหรับผู้ที่จะไปแสวงบุญที่เมกกะ การทีโ่ ต๊ะอิหม่ามเทศนาค�ำสอนทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับการดูแลสุขภาพ โรงพยาบาลบางแห่งจัดตัง้ ชมรมผูเ้ คย ไปประกอบพิธีฮัจจ์ เพื่อช่วยเหลือให้ผู้แสวงบุญรายใหม่เตรียมตัวเดินทางได้อย่างเหมาะสม ชมรมนี้ ยังมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนซึ่งตรงกับแนวทางทางศาสนา 4. การบ่มเพาะความสามัคคีในองค์กร ในช่วงที่สถานการณ์รุนแรงมาก คนในพื้นที่ทั้งฝ่ายพุทธและมุสลิมถูกลอบท�ำร้าย สร้างความ เคียดแค้นและหวาดระแวงระหว่างสองศาสนาทัว่ ไปในเขตไฟใต้ ทีมงานในโรงพยาบาลซึง่ มีทงั้ พุทธ และมุสลิมก็หวัน่ ไหวไปเหมือนกันโดยเฉพาะเมือ่ ญาติหรือคนใกล้ชดิ ของตนตกเป็นเป้า ในโรงพยาบาล ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี เจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายสูญเสียญาติพี่น้องไปไม่น้อย เริ่มมีการขอย้าย ออกไปยังพื้นที่อื่นมากขึ้น จนอาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพบริการ โรงพยาบาลจึงต้องให้ความ ส�ำคัญกับกระบวนการเยียวยาจิตใจเจ้าหน้าที่ทั้งสองศาสนา ซึ่งได้ผลดี ความเคารพซึ่งกันและกัน ความเข้าใจและความสมานฉันท์ในโรงพยาบาล สัมพันธภาพแห่งความสมานฉันท์กลับคืนสู่องค์กร และค่อย ๆ แผ่ขยายสู่ชุมชนจนชุมชนรับรู้ งานบริการสุขภาพจึงค่อยพลิกฟื้นได้ 63


5. การจัดบริการสุขภาพในพื้นที่ ‘ห้ามเข้า’ พืน้ ทีห่ า้ มเข้าหรือพืน้ ทีส่ แี ดง (จัด) เป็นพืน้ ทีซ่ งึ่ ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลมีอทิ ธิพลสูงทางการเมืองและ การทหาร สามารถลอบโจมตีเจ้าหน้าทีไ่ ด้โดยง่าย พืน้ ทีเ่ ช่นนีค้ นในจะออกคนนอกจะเข้าก็ยาก โดยเฉพาะ ในช่วงทีม่ สี ถานการณ์ความรุนแรง ประชาชนเข้าไม่ถงึ บริการสุขภาพ เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขก็ไม่สามารถ ออกไปหาประชาชนในพืน้ ทีเ่ หล่านีไ้ ด้ ช่องว่างระหว่างประชาชนกับระบบสุขภาพกว้างขึน้ สุขภาพของ ประชาชนในพืน้ ทีห่ า้ มเข้าจึงย�ำ่ แย่ (ตัวอย่างเช่น มีปญั หาทุพโภชนาการสูง การฉีดวัคซีนไม่ทวั่ ถึงจนเกิด โรคระบาด) นีค่ อื โจทย์ทที่ า้ ทายในหลาย ๆ พืน้ ที่ อ�ำเภอแห่งหนึง่ ในจังหวัดยะลา มีสดั ส่วนของพืน้ ทีส่ แี ดงสูงมาก ในปี พ.ศ. 2551 สถานีอนามัย 5 แห่งถูกวางเพลิงภายในคืนเดียว เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไม่สามารถเข้าพื้นที่บางแห่งได้เลย เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐก็เข้าไปตรวจสอบเหตุรุนแรงและช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้ล�ำบาก ผู้บาดเจ็บมาถึงโรงพยาบาลได้ช้าจนเป็นอันตรายแก่ชีวิต เพื่อแก้ไขสถานการณ์ โรงพยาบาลชุมชน แห่งนี้จึงสร้างความร่วมมือกับกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน หนึ่งในกลุ่มนั้นคือ มูลนิธิฮิลาล อะห์มัร องค์กร บรรเทาสาธารณภัยของมุสลิม ในการท�ำหน้าทีร่ บั ส่งผูป้ ว่ ยผูบ้ าดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุมาทีโ่ รงพยาบาล และส่งกลับบ้าน เมื่อความร่วมมือเกิดขึ้นได้ โรงพยาบาลก็สนับสนุนอุปกรณ์และการฝึกอบรมให้ แก่ทีมประจ�ำรถพยาบาลของมูลนิธิฯ รถเหล่านี้เข้าถึงได้แม้พื้นที่ต้องห้ามสีแดงซึ่งหน่วยงานฝ่าย ราชการรวมทั้งโรงพยาบาลเองเข้าไม่ถึง ความร่วมมือนี้ช่วยให้ผู้บาดเจ็บถูกขนส่งจากจุดเกิดเหตุถึง โรงพยาบาลได้ทนั ท่วงทีมากขึน้ โรงพยาบาลก็ได้รบั การยอมรับและมีพนั ธมิตรในการท�ำงานมากขึน้ อีกอ�ำเภอหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส มีหมู่บ้านสีแดงจัด 9 หมู่บ้าน ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้า ไม่ถึงเพราะชาวบ้าน ‘ไม่รับรองความปลอดภัย’ อย่างไรก็ตาม หมู่บ้านเหล่านั้นยังมีอาสาสมัคร สาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้าน หรือ อสม. ที่ขยันขันแข็งร่วมมือกับฝ่ายสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพ ของประชาชน โรงพยาบาลจึงฝึกอบรมให้ อสม. เหล่านี้เป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถท�ำงานสุขภาพ ได้ดีขึ้น แล้วจึงมอบหมายภารกิจการประสานงานดังกล่าวช่วยทุเลาลดช่องว่างระหว่างสาธารณสุข กับพื้นที่สีแดงลงได้บ้าง ทัศนคติของคนในหมู่บ้านสีแดงจัดที่ปฏิเสธรัฐลามเลยไปถึงการต่อต้านพัฒนาการโดยรัฐ เกือบทุกอย่าง ท�ำให้ชาวบ้านปล่อยปละละเลยทางสุขภาพ กุศโลบายของเครือข่ายสาธารณสุขใน การแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง คือ การอาศัยหมู่บ้านที่ ‘เปิดใจ’ กว้างหน่อย เข้าไปสร้างความสัมพันธ์กับ หมู่บ้านปิดสีแดงจัดเหล่านี้ หมู่บ้านเปิดจะค่อย ๆ สื่อสารเสนอแนะหมู่บ้านสีแดงให้ค่อย ๆ เปิดใจ ยอมรับว่าสุขภาพของประชาชนเป็นเรือ่ งส�ำคัญ ทัง้ เรือ่ งการดูแลผูป้ ว่ ยโรคเรือ้ รัง หญิงตัง้ ครรภ์ และ การควบคุมโรคระบาด เช่น ไข้เลือดออก เพื่อนบ้านจากหมู่บ้านข้างเคียงจะเข้าไปประเมินสภาวะ สุขภาพในหมู่บ้านสีแดง แล้วกลับมาหารือกับโรงพยาบาล รวมทั้งการน�ำยาจากโรงพยาบาลไปให้ 64


และนัดแนะส่งต่อผู้ป่วยให้สามารถออกมายังโรงพยาบาล รวมทั้งก�ำชับครอบครัวให้น�ำเด็กไปรับ วัคซีนที่สถานีอนามัย โดยการช่วยเหลือกันเองของหมู่บ้านข้างเคียง ประชาชนในหมู่บ้านสีแดงก็มี โอกาสในการเข้าถึงบริการและท�ำให้สุขภาพไม่ย�่ำแย่จนเกินไป 6. ภารกิจในชุมชนที่กว้างไกลกว่ามิติทางการแพทย์ ครึง่ หลังของทศวรรษแห่งความรุนแรงทีผ่ า่ นมา รัฐบาลมีนโยบายทีจ่ ะเยียวยาผูไ้ ด้รบั ผลกระทบ ในรูปของการให้เงินชดเชย ถ้าเป็นผลจากการกระท�ำของรัฐก็จะได้รบั เงินชดเชยมากหน่อย ประชาชน ทีป่ ระสบเหตุจากสถานการณ์กไ็ ด้บา้ งแต่นอ้ ยลง ส่วนกรณีทมี่ เี บาะแสว่าเกีย่ วข้องกับผูก้ อ่ การย่อมไม่มี สิทธิไ์ ด้รบั เงิน นอกจากนีใ้ นพืน้ ทีห่ ลายแห่งยังมีประชาชนทีย่ ากจนโดยไม่เกีย่ วกับความขัดแย้งทางการ เมืองอยูม่ าก คนสองกลุม่ หลังนีจ้ งึ เสมือนถูกทอดทิง้ จากทางราชการ ความยากจนและความล้าหลังทาง โครงสร้างสังคมเหล่านีแ้ หละทีเ่ ป็นจุดบ่มเพาะความรุนแรงในเวลาต่อมา เงินอาจจะช่วยทุเลาความ ขาดแคลนของคนบางกลุม่ แต่ไม่สามารถแก้ปญ ั หาความขัดแย้งร้าวลึกในสังคมได้ การเห็นปัญหาเหล่านีจ้ ากการท�ำงานชุมชนในพืน้ ที่ ท�ำให้ทมี งานของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึง่ ตระหนักว่าการเยียวยาต้องไม่จำ� กัดอยูเ่ พียงผูไ้ ด้รบั ผลกระทบ และไม่ใช่ใช้เงินเป็นมาตรการหลัก ทีมงาน จึงร่วมกันก่อตัง้ ‘กองทุนพัฒนาชีวติ ’ ซึง่ มาจากเงินบริจาคของเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขในโรงพยาบาลนัน้ ด�ำเนินกิจกรรมหลายอย่างให้คนทีย่ ากไร้มโี อกาสในการประกอบอาชีพ เจ้าหน้าทีโ่ รงพยาบาลออกไป ช่วยชาวบ้านคิดท�ำอาชีพ (เช่น การปลูกผัก ขายอาหาร ขายข้าว หรือการเย็บถักผ้าคลุมศีรษะ เป็นต้น) รวมทัง้ ดูแลและให้คำ� แนะน�ำด้านสุขภาพ บางรายได้รบั การส่งต่อไปฝึกอาชีพจากหน่วยงานของรัฐหรือ โรงเรียนฝึกอาชีพ พร้อมกับให้เงินช่วยเหลือเพียงครอบครัวละ 5,000 บาท เพือ่ ใช้ในการลงทุนสร้างงาน ใหม่ กิจกรรมนีเ้ ป็นเครือ่ งมือส�ำคัญอย่างหนึง่ ในการเชือ่ มต่อระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชน และเสริม สร้างพลังให้กบั ผูย้ ากไร้เหล่านีไ้ ปพร้อม ๆ กัน

ความพยายามของภาคสุขภาพ ได้ผลเพียงใด

ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพลพวงจากความขัดแย้งในระดับรากฐาน ซึง่ แน่นอน ว่าล�ำพังภาคส่วนสุขภาพย่อมไม่สามารถแก้ปญ ั หานีไ้ ด้ ประสบการณ์ทยี่ กตัวอย่างเหล่านีแ้ สดงความ สัมพันธ์ระหว่างศานติภาพและสุขภาพ เมือ่ ศานติภาพหมดไป สุขภาพของประชาชนก็จะเสือ่ มถอย การ แก้ไขจึงต้องสร้างความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ ซึง่ ก็เป็นศานติภาพเชิงบวกทีส่ ำ� คัญยิง่ เมือ่ สร้างได้แล้วจึงท�ำให้การ สร้างสุขภาพท�ำได้งา่ ยขึน้ จุดมุง่ หมายระยะยาวทางสาธารณสุขคงไม่เพียงแต่ปอ้ งกันไม่ให้ปว่ ยหรือป่วย แล้วรีบรักษา แต่ชาวบ้านควรมีสขุ ภาพแข็งแรง ทัง้ กาย ใจ สติปญ ั ญา ประกอบอาชีพด�ำเนินชีวติ อย่าง ปรกติสขุ จุดมุง่ หมายทางศานติภาพก็เหมือนกัน คือ ไม่เพียงแต่แก้ไขไม่ให้มเี หตุการณ์รนุ แรง แต่ให้คน ทุกคนอยูอ่ ย่างมีศกั ดิศ์ รี เคารพรักใคร่ซงึ่ กันและกัน และร่วมกันสร้างสรรค์อนาคต 65


บทที่ 7

เริ่มต้นจากความไม่พร้อม จนถึงการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพชรดาว โต๊ะมีนา สถานการณ์ความไม่สงบในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อชีวติ ทรัพย์สนิ และทาง ด้านจิตใจของครอบครัวผูเ้ สียชีวติ ผูร้ อดชีวติ ผูบ้ าดเจ็บ ตลอดจนประชาชนทัว่ ไปทีด่ ำ� เนินชีวติ อยูใ่ นพืน้ ที่ ความหวาดผวาอย่างต่อเนือ่ ง ท�ำให้ผคู้ นไม่สามารถด�ำรงชีวติ ประกอบอาชีพได้ตามปกติ สตรีผสู้ ญ ู เสียสามี หรือทีม่ บี คุ คลในครอบครัวสูญหายโดยเฉพาะอย่างยิง่ ผูม้ รี ายได้นอ้ ยทีต่ อ้ งเป็นผูน้ ำ� ครอบครัว โดยฉับพลันจากสถานการณ์ความไม่สงบทีเ่ กิดขึน้ ประมาณ 3,000 ราย ต่างล้วนได้รบั บาดแผลทาง ด้านจิตใจ ผูร้ อดชีวติ ทีพ่ กิ ารจากเหตุระเบิดหรือการโจมตีอาจจะต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการซึมเศร้าต่อ เนือ่ งโดยไม่ได้รบั รูว้ า่ อาการเหล่านัน้ สามารถบ�ำบัดเยียวยาให้หายได้ เด็กเป็นกลุม่ ทีอ่ อ่ นไหวต่อสถานการณ์ความรุนแรงมากกว่ากลุม่ อืน่ ๆ แม้อยูใ่ นเหตุการณ์ระยะ สัน้ ๆ ปฏิกริ ยิ าทางด้านจิตใจจะฝังลึกหลังเหตุการณ์ผา่ นพ้นไปเป็นเวลานาน ตัวอย่างของอาการ ได้แก่ ฝันร้าย กรีดร้องยามค�ำ่ คืน หวาดระแวง พฤติกรรมก้าวร้าว ไม่ยอมออกห่างจากมารดา หรือไม่ยอมไป โรงเรียน

กรณีศึกษาที่หนึ่ง

มารดาของเด็กหญิงมุสลิมอายุ 10 ขวบ เล่าว่า เด็กอยูใ่ นเหตุการณ์ระเบิดหน้าโรงเรียน ในวัน เกิดเหตุไม่ได้รบั บาดเจ็บจึงไม่ได้ไปโรงพยาบาล หลังจากเหตุการณ์ผา่ นไปประมาณ 1 สัปดาห์ เด็กเริม่ มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงคือ ติดแม่ ไม่ยอมออกนอกบ้าน ไม่ยอมไปโรงเรียน มีอาการกลัวเจ้าหน้าที่ ทหาร ต�ำรวจ เวลาพบเห็นเจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าว จะออกอาการด่า ต่อว่าเสียงดัง กลัว และไม่ยอม ไปโรงเรียน มีอาการต่อเนื่องท�ำให้ขาดเรียนประมาณ 1 ปี ต่อมาอาการรุนแรงขึ้นแม่จึงไปปรึกษา แพทย์ที่โรงพยาบาลชุมชนและถูกส่งต่อไปพบจิตแพทย์ หลังจากจิตแพทย์ให้ยาและท�ำจิตบ�ำบัด แล้ว ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ยอมไปโรงเรียน แต่ต้องไปเวลาที่ทหาร ต�ำรวจกลับไปแล้ว ทางทีมงาน ของศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 ได้ประสานนักจิตวิทยาในพื้นที่ให้ช่วยติดตามเรื่องการช่วยเหลือเยียวยา 66


ตามสิทธิตา่ ง ๆ และแนะน�ำให้ผปู้ ว่ ยรักษาต่อทีโ่ รงพยาบาลชุมชน ถ้าคุณครูได้ไปเยีย่ มบ้านและเข้าใจ ถึงอาการทางด้านจิตใจเบือ้ งต้นแล้วส่งผูป้ ่วยไปพบแพทย์ เด็กคนนี้คงไม่ต้องขาดเรียนนานถึงหนึ่งปี ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอาจจะมีอาการทางด้านจิตใจได้หลายรูปแบบ ถ้าเกิดอาการขึ้น ใน 4 สัปดาห์แรก เรียกว่า โรคเครียดเฉียบพลัน (Acute Stress Disorder: ASD) อาการเหล่านี้ มักหายได้เอง หากหลัง 4 สัปดาห์แล้วยังมีอาการเหล่านี้อยู่ จะได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเครียดภาย หลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post Traumatic Stress Disorder: PTSD) ทั้งนี้ ยังมีโอกาสเกิดโรค ทางจิตเวชอีกหลายโรค อาทิ โรคแพนิก (panic attack) โรคประสาทวิตกกังวล (anxiety) การใช้ สารเสพติด ซึมเศร้า และฆ่าตัวตาย จากการศึกษาของ Galea และคณะ1 พบว่าประมาณร้อยละ 25-75 จะประสบปัญหา PTSD ในช่วงปีแรก หลังประสบภัยพิบตั ทิ เี่ กิดจากน�ำ้ มือมนุษย์ โดยเฉพาะ เหยื่อของความรุนแรงโดยตรงจะเสี่ยงต่อโรคนี้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ

เริ่มจากการส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตสู่การจัดการบาดแผลทางจิตใจในภาวะวิกฤต : ความไม่พร้อมของบุคลากรสาธารณสุข เมือ่ เหตุการณ์ความรุนแรงได้ปะทุขนึ้ ในปี พ.ศ 2547 บุคลากรสาธารณสุขยังขาดประสบการณ์ ในการท�ำงานด้านการเยียวยาจิตใจผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากภัยพิบตั ทิ เี่ กิดจากน�ำ้ มือมนุษย์ มีโรงพยาบาล จิตเวชสงขลาราชนครินทร์เพียงแห่งเดียวตัง้ อยูใ่ นจังหวัดสงขลา รับผิดชอบพืน้ ที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอน ล่าง และในพืน้ ทีไ่ ฟใต้ขณะนัน้ มีจติ แพทย์เพียงคนเดียวทีป่ ระจ�ำอยูท่ โี่ รงพยาบาลศูนย์ยะลา นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ ซึง่ เป็นอธิบดีกรมสุขภาพจิตขณะนัน้ คาดการณ์วา่ คนในพืน้ ทีไ่ ฟใต้จำ� นวนมากต้องเผชิญกับผลกระทบทางด้านจิตใจ ซึง่ เกินขีดความสามารถของหน่วยงาน สาธารณสุขในพืน้ ทีจ่ ะจัดการได้ ซึง่ บาดแผลทางด้านจิตใจจากความสูญเสียของบุคคลอันเป็นทีร่ กั เป็น สิง่ ทีพ่ อจะเยียวยารักษาได้ กระบวนการเยียวยาซึง่ ได้รบั ความไว้วางใจและการสนับสนุนจากครอบครัว และชุมชนอาจจะน�ำมาซึง่ สันติภาพได้ ปลายปี พ.ศ. 2547 อธิบดีกรมสุขภาพจิตได้ขอให้ขา้ พเจ้าโอน ย้ายจากกระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพ ฯ มาปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นปัตตานีอนั เป็นถิน่ ฐานบ้านเกิด จัดตัง้ ศูนย์ สุขภาพจิตแห่งแรกขึน้ ในพืน้ ทีส่ ามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากนัน้ ทางศูนย์ ฯ ได้รบั นักจิตวิทยา 3 คน นักสังคมสงเคราะห์ 3 คน และนักวิชาการ สาธารณสุข 3 คน ซึง่ เป็นคนในพืน้ ทีเ่ ข้ามาท�ำงาน ได้ออกไปสอบถามคนในพืน้ ทีว่ า่ เขาต้องการอะไร จากศูนย์สขุ ภาพจิต โดยจัดอภิปรายกลุม่ โฟกัส 3 กลุม่ ได้แก่ 1) กลุม่ เหยือ่ และครอบครัวผูไ้ ด้รบั ผล กระทบฯ 2) กลุม่ เจ้าหน้าทีร่ ฐั ทหารและครู และ 3) กลุม่ บุคลากรสาธารณสุข 1 Galea, S., Nandi, A. และ Vlahov, D. ระบาดวิทยาของ PTSD หลังการเกิดหายนะ ใน Epidemiologic Reviews, เล่มที่ 27, 2548, หน้า 78-91.

67


ทุกกลุ่มร้องเป็นท�ำนองเดียวกันว่า ‘ช่วยด้วย ช่วยฉันด้วย!’ และต่างพูดถึงความเครียดและ ไม่รู้ว่าจะจัดการกับความเครียดอย่างไร เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะกลุ่มครูซึ่งเป็นเป้าหมายของผู้ ก่อความไม่สงบอยากจะเรียนรูว้ า่ จะดูแลตนเองอย่างไร ส่วนบุคลากรสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิง่ พยาบาล แม้จะมีความรูเ้ บือ้ งต้นในการจัดการกับความรูส้ กึ โศกเศร้า สูญเสียและความวิตกกังวลทัว่ ไป บ้าง แต่กไ็ ม่มใี ครเคยเตรียมตัวส�ำหรับผลกระทบทางด้านจิตใจจากภัยพิบตั ทิ เี่ กิดจากน�ำ้ มือมนุษย์เช่น นี้ บาดแผลทางด้านจิตใจที่เกิดความรุนแรงเป็นเรื่องใหม่ส�ำหรับพวกเรา

ระดมอาสาสมัครชั่วคราวเข้ามาดูแล

ทางกรมสุขภาพจิตใช้เวลากว่าสองปีพฒ ั นาคนในพืน้ ทีซ่ งึ่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา จิตวิทยา ให้ชว่ ยเติมเต็มช่องว่างนีไ้ ด้ดที สี่ ดุ โดยจัดการหลักสูตรฝึกฝนอบรมอย่างเข้มข้นเป็นพิเศษ มี การจัดให้อาสาสมัครจิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ รวมทัง้ แพทย์ทวั่ ไป และผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่จ�ำเป็น ผลัดเปลี่ยนเข้ามาปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในพื้นที่ไฟใต้ อย่างไร ก็ตาม การเปลีย่ นหน้าดูแลเยียวยาด้านสุขภาพจิตอยูเ่ สมอท�ำให้การบ�ำบัดเยียวยาไม่ได้ผลเท่าทีค่ วร

การฝึกอบรมนักจิตวิทยาซึ่งเป็นคนในพื้นที่

นักจิตวิทยาทีร่ บั เข้ามาฝึกอบรมเป็นบัณฑิตใหม่ในพืน้ ที่ มีทงั้ ผูท้ นี่ บั ถือศาสนาพุทธและศาสนา อิสลาม หลักสูตรสองปีมีเนื้อหาครอบคลุมการปฐมพยาบาลจิตใจเบื้องต้น การจัดการในภาวะ วิกฤต การเยี่ยมบ้าน การสร้างพลังสุขภาพจิตในการยืดหยุ่นปรับตัว การให้ค�ำปรึกษาและความคิด พฤติกรรมบ�ำบัด แต่ละหัวข้อใช้เวลาในการอบรมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหา โดยทุกวิชามีคู่มือ การปฏิบัติงาน บางวิชาต้องฝึกอบรมกันที่กรุงเทพฯ นักจิตวิทยาผู้เข้าฝึกอบรมในรุ่นแรกมี 14 คน และเมื่อถึงปลายปีที่สี่ มีนักจิตวิทยาที่ได้ ผ่านการสอบคัดเลือกและฝึกอบรม รวมทั้งสิ้น 74 คน ในการนี้ ไม่ได้มีข้อก�ำหนดส่วนแบ่งจ�ำนวน นักจิตวิทยาว่าจะต้องเป็นคนนับถือศาสนาใดเท่าใด เงือ่ นไขมีขอ้ เดียวคือต้องเป็นคนทีม่ ภี มู ลิ ำ� เนาอยู่ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากภาพรวมที่ออกมา ร้อยละ 80 เป็นมุสลิม ที่เหลือเป็นผู้ที่นับถือ ศาสนาพุทธ ซึ่งก็เป็นไปตามสัดส่วนประชากรในพื้นที่ คณาจารย์ผู้ฝึกสอนประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากกรุงเทพฯ บุคลากรเหล่านี้ก็มิได้เป็นผู้ มีประสบการณ์ตรงในเรื่องความขัดแย้งที่รุนแรง ฉะนั้น การค้นคว้าเนื้อหาจากวารสารวิชาการ นานาชาติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงต้องแปลสรุปเพื่อประโยชน์ในการฝึกอบรม ความรู้จากบทความจาก ต่างประเทศเหล่านีไ้ ด้ถกู น�ำมาปรับประยุกต์ใช้กบั กลุม่ คนในพืน้ ที่ เช่น เทคนิคการผ่อนคลาย การใช้ หลักค�ำสอนทางศาสนา เป็นต้น

68


ในปี พ.ศ. 2549 กรมสุขภาพจิตได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศที่มีประสบการณ์ตรงใน พื้นที่สงครามเข้ามาท�ำการฝึกสอนเกี่ยวกับการดูแลเยียวยาในกลุ่มเด็ก ปี พ.ศ. 2551 ได้มีการจัดตั้งศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิตประจ�ำโรงพยาบาล 37 แห่ง ครอบคลุมทุกพื้นที่ 3 จังหวัด และ 4 อ�ำเภอในจังหวัดสงขลา และได้ส่งนักจิตวิทยาที่อบรมแล้วทั้ง 74 คน ไปปฏิบัติงานที่ศูนย์เยียวยาฯ แห่งละ 1-3 คน (ขึ้นอยู่กับจ�ำนวนประชากรและจ�ำนวนเหตุ ร้ายที่เกิดขึ้นในพื้นที่) สมทบกับทีมงานที่มีอยู่แล้ว คือ แพทย์ทั่วไปประจ�ำ 1 คน พยาบาลจิตเวช 1 คน นักจิตวิทยาเหล่านีอ้ ยูภ่ ายใต้การควบคุมดูแลของศูนย์สขุ ภาพจิตที่ 12 ซึง่ ขึน้ ตรงต่อกรมสุขภาพ จิต กระทรวงสาธารณสุข (ปัจจุบันนักจิตวิทยา 64 คน ขึ้นตรงต่อส�ำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ 10 คน ขึ้นตรงต่อกรมสุขภาพจิต)

การเยี่ยมบ้าน

เริ่ ม จากต้ นปี พ.ศ. 2548 ทีม งานสุข ภาพจิต จากศูนย์เยียวยาฟื้น ฟูสุขภาพจิตประจ�ำ โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล (รพ.สต) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ร่วมกันออกเยี่ยมเยียนครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ รวมทั้ง ผู้ป่วยจิตเวชที่เพิ่งกลับบ้านจากโรงพยาบาลที่อยู่ในภาคใต้ และเยี่ยมต�ำรวจและทหารจากต่างถิ่น ที่มาปฏิบัติการถึงภูมิล�ำเนาของพวกเขาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน้าที่หลักคือ การประเมิน/คัดกรองปัญหาสุขภาพจิต และส่งต่อในกรณีที่ต้องได้รับการรักษาต่อ งานเยี่ยมบ้าน ถือเป็นหัวใจในการเยียวยาที่ส�ำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง

กรณีศึกษาที่สอง

ในปี พ.ศ. 2547 แม่บา้ นลูกสองจากจังหวัดปัตตานีสญ ู เสียสามีซงึ่ เป็นทหารเนือ่ งจากถูกดักยิง เสียชีวติ ระหว่างเดินทางกลับจากการส่งเธอทีร่ า้ นค้าแห่งหนึง่ แม่บา้ นผูน้ เี้ ศร้าสลดหดหูแ่ ละหวาดหวัน่ ขวัญผวามาก มีอาการเบือ่ อาหารและนอนไม่หลับ ทีมงานเยียวยาฟืน้ ฟูสขุ ภาพจิตจากโรงพยาบาล ชุมชนได้ทราบเรื่อง จึงไปเยี่ยมเธอและครอบครัวที่บ้าน และให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ สุดท้ายเธอก็ไป เข้าเป็นสมาชิกกลุม่ สตรีผสู้ ญ ู เสียของอ�ำเภอนัน้ ปัจจุบนั เธอเป็นผูน้ ำ� ของกลุม่ และช่วยเหลือเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบรายอื่น ๆ ต่อไป การบริการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องเพื่อเยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความ ไม่สงบหลังจ�ำหน่ายจากโรงพยาบาล หรือการเยี่ยมครอบครัวที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก และ ครอบครัว ได้กลายเป็นแนวปฏิบัติมาตรฐานในการเยี่ยมบ้านครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์ความไม่สงบในเวลาต่อมา

69


กล่าวคือ ทันทีทเ่ี กิดเหตุระเบิดหรือหลังเหตุการณ์ความรุนแรง ทีมงานจากศูนย์เยียวยาฟืน้ ฟู สุขภาพจิตประจ�ำโรงพยาบาลจะเข้าเยีย่ มเยียนผูบ้ าดเจ็บและครอบครัวผูส้ ญ ู เสียชีวติ โดยไม่จำ� แนก ว่าเป็นกลุ่มใด ในช่วงแรกจะเน้นที่เรื่องสุขภาพจิตของผู้บาดเจ็บและครอบครัวเพียงอย่างเดียว จน ได้ยินได้ฟังค�ำปรารภว่า ‘พวกคุณถามเราว่า พวกเรานอนหลับดีกันหรือเปล่า ทานข้าวได้ไหม ใน ขณะที่พวกเรามีปัญหาเรื่องปากท้อง มีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ แล้วพวกคุณจะช่วยเราในเรื่องนี้ยัง ไง?’ เราจึงปรับการท�ำงานส่งต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้ ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน เมื่อเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เข้าไปเยี่ยมบ้านผู้ได้รับ ผลกระทบแล้วพบปัญหาด้านสุขภาพจิตก็จะมีการส่งต่อให้หน่วยงานของเรา

การฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจแก่ผู้ได้ รับผลกระทบฯ

ในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาในเรื่องการ ปฐมพยาบาลจิตใจเบื้องต้นและประเมิน/คัดกรองปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มเด็ก เพื่อให้เป็นครู ก. ใน การขยายผลส่งต่อความรู้ที่ได้รับสู่บุคลากรอื่น ๆ และสามารถเยียวยาจิตใจเด็กในเบื้องต้นได้ แต่ ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เนื่องจากคุณครู/บุคลากรทางการศึกษามีงานประจ�ำมากอยู่ แล้วและคุณครูก็ยังเป็นเหยื่อของความรุนแรงที่จ�ำเป็นต้องดูแลทั้งตนเองและนักเรียน ฉะนั้น การมี นักจิตวิทยาในโรงเรียนถือว่าเป็นการเติมเต็มช่องว่างที่เกิดขึ้นได้ ผู้เชี่ยวชาญงานวิกฤตด้านการเจรจาต่อรองจากกรมสุขภาพจิต ได้ท�ำการฝึกอบรมเทคนิค การเจรจาต่อรองให้แก่บุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการจัดการกับ สถานการณ์ที่มีตัวประกันหรือการเข้าโจมตีโดยผู้ก่อความไม่สงบ นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดการฝึก อบรมด้านการปฐมพยาบาลจิตใจเบื้องต้น และให้ขยายผลหลักสูตรนี้ต่อเพื่อไปฝึกบุคลากรอื่น ๆ ทางการแพทย์ทั้งหมดในจังหวัดของตนต่อไปอีกด้วย

การก้าวข้ามตราบาปด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

โดยทั่วไปแล้ว ปัญหาสุขภาพจิตมักถูกแปลความไปว่าเป็นโรคของ ‘ความบ้า’ ประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักมีความเชื่อความเข้าใจว่าถ้าเป็นโรคจิตแล้วไปรักษาหาหมอพื้น บ้าน หมอไสยศาสตร์จะดีกว่าเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การท�ำงานเชิงรุกโดยทีมงานด้าน สุขภาพจิตโดยการเยีย่ มคนไข้และครอบครัวทีบ่ า้ น จะช่วยอธิบายถึงปฏิกริ ยิ าทางด้านจิตใจ ว่าอาการ ที่เกิดขึ้นเป็นผลจากภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกคนหลังการสูญเสีย ต้องใช้ระยะเวลาและการ ดูแลทางด้านจิตใจอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเราเป็นสถานการณ์ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นแล้วท�ำให้เกิดความสูญเสียอย่างกระทันหัน การร้องไห้เมื่อสูญเสียบุคคลอัน เป็นที่รักเป็นเรื่องปกติ มิใช่สิ่งที่แสดงออกซึ่งความอ่อนแอ ทีมงานได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติ 70


การในเรื่องผลกระทบทางด้านจิตใจเมื่อประสบกับภาวะวิกฤตแก่ผู้น�ำศาสนา แกนน�ำชุมชน และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมูบ่ า้ น เพือ่ เข้าใจถึงปฏิกริ ยิ าทางด้านจิตใจ รวมทัง้ การดูแลตนเองใน กลุม่ ผูด้ แู ลด้วย เพราะการต้องเผชิญหรือพบกับผูบ้ าดเจ็บ ผูเ้ สียชีวติ ทุกวันอาจท�ำให้มอี าการ ‘burnt out’ (เหนื่อยล้า หมดแรง) ได้ การสังเกตอาการของคนใกล้ชิด การจับคู่กันคุยระหว่างเพื่อน และ กระตุ้นเตือนเพื่อนให้มีการพูดระบายอารมณ์ออกมาเมื่อมีความเครียด เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยดูแล จิตใจของกลุ่มผู้ดูแลได้เป็นอย่างดี

คลินิกเคลื่อนที่

การจัดกิจกรรมคลินิกเคลื่อนที่เข้าไปเยี่ยมเยียนหมู่บ้านที่เพิ่งประสบเหตุการณ์ความรุนแรง (หรือเมื่อไรก็ตามที่ผู้น�ำชุมชนร้องขอเพราะมีประชาชนในหมู่บ้านเกิดความเครียด) เป็นการบริการ เชิงรุกทีเ่ ราท�ำในทุก 3 เดือน ในช่วง 2-3 ปีแรก คลินกิ เคลือ่ นทีน่ ปี้ ระกอบด้วยแพทย์ทวั่ ไป พยาบาล/ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยา และรวมทั้งนักวิชาการด้านสุขภาพจิตชุมชน เป็นการให้บริการทั้ง สุขภาพกายและใจ การเยี่ยมบ้านในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพจิตในครอบครัวเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถ ก้าวข้ามตราบาปด้านสุขภาพจิตได้โดยผู้ป่วยไม่ต้องกังวลเรื่องถูกมองว่ามีปัญหาสุขภาพจิต

กลุ่มช่วยเหลือตนเอง

ครอบครัวผูส้ ญู เสียชีวติ จากเหตุการณ์ความรุนแรงในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะสตรีที่ สูญเสียสามีคอื กลุม่ ผูท้ ไี่ ด้รบั ผลกระทบมากเป็นพิเศษ เนือ่ งในภาวะปกติหน้าทีห่ ลักของพวกเธอคือการเลีย้ งดู บุตรและการท�ำงานบ้าน การสูญเสียสามีซงึ่ เป็นเสาหลักของครอบครัวไปอย่างปัจจุบนั ทันด่วนเป็นภาระหนัก ส�ำหรับเธอ สตรีเหล่านีน้ อกจากได้รบั ผลกระทบทางด้านจิตใจอย่างมากแล้ว เธอยังต้องเป็นผูแ้ บกภาระทางด้าน การเงินของครอบครัว ซึง่ เป็นเรือ่ งทีย่ ากทีจ่ ะหาเงินเพือ่ เลีย้ งชีพ เลีย้ งครอบครัว ด้วยงานทีไ่ ม่เคยท�ำมาก่อน ปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลได้จดั สรรงบประมาณเพือ่ เยียวยาผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้แก่โรงพยาบาลในพืน้ ที่ แต่ละแห่งได้จดั ตัง้ ชมรม/กลุม่ สตรีผส้ ู ญู เสีย โดยมีการรวม กลุม่ สตรีทำ� กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพสตรี ฝึกอบรมทักษะในการดูแลเยียวยาตนเอง ดูแลเยียวยาผูอ้ นื่ และ ได้มกี ารจัดทัศนศึกษาเพือ่ แลกเปลีย่ นประสบการณ์การก้าวข้ามความเจ็บปวดของแต่ละคนอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2554 ศูนย์เยียวยาฟืน้ ฟูสขุ ภาพจิตได้เริม่ จัดโปรแกรมฟืน้ ฟูดา้ นสังคมจิตใจส�ำหรับสตรีผู้ สูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบฯ พวกเธอมีการรวมกลุม่ ของตนเองตามชุมชนต่าง ๆ ถึง 28 กลุม่ ผสม ผสานทัง้ สตรีพทุ ธและมุสลิม ด้วยการแลกเปลีย่ นประสบการณ์ความโศกเศร้าและรูปแบบวิธกี ารเอาชนะ ความเจ็บปวดทางด้านจิตใจ สตรีเหล่านีก้ ค็ อ่ ย ๆ ค้นพบหนทางการฟืน้ ฟูเยียวยาจิตใจ หลายคนในกลุม่ นีไ้ ด้ เข้าไปท�ำเรือ่ งการฝึกอาชีพ เช่น การผลิตสินค้าหัตถกรรมต่าง ๆ เพือ่ ช่วยสถานภาพทางการเงินของตนให้ดขี นึ้

71


ผลงานของกลุ่มดังกล่าวได้เอาชนะอุปสรรคจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และ วัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความเจ็บปวดและความยากเข็ญสามารถแบ่งเบาภาระที่ หนักอึ้งด้านจิตใจลงได้ น�ำมาซึ่งกระบวนการสร้างความสมานฉันท์แบบที่เป็นธรรมชาติ รูปแบบวิธี การสร้างกลุ่มช่วยเหลือตนเองนี้ได้กลายมาเป็นเรื่องราวของความส�ำเร็จของพื้นที่ ซึ่งอาจน�ำไปใช้ ให้เกิดแรงบันดาลใจแก่เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอื่น ๆ ที่ประสบเหตุการณ์คล้าย ๆ กันในส่วนอื่นของโลก ได้เป็นอย่างดี

การจัดการกับความเคียดแค้น: ความห่วงใยโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก

สุขภาพจิตในกลุ่มเด็กยังคงเป็นเรื่องส�ำคัญอันดับต้น ๆ ของงานเยียวยา แม้ว่าความชุกของ PTSD จะยังคงมีลักษณะคล้ายเดิมตลอดทศวรรษที่ผ่านมา แต่เราก็เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้าน ทัศนคติในกลุ่มเด็ก ก่อนหน้านี้นั้นเด็กจะพูดว่า พวกเขาไม่มีความจงเกลียดจงชัง ความเคียดแค้น ‘ฝ่ายตรงข้าม’ แต่เดี๋ยวนี้เราเริ่มได้ยินบ่อยขึ้นจากเด็กทั้งสองฝ่าย เด็ก ๆ ฝ่ายหนึ่งจะพูดถึงความคับ แค้นว่าอยากไปเป็นทหารเพือ่ ไปฆ่า ‘คน’ ทีฆ่ า่ พ่อเขา ส่วนเด็ก ๆ อีกฝ่ายหนึง่ อยากมีปนื ไปฆ่าทหาร หรือต�ำรวจที่เป็นตัวการท�ำให้เขาต้องสูญเสียพ่อ และนีก่ ค็ อื ความแตกแยกทางสังคมเรือ่ งหนึง่ ทีพ่ วกเราชาวสาธารณสุขสามารถมีสว่ นเข้าช่วย เยียวยาด้านจิตใจได้ หากเราได้เข้าไปเยียวยาได้เร็วเพียงใด เราอาจจะจัดการกับความรูส้ กึ เกลียดชัง เคียดแค้นได้มากเพียงนัน้ แต่เราก็มบี คุ ลากรไม่เพียงพอทีจ่ ะไปเยีย่ มเยียนได้ทวั่ ถึงและบ่อยครัง้ อย่าง ทีต่ อ้ งการ และยังมีปญ ั หาเรือ่ งความปลอดภัย รวมทัง้ ดุลยพินจิ ของผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาลชุมชนที่ จะให้ความส�ำคัญกับเรือ่ งนีเ้ พียงไรด้วย อย่างไรก็ตาม ทีมงานสาธารณสุขเป็นทีไ่ ว้วางใจและสามารถ เข้าไปท�ำงานได้ในเกือบทุกพื้นที่ ในพืน้ ทีไ่ ฟใต้ PTSD เป็นอาการของโรคทีพ่ บบ่อยมากในเด็กทีไ่ ด้ประสบกับความรุนแรง เดือน มีนาคม พ.ศ. 2557 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า มีเด็กก�ำพร้า อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งสิ้น 5,686 คน ในขณะที่ไม่ถึงร้อยละสิบของตัวเลขนี้ ปรากฏในฐานข้อมูลเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตส�ำหรับผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนใต้ (Violence-related Mental health Surveillance หรือ VMS database) ที่จัดตั้งและจัดเก็บโดยโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวชในภูมิภาค นี้ ข้อมูลสถิติในตารางหน้าถัดไป แสดงให้เห็นว่าเด็กกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการดูแลที่เพียงพอ จ�ำนวน PTSD ในทุกกลุ่มอายุในชุมชน ที่ได้รับการรายงานยังต�่ำกว่าที่เกิดขึ้นจริงเป็นอย่างมาก เหยื่อของ ความรุนแรงส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย และไม่ได้รับการเยียวยารักษา

72


จ�ำนวนเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบที่มีการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต 2551

2552

2553

2554

2555

2556

2557 ม.ค.–มิ.ย.

จ�ำนวน ผู้ได้รับผลกระทบ ที่มีการบันทึก ในฐานข้อมูล VMS database (เด็ก/ผู้ใหญ่)

0/660

0/1,404 104/1,454 17/326 158/2,898 380/1,477 76/717

จ�ำนวน ผู้ได้รับผลกระทบ ที่มีความเสี่ยงจาก การประเมิน (เด็ก/ผู้ใหญ่)

0/183

0/314

10/237

5/118

10/102

79/94

20/32

0/0

0/0

0/0

1/7

0/10

0/6

0/2

ผลการวินิจฉัย PTSD (เด็ก/ผู้ใหญ่)

ในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการจัดบริการสุขภาพจิตเด็กที่ได้รับความสะเทือนขวัญอย่างรุนแรง (Child Trauma Centre) ขึน้ ในโรงพยาบาลศูนย์ยะลา เพือ่ ให้บริการพิเศษเฉพาะแก่เด็กและเยาวชน ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ปัจจุบนั มีจติ แพทย์สองคนเป็นผูใ้ ห้การดูแลและบ�ำบัด รักษาประจ�ำการอยู่ที่โรงพยาบาลนี้

ความท้าทายที่ยังต้องเผชิญ

ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาทีม่ อี ยูต่ อ่ เนือ่ งยาวนานตราบเท่าทีใ่ นพืน้ ทีน่ ยี้ งั มีสถานการณ์ความ ไม่สงบเกิดขึน้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยูข่ องประชาชนในพืน้ ทีแ่ ล้ว ยังมีผลกระทบต่อ ผู้ที่มาปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวซึ่งมีภูมิล�ำเนาอยู่ในภูมิภาคอื่นด้วย การติดตามเยียวยาเหยื่อของความ รุนแรงเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ถึงแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขได้ทุ่มเท ความพยายามเต็มที่ในการท�ำงานด้านนี้ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา เราก็สามารถเยียวยาได้ประมาณ เพียงร้อยละ 70 ของผู้ได้รับผลกระทบเท่านั้น

73


ผูท้ ำ� งานด้านสุขภาพจิตของเราส่วนใหญ่เป็นมุสลิม เราพบว่า ความเปราะบางด้านศาสนาของ ผู้ท�ำงานก็มีความส�ำคัญ กรณีพระสงฆ์ถูกฆ่าเสียชีวิตภายในวัดแห่งหนึ่ง ทีมงานสุขภาพจิตประกอบ ด้วย จิตแพทย์ พยาบาลและนักจิตวิทยา เข้าไปเยียวยาในชุมชนนั้น จิตแพทย์ที่เข้าร่วมเยี่ยมในวัน นั้นเป็นมุสลิมแต่รูปร่างหน้าตาออกทางจีน แต่เจ้าหน้าที่ที่ไปด้วยกันต่างคลุมฮิญาบ (ผ้าคลุมศีรษะ) ชาวบ้านบางคนโพล่งขึน้ ว่า ‘ไอ้พวกแขกฆ่าพระ!’ จิตแพทย์ผนู้ นั้ บอกเจ้าหน้าทีใ่ ห้ถอยห่างและขอพูด คุยกับชาวบ้านเอง หลังเหตุการณ์ผา่ นพ้นไปถึงสองเดือนหลังการไปเยีย่ มเยียนอย่างสม�ำ่ เสมอ ท�ำให้ ชุมชนรับได้กับการพูดจากับผู้บ�ำบัดที่เป็นคนมุสลิม ที่ผ่านมาเราท�ำงานในรูปแบบของปัจเจกชน เยียวยาในตัวบุคคลมามากแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่า ปัจจุบันมีเรื่องที่เราควรท�ำมากที่สุดคือการท�ำงานกับชุมชน รูปแบบของชุมชนเยียวยาชุมชน โดย เฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่ถูกมองว่าคนในครอบครัวมีส่วนร่วมในการก่อความไม่สงบ ซึ่งอาจ เป็นการกระท�ำเฉพาะบุคคล โดยที่ครอบครัวไม่มีส่วนรู้เห็น การบ�ำบัดแบบกลุ่มเป็นรูปแบบหนึ่ง ในการเยียวยา แต่ก็ไม่ง่ายนักเพราะบางครอบครัวที่ได้ลงเยี่ยมเยียวยามีความห่วงใยในด้านความ ปลอดภัยเมื่อเข้ามาร่วมท�ำกลุ่มกิจกรรมบ�ำบัดกับพวกเรา การให้การสนับสนุนและการรักษาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโดยทีมงานสาธารณสุขในด้าน สุขภาพกาย จิตใจ อารมณ์ เริม่ จากการเยียวยาดูแลตนเอง ต่อด้วยการรวมกลุม่ เพือ่ ช่วยเหลือกันเอง ให้กำ� ลังใจซึง่ กันและกัน ได้แลกเปลีย่ นประสบการณ์ความทุกข์ แบ่งปันความสุข เปลีย่ นจากมือล่าง ทีค่ อยรับการช่วยเหลือ มาเป็นมือบนทีใ่ ห้ความช่วยเหลือผูไ้ ด้รบั ผลกระทบรายอืน่ ๆ ซึง่ เป็นรูปแบบ ที่มีประโยชน์ มีค่ามาก ไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาเยียวยาจิตใจซึ่งกันและกันเท่านั้น แต่ยังสามารถส่ง เสริมศักยภาพในตัวเอง สามารถฟื้นฟูเยียวยาทางด้านสังคม อาชีพและด้านการเงินของผู้ได้รับผล กระทบและครอบครัวอีกด้วย เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การให้บริการด้านสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นในพื้นที่ที่มีความรุนแรง แต่สิ่งที่ต้องการไม่น้อยไปกว่ากันก็คือความปลอดภัยของบุคลากรสาธารณสุขที่ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยม เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและครอบครัว สุดท้ายแล้ว การดูแลเยียวยาสุขภาพจิตจะมีส่วนช่วยใน การน�ำไปสู่ความเข้าอกเข้าใจและความสมานฉันท์ภายในชุมชนและระหว่างชุมชน และเหนือสิ่งอื่น ใด การเยียวยาเยี่ยงนี้จะช่วยป้องกันการเกิดความเคียดแค้นและความอยากแก้แค้น ที่อาจส่งผ่าน จากรุ่นสู่รุ่นต่อไปได้

74


บทที่ 8

สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข กับการรังสรรค์สันติภาพ อนันต์ชัย ไทยประทาน ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่มีหลักการส�ำคัญบนแนวทางของการสร้างสันติภาพที่ถาวร โดย มีเป้าหมายเพื่อสร้างหลักประกันให้การคุ้มครองด้านจิตวิญญาณ ชีวิต สติปัญญา เชื้อสาย และ ทรัพยากร มีหลักการส�ำคัญต่อการศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว ผู้ซึ่งเป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง ผู้ซึ่งเป็น พระเจ้าองค์เดียวทีค่ วรค่าต่อการภักดีถวายพระเกียรติ และการศรัทธาต่อการตอบแทนของพระองค์ ในวันปรโลก ส่งผลท�ำให้วถิ ชี วี ติ ของชาวมุสลิมผูศ้ รัทธาต้องยึดเหนีย่ วและครองตนตามแบบแผนการ ด�ำเนินชีวิตอย่างเคร่งครัดบนหลักการส�ำคัญ 3 หลักการ ได้แก่ หลักการศรัทธา หลักการอิสลาม และหลักคุณธรรม เป็นแนวทางที่วิถีชีวิตของชาวมุสลิมตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ต้องด�ำเนิน ไปตามที่บัญญัติไว้อย่างมั่นคงต่อไป ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคม กระแสวัตถุนิยม ความตกต�่ำทางศีลธรรม และกระแส โลกาภิวตั น์ ก่อให้เกิดปัจจัยคุกคามต่อสุขภาวะเป็นอย่างมาก การยึดมัน่ ในแนวทางตามวิถขี องศาสนา ต่าง ๆ ถูกท้าทาย สั่นคลอน และบั่นทอนไปอย่างมาก การด�ำเนินชีวิตของชาวมุสลิมในประเทศไทย ก็ถูกท้าทายจากกระแสดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดูเหมือนว่าในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การครองตนตามแนวทางแห่งอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ และตามวิถีแห่ง ศาสนาถูกกระทบโดยกระแสการพัฒนาที่ไร้ทิศทาง การคุกคามจากสถานการณ์ความไม่สงบ และ การขาดการบูรณาการจัดการทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ท�ำให้ระดับสุขภาวะอยูใ่ นระดับทีค่ กุ คามต่อคุณภาพ ชีวิตเป็นอย่างมาก การก่อเกิดของสมาคมจันทร์เสีย้ วการแพทย์และสาธารณสุขอยูบ่ นพืน้ ฐานของความรับผิดชอบ ต่อจรรยาบรรณวิชาชีพที่มีต่อสังคม และอยู่บนพื้นฐานของความมุ่งมั่นต่อเจตนารมณ์ของการเป็น ผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงด้านสาธารณสุข การแพทย์ที่สอดคล้องกับวิถีบริบท วิถีชีวิต ความเชื่อ ความ ศรัทธาของชาวมุสลิมของประเทศไทย รวมทั้งการสร้างแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาวะแก่ประชาชนโดย ทัว่ ไป ทัง้ ในระดับประเทศและระดับภูมภิ าค การก่อตัวทีต่ อ้ งอาศัยความเสียสละ จิตอาสา กายอาสา การทุ่มเทด้านเวลา และก�ำลังทรัพย์ด้วยความเชื่อมั่นว่า หากไม่มีผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงแล้ว เมื่อไร เป้าหมายของการสร้างสุขภาวะ การสร้างวิถีแห่งสันติสุขที่ยั่งยืน ที่ส่งผลดีต่อการใช้ชีวิตในโลกนี้ และโลกหน้าตามความศรัทธาของศาสนาจะก่อก�ำเนิดขึ้นในหมู่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ 75


สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 โดย การรวมตัวของบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและบุคลากร วิชาชีพต่าง ๆ ในด้านสาธารณสุข ซึง่ ส่วนใหญ่อยูใ่ นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นองค์กรสาธารณกุศลทีม่ งุ่ ท�ำงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษาประชาชนในสังคม ทัง้ ใน ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพือ่ ให้มคี ณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ยี งิ่ ขึน้ รวมถึงการเสริมสร้างความ รู้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์และสาธารณสุขที่บูรณาการหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุขมีบทบาทในการจัดบริการทางการแพทย์และ สาธารณสุขในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นส่วนเสริมจากการให้บริการทางการแพทย์ที่มาจากภาครัฐ ทาง สมาคมฯ ได้จดั ให้มหี น่วยบริการทางการแพทย์เคลือ่ นที่ ทีใ่ ห้ความช่วยเหลือแก่ผปู้ ระสบภัยต่าง ๆ เช่น จากภัยน�้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือจากภัยสึนามิ โดยไม่จ�ำกัดสัญชาติหรือศาสนาใด ๆ แม้กระทั่ง ภัยจากผลกระทบของเหตุความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สมาคมจันทร์เสี้ยวการ แพทย์และสาธารณสุขได้จัดกิจกรรมลงสู่ชุมชน วิเคราะห์ชุมชน เพื่อค้นหา ศึกษาสภาพของชุมชน โครงสร้างชุมชน ปัญหาชุมชน แล้วน�ำมาจัดการและแก้ปัญหา โดยที่ชุมชนเป็นเจ้าของและมีส่วน ร่วมในกระบวนการ ซึ่งท�ำให้ชุมชนรู้สึกตระหนักถึงความส�ำคัญของการจัดการชุมชน แก้ปัญหา ชุมชนด้วยตนเอง และจัดการปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สูงสุด นอกจากนี้สมาคมฯ ยังมีกิจกรรมในรูปแบบของค่าย หรืออบรมกลุ่มเยาวชน ในการดูแลและ จัดการปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน การเสริมสร้างความตระหนักด้านสุขภาพ งานคุ้มครองผู้บริโภค อาหารฮาลาล การเสริมสร้างสุขภาพครอบครัว การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ เป็นต้น ซึ่ง ในกระบวนการทัง้ หมดจะบูรณาการเข้ากับหลักปฏิบตั แิ ละค�ำสอนของศาสนาอิสลาม ก่อให้เกิดความ ร่วมมือ ความเชื่อมั่น และความศรัทธาในสิ่งที่ด�ำเนินการทั้งหมดอีกด้วย สมาคมจันทร์เสีย้ วการแพทย์และสาธารณสุขได้จดั กิจกรรมโครงการเข้าสุนตั (คิตาน-ขริบหนัง หุม้ ปลายอวัยวะเพศชาย) ทีถ่ กู หลักการแพทย์ เป็นการช่วยเหลือทัง้ ในแง่ความเชือ่ ความศรัทธาของ ประชาชน ควบคุมการติดเชื้อและปัญหาจากการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติพื้นบ้านที่ไม่เข้าใจหลักการทาง แพทย์อีกด้วย บางส่วนที่บริการทางการแพทย์ของภาครัฐเข้าไม่ถึง หรือยังไม่สามารถอ�ำนวยความ สะดวกได้เท่าที่ควรนั้น สมาคมฯ ได้พยายามลดช่องว่างด้วยการจัดกิจกรรมที่ท�ำให้มีการเข้าถึงมาก ยิง่ ขึน้ เช่น การค้นหาและประเมินภาวะสุขภาพของบุคลากรในโรงเรียนปอเนาะ การจัดการสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมของมัสยิด เป็นต้น

76


สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุขได้เข้าไปมอบความเหลือทางการแพทย์และ สาธารณสุขแก่ผู้อพยพและลี้ภัยจากสถานการณ์ต่างๆ เช่น กรณีผู้อพยพชาวโรฮิงญาจากประเทศ พม่า ณ บริเวณสถานพักพิงปาดังเบซาร์-สะเดา ซึ่งได้รับความอยุติธรรมจากภัยในประเทศของตน หรือตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ที่อาศัยความไร้สัญชาติของชาวโรฮิงญา มาเป็นเครื่องมือ ในการแสวงหาผลประโยชน์ และเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลในการปฏิบัติต่อผู้อพยพและลี้ภัยด้วย มนุษยธรรม ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และเรียกร้องให้มีการจัดการช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ นอกจากนี้ยังมีผู้อพยพเชื้อชาติเติร์ก ซีเรีย และอื่นๆ แม้ว่า กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ความยุ่งยาก อุปสรรคต่าง ๆ นานัปการ การทดสอบครัง้ แล้วครัง้ เล่าจากหลาย ๆ ปัจจัย รวมทัง้ กระแสความวุน่ วายจากเหตุการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่ จะเป็นปัจจัยคุกคามต่อการด�ำเนินกิจกรรมของสมาคมฯ อย่างต่อเนื่อง และ ไม่มีทีท่าจะยุติในอนาคตอันใกล้นี้ แต่การที่ได้อาสามาเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงต่อการจัดการ ด้านสุขภาวะของชาวมุสลิมในประเทศไทย ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ รวมทั้งการได้บูรณาการวิถีการท�ำงานร่วมกับหลาย ๆ ภาคส่วน ภาครัฐและเอกชน มูลนิธิ องค์กร ต่าง ๆ ทั้งรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ ได้สร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าแก่สมาคมฯ เพื่อการ ก้าวเดินไปบนหนทางของการร่วมกันสร้างสังคมสันติสุข สังคมวิถีธรรม สังคมสุขภาวะ ทั้งนี้ เพื่อ จะท�ำให้สมาคมฯ สามารถส่งมอบประสบการณ์เหล่านี้แก่สมาชิกระดับต่าง ๆ หลากหลายวิชาชีพ สร้างอุดมการณ์แก่บุคคลเหล่านั้นเพื่อยืนหยัดเคียงคู่การท�ำงานตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพและ เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนผู้รอคอยการเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป

77


บทที่ 9

การเสริมสร้างสมรรถนะ เพื่อการท�ำงานด้านสุขภาพและสันติภาพ: ความร่วมมือในภาคใต้ของประเทศไทย Gabriella Arcadu, Louisa Chan Boegli, Urs Boegli, วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ และ สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ สมาคมแพทย์และนักการทูตสวิต-อิตาเลียน ที่มีชื่อว่า the Rugiagli Initiative (tRI)1 กับ มูลนิธเิ พือ่ การเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.)2 ได้มคี วามร่วมมือกันตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2556 องค์กรทัง้ สองมีวสิ ยั ทัศน์รว่ มกันว่านักวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยเฉพาะผูท้ ที่ ำ� งานในประเทศของ ตนเองในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง มีศักยภาพที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจดีต่อกันระหว่างคู่ขัดแย้ง ช่วย ลดความรุนแรง และน�ำไปสู่สันติภาพในที่สุด การซักซ้อมศักยภาพด้านนี้ให้ได้ดีและปลอดภัยที่สุด อาจจะช่วยเสริมสร้างสมรรถนะในงานสันติภาพให้แก่นักวิชาชีพสุขภาพจ�ำนวนมาก the Rugiagli Initiative (tRI) เป็นเครือข่ายแพทย์ นักการทูต และนักปฏิบตั ิ ทีม่ เี ป้าหมายร่วมกันในการป้องกันและระงับ ยับยัง้ ความรุนแรงท่ามกลางความขัดแย้งโดยการท�ำงานโดยตรงกับแพทย์ในท้องถิน่ งานของ tRI อยูบ่ นพืน้ ฐานของความ เชือ่ มโยงระหว่างสุขภาพกับสันติภาพซึง่ เป็นทีย่ อมรับกันอย่างกว้างขวาง ไม่อาจมีสนั ติภาพได้หากสุขภาพของประชาชน ไม่ดี และในทางกลับกันสุขภาพจะดีไม่ได้ถ้าปราศจากสันติ มีโครงการและกิจกรรมจ�ำนวนมากเกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อม โยงนี้โดยมีความส�ำเร็จระดับต่าง ๆ tRI ได้ท�ำตามแนวคิดนี้และมุ่งที่จะสร้างเวทีส�ำหรับแพทย์ที่มีความคิดเหมือนกันและ แพทย์รุ่นต่อ ๆ ไป ที่จะแสวงหาวิถีทางใหม่ ๆ ที่จะยับยั้งและป้องกันความรุนแรงในความขัดแย้ง tRI มีฐานการท�ำงาน อยู่ในอิตาลีและสวิตเซอร์แลนด์ และได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยสมาชิก 4 คน ทุกคนเคยท�ำงานประจ�ำในองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรกาชาดสากล (ICRC) และอาศัยเครือข่ายที่ปรึกษาอันกว้างขวาง ซึ่งรวมถึง คณะแพทยศาสตร์แห่ง มหาวิทยาลัย Harvard ระบบขององค์กรสหประชาชาติ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ 1

มูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อประสานงานและ ระดมทรัพยากรและกิจกรรม เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดจากความไม่สงบในเขตไฟใต้ มยส. เป็นผลมาจากความพยายาม ก่อนหน้านัน้ ทีจ่ ะสนับสนุนนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสุขภาพให้ชว่ ยเหลือเหยือ่ ของไฟใต้ตงั้ แต่ปี พ.ศ. 2547 กิจกรรม ของมูลนิธิฯ มีตั้งแต่การมอบทุนเพื่อให้การบรรเทาทุกข์ร้อนของเหยื่ออย่างรวดเร็ว ไปจนถึงการท�ำวิจัยในประเด็นที่ เกีย่ วข้องเพือ่ น�ำไปสูก่ ารสือ่ สารสาธารณะในการขับเคลือ่ นให้เกิดการเปลีย่ นแปลงระดับนโยบาย คณะกรรมการอ�ำนวยการ มูลนิธฯิ และผูเ้ ชีย่ วชาญทีท่ ำ� งานร่วมกับมูลนิธฯิ ต่างก็เป็นผูท้ มี่ ปี ระสบการณ์ยาวนานในจังหวัดชายแดนใต้ เข้าใจพลวัตและ วิวฒ ั นาการของความขัดแย้งในพืน้ ทีด่ ี งานของเครือข่าย มยส. มีดว้ ยกัน 4 ด้าน คือ (1) เยียวยาและปรับปรุงคุณภาพชีวติ ของเหยื่อและผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ขัดแย้ง (2) ช่วยให้เกิดการสมานฉันท์ในระดับชุมชน (3) พัฒนาความรู้ที่จะแก้ปัญหาที่ ชุมชนก�ำลังเผชิญอยู่ และ (4) สื่อสารกับสาธารณะเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ไฟใต้ดียิ่งขึ้น กิจกรรมของมูลนิธิที่ท�ำร่วมกับ tRI มุ่งที่จะสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งกับพันธมิตรในท้องถิ่น 2

78


ความร่วมมือในภาคใต้ของประเทศไทย

ความร่วมมือระหว่างงานด้านสุขภาพกับงานด้านสันติภาพในภาคใต้ของไทยนัน้ มีลกั ษณะเด่น ไม่เหมือนใครในหลายด้าน ข้อแรกคือการเสริมสร้างสมรรถนะส�ำหรับงานด้านสุขภาพและสันติภาพ พร้อมกันเป็นเรือ่ งไม่ปกติสำ� หรับนักวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ส�ำหรับผูท้ ที่ ำ� งานในพืน้ ที่ ที่มีความขัดแย้ง ข้อที่สองก็คือการเสริมสร้างสมรรถนะส�ำหรับงานด้านสุขภาพและสันติภาพมักจะ สอนกันในมหาวิทยาลัยในประเทศที่สงบสุขหรือสอนผ่านทางระบบออนไลน์ tRI มีความเชื่อว่านักวิชาชีพด้านสุขภาพมีศักยภาพเชิงสันติภาพอยู่ในสัญชาตญาณ ซึ่งเกิด จากความเห็นแก่ประโยชน์ต่อผู้อื่น จากค�ำปฏิญาณฮิปโปคราเตสของแพทย์ และจากวิธีการแก้ ปัญหาอย่างเป็นระบบที่เน้นการใช้หลักฐาน ทั้งหมดนี้ทำ� ให้คนในวิชาชีพด้านสุขภาพเป็นที่น่าเชื่อ ถือ ในขณะที่ tRI ก�ำลังศึกษาโครงการน�ำร่องเพื่อทดสอบความเชื่อของตนเอง มยส. ก็ก�ำลังมองหา พันธมิตรริเริ่มที่จะใช้สุขภาพเป็นสะพานเชื่อมไปยังสันติภาพ ผ่านการติดต่อทางวิชาการไปได้ระยะ หนึ่ง ความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งสองนี้ก็เป็นรูปธรรม ตั้งแต่เริ่มต้น tRI ได้ใช้กลยุทธ์พุ่งเป้าไปยังกลุ่มแพทย์เพื่อการฝึกอบรมในงานด้านสันติภาพ กลยุทธ์นี้รวมถึงการฝึกอบรมในสถานที่เกิดเหตุ โดยใช้พื้นที่ที่ปลอดภัยในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ ขัดแย้ง หลังจากได้พิจารณาข้อดี-ข้อเสียอย่างรอบคอบแล้ว มยส. เห็นด้วยกับกลยุทธ์ที่ว่านี้ ทั้งสอง ฝ่ายวิเคราะห์และอภิปราย ให้น�้ำหนักกับข้อดีและจุดอ่อนร่วมกัน PeaceNexus มูลนิธิเอกชนสัญชาติสวิตที่เชี่ยวชาญในการช่วยเหลือองค์กรด้านสันติภาพที่ อยู่ในระยะก่อร่างสร้างตัว ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ความริเริ่มนี้ มยส. ก็ได้ร่วมสนับสนุนทั้ง ด้านการจัดการองค์กรและด้านงบประมาณ ผู้เชี่ยวชาญ วิทยากร และผู้จัดการประชุม ต่างก็อุทิศ เวลาโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่โครงการนี้

กระบวนการและการวางแผน

เพื่อที่จะร่วมมือกับพันธมิตรฝ่ายไทย tRI ได้ศึกษาวิจัยจากเอกสารอย่างละเอียด จนมีความรู้ ความเข้าใจต่อความขัดแย้งที่เป็นอยู่ ขยายการติดต่อกับผู้คนเพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสาร และค้นหาจุด เสี่ยงและโอกาสศึกษาความขัดแย้งและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์จากแง่มุมที่ต่างกัน การประเมินภาคสนามได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2556 ด้วยการประสานงานและโดยค�ำเชิญชวน ของ มยส. ได้มีการจัดท�ำแบบสอบถามที่เฉพาะเจาะจงเพื่อหาข้อมูลที่ค�ำนึงถึงความขัดแย้งและ วัฒนธรรมในพืน้ ที่ จากนัน้ ได้นำ� ไปประเมินร่วมกับนักวิชาชีพด้านสุขภาพในกรุงเทพฯ หาดใหญ่ (ซึง่ เป็นที่ตั้งของส�ำนักงาน มยส.) และ ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง (นราธิวาส ปัตตานี สงขลา และยะลา) 79


เพือ่ รวบรวมข้อมูลเพิม่ เติม เพือ่ วิเคราะห์ความเสีย่ งและโอกาส และเพือ่ ประเมินจุดแข็ง-จุดอ่อนของ ระบบสุขภาพและประเด็นปัญหาทางด้านสังคม-เศรษฐกิจ ในจังหวัดชายแดนใต้ ส�ำหรับ tRI แล้ว การประเมินภาคสนามนี้ได้ท�ำให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้เกี่ยวกับความ ขัดแย้งมากขึ้นกว่าที่ได้จากการวิจัยจากเอกสาร ท�ำให้รู้จักผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียอย่างกว้างขวางและ ยังได้มีโอกาสสร้างพันธมิตรใหม่ ๆ อีกด้วย ในระหว่างการประเมินภาคสนาม มยส.ได้จัดเวทีสนทนา เชิญนักวิชาชีพด้านสุขภาพจาก ทุกกลุ่มความขัดแย้ง กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเพศสภาพ และกลุ่มเฉพาะทางทางการแพทย์ การสนทนา เป็นไปอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา เป็นครั้งแรกนับแต่ความรุนแรงเริ่มขยายตัวในปี พ.ศ. 2547 ที่นักวิชาชีพด้านสุขภาพในพื้นที่ความขัดแย้งได้มานั่งถกกันถึงความขัดแย้ง สภาวะยุ่งยากที่พวก เขาก�ำลังเผชิญอยู่ ปัญหาในการให้บริการสุขภาพที่ดี ความเสี่ยงและโอกาสของการสมานฉันท์ และ การลดความรุนแรงในชุมชนที่พวกเขาท�ำงานอยู่ พวกเขาต้องการเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับบทบาท ของตนเองในการสร้างสันติภาพ และยังได้ถกกันอย่างกว้างขวางถึงแนวคิดเกี่ยวกับสันติภาพ ความสมานฉันท์ และการลดความรุนแรง ผู้เข้าร่วมเวทีสนทนาต่างเห็นว่าจ�ำเป็นต้องจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับบทบาทของ นักวิชาชีพด้านสุขภาพในการสร้างสันติภาพ หัวข้อที่พวกเขาสนใจได้แก่ การไกล่เกลี่ย การเจรจา ต่อรอง การวิเคราะห์ความขัดแย้ง การจัดการกับความหวาดระแวง สิทธิมนุษยชน กฎหมายนานาชาติ ทางด้านมนุษยธรรม และวิถีทางที่นักวิชาชีพด้านสุขภาพอาจสามารถช่วยให้เกิดสันติภาพได้ ทีมผู้เชี่ยวชาญในการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ • น.พ. วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์, ประธานคณะกรรมการ มยส. • น.พ. ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข • ดร. อุทัย ดุลยเกษม, อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร • นายสมชาย หอมลออ, สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเซียนานาชาติ • Dr Louisa Chan Boegli, tRI, Switzerland. • Urs Boegli, the Rugiagli Initiative (tRI), Switzerland. • Dr Kimberlyn Leary, Associate Professor, Harvard University Medical School, USA. • Dr Klaus Melf, Associate Chief Medical Officer, Troms , Norway and Medical Peace Work (MPW.) • Dr Gabriella Arcadu, tRI, Italy. • Dr Stephan Kolb, Nuremberg Clinic, Germany, MPW.

80


ในการเตรียมการเพือ่ จัดการอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร tRI และ มยส. ได้รว่ มกันคัดเลือกผูเ้ ชีย่ วชาญ จากประเทศไทยและจากต่างประเทศมาร่วมเป็นวิทยากรในแต่ละช่วงเวลาของการอบรมด้วยความ ละเอียดรอบคอบมาก เงื่อนไขในการคัดเลือกก็คือวิทยากรจะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ตรงในเรื่อง ไฟใต้ หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถชี้ให้เห็นประเด็นแนวคิดส�ำคัญในหัวข้อนั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง ผล การคัดเลือกท�ำให้ได้ทีมวิทยากรทั้งจากไทยและนานาชาติที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้เข้ารับการอบรม อีกทั้งยังเป็นเครือข่ายที่ tRI และ มยส. อาจใช้เป็นทรัพยากรบุคคลต่อไปใน โครงการอื่น ๆ ในอนาคต

การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ 3 วันที่จังหวัดกระบี่

การอบรมเชิงปฏิบัติการส�ำหรับนักวิชาชีพด้านสุขภาพในเขตไฟใต้เรื่องการสนับสนุนความ เข้าใจระหว่างกันและการลดความรุนแรง จัดขึน้ เมือ่ ปลายปี พ.ศ. 2556 ทีจ่ งั หวัดกระบี่ ซึง่ เป็นสถานที่ ที่ไม่ได้รับผลกระทบ แต่อยู่ไม่ไกลนักจากพื้นที่ไฟใต้ ผู้เข้าร่วมอบรมจ�ำนวน 30 คน เป็นนักวิชาชีพด้านสุขภาพ ผู้ท�ำงานด้านสังคม นักวิชาการ และผู้บริหารโรงพยาบาล ในจ�ำนวนนี้มี 9 คนที่เป็นมุสลิม ที่เหลือเป็นชาวไทยพุทธ และครึ่งหนึ่ง เป็นผู้หญิง การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศใช้ภาษาอังกฤษ ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมใช้ภาษา ไทยสนทนา มีล่ามแปลภาษาไทย-อังกฤษไปกลับในเวลาเดียวกัน การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ เรียนรู้ ดังที่ได้พิจารณามาก่อนแล้วจากการประเมินภาคสนาม 2) เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ นักวิชาชีพด้านสุขภาพที่ท�ำงานในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งได้ออกเสียงแสดงความคิดเห็น ความกังวล และแสวงหากลยุทธเพื่อรับมือกับปัญหา และ 3) เพื่อเป็นขั้นตอนแรกของช่วงการศึกษาความเป็น ไปได้ในการประเมินแนวคิดหลักและสมมุตฐิ านของ tRI (ขัน้ ตอนสุดท้ายของการศึกษาความเป็นไปได้ จะเป็นการประเมินผลกระทบ) การอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารนีเ้ ป็นวิธหี นึง่ ในการสร้างเสริมความร่วมมือระหว่าง tRI กับผูม้ บี ทบาท ในประเทศไทย และสร้างสัมพันธ์กับพันธมิตรนานาชาติ ผลลัพธ์จากการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ นับเป็นกระบวนการเริ่มต้นที่น�ำไปสู่การพัฒนาต้นแบบความร่วมมือระหว่าง tRI กับพันธมิตรระดับ ชาติ/นานาชาติ

81


วิธีการและเนื้อหาของการอบรมเชิงปฏิบัติการ

เพือ่ ท�ำให้การอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารประสบผลส�ำเร็จ การมีสว่ นร่วมของผูเ้ ข้ารับการอบรมนับว่า มีความส�ำคัญยิง่ ต้องจัดให้มสี ภาพแวดล้อมทีพ่ วกเขารูส้ กึ ปลอดภัยทีจ่ ะแสดงความเห็น ทัง้ ในระหว่าง หมูพ่ วกเขาด้วยกันเองและกับกลุม่ ผูเ้ ชีย่ วชาญ ทัง้ เรือ่ งประสบการณ์ในวิชาชีพและความท้าทายทีพ่ วก เขาได้เผชิญมา นอกจากนี้ ยังจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องให้ความรูท้ างเทคนิคในเรือ่ งการวิเคราะห์ความขัดแย้ง และให้เครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถในการด�ำเนินการกับสถานการณ์ความรุนแรงซึ่งพร้อมปะทุที่ จะเผชิญทุกวันในงานประจ�ำ ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงได้แบ่งการอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 มุ่งเน้นที่ความขัดแย้งและการวิเคราะห์ปัญหา จะมีการน�ำเสนอกรอบคิดเชิง วิเคราะห์ของความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ และจัดช่วงเวลาโดยเฉพาะให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ น�ำเสนอปัญหาที่ประสบในการให้บริการด้านสุขภาพ เพื่อให้ช่วงเวลานี้เกิดประสิทธิผลดี จะมีการ มอบการบ้านให้ผู้เข้ารับการอบรมเตรียมกรณีศึกษาล่วงหน้าเพื่อน�ำเสนอ หัวข้อเรื่องหลักของ การอบรมเชิงปฏิบัติการ • แนะน�ำความขัดแย้งจากการเมืองเชิงชาติพันธุ์, กระบวนการสันติภาพในภาคใต้, การทูตเพื่อสันติภาพผ่านหลาย ๆ ช่องทาง • งานสุขภาพกับสันติภาพในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ • ข้อยุ่งยากทางจริยธรรมที่บุคลากรทางการแพทย์อาจประสบ ท่ามกลางความขัดแย้ง ภายในประเทศ

กรณีศึกษาที่ว่านี้จะช่วยน�ำสถานการณ์จริงมาสู่ห้องอบรม ตัวอย่างเช่นกรณีความรุนแรงที่ เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในยะลาและปัตตานี และปัญหาการให้บริการสุขภาพอันเนื่องจากความไม่ ไว้วางใจกันที่มีเพิ่มขึ้นในชุมชน การน�ำเสนอดังกล่าวท�ำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนอย่างมากในการ ก�ำหนดกรอบของกิจกรรม ที่ท�ำให้เห็นพลวัตของความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ ระยะที่ 2 มุ่งเน้นที่การแบ่งปันความรู้และทักษะที่สามารถน�ำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งผู้เข้ารับ การอบรมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับแบบจ�ำลองของการวิเคราะห์ความขัดแย้ง ทักษะในการเจรจาต่อ รองและการไกล่เกลี่ย การจัดการกับภาวะขัดแย้งเชิงจริยธรรม ปัญหาสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ และ เครือ่ งมือทีจ่ ะดึงผูม้ สี ว่ นได้เสียให้เข้ามามีบทบาท และโอกาสในการพัฒนาหลักสูตรส�ำหรับนักวิชาชีพ ด้านสุขภาพให้ครอบคลุมถึงเรือ่ งสันติภาพและการลดความขัดแย้งรุนแรง จะมีการบรรยายในแต่ละ หัวข้อ ตามด้วยการท�ำงานกลุ่ม และการท�ำแบบฝึกหัดเชิงปฏิบัติการ หรือการแสดงความคิดเห็น ทั่วไปเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและการแบ่งปันแนวความคิดให้มากที่สุด

82


ระยะที่ 3 เปลี่ยนเป้าความสนใจไปที่การวางแผนปฏิบัติงานและกิจกรรมที่จะต้องท�ำต่อไป แบ่งผู้เข้ารับการอบรมออกเป็นกลุ่มย่อยขนาดเล็ก เพื่อให้พวกเขาได้ถกกันอย่างละเอียดเพื่อหาวิธี การปฏิบัติงานในสถานการณ์ต่าง ๆ ในกระบวนการการอบรมเชิงปฏิบัติการทุกขั้นตอน มีที่ปรึกษาที่พูดภาษาไทยและอังกฤษ ได้คล่องคอยอ�ำนวยความสะดวก และช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างส่วนต่าง ๆ วิทยากรท่านนี้ (ซึง่ มีลา่ มมืออาชีพคอยช่วย) อ�ำนวยความสะดวกให้ผเู้ ข้ารับการอบรมได้มปี ฏิสมั พันธ์และสือ่ สารกับ วิทยากรชาวต่างชาติได้ดีขึ้น

ผลที่ได้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ

ผลลัพธ์หลัก ๆ จากการอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารนีก้ ค็ อื ความริเริม่ สีป่ ระการ พร้อมด้วยแผนปฏิบตั ิ การที่สอดคล้องกันที่จะน�ำไปปฏิบัติได้จริงในไม่กี่เดือนต่อมา มีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความ ริเริม่ นีต้ ลอดการอบรม โดยแต่ละกลุม่ จะมีผเู้ ชีย่ วชาญทัง้ ไทยและต่างประเทศคอยช่วยเหลือ ในช่วง เวลาสุดท้ายของการอบรมแต่ละกลุม่ จะน�ำเสนอแผนปฏิบตั กิ ารส�ำหรับความริเริม่ นัน้ ๆ โดยละเอียด ผู้เข้ารับการอบรมแต่ละกลุ่มจะเสนอวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่ต้องการ และแนวปฏิบัติเป็นขั้นตอน พร้อมทั้งก�ำหนดระยะเวลาการท�ำงานที่จะน�ำแผนไปลงมือปฏิบัติ

ความริเริ่มและแผนปฏิบัติการด้านต่าง ๆ หลังการฝึกอบรม

ด้านสุขภาพจิต การลดความโกรธ และความรุนแรง เป้าหมายของความริเริ่มนี้คือการลดการถ่ายทอดความรุนแรงจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง เนื่องจากโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) ทั้งในคนวัยหนุ่มและเด็กมักปรากฏให้เห็น ในรูปของการย�้ำคิดย�้ำท�ำและอาการก้าวร้าว ดังนั้นจึงควรมีแผนเพิ่มบริการด้านสุขภาพจิตไปยัง กลุม่ เป้าหมายทีเ่ ป็นคนวัยหนุม่ และเด็ก ซึง่ อยูใ่ นครอบครัวทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากความรุนแรงทัง้ ทาง ตรงและทางอ้อม การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายจะเลือกกลุ่มที่ปกติแล้วไม่อาจเข้าถึงบริการสุขภาพได้ โดยเฉพาะบริการด้านสุขภาพจิต และเพื่อส่งเสริมบริการด้านสุขภาพจิตนี้ จะมีการวางแผนกลยุทธ์ การเข้าหาผู้ป่วยด้วยการอบรมให้พ่อแม่มีความอ่อนไหวกับสัญญาณและความเสี่ยงต่อการเกิด ความกระทบกระเทือนทางจิตใจในเด็ก กลุ่มนี้จะมีนักจิตวิทยาสตรีมุสลิมซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและ ท�ำงานอยู่ในพื้นที่ขัดแย้งอยู่แล้วเป็นผู้น�ำกลุ่ม

83


ด้านการพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนแพทย์ ความริเริ่มนี้ต้องการบรรจุหัวข้อ ‘สุขภาพกับงานสันติภาพ’ เข้าไปในหลักสูตรมาตรฐานของ โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุม่ นีจ้ ะพัฒนาวิธกี ารเป็นขัน้ เป็นตอนโดยเริม่ จากการ สร้างความยอมรับในหมูอ่ าจารย์ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ชักชวนและสร้างความตระหนักให้กลุม่ คนเหล่านี้ ทดลองหลักสูตรในเบือ้ งต้น แล้วจึงพัฒนาเข้าไปสูห่ ลักสูตรประจ�ำของโรงเรียนแพทย์และ โรงเรียนพยาบาลอืน่ ๆ เพือ่ ให้แน่ใจว่าหลักสูตรมีความเหมาะสม แต่ละขัน้ ตอนจะได้รบั การประเมิน เชิงลึก อาจารย์อาวุโสและผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะน�ำ การริเริ่มนี้ (ดูเพิ่มเติมในบทที่ 10) ด้านการสนับสนุนความเข้าใจร่วมกันและกระบวนการสันติภาพ – การมีสว่ นร่วมของแพทย์ ในการเจรจาสมานฉันท์ในช่องทางที่ 2 แผนปฏิบตั กิ ารนีม้ งุ่ เน้นทีก่ ารรวบรวมบุคลากรด้านสุขภาพทีอ่ ยูใ่ นกระบวนการเพือ่ สันติภาพ ช่องทางที่ 2 และ 3 ที่ด�ำเนินการอยู่แล้วในเขตไฟใต้ งานหลักของแผนงานนี้คือการสร้างเครือข่าย นักวิชาชีพด้านสุขภาพในจังหวัดชายแดนใต้ เครือข่ายนี้จะช่วยเป็นกรอบการท�ำงานที่จะก่อให้เกิด ความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามสร้างสันติภาพ นอกจากนี้ เครือข่ายนี้ยังอาจเป็น กรอบในการสร้างชุดบริการสุขภาพส�ำหรับภาคใต้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ผู้น�ำกลุ่มนี้คือผู้อ�ำนวยการ โรงพยาบาลระดับอ�ำเภอแห่งหนึ่ง ด้านความริเริ่มด้านการจัดทีมงานบูรณาการเพื่อเข้าหาชุมชน – มัสยิดสุขภาพ แผนปฏิบัติการนี้จะมุ่งเน้นที่การเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพกับชุมชนในพื้นที่ซึ่งถูกควบคุม โดยฝ่ายตรงข้าม และในพื้นที่ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ไม่อาจเข้าถึงได้3 กลยุทธที่ใช้ก็คือการท�ำให้ อิหม่ามและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เข้ามามีบทบาทเพื่อใช้มัสยิดรอบ ๆ พื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์บริการ สุขภาพ อันจะท�ำให้ชาวบ้านรู้สึกสบายใจที่จะใช้บริการ แผนงานนี้จะได้รับการสนับสนุนจากหน่วย บริการสุขภาพเคลือ่ นทีซ่ งึ่ สามารถให้บริการในระดับเบือ้ งต้นได้เพือ่ เพิม่ ระดับบริการและความมัน่ ใจ นายแพทย์มุสลิมที่มีชื่อเสียงกับผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลอ�ำเภอเป็นผู้น�ำกลุ่มนี้ วิทยากรทั้งไทยและนานาชาติ จะได้ติดต่อกับผู้น�ำกลุ่มทั้ง 4 ในช่วงระยะเวลาต่อมาอีกหลาย เดือน เพือ่ ให้ความช่วยเหลือและค�ำแนะน�ำในการลงมือปฏิบตั ติ ามแผนปฏิบตั กิ าร และได้ตดิ ต่อเพือ่ ท�ำหน้าทีเ่ ป็นพีเ่ ลีย้ งต่อมาตลอดช่วงระยะเวลาของการจัดท�ำหนังสือเล่มนี้ ซึง่ ได้รบั การสนับสนุนการ จัดพิมพ์โดยสถานเอกอัครทูตสวิตเซอร์แลนด์ในกรุงเทพฯ พืน้ ทีซ่ งึ่ บุคลากรทางการแพทย์ฝา่ ยรัฐไม่อาจเข้าถึงได้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พืน้ ทีน่ นั้ ถูกควบคุมโดยผูก้ อ่ ความ ไม่สงบ หรือพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่เพิ่งมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น 3

84


ในมุมของการเสริมสร้างสมรรถนะและการสร้างเครือข่าย ผู้เข้าร่วมอบรมต่างเห็นพ้องกัน ว่าการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ให้ประโยชน์ในการได้เรียนรู้และการสร้างสัมพันธภาพ ผู้เข้าร่วมอบรม ต่างก็เอาจริงเอาจังกับการอบรมตลอดระยะเวลา 3 วัน พวกเขาถกกันอย่างเปิดเผยในประเด็น ความท้าทายและปัญหาที่พวกเขาเผชิญอยู่ในพื้นที่ขัดแย้ง แม้แต่เมื่อต้องถกกันในเรื่องที่มีความ อ่อนไหว เช่น การเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากภาษาและชาติพันธุ์ อัตลักษณ์และการก�ำหนด อนาคตตนเอง ตลอดจนถึงการที่ความรุนแรงยังไม่ได้รับการแก้ไข พวกเขาก็ยังพูดคุยกันได้โดย ปราศจากการเผชิญหน้า การน�ำทุกคนออกจากพื้นที่ขัดแย้งและให้พวกเขาได้มีบริเวณปลอดภัยนับเป็นความส�ำเร็จ ในการสร้างบทสนทนาที่สร้างสรรค์และความเข้าใจร่วมกัน นอกจากนี้ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในจังหวัดที่ไม่ไกลจากพื้นที่ขัดแย้งก็เป็นทางเลือกที่ท�ำให้นักวิชาชีพด้านสุขภาพพอจะสามารถปลีก ตัวจากภาระงานที่มีอยู่มากมาร่วมการอบรมได้ อีกทั้งยังท�ำให้สามารถมองเห็นประเด็นปัญหาได้ อย่างใกล้ชิดอีกด้วย ในระหว่างการอบรม เห็นได้วา่ นักวิชาชีพด้านสุขภาพทีเ่ ข้าร่วมอบรมต่างก็เป็นกังวลกับปัญหา ที่พวกเขาเผชิญอยู่ทุกวัน ปัญหาเหล่านี้ได้แก่ ความปลอดภัยต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อเพื่อนร่วม งานและผู้ใต้บังคับบัญชา ข้อระแวงสงสัยจากทหารในพื้นที่และจากผู้น�ำทางการเมือง แรงกดดัน ทางการเมือง และ ปัญหาจริยธรรม ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือการเข้าไม่ถึงชุมชนบางชุมชน ด้วย เหตุผลไม่เพียงแต่จากกระบวนการท�ำงานของทหารเท่านัน้ แต่ยงั เนือ่ งจากการแบ่งขัว้ และอุดมการณ์ ที่ขัดแย้งกันในทั้งสองฝ่าย ผู้เข้าร่วมอบรมต่างก็ยอมรับว่าดัชนีบ่งชี้ด้านสุขภาพในพื้นที่ขัดแย้งอยู่ ในสภาพย�่ำแย่เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นของประเทศไทย ได้มีการคิดหาวิธีรับมือกับปัญหาเหล่านี้ที่น่าชื่นชม ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ยอมรับทักษะ แนวคิด และความรู้ที่ได้แลกเปลี่ยนกันในระหว่างการอบรม เนื่องจากพวกเขาต่างก็เคยประสบ กับสถานการณ์ที่อาจน�ำกลยุทธ์การรับมือที่แตกต่างหลากหลายไปใช้ได้ กลยุทธ์การรับมือที่ว่านี้ บางส่วนอาจน�ำไปแปลงเป็นแผนปฏิบัติการได้เลย และนับเป็นผลลัพธ์ที่มีประโยชน์มากที่สุดของ การฝึกอบรม เพราะสามารถน�ำไปพัฒนาและส่งต่อให้แก่นักวิชาชีพด้านสุขภาพทั้งในพื้นที่ไฟใต้ และพื้นที่อื่น มีหลายกรณีที่ผู้เข้าร่วมการอบรมต้องการตรวจสอบว่าวิธีการรับมือที่พวกเขาท�ำอยู่ นั้นถูกต้องแล้ว กรณีนี้ข้อคิดเห็นจากวิทยากรจากภายนอกช่วยให้เกิดความมั่นใจในจุดนี้ได้อย่างดี

85


นอกเหนือจากประโยชน์ที่ได้จากข้อเสนอของผู้เข้าร่วมการอบรมแล้ว การฝึกอบรมยังมี ประโยชน์ทไี่ ด้นำ� บุคคลต่าง ๆ ให้มาร่วมพูดคุยกัน ซึง่ ประกอบด้วยนักวิชาชีพด้านสุขภาพทัง้ ชาย-หญิง จากทัง้ สองฝ่ายของคูข่ ดั แย้ง และจากหลายกลุม่ ชาติพนั ธุ์ (ชาวไทยพุทธ ชาวไทยพุทธเชือ้ สายจีน ชาว ไทยคริสต์ และชาวมุสลิมเชื้อสายมลายู) การได้ถกกันในเรื่องที่ปกติเป็นเรื่องต้องห้ามอย่างเปิดเผย ได้สร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจให้เกิดขึ้นระหว่างกัน การฝึกอบรมครั้งนี้จึงนับเป็นก้าวแรก ของการสร้างความเข้าใจในอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่เพียงแต่บนพื้นฐานของวิชาชีพเท่านั้น แต่ยังไปถึงระดับ บุคคลอีกด้วย จึงคาดหวังได้ว่าความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้จะน�ำไปสู่การสร้างเครือข่ายนักวิชาชีพที่คิด เหมือน ๆ กัน ซึง่ จะได้ชว่ ยเหลือซึง่ กันและกันในประเทศไทย และในพืน้ ทีข่ ดั แย้งอืน่ ๆ ของโลกต่อไป

การประเมินผลกระทบของการอบรมเชิงปฏิบัติการ

หลังจากโครงการนี้เริ่มไปได้ 1 ปี ทีมประเมินจาก tRI และ มยส. ได้กลับเข้าไปในพื้นที่ ไฟใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่าความริเริ่มต่าง ๆ ที่คิดกันไว้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการนั้นมี พัฒนาการไปอย่างไร เพือ่ เข้าใจถึงความเป็นไปได้ของแนวคิดและกลยุทธ์การด�ำเนินงานของโครงการ น�ำร่องนี้ การประเมินดังกล่าวเป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องของกลุ่มบุคคลที่ท�ำงานร่วมกันในโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในกระบี่ไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็นเหตุการณ์เดี่ยว ๆ แต่เป็นจุดเริ่มต้น ของสายธารของความสัมพันธ์และกิจกรรมอันต่อเนื่องกับเครือข่ายท้องถิ่นและเครือข่ายนานาชาติ การประเมินนี้เริ่มขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองครั้งใหญ่ได้ไม่นานซึ่งท�ำให้ เกิดการเปลีย่ นรัฐบาลในประเทศไทย และเกิดการยุตกิ ารเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยชุดก่อน นีก้ บั ผูก้ อ่ ความไม่สงบมุสลิมในพืน้ ทีภ่ าคใต้ การประเมินมีกรอบค�ำถามในการเก็บและวิเคราะห์ขอ้ มูล ดังนี้ คือ มีอะไรเกิดขึน้ บ้างหลังการฝึกอบรม โครงการประสบปัญหาอะไรบ้าง โครงการต้องการความ ช่วยเหลืออะไรบ้างเพือ่ จะเดินหน้าต่อไป หากย้อนเวลากลับไปได้ การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารควร จะได้ท�ำอะไรที่แตกต่างออกไปจากเดิมหรือไม่ และได้มีเครือข่ายอะไรเกิดขึ้นบ้างหรือไม่

การประเมินได้กระท�ำผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

- การสัมมนาประเมินผลกระทบร่วมกับผูเ้ ข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารทีจ่ งั หวัดกระบีบ่ างส่วน - การลงเยีย่ มพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั ผลกระทบหลายครัง้ ในจุดทีม่ แี ผนจะด�ำเนินงานตามความริเริม่ นี้ และ - การพบปะกับปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลผู้มีส่วนได้-เสีย เพื่อที่จะก่อให้เกิดการร่วมมือ เช่น อิหม่าม ผู้ใหญ่บ้าน ครู อาจารย์มหาวิทยาลัย บุคลากรทางการแพทย์ ผู้สื่อข่าว และผู้แทน จากหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับกิจกรรมทางการทูตวิถที ี่ 2 (ดูคำ� อธิบายค�ำว่า การทูตวิถที ี่ 2 ได้ทบี่ ทน�ำ)

86


ในบรรดาความริเริ่มทั้ง 4 ด้านที่กล่าวมาแล้ว มี 2 ด้านที่มีกิจกรรมที่แข็งแกร่งเกิดขึ้น ตามมา 1. การพัฒนาหลักสูตร คณะกรรมการคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มกี ารประชุมเพือ่ พิจารณา การเพิ่มเนื้อหาทางด้านสุขภาพและสันติภาพเข้าไปในหลักสูตรแกนของคณะแพทยศาสตร์ อย่างไร ก็ตาม ที่ประชุมได้ตัดสินใจให้เนื้อหาดังกล่าวอยู่ในกิจกรรมเสริมหลักสูตรและการสัมมนา การ บรรยายของ tRI และ มยส. ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของกิจกรรมเสริมหลักสูตรได้รบั การตอบรับอย่างดีจาก ทัง้ อาจารย์และนักศึกษา นอกจากนี้ ยังได้เริม่ มีการแปลเอกสารออนไลน์เกีย่ วกับงานด้านการแพทย์ เพื่อสันติภาพเป็นภาษาไทย

2. มัสยิดสุขภาพ โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ก�ำลังด�ำเนินการอยู่ในอ�ำเภอที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ในจังหวัดนราธิวาส โดยมัสยิด 10 แห่งจากทั้งหมด 34 แห่งได้รับการก�ำหนดให้เป็นมัสยิดสุขภาพ มัสยิดสุขภาพเหล่านีไ้ ด้ให้บริการปฐมภูมแิ ก่กลุม่ ครอบครัวจ�ำนวนหนึง่ หลังจากการอบรมเชิงปฏิบตั ิ การที่กระบี่ ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลอ�ำเภอได้เจรจาเพื่อขอใช้พื้นที่มัสยิดให้แก่ทุกคน ซึ่งรวมถึง ชุมชนห่างไกลที่บุคลากรทางการแพทย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ ในบางกรณีมัสยิดสุขภาพได้ให้บริการ ไปถึงหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลและหมู่บ้านที่ปรกติไม่สามารถเข้าถึงได้ ความริเริ่มประการหนึ่งที่ไม่ได้คิดกันมาก่อน แต่ได้รับแรงบันดาลใจจากการอบรมเชิงปฏิบัติ การคือ การจับคู่ระหว่างหมู่บ้านสีแดงและสีเขียว (หมู่บ้านสีแดงคือหมู่บ้านที่อยู่ใต้อิทธิพลของ ผู้ก่อการ และหมู่บ้านสีเขียวคือหมู่บ้านที่อยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาล) ความริเริ่มนี้เป็นการ เสนอบริการด้านสุขภาพให้แก่หมู่บ้านสีเขียวที่อยู่ใกล้เคียงกับหมู่บ้านสีแดง กิจกรรมดังกล่าวนี้ ช่วยท�ำให้เกิดปฏิสัมพันธ์มากขึ้นระหว่างชุมชนสีแดงและสีเขียว เมื่อเวลาผ่านไปความเชื่อมั่นต่อ การให้บริการสุขภาพจะเพิม่ ขึน้ ซึง่ น�ำการสาธารณสุขไปสูก่ ารเข้าถึงหมูบ่ า้ นทีเ่ ดิมไม่สามารถเข้าถึงได้ เพื่อประชาชนจะได้มีสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มกี ารริเริม่ เป็นครัง้ คราวเพือ่ ขอให้ปราชญ์ชาวบ้านในพืน้ ทีอ่ อกเยีย่ มชุมชนเพือ่ ชักชวนให้ชาวบ้านเข้ามามีสว่ นร่วม โดยการสอนวิถขี องอิสลามทีจ่ ะลดความรุนแรง และบ่มเพาะวิธี แก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการไม่ใช้ความรุนแรงภายในหมู่บ้านนั้น ๆ

87


การประเมินผลพบว่า ไม่ใช่ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทุกคนที่พร้อมจะเข้าร่วมในงาน สันติภาพ เป็นวัฒนธรรมของสังคมไทยที่ผู้คนมักไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตนเอง โดยเฉพาะในเรื่องการเมือง และงานด้านสันติภาพก็ถูกมองว่าเป็นงานด้านการเมือง มิติอื่น ๆ ได้แก่ ความกลัวการแก้แค้นระหว่างกลุม่ การสูญเสียความน่าเชือ่ ถือ และการเข้าถึงชุมชนทีต่ อ้ งการความ ช่วยเหลือ ด้วยเหตุน้ี จึงน่าจะสรุปได้ว่า ความรู้และทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือในการท�ำงานสันติภาพ แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังเสริมสมรรถนะของ นักวิชาชีพด้านสุขภาพในการรับมือและให้บริการสุขภาพในสถานการณ์ที่ยากล�ำบาก แม้ว่าทีมงานไม่สามารถติดตามความคิดริเริ่มได้ทั้งหมด กิจกรรมใหม่ ๆ ก็ได้เกิดขึ้นจากการ เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการท่านหนึ่งได้รับรางวัลแพทย์ชนบท ดีเด่นในช่วงที่ tRI และ มยส. ก�ำลังท�ำการประเมินกิจกรรม ในงานแถลงข่าวกับสือ่ มวลชน นายแพทย์ ผูน้ นั้ ได้กล่าวถึงบทบาทของแพทย์ในการสร้างสันติภาพและการลดความรุนแรงว่าเป็นงานทีม่ คี วาม ส�ำคัญยิ่งในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง อย่างน้อยที่สุด ทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการก็ได้ถูกน�ำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาใน สภาพแวดล้อมการท�ำงานที่มุ่งปรับปรุงสมรรถนะทางด้านสุขภาพ กล่าวโดยทั่วไปแล้ว มีผู้เข้าร่วม กิจกรรมจ�ำนวนไม่น้อยที่ได้รับสาระ ความเชื่อมโยงระหว่างสันติภาพและสุขภาพได้เข้าถึงผู้รับการ อบรมจ�ำนวนไม่น้อย และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนั้นก็ได้ก่อให้เกิดกรอบแนวการวิเคราะห์ ที่ท�ำให้การมีบทบาทร่วมในกิจกรรมด้านสันติภาพเป็นรูปธรรมที่เป็นไปได้

บทสรุป

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นได้เปิดพื้นที่ให้เกิดทัศนคติที่ดีส่วนบุคคลและเพิ่มสมรรถนะในกิจกรรม ด้านสันติภาพ อย่างน้อยก็ในผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรมส่วนหนึง่ กลยุทธ์โดยรวมทีเ่ น้นไปทีค่ วามร่วมมืออย่าง เข้มข้นกับพันธมิตรในประเทศดูจะเป็นวิธีการที่ได้ผลที่จะสร้างวัฒนธรรมที่ท�ำให้งานด้านสุขภาพ และสันติภาพเติบโตไปด้วยกันได้ ซึ่งจะสร้างผลกระทบเชิงบวกแบบทวีคูณได้ในที่สุด ความรู้แบบ คนในจากพันธมิตรในประเทศในเรือ่ งสถานการณ์ทอ้ งถิน่ พัฒนาการทีเ่ กิดขึน้ รายวัน ประเด็นปัญหา เครือข่ายและทรัพยากรนับเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ร่วมงานจากนานาชาติก็มีส่วนให้ความ เชี่ยวชาญ การไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งโดยตรง มุมมองจากคนนอก และประสบการณ์ แตกต่างที่ยืนยันความถูกต้องของแนวคิด และการช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนในพื้นที่ นอกจากนี้ บางครั้งผู้ร่วมงานจากนานาชาติก็อาจให้ข้อเสนอและจัดการกิจกรรมที่มีความอ่อนไหวได้ง่ายกว่า หน่วยงานในประเทศตนเอง 88


ในการทีจ่ ะท�ำกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถนะในอนาคต สิง่ แรกทีค่ วรท�ำอย่างยิง่ คือการส่งเสริม สิ่งที่นักวิชาชีพด้านสุขภาพจ�ำเป็นต้องเรียนรู้ ในกรณีของภาคใต้ของประเทศไทยนี้ สิ่งส�ำคัญล�ำดับ แรกคือการเพิ่มขอบเขตของกลไกการรับมือเพื่อความอยู่รอดและเพื่อการให้บริการสุขภาพที่ สอดคล้องกับหลักการทางวิชาชีพ มีบุคลากรทางการแพทย์จ�ำนวนมากที่ก�ำลังเผชิญกับปัญหาใน การท�ำงานในพื้นที่ขัดแย้งคล้ายคลึงกับปัญหาที่ได้น�ำเสนอในที่นี้ ประเทศผู้ให้ความช่วยเหลืออาจสามารถจัดสรรทรัพยากรจ�ำนวนมากให้ได้ในการฝึกอบรม บุคลากรทางการแพทย์จากนานาชาติเพือ่ มาท�ำงานในพืน้ ทีข่ ดั แย้งในต่างประเทศในฐานะคนต่างชาติ แต่พวกเขาก็มักจะละเลยทรัพยากรด้านสุขภาพในประเทศนั้น ๆ ทั้ง ๆ ที่เป็นทรัพยากรที่มีค่า บุคลากรด้านสุขภาพในท้องถิ่นสามารถเป็นได้ทั้งตัวเชื่อมต่อส�ำหรับผู้เชี่ยวชาญต่างชาติและ ตัวเชื่อมต่อไปยังแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความริเริ่มในโครงการนี้ได้แสดงให้เห็นเป็น อย่างน้อยว่า ความร่วมมือระหว่างบุคลากรในประเทศและผูเ้ ชีย่ วชาญนานาชาตินนั้ มีคณ ุ ค่า และการ มุ่งเน้นสร้างเสริมสมรรถนะของนักวิชาชีพด้านสุขภาพในประเทศได้มีส่วนสร้างทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ

89


บทที่ 10 ศานติ-สุขภาพศึกษาส�ำหรับวิชาชีพทางการแพทย์ Klaus Melf และ พรรณทิพย์ ฉายากุล

บทที่ 11 กฎหมายสิทธิมนุษยชน ในบริบทภาคใต้ของประเทศไทย: ผลกระทบต่อบุคลากรด้านสาธารณสุข ไพสิฐ ภูษิตตระกูล

บทที่ 12 เมื่อการแพทย์เพียงล�ำพังเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอ: หลักการเบื้องต้นของการต่อรองส�ำหรับแพทย์ Kimberlyn Leary

บทที่ 13 การจัดการความคลางแคลง และการสร้างความเชื่อใจ Urs Boegli

90


บทที่ 10

ศานติ-สุขภาพศึกษาส�ำหรับวิชาชีพทางการแพทย์ Klaus Melf และ พรรณทิพย์ ฉายากุล ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา มีความริเริ่มที่จะฝึกอบรมให้แก่แพทย์และนักวิชาชีพสุขภาพอื่น ๆ ใน เรื่องสันติภาพ จากหลักสูตรส�ำหรับโรงเรียนแพทย์ เช่น แพทยศาสตร์กับสงครามปรมาณู1 (Medicine and Nuclear War) แพทยศาสตร์กับสันติภาพ2 (Medicine and Peace) ไปสู่กรอบทฤษฎี ใหม่ เช่น สุขภาพเป็นสะพานสู่สันติภาพ3 (Health as a Bridge for Peace) สันติภาพผ่านสุขภาพ4 (Peace through Health) และงานสันติภาพทางการแพทย์5 (Medical Peace Work) ถ้าพันธกิจ ของทีมสุขภาพคือการป้องกันและลดการมีโรคภัยไข้เจ็บและสร้างเสริมสุขภาพแล้ว ท�ำไมถึงต้องไป เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมเรื่องสันติภาพให้แก่ทีมสุขภาพเล่า

ท�ำไมต้องศานติ-สุขภาพศึกษา

เหตุผลที่ชัดเจนคือสงคราม ความรุนแรง และการใช้อ�ำนาจในทางที่ผิดได้สร้างผลกระทบ เชิงลบอย่างมหาศาล ความรุนแรงทางตรงฆ่าประชาชนประมาณ 1.5 ล้านคนในทุก ๆ ปี มีผู้คน บาดเจ็บ พิการ และ/หรือต้องทนทุกข์ทรมานจากผลทางอ้อมของความรุนแรง เช่น การต้องถูกบังคับ ให้ย้ายถิ่น ความหิวโหย และภาวะที่ชีวิตทางสังคมต้องแหลกสลายมากกว่านั้นหลายเท่า6 ความ รุนแรงจึงเป็นประเด็นทีส่ ำ� คัญมากทางสุขภาพ การป้องกันความรุนแรงจึงเป็นงานสาธารณสุขทีส่ ำ� คัญ แต่บคุ ลากรสุขภาพก็อาจจะมีสว่ นสร้างความรุนแรงถ้าไม่ยดึ ถือจรรยาบรรณและความรับผิดชอบ7 หรือไม่ รับรูเ้ รือ่ งบริบททีข่ ดั แย้งและผลด้านลบจากการปฏิบตั งิ านของตน8 International Physicians for the Prevention of Nuclear War, Medicine and Nuclear War: A medical curriculum. Cambridge, MA, 1988. 2 UN Commission on Disarmament Education, International Physicians for the Prevention of Nuclear War and Physicians for Social Responsibility. Medicine and Peace: A model curriculum for medical students, 1993, draft. 3 World Health Organization and Emergency Humanitarian Action. Report on the First World Health Organization Consultative Meeting on Health as a Bridge for Peace. Annecy, France: Les Pensières, 1997. 4 Arya, N., ‘Peace through Health II: A Framework for Medical Student Education’. In Medicine, Conflict & Survival, Vol. 20, No. 3, 2004, pp. 258–262. 5 Melf, K., Exploring Medical Peace Education and a Call for Peace Medicine. Master’s thesis. Tromsø, Norway: Centre for Peace Studies, University of Tromsø, 2004. 6 Krug, E.G., Dahlberg, L.L. et al. World Report on Violence and Health. Geneva: World Health Organization, 2002. 7 Miles, S.H., ‘Abu Ghraib: Its Legacy for Military Medicine’. The Lancet, Vol. 364, No. 9435, 2004, pp. 725–729. 8 Anderson, M.B., Do No Harm: How Aid Can Support Peace or War. Boulder, CO: Lynne Rienner Publishers, 1999. 1

91


มีวธิ กี ารหลายวิธที งั้ ทีบ่ ง่ บอกเป็นนัยหรือมองเห็นอย่างชัดแจ้งทีว่ ชิ าชีพสุขภาพและองค์การสุขภาพ จะปรับเปลีย่ นความขัดแย้ง สร้างความกลมเกลียว ความยุตธิ รรม ความเสมอภาคทางสุขภาพ และการ พัฒนาอย่างยัง่ ยืน9 เพราะสันติภาพไม่ใช่เงือ่ นไขทีส่ ถิตอยูก่ บั ที่ แต่เป็นความสามารถในการจัดการความ ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์10 ความสามารถด้านสันติภาพของปัจเจกบุคคลและของสังคมเป็นเรือ่ งเสริมให้ เข้มแข็งได้ หลักสูตรศานติ-สุขภาพในโรงเรียนแพทย์และวิชาชีพสุขภาพจะมีบทบาทในเรือ่ งนีไ้ ด้อย่างมาก

สิ่งที่จะได้ตามมาจากการฝึกอบรม

ในการปรับปรุงความสามารถด้านสันติภาพของวิชาชีพสุขภาพ สิง่ ส�ำคัญคือต้องก�ำหนดผลลัพธ์ จากการฝึกอบรมนั้น ๆ การหารือกันที่นอร์เวย์11 และศรีลังกา12 ได้รายการผลลัพธ์หรือสมรรถนะที่ พึงประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. การวินิจฉัยและน�ำเสนอรูปแบบและระดับต่าง ๆ ของความรุนแรง 2. ความเข้าใจเรือ่ งปัจจัยทางสังคมทีก่ ำ� หนดสถานะสุขภาพ ค้นหากลุม่ เปราะบางให้พบ และ น�ำเสนอเรื่องความไม่เท่าเทียมด้านสุขภาพและความรังเกียจเดียดฉันท์ 3. การมองเห็นและประยุกต์หลักการด้านจริยธรรมและกฎหมายในแต่ละสถานการณ์ทเี่ ผชิญอยู่ 4. ความเป็นผู้น�ำ ความสามารถในการประสานงาน สามารถจัดการกับความเครียดและดูแล สมาชิกในทีม รวมทั้งตนเองเมื่อเผชิญหน้ากับความรุนแรง 5. สมรรถนะในการสื่อสารกับปัจเจกบุคคล กลุ่มคน ผู้มีอ�ำนาจ และสาธารณชน และการ เคารพในความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและภูมิหลัง 6. การรับรูศ้ กั ยภาพด้านงานสันติภาพของภาคส่วนสาธารณสุขและใช้ศกั ยภาพนัน้ ตามโอกาส ที่เหมาะสมในพื้นที่นั้น ๆ 7. ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้กฎหมายนานาชาติดา้ นสิทธิมนุษยชนและหลักมนุษยธรรม ที่เกี่ยวกับสุขภาพ 8. การพัฒนาทักษะด้านสันติภาพ การวิเคราะห์ความขัดแย้ง และระบุเหตุผลของความรุนแรง และความยุ่งเหยิงในสังคม Melf, K., อ้างแล้ว, 2004. Galtung, J., ‘What is peace studies?’ In J. Johansen and V. Vambheim, eds., Three Papers by Johan Galtung. Tromsø, Norway: Centre for Peace Studies, University of Tromsø, 2002. 11 Melf, K., อ้างแล้ว, 2004. 12 Karunathilake, I., Outcome-based Approach in Development of a Peace Curriculum. Presentation to the Pre-Conference Workshop on Peace and Health, 39th Conference of Asia-Pacific Academic Consortium for Public Health, Saitama, Japan, 22–25 Nov. 2007. 9

10

92


9. ความเข้าใจต่อกรอบหลักการ ‘ไม่ก่อโทษ (Do No Harm)’ และไวต่อความขัดแย้ง 10. การบ่มเพาะวิธกี ารสือ่ สารทีไ่ ม่ใช้ความรุนแรง การรับฟังด้วยความเห็นใจ การค้นหาความ รู้สึกและความต้องการพื้นฐานของคู่สนทนา เพื่อบรรลุผลลัพธ์เหล่านี้ต้องมีการพัฒนาเนื้อหาหลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน และ วิธีการประเมินผล

จะจัดการฝึกอบรมศานติ-สุขภาพอย่างไรดี

งานด้านสันติภาพและงานด้านสุขภาพมีส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่ หลักสูตรแพทยศาสตร์ที่มีอยู่ สามารถท�ำให้บรรลุผลลัพธ์ข้อ 1 ถึง ข้อ 5 ได้อยู่แล้ว วิชาชีพที่เกี่ยวกับการแพทย์ เช่น สาธารณสุข สุขภาพจิต จิตเวช สังคมศาสตร์การแพทย์ อาชีวเวชศาสตร์ สุขภาพผู้ลี้ภัย สุขภาพเด็ก จริยศาสตร์ ทางการแพทย์ การสื่อสารทางการแพทย์ การแพทย์ในสถานการณ์ภัยพิบัติ นิติเวชศาสตร์ และการ บริหารสาธารณสุข ล้วนเกี่ยวข้องโดยทางอ้อมกับประเด็นด้านสันติภาพอยู่แล้ว การเสริมประเด็น ทางสันติภาพให้เข้มแข็งขึ้นช่วยสร้างความสามารถทั้งด้านสุขภาพและด้านสันติภาพไปพร้อม ๆ กัน ผลลัพธ์อนื่ ๆ ในข้อ 6 ถึงข้อ 10 เกีย่ วข้องกับสันติวธิ แี ละการจัดการความขัดแย้งโดยตรง และไม่คอ่ ย พบในหลักสูตรแพทย์ทวั่ ไป การจัดหลักสูตรพิเศษเสริม และการจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร จะช่วยให้ บรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการเหล่านั้นได้ การฝึกอบรมด้านสันติวิธีโดยตรงเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการเสริม ให้วิชาชีพสุขภาพมี ‘ผลงานด้านสันติภาพ’ ที่เข้มแข็ง

วิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม

มีงานตีพิมพ์ไม่มากนักเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมความสามารถด้าน สันติภาพให้แก่วิชาชีพสาธารณสุข ประสบการณ์การสอนในวิชาจริยศาสตร์การแพทย์และการ ป้องกันความรุนแรง (ทั้งกับคนในบ้านเดียวกัน และกับคนอื่น) บ่งบอกว่าวิธีใช้กรณีศึกษาเป็นวิธีที่ ดีที่สุด ต้องให้ผู้รับการอบรมใช้ทฤษฎีแก้ไขปัญหาที่เกิดจริงเป็นกรณี ๆ ไป ฉะนั้นหลักสูตรต้องปรับ ให้เหมาะสมกับบริบทในแต่ละพื้นที่ ยิ่งมีภาคปฏิบัติมากเท่าไรยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะ และการปรับเปลีย่ นพฤติกรรมของผู้เรียนให้ดขี นึ้ งานด้านสันติภาพต้องเกีย่ วข้องกับหลายภาคส่วน และหลายสาขาวิชา ซึง่ อาจารย์แพทย์สว่ นใหญ่ยงั ไม่คอ่ ยมีประสบการณ์ดา้ นสันติภาพและการจัดการ ความขัดแย้ง อาจารย์ที่สอนด้านศานติ-สุขภาพจึงต้องมาจากหลายสาขาวิชา13 13

Melf, K., อ้างแล้ว, 2004.

93


กลุ่ม Medical Peace Work ในฐานะทรัพยากรส�ำหรับการฝึกอบรม

องค์กรด้านการแพทย์เพื่อสันติภาพในยุโรป และสถาบันการศึกษา ได้รวมตัวกันจัดตั้ง Medical Peace Work และจัดหลักสูตรแบบออนไลน์ 7 ตอนจบ (หลักสูตรชื่อว่า Medical Peace Work14 เหมือนกัน) เป็นหลักสูตรเรียนฟรีบนอินเตอร์เน็ต ผู้ท�ำงานด้านสุขภาพสามารถเรียนด้วย ตนเองเพื่อให้เข้าใจว่าสุขภาพเข้าไปเกี่ยวกับสันติภาพได้อย่างไร สถาบันบางแห่งน�ำหลักสูตรนี้ไป รวมกับหลักสูตรปรกติท�ำให้ผู้เรียนได้เครดิต (หน่วยกิต) ของสถาบันนั้น ๆ ตัวอย่างของสถาบันดัง กล่าวได้แก่ มหาวิทยาลัยในนอร์เวย์ที่ Tromsø และ Bergen สือ่ การสอนอืน่ ๆ เช่น วิธกี ารน�ำเสนอ แบบใหม่และเอกสารประกอบการสอนมีอยู่แล้วส�ำหรับให้สถาบันอื่นใช้ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไป พัฒนาสื่อใหม่ทั้งหมด สถาบันในประเทศไทยที่สนใจสามารถปรับเนื้อหาหลักสูตรและวัสดุการสอน เพิ่มเนื้อหาและปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทของตน ทรัพยากรออนไลน์เหล่านี้อยู่ที่ www.medicalpeacework.org

ใครเป็นผู้มีส่วนได้-เสียในศานติ-สุขภาพศึกษา

ส่วนใหญ่ นักวิชาการในโรงเรียนแพทย์และโรงเรียนพยาบาลสอนสันติ-สุขภาพศึกษาอยู่แล้ว นอกจากนั้น คนที่รับผิดชอบด้านทรัพยากรมนุษย์ในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลก็มีส่วนส�ำคัญ ในการจัดการศึกษาแบบนีด้ ว้ ย สมาคมชมรมบุคลากรสุขภาพ องค์กรพัฒนาเอกชนส่วนหนึง่ ก็ให้การ ฝึกอบรมด้านศานติ-สุขภาพ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่บุคลากรของตนและวิชาชีพสุขภาพที่ท�ำงานอยู่ ในบริบทของความขัดแย้ง การฝึกอบรมอย่างไม่เป็นทางการอาจจะจัดกันเองเป็นรอบ ๆ ส�ำหรับ นักศึกษา คนที่ท�ำงานด้วยกัน และในหมู่เพื่อน ๆ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติในพื้นที่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คณะ แพทย์ฯ ม.อ.) ตัง้ อยูท่ อี่ ำ� เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกในภาคใต้ของ ประเทศไทย ก่อตัง้ ขึน้ ในปี พ.ศ. 2515 โดยมีพนั ธกิจคือ 1. ผลิตและพัฒนาแพทย์ บุคลากรทางการ แพทย์ที่มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรม โดยยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง 2. ให้ บริการด้านรักษาพยาบาลที่เป็นเลิศจนถึงระดับเหนือกว่าตติยภูมิ ด้วยจิตวิญญาณ โดยค�ำนึงถึง ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ 3. สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ ให้ได้รับการอ้างอิงระดับนานาชาติ และ สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ในสังคมไทย 4. ให้บริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของสังคม ไทย และเชื่อมโยงสู่เครือข่ายสากล ปัจจุบัน คณะแพทย์ฯ ม.อ. เป็นโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาล ทีร่ บั ผูป้ ว่ ยทีถ่ กู ส่งต่อทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในภาคใต้ของประเทศไทย และปัจจุบนั ได้ผลิตแพทย์ไปแล้ว 36 รุน่ จ�ำนวน 3,512 คน แพทย์ที่ท�ำงานอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ผู้อ�ำนวยการ โรงพยาบาลชุมชนหลายแห่ง ส่วนใหญ่จบการศึกษาจากคณะแพทย์ฯ ม.อ. ตามเว็ปไซต์นี้ Medical Peace Work หรือ งานการแพทย์เพื่อสันติภาพ เป็นสาขาวิชาใหม่ที่เกิดขึ้นในวงการสุขภาพ การป้องกันความรุนแรงและการสร้างสันติ โครงการนีม้ คี วามร่วมมือกับองค์กรแพทย์และสถาบันการศึกษาทีม่ งุ่ มัน่ ท�ำงาน พัฒนาวิชาการด้านนี้ หลักสูตรออนไลน์นี้ประกอบด้วยหลักสูตรย่อยและเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง 7 ตอน 14

94


การเผชิญความท้าทายจากความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพโดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ในช่วงแรกของไฟใต้ เกิดภาวะแพทย์ในพืน้ ทีข่ าดแคลน คณะแพทย์ฯ ม.อ.จึงจัดโครงการผลิต แพทย์เพิ่มขึ้นส�ำหรับพื้นที่ภาคใต้ 3 โครงการ คือ 1. โครงการฝึกอบรมแพทย์เพื่อชาวชนบท ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาทางคลินิกโรงพยาบาล หาดใหญ่ คณะแพทย์ฯ ม.อ. และโรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้เริ่มรับนักศึกษาเพื่อหลักสูตรนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยรับนักศึกษา 30 คน/ปี การเรียนการสอนในชั้นปรีคลินิกจัดที่คณะวิทยาศาสตร์และ คณะแพทย์ฯ ม.อ. ส่วนการเรียนการสอนในชั้นคลินิกจัดที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ 2. โครงการฝึกอบรมแพทย์เพือ่ ท�ำงานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) ทั้งนี้เพราะความรุนแรงของสถานการณ์ท�ำให้แพทย์จ�ำนวนมากย้ายออกจากสามจังหวัดดังกล่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โครงการนี้รับนักศึกษาปีละ 30 คนโดยจัดการเรียนการสอนในชั้นปรีคลินิกที่ คณะวิทยาศาสตร์และคณะแพทย์ฯ ม.อ. ต่อเนื่องด้วยชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลยะลา 3. การสนับสนุนและเป็นทีป่ รึกษาส�ำหรับโรงเรียนแพทย์ใหม่ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จัดการเรียนการสอนในชั้นปรีคลินิกที่คณะวิทยาศาสตร์และคณะแพทย์ฯ ม.อ. และ ชั้นคลินิกที่ โรงพยาบาลสงขลา หลักสูตรนี้ผลิตแพทย์ปีละ 30 คน

หลักสูตรศานติ-สุขภาพศึกษาที่แฝงอยู่ในที่ต่าง ๆ

มูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) และ the Rugiagli Initiative (tRI) ได้ร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จังหวัดกระบี่เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีผเู้ ชีย่ วชาญระดับนานาชาติและบุคลากรทางการแพทย์ชาวไทยจากชายแดนใต้มาร่วมแลกเปลีย่ น ความคิดเห็นเพื่อให้ได้มาซึ่งสันติภาพและสุขภาพที่ดีของประชาชน การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ยัง น�ำไปสู่ฉันทามติจากผู้เข้าร่วมประชุมว่าจะต้องมีการฝึกอบรมเพิ่มทักษะการเจรจาต่อรองเชิงสันติ ในหลักสูตรแพทยศาสตร์ของประเทศไทย ก่อนการประชุมที่กระบี่ คณะแพทย์ฯ ม.อ. ไม่ได้สนใจการเสริมทักษะด้านสันติ หลักสูตร แพทยศาสตร์ปัจจุบันของคณะแพทย์ฯ ม.อ. สร้างขึ้นเพื่อผลิตแพทย์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของ แพทยสภา โดยมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังนี้ • มีเจตคติ คุณธรรม จริยธรรมแห่งวิชาชีพ และจิตส�ำนึกของความเป็นลูกพระราชบิดา โดย ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง • มีทักษะในการสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคล • มีความรู้ด้านการแพทย์ ทักษะ และหัตถการทางคลินิก ให้การบริบาลผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยค�ำนึงถึงหลักฐานเชิงประจักษ์และความปลอดภัย • สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้อย่างมีวิจารณญาณ 95


• มีความรู้ ความเข้าใจ และมุ่งมั่นในเรื่องการเสริมสร้างสุขภาพและระบบบริบาลสุขภาพ ทั้งระบบบุคคล ชุมชน และ ประชาชน • พัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง • มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรม • มีภาวะผู้น�ำ สามารถท�ำงานเป็นทีมและมีทักษะในการบริหารจัดการ • มีทักษะทางสังคม และการด�ำเนินชีวิต แม้วา่ คุณลักษณะทีพ่ งึ ประสงค์เหล่านีไ้ ด้กำ� หนดขึน้ ส�ำหรับเวชปฏิบตั ทิ ดี่ ี แต่กเ็ ข้าประเด็นของ การท�ำงานเพือ่ สร้างสันติภาพเช่นกัน หลักสูตรแพทยศาสตร์ ม.อ. แฝงไว้ดว้ ยแนวคิดด้านการแพทย์ เพือ่ สันติภาพบางเรือ่ ง เช่น ปัจจัยก�ำหนดและการลดความเหลือ่ มล�ำ้ ทางสุขภาพ จรรยาบรรณวิชาชีพ การแพทย์ และการให้บริการอย่างถ้วนหน้า ความเป็นผู้น�ำ การประสานงาน และการดูแลตนเอง และการจัดการความเครียด ตลอดจนความไวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรม ในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารทีจ่ งั หวัดกระบี่ ผูเ้ ข้าร่วมประชุมกลุม่ หนึง่ ได้รว่ มกันจัดท�ำ แผนปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสริมสร้างความเข้มแข็งส�ำหรับการครอบคลุมหัวข้อเกีย่ วกับสันติภาพในหลักสูตร ที่มีอยู่แล้ว และริเริ่มจัดท�ำเนื้อหาด้านการแพทย์เพื่อสันติภาพเป็นการเฉพาะ ดังนี้

แผนการพัฒนาหลักสูตรการแพทย์เพื่อสันติภาพ

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาวิชาที่เกี่ยวกับสันติภาพส�ำหรับบุคลากรสุขภาพในพื้นที่ไฟใต้ และเสริมความ เข้มแข็งให้แก่หลักสูตรมาตรฐานเพื่อให้สอดแทรกเนื้อหาด้านสันติภาพ เป้าหมายที่เป็นไปได้ ได้แก่ โรงเรียนพยาบาล 2 แห่ง (คือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา และคณะพยาบาล ศาสตร์ ม.อ.) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรนิ ธร จังหวัดยะลา และโรงเรียนแพทย์ 2 แห่ง (คณะแพทย์ฯ ม.อ. และ คณะแพทย์ฯ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์) วิธีการ 1. บูรณาการประเด็นด้านสันติเข้าในการสอนวิชาสุขภาพจิตทีว่ ทิ ยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา และในกิจกรรมสร้างสรรค์ทักษะทางสังคม ที่คณะแพทย์ฯ ม.อ. 2. น�ำเสนอหัวข้อ Peace-health ในการประชุมของฝ่ายวิชาการประจ�ำปีของคณะแพทย์ฯ ม.อ. 3. พัฒนาโมดูลพิเศษด้านการแพทย์เพื่อสันติภาพ

96


ก. จัดการประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร ส�ำหรับอาจารย์ในคณะแพทย์ฯ ม.อ.และวิทยาลัยพยาบาล ทั้งสอง เพื่อท�ำให้อาจารย์คุ้นเคยกับหัวข้อด้านสันติที่จะน�ำเข้าสู่หลักสูตร ข. ทดลองสอนหัวข้อใหม่ ๆ เหล่านี้ในชั้นเรียน ค. ประเมินหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนการแพทย์เพื่อสันติภาพส�ำหรับภาคใต้ของไทย และ เพื่อบูรณาการเนื้อหาเหล่านี้ให้เข้ากับหลักสูตรมาตรฐาน เนื้อหาเบื้องต้น • แนวคิดเปรียบเทียบระหว่างสุขภาพกับสันติภาพ • ความไวต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม • วิเคราะห์แนวคิดอหิงสา ‘ไม่ก่อโทษ’ (Do No Harm) • การต่อรองและการเป็นคนกลางในการเจรจา • การปฐมพยาบาลทางจิตใจ (Psychological first aid) • นิติเวชศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง • การจัดการช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกทรมาน • การชันสูตรศพ • การจัดการความขัดแย้งและความเครียดทางการเมือง • สิทธิมนุษยชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง • การจัดการความเสี่ยง • การดูแลสุขภาพของกลุ่มที่เปราะบาง เช่น แม่วัยรุ่น ผู้ติดยาเสพติด ฯลฯ • บทบาทของวิชาชีพสุขภาพในสถานการณ์ความขัดแย้งและปัญหาทางการเมือง • การสื่อสารโดยปราศจากความรุนแรง • สันติภาพภายในตน กระบวนการวัดผล • วัดก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบหลายตัวเลือก • ประเมินในแต่ละหัวข้อ • วัดผลหลังการเรียนโดยใช้แบบทดสอบหลายตัวเลือก • การสะท้อนกลับสิ่งที่เรียนไปด้วยการเขียน • การวิจัย สื่อการเรียนรู้ แปลสื่อการเรียนรู้ที่จัดท�ำโดย Medical Peace Work เป็นภาษาไทย และน�ำขึ้นออนไลน์

97


ก�ำนดเวลาตามแผนกลยุทธ์ ขั้นที่ 1 อภิปรายแนวคิดและส�ำรวจความเป็นไปได้ในการจัดท�ำโครงการกับผู้บริหารและครู ผู้สอน เพื่อช่วยในการตัดสินใจและการตระเตรียมแผนปฏิบัติการ ขั้นที่ 2 จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมพื้นฐานให้อาจารย์และผู้บริหารคุ้นเคยกับ เนื้อหาและวิธีการโดยใช้เอกสารที่แปลเป็นไทยแล้ว ขัน้ ที่ 3 เริม่ ทดลองสอนในหัวข้อทีเ่ ลือกไว้ โดยวัดความรูข้ องผูเ้ รียนก่อนการสอน และประเมิน ผลหลังการสอน ขั้นที่ 4 ประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้ทราบคะแนนความรู้ ของผู้เรียนก่อนสอนและผลการประเมิน แล้วปรับปรุงแผนปฏิบัติการของปีต่อไป

สรุป

แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ มีบทบาทที่ส�ำคัญในงานสร้างสันติภาพ เนื่องจาก เนื้อหาของสันติภาพและสุขภาพคาบเกี่ยวกันอย่างมาก และบ่อยครั้งที่บุคลากรทางการแพทย์ได้ เรียนรู้และท�ำงานด้านการแพทย์เพื่อสันติภาพแฝงอยู่ในงานปรกติอยู่แล้ว การเพิ่มเนื้อหาที่เจาะจง ด้านสันติเข้าไปในหลักสูตรจะช่วยให้บคุ ลากรทางการแพทย์มสี ว่ นช่วยสร้างเสริมสันติภาพได้ดยี งิ่ ขึน้ กว่า 40 ปีมาแล้วที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ในภาคใต้ของประเทศไทย ความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดขึ้นในชายแดนภาคใต้ ท�ำให้คณะแพทย์ฯ ม.อ. แสดงให้สงั คมรูว้ า่ มีวกิ ฤตด้านบุคลากรการแพทย์ในพืน้ ทีไ่ ฟใต้ และหาทางแก้ไขปัญหาความเหลือ่ ม ล�้ำทางสุขภาพ และความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ด�ำรงอยู่ ด้วยการเรียนการสอนที่สอดแทรกเนื้อหา ด้านการแพทย์เพื่อสันติภาพอยู่แล้ว แพทย์ในพื้นที่ไฟใต้จึงมีความสามารถที่จะช่วยป้องกันและ ลดความรุนแรง รวมทั้งมีส่วนส่งเสริมสันติภาพด้วย แผนปฏิบตั กิ ารของการพัฒนาหลักสูตร ศานติ–สุขภาพ (peace–health) ซึง่ ก่อร่างขึน้ ระหว่าง การประชุมเชิงปฏิบัติการที่จังหวัดกระบี่มีเป้าหมายสร้างความเข้มแข็งของเนื้อหาการแพทย์เพื่อ สันติภาพที่แฝงอยู่ในหลักสูตรแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุขในชายแดนใต้ นอกเหนือจากนี้แล้ว ยังมีเป้าหมายที่จะเพิ่มเนื้อหาจ�ำเพาะในประเด็นดังกล่าว ในรูปแบบของโมดูลพิเศษ และเนื้อหาที่ เน้นสันติภาพเข้าในหลักสูตรการศึกษา การมีแผนปฏิบตั กิ ารนีอ้ าจจะน�ำไปสูก่ ารปฏิบตั ิ และอาจจะบ่งชีว้ า่ การประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารที่ จังหวัดกระบีใ่ นปี พ.ศ. 2556 น่าจะส่งผลทีก่ ว้างไกลต่อการสร้างความสามารถด้านสันติภาพส�ำหรับ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในชายแดนใต้

98


บทที่ 11 กฎหมายสิทธิมนุษยชนในบริบทภาคใต้ของประเทศไทย: ผลกระทบต่อบุคลากรด้านสาธารณสุข ไพสิฐ ภูษิตตระกูล* สถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้สง่ ผลกระทบต่อชีวติ ของประชาชนในพืน้ ทีม่ านาน นับสิบปี การศึกษาหลายเรือ่ งระบุวา่ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพืน้ ทีจ่ ากทัง้ ฝ่ายผูก้ อ่ ความไม่สงบ และฝ่ายเจ้าหน้าที่ ในช่วงปี พ.ศ. 2547 – 2554 เกิดเหตุความรุนแรงในพื้นที่ขึ้นกว่า 10,000 ครั้ง มี ผูเ้ สียชีวติ 4,766 ราย และบาดเจ็บ 7,808 ราย ทัง้ ชาวพุทธและมุสลิม1 สถานการณ์ความไม่สงบเกิด ขึน้ จากหลายสาเหตุ ซึง่ รวมถึงข้อเท็จจริงทีว่ า่ ชาวบ้านเข้าไม่ถงึ และถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าสูก่ ระบวนการ ยุตธิ รรม มีความสับสนในนโยบายของรัฐระหว่างการแก้ไขปัญหาโดยสันติวธิ กี บั การใช้กำ� ลัง ชาวบ้าน ต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายใน และมุมมองที่เห็นว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นภัยคุกคาม (ต่อความมัน่ คง)2 บุคลากรด้านสาธารณสุขทีท่ ำ� งานในพืน้ ทีก่ พ็ ลอยได้รบั ผลกระทบจากสถานการณ์ ความไม่สงบ และประสบกับความยากล�ำบากต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม บทนี้กล่าวถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน และวิเคราะห์ว่าสถานการณ์ความไม่สงบส่งผลกระทบต่อ (สิทธิมนุษยชนของ) ประชาชนในพื้นที่อย่างไร ตลอดจนวิเคราะห์ผลของกฎหมายดังกล่าวต่อการ ท�ำงานของบุคลากรด้านสาธารณสุข

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในบริบทภาคใต้ของประเทศไทย

กฎหมายที่มีผลต่อสิทธิมนุษยชนในเขตไฟใต้ส่วนใหญ่จะเป็นกฎหมายด้านความมั่นคง ซึ่ง ได้แก่ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 (กฎอัยการศึก) พระราชก�ำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พรก. ฉุกเฉิน) พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร * ผู้เขียนขอขอบคุณศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์, ศาสตราภิชาน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ 1 Amnesty International, “They took nothing but his life” The unlawful killings in Thailand’s southern insurgency, Amnesty International, London, 2011. 2 The National Reconciliation Commission, Overcoming Violence through the Power of Reconciliation, The report of National Reconciliation Commission, Bangkok, 2006.

99


พ.ศ. 2551 (พรบ. ความมัน่ คงฯ) และ ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความ อาญา โดยกฎหมายเหล่านีต้ อ้ งได้รบั การตรวจสอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ตามพันธกรณีของสนธิสญ ั ญาสิทธิมนุษยชนทีป่ ระเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคี3 โดยในแต่ละ สนธิสัญญามีองค์กรตรวจสอบของตนเองซึ่งเป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติ ตามพันธกรณีของสนธิสัญญา นอกเหนือจากองค์กรตรวจสอบตามสนธิสัญญาแล้ว ยังมีกลไกการ ตรวจสอบระหว่างประเทศอีกสองกลไก ได้แก่ การทบทวนสถานการณ์ทั่วโลกเป็นระยะ ๆ หรือ Universal Periodic Review (UPR) และกระบวนการพิเศษ (Special Procedures) เช่น การด�ำเนิน การโดยผูแ้ ทนพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ เจ้าหน้าที่ทหารสามารถจับกุมคุมขังผู้ต้องสงสัยเพื่อสอบสวนได้ไม่ เกิน 7 วัน โดยไม่ตอ้ งน�ำตัวส่งศาล (โดยในกรณีปกติผตู้ อ้ งหาจะต้องเข้าสูก่ ระบวนการทางศาลภายใน 48 ชั่วโมง หรือ 2 วัน หลังจากถูกจับกุม)4 กฎหมายนี้ไม่มีข้อก�ำหนดให้สิทธิผู้ต้องสงสัยในการเข้าถึง แพทย์หรือทนายความโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม ครอบครัวของผู้ต้องสงสัยสามารถเข้าเยี่ยมได้ภายใน 3 วันแรกหลังจากถูกจับกุม แต่ไม่ได้ระบุว่าแพทย์หรือทนายความเข้าพบได้หรือไม่ เมื่อไร กฎอัยการศึกถือเป็นการถ่ายเปลีย่ นการบริหารจากเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยพลเรือนไปสูเ่ จ้าหน้าทีท่ เี่ ป็นทหาร พลเรือนทีถ่ กู จับกุมจะถูกน�ำตัวขึน้ ศาลทหารแทนศาลยุตธิ รรม กระบวนการทางกฎหมายทีป่ กป้องสิทธิ พืน้ ฐานของผูถ้ กู จับภายใต้กฎหมายฉบับนีอ้ อ่ นด้อยกว่าเงือ่ นไขภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา พระราชก�ำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พระราชก�ำหนดฉบับนี้ได้สร้างข้อกังขาในประเด็นสิทธิมนุษยชนและเพิ่มเติมความไม่ไว้ วางใจรัฐในหมู่ประชาชนในพื้นที5่ โดยอนุญาตให้เจ้าหน้าที่จับกุมและกักขังบุคคลได้เป็นเวลา 7 วัน โดยไม่ต้องส่งศาล และสามารถควบคุมตัวได้ต่อเนื่องถึง 30 วัน โดยไม่ต้องส่งศาล (โดยการต่ออายุ ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในสนธิสญ ั ญาสิทธิมนุษยชน 7 ฉบับ จากทัง้ สิน้ 9 ฉบับ ดังนี้ 1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 1966 2) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม 1966 3) อนุสญ ั ญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบตั ติ อ่ สตรีในทุกรูปแบบ 1979 4) อนุสญ ั ญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการ ปฏิบตั หิ รือการลงโทษอืน่ ทีโ่ หดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือทีย่ ำ�่ ยีศกั ดิศ์ รี 1984 5) อนุสญ ั ญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 1989 6) อนุสญ ั ญา ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบตั ทิ างเชือ้ ชาติในทุกรูปแบบ 1966 และ 7) อนุสญ ั ญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ 2006 จนกระทัง่ ปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสญ ั ญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ 2006 ยังคง เหลือแต่เพียงอนุสญ ั ญาว่าด้วยการคุม้ ครองสิทธิแรงงานข้ามชาติและบุคคลในครอบครัว 1990 ทีป่ ระเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคี 4 มาตรา 15 ทวิ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 5 Zachary Abuza, The ongoing insurgency in Southern Thailand: Trends in violence, counter-insurgency operations, and the impact of national politics, Strategic Perspectives No. 6, Institute for National Strategic Studies, National Defense University Press, Washington D.C., September 2011. 3

100


ทุกๆ 7 วัน) นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวบุคคลในสถานที่อื่นนอกจากสถานีต�ำรวจ เรือนจ�ำของรัฐ หรือศูนย์ควบคุมตัวของรัฐ (หมายความว่าอาจจะควบคุมตัวที่ใดก็ได้)6 อันอาจน�ำไป สู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐได้ เช่น ผู้ต้องหาถูกพรากจากเสรีภาพ ถูกหน่วงเหนี่ยว ประวิงเวลาแทนที่จะเข้าสู่กระบวนการศาลโดยเร็ว รวมถึงการเข้าถึงแพทย์ ทนายความ หรือพบ กับครอบครัวโดยเร็ว เป็นต้น รัฐบาลมีหน้าที่ในการต่ออายุพระราชก�ำหนดฉบับนี้ทุก 3 เดือน โดยผ่านความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี ซึ่งพระราชก�ำหนดฉบับนี้บังคับใช้ในชายแดนภาคใต้และมีการต่ออายุมานับครั้งไม่ ถ้วนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (พรบ. ความมั่นคงฯ) จัดตั้งกองอ�ำนวย การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภายใต้ค�ำสั่งของนายกรัฐมนตรี ซึ่งประกอบ ด้ ว ยเจ้ า หน้ า ที่ ฝ ่ า ยทหารหลายนาย โดยมี กอ.รมน. ภาค 4 ส่ ว นหน้ า ครอบคลุ ม พื้ น ที่ ภ าค ใต้ พระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้คุกคามต่อสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมเท่ากับกฎอัยการศึก และ พรก. ฉุกเฉิน7 อย่างไรก็ดี พรบ. ความมัน่ คงฯ บังคับใช้เพียงบางพืน้ ทีเ่ ท่านัน้ ได้แก่ 4 อ�ำเภอในจังหวัด สงขลา (สะบ้าย้อย จะนะ เทพา และนาทวี) และอ�ำเภอแม่ลานในจังหวัดปัตตานี (ซึง่ เหตุการณ์รนุ แรง น้อยกว่าอ�ำเภออื่น ๆ ของสามจังหวัดไฟใต้—ดูบทที่ 5) พรบ. ความมัน่ คงฯ ใช้อำ� นาจการจับกุมและสืบสวนตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวล วิธพี จิ ารณาความอาญา อย่างไรก็ดี มีบทบัญญัตเิ กีย่ วกับการต่อรองยอมมอบตัวเพือ่ เข้ารับการอบรม (แทนการด�ำเนินคดีอาญาตามความผิดทีก่ ระท�ำไว้ – บ.ก.) ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัตฉิ บับ นี8้ โดยต้องขึน้ อยูก่ บั ค�ำสัง่ ของศาลและความยินยอมของผูต้ อ้ งสงสัย และการอบรมจะใช้เวลา 6 เดือน คนทัว่ ไปจึงอาจแคลงใจได้วา่ ผูต้ อ้ งสงสัยยินยอมอย่างจริงใจหรือไม่ มีกรณีทพี่ ลเรือนได้รบั ค�ำเชิญ (ทัง้ โดยวาจาและลายลักษณ์อักษร) ให้เข้าร่วมการอบรมดังกล่าว โดยไม่ได้อ้างถึงกฎหมายใด ๆ ทั้งสิ้น และอันที่จริงพลเรือนเหล่านั้นไม่ต้องการเข้ารับการอบรมแต่พวกเขาไม่สามารถที่จะปฏิเสธค�ำเชิญ ได้ พวกเขาเกรง (เข้าใจผิด) ว่าหากปฏิเสธค�ำเชิญจะเป็นการละเมิดมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติ ฉบับนี9้ ผูร้ บั เชิญต้องเข้ารับการอบรมนานทัง้ ๆ ทีไ่ ม่เต็มใจเพราะไม่สามารถปฏิเสธค�ำเชิญได้ ปัญหา เรื่องความยินยอมอาจจะน�ำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน มาตรา 12 พระราชก�ำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉกุ เฉิน พ.ศ. 2548 International Commission of Jurists, Thailand’s Internal Security Act: Risking the Rule of Law, Bangkok, 2010. 8 มาตรา 21 พระราชบัญญัตคิ วามมัน่ คงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 9 พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และอัญชนา หีมมิหน๊ะ, สถานการณ์และผลกระทบต่อประชากรในพืน้ ที่ 4 อ�ำเภอของจังหวัดสงขลา จากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ, มูลนิธิ Konrad Adenauer Stiftung, กรุงเทพฯ, 2553 6 7

101


ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แม้ว่าจะมีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วก็ตาม ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ยังคงมีผลบังคับใช้ในพื้นที่ ชายแดนภาคใต้ของไทย โดยปกติกระบวนการในการจับกุมและการกักตัว เจ้าหน้าที่จะจับกุมผู้ต้อง สงสัยได้ต้องมีหมายจับ และผู้ต้องหาจะต้องเข้าสู่กระบวนการศาลภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากการ จับกุม และจะต้องถูกกักตัวในสถานีต�ำรวจหรือศูนย์กักกันของรัฐเท่านั้น จากบรรดากฎหมายที่ได้กล่าวมาในข้างต้น มีข้อกังวลจะเกี่ยวเนื่องกับกฎอัยการศึก พรก. ฉุกเฉิน และ พรบ. ความมั่นคงฯ ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ได้สร้างข้อท้าทายในการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังต่อไปนี้ 1. การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวข้องกับความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้จ�ำกัดสิทธิและ เสรีภาพหลายประการ เพื่อที่จะรักษาสันติภาพและความมั่นคงภายใน ไม่มีเกณฑ์การจ�ำกัดการใช้ อ�ำนาจ อย่างไรก็ดที างรัฐบาลใช้กฎหมายความมัน่ คงบนพืน้ ฐานของความจ�ำเป็นและความได้สดั ส่วน (กับความผิดทีก่ อ่ – บ.ก.)10 ซึง่ ก็มขี อ้ กังขาในเรือ่ งความจ�ำเป็นและการได้สดั ส่วนว่า ระดับใดจึงถือว่า จ�ำเป็นและได้สัดส่วนที่เหมาะสม 2. การใช้กฎหมายเกี่ยวข้องกับความมั่นคงดังกล่าวอาจน�ำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การทรมานและการปฏิบัติที่ทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมต่อพลเรือนและผู้ต้องหา รายงานหลาย ฉบับระบุว่ามีการกระท�ำทารุณกรรมโดยเจ้าหน้าที่ในระหว่างการสืบสวนสอบสวน มีรายงานที่ออก ในปี พ.ศ. 2553 โดย International Commission of Juries ว่า ราวร้อยละ 80 ของผู้ต้องหาที่ถูก ทรมานในระหว่างที่ควบคุมตัวถูกชก เตะ ตบด้วยรองเท้าบูทหรือของแข็งอื่น ๆ บางรายถูกท�ำร้าย ร่างกาย โดยใช้ถุงพลาสติกครอบศีรษะให้หายใจไม่ออก หรือการกระท�ำการโหดร้ายอื่น ๆ11 3. เจ้าหน้าทีส่ ามารถควบคุมตัวบุคคลได้สงู สุดถึง 30-37 วัน โดยอาศัยการใช้อำ� นาจจากกฎหมาย เกีย่ วข้องกับความมัน่ คงฉบับต่าง ๆ ทีก่ ล่าวมา เรือ่ งนีส้ ร้างความกังวลว่าผูต้ อ้ งหาจะไม่ได้รบั การปกป้อง สิทธิขนั้ พืน้ ฐาน อันได้แก่ การเข้าถึงระบบศาล การเข้าถึงแพทย์ ครอบครัว และทนายความ 4. บรรดากฎหมายเกี่ยวข้องกับความมั่นคงเหล่านี้มีบทบัญญัติหลายมาตราที่ละเว้นความ รับผิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจเป็นการปกป้องเจ้าหน้าที่ให้พ้นจากความรับผิดทางกฎหมายจากการ ละเมิดสิทธิมนุษยชน บทบัญญัติดังกล่าวได้แก่ • มาตรา 7 ของกฎอัยการศึก ประกอบกับภาคผนวกในกรอบของเขตอ�ำนาจศาลทหารอย่าง กว้างขวางซึ่งอาจละเว้นการน�ำเจ้าหน้าที่ทหารเข้าสู่กระบวนการศาลยุติธรรม12 Opening Statement of the Head of Thai Delegation to the Committee on the Convention against Torture and Other Cruel, Inhumane, Degrading Treatment and Punishment, Geneva, 30 April 2014, accessed at http://tbinternet. ohchr.org/Treaties/CAT/Shared%20Documents/THA/INT_CAT_LOP_THA_17127_E.pdf, access on 2 July 2014. 11 อ้างแล้ว เชิงอรรถ 7 12 อ้างแล้ว เชิงอรรถ 5 10

102


• มาตรา 16 ของกฎอัยการศึก ห้ามไม่ให้มีการเรียกร้องค่าเสียหายต่อเจ้าหน้าที่แต่ละราย • มาตรา 16 ของ พรก.ฉุกเฉิน ยกเว้นเขตอ�ำนาจศาลปกครอง • มาตรา 17 ของ พรก.ฉุกเฉิน ละเว้นความรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย ต่อ เจ้าหน้าที่ในการกระท�ำโดยสุจริต โดยการกระท�ำดังกล่าวต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการไม่เลือก ปฏิบตั ิ หลักความจ�ำเป็น และความสมเหตุสมผล บทบัญญัตนิ ไี้ ม่ได้ตดั สิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย อย่างไรก็ดี บทบัญญัตินี้มีประเด็นปัญหาว่าการกระท�ำของเจ้าหน้าที่เช่นไรถึงจะถือว่าสมเหตุผล • มาตรา 23 ของ พรบ. ความมั่นคงฯ ยอมรับอ�ำนาจศาลยุติธรรมและไม่รับอ�ำนาจศาล ปกครองโดยสิ้นเชิง บทบัญญัติเหล่านี้ยกเว้นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่และอาจน�ำไปสู่การละเมิดสิทธิ มนุษยชนโดยเจ้าหน้าทีไ่ ด้ ในทางกลับกันความรุนแรงทีเ่ กิดจากกลุม่ ก่อความไม่สงบซึง่ ส่งผลกระทบ ต่อประชาชนในพืน้ ทีอ่ ย่างไม่เลือกเป้าหมายก็ควรทีฝ่ า่ ยนัน้ จะต้องรับผิดชอบโดยไม่มกี ารยกเว้นโทษ ด้วย ดังนั้น การเข้าถึงกระบวนการศาลประเมินข้อกล่าวหาต่าง ๆ ต่อเจ้าหน้าที่และกลุ่มก่อความ ไม่สงบเป็นสิ่งส�ำคัญที่จะประกันหลักนิติธรรม ประเด็นปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวข้องกับความมั่นคง เป็นส่วนส�ำคัญที่อาจน�ำไปสู่ความไม่พอใจในสถานการณ์ความไม่สงบและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 เพื่อ ไปจัดหาแนวทางสู่สันติภาพ ได้รายงานว่าประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความ ไม่สงบทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทั้งจากประสบการณ์ตรงและต่อญาติพี่น้อง ประชาชนกลุ่มตัวอย่างครึ่งหนึ่งได้รับผลกระทบต่อการประกอบวิชาอาชีพ แต่มีเพียงส่วนน้อยที่ได้ รับการช่วยเหลือ13 กอส. ถือว่าประเด็นเหล่านี้เป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ที่ต้องแก้ไข14 อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ความรุนแรงยังคงก่อตัวขึ้นแม้ว่าจะมีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวข้อง กับความมั่นคงในพื้นที่ การก่อความไม่สงบส่งผลกระทบต่อสิทธิหลายประการของผู้ที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่ นอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัยของพวกเขา โรงเรียนต้องปิดเนื่องจากหลายแห่งถูกโจมตี (เผา) สถานการณ์ความไม่สงบท�ำให้ประชาชนต้องย้ายที่อยู่ หลั่งไหลเข้าสู่เขตเมืองในจังหวัดข้าง เคียง15 และส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับ นอกจากนี้ ยังเกิดผลเสียต่อสภาวะทาง เศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้โดยรวมด้วย อ้างแล้ว เชิงอรรถ 2 เรือ่ งเดิม 15 อ้างแล้ว เชิงอรรถ 1 13 14

103


ภาคประชาสังคมถือเป็นส่วนส�ำคัญในการบรรเทาสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่มี พันธกรณีในระดับระหว่างประเทศหรือในประเทศในการปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยภาคประชาสังคม แต่ เป็นความรับผิดชอบทางศีลธรรม บทบาทหน้าทีข่ องภาคประชาสังคมเป็นไปในทางสนับสนุน เช่น ส่งเสริม สิทธิมนุษยชนและสันติภาพโดยผ่านทางการเจรจาและกระบวนการปรองดอง การจัดท�ำรายงานหรือการ ศึกษาทีเ่ กีย่ วข้องกับสถานการณ์และตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาคประชาสังคมสามารถสร้างแรง กดดันทางสังคมต่อภาครัฐและกลุม่ ก่อความไม่สงบให้จดั การกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้ถกู ต้อง อย่างไรก็ดี ภาคประชาสังคมในพืน้ ทีอ่ าจจะท�ำงานยาก เช่น ไม่ได้รบั เชิญให้เข้ามีสว่ นร่วมในกระบวนการ สันติภาพและการเจรจาปรองดอง และต้องหาทางรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายของตน

นัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรด้านสาธารณสุข

ความรุนแรงในชายแดนภาคใต้ได้สร้างความหวาดกลัวและความไม่มนั่ คงแก่ผทู้ อี่ าศัยอยูใ่ นพืน้ ที่ ซึง่ รวมถึงบุคลากรด้านสาธารณสุขด้วย อย่างไรก็ดี ผูท้ ปี่ ระกอบอาชีพสาธารณสุขในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดน ภาคใต้ไม่ได้เป็นเป้าหมายหลักในการลอบท�ำร้าย แต่เมือ่ ไม่นานมานีม้ นี กั ศึกษาฝึกงานในโรงพยาบาล ยะหา จังหวัดยะลาถูกยิงเสียชีวติ ในตลาดใกล้กบั โรงพยาบาล16 ซึง่ เหตุการณ์นอี้ าจจะสะท้อนความไม่ มัน่ คงของผูป้ ระกอบวิชาชีพสาธารณสุขในพืน้ ที่ นอกเหนือจากความรับผิดชอบหลักอันเกี่ยวข้องกับวิชาชีพของตนแล้ว บุคลากรด้าน สาธารณสุขบางคนอาจจะต้องท�ำงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะ แพทย์ที่ท�ำการชันสูตรพลิกศพหรือตรวจร่างกายผู้ต้องขัง แพทย์มีหน้าที่ส�ำคัญในฐานะที่เป็นพยาน ทีเ่ ป็นกลางในการตรวจสอบ จัดการปัญหา และอาจจะช่วยลดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนัน้ ความ เป็นอิสระในการประกอบวิชาชีพและสภาพแวดล้อมทีเ่ อือ้ ต่อการท�ำงานเป็นสิง่ ส�ำคัญส�ำหรับแพทย์ ทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องในกระบวนการสืบสวนสอบสวน แต่กม็ ปี ญ ั หาทีก่ ล่าวแล้วว่า กฎหมายเกีย่ วข้องกับ ความมั่นคงเปิดช่องให้มีการควบคุมตัวบุคคลไว้ได้เป็นเวลานานในสถานที่ใด ๆ ก็ได้ โดยไม่มีการ ปกป้องขั้นพื้นฐานที่เพียงพอตามกฎหมาย ส่งผลให้ผู้ต้องสงสัยไม่มีโอกาสได้พบแพทย์ บางครั้งบางคราว ผู้มีอ�ำนาจก็จัดบริการทางการแพทย์ให้ผู้ต้องสงสัยให้มีมาตรฐานดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีข้อกังขาว่าผู้ถูกคุมขังเข้าถึงการดูแลของแพทย์ได้ทันเวลาเพียงไร ปัญหาดังกล่าว คณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย�่ำยีศักดิ์ศรีได้กล่าวถึงในข้อเสนอแนะต่อประเทศไทย โดยได้แนะน�ำให้ ประเทศไทยต้องตอบสนองต่อความต้องการขัน้ พืน้ ฐานของบุคคลทีถ่ กู พรากจากเสรีภาพในเรือ่ งของ สุขอนามัย การรักษาพยาบาล อาหาร และน�้ำดื่ม17 http://www.thairath.co.th/content/435268 [10 กรกฎาคม 2557]. Para. 22, Concluding Observation on the Initial Report of Thailand, Committee on the Convention against Torture and Other Cruel, Inhumane, Degrading Treatment. UN Doc. CAT/C/THA/CO/1, 20 June 2014. 16 17

104


ดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วว่ารัฐไม่มพี นั ธะทางกฎหมายทีจ่ ะจัดหาแพทย์ให้แก่ผตู้ อ้ งหา แต่เจ้าหน้าที่ ของรัฐจะจัดให้แพทย์ทหารตรวจร่างกายผูต้ อ้ งสงสัย ทัง้ ก่อนถูกกักขังและก่อนทีป่ ล่อยตัว เมือ่ ไม่นาน มานี้ เจ้าหน้าทีใ่ น กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้าได้จดั โครงการเชิญชวนให้แพทย์ทเี่ ป็นพลเรือนท�ำการ ตรวจร่างกายผูต้ อ้ งสงสัย18 นอกจากนีย้ งั มีความร่วมมือกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย (กสม.) ให้เจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกจาก กสม. เข้าเยี่ยมสถานกักกันเมื่อใดก็ได้ตามที่ร้องขอ ความ พยายามนีจ้ ะช่วยให้เสริมสร้างการตรวจสอบสถานะการท�ำงานของเจ้าหน้าที่ (ภายใน กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า) บ่อยขึน้

ข้อท้าทายหลักส�ำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข

นอกจากบุคลากรสาธารณสุขได้รบั การคาดหวังว่าจะต้องท�ำงานเสริมระบบยุตธิ รรมนอกเหนือ จากงานด้านสุขภาพแล้ว ยังต้องเผชิญกับข้อท้าทายอืน่ ๆ ในการท�ำงานและด�ำรงชีวติ อยูใ่ นชายแดน ภาคใต้ ข้อท้าทายดังกล่าวมีเช่น - ความไม่มั่นคง บุคลากรด้านสาธารณสุขทุกคนต้องการที่จะด�ำรงชีวิตอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัย สถานการณ์ความไม่สงบคุกคามความมัน่ คงของบุคลากรสาธารณสุขในหลาย ๆ ด้าน เช่น การท�ำงาน และการใช้ชีวิตประจ�ำวัน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบางรายต้องค้างคืนที่โรงพยาบาล และมีเวลาอยู่กับ ครอบครัวของตนน้อยลงอันเนื่องมาจากสถานการณ์ความไม่สงบ19 - การขาดแพทย์นิติเวช แพทย์นิติเวชที่ท�ำงานอยู่ในชายแดนภาคใต้มีอยู่น้อยมาก สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวง ยุตธิ รรมเป็นเพียงหน่วยงานเดียวในประเทศไทยทีท่ ำ� หน้าทีท่ างนิตวิ ทิ ยาศาสตร์ พืน้ ทีไ่ ฟใต้ยงั ต้องการ แพทย์นิติเวชเพิ่มเติมเพื่อช่วยวิเคราะห์หาหลักฐานในที่เกิดเหตุ น�ำตัวผู้กระท�ำผิดมาลงโทษ - วิธีการทรมานที่แยบคายมากขึ้น มีการพัฒนาเทคนิควิธกี ารทรมานเพิม่ ขึน้ ตลอดเวลาซึง่ มีผลเพิม่ ความรุนแรง ในขณะเดียวกันก็ กลบเกลือ่ นหลักฐานการถูกท�ำร้ายร่างกายและจิตใจ ภายใต้การใช้อำ� นาจจากกฎหมายเกีย่ วข้องกับความ มัน่ คงฉบับต่าง ๆ ท�ำให้ระยะเวลาการควบคุมตัวยาวนาน การวินจิ ฉัยการถูกทรมานจึงท�ำได้ยากยิง่ ขึน้ สัมภาษณ์เจ้าหน้าทีร่ ะดับสูงทีท่ ำ� งานอยูใ่ นพืน้ ทีท่ างโทรศัพท์, สัมภาษณ์เมือ่ วันที่ 10 กรกฎาคม 2557. สุนยี ์ เครานวล และคณะ, ผลกระทบของสถานการณ์ความไม่สงบต่อพยาบาลทีป่ ฏิบตั หิ น้าทีใ่ นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้, หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผูใ้ หญ่ มหาวิทยาลังสงขลานครินทร์, 2550. 18 19

105


- การเข้าถึงผู้บาดเจ็บ/ผู้เสียชีวิต สถานการณ์ความไม่สงบท�ำให้พื้นที่ไม่น่าอยู่ ถึงแม้กระทรวงสาธารณสุขจะพยายามเพียงไร จ�ำนวนบุคลากรสาธารณสุขที่มีคุณวุฒิเหมาะสม (โดยเฉพาะแพทย์นิติเวช) ในพื้นที่ไฟใต้ก็ยังไม่ เพียงพอ ฝ่ายก่อความไม่สงบมักจะท�ำให้การเข้าถึงผู้บาดเจ็บและศพยากอยู่แล้ว ก็ยิ่งต้องใช้เวลา นานกว่าจะเข้าถึงผู้บาดเจ็บและร่างผู้เสียชีวิต - การขาดแหล่งทุน การขาดแหล่งทุนเป็นปัญหาท้าทายทีร่ มู้ าเนิน่ นานว่าท�ำให้มาตรฐานทางการแพทย์ในการดูแล สิทธิมนุษยชนไม่ได้มาตรฐาน คณะกรรมการอนุสญ ั ญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบตั ิ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ยำ�่ ยีศักดิ์ศรี ได้แสดงความกังวลต่อประเด็นของ การขาดโครงการฝึ กอบรมไว้ใ นข้อสรุป จากการสังเกตการณ์ (concluding observation) ว่า ‘...คณะกรรมการรู้สึกเสียใจที่มีการจัดการฝึกอบรมภาคปฏิบัติส�ำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขที่ต้องดูแลผู้ถูกคุมขังและผู้ลี้ภัยน้อยมากให้แก่แพทย์หรือบุคลากรอื่น ๆ อย่างเพียงพอ ตามบทบัญญัติของอนุสัญญา...’20 เงินทุนสนับสนุนส�ำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ให้ด�ำเนินกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน) ยังคง เป็นปัญหาในเขตพื้นที่ไฟใต้ ข้อเสนอแนะ เพือ่ ทีจ่ ะพัฒนาสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุตธิ รรมและการปกป้องการท�ำงานของบุคลากร ทีเ่ กีย่ วข้องในการปกป้องสิทธิมนุษยชน จึงมีขอ้ เสนอแนะทีเ่ กิดจากหลากหลายแง่มมุ ทีเ่ กีย่ วข้อง ได้แก่ • การเรียกร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคประชาสังคมให้มีการแก้ไขบรรดากฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับความมั่นคง การแก้ไขกฎหมายควรที่จะสอดแทรกแนวทางด้านสิทธิมนุษยชนและ กระบวนการทางกฎหมายเข้าไปด้วย • ในประเด็นปัญหาการเข้าถึงการปกป้องขั้นพื้นฐานตามกฎหมายส�ำหรับผู้ต้องหา ควรจะ มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ในการรับรอง ทั้งโดยพฤตินัยและนิตินัย ว่าผู้ต้องหาทุกคน จะต้องได้รับการปกป้องขั้นพื้นฐานตามกฎหมายทุกประการ รวมถึงสิทธิที่จะได้รับบริการทางการ แพทย์จากแพทย์ที่เป็นอิสระ • ควรจะมีความพยายามในการส่งเสริมความเข้าใจอันลึกซึ้งยิ่งขึ้นและความสัมพันธ์อันดี ระหว่างเจ้าหน้าที่ ประชาชน และบุคลากรด้านสาธารณสุข อันอาจจะช่วยลดข้อจ�ำกัดบางประการ และจะเป็นประโยชน์ต่อการท�ำงานของบุคลากรด้านสาธารณสุข 20

106

อ้างแล้ว เชิงอรรถ 17, ย่อหน้าที่ 26


• ควรมีการเสริมความเข้มแข็งด้านนิตวิ ทิ ยาศาสตร์ โดยเพิม่ จ�ำนวนแพทย์นติ เิ วชในพืน้ ทีไ่ ฟใต้ • ควรจัดฝึกอบรมทัง้ ภาคบังคับและภาคพิเศษให้แก่แพทย์และบุคลากรทีเ่ กีย่ วข้องกับผูต้ อ้ งขัง และควรที่จะสอดแทรกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในหลักสูตรการฝึกอบรมด้วย • ในประเด็นปัญหาเรื่องการขาดแคลนเงินทุน ควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างฐาน เงินทุนที่ยั่งยืน • ภาคประชาสังคมควรมีบทบาทเพิ่มขึ้นและมีส่วนร่วมมากขึ้นในกระบวนการปรองดองและ สันติภาพ

บทสรุป

โดยภาพรวม การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกฎหมายความมั่นคง และโดยการกระท�ำของ กลุม่ ก่อการ มีผลกระทบต่อทุกคนในพืน้ ทีไ่ ฟใต้ รวมทัง้ เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุข กระบวนการสมานฉันท์ จะได้ผลถ้าปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้รับการตอบสนอง ประเด็นที่ต้องค�ำนึงถึง ได้แก่ สิทธิมนุษยชนขณะถูกกักขัง กระบวนการไต่สวน การขึ้นศาล และการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นหลักที่ต้องจัดการ การเคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์และการยอมรับ หลักแห่งนิตธิ รรมเป็นเงือ่ นไขส�ำคัญทีจ่ ะช่วยเสริมกระบวนการสมานฉันท์และสร้างสันติภาพในพืน้ ที่ เจ้าหน้าทีแ่ พทย์และสาธารณสุขจะช่วยลดการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้โดยการท�ำหน้าทีข่ องตนอย่าง เป็นกลาง ไม่เลือกข้าง รวมทัง้ การเป็นพยานทางกฎหมายอย่างตรงไปตรงมาเพือ่ ค้นหาและน�ำเสนอ กรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และยังต้องคงการให้บริการทางการแพทย์อย่างเท่าเทียมกันต่อ ทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม ความเป็นอิสระแห่งวิชาชีพ และความปลอดภัยในการท�ำงานและการด�ำเนิน ชีวิตของแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ยังคงเป็นหัวใจของการท�ำงานในพื้นที่ไฟใต้ สุดท้าย สังคมแห่งสันติภาพ เป็นสิ่งเดียวกับอนามัยสิ่งแวดล้อม ในขณะที่อนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ดีมาจากสุขภาพที่ดีของประชาชน ในพื้นที่ไฟใต้ซึ่งการใช้ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา จ�ำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังคงด�ำเนินต่อไป ภายใต้ความขัดแย้งทีม่ อี ยู่ การท�ำงานของแพทย์และเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขมีความส�ำคัญต่อประชาชน ในพื้นที่มาก ไม่ว่าเหตุการณ์จะเลวร้ายสิ้นหวังปานใด วิชาชีพแพทย์และสาธารณสุขก็จะเป็นที่พึ่ง แหล่งสุดท้ายของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายและญาติ ๆ ที่จะคอยช่วยเยียวยาพวกเขาและคืนความรักใคร่ ปรองดองให้กลับสู่สังคม

107


บทที่ 12

เมื่อการแพทย์เพียงล�ำพังเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอ: หลักการเบื้องต้นของการต่อรองส�ำหรับแพทย์ Kimberlyn Leary เมื่อกลุ่มแพทย์ต้องท�ำงานในพื้นที่ที่มีการสู้รบ คู่กรณีอาจมองเขาว่าเป็นพวกเดียวกับฝ่าย ใดฝ่ายหนึ่งโดยไม่ได้เป็นกลาง แพทย์อาจถูกมองอย่างระแวงสงสัยหากว่าพวกเขาเพิ่งกลับมาจาก การเข้าไปในเขตยึดครองของข้าศึก ผู้ที่ท�ำงานด้านสุขภาพอาจถูกกดดันให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ประชาชนซึง่ อาจถูกน�ำไปใช้เพือ่ ท�ำอันตรายต่อประชาชนเหล่านัน้ สิง่ ทีก่ ล่าวมานีน้ บั เป็นความท้าทาย ที่ต้องการมากกว่าความรู้ทางการแพทย์ในการรับมือกับสถานการณ์ ดังนั้น ย่อมจะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งหากแพทย์ได้เรียนรู้หลักการเบื้องต้นในการเจรจาต่อรองและไกล่เกลี่ย เพื่อจะน�ำทักษะนี้ ไปใช้อย่างเหมาะสม และถือเป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งในการเยียวยา โดยปกติแล้ว ในวัฒนธรรมหลาย ๆ วัฒนธรรม การเจรจาต่อรองมักจะถูกมอง (ทาง คณิตศาสตร์) ว่าเป็นเกมที่เล่นแล้ว ค่าที่ฝ่ายหนึ่งได้ (ค่าบวก) เท่ากับค่าที่อีกฝ่ายหนึ่งเสีย (ค่าลบ) รวมการได้เสียแล้วได้ศนู ย์ (zero-sum game) ผู้ชนะอาจจะได้ผลประโยชน์ไปทัง้ หมด หรือคู่เจรจา ยอมลดราวาศอกเสียบ้างด้วยกันทัง้ สองฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายได้ผลประโยชน์ตำ�่ กว่าทีค่ วรจะเป็น ก่อน หน้านี้ รูปแบบการต่อรองมักจะอยูบ่ นพืน้ ฐานของทฤษฎีความมีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ ซึง่ ตัง้ อยูบ่ น สมมุติฐานที่ว่า ผู้คนต่างมีพฤติกรรมที่มีเหตุผลและจะท�ำเพื่อประโยชน์สูงสุดของตนเอง แต่ปัจจุบัน นี้นักต่อรองและนักไกล่เกลี่ยเริ่มมีมุมมองที่เปลี่ยนไป พวกเขามองความขัดแย้งว่าเป็นกระบวนการ ซึง่ ผูค้ นทีก่ ำ� ลังต่อรองกันก�ำหนดลักษณะและธรรมชาติของปัญหาด้วยวิธที พี่ วกเขาพูดถึงมันและด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขา การต่อรองทีป่ ระสบผลส�ำเร็จจึงต้องเกิดจากการสลับเปลีย่ น (มุมมอง) ของทัง้ สองฝ่ายเพือ่ ให้คำ� นึงถึงผลประโยชน์ของทุกฝ่ายอย่างสร้างสรรค์ ผลลัพธ์ทมี่ คี วามรับผิดชอบ ย่อมเกิดขึน้ ได้ในบริบทของความสัมพันธ์ทดี่ ี ดังนัน้ เป้าหมายในการเปลีย่ นแปลงความขัดแย้งจึงมัก ไปเปลี่ยนแปลงปัจเจกบุคคลที่อยู่ในความขัดแย้งนั้นด้วย Program on Negotiation (ชื่อหลักสูตรการเจรจาต่อรอง) ซึ่งสอนกันที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นผูน้ ำ� ทีร่ เิ ริม่ แนวใหม่ทางการเจรจาต่อรองทีเ่ น้นการร่วมมือกันและการแก้ ปัญหาโดยการสื่อสารสองทาง หลักสูตรนี้ก่อตั้งขึ้นโดย Roger Fisher (ผู้ประพันธ์หนังสือ Getting to Yes ซึง่ เป็นหนังสือด้านการต่อรองทีถ่ กู อ้างอิงมากทีส่ ดุ ตลอดกาล) และเพือ่ นร่วมงานของเขากลุม่ หนึ่ง หลักสูตรการต่อรองดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เอ็มไอที (MIT) 108


และบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการซิมมอนส์ (Simmons) แห่งมหาวิทยาลัยทัฟทส์ (Tufts) หลักสูตร นีน้ บั เป็นผูน้ ำ� ในสาขาการปรับเปลีย่ นความขัดแย้ง โดยได้ฝกึ อบรมทักษะในการเจรจาเพือ่ แก้ปญ ั หา (problem-solving negotiation) และการต่อรองบนพื้นฐานของผลประโยชน์ (interest-based bargaining) ให้แก่นักเจรจาต่อรองมืออาชีพไปแล้วหลายรุ่น ท�ำไมผู้คนจึงต้องเจรจาต่อรองกันด้วย? การเจรจาต่อรองอยู่บนข้อสมมติเบื้องต้นว่ามีความ ขัดแย้งระหว่างสองฝ่าย โดยที่สิ่งที่ฝ่าย A อยากได้ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่ฝ่าย B แสวงหา ในบางสถานการณ์ฝ่าย A อาจมีอ�ำนาจมากกว่าและต้องการบีบบังคับให้ฝ่าย B ยอมตาม ชัยชนะ เช่นนีม้ ตี น้ ทุนสูงเพราะฝ่าย B ย่อมจะแก้แค้นเมือ่ มีโอกาส ท�ำให้วงจรความรุนแรงเกิดขึน้ ไม่รจู้ บ การ เจรจาต่อรองจึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่ง (แทนการบังคับหรือใช้อ�ำนาจหรือก�ำลัง) คนเราจะเจรจา ต่อรองกันเมือ่ พวกเขาเชือ่ ว่าจะได้ประโยชน์หากเขาพยายามโน้มน้าวให้อกี ฝ่ายหนึง่ ให้คล้อยตามได้ มากกว่าที่จะปล่อยให้สภาพปัจจุบันด�ำรงไปเรื่อย ๆ ในการเจรจาต่อรองเชิงจุดยืน (positional negotiation) คู่กรณี 2 ฝ่ายหรือมากกว่านั้น เห็นต่างกันว่าอะไรคือผลลัพธ์ทน่ี บั เป็นความส�ำเร็จ แต่ละฝ่ายต่างพยายามกดดันหรือโน้มน้าวให้อกี ฝ่ายหนึ่งสละจุดยืนของตนเสีย ดังนั้น การเจรจาต่อรองเชิงจุดยืนจึงเป็นเป็นเกมที่มีฝ่ายได้-ฝ่ายเสีย (zero-sum game) และจะมีผู้ชนะเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น การต่อรองบนพื้นฐานของผลประโยชน์ (interest-based bargaining) สนใจผลประโยชน์ หรือเหตุผลทีเ่ ป็นมูลฐานให้แต่ละฝ่ายมีจดุ ยืนของตน ผลประโยชน์เกิดขึน้ ได้ดว้ ยจุดยืนหลาย ๆ อย่าง ท�ำให้เกิดโอกาสที่ทุกฝ่ายอาจจะได้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้น การอบรมเพือ่ ให้รถู้ งึ ข้อแตกต่างระหว่างจุดยืนกับผลประโยชน์นนั้ มักกระท�ำผ่านการจ�ำลอง เหตุการณ์เจรจาต่อรองที่เรียกว่า ‘ผลนัตเคลี’ (Kaylee Nut) ผู้รับการอบรมจะถูกก�ำหนดให้สวม บทบาทของนักวิจยั ทีต่ อ้ งการรักษาโรคมะเร็งกับนักวิจยั ทีต่ อ้ งการรักษาโรคเอดส์ ทัง้ สองฝ่ายค้นพบ ว่าผลนัตเคลีมสี รรพคุณทีท่ ำ� ให้พวกเขาเชือ่ ว่าจะน�ำไปสูย่ ารักษาโรคทัง้ สองได้ ปัญหาก็คอื มีผลนัตเคลี เพียงจ�ำนวนจ�ำกัด ทัง้ สองฝ่ายต่างต้องการผลนัตเคลีนใี้ นจ�ำนวนทีเ่ ท่ากัน แต่ทว่าไม่มผี ลนัตเคลีเพียง พอให้แก่ทั้งสองฝ่ายตามที่แต่ละฝ่ายต้องการ เมือ่ น�ำบทฝึกการอบรมนีไ้ ปใช้กบั แพทย์ นักกฎหมาย นักศึกษาปริญญาตรี และบุคลากรทีเ่ ข้า ฝึกอบรมในหลักสูตรการเจรจาต่อรองนี้ พบว่าการเจรจาต่อรองในรอบแรกทุกครัง้ จะเป็นการเจรจา ต่อรองเชิงจุดยืน นักวิจยั แต่ละฝ่ายต่างก็พยายามทีจ่ ะโน้มน้าวให้อกี ฝ่ายหนึง่ เห็นข้อดีของการมอบผล นัตเคลีให้แก่ฝา่ ยของเขา แต่เมือ่ ได้รบั การชีแ้ นะ (coaching) ให้สามารถเห็นถึงผลประโยชน์ของแต่ละ 109


ฝ่าย (ส่วนใหญ่แล้วเป็นการถามค�ำถามว่า ‘ท�ำไม’ ซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า) คู่เจรจาต่อรองบางคู่ก็สามารถค้น พบเคล็ดลับของการเจรจาต่อรองครั้งนี้ ซึ่งก็คือว่านักวิจัยที่ต้องการรักษาโรคเอดส์ต้องการเพียงแค่ เปลือกของผลนัตเคลี ในขณะทีน่ กั วิจยั ทีต่ อ้ งการรักษาโรคมะเร็งก็ตอ้ งการเพียงเนือ้ ของผลนัตเคลี จะ เห็นว่าการมุง่ เน้นไปทีผ่ ลประโยชน์สามารถท�ำให้ทงั้ สองฝ่ายตกลงกันได้วา่ ควรจะแบ่งปันกันอย่างไร การเจรจาต่อรองบนพืน้ ฐานของผลประโยชน์เป็นสิง่ ทีเ่ ป็นไปได้ในหลาย ๆ กรณี ผูเ้ ข้ารับการ อบรมอาจค่อย ๆ ฝึกเจรจาต่อรองกับชุดบทฝึกจ�ำลองเหตุการณ์ที่มีกรณีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เรื่อย ๆ เพื่อพัฒนาความช�ำนาญ ไม่ว่าการจ�ำลองเหตุการณ์จะเป็นเรื่องการต่อรองเงินเดือน การ เยียวยาเนื่องจากผลของสารเคมีปนเปื้อนในพื้นที่หนึ่งๆ หรือการต่อรองสนธิสัญญาเพื่อลดปัญหา การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก หลักการพื้นฐานของการเจรจาต่อรองก็ยังคงเป็นเช่นเดิม ซึ่งได้แก่ การมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์มากกว่าจุดยืน การระดมสมองเพื่อหาโอกาสที่จะได้ประโยชน์ร่วมกัน และเพื่อพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหา แน่นอน การเจรจาต่อรองเพือ่ แก้ปญ ั หาทีก่ ล่าวมานีง้ า่ ยทีจ่ ะบรรยายแต่ยากทีจ่ ะปฏิบตั ไิ ด้จริง คนส่วนใหญ่มักจะไม่สามารถเจรจาต่อรอง (ได้ดี) ถ้าพวกเขาเร่งรีบที่จะตัดสินแทนที่จะถาม ค�ำถามต่อ หรือถ้าพวกเขามุง่ หาค�ำตอบทีถ่ กู ต้องเพียงค�ำตอบเดียวแทนทีจ่ ะมุง่ หาทางเลือกหลาย ๆ ทาง ในบางครัง้ ผูเ้ จรจาก็อาจล้มเหลวในการเจรจาต่อรองเพราะไม่ตระหนักว่าพวกเขาสามารถท�ำได้ กล่าว คือพวกเขาไม่รวู้ า่ อยูใ่ นฐานะทีจ่ ะต่อรองได้หรือโน้มน้าวอีกฝ่ายหนึง่ ได้ ยิง่ กว่านัน้ มีหลายวัฒนธรรมที่ ถือว่าการต่อรองคือการยอมแพ้และถือเป็นความอ่อนแอ บางวัฒนธรรมถือว่าการต่อรองเป็นการให้รางวัลแก่ฝ่ายตรงข้าม และไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา รัฐบาลบางประเทศอาจยืนยันว่าพวกเขาจะไม่ยอมต่อรองใด ๆ ทัง้ สิน้ เช่น ไม่ตอ่ รองกับผูก้ อ่ การร้าย เป็นต้น Lakhdar Brahimi ทูตพิเศษของสหประชาชาติ ผู้ซึ่งได้รับเกียรติได้รับรางวัลนักเจราจาต่อ รองผูย้ งิ่ ใหญ่แห่งปี (Great Negotiator of the Year) ในปี พ.ศ. 2545 จาก Program on Negotiation ได้เน้นถึงความส�ำคัญของการ ‘ยอมรับผู้คนฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้ง’ เขากล่าวว่าในการท�ำงานของ เขา (ในประเทศเลบานอน อิรัก และ ซีเรีย) เขาต้องเดินทางไปเจรจากับอันธพาล ไม่ใช่กับคนนิสัยดี ทว่าเพื่อที่จะหยุดการสู้รบ คุณจ�ำเป็นต้องพูดกับคนที่ก�ำลังสู้รบกันอยู่จริง ๆ นอกเหนือจากผลประโยชน์และตัวเลือกแล้ว องค์ประกอบพืน้ ฐานของการเจรจาต่อรองทีเ่ ป็น ความร่วมมือ ยังประกอบด้วยทางออกอื่น ๆ และการให้ความส�ำคัญกับมาตรฐานและข้อตกลง ใน เบื้องต้น นักเจรจาต่อรองจะต้องคิดให้ได้ว่าผลประโยชน์ของเขานั้นคืออะไร (เขาคิดว่าอะไรส�ำคัญ) พอ ๆ กับจะต้องให้การศึกษาต่อตัวเองอย่างจริงจัง ว่าผลประโยชน์ของอีกฝ่ายนั้นคืออะไร (อีกฝ่าย 110


คิดว่าอะไรส�ำคัญ) ข้อถัดมาก็คอื การเตรียมทางออกอืน่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ คือ ทางออกส�ำรองทีด่ ที สี่ ดุ เมือ่ ข้อตกลงจากการเจรจาต่อรองสิน้ สุดลงแล้ว หรือ BATNA (Best Alternative to a Negotiated Agreement) สิ่งนี้ก็คือแผนสอง หรือสิ่งที่คุณอยากจะท�ำถ้าการเจรจาต่อรองไม่ให้ผลลัพธ์ที่คุณ ยอมรับได้ ตัวอย่างเช่น ‘ถ้าฉันไม่สามารถได้รับผลนัตเคลี จะมีสารอย่างอื่นไหมที่อาจใช้แทนกันได้ เพื่อพัฒนายาที่ฉันต้องการ?’ วิธีหนึ่งที่ได้ผลมากที่สุดในการปรับปรุงเพิ่มอ�ำนาจการเจรจาต่อรอง ของคุณก็คือการปรับปรุง BATNA ของคุณ ถ้าแผนสองของคุณเป็นแผนที่ดี คุณก็จะสามารถเดินเข้า สู่การต่อรองด้วยความมั่นใจมากขึ้น (เพราะมีทางออกส�ำรองไว้แล้ว) นอกจากจะต้องหาให้พบว่าอะไรคือ BATNA แล้ว นักเจรจาต่อรองต้องค�ำนึงว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ก็มี BATNA ของตนด้วยเช่นกัน การใช้เวลาไตร่ตรองว่า BATNA ของอีกฝ่ายน่าจะเป็นอะไรบ้าง อาจช่วยให้ตัดสินได้ว่าความมั่นใจของอีกฝ่ายนั้นเป็นจริง หรือเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผล เมือ่ คูเ่ จรจาต่อรองได้มองเห็นผลประโยชน์และได้ทำ� การบ้านเกีย่ วกับทางออกส�ำรอง (BATNA) แล้ว พวกเขาก็พร้อมทีจ่ ะสร้างกระบวนการเพือ่ สร้างทางเลือก กระบวนการนีส้ ามารถท�ำได้งา่ ยทีส่ ดุ ด้วยการระดมสมอง โดยที่ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหาค�ำตอบที่มีต่อโจทย์ค�ำถามที่ว่า ‘จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า...?’ (what if) และ/หรือ ความเป็นไปได้ที่จะท�ำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจาก ผลการเจรจา การระดมสมองนี้จะต้องกระท�ำด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง และยอมรับพิจารณาทางเลือก ต่าง ๆ โดยยังไม่สนใจว่าทางเลือกนั้นเป็นไปได้หรือไม่ (หรือไม่สนใจกระทั่งว่าคุณพร้อมที่จะยอมรับ มันหรือไม่ แม้นว่ามันจะเป็นไปได้) จนกว่าการระดมสมองจะสิ้นสุดลง หากทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันถึงตัวเลือกต่าง ๆ ที่วางอยู่ตรงหน้าแล้ว พวกเขาต้องตัดสิน ใจร่วมกันว่าตัวเลือกใดควรจะได้รับการน�ำไปปฏิบัติ อาจต้องน�ำมาตรฐานจากภายนอกและเงื่อนไข ที่เป็นไปได้มาใช้เพื่อท�ำให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ยุติธรรมและสมเหตุสมผล ตัวอย่าง เช่น ถ้าการเก็บเกี่ยวผลนัตเคลีต้องใช้แรงงานมาก นักวิจัยที่ต้องการมันก็ควรจะต้องมีส่วนออกค่า ใช้จ่ายมากขึ้น เป็นเรื่องส�ำคัญที่จะต้องจ�ำไว้ว่าคู่เจรจาต่อรองมักจะมีกลุ่มผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ผู้ซึ่งพวก เขาจะต้องกลับไปรายงานหรือตอบค�ำถาม และพวกเขาเหล่านี้มีความส�ำคัญยิ่งหลังจากที่ขั้นตอน การเจรจาได้ข้อยุติแล้ว และถึงเวลาที่จะต้องลงมือปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้จากการเจรจาต่อรอง ในการต่อรองบนพื้นฐานของผลประโยชน์นั้น ผู้เจรจาต่อรองจะต้องคอยสลับเปลี่ยนบทบาท ระหว่างการเป็นผู้ร่วมเจรจากับการเป็นผู้สังเกตการณ์ Roger Fisher และเพื่อนร่วมงานของเขา เรียกสิง่ นีว้ า่ การอยูบ่ นฟลอร์กบั การอยูช่ นั้ บนของโรงเต้นร�ำ (balcony) ทัง้ สองบทบาทต่างก็มคี วาม 111


ส�ำคัญในการเจรจาต่อรอง เมือ่ คุณอยูช่ นั้ บนคุณจะมีมมุ มองต่อการเต้นร�ำ (ต่อการเจรจาต่อรอง) ของ ทั้งสองฝ่ายได้ชัดเจนกว่าอยู่ชั้นล่าง แต่ถ้าคุณต้องการมีบทบาทก�ำหนดความเคลื่อนไหว คุณจ�ำเป็น ต้องลงมาอยู่บนฟลอร์เต้นร�ำ นักเจรจาต่อรองที่ดีต้องเปลี่ยนต�ำแหน่งไปมาระหว่างชั้นบนกับฟลอร์ เต้นร�ำ หรือระหว่างบทบาทผู้สังเกตการณ์กับผู้ลงมือกระท�ำ พวกเขาต้องระมัดระวังต่อความรู้สึก ที่ว่าพวกเขาได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (partisan perception) หรือต่อความผิดพลาดที่ไม่ได้ค�ำนึง ถึงมุมมองของอีกฝ่ายหนึ่ง เราอาจยกตัวอย่างให้เห็นถึงความรู้สึกที่ว่าบางคนเป็นพวกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ง่าย ๆ จาก ตัวอย่างต่อไปนี้ กล่าวคือ มีภาพที่แพร่หลายบน Internet อยู่ภาพหนึ่งที่เราอาจมองเห็นว่าเป็นเป็ด เอ๊ะ...หรือว่ามันเป็นกระต่ายกันแน่? ภาพนี้ถูกวาดขึ้นมาให้เข้าใจเกือบจะในทันทีที่เห็นว่าส่วนที่มี ลักษณะแบนยาวที่อยู่ข้าง ๆ ศีรษะนั้นเป็นจะงอยปาก ซึ่งท�ำให้มองเห็นภาพนี้เป็นภาพเป็ด ขณะ เดียวกันคนบางกลุ่มก็อาจเห็นส่วนเดียวกันนี้เป็นหูยาว ๆ ของกระต่าย ตกลงว่าอะไรละคือสิ่งที่ถูก ต้อง หรือว่ามันถูกต้องทั้ง 2 อย่าง เราคงจะพอเห็นได้ว่ามันยุ่งยากเพียงใดที่จะคุยกับคนบางคนที่ พยายามบอกเราว่านี่คือภาพของกระต่าย ขณะที่เราเห็นว่าภาพตรงหน้าเรานั้นคือเป็ดชัด ๆ ท่ามกลางความรู้สึกที่ว่าผู้ไกล่เกลี่ยเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเป็นไปได้อย่างไรกันที่จะท�ำให้ ผู้คนหันหน้ามาฟังกัน? ก่อนอื่นเราต้องตระหนักว่าเป็นสิ่งส�ำคัญที่เราจะต้องฟังอีกฝ่ายหนึ่งถ้าเรา ต้องการให้เขาเห็นว่าเรามีบทบาทส�ำคัญส�ำหรับเขา ข้อที่สองก็คือเป็นเรื่องส�ำคัญขั้นวิกฤตที่ต้อง เข้าใจในผลประโยชน์ที่อีกฝ่ายหนึ่งให้ความส�ำคัญ ไม่ใช่สนใจแค่เพียงสิ่งที่ฝ่ายเราต้องการเท่านั้น ข้อทีส่ ามอาจจะช่วยได้มากถ้าเราโน้มเอียงไปทางเป้าหมายของการเจรจาทีก่ อ่ เกิดจากผลประโยชน์ ข้อสุดท้าย มันเป็นไปได้ที่จะมองว่าความขัดแย้งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นกลาง Louisa Chan Boegli ซึง่ เป็นผูบ้ ริหารหลักและเป็นผูก้ อ่ ตัง้ the Rugiagli Initiative ได้เสนอว่า แม้วา่ ผูไ้ กล่เกลีย่ อยากจะมองตนเองเป็นอิสระจากทุกอย่าง แต่แท้จริงแล้วพวกเขาก็มจี ดุ ยืนทีต่ อ้ งการ ให้มีกระบวนการเจรจาเกิดขึ้น ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีการสู้รบ อย่างน้อยที่สุดผู้ไกล่เกลี่ยก็ ต้องการให้การสู้รบยุติลงในทันที ความเป็นกลางของผู้ไกล่เกลี่ยจึงมิได้หมายความว่าเขาไม่มีส่วน ได้เสียในกระบวนการเจรจา แต่หมายถึงว่าผู้ไกล่เกลี่ยต้องพยายามที่จะไม่ไปตัดสินฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง Chan Boegli กล่าวว่านี่คือความหมายที่แท้จริงของการเป็นกลางและไม่เข้าข้างฝ่ายใด ในเหตุการณ์ปกตินั้น ผู้คนมักมีปฏิกิริยาต่อความขัดแย้งในลักษณะที่เราสามารถบอกได้ ล่วงหน้า เมื่อคนกลุ่มหนึ่งรู้สึกว่าถูกคุกคาม พวกเขาจะรวมตัวกันและหันหน้าหนีออกจากกลุ่มคน ภายนอก บางครั้งพวกเขาอาจจะตอบสนองต่อความขัดแย้งด้วยการตอบโต้ ซึ่งแน่นอนว่าความ ตึงเครียดย่อมจะเพิม่ ขึน้ กลุม่ ทีเ่ ป็นคูข่ ดั แย้งอาจจ�ำต้องยอมแพ้ถา้ ต้นทุนของความขัดแย้งนัน้ สูงมาก 112


เกินไป แต่สิ่งนี้จะหล่อเลี้ยงความคับข้องใจซึ่งจะเลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป นักจิตวิทยา Vamik Volkan เรียกสิ่งนี้ว่า ‘ความเจ็บช�้ำที่ถูกเลือก’ (chosen trauma) ซึ่งหมายถึงความรู้สึกของการไม่ ได้รับความเป็นธรรมจากการก่อกรรมท�ำเข็ญโดยศัตรูต่อบรรพบุรุษของพวกเขา บาดแผลของความ เจ็บช�ำ้ นีอ้ าจอยูย่ นื ยาวไปถึงหลายชัว่ อายุคน ในทีส่ ดุ คูข่ ดั แย้งนีก้ อ็ าจยอมทอดเวลาออกไปและรอคอย ยอมตกลงที่จะเห็นต่าง และพร้อมที่จะเริ่มความขัดแย้งรอบต่อไปอีกในอนาคต นักสังคมวิทยาชื่อ Roy กับ Judy Eidelson ได้ระบุถึงความเชื่อแก่นที่มีอิทธิพลต่อความ ขัดแย้งและมีสว่ นเพิม่ ความรุนแรงของมัน ซึง่ ได้แก่ ความเชือ่ ทีว่ า่ กลุม่ หนึง่ ๆ มีความวิเศษวิโสกว่า กลุ่มอื่น หรือเชื่อว่ากลุ่มของตนได้รับความทุกข์ระทมจากกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม หรือ กลุ่มของตน เป็นฝ่ายที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ความไม่แน่นอนและความไม่ไว้ใจกันก็มีส่วนในการเพิ่มความรุนแรง ของความขัดแย้งนี้เช่นกัน นักสังคมวิทยาบางคนเชื่อว่ามนุษย์ทั่วไปนั้นมีธรรมชาติที่ก้าวร้าว และบางคนอย่างเช่น William Ury ผู้ร่วมประพันธ์หนังสือ Getting to Yes ก็คิดแตกต่างออกไป ในหนังสือที่ชื่อ The Third Side: Why We Fight and How We Can Stop, Ury กล่าวว่าตลอดช่วงเวลาถึงร้อยละ 99 ของ ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ มนุษย์อยู่ร่วมกันได้โดยปราศจากความรุนแรงที่เป็นระบบ (organized violence) และเพิ่งจะเปลี่ยนเป็นการใช้ความรุนแรงที่เป็นระบบแก้ปัญหาความแตกต่างหลังจากที่ มนุษย์เปลีย่ นจากยุคล่าและเก็บกิน (hunting and gathering) เข้าสูย่ คุ เกษตรกรรม การเปลีย่ นแปลง นี้ท�ำให้เกิดความตึงเครียดภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่จ�ำกัด และความตึงเครียดนี้เองที่เพาะเลี้ยงความ รุนแรงที่เป็นระบบหลาย ๆ รูปแบบ Ury กล่าวด้วยว่าการมองประวัติศาสตร์เป็นช่วงเวลายาว ๆ เผยให้เห็นว่ามนุษย์เรานั้นมี ความโน้มเอียงไปในทางที่จะร่วมมือและเจรจาต่อรองกัน บุคคลที่สามโดยธรรมชาติ (เพื่อน ผู้ร่วม งาน องค์กรภาคประชาสังคม และแพทย์) ได้ท�ำหน้าที่เป็นสิ่งที่เขาเรียกว่า ‘ระบบภูมิต้านทานของ สังคมที่ช่วยป้องกันการแผ่กระจายของความรุนแรง’ นี่คือ ‘ฝ่ายที่สาม’ ส�ำหรับ Ury แล้วการเจรจา ต่อรองไม่ใช่งานที่จะมอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางกระท�ำ แต่เป็นเรื่องในชีวิตประจ�ำวันของ ชุมชน แนวคิดฝ่ายที่สาม (Third Side concept) ของ Ury มุ่งไปที่การช่วยสร้างพลังให้ผู้มีส่วน ได้เสียให้เข้าใจว่าพวกเขาสามารถมีสิทธิมีเสียง ช่วยลดความรุนแรงในเขตแดนของพวกเขาเองได้ การกล้าพูดค�ำว่า ‘ไม่’ เป็นเรือ่ งส�ำคัญในกระบวนการนี้ ในหนังสือเล่มล่าสุดของ Ury ชือ่ The Power of the Positive No กล่าวว่า การพูดค�ำว่า ‘ไม่’ ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง คือรูปแบบหนึ่งของการพูดค�ำว่า ‘ใช่’ ต่ออีกบางสิ่งหรืออีกบางคนนั่นเอง” Ury ได้ช่วยให้ผู้อ่านของ เขาทราบซึง้ ว่าแผนผังของค�ำว่า ‘ไม่’หลายค�ำ ก็คอื พิมพ์เขียวไปสูผ่ ลประโยชน์ทแี่ ท้จริง แบบจ�ำลอง 113


ของ Ury ทั้งง่ายและสง่างาม และยังได้ผลอย่างน่าประหลาดในการช่วยผู้คนให้เห็นกระจ่างว่าอะไร คือสิ่งส�ำคัญส�ำหรับพวกเขา แพทย์และบุคลากรด้านสุขภาพเป็นสมาชิกโดยธรรมชาติของฝ่ายที่สาม ขณะเดียวกันแพทย์ ก็มองตนเองว่าเป็นพวกสายพันธุ์ที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นด้วยลักษณะพิเศษทางวิชาชีพ แพทย์อาจมี ความโน้มเอียงที่จะเป็นตัวของตัวเองและอาจจ�ำเป็นต้องตระหนักถึงภาระผูกพันเพื่อการร่วมมือกัน วิชาชีพแพทย์เป็นวิชาชีพที่มีล�ำดับอาวุโส ความกังวลภายใต้เงื่อนไขระบบอาวุโสอาจจะบดบังไม่ให้ แพทย์ระลึกว่า ค�ำตอบที่จะแก้ไขความขัดแย้งนั้นมาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย Sara Cobb จาก School for International Conflict and Resolution ของมหาวิทยาลัย George Mason เสนอว่า ในการอยูใ่ นบทบาทของผูไ้ กล่เกลีย่ นัน้ เราควรจะรูซ้ งึ้ กับรสชาติของความ ขมขืน่ ของแต่ละฝ่ายทีเ่ ข้ามาเจรจาว่าต่างก็ได้รบั ความทุกข์ยาก ยิง่ ไปกว่านัน้ ผูไ้ กล่เกลีย่ จะท�ำงานได้ อย่างมีประสิทธิผลถ้าหากการแสดงความคิดเห็นของเขาจะมีนัยไปในทางบวกของแต่ละฝ่าย และ คอยเสริมความหลากหลายเนื้อแท้ของเจตนารมณ์ของคนอื่น ๆ การไกล่เกลี่ยในบริบทเช่นนี้อาจมองได้ว่าเป็น ‘ภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์’ นับเป็นเรื่องที่มีคุณค่า อย่างยิ่งที่ได้คอยช่วยเหลือผู้คนให้เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้ผลในระยะยาว แพทย์ผู้เจรจาต่อรอง ผู้ไกล่เกลี่ย และผู้จัดหาของฝ่ายที่สาม จ�ำต้องเรียนรู้ที่จะจุ่มตนเองลงไปอยู่ในความทุกข์โศกโดยยัง ครองสติได้ ในอีกด้านหนึง่ เพือ่ ให้ได้ผล ผูเ้ ยียวยาต้องสงวนก�ำลังไว้บา้ ง ควรมีวธิ กี ารสร้างหรือเข้าถึง ความรูส้ กึ สัมผัสพืน้ ทีท่ ปี่ ลอดภัย ไม่พลอยรูส้ กึ แย่ไปด้วย หากสามารถพัฒนาแนวปฏิบตั เิ ช่นนีไ้ ด้แล้ว ผูไ้ กล่เกลีย่ จะรูส้ กึ ว่าสามารถมีจดุ ยึดทางคุณค่าทีม่ นั่ คง ในขณะเดียวกันก็พร้อมทีจ่ ะช่วยคูข่ ดั แย้งให้ แลกเปลี่ยนเรื่องราวชีวิตของตนเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงที่ดีเกิดขึ้นได้

114


บทที่ 13

การจัดการความคลางแคลง และการสร้างความเชื่อใจ Urs Boegli การออกงานภาคสนามในพื้นที่ที่ปะทุไปด้วยความขัดแย้งเข่นฆ่าเป็นภยันตรายต่อบุคลากร ทุกวิชาชีพ บุคลากรภาคสนามบางหน่วยมีทางเลือกที่จะอยู่และพร้อมที่จะออกงานสนามขณะเกิด เหตุ หรือเลือกที่จะออกไปปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในช่วงหลังเหตุสงบ แต่บุคลากรสาธารณสุขไม่มีทาง ให้เลือก อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ พ.ศ. 2492 ระบุความคุ้มครองพลเรือนทุกคนในช่วงศึกสงคราม และมีบญ ั ญัตนิ านาชาติดา้ นความช่วยเหลือเชิงมนุษยธรรมอีกหลายบท ทีพ่ ยายามสร้างหลักประกัน ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ด�ำเนินการต่อไปได้ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์การสู้รบ อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติต่าง ๆ เหล่านี้ก็เตือนไว้ด้วยว่า บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรด้านมนุษยธรรม หรือ หน่วยงานการแพทย์เหล่านี้ เป็นพลเรือนที่สมควรได้รับการปกป้องครองคุ้มด้วย การจงใจเข้าจู่โจมท�ำร้ายบุคลากรทางการแพทย์ หรือหน่วยงานอ�ำนวยการรักษาพยาบาล ที่ติดเครื่องหมายสัญลักษณ์ตามที่ระบุในอนุสัญญาเจนีวาอย่างเด่นชัด (เฉพาะอย่างยิ่งเครื่องหมาย กาชาด) เป็นสิง่ ต้องห้าม และถือเป็นอาชญากรรมสงครามภายใต้บทบัญญัตแิ ห่งศาลอาญานานาชาติ กรุงโรม แต่ถงึ แม้จะมีบทบัญญัตกิ ฎบัตรกฎหมายต่าง ๆ ซึง่ เป็นเงือ่ นไขทีจ่ ะต้องเคารพปฏิบตั สิ ำ� หรับ การปกป้องผูป้ ฏิบตั งิ านทางการแพทย์และงานเพือ่ มนุษยธรรมเหล่านีท้ า่ มกลางไฟสงครามแห่งความ ขัดแย้ง แต่สงิ่ นีจ้ ะไม่เกิดผลเลยหากกฎบัตรเหล่านีม้ ไิ ด้รบั การเชือ่ ฟังหรือถือปฏิบตั ิ ในสถานการณ์การ สู้รบนั้น กฎบัญญัติเหล่านี้ (ถ้ากลุ่มผู้ก่อการรับรู้หรือรับทราบ!) ก�ำลังถูกล่วงละเมิดมากขึ้น ๆ ทุกที ดังนัน้ บุคลากรทางการแพทย์ทอี่ อกปฏิบตั งิ านสนามจึงจ�ำต้องระมัดระวังอย่างมากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ สามขั้นตอนที่บุคลากรทางการแพทย์ควรท�ำเพื่อปกป้องตนเองให้ดียิ่งขึ้นในขณะอุทิศตนต่อ การปฏิบัติหน้าที่ภาคสนาม คือ 1. เข้าใจและประยุกต์ใช้แนวคิดที่ ‘ไม่ก่อโทษ (Do No Harm)’ 2. วิเคราะห์และเข้าใจปัญหาประเด็นความขัดแย้ง 3. เข้าด�ำเนินการร่วมกันได้กับทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกันอยู่

หลักการ ‘ไม่ก่อโทษ’ (Do No Harm)

หลักการที่จะ ‘ไม่ก่อโทษ’ ซึ่งเป็นสาระที่ยอมรับกันมาตลอดแต่ครั้งบุพกาลอันเกี่ยวเนื่อง กับค�ำปวารณาตนก่อนเข้าสู่วิชาชีพแพทย์ที่ปราชญ์กรีกโบราณฮิปโปเครติสได้ให้ไว้ (Hippocratic Oath) ซึง่ เป็นกฎพืน้ ฐานการแพทย์ตะวันตกในทุกวันนี้ การหลีกเลีย่ งไม่กอ่ โทษเป็นหลักการทีแ่ พทย์ 115


พยาบาลทัว่ โลกต่างรับทราบเรียนรูอ้ ยูแ่ ล้ว ขัน้ ตอนนีเ้ ป็นขัน้ ตอนเล็ก แต่สำ� คัญ ทีไ่ ม่จำ� กัดเฉพาะกับ การรักษาโรค แต่ตอ้ งใช้กบั งานภาคสนามด้วย ต้องระวังเป็นพิเศษเพราะทีมงานทีใ่ ห้ความช่วยเหลือ ทางการแพทย์บางครั้งก็ก่อโทษโดยที่ไม่ตั้งใจ หลักการ ‘ไม่ก่อโทษ’ บอกนัยแง่คิดแรกสุดและส�ำคัญที่สุดว่า ในสถานการณ์ความขัดแย้ง ที่ใช้ก�ำลังอาวุธ เมื่อทีมงานอยู่และให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจะช่วยท�ำให้สถานการณ์ดีขึ้น แต่ท่ามกลางความขัดแย้งนั้น บ่อยครั้งความช่วยเหลือก็อาจจะไม่เป็นกลางเสียทีเดียว แม้แต่ความ ช่วยเหลือจะผ่านการตริตรองมาอย่างดีและมีความตั้งใจดี ผลพวงที่ไม่ได้ตั้งใจก่อก็อาจจะออกมา ในทางร้าย ตัวอย่างเช่น ในการหยุดยิงเพื่อมนุษยธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ปรากฏบ่อยและเป็นที่ต้องการ อย่างยิง่ ในระหว่างการเจรจาเพือ่ ฝ่ายการบรรเทาทุกข์สามารถเข้าช่วยเหลือสามารถเข้าถึงผูบ้ าดเจ็บ รวมทัง้ ยังอาจช่วยอพยพผูบ้ าดเจ็บจากการสูร้ บและผูป้ ว่ ยออกไปได้อกี ด้วย แต่ขณะทีผ่ เู้ ข้าช่วยเหลือ ก�ำลังง่วนงุดอยู่กับกิจกรรมในช่วงหยุดยิงนั้น นักรบทั้งสองฝ่ายก็พลอยมีเวลาที่จะตระเตรียมอาวุธ ยุทโธปกรณ์ จัดกระบวนทัพเพือ่ ถล่มกันใหม่ นีไ่ ม่ใช่จดุ ประสงค์ทตี่ งั้ ใจจะให้เกิดขึน้ เลย หากแต่เหล่า นักรบก็มักที่จะหยิบฉวยโอกาสแบบนี้ ซึ่งปกติแล้วจะไม่มีทางท�ำได้ ยิง่ กว่านัน้ ความช่วยเหลือนัน้ ถือได้วา่ เป็นตัวแทนของอิทธิพลและความมัง่ คัง่ ของผูใ้ ห้ และ/หรือ ผูร้ บั ซึง่ มีผลต่อความขัดแย้ง บ่อยมากทีม่ ผี ใู้ ช้ทรัพยากรความช่วยเหลือเอือ้ ประโยชน์แก่ฝา่ ยตน หรือ ตัดทอนก�ำลังของฝ่ายตรงกันข้าม ในกรณีเช่นนีค้ วามช่วยเหลือก็กอ่ ให้เกิดผลร้าย ตัวอย่างเช่น ผูบ้ งั คับ บัญชาการทหารอาจจะอนุมตั ใิ ห้ทมี แพทย์เข้าช่วยเหลือบางพืน้ ที่ แต่ยบั ยัง้ การเข้าไปยังพืน้ ทีอ่ นื่ เพือ่ รุกคืบและเพือ่ หนุนเกือ้ ยุทธการของฝ่ายตน ผูท้ ที่ ำ� เช่นนีจ้ ะใช้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพือ่ จุดมุง่ หมายของตนเอง ด้วยการบีบช่องทางการให้ความช่วยเหลือ ทีค่ วรต้องมีให้กบั ทัง้ พืน้ ที่ ด้วยการละเว้น ความช่วยเหลือทีจ่ ำ� เป็นแก่อกี ฝ่ายหนึง่ ซึง่ ก็จะเกิดผลร้ายจากการปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือแก่บาง ที่ และท�ำร้ายชือ่ เสียงของทีมทีเ่ ข้าไปให้ความช่วยเหลือแม้วา่ ทางทีมจะตัง้ ใจเข้าช่วยเหลือทุกคนก็ตาม

นักประสาน และ นักแบ่งแยก

แนวคิดเรื่องของการไม่ก่อโทษที่ใช้องค์กรบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ขัดแย้ง พัฒนาขึ้นโดย Mary Anderson นักวิทยาศาสตร์สญ ั ชาติอเมริกนั ทีท่ ำ� งานให้กบั มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด Mary ได้ตงั้ ข้อสังเกต ว่า การบรรเทาทุกข์หลายต่อหลายครัง้ ทีอ่ งค์กรความช่วยเหลือน�ำไปมอบให้แก่พนื้ ทีข่ ดั แย้ง ไม่เพียงแต่ จะไม่ลดความรุนแรงลง หากแต่ยงั โหมกระพือไฟแห่งความขัดแย้งให้ปะทุรนุ แรงขึน้ อีกด้วย หนึง่ ในข้อค้น พบพืน้ ฐานของเธอก็คอื ในสถานการณ์ความขัดแย้งหนึง่ ๆ ดูเหมือนว่าจะมีคนบางคนทีท่ ำ� ให้ชมุ ชนแยก ออกจากกัน จับขัว้ อยูค่ นละฝ่าย เธอเรียกพวกนีว้ า่ ‘นักแบ่งแยก’ และก็มบี คุ คลอีกบางกลุม่ ทีพ่ ยายาม 116


จะให้ชมุ ชนสามัคคีกนั โดยพัฒนาสายใยทีจ่ ะยึดโยงชุมชนเข้าด้วยกัน เธอเรียกพวกนีว้ า่ ‘นักประสาน’ แนวคิดของเธอทีเ่ ราแนะน�ำในทีน่ ี้ มุง่ ให้ผเู้ ข้าท�ำงานช่วยเหลือได้รจู้ กั เฟ้นหาและสนับสนุนนักประสาน ในขณะทีต่ อ้ งแยกแยะนักแบ่งแยกและระมัดระวังตัวไม่ให้เล่นตามไพ่ทแี่ จกจากคนกลุม่ นี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา Mary Anderson ได้ตีพิมพ์หนังสือและรายงานหลายฉบับ เกี่ยวกับการใช้งานตามหลักการไม่ก่อโทษ ผู้เขียนขอแนะน�ำให้ท่านไปส�ำรวจเนื้อหาตาม 2 ลิ๊งค์นี้ - www.cdacollaborative.org/media/52500/Do-No-Harm-Handbook.pdf - www.berghof-handbook.net/documents/publications/anderson_handbook.pdf แน่นอนว่า โครงการและการด�ำเนินการบรรเทาทุกข์ที่ผ่านการตริตรองอย่างรอบคอบถี่ถ้วน จักเป็นประโยชน์ แต่เราก็จักต้องให้ความสนใจกับการออกแบบที่จะน�ำไปสู่การลดความตึงเครียด และการบรรเทาความรุนแรง เพราะนี่เป็นหัวใจหลักของการด�ำเนินการตามหลักการไม่ก่อโทษ โปรแกรมความช่วยเหลือทีค่ ดิ ดี ออกแบบดี และจัดการดี จะเพิม่ ขีดพลังความแข็งแกร่งให้แก่ ท้องถิน่ ซึง่ รวมถึงขีดความสามารถในการบรรเทาความรุนแรงและในการเสริมสร้างสันติภาพ ความ ช่วยเหลือจะกระชับพลังแก่นกั ประสานทีจ่ ะน�ำพาชุมชนให้เข้าหากัน ด้วยการลดความตึงเครียดและ ลดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ในช่วงงานสนาม และในขณะพิจารณาสถานการณ์รอบตัวนัน้ ผูท้ ำ� งานบรรเทาทุกข์ อย่างเช่น บุคลากรทางการแพทย์ที่ออกไปในพื้นที่ จะสังเกตออกไม่ยากว่าจะมีบุคคล/กลุ่มบุคคลที่ชอบสร้าง ปฏิปกั ษ์และแบ่งขัว้ แบ่งฝ่าย (นักแบ่งแยก) และมีบคุ คล/กลุม่ บุคคลทีด่ จู ะพยายามสมัครสมานชุมชน ทีอ่ ยูด่ ว้ ยกันท�ำงานด้วยกัน (นักประสาน) ซึง่ จะมีบคุ คลทัง้ สองประเภทนีใ้ นความขัดแย้งเกือบทุกครัง้ ด้วยความใส่ใจในรายละเอียดเช่นนี้ และด้วยการจับตาแยกแยะผู้ประสงค์สร้างปฏิปักษ์ ขัดแย้งที่คณะบรรเทาทุกข์อาจจ�ำเป็นต้องร่วมงานด้วย ก็จะท�ำให้ผู้เข้าช่วยเหลือสามารถที่จะ ตีตัวออกห่างจากนักแบ่งแยกที่ชอบสร้างความแตกแยก และหันไปให้ความสนับสนุนช่วยเหลือแก่ นักประสาน หรือกระทั่งไปร่วมเป็นหนึ่งในกลุ่มนักประสานเหล่านั้นเสียเอง

เข้าใจความขัดแย้ง

การด�ำเนินวิธีการไม่ก่อโทษนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจความขัดแย้งและประเด็น หลักของปัญหา ส�ำหรับผู้บรรเทาทุกข์ที่มักถูกตั้งข้อสงสัยถึงเจตนารมณ์ที่แท้จริงในการออกไป ช่วยเหลือในพื้นที่แล้ว ก่อนที่จะลงไปในชุมชนควรคิดและตั้งค�ำถามพื้นฐานกับตัวเองสักสองสาม ข้อ เช่น 117


• อะไรคือสิ่งที่อาจท�ำให้ชาวบ้านคลางแคลงใจทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นกลางที่เข้าไป ช่วยเหลือผู้คน • พวกเขานิยมชมชอบทีมบุคลากรทางการแพทย์ในเรื่องอะไรบ้าง • พวกเขาไม่ชอบ แต่จ�ำต้องยอมรับในเรื่องอะไรบ้าง การด�ำเนินการแบบไม่ก่อโทษภาคสนามได้ ควรมีพื้นฐานการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเหมาะสม ว่าอะไรอยู่เบื้องหลังคนที่เราไม่ควรจะมองข้าม หรือคนที่ร่วมมีส่วนได้เสีย ที่อาจจะช่วยเราหรือ ขัดขวางการท�ำงานของเรา ภูมิหลังของคนเหล่านั้นคืออะไร เขามีนโยบายอย่างไร หรือแม้แต่ว่า พวกเขาก�ำลังเล่นการเมืองอะไร ส่วนหนึ่งของวิธีด�ำเนินการในการเข้าใจความขัดแย้งและประเด็น ความขัดแย้งนี้ จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะเริ่มต้นที่การระบุผู้มีส่วนได้เสีย ว่า • ผู้เป็นตัวจักรส�ำคัญคือใคร และเขาจะคลางแคลงใจเราเรื่องอะไรได้บ้าง • มีแง่มุมเชิงวัฒนธรรมอย่างไร • คู่สนทนาของเรามีแรงจูงใจอะไรบ้าง ความสนใจที่แท้จริงของเขาคืออะไร และอะไรเป็น เรื่องส�ำคัญจริง ๆ ส�ำหรับเขา การวิเคราะห์น้ีจะช่วยให้เข้าใจมากขึ้นว่าผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคนจะเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อ งานบรรเทาทุกข์ของเรา สิ่งนี้น่าจะท�ำให้ผู้ที่ท�ำงานด้านความช่วยเหลือสะกิดรับรู้สึกอิทธิพลที่ผู้มี ส่วนได้เสียนั้นจะก่อให้แก่งาน และกับพวกที่จะช่วย หรือพวกที่จะฉุดงาน สุดท้ายแล้ว การวิเคราะห์เช่นนี้น่าจะน�ำไปสู่การชี้ช่องให้เกิดสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายต่างก็ชนะ ด้วยกัน (win-win situation) ความท้าทายล�ำดับถัดไปคือ เราจะสร้างสถานการณ์ win-win ทีท่ กุ ฝ่ายต่างก็ชนะด้วยกันได้อย่างไร ถึงขั้นนี้ ผู้ที่พยายามท�ำความเข้าใจบุคคลต่าง ๆ ที่จะต้องออกไปมีปฏิสัมพันธ์ด้วยในการ ท�ำงานภาคสนาม ก็ควรที่จะสร้าง ‘แผนภูมิผู้มีส่วนได้เสีย’ แผนภูมิลักษณะนี้อาจเป็นถึงโปรแกรม คอมพิวเตอร์อจั ฉริยะทีต่ อบโต้ได้อย่างชาญฉลาดได้ในแบบทีห่ น่วยงานรับผิดชอบสังคม (Corporate Social Responsibility; CSR) ของภาคธุรกิจขนาดใหญ่มักใช้งานกัน แต่ส�ำหรับกรณีทีมบุคลากร ทางการแพทย์ที่ได้รับอนุมัติและยอมรับจากทุกฝ่ายให้เข้าไปในพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือแล้ว วิธี ง่าย ๆ นั้นก็คือ น�ำกระดาษเปล่าขึ้นมา แบ่งพื้นที่กระดาษแผ่นนั้นออกเป็นสี่ส่วน (สองคอลัมน์ซ้ายขวา และสองแถวบน-ล่าง) ในท่อนบนนั้นให้เขียนรายชื่อบุคคลที่น่าจะมีบทบาทเด่น ส�ำหรับท่อน ล่างให้ระบุรายชื่อผู้ที่มีความส�ำคัญรองลงมา ทั้งนี้ ให้แยกแยะด้วยการใส่ชื่อผู้ที่ดูจะไม่ท�ำตัวเป็น ประโยชน์ไว้ทางซ้าย และผู้ที่ดูจะท�ำตัวเป็นประโยชน์ไว้ทางขวา 118


ดังแสดงในแผนภูมิง่าย ๆ ของผู้มีส่วนได้เสีย ผลลัพธ์นี้จะแบ่งคนที่ผู้บรรเทาทุกข์จะต้องไป ข้องเกี่ยวด้วยออกเป็นสี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะต้องไปด�ำเนินการจัดการต่าง ๆ กัน ดังนี้ กลุ่มบนซ้าย คือกลุ่มที่ไม่ช่วยท�ำประโยชน์ แต่ส�ำคัญ กลุ่มบนขวา คือกลุ่มที่ท�ำประโยชน์ได้ และมีพลัง กลุ่มล่างซ้าย คือกลุ่มที่ไม่ช่วยท�ำประโยชน์ และก็ไม่ส�ำคัญ กลุ่มล่างขวา คือกลุ่มที่ช่วยท�ำประโยชน์ได้ แต่ไม่มีพลัง

หมายเหตุ: ยังมีตัวอย่างแผนภูมิผู้มีส่วนได้เสียอีกมากในอินเทอร์เน็ต ผู้สนใจอาจค้นคว้าเพิ่ม เติมโดยใช้ค�ำว่า ‘stakeholder mapping template’ เพื่อค้นคว้าหาตัวอย่างอื่นและระเบียบวิธี การด�ำเนินการที่เกี่ยวข้องได้ จากแผนภูมิจะเห็นได้ชัดแจ้งว่าใครคือผู้ที่ทั้งส�ำคัญมีพลังและช่วยเหลือได้ นั่นคือกลุ่มคนที่ อยู่ในกล่อง (สีเขียว) ด้านบนขวา ซึ่งกลุ่มนี้จักต้องได้รับความสนใจสูงสุด ส่วนกลุ่มที่อยู่ในกล่อง (สี แดง) ด้านบนซ้ายทีม่ พี ลังแต่ไม่ชว่ ยอะไรให้ดขี นึ้ ได้ ก็ยงั คงต้องได้รบั ความสนใจอยูด่ ี กลุม่ นีจ้ ะถือเป็น กลุ่มก่อกวน เพราะแม้ว่าพวกนี้จะไม่มีทางมาเป็นแนวร่วมเหมือนผู้ช่วยเหลือหลักอื่น ๆ แต่ก็ต้องได้ รับการดูแลอย่างรอบคอบนุ่มนวล เพราะคนกลุ่มนี้อาจสร้างอุปสรรคเหนี่ยวรั้งท�ำลายกระบวนการ ความช่วยเหลือได้ ส�ำหรับกลุ่มคนในอีกสองกล่องข้างล่างนั้นความส�ำคัญก็ลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ก็ต้องพยายามไปมีปฏิสัมพันธ์กับสองกลุ่มนี้ด้วยบ้าง เพียงแต่ก็อย่าให้มีมากจนถึงกับหันเหเฉไฉ ลืม ผู้ที่ส�ำคัญ ๆ อื่นไปเสีย 119


เมื่อเข้าใจกระบวนทัศน์นี้แล้ว ก็ง่ายที่จะวางแผนว่าจะต้องท�ำอะไร ต่อใคร เพื่อลดความ หวาดระแวง การสร้างแผนภูมิและการเข้าใจผู้มีส่วนได้เสียไม่เพียงแต่จะลดความสงสัยลงเท่านั้น แต่จะยังช่วยในการคิดสร้างยุทธศาสตร์ในการเข้าจัดการด้วย

การสร้างความสัมพันธ์กับทุกฝ่ายของความขัดแย้ง

ในกระบวนวิธีไม่ก่อโทษในงานภาคสนาม การเข้าสร้างความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ส�ำคัญอย่าง ยิ่ง ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย ทั้งกับกลุ่มที่ระแวงแคลงใจความเป็นกลางของพวกเรา และ กับกลุ่มที่เข้าใจและพร้อมจะสนับสนุนเรา การวิเคราะห์เพือ่ จัดท�ำแผนภูมผิ มู้ สี ว่ นได้เสียเป็นพืน้ ฐานทีด่ ที จี่ ะท�ำให้เราเข้าใจว่าแต่ละฝ่าย มีความต้องการและความสนใจเรื่องอะไรบ้าง ก่อนพบกันนั้นเขาคิดว่าจะน�ำเนื้อหาสาระอะไรเพื่อ แลกเปลี่ยนหารือกัน ในกรณีของทีมบุคลากรทางการแพทย์ทเี่ ข้าไปท�ำงานในพืน้ ทีข่ ดั แย้ง ต้องเน้นทีค่ วามต้องการ ความช่วยเหลือจากทุกฝ่าย ต้องน�ำพาให้ทุกฝ่ายเข้าใจพ้องกันว่า งานแพทย์เป็นงานที่ต้องช่วยกัน ส่งเสริม ให้ความสะดวก และต้องได้รับการสนับสนุน โดยไม่ถูกท�ำให้เสี่ยงต่อความล้มเหลวหรือ ต้องชะงักงัน เพือ่ อธิบายงานเช่นนีใ้ ห้เป็นทีเ่ ข้าใจ ต้องให้แน่ใจว่าการสือ่ สารทุกขัน้ ตอนนัน้ เหมาะสม แม้แต่ เรื่องเล็กน้อยที่เห็นชัดแจ้งอยู่แล้ว เมื่อผู้สื่อข่าวเขียนข่าว เขาจะต้องบรรจุเนื้อหาว่า ใคร ท�ำอะไร ทีไ่ หน เมือ่ ไร ท�ำไม และอย่างไร งานการแพทย์สนามก็ตอ้ งอธิบายให้ทกุ คนรับรูว้ า่ ใครก�ำลังท�ำอะไร เพื่อใคร เมื่อไร ที่ไหน และอย่างไร และท�ำไมถึงต้องท�ำ แม้ว่าเนื้อหาวิธีการเล่าแบบนี้ดูเหมือนจะรู้กันทั่วไปแล้วเพราะเป็นสิ่งที่ต้องท�ำอยู่ทุกวัน แต่ก็ น่าแปลกที่พบว่ายังมีเรื่องอีกมากมายที่เข้าใจไม่ทั่วถึงกัน และค�ำอธิบายขยายความเช่นนี้ไม่กี่ค�ำจะ สามารถให้ความกระจ่างเป็นประโยชน์ต่อสถานการณ์ได้อย่างไร ในการจัดท�ำสาระหลักในการสือ่ สารและในการประเมินว่าอะไรเป็นสิง่ ส�ำคัญ ผูอ้ อกงานสนาม จักได้ประโยชน์จากการสะท้อนสถานการณ์ที่ตนเองก�ำลังเผชิญ เครื่องมืออย่างง่ายอย่างหนึ่งได้มา จากกลุ่มธุรกิจ คือ การวิเคราะห์ SWOT อันเป็นการสาธยายรายการเกี่ยวกับองค์กรหรือบุคคล ถึง จุดแข็ง (Strengths; S) จุดอ่อน (Weaknesses; W) โอกาส (Opportunities; O) และ ภัยคุกคาม (Threats; T) การวิเคราะห์เช่นนี้จะสร้างภาพชัดว่าใครจะได้อะไรก่อนหลังในเรื่องของการจัดการ

120


และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์แบบย่อ ที่ท�ำควรท�ำเป็นกลุ่ม จะช่วยให้ทีมงาน ทางการแพทย์สามารถระบุถึงประโยชน์ เช่น ผลลัพธ์ที่ท�ำให้ผู้คนรู้สึกยินดีในทีมแพทย์ที่ไปเยือน ในทางกลับกัน การระดมสมองจะช่วยเปิดประเด็นว่า เรือ่ งใดเป็นเรือ่ งทีไ่ ม่เป็นทีพ่ อใจในการทีท่ มี งาน ไปพบปะระหว่างการท�ำงาน รวมทั้งอาจจะพิจารณาถึงเรื่องภยันตรายใหญ่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ว่า เป็นอย่างไร อยู่ตรงไหน รวมทั้งการบรรยายในโอกาสต่าง ๆ ที่จะได้จากการไปท�ำงานภาคสนาม การสร้างความสัมพันธ์ในอุดมคตินนั้ ควรน�ำไปสูค่ วามร่วมมือระยะยาวกับหน่วยงานหลาย ๆ หน่วย การเชื่อมความสัมพันธ์ภายในเครือข่ายให้น�ำไปสู่ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล นั้นย่อมจะเป็น ขั้นตอนที่ส�ำคัญที่สุดเพื่อการพัฒนาความปลอดภัยและสวัสดิภาพในระยะยาวส�ำหรับงานสนามใน พื้นที่ซึ่งมีความขัดแย้ง ท�ำความรู้จักอย่างเรียบง่ายกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงาน และท�ำให้ทุกฝ่าย รู้จักกับเรา มีการติดต่อเสวนากันอย่างสม�่ำเสมอ (มิใช่เฉพาะเวลาที่เราต้องการให้เขาช่วย) ถือเป็น องค์ประกอบที่ส�ำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์

ข้อเตือนส�ำคัญ

ประโยชน์จากการด�ำเนินการบนพื้นฐานความสัมพันธ์แม้จะมีมากมหาศาล แต่ก็มีข้อจ�ำกัด ตามมาด้วย ปัญหาเฉพาะที่ส�ำคัญประการหนึ่งก็คือ ความคุ้นเคยอาจน�ำไปสู่ความรู้สึกดูแคลนได้ ผู้ท�ำงานสนามจ�ำเป็นต้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลาในการแสดงทัศนคติส่วนตัว ถ้าฝ่ายตรง ข้ามรู้สึกว่าเราเยินยอ ความสัมพันธ์ที่ดีก็จะเสียไป อาจถูกเห็นว่าเป็นนักฉวยโอกาส ผู้ท�ำงานสนาม บางคนเมื่อติดต่อกับตัวจริงของผู้มีอ�ำนาจอนุมัติการออกพื้นที่อาจแสดงเคารพย�ำเกรงจนมากเกิน ควรโดยไม่รู้ตัว ผูอ้ ยูใ่ นอ�ำนาจมักจะพัฒนาทักษะให้ไวต่อความไม่จริงใจ บางครัง้ บางคราวการเยินยออาจใช้ได้ ผลบ้าง แต่วธิ กี ารทีด่ กี ว่าก็คอื การเข้าพบปะกับบุคคลเหล่านีใ้ นลักษณะของมืออาชีพ ต้องละเว้นการ แสดงความเห็นอกเห็นใจหรือเข้าอกเข้าใจเกินกว่าเหตุ ทั้งนี้ เพราะอาจท�ำให้เห็นว่าไม่จริงใจ หรือ ต้องการจะชักจูงให้เข้าผลประโยชน์ของเราเอง ความคลางแคลงใจนี้อาจลงท้ายด้วยการถูกดูถูก เหยียดหยามไม่พอใจ ดังนั้น ในระดับบุคคลแล้ว ความสุขุมรอบคอบ มีสติ เอางานเอาการ และรูปแบบการด�ำเนิน การแบบตรงไปตรงมา ตรงกับเนื้อหาที่ควรเป็น จะเป็นการหนุนท่าทีที่เป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ใน ภาคสนามของพื้นที่แห่งความขัดแย้ง

121


วิธีการสร้างความสัมพันธ์และยุทธวิธีการสื่อสารที่ดีมิใช่วิทยาศาสตร์ระดับสูงส่งถึงขั้นที่ใช้ส่ง จรวด ไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญพิเศษคอยช่วยป้อนข้อมูล โชคดีที่องค์ประกอบหลายอย่างของกลวิธีการ สร้างความสัมพันธ์ที่ได้ผลอาศัยเพียงสามัญส�ำนึกง่าย ๆ เช่น ความโปร่งใส ความคงเส้นคงวา ความ ระมัดระวังค�ำพูดของตน ให้ลองทดสอบกับตัวเองง่าย ๆ ว่าเราจะใช้ค�ำพูดแบบเดียวกันนี้กับอีกฝ่าย หนึ่งได้หรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการพูดที่ใช้อารมณ์หรือพูดสิ่งที่ไม่จริง

ปฏิสัมพันธ์ที่พึงประสงค์: บอกแจ้ง ปรึกษา และ สื่อสาร

การสือ่ สารในงานบรรเทาทุกข์ในพืน้ ทีข่ ดั แย้งไม่ใช่เป็นเพียงบอกแจ้ง พูด และให้เอกสารข้อมูล เพิ่มเติม ฯลฯ แต่ทว่า การสื่อสารที่ดีกว่านี้นั้น แท้จริงแล้วตั้งอยู่บนยุทธการการกระท�ำ 3 ประการ ด้วยกัน คือ บอกแจ้ง ปรึกษา และ คลุกคลี ‘บอกแจ้ง’ นั้นเป็นเรื่องตรงไปตรงมา นั่นคือ คุณพูด เขาฟัง จบ แต่การ ‘ปรึกษา’ นั้นต้อง คิดให้มากขึ้นอีก การแสดงว่าเรื่องนั้นเรื่องนี้ควรเป็นเช่นไรด้วยการประกาศออกไปนั้นไม่ใช่วิธีที่ดี ควรสื่อสารสองทาง อย่างเช่น ทดลองสอบถามผู้มีส่วนได้เสียว่าเขาคิดอย่างไรกับเรื่องแผนการส่ง หน่วยบรรเทาทุกข์ลงภาคสนาม เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น เขาก็จะเต็มใจให้ ความร่วมมือกับเรามากขึ้น การบอกแจ้งและการปรึกษานั้นต่างกันมาก จากการมีปฏิสัมพันธ์ ผู้มี ส่วนได้เสียที่ตอนแรกตั้งใจเพียงได้รับการบอกเล่า ก็จะกลายเป็นผู้ที่ถือเดิมพันจริง ๆ มากขึ้น ยุทธศาสตร์การ ‘สื่อสาร’ ที่ไตร่ตรองดีแล้ว จะมีผลกว้างไกลกว่าพูดหรือการมีปฏิสัมพันธ์ ธรรมดา จุดหมายสูงสุดของเรื่องนี้อยู่ที่การเปลี่ยนปรับผู้มีส่วนได้เสียให้กลายเป็นผู้สนับสนุน ปฏิสัมพันธ์โดยให้ผู้มีส่วนได้เสียให้ข้อคิดเห็นและมีส่วนร่วม มักจะท�ำให้เกิดผู้สนับสนุน ซึ่งเป็น ประโยชน์ต่อการท�ำงานของทีมแพทย์ในพื้นที่ของความขัดแย้งที่ส�ำคัญ ยิ่งมีผู้สนับสนุนก็ยิ่งดี การปรับเปลี่ยนผู้มีส่วนได้เสียให้กลายเป็นผู้สนับสนุนควรเป็นเป้าหมาย การหาผู้สนับสนุน ให้แก่แพทย์สนามเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์รอบด้าน ผู้สนับสนุนเหล่านี้มาได้จากทุกแง่มุม อาจ จะเป็นผู้โดดเด่นในชุมชน เช่น ผู้อาวุโสที่เป็นที่รู้จัก รัก และเคารพจากผู้คน อาจจะเป็นคนดัง เช่น ดารา นักร้อง นักแสดง แน่นอนว่างานแพทย์ไม่ใช่เรื่องของมือสมัครเล่น (เราไม่ได้ต้องการให้ดารา มาท�ำงานการแพทย์) ภาพดาราซึง่ เป็นทีช่ นื่ ชอบก�ำลังปลอบขวัญให้กำ� ลังใจแก่ผปู้ ว่ ยในโรงพยาบาล (ไม่จำ� เป็นต้องเป็นสนามรบ) ก็จะประทับใจคนดูเป็นอย่างยิง่ ถ้าสร้างความเชือ่ มโยงระหว่างดาราคน ดังกับงานแพทย์สนามได้ ก็จะได้ประโยชน์ (ต่องานภาคสนาม) มหาศาล องค์การทุนเพื่อเด็กแห่ง สหประชาชาติ (UNICEF) และองค์กรอื่น ๆ ของยูเอ็น เป็นตัวอย่างของหน่วยงานระดับโลกที่ใช้ทูต สันถวไมตรี ซึง่ บ่อยครัง้ ก็เป็นดาราภาพยนต์ ในการปลุกจิตส�ำนึกเรือ่ งยาก ๆ บางครัง้ เมือ่ ดาราลงไป ในพื้นที่ที่มีปัญหาก็จะกระชากอารมณ์เรื่องนั้น ๆ ได้มากยิ่งขึ้นไปอีก 122


อีกทั้งยังมีสื่อมวลชนที่สามารถเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่ใช้ด้วยความระมัดระวัง ข่าวสาร ของพวกเขาแพร่กระจายได้ไกล กว้าง และ รวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องดีในการกระจายข้อความสั้น ๆ ให้ มวลชน แต่ก็อาจจะเป็นผลร้ายแรงถ้าเนื้อข่าวนั้นไม่เหมาะสม ผู้สื่อข่าวนั้นมักพร้อมที่จะโหมข่าว ความผิดพลาด และการกระพือข่าวผลงานที่ดี ดังนั้น ค�ำพูดที่พลั้งปากไปและรู้สึกเสียใจในสองสาม นาทีต่อมา จะแพร่กระจายไปในโลกไอที และ/หรือ ในหน้าหนังสือพิมพ์ของวันถัดไป ดังนั้นจึงต้อง ระมัดระวังถ้อยแถลงต่าง ๆ ให้มาก ในสถานการณ์ความตึงเครียดหรือมีความขัดแย้งอย่างสูง สื่อวิทยุเป็นสื่อสารมวลชนที่ใช้กัน มากกว่าสื่ออื่น ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการพัฒนาน้อย เช่น ชุมชนชนบท ชาวบ้านมักจะฟังวิทยุ และสถานีวิทยุท้องถิ่นก็มักเป็นสถานีที่ชาวบ้านนิยมฟังและเชื่อถือมากที่สุด ยุทธศาสตร์การสื่อสาร ที่ดีจึงควรแสวงหาสถานีวิทยุท้องถิ่น ที่เป็นกลาง และพร้อมที่จะร่วมมือเผยแพร่ข่าวสารสาระของ หน่วยงานเพื่อการเข้าไปให้ความช่วยเหลือ

123


กิตติกรรมประกาศ คณะบรรณาธิการขอขอบพระคุณผูเ้ ขียนทุกท่านทีก่ รุณาปลีกเวลาจากงานมากมายทีก่ ำ� ลังท�ำ อยู่ มาแบ่งปันความรู้ต่อสาธารณชนด้วยน�้ำใจที่เปี่ยมล้น ขอขอบคุณท่านนักวิชาการผูท้ รงคุณวุฒสิ องท่าน ซึง่ ได้แก่ ดร. อุทยั ดุลยเกษม อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ศาสตราจารย์ ดร. วิทิต มันตาภรณ์ จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หลายท่านได้ชว่ ยเหลืออย่างรวดเร็วในยามทีต่ อ้ งการ และเป็นแนวหลังทีเ่ ข้มแข็ง ท�ำให้งานนี้ ก้าวหน้าไปด้วยดี ได้แก่ นายแพทย์ ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ผู้แนะน�ำสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ให้รู้จัก ‘Health as a Bridge for Peace’ น�ำไปสูค่ วามร่วมมือระหว่างมูลนิธเิ พือ่ การเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) กับ the Rugiagli Initiative (tRI) และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการที่กระบี่ในเวลาต่อมา ซึ่ง ท่านได้ให้เกียรติรว่ มเป็นวิทยากรด้วย คุณ Thomas Frisbie วิทยากรกระบวนการในการประชุมเชิง ปฏิบตั กิ ารและเป็นผูป้ ระสานงานตลอดเวลาของโครงการ คุณสมชาย หอมลออ ได้กรุณามาบรรยาย เรือ่ งสิทธิมนุษยชนในระหว่างการฝึกอบรม คุณดอน ปาทาน อดีตผูส้ อื่ ข่าวพิเศษ น.ส.พ. The Nation และทีป่ รึกษาอิสระซึง่ ประจ�ำอยูท่ จี่ งั หวัดยะลา ได้ชว่ ยท�ำให้พวกเราเข้าใจปัญหาของจังหวัดชายแดน ใต้อย่างรอบด้าน คุณ Karen Emmons ได้ท�ำงานอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยในฐานะบรรณาธิการฝ่าย ขัดเกลาภาษาอังกฤษ ซึ่งช่วยท�ำให้หนังสือฉบับภาษาอังกฤษน่าอ่านขึ้นมาก คณะบรรณาธิการขอขอบคุณสถานเอกอัครทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจ�ำประเทศไทย ทีส่ นับสนุน เงินทุนที่ใช้ในการจัดพิมพ์หนังสือ ทั้งฉบับภาษาอังกฤษและฉบับภาษาไทย โดยเฉพาะคุณ Viktor Vavricka เลขานุการสถานเอกอัครราชทูตฯ ทีใ่ ห้ความสนใจในโครงการนีอ้ ย่างยิง่ เป็นพิเศษ ขอบคุณ ทีมงาน Peace Nexus ในสวิตเซอร์แลนด์ ที่ร่วมสนับสนุนการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการที่จังหวัด กระบี่ ขอบคุณหน่วยงานไทยหลายหน่วยงาน เช่น คณะกรรมการอิสระเพือ่ ความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ส.ส.ส.) และ ศูนย์อำ� นวยการบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ตลอดจนถึงสหภาพยุโรป

124


นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากอาจารย์วิวัฒน์ สุทธิวิภากร อาจารย์ปราโมทย์ จูฑาพร และ รองศาสตราจารย์วันเนาว์ ยูเด็น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งสามท่านเป็นอาจารย์อาวุโส ช่วย แปลและช่วยตรวจทานต้นฉบับภาษาไทย สุดท้ายนี้ บุคลากรของ มยส. สถาบันวิจยั และพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) และ tRI ผูท้ ำ� งาน อยู่เบื้องหลังโครงการนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณกิติวรรณ เดชวายุกูล และ คุณนิพนธ์ รัตนาคม ควรได้รับค�ำขอบคุณอย่างสุดซึ้งจากคณะบรรณาธิการ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ Louisa Chan Boegli สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ คณะบรรณาธิการ

125


เกี่ยวกับผู้เขียน Gabriella Arcadu, PhD เป็นนักรัฐศาสตร์ผเู้ ชีย่ วชาญในเรือ่ งทีม่ คี วามขัดแย้ง และทีอ่ ยูใ่ น

ช่วงเปลีย่ นผ่านและเปราะบาง เธอเป็นผูก้ อ่ ตัง้ และผูอ้ ำ� นวยการของ 4change (ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2552) ซึง่ เป็นสมาคมไม่หวังผลก�ำไรทีจ่ ดั การอบรมและศึกษาวิจยั ในประเทศทีม่ คี วามเปราะบางและมีความ ขัดแย้ง ตัง้ แต่ปลายทศวรรษ 2530 Dr Arcadu ได้เข้าไปท�ำงานกับโครงการ Health as a Bridge for Peace (HBP) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในประเทศอียปิ ต์ อินโดนีเซีย และ ศรีลงั กา และช่วย ในการพัฒนาหลักสูตรและสือ่ การอบรมของ HBP ในปี พ.ศ. 2548 รวมทัง้ มีสว่ นในการร่างบททีว่ า่ ด้วย Health and DDR ของมาตรฐาน Integrated Disarmament Demobilization and Reintegration Standards (มาตรฐานการลดอาวุธ การปลดก�ำลังทหาร และการฟืน้ ฟูบรู ณาการ) ซึง่ ต่อมาได้รบั การน�ำ ไปใช้ในสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2553 เธอได้ชว่ ย WHO ร่างนโยบายสากลส�ำหรับการประสานงาน ระหว่างพลเรือนและทหารในงานด้านสุขภาพในอัฟกานิสถาน นอกเหนือจากนี้ เธอยังได้ทำ� งานกับหน่วย งานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ มหาวิทยาลัยหลายแห่ง และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) โดยเป็นผู้ พัฒนาโครงการให้กบั ประเทศผูบ้ ริจาคเงินช่วยเหลือ Dr Arcadu มีประสบการณ์ยาวนานถึง 20 ปีในการ ช่วยสร้างความเข้มแข็งและเพิม่ สมรรถนะในระดับสถาบันและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล เธอผ่านงาน มาแล้วทัง้ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เอเซียกลาง แอฟริกา ตะวันออกกลาง และแถบคาบสมุทรบอลข่าน

Louisa Chan Boegli, MD, MPH เป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารหลักของ the Rugiagli

Initiative (tRI) ซึ่งเธอจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555 ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและด้านกิจการ ระหว่างประเทศอีก 3 คน tRI เน้นการท�ำงานด้านการสร้างเสริมสมรรถนะของแพทย์ในประเทศที่ ท�ำงานอยู่ในพื้นที่ขัดแย้ง และมุ่งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนานาชาติในเรื่องการใช้สุขภาพเป็น สะพานเชื่อมเพื่อสันติภาพ

ในฐานะแพทย์หญิง เธอได้ทำ� งานในพืน้ ทีข่ ดั แย้งให้กบั สภากาชาดสากล (ICRC) และองค์การ อนามัยโลก (WHO) เป็นเวลาถึง 4 ปีทเี่ ธอเป็นแกนหลักของโครงการ Health as a Bridge for Peace ที่ส�ำนักงานใหญ่ของ WHO ซึ่งเป็นผู้ก�ำหนดกลยุทธ์ นโยบาย และโครงการ เพื่อน�ำไปลงมือปฏิบัติ เธอเป็นหนึ่งในสี่ของผู้ร่วมก่อตั้ง Centre for Humanitarian Dialogue ณ กรุงเจนีวา ในปี พ.ศ. 2541 และเป็นผูร้ เิ ริม่ ให้มกี ารเจรจาระหว่างสาธารณรัฐอินโดนีเซียกับ the Free Aceh Movement ซึง่ น�ำไปสูก่ ารระงับการสูร้ บระหว่างทัง้ สองฝ่าย เธอยังมีบทบาทส�ำคัญในการเริม่ งานของ Centre for Humanitarian Dialogue ในเมียนมาร์ แพทย์หญิง Louisa Chan เป็นสมาชิกของกลุม่ Friends of Sri Lanka ซึง่ เป็นกลุม่ อย่างไม่เป็นทางการทีม่ บี ทบาทเข้มข้นตลอดระยะเวลา 3 ปี ของการมีบทบาท ร่วมกับฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายน�ำของกลุ่ม Tamil เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งหลังสงคราม 126


แพทย์หญิง Louisa ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และปริญญามหาบัณฑิตด้านสาธารณสุขศาสตร์จาก London School of Hygiene and Tropical Medicine

Urs Boegli, MBA เป็นสมาชิกของทีมที่ปรึกษาของ Evian Group at IMD (ในเมือง

โลซาน สวิตเซอร์แลนด์) ซึ่งเป็นกลุ่มนักคิดที่ท�ำงานเชื่อมโยงบรรษัทระดับโลก รัฐบาล และผู้น�ำทาง ความคิด เข้าด้วยกัน กลุ่มนี้เน้นกิจกรรมไปในด้านโลกาภิวัตน์ การค้า การขจัดความยากจนและ ความเหลื่อมล�้ำ ก่อนหน้านี้ Urs Boegli เคยมีต�ำแหน่งระดับอาวุโสอยู่ในสภากาชาดสากล (ICRC) ในประเทศแองโกลา ไทย กัมพูชา เลบานอน ซูดาน กลุม่ ประเทศทีเ่ คยเป็นส่วนหนึง่ ของยูโกสลาเวีย และที่ส�ำนักงานใหญ่ในกรุงเจนีวา เขาท�ำงานกับ ICRC มายาวนานถึง 20 ปี โดยมีต�ำแหน่ง สุดท้ายเป็นหัวหน้าส�ำนักงานในกรุงวอชิงตัน ดีซี และขณะอยู่ที่นั่นเขาได้ริเริ่มโครงการเยี่ยมคุกใน กวนตานาโมให้แก่ ICRC ปัจจุบัน Urs Boegli ก�ำลังท�ำงานช่วยเหลือบริษัทต่าง ๆ ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา สังคม-เศรษฐกิจ ค้นหาและมีปฏิสมั พันธ์กบั ผูม้ สี ว่ นได้-เสีย สร้างระบบริหารจัดการทีเ่ หมาะสม และ ช่วยพัฒนา ลงมือปฏิบัติ และก�ำกับติดตามโครงการเพื่อชุมชนต่าง ๆ งานของเขารวมถึงการศึกษา ว่าสังคมมีอิทธิพลต่อธุรกิจอย่างไร และบริษัทควรมีบทบาทสร้างสรรค์อย่างไรในภูมิภาคที่พวกเขา ท�ำธุรกิจอยู่ เพื่อเสริมจุดเด่นของธุรกิจ ช่วยให้เกิดการยอมรับ และเกิดผลดีต่อชื่อเสียงของธุรกิจ

Kimberlyn Leary, PhD, MPA เป็นหัวหน้านักจิตวิทยาที่ Cambridge Health Alliance

และเป็นรองศาสตราจารย์ทคี่ ณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นอกจากนี้ เธอยังได้ชว่ ยสอน ในหลักสูตรการเจรจาต่อรองที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่ซึ่งเธอเคยเป็นนักวิชาการ รับเชิญในเรื่องกระบวนการเชิงสัมพันธ์ของการเจรจาต่อรองและในเรื่องแนวปฏิบัติทางคลินิก ใน ปี พ.ศ. 2552 เธอได้รับปริญญาโทในสาขารัฐศาสตร์จาก Harvard Kennedy School และได้รับ ทุน Public Services Fellowship อีกด้วย ขณะนีเ้ ธอก�ำลังท�ำงานให้กบั ส�ำนักนโยบายการควบคุม ยาเสพติดแห่งชาติของท�ำเนียบขาว (White House Office of National Drug Control Policy) งานวิจัยของ Dr Leary ส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องบทบาทของความประทับใจแรกพบที่ช่วย ก�ำหนดท่าทีของการสนทนาเบือ้ งต้น และงานทีเ่ กีย่ วกับอารมณ์และการเจรจาต่อรอง ผลงานตีพมิ พ์ ของเธอยังมีเรื่องประเด็นปัญหาทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมในสถานบริการสาธารณสุข Dr Leary 127


สอนวิชาการเป็นผู้น�ำให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ Harvard College สอนวิชาการเจรจาต่อ รองและการไกล่เกลี่ยขั้นสูงให้กับผู้บริหารระดับสูงที่คณะนิติศาสตร์ และสอนเรื่องการมีบทบาท ระหว่างแพทย์กบั ชุมชนทีค่ ณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก่อนหน้านีเ้ ธอเคยเป็นอาจารย์ ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ที่เมือง Ann Arbor Dr Leary ได้รับรางวัลมากมายในฐานะนักวิชาการและอาจารย์ผู้สอน เธอเป็นประธานคณะ กรรมการงานด้านวิทยาศาสตร์ของสมาคมจิตวิเคราะห์ สหรัฐอเมริกา เธออยู่ในกองบรรณาธิการ ของวารสารถึง 7 ฉบับ ซึ่งรวมถึง The Harvard Mental Health Letter และ the Harvard Negotiation Journal. Dr Leary เป็นกรรมการอ�ำนวยการของโรงพยาบาลจิตเวชเอกชน Austen Riggs และเป็นผู้อ�ำนวยการหลักสูตรการบูรณาการสุขภาพเชิงพฤติกรรมในการพยาบาลระดับ ปฐมภูมิ การประสานงานอย่างมีประสิทธิผลในโครงการ Accountable Care และประสิทธิผล ของการท�ำงานเป็นทีมในโครงการ Medical Homes

Klaus Melf, MD เป็นผู้บริหารในฝ่ายเวชศาสตร์ชุมชนของเทศบาลเมือง Bergen ใน

ประเทศนอร์เวย์ ขณะนี้เขาก�ำลังใกล้จะส�ำเร็จการศึกษาวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชุมชน และสาธารณสุขศาสตร์ เขายังท�ำงานแบบไม่เต็มเวลาที่ Uni Research Health ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ University of Bergen ซึ่งเขาก�ำลังพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ส�ำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปใน เรือ่ งความรุนแรงต่อคูค่ รอง และ การขริบอวัยวะเพศของสตรี ขณะนีเ้ ขาด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการของ International Physicians for the Prevention of Nuclear War สาขานอร์เวย์ อีกสมัยหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2548 เขาได้กอ่ ตัง้ เครือข่ายงานสันติภาพทางการแพทย์ของยุโรป และเขายังเป็นผูป้ ระสาน งานสาขาวิทยาศาสตร์ของหลักสูตรออนไลน์และสือ่ การสอนของ www.medicalpeacework.org รวม 7 หลักสูตรด้วยกัน นายแพทย์ Melf ได้รับปริญญาเอกทางด้านแพทยศาสตร์สาขาอาชีวเวชศาสตร์จากประเทศ เยอรมนี และปริญญาโทสาขาสันติภาพและการแปรความขัดแย้งจากประเทศนอร์เวย์

Norbert Ropers, PhD เป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลาก

หลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ และสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2555) เขายังท�ำหน้าทีเ่ ป็นผูอ้ ำ� นวยการเขตเอเซียอาคเณย์ของ Berghof Foundation ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 Dr Ropers ท�ำงานกับ Berghof Foundation มายาวนานกว่า 2 ทศวรรษ เป็นผู้ก่อตั้ง ผู้ถือหุ้นและผู้อ�ำนวยการ Berghof Peace Support และเป็นผู้ริเริ่ม Berghof Peace Support ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งเขาเป็นผู้อ�ำนวยการระหว่างปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2547 ระหว่าง 128


พ.ศ. 2544 ถึง 2551 Dr Ropers เป็นผู้น�ำเครือข่าย Resource Network for Conflict Studies and Transformation ในศรีลังกา ก่อนหน้านั้นเขาเคยท�ำงานที่ Institute for Development and Peace (มหาวิทยาลัย Duisburg) ที่ Royal Institute of International Affairs (Chatham House, London) และที่ Peace Research Institute Frankfurt เขายังเคยเป็นผู้อ�ำนวยการฝ่าย วิชาการของ Gustav Stresemann Institute ในกรุง Bonn อีกด้วย ปัจจุบัน งานวิชาการและงานปฏิบัติการของ Dr Ropers รวมศูนย์อยู่ในเรื่องกระบวนการ สันติภาพ การวิเคราะห์และการเปลี่ยนแปรความขัดแย้ง การไกล่เกลี่ยและการช่วยอ�ำนวยความ สะดวกในการเจรจา ในชีวิตการท�ำงานของเขา ได้มุ่งความสนใจไปที่เรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ การวิจัยแนวโน้มของโลก ภาวะข้ามชาติ และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม Dr Ropers ส�ำเร็จการศึกษาทางด้านสังคมวิทยา ได้รับปริญญาเอกสาขาสังคมวิทยา จาก Johann Wolfgang von Goethe University ในเมือง Frankfurt/Main ประเทศเยอรมัน

พรรณทิพย์ ฉายากุล, พ.บ. เป็นรองศาสตราจารย์ด้านอายุรศาสตร์และโรคติดเชื้อ ประจ�ำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และท�ำงานในหน่วย แพทยศาสตร์ศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ปัจจุบันแพทย์หญิงพรรณทิพย์ด�ำรงต�ำแหน่งรองประธาน มูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) แพทย์หญิงพรรณทิพย์ได้รบั ปริญญาแพทยศาสตร์ และวุฒบิ ตั รผูเ้ ชีย่ วชาญสาขาอายุรศาสตร์ เขตร้อน จากมหาวิทยาลัยมหิดล

เพชรดาว โต๊ะมีนา, MD เป็นผู้อ�ำนวยการศูนย์สุขภาพจิตในภาคใต้ แพทย์หญิงเพชรดาว

เป็นที่ปรึกษาและอาจารย์พิเศษที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และเป็น ที่ปรึกษาของสภาภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ก่อนหน้านี้เธอเคยเป็นกรรมการในคณะกรรมการ อิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)

แพทย์หญิงเพชรดาวส�ำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์จาก Universiti Kebangssan ประเทศ มาเลเซีย และได้รับปริญญามหาบัณฑิตสาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอยังได้รับ ประกาศนียบัตรชัน้ สูงทางด้านการส่งเสริมสังคมสันติสขุ จากสถาบันพระปกเกล้า และจากหลักสูตร อบรมการไกล่เกลี่ยเพื่อสันติภาพ จาก Swisspeace กรุงเบิร์น สวิตเซอร์แลนด์ 129


ไพสิฐ ภูษติ ตระกูล, น.บ. เป็นนักวิจยั ทางด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศ

เขาเป็นนักวิจัยผู้ช่วยของศาตราจารย์ วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2554 เขามีส่วนร่วมในการจัดท�ำรายงานเรื่อง The Study on the Prohibition of Incitement to National, Racial or Religious Hatred: Lessons from the Asia Pacific Region ให้แก่สำ� นักงานข้าหลวงใหญ่ดา้ นสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และหนังสือเกีย่ วกับกลไก สิทธิมนุษยชนใน ASEAN ชื่อ Unity in Connectivity? Evolving Human Rights Mechanisms in the ASEAN Region ซึ่งเขียนโดยศาตราจารย์. วิทิต มันตาภรณ์ ในปี พ.ศ. 2556 เขาท�ำวิจัยให้ กับ UNDP โดยได้จัดท�ำรายงานที่ชื่อว่า Legal Scan on Protection of the Rights of Women Living with HIV in Healthcare Settings: Study in Thailand คุณไพสิฐ ส�ำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และก�ำลังศึกษา ปริญญาโท สาขากฎหมายระหว่างประเทศ ณ สถาบันเดียวกัน

มายือนิง อิสอ, วท.ม. เป็นที่ปรึกษาศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับ

ผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี และเป็นผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ นอกจากนี้ยังได้ช่วยเหลือหน่วยงานราชการในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ได้รับความเสียหายจาก เหตุความขัดแย้งรุนแรง

เมตตา กูนิง, PhD เป็นหัวหน้าโครงการศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับ ผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ (ศวชต.) และเป็นอดีตหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ และสถิติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ดร. เมตตา เป็นผู้ก่อตั้ง ศวชต. ในปี พ.ศ. 2549 และได้จัดท�ำฐานข้อมูลของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ ทัง้ ยังเป็นผูด้ แู ลโครงการอีกหลายโครงการทีม่ งุ่ ให้ความช่วยเหลือแก่เหยือ่ ไฟใต้ให้สามารถฟืน้ ตัวจาก ความสูญเสีย และมีพลังที่จะน�ำพาครอบครัวผ่านปัญหาไปได้โดยการรวมกลุ่มช่วยเหลือกันและกัน ดร. เมตตายังได้จัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือคนยากจนในจังหวัดปัตตานี โดยได้รับเงินทุน สนับสนุนจากทั้งองค์กรนานาชาติและผู้บริจาคภายในประเทศ ดร. เมตตา ได้รับปริญญาตรีทางด้านคณิตศาสตร์ และปริญญาเอกสาขาระบาดวิทยาจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

130


รอฮานิ เจะอาแซ, PhD เป็นพยาบาลวิชาชีพ และรองคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2555 ดร. รอฮานิ เป็นทีป่ รึกษา ด้านการวิจัยอยู่ที่ Centre of Research and International Relation, Institution of Health Science ประเทศเนปาล ภายใต้การสนับสนุนของ Fredkorpset Norway ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2548 งานวิจยั ของ ดร. รอฮานิ เป็นการติดตามผลของความรุนแรงจากการต่อสูด้ ว้ ยอาวุธทีม่ ตี อ่ สุขภาพในเขตไฟใต้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อกลุ่มที่มีความเปราะบาง เช่น เด็ก หญิงหม้าย และผู้พิการ ระหว่างปี พ.ศ. 2552 จนถึง 2554 ดร. รอฮานิ เป็นผูจ้ ดั การโครงการปรับปรุงคุณภาพชีวติ ของเหยือ่ จากความ รุนแรงในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากสหภาพยุโรป (EU) ดร.รอฮานิ ได้รับปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต และปริญญาเอกสาขาระบาดวิทยาจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย, พ.บ., PhD ปัจจุบันเป็นเลขาธิการมูลนิธิสุขภาพภาคใต้ (www. SHFthailand.org) และเป็นผู้เชี่ยวชาญของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) นาย แพทย์ วรสิทธิ์เคยเป็นรองผู้อ�ำนวยการของสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ และอาจารย์ ประจ�ำหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายแพทย์วรสิทธิ์เริ่ม ท�ำงานเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนใต้เมื่อปี พ.ศ. 2547 ร่วมกับกลุ่มสหสาขาในการพัฒนาสุขภาพด้าน ความปลอดภัย ระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ การแพทย์ฉุกเฉินและการส่งต่อผู้ป่วย และการช่วย เหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง รวมทั้งเป็นผู้ก่อตั้งเครือข่ายระบบเฝ้าระวังการ บาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (www.DeepSouthVIS.org) และ โครงการการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้จังหวัดชายแดนใต้ (www.K4DS.org) และยังเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง Deep South Watch และสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลาก หลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งและเหรัญญิก ของมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) นายแพทย์วรสิทธิ์ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และประกาศนียบัตร ระบาดวิทยา ภาคสนามจากโครงการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ปอ้ งกัน แขนงระบาด วิทยา International Field Epidemiology Training Program-Thailand (FETP) กระทรวง สาธารณสุข และได้รับปริญญาเอกสาขาระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

131


วัลภา ฐาน์กาญจน์ พย.ม., น.บ. เป็นพยาบาลวิชาชีพ และผู้จัดการโครงการของ

สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และเป็นผู้น�ำในโครงการบัณฑิตอาสา และเยาวชนจิตอาสา คุณวัลภาเคยท�ำงานเป็นพยาบาลอยูท่ โี่ รงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2523 ถึงปี พ.ศ. 2547 คุณวัลภาได้รบั ปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปริญญาโท สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช

วิธู พฤกษนันต์, พ.บ., น.บ. เป็นอาจารย์ประจ�ำในหน่วยนิติเวชศาสตร์และพิษวิทยา

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และเป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 นาย แพทย์วิธูมีความสนใจในด้านนิติเวชศาสตร์ กฎหมาย และสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้

วีระศักดิ์ จงสูว่ วิ ฒ ั น์วงศ์, พ.บ., PhD ศาสตราจารย์ดา้ นเวชศาสตร์ชมุ ชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เป็นผูก้ อ่ ตัง้ หน่วยระบาดวิทยาที่ ม.อ. เมือ่ ปี พ.ศ. 2529 จากนัน้ ในปี พ.ศ. 2535 ได้กอ่ ตัง้ หลักสูตรระบาดวิทยาบัณฑิตศึกษานานาชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้จดั ตัง้ สถาบันวิจยั และพัฒนาสุขภาพภาคใต้ และในปี พ.ศ. 2553 ได้รว่ มก่อตัง้ มูลนิธเิ พือ่ การเยียวยาและ สร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) ปัจจุบัน ศาสตราจารย์นายแพทย์วีระศักดิ์ด�ำรงต�ำแหน่ง ประธาน มยส. งานวิจัยของนายแพทย์วีระศักดิ์ในยุคเริ่มต้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพในภาคใต้ของ ประเทศไทย โดยเฉพาะชายแดนใต้สุด ต่อมางานวิจัยนี้ได้ขยายขอบข่ายออกไปถึงปัญหาสุขภาพ ระดับนานาชาติและสุขภาพชุมชนโลก ศาสตราจารย์นายแพทย์วรี ะศักดิเ์ คยอยู่ในคณะท�ำงานของ WHO ในด้านงานวิจัยระบาดวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ของมนุษย์ระหว่างปี พ.ศ. 2531 ถึง 2537 ศาสตราจารย์นายแพทย์วรี ะศักดิไ์ ด้เคยเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ มากกว่า 40 ครั้งในฐานะผู้ เชี่ยวชาญเพื่อให้ค�ำปรึกษาแก่สถาบันวิจัยสุขภาพในเอเซียตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ และเอเซีย ใต้ ในช่วง 30 ปีทผี่ า่ นมา ทัง้ ยังได้รบั เงินทุนวิจยั จ�ำนวนมากจากทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ และ ได้ตพี มิ พ์บทความวิจยั ในวารสารซึง่ อยูใ่ นฐานข้อมูล PubMed มาแล้วมากกว่า 200 เรือ่ ง และได้รบั

132


การอ้างถึงในฐานข้อมูล Scopus มากกว่า 1,700 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2552 ศาสตราจารย์นายแพทย์ วีระศักดิไ์ ด้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติจากสภาวิจัยแห่งชาติ ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2554 จากทีป่ ระชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) และรางวัล บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม ปี พ.ศ. 2557 นายแพทย์วีระศักดิ์ ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์ และประกาศนียบัตรอายุรศาสตร์เขตร้อน จากมหาวิทยาลัยมหิดล เศรษฐศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาบัณฑิตและ ดุษฎีบณ ั ฑิตสาขาระบาดวิทยาจาก University of Newcastle ประเทศออสเตรเลีย และดุษฎีบณ ั ฑิต กิตติมศักดิ์สาขาวัฒนธรรมศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สุภทั ร ฮาสุวรรณกิจ, พ.บ., MPH เป็นผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาลชุมชนจะนะ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน นายแพทย์สุภัทรเป็นผู้สนใจในเรื่องสุขภาพเชิงสังคม และเป็น สมาชิกแกนน�ำของชมรมแพทย์ชนบท ปัจจุบันเป็นเลขานุการของมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้าง ความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) นายแพทย์สภุ ทั รได้รบั ปริญญาแพทยศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโททาง ด้านสาธารณสุขศาสตร์จาก Institute of Tropical Medicine ณ เมือง Antwerp ประเทศเบลเยียม

อนันต์ชัย ไทยประทาน, พ.บ. เป็นแพทย์อาวุโสในแผนกศัลยกรรมที่โรงพยาบาลศูนย์

ยะลา โดยเป็นประธานการแพทย์ฉุกเฉินและวิทยาการบาดเจ็บของศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษายะลา (Yala Medical Education Centre) นายแพทย์อนันต์ชัยเป็นที่ปรึกษาของสมาคมจันทร์เสี้ยวการ แพทย์และสาธารณสุข และสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย และอยูใ่ นคณะอนุกรรมการจัดท�ำคูม่ อื การปฏิบตั งิ านและและชันสูตรศพชาวมุสลิม ทัง้ ยังเป็นหนึง่ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และเป็น ประธานมูลนิธิการแพทย์และสาธารณกุศล เป็นหนึ่งในคณะกรรมการประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัด ยะลา และเป็นกรรมการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (มหาวิทยาลัยฟาฏอนีในปัจจุบนั ) โดยได้รับรางวัลข้าราชการดีเด่นถึง 2 ครั้ง นายแพทย์อนันต์ชัยได้รับปริญญาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และวุฒิบัตร ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ จากมหาวิทยาลัยมหิดล

133




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.