การประมวลองค์ความรู้จากประสบการณ์การดาเนินงาน ตามรอยพระยุคลบาทเพื่อพัฒนาด้านอาหารโภชนาการ และสุขภาพเด็กในโรงเรียน โครงการตามพระราชดาริ เพื่อนาไปสู่การขยายผลอย่างกว้างขวางและยั่งยืน : พื้นที่ภาคใต้
นิพนธ์ รัตนาคม ถนอมจิตร์พัฒนศิลป์ อพินยา สุธาประดิษฐ์ สุนทร เมธา
1
บทที่ 1 ความสาคัญ วัตถุประสงค์ บทที่ 2 แนวคิด ระเบียบวิธี คณะทางาน เทคนิคที่ใช้ บทที่ 3 สถานการณ์ บริบทของพื้นที่ บทที่ 4 ข้อค้นพบและกรณีศึกษา 1. โรงเรียน ตชด. บ้านไอร์บือแต 2. โรงเรียนบ้านค่าย 3. โรงเรียน ตชด. บ้านเขาวัง 4. โรงเรียน ตชด. บ้านควนมีชัย 5. โรงเรียน ตชด. พีระยานุเคราะห์ 4 6. โรงเรียนบ้านเจาะบาแน บทที่ 5 ผลการวิเคราะห์ บทที่ 6 ข้อเสนอแนะและบันทึกนักวิจัย
2
บทที่ 1 ความสาคัญ วัตถุประสงค์ ตั้งแต่ปี 2523 ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงริเริ่มงานพัฒนาด้าน อาหาร โภชนาการ และสุขภาพในเด็กและเยาวชน ด้วยทรงตระหนักว่าเด็กและเยาวชนเป็นพลังสาคัญ ของประเทศในอนาคต จึงทรงหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาการ ขาดสารอาหารในเด็กวัยเรียนและเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ โดยทรงริเริ่มโครงการแรกคือ โครงการ เกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตารวจตระเวณชายแดน เมื่อปี 2523 และขยายเป็น 745 แห่งใน เวลาต่อมา ตลอดระยะเวลา 35 ปี ที่ผ่านมา พระองค์ทรงมีหลักการทรงงานที่สาคัญ ได้แก่ 1. การให้ความสาคัญกับอาหารและโภชนาการเพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สาคัญของการพัฒนา ด้านอื่น ๆ 2. การเริ่มต้นทดลองทาเล็ก ๆ เมื่อสาเร็จจึงขยายผลต่อ 3. โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพราะเป็นที่รวมของคนในชุมชน 4. เน้นให้เด็กเป็นผู้ลงมือทาด้วยตนเอง เรียนรู้จากการลงมือ 5. เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในชุมชน 6. เน้นหลักการพอเพียง ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ 7. พัฒนาแบบองค์รวม ทั้งในเรื่องสุขภาพ การศึกษา การฝึกอาชีพ การจัดการรายได้ อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมท้องถิ่น ต่อมาขยายครอบคลุมไปถึงการดูแลสตรีมีครรภ์ด้วย
แนวคิดการพัฒนาด้านอาหารและโภชนาการเด็ก ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างเด็กให้เป็นคนที่มีคุณภาพทั้ง ทางด้านร่างกาย การศึกษา และสุขภาพ โดยส่งเสริมผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในวิชาเรียน การลงมือ ปฏิบัติ โดยมีชุมชนเป็นทั้งผู้สนับสนุนและร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกัน จนต่อมาทาให้ชุมชนรอบโรงเรียนมี ความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น โครงการตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ดาเนินงานในโรงเรียน จานวน 745 แห่ง ทั่วประเทศ โดยในจานวนนี้ มีโรงเรียนในภาคใต้ จานวน 74 แห่ง เกิดผลสาเร็จและผลลัพธ์ที่ดี ช่วย ส่งเสริมให้เด็กได้บริโภคอาหารที่มีโภชนาการดี ส่งเสริมการมีสุขนิสัยที่ดี และส่งเสริมให้เกิดระบบการ 3
จัดการอาหารเพื่อสุขภาพอย่างครบวงจร ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานในท้องถิ่น จนทา ให้ปัญหาสุขภาพและพัฒนาการของเด็กลดลงไปในอัตราที่น่าพอใจ ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในปี 2558 และเป็นปีที่ 35 ของการดาเนินงานโครงการตามพระราชดาริฯ สานักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ และองค์กร ภาคีเครือข่าย จึงสนับสนุนให้มีการถอดบทเรียนและปัจจัยความสาเร็จของโรงเรียนในโครงการที่จะ สามารถเป็นต้นแบบให้เกิดการขยายผลไปทั่วประเทศ ภายใต้โครงการ “Healthy Kids Healthy Food ถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ” สาหรับในพื้นที่ภาคใต้ มีโรงเรียนต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่า มีการดาเนินงานที่ประสบ ความสาเร็จ ต่อเนื่อง และพร้อมที่จะเป็นโรงเรียนต้นแบบได้จานวนมาก โดยมี 6 โรงเรียน ทั้งในสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสังกัดตารวจตระเวนชายแดน ที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษ ได้แก่ 1. โรงเรียน ตชด. บ้านไอร์บือแต กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 44 ต.ช้างเผือก อ.จะ แนะ จ.นราธิวาส 2. โรงเรียนบ้านค่าย สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส 3. โรงเรียน ตชด. บ้านเขาวัง กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 42 ต.หินตก อ.ร่อน พิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช 4. โรงเรียน ตชด. บ้านควนมีชัย สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3ต.วังอ่าง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช 5. โรงเรียน ตชด. พีระยานุเคราะห์ 4 กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 44 ต.ปะโด อ.มา ยอ จ.ปัตตานี 6. โรงเรียนบ้านเจาะบาแน สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 ต.ลุโบะยิไร อ.มายอ จ. ปัตตานี สถานศึกษาที่มีลักษณะจาเพาะทั้งในเรื่องบริบทพื้นที่ รูปแบบการจัดการศึกษาภูมิประเทศ วัฒนธรรมแต่สามารถขับเคลื่อนงานด้านอาหารและโภชนาการได้อย่างดี จะสามารถสะท้อนให้เห็นถึง โอกาสและนวัตกรรมที่โรงเรียนอื่น ๆ สามารถนาไปปรับใช้ หลังจากเสร็จสิ้นการลงพื้นที่และประมวลผลองค์ความรู้ด้านการดาเนินงานโครงการตาม พระราชดาริฯ ทั้ง 6โรงเรียนต้นแบบแล้ว ทีมถอดบทเรียนเชื่อว่าผลที่ได้จะนามาซึ่งแนวทางที่น่าสนใจซึ่ง นาไปสู่การขยายผลในโรงเรียนหรือชุมชนอื่น ๆ อย่างกว้างขวางและยั่งยืนต่อไป
4
บทที่ 2 แนวคิด ระเบียบวิธี คณะทางาน เทคนิคที่ใช้ การประมวลองค์ความรู้ฯ ในโรงเรียนโครงการตามพระราชดาริทั้ง 6 โรงเรียนในพื้นที่ภาคใต้มี เส้นชัยสูงสุดคือการถอดองค์ความรู้จากการดาเนินงาน ซึ่งแต่ละโรงเรียนมีรูปแบบการดาเนินงานด้านนี้ที่ แตกต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแนวคิด วิธีการทางาน การจัดสรรทรัพยากร ความร่วมมือ ปัญหา ความท้าทาย และความสาเร็จ การประมวลผลองค์ความรู้ฯ ในครั้งนี้ยึดถือตาม 8 องค์ประกอบหลักตามที่โรงเรียนได้ ดาเนินงาน ได้แก่ 1. การเกษตรในโรงเรียน 2. การบริหารจัดการสหกรณ์นักเรียน 3. การจัดบริการอาหาร 4. การติดตามภาวะโภชนาการ 5. การพัฒนาสุขนิสัยนักเรียน 6. การบริการด้านสุขภาพ 7. ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 8. การจัดการเรียนรู้ด้านเกษตร โภชนาการ สุขภาพและอนามัย
ภาพกรอบแนวคิด “การประมวลองค์ความรู้จากประสบการณ์ดาเนินงาน ตามรอยพระยุคล บาท เพื่อพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน” ที่มีเด็กเป็นศูนย์กลางการพัฒนา และมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ 4 ด้าน (พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา) เพื่อการเติบโต เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์พึ่งตนเองได้อย่างพอเพียง
5
นอกเหนือจากกรอบแนวคิดดังกล่าวข้างต้น สิ่งที่ทีมงานประมวลองค์ความรู้พื้นที่ ภาคใต้เล็งเห็นว่าสาคัญและพยายามนาเสนอคือกลวิธีต่าง ๆ ในการก้าวผ่านปัญหาในพื้นที่ ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องข้อจากัดจากเหตุความไม่สงบ เรื่องทรัพยากรในพื้นที่ และวัฒนธรรมของคนใน พื้นที่ การถอดรหัสกรณีศึกษาที่น่าสนใจนี้จะนาไปสู่การค้นพบแนวทางใหม่ ๆ ที่โรงเรียนและ ชุมชนอื่น ๆ คณะทางานภาคใต้ประกอบไปด้วยทีมสหสาขาวิชา (Interdisciplinary Team Approach) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาความถนัดของตน ประกอบด้วย นักวิชาการ อาวุโสด้านโภชนาการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นักเขียนอิสระ และผู้เชี่ยวชาญด้านงาน สื่อสารสาธารณะ สามารถร่วมกันมองและวิเคราะห์แก่นแท้ของแต่ละประเด็น กระบวนการทางานเริ่มจากการประสานงานกับผู้บริหารของโรงเรียนเป้าหมายเพื่อ ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกาหนดช่วงเวลาที่สะดวกต่อการเยี่ยมโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ในช่วง เดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม เป็นช่วงการสอบปลายภาค และบางโรงเรียนได้ปิดการเรียนการ สอนในภาคการศึกษานั้นแล้ว นอกจากนี้ ในบางโรงเรียนของจังหวัดนราธิวาสอยู่ในพื้นที่สีแดงที่ เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบอยู่บ่อยครั้ง การกาหนดวันเพื่อลงพื้นที่เสี่ยงภัยนี้จึงต้องพิจารณาถึง ความปลอดภัยเป็นรายวัน ในช่วงแรกของการประสานงานกับทางโรงเรียนเป็นไปด้วยความยากลาบาก เนื่องจาก โรงเรียนส่วนมากตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีข้อจากัดเรื่องสัญญาณโทรศัพท์ จึงต้องติดต่อผ่าน หน่วยงานต้นสังกัด เช่น กองกากับการตารวจตระเวนชายแดน หรือสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ทีมประมวลองค์ความรู้ขอเข้าพบเพื่อพูดคุยประกอบไปด้วย 6 กลุ่ม ได้แก่ - ผู้บริหารโรงเรียน - ครูผู้รับผิดชอบการดาเนินงานในแต่ละองค์ประกอบ - นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ - คณะกรรมการสถานศึกษา - ผู้ปกครอง และชุมชนรอบโรงเรียน - ผู้บริหารจากหน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียน การเก็บข้อมูลเชิงลึกจากพื้นที่กระทาตามแนวทางการวิจัยชุมชน (community based research) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ได้แก่ 1) Documentary research คือ การวิจัยเอกสาร เป็นหนึ่ง ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากการอ่านและศึกษาเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารแนะนาโรง เรียก เอกสารสรุปผลการจัดโครงการ แบบฟอร์มประกอบการดาเนินกิจกรรม สรุปผลการดาเนินงานของ โรงเรียน รวมถึงประกาศ/เกียรติบัตร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบถ้วน ครอบคลุมมากที่สุด 2) In-dept Interview หรือ สัมภาษณ์เชิงลึกโดยทีมนักวิชาการจากสหสาขาวิชาจัดกิจกรรมสนทนาที่มีเป้าหมาย ชัดเจนแบบกึ่งมีโครงสร้าง (semi-structured interview) โดยใช้แนวคาถามจาก ‘คู่มือการประมวลองค์ ความรู้จากประสบการณ์การดาเนินงานตามรอยพระยุคลบาทฯ ของสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ฯ’เป็นแนวทางดาเนินการ แต่คาถามและลาดับการถามสามารถยืดหยุ่นได้ 3) Story telling คือการเปิด 6
โอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานเล่าถึงประสบการณ์ การดาเนินการ ความรู้สึกต่างๆที่มีต่อกิจกรรมที่ตนเองมีส่วน ร่วมเพื่อสะท้อนถึงมุมมองและทัศนคติ วิธีการนี้จะทาให้ผู้ให้ข้อมูลบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ด้วยความสนุก และเป็นกันเองมาก 4) group discussion คือการอภิปรายกลุ่ม ด้วยการจัดสนทนากลุ่ม สร้าง บรรยากาศการชวนคุยอย่างเป็นกันเอง เพื่อจุดประเด็นคาถาม และคอยกระตุ้นให้สมาชิกในกลุ่มได้ พูดคุย ให้ข้อมูลกันอย่างเป็นธรรมชาติ วิธีนี้ยังช่วยให้ผู้ให้ข้อมูลรู้สึกผ่อนคลาย เพราะในวงการสนทนา ล้วนมีแต่คนในพื้นที่ และพูดคุยกันในเรื่องเดียวกันที่ตนเองมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ทั้งข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากการสัมภาษณ์ สังเกตุ สอบถาม และ ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารต่าง ๆ ของโรงเรียนแล้วนาเอาข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าวิจัย มาจัดกระทาให้ เป็นระบบและหาความหมาย แยกแยะองค์ประกอบ รวมทั้งเชื่อมโยงและหาความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อให้สามารถนาไปสู่ความเข้าใจต่อการดารงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่ศึกษา (ชยันต์ วรรธนะภูติ, 2537) ผลที่ได้ทางอ้อมอีกอย่างหนึ่งของการประมวลองค์ความรู้ในครั้งนี้คือ กระบวนการถอดองค์ ความรู้ในครั้งนี้จะเป็นการเสริมพลัง กระตุ้นและสร้างกาลังใจให้กับคนทางาน เช่น ผู้บริหาร ครู นักเรียน รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง ชุมชนโดยรอบ ให้เห็นถึงความสาคัญในการทางานของตนเอง เกิดความภาคภูมิใจและตื่นตัวอยู่เสมอ
7
บทที่ 3 สถานการณ์และบริบทของพื้นที่ หลักฐานจากการวิจัยในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า อาหารและโภชนาการในช่วงต้นของ ชีวิตมี บทบาทสาคัญยิ่งต่อสุขภาพในระยะยาว ผลการวิจัยต่างๆ ในปัจจุบันชี้ว่าภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะในขวบปีแรกของชชีวิตเป็นปัจจัยสาคัญที่ขัดขวางพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก ส่งผลให้ เรียนรู้ช้า เฉื่อยชา สติปัญญาต่า ภูมิต้านทานโรคบกพร่องทาให้เจ็บป่วยบ่อย เป็นนาน และรุนแรง และ ยังมีผลเสียเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ มีโอกาสจะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ มากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปอดเรื้อรัง และโรคมะเร็งในวัยผู้ใหญ่ เนื่องจาก ร่างกายเคยชินกับการได้รับอาหารน้อยในวัยเด็ก เมื่อเป็น ผู้ใหญ่จึงมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปที่จะเกิด ภาวะโภชนาการเกินและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ง่ายกว่าคนทั่วไป (ลัดดา เหมาะสุวรรณ. อาหารและ โภชนาการในช่วงแรกของชีวิต: ต้นกาเนิดของสุขภาพและโรค ในระยะยาว. ใน: อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, นลินี จงวิริยะพันธ์, สุภาพรรณ ตันตราชีวธร, บรรณาธิการ. โภชนาการในเด็ก ความรู้สู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัทบียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์จากัด, 2552:1-33.) ทั้งนี้ สานักงานสถิติแห่งชาติได้ทาการ สารวจสถานการณ์เด็กและสตรีใน พ.ศ. 2548 – 2549 พบว่า เด็กในภาคใต้และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือมีภาวะทุพโภชนาการเรื่องน้าหนักต่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานและเตี้ยในสัดส่วนที่สูงกว่า ภาคอื่น จากการดาเนินงานในโรงเรียนนาร่องด้านการพัฒนาอาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กใน โรงเรียน 3 แห่ง เมื่อปี 2523 ประสบผลสาเร็จเป็นอย่างดี ทาให้ในปีต่อมาการขับเคลื่อนงานในพื้นที่อื่นๆ จึงเริ่มต้นขึ้น โดยเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2524 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดารัสในงานอบรมครูโรงเรียนในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน จังหวัดนราธิวาส ใจความว่า “…อยากให้เป็นพืชผักหรืออุปกรณ์แล้วให้นักเรียนมาทาการเกษตรซึ่งเป็นวิธีที่อ้อม และ ยากขึ้นมาอีกทางหนึ่ง อาหารที่จะให้รับประทานนั้นเป็นอาหารที่ได้มาจากผลิตผลของนักเรียนผู้ รับประทานเอง ซึ่งอาจจะได้ผลช้า แต่ก็เป็นวิธีหนึ่งซึ่งจะได้รับอาหารและคิดว่าจะได้รับประโยชน์ เป็นผลพลอยได้ที่สาคัญ คือ ความรู้ทางด้านการเกษตรและด้านโภชนาการ ซึ่งจะเป็นวิชาติดตัวไป จนนักเรียนเหล่านั้นเติบโตขึน้ เป็นผู้ใหญ่ และได้ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม วิชาการ ใหม่ๆ เหล่านั้น อาจจะนามาช่วยในการครองชีพได้มากทีเดียว…”
8
บทที่ 4 ข้อค้นพบและกรณีศึกษา ผลการประเมินองค์ความรู้จากประสบการณ์การดาเนินงานตามรอยพระยุคลบาทเพื่อพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพเด็กในโรงเรียนตามโครงการพระราชดาริฯ: พื้นที่ภาคใต้ 6 โรงเรียนต้นแบบ จากโรงเรียนในโครงการตามพระราชดาริฯ จานวน 745 โรงเรียนทั่วประเทศ แบ่งออกเป็น โรงเรียนในภาคใต้ จานวน 74 โรงเรียน หรือราวร้อยละ 10 ของจานวนทั้งหมด และแบ่งออกเป็น โรงเรียนในสังกัดกองกากับการตารวจตระเวนชายแดน 37 แห่ง โรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษา 22 แห่ง และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม หรือปอเนาะ อีก 15 แห่ง โครงการตามพระราชดาริฯได้คัดเลือกโรงเรียนต้นแบบที่มีผลการดาเนินงานเพื่อพัฒนาด้าน อาหาร โภชนาการ และสุขภาพเด็กในโรงเรียนมาต่อเนื่องเพื่อให้ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียน พบว่ามี 4 โรงเรียน จาก 3 จังหวัด ที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ โรงเรียน
จานวน นักเรียน 192 คน
ระดับชั้นที่เปิด สอน ปฐมวัย – ป.6
จานวน บุคลากรครู 7 คน ครูผู้ช่วย 2 คน
ขนาดพื้นที่
ชุมชนไทยมุสลิม โรงเรียน ตชด.บ้านเขาวัง จ.นครศรีฯ
70 คน
ปฐมวัย – ป.6
9 คน
16 ไร่ (ใช้งานจริง 5 ไร่)
ชุมชนไทยมุสลิม โรงเรียนบ้านค่าย จ.นราธิวาส
313 คน
ปฐมวัย – ป.6
22 คน
10 ไร่2 งาน 39 ตารางวา
ชุมชนไทยมุสลิม โรงเรียน ตชด.บ้านควนมีชัย จ.นครศรีฯ
109 คน
ปฐมวัย – ป.6
8 คน
25 ไร่
99 คน
ปฐมวัย – ป.6
6 คน
13 ไร่ 1 งาน
95 คน
ปฐมวัย – ป.6
13 คน
7 ไร่ 55 ตารางวา
โรงเรียน ตชด.บ้านไอร์บือแต จ.นราธิวาส
ชุมชนไทยพุทธ โรงเรียน ตชด. พีระยานุ เคราะห์ 4 จ.ปัตตานี โรงเรียนบ้านเจาะบาแน จ.ปัตตานี
ข้อมูลการจัดการศึกษาของ 6 โรงเรียน 9
15 ไร่
โรงเรียนทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ยากต่อการสัญจร และส่วนมากอยู่ในชุมชนมุสลิม จัดการ เรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 จานวนนักเรียนตั้งแต่ 72-313 คน บางโรงเรียน อยู่ในพื้นที่ความรุนแรงและเกิดเหตุความไม่สงบอยู่บ่อยครั้ง การติดต่อทางโทรศัพท์ระหว่างโรงเรียนกับนักวิจัยเป็นไปด้วยความลาบากเนื่องจากโรงเรียน ส่วนมากตั้งอยู่ในพื้นที่อับสัญญาณโทรศัพท์ ดังนั้นการติดต่อในเบื้องต้นจึงต้องผ่านทางหน่วยงานต้น สังกัดของโรงเรียน ขั้นตอนการลงพื้นที่เริ่มจากการประสานงานกับหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อขออนุญาตเยี่ยมเยียน และสัมภาษณ์บุคลากรของโรงเรียน โดยเริ่มจากสัมภาษณ์ผู้บริหารของโรงเรียนเพื่อศึกษาการดาเนินงาน ในภาพรวม สัมภาษณ์ครูผู้รับผิดชอบงานในแต่ละด้าน ก่อนจะพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง แม่ครัว และคนในชุมชน นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังขออนุญาตสาเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษา ข้อมูลอื่นๆ อีกด้วย
การนาเสนอข้อมูลจากพื้นที่จะนาเสนอโดยการหยิบยกผลการดาเนินงานในแต่ละด้านของแต่ละ โรงเรียนตามกรอบแนวทางใน ‘คู่มือการประมวลองค์ความรู้จากประสบการณ์การดาเนินงานตามรอย พระยุคลบาทฯ ของสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ’ ควบคู่กับการสอดแทรกทัศนคติของทีมวิจัย เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงมากขึ้น ซึ่งแต่ละโรงเรียนมีการดาเนินงาน ผลการดาเนินงาน ความสาเร็จ และ ความท้าทายแตกต่างกัน 10
คิดการณ์ไกล ไต่ไปทีละขั้น กับโรงเรียน ตชด. บ้านไอร์บือแต ต.ช้างเผือก อ.จะแนะ จ.นราธิวาส (กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 44) บริบทของชุมชน ตาบลช้างเผือก 1ใน 4 ตาบลของอาเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ที่มีความเพียบพร้อมทาง ทรัพยากรธรรมชาติ มีแหล่งน้าและพืชพันธุ์ที่อุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ประกอบ อาชีพเกษตรกรรม (ปลูกยางพารา) สภาพภูมิอากาศเป็นลักษณะร้อนชื้น มีฝนตกตลอดทั้งปี ที่มาของชื่อตาบลช้างเผือก เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 มีชาวบ้านในหมู่บ้านไอร์บือแตร์ ได้เข้าไปทาไร่แล้วพบกับลูกช้างป่าหลงฝูง 1ตัว ชาวบ้านจึงช่วยกันจับมา แล้วแจ้งให้ทางสานักพระราชวัง ทราบเมื่อมีเจ้าหน้าที่มาตรวจคุณลักษณะก็พบว่าเป็นลูกช้างมงคลหรือเรียกว่าช้างเผือก ต่อมาจึงได้แยก เป็นตาบลนี้แล้วตั้งชื่อว่าตาบลช้างเผือกขึ้นนับแต่นั้น หมู่บ้านไอร์บือแต ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 ตาบลช้างเผือก มีจานวนครัวเรือน 197 ครัวเรือน จานวนประชากร 875 คนชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพทาสวน ภาษาที่ใช้ใน การสื่อสารคือภาษาถิ่นใต้ และภาษามลายู อย่างไรก็ตาม จังหวัดนราธิวาส โดยเฉพาะในอาเภอจะแนะเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ ความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบอยู่เสมอ ซึ่งส่งผลต่อทั้งในเรื่องของความมั่นคงในพื้นที่ ความ ปลอดภัยในการเดินทาง ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ บริบทของโรงเรียน โรงเรียน ตชด. บ้านไอร์บือแต จัดตั้งเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน2533 โดยการนาของนายสุจินต์ สุข น้อย ผู้ใหญ่บ้านนายดาโอ๊ะ มามะ กานันตาบลช้างเผือกพร้อมด้วยราษฎรในหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงาน รัฐได้ทาหนังสือร้องเรียนไปยังกองร้อยตารวจตระเวนชายแดนที่ 446 เพื่อจัดให้มีการก่อตั้งโรงเรียนให้แก่ เด็กในพื้นที่ โดยนายสุนทร กิตติไพรวัลย์ ได้บริจาคที่ดินส่วนตัว จานวน 15 ไร่ เริ่มดาเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2533 โดยมีราษฎรในพื้นที่ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยา เขตปัตตานี และกองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 44 ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด 6x12 เมตร จานวน1หลัง ขนาด 2 ห้องเรียนโดยใช้งบประมาณจากการออกค่ายอาสาพัฒนา ชนบท ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และเปิดทาการเรียนการสอนอย่าง เป็นทางการในวันที่ 18 มิถุนายน 2533มีนักเรียนจานวน30คนครูตารวจตระเวนชายแดน จานวน 3 นาย จ่าสิบตารวจเพิ่ม แก้วฉาย ทาหน้าที่ครูใหญ่สิบตารวจตรีนิพนธ์ ไชยโสม และพลตารวจสมัครน้อย อ่อนนวลทาหน้าที่ครูผู้สอน ปัจจุบัน โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านไอร์บือแต มีพื้นที่บริการครอบคลุม 3หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านไอร์บือแต หมู่บ้านไอร์กาเวาะ และหมู่บ้านไอร์กาแซ มีจานวนนักเรียน ระดับชั้น ประถมศึกษา จานวน 192 คน ระดับปฐมวัย 42 คน บุคลากรครู จานวน 7 คน ครูผู้ช่วย 2 คนร้อยละ 85 ของนักเรียนทั้งหมด นับถือศาสนามุสลิม 11
แผนผังบุคลากรครู พื้นทีข่ นาด 15 ไร่ ของโรงเรียนฯ ถูกจัดแบ่งเป็นสัดส่วน ประกอบด้วยอาคารเรียน อาคาร ห้องพักครู โรงอาหาร สุขศาลา ที่พักเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ศาลารับรอง ส่วนพื้นที่ที่เหลือถูก จัดสรรให้เป็นแปลงเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โรงเรือนเลี้ยงไก่ บ่อปลาดุก เรือนเพาะถั่วงอก แปลงปลูก ผัก และสวนสมรม และด้วยชัยภูมิที่ดี มีทาเลติดกับคลองสายใหญ่มีน้าไหลตลอดปี ทาให้โรงเรียนไม่ขาด แคลนน้าใช้ ย้อนกลับไปเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 ซึง่ สมเด็จพระเทพรัตนฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ พระราชดาเนินทรงเยี่ยมโรงเรียน และปลูกต้นตะเคียนทอง จานวน 1 ต้น พร้อมทั้งมีพระกระแสรับสั่ง เรื่องการดูแลโภชนาการของเด็ก จึงเป็นจุดเริ่มต้นช่วยสร้างความมุ่งมั่นให้กับบุคลากรของโรงเรียนใน เวลาต่อมา โดยร้อยตารวจเอกน้อย อ่อนนวล ได้เล่าว่า ‘ตลอดระยะเวลา กว่า 20ปี ถึงแม้ว่าจะมีบางช่วง ที่ต้องย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ ณ พื้นที่อื่นตามคาสั่งผู้บังคับบัญชา (พ.ศ. 2539 – 2552) แต่ก็ไม่เคยลืม ปณิธานที่ตั้งไว้แต่แรกเริ่มว่า จะพัฒนาความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนและชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมทาโรงเรียนแห่งนี้ให้เป็นต้นแบบแก่โรงเรียนใน 14 จังหวัดภาคใต้ให้สาเร็จ จึงได้ขอย้ายกลับมา ดารงตาแหน่งครูใหญ่ ณ โรงเรียนแห่งนี้อีกครั้งในปี พ.ศ.2552 เพื่อขอเกษียณอายุราชการที่นี่ และอุทิศ บั้นปลายชีวิตที่เหลือ ทั้งทางสติปัญญา แรงกาย และกาลังทรัพย์ เพื่อพัฒนาโรงเรียน เด็กนักเรียน ตลอดจนชุมชนบ้านไอร์บือแตแห่งนี้ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป เพื่อ ถวายงานสนองพระราชดาริจนลมหายใจสุดท้ายที่มี’
12
ครูใหญ่นักพัฒนา กับแผนระยะยาวกว่า 20ปี
ร้อยตารวจเอกน้อย อ่อนนวล ครูใหญ่นักพัฒนา ผู้มีบทบาทสาคัญต่อ รร. ตชด. ไอร์บือแต ตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้ง นายตารวจผู้มีพื้นเพจากจังหวัดพัทลุง เริ่มรับราชการตารวจในปี พ.ศ.2529โดยเข้า มาปฏิบัติงานในพื้นที่แห่งนี้ ในบทบาทตารวจสายลับ แฝงตัวเพื่อหาข่าวความเคลื่อนไหวในฐานกองกาลัง กลุ่มคอมมิวนิสต์เป็นเวลา 3ปี และด้วยมีใจใฝ่รักด้านการเกษตรมาตั้งแต่วัยเยาว์ จึงศึกษาค้นคว้าสะสม ความรู้ด้านการเกษตรเรื่อยมา ภายใต้แนวคิดส่วนตัวที่ว่า “ต้นไม้ ไม่เคยอกตัญญู” ปีพ.ศ. 2529พลตารวจน้อย อ่อนนวล (ยศตาแหน่งในขณะนั้น) ได้เดินเท้าด้วยระยะทาง 19 กม. เข้ามายังหมู่บ้านไอร์บือแต และพบว่าเด็กที่นี่ไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะยังไม่มีโรงเรียนจึงตั้งปณิธานกับ ตัวเองว่า จะต้องสร้างโรงเรียนที่นี่ให้สาเร็จ จึงลงมือปลูกไม้ยืนต้น ได้แก่ต้น ทุเรียน ลองกอง ไว้เป็น สัญญาใจว่า จะพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นโรงเรียนตัวอย่างแก่พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ให้ได้ หลังจากนั้นจึง เริ่มผลักดันให้เกิดโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านไอร์บือแต ขึ้น ด้วยสองแรงของตนเอง เริ่มจาก การพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ จัดหากาลังสนับสนุนทุกด้าน ตั้งแต่ปรับพื้นที่ป่าไผ่ และหาทุนก่อสร้าง อาคารเรียนชั่วคราว 1ชั้น ร่วมลงแรงกายแรงใจ ตั้งแต่ลงเสาเข็มต้นแรก จนก่อเกิดโรงเรียนตารวจ ตระเวนชายแดนบ้านไอร์บือแตในที่สุด จนได้รับการขนานนามจากชาวบ้านจนติดปากว่า “ครูใหญ่” เพราะเป็นครูคนแรกของโรงเรียนแห่งนี้ พร้อมทั้งพบรักกับคู่ชีวิตในจังหวัดชายแดน
13
ครูน้อย กับชาวบ้านใกล้โรงเรียนซึ่งครูน้อยเป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนาให้ความรู้ด้านการเกษตร จนสามารถนามาใช้ประกอบอาชีพได้ ตลอดระยะเวลา กว่า 20ปี ถึงแม้ว่าจะมีบางช่วงที่ต้องย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ ณ พื้นที่อื่นตามคาสั่ง ผู้บังคับบัญชา (พ.ศ. 2539 – 2552) ครูน้อย อ่อนนวล ก็ไม่เคยลืมปณิธานที่ตั้งไว้แต่แรกเริ่มว่า จะพัฒนา ความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนและชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมทาโรงเรียนแห่งนี้ให้เป็นต้นแบบ แก่โรงเรียนใน 14 จังหวัดภาคใต้ให้สาเร็จ จึงได้ขอย้ายกลับมาดารงตาแหน่งครูใหญ่ ณ โรงเรียนแห่งนี้ อีกครั้งในปี พ.ศ.2552 เพื่อขอเกษียณอายุราชการที่นี่ และอุทิศบั้นปลายชีวิตที่เหลือ ทั้งทางสติปัญญา แรงกาย และกาลังทรัพย์ เพื่อพัฒนาโรงเรียน เด็กนักเรียน ตลอดจนชุมชนบ้านไอร์บือแตแห่งนี้ ให้มี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป เพื่อถวายงานสนองพระราชดาริจนลมหายใจ สุดท้ายที่มี นี่จึงเป็นปัจจัยสาคัญ ที่ส่งผลให้โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านไอร์บือแต ประสบผลสาเร็จ ในการดาเนินกิจกรรมโครงการในพระราชดาริมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความมุ่งมั่นและจริงใจต่อชุมชน อุทิศ ตนเพื่อถ่ายทอดความรู้ ทักษะทางด้านการเกษตรที่ตนมี พร้อมลงมือปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้แก่ ผู้ใต้บังคับบัญชา และชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
14
องค์ความรู้ด้านโภชนาการตามรอยพระยุคลบาทฯ โรงเรียน ตชด. บ้านไอร์บือแต มีบุคลากรครูทั้งหมด 7 ท่าน ครูและผู้ช่วยครูใหญ่แต่ละคนจะมี บทบาทหน้าที่รับผิดชอบงานแต่ละด้านในโครงการ โดยมีครูใหญ่ผู้เป็นกากับดูแลในภาพรวม ตาม แผนภาพดังนี้
แผนผังหน้าที่ความรับผิดชอบงานแต่ละด้านทั้ง 8 องค์ประกอบของโรงเรียน โดย ‘น้อย อ่อนนวล’ ครูใหญ่โรงเรียน ตชด. บ้านไอร์บือแต ถือเป็นกุญแจสาคัญที่ทาให้ โรงเรียนสามารถพัฒนาด้านการเกษตรและโภชนาการได้อย่างเต็มที่ โดยครูใหญ่ที่มีทักษะและความชื่น ชอบด้านการเกษตรอยู่แล้ว จะสามารถกาหนด วางแผน และเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างดี สามารถ เป็นแบบอย่างให้กับบุคลากร นักเรียน และชุมชนได้ ด้านการเกษตรในโรงเรียน โรงเรียน ตชด. บ้านไอร์บือแต สามารถดาเนินงานด้านการเกษตรในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี โดย มีทรัพยากรที่สาคัญ 2 อย่าง คือ ผู้บริหารที่มีทักษะด้านการเกษตร และภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ทาให้ เป็นทุนริเริ่มกิจกรรมด้านการเกษตรได้อย่างดี และสามารถบรรลุวัจุดมุ่งหมายทั้งสองประการของ การเกษตรในโรงเรียน คือ เป็นแหล่งอาหารของนักเรียน และเป็นแหล่งเรียนรู้ลงมือปฏิบัติ พัฒนาทักษะ ด้านการเกษตรผสมผสานให้กับนักเรียนได้ ซึ่งทางโรงเรียนมีกิจกรรมด้านการเกษตรและได้จัดสรรกาลัง ครูเพื่อดูแลในแต่ละกิจกรรมย่อย ดังนี้
15
ร.ต.อ.น้อย อ่อนนวล ครูใหญ่
ด.ต.ปรีชา ทองรักษ์ ครูผู้ช่วยงานโครงการเกษตรฯ เกษตร
ปศุสัตว์
กิจกรรมการปลูกผัก ด.ต.ปรีชา ทองรักษ์ ส.ต.ต.อุดมพร สังข์แก้ว กิจกรรมการเพาะเห็ด ส.ต.ท.หญิงรัตนา สามารถ กิจกรรมการปลูกไม้ผล ส.ต.ต.อุดมพร สังข์แก้ว
กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ ส.ต.ท.หญิงนิราทร ทุมวงศ์ กิจกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อ ด.ต.ศักดิ์ชัย จานงค์ ส.ต.ท.หญิงนรารัตน์ ทุมวงศ์ กิจกรรมการเลี้ยงปลา ด.ต.ศักดิ์ชัย จานงค์ ส.ต.ท.หญิงนรารัตน์ ทุมวงศ์
แผนผังหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการเกษตร/เลี้ยงสัตว์ การจัดการแปลงเกษตรเป็นไปตามแนวทางของโครงการตามพระราชดาริฯ มีการปลูกพืช ทั้งผัก อายุสั้น เช่น คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง พืชสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ชะอม ผักกูด และพืชผักเถาเครือ เช่น แตงกวา บวบ ฟักเขียว ฟักแม้ว รวมถึงเห็ดนางฟ้าและถั่วงอก สาหรับการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงปลา ดุก ปลานิล การเลี้ยงไก่เนื้อและไก่ไข่
16
วิธีการเพาะปลูกที่หลากหลายถูกปรับให้เหมาะกับพื้นที่ ทั้งการทาแปลงยกร่องปลูกพืชผักอายุ สั้น ทารั้วและซุ้มสาหรับไม้เลื้อย นอกจากนี้ยังมีวิธีการปลูกแบบอื่นเพื่อเสริมทักษะให้กับนักเรียน เช่น การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ และการปลูกพืชลอยฟ้า
พืชลอยฟ้า : สองชนิดในกระถางเดียว ด้านล่างกระถางเป็นต้นพริก ด้านบนเป็นผักกินใบ
ปลูกพริกในกระสอบสะดวกทั้งในเรื่องการควบคุมดิน น้าและปุ๋ย อีกทั้งยังเคลื่อนย้ายสะดวก (พริกสวยๆ เหล่านี้ ครูใหญ่ขอยืมมาจากชาวบ้านละแวกนั้น ซึ่งเคยมาเรียนรู้เทคนิคนี้ที่โรงเรียน จนสามารถกลับไปเพาะปลูกเองจนได้ผลผลิต)
17
ลักษณะพิเศษที่โดดเด่นของการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรของโรงเรียน ตชด. บ้านไอร์บือแต ก็ คือ การจัดสรรพื้นที่การเกษตรเพื่อหวังผลในระยะยาว ในรูปแบบของสวนผสมผสาน หรือในพื้นที่ เรียกว่า ‘สวนสมรม’ โดยจัดแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งในโรงเรียนเพื่อปลูกไม้ผลและไม้สวน ได้แก่ ปาล์ม ลองกอง ทุเรียน มังคุด กล้วย และลังแข - ผลไม้ทรงโปรดของสมเด็จพระเทพรัตนฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ 5 ไร่ ของสวนสมรมเริ่มทยอยให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากพืชอายุสั้น เช่น กล้วย ที่ เริ่มออกลูกเครือใหญ่ให้ได้เก็บมาทาอาหารได้ทั้งต้น รวมถึงเหลือจาหน่าย เป็นรายได้สาคัญที่นามาว่าจ้าง แม่ครัวประจาโรงเรียนได้เลยทีเดียว นอกจากนี้ พืชที่สาคัญและคาดว่าจะเป็นรายได้หลักในอนาคตก็คือ ปาล์มน้ามัน ซึ่งเริ่มให้ผลผลิตเป็นปีแรก แม้ว่าจะยังน้อย แต่ก็สามารถคาดหวังได้ถึงผลผลิตในระยะยาว
ผลผลิตจากสวนสมรม เป็นทั้งแหล่งอาหารและรายได้ของโรงเรียน สานพลังความร่วมมือ แน่นอนลาพังผู้บริหาร และครูของโรงเรียน ตชด. ขนาดเล็กย่อมไม่สามารถดาเนินงานด้าน การเกษตรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้ แต่ปัจจัยความสาเร็จเกิดจากพลังความร่วมมือของหน่วยงานใน พื้นที่ที่สนับสนุนในหลายด้าน ได้แก่ 1. สานักงานเกษตรอาเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส - สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักและปุ๋ย ปีละประมาณ 20,000 บาท - จัดอบรมความรู้ด้านการเกษตรแก่ครูและชาวบ้าน ปีละ 1-2ครั้ง 2. สานักงานประมงจังหวัดนราธิวาส - สนับสนุนพันธุ์ปลาน้าจืด ด้วยการขอแบ่งจากกิจกรรมปล่อยพันธุ์ปลาในวาระพิเศษต่างๆ เช่น วันเฉลิมพระชนพรรษา - สนับสนุนบ่อเลี้ยงปลาซีเมนต์ 3. สานักงานปศุสัตว์จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนพันธุ์ไก่เนื้อ พร้อมอาหาร ปีละสองรุ่นๆ ละ 50ตัว 4. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนบ่ออนุบาลสัตว์น้า 5. วิทยาลัยเกษตรเทคโนโลยีนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนกระชังเพาะพันธุ์ปลาและโรงเพาะเห็ด 6. บริษัทเจมส์แกลอรี่ จังหวัดนราธิวาส 18
สนับสนุนโรงเลี้ยงไก่เนื้อและโรงเลี้ยงไก่ไข่ จานวน 2 หลัง 7. กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 44 จังหวัดยะลา - สนับสนุนด้านกองกาลังพลเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาโรงเรียน - สนับสนุนด้านขวัญและกาลังใจแก่ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ ความร่วมมือและสนับสนุนเหล่านี้ ส่วนมากเกิดขึ้นจากการที่ผู้บริหารโรงเรียนเข้าไปขอรับการ สนับสนุน และเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของหน่วยงานอื่น ๆ อย่างสม่าเสมอ
บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนกับการพัฒนาด้านการเกษตรในโรงเรียน อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ผู้บริหารโรงเรียนเป็นกุญแจสาคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้าน การเกษตรของโรงเรียน ผู้บริหารที่มีลักษณะความเป็นผู้นา มีทักษะและความชอบด้านการเกษตรจะ สามารถเป็นแบบอย่างได้ดี จึงสามารถสรุปบทบาทผู้บริหารของโรงเรียน ตชด. บ้านไอร์บือแต ได้ดังนี้ - ลงมือทาเป็นตัวอย่าง ด้วยการลงมือปฏิบัติเองทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน เพื่อขยายองค์ความรู้สู่ ชุมชนผ่านนักเรียนและผู้ปกครอง ด้วยการเป็นที่ปรึกษา ให้คาแนะนา - จัดสรรกาลังครูในโรงเรียนแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบด้านต่างๆอย่างเป็นระบบ และเหมาะสม ตามความถนัดและความสามารถของบุคลากร แม้จะมีบุคลากรไม่มากนัก แต่ทุกคนมีบทบาทรับผิดชอบ กิจกรรมย่อยด้านการเกษตร อาจจะด้วยปัจจัยการเป็นครู ตชด. ที่มีบ้านพักอยู่ใกล้โรงเรียน จึงทาให้ครู ส่วนมากสามารถจัดสรรเวลาได้อย่างเต็มที่ - หาทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก โดยครูใหญ่ใช้หลักการสร้างปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงาน ต่างๆ ในพื้นที่อย่างแน่นแฟ้น เข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงานอื่นเสมอ โดยเฉพาะงานประชุมร่วมระหว่าง หน่วยงานทาให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี รู้ช่องทางการด้านงบประมาณ และเขียนโครงการขอรับการ สนับสนุนได้ไม่ยากนัก - วางแผนดาเนินงานภายในโรงเรียน ให้โรงเรียนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ไม่ต้องรอรับการ สนับสนุนเพียงด้านเดียว เป็นการวางแผนระยะยาวซึ่งครูใหญ่ได้ประเมินว่า หากจะให้เด็กได้มีอาหารและ โภชนาการที่ดี โดยไม่ต้องรอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นเพียงอย่างเดียว โรงเรียนต้องเป็นแหล่ง ผลิตอาหาร หรือมีรายได้ในระดับหนึ่ง จึงได้วางแผนการผลิตให้สามารถเลี้ยงนักเรียนได้ทั้งปี อีกทั้ง ผลผลิตบางส่วนยังสามารถนาไปจาหน่ายเพื่อเป็นรายได้ของโรงเรียนอีกด้วย
19
ผลผลิตบางส่วนจากสวนสมรม - อุทิศตนเอง เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับมวลชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งในชุมชน และลดแรงต้านทานจากความแตกต่างด้านศาสนาระหว่างครูผู้สอนกับชุมชน ด้วยการร่วมสนับสนุน กิจกรรมภายในท้องถิ่น เช่น งานบุญ งานประจาปี ส่งผลให้โรงเรียนสามารถดาเนินการมาได้อย่างราบรื่น แม้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อเหตุการณ์ความไม่สงบ - เอาใจใส่ต่อปัญหาของคนในชุมชน และพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มกาลัง เช่น ให้ความ ช่วยเหลือครอบครัวนักเรียนที่มีฐานะยากจน เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองยากจนมาช่วยงานครัวโรงเรียน แล้วสามารถนาอาหารกลับไปเลี้ยงดูลูก ๆ ที่บ้านได้ โดยภาพรวม ผู้บริหารโรงเรียนควรเป็นบุคคลที่มีความเป็นผู้นา มองการณ์ไกล และสานสัมพันธ์ ร่วมกับหน่วยงานอื่นได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นโอกาสในการสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน
บทบาท/ลักษณะเด่นครูที่รับผิดชอบการเกษตร ด.ต.ปรีชา ทองรักษ์ ในตาแหน่งผู้ช่วยครูใหญ่ รับบทบาทเป็นครูผู้รับผิดชอบหลักด้านการเกษตร ด้วยทักษะด้านงานช่างและใจรักการเกษตรทาให้สามารถกากับดูแลและเป็นแบบอย่างแก่ครูท่านอื่นและ นักเรียนได้ โดย ด.ต. ปรีชา มีลักษณะเด่น ๆ 2 ด้าน ดังนี้ - มีทักษะที่หลากหลาย ทั้งด้านการเกษตร ช่างก่อสร้าง ช่างซ่อมแซมอุปกรณ์ทางการเกษตร และการให้บริการมวลชน เช่นการบริการตัดผมให้แก่นักเรียน และชาวซาไกในพื้นที่ - มีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน ด้วยการนาความรู้ด้านการเกษตรแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านตลอดเวลา บทบาทของเด็กที่เข้าร่วม เด็กนักเรียนโรงเรียน ตชด.บ้านไอร์บือแต ส่วนมากมีหน้าที่ด้านการเกษตร โดยเฉพาะนักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนปลายจะมีหน้าที่ที่สาคัญมากขึ้น รวมทั้งมีนักเรียนแกนนาบางส่วนที่จะมีบทบาท 20
เป็นยุวเกษตร เพื่อรวมกลุ่มเกิดกระบวนการการเรียนรู้จากการจัดการแปลงเกษตร โดยมีนักเรียน ระดับชั้น ป.4-ป.6 เป็นแกนหลัก ระดับชั้น ป.1-ป.3 เป็นกาลังเสริม โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็นกลุ่มต่างๆ -กลุ่มกิจกรรมปลูกผัก มีสมาชิกเป็นนักเรียนทุกระดับชั้นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มอื่นๆ โดยจัดให้ นักเรียนระดับชั้น ป.4-6 ดูแลแปลงและมีนักเรียนระดับชั้น ป.1-3 คอยเป็นกาลังเสริม เช่นถอนหญ้า กาจัดวัชพืชในแปลง เด็กนักเรียน ป.5-ป.6 มีหน้าที่ตั้งแต่เตรียมดิน /ปลูกผักลงแปลง /ดูแลแปลง และ เก็บผลผลิตส่งให้แก่ขายสหกรณ์ -กลุ่มกิจกรรมไม้ผล มีสมาชิกรับผิดชอบ จานวน 2 คน (ชั้น ป.5) มีหน้าที่ดูแลแปลง และช่วย เก็บผลผลิตจาหน่ายสหกรณ์และชาวบ้านที่มารับซื้อ -กลุม่ กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ มีสมาชิกรับผิดชอบจานวน 4 คน (ชั้น ป.3-ป.6) มีหน้าที่ให้อาหารไก่ ทาความสะอาดโรงเรือน เก็บผลผลิตไข่และจดบันทึกให้แก่ครูผู้รับผิดชอบ -กลุ่มกิจกรรมเลี้ยงไก่เนื้อ มีสมาชิกรับผิดชอบจานวน 4 คน มีหน้าที่ให้อาหารไก่ ทาความ สะอาดโรงเรือน และจดบันทึกให้แก่ครูผู้รับผิดชอบ -กลุ่มกิจกรรมประมง (เลี้ยงปลาดุก) มีสมาชิกรับผิดชอบ 2 คน มีหน้าที่ให้อาหารปลา และจด บันทึกให้แก่ครูผู้รับผิดชอบ -กลุ่มกิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า มีสมาชิกรับผิดชอบ 2 คน (ชั้น ป.4) มีหน้าที่รดน้า ดูแลโรงเพาะ เห็ด เก็บผลผลิต และจดบันทึกให้แก่ครูผู้รับผิดชอบ -กลุ่มกิจกรรมเพาะถั่วงอก มีสมาชิกรับผิดชอบ จานวน 3 คน (ชั้น ป.3-ป.4) มีหน้าที่ปลูก ดูแล กล่องเพาะ เก็บผลผลิตและจดบันทึกให้แก่ครูผู้รับผิดชอบ
เด็ก ๆ สาธิตการเพาะถั่วงอก แม้จะไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน แต่ก็แย่งกันนาเสนอด้วยความสนุกสนาน เด็กนักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในดูแลและบารุงรักษาแปลงเกษตรทุกวัน แต่ทุกวันพฤหัสบดี โรงเรียนจัดให้เป็นวันกิจกรรมลงแปลงเกษตรของนักเรียนทุกคนก่อนเลิกเรียน เพื่อให้ครูที่ปรึกษาได้ ติดตามผลอย่างใกล้ชิด ทุกวันก่อนเลิกเรียน 30 จัดให้เป็นกิจกรรมลงแปลงเกษตรของนักเรียนทุกระดับชั้น ตามกลุ่มที่ ตนเองเลือกโดยสมัครใจ
21
นักเรียนบอกว่าการระบุชื่อผู้รับผิดชอบที่แปลงผักทาให้เด็กรู้สึกเป็นเจ้าของมากขึ้น ทาให้ตั้งใจดูแล ไม่อายเพื่อน บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนฯ มีคณะกรรมการโรงเรียน ประกอบด้วยผู้ปกครองและคนในชุมชนที่ได้รับการยอมรับ มีบทบาทที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ - ร่วมมือพัฒนาโรงเรียน และเตรียมแปลงเกษตรก่อนเปิดเทอมร่วมกับโรงเรียน - สนับสนุนผลผลิตทางการเกษตรผ่านสหกรณ์โรงเรียน เช่น นาผลผลิตที่ปลูกได้มาให้กับโรงครัว บทบาทของผู้นาชุมชน ด้วยข้อจากัดเรื่องสถานการณ์ความไม่สงบ และชาวบ้านต้องทามาหากินความร่วมมือจากชุมชน จึงเป็นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก โดยครูใหญ่จะประสานงานกับผู้นาชุมชน เช่น กานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นา ศาสนาครูใหญ่ ตามคาร้องขอในกรณีที่มีการจัดกิจกรรมของโรงเรียน เช่น การพัฒนาโรงเรียน/อาคาร เรียน การจัดงานรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร โรงเรียนสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรมด้านการเกษตรจากหน่วยงานภายนอกอยู่เสมอ ได้แก่ - สานักงานเกษตรจังหวัด และสานักงานปศุสัตว์จังหวัด ร่วมกันจัดอบรมให้ความรู้ด้าน การเกษตรและเลี้ยงสัตว์แก่ครู/นักเรียน ปีละ 2 ครั้ง ณ ศูนย์พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส - สานักงานเกษตรอาเภอจะแนะ ส่งบุคลากรจัดอบรมให้ความรู้แก่ครู /ผู้ปกครอง ปีละ 2ครั้ง
22
องค์กรจิตอาสาเข้ามาร่วมขับเคลื่อน งานจิตอาสาในพื้นที่เป็นรูปแบบของกลุ่มคนมากกว่าเป็นองค์กร โดยมีบุคคลที่เข้ามาช่วยเหลือ งานของโรงเรียน ได้แก่ - มีอาสาสมัครแม่ครัวมาช่วยประกอบอาหารกลางวัน เมื่อโรงเรียนต้องการความช่วยเหลือ เช่น ในกิจกรรมเฉพาะกิจ - มีศิษย์เก่าช่วยเป็นสื่อกลางกิจกรรมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ช่วยเฝ้าดูแลสวนผลไม้ของ โรงเรียน ผู้ได้รับประโยชน์จากการเกษตรในโรงเรียน ประโยชน์จากการดาเนินงานด้านการเกษตรในโรงเรียนดูจะตกอยู่กับเด็กและโรงเรียนอย่าง ชัดเจน โดยเด็กได้รับความรู้และทักษะที่เหมาะสมเพียงพอต่อการนาไปใช้ประโยชน์ในอนาคต อีกทั้ง ได้รับอาหารและโภชนาการที่ดีจากผลผลิตในโรงเรียน นอกจากนี้ จากการดาเนินงานดังกล่าว ทาให้โรงเรียนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ ว่า เป็นโรงเรียนต้นแบบศึกษาดูงาน ผู้บริหารและโรงเรียนต่างได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลมากมาย ประโยชน์ต่อเด็ก - ได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษส่งผลให้มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น - มีทักษะความรู้ด้านการเกษตร มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบมากขึ้น - มีสุขภาพพลานามัยที่ดี ได้ออกกาลังกายสะสม จากการลงมือปฏิบัติงานดูแลแปลงเกษตร ประโยชน์ต่อครู - ได้แนวคิด/ความรู้ทางการเกษตร จากการอบรมและลงมือปฏิบัติจริง - ได้สร้างปฏิสัมพันธ์ต่อชุมชนผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ และพืชพันธุ์ทางการเกษตร -ได้รับการยอมรับจากชุมชนและแวดวงทางการศึกษาจากความสาเร็จของกิจกรรม ประโยชน์ต่อโรงเรียน - เป็นศูนย์ต้นแบบการศึกษาดูงานให้แก่หน่วยงานภายนอก - มีรายได้จากการจาหน่ายผลผลิตทางการเกษตร สามารถดูแลตนเองได้ ประโยชน์ต่อครอบครัว/ชุมชน - ได้รับผลผลิตทางการเกษตรจากโรงเรียนผ่านเด็กนักเรียน - ได้รับเมล็ดพันธ์พืช และถุงเพาะพันธุ์ ไปขยายผลในครัวเรือน - ได้รับความรู้ด้านการเกษตรจากการอบรมประจาปี
23
การบริหารจัดการและการวางแผนแปลงปลูกผัก เพาะเห็ด เลี้ยงสัตว์
พื้นที่เกือบ 10 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 15 ไร่ของโรงเรียนถูกจัดสรรให้กับการเกษตร แบ่งเป็น พื้นที่เลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก และสวนสมรม การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ - การเลี้ยงไก่เนื้อ รอบละ 100 ตัว - การเลี้ยงไก่ไข่ รอบละ 150 ตัว ในโรงเรือนแบบกรงตับ ผลผลิตนาไปใช้ในโรงครัว ทั้งนี้ โรงเรียนเคยเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยรวมกันในโรงเรือน แต่พบว่าได้ผลผลิตน้อยกว่าและยาก ต่อการจัดการ จึงกลับมาใช้การเลี้ยงแบบกรงตับเหมือนเดิม - การเลี้ยงปลาดุก โดยโรงเรียนมีบ่อปลาดุก จานวน 2 บ่อ จานวน 2,000 ตัว - การเลี้ยงปลานิล ปลาทับทิม โดยโรงเรียนได้ปรับขุดบ่อดิน และศาลากลางน้า เพื่อ ต้อนรับแขกที่มาเยือน มีการปล่อยพันธุ์ปลานิลและปลาทับทิมไว้ในบ่อ ปลาสามารถขยายพันธุ์ ได้โดยอิสระทั้งปี และทางโรงครัวจะจับปลาที่มีขนาดพอเหมาะไปทาอาหารอยู่เสมอ การปลูกพืช/ผัก ได้แก่ - การปลูกผักอายุสั้น เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ปลูกปีละ 2 ครั้ง ช่วงต้นปีการศึกษา - การปลูกพืชสวนครัว เช่น มะละกอ ผักหวาน ฟักเขียว ฟักแม้ว รวมถึงไม้เลื้อย จะ ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บกินได้ตลอดทั้งปี
24
ตัวอย่างรอบการผลิตด้านการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ การป้องกันกาจัดศัตรูพืช โรงเรียนมีวิธีกาจัดศัตรูพืช 2 วิธี คือ การกาจัดด้วยมือ โดยให้นักเรียนตรวจสอบแปลงพืชผักทุก วัน และวิธีการใช้ขวดน้าพลาสติกทากับดักล่อแมลง การปรับปรุงบารุงดิน - ใช้ปุ๋ยคอกจากมูลไก่ เศษใบไม้ในโรงเรียน และเศษผัก/ผลไม้ที่เหลือจากโรงครัวมาทาเป็นปุ๋ย หมักชีวภาพ - ใช้วิธีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อพักและบารุงดิน เช่น ปลูกผักคะน้าสลับกับปลูกผักกวางตุ้ง การจัดการระบบน้า ด้วยภูมิศาสตร์ที่ดีของโรงเรียนที่อยู่ใกล้แหล่งน้า ทาให้มีน้าใช้ตลอดทั้งปี โดยมีวิธีการจัดการ ระบบน้า ดังนี้ - ใช้ระบบน้าประปาภูเขา สูบมาพักไว้ในบ่อพักน้าแล้วส่งผ่านตามท่อ เป็นน้าใช้ในโรงเรียน - ใช้สปริงเกอร์ช่วยรดน้าพืชผัก การประยุกต์ใช้ความรู้การเกษตรท้องถิ่นมาใช้ในโรงเรียน - การขุดหน่อกล้วยไม่ให้ต้นกล้วยล้ม ด้วยการเก็บหน่อกล้วยไว้ต้นละ 1-2 หน่อเพื่อช่วยค้าต้น กล้วยไม่ให้ล้มและไว้เก็บเกี่ยวในปีต่อไป - การบังคับเครือกล้วยให้ออกในทิศทางเดียวกัน โดยการสังเกต ส่วนเหง้าจะมีรอยแผลที่ถูกตัด แยกมาจากเหง้าของต้นแม่ เมื่อกล้วยโตขึ้นเครือจะอยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับรอยแผลนั้นเสมอ ดังนั้น ถ้าต้องการให้เครือของกล้วยหันไปในทิศทางใด ก็เพียงปลูกให้รอยแผลอยู่คนละด้านกับทิศที่เราต้องการ ให้กล้วยตกเครือ 25
- การปลูกผักหมุนเวียน เพื่อให้หน้าดินได้พัก และปลูกผักบารุงดิน - การทาเกษตรแบบผสมผสาน (สวนสมรม) ด้วยการปลูกพืชหลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน ได้แก่ ปาล์ม กล้วย ลองกอง ขนุน จาปาดะ สะตอ หมาก มังคุด ทุเรียน ทาให้สามารถมีผลผลิตเก็บเกี่ยว ได้ตลอดทั้งปี และเกิดระบบเกื้อกูลกันตามธรรมชาติ เทคนิคด้านการเกษตร - การตัดแต่งกิ่งต้นมังคุดให้โปร่ง และกิ่งสั้น ส่งผลให้มีผลโตกว่าการปลูกแบบทั่วไป - การปล่อยปลากินเนื้อในบ่อปลากินพืช เพื่อการควบคุมอัตราการขยายพันธุ์ด้วยวิธีธรรมชาติ - การปลูกผักในกระสอบด้วยวิธีการใส่ดินและปุ๋ยในกระสอบ แล้วเอาลงหลุมดินทั้งกระสอบ เป็น การให้อาหารพืชและลดโอกาสความเสียหายจากการกาจัดวัชพืชบนผิวดินด้วยการตัดหรือดายหญ้า เมื่อ ถึงระยะเวลาที่กระสอบย่อยสลาย พืชก็เจริญเติบโตเต็มที่สามารดูดซับแร่ธาตุจากดินได้เอง - การปลูกผักลอยฟ้า/ ผักคอนโด/ ผักกลับหัวในกระถาง (1 กระถาง 2 ชนิดต้นไม้) - การใช้ต้นกล้วยเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในน้าบ่อปลาดุกก่อนปล่อยพันธุ์ปลา - ตัดแต่งกิ่งต้นมังคุดให้น้อยและโปร่ง จะทาให้ได้มังคุดผลใหญ่ขึ้น - วางแผนการใช้พื้นที่ว่างของโรงเรียนปรับเป็นสวนสมรม จะช่วยสร้างรายได้ให้กับโรงเรียนใน ระยะยาว การจัดการผลผลิตที่เกิดขึ้น - นาผลผลิตที่เก็บเกี่ยวเข้าสหกรณ์เพื่อจาหน่ายให้โรงครัวนาไปประกอบอาหารกลางวันและ ชุมชน - แบ่งผลผลิตบางส่วนเป็นค่าตอบแทนให้เด็กที่ดูแล เช่น ไข่ไก่ ไก่เนื้อ หรือพืชผัก - หากผลผลิตมีมากจะนาผลผลิตไปจาหน่ายที่ตลาดนัดหน้าโรงเรียนทุกวันพฤหัสบดี ซึ่งตลาดนี้ ทางครูใหญ่มีส่วนร่วมอย่างมากในการผลักดันและสนับสนุนให้เกิดขึ้นใกล้กับโรงเรียน
การเก็บพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ไว้ใช้เอง - พันธุ์พืชที่ใช้ในการเกษตรในโรงเรียน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ปลูกในแปลงเกษตร จาพวกผักกาด คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง จะได้รับการสนับสนุนจากสานักงานเกษตรอาเภอจะแนะ ปีละ 2 ครั้ง เป็นประจาทุกปี แต่พันธุ์พืชจาพวกกล้วย พริก มะเขือ ฟัก บวบ มะละกอ ฯลฯ โรงเรียนจะเพาะ และขยายพันธุ์เองบางส่วน เพื่อนามาปลูกในโรงเรียนและแบ่งปันให้กับผู้ปกครองนากลับไปปลูกที่บ้าน เกิดการแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชระหว่างโรงเรียนกับชุมชนต่อไป - การขยายพันธุ์สัตว์ที่ใช้เลี้ยงในโรงเรียน ยังไม่มีการขยายพันธุ์ไว้ใช้เอง ยังคงรอรับการ สนับสนุนพันธุ์สัตว์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบางส่วน และใช้เงินทุนหมุนเวียนของแต่ละกองทุนเพื่อ จัดซื้อพันธุ์สัตว์รุ่นใหม่มาเลี้ยงให้เพียงพอต่อความต้องการตลอดปีการศึกษา
26
เครื่องมือ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรภายในโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากสานักงานเกษตร อาเภอ สานักงานเกษตรจังหวัด และกรมพัฒนาที่ดิน ผ่านการขอเบิกสนับสนุนจากโรงเรียน มีอุปกรณ์ สาหรับใช้งานอย่างเพียงพอ เพราะครูผู้รับผิดชอบโครงการเกษตรมีทักษะในการดูแลซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ ชารุดได้เอง ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมบารุงได้มาก เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้การเกษตร - จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาการเกษตรในรายวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ - มีการจัดกลุ่มการเกษตร โดยให้นักเรียนเลือกลงกลุ่มตามความสมัครใจ - จัดให้มีกิจกรรมลงแปลงเกษตรทุกวันก่อนเลิกเรียน 30 นาทีของนักเรียนทุกระดับชั้น - จัดแปลงเปรียบเทียบระหว่างการดูแลแปลงตามการเรียนการสอน และปลูกแบบปล่อยไปตาม ธรรมชาติ เพื่อให้นักเรียนเห็นข้อแตกต่าง - การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ ช่วยให้เด็กมีความสนใจในการเห็นความเจริญเติบโตของพืช มากขึ้น ผลงานภาคภูมิใจ/นวัตกรรมที่โรงเรียนสร้างขึ้น ผลการดาเนินงานที่เกิดขึ้นจากการเกษตร - โรงเรียนสามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรได้เพียงพอ สามารถให้บริการอาหารกลางวันที่มี คุณภาพจากผักปลอดสารพิษ ไข่ และเนื้อสัตว์ที่ควบคุมคุณภาพด้วยตนเอง - ลดค่าใช้จ่ายจากการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อนามาประกอบอาหารกลางวัน และมีผลผลิตทาง การเกษตรแบ่งให้นักเรียนนากลับไปรับประทานต่อที่บ้าน ได้ความร่วมมือจากมวลชนและสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชนผ่านการจาหน่ายผลผลิตราคา ย่อมเยา และการแบ่งปัน/แลกเปลี่ยนพันธุ์พืช ผลการดาเนินงานที่โรงเรียนภาคภูมิใจ - นักเรียน ครู และโรงเรียนได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานด้านการเกษตร ดังนี้ > รางวัลที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรดีเด่น > รางวัลกลุ่มยุวเกษตรดีเด่นระดับจังหวัด > รางวัลที่ 1 การประกวดบอนสี ประเภทบอนกอใบไทย > รางวัลที่ 1 การประกวดบอนสี ประเภทบอนเดี่ยวใบไทย > รางวัลที่ 1 การประกวดกล้วยน้าว้า > รางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 กิจกรรมปศุสัตว์ดีเด่นระดับเขต > รางวัลสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นอันดับ 2 - โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ชุมชน - สามารถเป็นโรงเรียนตัวอย่างด้านการเกษตรให้แก่โรงเรียนอื่นๆ
27
สรุปการดาเนินงานด้านการเกษตร การเกษตรในโรงเรียน ตชด. บ้านไอร์บือแต สามารถดาเนินงานได้ในระดับดีมาก มีการ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์อย่างต่อเนื่อง โรงครัวสามารถใช้ผลผลิตทั้งหมดในการจัดอาหารกลางวันให้กับ เด็ก และผลผลิตบางส่วนยังสามารถจัดจาหน่ายหรือเหลือคืนให้กับเด็กนากลับไปบ้านได้อีกด้วย ที่สาคัญ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ปัจจัยนาเข้าที่สาคัญคือ ผู้บริหารที่มีความชื่นชอบด้านการเกษตร มีความรู้ด้านนี้เป็นทุนเดิม อีก ทั้งยังเป็นบุคคลที่บุกร้างถางพงมีส่วนริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนในช่วงแรก ทาให้มีใจมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโรงเรียน นี้ให้มีชื่อเสียง โดยไม่คิดโยกย้ายไปประจาการที่ไหน อีกทั้งความสามารถในการนาเสนอและวาทศิลป์ยัง ช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ เห็นความสาคัญของโรงเรียนและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่อีกด้วย ทาเลที่เหมาะสมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทาให้โรงเรียนสามารถพัฒนาการเกษตรได้อย่างเต็มที่ อุดม ทั้งดินและน้า พื้นที่ราบทาให้เพาะปลูกได้สะดวก ไม่ไกลกับชุมชนมากนักทาให้สามารถนาผลผลิตออกไป จาหน่ายได้ อย่างไรก็ตาม ทางโรงเรียนยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้าสายบุรีริมโรงเรียนอย่างเต็มที่ ซึ่ง สามารถเพาะปลูกพืชน้า หรือกระชังปลาขนาดเล็กได้ สหกรณ์นักเรียน การดาเนินงานด้านสหกรณ์นักเรียนมีจุดมุ่งหมายสาคัญสองอย่างคือ 1) การฝึกให้นักเรียนเข้าใจ อุดมการณ์คุณธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ 2) ฝึกฝนให้นักเรียน มรความรู้และทักษะที่จาเป็นในการทางานสหกรณ์ รู้จักทางานร่วมกัน การนาเสนอความคิดเห็นและ ยอมรับความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ ผ่านทางกิจกรรมด้านสหกรณ์ เช่น การประชุม การเลือกตั้ง การ จดบันทึก สหกรณ์นักเรียนเป็นตัวเชื่อมโยงที่สาคัญที่จะทาให้อีกหลายกิจกรรมสามารถดาเนินงานได้อย่าง ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นโครงการเกษตรนักเรียน โครงการอาหารกลางวัน ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กันชนิด ที่ว่าไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เช่นเดียวกันกับสหกรณ์นักเรียน โรงเรียน ตชด. บ้านไอร์แต ที่ สามารถดาเนินกิจกรรมด้านนี้ได้เป็นอย่างดี พัฒนาเด็กนักเรียนแกนนาให้มีทักษะที่ดี และบริหารจัดการ เพื่อสร้างความยั่งยืนด้านอาหารและโภชนาการแก่นักเรียน ส.ต.ท.หญิง นรารัตน์ ทุมวงศ์ และ ส.ต.ท.หญิง นราทร ทุมวงศ์ ครู ตชด. สองพี่น้องฝาแฝดซึ่ง ครั้งหนึ่งเคยเป็นนักเรียนโรงเรียนนี้ หรือที่เรียกว่า คุรุทายาท คือครูผู้รับผิดชอบกากับดูแลสหกรณ์ นักเรียนให้ข้อมูลว่า สหกรณ์นักเรียนดาเนินงานโดยคณะกรรมการสหกรณ์ซึ่งล้วนเป็นนักเรียนทั้งหมด รวม 10คน ในแต่ละวัน กรรมการสหกรณ์จะแบ่งเวรหน้าที่ความรับผิดชอบในการดาเนินกิจกรรม สหกรณ์วันละ 5 คนเพื่อจาหน่ายสินค้าในสหกรณ์ และทุกวันศุกร์จัดให้มีมีกิจกรรมฝากเงินออมทรัพย์ การจาหน่ายสินค้าให้ร้านค้าสหกรณ์ มีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 10,000 บาท รายการสินค้าที่ วางจาหน่าย แบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ 1. สินค้าทั่วไปสาหรับนักเรียน เช่น ขนม นม โจ๊กสาเร็จรูป อุปกรณ์การเรียน 2. ผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียนที่รับซื้อจากโครงการเกษตร และเครื่องปรุง เพื่อจาหน่าย ให้โรงครัวใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวันในโรงเรียน และแบ่งจาหน่ายให้แก่ชุมชน โดย บวกกาไรเพิ่มรายการละ 1 – 5 บาท เพื่อนามาเป็นเงินปันผลคืนให้แก่สมาชิก เช่น 28
> มะละกอ รับซื้อจากโครงการเกษตร กก. ละ 5 บาท ขายให้กับโรงครัว กก. ละ 7 บาท > ผักกวางตุ้ง/ผักกาดเขียว รับซื้อจากโครงการเกษตร ก.ก. ละ 8 บาท ขายให้กับโรงครัว ก.ก. ละ10 บาท > ไข่ไก่รับซื้อมาแผงละ 100 บาท ขายให้โรงครัว 105 บาท > ไก่เนื้อ รับซื้อมา กก. ละ 80 บาท ขาย กก. ละ 82 บาท คณะกรรมการสหกรณ์ ทั้ง 10 คนมาจากการคัดเลือกนักเรียนชั้น ป.3-ป.6 โดยครูผู้รับผิดชอบ งานสหกรณ์ นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสหกรณ์ทุกกระบวนการ ตั้งแต่การประชุม คณะกรรมการประจาเดือน แบ่งเวรรับผิดชอบดาเนินกิจกรรมสหกรณ์วันละ 5 คน สมาชิกทุกคน รับผิดชอบหน้าที่แทนกันได้ทุกตาแหน่ง สมาชิกได้เรียนรู้จากกระบวนการทางาน เช่น ทักษะทาง คณิตศาสตร์จากการซื้อ-ขาย ทักษะทางภาษาไทยจากการจดบันทึก ทักษะการเข้าสังคมจากการศึกษาดู งาน การทางานเป็นทีม และการให้บริการ เครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการทาสหกรณ์ เช่น ใบฝากถอน สมุดบัญชีรับ-จ่ายบัญชีสหกรณ์ บัญชีย่อย เจ้าหนี้ บัญชีออมทรัพย์ ทะเบียนสมาชิกเพิ่มหุ้น บันทึกรายงานการประชุม
หน่วยงานสนับสนุน ในแต่ละปี หน่วยงานหลักที่สนับสนุนการดาเนินงานของสหกรณ์นักเรียนจะมี 2 หน่วยงาน ได้แก่ สานักงานสหกรณ์อาเภอ และสานักงานตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ โดยมีบทบาทต่างกัน ดังนี้ 1. สานักงานสหกรณ์อาเภอจะแนะ /สานักงานสหกรณ์ จังหวัดนราธิวาส - อบรมความรู้ด้านกิจกรรมสหกรณ์ ปีละ 1 ครั้ง - ให้ความรู้ด้านการทาบัญชีครัวเรือนแก่นักเรียนและผู้ปกครอง ปีละ 1 ครั้ง 2. สานักงานตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ จังหวัดนราธิวาส - ติดตาม ประเมินผลการดาเนินงานด้านสหกรณ์ 29
ความภาคภูมิใจ ผลการดาเนินงานสหกรณ์เป็นที่ยอมรับ ได้รับรางวัลในการประกวดการจดบันทึกบัญชีใน กิจกรรมสหกรณ์ปี พ.ศ.2553 ดญ. ลดาวัลย์ สุขเอียด ประธานคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน และเป็นนักเรียนชั้น ป.5 เล่าว่า คณะกรรมการจะจัดประชุมร่วมกันเดือนละครั้ง โดยคณะกรรมการส่วนมากเป็นนักเรียนชั้น ป.3-ป.6 ผล ที่ได้จากการทาหน้าที่นี้คือ ได้เรียนรู้เรื่องค่าใช้จ่าย คิดเลขเร็วขึ้น แล้วยังนาเอาเรื่องบัญชีครัวเรือน กลับไปถ่ายทอดที่บ้านอีกด้วย การจัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียน การจัดบริการอาหารถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการดาเนินงานในโครงการตามพระราชดาริ โดย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตลอดปีการศึกษา เพื่อพัฒนาการที่ดี ทั้งทางร่างกาย และสติปัญญา ส.ต.ท.หญิง รัตนา สามารถ ครูผู้รับผิดชอบการจัดบริการอาหารกลางวัน เล่าว่า โรงเรียน สามารถจัดอาหารกลางวันให้เด็กได้อย่างเพียงพอทุกวันตลอดปีการศึกษา โดยนาผลผลิตทางการเกษตร และปศุสัตว์มาเป็นวัตถุดิบในแต่ละวัน โรงเรียนได้กาหนดให้มีคณะกรรมการอาหารกลางวัน ซึ่งประกอบด้วย ครูใหญ่ ผู้ช่วยครูใหญ่ (ครูปรีชา) และครูรัตนา สามารถ ซึ่งทั้งสามคนจะร่วมกันกาหนดเมนูอาหารให้สอดคล้องกับผลผลิต ทางการเกษตรในแต่ละรอบ ควบคู่ไปกับงบอาหารกลางวันรายหัว และเงินที่ต้องจ่ายให้กับสหกรณ์ การบริหารจัดการอาหารกลางวัน ครูผู้รับผิดชอบด้านโครงการเกษตรและอาหารกลางวันจะจัด ตารางรายการเมนูอาหารอิงตามแผนการผลิตของโครงการเกษตร โดยมีผักที่ให้ผลผลิตตลอดปี เช่น มะเขือ ผักหวาน ผักบุ้ง กล้วย มะละกอ ถั่วงอก สับเปลี่ยนกับผักที่ให้ผลผลิตตามฤดูกาล เช่น บวบ ฟัก เขียว ฟักทอง ฟักข้าว ถั่วฝักยาว ถั่วพู ซึ่งเป็นพืชไม้เลื้อยกินน้ามากจะปลูกในช่วงหน้าฝน หรือเห็ด นางฟ้าที่มีให้ผลผลิตตามระยะเวลา ครูผู้รับผิดชอบวางแผนกาหนดรายการเป็นรายเดือน สามารถสับเปลี่ยนรายการอาหารตาม วัตถุดิบ แต่ละมื้อนักเรียนจะได้รับอาหาร 1–2รายการต่อมื้อ ขึ้นอยู่กับต้นทุนวัตถุดิบของเมนูในวันนั้น
30
ตัวอย่างรายการอาหาร ประจาเดือนมีนาคม 2557 - รายการอาหารอาจมีการสับเปลี่ยนหรือประยุกต์วัตถุดิบตามผลผลิตในเวลานั้น ๆ - นักเรียนจะได้รับประทานเมนูที่มีไข่ สัปดาห์ละ 3 – 4 วัน (ขึ้นกับวัตถุดิบในเวลานั้น) - นักเรียนจะได้รับประทานอาหารทะเลสัปดาห์ละ 1 วัน เพื่อเพิ่มสารไอโอดีน ซึ่งแม่ครัวจะซื้อ อาหารทะเลได้จากตลาดนัดทุกวันพฤหัสบดี - ทุกวันนักเรียนจะได้รับบริการนม คนละ 200 ซีซี ทุกวัน ในขณะที่หน้าที่การเตรียมและปรุงอาหารจะเป็นของแม่ครัวซึ่งเป็นคนในชุมชน ซึ่งโรงเรียนได้ นารายได้จากการจาหน่ายผลผลิตในสวนสมรมของโรงเรียนเป็นค่าตอบแทนให้กับแม่ครัว โดยมีค่าจ้าง ตอบแทนวันละ 150 บาท (20 วันทาการ) นอกจากนี้ ยังมีแม่ครัวอาสาอีก 1 ราย คือ นางปราณี บาง เมือง ซึ่งเป็นผู้ปกครองเด็กในโรงเรียน จะมาช่วยทากับข้าวในกรณีที่แม่ครัวประจาไม่อยู่ หรือทาง โรงเรียนมีกิจกรรมพิเศษ ซึ่งทาหน้าที่โดยไม่ได้คิดค่าตอบแทนแต่อย่างใด ผลผลิตทางการเกษตรจาพวกผลไม้ นอกจากให้เด็กรับประทานหลังมื้ออาหารแล้ว บางส่วนจะ นามาแปรรูปเป็นขนมหวาน เช่น ขนุน ฟักทอง กล้วย เพื่อเพิ่มความหลากหลาย เนื่องด้วยโรงครัวมีพื้นที่จากัด ไม่สามารถบริการเด็กได้พร้อมกันทั้งโรงเรียน จึงต้องจัดรอบการ ให้บริการอาหารกลางวัน ดังนี้ - เด็กชั้นอนุบาล 1และ 2รับประทานอาหารเวลา 11.00น. - เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6รับประทานอาหารเวลา 11.45น. ในแต่ละวันเด็กนักเรียนชั้น ป.4–6 สลับเวรรับผิดชอบดูแลโรงครัว แบ่งเวรตามห้องเรียนละ 1 วัน มีหน้าที่ดูแลความสะอาดเรียบร้อย ช่วยเหลืองานแม่ครัวเตรียมวัตถุดิบ จัดถาดอาหาร โดยครูประจา เวรและแม่ครัวเป็นผู้ตักอาหารใส่ถาด นักเรียนทุกคนรับผิดชอบล้างภาชนะของตนเอง โดยเด็กเล็กจะมี รุ่นพีค่ อยควบคุมดูแล เศษอาหารที่เหลือจากการรับประทานอาหารกลางวัน ส่วนหนึ่งจะนามาเป็นอาหารเลี้ยงปลา ที่ เหลือจะนามาทาปุ๋ยหมักไว้ใช้เพื่อการเกษตรในโรงเรียน การติดตามภาวะโภชนาการ แน่นอนว่า ปัญหาโภชนาการในพื้นที่ชายแดนใต้ยังเป็นปัญหาสาคัญ จากรายงานสถานการณ์ เด็กและสตรีใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2556 พบว่า อัตราการขาดสารอาหารของเด็กอายุต่ากว่า 5 ปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศราว 1.5-2.0 เท่า นอกจากนี้ เด็กที่มีน้าหนักน้อย แคระแกร็น และผอม มี ร้อยละ 5.1 , 8.5 และ 5.2 ตามลาดับ ดังนั้น การติดตามภาวะโภชนาการของเด็กอย่างสม่าเสมอจึงจะ ช่วยให้ทราบจานวนของเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงทางโภชนาการ แล้วสามารถแก้ไขหรือป้องกันได้ทันท่วงที ด.ต.ศักดิ์ชัย จานงค์ ครูผู้รับผิดชอบงานการติดตามภาวะโภชนาการเด็ก ให้ข้อมูลว่า ทาง โรงเรียนมีกิจกรรมเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ 1. ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสมีนโยบายแก้ปัญหาด้านโภชนาการ จึงสนับสนุนงบประมาณ อาหารเช้าให้แก่เด็กนักเรียนกลุ่มทุพโภชนาการ จานวน 100 มื้อ ๆ ละ 30 บาท ทางโรงเรียนจึงนามา 31
จัดซื้ออาหารเช้าให้แก่เด็กนักเรียนทั้ง 3 คน โดยครูผู้รับผิดชอบด้านบริการอาหารกลางวันเป็น ผู้ดาเนินการจัดซื้อ 2. หน่วยงานสาธารณสุข ได้แก่ สานักงานสาธารณสุขอาเภอจะแนะ สานักงานสาธารณสุข จังหวัด โรงพยาบาลจะแนะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตาบลบ้านกุมงสนับสนุนการจัดอบรมให้ ความรู้ด้านโภชนาการและสาธิตการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพแก่ผู้ปกครอง สนับสนุนบริการติดตาม และประเมินภาวะโภชนาการร่วมกับครูอนามัยพบว่ามีเด็กนักเรียนที่มีน้าหนักตัวต่ากว่าเกณฑ์ จานวน 3 คน เกิดจากพฤติกรรมการไม่รับประทานอาหารเช้า และปัญหาความยากจนของครอบครัว สาหรับเด็กที่มีน้าหนักน้อยและเตี้ยโรงเรียนดาเนินการแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบ พร้อมให้ ความรู้ ด้านโภชนาการแก่เด็กที่ถูกต้อง เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ติดตามชั่งน้าหนักทุกเดือน ให้บริการ อาหารเช้า เพิ่มปริมาณอาหารกลางวัน และให้นมไปดื่มเพิ่มที่บ้าน สอดแทรกความรู้ด้านภาวะ โภชนาการผ่านรายวิชาสุขศึกษา และให้ความรู้หน้าเสาธงตอนเช้า ส่วนเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน ครูจะให้ความรู้ในห้องเรียน ควบคู่กับการให้ความรู้หน้าเสาธง ให้กินผักมากขึ้น จัดให้เต้นแอโรบิคหลังเลิกเรียน การพัฒนาสุขนิสัย สุขนิสัยที่ดีของเด็ก เช่น การล้างมือ การแปรงฟัน การดูแลความสะอาดของร่างกายของตัวเอง จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรค ทาให้ร่างกายและสติปัญญาสามารถพัฒนาสมวัย ด.ต.ศักดิ์ชัย จานงค์ ครูผู้ดูแลงานด้านการพัฒนาสุขนิสัย เล่าว่า ทุกวันก่อนเข้าชั้นเรียนมีการ ตรวจความสะอาดของผม เล็บ เสื้อผ้า รองเท้า หน้าเสาธงโดยครูประจาเวร และครูประจาชั้นติดตามซ้า อีกครั้งในห้องเรียน เด็กนักเรียนทุกคนมีแก้วน้าดื่ม แปรงสีฟัน ยาสีฟันเป็นของตัวเอง เด็กนักเรียนต้องล้างมือก่อนเข้าแถวไปรับประทานอาหาร และแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน มี แกนนานักเรียนโดยสมัครใจคอยดูแลและรายงานครูประจาเวรให้ทราบ พบปัญหาหาพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยมือมาจากครอบครัว จึงส่งเสริมด้วยการให้ ความรู้ในวิชาสุขศึกษา และกิจกรรมหน้าเสาธง ครูและนักเรียนประจาเวรบริการอาหารกลางวันในแต่ละ วัน จะคอยดูแลความเรียบร้อย สื่อที่ใช้ในการพัฒนาสุขนิสัย ได้แก่ - โปสเตอร์สาธิตการล้างมือ 7 ขั้นตอน - แผ่นพับให้ความรู้เรื่องโรคผิวหนัง โรคเหา - ปลูกฝังการล้างมือตั้งแต่เด็กปฐมวัย ด้วยการสาธิตการล้างมือ - สอดแทรกเรื่องสุขบัญญัติในการเรียนการสอน หน่วยงานต่าง ๆ ที่สนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาสุขนิสัย ได้แก่ 1. สานักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสสนับสนุนสื่อความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ 2. สานักงานสาธารณสุขอาเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาสสนับสนุนเวชภัณฑ์กาจัดเหา 3. โรงพยาบาลจะแนะ จังหวัดนราธิวาส จัดบริการทันตสุขภาพ และสนับสนุนแปรง/ยาสีฟัน 4. กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 44 สนับสนุนแปรง/ยาสีฟัน
32
การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน เมื่อโรงเรียนเปรียบเป็นบ้านหลังที่สองของเด็ก การฝึกให้เด็กดูแลสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ให้ถูกสุขลักษณะ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า จะช่วยให้เด็กมีทักษะและคุณลักษณะที่ดีไปจนเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ ด.ต.ศักดิ์ชัย จานงค์ ครูผู้รับผิดชอบด้านการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนได้จัด กิจกรรมที่หลากหลายให้เด็กได้ฝึกความรับผิดชอบ โดยนักเรียนทุกระดับชั้นต้องร่วมทาความสะอาด บริเวณโรงเรียนร่วมกันในตอนเช้า โดยแบ่งเขตพื้นที่ความรับผิดชอบตามระดับชั้น มีครูประจาเวรตรวจดู ความเรียบร้อย การจัดการขยะเริ่มจากการคัดแยกขยะออกเป็น 3 ประเภท คือ แยกกระดาษและพลาสติกไว้ จาหน่าย เศษใบไม้บางชนิดนามาทาปุ๋ยหมัก เศษอาหารจากโรงครัวนามาเป็นอาหารปลาและทาปุ๋ย ชีวภาพ ขยะที่เหลือนาเข้าเตาเผาทั้งหมด การจัดบริการสุขภาพ โรงเรียน ตชด. บ้านไอร์บือแต มีจุดเด่นในเรื่องการจัดบริการสุขภาพ เนื่องจากมีหน่วยบริการ สุขภาพขนาดเล็กที่เรียกว่า ‘สุขศาลาพระราชทาน’ อยู่ภายในโรงเรียน ให้บริการเป็นที่พึ่งพาด้าน สุขภาพ แก่นักเรียนและประชาชนในพื้นที่ ทั้งในยามปกติและภาวะฉุกเฉิน โดยมี ด.ต.ศักดิ์ชัย จานงค์ และส.ต.ต.หญิงรัตนา สามารถ กากับดูแลการทางานของเจ้าหน้าที่ประจาอีก 1 คน ซึ่งเป็นคุรุทายาท จบ การศึกษาด้านสาธารณสุขศาสตร์ มีหน้าที่ให้บริการด้านสุขภาพทั่วไปแก่นักเรียนและประชาชนในพื้นที่ ทั้งด้านหัตถการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และจ่ายยารักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไปและฉุกเฉิน เช่น ไข้หวัด ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ฯลฯให้การบริการสุขภาพ ร่วมกับแผนปฏิทินสาธารณสุขของ รพ. สต. กุมง โดยมีการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินสุขภาพโดยรวม ปีละ 2 ครั้ง เช่น ตรวจสุขภาพ บริการฉีดวัคซีน ถ่ายพยาธิ กาจัดเหา และบริการทันตกรรม นอกจากนี้ คุรุทายาทยังร่วมสอนในรายวิชาสุขศึกษาให้แก่ นักเรียนระดับชั้น ป.4–6 และมีนักเรียนระดับชั้น ป.6 สลับเวรดูแลความสะอาดอาคารสุขศาลาในตอน เช้า
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนงานด้านบริการสุขภาพ ได้แก่ 33
1. กองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดนสนับสนุนงบประมาณจัดจ้างเจ้าหน้าที่บริการสุขศาลา พระราชทาน และสนับสนุนเวชภัณฑ์ ยาเม็ดธาตุเหล็ก / วัคซีนโปลิโอ 2. กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 44 จังหวัดยะลาสนับสนุนเวชภัณฑ์ และจัดอบรมให้ ความรู้ด้านสุขภาพ 3. โรงพยาบาลจะแนะ จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนบริการสุขภาพในสถานการณ์ฉุกเฉินและ เวชภัณฑ์ 4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตาบลบ้านกุมงสนับสนุนเวชภัณฑ์ 5. วิทยาลัยป้องกันอาณาจักร (วปอ.) สนับสนุนเวชภัณฑ์ การจัดการเรียนรู้: เกษตร โภชนาการ และอนามัย เน้นสอดแทรกการเรียนการสอนในวิชาต่าง ๆ ครูจะคอยสอดแทรกความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา เข้าร่วมด้วยจากการพูดคุยและตั้งคาถามให้เด็กนักเรียนช่วยกันหา คาตอบ เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน และบูรณาการความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง เช่น กิจกรรมลง แปลงเกษตรในแต่ละวัน แต่ไม่ได้จัดทาเป็นหลักสูตรที่ชัดเจนจึงทาให้ยากต่อการประเมินผลและทิศ ทางการนาไปปฏิบัติ ภาพรวมอื่น ๆ ปัจจัยสาคัญที่ทาให้กิจกรรมสาเร็จ - ผู้บริหารมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานภายนอก สามารถประสานงานเพื่อขอรับการสนับสนุน ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่รอเป็นฝ่ายขอรับการสนับสนุนเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องให้การสนับสนุนหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย - ผู้บริหารทางานมีความมุ่งมั่น มีเป้าหมายที่ชุดเจน ตั้งใจและลงมือปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง ไม่ ฉาบฉวย - การเสด็จเยี่ยมช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆอย่างรวดเร็ว - ผู้ใต้บังคับบัญชามีการทางานร่วมกันเป็นทีม สามารถรับผิดชอบภาระงานทดแทนกันได้ทุก หน้าที่ ไม่ประสบปัญหาขาดช่วง หากต้องไปปฏิบัติหน้าที่อื่นตามคาสั่งผู้บังคับบัญชา - โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เอื้อประโยชน์ต่อการทาโครงการเกษตร มีสภาพดินที่ดี อยู่ใกล้แหล่ง น้าตามธรรมชาติ ประกอบกับการจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประโยชน์จึงทาให้มีผลผลิตที่เพียงพอและสร้าง รายได้อื่นนอกเหนือจากงบประมาณที่ได้รับ ทาให้โรงเรียนมีเงินทุนหมุนเวียน พึ่งพาตนเองได้ในระดับ หนึ่ง - บุคลากรของโรงเรียนมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ส่งผลให้ลดแรง ต้านทาน ความขัดแย้ง แม้จะมีความแตกต่างทางศาสนาระหว่างครูกับชุมชน และอยู่ในพื้นที่ที่มี เหตุการณ์ความไม่สงบ - หน่วยงานต้นสังกัดให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งด้านกาลังพล งบประมาณ และขวัญกาลังใจ อุปสรรคและความท้าทาย - ในชุมชนเริ่มมีอาหารที่ไม่ปลอดภัย เช่น อาหารใส่สี ซึ่งเด็กยังขาดความรู้ที่จะเลือกการบริโภค 34
-พบพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมของเด็กนักเรียนจากการซื้อของบริโภคจากร้านค้านอก โรงเรียน มีการจาหน่ายลูกชิ้น และขนมขบเคี้ยว ที่มีสีสันฉูดฉาด ยังขาดการควบคุมและทาความเข้าใจ กับ เด็กนักเรียน แม่ค้าและผู้ปกครอง - การประชุมของหน่วยงานต่าง ๆ ในระหว่างภาคเรียน ส่งผลให้ครูซึ่งมีจานวนพอดีกับจานวน ห้องเรียนไม่สามารถจัดการสอนได้เต็มที่ตามปกติ - ยังใช้ประโยชน์จากแม่น้าสายบุรี ซึ่งอยู่ริมโรงเรียนได้ไม่เต็มที่
35
พลังชุมชนอาสา พัฒนาโภชนาการโรงเรียนบ้านเขาวัง บ้านเขาวัง ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช (สังกัดกองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 42) บริบทของชุมชน บ้านเขาวัง ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ชุมชนที่ห้อมล้อมด้วยหุบเขารอบด้าน ขนาด 91 ครัวเรือน มีจานวนประชากรประมาณ 510 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีด ยางพาราและทาสวนผลไม้ ร้อยละ 98 นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาถิ่นใต้ ภาษายาวี และภาษามลายู มี เส้นทางสัญจรผ่านเพียงเส้นทางเดียว เป็นถนนลาดยางคอนกรีต ผสมทางลูกรังเป็นช่วง ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นพื้นทีล่ าดชันเชิงเขา บริบทของโรงเรียน โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านเขาวังตั้งอยู่หมู่ที่ 12 ตาบลหินตก อาเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดกองร้อยตารวจตระเวนชายแดนที่ 422 กองกากับการตารวจตระเวน ชายแดนที่ 42 กองกาบังคับการตารวจตระเวนชานแดนภาค 4 กองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน สานักงานตาตรวจแห่งชาติ ด้วยข้อจากัดทางภูมิศาสตร์ หมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร เป็นเวลาหลายปีที่เด็ก ที่นี่ ต้องเดินเท้า ด้วยระยะทางกว่าสิบกิโลเมตร ลัดเลาะริมลาธาร เนินเขา และลอดถ้าอันมืดมิด เพื่อไป เรียนหนังสือยังต่างพื้นที่ ช่วงใดที่เส้นทางเกิดอุปสรรคจากน้าป่าไหลหลาก หรือภัยธรรมชาติ โอกาสการ ได้ไปเรียนหนังสือก็ต้องขาดช่วงลง เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2538 ประชาชนในพื้นที่บ้านเขาวัง จึงรวมตัวกัน ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อกองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 42 เพื่อขอให้มีโรงเรียนบริการด้าน การศึกษาแก่ชุมชน ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2539 กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 42 จึงได้จัดส่งทีม นายตารวจ 4 นายเข้ามาทาหน้าที่ครูผู้สอนโรงเรียนตชด.บ้านเขาวัง โดยมีนายดาบตารวจโชคชัย สมัคร แก้ว (ยศตาแหน่งในขณะนั้น) เป็นครูใหญ่ เปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2539 เป็นต้นมา เมื่อสิ่งที่เรียกร้องได้รับการตอบรับ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนกับโรงเรียนจึงก่อตัวขึ้นนับ แต่นั้น ชาวบ้านมีความรักและหวงแหนโรงเรียน รู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกัน จึงพร้อมให้ ความร่วมมือ เสียสละ และรักษาผลประโยชน์แก่โรงเรียนอย่างเต็มใจ โรงเรียนตชด.บ้านเขาวัง นับเป็น ตัวอย่างของโรงเรียนที่มีชุมชนสัมพันธ์อันเข้มแข็ง ผู้นาชุมชน ผู้ปกครอง ชาวบ้าน ต่างมีส่วนเป็นแรง ขับเคลื่อนทุกกิจกรรมของโรงเรียนให้ประสบผลสาเร็จ บรรลุเป้าหมาย เกิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อย่างเด่นชัด ปัจจุบัน โรงเรียนตชด.บ้านเขาวัง มีนักเรียนทั้งหมด70 คน ครู ตชด. 8 นาย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก 1 คน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นปฐมวัย ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนส่วนมากนับถือศาสนาอิสลาม
36
การดาเนินงานด้านโภชนาการ การดาเนินงานในโครงการตามรอยพระยุคลบาทฯ ของโรงเรียน ตชด. บ้านเขาวัง มีความโดด เด่นในหลายด้าน ทั้งทางด้านการเกษตรในโรงเรียนที่ปรับตัวเพื่อให้สามารถเพาะปลูกในพื้นที่น้อยและ ลาดชันได้ การจัดการอาหารกลางวันที่ได้รับความร่วมมืออย่างชุมชนในระดับดีมาก ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
37
การเกษตรในโรงเรียน ด้วยโครงการเกษตรในโรงเรียนเป็นกิจกรรมขนาดใหญ่ จึงได้จัดให้มีครู 3 ท่าน ช่วยกันกากับ ดูแลในกิจกรรมนี้ ประกอบด้วย ด.ต.สุวิทย์ เทวบุรี ด.ต.ถาวร รื่นรมย์ และ ส.ต.ท.เสกสรร สุวรรณยศ
ร.ต.คาพล รังควงษ์ ครูใหญ่ ด.ต.สมพงษ์ ไชยสุวรรณ ผู้ช่วยครูใหญ่
ด.ต.สุวิทย์เทวบุรี (กิจกรรมผักปลอดสารพิษ /เห็ด)
ส.ต.ท.เสกสรร สุวรรณยศ (กิจกรรมเลี้ยงไก่)
ด.ต.ถาวร รื่นรมย์ (กิจกรรมเลี้ยงปลาดุก)
ชุมชน ฟาร์มสาธิตกิจกรรมด้านปศุสตั ว์ (ไก่พื้นเมือง/แพะนม/ปลาน้าจืด)
แผนผังรับผิดชอบกิจกรรมเกษตรและปศุสัตว์ อย่างไรก็ตาม มีปัญหาและอุปสรรคสาคัญต่อการดาเนินกิจกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ ของ โรงเรียนบ้านเขาวัง คือ 1. ข้อจากัดเรื่องสภาพดิน / พื้หนที่การเกษตร เนื่องจากการปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างโรงเรียน ที่ดินรับบริจาคเดิมนั้นเป็นที่ราบสูงชัน จึงต้องมีการ ปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นที่ราบเพื่อก่อสร้างอาคารเรียน ส่งผลให้มีการขุดเจาะและกลบหน้าดินที่มีแร่ธาตุ สาหรับการปลูกพืชไว้ด้านล่าง ประกอบกับพื้นที่ของโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นหน้าผาหินปูน จึงมีพื้นที่ สาหรับแปลงเพาะปลูกน้อย ร่วมกับปัญหาดินคุณภาพต่าสาหรับการเพาะปลูก 2. ข้อจากัดเรื่องน้า เนื่องจากระบบชลประทานภายในโรงเรียนคือการใช้น้าประปาภูเขา ซึ่งมีการปนเปื้อนของ หินปูนตามธรรมชาติสูง ส่งผลให้เกิดเกิดคราบหินปูนเกาะตามผิวใบพืชผักทาให้สังเคราะห์แสงได้น้อย ผลผลิตจาพวกผักกินใบทั่วไป เช่น คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง ฯลฯ จึงไม่ค่อยประสบความสาเร็จ พืชมี ลักษณะแคระ แกร็น ให้ผลผลิตต่า
38
ภูมิศาสตร์ของโรงเรียนเป็นพื้นที่ลาดชัน ดินปนหิน เหมาะสาหรับการปลูกพืชท้องถิ่นมากกว่าพืชกินใบอายุสั้น จากข้อจากัดดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นที่มาของกระบวนการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตทาง เกษตร ด้วยการเน้นปลูกพันธุ์พืชและผลไม้ยืนต้น และพันธุ์พืชท้องถิ่น จาพวก ต้นเหลียง ต้นกระวาน ผักหวานช้างโขลง มะละกอ มังคุด ลองกอง เป็นต้น ซึ่งเป็นพันธุ์พืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าพืชกิน ใบตามท้องตลาด พร้อมกระจายพื้นที่เพาะปลูกลงชุมชน โดยมีเกษตรกรจิตอาสาร่วมกันใช้พื้นที่ทากิน ส่วนตัวปลูกพืชผัก และนาผลผลิตทางการเกษตรคืนสู่โรงเรียนเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร กลางวันต่อไป
ผักหวานช้างโขลง พืชท้องถิ่นชอบขึ้นในป่าแดดราไร ขยายพันธุ์ง่าย ทาอาหารได้หลากหลาย
39
กิจกรรมการเกษตรและบทบาทของเด็กนักเรียน โรงเรียนจัดให้มีกลุ่มยุวเกษตรเพื่อรวมกลุ่มเกิดกระบวนการการเรียนรู้จากการจัดการแปลง เกษตร โดยมีนักเรียนระดับชั้น ป.4–ป.6 เป็นแกนหลัก ระดับชั้น ป.1-ป.3 เป็นกาลังเสริม ปลูกผักและ เลี้ยงสัตว์ตามแผนเกษตรและอาหารกลางวันของโรงเรียน โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามระดับชั้น - กลุ่มกิจกรรมปลูกผักและเห็ดนางฟ้า นักเรียนระดับชั้น ป.4–6 แบ่งหน้าที่ดูแลแปลง/โรงเพาะ และมีนักเรียนระดับชั้น ป.1-ป.3 คอยเป็นกาลังเสริม เช่นถอนหญ้า กาจัดวัชพืชในแปลง เด็กนักเรียนมี หน้าที่ตั้งแต่เตรียมดิน ปลูกผักลงแปลง ดูแลแปลง และเก็บผลผลิตส่งขายสหกรณ์ โดยแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบดังนี้ > เด็กนักเรียนชั้น ป.6 ขุดดินเตรียมแปลงเกษตร > เด็กนักเรียนชั้น ป.4 หว่านเมล็ดพันธ์พืช > เด็กนักเรียนชั้น ป.5 เก็บเกี่ยวผลผลิตส่งร้านค้าสหกรณ์
เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขา ประสบปัญหามีเนื้อที่แปลงเกษตรไม่เพียงพอ จึงใช้วิธี ปลูกผักในกระสอบ เพาะเห็ดและถั่วงอก เพื่อประหยัดพื้นที่การเกษตร และขยายพันธุ์พืชบางส่วนไป ปลูกในพื้นที่ส่วนตัวของนักเรียนและชาวบ้านในชุมชน โดยมีนักเรียนทุกคนช่วยกันดูแล ชนิดพันธุ์ผักที่ ปลูกหมุนเวียนตลอดปี 2556 ประกอบไปด้วย 1. มะเขือเปราะ จานวน 50 ต้น 2. ผักกวางตุ้ง จานวน 20 ต.ร.ม. 3. ผักบุ้ง จานวน 10 ต.ร.ม. 4. ถั่วฝักยาว (ในโรงเรียน) จานวน 30 หลุม (นอกโรงเรียน) จานวน 30 หลุม 5. มะละกอ จานวน 50 ต้น 6. กล้วย จานวน 30 ต้น 7. ผักหวานโขลงช้าง จานวน 50 ต้น 8. เห็ดนางฟ้า (ปีละ 2 รุ่น) จานวน 500 ก้อน 9. ถั่วพู จานวน 20 หลุม 10. ฟักเขียว (ในโรงเรียน) จานวน 20 หลุม (นอกโรงเรียน) จานวน 30 หลุม 11. บวบ (ในโรงเรียน) จานวน 15 หลุม (นอกโรงเรียน) จานวน 50 หลุม 40
12. ฟักทอง (นอกโรงเรียน) 13. แตงกวา (นอกโรงเรียน) 14. ถั่วงอก (อาทิตย์ละ 1 ครั้ง)
จานวน จานวน จานวน
30 30 6
หลุม หลุม กิโลกรัม
- กลุ่มกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ มีสมาชิกรับผิดชอบหลักจานวน 6 คน แต่เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคน เข้ามาศึกษาเรียนรู้การบริหารจัดการฟาร์มได้ทุกคน ในแต่ละวัน สมาชิกหลักจัดเวรประจาวันดูแล กิจกรรมในฟาร์มวันละ 3 คน มีหน้าที่ให้อาหารไก่ ทาความสะอาดโรงเรือน เก็บผลผลิตไข่ส่งสหกรณ์ และจดบันทึกให้แก่ครูผู้รับผิดชอบ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นไข่ไก่วันละ 5 ฟองเพื่อกระตุ้นให้เกิดความ กระตือรือร้น และมอบเกียรติบัตรสร้างขวัญกาลังใจและความภาคภูมิใจให้เมื่อจบการศึกษา ในวัน กิจกรรม “ราตรีพี่ลาน้อง” ปัจจุบันดาเนินกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่รุ่นที่ 10 จานวน 108 ตัว โดยโรงเรียนจัดซื้อพันธุ์ไก่ไข่พร้อม อาหารด้วยเงินกองทุนกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ โรงเรือนมีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร เป็นการเลี้ยง แบบกรงตับ 2 ชั้น แบ่งไก่ใส่ในกรงตับละ 2-3 ตัว ให้น้าด้วยระบบหัวนิปเปิ้ล ใช้ระบบไฟฟ้าเปิด – ปิด อัตโนมัติ (Timer) เพิ่มแสงสว่างในตอนกลางคืน บริเวณทางเข้าโรงเรือนมีอ่างใส่น้ายาฆ่าเชื้อโรคสาหรับ จุ่มรองเท้าผู้เข้าไปในโรงเรือน มีตารางการปฏิบัติงานประจาวันดังนี้ 08.00 น. ให้อาหาร /ทาความสะอาดรางน้า รางอาหาร พื้นคอก 08.20 น. ครูผู้รับผิดชอบตรวจความเรียบร้อยการปฏิบัติงานของนักเรียน 12.30 น. ตรวจความเรียบร้อย ภายใน / ภายนอกโรงเรือน 15.30 น. เก็บไข่ไก่ /ให้อาหาร/ทาความสะอาดรางน้า รางอาหาร ความสะอาดทั่วไป /คัดไข่ไก่ /นาไข่ไก่ส่งร้านค้าสหกรณ์ 18.00 น. เปิดไฟให้แสงสว่างโรงเรือน (ครูประจาเวร) 21.00 น. ปิดไฟให้ไก่พักผ่อน (ครูประจาเวร) - กลุ่มกิจกรรมเลี้ยงไก่พื้นเมือง มีสมาชิกกลุ่มเป็นเกษตรในเขตพื้นที่บริการ จานวน 13 คน โดย โรงเรียนได้ประสานกับสานักงานปศุสัตว์อาเภอร่อนพิบูลย์และสานักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดตั้งกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้นักเรียนเข้ามาศึกษาเรียนรู้ การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานการ เลี้ยงสัตว์ในชุมชน การเลี้ยงส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยลานหากินตามธรรมชาติผสมผสานกับการทา สวนผลไม้ มีคอกไก่เปิดและปิดออกหากินเป็นเวลา - กลุ่มกิจกรรมประมง 1. กิจกรรมเลี้ยงปลาดุก มีสมาชิกรับผิดชอบ 2 คน ทาหน้าที่ให้อาหารปลา และจด บันทึกให้แก่ครูผู้รับผิดชอบ ดาเนินการเลี้ยงปีละ 3 รุ่น ๆ ละ 2,000 ตัว ประสบปัญหาสภาพน้าเป็นกรด มีหินปูนปะปนทาให้มีอัตราปลาตายสูง
41
2. กิจกรรมเลี้ยงปลากินพืชในบ่อดิน รับผิดชอบโดย นายการิหย้า บุญพล เกษตรกรจิต อาสา นาพันธุ์ปลาน้าจืด จานวน 5,000 ตัว ปล่อยเลี้ยงในบ่อดิน หากินตามธรรมชาติ ร่วมกับอาหาร สาเร็จรูป โดยเกษตรกรจิตอาสาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด โรงเรียนใช้เป็นจุดเรียนรู้การเลี้ยง ปลาน้าจืดให้แก่เด็กนักเรียนและประชาชนผู้สนใจ - กลุ่มกิจกรรมเลี้ยงแพะนม มีสมาชิกเป็นเกษตรกรในเขตบริการ 7 คน โดยร่วมกับสานักงาน ปศุสัตว์อาเภอร่อนพิบูลย์และสานักงานปศุสัตว์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดตั้งกลุ่มเลี้ยงแพะบ้านเขาวัง ขึ้น ปัจจุบันโรงเรียนได้นาแพะนมที่คลอดลูกแล้วจานวน 2 ตัวมาเลี้ยง เพื่อสาธิตให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธ การเลี้ยงแพะ และรีดนมแพะด้วยตนเอง
แผนการผลิตพืช / สัตว์ / ประมง ปีการศึกษา 2556 42
แม้โรงเรียน ตชด. บ้านเขาวัง จะเดินทางสัญจรลาบาก แต่ก็มีหน่วยงานหลายองค์กรให้การ สนับสนุนด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1. สานักงานเกษตรอาเภอร่อนพิบูลย์ / สานักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุน เมล็ดพันธุ์ผัก/ปุ๋ย และจัดอบรมความรู้ด้านการเกษตรแก่ครูและชาวบ้าน ปีละ 1ครั้ง 2. สานักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนพันธุ์ปลาดุก และอาหารเม็ด 3. สานักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนเวชภัณฑ์สาหรับดูแลรักษาโรค ไก่ไข่ 4. บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จากัด มหาชนสนับสนุนพันธุ์ไก่ไข่ พร้อมอาหาร รุ่นแรก (รุ่นต่อมา โรงเรียนจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนกิจกรรมได้เองถึงปัจจุบัน) 5. ศูนย์ปราบปรามศัตรูพืช จ.สุราษฏร์ธานี สนับสนุนจัดอบรมให้ความรู้ด้านการกาจัดศัตรูพืช แก่ ครู/นักเรียน/ผู้ปกครอง 6. กลุ่มงานเคหกิจเกษตร สานักงานพัฒนาเกษตรกร จังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนจัดอบรม ให้ความรู้ด้านการถนอมอาหาร แก่ครู นักเรียน และผู้ปกครอง 7. กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 42 สนับสนุนกองกาลังพล เพื่อปรับพื้นที่แปลง เกษตร และสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ด้านกิจกรรมเกษตรและปศุสัตว์ จากแปลงสาธิต 8. สถานวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ จังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนพันธุ์ไก่พื้นเมืองจานวน 24 ตัว 9. กรมพัฒนาที่ดิน จังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนปุ๋ยคอกมูลวัว และแกลบเผา บารุงดิน สาหรับเตรียมแปลงเกษตร ปีละ 1 ครั้ง 10. วิทยาลัยการอาชีพ จังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนก้อนเชื้อเห็ด และอบรมความรู้การ เพาะเห็ดนางฟ้า รุ่นแรก และสนับสนุนไก่ไข่ พันธุ์ปศุสัตว์ และเวชภัณฑ์ดูแลไก่ แม้ในช่วงที่ทีมวิจัยลงพื้นที่โรงเรียน ตชด. บ้านเขาวัง ครูใหญ่ (รต.คาพล รังคะวงษ์ ) เพิ่งเข้ามา รับตาแหน่งครูใหญ่ได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น ผู้ให้ข้อมูลทั่วไปส่วนใหญ่จึงเป็นครูผู้ช่วย (ด.ต. สมพงษ์ ไชย สุวรรณ ) ประธานกรรมการสถานศึกษา/แกนนาชุมชน (นายวิเชียร โต๊ะหวาน) และครูผู้รับผิดชอบ ซึ่งได้ ดาเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องตามแผนงานประจาปี แต่จากการสัมภาษณ์และพูดคุย พบว่าครูใหญ่เอง ก็มีความเข้าใจในปัญหาและบริบทของชุมชน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อบทบาทการสานต่อในการดาเนิน กิจกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ ทั้งนี้ สามารถสรุปบทบาทของผู้บริหารต่อการดาเนินงานกิจกรรมด้านการเกษตรในโรงเรียนได้ ดังนี้ - จัดสรรกาลังครู แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อสานทุกกิจกรรมให้ดาเนินอย่างต่อเนื่อง - จัดหาทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกด้วยการใช้หลักการสร้างปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงาน อื่นๆ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อหาช่องทางในการขอรับการสนับสนุน หรือเขียนโครงการขอเพื่อ งบประมาณสนับสนุนอื่น ๆ เพิ่มเติม - สร้างความสัมพันธ์กับมวลชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและลดแรงต้าน ด้วยการให้การสนับสนุน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนทุกด้าน - เอาใจใส่ต่อปัญหาของคนในชุมชน และพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มกาลัง จากกิจกรรม การติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียน หากพบปัญหาก็รีบดาเนินการประสานหาแนวทางแก้ไข เช่น ขอสนับสนุน 43
กาลังพลและจัดระดมทุนเพื่อจัดซื้อวัสดุ ซ่อมแซมบ้านให้แก่นักเรียนที่มีฐานะยากจนและบ้านพักอาศัย ชารุดทรุดโทรม - นอกจากนี้ ครูใหญ่และครูทุกคนมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนอยู่เสมอผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทาให้ สามารถนาความรู้ด้านการเกษตรแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านตลอดเวลา ความร่วมมือจากประชาชนและแกนนาชุมชน เป็นที่น่าสนใจว่า แกนนาชุมชนนี้ให้ความสาคัญกับเรื่องปากท้องและกิจกรรมของโรงเรียนเป็น พิเศษ ชุมชนยินดีให้ความร่วมมือกับโรงเรียนอย่างสม่าเสมอ ไม่เฉพาะในช่วงที่มีกิจกรรมพิเศษเท่านั้น แต่ความร่วมมือต่าง ๆ ฝังลึกมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ - เข้าประชุมร่วมกับโรงเรียนสม่าเสมอ เพื่อรับทราบปัญหา แลกเปลี่ยนความรู้ทางการเกษตร เพื่อพัฒนากิจกรรมให้ประสบผลสาเร็จ เช่น การเปิดเพลงให้ไก่ไข่ฟังเพื่อลดความเครียดให้ไก่ไข่ และเพิ่ม ผลผลิตไข่ไก่ - เป็นสื่อกลางในการนามวลชนร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนเช่น การประชาสัมพันธ์รับสมัคร เครือข่ายเกษตรกรอาสาเพื่อดาเนินกิจกรรมฟาร์มสาธิต - เป็นแกนนามวลชน และสื่อกลางระหว่างโรงเรียนกับชุมชน - เป็นที่ปรึกษาให้กับครูใหญ่ และครูผู้สอน ในกรณีที่ต้องขอการสนับสนุนด้านอื่นๆ - ปราชญ์ชาวบ้าน ให้ความรู้และข้อมูลโรงเรียนแก่หน่วยงานที่ต้องการได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก เป็นหนึ่งในผู้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนและร่วมบุกเบิกก่อตั้งมาตั้งแต่แรกเริ่ม ในขณะที่ประชาชนที่มีจิตอาสาจานวนมากยินดีจะช่วยงานของโรงเรียนในรูปแบบที่ตัวเองถนัด เช่น - สละพื้นที่เพื่อกิจกรรมด้านการเกษตร - ชาวบ้านใกล้โรงเรียนอนุญาตให้โรงเรียนนาพันธุ์ปลากินพืชไปปล่อยในบ่อน้าของตนเอง แล้ว ยังอาสาช่วยดูแลให้อาหารปลาอีกด้วย นอกจากนี้ บริเวณริมบ่อยังใช้ปลูกพืชผักสวนครัวอีกด้วย ผลผลิต ที่ได้โรงเรียนจะนาไปแปรรูปเป็นอาหารกลางวันสาหรับเด็ก - หนึ่งในคณะกรรมการสถานศึกษา นายการิหย้า บุญพล เป็นจิตอาสาคอยดูแลกิจกรรมทั่วไป ของโรงเรียน เช่น เป็นนักการภารโรง ช่างซ่อมบารุง ดูแลระบบชลประทานในโรงเรียน ให้การสนับสนุน ดูแลความเรียบร้อยของทุกกิจกรรมโรงเรียน โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นมาตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนถึง ปัจจุบัน
44
บ่อปลากินพืช ซึ่งชาวบ้านใกล้โรงเรียนยกให้โรงเรียนใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ แถมช่วยดูแลปลาและพืชผักริมบ่อให้ด้วย การป้องกันกาจัดศัตรูพืช การบารุงดิน และจัดการระบบน้า การกาจัดศัตรูพืช ซึ่งมีไม่มากนัก กระทาด้วย 2 วิธี ดังนี้ - ใช้วิธีกาจัดด้วยมือ เช่น ถอนหญ้า หรือเก็บแมลงรบกวนออกด้วยมือ - กาจัดแมลงศัตรูพืชด้วยวัชพืชจากสมุนไพร มีสูตรต่าง ๆ ดังนี้ 1. สูตรน้าหมักจากต้นหางไหล ใช้ต้นหางไหลมาตาและคั้นน้า ผสมกับน้าส้มสายชู / ยา เส้น / บอระเพ็ด หมักไว้ 7 วัน แล้วมาฉีดพ่น 2. สูตรน้าหมักจากยาเส้น ใช้ยาเส้นมาหมักน้า 1 คืน แล้วนามาใช้ 3. สูตรน้าหมักจากใบสะเดา ใช้ใบสะเดา / ข่า / ใบกระเทียม / กากน้าตาล / น้าส้มสายชู / สุรา สาหรับการบารุงดินที่โรงเรียนต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เนื่องจากดินแถวนี้เป็นดินปนหินและที่ลาดชัน จึงต้องมีวิธีบารุงและจัดการดินหลากหลายวิธี ดังนี้ - ใช้ปุ๋ยคอกจากมูลไก่ไข่ในบ่อหมัก มาผสมดินเพื่อเพิ่มสารอินทรีย์ในดิน 45
- ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ จากเศษใบไม้ เศษอาหารเหลือจากโรงครัว และนมผงบางส่วนที่หมดอายุ หรือเสียหายจากการจัดเก็บรักษามาบารุงดิน - ใช้มูลวัวและแกลบเผา ช่วยทาให้ดินร่วน - สาหรับแปลงเกษตรสาหรับเป็นแปลงสาธิตของนักเรียนหรือปลูกผักอายุสั้น โรงเรียนจะ ซื้อหน้าดินมาเพื่อยกร่องทาแปลงเกษตรปีละ 2 ครั้ง ในเรื่องการจัดการน้า น้าภูเขามีสารละลายหินปูนสูง คราบหินปูนมักเกาะตามใบไม้ทาให้ใบไม้ สังเคราะห์แสงได้ไม่ดี จึงไม่เหมาะนามารดน้าต้นไม้ สาหรับน้าเสียจะมีระบบบาบัดน้าเสียจากโรงครัว ด้วยบ่อดักไขมันและปล่อยผ่านชั้นพืชดูดน้า 3 ชั้น (จอก/แหน ผักบุ้ง หญ้าแฝก) เทคนิคด้านการเกษตร - การเลี้ยงไก่ไข่ โดยให้ไก่ไข่ดื่มน้าผสมฟ้าทะลายโจรเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัด และบารุงร่างกายไก่ - การปลูกผักในกระสอบและยางรถยนต์ เพื่อแก้ปัญหาข้อจากัดด้านพื้นที่ในการทาแปลงเกษตร และง่ายต่อการให้น้า/ปุ๋ย - การเพาะถั่วงอกด้วยการรดน้าหมักชีวภาพ ทาให้ได้ผลผลิตเจริญเติบโตเร็วขึ้นและอวบ มากกว่าการรดน้าปกติ การจัดการผลผลิตที่เกิดขึ้น ผลผลิตที่มีถูกจัดการเป็น 4 วิธี ได้แก่ 1. ผลผลิตส่วนมากถูกเก็บนาส่งให้แก่โรงครัว ผ่านระบบสหกรณ์เพื่อจาหน่ายให้โรงครัวนาไป ประกอบอาหารกลางวัน โดยทุกกิจกรรมมีบัญชีกองทุนหมุนเวียนแยกตามรายกิจกรรม สาหรับผักสวน ครัวรอบโรงเรียนจะถูกนักเรียนเก็บมาให้แม่ครัว 2. ผลผลิตบางส่วน เช่น ผัก ไข่ไก่ ให้แก่นักเรียนเพื่อเป็นค่าตอบแทนเด็กดูแลจนได้ผลผลิต 3. ผลผลิตบางส่วนที่เหลือถูกจาหน่ายแก่ผู้ปกครอง ผ่านร้านค้าสหกรณ์ เช่น ไข่ไก่ซึ่งถือว่าราคา ถูกกว่าท้องตลาด นอกจากนี้ โรงเรียนยังยินดีให้ผู้ปกครองเก็บพืชผักในบริเวณโรงเรียน เช่น มะเขือ ถั่วฝักยาว ถัว่ พู กลับไปเป็นอาหารที่บ้านได้อีกด้วย 4. พันธุ์พืชบางส่วนที่สามารถเพาะพันธ์ได้เอง เช่น มะละกอ ผักหวานโขลงช้าง กระวาน ต้นเหรี ยง ฯลฯ โรงเรียนจะเพาะและขยายพันธุ์เอง จัดทาเป็นกองทุนต้นกล้า เพื่อนามาปลูกในโรงเรียนและ แบ่งปันให้นักเรียนและชาวบ้านนากลับไปปลูกที่บ้าน เพื่อต่อยอดผลผลิตและแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชระหว่าง โรงเรียนกับชุมชนต่อไป ส่วนพืชผักอายุสั้นในแปลงเกษตร เช่น ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง มะเขือเปราะ จะ ได้รับการสนับสนุนจากสานักงานเกษตรอาเภอ/เกษตรจังหวัด ปีละ 2ครั้ง เป็นประจาทุกปี สาหรับการขยายพันธุ์สัตว์ที่ใช้เลี้ยงในโรงเรียน สามารถเพาะพันธุ์ได้เฉพาะปลากินพืช อย่างปลา นิลเท่านั้น โดยให้เป็นไปตามกลไกธรรมชาติในบ่อดิน ส่วนสัตว์ชนิดอื่นยังไม่มีการขยายพันธุ์ไว้ใช้เอง โดยไก่ไข่ที่ปลดระวางในราคาต่าให้ชาวบ้านนาไปเลี้ยงปล่อยละแวกบ้านในช่วงปลายปีการศึกษา
46
พืชท้องถิ่นที่ตอนกิ่งไว้แจกชาวบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้การเกษตร - จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาการเกษตรในรายวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ - มีการจัดกลุ่มการเกษตร โดยให้นักเรียนเลือกลงกลุ่มตามความสมัครใจ - ขยายกิจกรรมปศุสัตว์ลงสู่ชุมชน และจัดให้เป็นศูนย์เรียนรู้/สาธิตแก่นักเรียน เพื่อขยายผลการ เรียนรู้ลงสู่ชุมชน นอกจากนี้ ทุกกิจกรรมโครงการบูรณาการการเรียนรู้เข้ากับการเรียนการสอน ทั้ง 8 กลุ่มสาระ นามาบูรณาการร่วมกับรายวิชา 8 กลุ่มสาระ ได้ดังนี้ 1. วิชาภาษาไทย จัดกิจกรรมเขียนเรียงความ/บทความ แต่งนิทาน แต่งกลอน เล่าเรื่อง เกี่ยวกับ กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ 2. วิชาภาษาอังกฤษ จัดกิจกรรมเรียนรู้คาศัพท์และแต่งประโยค 3. วิชาคณิตศาสตร์ สอนการทาบัญชีฟาร์ม การคิดราคาซื้อขาย การเฉลี่ยอาหาร อัตราผลผลิต 4. วิชาสังคมศึกษา สอนเรื่อง เศรษฐกิจ/ปัจจัยการขึ้นและลงของราคาขายไข่ไก่ การประยุกต์ใช้ หลักเศรษฐกิจพอเพียง 5. วิชาสุขศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของไข่ไก่ โรคไข้หวัดนกและการป้องกัน 6. วิชาวิทยาศาสตร์ ศึกษาวงจรชีวิตของไก่ ชนิดและสายพันธุ์ไก่ 7. วิชาการงานอาชีพฯ ศึกษาการจัดการฟาร์ม วิธีให้อาหารไก่ การจัดการผลผลิต การแปรรูป และประกอบอาหาร 8. วิชาศิลปะ นาเปลือกไข่มาประดิษฐ์งานศิลปะ ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีการจัดทาหลักสูตรท้องถิ่นขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้วย การนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณีวัฒนธรรมมาบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน เพื่อสร้าง 47
ความสัมพันธ์กับชุมชนและสร้างอาชีพ ครอบผลไม้ พิธีกวนอาซูรอ เป็นต้น
เช่น หลักสูตรสอนการทาไม้กวาดดอกหญ้า การสาน ‘กล’
กิจกรรมการสอนทากลครอบผลไม้ (บางพื้นที่เรียก โคระ หรือ รังจาปาดะ) เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อใช้ป้องกันโรคแมลงในผลไม้ เช่น ขนุน จาปาดะ ซึ่งครู ตชด.นามาสอนในวิชาหลักสูตรท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ได้รู้จักภูมิปัญญาของชุมชน ผู้ได้รับประโยชน์จากการเกษตรในโรงเรียน จากการดาเนินงานด้านการเกษตรในโรงเรียน พบว่ามีผู้ได้รับประโยชน์ที่หลากหลายแตกต่างกัน ดังนี้ เด็ก - ได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษส่งผลให้มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น - มีทักษะความรู้ด้านการเกษตร มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบมากขึ้น - มีสุขภาพพลานามัยที่ดี ได้ออกกาลังกายสะสม จากการลงมือปฏิบัติงานดูแลแปลง เกษตร ครู - ได้แนวคิด/ความรู้ทางการเกษตร จากการอบรมและลงมือปฏิบัติจริง - ได้สร้างปฏิสัมพันธ์ต่อชุมชนผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ และพืชพันธ์ทางการเกษตร - ได้รับการยอมรับจากชุมชนและแวดวงทางการศึกษาจากความสาเร็จของกิจกรรม โรงเรียน - เป็นศูนย์กลางกิจกรรมสัมพันธ์ของชุมชน - มีรายได้จากการจาหน่ายผลผลิตทางการเกษตร นามาเป็นเงินทุนหมุนเวียน สามารถ ดูแลตนเองได้ ครอบครัว- ได้รับผลผลิตทางการเกษตรจากโรงเรียนผ่านเด็กนักเรียน - ได้รับพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ไปขยายผลในครัวเรือน 48
- ได้รับความรู้ด้านการเกษตรจากการอบรมประจาปี - ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารกลางวันให้แก่บุตรหลาน ผลการดาเนินงานที่โรงเรียนภาคภูมิใจ 1. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 การคัดเลือกโรงเรียนโครงการตามพระราชดาริ กิจกรรมเลี้ยง สัตว์ดีเด่น ระดับสานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 8 ประจาปี 2550 ปี 2553 และรางวัลชนะเลิศใน ปี 2555 2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่1 การคัดเลือกโรงเรียนโครงการพระราชดาริ กิจกรรมปศุสัตว์ ดีเด่น ระดับสานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 8 ประจาปี 2551 และปี 2552 การบริการอาหารของโรงเรียน การจัดบริการอาหารอยู่ในความรับผิดชอบของด.ต.สุวิทย์ เทวบุรี ด.ต.ถาวร รื่นรมย์ และ ส. ต.ท.หญิง มลฤดี ขวัญคีรี โดยผู้บริหารให้ความสาคัญกับเรื่องโภชนาการเด็กนักเรียนเป็นสิ่งสาคัญ ส่งเสริมโครงการเกษตรและปศุสัตว์เพื่ออาหารกลางวัน โดยมุ่งเน้นให้โรงเรียนมีผลผลิตวัตถุดิบที่ปลอด สารพิษ และมีคุณภาพ ครูผู้รับผิดชอบจะวางแผนประกอบอาหารกลางวันควบคุมคุณภาพ การปรุงอาหาร และปริมาณ อาหารที่เด็กควรได้รับตามภาวะโภชนาการ ร่วมกับแม่ครัวจากกลุ่มแม่บ้านจิตอาสาที่มาประกอบอาหาร ในแต่ละวัน และมีเด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการเตรียมวัตถุดิบ เช่น เก็บผักสวนครัว มาประกอบเป็น วัตถุดิบสาหรับอาหารกลางวัน นักเรียนชั้น ป.3–ป.6 จะผลัดเวรกันช่วยหุงข้าวหม้อแรกในช่วงเช้าก่อนที่ แม่ครัวจะมา (แต่ละวันใช้ 2 หม้อ) ส่วนหม้อที่สอง แม่ครัวจะมาหุงเอง นักเรียนช่วยชงนมผง พระราชทานก่อนเข้าเรียน ส่วนนักเรียนกลุ่ม อย.น้อย คอยดูแลความสะอาดถาดอาหารหลังจากที่เพื่อน นักเรียนล้างเสร็จ และช่วยทาความสะอาดโรงครัว
คัดฉาก กินข้าวแบบทหาร นอกจากจะมีบทอาขยานให้ท่องเช่นเดียวกันกับนักเรียน ตชด. ทุกแห่งแล้ว ที่นี่ยังเพิ่มเนื้อหาสรรเสริญ (ดุอาห์) พระเจ้า (อัลลอฮ์) อีกด้วย “......บิสมินลาฮิรเราะห์หมานนิรเราะห์ฮีมอัลลอฮ์ฮุมมาบาริกกลานา ฟีมารอซักกานา ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งในความเมตตา ผู้ทรงยิ่งในความกรุณา ขอขอบคุณผู้ประกอบเลี้ยงอาหาร....” 49
ผักหวานโขลงช้าง สามารถนามาปรุงได้หลากหลาย เช่น ลวกจิ้มน้าพริก แกงเลียง แกงจืด ฯลฯ
ตัวอย่างรายการอาหารกลางวัน วัน/วันที่ รายการอาหารกลางวัน เดือนมีนาคม 2557 จันทร์ ข้าวสวย แกงส้มปลาฟักเขียว ไข่เจียว 3, 10, 17, 24, 31 อังคาร ข้าวสวย แกงกะทิไก่กล้วยดิบ ผัดเห็ดนางฟ้า 50
หมายเหตุ
4, 11, 18, 25 พุธ 5, 12, 19, 26 พฤหัสบดี 6, 13, 20, 27 ศุกร์ 7, 14, 21, 28
ถั่วเขียวต้มน้าตาล ข้าวสวย ผักรวมผัดกระเพราไก่ ไข่ดาว นักเรียนดื่มนมทุกวัน ข้าวสวย น้าพริก-ผักสด ปลาทอด แกงเลียงผักรวม วันละ 1 แก้ว (200 ซีซี) ถั่วเขียวต้มน้าตาล ข้าวสวย ต้มกะทิปลามะละกอ ไข่ต้ม
- นักเรียนจะได้รับประทานไข่ อาทิตย์ละ 3 วัน คือวัน จันทร์ วันพุธ และ วันศุกร์ - ทุกสัปดาห์ จะมี 1 วันที่บริการเมนู ปลาทอด น้าพริก-ผักสด แกงเลียง เพื่อสนับสนุนให้เด็ก ได้รับประทานผักและอาหารทะเล - มีบริการขนมหวานเป็นถั่วเขียวต้มน้าตาล อาทิตย์ละ 2 วัน คือวันอังคาร และวันพฤหัสบดี - เด็กนักเรียนดื่มนมทุกวันๆละ 1 แก้ว (200 ซีซี) - เด็กนักเรียนทุกคนต้องนาผักมาจากบ้าน เพื่อรับประทานเป็นเครื่องเคียงร่วมกับอาหาร กลางวันทุกวัน หากลืมหรือไม่มีผักที่บ้าน เด็กก็สามารถมาเก็บผักจากแปลงเกษตรภายใน โรงเรียนได้
วันนี้ เด็กหญิงชั้นประถมคนหนึ่งนาใบเล็บครุฑมาจากที่บ้าน ทานเคียงกับอาหารกลางวัน แม่ครัวที่มาบริการปรุงอาหารให้แก่เด็กนักเรียน เป็นแม่ครัวจิตอาสา จากกลุ่มแม่บ้านในชุมชน ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ปกครองที่รวมกลุ่มกันภายในเขตละแวกบ้าน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามชื่อบ้าน ได้แก่ 1. กลุ่มบ้านหน้าโรงเรียน 2. กลุ่มบ้านตีน 3. กลุ่มบ้านตก 4. กลุ่มบ้านสุเหร่า 5. กลุ่มบ้านหน้าถ้า ซึง่ แต่ละกลุม่ จะสลับเวรแบ่งเป็นกลุม่ บ้านละ 1 วัน วันละประมาณ 2-3 คน รับผิดชอบการ บริการอาหารกลางวันทุกขั้นตอน โดยมีครูผู้รับผิดชอบคอยดูแล ควบคุมคุณภาพ ตั้งแต่จัดหาซื้อวัตถุดิบ 51
เพิ่มเติมจากผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียน ปรุงอาหาร ตักอาหาร และจัดล้างอุปกรณ์ โดยโรงเรียน มีงบประมาณให้วันละ 700 บาท ส่วนเกินจากงบประมาณ แม่ครัวจะลงขันจ่ายกันเองเพื่อช่วยเหลือ โรงเรียน
หนึ่งในทีมแม่ครัวอาสาจาก 5 หมู่บ้านที่จัดเวรกันมาประกอบอาหารกลางวันและซื้ออาหารสด จากตลาด บางครั้งค่าใช้จ่ายเกินกว่างบที่มี ซึ่งแม่ครัวอาสาในวันนั้นก็ยินดีออกเงินเพิ่มให้เอง โดยไม่ได้มาเรียกร้องเพิ่มจากทางโรงเรียน นอกจากบริการอาหารประจาวัน ในบางโอกาสที่มีแม่ครัวหรือชาวบ้านเดินทางไปใกล้ทะเลก็จะ เก็บยอดใบชะคราม เพื่อนามาปรุงเป็นเมนู ยาใบชะคราม ซึง่ ใบชะครามเป็นพืชที่มีสารไอโอดีนสูง จัดเป็นเมนูพิเศษประจาเดือนให้แก่เด็กนักเรียน ด้วยโรงเรียนมีนโยบายให้เด็กนักเรียนทุกคนต้องนาผักมาจากบ้าน เพื่อเป็นเครื่องเคียงร่วมกับ การรับประทานอาหารกลางวันทุกวัน โดยมีนักเรียนเวรประจาวันคอยตรวจสอบเพื่อนนักเรียนระหว่าง ตัง้ แถวเตรียมรับประทานอาหาร หากนักเรียนคนไหนไม่ได้นาผักมาจากบ้านก็สามารถไปเก็บผักใน โรงเรียนมาได้
52
ภาพตัวอย่าง ใบชะคราม* ชะครามเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีคุณค่าทางโภชนาการ ทางภาคใต้นิยมนามาประกอบอาหาร เช่น ใบ ชะครามลวกจิ้มน้าพริก ยาเมี่ยงใบชะคราม แกงส้มใบชะคราม ห่อหมกใบชะคราม เป็นต้น บทบาทผู้ปกครองและชุมชน ชุมชนโดยรอบโรงเรียนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนเป็นอย่างดี มีกลุ่มแม่บ้าน อาสาสมัครรวมกลุ่มแม่ครัวมาช่วยประกอบอาหารกลางวันทุกวัน นอกจากนี้ บ่อยครั้งที่ชาวบ้านยัง แบ่งปันผลผลิตทางการเกษตร มาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารเพื่อลดภาระต้นทุน ซึ่งผลผลิตส่วน หนึ่งก็มาจากที่ชาวบ้านนาไปขยายพันธุ์ที่บ้านนั่นเอง นอกจากนี้ ประชาชนบางรายยังร่วมเป็นแหล่งผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ให้กับโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนมีข้อจากัดด้านพื้นที่ โดยผู้นาชุมชนร่วมกับโรงเรียนแบ่งจัดสรรตามความสมัครใจ
53
การติดตามภาวะโภชนาการ การติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน รับผิดชอบโดย ส.ต.อ.หญิงมลฤดี ขวัญคีรี ครู ตชด. สตรีคนเดียวของโรงเรียน โดยครูจะชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูง ปีละ 4 ครั้ง (เทอมละ 2 ครั้ง วันเปิดภาคเรียน และก่อนปิดภาคเรียน) นักเรียนชั้นปฐมวัยและประถมศึกษาตอนต้น ครูผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดาเนินการ ทั้งหมด ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายสามารถชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูงด้วยตัวเอง แต่มีครูคอย ควบคุมความถูกต้อง นักเรียนทุกคนมีสมุดบันทึกผลการติดตามภาวะโภชนาการ จากผลการประเมินภาวะโภชนาการ (แปรผลด้วยใช้หลักเกณฑ์ 3 กราฟ) ในปีที่ผ่านมา สามารถ สรุปผลได้ดังนี้ เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ พบว่ามีนักเรียนชั้นปฐมวัยมีน้าหนักตัวต่ากว่าเกณฑ์ จานวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 21.42 เด็ก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีน้าหนักตัวต่ากว่าเกณฑ์ จานวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 10.71 เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน พบในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา จานวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.57 เมื่อได้ผลประเมินภาวะโภชนาการแล้ว ครูผู้รับผิดชอบดาเนินการชี้แจงให้ผู้ปกครองทราบ ในที่ ประชุมผู้ปกครอง ทุกวันพุธที่ 2 ของเดือน เพื่อให้ผู้ปกครองรับทราบและร่วมติดตามภาวะโภชนาการ เด็กอย่างใกล้ชิดที่บ้าน มีการให้ความรู้เรื่องหลักโภชนาการที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครอง และกิจกรรมเยี่ยม บ้านนักเรียนเพื่อติดตามสภาพความเป็นอยู่ที่บ้าน จากการติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการหรือภาวะเสี่ยงพบว่าเกิดจากพฤติกรรมการไม่ รับประทานอาหารเช้า ปัญหาความยากจนของครอบครัว และลักษณะเฉพาะทางกรรมพันธุ์ โดยทาง โรงเรียนมีมาตรการทั้งเชิงรับและเชิงรุก ดังนี้ - ให้ความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้อง ปลูกฝังให้เด็กนักเรียนทุกคนรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ด้วยการสอดแทรกในรายวิชาสุขศึกษา - เด็กนักเรียนกลุ่มมีน้าหนักน้อยและเตี้ยจะได้รับปริมาณอาหารเพิ่มจากเด็กปกติ โดยให้เด็ก นักเรียนแจ้งต่อแม่ครัวด้วยตนเอง - เด็กนักเรียนทุกคนต้องดื่มนม วันละ 1 แก้ว ปริมาณ 200 ซีซี ทุกวัน เด็กที่มีภาวะทุพ โภชนาการ ดื่มนมเพิ่มเป็นวันละ 2 แก้ว และได้รับนมไปดื่มที่บ้าน - เด็กนักเรียนที่มีส่วนสูงต่ากว่าเกณฑ์ ต้องเข้าร่วมกิจกรรมหนูน้อยกระโดดเชือก เพื่อเสริมการ ออกกาลังกาย พร้อมทั้งจดบันทึกส่งรายงานแก่ครูผู้รับผิดชอบด้วยตนเอง - เด็กนักเรียนที่มีน้าหนักเกินเด็กอ้วน ถูกจัดให้เป็นนักกีฬาเปตองของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมการ ออกกาลังกาย - ออกข้อบังคับและขอความร่วมมือผู้ปกครองห้ามนักเรียนนาขนมขบเคี้ยวมาทานที่โรงเรียน และไม่มีการจาหน่ายขนมขบเคี้ยวทั้งในและนอกโรงเรียน
54
เปตอง : กีฬาประจาของโรงเรียน ตชด. เด็กนักเรียนที่มีน้าหนักเกินเกณฑ์ (ซึ่งก็มีไม่มากนัก) ถูกจัดให้เป็นนักกีฬาเปตองของโรงเรียน การดาเนินงานด้านการติดตามภาวะโภชนาการได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ในพื้นที่ ได้แก่ 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลบ้านขุนพัง สนับสนุนบริการสาธารณสุข เช่น ชั่งน้าหนัก วัด ส่วนสูง ประเมินภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน 2. โรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สนับสุนนกิจกรรมชมรม อย.น้อย เพื่อสร้าง นักเรียนแกนนาด้านโภชนาการ ผู้ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมการติดตามภาวะโภชนาการ ได้แก่ นักเรียน : มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นและสามารถประเมินภาวะโภชนาการของตนเองได้จากการ ลงมือปฏิบัติชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูงด้วยตนเอง ครู : ได้พัฒนาตนเอง ด้านทักษะการแปรผลภาวะสุขภาพ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชนจาก การร่วมติดตามภาวะโภชนาการ ผู้ปกครอง : ได้รับความรู้เรื่องหลักโภชนาการที่เหมาะสม และลดอัตราการเจ็บป่วยในอนาคต ของบุตรหลานและบุคคลในครอบครัว การพัฒนาสุขนิสัย การส่งเสริมพัฒนาสุขนิสัยผ่านกิจกรรมโครงการและแกนนานักเรียน ควบคู่กับการสอดแทรก ความรู้ผ่านการเรียนการสอน ทุกวันก่อนเข้าชั้นเรียนมีการตรวจความสะอาดของผม เล็บ เสื้อผ้า รองเท้า หน้าเสาธงโดยครูประจาเวร และแกนนานักเรียนแบบพี่ดูแลน้อง เพื่อนดูแลเพื่อน เด็กนักเรียน 55
ทุกคนมีอุปกรณ์จาพวก แก้วน้าดื่ม แปรงสีฟัน ยาสีฟันและผักเครื่องเคียงที่นามาจากบ้านเป็นของตัวเอง แกนนานักเรียนจะคอยตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ระหว่างตั้งแถวเข้ารับประทานอาหารกลางวัน ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันเสร็จ
ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนบริโภคผัก ลด หวาน มัน เค็ม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยมี การควบคุมไม่ให้มีการจาหน่าย ขนมขบเคี้ยวและน้าอัดลมภายในและรอบ ๆ โรงเรียนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และห้ามนักเรียนนาขนมขบเคี้ยว น้าอัดลม มาบริโภคที่โรงเรียน มีกิจกรรมโครงงานเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง และป้องกันโรคติดต่อ เช่น โครงงานทาน้าตะไคร้สมุนไพร โครงงานประดิษฐ์เทียนตะไคร้หอมไล่ยุง โครงงานผลิตถ่านจากเปลือกมังคุดลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ กิจกรรมการแข่งขันกีฬา ทั้งระดับท้องถิ่นและ ระดับประเทศ เป็นต้น มีการแต่งตั้งผู้นานักเรียนเพื่อเป็นแกนนาการส่งเสริมสุขภาพ 8 ด้านได้แก่ 1. ผู้นานักเรียนฝ่ายดูแลห้องพยาบาล และบริการจ่ายยาตามครูแนะนา มีหน้าที่ทาความสะอาด ห้องพยาบาล จัดยาและเวชภัณฑ์ พร้อมทั้งให้บริการด้านสุขภาพ จานวน 2 คน 2. ผู้นานักเรียนฝ่ายดูแลการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน มีหน้าที่ดูแลการแปรงฟันหลังอาหาร กลางวันของนักเรียนทุกคน จานวน 2 คน 3. ผู้นานักเรียนฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพอาหาร และสินค้าที่นามาปรุง อาหารในโรงเรียน ตลอดจนดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการรับประทานอาหารกลางวันในแต่ละ วัน จานวน 2 คน 4. ผู้นานักเรียนฝ่ายตรวจสอบอาหารกลางวัน มีหน้าที่ตรวจ/สารวจคุณภาพอาหารที่นามา ประกอบอาหารในแต่ละวันว่ามีคุณค่าทางโภชนาการครบหลัก 5 หมู่ หรือไม่ จานวน 2 คน 5. ผู้นานักเรียนฝ่ายสินค้าในร้านสหกรณ์โรงเรียน มีหน้าที่ตรวจสอบสินค้าที่นามาขายในร้านค้า สหกรณ์ จานวน 3 คน 56
6. ผู้นานักเรียน ฝ่ายดูแลด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน มีหน้าที่ดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ห้อง ส้วม สารวจแหล่งน้าขังในโรงเรียน แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จานวน 8 คน 7. ผู้นานักเรียนฝ่ายกาจัดเหา มีหน้าที่ให้ความรู้ ตรวจและดูแลการกาจัดเหา จานวน 6 คน 8. ผู้นานักเรียนฝ่ายดูแลน้าดื่มในโรงเรียน มีหน้าที่ดูแลคุณภาพน้าดื่มและหยดสารไอโอดีน จานวน 2 คน การแต่งตั้งผู้นานักเรียนในแต่ละฝ่าย ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีแรงขับเคลื่อนให้ กิจกรรมประสบผลสาเร็จมากขึ้น นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เครื่องมือและกิจกรรมที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาสุขอนามัย ได้แก่ - สื่อโปสเตอร์ / แผ่นพับ ให้ความรู้การพัฒนาสุขนิสัย เช่น สาธิตการล้างมือ 7 ขั้นตอน /สาเหตุ โรคอ้วน /การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันและกาจัดเหา สุขบัญญัติ 10 ประการ - กิจกรรมชมรม / โครงการ เช่น ชมรม อย.น้อย ชมรมเด็กไทยฟันดี ชมรมเด็กไทยทาได้ ชมรม หนูน้อยรักส้วม โครงการคู่ซี้ปลอดเหา -กิจกรรมเล่าข่าวสุขภาพ -การประกวดวาดภาพ / แต่งนิทาน /แต่งกลอน /ผลิตสื่อการเรียนรู้ -บูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชา -หลักสูตรบูรณาการหน่วยการเรียนรู้ ฟ.ฟันสะอาดจัง ในโครงการโรงเรียนเครือข่ายเด็กไทยฟัน ดี ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 – 6 การดาเนินงานด้านพัฒนาสุขนิสัยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ได้แก่ 1. สานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่งเสริมกิจกรรมชมรมด้านสุขภาพ สนับสนุน แปรงสีฟันและยาสีฟัน 2. สานักงานสาธารณสุขอาเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สนับสนุนกิจกรรมเครือข่าย เด็กไทยฟันดี 3. โรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่งเสริมความรู้เรื่องสุขภาพปากและฟัน ให้บริการด้านทันตกรรมแก่นักเรียน 4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตาบลบ้านขุนพังสนับสนุนสื่อให้ความรู้ และบริการฉีดพ่น กาจัดยุงลาย 5. กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 42 สนับสนุนเวชภัณฑ์กาจัดเหา และโรคผิวหนัง
57
การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน นักเรียนทุกระดับชั้นร่วมทาความสะอาดพื้นที่โรงเรียนร่วมกันในตอนเช้า โดยแบ่งเขตพื้นที่ความ รับผิดชอบตามระดับชั้น มีครูประจาเวรและแกนนานักเรียนตรวจสอบความเรียบร้อย และรายงานหน้า เสาธง การคัดแยกขยะ แยกกระดาษไว้จาหน่าย เศษใบไม้และเศษอาหารจากโรงครัว นามาทาปุ๋ยหมัก /ปุ๋ยชีวภาพ พบปัญหาขยะจากถุงพลาสติกน้อย เนื่องจากโรงเรียนไม่มีการจาหน่ายขนมขบเคี้ยว 100 เปอร์เซ็นต์ มีปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนอยู่เสมอ โดยทุกวันก่อนเปิดภาคเรียน ครู นักเรียน และชุมชน ร่วมพัฒนาโรงเรียนปรับปรุงภูมิทัศน์โรงเรียนครั้งใหญ่ มีโครงการสวนพฤกษศาสตร์ เปิด โอกาสให้นักเรียนได้ใกล้ชิดพรรณไม้ เห็นถึงคุณค่า ประโยชน์และความสวยงาม อีกทั้งยังสร้างภูมิทัศน์ที่ สวยงามร่มรื่นให้แก่โรงเรียน ด้านน้าดื่ม/น้าใช้ น้าดื่ม ใช้น้าฝนผ่านเครื่องกรองน้าที่ได้รับบริจาคจากผู้มีจิตอาสา คุณภาพน้าผ่านเกณฑ์ มาตรฐานความปลอดภัย เด็กนักเรียนได้ดื่มน้าสะอาดเติมสารไอโอดีนเพียงพอต่อจานวนเด็ก
58
น้าใช้ ใช้ระบบประปาภูเขา สูบมาพักในบ่อพักน้าและปล่อยใช้ผ่านระบบท่อประปาภายใน โรงเรียน คุณภาพน้ายังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากพบสารหนูและสารละลายหินปูนปะปนในน้า ยัง พบปัญหาน้าใช้ไม่เพียงพอ ต้องเปิดใช้น้าเป็นช่วงเวลา สาหรับห้องน้ายังพบว่ามีจานวนห้องน้ามีไม่เพียงพอกับสัดส่วนนักเรียน การดาเนินงานด้านการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนฯ กากับดูแลโดย ด.ต.ชัชพงศ์ ขวัญคีรี โดยเน้นไปที่การปรับภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนให้ร่มรื่น โดยมีหน่วยงานสนับสนุน ดังนี้ 1. ศูนย์อนามัยที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนการเข้าตรวจสอบคุณภาพน้า 2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสนับสนุนพันธุ์พืช ปรับปรุงภูมิทัศน์และจัดสวนพฤกษศาสตร์การเรียนรู้ 3. สานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 หน่วยจัดการต้นน้าปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุน พันธุ์พืช ปรับปรุงภูมิทัศน์และจัดสวนพฤกษศาสตร์การเรียนรู้ 4. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนพันธุ์พืช ปรับปรุงภูมิทัศน์และจัด สวนพฤกษศาสตร์การเรียนรู้ 5. กรมป่าไม้ สานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 12 จังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนพันธุ์พืช ปรับปรุงภูมิทัศน์และจัดสวนพฤกษศาสตร์การเรียนรู้ 5. สโมสรโรตารี่ จังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนเครื่องกรองน้าดื่ม จานวน 1 เครื่อง 6. บริษัทกรุงเทพประกันภัย จากัด (มหาชน) สนับสนุนเครื่องกรองน้าดื่ม จานวน 1 เครื่อง 59
การจัดบริการสุขภาพ ส.ต.อ.หญิง มลฤดี ขวัญคีรี และ ด.ต.ชัชพงศ์ ขวัญคีรี เป็นครูผู้ดูแลการจัดบริการสุขภาพแก่ นักเรียน และรวมถึงประชาชนในพื้นที่ด้วย โรงเรียนมีอาคารพยาบาล 1 หลัง เปิดให้บริการทางสุขภาพเบื้องต้นแก่เด็กนักเรียนและคนใน พื้นที่ ได้รับการสนับสนุนเวชภัณฑ์จากกองกากับตารวจตระเวนชายแดนที่ 42 หน่วยแพทย์ พอ.สว. และ รพสต.บ้านขุนพัง แต่ยังคงไม่เพียงพอต้องจัดงบซื้อเพิ่มเติม มีกิจกรรมบริการสุขภาพแก่นักเรียน ได้แก่ - ตรวจความสะอาดร่างของเด็กนักเรียนทุกเช้าช่วงเข้าแถว - ให้บริการด้านการปฐมพยาบาลและรักษาโรคพื้นฐานแก่เด็กนักเรียนและประชาชนในพื้นที่ - ติดตามภาวะโภชนาการและปัญหาสุขภาพของเด็กที่พบปัญหาทั้งที่โรงเรียนและติดตามเยี่ยม บ้าน - บริการตรวจสุขภาพทั่วไป ชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูง ตรวจความสะอาดผม มือ เท้า เล็บ เพื่อหา เด็กทีม่ ีปัญหาเรื่องเหาและโรคผิวหนัง เมื่อพบเด็กที่มีปัญหาก็ดาเนินการจ่ายยารักษาตามอาการ โดย ได้รับความร่วมมือจาก รพ.สต.บ้านขุนพัง - บริการตรวจหาหนอนพยาธิ ประสานงานร่วมกับสาธารณสุขอาเภอร่อนพิบูลย์นาอุจจาระของ นักเรียนส่งตรวจหาหนอนพยาธิ ปีละ 1 ครั้ง พบพยาธิแส้ม้าในเด็กอนุบาล จานวน 1 คน และพยาธิ ปากขอ ในเด็กประถมศึกษา 4 คน ดาเนินการแก้ปัญหาด้วยการให้รับประทานยาถ่ายพยาธิ ปีละ 2 ครั้ง พร้อมติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อให้ความรู้ด้านสุขลักษณะแก่ครอบครัวที่บ้าน - บริการฉีดวัคซีนประสานงานร่วมกับรพ.สต.บ้านขุนพัง และ อสม. ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคปีละ 1 ครั้ง - บริการด้านทันตกรรม ประสานงานร่วมกับโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ ตรวจสุขภาพปากและฟัน ให้แก่นักเรียน ปีละ 1 ครั้ง เด็กที่มีปัญหาได้เข้ารับบริการทันตกรรมยังโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ ครูและแกนนานักเรียนได้รับการอบรมความรู้ด้านสุขภาพโดยหน่วยงานสาธารณสุข ถ่ายทอด ความรู้ด้านสุขภาพผ่านการเรียนการสอนช่วงกิจกรรมชุมนุม ทาให้แกนนานักเรียนมีทักษะและบทบาท ดังต่อไปนี้ - นักเรียนระดับชั้น ป.3 ทุกคนรับหน้าที่ช่วยงานพยาบาลครูอนามัย รับผิดชอบดูแลห้อง พยาบาลด้วยการสลับเวรทาความสะอาด จัดเวชภัณฑ์ยา จัดทาสื่อให้ความรู้เรื่องสุขภาพ จัดเวรแจกจ่าย ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่นักเรียนทุกคน ในวันจันทร์ก่อนรับประทานอาหารกลางวัน - สมาชิก กลุ่ม อย. น้อย และเด็กไทยทาได้ เป็นแกนนานักเรียนให้ความรู้เรื่องสุขภาพผ่าน กิจกรรมเรื่องเล่าสุขภาพเช้านี้ ช่วยครูอนามัยดูแลสุขภาวะเด็กนักเรียนด้วยกัน คอยรอยงานครูเมื่อพบ ความผิดปกติหรือปัญหาสุขภาพ ภาพรวมอื่นๆ ปัจจัยสาคัญที่ทาให้กิจกรรมสาเร็จ
60
- โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับชุมชนที่เข้มแข็ง จึงได้รับการตอบรับและช่วยเหลือกิจกรรมของ โรงเรียนเป็นอย่างดี ผ่านคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นาชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนาโดย ธรรมชาติ และผู้ปกครอง - เด็กนักเรียนได้รับการปลูกฝังวินัยและความซื่อสัตย์ มีมารยาทและอ่อนน้อมถ่อมตน - โรงเรียนสามารถควบคุมไม่ให้มีการจาหน่ายขนมขบเคี้ยวภายในโรงเรียนและรอบ ๆ บริเวณ โรงเรียนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะได้รับความร่วมมือจากเด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน อุปสรรคและความท้าทาย - ปัญหาน้าใช้ที่ไม่เพียงพอ และมีส่วนประกอบของหินปูน - ข้อจากัดด้านการโยกย้ายบุคลากรส่งผลกระทบต่อการดาเนินกิจกรรม ทาให้ขาดความ เชื่อมโยงและต่อเนื่อง - ข้อจากัดด้านพื้นที่ใช้ประโยชน์มีน้อย เนื่องจากเป็นที่ลาดเชิงเขา ส่งผลต่อพื้นที่ประกอบการ เกษตรมีจากัดและปัญหาดินเสื่อมคุณภาพ เนื่องจากผิวดินถูกทาลายจากการปรับปรุงพื้นที่เดิมเพื่อ ก่อสร้างโรงเรียน - ปัญหาการติดต่อสื่อสารเนื่องจากทาเลของโรงเรียนเป็นพื้นที่อับสัญญาณโทรศัพท์
61
มุมมองจากผู้บังคับบัญชา พ.ต.อ.สิงหนาท สีกาแก้ว ผู้กากับการตารวจตระเวณชายแดนที่ 42 “ปัจจัยความสาเร็จ ในการดาเนินกิจกรรมโรงเรียนในโครงการพระราชดาริ คือ Team Work จะมุ่งเน้นให้ความสาคัญด้านความรักและสามัคคีในทีมบุคลากร ในฐานะผู้บังคับบัญชา ก็จะให้อานาจ การตัดสินใจแก่ครูใหญ่เต็มที่ ไม่บังคับขืนใจ ทาด้วยตามความสมัครใจและเต็มใจ เน้นให้ผู้ปฏิติงานต้อง มุ่งเน้นเรื่องจริยธรรม และสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับชาวบ้าน และชุมชน-ขวัญกาลังใจ เป้าหมายผมอยากผลักดันเรื่องความก้าวหน้าทางอาชีพให้กับครู ตชด. ที่เป็นผู้บริหาร ว่าควร ได้รับการเลื่อนยศเป็น ร้อยตารวจเอก ให้มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการพิจารณาเลื่อนยศหรือขั้น ซึ่งยังไม่ สอดคล้องกับข้อจากัดทางพื้นที่ เช่น หลักเกณฑ์ที่จานวนนักเรียนมีผลต่อการพิจารณาเลื่อนยศตาแหน่ง ครูใหญ่ ซึ่งในบริบทของโรงเรียน ตชด.บ้านเขาวัง มีข้อจากัดด้านจานวนประชากร ทาให้จานวนนักเรียน ไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณา จึงอยากผลักดันให้วัดกันที่คุณภาพการเรียนการสอนมากกว่าจะวัดกันตรงจานวน เด็ก"
62
โรงเรียน ตชด . บ้านควนมีชัย สานความร่วมมือทั่วทิศ พิชิตโจทย์โภชนาการ (สานักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขต 3 นครศรีธรรมราช) บริบทชุมชน ตาบลวังอ่าง แบ่งเขตการปกครอง เป็น 6 หมู่บ้านประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหน้าควน (วัง อ่าง) หมู่ 4 บ้านท่าไทร (ควนหรั่ง) หมู่ 5 บ้านวังหอน หมู่ 6 บ้านควนมิตร หมู่ 7 บ้านควนแก้ว และ หมู่ 9 บ้านควนไม้บ้อง สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนเกษตรกรรม มีประชากรประมาณ 700 คน ประกอบอาชีพหลัก คือ ทาสวนยางพารา รองลงมา คือ ค้าขาย และรับจ้างประชากรส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ ประเพณีสาคัญท้องถิ่น คือ วันสารทเดือนสิบและประเพณีสาคัญทางพุทธศาสนา ชาวบ้านส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวจานวน 80,000 บาทต่อปี จานวนประชากรเฉลี่ยต่อครอบครัวละ 4 คน บริบทของโรงเรียน โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านควนมีชัย ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านควนมีชัย ตาบลวังอ่าง อาเภอ ชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2527 สังกัดกองร้อยตารวจตระเวนชายแดน ที่ 422 กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 42 กองบังคับการตารวจตระเวนชายแดนภาค 4 กองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน พื้นที่ตั้งของโรงเรียนเดิมเป็นพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร เด็กวัย เรียนไม่มีที่เล่าเรียนเนื่องจากโรงเรียนอยู่ห่างไกล ไม่มีเส้นทางคมนาคมต้องเดินทางด้วยเท้า ดังนั้น นาย เนียม สงทิพย์ และ นายเปรม รัตนมณี ซึ่งเป็นผู้นาชุมชนได้เดินทางไปร้องขอกับ พ.ต.อ. สุเทพสุขสงวน ผกก. ในขณะนั้น ให้ทาง กก.ตชด. 42 เปิดโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนในพื้นที่บ้านควนมีชัย โดย ชาวบ้านบริจาคที่ดิน จานวน 25 ไร่ ทาให้ชุมชนมีอาคารเรียนหลังแรก เป็นอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด 6x8 เมตร จานวน 1 หลัง และได้ทาพิธีเปิดโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านควนมีชัยในปีดังกล่าว
63
ทาเนียบครู เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2527 เป็นปีแรก มีครู ตชด. จานวน 3 คน นักเรียนชั้น ป.1 จานวน 14 คน โดยมี ส.ต.ต. สุวิทย์ หนูคล้าย เป็นครูใหญ่ - พ.ศ. 2529 กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนได้แต่งตั้ง จ.ส.ต.ประจา ช่วยนาสังข์ เป็น ครูใหญ่และได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้น ป.6 - พ.ศ. 2531 กก. ตชด .42 ได้แต่งตั้ง จ.ส.ต.สมบูรณ์ เพชรสาลี เป็นครูใหญ่ จนถึงปี พ.ศ. 2532 ชมรมมิตรมวลชลได้บริจาคเงิน จานวน 260,000 บาท และร่วมกับประชาชนในพื้นที่ก่อสร้างอาคาร เรียนขนาด 8x28 เมตร 4 ห้องเรียน อีก 1หลัง - พ.ศ. 2533-2538 กก. ตชด. 42 ได้แต่งตั้ง ส.ต.อ. ธรานุชติ ไชยเดช เป็นครูใหญ่ - พ.ศ. 2539-2540 กก. ตชด. 42 ได้แต่งตั้ง ร.ต.อ.วีระชัยสาระคา เป็นครูใหญ่ - พ.ศ. 2541-2543 กก. ตชด. 42 ได้แต่งตั้ง ร.ต.ต.สมคิดเจริญฤทธิ์ เป็นครูใหญ่ - พ.ศ. 2544 กก. ตชด. 42 ได้แต่งตั้ง ร.ต.ต.สมพงษ์ ทองสุข เป็นครูใหญ่ และในปีนี้ทางมูลนิธิ มิตรมวลชนร่วมกับคณะผู้ปกครองและครู ได้บริจาคเงินร่วมกันก่อสร้างอาคารโรงอาหารขนาด 8x20 เมตร วันที่ 18 ธันวาคม 2549 ทางกองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน สานักงานตารวจแห่งชาติ ได้โอนโรงเรียน ตชด. บ้านควนมีชัย ไปสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และในวันที่ 18 มิถุนายน 2550 ทาง สพท. นครศรีธรรมราช เขต 3 ได้ย้ายและ แต่งตั้งนายสมศักดิ์ ศรีอุทัย ผอ. รร. บ้านวังหอน มาดารงตาแหน่ง ผอ. รร. ตชด. บ้านควนมีชัย วันที่ 12 มกราคม 2553 สพท. นครศรีธรรมราช เขต 3 ได้ย้ายและแต่งตั้งนายจรูญ เมืองเสน ผอ. รร. บ้านห้วยโส มาดารงตาแหน่ง ผอ. รร. ตชด. บ้านควนมีชัย และวันที่ 15 ธันวาคม 2554 สพป. นครศรีธรรมราช เขต 3 ได้แต่งตั้งให้นายถัด อินทร์นาค ครู รร. ตชด.บ้านควนมีชัย รักษาราชการแทน ผอ. รร. ตชด.บ้านควน มีชัย มาจนถึงปัจจุบัน
แผนที่โรงเรียน 64
ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นปฐมวัย ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน จานวน 109 คน (ณ วันที่15 มีนาคม 2557) บุคลากรครู จานวน 8 คน แม้โรงเรียนจะเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนในสังกัดกองกากับการตารวจตระเวรชายแดน มาอยู่ใน ความรับผิดชอบของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ด้วยชื่อเรียกที่ติดปาก ทางโรงเรียน จึงยังขอใช้ชื่อโรงเรียนในชื่อเดิมว่า 'โรงเรียน ตชด. บ้านควนมีชัย’ ระดับชั้นเรียน จานวนห้อง
เพศ
อ1. อ2. รวม
1 1 2
ป1. ป2. ป3. ป4. ป5. ป6. รวม
1 1 1 1 1 1 1
6 5 5 10 5 5 61
5 4 9 7 6 6 63
11 9 14 17 11 11 36
รวมทั้งหมด
8
56
53
109
รายชื่อบุคลากรครู 1. นายถัด อินทร์นาค 2. นางพรทิพย์ เพชรรักษ์ 3. นางพัชรี มุขโรจน์ 4. น.ส.บุญเจือ จุติยนต์ 5. ว่าที่ร.ต.ชัย แก้วหนัน 6. จ.ส.ต.หญิงสายชล หนูคง 7. น.ส.วิภารัตน์ ถนนทิพย์ 8. นางอารีภิ รมย์
หญิง 6 10 61
รวม
ชาย 12 8 20
18 18 61
ครู / วิทยฐานะครูชานาญการ /รักษาการผู้อานวยการโรงเรียน ครู / วิทยฐานะครูชานาญการ ครู / วิทยฐานะครูชานาญการ ครู / วิทยฐานะครูชานาญการ ครู / วิทยฐานะครูชานาญการ ครู ครู ครูอัตราจ้าง
แม้การโอนย้ายโรงเรียนมาอยู่ในความรับผิดชอบของ สพฐ. มาร่วม 7 ปีแล้ว พร้อมกับเจ้าหน้าที่ ตชด. จานวนหนึ่งที่ยังขอทาหน้าที่ครูต่อไปในโรงเรียนเดิม แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลยคือถนนที่ ทอดตัวยาวเข้าถึงโรงเรียน ระยะทางร่วม 8 กม. ที่แม้จะไม่ได้ห่างจากถนนใหญ่มากนัก แต่ด้วยสภาพ ถนนลูกรัง ฝุ่นแดงคละคลุ้งในหน้าร้อน และหลุมบ่อโคลนข้นในหน้าฝน บ่อยครั้งที่น้าป่าไหลท่วมเอ่อท้น 65
ปิดทางเข้าโรงเรียนจนสัญจรไม่ได้ ทาให้โรงเรียนแห่งนี้ยากต่อการเข้าถึงและขาดการเหลียวแล จนเป็น สาเหตุสาคัญให้ ‘ว่าที่ครูใหญ่’ ท่านแล้วท่านเล่าต่างกาหนดให้โรงเรียนเล็ก ๆ แห่งนี้เป็นตัวเลือกสุดท้าย ที่จะมารับราชการในตาแหน่งผู้บริหาร
ถนนฝุ่นคลุ้งและหลุมบ่อ ปราการด่านแรกที่หลายคนต้องถอย การดาเนินงานพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กนักเรียนตามโครงการพระราชดาริฯ โรงเรียน ตชด. ควนมีชัย เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจและโดดเด่นในแง่ของโรงเรียนที่เพิ่งเปลี่ยน ผ่านการบริหารจัดการ จากโรงเรียน ตชด. มาสู่โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ที่บางอย่างยังคงเหมือนเดิม ในขณะที่บางอย่างต้องเปลี่ยนไป และแลกกับบางสิ่งที่ได้มา ดังจะนาเสนอต่อไป
66
การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของโรงเรียน การเกษตรในโรงเรียน เมื่อพูดถึงการเกษตรในโรงเรียน ก็อดกล่าวถึงบุคคลสาคัญ ‘ครูถัด อินทร์นาค’ ที่ทาให้โครงการ นี้ประสบผลสาเร็จไม่ได้ ครูใหญ่ หัวใจเกษตร ”ถัด อินทร์นาค“ ครูผู้ใช้จอบและเสียม แทนการขีดเขียนด้วยแท่งชอล์ค
67
“ครูถัด” ครูเกษตรชาวพัทลุงผู้มีใจรักด้านเกษตรมาตั้งแต่วัยเยาว์ ได้เล่าถึงความเป็นมาของ การตัดสินใจมาเป็นครูและดารงตาแหน่งรักษาการแทน ผอ. ยังโรงเรียนตชด.บ้านควนมีชัย แห่งนี้ ซึ่ง ย้ายมาอยู่ที่นี่เมื่อปี 2551โดยย้ายจากโรงเรียนบ้านบางรูป ต.สินเจริญ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี เหตุผล เคยเขียนย้ายไปที่พัทลุงหลายๆ ครั้ง แต่ตาแหน่งเต็ม จึงลองทาการเขียนย้ายมายัง อ.ชะอวด ซึ่งบังเอิญ ว่าโรงเรียนนี้ได้ทาการโอนมาสังกัด สพฐ. และไม่มีครูเกษตร ทาให้ตนเองได้มารับตาแหน่งครูเกษตร เป็น เรื่องที่ดีใจที่ได้ทางานตามความถนัด เมื่อเหตุผลของงานรักคือด้านเกษตร ทาให้ครูถัดไม่คิดที่จะย้ายไปสอนยังโรงเรียนอื่นเพราะได้ ทางานเกษตรที่ถนัดและรัก แต่หลายครั้งที่มีครูจะเดินทางมารักษาการตาแหน่งผู้อานวยการ เมื่อเห็น เส้นทางเข้าโรงเรียนจึงถอดใจ เพราะโรงเรียนอยู่ลึกไปจากถนนเส้นหลักค่อนข้างมาก อีกทั้งเส้นทางยัง เป็นดินลูกรัง และหากช่วงหน้าฝนจะมีปัญหาเรื่องของน้าขังและท่วม ทาให้ใครหลายคนอาจมองว่า อุปสรรคของการเดินทางเข้าโรงเรียนนั้นเป็นอุปสรรคอย่างแน่นอน แต่ครูถัดไม่ย่อท้อต่อเส้นทาง ได้ให้ เหตุผลจากความสุขกับที่นี่ ทั้งยังมีผลงานด้านเกษตรที่ได้ทาอย่างต่อเนื่องและมีประโยชน์ต่อโรงเรียน และชุมชนที่มีความตั้งใจด้านเกษตร “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” เมื่อรับหน้าที่รักษาการ ผู้อานวยการ ครูถัดได้แสดงบทบาทความเป็นผู้นาอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาการเกษตรของโรงเรียน เช่น - รับหน้าที่ครูสอนวิชาการเกษตรและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่ครู นักเรียน ด้านการปลูก พืชผักและเลี้ยงสัตว์ ตามแนวหลักการเศรษฐกิจแบบพอเพียง - พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทั้งจากการค้นคว้าด้วยตนเอง การเข้ารับการอบรม และการแลกเปลี่ยน ความรู้จากนักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อให้นักเรียนได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ตนเองสอน รวมถึงชุมชน สามารถมาเรียนรู้ด้านเกษตรจากตนเอง - เขียนโครงการเพื่อหาเงินสนับสนุนเพิ่มเติมจากหน่วยงานต่างๆเพื่อมาพัฒนาโรงเรียน - วางแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน โรงเรือนเกษตร เพื่อให้โรงเรียนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรหรือเป็นตัวอย่างแก่ชุมชนและโรงเรียนอื่นๆได้ จากคุณลักษณะโดดเด่นเรื่องการประสานงาน ทาให้หลายหน่วยงานเข้ามาให้ความร่วมมือและ สนับสนุนกิจกรรมด้านการเกษตรของโรงเรียน ได้แก่ 1. สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี สนับสนุนจัดอบรมด้าน กิจกรรมปศุสัตว์ ปีละ 1 ครั้ง 2. สานักงานปศุสัตว์ จังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนงบประมาณปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงไก่ ปี ละ 2,000 บาท และอบรมความรู้เรื่องสัตว์ปีกแก่เด็ก ป.4-6 และผู้ปกครอง 3. สานักงานเกษตร อาเภอชะอวด สนับสนุนจัดอบรมความรู้ทางการเกษตร การปราบศัตรูพืช งบประมาณจัดซื้ออุปกรณ์ ปีละ 10,000 บาท 4. สานักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนปุ๋ย 5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาวัดไม้เสียบสนับสนุนเงินติดตั้งสปริง เกอร์รดน้าผัก จานวน 10,000 บาท 6. สานักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนพันธุ์ปลาดุกพร้อมอาหาร ปีละ 4,000 ตัว ปลากินพืช ปีละ 4,000 – 5,000 ตัว และจัดอบรมความรู้ด้านการประมง 7. ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สนับสนุนจัดอบรมการเลี้ยงสัตว์แบบ พอเพียง 68
8. ศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อาเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง สนับสนุนพันธุ์ไม้ปูเล่ จานวนปีละ 100 ต้น กล้วยน้าว้าปีละ 50 ต้น กล้วยหอมปีละ 50 ต้น 9. อบต.วังอ่าง สนับสนุนงบประมาณปีละ 20,000 บาท โดยการเขียนโครงการประจาปีและ เป็นประชาคมมติชาวบ้าน 10. สานักงานพัฒนาที่ดิน จังหวัดนครศรีธรรมราชสนับสนุนจัดอบรมการทาน้าหมักชีวภาพ และสารเร่งซุปเปอร์ ภด.1 จานวน 50 ซอง และ ภด.2 จานวน 50 ซอง เพื่อนามาทาปุ๋ยน้าชีวภาพ 11. สานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) นครศรีธรรมราชสนับสนุนงบประมาณ ในโครงการเกษตรฯ 7,000 บาท จัดอบรมการผลิตน้ายาล้างจานและแปรรูปอาหารแก่เด็กนักเรียนพันธุ์ ไม้โครงการปลูกป่า จาปา 100 ต้น เช่น ต้นหว้า มะฮอกกานี ประดู่ 12. ศูนย์เพาะเลี้ยงไก่พื้นเมือง อาเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง สนับสนุนพันธุ์ไก่พื้นเมือง จานวน 35 ตัว และอาหาร 15 กระสอบ จะเห็นได้ว่า หน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนการดาเนินงานด้านการเกษตร ไม่ใช่มีเฉพาะหน่วยงาน ในอาเภอหรือจังหวัดเดียวกันเท่านั้น แต่ยังมีจากจังหวัดอื่น ๆ ทั้งสุราษฎร์ธานี พัทลุง และสงขลาด้วย ซึ่ง ผู้บริหารโรงเรียนเปิดเผยว่า ไม่ว่าตนเองจะเดินทางไปไหนหากเห็นว่ามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะเข้าไป พูดคุยขอรับการสนับสนุนทันที กิจกรรมการเกษตรและการจัดการผลผลิต โรงเรียนดาเนินงานด้านการเกษตรตามแนวทางโครงการตามพระราชดาริฯ ทั้งในเรื่องของการ ปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ ดังนี้ - ผักอายุสั้นที่ปลูก ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหอมพริก และเห็ด - ผักสวนครัว/ไม้เลื้อย ได้แก่ พริก มะเขือยาว มะเขือเปราะ ผักกูด แตงกวา บวบ ฟักเขียว ฟัก ข้าว ฟักแม้ว - พืชสวน ได้แก่ กล้วย มะละกอ ตะลิงปิง ผักกูด กะท้อน ปาล์ม - การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ปลาดุก ปลากินพืช ไก่ไข่ และหมู - โรงเรือนเพาะ ได้แก่ เห็ดนางฟ้า โดยนักเรียนแต่ละชั้นมีบทบาทดังนี้ - แบ่งนักเรียนรับผิดชอบแปลงเกษตรตามระดับชั้น ป.1-ป.3 ร่องละ 3 คน ป.4 ร่องละ 4 คน ป.5 ร่อง 3 คน ป.6 ร่องละ 3 คน โดยใช้หลักการดูแลร่วมกันแบบพี่ดูแลน้อง - กาหนดให้ชั่วโมงเรียนสุดท้ายของทุกวันจันทร์ เป็นกิจกรรมคาบโครงการเกษตร นักเรียนทุก คนจะต้องลงแปลงเกษตร ส่วนในวันอื่น ๆ จะบูรณาการในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี - การกาจัดศัตรูพืชใช้วิธีกาจัดด้วยมือและใช้น้าหมักชีวภาพ เช่น กลุ่มแมลงกินใบ จาพวก ตั๊กแตน จิ้งหรีดเพลี้ย ใช้น้ายาหมักสูตร พด.2 โดยเพิ่มสะเดาใบใหญ่ลงในถังหมัก - ใช้วิธีกาจัดวัชพืชด้วยมือ เช่น หญ้าแห้วหมู ด้วยวิธีใช้ช้อนปลูกกดตรงส่วนหัว และดึงขึ้นทั้งหัว และราก - ใส่ฟอร์มาลีน 3 ppm เพื่อป้องกันโรคของปลา - ใส่ผักตบชวา เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้า 69
- โรงเรียนมีคาบโครงการในพระราชดาริ 1 ชม. ทุกวันจันทร์ เพื่อให้เด็กทดลองปฏิบัติจริง และ ดูแลพื้นที่การเกษตรของตัวเอง นอกจากนี้จะแทรกอยู่ในวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ - ไก่ไข่รุ่นแรก ๆ จะได้รับการสนับสนุนจากบริษัทซีพี แต่ต่อมาสามารถนารายได้มาหมุนเวียน ซื้อไก่ได้เองแล้ว - การเลี้ยงปลา เช่น ปลาดุก ก่อนนาปลามาเลี้ยงนาดินเหนียวใส่บ่อ เพื่อให้น้ามีค่าเป็นกลาง ไม่ เป็นกรด เนื่องจากน้าฝนมีปริมาณเยอะ ทาให้น้าเป็นกรด และใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงสภาพน้า ส่วนปลา กินพืชอื่น ๆ เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาจีน จะเลี้ยงในบ่อดิน - มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ทางการเกษตรไว้ใช้เอง เช่น ช้อนพรวน โดยประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เช่น นาขาเก้าอี้ไม้ที่หักแล้ว ตัดยาวประมาณ 1 ฟุต ผ่าเข้าไปยาว 6 นิ้วโดยใช้หินเจียระไนผ่า ใช้ค้อนทุบ และแผ่ออก - พันธุ์พืชกลุ่มไม้ประดับ ที่โรงเรียนขยายพันธุ์ไว้ เช่น ชบาด่าง สาวน้อยประแป้ง หมากผู้ หมาก เมีย และพันธุ์พืชกลุ่มไม้ป่า เช่น ต้นหว้า ประดู่ โรงเรียนได้นาแจกจ่ายแก่ชุมชน รวมไปถึงผลผลิตทาง การเกษตร เช่น ผักบุ้ง ตะลิงปลิง มะเขือ มะพร้าวฟักข้าว ฟักแม้ว - โรงเรียนมีป่าชุมชน มีพันธุ์ไม้ดั้งเดิมที่อนุรักษ์ไว้ การจัดการผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ของโรงเรียน จาแนกเป็นประเภทของผลผลิตต่างๆ ดังนี้ ไข่ไก่ - จาหน่ายให้แก่สหกรณ์ ราคาแผงละ 100 บาท เพื่อนามาใช้ในโครงการบริการอาหาร กลางวัน - สหกรณ์จาหน่ายให้ชุมชน ราคาแผงละ 105 บาท - ให้เป็นค่าตอบแทนแก่เด็กที่รับผิดชอบดูแล - แจกจ่ายให้แก่ผู้ปกครอง ไก่ - ไก่ที่หมดระวางในแต่ละรุ่น จะจาหน่ายแก่ผู้ปกครอง ราคาตัวละ 110บาท โดย ผู้ปกครองนาไปเลี้ยงต่อแบบปล่อยลานตามธรรมชาติ ปลาดุกและปลากินพืช - จาหน่ายให้แก่สหกรณ์ ราคากิโลกรัมละ 50 บาทเพื่อนามาใช้ในโครงการบริการ อาหารกลางวัน - สหกรณ์จาหน่ายให้ชุมชน ราคากิโลกรัมละ 52 บาท - ให้เป็นค่าตอบแทนแก่เด็กและผู้ปกครองที่มาช่วยจับ
70
พืชสวน - กล้วยน้าว้า ขายให้สหกรณ์สาหรับโครงการอาหารกลางวัน ใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบ หยวก และ ผล - กระท้อน นามาทาแกง ใบกระท้อนทาปุ๋ย และผลทาแช่อิ่ม - ปาล์ม 30 ต้น แต่ยังให้ผลผลิตน้อย จึงใช้เป็นอาหารหมู การปรับปรุงบารุงดิน ปรับสภาพและบารุงดิน ด้วยการใช้ปุ๋ยคอกปรับสภาพดินเป็นกรด โดยไม่จาเป็นต้องโรยปูนขาว ใช้แกลบเพื่อทาให้ดินร่วนซุยและชุ่มชื้น ทดแทนการรดน้าบ่อย ๆ ใช้ใยมะพร้าวช่วยอุ้มน้าและป้องกัน วัชพืช สามารถถอนกาจัดวัชพืชได้ง่ายขึ้น ทาปุ๋ยหมักแห้ง เริ่มจากชั้นที่ 1 ซากพืชซากสัตว์ใส่รอง 1ชั้น สูงประมาณ 1 ฟุต ใส่ปุ๋ยคอกจาก มูลไก่ สลับเป็นชั้นๆ แล้วแต่วัสดุ ประมาณ 5 ชั้น หมัก 15 วัน ปรับกองรดน้าตลอด และเด็ก ๆ ได้ นามาใช้ ใช้ปุ๋ยคอกจากมูลไก่บารุงดิน เด็กนักเรียนเองก็เรียนรู้จากการสอนจนสามารถใส่ปุ๋ยได้เองใน แปลงผัก ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการเพาะเห็ดฟาง อีกทั้งมีการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 13–13–21 เนื่องจากในปุ๋ยคอกมีไนโตรเจนน้อยมาก มะเขือจึงได้ผลดกและมีผลสวย อีกทั้งยังใช้น้าหมักชีวภาพโดย ใช้เศษผลไม้ 4 กก. กากน้าตาล 1 กก. น้า 4 กก. แล้วเติม พด. 2 หมักไว้ 15 วัน ใช้รดดินทาให้ดินร่วน ซุย
71
ผู้ได้รับประโยชน์จากการเกษตรในโรงเรียน เด็ก -ได้รับประทานอาหารกลางวันจากผลผลิตการเกษตรที่นักเรียนช่วยกันปลูก เอง -ได้รับความรู้เทคนิคด้านเกษตร - ได้รับการปลูกฝังความรับผิดชอบและระเบียบวินัย - ได้เข้าใจถึงคาว่า “เกษตรพอเพียง” จากการปฏิบัติจริง ครู - ได้ทางานอย่างมีประสิทธิภาพจากงานที่รัก - ได้รับการพัฒนาทักษะจากการอบรมหน่วยงานต่างๆอย่างสม่าเสมอ - ได้รับประทานผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกเอง - ได้รับการยอมรับจากชุมชน โดยมีผู้ปกครองมาแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้สอน โรงเรียน - มีรายได้จากการจาหน่ายผลผลิตทางการเกษตร - การสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรแก่โรงเรียนอื่นๆ - ได้รับการไว้วางใจจากผู้ปกครอง เรื่องของบุตรหลานได้รับประทานผลผลิต ทางการเกษตรที่มีประโยชน์และปลอดสารพิษ อีกทั้งเรื่องของบุตรหลานได้รับ การศึกษาที่เน้นปฏิบัติจริง ผู้ปกครอง - ได้รับผลผลิตทางการเกษตรและเมล็ดพันธุ์จากโรงเรียน - ได้รับความรู้ด้านการเกษตรจากหน่วยงานที่เข้ามาอบรม - ได้รับความรู้จาการปฏิบัติจริงของครูเกษตร - ผู้ปกครองนักเรียนมาเรียนรู้เรื่องของการดูแลสุขภาพไก่ ยา วัคซีน เรื่องของ ปศุสัตว์ 72
ความคิดเห็นจากครูผู้สอน ครูถัดได้กล่าวถึงการเกษตรที่ได้ปฏิบัติจริงและเห็นผลของการเกษตรในโรงเรียนสามารถอยู่ได้ ด้วยตนเองพอสมควร เพราะมีการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ที่สามารถนามาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวันได้ เนื่องจากในโรงเรียนมีกองทุน ผัก ปลาดุก ไก่ สามารถเลี้ยงตนเองได้ เพื่อนามาซื้อเมล็ ดพันธุ์ผักต่าง ๆ อีกทั้งโครงการของสมเด็จพระเทพฯ ที่มีอยู่ สามารถนามาไปขยายงานให้กับโรงเรียนอื่นได้ โดยคิดว่าจุด แข็งที่มีคือโครงการเกษตรอาหารกลางวันตามพระราชดาริยังคงอยู่ และได้รายงานไปยังสานักพระราชวัง อย่างสม่าเสมอ สิ่งที่อยากจะเสนอจุดแข็งของโรงเรียนเรื่องของเกษตร เพราะได้ทาจริงโครงการเกิดขึ้นจริง โดย มีการเสนอให้ สมศ. ดูและโรงเรียนอื่น ๆ เคยมาดูงาน เพราะครูใหญ่จบด้านเกษตรโดยตรง ทาให้มี ความรู้และมีความถนัดในเรื่องนี้พิเศษและอยากให้หน่วยงานท้องถิ่นมาสนับสนุนเรื่องของการปรับปรุง สถานที่ต่าง ๆ หรือถนนทางเข้าโรงเรียน อาคารสถานที่ อีกทั้งอยากปรับปรุงโรงอาหาร ของชั้นวางอุปกรณ์ที่เรียบร้อย ที่เก็บขยะที่มิดชิด อยาก ขยายพันธุ์ไก่เนื้อและไก่พื้นเมืองมากขึ้น และอยากรับการอบรมเกษตรเพิ่ม ปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ และเครื่องอานวยความสะดวก สุดท้ายสิ่งที่อยากให้เป็นตัวอย่างแก่โรงเรียนอื่น ๆ เรื่องของการเกษตรที่เป็นจุดเด่นของโรงเรียน คือโรงเรียนเองจะต้องมีงบประมาณ การให้องค์ความรู้ อีกทั้งปลูกจิตสานึกเรื่องการอยู่อย่างพอเพียง โดยเราเองจะต้องทาเป็นตัวอย่างที่ดี อีกทั้งเราต้องมีการติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีโรงเรียน เครือข่ายที่มีการติดต่อมาปรึกษาเรื่องของโครงการในโรงเรียน เจ้าของโครงการต้องมีใจรัก “จิตใจเรา อยู่กับเรื่องนี้แล้วเพราะเรามีใจรักเรื่องการพอเพียง” การติดตามภาวะโภชนาการ จ.ส.ต.หญิงสายชล หนูคง เล่าว่า เรื่องของปัญหาเด็กอ้วนและเด็กน้าหนักน้อย จะมีการแก้ไข โดยการแนะนาการรับประทานอาหาร และการใช้สื่อให้เด็กนักเรียนเห็นตัวอย่างของเรื่องสุขนิสัยจากการ ทานิทรรศการต่าง ๆ ภายในโรงเรียน หรือการส่งตัวแทนนักเรียนไปอบรม ทางโรงเรียนได้กาหนดมาตรการเชิงรับและเชิงรุกในการพัฒนาสุขนิสัยดังนี้ เชิงรับ - ครูการตรวจเทอมละ 2 ครั้ง โดยตรวจผม/ฟัน/น้าหนัก ส่วนสูง - แบบฟอร์มการลงบันทึกแปรงฟันช่วงพักกลางวัน - แบบฟอร์มให้ผู้ปกครองตรวจบุตรหลาน - ผลจากการติดตามแบบฟอร์มส่งข้อมูลให้อนามัย - สอดแทรกความรู้ในวิชาเรียน เช่น วิชาสุขศึกษาสอนเรื่องสุขอนามัยและการดูแลสุขภาพ วิชาการงานอาชีพสอนเรื่องการดูแสเสื้อผ้า และวิชาสังคมสอนเรื่องการดูแลร่างกาย เชิงรุก - จัดนิทรรศการเด็กอ้วน เพื่อแนะนาเรื่องของการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่บกพร่อง และให้เด็กมี ส่วนร่วมในเรื่องของการทาจัดทากิจกรรมในโรงเรียน - การเพิ่มปริมาณอาหารให้แก่เด็กที่มีน้าหนักน้อยเพิ่มนม 2 กล่อง และไข่ 1 ฟอง - การลดและแนะนาเด็กที่มีปัญหาของโรคอ้วน ให้งดอาหารมัน - จัดเต้นแอโรบิคตอนเช้าแก่นักเรียนและผู้ปกครองที่สมัครใจ 73
- แม่ครัวจะลดปริมาณอาหารของเด็กอ้วนให้น้อยลง ให้ดื่มนม 2 กล่อง (เช้าและบ่าย) - เด็กน้าหนักน้อย จะเพิ่มไข่อีก 1 ฟอง ตักอาหารเพิ่มให้ และตรวจว่าเด็กกินอาหารหมด
องค์กรสนับสนุน องค์กร สาธารณสุขอาเภอ โรงพยาบาลชะอวด
การสนับสนุน/การติดตาม จัดอบรมเรื่องของสุขภาพทุกปี - ประชุมการดาเนินงานของการติดตามแบบฟอร์ม - สนับสนุนมอบแปรงสีฟัน /ยาสีฟัน 1 ครั้ง
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- สนับสนุนมอบสบู่ล้างมือโพรเทคแก่เด็กประถมศึกษาปีที่ 3 จานวน 14 คน - มอบยาเม็ดธาตุเหล็ก - ตรวจเจาะหาเชื้อ เทอมละ1ครั้ง ไม่เคยพบเชื้อ - เก็บตัวอย่างและส่งผลเชื้อปีละ 1 ครั้ง ซึ่งปี 2555 ได้พบเชื้อ พยาธิปากขอจากนักเรียน 3 คน - สนับสนุนยาถ่ายพยาธิ 3 ครั้ง (ปี 2551/2555/2557) - บริการทันตกรรมเคลื่อนที่ (ถอนขูดหินปูน ตรวจสุขภาพช่อง ปากแก่เด็กและประชาชน)
ศูนย์มาลาเรีย รพ. สต. ควนหรั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชมรมรักษ์ฟัน
จัดนักเรียนตัวแทนไปอบรมทั้งหมด 10คน เพื่อนามาขยายผล ความรู้แก่เด็กนักเรียน
โตโยต้า
สนับสนุนการสร้างห้องน้า
74
การพัฒนาสุขนิสัย บริการทันตกรรมเคลื่อนที่ (ถอนฟัน ขูดหินปูน ตรวจสุขภาพช่องปากแก่เด็กและประชาชน) ตารางการตรวจสุขอนามัย วันจันทร์ ตรวจความเรียบร้อยทั่วไป (วันจันทร์แรกของเดือนตรวจผม/เสื้อผ้า/ขี้ไคล) วันอังคาร ตรวจรองเท้า ถุงเท้า วันพุธ ตรวจทุกอย่าง วันพฤหัสบดี ตรวจถุงเท้า รองเท้า วันศุกร์ ตรวจเสื้อผ้าและอบรม ครูจะสอดแทรกเรื่องการพัฒนาสุขนิสัยในเรื่องการล้างมือ อีกทั้งประยุกต์เรื่องการดูแลร่างกาย ในวิชาสัมคมศึกษาให้ความรู้เรื่องการดูแลเสื้อผ้าในวิชาการงานอาชีพ การกาจัดเหา ใช้แชมพูกาจัดเหาหมักผมเทอมละหนึ่งครั้ง และหากเจอเหาก็จะแจ้งผู้ปกครองให้ ทราบเพื่อไปแก้ปัญหาที่บ้านด้วย การดูแลความสะอาดภายในโรงเรียน จะแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นโซน และสามารถเลือก ได้ว่าจะทากิจกรรมเก็บขยะ หรือทาความสะอาดห้องน้า การจัดบริการอาหารของโรงเรียน น.ส.วิภารัตน์ ถนนทิพย์ และ นางอารี ภิรมย์ การบริการจัดการอาหารให้แก่นักเรียนนั้น ทาง โรงเรียนจะจัดสรรงบตามจานวนทุน 1,300 บาทต่อวัน การจัดกระบวนในการทาอาหารกลางวัน เริ่ม จากการประชุมครูเรื่องของประเภทอาหาร โดยที่คุณครูแต่ละคนจะต้องกลับไปคิดเมนูของตนเอง ซึ่งมี การกาหนดในเรื่องของเนื้อ ผัก ข้าว ซึ่งมีการแบ่งเวรประจาวัน มีครูประจาวันละ 2 คน มีแม่ครัว 2 คน ช่วยกันทาอาหาร (จ้างแม่ครัววันละ 150 บาท) การกาหนดวัตถุดิบที่จากัดอยู่ในราคา 1,300 บาทต่อวัน หากเงินเหลือจะซื้อผลไม้ให้เด็กรับประทาน อีกทั้งการนาวัตถุดิบจากผลผลิตโรงเรียน เช่น ไข่ไก่ เป็นเมนู จัดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ผักและวัตถุดิบที่ซื้อจากภายนอก เช่น ผักกะหล่าปลี แครอท ปลาดุก เครื่องปรุง และการปรุงอาหารจะไม่ใส่ผงชูรส ใช้เพียงน้าตาล น้าปลา หรือซีอิ๊ว เพิ่มรสชาติอาหาร การจัดบริการอาหารให้แก่เด็ก นักเรียนชั้นอนุบาลจะมีครูประจาชั้นคอยดูแล จัดระเบียบการรับ อาหารด้วยการให้เด็กชั้นอนุบาลต่อแถวถือถาดอาหาร และล้างถาดอาหารของตนเอง ส่วนนักเรียนชั้น ประถมจะต่อแถวถือถาดอาหาร แม่ครัวและครูเวรจะเป็นผู้ตักอาหารให้ อีกทั้งการประมาณการของการ ตักอาหาร โดยเฉลี่ยจานวนเนื้อและผักตามจานวนของเด็ก เช่น ตักผัก 2 ชิ้น เนื้อ 1ชิ้น เพื่อให้เพียงพอ กับจานวนเด็ก และปริมาณของข้าวเด็กอนุบาลจะมีการกาหนดให้รับประทานถึง 2 ทัพพี และเด็ก 75
ประถมรับประทาน 1 ทัพพี อีกทั้งคุณครูจะต้องนาอาหารมาเองและรับประทานอาหารร่วมกับเด็กใน โรงเรียน การเตรียมอาหาร แม่ครัวจะหั่นผักหรือผลไม้ตามจานวนเด็ก สาหรับการตักอาหาร ครูประจา ชั้นจะตักอาหารให้เด็กเล็ก และแม่ครัวจะตักอาหารให้เด็กโต
สาหรับการจัดเมนูอาหารนั้น สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ จัดอบรมการใช้โปรแกรมการจัดทา เมนูอาหาร Thai School Lunch แต่โรงเรียนไม่สามารถจัดได้ตามมาตรฐานของโปรแกรม เนื่องจากครู ที่รับผิดชอบขาดทักษะด้านคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนตความเร็วต่ามาก เมนูบางอย่างไม่สอดคล้องกับ บริบทของโรงเรียน และไม่มีพี่เลี้ยงคอยแนะนาว่าควรจะปรับแก้อย่างไรให้สอดคล้องกับงบประมาณที่มี การควบคุมอาหารให้แก่เด็กที่มีน้าหนักเกิน เพิ่มจานวนปริมาณอาหารให้แก่เด็กที่มีน้าหนักน้อย กว่าเกณฑ์ ทางโรงเรียนมีการควบคุมสินค้าที่จะมาขายในโรงเรียน โดยไม่ให้มีการซื้อขายขนมและอาหาร ที่ไม่มีประโยชน์ เช่น น้าอัดลม ขนมขบเคี้ยว ชาเย็น ซึ่งนักเรียนสามารถนาสินค้าของตนเองมาขายได้ใน โรงเรียน เช่น ขนมปัง ขนมโค ไก่ทอด น้าหวาน นักเรียนประถมปลายจะล้างจานของตัวเอง มีกรรมการนักเรียนตรวจความสะอาด ส่วนจานของ เด็กเล็กและภาชนะ แม่ครัวจะล้างให้ จัดวางแยกตามลาดับชั้น แล้วนาไปผึ่งแดดตอนเช้า ในช่วงเวลาเรียนวิชาเกษตรเด็กนักเรียนจะเข้ามาช่วยหั่นผักและล้างบางส่วน อีกทั้งผู้ปกครอง เองเข้ามามีส่วนร่วมในช่วงวันพิเศษของกิจกรรมโรงเรียน ทั้งการสนับสนุนเงินและอาหาร การดูแลรักษาเครื่องมืออุปกรณ์นั้น จะมีชั้นวางถาดตามระดับชั้น ซึ่งช้อน ส้อมและแก้วน้า นักเรียนจะต้องนามาเองเป็นของส่วนตัว ส่วนขวดน้านักเรียนไม่ต้องนามา เนื่องจากที่โรงเรียนมีน้าดื่ม คอยบริการให้กับเด็กนักเรียน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในเรื่องการให้ความรู้ในการสอนทาอาหาร เช่น น้าพริกกุ้งสด เพื่อไปแข่งขัน ขันและเคยได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขัน และแม่ครัวเองสามารถสอนและบอกเทคนิคการ 76
ทาอาหาร ซึ่งมีกลุ่มโครงการฝึกอาชีพได้เข้ามาสอนทาขนม เช่น กล้วยฉาบ ลอดช่องเขียว โดยลอดช่อง เขียวจะสอนตั้งแต่การนวดแป้งจนครบกระบวนการ และการสอนทาน้ายาล้างจาน สหกรณ์นักเรียน นางพรทิพย์เพชรรักษ์ เล่าว่า โรงเรียนมีนโยบายเรื่องของสหกรณ์คือ 1. โรงเรียนจะให้นักเรียนฝึกทาบัญชีรับ-จ่ายทั้งสหกรณ์และในห้องเรียนของตนเอง (บัญชีรับจ่ายของตนเอง ตั้งแต่ ป.4-6) ส่วนบัญชีครัวเรือนของผู้ปกครอง สหกรณ์จะแจกสมุดบัญชีเพื่อให้ ผู้ปกครองได้ทาเอง โดยจะมีนักเรียนเป็นผู้สอนผู้ปกครองเองที่บ้าน แต่บัญชีรับ-จ่ายคุณครูจะเป็นผู้ตรวจ สหกรณ์จังหวัดเป็นผู้มาให้ความรู้และอยู่ในแบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ การส่งเสริมนักเรียนในโครงการ สหกรณ์ ได้รับความสนใจจากนักเรียนประมาณ 40 คน
2. ฝึกทาบัญชีเอกสารสหกรณ์ และผลที่ได้ตามมาคือการทาให้นักเรียนได้ฝึกการเขียนและ ลายมือ เจ้าหน้าที่สหกรณ์จะนาเอกสารไปตรวจเทอมละครั้ง การรับผิดชอบงานสหกรณ์ในโรงเรียน ซึ่งมีคณะกรรมการนักเรียนดูแลทั้งหมด 12 คน จะมีการ หมุนเวียนของการทางานแต่ละฝ่าย ของการแบ่งหน้าที่แต่ละส่วนทั้งทาหน้าที่ออมทรัพย์ ฝ่ายเอกสาร บัญชี ฝ่ายสมุดเงินสด จะมีการออมทรัพย์ช่วงพักเวลาอาหารกลางวัน การออมเงินการออมเงินในโรงเรียนโดยเฉลี่ยต่อวันทั้งหมดประมาณ 300 บาท ซึ่งการออมเงิน ของนักเรียนแต่ละคนและแต่ละวันจะไม่เท่ากัน ไมได้มีการบังคับของการออมเงินทุกวัน แต่นักเรียนทุก คนจะมีสมุดบัญชีการออม ในชั้นระดับอนุบาลคุณครูประจาชั้นจะรับผิดชอบการออมเองทั้งหมด ส่วนป. 1-6 ของกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน จานวนเงินออมทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 30,000 บาท โดยไม่มีการเบิก เงินจากบัญชี แต่จะเก็บในส่วนของเงินสดไว้ให้สาหรับชั้น ป.6 เพื่อถอนเงินประมาณ 10,000 บาท โดย เงินสูงสุดประมาณ 2,500 บาท และมีผู้ถือหุ้นจากผู้ปกครองเป็นสมาชิก 3 คน คุณครู 3 คน เฉลี่ยหุ้นละ 10 บาท คนละ 10 หุ้นจานวน 100 บาท 77
สินค้าในสหกรณ์จะมีตั้งแต่อุปกรณ์การเรียน (แต่หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายเรียนฟรี จึงได้เลิก จาหน่ายอุปกรณ์การเรียนไป) สินค้าที่ใช้ประกอบอาหารกลางวัน ทั้งเครื่องปรุงและผลผลิตจากตลาด บวกกาไรเพิ่ม 1-5 บาท หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์ของโรงเรียน เช่น สานักงานสหกรณ์ จังหวัดฝ่ายบัญชีมาตรวจดูแลงาน โดยมาจัดการอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครอง ครู และนักเรียน อีกทั้งมี โครงการพระราชดาริ ซึ่งเป็นโครงการบัญชีครัวเรือน โดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจบัญชีจะเข้ามาตรวจ และฝ่าย เจ้าหน้าที่ส่งเสริมมาให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ ผู้อบรมจะมีนักเรียน ครู ผู้ปกครอง แยกบัญชีคนละเล่ม
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สหกรณ์จังหวัดได้จัดการประกวดแบบการบันทึกรายงานการประชุม และ การทาเอกสารบัญชี ซึ่งโรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศแบบบันทึกการประชุม พร้อมเงินและเกียรติบัตร ระดับจังหวัดโดยปีนี้ได้มีการเดินทางไปทัศนศึกษายังสหกรณ์ของโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช ของทางสหกรณ์จังหวัดที่มีการจัดทุกปี ความภาคภูมิใจ ความภาคภูมิใจในการทางานสหกรณ์ คือนักเรียนมีความสนใจในการทาบัญชี ซึ่งก่อนหน้านี้ นักเรียนมีความสนใจแต่ทาไม่ได้ โดยที่ครูจะเป็นผู้หาวิธีการที่จะทาอย่างไรให้นักเรียนทาบัญชีได้ และได้ ฝึกความคิด ซึ่งการคิดตัวเลขของบัญชีจะไม่ใช้เครื่องคิดเลข แต่จะใช้หลักคณิตศาสตร์ของการคิดจานวน ยกเว้นสรุปบัญชีเงินสดประจาปี นักเรียนมีความรับผิดชอบและมีความซื่อสัตย์อย่างมาก
78
จากการลงพื้นที่ทาให้ทราบว่า ก่อนหน้าช่วงที่โรงเรียนจะถูกทาการโอนย้ายมาเป็น สพฐ. คุณครู ไม่เคยมีความรู้ด้านเอกสาร ภายหลังได้เคยผ่านการอบรมของสหกรณ์จังหวัด เมื่อได้ผ่านการอบรมเสร็จ สิ้นจึงได้กลับมาเริ่มทาบัญชีสหกรณ์ พร้อมทั้งใช้วิธีการถามนักเรียน ตชด. รุ่นเก่า หลังจากนั้นมี หน่วยงานจากสหกรณ์จังหวัดที่เป็นฝ่ายบัญชีมาตรวจ ดูแลงาน ทั้งยังมีการนัดให้ความรู้ผู้ปกครอง ครู และนักเรียน โดยมาจัดการอบรมให้ความรู้ที่โรงเรียน
79
จากใจคุรุทายาท
จ.ส.ต.หญิง สายชล หนูคง หนึ่งในสองคุรุทายาทแห่งโรงเรียน ตชด. บ้านควนมีชัย จากศิษย์เก่า รุ่นแรกของโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาจากโครงการพระราชานุเคราะห์ จนจบชั้นปริญญาตรี มีความ มุ่งมั่นตั้งใที่จะเดินเข้าเส้นทางอาชีพครู เพื่อหวังได้ใช้ความรู้พัฒนาชีวิตเด็กในพื้นที่ห่างไกล เพราะอยาก เห็นเด็กทุกคนมีโอกาส และโชคดีเหมือนตนเอง ครูสายชลเข้ารับราชการครูตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 สังกัดกองกากับการที่ 42 จนถึงปี พ.ศ. 2551 ครั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมโรงเรียน ตชด.บ้านเขาวัง อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เธอได้มีโอกาสเข้ารับเสด็จ และกราบทูลขอย้ายกลับมาตอบแทนบุญคุณบ้านเกิดยัง รร.ตชด.บ้านควนมีชัย ซึ่งในเวลานั้นได้ถูกโอนย้ายไปสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการแล้ว จนในที่สุดความตั้งใจของเธอก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ครูสายชลได้ย้าย กลับมาสอนยัง โรงเรียนแห่งนี้ในปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน การกลับมาปฏิบัติหน้าที่ยังโรงเรียนแห่งนี้อีกครั้ง หลังการย้ายต้นสังกัดเข้ากระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 พบว่าสร้างความความเปลี่ยนแปลงให้แก่คณะครูไม่น้อยทั้งภาระหน้าที่ที่มากขึ้น การ 80
ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกที่ลดน้อยลงกว่าครั้งยังสังกัดกับกองกากับการตารวจตระเวน ชายแดน ส่งผลให้การพัฒนาบุคลากรครูด้านความรู้และการอบรมขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะความรู้ ด้านการประเมิน ติดตาม และดูแลภาวะสุขภาพแก่เด็กนักเรียน ซึ่งเป็นภาระรับผิดชอบของเธอ “ถ้าเป็นไปได้ อยากมีโอกาสได้เข้าอบรมร่วมกับ ตชด.เหมือนเมื่อก่อน จะได้นาความรู้มา พัฒนางานตัวเองให้ดีขึ้น มีความรู้มาดูแลเด็กๆให้มากที่สุด” นี่คือความในใจจากครูสาว ที่ย้ากับพวกเราเสมอตลอดการพูดคุย แต่ถึงแม้จะพบปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่มากมายเพียงใด ครูสายชลและคณะครู ทุกท่านก็ยังคงมีกาลังใจและความมุ่งมั่นที่จะดาเนินกิจกรรมโครงการในพระราชดาริต่อไป เพราะเห็นถึง ประโยชน์ที่จะบังเกิดต่อเด็กนักเรียนที่ยั่งยืน ปลูกฝังทั้งความรู้ด้านวิชาการ ไปพร้อมๆกับความรู้เพื่อการ ดารงชีพ พร้อมดูแลสุขภาวะและการโภชนาการที่เหมาะสม เพราะเด็กนักเรียนทุกคนก็เปรียบเสมือน ลูกหลานของเธอเอง เธออยากให้เด็กๆเหล่านี้ ได้รับโอกาสที่ดีเหมือนที่เธอได้รับพระมหากรุณาธิคุณ “ชีวิตนี้ตั้งใจจะเป็นครูเท่านั้น ไม่เคยคิดจะทาอาชีพอื่นเลย อยากให้เด็กๆพวกนี้ได้รับโอกาส ดีๆเหมือนที่พี่ได้รับ ถ้าไม่มี รร.ตชด.บ้านควนมีชัย ไม่มีโครงการในพระราชดาริ ไม่ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพฯ ยังคิดไม่ออกเลย ว่าวันนี้จะทามาหากินอะไรนอกจากกรีดยางพารา และทาสวนไปตามประสาชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ จ.ส.ต.หญิงสายชล หนูคง
81
ตัวอย่างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง นางราตรี พงศาปาน เป็นกรรมการสถานศึกษาและศิษย์เก่า ซึ่งได้รับตาแหน่งมาเป็นเวลา 1 ปี บทบาทหน้าที่หลักเป็นตัวแทนของผู้ปกครองและประสานงาน และมาร่วมปรึกษากับทางโรงเรียนเมื่อมี การประชุม และยังช่วยดูแลนักเรียนในเรื่องของการปลูกผัก ในด้านของกิจกรรมโรงเรียนนั้นมีบทบาทหน้าที่มีส่วนช่วยในเรื่องของกิจกรรมโรงเรียนอย่าง สม่าเสมอ ทั้งเป็นนักกีฬาของการคัดเลือกนักกีฬาระดับประชาชน เมื่อโรงเรียนจัดกิจกรรมกีฬาสี การนาความรู้จากโรงเรียนไปปรับใช้ เช่น เรื่องของการปลูกผัก โดยการนาความรู้ที่ได้จาก โรงเรียนเพื่อนาไปปลูกผักกินเอง เป็นการบอกเล่าจากบุตรของการเปลี่ยนแปลงเรื่องของนาผักที่ปลูกเอง มาปรุงอาหาร และเรียนรู้การอบรมทาขนม การติดตามสุขภาพของบุตร เนื่องจากบุตรมีน้าหนักเยอะ และคุณครูมีการแนะนาให้ลดน้าหนัก ซึ่งบุตรเองก็ทาตามที่คุณครูแนะนา โดยจะต้องลดปริมาณอาหารมื้อเย็นลงกว่าเดิม นางศิริลักษณ์ ขาจีน ผู้ปกครองนักเรียนโดยได้รับความรู้จากที่โรงเรียนในเรื่องของการทาอาหาร ทาขนม และได้รับความรู้เมื่อบุตรมาบอกเล่าในเรื่องของการรู้จักปลูกผักกินเอง ทั้งการทาแปลงผัก และ ติดตามการเปลี่ยนของบุตร ทั้งเรื่องของสุขภาพและการเป็นอยู่ ทาให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ การรับประทานอาหาร นิสัยที่มีการปรับที่ดีขึ้น สุขอนามัยมีการปรับตัวก่อนรับประทานอาหารจะมีการ ล้างมือก่อนทุกครั้ง ซึ่งจะมีสมุดบันทึกของการติดตาม นอกจากนี้อยากให้กลับไปเป็นโรงเรียน ตชด. เพราะจะมีครูประจาที่อยู่ในโรงเรียน และไม่มีการ ย้ายสาหรับครูที่จะไปสอนที่อื่น อีกทั้งสามารถช่วยเรื่องของการงานอาชีพ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ความคิดเห็นของทีมวิจัย จากการที่ได้ลงพื้นที่ไปยังโรงเรียน ตชด. บ้านควนมีชัยนั้น ทาให้เราได้เจออุปสรรคก่อนเจอ โรงเรียน คือทางเข้าโรงเรียน ที่พบว่ามีปัญหาน่าเป็นห่วง เนื่องจากยังเป็นดินลูกรัง ที่ก่อให้เกิดโรค ทางเดินหายใจ ฝุ่นดินแดงที่เกาะตามทางตลบอบอวลฟุ้งกระจายเมื่อยานพาหนะเข้าพื้นที่ และจากคาพูด ของบุคลากรในโรงเรียนพบว่า ช่วงฤดูฝนจะทาให้พื้นดินเป็นหลุมเป็นบ่อจนเกิดน้าท่วม ทาให้ใช้เวลา เดินทางนาน จึงอยากให้หน่วยงายในพื้นที่ควรเข้ามาดูแลถนนทางเข้า นอกจากนี้ เมื่อมีคนสนใจจะเดิน ทางเข้ามาศึกษาดูงานในโรงเรียน อาจจะถอดใจกับเส้นทางที่เข้าไปยังโรงเรียน ทาให้ขาดโอกาสในการ เป็นโรงเรียนต้นแบบแก่โรงเรียนอื่นได้ เมื่อเข้ามาสัมผัสภายในโรงเรียนแล้วพบว่า สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นอย่างให้แก่โรงเรียนอื่นๆ คือการที่ เด็กนักเรียนในโรงเรียนประพฤติตนที่ดี มีสัมมาคารวะ และเด็กมีความร่าเริงแจ่มใสกับการได้มาโรงเรียน ทั้งสภาพความร่มรื่นของต้นไม้ที่อยู่โดยรอบของโรงเรียน และสวนพฤกษศาสตร์ที่ไว้เป็นแหล่งเรียนรู้พันธุ์ ไม้นั้น ถือว่าเป็นการนาการเรียนรู้จากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดได้อย่างประโยชน์สูงสุด เด็กนักเรียนใน โรงเรียนจึงคุ้นชินกับพันธุ์ไม้ต่างๆและเรียนรู้การปลูกพันธุ์ไม้จากครูผู้สอน นอกจากนี้ ความมุมานะของครูผู้สอนเองแล้วที่มีความรักในงานเกษตรอย่าง “ครูถัด” เสียสละ เวลาส่วนตนแก่โรงเรียน และนักเรียน ตชด. บ้านควนมีชัย อีกทั้งจุดแข็งของที่นี่คือด้านการเกษตร ที่ สามารถนามาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวันได้จริงและพอเพียงผู้ปกครองเองยังมีส่วนร่วมในการ ช่วยเหลือโรงเรียนที่ไม่ได้ผลักภาระให้ครูภายในโรงเรียนเพียงอย่างเดียว 82
83
โรงเรียนบ้านค่าย ท้าโจทย์โภชนาการ (สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 นราธิวาส) บริบทของชุมชน ตาบลกะลุวอเหนือ เป็นตาบลที่แยกจากตาบลกะลุวอ เมื่อ พ.ศ. 2513 ประชากรส่วนใหญ่นับ ถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพ ประมง ทาสวน ทาไร่ และรับจ้างสภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นป่า พรุ ที่ราบลุ่มทุ่งนา และชายทะเล ดินมีลักษณะเป็นดินทราย ดินป่าพรุ มีน้าท่วมขังและเปรี้ยวฝาดไม่ สามารถทานาได้ ส่วนพื้นที่ที่สามารถทานาได้ ก็จะมีน้าท่วมในฤดูฝน แบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่ 1. บ้านบางมะนาว 2. บ้านค่าย 3. บ้านเปล 4. บ้านเขาตันหยง 5. บ้านใหม่ 6. บ้านพิกุลทอง 7. บ้านปูลากาป๊ะห์ 8. บ้านโคกสยา บริบทของโรงเรียน โรงเรียนบ้านค่าย ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตาบลกะลุวอเหนือ อาเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส สังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีเขตพื้นที่บริการ 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านค่าย และ บ้านคีรี เป็นชุมชนมุสลิมล้วน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและทาสวน มีลักษณะเป็นสังคมชนบทกึ่งสังคมเมือง เนื่องจาก ที่ตั้งหมู่บ้านห่างจากตัวเมืองเพียง 4 กิโลเมตร การคมนาคมสะดวกสบาย มีถนนลาดยางตัดผ่านตลอด เส้นทาง ปัจจุบันเปิดให้บริการการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย–ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี นักเรียนจานวน 333 คน บุคลากรครู จานวน 22 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 15 คน มีพื้นที่โรงเรียน ขนาด 10 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา
84
แผนที่ภายในโรงเรียน การเกษตรในโรงเรียน โรงเรียนมีพื้นที่ทากิจกรรมการเกษตรทั้งหมด 1 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา โดยแบ่งเป็น พื้นที่ปลูก ผัก 1 ไร่ ปลูกไม้ผล 3 งาน 37 ตารางวา จัดให้มีกลุ่มยุวเกษตรเพื่อรวมกลุ่มเกิดกระบวนการการเรียนรู้ จากการจัดการแปลงเกษตร โดยมีนักเรียนระดับชั้น ป.4–ป.6 เป็นแกนหลัก ระดับชั้น ป.1-ป.3 เป็น กาลังเสริม ปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ตามแผนเกษตรและอาหารกลางวันของโรงเรียน โดยแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบตามระดับชั้น สภาพพื้นที่ของโรงเรียนประสบปัญหาน้าท่วมขัง ส่งผลให้แร่ธาตุหน้าดินโดนชะล้าง พืชผักราก เน่าตาย แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการซื้อหน้าดินมาเสริมทุกครั้งก่อนลงแปลง ปัจจุบันกาลังอยู่ในช่วง ปรับปรุงแปลงเกษตรด้วยการถมพื้นที่ยกสูงขึ้น 50 เซนติเมตรเพื่อป้องกันน้าท่วมขัง และจัดสรรพื้นที่ แปลงเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด กิจกรรมการเกษตรในโรงเรียนรับผิดชอบโดยครู 3 ท่าน ได้แก่ นายวิบูลย์จันทโรจวงศ์ ดูแล กิจกรรมผักปลอดสารพิษ/เห็ด นายศาปมุกติ์ ชินพงศ์ ดูแลกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่และเป็ด และนางเกศณีย์ วรรณพฤกษ์ ดูแลกิจกรรมเลี้ยงปลาดุก
85
แผนผังความรับผิดชอบงานด้านการเกษตร นายอมร นาคปก ผู้อานวยการโรงเรียน
นายวิบูลย์จันทโรจวงศ์ (กิจกรรมผักปลอดสารพิษ /เห็ด)
นายศาปมุกติ์ ชินพงศ์ (กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่/เป็ด)
นางเกศณีย์วรรณพฤกษ์ (กิจกรรมเลี้ยงปลาดุก)
กิจกรรมการเกษตรในโรงเรียน มีดังนี้ - การปลูกเห็ดนางฟ้า มีนักเรียนแกนนากลุ่มยุวเกษตรกร จานวน 5 คน ผลผลิตที่ได้นาส่ง โรงครัว หรืออาจจะแปรรูปเป็นเห็ดชุบแป้งทอด - การปลูกผัก นักเรียนทุกระดับชั้นมีแปลงเกษตรรับผิดชอบ โดยหนึ่งแปลงมีสมาชิกคละทุก ระดับชั้น มีนักเรียนระดับชั้น ป.4–6 เป็นกาลังหลัก คอยดูแลนักเรียนระดับชั้น ป.1-3 เป็น กาลังเสริม เช่น นักเรียนชั้น ป.6 ช่วยขุดดินเตรียมแปลง นักเรียนชั้น ป.1 ถอนหญ้า กาจัด วัชพืชในแปลงเกิดการเกื้อกูลและช่วยเหลือกันแบบพี่ดูแลน้อง เด็กนักเรียนมีหน้าที่ตั้งแต่ เตรียมดิน ปลูกผักลงแปลง ดูแลแปลง และเก็บผลผลิต บันทึกผล และส่งขายสหกรณ์เข้า โครงการอาหารกลางวัน รายการพันธุ์พืชที่ปลูกหมุนเวียนตลอดทั้งปี ตามแผนการปลูกพืช 1. พริก จานวน 30 ต้น 2. มะเขือเปราะ/มะเขือเทศ จานวน 30 ต้น. 3. ผักบุ้งจีน จานวน 6 แปลง* 4. คะน้า จานวน 3 แปลง* 5. กวางตุ้ง จานวน 6 แปลง* 6. ฮ่องเต้ จานวน 3 แปลง* 7. ถั่วฝักยาว จานวน 3 แปลง* 8. เห็ดนางฟ้า (ปีละ 2 รุ่น) จานวน 500 ก้อน 9. บวบ จานวน 3 แปลง* 10. ชะอม จานวน 1 แปลง* 11. ตะไคร้ จานวน 2 แปลง* 12. ข่า จานวน 2 แปลง* 13. กระเพรา จานวน 2 แปลง* 14. โหระพา จานวน 2 แปลง* 15. แค จานวน 5 ต้น 16. มะละกอ จานวน 10 ต้น 17. กล้วย จานวน 20 ต้น 86
18. มะพร้าว จานวน 19 .มะม่วง จานวน * หมายเหตุ ขนาดแปลง 1x 3 เมตร
10 4
ต้น ต้น
- กลุ่มกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ มีโรงเรือนขนาด 4x12 เมตร แต่เดิมจัดซื้อพันธุ์ไก่ไข่โดยใช้เงินกองทุน หมุนเวียน แต่รุ่นปัจจุบัน (รุ่นที่ 7) ได้รับทุนสนับสนุนไก่ไข่พันธุ์ไก่ไทย จานวน 100 ตัว จากสานักงาน ปศุสัตว์จังหวัดนราธิวาส เพื่อทดลองเลี้ยงแบบปล่อยลาน มีคณะกรรมการรับผิดชอบหลักจานวน 7 คน แต่เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนเข้ามาศึกษาเรียนรู้การบริหารจัดการฟาร์มได้ทุกคน ในแต่ละวันสมาชิก หลักจัดเวรประจาวันดูแลกิจกรรมในฟาร์มวันละ 3 คน มีหน้าที่ให้อาหารไก่ ทาความสะอาดโรงเรือน เก็บผลผลิตไข่ส่งสหกรณ์และจดบันทึกให้แก่ครูผู้รับผิดชอบ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นไข่ไก่วันละ 5 ฟอง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น และสร้างขวัญกาลังใจ โดยรุ่นที่ผ่านมาได้ทดลองเลี้ยงไก่ไข่แบบ ปล่อยลาน เพื่อลดความเครียด แต่ไม่ประสบผลสาเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากจัดการระบบฟาร์มยาก และ จานวนผลผลิตไข่ไก่น้อยกว่าการเลี้ยงแบบกรงตับ จึงกลับมาเลี้ยงแบบกรงตับแบบเดิมในรุ่นต่อไป ปัจจุบันมีเงินกองทุนไก่ไข่ 70,000 กว่าบาท
- กลุ่มกิจกรรมเลี้ยงเป็ดเทศ จานวน 30 ตัว มีขนาดโรงเรือน 5x4 เมตร เลี้ยงแบบปล่อยลาน ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง คือช่วงเช้า และช่วงบ่าย อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็ดนามาจากเศษอาหารจากโรงครัวมา ต้มกับราข้าว มะพร้าว และต้นสาคู จากในพื้นที่ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องอาหาร - กิจกรรมเลี้ยงไก่ลูกผสมพันธุ์พื้นเมือง จานวน 160 ตัว มีขนาดโรงเรือน 4x12 เมตร ให้อาหาร วันละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเช้า และ ช่วงบ่าย อาหารที่ใช้เลี้ยงนามาจากเศษอาหารจากโรงครัวมาต้มกับราข้าว มะพร้าว และต้นสาคู จากในพื้นที่ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารเช่นเดียวกับการเลี้ยงเป็ดเทศ - กิจกรรมเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ขนาด 2.5x5 เมตร มีสมาชิกรับผิดชอบประจา 2 คน นักเรียน ป.4 ทาหน้าที่ให้อาหารปลา และนักเรียนชั้น ป.6 จดบันทึกประมาณอาหารให้แก่ครู ผู้รับผิดชอบ ดาเนินการเลี้ยงปีละ 2 รุ่น ๆ ละ 2,000 ตัว นักเรียนสองคนนี้จะได้รับปลาดุก 2 กก. และ เงินตอบแทนอีกคนละ 100 บาท ต่อรอบการผลิต
87
แผนการผลิตพืช / สัตว์ / ประมง ปีการศึกษา 2556 การดาเนินงานด้านการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานมากมาย ได้แก่ 1. สานักงานเกษตรอาเภอเมืองนราธิวาส / สานักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาส - สนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ทางการเกษตร - สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักและปุ๋ย - จัดอบรมความรู้ด้านการเกษตรแก่ครูและชาวบ้าน 2. สานักงานประมงจังหวัดนราธิวาส สนับสนุนพันธุ์ปลาดุก และอาหารเม็ด 3. สานักงานปศุสัตว์จังหวัดนราธิวาส - สนับสนุนพันธ์ไก่ไข่ รุ่นที่ 7 จานวน 100 ตัว พร้อมอาหาร/พันธุ์เป็ดเทศ - สนับสนุนเวชภัณฑ์สาหรับดูแลรักษาโรค ไก่ไข่ - สนับสนุนงบประมาณซ่อมแซมโรงเรือน 4. ศูนย์พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส - สนับสนุนก้อนเพาะเชื้อเห็ด ปีละ 2 ครั้ง ๆ ละ 500 ก้อน - สนับสนุนด้านการจัดอบรมให้ความรู้ด้านการเกษตรแก่ครู นักเรียน ผู้ปกครอง 5. สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนจัดสรรเมล็ด พันธุ์พืช เป็นศูนย์กลางเพื่อประสานงาน ติดตามและประเมินผลการดาเนินงาน 88
6. สานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องจากพระราชดาริ (กปร.) สนับสนุนงบประมาณปรับปรุงพื้นที่แปลงเกษตร จานวน 80,000 บาท บทบาทของเด็กที่เข้าร่วม - สามารถเลือกลงกลุ่มได้ตามความสนใจ มีการแบ่งกลุ่มดูแลรับผิดชอบพื้นที่ของตนเองตั้งแต่ กระบวนการเริ่มต้น จนถึงสิ้นสุดกระบวนการเก็บผลผลิตเข้าระบบสหกรณ์ โดยมีการจดบันทึกและทา บัญชีผลผลิต เกิดการลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะแบบครบวงจร - มีการเปิดรับสมัครนักเรียนกลุ่มยุวเกษตรกร และเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกลงกลุ่มได้อย่าง อิสระ ตามความสมัครใจและสนใจ มีสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรทั้งหมด 20 คน เป็นนักเรียนผู้หญิง 7 คน นักเรียนผู้ชาย 13 คน มีคณะกรรมการบริการกลุ่ม 5 คน โดยแบ่งกลุ่มรับผิดชอบ ดังนี้ 1. กิจกรรมพืชและเห็ด จานวน 5 คน 2. กิจกรรมประมง จานวน 5 คน 3. กิจกรรมปศุสัตว์ จานวน 5 คน 4. กิจกรรมแปรรูปถนอมอาหาร จานวน 5 คน - เด็กนักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในดูแลบารุงรักษาและเก็บเกี่ยวผลผลิต มาชั่งนาขายสหกรณ์ เพื่อ ใช้ในกิจกรรมอาหารกลางวันของโรงเรียน การจัดการผลผลิตที่เกิดขึ้น - นาผลผลิตที่เก็บเกี่ยวจาหน่ายให้สหกรณ์ร้านค้า เพื่อจาหน่ายให้โรงครัวนาไปประกอบอาหาร กลางวันและขายให้ชุมชน โดยทุกกิจกรรมมีบัญชีกองทุนหมุนเวียนแยกตามรายกิจกิจกรรม เช่น จาหน่ายปลาดุกแก่สหกรณ์ กก. ละ 70 บาท สหกรณ์จาหน่ายให้โรงครัว กก.ละ 71 บาท - แบ่งผลผลิตบางส่วนเป็นค่าตอบแทนให้เด็กที่ดูแล เช่น เด็กดูแลไก่ไข่ จะได้รับไข่วันละ 5 ฟอง - ผลผลิตที่มีจานวนมาก จะนามาแปรรูปด้วยการบูรณาการเข้ากับหลักสูตรท้องถิ่น เปิดโอกาส ให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้การแปรรูปและถนอมอาหาร เช่น ขนมที่มีไข่ไก่เป็นส่วนประกอบ ไข่เค็มสมุนไพร เห็ดทอด
การเก็บพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ไว้ใช้เอง - พันธุ์พืชที่ใช้ในการเกษตรในโรงเรียน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ปลูกในแปลงเกษตร จาพวก กวางตุ้ง ผักบุ้ง มะเขือเปราะ จะได้รับการสนับสนุนจากสานักงานเกษตรอาเภอ/เกษตรจังหวัด ปี 89
ละ 2 ครั้ง เป็นประจาทุกปี แต่พันธุ์พืชจาพวก กล้วย มะละกอ และพืชตระกูล ไม้เลื้อย เช่น บวบ กระเจี๊ยบ ฯลฯ โรงเรียนจะขยายพันธุ์ไว้ใช้เอง - ขยายพันธุ์พืชจาพวก มะรุม มะนาว ขิง ข่า กล้วย แจกจ่ายสู่ชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนต่อไป - การขยายพันธุ์สัตว์ที่ใช้เลี้ยงในโรงเรียน ยังไม่มีการขยายพันธุ์ไว้ใช้เอง เทคนิคด้านการเกษตร เรื่องการจัดศัตรูพืช ไม่เป็นปัญหาของที่นี่มากนัก ส่วนมากใช้วิธีกาจัดด้วยมือ เช่น ถอนทิ้ง หรือ อาจใช้น้าหมักชีวภาพช่วยไล่แมลง สาหรับการบารงดิน นักเรียนใช้ปุ๋ยคอกจากมูลไก่ไข่และปุ๋ยหมักพืชสดในบ่อหมัก มาผสมดิน เพื่อเพิ่มสารอินทรีย์ในดิน นอกจากนี้ก็ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษพืชและผลไม้ด้วย ในเรื่องระบบน้า เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ลุ่ม จึงมีน้าบาดาลใช้สูบแล้วรดผ่านสปริงเกอร์ทั้ง ปี พร้อมทั้งเก็บน้าฝนไว้ใช้ด้วย นอกจากนี้ โรงเรียนยังมีเทคนิคการเกษตรที่น่าสนใจ เช่น - การเลี้ยงเป็ดเทศและไก่ลูกผสมพันธุ์พื้นเมืองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยการปล่อยให้เป็ดและ ไก่จิกกินเนื้อมะพร้าวงอก และต้นสาคูในพื้นที่ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหาร - การปลูกต้นมะนาวในบ่อซีเมนต์ ด้วยการปูแผ่นปูนและก้อนหินรองก้นบ่อ ใช้กากมะพร้าว ปุ๋ยคอก ผสมดินรองก้น เพื่อป้องกันน้าท่วมขัง ง่ายต่อการควบคุมน้าและปุ๋ย ทาให้ได้ผลผลิตที่มากกว่า - การปักกิ่งแบบวิธีชาวบ้านด้วยการปักกิ่งแบบทาบกิ่งแนวตัด ที่ได้ผลดีกว่าแบบเสียบยอด ทา ได้ง่ายและสวยงามกว่า เคล็ดลับอยู่ที่ความสะอาด ห้ามเอามือจับตรงรอยเนื้อเยื่อที่จะทาบกิ่งเด็ดขาด - น้าต้นสาคู ผ่าต้นแล้วเอามาให้ไก่จิกกินเนื้อใน บทบาทของผู้บริหารโรงเรียน นายอมร นาคปก ผู้อานวยการโรงเรียน เป็นผู้มีส่วนสาคัญต่อการผลักดันให้โครงการเกษตรใน โรงเรียนประสบผลสาเร็จ โดยมีบทบาทที่สาคัญ ดังนี้ - เป็นที่ปรึกษา ให้การสนับสนุน จัดสรรกาลังครูแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบภาระหน้าที่แต่ละ กิจกรรม - หาทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกด้วยการใช้หลักการสร้างปฏิสัมพันธ์ - วางแผนดาเนินงานภายในโรงเรียน ให้โรงเรียนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ไม่ต้องรอรับการ สนับสนุนเพียงด้านเดียว - สร้างความสัมพันธ์กับมวลชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งในชุมชน - เอาใจใส่ต่อปัญหาของคนในชุมชน และพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มกาลัง บทบาท/ลักษณะเด่นครูที่รับผิดชอบการเกษตร สาหรับครูเกษตรทั้งสามท่านเองก็มีบทบาทไม่แพ้ผู้อานวยการ
90
- มีความมุ่งมั่นตั้งใจและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ แม้ไม่ได้มีความรู้โดยตรงแต่ก็มีความตั้งใจที่จะ พัฒนาตนเอง นาความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาทดลองปฏิบัติ แบบลองผิดลองถูกเพื่อนาความรู้มาปรับ ใช้ให้เข้ากับบริบทของโรงเรียนให้มากที่สุด - มีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน ด้วยการนาความรู้ด้านการเกษตรแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านตลอดเวลา บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้นาชุมชน - เข้าประชุมร่วมกับโรงเรียนสม่าเสมอ เพื่อรับทราบปัญหา แลกเปลี่ยนทัศนคติ และหาแนวทาง พัฒนาและแก้ไขปัญหาตามวาระ - เป็นสื่อกลางในการนามวลชนร่วมกิจกรรมกับโรงเรียน - สนับสนุนกิจกรรมทุกกิจกรรมของโรงเรียน - เป็นแกนนามวลชน และสื่อกลางระหว่างโรงเรียนกับชุมชน การพัฒนาศักยภาพบุคลากร - ส่งครูเข้ารับการอบรมความรู้ด้านการเกษตร ณ ศูนย์พิกุลทอง ปีละ 1 -2 ครั้ง - สานักงานเกษตรอาเภอ/เกษตรจังหวัด จัดอบรมให้ความรู้ด้านการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์แก่ ครู/นักเรียน ปีละ 1 ครั้ง องค์กรจิตอาสาเข้ามาร่วมขับเคลื่อน - มีจิตอาสาชาวบ้าน กลุ่มชุดรักษาความปลอดภัยประจาหมู่บ้าน (ชรบ.) ผลัดเวรเฝ้ายาม โรงเรียน จะช่วยเข้ามาดูแลแปลงผักและคอกสัตว์เลี้ยงช่วงปิดเทอม ร่วมกับนักการประจาโรงเรียน - กลุ่มแม่บ้านละแวกโรงเรียน จะร่วมลงแรงจับปลาดุกพร้อมชาแหละ ทุกครั้งที่มีการจับปลาดุก เพื่อนามาประกอบอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน - ชาวบ้านร่วมบริจาคพันธุ์ไก่ลูกผสมพื้นเมืองที่ได้รับสนับสนุนจากโครงการพนม ของศูนย์ อานวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ. บต.) โดยแต่ละครัวเรือนแบ่งบริจาคให้โรงเรียน ครัวเรือนละ 2 ตัว รวม 400 ตัว ผู้ได้รับประโยชน์จากการเกษตรในโรงเรียน เด็ก - ได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษส่งผลให้มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น - มีทักษะความรู้ด้านการเกษตร มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบมากขึ้น - มีสุขภาพพลานามัยที่ดี ได้ออกกาลังกายสะสมจากการลงมือปฏิบัติงานดูแลแปลง เกษตร ครู - ได้แนวคิด/ความรู้ทางการเกษตร จากการอบรมและลงมือปฏิบัติจริง - ได้สร้างปฏิสัมพันธ์ต่อชุมชนผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ และพืชพันธ์ทางการเกษตร - ได้รับการยอมรับจากชุมชนและแวดวงทางการศึกษาจากความสาเร็จของกิจกรรม โรงเรียน - เป็นศูนย์กลางกิจกรรมสัมพันธ์ของชุมชน - มีรายได้จากการจาหน่ายผลผลิตทางการเกษตร สามารถดูแลตนเองได้ ครอบครัว- ได้รับผลผลิตทางการเกษตรจากโรงเรียนผ่านเด็กนักเรียน - ได้รับพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ไปขยายผลในครัวเรือน 91
- ได้รับความรู้ด้านการเกษตรจากการอบรมประจาปี เครื่องมือ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรภายในโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากสานักงานเกษตร อาเภอ สานักงานเกษตรจังหวัด และกรมพัฒนาที่ดิน ผ่านการขอเบิกสนับสนุนจากโรงเรียน มีอุปกรณ์ สาหรับใช้งานอย่างเพียงพอ ผลงานภาคภูมิใจ/นวัตกรรมที่โรงเรียนสร้างขึ้น ผลการดาเนินงานที่เกิดขึ้นจากการเกษตร - โรงเรียนสามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ สามารถให้บริการอาหารกลางวันที่ มีคุณภาพแก่นักเรียนได้ตามเกณฑ์ที่กาหนด - ลดค่าใช้จ่ายจากการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อนามาประกอบอาหารกลางวัน และผลผลิตทางการ เกษตรที่เหลือยังสามารถนาไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ได้ - ได้พลังมวลชนและสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชนผ่านกิจกรรมปศุสัตว์ เกิดการเรียนรู้และพึ่งพา อาศัยซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ผลการดาเนินงานที่โรงเรียนภาคภูมิใจ 1. รางวัลชมเชยระดับประเทศ ด้านกิจกรรมปศุสัตว์ดีเด่น โดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ประจาปี 2556 2. รางวัลชนะเลิศ การคัดเลือกโรงเรียนโครงการพระราชดาริ กิจกรรมปศุสัตว์ดีเด่น โดย สานักงานปศุสัตว์ เขต 9 ประจาปี 2556 3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 การคัดเลือกโรงเรียนโครงการพระราชดาริ กิจกรรมปศุสัตว์ ดีเด่น ระดับเขต โดยสานักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 9 ประจาปี 2554 4. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 การคัดเลือกโรงเรียนโครงการพระราชดาริ กิจกรรมปศุสัตว์ ดีเด่น ระดับเขต โดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจาปี 2555 สหกรณ์นักเรียน นางเกศณีย์ วรรณพฤกษ์ และนางประพร สุพงษ์ ครูผู้รับผิดชอบดูแลงานสหกรณ์นักเรียน เล่า ว่า สหกรณ์นักเรียนเปิดจาหน่ายหุ้นสมาชิกสหกรณ์ให้แก่นักเรียน บุคลากร และผู้ปกครอง ในราคาหุ้น ละ 10 บาท โดยมีนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนทุกคนเป็นสมาชิกหุ้นสหกรณ์ และสมาชิกออมทรัพย์ 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วยความสมัครใจ มีผู้ปกครองร่วมเป็นสมาชิกหุ้นสหกรณ์และสมาชิกออมทรัพย์จานวน หนึ่ง คณะกรรมการสหกรณ์เป็นนักเรียนระดับชั้น ป.4–ป.6 จานวน 14 คน กิจกรรมของสหกรณ์ ประกอบด้วย 1. กิจกรรมเงินฝากออมทรัพย์แก่สมาชิกสหกรณ์ 2. จาหน่ายสินค้าผ่านร้านค้าสหกรณ์ โดยแบ่งประเภทสินค้าออกเป็น 3 ประเภท คือ - ผลผลิตทางการเกษตร จากโครงการเกษตรและอาหารกลางวันให้แก่โรงครัวและ ชาวบ้านในพื้นที่ 92
- อุปกรณ์การเรียนการสอน และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกิจกรรมโครงงานของนักเรียน - สินค้าท้องถิ่นฝากขายจากชาวบ้านในพื้นที่ คณะกรรมการสหกรณ์มาจากการคัดเลือกนักเรียนชั้น ป.4-ป.6 โดยครูผู้รับผิดชอบงานสหกรณ์ แต่ละวัน คณะกรรมการสหกรณ์ 14 คน จะแบ่งเวรหน้าที่ความรับผิดชอบในการดาเนินกิจกรรมสหกรณ์ วันละ 3 คน เพื่อจาหน่ายสินค้าสหกรณ์ 1 คน จาหน่ายสินค้าฝากขาย 1 คน และทาบัญชีการซื้อขาย 1 คน คณะกรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสหกรณ์ทุกกระบวนการและรับผิดชอบหน้าที่แทนกันได้ ทุกตาแหน่ง โดยมีครูที่ปรึกษาเป็นผู้ตรวจสอบดูแล ส่งผลให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการ ทางาน เช่น ทักษะทางคณิตศาสตร์จากการซื้อ-ขาย ทักษะทางภาษาไทยจากการจดบันทึก ทักษะการ เข้าสังคมจากการศึกษาดูงานประจาปี การทางานเป็นทีม และปลูกฝังจิตใจด้านงานบริการ มีการจัดอบรมการทาบัญชีครัวเรือนให้บุคลากรและนักเรียน โดยสานักงานส่งเสริมสหกรณ์ จังหวัด ปีละ 1 ครั้ง และสอดแทรกความรู้ด้านสหกรณ์เข้ากับการเรียนการสอนรายวิชาวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาสังคมศาสตร์ มีการสอนทาบัญชีครัวเรือนให้กับเด็กนักเรียนระดับชั้น ป.4 ทุกคน เพื่อขยาย ความรู้สู่ครอบครัว นักเรียนทุกคนให้ความสาคัญกับการออมทรัพย์ ทุกคนสมัครใจเข้าร่วมถือหุ้นสมาชิกสหกรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ มีความกระตือรือร้นในการออมเงิน และมีจานวนยอดเงินฝากต่อเนื่องจนจบการศึกษา นักเรียนบางคนฝากตั้งแต่อนุบาลจนกระทั่งเรียนจบมียอดเงินออมกว่า 10,000 บาท เครื่องมือสาหรับการดาเนินงานสหกรณ์นักเรียน ได้แก่ สมุดคู่บัญชีเงินฝากบัญชีย่อยเจ้าหนี้เงิน ฝากออมทรัพย์บัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ประจาห้องเรียนบัญชีรายรับ-รายจ่ายบัญชีสหกรณ์ ทะเบียน สมาชิกเพิ่มหุ้น บันทึกรายงานการประชุม มีหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนงานสหกรณ์อย่างสม่าเสมอ ได้แก่ 1. สานักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนจัดอบรมให้ความรู้ด้านการจัดทา บัญชีรายรับ – รายจ่าย แก่ครูและนักเรียน ปีละ 1 ครั้ง 2. สานักงานส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนกิจกรรมศึกษาดู งานด้านบัญชีสหกรณ์ให้แก่คณะกรรมการสหกรณ์ ปีละ 1 ครั้ง 3. สานักงานสหกรณ์อาเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนจัดอบรมให้ความรู้ด้านการทาบัญชี ครัวเรือน 4. สานักงานสหกรณ์ จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนการตรวจสอบ ติดตามและนิเทศผลการ ดาเนินการกิจกรรมสหกรณ์ 5. ธนาคารออมสิน สาขาอาเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนบริการให้ความรู้ด้านการออม เงินให้แก่นักเรียนชั้น ป. 6 ที่จบการศึกษา ปีละ 1 ครั้ง
ผู้ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมสหกรณ์ ได้แก่ 93
เด็กนักเรียน ได้รับความรู้ด้านการดาเนินงานกิจกรรมของสหกรณ์ มีทักษะการทาบัญชี การ ทางานเป็นทีม การให้บริการ สร้างนิสัยการออมเงิน และได้รับเงินปันผลและมีเงินออมเมื่อจบการศึกษา ครู ได้พัฒนาตนเองด้านการทาบัญชีและกิจกรรมสหกรณ์ผ่านกิจกรรมการอบรมและศึกษาดู งานประจาปี ชุมชน ได้รับความรู้ด้านการทาบัญชีครัวเรือน ผ่านนักเรียนที่นาความรู้ไปขยายต่อยังครอบครัว การบริการอาหารของโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานบริการอาหารของโรงเรียน คือ น.ส.ปรีดา สนิกอเด็ง ให้ข้อมูลว่าครู ผู้รับผิดชอบด้านโครงการเกษตรและอาหารกลางวันจะวางแผนจัดเมนูอาหารให้สอดคล้องกับผลผลิต ทางการเกษตรที่มีในขณะนั้น รายการอาหารจะกาหนดล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์ โดยครูผู้รับผิดชอบ
นักเรียนระดับชั้น ป.3–ป.6 รับผิดชอบสลับเวรแบ่งตามห้องเรียนละ 1 วัน เพื่อเข้ามามีส่วนร่วม ในการประกอบอาหารกลางวัน ตั้งแต่ช่วยเตรียมวัตถุดิบสาหรับปรุงอาหาร จัดเตรียมสถานที่ (โต๊ะ เก้าอี้) เตรียมอ่างล้างถาดอาหาร ล้างภาชนะในครัว และจัดเก็บเศษอาหารเพื่อนาไปใช้เป็นอาหารสาหรับเลี้ยง สัตว์ เนื่องจากโรงอาหารมีพื้นที่จากัด จึงแบ่งกลุ่มการรับประทานอาหารของนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนชั้นปฐมวัย นักเรียนระดับชั้น ป.1–ป.3 และ นักเรียนระดับชั้น ป. 4–ป.6 นักเรียนทุกคนรับผิดชอบล้างถาดอาหารของตนเอง ยกเว้นนักเรียนชั้นปฐมวัย มีนักเรียนห้องประจาเวร รับผิดชอบโรงครัวเป็นผู้ล้างให้ ยังมีข้อจากัดด้านการคานวณปริมาณสารอาหารและเครื่องปรุงที่นักเรียนได้รับ เพราะการ คานวณตามโปรแกรม Thai School Lunch เป็นโปรแกรมผ่านระบบออนไลน์ และไม่สามารถแก้ไข วัตถุดิบที่ใช้ตรงตามความเป็นจริงได้ แม่ครัวที่มาบริการปรุงอาหารให้แก่เด็กนักเรียน ประกอบด้วยแม่ครัวประจา 1 คน และจัดจ้าง ในตาแหน่งนักการของโรงเรียน 1 คน แล้วยังมีแม่ครัวจิตอาสา 1 คนแม่ครัวทั้งหมดไม่เคยได้รับการ อบรมด้านโภชนาการ ปรุงอาหาร มีครูผู้รับผิดชอบควบคุมดูแล พบว่าเมนูที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่เป็น จาพวกอาหารจานเดียว และเมนูท้องถิ่นที่อุดมด้วยแป้ง ไขมัน และมีรสชาติหวาน ซึ่งอาจส่งต่อภาวะ โภชนาการเกินในเด็กนักเรียน ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น 94
ครูมีบทบาทวางแผนรายการอาหารประกอบเลี้ยงให้สอดคล้องกับแผนผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งควบคุมคุณภาพ การปรุงอาหาร และปริมาณอาหารที่เด็กควรได้รับตามภาวะโภชนาการ ร่วมกับ แม่ครัวจากกลุ่มแม่บ้านจิตอาสาที่มาประกอบอาหารในแต่ละวัน โดยนักเรียนชั้น ป.3–ป.6 สลับเวรแบ่ง หน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมในโรงครัววันละ 1 ห้องเรียน เพื่อเตรียมวัตถุดิบประกอบอาหาร จัดเตรียม สถานที่ (โต๊ะ เก้าอี้) เตรียมอ่างล้างถาดอาหาร ล้างภาชนะในครัว และจัดเก็บเศษอาหารเพื่อนาไปใช้เป็น อาหารสาหรับเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ นักเรียนกลุ่ม อย.น้อย คอยดูแลความสะอาดถาดอาหาร และความ สะอาดโรงครัว เนื่องจากโรงเรียนบ้านค่าย มีจานวนเด็กที่มีน้าหนักต่ากว่าเกณฑ์ จานวน 22 คนและเด็ก นักเรียนที่อยู่ในภาวะกลุ่มเสี่ยงมีน้าหนักต่ากว่าเกณฑ์ อีก 34 คน รวมเด็กนักเรียนที่ต้องติดตามภาวะ โภชนาการทั้งสิ้น 56 คน ประกอบกับผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ได้จัดทาแผนนโยบายส่งเสริมภาวะ โภชนาการให้แก่เด็กนักเรียน โรงเรียนทุกโรงเรียนในจังหวัดนราธิวาส จึงมีงบประมาณอาหารเช้าให้แก่ กลุ่มนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ จานวน 22 คน 100 มื้อ ๆ ละ 30 บาท โรงเรียนจึงได้นา งบประมาณนี้มาจัดสรรเพื่อให้บริการอาหารเช้ากลุ่มเด็กนักเรียนที่ต้องติดตามภาวะโภชนาการทั้ง 56 คน โดยประกอบเมนูจาพวกพวกอาหารจานเดียว เช่น ข้าวผัด ราดหน้า ผัดซีอิ้ว เป็นต้น
บริการอาหารเช้าเวลา 07.00 น. สาหรับนักเรียนโภชนาการต่ากว่าเกณฑ์ ในช่วงถือศีลอด นักเรียนชั้น ป.1-3 สามารถทานอาหารได้ตามปกติ นักเรียนชั้น ป.4-6 ที่ถือศีล อด ทางแม่ครัวจะจัดอาหารใส่ถุงให้แต่ละคนนากลับไปทานที่บ้านตอนเย็นได้ หน่วยงานสนับสนุน 1. ผู้ว่าราชการจังหวัด และสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 จังหวัดนราธิวาส จัดสรรงบประมาณ เพื่อกิจกรรมบริการอาหารเช้าของโรงเรียนและจัดอบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการ 2. เทศบาลตาบลกะลุวอ อาเภอเมือง จังหวัดนราธิวาสสนับสนุนงบประมาณอาหารกลางวัน ความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ - สนับสนุนด้านกาลังช่วยเหลือกาลังคนเมื่อโรงเรียนร้องขอ - มีแม่ครัวจิตอาสาเป็นชาวบ้านที่มีฐานะยากจน จานวน 1 คน มาช่วยประกอบอาหารกลางวัน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่ได้รับค่าตอบแทนเป็นอาหารกลางวัน 95
- กลุ่มชาวบ้านช่วยจับและชาแหละเนื้อปลาที่จับจากโครงการประมงของโรงเรียนเพื่อประกอบ อาหารกลางวัน - บุคลากรครูร่วมสนับสนุนงบจัดเลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนในโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด - ชาวบ้านบริจาควัตถุดิบจาพวกเนื้อสัตว์ เช่น ปลาทะเล การติดตามภาวะโภชนาการ เครื่องมือที่ใช้ติดตามภาวะโภชนาการ ได้แก่ สมุดตารางบันทึกภาวะโภชนาการ และรายงาน การติดตามภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน ครูผู้รับผิดชอบติดตามภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนด้วยการชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูง ปีละ 4 ครั้ง (เทอมละ 2 ครั้ง วันเปิดภาคเรียน และก่อนปิดภาคเรียน) นักเรียนชั้นปฐมวัยครูผู้รับผิดชอบเป็น ผู้ดาเนินการทั้งหมด ส่วนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูงด้วยตัวเอง แต่มีครูคอย ควบคุมความถูกต้อง นักเรียนทุกคนมีสมุดบันทึกผลการติดตามภาวะโภชนาการ เมื่อได้ผลประเมินภาวะโภชนาการแล้ว ครูจะแปรผลด้วยใช้โปรแกรมประเมินภาวะโภชนาการ จากนั้นจะชี้แจงให้ผู้ปกครองทราบ ในที่ประชุมผู้ปกครอง ทุกเดือน เพื่อให้ผู้ปกครองรับทราบและร่วม ติดตามภาวะโภชนาการเด็กอย่างใกล้ชิดที่บ้าน มีการให้ความรู้เรื่องหลักโภชนาการที่ถูกต้องแก่ ผู้ปกครองทั้งแบบกลุ่มและเจาะจงเป็นรายบุคล จากการติดตามภาวะโภชนาการล่าสุด โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ได้แก่ รพ.สต.กะลุวอเหนือ เข้ามาให้ความรู้และติดตามภาวะโภชนาการร่วมกับครูอนามัยในโรงเรียน ได้ผลภาวะโภชนาการดังนี้ > เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการพบว่ามีเด็กนักเรียนมีน้าหนักตัวต่ากว่าเกณฑ์ จานวน 22 คน และ อยู่ในกลุ่มต้องเฝ้าระวัง จานวน 34 คน > เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินพบเด็กนักเรียนมีน้าหนักตัวเกินเกณฑ์ จานวน 12 คน โดยหลังจากทราบข้อมูลดังกล่าว โรงเรียนได้กาหนดมาตรการแก้ปัญหา ดังนี้ - บริการอาหารเช้าให้แก่นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและนักเรียนกลุ่มต้องเฝ้าระวัง โดย ได้รับงบประมาณสนับสนุนการบริการอาหารเช้าจากจังหวัด ให้แก่นักเรียนที่มีน้าหนักต่ากว่าเกณฑ์ จานวน 22 คน จานวน 100 มื้อ ๆ ละ 30 บาท แต่โรงเรียนนามาจัดสรรเพื่อสามารถให้บริการอาหารแก่ นักเรียนกลุ่มเสี่ยงต้องเฝ้าระวัง จานวน 34 คน รวมนักเรียนที่ได้รับบริการอาหารเช้า ทั้งหมดจานวน 56 คน - จัดให้มีโครงการโต๊ะ VIP โดยแยกนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ มารับประทาน อาหารร่วมกัน โดยเพิ่มปริมาณสารอาหารให้มากกว่าเด็กปกติ แต่เพิ่งระงับโครงการไปเนื่องจากขาด งบประมาณจัดสรร - จัดโครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราช นครินทร์ โดยให้ความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้องแก่เด็กนักเรียนทุกระดับชั้น ปลูกฝังให้เด็กนักเรียนทุกคน รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนระดับชั้น ป.6 เพื่อหวังให้ขยายความรู้สู่ ครอบครัวหลังจากจบการศึกษา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวโดยมีนักเรียนเป็นแรงขับเคลื่อน - เด็กนักเรียนที่มีน้าหนักน้อยจะได้รับปริมาณอาหารเพิ่มจากเด็กปกติ โดยครูอนามัยและครู ผู้รับผิดชอบบริการอาหารกลางวัน คอยกากับประสานข้อมูลให้แม่ครัวร่วมกันดูแล 96
- เด็กนักเรียนทุกคนต้องดื่มนม วันละ 2 กล่อง ปริมาณ 200 ซีซี ทุกวัน เด็กที่มีภาวะทุพ โภชนาการ สามารถดื่มนมเพิ่มและได้รับนมกลับไปดื่มที่บ้าน - จัดให้มีกิจกรรมบริหารร่างกายตอนเช้าก่อนเข้าเรียน เพื่อส่งเสริมการออกกาลังกาย ให้เด็ก นักเรียนทุกคน - ให้ความรู้กับผู้ปกครองตอนที่มารับหรือส่งลูกที่โรงเรียน จากการติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนล่าสุด พบว่ามีเด็กจานวนมากเกือบ 70 คน ที่มี โภชนาการต่ากว่าเกณฑ์ หรือเกิน และอีกจานวนมากอยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ซึ่งมี ปัจจัยสาคัญที่ทาให้เด็กจานวนมากมีปัญหาภาวะโภชนาการ เนื่องจาก - พฤติกรรมจากค่านิยมท้องถิ่นที่ไม่ให้ความสาคัญกับการการรับประทานอาหารเช้า เด็ก นักเรียนส่วนใหญ่ไม่รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน หรือรับประทานอาหารที่มีโภชนาการไม่เหมาะสม เช่น โรตี ปาท่องโก๋ทอด - สภาพสังคมที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างต่างพื้นที่ ฝากบุตรหลานไว้กับผู้สูงอายุ ในครอบครัว ทาให้ไม่มีเวลาเอาใจใส่พฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเต็มที่ - ความเชื่อ และค่านิยมที่ผิดเกี่ยวกับการบริโภค เช่น อาหารแสลงโรค ความเชื่อเรื่องการ บริโภคปลาทะเลมากเกินไปจะทาให้เกิดโรคพยาธิ - ปัญหาความยากจนในบางครอบครัว - ลักษณะเฉพาะทางกรรมพันธุ์ บางครอบครัวมีกรรมพันธุ์มีโครงสร้างทางร่างกายแคระเกร็น มี น้าหนักตัวน้อย - ผู้ปกครองยังไม่ตระหนักถึงความสาคัญ และไม่มีความรู้เรื่องหลักโภชนาการที่เหมาะสม - มีร้านจาหน่ายขนมขบเคี้ยว อาหารใส่สี และน้าหวานภายในบริเวณโรงเรียนและรอบโรงเรียน ส่งผลให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมบริโภคอาหารด้อยคุณภาพ หน่วยงานสนับสนุน 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลกะลุวอเหนือ สนับสนุนร่วมติดตามภาวะโภชนาการของ เด็กนักเรียน 2. สานักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส จัดอบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการ แก่ นักเรียน ครู และผู้ปกครอง 3. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส ส่งนักศึกษาพยาบาลร่วมสารวจภาวะ โภชนาการ และติดตามนักเรียนที่ประสบปัญหา 4. สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนงบประมาณ อาหารเช้าแก่นักเรียนน้าหนักน้อยและเตี้ย 5. เทศบาลตาบลกะลุวอ สนับสนุนจัดซื้อนมกล่องพาสเจอไรซ์บริการนักเรียน ผู้ได้รับประโยชน์จากกิจกรรม นักเรียน กลุ่มนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นและสามารถประเมิน ภาวะโภชนาการของตนเองได้จากการลงมือปฏิบัติชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูงด้วยตนเอง 97
ครู ได้พัฒนาตนเอง ด้านทักษะการแปรผลภาวะสุขภาพ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชนจากการ ร่วมติดตามภาวะโภชนาการ ผู้ปกครอง ได้รับความรู้เรื่องหลักโภชนาการที่เหมาะสม ลดอัตราการเจ็บป่วยในอนาคตของบุตร หลานและบุคคลในครอบครัว การพัฒนาสุขนิสัย โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ร่วมบูรณาการ ส่งเสริมพัฒนาสุข นิสัยผ่านกิจกรรมโครงการและแกนนานักเรียน ควบคู่กับการสอดแทรกความรู้ผ่านการเรียนการสอน ทุกวันก่อนเข้าชั้นเรียนมีการตรวจความสะอาด ของผม เล็บ เสื้อผ้า รองเท้า หน้าเสาธงโดยครูประจาเวร และแกนนานักเรียนแบบพี่ดูแลน้อง เพื่อนดูแลเพื่อน เด็กนักเรียนทุกคนมีอุปกรณ์จาพวก แก้วน้าดื่ม แปรงสีฟัน ยาสีฟันเป็นของตัวเอง แกนนานักเรียนจะคอยตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ระหว่างตั้ง แถวเข้ารับประทานอาหารกลางวัน ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และแปรงฟัน หลังรับประทานอาหารกลางวันเสร็จ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการบริหารร่างกายประกอบเพลงหน้าเสาธง ให้ความรู้เรื่อข่าวสุขภาพ โดยแกนนานักเรียนเป็นผู้ดาเนินกิจกรรมทุกกระบวนการเองทั้งหมด แบ่งนักเรียนชั้น ป.3-6 ห้องละ 2 คน รับผิดชอบความสะอาดห้องน้า
เครื่องมือที่ใช้ในกิจกรรมพัฒนาสุขนิสัย ได้แก่ - สื่อโปสเตอร์ / แผ่นพับ ให้ความรู้การพัฒนาสุขนิสัย เช่น สาธิตการล้างมือ 7 ขั้นตอน การ ป้องกันและกาจัดเหา สุขบัญญัติ 10 ประการ - แกนนานักเรียน - กิจกรรมบริหารร่างกายประกอบเพลงและเล่าข่าวสุขภาพหน้าเสาธง โดยมีแกนนานักเรียนหา เพลงมาเอง คิดท่าเต้น แล้วนาการออกกาลังกาย - กิจกรรมประกวดหนูน้อยฟันสวย - กิจกรรมประกวดวาดภาพสื่อสุขภาพ หน่วยงานสนับสนุน 1. สานักงานสาธารณสุข จังหวัดนราธิวาส จัดอบรมเรื่องอนามัยสุขภาพให้แก่นักเรียน และจัด กิจกรรมประกวดหนูน้อยฟันสวย สนับสนุนแปรงสีฟันและยาสีฟัน และสื่อความรู้เรื่องสุขภาพอนามัย 98
2. โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส จัดอบรมนักเรียนระดับชั้น ป.5 เพื่อ เป็นแกนนาด้านสุขภาพ 3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตาบลกะลุวอเหนือ ให้บริการตรวจคัดกรองด้านสุขอนามัย ร่วมกับครูอนามัย การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน น.ส.นูรีดา ตือเระ ครูผู้ดูแลงานด้านการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ให้ข้อมูลว่า นักเรียนทุกระดับชั้นร่วมทาความสะอาดพื้นที่โรงเรียนร่วมกันในตอนเช้า โดยแบ่งเขตพื้นที่ความ รับผิดชอบตามระดับชั้น มีครูประจาเวรและแกนนานักเรียนตรวจสอบความเรียบร้อย และรายงานหน้า เสาธง การคัดแยกขยะ แยกกระดาษและพลาสติกไว้จาหน่าย เศษใบไม้บางส่วนนามาทาปุ๋ยหมักพืชสด เศษอาหารจากโรงครัว นามาเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ที่เหลือรถขยะเทศบาลตาบลกะลุวอมาจัดเก็บไปทิ้งทุก วัน จัดกิจกรรมประกวดการวาดภาพระบายสีรั้วโรงเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงทักษะ และความสามรถด้านศิลปะ และปรับปรุงภูมิทัศน์โรงเรียนประจาปี สร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามร่มรื่นให้แก่ โรงเรียน จานวนห้องน้ายังไม่เพียงพอต่อปริมาณเด็กนักเรียน แต่มีน้าใช้สะดวกมีนักเรียนรับผิดชอบทา ความสะอาดประจาห้องละ 1 คนด้วยความสมัครใจ โดยมีครูอนามัยและแกนนานักเรียนคอยตรวจสอบ ความสะอาดอยู่เสมอ อีกปัญหาที่น่าเป็นห่วงคือ โรงเรียนอยู่ใกล้โรงโม่หิน มีรถบรรทุกหินขับผ่าน และมีการระเบิดหิน อยู่เสมอ ทาให้เกิดฝุ่นในพื้นที่ อาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของเด็กได้ การจัดบริการสุขภาพ น.ส.นูริดา ตือเระ ให้ข้อมูลว่า โรงเรียนมีอาคารพยาบาล 1 หลัง เปิดให้บริการทางสุขภาพ เบื้องต้นแก่เด็กนักเรียน ได้รับการสนับสนุนเวชภัณฑ์จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลกะลุวอเหนือ แต่ยังคงไม่เพียงพอต้องจัดงบจัดซื้อเพิ่มเติม มีกิจกรรมบริการสุขภาพแก่นักเรียน เช่น - สาหรับเด็กเล็กตรวจความสะอาดของร่างกายทุกวัน สาหรับเด็กโตจะตรวจเดือนละ 1-2 ครั้ง - บริการตรวจสุขภาพทั่วไป ชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูง ตรวจความสะอาดผม มือ เท้า เล็บ เด็กที่มี ปัญหาเรื่องเหาและโรคผิวหนังดาเนินการจ่ายยารักษาตามอาการ - บริการตรวจหาหนอนพยาธิ ประสานงานร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล (รพ.สต.) กะลุวอเหนือ นาอุจจาระของนักเรียนส่งตรวจหาหนอนพยาธิ ปีละ 1 ครั้ง
99
- บริการฉีดวัคซีนและป้องกันโรคตามฤดูกาล ประสานงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตาบล (รพ.สต.) กะลุวอเหนือ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) ให้บริการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคปีละ 1 ครั้ง - บริการด้านทันตกรรม ประสานงานร่วมกับสานักงานสาธารณสุขจังหวัด ตรวจสุขภาพปาก และฟันให้แก่นักเรียน - บริการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ สาหรับครูผู้รับผิดชอบจะตรวจความสะอาด ประเมินภาวะสุขภาพ เด็กนักเรียนทุก เช้าหลังเข้าแถว ให้บริการด้านการปฐมพยาบาลและรักษาโรคพื้นฐานแก่เด็กนักเรียนและประชาชนใน พื้นที่ พร้อมทั้งติดตามภาวะโภชนาการและปัญหาสุขภาพของเด็กที่พบปัญหาทั้งที่โรงเรียนและติดตาม เยี่ยมบ้าน ในทุกเช้าช่วงเข้าแถว แกนนานักเรียนให้ความรู้เรื่องสุขภาพ ผ่านกิจกรรมเรื่องเล่าข่าวสุขภาพ หน้าเสาธง ช่วยครูอนามัยดูแลสุขภาวะเด็กนักเรียนด้วยกัน คอยรอยงานครูเมื่อพบความผิดปกติหรือ ปัญหาสุขภาพ การจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ในวิชาเรียนจะเน้นไปที่กิจกรรมด้านการเกษตรในโรงเรียนกิจกรรมปศุสัตว์ และภูมิปัญญาพื้นบ้านเข้ากับการเรียนการสอน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อเปิดโอกาสให้ นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะเพื่อประกอบอาชีพ จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรม ผ่านการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและ สร้างอาชีพ เช่น หลักสูตรสอนทาอาหารและขนมพื้นบ้านตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ตูป๊ะ (ขนมต้ม) นาซิกายอ (ข้าวเหนียวสังขยา) การทาไข่เค็มในน้าดอกอัญชัน ให้สีสด และทุกปี โรงเรียนจัดให้มีกิจกรรมประจาปีของโรงเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกด้าน การแสดงและจาหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่ดาเนินกิจกรรมาตลอดทั้งปี เช่น ผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลลิตทางการเกษตร ขนมและอาหารที่สอนในหลักสูตรเมนูท้องถิ่น โดยเชิญให้ ผู้ปกครอง และคนในชุมชนเข้าร่วมและแจกคูปองสาหรับแลกซื้อสินค้าได้ฟรี เพื่อเป็นการสร้างมวลชม สัมพันธ์ไปพร้อมๆกับส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนอย่างครบวงจร 100
ภาพรวมอื่นๆ ปัจจัยสาคัญที่ทาให้กิจกรรมสาเร็จ - โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับชุมชนที่เข้มแข็ง จึงได้รับการตอบรับและช่วยเหลือกิจกรรมของ โรงเรียนเป็นอย่างดี ผ่านคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นาชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนาโดยธรรมชาติ และผู้ปกครอง - ผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ที่ดี มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และสร้างปฏิสัมพันธ์อันดี ซื้อใจมวลชน จน เป็นที่ยอมรับและไว้วางใจจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและผู้นาชุมชน - มีการบริหารจัดการกองทุนเพื่อใช้เป็นงบประมาณหมุนเวียนดาเนินกิจกรรมภายในโรงเรียนได้ อย่างดี เช่น นาเงินกองทุนหมุนเวียนจากกิจกรรมโครงการเกษตรและอาหารกลางวัน มาใช้สาหรับเป็น ค่าใช้จ่ายด้านการบริการอาหารเช้าแก่นักเรียนกลุ่มที่ต้องติดตามภาวะโภชนาการก่อน เมื่อได้รับ งบประมาณจัดสรรจากทางจังหวัดก็นามาชดใช้คืน ซึ่งหากไม่มีการบริหารจัดการที่ดีจะส่งผลกระทบต่อ ความต่อเนื่องของกิจกรรม อุปสรรคและความท้าทาย - ปัญหาการควบคุมคุณภาพอาหารจากร้านค้าบริเวณรอบโรงเรียนยังไม่มีมาตรการควบคุมดูแล ที่ชัดเจน พบการจาหน่ายขนมขบเคี้ยว อาหารใส่สี และน้าหวานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งส่งผลต่อภาวะ โภชนาการและสุขภาพนักเรียน ภาพรวมของการดาเนินกิจกรรมโครงการในพระราชดาริของโรงเรียนบ้านค่าย ตาบลกะลุวอ เหนือ อาเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ส่วนสาคัญที่ผลักดันให้กิจกรรมประสบผลสาเร็จคือการได้รับการ ติดตามและสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด ได้แก่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 จังหวัดนราธิวาส ที่ให้การติดตามดูแลการดาเนินกิจกรรมอย่างใกล้ชิด นาปัญหาและข้อเสนอแนะ รายงานเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกับจังหวัด และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ว่าราชการ จังหวัดนราธิวาส มีนโยบายสนับสนุนกิจกรรมโครงการในพระราชดาริ โดยจัดให้เป็นวาระสาคัญของ จังหวัด จึงก่อให้เกิดความร่วมมือกันแบบทวิภาคี นับเป็นแบบอย่างที่ดีสาหรับการดาเนินกิจกรรม โครงการในพระราชดาริ ที่ต้องให้ความสาคัญมาตั้งแยังต่แผนนโยบายระดับจังหวัด
101
‘เสริมโภชนาการเด่น สร้างสุขภาพดี’ ที่โรงเรียน ตชด.พีระยานุเคราะห์ฯ 4 หมู่ 4 ต.ปะโดะ อ.มายอ จ.ปัตตานี บริบทของชุมชน บ้านบูกาสาแลแม หรือ บ้านป่าละเมาะ ได้ก่อตั้งมาเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว โดยมีนายสะแลแม ซึ่งเป็นราษฎรจากบ้านเกาะจัน ต.ตรัง อ.มายอ จ.ปัตตานี พร้อมภรรยา เดินทางเข้ามาตั้งบ้านเรือนอาศัย เป็นครอบครัวแรก ต่อมาได้มีญาติจากหมู่บ้านเกาะจัน เดินทางเข้ามาตั้งบ้านเรือนเพิ่ม การขยาย ครอบครัวของหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นการขยายโดยการแต่งงานของคนในหมู่บ้าน การปกครองขึ้นกับหมู่ที่ 1 ต.ปะโด อ.มายอ จ.ปัตตานี ต่อมาเมื่อ 4 กรกฎาคม 2538 ทางอาเภอได้แบ่งการปกครองโดยแยกจาก ม.1 ต.ปะโด เป็น ม.4 ต.ปะโด และเมื่อ 5 กันยายน 2538 อ.มายอ ได้ดาเนินการประกาศเลือกตั้ง ผู้ใหญ่บ้าน ปรากฏว่ามีผู้สมัครเพียงคนเดียว คือ นายมะนาเซ อาแว ทางอาเภอจึงประกาศแต่งตั้ง นาย มะนาเซ อาแว เป็นผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ 5 กันยายน 2538 เป็นต้นมา
บริบทของโรงเรียน โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ฯ 4 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 (บ้านบูกาสาแลแม) โรงเรียน ตชด. แห่งเดียวของจังหวัด ปัตตานี ได้จัดตั้งขึ้นโดยการทาหนังสือร้องขอของนายมะ แมเราะ โต๊ะอิหม่ามและราษฎรบ้านสามยอด หมูท่ ี่ 1 บ้านบูกาสาแลแม ต.ปะโด อ.มายอ จ.ปัตตานี ไปยังกองร้อยตารวจตระเวนชายแดนที่ 444 ซึ่ง ขณะนั้นพันตารวจโทเฉลิม รักจุ้ย ดารงตาแหน่งผู้บังคับการกองร้อย โดยได้เสนอผู้บังคับบัญชาตามลาดับ ชั้น กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 44 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา ซึ่งที่ประชุม ระดับกองกากับการฯ ได้มีมติให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนไกลคมนาคม จึงได้เสนอและขอจัดตั้งไปยังสานักงาน การประถมศึกษา อาเภอมายอ และสานักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัด
102
ปัตตานี ได้อนุมัติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 มีราษฎรในพื้นที่ร่วมกันบริจาคที่ดิน จานวน 13 ไร่ 1 งาน 14 ตารางวา เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2538 กองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน ได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็น โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสทรง ครองราชย์ปีที่ 50 โดยพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบ จานวน 2,500,000 บาท
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2539 กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 44 ได้จัดส่งครูตารวจ ตระเวนชายแดนเพื่อเตรียมการเปิดทาการเรียนการสอน ประกอบด้วย จ่าสิบตารวจจิระพันธ์ รักษ์ สุวรรณ ทาหน้าที่ครูใหญ่ สิบตารวจเอกทวี จีนเมือง สิบตารวจโทบูลฮาน มะแม สิบตารวจโทอุทัย เมือง ฝ้ายและสิบตารวจตรีณัฐพล หยีปอง ทาหน้าที่ครูผู้สอน เปิดทาการครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 มีนักเรียนทั้งหมด 97 คน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้อาคารสอน ศาสนาประจาหมู่บ้านเป็นอาคารเรียนชั่วคราว เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2539 กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 44 ได้ว่าจ้างบริษัทขวัญศิ ริธานี จากัด ทาการก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบ จานวน 6 หลัง และได้ทาการก่อสร้างเพียงงวด ที่ 1 จึงได้ยกเลิกสัญญาไป และเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2539 กองกากับการฯ ได้ทาสัญญาว่าจ้างห้างหุ้นส่วน
103
จากัด สินไพศาลยะลาก่อสร้าง เข้าทาการก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบ โดยทาการก่ อสร้างแล้ว เสร็จเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระ ราชดาเนินทรงเยี่ยมโรงเรียนและติดตามผลการดาเนินการตามโครงการพระราชดาริ ทรงปลูกต้นมะตูม จานวน 1 ต้น เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2540 กองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน ได้อนุมัติให้ใช้ชื่อ โรงเรียนว่า “โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ฯ 4 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50” เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระ ราชดาเนินทรงเยี่ยมโรงเรียนและติดตามผลการดาเนินการตามโครงการพระราชดาริ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 สานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ได้มอบหมายให้ วิทยาลัยเทคนิคปัตตานีทาการก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบ จานวน 1 หลัง ใช้งบประมาณ 936,127 บาท เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราช ดาเนินทรงเยี่ยมโรงเรียนและติดตามผลการดาเนินการตามโครงการพระราชดาริ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2557 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระ ราชดาเนินทรงเยี่ยมโรงเรียนและติดตามผลการดาเนินการตามโครงการพระราชดาริ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด 13 ไร่ 1 งาน 14 ตารางวา ปัจจุบันปีการ ศึกษา 2557 โรงเรียนได้เปิด ทาการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1-2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จานวนนักเรียน 99 คน ชาย 57 คน หญิง 42 คน มีครูใหญ่ คือ ร.ต.ต.เจริญ พรหมแก้ว บุคลากรครู จานวน 6 คน ได้แก่ 1. ร.ต.ต.เจริญ พรหมแก้ว 2. จ.ส.ต.อานวย เพชรเต็ม 3. จ.ส.ต.เกียรติศักดิ์ มาลาวัน 4. ส.ต.ท.หญิงอมรรัตน์ ขาวแป้น 5. ส.ต.ต.หญิงวิไลพร ชูบาล 6. ส.ต.ต.หญิงสาลีละห์ เจะโวะ บุคลากรอื่น ๆ (ครูผู้ดูแลเด็ก) จานวน 2 คน ได้แก่ 1. นางสาวพาตีเมาะ บูงอเตะ 2. นางสาวยูไลลา โตะเจะ
104
การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบโครงการพระราชดาริ - ไก่ไข่ ผู้รับผิดชอบ รต.ต. เจริญ พรมแก้ว (ครูใหญ่) - เกษตร (พืช) ผักในดิน ผักไร้ดิน ไม้ผล (มะพร้าว) - ปศุสัตว์ ไก่เนื้อ เป็ดเทศ ประมง - นาข้าว - หญ้าแฝก ผู้รับผิดชอบ ครูอานวย เพชรเต็ม - ภาวะโภชนาการ สุขนิสัย อนามัยสิ่งแวดล้อม - ปาล์มน้ามัน ผู้รับผิดชอบ ครูเกียรติศักดิ์ มาลาวัน - บริการอาหาร - ผักสวนครัว ผู้รับผิดชอบ ครูอมรรัตน์ ขาวแป้น - กิจกรรมสหกรณ์ (ครูใหญ่เป็นพี่เลี้ยง) - เห็ด ผู้รับผิดชอบ ครูวิไลพร ชูบาล - โรงเรียนจัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบ ครูทุกคนสอดแทรกเนื้อหาในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 105
“โครงการพระราชดาริช่วยเสริมให้การเรียนการสอนดีขึ้น” ร.ต.ต.เจริญ พรหมแก้ว ครูใหญ่โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนพีระยานุเคราะห์ฯ 4 ครูใหญ่เจริญ เป็นชาวจังหวัดยะลา เติบโตจากโรงเรียนพลตารวจที่จบปริญญาตรี แต่สอบบรรจุ ในรุ่นแรกของตารวจที่ใช้วุฒิ ม.6 จึงรับเงินเดือนต่ากว่าวุฒิมาตลอด เริ่มทางานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2535 ที่ ร.ร. ตชด. สุตันตานนท์ชลัปน์ อ.เบตง จ.ยะลา ต่อมาเมื่อมีการยุบโรงเรียน จึงมาสอนที่ รร. ตชด. ยาสูบ 2 อ.ปะแต จ.ยะลา เมื่อสอบได้นายตารวจจึงมาสอนที่โรงเรียนนี้เป็นเวลา 2 ปีแล้ว ครูใหญ่เจริญเล่าว่า ตนเองมีความถนัดเรื่องสหกรณ์ เพราะเป็นครูสหกรณ์มาตลอด จึงนาความรู้ มาถ่ายทอดแก่ครูรุ่นน้องเกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ของสหกรณ์ ทั้งระบบบัญชี ระบบเกษตร การส่งเสริม สุขภาพ รวมทั้งกองทุนสวัสดิการ ซึ่งการทางานสหกรณ์ต้องเป็นคนที่มีอุดมการณ์จึงจะสามารถทาได้ดี “ระบบเศรษฐกิจมีทั้งทุนนิยมและสังคมนิยม สหกรณ์เป็นสิ่งที่อยู่ตรงกลาง เป็นอุดมการณ์ที่ดี เป็นสิ่งช่วยสอนนักเรียนให้รู้ว่าแทนที่จะไปซื้อขนมหรือสินค้าข้างนอกทาให้ไม่ได้เงินปันผล หากอุดหนุน สหกรณ์และเป็นสมาชิกที่ดีของสหกรณ์ก็จะทาให้สหกรณ์มีกาไร มีการพัฒนา เป็นการสร้างนิสัยรักการ ออมและประหยัดแก่นักเรียน ให้มีความกระตือรือร้นอดออมด้วยตัวเอง เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็สามารถเป็น สมาชิกที่ดีของสังคม มีการรวมกลุ่มกันเพื่อการประหยัดอดออม” ครูใหญ่เจริญกล่าว กองทุนจากกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการพระราชดาริ ก็จะพยายามนาเงินที่ได้มาเก็บในสหกรณ์ เพื่อให้กองทุนเติบโต โดยเงินจะอยู่ในความรับผิดชอบของครูแต่ละคน ผลผลิตที่เป็นรายได้หลัก คือ ไข่ ไก่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท สนับสนุนโดยเครือเครือเจริญโภคภัณฑ์ หวังให้ นักเรียนมีแหล่งโปรตีน และตั้งเป้าหมายให้นักเรียนกินไข่ 3 วันต่อสัปดาห์ คือวันจันทร์ พุธ และศุกร์ จึง เลี้ยงไก่ไข่ จึงขยายกรงให้ได้ 230 ตัว ได้รับสนับสนุนกรงและอุปกรณ์ โดยนักเรียนได้ฝึกเลี้ยงไก่ด้วย “ในส่วนเงินอาหารกลางวัน รับผิดชอบบริหารจัดการให้เด็กกินอาหารครบทุกมื้อ 20 บาทต่อ คน ใช้วัตถุดิบจากแปลงเกษตรซึ่งโรงเรียนปลูกเอง และจากตลาดบางส่วน เช่น ไก่เนื้อที่โรงเรียนไม่ได้ ผลิต (ไก่เนื้อ เดิมโรงเรียนเคยเลี้ยงแต่ถูกขโมย ปีหนึ่งเคยทาได้ 2 รุ่น แต่เพิ่งหยุดไปในปีนี้) ปลาทะเล ของแห้ง เช่น พริก กะปิ หัวหอม กระเทียม ข้าวสาร รวมทั้ง ค่าตอบแทนแม่ครัว แก๊ส โดยเงินที่เหลือก็ นาไปซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอน ซ่อมแซมวัสดุต่าง ๆ แต่ที่สาคัญ คือ เด็กต้องได้กินอาหารกลางวันที่ มีประโยชน์” ครูใหญ่เจริญกล่าว มุมมองต่อการทางานโครงการพระราชดาริ จากการทางานที่ผ่านมา พบว่า โครงสร้างการบริหารของโรงเรียนต้องการให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ สาหรับ โรงเรียน ตชด. มีโครงการพระราชดาริ อีก 8 โครงการ มาช่วยเสริมให้การเรียนการสอน มีประสิทธิภาพมากขึ้น กระบวนการแบ่งงานโรงเรียนออกเป็น 2 ส่วน คือ งานโรงเรียน 4 ด้าน คือ บุคลากร วิชาการ งบประมาณ สัมพันธ์ชุมชน และอีกส่วน คือ โครงการพระราชดาริ ทั้ง 8 โครงการ “ชาวบ้านในพื้นที่นาความรู้จากโครงการไปต่อยอด เช่น การปลูกผักเพื่อจาหน่ายเชิงธุรกิจ ทั้ง แตงกวา ถั่วฝักยาว ฟักทอง มีการทาบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามเพิ่มมูลค่า เป็นองค์ความรู้จากโรงเรียนไปต่อ ยอดการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ เคยอบรมให้ความรู้ชาวบ้านเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ ในโครงการเฉลิมพระ เกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา 60 พรรษา ร่วมกับกรมปศุสัตว์ ให้พันธุ์ไก่ไข่ จานวน 100 ตัว (10 106
ตัว 10 ครัวเรือน) โดยโรงเรียนรับหน้าที่อนุบาลไว้ให้ก่อน รวมทั้งมีการอบรมจากกรมอนามัย เรื่องระบบ สุขาภิบาลห้องน้าห้องส้วม และได้รับสนับสนุนสุขภัณฑ์ให้โรงเรียนอีกด้วย” ครูใหญ่เจริญกล่าว ด้านการเกษตรในโรงเรียน จสต. อานวย เพ็ชรเต็ม หรือ “ครูอานวย” อายุ 36 ปี รับหน้าที่หัวหน้าส่วนโครงการ พระราชดาริ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการหลักของโรงเรียน ครูอานวยอยู่ในโรงเรียนนี้มาเป็นเวลา 8 ปี เรียนจบการศึกษาวิชาเอกช่างอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ เข้ารับราชการตารวจเป็นตารวจชายแดนภาคสนาม ที่ อ.เบตง เป็นเวลา 2 ปี อยู่เวรยาม วันละ 2 ชั่วโมง ต่อมามองเห็นว่าการเป็นครูน่าจะทาประโยชน์ได้มากกว่า เมื่อมีตาแหน่งครูว่างจึงสมัคร เป็นครู ตชด. ตั้งแต่ ปี 2549 งานครั้งแรกรับผิดชอบเรื่องเกษตร เรียนรู้จากตาราต่าง ๆ และการเข้า อบรมจากสานักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี สานักงานประมงจังหวัดปัตตานี และสานักงานปศุสัตว์จังหวัด ปัตตานี - อาหารกลางวันของโรงเรียนใช้ผลผลิตจากแปลงเกษตรของโรงเรียนทั้งหมด ยกเว้นของแห้ง สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก - โรงเรียนมีรายได้จากปาล์มน้ามัน พื้นที่ 2 ไร่ อายุปาล์ม 4-5 ปี เก็บเป็นผลผลิตได้มา 3 ปีแล้ว โดยตัดทลายปาล์มทุก 15 วัน ได้ผลผลิตประมาณครั้งละ 300 กิโลกรัม ราคาทลาย 2 บาท/1 กก. ส่วน ราคาผลร่วง 3 บาท / 1 กก. มีคนมารับตัดถึงสวน - มะพร้าวส่วนหนึ่งใช้ในโรงเรียน และขายพ่อค้า /ชาวบ้านที่มาซื้อถึงโรงเรียน นอกจากครูอานวยรับหน้าที่หัวหน้าส่วนโครงการพระราชดาริ ยังทาหน้าที่สอนหนังสือแก่ นักเรียนชั้น ป.4–ป. 6 โดยรับผิดชอบสอนทุกสาระการเรียนรู้ (9 กลุ่มสาระการเรียนรู้) บอกเล่าถึงความ ภาคภูมิใจที่ได้ทางานโครงการพระราชดาริว่า “ผมภูมิใจมากที่ได้ทางานตรงนี้ เนื่องจากเห็นปัญหาเด็กนักเรียนไม่ได้กินอาหารเช้าจากบ้านถึง 80 % เมื่อมีโครงการพระราชดาริเข้ามา เด็กได้ดื่มนมเป็นอาหารเช้า ได้กินอาหารกลางวันเต็มที่ รู้สึก ภูมิใจและมีความสุขมาก เหนือหัวของผม คือสมเด็จย่า และสมเด็จพระเทพฯ ที่ทรงทางานและเสียสละ มาก การทางานผมแค่เพียงน้อยนิด เหนื่อยไม่เท่าไหร่พักก็หาย หากไม่มีสถานการณ์ความรุนแรงคงจะมี ความสุขกว่านี้” นอกจากนี้ ยังได้นาความรู้ด้านการเกษตรขยายผลไปสู่โรงเรียนอื่น ๆ ตามนโยบายของรัฐ โดย ครูอานวยและครูเกียรติศักดิ์ได้นากิจกรรมโครงการพระราชดาริไปเผยแพร่เป็นต้นแบบให้แก่โรงเรียน สังกัด สพฐ. ในจังหวัดนราธิวาส และจากการลงไปติดตาม พบว่า ยังมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ที่ โรงเรียนประชาวิทย์รังสรรค์
107
กิจกรรมประมงในโรงเรียนมี 5 บ่อ ได้แก่ - บ่อที่ 1 บ่อดินปลาสวาย - บ่อที่ 2 บ่อดินปลาสวาย และ เลี้ยงปลาดุกในกระชัง - บ่อที่ 3-5 บ่อดินปลากินพืช เช่น ปลาสวาย ปลาบ้า ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาหมอ ปลาช่อนและปลาไหล นอกจากนี้ จะเลี้ยงหอยขมในบ่อปลาทั้ง 5 บ่อ ตามร่องคูน้าและร่องสวน โดยครั้งแรกซื้อพันธุ์ หอยขมมาจากยะลา จานวน 6 กิโลกรัม ตอนนี้มีการแพร่พันธุ์จานวนมาก ให้ชาวบ้านมาเก็บไปกินและ นามาแกงเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียนด้วย โรงเรียนได้รับพันธุ์สัตว์น้าจากการสนับสนุนจากประมงจังหวัดทุกปี โดยจะดูจากผลผลิตที่ เหลืออยู่ (ทดแทน) ผลผลิตที่ต้องการใช้เป็นประจา และให้ใช้ได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2557 ได้รับ การสนับสนุนพันธุ์ปลานิล จานวน 3,000 ตัว ปลาตะเพียนได้รับสนับสนุน 2 ครั้ง จานวน 6,000 ตัว/ ครั้ง ปลาบ้าจานวน 6,000 ตัว พร้อมอาหารปลา จานวน 20 กระสอบ (35 กิโลกรัม/ กระสอบ) การจัดการผลผลิตจากกิจกรรมประมง ดังนี้ 1. ใช้ทาอาหารกลางวันนักเรียน 15–20 กิโลกรัมต่อวัน โดยจัด 2 วันต่อสัปดาห์ ทาเมนูแกงส้ม แกงกะทิ นักเรียนชอบปลาสวาย 2. อาหารชุดรักษาความปลอดภัยและครูในโรงเรียน 3. สนับสนุนแก่หน่วยงานต่างๆ ที่มาขอ เช่น ต้นสังกัด งานในหมู่บ้าน ชาวบ้านมาขอไปกินเป็น ครั้งคราว “เราไม่เน้นการขาย แต่จะได้เรื่องความสัมพันธภาพที่ดีและได้น้าใจกันมากกว่า” ครูอานวย กล่าว 4. แจกจ่ายให้นักเรียนที่รับผิดชอบและนักเรียนที่ลาบากกลับไปกินที่บ้าน รวมทั้ง แจกจ่าย ชาวบ้านที่มาช่วยจับปลา การบริหารจัดการและการวางแผน : กลุ่มกิจกรรมปศุสัตว์
108
กิจกรรมปศุสัตว์ จะเลี้ยงไก่ไข่ ไก่เนื้อ ไก่พื้นเมืองและเป็ดเทศ โดยไก่เนื้อ ไก่ไข่ ได้รับการ สนับสนุนจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จากัด ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 สนับสนุนโรงเรือน พันธุ์ไก่และ อาหาร ในปีต่อมาโรงเรียนสามารถซื้อพันธุ์ไก่และอาหารในราคาพิเศษ โดยโรงเรียนซื้อเอง เพราะมี กองทุนหมุนเวียนเลี้ยงตัวเองได้ - ไก่ไข่ 200 ตัวต่อปี ใช้อาหาร 15 กระสอบ (2 กระสอบใช้ได้ 5 วัน) เมื่อหมดอายุขัย 1 ปี ต้อง ปลดประจาการโดยขายให้ชาวบ้านในราคา 80 บาทต่อตัว - ไข่ไก่ เก็บผลผลิตได้ทุกวัน 180 ฟองต่อวัน โดยใช้ในโรงเรียนเป็นเมนูอาหารกลางวัน 3 วัน ต่อสัปดาห์ ที่เหลือใช้จะจาหน่ายราคาถูกกว่าท้องตลาด ขายแผงละ 100 บาท ตอนนี้มีเงินทุนหมุนเวียน เลี้ยงตัวเองได้ - ไก่เนื้อ จะเลี้ยง 35-40 วันต่อรุ่น ๆ ละ 100 ตัว เลี้ยง 6 รุ่นต่อปี โดยมีการวางแผนการเลี้ยงให้ ต่อเนื่องตลอดทั้งปี เลี้ยงติดต่อกันเป็นรุ่น ๆ ให้มีกินตลอดทั้งปี โดยก่อนเปิดเทอม 35 วันเริ่มเลี้ยงรุ่นที่ 1 เมื่อเปิดเทอมพร้อมเชือดเป็นอาหารได้เลย เมื่อเริ่มเชือดรุ่นที่ 1 ก็เริ่มเลี้ยงรุ่นที่ 2 และดูปริมาณความ ต้องการในโรงเรียนด้วย ไก่ 1 ตัว หนักประมาณ 2 กิโลกรัม โรงเรียนจัดทาเป็นเมนูอาหารกลางวัน 2 วันต่อสัปดาห์ ใช้ไก่ 15 กิโลกรัมต่อวัน ไก่เนื้อจะไม่แจกจ่ายเนื่องจากมีต้นทุนสูง เน้นใช้ในโรงเรียน เท่านั้น - ไก่พื้นเมือง จะเลี้ยงเป็นไก่ขุน โดยเลี้ยง 45 ตัวต่อเทอม เน้นการเรียนรู้มากกว่าการใช้ใน โรงเรียน ซึ่งปศุสัตว์จะให้พันธุ์ไก่เป็นลูกไก่ที่มนี ้าหนักครึ่งกิโลกรัม ให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการอนุบาล 1 เดือน หลังจากนั้นแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านไปเลี้ยง จานวน 10 ตัวต่อครัวเรือน พร้อมอาหาร 1 109
กระสอบ ทั้งนี้ ในปี 2557 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกด้วย - เป็ดเทศ ได้พันธุ์มาจากสานักงานปศุสัตว์ฯ เลี้ยงเพื่อการเรียนรู้เนื่องจากเด็กไม่กินเป็ด จะไม่ใช้ ในการทาอาหารในโรงเรียน แต่จะขายให้ชาวบ้าน ราคา 70 บาทต่อกิโลกรัม ได้ 40 ตัวต่อรุ่น และนา เงินมาหมุนเวียนเป็นค่าอาหารเป็ด และเลี้ยงเป็นแม่พันธุ์ แจกจ่ายให้นักเรียนไปเลี้ยงที่บ้าน การบริหารจัดการและการวางแผน : กลุ่มกิจกรรมเกษตร
กิจกรรมการเกษตรพืช-ผัก มีการปลูก 2 แบบ คือปลูกในดิน และปลูกไร้ดิน ผักที่ปลูกในดิน ได้แก่ - ผักกินใบ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ตะไคร้ - กินผล เช่น มะละกอ มะเขือ พริก - ผักค้าง เช่น ถั่วฝักยาว ฟักเขียว - ไม้ยืนต้น เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ามัน กล้วย กระท้อน มะขาม ไผ่หวาน - นาข้าว นาผักบุ้ง ผักในดิน มีทั้งหมด 26 แปลง ขนาดแปลงละ 1x4 เมตร โดยแบ่งดังนี้ - ผักกินใบ จานวน 12 แปลง ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง - ผักระยะยาว จานวน 12 แปลง ได้แก่ มะเขือ และผักค้าง - ผักบุ้งจีน จานวน 2 แปลง - ผักบุ้งปลูกในนา เนื้อที่ 2 งาน ผักที่ปลูกแบบไร้ดิน ส่วนใหญ่เป็นผักกินใบ เช่น ผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง ซึ่งผักไร้ดิน หรือไฮโดร โพนิกส์ มี 3 โรงเรือน ขนาด 2x12 เมตร โดยสานักงานเกษตรจังหวัดปัตตานีสนับสนุนโรงเรือน ในปี พ.ศ.2549 และโรงเรียนดาเนินการมาตลอด ช่วงนี้หยุดเนื่องจากขาดปุ๋ย เพราะการเดินทางไปซื้อปุ๋ยไม่ สะดวก ต้องไปซื้อที่ยะลา ทั้งนี้ มีการวางแผนการปลูกหมุนเวียนและการเก็บเกี่ยวผลผลิตใน 3 โรงเรือน ผักที่เหลือใช้ในโรงเรียนจะแจกจ่ายให้นักเรียนนากลับบ้าน เช่น ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาด แต่ผักคะน้า 110
เด็กจะไม่ชอบ การทาผักไร้ดินจะไม่ยั่งยืน เพราะมีการใช้สารเคมีมากกว่าการปลูกในดิน ทั้งนี้ การปลูก ในดินนักเรียนได้เรียนรู้และกลับไปทาที่บ้านได้ง่ายกว่า
การเพาะเห็ด จะเพาะจานวน 500 ก้อนเทอมเทอม ได้ผลผลิต ประมาณ 2 กิโลกรัม ต่อวัน เก็บผลผลิตได้ตลอดเทอม ใช้ในโรงอาหารของโรงเรียน การเก็บรักษาพันธุ์ทางการเกษตร จะเก็บเฉพาะพันธุ์ไก่พื้นบ้านและพันธุ์เป็ดเทศ ส่วน พันธุ์พืชจะเก็บเมล็ดมะละกอและมะเขือ ที่เหลือใช้จะแจกจ่ายแก่นักเรียนและชาวบ้านไปปลูกที่ บ้าน การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก มีครู นักเรียน ชุดรักษาความปลอดภัยครู (รปภ.) ของ โรงเรียนและยุวเกษตร ร่วมแรงงานช่วยเหลือ การปรับปรุงดิน 1. ในเล้าไก่ ใช้แกลบรองขี้ไก่ นามาหมักกับเศษใบไม้ ใช้ พด.1 และ พด.2 2. ใช้ปุ๋ยน้าหมัก เศษอาหาร หมักกับน้าตาล เป็น E.M. ผสมน้ารดดิน 3. ใช้แกลบเผา ใส่ทรายหยาบ และเพิ่มปุ๋ยหมักในพื้นที่ดินเหนียว การกาจัดศัตรูพืช ไม่ใช้สารเคมี แต่ใช้สะเดาโดยนาใบสะเดามาตาคั้นน้า นาไปฉีดไล่แมลง บทบาทหน้าที่ของนักเรียน จะแบ่งกลุ่มตามกลุ่มกิจกรรม โดยคละนักเรียนชั้น ป.1–ป.6 โดยเรียงตามชั้นเรียน นับกลุ่ม นักเรียน แบ่งกลุ่มตามจานวนกิจกรรมได้แก่ - พืช : ผักในดิน ผักไร้ดิน ผักสวนครัว นักเรียนผู้รับผิดชอบ 12 คนต่อกลุ่ม - เห็ด : มี 1 โรงเรือน 500 ก้อน นักเรียนรับผิดชอบ 1 กลุ่ม 12 คน - ปศุสัตว์ : แบ่งกลุ่มรับผิดชอบตามกิจกรรม ทั้งหมด 4 กลุ่มๆ ละ 12 คน กิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนจะสิ้นสุด เวลา 14.30 น. ของทุกวันหลังจากนั้นจะเป็น 111
กิจกรรมโครงการพระราชดาริ การเก็บผลผลิต 1. เด็กจะเก็บผลผลิตเองนามาชั่งน้าหนักคิดเป็นกิโลกรัม คิดเป็นจานวนเงิน 2. ส่งเข้าสหกรณ์เพื่อระบบบัญชีสหกรณ์ 3. โรงอาหารมาซื้อไปเป็นอาหารกลางวัน การบริหารจัดการกองทุน แต่ละกิจกรรมมีเงินบริหารกองทุน โดยครูผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม และครูใหญ่จะเป็น ผู้รับผิดชอบบัญชีรวมทั้งหมด วางแผนการใช้โดยครูใหญ่อนุมัติ กลุ่มไก่ไข่จะมีเงินทุนหมุนเวียนมากที่สุด ในขณะนี้
บทบาทกรรมการสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษามีทั้งหมด 9 คน โดยประธานเป็นกานัน เข้ามาดูแลสนับสนุนกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน มอบรางวัลต่าง ๆ มีการประชุมนั่งคุยกันบ่อย ๆ ใช้เวทีประชุมผู้ปกครอง เทอมละ 1 ครั้ง ในการแจ้งแผนงาน/กิจกรรมของโรงเรียน และคืนข้อมูลสุขภาพนักเรียนให้ผู้ปกครองรับทราบ แจ้งเรื่อง ความสาคัญของอาหารเช้า บทบาทของผู้ปกครอง - ผู้ปกครองมาช่วยตัดหญ้าในบริเวณโรงเรียน โดยโรงเรียนจัดเลี้ยงน้า เลี้ยงขนม - ช่วงหน้านา ผู้ปกครองมาช่วยดานา เกี่ยวข้าวร่วมกันทั้งผู้ชาย–ผู้หญิง - ผู้ปกครองเข้ามาฝึกอาชีพ ที่หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาอบรมอาชีพในโรงเรียน เช่น วิทยาลัย ประมง วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี วิทยาลัยอาชีวะปัตตานี ได้แก่ มาฝึกทากระเป๋า ทาขนม แปรรูป อาหาร 112
- ผู้ปกครองและชาวบ้านมาเรียนรู้เรื่องเกษตร เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา การทาปุ๋ยน้า ปุ๋ย หมัก เป็นต้น หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการเกษตร - กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 44 มอบนโยบายให้ผลผลิตเพียงพอต่อการบริโภค ของนักเรียน หากผลผลิตเหลือให้แจกนักเรียนและชาวบ้านไม่เน้นขายทากาไร รวมทั้งติดตามผลการ ปฏิบัติงาน - สานักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี สานักงานเกษตรอาเภอมายอ จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน สนับสนุนกิจกรรมศึกษาดูงานอย่างน้อยปีละครั้ง สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชผักและอุปกรณ์การเกษตร โดย สานักงานเกษตรจังหวัดปัตตานีให้เตาอบพร้อมอุปกรณ์การทาขนม และงานส่งเสริมเคหกิจเกษตร มา สอนทาขนม เช่น เค้กกล้วยหอม โดนัท ขนมหม้อแกง ขนมชั้น ประมาณ 5 ครั้งต่อปี ซึ่งในปัจจุบันมีการ ขยายกลุ่มอาชีพเป็นวิสาหกิจชุมชน ร่วมกันทาผลิตภัณฑ์ขาย เช่น ขนมทองม้วน - สานักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี สนับสนุนพันธุ์เป็ดเทศ พันธุ์ไก่พื้นเมือง และแนะนาเรื่องการ บารุงพันธุ์สัตว์ - บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จากัด (มหาชน) ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ปี 2540 จนถึง ปัจจุบัน ในตอนแรกให้มาช่วยสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ ให้พันธุ์ไก่พร้อมอาหาร ในปีต่อมา ขายพันธุ์ไก่และ อาหารไก่ในราคาพิเศษ เช่น ราคาตลาดตัวละ 240 บาท จะขายให้โรงเรียนในราคา 130 บาท รวมทั้ง สนับสนุนยาและให้คาปรึกษาด้านการดูแลไก่โดยทีมสัตวแพทย์ของบริษัทมาตลอด - สานักงานประมงจังหวัดปัตตานี สนับสนุนพันธุ์ปลาบ้า ปลาตะเพียน ปลานิลอย่างละ 6,000 ตัว อาหารปลา ปีละ 2 ล๊อต ล๊อตละ 20 กระสอบ กระสอบละ 35 กิโลกรัม ปัจจัยปรับปรุง เช่น กระชัง นอกจากนี้ ให้ความรู้และติดตามการทางานแก่นักเรียนและครู - วิทยาลัยประมงปัตตานี สนับสนุนพันธุ์ปลาสวาย จานวน 6,000 ตัว พร้อมอาหารปลา เมื่อ อาหารปลาหมดจะแจ้งไปที่วิทยาลัยการประมง ก็จะได้มาเพิ่มอีกโดยประสานผ่าน ผอ.ปรีชา เวชศาสตร์ และจะได้รับการสนับสนุนเสมอมา นอกจากนี้มาสอนการแปรรูปผลผลิตในโรงเรียน เช่น การทาปลาเส้น การทาไข่เค็ม - สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี สนับสนุนความรู้ เช่น สอนการทาปุ๋ย สนับสนุน พด. (สารเร่ง) อบรมการปลูกหญ้าแฝก การอนุรักษ์ดินและน้า ตรวจสอบคุณภาพดิน รวมทั้งสอนการปรับปรุงคุณภาพ ดิน - องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี สนับสนุนอาคารฝึกอาชีพกลุ่มแม่บ้านพีระยานุเคราะห์ 4 ในบริเวณโรงเรียน และสนับสนุนงบฯ จ้างครูสอนศาสนา สอนจริยธรรม จานวน 48,000 บาทต่อปี เป็น ค่าตอบแทน - สานักงานชลประทานปัตตานี สนับสนุนเรื่องน้ากิน–น้าใช้ในโรงเรียน ทาที่เก็บน้าดื่มโดยใช้น้า บาดาลผ่านเครื่องกรองน้า ขุดบ่อปลาและระบบไหลเวียนของน้าเพื่อการเกษตร ดูแลตรวจสอบคุณภาพ น้า - หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 44 อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี สนับสนุนเครื่องกรองน้าและถนน คอนกรีตในบริเวณโรงเรียน - วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี สอนการตัดเย็บเสื้อผ้า การทาน้าสมุนไพรให้แก่กลุ่มแม่บ้านและ นักเรียน 113
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี สอนการทาขนม ให้แก่กลุ่มแม่บ้านและนักเรียน กลุ่มยุวเกษตรโรงเรียน กลุ่มยุวเกษตรโรงเรียน มีสมาชิก 14 คน (อายุระหว่าง 20-25 ปี) เป็นศิษย์เก่าจานวน 10 คน นอกนั้นเป็นคนในพื้นที่ที่ไม่ได้เรียนโรงเรียนนี้ก่อตั้งมาแล้ว 1 ปี ทางานเกี่ยวกับเกษตรในโรงเรียน ได้แก่ - ประมง เลี้ยงปลากินพืชในบ่อดิน เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลานิล ปลาบ้า จานวน 9,000 ตัว แต่อายุยังไม่ถึงกาหนดจับ - เกษตร ปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ ทามา 2 เดือนแล้ว โดยกลุ่มยุวเกษตรปลูกผักคะน้า 2 หลัง และของโรงเรียน 3 หลัง สามารถเก็บเกี่ยวไปแล้ว 1 รุ่น ได้ 20 กิโลกรัม ขายให้โรงเรียนและชาวบ้าน กิโลกรัมละ 20 บาท แต่ไม่ได้ทาต่อ เพราะค่าใช้จ่ายค่าปุ๋ยสูง และการปลูกไม้ไผ่หวาน สานักงานเกษตร อาเภอให้มาปลูกขอบบ่อ เพิ่งปลูกมา 3-4 เดือน - ปศุสัตว์ ได้งบประมาณจากเกษตรอาเภอ สร้างโรงเรือนสาหรับเลี้ยงไก่เนื้อ 200 ตัว ใช้เวลา เลี้ยง 45 วัน ขายให้โรงเรียนตัวละ 45-50 บาท ในอนาคตสิ่งที่จะทาต่อไป คือ การเลี้ยงไก่เนื้อ เพราะมีโรงเรือนอยู่แล้วจะเลี้ยงต่อ ส่วนไก่ไข่จะ เลี้ยงแบบปล่อยในร่องปาล์ม คู่ขนานกับทางโรงเรียน โดยขอสนับสนุนพันธุ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายมะรุดิง แมเราะ อายุ 25 ปี ประธานกลุ่มยุวเกษตรโรงเรียนฯ กล่าวว่า แรกเริ่มเกิดจากครูอานวย และเกษตรอาเภอ แนะนาให้ตั้งกลุ่ม โดยหาสมาชิกให้ได้ 15 คน เมื่อรวมกลุ่มได้แล้วในครั้งแรกได้อบรม การเพาะเห็ดฟาง ต่อมาพัฒนากิจกรรมต่างๆ โดยร่วมกันทากิจกรรมภายในกลุ่ม สาหรับการได้รับการ คัดเลือกเป็นประธาน เป็นเพราะ เรียนจบชั้น ม.6 จากโรงเรียนเอกชน คิดว่าเป็นเพราะมีความรู้มากกว่า เพื่อนๆ ในกลุ่มที่จบ ม.3 หรือ ป.6 และบางคนไม่ได้เรียนต่อ จึงได้รับเลือก "จากการทางานที่ผ่านมาได้รับความรู้ด้านเกษตรมากขึ้น เช่น เลี้ยงไก่ ปลูกผัก ภูมิใจที่ได้เข้ามา ทางานที่เป็นประโยชน์ให้แก่โรงเรียน เกิดแนวทางการทางาน "พี่สอนน้อง" คือ ได้รับความรู้การปลูกผัก จากครูอานวย และสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรก็นาความรู้ไปสอนเด็กนักเรียนช่วงหลังเลิกเรียนอีกต่อหนึ่ง อีก ทั้ง ได้ถ่ายทอดความรู้ภายในกลุ่ม ให้ช่วยกันดูแลเพื่อป้องกันการลักเล็กขโมยน้อย รวมทั้ง เกิดความ สามัคคีในกลุ่มยุวเกษตรจากการทางานร่วมกัน" นายมะรุดิง กล่าว หน่วยงานที่สนับสนุนด้านอื่นๆ - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับสโมสรโรตารีจังหวัดปัตตานี เข้ามาช่วย ปรับปรุงอาคาร สถานที่ เช่น ทาสี วาดภาพฝาผนัง พัฒนาห้องคอมพิวเตอร์ ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ อบรม การพัฒนาสื่อแก่ครู ทาห้องสมุดของเล่นในโรงเรียน อบรมให้เยาวชน และแม่บ้านเรื่องไอที สัญญาณ wifi 24 ชั่วโมง เนื่องจากโรงเรียนร่วมทาวิจัยกับ UN เรื่องความมั่นคง และสิทธิเด็ก การจัดการเรียนการ สอน โดยมาเก็บข้อมูลในโรงเรียน นอกจากนี้ สโมสรโรตารีจังหวัดปัตตานีได้สนับสนุนก้อนเชื้อเห็ดด้วย - อบต. สนับสนุนงบฯ พัฒนาผู้เรียน ทั้งเงิน ทั้งวัสดุ ของใช้ ของรางวัล เช่น กิจกรรมลูกเสือ วันปี ใหม่ วันเด็ก การแข่งขันกีฬา จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเรื่องการวางแผนครอบครัว ยาเสพ ติด พานักเรียนไปร่วมปลูกต้นไม้ในวันสาคัญต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสนับสนุนงบฯ ให้กลุ่มแม่บ้านทาขนม ขาย - ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นครูสอนศาสนาเป็นคนในชุมชน เข้ามาสอนศาสนา สอนจริยธรรม 114
จานวน 2 คน รับผิดชอบ 3 ชั้นเรียน/คน โดยสอนวันละ 2 ชั่วโมง โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด สนับสนุนเงินค่าตอบแทนจานวน 48,000 บาทต่อปี 2 คน ปัญหาและอุปสรรค - สัตว์เลี้ยงของชาวบ้านที่เข้ามากินพืชผักในโรงเรียน - ขาดแคลนบุคลากรครู - การให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่นี่ ถ้าดูจากความลาบากของนักเรียนจะยุ่งยากและลาบาก ใจมาก เพราะเด็กทุกคนจะบอกว่าทุกคนจน ทุกคนลาบาก ครูจะแก้ปัญหาโดยเฉลี่ยให้ทุกคน ทุนละ ประมาณ 1,000 บาท
สรุปการดาเนินงานด้านการเกษตร การเกษตรในโรงเรียน ตชด. พีระยานุเคราะห์ 4 สามารถดาเนินการได้ในระดับดี มีการ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์อย่างต่อเนื่อง โรงครัวสามารถใช้ผลผลิตจากแปลงเกษตรในการจัดอาหาร กลางวันให้กับเด็ก และผลผลิตบางส่วนสามารถจัดจาหน่ายหรือเหลือคืนแก่นักเรียนกลับไปบ้านด้วย แต่ เนื่องจากจานวนบุคลากรน้อยกว่างานที่รับผิดชอบ ทาให้บางครั้งเช่นช่วงปลายเทอม ผลผลิตมีการขาด ช่วง ทาให้ต้องซื้อวัตถุดิบ โรงเรียนยังมีพืชเพื่อการเรียนรู้อื่น ๆ อีก เช่น พืชเศรษฐกิจ คือ ปาล์มน้ามัน สร้างรายได้อีก ช่องทางหนึ่ง มะพร้าว เห็ด หญ้าแฝก และการปลูกผักไร้ดิน ทาให้การเรียนรู้มีความหลากหลาย ปัจจัยนาเข้า คือ ครูเกษตรที่รับผิดชอบมีความชื่นชอบการเกษตรเป็นทุนเดิม และได้รับการ สนับสนุนจากผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทาให้สามารถต่อยอดกิจกรรมต่างๆ รวมทั้ง ความร่วมมือของยุวเกษตรและชาวบ้านที่สนใจ ทาให้กิจกรรมเกษตรได้รับความสนใจพอสมควร อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะเพิ่มปริมาณการเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อให้สามารถนาไข่ไก่ไปจัดอาหาร กลางวันให้ได้ 3 วันต่อสัปดาห์ 115
กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน สหกรณ์นักเรียน เปิดจาหน่ายหุ้นสมาชิกแก่นักเรียนและครู ในราคาหุ้นละ 10 บาท โดย นักเรียนและครูทุกคนเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์และสมาชิกออมทรัพย์ 100 เปอร์เซ็นต์ มีคณะกรรมการ สหกรณ์ 15 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้น ป.3-6 ให้นักเรียนเข้ามาตั้งแต่ ป.3 เพื่อให้เกิดการเรียนรู้งาน จากรุ่นพี่ ใช้วิธีการพี่สอนน้อง กิจกรรมของสหกรณ์ ประกอบด้วย 1. กิจกรรมเงินฝากออมทรัพย์แก่สมาชิกสหกรณ์ โดยนักเรียนฝากเงินที่ครูประจาชั้นได้ทุกวัน และนาส่งแก่ครูสหกรณ์สัปดาห์ละครั้ง เด็กออมทุกคนแต่ไม่ทุกวัน 2. จาหน่ายสินค้าผ่านร้านค้าสหกรณ์ โดยแบ่งประเภทสินค้า ดังนี้ - ผลผลิตทางเกษตรของโรงเรียน เช่น ไข่ไก่ แผงละ 98+2 บาท ผัก +50 สต. ปลา + 1บาท เห็ด + 50 สต. - สินค้าจากภายนอก เช่น เครื่องปรุงรสต่าง ๆ น้าปลา น้าตาล ซอสปรุงรส - อุปกรณ์การเรียนการสอน 3. จาหน่ายสินค้าที่สหกรณ์ผลิตเอง โดยคณะกรรมการสหกรณ์จัดเวรหมุนเวียนทาขนมขาย เช่น ข้าวโพดอบเนย ปุยฝ้ายจากแป้งสาเร็จรูป ผลไม้ต่าง ๆ เดิมมีขนมกรุบกรอบแต่ตอนนี้เลิกขายแล้วเปลี่ยน มาเป็นขนมทาสดขายแทน เครื่องมือ - สมุดคู่บัญชีเงินฝาก - บัญชีย่อยเจ้าหนี้เงินฝากออมทรัพย์ - บัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ประจาห้องเรียน - บัญชีรายรับ-รายจ่าย - บัญชีสหกรณ์ - ทะเบียนสมาชิกเพิ่มหุ้น - บันทึกรายงานการประชุม ส.ต.ท.หญิงวิไลพร ชูบาล ผู้รบั ผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์ เล่าว่า บรรจุตั้งแต่ปี 2554 ทามา 3 ปี เป็นคุรุทายาท เดิมเรียนที่ตรัง โรงเรียนสันติราษฎร์ประชาบารุง และจบด้านบัญชี (บ.ธ.บ.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ บรรจุเป็นครูและรับผิดชอบงานสหกรณ์มา 10 เดือน แล้ว การทางานรับช่วงต่อในช่วงแรกมีการศึกษารายละเอียดต่างๆ โดยสหกรณ์จังหวัดเข้ามาช่วยดูแล และเป็นพี่เลี้ยง - แต่ละปี มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ประกวดการจดบันทึกการประชุม และประกวดบัญชีรายรับ-รายจ่าย - ได้รับรางวัลนาเสนอกิจกรรมวันสหกรณ์ ได้อันดับ 3 และรางวัลชนะเลิศการประกวด เรียงความสหกรณ์ - เงินกิจกรรมสหกรณ์จะแบ่งไปฝากธนาคารบางส่วน บางส่วนไว้ใช้จ่ายในสหกรณ์ โดยเปิดบัญชี ธนาคาร มีชื่อประธานสหกรณ์ รองประธานและครู เพราะอยากให้นักเรียนมีส่วนร่วม - การปันผลทุกเดือนตุลาคมและมีนาคม ซึง่ เป็นเงินปันผลจากหุ้นและยอดกาไรต่าง ๆ จากการ ขายสินค้า เงินปันผลส่วนหนึ่งแบ่งไปทาเสื้อทีมให้คณะกรรมการสหกรณ์ เพราะทุกปีสหกรณ์จังหวัด ปัตตานีจะพาสมาชิกสหกรณ์ไปทัศนศึกษา หน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์ ได้แก่ 116
1. สหกรณ์จังหวัดปัตตานี 2. สานักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดปัตตานี มีการดูแลระบบสหกรณ์ของโรงเรียน ติดตามความก้าวหน้า มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ สหกรณ์ และกิจกรรมทัศนศึกษาปีละครั้ง กิจกรรมสหกรณ์สู่ชุมชน มีการอบรมการจัดทาบัญชีครัวเรือนแก่ชาวบ้านที่สนใจ เคยจัดกิจกรรมไปแล้ว 1 ครั้ง เป็นการ รณรงค์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงผ่านบัญชีครัวเรือน เมื่อก่อนชาวบ้านเข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์ด้วยแต่ ตอนนี้ถอนหุ้นออกไปแล้ว รวมทั้ง ชาวบ้านได้เข้ามาซื้อสินค้าของสหกรณ์เป็นครั้งคราว เช่น เครื่องปรุง ต่าง ๆ และสินค้าทางการเกษตร เช่น ผัก ไข่ไก่ ปัญหาและความท้าทาย - บุคลากรน้อยแต่งานมาก โดยครูวิไลพร รับหน้าที่ครูประจาชั้น ป.6 พร้อมรับงานดูแลนักเรียน ทุน และกิจกรรมสหกรณ์ ซึ่งคิดว่างานสหกรณ์ต้องมีครูที่ทาหน้าที่เฉพาะไปเลย เพราะมีรายละเอียดมาก ซึ่งทาให้ประสิทธิภาพในการดูแลงานไม่ดีพอ แต่ผู้บริหารให้การสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงมาโดยตลอด ผู้ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมสหกรณ์ ได้แก่ นักเรียน มีประโยชน์มาก ได้รับความรู้เรื่องบัญชีรายรับ-รายจ่าย นักเรียนสามารถฝึกอาชีพ รวมทั้ง ได้เรียนรู้วิธีการขั้นตอนต่างๆ สามารถนาไปต่อยอดเป็นอาชีพ ซึ่งเหมาะกับบริบทของโรงเรียน ครู ดีใจที่เด็ก ๆ มีความรู้เรื่องสหกรณ์ เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ มีการเรียนรู้ นาไปใช้ประโยชน์ใน อนาคต ชุมชน ได้เรียนรู้เรื่องการจัดทาบัญชีครัวเรือนจากการอบรมของโรงเรียน การจัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียน หัวใจสาคัญของการดาเนินงานในโครงการตามพระราชดาริ คือ การจัดบริการอาหาร เพื่อให้ นักเรียนได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตลอดปีการศึกษา เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง เตรียมความ พร้อมสาหรับการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ส.ต.ท.หญิงอมรรัตน์ ขาวแป้น ครูผู้รับผิดชอบการจัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียน เล่าว่า ในแต่ละวันโรงเรียนจัดบริการอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนได้เพียงพอ โดยวัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้จาก ผลผลิตในโรงเรียน ยกเว้น ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารทะเล และผลผลิตที่โรงเรียนผลิตขาดช่วง เช่น ไก่เนื้อ ไข่ไก่ ผักบางชนิด จะซื้อจากตลาด เครื่องปรุงรสต่าง ๆ ซื้อจากร้านค้าในชุมชนและจากสหกรณ์ ของโรงเรียน อาหารทะเล ซื้อจากแม่ค้ารถปลาที่มาขายในชุมชน โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบฯ สนับสนุนอาหารกลางวันนักเรียน 20 บาทต่อคน โดยจ้างแม่ ครัว ซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียน วันละ 80 บาท และให้พืชผัก ปลาจากโรงโรงเรียนไปกิน ที่บ้าน
117
ทั้งนี้ ครูอมรรัตน์ จะจัดตารางเมนูอาหาร แม่ครัวจะทาตามตารางที่กาหนดไว้ ครูจัดเมนูอาหารไว้ 4 สัปดาห์ หมุนเวียนกันไป แต่จะสับเปลี่ยนได้ตามวัตถุดิบที่มีในโรงเรียน หลักการจัด - ไข่ไก่ 2 วันต่อสัปดาห์ - ปลา 1 วันต่อสัปดาห์ - ไก่ 2 วันต่อสัปดาห์ - จัดให้มีกับข้าว 1 อย่างต่อวัน - ขนมหวานมีเฉพาะวันพุธ ผลไม้ 2 วันต่อสัปดาห์
118
- ผัก จะใช้ทุกวัน ยกเว้นวันที่มีเมนูพะโล้ใช้ไก่กับไข่ เช่น มะละกอ ต้นคูน (ออดิบ) หน่อไม้ ผัก ในแปลงเกษตร เด็กนักเรียนจะชอบ ยกเว้นผักคะน้าเด็กจะไม่ชอบกิน - อาหารทะเล จัดเป็นครั้งคราว โดยมีแม่ค้ามาขายที่โรงเรียน ปลาทูมีทุกสัปดาห์ นามาทาแกง ส้มนักเรียนชอบ -ปริมาณของผักที่ใช้ ดูตามปริมาณของเด็ก เด็กไม่ชอบกินผักคะน้าเวลาทาเมนูที่มีผักคะน้าจะใส่ น้อยๆ เพราะเด็กจะไม่กิน ที่โรงเรียนก็ปลูกน้อยลง ไม่ค่อยปลูกคะน้า - เวลาตักอาหารปลา 1-2 ชิ้นต่อคน ไก่ 4–5 ชิ้นต่อคน แล้วแต่ขนาด ใครต้องการเพิ่มเติม เด็ก จะเติมได้ ไม่อั้น - ตามหลักการจัดอาหารสาหรับเด็กปริมาณอาหารที่แนะนาจะไม่เหมาะกับเด็กของเราเพราะผัก บางอย่างที่เด็กไม่กินจะเหลือ ทิ้งเยอะ และผักใบ ปริมาณ 100 กรัม จะเยอะเด็กกินไม่หมด - บางวันจัดข้าวหมกไก่–ก๋วยจั๊บ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง - บางครั้งจัดอาหารตามนักเรียนขอ โดยเด็กจะบอกว่าอยากกินอะไร เมนูที่เด็กเรียกร้องบ่อยๆ คือ ข้าวยา – ไข่ต้ม - อาหารว่างเช้า ให้เป็นนม โดยใช้นมผง ให้เด็กชงเอง (จัดเวร 2 คน) บางวันจะผสมโอวัลตินลง ไปด้วย โดยชงตามสัดส่วนที่กาหนด บางวันนักเรียนมาสายครูก็ชงให้เอง - ตับสัตว์ นาน ๆ จัดทีตามโอกาสพิเศษ - การแก้ปัญหาเด็กไม่กินผัก ครูจะสอนในชั่วโมงเรียน ครูพูดหน้าเสาธงบ้าง หรือก่อนกินข้าวจะ บอกประโยชน์ของผัก สาหรับเด็กอนุบาลจะตรวจแนะนา ห้ามทิ้ง ห้ามเหลือ เด็กจะแอบให้เพื่อน จะ พยายามสอนให้เด็กกินผัก - เนื่องจากนักเรียนเป็นมุสลิม 100 % ช่วงเดือนรอมฎอนที่มีการถือศีลอด ทางโรงเรียนก็ ทาอาหารปกติ แต่คนที่ถือศีลอดก็จะนาข้าวและแกงใส่ถุงเพื่อนากลับไปละศีลอดที่บ้านในตอนเย็น บทบาท- การเรียนรู้ของนักเรียน
119
- ช่วยทาความสะอาด 11.00 น. มาช่วยเตรียมช่วยยกข้าว และช่วยล้างหม้อ, อุปกรณ์หลังกิน เสร็จ โดยแบ่งเวรเป็นชั้นเรียน ป.4-6 (ป.5-6 สองวัน และ ป.4 หนึ่งวัน) นักเรียนทุกคนรับผิดชอบล้าง ถาดหลุมของตัวเองเมื่อกินข้าวเสร็จ - เด็กอนุบาล ครูผู้ดูแลเด็กมาช่วยตักกับแม่ครัว - นักเรียนได้เรียนรู้จากการทาอาหารกลางวัน โดยนักเรียน ชั้น ป.5 – ป.6 มีส่วนช่วยทาอาหาร เก็บผัก การปรุงประกอบอาหาร - ได้เรียนรู้ในวิชาเรียนสุขศึกษา วิชาสังคม วิชาการงานอาชีพ ฝึกเด็กประกอบอาหาร (ป.4 – ป.6) อาหารคาว –หวาน เช่น ราดหน้า ก๋วยจั๊บ พะแนง บทบาทของผู้ปกครอง - มีผู้ปกครองคนที่ว่างๆ มาช่วยแม่ครัวบ้างบางวัน - วันสาคัญต่างๆ ผู้ปกครองมาช่วย เช่น วันแข่งกีฬา วันปีใหม่ วันเด็ก การพัฒนาคุณภาพของแม่ครัว : เคยอบรมเรื่องอาหารฮาลาล ที่ปัตตานี เดิมที การจัดอาหารกลางวันให้แม่บ้านผู้ปกครองเด็กหมุนเวียนกันมาทาอาหารวันละ 3 คน แต่ เจอปัญหา คือ แม่บ้านไม่มา เด็ก-ครูต้องมาทาอาหารเอง ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นจ้างแม่ครัว โดยเป็นแม่ของ เด็กในโรงเรียน +มีลูกเยอะ +ไม่มีงานทา เลยให้จ้างมาทาอาหาร โดยจ้าง 80 บาท/วัน ทาอาหารบริการ นักเรียนมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว แม่ครัวบอกว่า “เด็กไม่อิ่ม เติมได้อีก ดีใจ ปลื้มใจที่เห็นเด็กได้กินอาหารที่มีประโยชน์ที่เราทา อยากเข้าอบรมการทาอาหารเพิ่มเติม เพราะได้พัฒนาความรู้ ตอนนี้ทาแบบเดิมๆ” ปัญหา อุปสรรคของแม่ครัว - อุปกรณ์ /วัสดุในห้องครัว เช่น มีด หายบ่อย ความต้องการเพิ่มเติม : - ให้อาหารเสริมสาหรับนักเรียนที่ขาดสารอาหาร - ต้องการพัฒนาโรงครัว โรงอาหาร- จัดเวรหมุนเวียนชั้น ป.4 –ป.6 ชั้นละ 1 วัน - ต้องการพัฒนาศักยภาพแม่ครัว โดยอบรมการประกอบอาหาร การติดตามภาวะโภชนาการ การติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน รับผิดชอบโดย จ.ส.ต.เกียรติศักดิ์ มาลาวัน ครูหนุ่มผู้มี พื้นเพเดิมที่จังหวัดเพชรบุรี จบหลักสูตรพยาบาลสนาม และบรรจุที่โรงเรียนแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2553 โดยครู ประจาชั้นแต่ละชั้น จะบันทึกน้าหนักส่วนสูงของนักเรียน รวบรวมให้ครูเกียรติศักดิ์และส่งต่อ รพ.สต.ปะ โด นาตัวเลขไปประมวลผลด้วยโปรแกรม พบว่ามีเด็กน้าหนักต่ากว่าเกณฑ์ 10 คน และส่วนสูงต่ากว่า เกณฑ์ 6 คน นอกจากนี้ รพ.สต. ยังได้ตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิและเจาะเลือดหาโลหิตจางของนักเรียน
120
100 90 80 70 60 50 40 30 20 10 0
2555 อนุบาล 2555 ประถม 2556 อนุบาล
นร.ที่ชงั่
น ้าหนักตามเกณฑ์อายุ
ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ
ท้ วม
ค่อนข้ างผอม
ผอม
ค่อนข้ างสูง
ค่อนข้ างเตี ้ย
เตี ้ย
ค่องข้ างมาก
ค่องข้ างน้ อย
น้ อย
2556 ประถม
น ้าหนักตามเกณฑ์ ส่วนสูง
การแก้ไขปัญหาเด็กขาดสารอาหารและน้าหนักต่ากว่าเกณฑ์ โดยคณะกรรมการนักเรียนจัดเวรวันละ 2 คน หมุนเวียนกันทาหน้าที่ชงนมแจกหน้าเสาธงทุก คนทุกเช้า เป็นนมพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี บางครั้งมีการเพิ่ม รสชาติ เช่น ใส่ไมโล หรือน้าหวานเฮลล์บลูบอย ในกลุ่มที่ขาดสารอาหาร จะให้ดื่ม 2 แก้ว และเพิ่ม ปริมาณอาหารกลางวัน
121
การดาเนินงานด้านการติดตามภาวะโภชนาการได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงาน ต่างๆ ได้แก่ 1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลปะโด สนับสนุนบริการสาธารณสุข เช่น แปรผลภาวะ โภชนาการของนักเรียนด้วยโปรแกรม Hoshp ตรวจพยาธิ ฉีดวัคซีน ตรวจเลือดหาโลหิตจางและตรวจ สุขภาพอื่นๆ เฉลี่ยเดือนละครั้ง อบรมชาวบ้านเรื่องหญิงตั้งครรภ์ โดยใช้สถานที่โรงเรียน 2. โรงพยาบาลมายอ ดูแลเรื่องทันตกรรม ตรวจฟัน สอนวิธีแปรงฟัน หากนักเรียนมีปัญหาเรื่อง ฟันให้ไปรักษาที่โรงพยาบาล 3. กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนวัสดุทาส้วมพร้อมชุดอ่างล้างมือ ให้โรงเรียน 5 ชุด จัดอบรม ให้ความรู้แก่ครูพยาบาล 14 จังหวัดภาคใต้ ร่วมกับ รพ.สต. 4. ฝ่ายพยาบาลของกองกากับตารวจตระเวนชายแดนที่ 44 สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ ผู้ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมการติดตามภาวะโภชนาการ ได้แก่ นักเรียน : มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นและสามารถประเมินภาวะโภชนาการของตนเองได้ ครู : ได้พัฒนาตนเอง ด้านทักษะการแปรผลภาวะสุขภาพ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชนจาก การร่วมติดตามภาวะโภชนาการ ผู้ปกครอง : ได้รับความรู้เรื่องหลักโภชนาการที่เหมาะสมและลดอัตราการเจ็บป่วยในอนาคต ของบุตรหลานและบุคคลในครอบครัว การพัฒนาสุขนิสัย มีแกนนาเด็ก คือ คณะกรรมการนักเรียน จากการเลือกตั้ง ทั้ง 12 คน สามารถสื่อสารกับเพื่อนๆ ได้ผลดีกว่าครู โดยจัดเวรแบ่งหน้าที่และจัดกิจกรรมต่างๆ กันเอง เพื่อให้เกิดความกล้าแสดงออก เช่น - กิจกรรมหน้าเสาธง การจัดเวรชงนมก่อนเคารพธงชาติ 122
- ช่วงอาหารกลางวัน มีการจัดเวรนักเรียนทั้งชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทาหน้าที่ช่วยจัดถาด และงานในครัว ตั้งแต่ 11 โมงเช้า เพราะเด็กอนุบาลจะรับประทานอาหารก่อน ระหว่างรอรับประทาน อาหาร แกนนานักเรียนจะนาท่องสูตรคูณหรือศัพท์ภาษาอังกฤษ และนักเรียนทุกคนจะทาหน้าที่ล้างถาด ของตัวเอง - แปรงฟันหลังอาหารกลางวันพร้อมกันบริเวณสนาม พร้อมสอดแทรกความรู้เรื่องการแปรงฟัน ก่อนนอน เพื่อกระตุ้นแก่นักเรียนทุกวัน ติดตามผลโดยตรวจฟันนักเรียนอาทิตย์ละครั้ง คือ ทุกวันศุกร์ - ศาลาไอโอดีนของโรงเรียน เดิมน้าใส่โอ่งหยดไอโอดีน แต่ตอนนี้ใช้แท๊งค์น้าผ่านเครื่องกรอง เด็กนักเรียนได้รับไอโอดีน 100% ดึงดูดใจให้เด็กชอบ เพราะเป็นน้าเย็นผ่านเครื่องทาความเย็น
เครื่องมือและกิจกรรมที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาสุขนิสัย ได้แก่ 1. สื่อโปสเตอร์ แผ่นพับ โดยการสนับสนุนจากกรมอนามัย ซึ่งครูได้เข้าร่วมอบรมทุกปี และได้นาความรู้จากหนังสือที่ไปอบรมมาปรับใช้กับนักเรียน เป็นหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ สาหรับเด็ก รวมทั้ง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูจากโรงเรียนระดับเพชร ได้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการ ส้วมที่ใช้งบประมาณไม่มากแต่ได้ผลที่ดี 2. บูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชา เช่น สุขศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 3. กิจกรรมสืบค้นความรู้ตามความสนใจในห้องสมุด ทุกวันพุธ ก่อนเรียนวิชาลูกเสือ 123
4.
กิจกรรมออกกาลังกายร่วมกันทุกวันอังคาร
โดยคณะกรรมการนักเรียนดาเนิน
กิจกรรม ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม นักเรียนทุกระดับชั้นร่วมทาความสะอาดพื้นที่โรงเรียนร่วมกันในตอนเช้าก่อนเข้าแถวเคารพธง ชาติทุกวัน โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะรับผิดชอบพื้นที่หน้าโรงเรียนร่วมด้วย มีการคัดแยก ขยะโดยใส่ถุงดา ส่วนใบไม้กิ่งไม้จะเผาทาลาย ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน เทอมละครั้งก่อนเปิดเรียน รวมทั้ง ช่วยตัดหญ้ารอบต้นปาล์ม ความสัมพันธ์ของโรงเรียนและชุมชนค่อนข้างเข้มแข็ง
ด้านน้าดื่ม/ น้าใช้ ระบบน้า/ ไฟ ของโรงเรียน ไม่มีปัญหา โดยน้าดื่มเป็นน้าบาดาล ผ่านเครื่องกรองน้าผ่านเกณฑ์ มาตรฐานความปลอดภัย ส่วนน้าใช้ใช้น้าบาดาล สาหรับ ห้องน้า มีห้องน้าชาย 6 ห้อง และห้องน้าหญิง 6 ห้อง และได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนวัสดุทาส้วมพร้อมชุดอ่างล้างมือ 5 ชุด อยู่ในระหว่างดาเนินการก่อสร้าง ทั้งนี้ สัดส่วนห้องน้าและนักเรียนเพียงพอกับความต้องการ ดูแลความสะอาด โดยการจัดเวรชั้นปี หมุนเวียนกันทาความสะอาด และครูเวรตรวจอีกครั้ง การจัดบริการสุขภาพ จ.ส.ต.เกียรติศักดิ์ มาลาวัน เป็นผู้ดูแลการจัดบริการสุขภาพแก่นักเรียนเช่นกัน โรงเรียนมีห้อง พยาบาล 1 ห้อง มีเตียง 2 เตียง เปิดให้บริการสุขภาพเบื้องต้นแก่นักเรียน โดยได้รับการสนับสนุน เวชภัณฑ์จากกองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 44 และ รพ.สต.ปะโด โดยมีกิจกรรมบริการ สุขภาพแก่นักเรียน ได้แก่ - ตรวจความสะอาดร่างกายของนักเรียนช่วงเช้า - บริการปฐมพยาบาลและโรคพื้นฐาน - ติดตามภาวะโภชนาการและปัญหาสุขภาพนักเรียน 124
- ร่วมกับ รพ.สต.ปะโด บริการตรวจพยาธิ, ฉีดวัคซีน และกาจัดเหา - ร่วมกับ รพ.มายอ บริการด้านทันตกรรม ห้องพยาบาล มีนักเรียนช่วยงาน 2 คน ที่ดูแลจัดยาต่างๆ ช่วยหยิบยา ดูแลผู้ป่วย รวมทั้ง ทา หน้าที่แจกยาเม็ดธาตุเหล็กทุกสัปดาห์ ในวันพุธ แจกก่อนอาหารเที่ยงและมีการจัดเวรเพื่อช่วยทาความ สะอาดห้องพยาบาลและจัดเตียง พบปัญหา เวชภัณฑ์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ จะส่งต่อไป รพ.สต.ปะโด เพราะอยู่ใกล้โรงเรียน ด.ญ.นารีมะห์ วาเตะ ป.6 และ ด.ญ. ซีกานา เจะแม็ง ป.5 นักเรียนประจาห้องพยาบาล เล่าว่า ทาหน้าที่จัดยาให้เพื่อนๆ ที่ไม่สบาย ตามคาแนะนาและดูแลของคุณครู เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ามูก ยาแก้ คัน อักเสบ รวมทั้ง ทาแผลเล็กๆ น้อยๆ จากการหกล้ม โดยนั่งประจาห้องพยาบาลช่วงหลังอาหาร กลางวันและช่วงบ่าย หลัง 14.30 น. มีนักเรียนมาใช้บริการห้องพยาบาลเฉลี่ยสัปดาห์ละ 3 คน นอกจากนี้ ยังทาหน้าที่แจกยาเม็ดธาตุเหล็ก และผสมน้าไอโอดีนด้วย อัตรา 1 หยดต่อน้า 5 ลิตร “ได้ความรู้เรื่องยาต่างๆ การระวังยาหมดอายุ วิธีการจัดยาและวิธีการทาแผล ได้นาความรู้ไปใช้ ที่บ้าน และในอนาคตใฝ่ฝันอยากเป็นพยาบาลด้วย” สองพยาบาลน้อย กล่าว สรุปการดาเนินงานด้านการติดตามภาวะโภชนาการ จ.ส.ต.เกียรติศักดิ์ มาลาวัน กล่าวว่า ครูประจาชั้นจะดูข้อมูลภาวะโภชนาการของนักเรียนใน ห้องที่ตนเองรับผิดชอบและแก้ปัญหานักเรียนตามปัญหาของแต่ละคน เมื่อเห็นเด็กมีน้าหนัก/ ส่วนสูงดี ขึ้นอย่างชัดเจน ครูจะคอยเชียร์ คอยชมให้เด็กกินนม กินผัก แต่ปัญหาที่เจอ คือ เด็กกินอาหารที่หน้าโรงเรียนมีขายขนมกรุบกรอบ เด็กได้ค่าขนมมาโรงเรียน 10 – 20 บาท/ วัน เด็กจะซื้อขนม บะหมี่กึ่งสาเร็จรูป ข้าวต้ม ที่ร้านหน้าโรงเรียน มากิน ปัญหาที่น่า เป็นห่วง คือ เด็กชอบกินบะหมี่กึ่งสาเร็จรูปแบบดิบๆ เป็นประจา บางคนเอาบะหมี่มาเติมน้าจากก๊อก แล้วกิน มีเยอะมากเพราะมีร้านขายอยู่หน้าโรงเรียน “ครูเคยคิดจะทาอาหารเช้าให้เด็กแต่กลัวกระทบกับแม่ค้าหน้าโรงเรียน” การเยี่ยมบ้าน ครูจะออกเยี่ยมบ้าน นักเรียนที่ขาดเรียนบ่อย พบว่า กรณีเด็กเจ็บป่วย พ่อแม่ไม่ พาไปหาหมอ จะรักษากับหมอบ้าน หมอโบราณ “เมื่อก่อนลงเยี่ยมบ้านนักเรียนบ่อย นากระเป๋ายา –กระเป๋าปฐมพยาบาลไปด้วย แต่ตอนนี้ไม กล้าลงแล้ว หลังจากมีเหตุการณ์ไม่สงบ การลงเยี่ยมบ้านครูก็เลี้ยง –ผู้ปกครอง ก็เสี่ยง สถานการณ์ทาให้ ความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชนเปลี่ยนแปลงไป” ครูเกียรติศักดิ์ กล่าว ปัญหา – อุปสรรค - แรงจูงใจในการทางานของครู - งานที่ทาไม่นามา มาเป็นผลงานไม่ได้ - การนิเทศติดตาม จากหน่วยงานต้นสังกัด ไม่ส่งผลต่อการพัฒนางาน/ พัฒนาคน/ พัฒนาการเรียนและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน มุมมองต่อสุขภาพนักเรียน : นายมนัส ศรีบุญเอียด ผู้อานวยการ รพ.สต.ปะโด 125
นายมนัส ศรีบุญเอียด หรือ หมอนัส ผู้อานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลปะโด (รพ. สต.ปะโด) เข้ามาทากิจกรรมดูแลสุขภาพที่โรงเรียนทุกเดือน เช่น ตรวจสุขภาพและติดตามภาวะ โภชนาการการฉีดวัคซีน เจาะเลือดหาภาวะโลหิตจาง พบเด็กที่มีภาวะซีด 10.96 % (เจาะเลือดนักเรียน 73 คนจากทั้งหมด 79 คน ผลปรากฎว่าปกติ 65 คน ต่า 8 คน หรือ 10.96%) โดยวิธกี ารเจาะปลายนิ้ว แต่ในบางครั้งเจาะได้เพียง 70% ของนักเรียน เพราะนักเรียนไม่มาโรงเรียนและบางคนไม่ยอมให้เจาะ - การตรวจหาหนอนพยาธิ ตรวจได้แค่ 50 คน ส่วนมากพบพยาธิไส้เดือน ไม่ได้ตรวจเด็ก อนุบาล เพราะพ่อแม่ไม่เก็บอุจจาระมาให้ - การตรวจร่างกาย 10 ท่า เทอมละครั้ง ปีนี้ทามา 2 ครั้งแล้ว พบปัญหาเด็กเป็นเหาหลายคน แก้ไขโดยใช้ยาชนิดน้าเป็นขวดกลม แต่มีกลุ่มฉุนเด็กไม่ชอบ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม - การแก้ปัญหาเด็กโลหิตจางด้วยยาเม็ดธาตุเหล็ก หากเพื่อป้องกันรับประทานสัปดาห์ละ 1 เม็ด แต่ถ้าเพื่อการรักษารับประทานวันละ 1 เม็ด ควบคู่กับการปรับปรุงอาหารจากตับและ ไข่เพิ่มขึ้น สาหรับ เด็กขาดสารอาหาร ให้จัดโต๊ะพิเศษ โดยเพิ่มอาหารให้และดูแลพิเศษ - ปัญหาเรื่องหนอนพยาธิและเหา ให้ปรับปรุงสุขนิสัย เน้นการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และล้างมือบ่อยๆ ต้องให้เด็กใส่รองเท้าเพื่อป้องกันพยาธิ - ตั้งแกนนานักเรียนทาหน้าที่ดูแลเพื่อนๆ ทั้งการดื่มน้าไอโอดีน กินยาธาตุเหล็ก ล้างมือ กินผัก และกิจกรรมอื่นๆ ที่ส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการ สร้างกิจกรรมกระตุ้นดึงดูดความสนใจ โดยการมอบ เกียรติบัตรและรางวัลต่างๆ ในงานวันเด็ก รวมทั้ง การกาจัดเหาอย่างจริงจัง เดือนละ 2 ครั้งในช่วงแรก และต่อมาเดือนละครั้ง จนกว่าจะหายขาด ความร่วมมือร่วมใจจากภาคส่วนอื่นๆ ครูสอนวิชาอิสลามศึกษา โรงเรียนมีครูสอนวิชาอิสลามศึกษา ตามหลักสูตรอิสลามศึกษา ในสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา จานวน 2 คน โดยได้รับการอุดหนุนตามโครงการ ส่งเสริมจริยธรรม ของ อบจ.ปัตตานี ปีละ 48,000 บาท เพราะเห็นว่าโรงเรียน ตชด. ยังขาดการเรียนการสอนด้านนี้จึงทาเรื่องขอการสนับสนุนไป นายมะรูดิง หาแว หรือ เจะกู อายุ 39 ปี เล่าว่า มาทางานที่โรงเรียน 4 ปีแล้ว จากการสรรหา โดยครูใหญ่คนก่อน เพราะเห็นว่าผมกาลังสอนที่ตาดีกา รู้สึกว่ามีความรู้ด้านศาสนาจึงให้มาสอนที่นี่ด้วย โดยมาสอน 3 วัน หรือ 6 ชัว่ โมงต่อสัปดาห์ แบ่งการเรียนเป็นชั้นๆ รับผิดชอบคนละ 3 ชั้นเรียน มีการ สอบวัดผลด้วย ทั้งนี้ ครูสอนวิชาอิสลามศึกษา ต้องการให้บรรจุเป็นงบของโรงเรียน เพื่อให้มีรายได้ ประจา แทนที่จะใช้งบ อบจ.ปัตตานี ซึ่งมีความกังวลว่าจะไม่สนับสนุนต่อ มุมมองต่อโครงการพระราชดาริ คิดว่าเป็นโครงการที่ดีมาก เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้าน มีแหล่งเรียนรู้ ทั้งบ่อปลา แปลงเกษตร ทา ให้ชาวบ้านได้รับความรู้ไปประกอบอาชีพ รวมทั้ง ได้ซื้อไข่ในราคาที่ถูกกว่าตลาด ผลผลิตที่ได้ก็ขายสู่ ชุมชน บางครั้งแจกนักเรียนกลับบ้าน เจะกู เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน เช่น การทาความสะอาดรอบๆ 126
โรงเรียน โดยมีพื้นที่รับผิดชอบบริเวณสวนปาล์ม ช่วยกาจัดหญ้าในร่องปาล์ม เป็นงานจิตอาสา และได้ซื้อ เก้าอี้บริจาคให้โรงเรียนด้วย กลุ่มแม่บ้าน หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 4 นางรอซีด๊ะ สาแม ประธานกลุ่มแม่บ้าน หมู่ที่ 1 กล่าวว่า กลุ่มแม่บ้านตั้งมาแล้วประมาณ 5 ปี โดยในครั้งแรกเป็นการรวมกลุ่มแม่บ้านโดย “ทหารสันติสุข” โดยเข้ามาประชุมให้เกิดการรวมกลุ่ม และ สอนสอนทาทองม้วน ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิก 15 คน ทาทองม้วนสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 4 กิโลกรัม นาไปขายร้านค้าต่างๆ ในตาบลและใกล้เคียง เพราะยังไม่ผ่าน อย. ไปส่งขายเองโดยขายส่งถุงละ 8 บาท สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนเป็นศูนย์กลางของชุมชน หน่วยงานต่างๆ จึงใช้สถานที่ของ โรงเรียนในการสร้างอาคารแลจัดอบรมต่างๆ เช่น อบจ.ปัตตานี สนับสนุนงบปี 2553 ก่อสร้างห้องฝึก อาชีพ โดยวิทยาลัยอาชีวะปัตตานีเข้ามาสอน เรื่องการตัดเย็บเสื้อผ้า การทาน้ายาล้างจาน แต่ที่นาไปใช้ ประโยชน์มากที่สุด คือ ทาขนม เช่น ดอกจอก กะหรี่ปั๊บ โดนัท ทาขายรายได้ดี คือ ทองม้วน เมื่อได้เงินมาแล้ว ก็แบ่งสมาชิกเป็นรายเดือน เก็บเงินเข้ากลุ่มก่อนแล้วเช็คชื่อคนที่มาช่วยงาน แบ่งเงินตามสัดส่วน บางครั้งแบ่งเพื่อสาธารณะประโยชน์ เช่น บริจาคมัสยิดหรือช่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้ด้านการเกษตรเมื่อมีการอบรมต่างๆ ทั้งเรื่องการดานา การใส่ปุ๋ย การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ นาความรู้ไปพัฒนาแปลงผักสวนครัวให้ดีขึ้น ซึ่งครูเกษตรร่วมให้ความรู้และคาแนะนาต่างๆ “การส่งลูกมาเรียนที่นี่ซึ่งมีโครงการพระราชดาริ ทาให้เด็กเรียนดี ลูกได้ทุนพระเทพฯ เรียนต่อ มรภ. ยะลา เด็กๆ มีพฤติกรรมการกินดีขึ้น กินผักมีประโยชน์ กินนม สอนแม่และคนในครอบครัวเรื่อง การกินอาหารที่มีประโยชน์ สอนเรื่องการล้างมือให้แม่และคนที่บ้านด้วย” นางรอซีด๊ะ กล่าว นางรอฆาหย๊ะ แวดะแซ ประธานกลุ่มแม่บ้าน หมู่ที่ 4 กล่าวว่า เป็นประธานกลุ่มแม่บ้านมา 5 ปี แล้ว โดยหมู่ที่ 4 มีสมาชิก 15 คน ตอนแรกเรียนเรื่องการทาคุกกี้ เค้กกล้วยหอม ขนมที่ทากับเตาอบ โดยก่อนหน้านั้นทาขนมด้วย ตัดเย็บเสื้อผ้าด้วย ต่อมาสมาชิกหมู่ที่ 4 ได้ต่อยอดโดยทาขันหมากให้เช่า ซึ่งชาวบ้านที่มีงานแต่งงานจะเช่าครั้งละ 5-6 ชิ้น คิดราคาชิ้นละ 20 บาท และในอนาคตวางแผนจะทา ของชาร่วยด้วย รวมทั้ง อยากพัฒนาเรื่องการทาขนมซาลาเปาและกะหรี่ปั๊บ เพราะน่าจะขายได้ดีกว่า คนในชุมชนชอบกินมากกว่า มุมมองจากท้องถิ่น : นายสุรพงศ์ จันทรัตน์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตาบลปะโด นายสุรพงศ์ จันทรัตน์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตาบลปะโด กล่าวว่า พื้นเพเดิมเป็นคนสุไหงโก ลก จ.นราธิวาส มาเป็นปลัด อบต.ปะโด ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2550 จริงๆ อยากย้ายกลับไปภูมิลาเนาแต่ เพราะไม่มีตาแหน่งว่างจึงไม่สามารถย้ายได้ ทาง อบต.ปะโด ได้ให้การสนับสนุนทางโรงเรียนโดยการให้ งบประมาณ ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ การจัดงานวันเด็กคู่กับงานปีใหม่, กิจกรรมกีฬาสี และ กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ กิจกรรมละ 5,000 บาท รวมทั้ง งบประมาณช่วยเหลือด้านภัยพิบัติ ซึ่งโรงเรียน โดนพายุได้รับความเสียหาย "ผมมีโอกาสรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 7 ม.ค.2552 และเมื่อวันที่ 14 ม.ค.2557 ซึ่งรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง โครงการพระราชดาริที่ ทาในโรงเรียนก็เป็นโครงการที่ชาวบ้านได้รับประโยชน์มาก ชาวบ้านได้รับความช่วยเหลือจากหน่วย พัฒนาสังคมมอบเงินดูแลคนพิการ 15 ราย และเด็กตาบอด 1 ราย ในตาบลปะโด เดือนละ 4,000 บาท 127
นอกจากนี้ ชาวบ้านยังได้ประโยชน์จากโครงการอื่นๆ ในโรงเรียน ทั้งกลุ่มแม่บ้านที่ได้รับการ อบรมอาชีพจากวิทยาลัยอาชีพ สอนทาขนมนาไปต่อยอดสร้างอาชีพสร้างรายได้แก่ครอบครัว และกลุ่ม เยาวชนได้รับการสอนเรื่องการสกรีนเสื้อ แต่ก็พบปัญหาหลักๆ คือ ไม่มีโอกาสต่อยอดเพราะไม่มีตลาด รองรับ โดยหน่วยงานที่ทางานช่วยเหลือชาวบ้านมาโดยตลอด คือ หน่วยพัฒนาสังคมและหน่วย พัฒนาการเคลื่อนที่ 44 รวมทั้ง สานักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี สานักงานเกษตรอาเภอมายอ สานักงาน ปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี สานักงานสหกรณ์จังหวัดปัตตานี และสานักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี" นาย สุรพงศ์ กล่าว
128
โรงเรียนบ้านเจาะบาแน บริบทของชุมชน ตาบลลุโบะยิไร อ.มายอ จ.ปัตตานี มีที่มาของชื่อตาบลจากคาที่เพี้ยนเสียงมาจากคาว่า ลุโบะยือ ไร หมายถึง บึงที่มีต้นไม้ใหญ่ล้อมรอบ (ต้นไทร) ตามลักษณะพื้นที่ และมีเรื่องเล่าขานต่อๆกันมาว่า ใน บึงนั้น ปรากฏมีจระเข้ตัวใหญ่ ซึ่งชาวบ้านต่างให้ความสาคัญ จึงเป็นที่มาของการใช้จระเข้เป็นสัญลักษณ์ ประจาองค์การบริหารส่วนตาบลลุโบะยิไร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน คือ 1. บ้านปาลูกาตือเงาะ 2. บ้านเมืองยอน 3. บ้านโคกกอ 4. บ้านตะบิงตีงี 5. บ้านน้าใส 6. บ้านเจาะบาแน 7. บ้านบูเกะกุง . บ้านโคกระกา บริบทของโรงเรียน โรงเรียนบ้านเจาะบาแน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตาบลลุโบะยิไร อาเภอมายอ จังหวัดปัตตานี สังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีเขตพื้นที่บริการ ได้แก่ บ้านเจาะบาแน สภาพสังคมเป็นชุมชนมุสลิมล้วน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทาสวนยางพารา และรับจ้างกรีดยางพารา มีสถานบริการด้านสุขภาพ ที่ใกล้เคียง ได้แก่ โรงพยาบาลทุ่งยางแดง ในระยะ 6 กิโลเมตร แต่เดิมในชุมชนไม่มีโรงเรียนในพื้นที่ นักเรียนในชุมชนต้องเดินทางไปเรียนยัง โรงเรียนในพื้นที่ ใกล้เคียง จานวน 2 โรงเรียน ห่างออกไป 2 กิโลเมตร ชาวบ้านในหมู่บ้านเจาะบาแน จึงมีความกังวลเรื่อง ความไม่ปลอดภัยระหว่างเดินทางไปโรงเรียน หากต้องปล่อยให้เด็กนักเรียนเดินทางไปเรียนยังพื้นที่อื่น นายยูนุ ดอเลาะ ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น จึงเป็นตัวแทนยื่นถวายฎีกา ในปี พ.ศ. 2532 สมเด็จพระเทพ พระรัตนราชสุดาฯ ทรงเป็นผู้รับเรื่องทูลเกล้าฯถวายฎีกาและเสด็จมาทอดพระเนตรพื้นที่ชุมชนด้วย พระองค์เอง โรงเรียนบ้านเจาะบาแน ดาเนินการก่อสร้างอาคารเรียนแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2533 และเปิด สอนอย่างเป็นทางการ ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2534 มีนักเรียนระดับชั้น อนุบาลจานวน 18 คน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จานวน 21 คน มีครูช่วยราชการ 3 คน ได้แก่ 1. ถาวร กูลเกื้อ ดารงตาแหน่งครูใหญ่และผู้บริหาร 2. นางวิไลวรรณ โรจนสุวรรณ ครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาล 3. นายอูนุ อูมา ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา ปัจจุบันเปิดให้บริการการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี นักเรียนจานวน 95 คน บุคลากรครู จานวน 11 คน ครูสนับสนุนจากสานักงานเขตการศึกษาฯ จานวน 2 คน บุคลากรอื่นๆ จานวน 5 คน (บัณฑิตอาสา 2 คน แม่บ้าน 2 คน นักการภารโรง 1 คน) คณะกรรมการสถานศึกษา จานวน 15 คน พื้นที่โรงเรียนขนาด 7 ไร่ 20 ตารางวา 129
โรงเรียนบ้านเจาะบาแน นับเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความได้เปรียบทางทรัพยากร ทั้ง ทางทรัพยากรธรรมชาติ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่พร้อมบริบูรณ์ และทรัพยากรบุคคล ที่มีบุคลากรครูเพียงพอไม่ ขาดแคลน แต่สิ่งที่
การดาเนินงานด้านกิจกรรมเกษตรและปศุสัตว์ในโรงเรียน ผังรับผิดชอบ นางยูนัยนะ ปูเตะ หัวหน้าโครงการในพระราชดาริฯ กิจกรรมแปลงผักค้าง
ด้านเกษตร นางสาววรัฏฐา ชาญพิชญพงศ์ -กิจกรรมผักกางมุ้ง -กิจกรรมเพาะเห็ด
ด้านประมงและปศุสัตว์ นายอูนุ อูมา -กิจกรรมเลี้ยงไข่ไก่ -กิจกรรมเลี้ยงปลาดุก นายมูฮัมหมัดอัลซัมรี่ สาและ กิจกรรมเลี้ยงเป็ด
หน่วยงานสนับสนุน 1.สานักงานเกษตรอาเภอมายอ / สานักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี - สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชและปุ๋ย งบประมาณปีละ 10,000 บาท - สนับสนุนอุปกรณ์ทางการเกษตร - สนับสนุนเครื่องมือ /วัตถุดิบ /อุปกรณ์ การเรียนถนอมอาหาร งบประมาณปีละ 5,000 บาท - จัดอบรมความรู้ด้านการเกษตรแก่ครู นักเรียน และแม่บ้าน ปีละ 1 ครั้ง 130
2.สานักงานประมงจังหวัดปัตตานี - สนับสนุนพันธุ์ปลาดุก ปีละ 2,000 – 3,000 ตัว และอาหาร ปีละ 300 กิโลกรัม - สนับสนุนพันธุ์ปลานิล ปีละ 200 ตัว และอาหาร ปีละ 300 กิโลกรัม - จัดอบรมความรู้ด้านกิจกรรมประมง ปีละ 1 ครั้ง 3.สานักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี - สนับสนุนพันธุ์ไก่ไข่ ปีละ 50 ตัว พร้อมอาหาร 1,500 กิโลกรัม - จัดอบรมความรู้ด้านปศุสัตว์ ปีละ 1-2 ครั้ง - สนับสนุนพันธุ์เป็ดไข่ จานวน 30 ตัว พร้อมอาหาร 4.ศูนย์พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส - สนับสนุนพันธุ์ไม้ปลูกในโรงเรียน - สนับสนุนจัดอบรมให้ความรู้ด้านการดาเนินงานเกษตรตามโครงการพระดาริแก่ ครู นักเรียน 5.สานักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จังหวัดปัตตานี สนับสนุนโรงเรือนผักกางมุ้งและอุปกรณ์ทางการเกษตรจากรางวัลการประกวดโรงเรียน ต้นแบบ “สานฝันยุวเกษตรกร” - สนับสนุนงบประมาณการเจาะบาดาลเพื่อเป็นแหล่งน้าใช้ภายในโรงเรียน 6.งบพัฒนาจังหวัดปัตตานี - สนับสนุนงบประมาณ จานวน 30,000 บาท เพื่อจัดซื้อ สปริงเกอร์รดน้าผัก ก้อนเชื้อเห็ด จานวน 200 ก้อน บทบาทของผู้บริหารโรงเรียน - ให้การสนับสนุน /จัดสรรกาลังครูแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามความถนัดและสนใจ และลง มือรับผิดชอบกิจกรรมด้านประมงและปศุสัตว์ด้วยตัวเอง - หาทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกด้วยการใช้หลักการสร้างปฏิสัมพันธ์ บทบาท/ลักษณะเด่นครูที่รับผิดชอบการเกษตร - มีใจรักและสนใจในการเกษตร แม้ไม่ได้มีความรู้โดยตรงแต่ก็มีความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง นา ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาทดลองปฏิบัติ แบบลองผิดลองถูกเพื่อนาความรู้มาปรับใช้ให้เข้ากับบริบท ของโรงเรียนให้มากที่สุด - มีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน ด้วยการนาความรู้ด้านการเกษตรแลกเปลี่ยนกับชาวบ้าน บทบาทของเด็กที่เข้าร่วม - มีการแบ่งกลุ่มดูแล รับผิดชอบพื้นที่ของตนเองตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้น จนถึงสิ้นสุด กระบวนการเก็บผลผลิตเข้าระบบสหกรณ์ โดยมีการจดบันทึกและทาบัญชีผลผลิต เกิดการลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะแบบครบวงจร บทบาทของกรรมการสถานศึกษาและชุมชน 131
มีกรรมการสถานศึกษาซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้าน เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการปลูกพืช เช่น แนะนาการปลูกผัก ให้ปูแปลงผักด้วยแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกันวัชพืช สอนการตอนกิ่งไม้ การทาน้า EM และชาวบ้านอื่นๆที่มีรถไถ จะเข้ามาช่วยปรับพื้นที่การเกษตรโรงเรียน การพัฒนาศักยภาพบุคลากร - อบรมความรู้ด้านการเกษตร ณ ศูนย์พิกุลทอง ปีละ 1 ครั้ง - สานักงานเกษตรอาเภอ /เกษตรจังหวัด จัดอบรมให้ความรู้ด้านการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ แก่ครู/นักเรียน ปีละ 1-2 ครั้ง องค์กรจิตอาสาเข้ามาร่วมขับเคลื่อน - กลุ่มชาวบ้านละแวกโรงเรียน จะร่วมลงแรงจับปลาดุกพร้อมชาแหละ ทุกครั้งที่มีการจับปลา ดุกเพื่อนามาประกอบอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน - ชาวบ้านในละแวก มีส่วนร่วมในการช่วยปรับพื้นที่ทางการเกษตร ผู้ได้รับประโยชน์จากการเกษตรในโรงเรียน เด็ก -ได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ผักสารพิษส่งผลให้มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น -มีทักษะความรู้ด้านการเกษตร มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบมากขึ้น -มีสุขภาพพลานามัยที่ดี ได้ออกกาลังกายสะสม จากการลงมือปฏิบัติงานดูแลแปลง เกษตร ครู -ได้แนวคิด/ความรู้ทางการเกษตร จากการอบรมและลงมือปฏิบัติจริง -ได้สร้างปฏิสัมพันธ์ต่อชุมชนผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ และพืชพันธ์ทางการเกษตร โรงเรียน -มีรายได้จากการจาหน่ายผลผลิตทางการเกษตร สามารถดูแลตนเองได้ ชุมชน -ได้รับผลผลิตทางการเกษตรจากโรงเรียนผ่านเด็กนักเรียน -ได้รับพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และความรู้ด้านการเกษตร ไปขยายผลในครัวเรือน องค์ความรู้ ครูแบ่งพื้นที่รับผิดชอบให้เด็กนักเรียนตามระดับชั้น เด็กนักเรียนทุกคนได้ลงมือปลูกและดูแล ต้นไม้ของกลุ่มตัวเอง โดยไม่ใช้วิธีคละระดับชั้น เพื่อให้เด็กได้มีบทบาทเท่าเทียมกัน หากใช้วิธีคละ ระดับชั้น เด็กเล็กจะมีบทบาทน้อยเพราะเด็กโตจะช่วยน้องทา จึงทาให้เกิดการเรียนรู้ได้ไม่เต็มที่ ครู ผู้รับผิดชอบจึงแบ่งหน้าที่ให้นักเรียนทุกระดับชั้น รับผิดชอบแปลงผักตามระดับชั้น โดยแบ่งพื้นที่เหมาะ กับช่วงวัยตามกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมแปลงเกษตร นักเรียนระดับชั้น ป.1 – ป.2 แบ่งเป็นกลุ่มๆละ 5 คน นักเรียนชั้น ป.1 รับผิดชอบปลูกต้นตะไคร้บริเวณริมรั้วโรงเรียน คนละ 1 กอ นักเรียนชั้น ป.2 รับผิดชอบปลูกต้นมะละกอ / มะเขือ คนละ 2 ต้น (ต้นแรกปลูกตามครู ต้นที่ สองปลูกเอง) นักเรียนระดับชั้น ป.3 – ป.4 แบ่งเป็นกลุ่มๆละ 6 คน 132
รับผิดชอบโรงเรือนปลูกผักกางมุ้ง โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มตามชนิดพืชที่ปลูก ได้แก่ คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักกาดขาว นักเรียนระดับชั้น ป.5 – ป.6 แบ่งเป็นกลุ่มๆละ 3 คน รับผิดชอบปลูกผักประเภทค้าง ได้แก่ ถั่วฝักยาว ถั่วปากอ้า บวบ ฟักเขียว ฟักข้าว กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า -มีโรงเรือนเพาะเห็ดจานวน 1 หลัง เพาะครั้งละ 200 ก้อนโดยมีครูโรงเรียนตชด.พีรายานุ เคราะห์ (โรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนพระราชดาริ) มาอบรมให้ความรู้ในการเพาะเลี้ยงเห็ด และ คัดเลือก นักเรียนชั้น ป.4 จานวน 1 คนเป็นผู้ดูแลรดน้าโรงเห็ด โดยใช้หลักเกณฑ์เลือกนักเรียนที่มีบ้าน ใกล้โรงเรียน เพราะจะต้องมารดน้าเห็ดในวัน เสาร์ – อาทิตย์ กิจกรรมประมงและปศุสัตว์ -กิจกรรมเลี้ยงปลาดุก ได้ผลผลิตปีละ 150 กิโลกรัม ใช้ระยะเวลาตั้งแต่เลี้ยงจนจับปลาหมดบ่อ 1 ปี เนื่องจากมีนักเรียนจานวนน้อย จับปลาครั้งละ 20 กิโลกรัม -กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ ใช้วิธีเลี้ยงแบบกรงตับ จานวนปีละ 50 ตัว ได้ผลผลิตวันละประมาณ 40 ฟอง จาหน่ายฟองละ 3 บาท เมื่อไก่ปลดระวาง จะนาไปประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน -กิจกรรมเลี้ยงเป็ดไข่ ได้รับสนับสนุนจากสานักงานปศุสัตว์จังหวัด มา 30 ตัว เลี้ยงโดยใช้เศษ อาหารจากโรงครัว ปัจจุบันสามารถขยายพันธ์ได้เองและมอบพันธุ์เป็ดให้แก่ชาวบ้านที่สนใจ ผลผลิตไข่ เป็ดที่ได้จะมอบเป็นกาลังใจให้แก่นักเรียนผู้รับผิดชอบ การป้องกันกาจัดศัตรูพืช -กาจัดด้วยน้าหมักชีวภาพ EM -ใช้น้าต้นสะเดาผง -ปลูกพืชมีกลิ่น เช่น กระเพราะในแปลงผักกลางมุ้ง เพื่อไล่แมลง -ใช้วิธีกาจัดด้วยมือ ในแปลงผักกางมุ้ง เคยมีหนอนเข้าไป เนื่องจากเด็กมีการเปิด-ปิดบ่อยๆ ครู แก้ปัญหาโดยให้เด็กเก็บตัวหนอนออกจากแปลงผัก “ครูจ้างเด็กเก็บหนอนในโรงผักกางมุ้ง ตัวละ 1 บาท เด็กเก็บมา 300 ตัว วันนั้นครูจนเลย” การปรับปรุงบารุงดิน -ใช้ปุ๋ยคอกจากมูลไก่ไข่และปุ๋ยหมักพืชสดในบ่อหมัก มาผสมดินเพื่อเพิ่มสารอินทรีย์ในดิน -ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ จากเศษอาหาร เศษพืชและผลไม้ ผสมพด.1 –พด.2แต่ไม่ต่อเนื่อง -ปลูกถั่วเขียวในพื้นที่ดินแข็ง-ดินถม ปลูกแล้วไถกลบทาปุ๋ยหมัก การจัดการระบบน้า -ใช้สปริงเกอร์ช่วยรดน้าพืชผัก เนื่องจากเด็กนักเรียนมีจานวนน้อยและตัวเล็ก การจัดการผลผลิตที่เกิดขึ้น 133
-นาผลผลิตที่เก็บเกี่ยวจาหน่ายให้สหกรณ์ร้านค้า เพื่อจาหน่ายให้โรงครัวนาไปประกอบอาหาร กลางวันและขายให้ชุมชน โดยทุกกิจกรรมมีบัญชีกองทุนหมุนเวียนแยกตามรายกิจกิจกรรม -แบ่งผลผลิตบางส่วนเป็นค่าตอบแทนให้เด็กที่ดูแล -ผลผลิตที่มีจานวนมาก จะนามาแปรรูปด้วยการบูรณาการเข้ากับหลักสูตรท้องถิ่น เปิดโอกาส ให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้การแปรรูปและถนอมอาหาร เช่น น้าฟักข้าว น้ากระเจี๊ยบ การเก็บพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ไว้ใช้เอง -พันธุ์พืชที่ใช้ในการเกษตรในโรงเรียน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ปลูกในแปลงเกษตร จาพวกพืชกินใบ เช่น ผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว จะได้รับการสนับสนุนจากสานักงานเกษตร อาเภอ/เกษตรจังหวัด เป็นประจาทุกปี แต่พันธุ์พืชจาพวก มะละกอ มะเขือ พืชตระกูล ไม้เลื้อย เช่น ถั่ว ปากอ้า บวบ กระเจี๊ยบโรงเรียนจะเพาะและขยายพันธุ์ไว้ใช้เอง -มีการขยายพันธุ์เป็ดเอง และแจกจ่ายให้ชาวบ้านผู้สนใจ เครื่องมือ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรภายในโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากสานักงานเกษตร อาเภอ สานักงานเกษตรจังหวัด และกรมพัฒนาที่ดินฯ ผ่านการขอเบิกสนับสนุนจากโรงเรียน มีอุปกรณ์ สาหรับใช้งานอย่างเพียงพอ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้การเกษตร -มีคาบการเรียนการสอนวิชาเกษตร เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง -มีกิจกรรมชุมนุมเด็กรักเกษตร โดยให้นักเรียนเลือกลงกลุ่มตามความสมัครใจ ผลงานภาคภูมิใจ/นวัตกรรมที่โรงเรียนสร้างขึ้น ผลการดาเนินงานที่เกิดขึ้นจากการเกษตร -โรงเรียนสามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ สามารถให้บริการอาหารกลางวันที่ มีคุณภาพแก่นักเรียนได้ตามเกณฑ์ที่กาหนด -ลดค่าใช้จ่ายจากการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อนามาประกอบอาหารกลางวัน และผลผลิตทางการ เกษตรที่เหลือยังสามารถนาไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ได้ -ได้พลังมวลชนและสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชนผ่านกิจกรรมปศุสัตว์ เกิดการเรียนรู้และพึ่งพา อาศัยซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน อุปสรรคและปัญหา -การดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด สพฐ.ให้การสนับสนุนเรื่องเกษตรหรือไม่ชัดเจน -กลุ่มยุวเกษตรมีการสนับสนุนไม่ต่อเนื่อง เมื่อครูผู้รับผิดชอบย้ายไปไม่มีคนทาต่อ ทาให้ขาด ความต่อเนื่องในการดาเนินงาน -ครูผู้รับผิดชอบมีภาระหน้าที่หลายอย่าง ไม่มีเวลาอยู่ในโรงเรียน เนื่องจากช่วงสิ้นปีงบประมาณ มีการประชุม อบรม บ่อย ส่งผลถึงความต่อเนื่องของ กิจกรรมเกษตร
134
- ปลาดุกเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตช้า เพราะธรรมชาติของปลาดุกชอบอยู่ใน น้าที่มีดินโคลน แต่การเลี้ยงในบ่อน้าจะนิ่ง ออกซิเจนไม่พอ ครูผู้รับผิดชอบแก้ปัญหาโดยการถ่ายน้า บ่อยๆ 1 เดือน/ครั้ง -ผลผลิตมีไม่เพียงพอต่อการบริการอาหารกลางวันเด็กนักเรียน เนื่องจากทากิจกรรมการเกษตร ไม่ต่อเนื่อง การดาเนินงานด้านสหกรณ์นักเรียน หน่วยงานสนับสนุน 1.สานักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ จังหวัดปัตตานี - สนับสนุนกาตรวจสอบการจัดทาบัญชีสหกรณ์ - สนับสนุนงบประมาณจัดทา “ศูนย์การเรียนรู้ด้านบัญชีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ” จานวน 20,000 บาท 2.สานักงานสหกรณ์ จังหวัดปัตตานี - สนับสนุนจัดอบรมให้ความรู้ด้านการทาบัญชีครัวเรือนแก่นักเรียนและผู้ปกครอง - สนับสนุนกิจกรรมศึกษาดูงานให้แก่คณะกรรมการสหกรณ์ ปีละ ๑ ครั้ง - จัดกิจกรรมวันสหกรณ์ ประกวดการทาบัญชี และการเขียนบันทึกการประชุมสหกรณ์ ติดตามและนิเทศงานสหกรณ์ จิตอาสา น.ส.นุสดา ฮายีสานิ ผู้ปกครอง ทุกวันศุกร์ บุคลากรผู้รับผิดชอบ นางยูนัยนะ ปูเตะ
ศิษย์เก่าเข้ามาให้ความรู้ด้านการทาบัญชีครัวเรือนแก่นักเรียนและ
สหกรณ์นักเรียน เปิดจาหน่ายหุ้นสมาชิกสหกรณ์ให้แก่ นักเรียน และบุคลากร ในราคาหุ้นละ 5 บาท โดยมี นักเรียนและบุคลากรโรงเรียนเป็นสมาชิกหุ้นสหกรณ์ และสมาชิกออมทรัพย์ ด้วยความสมัครใจ มี คณะกรรมการสหกรณ์เป็นนักเรียนระดับชั้น ป.4 – ป.6 จานวน 15 คน กิจกรรมของสหกรณ์ ประกอบด้วย 1.กิจกรรมเงินฝากออมทรัพย์แก่สมาชิกสหกรณ์ 2.จาหน่ายสินค้าผ่านร้านค้าสหกรณ์ โดยแบ่งประเภทสินค้าออกเป็น ๓ ประเภท คือ -ผลผลิตทางการเกษตร เช่น เห็ด ไข่ไก่ จากโครงการเกษตรและอาหารกลางวันให้แก่โรงครัว และชาวบ้านในพื้นที่ - อุปกรณ์การเรียนการสอน -ขนมขบเคี้ยว ไอศกรีม และสินค้าฝากขายจากชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ลูกชิ้นทอด ผลไม้ องค์ความรู้ 135
คณะกรรมการสหกรณ์มาจากการคัดเลือกนักเรียนชั้น ป.4 - ป.6 โดยครูผู้รับผิดชอบงาน สหกรณ์ แต่ละวัน คณะกรรมการสหกรณ์จะแบ่งเวรหน้าที่ความรับผิดชอบในการดาเนินกิจกรรมสหกรณ์ ออกเป็น 2 กิจกรรมหลัก คือ 1.กิจกรรมเงินฝากออมทรัพย์ ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 น. โดยแบ่งเวรรับผิดชอบตาม ระดับชั้น ป.5 – ป.6 จานวน 6 คน (ระดับชั้นอนุบาล ครูประจาชั้นเป็นผู้รับผิดชอบ) คณะกรรมการ รับผิดชอบมีหน้าที่รับเงินฝาก ลงบันทึก และรวบรวมเงินฝากส่งให้แก่ครูผู้รับผิดชอบตรวจสอบ 2.กิจกรรมจาหน่ายสินค้าสหกรณ์ ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 12.00 – 13.00 น. โดยแบ่งเวร รับผิดชอบวันละ 1 คน เพื่อจาหน่ายสินค้า 1 คน ลงบันทึกการซื้อ – ขาย 1 คน และทอนเงิน 1 คน คณะกรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสหกรณ์ทุกกระบวนการและรับผิดชอบหน้าที่แทนกันได้ทุก ตาแหน่ง โดยมีครูที่ปรึกษาเป็นผู้ตรวจสอบดูแล ส่งผลให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการทางาน เช่น ทักษะทางคณิตศาสตร์จากการซื้อ-ขาย ทักษะทางภาษาไทยจากการจดบันทึก ทักษะการเข้าสังคม จากการศึกษาดูงานประจาปี การทางานเป็นทีม และปลูกฝังจิตใจด้านงานบริการ มีการจัดอบรมการทาบัญชีครัวเรือนให้นักเรียนและผู้ปกครอง โดยสานักงานสหกรณ์จังหวัด จัด งบประมาณสนับสนุนเบี้ยเลี้ยงให้แก่ศิษย์เก่าเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้แก่นักเรียนทุกวันศุกร์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และสอดแทรกความรู้ด้านสหกรณ์เข้ากับการเรียนการสอนรายวิชาวิชาคณิตศาสตร์ และวิชา สังคมศาสตร์ ผู้ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมสหกรณ์ เด็กนักเรียน -ได้รับความรู้ด้านการดาเนินงานกิจกรรมของสหกรณ์ มีทักษะการทาบัญชี การทางานเป็นทีม การให้บริการ และสร้างนิสัยการออมเงิน -ได้รับเงินปันผลและมีเงินออมเมื่อจบการศึกษา ครู - ได้พัฒนาตนเองด้านการทาบัญชีและกิจกรรมสหกรณ์ผ่านกิจกรรมการอบรมและศึกษาดูงาน ประจาปี ชุมชน - ได้รับความรู้ด้านการทาบัญชีครัวเรือน เครื่องมือ -สมุดคู่บัญชีเงินฝาก -บัญชีย่อยเจ้าหนี้เงินฝากออมทรัพย์ -บัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ประจาห้องเรียน -บัญชีรายรับ-รายจ่าย -บัญชีสหกรณ์ -ทะเบียนสมาชิกเพิ่มหุ้น -บันทึกรายงานการประชุม 136
ความภาคภูมิใจ ได้รับรางวัล ชนะเลิศอันดับที่ 1 ในกิจกรรมประกวดการนาเสนอผลงานสหกรณ์ ระดับจังหวัด ประจาปี 2556 การพัฒนาสุขนิสัย บุคลากรรับผิดชอบ นางสะลีหะ เลาะดีสม หน่วยงานสนับสนุน 1.สานักงานสาธารณสุข จังหวัดปัตตานี -สนับสนุนยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก/ยาถ่ายพยาธิ/ไอโอดีนผสมน้าดื่ม -บริการพ่นยุงลายประจาปี 2.สานักงานสาธารณสุขอาเภอมายอ จังหวัดปัตตานี สนับสนุนการจัดอบรมความรู้ด้านสุขภาพแก่ครู ปีละ 1 ครั้ง 3.โรงพยาบาลมายอ จังหวัดปัตตานี สนับสนุนการให้ความรู้ด้านทันตกรรม จัดอบรม ให้โมเดลฟันและอุปกรณ์สอนแปรงฟัน ให้บริการด้านทันตกรรม 4.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตาบลลุโบะยิไร ให้บริการด้านการตรวจสุขภาพ ตรวจฟัน ฉีดวัคซีน เจาะเลือด ถ่ายพยาธิ องค์ความรู้ ส่งเสริมพัฒนาสุขนิสัยผ่านกิจกรรมผ่านกิจกรรมหน้าเสาธงตอนเช้า และแกนนานักเรียน ควบคู่ กับการสอดแทรกความรู้ผ่านการเรียนการสอน ทุกวันก่อนเข้าชั้นเรียนมีการตรวจความสะอาด ของผม เล็บ เสื้อผ้า รองเท้า หน้าเสาธงโดยครูประจาเวรและครูประจาชั้น นักเรียนระดับชั้น ป.4 – ป.6 แบ่งเวร นาเสนอข่าวสุขภาพหน้าเสาธงในตอนเช้า มีกิจกรรมการบริหารร่างกายประกอบเพลงหน้าเสาธง โดย แกนนานักเรียนเป็นผู้ดาเนินกิจกรรมทุกกระบวนการเองทั้งหมด แกนนานักเรียนจะคอยตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์และการตั้งแถวแปรงฟันหลังรับประทาน อาหารกลางวันเสร็จ เครื่องมือ -สื่อโปสเตอร์ / แผ่นพับ ให้ความรู้การพัฒนาสุขนิสัย เช่น สาธิตการล้างมือ 7 ขั้นตอน การ ป้องกันและกาจัดเหา สุขบัญญัติ 10 ประการ -แกนนานักเรียน -กิจกรรมบริหารร่างกายประกอบเพลงและเล่าข่าวสุขภาพหน้าเสาธง ผลการดาเนินการ โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง (แต่ปัจจุบันไม่ได้มีเข้า ประกวด) 137
การจัดบริการสุขภาพ บุคคลากรรับผิดชอบ นางสะลีหะ เลาะดีสม หน่วยงานสนับสนุน 1.สานักงานสาธารณสุข จังหวัดปัตตานี สนับสนุนไอโอดีนผสมน้าดื่ม ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ยาถ่ายพยาธิ และบริการฉีดพ่นลูกน้ายุงลาย ประจาปี 2.สานักงานสาธารณสุขอาเภอมายอ จังหวัดปัตตานี จัดอบรมให้ความรู้แก่ครูอนามัย ปีละ 1 ครั้ง 3.โรงพยาบาลมายอ จังหวัดปัตตานี -สนับสนุนโมเดลสอนการแปรงฟัน และ อุปกรณ์การแปรงฟัน -บริการด้านทันตกรรมแก่เด็กนักเรียน และให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก 4.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลลุโบะยิไร -บริการตรวจสุขภาพ ตรวจฟัน เคลือบหลุมครอบฟัน ฉีดวัคซีน เจาะเลือดเก็บอุจจาระหา หนอนพยาธิ องค์ความรู้ โรงเรียนมีห้องพยาบาล 1 ห้อง เปิดให้บริการทางสุขภาพเบื้องต้นแก่เด็กนักเรียน ได้รับการ สนับสนุนเวชภัณฑ์จากสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 จังหวัดปัตตานี มีกิจกรรมบริการสุขภาพแก่นักเรียน ดังนี้ -บริการตรวจสุขภาพทั่วไป ประสานงานร่วมกับรพสต.ลุโบะยิไร เพื่อ ชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูง ตรวจความสะอาดผม มือ เท้า เล็บ ปีละ 2 ครั้ง เด็กที่มีปัญหาเรื่องเหาและโรคผิวหนังดาเนินการจ่ายยา รักษาตามอาการ -บริการตรวจหาหนอนพยาธิ ประสานงานร่วมกับรพ.สต.ลุโบะยิไร นาอุจจาระของนักเรียนส่ง ตรวจหาหนอนพยาธิ ปีละ 1 ครั้ง -บริการฉีดวัคซีนและตรวจโรคตามฤดูกาล ประสานงานร่วมกับรพสต.ลุโบะยิไร และ อสม. ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปีละ 1 ครั้ง และตรวจหาโรคตามฤดูกาล เช่น โรคไข้เลือดออก -บริการด้านทันตกรรม ประสานงานร่วมกับโรงพยาบาลมายอ ตรวจสุขภาพปากและฟันให้แก่ นักเรียน -บริการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ปีละ 1 ครั้ง บทบาทนักเรียน แกนนานักเรียนให้ความรู้เรื่องสุขภาพ ผ่านกิจกรรมเรื่องเล่าข่าวสุขภาพหน้าเสาธง ช่วยครู อนามัยดูแลสุขภาวะเด็กนักเรียนด้วยกัน คอยรอยงานครูเมื่อพบความผิดปกติหรือปัญหาสุขภาพ บทบาทครู -ตรวจความสะอาด ประเมินภาวะสุขภาพ เด็กนักเรียนทุกเช้าหลังเข้าแถว 138
-ให้บริการด้านการปฐมพยาบาลและรักษาโรคพื้นฐานแก่เด็กนักเรียน - ติดตามภาวะโภชนาการและปัญหาสุขภาพของเด็กที่พบปัญหา การจัดการความรู้ เนื่องจากครูอนามัยเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ จึงได้สอดแทรกความรู้เรื่องสุขภาพเข้ากับการ เรียนการสอน เช่น กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตรวจสอบหาสารบอแร็กในอาหาร การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน บุคลากรรับผิดชอบ นางยูนัยนะ ปูเตะ หน่วยงานสนับสนุน 1.ศูนย์พิกุลทอง จ.นราธิวาส สนับสนุนพันธุ์ไม้ปลูกในโรงเรียน 2.หน่วยทหาร สนับสนุนการสร้างห้องน้าใกล้ศาลาละหมาด จานวน 2 ห้อง องค์ความรู้ ด้านสิ่งแวดล้อม นักเรียนทุกระดับชั้นร่วมทาความสะอาดพื้นที่โรงเรียนร่วมกันในตอนเช้า โดยแบ่งเขตพื้นที่ความ รับผิดชอบตามระดับชั้น มีครูประจาเวรและแกนนานักเรียนตรวจสอบความเรียบร้อย และรายงานหน้า เสาธง การคัดแยกขยะ เศษใบไม้บางส่วนนามาทาปุ๋ยหมักพืชสด เศษอาหารจากโรงครัว นามาเป็น อาหารเลี้ยงสัตว์ ที่เหลือรถขยะเทศบาลตาบลลุโบะยิไรมาจัดเก็บไปทิ้งทุกวันปรับปรุงภูมิทัศน์โรงเรียน ประจาปี สร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามร่มรื่นย์ให้แก่โรงเรียน ห้องน้า จานวนห้องน้ามีทั้งหมด ๑๓ ห้องเพียงพอต่อปริมาณเด็กนักเรียน กาลังอยู่ในช่วงปรับปรุงปูพื้น ใหม่ น้าดื่มน้าใช้ ดื่มใช้น้าบาดาลผ่านเครื่องกรองน้า ใช้น้าบาดาลในกิจกรรมการเกษตรและอุปโภค ยังไม่เคยผ่าน การตรวจประเมินคุณภาพน้า การบริการอาหารของโรงเรียน หน่วยงานสนับสนุน 1.สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 จังหวัดปัตตานี สนับสนุนงบประมาณ กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา 15,000 บาท 2.องค์การบริหารส่วนตาบลลุโบะยิไร อาเภอมายอ จังหวัดปัตตานี จัดสรรงบประมาณค่าอาหารกลางวันเด็กนักเรียน หัวละ 20 บาท/วัน 139
บุคคลากรผู้รับผิดชอบ นางฮาบีดี ดาฮามิ บทบาทผู้บริหาร -ให้ความสาคัญกับเรื่องโภชนาการเด็กนักเรียนเป็นสิ่งสาคัญ -ส่งเสริมโครงการเกษตรและปศุสัตว์เพื่ออาหารกลางวัน โดยมุ่งเน้นให้โรงเรียนมีผลผลิตวัตถุดิบ ที่ปลอดสารพิษ และมีคุณภาพ บทบาทครูผู้รับผิดชอบ -วางแผนรายการอาหารประกอบเลี้ยงร่วมกับแม่ครัวให้สอดคล้องกับผลผลิตทางการเกษตร บทบาทชุมชน -สนับสนุนด้านกาลังช่วยเหลือกาลังคนเมื่อโรงเรียนร้องขอในโอกาสต่างๆ องค์ความรู้ การบริการอาหารของโรงเรียนบ้านเจาะบาแน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ กลุ่มเด็กปกติจะ รับประทานอาหารในเวลากลางวันมื้อเดียว แต่เด็กนักเรียนกลุ่มที่มีภาวะทุพลโภชนาการ โรงเรียนจะ เสริมให้มีมื้ออาหารว่างเพิ่มตอน 10.00 น. ของทุกวัน ได้แก่ นม+ขนม 1 ชิ้น หรือ ขนมหวาน + น้าหวาน โดยมีสภานักเรียนเป็นผู้ตามนักเรียนที่มีปัญหาน้าหนักต่ากว่าเกณฑ์มารับประทานอาหารว่าง ในแต่ละวัน สาหรับการบริการอาหารกลางวันครูผู้รับผิดชอบร่วมจัดแผนประกอบเลี้ยงอาหารกลางวัน ร่วมกับแม่ครัว โดยคิดรายการอาหารล่วงหน้า 1 สัปดาห์ ให้สอดคล้องกับวัตถุดิบจากโครงการเกษตร และสอบถามเด็กนักเรียนว่าชอบรับประทานเมนูไหน หากเมนูใดทาแล้วเด็กไม่ชอบรับประทานจะไม่ ทาซ้าอีก แม่ครัวที่มาประกอบอาหารกลางวัน เป็นชาวบ้านในชุมชน โรงเรียนว่าจ้างคนละ 150 บาท จานวน 2 คน / วัน โดยแม่ครัวเป็นผู้รับผิดชอบทุกกระบวนการ ตั้งแต่ซื้อวัตถุดิบ จัดเตรียม ปรุงอาหาร ทาความสะอาดภาชนะและโรงครัว ในแต่ละสัปดาห์ แม่ครัวจะซื้อวัตถุดิบ 2 ครั้ง จากตลาดทุ่งยางแดง ซึ่งอยู่ห่างจากโรงเรียน ประมาณ 6 กิโลเมตร โรงเรียนให้งบประมาณในการซื้อวัสดุอาหาร 8,000 บาท/สัปดาห์ (รวมค่าจ้าง รายวัน) โดยเอาใบสาคัญมาเบิก ในช่วงที่จัดกิจกรรมค่าอาหารใช้งบประมาณมากกว่า 8,000 บาท ก็ จะมาถัวเฉลี่ยชดเชยจากสัปดาห์ที่มีวันหยุดชดเชย - การใช้โปรแกรม Thai school lunch ครูเคยได้รับการอบรม จากสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 จังหวัดปัตตานี แต่หยุดใช้โปรแกรมไป เนื่องจากไม่สอดคล้องกับการ ปฏิบัติงานจริงประสบปัญหาเรื่องรายการอาหารในโปรแกรมไม่สามารถปรับให้ตรงตามรายการอาหาร ของโรงเรียนได้ โดยเฉพาะรายการที่มีเนื้อหมูเป็นองค์ประกอบ เนื่องจากโรงเรียนเป็นโรงเรียนมุสลิมล้วน ไม่ประกอบอาหารที่มีเนื้อหมู “โปรแกรมทาให้ครูรู้ แค่ว่าอาหารอะไร ให้สารอาหารอะไรบ้าง แต่เราจะไม่รู้ว่าเด็กเราได้รับ สารอาหารอะไรบ้าง จานวนเท่าไร” ในแต่ละสัปดาห์แม่ครัวจะกาหนดรายการอาหารร่วมกับครูผู้รับผิดชอบ และออกไปซื้อวัตถุดิบ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง รายการอาหารจะไม่ซ้ากันใน 1 สัปดาห์ และกะปริมาณวัตถุดิบตามจานวนเด็กที่มา เรียนโดยอาศัยประสบการณ์ ในแต่ละวัน นักเรียนจะได้รับประทานอาหาร 1-2 อย่าง ขึ้นอยู่กับต้นทุน 140
ของรายการนั้นๆ โรงเรียนจัดให้มีเมนูไข่ 1 วัน/สัปดาห์ ผลไม้ 3 วัน/สัปดาห์ ขนมหวาน 2 วัน/สัปดาห์ วัตถุดิบจาพวกผักและผลไม้ส่วนใหญ่มาจากการจัดซื้อ เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียนมีไม่ เพียงพอ ผลผลิตจาพวกผักที่โรงเรียนผลิตเองได้หลักๆ คือ ผักบุ้ง กวางตุ้ง ข่า ตะไคร้ ซึ่งใช้ประกอบ อาหารได้ประมาณ 2 วัน/สัปดาห์ ส่วนจาพวกไข่ เนื้อไก่ เนื้อเป็ด และปลาดุก ได้จากผลผลิตของ โรงเรียนทั้งหมด นักเรียนระกับชั้นอนุบาล รับประทานอาหารเวลา 11.30 น โดยมีครูประจาชั้นเป็นผู้ตักอาหาร และดูแลความเรียบร้อย นักเรียนประดับชั้น ป1- ป.6 รับประทานอาหาร เวลา 12.00 น. โดยมีแม่ครัว เป็นผู้ตักอาหารให้ กะปริมาณอาหารตามวัย หากเด็กนักเรียนไม่อิ่มสามารถขอเติมได้ จากการสังเกต พบว่าผักที่เด็กชอบกินมาก คือ กวางตุ้ง ผักบุ้ง ในแต่ละเดือน จะมีการจัดเมนู ท้องถิ่นและอาหารจานเดียวให้นักเรียนได้รับประทาน เช่น ข้าว ยา ข้าวหมกไก่ ต้มข่าไก่ ข้าวผัด ข้าวต้ม แกงไก่ แกงเนื้อ ผัดเผ็ด แกงจืด ต้มยา ก๋วยเตี๋ยว ราดหน้า เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศให้แก่เด็กนักเรียน ยังมีข้อจากัดด้านการคานวณปริมาณสารอาหารและเครื่องปรุงที่นักเรียนได้รับ เพราะการ คานวณตามโปรแกรม Thai School Lunch เป็นโปรแกรมผ่านระบบออนไลน์ และไม่สามารถแก้ไข วัตถุดิบที่ใช้ตรงตามความเป็นจริงได้ เนื่องจากบริบทโรงเรียนเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนนับถือศาสนา อิสลาม จึงไม่ใช้เนื้อหมูในการประกอบอาหาร ทาให้ไม่ได้ใช้โปรแกรมตรงตามข้อมูลจริง ทาให้ครู ผู้รับผิดชอบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากโปรแกรมต่อ แม่ครัวที่มาบริการปรุงอาหารให้แก่เด็กนักเรียน ประกอบด้วยแม่ครัวประจา ๑ คน จัดจ้างใน ตาแหน่งนักการของโรงเรียน แม่ครัวจิตอาสา ๒ คน แม่ครัวทั้งหมดไม่เคยได้รับการอบรมด้านโภชนาการ ปรุงอาหารโดยมีครูผู้รับผิดชอบควบคุมดูแล พบว่าเมนูที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่เป็นจาพวกอาหารจาน เดียว และเมนูท้องถิ่นที่อุดมด้วยแป้ง ไขมัน และมีรสชาติหวาน ซึ่งอาจส่งต่อภาวะโภชนาการเกินในเด็ก นักเรียน ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม -แม่ครัวผู้รับผิดชอบปรุงอาหารกลางวัน ควรได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการ จะได้เพิ่ม ความรู้และแนวทางการประกอบอาหารได้มีคุณภาพและหลากหลายมากขึ้น -เด็กนักเรียนยังไม่มีบทบาทในกิจกรรมประกอบอาหารกลางวัน เนื่องจากมีจานวนนักเรียนน้อย อาจจะเพิ่มบทบาทด้วยการร่วมเป็นลูกมือ หรือรับผิดชอบล้างภาชนะของตนเอง เพื่อช่วยเสริมทักษะจาก กิจกรรมเล็กๆน้อยๆ การติดตามภาวะโภชนาการ หน่วยงานสนับสนุน 1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลลุโบะยิไร สนับสนุนร่วมติดตามภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน 2.สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 จังหวัดปัตตานี
141
สนับสนุนงบประมาณกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา จานวน 15,000 บาท โดยโรงเรียนนามาเป็นงบประมาณจัดสรรอาหารเสริมให้แก่เด็กนักเรียนกลุ่มทุพล โภชนาการ บุคลากรรับผิดชอบ นางสะลิหะ เลาะดีสม องค์ความรู้ ครูผู้รับผิดชอบ ดาเนินการแจ้งครูประจาชั้นให้ชั่งน้าหนัง วัดส่วนสูง เด็กนักเรียน เทอมละ 1 ครั้ง เด็กนักเรียนชั้น ป.5 – ป.6 จะมีสมุดบันทึกสุขภาพประจาตัว เด็กนักเรียนสามารถชั่งน้าหนัก วัด ส่วนสูงตนเองได้ โดยมีครูช่วยแปลผล และอธิบายผลภาวะโภชนาการให้เด็กทราบ เด็กนักเรียนชั้น ป.1 – ป.4 จะมีพี่นักเรียนชั้น ป.5 – ป.6 ช่วยชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูงให้น้องๆร่วมกับครูประจาชั้น ส่วนเด็ก นักเรียนปฐมวัย ครูประจาชั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด อุปกรณ์ที่ใช้ชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูง เป็นอุปกรณ์ ตัวเดียวกันทุกระดับชั้น เมื่อได้ผลการวัดแล้ว ครูประจาชั้นจะเป็นผู้จดบันทึกเพื่อส่งผลให้กับครูอนามัย เพื่อดาเนินการแปรผลภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียนส่ง สานักพระราชวัง และ รพ.สต.ลุโบะยิไร การแปรผล ใช้เกณฑ์ 3 กราฟ คือ น้าหนักตามเกณฑ์อายุ /ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ และน้าหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง เด็กที่มีภาวะทุพลโภชนาการ พบว่ามีเด็กนักเรียนมีน้าหนักตัวต่ากว่าเกณฑ์ จานวน 8 คน และอยู่ในกลุ่มต้องเฝ้าระวัง จานวน 10 คน เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน พบเด็กนักเรียนมีน้าหนักตัวเกินเกณฑ์ จานวน 1 คน อยู่ในกลุ่มต้องเฝ้าระวัง จานวน 2 คน ปัจจัยสาคัญ -พฤติกรรมจากค่านิยมท้องถิ่นที่นิยมให้เด็กรับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย เช่น โรตี ข้าวยาที่ใส่เครื่องปรุงไม่หลากหลาย -ปัญหาความยากจนในบางครอบครัว -ลักษณะเฉพาะทางกรรมพันธุ์ บางครอบครัวมีกรรมพันธุ์มีโครงสร้างทางร่างกายแคระเกร็น มี น้าหนักตัวน้อย -ผู้ปกครองยังไม่ตระหนักถึงความสาคัญ และไม่มีความรู้เรื่องหลักโภชนาการที่เหมาะสม -มีร้านจาหน่ายขนมขบเคี้ยว อาหารใส่สี และน้าหวานบริเวณหน้าโรงเรียน ส่งผลให้เด็กนักเรียน มีพฤติกรรมบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม วิธีดาเนินการ เมื่อได้ผลประเมินภาวะโภชนาการแล้ว ครูอนามัย ดาเนินการชี้แจงแจ้งให้ครูประจาชั้นแต่ละ ห้องทราบ ครูประจาชั้นจะรายงานถึงผู้ปกครองผ่านสมุดพก แต่ไม่มีการประชุมผู้ปกครองหรือแจ้งเป็น 142
รายบุคคล นักเรียนที่มีน้าหนักต่ากว่าเกณฑ์ โรงเรียนจัดให้มีอาหารเสริมเพิ่มตอน 10.00 น.ของทุกวัน เป็นนม+ขนม หรือ น้าหวาน+ขนมหวาน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสพฐ. และสภานักเรียนเป็น ผู้ควบคุมดูแลพาเด็กนักเรียนมารับอาหารเสริมในแต่ละวัน สาหรับเด็กที่มีน้าหนักเกินเกณฑ์ ใช้วิธีพูดคุย ทาความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และส่งเสริมให้มีกิจกรรมออกกาลัง กายในช่วงเช้าก่อนเข้าเรียน เครื่องมือ -สมุดตารางบันทึกภาวะโภชนาการ -รายงานการติดตามภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน ผู้ได้รับประโยชน์จากกิจกรรม นักเรียน กลุ่มนักเรียนที่มีภาวะทุพลโภชนาการมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นและสามารถประเมินภาวะ โภชนาการของตนเองได้จากการลงมือปฏิบัติชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูงด้วยตนเอง ครู ได้พัฒนาตนเอง ด้านทักษะการแปรผลภาวะสุขภาพ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชนจากการ ร่วมติดตามภาวะโภชนาการ การจัดการการเรียนรู้ บูรณาการ การเรียนการสอนเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนมีการลงมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมชุมนุม เช่น ชุมนุมเด็กรักเกษตร ชุมนุมทาขนม วิชาการงานอาชีพ มีสอนการทาอาหารท้องถิ่นและขนม เช่น ไข่ ลูกเขย โดนัทจิ๋ว น้าสมุนไพรจากดอกอัญชัน กระเจี๊ยบ ฟักข้าว
143
บทที่ 5 ผลการวิเคราะห์ : บทสรุปการดาเนินงานแต่ละองค์ประกอบ ด้านการเกษตรในโรงเรียน แต่ละโรงเรียนสามารถดาเนินงานด้านการเกษตรในโรงเรียนประสบผลสาเร็จได้ในระดับที่ แตกต่างกัน บางโรงเรียนดาเนินได้ตามมาตรฐานที่พึงมี ในขณะที่บางแห่งสามารถสร้างจุดเด่น ต่อยอด และขยายผลได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งมีปัจจัยเบื้องหลังความสาเร็จนี้คือ “ผู้บริหารที่ชื่นชอบด้านการเกษตร” นั่นเอง โรงเรียนส่วนมากสามารถปลูกผักได้หลากหลายชนิด โดยกาหนดให้สอดคล้องกับปีการศึกษา ของนักเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และลงมือทาด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยมองว่าการให้ ความสาคัญกับการปลูก ขยายพันธุ์ และใช้ประโยชน์จากพืชท้องถิ่นก็มีความสาคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า พืชผักอายุสั้น นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์พื้นที่ภายในโรงเรียนให้เต็มที่ โดยนารูปแบบ “สวนสมรม” ไป ปรับใช้ ไม่ให้มีพื้นที่รกร้างน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายใน ระยะยาว และจะเป็นรายได้ของโรงเรียนอีกทางหนึ่ง หากมีพื้นที่มากพอและชุมชนมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ พบว่า กิจกรรมการเกษตรในโรงเรียนเป็นช่องทางที่ดีที่สุด (และในบางโรงเรียนเป็นเพียง กิจกรรมเดียว) ที่ผู้ปกครองและชุมชนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างจริงจัง โดยรูปแบบการมีส่วนร่วมของ ชุมชน เช่น ช่วยลงแรงปรับปรุงแปลงเกษตรช่วงต้นปีการศึกษา ช่วยจับสัตว์น้า แบ่งปันผลผลิตจาก โรงเรียนกลับไปที่บ้าน นาพันธุ์ผักไปปลูกที่บ้านแล้วแบ่งบันมาโรงเรียน อนุญาตให้ใช้และช่วยดูแลบ่อ ปลาฯลฯ ในเรื่องของถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรไปสู่ชุมชนนั้น เกิดขึ้นจริงทั้งจากโรงเรียนให้การ สนับสนุนและหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาส่งเสริมในโรงเรียน แต่ยังไม่สามารถวัดได้ว่าประสบความสาเร็จ ต่อเนื่องและเห็นผลมากน้อยแค่ไหนทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ การส่งเสริมจากหน่วยงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยมีหน่วยงานหลัก เช่น สานักงาน เกษตรจังหวัด สานักงานประมงจังหวัด จัดอบรมทักษะครูและนักเรียนอย่างต่อเนื่องสาหรับหน่วยงาน อื่น ๆ ที่จะเข้ามามากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับทักษะและความพยายามในการติดต่อประสานงานกับ หน่วยงานต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การเป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดาริฯ มักได้รับความสนใจจาก หน่วยงานอื่นเสมอ ด้านการจัดการอาหารกลางวัน เป็นที่น่าดีใจว่าทุกโรงเรียนสามารถจัดอาหารกลางวันได้เพียงพอกับปริมาณนักเรียน สามารถนา พืชผักที่ผลิตได้มาเป็นวัตถุดิบ โดยวางแผนให้สอดคล้องกับรอบการผลิตร่วมกับครูเกษตร นักเรียนส่วนมากไม่มีปัญหากับการบริโภคผัก โดยเฉพาะนักเรียนโรงเรียน ตชด. ที่การกินผักอยู่ ในวิถีชีวิตปกติ และในบางโรงเรียนมีโนบายให้เด็กนาผักสดมาจากบ้านเพื่อทานร่วมกับอาหารกลางวัน ด้วย นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ได้ดีในระดับหนึ่ง และเฉพาะในบางโรงเรียน เช่นช่วยหุงข้าว ทอดปลา เก็บผักมาส่งแม่ครัว ทาความสะอาดโรงครัว ตักอาหาร และเด็กโตช่วยดูแลเด็กเล็ก ในขณะที่ ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมด้านการจัดการอาหารกลางวันในหลายระดับ ตั้งแต่เป็นแม่ครัว 144
อาสาเมื่อโรงเรียนมีกิจกรรมพิเศษ โรงเรียนเปิดโอกาสให้แม่ของนักเรียนที่ครอบครัวยากจนมาช่วยงาน ครัวเพื่อนาอาหารกลับไปบ้านได้ มีกลุ่มผู้ปกครองอาสาจัดเวรกันเข้ามาปรุงอาหารให้กับนักเรียน สาหรับคุณภาพของอาหารตามหลักโภชนาการนั้น พบว่าในบางโรงเรียนยังต้องปรับปรุง เช่น อาหารมันเกินไป อาจด้วยครูผู้รับผิดชอบด้านงานครัวขาดทักษะการใช้โปรแกรมการจัดอาหารกลางวัน หรือ Thai school lunch เมื่อใช้โปรแกรมฯ แล้วพบปัญหาจึงเลิกใช้ หรือปรับเปลี่ยนตามความถนัดของ ตนเอง อีกทั้งบางโรงเรียนขาดความหลากหลายเรื่องเมนูอาหาร เช่น บริการถั่วเขียวต้มน้าตาลสัปดาห์ละ สองวันทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ แม่ครัวอาสาส่วนมากยังขาดความเข้าใจในเรื่องการเตรียมและปรุงอาหาร สาหรับเด็ก มักปรุงตามความถนัดของตัวเอง ด้านสหกรณ์นักเรียน ทุกโรงเรียนดาเนินงานด้านนี้ตามองค์ประกอบที่ทางโครงการฯ กาหนด มีหน่วยงานประจาเข้า มาสนับสนุนทุกปีตามแผนงาน แต่ละโรงเรียนมีแกนนานักเรียนเป็นคณะกรรมการสหกรณ์ สามารถดูแล กิจกรรมในสหกรณ์ เช่น การจาหน่ายสินค้า การรับฝากเงิน การลงบันทึกบัญชีได้ดี สินค้าที่จาหน่ายใน สหกรณ์ เช่น อุปกรณ์การเรียนบางอย่าง เครื่องเขียน ขนม รวมถึงสินค้าจากชุมชน เช่น น้ายาล้างจาน ในทางระบบ สหกรณ์นักเรียนรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียน ก่อนจะจาหน่ายให้โรง ครัว โดยบวกกาไรเพิ่มจานวนหนึ่ง แต่ทีมวิจัยยังไม่สามารถเข้าถึงตัวเลขรวมของรายได้ทั้งหมดที่ได้จาก การขายผลผลิต และแนวทางการนางบประมาณดังกล่าวไปใช้ต่อ นักเรียนอื่นมีส่วนร่วมโดยการเป็นสมาชิกและฝากเงินกับสหกรณ์ ได้รับเงินปันผลทุกปี ส่วนเงิน ออมจะถอนออกเมื่อจบชั้น ป.6 นอกจากนี้ ผู้ปกครองบางรายยังเข้ามาฝากเงินกับทางสหกรณ์นักเรียน อีกด้วย อย่างไรก็ตามพบว่า มีบางโรงเรียนที่นักเรียนอีกจานวนมากไม่ได้มีเงินฝากกับทางสหกรณ์เลย สาหรับการทาบัญชีครัวเรือนนั้น บางโรงเรียนมีการเผยแพร่องค์ความรู้ไปสู่ชุมชน แต่ขาดการ ติดตามว่าผู้ปกครองได้นาไปใช้ต่ออย่างจริงจังหรือไม่ ด้านการติดตามภาวะโภชนาการ ครูผู้รับผิดชอบส่วนมากสามารถติดตามภาวะโภชนาการของเด็กได้ดี แม้มีบางโรงเรียนที่ครูยัง ขาดทักษะการแปรผลภาวะโภชนาการ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีส่วนร่วมในระดับหนึ่ง เช่น ช่วยเพื่อนนักเรียนชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูง แต่ยังขาดการเรียนรู้ผลที่ได้จากการประเมินภาวะ โภชนาการ โรงเรียนมีการส่งมอบข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กให้กับผู้ปกครอง และเมื่อพบเด็กที่มีภาวะ โภชนาการต่าหรือเกิน โรงเรียนมีมาตรการเชิงรับและเชิงรุก เช่น จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้าน จัดโต๊ะอาหารวี ไอพีสาหรับเด็กผอม นาเด็กอ้วนหรืออวบมาพัฒนาให้เป็นนักกีฬาของโรงเรียนและในบางโรงเรียน จังหวัดได้จัดงบประมาณสนับสนุนงบประมาณจัดอาหารเช้าให้แก่เด็กที่ภาวะโภชนาการต่ากว่าเกณฑ์ การจัดบริการด้านสุขภาพ แต่ละโรงเรียนดาเนินงานด้านนี้ได้ตามมาตรฐาน โรงเรียนบางแห่งมี “สุขศาลา” ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบเฉพาะดูแลทั้งนักเรียนและประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนกิจกรรมนี้มีหลากหลาย และต่อเนื่อง เช่น บริการด้านทันตกรรม การตรวจพยาธิ การฉีดวัคซีน นักเรียนจึงไม่พบปัญหาด้านสุขภาพแต่อย่างใด 145
การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เด็กทุกโรงเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเป็นอย่างดี เช่น แบ่งเวร รับผิดชอบการทาความสะอาด เก็บขยะ เรื่องน้าดื่ม โรงเรียนซื้อน้าถังจากร้านค้าภายนอก มีเพียงโรงเรียนเดียวที่มีเครื่องกรองน้าดื่ม ใส ขณะที่มาตรการคัดแยกขยะที่ยังไม่ได้ดาเนินการอย่างจริงจังมากนัก ขยะส่วนมากถูกนาไปเผา ทุกโรงเรียนได้พัฒนาแกนนานักเรียนมามีส่วนร่วมในกิจกรรมบริการด้านสุขภาพได้ดี เช่น กิจกรรม อย.น้อย เด็กไทยทาได้
146
ปัจจัยที่นาไปสู่ความสาเร็จ 1. จุดเด่นเรื่องการเป็นโครงการในพระราชดาริ ทาให้ผู้ปฏิบัติมีแรงจูงในในศรัทธาต่อพระองค์ท่าน นอกจากนี้ ทุกหน่วยงานจะให้ความสาคัญต่อโรงเรียนในพระราชดาริอย่างเต็มที่ และบรรจุ แผนการสนับสนุนในแผนงานประจาปีของหน่วยงานนั้น ๆ ทาให้โรงเรียนได้รับการดูแลอย่าง ต่อเนื่อง 2. เนื่องจากการเกษตรในโรงเรียนมีผลโดยตรงและเป็นจุดเริ่มต้นของคุณภาพอาหารและ โภชนาการ ดังนั้นบุคลากร โดยเฉพาะผู้บริหารที่ชื่นชอบการเกษตรจะมีส่วนสาคัญที่จะผลักดัน ให้โครงการประสบความสาเร็จ ครูที่ใส่ใจเรื่องการเกษตรจะสามารถคิดค้น ต่อยอด และขยาย ผลการดาเนินงานในเรื่องนี้ได้ดีกว่า และเกิดการดาเนินงานอย่างยั่งยืนมากกว่า นอกจากนี้ ผู้บริหารยังสามารถเป็นแบบอย่างในเรื่องนี้ให้กับครูท่านอื่น เด็กและผู้ปกครองได้อีกด้วย 3. หน่วยงานต้นสังกัดต้องเห็นความสาคัญระหว่างงานเกษตร อาหาร และโภชนาการ ที่จะส่งผล ต่อเด็ก เนื่องจากแต่ละปีจะมีโครงการที่หลากหลายเข้ามาในโรงเรียน หากหน่วยงานต้นสังกัด เช่น กก. ตชด. หรือ สพฐ. ขาดความเข้าใจในเรื่องนี้ จะทาให้โรงเรียนและผู้บริหารขาดความ มั่นคงที่จะดาเนินงานด้านอาหารและโภชนาการต่อไปได้ 4. การโยกย้าย/สับเปลี่ยนครูมีผลโดยตรงต่อความต่อเนื่องและความสาเร็จของการดาเนินงาน โดย ก่อนที่ครูจะเข้ามารับผิดชอบด้านงานโภชนาการเด็ก จะต้องได้รับการอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ครั้งแล้ว ครั้งเล่า อีกทั้งยังต้องใช้เวลานานในการสร้างความร่วมมือจากครูท่านอื่นและชุมชน ดังนั้นหากครูหรือผู้บริหารดังกล่าวถูกโยกย้ายก็จะทาให้การขับเคลื่อนขาดความต่อเนื่องหรือ หยุดชะงักไปในที่สุด แม้จะมีครูท่านใหม่เข้ามารับช่วงต่อ ก็เป็นการทางานตามหน้าที่ หากแต่ ขาดความรู้และจิตวัญญาณที่จะทาโครงการให้ได้ดี 5. หน่วยงานหลักที่เข้าไปสนับสนุนโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เช่น เกษตร ประมง ทาให้โรงเรียนมี จุดเริ่มต้นที่ดี สามารถมีทรัพยากรและต้นทุนที่ดีที่จะจัดกิจกรรมได้ทุกปี ลดภาระผู้บริหาร 6. คณะกรรมการสถานศึกษาและศิษย์เก่าจะเป็นสะพานเชื่อมความร่วมมือกับชุมชนได้ดี
147
บทที่ 6 ข้อเสนอแนะและบันทึกนักวิจัย องค์ความรู้ที่ยังต้องสืบค้นเพิ่มเติม 1. หากขาดการสนับสนุนจากโครงการฯ ไม่ได้อยู่ในแผนของหน่วยงานต่าง ๆ โรงเรียนจะมีการ ปรับตัวอย่างไร 2. ความแตกต่างระหว่างการมีหรือไม่มีส่วนร่วมของชุมชน และระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน มี ผลต่อความสาเร็จหรือไม่ ? 3. ผู้บริหารมีแนวทางการแบ่งหน้าที่และสร้างทีมงานให้กับบุคลากรอย่างไร ? 4. การติดตามการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชุมชนในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความรู้ด้านการเกษตร บัญชี ครัวเรือน ประสบผลอย่างไร ? 5. มีแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณที่ได้จากการจาหน่ายผลผลิตการเกษตรอย่างไร ? 6. การเปลี่ยนผ่านจาก ตชด. ไป สพฐ. มีผลกระทบอย่างไรบ้าง ? แนวทางการขยายผลอย่างกว้างขวางและยั่งยืน 1. จังหวัดและท้องถิ่นรับเป็นเจ้าภาพขับเคลื่อนต่อ บูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ 2. มีการถ่ายทอดชุมชนเรื่องการเกษตร แต่เรื่องอื่นไม่ได้ถ่ายทอด ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ 1. ควรส่งเสริมให้ทาการเกษตรทั้งปี ไม่มีปิดเทอม โดยประสานความร่วมมือกับชุมชน 2. ควรเพิ่มระบบพี่เลี้ยงสาหรับการใช้โปรแกรมการจัดอาหารกลางวัน 3. ส่งเสริมให้ชาวบ้านมาร่วมปรุงอาหารให้กับนักเรียน เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องโภชนาการ 4. โรงเรียนควรตั้งเป้าหมายในแต่ละระดับ เช่น ผลักดันให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ภายใน 5 ปี 5. จังหวัดควรกาหนดแผนการสนับสนุนโรงเรียนในพระราชดาริ ไว้ในแผนงานประจาปีของจังหวัด มีฝ่ายและเจ้าหน้าที่ติดตามสนับสนุน เพื่อให้ให้เกิดการบูรณาการงานร่วมกันจากหลาย หน่วยงาน 6. สร้างขวัญกาลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน ทาให้อยากทางานในโรงเรียนพระราชดาริ ไม่ต้องการ โยกย้ายไปที่ไหนเพื่อความต่อเนื่องของการขับเคลื่อนงาน
148